หนังสือพระพุทธศาสดาประชานาถ

Page 1







พระพุทธศาสดาประชานาถ พระพุ ท ธศาสดาประชานาถถื อ เป็ น พระพุ ท ธรู ป ปี ๒๐๒๐ – แห่ ง ศตวรรษที่ ๒๑ ของคริ ส ต์ ศั ก ราช ปี ๒๕๖๓ – แห่งศตวรรษที่ ๒๖ ของพุทธศักราช ที่ได้รับอัญ เชิญนาไปประดิษฐาน ณ จุดสูงสุดของประเทศไทย ให้อยู่คู่บ้านเมืองตลอดไป ด้วยความสมเหตุสมผลนานาประการ ดังนี้

พระพุทธศาสดาประชานาถ “ศักดิ์สิทธิ์ – สูงสุด – สู่ศรัทธา = ส่งบุญสู่สรวงสวรรค์” พระพุทธศาสดาประชานาถ ได้รับการสร้างขึ้นมาในวโรกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี ทิวงคตของจอมพลสมเด็จ พระเจ้ า บรมวงศ์เ ธอเจ้ า ฟ้ า จั ก รพงษ์ ภู ว นารถ กรมหลวงพิ ศ ณุ โ ลกประชานารถ ผู้ ไ ด้ ชื่ อ ว่ า เป็ น “พระบิ ด าแห่ ง กองทั พ อากาศ” ผู้ ไ ด้ ท รงสถาปนาก าลั ง ทางอากาศในประเทศไทย เพื่ อ ใช้ ใ นการป้ อ งกั น ประเทศและ เพื่อกิจการคมนาคม อันถือว่าทรงมีพระคุณอันยิ่งใหญ่หาที่สุดได้ต่อกองทัพอากาศและประเทศไทย พระพุทธศาสดาประชานาถ ได้รับการออกแบบให้เป็นพระพุทธรูปที่เป็นศูนย์กลางอารยธรรมของไทย ๔ ยุคสมัย คือ ยุคล้านนา ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา และยุครัตนโกสินทร์ เป็นพระพุทธรูปที่มีความสง่างามยิ่ง พระพุ ท ธศาสดาประชานาถ ได้ รั บ พระราชทานนามจากสมด็ จ พระสั ง ฆราช และได้ รั บ แผ่ น จาร จากบรรดาสมเด็จพระราชาคณะทั้ง ๙ รูป นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่สมเด็จพระราชาคณะทั้ง ๙ รูป ได้ลงแผ่น จารครบพร้อมกันในวาระเดียวกัน พระพุทธศาสดาประชานาถ ถูกสร้างขึ้นมาตรงรัชสมัยรัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี โดยได้ถูกออกแบบให้ ทาการสร้างด้วยเนื้อโลหะ ๑๐ อย่าง คือ เนื้อนว ๙ ประการผสมกับไทเทเนียม ที่เป็นองค์ประกอบหลักของอากาศยาน เนื่องจากมีความแกร่งสูงอีก ๑ ประการ ในการนี้ ทองหลืองที่เป็นองค์ประกอบหลักนั้นได้มาจากปลอกกระสุนปืนใหญ่ อากาศขนาด ๒๐ มม. ที่ยิงจากเครื่องบินรบที่มีประจาการอยู่ในกองทัพอากาศ พระพุ ท ธศาสดาประชานาถ ผ่ า นพิ ธี ม หาพุ ท ธาภิ เ ษกเมื่ อ วั น ที่ ๒ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ หรื อ เมื่ อ ๐๒๐๒๒๐๒๐ ของคริ ส ต์ ศักราช อัน เป็ น วั นที่ พระบิ ดาขอกองทั พอากาศได้ ทรงท าการบิ นเครื่องบินเป็นครั้งแรก ในประเทศไทย ณ วังสระปทุม อนึ่ง ณ วัน ๐๒๐๒๒๐๒๐ นั้น หากนับจากวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ มานั้นนับเป็น จานวนวันได้ “๓๓ วัน” และหกนับจากวันนี้ต่อไปจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ จะนับเป็นจานวนวันได้ “๓๓๓ วัน” พระพุทธศาสดาประชานาถ เข้าพิธีมหาพุทธาภิเษกโดยบรรดาเกจิอาจารย์จานวน ๒๐๐ รูป จาก ๔ ภาค ของประทศไทย โดยกระทาพิธีขึ้น ณ ดอยอินทนนท์ บนแผ่นดินที่ถือเป็นจุดสูงสุดของประเทศไทย ที่ความสูง ๘,๕๑๔ ฟุต ซึ่งเป็นความสูงที่สุดของประเทศไทยที่อยู่ใกล้กับสรวงสวรรค์มากที่สุด ผู้ใดได้กราบไหว้บูชาด้วยศรัทธาสูงสุด จะได้ บุญกุศลสูงสุด-การทามาหากินเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด พระพุทธศาสดาประชานาถ เป็นพระพุทธรูปที่ถือว่าเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง เนื่องจากได้รับ การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่รัฐบาลอินเดียได้มอบแก่ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปรินายก (อัมพร อมฺพโร) ประทานพระบรมสารีริกธาตุแก่ กองทัพอากาศเป็นกรณีพิเศษ ให้บรรจุไว้ในพระเกตุ มาลาเป็นการถาวร มณฑปประดิษฐานพระพุทธศาสดาประชานาถประดิษฐานบนยอดดอยอินทนนท์ได้รับการออกแบบการปลูก สร้างให้มีความสวยงาม ห้อมล้อมด้วยพรรณไม้ภูเขาสูงนานาชนิด อีกทั้งให้มีความปลอดภัยสูงสุดในการเดินทางเข้าถึง โดยแยกสัดส่วนพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ จุดนี้ออกจากพื้นที่ความมั่นคงบริ เวณสถานีเรดาร์ดอยอินทนนท์โดยเด็ดขาด เพื่อให้ พุทธศาสนิกชนเข้าสักการะกราบไหว้บูชาได้สะดวก



บทนา เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒ พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ มีดาริให้สร้างพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ไว้ที่จุดสูงสุดของประเทศไทย ทั้งนี้ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้สั่งการให้ พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ดาเนินการดังนี้ “เนื่องจากวันที่ ๒ ก.พ.๖๓ เป็นวันดี พี่อยากสร้างพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ “หลวงพ่ออินทนนนท์” เพื่อให้ประชาชนได้บูชา ในการนี้จะนิมนต์เกจิอาจารย์ทาพิธีมหาพุทธาภิเษกในปี ๒๐๒๐ (วางแผนจัด พิธีปลุกเสกใน วันที่ ๐๒ ก.พ. ๒๕๖๓ = ๐๒๐๒๒๐๒๐ ในจานวนจากัด)” - เพื่อส่งบุญ ณ จุดสูงสุดของแผ่นดินไทยเสมือนเป็นสะพานบุญให้ แก่ประชาชนได้อธิฐานไปสู่ จุดสูงสุดแห่งชีวิต - เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลให้แก่พระบิดากองทัพอากาศเนื่องจากครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งการ ทิวงคตของพระองค์ท่าน - เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา อนึ่ง ผู้บัญชาการทหารอากาศได้มอบหมายให้ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ศึกษาความเหมาะสมในการจัดพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธรูปอินทนนท์ และพระพุทธรูปบูชา จานวน ๒,๐๒๐ องค์ ในวันอาทิตย์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ ๐๒๐๒๒๐๒๐ ณ สถานีรายงานดอยอินทนนท์ ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ รับภารกิจด้วยความยินดีและเต็มใจอย่างยิ่งและ เรียนผู้บัญชาการทหารอากาศ ว่า “ในเบื้องต้นขออนุญาตจัดทีม และนาลูกทีมบางส่วนเข้าพบพี่เพื่อซึม ซับแนวคิด รวมทั้งเรียนหารือให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน ภายในสัปดาห์หน้าครับ วันเวลาขออนุญาต ประสานโดยตรงกับหน้าห้องครับ” ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ได้สั่งการให้ พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้ บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิ ราช เร่งดาเนินการตามสั่งการ ผู้บัญชาการทหาร อากาศด้วยความทุ่มเท “ในสองเดือนนี้ทาให้สุดตัว ช่วยวางแผนเรื่องสร้างพระโดยด่วน เพราะเวลามี น้อยจริง ๆ” โดย ๑. จัดทีมด่วน ๓. ประชุมทีมด่วน ๒. วางแผนด่วน ๔. ออกคาสั่งด่วน - เรื่อง ๕. ประสานด่วน - รูปแบบพระ ๖. จัดการประชาสัมพันธ์ด่วน - จานวน - โรงหล่อและการหล่อ - พิธีมหาพุทธาภิเษก - งบประมาณ

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ผลของการด าเนิ น การจั ด สร้ า งพระพุ ท ธรู ป ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ซึ่ ง ได้ รั บ ประทานนามจากสมเด็ จ พระสังฆราชว่า พระพุทธศาสดาประชานาถ มีความหมายว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระศาสดาผู้เป็นที่พึ่ง ของประชาชน สร้างจากมวลสาร ๑๐ ชนิด เรียกว่า “ทศโลหะ” ประกอบด้วย ๑. ทองคา ๖. พลวง ๒. เงิน ๗. ดีบกุ ๓. ทองแดง ๘. ซิลิคอน ๔. สังกะสี ๙. จ้าวน้าเงิน ๕. ตะกั่ว ๑๐. ไทเทเนียม พระพุทธรู ป ทศโลหะจั ดสร้ างเพีย ง ๒ องค์ มีห น้าตัก ๒๐.๒๐ นิ้ว นาไปประดิษฐานที่ดอย อินทนนท์ และหน้าตัก ๑๐ นิ้ว จัดสร้างเพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวัน เฉลิมพระชนมพรรษา จะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๓ ส่วนพระพุทธรูปบูชาหน้าตัก ๑๐ นิ้ว จานวน ๒,๐๒๐ องค์ ให้นามวลสารทศโลหะไปผสม รวมถึงจั ดทาเหรีย ญที่ระลึ กครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่ งการทิว งคตของพระบิดากองทัพอากาศ จานวน ๔๐,๐๐๐ เหรียญ เพื่อให้ประชาชนและข้าราชการกองทัพอากาศได้บูชาไว้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

พระพุทธศาสดาประชานาถ


วัตถุประสงค์ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งต่อกองทัพอากาศ พระองค์มีพระดาริ ให้ จั ด ตั้ ง แผนกการบิ น ซึ่ ง ได้ รั บ การพั ฒ นาอย่ า งเป็ น ล าดั บ จนกระทั่ ง เป็ น กองทั พ อากาศที่ มี ขี ด ความสามารถดั ง เช่ น ปั จ จุ บั น นั บ เป็ น พระมหากรุณาธิคุณแก่กองทัพ อากาศเป็นล้นพ้น ทั้งนี้ ได้เทิดพระเกียรติ พระองค์เป็น “พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ” ในวาระครบ ๑๐๐ ปี วันคล้ายวันทิวงคต ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๓ พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมด้วยข้าราชการ ลูกจ้างประจา พนักงานราชการ นักเรียนทหาร และทหารกองประจาการ ได้จัด กิจกรรมหลากหลายเพื่อน้อมราลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ โครงการจั ดสร้ างพระพุทธศาสดาประชานาถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ทศโลหะปางสมาธิ เพชร ผสมผสานศิ ล ปะ ๔ ยุ ค ๔ อาณาจั ก ร นั บ เป็ น กิ จ กรรมส าคั ญ กิ จ กรรมหนึ่ ง ของกองทั พ อากาศ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑. เพื่อจัดสร้างรูปเหมือนแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีความงดงาม ศักดิ์สิทธิ์ และ ทรงพุทธานุภาพ ถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาเอกของโลก ผู้ทรง มีพระคุณสูงสุดอันประเสริฐ ประกอบด้วยพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ๒. เพื่อน้อมราลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ “พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ” ผู้เปี่ยมด้วย พระปรีชาสามารถ เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ๓. เพื่ อ ถวายเป็ น พระราชกุ ศ ล เนื่ อ งในโอกาสมหามงคลวั น เฉลิ ม พระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ทั้ ง นี้ ก าหนดจั ด พิ ธี ม หาพุ ท ธาภิ เ ษกในวั น ที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ เนื่องจากตามหลักสากลจะ เขียนว่า ๐๒๐๒/๒๐๒๐ ถือเป็นตัวเลขสะท้อนกลับ ระหว่าง ๐๒๐๒ และ ๒๐๒๐ ซึ่งเกิดเพียงแค่ ๑ ครั้ง ในรอบ ๑,๐๐๐ ปี กองทัพอากาศหวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าพระพุทธศาสดาประชานาถ รูปเคารพที่สถิต ณ ดินแดนสูงสุดแห่งสยาม จะเป็นศูนย์รวมแห่งความ ศรัทธา นาพาศาสนิกชนก้าวข้ามสะพานสู่ ค วาม ศักดิ์สิทธิ์นิรันดร์

พระพุทธศาสดาประชานาถ


พระพุทธศาสดาประชานาถ


โดย พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ /ประธานกรรมการอานวยการจัดสร้างพระพุทธศาสดา ประชานาถ วันจันทร์ที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ ณ ห้องรับรองกองทัพอากาศ ---------------------------กราบเรียน ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ, หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ และท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ ผู้บัญชาการทหารอากาศได้ปรารภว่า จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ พระบิดากองทัพอากาศ มิได้ทรงมีคุณูปการใหญ่หลวงต่อประเทศชาติ และกองทัพอากาศแต่เพียงเท่านั้น พระองค์ทรงมีพระคุณยิ่งใหญ่ต่อพวกเราทหารอากาศทุกคนและ ครอบครั ว อีกด้ว ย เพราะการที่พวกเรามีงานทา มีเกียรติ มีความสุ ขสบายในชีวิต ล้ ว นมาจากพระ วิสัยทัศน์อันกว้างไกลของพระองค์ทั้งสิ้น ถือเป็นบุญคุณอันใหญ่หลวงที่ชาวกองทัพอากาศพึง ระลึ ก ถึงอยู่เสมอ ในวาระครบ ๑๐๐ ปี แห่งการทิวงคตของพระองค์ในปีนี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศจึงมีดาริให้ สร้างพระพุทธรูป เป็นเสมือนเครื่องบูชาแห่งความกตัญญูของทหารอากาศที่มีต่อพระองค์ ทั้งนี้ สมเด็จ พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร) ได้ประทานชื่อว่า “พระพุทธศาสดาประชานาถ” ซึ่งมีความหมายว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระศาสดาผู้เป็นที่พึ่งของ ประชาชน พระพุทธศาสดาประชานาถเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะและพุทธศิลป์ของ ๔ ยุคสมัย ได้แก่ ล้านนา สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ สื่อถึงประวัติศาสตร์แห่งความเป็นชาติ พระพักตร์อิ่มเอิบ เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา ตามแบบศิลปะเชียงแสน พระวรกายสมบูรณ์สะท้อนถึงความอยู่ดีมีสุ ข ในน้ามีปลา ในนามีข้าว ทรงขัดสมาธิเพชร อันหมายถึงปัญญา ตามแบบศิลปะสมัยสุโขทัย และจิตใจ มั่นคงอยู่บนฐานรูปดอกพิกุล ซึ่งเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นรากฐานแข็งแกร่งสืบทอดความเป็น ชาติไทย เปรียบเสมือนชีวิตและจิตใจของพวกเราทหารอากาศ พร้อมปกป้องประเทศชาติและราช บัลลังก์ให้คงอยู่ตลอดไป อีกทั้งพระพุทธรูปทรงเครื่องจักรพรรดิตามแบบอยุธยา สื่อแทนความจงรักภักดี ที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

พระพุทธศาสดาประชานาถ


พระพุทธศาสดาประชานาถ มีขนาดหน้าตัก ๒๐.๒๐ นิ้ว สร้ า งขึ้ น จากโลหะที่ มี คุ ณ ค่ า ๑๐ ชนิ ด จึ ง เรี ย กว่ า “ทศโลหะ” ตามดาริของผู้บัญชาการทหารอากาศ โดยนาไทเทเนียมซึ่งเป็นโลหะ ที่เป็นโครงสร้างหลักของเครื่องบิน เข้าไปหลอมรวมกับนวโลหะหรือ โลหะ ๙ ชนิด ทองเหลืองนั้นนามาจากปลอกกระสุนปืนกลอากาศของ เครื่องบินขับไล่ ซึ่งเคยบินผ่านความเร็วเสียง และแผ่นทอง เงิน นาก จารโดยพระเถระและพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศกว่า ๔๐๐ รูป ทั้งนี้ ข้าราชการทหารอากาศ จานวนกว่า ๔๐,๐๐๐ คน ได้ตั้งจิตอธิษฐาน เขียนชื่อบนแผ่นทองในการหล่อพระพุทธรูปอีกด้วย เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ ที่ผ่านมา กองทัพอากาศได้จัดพิธีเททองหล่อพระพุ ทธ ศาสดาประชานาถ ที่โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ถือเป็นพิธีที่จัดยิ่งใหญ่ครบถ้วนทั้งพิธี ทางพราหมณ์และพิธีทางพุทธต่อหน้ารูปปั้นหล่อของพระบิดากองทัพอากาศและอนุสาวรีย์บุพการีทหารอากาศ โดยมี พ ระเถระชั้ น ผู้ ใ หญ่ แ ละพระเกจิ อ าจารย์ ม าเจริ ญ พระพุ ท ธมนต์ เจริ ญ ชั ย มงคลคาถา และ นั่งปรกอธิษฐานจิต รวมเป็นพลังศักดิ์สิทธิ์ สถิตอยู่ในองค์พระตลอดชั่วกาลนาน นอกจากนี้ กองทัพอากาศได้สร้างพระบูชาขนาดหน้าตัก ๑๐ นิ้ว จานวน ๒,๐๒๐ องค์ เพื่อให้ ข้าราชการได้เช่าบู ชา และจัดสร้างเหรียญที่ระลึก จานวน ๔๐,๐๐๐ เหรียญ เป็นเหรียญ ๒ ด้าน ที่มี ความสาคัญเสมอกัน ด้านหนึ่งเป็นพระพุทธศาสดาประชานาถ และอีกด้านหนึ่งเป็นพระฉายาลักษณ์ของ พระบิดากองทัพอากาศ ผลิตโดยสานักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ จึงมีความคมชัดและสวยงามมาก ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ กองทัพอากาศอัญเชิญพระพุทธศาสดาประชานาถ ขึ้นไป ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้รับการประทานจากสมเด็จพระสังฆราช บนยอดดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของประเทศ สาเหตุสาคัญที่เลือกประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ เนื่องจาก เป็นวันที่พระบิดากองทัพอากาศ ขณะดารงตาแหน่งเสนาธิการทหารบก ได้ทรงขับเครื่องบินในโอกาส จัดแสดงการบินครั้งแรกในประเทศไทยที่สนามม้าสระปทุม อีกทั้งวันดังกล่าวเขียนตามหลักปฏิทินสากล ว่า “๐๒๐๒ ๒๐๒๐” ซึ่งถือเป็นกลุ่มเลขมงคลที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก หลั งจากนั้ น กองทัพอากาศจะจั ดหาสถานที่เหมาะสมบนยอดดอยอินทนนท์เพื่อสร้างแท่ น ประดิษฐานพระพุทธศาสดาประชานาถ ข้าราชการทหารอากาศ และประชาชนทั่วไปจะได้สักการบู ชา ตั้งจิตอธิษฐาน และยึดมั่นในการประกอบคุณงามความดีแก่ประเทศชาติและส่วนรวม ดังเช่นที่พระบิดา กองทัพอากาศได้ปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่าง ขอบพระคุณครับ

พระพุทธศาสดาประชานาถ


สารบัญ หน้า  บทนำ ผู้บัญชาการทหารอากาศ  บทนำ  วัตถุประสงค์  ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ แถลงข่าวฯ  ประวัติพระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย

 ประวัติความเป็นมาของดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่

๑๓

 ประวัติการสร้างพระพุทธรูปของกองทัพอากาศ

๒๓

 ประวัติพระพุทธศาสดาประชานาถ

๓๖

 มวลสารศักดิ์สิทธิ์ทศโลหะพระพุทธศาสดาประชานาถ

๔๘

 มวลสารทวีความศักดิ์สิทธิ์แด่พระพุทธศาสดาประชานาถ

๕๓

 การทดสอบทศโลหะก่อนพิธีเททอง

๕๙

 รูปแบบและจำนวนสร้าง

๖๔

 รายพระนามและรายนามพระเถระทั่วประเทศลงอักขระแผ่นทอง เงิน นาก

๗๐

 รายพระนามและรายนามพระเกจิอาจารย์นั่งอธิษฐานจิตแผ่เมตตาจารแผ่นทอง เงิน นาก ๙๒  พระเกจิอาจารย์ที่ได้เมตตาลงอักขระแผ่นจารทอง เงิน นาก แก่กองทัพอากาศ ในหน่วยขึ้นตรง ๑๑ กองบิน และโรงเรียนการบิน  พิธีเททองนำฤกษ์หล่อพระพุทธศาสดาประชานาถ

๑๐๖

 พิธีรับพระบรมสารีริกธาตุ

๑๓๘

 พิธีเททองหล่อพระพุทธศาสดาประชานาถ

๑๔๒

 การประกอบพิธีนั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว บน บ.ล.๘ (C-130 H-30)

๑๕๒

 พิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธศาสดาประชานาถ

๑๕๖

 เรื่องเล่าอันน่าอัศจรรย์

๑๖๘

 ความในใจประติมากร ผู้สร้างพระพุทธศาสดาประชานาถ

๑๗๓

 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดสร้างพระพุทธรูป

๑๗๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ

๑๒๕


พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ

สมเด็จเจ้าฟ้าชายจักรพงษภูวนารถ นริศตราชมหามกุฎวงศ์จุฬาลงกรณนรินทร์ สยามพิชิตินวรางกูร สมบูรณพิสุทธิชาติ วิมโลภาสอุภัยปักษ์อรรควรรัตน์ ขัตติยราชกุมาร๒ ประสูติเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๒๕๓ เมื่อเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ คานาพระนามของเจ้านายรัชกาลที่แล้วกับรัชกาลก่อน ๆ มาก็เปลี่ยนไป เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ได้มีพระบรมราชโองการให้เปลี่ ยนคานาพระนามพระราชโอรสพระราชธิดาในรัชกาลก่อน ๆ มาเป็น “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ” “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ” ตามพระเกียรติยศ โดยประกาศ ณ วันเสาร์ที่ ๑๕ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๓๐ (พุทธศักราช ๒๔๕๔) ๒ พระนามปรากฏตามพระสุพรรณบัฏเมื่อครั้งประสูติ ๓ นับตามปฏิทินไทย (เดือนแรกของปีคือเดือนเมษายน เดือนสุดท้ายของปีคือเดือนมีนาคม) ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ให้เปลี่ยนมาใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามหลักสากล ดังนั้นหากนับตามปฏิทินสากลจะตรงกับปี พ.ศ.๒๔๒๖ ๑

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑


เป็ น พระราชโอรสองค์ ที่ ๔๓ ในพระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว และองค์ ที่ ๔ ในสมเด็ จ พระศรี พัช ริ น ทราบรมราชินี น าถ พระพัน ปี ห ลวง มีพระนามล าลองว่า “ทูล กระหม่อมเล็ ก ” หรือ “เล็ ก” ทรงเป็นต้นราชสกุล "จักรพงษ์" ทูลกระหม่อมมีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระราชมารดา ๘ พระองค์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๓๙๖ – ๒๔๕๓)

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง (พ.ศ.๒๔๐๗ – ๒๔๖๒)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ ัว เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ (พ.ศ.๒๔๒๓ – ๒๔๖๘) เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ (พ.ศ.๒๔๓๖ – ๒๔๘๔) กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ.๒๔๒๖ – ๒๔๖๓) (พ.ศ.๒๔๓๒ – ๒๔๖๗)

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า พาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ.๒๔๒๑ - ๒๔๓๐)

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธารง (พ.ศ.๒๔๒๔ – ๒๔๓๐)

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ.๒๔๒๘ – ๒๔๓๐)

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ.๒๔๓๕ – ๒๔๖๖)

(ภาพ) ลาดับพระเชษฐภคินีและพระอนุชา ใน จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ

หน้า ๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมขุนพิศณุโลกประชานารถ

(ภาพ) สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงฉายร่วมกับพระโอรสและ พระราชนัดดา ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ แถวยืนจากซ้าย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา, พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ แถวนั่งจากซ้าย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า จุลจักรพงษ์, พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๓


เมื่ อ มี พ ระชนมายุ ๙ พรรษา ทรงรั บ สถาปนาพระอิ ส ริย ยศเป็ น สมเด็ จ พระเจ้ าลู ก ยาเธอ เจ้ า ฟ้ า จักรพงษ์ภูวนารถ กรมขุนพิศณุโลกประชานารถ๔ พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนราชกุมาร ในพระบรมมหาราชวัง ท่ามกลางกระแสการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกซึ่งแผ่อิทธิพลในภูมิภาคเอเชีย หลายประเทศต่างตกเป็นเมืองขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสาคัญของ การพัฒ นาบ้ า นเมื อ งให้ ทั ดเที ย มอารยประเทศ ทรงส่ งพระราชโอรสผู้ ทรงมี ความสามารถเสด็จ ไปศึ ก ษ า วิทยาการสมัยใหม่จากประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เพื่อนาความรู้มาบริหารบ้านเมือง อีกทั้งยังเป็นการเจริญ สัมพันธไมตรีกับชนชั้นเจ้านายระดับสูงของประเทศมหาอานาจอีกด้วย

(ภาพ) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายร่วมกับ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ (Nicholas II) ในโอกาส เสด็จประพาสยุโรป

ขณะสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมขุนพิศณุโลกประชานารถ มีพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ จากนั้นทรงเข้ารับการศึกษาต่อ ณ โรงเรียนนายร้อย มหาดเล็ ก Corps de Pages ประเทศรั ส เซี ย เนื่ อ งจากพระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงมี สายสัมพันธ์อันดีกับพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ (Nicholas II) แห่งประเทศรัสเซียในฐานะมหามิตรแห่งสยาม ทั้งนี้ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ ทรงอุปถัมภ์ดูแลพระองค์เสมือนพระญาติวงศ์ใกล้ชิด สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะในการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ทรงสอบไล่ได้เป็นที่ ๑ คานาพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์เป็นคาที่มีความหมายให้ทราบถึงความสัมพันธ์กับองค์พระมหากษัตริย์หรือเป็นพระประยูรญาติ ชั้นใดในพระมหากษัตริย์ ดังนั้น คานาพระนามจึงมีการเปลี่ยนแปลงตามรัชกาล ๔

หน้า ๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ทาคะแนนได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กจึงจารึกพระนามไว้บนแผ่นศิลาอ่อนของ โรงเรียน จากนั้นทรงเข้ารับการศึกษาต่อในโรงเรียนนายทหารฝ่ายเสนาธิการ และทรงสอบไล่ ไ ด้เป็นที่ ๑ อีกครั้ง พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ ทรงพอพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง จึงโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งยศทูลกระหม่อมเป็น นายพันเอกพิเศษในกองทัพบกรัสเซีย และเป็นนายทหารพิเศษในกรมทหารม้าฮุสซาร์ (Hussars) ของสมเด็จ พระเจ้ า ซาร์ นิ โ คลั ส ที่ ๒ นอกจากนี้ พ ระองค์ ไ ด้ รั บ พระราชทานเครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ เ ซนต์ อั น เดรย์ ชั้น สายสะพาย (Decoration of Saint Andre of Russia) ซึ่งเป็นตราสู งสุ ดของประเทศรัส เซียในสมั ย นั้ น อีกด้วย

(ภาพ) สมเด็ จ พระเจ้า บรมวงศ์ เธอ เจ้ า ฟ้ า จั ก รพงษ์ ภูว นารถ กรมหลวงพิ ศณุโ ลกประชานารถ ทรงชุ ด เต็มยศ นายทหารพิเศษ กรมทหารม้าฮุสซาร์แห่งรัสเซียในพระจักรพรรดิซาร์นิโคลัส ที่ ๒ แห่งรัสเซีย

ชีวิตครอบครัว ขณะศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมขุนพิศณุโลกประชานารถ ทรงพบรักกับเอกาเทรินา (คัทริน) อิวานอฟนา เดนิตสกายา (Catherine Desnitski) ซึ่งเป็นธิดาของประธาน ผู้ พิ พากษาสู งสุ ดของแคว้ นลุ ตซ์ ก ในเขตยู เครน เธอท างานเป็ นพยาบาลประจ าโรงพยาบาลสนาม แต่ ด้ วย ความที่พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์หนึ่งที่เป็นความหวังของพระบรมราชชนกชนนี เพราะเป็นพระราช โอรสที่มีพระสติปัญญาฉลาดเฉลียว พระจริยวัตรงดงาม และยังทรงอยู่ในฐานะรัชทายาทพระองค์ที่ ๒ ต่อจาก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๕


สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระเชษฐา ทาให้ต้องทรงประพฤติปฏิบัติพระองค์ตามกรอบขนบประเพณีอย่าง เคร่งครัด ทั้งนี้ พระองค์ทรงเกรงว่าจะไม่ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต จึงตัดสินพระทัยอภิเษกสมรสกับ นางสาวคัทริน โดยมิได้กราบทูลให้พระราชบิดาและจักรพรรดิซาร์ทรงทราบ หลั ง ส าเร็ จ การศึ ก ษาเมื่ อ พ.ศ.๒๔๔๙ เสด็ จ กลั บ เมื อ งไทยพร้ อ มหม่ อ มคั ท ริ น พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ าเจ้าอยู่ หัวและสมเด็จพระศรีพัช รินทราบรมราชินีนาถ ทรงกริ้ว เป็นที่สุด และไม่โ ปรดรับ หม่อมคัทรินเป็นสะใภ้หลวง แต่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระองค์และพระชายาประทับร่วมกัน ที่ วังปารุสกวัน ในปลายปี พ.ศ.๒๔๕๐ หม่อมคัทรินได้ประสูติพระโอรสเป็นชายพระองค์แรกและพระองค์เดียวคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์๕ ด้วยความแตกต่างด้านวัฒนธรรมและความคิดถึงครอบครัวเดิม จึง ท าให้ สุ ข ภาพทางกายและทางใจของหม่ อ มคั ท ริ น ทรุ ด โทรมลง จนต้ อ งเดิ น ทางเข้ า รั บ การรั ก ษา ในต่างประเทศ และได้หย่าขาดจากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมขุนพิศณุโลกประชานารถ ในปี พ.ศ.๒๔๖๒

(ภาพ) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ หม่อมคัทริน พิศณุโลก หรือ หม่อมคัทริน จักรพงษ์ ณ อยุธยา และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระโอรส

ขณะประสูติพระองค์ดารงพระอิสริยยศเป็นหม่อมเจ้า ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า สถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ๕

หน้า ๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ต่อมาพระองค์ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตเพื่ออภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาศ รพีพัฒน์ พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ได้ พระราชทานพระบรมราชานุญาต จึงทรงร่วมชีวิตกันเองโดยมิได้มีพิธีอภิเษกสมรส

เอกาเทรินา (คัทริน) อิวานอฟนา เดนิตสกายา (Catherine Desnitski)

หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาศ รพีพฒ ั น์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์

เอลิสะเบธ ฮันเตอร์ (Elisabeth Hunter)

ม.ร.ว.นริศรา๖ จักรพงษ์

ลาดับราชสกุลจักรพงษ์

อ่านว่า นะ-ริด-สา

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๗


ชีวิตการทางาน หลังสาเร็จการศึกษาจากประเทศรัสเซีย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ พระองค์รั้งตาแหน่งเสนาธิการทหารบก ยศนายพลตรี ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งแก่ กองทัพไทยจวบจนปัจจุบัน ทรงริเริ่มจัดการงานของกองทัพให้เป็นระเบียบแบบแผนเรียบร้อยอย่างนานา อารยประเทศ ทรงเข้ารับตาแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ทรงช่วย จอมพล พระเจ้า พี่ยาเธอฯ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการในเวลานั้น วางรากฐานการทางานด้านการทหาร อย่างเป็นระบบ เมื่อครั้งดารงตาแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนทหารบกและเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ทรงวาง และขยายระบบการศึกษาให้กว้างขวางทันสมัย ขณะเป็นเสนาธิการทหารบก ทรงปรับปรุงงานเสนาธิการและ จัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการ ทรงวางแนวทางหลักสูตร และคัดเลือกนายทหารที่มีคุณสมบัติอันเหมาะสมเข้ารับ การศึกษา เพื่อให้การศึกษาแก่นายทหารที่จะทาหน้าที่ฝ่ายเสนาธิการ นอกจากนี้ยังทรงเรียบเรียงตารา เรื่อง “พงษาวดารยุทธศิลปะ” และเอกสารอื่น ๆ จานวนมากเพื่อใช้ศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการ ทั้งนี้ โรงเรียน เสนาธิการยังคงใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาสืบจนถึงปัจจุบัน ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังจากคงท่าทีเป็นกลางอย่างเคร่งครัดมาเกือบ ๓ ปี สมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ซึ่งดารงตาแหน่งเสนาธิการทหารบกและ เป็นนายทหารกิตติมศักดิ์ของกองทหารม้าฮุสซาร์ของรัสเซีย และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร อัครราชทูตสยามประจากรุงปารีส ทูลเสนอแนะว่าควรเข้าร่วมสงคราม สยามจะได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก ถ้าส่งกองทหารไปยังทวีปยุโรป เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความจริงใจและความตั้งใจที่จะเป็นพันธมิตร ที่แข็งขัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการปรับแก้สนธิสัญญาต่าง ๆ ที่ ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนธิสัญญา เบาว์ ริ ง (Bowring Treaty) พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว จึ ง ทรงประกาศสงครามกั บ ฝ่ า ย มหาอานาจกลาง ซึ่งนาโดยเยอรมนีและออสเตรีย – ฮังการี และทรงนาสยามเข้าร่วมกับกลุ่มพันธมิตร ทั้งนี้ มี พ ระบรมราชโองการโปรดเกล้ า ฯ ให้ เ ลื่ อ นพระยศสมเด็ จ พระเจ้ า น้ อ งยาเธอ เจ้ า ฟ้ า จั ก รพงษ์ ภู ว นารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ จากนายพลเอกเป็นจอมพล ทาหน้าทีจ่ ัดส่งทหารอาสาประมาณ ๑,๒๕๐ คน ประกอบด้วย หน่วยขนส่งยานยนต์ บุคลากรทางการแพทย์ และนักบิน ไปร่วมรบที่ แนวรบด้านตะวัน ตก (Western Front) หลังสงครามสิ้นสุด สยามสามารถล้มเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับประเทศต่าง ๆ ได้เป็น ผลสาเร็จ อีกทั้งได้ก้าวสู่การเป็นส่วนหนึ่งประชาคมโลก เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ ประวัติศาสตร์การบินของไทยเริ่มต้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้น ประเทศฝรั่ งเศสกาลั ง พัฒ นาด้านการบิ น สมเด็จพระเจ้า น้ องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูว นารถ กรมหลวง พิศณุโลกประชานารถ เสด็จทอดพระเนตรกิจการทหารของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าด้านการบิน ในประเทศฝรั่ ง เศส พระองค์ ตระหนั ก ถึ ง ความจ าเป็น ที่ ประเทศสยามต้ อ งมี เครื่ อ งบิ น ไว้ป้ อ งกั นประเทศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ ชาวเบลเยียมนาเครื่องบิน มาแสดงการบินให้ชาวสยามได้ชม ณ สนามม้าสระปทุม ครั้งนั้น สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวง

หน้า ๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ


พิศณุโลกประชานารถ และกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงผลัดกันประทับบนเครื่องบินที่ทำการแสดง พระองค์ทรงมีพระวิสัยทัศน์เล็งเห็นถึงประโยชน์ด้านการบินในอนาคต ดังพระดำรัสของพระองค์ตอนหนึ่งว่า “...กำลังในอากาศ เป็นโล่อันแท้จริงอย่างเดียว ที่จะกันมิให้การสงครามมาถึงท่ามกลางประเทศของเราได้ ทั้งยังเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งในการคมนาคมเวลาปกติ...”

(ภาพ) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ประทับหลังนายแวน เดอ บอร์น นักบินชาวเบลเยี่ยมบนเครื่องบินแบบอังรีฟาร์มัง ของฝรั่งเศส ในการแสดงการบินให้ประชาชนได้ชมที่สนามม้า สระปทุมเป็นครั้งแรกของประเทศไทย

ขณะดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบกและรั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม พระองค์มีพระดำริ ให้เริ่มกิจการบินขึ้นในกองทัพบก และคัดเลือกนายทหาร ๓ นาย ได้แก่ นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุ ว รรณประที ป ) ผู ้ บ ั ง คั บ การกองพั น พิ เ ศษ กองพลที ่ ๕ นายร้ อ ยเอก หลวงอาวุ ธ สิ ข ิ ก ร (หลง สิ น ศุ ข ) ผู้บังคับการกองพันพิเศษ กองพลที่ ๙ นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ผู้บังคับกองร้อยที่ ๓ โรงเรียนนายร้อย ชั้น มัธ ยม ไปศึกษาวิช าการบิน ณ ประเทศฝรั ่ง เศส และกลับมาเป็ นนั กบิ น ของกองทั พรุ่ นแรกและเริ่ ม วางรากฐานกิจการบิน ณ สนามม้าสระปทุม ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหมได้สั่งซื้อเครื่องบินจากประเทศฝรั่งเศสไว้ใช้ ในราชการ จำนวน ๘ เครื่อง หลังจากนั้น จอมพล สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภ ูว นารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ มีพระดำริให้ย้ายมาตั้งอยู่ที่ เขตดอนเมือง ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมกิจการบิน

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๙


ทั้งในกิจการทหารและกิจการพลเรื อน ในปี พ.ศ.๒๔๖๒ โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองใช้เครื่องบินนาถุงไปรษณีย์ จากดอนเมืองไปจังหวัดจันทบุรี และในเวลาต่อมาได้ใช้กิจการบินทาการส่งเวชภัณฑ์และลาเลียงผู้เจ็บป่วย ทางอากาศ ทรงวางรากฐานแนวทางเสริมสร้างกาลังทางอากาศของประเทศไทยอย่างจริงจัง กิจการบิน ได้รับ การเลื่อนฐานะขึ้นเป็นกองบินทหารบก ในวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๗ นับตั้งแต่นั้นกาลังทางอากาศได้พัฒนา ก้าวหน้ามาเป็นลาดับ และยกฐานะขึ้นเป็น “กองทัพอากาศ” เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๐ กองทัพอากาศน้อมราลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติด้วยการทูลเกล้าทูลกระหม่ อม ถวาย พระสมัญญานามว่า “พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย”

(ภาพ) จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ในฉลองพระองค์ เต็มยศของกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์

พระกรณียกิจอื่น ๆ ในด้านส่วนราชการอื่น ๆ พระองค์ทรงทาหน้าที่กากับการก่อสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้ง สภากาชาดไทย ทรงมีส่วนริเริ่มในการก่อตั้งสภากาชาดไทย โดยทรงดารงตาแหน่งอุปนายกผู้อานวยการ สภากาชาดไทยเป็นพระองค์แรก นอกจากนี้ทรงดาริให้ร่างระเบียบการและสร้างความเจริญให้แก่สภากาชาดไทย อย่างรอบด้าน อันเป็นประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

หน้า ๑๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ


การเสด็จทิวงคต

(ภาพ) หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาศ รพีพัฒน์ ทรงเป็นพระชายาองค์ที่ ๒ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ หลังทรงหย่าร้างกับ หม่อมคัทริน

จอมพล สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ เสด็จ ประพาสทะเลทางฝั่งแหลมมลายู โดยมีหม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาศ พระชายา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า จุลจักรพงษ์ พระโอรส และพันเอกพระยาสุรเสนา ปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ตามเสด็จ ทรงประชวรด้วย พระอาการไข้ตลอดทาง และกาเริบหนักจนลุกลามเป็นพระปับผาสะเป็นพิษ (โรคปอดบวม) เรือ ต้องเทียบท่า ที่เมืองสิงคโปร์เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๓ ครั้นความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พันโทสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา และพันเอก พระศักดาพลรักษ์ รีบเดินทางโดยรถไฟพิเศษไปสมทบกับนายแพทย์ที่ประเทศสิงคโปร์เพื่อรักษาพระอาการ คณะแพทย์ ได้ถวายการรั กษาจนสุ ด ความสามารถ แต่ทว่าไม่เป็นผล พระองค์ เสด็จทิว งคตเมื่อวันที่ ๑๓ มิ ถุ น ายน พ.ศ.๒๔๖๓ เวลา ๑๓ นาฬิ ก า ๕๐ นาที สิ ริ พ ระชนมายุ ไ ด้ ๓๗ พรรษา ๓ เดื อ น ๑๐ วั น พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้า เจ้ าอยู่ หัว และข้าราชการฝ่ายทหารต่างโศกเศร้าอาลัย ดังความตอนหนึ่ง ในคานาหนังสือที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์แจกในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพว่า ....นอกจากเธอเป็นน้องที่ข้ าพเจ้ารักมากที่สุด เธอยังได้เป็นที่ปรึกษาและผู้ช่วยราชการอย่างดีที่สุ ด หาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ โดยเหตุที่ข้าพเจ้าเป็นผู้มีอายุมากกว่าเธอ ข้าพเจ้าจึงได้เคยหวังอยู่ว่าจะได้อาศัยกาลัง

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๑


ของเธอต่อไปจนตลอดชีวิตของข้าพเจ้า ฉะนั้นเมื่อเธอได้มาสิ้นชีวิตลงโดยด่วนในเมื่อมีอายุยังน้อย ข้าพเจ้าจะมี ความเศร้าโศกอาลัยปานใด ขอท่านผู้ที่ได้เคยเสียพี่น้องและศุภมิตรผู้สนิทชิดใจจงตรองเองเถิด ข้าพเจ้ากล่าว โดยย่อ ๆ แต่เพียงว่า ข้าพเจ้ารู้สึกตรงกับความที่สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงไว้ใน เตลงพ่ายว่า “ถนัดดั่งพาหาเหี้ยน หั่นให้ไกลองค์” หลังจาก จอมพล สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ เสด็จทิวงคต พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช พระราชทานเศวตฉัตร ๕ ชั้น ประดับเหนือพระโกศ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชทานเพลิงพระศพ พระอนุชา ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๓ พระอัฐิของพระองค์ได้บรรจุไว้ ที่อนุสรณ์สถาน เสาวภาประดิษฐาน ณ สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ตราบเท่าทุกวันนี้

หน้า ๑๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) ดอยอินทนนท์ตั้งอยู่ในอาเภอจอมทอง อาเภอแม่แจ่ม อาเภอแม่วาง และกิ่งอาเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่

ตามคติความเชื่อในสมัยโบราณ เชื่อกันว่าพื้นโลกแบน มี เขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางจักรวาลที่ลอย อยู่เหนือพื้นน้​้าและมี “ปลาอานนท์” หนุนอยู่ข้างใต้ บนยอดเขาพระสุเมรุจะเป็น “สวรรค์ชั้นดาวดึงส์” ซึ่งเป็น ที่ตั้งของนครไตรตรึงษ์ หรือ“นครแห่งเทพ” และภายในมีไพชยนต์มหาปราสาท ซึ่งเป็นที่ประทับของพระอินทร์ ผู้อภิบาลโลกและพิทักษ์คุณธรรมให้แก่มนุษย์ ภูเขาจึงเป็นสถานที่ซึ่งท้าให้มนุษย์อยู่ใกล้สรวงสวรรค์ได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งสรรพสิ่งทีก่ ่อก้าเนิดการผลิดอกออกผลและความเจริญงอกงามแก่มวลมนุษยชาติอีกด้วย ดอยอินทนนท์ตั้งอยู่ ในอ้าเภอจอมทอง อ้าเภอแม่แจ่ม อ้าเภอแม่วาง และกิ่งอ้าเภอดอยหล่อ จังหวัด เชียงใหม่ เป็นดินแดนสูงสุดแห่งสยาม เหนือจากระดับน้​้าทะเล ๒,๕๖๕ เมตร เป็นผืนป่าดงดิบขนาดใหญ่ที่อุดม ด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาพรรณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กวางผา ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้​้านมที่อาศัยอยู่บน แนวผาสู งชัน เกินกว่าที่จ ะปี นป่ าย เคลื่ อนตัว ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว เชื่อกันว่าเป็น พาหนะของเทวดา เมื่อหยาดฝนและน้​้าค้างจากเมฆหมอกทีละหยดลงยอดเขาบนดอย ท้าให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นป่าเมฆสวยงาม ตามต้านานเล่าขาน คนกลุ่มแรกที่ค้นพบป่าเมฆแห่งนี้คือ บรรพบุรุษของชาวปกาเกอะญอ ที่ แสวงหาถิ่นที่อยู่ อาศัยแห่งใหม่ พวกเขาท้าพิธีปักไม้เท้าลงดิน ๗ ครั้ง พบว่าดินสามารถท่วมไม้เท้าที่ปักจนเต็มทั้ง ๗ ครั้ง เป็น สัญญาณบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนดิน จากนั้นจึงอพยพญาติพี่น้องมาตั้งถิ่นฐานบนดอยนับแต่นั้นมา และเรียกขานสถานที่แห่งนี้ตามภาษาปกาเกอะญอว่า “เกอะเจ่อโดะ” มีความหมายว่า ภูเขาใหญ่ ส่วนคนพื้น ราบเรียกว่า “ดอยหลวง” เพราะค้าว่า “หลวง” ในภาษาเหนือมีความหมายว่า “ใหญ่” แต่มีบางกระแสเล่าต่อ

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๓


กันมาว่า ห่างจากยอดดอยไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๓๐๐ เมตร มีหนองน้ำแห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่าง ฝูงกาจำนวนมากมักพากันไปเล่นน้ำที่หนองน้ำแห่งนี้ จึงพากันเรียกว่า “อ่างกา” และภูเขาขนาดใหญ่แห่งนั้น จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “ดอยอ่างกา”

(ภาพ) ป่าเมฆแห่งดอยอินทนนท์

แต่เดิม ป่าไม้ท างภาคเหนื ออยู่ ในความดู แลของเจ้ าผู้ ครอบครองนคร พระเจ้าอินทวิช ยานนท์ เจ้าครองนครเชียงใหม่ องค์สุดท้ายทรงเห็นความสำคัญของป่าไม้เป็นอันมาก ทรงผูกพันกับ“ดอยหลวง” เป็นพิเศษ รับสั่งว่าหากพระองค์ถึงแก่พิราลัย ขอให้นำพระอัฐิส่วนหนึ่งไปบรรจุไว้บนยอดดอยหลวง นับแต่นั้นมา ดอยหลวงได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น “ดอยอินทนนท์” ตามพระนามของเจ้าผู้ครองนคร

หน้า ๑๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) สถูปบรรจุพระอัฐิของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ประดิษฐานอยู่ในป่าดอยอินทนนท์

(ภาพ) หมุดฝังระบุความสูงที่กรมแผนที่ทหารดำเนินการตามพระราชกระแสรับสัง่ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ให้สำรวจพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๕


ป่าดอยอินทนนท์ นับเป็นป่า ๑ ใน ๑๔ แห่ง ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๒ ให้ จั ดตั้งเป็ น อุทยานแห่ งชาติ ต่อมากฎกระทรวงฉบับที่ ๑๐๓ (พ.ศ.๒๕๐๒) ออกตามความ ในพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พ.ศ.๒๔๘๑ ก้าหนดให้ป่าดอยอินทนนท์ในท้องที่ ต้าบลบ้านหลวง อ้าเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็ นป่าสงวนแห่งชาติ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๘ กองบ้ารุง กรมป่าไม้ (ขณะนั้น เป็นหมวดอุทยานแห่งชาติ สังกัดกองบ้ารุง) ได้มีค้าสั่งที่ ๑๑๙/๒๕๐๘ ลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๘ ให้นายนิพนธ์ บุญทารมณ์ นักวิชาการป่าไม้ตรี ส้ารวจหาข้อมูลเบื้องต้น และเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๕ นายปรี ดา กรรณสู ต ปลั ดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่ งการให้ นายอุดม ธนัญชยานนท์ นักวิช าการ ป่าไม้โท ส้ารวจทางเฮลิคอปเตอร์ พบว่าป่าดอยอินทนนท์มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้​้าล้าธาร มีสภาพ ทิวทัศน์และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม ตลอดจนเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด การประชุม คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๑๕ จึงมีมติให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ต่อมาศูนย์ อ้านวยการร่ ว ม ฝ่ ายรั กษาความมั่น คงแห่ งชาติ ได้มีห นังสื อที่ กห ๐๓๑๒/๔๗๕๗ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๕ เสนอต่อ จอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ ก้าหนดให้ป่าดอยอินทนนท์เป็นเขตอุทยาน แห่งชาติ ทั้งนี้ สภาบริหารคณะปฏิวัติ ได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๕ อนุมัติหลักการให้ด้าเนินการได้ กรมป่าไม้ก้าหนดให้ที่ดินป่าดอยอินทนนท์ในท้องที่ต้าบลบ้านหลวง ต้าบลสบเตี้ย ต้าบลสองแคว ต้าบลยางคราม อ้ า เภอจอมทอง ต้ า บลแม่ วิ น อ้ า เภอสั น ป่ า ตอง จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ครอบคลุ ม เนื้ อ ที่ ๑๖๘,๗๕๐ ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๒๓ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๑๕ ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๔๘ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๑๕ เป็นอุทยานแห่งชาติล้าดับที่ ๖ ของประเทศ

(ภาพ) จุดชมวิวบนยอดดอยอินทนนท์

หน้า ๑๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๗ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุล ยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จ พระราชดำเนินไปยังบริเวณดอยขุนกลาง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพระราชกระแสรับสั่งให้ขยายอาณาเขต ของอุทยานแห่งชาติครอบคลุมพื้นที่บริเวณแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร กรมป่าไม้ได้ตรวจสอบและสำรวจเพิ่มเติม พบว่ า พื ้ น ที ่ ต ำบลแม่ ศ ึ ก ตำบลช้ า งเคิ ่ ง และตำบลท่ า ผา ไม่ ไ ด้ อ ยู ่ ใ นแนวเขตอุ ท ยานดั ง กล่ า ว อี ก ทั้ ง กองทัพอากาศ ประสงค์ที่จะใช้พื้นที่ ๓๓ ไร่ ๒ งาน ๓๗ ตารางวา เพื่อก่อสร้างสถานี รายงานใช้ในราชการ กองทั พ อากาศ คณะรั ฐ มนตรี ไ ด้ ม ี ม ติ เ ห็ น ชอบและอนุ ม ั ต ิ ใ ห้ ด ำเนิ น การได้ เมื ่ อ วั น ที ่ ๒๖ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.๒๕๑๗ ต่อมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสงค์ที่จะปรับปรุงขยายแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ได้กำหนด ป่าสงวนแห่งชาติอินทนนท์ ป่าสงวนแห่งชาติป่าจอมทอง และป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติ ที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๑๘ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๘ มีมติ เห็นชอบ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงดำเนินการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติทั้ง ๓ แห่ง แล้วจัดตั้งเป็น อุทยานแห่งชาติ โดยออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้บริเวณป่าดอยอินทนนท์ ในท้องที่ตำบลแม่นาจร ตำบล ช้างเคิ่ง ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม ตำบลแม่วิน ตำบลทุ่งปี้ อำเภอสันป่าตอง ตำบลสองแคว ตำบลยางคราม ตำบลบ้านหลวง ตำบลสบเตี้ย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ รวมเนื้อที่ ๓๐๑,๕๐๐ ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ.๒๕๒๑ ทั้งนี้ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๖๒ ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๑ โดยให้ยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๒๓ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๕ ดอยอินทนนท์ถือว่าเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และงดงาม เป็นป่าพรุแห่งเดียว ในประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่บนที่สูงบริเวณยอดดอย และมีน้ำตกน้อยใหญ่ไหลไม่ขาดสายตลอดปี เช่น น้ำตกแม่ยะ น้ำตกวชิรธาร น้ำตกแม่กลาง และน้ำตกสิริภูมิ อย่างไรก็ตาม ดอยอินทนนท์ได้ รับการพัฒนาเพื่อส่งเสริม คุณภาพชีวิตของคนในท้องที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถ บพิตร ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่แหล่งทำกินของพสกนิกร ในปี พ.ศ.๒๕๒๖ มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนา โครงการหลวงขุนแปะ ให้ความรู้แก่เกษตรกรในการปลูกผลไม้และพืชผักฤดูหนาว อันเป็นการช่วยพัฒนาอาชีพ และรายได้ให้แก่ชาวเขาในพื้นที่ นอกจากนี้สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ซึง่ เป็นสถานีวิจัยพืชเขตหนาว ๑ ใน ๔ แห่ง ของโครงการหลวง ได้รับการก่อตั้งขึ้น มีหน้าที่หลักในการพัฒนาและวิจัยพืชผักและไม้ดอกไม้ใบเมืองหนาว หลากหลายชนิด เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชนกลุ่มน้อยซึ่งอาศัยบนพื้นที่สูงบริเวณยอดเขา ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กองทัพอากาศได้จัดสร้างพระมหาธาตุนภเมทนีดล เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ ๕ รอบ และกองทัพอากาศมีอายุครบ ๗๐ ปี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๗


พระมหาธาตุน ภเมทนีดลเป็น เจดีย์ ๘ เหลี่ ยม ตั้งอยู่บนฐานทักษิณ ๒ ชั้น แต่ล ะชั้นมีก้าแพงแก้ว ล้อมรอบ เหนือก้าแพงแก้วทั้งสองชั้นท้าเป็นซุ้มประดับด้วยภาพปั้นดินเผาจากด่านเกวียนทั้ง ๒ ด้าน รวมทั้ง ผนั งของเรื อนธาตุด้วย เล่ าเรื่ องทศชาติ ธรรมชาติจากป่าหิมพานต์ และประดับด้ว ยรูปปีกสั ญลักษณของ กองทัพอากาศ ฐานทักษิณมีบันไดทางขึ้นไปยังเรือนธาตุ ที่มีประตูทางเข้า ๔ ประตู เหนือกรอบทุกประตู ประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ถัดจากเรือนธาตุขึ้นไปเป็นองค์ ระฆังที่มีมาลัยเถา ๓ ชั้น เหนือขึ้นไป เป็นบัลลังก์ท้าเป็นกลีบบัว ๘ กลีบ ส่วนปลียอดสีทองทรงดอกบัวตูม ๘ เหลี่ยม ยอดสุดเป็นฉัตรโลหะสีเงิน ๙ ชั้น ผิวนอกองค์เจดีย์ประดับด้วยโมเสคสีน้าตาล สูงจากชานพักชั้นล่างถึงยอดปลี ๖๐ เมตร ภายในเรือนธาตุ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานพร หน้าตักกว้าง ๖๐ นิ้ว แกะสลักด้วยหินแกรนิตสีเขียวจากประเทศ อิ น โดนี เ ซี ย ซึ่ ง พระบาทสมเด็ จ พระบรมชนกาธิ เ บศร มหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชมหาราช บรมนาถบพิ ต ร พระราชทานนามว่ า “พระพุ ท ธบรมศาสดานวมิ น ทรมหาจั ก รี ร าชานุ ส รณ์ สั ฐิ พ รรษาสถาพรพิ พั ฒ น์ ” มีความหมายว่า “พระพุทธเจ้าพระบรมศาสดา”

(ภาพ) พระมหาธาตุนภเมทนีดล

และในปี พ.ศ.๒๕๓๕ กองทัพอากาศได้สร้างพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ เพื่อถวายพระเกียรติแด่ สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ ๕ รอบ พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ เป็นเจดีย์ ๑๒ เหลี่ยม ตั้งอยู่บนฐานทักษิณ ๒ ชั้น แต่ละชั้นมีก้าแพงแก้ว ล้อมรอบ เหนือก้าแพงแก้วทั้งสองชั้น มีซุ้มที่ประดับด้วยภาพปั้นดินเผาเคลือบสีน้าตาลทั้ง ๒ ด้าน เล่าเรื่องราว

หน้า ๑๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ของเหล่าอุบาสิกาที่พระพุทธเจ้าประกาศให้เป็นเลิศกว่าเหล่าอุบ าสิกาทั้งหลาย รวมทั้งภาพสวรรค์ประเภท กามาวจรภูมิ ๖ ชั้น ที่มนุษย์พึงบ้าเพ็ญทาน ศีล ภาวนา ตามหลักพระพุทธศาสนา ฐานทักษินมีบันไดทางขึ้นไป ยังเรือนธาตุ ที่มีประตูทางเข้า ๓ ประตู เหนือกรอบทุกประตูประดิษฐานพระนามาภิไธยย่อ “สก” ผนังเรือนธาตุ ประดับด้วยภาพปั้นดินเผาระบายสีส่วนรวมเป็นสีม่วง เรื่องเหล่าภิกษุณีที่พระพุทธเจ้าประกาศให้เป็นเลิศกว่า ภิกษุณีทั้งหลายในด้านต่าง ๆ ถัดจากเรือนธาตุขึ้นไปเป็นองค์ระฆังที่มีมาลัยเถา ๔ ชั้น เหนือขึ้นไปเป็นบัลลังก์ ๑๒ เหลี่ยม ส่วนปลียอดท้าเป็นกลีบบัว ๑๒ กลีบ สีทองทรงดอกบัวตูม ๑๒ เหลี่ยม ยอดสุดเป็นฉัตรโลหะสีเงิน ๙ ชั้น ผิวนอกองค์พระเจดีย์ประดับด้วยโมเสคแก้วสีม่วง สูงจากชานพักชั้นล่างถึงยอดปลี ๕๕ เมตร ภายใน เรือนธาตุประดิษฐานพระพุทธรูปปางร้าพึง พระประจ้าวันศุกร์ อันเป็นวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ สูง ๓.๒๐ เมตร แกะสลักด้วยหินหยกสีขาว จากประเทศจีน ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระราชทาน นามว่ า “พระพุ ท ธสิ ริ กิ ติ ที ฆ ายุ ม งคล” มี ค วามหมายว่ า “พระพุ ท ธเจ้ า ทรงเป็ น สิ ริ ม งคล และทรงเจริ ญ พระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ”

(ภาพ) พระมหาธาตุนภพลภูมสิ ิริ

หอพระพุทธศาสดาประชานาถ ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ กองทัพอากาศได้จัด สร้า งพระพุ ทธศาสดาประชานาถ ในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี แห่งการทิวงคตของ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ ผู้ทรงวางรากฐานด้านการบินจนกระทั่งกลายเป็นกองทัพอากาศที่มีบทบาทส้าคัญ ในการป้องกันประเทศมาจนถึงปัจจุบันนี้

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๙


พระพุทธศาสดาประชานาถจะประดิษฐานอยู่ในหอพระพุทธศาสดาประชานาถ ตั้งอยู่บริเวณสถานี รายงานดอยอินทนนท์ กองทัพอากาศ จัดสร้างโดยกองอาคาร กรมช่างโยธาทหารอากาศ บริหารงานออกแบบ และจั ดสร้ างโดย พลอากาศตรี เรื องวิทย์ ศรี นวลนัด ออกแบบโดย นาวาอากาศเอก จักรพงษ์ สุ จริตธรรม และนาวาอากาศโท สายัณห์ แต้มคุณ หอพระมีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสู ง ๒ ชั้น รูปทรง ตราปีกกองทัพอากาศ ตัวแท่นมีความสูงจากระดับน้​้าทะเล ๒,๕๖๗ เมตร ณ จุดที่สูงที่สุดแดนสยาม พระพุทธ ศาสดาประชานาถประดิษฐานบนฐานบุษบก ท้าจากวัสดุสแตนเลส โดยหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ทั้งนี้ เปิดให้ข้าราชการทหารอากาศและบุคคลทั่วไปได้มาสักการบูชา น้าพาผู้มีจิตศรัทธาก้าวข้ามสะพานบุญ ไปสู่ สรวงสวรรค์ ดินแดนแห่งความศักดิ์สิทธิ์นิรันดร์

(ภาพ) ภาพจาลอง หอพระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๒๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) ภาพจาลอง หอพระพุทธศาสดาประชานาถ

(ภาพ) การก่อสร้าง หอพระพุทธศาสดาประชานาถ

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๒๑


(ภาพ) การก่อสร้าง หอพระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๒๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


พระพุทธรูปเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สาคัญของโลก โดยเฉพาะประเทศที่เป็นพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เป็นการแสดงออกซึ่งความสูงส่งทางด้านสุนทรียศิลป์ ภูมิปัญญาในเชิงประติมากรรม อีกทั้งแสดงถึงพลังศรัทธา บารมีของผู้อุปถัมภ์ในการสร้างอีกด้วย และที่สาคัญพระพุทธรูปเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนให้มี ความเป็นเอกภาพ มีความเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน ประกอบด้วยแรงศรัทธาอันสูงส่งของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อ พระพุทธรูป ฉะนั้น การได้ทราบถึงประวัติความเป็น มาของพระพุทธรูปและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการสร้าง พระพุทธรูปนั้นจึงเป็นสิ่งสาคัญอย่างยิ่งต่อพุทธศาสนิกชน๑ ความหมายของคาว่า “พระพุทธรูป” พระพุทธรู ป หรื อ “พระพุทธปฏิมา” ตามภาษาบาลี หมายถึง พระรูปที่ใช้แทนองค์พระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระศาสดาในพระพุทธศาสนา๒ รูปพระพุทธเจ้าเป็นสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นเป็นตัวแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระศาสดา แห่ งพระพุทธศาสนา เป็ น ผู้ ที่ก่อตั้งพระพุทธศาสนา เพื่อให้ ผู้ นับถือพระพุทธศาสนาได้ระลึ กถึงและแสดง ความเคารพกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้า๓ ความเป็นมาของการสร้างพระพุทธรูป สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ๔ ประทานความเห็นว่า การสร้างพระพุทธรูป ปรากฏอยู่ในตานานพระแก่นจันทน์ ซึ่งได้กล่าวถึงพุทธประวัติ ตอนที่พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปเทศนา โปรด พระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และทรงค้างอยู่ที่ดาวดึงส์สวรรค์นั้น ๑ พรรษา ทาให้พระเจ้าปเสนทิ แห่งกรุงโกศลที่มิได้เห็นพระพุทธองค์มาช้านาน ก็มีความราลึกถึง จึงทรงรับสั่งให้ช่างทาพระพุทธรูปด้วยไม้แก่น จันทน์แดงขึ้น ประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่พระพุทธองค์เคยประทับ ครั้นเมื่อพระพุทธองค์เสด็จกลั บจาก ดาวดึงส์มาถึงที่ประทับ พระแก่นจันทน์ลุกขึ้นปฏิสันถารกับพระพุทธองค์ด้วยปาฏิหาริย์ แต่พระพุทธองค์ตรัส สั่งให้พระแก่นจันทน์กลับไปยังที่ประทับ เพื่อรักษาไว้เป็นตัวอย่างพระพุทธรูป ซึ่งสาธุชนจะได้ใช้เป็นแบบอย่าง สร้ า งพระพุ ท ธรู ป เมื่ อ พระพุ ท ธองค์ ท รงล่ ว งลั บ ไปแล้ ว ความที่ ก ล่ า วไว้ ใ นต านานประสงค์ ที่ จ ะอ้ า งว่ า “พระพุทธรูปแก่นจันทน์องค์นั้นเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูป ” ซึ่งสร้างกันต่อมาภายหลัง หรืออีกนัยหนึ่ง คือ อ้างว่า “พระพุทธรูปมีขึ้น โดยพระบรมพุทธานุญาต และเหมือนพระพุทธองค์ ” เพราะตัวอย่างสร้างขึ้น ๑ พระมหาสมเจต

สมจารี (หลวงกัน). พระพุทธรูป: สัญลักษณ์แห่งศรัทธาที่มีต่อพระพุทธเจ้า. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มิถุนายน ๒๕๕๙, หน้า ๙๗. ๒ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๒๙ เรื่องที่ ๒ พระพุทธรูป ๓ Van Hien, 2003, p. 97. อ้างถึงใน พระธรรมปิฎก (ป.อาเภอ ปยุตฺโต) , ๒๕๔๖, หน้า ๑๖๔. ๔ ทรงนิพนธ์หนังสือเรื่อง “ตานาน พระพุทธเจดีย์”

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๒๓


ตั้งแต่ในครั้ งพุ ทธกาล อย่ างไรก็ตาม ที่กล่ าวนี้เป็นเพียงต านานที่ น่าจะเขีย นขึ้นภายหลั ง เมื่อมีการสร้ า ง พระพุทธรูปกันแพร่หลายแล้ว แต่เดิมไม่เคยปรากฏว่ามีรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และพุทธศาสนาแต่อย่างใด หลังจาก พระพุ ท ธเจ้ า ปริ นิ พ พาน ผู้ ที่ เ ลื่ อ มใสในพุ ท ธศาสนาจึ ง สร้ า งสิ่ ง ที่ ท าให้ ร าลึ ก ถึ ง หรื อ เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข อง องค์พระศาสดา เพื่อบอกกล่าวเล่าขานเรื่องราวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงศึกษาหาทางดับทุกข์ และ ทรงชี้แนะสอนสั่งผู้คนเกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความเป็นอยู่ ที่ก่อให้เกิดความผาสุกในหมู่มวลมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตในโลก ทั้งนี้ ในระยะแรก พุทธศาสนิกชนนาสิ่งของ ได้แก่ ดิน น้า และกิ่ง ก้าน ใบโพธิ์ จากบริเวณ สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ประกอบด้วย สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน) ตรัสรู้ (พุทธคยา) ปฐมเทศนา (สารนาถ) และ ปรินิพพาน (กุสินารา) มาไว้เป็นที่ระลึกบูชาคุณพระพุทธเจ้า จนกระทั่งเมื่อ ๒,๒๐๐ ปีก่อน หรือหลังจาก การดับขันธ์ของพระพุทธเจ้า ๓๐๐ ปี พระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ ทรงส่งสมณทูต จานวน ๓๐ รู ป ไปเผยแผ่ พระพุ ทธศาสนาที่เ มื องตั กศิล า แคว้นคันธารราฐ ทาให้ มี ชื่อเสี ยงในฐานะเป็ น ”มหาวิทยาลัยแห่งแรกทางพระพุทธศาสนา” ที่ประสิทธิประสาทวิทยาการต่ าง ๆ แต่ยังไม่มีรูปเคารพแทน พระพุทธเจ้าที่เป็นรูปคน พระพุ ท ธรู ป ที่ แ ท้ จ ริ ง นั้ น เริ่ ม สร้ า งขึ้ น ในระหว่ า ง พ.ศ.๕๐๐ ถึ ง ๕๕๐ พระเจ้ า เมนั น เดอร์ ที่ ๑ (Menander I) หรือพระยามิลินท์ (Milinda) กษัตริย์เชื้อสายกรีก ทรงยกทัพ “โยนา” หรือ “โยนก”๕ เข้า ครอบครองแคว้ น คั น ธาราฐ (Gandhara) ๖ จากนั้ น พระองค์ ท รงแผ่ อ าณาเขตไปทั่ ว บริ เ วณด้ า นตะวั น ตก เฉียงเหนือของชมพูทวีป และสร้างเมืองหลวงเป็นที่ประทับ ณ เมืองสากล (Sakala) หลังจากพบพระสงฆ์ ท่านหนึ่งนามว่า นาคเสน และมีการสนทนาธรรมระหว่างกัน เรียกว่า ปุจฉาวิสัชนามิลินทปัญหา (The Milinda Panha or The Debate of King Minlinda) พระเจ้ า มิ ลิ น ท์ ทรงเกิ ด ความเลื่ อ มใสในพระพุ ท ธศาสนา มีการสร้างสถาปัตยกรรมและประติมากรรมทางพุทธศาสนาจานวนมากในแคว้นคันธาราฐ ทั้งนี้ พระพุทธรูป มีใบหน้าเหมือนชาวกรีก จีวรเป็นริ้วเหมือนเครื่องนุ่งห่มของเทวรูปกรีก ราวพุทธศตวรรษ ที่ ๔ - ๑๒ มีคตินิยมสร้างพระพุทธรูปเป็นขนาดเล็ก (พระเครื่อง) บรรจุไว้ในพุทธเจดีย์ พระพุทธรูปจึงมีความสาคัญ เป็นเสมือนตัวแทนแห่งองค์สมเด็จพระสั มมาสั มพุทธเจ้า เพื่อ ให้พุทธศาสนิกชน ได้ กราบไหว้ บู ชาและระลึ กถึ งพระธรรมค าสอนของพระพุ ทธองค์ อี กทั้ งประพฤติ ปฏิ บั ติ ต นอยู่ ในศี ล ธรรม อันก่อให้เกิดมรรคผลและนิพพานในอนาคต

๕ คาที่ชาวชมพูทวีป

(อินเดียโบราณ) ใช้เรียกชาวกรีก ๖ ปัจจุบันเป็นดินแดนของอัประเทศฟกานิสถาน

หน้า ๒๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) หนังสือมิลินทปัญหา - The Debate of King Minlinda)

การสร้างพระพุทธรูปในประเทศไทย พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตทุกพระองศ์ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในทุกด้านเป็นอย่างดียิ่งตลอดมา นั บ ตั้ ง แต่ ด้ า นศาสนธรรม พระมหากษั ต ริ ย์ ท รงอุ ป ถั ม ภ์ ก ารช าระและจารึ ก พระไตรปิ ฎ ก การศึ ก ษา พระปริ ยั ติธ รรม ตลอดจนการปฏิบั ติธ รรม ด้านศาสนบุค คล พระมหากษั ตริ ย์ท รงอุ ป ถัม ภ์ค ณะสงฆ์ แ ละ การสถาปนาพระราชาคณะ ด้านศาสนวัตถุ พระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์การสร้างและการทะนุบารุงถาวรวัตถุ ทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธรูป อีกทั้งพระราชทานวิสุงคามสีมาให้ แก่วัดในพระพุทธศาสนา พระราชกรณียกิจที่พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงบาเพ็ญ ไม่ว่าจะเป็น งานพระราชพิธี งานพระราชกุศล และรัฐพิธี แม้จะมีพิธีพราหมณ์ปนอยู่บางส่วน แต่ทว่ามีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักทั้งสิ้น เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๘ อาณาจักรทวารวดีถือกาเนิดเป็นอาณาจักรใหญ่ พระพุทธศาสนา ในแถบนี้ส่วนมากเป็นเถรวาท ซึ่งมีความสัมพันธ์กับทางอินเดียทางฝ่ายใต้ พุทธศิลป์ในยุคนี้มจี านวนมาก ตั้งแต่ วัตถุชิ้น ใหญ่ล งมาถึ งวัต ถุชิ้น เล็ ก เช่น พระพิมพ์บริเวณเมื องอู่ ท องเก่ า นครปฐม นครชัยศรี ราชบุรี เป็น ศูนย์กลางแห่งจักรวรรดิได้ค้นพบพระพุทธรูปและเสมาธรรมจักรจานวนหนึ่ง พระพุทธรูปในยุคนี้โดยมากสร้างด้วย ศิลา ดินเผา และโลหะ ส่วนมากสร้างตามแบบอย่างพระพุทธรูปอินเดีย สมัยราชวงศ์คุปตะ แต่พุทธศิลป์ที่พบ ที่จังหวัดนครปฐมและจังหวัดอื่น ๆ อันเป็นอาณาเขตของอาณาจักรทวารวดีเดิมนั้นไม่มีแต่เฉพาะพระพุทธรูป ที่ทาตามแบบอย่างฝีมือช่างอินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะเท่านั้น ยังมีพุทธศิลป์อื่น ๆ เช่น สิ่งของที่ทาเป็นอุทเทสิก เจดีย์ตามคติสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชก่อนมีพระพุทธรูป ได้แก่ เสมาธรรมจักรกับกวางหมอบ แท่นหินอันเป็น อาสนบูชา รอยพระพุทธบาท และสถูป เป็นต้น

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๒๕


ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๘ อาณาจักรศรีวิชัยมีอานาจรุ่งเรืองทางใต้ ปกครองเกาะสุมาตรา แหลมมลายู และดินแดนบางส่วนทางภาคใต้ของประเทศไทย ศิลปะศรีวิชัยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดีย แบบคุปตะ หลังคุปตะ และ ปาละ - เสนะ ตามลาดับ ส่วนมากสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายานทั้ งสิ้ น พระพุทธรูปสมัยนี้มีจานวนน้อย แต่มีพระโพธิสัตว์เป็นจานวนมาก เพราะคติมหายานนับถือพระโพธิสัตว์เป็น สาคัญ มักพบได้ทางภาคใต้ในจังหวัดสุราษฏร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา เป็นต้น ทาง เหนือพบบางส่วนในจังหวัดมหาสารคาม ต่ อ มาในราวพุ ท ธศตวรรษที่ ๑๓ เป็ น ต้ น มา อาณาจั ก รขอมซึ่ ง เรื อ งอ านาจปกครองอยู่ ใ นแคว้ น สุวรรณภูมิ ตั้งราชธานีอยู่ที่ “ลพบุรี” ในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๙ ได้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ลัทธินิกายมหายาน และหินยาน ศิลปะของขอมในภายหลังมีทั้งศิลปะในศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนานิกาย มหายาน ในสมัยที่กษัตริย์ขอมนับถือศาสนาพราหมณ์มีการสร้างศิลปกรรมในศาสนาพราหมณ์ สมัยที่กษัตริย์ขอม นับถือพุทธศาสนานิกายมหายานมักสร้างศิลปกรรมทางพุทธศาสน์ พระพุทธรูปที่สร้างในสมัยลพบุรีนี้มีทั้ง พระศิลา พระหล่อ และพระพิมพ์ นอกจากนี้พระทรงราชาภรณ์ หรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่า “พระทรงเครื่อง” เกิดขึ้นในสมัยนี้ด้วย เพราะส่วนใหญ่นับถือลัทธิมหายาน ซึ่งมีคติความเชื่อว่า มีพระอาทิพุทธเจ้าประจาโลก พระองค์หนึ่งต่างหาก จึงทารูปพระอาทิพุทธเจ้าเป็นพระทรงเครื่องให้ แตกต่างจากพระพุทธเจ้าองค์ อื่น ๆ พุทธลักษณะของพระพุทธรู ปสมัย ลพบุรีน าแบบทวารวดีกับขอมมาผสมผสานกัน เกิดเป็น ศิลปะแบบใหม่ พระพุทธรูปซึ่งสร้างในสมัยลพบุรีสร้างเป็นพระนั่งสมาธิ มีนาคปรกหรือที่เรียกว่า “พระนาคปรก” พระพุทธรูป ในสมัย นี้ มี จ านวนน้ อย แสดงให้ เห็ น ถึงอิทธิพลของศิล ปะทวารวดี อย่า งชัดเจน กล่ าวคือ มักห่ มคลุ ม และ แสดงปาง ทรงสั่งสอน หรือประทานอภัย ยกทั้งสองพระหัตถ์ ในสมัยเชียงแสนซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๒๑ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนนี้ถือว่าเป็นฝีมือ ของช่างไทย ซึ่งได้เข้ามาตั้งภูมิลาเนาตั้งแต่โบราณ มีพบทั่วไปในมณฑลพายัพ แต่ที่พบในเมืองเชียงแสนเก่า เป็นชนิดฝีมือช่างดีงามกว่าที่พบในจังหวัดอื่น ๆ ทางโบราณคดีจึง ใช้คานี้เป็นชื่อของพระพุทธรูป แบ่งออก เป็น ๒ รุ่น คือ รุ่นแรกทาตามแบบอย่างพระพุทธรูปอินเดียครั้งราชวงศ์ปาละ ซึ่ง รุ่งเรืองในอินเดียระหว่าง พ.ศ.๑๒๗๓ - ๑๗๔๐ ส่วนรุ่นหลังเป็นของไทยชาวล้านนาและล้านช้าง สร้างตามแบบอย่างพระพุทธรูปสมัย สุโขทัย มีลักษณะต่างจากเชีย งแสนรุ่นแรกเป็นอย่างมาก พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนนี้มีพระนั่งเป็นส่วนมาก พระยืนมีจานวนน้อย และสร้างด้วยโลหะเป็นพื้น ส่วนมากนิยมหล่อด้วยสาริด เป็นโลหะผสม สัดส่วนหลัก ที่ผสม ได้แก่ ทองคา ทองแดง และทองเหลือง ต่อมาในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีหรือสมัยราชวงศ์พระร่ วงครองสุโขทัย ได้รับลัทธิพระพุทธศาสนา แบบลังกาวงศ์เข้ามาประพฤติปฏิบัติ เพราะในขณะนั้นพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก พระสงฆ์ลังกาในสมัยนั้นทรงพระธรรมวินัย รอบรู้พุทธวจนวิเศษกว่าพระสงฆ์ประเทศอื่น ๆ ส่งผลให้พระสงฆ์ ไทย มอญ พม่า เขมร จานวนมากไปศึกษาในลังกาทวีป เมื่อกลับมาได้ชักชวนพระสงฆ์ลังกามาอยู่ในประเทศด้วย ในระยะแรกพานักที่เมืองนครศรีธรรมราช ภายหลังย้ายไปตั้งสานักอยู่ทกี่ รุงสุโขทัยและเชียงใหม่ตามลาดับ

หน้า ๒๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ขณะพระมหาธรรมราชาลิไทดารงตาแหน่ง อุปราชเมืองศรีสัชนาสัย ทรงยกกาลังเข้ายึดสุโขทัย จาก พระยางั่วนาถม ที่ครองสุโขทัยต่อจากพญาเลอไทผู้ซึ่ง เป็นพระราชบิดาของพระมหาธรรมราชาลิไทได้เป็น ผลสาเร็จ ทรงปราบดาภิเษกและขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อ พ.ศ.๑๘๙๐ พระองค์ทรงปราบปรามเมืองต่าง ๆ รวมรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน อาณาจักรสุโขทัยจึงเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นอย่างมาก เมื่อครั้งยังเป็นอุปราชเมืองศรีสัชนาลัยได้ทรงพระนิพนธ์หนังสือเตภูมิถาหรือไตรภูมิพระร่วงขึ้น ในปี พ.ศ.๑๘๘๘ โดยสาระสาคัญของเรื่องอยู่ที่แนวคิดและความเชื่อถือของคนโบราณ ซึ่งได้จินตนาการ สร้างสรรค์อันเป็นเครื่องจูงใจให้คนประพฤติดี ละเว้นชั่ว พระราชนิพนธ์เล่มนี้จึงเป็นคู่มือใน การสอนศีลธรรม และสะกดกั้นความประพฤติในสังคมไทยตลอดมา พ.ศ.๑๙๒๐ ทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้บนเขาสุมนกูฎนอกเมืองสุโขทัย และทรงสร้างวัดป่าแดง ที่เมืองศรีสัชนาลัย เพื่อเป็นที่จาพรรษาของพระมหากัลยาณเถระ พระสังฆราช พ.ศ.๑๙๐๔ พระมหาธรรมราชาลิ ไท ทรงออกผนวช นับเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงด้านศาสนาของ สุโขทัยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา ในการผนวชนี้ได้มีผู้บวชตามอีกเป็นจานวน ๔๐๐ คน นอกจากนี้ พระมหา ธรรมราชาลิ ไ ท ทรงสร้ า งวั ด ขึ้ น หลายแห่ ง และทรงสร้ า งพระพุ ท ธรู ป ส าริ ด ซึ่ ง หล่ อ เท่ า กั บ พระองค์ ข อง พระพุทธเจ้า คือ พระศรีศากยมุนี ประดิษฐานที่วัดมหาธาตุ พ.ศ.๑๙๑๑ พระมหาธรรมราชาลิ ไ ท ทรงรวบรวมผู้ คนจากเมื อ งต่ าง ๆ คือ สระหลวง สองแคว ปากยม ชากั ง ราว สุ พ รรณลาว นครพระชุ ม เมื อ งน่ า น เมื อ งราด เมื อ งละค้ า เมื อ งหล่ ม บาจาย ไปไหว้ รอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฎ พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงเชี่ยวชาญทางด้านศาสนา รอบรู้พระไตรปิฎกอย่าง แตกฉาน ทั้งอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกาและปกรณ์พิเศษอื่น ๆ ทรงศึกษาจากพระสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎ ก ในขณะนั้น เช่น พระมหาเถรมุนีพงศ์ พระอโนมทัสสีเถรเจ้า เป็นต้น หรือจากราชบัณฑิตฝ่ายฆราวาส เช่น อุปเสนบัณฑิต เป็นต้น ทรงส่งเสริมอุปถัมภ์ด้านการศึกษาพระพุทธศาสนาและศิลปะศาสตร์ต่าง ๆ ทรงส่งราช บุรุษไปขอพระบรมสารีริกธาตุจากลังกาทวีป และได้ทรงนามาบรรจุไว้ในพระมหาธาตุเมืองนครชุม (เมืองโบราณ อยู่ในจังหวัดกาแพงเพชร) ทรงส่งราชทูตไปอาราธนาพระสังฆราชมาจากลังกาทวีป ไปจาพรรษาอยู่ที่วัดป่า มะม่วงนอกจากนี้ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา และทรงสร้างพระพุทธรูปไว้หลายองค์ การสร้างพระพุทธรูป ของไทยครั้งเก่าไม่เคยมีเปลวรัศมีสูง ต่อมาพ่อขุนรามคาแหงได้ รับพระพุทธสิหิงค์จากลังกา ดังนั้น แนวทาง สร้างพระพุทธรูปได้เปลี่ยนแปลงเป็นแบบลังกา พระพุทธรูปสุโขทัย ได้รับการยอมรับว่าเป็นทรงที่สวยงามที่สุด มีลักษณะอ่อนไหวมีชีวิตชีวา จนได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองแห่งศิลปะพุทธศาสนา นอกจากนี้ พระมหาธรรมราชาลิ ไ ท ทรงสร้ า งปู ช นี ย สถานและปู ช นี ย วั ต ถุ ไ ว้ จ านวนมาก เช่ น พระพุทธชิน ราช พระพุทธชิน สี ห์ พระเจดีย์ตันโพธิ์ และรอยพระพุทธบาท วัดพระศรีมหาธาตุ พิษณุโ ลก เป็ น ต้ น พุ ท ธเจดี ย์ ที่ พ บบ่ ง บอกว่ า พระพุ ท ธศาสนาได้ เ ผยแผ่ เ จริ ญ รุ่ ง เรื อ งมานานกว่ า พั น ปี โดยเฉพาะ พระพุทธรูปพระปฏิมาแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าล้วนสร้างขึ้ นด้วยฝีมือช่างอันประณีตงดงาม เพื่อน้อมนา ให้เกิดความเลื่อมใส เจริญศรัทธาเป็นประเพณีสืบเนื่องมาทั้งในส่วนที่เป็นการพระราชกุศลของพระเจ้าแผ่นดิน และอาณาประชาราษฎร์

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๒๗


หลังจากอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่อาณาจักรสุโขทัย พระพุทธรูปสมัยอยุธยา ได้รับอิทธิพลศิลปะล้านนาที่แพร่หลายมาสู่ศิลปะอยุธยาตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ พระพุทธรูปที่สร้างขึ้น ในกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาในช่ว งเวลาดัง กล่ า วจึ ง มี พุ ท ธลั ก ษณะเหมื อ นกั บ พระพุ ท ธรู ป แบบล้ า นนา ต่ อ มาในสมัย กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระเจ้าปราสาททองมีพระราชนิยมศิลปะขอม ประกอบกับพระราชกรณียกิจ เช่น พระราชพิธีลบศักราช หรือพระราชพิธีอินทราภิเษก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์แห่งเทวราช พระพุทธรูป ที่สร้างขึ้นในรัช สมัยของพระองค์จึงมักเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบจักรพรรดิราช อาจแฝงแนวคิดด้าน การสร้างพระพุทธรูปแทนองค์พระมหากษัตริย์ ที่เรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า “พระพุทธรูปฉลองพระองค์ ” ดังเช่น พระพุทธรูปปั้นทรงเครื่องที่ยังเหลือร่องรอยอยู่หลายองค์ที่วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็น วัดที่พระองค์สร้างขึ้น ส่วนพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์นั้นได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูป ทรงเครื่องสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น การสร้ างพระพุทธรู ป ฉลองพระองค์ในสมัย พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้ าเจ้าอยู่หั ว ต่อมาพระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ได้ พ ระราชทานนามว่ า “พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลก” และ “พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ” พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้เป็นพระพุทธรูปยืน พระหัตถ์ทั้งสอง แสดงปางห้ามสมุทร ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร ในสมัย พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้ าเจ้าอยู่หั ว พระองค์ทรงเป็นปราชญ์ ทรงสอบสวนลั กษณะ พระพุทธรูป และทรงคิดแบบพระพุทธรูปขึ้นใหม่ ให้มีลักษณะคล้ายมนุษย์ยิ่งขึ้น มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง พุทธลั กษณะของพระพุทธรู ป ครั้ งส าคัญ เป็ นพระพุทธรูปแบบใหม่ตามพระราชนิยม มีพุทธลั กษณะใกล้ ธรรมชาติมาก เช่น จี ว รเป็ น ริ้ ว รอยยั บ ย่ น เป็ น ธรรมชาติต่า งจากพระพุทธรูป ในอดี ต จีว รบางเรี ย บแนบ พระวรกาย แต่พระพุทธรูปลักษณะดังกล่าวไม่เป็นที่นิยม ในสมั ย พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช เมื่ อ พ.ศ.๒๔๙๗ รั ฐ บาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ประสงค์ ที่จะจัดงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษให้เป็นงานยิ่งใหญ่ คณะกรรมการจัดงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ จึงสร้างพุทธมณฑลในพื้นที่ ๒,๕๐๐ ไร่ มีพระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่เป็นพระประธาน เพื่อเป็นปูชนียสถานประกอบพิธีสาคัญทางพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุล ยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงดาเนิน รอยตามสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ในการทะนุบารุงพระพุทธศาสนาไว้โดยครบถ้วน ส่วนที่เป็น ราชประเพณีที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธรูป โปรดกล้าโปรดกระหม่อมให้บูรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปส าคัญ มีมาแต่ครั้งโบราณ รวมถึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้นใหม่ในวาระมหามงคลต่าง ๆ อันจาแนกเป็น พระพุ ท ธรู ป ทรงพระราชอุ ทิ ศ ถวายพระมหากษั ต ริ ย์ รั ช กาลก่ อ น ได้ แ ก่ พระพุ ท ธรู ป ประจ ารั ช กาลที่ ๗ พระพุทธรูปประจารัชกาลที่ ๘ และพระพุทธรูปประจาพระชนมวารรัชกาลที่ ๘ พระพุทธรูปทรงสร้างเป็น พุทธบูชาในการทรงพระผนวชตามราชประเพณี คือ พระพุทธนาราวันตบพิตร ประดิษฐาน ณ พระตาห นัก ปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร

หน้า ๒๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ


นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสร้าง พระพุ ท ธรู ป เพื่ อ ความเป็ น สิ ริ ม งคลแก่ สิ ริ ร าชสมบั ติ แ ละในมหามงคลสมั ย ที่ พ ระชนมายุ ค รบรอบส าคั ญ ตามราชประเพณี ได้แก่ ๑. พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจารัชกาล เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒. พระพุทธรูปประจาพระชนมพรรษา ๕๐ พรรษา จานวน ๔ องค์ มีความหมายเนื่องในพระองค์ที่สาคัญยิ่ง คือ พระพุทธรูปปางลีลาสูงเท่าพระองค์ พระพุทธรูปปางห้ามญาติ พระพุทธรูปประจาวันพระบรมราชสมภพ พระพุทธรูปปางนาคปรก หมายถึงพระเสาร์ องค์อภิบาลพระชนมายุ ซึ่งได้พ้นจากการอภิบาล พระพุทธรูป ปางสมาธิ หมายถึง พระพฤหัสบดี องค์อภิบาลพระชนมายุต่อจากพระเสาร์ เป็นต้น ๓. พระพุ ท ธรู ป ประจ าพระชนมพรรษา ๕ รอบ ปางสมาธิ และพระพุ ท ธรู ป ประจ าพระชนมวาร วันพระบรมราชสมภพวันจันทร์ปางห้ามญาติ พระองค์ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างเมื่อทรงเจริญ พระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐ ๔. พระราชพิธีหล่อพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ พ.ศ.๒๕๔๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระราชวินิจฉัยแบบพระพุทธรูป พร้อมพระราชทานแผ่น ทองคาที่ทรงเจิมและทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐานแล้ว เพื่อเชิญมาหล่อพระพุทธรูป และในวันเสาร์ที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๒ เวลา ๑๕.๓๐ น. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร) เสด็จออก ณ ลานพระอนุสาวรีย์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภา คุณากร วัดราชบพิธ สถิตมหาสีมาราม ทรงเททองหล่อพระพุทธรูปทองคาปางห้ามญาติ ประจาวันจันทร์อันเป็นวันพระราชสมภพ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ มีความสูงจากพระบาทจรดพระรัศมีรวม ๑๐ นิ้ว เท่าเลข รัชกาล พร้อมฉัตรทองคา ๗ ชั้นกางกั้น น้าหนักทองคารวม ๕ กิโลกรัมเศษ ถวายเป็นของเฉลิมพระขวัญในมหา มงคลสมัย พระราชพิธีบ รมราชาภิเษก ทรงบูช าพระรัตนตรัย และทรงสวมพระรัศมีทองคาลงยาราชาวดี (ฉัพพรรณรั งสี ) ถวายพระพุทธอังคีรส ประธานพระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสี มาราม ในวันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๒ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก การสร้างพระพุทธรูปของกองทัพอากาศ กองทัพอากาศเป็นหน่วยงานด้านความมั่นคงที่มีความสาคัญยิ่งต่อ เอกราชของชาติไทย ได้พัฒนา ความรู้ความสามารถของกาลังพลอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งส่งเสริมศีลธรรมของบุคลากรตลอดเวลา ผู้บัญชาการ ทหารอากาศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีนโยบายให้หัวหน้าหน่วยขึ้นตรงของกองทัพอากาศทุกหน่วยจัดทา โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกาลังพล หน่วยงานต่าง ๆ จึงได้จัดสร้างพระพุทธรูปและพุทธศาสนสถาน ประจาองค์กร เพื่อเป็นศูนย์รวมใจของข้าราชการภายในหน่วย ในที่นี้จะนาเสนอความเป็นมาและระยะเวลา ที่มีการสร้างพระพุทธรูปของกองทัพอากาศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๒๙


พระพุทธทีปังกร พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก ๒๗ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปประจากองบินที่ ๑ นครราชสีมา ประดิษฐาน ณ วิหารพระพุทธทีปังกร กองบิน ๑ อาเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นที่เคารพและศรัทธาของ ข้าราชการกองบิน ๑ เป็นอย่างมาก ดาเนินการจัดสร้างในสมัย นาวาอากาศโท วงศ์ พุ่มพูนผล (ยศในขณะนั้น) ดารงตาแหน่งเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนการบิน ท่านเป็นประธานฝ่ายฆราวาสในการเททองหล่อ พระ พุทธทีปังกร เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๐ โดยมีท่านอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาละวัน อาเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในพิธีดังกล่าวมีการนิมนต์พระเกจิอาจารย์ พระเถราจารย์ ของ จังหวัดนครราชสีมา ในขณะนั้นมาร่วมพิธีพุทธาภิเษก

(ภาพ) พระพุทธทีปังกร

หน้า ๓๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ


พระพุทธจตุรากาศยาน (หลวงพ่อเพชร) พระพุทธรูปหินปูนสมัยเชียงแสน ปางขัดสมาธิเพชร อายุราว ๓๐๐ - ๔๐๐ ปี ขนาดหน้าตัก กว้าง ๒ ฟุต ๓ นิ้ว สูง ๓ ฟุต เป็นพระพุทธรูปประจากองบิน ๔ ประดิษฐาน ณ วิหารพระพุทธจตุรากาศยาน กองบิน ๔ อาเภอตาคลี จั งหวัด นครสวรรค์ นาวาอากาศเอก บัญชา สุ ขานุศาสน์ ผู้ บังคับการกองบิน ๔ เข้ากราบ นมัส การพระชัย นาทมุ นี เจ้ าอาวาสวัดพระบรมธาตุว รวิห าร อาเภอเมือง จั งหวัด ชัยนาท ซึ่งเมตตามอบ พระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานที่กองบิน ๔ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๖ ขนานนามว่า "หลวงพ่อเพชร กองบิน ๔" ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนามว่า "พระพุทธจตุรากาศยานประธาน" อันมีความหมายเป็นมงคลว่า "พระพุทธรูปที่เป็นประธานในหน่วยทหาร กองบิน ๔"

(ภาพ) พระพุทธจตุรากาศยาน (หลวงพ่อเพชร)

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๓๑


พระพุทธรูป “คุ้มเกล้า พระพุทธรูปขนาด ๒๙ นิ้ว ปางสมาธิ มี ๒ องค์ ประดิษฐาน ณ หอพระโรจนนิล ทางเข้ากองบัญชาการ กองทัพอากาศ และหอพระโรจนิล โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชฯ เสด็จพระราชดาเนินเททองหล่อพระพุทธรูป “คุ้มเกล้า” เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๗

(ภาพ) พระพุทธรูป “คุ้มเกล้า”

หน้า ๓๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


พระพุทธศรีนภาภิธรรม พระพุ ท ธรู ป ประจ าโรงเรี ย นการบิ น ปางสมาธิ ประกอบพิ ธี เ ททองหล่ อ เมื่ อ ปี พ.ศ.๒๕๑๐ ประดิษฐาน ณ วิหารพระพุทธศรีนภาภิธรรม โรงเรียนการบิน อาเภอกาแพงแสน จังหวัดนครปฐม

(ภาพ) พระพุทธศรีนภาภิธรรม

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๓๓


พระพุทธมหากรุณานภาพลพิทักษ์ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก ๓๙ นิ้ว ประทับนั่งบนฐานบัวคว่าบัวหงายและฐาน แข้งสิงห์ เป็นพระพุทธรูปประจาโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ประดิษฐาน ณ วิหารพระพุทธ มหากรุณานภาพลพิทักษ์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช กรุงเทพมหานคร ได้ประกอบพิธี เททอง ในวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๐ ทั้งนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) ประทานนามว่า “พระพุทธมหากรุณานภาพลพิทักษ์” เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๐

(ภาพ) พระพุทธมหากรุณานภาพลพิทักษ์

หน้า ๓๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


พระพุทธศาสดาประชานาถ พระพุทธรูปขนาดหน้าตัก ๒๐.๒๐ นิ้ว ปางสมาธิทรงเครื่องจักรพรรดิ พุทธลักษณะประกอบด้วย ศิลปะ ๔ ยุค ได้แก่ ล้านนา สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ พระพักตร์เป็นพุทธลักษณะแบบเชียงแสน ๓ พระวรกายเป็นพุทธลั กษณะแบบสุโ ขทัย ทรงเครื่องจักรพรรดิเป็น พุทธลักษณะแบบอยุธยา ฐานเป็นพุทธ ลั ก ษณะแบบรั ต นโกสิ น ทร์ เป็ น พระพุ ท ธรู ป บู ช าที่ ก องทั พ อากาศจั ด สร้ า งในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งการทิวงคต จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ “พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกล มหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร) ประทานนามว่า “พระพุทธศาสดาประชานาถ” แปลว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระศาสดาผู้เป็น ที่พึ่งของประชาชน เมื่อ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๓ ประกอบพิธีเททองเมื่ อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ และจั ด พิธีมหาพุทธาภิ เษก ณ ยอดดอยอินทนนท์ จั งหวัด เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ (๐๒๐๒๒๐๒๐) ทั้งนี้ ประดิษฐาน ณ สถานีรายงานดอยอินทนนท์ กองทัพอากาศ จังหวัดเชียงใหม่

(ภาพ) พระพุทธศาสดาประชานาถ

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๓๕


(ภาพ) พระพุทธศาสดาประชานาถ

ความเป็นมาของพระพุทธศาสดาประชานาถ เพื่อน้อมรำลึกครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งกำรทิวงคตของ จอมพล สมเด็จพระเจ้ำบรมวงศ์เธอ เจ้ำฟ้ำ จักรพงษ์ภูว นำรถ กรมหลวงพิศณุโ ลกประชำนำรถ ซึ่งกองทัพอำกำศเทิดพระเกียรติเป็น “พระบิดำแห่ ง กองทัพอำกำศ” ในวันที่ ๑๓ มิถุนำยน พ.ศ.๒๕๖๓ พลอำกำศเอก มำนัต วงษ์วำทย์ ผู้บัญชำกำรทหำรอำกำศ มีดำริที่จะจัดสร้ำงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประดิษฐำนที่บริเวณสถำนีรำยงำนดอยอินทนนท์ จังหวัดเชี ยงใหม่ เพื่อถวำยเป็นพุทธบูชำและถวำยเป็นพระรำชกุศลแด่พระบิดำแห่งกองทัพอำกำศ ทั้งนี้ นับเป็นพระกรุณำธิคุณ แก่กองทัพอำกำศที่สมเด็จพระอริยวงศำคตญำณ สมเด็จพระสังฆรำชสกลมหำสังฆปริณำยก (อัมพร อมฺพโร) ประทำนนำมแด่พระพุทธรูปที่กองทัพอำกำศได้จัดสร้ำงว่ำ “พระพุทธศำสดำประชำนำถ” แปลว่ำ พระพุทธเจ้ำ ทรงเป็นพระศำสดำผู้เป็นที่พึ่งของประชำชน

หน้า ๓๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) ใบลิขิตประทานภาพพระนามพระพุทธศาสดาประชานาถ

นอกจำกนี้ประทำนแผ่นอักขระทอง เงิน นำก เพื่อกำรจัดสร้ำงพระพุทธรูป อีกทั้งประทำนพระบรม สำรีริกธำตุเพื่อบรรจุในพระเกตุมำลำขององค์พระประธำนอีกด้วย พระพุทธศำสดำประชำนำถ เป็นพระพุทธรูปที่ประกอบด้วยศิลปะ ๕ ยุค ได้แก่ ศิลปะหริภุญชัย ศิลปะ เชียงแสน ศิลปะสุโขทัย ศิลปะอยุธยำ และศิลปะรัตนโกสินทร์

(ภาพ) แผ่นอักขระทอง เงิน นาก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๓๗


ศิลปะหริภุญชั ย กลุ่มพุทธศิลป์ในลุ่มน้าปิง เศียรพระพุทธศำสดำประชำนำถ ประดับด้วย เทริด ๑ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพำะของศิลปะหริภุญชัย

(ภาพ) เทริดศิลปะหริภุญชัย

ศิลปะเชียงแสน พระพุทธศำสดำประชำนำถ เป็นพระพุทธรูปปำงขัดสมำธิเพชร จำลองพระพักตร์ (ใบหน้ำ) และพระหนุ (คำง) จำกพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน ที่มีพระพักตร์อิ่มเอิบ พระหนุเป็นปม แสดงถึง ควำมเมตตำ อ่อนโยน และนุ่มนวล

(ภาพ) พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนปางขัดสมาธิเพชร ๑

อ่ำนว่ำ เซิด หมำยถึงเครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎทรงเตี้ย มีกรอบหน้ำ

หน้า ๓๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ศิลปะสุโขทัย ส่วนพระวรกำยของพระพุทธศำสดำประชำนำถได้รับแรงบันดำลใจจำกพระพุทธรูป สมัยพระมหำธรรมรำชำ (ลิไท) อันเป็นยุคทองของพระพุทธศำสนำในอำณำจักรสุโ ขทัย องค์พระสวยสง่ำ มีควำมอ่อนช้อยสงบนิ่ง มีเอกลักษณ์เฉพำะองค์ที่ถือว่ำงำมที่สุด

(ภาพ) พระวรกายงดงามของพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย

ศิลปะอยุธยา เครื่องทรงจักรพรรดิของพระพุทธศำสดำประชำนำถ ประกอบด้วย กรองศอ ทับทรวง พำหุ รั ด และทองกร ดูนุ่ มนวลกลมกลื น ดูส บำยตำ เป็นกำรเทิดทูนและแสดงควำมจงรักภักดีต่อสถำบั น พระมหำกษัตริย์

(ภาพ) พระพุทธรูปศิลปะอยุธยาเครื่องทรงจักรพรรดิ ประกอบด้วย กรองศอ ทับทรวง พาหุรัด

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๓๙


ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปรำกฏในกำรสร้ำงฐำนพระพุทธศำสดำประชำนำถ บริเวณทับทรวงอกด้ำนหน้ำ และชำยสังฆำฏิประดับด้วยดอกรวงผึ้ง ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำพระองค์พระบำทสมเด็จพระวชิรเกล้ำเจ้ำอยู่หัว บริเวณผ้ำทิพย์ประดับตรำกองทัพอำกำศ สื่อควำมหมำยว่ำ กองทัพอำกำศมีควำมมั่นคง มั่งคั่ง สมบูรณ์พร้อม ทุกสิ่ง เทิดทูนและรักษำไว้ซึ่งสถำบันชำติ ศำสนำ และพระมหำกษัตริย์

(ภาพ) ฐานพระพุทธรูปศิลปะอยุธยา

พระประธำนเป็นพระพุทธรูป ที่หล่ อด้วยทศโลหะ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีกำรหล่ อ พระพุทธรูปในลักษณะนี้ เป็นกำรนำโลหะ ๙ ชนิด ได้แก่ ทอง เงิน ทองแดง สังกะสี ดีบุก ตะกั่ว จ้ำวน้ำเงิน (บอร์ไนท์) พลวง และซิลิคอน ตำมหลักกำรสร้ำง “นวโลหะ” ในสูตรโบรำณ มำผสมกับไททำเนียมที่ใช้ ใน โครงสร้ำงอำกำศยำน ซึ่งมีควำมแข็งแรงทนทำนและจุดหลอมเหลวสูง แต่มีน้ำหนักเบำ เพื่อหลอมรวมเป็น “ทศโลหะ” ในปัจจุบันพบว่ำกำรหล่อพระพุทธรูปเนื้อนวโลหะด้วยโลหะครบ ๙ ชนิดตำมสูตรนวโลหะโบรำณ มีจำนวนน้อยมำก กำรหล่อพระพุทธรูปให้สมบูรณ์ทำได้ค่อนข้ำงยำก เนื่องจำกมีต้นทุนค่อนข้ำงสูง อีกทั้งต้อง ใช้ช่ำงหล่อที่มีควำมชำนำญ ทั้งนี้ กำรสร้ำงพระพุทธรูปเนื้อทศโลหะจึงมีควำมท้ำทำยกว่ำมำก เนื่องจำกยังไม่ เคยมีกำรสร้ ำงมำก่อน กำรน ำเอำโลหะที่ยั งไม่เคยนำไปใช้ในกำรหล่ อมำหลอมรวมกันมีโ อกำสเกิด ควำม ผิดพลำดได้ค่อนข้ำงสูง นำยชวลิต คล้อยตำมวงศ์ ประติมำกรผู้สร้ำงพระพุทธศำสดำประชำนำถจึงได้ปรึกษำ และขอคำแนะนำจำกอำจำรย์ สง่ำ จันทร์ตำ ครูชำนำญกำรของกองช่ำงสิบหมู่ กรมศิลปำกร เกี่ยวกับกำร คำนวณสัดส่วนของโลหะแต่ละชนิด ลำดับของโลหะแต่ละชนิดที่จะหลอมก่อนหลัง วิธีกำรที่จะหลอมรวมโลหะ แต่ ล ะประเภท กำรใช้ ค วำมร้ อ น ตลอดจนขั้ น ตอนขณะหล่ อ ทุ ก ขั้ น ตอน จนกระทั่ ง เป็ น พระพุ ท ธรู ป เนื้ อ “ทศโลหะ” ที่มีควำมงดงำมยิ่ง

หน้า ๔๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ


พระพุ ท ธศำสดำประชำนำถ ขนำดหน้ ำ ตั ก ๑๐ นิ้ ว จ ำนวน ๒,๐๒๐ องค์ มี ส่ ว นประกอบของ เนื้อทองเหลืองจำกปลอกกระสุนปืน กลอำกำศที่ติดตั้งเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงของกองทัพอำกำศ ซึ่งผ่ำน กำรปฏิบัติภำรกิจควำมเร็วเหนือเสียงมำแล้ว นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งในพุทธศตวรรษที่ ๒๖ ระยะเวลาในการจัดสร้างพระพุทธศาสดาประชานาถ วันที่ ๑๓ พฤศจิกำยน พ.ศ.๒๕๖๒ พลอำกำศเอก มำนัต วงษ์วำทย์ ผู้บัญชำกำรทหำรอำกำศ มีดำริ จัดสร้ำงพระพุทธรูปบูชำศักดิ์สิทธิ์สำหรับประดิษฐำนที่บริเวณสถำนีรำยงำนดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อน้อมรำลึกครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งกำรทิวงคตของ จอมพล สมเด็จพระเจ้ำบรมวงศ์เธอ เจ้ำฟ้ำจักรพงษ์ภูวนำรถ กรมหลวงพิศณุโลกประชำนำรถ “พระบิดำแห่งกองทัพอำกำศ” วันที่ ๒๒ พฤศจิกำยน พ.ศ.๒๕๖๒ คณะกรรมกำรจัดสร้ำงพระพุทธรูปเข้ำพบผู้บัญชำกำรทหำรอำกำศ เพื่อรับทรำบนโยบำยและรำยละเอียดเกี่ย วกับกำรดำเนินกำรสร้ำงพระพุทธรูป ขนำดหน้ำตัก ๒๐.๒๐ นิ้ว จำนวน ๑ องค์ ขนำดหน้ำตัก ๑๐ นิ้ว จำนวน ๒,๐๒๐ องค์ วันที่ ๒๒ - ๒๔ พฤศจิกำยน พ.ศ.๒๕๖๒ คณะกรรมกำรจัดสร้ำงฯ ซึ่งมีประสบกำรณ์ในกำรสร้ำง พระพุทธรูปของกองทัพอำกำศได้เร่งติดต่อหำศิลปินเพื่อวำดภำพพระพุทธรูปตำมดำริของผู้บัญชำกำรทหำรอำกำศ นำยชวลิ ต คล้ อ ยตำมวงศ์ (ช่ ำ งโป้ ง ) จำกโรงหล่ อ โป้ ง ปั้ น แต่ ง อ ำเภอพยุ ห ะคี รี จั ง หวั ด นครสวรรค์ ซึ่งเป็นศิลปินที่ตอบรับทำงำน ได้ใช้จินตนำกำร สมำธิ ตลอดจนแรงบันดำลใจในกำรร่ำงและวำดแบบเสร็จสิ้น ภำยใน ๑ วัน วันที่ ๒๖ พฤศจิกำยน พ.ศ.๒๕๖๒ กองทัพอำกำศได้รับแบบร่ำงพระพุทธรูป พลอำกำศตรี ณรงค์ อินทชำติ รองผู้บัญชำกำรโรงเรียนนำยเรืออำกำศนวมินทกษัตริยำธิรำช ซึ่งเป็น ผู้แทนผู้บัญชำกำรทหำรอำกำศ และคณะกรรมกำรจั ดสร้ำงพระพุทธรูป ได้ตรวจแบบร่ำงและปรับแก้ไข จนกระทั่งได้แบบที่วิจิตรงดงำม ตรงตำมดำริ ของผู้ บั ญชำกำรทหำรอำกำศ เพื่อนำมำสร้ำงเป็นพระพุทธรูปปำงสมำธิเพชรแห่ งปัญ ญำที่ มี พุทธศิลป์และพุทธลักษณะหลอมรวมชนชำติไทยถึง ๔ ยุคสมัย คือ ล้ำนนำ สุโขทัย อยุธยำ และรัตนโกสินทร์

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๔๑


(ภาพ) แบบร่างพระพุทธศาสดาประชานาถ

วันที่ ๒๖ ธันวำคม พ.ศ.๒๕๖๒ ช่ำงปั้นเตรียมและหมักเนื้อดิน เมื่อขุดดินมำจำกแหล่งดินแล้วนำดิน มำผสมกันในอัตรำส่วนดินเหนียวมำก ๒ ส่วน ดินเหนียวน้อย ๑ ส่วน แยกเศษไม้และเศษหินออก ผสมดินเหนียว เข้ำด้วยกัน ปรับคุณภำพของเนื้อดินให้มีคุณสมบัติดีขึ้น โดยควบคุมกำรหดตัวของดิน เพิ่มควำมเหนียวในเนื้อดิน และปรับปรุงสีของเนื้อดิน จำกนั้นรดน้ำให้ชุ่มแล้วนำไปหมักในหลุมขนำด ๑x๑ เมตร ลึก ๒๐ เซนติเมตร โดยใช้เวลำหมัก ๒๔ ชั่วโมงเป็นอย่ำงน้อย จำกนั้นนำดินเข้ำเตรียมนวด เครื่องนวดรีดดินออกมำเป็นท่อน ขนำดยำวประมำณ ๒๕ – ๓๐ เซนติเมตร กว้ำงประมำณ ๘ เซนติเมตร เรียกว่ำ “ล่อ” รดน้ำให้ชุ่ม ห่อพลำสติก เก็บไว้ ๒ วัน วันที่ ๒๘ ธันวำคม พ.ศ.๒๕๖๒ เวลำ ๑๑.๓๐ น. ช่ำงปั้นนำล่อมำขึ้นรูปบนพะมอน๒ ไล่รูปทรงขึ้นไป ตำมขนำดทีต่ ้องกำร มีกำรใช้ผ้ำชุบน้ำซับดินที่ขึ้นรูปเพื่อป้องกันดินแห้งตลอดเวลำกำรขึ้นรูป ช่ำงขึ้นรูปด้วยขี้ผึ้ง เป็นกำรนำขี้ผึ้งเหลวฉีดอัดเข้ำในแม่พิมพ์และแกะออกมำ หลังจำกนั้นจึงนำขี้ผึ้ง ที่ขึ้นรูปแล้วมำเคลือบหุ้มด้วยผงซิลิคอน มอลเล็ต แซน (Silicon mallet sand) จำนวน ๕ ชั้น

เครื่องมือที่ใช้ในกำรขึ้นรูป มีลักษณะเป็นแป้นหมุนวงกลม

หน้า ๔๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) รูปหล่อด้วยขีผ้ ึ้ง

วันที่ ๑๔ ธันวำคม พ.ศ.๒๕๖๒ พลอำกำศตรี ณรงค์ อินทชำติ รองผู้บัญชำกำรโรงเรียนนำยเรืออำกำศ นวมินทกษัตริยำธิรำช เป็นผู้แทนผู้บัญชำกำรทหำรอำกำศ ประกอบพิธีเททองนำฤกษ์พระพุทธศำสดำประชำนำถ ขนำดหน้ำตัก ๑๐ นิ้ว จำนวน ๕๐ องค์ ที่โรงหล่อโป้งปั้นแต่ง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

(ภาพ) พิธีเททองนาฤกษ์พระพุทธศาสดาประชานาถ ขนาดหน้าตัก ๑๐ นิ้ว ที่โรงหล่อโป้งปั้นแต่ง อาเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๔๓


วันที่ ๕ มกรำคม พ.ศ.๒๕๖๓ พลอำกำศตรี ณรงค์ อินทชำติ รองผู้บัญชำกำรโรงเรียนนำยเรืออำกำศ นวมินทกษัตริยำธิรำช เป็นผู้แทนผู้บัญชำกำรทหำรอำกำศ ประกอบพิธีเททองเพื่อทดสอบกำรหลอมทศโลหะ และหล่อพระพุทธรูป ขนำดหน้ำตัก ๑๐ นิ้ว

(ภาพ) พิธีเททองเพื่อทดสอบการหลอมทศโลหะและหล่อพระพุทธรูป ขนาดหน้าตัก ๑๐ นิ้ว

วันที่ ๑๒ มกรำคม พ.ศ.๒๕๖๓ พลอำกำศตรี ณรงค์ อินทชำติ รองผู้บัญชำกำรโรงเรียนนำยเรืออำกำศ นวมินทกษัตริยำธิรำช เป็น ผู้แทนผู้บัญชำกำรทหำรอำกำศ และคณะกรรมกำรจัดสร้ำงฯ ได้ร่วมกันตรวจงำน พระพุทธรูป ขนำดหน้ำตัก ๑๐ นิ้ว ที่หล่อด้วยทศโลหะ วันที่ ๑๕ มกรำคม พ.ศ.๒๕๖๓ เวลำ ๐๙.๓๙ น. กองทัพอำกำศจัดพิธีเททองหล่อพระพุทธศำสดำ ประชำนำถ ทั้ ง นี้ ได้ รั บ ควำมเมตตำจำก สมเด็ จ พระวั น รั ต (จุ น ท์ พฺ ร หฺ ม คุ ต โต) เจ้ ำ อำวำสวั ด บวรนิเวศ รำชวรวิหำร เป็นประธำนฝ่ำยสงฆ์ โดยมีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์และพระเกจิอำจำรย์ จำนวน ๔ รูป นั่งปรก อธิษฐำนจิ ต พลอำกำศเอก มำนั ต วงษ์ว ำทย์ ผู้ บัญชำกำรทหำรอำกำศ เป็นประธำนฝ่ ำยฆรำวำส โดยมี ข้ำรำชกำรและครอบครัว สมำชิกชมรมแม่บ้ำนทหำรอำกำศ และประชำชนที่มีควำมศรัทธำจำนวนมำกเข้ำร่วมพิธี ที่บริเวณลำนอเนกประสงค์ โรงเรียนนำยเรืออำกำศนวมินทกษัตริยำธิรำช วันที่ ๒๓ มกรำคม พ.ศ.๒๕๖๓ พลอำกำศเอก มำนัต วงษ์วำทย์ ผู้บัญชำกำรทหำรอำกำศ และ แพทย์หญิง วิไลภรณ์ วงษ์วำทย์ นำยกสมำคมแม่บ้ำนทหำรอำกำศ เข้ำรับประทำนพระบรมสำรีริกธำตุจำกสมเด็จพระอริยวง ศำคตญำณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆรำช สกลมหำสังฆปริณำยก ณ วัดรำชบพิธสถิตมหำสีมำรำม รำชวรวิหำร นำไปประดิษฐำนที่ศูนย์เยำวชน กองทัพอำกำศ

หน้า ๔๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) ผู้บัญชาการทหารอากาศและภริยารั บประทานพระบรมสารีริก ธาตุ และชื่ อ ของพระพุท ธรูป จากสมเด็ จ พระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

วันที่ ๒๔ มกรำคม พ.ศ.๒๕๖๓ พลอำกำศตรี ณรงค์ อินทชำติ รองผู้บัญชำกำรโรงเรียนนำยเรืออำกำศ นวมินทกษัตริยำธิรำช เป็นผู้แทนผู้บัญชำกำรทหำรอำกำศ และคณะกรรมกำรจัดสร้ำงฯ ได้ร่วมกันอัญเชิญ พระบรมสำรีริกธำตุจำกศูนย์เยำวชน กองทัพอำกำศ พระพุทธศำสดำประชำนำถและพระพุทธรูป จำนวน ๒,๐๒๐ องค์ ขึ้นเครื่องบินลำเลียง C-130 ของกองทัพอำกำศ จำกกองบิน ๖ ดอนเมือง สู่กองบิน ๔๑ เชียงใหม่ โดยนิมนต์พระเกจิอำจำรย์ จำนวน ๓ รูป ทำพิธีอธิษฐำนจิตระหว่ำงเดินทำง นับเป็นกำรปรกพระพุทธรูป จำนวนมำก เหนือน่ำนฟ้ำเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เปรียบเสมือนพระพุทธรูปเคลื่อนที่ไปในอำกำศด้วยฤทธิ์ ไปยังสถำนที่ประกอบพิธีมหำพุทธำภิเษก และร่วมอัญเชิญพระประธำนพระพุทธศำสดำประชำนำถไปถึ ง ที่ประดิษฐำน ก่อนที่จะแจกจ่ำยไปยังผู้สั่งจองด้วยพลังศรัทธำ

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๔๕


(ภาพ) พระเกจิอาจารย์ทาพิธีอธิษฐานจิตและปรกพระพุทธรูป

(ภาพ) พระเกจิอาจารย์ทาพิธีอธิษฐานจิตและปรกพระพุทธรูป

วันที่ ๓๑ มกรำคม พ.ศ.๒๕๖๓ อัญเชิญพระบรมสำรีริกธำตุ พุทธศำสดำประชำนำถ และพระพุทธรูป จำนวน ๒,๐๒๐ องค์ จำกกองบิน ๔๑ ไปประดิษฐำนทีพ่ ระมหำธำตุนภเมทนีดล วันที่ ๑ กุมภำพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ ประกอบพิธีบวงสรวงและอัญเชิญพระบรมสำรีริกธำตุ พระพุทธ ศำสดำประชำนำถ และพระพุทธรูป จำนวน ๒,๐๒๐ องค์ จำกพระมหำธำตุนภเมทนีดลไปประดิษฐำนชั่วครำว ที่พระมหำเจดีย์พระแก้วสัมฤทธิผล วัน ที่ ๒ กุมภำพัน ธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ พลอำกำศเอก มำนัต วงษ์ว ำทย์ ผู้ บัญชำกำรทหำรอำกำศ และ แพทย์หญิง วิไลวรรณ วงษ์วำทย์ นำยกสมำคมแม่บ้ำนทหำรอำกำศ เป็นประธำนในพิธีมหำพุทธำภิเษก ถึงแม้อำกำศ

หน้า ๔๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


จะหนำวเย็นท่ำมกลำงกระแสลมแรง แต่ ข้ำรำชกำรกองทัพอำกำศและประชำชนจำนวนมำกเข้ำร่วมพิธีมหำ พุทธำภิเษกพระพุทธศำสดำประชำนำถด้วยพลังแห่งศรัทธำ บนดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่

(ภาพ) พิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธศาสดาประชานาถ

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๔๗


การสร้างพระพุทธรูปมีวิวัฒนาการมาเป็นลาดับ กรรมวิธีการสร้างพระพุทธรูปมีตามลักษณะมวลสาร ที่ใช้ในการหล่อ ระยะเริ่มแรกมนุษย์มีความเชื่อ นับถือ และยกย่อง “ดิน” ว่าเป็นเสมือนเทพเจ้าที่ทรงคุณค่า รู้จักในนาม “แม่พระธรณี” การสร้างพระเนื้อดินจึงมีอายุเก่าแก่ที่สุด เป็นการนาดินจากศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่อันเป็นมงคล มาทาพิธีบวงสรวง ขอบารมีแม่พระธรณีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเสริมความเป็นมงคล แก่พระพุทธรูป ในระยะต่อมามีการนาแร่ธาตุหลายชนิดที่มีความแข็งแรงทนทานมาผสมผสานกลายเป็น เนื้อโลหะ เช่น พระเนื้อทองคา พระเนื้อเงิน พระเนื้อทองแดง พระเนื้อสาริด เป็นต้น โลหะเนื้อสาริด๑ ประกอบด้วยตระกูลของสัมฤทธิ์ที่ถูกต้องตามสูตรโบราณ ๕ ตระกูล ดังนี้ ๑. สัมฤทธิ์ผล คือ สัมฤทธิ์แดงหรือตริยโลหะ มีมงคล หมายถึง พระรัตนตรัยเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อสาม ผสมด้วยโลหะธาตุ ๓ ชนิด คือ ทองแดงเป็นส่วนใหญ่ และเจือด้วยเงินกับทองคา สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะแดง คล้ายนาก แต่มีผิวเจือด้วยวรรณะคล้าคล้ายสีมะขามเปียก โบราณถือว่าเป็นมงคลวัตถุ อานวยผลนานัปการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเมตตามหานิยม ๒. สัมฤทธิ์โชค คือ สัมฤทธิ์เหลืองหรือปัญจโลหะ เป็นโบราณนิยาม หมายถึง เบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕) คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อห้า ได้แก่ ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี เงิน ทองคา มีวรรณะ เหลืองคล้ายเนื้อกลองมโหระทึกหรือขันลงหิน มีแววนกยูงภายในเนื้อ เป็นสัมฤทธิ์ที่ให้คุณหนักไปทางด้านลาภผล กับความสาเร็จ ๓. สัมฤทธิ์ศักดิ์ คือ สัมฤทธิ์ขาวหรือสัตตโลหะ เป็นมงคลนาม หมายถึง โพชฌงค์ ๗ คือ องค์ธรรม เป็ น เครื่ องตรั ส รู้ มี ๗ ประการ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัส สั ทธิ สมาธิ และอุเบกขา สั มฤทธิ์ศักดิ์ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเจ็ด ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว เงิน และทองคา สัมฤทธิ์ ตระกูลนี้มีวรรณะหม่นคล้าเล็กน้อย แต่มีแวววรรณะขาวผสมผสานอยู่ ถือกันว่าอานวยผลทางด้านอานาจ มหาอุดคงกระพัน แคล้วคลาด ๔. สัมฤทธิ์คุณ คือ สัมฤทธิ์เขียวหรือนวโลหะ หมายถึง นัยของธรรมอันสูงสุดในพระศาสนา อันได้แก่ นวโลกุตรธรรม อันมี มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ สัมฤทธิ์คุณเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดช ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว ชิน จ้าวน้าเงิน เงิน และทองคา แต่สัมฤทธิ์ตระกูลนี้ มีส่วนผสมของเนื้อเงินมากกว่าธรรมดา ดังนั้ นเนื้อภายในจึงมีวรรณะสีจาปาอ่อนหรือนากอ่อน แต่ผิวเนื้อเมื่อ กลับคล้าเพราะสัมผัสไอเหงื่อ จะมีวรรณะคล้าเจือเขียวเตยหม่นแกมเหลืองอ่อนคล้า มีแววขาวโดยตลอด เนื้อสัมฤทธิ์ชนิดนี้อานวยคุณวิเศษเช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดชทุกประการ ๕. สัมฤทธิ์เดช คือ สัมฤทธิ์ดาหรือนวโลหะ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้าเช่นเดียวกับสั มฤทธิ์คุณ แต่มี สัดส่วนการผสมได้เกณฑ์ถูกต้องตามมูลสูตรมากที่สุด ดังนั้นภายในจึงมีวรรณะจาปาแก่หรือสีนากแก่ ผิวเนื้อ ๑

อ้างอิงจาก ศุนย์พระเครื่องพระบูชาออนไลน์ https://www.amuletsale4u.com

หน้า ๔๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ


เมื่อกลับคล้าเพราะสัมผัสไอเหงื่อ จะดาสนิทประหนึ่งนิลดา เรียกกันว่า "สัมฤทธิ์เนื้อกลับ" โบราณถือว่าสัมฤทธิ์ นวโลหะทั้ง ๒ ประเภทนี้ เป็นสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ที่สุด หรือเป็นยอดของสัมฤทธิ์ อานวยผลทางด้านมหาอุด อันสูงส่ง คือ อานาจตบะเดชะ มหานิยม ลาภผล ความสาเร็จ คงกระพัน แคล้วคลาด ทุกประการ พระพุทธศาสดาประชานาถที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ใช้กรรมวิธีแบบเนื้อโลหะ ประกอบด้วยมวลสารโลหะ จานวน ๑๐ ชนิด เรียกว่า ทศโลหะ ดังนี้ ๑. ทองคำ ท าให้ ท นต่ อ รอยขี ด ข่ ว น เงิ น เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ แ ทน จั ด อยู่ ใ นจ าพวกโลหะที่ มี เ นื้ อ อ่ อ นที่ สุ ด ความบริสุทธิ์ มี ค วามมั น วาว มี อุ ณ หภู มิ ใ นการหลอมละลาย ที่ ๑,๐๖๓ องศาเซลเซียส สามารถยึดและตีให้เป็น แผ่ น บางได้ สู ง สุ ด ถึ ง ๐.๐๐๐๑ มิ ล ลิ เ มตร หรื อ ที่เรี ย กกัน ว่า “ทองคาเปลว” จากคุณสมบั ติ ข อง ทองคาที่มีลักษณะเฉพาะตัว มีเนื้อสีเหลืองสุกปลั่ง เป็นประกาย ไม่เป็นสนิม ไม่หมอง เนื่องจากทองคา ไม่ทาปฏิกิริยากับออกซิเจน ไม่มีคราบไคล ทองคา บริสุทธิ์ไม่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี จึงทนต่อการ (ภาพ) โลหะเงิน ผุ ก ร่ อ นได้ เ ป็ น อย่ า งดี ความมั น วาวงดงามสื่ อ ความหมายแทนความสว่ า งเรื อ งและความ ๓. ทองแดง เนื้ อ โลหะมี สี เจริญรุ่งเรือง แดง ทองแดงยิ่งบริสุทธิ์ ยิ่ ง หลอมเหลวได้ ย าก เพราะสามารถถ่ า ยเท ความร้ อนได้ ดี และถ้ า ปล่ อ ยทองแดงบริ สุ ท ธิ์ ทิ้งไว้ในบรรยากาศเป็น (ภาพ) โลหะทองแดง เวลานาน จะปรากฏ เป็ น ฟิ ล์ ม ขนาดบางสี เ ขี ย วบนบริ เ วณผิ ว หน้ า (ภาพ) โลหะทองคา ทาหน้าที่ปกป้องมิให้ ออกซิเจนจากอากาศเข้า ไป ๒. เงิน ทาปฏิกิริยากับเนื้อทองแดง เป็นผลทาให้ทองแดง โลหะเงินบริสุทธิ์มันวาว มีคุณสมบัติ อ่อน มีสภาพทนต่อลมฟ้าอากาศ เหนียว นาความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มีความมันวาว

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๔๙


๔. สังกะสี ๖. พลวง โลหะหนัก เนื้อสีขาว มีความเหนียวสูง รีด พลวงที่มีสีเหลืองและดาจะเป็นอโลหะที่ไม่ เป็นแผ่นที่อุณหภูมิ ๑๐๐ - ๑๕๐ องศาเซลเซียส แต่ เสถียร พลวงใช้ประโยชน์ในการทาสีเซรามิก สาร ในที่อุณหภูมิห้องจะเปราะแตกหักง่าย มีอัตราการ เคลือบผิว ขยายตัวสูงในสภาวะร้อนมากร้อนมาก ทนการกัด กร่อนในบรรยากาศได้ดี แต่ทว่าไม่ทนต่อกรด

(ภาพ) โลหะพลวง

๗. ดีบุก เป็ น โลหะเนื้ อ อ่ อ นสี ข าวคล้ า ยโลหะ ๕. ตะกั่ว ทนทานต่อการกัดกร่อนในสภาพบรรยากาศปกติได้ เป็ น โลหะเนื้ อ อ่ อ น มี น้ าหนั ก อะตอมสู ง เป็นอย่างดี ทนต่อสภาพกรดและด่างได้ปานกลาง อีกทั้งมีความหนาแน่น ความอ่อน และความเหนียว แต่สามารถเคลือบโลหะอื่นได้ดี ทนต่อสภาพกรดและการกั ด กร่ อ นได้ เ ป็ น อย่ า งดี ตลอดจนมีความสามารถในการหล่อลื่น แต่มีความ แข็งแรงและจุดหลอมเหลวต่า (ภาพ) โลหะสังกะสี

(ภาพ) โลหะดีบุก

(ภาพ) โลหะตะกั่ว

หน้า ๕๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ


๘. ซิลิคอน ๑๐. จ้ำวนำเงินหรือบอร์ไนท์ คุณสมบัติการต้านทานการหมอง ทาให้มี โลหะมงคลสาคัญที่ถือเป็นแร่ธาตุศักดิ์สิทธิ์ ผิวเงาและขาวขึ้น ที่คนไทยสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ประสงค์ จะได้ครอบครอง เป็นแร่ที่มีสีรุ้ง แต่ส่วนใหญ่จะออก โทนสีน้าเงิน เขียว และม่วง จ้าวน้าเงินหรือบอร์ไนท์ เป็นหินแร่แห่งความสุข เป็นหินแร่มงคลที่ประสาน โลหะอื่น ๆ ละลายเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ เมื่อถูก เผาจะหลอมตัวกับออกซิเจนแล้วให้ เปลวสีน้าเงิน ทั้ ง นี้ จ้ า วน้ าเงิ น มี คุ ณ สมบั ติ พิ เ ศษ ท าให้ โ ลหะ ทนทานต่อการกัดกร่อนและสึกกร่อน ทาให้พื้นผิว วัตถุกลับดา มองเห็นความเก่าชัดเจน (ภาพ) โลหะซิลิคอน ๙. ไทเทเนียม เป็นวัสดุที่มีความหนาแน่ นต่า แต่มีความ แข็งแรงสูง ทนต่อการกัดกร่ อน ใช้ในโครงสร้าง ของอากาศยาน ถื อ เป็ น วั ส ดุ ส าคั ญ ที่ มี ค วาม เกี่ยวข้องกับกองทัพอากาศนับตั้งแต่ แรกเริ่มจนถึง ปัจจุบัน

(ภาพ) โลหะมงคล : จ้าวนาเงินหรือบอร์ไนท์

(ภาพ) โลหะไทเทเนียม

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๕๑


ชนวนมวลสำรอันศักดิ์สิทธิ์จำกกำรสร้ำงพระพุทธศำสดำนภำพิทักษ์และพระพุทธสีหนำทรำชสีมำอินทบูชิต

อนึ่ง ทางคณะผู้จัดสร้างฯ ได้เพิ่มชนวนมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์จากการสร้างพระพุทธศาสดานภาพิทักษ์ และพระพุทธสี หนาทราชสีมาอิน ทบูชิต ตลอดจนชนวนมวลสารจากการหล่ อ “พระบิดากองทัพอากาศ” จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ จากวิทยาลัย การทัพอากาศ ลงไปในส่วนผสมมวลสารอีกด้วย

(ภาพบน) มวลสารของพระพุทธศาสดานภาพิทักษ์ (ภาพล่าง) มวลสารของ“การสร้างพระบิดากองทัพอากาศ”

(ภาพขวา) พระพุทธศาสดานภาพิทักษ์ (ภาพซ้าย) พระพุทธสีหนาทราชสีมาอินทบูชิต

(ภาพ) พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช รับมอบมวลสาร “พระบิดากองทัพอากาศ” จากวิทยาลัยการทัพอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ

หน้า ๕๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


นอกจากมวลสารทศโลหะทั้ง ๑๐ ชนิดแล้ว พระพุทธศาสดาประชานาถจะทวีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากแหล่งที่มาของมวลสาร จาแนกได้ดังนี้ ๑. มวลสารแผ่นทอง เงิน และนาก สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทาน แผ่นอักขระทอง เงิน นาก เพื่อการจัดสร้างพระพุทธรูป พร้อมทั้งประทานพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อบรรจุใน พระเกตุมาลาขององค์พระประธานที่จะประดิษฐานที่ดอยอินทนนท์ ทั้งนี้ แผ่นอักขระทอง เงิน นาก ได้รับ การแผ่เมตตาและอธิษฐานจิตจากพระเกจิอาจารย์ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยจานวน ๔๐๔ รูป

(ภาพ) พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และแพทย์หญิงวิไลภรณ์ วงษ์วาทย์ เข้าเฝ้าสมเด็จ พระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

(ภาพ) สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร มอบแผ่นทอง เงิน และนาก แก่กองทัพอากาศ เพื่อจัดสร้างพระพุทธศาสดาประชานาถ โดย พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รอง ผบ.รร.นนก.เป็นผู้แทนรับมอบ

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๕๓


๒. มวลสารชนวนโลหะจากการเททองหล่อองค์พระจากหน่วยงานภายในกองทัพอากาศ ๒.๑ ชนวนโลหะจากการเททองหล่อ พระพุทธทีปังกร กองบิน ๑ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๕ ๒.๒ ชนวนโลหะจากการเททองหล่อ พระพุทธสีหนาทราชสีมาอินทบูชิต พระพุทธรูปประจาศาลา ปฏิบัติธรรมของกองบิน ๑ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๗ ๒.๓ ชนวนโลหะจากการเททองหล่อ รูปเหมือนพระชัยนาทมุนี (หลวงพ่อนวม สุทตฺโต) และเหรียญ หลวงพ่อเพชร รุ่นยกฉัตร ของกองบิน ๔ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๘ ๒.๔ ชนวนโลหะจากการเททองหล่อ พระพุทธนภเสนานาถ พระพุทธรูปบูชา ขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว รุ่นแรก ของโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ สมัย พลอากาศตรี สาเริง พูลเพิ่ม เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนฯ ๒.๕ ชนวนโลหะจากการเททองหล่อ รูปเหมือนหลวงปู่ทวด เหยียบน้าทะเลจืด รุ่นพญาจงอางศึก ของกองบิน ๔ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๙ ๒.๖ ชนวนโลหะจากการเททองหล่อ พระบูชาหลวงพ่อเพชร ขนาดหน้าตัก ๕.๙ นิ้ว ของกองบิน ๔ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๐ ๒.๗ ชนวนโลหะจากการเททองหล่อ รูปเหมือนพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทธสโร) ของ กองบิน ๔ ปี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๑ ๒.๘ ชนวนโลหะจากการเททองหล่อ พระพุทธรูปบูชา “หลวงพ่ออยู่เย็นเป็นสุข ” ของกองบิน ๕๖ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๑ ๒.๙ ชนวนโลหะจากการเททองหล่อรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (หลวงปู่โต พฺรหฺมรังสี) ของ กองบิน ๔ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๒ ๒.๑๐ มวลสารชนวนโลหะจากการหล่ อ “พระบิดาแห่ งกองทัพอากาศ” จอมพล สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ จากวิทยาลัยการทัพอากาศ

(ภาพ) มวลสารชนวนโลหะจากการหล่อ “พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ” จากวิทยาลัยการทัพอากาศ

หน้า ๕๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) มวลสารชนวนโลหะจากการหล่อหลวงพ่ออยู่เย็นเป็นสุข ของกองบิน ๕๖ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๑

๓. มวลสารชนวนโลหะจากการเททองหล่อองค์พระพุทธรูปจากหน่วยงานภายนอกกองทัพอากาศ เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ พลเอก พลภัทร วรรณภักตร์ (เตรียมทหารรุ่น ๑๖) ผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพลเอก กิติกร ธรรมะนิยาย (เตรียมทหารรุ่น ๑๖) ที่ปรึกษารัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างพระพุทธศาสดาประชานาถ จึงได้มอบชนวน โลหะของการเททองหล่อ พระพุทธรักษาและพระพุทธรูปสาคัญของกระทรวงกลาโหมแก่กองทัพอากาศ เพื่อ นาไปเททองหล่อองค์พระพุทธศาสดาประชานาถ โดยมี พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้บัญชาการโรงเรียน นายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็นผู้แทนรับมอบ

(ภาพ) มวลสารชนวนโลหะจากการเททองหล่อองค์พระพุทธรักษาและพระพุทธรูปสาคัญของกระทรวงกลาโหม

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๕๕


๔. มวลสารปลอกกระสุนทองเหลืองปืนกลอากาศซึ่งเป็นวัสดุทรงคุณค่าที่เชื่อมโยงความเป็นทหารอากาศ ปลอกกระสุนทองเหลืองปืนกลอากาศซึ่งเป็นอาวุธประจาเครื่องบินขับไล่แบบ บข-18 (F-16) ขนาด ๒๐ มิลลิเมตร จากกองบิน ๑ จังหวัดนครราชสีมา และกองบิน ๔ จังหวัดนครสวรรค์ จานวนประมาณ ๓ ตัน ซึ่งผ่านการบินด้วยความเร็วสูงเหนือเสียง แสดงให้เห็นถึงอานุภาพของกองทัพอากาศเหนือฟากฟ้า นามาเป็น มวลสารหล่อพระประธานขนาดหน้าตัก ๒๐.๒๐ นิ้ว และพระบูชาขนาดหน้าตัก ๑๐ นิ้ว ทั้งนี้ การนาปลอก กระสุนทองเหลืองมาเป็นมวลสารในการหล่อพระพุทธรูป ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของกองทัพอากาศมาตั้งแต่อดีต

(ภาพ) มวลสารปลอกกระสุนปืนกลอากาศจาก กองบิน ๑ จังหวัดนครราชสีมา

(ภาพ) มวลสารปลอกกระสุนปืนกลอากาศจาก กองบิน ๔ จังหวัดนครสวรรค์

หน้า ๕๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) มวลสารปลอกกระสุนปืนกลอากาศทาจากทองเหลืองคุณภาพสูง

๕. มวลสารจากแผ่นทอง เงิน และนาก จากพุทธศาสนิกชนทั้งในกองทัพอากาศและประชาชนทั่วไป ข้าราชการในกองทัพอากาศทุกหน่วย ทั้งหน่วยงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้ลงชื่อลงบนแผ่น ทอง เงิน นาก จานวน ๓๘,๑๕๒ แผ่น เพื่อนาไปประกอบพิธีเททองหล่อองค์พระพุทธศาสดาประชานาถ

(ภาพ) พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ แจ้งหัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ ให้รับทราบและมีส่วนร่วมในการสร้างพระพุทธศาสดาประชานาถ

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๕๗


(ภาพ) ข้าราชการของหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศทั้งส่วนกลางและภูมิภาคส่งมอบแผ่นทอง เงิน นาก ที่ได้ร่วมกันลงชื่อ ส่งให้แก่คณะกรรมการจัดสร้างพระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๕๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ และคณะทางาน ไหว้พระก่อนประกอบพิธีทดสอบการหล่อทศโลหะ

(ภาพ) พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ และคณะทางาน ตั้งจิตอธิษฐานและประกอบพิธีทดสอบการหล่อทศโลหะ

การจัดสร้างพระเนื้อทศโลหะถือว่าเป็นครั้งแรกของกองทัพอากาศและของประเทศไทย คณะทางาน จึ งต้องศึกษาข้อมูล อย่ างละเอีย ด และได้ทดสอบในวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ ก่อนพิธีเททองหล่ อ พระพุทธรูปจริง มีรายละเอียดดังนี้ โรงหล่อทดสอบการหลอมทศโลหะตามคาแนะนาเกี่ยวกับสัดส่วนโลหะที่เหมาะสมที่สุดจากสานักช่าง สิบหมู่ กรมศิลปากร เริ่มจากการหลอมโลหะไทเทเนียมให้ได้จุดหลอมเหลวพอดี จากนั้นจึงผสมโลหะอื่น ๆ ให้ ล ะลายจนเป็น เนื้ อเดีย วกัน ถือเป็ น ขั้นตอนที่ต้องใช้ ความวิริยะอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากใช้ระยะ เวลานานกว่าไทเทเนียมจะถึงจุดหลอมเหลว

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๕๙


(ภาพ) การหลอมโลหะไทเทเนียม

ช่างหล่อทดสอบโลหะผสมทศโลหะกับเบ้าหลอมพระพุทธรูปที่ใช้เพื่อการทดสอบ เพื่อตรวจสอบ การไหลตัวของโลหะผสมทศโลหะและการแตกร้าวของผิวโลหะว่า มีการรานตัวของโลหะผสมหรือไม่ และ การแข็งตัวของโลหะผสมเป็นไปโดยสมบูรณ์หรือไม่ หากพบว่าสมบูรณ์ ช่างจะนาส่วนผสมดังกล่าวไปหล่ อ พระพุทธรูปองค์จริงในวันถัดไป ส่วนผสมคานวณโดย นายสง่า จันทร์ตา เจ้าหน้าที่ชานาญการ กองช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร มีสัดส่วนดังนี้ - ทองคา ๑๐ บาท - เงิน ๔ กิโลกรัม - ทองแดง ๑๙๐ กิโลกรัม - สังกะสี ๓ กิโลกรัม - ตะกั่ว ๒ กิโลกรัม - พลวง ๒๐๐ กรัม - ดีบุก ๔ กิโลกรัม - ซิลิคอน ๒ กิโลกรัม - จ้าวน้าเงิน ๒๐๐ กรัม - ไทเทเนียม ๑๐ กรัม

หน้า ๖๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ หลอมโลหะทั้ง ๑๐ ชนิด

(ภาพ) การทดสอบเททศโลหะในเบ้าหล่อพระพุทธรูป ขนาดหน้าตัก ๑๐ นิ้ว

(ภาพ) ลักษณะเนื้อและสีของทศโลหะที่ช่างตัดผิวหน้าที่หล่อลงในพิมพ์ที่แข็งตัวออก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๖๑


โลหะผสมทศโลหะที่ดาเนินการทดสอบรวมตัวเข้าด้วยกันได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อนาไปแช่น้าให้แข็งตัว พบว่าไม่แตกร้าว หลังจากถอดแบบแล้ว ช่างหล่อได้ขัดตกแต่งพระพุทธรูปที่ใช้ทดสอบ จากนั้นนาเสนอต่อ ผู้บังคับบัญชาและคณะกรรมการสร้างพระพุทธรูปเพื่อพิจารณาตัดสินใจ พบว่าโลหะผสมมีสีสวยงามตาม ธรรมชาติของสีโลหะผสม และเงามันเป็นประกาย หลังจากนั้นช่างหล่อ นาพระพุทธรูปที่ใช้ในการทดสอบ ไปหลอมคืนสภาพเป็นแท่งโลหะผสม เตรียมนาไปหล่อองค์จริงในพิธีเททองหล่อพระพุทธศาสดาประชานาถ ขนาดหน้าตัก ๒๐.๒๐ นิ้ว และขนาด ๑๐ นิ้ว ในวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ หากผู้มีจิตศรัทธานาทองคา มาสมทบเพิ่มเติมในการหล่อจริง ยิ่งทาให้ส่วนผสมรวมตัวเข้าด้วยกันได้ดีกว่านี้ องค์พระพุทธรูปจะมีสีทองอร่าม งดงามยิ่งขึ้น

(ภาพ) เนื้อทศโลหะที่นาไปแช่น้าเพื่อให้แข็งตัว

(ภาพ) ช่างหล่อและคณะทางานพิจารณาเนื้อทศโลหะ

(ภาพ) ช่วงเททศโลหะที่เหลือลงในพิมพ์เพื่อใช้เป็นชนวนการหล่อพระ ในวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓

หน้า ๖๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) เบ้าหล่อพระพุทธรูป ขนาดหน้าตัก ๑๐ นิ้ว ที่มีการเททศโลหะ

(ภาพ) พระพุทธศาสดาประชานาถ ขนาดหน้าตัก ๑๐ นิ้ว ที่เป็นองค์ทดสอบ

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๖๓


จากนั้ น ประมาณปลายเดื อนพฤศจิ ก ายน พ.ศ.๒๕๖๒ ผู้ บัญชาการทหารอากาศได้ม อบหมายให้ พล.อ.อ.นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ เป็นผู้ดาเนินการ ในเบื้องต้นก็จะได้มี การจัดสร้างพระพุทธศาสดาประชานาถ องค์พระประธาน ขนาดหน้าตัก ๒๐.๒๐ นิ้ว ทาด้วยเนื้อทศโลหะ อัญเชิญประดิษฐาน ณ จุดสูงสุดของประเทศไทย บริเวณยอดดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้จะจัดสร้าง เป็นพระพุทธศาสดาประชานาถ สาหรับบูชา ขนาดหน้าตัก ๑๐ นิ้ว อีกจานวน ๒,๐๒๐ องค์ (ตามเลขปีปฏิทิน สากล) รวมถึงจัดทาเหรียญที่ระลึก ๑๐๐ ปี พระบิดากองทัพอากาศ อีกจานวน ๔๐,๐๐๐ เหรียญ ซึ่งด้านหนึ่งเป็น รูปองค์พระพุทธศาสดาประชานาถ ส่วนอีกด้านเป็นพระฉายาลักษณ์พระบิดากองทัพอากาศ ในส่วนของแบบพระพุทธรูป ผู้บัญชาการทหารอากาศได้ให้แนวทางถึงว่า ให้เป็นปางสมาธิ อันเป็นปาง ที่บ่งบอกถึงพระปัญญาธิคุณแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และประสงค์ให้พระพุทธรูปองค์นี้ ได้หลอมรวมความ เป็นไทยตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบั น โดยผสมผสานศิลปะถึง ๔ ยุคสมัย ได้แก่ ล้านนา สุโขทัย อยุธยา และ รัตนโกสินทร์ ไว้อย่างสวยงาม การจั ด สร้ า งครั้ ง นี้ ได้ รั บ ความร่ ว มมื อ ร่ ว มใจเป็ น อย่ า งดี ยิ่ ง จากก าลั ง พลของกองทั พ อากาศที่ ตั้ ง หน่วยงานอยู่ทั่วประเทศ ตั้งแต่เริ่มโครงการ พระพุทธศาสดาประชานาถ ได้รับความเมตตาจากพระอริยสงฆ์ และเกจิอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นที่เคารพนับถือของพี่น้องประชาชนทั่วประเทศกว่า ๔๐๐ รูป ร่วมกัน จารแผ่นทอง เงิน นาก อธิฐานจิตปลุกเสก และที่ ส าคั ญ กองทั พ อากาศได้ รั บ พระกรุ ณ าธิ คุ ณ จากสมเด็ จ พระอริ ย วงศาคตญาณ สมเด็ จ พระสั ง ฆราช สกลมหาสั ง ฆปริ น ายก ประทานนาม “พระพุ ท ธศาสดาประชานาถ” แด่ พ ระพุ ท ธรู ป ที่จัดสร้าง พร้อมประทานพระบรมสารีริกธาตุ แผ่นทอง เงิน นาก เพื่อประกอบการจัดสร้างพระพุทธศาสดา ประชานาถให้มีความศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้งทรงรับเป็นประธานที่ปรึกษาการจัดสร้าง(ฝ่ายสงฆ์) โดยมีสมเด็จพระราชาคณะ ทั้ง ๙ รูป ทรงรับเป็นกรรมการที่ปรึกษาการจัดสร้าง พระพุทธศาสดาประชานาถ องค์พระประธาน หลอมขึ้นจากเนื้อ “ทศโลหะ” ถือเป็นพระพุทธรูปองค์แรก ที่เป็นทศโลหะ หรือโลหะ ๑๐ ชนิด และได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ จุดสูงสุดของประเทศไทย เพื่อให้พี่น้อง ประชาชนได้ร่วมสักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล พระพุทธศาสดาประชานาถจึงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ สาคัญ ที่กองทัพอากาศร่วมกับพี่น้องประชาชนชาวไทย ได้จัดสร้างขึ้นอย่างประณีตและมีความศักดิ์สิทธิ์ทุก ขั้นตอน มีพุทธศิลป์และพุทธลักษณะอันโดดเด่น ที่หลอมรวมความเป็นชาติไทย เป็นพระพุทธรูปเนื้อทศโลหะ องค์แรกของไทย โดยมีพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ จุดสูงสุดของประเทศไทย ในวันที่ส อง เดือนสอง ปีสองพันยี่สิบ ซึ่งเป็ น วัน ที่ ๑,๐๐๐ ปี จะมีครั้ งเดีย ว และท้ายที่สุ ด จะอัญเชิญประดิษฐาน ณ จุดสู งสุ ดด้ว ย จึงนับได้ว่า เป็นพระพุทธรูปแห่งพุทธศตวรรษที่ ๒๖ องค์หนึ่งเลยทีเดียว

หน้า ๖๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


เป็นที่ทราบกันว่า การจัดสร้างพระพุทธรูปเนื้อที่นิยมที่สุดคือ “เนื้อนวโลหะ” อันประกอบด้วยโลหะ ๙ ชนิด ได้แก่ ทองคา, เงิน, ทองแดง, สังกะสี, ดีบุก, ตะกั่ว, พลวง, จ้าวน้าเงิน และซิลิคอน ซึ่งปัจจุบันต้องเรียนว่า จะหาพระพุทธรูปที่สร้างจากเนื้อนวโลหะสูตรโบราณจริงๆ ได้ยากมาก ถึงกระนั้นการจัดสร้างพระพุทธศาสดา ประชานาถ กองทัพอากาศ ได้ใช้โลหะ ๙ ชนิด ตามสูตรโบราณ และรวมกับไทเทเนียม อีก ๑ ชนิด จึงรวมเป็น “ทศโลหะ” โดยไทเทเนี ย มของกองทัพอากาศที่นามาผสมนั้น นับเป็นโลหะที่ส าคัญทางด้านภาคการบิน เป็นโลหะส่วนประกอบสาคัญของโครงสร้างอากาศยาน มีความแข็งแรง ทนทาน และจุดหลอมเหลวสูงมาก แต่สามารถที่จะหลอมรวมกับนวโลหะ ได้อย่างสมบูรณ์ และทุกขั้นตอนในกระบวนการหลอมทศโลหะ สัดส่วน โลหะต่าง ๆ ที่ใช้ ได้ดาเนินการภายใต้คาแนะนาและการกากับดูแลของช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จึงทาให้เป็น พระพุทธรูป เนื้อทศโลหะ อันเกิดจากโลหะ ๑๐ ชนิด อันเป็นเลขมงคลแห่งพระมหากษัตริย์ไทยรัชสมัยปัจจุบัน นอกจากจะจั ด สร้ า งพระพุ ท ธศาสดาประชานาถ องค์ พ ระประธาน ขนาดหน้ า ตั ก ๒๐.๒๐ นิ้ ว ประดิษฐาน ณ จุดสูงสุดของประเทศไทยแล้ว ยังได้จัดสร้างพระพุทธศาสดาประชานาถ ขนาดหน้าตัก ๑๐ นิ้ว สาหรับบูชา จานวน ๒,๐๒๐ องค์ และเหรียญที่ระลึกอีก ๔๐,๐๐๐ เหรียญ เป็นความตั้งใจที่จะจัดสร้างถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และถวายเป็นพระกุศลแด่ พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ และต้องการให้กาลังพลของกองทัพอากาศได้มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เปี่ยมด้วย พุทธคุณไว้กราบไหว้บูชา จึงได้เปิดให้กาลังพลของกองทัพอากาศได้มีโอกาสสั่ งจองเป็นลาดับแรก ซึ่งได้รับการ ตอบรับที่ดีอย่างยิ่ง และได้เปิดให้บุคคลทั่วไปได้สั่งจองบูชาในเวลาถัดมา การจัดสร้างพระบูชา ขนาดหน้าตัก ๑๐ นิ้ว มีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกัน ๓ แบบ แบบแรกเป็น แบบลงรักปิดทอง จานวน ๑๕ องค์ มีหมายเลข ๑ ถึง หมายเลข ๑๕ แบบที่สองเป็นแบบขัดเงาจานวน ๕๐ องค์ มีหมายเลข ๑๖ ถึง หมายเลข ๖๕ และแบบที่สามเป็นแบบสีพาตินา(สีน้าผึ้ง) จานวน ๑,๙๕๕ องค์ มีหมายเลข ๖๖ ถึง หมายเลข ๒๐๒๐ ซึ่งแบบสีพาตินายังได้หล่อพระเกตุมาลาเป็นเนื้อทศโลหะนามาประดิษฐานบนองค์พระ กลุ่มที่มีเลขสวย เลขมหามงคล และเลขฝูงบิน อีกด้วย รวมทั้ง ๓ แบบ เป็นพระที่ให้บูชาทั้งสิ้น ๒,๐๒๐ องค์ ส าหรั บ การจั ด สร้ า งเหรี ย ญนั้ น ทางคณะกรรมการออกแบบและจั ด สร้ า ง ได้ อ อกแบบเหรี ย ญ ที่เป็นการรวมกันของทั้งพระพุทธและองค์เทพไว้ในเหรียญเดียวกัน เรียกว่าเป็นเหรียญสองด้าน ด้านพระพุทธ เป็นรูปพระพุทธศาสดาประชานาถ อยู่ตรงกลางเหรียญ มีอักษรคาว่า “พระพุทธศาสดาประชานาถ” และ ตัวเลข “๐๒๐๒๒๐๒๐” ด้านล่างของเหรียญ ด้านองค์เทพ เป็นพระฉายาลักษณ์ของจอมพล สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์ เ ธอ เจ้ า ฟ้ า จั ก รพงษ์ ภู ว นารถ กรมหลวงพิ ศ ณุ โ ลกประชานารถ อยู่ ต รงกลางเหรี ย ญ มี ต ราปี ก กองทัพอากาศอยู่บริเวณเหนือบ่าด้านขวา ด้านล่างมีตัวอักษรคาว่า “๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๓” และคาว่า “ที่ระลึก ๑๐๐ ปี พระบิดากองทัพอากาศ” บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของเหรียญ แบบของเหรียญนี้ได้รับการพิจารณาทั้ง ทางวรรณกรรมจากช่างสิบหมู่ของกรมศิลปากร และสานักกษาปณ์เป็นผู้เขียนแบบสุดท้าย ออกแบบอีกครั้งหนึ่ง

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๖๕


การจัดสร้างเหรียญที่ระลึกในครั้งนี้ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างเหรียญที่ระลึกเป็นจานวน ๔๐,๐๐๐ เหรียญ หลังจากนั้นสานักกษาปณ์จึงได้รับแบบนาไปผลิตให้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ ๑. พระประธาน พระพุทธศาสดาประชานาถ เป็นพระพุทธรูป เนื้อทศโลหะ ขนาดหน้าตัก ๒๐.๒๐ นิ้ว ปางสมาธิเพชรทรงเครื่องจักรพรรดิ พุทธ ลักษณะประกอบด้วยศิลปะ ๔ ยุคสมัย ได้แก่ ล้านนา สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ พระพั กตร์เป็นพุทธ ลักษณะแบบเชียงแสน พระวรกายเป็นพุทธลักษณะแบบสุโขทัย ทรงเครื่องจักรพรรดิเป็นพุทธลักษณะแบบ อยุธยา ฐานเป็นพุทธลักษณะแบบรัตนโกสินทร์ ซึ่งจะประดิษฐาน ณ หอพระพุทธศาสดาประชานาถ ซึ่งตั้งอยู่ ในสถานี ร ายงานดอยอิน ทนนท์ เพื่อให้ ผู้ มีจิ ตศรัทธา ได้ร่ว มบูช าความศักดิ์สิ ทธิ์ ณ จุดสู งสุ ด ของประเทศ ผู้ศรัทธาก้าวผ่านสะพานบุญสู่สรวงสวรรค์นิรันดร์

(ภาพ) พระพุทธศาสดาประชานาถ

๒. พระพุทธรูปบูชา พระพุทธศาสดาประชานาถ เป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก ๑๐ นิ้ว จานวน ๒,๐๒๐ องค์ (ตามเลขปีปฏิทินสากล) และลงหมายเลข เรียงลาดับ ดังนี้ ๒.๑ แบบลงรักปิดทอง (หมายเลข ๑ – ๑๕) จานวน ๑๕ องค์ ๒.๒ แบบทองเหลืองขัดเงา นาฤกษ์ (หมายเลข ๑๖ – ๖๕) จานวน ๕๐ องค์ ๒.๓ แบบสีพาตินา (สีน้าผึ้ง) (หมายเลข ๖๖ – ๒๐๒๐) จานวน ๑,๙๕๕ องค์

หน้า ๖๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) พระพุทธศาสดาประชานาถ ขนาดหน้าตัก ๑๐ นิ้ว

๓. เหรียญบูชา เป็นเหรียญรูปวงรี ขนาด ๓.๔ x ๒.๕ เซนติเมตร มีรายละเอียด ดังนี้ ด้านพระพุทธศาสดาประชานาถ - กลางเหรียญ มีรูป “พระพุทธศาสดาประชานาถ”ที่จัดสร้างขึ้นจากมวลสารทศโลหะ จานวน ๑๐ ชนิด ประกอบด้วย ทองคา เงิน ทองแดง สังกะสี ดีบกุ ตะกั่ว จ้าวน้าเงิน พลวง ซิลิคอน และไทเทเนียม ทวีความศักดิ์สิทธิ์ด้วยชนวนโลหะจากการเททองหล่อองค์พระของหน่วยงาน ภายในและภายนอกกองทัพอากาศ - เบื้องหน้า มีตัวเลข 02022020 ภายในวงขอบเหรียญ เป็นตัวเลขสะท้อนกลับ หมายถึง วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ค.ศ.๒๐๒๐ ตามปฏิทินสากล อันเป็นวันเททองหล่อพระพุทธศาสดาประชานาถ - เบื้องล่าง มีข้อความว่า “พระพุทธศาสดาประชานาถ” เป็นนามประทานโดย สมเด็จ พระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราช องค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้านพระฉายาลักษณ์ - กลางเหรียญ มีพระฉายาลักษณ์ของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศนายทหารมหาดเล็กรักษา พระองค์ ทรงสายสร้อยแห่งขัตติยราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ประดับดาราจักรีทรงสายสะพาย และประดับดาราเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตน ราชวราภรณ์ - เบื้องขวา มีเครื่องหมายราชการกองทัพอากาศ เป็นรูปปีกนกกาง เหนือปีกนกตรงกลาง

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๖๗


มีพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมีคร่อมอุณาโลม ปีกมี ๒ ชั้น ปีกชั้นนอกมีขนข้างละ ๙ ขน ปีกชั้นใน มีขนข้างละ ๘ ขน ส่วนบนของปีกเป็นแนวตรง๑ - เบื้องล่าง มีข้อความว่า “๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๓ ที่ระลึก ๑๐๐ ปี พระบิดากองทัพอากาศ” ซึ่งเป็น วันครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งการทิวงคต จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ อยู่ภายในวงเหรียญ ทั้งนี้ เหรียญแต่ละเหรียญระบุหมายเลขประจาเหรียญผ่านการยิงเลเซอร์

(ภาพ) เหรียญพระพุทธศาสดาประชานาถ

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างเหรียญที่ระลึก พระพุ ท ธศาสดาประชานาถ จ านวน ๔๐,๐๐๐ เหรี ย ญ ทั้ ง นี้ ได้ ผ่ า นการพิ จ ารณาจากกองช่ า งสิ บ หมู่ กรมศิลปากร และได้รับการออกแบบโดย สานักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ดังนี้ ๓.๑ เหรียญทองคา จานวน ๒๐ เหรียญ ๓.๒ เหรียญเงิน จานวน ๒๐๐ เหรียญ ๓.๓ เหรียญทศโลหะ ที่ประกอบด้วยมวลสาร ๑๐ ชนิด จานวน ๑๐,๐๐๐ เหรียญ ๓.๔ เหรียญทองแดงรมซาติน จานวน ๑๒,๗๘๐ เหรียญ ๓.๕ เหรียญทองแดงผิวไฟ จานวน ๕,๐๐๐ เหรียญ ๓.๖ เหรียญทองแดงผิวไฟ ตอกรหัส “ในฤกษ์” จานวน ๕๐๐ เหรียญ ๓.๗ เหรียญทองแดงผิวไฟ ไม่ตัดปีก จานวน ๕๐๐ เหรียญ ๓.๘ เหรียญทองแดงรมซาตินและพ่นทรายพิเศษ จานวน ๑,๐๐๐ เหรียญ ๓.๙ เหรียญทองเหลืองปลอกกระสุน จานวน ๑๐,๐๐๐ เหรียญ ๑ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

หน้า ๖๘

เล่ม ๑๑๑ ตอนพิเศษ ๓๒ ง วันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ หน้า ๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) เหรียญพระพุทธศาสดาประชานาถ

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๖๙


ลำดับ

ชื่อวัด

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สมเด็จพระสังหราช

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)

สมเด็จพระราชาคณะ

สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรฺหมฺคุตฺโต)

สมเด็จพระราชาคณะ

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กทม.

วัดปากน้า ภาษีเจริญ กทม.

วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.

วัดเทพศิรินทราวาสวรวิหาร กทม.

สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย)

สมเด็จพระราชาคณะ

วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กทม.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ)

สมเด็จพระราชาคณะ

วัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตโฺ ต)

สมเด็จพระราชาคณะ

วัดยานนาวา กทม.

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร)

สมเด็จพระราชาคณะ

วัดโสมนัสราชวรวิหาร กทม.

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)

สมเด็จพระราชาคณะ

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กทม.

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน)

สมเด็จพระราชาคณะ

๑๐

วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กทม.

สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช)

สมเด็จพระราชาคณะ

๑๑

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร กทม.

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

พระราชาคณะเจ้าคณะรอง

๑๒

วัดปากน้า ภาษีเจริญ กทม.

พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ)

พระราชาคณะเจ้าคณะรอง

๑๓

วัดปากน้า ภาษีเจริญ กทม.

พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)

พระราชาคณะเจ้าคณะรอง

๑๔

วัดประยุรวงศาวาส กทม.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตโฺ ต)

พระราชาคณะเจ้าคณะรอง

หน้า ๗๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ลำดับ

ชื่อวัด

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

๑๕

วัดเครือวัลย์ กทม.

พระพรหมวิสุทธาจารย์ (มนตรี คณิสสฺ โร)

พระราชาคณะเจ้าคณะรอง

๑๖

วัดปทุมคงคา กทม.

พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ญาณวีโร)

พระราชาคณะเจ้าคณะรอง

๑๗

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร กทม.

พระสุทธาธิบดี (เชิด จิตฺตคุตโฺ ต)

พระราชาคณะเจ้าคณะรอง

๑๘

วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร กทม.

พระพรหมมุนี (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)

พระราชาคณะเจ้าคณะรอง

๑๙

วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กทม.

พระธรรมไตรโลกาจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก)

พระราชาคณะชันธรรม

๒๐

วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร กทม.

พระธรรมธัชมุนี (อมร ญาโณทโย)

พระราชาคณะชันธรรม

๒๑

วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก กทม.

พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล)

พระราชาคณะชันธรรม

๒๒

วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร กทม.

พระธรรมปริยตั ิโมลี (อาทร อินฺทปญฺโญ)

พระราชาคณะชันธรรม

๒๓

วัดราชผาติการามวรวิหาร กทม.

พระธรรมปาโมกข์ (สุนทร สุนฺทราโภ)

พระราชาคณะชันธรรม

๒๔

วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร กทม.

พระธรรมกิตติเมธี (เกษม สญฺญโต)

พระราชาคณะชันธรรม

๒๕

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กทม.

พระธรรมรัตนดิลก (สมเกียรติ โกวีโท)

พระราชาคณะชันธรรม

๒๖

วัดมฤคทายวัน (ดงแขม) อ.สระใคร จ.หนองคาย

พระครูอภัยธรรมรักขิต (เชิดศักดิ์ โชติปาโล)

กรมควบคุมการปฏิบตั ิ ทางอากาศ

๒๗

วัดสุทธจินดาวรวิหาร อ.เมือง จ.นครราชสีมา

พระสาสนโสภณ (โกศล สิรินฺธโร)

บน.๑

๒๘

วัดพระนารายณ์มหาราช อ.เมือง จ.นครราชสีมา

พระธรรมวรนายก (โอภาส นิรตุ ฺติเมธี)

บน.๑

๒๙

วัดบึง พระอารามหลวง อ.เมือง จ.นครราชสีมา

พระเทพสีมาภรณ์ (วันชัย กนฺตจารี)

บน.๑

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๗๑


ลำดับ

ชื่อวัด

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

พระกิตติรามมุนี (สนิท อคฺคจิตฺโต)

บน.๑

๓๐

วัดโพธิ์นิมิตร อ.เมือง จ.นครราชสีมา

๓๑

วัดโพธิ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา

พระครูปริยัติอมรธรรม (แช่ม อมรธมฺโม)

บน.๑

๓๒

วัดสะแก พระอารามหลวง อ.เมือง จ.นครราชสีมา

พระโสภณปริยตั ิวิธาน (สนั่น รตนโชโต)

บน.๑

๓๓

วัดประมวลราษฎร์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา

พระครูสุนทรคุณวัตร (หลวงพ่อทวี ปญฺญาธโร)

บน.๑

๓๔

วัดโคกหม้อ อ.เมือง จ.ลพบุรี

หลวงพ่อพิเชฐ สีลสุทฺโธ

บน.๒

๓๕

วัดโนนหัวช้าง อ.เมือง จ.ลพบุรี

พระครูกติ ติคณ ุ วิสุทธิ์

บน.๒

๓๖

วัดดงน้อย อ.เมือง จ.ลพบุรี

พระครูจันทศิริธร (หลวงพ่อสารันต์ จนฺทูปโม)

บน.๒

๓๗

วัดเขาลังพัฒนา อ.โคกส้าโรง จ.ลพบุรี

พระครูสุนทรปรีชากิจ (พระอาจารย์แดง)

บน.๒

๓๘

วัดเขาแร่กายสิทธิ์ อ.โคกส้าโรง จ.ลพบุรี

พระอธิการมหาชัย ปุณณฌาโณ

บน.๒

๓๙

วัดเขาพระ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี

พระครูพิพัฒน์กิตติสาร (หลวงพ่อสวง กิตติสาโร)

บน.๒

๔๐

วัดนนทรีย์ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา

พระครูวิจติ รการโกศล

บน.๒

๔๑

วัดธรรมโสภณ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์

หลวงพ่อลือ

บน.๔

๔๒

วัดจันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

พระครูนิวิฐธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเจริญ มุนจิ ารี)

บน.๔

๔๓

วัดโคกเจริญ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

หลวงปู่วัน ฐิติโก

บน.๔

๔๔

วัดสว่างวงษ์ คณะกิจ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

พระครูนิพัทธ์สุธรี าภรณ์ (หลวงพ่อนงค์ สุธีโร)

บน.๔

๔๕

วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

พระครูนิปณ ุ พัฒนวงศ์ (สมพงษ์ ทนฺตจิตฺโต)

บน.๔

๔๖

วัดหนองสีนวล อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

พระครูนิทัศน์กิจจาทร (หล่องพ่อวันชัย กมฺมสุทโธ)

บน.๔

๔๗

วัดหนองแอก อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

พระครูนริ ัตนตรวงศ์ (หลวงพ่อสมชาย รวิว้โส)

บน.๔

หน้า ๗๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ลำดับ ๔๘

ชื่อวัด วัดหัวตลุกวนารม (วัดป่าหัวตลุก) อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

หลวงปู่ลี ตาณังกะโร

บน.๔

๔๙

วัดป่าสัก อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท

พระครูสุจิตตสังวรคุณ (หลวงพ่อก้าจัด สุจิตโฺ ต)

บน.๔

๕๐

วัดคลองวาฬ พระอารามหลวง อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์

พระเดชพระคุณพระเทพสิทธิวิมล (ละเอียด สุทนฺโต)

บน.๕

๕๑

วัดธรรมิการามวรวิหาร อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์

พระเดชพระคุณพระราชสุทธิโมลี (สุทิน กโตภาโส)

บน.๕

๕๒

วัดเกาะหลัก พระอารามหลวง อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์

พระเดชพระคุณพระเมธีคุณาภรณ์ (อุดม สิริวณฺโณ)

บน.๕

๕๓

วัดหนองพังพวย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์

พระอธิการประสาร ปิยสาโร

บน.๕

๕๔

วัดนิคมคณาราม อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์

พระครูปลัดสนอง พลญาโณ

บน.๕

๕๕

วัดเขาหัวกระโหลก อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

พระครูสุมนธรรมสถิต (หลวงพ่อโส)

บน.๕

๕๖

วัดดอนเมือง กทม.

พระครูนิวิฐวรการ (เกษม ธมฺมรโต)

บน.๖

๕๘

วัดดาวดึงษาราม กทม.

พระมหาอิสระ ญาณิสสโร

บน.๖

๕๙

วัดปริวาสราชสงคราม กทม.

พระราชพัฒนากร (หลวงพ่อสมชาย)

บน.๖

๖๐

วัดน้อยนางหงษ์ กทม.

หลวงปู่บุญรอด

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๖๑

วัดธรรมบูชา อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี

พระราชไพศาลมุนี (ปราโมทย์ สิริจนฺโท)

บน.๗

๖๒

วัดบางกล้วย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี

พระครูโสภณจิตตสุนทร (พ่อท่านพล)

บน.๗

๖๓

วัดเกษมบ้ารุง (วัดขนาย) อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

พระครูเกษมจิตตาภิรักษ์ (หลวงพ่อล้าน)

บน.๗

๖๔

วัดน้ารอบ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

พระครูอนุภาสวุฒิคณ ุ (พ่อท่านกระจ่าง อนุภาโส)

บน.๗

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๗๓


ลำดับ

ชื่อวัด

๖๕

วัดจันทาวาส อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี

๖๖

วัดพระบรมธาตุไชยา ราชวรวิหาร อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

พระครูสุคนธรรม (หลวงพ่อคล้าย คนฺธสุธมฺโม)

บน.๗

พระอุดมธรรมปรีชา (จ้าลอง ธมฺมิสโร)

บน.๗

พระครูมหาเจติยารักษ์

บน.๗

พระอาจารย์เชียร ธัมมโชโต

บน.๗

๖๘

วัดพระบรมธาตุไชยา ราชวรวิหาร อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี วัดถ้าศรีเมือง อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี

๖๙

วัดแจ้ง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี

พระมงคลทีปาจารย์ (จ้ารัส เขมธัมโม)

บน.๗

๗๐

วัดเจดีย์แหลมสอ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี

พระครูถริ บุญญากร (สถิต ถิรปุญโญ)

บน.๗

๗๑

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมาราช

พระเทพวินยาภรณ์ (หลวงพ่อสมปอง ปณฺณาทีโป)

บน.๗

๗๒

วัดท่าม่วง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

พระครูพิศาลวิหารวัตร (พ่อท่านบุญให้ ปทุโม)

บน.๗

๗๓

วัดแดง อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมาราช

พระครูปญ ั ญาธรานุวัตร (พ่อท่านเคล้า ปญฺญาธโร)

บน.๗

๗๔

วัดหรงบน อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมาราช

พระครูพิทักษ์อินทมุนี (พระอาจารย์สมนึก ฉนฺทธฺมโม)

บน.๗

๗๕

วัดประชาสันติ อ.เมือง จ.พังงา

พระครูโพธิธรรมประภาส (พระอาจารย์เชือน ปภัสสโร)

บน.๗

๗๖

วัดเจริญสมณกิจ (วัดหลังศาล) อ.เมือง จ.ภูเก็ต

พระอาจารย์จ้ารัส จันทโชโต

บน.๗

๗๗

วัดธรรมถาวร อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร

พระมุนสี ารโสภณ (บุญเกียรติ กุลโสภโณ)

บน.๗

๗๘

วัดพุทธาราม อ.สวี จ.ชุมพร

พระครูภาวนาสิทธิจารย์ (หลวงพ่อนวล อคคฺวณโณ)

บน.๗

๗๙

วัดบ้านหงาว อ.เมือง จ.ระนอง

พระครูประจักษ์สุตสาร

บน.๗

๘๐

วัดประสิทธิ์สามัคคี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

พระอาจารย์จันที โอภาโส

บน.๗

๘๑

วัดป่าสิริธโรภาวนา อ.วังน้าเขียว จ.นครราชสีมา

พระอาจารย์วิสิทธิ์ สันติงกโร

บน.๗

๖๗

หน้า ๗๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ลำดับ

ชื่อวัด

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

๘๒

วัดกุดคูน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

พระครูสารธรรมประคุณ (รอด ธมฺมทินโน)

บน.๒๑

๘๓

วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

พระครูสารกิจโกศล (สุดใจ นิสฺโสโก)

บน.๒๑

๘๔

วัดศรีอุบลรัตนราม พระอารามหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

พระราชธรรมสุธี

บน.๒๑

๘๕

วัดบรูพา อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

บน.๒๑

๘๖

วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

๘๗

วัดวังอ้อ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

พระครูอุดมธรรมวิสิฐ พระครูวลิ าสกิจจาทร (หลวงพ่อบัวสอน โอภาโส) พระครูสุขุมวรรโณภาส

๘๘

วัดศรีเมืองทอง อ.เมือง จ.อุดรธานี

พระครูอุดรปัญญาคุณ (หลวงพ่อสุพจน์ อตฺถกาโม)

บน.๒๓

๘๙

วัดโยธานิมติ ร อ.เมือง จ.อุดรธานี

พระครูศาสนูปกรณ์ (หลวงตาจุมจี)

บน.๒๓

๙๐

วัดนิมิตโพธิญาณ อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี

พระครูใบฎีกากฤษณ์ กิตฺตญ ิ าโณ (พระอารย์ตยุ๋ )

บน.๒๓

๙๑

วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

หลวงปู่เสน ปัญญาธโร

บน.๒๓

๙๒

วัดโนนสว่าง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตฺโต)

บน.๒๓

๙๓

วัดกู่เต้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่

พระครูปภัสร์ธัมมรังษี

บน.๔๑

๙๔

วัดดอนจั่น อ.เมือง จ.เชียงใหม่

พระปชานาถมุนี

บน.๔๑

๙๕

วัดเทพนิมิต อ.เมือง จ.เชียงใหม่

พระเทพวิสุทธิญาณ

บน.๔๑

๙๖

วัดเจ็ดยอด อ.เมือง จ.เชียงใหม่

พระเทพปริยตั

บน.๔๑

๙๗

วัดพุทธพรหมปัญโญ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

พระอาจารย์วรคต วิริยธโร (หลวงตาม้า)

บน.๔๑

๙๘

วัดป่าดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

๙๙

วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่

๑๐๐

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

พระราชวิสุทธิญาณ พระครูสิริศลี สังวร (ครูบาน้อย) พระพรหมมงคล (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล)

พระพุทธศาสดาประชานาถ

บน.๒๑ บน.๒๑

บน.๔๑ บน.๔๑ บน.๔๑

หน้า ๗๕


ลำดับ

ชื่อวัด วัดเทพนิมิต สุดเขตแดนสยาม ๑๐๑ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ๑๐๒ วัดสันพระเจ้าแดง (ป่ายาง) อ.บ้านธิ จ.ล้าพูน

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

พระธรรมวิสุทธิญาณ

บน.๔๑

พระครูบาฏฤษดา

บน.๔๑

พระเดชพระคุณพระราชธรรมคณี

บน.๔๖

พระเดชพระคุณพระรัตนโมลี (หลวงพ่อไพรินทร์)

บน.๔๖

๑๐๕ วัดจันทร์ตะวันตก อ.เมือง จ.พิษณุโลก

พระเดชพระคุณพระอาจารย์อุบาลี อตุโล

บน.๔๖

๑๐๖ วัดจันทร์ตะวันตก อ.เมือง จ.พิษณุโลก

พระครูประภัสสรสันติคณ ุ

บน.๔๖

พระครูโกวิทพัฒนาทร (หลวงพ่อแดง)

บน.๔๖

พระโรจนศักดิ์ เพชรทองทวีคูณ

บน.๔๖

ไม่ประสงค์ออกนาม

บน.๔๖

พระครูโสภณคณาภิบาล (กล่อม ปญฺญาคโม)

บน.๕๖

๑๑๑ วัดพะโค อ.สทิงพระ จ.สงขลา

พระครูปญ ุ ญาพิศาล (วิชาญชัย กตปุญฺโญ)

บน.๕๖

๑๑๒ วัดเลียบ อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา

พระครูสิทธิสุตากร (สุเมธ สิทฺธิเมธี)

บน.๕๖

๑๑๓ วัดบางศาลา อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา

พระครูสุภัทรธรรมรส (โชคชัย สุภทฺโท)

บน.๕๖

๑๑๔ ส้านักสงฆ์สัจธรรมบ้านในไร่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

พระมหาจรูญ ขนฺติพโล

บน.๕๖

ส้านักสงฆ์ป่าช้า บ้านโพนสิม อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

พระครูสถิตปุญญานุวัฒน์ (หลวงปู่เขียน ปุญญกาโม)

สร.ภส.

๑๑๖ วัดเทพกัญญาราม อ.เมือง จ.สกลนคร

หลวงปู่สุธัมม์ ธัมมาปาโล

สร.ภข.

๑๑๗ วัดป่าอิสระธรรม อ.อากาศอ้านวย จ.สกลนคร

หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ

สร.ภข.

๑๑๘ วัดเขาถ้าพระ อ.กุดบาก จ.สกลนคร

หลวงปู่แสวง สุมังคะโล

สร.ภข.

๑๑๙ วัดป่าถ้าโพรง อ.กุดบาก จ.สกลนคร

พระอาจารย์ถาวร มหาวีโร

สร.ภข.

หลวงปู่อว้าน เขมโก

สร.ภข.

พระอาจารย์เจนยุทธนา จิรยุทธโธ (หลวงปู่ภูพาน)

สร.ภข.

๑๐๓ วัดศรีรตั นาราม (วัดจูงนาง) อ.เมือง จ.พิษณุโลก ๑๐๔

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) อ. เมือง จ.พิษณุโลก

๑๐๗ วัดบางทราย อ.เมือง จ.พิษณุโลก ๑๐๘ วัดเมมสุวรรณาราม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ๑๐๙ พระกรรมฐานสายวัดป่า จ.เลย ๑๑๐ วัดโคกเหรียง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา

๑๑๕

๑๒๐ วัดป่านาคนิมิตต์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ๑๒๑ วัดโนนสวรรค์ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์

หน้า ๗๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ลำดับ

ชื่อวัด

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

๑๒๒ วัดละหารไร่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง

พระครูวิจติ รธรรมาภิรตั (หลวงพ่อเชย)

สร.บพ.

๑๒๓ วัดละหารใหญ่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง

พระครูสุภัททาจารคุณ (หลวงพ่อสิน)

สร.บพ.

หลวงพ่อบุญช่วย

สร.ภม.

๑๒๕ วัดป่าภูทับเบิก อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์

พระอาจารย์วัชระ วิจิตโต

สร.ภม.

๑๒๖ วัดวังกระแจะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี

พระครูอดุลพิรยิ านุวัตร (หลวงพ่อชุบ ปัญญาวุโธ)

สร.กจ.

๑๒๗ วัดแจ้ง อ.เมือง จ.พัทลุง

พระครูสิทธิการโสภณ (พ่อท่านผ่อง ฐานุตฺตโม)

สร.หญ.

๑๒๘ วัดโคกแย้ม อ.เมือง จ.พัทลุง

พระครูพสิ ิฐธรรมคุณ (พ่อท่านละเอียด ครุธมฺโม)

สร.หญ.

๑๒๙ วัดวิหารสูง อ.เมือง จ.พัทลุง

พระครูวัชรวิหารคุณ (หลวงพ่ออุทัย อุทโย)

สร.หญ.

๑๓๐ วัดบ้านสวน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

พระครูขันตยาภรณ์ (พ่อท่านพรหม ขนฺติโก)

สร.หญ.

๑๓๑ วัดทุ่งนารี อ.ป่าบอน จ.พัทลุง

พระครูสังวรธรรมจารี (พ่อท่านผล อสฺสโร)

สร.หญ.

พระครูอาภัสร์ธรรมคุณ

สร.ขร.

หลวงปู่เฮง ปภาโส

สร.ขร.

พระครูสังวรสาธุวตั ร

รร.การบิน

หลวงปู่แผ้ว ปวโร

รร.การบิน

๑๓๖ วัดห้วยม่วง อ.ก้าแพงแสน จ.นครปฐม

พระครูวสิ ุทธิ์ธีรคุณ (ธีระ จิตตวิสุทธิ)

รร.การบิน

๑๓๗ วัดโพธิ์งาม อ.ก้าแพงแสน จ.นครปฐม

พระครูอาทรภัทรกิจ (เกิอกูล ขุทฺทโก)

รร.การบิน

๑๓๘ วัดไผ่รื่นรมย์ อ.ก้าแพงแสน จ.นครปฐม

พระครูวิมลชัยสิทธิ (หลวงพ่อล้อม ชยธมฺโม)

รร.การบิน

๑๒๔ วัดวังทอง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์

๑๓๒ วัดโคกกรม อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ วัดพัฒนาธรรมาราม (บ้านด่าน-ช่องจอม) ๑๓๓ อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ๑๓๔ วัดไทยาวาส อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม วัดรางหมัน (วัดประชาราษฎร์บ้ารุง) ๑๓๕ อ.ก้าแพงแสน จ.นครปฐม

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๗๗


ลำดับ

ชื่อวัด

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

๑๓๙ วัดห้วยเงาะ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

หลวงพ่อเขียว

ฉก.๙

๑๔๐ วัดช้างไห้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

พ่อท่านหยวน

ฉก.๙

๑๔๑ วัดศรีมหาโพธิ์ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

พ่อท่านจ่าง

ฉก.๙

๑๔๒ วัดทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

พ่อท่านเพ็ง

ฉก.๙

๑๔๓ วัดนาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

พ่อท่านพล

ฉก.๙

๑๔๔ วัดยางแดง อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

หลวงพ่อจวน

ฉก.๙

๑๔๕ วัดเกาะหวาย อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

พ่อท่านซุ่น

ฉก.๙

๑๔๖ ส้านักสงฆ์เวียงป่าโป อ.เมือง จ.สงขลา

พระอาจารย์ ปิติพงศ์

ฉก.๙

๑๔๗ วัดในเตา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง

พระอาจารย์ประสูติ

ฉก.๙

๑๔๘ วัดสุทธาวาส อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

พระอธิการ สุนทร ฐานวโร

สถทค.บ้านลาดช้าง

๑๔๙ วัดล้ามหาเมฆ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

พระครูไพโรจน์สารคุณ (สุเทพ)

สถทค.บ้านลาดช้าง

๑๕๐ วัดลาดหลุมแก้ว อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

พระอธิการบุญส่ง จนฺทปุญฺโญ

สถทค.บ้านลาดช้าง

พระอธิการสุนทร ฐานวโร

สถทค.บ้านลาดช้าง

พระครูวินัยธร วิรัตน์ ปิยธมฺโม

ศทค.ชัน ๒ จันทบุรี

พระสุธีปริยัตยาภรณ์ (พร้อม กนฺตสีโล ป.ธ.๗)

ศทค.ชัน ๒ จันทบุรี

๑๕๑ วัดสุทธาวาส อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ๑๕๒ วัดใหม่ท่าแฉลบ อ.เมือง จ.จันทยุรี ๑๕๓ วัดพลับ อ.เมือง จ.จันทบุรี ๑๕๔ วัดหนองสร้อย อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี วัดเนินจ้าปาราษฎร์บา้ รุง อ.แก่งหางแมว ๑๕๕ จ.จันทบุรี ๑๕๖ วัดเขาวงกต อ.แก่งหางแมง จ.จันทบุรี

พระครูพิพัฒน์วิหารกิจ

สถทค.เขาชะเมา

พระปลัดนคร ทีปะธรรมมะนครินทน์โท

สถทค.เขาชะเมา

หลวงพ่ออ่อง ถาวโร

สถทค.เขาชะเมา

๑๕๗ วัดถ้าเข้าน้อยเกสโร อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

พระอาจารย์อรรณพ กนฺตสีโร (หลวงพ่อเล็ก)

สถทค.เพชรบุรี

พระครูสุนทรวัชรกิจ (หลวงพ่อแดง)

สถทค.เพชรบุรี

พระอาจารย์รังษี ธิตวิริโย

สถทค.ภูเขาเขียว

๑๖๐ วัดผาพยอม อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร

พระครูทิพยธรรมมาภร (ไสว สุธีโร)

สถทค.ภูเขาเขียว

๑๖๑ วัดเจดีย์ชัยมงคล อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด

พระครูปลัดทองอินทร์

สถทค.ภูเขาเขียว

วัดถ้าอภัยด้ารงธรรม (วัดถ้าม่วง) อ.ส่องดาว จ.สกลนคร

พระครูอุดมญาณโสภณ (หลวงปู่หลอ นาถกโร)

สถทค.ภูผาเหล็ก

๑๕๘ วัดถ้ารงค์ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ๑๕๙

๑๖๒

วัดผาน้าทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม (ผาน้าย้อย) อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด

หน้า ๗๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ลำดับ

ชื่อวัด

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

๑๖๓ วัดโชติการราม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร

พระครูวรกิจธรรมโกศล (หลวงปู่เคน วรธัมโม)

สถทค.ภูผาเหล็ก

๑๖๔ วัดถ้าเป็ด อ.ส่องดาว จ.สกลนคร

หลวงปู่ก้าน จิตฺตธมฺโม

สถทค.ภูผาเหล็ก

พระอาจารย์เกียรติศักดิ์ วรธัมโม (พระอาจารย์หนุ่ม)

ศทค.ชัน ๒ สกลนคร

๑๖๕ วัดป่าธัมปาลวนาราม อ.เมือง จ.สกลนคร ๑๖๖ วัดถ้าผาแด่น อ.เมือง จ.สกลนคร

พระอาจารย์ปกรณ์ กนตวีโร พระครูวินัยธรวิชัย ญาติธมฺโม (พระอาจารย์อานนท์) พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ

ศทค.ชัน ๒ สกลนคร

พระครูพรรตวนานุกลู

ศทค.ชัน ๒ เขาเขียว

พระญาณดิลก (ปัญญา สทฺธายุตโต)

ศทค.ชัน ๒ เขาเขียว

พระครูโสภณจารุวัตร

ศทค.ชัน ๒ เขาเขียว

พระครูปริยัติ

ศทค.ชัน ๒ เขาเขียว

พระครูประภาส ชลธรรม (ดุสิต ปภังกโร)

สถทค.เขาฉลาก

พระครูรักชิตะวันพิทักษ์ (หลวงพ่อมนตรี รมณีจติ โต)

สถทค.เขาฉลาก

๑๗๕ วัดราษฎร์เรืองสุข อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี

หลวงปู่ฮก รตินฺธโร

สถทค.เขาฉลาก

๑๗๖ วัดมะปราง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท

พระครูศลี ชัยคุณ

สถทค.เขาฉลาก

พระครูสุวรรณสารวิบลู (สนาม)

สถทค.เขาวงจันแดง

พระครูสุพจนวรคุณ (หลวงปู่สุพจน์ ฐิตัพพะโต)

สถทค.เขาวงจันแดง

๑๗๙ วัดคีรีบัววนาราม อ.ล้าสนธิ จ.ลพบุรี

พระครูปญ ั าวุธากร

สถทค.เขาวงจันแดง

๑๘๐ วัดเขาน้อย อ.ล้าสนธิ จ.ลพบุรี

พระครูศลี สังวรพิมล

สถทค.เขาวงจันแดง

พระครูสังฆรักษ์ศริ ิ สิริธมั โม (หลวงปู่รอด สิริธัมโม)

สถทค.เขาสลัดได

พระปลัดจรูญ โกสโล

สถทค.เขาสลัดได

๑๘๓ วัดดอนชมพู อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา

พระครูสุนทรธรรมประสาท

สถทค.เขาสลัดได

๑๘๔ วัดเทพกัญญาราม อ.เมือง จ.สกลนคร

หลวงปู่สุธัมม์ ธัมปาโบ

ศทค.ชัน ๒ ภูเขียว

๑๖๗ วัดสันติสังฆาราม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ๑๖๘ วัดไตรสิขาทลามลตาราม อ.ค้าตากล้า จ.สกลนคร ๑๖๙ วัดป่าเขาใหม่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ๑๗๐

วัดมงกุฏคีรีวัน (เขาใหญ่) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

๑๗๑ วัดโนนกุ่ม อ.สีคิว จ.นครราชสีมา ๑๗๒ วัดป่าโนนกุ่มนอก อ.สีคิว จ.นครราชสีมา ๑๗๓ วัดพรหมวาส (วัดเขาฉลาก) อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ๑๗๔ วัดปาลิไลยวัน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

๑๗๗ วัดบุปผาราม (ปลายคลอง) อ.เมือง จ.ตราด ๑๗๘ วัดห้วงพัฒนา อ.เขาสมิง จ.ตราด

๑๘๑ วัดบ้านดอนสระจันทร์ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา ๑๘๒ วัดสมานมิตร อ.เฉลิมเกียรติ จ.นครราชสีมา

พระพุทธศาสดาประชานาถ

ศทค.ชัน ๒ สกลนคร ศทค.ชัน ๒ สกลนคร

หน้า ๗๙


ลำดับ

ชื่อวัด

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

๑๘๕ วัดป่าธัมมปาลวนาราม อ.เมือง จ.สกลนคร

พระอาจารย์เกียรติศักดิ์ วรธัมโม (พระอาจารย์หนุ่ม)

ศทค.ชัน ๒ ภูเขียว

๑๘๖ วัดพระบาทน้าทิพย์ อ.ภูพาน จ.สกลนคร

พระอาจารย์บุญมี เขมธัมโม

ศทค.ชัน ๒ ภูเขียว

๑๘๗ วัดถ้ามะค่า อ.ภูพาน จ.สกลนคร วัดสุทธิกาวาส (วัดนาป่าแซง) ๑๘๘ อ.ปทุมราชวงศา จ.อ้านาจเจริญ

พระอาจารย์ศรีธาตุ ฐานรโต

ศทค.ชัน ๒ ภูเขียว

พระครูปทุม จันทโชติ

สถทค.ภูสิงห์

พระครูวริ ิยอุดมกิจ (หลวงพ่อแสง ปรีปุณโณ)

สถทค.ภูสิงห์

พระวิชัยมุนี

สถทค.ภูสิงห์

๑๙๑ วัดพระเหลาเทพนิมติ ร อ.พนา จ.อ้านาจเจริญ

พระครูนมิ ิตพนารักษ์

สถทค.ภูสิงห์

๑๙๒ วัดหาดน้อย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

พระครูอานันทคุณากร (หลวงพ่อซ้าย นนฺทโก)

สถทค.คีรรี ัฐนิคม

พระเทพวิสุทธิคณ ุ

ศทค.ชัน ๒ ขอนแก่น

๑๘๙ วัดป่าฤกษ์อุดม อ.ปทุมราชวงศา จ.อ้านาจเจริญ ๑๙๐ วัดส้าราณนิเวศน์ อ.เมือง จ.อ้านาจเจริญ

๑๙๓ วัดหนองกุง อ.น้าพอง จ.ขอนแก่น วัดเจติยภูมิ (พระธาตุขามแก่น) ๑๙๔ อ.น้าพอง จ.ขอนแก่น วัดบัวตะเคียน (วัดปราสาทพนมรุง้ ) ๑๙๕ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ เลขานุการเจ้าคณะต้าบลจรเข้มาก ๑๙๖ อ.ประโคนชัย จ.บุรีรมั ย์ ๑๙๗ วัดตาอี อ.บ้านกรวด จ.บุรีรมั ย์

พระครูสุตธรรมภาณี

ศทค.ชัน ๒ ขอนแก่น

พระอธิการจริต จันทวัณโณ

ศทค.ชัน ๒ เขาพนมรุ้ง

พระสุภาพ วิสุทธสาโร

ศทค.ชัน ๒ เขาพนมรุ้ง

หลวงปูชืน ติคญาโณ

ศทค.ชัน ๒ เขาพนมรุ้ง

๑๙๘ วัดตาด่าน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรมี ย์

หลวงปู่อุทัย อุทโย

ศทค.ชัน ๒ เขาพนมรุ้ง

๑๙๙ วัดพิชโสภาราม อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

พระภาวนาสุตาภิรตั (ชอบ พุทธสโร)

ศทค.ชัน ๒ น่าน

๒๐๐ วัดโนนวัฒนาราม อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี

พระครูโสภณพัฒนคุณ

ศทค.ชัน ๒ น่าน

๒๐๑ วัดมิ่งเมือง อ.เมือง จ.น่าน

พระสุนทรมุนี

ศทค.ชัน ๒ น่าน

๒๐๒ วัดสวนตาล อ.เมือง จ.น่าน

พระครูสถิตธรรมรักษ์

ศทค.ชัน ๒ น่าน

พระครูผาสุกวิหารการ (หลวงพ่อสมพงษฺ อัคคปัญโญ)

ศทค.ชัน ๒ ประจวบคีรีขันธ์

พระอธิการส้าราญ อภิชาโต (พระอาจารย์ป้อม)

ศทค.ชัน ๒ ประจวบคีรีขันธ์

พระครูสุภัทรธรรมากร

สถทค.บ้านพรุ

๒๐๓

วัดอ่างสุวรรณ (วัดโบสถ์ไม้ตาล) อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์

๒๐๔ วัดนาล้อม อ.ทับสะแก จ.ประขวบคีรีขันธ์ ๒๐๕ วัดพระบาท อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

หน้า ๘๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ลำดับ

ชื่อวัด

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

พระครูสัรตยาภิยุต

สถทค.บ้านพรุ

๒๐๗ วัดโคกม่วง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา

พระครูสุทธิจิตตาภรณ์

สถทค.บ้านพรุ

๒๐๘ วัดโคกกอ อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา

พระปลัดศักรินทร์ ติสสวโส

สถทค.บ้านพรุ

๒๐๙ วัดเลียบ อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา

พระครูสิทธิสุตากร

ศทค.ชัน ๒ หาดใหญ่

๒๑๐ วัดเลียบ อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา

พระครูพิรยิ มงคล

ศทค.ชัน ๒ หาดใหญ่

๒๑๑ วัดชัยชนะสงคราม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

พระครูมงคลสุตาภรณ์

ศทค.ชัน ๒ หาดใหญ่

๒๑๒ วัดสุวรรณรังสรรค์ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง

พระครูวรธรรมโกษาภิรักษ์ (หล่วงพ่อหนาน หรือหลวงปู่ทิม ๒)

ศทค.ชัน ๒ อู่ตะเภา

พระครูวิธานสุพัฒนกิจ

ศทค.ชัน ๒ อู่ตะเภา

๒๑๔ วัดป่าธรรมจักร อ.เมือง จ.ชัยภูมิ

พระอาจารย์ต่อศักดิ์ วรเตโช

สถทค.ภูโค้ง

๒๑๕ วัดสมศรี อ.เมือง จ.ชัยภูมิ

พระครูสุนทร ชัยรังษี (พระอาจารย์นาวา สุนทโร)

สถทค.ภูโค้ง

พระครูบวรธรรมปคุณ (นิวัฒน์ จักรวโร)

สถทค.มหาสารคาม

๒๑๗ วัดอุทัยทิศ อ.เมือง จ.มหาสารคาม

พระครูสิรสิ ารโกวิท (สัม ฐานุตตโม)

สถทค.มหาสารคาม

๒๑๘ วัดโพธิ์ศรี อ.เมือง จ.มหาสารคาม

หลวงงปู่เสาร์ ธัมมโชโต

สถทค.มหาสารคาม

๒๑๙ วัดพุทธวราราม อ.เมือง จ.มหาสารคาม

พระครูภาวนาชยานุสิฐ

สถทค.มหาสารคาม

๒๒๐ วัดศรีทัศน์ อ.ภูกระดึง จ.เลย

พระครูสุทัศน์ธรรมยุต

สถทค.ภูกระดึง

พระครูอุทุมพร วณารักษณ์

สถทค.ภูกระดึง

๒๒๒ วัดป่าม่วงไข่ อ.ภูเรือ จ.เลย

หลวงพ่อขันตี ญาณวโร

สถทค.ภูกระดึง

๒๒๓ วัดป่าเวฬุวนาราม อ.วังสะพุง จ.เลย

หลวงพ่อสมศรี อัตตสิริ

สถทค.ภูกระดึง

พระครูโอภาสกิตติญาณ (หลวงพ่อสาท กิตติญาณ)

สถทค.เขื่องใน

พระอธาการปราโมทย์ ธมมุทโฒ (หลวงพ่อจ่อย ธมมวุทโฒ)

สถทค.เขื่องใน

๒๒๖ วัดบ้านพับ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่โทน

สถทค.เขื่องใน

๒๒๗ วัดป่าโพนทอง อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ส้านักสงฆ์กระแสร์สามัคคีธรรม ๒๒๘ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์

หลวงปู่เขียน

สถทค.เขื่องใน

พระอาจารย์ศรี อริยวังโส

สถทค.บ้านยาง

๒๐๖ วัดปทุมธาราวาส (โปะหมอ) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

๒๑๓ วัดพลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง

๒๑๖ วัดหนองหูลิง อ.เมือง จ.มหาสารคาม

๒๒๑ วัดป่าอุทุมพรวนาราม อ.ภูกระดึง จ.เลย

๒๒๔ วัดแสงไผ่ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ๒๒๕ วัดหนองลุ่ม อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๘๑


ลำดับ

ชื่อวัด

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

พระครูปญ ั ญาสิรโิ พธิ

สถทค.บ้านยาง

๒๓๐ วัดชูประศาสนาราม อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์

พระสมุทร ค้าภีรปัญโญ

สถทค.บ้านยาง

๒๓๑ วัดทุ่งสว่างนารุ่ง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์

พระครูเกษมธรรมวิสิฐ

ศทค.ชัน ๒ สุรินทร์

๒๓๒ วัดบ้านข่า อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์

พระครูพิบลู พัฒนประสุต

ศทค.ชัน ๒ สุรินทร์

๒๓๓ วัดโคกกรม อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์

พระครูอาภัสร์ธรรมคุณ

ศทค.ชัน ๒ สุรินทร์

๒๓๔ วัดป่าห้วยเสนง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์

พระครูพิพิธวรการ

ศทค.ชัน ๒ สุรินทร์

๒๓๕ วัดพุนพินใต้ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

พระครูโกวิทนวการ (หลวงพ่อภาส โกวิทโก)

สถทค.บ้านปากกระแดะ

๒๓๖ วัดทุ่งเซียด อ.พุนพิน ขว.สุราษฎรร์ธานี

พระครูสารโสตติคฯุ (หลวงพ่อสวัสดิ์)

สถทค.บ้านปากกระแดะ

๒๓๗ วัดคงคาราม อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี

พระปลัดสมชาย อภินันโท (พระอาจารย์สมชาย)

ศทค.ชัน ๒ สมุย

๒๓๘ วัดศรีทวีป อ.เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี

พระสมุห์วัชรินทร์ อินทปัญโญ (พระอาจารย์ขวด)

ศทค.ชัน ๒ สมุย

๒๓๙ วัดคุณาราม อ.เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี

พระครูสิริทีปคุณากร

ศทค.ชัน ๒ สมุย

๒๔๐ วัดเทพธาราม อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี วัดส้านักสงฆ์ถ้าเพชรวิมุติธรรม ๒๔๑ อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี ๒๔๒ วัดป่าเขาหน้าแดง อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี

พระอธิการปรีชา สีลธมโน

สถทค.บ้านทับคริสต์

พระพักสันตะ มโน

สถทค.บ้านทับคริสต์

หลวงตาบุญส่ง

สถทค.บ้านทับคริสต์

๒๔๓ วัดป่าเคียนพิง อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี

พระอาจารย์จรูญ ปิยสีโล

สถทค.บ้านทับคริสต์

๒๔๔ วัดส้านักขัน อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช

พระครูประโชติอินทคุณ (หลวงพ่อสนั่น อินทโชติ)

สถทค.ชุมทางเขาชุมทอง

พระครูสุวโจ เทวธรรมโม (พระอาจารย์โจ)

สถทค.ชุมทางเขาชุมทอง

๒๔๖ วัดสีลารัตน์ อ.ส่องดาว จ.สกลนคร

พระอาจารย์เสือ กันตสาโล

สถทค.ภูแฝก

๒๔๗ วัดดงสร้างค้า อ.ส่องดาว จ.สกลนคร

พระอาจารย์สรุ เดช กตธัมโม

สถทค.ภูแฝก

๒๔๘ วัดโพนวิมาน อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์

พระอาจารย์ศักดา ธัมมรโต

สถทค.ภูแฝก

๒๔๙ วัดสมหวัง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี

พระครูสุตธรรมสิทธิ์

สถทค.บ้านทุ่งโพธิ์

๒๕๐ วัดกลางเก่า อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี

พระครูอดุลสีลานุวัตร

สถทค.บ้านทุ่งโพธิ์

พระครูชลาธรธ้ารง

สถทค.บ้านทุ่งโพธิ์

๒๒๙ วัดโพธิญาณบ้านอนันต์ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์

๒๔๕

ส้านักสงฆ์เขาชุมทอง อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช

๒๕๑ วัดสถลธรรมาราม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

หน้า ๘๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ลำดับ

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

๒๕๒ วัดสถลธรรมาราม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

พระครูชลาธรธ้ารง (พระอาจาย์ทอง)

ศทค.ชัน ๒ สุราษฎร์ธานี

๒๕๓ วัดวิภาวดีกาญจนา อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี

พระครูธรี ธรรมานุยุต

ศทค.ชัน ๒ สุราษฎร์ธานี

๒๕๔ วัดกลางใหม่ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี วัดพิศิษฐ์อรรถาราม ๒๕๕ อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช

พระครูปริยัติคณ ุ าวุธ

ศทค.ชัน ๒ สุราษฎร์ธานี

พระครูอรรถธรรมวัตร

ศทค.ชัน ๒ สุราษฎร์ธานี

พระราชวชิรากร (พระอาจารย์ชัย)

สถทค.บ้านทุ่งสูง

หลวงพ่อจ้าเนียร สีลเสฏโฐ

สถทค.บ้านทุ่งสูง

พระครูถริ ธรรมรัต

สถทค.บ้านทุ่งสูง

พระราชวิสุทธิกวี (พระมหาไมตรี ปุญญามริญโท)

ศทค.ชัน ๒ นครศรีธรรมราช

๒๕๖

ชื่อวัด

วัดมหาธาตุวิชรมงคล (วัดบางโพ) อ.อ่าวลึก จ.กระบี่

๒๕๗ วัดถ้าเสือ อ.เมือง จ.กระบี่ วัดราษฎร์อุปถัมภ์ (วัดบางเหรียง) ๒๕๘ อ.ทับปุด จ.พังงา ๒๕๙

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

วัดโทเอก (หัวตลิ่ง) อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช ๒๖๑ วัดโคกพะยอมสุการาม อ.นาหม่อม จ.สงขลา

พระปลัดเมธี ปิยธมฺโม

ศทค.ชัน ๒ นครศรีธรรมราช ศทค.ชัน ๒ เขาวังชิง

๒๖๒ วัดแม่เปียะ อ.นาหม่อม จ.สงขลา

พระครูกติ ติปริยัตสิ ุนทร

ศทค.ชัน ๒ เขาวังชิง

๒๖๓ วัดโพธิ์ อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา

พระครูประสุตโพธิคณ ุ

ศทค.ชัน ๒ เขาวังชิง

พระอธิการประเจียง ปัญญาวโร

ศทค.ชัน ๒ วัฒนานคร

พระครูวิจติ รจันทคุณ (สมจันทร์ จิตตฺตคุโณ)

ศทค.ชัน ๒ วัฒนานคร

๒๖๖ วัดป่าใต้พัฒนาราม อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว

พระครูปลัดบุดดา ปัญญ ฺ าธโร

ศทค.ชัน ๒ วัฒนานคร

๒๖๗ วัดป่าหนองหล่อม อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว

พระอาจารย์ขวัญเมือง สุธัมโม

ศทค.ชัน ๒ วัฒนานคร

๒๖๘ วัดใหญ่จอมปราสาท อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

พระมหาทิวากร อาภทโท

สถทค.กระทุ่มแบน

พระครูวสิ ุทธิ์สิทธิคุณ พระครูธรรมรัต (ธงชัย ชวนปญโญ) พระครูวัฒนธรรมภรณ์

สถทค.กระทุ่มแบน

หลวงปู่จันทา

สถทค.ภูโลน

๒๗๓ วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกสีสุพรรณ จ.สกลนคร

หลวงปู่แบน ธนากโร

สถทค.ภูโลน

๒๗๔ วัดประชาคมวนาราม อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

หลวงปู่ทองอิน กตปุณโย

สถทค.ภูโลน

๒๖๐

๒๖๔ วัดท่าเกวียน อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ๒๖๕

วัดสุธรรมาวาส (บ้านบางหลวง) อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว

๒๖๙ วัดโกรกกราก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ๒๗๐ วัดนางสาว อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ๒๗๑ วัดมหาเจดีย์ชัยมงคล อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ๒๗๒ วัดป่าเมยวดี อ.เมยวดี จ.ร้อยเอ็ด

พระสมุห์วิโรจน์

พระพุทธศาสดาประชานาถ

สถทค.กระทุ่มแบน สถทค.ภูโลน

หน้า ๘๓


ลำดับ

ชื่อวัด

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

๒๗๕ วัดราษฎร์สามัคคี อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

พระครูปลัดวรศักดิ์ รุจิธมั โม (หลวงพ่อฟุ้ง)

สถทค.เขาหมอน

๒๗๖ วัดช้องแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

พระครูวสิ ารทสุตากร

สถทค.เขาหมอน

พระครูจันทสิริธร (หลวงพ่อสารันต์ จันทนูปโม)

สถทค.เขาวงพระจันทร์

พระครูโสภณวิสุทธิ์ (พระครูสมชัย มณีวณฺโณ)

สถทค.เขาวงพระจันทร์

๒๗๙ วัดเกริ่นกฐิน อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี

พระครูสังรักษ์ ภัทรภณ เขมปฺญโย

สถทค.เขาวงพระจันทร์

๒๘๐ วัดเขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี

หลวงพ่อวัดเขาสมอคอน

สถทค.เขาวงพระจันทร์

๒๘๑ วัดเกษมสุข อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ

พระครูจารุวรรณโสภณ (หลวงพ่อภาส)

สถทค.บ้านส้มป่อยน้อย

พระครูวินัยธรศักดิม์ นตรี ปภสฺสโร (พระอาจารย์โชติ)

สถทค.บ้านส้มป่อยน้อย

๒๘๓ วัดสระก้าแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ

พระมหาชัชวาล โอภาโส

สถทค.บ้านส้มป่อยน้อย

๒๘๔ วัดบ้านส้มป่อยน้อย อ.อุทุมพรพิสยั จ.ศรีสะเกษ

พระครูสุนทรสุทธิธรรม

สถทค.บ้านส้มป่อยน้อย

๒๘๕ วัดไชยธาราม (วัดฉลอง) อ.เมือง จ.ภูเก็ต

พระมหาพงษ์ศักดิ์ เตชวณฺโณ

ศทค.ชัน ๒ ภูเก็ต

๒๘๖ ส้านักสงฆ์ป่าเทพทาโร อ.เมือง จ.ภูเก็ต

หลวงพ่อจันทรฺ ปัยญาวโร

ศทค.ชัน ๒ ภูเก็ต

๒๘๗ วัดวังขยาย อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

พระครูอาทรกาญจนธรรม (หลวงพ่อฐานิส วชิรญาโณ)

ศทค.ชัน ๒ กาญจนบุรี

๒๘๘ วัดผาผึง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

พระมหาชัยณรงค์ อาภากโร

ศทค.ชัน ๒ กาญจนบุรี

๒๘๙ วัดยางขาว อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

พระครูกาญจนกิจจานุรักษ์

ศทค.ชัน ๒ กาญจนบุรี

๒๙๐ วัดเภตราสุขารมย์ อ.เมือง จ.ระยอง

พระครูพรหมจริยานุวัฒน์ (ประสิทธิ์ ฐานวีโร)

ศทค.ชัน ๒ บ้านเพ

๒๙๑ วัดหนองสะเดา อ.หนองแค จ.สระบุรี

พระครูโสภณถิรคุณ (หลวงพ่อสุนทร จนทเคโร)

ศทค.ชัน ๒ บ้านเพ

พระญาณรังษี

ศทค.ชัน ๒ บ้านเพ

พระอโนมคุณมุนี(พินิจ พุทธสโร)

สถทค.ชุมพร

พระอธิการสากล ฐานิสสโร

สถทค.ชุมพร

หลวงพ่อหลา ยุตตฺ ิโก

สถทค.ชุมพร

๒๗๗ วัดดงน้อย อ.เมือง จ.ชลบุรี ๒๗๘ วัดถนนใหญ่ อ.เมือง จ.ลพบุรี

๒๘๒

วัดศรีสมบูรณ์รตั นาราม อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ

๒๙๒ วัดส้าเภาทอง อ.เมือง จ.ระยอง ๒๙๓ วัดสามแก้ว อ.เมือง จ.ชุมพร วัดกาลพัฒนาราม (หนองเข้) ๒๙๔ อ.เมือง จ.ชุมพร ๒๙๕ วัดดอนรวบ อ.เมือง จ.ชุมพร

หน้า ๘๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ลำดับ

ชื่อวัด

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

๒๙๖ วัดช่องลมพรหมนิมิต อ.เมือง จ.ชุมพร

พระอาจารย์จรัญ ปัญญาธโร

สถทค.ชุมพร

๒๙๗ วัดป่าภูทับเบิก อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์

พระอาจารย์วัชระ วิจิตโต

ศทค.ชัน ๒ ภูหมันขาว

๒๙๘ วัดป่าศรัทธาราม อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์

หลวงปู่วี ธีระปัญโญ

ศทค.ชัน ๒ ภูหมันขาว

๒๙๙ วัดหนองผ้าวนาวาส อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว

พระครูวินิตกัลนาณธรรม

ศทค.ชัน ๒ เขาจาน

๓๐๐ วัดท่าซงสาขาที่ ๙ อ.วังน้าเขียว จ.นครราชสีมา

พระทวีเดช กตปุญโญ

ศทค.ชัน ๒ เขาจาน

๓๐๑ วัดท่าเกวียน อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว

พระครู สุตวรญาณ

ศทค.ชัน ๒ เขาจาน

๓๐๒ วัดถ้าเขาฉกรรจ์ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว

พระครูศรีรตั น์สรกิจ

ศทค.ชัน ๒ เขาจาน

ครูบาพรชัย วิชโย

สอ.ทอ.

พระครูวิทิตพัฒนโสภณ

สอ.ทอ.

พระครูสิริธรรมธาดา

สอ.ทอ.

๓๐๖ วัดบรรพตสถิต อ.เมือง จ.ล้าปาง

พระมหานพดล สุวณ ั ณเมธี

สอ.ทอ.

๓๐๗ วัดเจดียซ์ าวหลัง อ.เมือง จ.ล้าปาง

พระราชรินดานายก

สอ.ทอ.

๓๐๘ วัดพระเจ้าทันใจ อ.เมือง จ.ล้าปาง

พระครูพุทธิธรรมโสภิต

สอ.ทอ.

๓๐๙ วัดบุญเกิด อ.เมือง จ.ล้าปาง

พระฐิตินาถ อักกะปัญโญ

สอ.ทอ.

พระครูปลัดอุทินเทพ อติธัมโม

สอ.ทอ.

พระครูนมิ ิตร กิตโสภณ

สอ.ทอ.

๓๑๒ วัดปุรณาวาส กทม.

พระสุเทพ ผาสุกโก

สอ.ทอ.

๓๑๓ วัดโกมุทพุทธรังสี กทม.

พระครูโกมุทสิทธิการ

สอ.ทอ.

๓๑๔ วัดโคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

พระครูสาครรัตนาภรณ์

สอ.ทอ.

๓๑๕ วัดสระพัง อ.ก้าแพงแสน จ.นครปฐม

พระครูไพโรจน์ภัทรคุณ

สอ.ทอ.

หลวงปู่ทอง

สอ.ทอ.

๓๑๗ วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง อ.เมือง จ.หนองคาย

พระธรรมมงคลรังษี (หลวงพ่อค้าบ่อ อรุโณ)

รร.นนก.

๓๑๘ วัดหงส์รตั นาราม กทม.

พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์ (หลวงพ่อสมบูรณ์)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๑๙ วัดตาล อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

พลวงพ่อสิริ สิริวัฒโน

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๒๐ วัดใหญ่สว่างอารมณ์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

พระนันทวิริยาภรณ์ (หลวงพ่ออ่าง)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๐๓ วัดพระธาตุโป่งดินสอ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ๓๐๔ วัดพระศรีอารย์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ๓๐๕ วัดไพชยนต์พลเสพย์ กทม.

๓๑๐ วัดป่าปงสนุก อ.ห้างฉัตร จ.ล้าปาง ๓๑๑ วัดใหม่ผดุงเขต อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

๓๑๖ วัดดอนไก่ดี อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๘๕


ลำดับ

ชื่อวัด

๓๒๑ วัดบางพลีน้อย อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

พระครูวสิ ุทธิ์สมุทรคุณ (หลวงพ่ออนันต์)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๒๒

วัดพิชัยสงคราม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

พระครูวิชัยกิจจารักษ์ (หลวงพ่ออุดม อุตตมปัญโญ)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๒๓

วัดบรมวงศ์อิศราวรารามวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

พระมหาเป็นหนึ่ง สุนฺทรเมธี

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๒๔

วัดประดู่ทรงธรรม อ.พระนครศรีอยธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

หลวงพ่อผิว อภิชาโต

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๒๕ วัดโปรดสัตว์ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา

พระปลัดชม อลีนจิตโต (หลวงพ่อชม)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๒๖ วัดลาดชะโด อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา

พระครูปลัดศราวุธ (พราอาจารย์ปิ่น)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๒๗ วัดสง่างาม อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา

พระอาจารย์ส้าราญ สันตมโน

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๒๘ วัดตาลเอน อ.บางประหัน จ.พระนครศรีอยุธยา

พระครูวสิ ุทธิ์ภาวนาประสิทธิ์ (พระอาจาย์จริ ยุทธ์ อธิฉนฺโท)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

พระครูภาวนานุกูล (หลวงพ่อชูชัย อริโย)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

พระครูอุดมภาวนาธิมุต (หลวงพ่อเพย)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๒๙ วัดนาค อ.บางประหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ๓๓๐ วัดบึง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ๓๓๑ วัดชัยเภรีย์ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ๓๓๒ วัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

พระอาจารย์บุญค้า หลวงพ่อฟู

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๓๓ วัดหนองโพธิ์ อ.เมือง จ.นครนายก

พระมหาสวัสดิ์ ธีรปภาโส

วัดสว่างอารมณ์ (แคแถว) อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

พระครูยติธรรมมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๓๕ วัดดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม

พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่ออ้านวย)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๓๔

หน้า ๘๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ลำดับ

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ

๓๓๖ วัดหนองกระทุ่ม อ.ก้าแพงแสน จ.นครปฐม

พระครูโกศลนวการ (หลวงปู่ปั่น)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๓๗ วัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตโฺ ต)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๓๘ วัดบึงลาดสวาย อ.บางเลน จ.นครปฐม

พระสุเมธมุนี (หลวงปู่ล้าพวน)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๓๙ วัดจุฬามณี อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (พระอาจารย์อฏิ ฐ์)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๔๐

ชื่อวัด

วัดประดู่พระอารามหลวง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

พระมหาสุรศักดิ์

๓๔๑ วัดพระยาญาติ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ๓๔๒ วัดช้างแทงกระจาด อ.ชะอ้า จ.เพชรบุรี

พระอาจารย์ใจ

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

พระครูมนูญสีลสังวร (หลวงพ่อแถม)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๔๓

วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง อ.เมือง จ.ก้าแพงเพชร

พระวิเชียรโมลี

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๔๔

วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง อ.เมือง จ.ก้าแพงเพชร

พระราชวชิรเมธี (วีระ วรปญฺโญ ป.ธ.๙)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๔๕ วัดสังฆมงคล อ.เมือง จ.นครสวรรค์

พระครูสุจิตตฺ าภิวัฒน์ (หลวงพ่อเดช เตขจิตโฺ ต)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๔๖ วัดศรีอุทุมพร อ.เมือง จ.นครววรรค์

พระครูนิทัศน์ประชานุกูล (หลวงพ่อสมศักดิ์ ปญฺญาธโร)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๔๗ วัดเขาแก้ว อ.พะยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

พระครูนิวิฐมณีวงศ์ (พลวงพ่อสะอาด)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๔๘ วัดพระปรางค์เหลือง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

พระครูนสิ ิตคุณากร (สนม อติธมฺโม)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๔๙ วัดตะเคียนเลื่อน อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

พระครูนิวิฐวรคุณ (ชอุ้ม กตสาโร)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

พระครูนิทัศนพลธรรม (พลวงพ่อต่อ พลธมฺโม)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๕๐ วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๘๗


ลำดับ

ชื่อวัด

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๕๑ วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

พระครูจักรกฤษณ์ ฐิตวิริโย

๓๕๒ วัดโคกเดื่อ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์

พระมหากมล กิตติญาโณ

๓๕๓ วัดท่าตะโก อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์

พระครูนมิ ิตชโยดม (วิชัย สุวิชชฺโย)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๕๔ วัดโคกขาม อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์

พระครูนิทัศน์ธรรมโสภิต (หลวงพ่อประทีป โชติปญฺโญ)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๕๕ วัดด้ารงธรรม อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์

พระอธิการวงกต กิตฺตสิ าโร

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๕๖ วัดอุดมพร อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์

พระครูนิยตุ วรเวทย์ (พระมหาสมจิตร์ สมจิตโต)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๕๗ วัดคีรีวงศ์ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์

พระครูนิยมธรรมสถิตย์ (พระอาจารย์แดง)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๕๘ วัดธรรมโสภณ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์

พระครูนิพัทธ์ธรรมโสภณ (หลวงพ่อลือ ชวโน)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๕๙ วัดแคทราย อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์

พระครูนริ ภัยวิเทต (หลวงพ่อเดช ธมฺมวโร)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๖๐ วัดหนองพิกุล อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์

พระครูนเิ วศน์คุณากร (หลวงพ่อจ้ารัส ฉนฺทโรจ)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๖๑ วัดประชาสรรค์ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์

พระครูวินัยธร สรยุทธ ฐานวุฑฺโฒ ดร.

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๖๒ วัดไพศาลี อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์

พระครูนิทัศน์ปญ ั ญาวุธ (หลวงพ่อล้ายวง วรปญฺโญ)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๖๓ วัดเขาวงษ์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

พระครูนิยมสิริทัต (หลวงพ่อสงัด ทตฺตสิริ)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๖๔ วัดหนองดุก อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

พระครูนิวิฐกิตติวรรณ (หลวงพ่อเสนาะ)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๖๕ วัดโคกสลุด อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

พระครูนสิ ัยสุทธิคุณ (หลวงพ่อสมบูรณ์ ปญฺญาวชิโร)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

หน้า ๘๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ลำดับ

ชื่อวัด

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๖๖ วัดโคกเจริญ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

พระอาจารย์ต้น ชนาสโภ

๓๖๗ วัดหนองตามี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

พระครูนมิ ิตศาสนคุณ (หลวงปู่โกปาน อคฺคจิตโฺ ต)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๖๘ วัดพรหมนิมติ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

พระครูสิรสิ ุธรรมนิเทศก์ (หลวงพ่อสมบัติ ปริปุณโณ)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๖๙ วัดหนองถ้าวัว อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

พระมหาสัณทยา ธีรธารี (ไสยวิจติ ร)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๗๐ วัดสว่างวงษ์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

พระครูนิพัทธ์สุธรี าภรณ์ (หลวงพ่อนงค์ สุธีโร)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๗๑ วัดหัวหวาย อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

พระครูนิพัทธปัญญาคุณ (หลวงพ่อพัลลภ วลฺลโภ)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๗๒ วัดจันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

พระครูสังฆรักษ์สมศักดิ์ สุรเตโช

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๗๓ วัดดงพลับ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

หลวงพ่อพระครูศรีธีรานันท์ (หลวงพ่อมหาหรรษา)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

พระครูมงคลเทพ (หลวงพ่อพลั่ว)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

พระครูนติ ิศีลวัตร (หลวงพ่อส้ารวย สุวฑฺฒโน)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

พระครูนมิ ิตศีลาภรณ์ (สม ฐิตสีโล)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๗๔ วัดเทพมงคลปานสาราม อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ๓๗๕ วัดลาดยาว อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ ๓๗๖ วัดเทพสุทธาวาส อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ ๓๗๗ วัดหนองกลับ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ ๓๗๘ วัดเขาล้อ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ๓๗๙ วัดถ้าจุนโท อ.แม่สอด จ.ตาก ๓๘๐ วัดพระบรมธาตุ อ.บ้านตาก จ.ตาก

พระมหาสุชาติถิรญาโณ หลวงพ่อเพ็ญ พระอาจารย์สัมฤทธิ์ ฐิตะสิทธิ พระครูพิทักษ์บรมธาตุ (พาน ยุตตฺโยโค)

พระพุทธศาสดาประชานาถ

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

หน้า ๘๙


ลำดับ

ชื่อวัด

ชื่อพระอำจำรย์

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๘๑ วัดมหาวัน อ.เมือง จ.ล้าพูน

ครูบาประกอบบุญ สิริญาโณ

๓๘๒ วัดจามเทวี อ.เมือง จ.ล้าพูน

พระตระการ ธีรว้โส

๓๘๓ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง อ.เมือง จ.ล้าปาง

พระราชจินดานายก (ค้าอ้าย สิริธมฺโม)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

วัดบุญวาทย์วิหาร พระอารามหลวง อ.เมือง จ.ล้าปาง

พระราชธรรมาลังการ (จันทร์ กตปุญฺโญ)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๘๕ วัดพระธาตุล้าปางหลวง อ.เกาะคา จ.ล้าปาง

พระครูพิธานนพกิจ (นิยม ฐานทตฺโต)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๘๖ วัดแสงแก้วโพธิญาณ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

ครูบาอริยชาติ อริยจตฺต

๓๘๗ ส้านักสงฆ์ทรัพย์สวนพลู อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

พระอาจารย์สมภพ อภิวัณโณ

๓๘๔

๓๘๘ วัดป่ารัตนวัน อ.วังน้าเขียว จ.นครราชสีมา ๓๘๙ วัดอรัญพรหมาราม อ. ประทาย จ.นครราชสีมา ๓๙๐ วัดบางจะเนียง อ.กระสัง จ.บุรรี ัมย์

หลวงพ่อญาณธัมโม พระอาจารย์สามดง จันทโชโต หลวงพ่อเมียน

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

พระครูวรี ธรรมาภินันท์ (สามารถ อานนฺโท)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๙๒ วัดป่าหนองไผ่ อ.เมือง จ.สกลนคร

พระอาจารย์สุธรรม สุธมฺโม

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๙๓ วัดวังปลาโด อ.บรบือ จ.มหาสารคาม

พระครูปริยัตภิ าวนิเทศก์ (หลวงปู่โสบิน โสปาโก โพธิ)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๙๔ วัดป่าภูแปก อ.วังสะพุง จ.เลย

พระอาจารย์เฉลิม ธมฺมธโร

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

พระครูวริ ิยอุดมกิจ (หลวงปู่แสง ปริปุณโณ)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

พระอาจารย์บ้ารุง นวพโล

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๙๑ วัดบูรพา อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

๓๙๕ วัดป่าฤกษ์อุดม อ.ปทุมราชวงศา จ.อ้านาจเจริญ ๓๙๖ วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

หน้า ๙๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ลำดับ

ชื่อวัด

ชื่อพระอำจำรย์

๓๙๗ วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

พระอาจารย์ชาตรี นิสโภ

๓๙๘ วัดป่าพระธรรมวิสุทธิมงคล อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี

พระอาจารย์พรม กิตตฺ ิวณฺโณ

สมณศักดิ์/หน่วยผู้ขอ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

พระธรรมมงคลรังษี (ค้าบ่อ อรุโณ)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

พระอาจารย์ธีระยุทธ์ ธีรยุธโน

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๔๐๑ วัดอ่าวใหญ่ อ.อ่าวใหญ่ จ.ตราด

พระครูพิพัฒน์อโนมคุณ (หลวงพ่อมนัส)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๔๐๒ วัดเขาหวาย อ.บ้านค่าย จ.ระยอง

พระอธิการสมศักดิ์ (หลวงพ่อสิงห์)

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

๓๙๙ วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง อ.เมือง จ.หนองคาย ๔๐๐

ส้านักสงฆ์สายธารคีรีพฤกษ์เฉลิมสุข (วัดป่าท่าน้า) อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

๔๐๓ วัดป่าจิตตะวิเวก ลอนดอน สหราชอาณาจักร ๔๐๔

วัดป่าพระธรรมเทพวงศ์ (วัดภูเขาควาย) แขวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว

หลวงพ่อคเวสโก หลวงปู่สุวันค้า จนฺทสโร

พระพุทธศาสดาประชานาถ

คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ คณก.จัดสร้างพระพุทธ ศาสดาประชานาถ

หน้า ๙๑


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จออก ณ ตาหนั กอรุ ณ วัดราชบพิธ สถิตมหาสี มารามราชวรวิห าร จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประทานวโรกาสให้ พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้าเฝ้ารับประทานพระบรมสารีริกธาตุ แผ่นอักขระ ทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ เวลา ๑๖.๐๐ น. สาหรับนามาเททองหล่อพระพุทธศาสดา ประชานาถ

(ภาพ) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานวโรกาสให้ พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้าเฝ้ารับประทานพระบรม สารีริกธาตุ แผ่นอักขระทอง เงิน นาก

หน้า ๙๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ รับมอบ แผ่นอักขระ ทอง เงิน นาก จากพระครูอภัยธรรมรักขิต (หลวงพ่อเชิดศักดิ์ โชติปาโล) เจ้าอาวาสวัดมฤคทายวั น (ดงแขม) อาเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย

(ภาพ) พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ รับมอบ แผ่นอักขระทอง เงิน นาก จากพระครูอภัยธรรมรักขิต

ยันต์ทอง : เมตตา

ยันต์เงิน : แคล้วคลาด

พระพุทธศาสดาประชานาถ

ยันต์นาก : มหาลาภ

หน้า ๙๓


(ภาพ) พลเอก พลภั ท ร วรรณภั ก ตร์ ผู้ ช่ ว ยเลขานุ ก ารรั ฐ มนตรี ว่า การกระทรวงกลาโหม และ พลเอก กิ ติ ก ร ธรรมนิ ย าย ที่ ป รึ ก ษารั ฐ มนตรี ช่ ว ยว่ า การกระทรวงกลาโหม ผู้ แ ทนรั ฐ มนตรี ว่ า การ กระทรวงกลาโหม มอบชนวนโลหะและวัตถุมงคลแก่ พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้บัญชาการโรงเรียน นายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ

หน้า ๙๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้บัญ ชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ผู้แทน ผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้ากราบนมัสการเพื่อรับมอบ แผ่นอักขระทอง เงิน นาก จากพระธรรมมงคลรังษี (คาบ่ อ อรุ โ ณ) เจ้ าอาวาสวัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เมื่อวันพฤหั ส บดี ที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๑๐ น.

(ภาพ) พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้ารับแผ่นอักขระทอง เงิน นาก จากพระธรรมมงคลรังษี (คาบ่อ อรุโณ)

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๙๕


พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ผู้แทน ผู้ บั ญ ชาการทหารอากาศ เข้ า กราบนมั ส การเพื่ อ รั บ มอบแผ่ น อั ก ขระทอง เงิ น นาก จากหลวงปู่ สุ วั น คา จั น ทสโร วั ด พระธรรมเทพพวงศ์ เชิ ง ภู เ ขาควาย สปป.ลาว เมื่ อ วั น พฤหั ส บดี ที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๑๔ น. ณ วัดโนนพระแก้ว อาเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

(ภาพ) พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้ารับแผ่นอักขระทอง เงิน นาก จากหลวงปู่สุวันคา จันทสโร

หน้า ๙๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปากนา ภาษีเจริญ (พระอารามหลวง) ประธานสมัชชามหาคณิสสร และอดีตผู้ ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้เมตตาให้ นาวาอากาศเอก ประกิจ หงษ์วิเศษ หัวหน้ากองวิชาการควบคุมทางอากาศยุทธวิธี กองวิทยาการ กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ และ นาวาอากาศโท ไกรสุชาติ สมสะอาด หัวหน้าแผนกจัดดาเนินงาน กองซ่อมอากาศยาน ๑ กรมช่างอากาศ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้ากราบนมัสการเพื่อรับแผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒ ณ วัดปากนาภาษีเจริญ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

(ภาพ) สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เมตตาให้ นาวาอากาศเอก ประกิจ หงษ์วิเศษ และนาวาอากาศโท ไกรสุชาติ สมสะอาด ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้ารับแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๙๗


สมเด็ จ พระวั น รั ต เจ้ า อาวาสวั ด บวรนิ เ วศวิ ห าร เมตตาให้ พลอากาศตรี ณรงค์ อิ น ทชาติ รองผู้ บั ญชาการโรงเรี ย นนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ผู้ แทนผู้ บัญชาการทหารอากาศ เข้ากราบ นมัสการเพื่อรับแผ่นอักขระทอง เงิน นาก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

(ภาพ) สมเด็จพระวันรัต เมตตาให้ พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ นวมินทกษัตริยาธิราช ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้ารับแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

หน้า ๙๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ


สมเด็จพระธีรญาณมุนี เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมตตาให้ พลอากาศตรี ณรงค์ อิน ทชาติ รองผู้ บั ญชาการโรงเรีย นนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ผู้ แทนผู้ บัญชาการทหารอากาศ เข้ า กราบนมั ส การ เพื่ อ รั บ มอบแผ่ น อั ก ขระทอง เงิ น นาก ณ วั ด เทพศิ ริ น ทราวาสราชวรวิ ห าร จั ง หวั ด กรุงเทพมหานคร

(ภาพ) สมเด็จพระธีรญาณมุนี เมตตาให้ พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้บัญชาการโรงเรียน นายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้ารับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๙๙


สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เมตตาให้ พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้ บั ญชาการโรงเรี ย นนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ผู้ แทนผู้ บัญชาการทหารอากาศ เข้ากราบ นมัสการ เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก ณ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

(ภาพ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ เมตตาให้ พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ นวมินทกษัตริยาธิราช ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้ารับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

หน้า ๑๐๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ


สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน เมตตาให้ นาวาอากาศโท ไกรสุชาติ สมสะอาด หัวหน้าแผนกจัดดาเนินงาน กองซ่อมอากาศยาน ๑ กรมช่างอากาศ ผู้แทนผู้บัญชาการ ทหารอากาศ รั บ มอบแผ่ น อั ก ขระทอง เงิ น นาก สมเด็ จ พระพุ ท ธโฆษาจารย์ ณ วั ด ญาณเวศกวั น อาเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

(ภาพ) สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เมตตาให้ นาวาอากาศโท ไกรสุชาติ สมสะอาด หัวหน้าแผนกจั ดดาเนิ นงาน กองซ่อมอากาศยาน ๑ กรมช่างอากาศ เข้ารับมอบแผ่ นอักขระทอง เงิน นาก จากผู้แทนฯ

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๐๑


สมเด็จ พระมหาธีร าจารย์ เจ้ าอาวาสวัดยานนาวา เมตตาให้ นาวาอากาศเอก บุญเลิ ศ อันดารา รองผู้อานวยการกองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้ากราบนมัสการ เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ณ วัดยานนาวา จังหวัดกรุงเทพมหานคร

(ภาพ) สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เมตตาให้ นาวาอากาศเอก บุญเลิศ อันดารา รองผู้อานวยการ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้ารับแผ่ น อักขระทอง เงิน นาก

หน้า ๑๐๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) ป.ธ.๙, นธ.เอก. เจ้าอาวาสวัดโสมนัสราชวรวิหาร เมตตาให้ นาวาอากาศเอก ประกิจ หงษ์วิเศษ หัวหน้ากองวิชาการควบคุมทางอากาศยุทธวิธี กองวิทยาการ กรมควบคุม การปฏิบัติทางอากาศ และนาวาอากาศโท ไกรสุชาติ สมสะอาด หัวหน้าแผนกจัดดาเนินงาน กองซ่อมอากาศยาน ๑ กรมช่างอากาศ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้ากราบนมัสการ เพื่อ รับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ วัดโสมนัสราชวรวิหาร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

(ภาพ) สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เมตตาให้ นาวาอากาศเอก ประกิจ หงษ์วิเศษ และนาวาอากาศโท ไกรสุชาติ สมสะอาด ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้ารับแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๐๓


สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เมตตาให้ นาวาอากาศเอก ทวีศักดิ์ เผ่าวิจารณ์ นายทหารปฏิบัติการประจากรมกาลังพลทหารอากาศ ผู้แทน ผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้ากราบนมัสการ เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

(ภาพ) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เมตตาให้ นาวาอากาศเอก ทวีศักดิ์ เผ่าวิจารณ์ นายทหารปฏิบัติการ ประจากรมกาลังพลทหารอากาศ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้ารับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

หน้า ๑๐๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เมตตาให้ พลอากาศตรี ธรรมนาย สุขแสง ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้ากราบ นมั ส การ เพื่ อ รั บ มอบแผ่ น อั ก ขระทอง เงิ น นาก ณ ส านั ก งานผู้ บั ง คั บ ทหารอากาศดอนเมื อ ง จั ง หวั ด กรุงเทพมหานคร

(ภาพ) สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เมตตาให้ พลอากาศตรี ธรรมนาย สุขแสง ผู้บังคับทหารอากาศ ดอนเมือง ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้ารับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๐๕


นาวาอากาศเอก จักรกฤษณ์ ธรรมวิชัย ผู้บังคับการกองบิน ๑ เข้ากราบนมัสการ พระสาสนโสภณ (โกศล สิรินฺธโร) หลวงพ่อใหญ่ เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาวรวิหาร ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๘ (ธรรมยุต) อาเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ณ วัดสุทธจินดา วรวิหาร อาเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

(ภาพ) นาวาอากาศเอก จั ก รกฤษณ์ ธรรมวิ ชั ย ผู้ บั ง คั บ การกองบิ น ๑ เข้ า กราบนมั ส การ พระสาสนโสภณ (โกศล สิรินฺธโร) เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

หน้า ๑๐๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


นาวาอากาศเอก จุมพล จันทขัมมา ผู้บังคับการกองบิน ๒ เข้ากราบนมัสการ พระครูกิตติคุณวิสุ ทธิ์ วัดโนนหัวช้าง ตาบลเขาสามยอด อาเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

(ภาพ) นาวาอากาศเอก จุมพล จันทขัมมา ผู้บังคับการกองบิน ๒ ได้เข้ากราบนมัสการ พระครูกิตติคุณ วิสุทธิ์ วัดโนนหัวช้าง เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๐๗


นาวาอากาศเอก จิตติวุฒิ วันทนา ผู้บังคับการกองบิน ๔ เข้ากราบนมัสการ พระครูนิพัทธ์สุธีราภรณ์ (หลวงพ่อนงค์ สุธีโร) เจ้าคณะอาเภอตาคลี เจ้าอาวาสวัดสว่างวงษ์คณะกิจ อาเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อขอรับแผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ ณ วัดสว่างวงษ์คณะกิจ อาเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

(ภาพ) นาวาอากาศเอก จิตติวุฒิ วันทนา ผู้บังคับการกองบิน ๔ เข้ากราบนมัสการ พระครูนิพัทธ์ สุธีราภรณ์ เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

หน้า ๑๐๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ


นาวาอากาศเอก ชยศว์ สวรรค์ สรรค์ ผู้บังคับการกองบิน ๕ เข้ากราบนมัสการ พระเทพสิทธิวิมล (ละเอียด สุทนฺโต) เจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เจ้าอาวาสวัดคลองวาฬ พระอารามหลวง อาเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒ ณ วัดคลองวาฬ พระอารามหลวง อาเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

(ภาพ) นาวาอากาศเอก ชยศว์ สวรรค์สรรค์ ผู้บังคับการกองบิน ๕ เข้ากราบนมัสการ พระเทพสิทธิวิมล เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๐๙


นาวาอากาศเอก ชนะรัฐ จันทรุเบกษา ผู้บังคับการกองบิน ๖ เข้ากราบนมัสการ พระครูนิวิฐวรการ (เกษม ธมฺมรโต) เพื่อขอรับแผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ ณ วัดดอนเมือง จังหวัดกรุงเทพมหานคร

(ภาพ) นาวาอากาศเอก ชนะรั ฐ จั น ทรุเบกษา ผู้ บังคับการกองบิน ๖ เข้ากราบนมัส การ พระครู นิวิฐวรการ เพื่อขอรับแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

หน้า ๑๑๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ


นาวาอากาศเอก แมนสรวง สุวรรณ ผู้บังคับการกองบิน ๗ เข้ากราบนมัสการ พระครูปัญญาธรานุวัตร (พ่อท่านเคล้า ปัญญาธโร) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช เจ้าอาวาสวัดแดง อาเภอเชียรใหญ่ จังหวัด นครศรีธรรมราช เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ณ วัดแดง อาเภอ เชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

(ภาพ) นาวาอากาศเอก แมนสรวง สุวรรณ ผู้บังคับการกองบิน ๗ เข้ากราบนมัสการ พระครูปัญญา ธรานุวัตร เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๑๑


นาวาอากาศเอก แมนสรวง สุ ว รรณ ผู้ บั ง คั บ การกองบิ น ๗ กราบนมั ส การ พระเทพวิ น ยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อขอรับ แผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อาเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

(ภาพ) นาวาอากาศเอก แมนสรวง สุวรรณ ผู้บังคับการกองบิน ๗ เข้ากราบนมัสการ พระครูปัญญา ธรานุวัตร เพื่อรับแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

หน้า ๑๑๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


นาวาอากาศเอก วัชรพล นวลเป็นใย ผู้บังคับการกองบิน ๒๑ เข้ากราบนมัสการ พระครูสารธรรม ประคุณ (หลวงปู่รอด ธัมทินโน) เจ้าอาวาสวัดกุดคูน อาเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อขอรับแผ่นอักขระ ทอง เงิน นาก เมื่อวัน ที่ ๒๖ พฤศจิ กายน พ.ศ.๒๕๖๒ ณ กองบิน ๒๑ ตาบลไร่น้ อย อาเภอเมือง จังหวัด อุบลราชธานี

(ภาพ) นาวาอากาศเอก วัช รพล นวลเป็นใย ผู้ บังคับการกองบิน ๒๑ เข้ากราบนมัส การ พระครู สารธรรมประคุณ เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๑๓


นาวาอากาศเอก วัชรพล นวลเป็นใย ผู้บังคับการกองบิน ๒๑ เข้ากราบนมัสการ พระราชธรรมสุธี เจ้าอาวาสวัดศรีอุบลรัตนาราม พระอารามหลวง อาเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒

(ภาพ) นาวาอากาศเอก วัชรพล นวลเป็นใย ผู้บังคับการกองบิน ๒๑ เข้ากราบนมัสการ พระราชธรรมสุธี เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

หน้า ๑๑๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


นาวาอากาศเอก ชนาวีร์ กลิ่นมาลี ผู้บังคับการกองบิน ๒๓ เข้ากราบนมัสการ พระครูศาสนูปกรณ์ (หลวงพ่อจุมจี) วัดโยธานิมิต ตาบลหมากแข้ง อาเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒

(ภาพ) นาวาอากาศเอก ชนาวีร์ กลิ่นมาลี ผู้บังคับการกองบิน ๒๓ เข้ากราบนมัสการ พระครูศาสนูปกรณ์ เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๑๕


นาวาอากาศเอก ชนาวีร์ กลิ่นมาลี ผู้บังคับการกองบิน ๒๓ ได้เข้ากราบนมัสการ พระครูอภัยธรรม รักขิต (หลวงพ่อเชิดศักดิ์ โชติปาโล) เจ้าอาวาสวัดมฤคทายวัน (ดงแขม) อาเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒

(ภาพ) นาวาอากาศเอก ชนาวีร์ กลิ่นมาลี ผู้บังคับการกองบิน ๒๓ เข้ากราบนมัสการ พระครูอภัยธรรม รักขิต เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

หน้า ๑๑๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


นาวาอากาศเอก นรุธ กาเนิดนักตะ ผู้บังคับการกองบิน ๔๑ เข้ากราบนมัส การ พระพรหมมงคล (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร อาเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ปรึกษา เจ้าคณะภาค ๗ เจ้าสานักศูนย์ปฏิบัติธรรมประจาจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑ ประธานขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้าน รักษาศีลห้า ประจาหน่วยเหนือ เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒

(ภาพ) นาวาอากาศเอก นรุธ กาเนิดนักตะ ผู้บังคับการกองบิน ๔๑ เข้ากราบนมัสการ พระพรหม มงคล เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๑๗


นาวาอากาศเอก นรุธ กาเนิดนักตะ ผู้บังคับการกองบิน ๔๑ เข้ากราบนมัส การ พระปชานาถมุ นี เจ้าอาวาสวัดดอนจั่น ตาบลท่าศาลา อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒

(ภาพ) นาวาอากาศเอก นรุธ กาเนิดนักตะ ผู้บังคับการกองบิน ๔๑ เข้ากราบนมัสการ พระปชานาถมุนี เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

หน้า ๑๑๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ


นาวาอากาศเอก ภาณุวัตร เรืองประยูร ผู้บังคับการกองบิน ๔๖ เข้ากราบนมัสการ พระราชธรรมคณี อดีตเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก เจ้าอาวาสวัดศรีรัตนาราม (วัดจูงนาง) อาเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อรับมอบ แผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒

(ภาพ) นาวาอากาศเอก ภาณุวัตร เรืองประยูร ผู้บังคับการกองบิน ๔๖ เข้ากราบนมัสการ พระราชธรรมคณี เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๑๙


นาวาอากาศเอก สุ ทธิพงษ์ วงษ์ส วัส ดิ์ ผู้ บังคับการกองบิน ๕๖ เข้ากราบนมัส การ พระครูโ สภณ คณาภิบาล (หลวงพ่อกล่อม ปญฺญาคโม) ที่ปรึกษาคณะอาเภอคลองหอยโข่ง เจ้าอาวาสวัดโคกเหรียง อาเภอ คลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒

(ภาพ) นาวาอากาศเอก สุทธิพงษ์ วงษ์สวัสดิ์ ผู้บังคับการกองบิน ๕๖ เข้ากราบนมัสการ พระครูโสภณ คณาภิบาล เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

หน้า ๑๒๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ


พลอากาศตรี ไวพจน์ เกิงฝาก ผู้บัญชาการโรงเรียนการบิน เข้ากราบนมัสการ พระครูวิมลชัยสิทธิ (หลวงพ่อล้อม ชยธมฺโม) วัดไผ่รื่นรมย์ ตาบลกระตีบ อาเภอกาแพงแสน จังหวัดนครปฐม เพื่อรับมอบแผ่น อักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒

(ภาพ) พลอากาศตรี ไวพจน์ เกิงฝาก ผู้บัญชาการโรงเรียนการบิน เข้ากราบนมัสการ พระครูวิมลชัย สิทธิ เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๒๑


นาวาอากาศเอก พิทูร เจริ ญยิ่ ง รองผู้ บัญชาการโรงเรียนการบิน เข้ากราบนมัส การ หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดรางหมัน นามขนานว่า เทพเจ้าเมืองกาแพงแสน (วัดประชาราษฎร์บารุง) อาเภอกาแพงแสน จังหวัด นครปฐม เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒

(ภาพ) นาวาอากาศเอก พิทูร เจริญยิ่ง รองผู้บัญชาการโรงเรียนการบิน เข้ากราบนมัสการหลวงปู่แ ผ้ว ปวโร เพื่อรับมอบแผ่นอักขระทอง เงิน นาก ผู้บังคับบัญชาของทุกหน่วยงานในกองทัพอากาศได้นาแผ่นทอง เงิน นาก ที่ได้รับจากพระเกจิอาจารย์ แจกจ่ายให้ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ทหารกองประจาการ นักเรียนทหาร และครอบครัว ได้ลงชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมสร้างบุญ และนาแผ่นทอง เงิน นาก มาเททองหล่อพระพุทธ ศาสดาประชานาถ ในวั น ที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ ณ โรงเรี ยนนายเรื ออากาศนวมิ นทกษั ตริ ยาธิ ร าช เวลา ๑๐.๓๙ น. ดังนั้น จึงมีชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ของข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ทหารกองประจาการ นักเรียนทหาร และครอบครัวทุกหน่วยงานในกองทัพอากาศ หลอมรวมอยู่ในเนื้อองค์พระปฏิมากรพระพุทธ ศาสดาประชานาถ นับได้ว่าเป็นการรวมพลังความสามัคคีของชาวกองทัพอากาศ ในประวัติศาสตร์แห่งการ สร้างพระพุทธรูปเนื้อทศโลหะเป็นครั้งแรกในประเทศไทย อันเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

หน้า ๑๒๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) แผ่นอักขระของข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ทหารกองประจาการ นักเรียนทหาร และ ครอบครัวของบุคลากรกองทัพอากาศ จานวนประมาณ ๔๐,๐๐๐ แผ่น

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๒๓


(ภาพ) ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ทหารกอง ประจาการ นักเรียนทหาร และครอบครัว ของบุคลากร กองทัพอากาศ ร่วมลงชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ในแผ่น ทอง เงิน นาก

หน้า ๑๒๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


เนื่องจากยังไม่เคยมีการหล่อพระพุทธรูปเนื้อทศโลหะมาก่อน กองทัพอากาศจึงได้จัดให้มีการประกอบ พิ ธี เ ททองหล่ อ น าฤกษ์ เพื่ อ บวงสรวงและอั ญ เชิ ญ เทวดาทั้ ง หลายมาเป็ น สั ก ขี พ ยานในการเททองหล่ อ พระพุทธรูป เป็นการขอขมาและขออนุญาตหล่อรูปเหมือน เพื่อความไม่มีโทษ ไม่มีภัย และปราศจากอันตรายใด ๆ อีกทั้งยังเป็นการขอพรให้การหล่อพระพุทธรูปสาเร็จงดงามตามความประสงค์ พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้มอบหมายให้ พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็นผู้แทนในการประกอบพิธีเททองหล่อนาฤกษ์ ณ โรงหล่อช่างโป้ งปั้น แต่ง อาเภอพยุ ห ะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๓๙ น. โดยมีพิธีการตามลาดับดังนี้ การประกอบพิธีเททองหล่อนาฤกษ์จะมีขั้นตอนสาคัญ ๓ ขั้นตอน ได้แก่ - ขั้นตอนที่ ๑ พิธีบวงสรวงสักการะต่อเทพเทวาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่ - ขั้นตอนที่ ๒ พิธีเจริญพระพุทธมนต์โดยพระสงฆ์ ๑๐ รูป และพระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรกทั้ง ๔ ทิศ - ขั้นตอนที่ ๓ พิธีเททองหล่อนาฤกษ์พระพุทธศาสดาประชานาถ โดยมี พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็นประธาน ขั้นตอนที่ ๑ พิธีบวงสรวงสักการะต่อเทพเทวาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เวลา ๐๙.๓๙ น. - นาวาอากาศเอก จวน ทรงภูมิ พราหมณาจารย์ อ่านโองการ

(ภาพ) นาวาอากาศเอก จวน ทรงภูมิ พราหมณาจารย์ อ่านโองการ

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๒๕


- พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ นวมินทกษัตริยาธิราช นายทหารชั้นผู้ใหญ่ และ คณะกรรมการจัดสร้างฯ เข้าประจา จุดที่ด้านหน้าโต๊ะเครื่องบวงสรวงสักการะ

(ภาพ) พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช บวงสรวงสักการะต่อเทพเทวาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ - นายทหารชั้นผู้ใหญ่และคณะกรรมการจัดสร้างฯ เข้าประจาจุดประกอบพิธีบวงสรวง - รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ลั่นฆ้องชัย ๓ ครั้ง

(ภาพ) รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ลั่นฆ้องชัย - รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช จุดธูปเทียนบูชาที่โต๊ะ เครื่องบวงสรวงบูชา

หน้า ๑๒๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช บวงสรวงบูชา - พราหมณาจารย์นอบน้อมบูชาคุณอาจารย์ - เจ้าหน้าที่จุดธูปหาง ส่งให้รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช นายทหารชั้นผู้ใหญ่ และคณะกรรมการจัดสร้างฯ เพื่อปักเครื่องบวงสรวงบูชา

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๒๗


(ภาพ) นายทหารชั้นผู้ใหญ่ คณะกรรมการจัดสร้างฯ และประชาชนทั่วไป ปักเครื่องบวงสรวงบูชา - พราหมณาจารย์อ่านโองการเชิญเทพเทวา จนจบ - รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช นายทหารชั้นผู้ใหญ่ และคณะกรรมการจัดสร้างฯ โปรยข้าวตอกดอกไม้ที่เครื่องบวงสรวงบูชา - รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ลั่นฆ้องส่งเทวดา ๓ ครั้ง

(ภาพ) รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช โปรยข้าวตอกดอกไม้ที่เครื่อ ง บวงสรวงบูชา

หน้า ๑๒๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ขั้นตอนที่ ๒ พิธีเจริญพระพุทธมนต์ เวลา ๑๐.๐๐ น. - พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จานวน ๑๐ รูป นั่งประจา ณ อาสน์สงฆ์ที่กาหนด

(ภาพ) พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จานวน ๑๐ รูป นั่งประจา ณ อาสน์สงฆ์ที่กาหนด - พระเกจิคณาจารย์ นั่งปรกอธิษฐานจิต จานวน ๔ รูป เข้าประจา ๔ ทิศ

(ภาพ) พระครูนิสิตคุณากร (หลวงพ่อสนม) วัดมะปรางเหลือง ตาบลท่าน้าอ้อย อาเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ อายุ ๙๘ ปี

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๒๙


(ภาพ) พระครู นิ วิ ฐ วรคุ ณ (หลวงพ่ อ ชะอุ้ ม ) เจ้ า อาวาสวั ด ตะเคี ย นเลื่ อ น ต าบลตะเคี ย นเลื่ อ น อาเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ อายุ ๙๐ ปี

(ภาพ) พระครูนิพัทธ์สุธีราภรณ์ (หลวงพ่อนงค์) เจ้าอาวาสวัดสว่างวงษ์คณะกิจ เจ้าคณะอาเภอตาคลี อาเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ อายุ ๗๗ ปี

(ภาพ) พระครูนิพัทธ์ธรรมโสภณ (หลวงพ่อลือ) เจ้าอาวาสวัดธรรมโสภณ ตาบลสุขสาราญ อาเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ อายุ ๗๐ ปี

หน้า ๑๓๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ


- รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช จุดธูปเทียนบูชา พระรัตนตรัย กราบ ๓ ครั้ง

(ภาพ) รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย - รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช กลับที่นั่งเดิม - อนุศาสนาจารย์ อาราธนาศีล - ประธานสงฆ์ให้ศีล - พระสงฆ์ ๑๐ รูปเจริญพระพุทธมนต์จนจบ

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๓๑


(ภาพ) ผู้เข้าร่วมพิธีรับอาราธนาศีล

หน้า ๑๓๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ขั้นตอนที่ ๓ พิธีเททองหล่อนาฤกษ์พระพุทธศาสดาประชานาถ เวลา ๑๐.๓๙ น. - พระราชปริยัติวิธาน (อมร สุนฺทรเมธี) รองเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ รองเจ้าอาวาส วัดตากฟ้า พระอารามหลวง เป็นประธานสงฆ์

(ภาพ) พระราชปริยัติวิธาน (อมร สุนฺทรเมธี) รองเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ รองเจ้าอาวาสวัดตากฟ้า พระอารามหลวง เป็นประธานสงฆ์ - รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช จุดเทียนทอง เงิน จานวน ๔ เล่ม ที่โต๊ะหมู่บูชากลางแจ้ง - ประธานสงฆ์ ประพรมน้าพระพุทธมนต์ที่หุ่นพระและช่างหล่อพระ

(ภาพ) ประธานสงฆ์ ประพรมน้าพระพุทธมนต์ที่หุ่นพระและช่างหล่อพระ - รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช จุดเทียนน้ามนต์ที่บาตร พระเกจิคณาจารย์ ๔ รูป แล้วถวายบาตรน้ามนต์

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๓๓


(ภาพ) รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ถวายบาตรน้ามนต์ - ประธานสงฆ์ รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช นายทหารชั้นผู้ใหญ่ และคณะกรรมการผู้จัดสร้างฯ ยืนบนแท่นสาหรับเททอง - เจ้าหน้าที่อัญเชิญทองคา แผ่นทอง เงิน นาก มอบให้ รองผู้บัญชาการโรงเรียน นายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช - รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช หยิบทองคา แผ่นทอง เงิน นาก ถวายประธานสงฆ์ - ประธานสงฆ์หยิบลงในกระบวยหลอมทอง - เจ้าหน้าที่อัญเชิญทองคา แผ่นทอง เงิน นาก มอบให้ รองผู้บัญชาการโรงเรียน นายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช - รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช หยิบแผ่นทอง เงิน นาก ลงในกระบวยหลอมทอง

หน้า ๑๓๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชเททองลงในกระบวยหลอมทอง - ประธานสงฆ์ รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช พร้อมทั้ง นายทหารชั้นผู้ใหญ่ จับสายสูตร ประกอบพิธีเททอง

(ภาพ) ประธานสงฆ์ รองผู้ บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช พร้อมทั้ ง นายทหารชั้นผู้ใหญ่ จับสายสูตร ประกอบพิธีเททอง

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๓๕


- พระสงฆ์ ๑๐ รูป เจริญชัยมงคลคาถา - เจ้าหน้าทีล่ ั่นฆ้องชัย จนจบพิธีเททองหล่อนาฤกษ์ - รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ถวายไทยธรรม แด่ประธานสงฆ์ และพระเกจิคณาจารย์

(ภาพ) รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ถวายไทยธรรมแด่พระเกจิคณาจารย์ - นายทหารชั้นใหญ่และผู้มีเกียรติ ถวายไทยธรรมแด่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ๑๐ รูป - พระสงฆ์อนุโมทนา - รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช กรวดน้า

(ภาพ) รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช กรวดน้า - รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช กราบพระรัตนตรัย

หน้า ๑๓๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


- ประธานสงฆ์ และพระเกจิคณาจารย์ ประพรมน้าพระพุทธมนต์ผู้ร่วมพิธีฯ - พระสงฆ์ ๑๐ รูป เจริญชัยมงคลคาถา - รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช พร้อมทั้งนายทหาร ชั้นผู้ใหญ่ และผู้ร่วมพิธีฯ ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ที่ทางเจ้าหน้าที่ได้เตรียม รับรองไว้ ด้วยจิตศรัทธาที่ตั้งมั่นในพุทธศาสนาและความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีชนของชาวกองทัพอากาศ และผู้ เ กี่ ย วข้ อ งทุ ก ภาคส่ ว น โดยเฉพาะกองบิ น ๔ และกองซ่ อ มอากาศยาน ๑ กรมช่ า งอากาศ ท าให้ การประกอบพิธีเททองหล่อนาฤกษ์พระพุทธศาสดาประชานาถ เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ณ บริเวณ โรงหล่อช่างโป้งปั้นแต่ง อาเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ประสบผลสาเร็จเป็นที่เรียบร้อย

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๓๗


พิธีรับพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ เวลา ๑๖.๐๐ น. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จออก ณ ตำหนักอรุณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ประทาน พระวโรกาสให้ พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมด้วยแพทย์หญิง วิไลภรณ์ วงษ์วาทย์ นายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ และคณะ เข้าเฝ้าฯ เพื่อ รับประทานใบลิขิต มีข้อความจารึกว่า “ขอถวายพระนาม พระพุทธรูปที่กองทัพอากาศจัดสร้างขึ้น เนื่องใน วาระครบ ๑๐๐ ปี แห่งการทิวงคต จอมพล สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวง พิศณุโลกประชานารถ รวมทั้งแผ่นทอง เงิน นาก และพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อ นำไปจัดสร้างพระพุทธรูป ทั้งนี้ ทรงพระดำเนินไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประทานเพิ่มเติมจากที่เตรียมไว้ ถือเป็นมงคลยิ่ง

หน้า ๑๓๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) การเข้าเฝ้ารับประทานพระบรมสารีริกธาตุ

(ภาพ) ใบลิขิตที่ได้รับประทานจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๓๙


หลังจากนั้นกองทัพอากาศได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐาน ณ ศูนย์เยาวชนกองทัพอากาศ ท่าดินแดง เขตสายไหม กรุงเทพฯ กาลังพลและผู้มีจิตศรัทธาได้สักการะและร่วมกัน เขียนแผ่นดวงชะตา เพื่อนาไปประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธศาสดาประชานาถ ทั้งนี้ อนุศาสนาจารย์นาสวดมนต์ อธิษฐานจิต แผ่เมตตา ระหว่างวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ถึงวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓

(ภาพ) การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ

หน้า ๑๔๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ


พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๔๑


พิธีเททองหล่อพระพุทธรูป จัดเป็นพิธีกรรมตามหลักของศาสนาพราหมณ์ เป็นการสื่อสารสร้างสัมพันธ์ ระหว่างโลกมนุษย์และสวรรค์ชั้นฟ้า กล่าวคือ พระสงฆ์ร่วมกันอธิษฐานจิ ตและมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ มีการจุดธูปเทียนอัญเชิญเทวดามาชุมนุมเพื่อรับทราบและอนุโมทนาในการอันเป็นมงคล อีกทั้งอธิษฐานให้ การเททองสัมฤทธิ์ผล ตรงตามพุทธลักษณะ ถือเป็นกุศลสาคัญ เพราะผู้สร้างและผู้ร่วมพิธี ต่างได้มีส่ว นร่ว ม จัดกิจกรรมและทาบุญร่วมกัน และธารงพุทธานุสสติอยู่เสมอ ยิ่งกว่านั้นยังเชื่อว่า สามารถทาให้ผู้สร้างและ ผู้ร่วมพิธีมีชะตารุ่งโรจน์อีกด้วย

หน้า ๑๔๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


พิธีเททองหล่อพระพุทธศาสดาประชานาถ จัดขึ้น ณ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เมื่อวัน ที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ โดยได้รับความเมตตาจาก สมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร รับเป็นประธานพิธีฝ่ายสงฆ์ ทั้งนี้ ได้มีการเตรียมการในพิธีเททองดังนี้ -

รั้วก่าย ราชวัตรฉัตรธง ต้นกล้วย ต้นอ้อย จานวน ๘ คู่ สายสิญจน์สาหรับวงบริเวณราชวัตรฉัตรธง และโยงไปที่พิธีสงฆ์ มณฑลพิธีตั้งห่างจากบริเวณเผาหุ่นเททอง โลหะต่าง ๆ ที่จะใช้หล่อพระพุทธรูป หรือพระบูรพาจารย์ เครื่องนมัสการพระรัตนตรัย ประกอบด้วย โต๊ะหมู่บูชา ดอกไม้ธูป เทียน เทียนวิปัสสีจานวน ๑ เล่ม น้าหนักประมาณ ๑๒ บาท ไส้ ๓๒ เส้น เครื่องใช้พิธีสงฆ์ เครื่องบวงสรวงบูชาเทวดาประจาฤกษ์ ช้อนสาหรับประธานหรือเจ้าภาพใส่ทองและเทลงสู่เบ้าหลอมทอง นิมนต์พระสงฆ์จานวน ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ มีรายนามดังนี้ ๑. พระธรรมรัตนาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเขียนเขต ปทุมธานี ๒. พระราชธรสารมุนี วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร ๓. พระสุวรรณมหาพุทธาภิบาล วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๔๓


๔. พระปริยัติโศภณ วัดดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ๕. พระครูพิสณฑ์วิหารกิจ วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร ๖. พระครูปลัดสัมพิพิฒนธุตาจารย์ วัดไตรมิตรวิทยารามกรุงเทพมหานคร ๗. พระครูวิธานธรรมปรีชา วัดดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ๘. พระครูศรีธรรมประสิทธิ์ วัดหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ๙. พระครูวิสุทธิ์ธรรมประสิทธิ์ วัดหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ๑๐. พระครูปลัดสุวัฒนสุตคุณ วัดดอนเมือง กรุงเทพมหานคร - นิมนต์พระสงฆ์จาก ๔ ภาค อธิษฐานจิต ประจาทิศทั้ง ๔ ตามราชวัตรฉัตรธง มีรายนามดังนี้ ๑. พระเทพสิทธาคม (หลวงปู่สาย กิตฺติปาโล) วัดท่าไม้แดง จังหวัดตาก (ภาคเหนือ) ๒. พระครูอภัยธรรมรักขิต (หลวงตาเชิด โชติปาโล) วัดมฤคทายวัน จังหวัดหนองคาย (ภาคอีสาน) ๓. พระครูอดุลวิริยกิจ (หลวงพ่อเอื้อน อตฺตมโน) วัดวังแดงใต้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ภาคกลาง) ๔. พระครูเกษมจิตตาภิรักษ์ (หลวงพ่อล้าน เขมจิตฺโต) วัดเกษมบารุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ภาคใต้) - เทียน ๔๐ เล่ม ธูป ๔๐ ดอก (สาหรับเจ้าภาพหรือประธานจุดบูชาหรือสังเวยเทวดา เพื่อบูชาเทวดา นพเคราะห์ ๙ องค์ ตามกาลังเทวดาแต่ละองค์ ดาวฤกษ์ ๒๗ พระอินทร์ ๑ พระพรหม ๑ พระยม ๑ และ พระกาล ๑) - ครอบน้าพระพุทธมนต์พร้อมกาหญ้าคาสาหรับใช้ประพรมน้าพระพุทธมนต์ - เครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ในพิธีประกอบด้วยขั้นตอนหลัก ๓ ขั้นตอน ได้แก่ - ขั้นตอนที่ ๑ พิธีบวงสรวงสักการะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ - ขั้นตอนที่ ๒ พิธีเจริญพระพุทธมนต์ - ขั้นตอนที่ ๓ พิธีเททองหล่อพระพุทธศาสดาประชานาถ

ขั้นตอนที่ ๑ พิธีบวงสรวงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นการถวายสักการะและบวงสรวงพระบิดาแห่งกองทัพอากาศ และบุพการีทหารอากาศ ตามฤกษ์มงคล เวลา ๐๙.๓๙ น. - ผู้บัญชาการทหารอากาศ นายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ และคณะกรรมการจัดสร้างฯ เข้าประจาจุดประกอบพิธีสักการะ - ผู้บัญชาการทหารอากาศ นายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ วางพวงมาลัย และจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสักการะรูปหล่อพระบิดาแห่งกองทัพอากาศ

หน้า ๑๔๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) ผู้บัญชาการทหารอากาศ นายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ วางพวงมาลัย และจุดธูปเทียน เครื่องทองน้อยสักการะรูปหล่อพระบิดาแห่งกองทัพอากาศ - ผู้บัญชาการทหารอากาศ นายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ วางพวงมาลัยและจุดธูปเทียน เครื่องทองน้อยสักการะรูปหล่อบุพการีทหารอากาศ

(ภาพ) ผู้บัญชาการทหารอากาศและนายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ วางพวงมาลัย และจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสักการะอนุสาวรีย์บุพการีกองทัพอากาศ

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๔๕


- นายทหารชั้นผู้ใหญ่และคณะกรรมการจัดสร้างฯ เข้าประจาจุดประกอบพิธีบวงสรวง - ผู้บัญชาการทหารอากาศและนายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ เดินมาประจาจุด ประกอบพิธีบวงสรวง - ผู้บัญชาการทหารอากาศ ลั่นฆ้องชัย ๓ ครั้ง

(ภาพ) ผู้บัญชาการทหารอากาศ ลั่นฆ้องชัย ๓ ครั้ง - ผู้บัญชาการทหารอากาศ จุดธูปเทียนบูชาที่โต๊ะเครื่องบวงสรวงบูชา - พราหมณาจารย์นอบน้อมบูชาคุณอาจารย์ - เจ้าหน้าที่จุดรูปหางส่งให้ผู้บัญชาการทหารอากาศและนายทหารชั้นผู้ใหญ่ เพื่อปักเครื่องบวงสรวงบูชา - พราหมณาจารย์อ่านโองการเชิญเทพเทวา จนจบ - ผู้บัญชาการทหารอากาศและนายทหารชั้นผู้ใหญ่ โปรยข้าวตอกดอกไม้ ที่เครื่องบวงสรวงบูชา - ผู้บัญชาการทหารอากาศลั่นฆ้องส่งเทวดา ๓ ครั้ง

หน้า ๑๔๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) ผู้บัญชาการทหารอากาศและนายทหารชั้นผู้ใหญ่ โปรยข้าวตอกดอกไม้ที่เครื่องบวงสรวงบูชา ขั้นตอนที่ ๒ พิธีเจริญพระพุทธมนต์ เวลา ๑๐.๐๐ น. - พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ๑๐ รูป นั่งประจา ณ อาสน์สงฆ์ที่กาหนด และพระเกจิอาจารย์ ๔ รูป นั่งปรก เข้าประจา ๔ ทิศ เวลา ๑๐.๐๙ น. - ผู้บัญชาการทหารอากาศจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดเทียนวิปัสสี กราบ ๓ ครั้ง

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๔๗


(ภาพ) ผู้บัญชาการทหารอากาศจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย - ผู้บัญชาการทหารอากาศถวายสักการะสมเด็จพระวันรัต ประธานสงฆ์พิธีเททอง

(ภาพ) ผู้บัญชาการทหารอากาศถวายสักการะ สมเด็จพระวันรัต ประธานสงฆ์พิธีเททอง - อนุศาสนาจารย์อาราธนาศีล - พระธรรมคุณาพร ประธานสงฆ์ ให้ศีล - อนุศาสนาจารย์อาราธนาพระปริตร - พระสงฆ์ ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์

หน้า ๑๔๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ


- ผู้บัญชาการทหารอากาศจุดเทียนน้ามนต์ (เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถึงบทอเสวนา) ที่บาตรน้ามนต์หน้าพระเกจิอาจารย์ ๔ ทิศ - พระสงฆ์ ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์จนจบ

(ภาพ) ผู้บัญชาการทหารอากาศจุดเทียนน้​้ามนต์ที่บาตรน้​้ามนต์หน้าพระเกจิอาจารย์ ๔ ทิศ ขั้นตอนที่ ๓ พิธีเททองหล่อพระพุทธศาสดาประชานาถ เวลา ๑๐.๓๙ น. - ผู้บัญชาการทหารอากาศจุดเทียนทอง เงิน จานวน ๔ เล่ม ที่โต๊ะหมู่บูชากลางแจ้ง - สมเด็จพระวันรัต ประพรมน้าพระพุทธมนต์ที่หุ่นพระและช่างหล่อพระ - สมเด็จพระวันรัต ผู้บัญชาการทหารอากาศและนายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ ยืนบนแท่นสาหรับเททอง - เจ้าหน้าที่อัญเชิญทองคา แผ่นทอง เงิน นาก มอบให้ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และนายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ - ผู้บัญชาการทหารอากาศและนายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ หยิบทองคา แผ่น ทอง เงิน นาก ลงในกระบวยหลอมทอง - สมเด็จพระวันรัต ผู้บัญชาการทหารอากาศและนายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ พร้อมทั้งนายทหารชั้นผู้ใหญ่ จับสายสูตรประกอบพิธีเททอง

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๔๙


(ภาพ) สมเด็จพระวันรัต ผู้บัญชาการทหารอากาศและนายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ พร้อมทั้งนายทหารชั้นผู้ใหญ่ จับสายสูตรประกอบพิธีเททอง - พระสงฆ์ ๑๐ รูป เจริญชัยมงคลคาถา - เจ้าหน้าที่ลั่นฆ้องชัย จนจบพิธีเททอง - ผู้บัญชาการทหารอากาศและนายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ ถวายไทยธรรม แด่สมเด็จพระวันรัต - นายทหารชั้นใหญ่และผู้มีเกียรติ ถวายไทยธรรมแด่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ๑๐ รูป และถวายไทยธรรมแด่พระเกจิอาจารย์ ๔ รูป - พระสงฆ์อนุโมทนา - สมเด็จพระวันรัต ประธานสงฆ์กล่าวสัมโมทนียกถา และกล่าวอนุโมทนา - ผู้บัญชาการทหารอากาศกรวดน้า . - ผู้บัญชาการทหารอากาศกราบพระรัตนตรัย - สมเด็จพระวันรัต ประพรมน้าพระพุทธมนต์ผู้ร่วมพิธี - พระสงฆ์ ๑๐ รูป เจริญชัยมงคลคาถา

หน้า ๑๕๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) พระสงฆ์ ๑๐ รูป เจริญชัยมงคลคาถา - เจ้าหน้าที่ลั่นฆ้องชัยจนจบพิธีเททอง - ผู้บญ ั ชาการทหารอากาศและนายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ พร้อมทั้ง นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ที่ห้องรับรอง ด้วยอานิสงส์แห่งความศรัทธาของผู้ร่วมพิธี การอธิษฐานจิตของเหล่าเกจิอาจารย์ ตลอดจน แรงบันดาลจากปวงเทพยดา จึงส่งผลให้รูปหล่อพระพุทธศาสดาประชานาถสวยงามตรงตามพุทธลั ก ษณะ ทุกประการ

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๕๑


การประกอบพิธีนั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว บน บ.ล.๘ (C-130 H-30) พิธีกรรมเทวาภิเษกในประเทศอินเดียส่วนใหญ่กระทาโดยพราหมณ์เท่านั้น ฤาษีและโยคีผู้ทรงฌาน สมาบัติจะร่วมบรรจุพลัง แปรเปลี่ยนงานประติมากรรมทั่วไปให้กลายเป็นเทวรูปหรือวัตถุมงคลที่มี ความ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แต่ ใ นประเทศไทยจะนิ ม นต์ พ ระสงฆ์ ผู้ มี จิ ต ประเสริ ฐ อั น เกิ ด จากศี ล าจารวั ต รอั น งดงาม มาประกอบพิธี นั่ งปรก โดยพระสงฆ์อธิษฐานตั้งสมาธิ บรรจุกระแสพลั งจิตที่บริสุทธิ์ สร้างความเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์แก่วัตถุมงคล นอกเหนื อ จากการนั่ ง ปรกอธิ ษ ฐานจิ ต ประจ าทิ ศ ทั้ ง ๔ ตามราชวั ต รฉั ต รธงของพระสงฆ์ ๔ รู ป จาก ๔ ภาคของประเทศในพิธีเททอง เพื่อให้พระพุทธศาสดาประชานาถมีความศักดิ์สิทธิ์ กองทัพอากาศ ยังได้นิมนต์พระสงฆ์มานั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยวเหนือน่านฟ้าใกล้สรวงสวรรค์ ถือเป็นการทวีความศักดิ์สิทธิ์ แก่พระพุทธศาสดาประชานาถอีกทอดหนึ่ง เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๕๐ น. พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้บัญชาการ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ ประธานฝ่ายฆราวาส และ คณะ พร้อมด้วยพระครูมงคลเทพ เจ้าคณะอาเภอตาคลี (ธ) เจ้าอาวาสวัดเทพมงคลปานสาราม อาเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พระมหาเถราจารย์ผู้เป็นพระสุปฏิปันโน ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพียบพร้อมด้วยความเมตตา และพระสงฆ์ ผู้ ติ ด ตามจ านวน ๒ รู ป ได้ อั ญ เชิ ญ พระพุ ท ธศาสดาประชานาถ ขนาดหน้ า ตั ก ๒๐.๒๐ นิ้ ว เนื้อทศโลหะ พระพุทธศาสดาประชานาถ (จาลอง) ขนาดหน้าตัก ๑๐ นิ้ว เนื้อทศโลหะและเนื้อทองเหลื อง (ปลอกกระสุน) ไปยัง กองบิน ๔๑ จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยอากาศยาน บ.ล.๘ (C-130 H-30) เพื่อประกอบพิธี มหาพุทธาภิเษก และประดิษฐานที่สถานีรายงานดอยอินทนนท์ ทั้งนี้ จะเปิดให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาได้กราบ สักการะบูชาในภายหลัง เมื่อเวลา ๑๐.๑๐ น. ขณะไต่ระดับ ที่ความสูง ๓๕,๐๐๐ ฟุต พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ ได้กราบนิมนต์พระครูมงคลเทพฯ นั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว เป็นเวลา ๔๐ นาที เพื่อเพิ่มความเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์แก่พระพุทธศาสดาประชานาถ ระหว่างเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการประกอบพิธี นั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยวกลางเวหา ใกล้ดินแดน แห่ ง สรวงสวรรค์ ชั้ น ฟ้ า อั น เป็ น แหล่ ง สถิ ต ของปวงเทวดา ซึ่ ง จะร่ ว มกั น อ านวยพรและถ่ า ยทอดสิ ริ ม งคล ทรงอานุภาพ บังเกิดสัมฤทธิ์ผลแก่ผู้มีจิตศรัทธาที่กราบสักการบูชาวัตถุมงคล พระพุทธศาสดาประชานาถจึงมี อัตลั กษณ์เฉพาะ เชื่อมโยงพระบิ ดาแห่ งกองทัพอากาศและกองทัพอากาศด้ว ยสายใยแห่ งความศักดิ์สิ ทธิ์ เป็นอมตะนิรันดร์

หน้า ๑๕๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) พระสงฆ์ และ พลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ผู้ แ ทนผู้ บั ญ ชาการทหารอากาศ ประธานฝ่ า ยฆราวาส พร้ อ มคณะ อั ญ เชิ ญ พระพุ ท ธศาสดาประชานาถ จากกรุ งเทพฯ ไปยังจังหวัดเชียงใหม่

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๕๓


หน้า ๑๕๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) พระสงฆ์ และพลอากาศตรี ณรงค์ อินทชาติ รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ประกอบพิธีนั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว บน บ.ล.๘ (C-130 H -30)

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๕๕


พิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธศาสดาประชานาถ

(ภาพ) พระพุทธศาสดาประชานาถ พิธีพุทธาภิเษกเป็นพิธีปลุกเสกพระพุทธรูปหรือวัตถุมงคล โดยมีพระเถระผู้เชี่ยวชาญในการทาสมาธิ จานวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า คณะปรก นั่งภาวนาส่งกระแสจิ ตเพ่งคุณพระรัตนตรัยเข้าไปสู่ องค์พระหรือวัตถุมงคล โดยใช้พุทธคุณซึ่งมีอยู่ในบทพุทธปริตร หรือบทพุทธมนต์ หรือโดยใช้สมาธิจิตที่เกิดจากปฏิบัติกรรมฐาน ประจุ พุทธคุณลงในวัตถุมงคลดังกล่าว เนื่องจากเชื่อว่าวัตถุมงคลที่ผ่านพิธีพุทธาภิเษกแล้วย่อมกลายเป็นวัตถุมงคล ศักดิ์สิทธิ์ ที่สามารถป้องกันภัยอันตรายและให้เกิดความสวัสดีมีชัย กองทัพอากาศได้จัดพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธศาสดาประชานาถ ณ บริเวณจุดชมทัศนียภาพสูงสุด ของประเทศไทย สถานีรายงานดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ โดยมี พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานพิธี ฝ่ายฆราวาส และสมเด็จพระมหา ธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร เป็นประธานพิธีฝ่ายสงฆ์ ทั้งนี้มีการเตรียมการดังนี้

หน้า ๑๕๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


- จัดเตรียมสถานที่ประกอบพิธี - โต๊ะหมู่บูชา พร้อมเครื่องนมัสการ - อุปกรณ์เครื่องใช้ในงานพิธีสงฆ์ - เครื่องรับรองพระสงฆ์ - นิ มนต์พระสงฆ์จ านวน ๑๐ รู ป จากวัดในภาคเหนือ ผู้ ที่มีวัตรปฏิบัติและสมาธิสู งและมีความ เชี่ยวชาญในการเจริญพระพุทธมนต์สวดมนต์ตั๋น มีรายนามดังนี้ ๑. พระอมรเวที วัดพระธาตุศรีจอมทอง ๒. พระครูโสภณสุวรรณาทร วัดพระธาตุศรีจอมทอง ๓. พระครูอาทรสมาธิวัตร วัดพระธาตุศรีจอมทอง ๔. พระครูสิทธิปริยัตยานุกูล วัดพระธาตุศรีจอมทอง ๕. พระครูปัญญาวรธรรมวิเทศ วัดพระธาตุศรีจอมทอง ๖. พระครูปลัดมงคลสิทธิวัฒน์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง ๗. พระครูธรรมธรอรุณ อภิวาชนันโท วัดพระธาตุศรีจอมทอง ๘. พระครูพิจิตรสรการ วัดพระธาตุศรีจอมทอง ๙. พระครูพิสิฏฐปทุมรัตน์ วัดหนองบัว ๑๐.พระครูปลัดสุรเดช สิริสุวณ ั โณ วัดยางกวง การเจริญพระพุทธมนต์เป็นการสวดเพื่อเสกน้ามนต์เพื่อให้เกิ ดความเป็นสิริมงคล ในพิธี มหาพุทธา ภิเษกในครั้งนี้ กองทัพอากาศได้จัดให้มีการเจริญพระพุ ทธมนต์การสวดมนต์ตั๋น ซึ่งเป็น การสวดแบบล้านนา ที่นิยมสวดในพิธีอบรมสมโภชหรือพุทธาภิเษกเป็นส่วนใหญ่ คาว่า “ตั๋น” ในภาษากลางออกเสียง “ตัน” หมายถึง ไม่กลวง ไม่รั่ว ไม่มีรอยแยกหรือแตก การสวดมนต์ตั๋นจึงหมายถึง การสวดมนต์แบบไม่หยุดหรือไม่มี ช่องว่างหรือเว้นวรรค พระสงฆ์จะสวดแบบต่อเนื่องโดยไม่ให้เกิดช่องว่างระหว่างบทต่าง ๆ เนื่องจากเชื่อว่า พุทธคุณของพระจะช่วยอุด หรือช่วยปกป้องภยันตรายต่าง ๆ หรือให้พุทธคุณทางคงกระพันชาตรีนั่นเอง - นิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร เป็นองค์ประธาน จุดเทียนชัย และพระมหาเถราจารย์ จานวน ๒๐ รูป นั่งปรกอธิษฐานจิต มีรายนามดังนี้ ๑. พระเทพมงคลโมลี (หลวงปู่บุญส่ง สุขัปปัตโต) วัดล้านนาญาณสังวราราม อาเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ องค์ประธานดับเทียนชัย ๒. พระเทพปัญญาภรณ์ (หลวงพ่อริด ริตเวที) วัดตากฟ้า อาเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ๓. พระราชวิสุทธิญาณ (หลวงพ่อฤทธิรงค์ ญาณวโร) วัดป่าดาราภิรมย์ อาเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ๔. พระนิโรธรักขิต (หลวงพ่อสุนทร ขันติโก) วัดท่าพระเจริญพรต อาเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๕๗


๕. พระศรีธรรมโสภณ (หลวงพ่อบุญโชติ ปุญญโชติ) วัดพระธาตุหริภุญชัย อาเภอเมือง จังหวัดลาพูน ๖. พระประชานาถมุนี (ครูบาอานันท์ อานันโท) วัดดอนจั่น อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๗. พระครูอภัยธรรมรักขิต (หลวงตาเชิด) วัดมฤคทายวัน อาเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย ๘. พระครูปภัศร์ธรรมรังสี (ครูบาจันต๊ะรังสี จันทรังสี) วัดกู่เต้า อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๙. พระครูอินทญาณรังสี (ครูบามา ปัญญาวโร) วัดพุทธนิมิต อาเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ๑๐. พระครูโสภณบุญโญภาส (ครูบาจง อุปลวัณโณ) วัดศรีสว่าง อาเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ๑๑. พระครูวิเชียรปัญญา (ครูบาทันใจ คุณสังวโร) วัดสันกลาง อาเภอสันกาแพง จังหวัดเชียงใหม่ ๑๒. พระครูวินัยธรวรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า) วัดถ้าเมืองนะ อาเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ๑๓. พระครูจันทสิริธร (หลวงพ่อสารันต์ จันทนูปโม) วัดดงน้อย อาเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ๑๔. พระครูภาวนานุกูล (หลวงพ่อชูชัย อริโย) วัดนาค อาเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๕. พระครูวิบูลเจติยานุรักษ์ (หลวงพ่อประไพ ปุญฺญกาโม) วัดดอนเจดีย์ อาเภอดอนเจดีย จังหวัดสุพรรณบุรี ๑๖. พระครูโสภณภัทรเวทย์ (พระอาจารย์อ๊อด ปธานิโก) วัดสายไหม อาเภอลาลูกกา จังหวัดปทุมธานี ๑๗. พระเมธีปริยัติธาดา(บุญพรม จารุปุญฺโญ) วัดโนนพระแก้ว อาเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ๑๘. พระครูนิวิฐธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเจริญ มุนิจารี) วัดจันเสน อาเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ๑๙. พระครูวิสุทธิ์ภาวนาประสิทธิ์ (พระอาจารย์จิรยุทธิ์ อธิฉันโท) วัดตาลเอน อาเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒๐. พระครูปลัดวรกร เขมปัญโญ (ครูบาน้อย) วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว อาเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ - พระสงฆ์สวดภาณวารหรือสวดพุทธาภิเษก จานวน ๔ รูป (สารับละ ๔ รูป) - เทียนชัย ๑ เล่ม ไส้ ๑๐๘ เส้น หนัก ๘๐ บาท - ตู้เทียนชัย เป็นตู้ที่มีกระจกปิดเพื่อกันลมพัด - เทียนมงคล ๑ เล่ม หนัก ๑๐ บาท - เทียนพุทธาภิเษก ๒ เล่ม หนักเล่มละ ๓๒ บาท ไส้ ๕๖ เส้น สูงประมาณกึ่งหนึ่งของเทียนชัย - เทียนนวหรคุณ ๙ เล่ม หนักเล่มละ ๒ บาท ไส้ ๙ เส้น - เทียนที่โต๊ะหมู่บูชาหน้าพระประธาน ๑ คู่ขนาดพองาม - เทียนหน้าพระสวดพุทธาภิเษก ๑ คู่ - เทียนหนัก ๖ สลึง ไส้ ๙ เส้น ๒๘ เล่ม พร้อมธูปจีนดอกเล็ก จุดที่เครื่องบวงสรวงสังเวย

หน้า ๑๕๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ


-

เครื่องบวงสรวงสังเวย เทียนหนักเล่มละ ๒ สลึง จานวน ๑๐๘ เล่ม ธูปจีน ๑๐๘ ดอก มัดหญ้าคา สาหรับประพรมน้าพระพุทธมนต์ ใบพลู ๗ ใบ สาหรับดับเทียนชัยและเทียนมงคล เครื่องเจิม แป้งกระแจะใส่ละลายในโถปริก เทียนวิปัสสี ๑ เล่ม หนัก ๑๒ บาท ไส้ ๓๒ เส้น - เครื่องไทยธรรมถวายพระสงฆ์ในพิธี - พานข้าวตอกดอกไม้ - ตู้พระธรรมตั้งเบื้องหน้าพระสงฆ์สวดภาณวาร - เครื่องนมัสการพระธรรม - ด้ายสายสิญจน์ ในพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธศาสดาประชานาถ มีลาดับพิธีการดังนี้ เวลา ๑๐.๐๙ น. - ประธาน และผู้ร่วมพิธีพร้อม ณ มณฑลพิธี - พระสงฆ์ จานวน ๑๐ รูป ที่มีความเชี่ยวชาญในการเจริญพระพุทธมนต์ เจริญพระพุทธมนต์ ตั๋น (สูตรตั้งลา) เริ่มจากกล่าวโองการขันธ์ห้า ซึ่งเป็นหลักธรรมแสดงถึงองค์ประกอบของชีวิ ตมนุษย์ อันประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ต่อจากนั้นพร้อมกัน ขอขมา แก้ว ๕ โกฐาก กล่าวคือ นาดอกไม้ธูปเทียน และข้าวดอกไปใส่ลงในพานใบใหญ่ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ ๕ โกฐาก วางเป็น ๕ กอง เพื่อบูชาสิ่งสาคัญ ๕ สิ่ง ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบา อาจารย์ และพระกัมมัฏฐาน แล้วสวดมนต์กัมมัฏฐานจานวน ๔๐ บท พร้อมกัน เริ่มตั้งแต่บทแรก สัคเคหลวง บทที่ ๒ สมันตาจักกะวาเฬสุ เป็นการเชิญเทวดาทั่วจักรวาฬสโมสรในมณฑลด้วย และ เจริญพระพุทธมนต์บท นะโม เม บทนมัสการพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ ต่อด้วยบทมหาสมัย ธัมมจักร กัป ปวัตนสู ตร มีบ ทพิเศษที่เพิ่มมาหลายบทอาทิเช่น บทวชิรปราการ บทพระเจ้าสิ บชาติ จนถึง บทสุโข พุทธานัง

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๕๙


(ภาพ) พระสงฆ์จำนวน ๑๐ รูปเจริญพระพุทธมนต์สวดมนต์ตั๋น - พระภาวนาจารย์ จานวน ๒๐ รูป พร้อม ณ มณฑลพิธี เวลา ๑๐.๑๕ น. - ผู้บัญชาการทหารอากาศและนายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศยืนรอรับสมเด็จ พระมหาธีราจารย์ และนิมนต์เข้าสู่อาสน์สงฆ์ แล้วจึงเข้านั่งประจาที่

หน้า ๑๖๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ


- พิธีกรเชิญผู้บัญชาการทหารอากาศประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เวลา ๑๐.๒๐ น. - ผู้บญ ั ชาการทหารอากาศ ถวายมาลัยกรและจุดธูปเทียนบูชาพระประธานในหอพระ

(ภาพ) ผู้บัญชำกำรทหำรอำกำศจุดธูปเทียนบูชำพระประธำนในหอพระ - ผู้ บั ญชาการทหารอากาศ จุดธูปเทียนบูช าพระรั ตนตรัย โต๊ะหมู่บูช า และจุดธูป เทียน เครื่องทองน้อยหน้าพระรูป จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลก ประชานารถ

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๖๑


(ภาพ) ผู้บัญชำกำรทหำรอำกำศจุดธูปเทียนบูชำพระประธำนในหอพระ - ผู้บัญชาการทหารอากาศถวายสักการะสมเด็จพระมหาธีราจารย์

(ภาพ) ผู้บัญชำกำรทหำรอำกำศถวำยสักกำระสมเด็จพระมหำธีรำจำรย์ - อนุศาสนาจารย์กล่าวอาราธนาศีล - พระสงฆ์ให้ศีล

หน้า ๑๖๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


- ประธานและผู้ร่วมพิธีรับศีล - เจ้าหน้าที่จุดเทียนตามลาดับ ดังนี้ เทียนพุทธวิปัสสี เทียนมงคลขวา-ซ้าย เทียนนวโลกุตรธรรม ๙ เล่ม เทียนโสฬสญาณ ๑๖ เล่ม เทียนบูชาธาตุทั้ง ๔ เทียนบูชาขันธ์ ๕ โกฐาก - พระสงฆ์ประกอบพิธีโยงขันธ์ ๕ โกฐาก - อนุศาสนาจารย์ กราบอาราธนา สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ไปยังตู้เทียนชัยเพื่อเจิม เทียนชัย และจุดเทียนชัย - ผู้บัญชาการทหารอากาศ ถวายกระปุกแป้งเจิมแด่สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เพื่อเจิมเทียนชัย - สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจิมเทียนชัย - ผู้บัญชาการทหารอากาศ ถวายเทียนชนวนแด่สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เพื่อจุดเทียนชัย - สมเด็จพระมหาธีราจารย์ รับเทียนชนวน บริกรรมคาถา จุดเทียนชัย เสร็จแล้ว ผู้บัญชาการทหารอากาศรับเทียนชนวนคืน

(ภาพ) สมเด็จพระมหำธีรำจำรย์ จุดเทียนชัย

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๖๓


- พระสงฆ์เจริญคาถาจุดเทียนชัย (เจ้าหน้าที่ลั่นฆ้องชัย) - อนุศาสนาจารย์ อาราธนาพระปริตร - พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์สวดมนต์ตั๋น (สูตรตั้งลา) - พระภาวนาจารย์อธิษฐานจิตปลุกเสก สมเด็จพระมหาธีราจารย์สรงพระบรม สารีริกธาตุ และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในผอบ ขณะพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ - อนุศาสนาจารย์ กราบอาราธนา สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ทาพิธีเบิกเนตรและเชิญ ผู้บัญชาการทหารอากาศเข้าร่วมพิธีกรรม

(ภาพ) สมเด็จพระมหำธีรำจำรย์ ทำพิธีเบิกเนตร - สมเด็จพระมหาธีราจารย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ - สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ประพรมน้าพระพุทธมนต์ที่วัตถุมงคลและโปรยดอกไม้ - ผู้บัญชาการทหารอากาศโปรยดอกไม้

หน้า ๑๖๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) ผู้บัญชำกำรทหำรอำกำศโปรยดอกไม้ - อนุศาสนาจารย์กราบอาราธนาสมเด็จพระมหาธีราจารย์กลับเข้าอาสน์สงฆ์ - อนุศาสนาจารย์นิมนต์พระภาวนาจารย์ ดับเทียนชัย - ผู้บัญชาการทหารอากาศถวายใบพลู จานวน ๗ ใบ พร้อมโถปริกกระแจะแด่พระภาวนาจารย์ เพื่อเจิมแป้งกระแจะที่ใบพลู - พระเทพมงคลโมลี ดับเทียนชัย ขณะพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาดับเทียนชัย - พระเทพมงคลโมลี โปรยข้าวตอกดอกไม้และประพรมน้าพระพุทธมนต์ ขณะพระสงฆ์ เจริญชัยมงคลคาถา

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๖๕


(ภาพ) พระเทพมงคลโมลีประพรมนำพระพุทธมนต์ - พระเทพมงคลโมลี ประพรมน้าพระพุทธมนต์และโปรยดอกไม้ - ผู้บัญชาการทหารอากาศและนายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ ถวายเครื่อง ไทยธรรมแด่สมเด็จพระมหาธีราจารย์ - นายทหารชั้นผู้ใหญ่และผู้แทนหน่วยงาน ถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระภาวนาจารย์ ๒๐ รูป และพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ๑๐ รูป - พระสงฆ์อนุโมทนา - ผู้บัญชาการทหารอากาศกรวดน้าและรับพร - อนุศาสนาจารย์กราบอาราธนา สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ประพรมน้าพระพุทธมนต์ - เสร็จพิธี - นิมนต์พระสงฆ์ฉันภัตตาหารเพล หลังจากเสร็ จพิธีมหาพุทธาภิเษก ผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นประธานอัญเชิญรูปหล่อ พระพุทธ ศาสดาประชานาถ ขนาด ๒๐.๒๐ นิ้ว ไปประดิษฐาน ณ วิหารพระแก้วสัมฤทธิ์ผล เป็น การชั่วคราว ระหว่าง ดาเนินการก่อสร้างวิหารเพื่อประดิษฐานต่อไป

หน้า ๑๖๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


(ภาพ) พระพุทธศำสดำประชำนำถ ในพิธีมหำพุทธำภิเษก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๖๗


(ภาพ) พระพุทธศาสดาประชานาถ ขนาดหน้าตัก ๒๐.๒๐ นิ้ว

หน้า ๑๖๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ


"กำลังในอำกำศ เป็นโล่อันแท้จริงอย่ำงเดียว ที่จะป้องกันมิให้สงครำมมำถึงท่ำมกลำงประเทศ ของเรำได้” พระดำรัสใน จอมพล สมเด็จพระเจ้ำบรมวงศ์เธอ เจ้ำฟ้ำจักรพงษ์ภูวนำรถ กรมหลวงพิศณุโลก ประชำนำรถ องค์นี้ ก่อให้เกิดคุณูปกำรอันยิ่งใหญ่ กองทัพอำกำศได้ถือกำเนิดขึ้นมำเพื่อทำหน้ำที่ปกปั กน่ำนฟ้ำ รักษำอธิปไตยของชำติมำเป็นเวลำกว่ำ ๗๐ ปี พระองค์เปรียบเสมือนผู้ให้กำเนิดชีวิตแก่ชำวกองทัพอำกำศทุกคน จึงพร้อมใจถวำยพระสมัญญำว่ำ “พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ” พลอำกำศเอก มำนั ต วงษ์ ว ำทย์ ผู้ บั ญ ชำกำรกองทั พ อำกำศ หำรื อ คณะท ำงำนว่ ำ จะจั ด สร้ ำ ง พระพุทธรูปแบบทศโลหะภำยใต้พระนำมของพระองค์ เพื่อเทิดพระเกียรติ ในโอกำสเสด็จทิวงคตครบ ๑๐๐ ปี และประกอบพิธีมหำพุทธำภิเษกในวันที่ ๒ กุมภำพันธ์ ค.ศ.๒๐๒๐ เพรำะเป็นเลขแห่งควำมอัศจรรย์ ทั้งนี้ กำรจั ดสร้ำงพระพุทธรู ป ถือเป็ น เรื่ องใหญ่ที่มีค วำมซับซ้อน อย่ำงไรก็ตำมคณะทำงำนสำมำรถดำเนินกำร ได้สำเร็จลุล่วง ปรำศจำกอุปสรรคใด ๆ อัศจรรย์ที่บังเกิดเสมือนว่ำสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปรำรถนำให้กองทัพอำกำศ สร้ำงพระพุทธศำสดำประชำนำถ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบิดำแห่งกองทัพอำกำศให้สำเร็จจงได้ อัศจรรย์แห่งตัวเลข ๑. เลข ๐ และเลข ๒ วันอำทิตย์ที่ ๒ กุมภำพันธ์ ค.ศ.๒๐๒๐ ตำมปฏิทินสำกล ตรงกับวัน อำทิตย์ที่ ๒ กุมภำพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ตำมปฏิทิน ไทย และตรงกับ วันอำทิตย์ที่ ๒ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๓ พุทธศักรำช ๒๕๖๓ (ปีกุน) ตำม จันทรคติไทย วันที่ ๒ กุมภำพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ เมื่อนำเลขวันทีบ่ วกด้วยเลขเดือนและเลขปี พ.ศ. จะได้ผลรวมเท่ำกับ ๒๐ วันที่ ๒ ๒

กุมภำพันธ์ ๒

พ.ศ. ๒๕๖๓ ๒ ๕ ๒ + ๒ + ๒ + ๕ + ๖ + ๓ = ๒๐

วันที่ ๒ กุมภำพันธ์ ค.ศ.๒๐๒๐ นำมำเขียนเป็นตัวเลขได้ว่ำ ๐๒๐๒. ๒๐๒๐ หรือ 0202 2020 สำมำรถ อ่ ำ นได้ ต ำมแบบพำลิ น โดรม (palindrome) ซึ่ ง มำจำกค ำภำษำกรี ก ว่ ำ ‘palin dromo’ หมำยควำมว่ ำ กำรย้อนกลับอีกครั้ง ถ้ำอ่ำนเรียงย้อนกลับจำกหลังไปหน้ำ หรือจำกซ้ำยไปขวำ เมื่ออ่ำนไปข้ำงหน้ำหรืออ่ำน กลับหลัง ยังคงควำมหมำยเดิมหรือมีควำมหมำยเหมือนเดิม เช่น คำว่ำ kayak  kayak, rotor  rotor เป็นต้น สมัยพระบำทสมเด็จพระนั่งเกล้ำเจ้ำอยู่หัว มีกำรอ่ำนคำประพันธ์แบบกลอักษรถอยหลังเข้ำคลอง เมื่ออ่ำนจบวรรคแล้ว ให้อ่ำนวรรคเดิมนั้นทวนย้อนกลับจำกท้ำยวรรคมำต้นวรรคใหม่ ในกลบทสุภำษิต จะเริ่ม อ่ำนทวนกลับตั้งแต่วรรคแรก

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๖๙


ตัวอย่ำง แถลงกิจผิดกำรกอบระบอบคิด

ใจระแวงแหนงฉงนจนใจแคลง (กลบทสุภำษิต: ๓๖)

วิธีอ่ำน แถลงกิจผิดกำรกอบระบอบคิด คิดระบอบกองกำรผิดกิจแถลง ใจระแวงแหนงฉงนจนใจแคลง แคลงใจจนฉงนแหนงระแวงใจ กองทัพอำกำศจึ งจัดสร้ำงพระพุทธรูป พระประธำนหน้ำตัก ๒๐.๒๐ นิ้ว พระบูชำพระพุทธศำสดำ ประชำนำถ ขนำด ๑๐ นิ้ว จำนวน ๒,๐๒๐ องค์ ๒. เลข ๓ ปี ๒๐๒๐ เป็นปีที่ ๑ และปีแรกของคริสต์ทศวรรษ ๒๐๒๐ เป็นปีที่ ๒๐ ของคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ และ ปี ที่ ๒๐ ของคริ ส ต์ ส หั ส วรรษที่ ๓ ทั้ ง นี้ ไม่ ว่ ำ จะนั บ ตำมคริ ส ต์ ศ ตวรรษหรือ คริ ส ต์ ส หั ส วรรษ ปี ดั ง กล่ ำ ว จะนับเป็นปีที่ ๓๐ ปี ค.ศ.๒๐๒๐ เป็นปีอธิกสุรทิน กล่ำวคือ เป็นปีที่ เดือนกุมภำพันธ์มี ๒๙ วัน ซึ่งจะปรำกฏทุก ๔ ปี ในปีนี้จึงมี ๓๖๖ วัน ดังนั้น วันที่ ๒ กุมภำพันธ์ ค.ศ.๒๐๒๐ เป็นวันที่ ๓๓ ของปี หำกนับจำกวันดังกล่ำวจนถึงสิ้นปี จะเป็นเวลำ ๓๓๓ วัน ๓. เลข ๐ และเลข ๑ ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ ซึ่งครบรอบ ๑๐๐ ปี กำรทิวงคต ในทำงปฏิทินสำกลวันที่เป็นตัวเลขสะท้อนกลับ ในรอบ ๑,๐๐๐ ปี จะเกิดเพีย งครั้ งเดีย วในวันที่ ๒ กุมภำพันธ์ ปี ๒๐๒๐ (๐๒๐๒ ๒๐๒๐) จึงกำหนดให้ วันดังกล่ำวเป็นวันประกอบพิธีมหำพุทธำภิเษกพระพุทธศำสดำประชำนำถ เพื่อเป็นที่ระลึก ๑๐๐ ปีแห่งกำรทิวงคตของพระบิดำแห่งกองทัพอำกำศ กองทัพอำกำศจึงได้จัดทำ เหรียญรูปพระบิดำและพระพุทธศำสดำประชำนำถ จำนวน ๔๐,๐๐๐ เหรียญ

หน้า ๑๗๐

พระพุทธศาสดาประชานาถ


อัศจรรย์แห่งพระพุทธศาสดาประชานาถ นับจากวันที่ดำริให้สร้างพระพุทธรูปและแต่งตั้งคณะทำงานในวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒ จนถึงวันประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ มีระยะเวลาดำเนินการเพียงแค่ ๘๒ วัน แต่ทว่ามีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการจำนวนมาก เช่น การส่งหนังสือไปยัง กรมศิลปากร เพื่อพิจารณา ให้ความเห็นชอบรูปแบบของพระพุทธรูป กระทรวงวัฒนธรรมนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรม ราชานุญาต การติดต่อช่างปั้นและโรงหล่อ เป็นต้น ตามปกติต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ค่อนข้างมาก หากติดขัดขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง โอกาสที่จะสำเร็จลุล่วงเป็นไปได้ยาก แม้กระทั่งวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒ คณะกรรมการยังไม่มีแบบพระพุทธรูป เนื่องจากการออกแบบพระพุทธรู ปให้ มี ความงดงามทรงคุณค่าต้องใช้ระยะเวลานานแรมเดือน โรงหล่อพระที่มีชื่อเสียงหลายแห่งปฏิเสธรับงาน เพราะ ไม่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลากระชั้นชิด แต่อัศจรรย์ได้บังเกิด ในที่สุดนายชวลิต คล้อยตามวงศ์ ประติมากรจากโรงหล่อโป้งปั้นแต่ง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ตอบรับทำงาน หลังจากปฏิเสธในตอนแรก ทั้งนี้ ช่างได้วาดแบบเสร็จภายในระยะเวลาเพียงแค่ ๔ วัน จากนั้นปรับแก้ไขจนสวยงามวิจิตรสมพระเกียรติ พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ สื่อความหมายทรงคุณค่าจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ อัศจรรย์ที่บังเกิดต่อมา ผู้ประกอบการโรงหล่อพระได้ร่วมบุญกับกองทัพอากาศรับสร้างพระพุทธรูป ขนาด ๑๐ นิ้ว จำนวน ๒,๐๒๐ องค์ ได้ทันตามกำหนดพิธีมหาพุทธาภิเษก กองทัพอากาศได้ทำหนังสือขอประทานนามพระพุทธรูปจาก สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อให้ สมพระเกียรติพระบิดาแห่งกองทัพอากาศ แต่ด้วยระยะเวลากระชั้นชิด อาจจะไม่ทันตามกำหนด แต่อัศจรรย์ ได้บ ังเกิด สมเด็จ พระสังฆราชประทานชื่อ “พระพุทธศาสดาประชานาถ แปลว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็ น พระศาสดาผู้เป็นที่พึ่งของประชาชน” ประทานแผ่น ทอง เงิน และนาก ในการเททองหล่อพระพุทธรูป รวมทั้ง พระบรมสารีริกธาตุ เพื่อใส่ในพระเกตุมาลาของพระพุทธรูป นอกจากนี้ พระราชาคณะครบทั้ง ๙ รูป รวมทั้ง พระอริยสงฆ์ทั่วประเทศอีกกว่า ๒๐๐ รูป นับเป็น มหามงคล ทวีพลังแห่งความศักดิ์สิทธิ์แก่พระพุทธศาสดา ประชานาถ ผู้บัญชาการทหารอากาศประสงค์ให้พระพุทธศาสดาประชานาถเป็นสัญลักษณ์เชื่อมสายสัมพันธ์ ระหว่างกองทัพอากาศและพระบิดาแห่งกองทัพอากาศเข้าไว้ด้วยกัน จึงดำริให้นำไทเทเนียม ซึ่งมีความแข็งแรง ทนทานและจุดหลอมเหลวสูง แต่มีน้ำหนักเบา นิยมใช้ในโครงสร้างอากาศยานมาเป็นมวลสารในการหล่อ พระพุทธรูปองค์นี้ เพิ่มเติมจากมวลสาร ๙ ชนิด ที่ใช้หล่อแบบนวโลหะ จึงทำให้พระพุทธศาสดาประชานาถเป็น พระเนื้อทศโลหะ ทั้งนี้ จากอดีตที่ผ่านมา ไม่เคยมีพระพุทธรูปเนื้อทศโลหะมาก่อน อีกทั้งช่างไม่เคยมี ประสบการณ์หล่อพระพุทธรูปเนื้อทศโลหะมาก่อน จึงต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดและขอคำแนะนำจาก ช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทุกขั้นตอน อย่างไรก็ตาม ต่างไม่สามารถคาดได้ว่าจะหล่อเป็นพระพุทธรูปที่สมบูรณ์ ไม่แตกร้าวได้หรือไม่ ช่างได้ทดสอบหลอมเนื้อทศโลหะก่อนถึงกำหนดพิธีเททอง อัศจรรย์ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๗๑


ผลกำรทดสอบปรำกฏว่ำมวลสำรหลอมละลำยเข้ำกันเป็นอย่ำงดี โลหะผสมมีสีสวยงำมตำมธรรมชำติของ สีโลหะผสม และเงำมันเป็น ประกำย ไม่มีส่วนแตกร้ำวแต่อย่ำงใด กล่ำวได้ว่ำพระพุทธศำสดำประชำนำถเป็น พระพุทธรูปเนื้อทศโลหะองค์แรกของประเทศไทยและของโลก นั บ ตั้ ง แต่ เ ปิ ด ให้ สั่ ง จองบู ช ำพระพุ ท ธศำสดำประชำนำถชุ ด เหรี ย ญทอง ชุ ด กรรมกำร และ พระพุทธศำสนำประชำนำถแบบลงรักปิดทอง ปรำกฏว่ำจองเต็มภำยในระยะเวลำ ๒๕ นำที ถือเป็นควำม เคำรพรักในพระบิดำกองทัพอำกำศและควำมเลื่อมใสศรัทธำต่อพระพุทธศำสดำประชำนำถ

(ภาพ) พระพุทธศาสดาประชานาถขนาดหน้าตัก ๑๐ นิ้ว (จากซ้าย) แบบลงรักปิดทอง แบบขัดเงา และแบบสีน้าผึ้ง (พาติน่า)

(ภาพ) เหรียญที่ระลึกพระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๗๒

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ผมได้รับการติดต่อจาก นาวาอากาศโท ไกรสุชาติ สมสะอาด ให้ออกแบบและจัดสร้างพระพุทธรูป ร่วมสมัย ๕ สมัย ประกอบด้วย ศิลปะหริภุญชัย ศิลปะเชียงแสน ศิลปะสุโขทัย ศิลปะอยุธยา และศิลปะ รัตนโกสินทร์ จำนวน ๒,๐๒๐ องค์ แก่กองทัพอากาศ โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการให้แล้วเสร็จภ ายใน ๒ เดือน ตามหลักการและเงื่อนไขเวลา เป็นไปไม่ได้ที่จะทำได้สำเร็จ ผมได้ติดต่อน้องเขยและลูกน้องเก่า ที่แยกตัวไปเปิดโรงงานของตนเอง ต่างตอบปฏิเสธ เพราะมีงานค้างอยู่ ผมจึงปรึกษากับภรรยาแล้วได้ข้อสรุปว่า ถ้าไม่มีทีมงานมาเสริมในการทำงานที่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนเวลา คงทำไม่ได้ ในวันรุ่งขึ้นผมจึงได้ปฏิเสธงาน แต่หลังจากนั้นเพียง ๑ วัน อัศจรรย์ก็บังเกิด น้องเขยและลูกน้องเก่าได้ติดต่อกลับมาบอกว่างานของพวกเขา ถูกเลื่อน จึงพร้อมรับงานของกองทัพอากาศ หลังจากถอดใจไปแล้ว กลับมีความหวังขึ้นมาอี กครั้ง ผมบอก ทีมงานว่า ถ้ารั บ งานนี้ อย่าทิ้งกั น กลางคั น ต้องช่ว ยกัน ทำงานให้เสร็ จ ทุกคนตอบตกลง ผมจึงโทรหา นาวาอากาศโท ไกรสุชาติ แจ้งว่าพร้อมรับงาน ท่านถามผมว่า “ช่างโป้งพร้อมรบใช่ไหม” ผมนึกขำและคิดในใจ “นี่เราจะทำสงครามร่วมกับทหารหรือ” ผมตอบกลับว่า “พร้อมครับ” ท่านให้รอหนึ่งวันแล้วจะให้คำตอบ วันรุ่งขึ้นผมได้รับแจ้งว่าให้ร่างแบบได้เลย ผมยังงงว่า “สร้างพระขนาดหน้าตัก ๑๐ นิ้ว จำนวน ๒,๐๐๐ กว่าองค์ ถือว่าจำนวนไม่น้อย มีเวลา แค่ ๒ เดือน ฝันไปรึเปล่า” หลังจากนั้น ผมเริ่มนำกระดาษมาร่างแบบตามข้อมูล ที่ได้รับจาก นาวาอากาศโท ไกรสุช าติ พระพุทธรูปองค์นี้ มีพุ ท ธลั ก ษณะเป็ น แบบศิ ล ปะล้ า นนา ทรงเครื่ อ งกษั ต ริ ย์ แ บบร่ ว มสมั ย จะประดิ ษ ฐาน ณ ดอยอินทนนท์ จุดสูงสุดของประเทศไทย เพื่อเป็นที่กราบสักการะของประชาชนทั่วไป ผมได้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม แล้วนำมาผสมผสานกับข้อมูลที่ได้รับจากกองทัพอากาศ มีการ ปรั บ แก้ ไ ขจนลงตั ว จากนั ้ น จึ ง เริ ่ ม เขี ย นแบบและส่ ง แบบให้ ค ณะกรรมการจั ด สร้ า งพระพุ ทธรู ป ของ กองทัพอากาศ ได้ตรวจและพิจารณาแก้ไขจนกระทั่งได้แบบตามในภาพ

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๗๓


(ภาพ) ภาพร่างพระพุทธศาสดาประชานาถ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๓ เวลาประมาณ ๑๑ นาฬิกาเศษ ผมเริ่มลงมือปั้นหุ่น ระหว่างนั้น ก็ครุ่นคิดในใจว่า โรงงานหลายแห่งที่ได้รับการติดต่อต่างพากันปฏิเสธ เพราะมีเวลาจากัด ผมรู้สึกกดดัน แต่คิดว่า เมื่อรับงานมาแล้ว ก็ต้องทาให้สาเร็จ ผมได้ปรับเปลี่ยนแบบที่ร่างไว้มาเป็นแบบที่ปั้นแล้วสวยดูดี เพื่อให้งาน ออกมาง่าย ดูไม่ขัดตา แต่ทว่างานไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ในที่สุดก็เสร็จสิ้น หลั ง จากคณะกรรมการจั ด สร้ า ง ฯ ของกองทั พ อากาศได้ ต รวจแม่ พิ ม พ์ หุ่ น ขี้ ผึ้ ง ผมและที ม งาน จึงเตรียมแผนงานหล่อในขั้นต่อไป ขณะดาเนินการหล่อพระพุทธศาสดาประชานาถ เกิดอุปสรรคทาให้ผ ม เครียดจนแทบไม่ได้พกั ผ่อนในช่วงระยะเวลา ๒ เดือน แต่แล้วทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี ในขั้นตอนการปั้นพระพุทธศาสดาประชานาถ ขนาด ๒๐.๒๐ นิ้ว ด้วยเนื้อทศโลหะจากโลหะ ๑๐ ชนิด ซึ่ ง ยั ง ไม่ เ คยมี ใ ครท ามาก่ อ น ผมเกรงว่ า หากเนื้ อ โลหะมู ล ค่ า หลายแสนบาทเกิ ด ความผิ ด พลาดเสี ยหาย ย่อมส่งผลต่อชื่อเสียงที่ สั่งสมมาเป็นเวลานาน หลังจากนั่งวิเคราะห์อยู่ชั่วครู่ ไม่รู้มีอะไรมาดลใจให้ผมคิดถึง ท่านอาจารย์สง่า จันทร์ตา ช่างชานาญการของ กองช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ผมได้โทรไปปรึกษาเกี่ยวกับ เนื้อโลหะ ท่านตอบตกลงอย่างง่ายดาย เมื่อผมเล่าว่า พระพุทธรูปองค์นี้จะไปประดิษฐานที่เชียงใหม่ ท่านบอกว่า “ผมเป็ น คนเชีย งใหม่เหมื อนกัน ผมจะช่ว ยเต็มร้อยเลยครั บ ช่างโป้งมีปัญหาอะไร ปรึกษาได้ตลอดเวลา” คาพูดของท่านทาให้ผมโล่ง ใจเป็นอย่างมาก และเชื่อมั่นว่า งานนี้ต้องสาเร็จ หลังจากนั้นอีกสองวัน จึงทุบหุ่น พบว่าเนื้อโลหะไม่มีรอยแตกร้าว สมบูรณ์แบบมาก ถือเป็นความประทับใจในการหล่อเนื้อทศโลหะ เป็นครั้งแรกของผมและทีมงาน นี่ถือเป็นอัศจรรย์ครั้งที่ ๒ หลั งจากขัดแต่งเนื้ อทศโลหะทดสอบที่มีโลหะรวมกัน ๑๐ ชนิด องค์แรกของประเทศไทย จึงให้ คณะกรรมการจัดสร้างฯ ตรวจเนื้อและสี ก่อนนาไปหล่อองค์พระขนาดหน้าตัก ๒๐.๒๐ นิ้ว ต่อไป

หน้า ๑๗๔

พระพุทธศาสดาประชานาถ


ต่อมาในวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ ผมและทีมงานโป้งปั้นแต่งทุกคนได้เททองหล่อพระพุทธ ศาสดาประชานาถ ขนาดหน้าตัก ๒๐.๒๐ นิ้ว เนื้อทศโลหะองค์แรกของประเทศไทย ภายใต้การควบคุมของ อาจารย์ สง่า จันทร์ตา ทุกอย่างดูเหมือนจะราบรื่นด้วยดี แต่ มีปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาในการหล่อ เริ่มจาก การหล่ อ พระเกตุ ม าลาขององค์ พ ระพุ ท ธศาสดาประชานาถก็ ป ระสบปั ญ หา พบว่ า ขณะเททองลงไป เพียงเล็กน้อย พฤกษ์ทองเต็มเร็วมาก ถือว่าผิดปกติ หากทองเต็มเร็ว แสดงว่าแม่พิมพ์เย็นเกินไป ผมมั่นใจว่า ต้องเสียแน่นอน แต่เมื่อเสร็จสิ้ นพิธี ได้ทุบแม่พิมพ์ ปรากฏว่า พระเกตุเต็มสมบูรณ์แบบมาก เป็นสิ่งที่ เหลือเชื่อ ถือเป็นอัศจรรย์ครั้งที่ ๓ การหลอมเนื้อทศโลหะในส่วนองค์พระพุทธศาสดาประชานาถใช้เวลาเกิน กว่าชั่วโมง ถือว่านานเกินไป อาจารย์สง่าและผมเห็นพ้องกันว่า งานหล่อนี้คงเสียทั้งองค์แน่ นอน เนื่องจาก แม่พิมพ์เย็นเกินไป แต่ทองร้อนเกินไป โอกาสที่จะหล่อพระเป็นผลสาเร็จ มีเพียงแค่ ๓๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่หลังจากนั้นอีก ๒ วัน ได้ทุบแม่พิมพ์ พบว่างานหล่อออกมาดี สมบูรณ์ถึง ๙๐ เปอร์เซ็นต์ มีเพียงแค่ผิวเป็น มะระ ขรุขระเล็กน้อย แต่ไม่น่ามีปัญหา ถือเป็นอัศจรรย์ ครั้งที่ ๔ เป็นที่น่าประหลาดใจมาก ผมเชื่อว่า จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ มีพระประสงค์ให้เสร็จทัน ภายในระยะเวลาที่กาหนด จึงทาให้ผมและทีมงานทุกคนผ่านวิกฤตินี้ไปได้ หลังจากนั้นได้นาองค์พระมาขัดแต่ง ทุกอย่างเป็นไปตามที่คิด ผิวขัดออกมาดีพอใช้ หลังจากนั้นอีก ๒ วัน เนื้อเริ่มแตกร้าว ผมรีบปรึกษาอาจารย์สง่า ท่านเดินทางมาที่โรงหล่อแล้วให้เชื่อมด้วยอาร์กอน แต่เหลือเวลาอีกแค่ ๓ – ๔ วัน ถึงกาหนดส่งมอบงาน ผมไม่แน่ใจว่าจะดาเนินการได้ทันหรือไม่ ตอนแรกเชื่อมไม่ได้ แต่ต่อมากลับมาเชื่อมเป็นลมแก๊สก็เชื่อมได้ จึงใช้ถังลมแก๊สและเครื่องอาร์กอนเชื่อมจนสมบูรณ์แบบทันตามกาหนด งานนี้ใช้เวลา ๖๗ วัน ๒๒ ชั่วโมง ผมและครอบครัว พร้อมทีมงานทุกคนที่มีส่วนร่วมในงานหล่อองค์พระพุทธรูป รู้สึกเป็ นเกียรติที่ได้รับ ความไว้วางใจจากกกองทัพอากาศให้ปั้นและหล่อพระพุทธศาสดาประชานาถ และรู้สึกภูมิใจที่ได้รังสรรค์งาน เนื้อทศโลหะเป็นครั้งแรกของประเทศไทยได้เป็นผลสาเร็จ นายชวลิต คล้อยตามวงศ์ ประติมากรแห่งโรงหล่อช่างโป้งปั้นแต่ง

พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๗๕


หน้า ๑๗๖

พระพุทธศาสดาประชานาถ


พระพุทธศาสดาประชานาถ

หน้า ๑๗๗


หน้า ๑๗๘

พระพุทธศาสดาประชานาถ




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.