OJED OJED, Vol.9, No.2, 2014, pp.86-99 วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ทางการศึกษา
An Online Journal of Education http://www.edu.chula.ac.th/ojed
แนวทางการจัดการเรียนรู้พลศึกษาสาหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ: กรณีศึกษาโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ GUIDELINES FOR PHYSICAL EDUCATION LEARNING MANAGEMENT FOR STUDENTS WITH SPECIAL NEEDS: CASE STUDIES OF THE WELFARE EDUCATION SCHOOLS * นางสาวนันทวัน วงษ์ประเสริฐ ** Nantawan Wongprasert อ.ดร.รุ่งระวี สมะวรรธนะ *** Dr. Rungrawee Samawathdana, Ph.D. บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจาเป็น ในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาใน โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กับครู พลศึกษาเกี่ยวกับสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้พลศึกษา 3) เพื่อนาเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้พลศึกษาของโรงเรียน ศึกษาสงเคราะห์ โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน คือ เชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น กับหัวหน้า กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ทั่วประเทศ 50 โรงเรียนๆ ละ 1 คน และครู พลศึกษา 100 คน โรงเรียนละ 2 คน แบบสอบถามได้รับคืนกลับมาร้อยละ 92 จากทั้งหมด 150 ฉบับ เชิงคุณภาพเป็น การสัมภาษณ์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 5 คน และครูพลศึกษา 5 คน รวม 10 คน จาก 5 ภูมิภาค เครื่องมือการวิจัยได้รับการตรวจสอบค่าความตรง IOC ที่ระดับ .96 และความเที่ยงครอนบาคแอลฟาที่ .98 ผลการวิ จั ย พบว่ า 1) การจั ด การเรี ย นรู้ พ ลศึ ก ษาในโรงเรี ย นศึ ก ษาสงเคราะห์ ป ระกอบด้ ว ย 3 ด้ า น คื อ ด้านสถานศึกษา ด้านครูพลศึกษา ด้านผู้เรียน สภาพปัญหาโดยภาพรวมพบว่า มีสภาพปัญหาอยู่ในระดับน้อย ขณะที่ ความต้องการจาเป็นในทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า สภาพปัญหาด้านสถานศึกษา พบว่าอยู่ใน ระดับมาก 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กับครูพลศึกษา เกี่ยวกับสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้พลศึกษา พบว่า ทั้งภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) แนวทางการจัดการเรียนรู้พลศึกษา ด้านสถานศึกษา ควรมีการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอในการจัด สิ่งอานวยความสะดวกและสื่อการเรียนรู้ ด้านครูพลศึกษา ควรมีการจัดอบรมครูพลศึกษาในเรื่องของกระบวนการจัด การเรียนรู้ ด้านผู้เรียน ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้พลศึกษา และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง * งานวิจัยได้รับทุนอุดหนุนวิทยานิพนธ์สาหรับนิสิตจากบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ** นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย E-mail Address: qk_kik@hotmail.com *** อาจารย์ประจาสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย E-mail Address: Rungrawee.Sa@chula.ac.th ISSN 1905-4491
86
OJED, Vol.9, No.2, 2014, pp.86-99