Isamare oct60

Page 1

IS AM ARE

สร้ า งพื้ น ที่ ชี วิ ต ตามรอยพระราชด� ำ ริ

โคก หนอง นา โมเดล ภาพแห่ ง ชี วิ ต

ศาสตราจารย์ ดร.วิ ษ ณุ เครื อ งาม ฉบับที่ 117 ตุลาคม 2560 www.fosef.org


2 IS AM ARE www.fosef.org


“การด� ำ รงชี วิ ต ที่ ดี จ ะต้ อ งปรั บ ปรุ ง ตั ว ตลอดเวลา การปรั บ ปรุ ง ตั ว จะต้ อ งมี ค วามเพี ย รและความอดทน เป็ น ที่ ตั้ ง ถ้ า คนเราไม่ ห มั่ น เพี ย ร ไม่ มี ค วามอดทน ก็ อ าจจะท้ อ ใจไปโดยง่ า ย เมื่ อ ท้ อ ใจไปแล้ ว ไม่ มี ท างที่ จ ะมี ชี วิ ต เจริ ญ รุ ่ ง เรื อ งแน่ ๆ ”

พระราชด� ำ รั ส ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่ 9 พระราชทานแก่ ค รู แ ละนั ก เรี ย น โรงเรี ย นจิ ต รลดา 27 มี น าคม 2523


Editorial

ทักทายกันอีกครั้งในฉบับเดือนตุลาคม ๒๕๖๐ ต้องบอกตามตรงเลยว่า บท บก.ฉบับนี้กว่าจะรวบรวมสติเพื่อให้เกิดสมาธิใน การเขียน เขียนอะไรก็ได้ เพื่อที่ฝ่ายผลิตจะได้ปิดเล่ม การทวงถามจากเจ้าหน้าที่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายคน หลายครั้ง จนท�ำให้เจ้า หน้าที่ทุกคนต่างพากันซึมเศร้าไปทั้งหมด ความเศร้าโศกเสียใจที่ไม่อาจลบเลือนแม้เวลาผ่านไปแล้ว กว่า ๓๖๕ วันแต่มันกลับยิ่งทวีความโศกเศร้าเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม มาบรรจบอีกครั้ง ความรู้สึกสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตครั้งนี้เราเสียใจมากจนหมดเรี่ยวแรงและก�ำลังใจที่จะด�ำรงชีวิตอยู่ต่อไปเลยที เดียว ในหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมาเมื่อหลายปีก่อน ต�ำแหน่งของผู้สื่อข่าวที่ท�ำให้เราต้องไปยืนอยู่ในเหตุการณ์การเผชิญหน้ากับ ประชาชนคนไทยที่มีความเห็นต่างและประชาชนคนไทยกลุ่มนั้นได้ใช้ค�ำพูดที่หยาบคายและก้าวล่วงไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อเราได้รับฟัง เราจึงส่งเสียงดังตอบกลับกลุ่มประชาชนที่เห็นต่างนั้นว่า “หากมีใครคิดร้ายหรือคิดท�ำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ เราพร้อมที่จะเอาชีวิตของตนเองเข้าปกป้องพระองค์” และแน่นอนว่าไม่ใช่เสียงของเราเพียงคนเดียว แต่มีประชาชนจ�ำนวนมากที่ ยืนข้างกายเรา ก็ส่งเสียงดังออกไปเช่นเดียวกับเรา มีค�ำถามจากหลายคน หลายค�ำถามแต่ในท�ำนองเดียวกันว่าท�ำไมเราต้องเสียใจมาก จากการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ แต่ค�ำตอบจากใจของเรามีเพียงค�ำตอบเดียวคือ “เรารักพระองค์ รักเพราะพระองค์ทรงมีพระเมตตาให้กับเรา ทรงห่วงใย ดูแลความทุกข์สุขของประชาชนและช่วยพัฒนาประเทศจนพวกเรามีความสุขสบายมากมายในทุก ๆ ด้าน และเรื่อง ราวของพระองค์ตั้งแต่ที่เราจ�ำความได้ เริ่มต้นจากโรงเรียนแรกที่เราได้รับการศึกษา คือ ราชวินิต และเพลงประจ�ำโรงเรียนจนถึง ปัจจุบันเรายังจ�ำเนื้อเพลงได้ทุกตัวอักษร ” ครอบครัวพอเพียง เกิดจาก ราชวินิต “..งานยังไม่เสร็จนะสุเมธ..” ท่าน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลได้เล่าให้หลายคนฟังทั้งในที่สาธารณะและการส่วนตัว ความมุ่งมั่น ในการขับเคลื่อนโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนที่ด�ำเนินมา กว่า ๑๐ ปีแล้วนั้นจึงเป็นความมุ่งมั่นที่จะเดินหน้า ต่อเพื่อการขยายเครือข่าย ขยายครอบครัวพอเพียงไปให้ทั่วแผ่นดิน เพราะท้ายที่สุดของการขับเคลื่อนโครงการนี้จะก่อให้เกิดความ หวังที่จะให้ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถพึ่งพาตนเองได้และมีความสุข ซึ่งเราถือเป็นหน้าที่ หน้าที่ที่จะต้องท�ำ ด้วยใจอาสา. ปีนี้ มีฉบับพิเศษอีกหนึง่ ฉบับเป็นฉบับทีร่ วบรวมภาพพระราชพิธี ประมวลภาพพระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐

4 IS AM ARE www.fosef.org


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ประธานโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน

คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ นายธนพร เทียนชัยกุล นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ นางวาสนา สุทธิเดชานัย นายภูวนาถ เผ่าจินดา นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา นายเอกรัตน์ คงรอด นางสาวเอื้อมพร นาวี ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางอรปภา ชาติน�้ำเพ็ชร นางรจนา สินที นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์ นางศิรินทร์ เผ่าจินดา

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

ดร.เชิดศักดิ์ นายสมศักดิ์ ดร.ชลพร ดร.ปิยฉัตร

ศุภโสภณ ชาติน�้ำเพ็ชร กองค�ำ กลิ่นสุวรรณ

บรรณาธิการ : กองบรรณาธิการ :

ศิลปกรรม : ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ผู้จัดการมูลนิธิ ดร.กัมปนาท ดร.นฤมล ดร.กาญจนา ดร.อ�ำนาจ

บริบูรณ์ พระใหญ่ สุทธิเนียม วัดจินดา

กรวิก อุนะพ�ำนัก ชวลิต ใจภักดี หนึ่งฤทัย คมข�ำ ภูวรุต บุนนาค พิชัยยุทธ ชัยไธสง ภิญโญ ทองไชย นิตยสารครอบครัวพอเพียง 663 ซอยพหลโยธิน 35 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0-2939-5995 0-2939-5996 www.fosef.org

Let’s

Start and Enjoy!


Hot Topic

8

10

ตามรอยยุ วกษัตริย์

40

สร้างพื้นที่ ชี วิตตามรอย

พระราชด�ำริ โคก หนอง นา โมเดล

ภาพแห่งชี วิต ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม

Don’t miss

45 34

28 50

68 6 IS AM ARE www.fosef.org


Table Of Contents

ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงยุ ติ ธ รรม

7 issue 117 OCTOBER 2017

ตามรอยยุวกษัตริย์ Cover Story ภาพแห่งชีวิต ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม Let’s Talk สุขจิตต์ สินสมบูรณ์ ซูเปอร์ครูโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ กิจกรรมครอบครัวพอเพียง เยาวชนของแผ่นดิน การเดินทางของเด็กบ้านไกล นราธิวาส-กรุงเทพมหานคร เพชรนรี สุวรรณ์มณี บทความพิเศษ สร้างพื้นที่ชีวิตตามรอยพระราชด�ำริ โคก หนอง นา โมเดล Is Am Are ต�ำบลล�ำวังทอง จังหวัดหนองบังล�ำภู หยุดหนี้ หยุดพึ่งคนอื่น ด้วยความพอเพียง พึ่งตนเอง บทความพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มูลนิธิชัยพัฒนา การน�ำความรู้ไปใช้ของผู้เข้ารับการอบรม จากอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา Round About

8 10 22 28

34 40

50 60 72 80


เจนีวา เมืองแห่งมิตรภาพหลากสีผิว

เจนี ว าเป็ น เมื อ งใหญ่ อั น ดั บ สามของสวิ ต เซอร์ แ ลนด์ และถื อ ว่ า เป็ น รั ฐ ที่ เ ล็ ก ที่ สุ ด ของประเทศ ตั้ ง อยู ่ ท าง ตะวั น ตกเฉี ย งใต้ ติ ด กั บ ชายแดนฝรั่ ง เศส ในสมั ย จั ก รวรรดิ โรมั น มี ห ลั ก ฐานการท� ำ สงครามที่ จูเลียส ซีซาร์ ได้บันทึกการสู้รบของชนเผ่า Helvetii ซึ่งต่อมา เป็นชาวสวิส หลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน เจนีวาอยู่ ภายใต้อ�ำนาจของจักรวรรดิเยอรมัน จนกระทั่ง Jean Calvin ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วง พ.ศ.20522107 (ค.ศ.1509-1564) ได้น�ำการปฏิรูปประกาศเป็นรัฐอิสระ ก่อตั้งเจนีวาเป็นสาธารณรัฐในปี พ.ศ.2079 (ค.ศ.1536) แต่แล้ว ก็ต้องตกเป็นของฝรั่งเศส จนกระทั่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกโค่น อ�ำนาจ จึงแยกตัวเป็นรัฐอิสระอีกค�ำรบหนึง่ ในฐานะรัฐขนาดเล็ก ท้ายที่สุดก็สมัครเข้าร่วมกับสมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์

สัญลักษณ์เด่นของเมืองนี้ที่รู้จักไปทั่วโลก คือ น�้ำพุ Jet d’Eau ซึ่งพุ่งสูงถึง 140 เมตร ด้วยความเร็ว 200 กิโลเมตรต่อ ชั่วโมง วันไหนลมแรง ละอองน�้ำจะพุ่งขึ้นสูงและฟุ้งกระจาย ไปไกล สร้างลีลาความเคลื่อนไหวอยู่เหนือทะเลสาบให้ชุ่มชื่น มีชีวิตชีวา หากใครมีโอกาสไปเยือนเจนีวาในช่วงเดือนกรกฎาคมสิงหาคม จะมีเทศกาลหนังกลางแปลง (Cinelac) ความน่า ทึ่ ง สุ ด ๆ อยู ่ ต รงที่ เ ทคโนโลยี ก ารสร้ า งจอภาพยนตร์ ข นาด ยักษ์ ส�ำหรับฉายหนังกลางทะเลสาบนั้น ใกล้ๆ น�้ำพุที่พุ่งสูง เสียดฟ้า มีนาฬิกาดอกไม้ที่ English Garden ซึ่งตกแต่งด้วย ดอกไม้นานาพันธุ์หลากสีสันตามฤดูกาล เป็นสัญลักษณ์บ่งบอก 8

IS AM ARE www.fosef.org


ตามรอยยุ ว กษั ต ริ ย ์ ความส�ำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตนาฬิกาของเจนีวาและ สวิตเซอร์แลนด์ เจนีวาเป็นเมืองที่มีสนามบินนานาชาติ จึงมักจะเป็น เมืองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และพระ ราชวงศ์ เ สด็ จ ไปถึ ง ก่ อ นจะเสด็ จ โดยรถยนต์ ไ ปยั ง โลซานน์ ซึ่งห่างกันราวสองชั่วโมง และเป็นเมืองผ่านส�ำหรับเดินทาง ไปประเทศฝรั่ ง เศส อี ก ทั้ ง สมเด็ จ พระเจ้ า พี่ น างเธอ เจ้ า ฟ้ า กัลป์ยาณิวัฒนาฯ ก็เคยทรงเรียนที่โรงเรียนนานาชาติเจนีวาด้วย วันที่คณะของเราเดินทางไปถึงเจนีวาเป็นช่วงกลางวัน ของวันหยุด ผู้คนริมทะเลสาบรูปพระจันทร์เสี้ยวคึกคัก เป็นที่ รวมของผู้คนหลายวัยหลายชาติหลายภาษาและทุกสีผิว บ้างก็ นั่งเล่น บ้างก็เดินเล่น บ้างก็นอนอ่านหนังสือ บ้างออกก�ำลังกาย ด้วยกีฬาและการละเล่นต่างๆ แต่ที่น่าห่วงเห็นจะเป็นการพลอด รักกันอย่างดูดดื่มของบรรดาวัยรุ่นและคนหนุ่มสาว เพราะบาง คู่ดูประเจิดประเจ้อด้วยท่วงท่าน่าหวาดเสียวจริงๆ เจนี ว าเป็ น ที่ ตั้ ง ขององค์ ก ารระหว่ า งประเทศที่ เรี ย ก ว่า Palais des Nations ซึ่งมีทั้งที่ท�ำการของสหประชาชาติ องค์การอนามัยโลก สภากาชาด ฯลฯ พวกเราได้แวะเข้าไป ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกเท่าที่จะท�ำได้ เพราะเป็นวันปิดท�ำการไม่ สามารถเข้าไปเยี่ยมชมภายในได้

เวลาที่ เ หลื อ เราจึ ง ได้ ใช้ ส� ำ หรั บ การเดิ น ชมความงาม ของทะเลสาย และบ้ านเมื อ งของเจนี ว าโดยเริ่ มต้นจากสวน สาธารณะ ตรงบริ เวณสี่ แ ยกเป็ น ที่ ตั้ ง อนุ ส าวรี ย ์ National Monument ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2412 (ค.ศ.1869) เป็น อนุสาวรีย์เพื่อร�ำลึกถึงการที่เจนีวารวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ สวิตเซอร์แลนด์ในปี พ.ศ.2358 (ค.ศ.1815) รูปปั้นทั้งสองที่ ยื น เคี ย งคู ่ กั น บนแท่ น เปรี ย บเสมื อ นตั ว แทนของเจนี ว าและ สวิตเซอร์แลนด์ ในเขตเมืองเก่าเป็นที่ตั้งของอาคารเก่าแก่ มีมหาวิหาร St.Pierre เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานหลายยุค ทั้งกอธิค โรมันเนสก์และนีโอคลาสสิก ภายในโบสถ์ยังแสดงเรื่องราวการ ปฏิรูปศาสนาของ Calvin ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ภายใต้วิหาร มีหลุมโบราณคดี เป็นซากชุมชนโรมันและซากโบสถ์เก่าตั้งแต่ ครั้งคริสต์ศตวรรษที่ 4 และ 6 นอกจากนี้บนหอคอยของโบสถ์ ยังสามารถขึ้นบันไดไป 157 ขั้น ถึงจุดชมวิวเขตเมืองเก่าที่น่า สนใจหากมีเวลามากพอ 9 issue 117 OCTOBER 2017


Cover story

ภาพแห่งชี วิต

ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม ศาสตราจารย์ ดร.วิ ษ ณุ เครื อ งาม ชื่ อ นี้ อ ยู ่ คู ่ รั ฐ บาลมาหลายสมั ย ประสบการณ์ ท� ำ งานด้ า นการเมื อ งและ ราชการนั บ ว่ า เข้ ม ข้ น แต่ ห ากมองด้ า นประสบการณ์ ชี วิ ต ที่ ผ ่ า นมานั บ ว่ า เข้ ม ข้ น ยิ่ ง กว่ า ความคิ ด และการ ตั ด สิ น ใจในแต่ ล ะช่ ว งชี วิ ต ของท่ า นน� ำ มาสู ่ ห ลายบทบาทในชี วิ ต เป็ น บทเรี ย นแก่ เ ยาวชนคนรุ ่ น หลั ง ให้ ศึ ก ษา เป็ น แนวทางการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ทั้ ง ในด้ า นการเรี ย นหนั ง สื อ การท� ำ งาน การใช้ ชี วิ ต และจุ ด ยื น ที่ ย�้ ำ ชั ด เจนมา ตลอดว่ า “ชอบสอนหนั ง สื อ ” ไม่ ว ่ า จะด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ใดก็ ต าม หากยั ง มี แ รงก็ ไ ม่ เ คยทิ้ ง การสอนหนั ง สื อ ทั้ ง ยั ง หาเวลา หาโอกาสถ่ า ยทอดความรู ้ แ ก่ ศิ ษ ย์ อ ยู ่ เ สมอ เส้ น ทางชี วิ ต ของท่ า นจะเป็ น อย่ า งไร เชิ ญ ผู ้ อ ่ า น ร่ ว มค้ น คว้ า ร่ ว มกั น ครั บ 10 IS AM ARE www.fosef.org


11 issue 117 OCTOBER 2017


ฝรั่งเจอกับบาทหลวงหรือบราเดอร์ เวลาสอนเด็กท�ำการบ้าน ก็จะเอาผ้าปูที่นอนสีขาวมาพันตัวเพื่อให้ดูเหมือนบาทหลวง ดู ข ลั ง ดี ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ดี ( ยิ้ ม ) ทั้ ง หมดนี้ อ ยู ่ บ นพื้ น ฐานของความ สนุกสนาน แต่พอโตขึ้นยังติดนิสัยที่จะสอน มันไม่ใช่เป็นความ สนุกสนาน มีความรู้สึกเป็นความผูกพันเป็นหน้าที่” ห่ า งจากครอบครั ว อิ ส ระช่ ว งสั้ น ๆ แต่ ฝ ั ง ใจ หลั ง จากใช้ ชี วิ ต ในวั ย เด็ ก ที่ บ ้ า นย่ า นตลาดหาดใหญ่ ดร.วิษณุ ย้ายมาเรียนต่อในกรุงเทพฯ ที่โรงเรียนพระโขนง ซึ่งใน อดีตเป็นโรงเรียนเล็กๆ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนพระโขนง พิ ท ยาลั ย ในปั จ จุ บั น แต่ ก ารจากครอบครั ว มาอาศั ย อยู ่ ใ น กรุงเทพมหานครไม่ใช่เรื่องสบายนัก ดร.วิษณุ ยอมรับว่าไม่เคย ไปโรงเรียนทันเคารพธงชาติ แม้จะออกเดินทางตั้งแต่ตีห้าจาก บ้านญาติที่พักอาศัย “ถ้ า มั น ล� ำ บากมากเธอก็ ม าอยู ่ บ ้ า นพั ก ภารโรงใน โรงเรี ย นแล้ ว กั น ” ผู ้ อ� ำ นวยการโรงเรี ย นแสดงความเมตตา ให้ นั ก เรี ย นบ้ า นไกลได้ ม าอาศั ย ที่ บ ้ า นพั ก ภารโรงในโรงเรี ย น ดร.วิษณุ กับเพื่อนอีกสองคนจากจังหวัดนราธิวาสและจังหวัด นครศรีธรรมราช จึงได้มาอยู่ร่วมกันในสถานที่และบรรยากาศ ซึ่งแตกต่างจากที่บ้านเป็นอย่างยิ่งนานถึง 2 ปี หากสิ่งเดียวที่ เหมือนกันคือ ได้อยู่ร่วมกับเพื่อนภาคใต้ และได้เรียนรู้ทักษะ ชีวิตหลายอย่างที่ตนเองไม่เคยท�ำมาก่อน

เ อ า ผ ้ า ปู ที่ น อ น สี ข า ว ม า ค ลุ ม ตั ว เ พื่ อ ใ ห ้ ดู เ ห มื อ น บาทหลวง ดร.วิษณุ เครืองาม เกิดและเติบโตในอ�ำเภอหาดใหญ่ จั ง หวั ด สงขลา ครอบครั ว ประกอบธุ ร กิ จ ส่ ว นตั ว ตั้ ง แต่ ค้ า ข้ าว ธุ ร กิ จเดิ น รถโดยสาร รวมถึงธุรกิจขายยา ในจ�ำ นวนพี่ น้อง 4 คน ท่านเป็นพี่ชายคนโต เริ่มศึกษาในโรงเรียนเล็กๆ ในอ�ำเภอหาดใหญ่ ก่อนจะย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนแสงทอง วิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่หรูหรามากในอ�ำเภอหาดใหญ่สมัยนั้น เป็นโรงเรียนคาทอลิก ดร.วิษณุ เรียนที่น่ันจนจบชั้นมัธยมปลาย ดร.วิษณุ ฉายแววการเป็น “นักเรียน” ตั้งแต่วัยเด็ก กล่าวคือ เป็นเด็กที่ชอบทบทวนความรู้ มีสติปัญญาในการเรียน หนังสือในระดับแถวหน้าถ้าเทียบกับเพื่อนในวัยเดียวกัน เมื่อ อ่านหนังสือแล้วสามารถจดจ�ำและถ่ายทอดความรู้นั้นสู่น้องๆ รวมถึงเพื่อนของน้องๆ หลายคนที่ผู้ปกครองวางใจให้ท่านเป็น ผู้ทบทวนวิชาเรียนต่างๆ ให้ “เด็กคนอื่นที่มาให้เราสอน เรียนห้องเดียวกับน้องเรา ก็ สอนไปด้วยกัน ซึ่งดูแล้วเป็นผลดีกลับมาที่เรา ได้ทบทวนความรู้ ให้แข็งขึ้น ผมอยู่ชั้นเรียนห่างจากน้องๆ ต้องกลับไปอ่านหนังสือ เพื่อที่จะสอนหรือติวเด็กๆ เหล่านั้นนับสิบคน จ�ำได้ว่าตอนนั้น อายุ 10-12 ขวบยังครึกครื้นเพราะว่าความที่เราเรียนโรงเรียน 12

IS AM ARE www.fosef.org


“ไปอยู่ที่นั่นไม่ต้องเสียค่าเช่า อาจจะเสียค่าน�้ำค่าไฟ ให้โรงเรียนเล็กน้อย แต่นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้มาอยู่กรุงเทพฯ ได้ช่วยตัวเอง ห่างจากครอบครัว ต้องท�ำทุกอย่างด้วยตัวเอง ซักผ้าเอง ซึ่งเมื่อก่อนผมไม่เคยซักเอง ต้องท�ำกับข้าวเอง ผลัด เวรกับพรรคพวก ตื่นเช้ามีหน้าที่หลายอย่างที่ครูมอบหมาย เช่น ช่วยต้มน�้ำร้อนใส่กระติกเอาไปให้ครูหลายท่าน เพราะว่า น�้ำในโรงเรียนไม่สะอาด ผมก็ท�ำหน้าที่ ตอนเช้า 5-6 กระติก ไปวางบนโต๊ะ ซึ่งก็มีความสุข ได้เล่นได้เรียน ได้ว่ายน�้ำเพราะว่า โรงเรียนผมอยู่ใกล้แม่น�้ำเจ้าพระยา ซึ่งก็ว่ายน�้ำเป็นครั้งแรกใน ชีวิตที่นั่น ท�ำกับข้าวเป็นครั้งแรกก็ที่นั่น แล้วก็ท�ำงานอื่นอีก เช่น ช่วยภารโรงดายหญ้า ปลูกต้นไม้ตอนเย็นๆ ช่วยครูจัดหนังสือใน ห้องสมุดเป็นชีวิตที่สนุกสนาน” แม้จะต้องช่วยเหลือตัวเองในหลายด้าน ดร.วิษณุ กลับ รู้สึกถึงความอิสระของชีวิต รู้สึกถึงความสุขที่ได้ใช้ชีวิตดูแล ตนเอง นี่เป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่มีส่วนหล่อหลอมให้แข็งแกร่ง และเด็ดเดี่ยวขึ้น เมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกันที่ยังอาศัยอยู่กับ ครอบครัว ไม่ต้องช่วยเหลือตัวเองอย่างที่ ดร.วิษณุ เป็น

ทิ้ ง ทุ น การศึ ก ษา ค้ น หาตั ว เอง ดร.วิ ษ ณุ สอบเข้ า คณะศิ ล ปศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ได้เป็นอันดับที่ 2 ของผู้สอบได้ทั้งหมด ท�ำให้มีสิทธิ์ รับทุนการศึกษาจากคณะ ดร.วิษณุ ให้เหตุผลว่าสาเหตุที่เลือก เรียนคณะศิลปศาสตร์เพราะรู้ตนเองว่าวิชาคณิตศาสตร์ยังไม่ แข็งพอ จึงเลี่ยงคณะที่ต้องใช้คณิตศาสตร์ในขณะนั้น “เขาให้เลือก 6 อันดับ ผมไม่ได้เลือกนิติศาสตร์เลยสัก อันดับ เพราะนิติศาสตร์ต้องสอบคณิตศาสตร์สมัยนั้นบังคับ เลย ระหว่างคณิตศาสตร์กับภาษาฝรั่งเศสผมจะเลือกภาษา ฝรั่งเศส ผมสอบเข้าศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เป็นที่ 2 ของเด็กทั้งหมดที่สอบได้ คนที่ได้ที่ 1 เขาได้ทุน อื่ น ไปนอก ผมเลยเลื่ อ นมาเป็ น ที่ 1 คณบดี เรี ย กไปให้ ทุ น ความหมายคือเมื่อจบปีหนึ่งจะต้องเรียนปีสองคณะศิลปศาสตร์ ซึ่งมีสาขาต่างๆ ให้เลือก เช่น จิตวิทยา วรรณคดี ภาษาฝรั่งเศส บรรณารักษ์ ผมเลือกบรรณารักษ์” คงมี น ้ อ ยคนที่ จ ะตั ด สิ น ใจทิ้ ง ทุ น เรี ย นฟรี ที่ ไ ด้ รั บ เพื่ อ ย้ า ยคณะไปเรี ย นตามเพื่ อ น ดร.วิ ษ ณุ เป็ น ผู ้ ห นึ่ ง ที่ ท� ำ 13 issue 117 OCTOBER 2017


14 IS AM ARE www.fosef.org


อย่างนั้น ด้วยว่าการเรียนปีหนึ่งของธรรมศาสตร์ทุกคนจะต้อง เรียนศิลปศาสตร์เป็นวิชาพื้นฐานเดียวกัน ท�ำให้ ดร.วิษณุ มี เพื่อนมากมาย แต่เมื่อจบปีหนึ่งต่างคนก็ต่างย้ายไปเรียนตาม คณะที่ตนเองเลือก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคณะนิติศาสตร์ ท�ำให้เพื่อน ที่เคยมีมากมายหายหน้ากันไปจนดูโหลงเหลง “ในเวลานั้นธรรมศาสตร์ยอมให้ย้ายคณะได้ ผมก็เลย ไปบอกคณบดีว่าขอย้ายคณะไปเรียนนิติศาสตร์ปี 2 คณบดีก็ ยอมให้ไปเพราะตามระเบียบยอมให้ย้ายคณะได้ คณบดีบอกว่า เธอได้รับทุนมาหนึ่งปีแล้วและจะให้ต่อจนจบปี 4 ผมก็บอกว่า ยินดีจะใช้ทุนคืนให้ คณบดีก็เอาเรื่องเข้าที่ประชุมคณะ เพราะ เขาเห็นว่าผมสุจริต ฉะนั้นไม่เอาคืน สุดท้ายผมก็ได้ย้ายไปเรียน นิติศาสตร์” “พอไปเรียนนิติศาสตร์ ต้องบอกว่าไปเรียนตามเพื่อน ไม่ ได้รู้หรอกว่ามันคืออะไร รู้ว่าเรียนกฎหมาย ซึ่งพอๆ กับที่ผมจะ ต้องเรียนบรรณารักษ์แล้วผมก็ไม่รู้ว่าคืออะไร แต่เนื่องจากเจอ บรรณารักษ์ทุกวัน ก็มีความเชื่อว่าการเรียนบรรณารักษ์ท�ำให้ เราได้อ่านหนังสือจัดระเบียบหนังสือ ผมรักการอ่านมาตั้งแต่เด็ก ชอบจัดหนังสือ ชอบอ่าน ชอบจ�ำ ชอบเล่า ชอบสอน” อาจกล่าวได้ว่า หากไม่ทิ้งทุนการศึกษาเพื่อย้ายคณะ ในวันนั้น ก็อาจไม่มี ดร.วิษณุ เครืองาม ในแบบที่เรารู้จักกัน ในวันนี้ก็ได้ ความที่เป็นคนเด็ดเดี่ยว ตัดสินใจเร็ว โดยมีความรู้ ความคิดเป็นเครื่องน�ำพา ท�ำให้ประสบความส�ำเร็จในการเรียน เป็นอย่างสูง “เมื่ อ ผมย้ า ยมาเรี ย นคณะนิ ติ ศ าสตร์ ก็ รู ้ สึ ก ว่ า ใช่ เ ลย นี่ คื อ สิ่ ง ที่ เราชอบ เพราะเป็ น วิ ช าที่ มี เ หตุ ผ ลมี ค วาม เป็ น ธรรม ก็ เ ลยเรี ย นได้ ดี มี ค วามรู ้ สึ ก ว่ า ถู ก อั ธ ยาศั ย มาก แล้ ว ก็ ส อบได้ ค ะแนนดี ม าโดยตลอด เต็ ม ร้ อ ยแต่ ล ะวิ ช าได้ คะแนน 90 ขึ้นไปจนถึงคะแนนท็อป บางวิชาได้คะแนน 99 เต็ม 100 ในระหว่างเรียนผมได้ทุนสมเด็จกรมพระยาด�ำรง ราชานุ ภ าพ จนจบเกียรตินิยมอัน ดับ 1 ได้ร างวั ล ภู มิพ ลรั บ พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในฐานะที่เป็นที่ 1 ของคณะนิติศาสตร์”

ก็ให้อ่านหนังสือให้ย่าฟัง อ่านหนังสือท่านพุทธทาส อ่านหนังสือ ชาดก อ่านหนังสือพิมพ์ วันพระย่าก็ต้องไปวัด ผมก็ตามย่าไปวัด เป็นประจ�ำ น้องคนอื่นไม่มีใครไป แล้วก็ชอบไปนั่งฟังพระเทศน์ พระสวดมนต์ ย่าผมไปก็พนมมือหลับหลังพิงเสา กลับมาบ้าน ผมมีหน้าที่จะต้องเล่าให้ฟังว่าพระเทศน์ว่ายังไง สอนว่ายังไง ย่าก็ซักถามเหมือนจะให้ผมซึมซับไปด้วย ในหลวงสอนว่ า ต้ อ งมี ค วามรู ้ คู ่ คุ ณ ธรรม ต้ อ งดู ภู มิ สั ง คม สิ่ ง เหล่ า นี้ เ ป็ น หลั ก เดี ย วกั บ หลั ก ศาสนา ทรงสร้ า งขึ้ น จากหลั ก สั น โดษ หลั ก ประหยั ด สั ม มา ทิ ฏ ฐิ ซึ่ ง พระท่ า นพู ด ในภาษาธรรมแต่ พ ระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงใช้ ภ าษาที่ เ ราเข้ า ใจง่ า ย ครั้ ง แรกทรงใช้ กั บ เรื่ อ ง เศรษฐกิ จ จึ ง เรี ย กว่ า ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง

ดร.วิ ษณุ ยั ง ให้ เครดิ ต “หนั ง สือ ความรู ้ ร อบตัว” ใน สมัยนั้นว่า ใช้ฝึกความจ�ำได้ดี ในขณะที่เรียนอยู่ชั้น ม.1 มีรุ่น พี่ ม.6 จ้างให้เปิดค�ำถามทดสอบความรู้วันละหนึ่งสลึง คือเปิด หน้าไหนก็ได้แล้วถาม นอกจากจะเป็นการทดสอบความจ�ำของ ผู้ตอบแล้ว ขณะเดียวกัน ดร.วิษณุ ก็ได้ความรู้ไปด้วยในฐานะ ผู้ถาม ดร.วิษณุ มองว่าหนังสือแบบนี้ควรอยู่คู่กับเยาชนไทย ประสบการณ์ ห าได้ ที่ ไ หน : เสี ย งตั ด พ้ อ เมื่ อ ออกหา งานครั้ ง แรก แม้ จ ะเรี ย นจบนิ ติ ศ าสตร์ ด ้ ว ยคะแนนเกี ย รติ นิ ย ม อันดับ 1 เหรียญทอง แต่ความหวังลึกๆ ของดร.วิษณุ ก็คือการ เป็นอาจารย์สอนหนังสือ หาใช่ทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา หรื อ อื่ น ใดในวงการกฎหมายทั้ ง สิ้ น ท่ า นค้ น พบตัวเองตั้งแต่ เด็ ก แล้ ว ว่ า ชอบถ่ า ยทอดไม่ ว ่ า ด้ ว ยภาษาพู ด หรื อ ภาษาเขียน ชอบสอนหนังสือน้องๆ ชอบติวหนังสือให้แก่ผู้อื่น รู้สึกภูมิใจ ที่ได้ท�ำประโยชน์ให้คนอื่น ในวัยเด็กอาจเป็นเรื่องสนุกที่เอา ผ้ า ปู ที่ น อนสี ข าวมาคลุ ม ตั ว เพื่ อ ให้ ดู เ หมื อ นบาทหลวงสอน หนังสือในโรงเรียนคาทอลิก แต่มันย�้ำชัดเสมอมาว่าความอยาก เป็นอาจารย์หาใช่เรื่องเล่นสนุกอีกต่อไปและจะเป็นความจริงได้ ก็ต่อเมื่อได้รับโอกาสให้สอนหนังสือที่ใดสักแห่ง “ผมชวนเพื่ อ นคนหนึ่ ง ไป จ� ำ ได้ นั่ ง เรื อ ไปในคลอง บางกอกน้อย อ่านหนังสือพิมพ์เจอว่าเขารับสมัครอาจารย์ เป็น โรงเรียนพานิชยการแห่งหนึ่ง ไปขอสมัครเป็นครูเพราะรู้ว่า เขาต้องสอนกฎหมาย ก็มาสมัครเป็นครูประจ�ำสอนกฎหมาย

ครู ค นแรก ชี วิ ต การเรี ย นหนั ง สื อ ที่ ผ ่ า นมาจนถึ ง มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ดร.วิษณุ ย่อมผ่านครู อาจารย์มาแล้วหลายท่าน แต่เมื่อถามถึงครูคนแรกที่จะนึกถึง ดร.วิษณุ มองย้อนตัวเองที่ ผ่านมา ครูคนแรกๆ ที่จ�ำได้คือ “คุณย่า” “ผมต้องถือว่าย่าผมเป็นครู ท่านไม่ได้มีอาชีพครู แต่ว่า เป็นคนที่จ้างผมทุกวันให้นวดโดยวิธีเหยียบ ตอนที่เดินเหยียบ 15

issue 117 OCTOBER 2017


เอาปริญญาเอาทรานสคิปต์ให้เขาดู มีความรู้สึกภาคภูมิใจ เขาดู เสร็จเขาบอกว่า ดีมาก เก่งมาก เธอทั้งคู่เก่งแต่เราไม่รับ เพราะ ไม่มีประสบการณ์ เพื่อนผมโกรธมากว่าประสบการณ์มันได้ มาจากการเริ่มต้น ถ้าไม่เริ่มต้นแล้วเมื่อไหร่มันจะมี คนที่เขา รับสมัครเขาก็บอกว่าเธอก็ไปมีที่อื่น มีแล้วค่อยกลับมาที่นี่ ที่นี่ ไม่เริ่มต้นฝึกหัดให้กับใคร” “ทางไปสู่เกียรติศักดิ์ จักประดับดอกไม้ หอมยวลชวน จิตไซร้ บ่มีฯ(ร.6)” ดร.วิษณุ ยกวลีนี้ขึ้นมาเพื่อย�้ำความเป็นจริง ที่ว่า ไม่มีอะไรได้มาง่ายดาย เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ทุนภูมิพล กลายเป็นสิ่งว่างเปล่าเมื่อนายจ้างถามหาแต่ประสบการณ์ และ ไม่ว่าที่ไหนก็ไม่มีใครรับ ดร.วิษณุ เข้าท�ำงานเลย ในเวลานั้น เรื่องนี้เป็นวิกฤตเล็กๆ ที่ผ่านมาในชีวิต แต่บัดนี้รู้แล้วว่าวิกฤต นั้นเป็นโอกาส ถ้าวันนั้นโรงเรียนพาณิชย์แห่งนั้นรับไว้ท�ำงาน ไม่รู้ว่าป่านนี้ ดร. วิษณุ จะเป็นอะไรอยู่ที่ไหน “ผมกลั บ มานั่ ง นึ ก กั บ เพื่ อ นว่ า เราก็ ภู มิ ใ จนะ เราเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ทุนภูมิพล เรียนเก่ง แต่ หางานอะไรก็หาไม่ได้ เพื่อนผมเกียรตินิยมอันดับ 2 (หัสวุฒิ วิทิตวิริยกุล อดีตประธานศาลปกครองสูงสุด) ก็หางานไม่ได้ รู้สึก สลดหดหู่เหมือนเป็นวิกฤตในชีวิต”

ของท่ า น ให้ ม าเป็ น อาจารย์ ส อนหนั ง สื อ ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย รามค�ำแหง สมัยนั้นมหาวิทยาลัยรามค�ำแหงเพิ่งเปิดได้ 1 ปี และอาจารย์วารีก็สอนหนังสืออยู่ที่นั่น ค�ำว่า “สนใจมาเป็น อาจารย์รามค�ำแหงไหม” จากอาจารย์วารี ท�ำให้เด็กจบใหม่ อย่าง ดร.วิษณุ หัวใจพองโต รู้สึกว่าได้เดินทางมาถึงความฝัน แล้ว หลังจากถูกปฏิเสธงานจนสลดหดหู่แทบถอดใจ “อาจารย์ ว ารี บ อกว่ า อั ต ราเงิ น เดื อ นที่ ว ่ า งอยู ่ ปกติ จบปริญญาตรี เกียรตินิยมด้วย เขาให้ เงินเดือน 1,300 บาท แต่ว่าอัตราที่มีอยู่เป็นอัตรา 1,000 บาท เธอจะยอมไหม ถ้ายอม อยู่ไปสัก 6 เดือนก็จะขึ้นมาเป็น 1,300 บาท พูดง่ายๆ ก็คือเป็น อัตราลูกจ้าง 1,000 บาท ผมเอา ผมก็เลยไปเป็นอาจารย์ที่นั่น” “ไปถึงเขาจับผมสอนเลย เป็นคนเดียวที่เป็นอาจารย์ ปริ ญ ญาตรี แ ล้ ว อั ต รา 1,000 บาท สอนคณะนิ ติ ศ าสตร์ สอนกฎหมาย ดี ใจตื่ น เต้ น มาก ขึ้ น บรรยายคนฟั ง 2,000 คน สอนมา 7 วั น ก็ รู ้ ว ่ า นี่ คื อ สิ่ ง ที่ เราชอบ ผมก็ ส อนที่ นั่ น อยู ่ ห ลายเดื อ น ลู ก ศิ ษ ย์ เ ยอะจนกระทั่ ง วั น นี้ ห ลายคนเป็ น พลต�ำรวจตรี เป็นผู้พิพากษา เป็นอะไรต่ออะไร ก็มาบอกว่าเป็น ลูกศิษย์รุ่นแรกของผมที่รามค�ำแหง ต่อมาไม่นานธรรมศาสตร์ เปิดรับอาจารย์ วุฒิปริญญาตรีและเนติบัณฑิต ผมก็ไปสมัคร ตอนนั้นคณะมีวิสัยทัศน์รับอาจารย์เด็กๆ เพื่อมาเป็นติวเตอร์ ไม่ให้ขึ้นเลกเชอร์บรรยายนะ ให้เป็นติวเตอร์”

รามค� ำ แหง : ผู ้ ใ ห้ ก� ำ เนิ ด อาจารย์ วิ ษ ณุ เครื อ งาม หลังจากตกงานไม่มีที่ไหนรับเข้าท�ำงานมาระยะหนึ่ง ดร.วิษณุ ก็ถูกชักชวนจาก ดร.วารี นาสกุล ซึ่งเป็นอาจารย์เก่า

เทคนิ ค การเรี ย นเป็ น ที ม เมื่อพูดถึงการเป็นติวเตอร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.วิ ษ ณุ มี เ ทคนิ ค การเรี ย นหนั ง สื อ สมั ย อยู ่ ม หาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ปี 3-4 คือ “การเรียนเป็นทีม” ทีมนี้ประกอบด้วย 16 IS AM ARE www.fosef.org


จากกิ ต ติ ศั พ ท์ ดั ง กล่ า วท� ำ ให้ ก ารสมั ค รเป็ น อาจารย์ ติ ว เตอร์ ใ นมหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ เ ป็ น เรื่ อ งที่ ง ่ า ย เพราะ ดร.วิษณุ เคยท�ำให้ประจักษ์มาตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษาแล้ว

เพื่อนสนิท 6-7 คน แบ่งหน้าที่ให้ไปเรียนเข้มคนละวิชาตาม ที่ตนเองถนัด ศึกษาค้นคว้าข้อสอบเก่า ซักถามอาจารย์ รวม ถึงเก็งข้อสอบในวิชานั้นๆ ให้แก่เพื่อนร่วมทีม เมื่อถึงเวลาติว แต่ละคนก็จะเอาความรู้ท่ีได้รับมอบหมายให้ไปค้นคว้ามาแลก เปลี่ยนกันเพื่อน�ำไปใช้สอบ นับว่าเป็นวิธีที่ประสบความส�ำเร็จ มาก เมื่อดูจากรายชื่อเพื่อนร่วมทีมแต่ละท่าน “เพื่อนฝูงคนหนึ่งได้รับมอบหมายให้ติววิชากฎหมาย อย่างหนึ่ง เขาก็เอาดีทางนั้น จนต่อมาได้เป็นประธานศาลฏี กา ชื่อคุณไพโรจน์ วายุภาพ อีกคนที่รับติวกฎหมายอาญา เขา ก็เป็นเซียนทางกฎหมายอาญา วันหนึ่งต่อมาก็ได้ดีเป็นอัยการ สูงสุด ชื่อคุณอรรถพล ใหญ่สว่าง อีกคนหนึ่งในทีมได้ดีจนกระทั่ง ต่อมาได้เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ คือคุณชัช ชลวร และ อีกคนได้เป็นประธานศาลปกครองสูงสุดชื่อ ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิ ริยกุล” “เวลาติวผมไม่ได้ติวแต่เฉพาะพรรคพวกในกลุ่ม จะมี คนอื่นมาฟัง 50-100 คน คือคนที่ไม่มีเวลาดูหนังสือ เรามีทั้ง ติวทั้งเก็งข้อสอบ แล้วก็เฉลยให้ด้วย ถูกบ้างผิดบ้างก็ไม่เป็นไร นี่คือตอนปี 3 ปี 4 จนกระทั่งกิตติศัพท์ในเรื่องเหล่านี้เป็นที่รู้ กัน รุ่นพี่ที่สอบตกบางวิชา เขาก็มาฟังด้วย ก็เลยเป็นที่ครึกครื้น แต่ผมถือว่าท�ำด้วยความสนุกและได้ประโยชน์กับคนอื่นและ แก่ตัวเอง”

สิ บ เบี้ ย ใกล้ มื อ ดร.วิษณุ ท�ำหน้าที่เป็นอาจารย์ติวเตอร์ในมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ไ ด้ ป ระมาณครึ่ ง ปี ด้ ว ยอั ต ราเงิ น เดื อ น 1,300 บาท อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ในฐานะอธิการบดีในขณะ นั้นจึงแนะน�ำให้ไปสอบชิงทุนอานันทมหิดล เพื่อไปเรียนต่อ ที่ประเทศอังกฤษ โดยไม่ต้องใช้ทุน หากแต่อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ขอว่าอยากให้กลับมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ “ทุนอานันท์ฯ มีเงื่อนไขอยู่ข้อหนึ่งว่า คนที่ไปในสาขา อะไรก็ตาม ระหว่างที่ยังไม่กลับ คนใหม่จะไปไม่ได้ เพราะส่ง พร้อมกันสองคนไม่ไหว ในแต่ละสาขา ฉะนั้นคนที่ไปก�ำลังจะ กลับให้ผมเตรียมตัวไว้รับช่วงต่อ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นผมต้องไป เรียนอังกฤษผมก็โอเค” ขณะรอคนเก่ า ที่ ไ ด้ รั บ ทุ น กลั บ มาเพื่ อ จะถึ ง คิ ว ของ ดร.วิษณุ ทุน ก.พ.ก็เปิดสอบพอดี ดร.วิษณุ เดินทางมาถึงทาง เลือกอีกครั้ง ด้วยความคิดที่ว่า หากจะรอผู้รับทุนก่อนหน้า นี้กลับมาเพื่อจะถึงคิวของตัวเองก็ดูจะเป็นการรอคอยที่ไม่รู้ 17

issue 117 OCTOBER 2017


สอบช้าไป 10 นาที เขาก็ให้สอบ จนกระทั่งสอบเสร็จกลับบ้าน อีกไม่นานต่อมาก็ประกาศผล ผมได้ทุน ก.พ.ไปเรียนอเมริกา ตามความต้องการของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนที่ได้ทุนไปเรียนพร้อมกันแต่กลับมาเป็นผู้พิพากษาคือคุณพร เพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. คนที่ได้ทุนกลับมาเป็นอัยการ คือ คุณชัยเกษม นิติสิริ อดีตรัฐมนตรียุติธรรม และอัยการ สูงสุด” ดร.วิ ษ ณุ ได้ รั บ ทุ น ไปเรี ย นที่ เ มื อ งเบิ ร ์ ก ลี ย ์ ป ระเทศ สหรัฐอเมริกา เพื่อเรียนปริญญาโท 1 ปี แต่ด้วยความสนับสนุน ของ ศาสตราจารย์ ดร.อุ ก ฤษ มงคลนาวิ น คณบดี ค ณะ นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้น ที่ช่วยประสาน กับทาง ก.พ.เพื่อให้เรียนต่ออีก 2 ปี จนจบปริญญาเอกด้วย อายุ 25 ปี เหตุผลที่ท่านเลือกที่จะเรียนให้จบโดยเร็วก็เพราะว่า ชีวิตคนเราไม่รู้วันข้างหน้า อีกทั้งยังต้องกลับมาใช้ทุนเป็นสอง เท่าเป็นระยะเวลา 6 ปี ฉะนั้นสุภาษิตที่ว่า “สิบเบี้ยใกล้มือคว้า ไว้ก่อน” จึงเป็นสิ่งที่ย�้ำเตือนผู้คนให้ท�ำปัจจุบันที่มีให้ดีที่สุด เมื่อ กลับมาจากอเมริกา ดร.วิษณุ ก็ไม่รีรอเริ่มสอนวันแรกที่รายงาน ตัวต่อทางคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนับหนึ่ง ในการใช้ทุนให้เร็วที่สุดจนครบ 6 ปี แต่ก็สอนมาตลอดระยะเวลา ประมาณ 15 ปี โดยไม่มีปัญหาอะไร แม้จะเป็นอาจารย์ที่ย้าย มาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ตาม

เมื่อไหร่จะมาถึง จนในที่สุด ดร.วิษณุ เลือกที่จะสอบทุน ก.พ. ด้วยเหตุผลที่ว่า “สิบเบี้ยใกล้มือคว้าไว้ก่อน” “คนเราสิ บ เบี้ ย ใกล้ มื อ คว้ า ไว้ ก ่ อ น ผมจะต้ อ งนั่ ง รอ คนๆ นั้นจบมาจากอังกฤษเมื่อไหร่ไม่รู้ เลยไปสอบทุน ก.พ. เขา ก็มีทุนให้เลือกกลับมาเป็นผู้พิพากษา กลับมาเป็นอัยการ กลับ มาเป็นอาจารย์ ผมเลือกเอาทุนที่กลับมาเป็นอาจารย์ ไม่เลือก ทุนที่กลับมาเป็นอัยการหรือผู้พิพากษา” เมื่อถึงวันสอบ บังเอิญคุณแม่เดินทางมาจากปักษ์ใต้ ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับก�ำหนดเข้าสอบ เป็นวันเดียวกันที่พายุเข้า อย่างหนัก ภาพของแม่ที่หอบข้าวของพะรุงพะรังท่ามกลาง พายุฝนซึ่งไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ประกอบกับไม่มีน้องคนไหนอยู่ กรุงเทพฯ รอรับแม่เลย ท�ำให้ ดร.วิษณุ เกิดลังเลว่าจะเข้าสอบ ชิงทุน ก.พ.หรือจะออกไปรับแม่กลับมาส่งบ้านญาติดี “ผมคิดไปคิดมา แม่ผมคงล�ำบากมาก แล้วสอบก็ไม่รู้จะ สอบได้หรือเปล่า ผมตัดสินใจไปรับแม่ที่หัวล�ำโพง จนกระทั่งพา แม่ขึ้นรถแท็กซี่มาถึงบ้าน ผมอาศัยอยู่บ้านญาติ ก็พาแม่มาส่ง แม่ชวนให้อยู่ต่อเพื่อคุยกัน ผมบอกว่าวันนี้มีการสอบชิงทุน ก.พ. แม่ผมตกใจมากเพราะว่าเดิมก็เป็นคนเชียร์ให้ผมไปสอบ แม่ก็ นึกว่าสอบไปแล้วหรือยังไม่ได้สอบ ตกลงแม่ผมนั่งแท็กซี่คุมผม ไป ก.พ. กลัวผมไม่ยอมไปสอบ ไปนั่งเฝ้าผมอยู่หน้าห้อง ผมเข้า

ท่ า นค้ น พบตั ว เองตั้ ง แต่ เ ด็ ก แล้ ว ว่ า ชอบถ่ า ยทอด ไ ม่ ว ่ า ด ้ ว ยภาษาพู ด ห รื อ ภาษาเ ขี ย น ชอบสอ น หนั ง สื อ น้ อ งๆ ชอบติ ว หนั ง สื อ ให้ แ ก่ ผู ้ อื่ น รู ้ สึ ก ภู มิ ใ จ ที่ ไ ด้ ท� ำ ประโยชน์ ใ ห้ ค นอื่ น ค� ำ เชิ ญ จากเลขาธิ ก าร ครม. : เปิ ด ประตู สู ่ ก ารเมื อ ง ช่วงเวลาหนึ่ง ดร.วิษณุ ซึ่งในขณะนั้นเป็นศาสตราจารย์ ตั้ ง แต่ อ ายุ 32 ปี ได้ ล งสมั ค รเป็ น คณบดี ที่ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย แต่ก็ต้องผิดหวัง เรื่องนี้เป็นความผิดหวังเล็กๆ อย่างหนึ่ง ท�ำให้เบนความสนใจที่จะไปท�ำงานที่อื่น มีบริษัท เอกชนยั ก ษ์ ใ หญ่ เ สนอให้ เ งิ น เดื อ น 5 เท่ า ของรายได้ เ ดิ ม เป็นงานเกี่ยวกับธุรกิจซึ่งต้องลาออกจากราชการ แต่กระนั้นก็ ยังได้รับอนุญาตให้สอนหนังสือที่ชอบไปด้วยได้ ท�ำให้ข้อเสนอนี้ น่ า สนใจขึ้ น มาในความรู ้ สึ ก ของ ดร.วิ ษ ณุ เพี ย งแต่ ข อเวลา ตัดสินใจ 18

IS AM ARE www.fosef.org


ทว่าเมื่อมาอยู่ใน ครม.ได้เพียงสองเดือน ก็เกิดการยึด อ�ำนาจโดยคณะ รสช.ก่อนที่คุณอานันท์ ปันยารชุน จะก้าวขึ้น มาเป็นนายกรัฐมนตรี ดร.วิษณุ ก�ำลังเผชิญกับสิ่งที่ไม่ได้เตรียม ตัวรับมือมาก่อน จึงยื่นเรื่องโอนกลับไปที่จุฬาฯ ดังเดิม แต่แล้ว ก็มีสัญญาณจากนายกรัฐมนตรีว่า อยากให้ช่วยอยู่ต่ออีกหนึ่งปี จนในที่สุดก็เปลี่ยนจากนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน เป็น พลเอก สุจินดา คราประยูร จนถึงคุณชวน หลีกภัย และในสมัยรัฐบาล ของคุณชวน หลีกภัย ดร.วิษณุ ก็ก้าวขึ้นเป็นเลขาธิการ ครม.เมื่อ วันที่ 15 กันยายน 2536 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดปีที่ 42 ตลอดเวลาที่ด�ำรงต�ำแหน่งรองเลขาธิการ ครม. ดร.วิษณุ ผ่านงานมาหลายรัฐบาล ตั้งแต่คุณชาติชาย ชุณหะวัณ คุณ อานันท์ ปันยารชุน พลเอกสุจินดา คราประยูร จากนั้นขึ้น ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง เลขาธิ ก าร ครม.ในรั ฐ บาลของคุ ณ ชวน หลี ก ภัย เมื่อคิดย้อนหลังไปแล้วต้องนับว่าความผิดหวังใดๆ ก็ตาม

“ผมก็ไปคุยกับครอบครัวกับแม่ คุณแม่ผมท่านไม่ค่อย รู้อะไรมากนักหรอก ไม่ได้จบการศึกษาสูง แต่เป็นคนคิดอะไร กว้างไกลและลึกซึ้งมาก ท่านบอกว่าเรารับทุน ก.พ. ทุนรัฐบาล หรือทุนอะไรต่างๆ ไปเรียนต่อจนมาเป็นตัวเป็นตนได้ขนาดนี้ ถ้าไม่ได้ล�ำบากไม่ได้อดอยากก็ควรจะท�ำงานกับรัฐบาล เพื่อ สังคม ไปที่โน้นมันดีที่ได้เงิน แต่แม่ว่าก็ท�ำราชการไปก็แล้ว กัน แม่อาจจะคิดแบบโบราณ แต่ประโยคส�ำคัญก็คือ เรารับ ทุนในหลวง ตอนเรียนก็ได้รับทุนภูมิพล ทุนกรมพระยาด�ำรงฯ ไปเรียนเมืองนอกก็ได้รับทุนรัฐบาล แล้วทิ้งไป ไปท�ำงานอย่าง นั้นเหมือนเอาตัวรอด ถ้ามันล�ำบากยากจนไม่พอกินก็ว่าไปอย่าง ผมมานั่งนึกอีกที แล้วจึงกลับไปบอกเขาว่าไม่ไปแล้ว” แต่ไม่กี่เดือนต่อมา คุณยงยุทธ สาระสมบัติ เลขาธิการ ครม.ในสมั ยนั้น ได้ทาบทาม ดร.วิษณุ ให้ไ ปด� ำ รงต� ำ แหน่ ง รองเลขาธิการ ครม.ซึ่งว่างอยู่ โดยให้ข้อเสนอว่าสามารถสอน หนังสือได้เหมือนเดิมและให้ทดลองมาช่วยงานสักพัก ดร.วิษณุ แบ่งเวลาให้หน้าที่รองเลขาธิการ ครม.ในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ ควบคู ่ ไ ปกั บ การสอนหนังสือ ผ่านไปหนึ่งเดือ นเมื่ อ ทุ ก อย่ า ง เข้าที่ลงตัว ดร.วิษณุ รู้สึกพอใจกับงานนี้จึงตอบตกลง ก่อน ที่จะน�ำเรื่องเข้า ครม.โอนไปเป็นรองเลขาธิการ ครม.ซี 10 ซึ่งเป็นข้าราชการประจ�ำเทียบเท่ากับต�ำแหน่งศาสตราจารย์ที่ อยู่จุฬาฯ เดิมที ดร.วิษณุ ตั้งใจจะอยู่เพียง 2 ปี แต่นั่นแหละ ไม่มีใครเอาแน่เอานอนกับวันที่ยังมาไม่ถึง

เมื่ อ ผมย้ า ยมาเรี ย นคณะนิ ติ ศ าสตร์ ก็ รู ้ สึ ก ว่ า ใช่ เลย นี่ คื อ สิ่ ง ที่ เ ราชอบ เพราะเป็ น วิ ช าที่ มี เ หตุ ผ ลมี ความเป็ น ธรรม ก็ เ ลยเรี ย นได้ ดี มี ค วามรู ้ สึ ก ว่ า ถู ก อั ธ ยาศั ย มาก แล้ ว ก็ ส อบได้ ค ะแนนดี ม าโดยตลอด เต็ ม ร้ อ ยแต่ ล ะวิ ช าได้ ค ะแนน 90 ขึ้ น ไปจนถึ ง คะแนน ท็ อ ป บางวิ ช าได้ ค ะแนน 99 เต็ ม 100

19 issue 117 OCTOBER 2017


อาจเป็นโอกาสของคนเราในอนาคตก็ได้ ฉะนั้นอย่าท้อแท้ อย่า ท้อถอย อดทนอดกลั้นและท�ำหน้าที่วันนี้ให้ดีที่สุด ดร.วิษณุ เป็น เลขาธิการ ครม. ต่อมาจนถึงสมัย คุณบรรหาร ศิลปอาชา พล เอกชวลิต ยงใจยุทธ และรัฐบาลคุณทักษิณ ชินวัตร ทั้งต่อมายัง ได้ด�ำรงต�ำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ก่อนจะลาออกจากต�ำแหน่ง ทั้งหมดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2549 เพื่อไปพักผ่อนเป็นระยะ เวลาเกือบ 10 ปี และย้อนกลับมาด�ำรงต�ำแหน่งรองนายก รั ฐ มนตรี อี ก ครั้ ง ในสมั ย รั ฐ บาล คสช.จนถึ ง ปั จ จุ บั น ก� ำ กั บ กระทรวงยุติธรรม ส�ำนักงาน ก.พ. ส�ำนักงาน ก.พ.ร. และ ส�ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ปรั ช ญาของการด� ำ รงชี วิ ต ในชีวิตของ ดร.วิษณุ มีครูที่ส�ำคัญมากอยู่ 2 ท่าน คือ พ่อและแม่ ผู้เป็นเหรียญทั้งสองด้านให้ลูกๆ ได้แยกแยะเรียนรู้ เมื่อเติบใหญ่ ผู้เป็นพ่อนั้นแสดงบทบาทผู้น�ำ ท�ำธุรกิจ ตัดสิน ใจเร็ว กล้าเสี่ยง กล้าตัดสินใจ แม้จะท�ำในสิ่งที่อาจจะยังไม่ถนัด เช่น ค้าข้าว ก่อนเปลี่ยนมาท�ำธุรกิจเดินรถ แล้วเปลี่ยนเป็นค้า ยารักษาโรค แต่ทั้งหมดก็เพื่อน�ำครอบครัวไปข้างหน้า ซึ่งว่าไป แล้วก็ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความพอเพียงนัก เพราะไม่ใคร่คิดถึง ภูมิคุ้มกัน ความเสี่ยง ความพอดี แต่โชคดีที่ผู้เป็นแม่ท�ำหน้าที่ สายลมใต้ปีก คอยเก็บออมมัธยัสถ์ ในนาทีที่ธุรกิจประสบปัญหา

ด้านการเงิน แม่จะน�ำเงินที่เก็บออมออกมาบรรเทาปัญหา ทั้ง ใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายเสมอต้นเสมอปลายตั้งแต่ลูกยังเป็น เด็กเล็กจนปัจจุบันคุณแม่ ดร.วิษณุ อายุ 93 ปีแล้ว “แม่ผมใช้ หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่ผมจ�ำความได้ แม่ไม่ท�ำอะไรที่ ไม่ถนัด จะคิดแล้วคิดอีกว่าเรามีภูมิคุ้มกันความเสี่ยงขนาดไหน” ส่วนผสมของ ดร.วิษณุ จึงมีทั้งอ่อนโยนและเข้มแข็ง ในเวลาเดี ย วกั น หากจะพู ด ถึ ง ความเรี ย บง่ า ยสมถะ หรื อ ความพอเพียงท่านก็ได้รับจากคุณแม่มาอย่างเต็มเปี่ยม หากจะ พูดถึงไหวพริบการแก้ปัญหา กล้าเผชิญกับอุปสรรคท่านก็ได้รับ จากคุณพ่อ เมื่อมองชีวิตย้อนกลับไปจึงได้ทราบว่า ที่จริงแล้ว ศาสตร์พระราชานั้นวนเวียนอยู่ในชีวิตประจ�ำวันอยู่ในศาสนา พุทธที่เรานับถือมานานแล้ว เพียงแต่หลายคนไม่ทราบ เพราะยัง ไม่มีใครประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ วันนี้ศาสตร์พระราชา เป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น ดร.วิษณุจึงคิดถึงพ่อแม่เป็นอันดับแรก เพราะท่านได้ฉายภาพความพอเพียงไว้ให้แล้วในวิถีความเป็น อยู่ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นความรู้ คุณธรรม ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และภูมิคุ้มกัน อยู่ท่ีเราจะนึกย้อนและน�ำมาปรับ ใช้ในชีวิตหรือไม่เท่านั้น “ในหลวงสอนว่าต้องมีความรู้คู่คุณธรรม ต้องดูภูมิสังคม สิ่งเหล่านี้เป็นหลักเดียวกับหลักศาสนา ทรงสร้างขึ้นจากหลัก สันโดษ หลักประหยัด สัมมาทิฏฐิ ซึ่งพระท่านพูดในภาษาธรรม แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ภาษาที่เราเข้าใจง่าย ครั้งแรกทรงใช้กับ เรื่องเศรษฐกิจ จึงเรียกว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่เมื่อเอา ไปใช้กับเรื่องอื่นได้ก็ไม่ทรงทิ้งค�ำว่าเศรษฐกิจ แต่ที่คนมักจะลืมก็ คือ ทรงเติมค�ำว่า ของ เข้าไป เป็นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพราะตัวปรัชญามันไม่ใช่เศรษฐกิจ เป็นปรัชญาของการด�ำรง ชีวิต ที่น�ำมาจากเรื่องเศรษฐกิจแต่เราสามารถน�ำไปใช้กับเรื่อง อะไรก็ได้ทุกเรื่อง” ดร.วิษณุ กล่าวทิ้งท้าย 20

IS AM ARE www.fosef.org


ร่ า งกายของเราจ� ำ เป็ น ต้ อ งใช้ ไขมั น เพื่ อ เป็ น แหล่ ง พลังงานของร่ายกาย ดังนั้นการเลือกบริโภคไขมันจึงเป็นการ เลือกแหล่งพลังงานของร่างกาย ไขมันมีทั้งไขมันชนิดดี และ ไขมันชนิดร้าย น�้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแบบเดี่ยวสูง จัดเป็นน�้ำมัน ชนิด “ดีพิเศษ” น�้ำมันเหล่านี้ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งช่วยท�ำความ สะอาด หรือเก็บขยะ (คราบไขมัน) จากผนังเส้นเลือด

ประโยชน์ จ ากน�้ ำ มั น เมล็ ด ชา • มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง และมีกรดไขมันอิ่มตัวต�่ำ • ช่วยลดระดับ LDL (คอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่ม ระดับ HDL (คอเรสเตอรอลชนิดดี) • ลดความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดตีบตัน ความดัน เบาหวาน และโรคหัวใจ • ดีต่อผู้รักสุขภาพ ผู้สูงอายุ และผู้มีภาวะน�้ำหนักเกิน

21 issue 117 OCTOBER 2017


สุขจิตต์ สินสมบู รณ์ ซู เปอร์ครู โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ “สิ่ ง ที่ เ ราอยากเห็ น และท� ำ ให้ เ ราแอบยิ้ ม ก็ คื อ เด็ ก ๆ รู ้ จั ก ให้ ผู ้ อ่ื น ด้ ว ยความสมั ค รใจของเขาเอง ความดี ที่ เ ขา อยากน� ำ เสนอบนเพจของเขา ครู เ ห็ น เขาเขี ย นความรู ้ สึ ก ที่ ไ ด้ ท� ำ เพื่ อ ผู ้ อื่ น โชว์ ค วามดี ท่ี เ ขาได้ อ าสา ท� ำ ให้ เรามี แ รงที่ จ ะผลั ก ดั น เขาต่ อ ไป” 22 IS AM ARE www.fosef.org


Let’s Talks ห้ อ งของนั ก เรี ย นทุ ก คน ศู น ย์ ค รอบครั ว พอเพี ย งประจ� ำ โรงเรี ย นรั ต นาธิ เ บศน์ เป็นสถานที่ที่เปิดให้นักเรียนในโรงเรียนได้เข้าไปใช้ท�ำกิจกรรม ประชุมงาน นั่งท�ำการบ้าน หรือแม้แต่พักผ่อนในยามว่าง กลาย เป็นศูนย์รวมของจิตอาสาในโรงเรียน โดยมี อาจารย์สุขจิตต์ สิน สมบูรณ์ ผู้ช่วยรองวิชาการ อาจารย์ประจ�ำวิชาคณิตศาสตร์ ผู้ สละเวลาจากงานสอนประจ�ำ มาดูแลศูนย์ครอบครัวพอเพียงใน โรงเรียนรัตนาธิเบศร์แห่งนี้ ในฐานะ “ซูเปอร์ครู” ขับเคลื่อนงาน จิตอาสาให้นักเรียนที่สนใจตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน “ช่วงกลางวันและช่วงเย็นเด็กๆ จะเข้ามานั่งท�ำกิจกรรม ในห้องศูนย์ครอบครัวพอเพียงแห่งนี้ ทั้งงานของส่วนรวมและ งานของส่วนตัว เหมือนห้องนี้เป็นที่รองรับส�ำหรับเด็กทุกคนที่ เข้ามาท�ำงาน เลยท�ำให้เรารู้สึกว่าพอเรามารับผิดชอบงานใน ส่วนนี้แล้วท�ำให้เรามีความสุข” อาจารย์สุขจิตต์ อธิบายว่า ห้อง นี้เป็นที่ปรึกษาหารือของนักเรียนจิตอาสาที่ออกไปท�ำกิจกรรม อยากให้ ก ารปลู ก ฝั ง ตรงนี้ ซึ ม เข้ า ไปในตั ว ตนของ เขา เพื่ อ ที่ วั น ข้ า งหน้ า พอเขาเข้ า ไปเป็ น คนที่ เ ติ บ โต เป็ น เยาวชน เป็ น พลเมื อ งของประเทศชาติ ต ่ อ ไป ให้ เขามองถึ ง ในเรื่ อ งของความรั ก สถาบั น ในเรื่ อ งของ การรั ก ชาติ ศาสนา พระมหากษั ต ริ ย ์ นอกโรงเรียนกับมูลนิธิครอบครัวพอเพียงและที่ต่างๆ เด็กๆ จะ น�ำประสบการณ์ท่ีพบเจอมาเล่าสู่เพื่อนๆ และอาจารย์ แลก เปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเปิดเผย ท�ำให้ครูสุขจิตต์มีโอกาส สอดแทรกคุ ณ ธรรม ปรั บความเข้ า ใจของนั ก เรี ย นอย่า งเป็น กันเอง เพราะในห้องนี้ไม่มีใครดุ ไม่มีครูตี เด็กๆ จึงกล้าที่จะ แสดงความคิดเห็นที่แท้จริงออกมา “เคยถามเด็กๆ ว่าไปท�ำจิตอาสาข้างนอกโรงเรียนแล้ว ได้อะไร เขาบอกว่าได้ความสุขกับการที่เขาได้ช่วยคนอื่น บ้าง ครั้งครูได้ปลูกฝังอย่างเช่น เขาอยู่ในห้องครูก็รู้ว่าแต่ละวันเด็ก จะเข้ามาทุกวัน เราจะเปิดเพลงพระราชนิพนธ์ เด็กถามว่าท�ำไม อาจารย์ชอบฟังเพลงของในหลวง เราบอกเขาว่าเป็นพลังท�ำให้ เรามาท�ำงานแล้วมีความสุข เวลาที่เราเหนื่อยเราท้อ เราเปิดแล้ว มีก�ำลัง พอเด็กๆ เขาได้ฟังบ่อยๆ บางทีเราเปิดประตูเดินเข้ามา เขาเปิดเองเลย เปิดไว้อยู่แล้ว พอถามเขาว่าท�ำไมถึงเปิด เขา บอกเวลาฟังแล้วมีพลังเหมือนที่อาจารย์ว่าจริงๆ” 23 issue 117 OCTOBER 2017


24 IS AM ARE www.fosef.org


หน้ า ที่ ค รู สละได้ เ พื่ อ ศิ ษ ย์ ครูสุขจิตต์ รับราชการครูมาตั้งแต่อายุ 24 ปัจจุบันท่าน อายุ 57 ปี ปกติแล้วครูสุขจิตต์มีภาระหน้าที่สอนประมาณ 1518 คาบเรียนต่อเทอม รวมถึงหน้าที่ผู้ช่วยรองวิชาการที่ต้อง ประชุมไม่ขาด ทั้งยังต้องแบ่งเวลาดูแลให้ค�ำปรึกษานักเรียน จิตอาสาในศูนย์ครอบครัวพอเพียง ซึ่งเจ้าตัวย�้ำว่าหากไม่มีใจ ไม่มีศรัทธาในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คงท�ำงานล�ำบาก เพราะหน้าที่หลักในการสอนนั้นมีมากอยู่แล้ว ยังไม่รวมถึงภาระ ครอบครัวที่ต้องดูแลอีก “อาจเป็นเพราะลูกโตแล้ว จะบอกลูกว่าตอนนี้แม่ท�ำ อะไรอยู่บ้าง เขาก็เข้าใจว่าที่บ้านเราให้เต็มที่แล้ว ในเมื่อเขาดูแล ตัวเองได้แล้วเรียนจบแล้ว แม่ก็ต้องเอาเวลาส่วนนี้มาลงในสิ่ง ที่เราอยากท�ำ คนโตจบมหิดลตอนนี้ก�ำลังต่อโทที่ธรรมศาสตร์ คนที่สองก�ำลังจบปริญญาตรีที่เอแบคแล้วไปต่อปริญญาโทที่ อังกฤษ คนเล็กก�ำลังจะรับปริญญาตรีที่ศิลปากร คือเราทุ่มเท ให้กับครอบครัวเต็มที่แล้วในเวลาช่วงหนึ่ง แต่ตอนนี้เราก็ควร มาดูแลเพื่อส่วนรวมบ้าง” เด็ ก ๆ จะไม่ เ ข้ า ใกล้ ค รู ดุ และจะสร้ า งก� ำ แพงสู ง และ หนาขึ้ น ไม่ ก ล้ า บอกกล่ า วความรู ้ สึ ก และความจริ ง ไม่ ก ล้ า ปรึ ก ษาเรื่ อ งใดทั้ ง สิ้ น แต่ จ ะเก็ บ ไว้ แ ล้ ว แอบ ไปแก้ ไ ขคนเดี ย ว ท� ำ ให้ ค รู เ ข้ า ไม่ ถึ ง ปั ญ หาของเด็ ก และแก้ ไ ขไม่ ทั น ในที่ สุ ด

ค�ำว่าส่วนรวมของครูสุขต์จิตหมายถึง เมล็ดพันธุ์เยาวชน ที่ครูสุขจิตต์ก�ำลังปลูกฝังให้เขารู้จักคุณค่าของการท�ำจิตอาสา คุ ณ ค่ า ของการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ตามหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพียง เป็นการถ่ายทอดจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ ดังนั้น หน้าที่ครูจึงไม่ได้หยุดอยู่ที่วิชาใดวิชาหนึ่ง หากหมายถึงชีวิต ของเยาวชนที่รอคอยการหล่อหลอมจากครูผู้ยอมเสียสละเวลา ส่วนตัว ความหมายของครู น อกเหนื อ จากสอนหนั ง สื อ “สร้างคนเก่งกับคนดี ต้องสร้างคนดีก่อน คนเก่งถ้าเก่ง อย่างเดียวไม่รู้จักให้มันก็ไม่ดี ประเทศชาติเรามีคนเก่งเยอะมาก แต่เราจะต้องหาคนดี มันเหนื่อยแต่มันมีก�ำลังใจ ยิ่งเวลาได้เห็น เด็กเขาไปเป็นอาสาให้ที่นั่นที่นี่ กล้าแสดงออก เขามีปฏิสัมพันธ์ กับคนอื่น นอกเหนือจากงานอาสา เวลาครูเห็นเด็กท�ำครูก็จะนั่ง ยิ้ม ครูจะมีความสุขมากเลย” ครูสุขจิตต์ยอมรับว่า สมัยที่ตนเองเป็นเด็กไม่มีหน่วย งานใดมาสนั บ สนุ น ให้ นั ก เรี ย นไปท� ำ งานจิ ต อาสาช่ ว ยเหลื อ สังคม พอตนเองได้เป็นครูจึงอยากให้เด็กๆ ได้มีใจอาสาเมื่อ 25

issue 117 OCTOBER 2017


สร้ า งคนเก่ ง กั บ คนดี ต้ อ งสร้ า งคนดี ก ่ อ น คนเก่ ง ถ้ า เก่ ง อย่ า งเดี ย วไม่ รู ้ จั ก ให้ มั น ก็ ไ ม่ ดี ประเทศชาติ เ รามี คนเก่ ง เยอะมาก แต่ เ ราจะต้ อ งหาคนดี มั น เหนื่ อ ย แต่ มั น มี ก� ำ ลั ง ใจ

มีโอกาสเข้ามา ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ขัดเกลาจิตใจของเด็กเอง ทั้งยัง เป็นตัวอย่างผลงานที่เด็กได้ท�ำด้วยตนเอง ไม่ต้องรอให้ใครมา ขอความช่วยเหลือ “เด็กเคยถามว่าอาจารย์เหนื่อยไหม เราบอกไม่เหนื่อย แล้วเวลาท�ำอะไรจะบอกเขาว่าท�ำให้สุดๆ ท�ำให้ถึงที่สุด ท�ำทุก อย่างให้ดี คือเวลาที่อยู่ในห้องก็เหมือนแม่กับลูก มีหลายอย่าง ที่เราสอนนอกเหนือจากหนังสือ โดยเฉพาะความอดทนอดกลั้น หากไม่มีสิ่งนี้ก็ยากที่จะท�ำเพื่อผู้อื่นหรือไปเป็นจิตอาสาได้”

เราก็จะคุยกัน เวลาที่เขาไปท�ำงานอาสา ถ้าออกไปแล้วเขาเจอ ปัญหาเราจะได้ค่อยๆ สอนว่าท�ำงานกลุ่มให้ถูกใจคนทุกคนไม่ได้ เราก็บอกเขา แม้แต่ครูเองเราท�ำงานเราก็ต้องอดทนอดกลั้น เรา ก็จะชนะทุกอย่าง ครูจะบอกเขาว่าเวลาเข้ามาสมัครแกนน�ำจิต เทคนิ ค การสอนไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งดุ จากประสบการณ์สอนหนังสือมา 30 กว่าปี สิ่งที่พบเห็น อาสา ไม่มีคะแนนให้นะ แต่คนที่ออกมาช่วยคือมาด้วยใจไม่ได้ คือ เด็กๆ จะไม่เข้าใกล้ครูดุ และจะสร้างก�ำแพงสูงและหนาขึ้น ถูกบังคับ แม้กระทั่งไปท�ำจิตอาสา เขาจะลงสมัครเองโดยที่เรา ไม่กล้าบอกกล่าวความรู้สึกและความจริง ไม่กล้าปรึกษาเรื่องใด ไม่มีการบังคับ แสดงว่าทุกอย่างต้องมาจากใจ เขาต้องพร้อม ทั้งสิ้น แต่จะเก็บไว้แล้วแอบไปแก้ไขคนเดียว ท�ำให้ครูเข้าไม่ถึง ด้วยตัวของเขาเองที่จะไปท�ำ ไม่มีการไปบังคับหรือดุให้เขาท�ำ ด้วยความเกรงใจ” ปัญหาของเด็ก และแก้ไขไม่ทันในที่สุด “มีเด็กคนหนึ่งนะ เขามาเป็นสตาฟท�ำจิตอาสาซึ่งเขาไม่ “มีความรู้สึกว่าถ้าเราดุเขาก็จะไม่เข้าใกล้เราเลย คือมี ความรู้สึกว่าห้องตรงนั้น(ศูนย์ครอบครัวพอเพียง)จะต้องเป็น เคยเลย ครูเห็นเขาลงภาพกิจกรรมที่เขาไปท�ำในเฟสแล้วแอบ ห้องของเขาที่เขาอยากท�ำอะไรก็ได้ แต่ต้องอยู่ในความพอดี ให้ ดีใจนะ เขาเขียนว่าเขาตั้งใจมาอบรม เขาไม่ได้คิดว่าจะมาเป็น โอกาสให้สิทธิ์เขาเลย กลางวันเด็กจะเข้ามาเต็มเลย อยากท�ำการ สตาฟ แล้วเขาก็ไม่ได้อยากเป็น แต่จากวันแรกมาวันที่สองเขา บ้านก็ท�ำ ในส่วนที่จะท�ำกิจกรรมจริงๆ ถ้าจะต้องประชุมอะไร ได้เริ่มท�ำหน้าที่ เขารู้แล้วในสิ่งที่เขาได้เขามีความสุขกับการที่ 26 IS AM ARE www.fosef.org


เป็นการซึมซับ แต่แรงผลักดันตรงนี้มันเกิดจากเราคนเดียวไม่ได้ เพราะว่าสังคมเดี๋ยวนี้เห็นแก่ตัวกันมาก อย่างท�ำผิดก็โยนความ ผิดให้คนอื่นก่อน สิ่งเหล่านี้เราต้องสอนให้เขามองที่ตัวเอง การ เสียสละต้องปลูกฝัง การเป็นคนที่รู้จักให้ รู้จักท�ำประโยชน์เพื่อ สังคม นี่แหละสิ่งที่ครูอยากเห็น

เขาได้ดูแลคนอื่น เขาเขียนว่าเขาได้เจอน้อง ได้เจอความสุขที่เขา ไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นกับเขา สิ่งที่เขาเอาไปลงเพจออกจากความ คิดเขา นั้นแหละคือสิ่งที่ครูอยากได้ คือความสุขความในใจของ เขา เขาได้อะไรจากตรงนั้นที่เขาไปท�ำนั้นแหละ เป็นความสุขที่ ท�ำให้ครูท�ำอยู่ถึงทุกวันนี้” “มันเหมือนเราหว่านเมล็ดพันธุ์เหมือนเราปลูกข้าวเป็น เมล็ดที่ก�ำลังเติบโตแล้วเราเห็นเขาตลอด นั้นแหละคือความสุข ของคนเป็นครูในความรู้สึกที่เราเห็น” ฝากถึ ง เด็ ก ๆ ในโรงเรี ย น : สิ่งที่อยากเห็นก็คือ อยากให้การปลูกฝังตรงนี้ซึมเข้าไป ในตัวตนของเขา เพื่อที่วันข้างหน้าพอเขาเข้าไปเป็นคนที่เติบโต เป็นเยาวชน เป็นพลเมืองของประเทศชาติต่อไป ให้เขามอง ถึงในเรื่องของความรักสถาบัน ในเรื่องของการรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งตรงนี้เราต้องคงไว้ อยากให้ทุกหัวใจไม่ลืม พระองค์ท่าน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ของเรา คงไม่มีใครในโลก ที่เหมือนพระองค์ท่าน อยากให้ตรงนี้คงอยู่กับเยาวชนทั่วไป แต่การที่จะท�ำตรงนี้ได้มูลนิธิครอบครัวพอเพียงก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่เห็นชัดเจน ครูว่าหน่วยงานอื่นก็ยังไม่ชัดเจน อันนี้คือความ รู้สึกของครู เพราะว่าเด็กได้ปฏิบัติ เด็กได้ลงมือจริง ได้ท�ำจริง มัน

27 issue 117 OCTOBER 2017


พิธีบรรพชาสามเณรทั้งแผ่นดิน 89 รู ป

เพื่อถวายพ่อแห่งแผ่นดิน

มูลนิธิครอบครัวพอเพียง โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ วัดบางขวาง (จังหวัดนนทบุรี) เทศบาลนครนนทบุรี สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียน รัตนาธิเบศร์ สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ มูลนิธิรัตนาธิเบศร์อนุเคราะห์ และศูนย์ครอบครัวพอเพียงทั่วประเทศ จัดพิธีบรรพชาสามเณรทั้งแผ่นดิน จ�ำนวน 89 รูป ถวายเป็นพระราชกุศล แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นักเรียนแกนน�ำจิตอาสาจากศูนย์ครอบครัวพอเพียงทั่วประเทศระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 76 จังหวัด จังหวัดละ 1 โรงเรียน และ โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร จ�ำนวน 13 โรงเรียน รวม 89 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน บรรพชาสามเณรถวายเป็นพระราชกุศล ณ วัดบางขวาง จังหวัด นนทบุรี ระหว่างวันที่ 17 - 27 ตุลาคม 2560

28 IS AM ARE www.fosef.org


กิ จ กรรมครอบครั ว พอเพี ย ง

29 issue 117 OCTOBER 2017


30 IS AM ARE www.fosef.org


31 issue 117 OCTOBER 2017


32 IS AM ARE www.fosef.org


33 issue 117 OCTOBER 2017


34 IS AM ARE www.fosef.org


เยาวชนของแผ่ น ดิ น

การเดินทางของเด็กบ้านไกล นราธิวาส-กรุ งเทพมหานคร เพชรนรี สุวรรณ์มณี

กว่ า 1,149 กิ โ ลเมตร ด้ ว ยขบวนรถไฟจากนราธิ ว าสบ้ า นเกิ ด ถึ ง กรุ ง เทพมหานคร เมื่ อ นั บ เวลาดู แ ล้ ว ก็ หมดไปกั บ การเดิ น ทางมากกว่ า 20 ชั่ ว โมง หากไม่ ไ ด้ ส อบชิ ง ทุ น เป็ น นั ก เรี ย นแลกเปลี่ ย นชั้ น ม.5-ม.6 ระหว่ า งโรงเรี ย นนราธิ ว าสกั บ โรงเรี ย นเบญจมราชานุ ส รณ์ ในกรุ ง เทพมหานคร เพชรนรี สุ ว รรณ์ ม ณี หญิ ง สาววั ย 19 ปี ชาวจั ง หวั ด นราธิ ว าสก็ ไ ม่ มี ค วามคิ ด จากบ้ า นมาเรี ย นหนั ง สื อ ไกลขนาดนี้ เพชรนรี จ บชั้ น มั ธ ยมต้ น จากโรงเรี ย นนราธิ ว าส และ ชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ เธอย้อนความ รู ้ สึ ก และยอมรั บ ว่ า ปรั บ ตั ว ไม่ ทั น เมื่ อ จู ่ ๆ ต้ อ งย้ า ยมาเรี ย น ในกรุ ง เทพมหานครครั้ ง แรก สิ่ ง เดี ย วที่ เ ธอนึ ก ถึ ง ก็ คื อ มู ล นิ ธิ ครอบครัวพอเพียง ซึ่งเธอเป็นสมาชิกจิตอาสาร่วมโครงการมา ตั้งแต่ชั้น ม.4 และเคยเดินทางมาร่วมค่าย รู้ป่า รักษ์ป่า ปลูก ป่าเริ่มที่ใจในกรุงเทพฯ พร้อมกับอาจารย์ในโรงเรียนนราธิวาส และเพื่อนจากต่างโรงเรียนทั่วประเทศ “ตอนมาถึงกรุงเทพฯ วันแรกหนูเงียบซึมไปเลย ไม่รู้จะ หันหน้าไปทางไหน คิดว่าจะหาเพื่อนไม่ได้ หลายครั้งหนูคิดถึง บ้านเพราะเราไม่รู้ความเป็นอยู่ในกรุงเทพฯ ต้องขึ้นรถเดินทาง ตรงไหนอย่างไร แต่พอพี่ๆ จากมูลนิธิครอบครัวพอเพียงรู้ว่า หนูเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนมาอยู่คนเดียว เขาก็ชวนหนูไปท�ำ

กิจกรรมจิตอาสาสอนหนังสือเด็กในชุมชนตึกแดงทุกสัปดาห์ ท�ำให้ได้เจอเพื่อนๆ จากหลายโรงเรียน เพื่อนที่เคยร่วมค่ายด้วย กันก็จ�ำหนูได้ เขาคอยแนะน�ำเรื่องต่างๆ ตั้งแต่นั้นมาหนูก็ร่วม กิจกรรมกับครอบครัวพอเพียงตลอด ท�ำให้เราอยู่ในกรุงเทพได้ โดยไม่เหงาและรู้สึกว่าตัวเองมีประโยชน์” ทุกๆ ปี มูลนิธิครอบครัวพอเพียงจะเดินทางไปให้ความ รู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับเยาวชนโรงเรียน ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้สมัครเป็นจิต อาสา เพชรนรีก็เป็นคนหนึ่งที่กระโดดเข้าร่วมโครงการโดยไม่ ลังเล เธอให้เหตุผลว่าตนเองเป็นคนชอบท�ำกิจกรรมกับทาง โรงเรียนอยู่แล้ว รู้สึกสนุกและไม่ชอบอยู่เฉยๆ แต่เธอคิดไม่ ถึงว่านอกเหนือจากกิจกรรมที่ทางมูลนิธิเปิดโอกาสให้แล้ว เธอ ยังได้รับการดูแลเมื่อมาเรียนในกรุงเทพอีกด้วย ราวกับคนที่ช่วย พยุงเธอให้มีก�ำลังใจเรียนหนังสือต่อไป โดยมีกิจกรรมจิตอาสา ขัดเกลาจิตใจให้อดทน 35

issue 117 OCTOBER 2017


เพชรนรีมีพี่น้อง 5 คน พ่อแม่ประกอบอาชีพท�ำไอศกรีม ขาย แม้ว่าคนภายนอกจะมองนราธิวาสเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ ส�ำหรับพ่อแม่ของเพชรนรีพวกเขาไม่ต้องการให้ลูกหลานหรือ คนในครอบครัวไปเรียนในกรุงเทพ เพราะอดห่วงเรื่องการด�ำรง ชีวิตในสังคมเมืองไม่ได้ อาจท�ำให้วิถีปฏิบัติตามศาสนาที่นับถือ หย่อนยานลง “หนูต้องขอบคุณพี่ๆ ครอบครัวพอเพียง วันแรกที่มาอยู่ หอที่โรงเรียนจัดให้ มันค่อนข้างสกปรก ไม่เหมือนที่คิดไว้ ช่วง แรกก็นั่งร้องไห้ไม่โอเคเลย อยากกลับบ้านตั้งแต่อาทิตย์แรก จาก นั้นพี่ครอบครัวพอเพียงก็ชวนไปท�ำกิจกรรมพี่สอนน้องของครูปู่ ได้ไปเจอพี่โอม พี่หนึ่ง ก็ได้ไปคุยกับพี่เขา พี่เขาถามอยู่หอเป็น ยังไง หนูก็เล่าให้เขาฟัง อยู่ห้องหนูไม่มีอะไรเลยนะ เป็นห้อง เปล่า ห้องน�้ำก็เล็กมากคือมันแย่มาก หนูอยู่ชั้น 6 ต้องเดินขึ้น ลงบันได พี่เขาก็เลยพาไปซื้อหม้อหุงข้าว กาต้มน�้ำ ของใช้จ�ำเป็น ต่างๆ ขากลับพี่เขาก็ให้ค่าแท็กซี่กลับหอ แล้วหลังจากนั้นหนูก็ มาท�ำกิจกรรมบ่อยๆ ก็มาอยู่กับครอบครัวพอเพียงบ่อยๆ พี่ๆ ครอบครัวพอเพียงเขาก็คอยมาดูแล ชวนไปหาอะไรกิน ชวนไป ท�ำกิจกรรมอาสาไม่ให้เหงา” แม้ จ ะห่ า งบ้ า นเกิ ด ของตั ว เองมาไกลเพี ย งใด แต่ เพชนรี ก็ มี ค วามฝั น มี ค วามแข็ ง แกร่ ง ในชี วิ ต มาก ขึ้ น ทุ ก ขณะ และยั ง สามารถแนะน� ำ น้ อ งๆ ของเธอ ได้ ใ นเรื่ อ งของความเป็ น อยู ่ และการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ให้ อยู ่ ไ ด้ เ พื่ อ จะเรี ย นหนั ง สื อ โดยไม่ ท ้ อ ต่ อ ความล� ำ บาก แต่ อ ย่ า งใด

เมื่อเรียนจบมัธยมปลายเธอกลับไปปรึกษาครอบครัวที่ บ้านว่าจะเรียนต่อที่ไหนดี เพราะตลอดเวลาที่ใช้ชีวิตเรียนมัธยม ปลายอยู่ในกรุงเทพฯ 3 ปี เธอปฏิเสธไม่ได้ว่าเธอต้องอยู่อย่าง ล�ำบากพอสมควร ทั้งเรื่องศาสนาอิสลามที่เธอนับถือ และอาหาร การกิน สังคมแวดล้อม การแต่งตัว ดูเหมือนว่าเธอจะเป็นจุด สนใจของเพื่อนๆ อยู่ไม่น้อย ในฐานะที่เธอเป็นคนในพื้นที่อ�ำเภอ บาเจาะ ต�ำบลบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งใครต่างรู้ดีว่าพื้นที่ ตรงนั้นมีข่าวก่อการร้ายอยู่เนืองๆ “หนูบอกเพื่อนๆ ว่าจริงๆ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เป็นข่าว เลย ข่าวที่ออกไปท�ำให้ดูแย่ แต่ความจริงไม่ได้แย่ขนาดนั้น ข่าว มันท�ำให้ดูเลวร้ายเกินไป” เพชรนรีเล่าบรรยากาศในต�ำบลที่เธอเกิดและเติบโตมา ว่า ทุกคนเป็นเสมือนญาติพี่น้องกัน คนรุ่นพ่อรุ่นแม่ต่างรู้จัก นับถือกันดี ข้าวปลาอาหารแบ่งกันกินได้ทุกบ้าน บ้านไหนมี งานคนในหมู่บ้านก็จะเข้าช่วยโดยไม่ต้องร้องขอหรือว่าจ้าง นั่น จึงเป็นเหมือนภูมิคุ้มกันที่ส่งต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน เพราะไม่ ว่าเด็กๆ จะท�ำอะไรที่ไหนก็จะยังคงเหมือนอยู่ในสายตาพ่อแม่ อยู่ตลอด ชาวบ้านต่างรู้ว่าคนนี้คือลูกบ้านไหน ส่งผลให้เด็กมี ความปลอดภัยในชีวิตมากขึ้นเพราะผู้ใหญ่ช่วยเป็นหูเป็นตาให้ กันและกัน 36

IS AM ARE www.fosef.org


เพชรนรี ก็ เ ป็ น คนหนึ่ ง ที่ ก ระโดดเข้ า ร่ ว มโครงการ โดยไม่ ลั ง เล เธอให้ เ หตุ ผ ลว่ า ตนเองเป็ น คนชอบท� ำ กิ จ กรรมกั บ ทางโรงเรี ย นอยู ่ แ ล้ ว รู ้ สึ ก สนุ ก และไม่ ชอบอยู ่ เ ฉยๆ

เพชรนรี เรี ย นจบระดั บ มั ธ ยมด้ ว ยเกรดเฉลี่ ย 3.43 ระหว่างตัดสินใจว่าจะเรียนต่อที่ไหนเธอยื่นใบสมัครไปหลายที่ หนึ่งในนั้นคือการยื่นคะแนน 9 วิชาสามัญ ในทุนของโครงการ “เพชรสนามจันทร์” ปรากฏว่าเธอมีสิทธ์ได้รับทุนไปเรียนที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตนครปฐม ในคณะวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอถนัดมากที่สุด เพชรนรีกล่าว ว่าเธอชอบวิชาคณิตศาสตร์ เพราะเป็นสิ่งที่มีเหตุผล สามารถ พิสูจน์ได้ กลวิธีต่างๆ จะซับซ้อนแค่ไหนค�ำตอบก็มีอยู่ต�ำตอบ เดียวเท่านั้น ไม่อาจแปรไปเป็นอื่นได้ “หนูยื่นคะแนนกลาง เกรดเฉลี่ย 3.43 แล้วมีคะแนน 9 วิชาสามัญที่เป็นข้อสอบของส่วนกลาง ทุนนี้เน้นเกรดอย่าง เดียวค่ะ ในเอกนี้มีนักเรียนทุน 2 คน มีผู้ชายอีกคนหนึ่ง ยื่น คะแนนไปที่มหาวิทยาลัยแล้วเขาก็เรียกสัมภาษณ์ เมื่อผ่านแล้ว ก็ได้ทุนพร้อมเข้าเรียนเลยค่ะ ทางมหาวิทยาลัยย�้ำว่าอยากให้ ตั้งใจเรียนนะเพราะเขาดูเกรดด้วย คือเกรดแต่ละปีต้องไม่ต่�ำ กว่า 3.00 ถ้าไม่ถึงต้องจ่ายค่าเทอมเอง นี่คือเกณฑ์ตลอดการ เรียนมหาวิทยาลัย” เมื่อทางครอบครัวทราบว่าเธอได้รับทุนเรียนฟรีตลอด การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย แต่ต้องจากบ้านไปเรียนไกล เหลือประมาณ จึงเกิดเสียงคัดค้านจากแม่ว่าให้คิดทบทวนใหม่

อีกครั้ง เพราะการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครปฐม ไม่ได้อยู่หอพักในความดูแลของโรงเรียนเหมือนครั้งมัธยมปลาย ที่โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ หรือมีเพื่อนๆ พี่ๆ ครอบครัว พอเพี ย งคอยดู แ ลช่ ว ยเหลื อ เหมื อ นตอนอยู ่ ใ นกรุ ง เทพฯ แต่ อย่างไรก็ตาม การได้รับทุนเรียนฟรีจนจบปริญญาตรีถือเป็น โอกาสที่หาไม่ได้ง่ายๆ เพชรนรีให้ค�ำมั่นกับพ่อและแม่ว่าจะเก็บ ประสบการณ์ชีวิตจากการเรียนไปให้ได้มากที่สุด เธอเป็นลูกสาว คนเดียวที่พ่อแม่ยอมปล่อยให้มาเรียนไกลขนาดนี้ พี่น้องคนอื่น ล้วนเรียนอยู่ที่บ้านทั้งหมด ปัจจุบนั เพชรนรีเรียนอยูม่ หาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต นครปฐม คณะวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 แม้จะ ห่างบ้านเกิดของตัวเองมาไกลเพียงใด แต่เพชนรีก็มีความฝัน มี ความแข็งแกร่งในชีวิตมากขึ้นทุกขณะ และยังสามารถแนะน�ำ น้ อ งๆ ของเธอได้ ใ นเรื่ อ งของความเป็ น อยู ่ และการด� ำ เนิ น 37

issue 117 OCTOBER 2017


ชีวิตให้อยู่ได้เพื่อจะเรียนหนังสือโดยไม่ท้อต่อความล�ำบากแต่ อย่างใด “หนูตั้งใจว่าเมื่อเรียนจบอยากจะเปิดเป็นโรงเรียนกวด วิชาของตัวเอง เพราะไม่ชอบไปท�ำงานกับคนอื่น ปรึกษากับ คุณครูโรงเรียนเก่าเขาก็แนะน�ำว่าสามารถต่อศึกษาศาสตร์อีก ปีหนึ่งแล้วบรรจุเป็นครูคณิตศาสตร์ได้ เพราะว่าแต่ละโรงเรียน ขาดแคลนครูคณิตศาสตร์ ก็รอดูก่อนว่าจบมาจะเอายังไงแต่ใจ จริงหนูอยากเปิดโรงเรียนกวดวิชามากกว่าอยากท�ำเป็นของตัว เอง จะได้อยู่กับครอบครัวด้วย” “พี่โอม เจ้าหน้าที่ในมูลนิธิครอบครัวพอเพียงเคยสอน หนูว่า เราเดินทางมาเรียนไกลและล�ำบากกว่าคนอื่นก็จริง แต่ เมื่อผ่านมันไปได้เราจะแข็งแกร่งขึ้น และมีประสบการณ์รับมือ กับความอดทนอดกลั้นมากกว่าคนอื่น แม้จะเหนื่อย ท้อ หรือ คิดถึงบ้านบ้าง แต่นี่แหละคือภูมิคุ้มกันให้เราต่อสู้” เพชรนรี กล่าวทิ้งท้าย

38 IS AM ARE www.fosef.org


เผยผิ ว ใสไร้ ริ้ ว รอย ด้ ว ย สบู ่ ว ่ า นหางจระเข้ ภั ท รพั ฒ น์ คุ ณ ค่ า จากว่ า นหางจระเข้ ที่ ช ่ ว ยลดรอยแดงจากการอั ก เสบของผิ ว ที่ โ ดนแดด ลดเลื อ นริ้ ว รอย ฝ้ า กระ จุ ด ด่ า งด� ำ เพิ่ ม ความชุ ่ ม ชื่ น ให้ ผิ ว ไม่ แ ห้ ง กร้ า น เมื่ อ ใช้ เ ป็ น ประจ� ำ ผิ ว หน้ า กระจ่ า งใสขึ้ น อย่ า งเป็ น ธรรมชาติ สามารถหาซื้อได้ที่ร้านภัทรพัฒน์ทุกสาขาหรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ทาง Facebook/Patpat9 ภัทรพัฒน์สินค้าจากมูลนิธิชัยพัฒนา และ www.patpat9.com 39 issue 117 OCTOBER 2017


40 IS AM ARE www.fosef.org


บทความพิ เ ศษ

สร้างพื้นที่ชีวิตตามรอยพระราชด�ำริ

โคก หนอง นา โมเดล

สถาปนิ ก คนหนึ่ ง ใช้ เ วลาในการศึ ก ษาเล่ า เรี ย นทั้ ง ต� ำ ราของไทยและต่ า งประเทศเป็ น เวลาหลายปี โดยภาพ รวมเราใช้ แ นวคิ ด ของฝรั่ ง ในการศึ ก ษาศาตร์ ต ่ า งๆ มากกว่ า ที่ ต นเองมี อ ยู ่ โดยเฉพาะการออกแบบพื้ น ที่ จะต้ อ งค� ำ นึ ง ถึ ง ความสวยงาม คงทน น่ า อยู ่ น ่ า ชม ไม่ ว ่ า ระดั บ บ้ า นเรื อ นหรื อ องค์ ก รใหญ่ ๆ แต่ สิ่ ง ที่ ผู ้ อ อกแบบหลายคนลื ม ไปก็ คื อ “การออกแบบพื้ น ที่ ชี วิ ต ให้ ยั่ ง ยื น ” ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล หรือ อาจารย์โก้ คณบดีคณะ สถาปั ต ยกรรมศาสตร์ สถาบั น เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า เจ้ า คุณทหารลาดกระบัง เป็นคนหนึ่งที่ลุกขึ้นมาใช้ความรู้ในการ ออกแบบพื้นที่ที่มีอยู่ น�ำมาปรับใช้ออกแบบพื้นที่ไร่นาสวนผสม ให้กับชาวบ้านทั่วประเทศ “ฟรี” โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ด้วยจุดมุ่ง หมายสร้างความยั่งยืนในแต่ละพื้นที่ให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดย อาศัยการจัดการน�้ำเป็นหัวใจในการเจริญเติบโตของป่าเลียน แบบธรรมชาติ ภายใต้แนวคิดของในหลวงรัชกาลที่ 9 ก่อเกิด เป็น “โคก หนอง นา โมเดล” “ปกติเราเป็นสถาปนิก งานที่ออกแบบมูลค่าสูงสุดคือ แปดร้อยกว่าล้าน หรือออกแบบเล็กๆ ได้เงินเราก็ท�ำหมด แต่ หลักที่เราเรียนมาจากมหาวิทยาลัย เรียนจากหลักฝรั่ง พอลงไป ท�ำงานให้ชาวบ้านจริงๆ ท�ำไม่ส�ำเร็จ ไปช่วยงานโครงการหลวง ที่ภาคเหนือ ทั้งโครงการหลวงดอยอ่างขาง โครงการหลวงดอย อินทนนท์ ไม่ส�ำเร็จสักโครงการเลย ทั้งที่ออกแบบสวยงามมาก เลยนะ มันไม่ส�ำเร็จ มันเพราะอะไรก็เป็นค�ำถามที่ติดอยู่ในใจ ว่าท�ำไมท�ำไปแล้วเขาไม่ท�ำตามทั้งๆ ที่มันสวย”

แนวคิดการออกแบบจากตะวันตกเป็นเรื่องที่ดีซึ่งควร ศึ ก ษาไว้ แต่ ต ้ อ งไม่ ลื ม บริ บ ท “ภู มิ สั ง คม” ของแต่ ล ะพื้ น ที่ ด้ ว ย อาจารย์ โ ก้ พ บว่ า ประเทศไทยมี ค วามเฉพาะตั ว โดย เฉพาะภู มิ ป ั ญ ญาและวั ฒ นธรรมความเป็ น อยู ่ ไม่ เ หมาะกั บ การน�ำแนวคิดของฝรั่งมาใช้โดยตรงทั้งหมด โดยหลงลืมไปว่า ประเทศไทยมีแบบที่ดีที่สุดคือ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งพระองค์ มี ตั ว อย่ า งความส� ำ เร็ จ ในการออกแบบจั ด การพื้ น ที่ ใ ห้ ศึ ก ษา มากมาย “ผมมาเริ่มศึกษาว่าวิธีไหนที่จะท�ำให้มันส�ำเร็จ ก็หัน มาดูตัวอย่างความส�ำเร็จที่เห็นชัดเจนที่สุดคือพระองค์ท่าน คือ ในหลวง ก็เลยท�ำให้เราอยากเข้ามาศึกษาว่าท่านท�ำอย่างไร ท�ำ ยังไง ท�ำไมสมัยก่อนที่ท่านเสด็จไปโน้นมานี่เหนื่อยแสนเหนื่อย เพราะไปทุกที่เลย และไม่ได้ไปพระองค์เดียวนะ ทั้งสมเด็จย่า สมเด็จพระราชินี ไปกันหมดเลยสมัยก่อน เราก็รู้ว่าชาวบ้านเขา ศรัทธาในพระองค์ท่านเยอะมาก เราก็เลยอยากจะเรียนรู้ เมื่อมี โอกาสจึงมาศึกษากับอาจารย์ยักษ์” “ทีแรกตั้งใจจะลาออกจากการเป็นอาจารย์ เพราะเป็น มาสามสิบปีแล้ว ก็คิดว่าจะออกมาอยู่ในที่ในสวนของเรา เอา ความรู้ที่เรามีมาท�ำให้มันเกิดศูนย์โน้นศูนย์นี้เหมือนคนอื่นเขา 41

issue 117 OCTOBER 2017


42 IS AM ARE www.fosef.org


บ้าง เพราะมีตัวอย่างความส�ำเร็จเต็มไปหมด เราก็อยากจะ สร้างของเราบ้าง เลยไปปรึกษากับอาจารย์ยักษ์ อาจารย์ยักษ์ บอกอย่าเพิ่งออก ให้อยู่ช่วยกันไปก่อน อยู่สร้างคนรุ่นใหม่ขึ้น มาก่อน มันก็เป็นเหตุผลที่ยังอยู่ตรงนี้เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ มัน กลายเป็นว่าการมาท�ำงานให้ความรู้เรื่องนี้กับชาวบ้านมันคือ การพั ก ผ่ อ น มั น มี ค วามสุ ข ที่ อ ยู ่ ใ นมหาวิ ท ยาลั ย นั่ ง ประชุ ม เครียดๆ ในห้องแอร์ สบาย ถึงเวลากินมีคนเอามาให้ อันนั้น แหละท�ำร้ายร่างกายสุดขีด แต่พอมาลงพื้นที่อย่างนี้เหนื่อยแค่ ไหนก็มีความสุขกว่า” สิ่งที่อาจารย์โก้เน้นย�้ำกับเยาวชนคนรุ่นใหม่และชาว บ้านทั่วไปที่ต้องการให้ออกแบบพื้นที่ให้ก็คือ สร้างความภาค ภูมิใจให้คนในพื้นที่นั้นๆ ให้เขารู้ว่าพื้นที่ที่เขาอยู่มีค่ามากกว่า จะขายให้นายทุน ไม่ว่าพื้นที่รูปแบบใดก็สามารถออกแบบให้ ผู้อยู่มีความสุขได้ โดยผู้อาศัยต้องยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการปฏิบัติด้วย นอกเหนือจากการออกแบบ พื้นที่ชีวิตที่ยั่งยืน “ตอนที่ผมคิดจะลาออกจากคณบดี ผมมองว่าจริงๆ ชีวิต เราก็ต้องกลับไปหาวิถีที่เรียบง่าย และเราเห็นแล้วว่าวิธีชาวบ้าน แบบบ้านๆ มันเอาตัวรอดได้จริงๆ มันอยู่ได้จริงๆ ที่เรามองว่า เป็นอะไรที่ทุกคนพยายามหนีออก แต่คนกรุงเทพแบบพวกผม

ผมมาเริ่ ม ศึ ก ษาว่ า วิ ธี ไ หนที่ จ ะท� ำ ให้ มั น ส� ำ เร็ จ ก็ หั น มา ดู ตั ว อย่ า งความส� ำ เร็ จ ที่ เ ห็ น ชั ด เจนที่ สุ ด คื อ พระองค์ ท่ า น คื อ ในหลวง ก็ เ ลยท� ำ ให้ เ ราอยากเข้ า มาศึ ก ษา ว่ า ท่ า นท� ำ อย่ า งไร ท� ำ ยั ง ไง ท� ำ ไมสมั ย ก่ อ นที่ ท ่ า น เสด็ จ ไปโน้ น มานี่ เ หนื่ อ ยแสนเหนื่ อ ยเพราะไปทุ ก ที่ เ ลย พยายามวิ่งเข้าหา ผมเคยพูดกับรุ่นพี่ที่แม่แตง ชื่อพี่น�้ำ แกเป็น คนมีตังค์นะครับ ที่ของแกอยู่ในท�ำเลที่สวยมาก มีป่าไม้ภูเขา ยังบอกแกว่ามีเงินเป็นแสนล้านยังซื้อภูเขาลูกนี้ไปตั้งที่กรุงเทพ ไม่ได้นะ ซื้อต้นไม้ในป่าแบบนี้ไปอยู่ที่กรุงเทพก็ไม่ได้นะ ต้อง มาอยู่ที่นี่เท่านั้น” “เพราะฉะนั้นเราท�ำยังไงให้คนในพื้นที่ได้เห็นคุณค่าว่า สิ่งที่คุณมีเศรษฐีกรุงเทพเขาอยากได้กันมาก ถ้าเขามีเงินเขา ท�ำได้เขาขนไปตั้งที่กรุงเทพแล้วล่ะ แต่เขาท�ำไม่ได้จึงใช้วิธีมา กว้านซื้อชาวบ้านไง เอาเงินมาล่อเพื่อให้ชาวบ้านออก เพื่อพวก เขาจะได้มาอยู่แทน ซึ่งพวกเราก็ไม่ทันรับรู้ นี่ก็คือสิ่งที่ผมอยาก จะบอกชาวบ้านให้รับรู้ ก็เข้าไปช่วยกันคิดว่าเขามีอะไรดีอยู่ แล้ว เขาต้องภูมิใจอะไร นี่คือสิ่งที่เราไปช่วยชาวบ้าน แล้วก็สร้างคน รุ่นใหม่ขึ้นมาที่เขาเบื่อระบบทุนนิยม กลับไปหาอะไรที่มันเรียบ 43

issue 117 OCTOBER 2017


ง่าย ซึ่งปัจจุบันมีเยอะ ภาระกิจที่ท�ำอยู่ตอนนี้ก็คือ รับตระเวน ออกแบบพื้นที่ฟรีหมดทั่วประเทศ คือมีแปลงอยู่ที่ไหนก็บอก มาครับ แค่นั้นเอง เราจะได้ไปออกแบบให้ เพื่อให้มันสวยงาม ด้วยแล้วก็ใช้งานได้ด้วย แล้วก็ได้พึ่งตนเองตามหลักเศรษฐกิจ พอเพียง เราก็ต้องเรียนหลักปฏิบัติ ส่วนผมก็จะเอาหลักทฤษฎี ในการออกแบบท�ำให้มันสวยงาม แล้วเวลาอยู่มันก็จะสุนทรีย์ มันจะได้มีความสุข” หลักการออกแบบพื้นที่ของอาจารย์โก้ก็คือ ค�ำนึงถึง รากเหง้ า ดั่ ง เดิ ม หรื อ ภู มิ ป ั ญ ญาดั้ ง เดิ ม ของแต่ ล ะพื้ น ที่ เ อาไว้ พยายามรื้อฟื้นภูมิปัญญาท้องถิ่น คงไว้ไม่ให้สูญหาย “เหตุ ผ ลว่ า ท� ำ ไมต้ อ งลงมาช่ ว ยชาวบ้ า นในเรื่ อ งการ ออกแบบพื้นที่ การให้ความรู้ต่างๆ เพราะเห็นว่าจริงๆ มันเป็น เรื่องวิกฤตแล้ว แล้วมหาวิทยาลัยเงินเยอะ อาจารย์เยอะ อะไร เยอะ มันควรจะท�ำอะไรนอกมหาวิทยาลัยบ้าง ไม่ใช่เอาแต่ เสวยสุ ข อยู ่ ใ นรั้ ว มหาวิ ท ยาลั ย ซึ่ ง มั น ไม่ ค วร ฉะนั้ น ตอนนี้ ก็ พยายามปลุกระดมอาจารย์คณะอื่นๆ ซึ่งก็เริ่มมีคณบดีหลาย คณะที่พร้อมมาช่วย อย่างเช่น คณะอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งจะ เป็นเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์และผลผลิตออกมาช่วย ก็จะเริ่ม มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ”

44 IS AM ARE www.fosef.org


แนวคิดการออกแบบพื้นที่ ่ น เพื่อการจัดการน�้ำอย่างยังยื

โคก หนอง นา โมเดล

ก่ อ นอื่ น ต้ อ งค� ำ นึ ง ก่ อ นว่ า ประเทศไทยประสบปั ญ หาน�้ ำ ท่ ว ม น�้ ำ แล้ ง น�้ ำ เกิ น น�้ ำ ขาด ซึ่ ง เป็ น ปั ญ หาโดยตรง ส� ำ หรั บ เกษตรกรซึ่ ง เป็ น คนส่ ว นใหญ่ ข องประเทศ ท� ำ ให้ อ าจารย์ โ ก้ ม องเห็ น ว่ า หลั ก การออกแบบที่ ต นเอง เรี ย นมา ทั้ ง ยั ง มี ลู ก ศิ ษ ย์ อี ก มากมายในคณะสถาปั ต ยกรรม ที่ ส ามารถน� ำเอาศาสตร์ ที่ เ รี ย นมาปรั บ ใช้ ใ ห้ เ ข้ า หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งในเรื่ อ งของเกษตรทฤษฎี ใ หม่ ที่ อ าศั ย หลั ก การสร้ า งธรรมชาติ ใ ห้ เ กิ ด ขึ้ น บนพื้ น ที่ ข องแต่ ล ะคน ซึ่ ง ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งเกื้ อ กู ล พึ่ ง พาซึ่ ง กั น และกั น โดยค� ำ นึ ง ถึ ง ภู มิ สั ง คมและวั ฒ นธรรม เดิ ม ในพื้ น ที่ ที่ มี อ ยู ่ เป็ น การออกแบบพื้ น ที่ ชี วิ ต ให้ พึ่ ง พาตนเองได้ อ ย่ า งยั่ ง ยื น 45 issue 117 OCTOBER 2017


เกษตรกรต้ อ งเริ่ ม จากอะไร ? : เริ่ ม ต้ น จากการเปลี่ยนวิธีคิด ก่อน ลืม ระบบเกษตร อุตสาหกรรมที่มันครอบอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ก่อน แล้วหันกลับไปดู รากเหง้าภูมิปัญญาดั้งเดิมของเรา ว่าเมื่อก่อนเขาอยู่กันมายังไง ท�ำไมเขาจัดการน�้ำได้ทั้งๆ ที่ฝนก็ปริมาณเท่าเดิม ชลประทาน ก็ไม่มีท�ำไมเขาจัดการได้ ผลิตข้าวออกเป็นที่หนึ่งของโลกตั้งแต่ สมัยก่อน คิดแบบในกรอบของปัจจุบันมันไปไม่รอด ผมว่าต้อง คิดแบบนอกกรอบ ซึ่งก็เป็นเรื่องเดิมๆ ในหลวงท่านสอนว่า บรรพบุรุษท่านท�ำไว้ดีอยู่แล้ว กลับไปดูที่ท่านท�ำ ถ้าเราออกนอก กรอบได้เมื่อไหร่ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ปัญหาพวกนี้จะค่อยๆ ลดลง

ค่อยๆ ใช้ความอดทน ความเพียรและความรู้ค่อยๆ แก้ไปเรื่อยๆ โดยดูสิ่งที่บรรพบุรุษท่านท�ำไว้ดีอยู่แล้ว ธรรมะ ธรรมชาติ ธรรมดา หลั ก ของการออกแบบ พื้ น ที่ : ใช้ ท ฤษฎี ข องในหลวงนี่ แ หละ หลั ก ของพระองค์ ท่าน มีหลักสูตรหนึ่งที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งอาจารย์ ดร.สุเมธ ตั น ติ เวชกุ ล ท่ า นเป็ น คนท� ำ หลั ก สู ต รนี้ ชื่ อ หลั ก สู ต ร “การ พัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน” ภูมิสังคมเป็นค�ำที่พระองค์ท่าน พระราชทานนะครับ ไม่มีในพจนานุกรมหรือราชบัณฑิตย์ ภาษา อังกฤษคือ GEO SOCIAL ตรงๆ เลยก็คือ ภู-มิ บวก สังคม โดย ใช้หลักคิด หลักทฤษฎีและหลักปฏิบัติตามแนวพระราชด�ำริ หมดเลย 46

IS AM ARE www.fosef.org


หลักคิดของพระองค์ท่าน ท่านคิดในหลักธรรม หลักใน การให้ เรื่องบุญ เรื่องทาน พระองค์ท่านจะใช้หลักธรรมะเป็น หลัก ฉะนั้นการออกแบบในเชิงนิเวศสังคมของเราออกแบบตาม หลักนี้ ดูหลักในการให้ก่อน อย่างตอนนี้ที่ออกแบบให้กับทุกคน นี่ฟรีหมดเลยนะ ไม่ได้เสียตังค์สักบาทในการจ้างเราไม่มีนะ เรา ออกแบบให้ฟรี คือ “หลักการให้” เราก็ให้เขาไปก่อน หลักทฤษฎีของพระองค์ท่าน พระองค์ท่านใช้ “หลัก ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ” เอาหลักธรรมชาติเข้าไปใช้ในการ แก้ปัญหา แต่มีการศึกษาแบบเป็นวิชาการอยู่ ว่าจะเลือกใช้ ธรรมชาติชนิดใด ในการแก้ปัญหาชนิดนี้จะต้องใช้ธรรมชาติแบบ ไหน ใช้อะไร คือพระองค์ท่านศึกษาละเอียดแล้วเลือกมาใช้ แต่ หลักๆ ก็คือ ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ แต่หลักที่ส�ำคัญที่สุดที่ในหลวงท่านท�ำคือหลักปฏิบัติ ใช้ ค�ำว่าหลักธรรมเหมือนกัน ก็คือ “ธรรมดา” วิธีการของพระองค์ ท่านง่ายมากเลยก็คือ คิดมามากมายหมดทุกอย่างแล้ว แต่เวลา ท�ำต้องท�ำให้ง่ายที่สุด ต้องท�ำแบบที่ชาวบ้านท�ำได้โดยไม่ต้องใช้ เงิน อาจารย์ยักษ์ย�้ำเสมอว่า ต้องท�ำแบบคนจน คือ ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น ทฤษฎีปลูกป่าโดยไม่ต้อง ปลูก ง่ายมากเลย หรื อ เรื่ อ งกั น ดิ น ถล่ ม อย่ า งผมเป็ น สถาปนิ ก ถ้ า ให้ ออกแบบผมก็ จ ะออกแบบเขื่ อ นกั น ดิ น เลย ก� ำ แพงกั น ดิ น เสียบนั้นเสียบนี่ ใส่คอนกรีตใส่อะไรอัดเข้าไป มีทางระบายน�้ำ ข้างใต้ระบายออกทางนั้นทางนี้ แต่พระองค์ท่านใช้หญ้าแฝก ปลูก วิธีของท่านคือศึกษาหญ้าแฝกว่ามีรากลึกถึง 4 เมตร แล้ว มันช่วยอนุรักษ์หน้าดินด้วย เสร็จแล้วก็เอามาปลูก วิธีแก้ของ ท่านคืออะไร “ปลูกหญ้าไง” ของผมนี่ต้องเทคอนกรีต ต้อง เอารถคอนกรีตเข้าไป แต่ในหลวง “ปลูกหญ้า” ซึ่งกันดินได้ เหมือนกัน “เห็นไหม หลักธรรมะ ธรรมชาติ ธรรมดา หลักพระองค์ ท่านมีแค่นี้” หั ว ใจของ โคก หนอง นา โมเดล : ตามหลักทฤษฎีใหม่ของพระองค์ท่านซึ่งอาจารย์ยักษ์ เอามาย่อยเป็น โคก หนอง นา โมเดล มันก็คือการเก็บน�้ำฝน นั่นแหละ ไม่ต้องคิดอะไรมาก ฝนตกมาเท่าไหร่เก็บในที่เราให้ หมด ถ้าพื้นที่เราใหญ่เราต้องใช้น�้ำเยอะกว่าพื้นที่ที่เราเก็บฝน ได้ เราเก็บไม่พอเราก็ต้องผันน�้ำจากที่อื่นมาเติมในพื้นที่ของเรา คือช่วยแทนที่น�้ำจะหลากผ่านไป เราก็ผันกลับมาเข้าที่ดินของ เราให้ได้ เอามาเติมให้มันเต็มแค่นั้นเอง 47 issue 117 OCTOBER 2017


วิ ธี ส ร้ า งโคก หนอง นา โคก หนอง นา โมเดล เป็นวิธีจัดการน�้ำอย่างยั่งยืน แหล่ ง เก็ บ น�้ ำ วิธีเก็บกักน�้ำจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะจากน�้ำฝนที่ ในพื้ น ที่ ข องตนเอง เริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการขุ ด หนองเพื่ อ เก็ บ กั ก น�้ ำ ไว้ใช้ในยามแล้ง โดยขุดแบบ “ฟรีฟอร์ม” ให้มีส่วนเว้าส่วน ตกลงมา อาจารย์โก้แบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ 1.โคก คือเก็บในป่า น�้ำซึมเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพป่า โค้งเลียนแบบธรรมชาติ ความลึกของหนองควรลึกกว่า 3.65 เมตร ตามองค์ความรู้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาล ตรงนั้น สภาพดินตรงนั้นว่ามันจะเก็บน�้ำได้เท่าไหร่ 2.หนอง ก็อย่างที่เราเห็นทั่วไป ซึ่งง่ายต่อการค�ำนวณ ที่ 9 ได้ทรงพระราชทานไว้ว่า ในหนึ่งวันน�้ำจะระเหยเฉลี่ยวัน การขุด เพราะขุดลึกเท่าไหร่ก็รู้ปริมาตรเท่านั้น ปัญหาของหนอง ละ 1 เซนติเมตร ใน 1 ปีมี 365 วัน น�้ำจะลดลงมากกว่า 3 คือ ยิ่งกว้างมากการระเหยก็จะเยอะ แต่ถ้าแคบและลึก การ เมตร ฉะนั้นการขุดบ่อหรือพื้นที่เก็บน�้ำควรค�ำนึงถึงความลึก ระเหยก็น้อยกว่า ฉะนั้นการที่เราจะขุดความลึกเท่าไหร่ ความ ให้มากกว่า 3.65 เมตร เพื่อจะมีน�้ำเหลือใช้ตลอดปีจนกว่าจะ ถึงฤดูฝนในปีต่อไป กว้างเท่าไหร่ มันต้องค�ำนวณให้เหมาะกับขนาดพื้นที่เรา การขุดหนองจะใช้วิธีขุดเป็นขั้นหรือเป็นตะพัก เพื่อให้ 3.นา ง่ายมากเลย คือบรรพบุรุษท่านท�ำมาดีอยู่แล้ว ก็ ยกหัวคันนาขึ้นมา ที่จังหวัดน่านเราท�ำกว้าง 2 เมตร ลึก 2.50 แสงแดดส่องถึงพื้นหนองบางส่วน ช่วยให้พืชน�้ำเจริญเติบโต เป็น ที่อยู่อาศัยของแพลงตอนพืช เป็นแหล่งอาหารของเหล่าสัตว์น�้ำ เมตร เก็บน�้ำเหลือเฟือเลย “ตอนนี้ที่เราออกแบบให้อยู่มีมากกว่า 284 ที่ ที่ให้เราท�ำ ส่วนดินจากการขุดหนอง น�ำมาถมเป็นโคก บนโคกปลูกที่อยู่ เรื่องโคก หนอง นา โมเดลให้อยู่ ให้คณะสถาปัตยกรรมของเรา อาศัย เลี้ยงสัตว์และปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง นั่นคือ ท�ำอยู่ มีตั้งแต่ 200 ตารางวา จนถึง 1,400 ไร่ ฉะนั้น โคก หนอง นา โมเดล ใช้ได้ทุกสเกล ทุกขนาด ทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะบน หลั ก ที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ที่ ใ นหลวงท่ า นท� ำ คื อ หลั ก ปฏิ บั ติ ใช้ ดอยหรือที่ราบ ใช้ได้หมด อยู่ที่ความต้องการในแต่ละภูมิสังคม” ค� ำ ว่ า หลั ก ธรรมเหมื อ นกั น ก็ คื อ “ธรรมดา” วิ ธี ก าร ของพระองค์ ท ่ า นง่ า ยมากเลยก็ คื อ คิ ด มามากมาย หมดทุ ก อย่ า งแล้ ว แต่ เ วลาท� ำ ต้ อ งท� ำ ให้ ง ่ า ยที่ สุ ด ต้ อ งท� ำ แบบที่ ช าวบ้ า นท� ำ ได้ โ ดยไม่ ต ้ อ งใช้ เ งิ น

48 IS AM ARE www.fosef.org


“ถ้าจากแสนจุดเป็นล้านจุดมันจะแก้ได้ แล้วเราจะท�ำ โดยใช้ศาสตร์พระราชาซึ่งใช้หลักธรรมะ ธรรมชาติ ธรรมดา ง่ายๆ นี่แหละ แก้ให้เห็นว่าภาวะโลกร้อนที่เป็นปัญหาใหญ่ ของคนทั้งโลก อเมริกาทุ่มเป็นแสนล้านเหรียญยังแก้ไม่ได้ แต่ ประเทศไทยเราท�ำโดยใช้ศาสตร์พระราชา เราจะแก้ให้ได้ ก็คือ เริ่มมาจาก โคก หนอง นา โมเดลเล็กๆ นี่แหละ แต่เราก็ระดม คนที่เขาเข้าใจ เข้ามาคุยกันสื่อสารกัน เขาก็จะรู้ว่าสิ่งที่เราคิดมัน ใหญ่มาก ไม่ใช่คิดแค่โคก หนอง นา โมเดล สเกลนี้เป็นสเกลที่ เล็กเพื่อท�ำให้เห็นการปฏิบัติ เพราะหลักของพระองค์ท่านคือ ท�ำ ตามล�ำดับขั้น แต่สิ่งเล็กๆ หลายตัวมารวมกันเหมือนมดที่มารวม ตัวกันหลายตัวมันก็ขนแมลงตัวใหญ่ได้ มันจะเป็นพลัง” “เป้าหมายของเราจริงๆ คือช่วยโลกนะ คือเราก�ำลังสู้กับ ภาวะโลกร้อน” ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล กล่าวทิ้งท้าย

ปลูกไม้กิน ไม้ใช้สอย ไม้ส�ำหรับสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งให้ประโยชน์ เป็นความพอกิน พอใช้ พออยู่ และร่มเย็น ต้นไม้ที่ปลูกมีทั้งหมด 5 ระดับ ได้แก่ ไม้สูง ไม้กลาง ไม้ เตี้ย ไม้เรี่ยดิน พืชหัว เพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดิน การเก็บกักน�้ำ อีกวิธีหนึ่งคือ ขุดคลองไส้ไก่ให้ทั่วพื้นที่ ขุดให้คดเคี้ยวเพื่อให้เป็น ทางน�้ำบนดิน เพิ่มความชุ่มชื้นโดยไม่ต้องวางท่อหรือสปริงเกอร์ และสร้างฝายชะลอน�้ำกั้นเพื่อลดความเร็วของน�้ำที่ไหลไปตาม คลอง แล้วปลูกหญ้าแฝกโดยรอบหนองและคลองไส้ไก่ ส่วนนา ให้ปั้นหัวคันนาสูงอย่างน้อย 1 เมตร บนคันนา กว้าง 1 เมตร ฐานคันนากว้าง 2 เมตร ปลูกพืชโดยรอบ ทั้งไม้ ผล ผักสวนครัว สมุนไพร เพราะปั้นหัวคันนาสูง ในคันนาจึง เปรียบเสมือนเขื่อนขนาดย่อม สามารถเก็บน�้ำไว้ใช้ในช่วงปลูก ข้าว และยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น�้ำอีกด้วย “วัตถุประสงค์หลักจริงๆ ที่เราท�ำ โคก หนอง นา โมเดล เราก�ำลังสร้างจุดเปลี่ยน สิ่งที่เราออกแบบเขาเรียกว่า Biosphere design (การออกแบบชีววิทยา) คือการออกแบบพื้นที่ ชีวิต การสร้างบรรยากาศออกแบบพื้นที่ชีวิต ถ้าเราท�ำอย่างนี้ หลายๆ จุด สิ่งที่เราท�ำ โคก หนอง นา โมเดล ไม่ได้แก้ปัญหา เล็กๆ แค่การจัดการน�้ำ วัตถุประสงค์เราต้องการให้ศาสตร์ตัวนี้ แก้ปัญหาโลก เรื่องภาวะโลกร้อน เราต้องค�ำนวณถึงว่า แล้วค่า ออกซิเจนที่เพิ่มขึ้นมาล่ะ ป่าที่เกิดขึ้นมาล่ะ ค่าคอร์บอนเครดิต ที่มันเกิดขึ้นมาล่ะ มันจะตอบสนองต่อการแก้ปัญหาภาวะโลก ร้อนอย่างไร”

ติ ด ต่ อ ขอรั บ การออกแบบพื้ น ที่ โคก หนอง นา โมเดล โดยไม่ มี ค ่ า ใช้ จ ่ า ยได้ ที่ ผู ้ ช ่ ว ยศาสตร จารย์ พิ เ ชฐ โ สวิ ท ยสกุ ล ( อ.โ ก้ ) คณบดี ค ณะ ส ถ า ป ั ต ย ก ร ร ม ศ า ส ต ร ์ ส ถ า บั น เ ท ค โ น โ ล ยี พระจอมเกล้ า เจ้ า คุ ณ ทหารลาดกระบั ง โทร.083611-6110

49 issue 117 OCTOBER 2017


50 IS AM ARE www.fosef.org


51 issue 117 OCTOBER 2017


สภาพแวดล้อม

ร่วมกัน เพื่อให้ป่าเกิดความสมดุลและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และรู้ค่าของธรรมชาติอย่างแท้จริง สภาพพื้นที่มีแหล่งน�้ำเป็น ล�ำห้วยธรรมชาติ ฝาย บ่อบาดาลและบ่อน�้ำ กระจายทั่วทั้ง ต�ำบล ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพท�ำเกษตร ท�ำนา ท�ำไร่ ท�ำสวน เหมือนพื้นที่อื่นแต่ที่แตกต่าง คือ มีการปลูกผักสดเพื่อจ�ำหน่าย และปลู ก พื ช เศรษฐกิ จ คื อ กล้ ว ยหอมทอง ต� ำ บลนี้ ยั ง มี อี ก จุดเด่น คือ วัดถ�้ำเอราวัณ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชาวบ้านเชื่อถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์และ เป็ น ที่ ยึ ด เหนี่ ย วจิ ต ใจของพี่ น ้ อ งชาวอ� ำ เภอนาวั ง และอ� ำ เภอ ข้างเคียงตลอดมา

ต�ำบลวังทอง เป็นต�ำบลหนึ่งในดินแดนอีสานที่ขึ้นชื่อ เรื่องความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ ผู้คนมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และ ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีไว้ได้อย่างเหนียวแน่นผสมผสาน กับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างลงตัว โดยมีแกนน�ำชาวบ้านที่มีศักยภาพและมีความเสียสละ เอาใจใส่ ให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น กว่าจะถึงวันนี้กับการเป็น หนึ่งในต�ำบลบนวิถีพอเพียง ที่ผู้คนสามารถยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง นั้นได้ผ่านประสบการณ์มากมายที่หล่อหลอมจนตกผลึกความ คิด ค้นพบวิถีชีวิตที่ดีกว่าส�ำหรับตนเองของชาววังทอง ต�ำบลวังทอง อยู่ห่างจากที่ว่าการอ�ำเภอนาวังประมาณ 7 กิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 12 หมู่บ้าน มีประชากร ประมาณ 4,600 คน มีเนื้อที่ 100.08 ตารางกิโลเมตร รวม ถึงมีทรัพยากรป่าไม้ที่ยังสมบูรณ์ระดับปานกลาง ป่าส่วนใหญ่ เป็นป่าชุมชน โดยมีแหล่งรวมใจในการดูแลรักษาคือ วัดป่าภู ฝางสันติธรรมซึ่งมีเจ้าอาวาสเป็นผู้ริเริ่มในเรื่องของการดูแล รักษาป่าไปพร้อมๆ กับชาวบ้าน ท�ำให้มีก�ำลังปกป้องผืนป่า ได้ เ ป็ น อย่ า งดี โดยมี ก ฎกติ ก าในการใช้ ป ่ า เป็ น แหล่ ง อาหาร

ความเป็นมา

เดิ ม พื้ น ที่ ต� ำ บลวั ง ทองอุ ด มสมบู ร ณ์ ไ ปด้ ว ยผื น ป่ า ที่ รายล้ อ มชุ ม ชน หลากหลายด้ ว ยพรรณพื ช และสั ต ว์ ซึ่ ง เป็ น แหล่งอาหารส�ำคัญของชุมชนที่อยู่รอบผืนป่าแห่งนี้และชุมชน เมืองที่ตั้งอยู่ไม่ไกลนัก แต่ชีวิตสงบสุขนี้อยู่ได้ไม่นานก็เริ่มมี เหตุการณ์เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับคนวังทอง โดย มีพัฒนาการดังนี้ 52

IS AM ARE www.fosef.org


พัฒนาการต�ำบล

ขยายงานตามความต้องการของชาวบ้านได้ และชาวบ้านก็รอ แต่การสนับสนุนเพียงอย่างเดียวเช่นกัน ท�ำให้ไม่ประสบผล พ.ศ.2517-2521 ส�ำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้นปัญหาการบุกรุกป่าก็ยังคงมีอยู่ต่อไป ยุ คผันผวน เพราะมีการลักลอบเก็บของป่าไปขายต่างถิ่น เพื่อน�ำเงินมาใช้ เป็นช่วงที่มีปัญหารุนแรงทางการเมือง ทางราชการจัด จ่ายในครอบครัว จากภาวะหนี้สินของเกษตรกรทั่วประเทศ ให้เป็นพื้นที่สีแดง หรือ “พื้นที่คอมมิวนิสต์” ชาวบ้านต้องอยู่ นี้เอง ท�ำให้ในปี พ.ศ.2558 ส�ำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนา เวรยาม เพื่อป้องกันบ้านเรือน และดูแลความปลอดภัย มีการ เกษตรกร เข้ามาจัดตั้งกลุ่มน�ำร่องฟื้นฟูเกษตรหลังพักช�ำระหนี้ อพยพชาวบ้านลงจากป่า และตั้งค่ายทหารบนภูเขาเพื่อเฝ้า ในพื้นที่ต�ำบลวังทอง เพื่อเข้าร่วมโครงการปลูกผักปลอดสาร ระวัง เพราะเป็นพื้นที่เขตยุทธศาสตร์ส�ำคัญของภาครัฐ ในช่วง พิษ โดยชาวบ้านมีงบประมาณที่เป็นเงินทุนหมุนเวียนอยู่ในกลุ่ม เวลาคาบเกี่ยวกันนี้ มีการขยายตัวของพืชเศรษฐกิจตามนโยบาย ประมาณ 150,000 บาท จนกระทั่งในปี พ.ศ.2552 องค์การ สนับสนุนของรัฐบาล เกิดการขยายพื้นที่ท�ำการเกษตร มีการ บริหารส่วนต�ำบลวังทอง ได้สร้างโอกาสให้กับชาวบ้านอีกครั้ง บุกรุกป่าอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้เป็นแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจ คือ หนึ่งโดยการส่งพื้นที่ต�ำบลเข้าร่วม โครงการรักษ์ป่า สร้างคน ไร่ปอ ไร่ข้าวโพด ไร่มันส�ำปะหลัง 84 ต�ำบล วิถีพอเพียง

ทุนต�ำบล

พ.ศ.2522-2535

ยุ คปลูกพืชเศรษฐกิจ

ด้ ว ยสภาพปั ญ หาของพื้ น ที่ ต� ำ บลวั ง ทอง จึ ง มี ห น่ ว ย งานภาคีเข้ามาช่วยเหลือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด ไม่ ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนต�ำบลวังทอง ที่ให้การสนับสนุน และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง กองทุน

ยุ ค ที่มีก ารถางป่ามากที่สุด จนผืน ป่ากลายเป็ น ภู เขา หั ว โล้ น เปิ ด พื้ น ที่ ท� ำ ไร่ อ ้ อ ยและสวนยางพาราที่ ส ร้ า งความ เสียหายต่อแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง แม้แต่แปลง นาที่ เ คยเพาะปลูก ข้าวก็เปลี่ยนเป็น ไร่อ้อยและสวนยางกว่ า 50 เปอร์เซ็นต์ส่งผลกระทบต่อวิถีชุมชนของชาวบ้าน ที่เคยท�ำ เกษตรกรรมตามฤดูกาลก็หันมารับจ้างเป็นแรงงานทั่วไปแทน เพราะขายที่ให้กับนายทุนเพื่อท�ำสวนยางพาราไปแล้ว พ.ศ.2536-2544

ยุ คยิ่งท�ำยิ่งจน

ในปี 2536 มี ก ารสถาปนาอ� ำ เภอหนองบั ว ล� ำ ภู เ ป็ น จังหวัด ในช่วงเวลานั้นชาวบ้านประสบปัญหาท�ำมาหากินหลาย ด้าน จากการที่มีผู้คนเข้ามาอยู่ในพื้นที่เป็นจ�ำนวนมาก แต่พื้นที่ ท�ำกินเท่าเดิม ท�ำให้ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ ต้อง อาศัยการเพิ่มผลผลิตโดยใช้ปุ๋ยเคมี ท�ำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ด้วย ต้องกู้หนี้ยืมสินจากแหล่งเงินทุน กลายเป็นปัญหาระยะยาว จนต้องพึ่งพารัฐบาลให้ช่วยพักช�ำระหนี้ พ.ศ.2545-2522

ยุ คพัฒนาโดยภาคีภายนอก

หน่ ว ยงานภาครัฐ เข้ามาแก้ไขปัญ หาท� ำ มาหากิ น ของ ชาวบ้าน ด้วยการส่งเสริมให้ท�ำการเกษตรแบบผสมผสาน เช่น พันธุ์พืช ผักสวนครัว ไม้ผล ไม้ยืนต้น พันธุ์สัตว์ไก่ เป็ดเทศ ปลา กบ ขุดบ่อ แต่ด้วยงบประมาณที่จ�ำกัด ท�ำให้ไม่สามารถ 53 issue 117 OCTOBER 2017


54 IS AM ARE www.fosef.org


ละ 10 ครัวเรือน รวมเป็น 100 ครัวเรือน และเจ้าหน้าที่ประจ�ำ ต�ำบล ซึ่งจะเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงานต่อไป

เพื่อการลงทุนทางสังคม (Social Investment Fund : SIF ) ที่สนับสนุนงบประมาณเป็นทุนตั้งต้นในการพัฒนาทักษะ เช่น กองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุ จนก่อให้เกิดพัฒนาการเรียนรู้ของ คนในชุ ม ชน มี รู ป ธรรมความส� ำ เร็ จ ที่ จั บ ต้ อ งได้ นอกจากมี ต้นทุนที่ดีในแง่ของการมีประสบการณ์ร่วมงานพัฒนาชุมชนกับ ภาคีภายนอกแล้ว ชุมชนยังมีต้นทุนด้านแกนน�ำหรือผู้น�ำทาง ธรรมชาติที่เข้มแข็งมีปราชญ์ชาวบ้าน พระสงฆ์ซึ่งเป็นที่เคารพ นับถือของคนในชุมชน ท�ำให้การพัฒนาด�ำเนินไปด้วยดีตาม ล�ำดับจนถึงปัจจุบัน

กลไกการขับเคลื่อน

ระยะแรกเป็ น คณะกรรมการโครงการฯ ที่ ไ ม่ เ ป็ น ทางการ เพื่ อ รองรั บและพิ จ าณาด� ำ เนิ น งานในเบื้องต้นส่วน ใหญ่เป็นหน่วยงานภาคีภายใน เช่น เจ้าหน้าที่ อบต. ครู หมอ พระ เจ้าหน้าที่ส�ำนักงานเกษตรอ�ำเภอ จนสามารถพิจารณาคัด เลือกคณะกรรมการที่มีโครงสร้างที่ชัดเจน จึงปรับเปลี่ยนไปเป็น ที่ปรึกษาของโครงการแทน ส�ำหรับโครงสร้างคณะกรรมการ โครงการฯ ที่ชัดเจนมีดังนี้ คณะกรรมการโครงการฯ มีบทบาทหน้าที่เป็นแกนหลัก ต�ำบลวังทอง เข้าร่วมโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ต�ำบล วิถีพอเพียง ในระยะที่ 3 (ปี พ.ศ.2552) โดยได้รับการ ในการด� ำ เนิ น งานโครงการฯ ทั้ ง บริ ห ารจั ด การและวางแผน ผลักดันจากชัยพิทักษ์ ภามี องค์การบริหารส่วนต�ำบลวังทอง ปฏิบัติการให้เป็นตามแผนต�ำบลวิถีพอเพียงที่ได้รับการอนุมัติ ซึ่งทางโครงการฯ ได้เข้ามาประเมินพื้นที่พบว่า เป็นพื้นที่ที่มี สนับสนุนงบประมาณจากบริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) โดย กลุ่มองค์กรชาวบ้านร่วมพัฒนาชุมชนกันมาก่อน โดยมีหน่วย คณะกรรมการโครงการฯ มีจ�ำนวน 22 คน แต่มีคณะกรรมการที่ งานภาครัฐ เช่น คณะครู ผู้อ�ำนวยการโรงเรียน อบต. เจ้าหน้าที่ ร่วมกันขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่องจริงจังประมาณ 10 คน เป็น สาธารณสุขเป็นแกนหลักส�ำคัญในการด�ำเนินงาน ซึ่งเป็นพื้นฐาน คณะกรรมการที่ได้รับการคัดเลือกจากครัวเรือนพอเพียงอาสา ที่ดีในการขับเคลื่อนโครงการฯ จึงอนุมัติให้ต�ำบลวังทองเข้าร่วม ที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านละ 2 คน มาร่วมเป็นคณะกรรมการ โครงการฯ ซึ่งเป็นผลดีต่อครัวเรือนพอเพียงอาสาและกลไก โครงการฯ ในปี พ.ศ.2552 หลังจากได้รับการตอบรับแล้ว จึงได้จัดประชุมชี้แจง การท� ำ งานในต� ำ บลในแง่ ข องการเคลื่ อ นไหวประชาสั ม พั น ธ์ ถึ ง หลั ก การด� ำ เนิ น งานของโครงการฯ พร้ อ มทั้ ง จั ด ตั้ ง คณะ งานโครงการฯ ติดตามความเคลื่อนไหวของครัวเรือนพอเพียง กรรมการโครงการฯ คัดเลือกครัวเรือนพอเพียงอาสาหมู่บ้าน อาสา ในระหว่างเวทีระดับต�ำบลและหมู่บ้าน ซึ่งจะช่วยลดช่อง

ก้าวเดิน ด้วยความพอเพียง

55 issue 117 OCTOBER 2017


เอื้ออ�ำนวยและรักษาระเบียบปฏิบัติ เน้นให้ชาวบ้าน เป็นแกนหลัก มีส่วนร่วมตั้งแต่คิด ท�ำ และติดตามสรุปบทเรียน โดยเอื้ออ�ำนวยให้กิจกรรมด�ำเนินไปตามหลักการดังกล่าว ขณะ เดียวกันก็ต้องท�ำหน้าที่รักษาระเบียบปฏิบัติและแนวนโยบาย ของโครงการพร้อมกันไปด้วย โดยเฉพาะการบริหารจัดการงบ ที ม งานภาคสนาม ปตท. ที่ เ ข้ า มาสนั บ สนุ น การ ประมาณต้องยึดหลักธรรมมาภิบาล ท�ำงานให้ได้ทั้งงานได้ทั้งเพื่อน นึกถึงอยู่เสมอว่าระดับ ขั บ เคลื่ อ นงานอย่ า งต่ อ เนื่ อ งมี ทั้ ง ที่ ป รึ ก ษาภาค เจ้ า หน้ า ที่ ประจ�ำภาค และเจ้าหน้าที่ประจ�ำต�ำบล ที่มีบทบาทส�ำคัญใน ความรู้ ความเข้าใจของแกนน�ำแต่ละคนไม่เท่ากัน การขับเคลื่อน งานจึงต้องค�ำนึงถึงกลุ่มคนท�ำงานทั้ง 2 ส่วน คือท�ำงานแล้วต้อง การขับเคลื่อนงานอย่างสูง เจ้าหน้าที่ประจ�ำต�ำบล เป็นลูกหลานคนในต�ำบล มี ได้งาน และต้องได้คนเพิ่มด้วย เพื่อจะได้มีตัวช่วยท�ำงานในพื้นที่ ความรั บ ผิ ด ชอบสู ง ร่ า เริ ง คล่ อ งตั ว มี ม นุ ษ ย์ สั ม พั น ธ์ ดี เ ป็ น อย่างต่อเนื่อง สามารถถ่ายงานให้แกนน�ำรุ่นต่อๆ ไปได้ ที่ ป รึ ก ษาภาค มี บ ทบาทหลั ก ในการหนุ น เสริ ม งาน ที่ รั ก ใคร่ เ อ็ น ดู ข องแกนน� ำ ต� ำ บลและชาวบ้ า น ท� ำ ให้ ก ารขั บ เคลื่อนงาน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยมีหน้าที่ประสาน ต� ำ บลในเชิ ง ทิ ศ ทางนโยบาย โดยใช้ เวที ประชุ มประจ� ำ เดือน งานกับโครงการฯ แปรแนวทางนโยบายไปสู่การปฏิบัติระดับ ทีมงานภาคสนาม ปตท.ภาคอีสาน เป็นที่ถ่ายทอดแนวความ พื้นที่โดยต้องคิดวิเคราะห์และวางแผนการด�ำเนินงาน กระตุ้น คิด นโยบายด�ำเนินงานแต่ระยะ รวมทั้งการออกแบบให้เกิด ให้คณะกรรมการโครงการฯ มีส่วนร่วมในการคิด ด�ำเนินการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การท�ำงานโครงการฯ ระหว่าง และสรุปผลการท�ำงานแต่ละเดือนรวมทั้งก�ำหนดมาตรการและ ต�ำบล กลยุทธ์การท�ำงานในเดือนถัดไปด้วย จึงเป็นเงื่อนไขส�ำคัญที่มี ผลต่อความส�ำเร็จ หรือล้มเหลวของโครงการฯ เป็นอย่างมาก จากความสนใจของครั ว เรื อ นพอเพี ย งอาสาและ และที่ผ่านมาได้ก�ำหนดกลยุทธ์การขับเคลื่อนงานต�ำบลไว้ดังนี้ ชาวบ้ า นทั่ ว ไป ท� ำ ให้ มี แ ผนที่ จ ะขยายให้ กั บ ครั ว เรื อ น เรี ย นรู ้ จ ากชุ ม ชน ต้ อ งปรั บ ตั ว เข้ า กั บ ชาวบ้ า น ต้ อ ง พอเพี ย งอาสาที่ ส นใจโดยชาวบ้ า นลงทุ น เอง มี แ กน เรียนรู้หลักการ และแนวทางการท�ำงานโครงการฯ โดยเฉพาะ น� ำ และผู ้ รู ้ ที่ ผ ่ า นการฝึ ก อบรมมาเป็ น ผู ้ ฝ ึ ก อบรมให้ การท�ำงานพัฒนาชุมชน จนเกิดความผูกพันกับงานที่ท�ำและ แกนน�ำที่ร่วมงาน เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง ใช้หลักการ “น�้ำไม่เต็ม แก้ว” คือ ไม่รู้ก็ถาม เปิดใจเรียนรู้ น�ำความรู้มาลงมือปฏิบัติ สรุปเป็นบทเรียน ปรับแก้ไข พร้อมกับลงมือท�ำใหม่ ท�ำให้ดีขึ้น ท�ำบัญชี ครัวเรือน... รู ้ตัวรู ้ตนได้ด้วยตัวเอง โครงการฯ ส่งเสริมให้ท�ำบัญชีครัวเรือนเพื่อเป็นเครื่อง ในครั้งต่อๆไป เจ้าหน้าที่ประจ�ำภาค มีความรู้ทักษะการท�ำงานพัฒนา มื อ ที่ จ ะน� ำ ไปสู ่ ก ารปรั บวิ ธี คิ ด และเปลี่ ย นพฤติ ก รรมของครัว ชุมชนมานานจึงสามารถด�ำเนินงานได้อย่างราบรื่น มีบทบาท เรือนพอเพียงอาสา ที่ด�ำเนินชีวิตไปตามกระแส จับจ่ายใช้สอย ในการก�ำกับ ติดตามให้กรอบแนวคิด และแนวทางการด�ำเนิน ตามใจอย่ า งไม่ มีเ หตุ ผ ล จนท� ำ ให้ มีห นี้ สิ น เรื้ อ รั ง การบั นทึก งานเป็นไปด้วยความราบรื่น และยังมีบทบาทส�ำคัญในการวาง รายรับรายจ่ายประจ�ำวันอย่างง่ายๆ แล้วน�ำตัวเลขที่บันทึกไว้มา กลยุ ท ธ์ ก ารขั บ เคลื่อนงานระดับ ต�ำบล ที่ผ่านมาได้มีก ารคิ ด วิเคราะห์ตอนสิ้นเดือน จะท�ำให้ครัวเรือนพอเพียงอาสาสามารถ ปิดรูรั่วในสิ่งที่ไม่จ�ำเป็นลงได้ วิเคราะห์และวางกลยุทธ์การท�ำงานในต�ำบลดังนี้ เริ่ ม จากจั ด ท� ำ แบบฟอร์ ม การบั น ทึ ก รายรั บ รายจ่ า ย ศึกษาเรียนรู้ชุมชน สร้างความคุ้นเคยกับแกนน�ำและ ชาวบ้าน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ประจ�ำต�ำบล อาศัยการทบทวนและ ประจ�ำวัน และน�ำไปแจกจ่ายให้ครัวเรือนพอเพียงอาสา โดย การเข้าร่วมกิจกรรมในต�ำบลอย่างใกล้ชิด และค้นหาว่าต�ำบลมี มี เ จ้ า หน้ า ที่ ป ระจ� ำ ต� ำ บล ประชุ ม ชี้ แ จงท� ำ ความเข้ า ใจถึ ง ความเป็นมา มีต้นทุนการพัฒนาอย่างไร แกนน�ำมีแนวความคิด เหตุผลความจ�ำเป็นและมอบให้ครัวเรือนพอเพียงอาสาน�ำไป แนวทางการท�ำงานกันมาอย่างไร ก่อนที่จะก�ำหนดกลยุทธ์การ บันทึก หลังจากที่มอบสมุดบันทึกรายการรับจ่ายประจ�ำวันให้ ท�ำงานอื่นๆ ต่อไป ว่างระหว่างกรรมการกับครัวเรือนพอเพียงอาสา เท่ากับเป็นการ ให้ความส�ำคัญกับแกนน�ำของหมู่บ้าน ที่ได้รับการคัดเลือกมา เป็นตัวแทนอีกด้วย

ทีมงานภาคสนาม ปตท.

รูปธรรมความส�ำเร็จในพื้นที่

56 IS AM ARE www.fosef.org


ครัวเรือนพอเพียงอาสาไปแล้ว เจ้าหน้าที่ประจ�ำภาค และเจ้า หน้าที่ประจ�ำต�ำบลได้ออกไปเยี่ยมเยียน ให้ก�ำลังใจ กระตุ้นให้ แต่ละครอบครัวท�ำการบันทึกอย่างต่อเนื่อง และน�ำตัวเลขที่ บันทึกได้มาพิจารณา วางแผนชีวิตครอบครัวว่าจะต้องท�ำอะไร บ้างเพื่อประหยัดรายจ่ายและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นการ ปรับให้รายรับรายจ่ายสมดุลกัน เพื่อให้ภาระหนี้สินค่อยๆ ลดลง

ใช้สอยอย่างเด็ดขาด โซน B ใช้สอยได้บ้างในบางฤดูกาล โซน C เป็นแหล่งอาหารสามารถใช้ได้เต็มที่ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎ ระเบียบของหมู่บ้าน โดยโครงการฯ เข้าไปหนุนเสริมเรื่องแนว ความคิด ส่งเสริมให้จัดกิจกรรมการจัดการป่าอย่างต่อเนื่อง และ จัดหาอุปกรณ์ดับไฟป่า ผลจากการด� ำ เนิ น กิ จ กรรมของเครื อ ข่ า ยอนุ รั ก ษ์ ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มแข็งนี้เอง ท�ำให้ทรัพยากร ป่าไม้ยังคงความอุดมสมบูรณ์ และมีผู้คนภายนอกเข้ามาศึกษา ดูงานและท�ำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้ ชุมชนยังขยาย แนวคิดการจัดการทรัพยากรป่าไปยังพื้นที่ต�ำบลข้างเคียงอีก ด้วย

จัดการป่ าชุ มชน... เพื่อธรรมชาติท่ีย่ังยืน

ในอดีตพื้นที่ต�ำบลวังทองมีผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์มาก แต่ ถูกบุกรุกแผ้วถางเพื่อจับจองเป็นที่ท�ำกิน ประกอบรัฐบาลเปิด ให้มีสัมปทานท�ำไม้ และส่งเสริมให้ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ปอ ข้าวโพด มันส�ำปะหลัง ท�ำให้ผืนป่าลดลงอย่างรวดเร็ว คณะกรรมการหมู่บ้านที่อยู่รอบป่า 3 หมู่บ้าน ได้ร่วมกับ เจ้าอาวาสวัดป่าภูฝาง ออกกฎระเบียบการใช้ผืนป่าผืนสุดท้ายที่ มีอยู่กว่า 3,500 ไร่ เนื่องจากเห็นว่าทรัพยากรในป่าที่เป็นแหล่ง หาอยู่หากินของชาวบ้าน ถูกใช้สอยอย่างไม่รู้คุณค่า นอกจากนี้ ยังวางแผนเพื่อท�ำกิจกรรมร่วมกันในแต่ละปี เช่น ปลูกป่าเพิ่ม เติม ท�ำแนวกันไฟ ลาดตระเวนป่า รวมทั้งแบ่งโซนป่าเพื่อให้รู้ ว่าเขตไหนเป็นแหล่งอนุรักษ์ เขตไหนใช้สอยได้ โซน A ห้ามเข้า

เรี ย นรู ้ จ ากการปฏิ บั ติ ง านจริ ง ใช้ ห ลั ก การ “น�้ ำ ไม่ เต็ ม แก้ ว ” คื อ ไม่ รู ้ ก็ ถ าม เปิ ด ใจเรี ย นรู ้ น� ำ ความรู ้ มาลงมื อ ปฏิ บั ติ สรุ ป เป็ น บทเรี ย น ปรั บ แก้ ไ ข พร้ อ ม กั บ ลงมื อ ท� ำ ใหม่ ท� ำ ให้ ดี ขึ้ น ในครั้ ง ต่ อ ๆไป

57 issue 117 OCTOBER 2017


58 IS AM ARE www.fosef.org


พลังงานเพื่อชุ มชน... บ่อหมักแก๊สชี วภาพ

เข้มแข็งแต่มีเป้าหมายจะขยายผลอย่างต่อเนื่องและให้เกิดเป็น รูปธรรมที่ชัดเจนในปลายปี พ.ศ.2554 อีกรูปธรรมหนึ่งที่ก�ำลังก่อตัวเช่นกัน คือ ธนาคารขยะ ที่หมู่ที่ 3 เป้าหมายต้องการลดขยะในชุมชน โดยมีเครือข่าย อื่นเข้ามาหนุนเสริมในการก่อสร้างสถานที่รวบรวมขยะก่อนที่ จะมีผู้มารับซื้อต่อไป

ด้ ว ยทรั พ ยากรทางธรรมชาติ ที่ มี อ ยู ่ เ ป็ น จ� ำ นวนมาก ในต�ำบลวังทอง ท�ำให้ใช้สอยอย่างไม่ระมัดระวังจนเกิดการ ขาดแคลนไม้ เมื่อไม่มีไม้เผาถ่าน ถ่านจึงมีราคาแพง แต่การ ด�ำรงชีวิตยังต้องพึ่งพาพลังงานให้ความร้อน ท�ำให้ชาวบ้านใน ต�ำบลวังทองหันมามองพลังงานทดแทน แทนการใช้ฟืนและ ถ่านเพื่อใช้ในชีวิตประจ�ำวัน และเป้นจุดเริ่มต้นให้คณะกรรมการ โครงการฯ ไปศึกษาดูงานพลังงาน และฝึกอบรมการท�ำบ่อหมัก แก๊สชีวภาพโดยจุดแรกที่จัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้อยู่ที่โรงเรียน บ้านนาสุรินทร์ ทดลองท�ำจนเป็นผลส�ำเร็จน่าพอใจ เกิดแก๊สที่ เพียงพอต่อการน�ำมาประกอบอาหารให้เด็กนักเรียนในโรงเรียน สามารถลดค่าใช้จ่ายได้จริง จึงเป็นแรงจูงใจให้ชาวบ้านต้องการ เรียนรู้เพื่อไปท�ำใช้ในครัวเรือนของตนเอง จากความสนใจของครัวเรือนพอเพียงอาสาและชาว บ้านทั่วไป ท�ำให้มีแผนที่จะขยายให้กับครัวเรือนพอเพียงอาสาที่ สนใจโดยชาวบ้านลงทุนเอง มีแกนน�ำและผู้รู้ที่ผ่านการฝึกอบรม มาเป็นผู้ฝึกอบรมให้ รวมทั้งสร้างเพิ่มเติมให้กับโรงเรียนและวัด ที่อยู่ในพื้นที่ของ อบต. อีก 3 บ่อ โดยใช้งบประมาณส่วนหนึ่ง จากองค์การบริหารส่วนต�ำบล ปัจจุบันมีแหล่งเรียนรู้เรื่องบ่อ หมักแก๊สชีวภาพ กระจายอยู่ในต�ำบลจ�ำนวน 4 บ่อ มีชาวบ้าน ในต�ำบลทีส่ ามารถเป็นวิทยากรอบรมการท�ำบ่อหมักแก๊สชีวภาพ ได้ 6 คน นอกจากนี้ยังมีรูปธรรมที่ก�ำลังก่อตัวให้เกิดความเข้มแข็ง คือ เกิดกลุ่มงานศพปลอดเหล้าในหมู่ที่ 5 แม้จะยังเป็นกลุ่มที่ไม่

ลดรายจ่าย = เพิ่มรายได้

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจและพลังงาน ในภาพรวมของต�ำบลระหว่างปี 2552-2553 พอว่า รายจ่ายรวม ปี 2553 ลดลง 20.27 ล้านบาท คิดเป็น 42% ของรายจ่ายรวมปี 2552 รายจ่ายที่ลดลงมากที่สุด มาจากรายจ่ายในชีวิตประจ�ำวัน รายจ่ายพลังงานปี 2553 ลดลง 0.53 ล้านบาท คิดเป็น 15% ของรายจ่ายรวมปี 2552 รายจ่ายที่ลดมากที่สุดมาจาก พลังงานส�ำหรับยานพาหนะ และพลังงานชีวมวล

ปริ ม าณการปล่ อ ยคาร์ บ อนไดออกไซด์ ท่ี ล ดลง จากการท� ำ กิ จ กรรมตลอดระยะเวลาที่ เ ข้ า รวม โครงการฯ

ต� ำ บลวั ง ทองลดการปล่ อ ยคาร์ บ อนไดออกไซด์ ล งได้ 208,514 กิโลกรัม จากกิจกรรมการปลูกต้นไม้ การคัดแยกขยะ กิจกรรมการรณรงค์การประหยัดพลังงาน การท�ำปุ๋ยอินทรีย์ และพลังงานทดแทนที่ใช้แทนแก๊สหุงต้ม

59 issue 117 OCTOBER 2017


บทความพระราชทาน เรื่อง “รู้การทรงงานสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ” สมเด็จพระเทพรัตนาราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว และสมเด็ จ พระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมุ่งมั่นอย่างวิริยะและอุตสาหะที่ จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความสุข อยู่ดีกินดี ด้วยการเสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรเพื่อทรง ศึกษาและหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้แก่ราษฎรในทุกพื้นที่ของ ประเทศไทย โดยได้พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชด�ำริมากมาย เพื่อพัฒนาประชาชนและประเทศให้ก้าวหน้า หรือเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยทรงยึดหลักในการด�ำเนิน โครงการว่าต้องเป็นการพัฒนาที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิด

ประโยชน์สูงสุด และไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งประโยชน์ ให้เกิดแก่ส่วนรวมและประเทศชาติอย่างแท้จริง จึงจะเป็น “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ดังพระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธี เฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2529 ความตอน ที่หนึ่งว่า “...ทุกวันนี้ประเทศไทยยังมีทรัพยากรพร้อมมูล ทั้ง ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคล ซึ่งเราสามารถน�ำมา ใช้เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์และเสถียรภาพอันถาวรของ 60

IS AM ARE www.fosef.org


สั จ ธรรมแห่ ง แนวพระราชด� ำ ริ บ้านเมืองได้เป็นอย่างดี ข้อส�ำคัญเราจะต้องรู้จักใช้ทรัพยากร นั้นอย่างฉลาด คือไม่น�ำมาทุ่มเทใช้ให้สิ้นเปลืองไปโดยไร้ ประโยชน์ หรือได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า หากแต่ระมัดระวังใช้ ด้วยความประหยัดรอบคอบ ประกอบด้วยความคิดพิจารณา ตามหลักวิชา เหตุผล และความถูกต้องเหมาะสม โดยมุ่งถึง ประโยชน์แท้จริงที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ ทั้งในปัจจุบันและ อนาคตอันยืนยาว...” ในการปรั บ ปรุ ง และยกระดั บ คุ ณ ภาพชี วิ ต ความเป็ น อยู ่ ข องประชาชนดั ง กล่ า ว สมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯพระบรม ราชินีนาถ ทรงงานเคียงข้างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย พระองค์ ท รงท� ำ ตามแนวพระราชด� ำ ริ ข องพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวที่มีพระราชประสงค์จะช่วยให้ราษฎรสามารถ พึ่งตนเองได้จึงจะเป็นการช่วยเหลืออย่างยั่งยืน ดังพระราช ด� ำ รั ส ที่ พ ระราชทานในพิ ธี เ ปิ ด การประชุ ม และนิ ท รรศการ เรื่อง “มรดกสิ่งทอของเอเชีย : หัตถกรรมและอุตสาหกรรม” ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 ความ ตอนหนึ่งว่า

พระองค์ มี เ ครื่ อ งช่ ว ยจ� ำ เหมื อ นกั น คื อ การจดบั น ทึ ก พระองค์ ท รงเรี ย กว่ า “สมุ ด ทอดพระเนตร” โดยจะ ทรงบั น ทึ ก เรื่ อ งโน้ น เรื่ อ งนี้ ที่ ท รงนึ ก ขึ้ น ได้ ว ่ า ควรท� ำ ตามข้ อ สั ง เกตในสถานที่ เ สด็ จ พระราชด� ำ เนิ น เช่ น คนจน คนป่ ว ย คนมี ลู ก มากที่ ต ้ อ งจั ด ให้ มี อ าชี พ “…ข้าพเจ้าตั้งใจจะสรรหาอาชีพให้ชาวนาที่ยากจน เลี้ยงตัวเองได้เป็นเบื้องต้นทั้งนี้เนื่องจากข้าพเจ้าได้มีโอกาส ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปเยี่ยมราษฎรตาม ชนบทมาหลายสิบปี ได้พบว่าราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวนา ชาวไร่ ที่ ต ้ อ งท� ำ งานหนั ก และต้ อ งเผชิ ญ อุ ป สรรคจากภั ย ธรรมชาติมากมาย... ท�ำให้ชาวนาชาวไร่มักยากจน การน�ำ สิ่งของไปแจกราษฎรผู้ประสบภัยธรรมชาติ เป็นเพียงบรรเทา ความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชปรารภว่าเป็นการช่วยเหลือที่ไม่ยั่งยืน ควรจะหาวิธี อื่นที่ช่วยให้ราษฎรพึ่งตนเองได้...” ทรงมุ ่ ง พั ฒ นาชนบทห่ า งไกล ให้ อ ยู ่ ไ ด้ ด ้ ว ยตนเอง อย่ า งมี ค วามสุ ข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใยทุกข์สุขของราษฎรทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้ น ที่ ช นบทห่ า งไกลและทุ ร กั น ดาร จึ ง เสด็ จ 61

issue 117 OCTOBER 2017


มี สุ ข ภาพอนามั ย ดี จึ ง ทรงช่ ว ยรั ก ษาพยาบาลอุ ป การะผู ้ เจ็บป่วย นอกจากนั้น ทรงเห็นความส�ำคัญว่าต้องช่วยให้ ประชาชนได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษา มีความรู้อย่างน้อยให้ อ่านออกเขียนได้ สามารถอ่านเอกสารทางราชการ และเพื่อให้ รับความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ดังนั้น ตั้งแต่เกิดมาจ�ำความได้ จึงเห็นทั้งพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงคิดหาวิธีการต่างๆ ที่จะ ยกฐานะความเป็นอยู่ของคนไทยให้ดีขึ้น และได้ตามเสด็จฯ เห็นความทุกข์ยากล�ำบากของพี่น้องเพื่อนร่วมชาติก็คิดว่าช่วย อะไรได้ควรช่วย ไม่ควรนิ่งดูดาย เห็นจะเป็นเพราะความเคยชิน เมื่อโตขึ้นพอมีแรงท�ำอะไรได้ก็ท�ำอย่างอัตโนมัติ และเป็นเหตุที่ ท�ำให้ชอบการพัฒนาช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งเป็นหน้าที่ของ สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องท�ำประจ�ำอยู่แล้ว และอีกประการ หนึ่งรู้สึกเสมอว่าการเป็นเจ้าฟ้านั้นได้เปรียบผู้อื่นหลายอย่าง จึง ควรน�ำข้อได้เปรียบนั้นมาท�ำประโยชน์แก่ผู้อื่น

พระราชด�ำเนินในท้องถิ่นต่างๆ เพื่อพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญเท่า ที่จะท�ำได้ และข้อส�ำคัญคือ เมื่อเวลาเสด็จออกพัฒนา พระองค์ จะต้องไปทอดพระเนตรให้เห็นพื้นที่จริงๆ จะต้องทรงรู้เสียก่อน ว่าพื้นที่นั้นในด้านภูมิศาสตร์และภูมิสังคมเป็นอย่างไร โดยตรัส ว่าการเสด็จด้วยพระองค์เองนั้นเป็นสิ่งที่ส�ำคัญมาก จะได้มีความ รู้สึกต่อพื้นที่นั้น และพระราชทานความช่วยเหลือได้ตรงกับ ความต้องการของประชาชน รวมทั้งช่วยเหลือให้พระองค์ทรง ทราบสภาพพื้นที่ของประเทศไทยเป็นอย่างดี นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงสอน ผูต้ ามเสด็จฯ ให้รจู้ กั ดูแผนทีแ่ ละสังเกตภูมปิ ระเทศ ดูภเู ขา ทางน�ำ้ ต้นไม้ ซักถามผู้ที่อยู่ในพื้นที่ให้ทราบข้อมูลมากที่สุด การพัฒนา นั้นไม่ใช่ว่าพระองค์จะเข้าไปในหมู่บ้านและโปรดเกล้าฯ ว่าควร ท�ำอะไร ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถก็ทรงงาน ในลักษณะเดียวกัน คือจะซักถามข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ โดยจะเน้นในการพัฒนาตัวบุคคล อาทิ การดูแลรักษาสุขภาพ อนามัย และการส่งเสริมอาชีพช่างฝีมือ งานหลักของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือ พัฒนา ปัจจัยในการผลิตเพื่อการกินอยู่ของคนในท้องถิ่น ปัจจัยที่ ส�ำคัญที่สุด คือการหาน�้ำให้เพียงพอแก่การเพาะปลูก โดย ทรงเล็งเห็นว่าน�้ำเป็นส่วนส�ำคัญที่สุดของชีวิต และปัจจัยใน การผลิตพืชผลต่างๆ รวมทั้งทรงท�ำพร้อมกันในทุกด้าน เพื่อ ให้ประชาชนสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยพึ่งพาปัจจัย ภายนอกให้น้อยที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ พระองค์มีพระราชด�ำรัสอยู่เสมอว่าจะต้องให้ประชาชน

ประสบการณ์ ต ามเสด็ จ ฯ ไปทรงงานในถิ่ น ทุ ร กั น ดาร ประสบการณ์ในการตามเสด็จพระราชด�ำเนินมีมากมาย เล่าเท่าไหร่ไม่จบออกไปทุกครั้งก็ได้ความรู้ ความคิด และมี ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยเมื่อครั้งข้าพเจ้ายังเป็นเด็ก จ�ำได้ว่าจะ ทรงจัด “ทีมพัฒนา” ออกไปเยี่ยมราษฎร กิจกรรมที่ไปท�ำกัน นั้นข้าพเจ้าจ�ำไม่ได้ว่ามีอะไรบ้างแต่ที่แน่ๆ คือมีหน่วยแพทย์ เคลื่อนที่ มีการไปส�ำรวจความเป็นอยู่ของคน เมื่อออกไปพัฒนา 62

IS AM ARE www.fosef.org


แล้วต้องเขียนรายงานถวายด้วย บางทีก็รู้สึกสงสัยว่ามีคนโน้น คนนี้มาหาท่านด้วยปัญหาที่เจ้าตัวแก้ไม่ตก หรือมีปัญหามาก เคยทูลถามพระองค์ทรงคิดได้อย่างไรว่า ควรจะท�ำอย่างไรดีกับ คนไหน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รับสั่งว่า ถ้า เรามีความรักและความห่วงใยก็ย่อมท�ำได้ ความจริงพระองค์มีเครื่องช่วยจ�ำเหมือนกันคือการจด บันทึก พระองค์ทรงเรียกว่า “สมุดทอดพระเนตร” โดยจะทรง บันทึกเรื่องโน้นเรื่องนี้ที่ทรงนึกขึ้นได้ว่าควรท�ำตามข้อสังเกตใน สถานที่เสด็จพระราชด�ำเนิน เช่น คนจน คนป่วย คนมีลูกมากที่

ต้องจัดให้มีอาชีพ ให้ลูกมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนคนมีเรื่องกราบ บังคมทูลขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ เรียกได้ว่าไม่ลืม เรื่องของใครเลย ภายหลังมีข้าราชบริพารรับผิดชอบจดไปแต่ละ แผนก พระองค์ก็ยังทรงจดของพระองค์เองอยู่ สุดท้ายทรงให้ บันทึกข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ด้วย

วิ ธี ก ารทรงงาน และการท� ำ งานของขบวนตาม เสด็ จ ฯ คติ ที่ พ ระราชทานให้ เ ป็ น หลั ก ของการท� ำ งานที่ มี อ ยู ่ มาก เช่นว่าเราไปไหนก็มีพาหนะมีคนมาอ�ำนวยความสะดวก ทรงยึ ด หลั ก ในการด� ำ เนิ น โครงการว่ า ต้ อ งเป็ น การ มากมาย ฉะนั้นต้องพยายามท�ำให้การไปของเรามีประโยชน์ พั ฒ นาที่ ใ ช้ ท รั พ ยากรธรรมชาติ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ คุ้มค่าที่สุด เราอย่าคิดหวังยึดใครเป็นที่พึ่ง แต่ต้องท�ำตัวให้เป็น สู ง สุ ด และไม่ ท� ำ ลายสิ่ ง แวดล้ อ ม โดยมุ ่ ง ประโยชน์ ที่พึ่งของคนได้ คนที่มาขอความช่วยเหลือเรานั้นเป็นคนยากจน ให้ เ กิ ด แก่ ส ่ ว นรวมและประเทศชาติ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง จึ ง ที่มีความเป็นอยู่ที่ล�ำบาก หาเช้ากินค�่ำ จะต้องรีบช่วยเหลือเขา จะเป็ น “การพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น ” ทันที จะไปรอเอาไว้ก่อนไม่ได้และประการส�ำคัญคือ “การให้ โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง”

63 issue 117 OCTOBER 2017


เวลาออกไปทรงเยี่ยมราษฎรมีคนมาเฝ้ามากมาย ฉะนั้น จึงต้องมีข้าราชบริพารที่ตามเสด็จฯ ไปมากข้าราชการบริพาร แต่ละคน เวลาตามเสด็จฯ จะต้องมีอุปกรณ์ติดตัวไปให้ครบรวม ทั้งของส่วนตัว เช่น ไฟฉาย สมุดจด และแผ่นกระดาษส�ำหรับ เขียนข้อความติดสิ่งของและรายชื่อบุคคลที่เข้าเฝ้าฯ เครื่องเขียน ส�ำหรับจด มีทั้งปากกาเล็กส�ำหรับจดธรรมดา ปากกาโตส�ำหรับ เขียนข้อความในแผ่นกระดาษ ถุงพลาสติกส�ำหรับใส่สมุดที่จะ เขียนกลางสายฝน สมุดที่ใช้จดส่งตัวคนไข้เข้าโรงพยาบาล เสื้อ ฝนส�ำหรับแจกราษฎรก็ต้องถือไปด้วย โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง เวลาเสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ด้ ว ย เฮลิคอปเตอร์ไปกันได้น้อยคน คนที่ไปก็ต้องเป็นประโยชน์ที่สุด ต้องถือของแจกราษฎร เช่น เสื้อยืดเด็ก ผ้าขนหนู ขนมผงเกษตร (ขนมท�ำด้วยถั่วเหลือง) เกลือไอโอดีน ฯลฯ ในรถที่นั่งกันไปยัง ให้มีค้อน เผื่อเกิดมีปัญหาขัดข้องประตูรถเปิดไม่ได้ยังพอใช้ค้อน ทุบออกมาได้ เวลานั่งรถคันหนึ่งๆ ก็ให้นั่งไปมากๆ เพื่อประหยัด ที่ เป็นต้น ซึ่งแต่ก่อนข้าพเจ้าก็มีโอกาสได้รับการฝึกฝนเช่นนี้ ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่วางเป็นระเบียบเหมือนกัน ขณะทรงเยี่ยมราษฎร เมื่อมีผู้ขอพระราชทานพระมหา กรุณาฯ หรือโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระมหากรุณาฯ ไม่ว่า จะเป็นเรื่องอะไร ต้องไปสัมภาษณ์เพื่อจดข้อมูลไว้ โดยมีวิธีการ ซักถามประวัติของผู้ที่จะสงเคราะห์ ถามถึงครอบครัว ลูกเต้า วิธี

ตั้ ง แต่ เ กิ ด มาจ� ำ ความได้ จึ ง เห็ น ทั้ ง พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว สมเด็ จ พระเจ้ า ฯ พระบรมราชิ นี น าถ และสมเด็ จ พระศรี น คริ น ทราบรมราชชนนี ทรงคิ ด หาวิ ธี ก ารต่ า งๆ ที่ จ ะยกฐานะความเป็ น อยู ่ ข องคน ไทยให้ ดี ขึ้ น การท�ำมาหากิน รายได้และความสามารถของแต่ละคนใช้เวลา ให้น้อยที่สุด พูดให้ดี สุภาพ ไม่ให้คนถูกถามตกใจจนพูดไม่ออก พระองค์ได้พระราชทานค�ำแนะน�ำไว้ว่า ถ้ามีเวลาน้อยที่สุดต้องรู้ ที่อยู่เขาเสียก่อน จะได้ให้เจ้าหน้าที่ทหาร ต�ำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ บ้านเมืองอื่นๆ ช่วยติดต่อไปภายหลังได้ เพื่อคิดพระราชทาน ความช่วยเหลือ และการช่วยเหลือก็ต้องท�ำระยะยาวให้ความรู้ ในการประกอบอาชีพจนเขาตั้งตัวได้ ไม่ใช่ว่าให้เขามีความหวัง แล้วทิ้ง ต้องดูแลให้เขาได้รับความช่วยเหลือจริงๆ และสามารถ พึ่งตนเองได้ในที่สุด ข้ อ คิ ด และเป้ า หมายในการพั ฒ นาประเทศ จากการตามเสด็จฯ ทรงงานพัฒนาของทั้ง 2 พระองค์ ช่ ว ยให้ ข ้ า พเจ้ า ได้ เรี ย นรู ้ ก ระบวนการพั ฒ นาที่ น� ำ ไปสู ่ ค วาม ก้าวหน้าหรือความเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น และน�ำมาซึ่งข้อคิดบาง ประการคือ การพัฒนาที่ไม่สมดุลและไม่ยั่งยืน อาจจะก่อปัญหา มากกว่าการแก้ปัญหา เช่น การเพาะปลูกใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ที่เป็นพิษจ�ำนวนมากเกินพอดี เป็นอันตรายต่อสุภาพของทั้งคน และสัตว์ในพื้นที่บริเวณนั้น อาจจะท�ำให้ดินเสีย เพาะปลูกไม่ได้ มากเท่าเดิม การพัฒนาจึงต้องรักษาสมดุลกับการอนุรักษ์ เช่น ในการสร้างเขื่อนกักเก็บน�้ำ ต้องดูว่าจะเสียทรัพยากรอื่นๆ ที่ ควรรักษาไว้หรือไม่ อย่างไร เป็นต้น 64

IS AM ARE www.fosef.org


Development) อาทิ การกระจายโอกาสและความเสมอภาค ทางการศึ ก ษา การพั ฒ นาหลั ก สู ต ร การอบรมครู บุค ลากร ทางการศึกษา การพัฒนาการเมือง (Politic Development) ให้เป็นไปทางประชาธิปไตย หรือให้เกิดความสงบ ความมั่นคง ต้องสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนในชาติ การพัฒนา องค์กรประชาชน พัฒนาการบริหาร การแก้ปัญหาคอร์รัปชัน และวิธีการอื่นๆ เป็นต้น การที่ ข ้ า พเจ้ า ได้ มี โ อกาสตามเสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ช่วย ให้ข้าพเจ้าเห็นความส�ำคัญของการพัฒนาว่า การพัฒนาบ้าน เมืองหรือการพัฒนางานทุกอย่างให้เจริญยิ่งขึ้นไปนั้นไม่ควรมี ลักษณะเป็นการก้าวหน้าจนลืมหลัง หากจ�ำเป็นต้องเริ่มต้นจาก พื้นฐานเดิมที่มีอยู่ก่อน แล้วค่อยๆสร้างเสริมให้ก้าวหน้ามั่นคง ขึ้นเป็นล�ำดับ ส�ำหรับเป็นรากฐานที่สามารถจะรองรับความ เจริญและความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะเกิด ตามมาจากผลของการพัฒนา มิใช่มุ่งแต่จะพัฒนาให้รุดหน้าด้วย การทุ่มเทก�ำลังทรัพย์ ก�ำลังคน ตลอดจนอุปกรณ์ทุกอย่าง เพื่อ ให้ได้ผลเร็วที่สุดและมากที่สุดซึ่งจะท�ำให้รากฐานทานไม่อยู่ การ พัฒนาที่อุตส่าห์ลงทุนลงแรงไปมากมายก็จะล้มเหลวลงอย่างน่า เสียดาย ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ ตามมา ดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน “คน” เป็ น ปั จ จั ย ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ในการพั ฒ นา ข้ า พเจ้ า จึ ง ได้ น ้ อ มน� ำ แนวพระราชด� ำ ริ ใ นการทรงงานพั ฒ นา ประเทศของพระองค์ ม าประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นวิ ธี ด� ำ เนิ น งาน โครงการพั ฒ นาด้ า นต่ า งๆ ที่ ข ้ า พเจ้ า ริ เ ริ่ ม ขึ้ น

นอกจากนี้ การพัฒนาเป็นเรื่องกว้างและมีหลายด้าน ต้องท�ำกันอย่างต่อเนื่อง และมักต้องใช้เวลานาน เช่น การพัฒนา เศรษฐกิจ (Economic Development) จะต้องวางแผนพัฒนา เศรษฐกิจที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์ การลดปัญหา ความยากจน ความเหลื่อมล�้ำในการกระจายรายได้ การพัฒนา บนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น การพัฒนาการ เกษตร (Agricultural Development) อาทิ การเพิ่มเนื้อที่การ ผลิต การเพิ่มผลิตภาพการผลิต หรือ Productivity เช่น ในพื้นที่ เท่าเดิม สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น การเพิ่มผลผลิตสื่อความ ว่ามีผลผลิตเพิ่มขึ้น อาจเพราะการขยายพื้นที่เพาะปลูกหรือการ เพิ่มทรัพยากรต่างๆ ในการผลิต และการพัฒนาเทคโนโลยีการ เพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น การพัฒนาสังคม (Social Development) มีหลายอย่าง เช่น สร้างความเท่าเทียมระหว่างชนเผ่าต่างๆ กลุ่มคนในสังคม ความเท่าเทียมระหว่างชายและหญิง การให้สิทธิเสรีภาพแก่ บุคคลที่มีความจ�ำเป็นในชีวิตต่างๆ กัน เช่น ผู้พิการ พัฒนาจิตใจ คนให้มีคุณธรรม เป็นต้น การพัฒนาการศึกษา (Educational 65

issue 117 OCTOBER 2017


ดังนั้น การพัฒนาบ้านเมืองให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน จึง ประสบการณ์ตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ต้องค�ำนึงถึงรากฐานเดิมอยู่ตลอดเวลา ถ้าเห็นว่าความเจริญ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ดังนี้ ก้าวหน้าเกินกว่าฐานรองรับ ก็ต้องกลับมาเสริมฐานให้กว้าง 1. การพึ่งพาตนเอง โดยเน้นให้ทุกคนได้ช่วยเหลือตนเอง ขวางมั่นคง จนมีก�ำลังเพียงพอก่อนจึงค่อยพัฒนาต่อไป ก่อนเป็นอันดับแรก เช่น การให้เมล็ดพันธุ์พืชผัก พันธุ์สัตว์ เพื่อ ผลิตอาหารไว้บริโภคเอง แทนที่จะให้อาหารโดยตรงสามารถ ทรงยึ ด แนวพระราชด� ำ ริ เ ป็ น แนวทางในการด� ำ เนิ น ช่วยเหลือตัวเองได้ต่อไป เป็นต้น งานพั ม นา 2. การมีส่วนร่วม เน้นให้ผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์จาก จากแนวพระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การท�ำโครงการได้มีส่วนในการช่วยคิด ช่วยท�ำ อาทิ การที่ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงให้ความ ผู้ปกครองและเด็กต้องร่วมกันวางแผนและท�ำการผลิตทางการ ส�ำคัญและตรัสเสมอว่า “คน” เป็นปัจจัยส�ำคัญที่สุดในการ เกษตร จัดเวรในการประกอบอาหารกลางวัน ซึ่งมีผลท�ำให้ผู้ที่ พัฒนา ข้าพเจ้าจึงได้น้อมน�ำแนวพระราชด�ำริในการทรงงาน เกี่ยวข้องมีความรู้สึกเป็นเจ้าของได้เรียนรู้และเข้าใจในกิจกรรม พั ฒ นาประเทศของพระองค์ ม าประยุ ก ต์ ใช้ ใ นวิ ธี ด� ำ เนิ น งาน ที่ท�ำอยู่ โครงการพั ฒ นาด้ า นต่ า งๆ ที่ ข ้ า พเจ้ า ริ เริ่ ม ขึ้ น ด้ ว ยพอจะมี 3. การพัฒนาแบบองค์รวมโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ ความรู้และความสนใจในเรื่องสุขภาพอนามัยและการศึกษา โดยเน้นการพัฒนาในทุกๆ ด้านไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้กลุ่ม ข้ า พเจ้ า จึ ง มุ ่ ง เน้ น งานพั ฒ นาเด็ ก และเยาวชนโดยเฉพาะใน เป้าหมายจะต้องได้รับความรู้จากกิจกรรมที่ท�ำ และสามารถ ท้ อ งถิ่ น ทุ ร กั น ดาร เพื่ อ จะได้ เ ติ บ ใหญ่ เ ป็ น ก� ำ ลั ง ส� ำ คั ญ ของ น� ำ ความรู ้ ที่ ไ ด้ ไ ปประยุ ก ต์ ใช้ ใ นการด� ำ รงชี วิ ต ต่ อ ไปได้ อาทิ ประเทศชาติต่อไป โครงการเกษตรเพื่ อ อาหารกลางวั น มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ แก้ ข้ า พเจ้ า ได้ ยึ ด หลั ก งานด� ำ เนิ น งาน ซึ่ ง ได้ เรี ย นรู ้ จ าก ปัญหาการขาดแคลนอาหาร มีการด�ำเนินกิจกรรมให้ความรู้ 66 IS AM ARE www.fosef.org


ด้านเกษตรกรรมและกลุ่มเป้าหมายได้ปฎิบัติจริงทั้งการปลูก และประกอบอาหาร 4. การพัฒนาระบบประสานงานความร่วมมือจากทุก ส่วน ในการช่วยเหลือจากภาครัฐบาลและภาคเอกชน ทั้งในและ ต่างประเทศ มีการจัดท�ำแผนงานหลักของโครงการทุกๆ ระยะ 5 ปี เพื่อให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นแนวทางท�ำให้งานต่างๆ มีความก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ 5. การพัฒนาผู้ปฎิบัติงานให้มีความรู้และประสิทธิภาพ ในการปฎิบัติงาน โดยมีการอบรมการประชุม สัมมนา การ ศึกษาดูงาน เพื่อให้ความรู้และเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างผู้ปฎิบัติงานโครงการเป็นประจ�ำ รวมทั้งมีการประเมิน และรายงานผลการด�ำเนินงานเป็นระยะ เพื่อให้ผู้ปฎิบัติงาน ทราบถึงความก้าวหน้าของโครงการ และสามารถน�ำไปปรับปรุง การด�ำเนินงานได้ 6. การยึดหลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับ วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น กิจกรรม การพัฒนาต่างๆ จะต้อง

ค�ำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ น�ำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ ข้าพเจ้าเริ่มด�ำเนินงานในสถานศึกษาก่อน หากท้องถิ่น ใดยังไม่มีสถานศึกษาก็จะเข้าไปรวมกลุ่ม เด็กในพื้นที่จัดตั้งเป็น ศูนย์การเรียนชุมชนหรือโรงเรียน แล้วท�ำกิจกรรมเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตผ่านกระบวนการทางการศึกษา เช่น โครงการ พัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร การส่งเสริมอนามัย แม่และเด็ก การส่งเสริมโภชนาการเด็กเล็ก การป้องกันโรค การพัฒนาครู การพัฒนาห้องสมุดและสื่อการเรียน การสอน การจัดตั้งและพัฒนาสถานศึกษา การพัฒนาการเรียนการสอน รวมถึ ง การพั ฒ นาอาชี พ และสหกรณ์ โรงเรี ย น การอนุ รั ก ษ์ วัฒนธรรม หลังจากนั้นจึงขยายการพัฒนาไปสู่ชุมชน (ติดตามตอนต่อไป) ที่มา : สัจธรรมแห่งแนวพระราชด�ำริ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

67 issue 117 OCTOBER 2017


โครงการพัฒนาดอยตุง

(พื้นที่ทรงงาน)

อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ

จากากแนวพระราชด� ำ ริ ข องสมเด็ จ พระศรี น คริ น ทราบรมราชชนนี และพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว เมื่ อ ครั้ ง อดี ต ท� ำ ให้ วั น นี้ โ ครงการพั ฒ นาดอยตุ ง (พื้ น ที่ ท รงงาน) อั น เนื่ อ งมาจากพระราชด� ำ ริ มู ล นิ ธิ แม่ ฟ ้ า หลวง ในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ กลายมาเป็ น แหล่ ง การเรี ย นรู ้ ที่ เ ผยความงดงามทั้ ง ทั ศ นี ย ภาพ และวั ฒ นธรรมที่ ไ ด้ รั บ การสื บ สาน จนกลายเป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วที่ ผู ้ ค นแวะเวี ย นมาสู ด อากาศบริ สุ ท ธิ์ ชมนานาพรรณไม้ ที่ ง อกงาม และสั ม ผั ส ทั ศ นี ย ภาพอั น ร่ ม รื่ น สบายตาอย่ า งไม่ ข าดสาย 68 IS AM ARE www.fosef.org


70 เส้ น ทางตามรอยพระบาท โดย ททท. โครงการอันเนื่องจากพระราชด�ำริของสมเด็จย่าแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2531 ครอบคลุมพื้นที่ อ�ำเภอแม่จัน อ�ำเภอ แม่ฟ้าหลวง และอ�ำเภอแม่สาย ที่ประกอบไปด้วย ชนเผ่าอาข่า ลาหู่ จีนก๊กมินตั๋ง ไทใหญ่ ไทลื้อ และไทลัวะ มากกว่า 11,000 ชี วิ ต ภายหลั ง สมเด็ จ ย่ า ทรงได้ แรงบั น ดาลใจ จากพระราช กรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแก้ปัญหาเรื่อง การปลูกฝิ่นของชาวไทยภูเขามาโดยตลอด ด้วยเหตุนี้สมเด็จย่า มีพระราชประสงค์ ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชาวบ้าน บน ดอยตุง ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของ ชาวไทยภู เขาและชาวไทยภาคเหนื อ ให้ ค งอยู ่ ต ลอดไป วั น นี้ โครงการพั ฒ นาดอยตุ ง ฯ คื อ แหล่ ง เรี ย นรู ้ ง านฝี มื อ และการ แปรรู ป จากผลผลิ ต ทางการเกษตรให้ เ ป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ผ สม ผสานความทันสมัยและรากเหง้าของวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่าง ลงตัว “โครงการในพระราชด�ำริ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต อนุรักษ์สืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีของชาวไทยภูเขา และชาวไทย ภาคเหนือให้คงอยู่ ตลอดไป”

69 issue 117 OCTOBER 2017


ที่ เ ที่ ย วห้ า มพลาด • พระต�ำหนักดอยตุง ที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อ ทรงงานของสมเด็จย่า • ร้านดอยตุงไลฟ์สไตล์ จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์งานฝีมือ ของดอยตุง อาทิ ผ้าทอมือ เสื้อผ้า พรมทอมือ ของตกแต่งบ้าน กิ จ กรรมห้ า มพลาด • เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของโครงการที่หอพระ ราชประวัติ • ร้านมุมกาแฟ โครงการพัฒนา ดอยตุง จิบกาแฟสดรส เยี่ยมของโครงการ เวลา 08.00-17.00 น. • อัตราค่าเข้าชม (บัตรรวม การเข้าชมพระต�ำหนัก ดอยตุง สวนแม่ฟ้าหลวง และหอพระราชประวัติ) ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ราคา150 บาท เด็กที่ส่วนสูงไม่เกิน 120 ซม. เข้าชมฟรี • มีรถสองแถวบริการ ตั้งแต่ 07.00 น. รถออกทุก 20 นาที

อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โทร. 0-5376-7015-12 www.doitung.com เปิดให้เข้าชม: ทุกวัน เวลา 07:00 - 17:00 น. ฤดูท่องเที่ยว: ตลอดปี การเดิ น ทาง จากตัวเมืองเชียงราย ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ราว 45 กม. เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1149 ไปอีกประมาณ 15 กม.

โครงการพั ฒ นาดอยตุ ง (พื้ น ที่ ท รงงาน) ศู น ย์ ท ่ อ งเที่ ย วและบริ ก าร ส� ำ นั ก งาน ประสานงาน โครงการพัฒนาดอยตุง อาคารอเนกประสงค์ พระต�ำหนักดอยตุง 70

IS AM ARE www.fosef.org


ทริปตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยว จ.เชียงราย 3 วัน 2 คืน วันแรก

ช่ ว งบ่ า ย • ศูนย์ผลิตและจ�ำหน่ายงานจากดอยตุง ซื้อผลิตภัณฑ์ ดอยตุงชมโรงงานทอผ้า เซรามิก

ช่ ว งเช้ า • อุทยานศิลปวัฒนธรรมแม่ฟา้ หลวง ศึกษาประวัตศิ าสตร์ วิถีชีวิตชาวเชียงราย วันที่สาม ช่ ว งบ่ า ย • ชมขัวศิลปะ ร่วมกิจกรรมงานศิลปะกับศิลปิน และ ชม ช่ ว งเช้ า • หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองค�ำ อ�ำเภอเชียงแสน ศิลปะบ้านด�ำของ อ.ถวัลย์ ดัชนี อุโมงค์มุข อุโมงค์กาลเวลาที่รวบรวมเรื่องฝิ่นที่สมบูรณ์ที่สุด ช่ ว งบ่ า ย วันที่สอง • ตลาดแม่สาย เลือกซื้อสินค้าจากไทย-เมียนมาร์ ช่ ว งเช้ า • พระต�ำหนักดอยตุง ชมสวนแม่ฟ้าหลวง หอแห่งแรง บันดาลใจ 71 issue 117 OCTOBER 2017


72 IS AM ARE www.fosef.org


73 issue 117 OCTOBER 2017


74 IS AM ARE www.fosef.org


75 issue 117 OCTOBER 2017


76 IS AM ARE www.fosef.org


77 issue 117 OCTOBER 2017


78 IS AM ARE www.fosef.org


79 issue 117 OCTOBER 2017


Round About

กราบถวายสั ก การะสมเด็ จ พระอริ ย วงศาคตญาณ สมเด็ จ พระสั ง ฆราช สกลมหาสั ง ฆปริ ณ ายก พระองค์ ที่ 20 แห่ ง กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ มูลนิธิครอบครัวพอเพียง โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ วัดบางขวาง (จังหวัดนนทบุรี) เทศบาลนครนนทบุรี สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียน รัตนาธิเบศร์ สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ มูลนิธิรัตนาธิเบศร์อนุเคราะห์ และศูนย์ครอบครัวพอเพียงทั่วประเทศ จัดพิธีบรรพชาสามเณรทั้งแผ่นดิน จ�ำนวน 89 รูป ถวายเป็นพระราชกุศล แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นักเรียนแกนน�ำจิตอาสาจากศูนย์ครอบครัวพอเพียงทั่วประเทศระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 76 จังหวัด จังหวัดละ 1 โรงเรียน และ โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร จ�ำนวน 13 โรงเรียน รวม 89 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน บรรพชาสามเณรถวายเป็นพระราชกุศล ณ วัดบางขวาง จังหวัด นนทบุรี ระหว่างวันที่ 17 - 27 ตุลาคม 2560 ทั้งนี้ ในวันที่ 21 ตุลาคม มูลนิธิครอบครัวพอเพียงได้น�ำสามเณทั้งหมด 89 รูป เข้ากราบถวายสักการะสมเด็จพระอริยวง ศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม 80 IS AM ARE www.fosef.org


สร้ า งความเข้ า ใจสิ ท ธิ ห ลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ ใ นโรงเรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษา ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแนวทางสร้างความเข้าใจสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในโรงเรียนมัธยมศึกษา ภายใต้ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ระหว่างวันที่ 18 - 19 ตุลาคม 2560 ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ

อาสาสภากาชาด ครั้ ง ที่ 8 กิจกรรมจิตอาสาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ครั้งที่ 8 โดยแกนน�ำศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ ศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี และศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนปัญญาวรคุณ

81 issue 117 OCTOBER 2017


ลี ด เดอร์ แ คมป์ 2017 กิจกรรมค่ายส่งเสริมศักยภาพความเป็นผู้น�ำ เพื่อเปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ พร้อมทั้งส่งเสริม ศักยภาพการเป็นผู้น�ำและผู้ตามที่ดี ในระหว่างวันที่ 2 - 4 ตุลาคม 2560 ณ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2

82 IS AM ARE www.fosef.org


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดี ๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org


นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง พร้อมเสริพ์ให้ทุกท่านได้อ่านแล้ว!! เพี ย งแค่ ค ลิ ก เข้ า ไปที่ www.fosef.org ท่ า นก็ ส ามารถอ่ า นนิ ต ยสาร IS AM ARE ครอบครั ว พอเพี ย ง ได้ โ ดยไม่ มี ค ่ า ใช้ จ ่ า ย เรื่ อ งราว สาระดี ๆ มากมายรอท่ า นอยู ่ หากอ่ า นแล้ ว ถู ก ใจอย่ า ลื ม บอกต่ อ นะครั บ


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.