IS AM ARE july62

Page 1

IS AM ARE 1 issue 138 JULY 2019


2 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


“…สั ง คมด� ำ รงอยู ่ ไ ด้ ด ้ ว ยการกระท� ำ ประโยชน์ เ กื้ อ กู ล กั น และทุ ก คนที่ อ ยู ่ ร ่ ว มกั น ย่ อ มเป็ น ทั้ ง ผู ้ รั บ และผู ้ ใ ห้ ประโยชน์ บั ณ ฑิ ต ในฐานะที่ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของสั ง คม และเป็ น บุ ค คลที่ สั ง คมยอมรั บ ในความรู ้ ค วามสามารถ จึ ง ควรประพฤติ ป ฏิ บั ติ ต นให้ เ ป็ น ประโยชน์ แ ก่ สั ง คมทุ ก เมื่ อ …”

พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็ จ พระปรเมนทรรามาธิ บ ดี ศ รี สิ น ทรมหาวชิ ร าลงกรณ พระวชิ ร เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ในพิ ธี พ ระราชทานปริ ญ ญาบั ต รแก่ ผู ้ ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาจากสถาบั น ราชภั ฏ ณ อาคารใหม่ สวนอั ม พร วั น ที่ ๑๑ มี น าคม ๒๕๕๐

3 issue 138 JULY 2019


ฉบับอรัมภบท ตามภาษาผู ้สูงวัย

รองเท้าเด็กน้อยถูกคลื่นทะเลซัดหายไป..เด็กน้อยเขียนที่ริมหาดว่า... “ทะเลคือขโมย” อีกชายฝั่งของทะเล ชาวประมงหาปลาได้เป็นจ�ำนวนมาก..ชาวประมงเขียนที่หาดทรายว่า... “ทะเลคือผู้ให้” ชายหนุ่มคนหนึ่งจมทะเลตาย..แม่ของเขาเขียนที่ชายหาดว่า.. “ทะเลคือฆาตกร” ชายชราเดินหลังค่อม ก้มหน้าเดินถือไม้เท้า พบไข่มุกอันล�้ำค่า จึงเขียนว่า... “ทะเลคือผู้เมตตา” ทันใดนั้น “คลื่น” ได้ซัดยังชายฝั่งและลบการเขียนทั้งหมด ! พร้อมกล่าวขึ้นเบาๆ ว่า... “อย่าไปสนใจค�ำตัดสินของผู้อื่น หากเจ้าคิดจะเป็นทะเล” อย่าไปวิตกกับสิ่งที่ผ่านมา ความพ่ายแพ้หรือความผิดหวัง ความสุขหรือความทุกข์ เพราะหากชีวิตมนุษย์จะเรียบง่าย คงไม่เริ่มต้นด้วยการร้องไห้เมื่อแรกเกิด คนเรา “เกิดมา” พร้อมกับเสียงร้องไห้ของตัวเอง แต่ “ตายไป” พร้อมกับเสียงร้องไห้ของผู้อื่น ช่วงเวลาระหว่างนั้น เรียกว่า “ชีวิตคน” แมวชอบกินปลา แต่แมวลงน�้ำไม่ได้ ปลาชอบกินไส้เดือน แต่ขึ้นฝั่งมากินไส้เดือนไม่ได้ ชีวิตคนเรา “มีได้ - มีเสีย” มี ทั้ง “ได้เลือก” และต้อง “ล้มเลิก” ในชีวิตคนเราไม่มีทางที่ทุกอย่างจะเป็นไปดั่งใจนึกได้หมด จงอย่าไปคิดเล็กคิดน้อยกับใคร เพราะมันไม่คุ้ม จงอย่าจริงจังกับตัวเองเกินไป เพราะจะท�ำร้ายตัวเอง จงอย่าไปจม อยู่แต่อดีตเพราะมันไม่ได้อะไรขึ้นมา... จงอย่าจริงจังกับปัจจุบันมากไป เพราะชีวิตยังคงต้องเดินต่อไป.. ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่เป็นของๆ เรา นอกจากสุขภาพกายที่แข็งแรง (อันมาจากสุขภาพใจที่เข้มแข็ง เปี่ยมก�ำลังใจ) อย่าได้อวดเรื่องเงินเรื่องทอง ตายไปก็กลายเป็นเพียงเศษกระดาษ อย่าได้อวดเรื่องหน้าที่การงาน ลาออกไปแล้วจะมีคนมาแทนที่คุณและอาจท�ำได้ดีกว่าคุณ อย่าอวดเรื่องบ้านเรื่องรถ ตายไปแล้วก็เป็นของทายาท..คุณหมดเวลาใช้ คุณอวดเรื่อง “สุขภาพแข็งแรง” จะดีกว่า คนอื่นตายไปแล้วคุณยังนอนเล่นริมทะเล นั่งจิบชามองดูลูกหลาน..อย่างมี ความสุขและเข้าใจในชีวิต... ที่มา : Cr.fwd.line

mookkarsa@gmail.com www.porpeang.or.th www.fosef.org

4 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง

นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ นายธนพร เทียนชัยกุล นางสุมาลี โฆษิตนิธิกุล นายกรวิก อุนะพ�ำนัก นางประหยัด ทองภูธรณ์ นางอมรรัตน์ ศิริมิตรตระกูล นางสุวรรณา ธานี นางมาริสา อินลี นางกันตาภา สุทธิอาจ นางสาวปัทมา ภูมิน�้ำเงิน นายเอกรัตน์ คงรอด นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางสาวเอื้อมพร นาวี

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ดร.เชิดศักดิ์ ดร.กัมปนาท ดร.นฤมล ดร.อ�ำนาจ ดร.ชลพร ดร.กาญจนา ดร.ปิยฉัตร ดร.คุณานันท์

ศุภโสภณ บริบูรณ์ พระใหญ่ วัดจินดา กองค�ำ สุทธิเนียม กลิ่นสุวรรณ ทยายุทธ

Let’s

Start and Enjoy!

ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

5 issue 138 JULY 2019

นิตยสารครอบครัวพอเพียง ๖๖๓ ซอยพหลโยธิน ๓๕ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ ๐ ๒๙๓๙ ๕๙๙๕ ๐ ๒๙๓๙ ๕๙๙๖ www.Porpeang.or.th www.fosef.org


Hot Topic

๒๐

“เจ้าคุณอนิลมาน” (ผู ้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวร นิเวศฯ)

๑๐

จากต้นหญ้าสู่ก�ำแพงที่มี ชี วิต

พระราชประวัติ ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวมหาวชิ ราลงกรณฯ

Don’t miss

๕๐

๗๒

๖๔ ๖๐

๕๔ 6 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


Table Of Contents

ดร.ขวัญตา บุ ญวาศ

ผอ. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุ งเทพ

7 issue 138 JULY 2019

เกร็ดการทรงงาน จากต้นหญ้า สู่ก�ำแพงที่มีชีวิต พระราชประวัติ ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณฯ บทความพิเศษ “เจ้าคุณอนิลมาน” (ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศฯ) cover story “วิชาชีพพยาบาล ต้องเป็นด้วยหัวใจ” ดร.ขวัญตา บุญวาศ ผอ.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ Cartoon บทความมูลนิธิชัยพัฒนา น�้ำพระทัย สู่ชาวโนนไทย นครราชสีมา บทความพิเศษ จิตตนคร : พระนิพนธ์ ฉีกรื้อหัวใจมนุษย์ บทความพิเศษ พอเพียงกับโลกาภิวัตน์ไปด้วยกันได้หรือไม่ Let’s talk เศรษฐกิจพอเพียง กับการจัดการศึกษาของชาติ นพ.เกษม วัฒนชัย อาชีพทางเลือก ขายหมูแดดเดียวออนไลน์ เยาวชนตัวเล็ก คิดท�ำเพื่อครอบครัว บทความพิเศษ “ทุกปัญหามีค่าแก่การรับฟัง” อ่านก่อนที่เกิดการฆ่าตัวตายรายต่อไป ๗๐ เส้นทางตามรอยพระบาท โดย ททท. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ จังหวัดสกลนคร Round About

๘ ๑๒ ๒๐

๒๔ ๓๔ ๓๘ ๔๖ ๕๐

๕๔ ๖๐ ๖๔

๗๒ ๘๐


จากต้นหญ้า สู่ก�ำแพงที่มีชีวิต “ให้ ศึ ก ษาทดลองปลู ก หญ้ า แฝกเพื่ อ ป้ อ งกั น การพั ง ทลายของดิ น ในพื้ น ที่ ศู น ย์ ศึ ก ษาการพั ฒ นาห้ ว ยทราย อั น เนื่ อ งมาจากพระราชด� ำ ริ และศู น ย์ ศึ ก ษาการพั ฒ นาเขาหิ น ซ้ อ นอั น เนื่ อ งมาจาก พระราชด� ำ ริ ต ลอดจน พื้ น ที่ อื่ น ๆ” พระราชด� ำ ริ ใ นพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว เมื่ อ วั น ที่ ๒๒ มิ ถุ น ายน ๒๕๓๔ 8 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


เกร็ ด การทรงงาน “...ดินแข็งเป็นดานอย่างนี้ท�ำอะไรไม่ได้ แต่ถ้าเราปลูก หญ้าแฝกด้วยวิธีการที่เหมาะสม เมื่อฝนตกลงมาความชื้นจะอยู่ ในดิน บริเวณเรือนรากของหญ้าแฝกที่ลงรากลึก โดยเฉพาะการ ปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับขวางทางลาดชัน แนวหญ้าแฝกก็ จะเปรียบเหมือนกับก�ำแพงธรรมชาติท่ีมีชีวิต ที่จะช่วยหยุดยั้ง การพังทลายของดิน ชะลอความเร็วของน�้ำที่ไหลบ่า สามารถ กักเก็บตะกอนดิน ท�ำให้เกิดหน้าดินและความชื้นใต้ดิน เมื่อ เกิดหน้าดิน และดินมีความชื้นจะปลูกผักปลูกหญ้า ก็ได้และ อีกประการหนึ่ง รากของหญ้าแฝกแข็งเป็นพิเศษ อาจสามารถ เจาะลงไปในดินที่ แข็งเป็นดานได้....” พระราชกระแสพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างเสด็จฯ โครงการศูนย์ศึกษาการ พัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๓๕ และ “หญ้าแฝกนี้ได้ศึกษามาเป็นเวลาถึงสิบเจ็ดปี อย่าง ที่ท่านองคมนตรีได้กล่าวเมื่อตะกี้ ซึ่งก็นับว่าเป็นเวลาช้านาน แต่เป็นเวลาที่เป็นประโยชน์มากและได้ผลอย่างยิ่ง เป็นสิ่งที่ น่ ามหั ศ จรรย์ที่หญ้าชนิด เดียวได้รับ การศึก ษานานถึ ง สิ บเจ็ ด ปี แต่ต้องเข้าใจว่าหญ้าแฝกมีหลายชนิดและถ้าไม่ได้ศึกษา ก็ ไม่ได้ประโยชน์ขึ้นมาอย่างที่ได้เกิดขึ้น...” เป็นพระราชด�ำริที่ รณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ ไว้เมื่อวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่นายอ�ำพล เสนา ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ ทั้งหมดนี้เป็นพระราชด�ำริท่ีทรงให้ไว้เกี่ยว ณรงค์ องคมนตรี และคณะผู้ปฏิบัติงานโครงการพัฒนาและ กับการศึกษาทดลองถึงคุณประโยชน์ของหญ้าแฝก นับเป็นเวลา กว่า ๒๐ ปี ที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งประชาชนได้ มีการด�ำเนินงานสนองพระราชด�ำริเรื่อยมา ปัจจุบันการทดลอง ปลูกหญ้าแฝกบนดินดาน ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ประสบผลส�ำเร็จเป็นแบบอย่างให้กับผู้สนใจเข้าไป ศึกษาเรียน รู้และน�ำกลับไปประยุกต์ใช้ ซึ่งประชาชนทั้งหลายน้อมน�ำไปใช้ พัฒนาที่ดินได้จริง จากพื้นที่เสื่อมโทรมก็กลับฟื้นฟูสามารถกลับ มาสร้างผลผลิตได้มากขึ้น “ถ้าไม่ดีจริง หนูก็ไม่ยอมปลูกหรอก ค่ะ” ดวงพร มิ่งศิริเจริญ สาวเชื้อสายเมี่ยน เล่าให้ฟังว่า กว่าที่เธอ จะตัดสินใจลงมือปลูกหญ้าแฝก ดวงพร และครอบครัวมีแปลง ปลูกกาแฟ ๑๐ ไร่ และยังมีแปลงขนาด ๕ ไร่ ที่ทิ้งร้างเนื่องจาก เป็นพื้นที่ดินไม่ดีซึ่งเป็นผลมาจากการปลูกไร่ข้าวโพดโดย ใช้สาร เคมีท�ำให้ดินเสื่อมลงเป็นกรด และมีความลาดชัน มีพื้นที่ต�่ำกว่า ถนน เมื่อเกิดฝนตกดินถูกน�้ำชะล้างลงมา ในพื้นที่ “ที่แรกเขาว่าหนูบ้า เอาหญ้า มาปลูก เขาปลูกกาแฟได้เงินกัน นี่มาปลูกหญ้าแฝกท�ำไม” 9 issue 138 JULY 2019


“ทีแรกเขาว่าหนูบ้า เอาหญ้ามาปลูก เขาปลูก กาแฟ ได้เงินกัน นี่มาปลูกหญ้าแฝกท�ำไม” หลังจากสถานีพัฒนาที่ดิน เชียงรายได้เข้ามาส่งเสริมให้ใช้ปุ๋ยหมักควบคู่กับการปลูกหญ้า แฝก ในปีแรกที่ปลูกยังไม่ค่อยเห็นผล เกิดความท้อใจ แต่ได้ ก�ำลังใจจากครอบครัวบอกว่า “หลาน ๆ ลูก ๆ เปิดอินเตอร์เน็ต ให้ดูว่าหญ้าแฝกนี่เป็นหญ้าของ “พ่อ” ของ “ย่า” เห็นในหลวง ท่านยังนั่งลงปลูกหญ้าแฝก แล้วท�ำไมพวกเราไม่ปลูก สามีก็บอก ว่าใครไม่สนใจ เราก็ไม่ต้องไปสนใจเขา ที่ดินแถวนี้เราทิ้งว่าง เปล่าตั้งเยอะแยะ ลองปลูกดู” เมื่อเริ่มเข้าปีที่สอง ดินที่เคยแห้งเริ่มมีความชุ่มชื้นเริ่มได้ ขายกล้วยที่ปลูกในแปลงนั้น “จากสวนที่ไม่เคยมีรายได้เลย พอ ปลูกกล้วยได้กินตลอดปีเราก็ดีใจแล้ว ไม่น่าเชื่อ ว่าจะดีขึ้นได้ ขนาดนี้ ถ้าพยายามท�ำให้หญ้าแฝกดีขึ้นให้ดินชุ่มชื้นกว่านี้ ต่อ ไปก็น่าจะปลูกกาแฟได้” ต่อมาดวงพรจึงเริ่มแซมต้นกาแฟลงในแปลง นายไพศาล นิจจันทร์พันธ์ศรี ชาวจังหวัด สุราษฎร์ธานี ได้เล่าว่า “ผมมาเจอหญ้าแฝกผมรักเลย ทั้งที่ไม่รู้จักมาก่อน” เริ่มรู้จักหญ้าแฝกมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ตอนนั้นท�ำสวนอินทผลัมแต่ ไม่ได้ผล เมื่อมีการจัดนิทรรศการคลินิคเกษตรและได้ไปดู จึงได้ เข้าไปขอค�ำแนะน�ำจากเจ้าหน้าที่ที่มาให้ความรู้และแจกต้นกล้า แฝก เพื่อให้น�ำไปทดลองปลูก

“ผมน� ำ หญ้ า แฝกที่ ไ ด้ วั น นั้ น ไปปลู ก เป็ น วงกลม ล้ อ ม ต้นอินทผลัมเอาปุ๋ยหมักใส่ อินทผลัมโตวันโตคืน แล้วก็เป็นลูก ช่วงนั้นมีคนมาดูงานเรื่อย ๆ มาทีก็กินกันที หมดต้นไม่ทันได้ สุกสักที” ในปี ๒๕๕๒ ถึงเวลาการล้มยางพาราแปลงแรก จึงได้ โอกาส ในการปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับขวางความลาดเท ไปตามขอบเขา “เมื่อก่อนตอนที่ยังไม่ปลูกแฝก ฝนมาอย่างแรง น�้ำไหลปุ๊บ ๆ เลยสภาพดินเมื่อก่อนกัดเซาะเป็นร่องลึก ดูข้าง บนได้เลยเหลือแต่ก้อนหินมันชะล้างไปเรื่อย หน้าดินไปหมด” ซึ่งผลที่ได้จากการปลูกแฝกนี้เห็นได้ชัดเจนกับต้นยางพารา ที่ นายไพศาลบอกว่า ตอนปลูกหญ้าแฝกแรก ๆ ใบต้นยางพารา จะเหลือง “คนที่มาดูงานเขาบอก ว่าหญ้าแฝกมันแย่งอาหาร ยางแล้ว แต่ไม่ใช่ รากยางมันยังไม่ถึงรากหญ้าแฝกดี มันเลยไม่ 10

IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


ภาพร่างเค้าโครงพระราชทาน โครงการพัฒนาลุ่มน�้ำก�่ำ ที่ทรงวาดบนเครื่องบินพระที่นั่งพร้อมทั้งพระราชด�ำริพร้อมทรง อธิบายภาพยึกยือให้แก่ข้าราชการผู้ติดตามเสด็จ ในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงขับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชด�ำเนิน จากพระต� ำ หนั ก ภู พ านราชนิ เวศน์ ไปทอดพระเนตรสภาพ ภูมิประเทศ และสภาพล�ำน�้ำก�่ำ ณ บริเวณประตูระบายน�้ำก�่ำ บ้านบึงศาลา ต�ำบล นาตง อ�ำเภอโพนนาแก้ว จากนั้น ทรงพระ ด�ำเนินไปยังบริเวณริมฝั่งล�ำน�้ำก�่ำ ทรงปล่อยพันธุ์ปลาไทยชนิด ต่าง ๆ ได้แก่ ปลาบึก ปลาเผาะ ปลาน�้ำเงิน ปลาชะโอน ปลา กดเหลือง ปลาตะเพียนทอง ปลาสร้อย นกเขา และปลายี่สก เทศ รวมจ�ำนวน ๒๐,๐๐๐ ตัว ลงในล�ำน�้ำก�่ำ เสร็จแล้วทรงราช พระด�ำเนินไปยังบริเวณจุดกึ่งกลางของประตู ระบายน�้ำที่ก�ำลัง ก่อสร้าง เพื่อทอดพระเนตรแนวล�ำน�้ำ

พึ่งพาอาศัยกันและกัน แต่พอรากยางมาถึงหญ้าแฝก ใบก็เขียว แล้ว” ความเปลี่ยนแปลงนี้เองท�ำให้ผู้มาเยี่ยมเยียนได้เห็นผล เชิงประจักษ์ สิ่งต่าง ๆ ที่ได้ท�ำได้คิดนั้น ไพศาลบอกว่า ได้น้อมน�ำมา จากพระราชด�ำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งสิ้น “พระองค์ ท่านเป็นต้นแบบของการพึ่งพาตนเอง หน่วยงานราชการเข้ามา ก็จริง แต่เราก็ต้องรู้จักต่อยอดของเราเอง ประยุกต์ ดัดแปลง พลิกแพลงให้เหมาะกับพื้นที่เรา ถ้าเป็นความคิดของเราเองมัน จะยั่งยืน เพราะไม่ลืม” ไพศาลย�้ำว่า สิ่งใดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง คิดค้นขึ้นมา ปฏิบัติตามแล้วไม่ผิดหวัง ไม่ว่าจะเป็นการปลูกหญ้า แฝกหรือให้ท�ำเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเป็นแนวทางที่ชัดเจนถูก ต้องและแลเห็นแต่ผลลัพธ์ที่เป็นความส�ำเร็จที่ย่ังยืน

11 issue 138 JULY 2019


12 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวมหาวชิ ราลงกรณฯ สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว มหาวชิ ร าลงกรณ บดิ น ทรเทพยวรางกู ร เป็ น พระราชโอรสพระองค์ เ ดี ย วในพระบาท สมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช (รั ช กาลที่ ๙) และสมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี น าถ ทรงเป็ น สยามมกุ ฎ ราชกุ ม ารพระองค์ ที่ ๓ ของไทย และเมื่ อ เวลาประมาณ ๑๐.๒๐ น. วั น ที่ ๒๙ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๙ คณะรั ฐ มนตรี (ครม.) และคณะรั ก ษาความสงบแห่ ง ชาติ (คสช.) ได้ จั ด ประชุ ม ร่ ว มกั น ในวาระพิ เ ศษ เรื่ อ ง การมี พ ระมหากษั ต ริ ย ์ พ ระองค์ ใ หม่ และมี ม ติ แ จ้ ง ไปยั ง ประธานสภานิ ติ บั ญ ญั ติ แ ห่ ง ชาติ (สนช.) ให้ อั ญ เชิ ญ องค์ พ ระรั ช ทายาท (สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าชฯ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร) ขึ้ น ครองราชสมบั ติ สื บ เป็ น รั ช กาลที่ ๑๐ พระราชประวั ติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยว รางกูร มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธ�ำรงสุ บริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติ สิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร” เป็นพระราชโอรส พระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย เดช (รั ช กาลที่ ๙) และสมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรม ราชิ นี น าถ เสด็ จ พระราชสมภพ ณ พระที่ นั่ ง อั ม พรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ เวลา ๑๗:๔๕ น. ซึ่งพระนาม “วชิราลงกรณ” นั้น สมเด็จพระสังฆราช เจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ทรงตั้งถวาย มาจาก “วชิรญาณ” พระนามฉายาขณะผนวชในพระบาทสมเด็ จ พระปรเมนทร มหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ผนวกกับ “อลงกรณ์” จากพระนามในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา จุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)

ระดั บ อนุ บ าล รร.จิ ต รลดา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงส�ำเร็จการศึกษาขั้นต้นในระดับอนุบาล รุ่นที่ ๒ จากโรงเรียน จิตรลดา แล้วจึงเสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อในระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนคิงส์มีด แคว้นซัสเซกส์ และศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนมิลฟิลด์ แคว้นซอมเมอร์เซทประเทศอังกฤษ หลังจาก นั้น ทรงศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนคิงส์สกูล ซิดนีย์ ประเทศ ออสเตรเลี ย เสร็ จ แล้ ว ทรงการศึ ก ษาต่ อ ในระดั บ ปริ ญ ญา ตรี ส าขาอั ก ษรศาสตร์ (ด้ า นการทหาร) จากมหาวิ ท ยาลั ย นิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙

พี่ น ้ อ ง มี พ ระเชษฐภคิ นี ๑ พระองค์ คื อ สมเด็ จ พระเจ้ า ลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และ พระขนิษฐภคินี ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราช กุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี 13 issue 138 JULY 2019


พระโอรส-พระธิ ด า ๑. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ๒. หม่อมเจ้าจุฑาวัชร มหิดล หรือ จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์ ๓. หม่อมเจ้าวัชรเรศร มหิดล หรือ วัชรเรศร วิวัชรวงศ์ ๔. หม่อมเจ้าจักรีวัชร มหิดล หรือ จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ ๕. หม่อมเจ้าวัชรวีร์ มหิดล หรือ วัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ ๖. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ๗. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ พระราชกรณี ย กิ จ

๑. ด้านการบิน

เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ทรงปฏิบัติหน้าที่ ครูการบินเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-5 อี/เอฟ และพ.ศ. ๒๕๕๒ ทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ ๑ เครื่องบินโบอิ้ง 737 – 400 ใน เที่ยวบินสายใยรักแห่งครอบครัว ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และจัดหาอุปกรณ์ด้านการแพทย์ ส�ำหรับโรงพยาบาลใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (เที่ยวบินที่ ทีจี 8870 กรุงเทพมหานคร ถึงจังหวัดเชียงใหม่ และเที่ยวบินที่ ทีจี 8871 จังหวัดเชียงใหม่ ถึงกรุงเทพมหานคร)

๒. ด้านการทหาร

โรงเรี ย นเสนาธิ ก ารทหารบก รุ ่ น ที่ ๔๖ นอกจากนี้ ยั ง ทรงศึ ก ษาต่ อ ที่ โ รงเรี ย นเสนาธิ ก าร ทหารบก รุ่นที่ ๔๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ทรงเข้าศึกษาในสาขา วิชานิติศาสตร์ รุ่นที่ ๒ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕ ทรงส�ำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม อันดับ ๒) และปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ทรงได้รับการศึกษา ณ วิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรแห่งสหราชอาณาจักร สมเด็ จ พระยุ พ ราช เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช (รั ช กาลที่ ๙) ได้ ท รง พระกรุ ณ าโปรดเกล้ า โปรดกระหม่ อ มให้ ตั้ ง การพระราชพิ ธี สถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้า ฟ้าวชิราลงกรณ ให้ด�ำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ตามโบราณขัตติยราช ประเพณี เพื่อรับราชสมบัติปกครองราชอาณาจักรสืบสนอง พระองค์ โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิติยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราช สันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธ สยาม มกุฎราชกุมาร

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยว รางกูร เสด็จพระราชด�ำเนินไปเยี่ยมที่ตั้งกองทหารหน่วยต่างๆ อยู่เสมอ จากการที่ได้ทรงศึกษาด้านวิชาทหารมานาน ทรงมี ความรู้เชี่ยวชาญอย่างมาก และได้พระราชทานความรู้เหล่า

14 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


นั้นให้แก่ทหาร ๓ เหล่าทัพ ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่าง แก่นายทหาร เอาพระทัยใส่ในความเป็นอยู่ทุกข์สุขของทหาร ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างทั่วถึง รวมทั้งพระราชทานพระราช ทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนการศึกษาแก่บุตรของทหาร สิ่ง เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความเทิดทูนและความจงรักภักดีแก่เหล่า ทหารเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในปัจจุบันทรงด�ำรงพระยศทางทหารของ ๓ เหล่าทัพ ได้แก่ พลเอก พลเรือเอก และพลอากาศเอก ทรงปฏิบัติพระ ราชกรณียกิจด้านการทหาร และทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบใน การต่อต้านการก่อการร้ายในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียง เหนือของประเทศไทย รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่ในบริเวณรอบค่าย ผู้อพยพชาวกัมพูชา ที่เขาล้าน จังหวัดตราด อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สมทบเป็นค่าก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ตั้งอยู่ในชนบทห่าง ไกลคมนาคมไม่สะดวก กระทรวงศึกษาธิการได้สนองพระราช ประสงค์ด้วยการน้อมเกล้าฯ ถวายโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา จ�ำนวน ๖ โรงเรียน เป็นโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ ได้แก่ ๑. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา อ.ปลาปาก จ.นครพนม (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๑) ๒. โรงเรียนมัธยมจุฑาวัชร อ.ลานกระลือ จ.ก�ำแพงเพชร (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๒) ๓. โรงเรี ย นมั ธ ยมวั ช เรศร อ.เมื อ ง จ.สุ ร าษฎร์ ธ านี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓) ๔. โรงเรียนมัธยมจักรีวัชร อ.รัตนภูมิ จ.สงขลา (ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒) ๓. ด้านการศึกษา ๕. โรงเรียนมัธยมวัชรวีร์ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา พระองค์พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้อาคารของ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๓) กรมทหารมหาดเล็ ก ราชวั ล ลภรั ก ษาพระองค์ เป็ น ที่ ตั้ ง ของ ๖. โรงเรี ย นมั ธ ยมบุ ษ ย์ น�้ ำ เพชร อ.เมื อ ง จ.อุดรธานี โรงเรียนอนุบาลชื่อว่า โรงเรียนอนุบาลทหารมหาดเล็กราชวัลลภ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๑) โดยในระยะแรกได้จัดการเรียนการสอนเฉพาะชั้นอนุบาล ต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยว โรงเรียนได้ย้ายไปที่จังหวัดนนทบุรี และได้รับพระราชทานชื่อ รางกูร เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเยี่ยมเยาวชนในต�ำบลต่างๆ ใหม่ว่า “โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์” ทรงสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เยาวชนต�ำบล รวมทั้งได้ทรงเป็น 15 issue 138 JULY 2019


16 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


ประธานงานวันเยาวชนแห่งชาติ วันที่ ๒๐ กันยายน ของทุกปี และทรงเป็นประธานในพิธีปฏิญาณตนและสวนสนามของลูก เสือและเนตรนารี และสมาชิกผู้ท�ำประโยชน์ ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทร เทพยวรางกูร ได้อุปการะเด็กก�ำพร้า คือ จักรกฤษณ์ และอนุเดช ชูศรี ที่ครอบครัวเสียชีวิตจากภูเขาถล่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ รวม ทั้งครอบครัวของบูรฮาน และบุศรินทร์ หร่ายมณี ซึ่งบิดาถูก ลอบสังหารจากเหตุความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะทรงอุปการะจนกว่าจะส�ำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือ จนกว่าจะมีอาชีพสามารถเลี้ยงครอบครัวได้ เป็นต้น

๔. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพย วรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้สร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระ ยุพราชขึ้น เพื่อให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยในถิ่นทุรกันดาร พระองค์ทรงเป็นองค์นายกกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิโรงพยาบาล ๕. ด้านศาสนา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพย สมเด็จพระยุพราช พระองค์มีพระราชปณิธานให้เอาใจใส่รักษา พยาบาลพสกนิกรของพระองค์ให้ปลอดภัยจากความเจ็บไข้โดย วรางกูร ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ทรงประเคน ผ้าไตร ประกาศนียบัตร และพัดยศ ในการตั้งภิกษุ และ สามเณร ทั่วหน้าเสมอกัน เปรี ย ญ เนื่ อ งในการพระราชพิ ธี ท รงบ� ำ เพ็ ญ พระราชกุ ศ ล วิสาขบูชา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรม มหาราชวัง พ.ศ. ๒๕๕๑ สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว มหาวชิ ร าลงกรณ บดิ น ทร เทพยวรางกู ร ทรงแสดงพระองค์ เ ป็ น พุ ท ธมามกะที่ วั ด พระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ก่อน เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ นอกจากนี้ สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว มหาวชิ ร าลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชศรัทธาทรงผนวชในพระพุทธ ศาสนา โดยพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ย เดชโปรดฯ ให้ จั ด การพระราชพิ ธี ผ นวช ณ พั ท ธสี ม าวั ด พระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑ โดย มีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาส โน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) ถวายอนุศาสน์ ได้รับถวายพระสมณนามว่า “วชิราลงฺกรโณ” และได้ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดจนทรงลาสิกขา ในวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพย วรางกูร เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์ไปปฏิบัติพระราชกิจ ทางพระพุทธศาสนาอย่างสม�่ำเสมอ เช่น เสด็จพระราชด�ำเนิน 17 issue 138 JULY 2019


18 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


๗. ด้านการต่างประเทศ

แทนพระองค์ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตน ปฏิ ม ากร ณ วั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม ตามฤดู ก าล เสด็ จ พระราชด�ำเนินแทนพระองค์ไปทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศลในวัน ส�ำคัญทางพระพุทธศาสนา อาทิ วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วั น เข้ าพรรษา และการถวายผ้าพระกฐิน หลวงตามวั ด ต่ า งๆ เป็นต้น

วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์ เจ้ า ศรี รั ศ มิ์ พระวรชายาฯ โปรดให้ พล.อ.ท.ภั ก ดี แสงชูโต น�ำผ้าห่มกันหนาว ๒๐,๐๐๐ ผืน ไปช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีนายกษิต ภิรมย์ เป็นผู้รับมอบ

๖. ด้านการเกษตร

ข้อมูล : thaigoodview ภาพประกอบ : หนั ง สื อ “๗๐ สั ม พั จ ฉร์ ฉ ลอง รัชธรรมราชา” กวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลอง สิริราชสมบัติครบ ๗๐ ปี พิมพ์ครั้งที่ ๑ พุทธศักราช ๒๕๕๙ โดยกรมศิลปากร

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพย วรางกูร เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงท�ำปุ๋ยหมักจากผักตบชวา และวัชพืชอื่นๆ เป็นปฐมฤกษ์ เพื่อพระราชทานแก่เกษตรกร ส�ำหรับน�ำไปใช้ในการเพาะปลูกเป็นการเพิ่มผลผลิตที่บ้านแหลม สะแก ต.เดิมบาง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

19 issue 138 JULY 2019


20 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


บทความพิ เ ศษ

“เจ้าคุณอนิลมาน”

(ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศฯ) พุ ท ธมรรคแห่ ง “เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง” สู ่ “เป้ า หมาย การพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น ” มีพระพุทธภาษิตบทหนึ่งตรัสไว้ว่า “กาลเวลาย่อมกิน สรรพสัตว์ทั้งหลาย พร้อมทั้งตัวเอง” คือกาลเวลานี้กินผู้ที่เกิด มาคือสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วย และกินตัวเองด้วย สัตว์ทั้งหลาย ทั้ ง ปวงซึ่ ง เกิ ด มาก็ ต ้ อ งตกอยู ่ ใ นไตรลั ก ษณ์ คื อ อนิ จ จั ง ทุ ก ขั ง อนัตตา กาลเวลาเองก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กินสรรพ สัตว์ทั้งหลายด้วย กินตัวเองด้วย เพราะฉะนั้น ทุกๆสิ่งที่ยังขึ้น อยู่แก่กาลเวลา คือเป็น กาลิโก ประกอบด้วยกาลเวลา ย่อม ตกอยู่ในทุกขสัจจะ สภาพที่จริงคือทุกข์ทั้งนั้น เป็น สังขารทั้ง นั้น บุรพาจารย์จึงได้ออกแบบพุทธศิลป์อธิบายพระพุทธภาษิต นี้ด้วยรูปของ “พระกาล”ในลักษณะของยักษ์แห่งกาลเวลา ที่ คอยกลืนกินโลก โลกล้วนตกอยู่ภายใต้หลักไตรลักษณ์เพราะมี “พระกาล” พระกาล คือตัวบ่งบอกการพัฒนา ไม่มีพระกาล ก็ ไม่มีการพัฒนาใดๆ ทั้งสิ้น…

มรรคมี อ งค์ แ ปด (#วงแหวนที่ ส องที่ มี ซี่ ล ้ อ แปดซี่ ) หลักไตรสิกขา เมื่อขยายเป็นภาคปฏิบัติก็จะเป็น มรรค มีองค์แปด เป็นรูปธรรมที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ เป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตประจ�ำวัน ซึ่งจะมีผลเป็นการน�ำไปสู่บรมสุข คือพระ นิพพาน หรือ โลกแห่งธรรม (sustainable) พระจั น ทร์ แ ละพระอาทิ ต ย์ พระจันทร์และพระอาทิตย์เป็นสัญลักษณ์แห่งคืนและวัน แทนโลกแห่งธรรมสุข (sustainable and happiness)

SEP วงกลมแกนกลาง หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง หรื อ SEP เป็ น มรดกพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมมนาถบพิตร เป็นแนวทางเลือกเพื่อบรรลุซึ่ง ความสุข ด้วยการสร้างความสมดุลในชีวติ หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงมีพื้นฐานการพัฒนาการจากหัวใจพระพุทธศาสนา คือ ศีล (แปลว่า ปกติ คือมีชีวิตที่มีดุลยภาพที่ดียิ่ง คือ ความพอ เพียง) สมาธิ (เศรษฐกิจในความหมายของรากภาษา คือ กิจอัน ประเสริฐ คือการบริหารจิต เช่นเดียวกันกับความหมายทางราก ศัพท์ในภาษาอังกฤษ economy = การบริหารชีวิตครัวเรือน) และปัญญา (สันสกฤต : ปรัชญา : ว่าด้วยเรื่องเหตุผล คือปัญญา รู้รอบ) เพราะฉะนั้น หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็คือภาษา โลก ส�ำหรับหลักไตรสิกขาของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นการย่อความ ของหลักมรรคมีองค์แปดนั่นเอง 21 issue 138 JULY 2019


22 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


ยั ก ษ์ พ ระกาล พระกาล หรือยักษ์แห่งกาลเวลา คือ เวลา หรือ การ พัฒนา (การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา คือ การพัฒนา) เป้ า หมายของการพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น (#วงแหวนรอบ นอก) องค์การสหประชาชาติ ได้ตั้งเป้าหมายของการพัฒนา ที่ยั่งยืน ๑๗ เป้าหมาย เป็นพิมพ์เขียวของการสร้างโลกแห่ง อนาคตที่ดีเพื่อทุกคน เป้าหมายทุกข้อสัมพันธ์โยงกันให้โลกทั้ง ผองพัฒนาไปพร้อมกันโดยตั้งเป้าไว้ว่าจะบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ ความหมายของภาพโดยรวม หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง จะท� ำ ให้ ม รรคมี องค์แปดเดินหน้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ซึ่งจะมีผลท�ำให้ บรรลุ เ ป้ า หมายการพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น ทั้ ง ๑๗ ข้ อ ขององค์ ก าร สหประชาชาติ เปลี่ยนโลกให้เป็นโลกแห่งความสมดุล เป็นโลก ที่พัฒนาตามธรรม (sustainable world) และเป็นโลกแห่ง ความสุข Tenere ซึ่งเป็นรากศัพท์ในภาษาละติน กับ ธร ธาตุ ในภาษาสั น สกฤต-บาลี ปรากฏว่ า เป็ น รากศั พ ท์ เ ดี ย วกั น ที่ มี ความหมายว่า “ทรงไว้” หรือ “สภาพที่ทรงไว้” ฉะนั้น พูดอีก นัยหนึ่ง ค�ำสอนของพระพุทธศาสนาทั้งหมดก็คือ แนวทางไปสู่ การพัฒนาที่ยั่งยืนนั่นเอง ตามหลักนิรุกติศาสตร์นี้ จะเห็นได้ว่า พระปฐมเทศนา หรือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลตามศัพท์ว่า พระสูตรที่ว่าด้วยการปฎิบัติไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวคือ ธัมมะ หรือ ธรรม แปลว่า สภาพที่ทรงไว้ (sustainable) จักกะ หรือ จักร แปลว่า เดินไปข้างหน้าโดยบดไปกับพื้นดิน มีฐาน รองรับ development และปวัตตนะ แปลว่า ประพฤติ หรือ ปฏิบัติ ฉะนั้น #ธัมมจักกัปปวัตตน แปลว่า #พระสูตรที่ว่าด้วย การปฏิบัติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สรุปคือตามหลักนิรุกติศาสตร์ sustainable development มีความหมายในภาษาไทยว่า “มั่นพัฒนา” หรือ “พัฒนาตามธรรม” นั่นเอง #ที่สามารถบรรลุได้ตาม “พุทธมรรค” •ท่านอนิลมาน ธมฺมสากิโย• ผู้ช่วยเจ้าวาสวัดบวรนิเวศฯ Cr : จ�ำนงศรี หาญเจนลักษณ์

ห ลั ก ป รั ช ญ า ข อ ง เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง ห รื อ SEP เป็ น มรดกพระราชทานในพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช บรมมนาถบพิ ต ร เป็ น แนวทางเลื อ กเพื่ อ บรรลุ ซึ่ ง ความสุ ข ด้ ว ยการ สร้ า งความสมดุ ล ในชี วิ ต หลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งมี พื้ น ฐานการพั ฒ นาการจากหั ว ใจพระพุ ท ธ ศาสนา หมายเหตุ ตามหลักนิรุกติศาสตร์ ค�ำว่า sustain หมายถึง “การ ท�ำกิจกรรมโดยมีพื้นฐานรองรับ” เป็นค�ำที่มีมาในภาษาละติน แยกออกเป็นอุปสรรค sus แปลว่าจากฐานล่าง และรากศัพท์ tenere ที่แปลว่า “ทรงไว้” เมื่อรวมค�ำเป็น sustinere ใน ภาษาละติน จะมีความหมายว่า “ถือไว้ ตั้งตรง มีฐานรองรับ ทน ด�ำเนินการ ทรงไว้” เป็นต้น โดยพื้นฐานของค�ำว่า sustainable development หมายถึงการพัฒนารูปแบบใดก็ตามที่มี ดุลยภาพเป็นฐานรองรับ คือเป็นการพัฒนาที่ไม่มีผลข้างเคียง เชิงลบด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งต่างกับรูปแบบ การพัฒนาที่ผ่านมาในอดีต 23

issue 138 JULY 2019


cover story

“วิชาชีพพยาบาล ต้องเป็นด้วยหัวใจ”

ดร.ขวัญตา บุ ญวาศ ผอ.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

วิ ท ยาลั ย พยาบาลบรมราชชนนี กรุ ง เทพ เป็ น สถาบั น การศึ ก ษาพยาบาลแห่ ง แรก ของกระทรวง สาธารณสุ ข ที่ ก ่ อ ก� ำ เนิ ด มาเป็ น เวลา ๗๓ ปี เดิ ม ชื่ อ โรงเรี ย นพยาบาลผดุ ง ครรภ์ แ ละอนามั ย ตั้ ง ขึ้ น โดยความริ เ ริ่ ม ของ พลตรี หลวงนิ ต ย์ เ วชชวิ ศิ ษ ฏ์ ซึ่ ง ขณะนั้ น ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง อธิ บ ดี ก รมการ แพทย์ เพื่ อ แก้ ป ั ญ หาการขาดแคลนพยาบาล ในยุ ค สงครามโลกครั้ ง ที่ ๒ โดยรั บ นั ก ศึ ก ษารุ ่ น แรก จ� ำ นวน ๒๔ คน เข้ า ศึ ก ษาที่ โ รงพยาบาลกลาง เมื่ อ วั น ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๙ ต่ อ มาเมื่ อ วั น ที่ ๓ มิ ถุ น ายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้ ย ้ า ยจากโรงพยาบาลกลางมาที่ โ รงพยาบาลหญิ ง (โรงพยาบาลราชวิ ถี ในปั จ จุ บั น ) โดยมี คุ ณ แม่ ม ณี สหั ส สานนท์ เป็ น อาจารย์ ผู ้ ป กครอง และอาจารย์ เ พี้ ย น พู น สุ ว รรณ เป็ น อาจารย์ ส อนพยาบาลท่ า นแรก

24 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


25 issue 138 JULY 2019


คนใฝ่ฝันจะเรียนพยาบาลกันมาก เราเองมีความชอบเป็นทุนเดิม อยู่แล้ว จึงมุ่งมั่น ตั้งใจ สอบเข้าเรียนได้ดังความฝัน น้องๆ มีความฝันกันบ้างไหมคะ...เราสามารถสร้างความ ฝัน ให้เป็นความจริงได้ ความฝันจะท�ำให้เรามีแรงบันดาลใจ และท�ำให้เรามีทิศทางที่จะก้าวไปไขว้คว้าในสิ่งที่เราปรารถนา หากใครยังไม่มีเป้าหมายก็อย่าเพิ่งท้อ ลองถามใจตนเองดูว่า เรามีความพร้อมที่จะเป็นผู้ให้ เรามีจิตใจที่เสียสละและชอบ ท�ำให้ผู้อื่นมีความสุขหรือไม่ ถ้ามีคุณสมบัติเหล่านี้ เราลองเริ่ม สานฝันและใช้ความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียน ให้ก�ำลังใจตนเอง อย่างสม�่ำเสมอ เชื่อว่าน้องๆ จะพบหนทางแห่งความส�ำเร็จใน การก้าวสู่วิชาชีพพยาบาลอย่างแน่นอน

ดร . ขวั ญต า บุ ญ ว า ศ ป ั จ จุ บั น ด� ำ รงต� ำแหน่ ง ผู ้ อ� ำ นวยการวิ ท ยาลั ย พยาบาลบรมราชชนนี กรุ ง เทพ ได้ ถ่ า ยทอดประสบการณ์ ต ลอดช่ ว งชี วิ ต ของความเป็ น “ครู พยาบาล” ที่สร้างศิษย์พยาบาล จากรุ่นสู่รุ่น ด้วยความภาค ภูมิใจ จวบจนวันนี้บัณฑิตพยาบาลได้เป็นก�ำลังส�ำคัญของระบบ สุขภาพ ตั้งแต่การช่วยดูแลประชาชนให้มีสุขภาวะที่ดี ป้องกัน การเจ็บป่วย และเมื่อป่วยก็ได้รับการดูแลรักษา ฟื้นฟูอย่างมี คุณภาพาพ ตลอดจนการดูแลทุกช่วงวัยตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึง ระยะสุดท้ายของชีวิต พยาบาลจึงเป็นอาชีพที่ควรค่าแก่การ ยกย่องด้วยลักษณะงานที่ต้องใช้ ความรักในเพื่อนมนุษย์ ความ เอาใจใส่ ความเสียสละและอดทน หลายคนใฝ่ฝันอยากเรียน พยาบาลแต่ก็ไม่สามารถเข้ามาเรียนได้ และบางคนเข้ามาเรียน แล้วก็ไม่สามารถเรียนส�ำเร็จ คนเรียนเก่งอย่างเดียวไม่เพียงพอ สิ่งส�ำคัญคือต้องมีหัวใจที่แข็งแกร่งและมีความอ่อนโยน พร้อม ที่จะเป็นผู้ให้ต่างหาก ดังค�ำขวัญที่กล่าวว่า “การพยาบาลก้าว ไกล เพราะน�้ำใจเหล่าพยาบาล เสียสละและบริการ ตามปณิธาน สมเด็จพระบรมราชชนนี”

ความประทั บ ใจในการเรี ย นพยาบาล การเรียนพยาบาลมีข้อดีหลายประการ เช่น กระทรวง สาธารณสุขมีทุนการศึกษาให้ ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัว มีหอพัก สิ่งอ�ำนวยความสะดวก มีอาหารให้ ๓ มื้อ (ปัจจุบัน ส่วนใหญ่ไม่ได้จัดให้แล้ว ยกเว้นที่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราช ชนนี กรุงเทพ ยังจัดให้) ที่ส�ำคัญได้เรียนใกล้บ้าน เราเรียนที่ วิทยาลัยพยาบาลสวรรค์ประขารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่ง

ประสบการณ์ ใ นวั ย เด็ ก ที่ ส ่ ง ผลต่ อ การเลื อ กอาชี พ ในวัยเด็กเราเติบโตมาในครอบครัวทหาร เวลาไม่สบาย จะได้รับการดูแลโดยพยาบาลเสนารักษ์ ที่เด็กๆ เรียกว่า “คุณ หมอพวงเพชร” เธอเป็นคนใจดี ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ ที่ ส�ำคัญ ฉีดยาเบาๆ ไม่ท�ำให้เราเจ็บ และมีขนม หรือของเล่นให้ เราเพลิดเพลินเสมอ ไม่แปลกเลยที่เมื่อรู้สึกไม่สบาย เด็ก ๆ จะ ไม่กลัวที่ต้องไปหาหมอพวงเพชร ...เราเลยมีความฝังใจว่าเมื่อ เราโตขึ้น เราอยากจะเป็นแบบหมอพวงเพชร... ครั้นเมื่อเรียน ถึงชั้นมัธยม ก็เริ่มคิด ตัดสินใจว่าจะเรียนอะไร ภาพในวัยเด็กยัง อยู่ในใจ ประกอบกับครอบครัวให้การสนับสนุนด้วยเป็นวิชาชีพ ที่จบมาแล้วมีงานท�ำ และยังได้บรรจุเป็นข้าราชการ ในสมัยนั้น 26 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


เป็นบ้านเกิด ไม่ต้องปรับตัวมาก ตอนสอบเข้าเรียน อาจารย์ สัมภาษณ์ด้วยค�ำถามยอดฮิตว่า ท�ำไมถึงอยากเรียนพยาบาล เราตอบไปโดยไม่ต้องฉุกคิดว่า “ชอบวิชาชีพพยาบาล ชอบดูแล ผู้อื่น พยาบาลสามารถช่วยให้ผู้ป่วยหายและคลายทุกข์ และ ประทับใจพยาบาลที่มีจิตใจเมตตา” ชีวิตการเรียนพยาบาลต้อง ท่องต�ำราและฝึกฝนในด้านทักษะการปฏิบัติ และต้องใช้ชีวิตอยู่ ร่วมกันในหอพักตลอดเวลา ๔ ปี การฝึกปฏิบัติงานในเวร เช้า บ่าย ดึก ท�ำให้มีความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนๆ รุ่นพี่ รุ่นน้องที่ คอยช่วยเหลือ ดูแลกัน ครั้นเมื่อจบไปแล้วจึงยังคงมีความรัก และความผูกพันต่อกัน เปลี่ ย นบทบาทจากพยาบาลวิ ช าชี พ มาเป็ น อาจารย์ พยาบาลและผู ้ บ ริ ห าร ตอนเรียนพยาบาลไม่เคยคิดฝันว่าจะได้มาเป็นครู เมื่อ ส�ำเร็จการศึกษาจึงได้ท�ำงานที่โรงพยาบาลชุมชน พอครบ ๔ ปี มีความจ�ำเป็นต้องขอย้ายตามครอบครัวมาเป็นเจ้าหน้าที่ฝึก อบรมที่กองฝึกอบรม กระทรวงสาธารณสุข ที่นี่ท�ำให้เราได้รับ ประสบการณ์งานฝึกอบรม ซึ่งเราได้เรียนรู้มากมาย ตั้งแต่การ ท�ำงานเอกสาร งานสารบรรณ การจัดเตรียมเอกสาร การเชิญ วิทยากร การประสานงาน การเป็นพิธีกร จนกระทั่งการประเมิน ผลการฝึกอบรม เหลือเพียงอย่างเดียวที่เรายังไม่ได้ท�ำคือการยืน เป็นวิทยากรอยู่หน้าเวที จากกระบวนการท�ำงาน สอนให้เรา รู้ว่าการที่เราจะท�ำงานใหญ่ให้ประสบความส�ำเร็จ เราจะต้อง เรียนรู้งานเล็ก ๆ และไม่ปฏิเสธงาน จากการท�ำงานฝึกอบรมอยู่ ประมาณ ๑ ปี ก็ได้รับการทาบทาม ให้ไปเป็นอาจารย์ ที่วิทยาลัย พยาบาล เพราะด้วยบุคลิกภาพ การสื่อสาร และการท�ำงานที่น่า จะเหมาะกับการเป็นอาจารย์ ขอบคุณ โอกาสจากการเปลี่ยน งานท�ำให้เราได้เรียนรู้งานใหม่และค้นพบตนเองว่า นอกจาก

การเป็นพยาบาลที่ดีแล้ว เราน่าจะสามารถเป็นครูพยาบาลที่ดี ได้ ชีวิตจึงเปลี่ยนผันมาเป็นอาจารย์พยาบาลกว่า ๒๐ ปี และ เมื่อตัดสินใจที่จะเป็นครู เราจะต้องเป็นครูที่ดีที่สุด จึงได้ไป ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกด้านการศึกษา โดยได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา กลับมาท�ำงานด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ จนมีความก้าวหน้า ได้รับ การคัดเลือกเป็นผู้บริหาร โดยสมัครครั้งแรกก็ได้รับการคัดเลือก เป็นผู้อ�ำนวยการที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจังหวัดตรัง นอกจากคะแนนสอบที่เป็นอันดับหนึ่งแล้ว ผู้บริหารท่านหนึ่งให้ เหตุผลที่เลือกเราว่า “การสร้างคนเก่งให้เป็นคนดีคือสิ่งที่ท�ำได้ ยาก และการสร้างคนดีให้เป็นคนเก่งคือสิ่งที่ท�ำได้ง่ายกว่า แต่ การสร้างคนที่เก่งและดีด้วยเป็นสิ่งที่ควรท�ำและดียิ่ง ” การเปลี่ยนบทบาทจากอาจารย์สู่เส้นทางผู้บริหาร เรา ได้ ตั้ ง จิ ต อธิ ษ ฐานต่ อ พระราชานุ เ สาวรี ย ์ ส มเด็ จ ย่ า ซึ่ ง เป็ น ที่ สักการะและศูนย์รวมจิตใจของนักศึกษา และพยาบาลทุกคน ว่า ...ถ้าเราสามารถสร้างประโยชน์เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน ก็ขอให้เราได้รับการคัดเลือกเป็นผู้บริหาร... ดังนั้นเราจึงได้มี โอกาสท�ำหน้าทีผ่ อู้ ำ� นวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง และพัฒนาองค์กร การศึกษาและร่วมพัฒนาเครือข่ายวิชาชีพ ตลอดชีวิตการท�ำงานในการเป็นผู้บริหารอยู่ที่นั่นรวมเป็นเวลา ๖ ปี บนความเชื่อว่าการเป็นคนดี ต้องท�ำดี คิดดี จะน�ำพาไป สู่สิ่งที่ดี ๆ เช่นกัน 27

issue 138 JULY 2019


เทคนิ ค ส่ ว นตั ว ในการบริ ห ารงาน และคนในองค์ ก ร ในการท�ำงานย่อมมีทั้งปัญหาและอุปสรรค มีความสุข สมหวังและความผิดหวัง หากเปรียบเช่น เราแล่นเรือ ก็ต้องเจอ กับคลื่นลม และพายุ เราจะต้องขับเรือเป็นและประคับประคอง เรื อ ให้ ส ามารถแล่ น ไปให้ ถึ ง จุ ด หมายอย่ า งปลอดภั ย ในการ ท�ำงานเราได้ค้นพบ คุณธรรม ๓ ประการที่น�ำมาใช้ในการบริหาร ได้แก่ ๑) ความเมตตา คือการมีความรัก ความปรารถนาดีต่อผู้ อื่น ในการบริหารงาน เรามีคนท�ำงานที่มีอยู่เดิมซึ่งเราเลือกไม่ได้ แต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน เราไม่สามารถเลือกเฉพาะคนเก่ง คนดี หรือที่บุคลิกภาพ หน้าตา ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร มีความเป็น มาอย่างไร เขาจะต้องได้รับความรัก ความปรารถนาดี การให้ โอกาส ความเสมอภาค อย่างเท่าเทียม ซึ่งในการท�ำงานพบว่า มีคนอยู่ ๔ ประเภทได้แก่ คนอาจมีศักยภาพสูงและผลสัมฤทธิ์ ของงานสูง คนที่มีศักยภาพสู่งแต่ผลสัมฤทธิ์ของงานต�่ำ คนที่มี ศักยภาพต�่ำแต่มีผลสัมฤทธิ์ของงานสูงและคนที่มีศักยภาพต�่ำ และผลสัมฤทธิ์ของงานต�่ำ ความท้าทายคือ การให้โอกาสใน การพัฒนาศักยภาพของคนแต่ละประเภท และการพิจารณา

ลองถามใจตนเองดู ว ่ า เรามี ค วามพร้ อ มที่ จ ะเป็ น ผู ้ ให้ เรามี จิ ต ใจที่ เ สี ย สละและชอบท� ำ ให้ ผู ้ อื่ น มี ค วาม สุ ข หรื อ ไม่ ถ้ า มี คุ ณ สมบั ติ เ หล่ า นี้ เราลองเริ่ ม สาน ฝั น และใช้ ค วามมุ ่ ง มั่ น ตั้ ง ใจในการเรี ย น ให้ ก� ำ ลั ง ใจ ตนเองอย่ า งสม�่ ำ เสมอ เชื่ อ ว่ า น้ อ งๆ จะพบหนทาง แห่ ง ความส� ำ เร็ จ ในการก้ า วสู ่ วิ ช าชี พ พยาบาลอย่ า ง แน่ น อน ระบบผลตอบแทนอย่างเป็นธรรม ในการจัดสิ่งสนับสนุนหรือ สิ่งจูงใจในการท�ำงานนั้นใช้หลักพื้นฐานในการตอบสนองความ ต้องการตามล�ำดับขั้นของ มาสโลว์ ซึ่งพบว่า บางครั้งเงินไม่ได้ เป็นปัจจัยส�ำคัญที่สุดในการท�ำงาน แต่มิตรภาพ ความรัก การ ได้รับการยอมรับ การให้เกียรติ ความรู้สึกมีคุณค่า สิ่งเหล่านี้ จะท�ำให้คนพึงพอใจและท�ำงานอย่างมีความสุข เมื่อคนมีความ สุขเขาจะสามารถพัฒนางานและพัฒนาองค์กรได้ดีอย่างต่อ เนื่องในที่สุด 28

IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


29 issue 138 JULY 2019


เฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีวิทยาลัยพยาบาลทั้งหมด ๓๐ แห่ง แบ่งตามภูมิภาคทั่ว ประเทศ ท�ำหน้าที่ ๑) ผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรให้ สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ ทางวิชาการและทักษะในวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความ ส�ำนึกต่อสังคม และเพื่อให้มีศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ๒) จัดการศึกษา วิจัย ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย เพื่อสร้าง หรือพัฒนาองค์ความรู้และน�ำความรู้นั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ใน การพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ๓) พัฒนาองค์ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์สุขภาพให้มีมาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการให้ เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและนานาชาติ ๔) ส่งเสริมให้เกิด โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตามความต้องการของ ชุมชน ๕) ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยเน้นความร่วมมือ กับชุมชน ๖) ให้บริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุข และ แต่ทั้งนี้ในการบริหารหรือการท�ำงานใดใด ย่อมมีข้อ ๗) ส่งเสริมและทะนุบ�ำรุงศิลปะและวัฒนธรรม จ�ำกัด ความเสี่ยง ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ เมื่อมี ความเชื่อที่ว่า คนทุกคนต้องการเป็นคนดี คนทุกคนไม่อยากล้ม วิ ช าชี พ พยาบาลยั ง เป็ น สาขาที่ ข าดแคลน เหลว เมื่อท�ำงานสิ่งใดอย่างดีที่สุดแล้ว แต่อาจไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ กระทรวงสาธารณสุข โดยสถาบันพระบรมราชชนก มีน ในระดับที่คาดหวัง ก็ทบทวนสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อ โยบายการผลิตเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาล ก�ำหนดแนวทางแก้ไขและเรียนรู้ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น อีก ดังนั้นคุณธรรม ๒) การให้อภัย จึงมีความจ�ำเป็นที่จะต้องใช้ เสมอ เพื่อให้คนและงานเดินต่อไปได้ และสุดท้ายเมื่อได้ท�ำงาน ด้วยความรอบคอบและท�ำอย่างดีที่สุดแล้ว แต่ไม่สามารถก้าว ข้ามปัญหาและอุปสรรคไปได้ ก็อย่าโทษตนเอง หรืออย่าต�ำหนิ ใคร แต่ต้องใช้คุณธรรม ๓) การปล่อยวาง เพราะคนที่แม้จะเก่ง ขนาดไหน แต่ก็ไม่สามารถประสบความส�ำเร็จทุกเรื่อง งานหลาย อย่างต้องท�ำเป็นทีม หลายครั้งที่เราต้องยอมรับความผิดพลาด ความล่าช้าเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ บางครั้งบทเรียนของความผิด พลาดจะเป็นบทเรียนที่มีคุณค่าที่สุดเพราะจะท�ำให้เกิดความ ระมัดระวังและรอบคอบ และจะไม่ท�ำให้เกิดการผิดพลาดได้อีก ดังนั้น เทคนิคคุณธรรม ๓ ประการดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่เชื่อได้ว่า สามารถน�ำมาใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานและคนในองค์กร เพื่อให้เราสามารถได้ทั้งคน ได้ทั้งใจ ได้ทั้งงาน สอดคล้องกับการ เป็นองค์กรที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตกับการท�ำงานอย่างมีความสุข (Happy Workplace) วิ ท ยาลั ย พยาบาลในสั ง กั ด สถาบั น พระบรมราชชนก วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๒ ได้มีการประกาศราชกิจ จานุเบกษา พ.ร.บ.สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่ง ก� ำ หนดให้ ส ถาบั น พระบรมราชชนก เป็ น สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา 30 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


ให้ นอกจากมีคะแนนความรู้ตามเกณฑ์ที่ก�ำหนดแล้ว ควรมี คุณสมบัติที่เหมาะสมกับการเป็นพยาบาลในอนาคต ได้แก่ มี สภาพจิตใจที่พร้อมในการเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น มีจิตใจ โอบอ้อมอารี มีความเสียสละอดทน เข้าใจและเห็นใจผู้อื่น ไม่ เย่อหยิ่ง ไม่รังเกียจงานที่เป็นกิจกรรมการพยาบาล เช่น การ ท�ำความสะอาดผู้ป่วย การท�ำแผล การให้ค�ำแนะน�ำผู้ป่วยและ ญาติ เป็นต้น ในการดูผู้ป่วยนั้นเปรียบดุจเสมือนการดูแลญาติ ของตน ดังนั้นหากเราไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น และไม่ชอบ งานแบบนี้ เราก็จะไม่มีความสุขกับการเรียนและการท�ำงาน จึง มีบางคนที่ต้องลาออกเพราะไม่ชอบ แต่คนส่วนใหญ่เมื่อเข้ามา เรียนแล้วแม้ไม่ได้ชอบ แต่ไม่รังเกียจก็สามารถที่จะเรียนส�ำเร็จ และเป็นพยาบาลที่ดีได้ ดังนั้นตลอดเวลา ๔ ปี การกล่อมเกลา และซึมซับจากแบบอย่างที่ดี การดูแล เอาใจใส่ การใช้ชีวิตภาย ใต้ครอบครัวเดียวกันในรั้วฟ้าขาวแห่งนี้ จึงสามารถหล่อหลอม ให้ศิษย์ทุกคนเป็นพยาบาลด้วยหัวใจที่เอื้ออาทร แม่นย�ำความรู้ ทางวิชาการและเชี่ยวชาญในการปฏิบัติ ควบคู่กับการมีคุณธรรม ในจิตใจ พร้อมต่อการเป็นพยาบาลที่ดี มีคุณภาพเพื่อตอบสนอง ระบบบริการสุขภาพส�ำหรับประชาชนและสังคมไทยต่อไป

ตามแนวคิดในการผลิตบุคลากรจากพื้นที่เพื่อกลับไป ท�ำงานในท้องถิ่นของตน ดังนั้นจึงก�ำหนดใช้ภูมิล�ำเนาในการ สมัครเข้าศึกษาซึ่งผู้สมัครสามารถเลือกได้เอง การคัดเลือกโดย ใช้ผลการประมวลคะแนน ได้แก่ ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอด หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX) ผลการทดสอบทางการ ศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ผลการทดสอบความถนัด ทั่วไป (GAT) ผลการทดสอบ และความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT๒) ขณะที่เรียนมีทุนการศึกษาให้ตลอดหลักสูตรและเมื่อ เรียนจบแล้วบัณฑิตพยาบาลศาสตร์เหล่านี้ จะมีงานท�ำทันที โดยกระทรวงสาธารณสุขจะจัดสรรต�ำแหน่งให้สามารถติดตาม รายละเอียดได้จากเว็ปไซด์ ข่าวสารของกระทรวงสาธารณสุข คุ ณ สมบั ติ ข องคนที่ จ ะมาเรี ย นพยาบาล สมัยนี้มีสาขา อาชีพมากมายที่เด็ก ๆ สามารถเลือกที่จะ สอบเข้าเรียน โดยไม่สนใจว่าเรียนจบแล้วจะมีงานท�ำ หรือความ ก้าวหน้าอย่างไร ส่วนวิชาชีพพยาบาลเป็นสาขาที่เรียนแล้วไม่มี ตกงาน ทุกคนมีงานท�ำแน่นอนเนื่องจากเป็นสาขาที่ขาดแคลน โดยเฉพาะหากเข้ามาเรียนด้วยทุนของกระทรวงสาธารณสุข ทุก คนจะได้รับการบรรจุในต�ำแหน่งที่กระทรวงสาธารณสุขจัดสรร 31

issue 138 JULY 2019


วิ ท ยาลั ย พยาบาลบรมราชชนนี กรุ ง เทพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ เป็นสถาบัน การศึกษาพยาบาลที่ผลิตบัณฑิตพยาบาลศาสตร์ปีละ ๑๕๐ คน มีสถานที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวง ติดสถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ คณาจารย์ต่างมีประสบการณ์และความ เชี่ยวชาญในด้านการสอนมาเป็นเวลายาวนาน พร้อมทั้งมีแหล่ง ฝึกภาคปฏิบัติ คือสถาบันการแพทย์ โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่ทัน สมัย มีหอพักที่ปลอดภัยส�ำหรับนักศึกษา โดยมีสภาพแวดล้อม ร่มรื่น บรรยากาศที่ผ่อนคลาย พร้อมสถานที่ออกก�ำลังกาย และ สระว่ายน�้ำ ที่ส�ำคัญมีการจัดอาหารให้นักศึกษา ๓ มื้อ มีบริการ ซักรีดเสื้อผ้า เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มเวลาในการเรียนรู้ ในยาม เย็นหลังเลิกเรียนหรือวันหยุด นักศึกษาสามารถออกไปผ่อน คลายตามอัธยาศัย โดยปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบของหอพัก ปรัชญาการศึกษา คือ “ปัญญาน�ำ คุณธรรมเด่น เน้น วิชาการ เชี่ยวชาญปฏิบัติ สมรรถนะสากล บุคคลสัมพันธ์”

การเรี ย นการสอนทางการพยาบาลเน้ น กระบวนการพั ฒ นา ทักษะทางปัญญา การเรียนรู้และการปฏิบัติบนพื้นฐานการใช้ เทคโนโลยี นวัตกรรมสมัยใหม่ในการดูแลสุขภาพ แต่ก็ไม่ละเลย ในเรื่องการน�ำภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ ใช้การดูแลสุขภาพ นักศึกษาจึงถูกฝึกให้เป็นคิดในการสืบค้น วิเคราะห์ สังเคราะห์ โดยใช้การสะท้อนคิด และกระบวนการคิด อย่างมีวิจารณญาณ ทั้งในชั้นเรียนและในชีวิตจริง โดยสามารถ สื่อสารและสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ตลอดจนถ่ายทอด ความรู้สู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องมีคุณธรรม ๔ ประการเป็นรากฐานที่ส�ำคัญของจิตใจ ได้แก่ “จิตบริการ สามัคคี มีวินัย ใจซื่อสัตย์” เพื่อที่จะได้น�ำวิชาความรู้ไปใช้ควบคู่ กับคุณธรรมได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

๑) การน้อมน�ำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ในการด�ำเนินชีวิต โดยสอดแทรกในกิจกรรมทั้งในและนอก หลักสูตร การที่นักศึกษาส่วนใหญ่มาจากต่างจังหวัด เมื่อเข้ามา อยู่ในสังคมเมืองหลวง ต้องเรียนรู้และปรับตัวอย่างมีสติ ด้วยการ น้อมน�ำหลักการพอประมาณ คือ ประหยัด ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ใช้หลักการ เหตุผล รอบคอบในการตัดสินใจ เราจัดกิจกรรม เข้าค่ายและฝึกอบรมธรรมะ ตลอดหลักสูตรเพื่อให้นักศึกษาได้ ใช้สติและสมาธิในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเอง ตลอดจนช่วย เหลือกิจกรรมต่างๆ ของวิทยาลัย เช่นในเรื่องการจัดการขยะ การประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น คุณธรรม ที่ ๒) จิตบริการ คือ การมีจิตใจเป็นผู้ให้ นักศึกษาจะเป็นผู้ริเริ่ม ในการท�ำกิจกรรมจิตอาสา ในวัน เวลาที่ว่างจากการเรียนและ การฝึกปฏิบัติงาน เช่น การไปแนะแนวแก่น้อง ๆ ในการเรียน พยาบาล การไปสอนหรือให้ความรู้ในโรงเรียน หรือชุมชน การ ไปช่วยเหลือกิจกรรมในโรงพยาบาล การไปท�ำกิจกรรมค่ายจิต อาสาต่าง ๆ เป็นต้น โดยท�ำในวันหยุด และปิดเทอม ซึ่งแม้จะมี ระยะเวลาในการปิดเทอมเป็นช่วงสั้น ๆ แต่ก็จะพบว่า นักศึกษา ทุกคนต่างแบ่งเวลาไปท�ำกิจกรรมจิตอาสากันอย่างเต็มใจ ซึ่ง นักศึกษาพึงพอใจเนื่องจากได้รับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ ต่อตนเอง ทั้งยังเกิดคุณค่าต่อผู้รับบริการและสังคม

การ เรี ยน พ ย าบ า ล กั บก า ร ปลู ก ฝ ั ง หลั ก ปรั ช ญ า เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง และกิ จ กรรมจิ ต อาสา วิทยาลัยได้ก�ำหนดวัฒนธรรมและค่านิยมคุณธรรมร่วม ๙ ประการ ในที่นี้จะขอกล่าวถึง ๒ ประการที่ส�ำคัญ ได้แก่

ความภู มิ ใ จของนั ก ศึ ก ษาพยาบาลวิ ท ยาลั ย พยาบาล บรมราชชนนี กรุ ง เทพ นักศึกษาที่เลือกเข้ามาเรียนที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราช ชนนี กรุงเทพ เขาภูมิใจในสถาบันที่เป็นวิทยาลัยพยาบาลแห่ง

ชี วิ ต การเรี ย นพยาบาลต้ อ งท่ อ งต� ำ ราและฝึ ก ฝนใน ด้ า นทั ก ษะการปฏิ บั ติ และต้ อ งใช้ ชี วิ ต อยู ่ ร ่ ว มกั น ในหอพั ก ตลอดเวลา ๔ ปี การฝึ ก ปฏิ บั ติ ง านในเวร เช้ า บ่ า ย ดึ ก ท� ำ ให้ มี ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งเพื่ อ นๆ รุ ่ น พี่ รุ ่ น น้ อ งที่ ค อยช่ ว ยเหลื อ ดู แ ลกั น

32 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


แรกของกระทรวงสาธารณสุข และมีอาจารย์ที่มีความรู้ ความ เชี่ยวชาญในประสบการณ์ด้านการสอน ตลอดจนมีศิษย์รุ่นพี่ รุ่นน้องที่มีความรัก ความผูกพันสืบต่อกันมาจากรุ่น สู่รุ่น จนถึง รุ่นที่ ๗๔ ปี ในปัจจุบัน ชีวิตการเรียนพยาบาลนั้นนักศึกษาจะ ต้องมีความตั้งใจในการเรียนรู้ภาคทฤษฎี เพื่อที่จะสามารถน�ำ ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ และทุกคนจะต้องใช้ความ พยายามอย่างมากในการทดลองฝึกภาคปฏิบัติ ก่อนการไปฝึก ปฏิบัติการพยาบาลกับผู้ป่วยจริง ดังนั้นการที่นักศึกษาสอบผ่าน การเรียนภาคทฤษฎี และเข้าสู่พิธีการรับหมวกในชั้นปีที่ ๒ เพื่อ เตรียมพร้อมที่จะขึ้นฝึกภาคปฏิบัติ จะท�ำให้นักศึกษาทุกคนภาค ภูมิใจ โดยผู้ปกครองจะมาร่วมแสดงความยินดีด้วย รวมทั้งก�ำลัง ใจจากรุ่นพี่ รุ่นน้อง ส่วนวันที่นักศึกษาภาคภูมิใจที่สุดก็คือ วัน ส�ำเร็จการศึกษา จะเป็นวันที่ครอบครัวรอคอยต่างมาร่วมแสดง ความยินดีและรับบัณฑิตกลับบ้าน ท่ามกลางบรรยากาศของ ความสุข ความภาคภูมิใจของพ่อ แม่ และครอบครัว แต่สิ่งหนึ่งที่ ทุกคนต้องก้าวผ่านให้ได้คือ การสอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ และนักศึกษาของวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ก็สามารถสอบผ่าน ๘ รายวิชา ในปีแรกทุกคนตามเกณฑ์สภาการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และใน ปีการศึกษา ๒๕๖๐ จ�ำนวนนักศึกษาของเราสามารถสอบผ่าน

เป็นอันดับ ๑ ของประเทศ โดยผ่านถึง ๙๔.๙๖% ซึ่งเป็นความ ภาคภูมิใจของนักศึกษา อาจารย์และสถาบัน ข้ อ คิ ด หรื อ ก� ำ ลั ง ใจแก่ นั ก ศึ ก ษาและ น้ อ งๆ ที่ จ ะ เรี ย นพยาบาล มี บทเพลงตอนหนึ่ ง จากภาพยนต์ เรื่ อ งข้ า งหลังภาพ กล่าวว่า “..จะเป็นอะไรก็ตาม จงเป็นเสียอย่างหนึ่ง และพึง พอใจในสิ่งที่เราได้เป็น เป็นให้ดีที่สุด...เป็นให้ดีที่สุด... แม้ไม่ได้ เกิดเป็นดอกซากุระ ก็จงอย่ารังเกียจที่เกิดเป็นแค่ดอกหญ้า แต่ ขอให้เป็นดอกหญ้าที่งดงามที่สุด ไม่ได้เป็นภูเขาฟูจิ ภูเขาอื่นมี ใช่ไร้คุณค่า ไม่ได้เป็นอาทิตย์ทิวา จงเป็นดาราในยามค�่ำคืน...” ความหมาย คือ ในบางครั้งเราไม่สามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ชอบ ได้ แต่เราก็ยังสามารถเรียนบางอย่างได้ เมื่อตัดสินในเรียนแล้ว ก็จงตั้งใจเรียนและท�ำให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใดล้วน แล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น อย่ารังเกียจหรือดูถูกตนเอง จงท�ำ หน้าที่ตนเองให้ดีที่สุด ดังนั้นการที่เราจะเป็นพยาบาลที่ดีที่สุดจึง ต้องเป็นทั้งตัวและหัวใจ เพราะอาชีพพยาบาลคืองานที่เราได้ท�ำ ประโยชน์และช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ท�ำให้เราได้มีโอกาสท�ำบุญ ในทุก ๆ วัน อาชีพพยาบาลจึงเป็นงานที่มีคุณค่าที่สามารถท�ำให้ เรามีความสุขและน�ำมาซึ่งความภาคภูมิใจต่อวิชาชีพ

33 issue 138 JULY 2019


34 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


35 issue 138 JULY 2019


36 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


37 issue 138 JULY 2019


38 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


39 issue 138 JULY 2019


40 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


41 issue 138 JULY 2019


42 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


43 issue 138 JULY 2019


44 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


45 issue 138 JULY 2019


จิตตนคร : พระนิพนธ์ ฉีกรื้อหัวใจมนุษย์ โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

จากพุ ท ธพจน์ สั้ น ๆ “พึ ง กั้ น จิ ต นี้ ที่ อุ ป มาด้ ว ยนคร” ก่ อ เกิ ด เป็ น นิ ย ายที่ รื้ อ ค้ น จิ ต ใจคนออกมากองตรงหน้ า แล้ ว ท� ำ การแยกแยะให้ เ ห็ น ชั ด ๆ ที ล ะชิ้ น ละชิ้ น จนผู ้ อ ่ า น หรื อ ผู ้ ท่ี ดู ใ นรู ป แบบสื่ อ ต่ า งๆ สามารถมองเห็ น ความเป็ น ไปของโลกแบบย่ อ ได้ ถึ ง แก่ น ตรงหน้ า โดยไม่ ต ้ อ งท่ อ งไปแสวงหาในคั ม ภี ร ์ ใ ด ไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ ง รู ้ จั ก ศั พ ท์ ท างพระพุ ท ธศาสนาก็ ส ามารถมองเห็ น ความเป็ น ไปของโลกผ่ า นจิ ต ใจผู ้ เ สพงานนิ พ นธ์ ชิ้ น นี้ ไ ด้ 46 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


บทความพิ เ ศษ นิ ย ายผ่ า หั ว ใจการเมื อ งออกมาดิ้ น เร่ า ๆ ตรงหน้ า หากดูหรืออ่านงานชิ้นนี้ในฐานะผู้ที่ไม่ได้ศึกษาธรรมะ ก็ยังนึกภาพออกว่า เนื้อเรื่องฉายให้เห็นถึงจิตใจคนที่ประกอบ ไปด้วยสีขาวและด�ำ โดยเปรียบจิตใจเป็นเมืองหรือนครแห่ง หนึ่ง เปรียบประชาชนเป็นความรู้สึกนึกคิดซึ่งมีทั้งสีขาวและ ด�ำ เมื่อวันหนึ่ง เมืองนี้ถูกเสนอนโยบายจากผู้บริหารอย่าง ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน นั่นคือนโยบายให้อิสรเสรีกับประชาชน ไม่ ต้องอยู่ในกฎเกณฑ์เหมือนก่อน ใครใคร่ได้ต้องได้ ใครใคร่มีต้อง มี ใครใคร่อยากต้องสมหวัง สวนทางกับนโยบายการปกครอง แบบเดิมที่เคยเป็นมาคือ ประชาชนต้องอยู่ในกรอบคุณธรรม จริยธรรม รู้ผิดชอบชั่วดี อดทนอดกลั้นต่อสิ่งยั่วยุ รู้จักท�ำมา หากินอย่างสุจริตและประหยัดอดออม เอื้อเฟื้อแบ่งปันและอยู่ กันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย แต่นั่นแหละ การปกครองแบบเดิมที่ผ่านมา พยายาม กดทับด้านด�ำให้มิดชิดด้วยการปฏิบัติด้านขาวให้มากเท่าที่จะ ท�ำได้ เมื่อนโยบายการปกครองแบบใหม่มาถึง จึงเสมือนปลด ปล่อยด้านด�ำของประชาชนออกมา จิตใจหรือนครแห่งนี้จึง เต้นรัวไปด้วยความแปลกใหม่ สะดวกสบาย ง่าย สะใจ สะท้อน สังคมปัจจุบันว่าทุกสิ่งสามารถซื้อได้ด้วยเงิน ทั้งทางตรงและ ทางอ้อม และอ้อมแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวด้วยการเอาเทคโนโลยีมา ล่ออย่างแยบยล ด้วยการยิงศรไปที่จุดอ่อนของจิตใจมนุษย์ นั่น คือ การปรารถนาอย่างแรงกล้าในรูป รส กลิ่น เสียง ผัสสะ กาม ความส�ำเริงส�ำราญ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถูกกดทับไม่ให้ออกมาเพ่นพ่าน นานแล้ว เพราะถูกมองว่าอาจน�ำมาซึ่งความวุ่นวายไม่รู้จบ ด้วย ธรรมชาติของสิ่งเหล่านี้คือ ท�ำให้คนเราไม่รู้จักพอ มีแต่ความ ต้องการเพิ่มมากขึ้น จนสามารถหาเหตุผลต่างๆ มายกสนับสนุน ความอยากของตนเองเมื่อไหร่ก็ได้

ดั ง นั้ น นโยบายลั ก ษณะนี้ จึ ง ได้ รั บ ความนิ ย มจาก ประชาชนถึงขีดสุด ชีวิตคือการแสวงหาสุข ความพอใจ ชีวิตที่ เกิดมาควรสุขให้เต็มที่ คล้ายกับปรัชญาจารวากในสมัยอินเดีย โบราณ ที่ออกมาโจมตีคุณธรรม จริยธรรม ว่าเป็นเรื่องงมงาย ชีวิตคือวันนี้เท่านั้น ควรหาความสุขตามใจอยากให้เต็มที่ก่อน ตาย เมื่ อ ด้ า นมื ด เป็ น ใหญ่ ความโกลาหลก็ ต ามมา แม้ จ ะมี ผู ้ ม องเห็ น ว่ า นโยบายดั ง กล่ า วจะน� ำ พาความ วุ่นวายตามมา แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งคะแนนเสียงที่เลือกมาได้ จ�ำ ต้องยอมรับกติกา แม้ทราบดีว่า เสียงส่วนใหญ่ไม่ได้หมายถึง ความถูกต้อง แต่เมื่อประชาชนท�ำตามนโยบายได้ไม่นาน ก็เกิด การแย่งชิงทรัพยากรด้วยก�ำลังอ�ำนาจไม่สิ้นสุด ใครมีมากได้ มาก ต่างจ้วงกินใช้สอยตามอ�ำเภอใจ ไม่เว้นแม้กระทั่งทรัพยากร บุคคลที่ถูกใช้สอยกันเป็นว่าเล่น ไม่เว้นลูกใครเมียใคร ต่างมุ่ง หมายไปบนถนนแห่งความสุขทางโลกกันถ้วนหน้า ภายใต้นิยาม ชีวิตเกิดมาควรหาความสุขให้เต็มที่

47 issue 138 JULY 2019


48 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


มากกว่า แต่ทุกคนก็เลือกที่จะยอมเหนื่อยท�ำงานหาเงินมาเพื่อ จ่ายค่าแก๊ส แลกกับความสะดวกสบายของชีวิต และแน่นอน ว่า รสชาติของไก่อบไม่ได้ส�ำคัญไปกว่าเตาที่สวยงาม ดอกไม้ไม่ ได้งามกว่ารถยนต์ การตกปลาไม่ได้ส�ำคัญไปกว่าประสิทธิภาพ ของคันเบ็ด เพศแม่ไม่ได้ส�ำคัญไปกว่าการบ่งอารมณ์ทางเพศ ความสะดวกสบายและความสมหวังทางรูป รส กลิ่น เสียง ผัสสะ และกามนั่นเอง ท�ำให้ประชาชนในเมืองนี้สมัครใจ ยอมเป็นทาส และพร้อมที่จะเลือกนโยบายนี้อย่างต่อเนื่องเมื่อ เวลามาถึง เท่ากับว่าโลกเราได้พัฒนามาถึงระบบทาสในรูปแบบ ใหม่ ที่ผู้คนไม่รู้สึกว่าถูกกดขี่ ไม่รู้สึกว่าถูกใช้งาน ระบบทาส ที่แยบยลเช่นนี้ต่างจากสมัยโบราณตรงที่ว่า ไม่มีใครสามารถ ประกาศเลิกทาสได้นอกจากจิตใจของตัวเขาเอง ครั บ ผมไม่ ท ราบว่ า สมเด็ จ พระญาณสั ง วร สมเด็ จ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พยายามจะบอกอะไรผ่าน พระนิพนธ์จิตตนคร แต่เชื่อว่าผู้ที่ติดตามงานชิ้นนี้สามารถมอง เห็นจินตนาการที่กว้างไกล สามารถนึกคิด เห็น สิ่งใดได้มากมาย เพียงแค่ท่านปูเรื่องโดยการฉายให้เห็นจุดอ่อนของมนุษย์ซึ่งหลง ในรูป รส กลิ่น เสียง ผัสสะ ก็เท่ากับบอกแนวทางการแก้ไขใน ตอนท้ายแล้วว่า ความวุ่นวายมันไม่ได้เกิดจากเศรษฐกิจ ไม่ได้ เกิดจากการเมือง ไม่ได้เกิดจากสิ่งแวดล้อม ไม่ได้เกิดจากการ ศึกษา ความรวยความจน ไม่ได้เกิดจากความโง่หรือฉลาด ไม่ ได้เกิดจากสังคม แต่มันเกิดจากใจคนล้วนๆ เหมือนกับว่า เราพูดกันไปถึงดาวอังคาร แต่จานที่ บ้านยังไม่ได้ล้างเลย

หากเปรียบเป็นการรับประทานอาหาร นโยบายการ ปกครองแต่ เ ดิ ม ของเมื อ งนี้ ปลู ก ฝั ง ให้ ป ระชาชนทานอย่ า ง มี ม ารยาท ไม่ เ คี้ ย วดั ง เลื อ กกิ น โดยค� ำ นึ ง ถึ ง คุ ณ ประโยชน์ ปลอดภั ย ต่ อ ร่ า งกาย โดยค� ำ นึ ง ถึ ง การคั ด เลื อ กวั ต ถุ ดิ บ และ ศิ ล ปะการปรุงอาหารที่พิถีพิถัน มีเอกลัก ษณ์ ต ามหลั ก ความ เป็นมา ส่งผลให้อาหารนั้นมีรสชาติเฉพาะตัว และอร่อยหาใด เปรียบไม่ได้ แต่การรับประทานอาหารในนโยบายแบบใหม่ ค�ำนึงถึง ความอร่อยตามความรู้สึกเท่านั้น ไม่จ�ำกัดวิธีทานหรือรูปแบบ ที่จะได้อาหารนั้นๆ มา อันไหนอร่อย อันนั้นถือว่าดี อันไหน ไม่อร่อย อันนั้นไม่ดี ส่งผลให้ประชาชนผู้รับประทานมีสุขภาพ แย่ลง ความอ้วนถูกนิยามว่าสมบูรณ์ ความผอมถูกนิยามว่า ไม่มีอันจะกิน เป็นต้น เหล่านี้ท�ำให้ผู้คนพากันยึดติดที่รสชาติ หอมหวาน หน้าตาสวยงาม สะดวกสบายในการทาน ไม่ต้อง เหนื่อยไปเลือกเฟ้นวัตถุดิบ หรือศึกษาวิธีการท�ำที่ซับซ้อน ค�ำนึง เพียงอย่างเดียวว่า สิ่งใดดื่มกินแล้วมีความสุขสิ่งนั้นคือสิ่งดีและ ควรค่ากับชีวิตที่ได้เกิดมา ทาสโดยสมั ค รใจ เมื่ อ นโยบายการปกครองดั ง กล่ า วแทรกซึ ม ไปทั่ ว ทุ ก หย่อมหญ้าเป็นเวลานาน ประชาชนในเมืองนี้จึงคุ้นชินกับความ สะดวกสบาย เปรียบคือ ไม่มีใครกลับไปก่อเตาไฟเพื่อหุงหา อาหารอีกต่อไปแล้ว เมื่อมีเตาแก๊สเข้ามาในชีวิต แม้จะทราบ ดีว่า การก่อเตาไฟด้วยมือนั้นจะประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัด ทรัพยากรที่มีอยู่ และให้ความอร่อยแก่อาหารที่มีมนต์เสน่ห์ 49

issue 138 JULY 2019


พอเพียงกับโลกาภิวัตน์ไป ด้วยกันได้หรือไม่ การประกาศนโยบายเศรษฐกิ จ พอเพี ย งส� ำ หรั บ ใช้ เ ป็ น แนวทางในการบริ ห ารประเทศภายใต้ คณะรั ฐ บาลชุ ด ปั จ จุ บั น ได้ ส ร้ า งความกั ง ขาให้ แ ก่ นั ก ธุ ร กิ จ ข้ า ราชการ และประชาชนกลุ ่ ม หนึ่ ง ซึ่ ง มี อ ยู ่ จ� ำ นวนไม่ น ้ อ ยด้ ว ย ความกั ง ขานี้ มิ ไ ด้ ห มายถึ ง ความกั ง ขาว่ า รั ฐ บาลชุ ด นี้ จ ะด� ำ เนิ น นโยบายตามแนวเศรษฐกิ จ พอเพี ย งได้ จ ริ ง หรื อ ไม่ แต่ เ ป็ น ความกั ง ขาที่ เ กิ ด จากความไม่ เ ข้ า ใจ ในปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งของคนกลุ ่ ม นี้ เ อง ที่ ค าดไปในท� ำ นองว่ า ประเทศไทยจะหยุ ด การเจริ ญ เติ บ โตแล้ ว หรื อ ไร การลงทุ น ต่ า งๆ จะหยุ ด ชะงั ก หรื อ ชะลอตั ว ลงหรื อ ไม่ คนไทยจะ ต้ อ งไปประกอบอาชี พ การเกษตรเช่ น นั้ น หรื อ

50 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


บทความพิ เ ศษ ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ด�ำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ค�ำว่า โลกาภิวตั น์ ทีห่ ลายคนมักเขียนผิดเป็น โลกาภิวฒ ั น์ มาจากค�ำว่า โลก รวมกับ อภิ ซึ่งแปลว่า เฉพาะ ข้างหน้า ยิ่ง และค� ำ ว่ า วตฺ ต น ซึ่ ง แปลว่ า ความเป็ น ไป โลกาภิ วั ต น์ จึ ง หมายถึ ง การด� ำ เนิ น ไปอย่ า งรวดเร็ ว และกว้ า งขวางทั่ ว โลก ก่อให้เกิดผลกระทบได้ทั้งในแง่ดีและในแง่ร้าย แต่หากใช้ค�ำว่า โลกาภิวัฒน์ (ซึ่งประกอบจากค�ำว่า วฑฺฒน ซึ่งแปลว่า ความ เจริญ) จะมีความหมายว่าเป็นความเจริญอย่างรวดเร็วและกว้าง ขวางทั่วโลก ก่อให้เกิดผลกระทบในท�ำนองที่อาจเข้าใจว่าเป็นไป ในแง่ดีด้านเดียว ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

ความไม่เข้าใจประกอบกับการละเลยไม่พยายามที่จะ ศึกษาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกันอย่างถ่องแท้ ก่อให้เกิด การตีความโดยอาศัยความรู้เท่าที่มีของตัวเองเป็นบรรทัดฐาน ล้ ว นแต่ ท� ำ ให้ เ กิ ด การสื่ อ ความที่ ค ลาดเคลื่ อ นไปจากความ จริง ความจริงที่ว่านี้ ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวในการ พัฒนาและบริหารประเทศที่ส่งเสริมให้โลกาภิวัตน์มีความเจริญ ก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน ความพอเพียง ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทีม่ กี าร ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้น�ำไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติของ ทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจ�ำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกัน ในตั ว ที่ ดี พ อสมควรต่ อ การมี ผ ลกระทบใดๆ อั น เกิ ด จากการ เปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ความพอเพียงนี้ จะต้องอาศัยเงื่อนไขของความรอบรู้ พร้ อ มด้ ว ยเงื่ อ นไขของคุ ณ ธรรมเป็ น ปั จ จั ย เพื่ อ สร้ า งให้ เ กิ ด ความสมดุ ล และความพร้ อ มต่ อ การรองรั บ การเปลี่ ย นแปลง อย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการด�ำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว

ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง มุ ่ ง เน้ น ให้ เ กิ ด การ พิ จ ารณาอย่ า งรอบด้ า น มี ค วามรอบคอบ และความ ระมั ด ระวั ง ในการวางแผนและการด� ำ เนิ น งานทุ ก ขั้ น ตอน เพื่ อ มิ ใ ห้ เ กิ ด ความเสี ย หายต่ อ การพั ฒ นา และบริ ห ารประเทศที่ อ าจสุ ด โต่ ง ไปในด้ า นใดด้ า น หนึ่ ง เป็ น การพั ฒ นาที่ ค� ำ นึ ง ถึ ง การมี ร ากฐานที่ มั่ น คง แข็ ง แรง สร้ า งการเจริ ญ เติ บ โตอย่ า งมี ล� ำ ดั บ ขั้ น

51 issue 138 JULY 2019


เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง จึ ง เป็ น ปรั ช ญาชี้ ถึ ง แนวการ ด� ำ รงอยู ่ แ ละปฏิ บั ติ ต นของประชาชนในทุ ก ระดั บ ตั้ ง แต่ ร ะดั บ ครอบครั ว ระดั บ ชุ ม ชน จนถึ ง ระดั บ รั ฐ ทั้ ง ในการพั ฒ นาและบริ ห ารประเทศให้ ด� ำ เนิ น ไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ เพื่ อ ให้ ก ้ า วทั น ต่ อ โลกยุ ค โลกาภิ วั ต น์

กระแสโลกาภิวัตน์ มิได้ท�ำให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ในแง่เดียว แต่ในอีกแง่หนึ่งยังท�ำให้เกิดความเสื่อมถอยตกต�่ำ ทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรรมจากการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง เศรษฐกิจพอเพียง มิได้ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ก้าวทันโลกโดยเฉพาะการ พัฒนาเศรษฐกิจ แต่ยังให้ค�ำนึงถึงความจ�ำเป็นที่จะต้องมีระบบ ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบอันเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงนั้นๆ ด้วย ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง มุ ่ ง เน้ น ให้ เ กิ ด การ พิจารณาอย่างรอบด้าน มีความรอบคอบ และความระมัดระวัง ในการวางแผนและการด�ำเนินงานทุกขั้นตอน เพื่อมิให้เกิดความ เสียหายต่อการพัฒนาและบริหารประเทศที่อาจสุดโต่งไปใน ด้านใดด้านหนึ่ง เป็นการพัฒนาที่ค�ำนึงถึงการมีรากฐานที่มั่นคง แข็งแรง สร้างการเจริญเติบโตอย่างมีล�ำดับขั้น สามารถยกระดับ คุณภาพชีวิตทั้งทางกายภาพและทางจิตใจควบคู่กัน หลั ก การของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งจึ ง มิ ไ ด้ ขั ด กั บ กระแส โลกาภิวัตน์ ตรงกันข้าม กลับไปส่งเสริมให้กระแสโลกาภิวัตน์ ได้รับการยอมรับมากขึ้น ด้วยการเลือกรับการเปลี่ยนแปลงที่ส่ง ผลกระทบในแง่ดีต่อประเทศ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องสร้างระบบ

ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการเปลี่ยนแปลงในแง่ที่ไม่ดีและ ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อจ�ำกัดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อ ความเสียหายหรือไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศ ท�ำให้การ พัฒนาและบริหารประเทศยังคงด�ำเนินต่อไปได้ การพิ จ ารณาว่ า สิ่ ง ใดควรรั บ หรื อ สิ่ ง ใดไม่ ค วรรั บ ภาย ใต้การเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์ เป็นเครื่องชี้ให้เห็น ถึงคุณลักษณะของความพอประมาณในปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ที่มิใช่การจ�ำนนต่อสภาพของโลกาภิวัตน์ ที่ต้องรับ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งหมด ในขณะเดียวกัน ก็มิใช่การปฏิเสธ แบบหัวชนฝาว่าไม่เอาโลกาภิวัตน์ทั้งหมด หนทางที่จะพิจารณา เช่นนี้ได้ ผู้บริหารประเทศและประชาชนในประเทศจ�ำต้องมี 52

IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


ความสามารถในการพิจารณาเหตุและผล นั่นคือ การรู้ถึงเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และการรู้ถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการ ตัดสินใจหรือการกระท�ำนั้นๆ อย่างครบถ้วน ก่อนที่จะตัดสินใจลงมือท�ำ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาด หรือให้มีโอกาส เกิดความผิดพลาดขึ้นน้อยที่สุด ความสามารถในการพิจารณาเหตุและผลนี้ จะต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรมที่ พรั่งพร้อมในตัวของผู้บริหารประเทศและประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศ การที่รัฐบาลประกาศธงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารประเทศ ถือเป็นการเริ่มต้นของก้าวแรกที่ถูกทิศถูกทาง และ เมื่อพิจารณาจากบุคคลส่วนใหญ่ในคณะรัฐบาล ก็ยิ่งสร้างความมั่นใจในระดับหนึ่งว่า นโยบายดังกล่าวน่าจะได้รับการแปลงไปสู่ การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและในทิศทางที่ถูกต้อง ต่างกับรัฐบาลในชุดผ่านๆ มา ที่ด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงในแบบ วจีบรม (Lip-Service) ซึ่งหาแก่นสารมิได้ อย่างไรก็ตาม เจตนารมณ์ในแนวนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง ยังต้องได้รับการถ่ายทอดเป็นแผนงาน (Plan) วิธีการด�ำเนิน งาน (Strategy) และการปฏิบัติ (Execution) ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ได้อย่างเที่ยงตรงแม่นย�ำ มิฉะนั้นแล้ว การอภิวัตน์เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ก็อาจส่งผลกระทบในแง่ที่ไม่พึงปรารถนาก็เป็นได้ โดย www.sufficiencyeconomy.com 53 issue 138 JULY 2019


เศรษฐกิจพอเพียง

กับการจัดการศึกษาของชาติ นพ.เกษม วัฒนชั ย 54 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


Let’s Talk ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ปาฐกถา เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการศึกษาของชาติ” ในงาน ประชุมมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ป รั ช ญ า เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง ที่ พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ คิดว่าคนส่วน ใหญ่รู้จักและได้น�ำไปใช้อยู่แล้ว จึงขอน�ำเรื่องการน�ำไปใช้ใน แวดวงการศึกษาไทยมากล่าว ซึ่งปรัชญานี้เป็นหลักคิดและแนว ปฏิบัติที่ดี เพื่อสร้างความเข้มแข็งรอบด้านและเป็นภูมิคุ้มกัน เยาวชนไทย “ภูมิคุ้มกัน” เป็นภาษาทางการแพทย์ คือภูมิคุ้มกันต่อ โรคภัยไข้เจ็บ เช่น เราสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้จากการฉีดวัคซีน ป้องกัน เพื่อให้เมื่อเวลาถูกเชื้อโรคแล้วจะได้ไม่เป็นโรคหรือเป็น ก็ไม่รุนแรง แต่ถ้าเราไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคใดโรคหนึ่ง สุขภาพ อ่อนแอ เราก็จะเป็นโรคนั้นร้ายแรงมาก ในทางสั ง คม ภู มิ คุ ้ ม กั น คื อ ความเข้ ม แข็ ง ที่ จ ะรั บ มื อ กับผลกระทบทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวคิด และแนวปฏิบัติเพื่อให้คนไทยเข้มแข็งรอบด้าน และรับสั่งว่า น�ำไปใช้ได้กับนักเรียน นักศึกษา ครูบาอาจารย์ ผู้บริหารสถาน ศึกษา ตลอดถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ครอบครัว ครู นักเรียน สถานศึกษาต่างๆ ชุมชนและประเทศชาติ ก็สามารถ ใช้ได้

“เป้ า หมายเพื่ อ เกิ ด ความสมดุ ล และหากมี ก าร “การสร้ า งคนดี ให้ แ ก่ บ ้ า นเมื อ งเป็ น เรื่ อ งที่ ย ากและ เปลี่ ย นแปลงจากภายนอกภายในมากระทบต่ อ เด็ ก หรื อ ยาวแต่ ก็ ต ้ อ งท� ำ ” ดั ง นั้ น การเรี ย นการสอนจะไม่ ครอบครัว จะได้สามารถรับมือได้ โรงเรียนก็ไม่ซวนเซ เช่นกรณี ได้ เ น้ น ให้ เ ด็ ก เก่ ง แต่ ท� ำ ให้ เ ด็ ก มี น�้ ำ ใจ มี จิ ต อาสา น�้ำท่วม ๓ เดือนบางโรงเรียนแย่เลย พอน�้ำลดไม่รู้จะท�ำอย่างไร สามั ค คี หั น มาช่ ว ยเหลื อ กั น ซึ่ ง พบว่ า การที่ เ ด็ ก มี แต่โรงเรียนที่เข้มแข็งมีภูมิคุ้มกัน สามารถฟื้นได้เร็ว เช่นเดียวกับ น�้ ำ ใจ มี คุ ณ ธรรม ส่ ง ผลให้ เ ด็ ก เรี ย นดี ขึ้ น กว่ า เดิ ม ครอบครัวครูเมื่อโดนน�้ำท่วมแล้วน�ำปรัชญานี้ไปใช้ มีภูมิป้องกัน วั ด ได้ จ ากสถิ ติ ก ารสอบโอเน็ ต อยู ่ ใ นล� ำ ดั บ ที่ ดี ขึ้ น ๔ ด้านก็เข้มแข็งและฟื้นได้เร็ว แต่ครูที่ไม่อีนังขังขอบเรื่องเหล่า นี้เป็นหนี้เป็นสินรุนรัง ทะเลาะเบาะแว้งกัน” เรื่ อ ยๆ ปรั ช ญานี้ เ นื้ อ หาไม่ ย าก และโครงการพั ฒ นาแห่ ง สหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี) ได้แปลหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงเป็นภาษาอังกฤษ เอาแนวคิดและตัวอย่างในประเทศไทย ที่ประสบความส�ำเร็จ แปลเป็นภาษาอังกฤษเผยแพร่ใน ๑๖๖ ประเทศ คนแทบทุ ก ทวี ป ต่ า งตื่ น เต้ น กั บ ปรั ช ญานี้ ม าก เพราะ วิกฤตของมนุษย์วันนี้และวันหน้ามันเยอะแยะ ถ้ายังดันทุรัง ใช้วัตถุนิยมบริโภคนิยมและทุนนิยมสามานย์ นั่นคือทุนนิยม 55 issue 138 JULY 2019


บวกคอรัปชั่น อาจจะลงเหวมากขึ้น ฉะนั้นต้องรีบถอนตัวขึ้น มาจากการจมปลัก ปลักที่ว่าคือการบริโภคนิยมและวัตถุนิยม อย่างไม่ลืมหูลืมตา ปรัชญานี้ได้รับการวิเคราะห์ โต้เถียง ทดสอบ และน�ำไป ใช้ในหลาย ๆ สิ่งส�ำคัญมากคือเรื่องการก�ำหนดให้ยึด “ทางสาย กลาง” ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุทรงใช้ค�ำง่ายๆ คือ “ไม่มากเกิน ไม่น้อยเกิน” ถ้าใครใช้แล้วจะสามารถรับมือกับผลกระทบและ การเปลี่ยนแปลงทั้งตนเองและผู้อื่นได้ และสามารถก้าวทันโลก ด้วย แม้จะมีคนเข้าใจผิดว่าการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะ จนดักดาน ไม่มีโอกาสรวย ไม่มีโอกาสเก่ง จริงๆแล้วปรัชญา นี้สร้างความเข้มแข็ง และเมื่อพูดถึงเศรษฐกิจ ก็รวมถึงความ สามารถแข่งขันให้ทันโลก องค์ประกอบที่ครบถ้วนของความพอเพียงมี ๓ อย่าง ถ้า ไปศึกษาพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะ เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้ ขอน�ำมาขยายใจความให้นักเรียน ครูหรือ ผู้บริหารโรงเรียนได้เข้าใจง่ายขึ้น องค์ ป ระกอบแรก- ความพอประมาณ มี เ งื่ อ นไขว่ า พอประมาณในอั ต ภาพขณะนั้ น เช่ น นั ก ศึ ก ษาคนหนึ่ ง เข้ า มหาวิทยาลัยอยู่ปีหนึ่ง ตนเองและครอบครัวจะมีอัตภาพใน ขณะนั้น แต่ว่าเมื่อขึ้นปี ๒ อัตภาพเปลี่ยนไป ปีสามปีสี่ก็เปลี่ยน การตัดสินใจและใช้ชีวิตของนักศึกษาก็ต้องขึ้นอยู่กับอัตภาพใน แต่ละขณะ

ครู ที่ เ คยรวยแต่ ข ณะนี้ จ นแล้ ว แต่ ยั ง ยึ ด อั ต ภาพเดิ ม ก็ไม่ควร การตัดสินใจท�ำอะไร “พอประมาณ” ต้องเป็นไป ตามอั ต ภาพแต่ ล ะขณะที่ ด� ำ รงอยู ่ อย่ า หลงกั บ อดี ต กระทั่ ง บางคนหลงกับภาพที่ตนเองไม่มีด้วยซ�้ำไป ตรงนี้ต้องเก็บมา เตือนลูกหรือลูกศิษย์ และคนที่ท�ำงานด้วยกันในโรงเรียนหรือ มหาวิทยาลัย ดังภาษิตจีนกล่าวว่า เตี่ยมักคิดว่าลูกเรียนเก่ง-ลูกมักคิด ว่าเตี่ยรวย ยิ่งลูกไปเรียนที่เมืองอื่นยิ่งแล้วใหญ่ ต่างคนต่างเข้าใจ ผิด เช่น เวลาลูกจะตัดสินใจซื้ออะไรก็คิดว่าพอประมาณตอนเตี่ย รวย เช่นเดียวกับครูบาอาจารย์ที่เป็นหนี้เป็นสินเยอะแยะ เพราะ ไม่ได้ประเมินอัตภาพของตนเองเป็นระยะ ๆ องค์ประกอบที่สอง- มีเหตุผลอธิบายได้ ต้องสอนลูก เสมอว่าเวลาลูกจะใช้เงิน นอกจากพอประมาณแล้ว ต้องสามารถ อธิบายเหตุผลของการใช้เงินให้ได้ด้วย ถ้าเป็นผู้ใหญ่ต้องอธิบาย ได้ตามกฎเกณฑ์ กฎหมาย และกฎศีลธรรม องค์ประกอบที่สาม- สร้างภูมิคุ้มกัน โดยถามตนเองว่า กระทบกับเงินออมหรือกระทบกับภูมิคุ้มกัน ๔ ด้านหรือไม่ และ หากกระทบจะก่อเกิดหนี้สินมากขึ้นหรือท�ำให้เงินออมหมดไป

ป รั ช ญ า เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง ที่ พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ได้ พ ระราชทานไว้ ตั้ ง แต่ ป ี ๒๕๔๒ คิ ด ว่ า คนส่ ว นใหญ่ รู ้ จั ก และได้ น� ำ ไปใช้ อ ยู ่ แ ล้ ว จึ ง ขอน� ำ เรื่ อ งการน� ำ ไปใช้ ใ นแวดวงการศึ ก ษาไทยมา กล่ า ว ซึ่ ง ปรั ช ญานี้ เ ป็ น หลั ก คิ ด และแนวปฏิ บั ติ ที่ ดี เพื่ อ สร้ า งความเข้ ม แข็ ง รอบด้ า นและเป็ น ภู มิ คุ ้ ม กั น เยาวชนไทย

56 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


เงื่อนไขสู่ความส�ำเร็จ คือ ๑.หลักวิชาความรู้ ต้องใช้วิทยาการ ความรู้อย่างรอบคอบทั้งในขั้นตอนการวางแผนและปฏิบัติ ไม่ ใช้ไสยศาสตร์โหราศาสตร์ในการพัฒนาสถานศึกษา ๒.หลัก คุณธรรมโรงเรียนต้องสร้างพื้นฐานจิตใจคนในโรงเรียน ทั้งผู้ บริหาร คณะกรรมการโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครองให้มี คุณธรรม โดยเฉพาะความซื่อสัตย์สุจริต ๓.หลักการด�ำเนิน ชีวิต ต้องใช้ความรอบคอบ มีความเพียร และใช้ความรู้อย่าง เหมาะสม สิ่งส�ำคัญต้องขยันตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะ สามารถน�ำชีวิตอยู่รอด สิ่งเหล่านี้จะช่วยบริหารและพัฒนาศักยภาพบุคลากร สถานศึกษา หลักสูตรการเรียนการสอน และคุณภาพนักเรียน ซึ่งขณะนี้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับท้องถิ่นได้น�ำ ไปประยุ ก ต์ แล้ ว ขณะที่ ผู ้ ใ หญ่ ใ นกระทรวงศึ ก ษาธิการยังไม่ ซาบซึ้ง เพราะมีการเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อย ส่งผลให้นโยบายไม่ ต่อเนื่อง ผมมี ค วามเชื่ อ ว่ า ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งเป็ น หลั ก คิดและแนวปฏิบัติที่สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ส�ำหรับพัฒนา ระบบการศึ ก ษาไทย ใช้ ไ ด้ กั บ ทุ ก คนในสถานศึ ก ษา ซึ่ ง การ

ครึ่งหนึ่ง หากเป็นเช่นนั้นอนาคตจะท�ำอย่างไร ดังนั้นเราต้อง วางแผนการด�ำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับอัตภาพ “เคยมีบทสัมภาษณ์เศรษฐีอเมริกาคนหนึ่งกล่าวว่าคุณ มีเงินมีทรัพย์สินเยอะแยะ ถ้าคุณตายไปลูกจะดูแลทรัพย์สมบัติ ดังกล่าวได้หรือไม่ จากนั้นนักวิจัยกลุ่มนี้ได้ไปสัมภาษณ์เศรษฐี อเมริกันหลายคน สรุปเป็นรูปแบบการเลี้ยงลูก ดังนี้ ๑.จะ สอนลูกให้รู้จักค่าของเงิน ๒.สอนลูกให้รู้จักใช้เงินอย่างรู้คุณค่า ๓.สอนลู ก ให้รู้จัก การออมและท�ำบุญ สิ่งเหล่ า นี้ มีประโยชน์ ส�ำหรับคนไทย และครูที่จะสอนลูกศิษย์” ถ้าแบ่งครูในโรงเรียนเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มครูเป็นหนี้ กับครูไม่เป็นหนี้ ครูที่เป็นหนี้มากจะมีก�ำลังใจสอนหนังสือได้ เต็มที่อย่างไร เพราะคนเป็นหนี้ความเชื่อมั่นจะลดลงเยอะ หาก ผู้อ�ำนวยการอยากช่วยครูที่เป็นหนี้สิน ไม่ใช่แก้โดยไปหาแหล่ง กู้เงินใหม่ ซึ่งนอกจากปัญหาไม่ลดลง ยิ่งเป็นการเพิ่มพูนหนี้สิน ลองน�ำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปช่วยแก้ปัญหาให้ครู ส่งเสริม ให้ประหยัดและวางแผนการใช้เงิน ปัญหาก็จะดีขึ้น สิ่งส�ำคัญที่จะส่งผลดีต่อการศึกษาไทย คือต้องเตรียม ตนเองก่อนขับเคลื่อนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้ ๓ 57

issue 138 JULY 2019


สร้างความเข้มแข็ง ๔ ด้านท�ำได้เลยโดยไม่ต้องใช้งบประมาณ สิ้นเปลือง ดั ง กระแสรั บ สั่ ง ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ที่ ว่า “อย่ามาอ้างว่าท�ำไม่ได้เพราะขาดแคลน แต่ถ้าท�ำได้ทั้งที่ ขาดแคลนจะเป็นคนเก่งแท้จริง” สอดคล้องกับงาน “การสร้างกระบวนทัศน์และหลักคิด ที่เหมาะสมส�ำหรับคนไทย” พร้อมประกาศเจตนารมณ์พันธะ สัญญาร่วมกันขององค์กรภาคีเครือข่าย ๒๗๕ เครือข่าย กว่า ๕๐๐ คน เพื่อร่วมสร้างกระบวนทัศน์และหลักคิดส�ำหรับคน ไทย โดย ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ปาฐกถา พิเศษ หัวข้อ “หลักคิดที่เหมาะสมส�ำหรับคนไทย” ว่า สังคม ไทยในอดีตได้รับการยกย่องจากต่างชาติในเรื่องความอ่อนโยน มนุษยธรรม กตัญญู แต่ปัจจุบันเราเผชิญกับวิกฤติคุณธรรม ต้นทุนเหล่านี้ลดต�่ำลงจากกระแสความเปลี่ยนแปลงทั้งภายใน และภายนอกประเทศที่กระทบเข้ามา ท�ำให้ถึงเวลาที่เราจะ ต้องคิดว่า จะปล่อยให้กระแสไหลบ่าจนพาตกเหว หรือ ลุกขึ้น มาสู้กับมัน ซึ่งปัจจุบันจ�ำเป็นต้องท�ำให้ต้นทุนที่เรามีอยู่มีคุณค่า ขึ้นมา โดยสถาบันหลักของไทย คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบั น ศาสนา สถาบั น ครอบครั ว และชุ ม ชน ซึ่ ง การปรั บ กระบวนทัศน์ทั้ง ๕ ข้อ คือ ๑ พอเพียง ๒ วินัย ๓ สุจริต ๔ จิต สาธารณะ ๕ รับผิดชอบ จ�ำเป็นต้องท�ำให้เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่เพียง ให้สอนกันในโรงเรียนและให้เด็กท่องจ�ำเพื่อหวังคะแนนอย่าง เดียว แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องน�ำไปปฏิบัติต่อให้เกิดผล ซึ่งโครงการโรงเรียนคุณธรรม ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้ทรงริเริ่มไว้เป็นต้นแบบส�ำคัญของการปรับใช้ เป็นกระบวนทัศน์ ๕ ข้อ ซึ่งทรงตรัสว่า “การสร้างคนดี ให้แก่ บ้านเมืองเป็นเรื่องที่ยากและยาวแต่ก็ต้องท�ำ” ดังนั้น การเรียน การสอนจะไม่ได้เน้นให้เด็กเก่ง แต่ท�ำให้เด็กมีน�้ำใจ มีจิตอาสา สามัคคี หันมาช่วยเหลือกัน ซึ่งพบว่าการที่เด็กมีน�้ำใจ มีคุณธรรม ส่งผลให้เด็กเรียนดีขึ้นกว่าเดิม วัดได้จากสถิติการสอบโอเน็ตอยู่ ในล�ำดับที่ดีขึ้นเรื่อยๆ “หากจะสร้างให้เด็กมีวินัยได้ต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่ง ปั จ จุ บั น เด็ ก อยู ่ ใ นระบบการศึ ก ษา จึ ง ต้ อ งให้ ค วามส� ำ คั ญ ใน ประเด็นการสร้างคน โดยเน้นคนดี มากกว่าคนเรียนเก่ง ไม่ใช่ แข่งกันเรียน แข่งกันกวดวิชา แต่ต้องปรับความคิดมีจิตอาสา เด็กช่วยกันติว ให้ค�ำแนะน�ำกันเรื่องการเรียน เน้นเรื่องระบบ ธรรมาภิบาล ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ท�ำให้องค์กรหรือ โรงเรียนมีคุณภาพ คุณธรรม จัดสิ่งแวดล้อม เชื่อว่า ๕-๑๐ ปีนี้ ประเทศจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น” ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม กล่าว 58 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐ ทรงเห็นความส�ำคัญด้านการศึกษา และพระราชทาน ราโชบายด้านการศึกษา ซึ่งทรงอยากให้การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน คือ ๑.ทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง เข้าใจใน พื้นฐานของบ้านเมือง ยึดมั่นในศาสนา มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ และเอื้ออาทรต่อครอบครัวชุมชน ๒.พื้นฐานชีวิตที่มั่นคง เข้มแข็ง รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี ปฏิบัติแต่สิ่งที่ชอบ สิ่งที่ดี ปฏิเสธสิ่งที่ผิด สิ่งที่ชั่ว ช่วยกันสร้างคนดีแก่บ้านเมือง ๓.มีอาชีพ มี งานท�ำ ไม่ใช่เรียนอย่างเดียวแต่ไม่สามารถน�ำมาปฏิบัติใช้ได้ และ ๔.เป็นพลเมืองดี ไม่ว่าครอบครัว สถานศึกษา สถานประกอบ การ ต้องส่งเสริมให้โอกาสท�ำหน้าที่พลเมืองดี โดยเห็นอะไรที่ดีต่อชาติบ้านเมืองก็ต้องท�ำ เช่นงานจิตอาสาเป็นต้น โดยสิ่งส�ำคัญที่ เน้นย�้ำคือ การท�ำเพื่อชาติบ้านเมือง เขียนโดย นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี / ณัฐดนัย ใหม่ซ้อน ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน ส�ำนักข่าวอิศรา เรียบเรียง

59 issue 138 JULY 2019


ขายหมูแดดเดียวออนไลน์

เยาวชนตัวเล็ก คิดท�ำเพื่อครอบครัว 60 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


อาชี พ ทางเลื อ ก ส่วนตัวและส่งเสียให้เรียน จนมาวันหนึ่งยายเริ่มป่วยท�ำให้หนู เกิดมีความกังวลหลายอย่าง กลัวที่สุดคือการไม่เหลือใครจึง ปรึกษาน้าว่าหนูควรท�ำอย่างไร หนูอยากมีอาชีพอยากมีเงินเก็บ และหนูก็อยากเรียน น้าแนะน�ำว่าบ้านเราค้าขายหมูมาเป็นเวลา นานาเราจะมาท�ำอะไรที่มันต่อยอดดีไหม เช่นการแปรรูปสินค้า เพราะว่ายายท�ำหมูแดดเดียวอร่อยและเคยขายหมูแดดเดียวใน ตลาด หนูกับน้าเลยคิดว่าอยากให้มีคนรู้จักและมีรสชาติของหมู แดดเดียวของยายหนูนั่นเอง จึงมีความคิดที่ว่าปัจจุบันนี้การ ซื้อขายสินค้ามีความสะดวกสบายมากจากเมื่อก่อน หนูจึงมา ปรึกษาคุณครูว่าเราสามารถขายสินค้าได้จากทางไหนบ้างคุณครู แนะน�ำหนูว่าให้ลองโพสต์ขายสินค้าทางหน้าfacebookของหนู เอง อีกคนที่ให้ค�ำแนะน�ำหนูเป็นอย่างดีคือน้าของหนูที่อยู่ข้าง หนูคอยสอนคอยบอกเกี่ยวกับการขายและการหาลูกค้าคิดชื่อ สินค้าคิดรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ส่วนยายเป็นคนบอกสูตรเป็นคน ผสมเครื่องปรุงต่างๆ และหนูไม่ได้ขายแค่หมูแดดเดียวหนูนะ คะหนูยังขายข้าวเหนียวหมูแดดเดียวในโรงเรียน ปัจจุบันหนู เริ่มการขายหมูแดดเดียวและข้าวเหนียวหมูแดดเดียวนี้มาได้ ประมาณเกือบ ๒ อาทิตย์แล้ว ละจะต่อยอดสินค้าไปเรื่อยๆ หา รายได้ให้ตนเองและครอบครัวตลอดไปค่ะ

ชื่ อ เพจหรือช่ องทางการติดต่อ

Facebook sutarinee pholddngnok h t t p s : / / w w w . f a c e b o o k . c o m / p r o fi l e . php?id=๑๐๐๐๐๔๒๐๘๓๑๐๘๙๖&epa=SEARCH_BOX

เพจ หมู แดดเดียวสูตรหลังวัง

https://www.facebook.com/%E๐%B๘%AB%E๐ %B๘%A๑%E๐%B๘%B๙%E๐%B๙%๘๑%E๐%B๘%๙๔% E๐%B๘%๙๔%E๐%B๙%๘๐%E๐%B๘%๙๔%E๐%B๘% B๕%E๐%B๘%A๒%E๐%B๘%A๗%E๐%B๘%AA%E๐%B ๘%B๙%E๐%B๘%๙๕%E๐%B๘%A๓%E๐%B๘%AB%E๐ %B๘%A๕%E๐%B๘%B๑%E๐%B๘%๘๗%E๐%B๘%A๗ %E๐%B๘%B๑%E๐%B๘%๘๗-๑๒๑๐๕๕๐๒๑๒๔๖๓๙๖๑/

ชื่ อ-สกุล

นางสาว สุธารินี พลดงนอก ชื่อเล่น กิ๊ฟ เกิดวัน พฤหัสบดี ที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ปัจจุบันอายุ ๑๘ ปี ศึกษาอยู่ที่ โรงเรียนผดุงปัญญา จังหวัด ตาก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มาก จากศูนย์ครอบครัวพอเพียง_โรงเรียนผดุงปัญญา จังหวัดตาก คุณยายชื่อ คุณยายจ�ำเนียร พุ่มพวง คุณน้าชื่อ คุณน้าอเนก พุ่มพวง น้องชายชื่อ นายอานนท์ พลดงนอก หรือ นนท์ ที่อยู่ ๓๐๔ หมู่ที่ ๕ ต�ำบล เชียงทอง อ�ำเภอวังเจ้า จังหวัด ตากตาก ๖๓๐๐๐

การตัดสินใจในการขาย

เนื่องจากว่าพ่อกับแม่เสียชีวิตแล้วอาศัยอยู่กับยายและ น้องชาย ซึ่งยายอายุ ๖๕ ปี ต้องรับผิดชอบส่งเสียค่าใช้จ่าย 61 issue 138 JULY 2019


62 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


วิธีการเริ่มแรกในการขาย

๑.คิดสูตร ๒.จัดหาอุปกรณ์ ๓.ทดลองสูตรให้ได้รสชาติที่ดี ๔.วางแผนเรื่องการตลาด ๕.ให้คนที่เราไว้ใจชิมสินค้าและบอกรสชาติเพื่อน�ำมา ปรับปรุง ๖.สร้างเพจสินค้า เพจ หมูแดดเดียวสูตรหลังวัง

เคร็ดลับในการขาย

ตอนนี้สินค้าของหนูส่งเคอรี่ ส่งภายใน ๑ วันถึง และ ก�ำลังคิดโปรโมชั่น สั่งสินค้า ๕-๑๐ กิโลขึ้นไป จัดส่งสินค้าฟรี

หลักการในการขาย

หาช่องทางในการขาย สร้างความหน้าเชื่อถือให้ลูกค้า สนในสินค้าของเราน�ำเสนอสินค้าของเรา ให้ลูกค้าเห็นรูปแบบ สินค้าของเรา หรือให้ลูกค้าชิมรสชาติสินค้าที่เราผลิต

สิ่งส�ำคัญในการขาย

เราต้องมีความเข้าใจความต้องการของลูกค้า สินค้าที่ หนูขาย คืออาหารสามารถรับประทานได้ทุกวัย แต่ทุนทรัพย์ ของแต่ละคนนั้นย่อมมีต่างกันไป ยกตัวอย่าง เช่น น�ำสินค้า มาขายในโรงเรียน คือข้าวเหนียวหมูมาขายสิ่งแรกคือต้องซื้อ ในราคาที่ ต นเองนั้ น สามารถซื้ อ ได้ ห รื อ เป็ น ราคานั ก เรี ย นนั้ น เอง สินค้าของหนูนั้นส่งขายต่างจังหวัด ขายในโรงเรียน ขาย ตามแถวบ้าน ขายปลีก-ส่ง และขายในตลาดสดหนูพยายามที่ จะขายสินค้าได้หลายๆ ทาง เพื่อหนูจะได้มีทุนและท�ำกิจการ ค้าขายแบบนี้ไปเรื่อยๆ

หนู ไ ม่ ไ ด้ ข ายแค่ ห มู แ ดดเดี ย วหนู น ะคะหนู ยั ง ขายข้ า ว เหนี ย วหมู แ ดดเดี ย วในโรงเรี ย น ปั จ จุ บั น หนู เ ริ่ ม การ ขายหมู แ ดดเดี ย วและข้ า วเหนี ย วหมู แ ดดเดี ย วนี้ ม าได้ ประมาณเกื อ บ ๒ อาทิ ต ย์ แ ล้ ว ละจะต่ อ ยอดสิ น ค้ า ไปเรื่ อ ยๆ หารายได้ ใ ห้ ต นเองและครอบครั ว ตลอด ไปค่ ะ

ปั จจุ บันรายได้ในการขาย

รวมยอดราคาล่าสุดท�ำการขายได้ ๑๐,๐๐๐ กว่าบาท ภายใน ๑ อาทิตย์ รวมทุนและก�ำไร เงินทุน ๖,๐๐๐ บ. ก�ำไร ๔,๐๐๐ บ. สามารถสร้ า งความสุ ข ให้ กั บ ครอบครั ว และชุ ม ชน อย่างไร ท�ำให้ครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันภายในครอบครัว มี สภาวะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ท�ำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกหมูแดด เดียวที่ปลอดภัย

สโลแกนของร้าน

กินง่ายขายคล่อง

63 issue 138 JULY 2019


“ทุกปั ญหามีค่าแก่การรับฟั ง” อ่านก่อนเกิดการฆ่าตัวตายรายต่อไป เราคงได้ เ ห็ น ข่ า วบุ ค คลที่ มี ชื่ อ เสี ย งและอยู ่ บ นจุ ด สู ง สุ ด ของหน้ า ที่ ก ารงานตั ด สิ น ใจฆ่ า ตั ว ตาย ทั้ ง โรบิ น วิ ล เลี ย มส์ , อเล็ ก ซานเดอร์ แม็ ก ควี น , เคท สเปด ฯลฯ และคงท� ำ ให้ เ ราสงสั ย เหลื อ เกิ น ว่ า ถ้ า เหตุ ก ารณ์ แบบนี้ เ กิ ด ขึ้ น กั บ เรา หรื อ แม้ กั บ คนใกล้ ตั ว ของเรา เราจะท� ำ อย่ า งไร และเราจะช่ ว ยพวกเขาได้ อ ย่ า งไร

64 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


บทความพิ เ ศษ

65 issue 138 JULY 2019


สถานการณ์ ค วามรุ น แรงของการฆ่ า ตั ว ตายใน ประเทศไทยและทั่ ว โลก • ประเทศที่ มี อั ต ราการฆ่ า ตั ว ตายสู ง ที่ สุ ด ในโลกคื อ ประเทศกรีนแลนด์ รองลงมาคือประเทศในกลุ่มยุโรปตะวัน ออก ในเอเชียประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุดคือเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และศรีลังกา • โดยเฉลี่ ย ประเทศไทยมี ค นฆ่ า ตั ว ตายส� ำ เร็ จ ปี ล ะ ๔,๐๐๐ คน เท่ากับว่าทุก ๒ ชั่วโมงจะมีคนฆ่าตัวตายส�ำเร็จ ๒ คน และในทุกประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน จะมีคนฆ่าตัวตาย ส�ำเร็จ ๖ คน • ๑๐ อันดับของจังหวัดที่มีการฆ่าตัวตายสูงสุดนั้นมีถึง ๙ จังหวัดที่เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบน โดยในประเทศไทย จังหวัดล�ำพูน ครองสถิติการฆ่าตัวตายสูงสุดติดต่อมาหลายปี แล้ว • ข้อสังเกตหนึ่งก็คือ ประเทศและพื้นที่ที่มีอัตราการฆ่า ตัวตายสูงนั้นล้วนเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมการรักษาหน้า ให้ ความส�ำคัญกับภาพลักษณ์ เพราะฉะนั้นเมื่อมีความทุกข์ก็มัก คุ ณ เคยคิ ด ฆ่ า ตั ว ตายไหมครั บ จะไม่ยอมเปิดเผยหรือระบายให้คนรอบข้างฟัง หรือไม่สามารถ เมื่อก่อนผมเคยคิดว่าชีวิตตัวเองห่างไกลจากการฆ่าตัว รับความรู้สึกล้มเหลวที่กระทบต่อภาพลักษณ์ได้ เมื่อทุกข์ก็จะยิ่ง ตายเหลือเกินครับ จนกระทั่ง ๔ ปีก่อน พี่ที่เคารพรักท่านหนึ่ง รู้สึกทุกข์หนักกว่าเดิม เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ผมไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าคนที่ดูสดใส • นอกจากนั้นยังพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์มีส่วนท�ำให้ ทัศนคติเป็นบวก และเป็นก�ำลังใจให้กับทุกคนรอบตัวจะเป็น เกิดการฆ่าตัวตายได้เช่นกัน เนื่องจากแอลกอฮอล์เร่งความรู้สึก คนที่มีความคิดฆ่าตัวตายขึ้นมาได้ นอกจากนั้น ที่ผ่านมาเราคง โศกเศร้า และท�ำให้ไม่สามารถควบคุมสติได้ ได้เห็นข่าวบุคคลที่มีชื่อเสียงและอยู่บนจุดสูงสุดของหน้าที่การ งานตัดสินใจฆ่าตัวตาย ทั้ง โรบิน วิลเลียมส์, อเล็กซานเดอร์ แม็กควีน, เคท สเปด ฯลฯ และคงท�ำให้เราสงสัยเหลือเกินว่า ถ้าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นกับเรา หรือแม้กับคนใกล้ตัวของเรา เราจะท�ำอย่างไร และเราจะช่วยพวกเขาได้อย่างไร ในโอกาสที่วันที่ ๑๐ กันยายนของทุกปี คือวันป้องกัน การฆ่าตัวตายโลก ผมได้มาพูดคุยกับ คุณตระการ เชนศรี นายก สมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย องค์กรซึ่งเชื่อว่าการฟังด้วย ใจช่วยทั้งตัวเราเองและผู้อื่น และเปิดคอลเซ็นเตอร์ท�ำหน้าที่รับ ฟังและให้ค�ำปรึกษาคนที่มีความคิดฆ่าตัวตายในประเทศไทย เพื่ อ ฉายภาพของสถานการณ์ ก ารฆ่ า ตั ว ตายในประเทศไทย ส�ำรวจจิตใจของคนที่ฆ่าตัวตาย คิดสั้น คิดมาก ไม่รักตัวเอง อย่างที่คนคิดจริงไหม ตลอดจนวิธีการรับมือกับความคิดอยาก ฆ่าตัวตาย อยากให้คุณอ่านบทความนี้ครับ ไม่ว่าคุณจะรู้สึกว่าการ ฆ่าตัวตายเป็นสิ่งไกลตัวหรือเปล่า เพราะเราไม่รู้ได้เลยว่าวันหนึ่ง เราอาจได้ใช้สิ่งนี้กับคนที่เรารัก หรือแม้กระทั่งกับตัวเอง 66 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


• ช่วงอายุที่มีการฆ่าตัวตายสูงสุดอยู่ในช่วงวัยท�ำงาน อายุ ๓๐-๓๕ ปี • ผู้ชายเป็นเพศที่มีการฆ่าตัวตายสูงกว่าผู้หญิง อธิบาย ได้ว่าผู้ชายเป็นเพศที่มักจะเก็บความรู้สึกไว้ไม่ยอมบอกใคร เปิด เผยไม่ได้ว่ามีความทุกข์ นอกจากนั้น ผู้ชายยังใช้วิธีการฆ่าตัว ตายที่รุนแรง ท�ำให้การฆ่าตัวตายนั้นส�ำเร็จด้วย • ที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นคือ การฆ่าตัวตายไม่เพียงแต่สร้าง ผลกระทบต่อผู้เสียชีวิต แต่ผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ๑ คน จะสร้างผลกระทบทางจิตใจไปยังผู้คนใกล้ชิดอย่างน้อยอีก ๕ คน นั่นเท่ากับมีคนมีความทุกข์เป็นวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ จากการ ที่มีคนฆ่าตัวตาย “ประเด็นที่ท�ำให้คนคิดฆ่าตัวตายมากที่สุดตามที่โทรเข้า มาหาคอลเซ็นเตอร์ของสะมาริตันส์ คือประเด็นความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลในครอบครัว ทั้งระหว่างสามี-ภรรยา คนรัก และ ระหว่างพ่อแม่-ลูก” สาเหตุ ข องการฆ่ า ตั ว ตายคื อ อะไร การที่คนฆ่าตัวตายไม่ใช่เพราะเขาไม่สามารถแก้ปัญหาที่ ก�ำลังเผชิญอยู่ได้ แต่มาจากความรู้สึกหลักคือการรู้สึกโดดเดี่ยว รู้สึกว่าต้องเผชิญปัญหาโดยล�ำพัง เพราะฉะนั้น ปัญหาไม่ได้ ท�ำให้คนฆ่าตัวตาย แต่ความรู้สึกว่าเขาโดดเดี่ยว ไม่เหลือใคร ไร้ค่า ต้องสู้กับปัญหาเพียงคนเดียวในโลกต่างหากที่ท�ำให้คน ฆ่าตัวตาย

ประเด็นที่ท�ำให้คนคิดฆ่าตัวตายมากที่สุดตามที่โทรเข้า มาหาคอลเซ็นเตอร์ของสะมาริตันส์ คือประเด็นความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลในครอบครัว ทั้งระหว่างสามี-ภรรยา คนรัก และ ระหว่างพ่อแม่-ลูก หลายคนที่เคยฆ่าตัวตายและไม่ส�ำเร็จ เมื่อผ่านสภาวะ วิกฤตและไม่รู้สึกอยากฆ่าตัวตายแล้ว มักจะสะท้อนความรู้สึก ว่า ที่จริงความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายเป็นความรู้สึกชั่ววูบที่มาจาก ความรู้สึกว่าเขาไม่มีคุณค่า รู้สึกเหมือนอยู่คนเดียวในโลก รู้สึก ว่าไม่มีใครเข้าใจเขา รู้สึกว่าสิ่งที่เขาเจออยู่เป็นความผิดจนไม่ กล้าให้คนอื่นรู้ เพราะกลัวคนอื่นจะตัดสินเขาหรือท�ำให้คนอื่น ผิดหวัง แต่พอได้รู้สึกว่ามีคนเคียงข้างเขา มีคนที่ไม่ตัดสินเขา ก็ จะรู้สึกมีก�ำลังใจมากพอที่จะไม่อยากคิดฆ่าตัวตายแล้ว คนที่ ฆ ่ า ตั ว ตายคื อ คนไม่ รั ก ตั ว เอง เป็ น คนคิ ด สั้ น ? คนเรามีศักยภาพในการแก้ปัญหาได้เมื่ออยู่ในสภาวะ จิตใจที่เป็นปกติ แต่เมื่ออยู่ในสภาวะวิกฤตหรือก�ำลังมีความ ทุกข์ ความสามารถในการตัดสินใจจะน้อยลง อย่างที่บอกคือ คนฆ่าตัวตายไม่ใช่เพราะเขาไม่รู้ว่าเขาจะแก้ปัญหาอย่างไร แต่ เพราะเขารู้สึกว่าก�ำลังเผชิญปัญหาโดยล�ำพังและไร้ค่าเกินกว่า ที่จะมีชีวิตอยู่ เราไม่ควรตัดสินว่าใครอ่อนแอ ใครไม่รักตัวเอง ใคร คิดสั้น เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าถ้าเราเจอปัญหาแบบเดียว กับเขาและอยู่ในสภาวะทางจิตใจแบบเดียวกัน เราจะท�ำแบบ 67

issue 138 JULY 2019


เดียวกับเขาหรือเปล่า สิ่งที่เรารู้สึกว่าคนฆ่าตัวตายไม่รักตัวเอง มาจากความรู้สึกเมื่อเราอยู่ในสภาวะปกติแล้วมองไปยังคนที่ อยู่ในสภาวะวิกฤต เพราะฉะนั้นมันไม่มีทางเหมือนกัน เราไม่ ควรไปตัดสินเขา

นอกจากนั้ น สามารถสั ง เกตได้ จ ากค� ำ พู ด ของเขาที่ แสดงลักษณะความโดดเดี่ยว เช่น “ไม่รู้จะอยู่ไปท�ำไม” “เรา ไม่มีค่าอะไรเลย” “ถ้าไม่มีเราสักคนคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ไปหรอก” แม้กระทั่งถ้ามีการพูดออกมาตรงๆ ว่าเขาคิดฆ่าตัว ตาย ก็เป็นสัญญาณที่น่าเป็นห่วงเช่นกันว่าเขาอาจจะก�ำลังคิด ฆ่าตัวตายจริงๆ

สั ญ ญาณบอกเหตุ ว ่ า คนใกล้ ตั ว อาจก� ำ ลั ง คิ ด ฆ่ า ตั ว ตายคื อ อะไร สั ง เกตได้ จ ากการเปลี่ ย นแปลงทางบุ ค ลิ ก ภาพโดย เฉียบพลัน ทั้งจากปกติร่าเริงกลายเป็นคนเศร้า เพราะอาจเป็น สัญญาณว่าเขาก�ำลังรู้สึกไม่เหลือใคร หรือแม้กระทั่งเมื่อก่อน เคยเป็นคนเงียบๆ จู่ๆ กลายเป็นคนร่าเริงมากๆ ก็น่าเป็นห่วง เช่นกัน เพราะอาจแปลว่าเขาได้เตรียมตัวทุกอย่างไว้แล้ว ไม่มี อะไรต้องห่วงแล้ว

ถ้ า มี ค นอยากฆ่ า ตั ว ตาย สิ่ ง ที่ เ ราควรท� ำ คื อ อะไร • รั บฟั ง ให้ เขาระบายความรู ้ สึ ก ออกมาให้ มากที่สุด จนกว่าเขาจะรู้สึกดีขึ้น แม้กระทั่งถ้าเขารู้สึกอยากฆ่าตัวตายก็ ปล่อยให้เขาพูดออกมาว่าเขารู้สึกอย่างไร เพราะเมื่อเขาพูด มัน จะลดพลังในการอยากตายลง 68

IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


• สิ่งที่ควรพูดคือ “เรามีเวลาให้คุณ ระบายมาได้ เรา ยินดีรับฟัง” • หลีกเลี่ยงค�ำพูดที่มีน�้ำเสียงของการตัดสิน เช่น o “ใจเย็นๆ” เพราะเขารู้สึกว่าทุกข์ร้อนขนาดนี้จะให้ ใจเย็นก็คงไม่ไหว o “เรื่องแค่นี้เอง” เพราะพูดแบบนี้คนฟังจะรู้สึกตัวเอง ไม่ฉลาดพอที่จะรับมือกับปัญหาได้ เหมือนไปดูถูกเขา ที่จริงแล้ว ทุกข์ของใครก็ใหญ่ที่สุดส�ำหรับเขา และความทุกข์จะเล็กเสมอ เมื่อไม่ได้เป็นความทุกข์ของเรา o “ไม่เป็นไรนะ” เพราะแสดงว่าเราไม่รู้สึกว่าสิ่งที่เขา เจออยู่เป็นเรื่องส�ำคัญ แต่ส�ำหรับเขามันเป็นเรื่องส�ำคัญมาก o “อย่าคิดสั้น” เพราะเป็นค�ำสั่ง เขาอาจจะโดนคน ตัดสินมาเยอะแล้ว เพราะฉะนั้นเขาไม่ต้องการให้มีใครสั่งเขา เขาแค่ต้องการคนที่รับฟัง คนที่เข้าใจ คนที่ไม่ตัดสินเขา o “อย่าคิดมาก” เพราะเมื่อเขารู้สึกว่าปัญหามันใหญ่ เกินกว่าที่เขาจะรับมือได้ จะห้ามไม่ให้เขาคิดมากได้อย่างไร o “ท�ำไมไม่รักตัวเอง ไม่คิดถึงพ่อแม่บ้างเหรอ” เพราะ เป็นการตัดสินเขา และเขาเองก็อาจจะทุกข์มากจนไม่อยากบอก พ่อแม่ เขาทุกข์มากอยู่แล้ว ทุกคนก็มีความรักตัวเองทั้งนั้น เพียง แต่ ณ เวลานั้นเขารู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่าพอ o “แล้วมันจะผ่านไป” พูดได้ แต่อย่าเพิ่งพูดค�ำนี้เร็วไป รอให้สภาวะทางจิตใจเขาเริ่มสงบก่อนแล้วอาจจะพูดได้ เพราะ ถ้าพูดเร็วไป เขาจะรู้สึกว่า “ก็นี่ไง มันยังไม่ผ่านไป มันต้องรออีก เท่าไร จะรอไม่ไหวแล้ว” • ไม่ควรเปลี่ยนเรื่องพูด ควรปล่อยให้เขาได้พูดมากที่สุด และให้เขารู้สึกว่าเราให้เขาเป็นคนที่ส�ำคัญที่สุด ณ เวลานี้ที่เรา อยู่รับฟังเขา

เมื่ อ ไรที่ เ รามี ค วามทุ ก ข์ การได้ พู ด ได้ ร ะบายออกมา จะท� ำ ให้ เ รารู ้ สึ ก ดี ขึ้ น มี ก� ำ ลั ง ใจมากขึ้ น อย่ า ตั ด สิ น ตั ว เองว่ า ปั ญ หาที่ เ ราเผชิ ญ อยู ่ นี้ ไ ม่ มี ค ่ า พอที่ ใ ครจะ รั บ ฟั ง หาคนที่ เ ราสามารถระบายได้ การระบายออก มาอาจไม่ ใ ช่ ก ารแก้ ป ั ญ หา แต่ มั น คื อ การท� ำ ให้ เ รามี ก� ำ ลั ง ใจมากพอที่ จ ะเผชิ ญ ปั ญ หา และปรั บ สภาวะ จิ ต ใจให้ เ ป็ น ปกติ • ไม่จ�ำเป็นต้องบอกวิธีการแก้ปัญหา เพราะนั่นไม่ใช่สิ่ง ที่คนฟังต้องการ กลับไปที่หลักการเดิมว่า เราต้องเชื่อว่ามนุษย์ ทุกคนมีศักยภาพในการคิด การหาทางออกด้วยตัวเองเมื่ออยู่ ในสภาวะจิตใจที่เป็นปกติ หน้าที่ของเราไม่ใช่การเข้าไปช่วย แก้ปัญหา แต่ท�ำหน้าที่ให้เขารู้สึกว่าเขาไม่ได้โดดเดี่ยว ไม่ได้ เผชิญปัญหาเพียงล�ำพัง ยังมีคนที่ไม่ตัดสินอะไรเขาเลยไม่ว่า เขาจะไปท�ำอะไรมาหรือเจอเรื่องราวเลวร้ายแค่ไหนในชีวิต เรา ควรท�ำหน้าที่เป็นผู้ฟังที่ช่วยปรับสภาวะทางจิตใจของเขาจาก ภาวะวิกฤตให้กลายเป็นปกติ เป็นกระจกสะท้อนสิ่งที่เขาคิด เมื่อเขาได้ยินสิ่งที่ตัวเองคิดเรื่อยๆ เขาจะเริ่มทบทวนได้เองว่า จะแก้ปัญหาอย่างไร เราไม่ได้อยู่ในสถานะคนที่จะไปแก้ปัญหา ให้เขา ไม่ต้องบอกเขาว่าเขาควรท�ำอย่างไร เพราะเมื่อจิตใจเขา อยู่ในสภาวะปกติแล้ว เขาจะคิดได้เอง และเราต้องเคารพสิทธิ์ ในการเลือกทางเดินชีวิตของเขา • ต่อให้เรารับฟังความรู้สึกของเขาแล้ว ไม่ได้แปลว่าเขา จะล้มเลิกการฆ่าตัวตายไปเลยในทันที สิ่งที่เราท�ำได้คือ ท�ำให้ เขารู้สึกว่าไม่ได้เผชิญปัญหาเพียงคนเดียว รับฟังเขาจนกว่าเขา จะสบายใจขึ้น • การฆ่าตัวตายเป็นหนึ่งในทางออกของปัญหา แต่ทุก ปัญหาไม่มีทางออกเดียวคือการฆ่าตัวตาย หน้าที่ของเราคือช่วย 69

issue 138 JULY 2019


“ไม่ว่าเขาจะผ่านอะไรมาก็ตาม เราไม่ได้มีหน้าที่ไปช่วย เขาแก้ปัญหา แต่มีหน้าที่รับฟังและท�ำให้เขามีก�ำลังใจพอที่จะ เผชิญปัญหานั้นด้วยความรู้สึกที่ไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป”

หน้ า ที่ ข องเราไม่ ใ ช่ ก ารเข้ า ไปช่ ว ยแก้ ป ั ญ หา แต่ ท� ำ หน้ า ที่ ใ ห้ เ ขารู ้ สึ ก ว่ า เขาไม่ ไ ด้ โ ดดเดี่ ย ว ไม่ ไ ด้ เ ผชิ ญ ปั ญ หาเพี ย งล� ำ พั ง ยั ง มี ค นที่ ไ ม่ ตั ด สิ น อะไรเขาเลย ไม่ ว ่ า เขาจะไปท� ำ อะไรมาหรื อ เจอเรื่ อ งราวเลวร้ า ย แค่ ไ หนในชี วิ ต เราควรท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น ผู ้ ฟ ั ง ที่ ช ่ ว ยปรั บ สภาวะทางจิ ต ใจของเขาจากภาวะวิ ก ฤตให้ ก ลายเป็ น ปกติ

เราจะป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ เ กิ ด การฆ่ า ตั ว ตายได้ อ ย่ า งไร ที่จริงทุกปัญหามีค่าส�ำหรับการรับฟังเสมอ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเล็กหรือปัญหาใหญ่ ไม่จ�ำเป็นต้องรอให้มีคนบอกว่าอยาก ฆ่าตัวตาย แต่เมื่อไรที่มีคนรู้สึกมีความทุกข์ เราต้องท�ำให้เขารู้สึก ว่าเขาไม่อยู่คนเดียวในโลกนี้ เขามีคุณค่าส�ำหรับเรา เราไม่ตัดสิน เขา ไม่ว่าเขาจะผ่านอะไรมาก็ตาม เราไม่ได้มีหน้าที่ไปช่วยเขา ให้เขาอยู่ในสภาวะที่ปกติพอจะพิจารณาเห็นทางออกในชีวิตให้ แก้ปัญหา แต่มีหน้าที่รับฟังและท�ำให้เขามีก�ำลังใจพอที่จะเผชิญ ได้มากที่สุด และให้เขาเป็นผู้เลือก ถ้าเขาได้พิจารณาด้วยตัวเอง ปัญหานั้นด้วยความรู้สึกที่ไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป แล้วว่าชีวิตมีทางออกอื่น ๆ อีก นอกจากการฆ่าตัวตาย แนวโน้ม เช่ น เดี ย วกั น เมื่ อ ไรที่ เรามี ค วามทุ ก ข์ การได้ พู ด ได้ ที่เขาจะฆ่าตัวตายก็จะมีน้อยลง ขณะเดียวกันถ้าเขาได้พิจารณา ระบายออกมา จะท�ำให้เรารู้สึกดีขึ้น มีก�ำลังใจมากขึ้น อย่า ทุกทางเลือกแล้ว และยังคงรู้สึกว่าการเลือกทางออกที่การฆ่าตัว ตัดสินตัวเองว่าปัญหาที่เราเผชิญอยู่นี้ไม่มีค่าพอที่ใครจะรับฟัง ตายเป็นสิ่งที่เขาต้องการ นั่นก็เป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมของเขา หาคนที่เราสามารถระบายได้ การระบายออกมาอาจไม่ใช่การ ประเด็นส�ำคัญคือการที่เขาได้เลือกเส้นทางเดินชีวิตของตัวเอง แก้ปัญหา แต่มันคือการท�ำให้เรามีก�ำลังใจมากพอที่จะเผชิญ และเราต้องเคารพการตัดสินใจของเขา ปัญหา และปรับสภาวะจิตใจให้เป็นปกติ ซึ่งเอื้อต่อการคิดหา 70 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


เร็วขึ้น แต่พูดช้าลง’ คือกลายเป็นคนที่รับฟังคนอื่นด้วยความ เต็มใจ ไม่ตัดสินใครจากบรรทัดฐานของตัวเอง เป็นคนเคารพ ความแตกต่างของคนอื่น ทะเลาะกับคนน้อยลง และให้ความ ส�ำคัญกับคนที่อยู่ตรงหน้าเสมอ ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถเอาไป ใช้กับคนใกล้ตัวได้ และได้ช่วยชีวิตของคนอื่นด้วย อาสาสมัครของสะมาริตันส์ทุกคนจะต้องรักษาความลับ ไม่สามารถเปิดเผยตัวตนกับผู้คนภายนอกได้ว่าเป็นอาสาสมัคร เพื่อให้คนที่โทรเข้ามาปรึกษารู้สึกปลอดภัยอย่างแท้จริง ทุก อย่างเป็นความลับ และไม่มีการน�ำสิ่งที่ผู้รับค�ำปรึกษาเล่าให้ ฟังไปบอกต่อเป็นอันขาด นอกจากนั้นสะมาริตันส์ยังเป็นองค์กรไม่แสวงหาก�ำไร อย่างแท้จริง และอยู่ได้ด้วยเงินบริจาคเพียงอย่างเดียว สามารถ ติดต่อเพื่อบริจาคเงินสมทบทุนได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๗๑๓ ๖๗๙๐ และสามารถติดตามข้อมูลของสมาคมได้ที่ Facebook. com/Samaritans.Thailand ที่มา: thestandard ภาพประกอบ: Pichamon W.

ทางออกได้ ที่ส�ำคัญมันท�ำให้เรารู้สึกว่าเราไม่ได้เผชิญปัญหา คนเดียวในโลก แล้วที่เหลือเราจะพบทางออกด้วยตัวเอง หรือ ถ้ารู้สึกอยากฆ่าตัวตาย โทรมาที่คอลเซ็นเตอร์ของสะมาริตันส์ ที่หมายเลข ๐ ๒๗๑๓ ๖๗๙๓ ตั้งแต่เวลา ๑๒.๐๐-๒๒.๐๐ น. มีคนที่พร้อมรับฟังอยู่ จะให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ เพื่ อ รณรงค์ ป ้ อ งกั น การฆ่ า ตั ว ตายได้ อ ย่ า งไร ปัจจุบันอาสาสมัครของสะมาริตันส์ที่ท�ำหน้าที่รับฟัง ให้ค�ำปรึกษาในฐานะคอลเซ็นเตอร์มีอยู่ไม่ถึงร้อยคน ในขณะที่ มีผู้โทรเข้ามาปรึกษาเป็นหลักหมื่น เพราะฉะนั้น สมาคมจึงยัง ต้องการอาสาสมัครเพิ่มเป็นจ�ำนวนมาก โดยสามารถสมัครเป็น อาสาสมัครเพื่อเข้าฝึกอบรมได้ที่ ๐ ๒๗๑๓ ๖๗๙๐ อาสาสมัครของสะมาริตันส์ได้รับการอบรมอย่างเข้มข้น เป็นเวลา ๔-๖ เดือนกว่าที่จะได้ท�ำหน้าที่เป็นผู้ให้ค�ำปรึกษา เพื่อ ให้มีความพร้อมที่สุดในการท�ำหน้าที่ช่วยชีวิตของคนอื่น ทักษะที่อาสาสมัครจะได้รับคือการเปลี่ยนเป็นคนที่ ‘ฟัง

71 issue 138 JULY 2019


ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ

จังหวัดสกลนคร

สร้ า งงานและ พื้ น ฐานอาชี พ ให้ ชาวภู พ าน มี คุ ณ ภาพ ชี วิ ต ที่ ดี อ ย่ า งยั่ ง ยื น และเป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว เชิ ง เกษตรกรรม เพื่ อ การเรี ย นรู ้ 72 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


๗๐ เส้ น ทางตามรอยพระบาท โดย ททท.

จุดหมายของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนสกลนคร ย่อมหลีก ไม่พ้นการมาสูดไอดินกลิ่นธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติ ภูพาน แต่ส�ำหรับแหล่งท่องเที่ยวอีกหนึ่งแห่ง ที่เหมาะแก่ การเรียนรู้ วิถีพอเพียงตามพระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเขตอ�ำเภอเดียวกันนี้ นั่นก็คือศูนย์ศึกษา การพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง มี พระราชด�ำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานขึ้นเพื่อเป็น สถานศึกษา ทดลอง และพัฒนาอาชีพด้านเกษตรกรรม และ อุตสาหกรรมทางการเกษตรอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้ ชุมชน ยืนได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง ทั้งยังช่วยฟื้นฟูและ พัฒนาป่าไม้ ด้วยระบบชลประทาน เป็นต้น ที่ท�ำการของ ศูนย์ศึกษาการ พัฒนาภูพานฯ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ประกอบไปด้วย พื้นที่ สาธิตเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม และ พื้นที่พัฒนาป่าไม้ จนกลาย มาเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตรที่น่าสนใจของจังหวัด สกลนครไปแล้ว การมาเยือนศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน สิ่งที่ได้กลับ ไป ไม่ได้มีเพียงแค่ความรู้และความประทับใจเท่านั้น ผลผลิต ทางการเกษตรและสินค้าแปรรูป คือของฝากขึ้นชื่อของที่นี่ อย่า ลืมอุดหนุนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ชุมชนยั่งยืนต่อไป

ทริปตัวอย่าง ๓ วัน ๒ คืน เส้นทางท่องเที่ยว จ.สกลนคร-มุ กดาหาร-สปป.ลาวนครพนม

วั น แรก : สกลนคร ช่วงเช้า • นั่งรถรางชมโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ช่วงกลางวัน • เยี่ ย มชมพระธาตุ ป ระสิ ท ธิ์ พระประจ� ำ วั น เกิ ด วั น พฤหัสบดี • ชมการผลิตผ้าย้อมครามที่บ้านถ�้ำเต่า ช่วงบ่าย • เยี่ยมชมพระธาตุเชิงชุม ปูชนียสถานเก่าแก่ ของภาค อีสาน วั น ที่ ส อง : สกลนคร-มุ ก ดาหาร ช่วงเช้า • เยี่ยมชมพระธาตุพนม พระธาตุประจ�ำปีวอก และผู้ ที่เกิดวันอาทิตย์ • เยี่ยมชมรอยพระพุทธบาทที่วัดภูมโนรมย์ มุกดาหาร 73 issue 138 JULY 2019


74 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


75 issue 138 JULY 2019


ช่วงบ่าย • เดินทางสู่สปป.ลาว ที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ๒ นมัสการพระธาตุโพน สะหวันนะเขต

และพันธุ์ไม้นานาชนิด ส่วนงานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ชมสามด�ำมหัศจรรย์แห่ง ภูพาน คือ ไก่ด�ำภูพาน สุกรภูพาน และโคทาจิ มะ (โคเนื้ อ ) อ่ า งเก็ บน�้ ำ ห้ ว ยตาดไฮใหญ่ ระบบ ชลประทานส�ำหรับเกษตรกรใน ชุมชน

วั น ที่ ส าม : สปป.ลาว-นครพนม ช่วงเช้า • เยี่ยมชมวัดพระธาตุอิงฮัง และหมู่บ้านเชียงหวาง ชุมชนเวียดนามเก่าแก่ ชมพิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์ และพระธาตุศรี โคดตะบอง ช่วงบ่าย • ซื้อสินค้าที่ตลาดหลัก ๓ หรือ Duty Free กลับเมือง ไทยที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ๓ • ๓ ด�ำแห่งภูพาน คือ วัวด�ำ ไก่ด�ำ และหมูด�ำ คือสาย พันธุ์ที่โดดเด่น ซึ่งช่วยสร้างชื่อเสียงและรายได้ ให้กับเกษตรกร อย่างมากมาย • เป็นแหล่งศึกษา ทดลอง และพัฒนาด้านเกษตรกรรม ที่เหมาะสม กับสภาพพื้นที่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

กิจกรรมห้ามพลาด

• นั่งรถราง ชมแปลงสาธิตทางการ เกษตรและงาน ปศุสัตว์ภายใน โครงการ • ถ่ายรูป ให้อาหาร และสัมผัสกับ โคเนื้อ โคนม ไก่ด�ำ หมูด�ำ และ กวางอย่างใกล้ชิด • เดินชมส่วนงานศึกษาและพัฒนา ป่าไม้ ศูนย์ศกึ ษาการพัฒนาภูพาน อันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ บ้านนานกเค้า ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร ๔๗๐๐๐ โทร. ๐-๔๒๗๔-๗๔๕๘-๙, ๐-๔๒๗๑-๒๙๗๕ เปิดให้เข้าชม : วันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. ฤดูท่องเที่ยว : ตลอดทั้งปี การเดิ น ทาง จากเทศบาลนครนครพนมไป ต.ห้ ว ย ยาง ใช้เส้นทางถนนสุขเกษม ตรงมาถึงถนนสกลนคร ถึงสี่แยก ตัดทางหลวงชนบทหมายเลข ๓๑๓๗ เลี้ยวซ้ายตรงไปบ้านนา นกเค้า ระยะทางประมาณ ๒.๓ กม.

ที่เที่ยวห้ามพลาด

ส่ ว นงานศึ ก ษาและพั ฒ นาป่ า ไม้ แหล่ ง รวมต้ น กล้ า 76

IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


77 issue 138 JULY 2019


Do for D.

โครงการ Do for D. เพราะเรามีพ่อคนเดียวกัน โครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนร่วมกับ ซ.โซ่ อาสา วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ณ ชุมชนหัวรถจักรตึกแดง บางซื่อ

78 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


Round About

กิจกรรมค่ายส่งเสริมศักยภาพความเป็ นผู ้น�ำ

กิจกรรมค่ายส่งเสริมศักยภาพความเป็นผู้น�ำและวิทยากรกระบวนการในภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Leader Camp@Nakhon Phanom ๒๐๑๙ (สพม.๒๒ นครพนม – มุกดาหาร) เพื่อเฉลิมฉลองพิธีบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ณ หอประชุมรัตนโกเศศ โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย

79 issue 138 JULY 2019


โครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและเยาวชน

กิจกรรมศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑ์ต้านโกง ส�ำนักงาน ปปช.เพื่อให้เยาวชนได้รับรู้ถึงภัยของการทุจริตคอร์รัปชันที่มีผลร้าย ต่อประเทศชาติและประชาชน ซึ่งจะท�ำให้เยาวชนมีความรังเกียจและไม่ยอมรับการทุจริตทุกรูปแบบเพื่อให้เยาวชนตระหนักถึง ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย และได้เรียนรู้เรื่องการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อส่งเสริมสังคมไทยให้ เป็นสังคมแห่งความสุจริตและโปร่งใส โดยมีนักเรียนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จ�ำนวน ๕ โรงเรียน คือ โรงเรียนเบญจม ราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย โรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม โรงเรียนสายน�้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ วันที่ ๑-๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ณ พิพิธภัณฑ์ต้านโกง ส�ำนักงาน ป.ป.ช. ถนนพิษณุโลก กรุงเทพมหานคร

80 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


81 issue 138 JULY 2019


82 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดีๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org 83

issue 138 JULY 2019


นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง พร้อมเสริพ์ให้ทุกท่านได้อ่านแล้ว!! เพี ย งแค่ ค ลิ ก เข้ า ไปที่ www.fosef.org ท่ า นก็ ส ามารถอ่ า นนิ ต ยสาร IS AM ARE ครอบครั ว พอเพี ย ง ได้ โ ดยไม่ มี ค ่ า ใช้ จ ่ า ย เรื่ อ งราว สาระดี ๆ มากมายรอท่ า นอยู ่ หากอ่ า นแล้ ว ถู ก ใจอย่ า ลื ม บอกต่ อ นะครั บ 84 IS AM ARE www.porpeang.or.th, www.fosef.org


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.