Isamare feb61 wed

Page 1

IS AM ARE

แนวทางการบริหารงาน ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ทศพร รัตนมาศทิพย์ ผู ้ช่วยกรรมการผู ้จัดการใหญ่ ก�ำกับดูแลสายงานควบคุมและป้องกันการทุจริต บมจ.ธนาคารกรุ งศรีอยุ ธยา

แนวทางชี วิตและการดูแลคนพิการ

สมคิด สมศรี

อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชี วิตคนพิการ

ฉบับที่ 121 กุมภาพันธ์ 2561 www.fosef.org


2 IS AM ARE www.fosef.org


“..ความซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต เป็ น พื้ น ฐานของความดี ทุ ก อย่ า ง เด็ ก ๆจึ ง ต้ อ งฝึ ก ฝนอบรมให้ เ กิ ด มี ขึ้ น ในตนเอง เพื่ อ จั ก ได้ เ ติ บ โตขึ้ น เป็ น คนดี มี ป ระโยชน์ และมี ชี วิ ต ที่ ส ะอาด ที่ เ จริ ญ มั่ ง คง..”

พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่ อ เชิ ญ ลงพิ ม พ์ ใ นหนั ง สื อ วั น เด็ ก ปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๓๑ พระต� ำ หนั ก จิ ต รดารโหฐาน วั น ที่ ๑๘ พฤศจิ ก ายน พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๓๐

3 issue 121 February 2018


Editorial

ทักทายกันในฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เดือนแห่งความรัก และเป็นเดือนเกิดของนิตยสาร IS AM ARE ครอบครัว พอเพียง อีกด้วย ถ้านับจ�ำนวนฉบับ ก็เป็นฉบับที่ ๑๒๑ ครบทศวรรษพอดี เดินทีละก้าว เพื่อความมั่นคง ถามว่าจะมีการฉลองในวาระครบทศวรรษไหม เราก็ตอบกับสมาชิกและผู้ติดตามว่า การฉลองวาระครบทศวรรษของ นิตยสารเล่มนี้คงไม่มี เพราะถ้านิตยสารเล่มนี้ครบทศวรรษ นั่นหมายถึงโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน ก็ครบ ทศวรรษเช่นกัน นิตยสารเล่มนี้เกิดขึ้นเพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการและน�ำเสนอบทความของผู้บริหารทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ซึ่งหมายรวมถึงผู้ที่ถูกเรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน บุคคลที่กล่าวมานี้คือ บุคคลที่เรา เลือกที่จะสัมภาษณ์ เพื่อขอความรู้ ขอทราบประวัติและประสบการณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่อดีต จนปัจจุบันและแนวทางสู่อนาคต ที่มีความ หมายของ ๕ ค�ำ ๕ ข้อ คือ ๑.ความรู้ ๒.คุณธรรม ๓.ความพอประมาณ ๔.การมีเหตุผลและ ๕.การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตนเองอยู่เสมอ บุคคลหลายท่านให้บทสัมภาษณ์ที่ชัดเจนว่า ตั้งแต่ในอดีต จนปัจจุบันและในอนาคต ท่านได้มีหลักในการด�ำรงตน ด�ำรงงาน และจะด�ำรงต่อไปภายใต้หลักคิดที่มีค่าเกินกว่าจะลืมได้ เพราะความหมายของ ๕ ค�ำ ๕ ข้อ คือ ๑.ความรู้ ๒.คุณธรรม ๓.ความพอ ประมาณ ๔.การมีเหตุผลและ ๕.การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตนเองอยู่เสมอ ช่วยให้ทุกบุคคลประสบความสุข พบความส�ำเร็จและมีความ มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนอย่างแท้จริง ซึ่งบทสัมภาษณ์นี้เป็นประโยชนอย่างแท้จริงส�ำหรับพลเมืองรุ่นใหม่ที่ได้อ่าน ทศวรรษที่ก�ำลังก้าวเดินต่อไป ครอบครัวพอเพียงได้มีเครือข่ายเพิ่มขึ้น มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นระดับอุดมศึกษา หรือองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มาเข้าร่วมเป็น ครอบครัวพอเพียง ครอบครัวพอเพียง คือ รากแก้วของแผ่นดิน ต้นของครอบครัวพอเพียงนี้จะแผ่กิ่ง ก้าน ใบและออกผลเพื่อเป็นประโยชน์ เพื่อ ความสุขแก่ประชาชนทั่วทั้งแผ่นดินจากลูกไม้ใต้ต้นครอบครัวพอเพียงนี้เอง ลูกไม้ครอบครัว พอเพียงเหล่านี้เกิดขึ้นจากการด�ำเนินโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปีแรก จนถึงปัจจุบันขยายสู่ระดับมหาวิทยาลัย นี่คือลูกไม้ ครอบครัวพอเพียงที่ขยายเมล็ดพันธุ์และเติบโตไปบนผืนแผ่นดินไทย ความอุดมสมบูรณ์ที่ เริ่มต้นจากข้างใน คือ จิตใจ คือหลักส�ำคัญที่เราเริ่มต้น สังคมดี เริ่มต้นที่จิตใจ.

4 IS AM ARE www.fosef.org


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ประธานโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ นายธนพร เทียนชัยกุล นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ นายภูวนาถ เผ่าจินดา นายวรจักร ณ เชียงตุง นางชวนชื่น พีระพัฒน์ดิษฐ์ นายไพรัช มณฑาพันธุ์ นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา นางสาวเอื้อมพร นาวี ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายเอกรัตน์ คงรอด นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางสาวเยาวมาลย์ จ้อยจุฬี นางสุมาลี โฆษิตนิธิกุล นางสาวกันยาวีร์ พ้องพงษ์ศรี นางรจนา สินที นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์ นายชวลิต ใจภักดี นางสาวหนึ่งฤทัย คมข�ำ นายภิญโญ ทองไชย นายพิชัยยุทธ ชัยไธสง นางศิรินทร์ เผ่าจินดา

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ดร.เชิดศักดิ์ ดร.กัมปนาท ดร.นฤมล ดร.อ�ำนาจ ดร.ชลพร ดร.กาญจนา ดร.ปิยฉัตร

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ and Enjoy! กรรมการ กรรมการ กรรมการ บรรณาธิการ : กรรมการ กองบรรณาธิการ : ผู้จัดการมูลนิธิ ศิลปกรรม :

Let’s

Start

ส�ำนักงาน :

ศุภโสภณ บริบูรณ์ พระใหญ่ วัดจินดา กองค�ำ สุทธิเนียม กลิ่นสุวรรณ

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ : 5 issue 121 february 2018

กรวิก อุนะพ�ำนัก ภูวรุต บุนนาค ชนกเนตร แจ่มจ�ำรัส ศตวรรษ เจือหนองแวง นิตยสารครอบครัวพอเพียง 663 ซอยพหลโยธิน 35 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0-2939-5995 0-2939-5996 www.fosef.org


Hot Topic

8

ตามรอยยุ วกษัตริย์

26

แนวทางการบริหาร งานภายใต้หลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ทศพร รัตนมาศทิพย์ ผู ้ช่วยกรรมการผู ้จัดการใหญ่ ก�ำกับดูแลสายงานควบคุมและ ป้องกันการทุจริต

12

แนวทางชี วิตและการดูแลคนพิการ สมคิด สมศรี อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชี วิตคนพิการ

Don’t miss

60 24 50

38 78

6 IS AM ARE www.fosef.org


Table Of Contents

ทศพร รัตนมาศทิพย์ ผู ้ ช ่ ว ยกรรมการผู ้ จั ด การใหญ่ ก� ำ กั บ ดู แ ลสายงานควบคุ ม และป้ อ งกั น การทุ จ ริ ต

7 issue 121 february 2018

ตามรอยยุวกษัตริย์ สัมภาษณ์พิเศษ แนวทางชีวิตและการดูแลคนพิการ สมคิด สมศรี อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ Cartoon เยาวชนของแผ่นดิน “การเรียนท�ำให้คนมีงานท�ำ กิจกรรมท�ำให้คนท�ำงานเป็น” พีร์ สุทธินนท์ สัมภาษณ์พิเศษ แนวทางการบริหารงานภายใต้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทศพร รัตนมาศทิพย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก�ำกับดูแลสายงานควบคุมและป้องกันการทุจริต บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บทความพิเศษ จบ ป.โท ขายทอดมัน สบายกว่ากันเยอะ สมคิด พิทักษ์ดวงกมล มูลนิธิชัยพัฒนา การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีตามแนวพระราชด�ำริ การบ�ำบัดน�้ำเสียด้วยระบบบึงประดิษฐ์ ณ โรงเรียนวัดธรรมจริยา อ�ำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สัจธรรมแห่งแนวพระราชด�ำริ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน บทความพิเศษ ครูต้องท�ำตัวเป็นเพื่อนเด็กได้เพื่อจะสอนเขา ครู รุวจี บุญมาศ โรงเรียนปัญญาวรคุณ สัมภาษณ์พิเศษ “สันติภาพต้องเริ่มที่ตัวเรา ข้างในจิตใจ” ท่านทูตแห่งศิลปะยึกยือ : พลเดช วรฉัตร 70 เส้นทางตามรอยพระบาท โดย ททท. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ จ.เชียงใหม่

8

12 20

24

26

38

46 54 60 72 78


ร่มเงาพระพุ ทธศาสน์ วัดไทยในสวิตฯ

ในสวิ ต เซอร์ แ ลนด์ มี วั ด ไทยตามเมื อ งต่ า งๆ อยู ่ ห ลายวั ด ส� ำ หรั บ วั ด ศรี น คริ น ทรวรารามเป็ น วั ด ที่ ไ ด้ รั บ พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ จาก สมเด็ จ พระศรี น คริ น ทราบรมราชชนนี ในการก่ อ ตั้ ง ขึ้ น ที่ เ มื อ งเกรทเซนบาค (Gretzenbach) ในเขตโซโลธู ร ์ น (Solothurn) อยู ่ ห ่ า งจากซู ริ ค ราว ๕๐ กิ โ ลเมตร สมเด็จพระบรมราชชนนีได้พระราชทานนามวัดไทย แห่งนี้ว่า วัดศรีนครินทรวราราม เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๓๖ (ค.ศ.๑๙๙๔) เป็นวัดเฉลิมพระเกียรติที่สง่างาม ด้วยพระอุโบสถ สถาปัตยกรรมแบบวัดเบญจมบพิตรที่กรุงเทพฯ ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม แสดง ภาพทศบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระราชกรณียกิจของ สมเด็จย่า และประเพณีไทยสี่ภาค ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จฯไปทรงเปิดในเดือนสิงหาคม ๒๕๔๙ (ค.ศ.๒๐๐๖)

วัดนี้ถือว่าตั้งอยู่กลางประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพราะ สามารถเดินทางจากเมืองใหญ่ๆ ได้ด้วยระยะทางที่ใกล้เคียง กัน คือ ห่างจากซูริค ๕๐ กม. ห่างจากลูเซิร์น ๔๕ กม. และ ห่างจากเบิร์น ๗๐ กม. นับว่าเป็นวัดที่สะดวกส�ำหรับคนไทยทั่ว ทั้งสวิตฯ ที่จะเดินทางไปท�ำบุญ พอรถเลี้ยวเข้าไปหน้าวัด บน สนามกว้างๆ มีแกะเล็มหญ้าอยู่อย่างสบายอารมณ์ บรรยากาศ เป็นเมืองชนบท มองเห็นวัดและหลังคาโบสถ์ทรงไทยสีสดใส บอกได้แต่ไกลว่าเป็นวัดไทย โดยเฉพาะพระอุโบสถ ทรงเดียว กับพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรที่กรุงเทพฯ ผ่านประตูรั้ววัด 8

IS AM ARE www.fosef.org


ตามรอยยุ ว กษั ต ริ ย ์

ด้านหน้ามีศาลสมเด็จพระปิยมหาราชและมีศาลเจ้าแม่กวนอิม ถัดไปเป็นอาคารหลังย่อม ชั้นบนประดิษฐานพระพุทธรูป และ พระรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งสมเด็จพระบรมราชชนนี ส�ำหรับให้คนไทย ได้สักการะ ในวั น ที่ เ ราไป ภายในพระอุ โ บสถมี ศิ ล ปิ น หนุ ่ ม สาวจากประเทศไทยที่ จ บจากสถาบั น ทางด้ า นศิ ล ปะ เช่ น คุณสถาพร โพธิ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป กรมศิลปากร คุณอภิรดีหุตะประเสริฐ จากสถาบันเดียวกัน และคุณด�ำรงฤทธิ์ พรหมจารี จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เชียงใหม่ ก�ำลังวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งใกล้จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ วัดนี้ถือว่าเป็นวัดพุทธศาสนาวัดแรกในสวิตฯ แต่เดิมก่อตั้งเป็น สมาคมวัดไทยเมื่อ ปี ๒๕๒๗ (ค.ศ.๑๙๘๔) และใช้ที่ท�ำการของ สมาคมที่สถานทูตไทยในซูริค ต่อมาจึงได้จัดซื้อที่ดินเพื่อปลูก สร้างเป็นวัดถาวรขึ้นเป็นศูนย์กลางส�ำหรับประกอบพิธีกรรม ทางศาสนา จัดงานบุญ งานฉลองตามเทศกาลต่างๆ และยัง ให้ ก ารศึ ก ษาธรรมะและวั ฒ นธรรมไทยแก่ เ ยาวชนไทยและ ชาวต่างชาติ

9 issue 121 February 2018


10 IS AM ARE www.fosef.org


ปัจจุบัน วัดนี้มีสามาชิกที่เป็นคนไทยราวสี่พันครอบครัว หรือประมาณ ๑๒,๐๐๐ คน มีคนมาเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวัน อาทิตย์ ราว ๑๘๐ คน และยังเปิดสอนภาษาไทย ภาษาเยอรมัน ดนตรีไทย มวยไทย และการแกะสลักด้วย วันที่เราไปวัดไม่ใช่วัน เสาร์อาทิตย์ ยังได้เห็นฝรั่งสองสามคนก�ำลังเดินจงกรมอย่างส�ำรวม นอกจากจะเป็นร่มเงาพุทธศาสนาส�ำหรับคนไทยในต่างแดนแล้ว ยังเป็นที่ส�ำหรับการศึกษาของคนต่างชาติ ตามเมืองใหญ่ อย่างลูเซิร์น เราพบเห็นโปสเตอร์เกี่ยวกับศาสนาพุทธ สะท้อนให้เห็นความสนใจในหลักพุทธศาสนาและวัตรปฏิบัติของคนสวิส จึง นับเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้คนต่างวัฒนธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายในโลกปัจจุบัน 11 issue 121 February 2018


12 IS AM ARE www.fosef.org


สั ม ภาษณ์ พิ เ ศษ

แนวทางชี วิตและการดูแลคนพิการ

สมคิด สมศรี

อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชี วิตคนพิการ

13 issue 121 February 2018


ช่ ว ยเล่ า ประวั ติ ค วามเป็ น มาของท่ า นพอสั ง เขปค่ ะ ท่ า นเกิ ด และเติ บ โตที่ ไ หนคะ ? : ผมเกิดจากบ้านนอกครับ เป็นเด็กชนบทลูกผู้น�ำชุมชน จังหวัดก�ำแพงเพชร พ่อผมเป็นสารวัตรก�ำนัน ผมมีพี่น้อง 11 คนครับ พี่น้องผลักดันให้ผมได้เรียนหนังสือ แต่พ่อไม่อยากให้ ผมเรียนเท่าไหร่ ท่านอยากให้ดูแลมรดก ดูแลที่ดินมากกว่า แต่ ด้วยความที่ว่าพี่น้องส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงทั้งหมด มีผู้ชายเพียง 3 คน พี่ๆ จึงสนับสนุนให้เราได้เรียน เราก็พยายามไปเรียน แต่ จริงๆ แล้วด้วยความที่ผมเป็นลูกผู้ชายไม่กี่คนในหมู่พี่น้อง พ่อ จึงคาดหวังอย่างเดียวจะให้เราดูแลมรดก ดูแลทรัพย์สมบัติ เพราะมีไร่นาเยอะ : ผมเริ่มเรียนที่โรงเรียนตากพิทยาคมครับ เราอยู่บ้าน นอก ถ้าจะเรียน สมัยก่อนทางรถไม่ดีต้องขึ้นรถไปเรียนและ อยู่หอพักครับ พี่สาวพาไปฝากลุงท่านเป็นปลัดอ�ำเภอที่จังหวัด ตาก ก็ได้ไปสอบเข้าเรียนที่ตากพิทยาคมจนจบ ม.3 และต่อ ม. 4 ที่จังหวัดตากครับ ในตอนนั้นกลุ่มที่เราเรียน ม.4 เรามองดูว่า เราคงไม่สามารถไปต่อมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ได้ เราก็เลยไป เรียนอาชีวะ ไปต่อที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี จังหวัดตาก พอเรียนจบที่น่ันก็ท�ำงานทันทีครับ เพราะว่าเราจะไปเรียนต่อก็ ไม่รู้เป้าหมายว่าจะไปเรียนเพื่ออะไร

เราต้ อ งใช้ สื่ อ อย่ า งสร้ า งสรรค์ รู ้ เ ท่ า ทั น สื่ อ รู ้ จั ก ป้ อ งกั น เพื่ อ ลดโอกาสที่ จ ะถู ก หลอกลวงท� ำ ให้ เ สี ย หายหรื อ ท� ำ ให้ เ กิ ด อุ บั ติ เ หตุ อย่ า งไรก็ ต าม ขอฝาก น้ อ งๆ ว่ า ให้ ใ ช้ สื่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ อย่ า ใช้ เ พื่ อ ตั ว เองอย่ า งเดี ย ว ท่ า นเริ่ ม งานครั้ ง แรกที่ ไ หนคะ ? : พอเราจบ ปวช.แล้ว เราทุกคนอยากท�ำงานครับ รุ่น พี่ก็ท�ำงานกันหมด ผมก็ได้ขึ้นไปท�ำงานที่กรมวิชาการเกษตร จังหวัดตาก ไปดูเรื่องกาแฟ เรื่องอโวคาโด แมคคาเดเมียที่มัน เกิดในเมืองไทย ตรงนั้นเป็นแหล่งการวิจัย พอจบตรงนั้นก็บรรจุ เป็นพนักงานราชการครับ เป็นลูกจ้างประจ�ำ ที่ท�ำงานเราอยู่ ติดกับศูนย์ชาวเขา มีโครงการเรื่องลดพื้นที่ปลูกฝิ่นของชาวเขา เขาก็เลยให้รุ่นพี่คนหนึ่งโอนไปจะให้ไปท�ำเรื่องกาแฟ ปลูกพืช ทดแทนฝิ่น รุ่นพี่เขาโอนไปอยู่กรมประชาสงเคราะห์ ทีนี้พี่เขา บอกกรมประชาสงเคราะห์เปิดสอบผมก็เลยมาสอบ ได้เป็น ข้าราชการตั้งแต่ ปี 2521 เท่ากับซี 1 ไปเดินดอยอยู่ 18 ปีก ว่าครับ สมัยนั้นยังมีคอมมิวนิสต์ ที่บ้านโคกหนามทา บ้านแม่ แรม ที่อ�ำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน อยู่ในเขตแพร่ซึ่งเป็นพื้นที่ คอมมิวนิสต์อยู่ 14

IS AM ARE www.fosef.org


ถ้ า เกิ ด อุ บั ติ เ หตุ แ ล้ ว ท้ อ อย่ า ถอยครั บ อย่ า หั น หลั ง ให้ สั ง คม เราช่ ว ยเหลื อ ซึ่ ง กั น และกั น เราเปิ ด โอกาส ให้ เ พราะว่ า เรามี เ งิ น กองทุ น มี สั ง คมของเราในกรณี ของกรมส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต คนพิ ก าร เราดู แ ลได้ ค รั บ

: ผมอยู่ที่นั่นมีเป้าหมายเดิมอยู่แล้วคือปลูกพืชทดแทน ฝิ่น เราเอาพืชพันธุ์ดีๆ ไปส่งเสริม ตอนหลังก็เป็นกาแฟจากนั้น ก็อยู่กับชาวเขา 18 ปีครึ่ง มาอยู่สถานสงเคราะห์หนึ่งปี มาอยู่ นิคมอุตสาหกรรม 9 ปี แล้วมาเป็น พมจ. 4 ปีกว่า 3 จังหวัดนะ ครับ ไปอยู่จังหวัดสตูลหนึ่งปี ไปมาทั่วประเทศแล้วครับ แล้วมา เป็นเขตดูแลอีก 8 จังหวัด อยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ในจังหวัด ลพบุรี จากเขตเสร็จแล้วมาเป็นรองอธิบดี 2 กรม 3 ปีกว่าครับ แล้วมาเป็นผู้ตรวจฯ อีกเกือบ 3 ปี แล้วมาเป็นอธิบดี 2 กรมใน ปัจจุบันครับ อายุราชการ 39 ปีกว่า มีทวีคูณตอนเดินดอยอีก 6 ปีกว่า ตอนนี้อายุราชการ 40 กว่าปีครับ

โครงการ “ชิพแอนด์แชร์ ปลูกฝังเยาวชนเป็นยุวอาสา” เด็กๆ เขาจะสื่อสารกันทาง face book และเครือข่ายของการแชร์ แชร์คือการให้ ชิพคือการที่เราช่วยผู้อื่นแล้วเราก็แชร์ต่อ สร้าง ท่ า นมี แ นวทางในการดู แ ลพั ฒ นาเด็ ก และเยาวชน เครือข่ายกัน โครงการชิพแอนด์แชร์วันนี้ยังอยู่ครับ ผมท�ำปี แรก 10 จังหวัด ตอนนี้ครอบคลุมทั้งประเทศแล้วครับ มีสมาชิก อย่ า งไรคะ ? : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นล้านคน : ชิพแอนด์แชร์อยู่ภายใต้ พรบ.เยาวชนครับ เยาวชนที่ ให้ความส�ำคัญเรื่องเยาวชนครับ เรามีกฎหมายดูแล 2 พรบ. ตั ว ที่ ห นึ่ ง คื อ กฎหมาย พรบ.คุ ้ ม ครองเด็ ก พรบ.ตั ว ที่ ส องคื อ เข้ามาอายุตั้งแต่ 18-25 ปี ดังนั้นเยาวชนวันนี้เวลาจะท�ำกิจกรรม กฎหมายเยาวชน ทั้งสองกฎหมายมุ่งหวังให้เด็กและเยาวชน เราจะดึงน้องๆ ไปเขียนโครงการขอเงินงบประมาณจากกองทุน มีโอกาสเท่าเทียมกันและไม่ถูกจ�ำกัดสิทธิ แล้วเรามีโครงการ คุ้มครองเด็กแล้วมาท�ำกิจกรรม แต่ว่าจริงๆ แล้วเด็กกลุ่มหนึ่งที่ หนึ่งที่ผมท�ำไว้ตอนเป็นรองอธิบดีฯ วันนี้ยังยั่งยืนอยู่ครับ คือ เขาไม่ต้องการเงินจากรัฐ เขามีฐานะทางครอบครัวดีอยู่แล้วเขา 15 issue 121 February 2018


16 IS AM ARE www.fosef.org


กฎหมายที่เข้มแข็งสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศคือ ยูเอ็น มีอนุสัญญากฎหมายในประเทศดูแลเขาหมดแล้ว มีการ จ้างงาน มีเงินเข้ากองทุนซึ่งไปดูแลเขาทั้งระบบ ดังนั้น คนพิการ วันนี้ไม่ได้เป็นภาระแต่เป็นพลังครับ : ในส่วนของเด็กเยาวชนคนพิการวันนี้ เราต้องยอมรับ ว่าประเทศไทยเราพัฒนาไปไกลแล้ว เด็กที่พิการตั้งแต่ก�ำเนิด ลดลง มีการป้องกัน มีสาธารณสุขที่ดี ส่วนที่สองที่เป็นปัญหา อยู่ทุกวันนี้คือเรื่องของอุบัติเหตุซึ่งมีเยอะมากครับ เราเรียกว่า คนพิการรุ่นใหม่ กลุ่มนี้น่าเป็นห่วง เราต้องช่วยดูแลเขา เพราะ เขาไม่ได้พิการแต่ก�ำเนิด เราต้องมาฝึกปฏิบัติเขาใหม่หมดเลย ผมมาเทียบตามอัตราส่วนแล้วยังถือว่าไม่เยอะแต่ถ้าไม่เกิดได้ จะดีกว่าครับ ค น พิ ก า ร ส า ม า ร ถ อุ ่ น ใ จ ไ ด ้ ว ่ า รั ฐ ฯ ไ ม ่ ท อ ด ทิ้ ง พวกเขา ? : ถ้าเกิดอุบัติเหตุแล้วท้อ อย่าถอยครับ อย่าหันหลังให้ สังคม เราช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เราเปิดโอกาสให้เพราะว่าเรา มีเงินกองทุน มีสังคมของเราในกรณีของกรมส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ เราดูแลได้ครับ

ก็ไปช่วยสังคมโดยเอาเงินจากครอบครัวไปสนับสนุน เขาจะรวม กลุ่มไปท�ำประโยชน์ อย่างเช่น ไปดูแลเด็กในสถานสงเคราะห์ เด็กอ่อน ไปพัฒนาวัด ไปปลูกต้นโกงกาง เป็นกิจกรรมมากมาย ภายใต้ชิพแอนด์แชร์ครับ จ� ำ นวนหรื อ สั ด ส่ ว นคนพิ ก ารในปั จ จุ บั น ถื อ ว่ า น่ า ห่ ว ง ไหมคะ ? : จริงๆ ตัวน้องคนพิการอัตราส่วนน้อยมากครับ เพราะ จ�ำนวนคนพิการเรามี หนึ่งล้านแปดแสน คนที่จดทะเบียน แต่ ว่าคนที่ไม่ได้จดทะเบียนที่ยังไม่ได้เข้าร่วมเกณฑ์ก็มี เช่น เกณฑ์ ตาบอดข้างเดียว แขนขาดข้างเดียว ยังจดทะเบียนคนพิการไม่ ได้ พวกนี้ยังเป็นอีกลุ่มหนึ่ง ต้องดูนิยามของความพิการครับ : ส่วนคนพิการกลุ่ม หนึ่งล้านแปดแสน คน ผมถือว่ายัง ไม่เยอะถ้าเทียบกับผู้สูงอายุ ยกตัวอย่างผู้สูงอายุมีอยู่ สิบล้าน แปดแสน คน เด็กรวมกับเยาวชน 23 ล้านคน อายุตั้งแต่ 0-25 ปี ดังนั้น ตรงนี้เป็นส่วนที่ใหญ่ จากแนวทางของรัฐบาล “เราไม่ ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ต้องลดความเหลื่อมล�้ำ ให้เกียรติ ให้โอกาส และก�ำลังใจครับ ดังนั้นคนพิการมีกองทุนดูแลอยู่แล้วครับ มี 17 issue 121 February 2018


ท่ า นมี น โยบายอย่ า งไร ส� ำ หรั บ แนวทางหรื อ การ ป้ อ งกั น ก่ อ นเกิ ด เหตุ ข องความพิ ก าร ? : นโยบายของรัฐก็คือนโยบายประชารัฐครับ ประชารัฐ ก็คือในส่วนของกองทุน สสส.มีงบประมาณอยู่ส่วนหนึ่ง แล้วก็ที่ กองทุนเลขสวยของกรมขนส่งฯ เขาประมูลเลขสวยเพื่อมาท�ำใน เรื่องลดอุบัติเหตุ ในส่วนของภาคประชารัฐ คือ มีหน่วยงานของ เอกชนมากมายที่เข้ามาช่วยเรื่องลดอุบัติเหตุ สสส.เขาท�ำเยอะ มากเพื่อที่จะรณรงค์ให้ อย่างปีนี้ก็ประสบผลส�ำเร็จครับ ปีใหม่ ที่ผ่านมาอุบัติเหตุลดลง แต่มีสาเหตุอยู่สองส่วนที่เราต้องไปดูแล ก็คือ ในชนบทรถมอเตอร์ไซค์ท�ำให้เกิดอุบัติเหตุเยอะ ส่วนที่สอง ก็คือสุรา มาตรการทางรัฐเราก็จ�ำกัดไว้แล้วหนึ่งเขตบริเวณสถาน ศึกษาห่างกี่เมตร แล้วก็ในส่วนของงบประมาณไม่น่ามีปัญหา ใน

ส่วนของกฎหมายก็เข้าไปควบคุมอย่างสถานศึกษาต้องมีร้าน ขายสุราสรรพสามิตที่ห่างไกล แล้วก็กฎกติกาข้อบังคับการซื้อ ขายมีเวลาก�ำหนด เด็กไม่สามารถซื้อได้ ท่ า นมี แ นวคิ ด ในการดู แ ลคนพิ ก ารที่ เ กิ ด ความท้ อ แท้ อย่ า งไรคะ ? : หลักที่ผมคิดก็คือว่าทุกคนมีดีครับ แต่ในขณะที่มีดีช่วง ระยะเวลาหนึ่งเขาเกิดท้อแท้ต้องไปให้ก�ำลังใจเขา แล้วเขาจะ ออกมาสู้เองอย่างกรณีคนพิการพอเกิดอุบัติเหตุเขาจะเกิดความ ท้อแท้ ถ้าเราให้ก�ำลังใจเขา ดูแลเขา แล้วเปิดโอกาสและสื่อสาร กับเขา เขาก็จะกลับมาช่วยตัวเองได้ครับ

18 IS AM ARE www.fosef.org


ที่ ผ ่ า นมาเยาวชนไทยมี ส ่ ว นช่ ว ยเหลื อ ดู แ ลคนพิ ก ารมากน้ อ ยแค่ ไ หนคะ ? : ช่วยได้เยอะเลยครับ เด็กๆ เขามีเครือข่ายกันทางโซเชียลในการติดต่อประสานงานหรือลงพื้นที่ท�ำกิจกรรมต่างๆ เพื่อคน พิการ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลของท่านนายกรัฐมนตรี ‘ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ ให้เกียรติ ให้โอกาส ให้ก�ำลังใจ ตรงนี้เยาวชน มีส่วนช่วยได้เยอะเลยครับ อยากให้ ท ่ า นฝากถึ ง เด็ ก และเยาวชนทั่ ว ประเทศค่ ะ ? : เด็กและเยาวชนวันนี้มีความรู้เท่าทันสื่อมากขึ้น ต่างจากช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พวกเขายังไม่รู้เท่าทันสื่อมากนัก แต่วันนี้เรา มีสื่ออยู่กับมือ ตรงนี้เป็นสิ่งส�ำคัญอย่างยิ่ง เราต้องใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ รู้เท่าทันสื่อ รู้จักป้องกัน เพื่อลดโอกาสที่จะถูกหลอกลวง ท�ำให้เสียหายหรือท�ำให้เกิดอุบัติเหตุ อย่างไรก็ตาม ขอฝากน้องๆ ว่าให้ใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ อย่าใช้เพื่อตัวเองอย่างเดียว อยาก ให้ใช้เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นในสังคมด้วยครับ

19 issue 121 February 2018


20 IS AM ARE www.fosef.org


Cartoon

21 issue 121 February 2018


22 IS AM ARE www.fosef.org


23 issue 121 February 2018


“การเรียนท�ำให้คนมีงานท�ำ กิจกรรมท�ำให้คนท�ำงานเป็น”

พีร์ สุทธินนท์

“สมั ย เรี ย นผมเป็ น เด็ ก ที่ ไ ม่ ค ่ อ ยตั้ ง ใจเรี ย น ไม่ ค ่ อ ยชอบอ่ า นหนั ง สื อ ยิ่ ง ตอนสอบอ่ า นน้ อ ยมากถ้ า เที ย บ กั บ คนอื่ น ๆ ผลการเรี ย นออกมาอยู ่ ร ะดั บ กลางๆ แต่ เ ราไม่ ไ ด้ เ ป็ น เด็ ก เกเรจนต้ อ งขึ้ น ห้ อ งปกครอง มี โ ดด เรี ย นขึ้ น โรงยิ ม บ้ า ง ไปเตะบอล เล่ น บาส เล่ น วอลเลย์ บ อล” พีร์ หรือ นายพีร์ สุทธินนท์ อายุ 24 ปี เจ้าหน้าที่ธุรการ บริษัทโพรเกรส แอพไพรซัล จ�ำกัด พูดถึงความเป็นมาของตัวเอง ในสมัยมัธยม ก่อนจะเรียนจบจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย รามค� ำ แหง และเข้ า ท� ำ งานในบริ ษั ท เกี่ ย วกั บ การให้ บ ริ ก าร ด้านการประเมินมูลค่าทรัพย์สินและจดทะเบียนนิติกรรมของ ธนาคารกสิกรไทย “การเรียนที่รามค�ำแหงท�ำให้เราโตขึ้นในอีกระดับ ด้วย ระบบที่เราเรียนไม่เหมือนที่อื่น ท�ำให้ต้องรู้หน้าที่ตัวเอง ต้อง รู้ตัวเองเสมอว่าเวลาไหนเราต้องท�ำอะไร เรียนที่นี่มันคือการที่ เราต้องสู้กับตัวเองจริงๆ เราต้องเอาชนะใจตัวเองให้ได้”

พีร์ เป็นตัวแทนเยาวชนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเรียนจบและเข้า ท�ำงานในยุคที่เรียกกันว่า 4.0 เขามองว่าประสบการณ์การศึกษา เล่าเรียนที่ผ่านมาทั้งหมดไม่อาจวัดกันที่เกรดเฉลี่ยใดๆ เนื้อแท้ ที่จะน�ำมาใช้ในการท�ำงานได้จริงคือการปรับตัว ให้อยู่ร่วมกับ ผู้อื่นในสังคม และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าซึ่งสถานศึกษา ไม่อาจชี้น�ำได้ทั้งหมด ส�ำหรับพีร์ สิ่งที่จะสอนเรื่องเหล่านี้ได้คือ ประสบการณ์ชีวิตจากการท�ำกิจกรรมต่างๆ ควบคู่กับการเรียน หนังสือที่ผ่านมา “เคยได้ ยิ น ประโยคที่ ว ่ า การเรี ย นท� ำ ให้ ค นมี ง านท� ำ กิจกรรมท�ำให้คนท�ำงานเป็น เมื่อเข้าสู่วัยท�ำงานจริงๆ เราจะ 24

IS AM ARE www.fosef.org


เยาวชนของแผ่ น ดิ น รับรู้ได้เองว่าพวกทฤษฎีที่เราตั้งใจเรียนมาจนได้เกรด A มัน ไม่ใช่ทั้งหมดของการท�ำงาน การท�ำงานจริงมันมีอีกหลายอย่าง ที่ต้องใช้นอกจากความรู้ที่เรียนมา อย่างการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การท�ำงานเป็นทีม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การที่เราได้เคย ท�ำกิจกรรมต่างๆ ในสมัยเรียนมันส่งผลให้เรามีความสามารถ ในสิ่งที่นอกเหนือจากการเรียนในห้อง การท�ำงานมันคือการที่ เราเอาทฤษฎีที่เราเรียนในห้องมาปรับใช้ในทางปฏิบัติ ถ้าเรา ท�ำในจุดนี้ไม่ได้ เกรด A ที่เรากว่าจะได้มามันก็เป็นเพียงแค่ตัว อักษรหนึ่งเท่านั้น” พีร์เป็นเด็กกรุงเทพฯ โดยก�ำเนิด เขาไปเรียนมัธยมต้น ที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา พีร์ยอมรับว่าเคยได้ยินผู้คนพูดถึง โรงเรียนประจ�ำว่า เด็กที่เข้าไปเรียนคือเด็กที่ถูกส่งไปดัดสันดาน และกลายเป็นปมด้อยของชีวิตในที่สุด แต่ส�ำหรับพีร์มองว่าการ ถูกส่งไปอยู่โรงเรียนประจ�ำท�ำให้เขาแกร่งขึ้น พร้อมที่จะเผชิญ กับอุปสรรคทั้งหลาย “โรงเรียนประจ�ำฝึกให้ผมใช้ชีวิตและพึ่งตนเองตั้งแต่เด็ก หัดท�ำอะไรหลายอย่างด้วยตนเอง บางคนอาจคิดว่าเป็นการถูก ส่งไปดัดสันดานและเป็นปมด้อย ส่วนตัวผมกลับคิดว่ามันเป็น ก�ำไรมากว่า เป็นประสบการณ์ชีวิตที่ดีมากอย่างหนึ่ง มันส่งผล กับการใช้ชีวิตในปัจจุบันหลายอย่าง เหมือนกับว่าเราเคยผ่าน อะไรที่หนักๆ มาแล้ว ตอนนี้ถ้าเราจะเจอกับเรื่องหนักๆ อีกเรา ก็จะผ่านมันไปได้อย่างสบาย” พีร์มาเรียนต่อชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนวัดบวรนิเวศ เขา ได้รู้จักกับมูลนิธิครอบครัวพอเพียงและได้เข้าร่วมท�ำกิจกรรม จิตอาสากับเพื่อนๆ หลายโรงเรียนที่โรงเรียนต�ำรวจตระเวน ชายแดนนเรศวรป่าละอู หมู่ 3 บ้านป่าละอู ต�ำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อ�ำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยการปรับปรุงภูมิทัศน์ โรงเรียน จัดท�ำสื่อประชาสัมพันธ์ ปรับปรุงห้องเรียนและจัดสวน ฟื้นฟูสภาพโรงเรียนให้มีความสวยงาม “การที่ ไ ด้ ไ ปค่ า ยอาสากั บ ครอบครั ว พอเพี ย งถื อ เป็ น ประสบการณ์ที่ดีในชีวิตอย่างหนึ่งเลย มันท�ำให้เราได้ไปท�ำใน สิ่งที่ไม่เคยท�ำ ได้เจอในสิ่งที่เราไม่เคยเจอ ได้พบผู้คนมากมาย หลายแบบ ท�ำให้เราได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับคนอื่นๆ ได้ รู้จักวิธีการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆ ยิ่งเวลาที่เราเข้ามหาวิทยาลัย ใหม่ๆ เราได้เจอเพื่อนใหม่ๆ ต้องมาใช้ชีวิตร่วมกัน ท�ำกิจกรรม ร่วมกัน สิ่งที่เราเรียนรู้มาตอนที่ไปค่ายเราก็เอามาปรับใช้กับ ชีวิตมหาวิทยาลัยได้ และมันท�ำให้เราผ่านชีวิตช่วงนั้นไปได้ อย่างสบายๆ”

พี ร ์ ม องว่ า ปั จ จุ บั น เยาวชนรุ ่ น ใหม่ โ ดยเฉพาะใน กรุ ง เทพมหานครต่ า งตั้ ง หน้ า ตั้ ง ตาเรี ย นเพื่ อ ผลการเรี ย นที่ ดี และมหาวิทยาลัยชั้นน�ำที่ต้องการ โดยหลงลืมการท�ำงานเพื่อ สังคมหรือการท�ำจิตอาสาในขณะเรียนเพราะเห็นว่าไม่เกี่ยว กับการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย หารู้ไม่ว่าการท�ำจิตอาสาร่วม กับผู้อื่นอย่างสม�่ำเสมอเป็นการฝึกฝนตนเองให้มีระเบียบ รู้จัก อดทนอดกลั้น รู้จักให้ผู้อื่นโดยไม่ต้องการสิ่งตอบแทน รวมถึง การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นให้มีความสุข สิ่งเหล่านี้เองที่พีร์ มองว่าส�ำคัญกว่าเกรดเฉลี่ยที่ได้มาเมื่อถึงเวลาที่ต้องท�ำงาน ประกอบอาชีพจริงๆ “อยากให้น้องๆ ลองเปิดใจดู มาลองเป็นจิตอาสาไม่ว่า จะเป็นค่ายอาสาหรือในโอกาสต่างๆ มันได้อะไรมากกว่าที่คิด จริงๆ และมันได้ในสิ่งที่ในห้องเรียนให้ไม่ได้ ผมคิดว่าจริงๆ แล้ว มันไม่มีหรอกค�ำว่า ท�ำกิจกรรมจนเสียการเรียน มันอยู่ที่ว่าเรารู้ หน้าที่ตัวเองหรือไม่ แบ่งเวลาเป็นรึเปล่า เราต้องรู้ตัวเองเสมอ ว่าเวลาไหนเราควรท�ำอะไรหรือไม่ควรท�ำอะไร แล้วเราจะผ่าน ทุกอย่างไปได้ด้วยดี” ช่วงมัธยมปลายเป็นช่วงที่ท�ำให้หลายคนรู้สึกถึงค�ำว่า “เพื่อน” มากที่สุด พีร์เองก็รู้สึกอย่างนั้น เพราะเขาได้ร่วมท�ำ กิจกรรมกับเพื่อนอย่างหลากหลาย จนกลายเป็นภูมิคุ้มกันใน ชีวิตการเรียนในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะกิจกรรมที่ได้ร่วม ท�ำกับเพื่อนสนิทยิ่งท�ำให้บรรยากาศสนุกสนานน่าจ�ำจดมากยิ่ง ขึ้น สร้างภูมิคุ้มกันติดตัวจนเข้าสู่วัยท�ำงานในที่สุด ปัจจุบันพีร์เป็นเจ้าหน้าที่นิติกรรมของธนาคาร เขาใช้ ประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาในการร่วมงานกับผู้อื่น ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงกลายเป็นแนวทางในการด�ำเนินชีวิตซึ่งถูก ปลูกฝังมาจากมูลนิธิครอบครัวพอเพียงสมัยเรียนชั้นมัธยมปลาย ให้รู้จักให้ผู้อื่น รู้จักวางแผนการด�ำเนินชีวิตที่รอบครอบ “ส�ำหรับผม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่การที่ เราต้องแบ่งสิ่งที่เรามีอยู่ว่าเอาไปท�ำสิ่งนั้นเท่าไหร่ สิ่งนี้เท่าไหร่ แต่มันคือการที่เราใช้ชีวิตแบบรู้ตัวเอง รู้ว่าเรามีเท่าไหร่และ เราไม่ใช้เกินตัว ไม่ท�ำให้ตัวเองล�ำบากและไม่ท�ำให้คนอื่นเดือด ร้อน ปัจจุบันผมเป็นเจ้าหน้าที่นิติกรรมของธนาคาร งานที่ท�ำ เงินเดือนไม่มากมายอะไร แต่เรารู้จักตัวเอง ไม่ท�ำอะไรเกินตัว ในขณะเดียวกันเราพยายามอัพเกรดตัวเองให้มากขึ้น เพื่อที่ เราจะได้ท�ำในสิ่งที่เราฝันว่าอยากท�ำให้ได้ต่อไป” อดีตนักเรียน จิตอาสาวัดบวรนิเศวกล่าวทิ้งท้าย

25 issue 121 February 2018


26 IS AM ARE www.fosef.org


สั ม ภาษณ์ พิ เ ศษ

แนวทางการบริหารงานภายใต้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ทศพร รัตนมาศทิพย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก�ำกับดูแลสายงานควบคุมและป้องกันการทุจริต บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

27 issue 121 February 2018


ประวั ติ แ ละประสบการณ์ ท� ำ งาน พื้นเพผมเป็นคนต่างจังหวัดครับ เมื่อก่อนตอนผมยัง เป็นเด็กอยู่ คุณพ่อและคุณแม่เลี้ยงดูลูกๆ 4 คนด้วยความ ยากล�ำบากมาก เนื่องจากคุณพ่อและคุณแม่ผมเป็นคนไม่มี วุฒิการศึกษา ไม่มีทุนทรัพย์ ท่านทั้งสองเป็นคนเชื้อสายจีน ที่ ไ ด้ เข้ า มาอยู ่ ภ ายใต้ ร ่ ม พระบารมี ข องพ่ อ หลวง มาอาศั ย ค้าขายอยู่ในประเทศไทยที่ชายแดนด้านอ�ำเภออรัญประเทศ ซึ่งติดกับประเทศกัมพูชาที่ขณะนั้นอยู่ในภาวะสงคราม คุณ พ่อคุณแม่ผมไม่ได้เข้าเรียนภาษาไทยในโรงเรียนเหมือนคนอื่น แต่ได้เรียนรู้จากห้องเรียนชีวิต ในด้านการค้าขายท่านเป็นนัก สู ้ ที่ แ สวงหาโอกาสทางการค้ า ที่ สุ จ ริ ต และอดทนบากบั่ น จน มีรายได้สามารถเลี้ยงดูลูกๆทั้งสี่คนจนเติบใหญ่ และส�ำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรีครบทุกคน งานพิธีศพของคุณแม่ ผมได้รับพระมหากรุณาธิคุณทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด กระหม่อมพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ เป็นที่ทราบ ซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ พี่สาวผม คุณนัยนา รัตนมาศทิพย์ท�ำงานเป็นหัวหน้าพยาบาลที่โรงพยาบาลกลาง เพิ่งได้รับรางวัล สตรีไทยดีเด่นประจ�ำปี 2560 โดยสภาสตรี แห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมป์ ในวันสตรีไทยที่ผ่านมา พี่ สาวผมได้ รั บ พระกรุ ณ าโปรดเกล้ า พระราชทานเครื่ อ งราช อิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ส่วนผมเองได้รับเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยในฐานะที่ท�ำงาน ให้ส�ำนักงานป.ป.ช.เมื่อหลายปีก่อน พวกเราทุกคนคิดว่าชาติ นี้เราโชคดีได้เกิดมาบนผืนแผ่นดินไทย ก็ขอตอบแทนคุณแผ่น ดินโดยท�ำความดีต่อๆไปครับ

ตั ว ผมเองเรี ย นครู ม าครั บ จบปริ ญ ญาตรี ก ารศึ ก ษา ศาสตร์ บั ณ ทิ ต ภาควิ ช าภาษาอั ง กฤษ จากมหาวิ ท ยาลั ย ศรีนครินทรวิโรฒ ปี พ.ศ. 2528 ท�ำงานครั้งแรกเป็นครูอาสา สมัครช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากต่างประเทศ ที่ศูนย์อพยพผู้ลี้ภัย อ�ำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลไทย ร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ผมท�ำอาชีพครูสอน ภาษาอังกฤษผู้อพยพลี้ภัยจากภาวะสงครามเป็นเวลา 2 ปี จาก นั้นเข้ามาท�ำงานที่กรุงเทพฯ โดยได้ท�ำงานกับบริษัทการบินไทย และ บริษัทสายการบินควันตัส ในต�ำแหน่งลูกค้าสัมพันธ์อยู่ 3 ปี โดยที่ผมเป็นคนชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และชอบท�ำงาน กับชาวต่างชาติจึงสมัครเข้าท�ำงานกับสถานเอกอัครราชทูต สหรัฐอเมริกา ประจ�ำประเทศไทย การตัดสินใจเข้าท�ำงานที่ สถานฑูตท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งส�ำคัญในชีวิต ผมได้ รับทุนจากหน่วยสืบสวนสหรัฐ (U.S. Secret Service) สังกัด กระทรวงการคลังสหรัฐไปอบรมหลักสูตร เจ้าหน้าที่สืบสวน คดีอาญา (Criminal Investigator) และ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ สืบสวนสหรัฐ (U.S. Special Agent) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่ได้รับเลือกให้เข้ารับการฝึกอบรม เต็ ม หลั ก สู ต รเป็ น เวลากว่ า 1 ปี ขณะที่ ศึ ก ษาอยู ่ ที่ ส ถาบั น 28

IS AM ARE www.fosef.org


ความเสียหายให้กับบริษัท ต่อมาได้รับความไว้วางใจให้เข้าร่วม ท�ำงานกับ ทีมผู้บริหารของบริษัทที่ส�ำนักงานใหญ่ (Global Fraud Management Team) โดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้อ�ำนวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบและป้องกันการทุจริตและ รักษาความปลอดภัย รับผิดขอบดูแลธุรกิจของจีอีและบริษัทใน เครือจีอี ที่เปิดด�ำเนินการอยู่ในภูมิภาคเอเชียรวม 13 ประเทศ ระหว่างปี 2548-2550 ผมได้เข้ารับการฝึกอบรมที่ศาลแรงงาน กลางและได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเป็นผู้พิพากษา สมทบในศาลแรงงานกลาง ผมท�ำงานที่ศาลแรงงานกลางเป็น เวลา 3 ปีควบคู่ไปกับการท�ำงานที่จีอี ก่อนที่จะเข้ามาร่วมงาน กับธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยท�ำหน้าที่บริหารจัดการปัญหา ทุ จ ริ ต ของธนาคารและก� ำ กั บดู แลบริ ษั ท ในเครื อในด้า นการ บริหารความเสี่ยง งานต่อต้านการทุจริตจึงเป็นงานประจ�ำที่ ผมท�ำเต็มเวลาถือเป็นอาชีพหลักของผมเลยครับ

ฝึกอบรมผู้บังคับใช้กฎหมายของรัฐ ที่รัฐ จอร์เจีย ประเทศ สหรัฐอเมริกา ผมเป็นชาวต่างชาติคนเดียวในชั้นเรียนที่ได้รับ เลือกให้เป็นประธานรุ่นนักศึกษา หลังจากจบการฝึกอบรม ผมกลับมาประจ�ำที่ส�ำนักงานหน่วยสืบสวนสหรัฐ ที่กรุงเทพ รั บ ผิ ด ชอบสื บ สวนสอบสวนอาชญากรรมทางเศรษฐกิ จ ที่ เกี่ยวข้องกับสหรัฐในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้ง ประสานงานอารักขาบุคคลส�ำคัญ ผมได้รับเลื่อนต�ำแหน่งใน ระดับสูงสุดของเจ้าหน้าที่ไทยในเวลานั้นหลังจากท�ำงานครบ 12 ปี โดยต�ำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้เชี่ยวชาญการสืบสวนอาวุโส ก่อนลาออกจากสถานฑูตผมได้มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตรเจ้าหน้าที่การฑูตอาวุโส (Senior Public Diplomacy) ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี เป็นเวลา 1 เดือน และร่วมงานกับฝ่าย ประชาสัมพันธ์ (Public Affairs) ในฐานะที่ปรึกษาอาวุโสด้าน วัฒนธรรม ประจ�ำสถานฑูต ท�ำให้เห็นความส�ำคัญของการ ผสานความร่วมมือกันในระดับนานาชาติในการท�ำงานพัฒนา ประเทศด้านต่างๆ ในปี 2544 ผมตัดสินใจเข้าร่วมงานกับ บริษัท เจนเนอ รัลอีเล็คทริค (จีอี) จ�ำกัดในต�ำแหน่งผู้จัดการอาวุโสฝ่ายก�ำกับ ดูแลธุรกิจ โดยรับผิดชอบบริหารจัดการตรวจสอบและป้องกัน

29 issue 121 February 2018


เว้นวันหยุด ลูกค้าสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน หรือ ใช้โทรศัพท์มือถือท�ำธุรกรรมโอนเงินหรือช�ำระค่าสินค้าและ บริการได้เลย ธนาคารจึงจ�ำเป็นต้องใช้คนที่มีความเชี่ยวชาญ และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อป้องกันและตรวจสอบการทุจริต ให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกับมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรและ ก�ำหนดระเบียบนโยบายที่มุ่งเน้นในคุณค่าของความซื่อสัตย์ และจริยธรรมเพื่อให้พนักงานยึดปฎิบัติ ซึ่งเรื่องนี้ต้องถือว่า ภาคเอกชนเขารอบคอบและมีความไวต่อการแก้ไขปัญหาการ ทุจริต เพราะหากช้าจะถูกโกงไปหมด บริษัทก็อยู่ไม่ได้ ภาค เอกชนจึงมีการท�ำงานกันอย่างจริงจัง รวมทั้งท�ำงานร่วมกัน กั บ สถาบั น การเงิ น อื่ น ๆทั้ ง ในและต่ า งประเทศเพื่ อ ให้ ธุ ร กิ จ ด�ำเนินต่อไปได้ โดยส่วนตัว ผมเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งและเป็นประธานชมรม ตรวจสอบและป้องกันการทุจริต ภายใต้สมาคมธนาคารไทย ชมรมมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ยกระดั บ การบริ ห ารจั ด การปั ญ หา ทุจริตในสถาบันการเงินให้ได้ตามมาตรฐานสากล ผมได้ร่วม กับสมาชิกที่เป็นสถาบันการเงินทั้งในประเทศและสถาบันการ เงินต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย รณรงค์เผยแพร่องค์ ความรู้ในเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องตลอด 7 ปีที่ผ่านมา โดยหลัก การบริหารจัดการปัญหาทุจริต เราต้องท�ำงานร่วมกัน ภาย ใต้มาตรฐานการท�ำงานและวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นไปในแนว เดียวกันจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาทุจริตได้ส�ำเร็จ

ทราบว่ า คุ ณ ทศพรนอกจากท� ำ งานที่ ธ นาคารแล้ ว ยั ง เป็ น ผู ้ มี บ ทบาทส� ำ คั ญ ในการรณรงค์ ต ่ อ ต้ า นการ ทุ จ ริ ต มาโดยตลอด ช่ ว ยเล่ า ให้ ฟ ั ง ได้ ไ หมคะว่ า ท่ า น เข้ า ไปมี ส ่ ว นขั บ เคลื่ อ นในเรื่ อ งนี้ อ ย่ า งไร งานที่ผมรับผิดชอบที่ธนาคาร คือการบริหารความเสี่ยง ในการท�ำธุรกิจ โดยเฉพาะการบริหารจัดการปัญหาการทุจริต ทั้งที่เกิดจากบุคคลภายในองค์กรและจากภายนอกองค์กร เรา ท�ำงานบริหารจัดการปัญหาทุจริตตามมาตรฐานสากล (COSO Fraud Risk Management Frame Work) เป็นการบริหาร จัดการปัญหาแบบครบวงจร คนทุจริตทุกวันนี้ท�ำทุจริตคิดชั่ว ก็เพราะความโลภ ความเห็นแก่ตัว และเพราะความหละหลวม ในการก�ำกับดูแลท�ำให้เปิดโอกาสให้คนท�ำทุจริตได้ง่าย คนโกง ต้องการได้เงินหรือกอบโกยผลประโยชน์มาเป็นของตัวเองโดย ไม่ต้องท�ำงาน หรือท�ำงานน้อยแต่อยากได้เงินมากๆ ธนาคาร เป็นที่ที่มีเงินมากที่สุด ประชาชนและนักลงทุนเอาเงินมาฝาก ไว้เป็นจ�ำนวนมาก มีการท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารใน ทุกๆวันทุกๆเวลา ธนาคารจึงตกเป็นเป้าให้โจรเข้ามาท�ำทุจริต มาโดยตลอด โดยเฉพาะในสมัยนี้เวลาท�ำธุรกรรมกับธนาคาร ลูกค้าไม่ต้องมาปรากฎตัวที่สาขาธนาคารแล้ว ลูกค้าสามารถ ท�ำธุรกรรมและใช้บริการธนาคารต่างๆได้จากทุกที่ทุกเวลาไม่ 30

IS AM ARE www.fosef.org


ความที่ผมมีประสบการณ์ความรู้ในด้านการสืบสวน สอบสวนอาชญากรรมทางเศรษฐกิจมาก่อน ประกอบกับการ บริ ห ารความเสี่ ย งเป็ น หลั ก สากลที่ เ ป็ น แนวปฎิ บั ติ ที่ ทั่ ว โลก ยอมรับ ท�ำให้ผมมองปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้นได้ในหลายมิติ โดยผสมผสานกิจกรรมการควบคุมด้านการทุจริตให้ครอบคลุม ทั้งในเชิงการป้องกัน ตรวจสอบ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผมสนุก กับการท�ำงานในด้านนี้มากครับ วันนี้ผมได้มีโอกาสเข้ามาท�ำงานและแลกเปลี่ยนเรียน รู้ในเรื่องนี้กับผู้มีส่วนรับผิดชอบในหลายเวที ผมได้รับคัดเลือก ให้เข้ารับการอบรมหลักสูตรนักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกัน และปราบปรามการทุจริตระดับสูง (นยปส. รุ่นที่ ๑) จัดโดย สถาบันการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นรุ่นแรก และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต ภาคเอกชน ส�ำนักงาน ป.ป.ช. งานนี้ท�ำให้ผมได้ เข้าใจสภาพความท้าทายของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาการ ทุจริตคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และนับวันจะ เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากค่านิยมของประชาชนบางส่วนทั้งที่อยู่ใน ฐานะของ ข้าราชการ นักการเมือง สื่อสารมวลชล หรือแม้แต่ ผู ้ บัง คั บ ใช้ ก ฎหมาย เริ่ม เปลี่ยนแปลงไปในทิศ ทางที่ น ่ า เป็ น หว่งว่าอาจจะส่งผลต่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนและความ มั่นคงของประเทศ การแก้ไขปัญหาจึงต้องท�ำแบบบูรณาการ

ปัญหาทุจริตคอรัปชันที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองเรา การท�ำงานใน ลักษณะนี้ข่วยให้ผมได้ศึกษาเรียนรู้สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา จากการลงมือท�ำโดยตรง จากนั้นผมจะรวบรวมองค์ความรู้และ ข้อมูลที่ผ่านการคัดกรองดีแล้วเข้าไปเสนอเป็นมาตราการแก้ไข ปัญหา ผ่านสภาการปฎิรูปประเทศและในะระดับท้องถิ่น ผ่าน โครงการหมู่บ้านช่อสะอาด ที่ด�ำเนินการโดย ส�ำนักงาน ป.ป.ช. โดยความร่วมมือของมูลนิธิต่อต้านทุจริต ในส่วนของการด�ำเนินการป้องกันและรณรงค์ปลูกฝัง ค่านิยมองค์กร และเผยแพร่แนวปฎิบัติในการบริหารจัดการ ปั ญ หาการทุ จ ริ ต คอรั ป ชั น ผมได้ มี โ อกาสเข้ า รั บ การอบรม หลักสูตรกรรมการบริษัท (Director Certification Program - DCP) รุ ่ น ที่ ๑๕๔ จากสมาคมส่ ง เสริ ม สถาบั น กรรมการ บริษัทไทย (IOD) ท�ำให้ผมเข้าใจการประกอบธุรกิจและการ บริหารจัดการธุรกิจตามมาตรฐานสากลมากขึ้น และสามารถ เข้าไปผลักดันภารกิจในส่วนของภาคเอกชนได้ดีขึ้น วันนี้ผม ได้รับบทบาทเป็นผู้อ�ำนวยการสอน (Facilitator) ที่ IOD ใน หลั ก สู ต รต่ อ ต้ า นการทุ จ ริ ต ภาคปฎิ บั ติ (Anti-Corruption Practical Guide) และหลักสูตร จรรยาบรรณภาคปฎิบัติ ส�ำหรับผู้บริหาร (Ethics in Practice: The Role of Ethical Leadership) สอนผู้บริหารและกรรมการบริษัทเอกชนถึงวัน นี้ครบ 5 ปีพอดี ผมมีโอกาสได้เผยแพร่องค์ความรู้และรณรงค์

โดยส่ ว นตั ว ผมเห็ น ว่ า หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง สามารถเสริ ม สร้ า งวั ฒ นธรรมองค์ ก ร ที่ ยั่ ง ยื น และปรั บ ใช้ ไ ด้ ใ นทุ ก ระดั บ ของการบริ ห าร จั ด การในทุ ก ภาคส่ ว น เป็ น ศาสตร์ พ ระราชาที่ ลึ ก ที่ เ ราโชคดี ที่ มี โ อกาสได้ เ รี ย นรู ้ แ ละน� ำ ไปใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ ที่ แ ท้ จ ริ ง ได้ ค รั บ ก�ำหนดยุทธศาสาตร์ และแผนการด�ำเนินการที่เป็นระบบและ ด�ำเนินการอย่างต่อเนื่องจริงจังจึงจะส�ำเร็จได้ ผมได้ร่วมผลัก ดันและรณรงค์ให้ภาคเอกชนเข้าเป็นแนวร่วมต่อต้านการทุจริต ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริตที่วางไว้ ผมเข้าไปท�ำงานกับองค์กรต่อต้านคอรัป ชัน (ประเทศไทย) และเข้าเป็นกรรมการมูลนิธิต่อต้านทุจริตที่ เป็นพันธมิตรกับมูลนิธิครอบครัวพอเพียงเพื่อช่วยกันขับเคลื่อน ภารกิจในชุมชนและสถาบันการศึกษา และผมรับเป็นประธาน ชมรมรักษ์คนดี จังหวัดสระแก้ว ที่ผมก่อตั้งขึ้นพร้อมๆกันไป ด้วย ถือเป็นการท�ำงานภาคปฎิบัติในระดับรากหญ้าเพื่อแก้ไข 31

issue 121 February 2018


32 IS AM ARE www.fosef.org


ให้ผู้บริหารด�ำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามกฎหมายก�ำหนด และมี จรรยาบรรณในการท�ำธุรกิจ การแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชันที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง เรา คงต้องด�ำเนินการในหลายมิติ ในหลายระดับ ในหลาย ชุมชนที่มีผลอย่างมีนัยส�ำคัญต่อการด�ำเนินชีวิตของประชาชน ทั้งที่บ้าน วัด โรงเรียน และ สถานประกอบการต่างๆ ที่จังหวัด สระแก้วผมเป็นผู้น�ำชุมชนก่อตั้ง “ชมรมรักษ์คนดี จังหวัด สระแก้ว” ตอนนี้มีสมาชิก 40 กว่าคนแล้ว อยากปลูกฝังให้ ชาวบ้านเป็นคนดีมากๆ จะได้ช่วยบ้านเมืองเรามากขึ้นครับ ผมโชคดี ที่ ไ ด้ มี โ อกาสได้ ร ่ ว มท� ำ งานกั บ ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ที่ มี ค วามรู ้ แ ละประสบการณ์ สู ง มาโดยตลอด การเข้ า เป็ น กรรมการที่มูลนิธิต่อต้านทุจริต ที่ท่านอาจารย์ วิชา มหาคุณ เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิ ท�ำให้ ผมได้เรียนรู้จากท่านทั้งในด้านการแก้ไขปัญหา และการต่อสู้ กับความท้าทายที่เกิดจากการคอรัปชัน การเรียนรู้จากการ เข้ารับการฝึกอบรมและลงมือปฎิบัติในฐานะผู้สังเกตการณ์ อิสระในโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ท�ำให้ผมได้มีส่วนใน การท�ำให้โครงการจัดซื้อจัดจ้างเกิดความโปร่งใสและสามารถ ป้องกันการทุจริตได้ในระดับปฎิบัติการ ผมได้รับแต่งตั้งให้ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาหอการค้าไทย และเป็นผู้แทนสภา หอการค้าไทย ให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหา การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ตามพรบ. การจัดซื้อจัดจ้างและการ บริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ท�ำให้ผมได้มีโอกาสแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง ขณะเดียวกันการได้เข้าไป เป็นคณะอนุกรรมาธิการศึกษา เสนอแนะมาตราการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในสภาขับเคลื่อน การปฎิรูปประเทศ ท�ำให้ผมสามารถเรียนรู้จากปรมาจารย์ต่อ ต้านทุจริต ในระดับประเทศ เช่น ท่านปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ท่านประมนต์ สุธีวงศ์ ท่านอาจารย์ รศ.ดร. สังศิต พิริยะ รั ง สรรค์ และอีก หลายๆท่าน ท�ำให้ผมสามารถเสนอวิ ธิ แก้ ปัญหาในระดับนโยบายจากการที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ ตรงที่ได้จากการท�ำงานในหลายสถานะได้เป็นอย่างดี นอกจาก นี้ผมเข้าไปช่วยพัฒนาหลักสูตรการตรวจสอบและป้องกันการ ทุจริตส�ำหรับสถานอุดมศึกษา ระดับมหาวิทยาลัย และสอน นักศึกษาระดับปริญาตรี โท เอก ทั้งที่ คณะพาณิชย์การบัญชี มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขา ผู้น�ำทางสังคม ธุรกิจ การเมือง ที่มหาวิทยาลัยรังสิต รวมทั้งการ ท�ำงานร่วมกับพันธมิตรตามที่สถาบันการศึกษาต่างๆได้ลงนาม ความร่วมมือกับมูลนิธิต่อต้านการทุจริต ท�ำให้ผมสามารถช่วย พัฒนาหลักสูตรต่อต้านการทุจริต ในสถาบันการศึกษาอย่าง

เป็นรูปธรรมและช่วยท�ำให้สถาบันการศึกษาทั่วประเทศผลิต บุคคลกรที่มีคุณภาพเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น ท ่ า น มี แ น ว ท า ง ก า ร บ ริ ห า ร ง า น ที่ เ กี่ ย ว กั บ ห ลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งอย่ า งไรคะ โดยส่วนตัวผมเห็นว่า ผู้บริหารและผู้น�ำชุมชนบางคน ยังคิดว่าการแก้ปัญหาการทุจริตจะส�ำเร็จได้ด้วยการใช้ศาสนา เป็นหลัก โดยรณรงค์ให้คนท�ำความดี อยู่ในศีลในธรรม การท�ำ ทุจริตก็จะเบาบาง แต่ในโลกความเป็นจริงแล้ว ผู้คนในสังคมยัง ตกเป็นทาสของความโลภอยู่มาก ยังเป็นคนฉวยโอกาส ยังเป็น คนมักง่าย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ในทางเศษรฐศาสตร์ เรา มองว่าคนพวกนี้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ตามธรรมชาติตัวยงที่คิด ว่า ด้วยบริบทของสังคมวันนี้ หากโกงแล้วคุ้ม โกงแล้วสบาย โกง แล้วไม่ถูกจับ ไม่ถูกสังคมประนามหยามเหยียด พวกเขาจะพา กันโกงโดยไม่ลังเลหรือรู้สึกผิดแม้แต่น้อย การแก้ไขปัญหาโดย ใช้ศาสนาไม่ใช่วิธีหลักที่จะได้ผลอย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ แต่ สามารถใช้เป็นตัวช่วยหนุนการบริหารจัดการในด้านอื่นๆท�ำให้ สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยต้อง 33

issue 121 February 2018


พอเพียงแล้ว การทุจริตก็จะไม่เกิดขึ้นโดยง่าย หนึ่ ง ในหลั ก ส� ำ คั ญ ของหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพียงเน้นเรื่องความซื่อสัตย์ เราทุกคนต้องมีความซื่อสัตย์ นอกจากจะซื่ อ สั ต ย์ ใ นการด� ำ เนิ น ชี วิ ต แล้ ว เราต้ อ งมี ค วาม ซื่ อ สั ต ย์ แ ละมี จ รรยาบรรณในวิ ช าชี พ ด้ ว ย (Professional Integrity) คนที่เป็นข้าราชการหรือนักบริหารก็ต้องยึดความ ถู ก ต้ อ งในการท� ำ หน้ า ที่ ต ามกฎระเบี ย บตามระเบี ย บที่ มี อ ยู ่ คนที่ท�ำธุรกิจก็ต้องประกอบธุรกิจตามกฎหมายด้วยความรับผิด ชอบต่อสังคม คนที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมายไม่ว่าจะเป็นต�ำรวจ อัยการ ศาล ต้องปฎิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ในการอ�ำนวย ความยุติธรรม คนท�ำดีต้องได้รับการยกย่องเชิดชู คนทุจริต ท�ำผิดกฎหมายจะต้องได้รับโทษ หากเป็นเช่นนี้แล้วสังคมจะ เป็นปรกติสุข แต่ทุกวันนี้ มีค�ำถามมากมายจากสังคมว่า ท�ำไม่ ข้าราชการไม่ท�ำงานแบบตรงไปตรงมา ท�ำงานเอื้อประโยชน์ พวกพ้อง ผู้บังคับใช้กฎหมายไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างเป็น ธรรม หรือเกิดภาวะความยุติธรรมล่าช้า และในบางครั้งผู้ทุจริต ไม่ได้รับการลงโทษ คนโกงได้รับการยกย่องจากสังคม สิ่งเหล่า นี้ท�ำให้ปทัฏฐานของสังคมเริ่มเบี่ยงเบน เป็นอันตรายต่อความ มั่นคงของประเทศเป็นอย่างมาก

ท�ำอย่างจริงจัง ตัวอย่างเช่น กรณีธนาคารแห่งประเทศไทย มี น โยบายสนั บ สนุ น และส่ ง เสริ ม ให้ พ นั ก งานมี โ อกาสได้ เข้ า ร่วมและฝึกปฎิบัติธรรมเพื่อให้เกิดทักษะในการด�ำเนินชีวิตได้ อย่างมีความสุข โดยเริ่มด�ำเนินโครงการส่งเสริมการฝึกปฎิบัติ ธรรมให้พนักงานสามารถเข้าร่วมได้คนละ 1 ครั้งต่อปี แต่ละ ครั้งใช้เวลาต่อเนื่อง 3-7 วันโดยสามารถใช้เวลาในวันท�ำการ ได้ เป็นต้น การด�ำเนินนโยบายลักษณะนี้สมควรรณรงค์ในมี มากขึ้นในทุกภาคส่วนที่สามารถด�ำเนินการได้โดยไม่กระทบ ต่อภารกิจงานที่ด�ำเนินอยู่ การรณรงค์ ใ ห้ ค นถื อ ศี ล ท� ำ ความดี ค งไม่ เ ป็ น ผลหาก ประชาชนยังอดอยาก ไม่สามารถจัดการกับปัจจัยพื้นฐานใน การด�ำรงชีวิตได้ หรืออาจไม่ได้รับการตอบรับเลยหากธุรกิจ ยั ง คงประกอบการโดยไม่ มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม การ ด�ำเนินการการแก้ปัญาหาโดยการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง นับเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด ตรงประเด็นมากที่สุด หากประชาชนยึดถือหลักความพอเพียง จะท�ำให้เกิดค่านิยม และวัฒนธรรมที่ดีในสังคม ท�ำให้โอกาสที่ประชาชนจะถูกชักจูง ไปในทางที่ผิดลดน้อยลงครับ การด�ำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็ น การเดิ น สายกลาง เป็น การใช้ชีวิต แบบพอประมาณ มี เหตุผลและมีภูมิคุ้มกัน ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นภูมิคุ้มกันช่วยไม่ ให้เกิดการทุจริตได้ ถือเป็นการแก้ปัญหาในระดับรากเง้าเลยที เดียว หากประชาชนรู้จักใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

ความสุ ข คื อ การที่ ไ ด้ ใ ช้ ชี วิ ต อย่ า งมี คุ ณ ค่ า ได้ ท� ำ สิ่ ง ต่ า งๆให้ เ กิ ด ประโยชน์ ไ ด้ อ ย่ า งเต็ ม ที่ คุ ้ ม ค่ า กั บ เวลา ที่ มี ผลจะออกมาดี ที่ สุ ด หรื อ จะดี พ อใช้ ไม่ ส� ำ คั ญ นะ ครั บ แต่ ส� ำ คั ญ อยู ่ ที่ ว ่ า เรารู ้ ว ่ า เราได้ ท� ำ ลงไปอย่ า ง สุ ด ก� ำ ลั ง ความสามารถแล้ ว ให้ ป ระวั ติ ศ าสตรส่ ว น ตั ว ได้ จ ารึ ก ไว้ จากนั้ น ก็ ก ้ า วเดิ น ต่ อ ไปครั บ

สิ่งที่พ่อหลวงพระราชทานแนวทางให้ เป็นภาษาง่ายๆ ต่อการเข้าใจและท�ำได้ทันที ขณะที่ฝรั่งเขาใช้หลักการเดียวกัน แต่เอาไปแปลงภาษาให้ดูสละสลวยเป็นทางการหน่อย เช่น ธุ ร กิ จ เอกชน ต้ อ งมี ก ารก� ำ หนดค่ า นิ ย มหลั ก องค์ ก ร (Core Value) เน้นเรื่องความซื่อสัตย์ และปฎิบัติตามกฎหมาย การ ก�ำหนดแนวปฎิบัติ (Code of Conduct) แนวทางการสื่อสาร และเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร รวมทั้งการติดตามก�ำกับดูแล อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น โดยส่ ว นตั ว ผมเห็ น ว่ า หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพียง สามารถเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยั่งยืน และปรับ ใช้ได้ในทุกระดับของการบริหารจัดการในทุกภาคส่วน เป็น 34

IS AM ARE www.fosef.org


ศาสตร์พระราชาที่ลึกที่เราโชคดีที่มีโอกาสได้เรียนรู้และน�ำไป ใช้ให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงได้ครับ ท่ า นมี วิ ธี ผ ่ อ นคลายความเครี ย ดจากการท� ำ งาน อย่ า งไรคะ การออกก� ำ ลั ง กายเป็ น สิ่ ง ที่ ผ มได้ รั บ การปลู ก ฝั ง มา ตั้งแต่เด็ก เป็นวิธีช่วยผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี ครับ งานที่ผมรับผิดชอบเป็นงานที่ต้องท�ำแข่งกับเวลาและมี ภาวะกดดันค่อนข้างมาก ทั้งจากธุรกิจ ลูกค้า และเจ้าหน้าที่ ของรัฐ เนื่องจากมีความจ�ำเป็นที่จะต้องสืบหาสาเหตุที่แท้จริง และด�ำเนินมาตรการป้องกันแก้ไขให้ทันต่อเหตุการณ์ทั้งที่เกิด จากภายในและภายนอกองค์กร เพื่อบรรเทาความเสียหายที่ เกิดขึ้น ทุกอย่างต้องอธิบายความได้ ผมเคยผ่านงานที่เสี่ยงและ ภาวะกดดันที่มีมากกว่านี้มาแล้ว จึงรู้สึกไม่เครียดมากเท่าไร ในเชิงธุรกิจและการต่อสู้กับปัญหาทุจริตที่เกิดขึ้นผมกลับเห็น เป็นสิ่งท้าทายความสามารถ ที่จะต้องใช้ศิลปะและความนุ่ม นวลในการแก้ไขปัญหาโดยไม่ให้มีผลกระทบต่อลูกค้าส่วนใหญ่ และธุรกิจที่ด�ำเนินอยู่ จึงรู้สึกสนุกไปกับงาน อาจจะเหนื่อยบ้าง ในแต่ละวัน แต่จะพยายามพักผ่อนนอนหลับให้พอเพียง ออก ก�ำลังบ้างก็หายครับ

ผมที่กระท่อมในสวนไม่ไปไหน เป็นองครักษ์ชั้นยอดเลยครับ เวลาว่างผมชอบไปหาซื้อของเก่าพวกโอ่ง ไห เครื่องทองเหลือง เฟอร์นิเจอร์แต่งบ้าน รูปปั้นเจ้าพ่อกวนอูและงานปฎิมากรรม ต่างๆ ผมจะเพลินกับการได้ชื่นชม ได้ลูบได้คล�ำชิ้นงานศิลปะที่ บ่อยครั้งอดทึ่งในความสมารถของคนในอดีตไม่ได้ครับ สถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วที่ ช อบ ผมชอบน�้ำ ชอบทะเลเป็นชีวิตจิตใจ อาจเป็นเพราะว่า เกิดปีมะโรงหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ รู้สึกผ่อนคลายถ้าได้ลงทะเล หรือได้เล่นน�้ำในสระ ในคลอง สนุกดีด้วย หัวหินก็ไปบ่อย อยู่ ได้ที 4-5 วันสบายๆ ไม่รู้สึกเบื่อ เป็นคนชอบผจญภัย ตอน ที่อยู่ส�ำนักงานภาคที่บริษัทจีอี มีโอกาสเดินทางไปประเทศ ต่างๆในเอเชียอยู่บ่อยๆ บางปีเดินทางไปต่างประเทศถึง 33 เที่ยว ทั้งประเทศในเอเชีย ยุโรป อเมริกา เสร็จจากงานก็จะไป กราบนมัสการพระของประเทศนั้นๆและถือโอกาสส�ำรวจวัดวา อาราม โบราญสถาน โบราญวัตถุของประเทศต่างๆไปพร้อมกัน ที่จีนและอินเดียจะชอบเป็นพิเศษ ผมจะเพลินกับการเยี่ยมชม ของเก่าในพิพิธภัณฑ์ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวต่างๆในอดีตที่น่าทึ่ง มาก ก็เลยท�ำให้เป็นคนสะสมของเก่าของแปลกๆจากประเทศ ต่างๆไปโดยปริยาย กระเป๋าเดินทางเลยต้องใหญ่เป็นพิเศษครับ แต่ท้ายที่สุดแล้ววันนี้ผมคิดว่าสถานที่ท่องเที่ยงในไทยมีเสน่ห์ มีคุณค่าน่าเที่ยวที่สุด เราต้องหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ของเราให้ดี ต้องช่วยกันนะครับ สวรรค์สร้างได้ถ้าเราทุกคน ร่วมมือกันครับ

งานอดิ เ รกยามว่ า ง ผมชอบชีวิตแบบชาวชนบทครับ รักป่า ผมรักต้นไม้ ดอกไม้ ใบหญ้า รักสัตว์ รวมไปถึงมดและแมลงเพราะมันมา ด้วยกัน ถ้ามีเวลามากจะรีบขับรถไปสวนที่จังหวัดสระแก้ว ผม จะสนุกกับการได้ปลูกต้นไม้ รดน�้ำ พรวนดิน หรือไม่ก็จะพา สมุน 2 ตัววิ่งเล่นในสวน ผมเลี้ยงสุนัขไทยเพศผู้ ชื่อ อาน กับ ซูโม่ ตอนนี้อายุเกือบ 2 ขวบแล้ว แข็งแรงมากครับ เป็นสุนัข ใจดี ไม่ดุเพราะเลี้ยงมาตั้งแต่เล็กๆ เลี้ยงแบบปล่อยตามสบาย ไม่ขังกรง เวลาวิ่งเล่นกันสนุกดี ตอนกลางคืนเขาจะมานอนเฝ้า

บุ ค คลที่ ชื่ น ชอบ ถ้าพูดถึงในด้านการใช้ชีวิต ผมชื่นชอบสไตล์ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ท่านมีชีวิตที่ครบทุกรสชาติ และมีความ สุข ความส�ำเร็จในการท�ำงานและมีความเป็นอิสระในตัวสูง ครับ ส�ำหรับชาวต่างชาติที่ชื่นชอบดูจะเป็น อดีตประธานาธิบดี จอร์จ บุช คนพ่อนะครับ ได้มีโอกาสสัมผัสท่านเป็นการส่วนตัว 35

issue 121 February 2018


ปรั ช ญาในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ที่ ท� ำ ให้ ป ระสบความส� ำ เร็ จ การใช้ ชี วิ ต และการท� ำ งานตามหลั ก ปรั ช ญาของ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นบทสรุปที่ผมค้นพบว่าดีที่สุด ตลอด ชีวิตที่ผ่านมาผมสืบเสาะค้นหารูปแบบและวิธีการใช้ชีวิตจาก ต�ำราฝรั่งที่เขาเขียนไว้มามากพอสมควร เป็นการหยิบนี่ผสม โน่นเพื่อให้ได้สูตรส�ำเร็จที่จะน�ำมาปรับใช้กับตัวเรา ที่สุดแล้ว ผมพบว่ า การท� ำ อะไรทุ ก ๆอย่ า งเราต้ อ งยึ ด ถื อ ความซื่ อ สั ต ย์ สุจริตเป็นส�ำคัญ ทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น ส�ำหรับการท�ำงาน เราต้องมีสติ มีความพยายาม กล้าคิดกล้าท�ำ เราเหนื่อยได้ แพ้ ได้ แต่ต้องไม่ท้อถอย พักหายเหนื่อยแล้วเดินต่อไป ถ้าแพ้ให้

เมื่อครั้งที่ผมท�ำงานอารักขา อยู่กับหน่วยสืบสวนสหรัฐ ตอนนั้น ท่านเดินทางไปเยือนประเทศสิงคโปร์และประเทศไทย ทั้งตอน ที่ด�ำรง ต�ำแหน่งและหลังจากที่ท่านหมดวาระไปแล้ว ท่านเป็น คนที่มีความเป็นผู้น�ำและมีอัธยาศรัยไมตรีดีกับผู้ร่วมงานมากๆ ส�ำหรับบทบาททางสังคมและธุรกิจท่านประสบผลส�ำเร็จอย่าง เยี่ยมยอด ตอนท่านอายุ 72 ท่านสุขภาพดีขนาดไปกระโดดร่ม ฉลองวันเกิดเลยนะครับ นิ ย ามความสุ ข ในมุ ม มองของท่ า น ความสุขคือการที่ได้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า ได้ท�ำสิ่งต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ คุ้มค่ากับเวลาที่มี ผลจะออกมา ดีที่สุด หรือจะดีพอใช้ ไม่ส�ำคัญนะครับ แต่ส�ำคัญอยู่ที่ว่าเรารู้ ว่าเราได้ท�ำลงไปอย่างสุดก�ำลังความสามารถแล้ว ให้ประวัติ ศาสตรส่วนตัวได้จารึกไว้ จากนั้นก็ก้าวเดินต่อไปครับ คนเรา เกิดมาแม้จะมีความไม่เท่าเทียมกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เราได้รับสิทธิ อย่างเท่าเทียมกันก็คือสิทธิการใช้เวลาชีวิตของแต่ละคนครับ ผมมีความสุขกับการใช้สิทธิของผม ใช้เวลาของผมอย่างเต็มที่ ผมใช้เวลาชีวิตในการท�ำงาน ก็จะท�ำอย่างเต็มที่ เวลาที่เหลือก็ จะใช้อย่างเต็มที่เหมือนกัน จะได้ไม่นึกต�ำหนิตัวเองในภายหลัง ส�ำหรับเวลาที่เหลือก็เผื่อแผ่ให้คนอื่น ให้กับสังคมบ้าง แค่นี้ก็ สุขแบบสุดๆแล้วครับ

พิจารณาปรับปรุงตัวเอง แก้ไขแล้วท�ำใหม่ หากเราท�ำงานอย่าง มีสติ ควบคุมการด�ำเนินชีวิตให้คุ้มค่าคุ้มเวลา และด�ำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผมคิดว่าเราทุกคนจะ ได้ประโยชน์จากกิจกรรมการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ผมอด นึกถึงค�ำสอนของหลวงปู่เทสก์ เทศรังสี เสียไม่ได้ ท่านเคยสอน ไว้ว่า “เราจวนจะตายอยู่แล้ว ไม่ทราบว่าจะตายวันไหน ควรที่ จะฝึกหัดสติให้อยู่ในเงื้อมือของตนให้ได้ อย่าให้จิตไปอยู่ในเงื้อ มือของความหลงมัวเมา ผู้ใดจิตไม่อยู่ในอ�ำนาจของตนก็ได้ชื่อ ว่าเราเกิดมาเสียเปล่า ตายไปก็เปล่าจากประโยชน์.... ” หากย้อนนึกถึงความรู้สึกวันแรกๆที่เริ่มเข้าท�ำงานหลัง จากจบการศึกษามาใหม่ๆ คิดว่าหลายคนคงพอจ�ำความรู้สึก วันนั้นได้เป็นอย่างดี เป็นวันที่เรามีความกระตือรือร้นค่อน ข้างมาก ตั้งแต่การเตรียมตัวที่จะไปท�ำงานแต่เช้า บางคนไป ถึงที่ท�ำงานก่อนเวลาเป็นชั่วโมงก็มี พอถึงที่ท�ำงานทุกอย่าง รอบตัวดูน่าตื่นตาตื่นใจ ประสาทสัมผัสทั้งห้าดูจะพร้อมใจกัน ท�ำงานอย่างขยันขันแข็ง ได้ทักทายแนะน�ำตัวกับเพื่อนร่วม งานด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี งานทุกชิ้นที่ได้รับมอบหมาย เรา รับมาท�ำโดยเต็มก�ำลังความสามารถ อยากจะแสดงฝีมือให้ เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งหลาย เข้าประชุมงานด้วยความสนอก สนใจไปเสียทุกๆเรื่องที่ผ่านเข้ามา ได้มีโอกาสแสดงข้อคิดเห็น 36

IS AM ARE www.fosef.org


การใช้ ชี วิ ต หลั ง การท� ำ งานของท่ า น ขณะท�ำงานผมท�ำเต็มที่ หลังท�ำงานผมรู้สึกตื่นเต้นไป อีกแบบ ผมมีชีวิตค่อนข้างอิสระหลังเลิกงาน ก็เป็นความสุข อีกแบบหนึ่ง ไม่ต้องแปลกใจนะครับถ้าเห็นผมเดินถือไฟฉาย ตามตลาดกลางคืนเพื่อหาของถูกใจ หรือไปยืนเต้นข้างเวทีใน งานคอนเสิร์ตกับพวกวัยรุ่น ความอยากเที่ยว อยากสนุก ความ อยากรู้อยากเห็น ผมยังมีอยู่เต็มร้อยครับ วางแผนชี วิ ต หลั ง เกษี ย ณอย่ า งไรคะ หลายคนดีใจที่ถึงวัยเกษียณ วัยที่ท�ำให้ได้มีโอกาสท�ำใน สิ่งที่ตัวเองอยากท�ำมานาน ผมเห็นบางคน เลือกที่จะไปลงทุน ท�ำสวนท�ำไร่ บางคนเลือกที่จะอยู่บ้านเลี้ยงหลานหรือบ้างก็ เข้าวัดศึกษาธรรมไปเสียเลยก็มี มันเป็นช่วงเวลาที่มีความสุข อีกแบบของคนวัยเกษียณ ผมเคยถามตัวเองว่า ความสุขเช่น เดียวกันนี้ ความต้องการแบบนี้ จ�ำเป็นด้วยหรือที่ผมจะต้องรอ จนถึงวัยเกษียณอายุจึงค่อยท�ำ ค�ำตอบคือไม่ใช่ ดังนั้นนอกจาก การท�ำงานประจ�ำ ผมเลยลงมือท�ำสวนที่ผมชอบควบคู่ไปด้วย เลย ตอนนี้ผมยังมีอายุงานเหลืออีกไม่ถึง 10 ปีและก็ไม่คิดจะ เกษียณแม้เมื่อถึงวัยเกษียณอายุ คิดว่าการท�ำงานที่ชอบเป็น ความสุขอย่างหนึ่ง การท�ำงานช่วยเหลือองค์กร สังคมสลับกับ การท�ำสวนตั้งแต่วันนี้ ท�ำให้ผมมีความสุขมากขึ้น คิดว่าเมื่อ ถึงวันเกษียณจริงๆ ผมคงได้นั่งจิบน�้ำชา เดินชมสวน แทนที่ จะต้องไปลงมือเริ่มต้นนับหนึ่งในการท�ำสวนในวัยเกษียณ ผม จะได้มีเวลาว่างไปเยี่ยมเพื่อนเก่าเพื่อนแก่ตามที่ต่างๆ หรือท�ำ กิจกรรมช่วยเหลือสังคมอื่นๆให้ได้มากยิ่งขึ้น ผมยังนึกตื่นเต้น กับชีวิตเมื่อถึงวัยนั้นอยู่เลยครับ

ระหว่างการประชุมอย่างออกรสชาติ ช่างเป็นวันที่เรามีพลัง ในการเรียนรู้ พลังในการท�ำงาน และมีความตื่นตัวเป็นที่สุด ท�ำอย่างไรที่จะท�ำให้ความรู้สึกที่เกิดในวันแรกของการท�ำงาน เป็นความรู้สึกของทุกๆวันของการท�ำงาน เป็นความรู้สึกของ ทุกๆวันของการใช้ชีวิต ท�ำอย่างไรให้เราคนไทยทุกคนมีความ รู้สึกตื่นรู้กับความท้าทายที่เกิดขึ้นในบ้านในเมืองเราขณะนี้ มาร่วมกันครับ เริ่มที่ตัวเราโดยการด�ำเนินชีวิตตามตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง และน�ำไปปรับใช้ กับการท�ำงานนะครับ ผมมักเตือนตัวเองเสมอว่าเวลาชีวิตเรามีจ�ำกัด ต้องท�ำ ทุกอย่างแข่งกับเวลา ผมอยากท�ำทุกอย่าง ท�ำให้มากๆ ท�ำให้ เกิดประโยชน์และความสุข ที่ผ่านมาก็ภูมิใจในระดับหนึ่งที่ได้ รับรางวัลพนักงานดีเด่นจากผู้บริหาร ภูมิใจที่ได้มีโอกาสเขียน ต�ำราวิชาการ ภูมิใจที่เป็นผู้น�ำชุมชนและได้รับเชิญเป็นวิทยากร พิเศษบรรยายให้ส�ำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตย สภา และชมรม สมาคมต่างๆ รวมทั้งการได้รับเกียรติเลือกตั้ง เป็นประธานชมรมตรวจสอบและป้องกันการทุจริต ของสมาคม ธนาคารไทยเป็นคนแรก ตอนนี้เป็นพ่อของลูกๆ 3 คน ผมอยาก มีเรื่องราวมากๆเก็บไว้เล่าให้ลูกหลานฟังตอนเกษียณ ได้เท่านี้ ก็จะภูมิใจที่สุดแล้วครับ

มี อ ะไรอยากฝากไปถึ ง ทุ ก ท่ า นบ้ า งไหมคะ เราทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับสิ่งดีๆจากประเทศพร้อมๆ ไปกับการมีหน้าที่ในการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้กับประเทศอันเป็นที่รักของเรา หากเราไม่ท�ำหน้าที่ที่ตน รับผิดชอบให้ดี การจะเรียกร้องหาความยุติธรรมหรือสิทธิอัน ชอบธรรมจากประเทศชาติ ที่ อ ่ อ นแอย่ อ มเป็ น ไปได้ ย ากนะ ครับ โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจที่มีความท้าทายและตลาด ที่มีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบันนี้ ขอให้พวกเราร่วมกันสร้าง ประวัติศาสตร์ และความทรงจ�ำดีๆ ในวันนี้ เก็บไว้เล่าให้ลูก หลานฟังนะครับ

37 issue 121 February 2018


38 IS AM ARE www.fosef.org


บทความพิ เ ศษ

จบ ป.โท ขายทอดมัน สบายกว่ากันเยอะ

สมคิด พิทักษ์ดวงกมล

เหตุ ผ ลที่ ไ ม่ เ ลื อ กงานประจ� ำ ตามที่ เ รี ย นมา “ ร ้ า น ท อ ด มั น ป ล า ก ร า ย น า ย เ ล็ ก ” ข า ย คู ่ กั บ เกี๋ยวเตี๋ยวนายใช้มาเป็นเวลา 25 ปี ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นสะพาน กลับรถย่านดอนเมืองฝั่งขาออกมุ่งหน้ารังสิต เป็นธุรกิจเครือ ญาติที่ค้าขายกันมายาวนานตั้งแต่รุ่นพ่อจนถึงรุ่นลูก สมคิด พิทักษ์ดวงกมล หรือ เจต อายุ 34 ปี ทายาทร้านทอดมันปลาก รายนายเล็ก เล่าว่า ปกติทอดมันปลากรายขายโดยเฉลี่ยวันละ ไม่ต�่ำกว่า 20 กิโลกรัม ตนช่วยพ่อแม่ขายทอดมันมาตั้งแต่อายุ 8-9 ขวบจนถึงปัจจุบัน แม้วันนี้จะเรียนจบปริญญาโท คณะ รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหงแล้ว แต่ตนยังเลือก ทีจ่ ะช่วยงานในธุรกิจครอบครัวมากกว่าทีจ่ ะออกไปหางานประจ�ำ ด้วยเหตุผลคือมีความสุขที่ได้อยู่กับครอบครัว สมคิด กล่าวว่า เคยออกไปท�ำธุรกิจกับเพื่อนๆ ที่สนใจ ในด้านเดียวกัน 3-4 ปี จึงท�ำให้ตนเองค้นพบว่างานบริการที่เคย ท�ำมาตั้งแต่เด็กนั้นผูกพันฝังลึกอยู่ในจิตใจ มากกว่างานประจ�ำ หรือธุรกิจที่ออกไปท�ำข้างนอก ท�ำให้ตนหันมาทุ่มเทใส่ใจงานที่ ร้านทอดมันอย่างเต็มที่

“ผมว่าการศึกษามันส�ำคัญครับ พ่อแม่ทุกคนอยากให้ ลูกเรียนสูงๆ เป็นเรื่องธรรมดา แต่ว่าเรื่องอาชีพถ้าเรามีอาชีพที่ มั่งคงอยู่แล้วผมคิดว่ามันส�ำคัญกว่า โดยเฉพาะครอบครัวส�ำคัญ มากๆ ได้อยู่บ้าน ได้ทั้งท�ำงาน ได้ทั้งดูแลครอบครัวไปด้วย แล้ว ก็มีอาชีพที่หาเลี้ยงครอบครัวเราได้ด้วย ท�ำแล้วมีความสุขผม ว่ามันโอเคนะครับ ดีกว่าไปนั่งทุรนทุรายหางาน ตื่นเช้าออกไป กลับบ้านมืดค�่ำ พ่อแม่ก็นั่งรออยู่บ้าน บางคนคิดว่าการแต่งตัว โก้ๆ ไปท�ำงาน ได้ท�ำงานในสถานที่ดีๆ อาจมองว่ามันเท่ อาจ มองว่ามันดูดีมีเครื่องแบบ ได้ท�ำงานในห้องแอร์ แต่อย่างผม ต้องมาเดินทั้งวัน ท�ำงานบริการลูกค้าอาจดูว่าต�่ำต้อย แต่ผมมี ความสุขนะ มันดูยิ่งใหญ่ในสายตาบางคน อย่างเพื่อนผมบาง คนยังบอกว่าดีแล้ว ดีกว่าไปนั่งล�ำบาก เจ้านายดีก็ดีไปถ้าไม่ดี 39

issue 121 February 2018


“บางร้านอาจคิดว่าขายดีแล้วไม่แคร์ลูกค้าเท่าไร ในมุม มองผมอาจมีบางอารมณ์ บางทีคนเยอะมาก เราก็ต้องยอมรับ ลูกค้ามีหลายประเภท อาจดีบ้างไม่ดีบ้าง หงุดหงิดบ้าง ใจร้อน บ้าง มีทุกรูปแบบครับ แต่เราต้องรับสถานการณ์ตรงนั้นให้ได้ เท่านั้นเอง ต้องอดทน ต้องอยู่ให้ได้ เพราะถ้าไม่มีลูกค้าเราก็ ขายไม่ได้ เราใช้ของคุณภาพใช้ของดีหมดวันต่อวัน เราใช้ปลา กรายแท้ ไม่โกหกเอาไปผสม เราสั่งของแท้จริงๆ ถ้าไม่แท้เรา จะคืนต้นสายการผลิตทันที” ผมว่ า การศึ ก ษามั น ส� ำ คั ญ ครั บ พ่ อ แม่ ทุ ก คนอยาก ให้ ลู ก เรี ย นสู ง ๆ เป็ น เรื่ อ งธรรมดา แต่ ว ่ า เรื่ อ งอาชี พ ถ้ า เรามี อ าชี พ ที่ มั่ ง คงอยู ่ แ ล้ ว ผมคิ ด ว่ า มั น ส� ำ คั ญ กว่ า โดยเฉพาะครอบครั ว ส� ำ คั ญ มากๆ ได้ อ ยู ่ บ ้ า น ได้ ทั้ ง ท� ำ งาน ได้ ทั้ ง ดู แ ลครอบครั ว ไปด้ ว ย การเรี ย นคื อ ภู มิ คุ ้ ม กั น อาชี พ คื อ การเลี้ ย งตั ว หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่าเรียนจบปริญญาโทแล้วมา ขายทอดมันท�ำไม สมคิดยอมรับว่า ที่จริงแล้วตนไม่ใช่คนเรียน เก่ง ทั้งยังต้องช่วยงานที่บ้านควบคู่ไปกับการเรียนหนังสือตั้งแต่ เด็ก แต่เมื่อเรียนจบปริญาตรีมาแล้วมีความใฝ่ฝันว่าอยากจะ เรียนปริญญาโท ด้วยเหตุผลว่าต้องการเรียนรู้เฉยๆ ไม่ต้องการ ก็ล�ำบากไป ผมเชื่อว่าเจ้านายทุกคนจ้างลูกน้องมาคุ้มเงินเดือน เอาไปสมัครงานที่ไหน เรื่องการศึกษาคุณพ่อเป็นคนปลูกฝังมา ตลอดว่าให้สร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง ครับ ไม่มีใครจ้างลูกน้องมาได้เงินเดือนแล้วก็สบายผม” “พ่อเป็นคนที่ส�ำคัญมากครับ พ่ออยากให้ผมเรียนสูง ที่สุด อาจเป็นเพราะว่าพ่อผมเองเขาเรียนมาน้อย เขาเลยรู้สึก หั ว ใจของงานบริ ก ารคื อ รั บ ฟั ง ลู ก ค้ า ทุ ก อย่ า ง “ผมอาจท�ำงานบริการมาตั้งแต่เด็กจึงรู้สึกว่าตรงนี้มัน ว่าอยากให้ลูกได้เรียนเท่าที่จะเรียนได้ ผมไปเรียน ป.โท พ่อเป็น โอเคมากกว่าที่จะไปอยู่ข้างนอก ครอบครัวมีธุรกิจมีงานให้เรา คนสนับสนุนทั้งหมด พ่ออยากให้เรียน ใช้ค�ำว่าบังคับก็ได้ แต่ใน อยู่แล้ว อันดับแรกเราได้อยู่กับพ่อแม่ ครอบครัวเป็นเรื่องส�ำคัญ ใจผมอยากไปเรียนอยู่แล้ว” เมื่อก่อนผมท�ำงานฟรีแลนซ์ด้วย ช่วยงานที่ร้านด้วยสองอย่าง พร้อมกัน แล้วเผอิญตอนนั้นพ่อป่วยต้องผ่าตัดก็เลยตัดสินใจ ไม่ท�ำงานอื่นแล้ว ออกมาท�ำที่ร้านอย่างเดียวดีกว่า เต็มที่กับ ตรงนี้ไปเลย” เทคนิ ค การบริ ห ารร้ า นของสมคิ ด คื อ รั บ ฟั ง ลู ก ค้ า ปรับปรุงตามค�ำติชม ไม่เถียงไม่ต่อว่าลูกค้าไม่ว่าจะด้วยเหตุผล ใดก็ตาม สมคิดกล่าวว่า ตนเองรู้ตัวอยู่เสมอว่าก�ำลังประกอบ อาชีพค้าขายและบริการลูกค้า ดังนั้นลูกค้าจึงเป็นส่วนส�ำคัญ ในการด�ำเนินธุรกิจ ซึ่งเหมือนกับการประกอบอาชีพอื่นๆ ที่ ต้องซื่อสัตย์ทั้งด้านวัตถุดิบและกระบวนการผลิตซึ่งเน้นวันต่อ วัน 40 IS AM ARE www.fosef.org


แม้ไม่ได้เอาความรู้ที่เรียนมาใช้กับที่ร้านโดยตรง แต่ สมคิดก็ยังได้สัมผัสความคิดของผู้คนที่หลากหลายในช่วงที่เรียน หนังสือ โดยเฉพาะปริญญาโทที่ผู้เรียนส่วนมากมาเรียนเพื่อ ต�ำแหน่งหน้าที่และเงินเดือนที่สูงขึ้น สมคิดมองว่า การศึกษาไม่ ได้เป็นไปเพื่ออยากรู้หรือใฝ่หาความรู้จริงๆ แต่กลับเรียนเพื่อใช้ วุฒิเป็นทางผ่านเท่านั้น ค่านิยมเกี่ยวกับการศึกษาในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาจนถึง ปัจจุบันยังไม่ต่างกันมาก เช่น คนเรียนเก่งจะถูกสนับสนุนให้ ไปเรียนแพทย์ เพราะมองว่ารายได้ดีมีโอกาสร�่ำรวยมากกว่า จะเรียนเพราะอยากช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ท�ำให้การศึกษาใน สายตาของสมคิดเปลี่ยนไป นั่นคือเหตุผลที่เขาแยกการเรียน หนังสือกับอาชีพเลี้ยงตัวออกจากัน “การศึกษาเป็นภูมิคุ้มกันครับ แต่ผมรู้สึกเฉยๆ ผมเห็น มีคนจบ ป.โท เยอะมาก มหาวิทยาลัยต่างๆ เขารับง่ายขึ้นอย่าง เมื่อก่อนเขามีข้อก�ำหนดหลายๆ อย่าง การจบมาต้องมีเกรด เฉลี่ยเท่านี้ ต้องมีการฝึกงานกี่เดือน ต้องผ่านงานมากี่ปี แต่เดี๋ยว นี้มีการอะลุ่มอล่วย ค่าใช้จ่ายปริญญาโทอาจไม่สูงมาก บางที อาจน้อยกว่าปริญญาตรีด้วยซ�้ำ” การเรียนของสมคิดเป็นไปเพื่อภูมิคุ้มกันในอนาคต เขา มองว่าถ้าวันหนึ่งต้องเลิกกิจการที่ร้านจริงๆ ก็ยังสามารถเอา ครอบครัวส�ำคัญมากๆ เลย” “การท�ำงานทุกอย่างไม่ว่าจะฝันขนาดไหนปัจจัยส�ำคัญ ความรู้ไปประกอบอาชีพอื่นได้เพื่อเลี้ยงครอบครัว เพียงแต่ตอน นี้ตนเองมีธุรกิจของครอบครัวอยู่แล้วจึงท�ำอย่างเต็มที่ไม่ว่าค่า ก็ต้องเป็นเรื่องเงินถูกไหมครับ คุณไปท�ำงานตามฝันแต่เรื่องเงิน เดือนคุณท�ำมาก็ติดลบ ก็ไม่มีใครอยากท�ำมากเท่าไร มันก็ต้อง นิยมส่วนใหญ่จะมองยังไงก็ตาม บวกไปกับปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายในเรื่องค่าครองชีพ แต่ถ้าผม ท�ำงานอยู่กับครอบครัวที่บ้าน ผมแทบไม่เสียอะไรเลย กินก็กิน ครอบครั ว คื อ สิ่ ง ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ด้วยค่านิยมทางการศึกษา ท�ำให้หลายคนพยายามไปให้ ของที่เราขาย ทั้งหมดมันก็แทบไม่มีค่าใช้จ่ายแล้วอีกอย่างหนึ่ง ถึงใบปริญญาเพื่อการันตีว่าตนเองเป็นบัณฑิต โดยหลงลืมไปว่า เราอยู่ตรงนี้เราอยากไปเที่ยวเราอยากจะพักผ่อนเราก็บอกพ่อ ยังมีบัณฑิตมากมายที่ยังหางานท�ำไม่ได้ ทั้งยังปรากฏตัวเลขผู้จบ แม่เราให้หยุดร้านไปเที่ยวกับเราได้ มันครบทุกอย่าง มีความสุข ปริญญาเอกลงทะเบียนคนจนจ�ำนวนนับพัน ซึ่งสะท้อนให้เห็น ทุกอย่างในมุมมองของผมนะ” “เมื่อก่อนตอนเด็กๆ ผมรู้สึกว่าอิจฉาเพื่อนๆ ว่าท�ำไม ว่าการศึกษาวันนี้ยังไม่รับประกันรายได้หรืออาชีพตามที่เรียน มา เหมือนกับที่หลายคนลงทุนลงแรงจากบ้านจากครอบครัว เขาได้หยุดเสาร์อาทิตย์ไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ แต่ผมกลับต้องมานั่ง มาเรียนหนังสือ หลายครอบครัวลงทุนขายทรัพย์สินที่มีเพื่อ ท�ำงาน คนอื่นเขาเรียนพิเศษกันผมไม่เคยเรียนพิเศษเลยเพราะ น�ำไปเป็นทุนการศึกษา ถึงขนาดครอบครัวต้องล่มสลายโดย ว่าไม่มีเวลาไหนไป พอตอนเช้ามาท�ำงานเย็นก็กลับ แต่ว่ามันมี ไม่ รู ้ ตั ว เพราะมุ ่ ง เป้ า ไปที่ ก ารศึ ก ษาโดยมองข้ า มอาชี พ หรื อ แรงจูงใจคือแม่สอนให้เราท�ำงาน ให้ตังค์เรา ให้ตามประสาเด็ก ภู มิ ป ั ญ ญารวมถึ ง การน� ำ ความรู ้ ม าต่ อ ยอดในสิ่ ง ที่ ค รอบครั ว แม่ก็สอนว่าอยากได้อะไรไม่เคยว่าแต่ต้องซื้อเองไม่ว่าคุณอยาก ได้มือถือหรือว่าอะไรก็แล้วแต่ คุณต้องซื้อเองทั้งหมด แม่บอกว่า ตนเองมีอยู่ “สมัยนี้ไม่มีอะไรแน่นอนครับ แต่ครอบครัวเป็นสิ่งที่ ให้เป็นค่าแรง คนเราท�ำงานถึงจะได้เงิน ถ้าไม่ท�ำก็ไม่ได้เท่านั้น แน่นอนของทุกคน ในมุมมองของผมตั้งแต่เกิดพ่อแม่ก็อยู่กับ เอง ผมถูกฝึกแบบนี้มาตลอด” ทายาทร้านทอดมันปลากราย เราตลอด ผมเชื่อว่าถ้าเราเสียชีวิตก่อนพ่อแม่ก็จะอยู่กับเรา เขา นายเล็ก กล่าวทิ้งท้าย ก็ต้องมางานศพเรา มาท�ำบุญให้เรา ในมุมมองของผมเห็นว่า 41 issue 121 February 2018


หลักธรรมแห่งความพอเพียง

ฝึ กความคิด “รู้จักพอ” คนเราคิดอย่างไรก็เป็ นคนอย่างนัน้ ความคิด...เป็ นตัวก�ำหนดชะตาชี วิตของคน

42 IS AM ARE www.fosef.org


บทความพิ เ ศษ เรื่องของชะตาชีวิต หรือชะตากรรมที่เราชอบพูดๆกันอยู่ทั่วไปว่า ขึ้นอยู่กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ดลบันดาลบ้าง ขึ้นอยู่กับโชคบ้างดวงบ้าง อะไรต่างๆ บ้าง ที่แท้แล้วไม่เป็นความจริงเลย ชีวิตของเราอยู่ในก�ำมือของเรานี่เอง ชีวิตของเราขึ้นอยู่กับ ความคิดของเรา “ความคิด”...ก�ำหนด...”ชะตาชีวิต” ความส� ำ คั ญ ของความคิ ด จากความคิดน�ำไปสู่การการท�ำ การกระท�ำบ่อยๆน�ำไปสู่นิสัย นิสัยน�ำไปสู่พฤติกรรม พฤติกรรมน�ำไปสู่บุคลิกภาพ บุคลิกภาพก�ำหนดชะตาชีวิต บุคลิกภาพดีชีวิตย่อมดีขึ้น บุคลิกภาพเลวชีวิตย่อมเลวลง ดังนั้นปราชญ์ท่านจึงสอนระวังความคิด เมื่อความคิดส�ำคัญเช่นนี้ เราจึงควรมาฝึกความคิดกันดี กว่า ฝึกความคิดเช่นไรก็จะได้เป็นคนเช่นนั้น ในที่มีนี้เราจะฝึกความคิด “รู้จักพอ” ตามเจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้ทรงสั่งสอนไว้ดังนี้ คนรู ้ จั ก พอ มี ค วามสบายใจและไม่ เ กี ย จคร้ า น ความคิดอย่าหนึ่งที่สมควรฝึกให้เกิด เกิดเป็นประจ�ำ คือ ความคิดว่าพอ คิดให้รู้จักพอ ผู้รู้จักพอจะเป็นผู้ท่ีมีความ สบายใจส่วนผู้ไม่รู้จักพอจะเป็นผู้ร้อนเร่า แสวงหาไม่หยุดยั้ง ความไม่รู้จักพอ มีอยู่ได้แม้ในผู้เป็นใหญ่เป็นโต มั่งมีมหาศาล และความรู้จักพอก็มีได้ แม้ในผู้ยากจนต�่ำต้อย ทั้งนี้ก็เพราะ ความพอนั้นเป็นเรื่องของใจที่ไม่เกี่ยวกับฐานภายนอก คนรวย ที่ไม่รู้จักพอ ก็เป็นคนจนอยู่ตลอดเวลา คนจนที่รู้จักพอ ก็เป็น คนมั่งมีอยู่ตลอดเวลา การที่ยกฐานะจากยากจนให้มั่งมีนั้น ท�ำได้ไม่ง่าย บาง คนตลอดชาตินี้อาจจะท�ำไม่ส�ำเร็จ แต่การยกระดับใจให้มั่งมีนั้น ท�ำได้ทุกคน...แม้มีความมุ่งมั่นจะท�ำจริง คนรู้จักพอไม่ใช้คนเกียจคร้าน และคนเกียจคร้านก็ไม่ใช้ คนที่รู้จักพอ ควรท�ำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ถูกต้องแล้วอบรมตัว เองให้ไม่เป็นคนเกียจคร้าน แต่ให้เป็นคนรู้จักพอ 43 issue 121 February 2018


ฉะนั้ น จึ ง ควรปฏิ บั ติ ใ ห้ ไ ด้ ถึ ง พระพุ ท ธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็ น ที่ พึ่ ง คื อ ปฏิ บั ติ ต ามที่ พ ระสงฆ์ ส าวก ที่ ป ฏิ บั ติ เ ป็ น แบบอย่ า งไว้ เ ถิ ด จะได้ รั บ ความสุ ข สวั ส ดี อย่ า งยิ่ ง ตลอดไป ไม่ ว ่ า อะไรจะเกิ ด ขึ้ น ก็ ต าม

ใจที่ ส งบย่ อ มมี พ ลั ง ที่ เ ข้ ม แข็ ง เมื่อรู้สึกไม่สบายใจ ให้รีบระงับเสียทันทีอย่าชักช้า ตั้ง สติให้ได้ในทันที รวมใจไม่ให้ความคิดวุ่นวาย ไปสู ่ เรื่ องอั น เป็น เหตุแ ห่งความทุก ข์ความไม่ส บายใจ อย่าอ้อนอิ่งลังเลว่า ควรจะต้องคิดอย่างนั้นก่อนหรือควรจะ คิดอย่างนี้ก่อน ทั้งๆความไม่สบายใจ หรือความร้อนเริ่มกรุ่น ขึ้นในใจแล้ว ถ้าต้องการความสบายใจก็ต้องเชื่อว่า ไม่มีความคิดใดทั้ง สิ้นที่จ�ำเป็นต้องคิดก่อน ท�ำใจให้รวมอยู่ ไม่ให้วุ่นวายไปในความ คิดใดๆทั้งนั้น ต้องเชื่อว่าต้องรวมใจไว้ให้ได้ในจุดที่ไม่มีเรื่องอัน เป็นเหตุแห่งความร้อนเกี่ยวข้อง ที่ท่านสอนให้ท่องพุทโธก็ตาม ให้ดูลมหายใจเข้าออก ก็ตามนั่นคือการสอนเพื่อให้ใจไม่วุ่นวายชัดส่ายไปหาเรื่องร้อน เป็นวิธีที่จะให้ผลแท้จริงแน่นอน ไม่ว่าจะเผชิญกับความล�ำบากกายใจอย่างใดทั้งสิ้นให้ มั่นใจว่าการกระท�ำให้ความยากล�ำบากนั้นคลี่คลาย จะต้อง กระท�ำเมื่อมีจิตใจสงบเยือกเย็นแล้วเท่านั้น ใจที่เร่าร้อน ขุ่นมัว ไม่อาจนึกตรึงตรองให้เห็นความปลอดโปร่งได้ ไม่อาจที่จะช่วย ให้ร้ายกลายเป็นดีได้ อย่าคิดว่าเป็นความงดงาม เป็นการเสียเวลาที่จะปฏิบัติ สิ่งที่เรียกกันว่า ธรรม ในขณะที่ก�ำลังมีปัญหา ประจ�ำวันวุ่นวาย

ยิ่งจ�ำเป็นต้องท�ำจิตใจไม่นึกถึงปัญหายุ่งยากทั้งหลาย เสียชั่ว เวลาเพียงเล็กน้อยเพื่อเตรียมก�ำลังไว้ต่อสู่แก้ไข ก�ำลังนั้นคือ อ�ำนาจที่เข้มแข็ง บริบูรณ์ ด้วยปัญญาของใจที่สงบ ใจที่ ส งบมี พ ลั ง เข้ ม แข็ ง และเข้ ม แข็ ง ทั้ ง สติ ป ั ญ ญา ใจที่สงบจะท�ำให้มีสติปัญญามาก และแจ่มใสไม่ขุ่นมัว ความแจ่มใสนี้ เปรียบเหมือนแสงสว่างที่สามารถส่อง ให้เห็นความควรไม่ควร คือ ควรปฏิบัติอย่างไร ไม่ควรปฏิบัติ อย่างไร ใจที่สงบก็จะรู้ชัดถูกต้อง ตรงกันข้ามกับใจที่วุ่นวาย ไม่ แจ่ มใส ซึ่ ง เปรี ย บเหมื อ นความยื ด ย่ อ มไม่ ส ามารถช่ ว ยให้ เห็นความถูกต้อง ความควรไม่ควรได้มีแต่จะพาให้ผิดพลาด เท่านั้น ความโลภเป็ น ตั ว ท� ำ ลาย ไม่ ใ ช้ ส ร้ า งสรรค์ ความโลภไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย วัตถุสิ่งของของเงิน 44

IS AM ARE www.fosef.org


ทองทั้งหลายที่ได้จากความโลภนั้น ดูเผินๆเหมือนกับเป็นการ ยกฐานะ เพิ่มความมั่งคง แต่ลึกลงไปจะเป็นการท�ำลายมากกว่า สิ่งที่ได้จากความโลภมักจะเป็นสิ่งไม่ควร มักจะเป็นการได้จาก ความต้องเสียของผู้อื่น และผู้อื่นทั้งหลายที่ต้องเสียนั้นแหละ จะ เป็นเหตุท�ำลายความไม่ไว้วางใจของคนทั้งหลายจะเป็นเครื่อง ท�ำลายอย่างยิ่ง จะเป็นเหตุให้อะไรร้ายๆตามมา เมื่อถึงเวลา อะไรร้ายๆนั้นก็จะท�ำลายผู้มีความโลภจนเกินการ เมื่อเวลานั้น มาถึงก็จะสายเกินไป จนไม่มีผู้ใดจะช่วยได้ ฉะนั้น... ก็ควรหมั่นพิจารณาให้เห็นโทษของกิเลส คือความโลภเสียตั้งแต่ยังไม่สายเกินไป ถ้าความโลภเป็นความดี พระพุทธเจ้าก็จักไม่ทรงสอน ให้ละความโลภ และพระองค์เองก็จะไม่ทรงพากเพียรปฏิบัติ ละความโลภจนเป็นปรากฏประจักษ์ว่า ทรงละซึ่งความโลภได้ อย่างหมดจดสิ้นเชิง เป็นแบบอย่างที่บริสุทธิ์ สูงสุด ยั่งยืนอยู่ ตลอดมาจนทุกวันนี้แม้ว่าจะได้ทรงดับขันปรินิพานไปกว่าสอง พันห้าร้อยปี เราเป็นพุทศาสนิก นับถือพระพุทธเจ้า อย่าให้สัก แต่ว่านับถือ เพียงแต่ปากต้องนับถือให้ถึงใจ การนับถือให้ถึงใจ นั้นหมายความว่าทรงสอนให้ปฏิบัติอย่างไร ต้องตั้งใจท�ำตามให้ เต็มสติปัญญาความสามารถ ที่สวดกันว่า.... พุทธ สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง หมายถึง จะปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์อย่างจริงจัง พระพุ ท ธเจ้ า ไม่ ไ ด้ ท รงสอนให้ ส วดมนต์ เ พื่ อ ขอร้ อ ง วิงวอน ให้ทรงบันดาลให้เกิดความสุขสวัสดี โดยเจ้าตัวเองไม่ ปฏิบัติดี ความหมายในบทสวดมีอยู่บริบูรณ์ ผู้สวดจะได้รับผล เป็นความสุขความเจริญรุ่งเรือนสวัสดีถ้าปฏิบัติตาม แต่ถ้าไม่ ปฏิบัติตามความหมายของบทสวดมนต์ หรือเช่นไม่ปฏิบัติตาม ที่สวดว่า ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ก็จะไม่ได้รับผลอันเลิศที่ควรได้รับเลย ฉะนั้นจึงควรปฏิบัติให้ได้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระ สงฆ์ เป็นที่พึ่งคือ ปฏิบัติตามที่พระสงฆ์สาวกที่ปฏิบัติเป็นแบบ อย่างไว้เถิดจะได้รับความสุขสวัสดีอย่างยิ่งตลอดไป ไม่ว่าอะไร จะเกิดขึ้นก็ตาม

ไม่ ป ล่ อ ยตนให้ ต กอยู ่ ใ นความเห็ น ถู ก ไม่ ต ลอด น่าจะไม่มีผู้ใดเลยที่เห็นว่าความโลภ ความโกรธ ความ หลงเป็นความดี ทุกคนเห็นว่าไม่ดีด้วยกันทั้งนั้น นับว่าเป็นความ เห็นถูกแต่เพราะเห็นถูกไม่ตลอดจึงเกิดปัญหาในเรื่องกิเลสสาม กองนี้ขึ้น ที่ว่าเห็นถูกไม่ตลอดก็คือแทบทุกคนไปเห็นว่า คนอื่น โลภ โกรธ หลง ไม่ดี แต่ไม่เห็นด้วยว่าตนเองโลภ โกรธ หลง ก็ ไม่ดีเช่นกัน กลับเห็นผิดไปเสียว่า ความโลภ โกรธ หลง ที่เกิดขึ้น ในใจตนนั้นไม่มีอะไรไม่ดี นี่คือความเห็นถูกไม่ตลอดไป ยกเว้น ที่ว่าดีที่ตนเอง เมื่อเห็นผู้อื่นโลภโกรธหลงน่ารังเกียจเพียงใด ให้เห็นว่า... ตนเองที่มีความโลภ โกรธ หลงนั้น น่ารังเกียจยิ่งกว่า!!! แล้วพยายามท�ำตนให้พ้นจากความน่ารังเกียจนั้น ให้เต็มสติปัญญา ละความสามารถ จะเรียกว่าได้ว่า...เป็นผู้มีปัญญา ไม่ปล่อยตนให้ตนอยู่ใต้ความสกปรก 45

issue 121 February 2018


การประยุ กต์ใช้เทคโนโลยีตามแนวพระราชด�ำริ การบ�ำบัดน�้ำเสียด้วยระบบบึงประดิษฐ์ ณ โรงเรียนวัดธรรมจริยา อ�ำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สื บ เนื่ อ งจากส� ำ นั ก งานมู ล นิ ธิ ชั ย พั ฒ นา มี ค วามมุ ่ ง หวังที่จะพัฒนาโรงเรียนวัดธรรมจริยา อ�ำเภอวังน้อย จังหวัด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ซึ่ ง เป็ น โรงเรี ย นที่ ส มเด็ จ พระเทพรั ต น ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชด�ำริให้ส�ำนักงานมูลนิธิ ชัยพัฒนาช่วยเหลือเมื่อครั้งที่โรงเรียนประสบอุทกภัยน�้ำท่วม ใหญ่ในปี 2554 รวมถึงการเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการจัดการ สิ่งแวดล้อม โดยให้ชุมชนและวัดซึ่งตั้งอยู่โดยรอบโรงเรียนได้เข้า มามีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้วย โดยได้ประสานให้ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่อง มาจากพระราชด�ำริ จังหวัดเพชรบุรี เข้ามาด�ำเนินงานบริการ วิชาการ ทั้งในด้านการบ�ำบัดน�้ำเสียจากโรงอาหารและฝึกอบรม ให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแก่ครูและนักเรียน การด�ำเนินงาน

ดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2555 โครงการแหลม ผักเบี้ยฯ ได้ส�ำรวจพื้นที่และเก็บตัวอย่างน�้ำเสีย ต่อจากนั้น ได้ ออกแบบระบบบ�ำบัดน�้ำเสียจากโรงอาหารและโรงเรียน ด�ำเนิน การก่อสร้างจนแล้วเสร็จในวันที่ 27 ธันวาคม 2556 ซึ่งระบบ บ�ำบัดดังกล่าวได้มีการใช้งานจริงจนถึงปัจจุบัน การด�ำเนินงานในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน ด้านการบ�ำบัดน�้ำเสียจากโรงอาหาร ซึ่งกิจกรรมที่ท�ำให้เกิด น�้ำเสียในโรงเรียน ได้แก่ การเตรียมวัตถุดิบส�ำหรับประกอบ อาหาร รวมถึงการเก็บล้างท�ำความสะอาด น�้ำเสียที่เกิดขึ้น มีทั้ง เศษผัก เศษอาหารและสารอินทรีย์จ�ำพวกไขมัน น�้ำมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรตและสารประกอบกลุ่มฟอสฟอรัสจากสารซักล้าง ปนเปื้อนมาในปริมาณสูง 46

IS AM ARE www.fosef.org


เพื่อดักไขมัน หรือน�้ำมันที่ลอยปกคลุมผิวหน้าน�้ำออก ไขมันที่ ตักออกสามารถน�ำไปท�ำปุ๋ย หรือเชื้อเพลิงได้ ขั้นตอนที่ 3 : ถังบ�ำบัดแบบไร้อากาศ เพื่อบ�ำบัดน�้ำเสีย ขั้นต้นโดยจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจน แปรสภาพสาร อินทรีย์เป็นสารอนินทรีย์และก๊าซไนโตรเจน หรือมีเทน สามารถ ช่วยลดความสกปรกในรูปบีโอดีได้เป็นอย่างดี ขั้นตอนที่ 4 : ระบบบ�ำบัดน�้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ โดย พืชที่ปลูก คือ เตยหอม กระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ยัง คงเหลืออยู่ในน�้ำ โดยจุลินทรีย์ในดินและน�้ำเสียแปรสภาพเป็น สารอนินทรีย์จ�ำพวกแอมโมเนีย ไนเตรทและฟอตเฟส ซึ่งต้นเตย หอมสามารถดูดไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต มีประสิทธิภาพในการ บ�ำบัดค่าบีโอดีร้อยละ 80 ขั้นตอนที่ 5 : น�้ำที่ผ่านกระบวนการบ�ำบัดแล้ว ปล่อย ลงสู่บ่อผึ่งของโรงเรียนที่เลี้ยงปลากินพืช และน�ำไปใช้ประโยชน์ ในแปลงนาของโรงเรียน เพื่อใช้ในการเกษตรต่อไป โรงเรียนวัดธรรมจริยามีความตระหนักและเห็นความ ส�ำคัญที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน ด้วย ความตั้งใจในการน�ำเอาเทคโนโลยีตามแนวพระราชด�ำริไปปรับ ประยุกต์ใช้และความมุ่งมั่นในการปฏิบัติ ท�ำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ใน การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนได้ และสามารถเป็นต้น แบบที่ดีในการขยายผลสู่โรงเรียนและชุมชนอื่นๆ ได้ต่อไป เรื่องและภาพ : เสาวลักษณ์ บุญมั่ง และศิวนาถ ไทยภักดี

มู ล นิ ธิ ชั ย พั ฒ นาช่ ว ยเหลื อ เมื่ อ ครั้ ง ที่ โ รงเรี ย นประสบ อุ ท กภั ย น�้ ำ ท่ ว มใหญ่ ใ นปี 2554 รวมถึ ง การเป็ น โรงเรี ย นต้ น แบบด้ า นการจั ด การสิ่ ง แวดล้ อ ม โดย ให้ ชุ ม ชนและวั ด ซึ่ ง ตั้ ง อยู ่ โ ดยรอบโรงเรี ย นได้ เ ข้ า มา มี ส ่ ว นร่ ว มในการจั ด การสิ่ ง แวดล้ อ มด้ ว ย โครงการศึ ก ษาวิ จั ย และพั ฒ นาสิ่ ง แวดล้ อ มแหลมผั ก เบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ ได้พิจารณาตามความเหมาะ สมของสภาพพื้นที่ พฤติกรรมและกิจกรรมในโรงเรียน จึงได้น�ำ ระบบบ�ำบัดน�้ำเสียด้วยบึงประดิษฐ์ตามหลักการธรรมชาติช่วย ธรรมชาติ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เรียบง่ายตามแนวพระราชด�ำริ พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช มาปรั บ ประยุกต์ใช้ภายในโรงเรียนวัดธรรมจริยา อย่างเป็นล�ำดับ 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 : ตะแกรงกรอง เพื่อดักเศษอาหารขนาด ใหญ่ออกจากน�้ำเสีย ขั้นตอนที่ 2 : ถังดักไขมัน เป็นวิธีบ�ำบัดทางกายภาพ 47

issue 121 February 2018


Royally-initiated Wastewater Treatment by Constructed Wetland At Wat Thammachariya School, Wang Noi District, Ayutthaya Province Wat Thammachariya School in Wang Noi district of Ayutthaya province is a school affected by the 2011 flood. Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn graciously assigned the Office of Chaipattana Foundation to rehabilitate this school, which is subsequently designated to be the example in inclusive environmental management implemented by the temple and communities in vicinity and the school itself.

In doing so, the Royally-initiated Laem Phak Bia Environmental Research and Development Project (LERD) under the Chaipattana Foundation provided academic support to the school in designing wastewater treatment system and organizing the training concerning environmental awareness for teachers and students. The operation by LERD started on September 27, 2012 by conducting physical survey and collecting wastewater sample. LERD then designed and constructed wastewater treatment system for 48

IS AM ARE www.fosef.org


Majesty King Bhumibol Adulyadej. This system consists of five steps as follows: 1) Strainer to trap large-sized waste. 2) Grease trap functioned as the physical treatment to trap grease or oil contaminated in wastewater. The separated grease can be used as fertilizer or fuel. 3) Airless wastewater treatment tank used as the primary biotic treatment by transforming organic substance into inorganic substance and nitrogen or methane. 4) Constructed wetland applying pandan to degrade remaining organic substance. The remaining organic substance in soil and wastewater is transformed into inorganic ammonia, nitrate and phosphate substances, which is used in the growing process of pandan. 5) Treated water is released into the pond inhabited by herbivore fish and further utilized in the school’s rice field. Wat Thammachariya School is aware of the environmental issues within the area and determined to solve the mentioned problems by applying the royally-initiated method, resulting in the successful and sustainable solution that could be the model for other communities and schools. Story and photos by Saowalak Boonmang and Siwanat Thaiphakdi Translated by Saket Phutphitak

the school, which was completed on December 27, 2013 and is currently functioning. The school’s environmental management aims to treat wastewater released from the canteen. From cooking to washing, these activities cause refuse such as wastewater, organic waste from food and phosphoric compound from detergent. The Royally-initiated Laem Phak Bia Environmental Research and Development Project (LERD) thoroughly considered and designed the treatment system in both physical and behavioral aspects for Wat Thammachariya School. As a result, LERD chose the natural treatment system by constructed wetland which is a simple yet practical royal initiative of His

49 issue 121 February 2018


สารานุ ก รมไทยส� ำ หรั บ เยาวชน

50 IS AM ARE www.fosef.org


นมแมว เป็นไม้พุ่มขนาดกลางหรือไม้รอเลื้อย พบขึ้นในภาคกลาง และภาคใต้ กิ่งอ่อนสีเขียวปนน�้ำตาล มีขนละเอียดนุ่ม กิ่งคดไป มา ใบดกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปรีปลายมน สีใบด้านบนเข้มกว่าด้านล่าง ดอกออกเดี่ยวๆ จากซอกใบ ห้อยลง สีเหลืองอ่อน หรือ เหลืองอมน�้ำตาล กลีบมี ๒ วง วงละ ๓ กลีบ รูปไข่ ขอบกลีบ จรดกัน เกสรสีเหลืองอมส้ม มักมีน�้ำหวานเหนียวๆ ปะปนอยู่ ดอกหอมตอนเย็นไปถึงกลางคืน ผลเล็กขนาดปลายนิ้วติดกัน เป็นพวง ผลสุกสีเหลืองอมส้ม กินได้ ขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ด และกิ่งตอน ดอกนมแมวไม่สวยเด่นสะดุดตา แต่มีกลิ่นหอมชวนดม จึงเป็นที่นิยมและกล่าวถึงกันมานาน และน�ำมาปลูกไม้ประดับ บ้าง แต่ไม่แพร่หลาย ปัจจุบันจึงรู้จักกันน้อยและหาชมได้ค่อน ข้างยาก ทั้งๆ ที่ปลูกเลี้ยงได้ง่าย ดอกมีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ จน คนไทยเรียกน�้ำหอมปรุงกลิ่นขนมว่า “น�้ำนมแมว”

โมก

เป็นไม้พุ่มขนาดกลางถึงใหญ่ วงศ์เดียวกับลั่นทม ยี่โถ และช�ำมะนาด ต้นสีน�้ำตาล ผิวแตกปริเป็นลาย มีกิ่งย่อยมาก ขนาดเล็กและเรียงตัวเกือบจะอยู่ในระดับเดียวกัน ท�ำให้เห็น กิ่งใหญ่ทั้งกิ่งมีลักษณะเป็นแผง ใบเดี่ยว รูปไข่แกมรูปรี ปลาย ใบแหลม ดอกสีขาว ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามซอกใบ ห้อยลง ก้าน ดอกผอม มีทั้งชนิดกลีบซ้อน และกลีบไม่ซ้อน ดอกทยอยบาน ล� ำ เจี ย ก ล�ำเจียกเป็นพันธุ์ไม้ชนิดเดียวกับเตยที่ให้ดอกเพศเมีย เป็นเวลานาน ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกสีขาวพราวเต้มต้น ส่วนล�ำเจียกให้ดอกเพศผู้ พบขึ้นเป็นกอตามชายน�้ำหรือที่ชื้น ขยายพันธุ์โดยปักช�ำ ตอนกิ่ง หรือเพาะเมล็ด โมกมีดอกหอม สวยงาม สามารถตกแต่งต้นหรือท�ำไม้ดัด แฉะ ต้นกลม โคนต้นมีรากค�้ำยัน ใบเดี่ยวเป็นแถบยาว ค่อนข้าง ได้ดี ปลูกเลี้ยงได้ง่ายในดินทุกสภาพ จึงเป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมปลูก แข็งและเหนียว ขอบใบจักเป็นหนาม ดอกออกตรงยอด มีกาบสีนวลเหมือนสีงาช้างคลุมช่อ ประดับบ้านและสวน ดอกช่อยาว ดอกในช่อแน่น ขนาดเล็ก สีนวล ดอกบานตอน ไม้ เ ลื้ อ ย เย็นมีกลิ่นหอมแรง ไม้ เ ลื้ อ ยหรื อ ไม้ เ ถาดอกหอมของไทยมี ขึ้ น อยู ่ ต าม 51 issue 121 February 2018


ชนิด ส่ วนใหญ่ ด อกมี ก ลิ่ นหอมในช่ วงหลั งฤดู ฝ นไปจนถึ งฤดู หนาวกลอยเป็นไม้เถาล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน เถามักจะยาวเลื้อย ไปตามต้นไม้ได้สูงและไกล ใบมีหลายชนิดและหลายรูปแบบ ทั้งแบบใบเดี่ยว และใบแระกอบ ส่วนใหญ่จะสังเกตได้จากใบ ซึ่งเป็นใบเดี่ยว มีเส้นใบหลายเส้นออกจากฐากใบ ยาวไปถึง ปลายใบ

ธรรมชาติเป็นจ�ำนวนมาก เพราะกระจายพันธุ์ได้ดี จึงนิยมปลูก กันทั่วไปแต่ยังมีอีกหลายชนิดที่เป็นไม้ป่า ไม่ค่อยรู้จักแพร่หลาย ชนิดที่นิยมปลูก ได้แก่

ช่อดอกมักแยกเพศ ช่อห้อยลง ดอกขนาดเล็กค่อนข้าง แน่น ดอกเพศผู้มักมีกลิ่นหอมแรงกว่าดอกเพศเมีย ผลเป็น ผลแห้ง มี 3 ปีก ช่วงที่มีผลแห้ง ต้นเหนือดินมักตายแล้ว เห็น เป็นเถาสีนวลอมน�้ำตาลอ่อน มีผลห้อยระย้าอยู่ตามต้นที่เลื้อย พันอยู่หลายชนิดของพืชสกุลนี้ ใช้หัวทั้งใต้ดินและตามเถาเป็น อาหารจึงเรียกชื่อน�ำหน้าว่า “มัน” เช่น มันเสา มันขมิ้นหรือ ว่านพระฉิมมันดง

กุ ม าริ ก า หรื อ สร้ อ ยสุ ม าลี หรื อ ช่ อ มาสี เป็นไม้เลื้อยวงศ์เดียวกับยี่โถและหิรัญญิการ์ เถาค่อน ข้างเล็ก เหนียว แยกกิ่งสาขามาก ใบเดี่ยว รูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลม ช่อดอกออกตามซอกใบเกือบตลอดกิ่ง ดอกสีขาวขนาด ขจร หรื อ สลิ ด เล็ก ดอกดกและบานพร้อมกัน กลิ่นหอมค่อนข้างแรง ดอกบาน ขจรเป็นไม้เถาล้มลุก มียางขาวคล้างน�้ำนม อยู่ในวงศ์ ในช่วงเดือนธันวาคม ดูสวยงามมาก ขยายพันธุ์โดยตอนกิ่งหรือ เดียวกับรักและนมต�ำเรีย เถามีลักษณะกลมเล็ก ผิวไม่เรียบ สี เพาะเมล็ด ขาวอมเทา ใบออกเป็นคู่ตรงข้าม รูปหัวใจ ปลายแหลมหรือ เรียวแหลม กลอย และไม้ เ ถาใกล้ เ คี ย ง ช่อดอกเกิดตามซอกใบ เป็นช่อกระจุกห้อยลง ดอกใน ในประเทศไทยมีพืชพวกเดียวกับกลอยประมาณ 30 ช่อทยอยบาน โคนกลีบดอกเป็นหลอด ปลายกลีบแผ่กางเป็น 52 IS AM ARE www.fosef.org


5 แฉก ดอกบานใหม่ๆ สีเขียว วันต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง และเหลืองอมส้มในบางพันธุ์ ดอกมีกลิ่นหอมขจรขจายสม ชื่อ ออกดอกในหน้าฝน มีฝักคล้ายกระสวย มีเมล็ดมาก ฝักแก่จะแตก มีพู่สีขาวละเอียดปลิวไปได้ไกล ขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ด นอกจากปลูกเป็นพันธุ์ไม้ประดับแล้ว ขจรยังเป็นพืชผักที่นิยมใช้เป็นอาหารได้ทั้งใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อน คั ด เค้ า เป็นไม้เลื้อยยืนต้น มีหนามแหลมแข็งและโค้ง เป็นพืชพวกเดียวกับเข็ม ต้นมักเป็นเหลี่ยม ใบเดี่ยวรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลมหรือมน ผิวค่อนข้างมัน ดอกเกิดที่ปลายกิ่งตามซอกใบ เป็นช่อกระจุกสั้นๆ โคนดอกเป็นหลอด ปลายกลีบ 5 แฉก เกสรยาว ดอกบานใหม่ๆ สีขาว นวล วันต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม ทุกส่วนของคัดเค้า ทั้งต้น ราก ใบ ดอก และผล ใช้เป็นสมุนไพรได้ขยายพันธุ์ โดยเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง

53 issue 121 February 2018


54 IS AM ARE www.fosef.org


สั จ ธรรมแห่ ง แนวพระราชด� ำ ริ

ส่วนที่ 2 สัจธรรมแห่งแนวพระราชด�ำริ ่ น สู่การพัฒนาอย่างยังยื

พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว มี แ นวพระราชด� ำ ริ “การพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น ” มานานกว่ า 6 ทศวรรษ นั บ แต่ เ สด็ จ ขึ้ น ครองสิ ริ ร าชสมบั ติ ก่ อ นที่ จ ะมี ก ารตื่ น ตั ว และเกิ ด กระแสเรี ย กร้ อ งให้ ทุ ก ประเทศหั น มาให้ ค วาม ส� ำ คั ญ กั บ คน สั ง คม และทรั พ ยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ ม โดยพระองค์ ท รงให้ ค วามหมายของการ พั ฒ นาว่ า การพั ฒ นานั้ น ไม่ ใ ช่ ก ารท� ำ ให้ เ กิ ด ความก้ า วหน้ า แต่ เ พี ย งอย่ า งเดี ย วแต่ จ ะต้ อ งท� ำ ให้ เ กิ ด ความ มั่ น คง โดยด� ำ เนิ น การอย่ า งค่ อ ยเป็ น ค่ อ ยไป เพื่ อ ปรั บ ปรุ ง ชี วิ ต ความเป็ น อยู ่ ข องคน โดยไม่ ท� ำ ลายสิ่ ง แวดล้ อ ม เพื่ อ ให้ ค นมี ค วามสุ ข อย่ า งยั่ ง ยื น การทรงงานพัฒนาของพระองค์ นับเป็นแบบอย่างของ นักวางแผนโครงการที่ดี โดยพระองค์จะทรงใช้วิธีการหาข้อมูล และข้อเท็จจริงต่างๆ ด้วยการศึกษาวิจัยเบื้องต้น เป็นขั้นตอน อย่างละเอียดในการวางแผน ตลอดจนทรงท�ำการทดลองจนมั่น พระราชหฤทัยว่าได้ผลดี จึงพระราชทานพระราชด�ำรินั้นๆ แก่ ประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด�ำเนินโครงการ อันเนื่องมา จากพระราชด�ำริ จ�ำนวน 4,350 โครงการ จึงประสบผลส�ำเร็จ ตามแนวพระราชด�ำริและหลักการทรงงานของพระองค์ที่ทรง ปฏิบัติตลอดมา โครงการอั น เนื่ อ งมาจากพระราชด� ำ ริ ที่ พ ระราชทาน แก่ประชาชนดังกล่าว เป็นความพยายามในการท�ำทุกวิถีทาง เพื่อที่จะให้พสกนิกรของพระองค์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งล้วน สะท้อนให้เห็นถึงสัจธรรมแห่งแนวพระราชด�ำริที่ได้น�ำประโยชน์

สุขสู่ประชาชนและความเจริญก้าวหน้าของประเทศอย่างยั่งยืน เมื่อประมวลแล้ว มีหลักการและแนวพระราชด�ำริส�ำคัญๆ ที่ พระองค์ทรงยึดเป็นหลักในการทรงงาน แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ รวม 5 สัจธรรม ได้แก่ 1. “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เพื่อตอบสนองความต้องการ ของประชาชนประกอบด้วยแนวพระราชด�ำริเรื่อง “ภูมิสังคม” การ “ระเบิดจากข้างใน” “การมีส่วนร่วม” โดยยึด “ประโยชน์ ส่วนรวม”เป็นสิ่งส�ำคัญในการด�ำเนินงาน 2. “เรี ย นรู ้ จ ากหลั ก ธรรมชาติ ” ประกอบด้ ว ยแนว พระราชด�ำริ “ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ” “การใช้อธรรมปราบ อธรรม” และการ “ปลูกป่าในใจคน” รวมถึงการปลูก “หญ้า แฝก” ซึ่งล้วนเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่ใช้หลักธรรมชาติ ซึ่งไม่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากและไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อม 3. “บริหารแบบบูรณาการ” ประกอบด้วยแนวพระ ราชด�ำริ “องค์รวม” ที่ทรงมองแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเชื่อม โยงกัน แล้วจึง “ท�ำตามล�ำดับขั้น” โดยเน้นการ “บริการรวม 55

issue 121 February 2018


นับตั้งแต่กระแสโลกได้เรียกร้องให้ใส่ใจการพัฒนาด้าน สังคมและสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการมุ่งเน้นเรื่องการเจริญ เติ บ โตทางเศรษฐกิ จ แต่ เ พี ย งด้ า นเดี ย ว อั น เป็ น ทิ ศ ทางใหม่ ของการพัฒนาที่เรียกว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development) ซึ่งมีลักษณะที่ส�ำคัญ คือ 1. เป็นเรื่องของ การพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม ภายใต้ข้อ จ�ำกัดทางสภาพแวดล้อมที่ไม่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถ ในการสนองความต้องการที่จ�ำเป็นของคนในรุ่นต่อไป 2. ค�ำนึง ถึงมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีความเชื่อมโยง กัน เช่น การขจัดความยากจน จ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงการพิทักษ์สิ่ง แวดล้อมและความเป็นธรรมทางสังคมประกอบกัน และ 3. มีจุด มุ่งหมายที่จะบรรลุถึงสถานะแห่งความยั่งยืนของสังคมโลกโดย รวม ไม่ใช่เพื่อความยั่งยืนหรือความสามารถในการอยู่รอดของ องค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซึ่งหมายรวมถึงวิถีการบริโภคอย่างยั่งยืน และแหล่งทรัพยากรที่ยั่งยืน การพั ฒ นา หมายถึ ง “ท� ำ ให้ มั่ น คง” เพื่ อ ความเจริ ญ และความสุ ข อย่ า งยั่ ง ยื น แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้มีแนวพระราชด�ำริมานานกว่า 6 ทศวรรษ นับ แต่ทรงครองสิริราชสมบัติ โดยทรงให้ความหมายของการพัฒนา กับเยาวชนจังหวัดปทุมธานีว่า “...การพัฒนาหมายถึง ท�ำให้มั่นคง ท�ำให้ก้าวหน้า การ พัฒนาประเทศก็ท�ำให้บ้านเมือง มั่นคงมีความเจริญ ความหมาย ของการพัฒนาประเทศนี้ก็เท่ากับตั้งใจที่จะท�ำให้ชีวิต ของแต่ละ คนมีความปลอดภัย มีความเจริญ มีความสุข...”

ที่จุดเดียว” ในลักษณะบริการแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อความสะดวก และประโยชน์แก่ประชาชน 4. “มุ่งผลสัมฤทธิ์” ประกอบด้วยแนวพระราชด�ำริเรื่อง “ขาดทุนคือก�ำไร” ที่เน้นว่าหากท�ำแล้วประชาชนมีความกิน ดีอยู่ดี ถือเป็นก�ำไร อีกทั้ง “ไม่ติดต�ำรา” และใช้เทคโนโลยีที่ เหมาะกับสภาพที่แท้จริงของคนไทย โดยยึดหลัก “ท�ำให้ง่าย” ในการด�ำเนินโครงการพัฒนาด้านต่างๆ 5. “ชั ย ชนะแห่ ง การพั ฒ นา” แนวพระราชด� ำ ริ นี้ ประกอบด้วย การ “ต่อสู้กับความยากจน” เพื่อยกระดับชีวิต ความเป็นอยู่ของราษฎรให้มีความอยู่ดีกินดี เมื่อส�ำเร็จแล้วจึง ถือเป็นชัยชนะแห่งการพัฒนา ที่น�ำประชาชนไปสู่การพึ่งตนเอง มีอิสระและเสรีภาพ อันจะน�ำไปสู่การเป็น “ประชาธิปไตย” อย่างแท้จริง ในส่วนนี้ได้น�ำเสนอให้เห็นถึงหลักการทรงงานและแนว พระราชด�ำริดังกล่าวข้างต้นในแต่ละเรื่องพร้อมทั้งยกตัวอย่าง โครงการอั น เนื่ อ งมาจากพระราชด� ำ ริ โ ดยสั ง เขป เพื่ อ เป็ น ตัวอย่างให้เห็นถึงความส�ำเร็จของโครงการและประโยชน์สุขที่ “มหาชนชาวสยาม” ต่างได้รับ ด้วยความปลื้มปิติและส�ำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ 56

IS AM ARE www.fosef.org


57 issue 121 February 2018


“...การพั ฒ นาหมายถึ ง ท� ำ ให้ มั่ น คง ท� ำ ให้ ก ้ า วหน้ า การพั ฒ นาประเทศก็ ท� ำ ให้ บ ้ า นเมื อ ง มั่ น คงมี ค วาม เจริ ญ ความหมายของการพั ฒ นาประเทศนี้ ก็ เ ท่ า กั บ ตั้ ง ใจที่ จ ะท� ำ ให้ ชี วิ ต ของแต่ ล ะคนมี ค วามปลอดภั ย มี ค วามเจริ ญ มี ค วามสุ ข ...”

จากพระราชด�ำรัสนี้แสดงว่า การพัฒนาจะต้องท�ำให้เกิด ความมั่นคงและเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติและประชาชน ประเด็ น ที่ น ่ า สนใจคื อ การพั ฒ นาไม่ ใช่ ก ารท� ำ ให้ เ กิ ด ความ ก้าวหน้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องท�ำให้เกิดความมั่นคง ด้วยนั่นหมายความว่า เป้าหมายของการพัฒนาตามแนวพระ ราชด�ำริคือการพัฒนาเพื่อให้บรรลุถึงความมั่นคงและความเจริญ ก้าวหน้าของประเทศนั่นเอง เมื่อประเทศชาติมีความมั่งคงและ เจริญก้าวหน้า ประชาชนในชาติก็จะมีความมั่นคงปลอดภัย มี ความเจริญและความสุขตามไปด้วย

มิใช่กระท�ำเพียงเพราะความต้องการของผู้พัฒนาเท่านั้น แต่ พระองค์ทรงตระหนักถึงความส�ำคัญของ “การพัฒนาอย่าง ยั่งยืน” ด้วย ดังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารีพระราชทานสัมภาษณ์เกี่ยวกับหลักการทรงงานพัฒนา ประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหนังสือ “พระ มหากษัตริย์นักพัฒนา เพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา” ความ ตอนหนึ่งว่า “…เป้ า หมายในการพั ฒ นาของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว คือ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อปรับปรุงชีวิตความ เป็นอยู่ของคน โดยไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อม ให้คนมีความสุข โดย ต้องค�ำนึงเรื่องสภาพภูมิศาสตร์ ความเชื่อทางศาสนา เชื้อชาติ

ยกระดั บ ความเป็ น อยู ่ ข องประชาชนด้ ว ยความรั ก โดยไม่ ท� ำ ลายสิ่ ง แวดล้ อ ม การพัฒนา ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดีและพึงปฏิบัติ ท�ำให้คน จ�ำนวนไม่น้อยเห็นว่า การพัฒนาจะต้องพยายามเร่งรีบกระท�ำ ให้เกิดผลโดยเร็ว แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า การพัฒนาควรต้องท�ำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่ท�ำด้วยความ กระหายในสิ่งใหม่ หรือความแปลกใหม่ของสิ่งที่จะพัฒนา และ 58

IS AM ARE www.fosef.org


“พระองค์ทรงเอื้อมพระหัตถ์เอื้อไปยังบรรดาผู้ที่ยากจน ที่สุด และเปราะบางที่สุดในสังคมไทย ทรงรับฟังปัญหาของพวก เขาเหล่านั้น และให้ความช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้นให้สามารถ ยืนหยัด ด�ำรงชีวิตของตนเองต่อไปได้ด้วยก�ำลังของตัวเอง... โครงการเพื่อการพัฒนาชนบทต่างๆ ขององค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวยังประโยชน์ให้กับประชาชนนับเป็นล้านๆ ทั่ว ทั้งสังคมไทย” พร้ อ มๆ กั บ การดู แ ลสุ ข ภาพและทุ ก ข์ สุ ข ของราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงงานพัฒนาประเทศด้วย แผนงานหรื อ โครงการพั ฒ นาต่ า งๆ ที่ เ หมาะสมกั บ สภาพ ภูมิสังคม และไม่ท�ำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดย ทรงมีพระราชกระแสเตือนให้ชาวไทยตระหนักถึงความส�ำคัญ ของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดอยู่ เนืองๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงตระหนักถึงความส�ำคัญ ของ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” มานานแล้ว

และภูมิหลังทางเศรษฐกิจ สังคม แม้ว่าวิธีการพัฒนามีหลาก หลาย แต่ที่ส�ำคัญคือนักพัฒนาจะต้องมีความรัก ความห่วงใย ความรับผิดชอบ และการเคารพในเพื่อนมนุษย์...” ด้วยเหตุนี้ โครงการพัฒนาตามแนวพระราชด�ำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงเน้น การพั ฒ นาที่ ตั ว คน โดยทรงเห็ น ว่ า หากประชาชนในประเทศมี สุ ข ภาพสมบู ร ณ์ แข็งแรงพร้อมด้วยสุขภาพจิตที่ดีแล้ว ย่อมส่งผลให้เป็นบุคลากร มี ค วามพร้ อ มในการร่ ว มเสริ ม สร้ า งและพั ฒ นาประเทศให้ มี ความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป ในระยะแรกพระองค์จึงทรง วางรากฐานการพั ฒ นาประเทศให้ มี ค วามเจริ ญ ก้ า วหน้ า ยิ่ ง ขึ้นต่อไป ในระยะแรกพระองค์จึงทรงวางรากฐานการพัฒนา ประเทศด้วยการรักษา ป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพอนามัย ตลอดจนสงเคราะห์ราษฎรที่ยากไร้ ดังค�ำกล่าวสดุดีจาก นาย โคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ในโอกาสทูลเกล้าฯ ถวาย รางวั ล อั น เนื่ อ งมาจากผลงานการพั ฒ นาชนบทมากมายของ พระองค์ ความตอนหนึ่งว่า

59 issue 121 February 2018


ครู ต้องท�ำตัวเป็นเพื่อนเด็กได้เพื่อจะสอนเขา

ครู รุ วจี บุ ญมาศ

โรงเรียนปั ญญาวรคุณ ค� ำ ว่ า “สั ง คม” ที่ จ ริ ง แล้ ว กิ น ความหมายกว้ า งไกลพอสมควร ยิ่ ง เป็ น ครู สั ง คมด้ ว ยแล้ ว ยิ่ ง ต้ อ งรู ้ รอบด้ า น ปรั บ ตั ว ให้ เ ท่ า ทั น ยุ ค สมั ย ที่ เ ปลี่ ย นแปลงไปเร็ ว เหลื อ เกิ น มิ ฉ ะนั้ น อาจตามไม่ ทั น เด็ ก ๆ ในยุ ค 4.0 ครู รุ ว จี บุ ญ มาศ หั ว หน้ า กลุ ่ ม สาระการเรี ย นรู ้ สั ง คมศึ ก ษาศาสนาและวั ฒ นธรรม เป็ น อี ก ผู ้ ห นึ่ ง ที่ พ ยายามปรั บ ตั ว ปรั บ แนวทางการสอนให้ เ หมาะสมกั บ เด็ ก นั ก เรี ย นในโรงเรี ย นปั ญ ญาวรคุ ณ เพราะ ตั ว ท่ า นเองผ่ า นการเรี ย นมาในแบบ “ยุ ค เก่ า ” ทว่ า ต้ อ งมาสอนเด็ ก “ยุ ค ใหม่ ” ความท้ า ทายตรงนี้ ค รู หลายท่ า นคงเข้ า ใจดี ถึ ง บริ บ ทยุ ค สมั ย ที่ โ ซเชี ย ลเข้ า ครอบง� ำ เด็ ก อย่ า งเบ็ ด เสร็ จ ข้ อ ดี ข ้ อ เสี ย เป็ น อย่ า งไร ครู รุ ว จี สะท้ อ นมุ ม มองผ่ า นบทสั ม ภาษณ์ นี้ เ รี ย บร้ อ ยแล้ ว

60 IS AM ARE www.fosef.org


61 issue 121 February 2018


ท� ำ ไมถึ ง เลื อ กอาชี พ ครู ? ครูเกิดที่จังหวัดร้อยเอ็ด มีพี่น้อง 3 คน เราเป็นคนกลาง จบจากโรงเรียนชุมชนบ้านสีแก้ว จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นลูกชาวนา แล้วออกไปเรียนมัธยมที่โรงเรียนสตรีศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด ตอนแรกเรียน วิทย์-คณิต เพราะแม่อยากให้เป็นพยาบาลแต่ ว่าเรียนไม่เก่ง ไปสอบเอ็นทรานซ์ไม่ติด แต่ว่าด้วยความที่เรา เรียนเราชอบวิชาสังคม เรียนสังคมแล้วได้เกรด 4 ก็เลยไปเรียน ครูเพราะคิดว่าครูหน้าจะเหมาะกับเรา พอจบ ม.6 ก็ไปเรียนครู ที่มหาวิทยาลัยครู มหาสารคาม เอกสังคมศึกษา เรียนจบ 4 ปี แล้วสอบบรรจุครั้งแรกที่จังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 1 มิถุนายม 2537 ที่อยากเป็นครูเพราะเป็นอาชีพที่มั่นคงและเป็นอาชีพที่ ภาคภูมิใจว่าเราได้ช่วยเหลือคน เป็นอาชีพที่คนทั่วๆไปให้ความ เคารพนับถือ ให้เกียรติ ซึ่งพ่อแม่เราเป็นชาวนาก็อยากให้เรา เป็นข้าราชการครู ปัจจุบันสอนสังคมชั้นมัธยมปลาย โรงเรียน ปัญญาวรคุณ

ในฐานะที่ เ ป็ น ครู สั ง คม มี แ นวทางอย่ า งไรในการดู แ ล พั ฒ นาเด็ ก ? ยุคไทยแลนด์ 4.0 ปัจจุบันเด็กพึ่งวัตถุมากเกินไป ครูจึง เน้นเรื่องคุณธรรม-จริยธรรมให้กับเด็ก ถามว่ายากไหมถ้าเด็กที่ เขาตั้งใจเรียนเขาก็ประพฤติตนดีอยู่แล้ว แต่ก็มีบ้างในภาพรวม ของโรงเรียนปัญญาวรคุณ พ่อแม่เขาต้องดิ้นรนในการท�ำงาน แล้วฝากลูกไว้กับคุณตาคุณยาย พอกลับบ้านไปพ่อแม่ยังท�ำงาน อยู่ไม่ค่อยมาสนใจลูก เขาไม่มีคนคอยชี้แนะน�ำทาง เขาจึงอาศัย ไอทีเป็นเพื่อน พอไอทีเป็นเพื่อนจึงไม่มีคนชี้แนะว่าตรงไหนเป็น ส่วนดีตรงไหนเป็นส่วนไม่ดี เขาก็เลยติด ครูที่โรงเรียนเลยสอนว่าไอทีมันดีแต่ว่ามันต้องใช้ให้ถูก ที่ ครูสังคมยึดหลักปฏิบัติของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเรา พ่อ แม่เราจ�ำได้ว่ามีทีวีเครื่องแรกพ่อกับแม่ก็จะชอบดูข่าวพระราช ส�ำนัก เห็นในหลวงของเราเสด็จไปที่ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดี เป็นการปลูกฝังที่ดีให้กับเราด้วย แต่ว่าเด็กรุ่นหลังจะไม่ค่อย ได้เห็น ครูจะเป็นคนที่สื่อต่อให้อีกที สังคมเปลี่ยนเร็วมากจาก ที่ครูไม่เคยใช้ไอทีสมัยก่อนพิมพ์ดีดไม่เป็นเลย จนปัจจุบันพิมพ์ ดีดเป็น ใช้สื่อโซเซียลเพื่อเท่าทันเด็ก ถ้าเราไม่ทันเด็กเราก็สอน เขาไม่ได้ สั ง คมทุ ก วั น นี้ เ ปลี่ ย นเร็ ว มาก ครู มี ก ารปรั บ ตั ว อย่ า ง ไร ? ต้ อ งปรั บ ตั ว ให้ ร อบรู ้ ศึ ก ษาสภาวะสั ง คมว่ า ไปใน ทิศทางไหน อย่างสื่อไอทีครูก็ต้องปรับตัวด้านโทรศัพท์มือถือ แอพพลิเคชั่นครูก็ต้องติดตามข่าวอยู่ตลอดเวลา แล้วก็พยายาม หาความรู้ให้กับตนเองเพื่อที่จะเอามาพัฒนาตนเอง เราจะได้ทัน 62

IS AM ARE www.fosef.org


ครู ท� ำ ยั ง ไงให้ เ ขา (เด็ ก มี ป ั ญ หา) กล้ า เปิ ด ใจ ? ตอนแรกก็ยังอายอยู่ เราใช้ความสนิทสนมเหมือนครู เป็นแม่คนหนึ่ง เป็นเพื่อนด้วย ก็จะถามว่ามีปัญหาอะไรเห็น เศร้าๆ เขาก็เลยยอมเปิดใจว่าหนูมีปัญหาเรื่องพ่อ เขาร้องไห้ ครูก็บอกว่าไม่ต้องเป็นห่วงเดี๋ยวครูช่วยแก้ปัญหาให้ พอเขามี อะไรเขาก็มาปรึกษา นักเรียนทุกวันนี้ถ้าเราท�ำตัวเป็นเพื่อนให้ ค�ำปรึกษาเขาได้เขาจะไว้วางใจเรา เขาจะเข้าหาเรา เพราะเวลา เขามีปัญหาเขาไม่รู้จะไปหาใคร คุณครูเป็นเพื่อนดีกว่า ดีที่สุดใน วัยรุ่นของเราทุกวันนี้ต้องเป็นเพื่อน ท�ำตัวเป็นเพื่อนเขา เขาถึง จะเข้าหากล้าปรึกษา เท่ า ที่ สั ม ผั ส เด็ ก มาตอนนี้ อ ะไรเป็ น สิ่ ง ที่ น ่ า ห่ ว งที่ สุ ด ? เรื่องการใช้สื่อโซเชียล คือเด็กเขาไม่สนใจเรื่องต�ำราเรียน เขา เพราะว่าวัยรุ่นทุกวันนี้ไม่ทันเขาเราก็สอนเขาไม่ได้ อย่างเรา ดูละครเราก็ต้องเลือกดูว่าให้สาระให้อะไรกับเราอย่างไร เราจะ เขาจะสนใจโทรศัพท์มากกว่า ไปเชื่อโทรศัพท์ ไม่เชื่อพ่อแม่ ไม่ มาสื่อว่าเรื่องนี้ให้ข้อคิดอย่างไร แนะน�ำเขาในทางที่ดี ชี้ตัวอย่าง เชื่อครู ครูเป็นห่วงเพราะว่าตอนนี้โซเชียลท�ำเด็กเสียเยอะ คือ เขาใช้ไม่ถูกทาง เป็นห่วงมากตอนนี้ ไม่เหมือนตอนที่ครูเรียน ที่ดีให้เขาดู สมัยที่ครูเรียนพออาจารย์ให้งานเข้าห้องสมุดอ่านหนังสือเรา ก็ได้อ่าน แต่เดี๋ยวนี้เด็กแทบไม่เปิดหนังสืออ่านเลย โรงเรียนให้ ตอนนี้ ค รู รั บ หน้ า ที่ อ ะไรอยู ่ บ ้ า ง ? หน้าที่หลักคือการสอน ถ้าเป็นเรื่องการบริหารท�ำหน้าที่ หนังสือไปบางทีกลับมายังใหม่ๆไม่เคยจับ เพราะว่าใช้หนังสือไม่ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เป็น สมัยก่อนครูเรียนต้องใช้หนังสือเรียน ต้องค้นคว้าต้องเข้า แล้วก็กิจกรรมของครอบครัวพอเพียง สอนวิชาสังคมศึกษา ม.5 ห้องสมุด แต่ตอนนี้หันหน้าเข้าหาโซเชียล เวลาว่างของเขาส่วน แล้วเขาก็จะแบ่งเป็นสาระส่วนใหญ่จะสอนสาระเศรษฐศาสตร์ ใหญ่เป็นแบบนี้ อันตราย กับภูมิศาสตร์ และพระพุทธศาสนาบ้าง ถ้าวิชาที่พระอาจารย์ ไม่มาเราก็เสริมให้ค่ะ ครู ใ ห้ ค� ำ แนะน� ำ กั บ เด็ ก ยั ง ไงเวลาเขามี ป ั ญ หาส่ ว นตั ว และเลื อ กที่ จ ะมาหาเรา ? มีเคสหนึ่ง น้องเขามีปัญหาครอบครัวแตกร้าวเมื่อเทอม ที่แล้ว พ่อเป็นวัณโรครุนแรง ตัวเขาก็ติดเชื้อด้วย ทุนการศึกษา ไม่มีแม่ต้องไปท�ำงานต่างประเทศ เราก็ต้องดูแลเขา คุณหมอ สั่งพักการเรียนไปช่วงหนึ่งเราก็ช่วยให้ก�ำลังใจเขาว่าทุกคนเกิด มาต้องมีปัญหาแต่เราต้องสู้แล้วก็อดทน แต่น้องเขาก็น่ารัก นะ อดทน สามารถรักษาตนเองให้กลับมาเรียนได้ ตอนแรกจะ ลาออก ถอดใจ ครูก็ยกแนวทางพระราชด�ำรัสของรัชกาลที่ 9 ให้ เขาฟังว่าอย่าท้อ ให้เขาเพียรพยายามว่าเราตั้งใจเราต้องประสบ ผลส�ำเร็จ ไม่ต้องกลัวว่าเพื่อนรังเกียจ ถ้าเราท�ำดีไม่มีใครจะมา ท�ำอะไรเราได้ เขาก็อยู่ได้เขาก็เข้มแข็งขึ้น ตอนนี้ยังเรียนอยู่ ม.5 อาการเป็นปกติแล้ว เหลือแต่พ่อที่ยังไม่หาย 63 issue 121 February 2018


ครูว่าแก้ยาก แต่เราก็รณรงค์ เช่น เวลาครูสอนห้าม เอาขึ้นมา เวลาเรียนห้ามเอามาใช้เลย ยกเว้นบางวิชา เช่น ภูมิศาสตร์ ครูต้องการค้นแผนที่ให้ใช้ Google map ก็เอาขึ้น มา โรงเรียนนี้เป็นเด็กน่ารักแต่ครูห่วงว่าเวลาส่วนใหญ่ของเขา ไม่รู้เขาเล่นอะไรบ้าง แต่บ้างคนเขาใช้ในทางที่ถูกเขาก็รอบรู้ และเก่งขึ้นเยอะเลย ความยากง่ า ยในการดู แ ลเด็ ก จากเมื่ อ ก่ อ นเด็ ก ไม่ มี โทรศั พ ท์ กั บ ตอนนี้ แตกต่ า งกั น มากไหม ? เมื่อก่อนเด็กเขาจะตั้งใจเรียน คะแนนดี แล้วมีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย แล้วก็อ่านหนังสือ ทุกวันนี้ดีคนละแบบ เราใช้ สื่อเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ เขาสามารถเปิดโลกทัศน์ได้กว้าง เพราะว่ามันเป็นสื่อที่มันเห็นของจริง อยากรู้อะไรเรากดได้เลย ถ้าปัจจุบันมีสื่ออย่างนี้เด็กได้เห็นของจริงครูเอามาเปิดเด็กก็ ตื่นเต้น สมัยก่อนไม่มีเราก็ต้องเล่นเกมดูแค่รูปภาพแต่ในขณะ นั้นที่เราเป็นนักเรียนเราก็ชอบนะ มีเล่นเกมมีรูปภาพมีครูพูด สนุกสนานเป็นกันเอง พูดคุยกับครู แต่ทุกวันนี้ถ้าเราเปิดยูทูบเราเปิดอะไรที่ทันสมัยเด็กเขา ก็ชอบ เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ดีนะครูว่า เพียงแต่ว่าเราจะน�ำไปใช้ ในทางที่ดีหรือไม่ดีต้องมีคนชี้แนะ

ในส่ ว นส� ำ คั ญ ของครู สั ง คมเราจ� ำ เป็ น ต้ อ งแทรก เรื่ อ งอะไรเป็ น พิ เ ศษแก่ เ ด็ ก ไหม ? แทรกเรื่องความซื่อสัตย์ ความมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม ครูสอนทุกคาบ มารยาทในสังคมเราต้องเป็นคนมีมารยาท การ ไหว้ครู การกราบ มารยาททุกอย่างในการวางตัว แล้วก็คุณธรรม ตอนนี้ครูเน้นว่านักเรียนต้องมีความซื่อสัตย์ มีวินัย มีความรับ ผิดชอบ ด้ า นคุ ณ ธรรมส� ำ หรั บ เด็ ก ก่ อ นที่ จ ะมี โ ซเชี ย ลกั บ ปั จ จุ บั น มี โ ซเชี ย ลแล้ ว ต่ า งกั น ไหม ? ถ้าเด็กที่เขาดีอยู่แล้วก็ไม่ต่าง เด็กดีมีโซเชียลเขาก็ดีขึ้นไป อีก เพราะว่าเขาใช้เกิดประโยชน์ เช่น ของเราใช้โพสต์เรื่องดีๆ ใช้สื่อสารช่วยเหลือในเรื่องดีๆ ถ้าพูดถึงส่วนดีมีมากกว่าด้วยนะ โดยเฉพาะครูสังคมต้องท�ำหน้าที่แนะน�ำรอบด้าน ปั จ จุ บั น เด็ ก หลงวั ต ถุ นิ ย มมากขึ้ น เราแนะน� ำ เขาเรื่ อ ง นี้ ยั ง ไง ? เหมือนลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น เราต้องท�ำตัวให้เป็นแบบ อย่างที่ดีให้เขาเห็นก่อน ครูต้องมีวินัย แล้วก็ค่อยๆ สอนเขา วันนี้เขาอาจท�ำตัวไม่ดี เช่น ลอกการบ้านเพื่อน ครูมาดูแล้ว ลายมือไม่ใช่ลายมือเธอแต่เป็นลายมือเพื่อน ก็จะเรียกมาถาม ว่ามีอะไรจะสารภาพครู เขาจะเริ่มอึดอัด เราจะไม่ดุก่อน แล้ว เขาก็จะค่อยๆ เปิดออกมาว่า หนูไม่ได้ท�ำเองค่ะครู หนูให้เพื่อน ช่วยท�ำ ครูว่างานนี้หนูท�ำเองได้ไหม ถ้าท�ำได้กลับไปท�ำเอง ครู ชอบคนซื่อสัตย์ ท�ำขี้เหร่แต่ท�ำสุดความสามารถครูก็ให้คะแนน 64

IS AM ARE www.fosef.org


65 issue 121 February 2018


ปั จ จุ บั น มี ก ารขั บ เคลื่ อ นเรื่ อ งเศรษฐกิ จ พอเพี ย งเยอะ มาก ครู แ นะน� ำ นั ก เรี ย นยั ง ไง ? ตอนนี้ที่โรงเรียนขับเคลื่อนเรื่องนี้โดยน้องๆ ที่เป็นแกน น�ำในมูลนิธิครอบครัวพอเพียง ครูมีโอกาสไปอบรมซุปเปอร์ครู กับมูลนิธิครอบครัวพอเพียง แล้วก็มาขับเคลื่อนโดยการท�ำให้ดู ถ่ายทอดสู่นักเรียนแกนน�ำให้เขาเป็นตัวอย่างในการท�ำกิจกรรม ให้เพื่อนๆได้เห็นโดยครูจะแทรกไปในกิจกรรมของโรงเรียนทุก กิจกรรม ก่อนอื่นครูจะบอกว่า เราจะต้องใช้หลัก 5 ค�ำ 5 ข้อ ที่พ่อสอนมา ทุกอย่างก่อนจะท�ำกิจกรรมเราจะต้องมีความรู้ แล้วก็ต้องท�ำอย่างมีคุณธรรม เราต้องบอกเขาค่ะ ว่าต้องท�ำยัง ไง โดยใช้หลักของ 5 ค�ำ 5 ข้อที่พ่อสอนแทรกเข้าไปในกิจกรรม ของโรงเรียนทุกกิจกรรม เขาก็จะซึมซับ อย่างวิชาครูสังคมก็ จะสอนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้วโดยตรง จะ ให้เขาเขียน ท�ำกิจกรรม ให้เขาวางแผนแล้วก็เขียน ก็จะค่อยๆ สอนในเรื่องการใช้ชีวิตประจ�ำวันด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง เมื่อก่อนเด็กเข้าจะเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียง คือเรื่อง ของ ทฤษฎีใหม่ เขาจะท่องแค่ 30-30-30-10 แต่ปัจจุบันนี้เราจะ บอกนักเรียนว่า อันนั้นคือในหลวงไปช่วยราษฎรที่เป็นเกษตรกร ที่ห่างไกลจากน�้ำ แก้ปัญหาความแห้งแล้ง แต่ว่าความพอเพียง ของในหลวงเรา เราก็ยกพระราชด�ำรัส หลักทรงงาน 23 ข้อ มาว่า ในหลวงท่านสอนให้เราพอเพียงทุกเรื่องยกตัวอย่างเช่น

ดีกว่าไปจ้างเพื่อน หากเธอไปจ้างเพื่อนเธอจะไม่ได้อะไรเลย อันนั้นครูไม่ชอบ ครูชอบความซื่อสัตย์ ครูต่อต้านคนทุจริตจะ บอกเขาอย่างนี้ มี เ ทคนิ ค ยั ง ไงให้ เ ด็ ก หั น มาสนใจสิ่ ง ที่ เ ราก� ำ ลั ง สอน ? ตัวครูไม่ค่อยดุหรอกค่ะ แต่ว่าถ้าไม่ท�ำตามก็จะดุบ้าง เทคนิคที่เด็กชอบก็คือใช้สื่อโซเชียล เราจะหาอะไรใหม่ๆ มาให้ เด็กดูค่ะ ใช้สื่อเกมบ้าง แล้วก็พูดคุย ท�ำตัวเป็นกันเองกับเขาค่ะ เราต้องมีมุข มีหยอกล้อ ไม่ท�ำตัวเป็นคุณครูแก่ๆ ดุๆ มีไม้เรียว เด็กๆ จะไม่ชอบ เราจะต้องศึกษาว่าเด็กวัยรุ่นเขาชอบอะไร อย่างวิชาเศรษฐศาสตร์ เราจะสอนเรื่องการผลิต เรื่องเกี่ยวกับ โฆษณา หนัง เราจะหานักร้อง ดาราวัยรุ่น กลุ่มที่เขาชอบ นัก ร้องเกาหลีบ้าง พอขึ้นจอปุ๊บ ว้าว เขาจะมีชีวิตชีวา เราต้องทัน สมัยด้วยนะคะ ถ้าไม่ทันสมัย ตามเขาไม่ติด ต้องขึ้นสื่อที่เด็กวัย รุ่นชอบ เราก็ยกตัวนั้นมา นักเรียนคะ ดูละครเรื่องนี้ไหม ดูแล้ว เธอรู้สึกยังไงถ้าเธอเป็นคนนี้ คอยแทรกคุณธรรมไปด้วย อย่าง พิธีกรทุกวันนี้ บางคนเขาจะใส่สายเดี่ยวเสียวหลุด อะไรแบบ นี้ นักเรียนว่าสวยไหมคะ สวยครูชอบ แต่ดูแล้วมันขัดแย้งกับ วัฒนธรรมไทยเรา แต่งตัวแบบนี้มันดีไหมลูก สวยไหม มันก็ดี เฉพาะในโลกของละคร แต่ชีวิตจริงเราแต่งแบบนี้ไปเดิน เธอคิด ว่ามันจะปลอดภัยกับชีวิตเราไหมก็ต้องบอกเขาแบบนี้

66 IS AM ARE www.fosef.org


ต้องระมัดระวัง ที่เขาเห็นว่าครูโหดจริงๆ แล้วมันส่วนน้อยมาก คะ ครูจริงๆไม่โหด ดู เ หมื อ นว่ า การศึ ก ษาไทยจะไปคนละทางรึ เ ปล่ า ค น ส อ น อ ยู ่ ท า ง นี้ ค น อ อ ก ข ้ อ ส อ บ อ ยู ่ อี ก ท า ง คนประเมิ น อยู ่ อี ก ทาง ครู ม องตรงนี้ ยั ง ไง ? ใช่ ค ่ ะ เหมื อ นกั บว่ า ตอนนี้ ผู ้ บริ ห ารระดั บ ประเทศไป ดูงานประทศนี้แล้วเขาดีก็เอากลับมา แต่ไม่ได้ดูว่าบริบทของ โรงเรียนแต่ละโรงเรียนเป็นยังไง ไม่ดูภูมิสังคม อย่างหลักสูตร ตอนนี้ไม่เหมือนเดิม หลักสูตรเมื่อก่อนเราจะเรียนเหมือนกัน ทั่วประเทศใช่ไหม แต่ปัจจุบันนี้ก็เหมือนกันอยู่ประมาณ 70% ท้องถิ่นไหนก็เป็นหลักสูตรของท้องถิ่นนั้น เป็นหลักสูตรท้องถิ่น วันนี้ฝนตก หนูใช้ความพอเพียงยังไง หนูต้องศึกษาก่อนไหม ซึ่งมันก็ไม่ได้แตกต่างกัน เมื่อก่อนครูก็เคยเรียนหลักสูตรท้องถิ่น ดูข่าวพยากรณ์อากาศก่อนไหม คือครูจะยกแบบนี้ว่า ดูข่าว เช่น อยู่จังหวัดกาฬสินธุ์ก็เรียนกาฬสินธุ์ แต่ว่าเป็นวิชาเพิ่มเติม พยากรณ์อากาศซิ ว่าพรุ่งนี้จะมีฝนหนูก็ต้องรอบคอบ ท�ำยังไงคะ ส่วนแกนกลางก็จะเรียนเหมือนกัน เวลาสอบก็จะวัดกันได้ รอบรู้ก็คือรู้แล้วว่ามีฝนตก พอประมาณหนูจะท�ำยังไง ก็ต้องตื่น แต่เช้าวางแผน มีเหตุมีผลยังไง บอกเขา ถ้าเราศึกษาเรียบร้อย ครู ใ นฝั น ส� ำ หรั บ คุ ณ ครู เป็ น ยั ง ไง ? เป็นคุณครูที่ใจดี เข้าถึงเด็ก เด็กให้ความเคารพเชื่อฟัง แล้วเราก็ต้องเตรียมร่มมา การเตรียมร่มมาเป็นภูมิคุ้มกันของ แล้วก็มีวินัย ไม่ได้ต้องการให้เคารพแบบเกรงกลัว ครูในฝันก็ หนูไหม พยายามสอดแทรกค่ะ คือครูที่สามารถสอนหนังสือนักเรียน แล้วนักเรียนประสบผล ในอายุ ร าชการที่ เ หลื อ อยู ่ ค รู อ ยากเห็ น อะไรในเด็ ก ส�ำเร็จ อยากจะให้เด็กๆ เติบโตไปเป็นคนดีแล้วก็ไปอยู่ในสังคม ได้ไม่ว่าจะอาชีพอะไร ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ได้ นั ก เรี ย น ในครู ในโรงเรี ย น ? ครูอยากจะเปลี่ยนแนวคิดของผู้บริหารประเทศค่ะ ว่า เป็นผู้บริหารระดับใหญ่โต แต่ถ้าเขาจบออกไป แล้วเขาสามารถ อย่ า มุ ่ ง เน้ น แต่ วิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยี ม าก อยากให้ ล งมา อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นั่นแหละคือครูในฝันอยากให้ สัมผัสถึงชีวิตจริงๆ ของนักเรียน ว่าท�ำยังไงเราถึงจะส่งเสริม เป็นแบบนั้นค่ะ ให้เด็กของเราเป็นคนดี เพราะว่าตอนนี้ มองว่าวัฒนธรรมของ เด็กเรามันเปลี่ยน ครูอยากจะให้ทุกคนเป็นคนดี รักตัวเอง รัก ครอบครัว รักประเทศชาติ อยากให้มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ของประเทศไทยจริงๆ เหมือนกับ ภูฏาน แต่งตัวเป็นเอกลักษณ์ มีอะไรที่เป็นของตนเองทุกอย่าง และพัฒนาประเทศเราให้เป็น ที่ยอมรับ เอาสิ่งดีๆ ของเราไปพัฒนาประเทศ ถ้าประเทศไทย มีความสุข โรงเรียนของเราถึงจะมีความสุข ไม่ใช่สั่งเปลี่ยนอย่างเดียว แต่ไม่ได้ลงมาศึกษาว่าครูกับ นักเรียนต้องการอะไรจริงๆ ทุกวันนี้เราท�ำตามนโยบายเก่ายัง ไม่ทันเสร็จ เอาตัวใหม่มาอีกแล้ว คือเขาไม่ได้ศึกษาข้อมูลจริงๆ ครูอยากให้เป็นการศึกษาแบบเดิม แบบสมัยที่ครูเรียน เขาบอก ว่าไม่ให้ท่องแบบนกแก้วนกขุนทอง แต่ถ้าไม่ท่องเด็กๆ จะจ�ำไม่ ได้นะ อยากให้เอาจริงเอาจังเหมือนเมื่อก่อน เขียนก็เขียนจริงๆ ได้จริงๆ อะไรประมาณนี้ค่ะ ตอนนี้มีนโยบาย ห้ามติด 0 ห้าม ติด ร. ห้ามตี พอตีหน่อยผู้ปกครองบางคนก็จะไปฟ้องซึ่งครูก็ 67 issue 121 February 2018


68 IS AM ARE www.fosef.org


พ่ อ แม่ ยุ ค ใหม่

รักลูกอย่าให้ดูทีวี

โดย พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ

โลกทุกวันนี้ เปลี่ยนแปลงวิถีการเลี้ยงดูลูกของคนไทย ไปอย่างมากมาย กล่าวคือ ผู้ใหญ่มักพึ่งพาอุปกรณ์อิเล็คโทรนิก เช่น ทีวี มือถือ แทปเลต คอมพิวเตอร์ (ต่อไปคือ อุปกรณ์วิดิโอ เสมือนจริง) ฯ จึงขอแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้กับคุณพ่อ คุณ แม่ คุณครู ในเรื่อง “โทษของอุปกรณ์อิเล็คโทรนิก ขั้นต้นง่ายๆ คือ ผลของทีวีต่อสมองและการเรียนรู้ของลูก” พ่อแม่จ�ำนวน มากมีความเข้าใจว่า การให้ลูกดูทีวีจะช่วยส่งเสริมให้ลูกเรียนรู้ ได้เร็วและมากขึ้น โดยเฉพาะในยุคสมัยที่เศรษฐกิจบริโภคนิยม บีบรัดตัว ความต้องการ ความอยากทันสมัย อยากให้ลูกได้ ทัดเทียมคนอื่นๆ พ่อแม่พยายามหาเงินหาทองมาส่งเสียลูกๆ ให้เรียนสูง ซื้อสิ่งของ เครื่องอ�ำนวยความสะดวก ของเล่น ให้ ลูกตั้งแต่ยังเล็กๆ เดี๋ยวนี้ถ้าเราเดินเข้าไปตามหมู่บ้านต่างๆ ทั้ง ในเมืองและชนบท แทบจะไม่มีบ้านใดเลยที่ไม่เปิดทีวี และเราก็ จะเห็นภาพพ่อแม่ลูกนั่งทานข้าวร่วมกันหน้าทีวี ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ ได้พูดคุยอะไรกันมากนัก เมื่อจบรายการที่ชอบแล้ว ก็ถึงเวลาลูก นอน ทีวีได้แย่งเวลาที่พ่อแม่ลูกจะใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพ

น้อยลงไปอีกที่ตั้งใจดูทีวีเพื่อติดตามสาระความรู้ ทุกคนจึงเห็น ตรงกันว่า ในจิตใต้ส�ำนึกที่ผลักดันให้เราเปิดทีวีดู ก็คือ บันเทิง ส่วนมาก ก็มักจะติดตามละคร (น�้ำเน่า) ทั้งที่พอเริ่มเรื่อง ทุกคนก็ พอจะเดาออกแล้วว่า ตอนจบจะเป็นอย่างไรรวมถึงเกมโชว์ ส่วน เด็ ก อายุ ต�่ ำ กว่ า 6 ปี ไม่ ค วรดู ที วี และพ่ อ แม่ ไ ม่ รายการข่าว แม้จะมีสลับบ้างเป็นระยะๆ ก็ถือว่าอยู่ในสัดส่วนที่ ควรใช้ อุ ป กรณ์ อิ เ ล็ ค โทรนิ ก เลี้ ย งลู ก เพราะเด็ ก น้อยกว่ารายการบันเทิงมาก ปฐมวั ย จนถึ ง ประถมศึ ก ษา ต้ อ งการการพั ฒ นา ถ้าเราลองหันมาเจาะให้ลึกขึ้นไปอีก นอกจากบันเทิง ผ่ า นประสาทสั ม ผั ส ทั้ ง 6 อย่ า งสมบู ร ณ์ ก่ อ นจะ จากละคร เกมโชว์ แล้ว สิ่งที่เราได้โดยไม่รู้ตัวก็คือ โฆษณา ซึ่ง เริ่ ม เข้ า วั ย รุ ่ น จริงๆ ทุกรายการเขาตั้งใจให้เราดูโฆษณามากกว่าดูรายการ ของเขา เพราะสัดส่วนรายการกับโฆษณา เกือบพอๆ กันที เดียว ดังนั้น แม้เราไม่ตั้งใจดู แต่เพราะรายการโฆษณาเจาะจง ก่อนจะไปต่อกันเรื่องนี้ อยากชวนนั่งพิจารณาสักหน่อย ฉายให้เราเห็นด้วยความถี่สูงมาก เช่นในหนึ่งชั่วโมง เราอาจ ว่า เราได้รับอะไร หรือเรียนรู้อะไรจากทีวีบ้าง ยังไม่ต้องพูดถึง ได้เห็นโฆษณา (ที่แม้ว่าจะสั้นเพียงรายการละ 30-60 วินาที) เด็กๆ เริ่มจากผู้ใหญ่รุ่นของเรากันก่อน ในวัยสูงอายุ ถ้ามีเวลา ด้วยภาพและเสียงที่ซ�้ำๆ กันถึง 4-5 ครั้ง ซึ่งการท�ำภาพยนตร์ ว่างพอสมควรหลายๆ คนคงเปิดทีวีดู เคยถามตัวเองไหมคะว่า โฆษณาปัจจุบันใช้เทคนิคสูงมาก ท�ำให้ดึงความสนใจและจดจ�ำ เราดูทีวีท�ำไม ..... ค�ำตอบแรกที่ดิฉันมักจะได้ก็คือ .... ได้ความรู้ ในจิตใต้ส�ำนึกของเราไปนาน เพราะฉะนั้นพอดูโฆษณาไม่กี่วัน ดูข่าว ติดตามสถานการณ์บ้านเมือง .... แต่เมื่อถามต่อไปว่า ลอง เราก็จ�ำภาพ เสียง เพลง และสิ่งที่เขาอยากบอกเรา จูงใจให้เรา ทบทวนสักนิดว่า เราดูรายการอะไรบ้าง เป็นข่าว ความรู้ หรือ ซื้อเราใช้อย่างไม่รู้ตัวเลย และนั่นคือ กลยุทธ์ที่รายการทีวีท�ำกับ บันเทิง อย่างละสักกี่เปอร์เซ็นต์ ส่วนมากเมื่อได้มีเวลาทบทวน สมองของเราที่เป็นผู้ใหญ่ นับประสาอะไรกับเด็ก แล้ว ก็จะให้ค�ำตอบว่า ส่วนใหญ่รายการทีวีบ้านเรามีแต่รายการ คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกหลานในวัยต�่ำกว่า 6 ปี จะสังเกต บันเทิง “ละคร เกมโชว์” มีรายการสาระน่ารู้น้อยมาก และก็มี ว่า ลูกๆ สามารถจดจ�ำโฆษณาได้อย่างรวดเร็วกว่าเรามาก เด็กๆ 69 issue 121 February 2018


รู้จัก “ช้อน” ถ้าให้ดูภาพช้อน หรือมีเสียงเคาะช้อน เท่านั้น ลูก ก็จะรู้จักช้อนแบบแบนๆ ไม่ใช่ช้อนที่เป็นช้อนจริงๆ เพราะไม่เคย สัมผัสตัวช้อนว่ามีความลึก หนา บาง ผิวสัมผัสอย่างไร ร้อนเย็น แค่ไหนเมื่อเอามือจับ เพราะฉะนั้นถ้าลูกไม่เคยจับช้อนเลย เพียง เห็นภาพและเสียงในทีวี ความทรงจ�ำของลูกเกี่ยวกับช้อน ก็ไม่ใช่ ช้อนจริงๆ แต่เป็นช้อนที่จ�ำลองขึ้นเท่านั้น ยกตัวอย่างเรื่องง่ายๆ เพียงเท่านี้ ก็คงพอเข้าใจว่า ทีวีไม่ได้ให้สิ่งที่เด็กควรจะได้ และ แถมยังท�ำลายสมองส่วนอื่นๆ ทางอ้อมด้วย ขอทิ้งไว้แค่นี้ก่อน ฝากให้ไปคิดกันให้หนัก ถ้าอยากจะ ลองส�ำรวจด้วยตัวเอง วันนี้อ่านบทความนี้แล้ว ลองเปิดทีวี นั่ง ดูคนเดียวอย่างสงบ หาปากกา กระดาษ นาฬิกา มาบันทึกว่า แต่ละชั่วโมงท่านได้เห็นภาพอะไร ได้ยินเสียงอะไร ได้เรียนรู้ อะไร จริงๆ จากทีวีบ้าง และการที่เสียเวลามานั่งดูทีวี เทียบ กับไปปฏิบัติภารกิจอื่น หรืออ่านหนังสือ เราสูญเสียอะไรไปบ้าง แล้วหันมาดูเจ้าตัวเล็กของเราว่า ถ้าเราเลี้ยงลูกด้วยทีวี ลูกเรา จะฉลาดจริงหรือ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กในต่างประเทศ ได้ตัก เตื อ นพลเมื อ งของเขาถึ ง โทษของการดู ที วี ถึ ง กั บ ประกาศ มาตรการว่า เด็กอายุต�่ำกว่า 6 ปี ไม่ควรดูทีวี และพ่อแม่ไม่ ควรใช้อุปกรณ์อิเล็คโทรนิกเลี้ยงลูก เพราะเด็กปฐมวัย จนถึง ประถมศึกษา ต้องการการพัฒนาผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 6 อย่าง สมบูรณ์ ก่อนจะเริ่มเข้าวัยรุ่น เพื่อให้เขาเติบโตอย่างมนุษย์ มิใช่เครื่องจักรมีชีวิต โดยเฉพาะจิตใจ จิตส�ำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม ต้องการการปลูกฝัง หล่อหลอม ยาวนาน

ถ้าลองได้เคยดูโฆษณาแล้ว ก็มักจะชอบเพราะโฆษณามีเพลง ประกอบที่เร้าใจ สนุก มีภาพที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สีสันน่าตื่น ตาตื่นใจ โดยเฉพาะโฆษณาขนม หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของเด็ก เขาก็จะต้องท�ำให้เตะตาเตะใจกลุ่มเป้าหมาย อยากขายขนม ให้เด็กๆ ก็ต้องท�ำให้โฆษณาเร้าใจชวนให้อยากรับประทานขนม นั้น นักออกแบบภาพยนตร์โฆษณา ก็ต้องหาเทคนิคที่จะหลอก สมองของเราให้ชอบตั้งแต่แรกเห็น ท�ำให้เราอยากลิ้มลองรสชาติ เด็กๆ ทีเ่ คยดูหนังโฆษณามักจะร้องเพลง หรือเต้นตามภาพทีเ่ ห็น ผู้ใหญ่เห็นลูกก็เอ็นดูว่าลูกเก่ง ท�ำได้ สิ่งที่คุณเห็นลูกท�ำตามทีวี ไม่ใช่เรื่องน่าชื่นชมเลย เพราะไม่ได้ยากอะไรเลยส�ำหรับลูกที่ มีสมองอัจฉริยะ (เด็กทุกคนล้วนมีสมองอัจฉริยะทั้งสิ้น เพราะ เรียนรู้ได้เร็วมากกว่าผู้ใหญ่เยอะ) แป๊บเดียวลูกก็จ�ำได้ และท�ำ ตามได้แล้ว .... แต่หยุดก่อน ..... นี่คือสิ่งที่เราอยากให้ลูกเรา ท�ำได้หรือเรียนรู้จริงหรือ... อันที่จริงภาพและเสียงในทีวี กระตุ้นเพียงสมองบางส่วน ของเด็กๆ เท่านั้น นั่นคือ ส่วนของการมองเห็นภาพ (ในลักษณะ เพียง 2 มิติ อย่าลืมว่าภาพในทีวี ไม่มีทางท�ำให้เหมือนจริงได้ ยกเว้นในยุคต่อไป) และเสียง เท่านั้น ทุกท่านจึงต้องท�ำความ เข้าใจ ถึงวิธีเรียนรู้ของเด็ก และสิ่งที่ผู้ใหญ่ควรท�ำ นั่นคือ ต้อง ให้ลูกได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 6 เพราะฉะนั้น ทีวีก็ไม่ สามารถตอบสนองได้เลย แถมยังเป็นการท�ำลายสมองส่วนรับ ประสาทสัมผัสอื่นๆ เพราะท�ำให้ฝ่อไป เนื่องจากไม่ถูกใช้งาน เท่าที่ควร และการที่เด็กเรียนรู้เพียงภาพและเสียง เด็กจะไม่ สามารถเข้าใจเรื่องที่ปรากฏนั้นได้จริงๆ เช่น ถ้าเราอยากให้ลูก

70 IS AM ARE www.fosef.org


สามั ค คี ห รื อ การปรองดองกั น ไม่ ไ ด้ ห มายความว่ า คนหนึ่ ง พู ด อย่ า งหนึ่ ง ...คนอื่ น ต้ อ งพู ด เหมื อ นกั น หมด ลงท้ า ยชี วิ ต ก็ ไ ม่ มี ค วามหมาย ต้ อ งมี ค วามแตกต่ า งกั น แต่ ต ้ อ งท� ำ งานให้ ส อดคล้ อ งกั น แม้ จ ะขั ด กั น บ้ า ง...ก็ ต ้ อ งสอดคล้ อ งกั น

พระราชด� ำ รั ส พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช บรมนาถบพิ ต ร พระราชทานแก่ ค ณะบุ ค คลต่ า งๆ ในโอกาสวั น เฉลิ ม พระชนมพรรษา ๔ ธั น วาคม ๒๕๓๖

71 issue 121 February 2018


“สันติภาพต้องเริ่มที่ตัวเรา ข้างในจิตใจ” ท่านทูตแห่งศิลปะยึกยือ : พลเดช วรฉัตร

จากความสนใจการปฏิ บั ติ ธ รรมมาตั้ ง แต่ เ ด็ ก ๆ ทั้ ง ชอบศึ ก ษาเรื่ อ งราวในพระพุ ท ธศาสนาและวั ฒ นธรรมของ ประเทศต่ า งๆ สั่ ง สมมาจนถึ ง ปั จ จุ บั น เมื่ อ เกษี ย ณอายุ ร าชการ พลเดช วรฉั ต ร อดี ต เอกอั ค รราชทู ต ไทย ณ กรุ ง โคลั ม โบ จึ ง น� ำ มาถ่ า ยทอดเป็ น งานศิ ล ปะที่ ต นชื่ น ชอบ ภายใต้ แ นวทางที่ ตั้ ง ชื่ อ ขึ้ น เองว่ า “ศิ ล ปะ ยึ ก ยื อ ” 72 IS AM ARE www.fosef.org


ทะเลมั ล ดี ฟ ส์ : จุ ด เริ่ ม ต้ น ของศิ ล ปะยึ ก ยื อ เมื่อครั้งมีโอกาสไปเยือนทะเลมัลดีฟส์ ประเทศศรีลังกา ในสมัยที่ยังเป็นเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโคลัมโบ ท�ำให้เกิด ความประทับใจในบรรยากาศความงามของน�้ำทะเล แสงแดดที่ กระทบระยิบระยับกับผิวน�้ำ ก่อเกิดเป็นประกายเล็กๆ นับล้าน ดวง ยังความตรึงใจจนท�ำให้ท่านทูตพลเดช กลับมาหยิบปากกา ด�ำบันทึกภาพความประทับใจนั้นไว้ในสมุดบันทึกแบบไม่ยุ่งยาก ในลักษณะที่เรียกว่าศิลปะยึกยือ “ศิลปะยึกยือคือการวาดลายเส้นวงไปวงมาอย่างอิสระ เสรีเป็นภาพตามจินตนาการ ค�ำว่ายึกยือคือการลากเส้นวงไปวง มาโดยไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ผมเริ่มท�ำศิลปะยึกยือเมื่อปี 2556 แล้วในช่วงที่เป็นทูตอยู่ศรีลังกา ได้มีโอกาสไปเยือนมัลดิฟส์ ด้วย ความประทับใจในความงดงามของทะเลสีเขียวคราม มองเห็น ประการังอย่างชัดเจน ดูระยิบระยับยามต้องแสงแดด ความ ประทับใจนี้ท�ำให้เมื่อกลับมาโคลัมโบ ผมจึงวาดลายเส้นที่วงไป วงมาตามจินตนาการความสวยงามของทะเลมัลดิฟส์ ก่อนหน้า นี้ เคยวาดภาพเป็นงานอดิเรกโดยเริ่มจากวาดภาพสีน�้ำมัน สีน�้ำ สีอะครีลิค แต่ในกรณีที่ไม่มีเวลามากก็จะแค่วาดลายเส้นเพื่อ ความเพลิดเพลิน” ด้วยภาระหน้าที่และเวลาจ�ำกัด ท�ำให้ท่านทูตพลเดช รู้สึกว่าการวาดแบบยึกยือนั้นสะดวกสบาย เพราะใช้ปากกา แท่งเดียวเดินทางไปกับจินตนาการของตนเองบนหน้ากระดาษ เท่านั้น เป็นต้นทุนในการสร้างงานศิลปะที่ใช้อุปกรณ์น้อยและ หาได้ใกล้มือ สามารถวาดได้ทุกที่สร้างความเพลิดเพลินไม่แพ้ งานศิลป์อื่นๆ “การวาดแบบยึกยือนอกจากเป็นงานศิลปะแบบติดดิน สะดวกเพลิดเพลินแล้วยังเป็นการฝึกสมาธิด้วย ขณะเดียวกัน ต้องรู้จักวางแผน เพราะไม่สามารถยึกยือได้ทั้งภาพ แต่ต้อง แบ่งยึกยือในเวลาและอารมณ์ที่เหมาะสมคือสงบและเป็นสมาธิ เท่านั้น” การวาดแบบยึ ก ยื อ ท่านทูตพลเดช อธิบายว่า จากประสบการณ์สร้างผลงาน ศิลปะยึกยือมา 4 ปี จ�ำนวนกว่า 300 ภาพ หลังจากเกษียณอายุ ราชการ สรุปได้ว่าศิลปะยึกยือคือการวาดภาพโดยใช้เฉพาะลาย เส้นสีด�ำที่หลากหลาย โดยเฉพาะลายเส้นยึกยือเพื่อให้เกิดเป็น ภาพตามจินตนาการ ภาพที่ได้จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคล้ายผ้า ปัก โดยมีอุปกรณ์เบื้องต้น คือกระดาษวาดภาพ 100 กรัม ขนาด

A4 ซึ่งท�ำให้สะดวกในการวาด และปากกาลูกลื่นธรรมดา ขนาด 0.5 ใช้สีด�ำเพียงสีเดียวเท่านั้น “วิ ธี ว าดที่ ผ มค้ น พบด้ ว ยตั ว เองอย่ า งบั ง เอิ ญ คื อ การ ลากปากกาเป็นวงรีคล้ายตัวอักษร e ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า 1 ยึกยือ จากนั้นก็ลากต่อเนื่องกันไปเป็น 2 3 4 จึงปรากฏเป็น ลายเส้นยึกยือที่ต่อเนื่องกันโดยยกปากกาให้น้อยที่สุด ลายเส้น แบบนี้เองที่เป็นที่มาของค�ำว่ายึกยือ (มือกับปากกาที่ยึกยือ) ซึ่ง ผมน�ำไปใช้ในการสร้างภาพศิลปะยึกยือมาจนถึงปัจจุบัน ลาย เส้นยึกยือน�ำไปวาดอะไรก็ได้ มีความงามและมีเสน่ห์ในตัวของ เขาเอง” จากการลากเส้นเป็นตัว e ติดต่อกันในขนาดเท่ากันหรือ แตกต่างกันนี้เอง ก่อเกิดความจดจ่อและสร้างสมาธิให้ผู้วาด เป็นอย่างดี คุณพลเดชจึงใช้เทคนิคนี้ฝึกสมาธิให้กับเด็กๆ เมื่อ มีโอกาส ทั้งยังยินดีฝึกให้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจแนวทางการฝึก อบรมจิตใจตนเองด้วยงานศิลปะชนิดนี้อีกด้วย “การที่ต้องลากเส้นเป็นวง ท�ำให้ต้องมีสมาธิจดจ่อและ สติในระดับหนึ่งเพื่อที่จะลากเส้นยึกยือให้ต่อเนื่อง เท่ากันและ เป็นระเบียบ หากไม่มีสมาธิก็จะส่งผลท�ำให้การยึกยือออกมา ไม่เป็นระเบียบ ซึ่งเป็นไปตามสภาพจิตใจของผู้วาดในขณะนั้น

73 issue 121 February 2018


ต้องใช้การวางแผนในการวาดเพราะไม่สามารถจะวาดให้เสร็จ สอดประสานธรรมะเข้ า กั บ ศิ ล ปะ ได้ในทันทีจึงต้องวางแผนว่าจะท�ำอย่างไรจึงจะเสร็จเป็นส่วนๆ เพราะเป็นผู้ที่สนใจในธรรมะและการปฏิบัติธรรมมา จนกว่าจะเสร็จทั้งภาพ” ตั้งแต่เด็ก นอกจากจะเรียนจบปริญาเอกที่ประเทศฝรั่งเศสซึ่ง ถือเป็นการเรียนทางโลกแล้ว ท่านทูตพลเดชยังปลีกเวลาไปเรียน ผลดี แ ก่ ผู ้ ว าด ทางธรรมจนสามารถสอนวิปัสสนาได้ ท�ำให้งานศิลปะยึกยือใน ท่านทูตพลเดช มองว่าการลากเส้นวงไปวงมาในแบบ เวลาต่อมาเต็มไปด้วยธรรมะที่แฝงอยู่อย่างกลมกลืน ซึ่งสะท้อน ของศิลปะยึกยือเป็นรูปแบบการฝึกจิตอย่างหนึ่ง ต้องใช้ความ ถึงจิตใจอันเงียบสงบ สมถะ ซึ่งเจ้าตัวถือเป็นการฝึกสมาธิขั้น อดทน ฝึกการวางแผนการท�ำงาน และค่อยๆ ท�ำเป็นส่วนๆ พื้นฐาน เดินทางไปกับเส้นสายอันปราณีตไม่รู้จบ ท่านทูตพล ด้วยความพอดีเท่าที่ท�ำได้ เพราะไม่สามารถท�ำให้เสร็จในครั้ง เดชมองว่า การท�ำศิลปะชนิดนี้นอกจากเป็นผลดีกับเด็กๆ แล้ว เดียวได้ ยังเป็นประโยชน์มากกับผู้สูงอายุอีกด้วย เพราะท�ำให้เกิดสติ “เป็ น การฝึ ก ให้ รู ้ จั ก การสร้ า งจิ น ตนาการเพราะการ ความอดทนและปัญญา ซึ่งใครๆ ก็สามารถท�ำได้ ยึกยือนั้นง่าย ใช้เฉพาะลายเส้น ไม่เน้นสวยงามด้วยสีสัน แต่ “สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กายกับจิตท�ำงานด้วยกันเพื่อการลาก มุ ่ งเน้ น การท� ำ จิ น ตนาการให้เป็น รูป ธรรมด้ว ยลายเส้ น จาก เส้นในปัจจุบันขณะ ดังนั้น สมาธิกับสติเกิดตรงนั้นครับ ศิลปะ ประสบการณ์ที่ได้น�ำไปสอนแก่เด็กๆ ตามที่ต่างๆ ประสบผลดี ยึกยือฝึกความอดทน ความละเอียดและจินตนาการครับ เมื่อ อย่างยิ่ง เด็กๆ ตื่นเต้นและสนุกกับการวาดลายเส้น และเป็นการ ใจมีสมาธิ มีสติ ก็คือสันติภาพที่เกิดในใจครับ ศิลปะยึกยือจึง ฝึกสมาธิ สติของเด็กได้ดีมากครับ” ส่งเสริมสันติภาพในใจคนด้วย การพัฒนาคน พัฒนาเยาวชน สิ่ง 74 IS AM ARE www.fosef.org


75 issue 121 February 2018


76 IS AM ARE www.fosef.org


ส�ำคัญที่สุดคือการพัฒนาจิตข้างในครับ ให้เป็นบวก เป็นกุศล มี พลังเข้มแข็ง ถ้าข้างในยังท�ำไม่ได้ คนไม่เปลี่ยน สังคมไม่มีทาง เปลี่ยนครับ สันติภาพต้องเริ่มที่ตัวเรา คือข้างในจิตใจครับ” ภาพแห่ ง ความภู มิ ใ จ “ทีละก้อนซ้อนเหนือเกล้าเจ้าแห่งสยาม สามชั่วยามตั้งใจสร้างด้วยพลังฝัน ด้วยส�ำนึกพระมหากรุณาธิคุณอนันต์ ทุกความดีนั้นถวายผู้ทรงธรรม” คือกลอนประกอบภาพในหลวงรัชกาลที่ 9 ในแบบศิลปะ ยึกยือซึ่งคุณพลเดชใช้เวลา 3 วัน 3 คืนในการวาด เพื่อถวาย ความอาลัย และภาพนี้ถูกน�ำไปแสดงร่วมกับศิลปินอาชีพระดับ ประเทศหลายท่านที่สยามดิสคัฟเวอร์รีและโรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิแอร์พอร์ต ท�ำให้เจ้าตัวรู้สึกภาคภูมิใจเป็นพิเศษหลัง จากทดลองงานศิลปะในแบบของตัวเองมาหลายปี “เป็นที่ทราบกันดีว่าความจงรักภักดีของพสกนิกรชาว ไทยต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น มี ม ากมายและชั ด เจนในช่ ว งเวลาที่ ผ ่ า นมา ชาวไทยเราต่ า ง ประจักษ์และส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ โดยเหล่า ศิลปินได้น้อมเกล้าฯ ถวายอาลัยแด่พระองค์อย่างถ้วนหน้ากัน งานแสดงนิทรรศการดังกล่าวผ่านพ้นไปด้วยดี ในส่วนของผม ในฐานะที่ริเริ่มวาดศิลปะแบบยึกยือเป็นคนแรก ถือว่าได้ร่วม ท�ำความดีถวายพ่อหลวง ด้วยการน้อมเกล้าฯ ถวายอาลัยผ่าน ภาพศิลปะยึกยือนี้ครับ ด้วยความส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ภาพนี้ตั้งใจวาดมากและใช้เวลาวาดตามแนวของศิลปะยึกยือ นาน 3 วัน 3 คืนกว่าจะเสร็จ เป็นอีกภาพที่ภูมิใจเป็นที่สุด ครับ” ปัจจุบัน ท่านทูตพลเดชก�ำลังวาดภาพเพื่อเป็นการร�ำลึก และส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยยก เอาภูเขาไฟฟูจิเป็นดั่งสัญลักษณ์ตัวแทนอันนิรันดร์ แฝงนัยยะ ความสัมพันธ์ลึกซึ้งระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น “ตอนนี้ก�ำลังวาดศิลปะยึกยือภูเขาไฟฟูจิครับ เพราะ เชื่อมโยงฟูจิยามาซึ่งเป็นมรดกโลกของญี่ปุ่นกับในหลวงของเรา ซึ่งมีความสัมพันธ์พิเศษกับราชวงศ์ญี่ปุ่นครับ และเมื่อในหลวง เสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว ก็คือฟูจิที่ตั้งเป็นนิรันดร์ พอเห็นความ งามของฟูจิ ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่สวยที่สุดในโลก ก็ร�ำลึกและส�ำนึก ในพระมหากรุณาธิคุณครับ” แม้ จะสร้างงานในฐานะศิลปิน คนหนึ่ง แต่ จุ ด เริ่ มต้ น ของคุ ณ พลเดชเกิ ด จากความรั ก ในศิ ล ปะ และใช้ เ พื่ อ ความ เพลิดเพลิน ฝึกสมาธิให้กับตนเองในยามว่างเท่านั้น ทว่ากลับ

กลายเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร หากจะคล้ายกับแนวทาง การวาดวนไปเวียนมาที่เรียว่า Curlicue Art แต่ก็ยังไม่เหมือน งานศิลปะยึกยือเสียทีเดียว จนมีผู้กล่าวยกย่องว่า งานศิลปะ ยึกยือในแบบของ พลเดช วรฉัตร มีหนึ่งเดียวในโลก ซึ่งเจ้าตัว ไม่มีความคิดที่จะจดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด “ผมไม่คิดจดลิขสิทธิ์นะครับ เราส่งต่อให้ผู้อื่นดีกว่า” ท่านทูตพลเดชกล่าวทิ้งท้าย ผู ้ ส นใจศิ ล ปะยึ ก ยื อ เพื่ อ การฝึ ก จิ ต ฝึ ก สมาธิ หรื อ ต้องการศึกษาเรียนรู้งานศิลปะตามแนวทางของคุณพลเดช วรฉัตร สามารถติดต่อได้ที่เพจเฟสบุ๊ก www.facebook. com/poldej.yukyur

77 issue 121 February 2018


ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ม่อนเงาะ จ.เชี ยงใหม่ 78 IS AM ARE www.fosef.org


ณ ภูเขาสูงอันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านม่อนเงาะ อ�ำเภอ แม่แตง แต่เดิมเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขา เผ่าม้ง ซึ่งมักจะ ด�ำรงชีพด้วยการปลูกฝิ่นและมีฐานะยากจน โครงการหลวงจึง เริ่มพัฒนาและส่งเสริมการปลูกผัก เป็นล�ำดับแรก โดยเน้นแก้ ปัญหาพื้นที่สูงชัน ยากต่อการเพาะปลูก พืชผักที่เลือกปลูกจึง ต้องเหมาะสมที่สุดกับพื้นที่เนินเขา เช่น ผักกาดสายพันธุ์ต่างๆ กะหล�่ำปลี นานาชนิด ฟักทองญี่ปุ่น หัวไชเท้าญี่ปุ่น ฯลฯ วิธี การปลูก ที่ผ่านการวิจัยมาแล้วนั้น ทางโครงการหลวงได้ส่งต่อ ให้กับเกษตรกร เนรมิตพื้นที่เทือกเขาแห้งแล้งให้กลับกลายเป็น อีกหนึ่งวิวงดงามให้ได้เยี่ยมชม หลังจากได้รับการฟื้นฟูผืนป่าท�ำให้ดอยม่อนเงาะกลับ มา เขียวชอุ่มและงดงามขึ้นอีกครั้ง กลายเป็นจุดท่องเที่ยวใน ฝันของนักท่องไพร ทางโครงการจัดเตรียมบ้านพักแสนสบาย ให้บริการ พร้อมร้านอาหารที่จัดเสิร์ฟอาหารพื้นเมืองคุณภาพดี แขกที่มาเยือนจะได้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรไปด้วยจากแปลง ไม้ดอก และพืชผักต่างๆ รวมไปถึงไร่ชา ไร่กาแฟ ที่เรียงรายอย่าง งดงาม “เมื่อเผชิญปัญหา พื้นที่ราบมีน้อย ทั่วบริเวณล้วนเป็น เทือกเขา ยากต่อการ เพาะปลูก นักวิชาการเกษตรของโครงการ หลวงจึงต้องท�ำงานหนัก เพื่อค้นหาทางแก้ไขปัญหาด้านพื้นที่ท�ำ • หากเดินทางมาในฤดูฝนควรเลือกเดินทางด้วย กินของม่อนเงาะ” รถโฟร์วีล • ผ้าปักและท้อลายของชาวเขาเผ่าม้งเป็นอีกหนึ่งช้อป ปิ้งลิสต์ที่น่าซื้อหากลับไปเป็นของที่ระลึก

ทริปตัวอย่าง

2 วั น 1 คื น เส้ น ทางท่ อ งเที่ ย วโครงการหลวง จ.เชี ย งใหม่ วันแรก ช่วงเช้า • โครงการหลวงม่อนเงาะ สัมผัสวิถีชาวม้ง ชมแปลง ปลูกชาลุงเดช โรงเพาะเห็ดระบบปิด แปลงกล้วยไม้ซิมบิเดียม ภูมิปัญญาการท�ำเหมี้ยงแบบดั้งเดิม ช่วงบ่าย • ดอยหลวงเชียงดาว ชมพรรณไม้หายากที่เดียวในไทย เช่น ค้อเชียงดาว สิงโตเชียงดาว วันที่สอง ช่วงเช้า • เยี่ยมชมโครงการหลวงห้วยลึก ช่วงบ่าย 79 issue 121 February 2018


• แปลงส่งเสริมไม้ดอก สารพันดอกไม้แปลกตาอย่าง ไม้ ใบวานิลลา ซิมบิเดียม และกล้วยไม้นานาพรรณ กิ จ กรรมห้ า มพลาด • กางเต็นท์ค้างคืน และตื่นขึ้นมา ชมความงดงามยาม พระอาทิตย์ขึ้นที่จุดชมวิวดอยม่อนเงาะ ศู น ย์ พั ฒ นาโครงการหลวงม่ อ นเงาะ ม.4 ต.เมืองก๋าย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โทร.08-1025-1002 เปิดให้เข้าชม : ทุกวัน เวลา 08.00-18.00 น. ฤดูท่องเที่ยว: ตลอดปี การเดิ น ทาง วิ่งเส้นทางหลวงสาย 107 มุ่งหน้า ไปทางแม่ริม ตรงไป ราว 30 กม. เมื่อถึงอ�ำเภอแม่แตงให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวง สาย 1095 วิ่งตรงไปประมาณ 13 กม. ให้เลี้ยวขวา ตามป้าย ของโครงการ วิ่งตามทาง มาอีกประมาณ 7 กม. ให้เลี้ยวซ้าย ไปก็จะถึงที่หมายคือบ้านม่อนเงาะ ถนนปลายทางค่อนข้างแคบ ควร ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง

• เรียนรู้วิถีพอเพียงที่ ดารา ดาเล บ้านดินฟาร์ม • เดินเล่นถนนคนเดินท่าแพ เชียงใหม่

ห้ามพลาด

ที่ เ ที่ ย วห้ า มพลาด • หมู่บ้านเหล่าพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว สัมผัสวิถีชีวิตและ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวพื้นเมือง • ไร่ชาสวนลุงเดช จิบชาพร้อมชมวิวสวย ที่เน้นปลูกชา และยังมีสวนเงาะ ส้ม มะขามให้เข้าชมด้วย 80 IS AM ARE www.fosef.org


81 issue 121 February 2018


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดี ๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org 82

IS AM ARE www.fosef.org


เผยผิ ว ใสไร้ ริ้ ว รอย ด้ ว ย สบู ่ ว ่ า นหางจระเข้ ภั ท รพั ฒ น์ คุ ณ ค่ า จากว่ า นหางจระเข้ ที่ ช ่ ว ยลดรอยแดงจากการอั ก เสบของผิ ว ที่ โ ดนแดด ลดเลื อ นริ้ ว รอย ฝ้ า กระ จุ ด ด่ า งด� ำ เพิ่ ม ความชุ ่ ม ชื่ น ให้ ผิ ว ไม่ แ ห้ ง กร้ า น เมื่ อ ใช้ เ ป็ น ประจ� ำ ผิ ว หน้ า กระจ่ า งใสขึ้ น อย่ า งเป็ น ธรรมชาติ สามารถหาซื้อได้ที่ร้านภัทรพัฒน์ทุกสาขาหรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ทาง Facebook/Patpat9 ภัทรพัฒน์สินค้าจากมูลนิธิชัยพัฒนา และ www.patpat9.com 83 issue 121 February 2018


นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง พร้อมเสริพ์ให้ทุกท่านได้อ่านแล้ว!! เพี ย งแค่ ค ลิ ก เข้ า ไปที่ www.fosef.org ท่ า นก็ ส ามารถอ่ า นนิ ต ยสาร IS AM ARE ครอบครั ว พอเพี ย ง ได้ โ ดยไม่ มี ค ่ า ใช้ จ ่ า ย เรื่ อ งราว สาระดี ๆ มากมายรอท่ า นอยู ่ หากอ่ า นแล้ ว ถู ก ใจอย่ า ลื ม บอกต่ อ นะครั บ 84 IS AM ARE www.fosef.org


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.