PIM Magazine 16

Page 1

พี ไอ เอ็ม แมกกาซีน - ปที่ 3 ฉบับที่ 16 - พฤศจิกายน 2555

ครอบครัวเดียวกัน

ครอบครัว PIM พรอมอยูเคียงขางกัน


*ทุกสนามสอบ กำหนดการจัดสอบชิงทุนเขาศึกษาตอระดับปริญญาตรี

ประกาศผลทันที ภายในวันเดียวกัน

ประจำปการศึกษา 2556

พิษณุโลก ร.ร.จานกรอง

สนามสอบยอยแยกตามภูมิภาค ชลบุรี ขอนแก น กรุงเทพฯ เชียงใหม ศาลาประชาคม

ร.ร.สิงหสมุทร

อบจ.ขอนแกน

เทอม 1

สอบ วันเสารที่ 13 ตุลาคม 2555

เทอม 2

สอบ วันเสารที่ 19 มกราคม 2556

PIM

สงขลา

ร.ร.วัฒโนทัยพายัพ ร.ร.หาดใหญวิทยาลัย

เทอม 1

เทอม 1 สอบ

สอบ วันเสารที่ 20 ตุลาคม 2555

เทอม 2 สอบ

เทอม 2

เสาร 17 พ.ย. 55

สอบ วันเสารที่ 26 มกราคม 2556

เสาร 12 ม.ค. 56

สนามสอบใหญ หลังปดเทอม ครั้งที่ 1

สอบ วันเสารที่ 30 มีนาคม 2556

ครั้งที่ 2

สอบ วันเสารที่ 4 พฤษภาคม 2556

ครั้งที่ 3

สนามสอบ

สถาบันการจัดการปญญาภิวัฒน (PIM) ถ.แจงวัฒนะ จ.นนทบุรี

สอบ วันเสารที่ 25 พฤษภาคม 2556 สอบถามขอมูลเพิ่มเติม ศูนยใหคำปรึกษาการเลือกเรียนตอและประกอบอาชีพ สำนักส�อสารองคกร PIM โทรศัพท 0 2832 0200 ถึง 14

www.pim.ac.th pimfanpage


lssue November 2012

04 06 14 16 17 18 19 20 21 22

PIM Lobby PIM Highlight คนเก่ง PIM Letter From OSAKA PIM in Trend เรื่องจีนจากซีหนาน เก็บโลกมาเล่า New Innovation Our Network : CP RAM PIM SMART

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (Panyapiwat Institute of Management) PIM Magazine : พี ไอ เอ็ม แมกกาซีน ปีที่ 3 ฉบับที่ 16 เดือนพฤศจิกายน 2555 สำ�นักสื่อสารองค์กร ที่ปรึกษา พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล บรรณาธิการบริหาร ปาริชาต บัวขาว บรรณาธิการ วรินทรา วิริยา กองบรรณาธิการ ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร มนตกานต์ วีรชัยเดชอุดม ชนิดา วนารักษ์สกุล จุฬนี ศิริขันธ์ พิสูจน์อักษร สุธาสินี พ่วงพลับ กันย์อักษร ชื่นชมภู อรทัย ทับทองห้วย ศิลปกรรม เอกภพ สุขทอง

คทาเทพ พงศ์ทอง ดร.ดัชกรณ์ ตันเจริญ วาร์วี ชานวิทิตกุล คทาเทพ พงศ์ทอง ชนิดา วนารักษ์สกุล

85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำ�บลบางตลาด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0 2832 0200 ถึง 14 โทรสาร 0 2832 0391 85/1, Moo 2, Chaengwattana Road, Bang-Talad, Prakkred, Nonthaburi, 11120 THAILAND Tel. 0 2832 0200 to 14 Fax 0 2832 0391 www.pim.ac.th www.facebook/pimfanpage

PIM Magazine ฉบับ “ครอบครัว PIM” อ่านแล้วคงจะอบอุ่นหัวใจไป ตามๆ กัน 5 ปีมาแล้วที่เรารู้จักกัน ตั้งแต่วันที่ชาว PIM Mag รับรู้ข่าวสารของ สถาบันการศึกษาน้องใหม่ที่ชื่อว่า “สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์” ผ่านวารสารฉบับเล็กชื่อ “มุจลินทร์สาร” จนวันเวลาผ่านไปและเติบโต ขึ้นเป็น “สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์” เรารู้จักกันมากขึ้นผ่าน PIM Magazine ฉบับต่างๆ บางฉบับเจาะลึกลงไปในเนื้อหาของคณะ ใหม่ๆ สาขาวิชาใหม่ๆ รวมถึงโครงการที่น่าตื่นเต้นและน่าสนใจอย่าง Study & Work in Japan ผ่านคอลัมน์ Letter from Osaka หรือแม้แต่ การเปิดโลกทัศน์ชาว PIM Mag ผ่านนวัตกรรมที่น่าสนใจ ในคอลัมน์ New Innovation ฉบับนี้ รู้จักกันให้มากขึ้นอีก วันนี้ครอบครัว PIM มีอายุ 5 ปีแล้ว แม้ เทียบกับสถาบันอื่นๆ PIM อาจเพียงแค่เตาะแตะ แต่ครอบครัวเล็กๆ นี้ก�ำลังมีสมาชิกครอบครัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขยายเป็นครอบครัวขนาด กลางที่สืบเชื้อสายมาจากบริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) มาเจาะลึกกันว่าใครเป็นใครในครอบครัว PIM เริ่มต้นจากบุคคล ส�ำคัญที่ถือได้ว่าเป็นผู้ก่อตั้งครอบครัวนี้ “คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์” ที่มอบวิสัยทัศน์อันเป็นทิศทางให้ทุกหน่วยใน PIM เห็นภาพร่วมกัน จากนั้นไล่เรียงลงไปแต่ละหน่วยย่อยของครอบครัว PIM ซึ่งต่างมี บทบาทหน้าทีด่ แู ลสมาชิกทีเ่ ข้ามาในรัว้ PIM บทเรียนจากปัญหาท�ำให้ ครอบครัว PIM อบอุ่นขึ้น ต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะขนาดไหนที่จะ ท�ำให้สมาชิก PIM อยู่ในบ้านหลังนี้อย่างมีความสุขและเติบโตขึ้น พร้อมที่จะออกเผชิญโลกภายนอกได้อย่างกล้าแกร่ง รับรองว่า “ครอบครัว PIM ครอบครัวการศึกษาเล็กๆ แห่งนี้ไม่เหมือน ใครแน่นอน” สุดท้าย ขอแนะน�ำคอลัมน์น้องใหม่ที่จะบันทึกประสบการณ์ชีวิตของ นักศึกษาสาขาภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ กว่า 20 ชีวิต ไปเรียน และใช้ชีวิตไกลถึงมหาวิทยาลัยซีหนาน นครฉงชิ่ง ประเทศจีน ซึ่งนี่คือ โครงการใหม่อีกหนึ่งความภาคภูมิใจของครอบครัว PIM อากาศเริ่มเย็นแล้ว รักษาร่างกายให้อบอุ่นนะคะ เป็นห่วงเสมอค่ะ บก.แอมป์

3


Open House ครั้งที่ 6 เจาะลึกแนวทางการศึกษาใหม่ Corporate University ตอน “เปิดประตูสู่ธุรกิจเบเกอรี่ กับซีพีแรม” ส� ำ นั ก สื่ อ สารองค์ ก ร โดยคุ ณ วริ น ทรา วิ ริ ย า รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักสื่อสารองค์กร ต้อนรับ และบรรยายพิเศษ เจาะลึกกลุ่มธุรกิจในเครือ เจริ ญ โภคภั ณ ฑ์ แ ละกลุ ่ ม ซี พี ออลล์ และ คุณอินท์ชลิตา เศรษฐ์พุฒิบวร เจ้าหน้าที่ฝ่าย การตลาดและประชาสั ม พั น ธ์ บรรยายเรื่ อ ง “เจาะลึกแนวทางการศึกษาใหม่ Corporate University” กรณี ศึ ก ษาสถาบั น การจั ด การ ปัญญาภิวฒ ั น์ จากนัน้ อาจารย์วสิ าข์ เชีย่ วสมุทร หัวหน้าสาขาวิชาสื่อสารองค์กร และอาจารย์ ชัยวุฒิ รื่นเริง อาจารย์ประจ�ำคณะนิเทศศาสตร์ ร่วมบรรยายพิเศษ แนะน�ำภาพรวมของคณะ นิ เ ทศศาสตร์ และน� ำ ศึ ก ษาเยี่ ย มชมธุ ร กิ จ เบเกอรี่ บริษทั ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จ�ำกัด (ลาดกระบัง) โดยคุณธีรพันธุ์ ลักษณาภิรมย์ ผู้จัดการทั่วไป ให้การต้อนรับและเป็นวิทยากร พิเศษ

4

เครือเจริญโภคภัณฑ์หนุน PIM มุ่งเป้าพัฒนาการเกษตรไทย ปั้นคนรุ่นใหม่เป็น “นักจัดการ โชว์สุดยอดผลงานเเอนิเมชั่น หัวข้อ “เยาวชนรุ่นใหม่ ใฝ่ดี เกษตร” มีคุณธรรม” บนเวทีประกวด นายก่ อ ศั ก ดิ์ ไชยรั ศ มี ศั ก ดิ์ รศ.ดร.สมภพ “ไทยแลนด์ แอนิเมชั่น มานะรังสรรค์, นายมนตรี คงตระกูลเทียน และ คอนเทสต์ 2012” รศ.วุฒชิ ยั กปิลกาญจน์ ร่วมในพิธลี งนามบันทึก ข้ อ ตกลงความร่ ว มมื อ ในการจั ด การศึ ก ษา ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ที่มหา วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่าง PIM ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาเกษตรไทย โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้ความร่วมมือ ด้านวิชาการ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ให้การ สนับสนุนด้านการปฎิบัติงานและความรู้เชิง นวั ต กรรมการเกษตร หวั ง สร้ า ง “นั ก จั ด การ เกษตร” ที่ ส ามารถบู ร ณาการความรู ้ ด ้ า น การเกษตร เศรษฐศาสตร์เกษตร และการจัดการ เกษตรได้อย่างสมบูรณ์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จะเปิดรับ นักศึกษาด้าน “นวัตกรรมการจัดการเกษตร” รุ่นแรก ในปีการศึกษา 2556 พร้อมมีทุนการ ศึ ก ษา เพื่ อ คั ด สรรนั ก ศึ ก ษาที่ มี ค วามสนใจ พัฒนาตนเองเป็น “นักจัดการเกษตร”

บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ร่วมกับ PIM ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ (เนคเทค) และมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช ประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะ ในวันที่ 24 ตุลาคม 2555 ณ หอศิลป์ กรุงเทพฯ พร้อมน�ำ 20 ผลงานจากผูเ้ ข้าแข่งขันกว่า 1,400 คน แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ มัธยมศึกษาและ อุ ด มศึ ก ษา โดยผลงานเเอนิ เ มชั่ น ที่ ส ่ ง เข้ า ประกวด ก�ำหนดให้สร้างด้วยโปรแกรม Open Source เท่านั้น ความยาวไม่เกิน 2 นาที พร้อม จัดนิทรรศการโชว์ผลงานสร้างสรรค์แอนิเมชั่น ที ม ชนะเลิ ศ ได้ รั บ ถ้ ว ยพระราชทานสมเด็ จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ ทุนการศึกษารวมมูลค่า 256,000 บาท กรมธรรม์ ประกันภัยให้ความคุ้มครองชีวิตและอุบัติเหตุ ทุนประกันภัยรวมมูลค่ากว่า 13 ล้านบาท เป็น เวลา 1 ปี พร้อมน�ำทีมผู้ชนะเลิศทั้ง 2 ระดับ เดินทางไปทัศนศึกษางานเเอนิเมชัน่ ณ ประเทศ ญีป่ นุ่ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพือ่ ต่อยอดการเรียนรู้ และศึกษาวิธีการท�ำเเอนิเมชั่นระดับมืออาชีพ


ผู้บริหารระดับสูงด้านปฏิบัติการจากกลุ่มสยามพิวรรธน์ เข้าเยี่ยมชม PIM คุณวิชา หาญอมรรุง่ เรือง Senior Executive Vice President - Operations จากกลุม่ สยามพิวรรธน์ เข้าเยี่ยมชม PIM โดยอาจารย์พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และรักษาการ รองอธิการบดีฝา่ ยวิชาการ, รศ.ดร.สมโรตม์ โกมลวนิช ผูช้ ว่ ยอธิการบดีฝา่ ยวิชาการ ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านความร่วมมือทางการศึกษา ส�ำหรับหลักสูตรสาขา วิชาการจัดการอาคารและทรัพยากรกายภาพ (Building and Facilities Management)

PIM Young Creative Program ครั้งที่ 3 ตอน “เปิดประตูสู่ฝัน...ประชันกันใน PIM BRAND BATTLE” โครงการ PIM Young Creative Program ครั้งที่ 3 ตอน “เปิดประตูสู่ฝัน... ประชันกันใน PIM BRAND BATTLE” มุง่ เน้นการให้องค์ความ รู้ด้านนิเทศศาสตร์ที่เน้นการสร้างแบรนด์ ชอบ วางแผนการสือ่ สารเชิงกลยุทธ์และเก่งรอบด้าน กับวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจนท์ แก่นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนมัธยม กว่า 20 โรงเรียน โดย ดร.ฐิติพร สงวนปิยะพันธ์ หัวหน้าสาขาวิชาสื่อสารแบรนด์ อาจารย์วิสาข์ เชี่ ย วสมุ ท ร หั ว หน้ า สาขาวิ ช าสื่ อ สารองค์ ก ร คณะนิเทศศาสตร์ PIM น�ำทีมนักศึกษาคณะ นิเทศศาสตร์มาเป็นพีเ่ ลีย้ งและถ่ายทอดพืน้ ฐาน ความรูเ้ กีย่ วกับการสือ่ สารแบรนด์ สือ่ สารองค์กร และวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจนท์

PIM ต้อนรับครอบครัว Kitai จากแดนอาทิตย์อุทัย Ms.Emiko Kitai และ Mr.Takaki Kitai ครอบครัว ชาวญี่ปุ่น เจ้าของแฟรนไชส์ 7-Eleven เมือง โอซาก้ า ประเทศญี่ ปุ ่ น เยี่ ย มเยี ย นผู ้ บ ริ หาร บริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) PIM และนาย อภินนท์ จันทนะ (โจ) (แถวหน้าคนที่ 4 จากขวา) บัณฑิตสาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก คณะ บริหารธุรกิจ อดีตนักศึกษาทุน Work and Study in Japan ซึ่งครอบครัว Kitai คือเจ้าของร้านที่ นายอภินันท์ไปฝึกปฏิบัติงานด้วยตลอดระยะ เวลา 1 ปี

พิธปี ระสาทปริญญาบัตร บัณฑิต รุ่นที่ 2 ของ PIM ประจ�ำปีการ ศึกษา 2554

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็น ประธานมอบปริญญาบัตร ณ หอประชุมปัญญา PIM ต้อนรับคณะเยี่ยมชมจาก ภิวฒั น์ ถ.แจ้งวัฒนะ คุณสุเทพ ไทยวัฒนานนท์ คุณวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล และคุณระวิ โหลทอง มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ให้เกียรติรับมอบปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ พร้อมกันนี้มี คณาจารย์ แ ละนั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโทจาก ผู้ได้ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จ�ำนวน มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (National Univer- 50 คน และปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต จ�ำนวน sity of Laos) กว่า 50 ท่าน ให้เกียรติเดินทาง 278 คน นับเป็นความภาคภูมิใจของ PIM อีก เยี่ ย มชมการเรี ย นการสอน และศู น ย์ บ ริ ก าร วาระหนึ่ง ที่บัณฑิตทุกคนมีงานท�ำ ด้วยการ วิชาการของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ สัง่ สมประสบการณ์แบบเข้มข้น ผ่านรูปแบบการ โดยคุ ณ สยาม โชคสว่ า งวงศ์ รองกรรมการ เรียนทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติกับองค์กรและ ผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) ร่วม บุคคลมืออาชีพตลอดการศึกษาและพร้อมที่จะ ให้เกียรติต้อนรับ ก้าวสู่อนาคตการท�ำงานอย่างมืออาชีพต่อไป

5


ÊѴʋǹ¹Ñ¡ÈÖ¡ÉÒ»ÃÔÞÞÒµÃÕáÅлÃÔÞÞÒâ·

94:6

ÊѴʋǹ¹Ñ¡ÈÖ¡ÉÒᡵÒÁ¤³Ð

89%

¤³ÐºÃÔËÒøØáԨ ¤³ÐÇÔÈÇ¡ÃÃÁÈÒʵà áÅÐà·¤â¹âÅÂÕ ¤³ÐÈÔÅ»ÈÒʵà ¤³Ð¹Ôà·ÈÈÒʵà ¤³ÐÇÔ·ÂÒ¡ÒèѴ¡ÒÃ

6% 2.5% 1.5% 1% ¡ÒÃàµÔºâµ¢Í§¨Ó¹Ç¹¹Ñ¡ÈÖ¡ÉÒµÑé§áµ‹¡‹ÍµÑé§ PIM áÅШӹǹ¤Ò´¡Òó ¶Ö§»‚ 2559

ÊѴʋǹ¹Ñ¡ÈÖ¡ÉÒᡵÒÁÊÒ¢ÒÇÔªÒ RT ¡ÒèѴ¡ÒøØáԨ¤ŒÒ»ÅÕ¡ LG ¡ÒèѴ¡ÒÃâŨÔÊµÔ¡Ê FB ¡ÒèѴ¡ÒøØáԨÍÒËÒà IT à·¤â¹âÅÂÕÊÒÃʹà·È BC ÀÒÉÒ¨Õ¹¸ØáԨ IE ÇÔÈÇ¡ÃÃÁÍصÊÒË¡Òà CPE ÇÔÈÇ¡ÃÃÁ¤ÍÁ¾ÔÇàµÍà CrC Ê×èÍÊÒÃͧ¤ ¡Ã HR ¡ÒèѴ¡Ò÷ÃѾÂÒ¡ÃÁ¹ØÉ BFM ¡ÒèѴ¡ÒÃÍÒ¤ÒÃáÅзÃѾÂҡáÒÂÀÒ¾ BrC Ê×èÍÊÒÃáºÃ¹´

¨Ó¹Ç¹ºÑ³±Ôµ»ÃÔÞÞÒµÃÕÃØ‹¹·Õè 1 (2553) 6

3,441 382

2550 (¡‹ÍµÑé§) 2551

2552 2553

2554

2555 2556

2557

2558

2559

(»˜¨¨ØºÑ¹) (¤Ò´¡Òó ) (¤Ò´¡Òó ) (¤Ò´¡Òó ) (¤Ò´¡Òó )

331 123 117 87 60 57 35 30 16

339

256

667

1,181

1,899 3,096 4,562 5,935 7,648 9,377 10,495

ÀÒÂã¹ 10 »‚ ¤Ò´¡Òó NjҨӹǹ¹Ñ¡ÈÖ¡ÉÒ¨Ðà¾ÔèÁ¢Öé¹¡Ç‹Ò 40 à·‹Ò

áÅÐÃØ‹¹·Õè 2 (2554)

278


ครอบครัวเดียวกัน

เครือเจริญโภคภัณฑ์ • บริษัท ซีพี ออลล์ จำ�กัด (มหาชน) • PIM การจับมือกันท�ำธุรกิจของสองพีน่ อ้ งตระกูลเจียเมือ่ กว่าศตวรรษ ที่ผ่านมา โดยเริ่มต้นจากร้านจ�ำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชเล็กๆ ย่าน ทรงวาด ก่อนเติบโตและขยายกิจการจนกลายเป็นกลุ่มธุรกิจ ขนาดใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลก วันนี้ CP Group หรือเครือ เจริญโภคภัณฑ์ คือครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกเป็น 3 กลุ่ม ธุรกิจ ได้แก่ 1. กลุ่มอาหารและพืชครบวงจร (CPF) 2. กลุ่มโทรคมนาคมและบริการมัลติมีเดีย (TRUE) 3. กลุ่มการตลาดและจัดจ�ำหน่าย (CP ALL) มีบุคลากรมืออาชีพ รับผิดชอบท�ำหน้าที่ต่างๆ ในการด�ำเนิน กิจการให้ก้าวหน้าไปพร้อมกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คนใน สังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อม

บริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทหลักในกลุ่ม ธุรกิจการตลาดและการจัดจ�ำหน่ายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่ เริ่มสร้างครอบครัวจาก 7-Eleven ร้านอิ่มสะดวกยอดนิยมของ คนไทย และด้วยก�ำลังสนับสนุนจากครอบครัวธุรกิจในด้าน ต่างๆ ซึ่งผลักดันให้บริษัทฯ ก้าวสู่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน การค้าปลีกอันดับหนึ่งของประเทศในที่สุด PIM หรือ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ คือ Corporate University ของ บริษทั ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) อีกหนึง่ สมาชิก ในครอบครัวซีพี ออลล์ ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจในการพัฒนา องค์กร เพราะมีหน้าที่ผลิตและบ่มเพาะบุคลากรคุณภาพให้ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในครอบครัว 7


ครอบครัว PIM

พร้อมอยู่เคียงข้างกัน ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีพี ออลล์

ซีพี ออลล์ เห็นความส�ำคัญของการ “ปลูกคน” จึงได้ให้การ สนับสนุนส่งเสริมด้านการศึกษาแก่เยาวชน และเป็น CSR หลัก ของบริษทั ทีท่ ำ� มาตลอด ด้วยการสร้างความตระหนักและเตรียม พร้อมให้กับเยาวชนสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะ การสร้างพนักงานที่มีคุณภาพ เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางด้าน การค้ า การบริ ก าร การลงทุ น และแรงงานในประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ประเทศไทยจะเข้าสูป่ ระชาคมอาเซียนในปี 2558 ขณะนี้ สังคม ก�ำลังตื่นตัวกับเรื่องนี้ แต่ก็ก�ำลังหวั่นวิตกเรื่องที่คนไทยอ่อน ภาษาอั ง กฤษอย่ า งมาก แต่ ตนกลั บคิ ดว่ า เราจะเก่ ง ภาษา อังกฤษไปเพือ่ อะไร เพือ่ จะส่งคนไทยไปท�ำงานต่างประเทศเช่น นัน้ หรือ ซึง่ ในความเป็นจริงเราใช้กนั แต่ภาษาไทย หากจะฝึกให้ เก่งเหมือนคนที่ใช้ภาษาอังกฤษทุกวันอย่างมาเลเซียคงเป็นไป ไม่ได้ ตนจึงอยากให้มองในแง่ของนักลงทุนทีจ่ ะเข้ามามากกว่า หากคนไทยเป็นนักจัดการที่มีคุณภาพฝีมือถึง ต่างชาติก็จะ เชื่อถือคนไทย ไม่ต้องขนนักจัดการมาจากต่างประเทศ ตนจึง เน้นย�ำ้ ว่า การศึกษาไทยจะต้องมุง่ สร้างให้คนไทยเป็นนักจัดการ ท่ี่มีคุณภาพ ส�ำหรับคุณสมบัติของนักจัดการที่มีคุณภาพในมุมมองของ ซีอีโอ ซีพี ออลล์ มี 3 ประการหลักๆ คือ เริ่มจากต้องเป็นคน รักงาน ทุ่มเทให้กับงาน ทรหดอดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ไม่ ถอยง่ายๆ กล้าเผชิญหน้ากับปัญหา พยายามแก้ปญ ั หาให้ลลุ ว่ ง และคุณสมบัตปิ ระการสุดท้ายก็คอื ต้องซือ่ สัตย์สจุ ริต ซึง่ ในส่วน ของซีพี ออลล์ได้ก่อตั้งสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ขึ้นมา 5 ปี แล้วก็เพื่อมุ่งสร้างนักจัดการที่มีคุณภาพ •

8


รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์

อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ภายใต้ ค วามเปลี่ ย นแปลงของโลกาภิวตั น์และภูมภิ าคเอเชีย โดยเฉพาะอย่าง ยิง่ ภายใต้ความเปลีย่ นแปลงของภูมภิ าค อาเซียน ที่ก�ำลังมุ่งสู่การเป็นประชาคม อาเซียน ซึ่งมี 3 เสาหลัก คือ ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ประชาคม การเมื อ งและความมั่ น คงอาเซี ย น ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดย PIM เน้ น เป็ น พิ เ ศษที่ ป ระชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ซึ่ง PIM มุ่งสร้างคนให้ เป็ น คนเก่ ง คนกล้ า และคนดี ให้ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด แรงงานที่จะแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว PIM สามารถสร้างลูกหลานคนไทยและ เน้นความเป็น Education Hub ให้การ ศึกษาลูกหลานของอาเซียนด้วยกันเอง โดยเฉพาะอาเซี ย นลุ ่ ม แม่ น�้ ำ โขงซึ่ ง มี CLMV แล้ ว ก็ T ซึ่ ง C-Cambodia, L-Laos, M-Myanmar, V-Vietnam และ T-Thailand ฉะนั้นอีก 10-20 ปีจากนี้ไปจะมีความ เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมาก จึงต้องเตรียม ความพร้อมของคน ซึง่ ความพร้อมของคน

ก็มาจากสถาบันการศึกษา PIM จึงเป็น ทางเลือกนอกเหนือไปจากมหาวิทยาลัย รัฐบาลหรือมหาวิทยาลัยเอกชนอื่นๆ ซึ่ง เมือ่ สร้างคนขึน้ มาแล้วก็จะเป็นประโยชน์ ต่อทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมืองร่วมกัน

โครงสร้างการเมืองความมัน่ คงทีแ่ ตกต่าง กัน เพื่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน

ใน AEC มี ค วามหลากหลายมากทั้ ง โครงสร้างระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ระดั บ การพั ฒ นาที่ แ ตกต่ า งกั น ทั้ ง วัฒนธรรมทีแ่ ตกต่างกัน สังคมทีแ่ ตกต่าง กัน ระบบการเงินที่แตกต่างกัน เมื่อมี ความหลากหลาย เราก็ต้องบริหารความ หลากหลายให้ลงตัว ต้องหาทางสร้าง เอกภาพในความหลากหลาย เพราะราก เหง้ า ของมนุ ษ ย์ อ ยู ่ ที่ เ รื่ อ งสั ง คมและ วัฒนธรรม ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องท� ำ มาหากิ น ไม่ ใ ช่ เรื่ องทาง เศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว จึงต้องเปิด โลกทัศน์ ตีโจทย์ AEC ให้แตก ว่าจะมี ความเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพื่อรู้ว่าจะ เตรียมคนอย่างไร สถาบันการศึกษาต้อง ท� ำ ให้ นั ก ศึ ก ษาได้ เ รี ย นรู ้ ใ นภาพกว้ า ง ไม่ใช่เรื่องของธุรกิจอย่างเดียว ว่าจะอยู่ ร่วมกัน ท�ำงานร่วมกัน หาประโยชน์ร่วม กัน เราต้องเข้าใจสังคมวัฒนธรรม เข้าใจ

หนึ่งคือ ความอบอุ่น ครอบครัวจะอยู่กัน ด้ ว ยความสงบสุ ข ไม่ ไ ด้ ถ ้ า ไม่ มี ค วาม อบอุ่น ความอบอุ่นจะสร้างได้ต่อเมื่อเรา มี ค วามสั ม พั น ธ์ ไ ม่ ใ ช่ เ ฉพาะหน้ า ที่ การงานอย่างเดียว เรามีความสัมพันธ์ที่ กว้างขวางและลึกซึ้งกว่า และข้อส�ำคัญ คื อ มี บ รรยากาศท� ำ งานที่ ท� ำ ให้ ทุ ก คน สามารถปลดปล่อยพลังงานของตัวเอง ออกมาได้ ท�ำให้ทุกคนเห็นอนาคต เห็น career path ของตัวเอง ท�ำให้ทุกคนมี ความภาคภู มิ ใ นความเป็ น ชาว PIM ความภาคภูมิใจที่เราอยู่ในองค์กรธุรกิจ ขนาดใหญ่ 1 ใน 5 ของประเทศนี้ที่มี ประสบการณ์มากมาย

ถ้านิยามว่า PIM คือครอบครัว อะไร ที่ท�ำให้ครอบครัวนี้มีความพิเศษ

สองคือ เราร่วมกันสร้าง PIM ซึ่งเป็น สถาบันที่ใหม่ ฉะนั้นทุกคนที่เข้ามาก็จะ มีบทบาทที่สร้างกันคนละไม้คนละมือ เห็ น ความเจริ ญ เติ บ โตของ PIM ด้ ว ย ความภาคภูมิใจ บ่มเพาะ PIM ด้วยมือ ของเราเอง •

9


สำ�นักพัฒนานักศึกษา Work-based Learning เรียนรู้ควบคู่ฝึกปฏิบัติจริง หลักสูตรการ เรียนภาคทฤษฎีพร้อมท�ำงานจริง หลักสูตรแรกของสังคมไทยที่ ไม่เคยมีใครสอน ความใหม่ของหลักสูตร ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึง ต้องใช้พลังงาน เวลา และการเรียนรู้ความแตกต่างนี้ ซึ่งหมายถึง ความขลุกขลักและปัญหาที่จะเกิดขึ้น ย่อมเป็นบทเรียนใหม่ ทั้ง ใหม่ส�ำหรับคนท�ำงาน ใหม่ส�ำหรับคนสอน ใหม่ส�ำหรับคนเรียน เมื่ อ ก้ า วออกจากรั้ ว โรงเรี ย นสู ่ ชี วิ ต นั ก ศึ ก ษาระดั บ มหาวิ ท ยาลั ย แม้หลักสูตรปกติเยาวชนของเรายังต้องปรับตัวมากระดับหนึ่ง แล้วยิ่ง มาเรียนในหลักสูตร Work-based Learning ซึง่ ต้องฝึกงานจริง พบเจอ คนท�ำงานจริง เกิดปัญหาในการท�ำงานจริงๆ เมื่อมีปัญหา ต้องการ ทีป่ รึกษา แต่อาจารย์กม็ สี ดั ส่วนไม่พอกับจ�ำนวนนักศึกษา และงานหลัก คือการสอนของอาจารย์ก็มาก ภารกิจอื่นๆ ก็เยอะอีกเช่นกัน ฉะนั้น นักศึกษาที่ประสบปัญหาและขาดที่ปรึกษาจ�ำนวนหนึ่งก็อาจรู้สึกไม่มี ทางออก จนหลายคนเลือกแก้ปัญหาด้วยการลาออกกลางเทอม หลังจากก่อตัง้ สถาบันในปี 2550 แล้วเกิดปัญหาการลาออกกลางเทอม ในสัดส่วนค่อนข้างสูง ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเป็นบทเรียนส�ำคัญ เมื่อการ เรียนรูเ้ กิดขึน้ หน่วยงานทีท่ ำ� หน้าทีเ่ สริมแรง เชือ่ มประสานความสัมพันธ์ ครอบครัว PIM ให้แน่นแฟ้นและแข็งแรง ส�ำนักพัฒนานักศึกษาจึง เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปีการศึกษา 2552 อธิบายคร่าวๆ เพื่อให้เข้าใจกระบวนการท�ำงานของส�ำนักพัฒนา นักศึกษา PIM ว่าดูแลกันตั้งแต่ไม้หนึ่งไปจนถึงไม้สุดท้ายได้อย่างไร เริม่ จากงานที่ 1 งานทีป่ รึกษาการฝึกภาคปฏิบตั ิ เรียกไม่เป็นทางการว่า “พี่เลี้ยง” เป็นที่ปรึกษาช่วยแก้ปัญหา คอยให้ก�ำลังใจ ซึ่งเป็นส่วนงาน ขนาดใหญ่ที่สุด เพราะต้องดูแลนักศึกษาทุกชั้นปี โดยเฉพาะนักศึกษา ชั้นปี 1 ส่วนส�ำคัญที่จะเติมความรู้ให้นักศึกษาก่อนฝึกงานตามสถาน ประกอบการ คือ 2 งานพัฒนาศักยภาพนักศึกษา คือจัดฝึกอบรม นักศึกษาเตรียมความรู้ทั่วไประหว่างที่กลับมาเรียน ซึ่ง 3 งานพัฒนา หลักสูตรการฝึก ส�ำนักพัฒนาฯ จะท�ำหน้าที่ติดต่อผู้ประกอบการเพื่อคิดพัฒนาหลักสูตรอบรมร่วมกัน และจัดการอบรมก่อนฝึก ภาคปฏิบัติ จากนั้นติดตามและประเมินผลการฝึก และปรับปรุงหลักสูตร ส่วนงานสุดท้าย คือ งานพัฒนาอาชีพนักศึกษา จัดหา ต�ำแหน่งงานให้กับบัณฑิตเมื่อส�ำเร็จการศึกษา จากนั้นยังต้องตามไปพบผู้ใช้บัณฑิต ติดตามข้อเสนอแนะว่าบัณฑิต PIM พร่องเรื่องไหน เพื่อกลับมาปรับปรุงหลักสูตรฝึกเตรียม และคณะก็ปรับตัวปรับการเรียนการสอนเพือ่ เสริมทักษะนักศึกษา อย่างเช่นเสียงสะท้อนจากผูใ้ ช้บณ ั ฑิตรุน่ ที่ 1 มีวา่ เทคนิคการน�ำ เสนอไม่ค่อยเก่ง ส�ำนักพัฒนาฯ ก็กลับมาออกแบบหลักสูตรอบรมเรื่องเทคนิคการน�ำเสนอพรีเซ็นเทชั่น ขณะเดียวกันคณะก็ปรับ การเรียนการสอน ให้ส่งรายงานเป็นการน�ำเสนอหน้าห้อง แทนการส่งเป็นเล่มรายงาน นั่นคือผลจากการติดตามเสียงสะท้อนที่ ส�ำนักพัฒนาฯ น�ำกลับมาสะท้อนสู่ภายใน PIM 10


ส�ำนักพัฒนานักศึกษา 1.

2.

งานที่ปรึกษาการฝึกภาคปฏิบัติ งานพัฒนาศักยภาพนักศึกษา พี่เลี้ยง ฝึกอบรม

3.

4.

งานพัฒนาหลักสูตรการฝึก ร่วมกับผู้ประกอบการ

งานพัฒนาอาชีพนักศึกษา สรรหาต�ำแหน่งงาน

อาจารย์ณรงค์ กาสิกพัสสตร์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักพัฒนานักศึกษา

การรุกติดตาม และการรอเป็นฝ่ายสนับสนุนให้ค�ำปรึกษา รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาเมื่อนักศึกษามีในการฝึกงาน คือการ ท�ำงานใกล้ชิดแข็งขันของส�ำนักพัฒนาฯ ผลลัพธ์คือสัดส่วน นักศึกษาลาออกลดลง แต่ อ.ณรงค์ กาสิกพัสสตร์ ผูอ้ ำ� นวยการ ส�ำนักพัฒนานักศึกษา ไม่คดิ ว่านีเ่ ป็นผลจากการท�ำงานของใคร คนเดียว “ถึงแม้ drop out rate ปีหลังๆ จะลดลง แต่ผมคิดว่าไม่ได้เป็น ฝีมอื ของส�ำนักพัฒนานักศึกษาหรอก เพราะคณะต่างๆ ก็ปรับตัว ช่วยกัน บางคณะมีจัดสอนพิเศษให้เด็กเพิ่ม อาจารย์ก็ปรึกษา ช่วยกันแก้ปัญหากับส�ำนักฯ เยอะ เพราะเราหรือใครก็ท�ำงาน คนเดียวไม่ได้” ส�ำนักพัฒนานักศึกษาของ PIM สะท้อนความเป็น Work-based Learning ได้ชัดเจน เพราะส�ำนักพัฒนาฯ นี้ ท�ำหน้าที่ดูแล นักศึกษาแบบเรียกว่าประกบใกล้ชิด ดูแลตั้งแต่เข้ามาเรียน งานหลักของส�ำนักนี้คือโทรศัพท์สอบถามความเคลื่อนไหว ปีหนึ่งจนเรียนจบ เป็นกระบวนการดูแลกันตั้งแต่ไม้หนึ่งจนถึง นักศึกษา โดยเฉพาะช่วงฝึกงาน ถ้าเป็นนักศึกษาชัน้ ปี 1 จะได้รบั ไม้สุดท้าย ชัดเจนในหน่วยงานเดียว ซึ่งต่างจากมหาวิทยาลัย การดูแลใกล้ชิดกว่าพี่ๆ ชั้นปีอื่น ทุกคนจะได้รับการดูแลผ่าน อื่นๆ ที่มีหลายหน่วยงานรับผิดชอบแยกส่วนต่างกันไป โทรศัพท์เป็นอย่างน้อย บางคนอาจมีพๆี่ จากส�ำนักพัฒนาฯ ไป เยี่ยมเยียนระหว่างฝึกงาน เพราะในโลกการท� ำงานกับคนที่ ถือเป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้จากปัญหา และ แตกต่างมีพื้นเพหลากหลาย ในบรรดาการเรียนรู้ทั้งหลายย่อม รับผิดชอบดูแลแทบทุกภารกิจที่นอกเหนืองานวิชาการหลัก มีทงั้ เรือ่ งสวยงาม และเรือ่ งไม่นา่ ประทับใจ ซึง่ เป็นประสบการณ์ เพือ่ สอดรับสนับสนุนท�ำให้ระบบการเรียนแบบ Work-based Learning ของ PIM เป็นไปโดยราบรื่น ส่วนหนึ่งของชีวิตที่เหล่านักศึกษา PIM จะได้เจอก่อนใครๆ

งานก้อนใหญ่ งานพี่เลี้ยง

11


ในครอบครัว PIM มี ใคร ทำ�อะไรบ้าง สำ�นักส่งเสริมวิชาการ

รับผิดชอบงานด้านหลักสูตร มาตรฐานการศึกษา งานทะเบียนประมวลผล และงานบริการทรัพยากร สารสนเทศ (ห้องสมุด)

- ตอนนี้เรียนที่อื่น แล้วจะย้ายหน่วยกิตมาได้ ไหม - ดูเกรดที่ ไหนคะ - ตารางเรียน/สอบ ออกหรือยัง แล้วดูได้ที่ ไหน - ยังไม่ ได้ลงทะเบียนท�ำยังไงครับ

สำ�นักเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รักษา ความปลอดภัยของระบบ และพัฒนาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศภายในสถาบันฯ

- ล็อกอินเข้าอินทราเน็ตไม่ ได้ค่ะ - ลืมพาสเวิร์ดค่า - อินเตอร์เน็ตช้ามากฮะ

สำ�นักส่งเสริมศิลปะ และวัฒนธรรม สร้างจิตส�ำนึก และสนับสนุนกิจกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมประจ� ำชาติ รวมไปถึงงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมจากนานา ประเทศ

- ร�ำเซิ้งได้ค่ะ ขอเข้าร่วมวงได้ ไหมคะ - อยากประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง

12


สำ�นักสื่อสารองค์กร

บริหารจัดการด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ทุกคนเห็น PIM เป็นสถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าด้านการจัดการธุรกิจ รับผิดชอบ แนะแนว รับสมัครศึกษา พัฒนาเครือข่าย ให้การต้อนรับผู้เยี่ยมชม สถาบันฯ รวมทั้งสื่อสารประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอก สถาบัน และบริหารกองทุนเพื่อชีวิตแห่งการเรียนรู้ (PIM SMART)

- อยากทราบว่า PIM มีสาขาและคณะอะไรบ้างคะ - มีทุนการศึกษาอะไรบ้างหรือเปล่า - ติดต่อขอเข้าชมสถาบันค่ะ - อยากสมัครขอทุน PIM SMART ค่ะ

สำ�นักพัฒนานักศึกษา

หน่วยงานส�ำคัญที่ผลักดันและสนับสนุนรูปแบบการเรียน การสอนด้วยการเรียนรู้จากการท�ำงาน งานพี่เลี้ยงดูแล ติดตามนักศึกษา จัดกิจกรรมเตรียมฝึกเข้าท�ำงาน สรรหา ต�ำแหน่งงานให้บัณฑิต และงานพิเศษให้นักศึกษา - ท�ำงานเซเว่นเหนื่อยมากครับ ไม่ ไหวแล้ว - ที่บ้านย้ายไปอยู่เชียงใหม่ ขอย้ายไปฝึกงานที่ เชียงใหม่ ได้หรือเปล่า - ผมอยากท�ำงานสายส�ำนักงานจะเป็นไปได้ หรือเปล่าครับ

สำ�นักกิจการนักศึกษา

จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา สร้างเครือข่ายศิษย์เก่า จัดหาสวัสดิการและแหล่งทุน ตลอดจนงานวินัยนักศึกษา - เพื่อนเกิดอุบัติเหตุ PIM มีสวัสดิการรักษาอุบัติเหตุ หรือเปล่า - ผมได้ทุน PIM แต่เทอมนี้เกรดน้อยกว่า 2.00 ท�ำยังไง ได้บ้างครับ - จะกู้ กยศ. ติดต่อที่ ไหน - มีกิจกรรมชมรมนักศึกษาอะไรบ้าง

13


ท�ำความรู้จักกับหนึ่งหนุ่มหนึ่งสาวเฟรชชี่ แอมบาสเดอร์ (Ambassador) รุ่นใหม่ของ PIM หนึ่งในผู้ได้รับคัดเลือกให้ เป็นกระบอกเสียง ถ่ายทอดประสบการณ์จริงของชีวิตนักศึกษาแบบ Work-based Learning ซึ่งแต่ละปีจะมีการคัดเลือก ตัวแทนนักศึกษาจากทุกคณะ สาขาวิชา เพื่อรับหน้าที่ต่างๆ ในกิจกรรมของ PIM ตลอดปี ภัทร หนุ่มมาดนิ่ง ไม่ค่อยพูด ผู้มีความมั่นใจกับการตัดสินใจของตัวเอง โตมาในครอบครัวที่ให้ อิสระในการเลือกท�ำสิ่งที่สนใจ ครอบครัวเป็นชาวสมุทรปราการ พ่อรับราชการทหาร แม่เป็น พนักงานบริษัท ภัทรมีน้องสาว 1 คน ซึ่งก็เรียนสาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก คณะบริหาร ธุรกิจ ที่ PIM นี่เอง เลือกสื่อสารแบรนด์ เลือก PIM ก่อนมาเรียนสาขาวิชาสื่อสารแบรนด์ ที่ PIM ภัทรเรียนบริหารธุรกิจแต่เรียนไปแล้วรู้สึกไม่ชอบ ประกอบกับได้เห็นความส�ำคัญของแบรนด์ เมือ่ ได้เห็นร้านจิวเวอรีข่ องคนรูจ้ กั มีงานดีไซน์และ ท�ำงานบริหารแบรนด์ได้น่าสนใจ จนภัทรเกิดความสนใจว่าแบรนด์สินค้าต้องได้รับการบริหาร เพื่อท�ำให้สินค้าดูดีและน่าสนใจ จึงรู้ว่าแบรนด์สินค้าเป็นเรื่องส�ำคัญ เมื่อเห็นความส�ำคัญของการบริหารแบรนด์ ภัทรจึงเสาะหาหลักสูตร จนมาเจอที่ PIM เมื่อเจอ สาขาตรงความชอบ หลักสูตรน่าสนใจ และความเปิดกว้างที่ครอบครัวมอบให้ ภัทรจึงได้เป็น นักศึกษาสาขาวิชาสื่อสารแบรนด์ รุ่นแรกของ PIM การเรียนสื่อสารแบรนด์ที่ PIM “ชอบหลักสูตร เรียนสนุก อาจารย์เรียบเรียงเนื้อหามาดี มีกรณีศึกษามาเล่าให้ฟังเยอะ ได้แชร์ ความคิดเรื่องเรียนในห้องกับเพื่อน และอาจารย์ใส่ใจมาก” แว่วๆ มาว่าหลักสูตรสาขาวิชาสื่อสารแบรนด์ ก�ำลังเริ่มสอนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งภัทรคิดว่า ดีมาก เพราะถ้ามีโอกาสไปท�ำงานกับแบรนด์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ต่างประเทศ ผ่านมาหลายเดือน เริม่ เรียนจริงจัง ภัทรบอกว่าตอนนีม้ องเรือ่ งแบรนด์อย่างเป็นระบบ เวลาเห็น แบรนด์ตา่ งๆ ก็มกั คิดในสองมุมมอง คือมองจากความเป็นลูกค้า ว่าใช้สนิ ค้านีแ้ ล้วจะรูส้ กึ ดีกบั แบรนด์แค่ไหน อย่างไร อีกมุมมองคือลองมองในฐานะเจ้าของแบรนด์ ที่มองออกไปหาลูกค้า ก็เรียนรู้วิธีการสร้างแบรนด์ ในฐานะแอมบาสเดอร์ “ผมยอมรับว่าไม่ใช่คนหน้าตาดี แต่การเป็นแอมบาสเดอร์กไ็ ด้ชว่ ยงาน ช่วยแนะน�ำสถาบันก็มี ประโยชน์ ความจริงเป็นคนไม่คอ่ ยพูด แต่พอมีโอกาสเลยลองท�ำ ล่าสุดได้เป็นพิธกี รในงาน PIM Brand Battle ซึ่งถือว่าได้ฝึกฝนเรื่องพรีเซนเทชั่นของตัวเองด้วย”

ณภัทร เอมคุ้ม -- ภัทร แอมบาสเดอร์หนุ่มของ PIM นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาสื่อสารแบรนด์ คณะนิเทศศาสตร์

14

ถามว่ามั่นใจ PIM สถาบันเปิดใหม่ แล้วหลักสูตรเพิ่งเปิดใหม่แค่ไหน ภัทรตอบอย่างรวดเร็วและมัน่ ใจมากว่า “คิดว่ายิง่ ดีเลยได้รว่ มเรียนรูไ้ ปกับสถาบันใหม่ ได้พฒ ั นา ไปด้วยกัน อีกด้านผมก็เชื่อมั่นในการท�ำธุรกิจของกลุ่มซีพี ออลล์ด้วยว่าต้องมีอะไรดีๆ ที่ส่งผล ถึงสถาบันฯ แน่นอน” เป้าหมายชีวิต ตอนนี้ ภัทรมีเป้าหมายระยะสั้นว่าต้องตั้งใจเรียนเพื่อรักษาทุน PIM ให้ได้จนจบ และถ้าเรียน จบแล้ว คงท�ำงานหาประสบการณ์ไปก่อน ถ้าเป็นไปได้อยากบริหารแบรนด์สินค้าของตัวเอง ส่วนจะเป็นแบรนด์สินค้าของอะไรก็ขอคิดไปก่อน


หมวยตัวเล็กช่างเจรจา นักศึกษาสาขาภาษาจีนธุรกิจ ลูกสาวคนโตของ ร้านค้าวัสดุกอ่ สร้าง ทีฉ่ ะเชิงเทรา มีพอ่ สนับสนุนให้มาเรียนที่ PIM เพราะ หลักสูตรที่เรียนภาคทฤษฎีและได้ฝึกงานไปพร้อมกันสม�่ำเสมอ ต่าง จากมหาวิทยาลัยอื่น และอีกส่วนคือความเชื่อมั่นในชื่อเสียงของกลุ่ม ซีพี ออลล์ เลือกจีนธุรกิจ ของ PIM ความเป็นชาวจีนแต้จิ๋วของครอบครัว พิวจึงคุ้นเคยสภาพแวดล้อมการ ใช้ภาษาจีน พูดแต้จิ๋วเมื่อคุยกับพ่อแม่ พูดจีนกลางเมื่อคุยกับน้องสาว และน้องชาย พื้นฐานครอบครัวอาจถือเป็นก�ำไร แต่พิวก็สนใจการใช้ ภาษาจีนมาตลอด เพราะตอนเรียนมัธยมที่โรงเรียนสาธิตเกษตร พิวก็ เรียนสายศิลป์-จีน การเรียนภาษาจีนธุรกิจที่ PIM “หลักสูตรดี หนูคดิ ว่าเวิรค์ มาก คือไม่มที ไี่ หน พอเข้ามาเรียนปีหนึง่ แล้ว ได้ฝึกงาน ท�ำงานจริงๆ ได้ลงมือใช้สิ่งที่เราเรียนมาจริง ตอนนี้ยังไม่ได้ฝึกงานจริง แต่มีฝึกเตรียม มีการอบรมโดยวิทยากรจาก ภายนอก รูส้ กึ ว่าดีมาก เพราะวิทยากรทีม่ าอบรมให้ คิดว่าชีวติ ประจ�ำวัน ทัว่ ไปเราคงไม่มโี อกาสได้เจออยูแ่ ล้ว หลายท่านก็มาจากหลายที่ บางท่าน ก็เป็นเจ้าของบริษัทมาอบรมด้วยประสบการณ์จริงๆ เลย สนุกค่ะ” พิวบอกว่าหลักสูตรที่นี่ดี ส่วนหนึ่งเพราะความเอาใจใส่ของอาจารย์ ที่ พิวบอกว่า “อาจารย์เอาใจใส่เรามาก เวลามีกิจกรรมหรือข่าวสารดีๆ ก็ ติดต่อเราตลอด ไม่ใช่แค่สอนแล้วก็จบ ที่ส�ำคัญเป็นที่ปรึกษาที่ดีมาก เลยค่ะ” ในฐานะแอมบาสเดอร์ “อยู่ที่นี่ได้ท�ำกิจกรรมด้วย ไม่เคยได้ท�ำอะไรแบบนี้เลย อย่างเป็นแอม บาสเดอร์ ก็ชอบนะคะ ไม่เคยจับไมค์พูด รู้สึกเหมือนตัวเองได้ท�ำ ประโยชน์ คือเวลามีคนมาถาม เราก็ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันฯ ข้อมูล ที่ถูกต้อง แล้วก็ต้องท�ำตัวเป็นต้นแบบที่ดี เวลาไปข้างนอกก็พูดได้ เต็มปากว่าสถาบันฯ ของเราดียังไง” เมื่อเรียนจบ “เรียนจบแล้วคิดว่าอยากท�ำงานในกลุ่มซีพี ออลล์ ถึงต่อไปไม่รู้จะเป็น ยังไง แต่ว่าตอนนี้ตั้งใจแบบนี้เลยค่ะ” เมื่อถามว่ามั่นใจสถาบันฯ แน่หรือ ค�ำตอบที่ได้ด้วยเสียงหนักแน่น และทันทีทันใด คือ “ใช่ เพราะผู้บริหาร สถาบันฯ นีแ่ หละค่ะ ทีป่ ระสบความส�ำเร็จด้านธุรกิจอย่างทีเ่ ราต้องการ มั่นใจว่าจะสอนเราแบบที่ไม่ได้จากที่อื่น คือไม่สอนแต่ความรู้ทฤษฎี แต่น�ำสิ่งที่เป็นที่ท�ำให้ประสบความส�ำเร็จมาบอกเรา ให้เห็นว่าเราก็ สามารถท�ำได้”

กนกรัตน์ พฤทธิพัฒนะพงศ์ -- พิว แอมบาสเดอร์สาวตัวเล็กของ PIM นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์

15


ชั่วโมงทำ�งานเข้มข้น Plus Sale แบบญี่ปุ่น และนิทรรศการสุดเจ๋ง สวัสดีชาว PIM ที่รักทุกคน ผ่านพ้นวันหยุดภาคฤดูร้อนมาแล้วเรียบร้อย และการท�ำงานในร้าน 7-Eleven ของเราก็เข้มข้นขึ้นตามล�ำดับ การเรียน ภาษาญีป่ นุ่ ไม่ถกู จ�ำกัดอยูแ่ ต่ในต�ำราหรือชัน้ เรียนอีกต่อไป กระดาษ A4 ทีเ่ ต็มไปด้วยคันจิในภาพคือการเรียนของจริง ที่ถูกแปะอยู่หลังร้าน เพื่อบอกหน้าที่ของพนักงานแต่ละคนในแต่ละวันอย่างละเอียด เราทุกคนต้องอ่านและท�ำตาม แผนงานนัน้ อย่างเคร่งครัด ตรงเวลา เพือ่ ไม่ให้งานทีค่ นอืน่ ต้องท�ำต่อนัน้ สะดุดลง ล่าสุด ผูจ้ ดั การร้านทดสอบเพชรโดย ให้อ่านคันจิชื่อเขตทั้งหมดของญี่ปุ่นตั้งแต่ภาคเหนือจรดใต้ ผ่านหน้าจอแสดงแผนที่ที่ใช้ในบริการส่งพัสดุ แถมไม่ได้ บอกให้เตรียมตัวล่วงหน้า อาศัยเลือดนักสูแ้ บบฉบับ PIM แรงขยันอ่านขยันท่อง บวกกับความคลัง่ ไคล้อนิเมะ (Anime) ที่ซึมซับจากทีวีทุกวัน เพชรเลยผ่านการทดสอบมาได้อย่างน่าพอใจ พวกเราก็ได้แต่ร้องฮึบ ก้มหน้าตักตวงภาษาญี่ปุ่น ผ่านการใช้ชีวิตที่นี่กันต่อ และเฝ้ารอลุ้นว่าจะถูกทดสอบในรูปแบบใดมาเขียนเล่าให้ฟังอีก ว่าด้วยเรื่องการท�ำงานแล้วต้องเล่าเรื่องนี้ เนื่องจากคนญี่ปุ่นจะปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความระมัดระวัง มีมารยาท และ รักษาน�้ำใจอย่างที่สุด การท�ำ Plus Sale อย่างประโยคอมตะในบ้านเรา “รับขนมจีบซาลาเปาเพิ่มไหมคะ” เวลาลูกค้า มาจ่ายเงินหน้าเคาท์เตอร์จึงเป็นสิ่งที่พนักงานไม่ท�ำกัน เพื่อไม่ให้เกิดบรรยากาศเขินอายอึดอัด หรือท�ำให้ฟังไม่รู้เรื่อง ถ้าเป็นจังหวะทีแ่ คชเชียร์เกิดพูดขึน้ มาพร้อมๆ กัน แต่จะมีตน้ เสียงทีเ่ ป็นหัวหน้าผลัด หรือผูน้ �ำการขายในผลัดนัน้ ๆ พูด ให้ได้ยินกันอย่างทั่วถึง แล้วคนอื่นๆ ก็จะพูดตามกันเป็นล�ำดับ เช่น รับซาลาเปาเพิ่มด้วยไหมคะ เพิ่มด้วยไหมคะ เพิ่ม ด้วยไหมคะ เป็นต้น เดือนตุลาคมที่ผ่านมา Seven & I Holdings บริษัทแม่ของ 7-Eleven จัดนิทรรศการน�ำเสนอนโยบายไตรมาสสุดท้าย ของปี 55 โดยให้ขอ้ มูลยอดขายอาหารปรุงสุกพร้อมทานในเขตคันไซ ว่าถูกจ�ำหน่ายให้ลกู ค้าอายุ 60 ปีขนึ้ ไปสูงถึง 70% ของลูกค้าทั้งหมด แนวโน้มผู้สูงอายุที่รักสุขภาพมาจับจ่ายในร้านสูงขึ้น บริษัทจึงร่วมมือกับโตโยต้าผลิตรถส่งสินค้า ส�ำหรับบริการลูกค้าสูงอายุโดยเฉพาะ มีลกั ษณะคล้ายตุก๊ ๆ เวอร์ชนั่ ไฮเทค นอกจากนัน้ ยังแนะน�ำชัน้ วางของแบบใหม่ ที่จัดวางสินค้าได้มากขึ้นถึง 20% น�ำเสนอสินค้าฤดูใบไม้ร่วง มีอาหารนานาชนิดให้ชิม เปิดตัวแคมเปญการสั่งจอง การ์ดอวยพรปีใหม่หรือเค้กวันคริสต์มาสล่วงหน้า ที่น่าทึ่งคือการจัดพื้นที่แสดงงานได้อย่างกะทัดรัดและแบ่งผู้เข้าชม ให้ทยอยเข้าออก จึงท�ำให้ภายในงานไม่แออัดคับคั่งจนเกินไป ทั้งประทับใจเราและได้ความรู้มากเลยทีเดียว พร้อมจดหมายฉบับนี้ มีภาพบรรยากาศในงาน Osaka Minami YMCA Family Carnival 2012 ที่เราทั้ง 5 คน มีภารกิจ ช่วยกันท�ำแกงเขียวหวานไทยแสนอร่อยขาย เพื่อหาเงินสมทบทุนการศึกษาและโครงการต่างๆ ของ YMCA ไฮไลท์คือ แม้จะมีขอ้ จ�ำกัดด้านวัตถุดบิ และความเป็นกุก๊ มือสมัครเล่นของเรา ก็ไม่อาจหยุดยัง้ ผูค้ นทีส่ นใจลิม้ รสอาหารไทย เป็น เหตุให้แกงหม้อใหญ่ถูกขายหมดเกลี้ยงเป็นบูธแรกด้วยความภาคภูมิใจและเหนื่อยแสนสาหัส ^^ ขอบคุณส�ำหรับจดหมายจากเมืองไทย ที่เขียนมาถามไถ่สารทุกข์สุขดิบของเราที่นี่ แม้จะผ่านครึ่งปีมาแล้ว แต่ทุกวันก็ มีเรื่องใหม่ให้เราเรียนรู้และสนุกอยู่เสมอ ว่าแล้วคืนนี้ถ้ามีแรงพอ เราอาจจะไปประลองความเร็วกับคุณป้าโอซาก้าทั้ง หลาย ในการจับจ่ายอาหารลดราคาช่วง 4-5 ทุ่มในซูเปอร์มาร์เก็ตแบบที่เคยอ่านเจอในการ์ตูนญี่ปุ่น ของจริงตื่นเต้น เร้าใจกว่าเยอะ ขอบอก

16

พบกันฉบับหน้า คิดถึง บัว เพชร หลิว แมท อั้ม


หมวกแก๊ป

100 บาท กระเป๋าสปันบอลล์

20 บาท

ปากกา

15 บาท กระเป๋า I love PIM

60 บาท ร่มขวด

สมุดบันทึก

190 บาท

40 บาท

พัด

20 บาท

เสื้อยืดคอกลม I love PIM

100 บาท

เสื้อโปโลขาวเขียว

290 บาท

สนใจของที่ระลึก

ติดต่อคุณพัชรินทร์ (ตูน) ส�ำนักสื่อสารองค์กร เปิดจ�ำหน่ายทุกวันศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ เวลา 9.00 - 16.00 น.

17


เรื่องจีนจากซีหนาน บันทึกประสบการณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2-3 สาขาภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ PIM ระหว่างเรียนและใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยซีหนาน นครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

จดหมายฉบับแรกส่งตรงจากซีหนาน “มหาวิทยาลัยซีหนาน” ภาษาจีนเรียกว่า “西南大学” (Southwest University) อยู่ในมณฑลฉงชิ่ง เขตเป่ยเป้ย

ความตัง้ ใจพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน ในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ เพื่อผลิต บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญภาษาจีน วิธีที่ดี ที่สุดคือการไปเรียนและไปใช้ชีวิตในสภาพ แวดล้อมของเจ้าของภาษา การเดินทางของ 23 นักศึกษาสาขาภาษาจีนธุรกิจจึงเกิดขึน้ ใน ฐานะส่วนหนึ่งของความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง PIM และมหาวิทยาลัยซีหนาน (ปีที่ 2)

ได้เลย ท่านใจดีมาก แต่ต้องตรงเวลา ตอนสอน ท่านจะพูดชัดทุกค�ำทีพ่ ดู อธิบายชัดเจน และให้ ทุกคนมีส่วนร่วม เรียกให้อ่านบ้าง แต่งประโยค บ้าง หนูชอบเรียนวิชานี้มาก ถ้าใครยังไม่เข้าใจ ก็จะอธิบายจนให้เข้าใจ และเป็นวิชาเดียวที่ อาจารย์ให้เรียนแปดโมงเช้า ซึ่งอาจารย์บอกว่า มาที่นี้ก็ต้องสัมผัสบรรยากาศแบบคนจีนว่าเขา ต้องตื่นมาเรียนแปดโมง พิลาวรรณ พิมพิลา

ช่วงแรกต้องปรับตัวอย่างหนัก เครียดมากใน ตอนนั้น ตอนปรับตัวได้ดีขึ้นแต่ก็ยังมีบางช่วงที่ ยังตามไม่ทัน ก็พยายามอ่านหนังสือล่วงหน้า ก่ อ นไปเรี ย น ตอนอยู ่ ใ นห้ อ งเรี ย นมี อ ะไรที่ ไม่เข้าใจก็จะถามเลย พยายามให้เข้าใจในเวลา นั้นๆ ถ้าเก็บข้อสงสัยไว้ถามทีหลัง สุดท้ายก็ลืม หลังเลิกเรียนถ้ามีเวลาก็จะหยิบวิชาที่เรียนมา มหาวิทยาลัยและการปรับตัว เมื่อเช้ามาเปิดดูหน่อยว่าวันนี้เราเรียนอะไรไป นั่งเครื่องบินจากประเทศไทยราวสี่ ชั่ว โมงถึ ง แล้วบ้าง แล้วก็ทบทวนค�ำศัพท์ คัดค�ำศัพท์ คุย ท่าอากาศยานฉงชิ่ง บรรยากาศวันแรกบนแผ่น กับเพื่อนชาวจีนก็ท�ำให้เราได้รู้ค�ำศัพท์มากขึ้น ดินจีนค่อนข้างแจ่มใส แดดออกตลอดทั้งวัน เหมือนกัน หลังจากนั้นนั่งรถต่อไปอีกประมาณหนึ่งชั่วโมง หทัยภัทร เบญจางค์กุล ถึงมหาวิทยาลัยซีหนาน ซึ่งมหาวิทยาลัยให้การ อาหารจีนก็เด็ดเอาเรื่อง ต้อนรับอย่างอบอุ่น ดิฉันเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า หากใครไม่ได้กัด มหาวิ ท ยาลั ย ซี ห นานมี พื้ น ที่ ก ว้ า งมาก จึ ง มี โดนฮวาเจียวเข้าไปเต็มค�ำก็เหมือนกับมาไม่ถึง รถรางไว้ให้ใช้บริการ ค่าใช้จ่ายก็ 1 หยวนต่อ 1 ฉงชิ่ง! เที่ยว แต่ต้องมีบัตร “หยี่ ทง ข่ า ” เป็ น บั ต ร จิตวดี ชูสิทธิ์ ประเภทเติมเงินของมหาวิทยาลัยเท่านัน้ ใช้จา่ ย ค่ารถรางและอาหารในโรงอาหาร ถ้าไม่มีก็ต้อง มาถึงวันแรกพวกเราก็ได้เจอกับของดีเมืองฉงชิง่ จ่าย 2 หยวน นักศึกษาที่มีจ�ำนวนมาก บางครั้ง อย่างฮวาเจียว ทีท่ งั้ ชาทัง้ คันลิน้ ได้ใจ เป็นความ ประทับใจแรกของอาหารที่ไม่น่าจดจ�ำจริงๆ รถรางก็เต็ม น.ส.อังศุมาลิน แซ่เฉิน ในใจคิดว่าไอ้เจ้าฮวาเจียวนี่คงมีอะไรดีแหละ คนเค้าถึงกินกัน ไม่งั้นคงไม่น�ำมาท�ำอาหาร เรื่องอากาศ แปรปรวนมาก สองวันมีแดด อีก หรอก แต่ตอนนีย้ งั หาข้อดีไม่ได้ ไว้เข้าหน้าหนาว สองวันฝนตกอีกสองวันหนาว สิง่ ทีท่ �ำได้นนั้ ก็คอื แล้วเราคงรูก้ นั ตอนนีท้ กุ ครัง้ ทีส่ งั่ อาหารพวกเรา คอยเช็คสภาพอากาศ และพกร่มติดตัวตลอดค่ะ ต้องเน้นว่าไม่เอาฮวาเจียว ไม่อย่างนั้น ข้าวมื้อ หทัยภัทร เบญจางค์กุล นั้นจะไม่อร่อยทันที เมื่อเตรียมตัวทั้งเอกสาร ศึกษาสภาพอากาศ ภูมปิ ระเทศ และฝึกฝนด้านภาษาพืน้ ฐานทีใ่ ช้ใน ชีวิตประจ�ำวัน แล้วสิ่งส�ำคัญและอาจล�ำบาก ที่สุดคือการยอมรับวัฒนธรรมที่แตกต่าง จะ ต้องเตรียมใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

ในห้องเรียนที่ซีหนาน

เกษราพรรณ เจริญศึกษา

การเรียนทีจ่ นี จริงจังมาก วันแรกก็เรียนเต็มทีท่ งั้ อาหารการกินอุดมสมบูรณ์มาก ส่วนใหญ่เน้น วัน ถึงพักก็ตอ้ งพักห้ามเรียน แบ่งคาบเวลาเรียน มันๆ เพราะเป็นเมืองหนาว คนจีนบอกว่าน�้ำมัน เป็น 40 นาที ให้ระหว่างคาบ 10 นาที ถ้าเป็นคน ช่วยให้รา่ งกายอบอุน่ อาหารทุกอย่างจึงมีน�้ำมัน จีนเริ่มเรียนกันตั้งแต่แปดโมงเช้า ตอนบ่ายเป็น เป็นส่วนผสมหลัก ต่อมาก็เน้นเผ็ดกับเค็ม คน เวลาให้นอน เรียนอีกทีบ่ายสองครึ่ง เมืองนีจ้ ะไม่กนิ หวาน อาหารจ�ำพวกผักราคาถูก หนูประทับใจอาจารย์ท่านหนึ่ง ท่านชื่อว่า เหริน มากและก็อร่อยมาก อาหารจ�ำพวกเนื้อสัตว์มี เหล่าซือ เมื่อเทียบอายุของท่านก็น่าจะเป็นยาย ราคาแพงหน่อย อาหารทะเลหายากมาก แต่ที่

18

วาเจยี ว

花椒 ฮในหมอ้ ไฟ เมด็ สแี ดง

พอหาได้งา่ ยหน่อยก็ปลาหมึก คนจีนทีน่ ชี่ อบกิน เนื้อวัวมาก ถ้าใครชอบกินเนื้อก็ดีไปเพราะเนื้อ วัวที่นี่อร่อย แต่ถ้าไม่ชอบก็มีเนื้ออย่างอื่นแทน ทั้งเนื้อแพะ เนื้อกระต่ายให้เลือกกินด้วย ถ้าวันไหนรีบไปเรียนหรือไม่อยากไปข้างนอกก็ ทานในโรงอาหารมหาวิทยาลัย รสชาติพอใช้ ราคาประหยัดกว่า เฉลี่ยจานละ 25-30 บาท ถูก กว่าร้านอาหารข้างนอกมาก ในมหาวิทยาลัยมี โรงอาหารหลายแห่ง บางโรงมี 3 ชั้น ซึ่งแต่ละ ชั้นราคาอาหารไม่เท่ากัน ชั้นล่างสุดก็ถูกสุด ชั้น กลางก็ราคากลางๆ และชั้นบนสุดก็ราคาแพง ที่สุด มีอาหารให้เลือกหลายชนิด ทั้งอาหารจีน และอาหารต่างชาติ คุณภาพของอาหารก็เป็น ตามราคา มัทธิดา เมฆศิริ

าวข่าว

炒草 ช

เมนูขนึ้ ชือ่ เลอื ก หยบิ ไมอ้ าหารที่ ชอบ และร้าน จะปรงุ ให้

ตึกเรียนและยังเป็นที่พักของนักเรียนต่างชาติด้วย


อ.คทาเทพ พงศ์ทอง ajarnkathathep@hotmail.com

The Miracle of Sunday มหัศจรรย์วันครอบครัว สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับสู่บรรยากาศแห่งความอบอุ่นของแสงตะวันอัน พลังของวันอาทิตย์ ถือเป็นวันครอบครัวของคนหลากหลายชาติ ซึ่งจะ เริงร่าของวันอาทิตย์ หรือเรามักเรียกกันว่า “วันครอบครัว” ติดตัวแรงงานหลากเชื้อชาติไปในประเทศต่างๆ ที่พวกเขาไปท�ำงาน เช่น “ครอบครัว” หน่วยเริม่ ต้นทีเ่ กิดขึน้ จากการตกลงใจของคนสองคนทีจ่ ะร่วม ใต้รม่ ไม้ในสวนสาธารณะกรุงโซล ประเทศเกาหลี นอกเหนือจากคนเกาหลี กันสร้างชีวิต เป็นสถาบันทางสังคมที่เล็กที่สุด ทว่าทรงพลัง เป็นแรงขับ ทีอ่ อกมาพักผ่อนในวันอาทิตย์ของครอบครัวแล้ว แม่บา้ นและผูใ้ ช้แรงงาน เคลื่อนและเป็นทุนทางสังคมที่ส�ำคัญ หลายประเทศให้ความส�ำคัญกับ ชาวฟิลิปปินส์ก็มักมาสังสรรค์และพบปะกันเป็นครอบครัวอย่างครื้นเครง ครอบครัว และน่าสนใจมากที่รัฐบาลหลายประเทศก�ำหนดให้วันอาทิตย์ รวมถึงชาวไทยในอังกฤษก็นยิ มจัดงานเลีย้ งทีบ่ า้ น ให้ครอบครัวหรือเพือ่ น เป็นวันครอบครัว ตามผมมาสิครับ ผมจะพาทัวร์บรรยากาศไออุ่นของ พ้องได้มาเจอหน้ากันอย่างพร้อมเพรียง ด้วยการสนับสนุนจากสถานทูต ไทยในอังกฤษและวัดไทยที่เป็นแรงผลักดันให้การสร้างสายสัมพันธ์ใน วันครอบครัวทั่วโลกกัน ครอบครัวแน่นแฟ้นขึ้น เริ่มต้นที่บ้านของเรา ประเทศไทย ในภาวะที่สัมพันธภาพของสถาบัน ครอบครัวทัว่ โลกเสือ่ มถอย เนือ่ งจากสภาพเศรษฐกิจทีแ่ ข่งขันและบีบคัน้ การที่หลายประเทศพร้อมใจกันยกให้ “วันอาทิตย์” เป็นวันครอบครัวนั้น สูง สมาชิกในครอบครัวต่างต้องท�ำงานจุนเจือครอบครัว ซึ่งกลายเป็น เหตุผลส�ำคัญคือประเทศส่วนใหญ่ในโลกมักหยุดท�ำงานในวันอาทิตย์ และ บัน่ ทอนเวลาแห่งการแบ่งปันในครอบครัว จนใน พ.ศ. 2547 คณะรัฐมนตรี เป็นวันที่สมาชิกส่วนใหญ่ในครอบครัวว่างตรงกัน จึงเกิดเป็นแรงรณรงค์ ก�ำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์ส�ำคัญเพื่อให้ ให้วันอาทิตย์เป็นวันครอบครัวที่กว่าค่อนโลกยอมรับ และเตรียมพร้อม ครอบครัวตระหนักถึงความส�ำคัญของการใช้เวลาอยูร่ ว่ มกันอย่างใกล้ชดิ ส�ำหรับวันพิเศษของสัปดาห์ อาทิ ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร โรงแรม และมีโอกาสท�ำกิจกรรมตลอดจนเรียนรูร้ ว่ มกันอย่างสม�ำ่ เสมอ จนกระทัง่ สถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว พร้อมใจจัดกิจกรรมพิเศษเพือ่ เสริมสร้างความมหัศจรรย์ เป็นกิจวัตรมาจนถึงทุกวันนี้ ให้กับวันครอบครัวที่ชาวโลกให้ความส�ำคัญ เพราะหน่วยที่เล็กที่สุดใน ข้ามฟ้าไปฝั่งยุโรป ประเทศส่วนใหญ่แถบนี้ก�ำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวัน สังคมนี้ เป็นพลังส�ำคัญในการสร้างสรรค์ แก้ปัญหา และเป็นรากฐานที่ ครอบครัว ที่ประเทศอังกฤษ ร้านรวงมักปิดท�ำการในวันอาทิตย์ เพื่อใช้ ส�ำคัญของทุกสังคมในโลก เวลาอยู่ร่วมกันในครอบครัว หรืออาจเปิดท�ำการช้ากว่าปกติเพื่อมีเวลา ทานอาหารเช้าร่วมกัน หรืออาจจะปิดร้านเร็วขึน้ จากปกติหนึง่ ทุม่ เลือ่ นมา “ความรักความผูกพันในครอบครัวทีส่ านกันเป็นสายใจทีช่ ว่ ยผดุงโลกของ ปิดสีถ่ งึ ห้าโมงเย็น เพือ่ ให้เวลาไปท�ำกิจกรรมหรือปิกนิกของครอบครัว โดย เราไว้มานานแสนนาน... พ่อบ้านแม่บา้ น ก็จะตุนอาหารไว้ตงั้ แต่วนั ศุกร์เพือ่ เตรียมพร้อมส�ำหรับวัน ว่าแต่อาทิตย์นี้ เตรียมโปรแกรมดีๆ ส�ำหรับที่บ้านกันหรือยังครับ อาทิตย์ที่ร้านค้าส�ำคัญๆ อาจจะปิด

19


ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร porpostbox@hotmail.com

ใครๆ ก็สร้างหุ่นยนต์ได้ด้วย GoGo Board

ถ้าพูดถึงการสร้างหุ่นยนต์ คนทั่วไปจะคิดว่าเป็นเรื่องยาก ไม่ใช่ของที่ใครๆ ก็สร้างได้ แต่ปัจจุบันมีการค้นคว้าและสร้างอุปกรณ์รูปแบบใหม่เพื่อให้การ สร้างหุ่นยนต์นั้นเป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยที่สถาบัน MIT ประเทศสหรัฐอเมริกามีนักวิจัยคิดค้นสร้างอุปกรณ์รูปแบบใหม่ขึ้นมาตั้งชื่อว่า GoGo Board ซึ่ง ออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนสามารถน�ำไปใช้สร้างเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ได้ GoGo Board และอุปกรณ์หลัก ได้แก่ มอเตอร์ เซ็นเซอร์รับแสง เซ็นเซอร์รับอุณหภูมิ หน้าจอ แสดงผล และสวิทซ์รูปแบบต่างๆ ในโลกนี้มีการน�ำเอา GoGo Board ไปใช้งาน กันอย่างกว้างขวาง มีโครงงานมากมายที่ใช้ GoGo Board เป็นหัวใจหลัก ในประเทศไทยก็ น�ำเอามาสร้างโครงงานที่น่าสนใจจ�ำนวนมาก เครือ่ งนับการพลิกของศีรษะ ในคืนหนึง่ ๆ เมือ่ เรานอน เรามีการพลิกศีรษะกีค่ รัง้ GoGo Board ช่วยนับจ�ำนวนให้

ตุ๊กตาก็มีหัวใจ GoGo Board ถูกน�ำไปติดอยู่ ข้างหลังของตุ๊กตา และมีการวางเซ็นเซอร์ตาม ต�ำแหน่งต่างๆ เมื่อเราเล่นกับตุ๊กตาแล้ว จิตใจ ของตุ๊กตาก็จะปรากฏขึ้นบนหน้าจอว่าอารมณ์ เป็นอย่างไร เครื่องเปิดหนังสืออัตโนมัติ คนพิการอาจ ไม่ ส ามารถพลิ ก หน้ า หนั ง สื อ ได้ ส ะดวก ที ม นักศึกษากลุ่มนี้จึงสร้างแขนกลเพื่อช่วยพลิก หน้าหนังสือ โดยต้องการเปิดหนังสือเมื่อไหร่ก็ ใช้เท้าเหยียบที่ปุ่มด้านล่าง ลานจอดรถอัจฉริยะ เราไม่ตอ้ งวนหาทีจ่ อดรถ อีกต่อไป จะดีมากถ้ามีการบอกว่าจุดจอดรถตรง ไหนที่ ว ่ า งพอจะไปจอดได้ เราก็ ส ามารถใช้ GoGo Board ทดสอบสร้างตามแนวคิดนี้ดูว่า เป็นไปได้ไหม

PIM น�ำ GoGo Board มาใช้หลายวิชาเพื่อให้ นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ เกมชูตบาสมหาสนุก เมือ่ หยอดเหรียญเข้าไป ตุ๊กตาจะเริ่มส่ายตะกร้า ผู้เล่นต้องโยนลูกบาส (จ�ำลอง) ให้เข้าแป้นให้ได้ โปรเจ็คนีใ้ ช้ Scratch ในการแสดงผลการชูตบาสด้วย เมือ่ ชูตเข้าแล้ว จะมีภาพคนดีใจขึ้นมาและคะแนนก็จะเพิ่ม เกม Happy Pig เมื่อเอานิ้วแหย่ก้นตุ๊กตาหมู ก็ จ ะขึ้ น ภาพนิ้ ว ในเกมที่ ส ร้ า งบน Scratch ประหนึ่งว่าเป็นจิตใจของตุ๊กตาหมูตัวนั้น เรา ต้องเอานิ้วเขี่ยหมูในเกมจนกระทั่งหมูร�ำคาญ และวิ่งหนี ให้เราเอานิ้วเขี่ยไปเรื่อยๆ จนจบเกม ใครเขี่ยเร็วกว่าก็ชนะ เกมยานบินยิงด้วยเสียง ทดสอบการสร้างการ ควบคุมรูปแบบใหม่ โดยใช้อินฟราเรดบังคับ ยานบิน (ที่สร้างใน Scratch) และสั่งให้ยิงโดย ใช้เสียงพูด มีสวิทช์แสงส�ำหรับเปลีย่ นโหมดและ รูปแบบของยาน

ดร.เปาโล (ซ้าย) ดร.โรเจอร์ (ขวา) ผู้คิดค้นและพัฒนา GoGo Board ส่วน ดร.ปอ (กลาง) น�ำเข้ามา ให้ นั ก ศึ ก ษาของ PIM ได้ ทดสอบใช้งาน (จริงๆ แล้ว ดร.ปอ สูงราว 180 ซ.ม. อีก สองคนจะสูงเท่าไหร่เนี่ย?)

20


เรื่องเล่าขององค์กรบิ๊กไซส์

มนตกานต์ วีรชัยเดชอุดม montakanwer@cpall.co.th

สวัสดีค่ะน้องๆ ทุกคน กลับมาอีกครั้งกับคอลัมน์เล็กๆ ที่เต็มไปด้วยเรื่อง ราวขององค์กรระดับใหญ่ ฉบับนี้ พี่ๆ มีเรื่องเล่าจากองค์กรภายใต้กลุ่ม บริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในองค์กรที่อยู่เบื้องหลัง ความส�ำเร็จของ 7-Eleven ในการเป็นผูน้ ำ� ด้านร้านอิม่ สะดวกให้กบั ชุมชน

ด้วยมาตรฐานของสินค้าที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการบริหารงานแบบ Total Quality Management ของผู้บริหารมืออาชีพ และกิจกรรมส่งเสริม ด้านการศึกษา จริยธรรมและการประกอบอาชีพให้กับชุมชน ท�ำให้ CPRAM เป็นทีร่ จู้ กั ในวงการธุรกิจอาหาร และเป็นตัวอย่างองค์กรแห่งการ “สวัสดีค่ะ เช้านี้รับอะไรดีคะ” ประโยคค�ำถามที่เปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มเช่นนี้ เรียนรู้ให้กับสังคม คงเกิดขึ้นไม่ได้ หากขาดสีสัน และความหลากหลากของเมนูอาหารมื้อ ต่างๆ จาก “บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จ�ำกัด” หรือ ที่เรารู้จัก ในนาม “CPRAM” ทั้งขนมจีบ ซาลาเปา ข้าวกล่อง Easy-Go เกี๊ยวกุ้ง เกี๊ยวปู ก๋วยเตี๋ยวหลอด “เจดดราก้อน” ทอดมันกุ้ง ย�ำลูกชิ้น “เดลี่ไทย” รวมไปถึง เบเกอรี่หลากรสของ “เลอ แปง” และ “เบเกอร์แลนด์” ที่เข้าคิว รอให้ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยเลือกสรรตามความชอบ และยังพัฒนาเมนู ใหม่ๆ อย่างไม่รู้จบ ก้าวสู่ 25 ปี ในเส้นทางของบริษัทผู้ผลิตอาหารพร้อมรับประทานและ เบเกอรี่ชั้นน�ำระดับประเทศ ที่เพียบพร้อมไปด้วยคุณภาพรับประกันได้ จากมาตรฐานการผลิตระดับสากล ไม่ว่าจะเป็น ISO 9001, ISO 14001, TIS 18001, HACCP, BRC และ IFS ทีท่ �ำให้เราวางใจได้วา่ CPRAM ใส่ใจ ทุกรายละเอียดการผลิตจริงๆ เพือ่ ให้ผบู้ ริโภคได้รบั สินค้าทีด่ ที สี่ ดุ และใหม่ สดเสมอ สอดคล้องกับสโลแกนของบริษัทที่ว่า “อาหารปลอดภัย เพื่อโลก ที่สดใส” ไม่เพียงแต่สินค้าที่วางจ�ำหน่ายแค่ในร้าน 7-Eleven และร้านค้า ปลีกในประเทศเท่านั้น CPRAM ยังส่งสินค้าเมนูแบบไทยๆ โกอินเตอร์ไป ยังทวีปยุโรปและทั่วโลก ด้วยแบรนด์ “Deli Thai” หรือ ขนมจีบ ซาลาเปา ภายใต้แบรนด์ “Jade Dragon”

นอกจากนี้ พี่ๆ ขอบอกว่า จุดเด่นของ CPRAM อีกหนึ่งอย่างที่จะอดกล่าว ถึงไม่ได้ ก็คือ โรงงาน CPRAM น�ำพลังงานต่างๆ มาใช้หมุนเวียนอย่าง ต่อเนื่องและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีการปล่อยน�้ำทิ้งจากโรงงานสู่ ชุมชน (Zero Water Discharge) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าโรงงานและชุมชน สามารถอยู่ร่วมกันได้เป็นอย่างดี หากมีการจัดการระบบโรงงานที่ดีมี คุณภาพ พร้อมทัง้ การสือ่ สารและเข้าใจความต้องการของชุมชนทีถ่ กู ต้อง เห็นมั้ยคะว่า CPRAM ถือเป็นผู้น�ำด้านธุรกิจอาหารและเทคโนโลยี สายการผลิตชั้นน�ำของประเทศจริงๆ อย่ารอช้าค่ะ โลกของการเรียนรู้จากประสบการณ์ภายในองค์กรคุณภาพ ระดับประเทศ ยังรอน้องๆ ร่วมค้นหาเคล็ดลับความส�ำเร็จอยูเ่ สมอ ก้าวเข้า มาเป็นสมาชิกของรั้ว PIM วันนี้ แล้วจะรู้ว่าเรียนจบพร้อมประสบการณ์ นั้นเป็นทางลัดให้น้องๆ เตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่โลกของการท�ำงานจริงได้ อย่างมั่นใจ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า กับคอลัมน์เล็กพริกขี้หนูที่เต็มไปด้วยเรื่องเล่า ขององค์กรชั้นน�ำไซส์บิ๊กอย่างไม่มีวันหมด

21


ขอขอบพระคุณ คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ผู้สนับสนุนทุนก้นถุงก้อนแรก

บริษัท เบอร์แทรมเคมิคอล (1982) จํากัด บริษัท ห้าตะขาบ (ซิมเทียนฮ้อ) จํากัด

บริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จํากัด และผู้สนับสนุนทุกๆ ท่าน

กองทุนเพื่อชีวิตแห่งการเรียนรู้

เป็นกองทุนเพื่อสนับสนุนค่าครองชีพและวัสดุอุปกรณ์การศึกษา แก่นักศึกษา PIM ที่ประสบปัญหาทางการเงิน ระหว่างเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียน ตามหลักสูตรเรียนรู้คู่ปฏิบัติ Work-based Learning โดยไม่มีข้อผูกพัน กองทุนเกิดด้วยความร่วมมือระหว่าง บริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) กลุ่มพันธมิตร คู่ค้าทางธุรกิจ และบุคคลทั่วไป ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนส่งเสริมเยาวชนให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีระหว่างการศึกษา


กิจกรรมอาสาสมัครของเด็กทุน PIM SMART

เยี่ยมผู้สูงอายุ ที่ศูนย์พัฒนาจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ บ้านบางแค และท�ำความรู้จักชุมชนเกาะเกร็ด

วรวุฒิ สุวรรณวงศ์ หรือ จา

นักศึกษาชั้นปี 1 สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก คณะบริหารธุรกิจ นักศึกษา PIM คนแรกที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก “กองทุนเพื่อชีวิตแห่งการเรียนรู้”

“ชีวิตเราจ�ำเป็นต้องเรียนรู้ครับ การพบปะผู้คนที่เราเจอทั้งดีและไม่ดี ก็จะท�ำให้เรามีภูมิต้านทานที่จะใช้ชีวิตในสังคม ตอนนี้ผมตั้งใจจะเรียนให้จบ 4 ปี จะประหยัดให้มากที่สุด และจะส่งเงินให้ยายด้วยครับ”

ข้อมูลกองทุน PIM SMART ติดต่อ คุณอัจฉรา พวงแก้ว

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำ�บลบางตลาด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0 2832 0440 ถึง 41 โทรสาร 0 2832 0469 www.pim.ac.th www.facebook.com/pimfanpage



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.