การพัฒนาสื่อพื้นฐานการเรียนรู้ (3)

Page 1

การพัฒนาสื่อพื้นฐานการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด ชื่อผู้จัดทําสื่อเพื่อการเรียนรู้ นางสาว ปัทมา จันทร์ประไพ 2. นางสาว สุพัตรา หีบแก้ว 3. นางสาวมารยาท สกุลเต็ม 4. นางสาวนาถธิดา เนืองภา

1.

รหัส 6012011000448 รหัส 6012011000449 รหัส 6012011000453 รหัส 6012011000454

ผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู รุ่น 4 ห้อง 2 วันจันทร์ – พฤหัสบดี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


1. ชื่อกิจกรรม 2. ชือ่ ผู้จัดทําสื่อพื้นฐาน

: การพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้

เรื่อง มาตราตัวสะกด

: นางสาว ปัทมา

จันทร์ประไพ นางสาว สุพัตรา หีบแก้ว นางสาวมารยาท สกุลเต็ม นางสาวนาถธิดา เนืองภา 3. ระยะเวลาในการทําสื่อ : 22 มีนาคม – 2 เมษายน 2561 4. แนวคิดที่มา และความสําคัญของสื่อ ในปัจจุบันนี้มสี ื่อที่ทันสมัยออกมาหลายรูปแบบ รวมไปถึงสื่อคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เนตที่เป็น ที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย หากแต่การใช่สื่อนั้นจําเป็นจะต้องคํานึงถึงความเหมาะสมและการนําไปปรยุกต์ ใช้ในการเรียนการสอนได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ช่วงอายุของผู้เรียนก็มีสว่ นในการประยุกต์ใช้เช่นกัน จากการศึกษาพบว่าการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับอนุบาลไปจนถึงระดับประถมศึกษา นั้น ควรใช้สื่อในรูปแบบสื่อทํามือ ที่สร้างมาจากวัสดุต่างๆที่มีอยู่เพื่อให้ผเู้ รียนในระดับนี้ได้สัมผัสและเกิด การเรียนรู้มากที่สุด ดังนั้นคณะผู้จัดทําจึงได้จัดทําสื่อทํามือ ชื่อ วงล้อมาตราตัวสะกด ซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ มาตราตัวสะกด เหมาะกับผู้เรียนในระดับประถมศึกษาและเหมาะกับผู้ที่สนใจทีจ่ ะเรียนรู้เกี่ยวเรื่องมาตรา ตัวสะกดไทยได้เพิ่มพูนความรู้จากสื่อ และเข้าใจมากยิ่งขึน้ 5. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับมาตราตัวสะกดยิ่งขึ้น 2. เพื่อเสริมสร้างการใช้สื่อให้เหมาะสมกับผูเ้ รียน 6. หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง หลักในการผลิตสื่อ 1. ต้องออกแบบให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย เหมาะสมกับผู้เรียน 2. ผลิตโดยคํานึงถึงประโยชน์ที่จะนําไปใช้งาน 3. สามารถนําไปใช้ได้ง่าย วิธีการใช้ไม่ยุ่งยาก มีคู่มือประกอบการใช้งาน 4. การสื่อบางประเภทไม่จําเป็นต้องแสดงรายละเอียดมากนัก 5. คํานึงถึงความประหยัดทั้งงบประมาณและเวลาให้เหมาะสม


ทฤษฎีและแนวคิดที่นาํ มาใช้ ทฤษฎีและแนวคิดของเจโรมบรุนเนอร์ (Jerome Bruner) ค.ศ. 1965บรุนเนอร์เป็นนักจิตวิทยา การศึกษาชาวอเมริกันได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยเชื่อว่าเด็กทุกระดับชั้นของการพัฒนาสามารถเรียนรู้ เนื้อกาวิชาใดก็ได้ถ้าจัดการสอนให้เหมาะสมกับความสามารถของเด็กการเรียนรู้ตามแนวคิดของบรุนเนอร์แบ่งเป็น 3 ขั้น 1. การเรียนรู้ด้วยการกระทํา (Enactive representation) การเรียนรู้ด้วยการกระทําเป็นขั้นการเรียนรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัสเช่นการดูตัวอย่างและทําตามซึง่ เป็น ช่วงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในเด็กอายุ 2 ปีดังในกรณีที่เด็กเล็กๆนอนอยู่ในเปลและเขย่าของเล่นขณะที่เขย่าบังเอิญของ เล่นตกข้างเปลเด็กจะหยุดนิดหนึ่งแล้วยกมือขึ้นดูทําท่าประหลาดใจแล้วเขย่ามือเล่นต่อไปโดยไม่มีของเล่นนั้น เพราะเด็กคิดว่ามือนั้นคือของเล่นและเมื่อเขย่ามือเด็กก็คิดว่าจะได้ยินเสียงของเล่นนั่นคือเด็กถ่ายทอดสิ่งของ (ของ เล่น) แทนประสบการณ์ด้วยการกระทําขั้นนี้ตรงกับขั้น sensory motor ในทฤษฎีของเพียเจต์ 2. การเรียนรู้ด้วยการลองดูและจินตนาการ (Iconic representation) การเรียนรู้ด้วยการลองดูและจินตนาการเป็นขั้นที่เด็กเรียนรู้ในการมองเห็นและการใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ จากตัวอย่างดังกล่าวเมื่อเด็กอายุมากขึ้นเมื่อเด็กทําของเล่นตกข้างเปลเด็กจะมองหาของเล่นนั้นหรือผู้ใหญ่แกล้ง หยิบของเล่นไปจากมือเด็กเด็กจะหงุดหงิดและร้องไห้เมื่อไม่เห็นของเล่นในมือบรุนเนอร์ตีความว่าการที่เด็กมองหา ของเล่นและร้องไห้หรือแสดงอาการหงุดหงิดเมื่อไม่พบของเล่นแสดงให้เห็นว่าในวัยนี้เด็กมีภาพในความคิดหรือการ จินตนาการ (Iconic representation) ซึ่งต่างจากวัยที่เด็กคิดว่าการสั่นมือคือการสั่นของเล่นในขั้นนี้จะตรงกับขั้น Concrete operation stage ของเพียเจต์ 3. การเรียนรู้โดยการใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Representation) การเรียนรู้โดยใช้สัญลักษณ์เป็นขั้นการเรียนรู้ที่เด็กสามารถเข้าใจการเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรมต่างๆได้เป็น ขั้นการเรียนรู้ขั้นที่สูงสุดของการพัฒนาทางด้านความรู้ความเข้าใจซึ่งเด็กสามารถคิดหาเหตุผลและในที่สุดก็จะ เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ขั้นนี้ตรงกับขั้น formal operation ในทฤษฎีของเพียเจต์ แนวทางการจัดการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนผู้สอนควรคํานึงถึงสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้ 1. การจัดลําดับขั้นของการเรียนรู้และการนําเสนอให้สอดคล้องกับระดับขั้นของการรับรู้และเข้าใจของ เด็ก 2. ในการเรียนการสอนนั้นทั้งผู้เรียนและผู้สอนต้องมีความพร้อมแรงจูงใจและความสนใจ


3. ควรจัดลักษณะและชนิดของกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียนซึ่งจะ ช่วยในให้ผู้เรียนเกิดความรู้ที่คงทนและสามารถถ่ายโยงความรู้ได้การสอนแบบค้นพบ (Discovery learning) วิธีการสอนตามแนวคิดของบรุนเนอร์ใช้วธิ ีการสอนแบบค้นพบ (discovery learning) โดยยึดหลักการสอน ดังนี้ 1. ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน (self motivation) และมีความอยากรู้อยากเห็นอยากค้นพบสิ่งที่อยู่รอบ ตนเอง 2. โครงสร้างของบทเรียน (structure) ต้องจัดบทเรียนให้เหมาะสมกับวัยผู้เรียน 3. การจัดลําดับความยากง่าย (sequence) โดยให้คํานึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน 4. แรงเสริมด้วยตนเอง (self re-enforcement) ผู้สอนควรให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพือ่ ให้ทราบว่า ผู้เรียนทําผิดหรือทําถูกต้องเป็นการสร้างแรงเสริมด้วยตนเอง วิธีการสอนแบบค้นพบ ประกอบด้วยขั้นตอนการสอนตามลําดับขั้นดังนี้ 1. ให้ผู้เรียนเผชิญปัญหาทําความเข้าใจปัญหาและมีความต้องการจะแก้ไข 2. ระบุปัญหาที่เผชิญให้ชัดเจน 3. คิดตั้งสมมุติฐานเพื่อการคาดคะเนคําตอบปัญหา 4. เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้พิสูจน์สมมติฐานที่กําหนด 5. สรุปผลการค้นพบ วิธีการสอนแบบค้นพบเป็นวิธีการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (child centered) โดยยึดหลักที่Dewey กล่าวว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนลงมือกระทําเอง (learning by doing) ดังนั้นแนวคิดของบรุนเนอร์เชื่อว่าเด็กเริ่มต้นเรียนรู้จากการกระทําเพือ่ ให้สามารถจินตนาการสร้างภาพในใจ หรือสร้างความคิดขึ้นได้เองแล้วจึงค่อยพัฒนาถึงขัน้ การคิดและเข้าใจในสิง่ ที่เป็นนาม 7.ขั้นตอนการดําเนินงาน 1.

ขั้นเตรียมการ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ เลือกหัวข้อ เพื่อนํามาจัดทําสื่อและตั้งชื่อโครงการ ศึกษาข้อมูลเกีย่ วกับการทําสื่อมาตราตัวสะกด


2.

3.

ขั้นดําเนินงาน จัดทําตัวสื่อ เริ่มจัดทํารูปเล่มประกอบสื่อการสอน นําเสนอผลงานสื่อพํมนาการเรียนรู้ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม นําสื่อออกไปเผยแพร่ ขั้นสรุปผลการดําเนินโครงการ สรุปผลการใช้สื่อเพื่อนําไปพัฒนาต่อไป

8.งบประมาณที่ใช้ รายการ กระดาษสี กาว ตัวหนีบ

หน่วย 5 1 48

จํานวนเงิน 10 20 39

รวมทั้งหมด 50 20 120 190


9.แผนการปฏิบัติงาน ลําดับที่

กิจกรรม

ช่วงเวลา / สัปดาห์ที่ 1

1. 1.1 1.2 2. 2.1 2.3 2.4 2.5 2.6 3. 3.1

ขั้นเตรียมการ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ เลือกหัวข้อ เพื่อนํามาจัดทําสื่อและตั้งชื่อโครงการ ขั้นดําเนินงาน จัดทําตัวสื่อ เริ่มจัดทํารูปเล่มประกอบสื่อการสอน นําเสนอผลงานสื่อพํมนาการเรียนรู้ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม นําสื่อออกไปเผยแพร่ ขั้นสรุปผลการดําเนินโครงการ สรุปผลการใช้สื่อเพื่อนําไปพัฒนาต่อไป

10.ผลทีค่ าดว่าจะได้รับ 1. ผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับมาตราตัวสะกดมากยิ่งขึ้น 2. ได้พัฒนาการใช้สื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียน

2

3

4


11. วิธีใช้งานสื่อ (คู่มือการใช้งานสื่อ ) ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน ใช้การสอนของขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัตเิ ป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลอง นําความรู้ที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขัน้ ฝึกหัดโดยการลงมือ ฝึกปฏิบัติเองสื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็น ปัญหาให้ผู้เรียนได้ขบคิดโดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อเองมากที่สุด โดยผู้เรียนจะได้หมุนวงล้อที่จัดทําขึ้น และหากวงล้อ หมุนตรงไปตรงกับมาตราใด ให้นําตัวหนีบที่มีมาตรานั้นมาหนีบใส่วงล้อ ครูผู้สอนจะต้องบอกนักเรียนเพื่อความ ถูกต้องหลังจากที่นักเรียนหมุนครบทุกกลีมหรือทุกคนแล้ว 12.เอกสารอ้างอิง ทฤษฎีการเรียนรู้ของนักการศึกษา ; เว็บไซด์ Nation Blog หนังสือทํามือ สื่อง่ายๆแสนกิบ๊ เก๋ ; ศน. วัชราภรณ์ วัตรสุข


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.