Journal 2-2553

Page 1

สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย www.ThaiOrnamentalPlant.org

วารสาร ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2553

ไม้ประดับ Journal of the Society for Ornamental Plants of Thailand

ท่อง

Kew Garden

ตอน ชมสีสันของดอกไม้ หน้า 8

English Cottage Lover หน้า 10

ไผ่ คืออะไร? หน้า 14

ราคา 30 บาท


ทักทาย:

Open garden… เข้าสู่ฤดูฝนกันแล้ว แม้จะไม่โปรยปรายลงมาทุกวัน แต่ก็คงช่วยให้อุณหภูมิที่ร้อนระอุบรรเทาลงไปบ้างนะคะ หลายบ้านเริ่มหันมาซ่อมแซมหลังคาบ้านกันยกใหญ่ รวมทั้งที่บ้านดิฉันเองด้วยค่ะ ฤดูฝนที่ผ่านมาเพิ่งซ่อม ได้ไม่ทันไร ก็ออกอาการในหน้าฝนนี้กันอีกแล้ว ได้แต่ภาวนาว่า ขอให้ซ่อมสำเร็จสักทีเถอะ... จะว่าไปก็ถือว่าดีเหมือนกัน ได้สำรวจบ้านช่องไป ในตัว เพราะบางบ้านอาจมีต้นไทรหรือต้นโพธิ์มางอก บนหลังคา แต่ไม่ว่าจะเป็นต้นอะไรก็ตาม หากพบละก็ รีบกำจัดออกโดยด่วน เพราะคงไม่เหมาะเป็นแน่หากมา ขึ้นผิดที่เช่นนี้ แถมรากของไทรและต้นโพธิ์ยังชอนไชไป ตามโครงสร้าง จนเวลาผ่านไป อาจทำให้หลังคาบ้าน พังได้นะคะ นอกจากเรื่องบ้านแล้ว อย่าลืมหมั่นสำรวจต้นไม้รอบๆ บ้านด้วยนะคะ เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝนอย่างนี้ เน่าตายไปหลายต้นแล้วค่ะ เพราะเชื้อราชอบนักโดยเฉพาะกับพวกไม้ ใบอวบอย่างบีโกเนีย ฉบับนี้เลยมีเคล็ดไม่ลับเกี่ยวกับบีโกเนียมาฝากกัน อ่านได้ใน Garden’s Tips ค่ะ สำหรับกิจกรรมในช่วงนี้อาจเงียบเหงากันไปบ้าง ด้วยภาวะความตึงเครียดของบ้านเมือง แต่ไม่เป็นไรค่ะ เมื่อต้นปีมีโอกาสไปเที่ยวงาน “Ellerslie International Flower Show 2010” ที่ไครสต์เชิร์ช มีภาพสวนสวยๆ มาให้ชมกัน และพามาเที่ยว “Kew Garden” ในคอลัมน์เปิดหูเปิดตาค่ะ ใกล้ถึงงาน “สีสรรพรรณไม้เทิดไท้บรมราชินีนาถ” กันแล้วนะคะ ปีนี้จัดในวันที่ 9-15 สิงหาคม ได้ข่าวว่างานนี้มีงาน  “มหกรรมไผ่แห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ” ด้วย ฉบับนี้เราเลยนำเรื่อง “ไผ่” มาให้อ่านเป็นข้อมูลเบื้องต้นกันก่อนไปเจอต้นจริงในงานค่ะ วิฬาร์น้อย u_chira@yahoo.com

สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย ยินดีต้อนรับสมาชิก ผู้รักและชื่นชอบการปลูกต้นไม้ทุกท่าน เพื่อร่วมกันพัฒนาและสร้างสีสันให้กับวงการไม้ประดับในเมืองไทย สนใจสมัครสมาชิก คลิกที่ www.ThaiOrnamentalPlant.org www.ThaiOrnamentalPlant.org หรือติดต่อคุณเทียนชัย เทียนทองถาวร โทรศัพท์ 08-6512-6999 สนับสนุนโดย

TONG EK Ltd., Part.


คณะกรรมการสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษา นายกสมาคมฯ อุปนายก เลขาธิการ เหรัญญิก นายทะเบียนพันธุ์ไม้ นายทะเบียนสมาชิก บรรณาธิการที่ปรึกษา บรรณาธิการ/ เว็บเอดิเตอร์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ กิจกรรม ปฏิคม ประชาสัมพันธ์ ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์ กรรมการกลาง เจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่ธุรการ ซับเอดิเตอร์ ศิลปกรรม

ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ บริพัตร ศ. ดร.ระพี สาคริก ดร.อนันต์ ดาโลดม ศ. ดร.ธีระ สูตะบุตร ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ผศ.ดร. ม.ล.อโณทัย ชุมสาย นางเมตตา อุทกะพันธุ์ นายเกษม จันทรประสงค์ นายโอฬาร พิทักษ์ นายอุดม ฐิตวัฒนะสกุล นายสุรัตน์ วัณโณ รศ. ดร.อรดี สหวัชรินทร์ นายอภินันท์ บุณยรัตพันธุ์ นางสลิดา พิเรนทร ผศ. ดร.จิรายุพิน จันทรประสงค์ ดร.เฌอมาลย์ วงศ์ชาวจันท์ นายประพันธ์ ประภาสะวัต นางสาวอุไร จิรมงคลการ นายทศพร บุญศุขะ นายอรรถ ประพันธ์วัฒนะ นางสาววรัปศร อัคนียุทธ ผศ.สุนทร เล้าเรืองศิลป์ชัย นายสมพงษ์ ทวีสุข นายถวิล สุวรรณมณี นายชนะชัย ประไพภูมิ นางสาวมัลลิกา สุคนธรักษ์ นางเนาวรัตน์ ลี้อิสสระนุกูล นางยุพดี เลื่อนฉวี นางสาวประพีร์ วัณโณ นางอรวรรณ วิชัยลักษณ์ น.อ.(พิเศษ) ช่อ วาตะ นายสาโรช โสภณางกูร รศ.เอื้อมพร วีสมหมาย รศ.ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์ รศ. ดร.พัฒนา สุขประเสริฐ นายวรวิทย์ อังสุหัตถ์ นางทัศนีย์ วัณโณ นายเปรม ณ สงขลา นายต้นวงศ์ คุณะเกษม ดร.ทยา เจนจิตติกุล ดร.ศศิวิมล แสวงผล นางจงวัฒนา พุ่มหิรัญ นายปราโมทย์ โรจน์เรืองแสง ดร.เศรษฐพงศ์ เลขะวัฒนะ นายสุเมธ วิริยกิจ ผศ. ดร.พัชรียา บุณกอแก้ว ผศ.กนกวรรณ ถนอมจิตร นายวรพันธ์ บำรุงไทยชัยชาญ นางสาวภัทรา แสงดานุช นายวีระ โดแวนเว นางภูริพันธุ์ สุวรรณเมฆ นายสุวัฒน์ จินดา นายเทียนชัย เทียนทองถาวร นางสาวพิมพา จิตตประสาทศีล นายพรพัฒน์ วงศ์ตั้นหิ้น

สารบัญ:

Contents

กิจกรรม: Activities แวดวงไม้ประดับ: Plants Social เปิดหูเปิดตา: Go Tra vel ในสวน: In the Garden เล่าเรื่องต้นไม้: Plants Gossip แนะนำไม้ใหม่: New Comer ไขปัญหา: Q & A Garden เคล็ดไม่ลับในสวน: Garden’s Tips สัตว์ในสวน: Animals in Garden

4 6 8 10 14 16 16 17 18

อุดมการ์เด้นกรุ๊ป

ใส่ ใจ ห่วงใยปัญหาภาวะโลกร้อน

พิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เจ้าของลิขสิทธิ์ สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย ที่อยู่ บ้านก้ามปู เลขที่ 5/6 ซอยสมาคมแพทย์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10240 หรือ ตู้ปณ. 1081 ไปรษณีย์เกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ 10903 โทรศัพท์ 08-6512-6999 ข้อความและรูปภาพทั้งหมดในวารสารเล่มนี้ เจ้าของลิขสิทธิ์สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ การคัดลอกส่วนใดๆในวารสารเล่มนี้ไปเผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของ ลิขสิทธิ์ก่อน ยกเว้นการอ้างอิงเพื่อการศึกษาและวิจารณ์

www.UdomGarden.com


กิจกรรม: Activities

ร่วมลงนามถวายพระพร คุณอุดม ฐิตวัฒนะสกุล นายกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย นำคณะกรรมการ สมาคมฯ ร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ อาคารศิริราช ๑๐๐ ปี ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ภาพ : เนาวรัตน์  ลี้อิสสระนุกูล

1. ด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ 2. ถ่ายภาพร่วมกันหน้าตึก ศิริราช ๑๐๐ ปี 3. นายกสมาคมฯ ลงนามถวายพระพร

2

1

งานเกษตรแฟร์

หลังจากปีใหม่ไม่นาน สมาคมฯก็มีกิจกรรมกันไม่หยุดหย่อน เริ่มจากงานเกษตรแฟร์เมื่อวันที่ 29 มกราคมถึง 6 กุมภาพันธ์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ณ อาคารวิทยบริการ โดยจัด อบรมให้ความรู้เรื่องไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งมีผู้สนใจเข้าอบรมกันทุกวัน หากใครพลาดโอกาส พบกันในงาน “สีสรรพรรณไม้เทิดไท้ บรมราชินีนาถ” ในเดือนสิงหาคมนี้ค่ะ

1 ภาพ : เนาวรัตน์  ลี้อิสสระนุกูล

3

2

1. บรรยากาศในที่อบรม พร้อมวิทยากรจากสมาคมฯ 2. มุมสวนด้านหน้าที่จัดอบรม 3. คุณทศพร บุญศุขะ คุณวรพันธ์ บำรุงไทยไชยชาญ คุณอุดม ฐิตวัฒนะสกุล นายกสมาคมฯ และคุณสุเมธ วิริยกิจ

3 กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับสำนักงานเขตตลิ่งชัน การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย  สมาคมผูป้ ระกอบการสวนกล้วยไม้ไทย สวนกล้วยไม้แอร์ออร์คิด และสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย จัดงาน “Flora in the City 2010” บริเวณชั้นล่างของศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่นเกล้า ระหว่างวันที่ 19-25 มีนาคม เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญพระชนมายุครบ 83 พรรษา และยังเป็นการส่งเสริม การผลิตไม้ดอกไม้ประดับของชาวไทยให้เป็นที่นิยมมากขึ้น งานนีท้ ำให้พน้ื ทีใ่ นห้างเต็มไปด้วยไม้ประดับ ผูค้ นก็ให้ความสนใจ กันอย่างคับคัง่ เพราะมีตน้ ไม้แปลกมาจัดแสดงและจำหน่ายกันด้วยค่ะ 1. ท่านผู้หญิงเพ็ญศรี วัชโรทัย ให้เกียรติมาเปิดงาน 2. สมาคมไม้ประดับก็มาร่วมจัดงานนี้ด้วย 3. กล้วยไม้สกุลหวาย “ชมพูนครินทร์” พันธุ์ใหม่ที่นำมาจัดแสดง 4. มุมสวนบริเวณกึ่งกลางลานชั้นล่างของพื้นที่

Flora in the City

1

3

2010

2

4

ภาพ : ภูริพันธุ์

สุวรรณเมฆ


ภาพ : เนาวรัตน์  ลี้อิสสระนุกูล

ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สมาคมฯได้จัดการประชุมใหญ่ที่ บ้านก้ามปู ซึ่งก็เหมือนงานพบปะสังสรรค์ของสมาชิกสมาคมค่ะ ครั้งนี้ มีการบรรยายในหัวข้อ “การสร้างปัจจัยที่สอดคล้องกับการผลิตและ การตลาดของไม้ประดับ” โดยวิทยากรผู้มีประสบการณ์ในวงการหลายท่าน คือ คุณสุรัตน์ อัตตะ, คุณเปรม ณ สงขลา, คุณรุ่งโรจน์ เขียวมีส่วน, คุณปราโมทย์ โรจน์เรืองแสง และคุณถวิล สุวรรณมณี ให้เกียรติเป็น วิทยากร และบริษัทโซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้นำผลิตภัณฑ์ที่มี คุณภาพมาแจกสมาชิกที่มาร่วมงานในครั้งนี้ นอกจากนี้สำนักพิมพ์ บ้านและสวนยังได้มอบหนังสือให้กับวิทยากรทุกท่านด้วยเช่นกัน

1

2

1. ถ่ายภาพร่วมกันในวันประชุมใหญ่ 2. วิทยากรร่วมบรรยายในวันนั้น

ร่วมรำลึกถึง “คุณท่าน”

2 1

คณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมทำบุญเนื่องในวันถึงแก่กรรม ของ ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร หรือคุณท่าน ที่วังตะไคร้ จังหวัดนครนายก เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยมี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสมาคมฯ ร่วมวางพวงมาลา ที่หน้ารูปปั้นที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม และถ่ายภาพ เป็นที่ระลึกก่อนกลับ

ภาพ : เนาวรัตน์  ลี้อิสสระนุกูล

1. ถ่ายรูปร่วมกับท่านผู้ว่าฯ 2. บริเวณด้านหน้ารูปปั้นคุณท่าน

ศิริราชรักษ์สิ่งแวดล้อม เดินตามรอยเท้าพ่อ นับเป็นครั้งแรกที่โรงพยาบาลศิริราชจัดงาน “ศิริราชรักษ์ สิ่งแวดล้อม เดินตามรอยเท้าพ่อ” ขึ้นเนื่องในวันสิ่งแวดล้อม โลก เมื่อวันที่ 1-4 มิถุนายน ที่ผ่านมา เพื่อรณรงค์ลดการ ทิ้งขยะ โดยมีศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ธีรวัฒน์ 2 กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นประธานเปิดงาน พร้อมหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง สำหรับกิจกรรมสำคัญที่ให้ทุกท่านมีส่วนร่วมคือ การเก็บขยะใน คลองบางกอกน้อย นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน การประกวดชวนชม หม้อข้าวหม้อแกงลิง อโกลนีมา โกสน และโป๊ยเซียน การประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ และมินิคอนเสิร์ต โดยมีคณะ กรรมการของสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทยไปร่วมเป็นวิทยากรในงานนี้ด้วยค่ะ

เรื่องและภาพ : ภูริพันธุ์  สุวรรณเมฆ

1

3

1. บริเวณทางเข้างาน 2. คุณวรพันธ์ บำรุงไทยไชยชาญ คุณอุดม ฐิตวัฒนะสกุล และคุณทศพร บุญศุขะ ร่วมเป็นวิทยากร 3. ลงเรือร่วมกันเก็บขยะในคลอง


แวดวงไม้ประดับ: Plants Social

ไปชมสวนที่ Christchurch กัน

ใครมีโอกาสไปเที่ยวงาน Ellerslie International Flower Show 2010 ที่ไครสต์เชิร์ชกันบ้าง งานนี้จัดขึ้นในพื้นที่ส่วนหนึ่ง ของ Hagley Park ภายในงานมีสวนสวยๆ รูปแบบใหม่ๆ ต้นไม้แปลกๆ เต็มไปหมด จึงถ่ายรูปมาให้สมาชิกได้ชมกัน ถ้ามีโอกาสก็แวะไปเที่ยวได้นะคะ

1

6

2

3

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

5

4

7 ป้ายโลโก้ด้านหน้าทางเข้า วงดุริยางค์บรรเลงสร้างจุดสนใจให้ผู้ร่วมงานได้ดีทีเดียว เรื่องและภาพ : อุไร  จิรมงคลการ รอบๆพื้นที่รายล้อมไปด้วยต้นสนขนาดใหญ่ ข้าวฟ่างที่เป็นไม้ประดับ ปลูกร่วมกับบีโกเนียก็สวยไม่แพ้กัน สวน Substainability with Style เน้นพืชสวนครัวไม้ประดับที่เก็บกินได้ สวน Four Play ฝีมือของนักจัดสวนชาวนิวซีแลนด์ ที่นำเกมมาใช้เป็นลูกเล่นและเน้นสีสันในสวน ต้นไม้ที่นำมาจัดเป็นเรือนั่งของคู่บ่าวสาว

พฤกษาสยาม ครั้งที่ 9

ภาพ : ผศ.จิรายุพิน  และอาจารย์เกษม  จันทรประสงค์

เป็นประจำทุกปีในงานพฤกษาสยามที่เราจะได้เห็นพรรณไม้แปลกๆ ใหม่ๆ มาอวดโฉมกัน สำหรับครั้งนี้จัดที่เดอะมอลล์บางกะปิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรายุพิน และอาจารย์เกษม จันทรประสงค์ คณะกรรมการอาวุโสของเราเก็บภาพมาฝากให้สมาชิกได้ชมด้วยค่ะ

1

4

3 2

1. แก้วแคระเป็นพุ่มกลม เส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 40 เซนติเมตร 2. หม้อข้าวหม้อแกงลิงต้นนี้ได้รางวัลยอดเยี่ยม 3. แก้วกาญจนาใบมงคล ลูกไม้ใหม่ที่เพิ่งออกตลาด 4. ชวนชมโซมาแลนซ์ (Adenium obesum subsp. somalense) ถิ่นกำเนิดทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ต้นนี้อายุมากกว่า 100 ปี ของคุณวีรวัฒน์ มั่นภัทรพงศ์


ร้านนกฮูก สำหรับท่านที่ชอบตกแต่งสวน ในสไตล์บาหลี ตอนนี้ทางร้านมี คอลเล็คชั่นใหม่ให้ท่านเลือก มากมาย ทั้งตุ๊กตาหินทราย โคมไฟ น้ำล้น และประติมากรรมรูปแบบ ต่างๆ อีกมากมาย สาขา 1 ถนนกาญจนาภิเษก เยื้องปั๊ม ปตท. สาขา 2 ศูนย์ไม้ดอกไม้ประดับ ซอยช้าง นนทบุรี โทร. 0-2525-0107, 08-1890-9324, 08-6101-2995 แฟ็กซ์  0-2968-1808


เปิดหูเปิดตา: Go Tra vel เรื่อง : อรรถ ประพันธ์วัฒนะ ภาพ : อภิรักษ์  สุขสัย

1

เดินทอดน่อง ท่อง Kew Garden ตอน ชมสีสัน ของดอกไม้

2

ได้ยินชื่อเสียงมานานกับสวนพฤกษศาสตร์ Royal Botanic Garden หรือ Kew Garden ที่ได้รับประกาศเป็นมรดกโลก และจากที่ได้ยินได้ฟังพี่ๆ หลายคนที่เคยมา บอกว่า “หากมาถึงแล้วไม่ควรพลาด ต้องหาโอกาสมาให้ได้นะ” ผมจึงไม่รอช้า รีบสร้างโอกาสเพื่อขอมาสัมผัสกันใกล้ๆ ขณะนั่งรถออกมานอกเมืองในใจก็เต้นตึกๆ ว่า กำลังจะได้เห็นด้วยตาตัวเองซะที หลังจากลงสถานี Kew Garden เดินเล่นชมข้างทางมาสักพัก ก็มาถึงที่หมาย โดยการมาเดินเล่นครั้งนี้ เราถือคติกันว่า “แดดหุบเราหลบ แดดมาเราออก” ตามสภาพอากาศของอังกฤษที่รู้กันดี เมื่อได้มาถึงทั้งทีก็ขอไปดูสถานที่ที่พวกพี่ๆ ไม่เคยเล่าหรือยังเดินมาไม่ถึงก่อนเป็นอันดับแรก จึงเลือกเดินในทิศที่แตกต่างไป เผื่อจะมีอะไรกลับมาเล่าให้พวกเขา เดินตามแผนที่จนถึง “Rock Garden and Davie Alpine House” เพราะดูจาก แปลนเป็นสีๆ น่าจะมีไม้ดอกที่ตื่นตาตื่นใจเยอะ เมื่อมาถึงไม่ผิดหวังจริงๆ Rock Garden สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1882 มีไม้ดอกหลากหลายพันธุ์ปลูกแทรกอยู่ ตามชั้นหินต่างๆ รวมทั้งมีพรรณไม้ในแถบเมดิเตอร์เรเนียนจัดแสดงไว้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีพรรณไม้หายากปลูกอยู่ใน Davie Alpine House โรงเรือนที่มีโครงสร้างดูแปลกตา ผมเป็นคนรักสวนและต้นไม้อยู่แล้ว ทำให้ใช้เวลาไปกับโซนนี้มากสักหน่อย รู้สึกตัวอีกที


3

4

5

6 ก็หมดเวลาแล้ว  จึงตัง้ ใจว่า  ถ้ามีโอกาสจะขอมาเยือนอีกอย่างแน่นอน ครั้งหน้าพบกับการเยี่ยมชม “Water Lily House” ในสวน Kew Garden อีกหนึ่งตอนครับ เพราะจำนวนหน้ามีน้อยจริงๆ (อันนี้ฝากบอกบอกอเล่มแล้วกันครับ)

7

1. ด้านหน้าของ Davie Alpine House ดูสวยโดดเด่นด้วยงานโครงสร้าง ตัดกับสวนหินที่ประดับประดาด้วยไม้ดอกนานาชนิด กว่าจะเดินไปถึง เสียเวลาแวะทุกมุมจริง ๆ 2. Hypericum perforatum 3. นอกจากโรงเรือนและโขดหินแล้ว ยังมีลำธาร สะพาน และน้ำตก แวะที่นี่ที่เดียว เสียเวลาไปทั้งวันแล้วครับ 4. Helianthemum ‘Fire Dragon’ 5. Phlox douglasii ‘Crackerjack’ 6. ภายในโรงเรือนก็มีการจัดสวนไว้เหมือนกับภายนอกให้ดูกลมกลืนกัน โดยมีเรือนกระจกครอบไว้เพื่อควบคุมอุณหภูมิให้กับพรรณไม้ด้านใน 7. Aethionema pseudarmenum


ในสวน: In the Garden

4

1

English Cottage Lover 2

3

5

เจ้าของ : คุณบัญญัติ-คุณราชาวดี วิจิตรประไพ ออกแบบ-จัดสวน : Little Tree โดยคุณศิริวิทย์ ริ้วบำรุง และคุณจาตุรงค์ ขุนกอง เรื่อง : เกซอนลา ภาพ : นิตยสารบ้านและสวน

สวยหวานสไตล์อังกฤษ

สวนสไตล์อิงลิชคอตเทจที่เต็มไปด้วยไม้ดอกนานาชนิด น่าจะเป็นอีกหนึ่งสวนในฝันที่หลายคนปรารถนา เพราะให้บรรยากาศ อบอุ่นผ่อนคลาย ทั้งยังได้สนุกกับการสรรหาของตกแต่งน่ารักมาเพิ่มบรรยากาศ ซึ่งการจัดสวนสไตล์นี้ในบ้านเราไม่ยากเลยค่ะ เพียงแต่ เลือกพรรณไม้และวัสดุที่ดูไปกันได้เท่านั้น

พรรณไม้ ใช้ไม้พุ่มเป็นหลักโดยปลูกเป็นกลุ่มหลายๆ ชนิด และจัดวางให้ดูเหมือนขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ควรให้เห็นขอบแปลงชัดเจน คละสีสัน และฟอร์มต้นให้ดูหลากหลาย เลือกใช้ไม้ใบด่าง ไม้ดอกหลากสี ไม้ใบใหญ่แซมใบเล็กหรือลักษณะเป็นเส้น ได้แก่ หญ้าด่าง หญ้าน้ำพุ ถั่วบราซิล แอสเตอร์ บลูฮาวาย กุหลาบเลื้อย เป็นต้น

วัสดุในสวน ควรเลือกใช้วัสดุธรรมชาติทั้งสีสัน ลวดลาย และผิวสัมผัส เช่น ทางเดินอิฐ กระถางดินเผา (สีส้มแบบเทอร์ราคอตตาจะเพิ่มบรรยากาศ ของสวนแบบอิงลิชคอตเทจให้โดดเด่นขึ้น) พื้นกรวด และแผ่นหิน แซมพรรณไม้ให้ดูนุ่มนวล เช่น การปลูกไม้คลุมดินแทรกไปกับช่องว่าง ระหว่างแผ่นทางเดิน พื้นกรวดที่ดูกว้างและโล่งเกินไป ก็หาไม้กระถางหรือไม้คลุมดินมาปลูกแซมให้ดูเป็นธรรมชาติ 10


ของตกแต่งสวน เลือกของแต่งสวนที่มีกลิ่นอายแบบสวนอังกฤษ เช่น ตุ๊กตารูปสัตว์ต่าง ๆ เก้าอี้หวาย เก้าอี้โครงเหล็ก ที่ให้น้ำนก เอิร์น และกระถางทรง ยุโรปหลากหลายขนาด เพื่อให้เข้ากันกับสวนสไตล์นี้ที่มักเน้นรายละเอียดการตกแต่งด้วยข้าวของต่างๆ มากว่าสวนสไตล์อื่น อย่างไรก็ตาม ไม่ควรจัดวางของแต่งสวนในแต่ละมุมมากเกินไป ควรเลือกชิ้นงานเด่นเพียงหนึ่งชิ้นและเสริมด้วยวัสดุอื่นๆ หรือต้นไม้ดีกว่า

1. 2. 3. 4. 5.

ปลูกต้นไม้คละกันแบบธรรมชาติ มีเก้าอี้โครงเหล็กสีชมพูวางเป็นจุดเด่นดูเข้ากันกับดอกยี่โถ อีกด้านของสระว่ายน้ำมีสนามหญ้าสีเขียวสดที่ยกระดับขึ้นมา และวางม้านั่งไม้ตัวยาวสีธรรมชาติดูเด่นสะดุดตา เก้าอี้โครงเหล็กสีขาวดูอ่อนหวานวางบนลานหิน มีฉากหลังเป็นผนังต้นไม้สีเขียวยาวตลอดแนว กลุ่มไม้ดอกที่ปลูกเป็นพุ่มบริเวณมุมระเบียงบ้าน ปูแผ่นทางเดินหินสลับกรวดดูเป็นธรรมชาติ ขนาบข้างด้วยพรรณไม้หลากชนิดอย่างบลูฮาวาย หญ้าน้ำพุ เป็นต้น

Garden ideas

A. เลือกกระถางดินเผาแบบเรียบๆ ไม่มีลวดลายมากนัก แล้วปลูกต้นไม้ จัดวางเป็นกลุ่มไล่ระดับกัน B. ซ่อนก๊อกน้ำไว้ในเสาปูนให้ดูเรียบร้อย และยังเป็นของตกแต่งสวนได้ด้วย C. นำบ้านนกมาวางตกแต่ง เพิ่มรายละเอียดให้สวนดูมีเรื่องราว มากขึ้น D. เลือกใช้ตุ๊กตารูปสัตว์วางคู่กับ กระถางต้นไม้ เสริมมุมเล็กๆ ให้ดูน่ารัก มากขึ้น

B

A

C

D 11




เล่าเรื่องต้นไม้: Plants Gossip

ไผ่คืออะไร?

2

1 หลังผ่านฤดูฝนมาเกือบเดือน ตามแผงขายผักในตลาดสด รวมทั้งร้านขายผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นก็เริ่มมีผักพื้นเมือง ที่เป็นสัญลักษณ์ของฤดูฝนวางขายกันอย่างคึกคัก และหนึ่ง ในบรรดาผักยอดนิยมแห่งฤดูฝนเห็นจะเป็น “หน่อไม้” ซึ่งก็คือ หน่ออ่อนของต้นไผ่นั่นเอง ต้นไผ่หรือไผ่ จัดเป็นพืชในวงศ์หญ้า (Family Poaceae หรือ Gramineae) แต่ต่างจากหญ้าทั่วไปตรงที่ไผ่มีเหง้าขนาดใหญ่ แตกกิ่งซับซ้อนและแข็งแรง จุดเด่นที่สำคัญคือมีลำที่แข็งเหมือน เนื้อไม้ (woody culm) ซึ่งทำให้ไผ่ส่วนมากมีลำต้นสูงใหญ่และ มีอายุหลายปี ลักษณะดังกล่าวส่งผลให้นักพฤกษศาสตร์จัดไผ่ไว้ ในวงศ์ย่อยไผ่ (Subfamily Bambusoideae) หรือในบางตำรา อาจแยกออกไปเป็นวงศ์ไผ่โดยเฉพาะ (Family Bambusaceae) สำหรับถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ของไผ่ตามธรรมชาตินั้น พบในประเทศเขตร้อนทั่วโลกและบางส่วนของเขตอบอุ่น เราจึง สามารถพบไผ่ขึ้นกระจายเกือบทั่วทุกภูมิภาคของโลก ยกเว้นยุโรป ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ประมาณ 80-90 สกุล 1,500 ชนิด สำหรับในเมืองไทยซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเขตร้อนโลกเก่ามีไผ่ที่ขึ้นตาม ธรรมชาติทั้งสิ้น 15-20 สกุล ประมาณ 80-100 ชนิด กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ส่วนมากพบขึ้นตาม ป่าเบญจพรรณหรือป่าผสมผลัดใบและส่วนหนึ่งในป่าดิบชื้น ปัจจุบันไผ่ที่เรารู้จักและใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลายในเมือง 14

3

เรื่องและภาพ : ดร.อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ และดร.สราวุฒิ สังข์แก้ว พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ไทยมีหลากหลายชนิด ทั้งที่นำเข้า เช่น ไผ่ตง (Dendrocalamus asper) ไผ่หมาจู๋ (D. latiflorus) ไผ่ลี่จู๋ (Bambusa oldhamii) และที่เป็นไผ่พื้นเมือง เช่น ไผ่ซางนวล (Dendrocalamus membranaceus) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata) ไผ่รวก (Thyrsostachys siamensis) และไผ่ป่า (Bambusa bambos) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไผ่อีกหลายชนิดที่สามารถใช้ประโยชน์ ได้มากกว่าหรือดีกว่าชนิดที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เช่น ไผ่หก (Dendrocalamus hamiltonii) และไผ่บงใหญ่ (D. brandisii) สองชนิดนี้ปัจจุบันมีการปลูกอย่างแพร่หลายทางภาคเหนือ จากการรวบรวมข้อมูลไผ่ในประเทศไทย พบว่ายังมีไผ่อีก หลายชนิดที่ควรนำมาพัฒนาเพาะปลูกในเชิงการค้า เช่น ไผ่ยักษ์ (Dendrocalamus giganteus) ซึ่งเป็นไผ่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ ไผ่มันหมู (D. copelandii) เนื่องจากทั้งสองชนิดให้หน่อที่มี รสชาติหวานกรอบ และมีเสีย้ นน้อย รวมทัง้ ยังตัดหน่อมาบริโภคได้ แม้ว่าหน่อจะสูง 1-2 เมตร และล่าสุดมีการค้นพบไผ่สกุลและ ชนิดใหม่ของโลก ได้แก่ ไผ่ภูพาน (Phuphanochloa speciosa) และ ไผ่กระโรม (Dendrocalamus khoonmengii) จึงน่าจะเป็น การเพิ่มโอกาสการใช้ประโยชน์มากขึ้นด้วย สำหรับการปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมนำมาใช้ตกแต่งภูมิทัศน์ และตกแต่งสวนเพื่อให้ร่มเงากันมาก เพราะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ให้ความแข็งแรง แต่ไม่แข็งกระด้าง ลักษณะพุ่มใบมีความ


หลากหลาย ขนาดลำต้นมีทั้งขนาดเล็กที่สูงไม่เกิน 2 เมตร เช่น ไผ่เพ็ก (Vietnamosasa pusilla) ไผ่หลอด (Himalayacalamus sp.) จนถึงขนาดใหญ่ที่สูง 20-30 เมตร เช่น ไผ่ตง ไผ่ยักษ์ เป็นต้น จึงสามารถนำมาใช้ประดับตกแต่งสวนได้ทั้งในพื้นที่แคบและกว้าง นอกจากนี้สีสันของลำต้นและใบไผ่ก็มีความหลากหลาย ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและ จากการปรับปรุงพันธุ์โดยมนุษย์ โดยทั่วไปสีของลำไผ่มีสีเขียว แต่มีหลายชนิดที่มีสีลำที่สวยงาม เช่น สีเหลืองทองล้วน บางครั้งอาจมีแถบสีเขียวแคบๆ สลับตามความยาวปล้อง เช่น ไผ่ทอง (Schizostachyum brachycladum) หรือสีเหลืองสลับสีเขียวของ ไผ่เหลือง (Bambusa vulgaris cv. Vittata) ไผ่บางชนิดมีลำสีดำหรือสีม่วงเข้ม เช่น ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra) และ ไผ่ดำอินโดนีเชีย (Gigantochloa atroviolacea) และชนิดที่ปรับปรุงพันธุ์เพื่อปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น ไผ่น้ำเต้า (Bambusa vulgaris cv. Wamin) ซึ่งมีปล้องพองออกเป็นรูปคล้ายน้ำเต้า หรือ ไผ่ขน (Phyllostachys edulis cv. Heterocycla) ที่มีปล้องด้านล่างรูปร่างคล้ายกระดองเต่า ปัจจุบันผู้เขียนกำลังเก็บข้อมูลเรื่องไผ่ในเมืองไทย เพื่อให้ชาวไทยได้รู้จักไผ่และคุณประโยชน์ของ ไผ่มากยิ่งขึ้น ในอนาคตเมืองไทยอาจมีไผ่ชนิดใหม่ที่มีประโยชน์ทุกด้านและเป็นที่ต้องการของคน ทั่วโลกก็เป็นได้… บรรณานุกรม Ohrnberger D (1999). The bamboos of the world: annotated nomenclature and literature of the species and the higher and lower taxa. Elsevier Science B.V., Amsterdam, The Netherlands

4

Sungkaew S, Teerawatananon A, Korawat W and Hodkinson TR (2007). Dendrocalamus copelandii, a new giant bamboo record for Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 35:94-97. Sungkaew S, Teerawatananon A, Parnell JAN, Dransfield S, Stapleton CMA and Hodkinson (2008). Dendrocalamus khoonmengii, a new bamboo species (Poaceae: Bambusoideae) from peninsular Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 35:98-102. Sungkaew S, Teerawatananon A, Parnell JAN, Stapleton CMA and Hodkinson TR (2008). Phuphanochloa, a new bamboo genus (Poaceae: Bambusoideae) from Thailand. Kew Bulletin 63(4): 669-673. 1. 2. 3. 4.

บริเวณปล้องของไผ่ขนที่มีลักษณะคล้ายกระดองเต่า ไผ่บงใหญ่ ไผ่เหลือง หน่ออ่อนของไผ่ยักษ์เทียบสัดส่วนกับความสูงของคน

6

5. 6. 7. 8.

ไผ่ยักษ์ ไผ่น้ำเต้า ไผ่กระโรม ไผ่ไร่ที่ขึ้นในป่าโล่งแจ้ง

5

7

8 15


แนะนำไม้ใหม่: New Comer

ASTILLBE ดอกไม้จากอเมริกา หลังจากที่ห่างหายการเดินตลาดจตุจักรวันพุธ-พฤหัสฯ มานาน พอน้องมาชวน เท่านั้นละ จังหวะว่างพอดี รีบไปทันทีโดยไม่รั้งรอ ไปเปิดหูเปิดตาหน่อย เผื่อมีต้นไม้ แปลกๆ ใหม่ๆ มาบ้าง จะได้ไม่ตกข่าว แล้วก็ไม่พลาด ได้เจอต้นที่เจ้าของร้านแถว โครงการ 2-3 ติดป้ายไว้ว่า “แอสทิลเบ้ เลี้ยงแดดได้” ดอกสีชมพูอมแดงสวยเชียว ต้องถ่ายรูปไปเช็กชื่อดีกว่า จะได้รู้ว่าเป็นต้นอะไร แล้วเลี้ยงแดดได้จริงไหม กลับมาเปิดหนังสือ “TROPICA” เอ็นไซโคลพีเดียโบราณที่มีอยู่ก็ค้นเจอจนได้ เทียบกับ หนังสือ “BOTANICA” ตำราต้นไม้อีกเล่ม คำตอบก็คือไม้ดอกอายุสั้นที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Astilbe x arendi ชื่อสามัญ คือ False Spiraea เป็นลูกผสมที่พัฒนาสายพันธุ์มาเป็น ไม้ตัดดอก ซึ่งมีหลายสีหลายพันธุ์ ฉะนั้นต้องชอบแดดแน่ๆ ว่าแต่ว่า เมืองไทยร้อน ขนาดนี้จะปลูกได้ไหม คงต้องลองซื้อไปปลูกที่บ้านดู เพราะต้นนี้มีถิ่นกำเนิดทาง ตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ลองปลูกแล้วได้ผลอย่างไร จะบอกให้รู้วันหลังนะคะ

1

1. ทรงพุ่มสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ช่อดอกยาว 20-30 เซนติเมตร ใบหยักเว้า 2. ป้ายชื่อที่ผู้ขายบอกไว้

2

ไขปัญหา: Q & A Garden

ที่นี่ก็ม ี “หางนกยูงสีทอง” เหมือนกัน เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีสมาชิกอีเมลมาเล่าเรื่อง ต้นไม้พร้อมภาพถ่ายมาเล่าให้ฟัง เลยขออนุญาตนำมาลง ในวารสารฉบับนี้ให้อ่านกันค่ะ

>>>ถาม

เรียนสมาคมไม้ประดับ

ดิฉันเคยอ่านคอลัมน์ในหนังสือของสมาคมเรื่องต้นหางนกยูง สีทอง ซึ่ง ณ เวลานั้นทิ้งท้ายไว้ว่า เห็นมีอยู่ไม่กี่ต้น ใครพบเห็น ที่ไหนให้แจ้งให้ทราบ (จำไม่ได้ว่าฉบับไหน แต่ก็นานพอสมควรค่ะ) ดิฉันเห็นต้นหางนกยูงต้นนี้ คิดว่าน่าจะเป็นสีทองตามที่ตามหา แต่ก็ไม่แน่ใจนักนะคะ เลยแอบถ่ายรูปส่งมาให้ดูค่ะ เผื่อว่าจะใช่ อยู่ที่บ้าน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ในซอยวิภาวดี 60 ค่ะ (ถึงได้ต้องแอบถ่ายไงคะ) ทรรศนา ศักดิเศรษฐ์ tatsanas@hotmail.com

ตอบ<<<

เรียนคุณทรรศนา ก่อนอื่นต้องขอบพระคุณมากค่ะที่ติดตามเรื่องราวดีๆ ของ วารสารไม้ประดับอยู่ สำหรับต้นที่ส่งมาก็เป็นต้นหางนกยูงสีทอง แน่นอนค่ะ และดีใจที่รู้ว่ายังมีผู้ที่ปลูกไม้ประดับต้นนี้อีกท่านหนึ่ง 16

อีกที่หนึ่งที่พบเห็นได้ไม่ยาก คือ “บ้านก้ามปู” สถานที่ ประชุมใหญ่ที่ผ่านมา ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม หาก เดินเข้าไปทางประตูด้านหน้าร้าน และมองไปที่พื้นจะเห็น ดอกหางนกยูงสีทองร่วงตามพื้นมากมาย เคยเรียนถาม อาจารย์สุรัตน์ว่า ขอเมล็ดมาเพาะได้หรือไม่ อาจารย์บอกว่า ลองนำมาเพาะเหมือนกัน แต่ต้นที่ได้กลับให้ดอกสีแดงสีส้ม แทนที่จะเป็นสีเหลือง วิธีที่จะทำให้ได้ต้นสีเหลืองคงต้องใช้วิธี เสียบยอด โดยใช้ต้นตอสีแดง สีส้ม หรือใช้วิธีตอนกิ่ง ก็น่าจะได้ แต่ยังไม่เคยลองทำค่ะ ตอนนี้อยากได้มาปลูกทั้งสามสีเลยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ อุไร จิรมงคลการ (แมว)


เคล็ดไม่ลับในสวน: Garden’s Tips

เคล็ดไม่ลับกับ

บีโกเนีย

บีโกเนีย (Begonia) เป็นพรรณไม้ที่มีความโดดเด่นในเรื่อง รูปทรงและสีสันของใบซึ่งงดงามแปลกตา แบ่งได้ 8 กลุ่ม เช่น บีโกเนียเหง้า (Rhizomatous Begonia) บีโกเนียเร็กซ์ (Rex Begonia) บีโกเนียลำ (Cane-like Begonia) บีโกเนียดอก (Semperflorens Begonia) บีโกเนียหัว (Tuberous Begonia) ฯลฯ แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเมืองไทย คือ บีโกเนียเหง้าและ บีโกเนียเร็กซ์ จึงขอแนะนำเคล็ดลับของสองกลุ่มนี้เท่านั้นค่ะ บีโกเนียเป็นพืชอวบน้ำ ดังนั้นแม้ผู้ปลูกจะไม่ได้รดน้ำทุกวัน พืชชนิดนี้ก็ยังดำรงชีวิตอยู่ได้ ความเหมาะสมในการรดน้ำบีโกเนีย ขึ้นอยู่กับวัสดุปลูกและสภาพแวดล้อม จากประสบการณ์ของผู้เขียน พบว่า ปัญหาหลักของบีโกเนียคือ โรคเน่าเนื่องจากได้รับน้ำมาก เกินไป ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้ปลูกยังไม่เข้าใจธรรมชาติของบีโกเนีย ดีพอ วัสดุปลูก มีให้เลือกใช้หลายแบบ ที่สำคัญคือต้องร่วนโปร่ง ระบายน้ำดี เดิมผู้เขียนใช้ดินใบก้ามปูผุผสมกาบมะพร้าวสับ และแกลบดิบ แต่มักพบปัญหาแมลงในดินเจาะทำลายเหง้า ระยะ หลังจึงเปลี่ยนมาใช้กาบมะพร้าวสับล้วนๆ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่กาบมะพร้าวสับไม่มีธาตุอาหาร ต้องให้ปุ๋ยเสริมอย่างสม่ำเสมอ การรดน้ำ ขึ้นอยู่กับวัสดุปลูกว่าสามารถอุ้มน้ำไว้ได้มากน้อย เพียงใด วิธีทดสอบง่ายๆ คือ ใช้นิ้วจิ้มลงในวัสดุปลูก ถ้ารู้สึกว่า ข้างใต้ยังมีความชื้นอยู่ก็ไม่ต้องรดน้ำ สภาพแวดล้อมในการปลูกเลี้ยง บีโกเนียเหง้าและบีโกเนียเร็กซ์ ต้องการแสงแดดน้อย สามารถปลูกเลี้ยงได้งดงามและผลิใบขนาด ใหญ่ในที่ร่มและมีความชุ่มชื้นในอากาศ หากพื้นที่ปลูกร้อนและ แห้งแล้ง ใบจะเล็ก ขอบใบม้วนงอหรือมีรอยไหม้ บีโกเนียที่ผู้เขียน ปลูกโดยการปักชำใบไว้ตามซอกอิฐมอญใต้โต๊ะวางต้นไม้ สามารถ เติบโตเป็นพุ่มใหญ่งดงาม แม้จะอยู่กลางฤดูร้อนก็ตาม เทคนิคการใช้บีโกเนียตกแต่งสวน จุดเด่นของบีโกเนียเหง้าและบีโกเนียเร็กซ์ คือ สามารถขยายพันธุ์ ด้วยวิธีปักชำใบ โดยตัดก้านใบยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ปักชำลงในวัสดุปลูก สำหรับสวนที่ใช้อิฐมอญปูพื้นหรือก่อเป็น กำแพง อาจเพิม่ สีสนั ด้วยการนำใบบีโกเนียปักชำไว้ตามซอกอิฐมอญ นอกจากจะเป็นพรรณไม้ตกแต่งสวนที่งดงามแล้ว การปลูกด้วยวิธีนี้ ยังช่วยให้บีโกเนียปลอดจากโรคเน่าได้ดีกว่าการปลูกลงในกระถาง หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกเลี้ยงบีโกเนีย สามารถหาอ่านจากหนังสือ “มือใหม่หัดปลูกบีโกเนีย” สำนักพิมพ์บ้านและสวน ภัทรา  แสงดานุช http://patrabooks.blogspot.com

1

2

3

4

5

6

1-2. บีโกเนียที่ขึ้นบนพื้นอิฐมอญที่ปกคลุมด้วยมอสส์และเฟิน 3.บีโกเนียที่ปลูกบนกำแพงอิฐมอญร่วมกับแอฟริกันไวโอเลต 4. บีโกเนียลำพันธุ์ Cracklin’ Rosie ที่เลี้ยงง่าย 5. บีโกเนียหัวที่มีจำหน่ายในตลาดต้นไม้ แต่ต้องเลี้ยงในที่ที่มีอากาศเย็นเท่านั้น 6. บีโกเนียเร็กซ์มีโคนใบม้วนเป็นก้นหอย

17


สัตว์ในสวน: Animals in Garden

กิ้งก่า (Lizard)

1 เรื่องและภาพ : วิชญนันท์  ลิมปรุ่งพัฒนกิจ

2

1-2. กิ้งก่าหัวแดง 3. กิ้งก่าหัวสีฟ้า 4. กิ้งก่าแก้วพันธุ์ใต้

18

คนส่วนใหญ่อาจรูส้ กึ แหยงๆ เมือ่ พูดถึง “สัตว์เลือ้ ยคลาน” แต่เราปฏิเสธไม่ได้วา่ มีสัตว์เหล่านี้อยู่ร่วมชายคาทั้งในและนอกบ้าน จนเรียกได้ว่าเป็นสัตว์สามัญประจำ บ้าน ดังนั้น เราควรเปิดใจต้อนรับพวกมัน เพราะหลายชนิดทำหน้าที่เป็นผู้รักษา สมดุลในระบบนิเวศน์ขนาดย่อมที่สำคัญในบ้านและสวนเลยทีเดียว “กิ้งก่า” เป็นสัตว์พื้นเมืองของบ้านเรา จัดอยู่ในวงศ์ Agamidae ประกอบด้วย กิ้งก่าบิน (Gliding Lizard) ตะกอง (Indochinese Water Dragon) และแย้ (Butterfly Lizard) แต่ชนิดที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุดคือ กิ้งก่าในสกุล Calotes ที่พบในเมืองไทยมี 3 ชนิด ซึ่งล้วนแต่มีหนามแหลมสั้นๆ ที่หัวตา ท้ายทอย ตลอดจนแนวกลางหลัง หางมีลายปล้องจาง ๆ ทุกชนิดสามารถเปลี่ยนสีได้อย่าง รวดเร็ว และปรับตัวให้อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมร่วมกับมนุษย์ได้ดี ชนิดที่พบเห็นง่ายที่สุดคือ กิ้งก่าหัวแดง (Oriental Garden Lizard ชื่อวิทยาศาสตร์: Calotes versicolor) ปกติกิ้งก่าชนิดนี้มีลำตัวสีเหลืองตุ่นๆ มีแต้มสีน้ำตาลจางๆ ในช่วงจับคู่ ตัวผู้มีเส้นสีแดงสดสวยงามมากที่ลำตัวด้านหน้า รวมทั้งมีปื้นสีดำที่คอและแก้ม ส่วนตัวเมียสีไม่สวยเท่าและมีแถบสีขาว 1 คู่ พาดเป็นทางยาวทีล่ ำตัวด้านบน พบได้ทั่วไปตามสวนและท้องทุ่ง นอกจากนี้ในกรุงเทพฯก็มีกิ้งก่าอีกชนิดหนึ่งที่ตัวใหญ่และมีสีสันสะดุดตากว่า อาศัยอยู่ในเมืองกับเราด้วย กิ้งก่าชนิดนี้เมื่อพบเห็นก็มักเป็นที่ตื่นตาตื่นใจ มีชอ่ื ตามสีสนั ของมันว่า กิง้ ก่าหัวสีฟา้ (Blue-crested Lizard ชือ่ วิทยาศาสตร์: Calotes mystaceus) บางครัง้ ก็เรียกว่า Moustached Lizard เพราะมีแถบสีขาว พาดผ่านใต้ตาดูคล้ายมีเครา หัวและลำตัวด้านหน้าเป็นสีฟ้าสด ลำตัวด้านหลัง เป็นสีน้ำตาล และมีแต้มสีน้ำตาลแดงบนหลัง ตัวเมียมีสีสันคล้ายตัวผู้ แต่สีอ่อน กว่า มักอาศัยอยู่บนต้นไม้ตามสวนหรือป่าที่ค่อนข้างแห้ง พบได้ทุกภาคยกเว้น ภาคใต้ตอนล่าง


ชนิดสุดท้ายมีชื่อว่า กิ้งก่าแก้ว (Forest-crested Lizard ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calotes emma) คล้ายกิ้งก่าหัวแดง แต่มีลายพาด ที่หลังสีเข้มชัดกว่าชนิดอื่น ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ที่หัวเป็นสีแดงคาดดำ ด้านบนของลำตัวมีแถบสีขาว 1 คู่พาดเป็น ทางยาวเห็นได้ชัดเจน ในขณะที่ตัวเมียมีลำตัวสีเขียวอ่อน พบในป่า หลายประเภท รวมทั้งตามสวนป่าและสวนยางพารา พันธุ์ที่พบใน ภาคใต้มีเกล็ดใหญ่เป็นสัน และมีหนามยาวกว่าพันธุ์ที่พบในภาคอื่นๆ กิ้งก่าทั้ง 3 ชนิดมีอาณาเขตเป็นของตัวเอง เมื่อตกใจมีสีและ ลวดลายจางลง ในทางกลับกันก็จะมีสีเข้มสดขึ้นในช่วงจับคู่ โดยกิ้งก่า ตัวผู้มักจะเกาะโชว์ตัวในที่โล่ง ผงกหัวและแผ่พังผืดที่คอเพื่อดึงดูด ตัวเมีย กิ้งก่าจะลอกคราบเมื่อมีอายุมากขึ้น ผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 1 ปี ตัวเมียวางไข่ตามขอนไม้ผุๆ หรือขุดดินเป็นแอ่งตื้นๆ แล้วกลบ ดินฝัง เวลาจวนตัวจะวิ่งหนีขึ้นต้นไม้ ไม่สลัดหางทิ้งเหมือนจิ้งจก (Gecko) และจิง้ เหลน (Skink) กินแมลงและสัตว์เล็กแทบทุกประเภท ที่งับเข้าปากได้ แต่ก็กินใบไม้ใบหญ้าเป็นอาหารเสริมด้วย กิ้งก่าสีสวยเหล่านี้ ชอบอยู่ตามสวนที่มีไม้ต้นประปราย และมีที่โล่ง ให้ใช้เป็นจุดอาบแดด ในช่วงจับคู่เพื่อผสมพันธุ์ กิ้งก่าตัวผู้มักใช้ ก้อนหินใหญ่ๆ หรือซากไม้ที่ประดับไว้ในสวนเป็นเวทีโชว์ตัวเพื่อดึงดูด ตัวเมีย

3

4

à¡ÉµÃ¡Œ Ò Ç˹Œ Ò ¾ÒªÒµÔ½†ÒÇԡĵ

³ ³¤ ¤¹ ¾ ² ³ u¾ ª ¤ n³¨¬ n³ ³ ³ µ ³h ¨µ ¥ v ¤± ´ d ¾ ¸®Æ ¾ £¿ ¤m ¦ ¦µ ® ¦º n³¾ ª ¤ ¤ n³¨¬ n³ ¶Æ«³¢³¤ ² ³ ¨³¢¤ºn ©² £¡³ ¾ µĀ¢ º ¹ ¡³ «µ n³ Á¬n¢¶ ¹ ¡³ ¢³ ¤ ³ «m ®® ¢³¿« Á¬n¾¬Å · ©² £¡³ ¿¦± ¨³¢ n³¨¬ n³ ® À ¤ ³¤Á¬n ² ¤± ³ ²Ā¨Â  n¾¬Å · ¨³¢«´¾¤Å ¶¢Æ ¢¶ ³®£m³ m®¾ ü®Ā ¹ d ¡³£Á ³ ³ ³¤Â n¾ µè¦º n³¾ ª ¤ ¤ ¶Æ¾ | ¦º n³ ® ³ ³¤ ¤¹ ¾ ³ À ¤ ³¤¾ ª ¤ n³¨¬ n³ ¶Æ ² ¾¦¸® ³ ³¤¾ | ¾ ª ¤ ¤ ¶¢Æ ¶ ¨³¢¤º n ¨³¢«³¢³¤ ¢¶ ³¤ ¤µ¬³¤ ² ³¤ ¶ Æ ¶ ¢¶ ¨² ¤¤¢ ¤¨¢ · ¢¶ ³¤ ² ³ ¦µ ¡² q®£m³ m®¾ ÿ®Ā ¢³¤m¨¢®® º À £ ² ¦µ ¦ ¶¾Æ | «µ n³ ¶«Æ m ³£ ² Ç Á ¿¦± m³ ¤±¾ ©¢³ ´¬ m³£Á¬n ² º n ¢Æ¶ ³¤m¨¢ ³ Á ¤³ ³£m®¢¾£³¨q ®³ µ ¾¬Å ¢²« · ³¾ ± ¦µ ¡² q ³ ¦³¿ ¤¤º ² ¦® «³¤ µª ¢±¢m¨ Ç´ ® ¢n ¿¢ ³¾ ¾¢¶£ ² «n¢«³£ Ç´ · Ç ¢±¦± ® ² ¹¾q ³ µ ¦µ ¡² q ³ ¬¢m® ¬¢ Ç´ · Ç ¿¦± ¦µ ¡² q ¢± ¤n³¨ Ç´¬®¢ ¢ º m ¹ ¡³ ¦n¨£Â¢n«³£ ² ¹ q ³m Ä ¾ | n «´¬¤² Á d Çþ ¦ ³¤ ´¾ µ ³ ® À ¤ ³¤¾ ª ¤ n³¨¬ n³ ² Ç ³ ³¤ ¤¹ ¾ «³¢³¤ £³£¾ ¤¸® m³£¾ ª ¤ ¤ n³¨¬ n³  n ´ ¨ ¤³£ ¿¦±Â n® ¹¢ ² «µ ² « ¹ ¾ µ ¦ ¹ Á¬n¿ m ¾ ª ¤ ¤ n³¨¬ n³ ¶ Æ ®n ³¤¦ ¹ Á ¾ À À¦£¶ ³¤¾ ª ¤ n³ m³ Ä Â ¿¦n¨ ¨m³ ¦n³ ³

gÀ ¤ ³¤ ¶Ä ¬ ·Ā d¢¶ ¤²Ç ¾ ¶£¨ ² À £À ¤ ³¤¾ ª ¤ n³¨¬ n³ 19


สนับสนุนโดย

นิตยสาร กล้วยไม้สิงโตกลอกตา โดย สลิล สิทธิสัจจธรรม ราคา 425 บาท

หากถามว่าไม้ประดับยอดนิยมของคนไทยคืออะไร คำตอบที่ได้คงไม่พ้น “กล้วยไม้” เป็นแน่ เพราะด้วย ความหลากหลายของชนิดและสายพันธุ์จนมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 20,000 ชนิด เช่นเดียวกับ “สิงโตกลอกตา” ก็เป็นกล้วยไม้อีกสกุลหนึ่งที่มีรูปทรงดอกดูแป ลกตาจนได้รับความนิยมไม่น้อยไปกว่าสกุลอื่นๆ เลย ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการให้กล้วยไม้สิงโตกลอกตาของไทย ซึ่งมีจำนวนเกือบ 100 ชนิด ได้มีการตีพิมพ์ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ลงในหนังสือสักเล่มก่อนจะสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ คุณสลิล สิทธิสัจจธรรม จึงเก็บรวบรวมภาพถ่ายที่ได้จากธรรมชาติมาจัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่มนี้ขึ้น เพื่อหวังให้ผู้คนรุ่นหลังตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ และช่วยกันรักษาไว้ตลอดไป

Small Garden โดย ทิพาพรรณ ศิริเวชฎารักษ์ ราคา 395 บาท

เล่มแรกในชุด “I love garden” ที่สำนักพิมพ์บ้านและสวนตั้งใจจัดทำขึ้น รวบรวมเรื่องราวของสวน ขนาดเล็ก ทั้งสวนระเบียงคอนโดมิเนียม สวนบนตึกแถว ทาวน์โฮม สวนข้างอพาร์ตเมนต์ สวนหลังตึกแถว และสวนในบ้านเดี่ยวตั้งแต่ 50 ตารางวาไปจนถึงบ้านเดี่ยว 100 ตารางวา (ทว่าพื้นที่สวนมีขนาดเล็กกะทัดรัด) พร้อมภาพแปลนประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านมองเห็นภาพรวมของสวนที่เต็มไปด้วยไอเดียดีๆ ที่เจ้าของสวน แต่ละท่านให้ความใส่ใจ สร้างแรงบันดาลใจให้คนพื้นที่น้อยที่อยากมีสวนได้เป็นอย่างดีค่ะ

30 แบบสวนสวย : 30 Small Garden Designs ราคา 395 บาท

แบบสวนกว่า 30 แบบ ที่ผ่านการกลั่นกรองประกอบกับไอเดียเก๋ตามสไตล์นักจัดสวนมืออาชีพ กว่า 15 ท่าน ที่เคยได้ฝากผลงานผ่านนิตยสารและหนังสือมาแล้วหลายฉบับ จากคำถามยอดฮิตว่า “คนเมืองอย่างเรา มีพื้นที่เล็กๆ แค่ริมระเบียงคอนโดมิเนียม พื้นที่ว่างด้านข้างของบ้านทาวเฮ้าส์ และ บ้านเดี่ยวที่มีเนื้อที่ไม่มาก แต่อยากได้สวนไว้ผ่อนคลาย ต้องทำอย่างไร” ปัญหานี้ผ่านกระบวนการ วิเคราะห์และออกแบบจนได้แบบสวนไอเดียเก๋ๆ ให้ผู้อ่านเลือกปรับใช้ได้จริง พร้อมข้อมูลด้านการ จัดสวนเบื้องต้นอย่างง่ายๆ ให้สามารถจัดสวนด้วยตนเอง ข้อควรรู้ก่อนคิดจะจัดสวนที่สอดแทรก เกร็ดความรู้เรื่องวัสดุและพืชพรรณที่ควรใช้ เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังมองหา แบบสวนขนาดเล็กที่นำไปจัดได้ด้วยตนเอง

มือใหม่หัดปลูกแอฟริกันไวโอเลต โดย อุไร  จิรมงคลการ ราคา 155 บาท

“แอฟริกันไวโอเลต” ต้นไม้เล็กๆ ดอกสีม่วงอมฟ้าที่นิยมปลูกเลี้ยงกันในห้องทำงาน เป็นไม้ประดับที่ได้รับความนิยมกันในวงการไม้ประดับทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีเสน่ห์ที่ใครเห็นแล้ว ต้องหลงรัก อยากได้มาปลูกเลี้ยง หนังสือเล่มนี้บอกถึงประวัติความเป็นมา วิธีการปลูกเลี้ยง การขยายพันธุ์ และรวบรวมภาพแอฟริกันไวโอเลตหลากหลายพันธุ์ให้ผู้สนใจได้ศึกษา แล้วมือใหม่ก็จะกลายเป็นมืออาชีพอย่างแน่นอนค่ะ

มือใหม่จัดสวนเมืองร้อน โดย ทิพาพรรณ  ศิริเวชฎารักษ์ ราคา 155 บาท

สวนเมืองร้อนเป็นสวนที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน สำนักพิมพ์บ้านและสวนจึงจัดทำหนังสือ “มือใหม่จัดสวนเมืองร้อน” ขึ้น เพื่อบอกเล่าวิธีการจัดสวนเมืองร้อนเบื้องต้น สำหรับผู้ที่ชื่นชอบนำไปศึกษาและ ใช้เป็นพื้นฐานในการจัดสวน สร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศภายในสวนให้มีความชื้นเย็นเหมาะกับสภาพ อากาศอย่างบ้านเรา เนื้อหาในเล่มจะช่วยให้คุณได้รู้จักสวนเมืองร้อนดีขึ้น รวมทั้งวิธีการออกแบบและจัดสวนให้เย็นสบาย องค์ประกอบที่ทำให้เป็นสวนเมืองร้อน วิธีการจัดสวนเมืองร้อนสมัยใหม่ ตลอดจนข้อสงสัยต่างๆ ที่มักมีผู้ถาม กันมากมาย ซึ่งช่วยไขข้อข้องใจให้คุณได้ หวังว่าเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ จะมีส่วนช่วยให้ผู้อ่านได้ตอบโจทย์ความชอบของตนเอง และนำความรู้ที่ได้ ไปต่อยอดและประยุกต์ให้เข้ากับสวนที่บ้านคุณได้เป็นอย่างดี


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.