O-N magazine | 09

Page 1


09

O-Ne good thing about music, when it hits you, you feel no pain.

ชื่อ O-N Magazine เกิดจากอักษรตัวแรก-ตัวสุดทายของชือ่ จริงนิตยสาร คือ OWNERATION ซึ่งเปนการนำคำ 2 คำมาประกอบกัน ไดแก Owner+Generation เราตองการสื่อวา ยคุ นี้เปน ยุคทคี่ นปลดปลอยความเปน ตัวเองออกมาอยางสรางสรรค โดยเราเชือ่ วาคนทีเ่ ปนนักสรางสรรคลวนเปน นักฝนมากกอ น จงึ เกิดเปนคำโปรยบนปกที่วา 'All Creators Are Dreamers'

- Bob Marley -

อิสระ ในกรอบ ความอิสระที่แท้จริงคืออะไร? ใครเคยสงสัย อะไรท�ำนองนี้แบบฉันบ้าง . . . ฉันเคยได้ยินใครบางคนบอกว่า ความอิสระ คือการได้ท�ำตามใจตัวเองทุกๆ อย่าง แต่บางคนกลับ แย้งว่าการได้ท�ำตามใจตัวเองทุกๆ อย่าง ไม่น่าจะใช่ อิสระที่แท้จริง และใครสักคนนอกเหนือจากนั้น อาจตั้งข้อ สังเกตขึ้นมาอีกว่า "ความอิสระแต่ละเรื่องก็ ไม่เหมือน กันนะ มันอยู่ที่เราจะพูดถึงความอิสระของเรื่องอะไร" เอาล่ะ! O-N ฉบับนี้พูดถึงเรื่องราวของความ อิสระที่เกี่ยวข้องกับดนตรี โดยเฉพาะ ซึ่งเราจะพาคุณ ผู้อ่านไปรับรู้เรื่องราวของความอิสระในวงการดนตรี บ้านเรา ผ่านเว็บไซต์มิวสิคสตรีมมิ่งชื่อดังในขณะนี้ของ วงการเพลงอิสระหรือที่เรียกว่าวงการเพลงอินดี้ นาม ว่า 'Fungjai-ฟังใจ' พร้อมด้วยมุมมองต่อคนท�ำเพลง อิสระของศิลปินรุ่นเก๋าอย่าง จุ้ย-ศุ บุญเลี้ยง และ คอลัมน์ต่างๆ ที่เขียนถึงความอิสระ ดนตรีและพื้นที่ ใน การแสดงผลงานอย่างเสรี ความอิสระอาจกว้างใหญ่ ไพศาลมากมายก็ จริง แต่จงอย่าลืมว่าท้ายที่สุดแล้ว... ความอิสระก็ยัง คงมีกรอบของตัวมันเองอยู่ดี พิชญา เพ็งจันทร์ บรรณาธิการ waylaway1990@gmail.com

contact us

facebook.com/ownerationmag ownerationmag@gmail.com

READ O-N

www.ebooks.in.th/ownerationmag issuu.com/ownerationmag


C O N T E N T Listen To Your

FREEDOM

งเอ อ เ า อ เ

30 อสาั้นน 07

08pe

11

31 w To Bmebers

Sco คลื่น -Nม(ฝน) 10 Bear A gra Oควา เปล 06 DoG ี่ยนโลก Chparhy อิสแปลระท.มุมกในี่ไมองม Blu- r เบญI FPeoeelm A P จเ I ของ ขนาน ของเจ พส คว Sh ho เพรา ood les Da

Bio

ะดนตร

ีเปนขอ

พื้นที่เล็กๆ บานใหม่

vid

งคนทั้ง

ผูมา

Her

โลก

มาลา

กอน

rold

05

าค ข าม o วาม อง จร ot ิง สุข

A

04

to

reamาว D I g Thin ีมกันหน คร

23

A Aw Short Story I W ay rite

ThFrom 24 ถาเธอ... aila nd 28 p

-U

k Pic

Events from now on

22

12

The Owฟnงeใจr Fungjai-

26

Ho N Me O-


Events from now on หยิบมาบอกต่อ : กอง บ.ก. O-N นิทรรศการ : SONG WITHOUT WORDS ผลงานโดย จิระพัฒน์ พิตรปรีชา (Jirapat' Pitpreecha), กฤษณะ ชัยกิจวัฒนะ (Kritsana Chaikitwattana) และ อดิวิศว์ อังศ ธรรมรัตน์ (Adivit Ansathammarat) จัดแสดง : 4 - 30 มิถุนายน 2558 พิธีเปิด : 4 มิถุนายน 2558 เวลา 18.00 น. สถานที่ : Artery Post-Modern Gallery

NONTON เราขอน�ำเสนอหนังสั้นที่ถ่ายท�ำใน ประเทศแถบเอเชีย นั่นคือ ประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และประเทศไทย

วัน : อาทิตย์ที่ 14 มิถุนายนนี้ สถานที่ : JAM cafe'

งานเริ่มตั้งแต่เวลา : 20.00 น. หนังสั้นเริ่มฉายเวลา : 21.00 น. ดนตรีสดเริ่มแสดงเวลา : 22.00 น

หมายเหตุ : งานนี้เข้าฟรี

Lenscape of The Land ผลงานโดย : อธิวัฒน์ ศิลปเมธานนท์ เป็นช่างภาพที่เข้าไปบันทึกชีวิตบางช่วงของ ชาติพันธุ์กระเหรี่ยงทั้งในพื้นที่ค่ายผู้อพยพพื้นที่แนว ชายแดนไทยกะเหรี่ยง และพื้นที่การปกครองของ กะเหรี่ยงพุทธและกะเหรียงคริสต์ ในเขตของประเทศพม่า เป็นเวลา 2 ปี พิธีเปิด : 7 มิถุนายน 2558 เวลา 19:00 น. เปิดให้ชม : 7 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม 2558 สถานที่ : Soy Sauce Factory

นิทรรศการแสดงผลงานศิลปะ “เสี้ยน” “เสี้ยน” รวบรวมศิลปินดัง 20 ท่าน ที่มาพร้อมความคิดและความมุ่งมั่น ผ่านไม้ที่เป็นวัสดุหลักในการสรรค์สร้างผล งาน เปิดให้ชม : 6 มิถุนายน - 21 กรกฏาคม 2558 Grand Opening : วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2558 19.00 น. เป็นต้นไป สถานที่ : Kalwit studio&gallery

โครงการ Young Thai Artist Award 2015 เวทีการประกวดศิลปะระดับเยาวชนที่ ใหญ่ที่สุดในประเทศ รับผลงานศิลปะเข้าประชันขันแข่งแสดง ศักยภาพเชิงศิลป์ถึง 6 สาขาได้แก่ สาขาศิลปะ 2 มิติ ศิลปะ 3 มิติ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ วรรณกรรม และ การประพันธ์ดนตรี ปิดรับผลงาน : 31 กรกฎาคม 2558 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมและดาวน์ โหลดใบสมัคร : www.scgfoundation.org โทร 0 2586 5214 / www.facebook.com/YoungThaiArtistAward”


พื้นที่เล็กๆ เขียน : ซองจดหมายสีฟ้าอ่อน

บ้านใหม่

ฉันถามย่า “บ้านของใคร?” ย่าตอบ “บ้านของปูไง” ฉันดี ใจกระโดดโลดเต้นอยู่ยกใหญ่ เพ้อเจ้อไป เรื่อยว่า จะท�ำห้องสักหลายสิบห้อง แบ่งห้องให้ญาติพี่ น้องคนไหนบ้าง คนละกี่ห้อง ย่ายิ้มแล้วถามมาว่า “แล้วจะให้ย่าไปอยู่บ้านปูไหม”

สมัยเด็กๆ ย่ามักพาฉันไปเดินเล่นที่ ‘บ้านแดง’ ที่นั่นเป็นสนามเด็กเล่นของเด็กหลายฅนในซอยนั้น รวม ถึงฉันด้วย บ้านแดงเป็นลานคอนกรีตกว้าง มีบ้านไม้กึ่ง ปูนอยู่กลางสนามคอนกรีต ข้างๆ บ้านไม้นั้นมีต้นแก้ว ต้นสูงใหญ่ผลิดอกอยู่ข้างๆ เหตุที่พวกเราเรียกกันว่า บ้านแดงเพราะประตูรั้วกั้นลานเป็นสีแดง ส�ำหรับพวก ผู้ ใหญ่บ้านแดงก็เป็นเพียงลานใหญ่ๆ ที่กั้นที่ทางไว้ ให้ เป็นที่จอดรถของคนในซอย แต่ส�ำหรับเด็กบ้านแดงเป็น ที่รวมตัวเพื่อเล่นสนุกกัน ไกลจากบ้านไม้ ไปไม่กี่ก้าวมี ศาลาเล็กๆพร้อมโต๊ะม้าหิน ย่ามักไปนั่งพักตรงนั้นและ พูดคุยกับคนที่มานั่งพักอยู่ก่อนหน้า วันหนึ่งย่าพาฉันมาเดินเล่นในบ้านแดงเหมือน เคย ย่าชี้ ให้ฉันดู ‘บ้าน’ ที่อยู่ห่างไปไกลลิบ มันเป็นบ้าน ปูนทรงสี่เหลี่ยม หลังคาก็ ไม่ ใช่หลังคาหน้าจั่วเหมือนรูป บ้านที่ฉันชอบวาดในวิชาศิลปะ มันดูแปลกใหม่ ในสายตา เด็กอย่างฉัน ย่าอธิบายให้ฟังว่าเขาก�ำลังสร้างบ้านกัน อยู่

“ไป แบ่งให้ห้องหนึ่ง” ย่าหัวเราะ ...ฉันไปบ้านแดงทุกวัน พอกลับมาก็มอง ’บ้านใหม่’ จากมุมบ้าน(ย่า) เวลาพี่ๆ คนไหนมาเล่น ด้วยก็เอาแต่ โม้ว่า ‘นั่นไงๆ บ้านที่อยู่ ไกลลิบๆ เป็นบ้าน ใหม่ปูนะ’ ฉันรอ... เพราะเผลอคิดว่าค�ำพูดของย่า เป็นค�ำสัญญา ฉันรอจนกระทั่งฉันโตพอจะเข้าใจ(ด้วย ตนเอง) ค�ำว่า ‘บ้านใหม่’ ไม่เคยออกมาจากปากฉัน อีกเลย ฉันเลิกไปเดินเล่นที่บ้านแดง แล้วหันมาเล่น ตุ๊กตากระดาษแทน แปลกดีนะ ฉันไม่ โกรธ ไม่แค้นย่าเลย ไม่รู้ สึกแม้แต่นิดว่าย่าผิดสัญญา อันที่จริงฉันไม่ ได้ตื่น เต้นหรอกที่จะมีบ้านใหม่ ฉันตื่นเต้นที่ ได้ฝันมากกว่า ปลายทางของฝันคือสมหวังหรือผิดหวัง คือความจริง หรือความลวง พอโตมาเราฝากทุกอย่างไว้ที่ปลายทางจนลืม ความสวยงามระหว่างทาง ทุ ก วั น นี้ ฉั น ไม่ ไ ด้ ไปบ้ า นย่ า ทุ ก วั น แบบเมื่ อ ก่อน บ้านหลังนั้นก็ยังเป็นลานจอดรถของคนในซอยอยู่ เหมือนเดิม คงมีเด็กๆ รุ่นใหม่มาเป็นเจ้าถิ่นที่ฉันเคยเล่น บ้านที่อยู่ ไกลลิบสร้างเสร็จ(นาน)แล้ว ตอน นี้รั้วบ้านแดงไม่ ได้ทาสีแดงเหมือนก่อน แต่ส�ำหรับฉัน ฉันยังคิดถึงและเรียกที่นั่นว่าบ้านแดงเสมอ ความจริง แล้วความฝันสวยงามที่สุดก็ตอนเราฝันนั่นแหละ.

5


DoGood เล่าเรื่อง: สินิทธ์ ปนุตติกร

เพราะดนตรีเป็นของคนทั้งโลก ท่ามกลางผู้คนที่หลากเชื้อชาติหลายเผ่าพันธุ์ ยังมีคนจ�ำนวนไม่น้อยที่ เหยียดเพศ เหยียดสีผิว เหยียดศาสนา เหยียดวัฒนธรรม ฯลฯ กันอยู่ เราจึง ต้องการบางสิ่งเพื่อน�ำมาคลี่คลายปัญหานี้ และบางที ดนตรีอาจเป็นทางเลือก หนึ่งในการสมานรอยร้าวของมนุษย์ได้ เพราะดนตรีเป็นภาษาสากล ที่ ไม่ว่าใคร เพศอะไร ศาสนาใด หรือมาจากวัฒนธรรมไหนก็ตาม ก็สามารถสื่อสารให้เข้าใจ ตรงกันได้ทั่วทั้งโลก ทว่าน่าเสียดาย ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นคุณค่าของดนตรี(รวมถึง ศิลปะแขนงอื่นๆด้วย)ในส่วนนี้นัก บางประเทศจึงยังไม่ ได้รับการสนับสนุนด้าน ดนตรีเท่าที่ควร ดนตรีจึงกลายเป็นของส�ำหรับคนแค่บางกลุ่ม อีกทั้งเครื่อง ดนตรีแต่ละชิ้นก็มีราคาสูงไม่ ใช่น้อย ท�ำให้ผู้มีฐานะเท่านั้นที่จะเข้าถึงดนตรี ได้ ส่วนผู้ยากไร้ก็ต้องรอคอยโอกาสต่อไป แต่ก็ ใช่ว่าจะไร้สิ้นหนทางเสียทีเดียว เนื่องจากยังมีคนบางกลุ่มที่เล็ง เห็นความส�ำคัญของดนตรี และอยากจะเผยแพร่ดนตรี ให้เข้าถึงได้กับคนทุก ชนชั้น ท�ำให้ โครงการ Playing For Change ถือก�ำเนิดขึ้น โดยโครงการนี้ จะออกเดินทางไปทั่วโลก เพื่อไปตามเก็บภาพและบันทึกเสียงจากนักดนตรีข้าง ถนนและนักดนตรีอาสาสมัครในประเทศต่างๆ แล้วน�ำภาพและเสียงเหล่านั้นมา ผสมรวมกันกลายเป็นหนึ่งบทเพลง โดยไม่สนเชื้อชาติ ศาสนา สีผิว หรือวัฒน ธรรมใดๆ เพื่อต้องการจะสื่อว่าดนตรีนั้นเป็นของคนทั้งโลก ทุกเผ่าพันธุ์ทุกชนชั้น สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยภาษาดนตรี ด้วยความขัดแย้งที่มีมากมายในปัจจุบัน ท�ำให้ โครงการนี้เป็นที่รู้จัก แพร่หลายมากขึ้น Playing For Change จึงก่อตั้งมูลนิธิขึ้นมา เพื่อรวบรวม เงินบริจาคแล้วน�ำไปสร้างโรงเรียนสอนดนตรีและศิลปะให้กับผู้ด้อยโอกาสใน ประเทศต่างๆทั่วโลก โดยประเทศไทยเองก็มี โรงเรียนสอนดนตรีจากโครงการนี้ มาแล้ว (ชื่อ “Khlong Toey Music Program” อยู่เขตคลองเตย ซึ่งเป็นชุมชน แออัดที่ ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย) หากใครที่อยากสนับสนุนโครงการนี้ ก็สามารถมีส่วนร่วมได้ง่ายๆ ด้วยการบริจาคผ่านเวบไซต์ playingforchange.com หรือซื้อแผ่นซีดีอัลบั้ม Playing For Change - Songs Around The World ที่ โครงการนี้จัดท�ำขึ้น จากการรวบรวม10บทเพลงที่เดินทางบันทึกเสียงไปทั่วโลก รายได้ทั้งหมดของ อัลบั้มนี้จะน�ำไปสมทบทุนกับมูลนิธิ และท�ำตามวัตถุประสงค์ต่อไป ผมเชื่อเหลือเกินว่า หากคนไทยได้สัมผัสดนตรีกันอย่างทั่วถึง ช่องว่าง ระหว่างสังคมก็อาจจะลดน้อยลงได้ แล้วความฝันที่จะเห็นความเป็นน�้ำหนึ่งใจ เดียวกันของคนไทย ก็คงใกล้ความเป็นจริงขึ้นมาอีกขั้น เพราะเรามีภาษาดนตรี เป็นสื่อกลางในการอยู่ร่วมกันแล้ว

ติดต่อบริจาคและซื้อซีดีของ Playing For Change ได้ที่ playingforchange.com ติดตามรายละเอียดของ Khlong Toey Music Program ได้ที่ khlongtoeymusicprogram.com และ facebook.com/ KhlongToeyMusicProgram 6


Biography เรื่อง : ภัทรานิษฐ์ พัฒน์ธนพร

คลื่นเปลี่ยนโลก มีผู้กล่าวกันว่าก้าวแรกของยุคการ สื่อสารสมัยใหม่นั้นเริ่มขึ้นจากสิ่งที่มองไม่ เห็น...จากการค้นพบการรับและส่งคลื่นวิทยุ ในอากาศผ่านระบบการกระจายเสียงและ การเกิดของธุรกิจ Broadcasting นับตั้งแต่ที่ วิทยาศาสตร์ ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้น เรื่อยๆ มนุษย์ก็ประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้น มาอย่างมากมาย รวมไปถึงในปี ค.ศ.1912 ซึ่งชาร์ลส์ เฮอร์ โรลด์ ได้ริเริ่มท�ำกิจการ กระจายเสียงวิทยุเป็นครั้งแรกในเมืองซาน โจเซ่ แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

เฮอร์ โรลด์เข้าศึกษาในมหาวิทยา ลัยสแตนฟอร์ดด้านดาราศาสตร์และฟิสิกส์ แต่แล้วเขาก็ออกจากมหาวิทยาลัยก่อนที่จะ ส�ำเร็จการศึกษาและหันไปสนใจเทคโนโลยี ใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบ นั่นก็คือคลื่นวิทยุ เขาได้ เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย และบุกเบิกธุรกิจแบบใหม่นี้ขึ้นด้วยตัวเอง ในระยะแรกคลื่นวิทยุนั้นมี ไว้เพียง เพื่ อ ใช้ รั บ ส่ ง รหั ส มอร์ ส เพื่ อ การสื่ อ สารใน กองทัพ คลื่นวิทยุในยุคแรกที่ส่งออกอากาศ ผู้รับจ�ำเป็นจะต้องเข้าใจรหัสมอร์ส แต่เฮอร์ โรลด์มองไกลกว่านั้น เขาต้องการให้วิทยุมี บทบาทในด้านการให้ความบันเทิงแก่ผู้คน นอกเหนือไปจากการแจ้งข่าวสารทั่วไปหรือ พยากรณ์อากาศเพียงอย่างเดียว หลังผ่าน การทดลองใช้เครื่องแปลงสัญญาณหลายต่อ หลายครั้ง สุดท้ายในทศวรรษที่ 1910 เขา ก็สามารถเปิดกิจการกระจายเสียงวิทยุได้ ส�ำเร็จ

Charles David Herrold

[November 16,1875 - July 1,1948]

การเกิ ด สถานี วิ ท ยุ ที่ ผู ้ ค น ทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ถือเป็นการพลิก โฉมประวั ติ ศ าสตร์ โลกยุ ค ใหม่ ค รั้ ง ส�ำคัญ เพราะข่าวสารสามารถเดินทาง ไปได้อย่างรวดเร็ว วิทยุกลายเป็นสิ่ง ที่ ได้รับความนิยมในทุกชนชั้น เข้าถึง ประชาชน และมีส่วนในกิจการส�ำคัญ หลายอย่างของโลกทั้งในช่วงของการ เกิ ด สงครามและในชี วิ ต ประจ� ำ วั น นอกจากนั้ น มั น ยั ง ท� ำ ให้ ศิ ล ปกรรมอั น ส�ำคัญยิ่งของมวลมนุษยชาติเช่นดนตรี กลายเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของสั ง คมอย่ า ง แท้จริง

ก า ร เ ป ลี่ ย น ค ลื่ น ที่ ล อยอยู ่ ก ลางอากาศให้ กลายเป็ น เสี ย งดนตรี แ ละ แทรกซึ ม เข้ า ไปในหั ว ใจของ คนทั้ ง หลายที่ ร อฟั ง นั้ น นั บ เป็นก้าวย่างอันยิ่งใหญ่ที่สุด ของกิ จ การกระจายเสี ย ง วิทยุ วิทยุเพื่อกิจการสงคราม จึ ง กลายเป็ น วิ ท ยุ เ พื่ อ ความ บันเทิง วิทยุของประชาชน ซึ่ ง คงจะกล่ า วได้ ว่ า การที่ ด นตรี ได้ รั บ ความ นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และต่อ เนื่ อ งอย่ า งยาวนานจนถึ ง ทุ ก วั น นี้ นั้ น ก็ เ นื่ อ งมาจาก คุ ณู ป การของเฮอร์ โรลด์ ผู ้ นี้ นั่นเอง 7


Scope on สัมภาษณ์ : ปาริฉัตร แทนบุญ ภาพ : www.facebook.com/SuBoonlieng (ศุ บุญเลี้ยง)

'จุ้ย' - ศุ บุญเลี้ยง

ความ(ฝัน)อิสระที่ไม่แปลก ในมุมมองของผู้มาก่อน

จุ้ย - ศุ บุญเลี้ยงกับอิสระทางความฝันในมุมมองของผู้มีประสบการณ์ต่อนักฝันรุ่นน้อง ผู้รักอิสระ ทั้งในวงการนักเขียน นักแต่งเพลงและนักดนตรี ส�ำหรับอย่างหลังนี้ เขาบอกกับเรา ว่า เขาไม่คิดว่าตนเองเป็นนักดนตรีแต่คิดว่าตนเป็นนักสื่อสารที่ ใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือ ทัศนคติต่อคนยุคใหม่ที่ลุกขึ้นมาท�ำ อะไรเอง โดยไม่พึ่งสังกัดหรือค่าย ไม่ ใช่แค่สมัยนี้หรอก และไม่ ใช่ แค่คุณไม่พึ่งค่ายบางทีค่ายก็ ไม่ ได้สนใจ ที่จะเรียกหาคุณ มันเป็นปกติทุกยุคที่ มีคนที่ค่ายต้องการ มีคนที่ค่ายปฏิเสธ คนที่ปฏิเสธค่าย แต่ต่อมาก็วิ่งเข้าไปหา ค่าย คนที่วิ่งเข้าไปหาค่าย แล้วต่อมาก็ วิ่งออกมานอกค่าย แล้วก็อาจวิ่งไปอีก ค่ายหนึ่ง เพียงแต่ยุคค่ายที่แข็งแรงก็ต้อง กวาดต้อนศิลปินเข้ามาได้มากกว่า แต่เมื่อ ค่ายเหล่านั้นเล็กลง รับศิลปินได้น้อยลง คนท�ำเพลงอิสระจึงมากขึ้น เป็นวงจร แบบนี้มานานแล้วดังนั้นการที่คนลุกมา ท�ำเพลงโดยไม่สนใจสังกัดหรือค่ายนั้นไม่ แปลก เพราะความอิสระที่มากขึ้น

ศิลปินอินดี้ ในความรู้สึกของคุณ ข้อดี ข้อเสียของนักดนตรีอิสระกับนัก ในความรู้สึกของผม ศิลปินอินดี้ ดนตรีที่มีค่ายสังกัด คือโอนเอียงไปในแง่ของกลุ่มคนที่มีอิสระ ข้อดี คือ ค่ายมีความช�ำนาญ ในการสร้างงานแบบสุดขีดไม่สนใจว่าจะ เปรียบนักมวย ที่มี โค้ช มีคนช่วยฝึกซ้อม ถูกเมินหรือมองข้าม มีคนช่วย ประชาสัมพันธ์สร้างประวัติ มี คนจัดล�ำดับความส�ำคัญให้ คนท�ำงานก็ ความอิสระของการอยู่ ในค่ายหรือเป็น ไม่ต้องไปคิดในเรื่องที่ตัวเองไม่ถนัด แล้ว ศิลปินอินดี้ จะได้เอาเวลาไปฝึกความช�ำนาญในงาน ความจริงแล้วศิลปินอินดี้ หรือ ที่เราท�ำ ท�ำให้งานโดดเด่นขึ้นมา นี่คือใน นักดนตรีอิสระ ก็มีกรอบบางอย่างอยู่ โลกของอุดมคติ แต่ ในโลกของความจริง ไม่มี ใครที่มีอิสระไปทั้งหมด ส่วนการมี มันต้องมีการตกลงเรื่องหน้าที่ต่างๆ กัน สังกัดหรือค่าย ก็ ไม่ ได้ถูกพันธนาการไป ส่วนข้อดีของนักดนตรีอิสระ คือ การได้ เสียทุกอย่างจนปฏิเสธอะไรไม่ ได้ สร้างงานที่เป็นตัวเองจริงๆ 8

ความฝัน คือ การเล่นดนตรีการได้ร้อง เพลง ไม่ ใช่แค่ความฝัน แต่เป็นความ คลั่งไคล้ ทุกคนมีความฝันกันหมด แต่ ความอยากกับความต้องการไม่เหมือน กัน เช่น Want Need หรือ Crazy ผม ฟังเพลงจนถึงขนาดเข้าส้วมต้องฟังเพลง ก่อนสอบต้องซื้อเทปเข้าห้องสอบแล้ว จะได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องเพลงที่อยากได้ (หัวเราะ) เข้าไปในห้องสอบ ท�ำได้ ออก มาซื้อเทปอีกสักม้วนแล้วผมก็บ้าการฟัง รายการวิทยุด้วย ผมไม่ ได้อยากเป็นนัก ดนตรี ไม่สันทัด อยากเป็นนักสื่อสาร ใช้ ดนตรีเป็นเครื่องมือ (แต่ต่อไปก็ ไม่แน่ ต่อ ไปอาจจะขอดื่มด�่ำกับเสียงดนตรี ตัวโน้ต)


สิ่งที่แสดงถึงความคลั่งไคล้ ในดนตรี ฟังดนตรีจบแล้วอยากมีอัลบั้ม อยากมีผลงานของตัวเอง ท�ำเองหมด ถ่ายเอกสารปกเทปก็ท�ำ ต้องท�ำผลิต เพลงครั้งแรก 2 ม้วน เก็บไว้ม้วนหนึ่ง แล้วให้คนอื่นฟังม้วนหนึ่ง มันเห็นภาพที่ เราอยากจะเป็น และอยากจะท�ำ แล้ว ภาพนั้นมันก็ ไม่หายไปด้วย ไม่มีสิ่งอื่นๆ สามารถดึงความสนใจเราออกไปจากเส้น ทางนี้ เส้นทางของนักสื่อสารนักเขียน นัก แต่งเพลง นักบรรยาย ไม่เคยเห็นตัวเอง เป็นอย่างอื่นนอกจากนี้ สิ่งที่คิดต่อเรื่องของความฝัน ความฝันเป็นเรื่องปกติ แต่การ แปรรูปความฝันมาสู่ความเป็นจริงต่าง หากที่ยาก ข้อแรก อยากแค่ ไหน มีความ หลงใหล ความต้องการขนาดไหน ถ้าไม่ ได้ท�ำตายตาไม่หลับหรือเปล่า ข้อสอง แล้วคุณจะคว้ามันมาอย่างไร เพราะมัน ไม่ง่าย มักจะมีอุปสรรค บางทีตัวเรา เองก็ ไม่ ได้อยากเป็นอยู่อย่างเดียว อาจ จะมีฝันแท้ ฝันปลอม การแปรรูปความ ฝันเป็นเรื่องของการฝึกฝนกับเรื่องของ กลยุทธ์ ความพยายามอยู่ที่ ไหน ความ ส�ำเร็จไม่ ได้อยู่ที่นั่นหรอก ความล้มเหลว ก็มีอยู่เยอะแยะ ไม่ ใช่ว่า“มึงพยายามแล้ว จะส�ำเร็จ”มันต้องเป็นความพยายามที่มี ฐานจากความรู้ จากสถิติหรือจากความ ล้มเหลวของคนอื่น ถ้ามีคนที่ล้มเหลวอยู่ 2 คน คนหนึ่งก็คือคนที่เชื่อเขาหมดและ อีกคนที่ ไม่เชื่อใครเลย วิธีคิดหากเกิดความเชื่อ แล้วลงมือท�ำ ไปแล้วไม่มีความสุข ต้องดูว่ามันเป็นแก่น หรือเป็น รายละเอียด สมมติเราอยากท�ำเพลงไม่ ได้หมายความว่าการท�ำเพลงทุกขั้นตอน จะมีความสุขหมด เช่น เราไปยืมเงินคน มาท�ำเพลง เราก็เป็นหนี้แล้ว เพียงแต่เป็น หนี้ที่เรารับผิดชอบได้ แต่ตัวหัวใจหลักมัน ไม่ ได้มีปัญหา เรายังเห็นจุดหมายที่ยัง อยากไปอยู่ เรายังไปได้ มันเป็นความ ทุกข์เล็กๆ น้อยๆเพื่อให้เราไปเจอความสุข

แนวคิดเพื่อรักษาสมดุลในชีวิตจริงกับ ความฝัน ผมไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องนี้ ผมมี ขั้นตอนในการเดิน เราศึกษา เราหาองค์ ประกอบ เวลาเราจะท�ำอะไร เราเก็บ เกี่ยวข้อมูล เรามีคนช่วย เช่นท�ำหนังสือ แล้วไม่รอดก็ ให้เลิกไปก่อน มีเงินก็ท�ำใหม่ ยังมีแรงก็ว่ากันไป วงมีปัญหาก็เลิก เขา ก็ ไม่ ได้ห้ามให้เราเป็นศิลปินเดี่ยว ออกมา ท�ำเอง ภาษาดนตรีเขาเรียกว่าอิมโพรไวส์ คือชีวิตมันก็ลื่นไหลไปตามสถานการณ์ แต่ว่ามันก็ยังอยู่ ในโครงสร้างของคอร์ด สเกล เมโลดี้เดิม แต่มันก็ ไม่ ได้ง่ายขนาด อยากท�ำอะไรก็ ได้ท�ำ ไปเสนอหนังสือเขา ก็ ไม่พิมพ์ ให้ ถือว่าไม่เป็นไรท�ำส�ำนักพิมพ์ เองก็ ได้ ความคิดเห็นต่อคนที่ลุกขึ้นมาท�ำในสิ่ง ที่ตัวเองใฝ่ฝันต้องการ อยากท�ำแล้วท�ำ เป็นเรื่องปกติ ท�ำแล้วเจ๊งก็เป็นเรื่องปกติ ท�ำแล้วอยู่ ได้ ถึงจะเป็นเรื่องไม่ปกติ นี่แหละเจ๋ง!

ความฝันเป็นเรื่อง ปกติ แต่การ แปรรูปความฝัน มาสู่ความเป็นจริง ต่างหากที่ยาก

พื้นที่อิสระในการแสดงผลงานตัวเอง พื้นที่ตอนนี้มีเยอะ แต่มันก็ มีความแตกต่างกันออกไป เครื่องมือ สื่อสารก็เลยอาจจมหายไปในการสื่อสาร ที่มากมายเหล่านั้น สุดท้ายมุมมองของคุณถ้าพูดถึงค�ำว่า 'อินดี้' ในระดับปรัชญา คือ การเป็น อิสระในการสร้างสรรค์ผลงานซึ่งสุดท้าย อาจติดอยู่ ในกรอบของตัวเอง แต่ ใน ระดับความเป็นจริง มันก็คือ "การมีความ แตกต่างโดดเด่นจากคนอื่น" ทั้งหมดนี้คือความจริงของคนช่าง ฝัน คุณล่ะเป็นคนประเภทเดียวกับเขา หรือเปล่า ถ้าคิดว่าใช่และเต็มใจไขว่ คว้าที่จะเป็น เราเสนอว่าน่าจะลองน�ำ แนวคิดของเขา จุ้ย-ศุ บุญเลี้ยง ติดไว้ ข้างฝาผนังโต๊ะท�ำงานกันบ้างแล้วล่ะ

9


BEAR-BLUR! ฺBY : ดามันสกี้ / ivan.damansky@gmail.com

10

ขนาน


A Poem I Feel กลอนและภาพ : แก้วเกล้า

àºÞ¨à¾Ê¢Í§à¨ŒÒÁŒÒÅÒ ขาเติบโตมาในคอกมานี้ นับกี่ขวบปหาจำงายไม ขาเดินเตร็ดเตร ไปยังตนไทร ที่ซึ่งอาศัยในการทบทวน

คือเบญจเพสพิเศษพิ โส รางกายใหญ โตกำลังแกลวกลาว แตสียังชัดบัดสีทุกคราว มีเสนดำขาวพิลึกกึกกือ

ขาเพิ่งเกิดมาไดแรกราตรี วันหนุมสาวมีอดีตหอมหวน ยังจำไดชัดวันสาวคร่ำครวญ และสัญญาหวนชวนมาที่เดิม

มาอื่นใสคอกบอกขาพิกล ขาจึงสับสนขาดคนนับถือ ขาหวังในปสิบหานี้ รางกายอาจถือเปลี่ยนเปนสีนิล

หนึ่งปผานไปไวเหมือนโกหก ชายหนุมเวียนวกดวยใจฮึกเหิม แตสาวเจาไมยึดย้ำคำเดิม หนึ่งป ไดเติมรอยกรีดตนไทร

หวานภาวนาอยูหาสิบค่ำ แลวกลองสีดำครอบงำขาสิ้น พาขาเคลื่อนยายไหลลองน้ำดิน จึงถึงที่ถิ่นที่ ไมคุนตา

หลายปผานไปไวเหมือนมาขับ ขาไดตรวจนับรอยกรีดตนไม ทุกสี่เสนสั้นมียาวคาดไป เปนเครื่องบงหมายทุกรอบหาป

สรรพตนไมวิสัยวิเศษ หลากหลายประเภทวิหคมัจฉา รื่นเริงสุขใจส่ำสัตวนานา ประกาศศักดาในคาของตน

สิบสองเสนสั้นถูกคั่นสามคาด ที่เพิ่งใหมหมาดคือคาดทับสี่ รอยยังเขียวสดเหมือนราวเชานี้ เปนเสนขวบปที่สิบหาหนาว

ไมตองเหมือนกันไมฉันเหมือนใคร แมน้ำยอมไหลเพื่อปลาทุกหน นกยอมบินได ในฟาสากล พืชพันธุพูนผลในโลกเสรี

11


M

E

FR

E

Lis

ten

D

O

To Yo ur

The Owner สัมภาษณ์และเรียบเรียง : ปาริฉัตร แทนบุญ ภาพถ่าย : 9chaballoon

การเดินทางของความฝันด้วยอิสระทางความคิดที่มาของ ‘ฟังใจ’ เว็บมิวสิคสตรีมมิ่ง (Music Streaming) ที่ก�ำลังเป็นที่กล่าวถึงของกลุ่ม คนรักอิสระทางเสียงดนตรี เบื้องหลังก่อนที่จะเกิดเป็น ‘ฟังใจ’ นั้นจะมี กี่คนที่จะรู้จักหางเสือหลักผู้ช่วยกันผนึกอุดมการณ์ที่เต็มไปด้วยความฝัน อันเดียวกัน ท�ำให้เกิดเป็นโปรเจกต์ที่เรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงและ กระตุ้นวงการเพลงไทยนอกกระแส ณ เวลานี้ ให้เกิดความเคลื่อนไหวที่ น่าจับตามองและจับใจฟัง


พาย - ปิยะพงษ์ หมื่นประเสริฐดี (CMO - Chief Marketing Officer + Community Manager) อดีตวิศวกรท�ำงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เชี่ ย วชาญในด้ า นความยั่ ง ยื น และการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Sustainability & Climate Change) ตั้งแต่เด็ก โตมากับงานดนตรีนอกกระแส เรียนจบ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ต่อโทด้าน MBA ที่ Boston USA ปลดตัวเองจากการเป็น วิศวกร มาท�ำงานคลุกคลี ในวงการดนตรี นอกกระแสและยังเป็นผู้ก่อตั้งโครงการ Indie Campfire ที่มีแนวทางเหมือนกันกับ ฟังใจคือ ต้องการจะเพิ่มพื้นที่ ให้วงการ ดนตรีอิสระ และยังมีวงดนตรีเป็นของตัว เองชื่อ Cigarette Launcherด้วย

ท้อป - ศรัณย์ ภิญญรัตน์ (CEO + ผู้ก่อตั้งฟังใจ) อาชีพหลักเป็น Graphic Designer เรียน สถาปัตย์ ID จุฬาฯจบมาท�ำงาน 2 ปี ในบริษัท ออกแบบเมืองไทย เพราะอยากสอนหนังสือ ระดับปริญญาตรีจึงไปเรียนต่อด้านกราฟฟิก ที่ Helsinki Finland เรียนจบมีประสบการณ์ ท�ำงาน Graphic ที่เมืองนอกอีก 1 ปี ส่วน บริษัท FUUM Studioที่เรานั่งอยู่นี้เป็นบริษัท ออกแบบ Motion Graphic ซึ่งร่วมกันก่อตั้งกับ เพื่อนสมัยก่อนไปเรียนต่อ กลับมาจากเมือง นอกก็ท�ำต่อ แต่ ในขณะเดียวกันก็หาโอกาสที่ จะสร้างโปรดักต์ของตัวเองจนมาเป็น ฟังใจ

13


O-N : ฟั ง ใ จ เริ่มเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และอะไรคือแรงบันดาลใจที่ท�ำให้ เกิดขึ้น ท้อป : ก่อนจะมาท�ำโปรเจกต์ ฟัง ใจ เราค้นหาสิ่งที่อยากท�ำมาหลาย อย่างจนมาเป็นฟังใจ โดยเกิดครั้ง แรกในตอนที่ เ ราเอาความคิ ด ไปคุ ย กับรุ่นน้องคนหนึ่ง เขาเป็นนักดนตรี อิสระแล้วเกิดแรงสนับสนุนเห็นด้วย ประกอบกั บ น้ อ งคนนี้ มี ค นที่ รู ้ จั ก ใน วงการดนตรีอยู่บ้าง ตรงนี้จึงเป็นก้าว แรกที่เริ่มเกิดขึ้น แต่ตอนนั้นอาจจะ ยังไม่มีชื่อว่าฟังใจ ต่อมามีสมาชิกร่วม อุดมการณ์เพิ่มคือเพื่อนๆ ที่อยากจะ ท�ำ Startup เหมือนกัน คือทุกคนมี งานประจ�ำกันหมด ตอนเย็นเลิกงาน ก็จะมาช่วยกัน เกิดเป็น ฟั ง ใ จ ที่ ชัดเจนเป็นกลุ่มเป็นก้อนขึ้น

มาเมื อ งไทยก็ เ ลยคิ ด โปรเจกต์ ขึ้ น มา ชื่อ Indie Campfire ซึ่งไอเดีย คือเป็น Platform Online ที่มีเครื่อง มือส�ำหรับวงดนตรี ให้สามารถเข้า มาใช้แล้วสร้างรายได้ แต่พอท�ำไป ระยะหนึ่ ง ก็ คิ ด ว่ า คงท� ำ ไม่ ส� ำ เร็ จ เนื่องจากไม่สามารถรวมทีมเพื่อสร้าง แพลตฟอร์มนี้ ได้ ก็เลยพับเก็บโปร เจกต์นี้ ไป

ฟั ง ใ จ คืออะไร? ที่มาจาก fungjai.com : ‘ฟังใจ’ เป็น ค�ำล้อเสียงจากภาษาอังกฤษว่า ‘Fungi’ หรืออาณาจักรฟังไจ ซึ่งประกอบไปด้วย เห็ด รา และยีสต์ เติบโตอยู่ ในซอกหลืบ ที่คนทั่วไปไม่เห็น เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความ หลากหลายทางสายพันธ์ุ และแพร่พันธุ์ ทางอากาศด้วยสปอร์ ส่วนในภาษาไทย ‘ฟังใจ’ ก็คือการฟังเพลงที่มีความหลาก หลายและแปลกใหม่ด้วยใจที่เปิดกว้าง นั่นเอง

O-N : ก่อนหน้าจะมาท�ำฟังใจ พี่ พายท�ำอะไรมาก่อน พาย : ตอนนั้นก�ำลังท�ำ Research เพื่อท�ำ Indie Campfire ก็ ได้พูดคุย กับที่ปรึกษาคนหนึ่ง ซึ่งเสนอว่าจะท�ำ อะไร Online แล้วควรต้องท�ำ Offline ด้วย เพราะถ้าหากท�ำ Online ดีแค่ ไหน ถ้ามันไม่มี ใคร มันก็จะกลายเป็น พื้นที่ว่างเปล่า ก็เลยมาคิดว่าต้องการ สร้างชุมชน (Community) โดยชุมชน แรกๆ ที่นึกถึงก็คือ ชุมชนคนดนตรี ซึ่งก็คือชุมชนคนที่ท�ำดนตรีที่อยากจะ แสดงผลงานของตัวเอง ก ่ อ น ห น ้ า ที่ จ ะ ท� ำ In d i e Campfire ตอนนั้นท�ำวงแล้วรู้สึกว่า กระแสตอบรับดีระดับหนึ่ง แต่กลับ มามองที่รายได้ว่าท�ำไมยังพบว่าค่อน ข้างน้อยมากๆ ไปคุยกับเพื่อนๆ นัก ดนตรี อิ ส ระคนอื่ น ว่ า อยู ่ กั น ได้ ไหม เจอค�ำตอบว่า “ไม่!” และที่อยู่ ได้ส่วน ใหญ่เพราะงานหลักอื่นๆ พอเรียน จบก็ขอฝึกงานต่ออีก 8 เดือน ท�ำไป ก็ ได้เห็นวัฒนธรรมการเสพเพลง การ ใช้เครื่องมือออนไลน์ต่างๆ ในการท�ำ และเผยแพร่เพลง ก็เลยนึกถึงเมือง ไทยว่าจะท�ำยังไงให้วงดนตรีสามารถ อยู่ ได้ ใช้เลี้ยงชีพ เป็นอาชีพได้ กลับ 14

O-N : จุดเริ่มต้นที่ 2 คนอุดมการณ์ เดียว มาเจอกัน

O-N : วิธีการคัดเลือกศิลปินเข้ามา ใน ฟั ง ใ จ

พาย: เจอกันจากการที่ท้อปท�ำโบรชัวร์แจก ไปตามวงดนตรีอิสระเพื่อจะได้ขอความร่วม มือรวบรวมเพลงมาลงในเว็บไซต์ ตอนนั้น น้องสาวเป็นมือเบสของวง Yellow Fang เอามาให้ จึงเป็นจุดที่ท�ำให้ ได้เจอกับคนที่มี ความคิดคล้ายกัน มีจุดร่วมที่เหมือนกัน

ท้อป: เราไม่ ได้คัดเลือกศิลปิน ขอแค่ ท�ำมาแบบไม่ผิดกฎหมาย ไม่ลอกคน อื่น ไม่คัฟเวอร์เพลงคนอื่นโดยไม่ ได้ รับอนุญาต เราก็รับหมด

ท้อป: ตอนนั้นพี่พายท�ำโปรเจกต์ Indie Campfire ที่ต้องติดต่อกับนักดนตรีทั้งใน กทม. และต่างจังหวัด เหมือนท�ำให้เจอ ส่วนหนึ่งที่มาเติมเต็มให้กลายเป็นฟังใจที่ ค่อนข้างสมบูรณ์มากขึ้นกว่าเดิม พี่พาย เหมือนเป็น Mascot ของฟังใจ

พาย: นอกจากเพลงคัฟเอวร์ ก็มีเพลง แบบที่ร้องอัดทับเพลงคนอื่น หรือที่ เรียกว่า Mixed-tape ถ้าไม่ ได้ท�ำการ ขออนุญาตอย่างถูกต้อง เราก็เอาขึ้น ไม่ ได้ มันติดลิขสิทธิ์

ในระดับอินดี้ คุณต้อง ทำ�งานเองทุกอย่าง ไม่มีคน มาคอยป้อนงานให้ / พาย


O-N : ฟั ง ใ จ โปรโมทศิลปินให้ เป็นที่รู้จักอย่างไร ท้อป: วิธีหนึ่งที่เราท�ำก็คือการเลือก เพลงลง Playlist โดยเราจะดูว่า ณ สัปดาห์นั้น มันมีเรื่องอะไรน่า สนใจบ้าง เช่น สัปดาห์นี้ฝนตก ช่วง นี้อากาศร้อนหรือเราค้นพบธีมบาง อย่างในเพลงที่ส่งมา เราก็เอามาท�ำ เป็น Playlist เช่น เพลงช่วงนี้พูด ถึงเรื่องของดวงดาว ดาราศาสตร์ ท้องฟ้ากันเยอะ ก็เลยท�ำ Playlist ชื่อดวงดาวและดาราศาสตร์ พาย : คิดอยู่ว่ามันคงจะมีข้อครหา ว่าเลือกที่รักมักที่ชังรึเปล่า ท�ำไมเรา เลือกโปรโมทแต่วงดังๆ หรือท�ำไม โปรโมทวงนี้ ไม่ โปรโมทวงนั้น เรา ไม่สามารถโปรโมททุกวงได้แน่นอน ต้องท�ำควบคู่กัน คือโปรโมทวงที่ดัง ให้คนเข้ามา แล้วน�ำเสนอวงที่ ไม่ดัง ให้ ได้รับโอกาสถูกฟังด้วย ท้อป : แต่ผมเชื่อว่าวงเข้าใจ นะ หมายความว่าตัววงเองก็ต้อง พยายามท�ำงาน พยายามโปรโมท ให้คนเข้ามาฟังด้วย ไม่ ใช่ผลักให้เป็น หน้าที่ของเรา (ฟังใจ) ในฐานะสื่อที่ จะโปรโมทให้วงไหนดังไม่ดัง พาย : ถ้าจะให้เปรียบเทียบอย่าง หนึ่ง คือ คนส่วนใหญ่อาจะจะเห็นแต่ ลักษณะของค่ายใหญ่และวิถีปฏิบัติ ของวงในค่ายใหญ่ แต่ ในระดับอินดี้ คุณต้องท�ำงานเองทุกอย่าง ไม่มีคน มาคอยป้อนงานให้ O-N : อุปสรรคที่เจอ ผ่านมันมา ได้ยังไงบ้าง ท้อป : ตอนท�ำฟังใจช่วงแรกที่พี่พาย ยังไม่ ได้เข้าร่วมและช่วงที่พี่พายเพิ่ง มาใหม่ๆ มันมีความเคลือบแคลงอยู่ ในทีมกันเองเยอะ ว่าสิ่งที่ท�ำนี่ดีแล้ว เหรอ? บางคนคิดว่า เห้ย..มันจะต่าง กับ Deezer หรือ KKBOX พอแล้ว เหรอ เพราะทั้งสองอย่างนี้ก็มีเพลง อินดี้อยู่แล้ว เพียงแต่ ไม่ โปรโมท เหมือนฟังใจ ไม่เฉพาะเจาะจงเหมือน เรา การที่เราท�ำแบบนี้เราจะอยู่รอด

ได้ มีตัวตนและท�ำเป็นธุรกิจได้หรือ เปล่า เราก็สงสัยเหมือนกัน เราก็ เคลือบแคลง ตอนนั้นเราคิดเสมอ ว่าเราท�ำงานเหมือนหลับตา 1 ข้าง ก็คือ ท�ำมันออกมาก่อนแล้วให้คน ฟังตัดสินโดยที่เราไม่ ได้ ไปฆ่าไอเดีย นั้นตั้งแต่มันยังไม่เกิด คือ เราคิดว่า ถ้ามันจะถูกสงสัยอะไร เรารู้สึกว่า เราท�ำมันออกไปวางในที่สาธารณะ ก่อนดีกว่าแล้วคอยดูให้คนฟังตัดสิน แค่นั้นดีกว่าปล่อยให้มันตายไปในทีม เราแค่ 5-6 คน ถ้าเราฆ่าโปรเจกต์ นี้ทิ้งโอกาสประสบความส�ำเร็จก็จะ กลายเป็น 0% แต่ถ้าเราท�ำมันออก มาก่อน เวอร์ชันแรกพอฟัง พอใช้ ได้ แล้วโยนมันออกมาก่อนแล้วดูว่าคน มีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไร อย่าง น้ อ ยโอกาสประสบความส� ำ เร็ จ มั น ก็จะกลายเป็น 0.0001 % มันไม่ ใช่ 0% อีกต่อไป เหมือนที่ว่า ระยะทาง หมื่นลี้เริ่มต้นด้วยก้าวแรก พาย : มีรุ่นน้องที่เป็นนักการตลาด คนหนึ่งถามว่าได้ท�ำ Feasibility Study แล้วหรือยัง (การศึกษาความ เป็นไปได้ของโปรเจกต์) ท้อป : หมายถึงการศึกษาเรื่อง ความคุ้ม ต้นทุนมีเท่านี้จะท�ำได้เท่า ไหร่ ตลาดเป็นอย่างไร ซึ่งอันนี้คือ สูตรส�ำเร็จเลย ส�ำหรับการท�ำธุรกิจ พาย : ใช่ อย่างนั้นเลย เราก็ตอบ

ว่า ไม่ ได้ท�ำ น้องก็สงสัยว่าจะท�ำส�ำเร็จ ได้ยังไง ถามต่อว่าตลาดใหญ่แค่ ไหน เราก็บอกว่าไม่รู้ แต่เราคิดและอธิบาย ง่ายๆ เลยว่า วงการดนตรีอินดี้นั้น มี บริษัทใหญ่ๆ ตั้งหลายบริษัทที่พยายาม จะเข้าตลาด พยายามจะขายของ ถ้า พวกบริษัทเหล่านี้คิดอยากมาลงทุน คิด ว่าจะไม่มีเงินในนั้นหรือ เราว่าเงินมันมี แน่นอน.. แต่ท�ำยังไงถึงจะเจอเท่านั้นเอง ท้อป : อื้ม ใช่ ตอนท�ำฟังใจก็เคยคิด นะว่า ถ้าท�ำ Music Streaming มันไม่ เวิร์ค เราอาจจะผันตัวเป็นคนท�ำอีเวนท์ ก็ ได้ เพราะในวงการนี้ มันยังมีทิศทาง ที่สามารถขยับเขยื้อนไปได้อยู่ สมมติ เหมือนการออกเดินเรือทะเลในสมัยก่อน จะต้องมีมนุษย์แบบที่จะต้องเห็นก่อนว่า จะต้องเดินไปทางไหน ค�ำนวณทิศทาง ลมโดยที่ยังไม่เห็นนะ เห็นแค่ขอบฟ้าแล้ว ก็ ว้า..น่ากลัวจัง ไม่ ไปดีกว่า กลับบ้าน แล้วสุดท้ายก็ ไม่ ได้ท�ำ กับอีกพวกที่บอก ว่าโอ้..ทะเลกว้างใหญ่จัง น่าออกเรือจะ ตาย สุดท้ายวิ่งออกเรือไปแล้วก็ ไปชนกับ โขดหิน เรือพัง เสบียงหมดเพราะไม่ ได้ เตรียมการ แต่เรารู้สึกว่าเราเป็นมนุษย์ กลางๆ เตรียมพร้อม รีเสิร์ชข้อมูล แล้ว ก็กล้าที่จะท�ำ แต่ถ้าไปแล้วมันเจอโขด หิน เจออุปสรรคที่ท�ำให้ ไปต่อทิศนี้ ไม่ ได้ จริงๆ ก็ต้องค�ำนวณแล้วหันหางเสือเรือ แล้วไปต่อได้ การที่เป็นบริษัทเล็กๆ อย่างที่ปัจจุบัน เรียกว่า Startup จะมีคีย์เวิร์ดเรียก 15


ว่าการ Pivot คือการเปลี่ยนทิศทางบริษัทหรือ การหันหัวเรือ Startup เป็นบริษัทที่มีจ�ำนวน สมาชิกไม่มาก ประมาณ 10 คนหรือไม่ถึง การ Pivot ท�ำได้ง่ายเนื่องจากทีมเราเล็ก หันหัวเรือ ได้เร็ว แต่ถ้าเป็นเรือหรือบริษัทใหญ่การหันหัว เรือหรือการ Pivot ท�ำได้ยากกว่า O-N: จุดต่างหรือคล้ายของ Cat Radio (Fat Radio) กับ ฟั ง ใ จ ท้อป : จุดร่วมคือ ลักษณะของเพลง ที่อยู่ ในระบบของเราคล้ายกัน (เพลง นอกกระแส / ไม่จ�ำกัดค่าย) จุดต่าง มี 2 อย่างหลักๆ คือ เราจะตอบเอง หนึ่งข้ออีกข้อจะให้พี่พายตอบ ข้อแรก คือ New Media ที่ ให้พลังอ�ำนาจ กับผู้ฟัง คืออย่าง Cat Radio เป็น Traditional Media คือใน 1 วินาที มี เพลงที่เปิดได้แค่ 1 เพลง ซึ่งขึ้นกับดี เจ แต่ก็ ไม่ ใช่ข้อเสียเสมอไปเพราะผู้ ฟังก็จะมีคนคอยเลือกเพลงให้ คอย พูดให้ฟังว่าเพลงนี้เป็นอย่างไร ใน ขณะที่ฟังใจอาจต้องใช้ความพยายาม ความคิดจากตัวผู้ฟังว่าอยากจะฟัง อะไร Playlist ไหน ค้นหาวงว่าจะฟัง อันไหน ข้อแตกต่างอีกอันก็คือ Cat Radio ไม่ ได้ท�ำเรื่องของ Community ของนักดนตรี (Offline) พาย : จริงๆ Cat หรือ Fat Radio ท�ำกิจกรรมออฟไลน์มาตลอดแต่เป็น ลักษณะของคอนเสิร์ต เช่น งาน Fat Fest และ Cat (Fat) T-shirt ฟังใจ ก็ท�ำเหมือนกัน แต่ก็อยากจะท�ำอะไร ที่มากกว่านั้น เช่น การจัดงานสัมมนา ให้ความรู้ต่างๆ จัดให้มีวิทยากรที่ จะมาแชร์ ป ระสบการณ์ ก ารท� ำ งาน เพื่อให้ผู้มาร่วมงานได้รับเอาสิ่งต่างๆ กลับไปพัฒนาตัวเอง เพราะฉะนั้น การจัดสัมมนาต่างๆ ของเราก็จะมี ตั้งแต่การบริหารตัวเอง การท�ำวง อินดี้ท�ำยังไง กฎหมายลิขสิทธิ์ดนตรี ครั้งที่แล้วก็มีเรื่องการแต่งเพลง ส่วน หัวข้อล่าสุดก็คือ การเตรียมตัวเข้า ห้องอัดต้องท�ำยังไง ท้อป: ซึ่งอันนี้แหละเป็นสิ่งที่เป็นการ ส่งเสริมนักดนตรีซึ่ง Cat ยังไม่ ได้ท�ำ เราพยายามจะพั ฒ นาวงการดนตรี 16

จากข้างล่างมาข้างบน ให้วงดนตรี รู้จักการจัดการตัวเอง อย่างหัวข้อ ตั้ ง แต่ ก ารสั ม มนาครั้ ง แรกๆก็ จ ะมี ตั้งแต่การท�ำ Marketing ด้วยตัวเอง การขายเพลงในตลาดเพลง Digital เรื่องลิขสิทธิ์ดนตรี ซึ่งไม่ค่อยมีสื่อท�ำ และอันนี้ฟังใจพยายามท�ำ O-N : ในฐานะที่เป็นคนรุ่นใหม่ และได้ ท� ำ ตามสิ่ ง ที่ ฝ ั น ไปอย่ า ง หนึ่ ง แล้ ว คิ ด ยั ง ไงกั บ ความคิ ด ที่ ว่ า “ความจริ ง ส� ำ คั ญ กว่ า ความ ฝัน ความมั่นคงในชีวิตต้องมาก่อน ความฝัน” ท้อป : เราว่ามันต้องประเมิน ไม่ ใช่ เหมือนค�ำพูดสวยหรูที่ว่ากันว่า“จงตาม ความฝันของตนเองวิ่งทะลุก�ำแพง มัน ไม่ ใช่ เพ้อฝันเกินไป” การจะท�ำอะไรสัก อย่างมันต้องดูตามสภาวะความเป็นจริง ว่าเราคือใคร อยู่ ในบทบาทอะไร แล้ว ภาระที่ต้องรับผิดชอบคืออะไร อย่าง จุดหนึ่งที่ตัดสินใจท�ำฟังใจ ณ ช่วงเวลา นี้ ในชี วิ ต เพราะว่ า เรารู ้ ตั ว ว่ า หลั ง จาก นี้ ไป 2-3 ปี เราจะไม่ ได้ท�ำเพราะว่า ตอนนั้นพ่อแม่เราอาจจะแก่ตัว เราอาจ จะมีลูกมีเมีย (สมมตินะ) พอถึงวันนั้น เราไม่สามารถที่จะล้มได้ โดยที่ ไม่เจ็บ หรื อ โดยที่ เ ราจะเจ็ บ คนเดี ย วไม่ ไ ด้ อี ก แล้ว เพราะฉะนั้นตอนที่ตัดสินใจท�ำฟัง ใจ เราคิดเยอะมาก เอาจริงถ้าตัดสินใจ ท�ำอาชีพดี ไซน์เนอร์ชีวิตโคตรสบาย คง คล่องตัวกว่านี้แต่ด้วยความรู้สึกตอนนี้ มันรู้สึกว่าตัวเองอยู่ล�ำบากได้คือ ถาม ตัวเองก่อนว่าตัวเองอยู่ล�ำบากได้ ไหม มี คนอื่นต้องมาเดือดร้อนตามไหมซึ่งมัน ลงตัวแล้วรู้สึกไม่เป็นไรมันได้ทั้งคู่ ไง เรา รู้สึกว่าไม่เป็นไร พาย : (เสริมขึ้นมาตรงจังหวะพอดี) เราว่าต้องดูต้นทุนชีวิตของตัวเองก่อน จะดีที่สุด อย่างเราโชคดีที่เกิดมาใน ครอบครัวที่ ไม่ต้องล�ำบาก ฐานะปาน กลาง แต่พ่อแม่เราเกิดในครอบครัวที่ จนมากๆ ซึ่งพ่อกับแม่ก็สู้มาตลอดเพื่อ ให้ ได้เรียนหนังสือสูงๆ และท�ำงานใน อาชีพและต�ำแหน่งหน้าที่ที่มั่นคง พ่อ แม่ เ ราจึ ง คาดหวั ง ว่ า เราต้ อ งท� ำ อย่ า ง

เราว่ามันต้องประเมินไม่ใช่ เหมือนคำ�พูดสวยหรูที่ว่ากันว่า จงตามความฝันของตนเอง วิ่ง ทะลุกำ�แพง มันไม่ใช่ เพ้อฝันเกิน ไป การจะทำ�อะไรสักอย่างมัน ต้องดูตามสภาวะความเป็นจริง ว่าเราคือใคร อยู่ในบทบาทอะไร แล้วภาระที่ต้องรับผิดชอบคือ อะไร / ท้อป เขา คือเรียนหนังสือและท�ำงาน ในอาชีพที่มั่นคง เราก็พยายามท�ำ ตามที่เขาต้องการมาโดยตลอด แต่ สุดท้าย เราก็อยากท�ำงานที่เราชอบ เรารักมากกว่าวิชาชีพที่เราร�่ำเรียน มา เรารู้ว่าสิ่งหนึ่งที่พ่อเราหวังไว้ก็ คืออยากให้เราเป็นเจ้าของธุรกิจแล้ว ก็ ได้เตรียมทุนไว้ ให้ส่วนหนึ่งด้วย แต่ เราก็ต้องโน้มน้าวให้พ่อให้เข้าใจว่า ธุ ร กิ จ เกี่ ย วกั บ ดนตรี นั้ น มี ค วามเป็ น ไปได้นะ เพราะเมื่อก่อน พ่อแม่ ไม่ ค่อยสนับสนุนเรื่องดนตรี กลัวเราจะ จริงจังเป็นอาชีพ เราเลยต้องแอบ ไปเล่นดนตรีกับเพื่อน แต่ ในที่สุด พ่ อ แม่ ก็ ส นั บ สนุ น สิ่ ง ที่ เ ราต้ อ งการ ท�ำ และโชคดีที่มีแฟนที่สนับสนุนเรา ด้วย งานที่เราท�ำอยู่ (ฟังใจ) ถือว่า เป็นงานที่ช่วยเหลือคนอื่น แถมอาจ จะไม่ค่อยได้เงินเลยด้วยซ�้ำ พอเรา มองว่าเราพอมีต้นทุนชีวิตที่ดี เลยคิด ว่าเราคงท�ำได้ก็เลยตัดสินใจท�ำ คน ที่ถนัดแต่ละอย่างก็ควรที่จะได้ท�ำใน สิ่งที่ถนัดแล้วมันก็จะตีแผ่ ขยายให้ กว้างขึ้น อยากให้ทุกคนในทุกสาย งานอาชีพท�ำสิ่งที่ตัวเองท�ำให้ดีที่สุด ก็เหมือนคนที่มองว่าในประเทศญี่ปุ่น ท� ำ ไมเด็ ก เสิ ร ์ ฟ หรื อ คนขั บ แท็ ก ซี่ ดู ดี เพราะว่าเค้าตั้งใจท�ำงานของเค้าให้ดี ที่สุดก็เลยเท่ ดูดี


คนที่ถนัดแต่ละอย่าง ก็ควรที่จะได้ทำ�ในสิ่ง ที่ถนัด แล้วมันก็จะ ตีแผ่ ขยายให้กว้างขึ้น อยากให้ทุกคนในทุก สายงานอาชีพทำ�สิ่งที่ ตัวเองทำ�ให้ดีที่สุด / พาย

O-N : ค�ำว่า ‘อินดี้’ ในความหมาย ของ ฟั ง ใ จ พาย : ค�ำว่าอินดี้ มันมาจากค�ำ ว่า Independence ซึ่งจะแปลว่า เป็นอิสระก็ ได้ ไม่พึ่งพาใครก็ ได้ แต่ เราคิดว่าค�ำว่า “เป็นเอกราช” น่าจะ เหมาะสมที่สุด ตามที่อาซัน มาโนช พุฒตาล ได้เคยพูดให้พวกเราได้ฟัง คื อ ไม่ ใ ช่ ว ่ า จะไม่ รั บ ความช่ ว ยเหลื อ จากใครหรือไม่พึ่งพิงใครเลย แต่มัน หมายถึ ง การท� ำ งานดนตรี โ ดยที่ ไม่ ต้องอยู่ ใต้อาณัติของใคร ท้อป : (เสริม) ไม่ต้องสนการตลาด ว่าจะขายได้เยอะๆ ไม่ โฟกัสที่รายได้ หรือผลตอบแทนมากเกินไป พาย : Indie ในวิกิพีเดียง่ายๆ สั้นๆ ว่าไม่ ได้อยู่ภายใต้ 3 บริษัทยักษ์ ใหญ่ เช่น Sony, Universal และ Warner O-N : ฟั ง ใ จ ส่งผลต่อวงการ เพลงไทยยังไง ท้อป : เราพยายามจะไม่จ�ำกัดหรือ ปิดกั้น จึงใช้ค�ำว่า “ประชาธิปไตย ทางดนตรี” ส�ำหรับฟังใจคือพยายาม ท�ำให้ทุกวงเท่าเทียมกันหมด เช่น ถ้า สมมติในอนาคต GMM เกิดสนใจเผย

แพร่เพลงผ่านฟังใจ ใน Playlist ของฟัง ใจก็อาจจะมีเพลง BodySlam อยู่กับเพลง ของวงดนตรี ไร้สังกัดก็ ได้ คือ ไม่มีก�ำแพง แบ่งกั้นทางดนตรี ไม่ต้องมาคิดว่ามาจาก ค่ายไหน ถ้าเพลงดี คนฟังชอบ ก็ ไม่จ�ำเป็น ว่าจะต้องไปดูว่าอยู่ค่ายใหญ่หรือเปล่าดัง หรือเปล่า สิ่งที่ฟังใจพยายามท�ำในตอนนี้ ก็คือ เปิดโอกาสให้ดนตรีนอกกระแสมีพื้นที่ ได้แสดงผลงานของตัวเอง พาย : เราเชื่อว่าดนตรีที่ดีย่อมเป็นดนตรีที่ ดีอยู่วันยังค�่ำ เรามีหูอยู่สองหูไม่จ�ำเป็นต้อง มาจ�ำกัดค่าย ไม่จ�ำเป็นว่าจะเป็น Jazz, Pop หรือจะเป็น Rock ก็ ได้ เรามุ่งหมายที่ จะหาวิธีช่วยท�ำให้วงดนตรีเล็กๆ มีคนหันมา ฟังดนตรีนอกกระแสบ้าง

O-N: ทิศทางของ ฟั ง ใ จ ต่อไป ท้อป : เรื่องหนึ่งที่พูดได้ตอนนี้ก็คือ เราก�ำลังจะเป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัท ที่ชื่อว่า OOKBEE คือทางบริษัท ก�ำลังท�ำ Platform ที่เป็น Crowdfunding เกี่ยวกับนักเขียนซึ่งสามารถ ท�ำเป็น Print on demand ได้ และ ทางบริษัทสนใจ Community เกี่ยว กับดนตรี ซึ่งเราเองก็อยากจะท�ำ Crowdfunding ส�ำหรับดนตรีด้วย เหมือนกันพอดี รู้จัก Crowdfunding ไหม ก็คือ การที่เราระดมทุนจากมวลชนเพื่อจะ ไปท�ำอะไรสักอย่าง โดยมีข้อตกลงว่า 17


ถ้าให้เท่านี้ จะได้อะไรตอบแทนบ้าง ส�ำหรับศิลปินนักดนตรีอิสระ พวกเขา สามารถใช้แพลตฟอร์มนี้ ในการระดม ทุ น จากแฟนเพลงเพื่ อ ท� ำ งานต่ า งๆ เช่น การอัดเสียง การท�ำอัลบั้มใหม่ การถ่าย MV ก็เป็นไปได้ พาย : ขออธิบายในเรื่องของวงการ ดนตรีก่อนว่า ปกติแล้วถ้าศิลปิน สังกัดค่าย ค่ายก็จะออกเงินเรียก ว่า Advance ส่งให้ โปรดิวเซอร์และ นักดนตรี เพื่อให้นักดนตรีท�ำเพลง ออกมา เมื่อผลิตออกมาค่ายก็จะช่วย โปรโมทให้ ขายได้เท่าไหร่ รายได้ก็ จะถูกหักเข้าค่ายส่วนหนึ่ง อีกส่วน หนึ่งก็จะไปแบ่งให้นักดนตรีเรียกว่า Royalties ส�ำหรับศิลปินอิสระถ้า หากว่าจะท�ำเพลงเองก็แปลว่าจะต้อง ออกเงินส่วนตัวทั้งหมด ซึ่งกว่าที่จะ ได้เงินคืนถือเป็นความเสี่ยงที่สูงมาก เรามองว่าสิ่งส�ำคัญที่สุด 2 อย่างใน วงการดนตรีคือ ผู้สร้างดนตรี, ผู้ฟัง ดนตรี ถ้าเราต่อท่อตรงก็คือ ศิลปิน ขอเงินจากแฟนเพลงเพื่อสร้างผลงาน ป้อนกลับไปให้คนฟัง Crowdfunding ก็คืออย่างนี้ล่ะ การที่ศิลปินกับแฟน เพลงเชื่อมต่อกันได้ สนิทสนมกลม เกลียวก็จะสามารถท�ำผลงานต่อไป ได้ 18

O-N : รายได้ของ ฟั ง ใ จ ท้อป : ถ้ายึดเรื่องเศรษฐกิจหรือ ธุรกิจมาวัด ฟังใจเป็นบริษัทที่ค่อน ข้างฝืดมากเลย แต่ว่าถ้าในทางด้าน ความคุ ้ ม ค่ า ทางจิ ต ใจมั น เกิ น คุ ้ ม นะ มันก็คือ Passion เราอยากท�ำให้มัน เกิด แต่แน่นอนในระยะยาวการจะท�ำ อะไรก็ตามต้องยั่งยืนด้วยตัวเอง คือ วันหนึ่งถ้ามันติดลบไปก็ ไม่ ได้ ตอน แรกที่ท�ำฟังใจทุนคือจากเราคนเดียว คือเราต้องเลี้ยงตัวเรา จะแบมือขอ แม่เหมือนเมื่อก่อนไม่ ได้ ช่วงแรกของ การท�ำฟังใจ เราท�ำงานออกแบบอยู่ เราจ้างฟรีแลนซ์อีกคนมาช่วย เรา รับงานมา แล้วให้เขาช่วยท�ำให้เรา ได้มีเงินใช้ ในชีวิตประจ�ำวันได้ ให้เรา มี เ งิ น ได้ จ ่ า ยเงิ น เดื อ นกั บ ฟรี แ ลนซ์ ได้ เราท�ำอย่างนี้เพื่อให้บริษัทมีสิ่งที่ หล่อเลี้ยง ตอนนี้เรียกได้ว่าฟังใจเป็น บริษัทแสวงหาต้นทุน (หัวเราะ) เอา จริ ง ๆเราเป็ น บริ ษั ท ทั่ ว ไปน่ ะ แหละ เพียงแต่ว่าการแสวงหาผลก�ำไรไม่ ใช่ จุดประสงค์หลักในการท�ำงาน เรา พยายามจะพัฒนาวงการดนตรีอิสระ เราพยายามจะท�ำในสิ่งที่เรารักและ เราพยายามจะอยู่รอดไปได้ ในทุกวัน ใช้ค�ำว่าบริษัทแสวงหาต้นทุนน่าจะ เหมาะสมดี

พาย: ขอเสริมตรงนี้นิด สายงานเก่า เราคือ Sustainability ก็คือความ ยั่งยืนเพราะฉะนั้นเราเชื่อว่า ถ้าธุรกิจ พวกแสวงหาก� ำ ไรคื น ก� ำ ไรสู ่ สั ง คม ได้ แล้วก็ท�ำได้อย่างดีก็จะเป็นสังคม ที่สมบูรณ์แบบมาก เราอยากท�ำให้ ฟังใจรวย เพราะว่ามันคือการพิสูจน์ ให้คนเห็นว่าวงการอินดี้มีเงินนะ จะ ได้ ไม่ดูถูกว่าวงการนี้เงินน้อย การจะ ท�ำให้ฟังใจมีเงินและท�ำให้นักดนตรี อิสระอยู่ ได้มันจะเป็นอะไรที่สุดยอด ที่สุดเลย เพราะฉะนั้นตอนนี้เราก็ เหมือนแสวงหาต้นทุนเพื่อพยายาม ท�ำสิ่งอื่นๆ ต่อไป O-N : รายได้ของ ฟั ง ใ จ ที่จะให้ กลับทางวงดนตรี ในอนาคต พาย : พูดถึง 2 ส่วน อย่างแรก Music Streaming คือจะมีรายได้ 2 ทาง คือ โฆษณาเราได้เงินมาเท่าไหร่ เราก็จะแบ่งให้เจ้าของ อาจจะเป็น เจ้าของเพลง เจ้าของลิขสิทธิ์ค่าย เพลงก็แล้วแต่ ซึ่งสัดส่วนจะถูกจ่าย ไปตามจ�ำนวนการฟังจ�ำนวนครั้งที่ถูก เปิดฟังของเพลงทั้งระบบ ท้อป : สมมติว่าศิลปิน A ถูกฟัง 10 ครั้งในเดือนนี้แล้วเพลงทั้งระบบถูก


เมื่อวันหนึ่งเราอยู่ในสภาพที่เราเป็นอยู่ไม่ได้ เราก็ไป มันก็แค่นั้นเอง แต่ ณ วันนี้เราอยู่ตรง นี้แล้วเรามีความสุข เราก็อยู่ต่อ วิธีคิดมันก็ ง่ายแค่นี้เอง / ท้อป O-N : ฝันสูงสุดของ ฟั ง ใ จ และ ฝันต่อไป

ฟังทั้งหมด 100 ครั้ง เค้าก็จะได้เงิน 10% จากเงินที่เราเก็บไว้ ให้ศิลปิน 50% ของที่ ได้มาทั้งหมด สมมติว่า สปอนเซอร์ ให้มา 100 บาทเราก็จะ แบ่งให้ศิลปิน 50 บาท ซึ่ง 50 บาท นี้ก็จะถูกกระจายไปตามแต่ละวงตาม ยอดการฟัง ฉะนั้นถ้าศิลปิน A ถูกฟัง 10% เค้าก็จะได้เงิน 5 บาท พาย : คราวนี้มีคนบางคนชอบคิดว่า Music Streaming คืออนาคตของ วงการดนตรี จะท�ำให้ศิลปินมีรายได้ ทดแทนรายได้จากการขาย CD บอก ไว้เลยว่ามันเป็นไปไม่ ได้ถ้าคุณไม่ ได้ ดังระดับโลก ท้อป : สิ่งที่พี่พายพูดคือ สิ่งที่ Music Streaming ก�ำลังต่อสู้คือมันไม่ ได้ต่อสู้กับการสร้างยอดขายที่เทียบ กับการขาย CD ได้ สิ่งที่ Music Streaming ก�ำลังต่อสู้คือ 4share, Bittorrent หรือเว็บโหลดฟรี คือเรา ก�ำลังต่อสู้กับสิ่งที่ฟรีอยู่ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ ได้มามูลค่าอาจจะไม่ ได้สูงมาก ต้องมองว่าเป็นของถูกลิขสิทธิ์ อาจ จะสร้างรายได้ แม้จะไม่เยอะ ต้อง มองที่สิ่งอื่น คือการเป็นที่รู้จักมากขึ้น ท� ำ ให้ คุ ณ สามารถได้ แ ฟนเพลงใหม่ มากขึ้นจากในฟังใจเพราะแนวเพลง

ในฟังใจค่อนข้างแคบกว่าที่อื่น ท�ำให้ มีคนเฉพาะกลุ่มที่ชื่นชอบในแนวนี้อยู่ แล้วเข้ามาฟังเพลง โดยไม่ต้องไป แย่งพื้นที่กับสื่อใหญ่อื่นๆ ที่มีเพลงที่ เป็นที่นิยมมากมาย พาย : ก่อนที่คุณจะไปซื้อเพลงคุณ ต้อง 1) ค้นพบเพลงก่อน ไม่ว่าจะค้น พบด้วยวิธี ไหน 2) ได้ฟังมากพอ 3) ฟัง ติดตาม จนรักจนชอบ ในที่สุดก็ คือ 4) ตัดสินใจควักเงินในกระเป๋า ซื้อ ซึ่งMusic Streaming ก็คือท�ำ ข้อ 1) กับ 2) นั่นเอง ส่วน 3) และ 4) ศิลปินจะต้องเป็นคนท�ำให้เกิดเอง คือต้องติดต่อพูดคุยกับแฟนเพลง ท�ำ ช่องทางจัดจ�ำหน่ายให้แฟนเพลงซื้อ หาได้ง่าย แต่ฟังใจก็ตั้งใจที่จะช่วยให้ ศิลปินให้เกิด 3) กับ 4) ได้ ท้อป : เราก็เลยต้องมีการจัด Workshop ให้กับศิลปินวงอินดี้ เพื่อจะได้มี แนวทางในการท�ำให้ 3) และ 4) เกิด ขึ้นได้ พาย : อันนี้เป็นสิ่งที่ฟังใจแตกต่าง จาก Music Streaming อื่นๆอย่าง ชัดเจน เพราะปกติเขาจะท�ำแค่ 1) 2) แต่เราช่วย 3) 4) ด้วย

ท้อป : ของเรากับของพี่พายอาจ จะต่างกัน ส�ำหรับเราคือจะคิดจาก ฝั่งผู้ฟังตลอด ถ้าจะพูดถึงฝันตอน นี้ก็คือยังไปไม่ถึง เราอยากให้คนที่ อยากฟังเพลงนึกถึงฟังใจก่อนเป็นที่ แรก เราอยากให้คนที่อยากจะฟัง เพลงไทยนึกถึงฟังใจก่อน ถ้าเป็น เพลงต่างประเทศอาจจะนึกถึง KKBox หรือ Deezer ก่อนได้ แต่ถ้า เป็นเพลงไทยอยากให้นึกถึงฟังใจก่อน แล้วเราก็เชื่อว่า Music Streaming คือซอฟต์แวร์ที่ดีกว่าในการฟังเพลง อยากค้นพบวงดนตรี แนวเพลงใหม่ ในบ้านเรา อยากฟังเพลงไทยดีๆก็ มาฟังฟังใจ ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่เป็นตาม ที่คิด ยังเป็น Youtube อยู่ร้อยละ 99.99% (หัวเราะ) พาย : ส�ำหรับความตั้งใจของเรา จุ ด ศู น ย์ ร วมของไอเดี ย ก็ จ ะอยู ่ ที่ นั ก ดนตรี เราอยากจะให้อาชีพนักดนตรี อิสระกลายเป็นอาชีพได้จริง อยู่ ได้ จริง เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ แต่คราวนี้การจะท�ำให้เกิดสิ่งนั้นได้ จะต้องมีปัจจัยทางสภาวะแวดล้อม หลายๆ อย่าง ดังนั้นการที่จะเกิด การเปลี่ยนแปลงขนาดนั้นได้ เรามอง ว่ า จะต้ อ งมี ก ารปฏิ วั ติ ว งการดนตรี โดยเริ่มจากข้างล่างสุดก็คือ คนฟัง และคนท�ำเพลง ถ้าหากว่าคนท�ำ เพลงท�ำให้คนฟังเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆได้ ท�ำให้คนท�ำเพลงเปิดใจรับแล้วพัฒนา ตัวเอง มันจะเริ่มเกิดวงจรที่สมบูรณ์ นี่คือจุดสูงสุดของฟังใจที่อยากให้เป็น มันก็จะต้องมีกระบวนการต่อไปอีกนะ ไม่ ใช่เพียงแค่ข้างล่างแต่ก็จะต้องมา จากข้างบนด้วย 19


O-N : คิดว่าการที่มาร่วมมือกันก่อ ตั้งฟังใจ คือการท�ำตามความฝัน หรือเปล่า ท้อป : ใช่นะ จุดเริ่มต้นเกิดจาก ความเบื่อหน่าย คนอื่นอาจจะมีความ ฝันความมุ่งมั่นที่จะท�ำตามอุดมการณ์ ตอบสนองปรัชญาอะไรสักอย่าง แต่ เราแค่รู้สึกว่าเวลาแต่ละช่วงของชีวิต เช่น ตั้งแต่เรียนจบมันก็จะมีช่วงแบ่ง ของมัน มีช่วงที่สมบูรณ์ ส�ำเร็จ จะ ไปเรียนต่อก็จบแล้ว อยากท�ำงาน ที่ต่างประเทศก็ ได้ท�ำแล้ว เพราะ ฉะนั้นแต่ละช่วงมันบอกเราว่าแต่ละ ก้าวตอนนี้เราอยากท�ำอันนี้ เราก็ ต้องพยายามท�ำ ตอนเรากลับมา เมืองไทย กลับมาท�ำอาชีพเดิม (นัก ออกแบบ) เราก็รู้สึกว่ามันไม่ ได้อยาก ท�ำสิ่งนี้เท่าไหร่ เราก็เลยมาท�ำฟังใจ ท�ำในสิ่งที่อยากท�ำ มันเป็นความฝัน สูงสุดของชีวิตหรือเปล่ายังตอบไม่ ได้ สมมติฟังใจอาจจะมีจุดสูงสุดคือยิ่ง ใหญ่มาก โตแล้ว เราก็อาจจะพอแล้ว ก็อยากท�ำอย่างอื่นต่อไปก็ ได้ ก็ตอบ ไม่ ได้เหมือนกันเพียงแต่ว่า ณ ตอนนี้ ก็คือไม่ ใช้ค�ำว่าท�ำตามความฝันดีกว่า ใช้ค�ำว่าท�ำตามความสุขดีกว่า เราชอบค�ำพูดของของพระ ภิกษุรูปหนึ่งที่วัดป่าที่เคยไปบวช ท่าน บวชมาก่อนเราปีกว่า เราถามท่านว่า จะบวชไปอีกนานเท่าไหร่ ตลอดไป ไหม ท่านก็ตอบมาดีมากว่า “จริงๆ แล้วที่มาบวชเป็นเพศภิกษุเพราะว่า อยู่ทางโลกไม่ ได้ แล้วถ้าวันหนึ่งเกิด อยู่ ในเพศภิกษุไม่ ได้ก็จะกลับไปเป็น ฆราวาส” นี่แหละเมื่อวันหนึ่งเราอยู่ ในสภาพที่ เ ราเป็ น อยู ่ ไ ม่ ไ ด้ เ ราก็ ไ ป มันก็แค่นั้นเอง แต่ ณ วันนี้เราอยู่ตรง นี้แล้วเรามีความสุขเราก็อยู่ต่อ วิธีคิด มันก็ง่ายแค่นี้เอง พาย : ส่วนเราเป็นอารมณ์ Idealist พอสมควร เคยได้ยินไหมที่เค้าบอก ว่า ถ้าเราท�ำงานที่เรารู้สึกรัก รู้สึก ชอบ เราจะรู้สึกว่าไม่ ได้ท�ำงาน เรา คิ ด แบบนั้ น เลยอยากท� ำ ให้ ได้ แ บบ นั้น ก็เลยพยายามหาสิ่งที่ตัวเอง ชอบ สิ่งที่ท�ำแล้วมีความสุข ท�ำแล้วมี 20

ประโยชน์ต่อโลก พอเลือกได้ว่าดนตรี คือสิ่งที่เราชอบ เรารู้สึกว่าเรามี ความรู้ต่างๆที่เราน่าจะช่วยให้วงการ ดนตรีอินดี้มันดีขึ้น อยากแนะน�ำให้ ไป ฟังเพลงเราดู(ฮา ช่วงขายเพลง) เช่น เพลง “Unfound” เป็นเพลงที่แต่งขึ้น ในช่ ว งชี วิ ต ที่ พ ยายามค้ น หาตั ว เอง ตลอดเวลา ตรงท่อนที่ว่า “แม้จะตาม หาเท่าไหร่ก็ ไม่เจอ..” ก็คือตอนนั้น แม้จะพยายามยังไง มันก็รู้สึกว่าไม่ เจอสักที จนตอนนี้มีเพลงที่เพิ่งออก มาใหม่แต่ยังไม่ โปรโมทคือเพลงชื่อ ว่า “ปล่อยมือไป ให้ฉันได้เดิน” มัน ถูกแต่งในช่วงที่เรียนอยู่อเมริกา คือ คิดไว้แล้วว่าอยากจะเดินสายดนตรี แล้วรู้สึกว่ามันมีบ่วงพันธะอยู่ อย่าง เช่นพ่อแม่ที่คาดหวังในตัวเรา เพราะ ฉะนั้ น ไม่ ว ่ า เราจะตั ด สิ น ใจท� ำ อะไร ก็ตาม “ไม่ว่าจะเจ็บสักเท่าไหร่ จะไม่ เสียใจ ถ้าต้องผิดหวัง หากว่าล้มจะ ลุกขึ้นยืนใหม่ หากร้องฉันจะร้องเป็น เพลง” นั่นแหละ เราตัดสินใจว่าเรา จะท�ำอันนี้ แล้วก็ถ้าจะผิดหวัง เสียใจ ก็จะไม่เป็นไร ต้องปล่อยตัวเองออก จากบ่วงที่มัดเราไว้ ที่ ได้ท�ำฟังใจนี่มี ความสุขที่ ได้ท�ำอะไรดีๆให้เกิดขึ้น ได้ ท�ำสิ่งที่ชอบถึงบางอย่างจะไม่ถนัดแต่ ก็ ได้เรียนรู้สิ่งใหม่บ้าง O-N : สิ่งที่จะฝากบอกคนรุ่นใหม่ ที่มีความฝัน ท้อป : เราคิดว่าปัจจุบัน มี Internet โดยเฉพาะ Social Media เป็น เหมือนดาบสองคม ด้านที่ดีคือได้ เห็นตัวอย่างดีๆมากมาย เด็กสมัยนี้ พอเราไปสอนเราจะรู้ว่าเก่งกว่าเรา เมื่อก่อนเยอะ เพราะโลกที่ ได้เห็นนั้น กว้างกว่าเราสมัยก่อน ได้อ่านความ คิดคนที่ประสบความส�ำเร็จมาเยอะ กว่าเรา ได้เห็นกรณีศึกษาที่เก่งๆน่า สนใจเยอะแยะแต่ ใ นขณะเดี ย วกั น มันก็ฉาบฉวยอยู่เยอะ เรารู้สึกว่ามัน อันตรายคือพอทุกอย่างมันถูกจัดมา เป็นหมวดแบบแฟลช แป๊บๆเห็นทุก อย่างมาถึงจุดส�ำเร็จ เห็นปลายทาง ตอนมันเสร็จแล้วดีแล้ว ก็เลยคิดว่า

มันง่าย การท�ำอะไรดูง่ายไปหมด พอ ทุกอย่างมันง่ายก็กลายเป็นขาดการ เรียนรู้ ในกระบวนการที่ท�ำให้ ได้มา มันขาดหายไป รีบที่จะกระโจนเข้าไป เพื่ อ ที่ จ ะให้ ได้ แ ฟลชตรงนั้ น เดี๋ ย ว นั้น โดยที่ ไม่ยอมเหนื่อย ไม่เรียนรู้ ว่ า จริ ง ๆแล้ ว กว่ า ที่ จ ะประสบความ ส�ำเร็จมันต้องผ่านอุปสรรค ผ่านการ แก้ปัญหาก่อน เราชอบพูดกับเด็ก หลายๆคนว่า ถ้าคุณไม่ลองไปเป็นลูก น้อง คุณจะไปเป็นเจ้านายคนได้ยังไง จะบริหารคนอื่นได้ยังไง การที่เราท�ำ ฟังใจได้ ในปัจจุบันเป็นเพราะว่าการ ที่เราท�ำให้ทีมทุกคนสามารถท�ำงาน ร่วมกันได้ พาย : จริงๆ เราท�ำงานมาไม่นาน หรอกแต่เรียนนาน เรียนเยอะ เรา รู้สึกว่าสมัยนี้อ่านข่าวเหมือนอ่านแค่ ตรงพาดหัว อ่านหนังสืออ่านตรง แค่ปก ซึ่งการที่คุณจะประสบความ ส� ำ เร็ จ ในชี วิ ต ได้ คุ ณ ต้ อ งผ่ า นการ ล�ำบาก ผ่านร้อนหนาว ทุกข์สุขมา ก่อนมันถึงจะสมบูรณ์ ยกตัวอย่าง พี่ตูน Bodyslam พูดว่า “สู้ ไปแล้ว คุณจะส�ำเร็จ” แต่นั่นมันคือบทสรุป เท่านั้นเอง เหมือนศีล 227 ข้อที่ สรุปออกมาเป็น 1 ข้อสั้นๆ ว่า “อย่า ประมาท” อันนี้ก็เหมือนการสรุปทุก อย่างให้อยู่ ในเนื้อความเดียว ท้อป : ใช่ เพราะว่าเดี๋ยวนี้อะไรก็ ย่อยง่าย แต่สิ่งที่พี่ตูนเค้าผ่านมาคือ เค้าเหนื่อยมา ก่อนหน้านั้นเค้าผ่าน มันมา 5-6 ปี ไม่ง่ายขนาดนั้น แต่ พอเราอ่านแล้วฮึ้ย..มันใช่ แต่ ในความ เป็นจริงมันไม่ง่าย ถ้ามันง่ายป่านนี้ คนทั้ ง ประเทศประสบความส� ำ เร็ จ ไปแล้ว เราว่าอย่าไปตกหลุมกับค�ำ พูดสวยหรูขนาดนั้น น่าจะลองไปหา ประสบการณ์ ลองท�ำดูก่อน อย่า เพิ่งไปคิดว่า จะท�ำอะไรก็ง่าย เป็น เจ้าของกิจการก็ง่าย หนังสือสมัยนี้ที่ ออกมามันเป็นสูตรส�ำเร็จเกินไป พาย : หนังสือประเภทพวกที่บอกว่า เป็นวิธี แนวคิดท�ำอย่างนี้อย่างนั้นให้ ได้ ในกี่วัน


ท้อป : ใช่ คือ ถ้าชีวิตมันง่าย ถ้าผม ท�ำตาม 27, 30 ข้อของคุณเหล่านั้น แล้วชีวิตจะดีขึ้นป่านนี้คงดีกันไปหมด ทั้งประเทศแล้ว ฉุกคิดนิดหนึ่ง มันไม่ ได้มีสูตรส�ำเร็จอะไรขนาดนั้น พาย : แต่ฟังใจเองก็ยังไม่ ได้ประสบ ความส�ำเร็จนะ ท้อป : ใช่ อันนี้ถูก พาย : ใช่เดี๋ยวจะโดนข้อครหา ท้อป : เดี๋ยวจะโดนว่าว่าเป็นใคร ถึง มาพูดแบบนี้ (หัวเราะ) พาย : ฟังใจยังเป็นเหมือนเด็ก แบเบาะ เพิ่งออกมาจากท้องแม่ มัน ยังต้องสู้ต่อไป ที่ส�ำคัญที่สุดเหมือน ที่เค้าว่า “ระยะทางหมื่นลี้เริ่มต้นได้ที่ ก้าวแรก” ก็อารมณ์เดียวกัน ท้อป : เราเจอค�ำถามประเภทนี้มา เยอะมากว่า จะรู้ ได้ยังไงว่าความฝัน ของคุณมันไม่เพ้อฝันเกินไป บางคน คิดเยอะจนกลัวไม่กล้าท�ำอะไร กับอีก แบบที่สุดโต่ง พวกที่อ่านพวกนั้นมาก จนมุมานะ มุทะลุ เดินหน้าอย่างเดียว ท�ำไปเลยโดยที่ขาดการไตร่ตรอง แต่

ของเราส�ำหรับการท�ำฟังใจนั้น เรา เอาไปคุ ย กั บ หลายๆคนทั้ ง ในและ นอกวงการ ก็มีนะคนที่ยิงกลับมา แบบหงายหลังเลย คนสนับสนุนก็มี เยอะ แต่สุดท้ายเราก็มีประสบการณ์ เป็นของตัวเอง เราเรียนมา เรามี ประสบการณ์จากการท�ำงานมาก่อน แต่เราก็ต้องรอบคอบให้มากที่สุดเท่า ที่จะท�ำได้เลย ส�ำคัญสุดคือ ต้อง ลงมือท�ำ คือ คิดเสร็จแล้วต้องลงมือ ท�ำ อันนี้ส�ำคัญที่สุด แล้วก็ต้องคิดให้ รอบคอบมากๆนะ ไม่ ใช่กลัวจนไม่กล้า ท�ำอะไร O-N : เปรียบตัวเองกับเพลย์ลิสต์ ในฟังใจ หรือเพลงหนึ่งเพลงตอนนี้ ท้อป : โอ้ โห ยาก (หัวเราะ) ให้พี่ พายตอบก่อนเลย โยน พาย : อืม จริงๆ เป็นคนไม่ค่อย ฟังเพลงล่ะ เพราะฟังเพลงระหว่าง ท�ำงานไม่ ได้ ไม่มีสมาธิ แต่ถ้าจะ ให้เปรียบกับเพลงตอนนี้ น่าจะเป็น เพลงที่มีจังหวะเดิน เข้าจังหวะใน การเดิน คือ การท�ำงานอะไรก็แล้ว

แต่อย่าคลาน อย่าวิ่ง ให้เดิน เราจะ ไม่เหนื่อยเกินไป ได้มองเท้าตัวเองได้ เห็นเป้าหมายชัดขึ้นด้วย ท้อป : คิดเพลย์ลิสต์ไม่ออก แต่เรา นึกถึงเรื่องความพยายามท�ำในสิ่งที่ เชื่อ ท�ำด้วยการคิดเรื่องต้นทุนชีวิต กลั บ ท� ำ ให้ เ รานึ ก ถึ ง หนั ง สื อ การ์ ตู น เล่มหนึ่งของ ‘นายสะอาด’ ชื่อว่า ชายที่ ได้ ไปญี่ปุ่นด้วยหนังสือของตัว เอง ต่อจากเล่มแรกที่ชื่อว่า ชายผู้ ออกเดินทางตามหาเสียงของตัวเอง เรารู้สึกว่าคนๆนี้คือตัวอย่างที่คิดว่า ใช่มาก ทุกครั้งที่อ่านเราขนลุก อ่าน ประมาณ 5-6 รอบ น�้ำตาซึมด้วย เรารู้สึกว่าเค้าได้ท�ำในสิ่งที่ตัวเองต้อง การจริงๆ ตอนแรกก็ ไม่มี ใครเห็น ด้วยเลยคนรอบข้างมีแต่คนด่าแต่เค้า ก็ยังท�ำต่อไปเพราะคิดว่ามันคือสิ่งที่ ท�ำแล้วมีความสุข แต่มันเหนื่อยมาก เลยนะกว่าจะไปถึงจุดนั้น อันนี้แนะน�ำ ต้องไปหาอ่านครับ มันเป็นของจริงไม่ ได้มีค�ำพูดสวยหรูแต่เรื่องเล่าวิธีการ สื่อท�ำได้ดีมาก มันคือ Hard Work pay off จริงๆ

“ไม่ว่าจะเจ็บสักเท่าไหร่ จะไม่เสียใจ ถ้าต้องผิดหวัง หากว่าล้ม จะลุกขึ้นยืนใหม่ หากร้องฉันจะร้องเป็นเพลง” ด้วยประสบการณ์และความคิดของผู้อยู่เบื้องหลังทั้งสองของ ‘ฟังใจ’ ที่เต็ม ไปด้วยความมุมานะนี้เองที่จะปลุกวงการดนตรีเพลงไทยนอกกระแสให้มีชีวิต สร้าง โอกาสให้กับศิลปินอิสระและช่วยผลักดันให้เกิดพื้นที่ เพิ่มโอกาสให้กับดนตรีเพลงนอก กระแสให้เป็นที่รู้จักและมีสิทธิเสรีมากขึ้นในสังคมคนฟังและศิลปินเอง

ช่องทางการติดตาม ฟั ง ใ จ : - Website > fungjai.com หรือพิมพ์ ฟังใจ.com เพจเฟซบุ๊ก Facebook.com/hellofungjai และแมกกาซีนของฟังใจชื่อ Fungjaizine.com - Social Media > ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น Twitter, Youtube, Instagram ใช้ Hellofungjai ทั้งหมด อีเมล์ คือ hello@fungjai.com 21


A Photo I Shoot ค�ำและภาพ : มนุษย์ห้องใต้หลังคา.

ความจริงของความสุข อิ ส ร ะ เ ส รี.

22


A Thing I Dream เรื่อง : วานิลลา ภาพ : รอหัน

ครีมกันหนาว

ส�ำหรับเพื่อนๆ ที่ ไปเที่ยวหรือ ใช้ชีวิตในต่างแดนที่มีอุณหภูมิหนาวเย็น ตั้งแต่ตัวเลขหลักหน่วยจนไปถึงติดลบ คงมิวายคิดถึงอากาศอุ่นๆ ในเมืองไทย เป็นแน่ จะใส่เสื้อโค้ทก็แล้ว รองเท้าบูท ก็แล้ว ถุงมือไหมพรมก็แล้ว แต่ก็ยังไม่ อุ่นเท่าอากาศในประเทศบ้านเกิดเมือง นอนของพวกเราอยู่ดี แถมบางคนแม้จะ

ชอบอากาศหนาวแต่ก็ ไม่ถูกกับเสื้อผ้า หน้าหนาวอีก (ก็แหม ยิ่งใส่เสื้อหนาๆ ก็ ยิ่งท�ำให้ดูอ้วนขึ้นนี่นา) นี่เล้ย! ‘ครีมกันหนาว’ นวั ต กรรมใหม่ ที่ ดั ด แปลงมา จากครีมกันแดด เพียงแค่เพื่อนๆ ทา เนื้อครีมนี้ลงบนร่างกาย เพื่อนๆ ก็จะ รู้สึกราวกับมีฮีทเตอร์ติดตัวตลอดเวลา

แล้ว ส่วนจะอุ่นมากอุ่นน้อยก็ขึ้นอยู่กับ CPF (Cold Protection Factor) ที่ ระบุอยู่บนหน้าหลอดเลยค่ะ ยิ่งมีมาก ยิ่งป้องกันหนาวได้ดี ไม่ต่างจาก SPF ของครีมกันแดดเลยสักนิดเดียว ;)

23


A Short Story I Write เรื่อง : นิรัติศัย บุญจันทร์ ภาพ : Kamonnut Kamda facebook.com/khidwad

24


25


Away From Thailand อินเดีย & อเมริกา

ทิปน้อยทิปยาก ทิปมากทิปง่าย

คุณเป็นคนให้ทิป(Tip)พนักงานเวลาไปใช้บริการที่ ต่างๆ บ่อยแค่ ไหน? ถ้าค�ำตอบของคุณ คือ บ่อยปกติ …อินเดียยินดี ต้อนรับคุณเป็นอย่างยิ่ง คุณมาถูกประเทศแล้ว แต่ถ้าคุณเป็น คนที่ ไม่เคยทิปและไม่ชอบให้ทิปเลยล่ะก็…อินเดียก็ขอต้อนรับ คุณอยู่ดี พร้อมทั้งยินดีช่วยคุณปรับทัศนคติเกี่ยวกับการให้ทิป ของคุณใหม่ อันที่จริงวัฒนธรรมการให้ทิป เป็นมารยาทสังคมที่ แตกต่างกันในแต่ละประเทศ เราจะไม่พูดถึงประเทศอื่นให้เสีย 26

INDIA

เรื่องและภาพ : Wirada Kaoey บรรทัดทิ้งไปเปล่าๆ (เพราะเราอยู่อินเดียไงคะคุณ) ที่อินเดียเมื่อ คุณเข้ารับบริการอะไรซักอย่างไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร โรงแรม แท็กซี่ หรือทัวร์ภายในประเทศ นอกเหนือจากราคาสินค้าและ บริการที่ตกลงกันไว้หรือที่รับรู้ร่วมกัน คุณยังต้องเตรียมเงินทิปไว้ เพราะถึงแม้ ในเมนูและในใบเสร็จจะระบุว่ารวม Service Charge ไปแล้วก็ตาม มันปกป้องคุณจากการให้ทิปไม่ ได้หรอกนะ (หึหึ หัวเราะสะใจในล�ำคอ) สิ่งที่คุณต้องท�ำคือควักเงินของคุณออก มา ประเมินจากร้านหรือสถานที่ที่คุณไปใช้บริการว่าหรูหราดูดีมี ระดับแค่ ไหน เช่น หากคุณทานในโรงแรม ทิปของคุณก็ต้องไม่ต�่ำ กว่าร้อยรูปี มิฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคือบริกรจะไม่ยอมไปไหน รีๆ รอๆ ท�ำท่าเหมือนมีอะไรจะพูดแต่ ไม่พูด ท�ำเป็นนับเงินค่าอาหารให้คุณ ดูต่อหน้าคุณเพื่อให้รู้ว่ามันพอดีเกินไปนะจ๊ะ เกินๆ มานิดนึงหน่อ ยมั้ย …หรืออย่างการเข้าพักในโรงแรม ทุกครั้งที่ Bellboy หิ้ว กระเป๋าให้คุณ, ทุกครั้งที่พนักงานเอาของมาส่งที่ห้อง ทุกครั้งก็ เป็นเงินเป็นทองไปซะหมด บางครั้งคุณอาจจะพบว่าห้องที่คุณเข้า พักไม่มีผ้าเช็ดตัว ไม่มีผ้าเช็ดเท้า น�้ำเปล่าก็ ไม่วางไว้ รหัส WIFI ก็ยังไม่บอก สิ่งที่คุณต้องท�ำคือโทรไปบอกที่ Reception เพื่อ ให้พนักงานเอาของเหล่านั้นมาส่งให้คุณใช่ ไหม คุณเตรียมทิปไว้ จ�ำนวนหนึ่ง แต่สิ่งที่พนักงานท�ำกับคุณคือ การเอาแต่ผ้าเช็ดตัวมา ให้ ในรอบแรก เมื่อคุณถามหาผ้าเช็ดเท้ากับน�้ำเปล่าล่ะ ก็บอกว่า อุ๊ยลืม เดี๋ยวไปเอามาให้ พร้อมทั้งยังไม่ยอมไปไหนจนกว่าคุณจะ ให้ทิป รอบสองเอามาแต่พรมเช็ดเท้า บอกคุณว่าน�้ำเปล่าเดี๋ยวไป เอามาให้ แล้วก็ยืนรอทิปจากคุณแบบหน้าตาเฉย ถ้าไม่ ให้ก็ ไม่ ไป รอบที่สามเอามาครบหมด แต่ลืมให้รหัส WIFI คุณนึกขึ้นได้ โทร ไป Reception ใหม่อีกครั้ง คราวนี้เดินมาหาคุณรอบที่สี่พร้อมรหัส ทิปรอบที่สี่อาจท�ำคุณประสาทเสียเกินจะทน แต่ท�ำใจไว้ คืนนี้อาจ ไม่จบที่ครั้งที่สี่แน่นอน เพราะคุณเพิ่งเห็นว่ากลอนประตูมีปัญหา! หรือเวลาไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ จะมี ไกด์ท้องถิ่นเดินตาม คุณอย่างไม่ลดละ ถึงคุณจะบอกว่าไม่เอาๆ เขาก็จะไม่ ไป และไม่มี อะไรพรากเขาจากคุณไปได้ (นอกจากจะเจอคนที่ ให้เงินเยอะกว่า) เขาจะตามคุณไปทุกก้าว เขาจะบรรยายให้คุณฟังเกี่ยวกับสถานที่ นั้นๆ รัวๆ ราวกับแรพเปอร์ เขาจะบอกราคาที่ถูกแสนถูกกับคุณ จน คุณร�ำคาญและใจอ่อนตกลงจ้างเขาในที่สุด และเมื่อจบทริป คุณ ให้เงินเขาตามที่ตกลงกันพร้อมทั้งทิปเล็กน้อยแสดงน�้ำใจ แทนที่จะ ดี ใจพ่อไกด์ท้องถิ่นก็ โวยวายขึ้นมาว่ามันน้อยไป เขาต้องได้มากกว่า นี้ เมื่อคุณเถียงว่าราคานี้แกบอกเองไม่ ใช่เหรอ เขาจะบอกคุณว่า แต่เขาท�ำงานเกินราคา เขาพูดมากกว่าที่คุณอยากรู้ เขาสมควรจะ ได้มากกว่านี้สิ …ไหนจะมีแท็กซี่บางคันที่พาคุณหลงอ้อมโลกอ้อม เส้นศูนย์สูตรไปไกล แล้วเรียกค่าโดยสารเพิ่มโดยให้เหตุผลว่า “ผมพาคุณไปไกลเกินกว่าที่ตกลงกันไว้” ก้มหน้านับเงินแล้วจ่ายเขาไปค่ะคนดี ชีวิตยังมีพรุ่งนี้(ให้ จ่าย)เสมอ …เอิ๊ก!!??


USA

เรื่องและภาพ : Rin Jenwarin

ถึงเวลานั้นของปีอีกแล้วค่ะ ช่วงสอบไฟนอลที่น่า สะพรึงกลัวเป็นอย่างมาก(ส�ำหรับริน) ในช่วงเวลานี้จะมีอะไร หลายๆ เกิดขึ้นรอบๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน เตรียมสอบ หลังจากรับความรู้มาจากอาจารย์มาทั้งเทอม หรือจะเป็นเรื่อง เตรียมตัวเดินทางกลับบ้านส�ำหรับนักเรียนต่างชาติอย่างพวก เรา รวมทั้งการ เตรียมใจที่จะพบกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ หลังจากจบชั้นปีนี้ ไป ระหว่างที่เรายุ่งวุ่นวายกับธุระทั้งหลายที่มี หิมะก็เริ่ม ละลาย ต้นไม้ ใหญ่น้อยเริ่มผลิใบ ดอกไม้หลากพันธุ์ก็เริ่มบาน จากแจ็คเก็ตหนาที่สวมใส่ เริ่มกลายเป็นเสื้อกันหนาวตัวบาง ลงเพื่อกันลม หากบางวันท้องฟ้าดูท่าครึ้มหน่อยก็ต้องพกร่มไป ด้วย เพราะถึงเวลาที่ฝนได้มาแทนหิมะแล้ว มีบางครั้งในบางวันที่รินเดินไปมาระหว่างคลาสเรียน ที่ต้องขอเวลายืนเฉยๆ เพื่อหยุดมอง เพราะภาพที่ปรากฏอยู่ ด้านหน้านั้นมันสวยงามมากๆ แค่ ได้ยืนอยู่ตรงนั้นก็รู้สึกมีความ สุขและขอสูดอากาศให้เต็มปอดสักหน่อยก่อนจะเริ่มก้าวเดิน และใช้ชีวิตต่อไป ไฟนอลเป็นช่วงเวลาที่นอกจากความรู้ ในหัวจะยุ่งแล้ว หลายๆ อย่างในใจก็ยุ่งด้วย เพราะว่าทุกๆ ปีจะมีรุ่นพี่ที่ก�ำลัง จะเรียนจบแยกย้ายกันไปอยู่ ไกลคนละที่ กลับมาคราวหน้าก็จะ ไม่ ได้เจอกันทุกวันเหมือนเดิม อะไรหลายๆ อย่างที่อุตส่าห์เริ่ม ท�ำตัวชินกับมันได้แล้วก็ก�ำลังจะเปลี่ยนไปอีก อ่านหนังสือสอบอยู่ดีๆ ทั้งมหาลัยก็กลายเป็นสีเขียว ไปหมด ดอกไม้ร่วงไปตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ ไม่รู้ตัว

Finals มากับความร้อน


Pick-Up Reviews > Movie : GUMBEAR วาดภาพประกอบ : Boymang

Song : Wallfolwer T.

Movie : Hi-So (2554) ผู้ก�ำกับ : อาทิตย์ อัสสรัตน์ นักแสดง : อนันดา เอเวอริงแฮม ซีรีส เหลียง ศจี อภิวงศ์ ความยาวภาพยนตร์ : 102 นาที Intercultural : คนละภาษา ถ้าใครเคยฟังเพลงของ Desktop Error ที่ชื่อ Mind, เวลานี้ ของ ณภัทร สนิทวงศ์ หรือ Reverse ของ อัศจรรย์ จักรวาล จากค่าย SO::ON DRY FLOWER จะต้องคุ้นตากับ ภาพที่มีค�ำว่า ไฮ-โซ ที่มีอนันดา เอเวอริ่งแฮมตอนยังไม่ดังนั่งเท่ๆ อยู่ แท้จริงแล้วมันเป็นภาพยนตร์นอกกระแสเมื่อปี 2554 Hi-So (2554) ว่าด้วยความสัมพันธ์ของคนต่างเชื้อชาติ ต่างวัฒนธรรม แฟนสาวต่างชาติที่ตามอนันดา (ชื่อในเรื่องเหมือน ตัวจริง) มากองถ่ายในประเทศไทย แล้วก็พบว่าสภาพการใช้ชีวิต แตกต่างจนเกิดช่องว่างที่ท�ำให้รู้สึกเคว้งคว้าง กับแฟนสาวคนถัด มาที่เป็นทีมงานค่ายภาพยนตร์ที่ ไม่รู้สึกว่าเขาและเธอได้เป็นส่วน หนึ่งของกันและกัน โดยทั้งสองคนมีความสัมพันธ์กับอนันดา หนุ่ม ลูกครึ่งที่มีภาษาไทยและอังกฤษเป็นภาษาบ้านเกิด ส�ำหรับคนที่ ไม่ค่อยได้ดูหนังนอกกระแสอาจจะไม่ค่อย คุ้นชินกับจังหวะการเล่าเรื่องที่เนิบช้าและล�ำดับของเรื่องสักเท่า ไหร่ แต่ถ้ามีสมาธิในการดูก็จะพบว่ามีจุดเชื่อมโยงที่ท�ำให้เรา เข้าใจเรื่องได้ ไม่ยากมาก จุดสังเกตุจุดหนึ่งคือเรื่องการใช้ภาษาใน การสื่อสารกัน ถ้าจะให้ดีลองเปิดเพลงที่ว่าข้างต้นหลังจากดูหนังจบก็ เป็นตัวช่วยที่ดีเช่นกัน 28

Book : Boymeng

Page fb : waylaway

Song : Sky & Sea / เอิ๊ต ภัทรวี Sky&Sea เป็นซิงเกิ้ลที่สองของเอิ๊ต ภัทรวี หรือ Wishes On the Earth ที่ทุกคนรู้จักกันดี ในหน้ายูทูป โดย สาวเอิ๊ตได้ โชว์ฝีมือแต่งท�ำนองเพลงนี้เอง ส่วนทีมงานที่ สร้ า งสรรค์ เ พลงนี้ ข้ึ น มาก็ เ รี ย กได้ ว ่ า เป็ น การรวมตั ว เทพ จากหลายๆ วงมาเลยทีเดียว มีทั้งนอ จากวง Cresendo (เบส) เคน วง Zeal (กลอง) โอ วง Jetset’er (กีต้าร์ ไฟฟ้า) พล วง Clash (กีต้าร์ โปร่ง) และคีย์บอร์ดนั้นก็ ได้ โอ๊ป เพิ่มศักดิ์ โปรดิวเซอร์ของเพลงมาเล่นให้ ส่วนเนื้อเพลง ความหมายซึ้งกินใจนั้นก็ ได้ เอก วง Season Five มาช่วย แต่งให้ โดยเปรียบเทียบความรักข้างเดียวเหมือนท้องฟ้ากับ ทะเลที่ดูเหมือนใกล้กัน แต่ ในความเป็นจริงช่างแสนห่างไกล นอกจากนี้ เพลง Sky&Sea ก็ยังมีความพิเศษตรงขั้นตอนการ อัดด้วย เพราะทีมงานไปอัดเพลงกันแบบสดๆ ริมทะเลเลยที เดียว โดยส่วนตัวเราชอบฟีลโดยรวมของเพลงนี้มาก เป็น เพลงแอบรักที่ฟังแล้วเศร้าปนเหงา ดนตรีก็เพราะมากๆ แต่ สิ่งที่ชอบที่สุดก็คงเป็นเนื้อเพลงท่อนฮุค ซึ่งเปรียบความรู้สึก ของเราที่มีต่อคนที่รักเป็นภาพสะท้อนบนผืนทะเล “ให้เป็น ดั่งเงาสะท้อนบนผืนน�้ำ มองลงมาเมื่อใดก็เห็นฟ้าที่งดงาม” เป็นการเปรียบเปรยที่เห็นภาพและเข้าถึงอารมณ์สุดๆ เชื่อว่า คนแอบรักมาฟังเพลงนี้แล้วคงอินกันน่าดู เพราะบางทีมันก็ อาจจะเหมือนที่เพลงนี้ว่าไว้...ถ้าเรารักใครสักคนมาก ต่อให้ เขาอยู่ ไกลถึงบนฟ้า เราก็ยังมีความสุขกับการได้บอกเขาว่า “ยังมีคนเห็นความสวยงามของเธออยู่เสมอ ขอแค่มอง ลงมา” : )


Book : หูหาเรื่อง / เผ่าจ้าว ก�ำลังใจดี เบื่อบ้างไหมกับการอ่านบทวิจารณ์อะไรสักอย่างในรูป แบบบทความอยู่อย่างเดียว? ถ้าเบื่อ... หูหาเรื่อง ช่วยคุณได้! หนังสืออาจเก่าหน่อย แต่ความเก๋าไม่เคยจาง หน�ำซ�้ำยัง ดูเท่ ไม่ว่าจะผ่านมานานแค่ ไหน เล่มที่พูดถึงมีชื่ออ้อนจุดยืนว่า หูหาเรื่อง เขียนโดย เผ่า จ้าว ก�ำลังใจดี นามปากกาของ คุณต๊ะ จักรพันธุ์ ขวัญมงคล อดีต บรรณาธิการนิตยสารชื่อน่ากิน Hamburger และนักวิจารณ์เพลง อิสระ จัดพิมพ์ โดยส�ำนักพิมพ์ Openbooks สาเหตุหยิบยกมาแนะน�ำ เพราะว่าความพิเศษของมัน อยู่ที่การเป็นบทวิจารณ์เพลงในรูปแบบเรื่องสั้นแปรรูป มีฉาก ตัว ละคร หรือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับบทเพลงไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เกิดเป็นความสนุกในการอ่านและลุ้นว่า เรื่องสั้นเรื่องต่อไปว่าจะ มีสถานการณ์อะไร และเกี่ยวข้องกับบทเพลงใด รวมทั้งหลังจบก็ มีแทรกประวัติความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับวงดนตรีดังกล่าวให้ผู้ อ่านได้ทราบเป็นพื้นฐาน เล่มนี้ถือเป็นงานทดลองที่สร้างสรรค์มาก นอกจากความ รู้ทางสายเพลง, ความสนุกจากเรื่องสั้น มันยังกระตุกเตือนสมอง ผู้อ่านว่า บางทีเราไม่จ�ำเป็นต้องยึดตามกรอบเสมอไป ความคิด สร้างสรรค์สามารถทลายความเชื่อเดิมๆ เพื่อสร้างศิลปะที่งดงาม ได้ ใช่, ศิลปะ! ส�ำหรับผม หูหาเรื่อง ไม่ ใช่แค่รวมเรื่องสั้นแปรรูปจาก บทวิจารณ์เพลงเพียงอย่างเดียว ทว่าเป็นศิลปะในโลกตัวอักษรอีก เล่มหนึ่งด้วย

Facebook Page : อินดี้ ไทย เพจที่ โพสต์แต่เพลงไทย และออกตัวว่า “เราไม่คิด ว่า การตั้งเพจนี้ จะเป็นการตั้งตนพวกเรามาเป็นศาสดา หรือ ไอคอนอะไรสักอย่างในสังคมนี้ เราทุกคนที่เป็นแอดมิน เป็น เพียงคนธรรมด๊าธรรมดา ไม่หวังจะสร้างสัญลักษณ์ของอินดี้ อะไรขึ้นมาทั้งสิ้น เราเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาที่ชอบวงดนตรี ของไทย และแอบดูค่ายกามิกาเซ่” น่านนน! เมื่อไล่ฟังเพลงบน Timeline ไปเรื่อยๆ แล้ว เรา จะพบความแปลกใหม่ของเพลงที่ ไม่ ได้ฟังบ่อยครั้ง หรือบาง บทเพลงอาจเป็นเพลงที่เราไม่เคยฟังมาก่อนเลย การกด Like เพจนี้เอาไว้ ในชีวิตออนไลน์ของคุณจึงท�ำให้ โลกแห่งการฟัง เพลงมีสีสันขึ้นมาอีกหน่อย ที่ส�ำคัญยังเป็นการช่วยสนับสนุน คนท�ำเพลงด้วยนะเออ ถ้ารักศิลปินไทย ก็ฟังเพลงไทยกัน เยอะๆ นะ!

29


อ่านเอาเองเอย เรื่อง : ธนกฤต เตียวกุล

สั้น บรรณาธิการถามนักเขียนสมัครเล่นในเย็นวันหนึ่งว่า “เฮ้ย...ลื้อมีงานเขียนที่สั้นๆ สักเรื่องหนึ่งไหมวะ” นักเขียนสมัครเล่นเงยหน้าขึ้นมองบอกอ “เรื่องสั้นพอมีครับ เขียนเก็บไว้อยู่ 2-3 เรื่อง” “เออ..ดี.. ลื้อส่งมาให้อั๊วดูหน่อยนะ จะปิดเล่มแล้ว แม่ง...ยังมีที่เหลืออยู่ เลย” นักเขียนสมัครเล่นยิ้มกริ่ม ค�ำนวณสถานการณ์ความน่าจะเป็น ต้นฉบับเรื่อง สั้นของเขาจะได้เปิดผนึกออกจากซอง ผ่านสายตาอันเฉียบคม แล้วถูกตีพิมพ์ลงใน หน้ากระดาษหนังสือพิมพ์เสียที ก็ครั้งนี้เอง … “เฮ้ย...อั๊วอ่านเรื่องสั้นของลื้อแล้วว่ะ แม่งดี! ...เรื่องอะไรนะ?” “ชื่อเรื่อง...กินใจ” นักเขียนสมัครเล่นตอบด้วยน�้ำเสียงขุ่น “เออ..นั่นน่ะ ลื้อเขียนเรื่อง...ที่แม่บอกลูกสาวตอนวันเกิด 8 ขวบ ว่าให้ลูก รักษาสิ่งหนึ่งไว้ ไปจนกว่าจะท�ำส�ำเร็จ ...จนพ้น 26 ปีเต็ม ลูกสาวมาบอกแม่ว่าที่แม่ ให้รักษายังอยู่ดี ด้วยความที่ลูกคิดว่าปริศนาข้อนั้นคือเรื่อง ‘พรหมจรรย์’ แต่ที่แม่คิด ไว้-เป็นเรื่อง ‘ความฝัน’ “ที่เด็ด แม่ ไม่ยอมเฉลย กลับส่งเสริมลูกว่าให้รักษาต่อไปดีๆ “ดี! เขียนเรื่องสั้นอย่างนี้ดี สไตล์ประชดประชัน อั๊วชอบ... แต่อั๊วจะบอกลื้อ อย่างว่ะ ที่เขียนมาแม่งยาวไปหน่อย อย่าเข้าใจผิดนะโว้ย เรื่องมันดีจริง แต่ว่าแม่ง เสือกยาวไป-หน้ากระดาษว่างไม่พอ “เอางี้ ลื้อเขียนสรุปเรื่องอย่างที่อั๊วพูดไปเมื่อกี้นี้นะ-แก้มา เดี๋ยวจัดหน้าแป๊บ เดียว ...ลื้อเอาค่าเรื่องไปเลย” ...หนึ่งสัปดาห์ต่อมา บอกอโทร.ตามเรื่องสั้นอีกครั้ง เขาชอบใจเรื่องครั้งก่อน (แม่สอนลูกระวัง ความฝันจาง-ก่อนวัยอันควร) “ลื้อเขียนมา-ลื้อเขียนมาอีก แม่ง ดีจริงๆ...อั๊วชอบฉิบหายเลยว่ะ” เสียงหัวเราะร่วนผ่านปลายสาย นักเขียนสมัครเล่นครุ่นคิดค�ำนึงถึงผลที่จะตามมา (เหมือนครั้งก่อน) จึงให้ เหตุผลกลับไปว่า... “เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเข้าไปที่ออฟฟิศครับ” คราวนี้นักเขียนสมัครเล่นต้องรู้ก่อนเลยว่า จะใช้มาตรฐานของใคร เพราะสั้น-ยาวเราวัดต่างกัน โดยยังไม่ต้องพูดถึง...เรื่อง ‘ดี’ หรือ ‘ไม่ดี’


How to be

O-N Members



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.