ทันตภูธรเล่ม 1 ปี 2555

Page 12

ถึงเวลาที่ต้องใช้กลยุทธ์

การจัดบริการสุขภาพช่องปาก บูรณาการเชิงรุก ทพญ. สุณี วงศ์คงคาเทพ*

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยทุกกลุ่มวัย

เมื่อประมวลสถานการณ์ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชน พบว่ามีปญ ั หาในอัตราสูงทุกกลุม่ วัย สามารถสรุปได้พอสังเขปดังนี้ 1. สุขภาพช่องปากเด็กอายุ 0 - 5 ปี พบอัตราการเกิดโรคฟันผุใน เด็กไทยลดลงปีละประมาณร้อยละ 1 ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาอย่างไร ก็ตาม อัตราการเกิดโรคยังนับว่าสูง ทั้งนี้ เด็กอายุ 3 เป็นโรคฟันผุ ร้อยละ 61 และการผุลุกลามรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี โรคฟันผุส่ง ผลกระทบต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรูข้ องเด็กใน ระยะยาว เด็กที่มีปัญหาฟันผุเรื้อรัง จะเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ขาดสารอาหาร ที่จำ�เป็น เจ็บปวดและนอนไม่หลับ อาจมีการติดเชื้อบริเวณคอและใบหน้า เด็กที่มีฟันผุเรือ้ รังยังมีภาวะแคะแกรน (stunt) มากกว่าเด็กทีไ่ ม่มฟี นั ผุ การดูแลสุขภาพช่องปากจึงส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กอย่างชัดเจน 2. สุขภาพช่องปากในกลุม่ เด็กวัยเรียน จากการสำ�รวจสภาวะปราศจากฟันผุ (caries free) ของเด็กอายุ 12 ปีใน 75 จังหวัด ระหว่างปี 2548-2550 พบว่า caries free ของเด็กอายุ 12 ปี ในภาพรวมของประเทศ มีแนวโน้มคงที่ คือ ร้อยละ 41.37, 42.6 และ 42.00 ตามลำ�ดับ สาเหตุหลักสำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดฟันผุเนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และ พฤติกรรม การดูแลสุขภาพช่องปาก ประกอบกับสื่อโฆษณามีอิทธิพลต่อความเชื่อและการตัดสินใจของประชาชนเป็นอย่างมากโดย เฉพาะเด็ก ขณะเดียวกันแนวโน้มสถานการณ์สภาวะเหงือกอักเสบในกลุ่มวัยรุ่นกลับมีแนวโน้มของปัญหาสูงขึ้น 3. สุขภาพช่องปากของกลุ่มวัยทำ�งาน ปัญหาสุขภาพช่องปากของกลุ่มวัยทำ�งาน ส่วนใหญ่มีสภาวะปริทันต์ อักเสบเพิ่มสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ปัญหาโรคปริทันต์ในกลุ่มนี้ พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเป็นโรคเบาหวาน การติดเชื้อและโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานของร่างกาย แม้ว่าแนวโน้มของโรคจะมีความชุกลดลง หากแต่พบ คนที่เป็นโรคกลับพบภาวะที่รุนแรงมากขึ้น ผลกระทบที่ตามมาอย่างชัดเจนคือ การสูญเสียฟันในวัยสูงอายุ อันเนื่อง มาจากการสะสมจนเป็นโรคที่เรื้อรัง ทำ�ให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ดี และในเชิงสังคม (Social Function) ทำ�ให้เกิดปัญหาในการ เข้าสังคมของผู้ที่มีการสูญเสียฟัน 4. สุ ข ภาพช่ อ งปากของกลุ่ ม ผู้ สู ง อายุ ปั ญ หาสุ ข ภาพช่ อ งปากของกลุ่ ม ผู้ สู ง อายุ ได้ แ ก่ การสู ญ ———————————————— *สำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย 10

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.