วารสารยุติธรรมคู่ขนาน เล่มที่ 15 (ปีที่10 ฉบับที่2)

Page 110

เพื่อความมั่นใจที่จะดำเนินการไปตามแนวทางของไอซีซีพีอาร์ (ICCPR)๔๖ ความเป็นไปได้ของ ประเทศไทยในการยกเลิกโทษประหารก็เป็นไปได้เช่นกันเพราะภายหลังการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในปี ค.ศ. ๒๐๐๗ ยังไม่มีการประหารชีวิตนักโทษอีกเลย ในกรณีของประเทศเวียดนามนั้นเช่นเดียว กับกรณีของประเทศจีนที่เริ่มมีพันธกรณีในการเจรจาร่วมกับกลุ่มสหภาพยุโรปซึ่งพบว่าเวียดนามมี ความเปิดกว้างในประเด็นดังกล่าวแม้ว่าด้วยข้อจำกัดของการถือเป็นเรื่องลับต่อการเปิดเผยข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการลงโทษประหารชีวิตในเวียดนามทำให้มีการงดออกเสียงในการรับรองมติให้มีการระงับ การลงโทษประหารเป็นการชั่วคราวในการประชุมสหประชาติเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. ๒๐๐๗ และใน ปี ค.ศ. ๒๐๐๘๔๗ ในกรณีประเทศญี่ปุ่นทางรัฐบาลได้คัดค้านการยกเลิกโทษประหารว่า เป็นเรื่อง ภายในขอบข่ายอธิปไตยของแต่ละประเทศและเป็นประเด็นทางด้านกระบวนการยุติธรรมหาได้เป็น เรื่องของสิทธิมนุษยชนใดๆ เลย กระนั้นก็ตามการยกเลิกโทษประหารได้กลายเป็นประเด็นถกเถียง อย่างเปิดเผยทั้งในที่สาธารณะและในสมาคมเนติบัณฑิตของประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งยังมีองค์กรต่อต้าน การลงโทษประหารชีวิตที่เรียกตัวเองว่า “กลุ่มฟอรั่ม ๙๐” ซึ่งได้เปิดประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หลายประการที่เชื่อมโยงเข้ากับการลงโทษประหารชีวิตให้เป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไปและ สมาชิกรัฐสภา๔๘ ด้วยเหตุที่การลงโทษประหารชีวิตในญี่ปุ่นขึ้นอยู่กับความเต็มใจในการลงนามคำสั่ง ของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการยุติธรรมหลายคน ทำให้เห็นได้ว่าการลงโทษประหารชีวิตเป็นเรื่องที่ยัง ไม่ลงรอยกันเท่าใดนักในประเทศนี้ สำหรับประเทศเกาหลีเหนือนั้นอาจได้รับผลสะท้อนกลับจากการ ที่ประเทศเกาหลีใต้ได้ถูกยกสถานะให้เป็นประเทศที่มีการยกเลิกโทษประหารในทางพฤตินัยไปแล้ว และกำลังเดินหน้าไปสู่การยกเลิกอย่างเป็นทางการในที่สุด ในกรณีของประเทศมาเลเซียถือได้ว่ามี สัญญาณบ่งบอกถึงความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี โดยในปี ค.ศ. ๒๐๐๖ เนติบัณฑิตยสภาของประเทศ มาเลเซียได้เรียกร้องให้มีการยกเลิกโทษประหารและมีรายงานว่ารัฐมนตรีที่รับผิดชอบดูแลทางด้าน กฎหมายได้กล่าวชัดเจนว่า “เขาพร้อมที่จะรับข้อเสนอ สำหรับตัวเขาชีวิตของคนหนึ่งคนก็คือชีวิตของ คนคนหนึ่ง ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถจะอ้างสิทธิใดๆ ในการเอาชีวิตผู้อื่นได้แม้ว่าบุคคลดังกล่าวจะเคย เอาชีวิตผู้อื่นมาก่อนหน้านี้”๔๙ บทบาทของสหรัฐอเมริกาอาจมีอิทธิพลบางประการต่อแนวทางการ ๔๖

เนื่องด้วยประเทศไต้หวันมิได้เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ทำให้ไม่สามารถให้สัตยาบันในสนธิสัญญาภายใต้กฏหมาย ระหว่างประเทศได้ ดูเพิ่มเติมได้ใน the article by Jerome A. Cohen and Yu-Jie Chen, ‘Taiwan’s Incorporation of the ICCPR and the ICESCR into Domestic Law’ <www.usaisialaw.org/?=1142> accessed 4 July 2009. ๔๗ โปรดดูการอ้างอิงในหมายเลขเชิงอรรถที่ ๓๐ ๔๘ ดูเพิ่มเติมใน Hood and Hoyle, 2008 (n 1) 94 and David T Johnson ‘Where the State Kills in Secret: Capital Punishment in Japan’, (2006) 8 Punishment and Society 251, 263. See also Johnson and Zimring (n 3) 45–101. ๔๙ อ้างใน Amnesty International, Asia Death Penalty Blog (23 March 2006), <http://asiadeathpenalty.blogspot.com/2006/03/ renewed-debate-on-death-penalty-in.html> accessed 19 August 2009.

ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2558

82


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.