Job Cyber Vol.186

Page 48

Friendship:

“เบสท์-อนาวิล ชาติทอง”

‘เบสท์อีโวไนน์’ เปิดโลกสู่สิงคโปร์ ... เริ่มฝันการเป็นสถาปนิก “ชีวิตที่สิงคโปร์ทำ�ให้เร�ต้องรู้จักโตม�กขึ้น เพราะต้องรับผิดชอบตัวเองมากขึ้น รับผิดชอบ ตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำาวัน ไปจนถึงเรื่องการเรียน ซึ่งถ้าเราอยู่เมืองไทย อย่างตอนเช้า ๆ คุณพ่อคุณแม่ก็จะมาเคาะประตูห้องทุกเช้า ปลุกให้เตรียมตัวไปเรียนแล้ว”

เปิดตัวซิงเกิลมาถึง 3 เพลงแล้วกับ ‘The Other’ (ดิอาร์เทอ) ของ 7 หนุ่ม ‘อีโวไนน์’ (EVO NINE) “เบสท์” อนาวิล ชาติทอง “รถถัง” ศตพัฒน์ รัตโนทัย “วาง” ธรรมดา คุณจักร “ฟีม” ชิติพัทธ์ สรรพยานนท์ “กัน” รัชชานนท์ เรือนเพ็ชร์” “นิค” ปฏิพัทธ์ กิตติกถา กุล และ “แอนดรู” ศรันยู ศรุติสุต จากค่ายโมโนมิวสิค ที่ทำางานด้วยกันมาหลายปี กับความเป็นลีดเดอร์ของวงที่ น้อง ๆ ต่างโหวตให้พี่ใหญ่ “เบสท์ อนาวิล” ว่าเหมาะสม กับตำาแหน่งนี้ที่สุดแล้ว ทั้งอายุ ภาวะการเป็นผู้นำาที่มาก ความสามารถ ทั้งร้องและเต้น รวมทั้งเรื่องเรียนที่เป็นไอ ดอลให้น้อง ๆ ได้เป็นอย่างดี เรียกว่าเป็นหัวหน้าทีมที่มีความสามารถรอบตัว กับว่า ที่สถาปนิกจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (คณะสถาปัตยกรรม และการออกแบบ) ที่มีเรื่องเล่าถึงชีวิตในต่างประเทศก่อน ที่จะเข้ามาออดิชั่น เป็นหนึ่งในทีมอีโวไนน์ด้วยเหมือนกัน สำาหรับที่มาที่ไปที่ได้ไปเรียนในต่างประเทศของเบสท์ ก็ต้งั แต่สมัยเรียนอยู่ช้นั มัธยมต้น “ผมมีโอกาสได้ไปเรียนที่ สิงคโปร์ตอนอยู่ ม.2 กำาลังจะขึ้น ม.3 ครับ ด้วยการสอบ ชิงทุนอาเซียน ซึ่งเป็นทุนที่ให้กับประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยในกลุ่มอาเซียน ระดับการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ จะเทียบเท่ากับอังกฤษ และที่สำาคัญทุนนี้ฟรีครอบคลุม ทุกอย่าง” “ผมรู ้เ รื ่อ งโครงการนี ้จ ากรุ ่น พีท่ ี ่เ รี ย นที ่โ รงเรี ย น โยธินบูรณะภาคภาษาอังกฤษครับ พอรู้เรื่องทุนนี้ครั้งแรก

48

ก็ไม่ลังเลเลย แทบจะไม่ได้ดูรายละเอียดอะไรมากมาย เพราะใจผมอยากไปเรียนต่างประเทศอยู่แล้ว รวมกับที่บา้ น ก็เห็นว่าเป็นหลักสูตรของอังกฤษ ก็คิดว่าอย่างไรเราก็จะได้ ประสบการณ์ใหม่ ๆ ด้วย เลยตัดสินใจลองสอบ ปรากฏ ว่าสอบติด เป็นหนึ่งใน 13 เด็กไทยที่มีโอกาสได้ไปเรียน ซึ่งพอรู้ผลว่าสอบได้ก็ก็ดีใจมากเลยครับ ไม่ได้ตื่นเต้นว่า จะไปอยู่กันยังไง เพราะมีเพื่อนที่โรงเรียนสอบได้พร้อมกัน รวม 3 คน ซึ่งผมกับเพื่อนก็ไปเรียนที่สิงคโปร์อยู่ประมาณ 4 ปี เรียนตั้งแต่ ม.3 ม.4 และก็เตรียมมหาวิทยาลัยครับ” “ตอนที่รู้ว่าสอบได้ต้องไปเรียน ไปใช้ชีวิตที่สิงคโปร์ ตอนที่ไปแรก ๆ คุณพ่อคุณแม่ก็ตามไปส่งด้วย เหมือนไป ดูสถานที่ด้วยว่าลูกจะอยู่ยังไง ก็เพือ่ ความสบายของเขา นะครับ ตอนนั้นก็ไม่ได้เอาอะไรไปมาก ตั้งใจไปหาซื้อที่ สิงคโปร์มากกว่า” “เรื่องที่อยู่ ผมอยู่หอ ซึ่งเป็นเรื่องดีมาก เพราะ ที่หอผมได้เจอกับเพือ่ น ๆ หลายกลุ่ม ไม่เฉพาะเพื่อน คนไทยที่ไปด้วยกันเท่านั้น ก็ เ ลยเป็ น ข้ อ ดี ที ่ทำ าให้ เ รา พูด ได้ ห ลายภาษา ส่ ว น เพื่อนคนไทยคนอื่น ๆ จะ ถู ก กระจายไปอยู ค่ นละที ่ จะได้ไปรู้จกั เพื่อน ๆ ที่ตา่ ง

วัฒนธรรมกันด้วย รูมเมทของเบสท์ เป็นคนอินโดนีเซียกับกัมพูชา ทำาให้ ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารกัน เหมือนถูกบังคับให้ใช้ภาษาอังกฤษไป ในตัวครับ” “ชีวิตที่โน้นเหมือนทำาให้เราต้อง รูจ้ ักโตมากขึ้น เพราะต้องรับผิดชอบ ตัวเองมากขึ้น รับผิดชอบตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำาวัน ไป จนถึงเรื่องการเรียน ซึ่งถ้าเราอยู่เมืองไทย อย่างตอนเช้า ๆ คุณพ่อคุณแม่ก็จะมาเคาะประตูห้องทุกเช้า ปลุกให้เตรียม ตัวไปเรียนแล้ว แต่ที่สิงคโปร์เราต้องจัดการตัวเองทุกอย่าง ครับ เรื่องการกิน ที่อยู่ ของใช้ การดูแลเรื่องค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ ซึ่งก็ใช้เวลาไม่นานในการปรับตัว ที่สิงคโปร์เขาจะ ให้ความสำาคัญกับเรื่องของเวลามาก การตรงต่อเวลาเป็น เรื่องที่เน้นมาก เพราะเหมือนเป็นการปูพนื้ ฐานให้คนรู้จัก กฎระเบียบตั้งแต่ตัวเองเลยครับ” “แรก ๆ ที่ได้มาเรียนของเบสท์จะหนักหน่อย เพราะ เทียบสายกับเมืองไทย เราก็จะเป็นสายวิทย์ ตอนแรกก็ ต้องไปเข้าคอร์สเรียนฝึกภาษาอังกฤษกับเลขก่อน เพื่อปู พื้นฐานให้แน่นก่อนจะลงเรียนจริง ๆ ตอนแรกดีใจมากคิด แบบเด็ก ๆ ว่าเราได้ไว้ผมยาว ไม่ต้องตัดผมเกรียนแล้ว แต่จริง ๆ ที่นั่นก็มีกฎการไว้ผมเหมือนกัน คือไว้ผมยาวได้ แต่ห้ามโดนหู ห้ามเกินคิ้ว ห้ามทำาสี และต้องใส่ยูนิฟอร์ม ซึ่งกฎของเขาจะเข้มมาก และมีการเคารพธงชาติตอนเช้า เหมือนบ้านเราเลยครับ” มีเรียนก็ต้องมีเล่น มีเวลาพักบ้าง “ส่วนมากชอบ ไปร้านหนังสือก็จะได้เห็นหนังสือเกี่ยวกับบ้าน หนังสือ การออกแบบ ก็จะนั่งอ่านเพราะรูส้ ึกชอบ น่าจะพูดได้ ว่ า เป็ น แรงบั น ดาลใจให้ ตั ้ง เป้ า หมายในการเลื อ กเรี ย น สถาปัตยกรรมและการออกแบบที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในปัจจุบันนี้ด้วย” “อยู่ที่โน้นการเดินทางเป็นเรื่องที่สะดวกสบายมาก มี รถไฟฟ้าไปถึงทุกทิศทาง รถเมล์ก็จะมีป้ายบอกอยู่ตรงป้าย รถเมล์ว่ารถเมล์คันไหนไปไหนบ้าง โดยที่เราไม่ต้องคอยดู ที่รถ ทุกอย่างใช้บัตรใบเดียว อีซี่พาสทุกอย่างใบเดียวครบ วงจร ทุกอย่างเป็นระบบครับ” “ถ้าใครที่สนใจจะไปเรียนต่อเมืองนอกแล้วยังกล้า ๆ กลัว ๆ เบสท์อยากฝากว่าถ้ามีโอกาสได้ไปแล้วก็ไม่ต้อง กลัวอะไรเลย ให้ไขว่คว้าความรู้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าเกิด คิดถึงบ้านบางครั้งก็คิดถึงได้นะแต่อย่าท้อใจ ให้คิดว่าเรา เรียนไม่นานก็ได้กลับไปอยู่บ้านแล้ว ให้จำาเอาไว้ว่าเราได้ เปรียบที่ได้มีประสบการณ์ที่ดี ที่ครั้งหนึ่งเคยได้ไปใช้ชีวิต ที่ต่างประเทศ และที่สำาคัญให้จำาไว้ว่าเราไปเรียน อย่า ใจแตก หรือเที่ยวเล่นอย่างเดียวนะครับ เรียนบ้าง เที่ยว เล่นบ้าง แต่ต้องดูแลตัวเองให้ได้ก็พอ”

วันที่ 8 - 22 ตุลาคม 2556


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.