CSR Thaioil ชุมชนของเรา 7

Page 1


สารบัญ เรื่องจากปก

1

50 ปีที่ไทยออยล์และชุมชนอยู่ร่วมกันมา ระยะเวลาได้พิสูจน์ถึงความรัก และความผูกพันเสมือนญาติมิตรที่มีให้กันและกันมาโดยตลอด ในโอกาส ครบรอบการด�ำเนินงานปีที่ 50 ในเดือนสิงหาคมทีจ่ ะถึงนีเ้ ราขอมอบ บัตรสมาชิก เพือ่ นไทยออยล์ ให้เพือ่ นบ้านไทยออยล์ทกุ ท่าน ส�ำหรับน�ำมาใช้บริการทีศ่ นู ย์สขุ ภาพ และการเรียนรูเ้ ครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชน รวมถึงจะได้รบั สิทธิประโยชน์อนื่ ๆ อีก มากมาย ขึ้นปีที่ 2 ของจุลสารชุมชนของเรา เราได้เพิ่มจ�ำนวนหน้าเพื่อน�ำเสนอ เนือ้ หาทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ ผูอ้ า่ นทุกท่านให้มากขึน้ ฉบับนีพ้ บกับเรือ่ งราวของปราชญ์ ในชุมชน ที่พึ่งทางใจของชุมชนบ้านเรามายาวนาน พระครูสาธรธรรมกิจหรือ หลวงพ่อละออ เจ้าอาวาสวัดใหม่เนินพยอม บทสัมภาษณ์คุณสุนันท์ เสียงดัง ประธานชุมชนบ้านอ่าวอุดมกับภารกิจพัฒนาชุมชน โดยเริม่ จากกลุม่ เยาวชนทีจ่ ะ เป็นก�ำลังส�ำคัญในชุมชนต่อไป และอีกหลากหลายเรื่องราวที่สรรหาน�ำมาฝาก ให้ทุกท่านค่ะ วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2554 นี้ ขอเชิญชวนทุกท่านออกไปใช้สิทธิ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อย่านอนหลับทับสิทธินะคะ ช่วยกันเลือก คนเก่งคนดีให้เป็นผู้แทนของเราในสภาฯ จะได้ช่วยกันพัฒนาเมืองไทยของเรา ต่อไปค่ะ

ตามรอยพ่อ

4

รอบรั้วไทยออยล์

6

สวัสดีค่ะ เพื่อนบ้านไทยออยล์ทุกท่าน

รักษาสุขภาพด้วยนะคะ พบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ บรรณาธิการ

ขอเชิญบอกเล่าเรื่องราวความประทับใจในชุมชนของเรา ผ่านตัวอักษรมาได้ที่กองบรรณาธิการ ตามที่อยู่ ด้านข้างนี้ หากเรื่องใดได้รับการตีพิมพ์ในจุลสารชุมชน ของเรา ทางกองบรรณาธิการมีของรางวัลมอบให้ค่ะ

บอกเล่าเก้าสิบกับศูนย์สุขภาพ 9 เคล็ดลับสุขภาพ

10

ก้าวทันโลก

11

ปราชญ์ชุมชน

12

ปลอดภัยใกล้ตัว

14

ของดีบ้านเรา

16

กระบอกเสียงชุมชน

18

รู้จักพลังงานทางเลือก

20

ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม

22

เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน

24

จิตอาสา

26

ลับสมองลองเล่นเกม

29

จุลสารชุมชนของเรา เจ้าของ : บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) จัดทำ�โดย : แผนกกิจการเพื่อสังคมและแบรนด์องค์กร สำ�นักงานกรุงเทพฯ : เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยค่ี อมเพล็กซ์ อาคารเอ ชัน้ 11 ถนนวิภาวดีรงั สิต แขวงจตุจกั ร เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2299-0000, 0-2617-8300 โทรสาร 0-2299-0024 โรงกลัน่ : เลขที่ 42/1 หมูท่ ี่ 1 ถนนสุขมุ วิท กม.ที่ 124 ตำ�บลทุง่ สุขลา อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ 0-3840-8500, 0-3835-9000 โทรสาร 0-3835-1554, 0-3835-1444 แผนกบริหารงานชุมชน 0-3835-5028-31


เรื่องจากปก

โดย กองบรรณาธิการ

บนเส้นทางแห่งการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน

“ชุมชนและสิง่ แวดล้อมต้องดีกอ่ น ธุรกิจจึงจะอยูไ่ ด้” คือ ปรัชญาการดำ�เนินธุรกิจ ของไทยออยล์ นับแต่วันแรกที่ลงหลักปักฐานบนผืนแผ่นดินแหลมฉบังแห่งนี้ จวบจนก้าวสูก่ ารดำ�เนินงานปีที่ 50 และจะยังคงยืนหยัดอย่างมัน่ คงสืบไป บุคลากร ทุกฝ่ายของเครือไทยออยล์พร้อมที่จะใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้าน พลังงาน ซึ่งสั่งสมผ่านร้อนผ่านหนาวมายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ ขับเคลื่อน นำ�พาธุรกิจให้เจริญเติบโต โดยคำ�นึงถึงดุลยภาพด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน ย้อนเวลากลับไปเมื่อปี 2504 “บริษัทโรงกลั่นน�้ำมันไทย” ถือ ก�ำเนิดขึ้นด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 20 ล้านบาท พร้อมกับเงื่อนไขที่ รัฐบาลในขณะนั้นก�ำหนดให้มีก�ำลังการผลิตเริ่มต้นที่ 35,000 บาร์เรล ต่อวัน จนถึงปัจจุบนั ไทยออยล์มที นุ จดทะเบียนมากขึน้ กว่าหนึง่ พันเท่า และมีก�ำลังการกลั่นมากที่สุดในประเทศถึง 2.75 แสนบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นสัดส่วนราว 1 ใน 3 ของก�ำลังการกลัน่ ของทัง้ ประเทศ นับได้ว่า เป็นโรงกลั่นน�้ำมันที่มีกระบวนการกลั่นแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Refinery) ซึ่งทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยส�ำนึกของการเป็นสมาชิกหนึง่ ในสังคม เครือฯ ให้ความส�ำคัญ กับการด�ำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” ใน ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิง่ “ชุมชนรอบรัว้ โรงกลัน่ ” ซึง่ เปรียบได้กบั เพื่อนคู่คิดมิตรใกล้ตัวที่นับวันยิ่งมีคุณค่า เครือไทยออยล์ตระหนักดี ถึงความหมายของมิตรภาพและความสัมพันธ์ที่บ่มเพาะมานานกว่า ครึ่งศตวรรษ จึงพร้อมสนับสนุนและส่งเสริมให้แต่ละชุมชนรอบรั้ว

โรงกลั่น มีคุณภาพชีวิตที่ดี อบอุ่น และปลอดภัย สมาชิกในชุมชน สามารถเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง จนก่อเกิดเป็นชุมชนเข้มแข็ง พร้อม ที่จะเติบโตร่วมกัน ในวโรกาสเฉลิมฉลองปีมหามงคล 84 พรรษาของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และครบรอบ 50 ปีการด�ำเนินกิจการของไทยออยล์ ในปี 2554 นี้ ซึง่ ถ้าหากเปรียบกับช่วงอายุของคน ขณะนีไ้ ทยออยล์เป็น ผู้ใหญ่ที่พรั่งพร้อมด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิ ที่ได้สั่งสมประสบการณ์ชีวิต ในการด�ำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมพลังงานมาอย่างยาวนาน ด้วยส�ำนึก แห่งความรับผิดชอบต่อสังคมตลอดมา ในปีนี้เครือฯ ได้สร้างสรรค์ โครงการและกิจกรรมดี ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการดูแลด้านสุขภาพ อนามัยและความปลอดภัยของพี่น้องในชุมชนของเราดังต่อไปนี้ โครงการสร้างอาคารฉุกเฉิน 50 ปีไทยออยล์ รพ.อ่าวอุดม จากปัญหาความหนาแน่นของผู้ใช้บริการที่ รพ.อ่าวอุดมท�ำให้ รพ. ไม่สามารถให้บริการผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึง เป็นที่มาของโครงการ ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

1


เรื่องจากปก

สร้างอาคารฉุกเฉิน 50 ปีไทยออยล์ซึ่งเป็น อาคารทันสมัย 5 ชั้น ขนาดพื้นที่ใช้สอย 6,000 ตรม.เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลืองาน ด้านการรักษาพยาบาล ส่งเสริมการด�ำเนินงาน ของ รพ.อ่าวอุดมให้สามารถรองรับผู้ป่วยที่มี จ�ำนวนมากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึง เพิม่ ศักยภาพของ รพ.ในการรองรับผูป้ ว่ ยกรณี เกิดเหตุฉกุ เฉินใด ๆ อันเป็นการสะท้อนให้เห็น ถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับ ชุมชนรอบโรงกลัน่ อย่างแท้จริง โดยคาดว่าจะ ให้บริการพี่น้องได้ภายในปี 2555 นี้ โครงการร่วมให้บริการสร้างเสริมสุขภาพ เชิงรุก บริเวณพื้นที่ชุมชนรอบโรงกลั่น เครือฯ ได้ ม อบเงิ น กองทุ น สนั บ สนุ น งานส่ ง เสริ ม สุขภาพเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของ งานด้ า นทั น ตกรรมในกลุ ่ ม เด็ ก นั ก เรี ย น ณ ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์ เพื่อชุมชน ที่ยังคงให้บริการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพือ่ ให้การดูแลสุขภาพฟันและช่องปากเป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังรวมถึง งานด้านเวชศาสตร์ชุมชนที่ประกอบด้วยการ

2

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

จัดท�ำประชาคมร่วมกับชุมชนรอบโรงกลั่น และการส�ำรวจข้อมูลสุขภาพของแต่ละครัวเรือน เพือ่ จัดท�ำแผนทีส่ ขุ ภาพร่วมกับ รพ.อ่าวอุดมและ นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยข้อมูลทีไ่ ด้จะน�ำมาต่อยอดกิจกรรมส่งเสริม สุขภาพอย่างถูกทางและยั่งยืนต่อไป นอกจากนัน้ ทางศูนย์สขุ ภาพฯ ยังได้จดั ให้ มี กิ จ กรรมเพื่ อ ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพกาย สุขภาพใจรวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้มีพื้นที่ ส�ำหรับท�ำกิจกรรมดี ๆ ร่วมกัน ยิ่งไปกว่านั้น ในปีนี้ทางศูนย์สุขภาพฯ จะมอบบัตรสมาชิก “เพื่อนไทยออยล์” ให้กับผู้ที่มาใช้บริการที่ ศูนย์สุขภาพฯ ส�ำหรับใช้รับสิทธิประโยชน์ มากมาย โปรดติดตามรายละเอียดได้จากทาง ศูนย์สุขภาพฯ หรือทางจุลสารชุมชนของเรา โครงการสิ่งแวดล้อมชุมชนน่าอยู่ ด้วย การสร้างสวนพักผ่อนเพือ่ ชุมชน และการปลูก ต้นไม้รมิ ทางเพือ่ สภาพแวดล้อมทีด่ แี ละร่มรืน่ สวยงามในชุมชน ไม่ เ พี ย งใส่ ใ จต่ อ ชุ ม ชนรอบโรงกลั่ น เท่านั้น แต่เครือฯ ยังขยายความห่วงใย ออกสู่ “ชุมชนในระดับประเทศ” ซึ่งแม้จะมี

ระยะทางห่างไกลจากรั้วไทยออยล์ แต่ความ ห่วงใยยังคงส่งไปถึง เครือฯ มีนโยบายผสาน ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ กิจกรรมอันเป็นประโยชน์ตอ่ การพัฒนาชุมชน ด้วยการใช้ต้นทุนของแต่ละชุมชนให้ก่อเกิด เป็นพลังงานที่ยั่งยืน ให้ชุมชนสามารถเข้า ถึงการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นของตน ตาม แนวทางของพ่อหลวงที่ทรงปรารถนาให้เมือง ไทยของเรา สามารถพึ่งพาตนเองทางด้าน พลังงานได้อย่างแท้จริง อุ้มผางเมืองพลังงานพอเพียงถวายพ่อ เป็นโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) เพือ่ ชุมชนในระดับประเทศ ซึง่ ไม่ได้เป็นเพียง โครงการ CSR ในโอกาส 50 ปีไทยออยล์ เท่านั้น แต่ที่ยิ่งใหญ่และน่าภาคภูมิใจไป กว่านั้น คือ เป้าหมายที่จะถวายเป็นโครงการ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 นี้


เรื่องจากปก วัตถุประสงค์หลักของโครงการ คือ การ พัฒนาเมืองหรือชุมชนต้นแบบด้านพลังงาน พอเพียงที่ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น และของ เหลือใช้จากการท�ำเกษตร เช่น มูลสัตว์ เศษไม้ แกลบ มาผลิตเป็นพลังงานเพือ่ ใช้เองในชุมชน โดยทีช่ าวบ้านในชุมชนจะต้องให้ความร่วมมือ ในการพั ฒ นาโครงการ และร่ ว มใจกั น ใช้ พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ รวมถึงการร่วมแรงประกอบสัมมาอาชีพและ ด�ำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ซึง่ จะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง อันน�ำไปสูต่ น้ แบบของ “เมืองพลังงานพอเพียง” ทีส่ ามารถขยายผลไปสูช่ มุ ชนในพืน้ ทีอ่ นื่ ต่อไป พื้ น ที่ เ ป้ า หมายของโครงการอยู ่ ที่ ต�ำบลแม่จัน อ�ำเภออุ้มผาง ซึ่งพื้นที่เป็นภูเขา สูง จึงไม่สะดวกต่อการคมนาคม อีกทั้งการ ตั้งอยู่ในพื้นที่แนวชายแดน ท�ำให้การเข้าถึง บริการขั้นพื้นฐานของประชาชน ได้แก่ ไฟฟ้า ถนนหนทาง การติดต่อสื่อสาร การศึกษา และการบริการด้านสาธารณสุขเป็นไปอย่าง มีข้อจ�ำกัด โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า จะมีใช้ ส�ำหรับหน่วยงานราชการและงานสาธารณสุข เท่านั้น จากการลงพื้ น ที่ แ ละท� ำ ความรู ้ จั ก กั บ ชาวแม่จันในเบื้องต้น พบว่าพวกเขามีความ รั ก และตระหนั ก ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของผื น ป่ า ชุมชนแม่จันมีความเข้มแข็ง มีผู้น�ำชุมชน ครู ต�ำรวจตระเวนชายแดน เจ้าหน้าทีส่ าธารณสุข และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่เสียสละ พร้อมที่จะอยู่ ดูแลและพัฒนาชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ในความห่างไกลจาก

ชุมชนเมืองนั้น ชาวแม่จันยังโชคดีที่พื้นที่ของ พวกเขายังอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งวิถีชีวิตการ ประกอบอาชีพทางการเกษตร ส่งเสริมให้ ต�ำบลแม่จนั มีศกั ยภาพในการพัฒนาพลังงาน หมุนเวียนรูปแบบต่าง ๆ ในขั้นต้นพบว่ามีความเป็นไปได้ในการ พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน�้ำขนาด 190 กิโลวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวมวล และระบบผลิต ก๊าซชีวภาพเพื่อใช้เป็นก๊าซหุงต้ม นอกจากนี้ เรายังมีแผนในการปรับปรุงระบบผลิตไฟฟ้า จากเซลล์ แ สงอาทิ ต ย์ ซึ่ ง เป็ น อุ ป กรณ์ ที่ ชาวแม่จนั มีอยูแ่ ล้วในปัจจุบนั แต่ไม่ได้ใช้งาน เนื่องจากช�ำรุด และชาวบ้านขาดความรู้เรื่อง การซ่อมแซม อี ก หนึ่ ง กิ จ กรรมหลั ก ของโครงการที่ ส� ำ คั ญ ไม่ น ้ อ ยไปกว่ า การให้ อุ ป กรณ์ แ ละ เครื่องมือต่าง ๆ คือ การให้ความรู้ความ เข้าใจกับชุมชนในเรื่องพลังงานหมุนเวียน จากทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น การถ่ายทอด เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน การส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างประหยัดและ มีประสิทธิภาพ และการเสริมสร้างบทบาท ของชุมชนในการมีสว่ นร่วมในการพัฒนาและ บริหารจัดการโครงการให้มีความยั่งยืน

โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลจากเศษไม้ ยางพารา เป็นโครงการพลังงานหมุนเวียน เชิงพาณิชย์ โดยน�ำเศษวัสดุทางการเกษตรที่ มีอยู่ในท้องถิ่นมาผลิตพลังงานไฟฟ้า ขนาด ก�ำลังการผลิต 7.5 เมกกะวัตต์ ขณะนี้อยู่ ระหว่ า งการศึ ก ษาความเป็ น ไปได้ ใ นการ พัฒนาโครงการ โดยมีแผนจะพัฒนาโครงการ ใน อ�ำเภอเบตง จังหวัดยะลา ซึ่งไฟฟ้าจาก พลังงานสะอาดของโครงการจะช่วยเสริม สร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับพี่น้องใน อ�ำเภอเบตง ลดปัญหาไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับ และ ลดมลพิษทางอากาศจากการเผากลางแจ้ง ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จากวั น นั้ น จนถึ ง วั น นี้ แ ละก้ า วต่ อ ไป เครื อ ไทยออยล์ ใ นฐานะสมาชิ ก หนึ่ ง ของ สั ง คมที่ อ าศั ย แผ่ น ดิ น ไทยมายาวนานครึ่ ง ศตวรรษ เราพร้อมจะยืนหยัดและยึดมั่นใน ปณิ ธ านการด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ ด้ ว ยส� ำ นึ ก แห่ ง ความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมอย่าง ต่อเนือ่ ง เพือ่ ให้ทกุ ย่างก้าวของการด�ำเนินงาน คงไว้ ซึ่ ง คุ ณ ค่ า ควบคู ่ กั บ การร่ ว มพั ฒ นา ชุมชนและสังคมไทยไปพร้อม ๆ กัน

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

3


ฉบับนีข้ อพาผูอ้ า่ นทุกท่านไปเยีย่ มชม ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ แหล่งรวบรวมงาน ของพ่ อ ไว้ ให้ พ วกเราได้ ศึ ก ษาเรี ย นรู้ การเดินทางไปมาแสนสะดวก เพราะอยู่ ใกล้ ๆ แค่จังหวัดนครนายกนี่เองค่ะ แต่เดิมนั้น มูลนิธิชัยพัฒนาได้จัดซื้อที่ดินตรงบริเวณที่ ตั้งศูนย์ในปัจจุบัน จ�ำนวน 14 ไร่ 2 งานเศษ ต่อมาสมาคม นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เห็นควรว่า น่าจะมีการเผยแพร่แนวพระราชด�ำริให้กว้างขวาง จึงขออนุญาต จากมูลนิธิชัยพัฒนา ใช้ที่ดินผืนดังกล่าวเป็นที่รวบรวมข้อมูล และกิจกรรมทีแ่ สดงให้เห็นโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริที่ เป็นรูปธรรมชัดเจน โดยเสนอแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านการเกษตร ปศุสัตว์ สิ่งแวดล้อม พลังงาน ตลอดจนการสาธิตความเป็นอยู่วิถีไทยด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม อีกทั้งยังจัด กิจกรรมต่าง ๆ ให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ทีม่ าท่องเทีย่ วโครงการเขือ่ นคลองท่าด่าน ได้เข้าร่วมปฏิบตั ดิ ว้ ย สมาคมฯ ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานมูลนิธิชัยพัฒนา เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ให้ ด�ำเนินการตามที่เสนอ โดยการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ประกอบด้วยอาคารนิทรรศการ อาคารห้องประชุม ร้านค้า และลานนิทรรศการ เป็นต้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้พระราชทานชื่อโครงการว่า “ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ” เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2545 และเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้เสด็จรับมอบศูนย์ภมู ริ กั ษ์ธรรมชาติจากสมาคมนักเรียนเก่า วชิราวุธวิทยาลัย พร้อมเปิดศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติอย่างเป็นทางการ ภายในศูนย์ฯ ออกแบบพืน้ ทีท่ กุ ตารางนิว้ ได้อย่างคุม้ ค่า เริม่ ต้นด้วยอาคารจัดนิทรรศการ แสดงแนวคิดโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ เพือ่ ให้ผเู้ ข้าชมได้ความรูแ้ ละเห็นภาพใน ส่วนของการบริหารจัดการดิน น�ำ้ ป่า และมนุษย์ได้ชดั เจนยิง่ ขึน้ โดยมีการจ�ำลองโครงการและ แนวคิดทฤษฎีตา่ ง ๆ เช่น ฝนหลวง หญ้าแฝก การบ�ำบัดน�ำ้ เสียบึงมักกะสัน เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น โดยชั้นล่างของตัวอาคารคือห้องประชุมส�ำหรับการเข้าร่วมกิจกรรมหรือฟังบรรยาย แบบเป็นหมู่คณะ

4

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554


พื้นที่กลางแจ้งด้านนอกเปรียบได้กับพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มี ชีวติ ขนาดใหญ่ แสดงแนวคิดในรูปแบบของแปลงสาธิตและทฤษฎีตา่ ง ๆ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางศูนย์ได้สอดแทรกแนวคิดของ พระองค์ท่านและตัวอย่างโครงการต่าง ๆ ไว้ตลอดเส้นทาง โดยแบ่งออก เป็นภาคต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการจดจ�ำและเดินชมของผู้เยี่ยมชม

ดังนี้ ภาคเหนือ แสดงแนวคิดด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ประโยชน์ ของป่า การปลูกหญ้าแฝก การท�ำฝายชะลอ ความชุ ่ ม ชื้ น การใช้ ป ระโยชน์ จ ากไม้ ไ ผ่ เป็นต้น ในโซนนี้ยังได้จ�ำลองภูมิประเทศเป็น ที่สูงที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ให้ความร่มรื่น โดยสอดแทรกความรูแ้ ละตัวอย่างการอนุรกั ษ์ ทรัพยกรธรรมชาติเป็นระยะ

ภาคใต้ แสดงแนวคิดเรื่องพลังงานทดแทน การท�ำน�้ำมันไบโอดีเซล มีสถานีสาธิตการท�ำ น�้ำมันไบโอดีเซล โครงการแก้มลิง ซึ่งเป็นการ สร้างแหล่งน�้ำขนาดเล็กหรือคลอง เพื่อใช้เป็น แหล่งระบายน�้ำ โครงการแกล้งดิน เพื่อปรับ สภาพดินให้มสี ภาพสมบูรณ์ การท�ำเตาเผาถ่าน โดยใช้เศษกิง่ ไม้ทำ� เป็นถ่าน และได้นำ�้ ส้มควัน ไม้เป็นผลพลอยได้

ภาคกลาง แสดงแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการที่ดินของเกษตรกร เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่าและสามารถ พึ่งพาตนเองได้ ที่ดินแปลงหนึ่ง 100 ส่วน ให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน มีสูตรว่า 30 : 30 : 30 : 10 คือ 30 ส่วนแรกเป็นน�้ำ 30 ส่วนที่สอง เป็นนาข้าว 30 ส่วนทีส่ ามเป็นพืน้ ทีป่ ลูกผัก ผลไม้ สมุนไพร ส่วนสุดท้ายปลูกบ้านที่อยู่อาศัย โรงเรือน นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างบ้านดิน ซึ่ง เป็ น ทางเลื อ กในการอนุ รั ก ษ์ ธ รรมชาติ ประหยัดพลังงานและทรัพยากร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แสดงแนวคิดด้าน อาชีพเสริม เนือ่ งจากเป็นภาคทีค่ อ่ นข้างมีอปุ สรรค ต่อการท�ำการเกษตร โดยใช้ตัวอย่างเรื่อง ธนาคารข้าวที่พระองค์ทรงด�ำริให้จัดตั้งขึ้น ปีทไี่ ด้ขา้ วมากก็เก็บไว้ในธนาคารข้าว ปีทไี่ ม่ได้ ท�ำนาก็มากู้ข้าวจากธนาคาร ใช้หนี้คืนเป็น ข้าวโดยคิดดอกเบี้ยราคาถูก โรงเพาะเห็ด การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูปผลผลิต เป็นต้น

นอกจากนั้น ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติยังเป็นแหล่งเรียนรู้ดูงาน ให้การอบรมแก่เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้ผู้เข้าชมน�ำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตน โดยมีหลักสูตร การอบรมเริม่ ตัง้ แต่ครึง่ วันไปจนถึงหลักสูตร 4 วัน 3 คืน แนะน�ำว่าหากอยากได้ความรูม้ ากหน่อย พร้อมกับได้ฝกึ ปฏิบตั จิ ริงในฐานการเรียนรูต้ า่ ง ๆ เช่น ท�ำแชมพูสมุนไพร น�ำ้ ยาล้างจาน ปุย๋ ชีวภาพ แล้วละก็ น่าจะอยู่อย่างน้อย 1 วันเต็ม รับรองไม่เสียดายเวลาแน่นอนค่ะ เพราะนอกจากจะได้ วิชาติดตัวไปแล้ว ที่นี่ยังท�ำให้เราเข้าใจงานของพ่อได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นค่ะ

สนใจศึกษาดูงานติดต่อได้ที่ ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ เลขที่ 98/1 หมู่ 2 บ.ท่าด่าน ต.หินตั้ง อ.เมือง จ.นครนายก 26000 โทร. 0 3738 4049 www.bhumirak.com ติดต่อคุณอันธิกา สโมสร ผู้ประสานงานศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

5


รอบรั้วไทยออยล์

โดย หน่วยกลั่นข่าว

“สวดมนต์ชำ� ระใจ” เครือไทยออยล์ จัดกิจกรรมสวดมนต์ช�ำระใจ โดยได้นมิ นต์พระสงฆ์จากวัดใหม่เนินพยอมจ�ำนวน 9 รูป โดยพระครูสาทรธรรมกิจ เจ้าคณะอ�ำเภอ เป็นประธาน น�ำสวดมนต์และนั่งสมาธิ ซึ่งกิจกรรมนี้จะจัดให้มีขึ้น อย่างต่อเนือ่ ง ในวันขึน้ 14 ค�ำ่ ของทุกเดือน ตัง้ แต่เวลา 18.30 - 20.00 น. ณ หอพระ ศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรู้ เครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชน ในการจัดกิจกรรมสองครัง้ ทีผ่ า่ นมา มีชาวชุมชนรอบโรงกลัน่ และกลุม่ เยาวชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจ�ำนวนมาก

สืบสานเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 8 - 24 เมษายน 2554 เครือไทยออยล์ TCP ชุมชนรอบโรงกลัน่ และเทศบาลนครแหลมฉบังร่วมสืบสาน และอนุรกั ษ์ประเพณีสงกรานต์หรือเทศกาลปีใหม่ไทย ด้วย กิจกรรมการสรงน�ำ้ พระ ก่อพระเจดียท์ ราย การรดน�ำ้ ด�ำหัว ผูส้ งู อายุ เป็นต้น อันเป็นการแสดงถึงความสามัคคีของคนใน ชุมชนและร่วมอนุรกั ษ์วฒั นธรรมประเพณีอนั ดีงามของชุมชน และสังคมไทยให้คงอยูต่ ลอดไป

6

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554


โครงการสอนภาษาอังกฤษส�ำหรับเยาวชน ในระหว่างปิดภาคฤดูรอ้ นทีผ่ า่ นมา เครือไทยออยล์ได้จดั โครงการเสริม ทักษะภาษาอังกฤษให้กลุ่มเยาวชนรอบโรงกลั่น โดยมีนักเรียนแลกเปลี่ยน ชาวต่างชาติมาเป็นผูช้ ว่ ยในการสอนและมีกจิ กรรมต่าง ๆ ทัง้ ในและนอกสถานที่ จ�ำนวน 2 รุน่ ระหว่างวันที่ 14 - 18 มีนาคม และวันที่ 18 - 22 เมษายน โดยมี เยาวชนตัวแทนจากแต่ละชุมชนเข้าร่วมโครงการ ณ ศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรู้ เครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชน

การอบรมวาดภาพสีนำ�้ กิจกรรมปิดภาคฤดูรอ้ นอีกกิจกรรมหนึง่ คือ โครงการอบรมวาดภาพสีนำ�้ แก่เยาวชน 7 ชุมชน ระหว่างวันที่ 21 - 31 มีนาคม 2554 โดยเครือไทยออยล์ ได้จดั โครงการอบรมวาดภาพด้วยสีนำ�้ โดยได้เชิญอาจารย์ศริ ชิ ยั ครุนนั ท์ และ อาจารย์สรุ ยิ า ป้องหลักค�ำ จากโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 มาเป็นวิทยากร ตลอดหลักสูตร 9 วัน ซึ่งได้จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้จบหลักสูตร โดยได้เชิญประธานชุมชนต่าง ๆ มาร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบใบประกาศฯ ในครัง้ นีด้ ว้ ย

โครงการ “สร้างเครือข่ายเยาวชน 7 ชุมชน” ระหว่างวันที่ 23 - 31 มีนาคม เครือไทยออยล์และ TCP จัด กิจกรรมโครงการ “สร้างเครือข่ายเยาวชน 7 ชุมชน” ให้กบั เยาวชน 7 ชุมชนรอบเครือไทยออยล์ ซึง่ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ให้เยาวชนใช้ เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ได้รจู้ กั และเรียนรูก้ ารอยูร่ ว่ มกับเพือ่ น ๆ จาก ชุมชนอืน่ ๆ เพือ่ สร้างเครือข่ายเยาวชนส�ำหรับการท�ำงานชุมชนต่อไป ในอนาคต รวมทัง้ ยังได้ฝกึ ความรับผิดชอบทัง้ ต่อตนเองและผูอ้ นื่ นอกจากนี้ ในครัง้ นีก้ ลุม่ เยาวชนยังได้ เรียนรูก้ ารน�ำสมุดเหลือใช้มาท�ำเป็นสมุด ท�ำมือ ณ ศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรูฯ้

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

7


วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ วันที่ 20 มีนาคม 2554 เครือไทยออยล์และ TCP ได้เชิญกลุม่ อสม. ทัง้ 7 ชุมชนรอบเครือไทยออยล์ มาร่วมท�ำกิจกรรมเนือ่ งในวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ ภายในงานมีการสอนการท�ำถุงการบูร การแสดงของกลุม่ อสม. การพาเยีย่ มชมชุมชนรอบเครือไทยออยล์ วัตถุประสงค์ของการจัดงานครัง้ นี้ เพื่อเป็นการขอบคุณกลุ่ม อสม. ส�ำหรับความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านมา โดยมี อสม. เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ 92 คน ณ ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ฯ

8

เยาวชนจิตอาสาชุมชนบ้านอ่าวอุดม

เครือไทยออยล์ร่วมกับจุฬาฯ ต่อยอดการ สร้างนวัตกรรมด้านพลังงานเพือ่ ความยัง่ ยืน

วันที่ 24 เมษายน 2554 นสพ.สุรพล ขรึมประเสริฐ จากฝ่าย ส่งเสริมป้องกันควบคุมโรค ส�ำนักงานสาธารณสุขและสิง่ แวดล้อม เทศบาลนครแหลมฉบัง ได้ถา่ ยทอดความรูใ้ ห้กบั กลุม่ เยาวชนบ้าน อ่าวอุดม ในเรือ่ งของการป้องกันโรคไข้เลือดออก ณ ศูนย์สขุ ภาพ และการเรียนรูฯ้ เพือ่ ให้เยาวชนจิตอาสากลุม่ นีเ้ ป็นตัวแทนรุน่ เยาว์ ในการช่วยรณรงค์ปอ้ งกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนของตนเองต่อ ไป นับเป็นอีกหนึง่ ในกิจกรรมดี ๆ ของกลุม่ เยาวชนรักบ้านอ่าวอุดม

เมือ่ วันที่12 พฤษภาคม 2554 เครือไทยออยล์และจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้รว่ มลงนามสัญญาความร่วมมือด้านการวิจยั และพัฒนาพลังงาน ฉบับที่ 2 (2554 - 2557) ซึง่ เป็นการต่อยอด ความร่วมมือระหว่างการวิจยั ของภาคการศึกษาและความสามารถ ในการด�ำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรม เพือ่ เสริมสร้างศักยภาพ ในการพัฒนาบุคลากรระดับบัณฑิตศึกษาด้านเทคโนโลยี ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีในระดับประเทศ

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554


บอกเล่าเก้าสิบกับศูนย์สุขภาพ โดย ตั๊กแตน

น้อง ๆ รอบโรงกลัน่ สนุกกับกิจกรรมกระโดดเชือกล้นหลาม ศูนย์สขุ ภาพฯ จะจัดสาธิตเพิม่ ให้กบั ตัวแทนครูและ นักเรียนทุกโรงเรียนในพืน้ ที่ และจะคัดตัวเปิดสอนนำ�ร่อง

วันที่ 6 - 7 พฤษภาคม ทีผ่ า่ นมา น้อง ๆ ตัวแทนจาก 7 ชุมชนรอบโรงกลัน่ ได้มีโอกาสสนุกกับการสาธิตและทดลองฝึกกระโดดเชือก ประทับใจกับลีลา ของทีมคุณครูและนักเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์ ซึ่งเป็นวิทยากรของมูลนิธิ หัวใจแห่งประเทศไทย เด็ก ๆ มากันล้นหลามถึง 200 คน จากที่เปิดรับสมัคร แค่ 140 คน เพือ่ ให้เด็ก ๆ ในชุมชน มีโอกาสสนุกกับการสาธิตได้อย่างทัว่ ถึง ศูนย์สขุ ภาพฯ จึงกำ�หนดจัดการสาธิตขึน้ อีกในช่วงเดือนมิถนุ ายนให้กบั ตัวแทนครูและนักเรียน ทุกโรงเรียนทัง้ 7 ชุมชน และจะคัดเลือกน้อง ๆ ทีม่ คี วามตัง้ ใจจริงทีจ่ ะฝึกกระโดดเชือกอย่างต่อเนื่อง เข้าหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อ เตรียมพื้นฐานเป็นผู้ช่วยครูฝึกกระโดดเชือกให้กับเพื่อน ๆ น้อง ๆ ในพื้นที่ของตนเองในระยะต่อไป เป้าหมายของกิจกรรมนี้ คือ เด็กชุมชนรอบโรงกลั่นไทยออยล์ทุกคนจะได้ฝึกกระโดดเชือก และยกระดับความแข็งแรงของร่างกายเป็นชุมชนตัวอย่าง และปลายปีน้ี เราจะส่งทีมเข้าแข่งขัน กระโดดเชือกระดับประเทศชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขอเชิญน้อง ๆ มาร่วมกัน สนุก แข็งแรง สดใส ด้วยกันนะครับ

น้อง ๆ ป.1 - ป. 3 ทุกโรงเรียนในพืน้ ที่ เตรียมตัว ตรวจฟันปี 2 ได้ทศ่ี นู ย์สขุ ภาพฯ ตัง้ แต่เดือนมิถนุ ายน หลังจากที่ศูนย์สุขภาพฯ เริ่มทดลองตรวจรักษาและ เคลือบป้องกันฟันผุให้กับเด็กนักเรียนของโรงเรียนในชุมชน ตัง้ แต่ปที ผี่ า่ นมา โดยทีมทันตแพทย์จาก รพ.อ่าวอุดม สำ�หรับ ในปีนี้ กลุ่มเด็กในชุมชนของเราจะได้รับการตรวจรักษาและ ดูแลฟัน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อให้ลูกหลานเรามีสุขภาพฟัน แข็งแรงตลอดไปครับ

ศูนย์สขุ ภาพฯ กำ�ลังเตรียมการสำ�รวจคัดกรอง และจัดทำ�แฟ้มสุขภาพบุคคล โดยจะเริ่มจากครอบครัวในชุมชนบ้านอ่าวอุดมที่ได้ ทำ�แผนที่และเปิดแฟ้มสุขภาพครอบครัวเสร็จทั้งชุมชนแล้ว คาดว่าจะเริม่ ได้ปลายเดือนกรกฎาคม ศกนี้ ติดตามรายละเอียด ได้จากกรรมการชุมชนครับ

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

9


เคล็ดลับสุขภาพ

โดย คนใกล้หมอ

อ่าน และ เขียน ช่วยหลับสบาย

ปัญหานอนไม่หลับ นับเป็นความทุกข์อย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ของผู้ที่มีอาการดังกล่าว ฉบับนี้มีเคล็ดลับการช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้นมาฝาก 2 วิธี คือ การอ่านหนังสือ และการเขียนบันทึกก่อนนอนค่ะ การอ่านหนังสือ เลือกอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับปรัชญา ศาสนา ธรรมะ หรือหนังสือที่มีข้อคิดดี ๆ เพราะหนังสือ ประเภทนี้ช่วยจัดระเบียบความคิด ก่อให้เกิดการผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ต่างจากการอ่าน เรือ่ งราวทีช่ วนให้ประสาทตืน่ ตัว เช่น นวนิยายแนวลึกลับ หรือแนวสืบสวนสอบสวน แต่ถา้ ติดหนังสือ ประเภทดังกล่าวจนต้องอ่านอย่างต่อเนื่อง แนะน�ำให้เลือกอ่านเวลาอื่น และควรอ่านเพียงนิดหน่อย เท่านั้น ถ้ายังไม่รู้จะเลือกอ่านหนังสืออะไร ลองอ่านจุลสารชุมชนของเราดูก่อนก็ได้นะคะ การเขียนบันทึก ส�ำหรับสาว ๆ ทีล่ ม้ ตัวลงนอนทีไรก็ชอบคิดเรือ่ งโน้นเรือ่ งนีไ้ ปเรือ่ ย ๆ อาจมีผลให้นอนหลับไม่ สนิทได้ การเขียนบันทึกจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้มาก เพราะการเขียนบันทึกเป็นการเรียบเรียงความคิด ความรู้สึก บ�ำบัดอาการฟุ้งซ่าน และเยียวยาความเครียดได้ดี นอกจากนัน้ ควรหยุดใช้โทรศัพท์มอื ถือ ดูโทรทัศน์ เล่นวิดโี อเกม เล่นไอแพด เล่นคอมพิวเตอร์ ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 1 - 2 ชั่วโมง เพื่อให้สายตาและสมองได้พัก เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของการนอนไม่หลับหรือนอนหลับไม่สนิท

ขิงเยียวยาปวดชาข้อมือ

เพราะการพิมพ์ หรือใช้เมาส์เป็นเวลานานมักท�ำให้ขอ้ มือเคลือ่ นไหว ในท่าเดิมซ�ำ้ ๆ จนเส้นประสาทบริเวณหน้าข้อมือถูกกดทับ ส่งผลให้มอี าการ ปวดชาที่ข้อมือจนถึงปลายนิ้ว หากอาการรุนแรงมากจะท�ำให้กล้ามเนื้อมือ อ่อนแรง ไม่สามารถใช้งานได้ดีดั่งเดิม อย่ารอช้าค่ะ มาแก้อาการป่วยโดย วิธีประคบมือด้วยน�้ำขิงกัน เนื่องจากขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน ช่วยกระตุ้น การไหลเวียนเลือดบริเวณเส้นประสาท จึงช่วยบรรเทาอาการชาในเบือ้ งต้นได้ • วิธีเตรียม ขูดขิงให้เป็นฝอย 1 แง่ง ห่อด้วยผ้าขาวบาง ผูกปลาย ผ้าให้แน่น จากนั้นต้มน�้ำสะอาด 8 ถ้วยด้วยไฟแรงจนเดือด ใส่ห่อขิง e m ti ory ลงในหม้อ หรี่ไฟ แล้วต้มต่ออีก 30 นาที ยกลงจากเตา พักไว้ให้อุ่น d e B St • วิธีใช้ จุ่มผ้าขนหนูผืนเล็กลงในน�้ำขิงต้ม บิดผ้าให้หมาด แล้ว น�ำมาพันข้อมือข้า งที่มีอาการปวดชา พันผ้า แห้งทับ อีกชั้นเพื่อรักษา ความอุ่น เมื่อผ้าคลายความอุ่นแล้วจึงแกะออก ท�ำวันละ 2 - 3 ครั้ง สามารถอุ่นน�้ำขิงที่เหลือมาใช้ได้อีกในวันต่อไป ที่ส�ำคัญควรพักและ บริหารข้อมือระหว่างท�ำงานไปด้วย เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นตอค่ะ ขอบคุณข้อมูลจากนิตยสารชีวจิต

10 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554


โอแอลอีดี (OLED)

ก้าวทัน โลก โดย ติมา

นวัตกรรมของจอภาพ อนาคตอีกไม่ไกล การสร้างจอภาพด้วย เทคโนโลยีโอแอลอีดี จะเปลี่ยนโลกทั้งโลกให้ บางเฉียบ ม้วนเก็บอยู่กับเราได้ทุกที่ ทุกวันนีเ้ วลาเดินไปไหนมาไหน ภาพทีเ่ ห็น ชินตาคงเป็นเหล่าคนรุ่นใหม่ที่ต่างก้มหน้าก้มตา มุง่ มัน่ มองเครือ่ งมือสือ่ สารทีอ่ ยูใ่ นมือ กดแล้วอ่าน อ่านแล้วยิ้ม มีความสุขอยู่ในโลกส่วนตัว เหมือน กับว่าโลกในปัจจุบนั ชีวติ เรากับเทคโนโลยีคงแยก กันไม่ออกอีกต่อไป วันนีเ้ ลยอยากเล่าเรือ่ งสนุก ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ฟังกันค่ะ เวลาเพี ย งไม่ กี่ สิ บ ปี ใ นชั่ ว ชี วิ ต เรา ได้ เ ห็ น พั ฒ นาการของเทคโนโลยี ม ากมาย เครื่ อ งมื อ สื่ อ สารที่ เ รารู ้ สึ ก ว่ า เล็ ก แล้ ว จะเล็ ก ยิ่งขึ้น จากเดิมคอมพิวเตอร์รุ่นแรกต้องใช้พื้นที่ เกือบทั้งห้องในการท�ำงาน ค่อย ๆ ย่อลงมาเป็น รุ่นตู้ปลา แล้วลดลงเหลือเป็นจอแบน ๆ หรือ เดี๋ ย วนี้ ก็ เ ป็ น อย่ า งที่ เ ห็ น คื อ หลายคนเดิ น ถื อ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเดินไปเดินมา บางรุน่ เหลือ ขนาดแค่ฝ่ามือเท่านั้นเอง ส่วนโทรทัศน์ที่เคย เป็นจอแก้วอ้วน ๆ ก็พัฒนาเป็นจอพลาสมาที่จอ ใหญ่ขนึ้ บางกว่า แล้วยังได้ภาพคมชัดกว่าเดิมด้วย ตามมาด้วยเทคโนโลยีแอลซีดี (LCD) จอแบนที่ ท�ำให้ห้องเล็ก ๆ ในบ้านกลายเป็นโรงหนังขนาด ย่อมได้เลยทีเดียว ยิ่งฟัง ยิ่งดู ยิ่งรู้สึกว่าเทคโนโลยีมีบทบาท มากเหลือเกินที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าการใช้ชีวิต ของมนุษย์ จะเป็นอย่างไรถ้าในอนาคตเราจะมี จอโทรทัศน์ขนาดใหญ่เกือบเมตร แต่บางไม่ถงึ ครึง่ นิว้ แถมบางชนิดยังพับเก็บได้ ยืดหยุ่น บางเบา พับ งอหรือม้วนเก็บได้ หรือจอมีขนาดเล็กจนติดอยู่ บนเสื้อผ้า ร่างกาย ฯลฯ ได้ นวัตกรรมที่ว่านี้ก�ำลังจะเป็นจริง เมื่อ นั ก วิ จั ย ก� ำ ลั ง พั ฒ นาเทคโนโลยี ที่ มี ชื่ อ ว่ า โอแอลอีดี (OLED) หรือ ออร์กานิค ไลท์ อีมิททิง ไดโอด (Organic Light Emitting Diode) โอแอลอีดีที่ว่านี้หลายคนอาจเคยได้ยิน ชื่อเสียงกันมาบ้างแล้ว เพราะปัจจุบันมีหลาย บริษัทเริ่มเปิดตัวเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยี

นี้มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานกัน เช่น โทรศัพท์ที่รองรับ 3Gs หรือโทรทัศน์รุ่นใหม่ที่ ให้ภาพชัดเจนอย่างที่สุด พร้อมให้สีสมจริงและ ขนาดบาง น�้ำหนักเบายิ่งกว่าของเดิมหลายเท่า หรือกล้องดิจิตอลก็มีออกมาให้ชื่นชมกันแล้ว เช่นกัน ว่ า แต่ เ ทคโนโลยี โ อแอลอี ดี นี้ คื อ อะไร น่าสนใจตรงไหน มาลองฟังกันดู จริง ๆ แล้วเทคโนโลยีโอแอลอีดีค้นพบ ตั้งแต่ปี 2530 จากหลักการที่พบว่า คุณสมบัติ ของสารอินทรีย์บางชนิดสามารถเปล่งแสงได้ เมือ่ รับการกระตุน้ ด้วยไฟฟ้า หลังจากนัน้ นักวิจยั และนักประดิษฐ์กค็ ดิ ค้นพัฒนาต่อมาเรือ่ ย ๆ เมือ่ ค้นพบวัสดุเปล่งแสงได้ในตัว ทีเ่ รียกว่า โพลิเมอร์ โดยนักวิจยั แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึง่ ได้พฒั นา ต่อโดยน�ำข้อดีของโพลิเมอร์ที่ยังมีความสามารถ ในการน�ำไฟฟ้า และเปลีย่ นพลังงานไฟฟ้าให้เป็น พลังงานแสงได้มาสร้างเป็นจอภาพ

วัตถุหรือโพลิเมอร์มาท�ำเป็นฟิล์มแล้วไปเคลือบ บนวัสดุต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดภาพ ท�ำให้เรา ได้เทคโนโลยีการสร้างจอภาพยืดหยุ่นได้ และ บางมากจนที่สามารถมองทะลุผ่านได้ เพราะ ฟิล์มเหล่านี้มีความบางระดับนาโน คือ บางถึง 100 - 150 นาโนเมตร เอาให้ชดั กว่านีก้ ต็ อ้ งบอกว่า มันบางแค่ 1% ของเส้นผมเลยทีเดียว เพราะฉะนัน้ ในอนาคตอันไม่ไกลนี้ โลกของ การสือ่ สารจะมีจอภาพในอีกหลากหลายลักษณะ เราอาจจะได้เห็นเสื้อที่มีโฆษณาแบบเคลื่อนไหว ได้บนท้องถนน มีหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถม้วนพับเก็บใส่กระเป๋าได้ตลอดเวลา มีแว่นตาที่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้พิเศษยิ่งขึ้น เพี ย งแค่ ใ ส่ เ ราก็ จ ะได้ ดู ภ าพยนตร์ ใ นทุ ก ที่ ที่ ต้องการ ถ้าจะจินตนาการต่อไปอีก เราอาจ จะได้เห็นสื่อเคลื่อนไหวบนร่างกายมนุษย์ที่เดิน ผ่านไปมา หรือท่องโลกอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ ต้องเสียสายตาจับจ้องไปที่จอเล็ก ๆ ที่อยู่ในมือ กันอีกต่อไป แต่ใช่วา่ เทคโนโลยีโอแอลอีดจี ะปราศจาก ปัญหา เพราะองค์ประกอบของโพลิเมอร์ คือ องค์ประกอบที่เป็นอินทรีย์วัตถุ (คือ วัตถุที่มา จากการเน่าเปื่อยผุพังของเศษซากพืช ซากสัตว์ จุลินทรีย์ต่าง ๆ) แม้จะมีคุณสมบัติพิเศษที่เปล่ง แสงได้ แต่ความที่เป็นอินทรีย์วัตถุจึงมีโอกาส เสียหายง่าย เมือ่ โดนน�ำ้ และออกซิเจนและมีอายุ การใช้งานสัน้ ดังนัน้ เวลานีค้ งต้องช่วยกันให้กำ� ลังใจ จากเดิมเทคโนโลยีจอภาพที่เราคุ้นเคย นักวิจยั ทัง้ หลายให้สามารถแก้ปญั หาดังกล่าวได้ กั น จะใช้ ห ลั ก การเรื อ งแสงและการควบคุ ม สร้างและพัฒนาเทคโนโลยีดี ๆ ให้เราได้ใช้กัน แสง แต่เมื่อเราพบวัสดุที่ผลิตแสงได้ด้วยตนเอง ต่อไปนะคะ เทคโนโลยีใหม่อย่างโอแอลอีดีนี้ จึงท� ำให้เรา สามารถผลิตจอภาพทีม่ คี วามคมชัด และให้สสี นั ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง WWW.NANOTECH.SC.MAHIDOL.AC.TH ที่ตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด WWW.TISTR.OR.TH ความเจ๋งของโอแอลอีดียังมีมากกว่านี้ WWW.VCHARKARN.COM เพราะในขั้นตอนการผลิตผู้สร้างจะน�ำอินทรีย์ WWW.ARIP.CO.TH ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

11


ปราชญ์ช ุมชน

โดย สรีชา

หลวงพ่อละออ

เสาหลักวัดใหม่เนินพยอม

นับแต่อดีต ชุมชนในสังคมไทยมีวดั เป็นศูนย์กลางรวมจิตใจของทุกคน และเป็นแหล่งธรรม ทีช่ ว่ ยยึดเหนีย่ วให้ทกุ คนอยูร่ ว่ มกันอย่างสงบสุข ทีช่ มุ ชนบ้านอ่าวอุดมก็เช่นกัน มีวดั ใหม่เนินพยอม เป็นศูนย์กลางของชุมชนมาช้านาน วัดใหม่เนินพยอมเป็นวัดเก่าโบราณอายุกว่า 80 ปี ตัง้ ขึน้ เมือ่ ปี 2477 มีนายโต และนางพน ไม่ทราบนามสกุล คนบ้านอ่าวอุดมถวายที่ดิน 7 ไร่เศษเพื่อสร้างวัด ต่อมานางกี่ บุญรอด กับ นางกลึง อินเจริญ ถวายเพิ่มอีก 2 ไร่เศษ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (เขตที่พระราชทาน แก่สงฆ์ เพื่อใช้เป็นที่สร้างพระอุโบสถหรือใช้ประกอบสังฆกรรม) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2526 การทีว่ ดั จะเป็นศูนย์กลางของชุมชนได้อย่างแท้จริง นัน่ ย่อมหมายถึงการมี พระภิกษุสงฆ์ ทีค่ วรแก่สกั การะและศรัทธาของคนในชุมชน ส�ำหรับคนอ่าวอุดมรูด้ วี า่ พวกเขามี หลวงพ่อละออ หรือพระครูสาธรธรรมกิจ เจ้าอาวาสวัดใหม่เนินพยอม เป็นเสาหลักของวัดและชุมชนบ้านอ่าว มานานหลายสิบปี ถ้าเป็นคนเฒ่าคนแก่ในบ้านอ่าวอุดมมักจะเรียกท่านว่า พระอาจารย์ออ ตามประวัติ หลวงพ่อเป็นคนอ่าวอุดมโดยก�ำเนิด เติบโตและวิ่งเล่นอยู่ในพื้นที่วัดมาตั้งแต่จ�ำความได้ พออายุครบเกณฑ์ทหาร ได้ไปรับราชการเป็นทหารเรือประจ�ำเรือหลวงพระร่วงอยู่ 2 ปี เมื่อ ปลดประจ�ำการจึงกลับมาบวชเรียน และเป็นพระภิกษุอยูท่ วี่ ดั ใหม่เนินพยอมนีต้ งั้ แต่อายุ 22 ปี จนถึงปัจจุบนั หากนับเป็นพรรษาก็ประมาณ 57 พรรษาแล้วทีท่ า่ นทุม่ เทท�ำงานพัฒนาวัดและ ชุมชนมาโดยตลอด จึงท�ำให้ทา่ นเป็นทีเ่ คารพและศรัทธาของคนในชุมชน รวมถึงคนในละแวกอืน่ ๆ พากันมากราบท่านอยูไ่ ม่ขาดสาย ปัจจุบนั ท่านได้รบั ยศและต�ำแหน่งเป็น พระครูสาธรธรรมกิจ เจ้าคณะอ�ำเภอศรีราชา

12 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

การที่วัดจะเป็นศูนย์กลางของชุมชนได้อย่างแท้จริง นั่นย่อมหมายถึงการมีพระภิกษุสงฆ์ที่ควรค่าแก่ การสักการะและศรัทธาของคนในชุมชน


พระอาจารย์มั่น

ท่านรองเจ้าอาวาสวัดใหม่เนินพยอม

พระอาจารย์มั่น ท่านรองเจ้าอาวาสวัดใหม่เนินพยอม ซึ่งบวช มากว่า 30 พรรษา ท�ำงานคูก่ บั หลวงพ่อละออมาตลอด เห็นวัตรปฏิบตั ิ ท่านมายาวนานเล่าว่า “หลวงพ่อละออท่านเป็นคนพูดน้อย สุขุม แม้ท่านจะไม่ใช่ พระนักเทศน์ แต่ทา่ นก็เป็นพระนักปกครอง นักบริหารทีจ่ ดั การเรือ่ งราว ต่าง ๆ ของวัดได้อย่างดี สิง่ ต่าง ๆ ทีเ่ ห็นความเจริญในวัดมาจากฝีมอื ท่านทัง้ นัน้ ทัง้ การหาปัจจัย การดูแลงานก่อสร้าง จนญาติโยมได้มอี าคาร ไว้ใช้ท�ำกิจต่าง ๆ ลูกหลานมีสถานที่ไว้เรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พระสงฆ์ ส ามเณรมี อ าคารเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมไว้ศึก ษา ไม่จ�ำเป็นต้องเดินทางไปไกล ๆ เหมือนในอดีต” คุณปู การของสิง่ ก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัดใหม่เนินพยอมทัง้ ด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏสิ งฆ์ ศาลาอเนกประสงค์ อาคารโรงเรียน พระปริยัติธรรม เมรุ ฯลฯ มีมากมาย ชาวชุมชนบ้านอ่าวอุดมต่างรู้ดี เมื่อถามคนเก่าคนแก่อย่างลุงฉัน สังข์ทอง มัคนายกประจ�ำวัดกว่า 20 ปี เล่าว่า “แต่กอ่ นทีแ่ ถบนีเ้ ป็นสวนผลไม้ มะม่วง ขนุน และค่อนข้างรกทึบ บริเวณที่เป็นเมรุปัจจุบันก็เป็นหนองน�้ำไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก็ได้ พระอาจารย์ออ นี่แหละบุกเบิกมาเรื่อย ๆ” ลุงฉันเป็นคนรุ่นเดียวกับหลวงพ่อ สมัยเด็กคือเพื่อนวิ่งเล่นมา ด้วยกัน ลุงฉันเล่าว่า เมื่อท่านบวชแล้วนับว่าโชคดีที่ท่านไม่สึก เพราะ สมัยนัน้ ทีว่ ดั ไม่มใี คร มีพระสงฆ์อยูเ่ พียงสองรูป เมือ่ เจ้าอาวาสรูปเดิม ลาสิกขาไปแล้วก็เหลือเพียงหลวงตาอีกรูปที่ตาบอด พระอาจารย์ออ จึงตัดสินใจอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งท่านได้ ท�ำงานหนัก พัฒนาวัดมาตลอด ท่านเป็นเสาหลักอยูก่ บั วัดใหม่เนินพยอม และชาวอ่าวอุดมมาตลอด

เสียงสะท้อนจากพระสงฆ์และลูกวัดบอกเล่าถึงกิจวัตรของ หลวงพ่อว่า ท่านเป็นคนมีเมตตา ชอบสัตว์และต้นไม้ ญาติโยมรูจ้ งึ น�ำ มาถวาย ภายในวัดจึงมีทั้งไก่แจ้ ไก่ฟ้า กระต่าย นก ผลหมากรากไม้ มากมาย รอบ ๆ กุฏทิ า่ นและทัว่ บริเวณจึงมีสวนหย่อมและต้นไม้ตน้ เล็ก ต้นน้อย วางอยู่เต็มไปหมด นอกจากนี้ ท่านยังเป็นพระผู้ใหญ่ที่ไม่เคยละเลยกิจของสงฆ์ แม้เพียงเล็กน้อย เช่น การลงปาติโมกข์ทุกครึ่งเดือน การลงพระ อุโบสถ และวัตรปฏิบัติของสงฆ์ รวมถึงการฝึกฝนปฏิบัติธรรมอย่าง เคร่งครัด ท่านมักจะพูดเสมอว่าขอให้มีความสุข ความเจริญ และให้ คิดถึงประโยชน์สว่ นรวม แม้ทา่ นจะพูดน้อย แต่ถอ้ ยค�ำทีท่ า่ นกล่าวมา นั้นเปี่ยมไปด้วยกระแสของความเมตตาและความสงบเย็นที่ผู้ฟังต่าง รู้สึกสัมผัสได้ชัดเมื่อเข้ามากราบและพูดคุยกับท่าน พระอาจารย์ออ หรือพระครูสาธรธรรมกิจจึงเป็นทีร่ กั และศรัทธาของทุกคน รวมทัง้ เป็น เสาหลักทางจิตใจให้ชาวบ้าน และเป็นทีภ่ าคภูมใิ จของชุมชนอ่าวอุดม มาโดยตลอด

ลุงฉัน สังข์ทอง

มัคนายกประจ�ำวัดใหม่เนินพยอม ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

13


ปลอดภัย ใกล้ตัว

โดย เซฟตี้แมน

บ น ย ั ท ภ อ ้ ง ด ถ น อ น ล ป ิ ต ุท ชวี ก เมือ่ บ.ก. สัง่ ให้เขียนเรือ่ งนี้ ท�ำให้ผม ต้องใช้จนิ ตนาการทีไ่ ม่คอ่ ยจะมีนกึ ให้ได้วา่ อะไรอยู่บนท้องถนนบ้าง บางท่านอาจนึกถึง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรือจักรยาน ซึ่งว่า ไปแล้วก็ไม่ผิด แต่มันมีอะไรอีกบนท้องถนน ในบ้านเรา ใช่แล้ว! สุนัขหรือน้องหมาของ หลาย ๆ คน ยัง...ยังไม่หมด อึง่ อ่าง คางคก งู ตัวเงินตัวทอง ถึงแม้ไม่ได้เสียภาษีปา้ ยทะเบียน แต่น้อง ๆ เหล่านี้ก็ขอใช้สิทธิบนท้องถนน ร่วมกับพวกเราด้วย เริ่มจากน้องหมาก่อน มีใครเคยเห็น น้องหมาข้ามสะพานลอยไหมครับ ขนาดน้อง หมายังรักตัวกลัวตาย รู้ว่าอันตรายจากรถ จักรยานไปจนถึงรถบรรทุกนั้นอาจส่งผลให้ มันไปเกิดใหม่ในประเทศจีน ซึ่งนิยมบริโภค เนื้อ...เป็นล�่ำเป็นสัน น้องหมาเหล่านี้ขออยู่ เมืองไทยดีกว่า คนเดินถนน หากไม่อยากให้คนที่รัก คุณต้องเสียใจ ก่อนข้ามถนนควรดูตาม้าตาเรือ

14 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

ให้ดี ในบ้านเรานัน้ ควรดูดา้ นขวาก่อนแล้วจึง ดูดา้ นซ้าย จากนัน้ กลับมาดูขวาอีกที เมือ่ ทาง โล่งจึงข้ามได้ เน้นนะครับว่าวิธนี ใี้ ช้ในเมืองไทย หากมีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ ก็ต้อง สั ง เกตว่ า เอ...รถยนต์เขาวิ่งเหมือนบ้า น เราไหม จะได้ ข ้ า มถนนได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง และปลอดภัย มีเรือ่ งโจ๊กสมัยสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ครับ ช่วงเวลานัน้ ประเทศอังกฤษประกาศ สงครามกับเยอรมนี ซึ่งแน่นอนว่ามีสายลับ อังกฤษเดินกันขวักไขว่ในเยอรมนี รัฐบาล อังกฤษสงสัยว่าท�ำไมสายลับของตนจึงถูกจับ เป็นจ�ำนวนมาก ทัง้ ๆ ทีไ่ ด้รบั การฝึกมาอย่าง ดีให้เป็น เจมส์ บอนด์ 007 กันทุกคน จนมาถึง บางอ้อในภายหลัง เมือ่ พบว่าสายลับส่วนใหญ่ ถูกจับขณะข้ามถนนครับ เอ้า...ไหนบอกว่าฝึก เป็น 007 ท�ำไมโดนจับง่ายจัง ก็เพราะการจัด จราจรในอังกฤษนัน้ เหมือนบ้านเรา (จริง ๆ เรา เหมือนบ้านเขา) คือ รถยนต์ใช้พวงมาลัยขวา เวลาเราข้ามถนนก็ต้องมองขวาก่อน แต่ใน เยอรมนี รถยนต์ใช้พวงมาลัยซ้าย หมายความว่า หากเรายืนที่บาทวิถี รถยนต์จะแล่นมาทาง ด้านซ้าย ท�ำให้คนเยอรมันเวลาข้ามถนนจะ

มองด้านซ้ายก่อน ลองเดาสิครับ ...007 ของ เราดันมองด้านขวาก่อนข้ามถนนในเยอรมนีก็ เสร็จสิครับ เวลาเราเดินหรือข้ามถนนตอนกลางคืน หากแสงไฟบนถนนไม่ค่อยเพียงพอ หรือ ไม่มแี ล้วล่ะก็ เราอาจตกเป็นเป้าเคลือ่ นทีข่ อง บรรดาคนขับรถได้ คนเดินถนนเวลาเห็นแสง ไฟจากรถต่าง ๆ อาจคิดไปได้วา่ คนขับรถน่า จะเห็นเราด้วย (เหมือนที่เราเห็นรถ) แต่ใน ความเป็นจริงคนขับรถจะรู้ว่าเรามีตัวตนอยู่ ก็เมื่อมีเสียง โครม...โอ๊ย!...แล้วครับ ดังนั้น หากต้องการให้คนขับรถเห็นเราละก็ พยายาม ใส่เสื้อผ้าสีอ่อน เวลาไปไหนมาไหนเวลา กลางคืนครับ อันนี้รวมถึงผู้ขับขี่รถจักรยาน หรือจักรยานยนต์ด้วยครับ และจะเป็นการดี ที่สุดเลยหากหาเสื้อหรือแถบสะท้อนแสงมา ใช้ เหมือนตามโรงงานหรือในภาพยนตร์ตา่ ง ประเทศครับ ส่วนพวกท�ำเท่สวมแจ๊คเก็ตด�ำ ออกเดินหรือขี่รถจักรยานยนต์เวลากลางคืน (เผือ่ จ่าฯ ทีด่ า่ นตรวจจะนึกว่าเป็นพวกเดียวกัน)


ส่งวัด...เอ๊ย!...ส่งโรงพยาบาลก่อนไปวัดมาเยอะแล้วครับ ผูข้ บั ขี่ ถามตัวเองก่อนว่า เราขับรถ (จักรยานยนต์ รถเก๋ง รถกระบะ รถบรรทุก ฯลฯ) ได้ หรือขับรถเป็นกันแน่ ในวันเวลาทีผ่ มไปสอบใบขับขีร่ ถยนต์ ส่วนบุคคล แน่นอนว่าต้องสอบทีส่ ำ� นักงานขนส่งในประเทศไทย ผูค้ วบคุมบอกว่า เอ้า...เข้าเกียร์ หนึง่ เดินหน้า (สถานทีส่ อบเหมือนทีจ่ อดรถในบ้าน ซึง่ การเดินหน้าก็ ท�ำได้เพียง 3 - 4 เมตรเท่านัน้ ) เอ้า...ถอยหลัง โอเค ...ผมสอบผ่านแล้ว (หรือเนีย่ !!!) รับใบขับขีม่ ายังงง ๆ อยูจ่ นเดีย๋ วนี้ ลองท�ำ 10 ค�ำถามข้างล่าง เพือ่ ลองส�ำรวจดูวา่ ตกลงเรา ขับรถได้ หรือ ขับรถเป็น กันแน่ ถึงแม้คณุ จะได้ใบขับขีต่ ลอดชีพแล้วหรือขับรถอยูท่ กุ วันก็ตาม ขอให้คดิ ว่า เป็นโอกาสดีทจี่ ะได้เพิม่ พูนความรู้ เพือ่ ให้เป็นผูข้ บั ขีอ่ ย่างปลอดภัยแล้วกันนะครับ

หากเลือกคำ�ตอบในข้อ A ไม่ได้ คะแนน แต่ถา้ เป็นข้อ B ได้ 1 คะแนน ลอง รวมดูวา่ คะแนนเต็ม 10 คะแนน คุณได้ สักกี่คะแนน ฉบับหน้าพบกับเคล็ดลับ การขับขีอ่ ย่างปลอดภัยใน หน้าฝนนะครับ สวัสดีครับ คำ�ถาม เวลาจับพวงมาลัย

A ยังไงก็ได้ เป็นที่พักแขนในตัว

B จับสองมือที่ตำ�แหน่ง 10 กับ 2 หรือ 9 กับ 3 นาฬิกา

เวลาเลี้ยว

มือเดียวก็พอ เดี๋ยวนี้ Power หมดแล้ว

สาวและส่งพวงมาลัย

เวลาเข้าโค้ง - เกียร์อัตโนมัติ

รถชักจะหลุดโค้ง เบรกซะหน่อย

เบรกทางตรง รักษากำ�ลังเครื่องเมื่อเข้าโค้ง

เวลาลูก (เด็ก ๆ) อยากขับบ้าง

มานั่งตักพ่อ... ขับด้วยกันเลย

ไปขับรถหยอดเหรียญกัน

เวลาดึงเบรกมือ

เสียงยิ่งดัง แสดงว่าเบรกดี

กดปุ่มและขึ้นเบรกเงียบจัง

เวลาทางโล่ง ๆ

จี้ตูดไว้ เดี๋ยวคันหน้าจะหลบเอง

เว้นระยะปลอดภัย 4 วินาที

เวลาลงเขาหรือทางลาดชัน

เบรกตลอด ประหยัดน�้ำมันดี

ใช้เกียร์ต�่ำ

เวลาเปิดไฟหรี่

ขับรถตอนหัวค�่ำ ยังไม่มืดเลย

ให้สัญญาณว่าจอดรถอยู่

เวลามีสายเข้า

เจ้านายโทรมาไม่รับเด้งแน่

จอดรถแล้วค่อยโทร

เวลาเจอตำ�รวจ

คาดเข็มขัดเร็ว ๆ เดี๋ยวโดนจับ

ชะลอรถ เปิดกระจกรถ ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

15


ของดี บ ้านเรา

โดย คนศรี

ครกอ่างศิลา... ใบเดียวชั่วลูกหลาน ครกที่เห็นเต็มสองข้างทางย่านชุมชนอ่างศิลา อยากรู้ ไหมว่าใบไหนคือครกอ่างศิลาของแท้ คนศรี บ อกเล่ า ของดี บ้ า นเราเป็ น สถานที่ ม าหลายฉบั บ แล้ ว ฉบั บ นี้ เ ลยขอหยิ บ ยกเป็ น สิ่ ง ของบ้ า ง ไม่ ใ กล้ ไ ม่ ไ กลศรี ร าชา ชุมชนริมทะเลเช่นเดียวกัน เดาไม่ผิดค่ะ คือ ชุมชนอ่างศิลา ขึ้ น ชื่ อ ว่ า อ่ า งศิ ล า คงนึ ก ได้ ทั น ที ว่ า ของดี ป ระจำ�ถิ่ น เขา คืออะไร ...ครกนั่นเอง อ่ า งศิ ล า เป็ น หมู ่ บ ้ า นประมง ริมทะเล อยู่ห่างจากตัวเมืองชลบุรีประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงหอยนางรมและหอยแมลงภู่ และท�ำครกหินขาย ตามประวัติเล่าว่าชาวจีนแต้จิ๋วซึ่งอพยพเข้ามาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็น ผู้ริเริ่มน�ำหินเนื้อละเอียดที่มีอยู่มากมายแถบอ่างศิลามาแกะสลัก แต่ที่ขายดีคือท�ำเป็น ครก (ปัจจุบนั มีการแกะสลักเป็นลูกนิมติ ช้าง ม้า สิงห์ และตุก๊ ตาตกแต่งสวนอีกหลายรูปแบบ) ครกหินอ่างศิลาขายดีจนมีชื่อเสียงไปทั่ว เพราะสมัยก่อนนั้นครกท�ำจากดินเหนียว แม้จะ ใช้ต�ำได้แต่ก็ไม่แข็งแรง เมื่อมีครกหินคนจึงหันมานิยมใช้มากกว่า และเป็นที่เลื่องลือกิตติศัพท์ว่า ครกหินอ่างศิลาใช้ดี ใช้ทน มีครกหินดี ๆ สักใบใช้ได้ตั้งแต่รุ่นย่าจนถึงรุ่นหลานก็ยังทนทานอยู่ ทุกวันนี้ชื่อเสียงครกหินอ่างศิลายังไม่ลดน้อยถอยลง เพียงแต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า ครกหิน อ่างศิลาของแท้นนั้ เป็นอย่างไร ส่วนใหญ่คนุ้ ชินกับครกหินสีเทาเขียว สีเทาด�ำ ทีเ่ ห็นขายสองข้างทางใน ปัจจุบันจะเป็นครกหินสีที่ว่านี้จ�ำนวนมาก มีการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ออกมาหลายรูปทรงทั้งรูป ทรงกระบอก ทรงพาน ทรงฟักทอง หรือจะบิดเป็นเกลียวรอบก็สวยงาม มีหลายขนาดให้เลือก ตัง้ แต่ขนาดเล็กจิว๋ เหมาะเป็นทีร่ ะลึกหรือให้ลกู หลานเล่น ขนาดเล็กเท่าก�ำมือ ส�ำหรับไว้ บดยา ต�ำยา หรือขนาดใหญ่ขนึ้ มาอีกนิดส�ำหรับต�ำกระเทียม ต�ำพริกพอผัด 1 กระทะ ใบขนาดกลางพอต�ำน�้ำพริกส�ำหรับครอบครัวได้ 1 ถ้วยพอดีก็มี หรือ จะขนาดใหญ่ส�ำหรับครอบครัวใหญ่ จนถึงขนาดยักษ์ ส�ำหรับร้านค้าร้านอาหาร

16 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554


ครกหินส่วนใหญ่ทวี่ างขายปัจจุบนั แม้จะท�ำทีอ่ า่ งศิลา แต่หนิ นัน้ มาจากทีอ่ นื่ บ้างก็เป็นหิน มาจากภาคเหนือ เช่น ตาก พิษณุโลก ซึง่ มักเป็นหินแกรนิตสีเทา ด�ำ หรือเขียว เพราะมีสว่ นผสม ของถ่านหิน เหล็ก และสังกะสี จึงมีสตี า่ งกัน ยิง่ ถ้าด�ำมากคือมีเหล็กหรือถ่านหินค่อนข้างมาก เนือ้ จะยิ่งแข็ง แต่ครกหินอ่างศิลาของแท้นั้นต้องเป็นสีขาวนวล หรือสีเหลืองอ่อน และมีความพิเศษ สวยงามเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนหินอื่น ๆ ตรงที่ถ้าส่องกับแสงแดดจะเห็นประกายเหมือนเพชร ระยิบระยับอยู่ในเนื้อหิน นั่นเป็นเพราะว่าหินอ่างศิลาเป็นหินตามเขาติดกับฝั่งทะเลจึงมีเปลือก หอยผสมอยู่ แต่ปัจจุบันบ่อหินหรืออ่างที่จะขุดหรือตัดเอาหินขึ้นมาท�ำครกนั้น บ่อสุดท้ายของ อ่างศิลาปิดไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ครกอ่างศิลาของแท้จึงมีราคาสูงมากในขนาดใบเท่ากัน เช่น ขนาดหน้ากว้าง 6 นิ้ว ครกหินแกรนิตสีอื่น ๆ อยู่ที่ใบละ 350 - 450 บาท แต่ถ้าเป็นหินอ่างศิลาจะ อยู่ที่ใบละ 2,000 - 2,500 บาทเลยทีเดียว แม้ปัจจุบันจะเป็นหินจากแหล่งอื่นเป็นส่วนมาก แต่ชื่อเสียงของอ่างศิลาไม่ใช่เฉพาะแค่ เนื้อหินเท่านั้น ฝีมือการท�ำครกของคนอ่างศิลาก็ไม่เป็นรองใคร ทุกใบขึ้นรูป เกลากลมกลึงได้รูป สากก็มีขนาดเหมาะมือทั้งน�้ำหนักและรูปทรง การมีครกดี ๆ สักใบเหมือนมีมรดกให้ลูกหลานใช้ไปได้อีกนานเท่านาน เพราะฉะนั้น หากจะซื้อครกสักใบ ไม่ว่าจะไว้ใช้เอง หรือจะให้เป็นของขวัญครอบครัวใหม่ที่ เพิ่งก่อร่างสร้างตัว ครกนับเป็นของดีที่มั่นใจว่าถูกใจคนรับแน่นอน และอย่าลืมมาเลือกหาซื้อที่อ่างศิลานะคะ

เคล็ดลับในการเลือกซื้อ

ขอบคุณข้อมูลจาก ร้านรุ่งเรืองศิลาทิพย์ กลุ่มทำ�ครกหิน 9/76 หมู่ 3 ถนนสายอ่างศิลา ตำ�บลเสม็ด อำ�เภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000 โทร 0 3839 8114

ครกอ่างศิลาของแท้ส่องกับแสงแดดแล้วจะต้องเห็นประกาย ระยิบระยับคล้ายเพชรอยู่ในเนื้อหิน ถ้าต้องการใช้งานหนัก ควรเลือกครกที่มีเนื้อหินสีค่อนข้างดำ� หรือมีลายเสี้ยนสีดำ�เงาแทรกอยู่ปริมาณมาก เพราะเสี้ยนสีดำ�นั้น คือถ่านหินหรือกราไฟท์ ถ้ามีสีดำ�เงาคือแร่เหล็กที่แทรกอยู่ในเนื้อหิน ทำ�ให้หินแกร่ง ถ้าใช้ตำ�พริกหรือเครื่องแกงเป็นหลัก ควรเลือกครกที่มีหลุมลึก เพราะพริกจะไม่กระเด็นออกมา การเลือกสากควรเลือกดูหน้าตัดที่เป็นด้านตำ� ว่ามีความกว้าง และความมนกลมออกไปทางป้าน ๆ หน่อย เพราะจะทำ�ให้มีพื้นที่ สัมผัสกับวัตถุทตี่ ำ�ได้มากกว่าสากทีม่ หี น้าตำ�มนกลมเกินไป และเลือก ที่มีสีหินค่อนข้างเข้ม มีเสี้ยนดำ�มาก แสดงถึงความแกร่ง ใช้ได้นาน สากจะไม่สึกสั้นลง

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

17


กระบอกเสีย งชุมชน โดย กองบรรณาธิการ

สุนันท์ เสียงดัง

กับภารกิจเพื่อชุมชนบ้านอ่าวอุดม ฉบับนีจ้ ะน�ำทุกท่านไปพูดคุยกับคุณสุนนั ท์ เสียงดัง หรือ พี่เข็ม ประธานชุมชนบ้านอ่าวอุดม เธอบอกเล่าเรื่องราวและ ตอบทุกข้อค�ำถามของทีมงานด้วยท่าทีมงุ่ มัน่ เสียงดังฉะฉาน สมกับเป็นประธานหญิงเหล็กหนึง่ เดียวใน 7 ชุมชนรอบโรงกลัน่ ของเรา “ย้อนอดีตบ้านอ่าวอุดมไปเกือบ 100 ปีก่อน ชาวบ้านเรียกขานดินแดน

18 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

แถบนี้ว่า หนองกระสือ หรือ อ่าวกระสือ บางต�ำนานเล่าว่า เพราะเคยมีคนเห็น กระสือตัวเป็น ๆ ล่องลอยอยู่แถวนี้ บ้างก็ว่าเป็นดวงไฟจากเรือที่เข้ามาจอดใน อ่าววับ ๆ แวม ๆ บ้างก็ว่าเป็นการท�ำปฏิกิริยาของอากาศกับก�ำมะถัน ในเวลาต่อมาเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ จึงได้เปลี่ยนชื่อเพื่อ ความเป็นสิริมงคลว่า “อ่าวอุดม” และเรียกชุมชนนี้ว่า “อ่าวอุดม” จนมาถึงทุก วันนี้” คุณสุนันท์ฉายภาพอดีตความเป็นมาของชุมชนบ้านอ่าวอุดมให้เราฟัง ภารกิจหนึ่งที่น�ำมาซึ่งความภาคภูมิใจ หลังจากเข้ามารับต�ำแหน่ง ประธานชุมชนได้ไม่นานนัก คือ การก่อตั้ง “กลุ่มเยาวชนรักบ้านอ่าวอุดม” โดยจุดประกายความคิดหลังจากได้ชมตัวอย่างโครงการ อสม.น้อยของชุมชน ที่ ต�ำบลปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ให้เด็ก ๆ มีส่วนช่วยในกิจกรรม ด้านสาธารณสุข “เด็ก ๆ ในชุมชนของเราก็มีเยอะ แต่ไม่ค่อยรู้จักกัน ต่างคนต่างอยู่ ไม่สามัคคีกัน เพราะเรียนหนังสือกันคนละที่ เลยไปปรึกษากับทางไทยออยล์ และคุณหมอสุรพลที่เป็นคุณหมอสาธารณสุข เด็ก ๆ เรียกคุณหมอว่าพี่โป้ว่า ท�ำไมเราไม่ท�ำโครงการเยาวชนขึ้นมา ต่อมาไทยออยล์ก็ให้การสนับสนุน คุณหมอก็ช่วยเป็นทั้งพี่เลี้ยงและวิทยากรให้ความรู้กับเด็ก ๆ กลุม่ เด็ก ๆ เขาตัง้ ประธาน รองประธาน เลขาฯ กันเอง และจัดการกันเอง ทั้งหมด เราเพียงแต่เป็นพี่เลี้ยงให้ สองอาทิตย์จะมารวมกลุ่มกันท�ำกิจกรรม กันทีหนึ่ง ในกลุ่มต้องช่วยกันคิดว่าจะท�ำอะไรที่เป็นประโยชน์ หรืออยาก เรียนรู้อะไร ตัวอย่างกิจกรรมที่ผ่านมา เช่น รณรงค์เก็บขยะชายทะเล ท�ำความสะอาดวัดใหม่เนินพยอม ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนที่บ้านแหลมฉบัง ที่นั่นเขาได้เห็นตัวอย่างเยาวชนรุ่น ราวคราวเดียวกับพวกเขา ที่มีความ เป็นผู้น�ำ กล้าคิด กล้าพูด เป็นการ เปิดโลกให้กับเด็ก ๆ ของเราด้วย นอกจากนี้ เรายังให้เด็ก ๆ ได้ เรียนรูส้ งิ่ ทีใ่ นชุมชนเรามีอยูด่ ว้ ย เพือ่ ให้เกิดความภาคภูมิใจและจะได้ ช่วยกันอนุรกั ษ์ไว้ เช่น การท�ำผ้าบาติก


ท�ำผ้าเช็ดหน้า การท�ำน�้ำยาล้างจาน เป็นต้น” หลังจากก่อตัง้ กลุม่ เยาวชนรัก บ้านอ่าวอุดมได้ 3 - 4 เดือน คุณสุนนั ท์ เล่าว่าเริ่มเห็นถึงความเปลี่ยนแปลง ในกลุ่มเด็กต่างโรงเรียน “แต่เดิมจากทีไ่ ม่สงุ สิงกัน ไม่รจู้ กั กัน ตอนนีเ้ หนียวแน่น พวกเขา จะสือ่ สารกันตลอด มีหวั หน้า 5 คน แต่ละคนจะมีลกู ทีม ทีมละ 7 - 8 คน 5 ทีม ต้องรับผิดชอบในกลุม่ ของเขาเอง เราก�ำหนดไว้วา่ ถ้าใครมาทุก ครั้งที่จัดกิจกรรม เราจะมีรางวัลให้ คราวนี้พอชุมชนมีกิจกรรม หรือ อสม. มีกิจกรรม เด็ก ๆ กลุ่มนี้จะเข้ามาร่วมท�ำงานกับเรา อย่างเช่น จุลสารของไทยออยล์ เด็กกลุ่มนี้จะวิ่งแจกแต่ละบ้านภายในวันเดียว เราก็มสี นิ น�ำ้ ใจให้นดิ หน่อย ซึง่ เขาก็ไม่ได้เอาไปไหน แต่นำ� มาเข้ากลุม่ ของเขาเอง หรือขายขยะ คัดแยกขยะ เขาก็เอาเงินมาเข้ากลุ่ม ตอนนี้ ได้เกือบพันบาทแล้ว ถือว่าเป็นโครงการทีพ่ ภี่ าคภูมใิ จ ถึงจะส�ำเร็จไปได้ แค่ขั้นหนึ่ง ซึ่งจะต้องพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ตอนนี้เราก็ไม่เหนื่อยมาก เพราะมีแรงจากเด็ก ๆ พวกนี้ช่วย เราพยายามที่จะปั้นกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาช่วยงานชุมชนกันมาก ๆ” นอกจากงานด้านพัฒนากลุ่มเยาวชนแล้ว คุณสุนันท์และ คณะกรรมการชุมชนยังช่วยกันสืบสานประเพณี การละเล่นท้องถิ่น บ้านอ่าวอุดม อนุรักษ์เอกลักษณ์ชุมชนควบคู่กับการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์ของชุมชนอยู่เสมอ ซึ่งคุณสุนันท์ได้ถ่ายทอดให้เราฟังว่า “มวยตับจากเป็นประเพณีการละเล่นทีถ่ อื ก�ำเนิดจากชุมชนบ้าน อ่าวอุดม มีความพิเศษตรงทีป่ ดิ ตานักมวย และน�ำตับจากมาวางบนพืน้ เวทีมวย คูต่ อ่ สูต้ อ้ งฟังความเคลือ่ นไหวของแต่ละฝ่ายทีเ่ ท้าเหยียบลงไป บนใบจากแห้ง ดังกรอบแกรบ ปัจจุบันนี้ ทางชุมชนยังคงอนุรักษ์การ ละเล่นนี้อยู่ โดยจัดแสดงในโอกาสต่าง ๆ เช่น งานทอดกฐิน เป็นต้น

หลายคนอาจจะไม่ ท ราบว่ า วั ด ใหม่ เ นิ น พยอมของเรามี รอยพระพุทธบาทจ�ำลองอยูห่ ลังโบสถ์ เรามีพระประจ�ำวันองค์ใหญ่ ๆ อยู่ 7 องค์ เราน่าจะฟืน้ ฟูการปิดทอง ใส่บาตรพระประจ�ำวันขึน้ มาใหม่ ส�ำหรับงานสงกรานต์ในปีนี้ พี่พยายามคิดกิจกรรมเพื่อให้คนสนใจ เข้าวัดท�ำบุญกันมากขึ้น เพราะแต่ละปีที่ผ่าน ๆ มาคนเข้าวัดกันน้อย พระท่านต้องตบกองทรายเอง ปีนี้เลยคิดว่าจะจัดประกวดกองทราย ให้บริษัทต่าง ๆ ในชุมชนบ้านเราที่มีกว่าถึง 30 บริษัทฯ แต่ครั้งแรกนี้ ขอแค่ 10 บริษัทมาสนับสนุนกิจกรรมตรงนี้ ของขวัญไม่ใช่ตัวเงินแต่ อาจจะเป็นกระเช้าผลไม้ใบใหญ่ ๆ คณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการวัด อสม. ก็เห็นพ้องต้องกัน” ก่อนจบการสนทนาช่วงบ่ายวันนั้น ประธานคนเก่งยังได้กล่าว ทิ้งท้ายก่อนขอตัวไปปฏิบัติภารกิจต่อว่า “พีอ่ ยากฝากถึงพีน่ อ้ งในชุมชนทุกคนว่า พวกเราแต่ละคนเป็นเหมือน เส้นเชือกเดียวกัน อยูล่ ำ� พังมันก็ขาดง่าย ถ้าเรากรรมการชุมชน ชาวบ้าน อสม. กรรมการวัด บริษัทต่าง ๆ ทุกหน่วยงานมารวมกัน มันก็เป็น เชือกหลายเส้น ชุมชนก็จะเข้มแข็ง สิ่งดี ๆ จะเข้ามาในบ้านเราได้อีก เยอะมาก เพราะเป็นนครแหลมฉบังแล้ว ไม่ได้เป็นเทศบาล ต่อไป จะเป็นเมืองพิเศษ ถ้าเราเข้มแข็งเสียอย่าง ใคร ๆ เขาก็เกรงใจ สุดท้ายอยากฝากถึงไทยออยล์วา่ ขอบคุณทีด่ แู ลทุกสิง่ ทุกอย่างให้ชมุ ชน ถ้าเด็กในชุมชนมีการศึกษาดี เรียนจบมาสูงก็อยากให้รับเข้าท�ำงาน หรือฝึกงานที่ไทยออยล์ รวมทั้งที่บริษัทอื่น ๆ ด้วย” วันนีเ้ รารูแ้ ล้วว่า ชุมชนบ้านอ่าวอุดมไม่ได้มดี แี ค่วดั และโรงเรียน วัดใหม่เนินพยอมที่อยู่เคียงคู่กับชุมชนมาช้านาน หรือร้านอาหาร ทะเลสดอร่อยเท่านัน้ แต่ยงั เป็นอีกชุมชนหนึง่ ทีม่ อี ตั ลักษณ์ทอ้ งถิน่ อัน คูค่ วรแก่การอนุรกั ษ์ให้คงอยูส่ บื ทอดสูร่ นุ่ ลูกหลาน และผูน้ �ำทีแ่ ข็งแกร่ง พร้อมจะน�ำพาชุมชนให้พัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไป

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

19


รู้จักพลังงานทางเลือก โดย อะตอม

พลังงานทางเลือก...

ทางรอดของโลก

ทุกวันนี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่า พลังงาน มีความส�ำคัญยิ่งต่อการ ด�ำเนินชีวติ และทุกกิจกรรมบนโลก มนุษย์เราใช้ประโยชน์จากพลังงานเพือ่ ด�ำรงชีพ อ�ำนวยความสะดวกสบาย และสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ มากมาย จนอาจกล่าวได้ว่า หากวันใดไร้ซึ่งพลังงาน วันนั้นโลกคงถึงกาลอวสาน ท่ามกลางความตื่นตัวด้านวิกฤติการณ์พลังงาน ทั่วโลกต่างพากัน หาวิธีเตรียมพร้อมรองรับกับปัญหาขาดแคลนพลังงานที่ต้องเผชิญอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ นานาประเทศรณรงค์ให้พลเมืองของตนใช้พลังงานอย่าง มีประสิทธิภาพ ประหยัด และรูค้ ณุ ค่า รวมทัง้ คิดค้นเทคโนโลยีตา่ งๆ เพือ่ ผลิตพลังงานทางเลือกในหลากหลายรูปแบบ พลังงานทางเลือก หรือ พลังงานทดแทน โดยทัว่ ไปหมายถึงพลังงานที่ มีอยูท่ วั่ ไปตามธรรมชาติและสามารถมีทดแทนได้อย่างไม่จำ� กัด เมือ่ เทียบกับ พลังงานหลักจากฟอสซิลในปัจจุบัน เช่น น�้ำมันหรือถ่านหินที่ใช้แล้ว มีวนั หมดไปหรือต้องใช้ระยะเวลานานมากกว่าจะน�ำมาผลิตเป็นพลังงานได้ ตัวอย่างพลังงานทางเลือกทีส่ ำ� คัญ เช่น พลังงานลม พลังงานน�ำ้ พลังงานแสง อาทิตย์ พลังงานน�้ำขึ้นน�้ำลง พลังงานคลื่น และความร้อนจากใต้ผิวโลก พลังงานขยะ พลังงานไฮโดรเจน ไบโอดีเซล แก๊สโซฮอล์ พลังงานชีวมวล พลังงานจากกระบวนการชีวภาพ เช่น บ่อก๊าซชีวภาพ เป็นต้น เมือ่ ลองพิจารณาดู จะเห็นได้วา่ หลาย ๆ สิง่ รอบตัวเราล้วนน�ำมาใช้ เป็นพลังงานทางเลือกได้ทั้งสิ้น

20 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554


ปัจจุบนั หลาย ๆ เมืองในต่างประเทศมีการน�ำพลังงานทางเลือกมาใช้ทดแทน พลังงานจากฟอสซิล โดยมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ เรือ่ ย ๆ เช่น เมืองคูสมึ ากิประเทศญีป่ นุ่ ทีใ่ ช้ไฟฟ้าจากมูลโค พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังลม เมืองคุนหมิงประเทศจีน เป็นศูนย์กลางด้านพลังงานแสงอาทิตย์ เมือง Dardesheim ประเทศเยอรมนี ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พลังลม และพลังงานจากชีวมวล หรือแม้กระทั่ง ประเทศผู้ส่งออกน�้ำมันรายใหญ่ของโลกอย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ยังได้สร้างโครงการมาสดาร์ ซิตี้ (Masdar City) เมืองทีจ่ ะใช้พลังงานทดแทนจาก แสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว ปัญหาอย่างหนึง่ ทีท่ ำ� ให้การพัฒนาพลังงานทางเลือกเป็นไปได้ชา้ โดยเฉพาะ ในกลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนา นั่นเป็นเพราะเทคโนโลยีทางด้านนี้ต้องใช้เงินลงทุน มหาศาล ต้นทุนค่าไฟทีไ่ ด้จากแหล่งพลังงานทางเลือกยังสูงอยูม่ าก เมือ่ เปรียบเทียบ กับแหล่งพลังงานแบบเดิม ตัวอย่างเช่น การลงทุนของโครงการต่าง ๆ ของเมือง พลังงานทางเลือกอย่างคูสึมากิที่มีมูลค่าถึง 50 ล้านดอลลาร์ หรือ 6,000 ดอลลาร์ ต่อหัว เท่ากับค่าไฟฟ้าเฉลีย่ ส�ำหรับ 1 ครัวเรือนทีม่ สี มาชิก 4 คนในโตเกียวภายใน เวลากว่า 7 ปี ดังนัน้ พลังงานยัง่ ยืนจึงมีความสามารถในการแข่งขันเชิงเศรษฐกิจ ได้น้อยกว่า ย้อนกลับมาดูเมืองไทยของเรา โชคดีที่บ้านเราเป็นเมืองเกษตรกรรม มีความอุดมสมบูรณ์ เรามีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมากมาย มีแหล่งน�้ำ มีสายลม มีแสงแดดแรงเกือบตลอดทั้งปี และที่ส�ำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คือ เรามี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั หรือพ่อหลวงของเรา ทีท่ รงมีสายพระเนตรอันยาวไกล ในการเป็นผูน้ ำ� ด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนผ่านโครงการส่วนพระองค์ ท�ำให้มี คนไทยจ�ำนวนมากน�ำมาปฏิบัติในการท�ำงานจนประสบความส�ำเร็จ พประกอบ า ภ ะ ล แ ล ู ม ข้อ รี ารานุกรมเส วิกิพีเดีย สuzumaki.iwate.jp .k www.town.masdarcity.ae www nager.co.th www.ma มประชาสัมพันธ์ ร ส�ำนักข่าวก

พระองค์ท่านทรงเล็งเห็นความส�ำคัญ ของพลังงานทดแทนในอนาคต ว่าจะเกิดวิกฤติ พลังงานเชื้อเพลิงขึ้น จึงทรงสร้างภูมิคุ้มกันให้ ประเทศ ด้วยการส่งเสริมการใช้และพัฒนา เชื้อเพลิงน�้ำมันจากวัสดุการเกษตรที่ทรงริเริ่ม มานานกว่า 20 ปี เนือ่ งจากประเทศไทยมีวตั ถุดบิ ผลิตพลังงานทีเ่ ปรียบเสมือน “บ่อนำ�้ มันบนดิน” ที่หลายคนมองข้าม ท่านทรงสอนให้ประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย โดยไม่ต้องอาศัยเงินลงทุนจ�ำนวนมากเหมือน ต่างประเทศ เพือ่ ให้ประเทศไทยสามารถพึง่ พา ตนเองด้านพลังงานอย่างยั่งยืนต่อไป ฉบั บ หน้ า จะพาไปท� ำ ความรู ้ จั ก กั บ พลังงานทดแทนรูปแบบหนึ่งที่ทุกคนคุ้นเคย กันเป็นอย่างดี อย่าลืมติดตามนะคะ

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

21


ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม

โดย หงวน ชวน ชิม

นำ�นำ� ...ทำ�เอง อร่อยจริง

ฉบับนี้ขอแนะนำ�ร้านน้องใหม่ที่เพิ่งเปิด ได้ ไม่ถึงสองเดือน แต่รับประกันความอร่อย และคุณภาพ เจ้าของร้าน คือ คุณอ้อยทิพย์ กาละบุตร อดีตสาวธนาคารที่ผันตัวมาสร้างธุรกิจของ ตัวเองร่วมกับคุณอา จินดา กาละบุตร ทั้งคู่ ทุม ่ สุดตัว ลงทุนหมดกระเป๋า ลงแรงเต็มทีก่ บั ร้านก๋วยเตี๋ยวแห่งนี้ คุณอ้อยทิพย์เล่าด้วย ความภูมิ ใจว่า

“รัว้ ทีเ่ ห็นสีสวย ๆ นีท่ ากันเอง ผนังกัน้ ห้องก็หาเอง ต้นไม้ก็ปลูกเอง ยกมาจัดท�ำ เอง ส่วนตรงกลางนี้ของเดิมเป็นบ่อตกกุ้ง จะท�ำเป็นน�้ำพุ แต่ช่างยังไม่ว่างเลยต้องรอ อีกหน่อย” แค่ นี้ บ รรยากาศก็ น ่ า นั่ ง แล้ ว ละค่ ะ หลังคาทีส่ งู โล่ง โปร่ง แม้กลางวันแดดจะร้อน แต่ภายในร้านก็ยังสบาย อากาศแบบลมพัด ทั่วถึงอย่างนี้ไม่ต้องง้อพัดลมให้เปลืองไฟ ช่วยลดโลกร้อนอีกแรง นี่ถ้าน�้ำพุตรงกลาง บ่อเสร็จอย่างที่บอก รับรองนั่งกินกันเพลิน จนอาจลืมนับชามเลยทีเดียว เพราะนอกจาก บรรยากาศดีแล้ว ฝีมือก็รสดีเกินบรรยาย ถ้า

22 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

จะถามว่าเมนูไหนอร่อยสุด ยังยากจะระบุ เลยค่ะ เพราะทีเด็ดของร้านนีอ้ ยูท่ อี่ าหารท�ำเอง ทั้งลูกชิ้นปลา ลูกชิ้นกุ้ง ฮื่อก้วย (ปลาเส้น) บะหมี่เส้นปลาพริกไทยด�ำที่มาจากบ้านอา อีกคนซึ่งท�ำลูกชิ้นขายส่งมานาน จนชื่อเสียง ลูกชิ้นปลาน�ำน�ำติดหูคนเมืองชลฯ ส่วนที่ แหลมฉบังร้านนี้เป็นสาขาแรกค่ะ นอกจากนี้ น�้ำซอส น�้ำซุป เครื่องปรุง ล้วนคัว่ เอง ปัน่ เอง ปรุงเองทัง้ นัน้ เพราะสองสาว เจ้าของร้านนี้บอกว่าถือนโยบายท�ำขายแต่ เหมือนท�ำกินเอง เมนูยอดนิยมอย่างแรกที่จะ แนะน�ำ คือ ต้มย�ำที่การันตีความอร่อยด้วย ถัว่ ลิสงคัว่ พริกป่นทีท่ ำ� เอง จึงมัน่ ใจความสะอาด


ปลอดภัย รวมถึงมะนาวจีด๊ จ๊าดทีแ่ ม่คา้ สาวสวย ยืนยันว่าต่อให้มะนาวแพงแค่ไหน ต้มย�ำของที่ ร้านทุกชามรับรองได้ว่าเป็นมะนาวสดคั้นเอง ทุกลูก ไม่มีการปลอมปนกรดมะนาวแน่นอน เมนูเด็ดจานที่สองที่คนนิยมสั่ง คือ เย็นตาโฟ เพราะนอกจากเชือ่ มัน่ ในรสชาติของ ลูกชิ้นแล้ว เย็นตาโฟที่นี่ยังมีทีเด็ดที่ น�้ำซอส ซึง่ แน่นอนว่าท�ำเองอีกเช่นกัน สังเกตจากสีสนั ไม่แดงจัดจ้านชมพูจ๋าเหมือนร้านอื่น แต่เป็น สีธรรมชาติของซอสที่พี่จินดากระซิบสูตรว่า ใช้ซอสมะเขือเทศอย่างดีกับเต้าหู้ยี้ชั้นยอด บวกกับน�ำ้ กระเทียมดองและอืน่ ๆ เคีย่ วนาน หลายชั่วโมงจนได้ซอสเข้มข้นรสดี อีกเมนูทมี่ ที เี ด็ดทีน่ ำ�้ ซอส คือ ก๋วยเตีย๋ ว ลูกชิ้นปลาสุกี้ ด้วยความมั่นใจในฝีมือการ ท�ำซอสเอง พี่จินดาเลยท�ำซอสสุกี้ด้วย และ น�ำมาสร้างสรรค์เป็นเมนูก๋วยเตี๋ยวอีกชามที่ ใคร ๆ ก็หลงรัก เพราะซอสสุกที้ รี่ สกลมกล่อม หอมงาคั่ว (คั่วเองเช่นกัน) ท้าให้ลองค่ะ จน คนชิมยังแอบนึกว่าร้านดัง ๆ ยังสู้ไม่ได้ นี่ถ้า พี่จินดามีแรงท�ำซอสใส่ขวดขายด้วย รับรอง ว่านับเงินไม่ไหวแน่นอน ร้านนำ�นำ�ตั้งอยู่ติดกับสำ�นักงาน เทศบาลแหลมฉบัง ถ้าเข้าทางตลาด สี่มุมเมือง เมื่อถึงแยกหนองแรกให้ เลี้ยวขวามาทางเทศบาลประมาณ 250 เมตร สังเกตด้านซ้ายมือจะเห็นรั้วสีส้ม ร้านจะถึงก่อนสำ�นักงานเทศบาลฯ เปิดทุกวันตั้งแต่ 08.00 - 16.00 น. สอบถาม โทร. 08 9983 1171

เมนูยอดนิยมอีกชามที่ลูกค้าชอบมาก โดยเฉพาะชาวญีป่ นุ่ ทีส่ งั่ กินเป็นสิบ ๆ ชาม คือ บะหมี่เส้นปลาพริกไทยด�ำ แค่ฟังชื่อก็อยาก กินแล้วใช่ไหมคะ แนะน�ำอย่างยิ่งว่าถ้าไป ร้านนี้ต้องสั่งค่ะ เพราะเส้นปลานอกจาก รสดี เหนียวนุ่มก�ำลังกินแล้ว ยังมีทีเด็ดที่ พริกไทยด�ำ เคี้ยวแต่ละค�ำหนึบหนับ นุ่มหอม และเผ็ดนิด ๆ ก�ำลังดีจริง ๆ ค่ะ ยิ่งมีหนัง ปลากรอบทีท่ อดกรอบได้ใจแล้ว ยิง่ กินได้กนิ ดี จนลืมอ้วนไปเลย คนไม่ชอบกินเส้นก็ไม่ตอ้ งน้อยใจนะคะ มานัง่ ทีน่ ี่ สัง่ ลูกชิน้ ปลาลวกจิม้ หนังปลากรอบ ๆ มากินเล่นก็เพลินแล้ว อ้อ ! เกือบลืมเล่าถึงหัวใจ ของก๋วยเตี๋ยว ไม่ว่าจะก๋วยเตี๋ยวอะไรก็ตาม หัวใจจริง ๆ อยู่ที่น�้ำซุปค่ะ น�้ำซุปสูตรของ

พีจ่ นิ ดา รับรองว่ากินแล้วติดใจ เพราะน�้ำซุป หวานน�้ำต้มกระดูกแท้ ๆ และไม่มัน เพราะ ใช้กระดูกซีโ่ ครงหมูอย่างดี เป็นกระดูกชิน้ เล็ก จึงมีไขมันไม่มาก ดังนั้นเวลาซดจึงคล่องคอ ไม่เลี่ยนเหมือนน�้ำซุปจากกระดูกหมูส่วนขา หรือหลังที่ชิ้นโต ๆ จุ ด ที่ ป ระทั บ ใจคนชิ ม มาก ๆ คื อ ความสะอาดของร้ า นค่ ะ แค่ เ ดิ น เข้ า มา สั่งอาหารจะสังเกตเห็นแล้วว่า บริเวณโต๊ะ ตู้ ทีใ่ ช้ทำ� ก๋วยเตีย๋ วนัน้ สะอาดมาก เครือ่ งปรุง ทุกอย่างวางเป็นระเบียบ มีฝาปิดเรียบร้อย แม่คา้ มีแค่สองคน แต่ตะกร้อลวกมีเกือบสิบอัน จนต้องถามว่าท�ำไมต้องเยอะขนาดนี้ ได้ค�ำ ตอบว่าเพือ่ ใช้ลวกลูกชิน้ ปลาให้รอ้ นตลอด จึง จะไม่คาว แหม ! ใส่ใจรายละเอียดกันขนาดนี้ ต้องยกนิว้ ให้จริง ๆ ค่ะ ลองมองไปรอบ ๆ ร้าน ก็สะดุดตาที่ แม้แต่ผา้ ขีร้ วิ้ ยังสะอาด แขวนตาก เป็นระเบียบ เป็นร้านที่น่าประทับใจจนอยาก ให้ทุกคนได้ไปกินกันค่ะ แถมท้ายอีกนิดส�ำหรับคนชอบกินผัก เจ้าของร้านสาวรีบกระซิบดัง ๆ ว่า ผักบุ้งที่นี่ สั่งมาจากคนที่ปลูกเอง โดยเลือกเจ้า ที่ปลอดสารพิษ 100 % ถ้าช่วยกัน อุดหนุนผักปลอดสารฯ มาก ๆ นอกจากจะกินอร่อย ปลอดภัยแล้ว ยังช่วยอนุรักษ์น�้ำ ดิน ไม่ให้ ปนเปื้อนสารเคมีอีกด้วยนะคะ

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

23


เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน

โดย สามสี

รักษ์สัตว์ รักษ์สังคม ของเด็ก ๆ ชลบุรีสุขบท เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้านฉบับนี้พาไปไม่ไกล แค่ตัวเมืองชลฯ นี่เอง เป็นเรื่องเล็ก ๆ ของเด็กกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันท�ำความดีจนผลลัพธ์นั้น ขยายกว้างไปสูช่ มุ ชน เกิดความส�ำเร็จไปถึงระดับนโยบายของเทศบาล เมืองชลฯ ยังต้องลงมาร่วมด้วย ลักษณะร่วมอย่างหนึง่ ของชุมชนในสังคมไทย นอกจากจะมี บ้าน วัด และโรงเรียนแล้ว คงไม่มีใครปฏิเสธว่าลักษณะร่วมอีกอย่างหนึ่ง คือ ทุกชุมชนมักมีสนุ ขั และแมวจรจัดอยูเ่ สมอไม่มากก็นอ้ ย โดยเฉพาะ วัดซึง่ เป็นสถานทีท่ คี่ นมักจะน�ำสุนขั และแมวทีไ่ ม่ตอ้ งการไปปล่อยทิง้ ไว้ ที่วัดเขาบางทรายก็เช่นเดียวกัน มีสุนัขและแมวจ�ำนวนมาก จนสร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชนรอบ ๆ ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ รวมถึงโรงเรียนชลบุรสี ขุ บทซึง่ ตัง้ อยูใ่ นพืน้ ทีว่ ดั สุนขั และแมวทีถ่ กู ปล่อย เข้ามาอาศัยอยูใ่ นโรงเรียน ส่วนใหญ่มปี ญั หาด้านสุขภาพ ขาดการดูแล และในทีส่ ดุ ก็ลม้ ตายเป็นจ�ำนวนมาก รวมถึงมีครัง้ หนึง่ เกิดวางยาก�ำจัด ขึ้นท�ำให้หลายคนรู้สึกเศร้าใจโดยเฉพาะเด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่ง จึงมา ปรึกษาครูชะบา อ่อนนาค ครูได้แนะน�ำให้นกั เรียนรวมตัวกันแก้ปญั หา พวกเด็ก ๆ จึงรวมตัวกันเป็นเยาวชนกลุ่มเมตตาธรรม และตั้ง ชุมนุมรักษ์สัตว์ ขึ้นในปี 2548 เพื่อช่วยเหลือและดูแลสุนัขที่ถูกทอดทิ้ง รวมทั้งแนะน�ำวิธีการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างถูกวิธี เช่น การท�ำหมัน เพื่อ จะได้ไม่เกิดปัญหาว่าเลี้ยงไม่ไหวจนต้องน�ำมาปล่อยอีก

24 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

ปี ต ่ อ มาพวกเขาได้ เ ข้ า ร่ ว มประกวดโครงงานคุ ณ ธรรม เฉลิมพระเกียรติ เยาวชนไทย ท�ำดี ถวายในหลวง จึงพัฒนางานในชุมนุม ให้เป็นโครงงานคุณธรรม “รักษ์สัตว์ รักษ์สังคม” การเข้าร่วมโครงการ ดังกล่าวท�ำให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาและวางแผน การท�ำงานอย่างเป็นระบบ เด็ก ๆ เริ่มลงพื้นที่เก็บข้อมูล ท�ำทะเบียนสัตว์เลี้ยงที่ถูกทอดทิ้ง จัดกลุ่มเรียนรู้เรื่องอาการเจ็บป่วยและวิธีดูแลรักษาที่ถูกต้อง โดยมี รุ่นพี่ที่จบไปแล้วและก�ำลังเรียนต่อด้านสัตวแพทย์อาสามาถ่ายทอด ความรู้ให้ทั้งทฤษฎีและฝึกปฏิบัติจริงภาคสนาม การส�ำรวจข้อมูลพบว่าสุนัขและแมวที่ถูกน�ำมาปล่อยส่วนใหญ่ จะเสียชีวิต และถ้าเป็นลูกสุนัขจะมีโอกาสรอดเพียงร้อยละ 19 ท�ำให้ ทุกคนเกิดพลังใจที่จะด�ำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และด้วยความมุ่งมั่น ท�ำจริงนี้เอง ท�ำให้โครงงานนี้ได้เป็น 1 ใน 9 โครงงานที่ได้รับรางวัล โล่เกียรติยศพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ ความส�ำเร็จในมุมมองของเยาวชนกลุ่มเมตตาธรรมไม่ได้มีเป้าหมาย อยู ่ ที่ ร างวั ล ถึ ง แม้ ก ารประกวดโครงงานคุ ณ ธรรมจะจบลงแล้ ว พวกเขายังไม่หยุดท�ำงาน ในช่วงปิดภาคเรียนทุกคนยังคงท�ำกิจกรรม ต่าง ๆ ในโครงงานอย่างต่อเนื่องและจริงจัง


แรงบันดาลใจจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พวกเขาเล่าว่า แรงบันดาลใจส�ำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ท�ำให้งานนี้ประสบความส�ำเร็จ คือ พระราชปรารภของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง “ทองแดง” (หน้า 9) ว่า “เรื่องสุนัขสามตัวนี้ คือ แดง มะลิ และทองแดง แสดงว่าสุนัขจรจัดมีคุณสมบัติที่น่าปรารถนาส�ำหรับเป็นสุนัขเลี้ยงในบ้าน สุนัข จรจัดทีม่ ผี เู้ มตตารับเลีย้ งส่วนมากมักจะเจียมเนือ้ เจียมตัว และมีความซือ่ สัตย์ จงรักภักดีตอ่ เจ้าของเป็นพิเศษ เสมือน ส�ำนึกในบุญคุณ ทัง้ ยังฉลาดไม่แพ้สนุ ขั นอก บางตัวก็สวยงามหรือมีความโดดเด่นสง่างาม เช่น ทองแดง เป็นต้น ในประเทศไทย มีหลายแสนตัวทีจ่ ะเลือกได้ ความจริงมีลน้ เหลือ แต่ถา้ หากเจ้าหน้าทีท่ างราชการจะช่วย ก็จะมีผู้ที่ยินดีอย่างยิ่งในการเปิดบ้านต้อนรับสุนัขเหล่านี้ จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาสุนัขเร่ร่อนซึ่งเป็นอันตราย นอกจากนี้ ยังช่วยแก้ปญั หาสัตว์เลีย้ งหรูหราราคาแพง ซึง่ ท�ำให้เศรษฐกิจตกต�ำ่ ทัง้ หันมาพัฒนาสายพันธุส์ นุ ขั ไทยที่ฉลาดน่ารัก และซื่อสัตย์ที่มีอยู่มากมาย” กิจกรรมหลัก ๆ คือ ออกไปดูแลสุขภาพสุนัขและแมวจรจัด อาบน�้ำ ใส่ยา ฉีดยาคุม นอกจากท�ำด้วยตนเอง แล้วยังน�ำความรู้ที่ได้ ขยายลงสู่ชุมชน ด้วยการระดมความร่วมมือจากอาสาสมัครทั้งผู้น�ำ ชุมชน นักธุรกิจ สัตวแพทย์ นศ.คณะสัตวแพทย์ ม.เทคโนโลยีมหานคร มาช่วยกันบริการให้ค�ำปรึกษาการดูแลสัตว์เลี้ยงที่ถูกวิธี บริการฉีดยา เปิดหน่วยท�ำหมันฟรีอย่างสม�่ำเสมอ จนทุกวันนี้สามารถควบคุมจ�ำนวนสุนัขไร้บ้านและหยุดการ ฆ่าลงได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว อีกทั้งยังท�ำให้ผู้ใหญ่หลายภาคส่วนเข้าร่วม สนับสนุนทั้งการเงินและระดับนโยบาย เช่น เทศบาลเมืองชลบุรีออก นโยบายห้ามเบื่อสุนัข เป็นต้น ไม่น่าเชื่อว่า ผลจากการท�ำงานด้วยจิตเมตตาและทุ่มเท ท�ำให้ งานของ รักษ์สตั ว์ รักษ์สงั คม ขยายต่อเนือ่ ง จากรุน่ พีส่ รู่ นุ่ น้อง ขยายผล สูช่ มุ ชน เกิดผลส�ำเร็จเป็นทีป่ ระจักษ์ชดั ทัง้ ความรูเ้ รือ่ งการดูแลสัตว์เลีย้ ง ขั้นพื้นฐานและความรู้ทางธรรมที่เข้าใจจริง เพราะได้ลงมือปฏิบัติเอง ทัง้ ความเมตตา กรุณา และการมีภาวะผูน้ ำ� เยาวชนรุน่ ใหม่ ๆ ทีเ่ ข้ามา ร่วมด้วยรุน่ แล้วรุน่ เล่าต่างเกิดจิตส�ำนึกในการดูแลรับผิดชอบสัตว์เลีย้ ง และการช่วยกันดูแลชุมชนของตนเอง ส่งผลให้ชมุ ชนโดยรอบทัง้ ในเขต บางทรายและละแวกใกล้เคียงเองก็ได้รับประโยชน์มากมายทั้งความ สะอาด ปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า คนและสัตว์เลี้ยงอยู่ร่วมกันได้ อย่างปกติสุข ในภาพรวมยังช่วยสังคมประหยัดเงินในการคุมก�ำเนิด ดูแล ป้องกัน และรักษาโรคของสัตว์เลี้ยงได้อีกด้วย

ปัจจุบนั พวกเด็ก ๆ ยังไม่หยุดท�ำงาน พวกเขาได้ขยายผลเข้าไป ช่วยดูแลปัญหาสุนัขและแมวจรจัดในพื้นที่อื่น ๆ ที่ร้องขอมา เช่น ใน พื้นที่ค่ายทหาร เป็นต้น นับเป็นตัวอย่างการท�ำความดีที่ช่วยกันสร้าง ชุมชนให้นา่ อยูข่ นึ้ แม้วา่ จะเริม่ ต้นจากมือเล็ก ๆ ของเด็ก ๆ แต่ผใู้ หญ่ ทุกคนที่เข้ามาร่วมด้วยช่วยกันทั้งภาคเอกชนที่สนับสนุนงบประมาณ หรือภาครัฐอย่างเทศบาลที่ช่วยสนับสนุนนโยบาย เริ่มจากเรื่องง่าย ๆ ปัญหาสุนัขและแมวจรจัด แต่สิ่งที่ได้มามากกว่าปัญหาที่หมดไป คือ ความสัมพันธ์ที่เป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวของคนทั้งชุมชน อนาคตแม้จะเกิด ปัญหาอืน่ ทีย่ ากกว่า แต่เชือ่ มัน่ ได้วา่ ชุมชนวัดเขาบางทรายก็จะผ่านพ้น ไปได้ค่ะ เรือ่ งเล่าเล็ก ๆ จากโรงเรียนชลบุรสี ขุ บทแห่งวัดเขาบางทรายจึง น่าจะเป็นแบบอย่างทีด่ ใี ห้เพือ่ นบ้านชุมชนอืน่ ๆ สามารถเรียนรูแ้ ละน�ำ ไปปรับใช้ได้นะคะ โครงงานรักษ์สัตว์ รักษ์สังคม โรงเรียนชลบุรีสุขบท ได้รับ รางวัลโล่เกียรติยศพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ระดับประเทศ เมื่อปีการศึกษา 2549 ต่อมาได้รับการประเมิน ในปีการศึกษา 2550 ให้ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กิตติคุณ “ประโยชน์สุขแห่ง มหาชน” เป็นปีแรก เพราะยังคงมีการดำ�เนินการและพัฒนา ขยายผลโครงงานอย่างต่อเนื่อง 3-4 ปี สร้างสรรค์ประโยชน์สุข แก่ชุมชนสังคมได้อย่างกว้างขวาง

สนใจรายละเอียดติดต่อได้ที่ • กลุ่มเมตตาธรรม โรงเรียนชลบุรีสุขบท ต.บางทราย อ.เมือง จ.ชลบุรี โทร. 08 4086 8858 • Facebook : กลุ่มรักษ์สัตว์ รักษ์สังคม โรงเรียนได้จัดทำ�วีดิทัศน์ให้ความรู้เรื่องการดูแลสัตว์เลี้ยงเผยแพร่ แก่ผู้สนใจ หรือผ่านทางเว็บไซต์ www.raksat.com • ขอขอบคุณ โครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ “เยาวชนไทย ทำ�ดี ถวายในหลวง” www.moralproject.com ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

25


จิตอาสา

โดย กองบรรณาธิการ

จุดเริ่มต้นภารกิจส�ำคัญ

ไทยออยล์ต่อยอดโครงการพลังงานสะอาด เปิ ด โอกาสการเรี ย นรู ้ ใ ห้ กั บ ชาวดอย เพื่ อ ความยั่ ง ยื น ของชุ ม ชนและสั ง คม

...ย้อนเวลากลับไปเมื่อปี 2552 เครือไทยออยล์ได้ร่วมกับส�ำนักงานโครงการ พัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มูลนิธิ พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พัฒนาโครงการ โรงไฟฟ้าพลังน�้ำชุมชนห้วยปูลิง ขนาดก�ำลังการผลิต 22 กิโลวัตต์ โดยในเบื้องต้นสามารถ จ่ายไฟฟ้าให้หมู่บ้านใกล้เคียงได้เพียงหมู่บ้านเดียว เครือฯ จึงได้ช่วยขยายสายส่งไฟฟ้าไป ยังอีก 2 หมู่บ้านในละแวกใกล้เคียง หลังจากได้มโี อกาสเยีย่ มชมพืน้ ทีโ่ ครงการขยายสายส่งไฟฟ้า คณะผูบ้ ริหารเครือไทยออยล์ พบว่าโรงเรียนบ้านขุนยะ ศูนย์กลางการศึกษาในชุมชนนีก้ ลับมีเพียงไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ทีต่ ดิ ๆ ดับ ๆ ตามสภาพภูมอิ ากาศแต่ละช่วง คุณครูให้เด็ก ๆ เขียนเรียงความและวาดภาพ ส่งถึงคุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร บริษทั ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) สะท้อนถึง ความจ�ำเป็นของไฟฟ้าต่อวิถีชีวิตและการเรียนหนังสือของพวกเขา

แสงสว่างจากสายน�้ำ...แสงสว่างแห่งปัญญา ปลายปี 2553 เครือไทยออยล์จึงได้ ต่อยอดขยายระบบสายส่งไฟฟ้าเพิม่ เติมมายัง โรงเรียนบ้านขุนยะ เพื่อหยิบยื่นโอกาสทาง การศึกษาให้เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขุนยะ แห่งนี้ อันเป็นการช่วยลดปัญหาความเหลือ่ มล�ำ้ ทางสังคม อีกทั้งยังท�ำให้การบริหารก�ำลัง การผลิ ต ของโรงไฟฟ้ า พลั ง น�้ ำ เป็ น ไปได้ อย่างเต็มประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้นเครือฯ และพนักงานยังได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียน หลังใหม่ทดแทนอาคารหลังเก่าทีอ่ ายุกว่า 35 ปี ซึง่ ปัจจุบนั มีสภาพช�ำรุด หากยังคงใช้งานต่อไป อาจเกิดอันตรายกับเด็กนักเรียนและคุณครู ผู้สอนได้ รวมทั้งได้มอบอุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบ อินเทอร์เน็ต รวมถึงระบบการศึกษาทางไกล ผ่านดาวเทียมให้กับโรงเรียนบ้านขุนยะด้วย “เมื่อก่อนหนูเรียนอาคารหลังเดิมนี้ค่ะ เวลาฝนตก หลังคามันรั่ว สมุดหนังสือเปียก หมด ต้องย้ายไปเรียนทีอ่ นื่ หนูดใี จแทนน้อง ๆ มากค่ะ เพราะไม่เคยมีใครมาสร้างโรงเรียนใหญ่ ๆ

26 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

แบบนี้ ใ ห้ กั บ พวกหนู ค ่ ะ ตอนเรี ย นอยู ่ ที่ นี่ หนู ไ ม่ มี โ อกาสใช้ ค อมพิ ว เตอร์ พอหนู ไ ป เรี ย นต่ อ ที่ อื่ น ก็ ไ ม่ รู ้ เ รื่ อ ง ใช้ ไ ม่ เ ป็ น เลย... หนูอยากขอบคุณพี่ ๆ ไทยออยล์มากนะคะ” ด.ญ.จรรยา อุดมไพรวัลย์ ศิษย์เก่า โรงเรียนบ้านขุนยะ

“เหมือนฟ้าหลังฝนที่สดใสจริง ๆ ครับ เมือ่ บริษทั ไทยออยล์ฯ น�ำโดยคุณสุรงค์ บูลกุล ได้มโี อกาสมาเยีย่ มโรงเรียน เห็นความขาดแคลน ท่านจึงได้หยิบยื่นโอกาสทางการศึกษาให้กับ เด็กนักเรียน ท�ำให้โรงเรียนมีไฟฟ้า นักเรียนได้ อ่านหนังสือ ได้ท�ำการบ้าน ทบทวนบทเรียน หลังเลิกเรียน ส่วนในเวลากลางวันโรงเรียน ก็มีไฟฟ้าใช้ในการเรียนการสอน มีเครื่อง คอมพิวเตอร์เพื่อฝึกฝนในด้านการเรียน มี อาคารเรียนหลังใหม่ทสี่ วยงาม มัน่ คง แข็งแรง สามารถใช้ท�ำการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ และครูได้มีก�ำลังใจในการสั่งสอนลูกศิษย์ให้ เป็นคนดี เป็นคนเก่ง ได้เรียนรูอ้ ย่างมีความสุข” คุณประวิทย์ ก้อนสุรินทร์ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนบ้านขุนยะ


พนักงานจิตอาสา...สารพัดช่างชาวไทยออยล์ อาคารเรียนหลังใหม่สีฟ้าสดใสตาม สีประจ�ำโรงเรียนตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลาง ขุนเขา แบ่งออกเป็น 4 ห้อง คือ ห้องเรียน 2 ห้อง ห้องคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง และห้องพักครู 1 ห้อง พร้อมระเบียงด้านหน้า พนักงานจิตอาสา จากหลากหลายส่ ว นงานภายใต้ ร ่ ม เครื อ ไทยออยล์เดียวกัน ต่างมาร่วมกิจกรรม CSR ของบริษัทฯ ด้วยความเสียสละและตั้งใจจริง แม้จะต่างทีม่ า แต่ไม่ตา่ งอุดมการณ์ ช่วงระยะ เวลาสัน้ ๆ เพียง 3 วันทีไ่ ด้มาพ�ำนักและท�ำงาน ร่วมกัน กินข้าวหม้อเดียวกัน ณ โรงเรียน บ้านขุนยะแห่งนี้ได้หล่อหลอมความสามัคคี เป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน และยังพิสูจน์ให้เห็น ว่าพนักงานไทยออยล์ไม่เพียงแต่เชี่ยวชาญ เรื่องการผลิตพลังงานหรือการกลั่นน�้ำมัน เท่านัน้ แต่ยงั มีความเชีย่ วชาญงานด้านอืน่ ๆ ด้วย อาทิ งานเทปู น ลานอเนกประสงค์ ห น้ า อาคารเรียน ขนาดพืน้ ที่ 140 ตารางเมตร อาจ เสร็จเรียบร้อยสวยงามภายในครึ่งวันหากอยู่

บนพืน้ ราบ แต่บนยอดเขาสูงแห่งนีท้ กี่ ารขนส่ง เป็นไปด้วยความยากล�ำบาก โครงการประสบ ปัญหาการขาดตอนขนส่งวัสดุกอ่ สร้าง เพราะ รถขนส่งขึ้นไม่ได้ เนื่องจากฝนตก ถนนลื่น ปัญหาการสือ่ สารทีไ่ ม่เข้าใจกันระหว่างชาวเขา กับชาวเล ทีมงานต้องอาศัยทั้งฝีมือช่าง และ วาทศิลป์ในการโน้มน้าวให้พนี่ อ้ งชาวบ้านขุนยะ เข้าใจ ร่วมแรงร่วมใจกัน ส่งผลให้งานเสร็จทัน เวลาและออกมาดีเกินความคาดหมาย งานติ ด ตั้ ง ป้ า ยอาคารและประกอบ เก้าอี้ พนักงานอาสาสมัครไทยออยล์ช่วยกัน ประกอบเก้าอี้ที่ท�ำจากไม้ไผ่ส�ำหรับแขกที่จะ มาร่วมงานพิธเี ปิดอาคารเรียน และติดตัง้ ป้าย อาคาร 50 ปีไทยออยล์ รวมทั้งยังได้ช่วยกัน เปลี่ยนผ้าปูโต๊ะในโรงอาหารของโรงเรียนที่มี สภาพช�ำรุด งานปลูกต้นไม้เป็นรั้วโรงเรียน เพื่อให้ ร่มเงา และส่วนหนึง่ ใช้เป็นผักสวนครัวส�ำหรับ อาหารกลางวันของเด็ก ๆ ได้ งานนี้เป็นอีก งานที่ส�ำเร็จลงได้ด้วยพลังแห่งความร่วมมือ ระหว่ า งพนั ก งานจิ ต อาสาเครื อ ไทยออยล์ โดยเฉพาะพนักงานสาว ๆ และชาวบ้านขุนยะ นอกจากนั้นยังได้ช่วยกันตกแต่งสวนหย่อม

บริเวณป้ายอาคารเรียนและปรับปรุงภูมิทัศน์ รอบๆ อาคารเรียนด้วย งานทาสีราวกันตก และระบายสีภาพ ธรรมชาติขา้ งอาคารเรียน พนักงานและน้อง ๆ นักเรียนบ้านขุนยะได้ชว่ ยกันแต่งแต้มสีสนั สดใส ให้กับอาคารหลังใหม่ด้วยภาพดอกไม้ ผีเสื้อ ต้นไม้ พร้อมกับได้ช่วยกันทาสีราวกันตก บริ เ วณระเบี ย งอาคารเรี ย นหลั ง ใหม่ อ ย่ า ง ขะมักเขม้น ท�ำให้ผนังอาคารเรียนมีชีวิตชีวา ขึ้นทันตา งานติดตั้งอุป กรณ์การเรียน ติดตั้ง เครือ่ งคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ต รวม ถึงระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่ ต้องอาศัยวิชาตัวเบา เพราะต้องปีนหลังคา อาคารเรียน เพื่อเดินสายลงมายังห้องเรียน และห้องคอมพิวเตอร์ โดยมุ่งหวังว่าระบบ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมและระบบ อินเทอร์เน็ตนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการ ศึกษาและเปิดโลกทรรศน์แห่งการเรียนรู้ให้ กับเด็ก ๆ ในพื้นที่ได้

โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ของทุกคนในชุมชน เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2554 คุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคุณสมชัย วงศ์วฒั นศานต์ ผูช้ ว่ ยกรรมการอ�ำนวยการ ด้านบริหารองค์กร บริษทั ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย คุณวิทูรย์ วังตาล ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 6 คุณสุวพร ศิริคุณ ผู้อ�ำนวยการมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม คุณกอชิ เพชรไพรพนาวัลย์ นายกเทศมนตรีเทศบาลต�ำบลบ้านหลวง คุณสันติพงษ์ พรมมาโนช นักจัดการในพระองค์ โครงการฟาร์มตัวอย่างในพระราชด�ำริ บ้านขุนแตะ คุณประวิทย์ ก้อนสุรินทร์ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนบ้านขุนยะ ได้ร่วมกันเปิดอาคารเรียนหลังใหม่ โดยให้ชื่อว่า อาคาร 50 ปีไทยออยล์ ในโอกาสก้าวสู่การด�ำเนินงานปีที่ 50 ของบริษัทฯ พร้อมมอบอุปกรณ์ การเรียนและอุปกรณ์กีฬาให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านขุนยะ โดยมีชาวบ้าน พนักงาน และ สือ่ มวลชนร่วมงานเป็นจ�ำนวนมาก ในโอกาสนี้ คุณสุรงค์ บูลกุล ได้กล่าวถึงโครงการในครัง้ นีว้ า่

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

27


“ไทยออยล์เราร่วมท�ำประโยชน์ให้กับชุมชนทั้งที่อยู่ใกล้กับบริษัทฯ และ ชุมชนที่ห่างไกล เพราะเราเป็นพี่น้องคนไทยด้วยกัน โครงการลักษณะนี้จะ เป็นตัวอย่างให้กับหน่วยงานอื่นในการท�ำงานเพื่อชุมชน เป็นการลงทุนด้วย ก�ำลังใจ ก�ำลังกาย มากกว่าลงทุนด้วยก�ำลังเงินครับ ความสุขที่ได้ เกิดจาก การเห็นชาวบ้านมีความสุข ผมเรียกว่าได้บุญทันใจ โครงการนี้เรียกง่าย ๆ ว่า ‘น�้ำไหลลง ไฟไหลขึ้น’ เรามีไฟฟ้าซึ่งผลิตได้จากน�้ำตก ที่ไหลลงมาจากดอยอินทนนท์ หลังจากที่น�้ำตกได้พัดผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว ก็จะไหลลงสู่เบื้องล่าง เป็นปกติ ไม่มกี ารท�ำลายสิง่ แวดล้อม ไฟฟ้าทีไ่ ด้ประมาณ 22 กิโลวัตต์ได้กระจายมาถึงหมูบ่ า้ นทีส่ อง แล้ว วันนี้เองเป็นโครงการต่อเนื่องที่จะเอาไฟฟ้าขึ้นมาให้หมู่บ้านบน โดยสรุปกันว่าต้องให้ไฟกับ ลูกหลานซึ่งเป็นอนาคตของเราได้ใช้ไฟฟ้าก่อน ผมเห็นว่าการลงทุนลักษณะนี้เป็นการลงทุนระยะยาว เป็นการให้แบบไม่มีที่สิ้นสุด เราไม่ได้ให้ ตัวโรงเรียนหรืออาคาร แต่เราให้การศึกษา ให้ความรู้ ให้โอกาส ให้ความยั่งยืน ท�ำให้ชาวบ้านบนดอย มีโอกาสได้รบั รูข้ า่ วสาร รับรูถ้ งึ การเปลีย่ นแปลงของโลก ท�ำให้คณุ ภาพชีวติ ดีขนึ้ โครงการยังได้ถา่ ยทอด ความรูเ้ พือ่ ให้ชมุ ชนสามารถบริหารจัดการโรงไฟฟ้าพลังนำ�้ ได้ดว้ ยตนเอง ชาวบ้าน ที่ยังขาดโอกาสจะได้มีโอกาสพัฒนาตัวเอง พัฒนาสังคมและพัฒนาองค์ความรู้ ไปสู่ชุมชนส่วนรวม ครั้งนี้ถือเป็นการให้เริ่มต้น ที่เหลือคือพี่น้องบ้านขุนยะต้อง ช่วยสนับสนุนโรงเรียน สนับสนุนให้บุตรของท่านได้มีโอกาสได้รับการศึกษา ขอให้ท่านจงใช้ประโยชน์ตรงนี้อย่างเต็มที่และสูงสุดเพื่อส่วนรวมนะครับ”

แสงสว่างจากสายน�้ำ...เพื่อความยั่งยืนของชุมชน ในฐานะบริษทั อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ส�ำนึกในบทบาทความรับผิดชอบที่พึงมีต่อ สังคม เครือไทยออยล์จึงน�ำประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ ด้านพลังงานที่สั่งสมมายาวนานกว่า 50 ปี ไปสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็น รากฐานที่ส�ำคัญยิ่งของสังคม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งชุมชนท้องถิ่นที่ห่างไกลจากระบบ สาธารณูปโภคของรัฐ เพือ่ ลดความเหลือ่ มล�ำ้ ระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบท เพราะ ด้วยตระหนักดีวา่ การพัฒนาทีแ่ ท้จริงนั้นต้อง เริ่มจากฐาน

โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ของไทยออยล์ มุง่ เน้นการน�ำพลังงานทีม่ อี ยูใ่ น ธรรมชาติหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของ แต่ละพื้นที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ สอดคล้อง กับความต้องการของแต่ละชุมชน แทนการ ปล่อยทิ้งไปโดยสูญเปล่า รวมถึงการส่งเสริม การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี เป้ า หมายให้ ชุ ม ชนในพื้ น ที่ ห ่ า งไกลที่ ข าด โอกาสทางสังคมสามารถใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรในชุมชนของตนเอง เรียนรู้การ บริหารจัดการทรัพยากรของตนเอง และดูแล ปกป้องทรัพยากรของตนเองได้ เพื่อยกระดับ

ความเป็ น อยู ่ ท างสั ง คมหรื อ คุ ณ ภาพชี วิ ต ให้ดขี นึ้ และสร้างความเข้มแข็งและความยัง่ ยืน ให้กบั ชุมชน เมือ่ จ�ำนวนมากขึน้ จะท�ำให้สงั คมไทย เข้มแข็งและยั่งยืนตามไปด้วย โครงการพั ฒ นาโรงไฟฟ้ า พลั ง น�้ ำ ชุมชนและโรงเรียนบ้านขุนยะนั้น ไม่เพียง แต่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของ เด็กนักเรียนและคุณครูโรงเรียนบ้านขุนยะ เท่านัน้ ในอนาคตโรงเรียนบ้านขุนยะแห่งนีจ้ ะ พัฒนาเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของทุกคนใน ชุมชน...เพื่อชุมชน...และโดยชุมชนตลอดไป

ผลิตพลังงานที่เป็นมิตร กลั่นความคิดเพื่อสังคมไทย

28 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554


“น�ำ้ มัน” เป็นพลังงานทีใ่ ช้แล้วหมดไป เราต้องช่วยกันประหยัดเพือ่ จะได้มนี ำ�้ มัน

ลับสมองลองเล่นเกม โดย กองบรรณาธิการ

รถควันด�ำ

ไว้ใช้ต่อไปในอนาคต แต่คนขับรถยนต์เหล่านี้ก�ำลังต้องการค�ำแนะน�ำดี ๆ ของเราอยู่ค่ะ เพื่อน ๆ คนไหนทราบวิธี ก็ให้โยงเส้นจับคู่รถยนต์เจ้าปัญหา และวิธีประหยัดน�้ำมันเข้า ด้วยกัน ...แล้วทุกคนก็จะทราบว่าการขับรถให้ประหยัดพลังงานนั้นไม่ยากเลยค่ะ ....

คันเดียว คนเดียว

ทางเดียวกัน ไปด้วยกัน

ดับเครื่อง

หลงทางตลอด

จอดติดเครื่องนาน ๆ

แผนที่น�ำทาง

ตรวจเช็กสภาพ

ถ่ายเอกสารและส่งคำ�ตอบชิงรางวัลได้ที่ แผนกกิจการเพื่อสังคมและแบรนด์องค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานกรุงเทพฯ เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2554 ชือ่ ................................................. นามสกุล .....................................................................ทีอ่ ยู...่ ............................................ .............................................................................................................................................................................................. ...............................................................................................................................................................................................

เฉลยเกมฉบับที่แล้ว

“เติมชือ่ ใต้ภาพ สิง่ มีชวี ติ ใต้ทะเล”

ปลาสิงโต

ปะการังอ่อน

ปลาการ์ตนู

ปะการังเขากวาง

ปลาผีเสือ้

ปลาปักเป้า

ขอแสดงความยินดีกับผู้ตอบคำ�ถามได้ถูกต้อง และโชคดีจากการจับฉลากรายชื่อ ดังนี้ 1. คุณกนกวรรณ สุวรรณประเทศ 2. ด.ญ.ดิฑธิตา ทรงคงดวงดี 3. คุณนฤมล วงศ์กัลยา 4. คุณปรียกร สิทธิ 5. คุณไพศาล แก้วพลงาม 6. ด.ช.ภาคภูมิ ขวัญอ่อน 7. คุณมณฑา เรืองเดช 8. คุณเลิศณรงค์ ธัญญะกิจ 9. คุณศรีรัตน์ ตันติวงศ์ 10. คุณสุพรรณิการ์ จำ�นง ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554

29



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.