Chomchon22

Page 1

จ�ลสารไทยออยลเพ�่อชุมชน ปที่ 4 ฉบับที่ 22 ประจำเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2556


กฐินสามัคคี ปี 2556

รวมใจชุมชนเป็นหนึ่งเดียว

อิม่ บุญอิม่ ใจไปกับจุลสารชุมชนของเราฉบับส่งท้ายปี 2556 ด้วยงานบุญ และกิจกรรมช่วยเหลือสังคมดีๆ ที่เครือไทยออยล์ร่วมกับเหล่าพี่น้องใน ชุมชนจัดขึ้นมา สร้างทั้งคุณประโยชน์ ความสนุกสนาน และความสามัคคี ให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น เรียกทั้งรอยยิ้มและความสุขกันถ้วนหน้าทีเดียว สำ�หรับจุลสารชุมชนของเราฉบับนี้ กองบรรณาธิการและทีมงานทุกคน ต่างมุ่งมั่นตั้งใจ นำ�เสนอสาระประโยชน์และกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นให้ ชาวชุมชนของเรารับทราบความเคลื่อนไหวแบบใกล้ชิดติดขอบกันเลย เริม่ ต้นด้วยคอลัมน์ เรือ่ งจากปก กับงานบุญ “กฐินสามัคคีเครือไทยออยล์ ปี 2556” ซึง่ แรงศรัทธาจากพีน่ อ้ งชุมชนทีม่ าร่วมงานเรียกได้วา่ แน่นขนัดวัด เช่นเดิมทุกปี ต่อมาเราจะพาไปดูพนักงานจิตอาสาเครือไทยออยล์ ซึ่งไป ร่วมสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้�ำ บ้านแม่โจ้ ที่ จ.เชียงใหม่ ในคอลัมน์ CSR โฟกัส พร้อมกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ� นอกจากนี้ เตรียมตัวแพ็คกระเป๋าไปเที่ยวช่วงวันหยุดสิ้นปีกับคอลัมน์ เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ AEC ซึ่งได้นำ�เสนอสถานที่ท่องเที่ยว ยอดนิยมติดอันดับ 1 ใน 3 ของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยฉบับนี้ขอพาไป 5 ประเทศแรกก่อน ได้แก่ ไทย เมียนมาร์ อินโดนีเซีย ลาว และกัมพูชา พร้อมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ดว้ ยคำ�อวยพรหลากหลายแบบจากคอลัมน์ เรียนภาษาอังกฤษกับครูแนน และสนุกสนานไปกับคอลัมน์ ลับสมอง ลองเล่นเกม ที่เรานำ�มาฝากเหมือนเช่นเคย สุดท้ายนี้ทีมงานจุลสารชุมชนของเรา ขอสวัสดีปีใหม่กับพ่อแม่พี่น้อง ทุกท่าน ขออำ�นาจสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ ง้ั หลาย โปรดดลบันดาลให้ชาวชุมชนของเรา ประสบแต่ความสุข ความเจริญ และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจาก ทุกข์โศกโรคภัยทั้งปวงตลอดปี 2557 เลยนะคะ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า เราสัญญาว่าจะนำ�สาระดีๆ มาฝากอีกเช่นเคย...สวัสดีปีใหม่ค่ะ

สารบัญ 3 เรื่องจากปก 6 ตามรอยพ่อ 8 รอบรั้วไทยออยล์ 11 บอกเล่าเก้าสิบกับศูนย์สุขภาพ 12 เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ AEC 14 เรียนภาษาอังกฤษกับครูแนน 15 ก้าวทันโลก 16 เคล็ดลับสุขภาพ 18 ปลอดภัยใกล้ตัว 19 CSR โฟกัส 22 ปราชญ์ชุมชน 24 ของดีบ้านเรา 26 รักษ์สิ่งแวดล้อม 28 เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน 30 ธรรมะ 31 ลับสมองลองเล่นเกม

บรรณาธิการ

จุลสารชุมชนของเรา เจ้าของ : บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) จัดทำ�โดย : แผนกบริหารงานชุมชน และ แผนกกิจการเพื่อสังคมและภาพลักษณ์องค์กร สำ�นักงานกรุงเทพฯ : เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0 2299 000, 0 2797 2999 โทรสาร 0 2797 2974 โรงกลั่น : เลขที่ 42/1 หมู่ที่ 1 ถนนสุขุมวิท กม.ที่ 124 ตำ�บลทุ่งสุขลา อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ : 0 3840 8500, 0 3835 9000 โทรสาร 0 3835 1554, 0 3835 1444 ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน : เลขที่ 163/84 หมู่ที่ 7 ถนนสุขุมวิท กม.ที่ 124 ตำ�บลทุ่งสุขลา อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ 0 3835 5028-31

2 ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556


บันทึกกฐินเครือไทยออยล์

เรื่องจากปก

โดย กองบรรณาธิการ

2556

ฉันเป็นนักเดินทางผู้ผ่านมาพบกับความประทับใจและผ่านไปโดยไม่อาจลืม สิ่งที่ได้พบเห็นจากงานกฐินสามัคคีเครือไทยออยล์กับชุมชน ปี 2556 ที่วัดมโนรม เมือ่ วันที่ 1 และ 2 พฤศจิกายน 2556 ทีมงานอันประกอบด้วยเจ้าจุก ช่างภาพ เจ้านัทและฉันมีโอกาสมาชมความสามัคคีของพี่น้องชุมชน และเครือไทยออยล์ในการทอดกฐินสามัคคี ณ วัดมโนรม ริมถนน สุขุมวิท เยื้องกับโรงกลั่นไทยออยล์ เจ้านัทบอกฉันช่วยจอดรถตรง สี่แยกไฟแดงอ่าวอุดมรับ “พี่เข้” ไปด้วย ครั้นเห็นฉันทำ�หน้างงๆ แถม ด้วยแววตาทีค่ าดคัน้ เจ้านัทสาวงามก็บอกฉันว่า พีห่ นุม่ ประมงทีเ่ จอกัน ที่ร้านป้าพัดตอนไปกินปลาหมึกน้�ำ ดำ�นั่นไง เจ้าจุกหัวเราะคิกคักตาม ประสาคนทะเล้น ส่วนฉันเพิ่งถึงบางอ้อว่าเจ้านัทกับพี่เข้คนหล่อแห่ง บ้ า นอ่ า วอุ ด มคงจะมี ก ารสานสั ม พั น ธ์ เ พิ่ ม เติ ม จนรู้ จั ก ชื่ อ เสี ย ง เรียงนามและนัดหมายให้มารอรถทีฉ่ นั ขับมา ฉันเลยมีทมี งานเพิม่ เติม ขึน้ มาอีกหนึง่ คน และมีประโยชน์ตรงทีเ่ ป็นคนพืน้ ทีท่ ง้ั ยังบวชเรียนมาแล้ว คงช่วยให้ค�ำ ปรึกษาเราได้ในเรื่องประเพณีทางพุทธศาสนา เมื่อขับรถไปถึงสี่แยกไฟแดงอ่าวอุดมเวลาประมาณบ่ายสี่โมง ฉันเห็นพี่เข้โบกมือให้จอดรถชิดขอบทางและรายงานข่าวทันทีว่า พี่น้องชุมชนกำ�ลังจัดขบวนแห่เครื่องกฐินบริเวณนั้นไปตั้งองค์กฐินที่ ศาลาการเปรียญ มีวงกลองยาวและขบวนนางรำ�ของพี่น้องในชุมชน นำ�หน้า เจ้าจุกคว้ากล้องถ่ายภาพลงไปทำ�หน้าที่ตามถนัด โบกไม้ โบกมือให้ฉันขับรถไปวัดได้เลย เพราะตัวเองต้องเกาะติดขบวนแห่ ไปเรือ่ ยๆ พีเ่ ข้บอกว่าเย็นนีไ้ ปกินข้าวทีว่ ดั ได้ เพราะพระอาจารย์เจ้าอาวาส พระครูอาทรพัฒนาภิรมย์ให้ญาติโยมเปิดโรงครัวทำ�อาหารเลีย้ งเต็มที่ และพรุ่ ง นี้ มี พ่ี น้ อ งชุ ม ชนนำ � อาหารมาออกร้ า นรั บ รองผู้ ร่ ว มงาน จำ�นวนมาก หลังจากกิจกรรมสวดมนต์บนศาลาการเปรียญหลังตัง้ องค์กฐินเสร็จ ฉันเดินไปบริเวณเวทีแสดงของนักเรียนเพื่อสืบสานวัฒนธรรมและ ประเพณีทอ้ งถิน่ ปีนนี้ กั เรียนโรงเรียนวัดมโนรมและโรงเรียนบุญจิตวิทยา

ร่วมกันแสดงบนเวที ฉันทึ่งมากกับฝีมือของนักเรียนทั้งสองโรงเรียน เพราะการแสดงมี ค วามสง่ า งามและคึ ก คั ก ชวนให้ ติ ด ตามโดย ไม่กระพริบตา การแสดงของนักเรียนโรงเรียนบุญจิตวิทยาเป็นนาฏศิลป์ ชุด “สยามไอยรา” กับ “กลองยาวอินดี้” ชุดแรกบอกความสัมพันธ์ของ คนกับช้าง ส่วนชุดที่สองเป็นกลองยาวประยุกต์มลี กั ษณะไทยกับสากล ผสมกัน ตอนท้ายมีโปงลางเข้ามาผสมด้วย สำ�หรับการแสดงของนักเรียน โรงเรียนวัดมโนรมนัน้ มีนาฏลีลาประกอบร้องเพลงชือ่ ชุด “น้�ำ ตาแสงไต้” และ “แหล่สก่ี ษัตริยเ์ ดินดง” หมายถึงพระเวสสันดร พระนางมัทรี กัณหา ชาลี มีร้องเพลงสากลและนาฏศิลป์ชดุ “รากไทย” แสดงถึงความสำ�คัญ ของวัฒนธรรมไทยกับชุด “ระบำ�ฉิง่ ” อันเป็นนาฏศิลป์ทอี่ อ่ นช้อยงดงาม ร่ายรำ�เปลี่ยนท่าโดยใช้ฉิ่งให้จังหวะเป็นสัญญาณ ฉันสามารถกล่าวได้ เต็มปากเต็มคำ�ว่าทัง้ สองโรงเรียนสุดยอดจริงๆ พีเ่ ข้พาเจ้านัทกับฉันเข้าไปรับประทานอาหารทีโ่ รงครัวก่อนกลับมา ชมรำ�วงพื้นบ้านที่เวทีหลังอุโบสถ กับข้าวฝีมือแม่ครัวชุมชนอร่อยมาก มีทง้ั น้�ำ พริก แกงจืด แกงเผ็ด ไข่พะโล้ครบเครื่อง เป็นอาหารแบบไทยๆ ทัง้ อาหารทะเลและอาหารทัว่ ไป พีเ่ ข้อธิบายถึงวิถชี วี ติ ของพีน่ อ้ งชุมชน วัดมโนรมกับชุมชนบ้านทุ่งว่าเป็นเครือญาติคนบ้านเดียวกันในอดีต ต่อมามีถนนสุขุมวิทตัดผ่านจึงแยกชุมชนออกเป็นสองส่วน สองชุ ม ชนนี้ จึ ง มี ส่ ว นหนึ่ ง ประกอบอาชี พ ทางทะเล ส่วนทีเ่ หลือประกอบอาชีพอืน่ ๆ อาหารการกินจึงมีทงั้ วัฒนธรรมน้�ำ จืดและน้�ำ เค็ม ในงานพีเ่ ข้แนะนำ�ให้ฉนั รูจ้ กั ประธานชุมชนรอบเครือไทยออยล์ซึ่งมาช่วยงานกัน ทุกชุมชน ทำ�ให้ฉนั ได้เห็นความกลมเกลียวของชาวชุมชน และความรักความชืน่ ชมทีเ่ ขาเหล่านัน้ มีตอ่ เครือไทยออยล์

ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556 3


คุณเกรียงไกร นาคะพงศ์ ผู้จัดการแผนกบริหารงาน ชุมชนไทยออยล์ บอกกับทีมงานฉันว่า “กฐินไทยออยล์กับ ชุมชนเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกปีเพื่อแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคมในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ ในงานกฐินจะมีการ สืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม ดังการแสดงนาฏศิลป์ บนเวทีโดยนักเรียนจากโรงเรียนวัดมโนรมซึ่งอยู่ในชุมชน วัดมโนรม และโรงเรียนบุญจิตวิทยาซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน ในเขตชุมชนบ้านทุ่ง นอกจากนี้ยังมีการแสดงรำ�วงพื้นบ้าน ซึง่ ปัจจุบนั ได้จดทะเบียนเป็นชมรมสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง เรียบร้อยแล้ว” โดย คุณวิศิษฐ์ พุทธตรัส ประธานชุมชน บ้านทุง่ เป็นหัวเรือใหญ่และทางเครือไทยออยล์ให้การสนับสนุน สาวงามประจำ�เวทีรำ�วง ได้แก่ คุณป้า คุณพี่ คุณน้องที่ อยู่ในชุมชน ดังนั้นการรำ�วงที่เวทีของชมรมฯ จึงเป็นรำ�วงที่ บริสุทธิ์ปราศจากการเอาเปรียบทางเพศ แต่มุ่งหารายได้ เพื่อ การกุ ศ ลเป็ น หลั ก ปั จ จุ บั น คุ ณ ณรงค์ พ ล พู ล ผล เป็นประธานชมรม ได้นำ�รำ�วงประยุกต์มาสอดแทรกบ้าง เพือ่ ให้เกิดความสนุกสนานและชักจูงคนวัยใสและวัยหนุม่ สาว เข้ามาร่วม เช้าวันรุ่งขึ้นเจ้าจุกตามไปที่ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ เครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชน เพื่อเก็บภาพการทำ�บุญตักบาตร ข้าวสารอาหารแห้ง ส่วนเจ้านัทนัน้ พีเ่ ข้มารับไปร่วมตักบาตร กับเขาด้วย ทัง้ เจ้าจุกกับเจ้านัทบอกว่าแล้วจะไปสมทบกับฉัน

ที่วัดมโนรมตอนสายๆ เอง ฉันขับรถไปถึงวัดประมาณ 8.30 น. พบว่าเริ่มมี พี่น้องสาธุชนนำ�อาหารที่เตรียมไว้สำ�หรับรับรองผู้มาร่วมงานแล้วกว่า 30 ซุม้ ทีเ่ ต็นท์อ�ำ นวยการ ลุงใหญ่ นายสถานีวทิ ยุชมุ ชนของเทศบาล เข้ามานัง่ ทำ�หน้าที่ เป็นโฆษกประจำ�งาน และสักพัก คุณครูเรียม ชัยมะโน อดีตครูโรงเรียนวัดมโนรม ก็มาถึงพร้อมกับคุณครูทา่ นอืน่ ๆ เพือ่ ช่วยงานธุรการ มีเสียงดนตรีจากวงดุรยิ างค์ ของโรงเรียนวัดมโนรมนำ�นักกีฬาจากชุมชนและเครือไทยออยล์เข้าสู่สนาม การประลองกีฬาพื้นบ้าน ประเภทของกีฬาพื้นบ้านที่จะแข่งขันกันนั้นทาง คุณสมศักดิ์ ถนอมรอด ประธานชุมชนวัดมโนรมและ คุณวิศิษฐ์ พุทธตรัส ประธานชุมชนบ้านทุ่งพร้อมกับกรรมการชุมชนเป็นผู้คัดสรรมา ผูร้ ว่ มงานต่างเดินกันไป ตามซุ้ ม อาหารเพื่ อ หา ของถู ก ใจรั บ ประทาน และทักทายปราศรัยกัน ฉันเดินวนชมพักใหญ่พบ คุณยายสอน กฤษณะภูติ แห่งชุมชนบ้านทุ่งผู้มีฝีมือ ในการทำ�อาหารและเป็นแม่ครัวให้วัดมานานเป็น สิบๆ ปี วันนี้ลูกหลานคุณยายช่วยกันนำ�เกี๊ยวน้ำ� และก๋วยเตี๋ยวมาบริการ สูตรปรุงน้ำ�ก๋วยเตี๋ยวเป็น ของคุณยาย ท่านยังเชิญชวนให้ฉนั ชิมฟักทองแกงบวด โดยชี้แจงว่าเป็นฟักทองที่ปลูกในวัด แก่จัดได้ที่พอดี จึงนำ�มาทำ�ขนม เป็นฟักทองที่เนื้อเหนียวนุ่ม จากนั้น ฉันจึงแวะไปซุม้ ขนมกวนแฟงซึง่ เป็นขนมทีม่ ตี น้ กำ�เนิดจากชุมชน เสียงโฆษกประกาศชือ่ ผูม้ าร่วมงานมีรองนายกเทศมนตรีฯ คุณสันติ ศิรติ นั หยง รองนายกเทศมนตรีฯ คุณสุขมุ อินแดง ท่านสมาชิกสภา อบจ.ชลบุรี คุณอัมพล บุญชอบ แขกผูม้ เี กียรติและผูใ้ หญ่ของบริษทั ฯ ต่างพร้อมกันบนศาลาการเปรียญ เพื่อถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ พร้อมทั้งรับประทานอาหารกลางวัน ก่อนพิธีถวายผ้ากฐิน โดย คุณอภินันท์ สุภัตรบุตร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่

4 ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556


ด้านการกลัน่ และปิโตรเคมีเป็นประธาน เมือ่ คืนก่อนตอนพิธสี งฆ์บนศาลาการเปรียญ คุณอภินันท์มาเป็นประธาน ผู้ใหญ่ท่านอื่น ได้แก่ คุณสมชัย วงศ์วัฒนศานต์ รองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ดา้ นกลยุทธ์องค์กร คุณวิโรจน์ มีนะพันธ์ ผูช้ ว่ ยกรรมการ ผูจ้ ดั การใหญ่ดา้ นกำ�กับกิจการองค์กร คุณยุทธนา ภาสุรปัญญา ผูช้ ว่ ยกรรมการ ผูจ้ ดั การใหญ่ดา้ นการผลิต ซึง่ มาร่วมตักบาตรทีศ่ นู ย์สขุ ภาพฯ ตัง้ แต่เช้า คุณไมตรี เรีย่ วเดชะ ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ดา้ นประสิทธิภาพการผลิต และยังมีผใู้ หญ่ อีกหลายท่านบนศาลาการเปรียญ มีวงดนตรีไทยของโรงเรียนบุญจิตวิทยาช่วยบรรเลง สร้างบรรยากาศแห่งงานบุญ ก่อนการนำ�ผ้ากฐินและ เครือ่ งประกอบอืน่ ๆ ไปถวาย ในอุ โ บสถนั้ น มี ก ารมอบ ถ้วยรางวัลกีฬาสามัคคีให้กับ นักกีฬาสมัครเล่นทัง้ ทีมชุมชน วัดมโนรม ชุมชนบ้านทุง่ และ ทีมเครือไทยออยล์ จากนั้น วงดุริยางค์นักเรียนโรงเรียน วัดมโนรมนำ�ขบวนแห่ไปส่ง ยังอุโบสถแล้ววงกลองยาวชุมชนรับช่วงต่อนำ� เครือ่ งกฐินแห่รอบอุโบสถ ดำ�เนินพิธจี นแล้วเสร็จ จึงกลับมาที่เต็นท์อำ�นวยการ เพื่อถวายผ้าป่า หางกฐินของโครงการผลิตสารตัง้ ต้นผลิตภัณฑ์ ทำ�ความสะอาดและซักล้างของเครือไทยออยล์ ผ้าป่ากองนีม้ พี น่ี อ้ งชุมชนบ้านทุง่ ร่วมสนับสนุนปัจจัย สมทบด้วย พี่เข้ในฐานะคนเคยบวชเรียนมาแล้วอธิบายให้ฉันฟังว่างานทอดกฐินนั้น การได้ปจั จัยถวายวัดเท่าไรเป็นเรือ่ งรอง สิง่ สำ�คัญอยูท่ กี่ ารถวายผ้ากฐิน ในพุทธกาล หลังจากเข้าพรรษาซึ่งเป็นฤดูฝนนัน้ ผ้าครองของพระสงฆ์จะเปือ่ ยขาด การถวาย ผ้ากฐินก็เพื่อพระสงฆ์จะได้รับผ้าครองใหม่ทดแทนของเดิม ซึ่งนับเป็นบุญกุศลที่ ญาติโยมช่วยกันสร้าง กระนั้นการทอดกฐินของเครือไทยออยล์ในปีนี้สามารถ รวบรวมปัจจัยถวายวัดได้ 2,205,377.75 บาท ซึง่ ทางวัดจะนำ�ไปบูรณะซ่อมแซม อุโบสถทีด่ �ำ เนินการตั้งแต่ปีที่ผ่านมา

ประเพณี วัฒนธรรมไทยดังการแสดงของนักเรียน บนเวทีและการอนุรักษ์รำ�วงพื้นบ้านที่มีการร้องรำ� ทำ�เพลงอย่างถูกต้องตามจังหวะ การร่ายรำ�ทีฝ่ า่ ยชาย ฝ่ายหญิงให้เกียรติซึ่งกันและกัน ประการที่สาม คื อ ความเข้ ม แข็ ง ของคณะกรรมการชุ ม ชน คณะกรรมการวัดทีส่ ามารถผลักดันให้เกิดการแข่งขัน กีฬาพื้นบ้าน การออกร้านบริการอาหารสำ�หรับ ผู้ร่วมงาน รวมทั้งงานอื่นๆ โดยทั่วไปและประการ ที่สี่ ได้แก่ ความรักความผูกพันที่พี่น้องชุมชนมีให้ กับเครือไทยออยล์ เจ้านัทเพือ่ นฉันถามพีเ่ ข้วา่ ทำ�ไม ชุมชนรักเครือไทยออยล์ พี่เข้ตอบสั้นๆ ว่าเพราะ เครือไทยออยล์รักชุมชน ชุมชนกับเครือไทยออยล์ จึงรักกันเสมอต้นเสมอปลาย ระหว่างขับรถกลับ กทม. ฉันนัง่ นึกถึงสิง่ ทีพ่ บเห็น ในงานตลอดทาง ฉันเป็นเพียงผู้ผ่านทางมาพบกับ ความดีงามและเรือ่ งราวอันน่าประทับใจของพีน่ อ้ ง ชุมชน ฉันเห็นการประสานวิถชี มุ ชนเข้ากับวิถพ ี ทุ ธ และวิถธี รุ กิจเครือไทยออยล์ทม่ี คี วามรับผิดชอบต่อ ชุมชน จึงเกิดความสำ�เร็จทีย่ งิ่ ใหญ่ในงานกฐินสามัคคี ในการเดินทางทีไ่ ม่สนิ้ สุด ฉันอาจลืมเรือ่ งราวหลาย อย่าง แต่ฉนั ไม่มวี นั ลืมสิง่ ประทับใจทีฉ่ นั ได้สมั ผัสใน งานทอดกฐินสามัคคีของเครือไทยออยล์กับชุมชน ณ วัดมโนรม ในครั้งนี้ได้เลย

งานทอดกฐินสามัคคีจบสิน้ โดยสมบูรณ์แล้ว ฉันนึกถึงสิง่ ทีฉ่ นั ประทับใจทีไ่ ด้พบ สิง่ แรก ได้แก่ ความสามัคคีกลมเกลียวระหว่าง เครือไทยออยล์กบั ชุมชนซึง่ เห็นได้จาก การพร้อมใจมาร่วมงานทัง้ คืนฉลอง องค์กฐินและวันถวายผ้ากฐิน เรือ่ งทีส่ อง ได้แก่ การทอดกฐิน สามัคคีทมี่ ไิ ด้มสี าระแค่เพียง ทอดกฐิน แต่ยังมีเนื้อหาที่ สนั บ สนุ น ให้ มี ก ารสื บ สาน

ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556 5


ตามรอยพ่อ โดย ลูกคนเล็ก

ส.ค.ส. พระราชทาน

พรอันประเสริฐจากพ่อหลวง ทุกปีเมือ่ ใกล้เทศกาลปีใหม่ สิง่ ทีค่ นไทยทุกคน รอคอยคือ ‘คำ�อวยพร’ จากพระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ซึ่ ง พระราชทานให้ ค นไทย เป็นประจำ�ทุกปี นอกจากนีพ้ ระองค์ทา่ นยังทรง ประดิษฐ์บตั รอวยพร หรือ ส.ค.ส. พระราชทาน ให้กบั ข้าราชบริพารและประชาชน เพือ่ ความเป็น สิริมงคลของชีวิตก่อนเริ่มต้นศักราชใหม่ นอกจากความปลืม้ ปีตทิ พี่ ระเจ้าอยูห่ วั พระราชทานพรให้แล้ว ส.ค.ส. พระราชทานยังเปรียบเสมือนสายใยที่เชื่อมโยงความรัก ความผูกพันระหว่างพระเจ้าแผ่นดินกับประชาชนโดยตรง ทำ�ให้ พวกเราคนไทยทุกคนรับรู้ได้ว่า พระองค์ท่านทรงรักและห่วงใย พสกนิกรของพระองค์ท่านอยู่เสมอ

ส.ค.ส. พระราชทาน นอกจากจะมีขอ้ ความว่า “ขอจงมีความสุข ความเจริญ (ปี พ.ศ.) และ Happy New Year (ปี ค.ศ.)” แล้วพระเจ้าอยู่หัวยังพระราชทานข้อความซึ่งเป็นทั้งคำ�อวยพร และข้ อ ความที่ แ สดงความห่ ว งใยและเตื อ นสติ ค นไทยไว้ ใ น คราวเดียวกัน เช่น ส.ค.ส. พระราชทานปีล่าสุด พ.ศ. ๒๕๕๖ พระราชทานข้อความอวยพรปีใหม่วา่ “ความเมตตาเป็นคุณธรรม นำ�ความสุข ช่วยปลอบปลุกปรุงใจให้หรรษา ความกตัญญู รู้คุณผู้เมตตา ทวีค่าของน้ำ�ใจไมตรีเอย” เพราะพระองค์ท่าน ทรงเห็นถึงสภาพสังคมยุคปัจจุบันที่กำ�ลังเปลี่ยนไป จึงเตือนใจ ให้คนไทยทุกคนยึดมั่นในคุณธรรม ความดี มีความเมตตากรุณา และความกตัญญู เพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง ตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงประดิษฐ์ ส.ค.ส. ด้วยพระองค์เองและพระราชทานให้แก่ประชาชนมาโดยตลอด ยกเว้นปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ สึนามิ พระองค์ ทรงงานหนัก เพือ่ ช่วยเหลือประชาชนทีไ่ ด้รบั ความเดือดร้อนจาก ภัยพิบัติ จึงไม่มีเวลาประดิษฐ์ ส.ค.ส. พระราชทาน ในช่ ว งแรก ส.ค.ส. พระราชทานจะเป็ น ภาพขาว-ดำ � ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นในรูปแบบที่เรียบง่ายที่สุด สะท้อนให้เห็นถึง ความประหยั ด และมั ธ ยั ส ถ์ ข องพระเจ้ า แผ่ น ดิ น ไทย เมื่ อ เทคโนโลยีทันสมัยขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นมา ส.ค.ส. พระราชทานได้เปลี่ยนรูปแบบเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระองค์ท่านกับสุนัขทรงเลี้ยงในพระอิริยาบถต่างๆ มาจนถึง ปัจจุบัน

6 ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556


ข้อความใน ส.ค.ส. พระราชทานแต่ละปี จะประมวลขึน้ จากเหตุการณ์ บ้านเมือง เพื่อสะท้อนปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ประเทศไทยประสบ ในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากจะเป็นพรอันประเสริฐสุดจากพระเจ้า แผ่นดินแล้ว ยังซ่อนความหมายที่ลึกซึ้งไว้ใน ส.ค.ส. พระราชทานทุกปี เช่น ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ทรงกล่าวถึงปัญหาความขัดแย้ง การขัดแข้งขัดขากัน และให้แก้ปัญหาโดยใช้หัว คือ สมอง โดยภาพ ส.ค.ส. พระราชทาน ทรงประดิษฐ์เป็นรูปสัตว์ต่างๆ มีตั้งแต่สัตว์ไม่มีขา สองขา สี่ขา หกขา แปดขา จนถึงกิ้งกือที่มีหลายขา แต่ที่สร้างปัญหามากที่สุดคือ ทวิบาท หรือสัตว์สองขา คือ คน นั่นเอง โดยทั่วไปแล้ว ส.ค.ส. พระราชทานจะเป็นคำ�อวยพรให้พสกนิกรมี ความสุข และทรงทำ�ให้คนไทยเข้าใจความหมายของความสุขที่แท้จริง เช่น ส.ค.ส. พระราชทาน พ.ศ. ๒๕๓๒ มีขอ้ ความว่า “ปรารถนาดี ต่อกัน คือความสุข อนุเคราะห์ กันและกันคือความสุข ความยินดีคอื ความสุข ความสงบคือความสุข” ใน ส.ค.ส. พระราชทานยังแฝงไว้ด้วยคติธรรม มากมาย เช่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ทรงกล่าวถึงเรื่องความเพียรจากเรื่อง พระมหาชนกว่า “ถึงจะมองไม่เห็นฝัง่ เราก็ตอ้ งพยายามว่าย อยูท่ า่ มกลาง มหาสมุทร โภคะทั้งหลาย มิได้สำ�เร็จด้วยเพียงคิดเท่านั้น” และใน ส.ค.ส. พระราชทาน พ.ศ. ๒๕๔๐ ทรงกล่าวถึงพลังความคิดและให้คติ ในการพูด การคิด และการทำ�ว่า “คิดก่อนพูด พูดแล้วทำ� ทำ�หลังคิด คิดก่อนทำ� ทำ�แล้วพูด พูดหลังคิด” ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าปัญหาต่างๆ ล้วนเกิดจากคำ�พูดทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังทรงสะท้อนภาพสังคมผ่านทาง ส.ค.ส. พระราชทาน เช่น เรื่องปัญหาจราจรของคนกรุงเทพฯ ซึ่งทรงเตือนสติประชาชนเรื่อง การจราจรแฝงด้วยพระอารมณ์ขนั ว่า “ดูดๆ ี ปีทแี่ ล้ว ยิม้ บ้าง ไม่ยมิ้ บ้าง ปีนต้ี อ้ งยิม้ ต้องใจเย็น จรคือแล่น อะจรคือไม่แล่น จราจรคือแล่นบ้าง ไม่แล่นบ้าง” ในปี ๒๕๔๗ ทั่วโลกเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง มีระเบิดเกิดขึ้น ในหลายประเทศ ส.ค.ส. พระราชทานในปีนนั้ เป็นรูปแผนทีป่ ระเทศไทย และมีข้อความว่า “สามัคคีเป็นพลังค้ำ�จุนแผ่นดินไทย” และรอบๆ ประเทศไทยทรงเขียนข้อความว่า “มีระเบิดเกือบทัว่ โลก” ซึง่ สะท้อนให้ ถึงความห่วงใยของพระองค์ที่มีต่อสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน หลายประเทศ และทรงเชื่ อ มั่ น ว่ า ประเทศไทยจะรอดพ้ น ได้ ด้ ว ย ความสามัคคี

ตลอดระยะเวลา ๒๕ ปีทค ่ี นไทยได้รบั ส.ค.ส. พระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดิน ถือเป็นมงคลชีวต ิ ของคนไทยทุกคน จึงนับว่าคนไทยโชคดีทส่ี ดุ ในโลกที่ได้รบั ส.ค.ส. จากพระเจ้าแผ่นดิน เพราะเชือ่ ว่าคงไม่มป ี ระมุขของประเทศไหน ทีจ่ ะเสียสละเวลา ส่วนพระองค์ประดิษฐ์บต ั รอวยพร เพือ่ พระราชทานให้กบั ประชาชนด้วยพระองค์เอง ส.ค.ส. พระราชทานจึงเป็นสิง่ ทีง่ ดงามและมีคณ ุ ค่าทางจิตใจของคนไทยทุกคน

ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556 7


รอบรั้วไทยออยล์ โดย หน่วยกลั่นข่าว

สวดมนต์เย็นชำ�ระใจ ภายในหอพระ ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์ เพือ่ ชุมชนได้ประดิษฐาน “พระพุทธรัตนมงคลสกลประชานาถมุน”ี เพื่อให้ชุมชนกราบไหว้สักการะ ทั้งยังมีกิจกรรม “สวดมนต์เย็น ชำ�ระใจ” ทุกวันขึน้ 14 ค่�ำ ให้พทุ ธศาสนิกชนได้เข้ามาร่วมสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ สำ�หรับเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ที่ผ่านมาได้จัดกิจกรรมขึ้นในวันที่ 16 มีพี่น้องชุมชนรอบโรงกลั่น ที่มาร่วมสวดมนต์เย็นเป็นประจำ� และยังมีสมาชิกใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทุกครั้งจากการชักชวนของเพื่อนบ้าน โดยในปี 2557 ทางแผนก บริหารงานชุมชนจะนิมนต์พระภิกษุมาบรรยายธรรมะ หรือมีการ ฝึกนั่งสมาธิเป็นครั้งคราวต่อไป

มิตซุย มอบกระติกนํ้าโรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม สื บ เนื่ อ งจากการเยี่ ย มชมโรงกลั่ น ไทยออยล์ แ ละศู น ย์ สุ ข ภาพและ การเรียนรูเ้ ครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชนของผูบ้ ริหาร บริษทั มิตซุยแอนด์คมั ปนี จำ � กั ด ประเทศญี่ ปุ่ น ที่ มี ค วามประทั บ ใจในการต้ อ นรั บ อย่ า งอบอุ่ น จากนักเรียนโรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม ในวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา หลังพิธลี งนามความร่วมมือกับเครือไทยออยล์ในการร่วมทุนบริษทั ลาบิกซ์ จำ�กัด โรงงานผลิตสารตัง้ ต้นผลิตภัณฑ์ท�ำ ความสะอาดและสารซักล้าง และ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คุณซูซูมุ อูเนโนะ ประธานบริษัท มิตซุยแอนด์คัมปนี (ไทยแลนด์) จำ�กัด ได้มอบกระติกนํ้าดื่มให้กับนักเรียน โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอมเพื่อแสดงความขอบคุณ โดยมี คุณอภินันท์ สุภตั รบุตร รองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ดา้ นการกลัน่ และปิโตรเคมี คุณสุชาติ มัณยานนท์ กรรมการอำ�นวยการ บริษทั ลาบิกซ์ คุณสนธยา นาคปฐม ผูอ้ �ำ นวยการ โรงเรี ย นวั ด ใหม่ เ นิ น พยอม ประธาน คณะกรรมการชุมชน ให้การต้อนรับและ ร่วมพิธี ณ ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน

8 ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556


คัดกรองโรคธาลัสซีเมียชุมชนบ้านแหลมฉบัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2556 คุณจินดา ถนอมรอด นายกเทศมนตรี น ครแหลมฉบั ง ให้ เ กี ย รติ ก ล่ า วเปิ ด โครงการ ตรวจคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ในโครงการเวชศาสตร์ชมุ ชน ซึ่งเครือไทยออยล์ให้การสนับสนุนการตรวจคัดกรองฯ ถึงระดับ ดี เ อ็ น เอ โดยได้ รั บ ความร่ ว มมื อ จากเทศบาลนครแหลมฉบั ง โรงพยาบาลแหลมฉบังและศูนย์ธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลศิริราช ให้กับชุมชนบ้านแหลมฉบังที่มีอายุระหว่าง 15-35 ปี ณ โรงเรียน วัดแหลมฉบัง นับเป็นชุมชนที่ 3 ซึง่ ได้รบั การตรวจคัดกรองโรคเลือดจาง ธาลัสซีเมียที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้เข้ารับการตรวจ จะได้ ทราบว่าตนเองเป็นพาหะหรือเป็นโรคหรือไม่ เพื่อดูแลสุขภาพ ของตนเองและวางแผนครอบครัวในอนาคตได้

การชี้แจงมาตรการลดผลกระทบจาก การก่อสร้างโครงการ LAB เมือ่ วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2556 คุณสุชาติ มัณยานนท์ กรรมการ อำ�นวยการ บริษัท ลาบิกซ์ จำ�กัด คุณอะคิโนริ คุวาอูชิ ผู้ช่วยกรรมการ อำ�นวยการ-ด้านการตลาด ของ บริษัท ลาบิกซ์ จำ�กัด ผู้จัดการโครงการ บริษัท ฮุนไดเอนจิเนี่ยริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำ�กัด ที่ปรึกษาโครงการ แบคเทิ ล อิ น เตอร์ เ นชั่ น แนลอิ้ ง ค์ ได้ ใ ห้ ก ารต้ อ นรั บ คณะกรรมการ ชุมชนบ้านทุง่ ชาวชุมชนบ้านทุง่ และคณะกรรมการชุมชนเครือข่าย 7 ชุมชน รอบโรงกลัน่ ไทยออยล์ จำ�นวนกว่า 80 ท่าน เพือ่ แนะนำ�ผูบ้ ริหารฯ และแนะนำ� บริษทั ลาบิกซ์ จำ�กัด ทีจ่ ะผลิตสารตัง้ ต้นสารผลิตภัณฑ์ท�ำ ความสะอาดและ สารซักล้าง โดยกำ�ลังอยู่ในระหว่างการปรับพื้นที่เพื่อเตรียมการก่อสร้าง ซึง่ พืน้ ทีบ่ ริษทั ลาบิกซ์ จำ�กัด อยูใ่ นเขตพืน้ ทีข่ องชุมชนบ้านทุง่ พร้อมกันนี้ แผนกบริหารงานชุมชนได้ชี้แจงมาตรการลดผลกระทบจากการก่อสร้าง โครงการ ทำ�ให้ชาวชุมชนบ้านทุ่งและชุมชนใกล้เคียงเชื่อมั่นและพึงพอใจ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำ�เนินโครงการก่อสร้างต่อไป

ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556 9


เครือไทยออยล์เปิดบ้านต้อนรับ คณะผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการ เทศบาลนครแหลมฉบัง และ คณะกรรมการชุมชนทั้ง 23 ชุมชน เมือ่ วันพฤหัสบดีท่ี 28 พฤศจิกายน ทีผ่ า่ นมา เครือไทยออยล์ โดยคุณไมตรี เรี่ยวเดชะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ด้านประสิทธิภาพการผลิต บริษทั ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) และคณะผู้บริหารให้การต้อนรับคุณจินดา ถนอมรอด นายก เทศมนตรีนครแหลมฉบัง คณะผู้บริหารและหัวหน้าส่วน ราชการฯ รวมทั้งคณะกรรมการชุมชนทั้ง 23 ชุมชน และ สื่อมวลชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างชุมชน บริษทั ฯ และหน่วยงานภาครัฐ และสร้างความเข้าใจ ด้วยการแบ่งปันความรู้ด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมและ การพัฒนาชุมชน ตามนโยบายของบริษัทฯ ตลอดระยะเวลา การดำ�เนินงาน 52 ปี ของเครือไทยออยล์ ทีย่ ดึ หลักการดำ�เนิน ธุรกิจที่ดี มีหลักธรรมาภิบาลและดูแลรับผิดชอบต่อสังคม คุณเกรียงไกร นาคะพงศ์ ผูจ้ ดั การแผนกบริหารงานชุมชน ร่วมบรรยายถึงการให้ความสำ�คัญด้านความปลอดภัย สิง่ แวดล้อม และการดูแลชุมชนในพื้นที่รอบโรงกลั่นของเครือไทยออยล์ โดยคำ�นึงถึงประเพณี ศาสนา วัฒนธรรม การอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และการพัฒนาสุขภาวะชุมชน ซึง่ จะช่วย ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างเครือไทยออยล์และชุมชน เพื่อการพัฒนาและเติบโตควบคู่กันต่อไปอย่างยั่งยืน

เทิดไท้องค์ราชัน เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา เครือไทยออยล์ ร่วมกับ พสกนิกรชุมชนรอบๆ โรงกลั่นน้ำ�มันพื้นที่แหลมฉบังกว่า 500 คน ได้จัดงาน “รักษ์สิ่งแวดล้อม น้อมเกล้าถวายราชา” ในโครงการเทิดไท้องค์ราชัน ด้วยสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ โดยจัดกิจกรรมเพือ่ รณรงค์รกั ษ์สง่ิ แวดล้อม “ทะเลคือเพือ่ นชีวติ ” ด้วยการปล่อยพันธุป์ มู า้ และพันธุก์ งุ้ แชบ๊วยลงสูท่ ะเล จำ�นวน 9,999,999 ตัว รวมทั้งทำ�ซั้งเทียมที่พักวางไข่ของสัตว์ทะเล อีก 9 แห่ง เพือ่ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั คุณจินดา ถนอมรอด นายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง ให้เกียรติเป็นประธานพิธี และเป็นตัวแทนขึ้นนำ�ประชาชน ทุ ก หมู่ เ หล่ า จุ ด เที ย นชั ย ถวายพระพรชั ย มงคลต่ อ หน้ า พระบรมฉายาลักษณ์ เนือ่ งในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 86 พรรษา เพื่อแสดงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมร้องเพลงสรรเสริญ พระบารมีและเพลงสดุดีมหาราชาดังกึกก้องทั่วบริเวณงาน หลังจากนัน้ มีการแสดงนาฏศิลป์ถวายพระพรของนักเรียนโรงเรียน วัดใหม่เนินพยอม โรงเรียนวัดมโนรม โรงเรียนวัดแหลมฉบัง โรงเรียนบ้านชากยายจีน และโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 กิจกรรมบำ�เพ็ญประโยชน์เนือ่ งในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษานี้ เป็นกิจกรรมทีเ่ ครือไทยออยล์จดั ขึน้ ทุกปี เพือ่ ถวายความจงรักภักดี ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

10 ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556


บอกเล่าเก้าสิบกับศูนย์สุขภาพ โดย กองบรรณาธิการ

การแข่งขันชิงแชมป์กระโดดเชือก เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ครั้งที่ 3

เมื่ อ วั น อาทิ ต ย์ ที่ 23 พฤศจิ ก ายนที่ ผ่ า นมา เครื อ ไทยออยล์ โดยศู น ย์ สุ ข ภาพและการเรี ย นรู้ เครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชน ได้จดั การแข่งขันชิงแชมป์ กระโดดเชือก เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ครั้งที่ 3 (3rd Thaioil Rope Skipping Championship) โดย ได้รบั เกียรติจากคุณจินดา ถนอมรอด นายกเทศมนตรี นครแหลมฉบัง เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน พร้ อ มทั้ ง ให้ โ อวาทแก่ เ ยาวชน จำ�นวน 355 คน จาก 10 โรงเรียนรอบโรงกลัน่ และพืน้ ทีใ่ กล้เคียง ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 โรงเรียนวัดมโนรม โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม โรงเรียน วัดแหลมฉบัง โรงเรียนวัดบ้านนา (ฟินวิทยาคม) โรงเรียน ทุ่งศุขลาพิทยา โรงเรียนบุญจิตวิทยา โรงเรียนบ้าน ท่าข้ามตัง้ ตรงจิตร และโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬากระโดดเชือกในครั้งนี้

ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ เครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชน เล็งเห็น ความสำ � คั ญ ของการพั ฒ นา สุขภาวะชุมชนพื้นที่แหลมฉบัง โดยถื อ เป็ น ภารกิ จ สำ � คั ญ ซึ่ ง หนึง่ ในนัน้ คือ การสนับสนุนกีฬา กระโดดเชือกให้กับเยาวชนของ โรงเรียนรอบโรงกลัน่ ตัง้ แต่ปี 2554 เป็นต้นมา โดยได้รบั ความร่วมมือ อย่างดียิ่งจากมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เยาวชนกระโดดเชือกแหลมฉบังได้แสดงถึง ศักยภาพและพัฒนาขึ้นเป็นลำ�ดับ จนได้รับถ้วยและเหรียญรางวัลมากมาย จากการแข่งขันที่จัดโดยเครือไทยออยล์ และการแข่งขันในระดับประเทศ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เหนือสิ่งอื่นใดคือ เยาวชน มีสขุ ภาพทีแ่ ข็งแรง สมองแจ่มใส เสริมสร้างประสิทธิภาพในการศึกษา สนับสนุน การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และทีส่ �ำ คัญยังทำ�ให้เยาวชนห่างไกลยาเสพติด ได้เป็นอย่างดี

ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556 11


เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ AEC โดย ฐิติกร ทิพย์มณเฑียร

น ย ี ซ เ า อ ย ุ ล ะ ต ้ ป เ (ตอน 1) แบก

ยเฉพาะ โด ก โล ม ุ ม ก ุ ท ว ่ ั ท ท่องเที่ยวจาก ะธรรมชาติอันบริสุทธิ์ ก ั น ง อ ข ์ ค ร ร ว ส น ็ อาเซียนนับเป มชอบสถาปัตยกรรมโบราณแล ของแต่ละประเทศ ช รก นักท่องเที่ยวที่นิยมานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม 3 อันดับแ าเซยี นกนั เลยครบั !!! ผมจึงรวบรวมสถ นั หากพรอ้ มแลว้ รว่ มแบกเป้ไปตะลยุ อ มาใหท้ กุ ทา่ นไดช้ มก

ราชอาณาจักรไทย 1 วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (Wat Phra Si Rattana Satsadaram), กรุงเทพฯ วัดในพระบรมมหาราชวัง เป็นทีป่ ระดิษฐานพระพุทธมหามณีรตั นปฏิมากร หรือ “พระแก้วมรกต” มีความวิจิตรงดงามจนชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วโลก 2 หมู่เกาะสิมิลัน (Similan Islands), พังงา หมู่เกาะทั้ง 9 ที่มีหาดทรายขาวละเอียดโอบล้อมด้วยผืนน้ำ�สีเขียวมรกต และยังมีโลกใต้น�้ำ ทีส่ วยสดงดงาม ถือว่าเป็นสวรรค์ของคนรักทะเลเลยทีเดียว 3 อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ (Doi Inthanon National Park), เชียงใหม่ ยอดเขาสูงที่สุดในไทย หากนักท่องเที่ยวท่านใดอยากสัมผัสเมฆหมอก สายลมหนาวเหนือขุนเขา ห้ามพลาดดอยอินทนนท์แห่งนี้นะครับ

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ 1 เจดีย์ชเวดากอง (Shwedagon Pagoda), ย่างกุ้ง หรือ พระธาตุตะโก้ง เชือ่ กันว่าเป็นทีป่ ระดิษฐานพระเกศาธาตุ จำ�นวน 8 เส้น เจดีย์ประดับด้วยแผ่นทองคำ� 4 หมื่นแผ่น น้�ำ หนักทองถึง 8 ตัน นับเป็นเจดีย์ที่สำ�คัญที่สุดของเมียนมาร์ 2 พระมหามัยมุนี (Mahamuni Buddha Temple), มัณฑะเลย์ พระพุทธรูปสำ�ริดปางมารวิชัยที่มีพุทธลักษณะงดงาม ประดิษฐาน อยู่ที่วัดมหามัยมุนี ใครที่มากราบไหว้บูชาจะได้รับความสิริมงคลอย่างยิ่ง 3 พระธาตุอินทร์แขวน (Kyaiktiyo Pagoda), รัฐมอญ พระธาตุลักษณะดังก้อนหินสีทองเปล่งรัศมีสง่างาม ซึ่งตั้งอยู่บนผาสูง อย่างหมิน่ เหม่เหมือนจะหล่นและท้าทายแรงดึงดูดของโลกโดยไม่ตกลงมา อย่างเหลือเชือ่ เป็นความงดงามบวกความมหัศจรรย์แห่งศรัทธาก็วา่ ได้ครับ

12 ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556


ราชอาณาจักรกัมพูชา 1 นครวัด (Angkor Wat), เสียมราฐ นอกจากมีอายุอานามนานกว่า 800 ปีแล้ว ยังเป็นมหาปราสาทที่อลังการ เพราะมีประติมากรรมแกะสลักทีส่ วยงาม โดยเฉพาะรูปแกะสลักนางอัปสรต่างแบบ ถึง 1,635 นาง จึงได้รับการยกย่องเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกและเป็นมรดกโลก 2 ปราสาทบายน (Bayon Temple), เสียมราฐ จัดเป็นศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีภาพสลักหินใบหน้า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 หน้าบนยอดของปรางค์ชั้น 2 และชั้น 3 ซึ่งมีด้วยกัน 54 ยอด แต่ปัจจุบันเหลืออยู่ 37 ยอดเท่านั้น 3 โตนเลสาบ (Tonle Sap Lake), เสียมเรียบ ทะเลสาบน้ำ�จืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ถึง 5 จังหวัด เป็นอีกหนึง่ สถานทีซ่ ง่ึ นักท่องเทีย่ วชอบนัง่ เรือเข้ามาชมวิถชี วี ติ ของชาวบ้าน

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 1 มหาสถูปบุโรพุทโธ (Borobudur), ยอกยากาตาร์ ศาสนสถานของพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึง่ สร้างโดยกษัตริยแ์ ห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ ก่อสร้างด้วยหินภูเขาไฟรวม 2 ล้านตารางฟุต 2 วิหารทานาห์ล็อต (Tanah Lot), บาหลี พุทธศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่เทพเจ้า ตั้งตระหง่านสวยงาม เหนือโขดหินทีถ่ กู กัดเซาะตามธรรมชาติ ยามทีน่ �ำ้ ขึน้ จึงดูเหมือนว่าวิหารลอยอยูก่ ลางทะเล 3 วิหารปรัมบานัน (Candi Prambanan), ปรัมบานัน ถือเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซียครับ สร้างราว พ.ศ. 1340 เพื่อเป็นสุสานบรรจุพระศพของกษัตริย์และพระราชวงศ์ปรัมบานัน

สาธารณรัฐประชาธิป ไตยประชาชนลาว

1 หลวงพระบาง (Luang Prabang) เมืองท่องเทีย่ วอันดับหนึง่ ของ สปป.ลาว ได้รบั การยกย่องให้เป็นเมืองมรดกโลก ในฐานะที ่ “อนุรกั ษ์ความเก่าแก่ดง้ั เดิมไว้ได้ดที ส่ี ดุ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” 2 ทุ่งไหหิน (Plain of Jars) , เชียงขวาง แหล่งอารยธรรมโบราณทางตอนเหนือของลาว มีภาชนะรูปทรงคล้ายไหทำ�ด้วย หินทรายขนาดน้อยใหญ่กระจัดกระจายอยูเ่ ต็มทุง่ เชือ่ กันว่าไหเหล่านี้ ใช้ ในพิธศี พ เพราะค้นพบโครงกระดูกมนุษย์อยู่ภายในไห มีลูกปัดจีน เครื่องประดับชนเผ่าไท และรูปสำ�ริดเวียดนามอยูบ่ ริเวณโดยรอบอีกด้วย 3 พระธาตุหลวง (Pha That Luang), เวียงจันทน์ ศาสนสถานประจำ�ชาติ สปป.ลาว องค์พระธาตุสีเหลืองทองอร่าม คงคุณค่า ทางประวัตศิ าสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม แสดงถึงสถาปัตยกรรมของลาวล้านช้างโดยแท้ แค่ 5 ประเทศแรกก็น่าตื่นตาตื่นใจในความงดงามมากขนาดนี้ อย่าลืมติดตาม กับอีก 5 ประเทศในกลุม่ อาเซียนทีเ่ หลือ ว่าสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว 1 ใน 3 อันดับแรก จะมีที่ใดบ้าง แต่รับรองว่าสวยไม่แพ้กันแน่นอนครับ...แล้วเจอกันนะครับ

ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556 13


ยนภาษาอังกฤษกับครูแนน ABC เรี โดย ครูแนน

We wish you a Merry Christmas and a Happy New Year. สวัสดีปีใหม่คุณผู้อ่านทุกท่านล่วงหน้าเลยนะคะ ในช่วงเวลาเช่นนี้เรียกว่า “Season of Greeting” หรือ “ฤดูกาลของการอวยพร” โดยคำ�ว่า “Greeting” (กรีท-ทิง) จะแปลว่า การทักทาย หรือ คำ�อวยพร ก็ ได้เช่นกันค่ะ แต่ในวันนี้เราจะพูดถึงการกล่าวคำ�อวยพรง่ายๆ ที่นำ�ไปใช้ ได้ทุกโอกาสเลยค่ะ ข้อควรระวังคือ คนไทยมักแปลภาษาอังกฤษตรงตัว คำ�อวยพรทีว่ า่ ขอให้ คุณมีความสุข จึงมักเขียนกันผิดๆ ว่า I wish you have happiness. ซึง่ ถ้าพูดแบบนี้ แล้วจะหมายความว่า คนนี้ไม่มีความสุขและคุณหวังว่าเขาน่าจะมีความสุข (แต่มนั ไม่เป็นความจริง) แทนทีจ่ ะอวยพรกลับกลายเป็นแช่งชาวบ้านเขานะคะ ต้องระมัดระวังให้ดี wish + กลุม่ คำ�นามเท่านัน้ เพือ่ ใช้ในการอวยพร นะคะ

เริ่มจากการเอาประโยคง่ายๆ ที่เราเห็นกัน บ่อยๆ มาสร้างประโยคใหม่ทเี่ ก๋ไก๋เป็นของตัวเอง อย่างเช่น “We wish you a Merry Christmas and a Happy New Year.” (วี วิช ยู วะ เมอ-รี คริสต-มาส แอนด์ อะ แฮป-ปี นูวเยียร์) พวกเราขอให้คุณมีวันคริสต์มาสที่ยอดเยี่ยม และมีวันปีใหม่ที่สุขสันต์

นอกจากนี้แล้วคำ�ที่มีความหมายคล้าย wish (วิช) อย่าง hope (โฮป) (n.) ความหวัง และ (v.) หวัง ก็สามารถใช้ในการอวยพรได้เช่นเดียวกันแต่ต่างกัน ตรงที่ “hope + ประโยค” เช่น I wish you a Happy New Year. (ไอ วิช ยู วะ แฮป-ปี นูวเยียร์) สามารถกล่าวอีกแบบได้ในความหมายเดียวกัน I hope you have a Happy New Year. (ไอ โฮป ยู แฮฟฟะแฮป-ปี นูวเยียร์) ทั้งคู่แปลว่า “ขอให้มีปีใหม่ที่มีความสุข”

เพลงนีร้ อ้ งกันได้ตงั้ แต่เด็กใช่ไหมคะ เราสามารถ เอาคำ�อวยพรนี้มาสร้างคำ�อวยพรใหม่ได้ง่ายๆ แค่รู้จักการใช้ค�ำ ว่า wish (วิช) ที่ปกติแปลว่า (n.) ความปรารถนา หรือ (v.) ปรารถนา ก็ได้ โดยมี หลักการง่ายๆ ว่า ใช้ wish + someone + คำ�นาม หรือ กลุ่ม คำ�นาม ที่มีความหมายดีๆ ที่เราอยากอวยพรให้ คนอื่นได้รับ เช่น I wish you a prosperous year. (ไอ วิช ยู วะ พรอส-เพอ-เริสเยียร์) ฉันขอให้เธอมีปีที่เจริญรุ่งเรือง หรือจะเปลี่ยนเป็น I wish you + …… Wealth (เวลธ์) ความมั่งคั่ง Good Health (กู๊ดเฮลธ์) สุขภาพดี Best of luck (เบสต์ออฟลัค) โชคดีสุดๆ ไปเลย

ปีใหม่นี้ลองหา “คำ�นาม” และ “กลุ่มคำ�นาม” ที่มีความหมายดีๆ มา เขียนลงในการ์ดอวยพรส่งความสุขให้คนทีค่ ณ ุ รักกันค่ะ เริม่ จากแนนส่งถึง คุณผูอ้ า่ นก่อนเลยนะคะ I wish you great joy, prosperity, wealth and good health. (ไอ วิช ยู เกรท จอย พรอส-เปอ-ริ-ที เวลธ์ แอนด์ กู๊ด เฮลธ์) ขอให้คุณผู้อ่านสนุกสนานรื่นเริง เจริญรุ่งเรือง มั่งคั่งและมีสุขภาพดี กันถ้วนหน้านะคะ ครูพี่แนน อริสรา ธนาปกิจ Enconcept E-Academy: English to the MAX by KruP‘Nan www.facebook.com/Krupnan, www.twitter.com/krupnan

14 ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556


แผ่นเจลหา้ มเลือด ข้าววรางกูร

ก้าวทันโลก โดย ติมา

ต่อยอด คุณค่าข้าวไทย

เพราะโลกก้าวไกลไปทุกวันๆ เราจึงต้องก้าว ให้ทันโลก ฉบับนี้เสนอเรื่องน่าภูมิใจของคนไทย ที่สามารถสร้างสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนให้ทั่วโลกตะลึง คื อ การต่ อ ยอดพั ฒ นาคุ ณ ค่ า ของข้ า วไทยให้ มีประโยชน์ทางการแพทย์ จากข้าวทีใ่ ช้บริโภคกลาย เป็นวัสดุห้ามเลือดสำ�หรับการผ่าตัดได้อย่างน่าทึ่ง สิง่ สำ�คัญมากในการผ่าตัด คือการห้ามเลือด รศ.นพ.สิทธิพร บุณยนิตย์ จากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ ทีมใช้เวลากว่า 10 ปี (รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำ�นักงานคณะกรรมการวิจยั แห่งชาติ) พัฒนา แผ่นเจลห้ามเลือดทีไ่ ม่เคยมีมาก่อน ดีกว่าและถูกกว่าผลิตภัณฑ์คล้ายคลึงกัน ที่ใช้อยู่ซึ่งต้องซื้อจากต่างประเทศ ทีมวิจัยนำ�แป้งข้าวเจ้าซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานเภสัชอุตสาหกรรม (จึ ง ใช้ ผ ลิ ต วั ส ดุ ท างการแพทย์ ไ ด้ ) นำ � มาดั ด แปลงให้ เ ป็ น เจล และ เพิ่มสารเติมแต่งให้มีฤทธิ์เป็นกรดเมื่อสัมผัสของเหลวภายในร่างกาย ทำ�ให้หา้ มเลือดระหว่างผ่าตัดได้รวดเร็ว แผ่นเจลข้าวนีด้ กี ว่าทีผ่ ลิตภัณฑ์ ห้ามเลือดทั่วไป เพราะข้าวเป็นคาร์โบไฮเดรตบริสุทธิ์จากธรรมชาติ จึงย่อยสลายได้ในร่างกายมนุษย์อย่างสมบูรณ์ ปราศจากสิ่งตกค้าง เหมาะใช้ส�ำ หรับปิดห้ามเลือดทีอ่ วัยวะภายในร่างกายมนุษย์ เช่น ทีส่ มอง หรือตับ เป็นต้น เมื่อเลือดหยุดก็ไม่ต้องแกะทิ้ง และมีความเป็นกรดแก่ สูงมากกว่าทำ�ให้ห้ามเลือดได้เร็วกว่า

แผ่นเจลข้าวได้ผา่ นการทดสอบห้ามเลือดในสัตว์ทดลองแล้ว พบว่าห้ามเลือดได้จริงภายในเวลาไม่กี่วินาที และได้ผ่านการ ทดสอบในอาสาสมัครมนุษย์แล้ว แพทย์ทว่ั ไปพบว่าใช้งานได้ดี ไม่มีผลข้างเคียงรวมถึงราคาถูกกว่า เพราะข้าวเป็นวัตถุดิบ ธรรมชาติทปี่ ลูกใหม่เพือ่ ใช้ทดแทนได้ตลอด กระบวนการผลิตใช้ เพียงเทคโนโลยีระดับกลาง ลงทุนไม่สูง เมื่อกลายเป็นสินค้าก็ จะมีราคาขายไม่แพง สามารถแข่งขันอย่างได้เปรียบในตลาดโลก ที่สำ�คัญไม่สร้างมลพิษเชิงอุตสาหกรรม ที่มาของชื่อ วรางกูร มิใช่ชื่อพันธุ์ข้าวแต่อย่างใด แต่เป็น ชื่อบุตรชายของ รศ.นพ.สิทธิพร ผู้คิดค้นแผ่นเจลข้าวนั่นเอง วั น นี้ น วั ต กรรมใหม่ จากข้าวเจ้าของไทย ได้ ต่ อ ยอดสร้ า งคุ ณ ค่ า ข้าวไทยและศักยภาพ คนไทยให้ประจักษ์แก่ สายตาชาวโลก

• รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับอุตสาหกรรม จากงานนวัตกรรมข้าวไทย ประจำ�ปี 2556 จัดโดย มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำ�นักงาน นวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) • รางวัล FIRI AWARD FOR THE BEST INVENTION พร้อมถ้วยรางวัล และเหรียญทอง สาขาสิง่ ประดิษฐ์ ทางการแพทย์ จากงานสิ่ง ประดิษฐ์โลก ครั้ง ที่ 41 ปี 2556 ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556 15


9 เพื่อสุขภาพแข็งแรง

เคล็ดลับสุขภาพ โดย ปักเป้า

บัญญัติ ประการ สมัยเด็กๆ วิชาสุขศึกษาสอนว่า ร่างกาย จะแข็งแรงได้ ต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ ถ ามว่ า ในชี วิ ต ประจำ � วั น ตอนนี้ เราสามารถทำ�ได้ตามนัน้ จริงหรือไม่ ยิง่ ช่วงนี้ อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวฝนตก เดี๋ยว แดดออก เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเย็น คนที่ไม่ค่อย ได้รบั ประทานอาหารทีม่ ปี ระโยชน์ตอ่ ร่างกาย หรือมีภมู คิ มุ้ กันน้อย อาจพานจับไข้ ไม่สบาย เอาได้ง่ายๆ ฉะนั้นมาทบทวนกันดีกว่าว่า อะไรบ้างที่ควรรับประทานเพื่อสร้างเสริมให้ สุขภาพแข็งแรง

1

รับประทานอาหารเช้า

เพราะอาหารเช้าจะช่วย ลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ช่ ว ยให้ ก ารเผาผลาญพลั ง งานของ ร่างกายสม่�ำ เสมอ ทำ�ให้รา่ งกายรูส้ กึ อยาก อาหารมื้ออื่นๆ น้อยลง

16 ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556

2

จิบนํ้าชายามบ่าย

การดืม่ ชาวันละ 1-3 แก้ว เช่น ชาเขียว ชาอู่หลง เอิร์ลเกรย์ ชาดำ� ล้วนแต่มคี ณ ุ สมบัตติ า้ นอนุมลู อิสระ ช่ ว ยลดอั ต ราเสี่ ย งการเกิ ด โรคมะเร็ ง กระเพาะอาหารได้ถึงร้อยละ 30


3

4

ดื่มนํ้าบ่อยๆ

การบริโภคข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน ข้าวฟ่าง ลูกเดือยและถั่วต่างๆ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจถึง 1 ใน 3 เพราะข้าวกล้องและธัญพืชอุดมด้วย เส้นใยอาหารทีช่ ว่ ยลดระดับคอเลสเตอรอล และควบคุม น้�ำ ตาลในเลือดให้สมดุล โดยเฉพาะ ถัว่ นัน้ อุดมด้วยโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุที่สำ�คัญ ดังนั้น ควรบริ โ ภคถั่ ว สม่ำ � เสมอ แต่ ไ ม่ ค วรมากเกิ น ไป เพราะอาจทำ�ให้อว้ นได้งา่ ย

ควรดืม่ น้�ำ อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร (ยกเว้นในคนทีไ่ ตทำ�งาน ผิดปกติ) เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ ต่างๆ ในร่างกาย ช่วยฟืน้ ฟูระบบ ขับถ่าย รักษาระดับความเข้มข้น ของเลือด ทำ�ให้รา่ งกายรูส้ กึ สดชืน่ ทั้ ง วั น ในวั น หนึ่ ง ควรดื่ ม น้ำ � บ่ อ ยๆ แต่ไม่ควรดื่มครั้งละปริมาณมาก

5

หมั่นรับประทานข้าวกล้องและธัญพืช

บริโภคผักและผลไม้ทุกสีที่มีในธรรมชาติ

พยายามรับประทานผักและผลไม้ให้หลากสี เช่น สีแดงของมะเขือเทศ สีม่วงขององุ่น สีเขียวของบรอกโคลี สีส้มของ แครอท สีเหลืองของฟักทอง เพราะพื ช ต่ า งสี กั น จะมี สารอาหารที่ แ ตกต่ า งกั น แถมยังช่วยเพิ่มสีสันให้กับ อาหารในจานด้วย

7

6

เลือกใช้น�้ำ มันดอกทานตะวัน หรือ น้ำ�มันมะกอกในการปรุงอาหาร เพราะ 2 ชนิดนี้มีกรดไขมันอิ่มตัว ทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ ร่างกาย แถมช่วย ลดไขมันในเส้นเลือดได้ดี

รับประทานปลาอย่างน้อย อาทิตย์ละครั้ง

จะได้ทง้ั ความฉลาดและความแข็งแรง เพราะปลามีกรดไขมันโอเมก้า 3 และโปรตีนทีช่ ว่ ยควบคุมการเต้นของ หั ว ใจให้ ป กติ และบำ � รุ ง เซลล์ ส มอง ทั้งยังมีไขมันน้อย ย่อยง่าย เหมาะสำ�หรับ คนที่ต้องการลดหุ่นให้เพรียว

9

หมั่นเพิ่มแคลเซียมให้กระดูก

ดื่มนมหรือกินปลาตัวเล็กทั้งตัว เต้าหู้ ทีท่ �ำ จากถัว่ เหลือง ผักใบเขียวเป็นประจำ� เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียม ที่จำ�เป็น ต่อการเสริมสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ ให้แข็งแรง ทำ�ให้ระบบประสาททำ�งานได้ เต็มประสิทธิภาพ

ใช้นํ้ามันที่มีคุณภาพ ในการปรุงอาหาร

8

บอกลาของว่างขนมจุกจิก

เลิกบรรดาขนมขบเคีย้ วกินเล่น เช่น เค้ก โดนัท คุกกี้ แล้วเปลีย่ นมาบริโภค ผลไม้ซงึ่ มีวติ ามินและกากใย ทีม่ ปี ระโยชน์มากกว่าแป้ง และน้�ำ ตาลในขนมหวาน เป็นไหนๆ

ข้อแนะนำ�ดีๆ

ที่ทุกคนสามารถเริ่มลงมือทำ�ได้ ด้วยตัวคุณเอง ลองปฏิบัติดูนะคะ เพียงแค่นค้ี ณ ุ ก็จะมีสขุ ภาพทีแ่ ข็งแรงแล้วค่ะ ที่มา : สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556 17


ปลอดภัยใกล้ตัว โดย เซฟตี้เกิร์ล

รู้เท่าทัน

สื่อสังคมออนไลน์ ในยุคที่นิยมติดต่อกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเฟซบุ๊ก (Facebook) ไลน์ (Line) ว๊อทแอป (Whatapp) แชทออน (ChatON) กำ�ลังมาแรง เพราะสามารถติดต่อกันได้ทันทีทุกที่ทุกเวลา อีกทั้ง การเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะปัจจุบัน โทรศัพท์หลายยีห่ อ้ ได้พฒ ั นาศักยภาพตัวเครือ่ ง ให้สามารถรองรับ สื่อสังคมเหล่านั้น ด้วยสนนราคาเครื่องละไม่ถึง 5,000 บาท สิ่งที่ น่าเป็นห่วงคือ มีหลายคดีที่ปรากฏทางสื่อต่างๆ สาเหตุมาจากการ ใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น เด็กวัยรุ่นถูกหลอกไปขายตัว ถูกโกงเงิน ค่าสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ฟ้องหมิ่นประมาทเนื่องจากโพสต์ข้อความ หรือรูปภาพ ขโมยขึ้นบ้านยกเค้า เพราะรู้ว่าเจ้าบ้านไม่อยู่ เป็นต้น ปลอดภัยใกล้ตัวฉบับนี้ มีข้อเสนอแนะมาฝากว่าทำ�อย่างไรจึงจะ รู้เท่าทันและใช้สื่อสังคมออนไลน์เหล่านั้นอย่างปลอดภัย

• ไตร่ตรองก่อนโพสต์ขอ้ ความ รูปภาพ หรือแชร์ข้อมูล

• หยุดคิดสักนิดก่อนกด เช็กอิน (Check-in)

• อย่าหลงเชื่อคนแปลกหน้า

มีผู้เสียหายไปแจ้งความว่า มีคนขโมย รู ป จากแฟ้ ม ภาพในเฟซบุ๊ ก แล้ ว นำ � ไป แอบอ้างใช้ในเฟซบุ๊กตัวเองโดยไม่ได้รับ อนุญาต พร้อมทั้งเขียนข้อความที่ทำ�ให้ ผู้เสียหายถูกเข้าใจผิด เมื่อตำ�รวจรวบตัว มาได้ เจ้าตัวสารภาพว่าไม่ได้เจตนาขโมย แค่เอามาโพสต์ต่อแล้วเขียนข้อความล้อ เล่นในหมู่เพื่อนๆ เท่านั้น ไม่ได้คิดว่าจะ เป็นเรื่องใหญ่ นอกจากนั้น การโพสต์แบบไม่คิดอาจ ก่อให้เกิดความขัดแย้งในหมู่เพื่อน ทำ�ให้ทะเลาะกันรุนแรงจนตัดเพือ่ น กันไปเลยก็มี

จากการสอบปากคำ�ผู้ต้องหาส่วนหนึ่ง สารภาพว่า ติดตามความเคลื่อนไหวของ เหยือ่ ผ่านสือ่ ออนไลน์ เพราะเหยือ่ โดยเฉพาะ ผูห้ ญิงมักชอบถ่ายรูปและเช็กอิน (Check-in) โชว์ว่าตอนนี้อยู่ที่ไหน จึงทำ�ให้ตามไปดัก เล่นงานได้ถกู คนและถูกที่ และสิง่ ทีไ่ ม่ควร ทำ�อย่างยิง่ คือ การโพสต์วา่ จะเดินทางไป ต่ า งจั ง หวั ด หรื อ ไปต่ า งประเทศกี่ วั น เพราะนั่ น เป็ น การเปิ ด ช่ อ งให้ มิ จ ฉาชี พ เข้ายกเค้าอย่างสบายใจ แบบไม่ต้องกลัว เจ้าของบ้านกลับมาเจอ

หลายคดี ที่ เ กี่ ย วกั บ การล่ ว งละเมิ ด ทางเพศ หรือการหลอกลวงให้เสียทรัพย์ สาเหตุจากการติดต่อผ่านสือ่ สังคมออนไลน์ จนหลงเชือ่ ในตัวตนและคำ�พูดของคูส่ นทนา และปฏิบตั ติ าม จนก่อให้เกิดความเสียหาย ทั้งต่อตัวเองและทรัพย์สิน ดังนั้นไม่ควร หลงเชื่ อ คนแปลกหน้ า ที่ รู้ จั ก กั น ผ่ า น สื่อออนไลน์

18 ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556

เพี ย งแค่ รู้ จั ก ระมั ด ระวั ง เพิ่มขึ้นอีกนิด คุณก็จะใช้ชีวิต ทันสมัย ในยุคสือ่ สังคมออนไลน์ ได้อย่างปลอดภัยแล้วล่ะค่ะ


CSR โฟกัส

โดย นํ้าค้าง

กิจกรรมพนักงานจิตอาสาเครือไทยออยล์ โครงการโรงไฟฟ้าพลังนํ้าบ้านแม่โจ้

นับเป็นปีที่ 2 แล้ว ทีเ่ หล่าพนักงาน จิตอาสาเครือไทยออยล์กว่า 30 ชีวติ ร่วมทำ�กิจกรรมในโครงการโรงไฟฟ้า พลังนาํ้ บ้านแม่โจ้ ต.บ้านเป้า อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ทีเ่ ครือไทยออยล์ด�ำ เนินการ ร่วมกับกลุม่ พันธมิตรทัง้ กรมพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และมูลนิธพิ ลังงานเพือ่ สิง่ แวดล้อม (มพส.) ซึ่งกำ�ลังจะเสร็จสมบูรณ์ ใน เร็วๆ นี้ สามารถผลิตและจำ�หน่าย ไฟฟ้า นำ�รายได้กลับไปดูแลป่าต้นนํา้ และส่งเสริมการทำ�เกษตรอินทรีย์ ให้ แก่ชาวบ้านแม่โจ้

การเดินทางครั้งนี้ พวกเราเหล่าจิตอาสา ใช้บริการรถทัวร์สาธารณะเที่ยวพิเศษ มุ่งตรง สู่ จุ ด หมายคื อ หมู่ บ้ า นแม่ โ จ้ จ.เชี ย งใหม่ คณะเดิ น ทางถึ ง บ้ า นแม่ โ จ้ ใ นบรรยากาศ ยามเช้าที่เย็นสบาย ไม่หนาวอย่างที่กังวลกัน หลังรับประทานอาหารเช้าเสร็จสิ้น พวกเรา พนักงานจิตอาสาเริ่มลงมือทำ�กิจกรรมย่ำ�ดิน และทำ�บล็อกดินสำ�หรับศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ทันที โดย คุณทองใบ เล็กนามณรงค์ เหรัญญิก วิสาหกิจชุมชนไฟฟ้าพลังน้ำ�บ้านแม่โจ้ หรือหัวเรือใหญ่ในกลุม่ โฮมสเตย์บา้ นดินที่ พวกเราได้เข้าพักเพือ่ ทำ�กิจกรรมครัง้ นี้ เป็นผูใ้ ห้ คำ�แนะนำ�ในการย่ำ�ดิน การผสมแกลบ และเทลงบล็อกดิน พร้อมกับชาวบ้านแม่โจ้คอยให้ความช่วยเหลือตลอดการทำ� กิจกรรม

ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556 19


วันรุง่ ขึน้ หลังจากรับประทานอาหารเช้า พวกเราเริ่มกิจกรรมทันที โดยแบ่งกลุ่ม พนักงานจิตอาสาเป็น 3 กลุม่ รับผิดชอบ ในแต่ละกิจกรรมประกอบด้วยกลุม่ ฉาบดิน อาคารโรงไฟฟ้า กลุม่ จัดทำ�แปลงอนุบาล พันธุไ์ ม้ และกลุม่ สร้างสะพาน โดยกิจกรรม ในวันสุดท้าย ทุกคนยังได้รวมพลังสร้าง ฝายชะลอน้ำ � เพื่ อ ดู แ ลป่ า ต้ น น้ำ � ในเขต ป่าอนุรักษ์ชุมชนศรีลานนา

คุณทองใบเล่าให้ฟังว่า ชาวบ้านแม่โจ้ ในหมู่ 1 ส่วนใหญ่ท�ำ การเกษตร แต่ได้ ตัง้ กลุม่ วิสาหกิจชุมชน แบ่งการ บริหารจัดการออกเป็น 3 กลุม่ คือกลุม่ บ้านดิน กลุม่ แกะสลัก และกลุ่ ม โครงการโรงไฟฟ้ า พลั ง น้ำ � บ้ า นแม่ โจ้ โดยมี คุ ณ ประสาน หน่ อ แก้ ว รับหน้าที่เป็นประธานกลุ่ม ทุกคนในหมู่บ้านจะมีหุ้นและมีส่วนร่วมในโครงการ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ�บ้านแม่โจ้ โดยวิธีการแปลงจากแรงงานในการทำ�งานต่อวันเป็น มู ล ค่ า หุ้ น ถ้ า โรงไฟฟ้ า มี ร ายได้ จ ากการจำ � หน่ า ยไฟฟ้ า เข้ า ระบบของการไฟฟ้ า ส่วนภูมิภาค รายได้ร้อยละ 20 จะนำ�มาเป็นเงินปันผลให้กับชาวบ้าน ร้อยละ 30 เป็นค่าใช้จา่ ยและบำ�รุงรักษา โดยรายได้สว่ นใหญ่คอื ร้อยละ 50 จะจัดสรรเป็นโครงการ คุณทองใบ เล็กนามณรงค์ เพื่อดูแลป่า ทำ�ปุ๋ยหมัก สารไล่แมลง แต่ ณ ปัจจุบันนี้ทางกลุ่มได้ คุณประสาน หน่อแก้ว วางแผนกันใหม่ โดยกำ�หนดว่าในปีแรกรายได้ร้อยละ 20 จะยังไม่ปันผลให้กับ ชาวบ้าน แต่จะนำ�ไปใช้คืนให้กับโครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทน (ESCO Revolving Fund) ที่เป็นเงินยืมในการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าก่อน คาดว่าจะใช้คืนได้หมดภายใน 5 ปี ทั้งนี้ ชาวบ้านต้องขอขอบคุณ เครือไทยออยล์ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณอีกจำ�นวนหนึ่ง จนทำ�ให้โครงการนี้ ประสบความสำ�เร็จ

20 ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556


ถึงแม้ว่าตอนนี้ชาวบ้านยังไม่มีรายได้จากโรงไฟฟ้า แต่ได้ดูแล ป่าต้นน้ำ�มาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้ตั้งกลุ่มวัยโจ๋ หรือลูกหลาน ของชาวบ้านที่เรียนหนังสือจบกลับมาทำ�งานที่หมู่บ้านขึ้นมาช่วยดูแล ป่าอีกทีม เพื่อสร้างความเข้มแข็งเพิม่ มากขึน้ ส่วนเรือ่ งการทำ�เกษตร อินทรียน์ น้ั ปัจจุบนั ชาวบ้านลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บางส่วน เนื่องจาก การผลิตปุย๋ หมักอินทรียย์ งั ไม่ได้มาตรฐาน คงต้องรอรายได้จากโรงไฟฟ้า นำ�มาซื้อเครื่องจักรที่ได้มาตรฐานก่อน คาดว่าน่าจะช่วยให้ชาวบ้าน เลิกใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างสิ้นเชิง

โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้�ำ บ้านแม่โจ้ เป็นอีกหนึง่ โครงการ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับ เครือไทยออยล์ในการจัดหาพลังงานหมุนเวียน เพื่อสร้าง ความเข้มแข็งให้ชมุ ชนในพืน้ ทีห่ า่ งไกล ยิง่ ไปกว่านัน้ โครงการนี้ ยังเป็นต้นแบบด้านการบริหารจัดการดิน น้�ำ ป่า อย่างเป็นระบบ เพือ่ รักษาป่าต้นน้�ำ และคงไว้ซง่ึ ทรัพยากรธรรมชาติอนั อุดมสมบูรณ์ หมูบ่ า้ นแห่งนีจ้ ะเป็นหมูบ่ า้ นต้นแบบแก่ชมุ ชนทีอ่ ยูใ่ กล้พนื้ ที่ ป่าได้เรียนรู้ และนำ�ไปใช้ได้ในอนาคตต่อไป

นอกจากนีช้ าวบ้านยังมีแผนทีจ่ ะทำ�สารไล่แมลงในขัน้ ต่อไปด้วย เนือ่ งจาก ในหมูบ่ า้ นนีม้ วี ตั ถุดบิ อยูห่ ลายชนิด ทัง้ ใบสาบเสือทีข่ นึ้ อยูท่ วั่ ไป สะเดา ขีเ้ หล็ก ข่าแก่ พริก เป็นต้น ซึง่ ปกติแล้วชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจะนำ�มา ผสมหมักเอาน้ำ�มาฉีดพ่นกันอยู่แล้ว แต่ต่อไปจะพัฒนาเป็นธุรกิจที่ สร้างรายได้ให้กบั ชุมชนเพิม่ มากขึน้

ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556 21


ปราชญ์ชุมชน โดย ฉมาร์

ดนตรีในหัวใจของวิศษิ ฐ์ พุทธตรัส... ประธานชุมชนบ้านทุ่ง ใกล้เข้าไปอีกนิด ชิดๆเข้ามาอีก หน่อย สวรรค์น้อยๆอยู่ในวงฟ้อนรำ� รูปหล่อเขาเชิญมาเล่น เนือ้ เย็นเขาเชิญ มารำ� มองมานัยน์ตาหวานฉ่�ำ มะมา รำ�กับพี่เอย เสียงกลองดังเป็นจังหวะเร้าใจ ชวนขยับเนื้อขยับตัว หนุ่มๆ สาวๆ (ทัง้ สาวน้อย สาวใหญ่และสาวเหลือน้อย) แห่งบ้านทุง่ หัวใจ โลดเต้นเป็นจังหวะเดียวกับกลองและเสียงเพลง ไม่ต้องรอพิธีกร ประกาศซ้�ำ ต่างพากันลุกขึ้น วาดแขน ตั้งวง จับจีบนิ้วอ่อนอย่าง ไม่มีใครยอมใครกันเลยทีเดียว คุณวิศษิ ฐ์ พุทธตรัส เจ้าของฝีมอื ตีกลองอันลือลั่น นอกจากตำ�แหน่ง มื อ กลอง ขวั ญ ใจสาวนั ก รำ � วงแล้ ว แท้จริงเขายังควบตำ�แหน่งประธาน ชุมชนบ้านทุง่ มาเป็นสมัยที่ 2 อีกด้วย วิญญาณของเด็กบ้านทุ่งโดยกำ�เนิด ทำ�ให้คณ ุ วิศษิ ฐ์ทมุ่ เทความรูค้ วามสามารถ ทีส่ �ำ คัญคือความจริงใจ กับการบริหารงานดูแลชุมชนบ้านทุง่ อย่างเต็มกำ�ลัง เพราะประธาน ชุมชนก็เหมือนกับพ่อบ้านที่ต้องคอยดูแลสารทุกข์สุกดิบของคน ในบ้าน คุณวิศษิ ฐ์จงึ มีความสุขทุกครัง้ ที่ พี่ ป้า น้า อา คุณย่า คุณยาย ลูกๆ หลานๆ บ้านทุง่ มีรอยยิม้ และเสียงหัวเราะ โดยเฉพาะใน วงรำ�ที่มีเขาเป็นคนให้จังหวะ หรือบางครั้งก็ยึดไมค์ควบตำ�แหน่ง นักร้องเสียด้วย

22 ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556

การสนับสนุนกิจกรรมรำ�วงพืน้ บ้าน ดูเหมือนเป็นงานทีไ่ ม่นา่ จะ สลักสำ�คัญอะไร แต่ส�ำ หรับพ่อบ้านอย่างคุณวิศษิ ฐ์กลับมองว่า นีค่ อื สิ่งที่จำ�เป็น ทุกวันนี้แต่ละคนมีเรื่องมากมาย สังคมเร่งรีบ รุมเร้า ความเครียดให้โตเร็ว หลายคนเจ็บป่วย ป่วยน้อย ป่วยมาก อายุหดสัน้ ไปพร้อมๆ กับรอยยิม้ และความสุขทีล่ ดน้อยลง ดังนัน้ เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้วจึงเริ่มคิดตั้งคณะรำ�วงขึ้น “ประมาณปี 48 ผมเริ่ ม คิ ด ถึ ง สมั ย เด็ ก ที่ ช อบไปดู รำ � วง เลยชวนคนมาคุยกัน พี่บุญธรรม สนิทขำ� ก็เห็นด้วยว่าเราน่าจะ ฟืน้ ฟูร�ำ วงพืน้ บ้านขึน้ มาใหม่ เริม่ จากในกลุม่ เล็กๆ เล่นสนุกกันเอง ก่อน เห็นพวกแม่บ้านยิ้มแย้มแจ่มใส มีความสุขกันมาก เพราะ เพลงแบบวัยรุ่นนั้น เขาสนุกกันไม่ไหว พอมีเพลงเก่าๆ ที่คุ้นเคย เขาจึงกล้าออกมาสนุกกัน ได้ผ่อนคลาย


หลั ง จากนั้ น งานฉลองกฐิ น ผ้ า ป่ า งานบุ ญ ต่ า งๆ ของบ้านทุ่งไม่เคยขาดรำ�วงพื้นบ้าน โดยเฉพาะ นางรำ�หรือ สาวๆ รำ�วงทีน่ ม่ี ไี ม่นอ้ ย ถ้ารวมอายุกห็ ลายร้อย เป็นพันได้มง้ั ” คนเล่าหัวเราะเสียงดังตบท้ายประโยค คนฟังเพลินๆ อย่างเรา พลอยสะดุ้ ง ไปด้ ว ย ไม่ ไ ด้ ต กใจเสี ย งหั ว เราะ แต่ ส ะดุ ด ความคิดว่า คราวหน้าหากมีรำ�วงบ้านทุ่งจะไปร่วมรำ�เพิ่ม จำ�นวนตัวเลขรวมอายุด้วยจะดีรึ เมือ่ คุณวิศษิ ฐ์ ก้าวเข้ามารับตำ�แหน่งประธานชุมชนบ้านทุง่ นอกจากวิสยั ทัศน์คอื โรงงานอยูไ่ ด้ ชุมชนอยูไ่ ด้ ไปด้วยกันแล้ว เขาก็ยงั ได้ สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมรำ�วงพืน้ บ้านอย่างจริงจัง จนปัจจุบนั ชาวบ้านทุง่ พร้อมใจกันยึดว่า “เอกลักษณ์บา้ นทุง่ คือความสามัคคี อัตลักษณ์คือรำ�วงพื้นบ้าน” “เพราะผมเชื่อว่า รำ�วงเป็นสิ่งดี เป็นวัฒนธรรมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ รำ�วงไม่ได้มีแค่ ความสนุกที่ทำ�ให้ทุกคนได้ยิ้ม แต่รำ�วงทำ�ให้ทุกคนรักกัน สร้างความเป็นพวกพ้อง และ เสียงดนตรีจะช่วยให้ทุกคนได้ผ่อนคลายปัญหาหนักอกหนักใจ ซึ่งสังคมทุกวันนี้ มันมีมาก เหลือเกิน พอยิ้มได้ เดี๋ยวปัญหาก็แก้ได้” ปิ ด ท้ า ยเราจึ ง ขอเสี ย งเพลงเพราะๆ จากมื อ กลองและนั ก ร้ อ งดี ก รี ป ระธานชุ ม ชน เพื่อเชิญชวนลูกหลานบ้านทุ่งและเพื่อนๆ ต่างบ้านต่างชุมชนมาร่วมรำ�วงด้วยกัน “เราเล่นกันเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์วายระกำ� ขอให้เล่นฟ้อนรำ� เพื่อสามัคคีเอย”

น่ารู้ เกี่ยวกับรำ�วงพื้นบ้าน

อาจารย์ธนิต อยูโ่ พธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เขียนถึงรำ�วงว่า สืบเนือ่ งมาจาก รำ�โทน ซึง่ เป็นการละเล่นพืน้ บ้านของชาวไทยทีน่ ยิ มเล่นกันในฤดูเทศกาลเฉพาะท้องถิน่ ในบางจังหวัด เล่นกันเพื่อความสนุกสนานและเชื่อมความสามัคคี เครื่องดนตรีที่ใช้ก็มี ฉิ่ง กรับ และโทน สำ�หรับตีเป็นจังหวะประกอบฟ้อนรำ� โดยเหตุที่การฟ้อนรำ� ใช้จังหวะโทนตีตามหน้าทับ จึงเรียกว่า รำ�โทน มาแต่เดิม ท่ารำ�นัน้ ไม่มกี ฎเกณฑ์ตายตัว เพียงแต่ตอ้ งรำ�ให้ถกู จังหวะเท่านัน้ ส่วนเพลงทีใ่ ช้รอ้ งกัน มักจะเป็นกลอนสั้นๆ เนื้อหาง่ายๆ ร้องซ้ำ�กันไปซ้ำ�กันมาหลายรอบ โดยไม่มีชื่อเพลงหรือ บ่งบอกว่าใครเป็นคนแต่ง ใช้วธิ จี ดจำ�ร้องต่อๆ กันมา และมักจะแต่งเป็นเหตุการณ์หรือเรือ่ งราว ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นเสียเป็นส่วนมาก ปัจจุบันมักใช้เพลงลูกทุ่งที่ชื่นชอบ วิธีการเล่นนั้นจะเล่นรวมกันเป็นวงและเคลื่อนย้ายเวียนกันไปเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา มีโต๊ะตั้งอยู่กลางวง หรือมีเสาจุดตะเกียงเจ้าพายุส่องสว่าง แล้วคู่รำ�ทั้งชายและหญิง ออกรำ�กันเป็นคูๆ ่ เดินหมุนไปรอบๆ โต๊ะหรือเสา ต่อมาแพร่หลายออกไปเล่นกันตามงานวัด โดยมีคณะรำ�วงทีม่ กี องเชียร์และสาวรำ�วงหรือนางรำ�ประจำ�วง นางรำ�จะนัง่ รอให้คนซือ้ บัตรรำ�วง หรือมาลัยไปคล้องคอ แล้วชวนกันรำ�เป็นวงกลมไปรอบๆ เวที เมื่อหมดรอบ หรือ หมดเพลงก็ต้องซื้อบัตรหรือมาลัยกันใหม่

ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556 23


กวนแฟง อร่อยด้วยแรงสามัคคีของดีชุมชนวัดมโนรม ของดีบ้านเรา โดย คนศรี

ส�ำนวนไทยว่า รูห้ น้าไม่ร้ใู จ พอมาเจอขนมไทยๆ ทีช่ มุ ชนวัดมโนรม ต้องบอกว่า รูห้ น้า (ตาขนม น่ากินมาก) แต่ไม่รู้ใจ คนท�ำว่าท�ำได้ยงั ไง เพราะกว่าจะได้กนิ ต้องใช้เวลาเกือบ 5 ชัว่ โมงทีเดียว (ระยะเวลาทีว่ า่ ยังไม่รวมขัน้ ตอนเตรียมวัตถุดบิ ทั้งหลาย) เทศกาลงานบุญกฐินทีผ่ า่ นมา ชาวชุมชนวัดมโนรมรวมใจกันท�ำขนมกวนแฟงซึง่ เป็นขนมโบร�่ำโบราณ ประมาณว่า คนศรีไม่เคยแม้แต่ได้ยินชื่อมาก่อน อย่าว่าแต่ลิ้มรสเลย พอมีโอกาส พี่ ป้า น้า อา ยื่นมาให้ชิม จึงรีบรับมาทันทีไม่ลังเล อยากรู้นักว่า ฟักแฟงที่เคยกินแต่อยู่ในแกงจืด แกงเผ็ด มาเป็นขนมจะเป็นอย่างไร ขนมสีนา้ํ ตาลเข้มอมทอง แวววาวด้วยความมันจากกะทิในเนือ้ ขนม พร้อมกลิน่ หอมของนํา้ ตาลปึกผสมกับกลิน่ ประจำ�ตัวของขนมประเภทกวน ถ้ามองเผินๆ ดูคล้ายกะละแมทีท่ ำ�จากข้าวเหนียว แต่เมือ่ ลิม้ รสแล้วต้องบอกว่า อร่อยกว่า เพราะขนมกวนแฟงมีทง้ั ความเหนียว หอม และมัน อย่างที่กะละแมหรือขนมกวนกะทิดีๆ ต้องมี แต่เวลาเคี้ยวแล้วนอกจากความหนึบหนับ ยังเจือความกรุบน้อยๆ ของเนื้อแฟงที่แทรกตัวอยู่ รวมถึงรสและความหอมเย็นลักษณะเฉพาะตัวของฟักแฟงด้วย วันนี้ที่บ้านคุณตาเกษมและคุณยายบุญลาภ ถนอมรอด วัย 74 ปี เต็มไปด้วย ลูกๆ หลานๆ และเพื่อนบ้านชาววัดมโนรม ที่ทยอยมารวมกันตั้งแต่เช้าตรู่ (หลังไก่ตื่น ไม่นาน) เพื่อเตรียมทำ�ขนมกวนแฟง เจ๊แมว อำ�นวย คุ้มคง มาถึงก็ไม่รอท่า คว้ามีด มาหั่นๆ ปอกๆ ฟักลูกโตๆ แก่จัดจนเปลือกขึ้นนวลขาวลูกแล้วลูกเล่าผ่านมือเจ๊แมว กลายเป็นฟักชิ้นน้อย รอขั้นตอนต่อไปที่ต้องนำ�ไปฝนให้เนื้อเป็นฝอยละเอียด ถ้าลูก ไหนผ่าแล้ว เนื้อไม่ใส กดแล้วยวบนั้นจัดว่าใช้ไม่ได้เพราะมีแต่น�้ำ ไม่ได้เนื้อ ต้องคัดทิ้ง กันเป็นลูกๆ โดยมีคณ ุ ยายบุญลาภ คอยช่วยดูอยูด่ ว้ ย กว่าจะถึงมือพีพ ่ กิ ลุ ถนอมรอด มือฝนที่เตรียมสาธิตการฝนกับอุปกรณ์ดั้งเดิมคือ แผ่นอะลูมิเนียมเจาะรู ด้านข้างมี ไม้ดามทั้งสองด้าน คุณยายและพี่พิกุลช่วยกันเล่าว่า แต่ก่อนต้องนั่งฝนกันทีละชิ้น ทีละชิ้น จนกว่าจะหมด แล้วนำ�ไปบีบน้�ำ ออก ให้ได้เนือ้ แฟงทีเ่ ป็นเนือ้ ขนม (ตามสูตรทีช่ าววัดมโนรมคำ�นวณไว้คอื 6 กิโลกรัม ซึ่งต้องใช้เนื้อแฟงดิบประมาณ 25 กิโลกรัม มากกว่าหรือน้อยกว่า ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเนื้อแฟงที่ได้) พี่พิกุลเล่าว่า “แต่ก่อนฝนเนื้อแฟงกันแต่ละที มักจะได้แผล ได้เลือดกัน ทัง้ นัน้ ” เพราะฝนเพลินจนหมดเนือ้ ฟัก กลายเป็นนิว้ คนฝน ปัจจุบนั มีเครือ่ ง ปั่นทำ�ให้สบายขึ้นมาก ระหว่างนั้นพี่สมฤทัยไปปอกมะพร้าวด้วยวิธีดั้งเดิม คือ มีดกับมือ ให้ลูกหลานได้เห็นว่ากว่าจะได้กะทินั้นเป็นอย่างไร ปอกเสร็จ นำ�มาขูดด้วยกระต่าย ได้เนื้อไปคั้นเป็นกะทิ แป้งข้าวเหนียวที่ใช้ใส่ขนมนั้น พี่ๆ ยังเล่ากันว่า เมื่อก่อนต้องโม่เอง เดี๋ยวนี้มีแป้งสำ�เร็จจึงสบายขึ้น กะทิ ก็มีเครื่องคั้นน้ำ�กะทิมาเสร็จ...คนที่ได้แต่ยืนดูอย่างเราถึงกับร้องลั่นในใจ นีแ่ ค่ขนั้ เตรียม กว่าจะได้วตั ถุดบิ แต่ละอย่าง แล้วน้�ำ ตาลสมัยก่อนอาจถึงขัน้ ต้องเคี่ยวเองด้วยกระมัง

24 ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556


ระหว่างทีฝ่ า่ ยหญิงเตรียมวัตถุดบิ ฝ่ายชายจะเตรียมฟืน จุดไฟ ตั้งกระทะใบบัวไว้รอท่า กะทิคั้นสด 24 กิโลกรัม เทลงได้ค่อนกระทะ ตามด้วยเนื้อแฟง 6 กิโลกรัม น้ำ�ตาล ปึกอีก 12 กิโลกรัม ตบท้ายด้วยแป้งข้าวเหนียวอีก 3 กิโลกรัม เป็ น สู ต รที่ ช าววั ด มโนรมใช้ ป ระสบการณ์ จ ากการทำ � มา ยาวนาน จนได้ตำ�รับขนมกวนแฟงที่หวานมันอร่อยกำ�ลังดี คุณยายบุญลาภ ผู้อาวุโสที่สุดในฝ่ายหญิงเล่าว่า สมัยยาย ทำ�ไม่ได้ชั่งตวง ใช้กะประมาณเอา หรืออาจใช้หน่วยวัดตวง แบบข้าวสารคือ เป็นทะนานบ้าง เมื่อทุกอย่างลงไปรวมอยู่ในแอ่งกระทะแล้ว จึงได้เวลา รวมแรงชาววัดมโนรม เป็นการรวมแรงจริงๆ เพราะต้องใช้แรง ถือพายด้ามยาว กวนเนื้อขนมไปเรื่อยๆ จนกว่าขนมที่เป็น น้ำ�เหลวจะค่อยๆ ข้นเหนียวกลายเป็นเนื้อขนมกวนแฟง แสนอร่อย กวนไป กวนไป ...ไม่นาน แค่ 4 ชั่วโมงกว่าๆ เอง เอาเข้าจริงใช้เวลาเกือบ 5 ชัว่ โมงกว่าขนมจะได้ที่ เพราะต้อง ผ่านการประเมินคุณภาพจากปากคุณยายบุญลาภก่อน ยาย บอกว่า เนือ้ ยังนิม่ ไม่เหนียว ฝ่ายถือพายก็ตอ้ งกวนต่อไป ซึง่ ชัว่ โมงหลังๆ ทีข่ นมเริม่ หนืดมากแล้ว ต้องอาศัยแรงฝ่ายชาย เท่านัน้ ถึงจะกวนไหว ยิง่ มีคนมากก็สามารถผลัดมือส่งไม้ตอ่ กันได้ คนหนึ่งกวนสักสิบนาที พอเริ่มจะเมื่อยก็ได้เปลี่ยน วิธีกวนต้องกวนให้ถึงก้นกระทะ ขนมยิ่งหนืด ยิ่งหนัก ต้องใช้แรงผลักพายมาก และต้องกวนไปทางเดียวกันให้ได้ จังหวะกับคู่กวน ขอบอกว่า ดูเฉยๆ นึกว่าง่าย แต่ลองถือ พายมาแล้วยืนยันว่า สู้ไม่ไหวและปฏิญาณกับตัวเองทันที ว่า ต่อไปถ้าซือ้ ขนมไทยประเภทกวนทัง้ หลาย จะไม่ตอ่ ราคา เด็ดขาด ปัจจุบนั ขนมกวนแฟงนีจ้ งึ ไม่คอ่ ยมีคนทำ� พีๆ ่ ป้าๆ เล่าว่าทางระยองมีทำ�ขาย และได้ยินว่าทางหนองมนมีทำ� ช่วงออกพรรษาแต่ทำ�เมื่อมีคนสั่งเท่านั้น เรียกว่าเป็นขนม โบราณที่หากินยาก ในศรีราชาเองเวลามีงานบุญก็แล้วแต่ หมู่บ้านว่าจะทำ�หรือไม่

ขนมกวนแฟงหนึ่งกระทะ ได้ขนมมากว่า 50 ถาด นอกจากได้ความ อิ่มอร่อยแล้ว ขนมกวนเนื้อหนุบหนับนี้ยังเชื่อมสัมพันธ์ให้ชาววัดมโนรม เหนียวแน่นยิง่ กว่าขนม วันนี้ คุณสมศักดิ์ ถนอมรอด ประธานชุมชนวัดมโนรม ลูกชายของคุณตาเกษมกับคุณยายบุญลาภ นอกจากจะช่วยประสานงาน บอกข่าวจนได้คณะกรรมการชุมชนและลูกบ้านทั้งหลายมาช่วยกันแล้ว ภรรยาและลูกสาวก็มา ลูกหลานบ้านถนอมรอดมากันเต็มบ้าน จนคุณตา เกษมแม้อายุเฉียด 80 ปี ยังออกมานัง่ ดูไปพลาง เล่าความหลังไปพลางอย่าง มีความสุข คนที่ไม่ค่อยได้มาอย่างลุงสมหมาย กระจ่างแจ้ง ยังถูกเพื่อนๆ ลูกหลานแซวเมื่อเห็นจับพายมาช่วยกวนขนม ป้าบุญศรี (หลิ่ม) ขวัญเมือง และน้องกาญจนา คุม้ คง ระหว่างรอกวน ยังไปเก็บลำ�ไยปลูกเองหลังบ้านมา ให้อร่อยกัน หลายบ้านมากันเป็นครอบครัว อย่างคูข่ องพีป่ ระสิทธิก์ บั พีโ่ สภา คุม้ คง ยังขยันไม่หยุด งานยากและเหนือ่ ยไม่แพ้กวนขนมคือ ล้างกระทะ ก็ไม่รรี อ

ต้องขอบคุณชาววัดมโนรมทุกคนที่มาร่วมช่วยกันทำ�ขนมอร่อยให้ได้ บันทึกภาพและข้อมูล เพื่อเป็นความรู้และเป็นประวัติศาสตร์ของชุมชนที่ ลูกหลานภูมิใจ ขนมกวนแฟงอร่อยได้ด้วยแรงสามัคคีจริงๆ ค่ะ ขออภัยที่อาจเอ่ยชื่อตกหล่นไม่ครบทุกท่าน และขอขอบพระคุณ... คุณตาเกษม คุณยายบุญลาภ พี่สมศักดิ์ พี่พิกุล พี่จิ๋ว พี่บุญชู คุณฐิติมา ถนอมรอด ลุงรำ�พึง ฮ้อเลี้ยง ลุงบุญเลิศ ขวัญเมือง ป้าบุญล้อม สร้อยสกุล ลุงสมหมาย กระจ่างแจ้ง พี่เกรียงศักดิ์ พุทธตรัส พี่ประสิทธิ์ พี่โสภา พี่รัตน์ เจ๊แมว อำ�นวย คุณวีณา น้องกาญจนา คุ้มคง มา ณ ที่นี้ค่ะ

ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556 25


โดย หงวน ชวน คิด

รักษ์เมล็ดพันธุ์

“ สิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเรามากที่สุดอย่างหนึ่งคือ อาหาร ฉบับนี้ จึงชวนทุกคนมาฟังเรื่องราวของผู้ชายคนหนึ่งชื่อ โจน จันได ซึ่งประกาศตัวว่าชีวิตที่เหลืออยู่นี้ขอทุ่มเทกับงานเก็บรวบรวม รักษาเมล็ดพันธุ์ เขาบอกว่า...เรากำ�ลังตกเป็นทาสเรื่องอาหาร โจนชวนเราทุกคนคิดว่า อาหารทีก่ นิ เข้าไปทุกวันนีม้ าจากไหน แม้เราจะปลูกกินเอง แล้วเมล็ดพันธุ์นั้นมาจากไหน...ในตลาด ที่เคยมีมะม่วงนานาชนิด แก้มแหม่ม ตลับนาค กะล่อน ฯลฯ เหลือเพียงไม่กี่สายพันธุ์ เช่นเดียวกับชมพู่ ทุเรียน ข้าว ผัก ปลา ทั้งที่ไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาเรายังคุ้นชินได้ยินชื่อ ได้ลิ้มรสพืชพันธุ์ พื้นบ้านแสนอร่อย กะเพราแดงรสร้อน โหระพาหอมแรง ไม่ใช่ กะเพราใบใหญ่ยกั ษ์ รสอ่อน โหระพาหอมแกมเหม็นเขียวอย่าง ทุกวันนี้ ในแปลงผัก ผักชีตน้ แก่ เมล็ดร่วงลงดินงอกเป็นเบีย้ ต้นเล็กๆ เติบโตให้กินต่อได้ แต่เดี๋ยวนี้มันไม่เคยมีเบี้ยให้เห็น ชาวสวน ชาวไร่รู้ดีว่า ต่อให้เก็บเมล็ดไว้มันก็ไม่งอก ต้องซื้อใหม่ทุกครั้ง

กับ โจน จันได

ถ้าเราต้องซื้อทุกอย่าง จะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของเรา

รักษ์สิ่งแวดล้อม

“ถ้าราคากิโลละเป็นหมื่นขึ้นไป ชาวบ้านที่มีรายได้ต่อปี ปีละหมื่น สองหมื่น ก็หมายความว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้เป็นค่าเมล็ดพันธุ์ แล้วจะอยู่กันได้ยังไง” โจน จันได เป็นชาวยโสธร เป็นคนธรรมดา โตมากับดินท้องนา โชคดีมโี อกาส ได้เดินทาง ได้เห็นโลกกว้าง บ่มเพาะแนวคิดการดำ�รงชีวิตอย่างมีความสุข และพอเพียง เริ่มจากการสร้างบ้านดินอยู่เอง ขยาย ความรู้ปันให้คนอื่นต่อ เขาเปิดบ้าน (บ้านดิน) เป็น ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์พันพรรณ เพื่อเก็บรวบรวมและรักษาเมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้าน พันธุ์ท้องถิ่นแท้ที่สามารถสืบเชื้อพันธุ์ต่อได้ ซึ่ง ต่างจากเมล็ดพันธุล์ กู ผสมของบริษทั ทีเ่ ก็บไว้ปลูกต่อ ไม่ได้อีก “ผมเริ่มจากความกลัว กลัวว่า ถ้าเราซื้อทุกอย่าง จะเกิด อะไรขึ้นกับชีวิตเรา” ทำ�ไมต้องเก็บเมล็ดพันธุ์ เขาชวนเราย้อนคิดถึงอดีต ในน้�ำ ในนา ในป่า อุดมด้วยสรรพชีวติ หลากหลาย ในมือ ในสวนของเกษตรกรทัว่ โลกมีพนั ธุพ์ ชื พันธุ์ผัก ผลไม้นานาชนิด เฉพาะพันธุ์ข้าวในเมืองไทยก็มีอยู่ หลายหมืน่ สายพันธุ์ ทัง้ โลกรวมกันมีเป็นแสนๆ สายพันธุ์ ชุมชนปลูก เก็บเกี่ยว สะสม คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ดีๆ ไว้ใช้ในฤดูกาลต่อไป บ้างก็แลกเปลีย่ นกันจนอาหาร นัน้ มีหลากหลาย เหลือเฟือ เป็นความมัน่ คง ทางอาหารของสังคมมนุษย์

26 ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556


“มนุษย์เคยกินพืชผักมากกว่า 8 หมื่นตระกูล เมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว ในปัจจุบันมีแค่ 200 ตระกูลเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่เศร้ามาก การที่ เรามีอาหารน้อยพันธุ์ลง หมายถึงความมั่นคงในชีวิตเราลดลงด้วย” ทุกวันนี้ เรากินอาหารไม่กี่พันธุ์ ไม่กี่อย่าง ตามทีธ่ รุ กิจอาหารพัฒนาพันธุอ์ อกมา เป้าหมาย ของเขาคือกำ�ไร ดังนั้น เขาจะพัฒนาพันธุ์ที่ แปลกประหลาดเพือ่ จะผูกขาดได้ วันนีเ้ ราอาจ พูดกันว่า ใครเป็นผูค้ รอบครองสือ่ คือ ผูท้ รงอิทธิพล ของโลก แต่อนาคตผู้ที่ครอบครองเมล็ดพันธุ์เท่ากับยึดครองอาหาร ของทั้งโลก เหมือนการยึดครองโลก โจนเชื่อว่า เมล็ดพันธุ์พื้นบ้านเหล่านี้คือ รากเหง้าแห่งอิสรภาพ และการพึ่งพาตนเอง ทั้งในเรื่องสุขภาพและการดำ�รงชีวิต ดังนั้นเขา จึงมุ่งมั่นกับงานเก็บเมล็ดพันธุ์ด้วยวิธีง่ายๆ แบบพื้นบ้านนี้ ปลูก กิน แล้วแบ่งต้นทีส่ มบูรณ์สว่ นหนึง่ ไว้เก็บเป็นเมล็ดพันธุต์ อ่ เสมอ คนสนใจ ก็แจกจ่ายและแลกเปลีย่ นเมล็ดพันธุก์ บั เครือข่ายเกษตรกรต่างๆ ทำ�ให้ รวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชผักพื้นบ้านหลากหลายที่เคยหายไปให้กลับคืน มาได้ เช่น มะเขือเทศตามท้องตลาดที่มีอยู่ไม่กี่สายพันธุ์ ที่นี่รวบรวม มาได้นับร้อยสายพันธุ์ “ถ้าเราไม่มเี มล็ดพันธุอ์ ยูใ่ นมือ เราก็ไม่มเี สรีภาพทีจ่ ะเลือกกิน ไม่มี สิทธิทจ่ี ะดูแลสุขภาพตัวเอง ฉะนัน้ สิง่ ทีท่ �ำ ได้คอื กลับมาพึง่ ตนเอง จะดูแล สุขภาพต้องดูแลอาหารทีเ่ รากิน ต้องมาเริม่ เก็บเมล็ดพันธุ์ เมล็ดพันธุท์ ี่เรา ปลู ก ต้ อ งไม่ ใช่ จี เ อ็ ม โอ ไม่ ใช่ เ มล็ ด พั น ธุ์ ที่ พั ฒ นามาเพื่ อ การค้ า ต้องปลูกแบบไม่ใช้สารเคมี เพราะว่ามันเป็นสุขภาพของเรา แปลงผัก เป็นร่างกายของเรา ผักทุกต้นที่เราหยอดเมล็ดลงไป คือส่วนหนึ่งของ ร่างกายเรา ฉะนั้นการดูแล รดน้�ำ ผัก คือการรดน้�ำ ตัวเอง ดูแลตัวเอง เพราะอีกไม่นานมันจะกลับมาเป็นเลือดเนื้อของเรา” เมล็ดพันธุ์เหล่านี้ไม่ได้หมายถึง ความมั่นคงและยั่งยืนทางอาหาร เท่านัน้ แต่นค่ี อื การสร้างทางเลือกให้ชวี ติ มีอสิ รภาพเหนือสุขภาพของเรา อย่างเต็มที่ พึ่งตนเองได้จริง เป็นทางรอดสำ�หรับอนาคต ที่ทุกคนจะ สร้างอธิปไตยทางอาหารได้ดว้ ยมือของตนเอง “สุดท้ายผมอยากบอกว่า ชีวติ เราจะมี ความสงบสุ ขหรื อ อิ ส ระ ไม่ได้ถา้ เราพึง่ ตัวเองไม่ได้ การพึง่ ตนเองคือปัจจัยหลักในการมีชวี ติ อยู่ คือสาระสำ�คัญของการมีชวี ติ อยู่ ของทุกชีวิต”

เรื่องชวนคิด • เกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ทุกฤดูกาล และ ราคาเมล็ดพันธุ์มีแต่สูงขึ้นๆ • การเกษตรแบบใหม่ที่มุ่งผลผลิตสูงสุดจะ เลือกปลูกพืชเฉพาะพันธุท์ ใี่ ห้ผลตอบแทนสูงเท่านัน้ • ปัจจุบันมีบริษัทใหญ่ 6 บริษัท เป็นเจ้าของ และครอบครองตลาดเมล็ดพันธุร์ อ้ ยละ 74 ของโลก • ข้าว ปลา อาหารถูกทำ�ให้ กลายเป็ น สิ น ค้ า อุ ต สาหกรรม ผลิตซ้ำ�ๆ จำ�นวนมหาศาลแต่กลับมี ความหลากหลายน้อยลง มีพิษภัยต่อ สุขภาพมากขึน้ เหตุผลเพียงเพือ่ ให้งา่ ยต่อ การจัดการ และเพิ่มยอดขาย • กระบวนการผลิตอาหารอยู่ในมือ ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ ที่มุ่งทำ�กำ�ไรสูงสุด

ข้อมูลอ้างอิง นิตยสารเราคิดอะไร ฉบับที่ 159 ตุลาคม 2546 สารคดีไทไท ชุดข้าวปลาอาหาร ตอนที่ 6 อธิปไตย ทางอาหาร ออกอากาศทางไทยพีบีเอส มกราคม 2556 http://thai.punpunthailand.org ติดต่อ ศูนย์พันพรรณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง และศูนย์เมล็ดพันธุ์ ตู้ ปณ.5 อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50150 หรือ คุณกฤษฎา 081-470-1461 หรือ jonjandai@gmail.com, punpun.farm@gmail.com

ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556 27


เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน โดย คำ�ศรี

ดิเรียนรูน้ปดีระสบการณ์ มีชดยั ีๆ ไปกว่ า ครึ ง ่ จากหมอดินที่หนองเหียง ฉบับนีข้ ออนุญาตพาไปเยีย่ มเยียนบ้านใกล้เรือนเคียง ที่ทุกคนสามารถเดินทางไปได้ ไม่ยากและมีเรื่องดีๆ ให้ ได้ เรียนรูก้ นั มากมาย นัน่ คือ ศูนย์เรียนรูก้ ารพัฒนาที่ดิน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ที่หมู่ 8 ตำ�บลหนองเหียง อำ�เภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี “เจ้าหน้าทีแ่ นะนำ�ว่าต้องดูแลดินก่อน เขาให้แนวทางมาว่า จะปรั บ ปรุ ง บำ � รุ ง ดิ น อย่ า งไร เพิ่ ม ความอุ ด มสมบู ร ณ์ โ ดย ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนด้วยแล้ว ไม่ควรปลูกพืชอย่างเดียว ต้องมีหลากหลายให้เหมาะกับสภาพดิน” ศูนย์แห่งนี้เป็นบ้านของ คุณทำ�นนท์ แซ่ลี้ เกษตรกรดีเด่น แห่งชาติ สาขาการพัฒนาทีด่ นิ เพือ่ เกษตรกรรมประจำ�ปี 2552 เพราะ สามารถพลิกฟื้นผืนดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ให้เป็นผืนดินที่ เพาะปลูกพืชผลได้งอกงาม สร้างรายได้เลี้ยงตัวอย่างน่าทึ่ง

จบ ป.4 แต่วันนี้กลายเป็นหมอ “ผมเรียนแค่ ป.4 ก่อนมาเป็นเกษตรกรก็รบั จ้างขับรถบรรทุกและ เช่าที่ดินทำ�ไร่อ้อย พยายามทำ�ทุกอย่างเพื่อเก็บเงินไปซื้อที่ดินเป็น ของตัวเอง จนปี 2526 มาได้ที่พนัสนิคมนี่ประมาณ 28 ไร่” เริ่มต้นชีวิตด้วยความอุตสาหะ จนพบความสำ�เร็จเป็นเจ้าของ ที่ดินทำ�กินได้ แม้จะขยันขันแข็งเท่าไร การทำ�ไร่มันสำ�ปะหลังนั้น ไม่ได้ดีอย่างที่คิด รายได้ไม่พอเลี้ยงตัวและครอบครัว จนได้พบกับ เจ้าหน้าทีส่ �ำ นักงานพัฒนาทีด่ นิ ซึง่ ได้ให้ความรูแ้ ละคำ�แนะนำ�ว่า ดิน ในไร่ของตนนัน้ เป็นดินปนทราย ไม่อมุ้ น้�ำ ในช่วงฤดูแล้งจะขาดแคลน น้ำ�มาก มีธาตุอาหารน้อย เศษซากพืช ซากสัตว์หรืออินทรีย์วัตถุ ก็น้อย และการปลูกพืชชนิดเดียวนั้นไม่ดีกับผืนดิน และยังเสี่ยง ต่อการขาดทุน

28 ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556

หลังจากได้ความรู้ เทคนิค และทดลองใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี ชีวภาพทางดินของกรมพัฒนาทีด่ นิ เช่น ปุย๋ อินทรียน์ �้ำ ปุย๋ หมัก จากสารเร่ง พด.1 น้�ำ หมักชีวภาพจากสารเร่ง พด.2 สารไล่แมลง จากสารเร่ง พด.7 รวมถึงการแบ่งพืน้ ทีเ่ พาะปลูกแบบผสมผสาน ผืนดินที่เคยแห้งผาก ขาดสารอาหาร กลับพลิกฟื้นเป็นดินดำ� น้�ำ ชุม่ อุดมสมบูรณ์ได้ แม้จะเรียนมาน้อย แต่หอ้ งเรียนชีวติ ได้ สอนความรูแ้ ละให้ประสบการณ์ทมี่ ากยิง่ กว่า เมือ่ ได้แล้วก็มไิ ด้ เก็บไว้กับตัว แต่แบ่งปันสู่เพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียง จน ได้รบั การยอมรับและแต่งตัง้ ให้เป็นหมอดินอาสาประจำ�ตำ�บล ของกรมพัฒนาทีด่ นิ ต่อมา จึงเปิดบ้านเป็นศูนย์เรียนรูฯ้ กระทัง่ ทุ ก วั น นี้ หากใครแวะมาเยี่ ย มเยื อ น จะได้ ทั้ ง ความรู้ แ ละ แรงบันดาลใจจากหมอดินคนเก่งกลับไป


“รักษาดินให้หายป่วย เกษตรกรก็หายจน” ผืนดินเปรียบเสมือนร่างกายคน หากขาดสารอาหาร ก็เหมือนคนป่วย การรักษาดินให้สขุ ภาพดี ไม่วา่ จะปลูกพืชผล อะไรก็ ง อกงาม ตั้ ง แต่ ปี 2544 คุ ณ ทำ � นนท์ ไ ด้ เริ่ ม ทำ � เกษตรอิ น ทรี ย์ อ ย่ า งจริ ง จั ง จั ด สรรผื น ดิ น ให้ ป ลู ก พื ช แบบผสมผสาน โดยแบ่งเป็น พืชผักสวนครัว 3 ไร่ ปลูกไม้ผล มะม่วง ขนุน มะพร้าว 14 ไร่ ทำ�ไร่มันสำ�ปะหลัง 3 ไร่ ไม้ดอกไม้ประดับ 1 ไร่ ทำ�นาและบ่อปลา 3 ไร่ และเป็น พื้นที่บ้าน ประมาณ 1 ไร่ รวมถึงการขุดบ่อน้�ำ ในไร่นาเพื่อ กักเก็บน้ำ�ฝนไว้ใช้เสริมในช่วงฝนทิ้งช่วง ปลูกหญ้าแฝก รอบแหล่งน้ำ�และล้อมรอบพื้นที่เพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ� หลังจากที่ทำ�แบบนี้พบว่า ดินดีขึ้น เริ่มอุ้มน้ำ� พืชผล ทนแล้งได้ยาวนานขึ้น คุณภาพและผลผลิตก็ดีขึ้น ที่ส�ำ คัญ ยั ง ลดต้ น ทุ น จากค่ า ปุ๋ ย และยาเคมี ล งได้ ม าก ทุ ก วั น นี้ หมอดินทำ�นนท์เล่าว่า มีรายได้หมุนเวียน มีกินมีใช้คล่อง ทุกเดือน ปีทจ่ี ดบันทึกไว้พบว่า รายได้ทง้ั ปีเป็นเงิน 186,400 บาท เฉลีย่ เดือนละ 15,533 บาท ประกอบด้วยรายได้จากพืชผัก ปลอดสารพิษ มันสำ�ปะหลัง ไม้ผลผสม ไม้ดอกไม้ประดับ กล้วย และการเลีย้ งปลา ลดหลัน่ กันไป แต่ทสี่ �ำ คัญคือไม่มี หนี้สิน

ด้วยความอดทนมุง่ มัน่ ตัง้ ใจจริง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และพัฒนา ความรู้ความสามารถของตนเอง อยูเ่ สมอ จึงทำ�ให้กา้ วมาถึงความสำ�เร็จ ในวันนีไ้ ด้ และความสำ�เร็จนีย้ งั พร้อม แบ่งปันให้ทุกคน ในฐานะหมอดิน อาสา ถ้าใครต้องการปรึกษาเรื่อง การรักษาฟืน้ ฟูดนิ ให้อดุ ม สามารถแวะมาเยีย่ มศูนย์เรียนรูข้ องเขาได้ ทุกเมือ่ นอกจากรักษาดินแล้วยังช่วยรักษาใจให้ไม่ทอ้ ความเหน็ดเหนือ่ ย ทีม่ คี วามรูท้ ถ่ี กู ทางและมีระบบ เช่น การวางแผนจัดสรรทีด่ นิ การปลูกพืช หลายชนิดผสมผสาน การบริหารจัดการเงินเป็น ลดต้นทุน ลดค่าใช้จา่ ย พึ่ ง ตนเองให้ ม าก อั น เป็ น หลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั่นคือสิ่งที่หมอดินทำ�นนท์ย้ำ�ว่า เป็นแนวทางที่จะทำ�ให้ทุกคนประสบความสำ�เร็จได้เช่นเดียวกัน หมอดินทำ�นนท์ได้รบั คัดเลือกให้เป็น เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการพัฒนาทีด่ นิ เพือ่ เกษตรกรรมประจำ�ปี 2552 พืน้ ทีท่ �ำ การ เกษตรของเขาได้รบั การยอมรับให้เป็นศูนย์เรียนรูก้ ารพัฒนาทีด่ นิ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งมีผู้สนใจเข้า เยี่ยมชมจำ�นวนมาก

เยี่ยมชม ศึกษาดูงาน ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ติดต่อ ทำ�นนท์ แซ่ลี้ โทร. 0-8177-5378-9

ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556 29


ธรรมะ

โดย กองบรรณาธิการ

พรหมวิ ห ารสี ่ ธรรมแห่งใจที่ ใหญ่และเป็นสุข พุทธศักราช 2556 นอกจากจะเป็นปีที่เจ้าพระคุณสมเด็จ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก มี พ ระชั นษาครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ที่ ผ่ า นมา ซึง่ ประชาชนชาวไทยล้วนปีตยิ นิ ดีและร่วมเฉลิมฉลองกันอย่าง ยิ่งใหญ่มาตั้งแต่ต้นศักราช จนกระทั่งเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ข่าวการสิ้นพระชนม์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้สร้างความ เศร้าโศกเสียใจอย่างสุดซึง้ ให้แก่ประชาชนชาวไทยด้วยเช่นกัน โอกาสนี้ เราจึงขอน้อมนำ�คำ�สั่งสอนที่ท่านเคยแสดงไว้มาใช้ เป็ น หลั ก ปฏิ บั ติ ใ นการดำ � รงชี วิ ต เพื่ อ ระลึ ก และสำ � นึ ก ใน พระเมตตาคุณที่พระองค์ท่านได้ทรงอุทิศพระวรกายเพื่อ พระศาสนกิจน้อยใหญ่มานับอเนกประการ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงแสดงธรรมสั่งสอนและนิพนธ์ผลงานต่างๆ ไว้มากมาย หนึ่งในหลักธรรมที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงแสดงอยู่เสมอคือ พรหมวิหารสี่ ซึ่งเป็นธรรมแห่งผู้มีใจอันใหญ่อันประเสริฐ ผู้ใดถือครองพรหมวิหารสี่ ย่อมเป็นผู้ที่ถึง พร้อมด้วยความรัก ความเมตตา อันมิอาจประมาณได้ เช่นนัน้ แล้ว พรหมวิหารสีจ่ งึ เป็นการฝึกฝนจิตใจให้ยง่ิ ใหญ่ เพือ่ แบ่งปัน ความรักและความสุขแก่สรรพชีวิตทั้งหลายรวมทั้งตัวเราเอง

การแผ่เมตตา คือการใช้สติ ความระลึกได้ตั้งต้นแผ่จิตไป

ด้วยความเมตตา ความมีไมตรีจิตคิดรักชักนำ�ความสุขไปใน สรรพสัตว์ถ้วนหน้าในทิศทั้งหลาย โดยหัดแผ่ไปโดยเจาะจงต่อ บุคคลที่รัก แผ่ไปในบุคคลที่เป็นกลาง แล้วจึงหัดแผ่ไปในบุคคลที่ ไม่ค่อยชอบ ชิงชัง หรือเป็นศัตรู จนท้ายที่สุดก็แผ่ออกไปอย่าง ไม่มีประมาณ

การแผ่กรุณา คือการแผ่จิตออกไปด้วยกรุณาในสัตว์

บุคคลทั้งหลายผู้มีความทุกข์ คิดสงสารช่วยให้พ้นทุกข์ วิธีการก็ เช่นเดียวกับการแผ่เมตตา คือแผ่ไปโดยเจาะจง แล้วค่อยๆ ขยาย ออกไปจนถึงอากาศไม่มีที่สุด

การแผ่มทุ ติ า คือการแผ่จติ ออกไปด้วยมุทติ า คือความยินดี

เบิกบานในความสุข ความเจริญ ความสำ�เร็จของผูอ้ นื่ โดยปราศจาก อคติ ริษยา แผ่ออกไปในบุคคลที่เจาะจง แผ่ไปในบุคคลที่เป็น กลาง แล้วแผ่ต่อไปจนถึงไม่มีประมาณ ไปในอากาศที่ไม่มีที่สุด

การอบรมอุเบกขา คือการหัดแผ่จติ ออกไปด้วยอุเบกขา

คือความที่มีจิตมัธยัสถ์เป็นกลาง โดยพิจารณาว่าสัตว์ทั้งหลาย ล้วนมีกรรมเป็นของๆ ตน มีกรรมเป็นกำ�เนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นทีพ่ งึ่ อาศัย เอาจิตเพ่งลงไปในกรรม ปลงลงไปในกรรม เมือ่ วางในกรรมลงได้กจ็ ะทำ�ให้เกิดความรูใ้ นกรรม ใครๆ จะได้สขุ ได้ทุกข์อะไรก็ปลงว่าเป็นผลของกรรม การหัดทำ�อุเบกขาดังนี้ ให้แผ่ออกไปในบุคคลที่เจาะจง บุคคลที่เป็นกลาง และขยายต่อ ออกไปอย่างไม่มีประมาณ ไปจนถึงอากาศอันไม่มีที่สุด

พรหมวิหารสี่ ถือเป็นหลักธรรมที่ปฏิบัติได้ในทุกที่ทุกเวลา เป็นธรรมพืน้ ฐานง่ายๆ ทีเ่ ราสามารถนำ�ไปใช้เพือ่ อบรมบ่มเพาะจิต ให้เป็นกุศลและถึงพร้อมด้วยความสุขความเจริญ

30 ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556


“Amazing AEC”

ลับสมองลองเล่นเกม โดย กองบรรณาธิการ

จับคู่สถานที่ท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียน ก่อนอื่นต้องขอสวัสดีปีใหม่พี่น้องชาวชุมชนของเรากันก่อน ขอให้ ทุกท่านมีความสุข ความเจริญ รํ่ำ�รวยเงินทองและมีสุขภาพร่างกาย แข็งแรงตลอดปี 2557 เลยนะครับ... ช่วงปีใหม่แบบนี้ เพือ่ นๆ หลายคน คงเตรียมตัวไปเทีย่ วกันแล้ว ลับสมองลองเล่นเกม จึงอยากชวนทุกท่าน ไปเปิดประสบการณ์ ใหม่ๆ และผจญภัยในต่างแดน ตื่นตาตื่นใจกับ สถานที่ท่องเที่ยวสุดอะเมซิ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน แล้วคุณจะรู้ว่า ประเทศในเขตอาเซียนของเรานั้นมีดีไม่แพ้ที่ใดในโลกจริงๆ

อินโดนีเซีย

เมียนมาร์

ไทย

กัมพูชา

สปป.ลาว

1

กติกา โยงเส้นจับคู่ภาพสถานที่ท่องเที่ยวว่าที่ไหนอยู่ในประเทศอะไร หากใครจำ�ไม่ได้ สามารถพลิกไปดูได้ทคี่ อลัมน์เตรียมความพร้อม ก่อนเข้าสู่ AEC จับคู่เรียบร้อยแล้ว รีบส่งคำ�ตอบมาด่วนจี๋ที่ • แผนกบริหารงานชุมชน ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน (ชุมชนรอบโรงกลั่นใส่กล่องเล่นเกมได้ที่ศูนย์สุขภาพฯ) • แผนกกิจการเพื่อสังคมและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานกรุงเทพฯ เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยคี่ อมเพล็กซ์ อาคารเอ ชัน้ 11 ถนนวิภาวดีรงั สิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ชื่อ......................................................................................... นามสกุล................................................................................ ที่อยู่...................................................................................... ............................................................................................. ............................................................................................. หมดเขตภายในวันที่ 31 มกราคม 2557 ผู้โชคดีที่ตอบคำ�ถามได้ถูกต้อง จำ�นวน 10 ท่าน รับรางวัลของเราไปเลยครับ

รายชือ่ ผูต้ อบคำ�ถามถูกต้อง เกม “หาจุดต่าง Photo Hunt” จากฉบับที่ 21 1. คุณจริยา ศุกลรัตน์ชัย 6. คุณวันชัย ฐิติพลพัฒน์ 7. ด.ญ.วิลาสินี สะพานทอง 2. คุณณรงค์ คงถาวร 3. คุณทัศนีย์ ทับทิมทอง 8. คุณวีนัส ศรีรัตนา 4. คุณภณิดา พัฒนกาญจน์ 9. คุณสมทรัพย์ คุ้มคง 5. คุณภูวดล คำ�บุญทา 10. คุณสุขฤทัย ฮ่วมกี่

2

เฉลย

เกม หาจุดต่าง

Photo Hunt ชุมชนของเรา | พฤศจิกายน - ธันวาคม 2556 31


ความภาคภูมิใจที่ เครือไทยออยล์ มุ่งมั่นรับผิดชอบต่อสังคม


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.