๑ ใน...สาธารณสุข 2020

Page 42

ตรวจสุขภาพ ป้องกันโรค "การตรวจสุขภาพ" เป็นสิ่งที่จ�ำเป็นส�ำหรับ คนทุกเพศและทุกวัย แต่คนไทยทั้งประเทศที่เข้ารับ การตรวจสุขภาพ ในแต่ละปีมเี พียงแค่ 2% เท่านั้น และ ซ้�ำร้ายไปกว่านั้น ยังมีความเข้าใจผิดๆ ว่าการตรวจ ่ ค้นหา “โรคร้ายและอาการทีไ่ ม่ปกติ" สุขภาพ มีไว้เพือ

ทั้งที่ตามความจริงแล้ว เป้าหมายของการตรวจสุขภาพคือ เป็นการตรวจเพือ่ ส่งเสริมสุขภาพในบุคคลปกติ เพือ่ ค้นหาปัจจัยเสีย่ ง หรือภาวะผิดปกติ พูดง่ายๆ ว่า ใช้เป็นตัวช่วยในการวางแผนป้องกัน และรักษาโรคตัง้ แต่ระยะแรกเริม่ ในกรณีทตี่ รวจพบโรคหรือความผิด ปกติของร่างกาย เหนืออื่นใด เมื่อเข้าใจผิดว่าตรวจเพื่อค้นหาโรค ท�ำให้ผู้เข้ารับการตรวจคาดหวังว่าตนจะได้รับการตรวจอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการเจาะเลือด ตรวจแล็บ เอกซเรย์ปอด ตรวจระดับสาร บ่งชี้มะเร็ง ตรวจกรดยูริดในเลือด ตรวจเอนไซม์ตับ ตรวจคลื่นไฟฟ้า หัวใจ อัลตราซาวด์ช่องท้อง ฯลฯ ทั้งๆ ที่แต่ละรายการ ล้วนแล้วแต่ เป็นการตรวจแบบเหวี่ยงแหเกินความจ�ำเป็นทั้งสิ้น อีกทั้งยังท�ำให้ เจ็บตัว เสียทรัพย์ เสียเวลา เกิดความเครียดและความวิตกกังวลจน เกิดเหตุ มิหน�ำซ�ำ้ ในหลายรายการตรวจยังเสีย่ งต่อการพบผลบวกลวง ที่ท�ำให้ต้องโดนชวนให้ตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติมหนักเข้าไปอีก ค�ำถามส�ำคัญก็คอ ื แล้วตรวจสุขภาพอย่างไร ถึงจะไม่เรียกว่า "ตรวจมากเกินความจ�ำเป็น" ?

มาเริ่มกันที่กลุ่มคนวัยที่มีความเสี่ยงสูงสุดของการมีปัญหา สุขภาพจึงเป็นวัยทีต่ อ้ งเข้ารับบริการตรวจสุขภาพอย่างจริงจัง โดยการ ตรวจสุขภาพคนวัยท�ำงาน ควรเป็นการตรวจเพื่อค้นหาความเสี่ยง ของโรคโดยเฉพาะอย่างยิง่ คนทีม่ บี คุ คลในครอบครัวป่วยด้วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด เบาหวาน โดยเฉพาะเกิดในชายอายุนอ้ ยกว่า 55 ปี และ หญิงอายุน้อยกว่า 65 ปี หรือมีสมาชิกหลายคนในครอบครัวเป็นโรคดัง กล่าว นอกจากนี้ ควรมีการตรวจร่างกายทั่วไป เช่น ชั่งน�้ำหนักวัดส่วน สูง ประเมินว่าเป็นโรคอ้วนหรือไม่ วัดความดันโลหิต เพือ่ ตรวจคัดกรอง โรคความดันโลหิตสูง ตรวจฟังเสียงหัวใจผิดปกติ ตับ ม้ามโต ภาวะ บวม ตรวจสุขภาพช่องปาก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตรวจการได้ยิน ปีละ 1 ครั้ง ตรวจตา ปีละ 1 ครั้ง ส่วนผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุ 30-39 ปี ควร ได้รับการตรวจเต้านมทุกๆ 3 ปี อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมเป็น ประจ�ำทุกปี ผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองด้วย Pap s smear ทุก 3 ปี หรือวิธีป้ายหาความผิดปกติโดยใช้กรดอะซิติก (VIA) ทุก 5 ปี ทีนกี้ ม็ าถึง การตรวจสุขภาพส�ำหรับเด็ก ความจ�ำเป็นอันดับ แรกที่ต้องเช็ก คือ "ภาวะโลหิตจากการขาดธาตุเหล็ก" หรือที่ชาวบ้าน เรียกว่า "โรซีด" ซึ่งเด็กทุกคนมีโอกาสเป็นได้ โดยสถิติพบว่าในเด็กไทย 100 คน จะตรวจพบโรคโลหิตจางสูงถึง 30 คน ผลกระทบที่จะเกิดจาก การเป็นโรคซีดก็คือ เด็กจะอ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย เวียนศรีษะ พัฒนาการล่าช้า จิตใจและพฤติกรรมเซื่องซึม ไม่อยากอาหาร ไม่สนใจ

42

๑ ใน...สาธารณสุข

สิ่งแวดล้อม อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย มีปัญหาด้านการเจริญ เติบโต มีปญ ั หาด้านการเรียน ขาดความสนใจและสมาธิในการเรียน สติ ปัญญาด้อยลง ไอคิวต�่ำกว่าเกณฑ์ ผลการเรียนแย่ลง ดังนั้น เด็กๆ จึงได้รับการเจาะเลือดตรวจเพื่อดูความสมบูรณ์ ของเม็ดเลือก 2 ครั้ง ในเพศชายและหญิง ครั้งที่1 ช่วงอายุ 6-9 เดือน, ครั้งที่ 2 ช่วงอายุ 3-6 ปี ส่วนครั้งที่ 3 ตรวจเฉพาะเพศหญิง ช่วงอายุ 11-18 ปี นอกจากนี้ ส�ำหรับเด็กๆ ยังมีอีกสิ่งที่ "จ�ำเป็น" ต้องตรวจ นั่น ก็คือ "การได้ยิน" ซึ่งจากสถิติ พบว่า ในจ�ำนวนเด็กแรกเกิดทุกๆ 1 พัน คน มีเด็กที่ถูกตรวจพบว่ามีความบกพร่องทางการได้ยินประมาณ 1 ถึง 3 คน ซึ่งอาจส่งผลให้หูพิการได้ โดยทั่วไป การตรวจ "การได้ยิน" นั้น สามารถทีจ่ ะตรวจได้ทนั ทีภายใน 15 นาทีนบั จากแรกเกิด เพราะยิง่ ตรวจ พบเร็วเท่าไหร่ จะท�ำให้เด็กได้รับการรักษาและฟื้นฟูการได้ยินอย่าง เหมาะสม ช่วยให้เด็กมีพฒ ั นาการและความสามารถใช้ชวี ติ ในสังคมได้ อย่างมีคุณภาพต่อไป และสุดท้าย กลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดอีกกลุ่มก็คือ "ผู้สูง อายุ" ซึ่งมีความเสี่ยงมากต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยที่ ข้อมูลจากกรมอนามัยระบุว่า ภายในปี พ.ศ. 2568 จ�ำนวน 2 ใน 3 ของ ผูป้ ว่ ยเบาหวาน จะเป็นผูท้ มี่ อี ายุ 60 ปีขนึ้ ไป การตรวจคัดกรองเบาหวาน นัน้ ท�ำได้งา่ ย ไม่เสียค่าใช้จา่ ยหากไปรับบริการตามสถานบริการแพทย์ ของรัฐ และไม่จ�ำเป็นต้องรอตรวจตอนที่อายุมาก เพราะสามารถมา ตรวจได้ตงั้ แต่อายุ 35 ปีขนึ้ ไป ควรได้รบั การตรวจคัดกรองเพือ่ ค้นหาโรค เบาหวานทุก 3 ปี ขณะทีโ่ รคความดันโลหิตสูง ก็ควรตรวจคัดกรองอย่าง น้อยปีละครั้ง ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดและความคุม ระดั บ ความดั น โลหิ ต ให้ อ ยู ่ ใ นเกณฑ์ ที่ ป ลอดภั ย จากการเกิ ด ภาวะ แทรกซ้อน จะท�ำให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้อย่าง เป็นสุข ลดการใช้ยา ลดค่าใช้จ่ายของตนเองและครอบครัว จะเห็นใช่ไหมว่า แต่ละวัยก็ควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็น ประจ�ำ และถ้าไม่มีความผิดปกติรุนแรงอะไร ก็ตรวจเท่าท่แนะน�ำว่า จ�ำเป้น ไม่เสียทัง้ ทรัพย์และเวลาโดยใช่เหตุ และทีด่ ไี ปกว่านัน้ สปสช. หรือ ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังมีการรองรับการตรวจ สุขภาพฟรี ผ่านโครงการประกันสังคมส�ำหรับผูท้ ำ� งานประจ�ำ รวมไป จนถึงโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคที่เอื้ออ�ำนวยต่อกลุ่มอาชีพนอก ระบบ ซึ่งทั้งหมด สามารถติดต่อและเข้ารับการตรวจฟรีที่สถาน พยาบาลใกล้บ้านที่ท่านสะดวก ข้อมูลจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

และ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.