Long Nan [FEB-MAR 2014]

Page 1

จุลสารล่องน่าน

จุลสารล่องน่าน | Long Nan Booklet จุลสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมในชุมชนเมืองน่าน

แจกฟรี | ฉบับที่ 5 | กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2557

FREE

COPY FEB-MAR 2014

เมืองน่านน่าอยู่

คู่ป่าต้นน�้ำ

สถารศ

ครบรสวัฒนธรรม

อาหารพื้นเมือง

จาวน่าน

ร�ำวงมะเก่า

ความสนุกขนานเอก Long Nan Booklet | 1


A

B

C

D

E

F

1 8

1

6 1

5

2 4 วัดมิ่งเมือง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2333 โดยสมเด็จเจ้า ฟ้าอัตถาวรปัญโญ ซึ่งต่อมาราวปี พ.ศ. 2400 เจ้าอนันต วรฤทธิเดช ได้ท�ำการบูรณะวัดใหม่และตั้งชื่อว่า วัดมิ่ง เมือง ภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐานของเสาหลักเมือง น่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2549-2550 ได้มีการร่วมกันสร้าง วิหารและศาลหลักเมืองขึน้ ใหม่ เพือ่ ถวายเป็นพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ล อดุลยเดชฯ เนือ่ งในวโรกาสทีท่ รงครองสิรริ าชสมบัตคิ รบ 60 ปี โดยเป็นวิหารปูนปัน้ สีขาวมีลวดลายประติมากรรม อันวิจติ รตระการตาแทบไม่ซำ�้ กันรอบตัวอาคารวิหารและ ศาลหลักเมือง ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่บอกเล่าเรื่อง ราวประวัติศาสตร์เมืองน่าน

3

4

1

2

3

7

5 9

6

แผนที่ชุมชนน่าน ร�ำวงมะเก่า

4

2

ร้านลาบเมืองเลน

5

3

ข้าวเหนียวปิ้งแม่ดวง

6

1 E-4

ชุมชนพระเนตร (F-3), ชุมชนมหาโพธิ (F-2), ชุมชนน�้ำ ล้อม (E-1) และชุมชนอื่นๆ ในเขตเทศบาลเมืองน่าน ชุมชนเมืองเลน ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน

C-4 แยกวัดสวนตาล หลังปั้มน�้ำมัน ปตท. 2 | จุลสารล่องน่าน

E-2 E-2 F-1

วัดสถารศ

7

บุญช่วย ก๋าน�้ำ

8

วันดี สิทธิสัน

9

ชุมชนสถารศ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน เลขที่ 74 ชุมชนมหาโพธิ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน บ้านเลขที่ 32/2 ชุมชนเชียงแข็ง ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน

B-5 F-1 B-5

ดรุณี ยอดสุภา

เลขที่ 4 ชุมชนมณเฑียร ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน

สัมฤทธิ์ จิตวงศนันท์

เลขที่ 12 ชุมชนเชียงแข็ง ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน

วัดมิ่งเมือง

ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน


คื น ชี ว ต ิ ให้แก่เมืองเก่า

เรื่องจากปก คุณยายวันดี สิทธิสนั ครูภมู ปิ ญั ญาของชุมชน น�้ำล้อมที่มีบทบาทในการสืบทอดและอนุรักษ์ การท�ำตุง การท�ำบายศรี และเครื่องสืบชะตา นอกจากนี้บ้านของคุณยายวันดียังเป็นเรือนไม้ มะเก่า ที่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของเรือนพื้นถิ่น น่านเอาไว้ได้ อ่านรายละเอียดได้ที่หน้า 14 ใน ล่องน่านฉบับนี้

เมืองเก่าจะดูมชี วี ติ ได้ ก็ตอ่ เมือ่ ผูอ้ ยูอ่ าศัยมอบชีวติ ให้ และคงไม่ใช่ผอู้ ยูอ่ าศัยทุกคนทีส่ ามารถ มอบชีวิตให้กับเมืองได้ แต่ต้องเป็นผู้ที่ด�ำเนินวิถีชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติตามเงื่อนไข ปัจจัย และ อิทธิพลต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ ทั้งในด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม คนนอกพื้นที่ เข้ามาท่องเที่ยว หรือผู้ที่เข้ามาอยู่อาศัยทั้งระยะสั้นและระยะยาว จึงมีข้อจ�ำกัดแตกต่างกันไป ในการที่จะด�ำรงวิถีการด�ำเนินชีวิตให้เป็นไปตามธรรมชาติตามอย่างที่เมืองเคยเป็นมา บางคน อาจใส่เสือ้ ผ้าพืน้ เมือง แต่อยูบ่ า้ นสมัยใหม่ หรือบางคนอาจเปิดร้านขายอาหารตะวันตกในอาคาร ห้องแถวไม้หลังงามของเมือง ซึ่งต่างเป็นข้อจ�ำกัดที่อยากจะหลีกเลี่ยงพ้นในทุกที่ ที่ความเจริญ ตามแบบสากลเข้าไปถึง ล่องน่านฉบับนี้น�ำรูปผู้สูงอายุเมืองน่านขึ้นปก ในอิริยาบถของการต้อนรับสวัสดีทั้งแก่คน เมืองน่านเอง และนักท่องเที่ยวที่เข้ามา เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านได้หวนตระหนักว่า คงไม่มีคนรุ่น ใดที่สามารถก้าวข้ามข้อจ�ำกัดต่างๆ ที่พึงมีของเมืองที่พัฒนาไปตามกระแสหลักของโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยว ได้ดีเท่าผู้สูงอายุ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังสามารถด�ำเนินวิถีชีวิตได้อย่างเป็น ธรรมชาติท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเมืองในทุกๆ ด้าน จนเป็นบุคคลส�ำคัญที่มอบชีวิตให้ กับเมืองเก่าของเรา ให้ยังคงมีจิตวิญญาณของอดีต สืบเนื่องมาถึงปัจจุบันเอาไว้ได้ ณวิทย์ อ่องแสวงชัย | บรรณาธิการ

สัญลักษณ์ได้รับแรงบันดาล ใจมาจากตัวอักษรพื้นเมืองที่อ่าน ว่า “น่าน” ภายใต้กรอบรูปทรงวงรี หลายโค้งอันไม่สมมาตร ซึง่ แสดงถึง การหลอมรวมกันของผูค้ น และศิลป วัฒนธรรม จนเป็นเนือ้ เดียวกัน ทีเ่ ป็น เอกลักษณ์เฉพาะเมืองน่าน กรอบรูป นัน้ จึงไม่ใช่วงรี วงกลม หรือสีเ่ หลีย่ ม พื้นฐานที่พบเห็นได้ทั่วไป ชื่อ “ล่องน่าน” สื่อความถึง ความผูกพันกับสายน�้ำน่าน ของคนน่าน และยังเป็นที่มาของฟ้อนล่องน่าน ซึ่งเป็นศิลปะ การแสดงดั้งเดิมของเมืองน่าน “ล่องน่าน” ยังให้นัยยะถึง การ เข้ามาค้นหาความน่าตื่นตาตื่นใจในศิลปวัฒนธรรม ที่ผ่านการ สืบทอดมาอย่างยาวนานได้อย่างไม่รู้จบจากผู้มาเยือน ดุจดั่ง การล่องไปในจินตนาการ ในขณะที่ “Long Nan” เชือ่ มโยงกับ ประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมืองน่าน และศิลปวัฒนธรรมที่ มีรากฝังลึกมาแต่อดีตช้านาน จนผูม้ าเยือนอาจต้องใช้เวลานาน กว่าที่คิดไว้ในการเข้าไปสัมผัส

ที่ปรึกษา | Adviser สุรพล เธียรสูตร, รศ.ดร. ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา, เพลินจิต พ่วงเจริญ บรรณาธิการ | Editor ณวิทย์ อ่องแสวงชัย กองบรรณาธิการ | Editorial Staff สุกนั ย์ณภัทร กันธะวงค์, บรรจง อูปแก้ว, วราวุธ ธิจนิ ะ จุลสาร “ล่องน่าน” เป็นจุลสารรายสองเดือน จัดท�ำ โดยโครงการ “การจัดการทรัพยากรทางสถาปัตยกรรม และวัฒนธรรมในชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบน ฐานวัฒนธรรมในเขตเมืองน่าน” ภายใต้การสนับสนุนจาก ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

LongNan is a bimonthly magazine published by Faculty of Architecture, Chiang Mai University. The project is supported by Area-Based Collaborative Research-Upper Northern Region (ABC-UN), The Thailand Research Found (TRF).

จุลสารล่องน่าน ฉบับอิเล็กทรอนิกส์

ติดตามอ่านล่องน่านฉบับอิเล็กทรอนิกส์ได้ในระบบของ ebooks.in.th ระบบที่เข้าถึงได้ง่าย สามารถเปิดอ่านหนังสือ eBooks ได้หลากหลาย อุปกรณ์ ทั้ง iPhone iPad Android และ PC โดยท�ำตามขั้นตอนดังนี้

อนุญาตให้ใช้ได้ตามสัญญาอนุญาต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครีเอทีฟคอมมอนส์ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย โทร: 0 5394 2806, แฟกซ์: 05 322 1448 www.arc.cmu.ac.th

ติดต่อโฆษณา หรือร่วมสนับสนุนโครงการ โทร: 08 7496 4142

1. โหลดผ่านอุปกรณ์พกพา Smart Phone, Tablet โหลดแอปชื่อ “ebooks.in.th” จาก App Store หรือ Google Play เปิดแอปแล้ว ค้นหา ล่องน่าน หรือ Long Nan โหลดหนังสือฉบับที่ชอบเก็บไว้อ่านได้ตลอดเวลา 2. โหลดผ่าน Web Browser http://www.ebooks.in.th/longnanproject เลือกโหลด PDF ไฟล์ จากหน้าเว็บ

Long Nan Booklet | 3


สร้างเมืองน่านน่าอยู่

คู่ป่าต้นน�้ำ คุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน คุณอุกริช พึ่งโสภา

จากประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน

ของเมืองน่าน ที่นอกจากจะเป็นอู่อารยธรรม ของดินแดนลุม่ น�ำ้ น่านแล้ว น่านยังมีอาณาเขต ครอบคลุมผืนป่าขนาดใหญ่ทเี่ รียกว่า “ป่าต้นน�ำ้ ” เป็นบริเวณกว้าง ซึง่ ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ผู้ ว่าราชการจังหวัดน่านได้มอบหมายให้ทุก อ�ำเภอจัดท�ำโครงการ “สร้างเมืองน่านน่าอยู่ คู่ป่าต้นน�้ำ” โดยมีการฝึกอบรมให้ความรู้กับ ชุมชน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้าง จิตส�ำนึกรักและหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรมของตนเอง ซึ่งล่องน่านฉบับนี้ ได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณอุกริช พึ่งโสภา ผู้ว่า ราชการจังหวัดน่าน คนปัจจุบนั ซึง่ ท่านได้เล็ง เห็นถึงความส�ำคัญของการจัดการสิง่ แวดล้อม และการมีสวนร่วมของชุมชนในการจัดการด้าน สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ป่าต้นน�้ำของจังหวัดน่าน เพื่อให้ทั้งสองอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

4 | จุลสารล่องน่าน

Q: แนวทางปฏิบัติงานร่วมกันของจังหวัดน่าน ตามทีก่ ล่าวถึงว่า “สร้างเมืองน่านน่าอยู่ คูป่ า่ ต้นน�ำ้ ” เป็นอย่างไร

นัยของค�ำว่า “สร้างเมืองน่านน่าอยูค่ ปู่ า่ ต้นน�ำ้ ” นั้น อย่างที่เราทราบกันดีว่า ขอบเขตการปกครอง ของจังหวัดน่านครอบคลุมป่าต้นน�ำ้ ถึงสองสายด้วย กันคือ แม่นำ�้ น่าน และแม่นำ�้ ยม ซึง่ ถือเป็นแม่นำ�้ สาย ส�ำคัญของภาคเหนือ และเป็นสองสายน�้ำที่จะไหล ไปรวมกับแม่น�้ำปิงและแม่น�้ำวัง กลายเป็นแม่น�้ำ เจ้าพระยาในที่สุด ซึ่งมีความส�ำคัญต่อพื้นที่ราบลุ่ม แม่นำ�้ ทางตอนเหนือ และตอนกลางของประเทศไทย เป็นอย่างมาก ดังนัน้ เมือ่ เราเป็นพืน้ ทีข่ องป่าต้นน�ำ้ ก็ ควรมีการสร้างรูปแบบของการบริหารจัดการด้าน สิง่ แวดล้อมให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพราะ โดยแท้จริงแล้วป่าไม่ได้มีเพียงแค่ต้นไม้และสัตว์ป่า เท่านัน้ แต่ตวั แปรทีส่ ำ� คัญคือ “คน” ทีย่ งั คงมีวถิ ชี วี ติ การด�ำรงอยูค่ กู่ บั ป่าทัง้ โดยทางตรง และทางอ้อม ดัง นั้นจึงเป็นที่มาของวลีตอนต้นที่ว่า “สร้างเมืองน่าน น่าอยู่” ซึ่งหมายถึง การสร้างเมืองน่านให้มีความ ปลอดภัย มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีศิลปวัฒนธรรม อันทรงคุณค่า และการมีสว่ นร่วมของคนในชุมชนที่

ตระหนักถึงความส�ำคัญของปัจจัยส�ำคัญเหล่านี้ จะ เห็นว่าหัวใจทีส่ ำ� คัญของการสร้างเมืองน่านน่าอยูค่ ปู่ า่ ต้นน�ำ้ ก็คอื “คน” นัน่ เอง โดยเราต้องพยายามสร้าง ความรู้ความเข้าใจ สร้างจิตส�ำนึกรักและหวงแหน ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมของตนเองให้ กับคนน่าน ผ่านกระบวนการของการมีส่วนร่วมทั้ง องค์กรภาคเอกชน สถาบันการศึกษาต่างๆ โดยทาง จังหวัดมีแนวทางในการสร้างเมืองน่านให้น่าอยู่คู่ ป่าต้นน�้ำอยู่ 3 ประเด็นหลักด้วยกันคือ ประเด็น แรกเป็นการน�ำแนวคิดในพระราชด�ำริของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่อง การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง มาใช้ ซึง่ ก็คอื การปลูกป่าไม้ใช้สอย ป่าไม้ผล และป่าไม้ฟนื โดยชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ จากป่าทัง้ สามได้อย่างเกือ้ กูล และได้ประโยชน์อย่าง ที่ 4 นั่นก็คือ ได้อนุรักษ์ดินและน�้ำอีกด้วย ทางเราก็ พยายามประสานกับหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะป่า ไม้จังหวัดมาให้ความรู้แก่ชาวบ้าน และให้ชาวบ้าน อาสาสมัครร่วมส�ำรวจแนวเขตพืน้ ทีป่ า่ เพือ่ ก�ำหนด แนวทางในการพัฒนาพืน้ ทีป่ า่ อนุรกั ษ์แต่ละประเภท ซึ่งจะท�ำให้เกิดประเด็นที่สองขึ้นมาคือ การพัฒนา คุณภาพชีวติ ของคนในชุมชนโดยให้ความรูต้ อ่ คนใน


หัวใจที่ส�ำคัญ ของการสร้าง เมืองน่านน่าอยู่ คู่ป่าต้นน�้ำก็คือ

“คน” นั่นเอง

คุณอุกริช พึ่งโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน

ชุมชน เพือ่ การอยูร่ ว่ มกันอย่างยัง่ ยืนระหว่างคนและ สิ่งแวดล้อม และน�ำไปสู่ประเด็นสุดท้ายก็คือ การ ปรับเปลีย่ นอาชีพให้ประชาชนมีทางเลือกในอาชีพที่ หลากหลายมากขึ้น โดยไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อม และ อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน Q: มีการเตรียมความพร้อมให้กับคนน่าน อย่างไรบ้าง ในเรื่องของการท่องเที่ยวที่เริ่มเข้าสู่ จังหวัดน่านมากขึ้น

เราส่งเสริมและรณรงค์ให้คนน่านมีความเป็น เจ้าบ้านที่ดี ซึ่งขณะนี้ได้มีการฝึกอบรมในสถาบัน การศึกษาเช่น การฝึกอบรมมัคคุเทศก์น้อย เพื่อให้ ข้อมูลกับนักท่องเทีย่ วกลุม่ ต่างๆ และยังมีการอบรม คนในชุมชนเพือ่ ให้เข้าใจถึงการเป็นเจ้าบ้านทีด่ ี และ แนะน�ำแนวทางการปฏิบตั ใิ ห้กบั ชุมชน เพือ่ ให้ชมุ ชน สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และรู้จักการบริหาร จัดการตนเองในทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใน ส่วนของหน่วยงานราชการเอง ก็ได้มกี ารจัดตัง้ ศูนย์ อ�ำนวยความสะดวกให้กบั นักท่องเทีย่ ว และอีกส่วน หนึง่ ทีม่ องข้ามไม่ได้คอื การบริการทางด้านการขนส่ง เนือ่ งจากจังหวัดน่านมีบริเวณตัวเมืองทีค่ อ่ นข้างแคบ หากมีนกั ท่องเทีย่ วเข้ามาเป็นจ�ำนวนมาก ย่อมมีผล

Q: จังหวัดน่านมีแผนการส่งเสริมการท่องเทีย่ ว กระทบในเรือ่ งของการจัดการจราจรในตัวเมือง ทาง ในเขตเมื องน่านอย่างไรบ้าง จังหวัดจึงสนับสนุนให้มสี หกรณ์เดินรถขนาดเล็ก รถ ในส่วนแรกทางจังหวัดได้สนับสนุนการปรับปรุงรูป ตู้ การเช่าจักรยาน ซึ่งหัวใจส�ำคัญของการบริการ แบบโครงสร้ างอาคาร เพือ่ ให้ดแู ล้วสบายตาสบายใจ ด้านการขนส่งคือ ความซื่อสัตย์ต่อผู้มาใช้บริการ เหมาะสมกับความเป็นเมืองเก่าที่มีชีวิต ส่วนที่สอง และความปลอดภัยในการเดินทาง Q: ในฤดูทอ่ งเทีย่ วจังหวัดน่านมักประสบปัญหา เป็นเรื่องของการอ�ำนวยความสะดวกและแก้ไข ที่พัก และร้านอาหาร ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ป้องกันปัญหาการจราจร และส่วนสุดท้ายในเรื่อง ของนักท่องเทีย่ ว ทางจังหวัดมีแนวทางในการแก้ไข ของความปลอดภัย ทั้งชีวิต และทรัพย์สิน ซึ่งสิ่งที่ ส�ำคัญที่สุดคือ สร้างความรู้ความเข้าใจ พร้อมกับ อย่างไรบ้าง ในเรื่องนี้จังหวัดน่านได้หารือร่วมกับสมาคมผู้ สร้างจิตส�ำนึกรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว สภาหอการค้าจังหวัด และวัฒนธรรมของตนเองให้กับประชาชน เพื่อ สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สมาคมธุรกิจการค้า และ ให้เกิดกระบวนการการอยู่ร่วมกันของคนและ กลุม่ พ่อค้าชาวจีน เพือ่ ร่วมกันหาแนวทางในการรับมือ ป่าไม้อย่างยั่งยืน ให้ป่าต้นน�้ำคงอยู่คู่เมืองน่าน กับปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งในอ�ำเภอเมืองน่าน และต่าง ตลอดไป ตามแนวคิดของการสร้างความมีสว่ นร่วม อ�ำเภอ นอกจากนีจ้ งั หวัดจะเชิญผูท้ มี่ สี ว่ นเกีย่ วข้อง ในชุมชน ทีเ่ รายึดถือเป็นแนวทางว่า “สร้างเมืองน่าน ุ ธรรม น้อมน�ำเศรษฐกิจพอ มาร่วมวางแผนในการจัดการเรือ่ งของทีพ่ กั ล่วงหน้า เป็นบ้านน่าอยู่ เชิดชูคณ ในปีต่อไป เช่น ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึง เพียง ร่วมใช้สทิ ธิเ์ สียงเพือ่ ประชาธิปไตย ร่วมพลังใจ เดือนมกราคม อาจจะมีการจัดพืน้ ทีใ่ ห้นกั ท่องเทีย่ ว รักษาป่า สร้างคุณค่าวัฒนธรรม น�ำปวงประชาชาว กางเต็นท์ โดยมีบริการในเรื่องของห้องน�้ำ ไฟฟ้า น่านสุขอย่างยั่งยืน” และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ในพื้นที่ด้วย

Long Nan Booklet | 5


ชาวบ้านพร้อมใจกันมาร�ำวงมะเก่าที่ลานวัดของหมู่บ้านตนเอง

1 ต�ำแหน่งในแผนที่

นอกจากการร่ายร�ำพื้นเมืองของเมืองน่านที่รู้จักกันดีอย่าง ฟ้อนล่องน่าน แล้ว “ร�ำวงมะ

เก่า” ก็เป็นการร่ายร�ำพื้นเมืองอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ยังพบเห็นได้อยู่ทั่วไปในเขตชุมชนเมืองน่าน และอาจพบเห็นได้ง่ายกว่าฟ้อนล่องน่าน เนื่องจากเป็นการร่ายร�ำเพื่อความรื่นเริง สนุกสนาน ไม่มีรูปแบบของท่าทางการร�ำที่เป็นแบบแผนเคร่งครัด การ “ร�ำวง” ถือเป็นการละเล่นพื้นบ้านเพื่อ ความรืน่ เริงของไทยมาตัง้ แต่ยคุ ก่อนสงครามโลกครัง้ ที่ 2 โดยเริม่ จากภาคกลาง ก่อนจะแพร่หลายไปตาม ต่างจังหวัด และถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวัฒนธรรม ประเพณีของคนในท้องถิน่ นัน้ ๆ ซึง่ ร�ำวง ในแบบพืน้ ถิน่ น่าน ทีเ่ รียกว่า “ร�ำวงมะเก่า” นัน้ เป็นการร�ำวงที่ ได้รบั การพัฒนาให้เข้ากับวัฒนธรรมประเพณีดงั้ เดิม ของคนน่านจนมีลักษณะเฉพาะตัวขึ้นมา คุณปรีดา ค�ำปัญโญ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ร่วมอนุรักษ์ ศิลปะการละเล่น ร�ำวงมะเก่า มาตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ได้เล่าถึงร�ำวงมะเก่าไว้วา่ เนือ้ หาของเพลงร�ำวงส่วน ใหญ่จะเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้านเช่น การจีบสาว การแต่งกาย และธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น เพลงเกาะ แก้วเมืองฟ้า มีเนือ้ เพลงในท�ำนองทีส่ อื่ ถึงความรืน่ รมย์ ของธรรมชาติกับหญิงสาวไว้ว่า “เกาะแก้วเมืองฟ้า เมืองฟ้าของสาวทะเลใต้ หญิงเปรียบดอกไม้ มอง ไปสดชื่นรื่นรมย์ ลาฮูลาฮูลา ยั่วย้ายไปตามเสียง 6 | จุลสารล่องน่าน

เพลง ลอยมาแต่ไกล ฮูเล ฮูลา เสียงเพลงนั้นมาแต่ ไกล ยั่วย้ายไปตามเสียงเพลง ลอยมาแต่ไกล…” หรือเพลงสาวเจ้ายิ้มยวน ก็มีเนื้อร้องที่ใช้เป็นเพลง จีบสาว ดังเนื้อเพลงที่ร้องว่า “สาวเจ้ายิ้มยวนชวน ชื่น ยามค�่ำคืนสวยจริง แม่ปิงไหลบ่า มาจุ๊ปี้ มาหล่ม โม้ง มาจุ๊ปี้ว้าง ย�่ำฟากติดต๋ง มาจุ๊ปี้หลงหล่มโม้งแม่ ปิง...” เป็นต้น เครื่องดนตรีของร�ำวงมะเก่าในสมัย ก่อนจะใช้ กลองแปร แซกโซโฟน และกรับ ร่วมกับ การขับกล่อมด้วยเสียงเพลงของนักร้องที่ร้องสดใน วง ท่าร�ำวง มีอยู่ประมาณ 12 ท่าคือ ท่าสวัสดี ท่า เป่าปี่ ท่าปักสา ท่าเกาะแก้วมุ่ยฟ้า ท่าสาวทะเลใต้ ท่าคองก้า ท่ายอดสนต้องลม ท่าเพลงลา ท่าเพลง สาวแม่ปิง ท่าเพลงสาวเจ้ายิ้มยวน ท่าศิลปกร และ ท่าช้า-ช้าพญาหงส์ โดยเวทีร�ำวงมะเก่าในสมัยก่อน ส่วนมากจะร�ำในตอนกลางคืน คนร�ำจะแต่งกายตาม สมัยนิยม งานรืน่ เริงทีม่ กั มีการจัดร�ำวงมะเก่าขึน้ เช่น งานฉลองวัด งานบวชนาค งานขึ้นบ้านใหม่ และ

งานเทศกาลต่างๆ ซึ่งในสมัยก่อนนั้น เวทีร�ำวงเป็น เสมือนเวทีที่เปิดโอกาสให้คนหนุ่มสาวได้มาเจอกัน แต่ในปัจจุบันนี้ ร�ำวงมะเก่าของเมืองน่านได้ใช้เป็น กิจกรรมทีส่ ง่ เสริมการออกก�ำลังกาย โดยส่งเสริมให้ กลุม่ ผูส้ งู อายุมารวมตัวกันท�ำกิจกรรมเพือ่ สุขภาพ ซึง่ ส่วนใหญ่จะมีการร�ำวงมะเก่า สลับกับการร�ำวงย้อน ยุค ซึ่งร�ำวงย้อนยุคก็คล้ายกับร�ำวงมะเก่า เพียงแต่ เปลี่ยนจากการร้องและเล่นดนตรีสด เป็นการเปิด เพลงสมัยใหม่ผ่านเครื่องขยายเสียงในการร�ำวง ซึ่ง นิยมเลือกเพลงลุกทุง่ ทีม่ จี งั หวะสนุกสนาน เพือ่ สร้าง ความครื้นเครงสนุกสนานให้กับผู้ร�ำ ถึงแม้ว่าร�ำวงมะเก่าจะเป็นเพียงแค่การละเล่น ของคนรุน่ ก่อน แต่กม็ คี ณ ุ ค่าแฝงทีส่ มควรอนุรกั ษ์ให้ คงอยู่อย่างมากมาย ทั้งเนื้อร้อง ท่าร�ำ เครื่องดนตรี การแต่งกาย หรือแม้แต่กระบวนการของชุมชนในการ จัดร�ำวงขึ้นมา ดังค�ำกล่าวของคุณปรีดา ค�ำปัญโญ ที่กล่าวว่า “ร�ำวงมะเก่าเป็นวัฒนธรรมของคนรุ่น ก่อน ถึงไม่มีราคา แต่ก็เปี่ยมด้วยคุณค่าที่มากขึ้น ตามวันเวลา และสมควรช่วยกันรักษาเอาไว้”


อาหารรวมถึงวิธกี ารปรุง เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมอย่างหนึง่ ซึง่ อาหารเหนือ

ก็นบั ได้วา่ มีวธิ กี ารปรุง ส่วนผสม รสชาติ และรูปร่างหน้าตาทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ ซึง่ แต่ละภูมิภาคของล้านนาก็มีความแตกต่างในรายละเอียดของอาหารประเภท เดียวกัน ล่องน่านฉบับนี้ จะพาไปรู้จักกับร้านอาหารพื้นเมืองของน่าน ที่ซ่อน ตัวอยู่ในเมืองอย่างเงียบๆ แต่เป็นที่รู้จักกันดี ผ่านการพูดถึงปากต่อปาก ของ คนเมืองน่านด้วยกันเอง

2

E-4

ต�ำแหน่งในแผนที่

ร้านลาบเมืองเล็น เป็นร้านขายอาหารพืน้ เมืองประเภทลาบ ทีด่ ำ� เนินกิจการมานาน กว่า 13 ปี ร้านตั้งอยู่ในบริเวณด้านหลังวัดเมืองเล็น โดยมี คุณปรีชา อนุคุต เป็นเจ้าของ และพ่อครัวด้วยตนเอง ด้วยความอร่อยทีถ่ กู บอกเล่ากันปากต่อปาก ร้านลาบเมืองเล็น จึง ถูกเรียกขานจากลูกค้าที่แวะเวียนมารับประทานอาหารที่นี่ตามต�ำแหน่งที่ตั้ง จนกลาย เป็นชื่อเรียกของร้านในที่สุด คุณปรีชาได้บอกถึงเคล็ดลับของการท�ำลาบให้อร่อยเป็นที่ ติดใจของลูกค้าคือ การเน้นวัตถุดิบที่สดใหม่ทุกวัน และเลือกสรรเนื้อมาสับเองเป็นสิ่งที่ ส�ำคัญ เนือ่ งจากเนื้อทีป่ ่นั ขายส�ำเร็จรูปในท้องตลาดเป็นเนือ้ ติดมัน ท�ำให้เสียรสชาติ โดย คุณปรีชาจะใช้เนื้อสันใน และเนื้อส่วนสะโพก ซึ่งเป็นเนื้อที่หนานุ่ม ไม่มีเอ็น ติดมันน้อย ส่วนเครือ่ งเทศส�ำหรับท�ำลาบต้องน�ำมาต�ำก่อนน�ำไปคัว่ ให้หอม จากนัน้ จึงจะน�ำมาต�ำรวม กับพริกแห้งให้พอเห็นเมล็ดพริก เพื่อเวลารับประทานก็จะท�ำให้ได้กลิน่ เครือ่ งเทศที่หอม กรุน่ เคล้าเมล็ดพริกทีย่ งั ไม่แตก ทัง้ ยังท�ำให้ได้รสชาติเผ็ดร้อนทีก่ ลมกล่อม ส่วนผักทีใ่ ช้จะ เน้นผักพื้นบ้าน และผักปลอดสารพิษตามฤดูกาลเช่น ผักคาวตอง ใบมะกอก ใบดีงูหว้า เป็นต้น สูตรเด็ดเฉพาะที่ส�ำคัญของร้านคือ มะแขว่น หรือลูกระมาศ ที่ใส่ลงไปด้วยเพื่อ ท�ำให้ลาบมีกลิ่นหอมโดดเด่น เข้ากันกับเครื่องเทศคั่วที่ส่งกลิ่นหอมกรุ่น ลาบทุกจานที่คุณปรีชาท�ำจะปรุงสดใหม่ทุกจาน ตามจ�ำนวนและรสชาติที่ลูกค้าสั่ง นอกจากลาบที่เป็นเมนูแนะน�ำหลักแล้ว ยังมีเมนูอาหารพื้นเมืองอื่นๆ อีกมากกว่า 10 เมนู เช่น แกงแค แกงฮังเล ทอดกระเทียมไส้ตนั หมู ฯลฯ ซึง่ ล้วนแล้วแต่ผา่ นการเลือกสรร วัตถุดบิ การท�ำอย่างพิถพี ถิ นั และใส่ใจในรสชาติของอาหาร และยังได้รบั การรับรองจาก กระทรวงสาธารณะสุขถึงความสะอาด ปลอดภัย ไร้สารพิษ ร้านลาบเมืองเล็นจึงเป็นร้าน อาหารพื้นเมือง ที่ทั้งคนน่าน และนักท่องเที่ยวสามารถลิ้มรสความอร่อย ตามแบบฉบับ เมืองน่านได้อย่างมั่นใจ

3

C-4

ต�ำแหน่งในแผนที่

ร้านข้าวเหนียวปิง้ แม่ดวง เป็นร้ายขายขนม พืน้ เมืองน่านทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั กันดีของคนในชุมชนมา นานกว่า 30 ปี ร้านตั้งอยู่บริเวณแยกสวนตาล หลังปั้มน�้ำมัน ปตท. ข้าวเหนียวปิ้งที่คนเมือง น่านเรียกนี้ก็คือ ข้าวเหนียวมูน ที่สอดไส้ต่างๆ ห่อด้วยใบตอง ปิ้งเตาถ่านให้สุก มีรสชาติหอม หวานด้วยกลิ่นของกะทิ ผสมผสานกับกลิ่นของ ใบตองปิ้ง ความเก่าแก่ รสชาติ และความอร่อย ของข้าวเหนียวปิง้ แม่ดวง การันตีได้จากการได้รบั คัดเลือกเป็นตัวแทนท�ำข้าวเหนียวปิ้งเป็นเครื่อง ว่าง ถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี ที่พระต�ำหนักธงน้อย ข้ า วเหนี ย วปิ ้ ง แม่ ด วงนอกจากจะมี ไ ส้ เผือก มัน และกล้วย ซึ่งเป็นสูตรดั้งเดิมแล้ว ยังมีไส้อื่นๆ ที่แม่ดวงคิดขึ้นมาเองเช่น ไส้ ห น่ อ ไม้ ฟั ก ทอง สั ง ขยา ถั่วเหลือง และไส้เค็ม โดย รสชาติ ข ้ า วเหนี ย วปิ ้ ง ของแม่ ด วงนั้ น จะ มี ร สหวานมั น เค็ ม กลมกล่ อ ม ไปกั บ

ข้าวนิม่ กะทิเข้มข้น เคล็ดลับในการท�ำข้าวเหนียวปิง้ ของแม่ดวงคือ ต้องเป็นข้าวเหนียวอย่างดี เมือ่ นึง่ เสร็จ ข้าวจะนุม่ มีกลิน่ หอม กะทิตอ้ งเป็นกะทิเกาะสมุย ด้วย มีรสชาติหวานมันกว่ากะทิจากมะพร้าวทีอ่ นื่ ส่วนไส้ ข้าวเหนียวปิง้ ท�ำมาจากวัตถุดบิ ทีส่ ดใหม่ทกุ วัน ใบตอง ต้องเป็นใบตองกล้วยน�ำ้ ว้า หรือใบตองกล้วยป่าบ้าน เพราะเมือ่ น�ำมาใช้หอ่ ข้าวปิง้ แล้วจะมีกลิน่ หอมมากกว่า ใบตองอืน่ ๆ ขัน้ ตอนในการท�ำทีพ่ ถิ พี ถิ นั เช่นนี้ ท�ำให้ ข้าวเหนียวปิง้ แม่ดวงเป็นอาหารพืน้ เมืองทีพ่ เิ ศษอย่าง หนึ่งของเมืองน่าน ที่หาทานที่อื่นได้ยาก

Long Nan Booklet | 7


พระธาตุสถารศ

แผงพระพิมพ์

พระพุทธรูปไม้ปางไสยาสน์ โบสถ์วัดสถารศ

4

E-2

ต�ำแหน่งในแผนที่

ตั้งแต่พญาผากอง เจ้าผู้ครองนคร

น่าน ได้มาตั้งเมืองอยู่ที่ริมแม่น�้ำน่านใน เวียงใต้ สืบต่อมาจนถึงสมัยพระยาสุมน เทวราช หรือทีช่ าวบ้านเรียกว่า เจ้าหลวง สุมนเทวราช ได้เกิดน�ำ้ ท่วมเมืองครัง้ ใหญ่ ขึ้นในปี พ.ศ. 2361 พระองค์จึงได้ย้าย เมืองหลวงมาอยู่ทางตอนเหนือ บริเวณ ดงพระเนตรช้าง หรือชุมชนพระเนตรใน ปัจจุบัน ท�ำให้เกิดเวียงเหนือขึ้น ซึ่งเมื่อ สร้างเมืองจะต้องมีการสร้างวัดอาราม หลวงประจ�ำเมืองตามมา เจ้าหลวง สุมนเทวราชจึงได้สร้างวัดสถารศขึน้ เป็น วัดหลวงในช่วงราวปี พ.ศ. 2361 โดย สร้างศาลาการเปรียญขึ้นก่อน

8 | จุลสารล่องน่าน

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ในปี พ.ศ. 2365 เจ้าหลวงสุมนเทวราชได้โปรด ให้มกี ารหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขนึ้ จนเมือ่ ได้รบั วิสงุ คามสีมา (เขตแดนทีพ่ ระเจ้าแผ่นดินพระราชทาน ให้แก่พระสงฆ์เพื่อใช้สร้างอุโบสถ) ในปี พ.ศ. 2380 ซึ่งตรงกับสมัยของเจ้าหลวงมหาวงศ์ และได้มีการ สร้างวิหารและพระเจดีย์ขึ้นในปี พ.ศ. 2381 โดยที่ พระเจดีย์วัดสถารศนั้น เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว�่ำ แบบล้านนา มีฉัตรประดับยอดเจดีย์ 7 ชั้น องค์ พระเจดีย์หุ้มแผ่นทองจังโกทั้งองค์จนถึงส่วนฐาน ท�ำให้มีความโดดเด่นสะดุดตาต่อผู้พบเห็น ก�ำแพง แก้วที่ล้อมรอบเจดีย์แต่เดิมนั้นเป็นก�ำแพงปล่องไข่ ต่อมาได้มีการเพิ่มซุ้มประตูทางเข้าทั้งสี่ด้าน ก่อน จะถูกรื้อออกอีกครั้งให้เป็นในรูปแบบเดิม อีกทั้ง ยังมีงานไหว้พระธาตุสถารศ ที่จัดขึ้นเป็นประจ�ำ ในทุกๆ ปี ท�ำให้องค์พระธาตุสถารศนี้ได้รับการ ท�ำนุบ�ำรุงดูแลรักษาจากพุทธศาสนิกชนชาวน่าน เรือ่ ยมาจนถึงปัจจุบนั นอกจากองค์พระเจดียส์ ที อง อร่ามเตะตาแล้ว ภายในวัดสถารศยังมีพระอุโบสถ แบบเปิด ทีม่ เี พียงแห่งเดียวในเขตเทศบาลเมืองน่าน คือ เป็นอุโบสถทีไ่ ม่มปี ระตูหน้าต่าง แต่เปิดเป็นผนัง โล่งทั้งสามด้าน มีเพียงเสาตั้งอยู่บนฐานสูงที่รองรับ น�ำ้ หนักของหลังคาอุโบสถไว้เท่านัน้ ซึง่ ยังคงเป็นข้อ สงสัยว่าเหตุใดจึงมีการสร้างพระอุโบสถแบบเปิดเช่น นี้ ซึ่งแตกต่างจากวัดอื่นๆ ในเขตเมืองน่าน ภายใน พระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ 3 องค์ ไว้ส�ำหรับสักการะบูชา


โบราณวัตถุที่ถูกเก็บไว้ในกุฏิเจ้าอาวาส

ด้วยความส�ำคัญที่เคยเป็นวัดหลวงกลางเวียง เหนือมาก่อน ท�ำให้วัดสถารศมีพระพุทธรูปไม้และ พระพุทธรูปส�ำริดเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาที่ น่าสนใจอีกกว่า 61 องค์ เช่น พระพุทธรูปปางมาร วิชยั ทีถ่ กู สร้างขึน้ ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งพระพุทธ รูปองค์นี้เป็นศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของ รัตนโกสินทร์อย่างเด่นชัด ด้วยโครงรูปพระพักตร์ และส่วนฐานที่เป็นฐานปัทม์ตกแต่งด้วยลายกลีบ บัว มีลายรักร้อยและลายเชิงประดับ มีทิพย์ห้อย ลงมาจากฐานด้านหน้า ซึ่งมีลวดลายเป็นรูปพระ แม่ธรณีบบี มวยผม พร้อมลวดลายไทยนูนต�ำ่ ประดับ บริเวณส่วนพื้นฐานขององค์พระ จารึกรายละเอียด ประวัติการสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ โดยมีราย พระนามของเจ้าหลวงสุมนเทวราชและพระบรม วงศานุวงศ์ ที่ร่วมกันสร้างถวายวัดสถารศขึ้นใน ปี พ.ศ. 2366 หรือพระพุทธรูปไม้แกะสลักจากไม้ จันทน์หอม ปางเปิดโลก ทรงประทับยืนบนเศียร ช้าง 6 เศียร ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า พระขอฝน ด้วยในสมัยก่อนมีการอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไป แห่ขอฝน ยามเมื่อบ้านเมืองเกิดฝนแล้ง หรือฝนฟ้า ไม่ตกต้องตามฤดูกาล ไม่ปรากฏหลักฐานปีที่สร้าง แต่ก็ถือเป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้านและชาวเมืองใน สมัยก่อนนับถือศรัทธาสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน พระพุทธรูปไม้อีกองค์หนึ่งที่มีความสวยงาม และน่าสนใจไม่แพ้พระขอฝนคือ พระพุทธรูปปาง

พระขอฝน

ไสยาสน์ ซึ่งมีรูปแบบคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปใน ศิลปะรัตนโกสินทร์ โดยช่างแกะสลักพระพุทธรูป ไม้องค์นไี้ ด้ใช้จนิ ตนาการท�ำแท่นบรรทมตกแต่งด้วย ลายรักปัน้ ปิดทองประกอบสวยงาม ซึง่ สันนิษฐานว่า สร้างขึน้ ในช่วงครึง่ หลังของพุทธศตวรรษที่ 24 สมัย ทีเ่ จ้าสุมนเทวราชหรือเจ้ามหาวงศ์ได้เข้าไปท�ำนุบำ� รุง วัดสถารศ และศาสนสถานต่างๆ นอกจากนีย้ งั มีพระพุทธรูปไม้อกี หลายองค์ทยี่ งั อยู่ในขั้นตอนของการสืบประวัติ โดยส่วนใหญ่จะ มีจารึกอักษรพื้นเมืองน่านที่ฐานขององค์พระพุทธ รูป ในเนื้อความมักกล่าวถึงชื่อของผู้สร้างหรือผู้ ถวายพระพุทธรูป พร้อมกับวัน เดือน ปีทสี่ ร้าง และ วัตถุประสงค์ของการสร้าง เช่น สร้างเพือ่ เฉลิมฉลอง วัด หรือสร้างเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลต่างๆ เป็นต้น โดยแต่ละองค์กจ็ ะมีความประณีต ความงดงาม และ มีรูปร่างหน้าตาขององค์พระที่แตกต่างกันไปหลาก หลาย เรียกได้ว่า พระพุทธรูปไม้แต่ละองค์มีเพียง หนึ่งเดียวในโลก นอกจากพระพุทธรูปแล้ว ยังมีแผงพระพิมพ์ ส�ำหรับหล่อพระพุทธรูป ซึง่ แต่โบราณนิยมสร้างเพือ่ แจกจ่ายประชาชนทีม่ าท�ำบุญในงานบุญเฉลิมฉลอง ต่างๆ แม่พิมพ์ท�ำมาจากแท่งเหล็กซึ่งสามารถหล่อ พิมพ์องค์พระได้งดงามสม�่ำเสมอ และยังสามารถ ใช้งานได้จนถึงปัจจุบัน จากความเป็นมาอันยาวนานเกือบ 200 ปี ท�ำ ให้วดั สถารศมีทรัพยากรด้านโบราณวัตถุและเครือ่ ง

วิหารวัดสถารศ

มือเครื่องใช้พื้นถิ่น ถูกเก็บสะสมรวบรวมไว้ภายใน วัดเป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งล้วนแล้วแต่มีคุณค่าที่ไม่อาจ ตีเป็นตัวเลขได้ ด้วยสิง่ ของเหล่านัน้ เปรียบดัง่ ตัวแทน บอกเล่าถึงวิถีชีวิตของคนเมืองน่านในสมัยก่อน ท�ำ ให้วัดสถารศแห่งนี้เป็นวัดที่มีความส�ำคัญแห่งหนึ่ง ของเมืองน่าน ความส�ำคัญดังกล่าวท�ำให้วัดและชุม ชนสถารศมีโครงการทีจ่ ะน�ำวัตถุโบราณเหล่านีอ้ อก มาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ชุมชน ซึ่งดัดแปลงมาจาก กุฏสิ งฆ์ไม้หลังเดิม อายุกว่า 60 ปี ทีไ่ ด้รบั การบูรณะ จนเสร็จสิ้นแล้ว จากการสนับสนุนงบประมาณจาก องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่อง เที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) จังหวัดน่าน พิพธิ ภัณฑ์ชมุ ชนทีจ่ ะจัดให้มขี นึ้ นีจ้ ะอาศัยความ ร่วมมือจากคนในชุมชนในการรวบรวม สืบประวัติ และ จัดแสดงทรัพยากรต่างๆ ทีม่ อี ยูภ่ ายในวัด รวมไปถึง เครือ่ งมือเครือ่ งใช้โบราณอันเป็นภูมปิ ญั ญาทีแ่ สดงถึง วิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบดั้งเดิมของคนน่านในสมัย ก่อน ทีช่ าวบ้านร่วมใจน�ำมาบริจาคให้แก่ทางวัด เพือ่ ให้วดั สถารศเป็นแหล่งเรียนรูร้ ากเหง้า และภูมปิ ญั ญา ของชุมชนดังที่เคยเป็นมาในอดีต ซึ่งก็เป็นกิจกรรม หนึง่ ของล่องน่านทีไ่ ด้เข้าไปร่วมด�ำเนินโครงการกับ ชุมชน ในการผลักดันให้เกิดการใช้ทรัพยากรทาง ด้านวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมในชุมชน เพื่อ การท่องเที่ยวโดยการจัดการของชุมชนอย่างยั่งยืน และเกิดความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรที่มี อยู่ในชุมชนของตนเอง

Long Nan Booklet | 9


บันไดทางขึ้นหลังบ้านอยู่ระหว่างตัวเรือนหลักและห้องครัวที่เชื่อมด้วยทางเดินโล่ง ขนาบด้วยฮ้านน�้ำด้านหนึ่ง ซึ่งสามารถมองออกไปเห็นพื้นที่ทั้งหน้าบ้านและสวนด้านหลัง

ของคนมะเก่า

5

E-2

ต�ำแหน่งในแผนที่

ในเฮือนมะก่อน คุณบุญช่วย ก๋าน�้ำ

ลึกเข้าไปในชุมชนบ้านมหาโพธิ มีเรือนไม้รูปทรงเรียบง่ายที่ร่มรื่นไปด้วย

ต้นไม้ ซึ่งเจ้าของบ้านคือ ตาแต่ง และยายบุญช่วย ก๋าน�้ำ ที่ด�ำรงชีวิตแบบพอ เพียงในเรือนหลังนี้ที่มีอายุกว่า 100 ปีมาแล้ว ลานหน้าบ้านยังคงเป็นลานดิน โรยหินกรวดตรงเฉพาะทางเดินขึ้นบ้าน มีราวตากผ้าเป็นไม้ไผ่ยาวพาดกับหลัก ไม้ที่ตอกบนลานดิน มีแปลงผักเล็กๆ อยู่ริมมุมรั้วบ้าน คุณยายบุญช่วยได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาของบ้านให้ล่องน่านฟังว่า บ้านหลังนี้คุณ ยายได้รับสืบทอดมรดกต่อมาจากพ่อกับแม่ของตนเอง มีการรื้อซ่อมแซมและต่อเติมบ้าง ในบางส่วนที่ผุพังไปตามกาลเวลา แต่ได้คงรูปแบบดั้งเดิมของบ้านเอาไว้ โดยตัวบ้านสร้าง จากไม้สกั ทั้งหลัง ซึ่งเป็นไม้สกั ทีห่ าได้จากป่าโดยตรงในสมัยก่อน เดิมหลังคาเป็นแป้นเกล็ด ไม้ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นหลังคาสังกะสี และต่อเติมห้องน�้ำชั้นบนติดกับยุ้งข้าวเก่า เพื่อความ สะดวกไม่ตอ้ งเดินขึน้ ลงบันไดในยามกลางคืน ด้านซ้ายของเรือนหลักเป็นเรือนครัวแบบโปร่ง ที่เชื่อมถึงกันด้วยชาน ที่มีฮ้านน�้ำตั้งอยู่และมีราวกันตกเป็นไม้ไผ่ เรือนครัวของบ้านหลังนี้ สามารถท�ำครัวไฟบนชาน หรือในเรือนครัวทีม่ ผี นังโปร่งก็ได้ ภายในครัวเต็มไปด้วยอุปกรณ์ ประกอบอาหารและของใช้แบบดั้งเดิมที่ดูเรียบง่าย และหาชมได้ยากในปัจจุบัน ทั้งเตาไฟ ไหนึ่งข้าว กระด้ง กระบุง โตกข้าว กั๊วะข้าว และตู้กับข้าว เป็นต้น จากการบอกเล่าของคุณยายบุญช่วยว่า บ้านหลังนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยที่พ่อและแม่ของ คุณยายยังมีชีวิตอยู่ ประเพณีของคนเหนือฝ่ายชายจะแต่งเข้าบ้านฝ่ายหญิง ซึ่งเมื่อสมัยยัง สาวคุณยายบุญช่วยเป็นผู้หญิงที่สวยมาก เคยถูกทาบทามให้ไปประกวดนางงาม แต่ด้วย พ่อแม่คุณยายหวงลูกสาวจึงไม่อนุญาตให้ไปประกวด มีหนุ่มๆ มาจีบจนหัวบันไดแทบไม่ แห้ง แต่ด้วยความดีของคุณตาแต่ง ก็สามารถเอาชนะใจคุณยายบุญช่วยได้ และแต่งงาน 10 | จุลสารล่องน่าน

คุณยายบุญช่วย ก๋าน�้ำ เจ้าของบ้าน

อยู่กินกันมาจนถึงทุกวันนี้ คุณตาแต่งเป็นคนที่ขยัน หนักเอาเบา สู้ มีความคิดสร้างสรรค์ เห็นได้จากเครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้าน ทีถ่ กู คุณตาแต่งประดิษฐ์ขนึ้ เพือ่ อ�ำนวยความสะดวกในชีวติ ประจ�ำ วัน โดยการน�ำวัสดุธรรมชาติและวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เครือ่ งมือ เครือ่ งใช้ตา่ งๆ เช่น กับดักหนูไม้โบราณ ทีแ่ ขวนอาหารกันมด แท่น ลับเลื่อย ซองใส่ไก่หรือหับไก่ และเครื่องใช้จักสานต่างๆ เช่น พวก ตะกร้า ไม้แตะปิดบันได เป็นต้น ทัง้ ตาแต่งและยายบุญช่วย แต่เดิมมี อาชีพท�ำนาท�ำไร่ สมัยก่อนคุณตาได้ซอื้ เกวียนหนึง่ เล่มมาจากจังหวัด แพร่เพื่อใช้เทียมวัวลากข้าวมาเก็บไว้ในยุ้งที่บ้าน ซึ่งเกวียนเล่มดัง กล่าวยังคงจอดอยู่ใต้ถุนบ้านที่แวดล้อมไปด้วยเครื่องไม้เครื่องมือ ในการท�ำนาสมัยก่อนจ�ำพวก คราด คันไถ รวมถึงอุปกรณ์หาปลา จ�ำพวก สุม่ ดักปลา ข้องขังปลา เป็นต้น บ้านคุณตาแต่งและคุณยาย บุญช่วย จึงเต็มไปด้วยข้าวของเครือ่ งใช้พนื้ บ้านดัง้ เดิมมากมาย ราวกับพิพิธภัณฑ์มีชีวิตขนาดย่อมที่ตั้งอยู่กลางชุมชนมหาโพธิ


ด้านหน้าของเรือน มองเห็นตัวเรือนหลังใหญ่เชื่อมไปยังโถงรับแขกบริเวณทางขึ้นบ้าน พื้นที่ใต้ถุนเรือนใช้เป็นที่ส�ำหรับเก็บข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านดั้งเดิม รูปด้านหน้าอาคาร ตัวเรือนหลัก

ห้องครัว

บันได หลังบ้าน

2.90

2.50

บันไดหน้าบ้าน

3.80

หลองข้าว

2.00

4.50

4.50

ห้องน�ำ้

1.00

ห้องนอน

3.00

3.00

ห้องนอน

ครัว บันได หลังบ้าน

3.00

โถงรับแขก

1 2

3.00

ชานแดด

บันไดหน้าบ้าน

3

4 5

1. ซองใส่ไก่หรือหับไก่ 2. แอกและทูบเกวียน 3. กับดักหนู 4. ที่แขวนของป้องกันมดและแมลง 5. ดาดหลังเกวียนที่มีลวดลายสวยงาม

ผังพืน้ อาคาร

Long Nan Booklet | 11


เฮือนภูมิปัญญา สล่าแป๋งตุง คุณวันดี สิทธิสัน

6

F-1

ต�ำแหน่งในแผนที่

เจ้าของบ้านหลังนี้คือ คุณยายวันดี สิทธิสัน ซึ่งนอกจากจะเป็นครูภูมิปัญญา ผู้

เชี่ยวชาญในการท�ำตุงมะเก่า ตามที่ล่องน่านเคยสัมภาษณ์ไปในฉบับที่ 2 แล้ว บ้าน ของคุณยายยังคงไว้ซงึ่ ลักษณะดัง้ เดิมของสถาปัตยกรรมพืน้ ถิน่ เมืองน่านได้เป็นอย่าง มาก แม้บางส่วนของใต้ถุนบ้านจะถูกดัดแปลงให้เป็นห้องพักอาศัยเพิ่มขึ้นมาก็ตาม คุณยายวันดี เกิดที่บ้านแสงดาว แต่ได้ย้ายมาอยู่ที่ชุมชนเชียงแข็งกับสามี ซึ่งมารับราชการ อยู่ที่เมืองน่าน โดยทั้งสองได้ปลูกเรือนหลังนี้ขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 โดยจ้างสล่าจากเมือง แพร่มาสร้างให้ ตัวเรือนเป็นบ้านไม้แฝดชั้นเดียว ยกพื้นสูง เสาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคา ทรงจั่วแบน ด้านสกัดมีชายคายื่น หลังคามุงสังกะสี ลักษณะเด่นบริเวณด้านหน้าของตัวเรือน คือ มีหน้าต่างบานยาวสูงเกือบเท่ากับประตู และมียุ้งข้าวอยู่บริเวณหน้าบ้าน ซึ่งใช้เก็บข้าว ที่ได้จากการให้ผู้อื่นเช่าท�ำนา และแบ่งส่วนที่ได้ตามแต่ตกลงกัน ตรงบริเวณผนังด้านล่างสุด ของยุ้งข้าวด้านทิศตะวันออกจะมีช่องเปิดเล็กๆ ที่ปิดไว้ด้วยไม้ ส�ำหรับใช้เปิด-ปิด ให้ข้าวไหล ลงมาตามช่องลงสู่กระสอบ เพื่อน�ำข้าวไปสีใช้ในครัวเรือน โดยไม่ต้องปีนขึ้นไปตักบนยุ้งข้าว ให้เหนื่อย ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาเล็กๆ ของคนในสมัยก่อนที่พยายามคิดแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อให้ เกิดความสะดวกในการด�ำรงชีวิตมากขึ้น ปัจจุบนั บ้านของคุณยายวันดีถกู ต่อเติมและดัดแปลงให้เป็นหอพักนักศึกษาชาย เพือ่ ให้นกั ศึกษา เช่า เนือ่ งจากอยูใ่ กล้กบั มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน แต่กย็ งั มีสภาพทีส่ มบูรณ์ และคงรูปแบบดั้งเดิมของเรือนไว้ได้มาก ภายในเรือนยังสามารถสังเกตเห็นชาน เติ๋น ช่องเปิด ระบายอากาศ ห้องครัวแบบโปร่ง และองค์ประกอบอื่นๆ ของเรือนแบบดั้งเดิมได้ในหลายๆ จุด คุณยายวันดีเป็นครูภูมิปัญญาของบ้านน�้ำล้อม ถึงแม้ชื่อในทะเบียนบ้านคุณยายวันดีจะอยู่ ในเขตบ้านเชียงแข็ง ตามการแบ่งเขตชุมชนของเทศบาล เพราะแต่เดิมชาวบ้านแบ่งเขตชุมชน กันโดยการใช้หลักบรรทัดฐานทางสังคม และความศรัทธาต่อหัววัด ซึ่งจากการรับรู้ร่วมกันใน สังคม คุณยายวันดีถือเป็นครูภูมิปัญญาคนส�ำคัญของบ้านน�้ำล้อม อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณยาย วันดีจะเป็นคนในชุมชนไหน ก็เป็นที่เคารพนับถือของคนเมืองน่านโดยทั่วไป และมักมีผู้คนไป ขอค�ำแนะน�ำคุณยายเกี่ยวกับการท�ำตุง เครื่องบายศรี และการพันด้ายมงคลต่างๆ อยู่เสมอ

คุณยายวันดี สิทธิสัน เจ้าของบ้าน

บันไดหลังบ้าน

2.50

ครัว

2.50

2.80

โถงรับแขก

บันไดหน้าบ้าน

รูปด้านหน้าอาคาร

2.50

2.50

เก็บของ

เก็บของ

3.50

3.00

ห้องนอน

เก็บของ

2.10

โถงรับแขก

ห้องนอน บันไดหลังบ้าน

ห้องนอน

โถงรับแขก

3.50

3.50

บันไดหน้าบ้าน

ผังพืน้ อาคาร

ทางเข้าหน้าบ้านมีหลังคาคลุม เชื่อมต่อกับโถงรับแขกและลานหน้าบ้าน

12 | จุลสารล่องน่าน

เหนือประตูทางเข้าหลังบ้านมีช่องเปิด ส�ำหรับระบายอากาศให้แก่ตัวบ้าน

หน้าต่างบานยาวลงมาถึงพื้นเปิด-ปิดได้ ท�ำหน้าที่ปิดกั้น และปล่อยผ่านแสงที่เข้ามาในตัวเรือนตามแต่ละช่วงเวลา

หลองข้าวด้านหน้าของตัวเรือน ยกสูงจากพื้น มีช่องเปิดคล้ายหน้าต่างส�ำหรับเอาข้าวเปลือกใส่เข้าไป มีช่องเล็กๆ ด้านขวาด้านล่างสุดของผนัง ส�ำหรับเอาข้าวออกไปสีเพื่อรับประทาน


ฮ้านน�้ำบริเวณชานบ้านยังเป็นหม้อดินเผาแบบโบราณ

ตะใคร่น�้ำสีเขียวใต้ถุนเรือนบ่งบอกถึงความชุ่มชื้นบน ผิวดินได้เป็นอย่างดี

เฮือน ฮ่ม เย็น คุณดรุณี ยอดสุภา

7

B-5

ต�ำแหน่งในแผนที่ รูปด้านหน้าอาคาร

ในอดีตเรือนพักอาศัยไม้ที่มีหลังคาลาดชันในเขตเมืองน่านมักมุงหลังคาด้วย “กระเบื้อง

ดินขอ” แต่ปัจจุบันกลับเป็นสิ่งที่หาดูได้ยาก บ้านคุณยายดรุณี ยอดสุภา อาจเรียกได้ว่าเป็น เรือนพักอาศัยเพียงไม่กี่หลัง ที่ยังคงมีหลังคาดินขอตั้งแต่เดิมหลงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เรือนพักอาศัยของคุณยายดรุณใี นชุมชนมณเฑียร หลังนี้มีอายุกว่า 70 ปีมาแล้ว เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ยกใต้ถนุ สูง เสาเป็นซีเมนต์ หลังคาทรงจัว่ มุงสังกะสี แต่บริเวณด้านหน้าสกัดมีชายคายื่นคลุมระเบียงมุง ด้วยกระเบื้องดินขอแบบโบราณหลงเหลือให้เห็น ด้วยการที่เป็นเรือนยกพื้นสูงมีหลังคาคลุมรอบ ด้าน แม้แต่ระเบียงด้านหน้าถึงแม้จะถูกบดบังด้วย อาคารอืน่ ๆ ทีร่ ายล้อมอยูร่ อบด้าน ท่ามกลางอากาศ ทีร่ อ้ นอบอ้าวในช่วงบ่ายกลางเดือนมิถนุ ายน แต่ใต้ถนุ บ้านของคุณยายดรุณี ยอดสุภา ยังคงเย็นสบาย มี สายลมพัดเอือ่ ยๆ เข้ามาอยูต่ ลอดเวลา กับพืน้ ใต้ถนุ เรือนเป็นดินอัดแน่นจนเป็นมันเงาตามแบบใต้ถุน เรือนสมัยก่อนที่ผ่านการใช้สอยมาอย่างยาวนาน มี ตะไคร่น�้ำขึ้นอยู่เป็นหย่อมๆ บ่งบอกถึงความชุ่มชื้น ในดินได้เป็นอย่างดี คุณยายดรุณี ได้เล่าถึงความเป็นมาของบ้านให้ ฟังว่า แต่เดิมบ้านนีเ้ ป็นเรือนคูห่ ลังใหญ่ของแม่นมกับ น้าเขยอีกสองคนของคุณยายดรุณี ทั้งสามมีอาชีพ ท�ำไร่ท�ำนาและท�ำสวนส้ม ท�ำให้ค่อนข้างมีฐานะ และสามารถสร้างเรือนหลังใหญ่กว่าหลังปัจจุบัน อีกเท่าหนึ่ง ต่อมาเรือนหลังนั้นได้ค่อยๆ ผุพังลงไป ตามกาลเวลา เมื่อราวปี พ.ศ. 2522 แม่นมของคุณ ยายดรุณี ก็ได้รอื้ เรือนคูอ่ อก และสร้างเป็นเรือนหลัง เดี่ยวที่มีขนาดเล็กลงมา ดังที่เห็นในปัจจุบันนี้แทน ซึ่งในสมัยนั้นคุณยายดรุณียังไม่ได้มาอยู่กับแม่นม

ที่บ้านหลังนี้ แต่ก็ได้มีโอกาสแวะมาเยี่ยมอยู่บ่อยๆ เนือ่ งจากอยูใ่ นละแวกบ้านเดียวกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 แม่นมขอให้คุณยายดรุณีย้ายมาอยู่ด้วย เพื่อ ช่วยดูแลแม่นมที่ชราภาพมากแล้ว คุณยายดรุณีจึง ได้ย้ายมาอยู่ในบ้านหลังนี้ และหลังจากนั้นอีก 2 ปี ก็ได้ทำ� การซ่อมหลังคาครัง้ ใหญ่ เนือ่ งจากปีนนั้ มีลม แรงและฝนตกหนัก ท�ำให้ต้นล�ำไยล้มลงทับบริเวณ ชานบ้าน ประกอบกับหลังคากระเบือ้ งดินขอก็เสือ่ ม สภาพลงไปมาก จึงต้องเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาเป็น สังกะสีเกือบทัง้ หมด เหลือแต่เพียงบริเวณหน้าบ้าน เท่านั้นที่ยังคงชายคาคลุมระเบียง มุงด้วยกระเบื้อง ดินเผาดังที่เห็นในปัจจุบัน ระเบียงบ้าน เป็นบริเวณที่คุณยายดรุณีใช้เป็น ที่นั่งเล่นและต้อนรับแขก เพราะมีลมผ่านตลอด เวลา หรือในบางวันทีเ่ ว้นว่างจากการประกอบอาชีพ ขายล็อตเตอรี่ คุณยายจะหิว้ วิทยุลงไปนอนฟังเพลง ในเปลญวนทีผ่ กู ไว้ใต้ถนุ บ้าน บางครัง้ ก็มเี พือ่ นบ้าน มาคุยเล่น นอนฟังเพลงด้วยกัน เนื่องจากคุณยาย ได้ผูกไว้หลายเปล การใช้ชีวิตระหว่างวันจึงอยู่ที่ บริเวณพื้นที่ทั้งสองเป็นหลัก พื้นที่ชั้นบนจึงเป็น พื้นที่ส�ำหรับนอน ท�ำครัว แต่งตัว ที่รวมอยู่ในห้อง เดียวกัน มีเพียงแต่หอ้ งน�ำ้ เท่านัน้ ทีถ่ กู กัน้ เป็นสัดส่วน ต่างหาก ซึ่งตอบรับการอยู่อาศัยเพียงคนเดียวของ คุณยายดรุณีได้เป็นอย่างดี

ชาน

บันไดหน้าบ้าน 1.40

2.30

ครัว

2.50

2.00

ห้องนอน

2.30

2.00

ห้องน�้ำ

ห้อง เก็บของ

2.00

1.80

ชาน 1.50

โถงรับแขก

บันไดหน้าบ้าน

ผังพืน้ อาคาร

Long Nan Booklet | 13


เตาไฟแบบสมัยโบราณ เป็นดินเหนียวอัดแน่นในกระบะ เพื่อป้องกันอัคคีภัยจากการหุงต้มในครัวเรือน

หน้าต่างบานยาวลงมาถึงพื้นเปิด-ปิดได้หลายแบบ เปิดแต่ด้านบนเพื่อใช้เป็นหน้าต่างและเปิดทั้งหมดเพื่อให้ แสงและลมผ่านมายังพื้นเรือนได้ดียิ่งขึ้น

ทางเชื่อมระหว่างตัวเรือนหลัก ห้องครัว และหลองข้าว เปิดโล่งให้ลมผ่าน เข้ามาในตัวอาคารได้ตลอด

เฮือน

ฮอมแฮง

คุณสัมฤทธิ์ จิตวงศนันท์ บ้านของคุณสัมฤทธิ์ จิตวงศนันท์ ดูจาก คุณสัมฤทธิ์ จิตวงศนันท์ เจ้าของบ้าน

14 | จุลสารล่องน่าน

ภายนอกเหมือนเป็นเรือนไม้ทเี่ รียบง่ายธรรมดา หลังหนึง่ ในชุมชนเชียงแข็ง แต่จากประวัตคิ วาม เป็นมา และลักษณะการจัดพืน้ ทีใ่ ช้สอยภายใน บ้านกลับมีความน่าสนใจมากกว่ารูปกายภาพ ของเรือนที่ปรากฏ

คุณสัมฤทธิเ์ ล่าว่า การสร้างบ้านในสมัยก่อนจะมี “สล่า เก๊า” คือ คนที่เป็นผู้น�ำในการก่อสร้างโครงสร้าง ซึ่งการ สร้างบ้านของสล่าในสมัยก่อนนัน้ ไม่มกี ารเขียนแบบลงใน กระดาษ หรือใช้ไม้วาดลงบนพืน้ หรือใช้วธิ ชี แี้ นะสัง่ งาน แต่ จะใช้วธิ ี “การลงแขก” โดยให้สมาชิกในชุมชนมาช่วยกัน สร้าง โดยมีสล่าเก๊าเป็นผูค้ วบคุมดูแลและร่วมสร้างไปด้วย ซึง่ ก่อนสร้างก็จะมีการเตรียมวัสดุกอ่ สร้างจ�ำพวก ไม้ ตะปู และอืน่ ๆ ทีจ่ ำ� เป็นให้พร้อม ส่วนชาวบ้านก็จะน�ำเครือ่ งมือ สร้างบ้านทีต่ นมีตดิ ตัวมาช่วยด้วยเช่นกัน หากเจ้าของบ้าน เป็นคนมีฐานะ บารมี ก็อาจใช้เวลาสร้างประมาณ 2-3 วัน ก็แล้วเสร็จ ส่วนเจ้าของบ้านที่เป็นชาวบ้านธรรมดา กว่า จะสร้างเสร็จก็อาจใช้เวลาประมาณ 5-6 วัน เนื่องจากมี คนมาช่วยน้อยกว่า โดยในระหว่างการก่อสร้างเจ้าของ บ้านจะจัดเตรียมข้าวปลาอาหารและน�้ำ มาเลี้ยงผู้ที่ช่วย สร้างบ้านให้ตนเองเป็นการตอบแทน สมัยก่อนบ้านของ ชาวบ้านธรรมดาทั่วไปจริงๆ จะเป็นเรือนที่สร้างขึ้นมา จากไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา ส่วนคนที่มีฐานะหรือ


รูปด้านหน้าอาคาร

ชาน ใต้ถุน บันไดหลังบ้าน 1.60

ห้องน�้ำ

บันไดหน้าบ้าน 3.20

2.70

ครัว หลองข้าว

3.20

3.20

โถงรับแขก

2.60

ชาน หลังบ้าน

2.60

บันไดหลังบ้าน 2.60

ห้องนอน ห้องนอน

บันได หน้าบ้าน 3.90

0.80

8

F-1

หลองข้าวอยู่ในตัวอาคารติดกับห้องครัว เพื่อความปลอดภัยและสะดวกในการดูแลรักษา

เจ้าเมือง จะสร้างบ้านด้วยไม้เนือ้ แข็ง มุงหลังคาด้วย กระเบื้องซีเมนต์ ซึ่งหลังคากระเบื้องซีเมนต์นั้น ท�ำ ขึ้นเองในหมู่บ้านโดยเหล่าช่างสล่าพื้นบ้านจะปั้น กระเบื้อง และตากในบริเวณสถานที่ก่อสร้างของ บ้านหลังนัน้ ๆ วิธที ำ� คือ ใช้ปนู ซีเมนต์เป็นถุง ผสมกับ ทราย ดิน ที่หาได้ในละแวกใกล้เคียง ช่างส่วนใหญ่ ก็จะเป็นคนในพืน้ ที่ ไม้ทนี่ ำ� มาใช้เป็นโครงสร้างของ บ้าน ส่วนใหญ่จะใช้ไม้สกั ฝาบ้านจะเป็นไม้ตะเคียน เวลาไส สีของไม้จะเป็นสีน�้ำมันของไม้ สีจะสวยโดย ไม่ตอ้ งใช้นำ�้ ยาเคลือบไม้ ไม้สกั เองก็เช่นเดียวกัน ถ้า ไม่ดแู ล เช็ดท�ำความสะอาดให้เงา ก็อาจไม่สวย และ ปลวกก็อาจขึ้นได้เช่นกัน สมัยก่อนชาวชุมชนจะมีผู้ใหญ่บ้าน หรือที่ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “พ่อใหญ่” คอยจัดการดูแล หมู่บ้าน โดยการได้รับการคัดเลือกมาจากผู้ที่ชาว บ้านที่ศรัทธา ซึ่งมักมีคุณสมบัติคือ เป็นคนมีบารมี และมีฐานะพอควร แต่ไม่จำ� เป็นต้องมีเชื้อสายเจ้า

ต�ำแหน่งในแผนที่

เพียงแต่ตอ้ งอยูภ่ ายใต้อำ� นาจของเจ้า ซึง่ ส่งผลต่อวิธี การแบ่งเขตของหมู่บ้านในสมัยก่อน ที่แบ่งโดยการ ใช้ ถนน แม่น�้ำ คูคลอง เป็นเส้นแบ่งเขต หรือแบ่ง ตามความศรัทธาของลูกบ้าน ว่าอยากอยู่เขตไหน ถึงแม้ว่าในทะเบียนบ้านจะอยู่ในอีกเขตหนึ่งก็ตาม แต่ถา้ ลูกบ้านอยากจะอยูอ่ กี เขตหนึง่ ก็สามารถท�ำได้ โดยใช้ระบบสังคมเป็นตัวก�ำหนด บ้านของคุณสัมฤทธิก์ ถ็ กู สร้างขึน้ ด้วยวิธกี ารดัง กล่าวข้างต้น ซึง่ แต่เดิมสร้างเป็นเรือนไม้ทงั้ หลัง บน เนื้อที่ทงั้ หมดกว่า 6 ไร่ เรียกได้วา่ เป็นคุม้ ในสมัยนั้น แต่ได้รบั การปรับปรุงเรือ่ ยๆ มา เพือ่ ให้มคี วามสะดวก สบายในการใช้สอยอาคารตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป มากขึ้น แต่เดิมหลังคาบ้านมุงด้วยกระเบื้องดินขอ แต่ครั้งเมื่อโดนพายุลูกเห็บตกใส่ จนหลังคาเกิด ความเสียหายจนยากที่จะซ่อมแซม จึงเปลี่ยนมา มุงหลังคาสังกะสีแทน และต่อมาก็ได้เปลี่ยนเป็น หลังคากระเบื้องดังที่เห็นในปัจจุบัน

ผังพืน้ อาคาร

ภายในเรือนแบ่งออกเป็นเรือนหลัก และเรือน ครัว โดยมีชานซึ่งมีหลังคาคลุมเป็นตัวเชื่อม ความ น่าสนใจอยู่ที่ บริเวณเรือนครัวที่มีผนังโปร่งใน บางช่วง เพือ่ ใช้ระบายควันและกลิน่ จากการประกอบ อาหารโดยแม่เตาไฟ ซึง่ รายล้อมไปด้วยอุปกรณ์ในการ ประกอบอาหารในแบบดัง้ เดิม ดังถูกจัดแสดงไว้เพือ่ ให้แขกที่มาเยือนได้ชม ภายในบริเวณเรือนยังมีหล องข้าว (ยุ้งฉางข้าว) อยู่บนเรือน ซึ่งคุณสัมฤทธิ์เล่า ให้ฟงั ว่า การสร้างยุง้ ข้าวไว้ภายนอกจะไม่ปลอดภัย ข้าวอาจถูกขโมยได้งา่ ย ทัง้ ยังสะดวกต่อการป้องกัน นก หนู ที่จะเข้ามากัดกินเมล็ดข้าวอีกด้วย บ้านของชาวน่านที่ภายนอกดูเรียบง่าย เช่น เดียวกับวิถีการด�ำเนินชีวิตของผู้อยู่อาศัยภายใน แต่แท้จริงแล้วกลับมีเรือ่ งราวความเป็นมาทีส่ ะท้อน ถึงระเบียบวิธคี ดิ ขนบประเพณี ของคนในท้องถิน่ แห่งนี้ได้เป็นอย่างดี Long Nan Booklet | 15


๒๕๒ . ศ . นพ

ก่อ

โรงแรมน่านฟ้า

โรงแรมน่านฟ้า

พ.ศ.๒๕๕๗

พ.ศ.๒๕๐ โรงแรมน่านฟ้า

สุมนเทวราช ถนน

สุมนเทวราชเปรียบได้กบั เส้นเลือดทางเศรษฐกิจ ของเมืองน่าน ย่านตลาดการค้า ร้านอาหาร โรงแรมทีพ่ กั และ ธุรกิจบริการต่างๆ ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยูต่ ามแนวถนนสายนี้ ซึ่งท�ำให้พื้นที่สองฝากถนนเต็มไปด้วยอาคารร้านค้า ทั้งสมัย เก่าและสมัยใหม่หลากรูปแบบ น่าเสียดายที่พื้นที่ทางฝั่งซ้าย ของภาพถ่ายปัจจุบนั ได้ถกู เพลิงไหม้ไปเมือ่ ปี พ.ศ. 2523 หลัง จากนัน้ ตึกแถวก่ออิฐถือปูน จึงได้ถกู สร้างขึน้ มาทดแทนตามที่ เห็นในปัจจุบนั จากภาพถ่ายเก่าทางอากาศจะเห็นได้วา่ ก่อน ไฟไหม้ พื้นที่ฝั่งตรงข้ามโรงแรมเทวราชเคยเป็นเรือนแถวไม้ หลังคามุงด้วยสังกะสียาวตลอดเป็นแนวลงมาทางใต้ เลีย้ วลง ตามถนนมหาวงศ์ และอ้อมขึน้ ไปตามแนวถนนข้าหลวง ด้าน หลังเรือนแถวเหล่านี้มีการต่อเติมขยายพื้นที่ใช้สอยเข้าไปใน พื้นที่โล่งด้านหลัง ซึ่งเป็นบริเวณตลาดราชพัสดุในปัจจุบัน เรือนแถวไม้เหล่านี้ถ้ายังคงอยู่จนถึงปัจจุบันก็น่าจะมีอายุไม่ 16 | จุลสารล่องน่าน

ย่านตลาดเศรษฐกิจจาวน่าน

ต�ำ่ กว่า 50 ปี เพราะจากรูปถ่ายเก่าทีเ่ จ้าสมปรารถนา ณ น่าน บันทึกไว้ ในช่วงงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าราชบุตร หมอก ฟ้า ณ น่าน เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2502 ตามแนวถนนสุมน เทวราชมุ่งหน้าไปทางทิศใต้สู่เขตใจเมือง จะเห็นว่าอาคาร เหล่านี้ได้ถูกสร้างขึ้นแล้ว และมีสภาพที่แสดงให้เห็นถึงการ ผ่านการใช้งานมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ที่น่าสนใจคือ ชั้นบน ของอาคารในบางช่วงจะมีระเบียงทางเดินเชื่อมถึงกันตลอด แนวด้านหน้า ด้านขวามือสุดของภาพจะสังเกตเห็นโรงแรม น่านฟ้า ซึ่งเป็นอาคารไม้ 3 ชั้น ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 ด้านหน้าของอาคารมีชายคาปีกนกยื่นออกมา ถัดมา เป็นทีต่ งั้ อาคารโรงแรมเทวราชในปัจจุบนั ซึง่ ในสมัยนัน้ ยังเป็น อาคารทรงจัว่ สองชัน้ เมือ่ เปรียบเทียบภาพนีก้ บั ภาพถ่ายเก่า ทางอากาศจะเห็นล�ำดับของอาคารส�ำคัญบริเวณถนนสุมนเทว ราชช่วงนี้ ทีม่ โี รงแรมน่านฟ้าเป็นจุดหมายตาทีส่ ำ� คัญ อาคาร

ทรงจัว่ สองชัน้ ซึง่ เป็นทีต่ งั้ ของโรงแรมเทวราช และอาคารเล่า ซุน่ กี่ ซึง่ เป็นอาคารคอนกรีต 3 ชัน้ ทีย่ งั คงปรากฏให้เห็นอยูใ่ น ปัจจุบนั ไล่ลงมาทางใต้ตามล�ำดับ ฝัง่ ตรงข้ามของโรงแรมน่าน ฟ้าเป็นอาคารทรงจัว่ ขนาดใหญ่ทสี่ ร้างแยกออกมาเป็นหลังๆ ไม่ตอ่ เนือ่ งกับกลุม่ เรือนแถวไม้ ซึง่ จากภาพถ่ายเก่าทางอากาศ จะเห็นการแยกตัวออกจากกลุม่ เรือนแถวโดยผืนหลังคาอย่าง ชัดเจน จากทัง้ สองภาพในบริเวณจุดตัดของถนนสุมนเทวราช กับถนนมหาวงศ์จะเห็นอาคารตึกแถวคอนกรีต 3 ชั้น 3 คูหา และกลุ่มอาคารเรือนแถวไม้ 2 ชั้นในฝั่งตรงข้าม ซึ่งอาคาร ทั้งสองกลุ่มยังคงตั้งอยู่ในปัจจุบัน เขยิบออกไปไม่ไกลทาง ด้านทิศตะวันตกของถนนสุมนเทวราช ในบริเวณที่เป็นถนน ผากองในปัจจุบัน ในสมัยนั้นยังคงเป็นเรือกสวนไร่นา ถนน สุมนเทวราชจึงเป็นถนนหลักที่เชื่อมใจเมืองกับย่านชุมชน เรือนค้าร้านตลาดตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.