พระราชประวัติ พระปรีชาสามารถในการ บริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช พระนามเดิม ทองด้วง เสด็จพระราช สมภพ ณ กรุงศรีอยุธยา ในตระกูลขุนนางฝ่าย พลเรือน เมื่อวันพุธที่ ๒๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๒๗๙ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระชนกคือ หลวงพินิจ อักษร (ทองดี) “รับราชการเป็นเสมียนตรา กรมมหาดไทย เทียบได้กับนักบริหารระดับ กลางในระบบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน พระมารดาคื อ ท่ า นหยก เป็ น ครอบครั ว ข้าราชการพลเรือน “ผู้มีอันจะกิน”มีฐานะ มั่นคงมั่งคั่งครอบครัวหนึ่ง ได้สร้างวัดประจ�ำ ตระกูล คือวัดทอง ตรงบริเวณใกล้บ้านในกรุง ศรีอยุธยา และทรงอุปถัมภ์ตลอดมา” พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงผนวชเมื่ อ พุ ท ธศั ก ราช ๒๓๐๐ ณ วัดมหาทลายในกรุงศรีอยุธยาเมื่อทรงลา ผนวชแล้วเข้ารับราชการตามพระชนก อันเป็น รูปแบบของการคัดสรรบุคคลเข้ารับราชการ ในสมัยนั้นโดยถวายตัวเริ่มเข้ารับราชการใน ต� ำแหน่ ง มหาดเล็ ก ในสมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า อุ ทุ ม พร กรมขุ น พรพิ นิ ต พระราชโอรสของสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ช่วงเวลา ๔ ปีนับตั้งแต่ เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ขณะเมื่อ พระชนมายุ ๒๕ พรรษา ได้ทรงสมรสกับท่าน นาค ธิดาในตระกูลคหบดี แห่งบ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม เมื่อพม่ารุกรานไทย ครั้ ง สงครามเสี ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาพุ ท ธศั ก ราช ๒๓๑๐ กรมการเมืองราชบุรีไม่อาจต้านทาน กองทัพพม่าได้ หลวงยกกระบัตรจ�ำต้องอพยพ ครอบครัวจากราชบุรีไปซุ่มซ่อนอยู่ในระแวก บ้านของท่านนาคผู้เป็นภริยา ซึ่งพื้นที่บ้าน อัมพวาเป็นสวนผลไม้ที่มีอาณาเขตกว้างขวาง หลังเสียกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชทรงตัง้ ชุมนุมไพร่พลอยูท่ เี่ มืองจันทบุรี หลวงยกบั ต รเมื อ งราชบุ รี ไ ด้ แ นะน� ำ ให้ น าย สุจินดา (บุญมา) ผู้เป็นน้องให้น�ำพระราชชนนี ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งอพยพ หนีพม่าไปอยู่แขวงเมืองเพชรบุรีไปส่งที่ชุมนุม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่จันทบุรี ได้ เข้ า ร่ ว มภารกิ จ กอบกู ้ บ ้ า นเมื อ งกั บ สมเด็ จ พระเจ้ า ตากสิ น มหาราชด้ ว ย เมื่ อ รวบรวม บ้านเมืองเป็นปึกแผ่นสถาปนากรุงธนบุรีเป็น ศูนย์อ�ำนาจแห่งใหม่และปราบดาภิเษกเป็น กษัตริย์หลวงยกกระบัตรได้รับการชักชวนจาก นายสุจินดาให้น�ำครอบครัวย้ายเข้ามาพ�ำนัก ยังกรุงธนบุรีและถวายตัวเข้ารับราชการ ทรง เป็นก�ำลังส�ำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน 14
ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในระยะ เวลาไม่ถงึ ๑๐ ปีได้รบั พระราชทานบรรดาศักดิ์ เจริญก้าวหน้า อย่างรวดเร็ว พระยศเทียบ เสมอเจ้าต่างกรมเริม่ ตัง้ แต่เป็นพระราชวรินทร์ พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราช เจ้าพระยา จักรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกการรับ ราชการของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช สรุปได้ดังนี้ พุทธศักราช ๒๓๐๔ พระชนมายุ ๒๕ ปี ได้ เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี ออกไปรับ ราชการส่วนภูมิภาคจนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา พุทธศักราช ๒๓๑๑ ถวายตัวกลับเข้ารับ ราชการในสมเด็ จ พระเจ้ า กรุ ง ธนบุ รี ได้ รั บ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชวรินทร์ ก�ำกับราชการกรมพระต�ำรวจ ในปีเดียวกันนี้ ได้โดยเสด็จราชการทัพไปปราบเจ้าพิมาย ทรง ตีด่านขุนทดและด่านกระโทก พุ ท ธศั ก ราช ๒๓๑๒ เสร็ จ ศึ ก เจ้ า พิ มาย แล้วได้รับพระราชทานเลื่อนเป็นพระยาอภัย รณฤทธิ์ เป็นแม่ทัพไปตีกรุงกัมพูชาอีกครั้ง ได้ เมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ เมืองบริบูรณ์ และเมืองบันทายเพชร์
พุทธศักราช ๒๓๑๓ ได้รับพระราชทาน เลื่อนเป็นพระยายมราช บัญชาการกรมหมาด ไทย แทนสมุ ห นายก ต่ อ มาเมื่ อเจ้า พระยา จักรี (แขก) ถึงอสัญกรรม จึงได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าพระยาจักรี ไปตีกรุงกัมพูชาอีกครัง้ ได้เมือง พระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ เมืองบริบูรณ์ และ เมืองบันทายเพชร์ พุทธศักราช ๒๓๑๓ เจ้าพระยาจักรี เป็น แม่ ทั พ ตี เ มื อ งเชี ย งใหม่ กั บ เจ้ า พระยาสุ ร สี ห ์ ผู้น้องต่อมามีทัพพม่ามาตั้งมั่นที่บางแก้วอัน เป็นเขตต่อระหว่างราชบุรีและสมุทรสงคราม เจ้าพระยาจักรีกลับมาบัญชาการรบอีก พุทธศักราช ๒๓๑๘ พม่ายกทัพมาตีเมือง เชียงใหม่ เจ้าพระยาจักรีน�ำทัพขึ้นไป พอได้ ยินข่าวทัพพม่าก็ย้ายไปตั้งอยู่ที่เมืองเชียงแสน บังเอิญเป็นเวลาที่อะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพเข้าตี เมืองพิษณุโลกทางด่านแม่ละเมา เจ้าพระยา จักรีจงึ ถอยทัพมาตัง้ รับพร้อมด้วยพระยาสุรสีห์ ศึกอะแซหวุ่นกี้ครั้งนี้นับว่าส�ำคัญมาก พม่า ล้อมเมืองพิษณุโลกไว้หลายด้าน เข้าตีเมือง หลายครัง้ ไม่สามารถตีได้ อะแซหวุน่ กีส้ รรเสริญ ว่า “ท่านนี้รูปก็งาม ฝีมือก็เข้มแข็งอาจสู้รบเรา ผู้เฒ่าได้ จงอุตสาห์รักษาตัวไว้ ภายหน้าจะได้ เป็นกษัตริย์แท้” ส�ำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม