วารสารหลักเมือง ฉบับที่ 299

Page 1

ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง

กุมภาพันธ์

ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๙ หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

วันทหารผ่านศึก

ISSN 0858 - 3803

9 770858 380005

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๙ หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

www.lakmuangonline.com


ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง

กุมภาพันธ์

ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๙ หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

วันทหารผ่านศึก

ISSN 0858 - 3803

9 770858 380005

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๙ หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

www.lakmuangonline.com


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ พล.อ.วันชัย เรืองตระกูล พล.อ.อ.สุวิช จันทประดิษฐ์ พล.อ.ไพบูลย์ เอมพันธุ์ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา พล.อ.ธีรเดช มีเพียร พล.อ.ธวัช เกษร์อังกูร พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์ พล.อ.อู้ด เบื้องบน พล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล

ที่ปรึกษา

พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา พล.ร.อ.อนุทัย รัตตะรังสี ร.น. พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล พล.อ.อ.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ พล.อ.พอพล มณีรินทร์ พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ พล.อ.วิสุทธิ์ นาเงิน พล.อ.ชาตอุดม ติตถะสิริ พล.อ.สรศักดิ์ ขาวกระจ่าง พล.ร.อ.กฤษฎา เจริญพานิช ร.น. พล.ท.ชุติกรณ์ สีตบุตร พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล พล.ท.นเรศรักษ์ ฐิตะฐาน พล.ท.ศิริพงษ์ วงศ์ขันตี พล.ท.ภาณุพล บรรณกิจโศภน พล.ท.นภนต์ สร้างสมวงษ์ พล.ท.ถเกิงกานต์ ศรีอ�ำไพ พล.ท.สัมพันธ์ ธัญญพืช พล.ท.อภิชาติ อุ่นอ่อน พล.ท.รักศักดิ์ โรจน์พิมพ์พันธุ์ พล.ต.ภราดร จินดาลัทธ พล.ร.ต.สหพงษ์ เครือเพ็ชร ร.น. พล.ต.สราวุธ รัชตะนาวิน พล.ต.อนุมนตรี วัฒนศิริ พล.ต.พิสิทธิ์ สิงหราไชย พล.ต.สมชาติ ศิลป์เจริญ พล.ต.ต่างแดน พิศาลพงศ์

ผู้อ�ำนวยการ

พล.ต.ยุทธนินทร์ บุนนาค

รองผู้อ�ำนวยการ พ.อ.ภัทร์นรินท์ วิจิตรพฤกษ์ พ.อ.ชูเลิศ จิระรัตนเมธากร

ผู้ช่วยอ�ำนวยการ พ.อ.ดุจเพ็ชร์ สว่างวรรณ

กองจัดการ ผู้จัดการ

น.อ.ธวัชชัย รักประยูร

ประจ�ำกองจัดการ น.อ.กฤษณ์ ไชยสมบัต ิ พ.ท.ธนะศักดิ์ ประดิษฐ์ธรรม พ.ต.ไพบูลย์ รุ่งโรจน์

เหรัญญิก

พ.ท.พลพัฒน์ อาขวานนท์

ผู้ช่วยเหรัญญิก ร.ท.เวช บุญหล้า

ฝ่ายกฎหมาย น.ท.สุรชัย สลามเต๊ะ

พิสูจน์อักษร

พ.อ.หญิง วิวรรณ วรวิศิษฏ์ธ�ำรง

กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ น.อ.พรหมเมธ อติแพทย์ ร.น.

รองบรรณาธิการ

พ.อ.ทวี สุดจิตร์ พ.อ.สุวเทพ ศิริสรณ์

ผู้ช่วยบรรณาธิการ พ.อ.หญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช

ประจ�ำกองบรรณาธิการ น.ท.ณัทวรรษ พรเลิศ น.ท.หญิง รสสุคนธ์ ทองใบ ร.น. น.ท.วัฒนสิน ปัตพี ร.น. พ.ท.ชุมศักดิ์ สมไร่ขิง พ.ท.ชาตบุตร ศรธรรม น.ต.ฐิตพร น้อยรักษ์ ร.น. พ.ต.หญิง สิริณี จงอาสาชาติ พ.ต.หญิง สมจิตร พวงโต พ.ต.จิโรตม์ ชินวัตร น.ต.หญิง ปรางทอง จันทร์สุข ร.น. ว่าที่ น.ต.หญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ ร.น. ร.อ.หญิง ลลิดา กล้าหาญ จ.ส.อ.สมหมาย ภมรนาค จ.อ.หญิง สุพรรัตน์ โรจน์พรหมทอง


บทบรรณาธิการ กุมภาพันธ์ เดือนทีส่ องของปี และนับเป็นเดือนทีส่ องของไตรมาสทีส่ องของปีงบประมาณ สาเหตุทนี่ �ำเรือ่ ง ไตรมาสของปีงบประมาณมากล่าว เนื่องจากในระบบราชการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินมาด�ำเนินงาน จะต้ อ งปฏิ บั ติ ง านตามแผนงานและแผนการใช้ จ ่ า ยงบประมาณตามที่ เ สนอ และได้ รั บ ความเห็ น ชอบจาก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งจะต้องมีการด�ำเนินงานและเบิกจ่ายงบประมาณให้ทันตามห้วงเวลา ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ มีวนั ส�ำคัญทีพ่ วกเราจะต้องระลึกถึงผูเ้ สียสละเลือดเนือ้ ชีวติ และความสุข เพือ่ ปกป้อง พิทักษ์รักษาผืนแผ่นดินให้พวกเราได้อยู่อย่างมีความสุข วันนั้นคือ วันทหารผ่านศึก ๓ กุมภาพันธ์ นอกเหนือจาก วันทหารผ่านศึกแล้ว ในห้วงเดือนกุมภาพันธ์นี้ ยังมีวันส�ำคัญทางศาสนาคือ วันมาฆบูชา นอกจากนี้ ยังมีบทความที่น่าสนใจ อาทิ การแก้ไขปัญหาน�้ำแล้งปี ๒๕๕๙ ของหน่วยขึ้นตรงกระทรวง กลาโหม ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ และเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม...เหตุใดจึงมีการเรียกขานเช่นนั้น รวมทั้งเรื่อง การปฏิรูปกระทรวงกลาโหม ขอเชิญติดตามอ่านกันครับ


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

๓๒

๓๖

แนะน�ำอาวุธเพื่อนบ้าน เครื่องบินเติมน�ำ้ มันทางอากาศ

๒๔๙ ปี แห่งวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี ๒๕๕๙ ของศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ตอนที่ ๒

เชิดชูเกียรติทหารกล้า ๓ กุมภาพันธ์ วันทหารผ่านศึก

๑๒

๗ ๓๘ การตรวจเลื อ กทหารกองเกิ น เข้ า รั บ

ราชการทหารกองประจ�ำการ ประจ�ำปี ๒๕๕๙ (ตอนที่ ๑)

๒๕ ปีกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลาโหม

๔๐

๑๔ การปฏิรูปกระทรวงกลาโหม ๑๖

ราชวงศ์ตองอูแห่งอาณาจักรพม่า ในยุคที่สอง

๙ ๔๒

บทความจดหมายข่ า วรั ฐ บาลเพื่ อ ประชาชน ตอน โครงการสานใจไทยสูใ่ จใต้ ประจ�ำวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘

สิทธิของครอบครัวทหารผ่านศึก ความระลึกถึงแนวหลังผู้เสียสละ

๑๘ จากใจ...ทหารผ่านศึก ๒๒ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ ๒๔ ภัยความมั่นคงของอาเซียน ๒๘

๑๒

The Dragon Pours Concrete “เมื่อจีน...แกร่งทั้งแผ่น” “China’s air base hardening efforts stand stark contrast to America’s”

ภาพกิจกรรม

๒๒ ๒๔

๔๔ ๑๖ เมือ่ ประเทศไทยต้องไปต่ออีก ๑ ปี ๖ เดือน ๔๘ เปิดประตูสเู่ ทคโนโลยีปอ้ งกันประเทศ ๓๗ ๕๒ Where are you flying to today? ๕๔ โรคติดต่อทางพันธุกรรม ตอนที่ ๒ ๑๘ ๕๖ ๒๘ ๓๒

๔๐

ข้อคิดเห็นและบทความที่น�ำลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพันต่อราชการแต่อย่างใด ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm พิมพ์ที่ : ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด อรุณการพิมพ์ ๔๕๗/๖-๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๒-๖๐๓๓-๔ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๒๑๘๗-๘ E-mail : info@aroonkarnpim.co.th www.aroonkarnpim.co.th ออกแบบ : ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด อรุณการพิมพ์


๒๔๙

ปี แห่งวันพระราชสมภพ

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

เมื่อนั้น พิศโฉมพระธิดาวิลาวัลย์ งามละม่อมพร้อมสิ้นทั้งอินทรีย์ แสร้งท�ำแลเลี่ยงเบี่ยงเบือน พระจึงตั้งสัจอธิษฐาน ขอให้ทรามสงวนนวลน้อง 4

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

เจ้าเงาะแสนกลคนขยัน ผุดผาดผิวพรรณดังดวงเดือน นางในธรณีไม่มีเหมือน ให้ฟั่นเฟือนเตือนจิตคิดปอง แม้นบุญญาธิการเคยสมสอง เห็นรูปพี่เป็นทองต้องใจรัก พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ทร้อยกรองทีผ่ เู้ ขียนอัญเชิญมา น� ำ เสนอต่ อ ท่ า นในโอกาสนี้ เคยได้ รั บ การพิ จ ารณาจาก กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร เป็ น หนึ่ ง ในบท วรรณคดี แ ละเป็ น บทอาขยานของวิ ช า วรรณคดีที่หลายท่านเคยได้อ่าน ได้ท่อง ได้รว่ มซาบซึง้ กับวรรณกานท์หรือบทกลอน ที่ ง ดงาม ที่ ไ ด้ ศึ ก ษาในโรงเรี ย นระดั บ มัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งหากท่านพิจารณา อย่างถีถ่ ว้ นแล้ว จะพบว่าเป็นบทร้อยกรอง ทีม่ คี วามงดงามทัง้ ในด้านการใช้ภาษา การ บรรยายถึงอากัปกิรยิ า และการด�ำเนินเรือ่ ง ที่กลมกลืนกันอย่างหาที่ติไม่ได้ และหาก ท่ า นใดที่ มิ ไ ด้ ล ะเลยต่ อ การศึ ก ษาและ ติ ด ตามในเรื่ อ งนี้ ก็ ย ่ อ มจะทราบว่ า บท ร้อยกรองข้างต้นเป็นบทพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒ ในราชวงศ์ จักรี ท่านผู้อ่านอาจจะแปลกใจว่าเหตุใด ผู ้ เขี ย นจึ ง ได้ อั ญ เชิ ญ บทพระราชนิ พ นธ์ บทนีม้ ากล่าวถึงในเวลานี้ ผูเ้ ขียนขอเรียนให้ ทราบว่าที่ขอน�ำเสนอในโอกาสนี้เนื่องจาก ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ นี้ เป็นวัน คล้ า ยวั น พระราชสมภพของพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นปีที่ ๒๔๙ จึงนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ผู้เขียนจะ ได้อัญเชิญพระราชประวัติและพระราช กรณียกิจที่ส�ำคัญของพระองค์ท่านให้มวล มหาชนชาวไทยได้รับทราบ และร่วมกัน ถวายพระเกียรติในกาลอันเป็นมหามงคลนี้

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลัย เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔ ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น ๗ ค�่ำ เดือน ๔ ปีกุน เวลาเช้า ๕ ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๓๑๐ ทรงมี พระนามเดิมว่า ฉิม และพระนามที่ได้รับ พระราชทานคือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เสด็จขึ้นเสวย ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ เมื่อปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๓๕๒ ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๒ พรรษา โดยทรงมีพระปรมาภิไธย (พระนามของ พระมหากษั ต ริ ย ์ ) ที่ จ ารจารึ ก ในพระ สุพรรณบัฏ ทูลเกล้าฯ ถวายในพระราชพิธี บรมราชาภิ เ ษกว่ า พระบาทสมเด็ จ พระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทร บรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณิน ทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปร มาธิเบศ ตรีภวู เนตรวรนายก ดิลกรัตนราช ชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากล จักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริ ห ริ น ทรา ธาดาธิ บ ดี ศรี วิ บู ล ยคุ ณ อกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิก ราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพ นฤบดินทร์ ภูมทิ รปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสทุ ธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ พระ ปรมาภิ ไ ธยของพระองค์ จ ะตรงกั บ พระ ปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุ ฬ าโลกทุ ก ตั ว อั ก ษร เหตุ ผ ลเนื่ อ งจาก ในเวลานั้น ยังไม่มีธรรมเนียมที่จะต้องมี พระปรมาภิไธยแตกต่างกันของพระมหา กษัตริย์แต่ละพระองค์ ในเวลาต่ อ มา ได้ มี ก ารถวายพระ นามาภิไธยแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย ภายหลังจากที่พระองค์ สวรรคตแล้ว รวม ๓ ครั้ง กล่าวคือ o ครั้งที่หนึ่ง ในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนาม (ถวาย พระนาม) ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้าสุลาลัย โดยให้เป็นตามนามของ พระพุทธรูปทีท่ รงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอุทศิ ถวายแด่พระองค์ o ครั้ ง ที่ ส อง ในรั ช สมั ย พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธย

พระพุ ท ธธรรมมิ ศ รราชโลกธาตุ ดิ ล ก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร

ใหม่เป็น พระบาทสมเด็จพระบรมราช พงษเชษฐ มเหศวรสุนทร ไตรเสวตรคชา ติศรมหาสวามินทร์ สยารัษฎินทรวโรดม บรมจักรพรรดิราช พิลาศธาดาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระพุทธเลิศหล้านภาไลย o ครัง้ ทีส่ าม ในรัชสมัยพระบาท สมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนาม ใหม่ เป็นพระบาทสมเด็จพระรามาธิดี ศรีสนิ ทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้า นภาลัย พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลัย ทรงพระประชวรด้วยโรคพิษไข้ ทรงไม่รสู้ กึ พระองค์เป็นเวลา ๘ วัน ซึง่ พระ อาการประชวรก็ได้ทรุดลงตามล�ำดับ และ เสด็ จ สวรรคตเมื่ อ วั น ที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๓๖๗ สิริรวมพระชนมพรรษาได้ ๕๗ พรรษา และครองราชสมบัติ ๑๕ ปี

พระราชกรณียกิจที่สำ� คัญ

ในรั ช สมั ย ของพระบาทสมเด็ จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รบั การยกย่อง ว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีไทยโดยเฉพาะ ด้านกาพย์กลอนที่ได้รับความนิยมและมี ความเจริญสูงสุด โดยทรงมีพระราชนิพนธ์ ที่เป็นบทร้อยกรองมากมาย ทรงมีพระ อัจฉริยภาพในทางกวีนิพนธ์ ทั้งในด้าน บทละครในและละครนอก โดยทรงพระ 5


ราชนิพนธ์ขึ้นใหม่และพัฒนาจากที่มีอยู่ให้ ไพเราะมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่น�ำมาใช้การ แสดงนาฏกรรม อาทิ รามเกียรติ์ อุณรุท อิเหนา ไกรทอง สังข์ทอง โดยเฉพาะเรื่อง อิ เ หนานั้ น ได้ ท รงพระราชนิ พ นธ์ ใ หม่ ทัง้ ฉบับตัง้ แต่ตน้ จนจบ จึงนับเป็นบทพระราช นิพนธ์ที่มีความยาวมากที่สุดของพระองค์ ในเวลาต่อมา วรรณคดีสโมสรในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยกย่องให้บทพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา เป็ น ยอดบทละครร� ำ ที่ มี คุ ณ ค่ า มี ค วาม งดงามอย่างยอดเยี่ยมทั้งเนื้อความในเชิง ภาษาศาสตร์ ฉันทลักษณ์ และกระบวนวิธี การเล่นทั้งร้องและร�ำ ในบทของละครใน (ละครที่ ใ ช้ สุ ภ าพสตรี แ สดงทั้ ง หมด) นอกจากนี้ ยังมีละครนอก (ละครทีใ่ ช้สภุ าพ บุรุษแสดงทั้งหมด) อาทิ ไกรทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ หลวิชยั คาวี มณีพชิ ยั สังข์ศลิ ป์ชยั ที่ได้ทรงคัดสรรของเก่ามาทรงพระกรุณา พระราชนิพนธ์ขนึ้ ใหม่ในบางตอน ตลอดจน ยั ง ทรงพระราชนิ พ นธ์ บ ทพากย์ โขนอี ก หลายชุด โดยชุดที่ประชาชนชาวไทยรู้จัก กันดี ประกอบด้วย ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ และชุดพรหมาสตร์ ซึ่งล้วนมีความงดงาม ของภาษา ความไพเราะซาบซึ้งเป็นอมตะ และได้น�ำมาแสดงในอุปรากรโขนอย่าง ต่อเนื่องมาจวบจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ ในรัชสมัยของพระองค์ ยังมีกวีที่มีชื่อเสียง

บานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร 6

เป็นจ�ำนวนมาก ประกอบด้วย กรมหมืน่ เจษฎา บดิ น ทร์ (พระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้าอยู่หัว) สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระ ปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ พระยาตรัง นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) และข้าราชบริพาร ที่สำ� คัญจ�ำนวนมาก นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงส่งเสริม งานด้านประติมากรรม โดยเฉพาะงานด้าน ช่ า งหล่ อ พระพุ ท ธรู ป พระบาทสมเด็ จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระราช อุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธ ธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธาน ในพระอุ โ บสถวั ด อรุ ณ ราชวรารามด้ ว ย พระองค์เอง ซึ่งพระพุทธรูปองค์ได้รับการ พิจารณาว่าเป็นพระพุทธรูปทีส่ ำ� คัญยิง่ องค์ หนึ่งของประเทศไทย โดยเฉพาะลักษณะ และทรวดทรงของพระพุทธรูปเป็นรูปแบบ ที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ ส่วนในด้าน การช่างฝีมือและการแกะสลักลวดลายไทยนั้น กล่ า วได้ ว ่ า ในรั ช สมั ย ของพระองค์ ได้มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก ซึ่ง พระองค์เองทรงมีพระอัจฉริยภาพในงาน ช่าง ทั้งงานการปั้นและงานการแกะสลักที่ เชี่ยวชาญยิ่งพระองค์หนึ่งจนยากที่จะหา ผู ้ ใ ดทั ด เที ย มได้ โดยทรงแกะสลั ก บาน ประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศน เทพวราราม และยั ง ทรงแกะหน้ า หุ ่ น (หั ว หุ ่ น โขน) จากไม้ รั ก หน้ า เป็ น หน้ า พระรามและพระลักษณ์สวมชฎาคู่หนึ่งที่ เรียกว่าพระยารักใหญ่ และพระยารักน้อย พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลัย ยังทรงมีพระปรีชาสามารถในด้าน ดนตรีไทย โดยเครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและ โปรดปรานมากทีส่ ดุ คือ ซอสามสาย ซึง่ ซอ คู่พระหัตถ์ที่ส�ำคัญได้รับพระราชทานนาม ว่า ซอสายฟ้าฟาด และยังทรงพระราช นิพนธ์เพลงไทยที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี คือเพลงบุหลันลอยเลื่อน หรือเพลงทรง พระสุบิน เพราะเพลงมีนี้มีก�ำเนิดมาจาก พระสุบิน (ฝัน) ของพระองค์เอง โดยมีการ

พระยารักใหญ่ และพระยารักน้อย

บั น ทึ ก ไว้ ว ่ า คื น หนึ่ ง หลั ง จากได้ ท รงซอ สามสายจนดึกก็เสด็จเข้าทีบ่ รรทม แล้วทรง พระสุบินว่า พระองค์ได้เสด็จไปยังดินแดน ที่สวยงามดุจสวรรค์ ณ ที่นั่น มีพระจันทร์ อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์ พร้อม กั บ มี เ สี ย งทิ พ ยดนตรี อั น ไพเราะยิ่ ง แว่ ว กังวานก้องในพระโสต และประทับตราตรึง แน่นในพระราชหฤทัย ครั้นเมื่อทรงตื่น บรรทมก็ยังทรงจดจ�ำเพลงนั้นได้ จึงทรง เรียกพนักงานดนตรีมาต่อเพลงนั้นไว้ และ ทรงมี พ ระบรมราชานุ ญ าตให้ น� ำ ออก เผยแพร่ได้ ซึ่งเพลงพระราชนิพนธ์เพลงนี้ เป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันกว้างขวางใน วงการดนตรีไทยมาจนทุกวันว่าเป็นเพลง ครูเพลงหนึ่งของดนตรีไทย ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ที่ถือ ได้ว่าเป็นโอกาสคล้ายวันพระราชสมภพ ขององค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย ครบ ๒๔๙ ปี ผู้เขียนจึงใคร่ขอเชิญ มวลมหาชนชาวไทยทุ ก คนร่ ว มกั น น้ อ ม ร� ำ ลึ ก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ที่ ท รงมี ต ่ อ ประเทศไทย และพระอัจฉริยภาพในการ วางรากฐานแห่ ง ความวั ฒ นาถาวรของ ศิลปกรรมไทยภายหลังจากต้องสูญเสียไป ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ เมื่อปี พุทธศักราช ๒๓๑๐ ให้ฟื้นคืนขึ้นมาใหม่ จนเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวไทยทุกคนมา ตราบจนทุกวันนี้ พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ตอนที่ ๒

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชด�ำริในการปกครองบ้านเมือง

ด้านการปกครอง คุณสมบัตขิ องพระมหากษัตริยน์ กั ปกครองและหลักการ ในการปกครองบ้านเมืองจากพระราชประวัตทิ ที่ รงใกล้ชดิ กับ สมเด็จพระบรมชนกนาถตั้งแต่ทรงพระเยาว์ท�ำให้พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรง “ซึมซับ” พระราชจริยาวัตร พระราชอุปนิสัยของสมเด็จพระบรมชนกนาถที่อ่อนน้อม ถ่อมตน อดทน อดกลั้น ขยันหมั่นเพียร รัก เมตตาและพร้อม จะปกป้องอาณาประชาราษฎร์ให้พ้นจากความทุกข์ยากซึ่ง เป็นหน้าที่ของผู้ปกครอง และพระองค์เองก็ได้ทรงถ่ายทอด พระราชด�ำริดังกล่าวผ่านพระราชหัตถเลขาพระราชทาน เจ้าฟ้ามหาวชิรณ ุ หิศ พระราชโอรสซึง่ เป็นพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทย ดังข้อความตอน หนึ่งว่า “.....การทีเ่ ป็นเจ้าแผ่นดินไม่ใช่สำ� หรับมัง่ มีไม่ใช่สำ� หรับ คุมเหงคนเล่นตามชอบใจ มิใช่เกลียดไว้แล้วจะได้แก้เผ็ด มิใช่ เป็นผู้ส�ำหรับจะกินสบายนอนสบาย ถ้าจะปรารถนา เช่นนั้น แล้วมีสองทาง คือ บวชทางหนึ่ง เป็นเศรษฐีทางหนึ่ง เป็นเจ้า แผ่นดินส�ำหรับแต่เป็นคนจนและเป็นคนที่อดกลั้นต่อสุขและ ทุกข์ อดกลั้นต่อความรักและความชัง อันจะเกิดฉิวขึ้นมาในใจ หรือมีผู้ยุยง เป็นผู้ปราศจากความเกียจคร้านผลที่จะได้นั้น มี แ ต่ ชื่ อ เสี ย งปรากฏเมื่ อ เวลาตายแล้ ว ว่ า เป็ น ผู ้ รั ก ษา วงศ์ตระกูลไว้ได้ และเป็นผู้ป้องกันความทุกข์ของราษฎร ซึง่ อยูใ่ นอ�ำนาจความปกครอง ต้องหมายใจในความสองข้อนี้ เป็นหลักมากกว่าคิดถึงการเรื่องอื่น ถ้าผู้ซึ่งมิได้ทำ� ใจได้เช่นนี้ ก็ไม่แลเห็นเลยว่าจะปกครองรักษาแผ่นดินอยู่ได้...”

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

ส�ำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม

นอกจากนี้ ยังมีพระราชด�ำริเช่นเดียวกับสมเด็จพระบรมชนกนาถ ในเรื่อง “คุณค่าของความเป็นมนุษย์” กล่าวคือ ทรงเห็นว่ามนุษย์ ทุกคนมีก�ำเนิดคล้ายคลึงกันอาจมีความแตกต่างกันบ้างตามเพศและ ผิวพรรณ รวมทั้งความรู้ ฐานะและยศศักดิ์ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่แสวงหาได้ใน ภายหลัง แต่สิ่งที่ท�ำให้มนุษย์แตกต่างกันคือ ความประพฤติดี ความ ประพฤติชั่ว ดังพระราชนิพนธ์พระราชทานพระราชโอรสเจ้าฟ้า มหาวชิราวุธ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารองค์ที่ ๒ ในคราวที่พระองค์เสด็จประพาสอังกฤษเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๐ ว่า 7


ฝูงชนก�ำเนิดคล้าย ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ ความรู้อาจเรียนทัน ยกแต่ชั่วดีกระด้าง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวมีพระราชด�ำริว่าพระมหากษัตริย์ ข้ า ราชการและประชาชนแม้ ว ่ า จะมี ต� ำ แหน่ ง แตกต่ า งกั น แต่ ก็ ต ้ อ งมี ห น้ า ที่ เหมือนกันหมด คือ ต้องมีความรักซึ่งกัน และกัน และต้องกระท�ำการเพือ่ ความเจริญ รุ ่ ง เรื อ งของบ้ า นเมื อ งตามก� ำ ลั ง ความ สามารถของตนดังกระแสพระราชด�ำรัส ตอบประชาชนที่พลับพลาหน้าพระที่นั่ง สุ ท ไธสวรรย์ เมื่ อ วั น ที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๔๐ ว่า “.....เราทั้งหลายเฉพาะได้เกิดมาใน ประเทศนี้รวมกันแล้วบางคนก็ต้องอยู่ใน

8

คลึงกัน แผกบ้าง กันหมด อ่อนแก้ฤาไหว

ต�ำแหน่งอันใหญ่ บางคนก็อยู่ในต�ำแหน่ง อันน้อย แต่แม้วา่ จะมียศต�ำแหน่งแปลกกัน ในระหว่างพวกเรา ฉันใดก็ดีก็ยังมีหน้าที่ อันหนึ่งซึ่งเราทั้งหลายย่อมมีอยู่เหมือนกัน หมด คือว่ามีหน้าทีซ่ งึ่ จะต้องมีรกั ซึง่ กันและ กันแลจะต้องกระท�ำการตามก�ำลังของตน ทีจ่ ะกระท�ำได้ เพือ่ บ้านเมืองของเรามีความ เจริญสุขรุ่งเรืองขึ้น...” ระบบราชการจากพระราชประวัติ ช่วงหลังการปฏิรูปบ้านเมืองระยะแรก จะ เห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั ทรง “เว้นวรรค” การปฏิรปู บ้าน เมื อ งชั่ ว คราว เพื่ อ รอให้ ก ลุ ่ ม พลั ง เก่ า

ผ่ อ นคลายการต่ อ ต้ า นการปฏิ รู ป ใน ระหว่ า งนั้ น ได้ ท รงศึ ก ษาค้ น คว้ า ด้ า น ประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง ท�ำให้มีพระ ราชด�ำริว่า ระบบราชการแบบจารีตมี ปัญหาข้อบกพร่อง กล่าวคือ ระบบราชการ แบบจารีตซึ่งใช้กันมาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถเป็นเวลา ๔ ศตวรรษ โดยมี ก ารเปลี่ ย นแปลงปรั บ ปรุ ง บ้ า ง ในบางรัชกาลนั้นให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพราะสถานการณ์ ข องบ้ า นเมื อ งได้ เปลี่ ย นแปลงขยายตั ว อย่ า งรวดเร็ ว โดย เฉพาะทางทิศเหนือและทิศตะวันออกตาม จ� ำ นวนประชากรที่ เ พิ่ ม ขึ้ น การติ ด ต่ อ ค้าขายกับต่างประเทศเป็นไปอย่างกว้างขวาง ชาวต่างประเทศทั้งชาวตะวันตกและชาว เอเชียเข้ามาอาศัยอยูใ่ นประเทศโดยเฉพาะ ที่กรุงเทพฯ เป็นจ�ำนวนมากทั้งเป็นการอยู่ อย่างถาวรและอย่างชั่วคราว ทุกด้านใน ลักษณะ “คุกคาม” เอกราชและอ�ำนาจ อธิปไตยของประเทศไทยด้วยเหตุนี้ ระบบ ราชการแบบจารีตจึงไม่อาจสนองตอบต่อ การเปลี่ยนแปลงระบบซึ่งเป็นปัญหาและ อุปสรรคส�ำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้ เป็นแบบสมัยใหม่ อันเป็นนโยบายเพื่อ ความอยู่รอดของประเทศ ข้อบกพร่อง ของระบบราชการแบบจารีต ปรากฏทั้งใน ราชการส่ ว นกลางและส่ ว นหั ว เมื อ งซึ่ ง สามารถพิจารณาได้ดังนี้ ขอบเขตอ� ำ นาจหน้ า ที่ แ ละการ ปฏิบตั งิ านของหน่วยราชการมีความสลับ ซับซ้อนก้าวก่ายกัน ข้อบกพร่องในเรื่องนี้ สื บ เนื่ อ งมาจากการที่ มิ ไ ด้ มี ก ารก� ำ หนด ขอบเขตอ�ำนาจหน้าทีค่ วามรับผิดชอบและ การปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการต่างๆ ตามประเภทของงานเป็นการเฉพาะเจาะจง ลงไปแต่ มี ลั ก ษณะของการกระจายงาน ประเภทเดียวกันไปตามกรม

สำ�นักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


วั

นที่ ๓ กุ ม ภาพั น ธ์ ข องทุ ก ปี เป็นวันทหารผ่านศึก ถือเป็น วั น ส� ำ คั ญ อี ก วั น หนึ่ ง ของ ประเทศไทย เพราะเป็นวันที่ ประชาชนคนไทยจะมี โ อกาสได้ ร ่ ว มกั น ร�ำลึกถึงวีรกรรม และความกล้าหาญของ ทหารผ่านศึก ในอดีตทีผ่ า่ นมา ท่านเหล่านี้ คื อ ผู ้ เ สี ย สละ ที่ ท� ำ ให้ ป ระเทศของเรา คงไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตย น�ำความสุข สงบมาสู่ประชาชนในชาติจนถึงปัจจุบัน ส�ำหรับองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ใน พระบรมราชูปถัมภ์ ได้ให้ความส�ำคัญกับ วันนี้ โดยได้ก�ำหนดจัดพิธีและกิจกรรม ต่างๆ ให้ยิ่งใหญ่สมเกียรติทหารผ่านศึก ผู้กล้า องค์ ก ารสงเคราะห์ ท หารผ่ า นศึ ก ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีภารกิจในการ ให้การดูแล สงเคราะห์ และเชิดชูเกียรติแก่ ทหารผ่ า นศึ ก ครอบครั ว ทหารผ่ า นศึ ก ทหารนอกประจ�ำการ ตลอดจนผู้ที่ปฏิบัติ หน้าที่ในการรบ องค์การฯ ได้ให้การดูแล สงเคราะห์ ท หารผ่ า นศึ ก ในด้ า นต่ า งๆ ได้แก่ การสงเคราะห์ด้านสวัสดิการ ซึ่งมี ทัง้ ในส่วนทีเ่ ป็นเงินสวัสดิการ และการดูแล สงเคราะห์ ทั่ ว ไป นอกจากนี้ ยั ง มี ก าร สงเคราะห์ด้านอาชีพ โดยมีการฝึกอาชีพ ส่งเสริมอาชีพ และจัดหางานให้ท�ำ การ สงเคราะห์ด้านที่อยู่อาศัย ได้จัดตั้งนิคม เกษตรกรรมทหารผ่านศึกกระจายอยู่ใน ภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ การสงเคราะห์ ด้ า นการให้ สิ น เชื่ อ ได้ จั ด ตั้ ง กองทุ น สงเคราะห์ เพื่อเป็นทุนในการประกอบ อาชีพหรือเพื่อที่อยู่อาศัย โดยคิดดอกเบี้ย ในอั ต ราต�่ ำ หรื อ ไม่ คิ ด ดอกเบี้ ย มี ก าร สงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล โดยจัด ตัง้ โรงพยาบาลทหารผ่านศึกขึน้ เพือ่ ให้การ ดู แ ลรั ก ษาทหารผ่ า นศึ ก และครอบครั ว ตลอดจนดูแลทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพ จั ด หาอุ ป กรณ์ ช ่ ว ยสภาพความพิ ก าร นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารสงเคราะห์ ด ้ า น ส่งเสริมสิทธิและเกียรติ โดยขอสิทธิพเิ ศษ ต่างๆ จากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เช่น การลดหย่ อ นค่ า โดยสารรถประจ� ำ ทาง หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

เชิดชูเกียรติทหารกล้า ๓ กุมภาพันธ์ วันทหารผ่านศึก รถโดยสาร เครื่องบิน ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน�้ำประปา เป็นต้น รวมทั้งมีการจัดพิธี บ� ำ เพ็ ญ กุ ศ ลทางศาสนาในวาระต่ า งๆ ให้ ทหารผ่านศึกผู้ล่วงลับ เนือ่ งในโอกาสที่ พลเอกหญิง สมเด็จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราช

กุ ม ารี ทรงเจริ ญ พระชนมายุ ค รบ ๖๐ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ องค์การ สงเคราะห์ ท หารผ่ า นศึ ก ในพระบรม ราชูปถัมภ์ ในฐานะหน่วยงานซึ่งท�ำหน้าที่ ดู แ ลให้ ก ารสงเคราะห์ แ ก่ ท หารผ่ า นศึ ก ครอบครัวทหารผ่านศึก ทหารนอกประจ�ำการ 9


ตลอดจนผู้ที่ก�ำลังปฏิบัติหน้าที่ในการรบ ได้ตระหนักในพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ที่ ได้ทรงประกอบเพื่อประโยชน์สุขของปวง ชนชาวไทย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้อง กั บ เหล่ า ทหารหาญของชาติ และ ทหารผ่านศึก ทีล่ ว้ นน�ำมาซึง่ ความปลืม้ ปีติ และเป็นขวัญก�ำลังใจแก่ก�ำลังพลที่ก�ำลัง ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ อ ยู ่ ใ นปั จ จุ บั น ตลอดจน ทหารผ่านศึกทีไ่ ด้ปฏิบตั หิ น้าทีอ่ ย่างกล้าหาญ มาแล้ ว ในอดี ต พระองค์ ท รงมี พ ระราช ปณิธานที่จะบ�ำบัดทุกข์บ�ำรุงสุขแก่เหล่า ทหารหาญ โดยได้ทรงตามเสด็จพระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว และสมเด็ จ พระ นางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ไปทรงเยีย่ มเยียน ทหารและต�ำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ตามแนว ชายแดน ซึง่ เป็นพืน้ ทีเ่ สีย่ งหลายพืน้ ทีอ่ ย่าง ต่อเนื่อง ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๘ พระองค์ ทรงได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้น ๑ ซึ่งเป็นเหรียญที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงพระราชทานเป็ น บ�ำเหน็จความกล้าหาญในฐานะที่ได้ทรง ปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ซึ่งก่อให้เกิดผลดี แก่การปราบปรามผูก้ อ่ การร้ายคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้ ยังได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเยียน ทหารผ่ า นศึ ก ที่ ไ ด้ รั บ บาดเจ็ บ จากการ ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลของเหล่าทัพ และโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ทรงสนพระ ราชหฤทัยและทรงห่วงใยในทุกข์สุขของ เหล่าทหารทีไ่ ด้รบั บาดเจ็บ โดยได้ทรงดูแล ทหารหาญเหล่านั้นอย่างใกล้ชิด ส�ำหรับ ทหารผ่านศึก ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการ จั ด กิ จ กรรมบ� ำ บั ด โดยพระราชทาน อาจารย์มาฝึกสอนการท�ำศิลปะประดิษฐ์ “ไทย-โอชิเอะ” ที่โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ และทรงโปรด เกล้าฯ ให้สงวนวิชาชีพนีใ้ ห้กบั ทหารผ่านศึก เท่านั้น ในโอกาสมหามงคลนี้ องค์ ก าร สงเคราะห์ ท หารผ่ า นศึ ก ในพระบรม ราชูปถัมภ์ จึงได้ขอพระราชทานพระราชา นุญาต ทูลเกล้าฯ ถวายบัตรประจ�ำพระองค์ ทหารผ่านศึกนอกประจ�ำการ บัตรชั้นที่ ๒ 10

และบั ต รประจ� ำ พระองค์ ท หารผ่ า นศึ ก ทองค� ำ โดยทรงพระราชทานพระราช วโรกาสให้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหม ในฐานะ นายกสภาทหารผ่านศึก น�ำ พลเอก รณชัย มั ญ ชุ สุ น ทรกุ ล ผู ้ อ� ำ นวยการองค์ ก าร สงเคราะห์ทหารผ่านศึก และคณะ เข้าเฝ้า ทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา ส� ำ หรั บ กิ จ กรรมวั น ทหารผ่ า นศึ ก ประจ�ำปี ๒๕๕๙ มีการจัดพิธีและกิจกรรม


ในระหว่างวันที่ ๒๔ มกราคม ถึง วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ อาทิ การประกอบพิธี บ�ำเพ็ญกุศลทางศาสนาต่างๆ เพื่ออุทิศ ส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณทหารผ่านศึก พิ ธี ท างศาสนาอิ ส ลาม ณ มู ล นิ ธิ เ พื่ อ ศู น ย์ ก ลางอิ ส ลามแห่ ง ประเทศไทย (คลองตัน) พิธีทางศาสนาคริสต์ ณ วัด แม่พระฟาติมา (ดินแดง) พิธีบวงสรวง ศาลหลั ก เมื อ ง ณ ศาลหลั ก เมื อ ง กรุงเทพมหานคร และพิธถี วายเครือ่ งสังเวย ศาลพระภูมิ รวมทั้งพิธีทางศาสนาพุทธ ณ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ซึ่ง เป็นวันทหารผ่านศึก มีพิธีวางพวงมาลา เพื่อคารวะและร�ำลึกถึงดวงวิญญาณวีรชน ผู้กล้าหาญที่ได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิต เป็นชาติพลีในทุกสมรภูมิ ณ อนุสาวรีย์ ชั ย ส ม ร ภู มิ โ ด ย พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้องคมนตรีเป็นผูแ้ ทนพระองค์วาง พวงมาลา นอกจากนี้ ยังมีผู้แทนจากส่วน ราชการ หน่วยงาน ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ต่างประเทศประจ�ำประเทศไทย สมาคม มูลนิธิ ตลอดจนทหารผ่านศึกทุกสมรภูมิ ร่วมวางพวงมาลา ส่วนกิจกรรมในช่วงบ่าย จะจัดทีก่ รม ทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ เริ่มตั้งแต่ เวลา ๑๑.๐๐ น. จะมีการจัดเลี้ยงอาหาร กลางวัน และจัดแสดงดนตรีเพื่อให้ความ บันเทิงแก่ทหารผ่านศึกและครอบครัวทีไ่ ป ร่วมงาน จากนัน้ ในเวลา ๑๕.๐๐ น. จัดพิธี สวนสนามเชิดชูเกียรติทหารผ่านศึก บริเวณ ลานอเนกประสงค์ กรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์ สุ ว รรณ รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวง กลาโหม ในฐานะนายกสภาทหารผ่านศึก เป็นประธานในพิธี โดยมีขบวนสวนสนาม ของก�ำลังพล ๓ เหล่าทัพ ประกอบด้วย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ รวมทัง้ ต�ำรวจตระเวนชายแดน อาสารักษา ดินแดน และกองทหารม้า นอกจากนี้ยังมี ขบวนสวนสนามของทหารผ่านศึก ๖ กรณี หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

สงคราม และทหารผ่ า นศึ ก พิ ก าร โดย องค์การฯ ได้รับความร่วมมือจากสถานี วิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ถ่ายทอดสดพิธี สวนสนามให้ประชาชนได้รบั ชมตัง้ แต่เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ทั้งนี้ ยังมีการมอบ รางวัลให้แก่ทหารผ่านศึกดีเด่น ประจ�ำปี ๒๕๕๙ เพือ่ เป็นการเชิดชูเกียรติ และสร้าง ขวัญก�ำลังใจแก่ทหารผ่านศึกที่ขยันหมั่น เพียรในการประกอบอาชีพ จนเป็นแบบ อย่างที่ดีแก่ทหารผ่านศึกทั่วไปอีกด้วย นอกจากนี้ องค์ ก ารสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก จะจัดให้มีกิจกรรมพิเศษ ภายใต้ชอื่ งาน อผศ. กิฟ แอน เทค เฟสติวลั (WVO Give & TaKe Festival) “สัปดาห์

วันทหารผ่านศึก ประจ�ำปี ๒๕๕๙ ให้ด้วยรัก อิม่ ด้วยใจ” ระหว่างวันที่ ๒ – ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ณ ไลฟ์ ส ไตล์ ฮอลล์ ชั้ น ๒ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ภายในงาน จะมี ก ารจั ด แสดงนิ ท รรศการชุ ด พิ เ ศษ “เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร ดั่งเพชรแก้วแห่ง เพชรกล้า” ซึง่ มีภาพพระราชกรณียกิจทีห่ า ชมยากของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ที่ ท รงมี ต ่ อ เหล่ า ทหารหาญ รวมทั้งมีการสาธิตการจัดท�ำ ผลิตภัณฑ์ฝมี อื ทหารผ่านศึก อาทิ การแกะ สลักไม้วิจิตรศิลป์ ศิลปะประดิษฐ์ไทย – โอชิเอะ และการจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ฝีมือ ทหารผ่านศึกและครอบครัว

11


๒๕ ปี กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

พลโท ถเกิงกานต์ ศรีอ�ำไพ เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

พลโท ถเกิงกานต์ ศรีอ�ำไพ เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ถวายรายงาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนือ่ งในงานวันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้า ๒๕๕๘ ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ โรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้า อ.เมือง จ.นครนายก

ความเป็นมา การวิ จั ย และพั ฒ นาของกระทรวง กลาโหม ด�ำเนินการมามากกว่า ๕๐ ปี โดย ในระยะเริ่มแรก อยู่ในความรับผิดชอบ ของกองบัญชาการทหารสูงสุด ต่อมาได้มี การเสนอตั้งหน่วยปกติขึ้น ซึ่งได้ยกระดับ จากกองบั ญ ชาการทหารสู ง สุ ด มาไว้ ที่ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อท�ำ หน้ า ที่ เ ป็ น กรมฝ่ า ยอ� ำ นวยการระดั บ กระทรวงกลาโหม และให้บริหารจัดการ โดยการรวมการทั้ ง นโยบายและงบ ประมาณการวิจยั โดยให้จดั ตัง้ “ส�ำนักงาน วิจัยและพัฒนาการทหารกลาโหม (สวพ.กห.)” ขึ้นเมื่อ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ เป็นหน่วย งานรับผิดชอบหลัก ขึ้นตรงต่อส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม ต่อมาตามแผน แม่บทปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้มกี ารปรับระบบงาน จากการวิจัยและพัฒนาการทหาร เป็น 12

ระบบงานวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ป้ อ งกั น ประเทศ จึ ง ได้ แ ปรสภาพจาก ส� ำ นั ก งานวิ จั ย และพั ฒ นาการทหาร กลาโหม เป็นส�ำนักงานวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี กลาโหม (สวท.กห.) เพื่อให้ ครอบคลุ ม การบริ ห ารจั ด การระบบงาน วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ป ้ อ งกั น ประเทศของกระทรวงกลาโหมทั้งระบบ

แ ล ะ ต ่ อ ม า ไ ด ้ เ ป ลี่ ย น ชื่ อ เ ป ็ น ก ร ม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (วท. กห.) เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา การแบ่งส่วนราชการและก�ำหนดหน้าที่ของ ส่ ว นราชการส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวง กลาโหม พ.ศ.๒๕๕๒ และเป็นมาตรฐาน เดียวกันกับการจัดหน่วยในส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม มาจนถึงปัจจุบัน วิสัยทัศน์ เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการ การ วิ จั ย และพั ฒ นาด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยีเพื่อการทหารและความมั่นคง ผลการปฏิ บั ติ ง านส� ำ คั ญในรอบ ปี ๒๕๕๘ เมื่ อ ๑๘ สิ ง หาคม ๒๕๕๘ กรม วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ก ลาโหม จั ด ประชุ ม สั ม มนาการพั ฒ นาสั ม พั น ธ์

พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีชว่ ยว่าการกระทรวงกลาโหม และผูบ้ ญั ชาการทหารบกเป็นประธาน ในพิธีมอบรางวัลผลงานนวัตกรรมของกระทรวงกลาโหม และมอบรางวัลนักวิจัยดีเด่นของกระทรวง กลาโหม ประจ�ำปี ๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ณ ห้องพินิตประชานาถ ในศาลาว่าการ กลาโหม


เครือข่าย ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ เรื่อง “กระทรวงกลาโหมมิ ต รประเทศกั บ โครงสร้างด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป้องกันประเทศที่ก้าวทันต่อภัยคุกคาม ในอนาคต” ณ ห้องประชุมจูปิเตอร์ ศูนย์ แสดงสิ น ค้ า และการประชุ ม อิ ม แพ็ ค เมื อ งทองธานี จว.นนทบุ รี โดยมี พลโท ถเกิ ง กานต์ ศรี อ� ำ ไพ เจ้ า กรม วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ก ลาโหม เป็นประธานในพิธี โดยวัตถุประสงค์เพื่อ เป็ น การแลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล การปรั บ โครงสร้างและการบริหารจัดการงานด้าน วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ป ้ อ งกั น ประเทศให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และภั ย คุ ก คามรู ป แบบใหม่ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ใน อนาคตกับกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ รวมทั้งประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ที่

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดย ได้เชิญกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ มา บรรยายให้ความรู้ดังกล่าว คือ กระทรวง กลาโหมประเทศญี่ปุ่น กระทรวงกลาโหม สหรั ฐ อเมริ ก า และสาธารณรั ฐ อิ น เดี ย มีผู้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายเป็นผู้แทน จากหัวหน้าหน่วยขึ้นตรงส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย เหล่ า ทั พ , สถาบั น เทคโนโลยี ป ้ อ งกั น ประเทศ (องค์การมหาชน) และผู้ช่วยทูต ทหารประเทศอาเซียน ผลที่ได้จากการ ประชุมสัมมนา ท�ำให้ได้รับข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ในการน�ำมาพิจารณาปรับปรุง โครงสร้ า งและการบริ ห ารจั ด การของ กระทรวงกลาโหม ในส่วนของระบบงาน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกัน ประเทศให้ก้าวทันกับกระทรวงกลาโหม มิตรประเทศและสอดคล้องกับภัยคุกคาม

รูปแบบใหม่ที่กำ� ลังทวีความรุนแรงขึ้น การจัดนิทรรศการงานดีเฟนส์และ ซีคิวริตี้ ๒๐๑๕ (Defense & Security 2015) ระหว่างวันที่ ๒ - ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ ศู น ย์ แ สดงสิ น ค้ า และการ ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ในหัวข้อ “พลังแห่งความร่วมมือ” โดยมุง่ เน้นความ ร่ ว มมื อ ทางด้ า นอุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศภายในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อ รองรับการรวมตัวของกลุม่ ประเทศอาเซียน ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ ๑) งาน แสดงผลิ ต ภั ณ ฑ์ อุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศและรักษาความปลอดภัย จาก ผู ้ ป ระกอบการทั้ ง ภายในประเทศ และ ต่างประเทศ ๒) การจัดแสดงนิทรรศการ ผลงานวิจัยของกระทรวงกลาโหม ๓) การ สัมมนาวิชาการจากบริษัทเอกชน ๔) การ สัมมนานานาชาติโดยกระทรวงกลาโหม ๕) การสาธิตผลิตภัณฑ์จากบริษัทเอกชน กระทรวงกลาโหม ได้รับเชิญเข้าร่วม จั ด งานมหกรรมวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยีแห่งชาติ ประจ�ำปี ๒๕๕๘ โดย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ ก�ำหนดจัดงานขึ้น ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ อาคารชาเลนเจอร์ ๒ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี วัตถุประสงค์ของการจัดงาน ๑. เพื่ อ เทิ ด พระเกี ย รติ พ ระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดา แห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ๒. เพื่ อ เผยแพร่ ผ ลงานวิ จั ย และ พัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ในประเทศและนานาชาติ ๓. เพื่ อ กระตุ ้ น ความสนใจด้ า น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคนไทย ๔. เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและอาชีพ ด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชนและประชาชน ทั่วไป

13


การปฏิรูปกระทรวงกลาโหม

องทัพเป็นองค์กรด้านความ มั่ น คง ที่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งมี ก าร ปฏิ รู ป และพั ฒ นาตั ว เอง อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีศักยภาพทัดเทียม หรือสูงกว่าประเทศที่อาจจะเป็นคู่ขัดแย้ง ในอนาคตอยูต่ ลอดเวลา ทัง้ นี้ เพือ่ เป็นหลัก ประกันแห่งชัยชนะและอธิปไตยของชาติ โดยในห้วงที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหม มี ก ารปฏิ รู ป กองทั พ หลายครั้ ง เพื่ อ ให้ สอดคล้ อ งกั บ สถานการณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ใน แต่ละยุคสมัย ส�ำหรับในปัจจุบันกระทรวง กลาโหมอยู ่ ร ะหว่ า งการจั ด ท� ำ ร่ า งแผน แม่บทการปฏิรูปการบริหารจัดการ และ การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงกลาโหม เพื่อให้กองทัพมีความพร้อมในการรองรับ ภัยคุกคามทุกรูปแบบ และสอดคล้องกับ แนวโน้มของสถานการณ์ด้านความมั่นคง ในอนาคต ส�ำหรับการปฏิรูปกองทัพไทย ในอดีตที่ผ่านมา สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ยุค ซึ่งมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตาม สถานการณ์และภัยคุกคามที่เกิดขึ้น ดังนี้ ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๗ (พ.ศ.๒๓๔๙ - ๒๔๗๕) เกิดสถานการณ์ด้านความมั่นคงที่ส�ำคัญ

14

ส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม

คือ ภัยคุกคามจากประเทศมหาอ�ำนาจ ในยุคล่าอาณานิคม ท�ำให้ต้องมีการปฏิรูป กองทัพไทยให้เป็นกองทัพสมัยใหม่ มีการ ปฏิรูปที่ส�ำคัญ เช่น การน�ำแบบอย่างการ ฝึกทหารแบบตะวันตกมาประยุกต์ใช้ จัดตัง้ โรงเรียนทหาร จัดให้มกี ารเกณฑ์ทหาร และ ปรับปรุงโครงสร้าง/การจัดหน่วย โดยจัด ตัง้ กระทรวงกลาโหม เพือ่ ก�ำกับดูแลกิจการ ทหารบก และทหารเรือ ยุ ค หลั ง การเปลี่ ย นแปลงการ ปกครองจนถึงการสิน้ สุดของสงครามเย็น (พ.ศ.๒๔๗๕ - ๒๕๓๔) เกิดสถานการณ์ดา้ น ความมั่ น คงที่ ส� ำ คั ญ คื อ การเกิ ด สงครามโลกครั้งที่ ๒ และการปราบปราม คอมมิ ว นิ ส ต์ ใ นยุ ค สงครามเย็ น ท� ำ ให้ กองทัพยังคงต้องพัฒนาขีดความสามารถ อย่างต่อเนื่อง มีการปฏิรูปกองทัพตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ.๒๔๗๖ มีการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญ ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้าง/การจัดของ กระทรวงกลาโหม โดยแบ่งส่วนราชการ เป็น ๔ ส่วน ประกอบด้วย ส�ำนักงาน เลขานุ ก ารรั ฐ มนตรี ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวง กองทัพบก และกองทัพเรือ โดย

มี ก รมอากาศยานเป็ น หน่ ว ยขึ้ น ตรง ของกองทั พ บก การปฏิ รู ป กองทั พ ตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ.๒๔๙๑ มีการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญ ได้แก่ ๑) ก� ำ หนดอ� ำ นาจหน้ า ที่ ข อง กระทรวงกลาโหม ให้มีอ�ำนาจและหน้าที่ ในการป้องกันราชอาณาจักร ๒) จัดตั้งสภากลาโหม เพื่อเป็นที่ ปรึกษาหารือของรัฐมนตรีวา่ การกระทรวง กลาโหมในด้านกิจการทหาร ๓) ปรับปรุงโครงสร้าง/การจัดของ กระทรวงกลาโหม โดยแบ่งส่วนราชการ เป็น ๗ ส่วน หน่วยงานที่เพิ่มขึ้น ๓ หน่วย ประกอบด้ ว ย กรมการรั ก ษาดิ น แดน กองทัพอากาศ และกรมเสนาธิการกลาโหม มี ห น้ า ที่ ป ระสานแผนการทั พ ระหว่ า ง เหล่ า ทั พ และการปฏิ รู ป กองทั พ ตาม พ.ร.บ.จั ด ระเบี ย บราชการกระทรวง กลาโหม พ.ศ.๒๕๐๓ มีการเปลี่ยนแปลงที่ ส�ำคัญ ได้แก่ ๑) ปรับปรุงบทบาทของกระทรวง กลาโหม โดยให้กระทรวงกลาโหม มีอำ� นาจ หน้าทีใ่ นการป้องกันและรักษาความมัน่ คง ของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทัง้ ภายใน และภายนอกประเทศ ช่ ว ยการพั ฒ นา ประเทศ และรักษาผลประโยชน์ของชาติ ๒) ปรับปรุงโครงสร้าง/การจัดของ กระทรวงกลาโหม โดยแบ่งส่วนราชการ เป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ส�ำนักงานเลขานุการ รัฐมนตรี ส�ำนักงานปลัดกระทรวง และกอง บัญชาการทหารสูงสุด ๓) เพิ่ ม อ� ำ นาจหน้ า ที่ ข องสภา กลาโหม โดยการด�ำเนินการของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหม เกี่ยวกับกิจการ ทหารทีส่ ำ� คัญตามทีร่ ะบุไว้ในกฎหมายฉบับ นี้ จะต้องเป็นไปตามมติของสภากลาโหม สำ�นักนโยบายและแผนกลาโหม


ยุคหลังสงครามเย็น (พ.ศ.๒๕๓๔ ปัจจุบัน) เกิดสถานการณ์ด้านความมั่นคง ทีส่ ำ� คัญ คือ ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ กระแส ประชาธิปไตย และความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่ ง กระทรวงกลาโหมได้ มี ก ารปรั บ ปรุ ง โครงสร้ า งและการบริ ห ารจั ด การอย่ า ง ต่อเนือ่ ง โดยด�ำเนินการตามแผนแม่บทการ ปฏิรปู กระทรวงกลาโหม เมือ่ ปี พ.ศ.๒๕๔๒ และ พ.ศ.๒๕๕๐ มีการปฏิรูปที่ส�ำคัญ เช่น ปรับปรุงโครงสร้างและการบริหารจัดการ กระทรวงกลาโหมให้มีขีดความสามารถ ตามที่ก�ำหนดไว้ในยุทธศาสตร์การป้องกัน ประเทศ ปรั บ ลดอั ต ราก� ำ ลั ง พลของ กระทรวงกลาโหมให้มีขนาดที่เหมาะสม และเพิ่ ม บทบาทของส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหมในการบริหารงานที่ไม่ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเตรียมก�ำลังและ ใช้ก�ำลัง และในระยะต่อมาได้มีการปฏิรูป กองทัพตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการ กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งเป็น กฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน มีการ เปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญ คือ ก�ำหนดให้การ บริหารราชการของกระทรวงกลาโหม ต้อง ด� ำ เนิ น การตามหลั ก การบริ ห ารกิ จ การ บ้านเมืองทีด่ ี เพิม่ อ�ำนาจหน้าทีใ่ นการสนับสนุน ภารกิจอื่นๆ ของรัฐในการพัฒนาประเทศ การช่วยเหลือประชาชน และการป้องกัน และแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติ นอกจากนี้ ยังได้ก�ำหนดอ�ำนาจหน้าที่เพิ่มเติมในด้าน การศึกษา วิจัย พัฒนา และด�ำเนินการ ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงาน ทหาร ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป้องกันประเทศ และด้านกิจการอวกาศ เทคโนโลยี ส ารสนเทศและการสื่ อ สาร ปรับปรุงโครงสร้าง/การจัดของกระทรวง กลาโหม โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น ๕ ส่วน ได้แก่ ส�ำนักงานรัฐมนตรี ส�ำนักงาน ปลัดกระทรวง กรมราชองครักษ์ หน่วย

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

บั ญ ชาการถวายความปลอดภั ย รั ก ษา พระองค์ และกองทัพไทย ปรับปรุงการ บริหารจัดการด้านก�ำลังพล การบริหาร จัดการด้านการส่งก� ำลังบ�ำรุง และการ บริหารจัดการด้านการฝึกศึกษา ตลอดจน ก� ำ หนดให้ มี ค ณะผู ้ บั ญ ชาการทหาร ประกอบด้ ว ย ผู ้ บั ญ ชาการทหารสู ง สุ ด ผูบ้ ญั ชาการเหล่าทัพ และ เสนาธิการทหาร ท� ำ หน้ า ที่ ใ นการให้ ข ้ อ เสนอแนะและ ค� ำ ปรึ ก ษาแก่ รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวง กลาโหม ในเรื่องการเตรียมก�ำลัง การใช้ ก�ำลัง การเคลื่อนย้ายก�ำลังทหาร และ การเตรียมพร้อม และจัดตัง้ ศูนย์บญั ชาการ ทางทหารของกองบัญชาการกองทัพไทย และเหล่าทัพ เพือ่ เพิม่ ขีดความสามารถและ ประสิทธิภาพในการควบคุมอ�ำนวยการ ยุทธ์ในการปฏิบัติการร่วมของกองทัพไทย กระทรวงกลาโหมยังคงด�ำรงความ ต่อเนือ่ งการปฏิรปู กองทัพ แม้วา่ การปฏิรปู ครั้งส�ำคัญ จะผ่านมาเป็นระยะเวลาเพียง ๗ ปี โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดท�ำร่าง แผนแม่บทการปฏิรูปการบริหารจัดการ และการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงกลาโหม ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหม เพื่อให้กองทัพมีความพร้อมใน การรองรั บ ภั ย คุ ก คามทั้ ง ภายในและ ภายนอกประเทศ สามารถปฏิบตั ภิ ารกิจได้ หลากหลาย รวมทัง้ พัฒนาขีดความสามารถ ในการปฏิบัติภารกิจร่วมกับกองทัพมิตร ประเทศในการเสริมสร้างความมั่นคงและ รักษาดุลอ�ำนาจในภูมิภาค โดยแนวทาง การด�ำเนินการตามร่างแผนแม่บทฯ แบ่ง เป็น ๒ ระยะ โดยในระยะแรก มุ่งเน้นการ ปฏิรปู ระบบบริหารจัดการให้มคี วามพร้อม ทัง้ ก�ำลังพล ยุทโธปกรณ์ หลักนิยม และการ ฝึกศึกษา เพื่อให้มีขีดความสามารถที่จะ รับมือกับภัยคุกคามที่มีความหลากหลาย และสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา

ของชาติในมิติต่างๆ ส่วนในระยะต่อไป จะปรับปรุงโครงสร้างกองทัพให้สอดคล้อง กับการบริหารจัดการที่ด�ำเนินการมาแล้ว ในระยะแรก จากทิศทางของการปฏิรปู กองทัพไทย ทีไ่ ด้กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้วา่ การปฏิรปู กองทั พ ในห้ ว งที่ ผ ่ า นมาเน้ น การพั ฒ นา ขี ด ความสามารถของกองทั พ เพื่ อ ให้ สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านความมั่นคง ที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัย ซึ่งการ ปฏิรปู กองทัพในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จะเน้นไปที่การปรับปรุงกองทัพให้เป็น กองทัพสมัยใหม่ เพื่อรองรับภัยคุกคามใน ยุ ค ล่ า อาณานิ ค ม ส่ ว นในยุ ค หลั ง การ เปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงการสิ้นสุด ของสงครามเย็น เทคโนโลยีทางการทหาร มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ท�ำให้ กองทัพมีพฒั นาการด้านก�ำลังรบ และอาวุธ ยุทโธปกรณ์อย่างต่อเนื่อง ส� ำ หรั บ สถานการณ์ ใ นยุ ค หลั ง สงครามเย็นจนถึงปัจจุบัน ภัยคุกคามด้าน การทหารจากภายนอกประเทศเริ่มลดลง เกิดภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น และเชื่อมโยงกันในหลายมิติ ทั้งมิติด้าน การทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และ มิติอื่นๆ ดังนั้น แนวทางการปฏิรูปกองทัพ ไทยในระยะ ๒๐ ปีข้างหน้า จึงมุ่งเน้นการ ปฏิรูปกองทัพให้มีความพร้อมรับมือกับ ภัยคุกคามทุกรูปแบบ และช่วยเหลือรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาของชาติในมิติต่างๆ ให้ สอดคล้องกับแนวโน้มสถานการณ์ด้าน ความมั่นคงในอนาคตที่ภัยคุกคามรูปแบบ ใหม่จะมีความสลับซับซ้อนและรุนแรงมาก ยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นไปตามกรอบยุทธศาสตร์ ๒๐ ปี และวิ สั ย ทั ศ น์ ข องรั ฐ บาล กล่ า วคื อ “ประเทศมัน่ คง ประชาชนมัง่ คัง่ อย่างยัง่ ยืน”

15


สิ ท ธิ ใน

ของครอบครั ว ทหารผ่ า นศึ ก ความระลึ ก ถึ ง แนวหลั ง ผู ้ เ สี ย สละ

วั น ที่ ๓ กุ ม ภาพั น ธ์ ๒๕๕๙ ซึ่ ง ประชาชน หลายท่านทราบกันดีว่า เป็นวันทหารผ่านศึก และในปีนผี้ เู้ ขียนรูส้ กึ เบิกบานใจมากทีจ่ ะได้รว่ มกันระลึกถึงท่าน ผู้กล้า ท่านผู้เสียสละ เพื่อประโยชน์และ ความมั่นคงของชาติ และผู้เขียนเผอิญได้ อ่ า นข่ า วสารที่ เ ผยแพร่ ท างสื่ อ สั ง คม ออนไลน์ ทีน่ �ำมาจากหนังสือพิมพ์ทเี่ ผยแพร่ เรื่องสิทธิของทหารผ่านศึกประเภทต่างๆ ที่ ท างราชการให้ ค วามดู แ ลเป็ น อย่ า งดี เพื่อให้ผู้เสียสละเหล่านี้สามารถด�ำรงชีวิต ของตนเองในสังคมได้อย่างมีเกียรติ และมี ความภาคภูมิใจในวีรกรรมในอดีต และ ความระลึกถึงจากทางราชการที่ตระหนัก ถึงคุณค่าของความรักหวงแหนแผ่นดิน ความเสียสละเพื่อรักษาความมั่นคงของ ชาติให้พี่น้องประชาชนได้ใช้ชีวิตอย่าง เป็นสุข จึงรู้สึกสบายใจเป็นอย่างยิ่งและ พลอยยินดีกับผู้ได้รับสิทธิทุกท่าน ผู ้ เ ขี ย นขอน� ำ ข้ อ มู ล จากหน้ า หนังสือพิมพ์ทตี่ พี มิ พ์ในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ และยังถือว่าเป็นข้อมูลที่ทันสมัย ที่สุดที่หาอ่านได้จากอินเทอร์เน็ต มาน�ำ เสนออีกครัง้ ซึง่ ข้อมูลทีเ่ ผยแพร่ได้กล่าวถึง สิทธิที่ทหารผ่านศึกได้รับ ดังนี้ ประเภทแรก คื อ ทหารผ่ า นศึ ก นอกประจ� ำ การ ที่ ไ ด้ รั บ บั ต รชั้ น ที่ ๑ ได้รับเหรียญกล้าหาญ ปัจจุบันมีจ�ำนวน ๓,๒๑๖ คน โดยทหารผ่านศึกที่ถือบัตรชั้นที่ ๑ และเป็นผูพ้ กิ าร จะได้รบั สิทธิมากเป็นพิเศษ ทั้งเงินเลี้ยงชีพรายเดือน แยกเป็นผู้ได้รับ บ�ำนาญพิเศษจะได้รับเดือนละ ๕,๕๗๐ บาท ขณะทีผ่ ไู้ ม่รบั บ�ำนาญจะได้รบั เดือนละ ๗,๗๕๐ บาท รวมถึงยังได้รบั เงินค่าครองชีพ เพื่อผดุงเกียรติอีกเดือนละ ๔,๐๐๐ บาท 16

ประเภทที่ ส อง คื อ ครอบครั ว ทหารผ่ า นศึ ก บั ต รชั้ น ที่ ๑ มี จ� ำ นวน ๑๒,๖๒๐ คน ประเภททีส่ าม คือทหารผ่านศึกนอก ประจ�ำการ บัตรชั้นที่ ๒ จะได้รับเหรียญ ชัยสมรภูมิ ปัจจุบนั มีจำ� นวน ๓๒,๓๕๘ คน ประเภทที่สี่ คือทหารผ่านศึกนอก ประจ�ำการ บัตรชั้นที่ ๓ ได้รับเหรียญ พิทกั ษ์เสรีชน และเหรียญราชการชายแดน มีจ�ำนวน ๘๑,๕๐๑ คน ทหารผ่านศึกนอก ประจ�ำการ บัตรชั้นที่ ๓ ป. ๘๙๖ คน ทหารผ่านศึกนอกประจ�ำการ บัตรชั้นที่ ๔ มีจ�ำนวน ๑๘๕,๓๔๕ คน ประเภทสุดท้าย คือทหารผ่านศึก นอกประจ�ำการบัตรชั้นที่ ๔ ป. มีจ�ำนวน ๓๐๗,๐๘๓ คน โดยทหารผ่านศึกผูถ้ อื บัตร ชั้น ๒ ชั้น ๓ และชั้น ๔ จะได้รับเงิน รายเดื อ นหากพิ ก ารภายหลั ง ไม่ เ กิ น เดือนละ ๓,๐๐๐ บาท ส่วนเงินช่วยเหลือที่ทหารผ่านศึก ทุกชั้นบัตรได้รับเหมือนกันหมด ประกอบ ด้ ว ย หากผู ้ ถื อ บั ต รถึ ง แก่ ค วามตายให้ จ่ายเงินค่าจัดการศพแก่ทายาท ๑๐,๐๐๐ บาท เงิ น ช่ ว ยเหลื อ เป็ น ครั้ ง คราวกรณี เจ็บป่วย ปีละไม่เกิน ๕๐๐ บาท กรณี ที่อยู่อาศัยประสบภัยพิบัติจะได้รับการ ช่ ว ยเหลื อ เท่ า ที่ เ สี ย หายจริ ง แต่ ไ ม่ เ กิ น ๓,๕๐๐ บาท ถึง ๕,๐๐๐ บาท นอกจากนี้ ยังได้รับการส่งเสริมสิทธิ ทั้งลดหย่อนค่าโดยสารยานพาหนะของ การรถไฟแห่งประเทศไทย องค์การขนส่ง มวลชนกรุงเทพ ลดค่าโดยสารครึ่งราคา ลดหย่ อ นค่ า โดยสารเครื่ อ งบิ น ภายใน ประเทศ (ชั้นประหยัด) บริษัทการบินไทย ร้อยละ ๒๕ สิทธิลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้า เดือนละ ๔๕ หน่วย ค่าน�้ำประปา ๑ ใน ๓

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ ของค่ า น�้ ำ ที่ ใช้ ทั้ ง หมด และลดค่ า เช่ า หมายเลขโทรศัพท์เดือนละ ๑๕ บาท ส่วนการส่งเสริมทางอาชีพ จะได้ รับค�ำปรึกษาและแนะแนวอาชีพใหม่ โดย เงินค่าช่วยเหลือเล่าเรียนเพื่อประกอบ อาชีพก็จะแยกประเภทออกเป็นบัตรชัน้ ๑ ได้รับ ๖,๐๐๐ บาท บัตรชั้น ๒ ชั้น ๓ และ ชัน้ ๔ ได้รบั ๒,๐๐๐ บาท พร้อมจัดหางาน ตามความรูค้ วามสามารถโดยค�ำ้ ประกันให้ ในวงเงินไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท และยังมี เงิ น กู ้ ยื ม เพื่ อ ประกอบอาชี พ วงเงิ น ๕๐,๐๐๐ บาทด้วย ผู้เขียนขอเรียนว่า สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ ราชการแสดงความระลึกถึงความกล้าหาญ และเสียสละของท่านผู้กล้าเหล่านี้ แม้ว่า จ�ำนวนเงินสงเคราะห์ (ตามข้อมูลที่ได้รับ) อาจไม่สูงมากนัก แต่ค่าของความระลึกถึง คุณงามความดีและความผูกพันระหว่าง ท่านผู้กล้ากับคนในสังคมมีมากกว่า จนไม่ อาจวัดค่าเป็นตัวเงินได้ สิ่งที่ผู้เขียนใคร่ขอน�ำเสนอในวันนี้ คื อ ความสะดุ ด ตาจากข้ อ มู ล ที่ ว ่ า “ประเภททีส่ อง คือครอบครัวทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ ๑” จึงได้พยายามหาข้อมูลจาก แหล่งข้อมูลที่พอจะหาได้และสอบถาม จากพีๆ่ เพือ่ นๆ หลายท่านจึงทราบว่า เป็น ความปรารถนาดี ที่ อ งค์ ก ารสงเคราะห์ ทหารผ่านศึกได้พยายามแก้ไขเรื่องสิทธิ ให้แก่ครอบครัวทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ ๑ หลายครั้ง จนเพิ่งประสบผลส�ำเร็จไม่นาน มานี้ ท่านคงอาจสงสัยเช่นเดียวกับผูเ้ ขียน ในอดีตว่า ครอบครัวทหารผ่านศึก บัตรชัน้ ที่ ๑ เป็ น ใคร จึ ง ได้ สิ ท ธิ ค ่ อ นข้ า งมาก จนเกื อ บเท่ า กั บ สิ ท ธิ ข องทหารผ่ า นศึ ก บัตรชั้นที่ ๑ เรื่องนี้ ผู้เขียนรับฟังมาจาก พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ผูใ้ หญ่ทา่ นหนึง่ ท่านเล่ามาว่า ทหารผ่านศึก บัตรชัน้ ที่ ๑ ส่วนใหญ่จะเป็นผูท้ พี่ กิ ารหรือ ทุพพลภาพ และหลายรายช่วยตัวเองได้ อย่างล�ำบาก หรือบางท่านอาจช่วยตัวเอง ไม่ ไ ด้ ดั ง นั้ น จึ ง พยายามให้ สิ ท ธิ แ ก่ ครอบครัวเพือ่ ช่วยดูแลผูก้ ล้าเหล่านัน้ แทน ทางราชการ ผู้เขียนยอมรับว่า ท่านผู้เสนอความ คิ ด เช่ น นี้ แ ละองค์ ก ารสงเคราะห์ ทหารผ่านศึกที่กรุณาพิจารณาสิทธิเหล่านี้ ถือว่าทุกท่านทีเ่ กีย่ วข้องคือผูท้ มี่ จี ติ ใจสูงส่ง มองเห็นความยากล�ำบากของผู้กล้า มอง เห็ น ถึ ง หลั ง บ้ า นของผู ้ ก ล้ า ที่ เ รี ย กว่ า ครอบครัว ซึ่งจะเป็นบุคคลใกล้ชิดในการ ดูแลเอาใจใส่ผกู้ ล้าทีไ่ ม่สามารถช่วยตัวเองได้ ตลอด ๒๔ ชัว่ โมง หรือเรียกว่าทัง้ วันทัง้ คืน ครอบครัวของผู้กล้าต้องทนกับสุขภาพจิต ที่ถดถอยของผู้ป่วยทุกวัน จนบางรายต้อง ลาออกจากงานเพือ่ มาดูแลบุคคลทีเ่ ป็นพ่อ

หลักเมือง ภุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

เป็นแม่ เป็นพี่ เป็นน้อง หรือเป็นลูก ท่าน คิดหรือไม่ว่าหากต้องลาออกจากงานมา แล้วครอบครัวของท่านผู้กล้าเหล่านั้น จะ เอาอะไรกิน จะเอาเงินจากไหนมาใช้จ่าย ในชีวิตประจ�ำวัน เพียงแค่ค่าไฟฟ้า ค่าน�้ำ ประปา หรือค่าเดินทางไปพบแพทย์ ก็ ล�ำบากแทบเลือดตากระเด็น แล้วหาก สังคมยังไม่สนใจ หรือคิดว่าธุระไม่ใช่ ท่าน ผู ้ ก ล้ า และครอบครั ว ก็ ค งต้ อ งใช้ ชี วิ ต ที่ แร้นแค้น ตกอยู่ในวังวนแห่งชีวิตที่ต้อง ทุพพลภาพไปกับท่านผู้กล้าเหล่านั้นด้วย สิ่งที่น�ำเสนอไม่ใช่เป็นการเขียนเพื่อ ขอความเห็นใจ หรือประจานชีวิตความ เป็นอยู่ของทหารผ่านศึกและครอบครัว แต่ผู้เขียนใคร่บอกต่อสังคมว่าสิ่งที่ทาง ราชการ โดยองค์ ก ารสงเคราะห์ ทหารผ่ า นศึ ก นั้ น คื อ ความส� ำ นึ ก ดี ข อง คนในสั ง คมที่ ห ยิ บ ยื่ น ให้ แ ก่ ค รอบครั ว ทหารผ่ า นศึ ก ด้ ว ยความระลึ ก ถึ ง น�้ ำ จิ ต

น�้ ำ ใจของแนวหลั ง ของผู ้ เ สี ย สละต่ อ ประเทศชาติบา้ นเมือง ให้เขาและเธอเหล่า นีไ้ ด้ทราบว่า ทางราชการและสังคมก็ระลึก ถึงพวกคุณเช่นกัน และไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ความระลึกถึงทหารผ่านศึกทีพ่ วกคุณดูแล อยู่เช่นกัน ท� ำ ให้ นึ ก ถึ ง ค� ำ ที่ ผู ้ ใ หญ่ ที่ ผู ้ เขี ย น เคารพท่านหนึ่งพูดไว้ว่า เราต้องระลึกถึง ทหารผ่านศึกให้จงมัน่ และท่านพูดเสมอว่า “ยามดีใช้ ยามป่วยไข้ต้องรักษา” วันนีอ้ งค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ไม่เพียงแต่ชว่ ยดูแลรักษาบาดแผลทางกาย ของท่านผู้กล้าเท่านั้น แต่ก�ำลังเยียวยา บาดแผลทางใจของครอบครัวท่านผู้กล้า ไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้ทหารผ่านศึกและ ครอบครั ว สามารถด� ำ รงชี วิ ต ได้ อ ย่ า งมี ความสุขและมีศักดิ์ศรีในสังคม

17


กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

จากใจ...ทหารผ่ า นศึ ก

ม้ จ ะเป็ น เนื้ อ หาสั้ น ๆ จาก เพลงไทยให้ ก� ำ ลั ง ใจทหาร (เพลงราตรี ส วั ส ดิ์ ศิ ล ปิ น : ฟักกลิ้งฮีโร่ Feat. ธีร์ ไชยเดช) แต่นี่อาจ เป็นเสียงสะท้อนทีช่ ดั และรับรูไ้ ด้มากทีส่ ดุ ครั้งหนึ่งถึงสิ่งที่ทหารกล้าตั้งใจสื่อสารถึง แนวหลังทุกคน คงเป็นการยากที่จะบอก ความรู้สึกให้เข้าใจลึกซึ้งถึงความหมายใน ค�ำว่าเสียสละของทหารไทยหากใครคนนัน้ ไม่ ใ ช่ ท หารหรื อ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ ครอบครัวทหาร เพราะนี่คืออาชีพที่ถูก ขีดเส้นไว้ด้วยการเสียสละ ไม่ใช่เพื่อใคร คนหนึ่งคนใด แต่มันคือการอุทิศจิตอาสา เพือ่ ธ�ำรงไว้ซงึ่ อธิปไตยของผองไทยทัง้ ชาติ กี่คนแล้วกี่คนเล่าที่ต้องสูญเสียชีวิต และ เลือดเนื้อจากเหตุการณ์ความไม่สงบทาง ภาคใต้ และแม้ว่าเหตุการณ์จะยืดเยื้อมา ยาวนานหลายปีแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ตำ� รวจ และทหารที่ยังประจ�ำการอยู่ ณ ดินแดน ด้ามขวานที่แวดล้อมไปด้วยขวากหนาม อันตรายล้วนก�ำลังต่อสูเ้ พือ่ พวกเราทุกคน อยู่ และนีค่ อื หนึง่ เรือ่ งราวของหนึง่ ผูเ้ สียสละ 18

หลับตาเถอะนะ...ขอให้เธอหลับฝั นดี..คืนนี้ไม่ต้อง ห่วง...ตรงนีฉ้ นั จะดูแลด้วยชี วติ ของฉัน...ฝากดาว บนฟ้าร้องเพลงนี้ให้เธอฟั ง...หากฉันไม่ได้กลับ ...อย่างน้อยให้เธอหลับสบาย ก็พอแล้ว

ทีย่ งั ประจ�ำการอยูใ่ นพืน้ ทีส่ แี ดง ด้วยความ ภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นชายชาติทหาร และปกป้องผืนแผ่นดินนี้ด้วยชีวิต และ เลือดเนือ้ ของพวกเขาเอง “ร้อยเอก มานพ พันธ์สะโม” นายทหารฝ่ายข่าวกรองหน่วย

เฉพาะกิจยะลาที่ ๑๖ จังหวัดยะลา เขต ๙ ย้อนกลับไปเมื่อ ๖ ปีก่อน ชีวิตของ “ร้อยเอก มานพ พันธ์สะโม” ก�ำลังอยู่ใน วัยสนุกสนาน เทีย่ วเล่นไปตามประสาเด็กหนุม่ แต่แล้วชีวติ ของเขากลับถูกเปลีย่ นผันด้วย

กองประชาสัมพันธ์ สำ�นักงานเลขานุการสำ�นักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


“ใบแดง” ที่ไม่ใช่ได้รับมาจากการเล่น ฟุตบอล แต่เป็น “ใบแดงแห่งโชคชะตา” ที่ท�ำให้นายมานพเข้าสู่รั้วทหารอย่างที่ เจ้าตัวยังไม่ทนั ตัง้ ตัว “ใบแดง” ครัง้ นัน้ น�ำ ความเสียใจมายังมานพอย่างที่สุด แต่ช่วง เวลาที่ ไ ด้ รั บ การฝึ ก ฝนจากรั้ ว โรงเรี ย น ทหาร มิ ไ ด้ ส ร้ า งความเข้ ม แข็ ง และ แข็งแกร่งให้นายมานพได้เพียงเท่านั้น แต่ ยังบ่มเพาะและขัดเกลาความเป็นมนุษย์ให้ กับเขา ทุกสิ่งทุกอย่างได้ท�ำให้มานพรู้สึก ตัวเองว่า หากก้าวเดินต่อไปยังสายอาชีพนี้ น่าจะท�ำประโยชน์ให้กบั คนอืน่ สังคม และ ประเทศชาติ ไ ด้ บ ้ า ง และหลั ง จากการ ตัดสินใจอยูห่ ลายรอบ ในทีส่ ดุ มานพตัดสินใจ สมัครสอบเข้าเป็นทหารต่อ จนในที่สุดเขาก็ จบโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อัน ทรงเกียรติ พร้อมๆ กับการซึมซับความ รู้สึกรักชาติ และจิตวิญญาณที่แท้จริงของ ค�ำว่า “ข้าราชการทหาร” “จากความเสียใจที่จับได้ใบแดงใน วันเกณฑ์ทหาร ผมเกือบมองไม่ออกว่า ตัวเองจะรักอาชีพนี้ได้อย่างไร แต่สุดท้าย ด้วยศาสตร์วชิ าทีค่ รูอาจารย์พยายามสอน ประกอบกับจิตส�ำนึกที่ได้รับการปลูกฝัง วันนี้ผมก็เกือบมองไม่เห็นตัวเองในภาพ ของทหารเกณฑ์ไม่เอาถ่านคนเดิมอีกเลย” ร้อยเอก มานพ ย้อนเล่าให้ฟัง ผ่านจากรั้วโรงเรียน ร้อยเอก มานพ

ต้องก้าวเข้าสู่ชีวิตจริง ที่มิอาจพลาดพลั้ง ได้แม้แต่เสีย้ ววินาที และจุดเปลีย่ นในชีวติ อีกครั้งของ ร้อยเอก มานพ ก็คือการต้อง ร่วมเดินทางไปยังอ�ำเภอรือเสาะ จังหวัด นราธิวาส โดยแบกรับภารกิจที่เกี่ยวข้อง กับความสงบสุขของคนไทยในพื้นที่สาม จั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ เ ป็ น เดิ ม พั น ร้อยเอก มานพ มองว่า ทหารไม่ใช่ แค่ผมู้ ารักษาความปลอดภัยเท่านัน้ แต่ยงั ต้องเรียนรูว้ ฒ ั นธรรมและความเป็นอยูข่ อง ชาวบ้าน ช่วยพัฒนาชุมชน สร้างก�ำลังใจ ให้ชาวบ้านด้วย เพราะหากทหารให้ใจ ชาวบ้านได้ ชาวบ้านก็จะให้ใจทหารกลับ

มาเช่นกัน ซึ่งระหว่างที่ทุกอย่างเริ่มไปได้ สวย แต่จู่ๆ ร้อยเอก มานพ กลับได้รับ ค�ำสัง่ ให้สบั เปลีย่ นก�ำลังไปยังอ�ำเภอธารโต จังหวัดยะลาแทน เท่ากับว่าทุกสิง่ ทุกอย่าง ทีเ่ รียนรูม้ าต้องเริม่ นับหนึง่ กันใหม่ แต่ชาย ผู้นี้ก็เชื่อว่า เขาจะสามารถท�ำภารกิจที่ ท้าทายครั้งนี้ได้อีกครั้งแน่นอน “ถ้าไม่มีทหาร ชีวิตความเป็นอยู่ ชาวบ้านจะล�ำบากมากขึน้ ปัญหาทุกอย่างจะ ลุกลาม แผนการร้ายก็จะสัมฤทธิผลได้งา่ ย เราจึงต้องท�ำทุกอย่างเพือ่ ให้ประชาชนอยูไ่ ด้ แม้พื้นที่ธารโตจะเสี่ยง เสี่ยงจนเราไม่มี โอกาสได้นอนหลับเต็มตาสักคืน แต่ถา้ เรา

http://board.roigoo.com หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

19


ไม่ ท� ำ แล้ ว ใครจะท� ำ ” ร้ อ ยเอก มานพ กล่าว ด้วยความมุง่ มัน่ ทุม่ เท ท�ำให้รอ้ ยเอก มานพ ได้เลื่อนต�ำแหน่งจากรองผู้บังคับ กองร้อย เป็นผู้บังคับกองร้อย และด้วย ความสามารถ รวมทัง้ ความมุง่ มัน่ ยังส่งผล ให้เขาได้ท�ำงานเป็นนายทหารฝ่ายข่าว กรองหน่วยเฉพาะกิจยะลาที่ ๑๖ ในช่วง ระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี แต่ แ ล้ ว โชคชะตาก็ ยั ง คงท้ า ทาย ชายนักสูผ้ นู้ ตี้ อ่ อีกครัง้ และเป็นครัง้ ส�ำคัญ ที่ร้อยเอก มานพ จะไม่มีวันลืมเลย นั่นคือ ในตอนเช้าของวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ก่อนทีเ่ สียงเพลงชาติไทยจะดังขึน้ และก่ อ นที่ ธ งชาติ ไ ทยจะปลิ ว ไสวขึ้ น สู ่ ยอดเสา ก็ได้เกิดเสียงระเบิดขึ้น น�ำพาให้ ร้อยเอก มานพ ลงพื้นที่ไปสมทบและได้ เดินตรวจตราพื้นที่โดยรอบ ก่อนจะเกิด เสียงตู้มใหญ่ขึ้นมาอีกครั้ง ฉุดให้ตัวของ ร้อยเอก มานพ ลอยละลิ่วจนตกกระแทก 20

พื้น หลังจากเสียงระเบิดซาลง เสียงแรกที่ ออกจากปากของร้อยเอก มานพ มิใช่เสียง ร้องโอดโอย แม้วา่ ขาข้างหนึง่ ของร้อยเอก มานพจะขาดทั น ที และขาอี ก ข้ า งก็ ยั ง อาการสาหัส แต่เป็นค�ำถามที่ว่า “มีใคร เป็นอะไรบ้าง” ซึ่งประโยคค�ำถามสามัญ

ประโยคนั้น ได้ซื้อใจคนทั้งกองร้อย ให้รับรู้ ถึ ง ความจริ ง ใจที่ ผู ้ ก องคนนี้ ม อบให้ กั บ ทุกชีวิตในพื้นที่ “ถ้าต้องมีคนที่สูญเสียแล้วผมต้อง เลือกในเช้าวันนั้น ผมก็ยังยืนยันให้ตัวเอง โดนระเบิด จากเหตุโดนซุ่มโจมตีในช่วง

กองประชาสัมพันธ์ สำ�นักงานเลขานุการสำ�นักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


๒ - ๓ เดือนแรก ลูกน้องได้รับบาดเจ็บ ตัง้ แต่วนั นัน้ ผมตัง้ ปณิธานว่าจะต้องท�ำงาน หนั ก ลู ก น้ อ งทุ ก คนต้ อ งได้ ก ลั บ บ้ า น ภาวนาว่าถ้าจะเกิดก็ขอให้เกิดกับเราดีกว่า ผมไม่อยากตอบค�ำถามพ่อแม่ ตอบค�ำถาม ครอบครัวลูกเมียของเขา กองร้อยของเรา อยู่ด้วยกันเหมือนครอบครัวใหญ่ ผมจึง ไม่อยากเห็นใครในครอบครัวเป็นอะไร ไปโดยที่ผมยังสุขสบาย” ณ วันนี้ ทหารหนุ่มวัย ๓๔ ปี ยังพัก รั ก ษาตั ว อยู ่ บ นเตี ย งของโรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า และขับเคลื่อนร่างกาย ด้วยรถเข็น แต่ในทุกวันคืนร้อยเอก มานพ ยังคงคิดถึงการจับปืนลงพื้นที่ เพื่อดูแล ปกป้องชาวบ้าน เขาจึงเร่งฟิตซ้อมร่างกาย เพือ่ กลับไปหาลูกน้องและชาวบ้านทีก่ ำ� ลัง เฝ้ารอเขาอยู่ แม้ในใจลึกๆ ของเขา ยังคง วิตกกังวลว่า จะมีโอกาสได้ท�ำดังใจหวัง หรือไม่ “ทุกครั้งที่ต้องนั่งดูรูปการท�ำงาน เก่าๆ บนเตียงโรงพยาบาล ใจคิดว่าคงไม่มี โอกาสได้ถอื ปืนแล้ว ไม่มโี อกาสได้ลงพืน้ ที่ แล้ว คิดว่าโดนเร็วไปหรือเปล่า เรายัง อยากท�ำอะไรอีกเยอะ คิดว่าพยายามเอา ชีวิตให้รอด รักษาให้หาย จะได้กลับไป ท�ำงาน ถึงจะไม่ได้ออกไปลาดตระเวนก็ยงั อยากกลับไปช่วยงานให้ได้เยอะที่สุด มี ชาวบ้านทีย่ งั รอการท�ำงานของเรา ทุกครัง้ ทีช่ าวบ้านในพืน้ ทีม่ าเยีย่ มผมจะมีกำ� ลังใจ เพิม่ ขึน้ มาก เพราะรูส้ กึ ว่าทีเ่ ราท�ำไปมันไม่ สูญเปล่า” หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

ขณะที่หลายคน หากเจออุปสรรค อาจรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง แต่หัวใจที่เปี่ยม ด้ ว ยความมุ ่ ง มั่ น ที่ จ ะท� ำ ประโยชน์ เ พื่ อ แผ่นดินไทยของ ร้อยเอก มานพ พันธ์สะโม ยังคงเป็นก�ำลังใจในการสู้ชีวิตต่อไปได้ อย่ า งดี และแม้ ว ่ า เขาจะพิ ก ารขาจาก การลอบโจมตี ข องผู ้ ท� ำ ลายความสงบ ของประเทศไทย แต่ชายผู้นี้กลับไม่รู้สึก หวาดหวั่ น ที่ จ ะเดิ น หน้ า ท� ำ ความดี เ พื่ อ แผ่นดินนี้เลย “นอกจากขาสองข้างที่ต้องเสียไป ผมไม่รู้ว่าตัวเองสูญเสียอะไรกับการเป็น ทหาร เกียรติและความภาคภูมิใจที่ผมได้ รับไม่อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าหากไม่เป็นทหาร” นีค่ อื ค�ำพูดจากใจของชายชาติทหารอย่าง แท้จริง ยังมีอีกหลายเรื่องราวของอีกหลาย ชี วิ ต ที่ ต ้ อ งเสี ย สละจากการท� ำ หน้ า ที่

ในพืน้ ทีส่ ามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่คงจะ ดีที่สุด หากพวกเราทุกคนพร้อมใจที่จะ เสียสละ และช่วยกันท�ำอะไรให้แก่ประเทศ ชาติ ข องเราบ้ า ง เพื่ อ ให้ เรื่ อ งราวการ เสี ย สละชี วิ ต และเลื อ ดเนื้ อ ของเหล่ า ทหารหาญอันน่าประทับใจเหล่านี้ เป็น เรือ่ งราวสุดท้าย และทุกอย่างจบสิน้ ลงเสียที เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก หนังสือ ฅ คน, ทีวีบูรพา

21


อาหารคลีนอาหารเพื่อสุขภาพ

กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ใน

ปัจจุบนั คนรุน่ ใหม่เริม่ หันมา ใส่ใจในเรื่องสุขภาพกันมาก ขึน้ โดยเฉพาะเรือ่ งของอาหาร การกิน ดังนั้นจึงมีกระแสการกินอาหารเพื่อ สุขภาพเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งหลายคนคงเคย ได้ยินค�ำว่า “อาหารคลีน” ซึ่งเป็นลักษณะ การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพรูปแบบ หนึ่ง ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย ซึ่งก�ำลัง ได้ รั บ ความนิ ย มจากผู ้ ค นในปั จ จุ บั น เป็ น จ�ำนวนมาก

อาหารคลีน คืออะไร

อาหารคลีน (Clean Food) หรือที่คน ส่วนใหญ่เรียกกันว่า กินคลีน (Eat Clean, Clean Eating) คือ การรับประทานอาหารที่ สด สะอาด โดยเน้นการทานอาหารแบบ ธรรมชาติ ไ ม่ ผ ่ า นการปรุ ง แต่ ง และขั ด สี 22

ด้วยสารเคมีตา่ งๆ หรือกระบวนการหมักดอง รวมถึงอาหารขยะและอาหารส�ำเร็จรูป ที่จะ มีปริมาณแป้ง ผงชูรส และโซเดียมในปริมาณ สูงหรืออาจพูดให้เข้าใจได้งา่ ยว่า การรับประทาน อาหารคลีนนั้นเป็นการกินอาหารให้ถูกหลัก โภชนาการ โดยทานอาหารอย่างพอเพียงครบ สัดส่วนทัง้ ๕ หมู่ และอาหารเหล่านัน้ ต้องไม่มี สารปนเปื้อนนั่นเอง ซึ่งอาหารคลีนนั้นอาจ ผ่านการปรุงแต่งบ้างเล็กน้อยหรืออาจจะไม่ ผ่านการปรุงแต่งเลยก็เป็นได้ เช่น ใช้เกลือใน การปรุงอาหารรสเพียงเล็กน้อยแทนน�้ำปลา หรืออาจจะเป็นซีอิ๊วขาวชนิดที่ไม่มีผงชูรส เจือปน และจะไม่ใช้ผงชูรสในการปรุงอาหาร เป็นต้น ตั ว อย่ า งของวั ต ถุ ดิ บ ที่ จ ะน� ำ มาท� ำ อาหารคลีน

ผักและผลไม้ที่ปลอดสารพิษ เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ ที่สดและสะอาด ข้าวกล้องไม่ขัดสี และธัญพืชต่างๆ น�้ ำ มั น มะพร้ า ว หรื อ น�้ ำ มั น มะกอก ซึง่ เป็นน�ำ้ มันชนิดทีม่ กี รดไขมันชนิดดี ใช้แทน น�้ ำ มั น ปาล์ ม ได้ เ ลย (แต่ แ อบราคาสู ง กว่ า พอควรเลย) และควรใช้ในปริมาณที่น้อย อีกทั้งในการปรุงอาหารไม่ควรปรุงให้ อาหารคลีนของเรานั้นมีรสจัดจนเกินไป และ

กองประชาสัมพันธ์ สำ�นักงานเลขานุการสำ�นักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


ในทุกๆ มื้อควรจะมีสารอาหารในอาหารคลี ปลอดสารเคมีนั่นเอง อีกทั้งยังควรหลีกเลี่ยง นของเราให้ครบ ๕ หมู่อีกด้วย อาหารที่มีปริมาณน�้ำตาลสูง เช่น น�้ำอัดลม เบเกอรี่ เป็นต้น รวมทั้งอาหารมันอีกด้วย กินคลีน กินอย่างไร การรั บ ประทานอาหารคลี น นั้ น ประโยชน์ของอาหารคลีน คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า เป็นการเน้น การรับประทานอาหารคลีนแตกต่าง รั บ ประทานอาหารจ� ำ พวกผั ก ในปริ ม าณ จากอาหารทั่วไป เพราะต้องเลือกอาหารที่ เยอะๆ แต่แท้จริงแล้วนั้น การรับประทาน หลากหลายแต่ เ น้ น ความเป็ น ธรรมชาติ อาหารคลี น เป็ น การทานอาหารให้ ค รบ ไม่ ผ ่ า นการปรุ ง แต่ ง มากนั ก ดั ง นั้ น ผู ้ ที่ สัดส่วน ๕ หมู่ โดยเน้นทานอาหารทุกประเภท รับประทานอาหารคลีนจึงได้รับสารอาหาร ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ผัก และคุ ณ ค่ า ทางอาหารครบถ้ ว นสมบู ร ณ์ และผลไม้ ให้มีปริมาณที่พอเหมาะพอเพียง มากกว่าอาหารทั่วไปที่ผ่านการปรุงแต่งมาก อีกทั้งยังช่วยให้ร่างกายไม่ได้รับสารปนเปื้อน ต่อความต้องการของร่างกาย อาหารคลีนนัน้ ส่วนใหญ่จะไม่ยดึ ติดกับ จากอาหารอีกด้วย ดังนัน้ อาหารคลีนจึงส่งผล รสชาติ แต่จะเน้นความเป็นธรรมชาติมากกว่า ดีตอ่ สุขภาพในระยะยาว ทัง้ ยังช่วยให้สขุ ภาพ ดังนั้นผู้ที่รับประทานอาหารคลีนจึงต้องเริ่ม ร่างกายแข็งแรง จากการปรับเปลีย่ นพฤติกรรมการับประทาน อาหารคลีนเหมาะกับใคร อาหารใหม่ทั้งหมด โดยค่อยๆ ปรับตัวไป อาหารคลีนเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มี เรื่อยๆ ในขั้นแรกนั้นควรเลือกรับประทาน ประโยชน์ และได้คุณค่าจากสารอาหารครบ อาหารทีค่ งความเป็นธรรมชาติไว้ให้มากทีส่ ดุ ถ้วนทั้ง ๕ หมู่ ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต ผ่านการปรุงแต่งน้อยที่สุด เช่น จากเดิมเคย โปรตีน ไขมัน ผัก และผลไม้ ในปริมาณที่ รับประทานข้าวขาวก็เปลี่ยนเป็นข้าวกล้อง เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และ หรือเคยรับประทานผลไม้กระป๋องเป็นประจ�ำ ยังเป็นอาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อยที่สุด ก็หนั มาเลือกรับประทานผลไม้สดแทน จากที่ หรือไม่ผ่านการปรุงแต่งเลย จึงท�ำให้ร่างกาย เคยดื่มชากาแฟก็เปลี่ยนมาดื่มน�้ำเปล่าหรือ ได้รับประโยชน์จากอาหารเต็มที่ ส่งผลดีต่อ น�ำ้ ผลไม้แทน เป็นต้น สุขภาพ อาหารคลีนจึงเหมาะส�ำหรับคนที่ นอกจากนี้การรับประทานอาหารคลีน ลดน�ำ้ หนักและรักสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง นั้ น เวลาจะเลื อ กซื้ อ วั ต ถุ ดิ บ หรื อ อาหาร อาหารคลีนกับการลดน�้ำหนัก ควรเลือกที่ปลอดสารเคมี ไม่ใช้วัตถุกันเสีย อาหารคลีนเป็นอีกหนึง่ ตัวเลือกของคน สารกันบูด วัตถุปรุงแต่ง หรืออาจจะเลือกซื้อ อยากผอม เพราะนอกจากจะเป็นอาหารเพื่อ วัตถุดบิ ทีเ่ ป็นออร์แกนิคก็ได้ เพราะเป็นของที่ สุขภาพแล้วยังช่วยลดน�ำ้ หนักได้อกี ด้วย ซึง่ ถ้า

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

เลื อ กรั บ ประทานอาหารคลี น ในปริ ม าณที่ เหมาะสม ควบคู่ไปกับการออกก�ำลังกาย ไปด้ ว ย นอกจากจะช่ ว ยลดน�้ ำ หนั ก แล้ ว ยังช่วยให้สุขภาพดีอีกด้วย นอกจากนี้อาหาร คลีนยังเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ ซึ่ง เป็นสารที่พบมากในอาหารที่ไม่ผ่านการขัดสี โดยมีสว่ นช่วยให้ระบบขับถ่ายสามารถท�ำงาน ได้ดีนั่นเอง จะเห็นได้ว่าอาหารคลีนนั้นเป็นอาหาร เพื่อสุขภาพที่เน้นประโยชน์มากกว่ารสชาติ ดังนั้นผู้ที่จะเริ่มต้นรับประทานจึงไม่ควรยึด ติดกับรสชาติอาหาร และควรให้ความใส่ใจกับ การรั บ ประทานอาหารมากเป็ น พิ เ ศษ โดยเฉพาะการคัดเลือกวัตถุดิบในอาหารนั้น ต้องปลอดสาร ไม่ผ่านการปรุงแต่งรสชาติ และวัตถุดิบแต่ละอย่างต้องมีประโยชน์ต่อ ร่างกาย รวมทั้งต้องแบ่งสัดส่วนในอาหารให้ พอดี โดยต้องมีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และผัก ผลไม้ในปริมาณทีม่ คี วามสมดุลกัน ไม่ มากเกินไปหรือน้อยเกินไป เพื่อให้ร่างกายได้ รับสารอาหารได้เต็มที่ พอดีกบั ความต้องการ ของร่างกายและมีพลังงานไว้ใช้ในกิจกรรม ต่างๆ ระหว่างวันนั่นเอง ดั ง นั้ น อาหารคลี น จึ ง เป็ น อาหารที่ มี ประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก เหมาะ ส�ำหรับวิถีชีวิตของคนในเมือง ที่ต้องการ การดูแลเอาใจใส่สขุ ภาพเป็นอย่างมาก รวมถึง ผู้ที่ต้องการลดน�้ำหนักด้วย เพราะช่วยให้ ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนตรงตาม ความต้องการของร่างกาย แต่การที่ร่างกาย จะมีสขุ ภาพทีด่ นี นั้ นอกจากควบคุมเรือ่ งการ รับประทานอาหารแล้ว ยังต้องหมั่นออก ก�ำลังกายควบคูไ่ ปด้วย ถึงจะส่งผลให้สขุ ภาพ ร่างกายแข็งแรง ระบบการท�ำงานต่างๆ ใน ร่างกายมีความสมดุลมากขึ้น 23


ภัยความมั่นคงของอาเซี ยน

มื่อกล่าวถึงภัยความมั่นคง แล้ว ผู้คนมักจะนึกถึงเรื่อง ของการสงคราม การสู้รบ เรื่องก�ำลังทหาร ตลอดจนเรื่องราวของการ ปกป้องอ�ำนาจอธิปไตย ที่จริงแล้วขอบเขต ของความมัน่ คงนัน้ กว้างขวางมากกว่าผูค้ น เข้าใจกันมาก รองศาสตราจารย์ สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันเอเชีย ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึง ภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ของประชาคม อาเซียน ซึง่ ก�ำลังทวีความรุนแรงในการเป็น ภัยคุกคามชีวติ และทรัพย์สนิ ของประชาชน ในภู มิ ภ าคนี้ และเป็ น สิ่ ง ที่ ป ระชาชนใน ภู มิ ภ าคอาเซี ย นจะต้ อ งเผชิ ญ ร่ ว มกั น ใน อนาคต ภั ย ดั ง กล่ า วมี อ ยู ่ อ ย่ า งน้ อ ย ๓ ประการคือ ๑. ภัยด้านความมั่นคงของมนุษย์ ๒. ภัยพิบัติจากธรรมชาติ และ ๓ .การแผ่ ข ยายอ� ำ นาจของ ประเทศมหาอ�ำนาจนอกภูมิภาค 24

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

ภั ย ด้ า นความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ ที่ รองศาสตราจารย์สุเนตร กล่าวไว้นั้น มีสาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากอพยพโยกย้ายถิ่นฐานครั้ง ใหญ่ อันเนื่องมาจากความเหลื่อมล�้ำทาง เศรษฐกิ จ ของประเทศสมาชิ ก อาเซี ย น เพราะอาเซียนมีประเทศทีป่ ระชากรมีรายได้ สูงติดอันดับโลก เช่น สิงคโปร์และบรูไน ในขณะเดียวกันก็มีประเทศสมาชิกที่ยังมี ประชากรยากจนและถู ก จั ด อยู ่ ใ นกลุ ่ ม ประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries : LDCs) ของ สหประชาชาติ เนื่องจากมีประชากรกว่า ๑ ใน ๔ ที่มีรายได้ตำ�่ กว่าระดับยากจนเช่น กัน ความเหลือ่ มล�ำ้ ทางเศรษฐกิจนีเ้ องทีจ่ ะ ส่งผลให้เกิดการหลั่งไหลและการเคลื่อน ย้ายของประชากรจากประเทศสมาชิกที่ ยากจนไปสู่ประเทศสมาชิกที่ร�่ำรวยเพื่อ แสวงหาชีวิตและโอกาสที่ดีกว่า การอพยพโยกย้ายถิ่นฐานทั้งแบบ ถาวรและชั่วคราวนี้ จะท�ำให้เกิดปัญหา

ความมั่นคงของมนุษย์มากมาย ทั้งปัญหา การค้ามนุษย์ ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหาการขยายตัวของเครือข่ายก่อการร้าย สากล ปั ญ หายาเสพติ ด ปั ญ หาการก่ อ ก�ำเนิดของกลุม่ อิทธิพลเหนือชนชาติของตน ในดินแดนประเทศอื่น รวมถึงปัญหาด้าน สาธารณสุ ข ที่ มี แ นวโน้ ม รุ น แรงมากขึ้ น เนื่องจากประชาชนผู้โยกย้ายถิ่นฐานจาก ประเทศยากจนเหล่านี้ ล้วนเป็นผูท้ ขี่ าดการ ดูแลด้านสาธารณสุขพื้นฐาน เช่น มาจาก พื้นที่ห่างไกลที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคต่างๆ บุคคลเหล่านีจ้ ะน�ำโรคภัย ไข้เจ็บนานาชนิดติดตัวไปยังประเทศอื่น ก่อให้เกิดโรคอุบตั ใิ หม่และโรคระบาดนานา ชนิ ด ที่ ห วนกลั บ มาอี ก ครั้ ง ภายหลั ง จาก สูญหายไปเป็นเวลานาน เช่น โรคคอตีบ ไอกรน โรคซาร์ ไข้หวัดนก โรคมือเท้าปาก เป็นต้น นอกจากนี้กลุ่มผู้อพยพโยกย้าย ถิ่ น ฐานดั ง กล่ า ว ยั ง มี แ นวโน้ ม ที่ จ ะก่ อ มลภาวะทางสาธารณสุขขึน้ ในประเทศทีต่ น พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


อพยพไปอยู่ อันเนื่องมาจากความยากจน และด้อยการศึกษา เช่น การก่อก�ำเนิดของ สลัมหรือชุมชนแออัดในชุมชนเมือง ท�ำให้ เกิดการละเลยด้านสาธารณสุขตลอดจน สุขอนามัยทั้งการบริโภคอาหารและการ ขั บ ถ่ า ยสิ่ ง ปฏิ กู ล ต่ า งๆ อาจก่ อ ให้ เ กิ ด โรคระบาดครั้ ง ใหญ่ ขึ้ น ในทศวรรษหน้ า ได้ เป็นต้น ภั ย ด้ า นความมั่ น คงอี ก ชนิ ด หนึ่ ง ที่ ประชาคมอาเซียนจะต้องเผชิญร่วมกันคือ ภัยพิบตั จิ ากธรรมชาติทเี่ กิดขึน้ บ่อยครัง้ และ มีความรุนแรงมากขึ้น ดังที่ดอกเตอร์ ราจีฟ ชาห์ (Rajiv Shah) ผู้อ�ำนวยการองค์กร พัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ได้กล่าว ไว้ ร ะหว่ า งการประชุ ม รั ฐ มนตรี ก ลาโหม อาเซียนและรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ที่ มลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐฯ ในช่วงเดือน เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗ ที่ผ่านมาว่า ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมทั้งสมาชิก อาเซียน ต่างได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ทางธรรมชาติถึงร้อยละ ๗๐ จากภัยพิบัติ ทางธรรมชาติทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ สึ น ามิ ใ นประเทศไทย มาเลเซี ย และ อินโดนีเซีย เหตุการณ์มหาอุทกภัยครัง้ ใหญ่ ในประเทศไทย เหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิด และแผ่นดินไหวในประเทศอินโดนีเซีย พายุ ไซโคลนนาร์ กี ส ในเมี ย นมา ตลอดจน เหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนในประเทศ ฟิลปิ ปินส์ ซึง่ ล้วนแล้วแต่สร้างความเสียหาย

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

ในชี วิ ต และทรั พ ย์ สิ น จ� ำ นวนมากมาย มหาศาล เป็นต้น ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่าง รุนแรงและมีจ�ำนวนบ่อยครั้งอย่างที่ไม่เคย เกิดขึน้ มาก่อน ได้ทำ� ให้กองทัพของประเทศ สมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศ มีการปรับ บทบาทจากการเป็นหน่วยงานที่ท�ำหน้าที่ ในการพิทักษ์รักษาอ�ำนาจอธิปไตย มาสู่ ความเป็นองค์กรที่ท�ำหน้าที่ในการพิทักษ์ รักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจาก ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งส่งผลให้กองทัพ ของกลุ่มประเทศอาเซียนมีบทบาทเพิ่มขึ้น อย่ า งมากในภารกิ จ การปฏิ บั ติ ก ารด้ า น มนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (HA/DR : Humanitarian Assistance and Disaster Relief) ในอนาคต โดยปัจจุบันกองทัพของ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ มีการฝึกซ้อมร่วมกันอยู่อย่างต่อเนื่องทั้ง ในระดับทวิภาคีและพหุภาคี รวมไปถึงการฝึก ซ้อมในกรอบของประเทศสมาชิกอาเซียนเอง และในกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียน กับประเทศนอกภูมิภาค เพื่อเตรียมความ พร้อมในการรับมือภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ ในอนาคต ท้ายที่สุด รองศาสตราจารย์สุเนตร ยั ง กล่ า วถึ ง คื อ การขยายอิ ท ธิ พ ลของ ประเทศมหาอ�ำนาจต่างๆ เข้าสู่ประชาคม อาเซียน ทั้งในรูปแบบของ “พลังอ�ำนาจ เชิงแข็งกร้าว” (Hard Power) และ “พลัง

อ�ำนาจเชิงอ่อนโยน” (Soft Power) จน ท� ำ ให้ เ กิ ด การถ่ ว งดุ ล ทางอ� ำ นาจของ มหาอ�ำนาจในอาเซียนอย่างชัดเจน โดย เฉพาะการใช้นโยบาย “ปรับสมดุล” ของ สหรัฐฯ เพื่อหวนกลับมาสู่ภูมิภาคนี้ รวมไป ถึ ง ปั ญ หาข้ อ พิ พ าทเกี่ ย วกั บ หมู ่ เ กาะใน ทะเลจีนใต้ทอี่ ดุ มสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร น�้ ำ มั น ที่ นั บ วั น จะหาได้ ย ากยิ่ ง นั บ เป็ น ประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป เพือ่ ไม่ให้เกิดการเผชิญหน้าของมหาอ�ำนาจ กับประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนการ เผชิญหน้าระหว่างมหาอ�ำนาจด้วยกันเอง จนอาจขยายตัวลุกลามกลายเป็นปัญหา ใหญ่ของภูมิภาคนี้ในอนาคต

นอกจากนี้ อาจารย์ปิติ ศรีแสงนาม อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงภัยด้านความมัน่ คง ของประชาคมอาเซี ย นเพิ่ ม เติ ม อี ก ๒ ประการคือ ความมั่นคงด้านอาหารและ ความมั่นคงด้านพลังงาน ส�ำหรับความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งมี แนวโน้ ม ที่ จ ะเกิ ด ความขาดแคลนขึ้ น ได้ ในอนาคต อันเนือ่ งมาจากการขาดแคลนพืน้ ที่ เพาะปลูก สภาพดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยน แปลงไปอย่างมาก การสร้างเขื่อนกั้นแม่น�้ำ โขงของจีนและลาว ซึ่งส่งผลกระทบต่อ 25


การเพาะปลูกและระบบนิเวศวิทยาของ ประเทศที่ อ ยู ่ ใ ต้ ล� ำ น�้ ำ รวมถึ ง การ เปลี่ ย นแปลงจากสั ง คมเกษตรกรรม ไปสู่สังคมอุตสาหกรรมของอาเซียน จน เกษตรกรต่างละทิ้งเรือกสวนไร่นาของตน ท� ำ ให้ ผ ลผลิ ต พื ช พั น ธ์ุ ธั ญ ญาหารของ อาเซียน ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นอู่ข้าว อู ่ น�้ ำ ของโลกลดลงจนถึ ง ระดั บ ที่ น ่ า วิ ต ก อย่างมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหา ความมั่นคงด้านอาหารที่นับวันจะทวีความ รุนแรงมากยิ่งขึ้น อาจารย์ปิติ ศรีแสงนาม ได้เรียกร้องให้อาเซียนหันมาร่วมมือกัน อย่างจริงจังในการมีกรอบข้อตกลงทีช่ ดั เจน เพื่ อ สร้ า งกลไกการให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ประเทศสมาชิกในยามทีเ่ กิดภัยความมัน่ คง ด้านอาหาร ซึ่งมิใช่แต่เพียงความช่วยเหลือ ในการบริจาคเงินระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หากแต่ ต้องเป็นความช่วยเหลือทั้งในด้านการให้ องค์ ค วามรู ้ เ กี่ ย วกั บ การเพาะปลู ก การ ชลประทาน และปัจจัยอื่นๆ ที่ปรับเปลี่ยน ไปตามความเปลี่ ย นแปลงของโลกยุ ค ปั จ จุ บั น รวมไปถึ ง ความร่ ว มมื อ ในการ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ โดยเฉพาะทรัพยากรน�ำ้ ทัง้ ในแม่นำ�้ โขงและ แหล่งน�ำ้ ทั่วไป เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาความมั่นคงด้านอาหารยังอาจ เกิ ด ขึ้ น จากปั จ จั ย อื่ น ที่ มิ ใ ช่ ส ภาพ สิง่ แวดล้อมหรือภูมอิ ากาศทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป หากแต่ยังเกิดขึ้นจากสภาวะเศรษฐกิจที่ ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ช่องว่าง ระหว่างชนชัน้ ขยายตัวตามไปด้วย ดังทีเ่ คย เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาใต้ซึ่งมีอาหารอุดม สมบูรณ์ หากแต่ภาวะเศรษฐกิจที่ถีบตัว สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ประชาชนที่ ยากจนขาดก�ำลังทรัพย์ ในการซื้อหาสินค้า ซึง่ มีราคาสูงขึน้ อย่างมาก และต้องตกอยูใ่ น 26

สภาพที่อดอยาก ไม่สามารถเลี้ยงตนเอง และครอบครัวได้ หรือปัญหาความมั่นคง ด้านอาหารยังอาจเกิดขึ้นจากความขัดแย้ง ทางการเมืองที่ไปสู่การสู้รบยืดเยื้อ เช่น ปัญหาชนกลุ่มน้อยในเมียนมา ที่ส่งผลให้ ประชาชนในพื้นที่ขัดแย้ง ไม่สามารถท�ำ การเพาะปลูกได้ตามปกติ จนเกิดวิกฤติการณ์ ขาดแคลนอาหารในการเลี้ยงดูชุมชนของ ตนเองในที่สุด ปัญหาด้านความมั่นคงของอาเซียน อี ก ประการหนึ่ ง คื อ ความมั่ น คงด้ า น พลังงาน เพราะจะเห็นได้ว่า ในช่วงเวลาที่ ผ่านมา ประเทศสมาชิกอาเซียนต่างพัฒนา

ประเทศอย่างรวดเร็ว การพัฒนาดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการบริโภคพลังงานจ�ำนวน มหาศาล จนต้องพึง่ พาพลังงานจากประเทศ เพื่ อ นบ้ า นเป็ น จ� ำ นวนมาก ท� ำ ให้ เ มื่ อ มี ปัญหาในด้านการขนส่งเกิดขึน้ เช่น การปิด ซ่อมท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เจดีเอ-เอ ๑๘ ใน พื้นที่ภาคใต้เมื่อปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้เกิด ความวิตกกังวลว่ากระแสไฟฟ้าในภาคใต้ ของประเทศไทยจะมีปริมาณไม่เพียงพอ และท�ำให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง เป็นต้น สิง่ เหล่านีล้ ว้ นเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความ ไม่ มั่ น คงทางด้ า นพลั ง งานของประเทศ สมาชิกอาเซียน

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


จากสภาพภูมิศาสตร์ จะเห็นได้ว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณ อนุภมู ภิ าคลุม่ แม่นำ�้ โขง ต่างมีแหล่งพลังงาน ที่ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะแหล่งพลังงาน น�ำ้ เช่น เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และ เวียดนามตอนเหนือ ซึง่ มีศกั ยภาพในการน�ำ พลังงานน�้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนทาง ตอนกลางและตอนใต้ ข องอาเซี ย นนั้ น มี แ หล่ ง ก๊ า ซธรรมชาติ แ ละถ่ า นหิ น เป็ น จ�ำนวนมาก ปัจจุบันมีความร่วมมือด้าน พลังงานของสมาชิกอาเซียนในพลังงานที่ ส�ำคัญ ๒ ชนิด คือ ไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ ปัญหาความมั่นคงด้านพลังงานของ อาเซียนนัน้ มีจดุ ทีน่ า่ กังวลอยูท่ ปี่ ระเทศไทย ของเรานั่นเอง เพราะอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ต่างมีแหล่งน�้ำมันและก๊าซ ธรรมชาติส�ำรองเป็นจ�ำนวนมาก ในขณะที่ ประเทศไทยซึง่ มีการบริโภคพลังงานจ�ำนวน มหาศาล กลับเป็นประเทศผูน้ ำ� เข้าพลังงาน สุทธิ ทั้งก๊าซธรรมชาติ น�ำ้ มัน และไฟฟ้า โดยเฉพาะการน�ำเข้าน�้ำมันดิบของไทยมี สั ด ส่ ว นถึ ง ร้ อ ยละ ๘๐ ของการน� ำ เข้ า พลังงานทั้งหมด ท�ำให้รายจ่ายการบริโภค พลังงานมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ ๑๖ ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ และจะยิ่งมี การใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นภายหลังจากการ

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

รวมเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘ เพราะจะมีทงั้ การเดินทาง และการขยายตัว ของอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ อี ก ด้ ว ย คาดกั น ว่ า ในปี พ.ศ.๒๕๗๓ ประเทศไทยจะมีความต้องการใช้พลังงาน ไฟฟ้าสูงถึงประมาณ ๕๓,๐๐๐ เมกกะวัตต์ ดังนั้นไทยและอาเซียนจึงจ�ำเป็นต้อง ร่ ว มมื อ กั น อย่ า งเป็ น รู ป ธรรมในการหา หนทางเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวนี้อย่าง จริงจัง เช่น การเชื่อมโยงด้านไฟฟ้ากับ อาเซียนในโครงการ “อาเซียน พาวเวอร์ กริด” (ASEAN Power Grid) กับลาว มาเลเซีย และกั ม พู ช า การมี ค วามเชื่ อ มโยงด้ า น

พลังงานไฟฟ้าดังกล่าว จะช่วยลดปัญหา ความขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า และท�ำให้ เกิ ด ความมั่ น คงด้ า นพลั ง งานของไทย คาดว่าการเชื่อมโยงจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ปัญหาด้านความมั่นคงของอาเซียน ดังที่กล่าวมาข้างต้น นับเป็นสิ่งที่สมาชิกทั้ง ๑๐ ประเทศต้องร่วมมือกันรับมือกับปัญหา ดังกล่าวอย่างจริงจัง เนื่องจากสมาชิกบาง ประเทศยังอยู่ในสภาพที่ไม่มีความพร้อม เพียงพอต่อการเผชิญปัญหาโดยล�ำพัง ทัง้ นี้ เพื่ อ เสริ ม สร้ า งประชาคมอาเซี ย นแห่ ง นี้ ให้แข็งแกร่งและก้าวหน้าอย่างมั่นคงสืบไป

27


The Dragon Pours Concrete

“เมื่อจีน...แกร่งทัง้ แผ่น”

“China’s air base hardening efforts stand stark contrast to America’s” นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม

ใน

ปี ๑๙๕๗ สงครามใน ตะวันออกกลาง ระหว่าง คู ่ ป รั บ ที่ ไ ม่ มี ห นทางจะ เป็นมิตร ระหว่าง อาหรับ-อิสราเอล เมื่อ กองทัพอากาศอิสราเอลได้เปิดฉากโจมตี ฐานทัพอากาศเกือบทุกแห่งของประเทศ กลุ ่ ม อาหรั บ ในช่ ว งเริ่ ม ต้ น ของสงคราม พวกเขาใช้เวลาไม่นานเลยในการท�ำลาย อากาศยานที่จอดอยู่บนพื้นเกือบ ๔๐๐ ล�ำ สนามบินและสิ่งอ�ำนวยการด้านยุทธการ ต่างๆ ถูกท�ำลายย่อยยับอยูใ่ นสภาพเป็นเศษ ซากกลางทะเลทราย ยากในการกอบกู้กลับ มาตีโต้กับกองทัพอากาศอิสราเอล ก�ำลัง ทางอากาศของอาหรับละลายหายไปในแค่ การโจมตีทางอากาศขนาดใหญ่ (Mass Air Campaign) แค่ครัง้ เดียวของกองทัพอากาศ อิสราเอล ท�ำให้อสิ ราเอลครองความเป็นเจ้า อากาศ (Air Supremacy) ได้แบบเบ็ดเสร็จ การปฏิบัติการทางทหารอื่นใดของกองทัพ อิสราเอลที่ตามมา จึงเป็นเรื่องที่เกือบจะไร้ อุปสรรค บทเรียนแห่งความพ่ายแพ้ของอาหรับ ต่ออิสราเอลนั้น แสดงให้เห็นว่า กองทัพ อากาศที่มีฐานทัพอากาศที่เปราะบาง การ ป้องกันที่แย่ๆ ไม่ให้ความส�ำคัญของโรงเก็บ ที่แข็งแรงทั้งบนดินและใต้ดิน จะเป็นจุดอ่อน อย่างที่สุดในการท�ำลายของฝ่ายตรงข้าม ศั ก ย์ ส งครามราคาแพงจะต้ อ งถู ก โจมตี 28

อย่างง่ายดาย เมื่อสูญเสียก�ำลังทางอากาศ ที่เข้มแข็ง เนื่องจากฐานบินที่ไร้การดูแลที่ดี จะท�ำให้ดุลของสงครามเปลี่ยนไปทันที จะ ต้องถูกกดขี่จากประเทศที่ครองความเป็น เจ้าอากาศในท้ายที่สุดอย่างแน่นอน การปฏิบัติการทางอากาศเชิงรุกเพื่อ ครองอากาศนั้น หนึ่งในยุทธวิธีส�ำคัญ (Key Elements) ที่ก�ำลังทางอากาศต้องวางแผน คือ การโจมตีสนามบินและท�ำลายเครื่อง บิน ในรัศมีที่จะเป็นภัยคุกคามอย่างหนัก และรวดเร็ว สนามบินที่มีการป้องกันอย่าง ดีและมีความแข็งแรง มีโรงเก็บที่ปลอดภัย จะสามารถฟืน้ ตัวกลับตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว และอาจชิงความเป็นเจ้าอากาศกลับคืนมา ได้ในภายหลัง ด้วยยุทธศาสตร์เช่นเดียวกันนี้ เมื่อ กลับมามอง Asia-Pacific ที่ก�ำลังคุกรุ่น

ไปด้วยข้อพิพาททางทะเลและหมู่เกาะใน ทะเลจีนใต้ ซึ่งมีคู่กรณีอยู่หลายประเทศเช่น จีน ญีป่ นุ่ เวียดนาม ฟิลปิ ปินส์ บรูไน ไต้หวัน หรือแม้กระทั่งมหาอ�ำนาจคนละขั้วโลก แต่ ผลประโยชน์หรือพันธมิตรมีอยู่ทุกหนแห่ง อย่างอเมริกา ก็มีส่วนร่วมในข้อพิพาทของ ภูมิภาคนี้ ตามนโยบายต่างประเทศของ โอบามา ที่มุ่งภูมิภาค Asia-Pacific ส�ำหรับ จีนเองนั้น ถือว่าตนเองเป็นประเทศใหญ่ เป็นเจ้าแห่งภูมิภาค ก็ได้เร่งเสริมสร้างก�ำลัง ทางทหารและก�ำลังอาวุธที่ทันสมัย รวมไป ถึงขีปนาวุธข้ามทวีป เพื่อต่อกรกับประเทศ ที่จีนถือว่าเป็นภัยคุกคามที่ส�ำคัญประการ หนึ่งของการเสริมสร้างกองทัพจีนคือจีน ได้ปรับปรุงและสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ ฐานทัพอากาศของตนอย่างมาก ซึง่ โครงการ หรือการก่อสร้างขนาดใหญ่นี้ สามารถตรวจ นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


สอบได้อย่างง่ายๆ จากภาพถ่ายดาวเทียม ธรรมดาๆ ไม่ต้องลงทุนมากมาย อย่างเช่น Google Earth ประเทศจีน มีความช�ำนาญมาจากอดีต ทีย่ าวนาน ในการสร้างระบบป้องกันหรือรุก เพื่อยุทธศาสตร์ทางทหารโดยเฉพาะ โดย การขุดอุโมงค์หรือสร้างฐานบัญชาการใต้ดนิ ที่โดดเด่นคือ อุโมงค์ที่สร้างเพื่อป้องกันการ โจมตีของสหรัฐฯ ในช่วงสงครามเวียดนาม อุโมงค์นี้สร้างตามแนวคิดของ เหมา เจ๋อ ตุง (Mao Zedong) สร้างตั้งแต่ปี ๑๙๖๔ ๑๙๗๙ มีชื่อเรียกทางยุทธการว่า “The Third Line Defense Tunneling” “The Third Line Defense Tunneling” ของจีน ได้มีการระดมสรรพ ก�ำลังที่เป็นชาวไร่ ชาวนา หลายล้านคน มาเร่งสร้างอย่างรีบด่วนในช่วงปี ๑๙๖๖ ๑๙๖๙ ซึง่ เป็นยุคปฏิวตั วิ ฒั นธรรม (China’s Cultural Revolution) และความสัมพันธ์ ระหว่าง จีน-โซเวียต (Shino-Soviet) ก็ เสื่อมทรามลง จนถึงขั้นมีการปะทะกันตาม แนวชายแดนในปี ๑๙๖๙ ที่ฐานบัญชาการ ใต้ดินของจีนนี้ มีความใหญ่โตมาก ถึงขนาด พวกเขาท�ำเป็นโรงเก็บของ เครื่องบินรบ และเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลาง และ ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเก็บเครื่องบินที่

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

ทันสมัยของประเทศในกลุ่มคู่ปฏิปักษ์ตาม สนธิสัญญาวอร์ซอว์ (Warsaw Pact) ที่น�ำ โดยโซเวียตแล้ว ช่างต่างกันน่าอัศจรรย์ใจมาก จากการวิเคราะห์ของนักยุทธศาสตร์ เชื่ อ ว่ า “The Third Line Defense Tunneling” ตามแนวคิดของประธานเหมา แม้ว่าเขาจะเสียชีวิตไปแล้วในปี ๑๙๗๖ ยุทธศาสตร์ในเชิงรับของเหมาก็ยงั มีผลถึงใน ยุคปัจจุบนั โดยน่าจะมีการสร้างโรงเก็บแบบ UGHs (Under Ground Hangars) กระจาย ไปทั่วพื้นที่ยุทธศาสตร์ โรงเก็บแบบ UGHs ที่อยู่ใต้ดินแดนที่ลี้ลับใจกลางของประเทศ จีน น่าจะมีไม่น้อยกว่า 40 UGHs ในจ�ำนวนนี้

30 UGHs เป็นโรงเก็บของเครื่องบินรบ ซึ่งสามารถจอดได้ราว ๑,๑๐๐ ล�ำ รวมถึง เครือ่ งบินทิง้ ระเบิดขนาดกลางอีกพอสมควร ด้ ว ยความแข็ ง แกร่ ง และลี้ ลั บ ของ ฐานทัพใต้ดนิ ของกองทัพแห่งชาติจนี (PLA : People’s Liberation Army) ตามแนวคิด สืบเนื่องจากอดีตนั้น ท�ำให้จีนมีความมั่นใจ ว่าในกรณีที่ถูกโจมตีทางอากาศขนาดหนัก พวกเขาจะสามารถฟื้นตัวกลับมาเอาคืนได้ ในเวลาที่ไม่นานเกินไป เนื่องจากการเข้า โจมตีทางอากาศต่อทีห่ มายก�ำลังทางอากาศ ที่อยู่ใต้ดินและลึกเข้าไปในดินแดนที่กว้าง ใหญ่ไพศาลนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดายนัก และ

29


ผู้รุกรานยังต้องฝ่าปราการในระบบป้องกัน ภัยทางอากาศที่มีอยู่อย่างหนาแน่นอีกด้วย เรียกได้ว่า ยากยิ่งกว่ายากเสียอีก ตัง้ แต่ปี ๒๐๐๐ เป็นต้นมา จีนได้ระดม สรรพก�ำลังปรับปรุงพัฒนาฐานทัพอากาศ ของตน มากกว่า ๑๕ ฐานทัพ ครอบคลุม ทั้งประเทศ โดยเฉพาะแถบตะวันออกและ ตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ Nanging ไปถึง Guangzhou โดยเน้ น การสร้ า งโรงเก็ บ อากาศยานบนพื้ น ที่ มี ค วามแข็ ง แรงแบบ HASs (HAS : Hardened Aircraft Shelters) ซึ่งโรงเก็บแบบนี้ถูกสร้างเพิ่มขึ้นในอัตรา

30

ที่รวดเร็วมาก กล่าวกันว่าเพิ่มขึ้นถึง ๒๔๐ เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว ด้วยลักษณะการ วางแผนโรงเก็บ HASs และ UHGs แบบนี้ ในทางยุทธศาสตร์แล้ว สามารถท�ำงานได้ทงั้ เชิงรับและเชิงรุก ถามว่า รุกใคร ค�ำตอบประการ แรก น่าจะเป็นไต้หวัน เนือ่ งจากเป็นนโยบาย ดั้ ง เดิ ม ที่ ไ ม่ เ ปลี่ ย นแปลงของจี น อยู ่ แ ล้ ว เหตุผลต่อมาคือ ปกป้องผลประโยชน์และ เส้นทางเดินเรือในทะเลจีนใต้และใกล้เคียง สาเหตุที่จีนมุ่งการปรับปรุงโรงเก็บใน ฐานทัพอากาศเป็นแบบ HASs นัน้ เนือ่ งจาก มีบทเรียนจากสงครามอ่าว ในปี ๑๙๙๑

เทคโนโลยีทางทหารของสหรัฐฯ เชื่อมกับ อวกาศ สามารถท�ำให้ค่าความแม่นย�ำของ อาวุธปล่อยต่างๆ สูงมาก ถึงขนาดก�ำหนด เป้าหมายและพื้นที่ที่ต้องการท�ำลายได้เลย UGHs จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกโจมตี และต้องติดกับดักตนเองทั้งฝูงบินด้วยอาวุธ ปล่อยชั้นน�ำแค่ไม่กี่ลูก ด้ ว ยการปรั บ วางก� ำ ลั ง ทางอากาศ รวมถึงขีปนาวุธทันสมัยของจีนในยุคนี้ สามารถ คุกคามไกลไปถึงฐานทัพอากาศและทัพเรือ กลางแปซิฟกิ ของสหรัฐฯ ทีเ่ กาะกวม (Guam) ได้เลย ด้วยขีปนาวุธข้ามทวีปแบบ Dong Feng 26 ส�ำหรับฐานทัพอากาศ Anderson AFB ที่ Guam นี้มีเครื่องบินโจมตีทาง ยุทธศาสตร์แบบ B-2 : Stealth Bombers และ RQ-4 : Surveillance Aircraft ประจ�ำ การอยู่แต่ไม่มีโรงเก็บแบบ HASs เมื่อมองฐานทัพอากาศของสหรัฐฯ ใน Asia-Pacific โรงเก็บแบบ HASs ของ สหรัฐฯ มีมากถึง ๒๗๐ โรงเก็บ กระจาย อยู่ทางด้านแปซิฟิกตะวันตก ส่วนใหญ่แล้ว อยู่ในเกาหลีเหนือ และ HASs เหล่านี้เกิด ขึ้นในช่วงสงครามเย็น ที่เคยเป็นเงาทะมึน ปกคลุมยุโรปและเอเชียอยู่ ในขณะเดียวกัน การประมาณการงบประมาณที่ใช้ในการ

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


สร้างโรงเก็บจ�ำนวน 20 HASs นั้น ต้องใช้ เงินมากพอๆ กับ ค่าซือ้ เครือ่ งบินรบชัน้ เยีย่ ม ยุคที่สี่หนึ่งล�ำ Asia-Pacific ยั ง เป็ น ภู มิ ภ าคที่ เต็มไปด้วยปัญหาที่สลับซับซ้อน มีความ เกี่ยวข้องกับหลายชาติในภูมิภาค รวมถึง ชาติมหาอ�ำนาจนอกภูมิภาคอีกด้วย เป็น เรื่ อ งของการแสวงหาอิ ท ธิ พ ลและรั ก ษา ผลประโยชน์ของชาติตนเองหรือพันธมิตร ความยุ่งยากนานาประการที่ต้องแก้ไขไป พร้ อ มกั บ การท� ำ วิ เ ทโศบายทางการทู ต ที่ต้องท�ำอย่างมีสติและเข้มแข็ง เพื่อไม่ให้ สถานการณ์เดินทางไปยังจุดที่ไม่สามารถ แก้ไขได้ด้วยการเจรจา นั่นคือแนวโน้มการ เกิดสงครามยุคใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตราย ต่ อ ประชาคมโลกมาก ในขณะเดี ย วกั น ทางการทหารของแต่ละประเทศ ก็ต้องมี การเตรียมก�ำลังให้พร้อม และแสวงหาความ ร่วมมือเพือ่ สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน เพื่อป้องกันวันที่ไม่อยากให้เกิด ชาวโลกได้ แต่หวังและภาวนาว่า พวกเขาจะสามารถ พู ด คุ ย กั น ได้ อ ย่ า งลงตั ว ในบรรยากาศที่ เต็มไปด้วยความเข้าใจอันดีและมิตรภาพที่ สถาพรต่อไป From : Air Force Magazine, Dec 2014 By : David Lewton

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

31


เครื่องบินเติมน�้ำมันทางอากาศแบบ เอ๓๓๐เอ็มอาร์ทีที (A330MRTT) กองทัพอากาศสิงคโปร์ (RSAF) จัดซื้อรวม ๖ เครื่อง จะได้รับมอบในปี พ.ศ.๒๕๓๑ (ด้านท้ายเครื่องบินตอนล่างคือระบบท่อส่งน�้ำมัน ให้กับเครื่องบินที่จะรับการเติมน�้ำมัน)

แนะน�ำอาวุ ธเพื่อนบ้าน

เครื่องบินเติมน�้ำมันทางอากาศ

องทั พ อากาศสิ ง คโปร์ (RSAF) ได้ตกลงใจจัดซื้อ เครื่ อ งบิ น เติ ม น�้ ำ มั น ทาง อากาศรุ่นใหม่แบบ เอ๓๓๐เอ็มอาร์ทีที (A330MRTT: Multi Role Tanker Transport) รวม ๖ เครื่อง เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๗ เพื่อจะเพิ่มขีดความสามารถ ของฝูงบินเติมน�้ำมันทางอากาศให้สูงขึ้น เพื่อรองรับการเติมน�้ำมันให้กับฝูงบินรบ 32

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

เพื่อเพิ่มรัศมีท�ำการรบให้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ฝูงบินขับไล่ ประกอบด้วย ฝูงบินที่ ๑๔๐ (F-16D รวม ๑๕ เครื่อง), ฝูงบินที่ ๑๔๓ (F-16C/D รวม ๑๓ เครื่อง), ฝูงบินที่ ๑๔๕ (F-16D รวม ๒๐ เครือ่ ง) และฝูงบินที่ ๑๔๙ (F-15SG รวม ๓๒ เครื่อง) กองทัพอากาศ สิงคโปร์ (RSAF) ประจ�ำการด้วยฝูงบิน เติมน�ำ้ มันทางอากาศ หนึง่ ฝูงบินคือฝูงบินที่ ๑๑๒ ฐานทัพอากาศชางฮี (ตะวันตก) โดย

ประจ�ำการด้วยเครื่องบินเติมน�้ำมันแบบ เคซี-๑๓๐บี/เอช (KC-130B/H) รวม ๕ เครื่ อ ง และเครื่ อ งบิ น เติ ม น�้ ำ มั น แบบ เคซี-๑๓๕อาร์ (KC-135R ) รวม ๔ เครื่อง เครือ่ งบินเติมน�ำ้ มันแบบเคซี-๑๓๕อาร์ (KC-135R) สามารถให้การสนับสนุนการ เติ ม น�้ ำ มั น ทางอากาศให้ กั บ ฝู ง บิ น ขั บ ไล่ กองทัพอากาศสิงคโปร์ (RSAF) ที่เข้าร่วม การฝึกทางอากาศในรหัส เรด แฟล็กซ์ (Red พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


Flag พื้นที่ฝึกฐานทัพอากาศเอลสันและ ฐานทัพอากาศอัลเมนดอร์ฟ) จากฐานทัพ อากาศที่ประเทศสิงคโปร์ ท�ำการบินไกลสู่ พืน้ ทีฝ่ กึ ทีร่ ฐั อลาสก้า ทัง้ ไป-กลับ ทีจ่ ะต้อง เติมน�้ำมันทางอากาศหลายครั้ง (ถ้าไม่ใช้ การเติมน�้ำมันทางอากาศ จะต้องลงจอด เติ ม น�้ ำ มั น ทางภาคพื้ น ดิ น จากฐานทั พ อากาศพันธมิตรทีอ่ ยูใ่ นแนวเส้นทางบินจาก สิงคโปร์สู่รัฐอลาสก้าซึ่งจะไกลกว่าเส้นทาง บินตรง พร้อมทั้งได้แสดงถึงกองทัพอากาศ สิงคโปร์มีขีดความสามารถพร้อมรบสูงใน ทุกมิติ) เครื่องบินมีเจ้าหน้าที่ประจ�ำเครื่อง รวม ๓ นาย ขนาดยาว ๔๑.๕๓ เมตร ช่วง ปีก ๓๙.๘๘ เมตร พื้นที่ปีก ๒๒๖ ตาราง เมตร สูง ๑๒.๗ เมตร สามารถบรรทุก ผู้โดยสารได้ ๓๗ ที่นั่ง (ตามภารกิจบิน) เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนส์ ให้แรงขับขนาด ๒๑,๖๓๔ ปอนด์ (รวม ๔ เครื่ อ ง) มี ความเร็ว ๙๓๓ กิโลเมตรต่อชัว่ โมง พิสยั บิน ไกล ๒,๔๑๙ กิโลเมตร น�ำ้ หนักบินขึน้ สูงสุด ๑๔๖,๐๐๐ กิโลกรัม (๓๒๒,๕๐๐ ปอนด์) บรรทุกน�้ำมันได้สูงสุด ๙๐,๗๑๙ กิโลกรัม (๒๐๐,๐๐๐ ปอนด์) สหรัฐอเมริกาได้ผลิต เครื่ อ งบิ น เติ ม น�้ ำ มั น แบบเคซี - ๑๓๕อาร์ (KC-135R) รวมทั้งสิ้น ๘๐๓ เครื่อง ประจ�ำ การมานานกว่า ๓๐ ปี

เครื่องบินเติมน�ำ้ มันทางอากาศรุ่นใหม่ แบบ เอ๓๓๐เอ็มอาร์ทีที (A330MRTT) พัฒนามาจากเครือ่ งบินโดยสารแบบแอร์บสั เอ๓๓๐ โดยท�ำการติดตั้งระบบเติมน�้ำมัน ทางอากาศ เครือ่ งบินต้นแบบขึน้ ท�ำการบิน ครัง้ แรกเมือ่ วันที่ ๑๕ มิถนุ ายน พ.ศ.๒๕๕๐ ข้อมูลส�ำคัญคือ เจ้าหน้าที่ประจ�ำเครื่อง ๓ นาย (นักบิน ๒ นาย) สามารถบรรทุก ผู้โดยสารได้ ๒๙๑ ที่นั่ง ขนาดยาว ๕๘.๘ เมตร ช่วงปีก ๖๐.๓ เมตร พื้นที่ปีก ๓๖๒ ตารางเมตร สูง ๑๗.๔ เมตร น�้ำหนักปกติ ๑๒๕,๐๐๐ กิโลกรัม (๒๗๕,๖๐๐ ปอนด์) น�้ำหนักบินขึ้นสูงสุด ๒๓๓,๐๐๐ กิโลกรัม (๕๑๔,๐๐๐ ปอนด์) เครื่องยนต์เทอร์โบ แฟนส์ ให้แรงขับขนาด ๗๒,๐๐๐ ปอนด์ (๔ เครือ่ ง) ความจุเชือ้ เพลิงสูงสุด ๑๑๑,๐๐๐ กิโลกรัม (๒๔๕,๐๐๐ ปอนด์) ความเร็ว ๘๘๐ กิโลเมตรต่อชัว่ โมง และเพดานบินสูง ๑๓,๐๐๐ เมตร (๔๒,๗๐๐ ฟุต) เปิดสาย การผลิตปี พ.ศ.๒๕๕๔ มียอดการผลิตถึง ปัจจุบันรวมทั้งสิ้น ๒๘ เครื่อง กองทัพ อากาศสิงคโปร์ (RSAF) จะได้รบั มอบเครือ่ ง บิ น เติ ม น�้ ำ มั น ทางอากาศแบบ เอ๓๓๐ เอ็มอาร์ทีที (A330MRTT) ชุดแรกในปี พ.ศ.๒๕๖๑ จึงเป็นระบบปฏิบัติการทาง อากาศที่ ทั น สมั ย ในการท� ำ สงครามทาง อากาศส�ำหรับอนาคต เครื่องบินเติมน�้ำมันทางอากาศมี บทบาทอย่างมากในปฏิบัติการทางอากาศ สมั ย ใหม่ ในยุ ท ธการพายุ ท ะเลทรายปี

พ.ศ.๒๕๓๔ เริ่มต้นปฏิบัติการเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๔ ได้บรรทุกอาวุธเต็ม ตามภารกิจเข้าปฏิบตั กิ ารเหนือน่านฟ้าอิรกั เนื่องจากเป้าหมายทางทหารที่ส�ำคัญยิ่งที่ จะต้องถูกท�ำลายอย่างเร่งด่วนอยูไ่ กลมากมี เวลาปฏิบัติการเหนือเป้าหมายอย่างจ�ำกัด ต้องได้รับการสนับสนุนการเติมน�้ำมันทาง อากาศจากฝู ง บิ น เติ ม น�้ ำ มั น ทางอากาศ แบบเคซี-๑๓๕อาร์ (KC-135R) และเครือ่ งบิน เติมน�้ำมันแบบเคซี-๑๓๐เอช (KC-130H) ให้การสนับสนุนเครื่องบินรบพันธมิตรกว่า ๒,๒๕๐ เครื่อง (ของสหรัฐอเมริกา ๑,๘๐๐ เครื่ อ ง) ที่ ไ ด้ ป ฏิ บั ติ ก ารทางอากาศกว่ า ๑๐๐,๐๐๐ เที่ยวบิน ฐานทัพอากาศในเขต หน้าของพันธมิตรมีที่ตั้งอยู่โดยรอบยุทธ บริเวณอิรกั ทีเ่ ป็นประเทศพันธมิตรทีม่ รี ะยะ ทางบิน ไป-กลับ อยู่ไกลกว่ารัศมีท�ำการรบ ปกติ (เครื่องบินรบติดตั้งอาวุธเต็มขีดความ สามารถจึงสามารถท�ำลายเป้าหมายทาง ยุ ท ธศาสตร์ ข องอิ รั ก เพื่ อ ลดขี ด ความ สามารถในการรบให้ลดลงต�่ำสุด จึงต้อง ได้รบั การเติมน�ำ้ มันทางอากาศหนึง่ ครัง้ เพือ่ ให้ได้รับน�้ำมันเพิ่มมากขึ้นจึงจะท�ำการบิน กลับสู่ฐานทัพ เสมือนมีปั๊มน�้ำมันลอยฟ้า เคลื่อนที่ให้การสนับสนุน) กองทัพอากาศมาเลเซีย (RMAF) ประจ�ำการด้วยเครือ่ งบินเติมน�ำ้ ทางอากาศ ฝูงบินที่ ๒๐ ใช้เครื่องบินเติมน�้ำมันทาง อากาศแบบเคซี-๑๓๐ที (KC-130T) รวม ๔ เครื่อง ฐานทัพอากาศซูบัง (Subang AFB)

เครื่องบินเติมน�้ำมันแบบเคซี-๑๓๐อาร์ (KC-130R) กองทัพอากาศสิงคโปร์ (RSAF) ประจ�ำการฝูงบินที่ ๑๑๒ ฐานทัพอากาศชางฮี (ตะวันตก) ประจ�ำการ ๔ เครื่อง ให้การสนับสนุนการเติมน�ำ้ มันทางอากาศให้กับเครื่องบินรบแบบเอฟ-๑๖ซี/ดี และเครื่องบินขับไล่โจมตีพิสัยไกลแบบเอฟ-๑๕ เอสจี หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

33


เครื่องบินเติมน�้ำมันแบบเคซี-๑๓๐ (KC-130) ก�ำลังให้การสนับสนุนการเติมน�้ำมันทางอากาศ เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบอีซี-๗๒๕ (EC-725) โดยการใช้ท่อส่งน�้ำมัน ขณะที่เครื่องบินที่รอรับการ เติมน�ำ้ มันทางอากาศจะมีอปุ กรณ์รบั ทางท่อและท�ำการบินในระดับต�ำ่ กว่าเครือ่ งบินทีใ่ ห้การสนับสนุน

รัฐซาลังงอร์ (Selangor) ทางด้านตะวันตก ของประเทศ เพื่อสนับสนุนการเติมน�้ำมัน ทางอากาศให้กับเครื่องบินขับไล่โจมตีชนิด สองทีน่ งั่ แบบ เอฟ/เอ-๑๘ดี ฮอร์เน็ท (F/A8D Hornet) รวม ๘ เครื่อง ฝูงบินขับไล่ ที่ ๑๘ ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวต (Butterworth AFB) เครือ่ งบินเฮลิคอปเตอร์คน้ หา

และกู้ภัยทางทหาร (CSAR) รุ่นใหม่แบบ อีซ-ี ๗๒๕ (EC-725 Caracal) รวม ๑๒ เครือ่ ง ฝูงบินที่ ๑๐ ฐานทัพอากาศควนตัน (Kuantan) รัฐปาหัง เพือ่ จะเพิม่ รัศมีการรบให้มากขึน้ กว่ารัศมีทำ� การรบปกติ (เมือ่ ต้องปฏิบตั กิ าร บริ เวณทะเลจี น ใต้ ที่ อ ยู ่ ไ กลจากฐานบิ น ชายฝั่งทะเล เป็นพื้นที่มีความขัดแย้งระดับ

ภูมภิ าคทีเ่ รียกว่าหมูเ่ กาะสแปรตลีกบั เพือ่ น บ้านอีก ๕ ประเทศ เป็นพื้นที่ทับซ้อนทาง ทะเลที่อ้างกรรมสิทธิ์จะมีความยุ่งยากใน การแก้ไขปัญหาทางด้านการทูต) ประกอบ กับมีชายฝั่งทะเลที่ยาว ๔,๖๗๕ กิโลเมตร กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU) ประจ� ำการด้วยเครื่องบินเติมน�้ ำมันทาง อากาศแบบ เคซี-๑๓๐บี (KC-130B) รวม ๒ เครื่อง ของฝูงบินที่ ๓๒ สนามบินอับดุล รัชฮ์มัน ซาเละฮ์ (Abdul Rachaman Saleh Airport) จังหวัดชะวาตะวันออก สนับสนุนการเติมน�้ำมันทางอากาศให้กับ เครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-๑๖เอ/บี บล็อก ๑๕ โอซียู (F-16A/B Block 15 OCU) รวม ๑๒ เครื่อง ฝูงบินขับไล่ที่ ๓ ฐานทัพอากาศ อิสวาฮ์ยูดี (Iswahyudi Air Force Base) จังหวัดชะวาตะวันออก และเครือ่ งบินขับไล่ แบบเอฟ-๑๖ซี/ดี บล็อก ๕๒ไอดี (F-16C/D Block 52ID) รวม ๒๔ เครื่ อ ง ฝู ง บิ น

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบอีซี-๗๒๕ (EC-725) ขณะอยู่บนพื้นดินพร้อมด้วยท่อรับการเติมน�้ำมันทางอากาศ (อยู่ทางด้านหัวเครื่องบินข้างขวามือ) พิสัยบินไกล ๘๕๗ กิโลเมตร 34

พลเอก พลเอก ทรงพล ทรงพล ไพนุ ไพนุพพงศ์ งศ์


ขับไล่ที่ ๑๖ สนามบินสุลต่านไซริฟคาซิม II (Sultan Syarif Qasim II International Airport) จังหวัดเรียว (Riau) ตอนกลาง เกาะสุมาตรา ในอนาคตจะให้การสนับสนุน การเติมน�้ำมันทางอากาศให้กับเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ค้นหากู้ภัยในพื้นที่การรบ (CSAR) รุ่นใหม่อีซี-๗๒๕ (EC-725) ที่อยู่ ระหว่างการรับมอบ ๖ เครือ่ ง ช่วยให้ปฏิบตั ิ การทางอากาศมี พื้ น ที่ เ พิ่ ม มากขึ้ น โดยที่ ไม่ ต ้ อ งลงจอดที่ ส นามบิ น เพื่ อ เติ ม น�้ ำ มั น ใหม่ (จะเสี ย เวลาที่ มี ค ่ า อย่ า งมาก) ใน สถานการณ์ ด ้ า นความมั่ น คง เนื่ อ งจาก อินโดนีเซียเป็นประเทศเกาะขนาดใหญ่มี พื้ น ที่ ข นาด ๑.๙ ล้ า นตารางกิ โ ลเมตร ประกอบกั บ มี ช ายฝั ่ ง ทะเลที่ ย าวไกลถึ ง ๕๔,๗๑๖ กิ โ ลเมตร ที่ เชื่ อ มมหาสมุ ท ร แปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ดังนั้นความ มั่นคงทางทะเลจึงมีความส�ำคัญยิ่ง การ ลาดตระเวนทางอากาศทีม่ พี สิ ยั บินไกลกว่า ปกติ จึงมีความส�ำคัญยิง่ ในห้วงวิกฤติทตี่ อ้ ง ใช้การเติมน�ำ้ มันทางอากาศ

เครือ่ งบินเติมน�ำ้ มันแบบเคซี-๑๓๐ (KC-130) ขณะเตรียมการเติมน�ำ้ มันทางอากาศผ่านทางท่อให้กบั เครื่องบินแบบ เอฟ/เอ-๑๘ ฮอร์เน็ท และเครื่องบินโจมตีแบบฮาร์ริเออร์

เครือ่ งบินเติมน�ำ้ มันแบบเคซี-๑๓๐ (KC-130) ขณะเตรียมการเติมน�ำ้ มันทางอากาศผ่านสายส่งน�ำ้ มัน ให้กับเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบ เอส-๗๐ แบล็คฮอร์ค (S-70 Blackhawk)

การฝึกทางอากาศในรหัส เรดแฟล็กซ์ (Red Flag, 13-1) รัฐอลาสก้า สหรัฐอเมริกา เป็นการฝึกทางอากาศขนาดใหญ่ จัดการฝึกให้ใกล้เคียงกับปฏิบัติ การทางอากาศจริงมากที่สุด เป็นการฝึกนาน ๑๐ วัน ประเทศเข้าร่วมการฝึกจะต้องท�ำการเคลื่อนย้ายฝูงบินรบเข้าสู่พื้นที่ฝึกเอง (ฉากหลังขวามือคือ F-15SG และซ้ายมือคือ F-16D) หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

35


การสนับสนุนการแก้ไขปั ญหาภัยแล้ง ปี ๒๕๕๙ ของ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม

ามที่ น ายกรั ฐ มนตรี และ รัฐบาล มีความห่วงใยต่อ การแก้ ไขปั ญ หาภั ย แล้ ง ปี ๒๕๕๙ ซึง่ คาดว่าจะเกิดขึน้ ในหลายพืน้ ที่ ของประเทศ โดยอาจเกิดขึ้นเร็วกว่าหลาย ปีที่ผ่านมา และมีห้วงเวลาของการเกิด ภัยแล้งทีย่ าวนานกว่านัน้ กระทรวงกลาโหม ในฐานะหน่ ว ยสนั บ สนุ น ตามแผนการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้ให้การสนับสนุนการด�ำเนินการแก้ไข ปัญหาน�้ำแล้งมาอย่างต่อเนื่องทั้งในเชิงรุก และเชิงรับ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหมได้กรุณาสั่งการให้หน่วยขึ้นตรง ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม และศู น ย์ บ รรเทาสาธารณภั ย เหล่ า ทั พ จัดเตรียมก�ำลังพล ยุทโธปกรณ์ และยาน พาหนะให้พร้อม รวมทั้งประสานงานกับ หน่วยทีเ่ กีย่ วข้องในพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบ โดยยึด แผนบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ๒๕๕๘ เป็นแนวทางปฏิบัติ นอกจากนี้ กระทรวงกลาโหมได้ สนั บ สนุ น การแก้ ไขปั ญ หาภั ย แล้ ง ในเชิ ง บู ร ณาการ ซึ่ ง มี ก ระทรวงเกษตรและ สหกรณ์เป็นหน่วยรับผิดชอบหลักในการ จัดการประชุมคณะกรรมการอ�ำนวยการ 36

ส�ำนักงานโฆษกกระทรวงกลาโหม

บู ร ณาการแก้ ไขปั ญ หาวิ ก ฤตภั ย แล้ ง ปี ๒๕๕๘/๕๙ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน ส�ำหรับใน ส่วนของกระทรวงกลาโหมมีปลัดกระทรวง กลาโหมเป็นกรรมการ รวมทัง้ ได้จดั ตัง้ ศูนย์ อ�ำนวยการเฉพาะกิจบูรณาการแก้ไขปัญหา ภั ย แล้ ง ระดั บ ชาติ ปี ๒๕๕๘/๕๙ ซึ่ ง มี ปลั ด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เ ป็ น ผูอ้ ำ� นวยการ และมีผแู้ ทนกระทรวงกลาโหม ร่วมปฏิบัติหน้าที่ทั้งในส่วนอ�ำนวยการและ ส่วนปฏิบัติการ เพื่อรวบรวมข้อมูล ติดตาม สถานการณ์ พิจารณาแนวทางหรือหนทาง ปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิด ขึ้น รวมทั้งติดตามการด�ำเนินงานตามโครง การบูรณาการมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤต ภัยแล้งปี ๒๕๕๘/๕๙ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้

กรุณาอนุมตั ไิ ว้เมือ่ สิงหาคม ๒๕๕๘ ส�ำหรับ ในส่วนของกระทรวงกลาโหม ได้ให้การ สนับสนุนมาตรการที่ ๖ การเพิม่ ปริมาณน�ำ้ ต้นทุน ได้แก่ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย รับผิดชอบการ ขุดเจาะบ่อน�ำ้ บาดาล ๕๗๙ แห่ง และด�ำเนิน โครงการพั ฒ นาแหล่ ง น�้ ำ อุ ป โภคบริ โ ภค ในพื้นที่ต่างๆ นอกเขตลุ่มน�้ำเจ้าพระยา ๑,๐๔๒ แห่ง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จใน กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ กองทัพบกได้ด�ำเนิน โครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งเร่งด่วน ๑๖๔ โครงการ เรียบร้อยแล้ว โดยปัจจุบันอยู่ ระหว่างด�ำเนินโครงการแก้มลิง ๒๔ แห่ง ในพื้นที่ ๔ จังหวัด ได้แก่ จ.หนองคาย จ.บึงกาฬ จ.นครพนม และ จ.มุกดาหาร ซึง่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในมีนาคม ๒๕๕๙ และ

สำ�นักงานโฆษกกระทรวงกลาโหม


กองทั พ อากาศได้ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น การ ปฏิบัติการฝนหลวงของกรมฝนหลวงและ การบินเกษตร ในปี ๒๕๕๘ นั้น กระทรวงกลาโหม โดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัยส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบั ญ ชาการกองทั พ ไทย และศู น ย์ บรรเทาสาธารณภัยเหล่าทัพ ได้ด�ำเนินการ แจกจ่ายน�้ำอุปโภคบริโภคให้กับผู้ประสบ ภัยแล้งมีมากกว่า ๔๕ ล้านลิตร ส�ำหรับใน ปี ๒๕๕๙ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้เตรียมด�ำเนินการ โครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” ซึ่งเป็นโครงการช่วย เหลือผูป้ ระสบภัยแล้งด้วยการน�ำน�ำ้ อุปโภค บริ โ ภคไปแจกจ่ า ยให้ กั บ ประชาชนโดย ความร่วมมือ ๕ หน่วยงาน ได้แก่ กองทัพบก การประปาส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าส่วน ภูมภิ าค กรมทรัพยากรน�ำ้ บาดาล และกลุม่ บริ ษั ท ปตท จ� ำ กั ด (มหาชน) ซึ่ ง เป็ น โครงการที่ ด� ำ เนิ น การมาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เป็นประจ�ำทุกปีโดยในปี ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา ได้ ท� ำ การแจกจ่ า ยน�้ ำ เพื่ อ การอุ ป โภค และบริโภคมากกว่า ๓๕ ล้านลิตร ให้กับ ประชาชนในพืน้ ทีท่ ปี่ ระสบภัยแล้งกว่า ๒๐ จังหวัด โดยในปี ๒๕๕๙ นี้ ศูนย์บรรเทา สาธารณภัยกองทัพบก อยู่ระหว่างการ พิจารณาปรับเร่งการด�ำเนินการโครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” ให้เร็วขึ้น ในห้วงมกราคมหรือกุมภาพันธ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ กับสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

อย่างไรก็ตาม นอกจากการน�ำรถน�้ำ ไปแจกจ่ายน�้ำอุปโภคบริโภคเพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนเฉพาะหน้าแล้ว ในส่วนของ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยอืน่ ได้เตรียมความ พร้อมของก�ำลังพลและยุทโธปกรณ์ของ หน่วย ซึง่ เป็นการน�ำศักยภาพและขีดความ สามารถเฉพาะของกองทั พ มาใช้ ใ นการ แก้ไขปัญหาที่ส�ำคัญของชาติตามนโยบาย ของรั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงกลาโหม โดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ ได้ เ ตรี ย มเรื อ ระบายพลขนาดใหญ่ เ พื่ อ ล�ำเลียงน�ำ้ จืดไปแจกจ่ายในพืน้ ทีเ่ กาะต่างๆ เช่ น เกาะกู ด และเกาะหมาก เป็ น ต้ น นอกจากนี้ ในกรณีที่น�้ำทะเลหนุนจนส่ง ผลกระทบต่อการผลิตน�้ำประปานั้น ศูนย์ บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ ได้เตรียม เรือผลักดันน�้ำเพื่อผลักดันน�้ำทะเลอีกทาง หนึ่งด้วย ส�ำหรับศูนย์บรรเทาสาธารณภัย

กองทั พ อากาศได้ ป ระยุ ก ต์ ใช้ ขี ด ความ สามารถของก�ำลังทางอากาศมาใช้ในการ สนับสนุนการแก้ปัญหาภัยแล้ง ทั้งในการ ป้องกันและการบรรเทาความเดือดร้อน เฉพาะหน้า อาทิ การใช้อากาศยานโปรย เมล็ดพันธุ์ไม้ป่าลงในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม และการใช้ อ ากาศยานสนั บ สนุ น กรม ฝนหลวงและการบินเกษตรในการปฏิบัติ การฝนหลวง ซึ่งในปี ๒๕๕๘ นี้ ได้ปฏิบัติ การฝนหลวงตัง้ แต่เดือนเมษายนถึงตุลาคม ๒๕๕๘ รวมจ�ำนวนมากกว่า ๘๐๐ เที่ยวบิน ส�ำหรับปี ๒๕๕๙ ได้วางแผนร่วมกับกรม ฝนหลวงและการบินเกษตรเพื่อปฏิบัติการ ฝนหลวงในห้ ว งเมษายน นอกจากนี้ ได้จัดเตรียมอากาศยานพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ ถ่ายภาพ ส�ำหรับการบินลาดตระเวนและ ถ่ายภาพทางอากาศ เพือ่ ใช้เป็นข้อมูลประกอบ การวางแผนช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง

37


การตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหาร กองประจ�ำการ ประจ�ำปี ๒๕๕๙ (ตอนที่ ๑)

กรมการสรรพก�ำลังกลาโหม

การลงบัญชี ทหารกองเกิน ชายทีม่ สี ญั ชาติเป็นไทยตามกฎหมาย เมือ่ มีอายุ ๑๗ ปีบริบรู ณ์ ให้ไปแสดงตนเพือ่ ลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรา ๑๖ ณ หน่วยสัสดีเขต/อ�ำเภอ (ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ คือ ผูเ้ กิด พ.ศ.๒๕๔๑) โดยสามารถลงบัญชี ได้ภายใน ๓๑ ธ.ค.๕๘ ผู้ใดไม่สามารถไป แสดงตนลงบัญชีทหารกองเกินด้วยตนเอง ได้ ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ และ เชือ่ ถือได้ไปแจ้งแทน (ปกติควรให้ผปู้ กครอง) ถ้ า ไม่ ไ ปในปี นั้ น ถื อ ว่ า หลี ก เลี่ ย งขั ด ขื น มีความผิดตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราช บัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ โดย ทางอ�ำเภอจะยกเรื่องแจ้งความด�ำเนินคดี ตามกฎหมาย ชายไทยที่เกิด พ.ศ.๒๕๔๑ ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน ที่หน่วยสัสดีเขต/อ�ำเภอภูมิล�ำเนาภายใน ๓๑ ธ.ค.๕๘ ถ้าเกินก�ำหนดจะมีความผิด ตามกฎหมาย ส�ำหรับชายไทยที่เกิด พ.ศ.๒๕๑๓ – ๒๕๔๐ หากยังมิได้ลงบัญชีทหารกองเกิน มาก่อน ก็ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหาร กองเกินที่อ�ำเภอภูมิล�ำเนา ซึ่งมีความผิด ตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติรับ ราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ โดยหลักฐานที่ ต้ อ งน� ำ ไปแสดง คื อ บั ต รประจ� ำ ตั ว ประชาชน ส�ำเนาทะเบียนบ้าน และสูตบิ ตั ร การรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร ชายไทยที่มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ คือ เกิ ด พ.ศ.๒๕๓๘ ซึ่ ง ได้ ล งบั ญ ชี ท หาร กองเกินไว้แล้ว จะต้องเข้ารับการตรวจ เลือกทหาร ใน เม.ย.๕๙ ให้ไปรับหมายเรียก เข้ า รั บ ราชการทหาร ตามมาตรา ๒๕ ณ หน่วยสัสดีเขต/อ�ำเภอที่เป็นภูมิล�ำเนา ทหาร ภายใน ๓๑ ธ.ค.๕๘ ผู้ใดไม่สามารถ จะไปรับหมายเรียกด้วยตนเองได้ ต้องให้ บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ และพอจะเชื่อถือ 38

ได้ไปรับหมายเรียกแทน ถ้าไม่รับหมาย ถื อ ว่ า หลี ก เลี่ ย งขั ด ขื น มี ค วามผิ ด ตาม มาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัตริ บั ราชการ ทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ โดยน�ำหลักฐานไปแสดง คือ บัตรประจ�ำตัวประชาชน และใบส�ำคัญ (แบบ สด.๙) ส�ำหรับชายไทยที่เกิด พ.ศ.๒๕๓๐ – ๒๕๓๗ หากยังไม่ได้ลงบัญชีทหารกองเกิน ให้ไปติดต่อขอลงบัญชีทหารกองเกิน และ รับหมายเรียกฯ เพื่อเข้ารับการตรวจเลือก ทหารตามวัน เวลา และสถานที่ที่ก�ำหนด ตามหมายเรียกฯ ซึ่งมีความผิดตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ ขอให้ทหารกองเกินที่จะต้อง เข้าตรวจเลือกทหารฯ ใน เม.ย.๕๙ ไปรับ หมายเรียกได้ ณ หน่วยสัสดีเขต/อ�ำเภอ ภายใน ธ.ค.๕๘ ถ้าเกินก�ำหนดจะมีความ ผิดตามกฎหมาย การผ่อนผันการตรวจเลือกทหารกอง เกินเข้ารับราชการทหารกองประจ�ำ การ นิสติ /นักศึกษา และผูท้ จี่ ะต้องเข้ารับ การตรวจเลือกทหารใน เม.ย.๕๙ ซึ่งเป็นผู้ มีสิทธิได้รับการผ่อนผันให้รีบติดต่อสถาน ศึ ก ษาที่ สั ง กั ด ได้ ตั้ ง แต่ บั ด นี้ เ ป็ น ต้ น ไป

ส�ำหรับผู้ที่ขอผ่อนผันจะต้องด�ำเนินการให้ เสร็จสิ้นภายใน ก.พ.๕๙ และต้องไปแสดง ตนต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจ เลือกทหารฯ ทุกปี ในระหว่างทีข่ อผ่อนผัน มิฉะนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย การผ่อนผัน มี ๒ ประเภท คือ ๑. ผ่อนผันไม่ตอ้ งมาเข้ารับการตรวจ เลือก นักเรียนซึ่งไปศึกษาต่างประเทศ ถ้า เป็นการศึกษาโดยทุนรัฐบาล ทางส�ำนัก ก.พ. จะด�ำเนินการขอผ่อนผันให้ แต่ถ้า เป็นการศึกษาโดยทุนส่วนตัว จะแยกการ ด�ำเนินการเป็น ๒ กรณี คือ หากยังไม่ได้เดินทางไปศึกษา ให้ยนื่ ค�ำร้องต่อนายอ�ำเภอภูมลิ ำ� เนา ทหารก่อนเดินทางโดยแจ้งว่าจะเดินทาง เมือ่ ใด และรับรองว่าเมือ่ เดินทางไปถึงแล้ว จะจัดส่งหนังสือรับรองสถานทูต หรือสถาน กงสุล กลับมาให้ภายใน ๓ เดือน หากเดินทางไปศึกษาแล้ว ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ยื่น ค� ำ ร้ อ งพร้ อ มหลั ก ฐานต่ อ นายอ� ำ เภอ ภูมิล�ำเนาทหาร ดังนี้ ๑. หนังสือรับรองสถานทูตหรือ สถานกงสุล โดยมีรายละเอียดว่าไปศึกษา

กรมการสรรพกำ�ลังกลาโหม


วิ ช าอะไร สถานศึ ก ษาใด ประเทศใด หลักสูตรกี่ปี และขอผ่อนผันกี่ปี ๒. ทะเบียนบ้าน บัตรประจ�ำตัว ประชาชน ใบส�ำคัญทหารกองเกิน (สด.๙) และหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๓๕) ๒. ผ่อนผันไม่ส่งเข้ากองประจ�ำการ ในคราวที่มีคนพอ ๒.๑ ผู้ที่จ�ำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดา หรือมารดา ๒.๒ ผูท้ จี่ ำ� เป็นต้องหาเลีย้ งดูบตุ ร ซึง่ มารดาตาย หรือต้องหาเลีย้ งดูพหี่ รือน้อง ซึ่งบิดามารดาตาย ทั้งนี้ ให้ยื่นขอผ่อนผันต่อนายอ�ำเภอ ภูมิลำ� เนาทหารก่อนวันตรวจเลือก ไม่น้อย กว่า ๓๐ วัน และต้องไปแสดงตนเพือ่ ร้องขอ ต่อคณะกรรมการในวันตรวจเลือกด้วย ๒.๓ ผู้ที่อยู่ในระหว่างศึกษา แบ่ง เป็น ๔ กรณี คือ ๒.๓.๑ การศึ ก ษาใน ระบบตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ นิสติ หรือนักศึกษาในสถานศึกษา ของรัฐ ให้ผอ่ นผันเฉพาะผูซ้ งึ่ อยูใ่ นระหว่าง การศึกษาเพื่อรับปริญญา ให้ผ่อนผันจน อายุครบ ๒๖ ปีบริบูรณ์ เว้นแต่นิสิตหรือ นักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ให้ผ่อนผันใน ระหว่างที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือ สถาบันทางการแพทย์เพือ่ ขึน้ ทะเบียน และ รั บ ใบอนุ ญ าตเป็ น ผู ้ ป ระกอบวิ ช าชี พ หลักเมือง ภุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

ต�ำ่ กว่าปริญญา ให้ผอ่ นผันจนอายุครบ ๒๒ ปีบริบูรณ์ การศึกษาที่อาจเทียบได้ในระดับ ปริญญา ให้ผ่อนผันจนอายุครบ ๒๖ ปี บริบูรณ์ ๒.๓.๔ การศึ ก ษาเฉพาะทาง ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ให้ผอ่ นผันเฉพาะ ผูซ้ งึ่ อยูร่ ะหว่างการศึกษา โดยการศึกษาที่อาจเทียบได้ในระดับต�่ำ กว่าปริญญา ให้ผ่อนผันจนอายุครบ ๒๒ ปีบริบูรณ์ และการศึกษาที่อาจเทียบได้ ในระดับปริญญา ให้ผ่อนผันจนอายุครบ ๒๖ ปีบริบูรณ์ การขอผ่อนผัน เจ้าตัวต้องไปขอรับ หมายเรียกฯ (สด.๓๕) ตามก�ำหนด และ น� ำ หลั ก ฐานไปยื่ น ขอผ่ อ นผั น ต่ อ สถาน ศึกษาที่ตนเองศึกษาอยู่ และสถานศึกษา ต้องยืน่ หลักฐานไปยังผูว้ า่ ราชการจังหวัดที่ เป็นภูมิล�ำเนาทหาร ภายในเดือน ก.พ.๕๙ เมือ่ ขอผ่อนผันต่อสถานศึกษาแล้ว ใน วันตรวจเลือกฯ จะต้องไปแสดงตนเพือ่ เข้า รับการ ตรวจเลือกในฐานะคนผ่อนผันทุกปี ในระหว่างการผ่อนผัน และจะต้องได้รับ ใบรับรองผลการตรวจเลือก (สด.๔๓) จาก ประธานกรรมการ หากไม่ไปแสดงตนก็จะ มีความผิดเหมือนกับบุคคลทั่วไป เมื่อจบการศึกษาแล้ว จะต้องแจ้งต่อ นายอ�ำเภอท้องที่ภายใน ๓๐ วัน นับแต่ วันจบการศึกษา ผู้ที่ขอผ่อนผัน หากในวันตรวจเลือกฯ ประสงค์จะขอเข้าตรวจเลือกก็ให้ยนื่ ค�ำร้อง ขอสละสิทธิ์เพื่อเข้ารับการตรวจเลือกตาม ปกติเหมือนกับบุคคลทั่วไปได้ ๓. ผู ้ ที่ เ กิ ด ป่ ว ยไม่ ส ามารถจะเข้ า ท�ำการตรวจเลือกได้ ต้องให้บุคคลที่บรรลุ นิติภาวะ และเชื่อถือได้ไปแจ้งต่อคณะ กรรมการตรวจเลือกฯ ในวันตรวจเลือก พร้อมหลักฐานใบรับรองแพทย์

เวชกรรม ตามกฎหมายว่ า ด้ ว ยวิ ช าชี พ เวชกรรมอีกหนึ่งปี นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา หรื อ นั ก เรี ย น ในสถานศึกษาเอกชน ที่จัดตั้งขึ้น ตาม กฎหมายฯ ให้ผ่อนผันเฉพาะผู้ซึ่งอยู่ใน ระหว่างการศึกษาระดับต�่ำกว่าปริญญา หรือระดับปริญญา ให้ผ่อนผันจนอายุครบ ๒๖ ปีบริบูรณ์ นักเรียนหรือนักศึกษาในสถาน ศึกษาสายอาชีพ ให้ผ่อนผันเฉพาะผู้ซึ่งอยู่ ในระหว่างการศึกษาระดับต�่ำกว่าปริญญา หรือระดับปริญญา ให้ผ่อนผันจนอายุครบ ๒๖ ปีบริบูรณ์ นักเรียนในสถานศึกษาสายสามัญ ระดับชัน้ มัธยมศึกษาตอนปลาย ให้ผอ่ นผัน จนอายุครบ ๒๒ ปีบริบูรณ์ ๒.๓.๒ การศึกษานอกระบบตาม กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ให้ผอ่ น ผันเฉพาะผู้ซึ่งอยู่ระหว่างการเรียนรู้ หรือ ศึกษานอกระบบโดยการศึกษาทีอ่ าจเทียบ ได้ในระดับต�่ำกว่าปริญญา ให้ผ่อนผันจน อายุครบ ๒๒ ปีบริบูรณ์และการศึกษาที่อาจ เทียบได้ในระดับปริญญา ให้ผ่อนผันจนอายุ ครบ ๒๖ ปีบริบูรณ์ ๒.๓.๓ การศึกษาตามอัธยาศัย โปรดติดตามอ่านรายละเอียดเพิม่ เติมต่อ ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ให้ ในฉบับหน้าค่ะ ผ่อนผันเฉพาะผู้ซึ่งอยู่ระหว่างการเรียนรู้ หรือศึกษาตามอัธยาศัย ดังนี้ การศึกษาทีอ่ าจเทียบได้ ในระดับ 39


ราชวงศ์ตองอู แห่งอาณาจักรพม่าในยุ คที่สอง

าณาจั ก รพม่ า ในยุ ค ทีห่ นึง่ แห่งราชวงศ์พกุ าม หรื อ อาณาจั ก รพุ ก าม (Pagan Kingdom) ทางตอนเหนือของพม่า ระหว่างปี พ.ศ.๑๕๘๗ – ๑๘๓๐ ระยะ เวลานาน ๒๔๓ ปี เมื่อกองทัพจีนจาก ราชวงศ์หยวน (พระเจ้ากุบไลข่าน จาก อาณาจักรมองโกลส่งก�ำลังทหารเข้ายึด ครองและปกครองอาณาจักรจีน) ได้ส่ง ก�ำลังทหารลงใต้เข้าตีอาณาจักรพุกามแตก น�ำมาสู่การล่มสลายของอาณาจักรพม่า ในยุคทีห่ นึง่ ชาวเมืองค่อยอพยพลงมาทาง ตอนใต้ ใช้ระยะเวลานานเป็นผลให้เมือง ทางตอนใต้เริ่มขยายตัวใหญ่ขึ้น เมืองตองอู เป็ น อี ก เมื อ งหนึ่ ง ที่ ไ ด้ มี ป ระชาชนเพิ่ ม มากขึ้ น เป็ น ผลให้ ตั ว เมื อ งขยายให้ ใหญ่ขนึ้ ...บทความนี้ กล่าวถึงห้วงหนึง่ ของ ราชวงศ์ตองอู อาณาจักรพม่าในยุคที่สอง ๑. กล่าวทั่วไป พระเจ้าเมงจีโย (Mingyi Nyo) ทรงขึ้น ครองราชสมบั ติ เ ป็ น ปฐมกษั ต ริ ย ์ แ ห่ ง ราชวงศ์ตองอู เมื่อปี พ.ศ.๒๐๒๙ แห่ง

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

อาณาจักรพม่าในยุคที่สอง อาณาจักรพม่า ก้าวสู่อ�ำนาจสูงสุดแห่งอุษาคเนย์ในสมัย กษัตริยล์ ำ� ดับทีส่ าม พระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung) ชาวตะวันตกจะรู้จักพระองค์ ในชื่อบราจิโนโค่ (Braginoco) ทรงครองราช สมบัตริ ะหว่างปี พ.ศ.๒๐๙๔ – ๒๑๒๔ นาน ๓๐ ปี เป็นระยะนานพอที่พระองค์ทรง ขยายอาณาเขตเป็นใหญ่เหนืออาณาจักร ลุ่มแม่นำ�้ อิรวดี ลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา และ ลุ ่ ม แม่ น�้ ำ โขงตอนกลาง เป็ น ผลให้ ก รุ ง หงสาวดีราชธานีแห่งอาณาจักรพม่ายุคที่ สอง มี ค วามเจริ ญ เป็ น เมื อ งขนาดใหญ่ ในขณะนัน้ เมือ่ พระเจ้าบุเรงนองสิน้ พระชนม์ ปี พ.ศ.๒๑๒๔ พระราชโอรสคือพระเจ้า นันทบุเรง (Nanda) ได้ครองราชย์สบื ต่อมา อาณาจักรพม่าเริ่มมีปัญหาในการปกครอง อาณาจักรเป็นผลให้อาณาจักรอ่อนก�ำลังลง และเริ่มสูญเสียดินแดน พระเจ้านันทบุเรง สิน้ พระชนม์ปี พ.ศ.๒๑๒๔ อยูใ่ นราชสมบัติ นาน ๑๘ ปี หรือราชวงศ์ตองอูปกครอง อาณาจักรพม่ามานานถึง ๑๑๓ ปี (ทาง วิชาการจะเรียกว่าราชวงศ์ตองอูตอนต้น

และราชวงศ์ ต องอู ต อนปลาย จนถึ ง อาณาจักรล่มสลาย) พร้อมทั้งการแย่งชิง ความเป็นใหญ่เหนือลุ่มแม่น�้ำอิรวดีน�ำมาสู่ การสูญเสียก�ำลังทหารและการเกษตรตกต�ำ่ ปลายราชวงศ์ตองอูอาณาจักรเริ่มมี ขนาดเล็ ก ลง มี ก ษั ต ริ ย ์ ป กครองมาอี ก ๑๑ พระองค์ รวมระยะเวลานาน ๑๕๓ ปี อาณาจั ก รมี ป ั ญ หากั บ ชาวต่ า งชาติ ที่ ม า ค้าขายจากยุโรปคือจากโปรตุเกสและรับ ผลกระทบจากการเปลี่ ย นราชวงศ์ ข อง

พระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung) แห่งกรุงหงสาวดี ทรงสร้างพระราชวังขนาดใหญ่เรียกว่ากัมโพชธานี (Kamboza Thadi Palace) เมื่อปี พ.ศ.๒๑๐๙ โดยใช้แรงงานจากอาณาจักรที่เป็นเมืองขึ้น (ในภาพเป็นพระราชวังจ�ำลองที่สร้างขึ้นใหม่) 40

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


อาณาจั ก รจี น จากราชวงศ์ ห มิ ง มาเป็ น ราชวงศ์ใหม่คอื ราชวงศ์ชงิ น�ำความขัดแย้ง มาสู ่ ต อนเหนื อ ของอาณาจั ก รพม่ า ต้ อ ง สูญเสียก�ำลังทหารเป็นจ�ำนวนมาก ปี พ.ศ. ๒๒๙๒ กองทัพเมืองมณีปรุ ะทางตอนเหนือ เข้าตีพม่า ต่อมากองทัพมอญทางตอนใต้ ท�ำการรุกขึ้นเหนือเข้าตีกรุงอังวะได้จับกุม กษัตริยพ์ ม่าพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นเชลยกลับไปยังกรุงหงสาวดี ปี พ.ศ. ๒๒๙๕ นับเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์ตองอูที่ ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรพม่าในยุคที่สอง ๒. ราชวงศ์ตองอู (Toungoo Dynasty) ราชวงศ์ตองอูแห่งอาณาจักรพม่าที่มี ประวัติศาสตร์ร่วมกันกับอาณาจักรเพื่อน บ้านหลายห้วงเวลาที่มีเป็นจ�ำนวนมากใน สมั ย พระเจ้ า บุ เรงนอง (Bayinnaung) กษัตริย์ลำ� ดับที่สามของราชวงศ์ที่ก้าวขึ้นสู่ จุดสูงสุดของอ�ำนาจ ทรงสร้างพระราชวัง ขนาดใหญ่เรียกว่ากัมโพชธานี (Kamboza Thadi Palace) เมื่อปี พ.ศ.๒๑๐๙ เป็นปี ที่ ๑๕ ของการครองราชย์ของพระองค์ โดยใช้แรงงานจากอาณาจักรทีเ่ ป็นเมืองขึน้ ให้ตงั้ ชือ่ ประตูเมืองตามชือ่ ของแรงงานทีม่ า จากอาณาจักรที่ก่อสร้าง มีประตูเมือง ทัง้ สิน้ ๑๒ ประตู (เช่น ประตูทางตอนเหนือ ชื่อประตูโยเดียหรืออยุธยา และประตูทาง ตอนใต้ชื่อประตูเชียงใหม่) เป็นผลให้กรุง หงสาวดีศนู ย์กลางการปกครองหรือศูนย์กลาง อ�ำนาจของอาณาจักรพม่ามีความรุง่ เรืองถึง ขี ด สุ ด เมื่ อ เที ย บกั บ อาณาจั ก รใกล้ เ คี ย ง ในยุคสมัยเดียวกัน ต่อมาก็ถูกโจมตีทำ� ลาย โดยกองทัพจากเมืองยะไข่ (หรืออาระกัน) และกองทัพตองอูในปี พ.ศ.๒๑๔๒ ได้ ทรัพย์สมบัตมิ ากมายน�ำกลับไปยังเมืองของ ตน (ส�ำคัญที่สุดคือเมืองยะไข่ได้ช้างเผือก เมืองตองอูได้พระเขีย้ วแก้ว และบาตรทีน่ ำ� มาจากลังกา) พร้อมทั้งได้เผาเมืองเกิด ความเสียหายยับเยินทั้งพระราชวังและ สถานทีส่ ำ� คัญของเมือง เป็นการสิน้ สุดของ ความรุ่งโรจน์ของกรุงหงสาวดี (ในเวลา ต่อมากรุงหงสาวดีไม่สามารถที่จะกลับมา ยิ่งใหญ่อย่างในอดีตได้อีก) พระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung) มี หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

ภายในพระราชวังกัมโพชธานี (Kamboza Thadi Palace) ที่มีขนาดใหญ่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในยุค รุง่ โรจน์ของอาณาจักร (ในภาพเป็นพระราชวังจ�ำลองทีส่ ร้างขึน้ ใหม่ แต่กแ็ สดงถึงความรุง่ โรจน์ในอดีต)

พระมเหสีประจ�ำต�ำหนัก ประกอบด้วย พระอัครมเหสีต�ำหนักใต้ ต�ำแหน่ง มี้พะยากองจี (พระอั ค รมเหสี อ ดุ ล ศรี ม หาราชเทวี เจ้ า มีพระนามเดิมตะเคงจี พระมารดาของ พระเจ้านันทบุเรง) พระมเหสีตำ� หนักเหนือ ต�ำแหน่งอมะเย้านาน (พระมเหสีจนั ทาเทวี ธิดาพระเจ้ากรุงอังวะ ต่อมามีพระธิดาชื่อ พระนางเมงขิ่นสอ เป็นพระมารดาของ นัดจินหน่องหรือพระสังขทัต ที่ชาวสยาม รูจ้ กั ต่อมาเป็นผูว้ างยาพิษเพือ่ ปลงพระชนม์ พระเจ้านันทบุเรง เมื่อคราวประทับที่เมือง ตองอู) พระมเหสีต�ำหนักกลาง ต�ำแหน่ง อะเลนานดอ (พระมเหสีราชเทวี พระนามเดิม สิ่นทวยละเป็นพระธิดาของเจ้าเมืองแปร ต่อมามีพระโอรสคือพระเจ้านรทาเมงสอ และเป็ น เจ้ า เมื อ งล้ า นนาหรื อ เชี ย งใหม่ ในเวลาต่อมา หลังจากกรุงศรีอยุธยาได้ ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๗ เป็นผู้น�ำกองทัพเชียงใหม่ลงมาตี กรุงศรีอยุธยามีการรบทีบ่ า้ นสระเกษ เมือง วิเศษชัยชาญ กองทัพเชียงใหม่เป็นฝ่าย พ่ายแพ้ ปี พ.ศ.๒๑๒๘) พระมเหสีต�ำหนัก ตะวันตก ต�ำแหน่งอเน้านาน (พระเจ้าบุเรงนองไม่มีการแต่งตั้ง) และพระมเหสีเล็ก ต�ำแหน่ง มีพ้ ะยาเง (พระสุพรรณกัลยาหรือ อเมี้ยวโหย่ว เป็นพระธิดาพระมหาธรรม ราชาธิราช ราชวงศ์สุโขทัย แห่งกรุงศรี อยุธยามีพระธิดาชื่อเจ้าภุ้นชี แต่จะรู้จัก ในพระนามเมงอทเว ปี พ.ศ.๒๑๑๖ พระเจ้าบุเรงนองได้เสด็จไปงานบูชาเจดีย์

ชเวดากอง พระสุพรรณกัลยา พร้อมด้วย พระธิดาร่วมขบวนเสด็จประทับเรือพระทีน่ งั่ ) ๓. บทสรุ ป ราชวงศ์ตองอูเมื่อก้าวสู่จุดสูงสุดของ อ�ำนาจสามารถปกครองดินแดนแห่งอุษาคเนย์ เวลาต่ อ มาเมื่ อ เกิ ด การเปลี่ ย นแปลง ของราชส�ำนักโดยเกิดการแย่งชิงอ�ำนาจ ความเป็นใหญ่ และเมืองขึน้ ต้องการจะแยก ตัวเป็นอิสระน�ำมาสู่การแย่งชิงอ�ำนาจครั้ง ใหม่น�ำมาสู่สงครามกลางเมืองและต้อง สูญเสียก�ำลังทหารเป็นจ�ำนวนมากและด้าน การเกษตรตกต�ำ่ เป็นผลให้อาณาจักรทีเ่ คย ยิ่งใหญ่ค่อยอ่อนก�ำลังลงในที่สุดที่ราชวงศ์ ตองอูก็ล่มสลาย

เจดีย์ชเวดากองตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ เมืองย่างกุง้ เชือ่ ว่าเป็นเจดียท์ บี่ รรจุพระเกศาธาตุ ของพระพุ ท ธเจ้ า จ� ำ นวน ๘ เส้ น ครั้ ง หนึ่ ง ที่ พระสุพรรณกัลยา ได้ร่วมขบวนเสด็จประทับเรือ พระที่นั่งกับพระเจ้าบุเรงนองเสด็จไปงานบูชา เจดีย์ชเวดากอง เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๖ 41


บทความจดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน ตอน โครงการสานใจไทยสู่ใจใต้

ประจ�ำวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ศอ.บต.แถลงแผนยุ ทธศาสตร์การด�ำเนินงานปี ๒๕๕๙ ตามแนวทาง “ประชารัฐร่วมสร้างสันติสุข”

ศู

สำ�นักงานโฆษกกระทรวงกลาโหม

นย์ อ� ำ นวยการบริ ห าร จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ด�ำเนินงานตาม แผนด�ำเนินการประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งถือเป็นปีพิเศษแห่งการแก้ไข ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องเร่ง สร้ า งความสั น ติ สุ ข ให้ เ กิ ด ขึ้ น อย่ า งเป็ น รูปธรรม มีการพัฒนาแนวทางการแก้ไข ปัญหาในลักษณะพิเศษขึ้นมา นอกเหนือ จากแผนงาน/โครงการ/กิ จ กรรมปกติ ตามที่ ไ ด้ รั บ การจั ด สรรงบประมาณใน ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ คือ (๑) การปฏิบัติ ตามแผนงานขยายผลของ ศอ.บต. (๒) การ ปฏิ บั ติ ต ามแผนโครงการส� ำ คั ญ หรื อ Flagship Projects ที่ ศอ.บต. และ กองอ�ำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร ภาค ๔ ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค ๔ สน.) ท�ำร่วมกัน (๓) แผนการ สนั บ สนุ น แผนความต้ อ งการและความ จ� ำ เป็ น ของหมู ่ บ ้ า นตามแนวทางคั ม ภี ร ์ ๘ เล่ม ของ กอ.รมน. และ (๔) แผนงาน พัฒนาพื้นที่เป็นพิเศษ เรียกว่า “ประชารัฐ ร่ ว มสร้ า งสั น ติ สุ ข ชายแดนใต้ ” ซึ่ ง เป็ น แนวทางการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาทั้ง มวลผ่านพลังประชารัฐ ใช้ศูนย์ปฏิบัติการ อ�ำเภอ (ศปก.อ.) เป็นหน่วยติดตามและใช้ การสร้างครอบครัวคุณธรรมเป็นเป้าหมาย โดยมุ่งเน้น “คิดร่วมกัน ท�ำร่วมกัน” ของ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม 42

สำ�นักงานโฆษกกระทรวงกลาโหม


และราชการ ที่เรียกว่า “ประชารัฐ” ผ่าน กระบวนการมีสว่ นร่วมของคณะกรรมการ/ กลุ่มบุคคล/เครือข่ายบุคคล โดยก�ำหนด ให้มีการแบ่งความรับผิดชอบในการสร้าง ครอบครั ว คุ ณ ธรรมหน่ ว ยงานละ ๑๐ ครอบครัว การสร้างครอบครัวคุณธรรม ซึง่ สมาชิกจะต้องยึดมัน่ ใน “สัจจะ สันติสขุ ” ก�ำหนดไว้ ๓ ประการส�ำคัญ คือ สมาชิกใน ครอบครัวต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด/ จะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนแก่สังคม ชุมชน/จะต้องมีจติ อาสาช่วยเหลือส่วนรวม ในแผนการด� ำ เนิ น การจะต้ อ งมี จ� ำ นวน ครอบครัวคุณธรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ในหมูบ่ า้ นชุมชนของพืน้ ทีเ่ น้นพิเศษจังหวัด ชายแดนภาคใต้ โดยเน้น ๒ เป้าหมายคือ เป้าหมายระดับแผนงานที่ ๑ ประชาชน ผู้บริสุทธิ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความไว้วางใจในความปลอดภัยต่อการ ด� ำ เนิ น ชี วิ ต โดยปกติ ป ระจ� ำ วั น และ เป้าหมายระดับแผนงานที่ ๒ การสร้าง บรรยากาศบ้านเมืองน่าอยู่ น่าท่องเที่ยว นอกจากนีก้ ารด�ำเนินงานตามยุทธศาสตร์ “ประชารัฐร่วมสร้างสันติสุขชายแดนใต้” เพื่อลดการใช้ความรุนแรงในพื้นที่ และ แสวงหาทางออกจากความขั ด แย้ ง โดย สันติวธิ ี ให้ประชาชนในพืน้ ทีม่ คี ณ ุ ภาพชีวติ

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

ที่ดีขึ้น และด�ำรงอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ สุข ให้ประชาชนไทยทั้งในและนอกพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งประชาคม ระหว่ า งประเทศมี ค วามเข้ า ใจ และ สนั บ สนุ น แนวทางด� ำ เนิ น การของ ฝ่ า ยรั ฐ ตลอดจนเพื่ อ ให้ สั ง คมจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ที่มีความเข้มแข็งอีกด้วย

43


เมื่อประเทศไทยต้องไปต่อ อีก ๑ ปี ๖ เดือน

ปี ๖ เดือน อาจเป็นเวลาที่ จะว่าสัน้ ก็สนั้ จะว่ายาวก็ยาว สั้ น ส� ำ หรั บ การคิ ด เรื่ อ ง ใหญ่อย่างงานปฏิรูป ซึ่งหากเริ่มมองไปถึง ไหนก็เจอแต่ปญั หา คงตัง้ หลักยากว่าจะท�ำ เรื่องใดก่อนหลังดี เผลอไม่นานเวลาก็ผ่าน ไปจนครบก�ำหนดโรดแมปทีว่ างไว้ยงั ไม่ทนั วางแผนปฏิรูปให้ได้ดั่งใจ แต่จะว่ายาวก็ ยาว หากเกิดสถานการณ์ทับซ้อนซึ่งเวลา ๑ ปี ๖ เดือน อาจมีสิ่งไม่คาดคิดมากมาย ที่พร้อมจะประดังประเดกันเข้ามาจนยาก แก่การรับมือ

44

จุฬาพิช มณีวงศ์

ป่านนี้คนไทยคงได้เห็นพิมพ์เขียว ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกจากฝีมอื ของคณะ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีคุณมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานเรียบร้อยแล้ว และ คงพอจะคาดเดากันไปว่า เมื่อมีการท�ำ ประชามติรา่ งรัฐธรรมนูญฉบับนีจ้ ะมีชะตา กรรมเช่นไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีค�ำยืนยัน ว่ า ร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ นี้ จ ะไม่ มี เ นื้ อ หา เกี่ยวกับการสร้างความปรองดอง แต่จะมี เพียงเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิรูปเท่านั้น ซึ่ง กรธ. เชือ่ ว่า หากสามารถผลักดันการปฏิรปู ได้แล้วจะน�ำความปรองดองกลับมาได้เอง

แต่หากพิจารณาจากข้อเสนอของ คณะอนุกรรมการศึกษาประเด็นปัญหา การสร้างความปรองดองของ กรธ. ซึ่งมี นายภุมรัตน์ ทักษาติพงศ์ เป็นประธาน มีการวางแนวทางการสร้างความปรองดอง เป็นกรอบไว้นา่ สนใจ มีการก�ำหนดแผนการ ด�ำเนินการออกเป็น ๓ ระยะคือ ระยะที่ ๑ การสร้างบรรยากาศที่ดี ในการน�ำไปสู่การสร้างความปรองดองให้ เกิดขึ้น โดยเฉพาะการหยุดพฤติกรรมการ ใส่รา้ ยป้ายสีซงึ่ กันและกันผ่านช่องทางการ สื่อสารในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะสังคม

จุฬาพิช มณีวงศ์


ออนไลน์ ทัง้ นีร้ ฐั บาลควรมีมาตรการเด็ดขาด เพื่ อ ควบคุ ม การเผยแพร่ ข ้ อ มู ล ข่ า วสาร ที่บิดเบือนข้อเท็จจริงเป็นสาเหตุส�ำคัญใน การสร้างความขัดแย้งในสังคม นอกจากนี้ รัฐบาลควรมีมาตรการขั้นเด็ดขาดเพื่อยุติ ความขัดแย้งในรูปแบบต่างๆ ผ่านการใช้ อ�ำนาจตามกฎหมายอย่างเป็นธรรม เช่น การห้ า มการชุ ม นุ ม ที่ ฝ ่ า ฝื น กฎหมาย หยุดพฤติกรรมการปลุกปัน่ ของแกนน�ำแต่ละ ฝ่ายที่ยังสร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องให้ ประชาชนหลงเชือ่ ไปตามวาทกรรมของตน ระยะที่ ๒ จั ด ตั้ ง คณะกรรมการ ปรองดองเพื่อสร้างความปรองดองหรือ สมานฉั น ท์ ผ ่ า นกระบวนการเจรจาของ คู่ขัดแย้งให้เกิดผลอย่างจริงจัง ระยะที่ ๓ การใช้ ก ระบวนการ เยียวยา นิรโทษกรรมหรืออภัยโทษผ่านการ วางแผนอย่างเป็นขั้นตอน คู่กรณีต้องเข้าสู่ กระบวนการยุติธรรมจนถึงที่สุดแล้วจึงจะ พิจารณาเรื่องการเยียวยา นิรโทษกรรม อภัยโทษ ตามกระบวนการของกฎหมาย ยกเว้นคดีหมิน่ พระบรมเดชานุภาพและคดี อาญาร้ายแรง ทัง้ นีค้ ณะอนุกรรมการยังมีขอ้ เสนอ เพิ่ ม เติ ม ต่ อ การน� ำ ไปสู ่ ก ารสร้ า งความ ปรองดองให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม คือ กระบวนการยุติธรรมถือเป็นเสาหลักของ สังคมที่จะยึดเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้าง ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการสร้างความ ปรองดองให้ เ กิ ด ขึ้ น โดยการขั บ เคลื่ อ น กระบวนการทางด้านกฎหมายจะต้องมี ความเป็นอิสระ เป็นกลาง มีมาตรฐาน เดียวกัน ซึง่ ทุกฝ่ายต้องให้การยอมรับ ควร มีการสร้างความเข้าให้กบั คูข่ ดั แย้งว่า คดีที่ เกิดขึ้นจากผลการชุมนุมจะต้องผ่านขั้น ตอนการพิจารณาคดีโดยชอบด้วยกฎหมาย และทุกฝ่ายต้องให้การยอมรับผลดังกล่าว แล้วจึงจะมาเริม่ ต้นเข้าสูก่ ระบวนการสร้าง ความปรองดองอย่างเป็นรูปธรรม ควรมี การน�ำคดีต่างๆ ในส่วนคดีที่เกี่ยวข้องกับ หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

เหตุการณ์ความขัดแย้งในหลายคดีที่ยัง ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีอย่าง รวดเร็ว คณะอนุกรรมการเห็นว่า การทุจริต เป็นต้นเหตุส�ำคัญที่น�ำไปสู่ความขัดแย้ง ของสังคม จึงควรพิจารณาศึกษาหาต้นเหตุ ส�ำคัญทีน่ ำ� ไปสูค่ วามขัดแย้งของสังคม รวม ทั้งจะต้องมีการคิดค้นระบบในการป้องกัน การทุจริตอย่างเป็นระบบโดยการสร้าง กลไกที่สามารถขับเคลื่อนยุทธวิธีในการ ป้องกันการทุจริตอย่างรอบด้านด้วย ในขณะทีป่ ระเทศไทยได้เปลีย่ นแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในช่วง ๘๔ ปี มีรัฐธรรมนูญรวม ๑๙ ฉบับ รัฐธรรมนูญ ฉบับแรก เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ มีชื่อว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญ การปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. ๒๔๗๕ มีเพียง ๓๙ มาตรา และมีอายุใช้ บังคับเพียง ๒ เดือน ๑๓ วัน ก่อนที่จะถูก

ยกเลิกจากผลของการประกาศใช้รฐั ธรรมนูญ ฉบับที่ ๒ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร สยาม พ.ศ.๒๔๗๕ เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ รัฐธรรมนูญทีม่ อี ายุการใช้บงั คับเป็น เวลายาวนานทีส่ ดุ เป็นอันดับหนึง่ ในบรรดา รัฐธรรมนูญทัง้ หมดของไทย คือรัฐธรรมนูญ ฉบั บ ที่ ๒ ของประเทศไทย เรี ย กว่ า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๔๗๕ มีเพียง ๖๘ มาตรา มีอายุ ๑๓ ปี ๔ เดือน ๒๙ วัน เริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ ๓ ตุ ล าคม พ.ศ.๒๔๘๒ ยกเลิ ก ในวั น ที่ ๙ พฤษภาคม ๒๔๙๘ รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๓ มี ๙๖ มาตรา เรียกว่า รัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๔๘๙ ใช้บังคับเพียง ๑ ปี ๖ เดือน ก็ถูกยกเลิกจากผลของการ รั ฐ ประหารโดย พลโท ผิ น ชุ ณ หะวั ณ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ จนถึงรัฐธรรมนูญใต้ตมุ่ ทีเ่ รียกขานกัน มี ชื่ อ อย่ า งเป็ น ทางการว่ า รั ฐ ธรรมนู ญ 45


แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.๒๔๙๐ เหตุทเี่ รียกว่ารัฐธรรมนูญใต้ตมุ่ เนือ่ งมาจาก พลโท หลวงกาจสงคราม หรือ กาจเก่ง ระดมยิง หนึ่งในคณะรัฐประหาร เป็นผูย้ กร่าง เสร็จแล้วน�ำไปซ่อนไว้ใต้ตมุ่ น�ำ้ ในบริเวณบ้าน เนื่องจากเกรงว่าถ้าใครมา พบเข้าความจะแตกเสียก่อน ด้วยเหตุนี้จึง เป็นธรรมนูญทีป่ ระกาศใช้ได้เร็วมากเพราะ เพียงวันรุ่งขึ้น หลังจากวันที่รัฐประหาร ส�ำเร็จก็นำ� มาประกาศใช้ได้เลย รัฐธรรมนูญ ใต้ตุ่มนี้มี ๙๘ มาตรา และมีอายุการบังคับ ใช้เป็นเวลา ๑ ปี ๔ เดือน ก็ถูกยกเลิก

46

ส� ำ หรั บ รั ฐ ธรรมนู ญ ที่ ไ ด้ ชื่ อ ว่ า มี ความเป็ น ประชาธิ ป ไตยมากที่ สุ ด เท่ า ที่ ประเทศไทยเคยมีก็คือ รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๑๗ ซึง่ มีทงั้ หมด ๒๓๘ มาตรา แม้มอี ายุการใช้บงั คับเพียงแค่ ๒ ปี ก็ถกู ยกเลิกโดยผลของการรัฐประหาร ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑๖ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ ได้ชื่อ ว่ า เป็ น รั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ ประชาชนและ รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมือง มี ๓๓๖ มาตรา มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างเสถียรภาพ ทางการเมือง หลุดพ้นจากหลุมด�ำแห่งวงจร

อุบาทว์ทางการเมืองอย่างเป็นทางการ แต่ ก็หนีไปไม่พน้ เมือ่ เกิดการรัฐประหารขึน้ อีก จนได้ เมือ่ วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ท�ำให้ รัฐธรรมนูญฉบับนีต้ อ้ งยุตกิ ารใช้บงั คับด้วย สถิติเวลา ๘ ปี ๑๑ เดือน ๙ วัน ในทีส่ ดุ ประเทศไทยก็ได้รฐั ธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ ซึง่ เป็น ฉบั บ ที่ ๑๘ ประกาศใช้ เ มื่ อ วั น ที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ มี ๓๐๙ มาตรา คาดหวัง ว่าจะเป็นครัง้ สุดท้ายแต่กจ็ บลงด้วยการท�ำ รัฐประหารของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อีกวาระหนึ่ง รั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ ที่ ๑๙ ตามมา ภายหลัง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายก รัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติเข้ามาบริหารบ้านเมือง เมื่อมีการ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยฉบับชัว่ คราว พ.ศ.๒๕๕๗ เมือ่ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ และต่อมามีการแก้ไข เพิ่มเติม เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เพื่ อ รองรั บ การออกเสี ย งประชามติ การคว�่ำร่างรัฐธรรมนูญของ นายบวรศักดิ์ อุวรรโณ ประธานคณะกรรมาธิการ เป็น เหตุให้โรดแมปต้องขยายออกไปอีก ๑๐ เดือน จากที่ก�ำหนดไว้จะมีการเลือกตั้ง ภายในปี ๒๕๕๙ เป็นปี ๒๕๖๐ คาดว่าจะ

จุฬาพิช มณีวงศ์


อยู ่ ป ระมาณเดื อ นสิ ง หาคม ๒๕๖๐ นั่นหมายความว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่นาย มีชัย ฤชุพันธุ์ เปิดโฉมหน้าให้เห็นเป็นครั้ง แรกไปแล้วเมือ่ ปลายเดือนมกราคมทีผ่ า่ นมา จะต้ อ งผ่ า นประชามติ จ ากประชาชน ซึ่ ง ขณะนี้ ยั ง ไม่ มี ใ ครพยากรณ์ ไ ด้ ว ่ า ประเทศไทยจะไปต่อในเวลา ๑ ปี ๖ เดือน หรือยืดยาวออกไปอีก

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

ของการน�ำสังคมไทยที่เคยมีความเมตตา เอื้ อ อาทรกลั บ คื น มาอย่ า งที่ เ ป้ า หมาย ต้องการ เราไม่ควรคาดหวังยาขนานพิเศษ นี้มากจนเกินไป สั ง คมไทยในยุ ค นั บ จากนี้ จ ะไม่ มี ตัวช่วยมาสร้างสรรค์ประคับประคอง หาก ต้องประสบภาวะวิกฤตอีก ดังนั้น แนวทาง ทีท่ กุ คนจะต้องเดินไปต่อด้วยกันคือ หันมา ตระหนั ก ว่ า เพราะนี่ คื อ ประเทศไทย บ้านของเราทุกคน สิบปีที่คนไทยขัดแย้ง แตกแยก ไม่มผี ลดีตอ่ ผูใ้ ด ทุกอย่างชะงักงัน ที่ ผ ่ า นมารั ฐ ธรรมนู ญ ไม่ ไ ด้ เ ป็ น ไม่เหลืออนาคตทีจ่ ะให้คนรุน่ ใหม่ภาคภูมใิ จ ยาขนานเอกในการปกครองบ้านเมือง ในบาง ๑ ปี ๖ เดือน นับจากนี้จะเป็นช่วงเวลา สถานการณ์คือกับดักที่เป็นอุปสรรคเสีย พิสูจน์ความเป็นคนไทยของเราอีกครั้ง ด้ ว ยซ�้ ำ เนื่ อ งจากมี ก ารเล่ น กลเกมทาง การเมือง โดยใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือ ดังนัน้ ไม่วา่ รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒๐ ทีค่ นไทย ก�ำลังตั้งตารอคอยจะมีโฉมหน้าตามความ ปรารถนาหรือไม่ หรืออาจไม่ได้ตอบโจทย์

47


เปิ ดประตูสู่เทคโนโลยี ป้องกันประเทศ ๓๗ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)

๑. กล่าวน�ำ

๑.๑ ความส�ำคัญของความร่วมมือ ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เป็นที่ ประจักษ์ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศมี ส ่ ว นส� ำ คั ญ อย่ า งยิ่ ง ต่ อ ทุ ก ประเทศใน ๓ ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้าน การเมือง และด้านการทหาร ด้านเศรษฐกิจ ในทางทฤษฎีแล้ว ถือว่าเป็นสิง่ ทีม่ คี วามส�ำคัญทีส่ ดุ เนือ่ งจาก ทุกประเทศต้องการ “สิ่งที่มีราคาในระดับ ที่ ส ามารถจั ด หาได้ ” (Affordability) ตั ว อย่ า งที่ เ ห็ น ได้ ชั ด ที่ สุ ด คื อ การผลิ ต อากาศยานล�ำเลียงขนาดใหญ่ (Heavy Lift Aircraft) ซึ่งได้ถูกยกเลิกไปแล้วในสหราช อาณาจักรและประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชีย เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่สูงเกินกว่าที่จะคุ้มค่า กับการลงทุนผลิตเองเมื่อเปรียบเทียบกับ การซื้ อ มาใช้ จ ากเทคโนโลยี ที่ ก ้ า วหน้ า พร้อมๆ กันกับขีดความสามารถในการลอก เลียนแบบ ท�ำให้การผลิตคราวละมากๆ นัน้ จะมีตน้ ทุนการผลิตต่อหน่วยลดต�ำ่ ลง และ คุม้ ค่าในการลงทุนด้านการวิจยั ท�ำให้ความ ร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ 48

“ปั จจัยเอื้อต่อความส�ำเร็จของความร่วมมือด้านอุ ตสาหกรรม ป้องกันประเทศ” โดย Professor Ron Matthews, Chair of Defence Economics Centre for Defence Management and Leadership Cranfield University, UK เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุ รี เป็นส่วนส�ำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของ ประเทศผู้ส่งออกและน�ำเข้า ด้านการเมือง ภายใต้สภาพแวดล้อม ปัจจุบัน ทุกประเทศต่างเลือกแนวทางการ ด� ำ เนิ น การด้ า นความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง ประเทศในรูปแบบของความร่วมมือเป็น พันธมิตรกัน (Collective Approach) โดย เฉพาะความร่ ว มมื อ ด้ า นอุ ต สาหกรรม ป้องกันประเทศ เพือ่ เสริมสร้างความมัน่ คง ให้กับตนและประเทศพันธมิตร ด้านการทหาร ความร่วมมือด้าน อุตสาหกรรมป้องกันประเทศสามารถตอบ สนองหน่วยผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ยุทโธปกรณ์ที่ได้ผลิตขึ้นภายใต้ความร่วม มือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศจะมี คุ ณ สมบั ติ ข อง “ความสามารถในการ ท�ำงานระหว่างกันได้” (Interoperability)

ซึ่ ง เอื้ อ ต่ อ การสงครามแบบการรบร่ ว ม (Coalition Warfare) ทัง้ นีเ้ ป็นเพราะว่าทุก ประเทศต่างใช้ยุทโธปกรณ์แบบเดียวกัน ท�ำให้ลดค่าใช้จ่าย และยังง่ายต่อการบ�ำรุง รักษาและการส่งก�ำลังบ�ำรุง ๑.๒ ความท้าทายต่อความร่วมมือ ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ มีอยู่ หลายประการดังนี้ • การเข้าถึงเทคโนโลยี (Technology Access) แน่ น อนว่ า ความร่ ว มมื อ ด้ า น อุตสาหกรรมป้องกันประเทศจะช่วยให้ แต่ละประเทศสามารถต่อยอดองค์ความรู้ ได้โดยไม่จ�ำเป็นต้องเริ่มต้นนับหนึ่งส�ำหรับ การวิจัยและพัฒนา แต่เนื่องจากแต่ละ ประเทศมี ร ะดั บ ขี ด ความสามารถด้ า น เทคโนโลยีทไี่ ม่เท่ากัน และประเทศเจ้าของ เทคโนโลยีทุกประเทศต่างต้องการส่งออก สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)


กระบวนการที่ ยุ ่ ง ยากและใช้ เวลามาก ท�ำให้โครงการความร่วมมือมักจะล่าช้า ออกไป • ความต้องการที่ต่างกัน (Noncommonality) ท�ำให้การบรรลุข้อตกลง กระท�ำได้ยาก • ค่าใช้จา่ ยในการจัดหา (Acquisition Cost) การมีจ�ำนวนประเทศที่ร่วมมือกัน มากขึน้ สามารถส่งผลให้คา่ ใช้จา่ ยเพิม่ สูงขึน้ ด้ ว ย ยกเว้ น ในกรณี ที่ ป ระเทศทั้ ง หมด มีข้อตกลงทางด้านการค้าร่วมกันอยู่แล้ว • สัดส่วนการท�ำงาน (Work Share) ปัญหานีเ้ ป็นปัญหาส�ำคัญทีป่ ระเทศตะวันตก ต่างเคยประสบมาแล้ว ส�ำหรับประเทศ ในทวีปเอเชียจะต้องเจอปัญหาดังกล่าว หนักกว่า สัดส่วนการท�ำงานภายใต้ความ ร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ จะเกิดความไม่ยุติธรรมทันทีหากการแบ่ง สัดส่วนการท�ำงานยึดขีดความสามารถทาง ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็นหลัก ประเทศทีม่ ขี ดี ความสามารถต�ำ่ กว่าจะต้อง มี สั ด ส่ ว นการท� ำ งานที่ เ หมาะสมโดย ประเทศนั้นๆ ต้องพยายามเพิ่มขีดความ สามารถโดยความช่วยเหลือจากประเทศที่ มีขีดความสามารถสูงกว่าภายใต้ข้อตกลง ความร่วมมือ ผลิตภัณฑ์แต่ไม่ต้องการส่งมอบเทคโนโลยี ของตนให้ประเทศอื่น • การประนีประนอมในเรื่องการ ออกแบบ (Design Compromise) เพือ่ ให้ เกิดความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศ ทุกประเทศที่เข้าร่วมต้องร่วมกัน

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

ออกแบบยุทโธปกรณ์ที่ตอบสนองความ ต้องการของทุกฝ่าย ซึ่งในทางปฏิบัติย่อม เป็ น ไปได้ ย าก แต่ ล ะประเทศต้ อ งยอม ประนีประนอมความต้องการของตนในบาง ประเด็นเพื่อให้ได้แบบที่เป็นที่ยอมรับกัน ทุ ก ฝ่ า ย กระบวนการดั ง กล่ า วจึ ง เป็ น

๒. กรณี ศึ ก ษาความร่ ว มมื อ ด้ า น อุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศ โครงการ Eurofighter โครงการนีเ้ ป็นความร่วมมือกันของ ๔ ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี สหราช อาณาจักร และสเปน ประเด็นที่น่าสนใจ ของโครงการมีดังนี้ • ทั้ง ๔ ประเทศ มีค่าใช้จ่ายด้าน การวิจัยและพัฒนาเท่าๆ กัน แต่เนื่องจาก ความล่าช้าของโครงการท�ำให้ค่าใช้จ่ายสูง กว่าที่วางแผน สุดท้ายในภาพรวมยังถือว่า คุ้มค่ากว่า

49


ในการวางแผน ๓ ปี เนื่องจากมีผู้ร่วม โครงการมากและเงื่อนไขในการร่วมมือ แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ท�ำให้คา่ ใช้ จ่ายสูงขึน้ แต่ในทางกลับกันผลประโยชน์ที่ ได้รับจากโครงการระดับ Global มักจะ สูงกว่าระดับอื่น • ระดับภูมิภาค ตัวอย่างโครงการ ได้แก่ โครงการ Eurofighter • ระดับทวิภาคี เพือ่ ให้ความร่วมมือ เกิดประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจสูงสุด กุญแจ ส�ำคัญคือ นโยบายชดเชย (Offset Policy) ซึง่ นโยบายชดเชยส่วนใหญ่จะเกีย่ วข้องงาน ด้านการผลิต หรืองานที่ต้องใช้เทคโนโลยี ชั้นสูง ตัวอย่างโครงการ ได้แก่ โครงการ อาวุธน�ำวิถี BRAHMOS ซึง่ เป็นการร่วมทุน กันระหว่างรัฐบาลอินเดียกับบริษทั สัญชาติ รัสเซีย (Joint Venture) หรือโครงการ GRIPPEN ที่ไทยซื้อจากสวีเดน เป็นต้น

• การแบ่ ง สั ด ส่ ว นการท� ำ งาน จัดแบ่งตามจ�ำนวนเครือ่ งบินทีแ่ ต่ละประเทศ ต้ อ งการจั ด หาเข้ า ประจ� ำ การ ซึ่ ง ทุ ก ประเทศเห็นพ้องกันให้กำ� หนดเป็นนโยบาย จ�ำนวนรวมเครื่องที่ต้องผลิตทั้งหมดคือ ๖๒๐ ล�ำ สหราชอาณาจักรต้องการ ๒๓๒ ล� ำ สั ด ส่ ว นการท� ำ งานจึ ง เป็ น ๓๗.๕ เปอร์เซ็นต์ (มากที่สุด) ในขณะที่สเปน ต้องการ ๘๗ ล�ำ สัดส่วนการท�ำงานจึงเป็น ๑๙.๕ เปอร์เซ็นต์ (น้อยที่สุด) ปัญหาที่เกิด คือ สเปนเป็นประเทศที่มีพื้นฐานด้านการ ผลิตอากาศยาน แต่ต้องพยายามด�ำเนิน การในส่วนงานทีร่ บั ผิดชอบท�ำให้เกิดความ ล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพ • สายการผลิต ทั้ง ๔ ประเทศต่าง ต้องการให้มีสายการผลิตเป็นของตนเอง ในประเทศของตน บทสรุ ป สุ ด ท้ า ยคื อ อากาศยานหนึ่งล�ำต้องผ่านสายการผลิต ในส่วนต่างๆ จาก ๔ ประเทศ แม้ว่าจะส่ง • ระดั บ ประเทศ ได้ แ ก่ ก ารซื้ อ ผลให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นแต่เป็นสิ่งที่ทุกฝ่าย ยุทโธปกรณ์ทมี่ เี สนอขายทัว่ ๆ ไป (Off The ยอมรับได้ Shelf)

๓. ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม ๔. กระบวนทัศน์ความร่วมมือด้าน อุตสาหกรรมป้องกันประเทศในทวีป ป้องกันประเทศในระดับต่างๆ • ระดับ Global ตัวอย่างโครงการ เอเชีย

ความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศ ได้แก่ โครงการ Joint Strike Fighter F-35 Lightning II Combat Aircraft ซึ่งเป็น ASEAN จะไม่เป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือ ความร่วมมือกันของ ๙ ประเทศ ใช้เวลา ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในหมู่ 50

ประเทศสมาชิก สามารถด�ำเนินการได้ ภายใต้ ADMM นอกจากนี้ประเทศสมาชิก ต่างมีความเห็นพ้องกันในหลาย ๆ ด้าน เช่น การรับมือกับปัญหาโจรสลัด การช่วยเหลือ และบรรเทาสาธารณภัย ส�ำหรับแนวทาง การด� ำ เนิ น การด้ า นความร่ ว มมื อ ด้ า น อุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่เหมาะสม ควรมุ ่ ง เน้ น ไปที่ การร่ ว มมื อ ทางข้ า ง (Lateral Collaboration หมายถึ ง การด�ำเนินการอย่างไม่เป็นทางการก่อน

ตัดสินใจด�ำเนินการเป็นทางการ) และค่อย ๆ สร้างความเชือ่ มัน่ (Trust) เป็นพืน้ ฐานก่อน ที่จะเพิ่มระดับความร่วมมือกัน

๕. ปัจจัยส�ำคัญทีม่ ผี ลต่อความร่วมมือ ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

• นโยบายภาครัฐที่สนับสนุน - ต ้ อ ง มี ยุ ท ธ ศ า ส ต ร ์ ด ้ า น อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ - เป็นนโยบายที่เอื้อต่อการสร้าง ขี ด ความสามารถส� ำ หรั บ การท� ำ ความ ร่วมมือกับประเทศอื่น - ส่งเสริมคลัสเตอร์ (Cluster หมาย รวมถึง ภาคเอกชน สถาบันการเงิน สถาบัน การศึกษา และภาครัฐ) ที่มีส่วนในการ ส่ ง เสริ ม เทคโนโลยี ด ้ า นอุ ต สาหกรรม ป้องกันประเทศ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)


- ริเริม่ นโยบายชดเชย เพือ่ ส่งเสริม ขีดความสามารถด้าน MRO (Maintenance, Repair and Overhaul) - สนั บ สนุ น ส่ ง เสริ ม ขี ด ความ สามารถในการซึมซับเทคโนโลยีของท้องถิน่ - นโยบายระดับภูมิภาค ก�ำหนด นโยบายที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น นโยบาย การจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพในกลุ่ม ประเทศยุโรป - จัดให้วงจรการจัดหาสอดคล้องกัน - สร้างและสนับสนุนแนวทางการ ปฏิบัติหรือวัฒนธรรมที่เหมือนกัน • ในระดับปฏิบัติการ - ท�ำสัญญาแบบราคาคงที่ (Fixed

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

Price Contract) - ส่งเสริมการแข่งขันเพื่อให้ราคา ลดต�่ำลง - มีทีมงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ประจ�ำ - แบ่ ง สั ด ส่ ว นการท� ำ งานตาม ปริมาณความต้องการ - ความร่วมมือควรยึดถือประสิทธิภาพ เป็นหลัก

• เริ่ม ที่พื้ น ฐานของประเทศก่ อน จากนั้นจึงเริ่มแสวงหาความร่วมมือ • ความร่วมมือ (Cooperation) ทางการเมืองและเศรษฐกิจ ตลอดจนความ เป็นหนึ่งเดียวกัน (Cohesion) จะต้องมี ก่ อ น จึ ง จะสามารถร่ ว มมื อ กั น ด้ า น อุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้ • ยึ ด ความเป็ น จริ ง (Realism) มากกว่าความทะเยอทะยาน (Ambition)

๖. บทสรุป

บทความจาก สถาบันเทคโนโลยีป้องกัน • ความร่วมมือต้องตัง้ อยูบ่ นพืน้ ฐาน ประเทศ (องค์การมหาชน)

ของ “เทคโนโลยี” และ “ความเชื่อใจ” (Tech & Trust)

51


Where ค�ำ

ทั ก ทาย “วั น นี้ จ ะ บินไปไหน” ปัจจุบนั นี้ กลายเป็นเรื่องปกติ ธรรมดาๆ ส� ำ หรั บ คนไทยไปแล้ ว และ ด้วยความเจริญก้าวหน้าและทันสมัยของ เทคโนโลยีในปัจจุบนั ส่งผลให้การคมนาคม มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการเดินทางโดยเครื่องบินที่ท�ำให้ ผู้โดยสารทุกชนชั้น สามารถมีทางเลือกใน การเดินทางที่รวดเร็ว สะดวกและราคาตั๋ว สมเหตุสมผล ยิง่ ถ้าหากได้มกี ารจองตัว๋ ล่วง หน้าแล้วล่ะก็ยิ่งท�ำให้ราคาถูกตั๋วเดินทาง โดยเครื่ อ งบิ น ในบางครั้ ง ถู ก กว่ า การ เดินทางทางบกเสียอีก นอกจากนี้ ความคิดในการเดินทาง โดยเครื่องบินเปลี่ยนไปมาก สมัยที่คุณแม่ ผูเ้ ขียนยังมีชวี ติ อยู่ ได้ชวนคุณแม่นงั่ เครือ่ งบิน แม่ บ อกว่ า ไม่ ก ล้ า นั่ ง กลั ว เครื่ อ งบิ น ตก แต่หลังจากคุณแม่อรุณได้ลองนั่งครั้งหนึ่ง หลั ง จากนั้ น การเดิ น ทางของคุ ณ แม่ ก็ เปลี่ยนไป สามารถจองตั๋วเอง เดินทางเอง และแถมยังมาคุยโวถึงความประทับใจที่ พนักงานบนเครื่องบินดูแลผู้สูงวัยอย่างดี มีรถรับส่งพร้อม ไม่เห็นน่ากลัวและยุ่งยาก อะไรเลย นีถ่ า้ สายการบินทีค่ ณ ุ แม่นงั่ ได้ยนิ คงจะมีคา่ ตอบแทนหรือโปรโมชัน่ ให้คณ ุ แม่ เป็นค่าโฆษณาเป็นแน่..... โดยทั่ ว ไปแล้ ว การเดิ น ทางโดย เครื่องบินนั้น ไม่มีอะไรยุ่งยากเลย หากเรา มีการเตรียมพร้อมที่ดี เรามาไล่ล�ำดับขั้น ตอนคร่าวๆ กันค่ะ ตั้งแต่การเตรียมตัว เดินทาง เช่น หลังจากทีเ่ ราได้จองตัว๋ เครือ่ งบิน กับสายการบินแล้วเราก็สามารถพิมพ์ตั๋ว 52

are you flying to today?

พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ

อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (e-Ticket) ติ ด ตั ว ไปที่ สนามบินได้เลย เมื่อไปถึงสนามบินก็ต้อง ผ่ า นกระบวนการเช็ ก อิ น เพื่ อ ยื น ยั น ว่ า เรามาถึงสนามบิน พร้อมขึ้นเครื่องแล้ว โดยเราควรไปถึงสนามบินก่อนเครื่องออก ๒ ชัว่ โมง ต่อมาถ้าเรามีเวลาเราก็ตรวจสอบ เที่ยวบินโดยเช็กดูจอมอนิเตอร์ว่าเที่ยวบิน ที่เรานั่งมีสถานะเป็นยังไง ออกตามเวลา (Depart) หรือล่าช้า (Delay) หรือไม่ เคาน์เตอร์เช็กอินหมายเลขอะไร จากนั้น เราก็มาเช็กอิน (Check in) ที่เคาน์เตอร์ ของสายการบินเพื่อโหลดกระเป๋า (ถ้ามี) โดยจะต้องใช้บัตรประชาชนพร้อมบอก

Agent: พนักงาน: Passenger: ผู้โดยสาร Agent: พนักงาน: Passenger: ผู้โดยสาร: Agent: พนักงาน: Passenger: ผู้โดยสาร:

จุดหมายปลายทางที่จะเดินทางเสร็จ จาก ขัน้ ตอนนีเ้ ราจะได้ใบขึน้ เครือ่ งบิน (Boarding Pass) มาว่า เราต้องไปรอที่ประตูไหน ทีน่ งั่ หมายเลขอะไร และไปรอขึน้ เครือ่ ง แต่ สิ่งทีต่ ้องระวังก็คือ ห้ามน�ำของเหลวถือขึ้น เครื่ อ งเกิ น ชิ้ น ละ ๑๐๐ มิ ล ลิ ลิ ต ร หรื อ ของมีคม วัตถุไวไฟ อาวุธ ถือขึ้นเครื่อง และเพือ่ เป็นการซักซ้อมในกรณีทผี่ อู้ า่ นจะ เดินทางไปต่างประเทศ เรามาเรียนรูค้ �ำศัพท์ เกี่ยวกับสนามบินกันค่ะ เพราะหลังจาก การเข้าสูก่ ารเป็นประชาคมอาเซียน เราจะ ต้ อ งมี โ อกาสพู ด ภาษาอั ง กฤษมากขึ้ น เรามาเริ่มจากการเช็กอินค่ะ

Good morning! Where are you flying to today? สวัสดีค่ะ วันนี้จะบินไปไหนคะ Los Angeles. ไปลอสแอนเจลิส May I have your passport, please? ขอหนังสือเดินทางหน่อยค่ะ Here you go. นี่ครับ Are you checking any bags? คุณมีกระเป๋าจะโหลดไหมคะ Just this one. มีหนึ่งใบครับ พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ


Agent: พนักงาน: Passenger: ผู้โดยสาร: Agent: พนักงาน: Passenger: ผู้โดยสาร:

OK, please place your bag on the scale. รบกวน ยกกระเป๋าเพื่อชั่งน�้ำหนักหน่อยค่ะ I have a stopover in Chicago – do I need to pick up my luggage there? (เครื่องบินที่ผมนั่ง) ผมต้องไปหยุดแวะที่ชิคาโก ผมต้องไปรับกระเป๋าที่นั่นไหมครับ No, it’ll go straight through to Los Angeles. Here are your boarding passes – Your flight leaves from gate 15A and it’ll begin boarding at 3:20. Your seat number is 26E. ไม่ต้องค่ะ กระเป๋าจะส่งตรงไปที่ลอสแอนเจลิสเลยค่ะ นี่คือใบขึ้นเครื่องนะคะ เที่ยวบินของคุณออกเดินทาง ที่ประตู 15A และจะเริ่มประกาศให้ขึ้นเครื่องได้เวลา ๐๓.๒๐ นาฬิกา หมายเลขที่นั่งคือ 26E Thanks. ขอบคุณครับ

หมายเหตุ เพื่อการรักษาความปลอดภัย บางสนามบินพนักงานอาจจะถามค�ำถามท�ำนองนี้ ซึ่งผู้โดยสารจะต้องตอบว่า ใช่ (Yes) เป็นหลัก เช่น Did you pack your bags yourself? คุณแพ็คกระเป๋าเองใช่ไหม Has your luggage been in your possession at all times? กระเป๋ า ของคุ ณ อยู ่ กั บ คุ ณ ตลอดเวลาใช่ ไ หม Are you aware of the regulations regarding liquids in your carry-on? คุณทราบถึงระเบียบในเรื่องการน�ำของเหลว ขึ้นเครื่องบินไหม แต่หากมีคำ� ถามแบบนี้ ส่วนใหญ่จะต้องตอบว่า ไม่ (No) เช่น Are you carrying any firearms or flammable materials? คุณพกอาวุธหรือมีวัตถุไวไฟไหม Have you left your luggage unattended at any time? คุณทิ้งกระเป๋าไว้ที่ไหนบ้างไหม Has anyone given you anything to carry on the flight? มีใครให้อะไรคุณน�ำขึ้นเครื่องไหม ในกรณีที่ต้องมีการสแกนกระเป๋า พนักงานจะถามท�ำนองนี้ Agent: พนักงาน: Passenger: ผู้โดยสาร : Agent: พนักงาน:

Please lay your bags flat on the con vey or belt, and use the bins for small objects. กรุณาช่วยวางกระเป๋าแบนๆ บนสายพาน หน่อยค่ะ และวางของชิ้นเล็กๆ ในกระบะค่ะ Do I need to take my laptop out of the bag? ผมต้องหยิบคอมพิวเตอร์ออกจากกระเป๋า ไหมครับ Yes, you do. Take off your hat and your shoes, too. ใช่ค่ะ ช่วยถอดหมวกและรองเท้าด้วยค่ะ [หากเดินผ่านแล้วมีเสียงร้อง BEEP BEEP BEEP BEEP]

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

Agent: พนักงาน: Passenger: ผู้โดยสาร: Agent: พนักงาน: Agent: พนักงาน:

Please step back. Do you have anything in your pockets – keys, cell phone, loose change? ช่วยเดินถอยหลังมาหน่อยค่ะ คุณมีอะไร ในกระเป๋า (เสื้อ/กางเกง) ไหมคะ เช่น กุญแจ โทรศัพท์ หรือเหรียญสตางค์ต่างๆ I don’t think so. Let me try taking off my belt. ผมว่าไม่มีนะ งั้นผมลองถอดเข็มขัดก็แล้วกัน Okay, come on through. โอเคค่ะ เชิญค่ะ You’re all set! Have a nice flight. เรียบร้อยแล้วค่ะ ขอให้เดินทาง โดยสวัสดิภาพค่ะ

53


สาระน่ารู้ทางการแพทย์

โรคติดต่อทางพันธุกรรม

่๒ ตอนที สำ�นักงานแพทย์ สำ�นักงานสนับสนุนสำ�นักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ากฉบั บ ที่ แ ล้ ว ผู ้ เ ขี ย นได้ น� ำ เสนอเกี่ยวกับสาเหตุและกลุ่ม อาการของโรคติ ด ต่ อ ทาง พันธุกรรม ในฉบับนี้ จะกล่าวถึงโรคที่เกิด จากความผิ ด ปกติ ท างพั น ธุ ก รรมอื่ น ๆ ติดตามอ่านกันต่อไปค่ะ โรคที่เกิดจากความผิดปกติทาง พันธุกรรมอื่นๆ ได้แก่ ฟี นลิ คีโตนูเรีย (Phenylketonuria) หรือ (Phenylpyruvicoligophrenia) เป็น โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการถ่ายทอด ทางโครโมโซม โดยโครโมโซมนั้นมีความ

บกพร่องของยีนที่สร้าง Phenylalanine hydroxylase ท�ำให้ผปู้ ว่ ยไม่สามารถสร้าง เอนไซม์ นี้ ไ ด้ จึ ง ไม่ ส ามารถย่ อ ยสลาย กรดอะมิ โ น phenylalanine ไปเป็ น tyrosine เหมือนคนปกติ จึงเกิดภาวะ phenylalaine สะสมในเลือดมากผิดปกติ และมี phenylpyruvic acid และกรด อินทรีย์อื่นปนในปัสสาวะ รวมทั้งอาการ โลหิตเป็นพิษด้วยโดยผู้ป่วยฟีนิลคีโตนูเรียนี้ มักจะมีอาการปัญญาอ่อนและไม่สามารถ รับประทานอาหารได้เหมือนคนทั่วไป โดย อาการนี้จะพบในคนผิวขาวมากกว่าและ ในประเทศไทยพบไม่มาก 54

สไปโนซี รี เ บลลาร์ อ ะแท็ ก เซี ย (spinocerebellar ataxia) เป็นโรคทาง พันธุกรรมที่ยังไม่มีทางรักษา โดยเกิดจาก โพลีกลูตาไมน์ไตรนิวคลีโอไทด์ ผลิตซ�ำ้ มาก เกินปกติท�ำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถ

ในการเคลื่อนไหวทางกายภาพ ทั้งท่าเดิน การพูด ตากระตุก และอาจมีอาการอืน่ ร่วม ด้วย แต่ระบบจิตใจและความรู้สึกนึกคิด ยังปกติ ทั้งนี้ สไปโนซีรีเบลลาร์อะแท็กเซีย มีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะแสดงอาการ ต่างๆ กันไป รวมทั้งอายุของผู้ป่วยที่เริ่ม เป็ น โรคและลั ก ษณะการถ่ า ยทอดทาง พั น ธุ ก รรมก็ แ ตกต่ า งกั น ไปขึ้ น อยู ่ กั บ ต�ำแหน่งของยีนบนโครโมโซมของผู้ป่วย ที่ได้รับผลกระทบ โรคธาลัสซี เมีย (Thalassemia) โรคธาลัสซีเมียเป็นลักษณะที่ถูกควบคุม ด้วยยีนด้อยบนโครโมโซม ซึ่งเมื่อผิดปกติ จะท�ำให้การสร้างฮีโมโกลบินซึ่งเป็นส่วน ประกอบของเม็ดเลือดผิดปกติ เม็ดเลือด แดงจึงมีรูปร่างผิดปกติน�ำออกซิเจนไม่ดี ถูกท�ำลายได้งา่ ย ท�ำให้ผปู้ ว่ ยโรคธาลัสซีเมีย เป็นคนเลือดจาง และเกิดภาวะแทรกซ้อน ตามมา ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคธาลัส ซีเมียร้อยละ ๑ คือประมาณ ๖ แสนคน

แต่พบผู้เป็นพาหะถึงร้อยละ ๓๐ – ๔๐ คือ ประมาณ ๒๐ - ๒๕ ล้านคน ดังนั้นถ้าหาก ผู้เป็นพาหะมาแต่งงานกัน และพบยีนผิด ปกติร่วมกัน ลูกก็อาจเป็นโรคธาลัสซีเมียได้ ทั้ ง นี้ โรคธาลั ส ซี เ มี ย แบ่ ง ออกเป็ น ๒ ประเภท คือแอลฟาธาลัสซีเมีย และเบต้า ธาลัสซีเมีย ซึ่งก็คือถ้ามีความผิดปกติของ สายแอลฟา ก็เรียกแอลฟาธาลัสซีเมีย และ ถ้ามีความผิดปกติของสายเบต้า ก็เรียก เบต้ า ธาลั ส ซี เ มี ย ผู ้ ป ่ ว ยจะมี อ าการซี ด ตาขาวสีเหลือง ตัวเหลือง ตับม้ามโตมา ตัง้ แต่เกิด ผิวหนังด�ำคล�ำ้ กระดูกใบหน้าจะ เปลี่ยนรูป มีจมูกแบนกะโหลกศีรษะหนา โหนกแก้มนูนสูง กระดูกเปราะ หักง่าย เจริญเติบโตช้ากว่าคนปกติ ส่วนอาการนั้น อาจจะไม่รุนแรงหรืออาจรุนแรงจนถึงแก่ ชีวิตเลยก็ได้ คนที่มีอาการมากจะมีอาการ เลือดจางมากต้องให้เลือดเป็นประจ�ำ หรือ มีภาวะติดเชื้อบ่อย ๆ ท�ำให้เป็นไข้หวัดได้ บ่อย ข้อแนะน�ำส�ำหรับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย คือ ให้ทานอาหารที่มีกรดโฟลิกสูง เช่น ผัก ใบเขียว เนื้อสัตว์ ให้มากๆ เพื่อน�ำไปใช้ สร้างเม็ดเลือดแดง โรคซี สติ ก ไฟโบรซี ส (Cystic fibrosis) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่ท�ำให้ร่างกายสร้างเยื่อเมือกหนามาก

สำ�นักงานแพทย์ สำ�นักงานสนับสนุนสำ�นักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


ผิดปกติในปอดและ ล�ำไส้ ท�ำให้ผู้ป่วย หายใจล�ำบาก และ เยื่อเมือกหนาเหล่า นั้ น อาจท� ำ ให้ ป อด ติ ด เ ชื้ อ ห า ก มี แบคทีเรียเติบโตอยู่ ส่วนเยื่อเมือกหนาใน ล�ำไส้จะท�ำให้ยอ่ ยอาหารได้ลำ� บาก ปัจจุบนั ยังไม่มวี ธิ รี กั ษาโรคนีแ้ ต่สามารถบรรเทาได้ โดยการใช้ยาสลายเยื่อเมือก โรคซิ กเกิลเซลล์ (Sickle-cell) เป็น ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นกับ เลื อ ดท� ำ ให้ ฮี โ มโกลบิ น มี รู ป ร่ า งผิ ด ปกติ เซลล์ เ ม็ ด เลื อ ดแดงเป็ น รู ป เคี ย วจึ ง ไม่

โรคดั ก แด้ ผู้เป็นโรคดักแด้ จะมี ผิวหนังแห้งแตกตกสะเก็ด ซึ่งแต่ละคนจะ มีความรุนแรงของโรคต่างกัน บางคนผิว แห้งไม่มาก บางคนผิวลอกทั้งตัว ขณะที่ บางคนหากเป็นรุนแรงก็มกั จะเสียชีวติ จาก การติดเชื้อที่เข้าทางผิวหนัง

โรคท้ า วแสนปม (neurofibromatosis) เป็นโรคผิวหนังที่ถ่ายทอด โดยโครโมโซม ลักษณะที่พบคือร่างกายจะ มีตมุ่ เต็มไปทัว่ ร่างกาย ขนาดเล็กไปจนใหญ่ แบ่งเป็น ๒ ชนิดคือ ชนิดที่พบบ่อย พบ ประมาณ ๑ ใน ๒,๕๐๐ ถึง ๓,๕๐๐ คน

สามารถล�ำเลียงออกซิเจนได้มากเท่ากับ เซลล์เม็ดเลือดแดงทีม่ รี ปู ร่างปกติ ส่งผลให้ เกิดอาการหลอดเลือดอุดตัน ผู้ป่วยจะ อ่อนเพลียและไม่มีแรง โรคคนเผือก (Albinos) ผู้ที่เป็น โรคคนเผือก คือคนที่ไม่มีเม็ดสีที่ผิวหนัง จะมีผิวหนัง ผม ขนและม่านตาสีซีด หรือสี โดยพบอาการอย่างน้อย ๒ ใน ๗ อาการ ขาว เพราะขาดเม็ดสีเมลานิน หรือมีน้อย ต่อไปนี้คือ มีปานสีกาแฟใส่นม อย่างน้อย ๖ ต�ำแหน่ง พบก้อนเนือ้ งอกตามผิวหนัง ๒ กว่าปกติทำ� ให้ทนแสงแดดจ้าไม่ค่อยได้ ตุ ่ ม ขึ้ น ไป พบกระที่ บ ริ เ วณรั ก แร้ ห รื อ ขาหนีบ พบเนื้องอกของเส้นประสาทตา พบเนื้องอกของม่านตา ๒ แห่งขึ้นไป พบ ความผิดปกติของกระดูก และมีประวัติ คนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ส่วนโรคท้าว แสนปม ประเภทที่ ๒ พบได้น้อยมาก ราว ๑ ใน ๕๐,๐๐๐ ถึง ๑๒๐,๐๐๐ คน ผูป้ ว่ ยจะไม่มี อาการทางผิวหนัง แต่จะพบเนื้องอกของ หูชั้นในและมีประวัติคนในครอบครัวเป็น โรคนี้

โรคลูคเี มีย (Leukemia) โรคลูคเี มีย หรือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นโรคที่ เกิดจากความผิดปกติของไขกระดูกท�ำให้มี การสร้ า งเม็ ด เลื อ ดขาวจ� ำ นวนมาก ในไขกระดูกจนเบียดบังการสร้างเม็ดเลือด แดง ท�ำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ส่วนเม็ดเลือด ขาวที่สร้างนั้น ก็เป็นเม็ดเลือดขาวตัวอ่อน จึงไม่สามารถต้านทานเชือ้ โรคได้ จึงเป็นไข้

บ่ อ ย ซึ่ ง สาเหตุ ข องการเกิ ด โรคลู คี เ มี ย มีหลายปัจจัย ทัง้ พันธุกรรม กัมมันตภาพรังสี การติ ด เชื้ อ เป็ น ต้ น อาการของผู ้ ป ่ ว ย จะแสดงออกมาในหลายรูปแบบ เช่น มีไข้สงู เป็ น หวั ด เรื้ อ รั ง หน้ า มื ด วิ ง เวี ย นศี ร ษะ อ่อนเพลีย ตัวซีด เซลล์ลูคีเมียจะไปสะสม ตามอวั ย วะต่ า งๆ เช่ น ตั บ ม้ า ม ต่ อ ม น�ำ้ เหลือง ท�ำให้เกิดอาการบวมโต บางคน เป็นรุนแรงท�ำให้ถึงแก่ชีวิตได้ การรักษา ท�ำได้โดยให้ยาปฏิชวี นะ เพือ่ ลดจ�ำนวนเม็ด เลือดขาว หรืออาจใช้เคมีบ� ำบัดเพื่อให้ ไขกระดูกกลับมาท�ำหน้าที่ตามปกติ การป้องกันโรคทางพันธุกรรม โรคทางพันธุกรรม ไม่สามารถรักษา ให้หายขาดได้เนื่องจากจะติดตัวไปตลอด ชีวิตท�ำได้แต่เพียงบรรเทาอาการไม่ให้เกิด ขึ้นมากเท่านั้น ดังนั้นการป้องกันโรคทาง พันธุกรรมที่ดีที่สุด คือ ก่อนแต่งงาน รวมทั้ง ก่อนมีบตุ ร คูส่ มรสควรตรวจร่างกาย กรอง สภาพทางพันธุกรรมเสียก่อน เพื่อทราบ ระดับเสี่ยง อีกทั้งโรคทางพันธุกรรม บาง โรคสามารถตรวจพบได้ ใ นช่ ว งก่ อ น ตั้งครรภ์ จึงเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยให้ทารก ที่จะเกิดมามีความเสี่ยงในการเป็นโรคทาง พันธุกรรมน้อยลง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก vcharkarn.com, sema.go.th, maceducation.com

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

55


พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวง กลาโหม นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายก สมาคมภริ ย าข้ า ราชการส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม รองปลัดกระทรวงกลาโหม และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม ร่วมลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องใน โอกาสวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๙ ณ พระบรมมหา ราชวัง เมื่อ ๑ ม.ค.๕๙

พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย ผู้บัญชาการเหล่าทัพ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม เข้าอวยพรและขอรับพร เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๙ จาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ ณ ตึกสันติไมตรี ท�ำเนียบรัฐบาล เมื่อ ๒๙ ธ.ค.๕๘

56


พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหม พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยผูบ้ ญั ชาการเหล่าทัพ และนายทหารชัน้ ผูใ้ หญ่ ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เข้าอวยพรและขอรับพร เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๙ จาก พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธาน องคมนตรีและรัฐบุรุษ ณ บ้านสี่เสาเทเวศร์ เมื่อ ๓๐ ธ.ค.๕๘

พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยผู้บัญชาการ เหล่าทัพและนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เข้าอวยพรและขอรับพร เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๙ จาก พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ณ มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ ๕ จังหวัด ภายใน กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ เมื่อ ๓๐ ธ.ค.๕๘ หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

57


พลเอก ประวิตร วงษ์สวุ รรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีวา่ การกระทรวง กลาโหม ให้การต้อนรับ นาย Harsh Vardhan Shringla เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอินเดียประจ�ำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยีย่ มอ�ำลาและครบวาระการ ปฏิบัติหน้าที่ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ภายในศาลาว่าการ กลาโหม เมื่อ ๑๑ ม.ค.๕๙

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหม ให้การต้อนรับ นาย Noh Kwang-il เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี ประจ�ำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมค�ำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้องรับรอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๔ ม.ค.๕๙

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นาย Gilles Garachon เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐฝรั่งเศสประจ�ำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมค�ำนับและหารือ ข้อราชการ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหม ภายในศาลาว่าการ กลาโหม เมื่อ ๑๔ ม.ค.๕๙ 58


พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม เป็นประธานในพิธที ำ� บุญตักบาตร เนือ่ งในเทศกาลวันขึน้ ปีใหม่ ๒๕๕๙ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั โดยมีรองปลัดกระทรวงกลาโหม นายทหารชั้นผู้ใหญ่และก�ำลังพลของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเข้าร่วมพิธี ณ ลานอเนกประสงค์ ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๔ ม.ค.๕๙ หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

59


พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยรองปลัดกระทรวงกลาโหม นายทหารชัน้ ผูใ้ หญ่ของส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม และนางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม คณะกรรมการสมาคมฯ เดินทางตรวจ เยีย่ มศูนย์พฒ ั นาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร พร้อมกันนีไ้ ด้มอบ ผ้าห่มให้ทหารและประชาชนในพื้นที่ ณ ฐานปฏิบัติการกิ่วฮุง ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๓ ม.ค.๕๙ อ�ำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 60


พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในวันคล้ายวันสถาปนากรมเสมียนตรา ครบ ๑๐๗ ปี พร้อมด้วย รองปลัดกระทรวงกลาโหม นายทหารชัน้ ผูใ้ หญ่และนางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม คณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนากรมเสมียนตรา ครบรอบ ๑๐๗ ปี ณ ห้องสุรศักดิ์มนตรี ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๕ ม.ค.๕๙ หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

61


พลเรือเอก อนุทยั รัตตะรังสี รองปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยนายทหาร ชั้นผู้ใหญ่ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเข้าอวยพรและขอรับพร เนือ่ งในโอกาสขึน้ ปีใหม่ ๒๕๕๙ จาก พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวง กลาโหม ณ ห้องสนามไชย ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๒๘ ธ.ค.๕๘

พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในวันคล้ายวันสถาปนาศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและ พลังงานทหาร ครบรอบ ๒๕ ปี โดยมีรองปลัดกระทรวงกลาโหมและนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ ห้องประชุมศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ชั้น ๘ อาคารส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน) เมื่อ ๒๙ ธ.ค.๕๘ 62


กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เฝ้ารับเสด็จ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า โสมสวลี พระวรราชาทินดั ดามาตุ ในโอกาสเยีย่ มชมร้านสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมและถวายเงินสมทบทุน มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก สภากาชาดไทย ประจ�ำปี ๒๕๕๘ ณ พระต�ำหนักวังสวนกุหลาบ พระราชวังดุสิต เมื่อ ๑๘ ธ.ค.๕๘

นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เข้าอวยพรและขอรับพรจาก คุณเจริญ และคุณหญิงวรรณา สิรวิ ฒ ั นภักดี ประธานทีป่ รึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ณ บ้านสุรวงศ์ เมื่อ ๔ ม.ค.๕๙ หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

63


นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะ เยี่ยมชมการจัดกิจกรรม วันเด็กแห่งชาติ ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ประจ�ำปี ๒๕๕๙ ณ อาคารที่พักอาศัยของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๙ ม.ค.๕๙ 64


คำ�ขวัญวันเด็กแห่งชาติ ประจำ�ปี ๒๕๕๙ เด็กดี เรียนรู้

หมั่นเพียร สู่อนาคต

สำ�นักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จัดกิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำ�ปี ๒๕๕๙ ณ อาคารที่พักอาศัยของสำ�นักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๙ ม.ค.๕๙ ในพื้นที่ประชาชื่น พื้นที่บางจาก และพื้นที่แจ้งวัฒนะ

ทหารผ่านศึกเป็นผู้มีเกียรติ เพราะได้เสียสละประโยชน์สุขส่วนตัว แม้กระทั่งเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อบ้านเมืองและส่วนรวม ขอให้ภูมิใจและตั้งใจรักษาเกียรติอันแท้จริง ที่มีอยู่นั้นไว้ทุกเมื่อ. พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๓


คำ�ขวัญวันเด็กแห่งชาติ ประจำ�ปี ๒๕๕๙ เด็กดี เรียนรู้

หมั่นเพียร สู่อนาคต

สำ�นักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จัดกิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำ�ปี ๒๕๕๙ ณ อาคารที่พักอาศัยของสำ�นักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๙ ม.ค.๕๙ ในพื้นที่ประชาชื่น พื้นที่บางจาก และพื้นที่แจ้งวัฒนะ

ทหารผ่านศึกเป็นผู้มีเกียรติ เพราะได้เสียสละประโยชน์สุขส่วนตัว แม้กระทั่งเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อบ้านเมืองและส่วนรวม ขอให้ภูมิใจและตั้งใจรักษาเกียรติอันแท้จริง ที่มีอยู่นั้นไว้ทุกเมื่อ. พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๓


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.