Mahidol day

Page 1


สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงมีสว่ น ส�ำคัญอย่างยิง่ ในการสร้างรากฐานทีม่ นั่ คงให้แก่ประเทศไทยในการพัฒนาไปสู่ ความทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิง่ การบ�ำเพ็ญพระกรณียกิจทางด้านการแพทย์ และการสาธารณสุขนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขแห่งมวลมนุษยชาติ โดยในปี พ.ศ. 2494 คณะกรรมการคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย มหิดล ได้มีมติก�ำหนดให้วันที่ 24 กันยายน ของทุกปี เป็นวันระลึกถึงสมเด็จ พระบรมราชชนก โดยขนานนามว่า “วันมหิดล” ด้วยส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ ของสมเด็จพระบรมราชชนก มหาวิทยาลัย มหิดลและหน่วยงานต่างๆ ทัว่ ประเทศได้พร้อมใจกันจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณให้ประจักษ์สืบต่อไป อาทิ การจัด สร้างพระราชานุสาวรีย์ การจัดพิธวี างพวงมาลาและจุดเทียนถวายราชสักการะ และการท�ำธงมหิดลเพือ่ น�ำรายได้สมทบทุนช่วยผูป้ ว่ ยยากไร้ ทัง้ นี้ มหาวิทยาลัย มหิดลยังได้รบั พระมหากรุณาธิคณ ุ อันสูงสุดจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ในการเสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงวางพวงมาลาทุกปี จนถึง พ.ศ. 2520 และ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชด�ำเนินแทน พระองค์ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน สมเด็จพระบรมราชชนกทรงด�ำรงพระชนมชีพอันเป็นแบบอย่างแก่ปวงชน ทรงเสียสละทั้งความสุขและพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อความปราศจาก โรคของประชาชนโดยพระทัยอันบริสทุ ธิ์ พระเกียรติคณ ุ ทัง้ มวลนีจ้ ะปรากฏอยู่ สืบไปตราบนานเท่านาน


3



24 กันยายน

วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นเจ้าฟ้าที่ชาวไทยเคารพ นับถือและเทิดทูนในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์เป็นล้นพ้น ทรงได้รับการถวายพระสมัญญา นามเฉลิมพระเกียรติพระองค์ให้เป็น พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย พระบิดาแห่งการ สาธารณสุขไทย พระบิดาแห่งการสังคมสงเคราะห์ของไทย พระประทีปแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ น�ำ้ ของไทย และพระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย โดยในระดับนานาชาติ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ประกาศพระเกียรติคุณให้เป็น “บุคคลดีเด่นทาง ด้านวัฒนธรรมระดับโลก” ในโอกาสครบ 100 ปี วันพระราชสมภพ ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขไทย สมเด็จพระบรมราชชนกทรงอุทศิ พระองค์ในการบ�ำเพ็ญ พระราชกรณียกิจต่างๆ นานัปการ อาทิ ทรงพระราชทานทุนการศึกษาส่วนพระองค์ เช่น ทุนวิทยาศาสตร์ แห่งแพทย์ และทุนเพือ่ ท�ำการสืบค้นคว้าและการสอนในโรงพยาบาลศิรริ าช สนับสนุนการศึกษาวิชาใน ต่างประเทศ ทรงเป็นผู้แทนของรัฐบาลไทยติดต่อกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ เพื่อการพัฒนาการแพทย์ และการพยาบาลของไทยให้ได้มาตรฐานสากล ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ รวมทัง้ ทีด่ นิ และอาคารส่วน พระองค์ เพือ่ ขยายกิจการของโรงพยาบาลศิรริ าช ในการใช้เป็นสถานทีเ่ รียน หอผูป้ ว่ ย และหอพักนักศึกษา นอกจากนีย้ งั ทรงพระราชทานทุนทรัพย์แก่โรงพยาบาลแมคคอร์มคิ เพือ่ การจ้างแพทย์ชาวต่างประเทศ พระราชกรณียกิจที่ทรงบ�ำเพ็ญแก่วงการแพทย์และการสาธารณสุขไทยดังกล่าว ได้สร้างความ เป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์ และช่วยพัฒนาการเรียนการสอนและการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ อันเป็นรากฐานส�ำคัญไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ทั้งนี้ พระองค์ ยังทรงเป็นประทีปน�ำทางแก่ผู้ใฝ่การศึกษาและประกอบวิชาชีพต่างๆ ทรงมีพระราชจริยาวัตรที่งดงาม เปี่ยมด้วยพระเมตตาต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่เปรียบมิได้ นับว่าสมเด็จพระบรมราชชนกทรงอุทิศพระวรกาย และทรงงานอย่างหนักเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชนชาวไทยตลอดพระชนมชีพโดยแท้ กระทั่งในปี พ.ศ. 2472 ทรงประชวรด้วยโรคฝีบิดใน พระยกนะ (ตับ) ประชวรอยู่ 4 เดือน มีโรคแทรกซ้อนคือ พระอาการบวมน�้ำในพระปัปผาสะ (ปอด) และพระหทัยวาย สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น. พระชนมายุ 37 ปี 8 เดือน 23 วัน 5


จุดเริ่มต้น “วันมหิดล” การขนานนามวันที่ 24 กันยายน เป็นวันส�ำคัญ คือ “วันมหิดล” เพื่อเป็นการถวาย ราชสักการะและแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สืบเนือ่ งมาจากเหตุการณ์สำ� คัญเมือ่ ปี พ.ศ. 2493 ในช่วงเวลาดังกล่าว คณะแพทยศาสตร์ศริ ิราชพยาบาล ร่วมกับผู้ทเี่ คยได้รบั พระกรุณาธิคณ ุ จากพระองค์ และ ศิษย์เก่าศิริราช จัดสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนกขึ้น เพื่อประดิษฐาน บริเวณใจกลางคณะ ด้วยส�ำนึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงบ�ำเพ็ญพระกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2493 ต่อมาเมือ่ วันที่ 24 กันยายน ซึง่ เป็นวันคล้ายวันสวรรคตในปีเดียวกัน คณะกรรมการ สโมสรนักศึกษาแพทย์ศิริราช น�ำโดย นศพ. บุญเริ่ม สิงหเนตร นายกสโมสรนักศึกษา แพทย์ และนางสาวชายัญ ปรักกะมะกุล หัวหน้านักศึกษาพยาบาล ได้นำ� นักศึกษาแพทย์ และนักศึกษาพยาบาลตั้งแถวไปตามถนนจักรพงษ์บริเวณด้านหน้าพระราชานุสาวรีย์ จากนัน้ หัวหน้านักศึกษาเป็นผูแ้ ทนวางพวงมาลา นักศึกษาทุกคนจุดธูปเทียนสักการะและ ถวายความเคารพ ผู้แทนนักศึกษาอ่านฉันท์ “ทูลกระหม่อมสดุดีอศิรวาท” ซึ่งประพันธ์ โดย นศพ. ภูเก็ต วาจานนท์ หลังจากนั้น ศ.นพ. สุด แสงวิเชียร และศ.นพ. เติม บุนนาค วางพวงมาลาในนามคณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล เหตุการณ์ครัง้ นีน้ บั เป็นจุดเริม่ ต้น ของ “วันมหิดล” ปีตอ่ มา พ.ศ. 2494 คณะกรรมการคณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล มีมติก�ำหนด ให้วันที่ 24 กันยายน เป็นวันร�ำลึกถึงสมเด็จพระบรมราชชนกเป็นประจ�ำทุกปี และ ขนานนามว่า “วันมหิดล” การจัดงานในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2494 จึงเป็นการจัดงาน “วันมหิดล” อย่างเป็นทางการครั้งแรก

6


7


สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19

ทูลกระหม่อมสดุดีอศิรวาท ประพันธ์โดย นศพ.ภูเก็ต วาจานนท์

กรมสงขลานครินทร์ระบิลวรพระนาม อาเกียรณ์พระเกียรติงาม เจ้าฟ้ายิ่งวรยศอุรสปิยกษัตริย์ สมเด็จพระพันวัส- แต่ถ่อมองค์กิติลงพะวงธุระทวี ราษฎร์พบประสพศรี มากสิ่งทรัพย์ ธ ประทานประมาณคณนา บ�ำเพ็ญกุศลมา หวังแพทย์ศาสตร์ศิริราชเจริญกิจขยาย อาพาธพยาธิหลาย ติดต่อมูลนิธิทูลกระหม่อม ธ ปฏิบัติ เพื่อแพทย์ ณ แผนปัจ-

8

ประวัติ สศรี สุขา มิวาย ขจัด จุบัน


ได้เทียมเท่าดุจเขา ณ แดนวิทิศอัน จ�ำเริญประดาสรรพ์ ทรงอุดหนุนกุลบุตรและแม้กุลธิดา เรียนดีและมีมา- ส่งเรียนต่างรฐะเทศวิเศษกิรติวิทย์ ด้วยทุนพระองค์ผลิต ดลคาบนี้ ณ ดิถีประจวบมฤตวาร ข้าบาทภิวาทกราน ด้วยดวงจิตตระลึกส�ำนึกนิตยคง รู้คุณกรุณทรง ด้วยนิ้วนบกรจบศิโรตมสมาน ทางกายแสดงการ ด้วยค�ำคารวะสาระศัพทสดุดี สักการวาที ดอกไม้มาลยรูปและธูปปุรณเทียน ควันกลิ่นถวิลเวียน สู่วิญญาณ ธ ประจักษ์ตระหนักนยอนันต์ ข้าบาทภิวาทวัน-

9

วิชา นะจิตต์ พิศาล พระองค์ ประทาน ชุลี เสถียร สวรรค์ ทนาฯ


พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ เนื่องใน “วันมหิดล” พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนก อันเป็นพิธีหลวง จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2496 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชด�ำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ และสมเด็จ พระพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒ ั นา มายังโรงพยาบาลศิรริ าช ทรงพระราชสักการะ และทรงวางพวงมาลา พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนกเป็นครั้งแรก นับจากนั้นงานวันมหิดลจึงถือเป็นพิธีหลวง โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงวางพวงมาลาถวาย ราชสักการะทุกปี จนถึง พ.ศ. 2520 หลังจากนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์มาทรงวางพวงมาลาเป็นประจ�ำทุกปีจนถึงปัจจุบัน นอกจากพิธีหลวงดังกล่าว หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวัน มหิดลหลากหลายรูปแบบ อาทิ พิธบี ำ� เพ็ญกุศล พิธวี างพวงมาลาของโรงเรียนแพทย์และหน่วยงานทางการ แพทย์และสาธารณสุขทั่วประเทศ กิจกรรมตักบาตรอาหารแห้ง พิธีจุดเทียนถวายราชสักการะและร่วม ร้องเพลงเทิดพระนามมหิดลบริเวณหน้าพระราชานุสาวรีย์ การจัดท�ำและจ�ำหน่ายธงที่ระลึกวันมหิดล การประกวดเรียงความเฉลิมพระเกียรติ การแสดงสุนทรพจน์เฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมจัดหารายได้ช่วย เหลือผู้ป่วยยากไร้ กิจกรรมสาธารณประโยชน์ของนักศึกษาและหน่วยงานต่างๆ การจัดรายการพิเศษวัน มหิดลทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ให้ความรู้และตอบปัญหาสุขภาพแก่ประชาชน และการจัดตั้งทุนวันมหิดล

10


11


12


ล�ำดับเหตุการณ์พิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันมหิดล 24 กันยายน ปี พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2497 พ.ศ. 2498 พ.ศ. 2499 พ.ศ. 2500 พ.ศ. 2501 พ.ศ. 2502 พ.ศ. 2503 พ.ศ. 2504 พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2506 พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2508 พ.ศ. 2509 พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2511 พ.ศ. 2512 พ.ศ. 2513 พ.ศ. 2514 พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2517 พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2521

พระนาม/นาม ในพิธีวางพวงมาลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ และสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ผู้ส�ำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร 13


ปี พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2528 พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2536 พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2547

พระนาม/นาม ในพิธีวางพวงมาลา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ฯพณฯ ท่าน นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร · สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ · สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ 14


ปี พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2549

พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2554

พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2558

พระนาม/นาม ในพิธีวางพวงมาลา · สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ · สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศม์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภา และพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ · สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วย พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ · สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ · สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ · สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ · สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล · สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ · สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ · สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ · สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ · สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ 15


เกร็ดเรื่องเล่า

วันมหิดล นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จพระราชด�ำเนินมาในการประกอบพิธีวางพวงมาลา ถวายราชสักการะสมเด็จพระบรมราชชนก ที่มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นประจ�ำทุกปี ในที่นี้จึงขอประมวลภาพบรรยากาศ และเกร็ดเรื่องเล่าต่างๆ มาน�ำเสนอ เพื่อน้อมร�ำลึก ถึงเหตุการณ์ส�ำคัญเหล่านั้นอีกครั้ง

16


พ.ศ. 2503 วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2503 สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ผู้ส�ำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ได้เสด็จมาทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนก และในปีนี้ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้จดั ให้มกี ารบริจาค เงินช่วยเหลือผูป้ ว่ ยยากไร้ โดยมีการมอบธงวันมหิดลให้เป็นทีร่ ะลึก ซึง่ ได้ทำ� ติดต่อ กันทุกปีจนถึงปัจจุบนั สมเด็จพระราชชนนีศรีสงั วาลย์เสด็จพระราชด�ำเนินมาในวัน มหิดล รวมจ�ำนวน 5 ครั้ง คือ ปี พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2503 พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2507 และ พ.ศ 2509 (ภาพประกอบ ปี พ.ศ. 2507) 17


พ.ศ. 2512 วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ เสด็จพระราชด�ำเนินมายังโรงพยาบาล ศิริราชเนื่องใน “วันมหิดล” ไปทรงวางพวงมาลา และถวายบังคมพระรูปสมเด็จ พระบรมราชชนก จากนั้นเสด็จมาประทับพระราชอาสน์ในกระโจมพิธี เนื่องใน พิธพี ระราชทานปริญญาบัตรเป็นปีแรก นับแต่นนั้ มาได้กำ� หนดให้พธิ พี ระราชทาน ปริญญาบัตร จัดตรงกับวันมหิดล เป็นประจ�ำทุกปี จนถึงปี พ.ศ. 2520

18


พ.ศ. 2515 ในปี พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชด�ำเนิน มายังโรงพยาบาลศิริราช เนื่องใน “วันมหิดล” พิธีพระราชทานปริญญาบัตร และเป็น องค์ประธานในพิธเี ปิดตึกพิพธิ ภัณฑ์และห้องปฏิบตั กิ าร เรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ “สุด แสงวิเชียร”

19


พ.ศ. 2521 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชด�ำเนิน แทนพระองค์ เนื่องในงานพิธี “วันมหิดล” ณ โรงพยาบาลศิริราช ปี พ.ศ. 2521 เป็นปีแรก จากนัน้ เสด็จฯ แทนพระองค์ในปีตอ่ ๆ มาจนถึงปัจจุบนั (ภาพประกอบ ปี พ.ศ. 2536) 20


พ.ศ. 2529 วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์ มาในงานพิธี “วันมหิดล” ณ โรงพยาบาลศิรริ าช เป็นปีแรก จากนัน้ ได้เสด็จพระราชด�ำเนินมาในปี พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2532 และ พ.ศ. 2533 (ภาพประกอบ ปี พ.ศ. 2532) 21


พ.ศ. 2539 โรงพยาบาลศิริราชได้รับพระกรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงรับเป็นองค์ประธานการจัดงาน “วันมหิดล” เพือ่ จัดหารายได้ชว่ ยเหลือผูป้ ว่ ยผูย้ ากไร้ ดังนัน้ ในวันที่ 24 กันยายน จึงได้ถวายรายงานในฐานะองค์ ประธานการจัดงาน ต่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเสด็จพระราชด�ำเนินแทน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มาเป็นประธานเนือ่ งใน งานพิธี “วันมหิดล” 22


พ.ศ. 2546 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชา ทินัดดามาตุ เสด็จไปยังคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนก เนือ่ งใน "วันมหิดล" เป็นปีแรก จากนั้นเสด็จพระราชด�ำเนินมาเป็นประจ�ำทุกปีจนถึง ปัจจุบนั (ภาพประกอบ ปี พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2550)

23


พ.ศ. 2550 วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯแทนพระองค์ ไปทรงวางพวงมาลาสักการะพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนก เนื่องใน วันมหิดล โดยมีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ และรับพระราชทานโล่ที่ระลึก ในฐานะองค์ประธาน จัดงานหารายได้เนือ่ งใน “วันมหิดล” ซึง่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิรวิ ณ ั ณวรีนารีรตั น์ โดยเสด็จในการดังกล่าวด้วย

24


25


26


พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

สถานที่ตั้ง ประวัต ิ

ลักษณะ

ผู้ออกแบบ ประติมากร

บริเวณลานด้านหน้าศาลาศิริราช 100 ปี โรงพยาบาลศิริราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ เมือ่ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2493 จากนั้นในปี พ.ศ. 2496 เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิ วัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มาทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนก ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. 2520 หลังจากนั้นทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์มาทรงวาง พวงมาลาเป็นประจ�ำทุกปี พระรูปหล่อโลหะสัมฤทธิ์ ขนาดสูงกว่าพระองค์จริงเล็กน้อย ความสูงประมาณ 2 เมตร ประทับพระเก้าอี้ ฉลองพระองค์ครุย พระหัตถ์วางบนต�ำราแพทย์ซึ่งตั้งบน พระเพลา ประดิษฐานบนแท่นฐาน มีพุ่มโลหะประดับทั้ง 2 ข้าง ด้านหน้าแท่น ฐานมีโลหะหล่อเป็นแผ่นผ้าทิพย์รูปผ้าตาด ตรงกลางเป็นอักษรพระนามาภิไธย ด้านหลังเป็นแผ่นโลหะหล่อจารึก พระราชานุสาวรีย์ตั้งอยู่บนลานรูปวงกลม ลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี นายสนั่น ศิลากรณ์

27


28


พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ ส�ำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สถานที่ตั้ง ประวัติ

ลักษณะ ประติมากร

บริเวณโถงอาคารของส�ำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พระราชานุสาวรียส์ มเด็จพระบรมราชชนก ณ ส�ำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เดิมประดิษฐานอยู่ ณ บริเวณห้องโถงทางขึ้นอาคารส�ำนักงานอธิการบดี เชิงสะพานสมเด็จพระปิน่ เกล้า ฝัง่ ธนบุรี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ได้เสด็จ พระราชด�ำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ มาทรงท�ำพิธเี ปิด พระราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ภายหลังเมื่อมหาวิทยาลัย มีนโยบายย้ายที่ท�ำการมายังศาลายา จึงได้จัดให้มีพิธีอัญเชิญพระบรมรูป สมเด็จ พระบรมราชชนก มายังอาคารส�ำนักงานอธิการบดี ทีศ่ าลายา ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และจัดพิธีบวงสรวงเพื่อท�ำการประดิษฐานพระราชานุสาวรีย์ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 พระรูปหล่อด้วยทองบรอนซ์รมด�ำ ขนาดเท่าพระองค์จริง พระอิริยาบถยืน ฉลอง พระองค์ครุยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พระหัตถ์ซ้ายถือหมวกแนบพระอุระ พระกร ขวาปล่อยตรงพระหัตถ์ถือม้วนปริญญาบัตร ประดิษฐานบนแท่นฐาน คุณไข่มุกด์ ชูโต

29


30


พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถานที่ตั้ง

หน้าอาคารสาธารณสุขวิศิษฎ์ (อาคาร 1) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ประวัติ

เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี แห่งวันพระราชสมภพสมเด็จพระบรมราชชนก เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 คณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้จัดสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรม ราชชนกขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและน้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ อันประจักษ์ ผลแห่งคุณค่ามหาศาลในวงการสาธารณสุข โดยในระหว่างการก่อสร้าง เครือข่ายสถาบันการ ศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ 4 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รว่ มกันเสนอขอพระราชทานพระบรมราชา นุญาต จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ ในการถวายพระราชสมัญญาสมเด็จพระบรมราช ชนก เป็น “พระบิดาแห่งการสาธารณสุขไทย” และได้รบั พระบรมราชานุญาตให้ถวายพระราช สมัญญา ตามหนังสือส�ำนักราชเลขาธิการ ที่ รล 0003/2883 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536

การก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์นั้น ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราช นครินทร์ พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบทุนการก่อสร้าง พระองค์ละ ๓๐๐,๐๐๐ บาท โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเป็นองค์ประธานในพิธี วางศิลาฤกษ์พระราชานุสาวรีย์ เมือ่ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2535 และสมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพระ ราชานุสาวรีย์ ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2538 เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา และประชาชนได้ ร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “พระบิดาแห่งการสาธารณสุขไทย”

ลักษณะ

พระรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดเท่าพระองค์จริง ฉลองพระองค์ครุย พระหัตถ์ซ้ายทรงถือ ต�ำรา ประทับพระเก้าอี้ ประดิษฐานบนแท่นฐาน

ออกแบบ/ปั้นหล่อ กรมศิลปากร 31


32


พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ ศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา สถานที่ตั้ง

บริเวณลานพระราชานุสาวรีย์ เชื่อมต่อกับสวนเจ้าฟ้า ทางเข้าอาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล

ประวัติ

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสร้างพระราชานุสาวรียส์ มเด็จพระบรมราชชนกขึน้ ในโอกาส จัดสร้างอาคารศูนย์การเรียนรูม้ หิดล ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพือ่ เป็นการ เทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชชนก และส่งเสริมให้ชาวมหิดลและประชาชนทัว่ ไป ได้ถวายราชสักการะและน้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคณ ุ โดยสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ ในโอกาสพิธีเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ 2554 พร้อมกันนี้ได้เสด็จฯ มาทรงเปิดประติมากรรมดอกกันภัย “จากพระเมตตา สูป่ ญ ั ญาของแผ่นดิน” และเยีย่ มชมนิทรรศการหอพระราชประวัตสิ มเด็จพระบรมราช ชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ของหอจดหมายเหตุและพิพธิ ภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหิดลภายในอาคารด้วย

ลักษณะ

พระรูปหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ มีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งจากพระองค์จริง สูงประมาณ 2.80 เมตร ฉลองพระองค์ครุยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พระหัตถ์ซ้ายถือหมวกแนบ พระอุระ พระกรขวาปล่อยตรงพระหัตถ์ถือม้วนปริญญาบัตร ประดิษฐานบนแท่น ฐาน มีขอ้ ความแสดงความส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ แกะสลักเป็นภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ

ประติมากร

คุณมานพ สุวรรณปินฑะ

33


34


พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี สถานที่ตั้ง

หน้าอาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี

ประวัต ิ

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้ด�ำเนินโครงการจัดสร้างพระราชา นุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนกขึ้น เพื่อเป็นพื้นที่เชิงสัญลักษณ์ในการน้อมระลึก ถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมราชชนกที่ทรงอุทิศพระวรกายเพื่อการ พัฒนาคุณภาพชีวติ ของพสกนิกรชาวไทย พระราชานุสาวรียเ์ ปรียบเสมือนศูนย์รวม ทางจิตใจของชาวมหิดลและประชาชนจังหวัดกาญจนบุรี โดยบริเวณนี้จะใช้เป็น สถานที่ส�ำคัญในการประกอบพิธีถวายราชสักการะในวันมหิดลและโอกาสส�ำคัญ ต่างๆ พร้อมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามาสักการะบูชา

ส�ำหรับงบประมาณในการจัดสร้างแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พระบรมรูปจ�ำลอง จ�ำนวน 3,000,000 บาท (สามล้านบาทถ้วน) และภูมิทัศน์โดยรอบพระบรมรูป จ�ำนวน 6,000,000 บาท (หกล้านบาทถ้วน) ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขต กาญจนบุรี ได้มกี ารจัดสรรงบประมาณส่วนหนึง่ ไว้เป็นทุนในการจัดสร้างพระราชา นุสาวรีย์ และอีกส่วนหนึ่งได้มาจากการมีส่วนร่วมและความศรัทธาของชาวมหิดล และประชาชนในการบริจาคเงินสมทบทุน

ลักษณะ

พระรูปหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ มีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งจากพระองค์จริง

ประติมากร

นายฐานิตพัฒน์ สงเคราะห์

35


ก�ำเนิด “ธงมหิดล” ในปี พ.ศ. 2503 ศ.นพ. กษาณ จาติกวนิช ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ในขณะนั้น ได้เสนอให้มีการจ�ำหน่ายธงมหิดลใน “วันมหิดล” เพื่อให้ประชาชน ได้มีส่วนช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ของโรงพยาบาล โดยมีความเห็นว่า “ขณะนี้ โรงพยาบาลศิริราชได้ด�ำเนินกิจการช่วยเหลือประชาชนอยู่มาก จนประชาชนมี ความปรารถนาที่จะช่วยกิจการของโรงพยาบาลเป็นการตอบแทนบ้าง บางคนที่มี ทุนทรัพย์น้อย ไม่กล้าที่จะมาบริจาค เกรงทางการจะเห็นเป็นอย่างอื่นไป ฉะนั้น ถ้าจะกระท�ำการใดให้ประชาชนได้ร่วมมือกันคนละเล็กละน้อย ไม่ให้ถึงกับเป็น ภาระแก่ประชาชน เข้าใจว่าจะได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี ฉะนั้น คณะฯ จึงได้ขอร้องชักชวนให้นักศึกษาทั้งฝ่ายแพทย์และพยาบาลออกท�ำการเรี่ยไร เนื่องในวันมหิดลเพียงครั้งเดียวในปีหนึ่งๆ การเรี่ยไร คณะฯ ได้ท�ำเป็นธงมหิดล แลกกับเงินที่บริจาค” ธงมหิดลในปีแรกเป็น ผืน ผ้าสีขาวแบบสามเหลี่ยมตรงกลางประดับ พระฉายาลักษณ์ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนก พิมพ์ด้วยสีเขียว ด�ำเนินการออกแบบและจ้างท�ำธงพร้อมกับเขียนป้ายโฆษณา โดย นพ. นันทวัน พรหมผลิน และคุณกอง สมิงชัย ในสมัยนั้น ธงขนาดกลางรับบริจาค 10 บาท มีธงเล็กท�ำด้วยริบบิ้นรับบริจาค 1 บาท นักศึกษาทุกหมู่เหล่าในศิริราชช่วยกัน ออกไปรับบริจาค โดยได้รับผลตอบรับที่ดีเกินคาด มีหลายๆ ท่าน ทั้งชาวไทยและ ชาวต่างประเทศมีจิตศรัทธาบริจาคกันเกินกว่าราคาธงหลายร้อยเท่า 36


การจ�ำหน่ายธงมหิดลท�ำติดต่อกันตลอดมา มีผู้ศรัทธาและบริจาคเงินมากขึ้นตามล�ำดับ จนถึง พ.ศ. 2513 จึงเริ่มรับบริจาคในรายการพิเศษทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ เงินบริจาคจากการ จ�ำหน่ายธงวันมหิดลได้น�ำมาช่วยผู้ป่วยยากไร้เป็นจ�ำนวนมาก โดยส่วนหนึ่งน�ำมาจัดซื้อเครื่องมือ ทางการแพทย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์และสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้ป่วยยากไร้และด้อย โอกาสของโรงพยาบาลศิริราช อาทิ เครื่องช่วยหายใจส�ำหรับเด็กแรกเกิดถึงผูใ้ หญ่ เครือ่ งอบฆ่าเชือ้ ห้องด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และเครือ่ งให้ความอบอุน่ ทารกชนิดควบคุมอุณหภูมโิ ดยอัตโนมัติ ภายหลังธงมหิดลได้เปลีย่ นเป็นใช้ผนื ผ้าทีม่ สี ตี รงกับวันมหิดลในปีนนั้ ประดับพระฉายาลักษณ์ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนก และปี พ.ศ. ตรงกลางผืนผ้า นอกจากนี้ มีการจัดท�ำ สติ๊กเกอร์มอบเป็นของที่ระลึกแทนธงริบบิ้น มีการท�ำธงพร้อมเสา ธงผืนใหญ่ และยังพัฒนาเป็น กิจกรรมท�ำธงมหิดลข้ามคืน (Overnight) โดยกลุ่มอาสาสมัครมหาวิทยาลัยมหิดล จากทุกคณะ สถาบัน ร่วมแรงร่วมใจกันสามัคคีท�ำธงขึ้นด้วยความศรัทธาในสมเด็จพระบรมราชชนก และจิต มุง่ มัน่ เสียสละสร้างประโยชน์เพือ่ ส่วนรวม อันเป็นการด�ำเนินตามรอยเบือ้ งพระยุคลบาทแห่งสมเด็จ พระบรมราชชนกอย่างแท้จริง

37


ขั้นตอนการท�ำธงมหิดล

สกรีนผ้าประดับพระฉายาลักษณ์พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนก ชอล์คขาวขีดเส้นแบ่งเป็นรูปสามเหลี่ยม พร้อมตัดตามรอยที่แบ่ง ตกแต่งให้สวยงามด้วยกรรไกรซิกแซก น�ำผ้าธงที่ได้มาเย็บจักรเพื่อใส่ก้านธง เกี่ยวร้อยเชือกท�ำหูผ้าธงและใส่ก้านธง พร้อมกับน�ำเชือกที่ผูกไว้มาร้อยเข้ากับก้าน ตรวจสอบคุณภาพอย่างพิถีพิถัน แล้วบรรจุธงเข้าถุงเตรียมมองแก่ผู้ใจบุญ

38


39



41


เอกสารอ้างอิง 50 ปีในหลวงกับศิริราช. อนันต์พัฒน์ อิ่มพูลทรัพย์ และสุรางค์ วิเศษมณี, บรรณาธิการ: กรุงเทพฯ : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2539. เทิดพระนาม มหิดล : เนื่องในโอกาส “40 ปี พระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล” 2 มีนาคม พ.ศ. 2552. วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2552. มหิดลสาร. (2552). วันมหิดล, 34 (10), หน้า 20. -----------------. (2553). วันมหิดล, 35 (10), หน้า 15. -----------------. (2554). วันมหิดล, 36 (10), หน้า 15. สารมหาวิทยาลัยมหิดล. (2540). วันมหิดล, 22 (19), หน้า 1. ---------------------------------------. (2543). วันมหิดล, 25 (16), หน้า 9. ---------------------------------------. (2544). วันมหิดล, 26 (18), หน้า 1. ---------------------------------------. (2545). วันมหิดล, 27 (18), หน้า 1. ---------------------------------------. (2546). วันมหิดล, 28 (18), หน้า 1. ---------------------------------------. (2546). วันมหิดล, 28 (19), หน้า 7. ---------------------------------------. (2547). วันมหิดล, 29 (19), หน้า 6. ---------------------------------------. (2548). วันมหิดล, 30 (19), หน้า 6. ---------------------------------------. (2548). วันมหิดล, 30 (21), หน้า 6. ---------------------------------------. (2549). วันมหิดล, 31 (16), หน้า 1, 7. ---------------------------------------. (2550). วันมหิดล, 32 (19), หน้า 1, 7. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2551). สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯ แทนพระองค์พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ไปทรงประกอบพิธีเนื่องในวันมหิดล. เข้าถึงได้จาก http://www.si.mahidol.ac.th/th/hotnews_detail.asp?hn_id=273. วันที่สืบค้น 18 สิงหาคม 2558. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2554). สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์ ไปทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เนื่องใน “วันมหิดล" ที่โรงพยาบาลศิริราช, เข้าถึงได้จาก http://www.si.mahidol.ac.th/th/hotnews_detail.asp?hn_id=863. (วันที่สืบค้น : 18 สิงหาคม 2558) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2555). สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์ฯ เนื่องในวันมหิดล. เข้าถึงได้จากhttp://www.si.mahidol.ac.th/th/hotnews_detail.asp?hn_id=1157. (วันที่สืบค้น : 18 สิงหาคม 2558) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. วันมหิดล 24 กันยายน. เข้าถึงได้จาก http://www1.si.mahidol.ac.th/mahidolday/. (วันที่สืบค้น : 18 สิงหาคม 2558) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาพกิจกรรมการท�ำธงมหิดล กิจกรรม Overnight ครั้งแรก. เข้าถึงได้จาก http://www1.si.mahidol.ac.th/ mahidolday/node/26. (วันที่สืบค้น : 18 สิงหาคม 2558) ธงประจ�ำพระองค์. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ธงประจ�ำพระองค์. (วันที่สืบค้น : 18 สิงหาคม 2558). ส�ำนักราชเลขาธิการ. หมายก�ำหนดการวันมหิดล. เข้าถึงได้จาก http://oldwebsite.ohm.go.th/searchsheetlist.php?get=1&offset=38640. (วันที่สืบค้น : 18 สิงหาคม 2558). 42


ขอขอบคุณ หอจดหมายเหตุศิริราช งานถ่ายภาพทางการแพทย์ สถานเทคโนโลยีศึกษาแพทยศาสตร์ งานประชาสัมพันธ์ กองบริหารงานทั่วไป งานสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เดโช บูรณบรรพต จอมพล มุสิกวงศ์ เรืองกิตติ์ อย่างดี ศิริภูมิ ลัพธิกุลธรรม นราวุฒิ สุวรรณัง เพชรดา ฐิติยาภรณ์ เบญจพล ศุภพร สมมนัส วงค์ชัยชนะ พยนต์ ฐานะสถิรกุล ธนกร ตรีรัตนบุตร จงภัทร นมะภัทร ภูวนัตถ์ วาดี



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.