เตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียน 2558

Page 1


สรุปการสั่งการของ ผบ.ทบ. (9 มี.ค. 55) ...เนื่องจากประเทศกําลังจะกาวเขาสูประชาคมอาเซียนในป 2558 ซึ่งทหารจะตองเปนหลักในการดําเนินการทางดานเรื่องภัยพิบัติ การกอการราย และการรักษาสันติภาพนัน้ จําเปนอยางยิ่งที่กองทัพจะตองมีการเตรียมพรอม ดานบุคลากร อาวุธยุทโธปกรณ โดยเฉพาะอยางยิ่งดานทัศนคติ ความรู ทักษะ ภาษา การกลาแสดงออก และขีดความสามารถของกําลังพลทีจ่ ะตองมีการปรับ เปลี่ยนตามสิ่งแวดลอมภายนอก เพื่อรองรับการเขาสูประชาคมอาเซียนใน อนาคต อยางไรก็ตามตองไมเปลี่ยนเรื่องอัตลักษณของชาติ ในเรื่องการเคารพ ผูอาวุโส ความจงรักภักดีตอสถาบัน การมีศีลธรรม และวัฒนธรรม ทั้งนีจ้ ุดยืน ของกองทัพที่เตรียมการตอเรื่องดังกลาว คือ การติดตอคนขางนอกหรือออกสู ภายนอกใหมากขึน้ การพัฒนา การติดตอสือ่ สารดานภาษา เครือ่ งมือ ครูทหาร พัฒนาทักษะความเปนผูนํา และความรับผิดชอบตออาเซียนและโลก มีการ ปกปองผลประโยชนโดยออกไปสรางความมัน่ คงจากภายนอก มีอาวุธทีท่ นั สมัย สามารถใชประโยชนไดเต็มประสิทธิภาพ โดยมุงเนนการวิจัยพัฒนาดวยตนเอง มีความรวมมือกันระหวางการเมืองและการทหาร โดยใหความสําคัญกับเรื่อง ความปลอดภัย ความอยากจน การศึกษา และความมั่นคงแหงชาติ มีความ รวมมือกับกลไกตางๆ ทั้งภายในและภายนอก…


ค�ำน�ำ ۩۩۩۩۩۩

ตามทีอ่ าเซียนก�ำลังจะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ที่ จ ะถึ ง นี้ กรมยุ ท ธศึ ก ษาทหารบก โดยศู น ย์ พั ฒ นาหลั ก นิ ย มและ ยุทธศาสตร์ ได้จัดท�ำข้อมูลขึ้นเป็นจุลสาร เพื่อเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวให้กับ ก�ำลังพลภายในกองทัพบกได้รับทราบ โดยมีข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของอาเซียนซึ่ง จ�ำเป็นในการท�ำความเข้าใจกับพัฒนาการของอาเซียนตัง้ แต่ตน้ มาจนถึงปัจจุบนั และข้อมูลในการเตรียมความพร้อมกองทัพบกในด้านต่างๆ เพื่อการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน ซึง่ ข้อมูลดังกล่าวได้มาจากการสัมมนาทางวิชาการของศูนย์ พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์ ระหว่างวันที่ 23 - 25 พฤษภาคม 2555 ซึ่ง ข้อมูลในการเตรียมพร้อมดังกล่าวนีจ้ ะแจกจ่ายให้กบั หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องต่างๆ ของกองทัพบก เพื่อเป็นแนวทางกว้างๆ ในการพัฒนาและเตรียมหน่วยของ ตนเองล่วงหน้าในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

พลโท

(นรินทร์ ลักขณา) เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก 18 มิ.ย. 55



สารบัญ ۩۩۩۩۩۩

ความเป็นมาของอาเซียน อาเซียนสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 กฎบัตรอาเซียน ความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ถาม-ตอบเกี่ยวกับอาเซียน การเตรียมความพร้อมด้านก�ำลังพลและยุทโธปกรณ์เพื่อปรับปรุง ศักยภาพกองทัพบกในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาของกองทัพบก การเตรียมความพร้อมของกองทัพบกต่อความรับผิดชอบ ในด้านความมั่นคง

หน้า 1 7 11 13 18 21 25 33



การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ประชาคมอาเซียน (ASEAN COMMUNITY) ۩۩۩۩۩۩

ความเป็นมาของอาเซียน อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ได้ก่อตั้งขึ้นจากปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) ซึ่งมีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยแรกเริ่มจะมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย อาเซียนก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส�ำหรับ ผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ที่ลงนามในปฏิญญากรุงเทพนัน้ ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิค (รัฐมนตรีตา่ งประเทศอินโดนีเซีย) นายตุน อับดุล ราชัค (รัฐมนตรีกลาโหม และรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาร์ซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส. ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศ สิงคโปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)

หลังการก่อตั้งอาเซียน ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ได้เร่าร้อนไปด้วยสงครามเวียดนาม ขณะที่มหาอ�ำนาจอย่าง สหรัฐอเมริกาก็มีบทบาทสนับสนุนประเทศที่ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยหนุน เวียดนามใต้ให้ตอ่ สูก้ บั เวียดนามเหนือ หนุนรัฐบาลฝ่ายขวาของนายพลลอนนอน ในกัมพูชา และคงฐานทัพอเมริกันในประเทศไทยไว้ ยุคเร่าร้อนแห่งสงคราม [1]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก เวียดนามนี้ได้ครอบคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าพื้นที่ของการสู้รบ ปัญหาความไม่มนั่ คงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นความหวัน่ ไหว ไม่มนั่ ใจของ อาเซียนที่ยังคงมีสมาชิกอยู่ 5 ประเทศ ระหว่างนี้อาเซียนได้ร่วมลงนามใน ปฏิ ญ ญาว่ า ด้ ว ยเขตแห่ ง สั นติ ภ าพ เสรี ภ าพ และความเป็ นกลาง ที่ ก รุ ง กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2514 แสดงความมุ่งมั่นที่จะ ให้อาเซียนสงบสุข ไม่เกีย่ วข้องกับการสงคราม หรือการข่มขู่ทางการทหาร หรือ อุดมการณ์จากฝ่ายใด การเผชิญหน้าระหว่างค่ายมหาอ�ำนาจสหรัฐอเมริกากับ จีน และสหภาพโซเวียต จึงได้เริ่มถูกกดดันให้ผ่อนคลายความตึงเครียดลง อังกฤษได้เริ่มลดบทบาททางทหารโดยได้ถอนก�ำลังออกจากมาเลเซียและ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกาก็เริ่มปรับความสัมพันธ์กับจีน ประเทศไทย และสมาชิก อาเซียนอื่นๆ ก็เริ่มปรับความสัมพันธ์กับจีนเช่นกัน ในปี 2518 เมื่ อ กรุ ง ไซ่ ง ่ อ นแตก เวี ย ดนามเหนื อ ได้ รั บ ชั ย ชนะ สหรัฐอเมริกาพ่ายแพ้สงครามเวียดนาม รัฐบาลลอนนอนในกัมพูชาก็ล่มสลาย อาเซียนได้จงั หวะเวลาส�ำคัญในการปรับบทบาททีแ่ ต่เดิมยังค่อยเป็นค่อยไป ไม่ ปรากฏรูปธรรมในความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การเมืองอย่างชัดเจน มีการเดิน ทางไปมาหาสู่ประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นกัน ก็อยู่เพียงในระดับกระทรวงการ ต่างประเทศเป็นส�ำคัญ เช่นเดียวกับตอนที่เกิดอาเซียนก็ได้เกิดจากการประชุม และลงนามกันในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีที่ เกี่ยวข้องเท่านัน้ อาเซียนใช้เวลาถึง 9 ปี กว่าจะจัดให้มีการประชุมสูงสุดยอด ของผู้น�ำรัฐบาลของประเทศสมาชิกทัง้ 5 ขึน้ ได้ในวันที่ 23 - 24 กุมภาพันธ์ 2519 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ซึ่งเรียกว่าการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 1 (1st ASEAN SUMMIT) ผู้น�ำรัฐสมาชิกทั้ง 5 ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมกันเป็นครั้งแรก ประกอบด้วยประธานาธิบดีซฮู าโต แห่งอินโดนีเซีย ในฐานะเจ้าภาพประเทศแรก ที่ท�ำหน้าที่จัดการประชุม นายกรัฐมนตรีดาโต๊ะ ฮุสเซน ออน แห่งมาเลเซีย ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส แห่งฟิลิปปินส์ นายกรัฐมนตรีลีกวนยูแห่ง สิงคโปร์ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย [2]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ค�ำแถลงการณ์ร่วมของผู้นำ� อาเซียนได้ยนื ยันว่าจะท�ำงานเพือ่ ส่งเสริม สันติภาพ ความมั่นคง และความก้าวหน้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้น�ำทั้ง 5 แสดงความพร้อมทีจ่ ะพัฒนาความสัมพันธ์ทจี่ ะผลิดอกออกผลเป็นความร่วมมือ อันจะเป็นประโยชน์ต่อกันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ได้หารือกันในทุกวิถีทางที่จะเสริมความร่วมมือกันในรัฐสมาชิกให้ แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเชื่อว่าจะต้องยกความสัมพันธ์ในอาเซียนให้สูงขึ้น โดย เฉพาะในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ประชุมก�ำหนดให้คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจไปประชุมต่อที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ในเรือ่ งส�ำคัญเร่งด่วน ได้แก่ ด้านอาหาร และด้านพลังงาน หากประเทศ สมาชิกใดขาดแคลนอาหารหรือพลังงานด้วยเหตุแห่งภัยพิบตั ธิ รรมชาติหรือเหตุ อื่นก็ตาม จะต้องหาทางท�ำให้ประเทศสมาชิกอื่นๆ ส่งความช่วยเหลือให้ได้ ทันการณ์ นอกจากนี้ผู้น�ำทั้ง 5 ประเทศ ยังได้ลงนามตกลงร่วมกันก่อตั้งส�ำนัก เลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย รัฐบาลอินโดนีเซียให้ ที่ดินและสร้างส�ำนักงานกลางของอาเซียน เพื่อประสานงานและบริหารกิจการ ต่างๆ ของอาเซียน เรียกว่าส�ำนักงานเลขาธิการอาเซียน รวมทั้งให้บ้านพักแก่ เลขาธิการอาเซียน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งหมุนเวียนกันเรียงตามล�ำดับตัวอักษร ชื่อประเทศ สมาชิกด�ำรงต�ำแหน่งคนละ 5 ปี และที่ประชุมเห็นชอบให้แต่งตั้ง นายฮาร์โต โนเร็กโซ ดาร์โซโน ชาวอินโดนีเซีย เป็นเลขาธิการอาเซียนคนแรก (นายแผน วรรณเมธี เป็นชาวไทยคนแรกที่ได้เป็นเลขาธิการอาเซียน ล�ำดับที่ 6 พ.ศ. 2527 - 2532 และ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับการ แต่งตั้งเป็นเลขาธิการอาเซียน ล�ำดับที่ 12 พ.ศ. 2551 - 2555)

[3]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ต่อมาอาเซียนได้มีประเทศอื่นๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม (เมื่อ 7 มกราคม 2527) เวียดนาม (เมื่อ 28 กรกฎาคม 2538) ลาว และพม่า (เมื่อ 23 กรกฎาคม 2540) และกัมพูชา (เมื่อ 30 เมษายน 2542) ตาม ล�ำดับท�ำให้อาเซียนในปัจจุบันมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ

ภูมภิ าคอาเซียนทัง้ หมดจะมีเนือ้ ทีป่ ระมาณ 4,497,493 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 600 ล้านคน มีรายได้ประชาชาติต่อคนต่อปีโดยเฉลี่ย ประมาณ 5,541 เหรียญสหรัฐ นับว่าเป็นประชาคมที่มีความหลากหลายมาก ที่สุดกลุ่มหนึง่ ในโลก คือมีทั้งประเทศใหญ่ (อินโดนีเซีย) ประเทศเล็ก (บรูไน สิงคโปร์) มีทงั้ ประเทศทีเ่ จริญและร�ำ่ รวย (สิงคโปร์) และประเทศทีร่ ายได้ตำ �่ (ลาว เขมร พม่า) นอกจากนีย้ งั มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น ภาษา ศาสนา และความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน และทุกประเทศ (นอกจาก ไทย) ต่างเคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกมาในอดีต คือ อังกฤษ (พม่า [4]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์) ฝรั่งเศส (กัมพูชา ลาว เวียดนาม) เนเธอร์แลนด์ (อินโดนีเซีย) สเปนและสหรัฐอเมริกา (ฟิลิปปินส์) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งออกได้ เป็นกลุ่มประเทศบนคาบสมุทรและกลุ่มประเทศที่เป็นหมู่เกาะ จากการก�ำเนิดอาเซียนในปี 2510 พัฒนาการของสัมพันธภาพใน อาเซียน เริ่มจากการค่อยๆ ท�ำความรู้จักคุ้นเคยกัน ปรับความคิด และนโยบาย ของแต่ละฝ่ายเข้าหากันทีละน้อยอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป ถ้อยทีถ้อยอาศัย ถ้อยเจรจา ซึ่งในช่วง 45 ปีที่ผ่านมานี้ (นับถึงมิถุนายน 2555) อาเซียนมีผลงาน สร้างสรรค์ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ผ่านการประชุมครั้งส�ำคัญใน ระดับที่เรียกว่าการประชุมสุดยอดอาเซียนมาแล้ว 20 ครั้ง

นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 20 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ในวันที่ 3 - 4 เมษายน 2555

นโยบายการด�ำเนินงานของอาเซียน จะเป็นผลจากการประชุมหารือ ในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ทั้งนี้ การ ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) หรือการประชุมของผู้น�ำประเทศ สมาชิกอาเซียนเป็นการประชุมระดับสูงสุด เพือ่ ก�ำหนดแนวนโยบายในภาพรวม และเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงาน ของอาเซียนในระยะยาว ซึ่งจะปรากฏเป็นเอกสารในรูปแบบต่างๆ เช่น แผน [5]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) ส่วนการประชุม ในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส จะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้ง นโยบายในภาพรวมและนโยบายเฉพาะด้าน หน่วยงานที่ท�ำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการด�ำเนินงานใน กรอบอาเซียนประกอบด้วย 1) ส�ำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ที่ ตั้งอยู่ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่าง ประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (Secretary-General of ASEAN) เป็น หัวหน้าส�ำนักงาน 2) ส�ำนักงานเลขาธิการแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศ สมาชิกอาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจอาเซียนและติดตามผลการด�ำเนินงานใน ประเทศนั้นๆ ส�ำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ และ 3) คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจ�ำอาเซียน (Committee of Permanent Representatives-CPR) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนระดับ เอกอัครราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากประเทศสมาชิก มีภารกิจในการ สนับสนุนการท�ำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียนและองค์กรระดับรัฐมนตรี อาเซียนเฉพาะสาขา รวมทัง้ ประสานงานกับส�ำนักเลขาธิการอาเซียนและส�ำนัก เลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ ตลอดจนดูแลความร่วมมือของอาเซียนกับหุ้นส่วน ภายนอก ประเทศไทยได้แต่งตัง้ เอกอั ค รราชทู ต ผู ้ แ ทนถาวร ประจ� ำ อาเซี ย นและมี ค ณะ ผู้แทนถาวรไทยประจ�ำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ส�ำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

[6]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก อาเซียนสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ۩۩۩۩۩۩

ปัจจุบนั บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทัง้ ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากท� ำให้อาเซียนต้องเผชิญ สิ่งท้าทายใหม่ๆ เช่น โรคระบาด การก่อการร้าย ยาเสพติด การค้ามนุษย์ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ อีกทั้งยังมีความจ�ำเป็นต้องรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอ�ำนาจ ต่อรอง และขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง และในเวทีระหว่างประเทศ ผูน้ ำ� อาเซียนจึงเห็นพ้องกันว่า อาเซียนควรจะร่วมมือ กันให้เหนียวแน่น เข้มแข็ง และมั่นคงยิ่งขึ้น จึงได้ประกาศ “ปฏิญญาว่าด้วย ความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2” (Declaration of ASEAN Concord II) ในการ ประชุมสุดยอดผู้น�ำอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อตุลาคม 2546 ที่บาหลี ประเทศ อินโดนีเซีย ซึ่งก�ำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2563 ซึ่งต่อมา ในการประชุมสุดยอดผู้น�ำอาเซียนครั้งที่ 12 เมื่อมกราคม 2550 ที่เซบู ประเทศ ฟิลิปปินส์ ผู้น�ำอาเซียนได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จ เร็วขึ้นมาเป็นภายในปี 2558 ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือ การรวมกลุม่ ของประเทศ สมาชิกอาเซียนให้เป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง สามารถสร้างโอกาสและรับมือ กับสิ่งท้าทาย ทั้งด้านการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และภัยคุกคามรูปแบบ ใหม่ โดยสมาชิกในชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี สามารถประกอบกิจกรรม ทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น และสมาชิกในชุมชนมีความรู้สึกเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน ประชาคมอาเซียนจะประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมื อ งและความมั่ นคงอาเซี ย น (ASEAN Political-Security Community, APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community, AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community, ASCC) [7]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน อาเซียนมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเมืองและความมัน่ คง เพือ่ เสริมสร้างและธ�ำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค และท�ำให้ ประเทศในภูมภิ าคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสขุ สามารถแก้ปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีคุณลักษณะดังนี้  มีกฎกติกาเป็นพื้นฐานภายใต้ค่านิยมร่วมกัน  มีความเป็นเอกภาพ มีความสงบสุข มีความแข็งแกร่ง และมี ความรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงที่ครอบคลุมอย่างรอบด้าน  มีพลวัตและมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศนอกอาเซียน องค์กรเฉพาะสาขา

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

1. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส 2. คณะกรรมการเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะกรรมการบริหารเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3. การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส 4. การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านกฎหมาย การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส 5. การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรม ข้ามชาติ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยเรื่อง ยาเสพติด

กระทรวงการต่างประเทศ

[8]

กระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงกลาโหม ส�ำนักงานอัยการสูงสุดและ กระทรวงยุติธรรม ส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ สมช./ปปส./สตม./ กระทรวงการต่างประเทศ


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก องค์กรเฉพาะสาขา หน่วยงานที่รับผิดชอบ การประชุม ผอ.ส�ำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมการกงสุล 6. การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือ กระทรวงการต่างประเทศ ด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีเป้าหมายให้ อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการการ ลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี รวมทั้งการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรียิ่งขึ้น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีคุณลักษณะดังนี้  เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน  มีขีดความสามารถสูงในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ  มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน  สามารถบูรณาการเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลก ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มุ่งหวังประโยชน์จากการรวมกัน เพื่อท�ำให้ประชาชนมีการอยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสงิ่ แวดล้อมทีด่ ี และมีความรูส้ กึ เป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน เอื้ออาทรและแบ่งปันกัน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมรวมอาเซียน มีคุณลักษณะดังนี้  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม  ความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน  การส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม  การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน  การลดช่องว่างทางการพัฒนา [9]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากประชาคมอาเซียน 1. ส่ ง เสริ ม และคุ ้ ม ครองสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนและเสรี ภ าพขั้ น พื้ นฐาน ป้องกันความขัดแย้งและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก ธ�ำรง สันติภาพในภูมภิ าค และมีกลไกในการควบคุมการท�ำงานของภาครัฐให้มคี วาม โปร่งใสยิ่งขึ้น โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมแก้ไข ปัญหาต่างๆ มากขึ้น 2. อุปสรรคทางการค้าจะลดลงหรือหมดไป ท�ำให้ไทยสามารถขยาย การส่งออกสินค้าไปยังสมาชิกกลุ่มอาเซียน และการรวมเป็นตลาดเดียวกันจะ ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ อีกทัง้ การคมนาคมและการขนส่งระหว่าง ประเทศจะมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น 3. ประชาชนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัญหาความ ยากจนจะลดลง โดยสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้อย่างทั่วถึง มี สวัสดิการทางสังคมที่มั่นคง และมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น เตรียมความพร้อมอย่างไร ? 1. เรียนรู้และพัฒนาทักษะ การใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาของ ประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับต่างชาติ ที่จะมีมากขึ้นในอนาคต 2. พัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญในงานสาขาเฉพาะด้าน อย่างมี มาตรฐาน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานที่สูงขึ้น 3. ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม และ วั ฒ นธรรมของประเทศ สมาชิกอาเซียน รวมทัง้ กฎ ระเบียบ และข้อบังคับของ อาเซียน เพื่อใช้เป็นข้อมูล ประกอบการตัดสินใจใน การด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ [ 10 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก กฎบัตรอาเซียน (ASEAN CHARTER) ۩۩۩۩۩۩

ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงคโปร์ ผูน้ ำ� อาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึง่ เปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียน ที่จะวางกรอบทางกฎหมาย และโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ อาเซียนในการด�ำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขับเคลือ่ นการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตาม ที่ผู้น�ำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ท�ำให้ อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎ กติกาในการท�ำงานมากขึ้น นอกจากนีก้ ฎบัตรอาเซียนจะเป็นสถานะนิติบุคคล แก่อาเซียนในฐานะทีเ่ ป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)

กฎบัตรอาเซียนประกอบด้วยข้อบทต่างๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็น ใหม่ๆ ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่ (1) การจัดตั้งคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (2) การให้อ�ำนาจเลขาธิการ อาเซียนสอดส่องและรายงานการท�ำตามความตกลงของรัฐสมาชิก (3) การจัด ตัง้ กลไกส�ำหรับการระงับข้อพิพาทต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิก (4) การให้ผนู้ �ำ [ 11 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะด�ำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตร อาเซียนอย่างร้ายแรง (5) การเปิดช่องให้ใช้วธิ กี ารอืน่ ในการตัดสินใจได้หากไม่มี ฉันทามติ (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อแก้ไข ปัญหาทีก่ ระทบต่อผลประโยชน์รว่ ม ซึง่ ท�ำให้การตีความหลักการห้ามแทรกแซง กิจการภายในมีความยืดหยุ่นมากขึ้น (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียน เพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉกุ เฉินได้อย่างทันท่วงที (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสมั พันธ์กบั องค์กรภาคประชาชนสังคม มากขึ้น และ (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ให้มกี ารประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครัง้ ต่อปี จัดตัง้ คณะมนตรีเพือ่ ประสานความ ร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจ�ำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น กฎบัตรอาเซียนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 กล่าวคือ หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน และการประชุมสุดยอดอาเซียนครัง้ ที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นการประชุมระดับผู้น�ำอาเซียนครั้งแรกหลังจาก กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้

[ 12 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ۩۩۩۩۩۩

อาเซียนมีพันธกรณีในการสร้างประชาคมอาเซียนในปี 2558 และเพื่อ ให้บรรลุวัตถุประสงค์นกี้ ารเป็นประชาคมที่เชื่อมโยงกันอย่างเพิ่มพูนจึงมีความ จ�ำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากภูมิภาคอาเซียนที่เชื่อมโยงกันตั้งแต่เครือข่ายการ คมนาคมไปจนถึงประชาชนจะน�ำไปสู่ภูมิภาคอาเซียนที่แข่งขันได้และมีความ ยืดหยุ่นสูง จะท�ำให้ประชากร สินค้า บริการ และทุน เชื่อมโยงใกล้ชิดกันมาก ขึน้ ส่งเสริมให้เกิดสันติภาพและความรุง่ เรืองอย่างต่อเนือ่ งแก่ประชาคมอาเซียน ทั้งหมดนีจ้ ึงเป็นการด�ำเนินการที่สอดคล้องกับกฎบัตรอาเซียน แผนแม่บทว่า ด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนจึงเป็นก้าวส�ำคัญในการก้าวไปสู่ วิสัยทัศน์นี้ ความจ�ำเป็นในการเพิม่ พูนความเชือ่ มโยงระหว่างกันในอาเซียนมีหลาย ด้าน อาเซียนเป็นภูมิภาคซึ่งประกอบด้วยประชากรประมาณ 600 ล้านคน มี ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศรวมกันถึง 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ความ เชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนจึงเป็นสิ่งจ�ำเป็นต่อการรวมตัวของอาเซียน การ เร่งสร้างประชาคมอาเซียน และการเสริมสร้างความเป็นศูนย์กลางและบทบาท ของอาเซียนในการเป็นแรงขับเคลือ่ นในการวางโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของ การรวมตัวกันในภูมภิ าค ความเชือ่ มโยงระหว่างกันของอาเซียนจึงมีความจ�ำเป็น เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเจริญเติบโตเป็นภูมิภาคที่สามารถแข่งขันได้ ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มและเครือข่ายการผลิตร่วมกัน ส่งเสริมการค้าภายใน ภูมิภาค ดึงดูดการลงทุน ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นระหว่างประชาคม อาเซียน รวมทัง้ เพือ่ เสริมสร้างความรูส้ กึ ของการมีประวัตศิ าสตร์และวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงกัน นอกจากนี้อาเซียนจ�ำเป็นต้องตอบสนองร่วมกันต่อโอกาสที่เกิด ขึ้นจากการได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบทางภูมิประเทศ และความท้าทายจากการ แข่งขัน ในสภาวะการค้าและการลงทุนของโลก อาเซียนเป็นภูมภิ าคทีม่ กี ารเจริญ [ 13 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก เติบโตทางเศรษฐกิจ ล้อมรอบด้วยอินเดียทางทิศตะวันตก จีน ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ทางทิศใต้ ใน ช่วงที่ผ่านมาอาเซียนได้บรรลุผลลัพธ์ที่ส�ำคัญในความพยายามรวมกลุ่มทาง เศรษฐกิจ ความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนที่เพิ่มพูนจะสามารถน�ำอาเซียน ไปสู่การเป็นศูนย์รวมการเจริญเติบโตและการพัฒนา รวมทั้งปกป้องการเป็น ศูนย์กลางของอาเซียนภายใต้โครงสร้างสถาปัตยกรรมการรวมตัวกันในภูมภิ าค โดยการลดต้นทุนด้านการลงทุน การค้าสินค้าและบริการระหว่างกัน รัฐบาลไทยได้เสนอแนวคิดให้อาเซียนผลักดันการเชือ่ มโยงระหว่างกัน โดยแนวคิดดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากประเทศสมาชิกอาเซียน และการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 22 - 25 ตุลาคม 2552 ที่ชะอ�ำ-หัวหิน ประเทศไทย ได้จัดตั้งคณะท�ำงานระดับสูงของอาเซียนว่าด้วย การเชื่อมโยง (High Level Task Force on Connectivity) เพื่อยกร่างแผนแม่บท ว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ซึ่งต่อมาผู้น�ำอาเซียนได้ให้การ รับรองแผนแม่บทในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนครัง้ ที่ 17 ณ กรุงฮานอย เมือ่ วันที่ 28 ตุลาคม 2553 แผนแม่บทนี้มีเจตนารมณ์ที่จะเร่งรัดการลงทุนจาก ทั้งภายในและภายนอกอาเซียนให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิก ทั้ง 10 ประเทศ ให้เป็นหนึง่ เดียวทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎระเบียบ และด้านประชาชน ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้มีการก�ำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในแผน แม่บทให้ท�ำการลงทุนก่อสร้างถนน เส้นทางรถไฟ การขนส่งทางน�้ำ การขนส่ง ทางอากาศ รวมทัง้ การเชือ่ มโยงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงการท่อ ก๊าซและระบบสายส่งไฟฟ้าของอาเซียน ความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย  การคมนาคม  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  พลังงาน [ 14 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ในด้านกฎระเบียบ แผนแม่บทนีจ้ ะมีส่วนในการเร่งรัดการอ�ำนวย ความสะดวกในการข้ามแดน โดยมุ่งเน้นให้พิธีการทางด้านศุลกากร พิธีการ ตรวจคนเข้าเมือง การกักกันพืชและสัตว์ ให้มีความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ลด ค่าใช้จา่ ย ในขณะเดียวกันก็ปอ้ งกันและแก้ปญ ั หาทีจ่ ะเกิดจากอาชญากรรมข้าม ชาติ แรงงานผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ และมลภาวะต่างๆ ซึ่งความร่วมมือ เหล่านีจ้ ะช่วยท�ำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วจากการเชือ่ มโยงอาเซียนทีท่ วั่ ถึงกัน และต่อยอดไปสู่การเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ และการลงทุนโดยภาคเอกชนที่ เพิม่ มากขึน้ รวมทัง้ การจัดตัง้ นิคมอุตสาหกรรม และการท�ำโครงการเกษตรแบบ มีสัญญาในประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย ความเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบ ประกอบด้วย  การเปิดเสรีและการอ�ำนวยความสะดวกทางการค้า  การเปิดเสรีและการอ�ำนวยความสะดวกในการบริการและ การลงทุน  ความตกลง/ข้อตกลงยอมรับร่วมกัน  ความตกลงการขนส่งในภูมิภาค  พิธีการในการข้ามพรมแดน  โครงการเสริมสร้างศักยภาพ ในด้ า นประชาชน แผนแม่ บ ทนี้จ ะช่ ว ยเสริ ม สร้ า งการไปมาหาสู ่ ระหว่างกัน ท�ำให้รจู้ กั กัน เข้าอกเข้าใจกันมากขึน้ และเกิดความรูส้ กึ เป็นอาเซียน หนึง่ เดียว ซึ่งเป็นปัจจัยส�ำคัญยิ่งในการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนใน ปี 2558 ความเชื่อมโยงด้านประชาชน ประกอบด้วย  การศึกษาและวัฒนธรรม  การท่องเที่ยว [ 15 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

การสร้างประชาคมอาเซียน

เพิ่มพูนกฎระเบียบ และธรรมาภิบาล ในอาเซียน

เพิ่มพูนการรวมกลุ่มและ ความสามารถในการ แข่งขันของอาเซียน

ลดช่องว่างการพัฒนา

เพิ่มพูนความอยู่ดี กินดีและวิถีชีวิตของ ประชากรอาเซียน

ความเชื่อมโยงประชาชนสู่ประชาชน การท่องเที่ยว การศึกษา วัฒนธรรม ความเชื่อมโยงทางกายภาพ โครงสร้างพื้นฐานแบบแข็ง

ความเชื่อมโยงทางสถาบันโครงสร้างพื้นฐานแบบอ่อน

การขนส่ง : อากาศ ถนน รถไฟ ทะเล ท่าเรือ การบริการขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ: เครือข่ายใยแก้วน�ำแสง พลังงาน : การเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้าอาเซียน การเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซอาเซียน เขตเศรษฐกิจพิเศษ

การเปิดเสรีทางการค้า : ความตกลงการค้าสินค้าในอาเซียน มาตรฐาน การบริการศุลกากร ณ จุดเดียว การรวมศุลกากร การเปิดเสรีการลงทุน : ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน การเปิดเสรีบริการ ข้อตกลงยอมรับร่วมความตกลงการขนส่งใน ภูมิภาคโครงการส่งเสริมศักยภาพ

การระดมทรัพยากร

ทรัพยากรของอาเซียน ธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคี ประเทศคู่เจรจา ภาคเอกชน

ความเชื่อมโยงระหว่างกันของอาเซียน

รูปภาพข้างบนนีจ้ ะแสดงความสัมพันธ์ของความเชื่อมโยงระหว่างกัน ในอาเซียนและการสร้างประชาคมอาเซียน ความเชือ่ มโยงระหว่างกันในอาเซียน สามารถบรรลุผลส�ำเร็จได้จากการเสริมสร้างความเชื่อมโยงด้านโครงสร้าง พืน้ ฐาน และด้านกฎระเบียบ ซึง่ จะลดต้นทุนในการลงทุนและการค้าระหว่างกัน ในด้านสินค้าและบริการ รวมถึงต้นทุนในการเชือ่ มต่อ การให้บริการ และต้นทุน การจัดตั้งเครือข่ายความเพิ่มพูนขึ้น ยังสามารถช่วยลดช่องว่างในการพัฒนา โดยการขยายขอบเขตของเครือข่ายการผลิต และช่วยเสริมสร้างความเชือ่ มโยง ประชาชนสูป่ ระชาชน ซึง่ จะก่อให้เกิดความรูส้ กึ ถึงการเป็นประชาคมในอาเซียน ร่วมกัน [ 16 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ภารกิจที่สำ� คัญในเรื่องนีท้ ี่จะต้องด�ำเนินการต่อไป ได้แก่ การน�ำแผน แม่บทนี้ไปสู่การปฏิบัติ ดังนัน้ อาเซียนจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการประสานงาน ด้านการเชื่อมโยงในอาเซียนหรือ ACCC (ASEAN Connectivity Coordinating Committee) เพื่อท�ำหน้าที่ประสานงานภายในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ให้การ ด�ำเนินการของแต่ละประเทศสอดคล้องกับแผนแม่บททั้งในด้านโครงการและ ก�ำหนดเวลาที่จะต้องด�ำเนินการให้แล้วเสร็จต่อไป

[ 17 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ถาม-ตอบเกี่ยวกับอาเซียน ☺ ASEAN ย่อมาจากอะไร ?

 Association of Southeast Asian Nations หรือสมาคมประชาชาติ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ☺ อาเซียนเริม่ ก่อตัง้ ครัง้ แรก (8 สิงหาคม 2510) ประกอบด้วยสมาชิกทัง้ หมด กี่ประเทศ ประเทศใดบ้าง ?  5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ☺ ปัจจุบันอาเซียน ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง ?  บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลปิ ปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ☺ อาเซียน + 3 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง ?  กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศจีน เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น ☺ อาเซียน + 6 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง ?  กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์ ☺ ค�ำขวัญอาเซียน มีว่าอย่างไร ?  “หนึง่ วิสัยทัศน์ หนึง่ เอกลักษณ์ หนึง่ ประชาคม” (One Vision, One Identity, One Community) ☺ 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยความร่วมมือด้านใดบ้าง ?  1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) ☺ ส�ำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่ใด ?  กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ☺ ใครคือเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน ?  ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ (ล�ำดับที่ 12 พ.ศ. 2551 - 2555) [ 18 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ☺ สัญลักษณ์อาเซียนสื่อความหมายใดบ้าง ?

 รู ป รวงข้ า วสี เหลื อ งบนพื้ น สี แดงล้ อ มรอบด้ ว ยวงกลมสี ข าวและ สีน�้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อ มิตรภาพและความเป็นน�้ำหนึง่ ใจเดียวกัน o สีน�้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง o สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และความ ก้าวหน้า o สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ o สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

☺ อาเซียนตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ในปีใด ?

 ปี 2558 (ค.ศ. 2015) ☺ กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คืออะไร และมีความส�ำคัญอย่างไร ?  กฎบัตรอาเซียน คือ ธรรมนูญอาเซียนที่จะมีการวางกรอบของ กฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการขับ เคลื่อนเพื่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนเป็น องค์กรระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพในกติกาการท�ำงานระหว่างกันมากยิ่งขึ้น ☺ ADMM คืออะไร ?  การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Ministers’ Meeting : ADMM) ผูเ้ ข้าร่วมการประชุมฯ ประกอบด้วยรัฐมนตรีวา่ การกระทรวง กลาโหมหรือผู้แทนของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และเลขาธิการ อาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ให้คำ� แนะน�ำและเสนอแนวทางต่อเวทีการหารือและความร่วมมือทีม่ อี ยูแ่ ล้วของ เจ้าหน้าทีร่ ะดับสูงภายในกลุม่ ประเทศสมาชิกอาเซียน และระหว่างกลุม่ ประเทศ สมาชิกอาเซียนกับประเทศอืน่ ๆ รวมทัง้ สนับสนุนความไว้วางใจระหว่างกัน และ สร้างความเชื่อมั่นโดยการสร้างความโปร่งใสและเปิดเผย [ 19 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ☺ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (ADMM-Plus)

ครั้งที่ 1 เมื่อ 12 ตุลาคม 2553 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม ที่ประชุมฯ ได้ หารือกันในความร่วมมือด้านใดบ้าง ?  1. การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (Humanitarian Assistance and Disaster Relief : HADR) 2. ความมั่นคงทางทะเล (Maritime Security) 3. การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Peacekeeping Operations) 4. การแพทย์ทางทหาร (Military Medicine) 5. การต่อต้านการก่อการร้าย (Counter-Terrorism) ☺ ASEAN Regional Forum (ARF) คืออะไร  ARF เป็นการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและ ความมัน่ คงในภูมภิ าคเอเชีย-แปซิฟกิ ซึง่ เป็นเวทีและกลไกทีอ่ าเซียนจัดตัง้ ขึน้ มา เพือ่ เป็นช่องทางทีจ่ ะมีปฏิสมั พันธ์กบั ประเทศส�ำคัญนอกภูมภิ าคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ การประชุม ARF ครัง้ แรก ได้จดั ขึน้ ณ กรุงเทพฯ เมือ่ วันที่ 25 กรกฎาคม 2537 ปัจจุบนั มีประเทศเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน 9 ประเทศ กับอีก 1 กลุ่มประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย อินเดีย และสหภาพยุโรป

[ 20 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก การเตรียมความพร้อมของกองทัพบก ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ۩۩۩۩۩۩

จากการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “บทบาทของกองทัพบกในการเตรียม ความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558” เมื่อวันที่ 23 - 25 พ.ค. 55 ณ โรงแรมจอมเทียนปาล์มบีช รีสอร์ท พัทยา จว.ชลบุรี โดยมีผเู้ ข้าร่วมสัมมนาฯ จ�ำนวนทั้งสิ้น 90 นาย ได้ผลการสัมมนาฯ ดังนี้ การเตรี ย มความพร้ อ มด้ า นก� ำ ลั ง พลและยุ ท โธปกรณ์ เพื่ อ ปรั บ ปรุ ง ศักยภาพกองทัพบกในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จากการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและประเทศคู่เจรจา (ADMMPlus) ครั้งที่ 1 น�ำไปสู่ความร่วมมือบนพื้นฐานผลประโยชน์ร่วมกันใน 5 ด้าน คือ 1) การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบตั ิ 2) ความมัน่ คง ทางทะเล 3) การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ 4) การแพทย์ทางทหาร และ 5) การ ต่อต้านการก่อการร้าย ท�ำให้กระทรวงกลาโหมจ�ำเป็นต้องปรับปรุงการด�ำเนินงาน ให้รองรับภารกิจและสอดคล้องกับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งรวมถึงการเตรียมความพร้อมของหน่วยยุทโธปกรณ์ บุคลากร ให้มีความเป็น สากลและสามารถรองรับการแก้ไขปัญหาร่วมกันของอาเซียนในภาพรวม จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 77 ...รัฐต้องพิทกั ษ์รกั ษาไว้ซงึ่ สถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และ บูรณภาพแห่งเขตอ�ำนาจรัฐ และต้องจัดให้มกี ำ� ลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และ เทคโนโลยีที่ทันสมัย จ�ำเป็น และเพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย และความมัน่ คงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยท์ รงเป็นประมุข และเพือ่ การ พัฒนาประเทศ... [ 21 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก และพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 มาตรา 8 กระทรวงกลาโหม มีอ�ำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. พิทักษ์รักษาเอกราชและความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรจากภัย คุกคามทัง้ ภายนอกและภายในราชอาณาจักร ปราบปรามกบฏและการจลาจล โดยจัดให้มแี ละใช้กำ� ลังทหารตามทีร่ ฐั ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือตาม ที่กฎหมายก�ำหนด 2. พิทกั ษ์รกั ษาปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนสนับสนุน ภารกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์ 3. ปกป้องพิทักษ์รักษาผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พัฒนาประเทศเพื่อ ความมั่ น คงตลอดจนสนั บ สนุ น ภารกิ จ อื่ น ของรั ฐ ในการพั ฒ นาประเทศ การป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติ และการช่วยเหลือประชาชน 4. ศึกษา วิจัยพัฒนา และด�ำเนินการด้านอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศและพลังงานทหารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปอ้ งกันประเทศ และ ด้านกิจการอวกาศ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ทั้งนี้เพื่อสนับสนุน ภารกิจของกระทรวงและความมั่งคงของประเทศ 5. ปฏิ บั ติ ก ารอื่ นที่ เป็ นการปฏิ บั ติ ก ารทางทหารนอกเหนื อ จาก สงคราม เพื่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือปฏิบัติการอื่นใด ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายก�ำหนดหรือตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะเห็นได้ว่า กระทรวงกลาโหมนัน้ มีหน้าที่บางประการสอดคล้อง กับการด�ำเนินการต่างๆ เพื่อรวมกันเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 และ กระทรวงกลาโหมก�ำลังด�ำเนินการปรับปรุงระเบียบต่างๆ ให้สอดคล้องกับการ รวมตัวของประชาคมอาเซียนมากขึ้น หน้าที่ของกองทัพบกตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการ กห. พ.ศ. 2551 มาตรา 19 [ 22 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ...กองทัพบกมีหน้าทีเ่ ตรียมก�ำลังกองทัพบก การป้องกันราชอาณาจักร และการด�ำเนินการเกี่ยวกับการใช้ก�ำลังกองทัพบก ตามอ�ำนาจหน้าที่ของ กระทรวงกลาโหม มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ... และจากภารกิจของกองทัพบก ซึง่ ได้แก่ 1) การป้องกันประเทศ 2) การ รักษาความมั่นคงภายใน 3) การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ 4) การพัฒนาประเทศเพือ่ ความมัน่ คงและการช่วยเหลือประชาชน 5) การปฏิบตั ิ การทางทหารนอกเหนือจากสงคราม 6) การพิทักษ์รักษา ปกป้อง และเทิดทูน สถาบันพระมหากษัตริย์ กองทัพบกในฐานะสถาบันอันมีบทบาทส�ำคัญในการรักษาความมัน่ คง และปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล จ�ำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมในด้าน ก�ำลังพลและยุทโธปกรณ์เพือ่ ปรับปรุงศักยภาพในการเข้าสูป่ ระชาคมอาเซียน ดังนี้ 1. การเตรียมความพร้อมด้านก�ำลังพล 1.1 ด้านความรู้และสติปัญญา ก�ำลังพลต้องได้รบั การปลูกฝังความรูแ้ ละผลกระทบจากการ เป็นประชาคมอาเซียน รวมถึงความรู้พื้นฐาน ซึ่งจ�ำเป็นต่อการสร้างความ สัมพันธ์กับกองทัพและประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะมีโอกาส ปฏิ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งกั น ยิ่ ง ขึ้ น รวมถึ ง ความตระหนั ก รู ้ ถึ ง พลวั ต ของการ เปลีย่ นแปลงในสังคมการเมืองระหว่างประเทศ ทัง้ ในระดับภูมภิ าคและในระดับ โลกในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับหน้าทีแ่ ละวิถชี วี ติ ของตน โดยจัดตัง้ ศูนย์การเรียนรูแ้ ละ การใช้สื่อของกองทัพบก และเครื่องมือประชาสัมพันธ์ของหน่วย 1.2 ด้านทักษะและความสามารถ ยกระดับความเชี่ยวชาญของก�ำลังพลในหน้าที่ตาม ชกท. ของตนเอง เพือ่ ให้มที กั ษะเฉพาะตอบสนองภารกิจทีไ่ ด้รบั มอบหมาย การฝึกฝน และเสริมสร้างความรู้ที่จ�ำเป็นต่อการปฏิบัติภารกิจที่เป็นสากลมากขึ้น เช่น ภาษาอังกฤษ และภาษา (พื้นฐาน) ของประเทศสมาชิกอาเซียน กฎหมาย ระหว่างประเทศและหลักสิทธิมนุษยชน เป็นต้น นอกจากนีก้ �ำลังพลควรได้รับ [ 23 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก การฝึกฝนเพิ่มเติมในการปฏิบัติร่วมกับกองทัพประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึง การท�ำงานร่วมกับฝ่ายพลเรือนและภาคประชาสังคม ซึง่ จะตรวจสอบการท�ำงาน และประสานงานกับกองทัพบกมากยิ่งขึ้น 1.3 ด้านทัศนคติและความเป็นผู้นำ� ตระหนักรู้ถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติภายใต้ความแตกต่าง ทางชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมอันหลากหลาย โดยปราศจากอคติ และกีดกันในการอยู่ร่วมกัน อีกทั้งสนับสนุนก�ำลังพลในการแสดงออกถึงความ เป็นผู้นำ� และการเสนอความริเริ่มใหม่ๆ 1.4 ด้านสมรรถภาพและสุขภาพ ส่งเสริมให้กำ� ลังพลของกองทัพบก มีสขุ ภาพแข็งแรงสง่างาม 2. การเตรียมความพร้อมด้านยุทโธปกรณ์ เตรียมความพร้อมด้านยุทโธปกรณ์ โดยค�ำนึงถึงความพร้อมรบ และความทันสมัย โดยจัดกลุ่มตามลักษณะการใช้งานที่มีคุณลักษณะพื้นฐาน ที่ใช้งานร่วมกัน และทดแทนกันได้อย่างเป็นสากลบนพื้นฐานในการปฏิบัติการ ร่วม รวมทัง้ ระบบในการแลกเปลีย่ นข้อมูลและติดต่อสือ่ สารอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นที่การใช้ยุทโธปกรณ์และทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ภายใต้เงื่อนไขของ งบประมาณที่มีอยู่จ�ำกัดและการแบ่งหน้าที่ตามความสามารถของประเทศ สมาชิกอาเซียน ทั้งนี้ กองทัพบกมีองค์ความรู้ หน่วยงาน และช่องทางในการสื่อสาร กับก�ำลังพลและสังคมอย่างเพียงพอ แต่ขาดการน�ำไปใช้ในการเตรียมความ พร้อมด้านการพัฒนาก�ำลังพลอย่างมีประสิทธิภาพ กองทัพบกจ�ำเป็นต้อง ก�ำหนดระดับของความรู้และทักษะต่างๆ ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ให้แก่ ก�ำลังพลในระดับต่างๆ และมีการก�ำหนดแผนงานแก่หน่วยปฏิบัติอย่างชัดเจน ในขณะที่การเตรียมความพร้อมด้านยุทโธปกรณ์ต้องสามารถน�ำมาใช้ทดแทน และใช้ร่วมกันได้เพื่อเตรียมพร้อมในการปฏิบัติการร่วมในภารกิจต่างๆ เพื่อ สันติภาพและเสถียรภาพที่ยั่งยืนของภูมิภาคต่อไป [ 24 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก การเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาของกองทัพบก ۩۩۩۩۩۩

กล่าวน�ำ ประเทศสมาชิกอาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าการศึกษาเป็นปัจจัยที่สำ� คัญยิ่งในการพัฒนา ประเทศ ปฏิญญาว่าด้วยแผนงานส�ำหรับประชาคมอาเซียน ได้ให้ความส�ำคัญ ในการใช้กลไกการศึกษาขับเคลื่อนอาเซียนให้บรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ที่ มุ่งให้อาเซียนมีวิสัยทัศน์สู่ภายนอก มีสันติสุข และเชื่อมโยงเข้าด้วยกันในการ เป็นหุน้ ส่วนในสิง่ แวดล้อมของประชาธิปไตยและมีอยูร่ ว่ มกันอย่างกลมกลืน การ พัฒนาทีม่ พี ลวัต และการรวมตัวทางเศรษฐกิจทีใ่ กล้ชดิ และในสังคมทีเ่ อือ้ อาทร ที่ระลึกถึงสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ รับรู้มรดกทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกัน และเชื่อมในอัตลักษณ์ของภูมิภาค ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึง่ ในสมาชิกอาเซียน ได้ตระหนักถึงบทบาทและ ภารกิจส�ำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือกับอาเซียน เพือ่ สร้างความแข็งแกร่ง ของอาเซียนในเวทีโลก โดยเฉพาะการใช้กลไกความร่วมมือด้านการศึกษาน�ำพา อาเซียนสู่การเป็นประชาคมที่มีความมั่นคง บริบทความร่วมมือด้านการศึกษาของอาเซียน ความร่วมมือด้านการศึกษาของประชาคมอาเซียน ได้มกี ารลงนามใน ปฏิญญาชะอ�ำ-หัวหิน ประกอบด้วยความร่วมมือใน 3 เสาหลัก คือ ประชาคม ด้านการเมืองและความมั่นคง โดยใช้การศึกษาเป็นตัวน�ำ ประชาคมด้าน เศรษฐกิจ ทุกประเทศจะต้องพัฒนาความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก และ ประชาคมด้านสังคมและวัฒนธรรม ให้ถอื ว่าความงดงามมาจากความแตก ต่างและหลากหลาย วัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ไม่จ�ำเป็นต้องเหมือนกัน แต่ใน ความหลากหลายทางวัฒนธรรมนัน้ จะช่วยสร้างความร่วมมือในลักษณะสังคม เอื้ออาทร โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ ทั้ง 3 เสาหลักส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกัน [ 25 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก และกัน เพื่อให้สามารถก้าวไปสู่ความส�ำเร็จของการเป็นประชาคมอาเซียนได้ ภายในปี 2558 จากปฏิญญาดังกล่าว ส่งผลให้ทกุ ภาคส่วนต้องเร่งแสวงหาความร่วม มือเพือ่ เดินหน้าขับเคลือ่ นพลเมืองไทยให้กา้ วสูป่ ระชาคมอาเซียนตามเป้าหมาย โดยเฉพาะให้กลไกการศึกษาเป็นตัวน�ำส�ำคัญในการขับเคลื่อนให้สามารถก้าว ไปได้อย่างมีทิศทาง ผสานประโยชน์ร่วมกัน มีขอ้ เสนอแนวทางมากมายเกีย่ วกับการเตรียมพลเมืองด้านการศึกษา เช่น การให้ความรู้แก่พลเมือง ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้าน การสร้าง อัตลักษณ์อาเซียน และจิตส�ำนึกของพลเมืองอาเซียน ทุกภาคส่วนในสังคมร่วม จัดกิจกรรมด้านการศึกษา เช่น การจัดหลักสูตรการศึกษาอาเซียน ด้วยการ ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้าน เป็นต้น การด�ำเนินโครงการพัฒนาประชาคมสู่อาเซียน (Spirit of ASEAN) เพื่อ รองรับการรวมกลุ่มของประเทศอาเซียนในปี 2558 เช่น โรงเรียน Buffer School เป็นโรงเรียนที่อยู่ติดชายแดนกับประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ ลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย โรงเรียน Sister School เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อม มีความเข้มแข็งทั้งในเรื่องของภาษาและ ICT ที่อยู่ในพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่ติดชายแดน แต่มปี ระสานสัมพันธ์กบั อาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลปิ ปินส์ อินโดนีเซีย และบรูไน เป็นต้น การเคลื่อนย้ายแรงงาน เมือ่ พิจารณาด้านแรงงานของอาเซียน จะเห็นได้วา่ มีการก�ำหนดสาขา วิชาชีพหลักทีม่ กี ารจัดท�ำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน หรือ MRA (Mutual Recognition Agreement) เพื่อรับรองคุณสมบัติวิชาชีพ และช่วยอ�ำนวยความสะดวกในการ เคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 8 สาขา คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี การส�ำรวจ และการท่องเที่ยว นัน่ หมายความว่า วิชาชีพเหล่านีจ้ ะมีการแข่งขันกันสูง เราจึงต้องพัฒนาให้พร้อมกับการแข่งขัน [ 26 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก และในอนาคตเป็นไปได้ทอี่ าเซียนจะพิจารณาให้เปิดเสรีในสาขาวิชาชีพอืน่ ด้วย ในการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพทัง้ 8 สาขา นอกจากต้องให้ความส�ำคัญ กับวิชาพื้นฐาน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีให้ได้เป็นอย่างดีแล้ว ก็จ�ำเป็นต้อง พัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย เนื่องจากกฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัตเิ อาไว้วา่ “ภาษาทีใ่ ช้ในการท�ำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ” (The working language of ASEAN shall be English) ประเทศทีจ่ ะแข่งขันในเวทีอาเซียน ได้ จึงต้องมีความช�ำนาญในภาษาอังกฤษด้วย ระดับการพัฒนามนุษย์ของอาเซียน หากพิจารณาดัชนีการพัฒนามนุษย์โดยดูขอ้ มูลจาก Human Development Report 2011 ของ UNDP พิจารณาเฉพาะดัชนีการศึกษา (Education Index) ที่ค�ำนวณจากอัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่ และสัดส่วนของเด็กวัยเรียนที่ได้รับ การศึกษาระดับประถมจนถึงอุดมศึกษา ซึ่งมีการแบ่งกลุ่มและจัดอันดับจาก ทั้งหมด 187 ประเทศ แต่จะเปรียบเทียบเฉพาะสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ปรากฏว่า กลุม่ ประเทศทีม่ กี ารพัฒนามนุษย์ระดับสูงมาก ได้แก่ สิงคโปร์ (ล�ำดับ ที่ 26) และบรูไน (ล�ำดับที่ 33) กลุม่ ประเทศทีม่ กี ารพัฒนามนุษย์ระดับสูง ได้แก่ มาเลเซีย (ล�ำดับที่ 61) กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับปานกลาง ได้แก่ ไทย (ล�ำดับ ที่ 103) ฟิลิปปินส์ (ล�ำดับที่ 112) อินโดนีเซีย (ล�ำดับที่ 124) เวียดนาม (ล�ำดับที่ 128) สปป.ลาว (ล�ำดับที่ 138) และกัมพูชา (ล�ำดับที่ 139) กลุม่ ประเทศทีม่ กี ารพัฒนามนุษย์ในระดับต�ำ ่ ได้แก่ พม่า (ล�ำดับที่ 149) จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ มี ความแตกต่างทางการศึกษาค่อนข้างมาก ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากที่จะแข่งขันกัน ได้อย่างเป็นธรรม อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องการยอมรับในคุณภาพการศึกษาของ ประเทศที่มีลำ� ดับการพัฒนามนุษย์ที่ต�่ำกว่า [ 27 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ถ้าหากพัฒนาบุคลากรของประเทศไม่ทนั การเปลีย่ นแปลงทีส่ ำ� คัญใน ครั้งนี้ ไทยจะแข่งขันกับประเทศที่มีศักยภาพสูงอย่างสิงคโปร์และมาเลเซียได้ ยาก นอกจากนีก้ ารแข่งขันกับแรงงานชาวฟิลปิ ปินส์ทสี่ ามารถติดต่อสือ่ สารโดย ใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ก็ค่อนข้างยากเช่นกัน การเร่งส่งเสริมพัฒนาการ ศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ให้ได้มาตรฐาน รวมทัง้ ปรับปรุงรูปแบบวิธกี ารเรียนการ สอน ตลอดจนเทคโนโลยีทางการศึกษา เพือ่ กระตุน้ การเรียนรูใ้ ห้มปี ระสิทธิภาพ มากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้พลเมืองไทยก้าวสู่ตลาดอาเซียนได้อย่างมีคุณภาพ การเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาของก�ำลังพลในกองทัพบก จากสภาพการตื่นตัวทางด้านการศึกษาและการแข่งขันของตลาด แรงงานในกลุม่ ประเทศอาเซียนดังกล่าว ในบริบทของกองทัพบกได้มกี ารศึกษา หาข้อเสนอเพื่อเตรียมก�ำลังพลในกองทัพบกในด้านต่างๆ ที่ส�ำคัญดังนีค้ ือ การศึกษาด้านต่างๆ  ด้านภาษานัน ้ พบว่าภาษาอังกฤษ ยังคงมีความส�ำคัญอย่าง มาก เนือ่ งจากเป็นภาษากลาง เป็นพืน้ ฐานส�ำหรับในการติดต่อสือ่ สาร และการ ศึกษาร่วมกันภายในกลุ่มประเทศอาเซียน ส่วนภาษาท้องถิ่นเฉพาะภายใน ประเทศอาเซียนที่มีความหลากหลายยังมีความจ� ำเป็นอยู่เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อ เป็ นการเตรี ย มความพร้ อ มบุ ค ลากรและก� ำ ลั ง พลที่ เ กี่ ย วข้ อ งในการเข้ า สู ่ ประชาคมอาเซียนในปี 2558  ด้านวัฒนธรรมและสังคม ก�ำลังพลในกองทัพบกต้องมี ความรูเ้ กีย่ วกับวิถปี ฏิบตั ติ า่ งๆ ประเพณี วัฒนธรรมทีส่ ำ� คัญของแต่ละชาติ ทัง้ นี้ เพื่อให้ก�ำลังพลได้เข้าใจถึงวัฒนธรรมและสังคมของประเทศในกลุ่มอาเซียน อย่างลึกซึ้งว่ามีความเป็นมาอย่างไร ซึ่งจะมีผลต่อทัศนคติที่ดีร่วมกันของคน ในชาติอาเซียนเหล่านัน้  ด้านหลักสูตรหลักการศึกษาในกองทัพและกระทรวงกลาโหม การศึกษาในหลักสูตรส�ำคัญ ได้แก่ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัย [ 28 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก เสนาธิการทหาร วิทยาลัยการทัพ และโรงเรียนเสนาธิการเหล่าทัพต่างๆ หลักสูตรชัน้ นายร้อย หลักสูตรชัน้ นายพัน หลักสูตรนายสิบชัน้ ต้น และหลักสูตร นายสิบอาวุโส รวมทั้งหลักสูตรผู้ช�ำนาญพิเศษเฉพาะด้าน ควรมีการพัฒนา เนือ้ หาทีเ่ กีย่ วข้องกับบริบทและความเชือ่ มโยงต่างๆ ของประเทศภายในอาเซียน และระหว่างกลุ่มอาเซียนกับกลุ่มประเทศที่เป็นหุ้นส่วนต่างๆ  ให้มีการพัฒนาหลักสูตรเฉพาะภารกิจในกระทรวงกลาโหม หรือเหล่าทัพ เพือ่ เตรียมก�ำลังพลสนับสนุนภารกิจตามข้อตกลงร่วม ๕ ประการ ของอาเซียน ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัย พิบัติ การรักษาความมั่นคงทางทะเล การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ การแพทย์ ทางทหาร และการต่อต้านการก่อการร้าย  ให้ มี ก ารแลกเปลี่ ย นผู ้ เรี ย นและผู ้ ส อน เพื่ อ ให้ เ กิ ด การ แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ซึ่งกันและกันภายในประชาคมอาเซียน โดยให้มีกิจกรรม การฝึก และศึกษาร่วมในทุกระดับให้มากยิ่งขึ้น ด้านการเตรียมหลักสูตร  พัฒนามาตรฐานเนือ้ หาหลักสูตร ให้มคี วามเป็นสากล ด�ำเนิน การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ ในปัจจุบนั และสภาวะแวดล้อมของการเข้าร่วมกับประชาคมการเมืองและความ มั่นคงอาเซียน  พัฒนาหลักสูตรพิเศษในสาขาวิชาที่ตรงตามความต้องการ ของกองทัพบก ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมสาขาวิชาที่รองรับบทบาทของกองทัพบก ในประชาคมอาเซียน โดยให้มีการสอดแทรกวัฒนธรรม ความเชื่อในเนื้อหา หลักสูตร โดยให้ประเทศภายในประชาคมอาเซียนเข้าใจวัฒนธรรม ประเพณี เพื่อสร้างมิตรภาพ และลดความหวาดระแวงซึ่งกันและกันในกลุ่มประชาคม อาเซียน รวมทั้งให้มีการเตรียมหลักสูตร และความพร้อมในด้านต่าง ๆ ส�ำหรับ การเรียนการสอนด้วยระบบ E-learning [ 29 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ปัญหาข้อขัดข้อง ก�ำลังพลในกองทัพบกส่วนใหญ่ยังมีปัญหาทางด้านภาษา ท�ำให้ขาด ความพร้อมในด้านภาษาอังกฤษ และภาษาประเทศในอาเซียน นอกจากนี้ยังมี ปัญหาทางงบประมาณทีจ่ ดั สรรงบประมาณเฉพาะในด้านการศึกษาทีย่ งั ไม่เพียง พอ ทั้งนี้เพื่อใช้ในการจัดการอบรมในด้านภาษา หรือหลักสูตรอื่นๆ ที่จำ� เป็นใน การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนให้กับก�ำลังพลทุกระดับชั้น รวมทั้งการจัดสวัสดิการสนับสนุนให้แก่นายทหารแลกเปลี่ยนในกลุ่มประเทศ อาเซียน การติดตามและประเมินผลประสิทธิภาพการสอน ต้องติดตามประเมิน ผลการเรียนการสอนอย่างจริงจัง เพื่อน�ำไปปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพ ของก�ำลังพล ผู้เข้ารับการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพของอาจารย์ ผู้สอน ข้อเสนอแนะในการพัฒนา  การพัฒนาภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่น ควรมีการพัฒนา คุณภาพวิทยากร อาจารย์ผู้สอน ให้มีคุณภาพ มีเนื้อหาที่ท�ำการสอนเกี่ยวข้อง กับการสนทนาในชีวติ ประจ�ำวัน และศัพท์เฉพาะทางเทคนิคของแต่ละเหล่าสาย วิทยาการนัน้ ๆ เน้นกระบวนการเรียนการสอนโดยเพิ่มการฝึกฝนในแต่ละทักษะ มีกิจกรรม Learning by doing เช่น การพูดภาษาอังกฤษในหน่วย คัดเลือกก�ำลัง พลเข้ารับการศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการ เพื่อสามารถ น�ำไปถ่ายทอดแก่กำ� ลังพลในระดับ Unit School จัดสรรงบประมาณเพิ่มส�ำหรับ เพิ่มจ�ำนวนก�ำลังพลในการเข้ารับการศึกษาเพื่อให้มีความพร้อมทางด้านภาษา ให้มากขึ้น  เพิ่มแรงจูงใจในรูปการเพิ่มค่าตอบแทนส�ำหรับการศึกษาภาษา ประเทศในอาเซียนเพิ่มเติม โดยพิจารณาให้เป็นความสามารถพิเศษ เพื่อการ ปฏิบตั งิ านในอนาคต ให้มกี ารน�ำผลการประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอน มาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง [ 30 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก  ควรเพิ่ ม ความสนใจในการศึ ก ษาภาษาต่ า งชาติ อื่ น ๆ นอก ประชาคมอาเซียน เช่น ภาษาจีน เพราะประเทศอาเซียนมีกรอบความร่วมมือ กับประเทศอื่นๆ โดยมีแรงจูงใจในการศึกษาภาษาที่ 2 หรือที่ 3 เช่น การมีเงิน เพิ่มพิเศษ โดยให้ความส�ำคัญกับภาษาที่จะไปปฏิบัติงานในพื้นที่ต่างๆ และให้ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยมีผู้สอนเป็นเจ้าของภาษาเป็นผู้ถ่ายทอด  ให้ มี ก ารเสริ ม ความรู ้ ให้ กั บ ก� ำ ลั ง พล ในด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ วัฒนธรรม สังคม  ให้มีการเตรียมก�ำลังพลให้พร้อม ในด้านการศึกษา การฝึกร่วม  ให้มีการเพิ่มจ�ำนวนทุนการศึกษา ในส่วนของความร่วมมือกัน การวิจัยร่วมกันระหว่างประเทศ และการฝึกปฏิบัติการร่วม  กรมยุทธศึกษาทหารบก ควรจัดตัง้ องค์กรส�ำหรับรับผิดชอบติดต่อ ประสานงานในด้านการฝึกศึกษาในหลักสูตรต่างๆ และจัดเตรียมพัฒนา หลักสูตรภาษาอังกฤษแบบใหม่ เน้นทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ให้มากยิ่งขึ้น โดยเน้นการสนทนาในชีวิตประจ�ำวัน และศัพท์เฉพาะทางทหารของแต่ละเหล่า  ควรให้ก�ำลังพลท�ำการศึกษา และท�ำความเข้าใจในกฎหมาย ระหว่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มทักษะและความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้งให้มี มุมมองในด้านความมั่นคงระดับนานาชาติ  การฝึกศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะในการเจรจาต่อรองในเวที ระดับอาเซียนให้กับก�ำลังพล  แผนปฏิบัติการในระยะสั้น จัดให้มีหน่วยประสานงานนาย ทหารนักเรียนต่างชาติ เพื่อดูแลด้านสวัสดิการ ความเป็นอยู่ของนายทหาร นักเรียน ท�ำการผลิตสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมในรูปภาษาอังกฤษ และ ภาษาในประเทศอาเซียน ให้มโี ครงการแลกเปลีย่ น และศึกษาดูงานของอาจารย์ และนักเรียน เพื่อน�ำมาพัฒนา และปรับใช้ให้เกิดประโยชน์  แผนปฏิบตั กิ ารในระยะปานกลาง จัดตัง้ หน่วยงานประสานงาน ด้านการศึกษาโดยเฉพาะส�ำหรับในกลุม่ ประชาคมอาเซียน ได้แก่ การประสานงาน [ 31 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก กับประเทศสมาชิก ก�ำหนดคุณสมบัตดิ า้ นการศึกษา เพือ่ ใช้ในการคัดเลือกก�ำลัง พลเพื่อไปปฏิบัติงานนอกประเทศให้เหมาะสมกับภารกิจในประเทศนัน้ ๆ และ เพือ่ เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ก่อนการเดินทางไปปฏิบัตงิ าน จัดหลักสูตร การศึกษาประวัตคิ วามเป็นมาทีเ่ กีย่ วข้องกับอาเซียน ตัง้ แต่อดีตถึงปัจจุบนั และ ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากประชาคมอาเซียน  แผนปฏิบัติการในระยะยาว ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับความร่วมมือ 5 ด้าน การสร้างเครือข่าย การศึกษากับสถาบันทีม่ ศี กั ยภาพในรูปแบบการขอความร่วมมือ หรือร่วมพัฒนา ในรูปแบบต่างๆ จัดการฝึก/ศึกษาให้กับฝ่ายอ�ำนวยการร่วมกันระหว่างประเทศ ในประชาคมอาเซียน (การฝึก CPX และ CTX)

[ 32 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก การเตรียมความพร้อมของกองทัพบกต่อความรับผิดชอบ ในด้านความมั่นคง ۩۩۩۩۩۩

การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง ทั้งในมิติที่ เกิดขึ้นภายในประเทศ และความผันผวนของสถานการณ์ด้านความมั่นคงที่ ก่อตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในมิติของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้สร้างความ ท้าทายและโอกาสแก่กองทัพในการปรับเปลี่ยนบทบาทให้เหมาะสมอยู่ตลอด เวลา ซึ่งอาจท�ำให้เกิดผลกระทบต่อประชาคมอาเซียนในด้านความมั่นคง เช่น แรงงานผิดกฎหมาย การค้ายาเสพติด ปัญหาเขตแดนระหว่างประเทศ การ ก่อการร้ายข้ามชาติหรืออื่นๆ ซึ่งอาจมีผลไปสู่การปรับปรุงยุทธศาสตร์ การ ป้องกันประเทศ รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ของกระทรวงกลาโหม การปรับปรุงแผนป้องกันประเทศ และภารกิจของกองก�ำลังป้องกันชายแดนให้ สอดคล้องกับการเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต ปัจจุบันอาเซียนได้จัดท�ำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและ ความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยมี เป้าหมายส่วนหนึง่ เพื่อให้อาเซียนสามารถเผชิญกับภัยคุกคามด้านความมั่นคง ในรูปแบบใหม่ ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความ มั่นคงส�ำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้าน โดยครอบคลุมความร่วมมือเพื่อ เสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม โดยการสร้างมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจและการระงับข้อพิพาทโดยสันติ เพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศ สมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกันโดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวงต่อกัน รวมทั้ง ขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยเป้าหมายรวมใน ประชาคมการเมืองและความมั่นคง สามารถสรุปได้คือ ส่งเสริมสันติภาพและ ความมัน่ คง อยูร่ ว่ มกันโดยสันติ แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งโดยสันติวธิ ี สร้างกฎเกณฑ์ และค่านิยมร่วมกันในด้านประชาธิปไตย เคารพในสิทธิมนุษยชน ความรับผิดชอบ ร่วมกันในการสร้างความมั่นคงที่ครอบคลุมรอบด้าน เช่น โรคระบาด ภัยพิบัติ ธรรมชาติ และการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับโลกภายนอก [ 33 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก หากจะพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมกองทัพบกเพื่อให้มี ความพร้อมในการเข้าสูป่ ระชาคมอาเซียน สามารถพิจารณาได้จากปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก และการประเมินสภาพภัยคุกคามในอนาคตดังนี้ คือ ปัจจัยภายนอกกองทัพบก อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยดังกล่าวเกิดจาก การรวมตัวกันของประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน ซึ่งจะก่อให้เกิดการ เชื่อมโยงและการเชื่อมต่อกันอย่างกว้างขวาง มีการค้าขายและการคมนาคม ที่ เพิ่ ม มากขึ้ น โดยเฉพาะการผ่ า นแดน การเคลื่ อ นย้ า ยเงิ นทุ น และการ เคลื่อนย้ายของแรงงาน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะก่อให้เกิดผลกระทบ ได้ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบต่องานด้านความมั่นคง การรวมตัวกันของประชาคมอาเซียน จะก่อให้เกิดการร่วมมือกันใน ระดับพหุภาคีในหลายๆ ด้าน แต่อย่างไรก็ตามการร่วมมือกันระดับทวิภาคีก็ยัง คงมีอยู่ สิ่งที่น่าสังเกตคือพันธสัญญาต่างๆ ที่ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศได้ ท�ำไว้กับคู่กรณีนอกประชาคมอาเซียน เช่น กรณีกลุ่มประเทศอินโดจีนกับจีน รัสเซีย ฝรั่งเศส และสิงคโปร์ และมาเลเซีย กับกลุ่มเครือจักรภพอังกฤษ เป็นต้น จะเป็นสิ่งที่ท�ำให้ยากที่จะคาดเดาได้ว่าการรวมตัวกันของประชาคมอาเซียนจะ มีประสิทธิภาพหรือเหนียวแน่นเพียงใด แม้วา่ จะมีประชาคมอาเซียนเกิดขึน้ ในปี 2558 ก็ตาม แต่เชือ่ ได้วา่ แต่ละ ประเทศยังคงยึดถือผลประโยชน์ของชาติตนเป็นส�ำคัญ จะสามารถร่วมกันได้ ก็เฉพาะในเรื่องที่ตนเองได้เปรียบหรือได้ผลประโยชน์เท่านัน้ ซึ่งในประเด็นนี้ หน่ ว ยงานในระดับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง โดยเฉพาะรัฐบาล กระทรวงกลาโหม และกองบัญชาการกองทัพไทย ควรมีการพิจารณาแนวทาง ที่แน่ชัดในการด�ำเนินงานด้านความมั่นคงภายหลังการรวมตัวของประชาคม อาเซียนในปี 2558 ปัจจัยภายในกองทัพบก จากการทีก่ องทัพบก เป็นองค์กรขนาดใหญ่ และเป็นกลไกหลักกลไกหนึง่ ในงานด้านความมัน่ คง และจากการทีข่ อบเขตการ ปฏิบัติงานที่กว้างขวางบางครั้งทับซ้อนกับภาคราชการพลเรือนอื่นๆ ท�ำให้ กองทัพบกและหน่วยปฏิบัติในระดับล่างต้องแบกรับภาระงานเป็นจ�ำนวนมาก [ 34 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ภายใต้ขีดจ�ำกัดของทรัพยากรและเครื่องมือที่มีอยู่ ทั้งในเรื่องของการป้องกัน ประเทศ การพัฒนาประเทศ การช่วยเหลือประชาชน การรักษาความสงบ เรียบร้อย และการรักษาความมั่นคงภายใน เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวของกองทัพบก จะกระท�ำได้อย่างค่อย เป็นค่อยไป เนื่องจากเป็นระบบสายการบังคับบัญชาที่เน้นการรวมศูนย์อ�ำนาจ ซึ่งความริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตาม มักจะถูกก�ำหนดมาจากส่วนกลาง มากกว่าส่วนอื่นๆ รวมทั้งสภาพปัญหาทางนโยบายที่ยังไม่แน่ชัดและต่อเนื่อง ในปัจจุบนั ซึง่ สภาพดังกล่าวอาจเกิดจากการทีย่ ทุ ธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์ ทหารทีย่ งั ไม่ชดั เจน เพือ่ น�ำไปสูก่ รอบการเตรียมกองทัพบกในการเข้าสูป่ ระชาคม อาเซียนได้อย่างชัดเจนตามมา การประเมินสภาพภัยคุกคามในอนาคต ตามที่กล่าวไปแล้วว่าการรวมตัวกันของประชาคมของอาเซียน จะก่อ ให้เกิดปัญหาและภัยคุกคามในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น แต่ภัยคุกคามเหล่านัน้ ไม่ใช่ ประเด็นปัญหาใหม่ แต่เป็นประเด็นเดิมที่จะมีการขยายผลกระทบในวงกว้าง และการแก้ไขก็จะมีความซับซ้อนมากขึน้ เนือ่ งจากการเชือ่ มโยงและพืน้ ทีท่ ขี่ ยาย วงกว้างขึ้น โดยเฉพาะในสิ่งที่เรียกว่าภัยคุกคามรูปแบบใหม่ (Non-Traditional Threat) ซึ่งสามารถสรุปสภาพภัยคุกคามในอนาคตที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญ ที่สามารถจัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ได้ ดังนี้ ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐในภาพรวม ได้แก่  ภัยคุกคามแบบดั้งเดิม (Traditional Threat) หรือกล่าวง่ายๆ คือการถูกรุกรานด้วยก�ำลังรบตามแบบขนาดใหญ่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่าง ประเทศเพื่อนบ้าน ในลักษณะความขัดแย้งตามแนวชายแดน หรือการรักษา ผลประโยชน์ของประเทศตนเอง  ปัญหาตามแนวชายแดน เช่น ความไม่ชดั เจน และการรุกล�ำ้ แนวเขตแดน การลักลอบค้ายาเสพติด ผูห้ นีภยั จากการสูร้ บในประเทศเพือ่ นบ้าน การลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การค้าของเถือ่ น และอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น [ 35 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อปัจเจกบุคคล ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นพื้นที่เฉพาะ บริเวณ (แต่ประเด็นปัญหาเหล่านีบ้ างปัญหาก็เป็นปัญหาทีป่ ระเทศสมาชิกอืน่ ๆ ในอาเซียนก็ต้องเผชิญด้วยเช่นกัน) ได้แก่  ภัยพิบัติอันเกิดขึ้นจากธรรมชาติหรือการกระท�ำของมนุษย์เอง  ปัญหาขบวนการก่อการร้ายในรูปแบบต่างๆ  ปัญหาการแบ่งแยกดินแดน  ปัญหาการท�ำลายทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าต้นน�้ำ  ปัญหาความยากจน การขาดแคลนอาหารและโรคระบาด  ปัญหาอาชญากรรมเครือข่าย (Cyber Crime) เช่น การขโมย ฐานข้อมูลด้านการเงิน หรือการบริหารราชการที่ส�ำคัญ เป็นต้น สภาพต่างๆ ดังกล่าวประเมินได้ว่า ปัญหาภัยคุกคามแบบดั้งเดิมมี โอกาสเกิดขึ้นน้อย แต่อย่างไรก็ตามหากภัยคุกคามนี้เกิดขึ้นก็จะส่งผลกระทบ อย่างร้ายแรงต่อประเทศมากทีส่ ดุ (Less probability, but most danger and damage) และกองทัพบกยังเป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อปัญหาดังกล่าว ปัญหาตามแนวชายแดนอาจเกิดขึน้ อยู่เป็นประจ�ำ แต่ไม่น่าจะส่งผลรุนแรงหรือ เด่นชัดมากนักในระยะสัน้ แต่ในระยะยาวจะเป็นสิง่ ส�ำคัญทีบ่ นั่ ทอนความมัน่ คง ของชาติ และกองทัพบกถือเป็นหน่วยงานหลักที่ต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าว ภายใต้การประสานและร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ความต้องการงานด้านความมั่นคงของประชาคมอาเซียนกับขีดความ สามารถของกองทัพบก จากผลการประชุ ม รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงกลาโหมอาเซี ย นกั บ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมประเทศคูเ่ จรจา (ASEAN Defence Minister’s MeetingPlus : ADMM-Plus) มีแนวโน้มว่าจะมีการร่วมมือกันทางทหารใน 5 ด้าน ได้แก่ 1. การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (Humanitarian Assistance and Disaster Relief : HADR) 2. ความมั่นคงทางทะเล (Maritime Security) [ 36 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก 3. การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Peacekeeping Operations) 4. การแพทย์ทางทหาร (Military Medicine) 5. การต่อต้านการก่อการร้าย (Counter-Terrorism) งานที่ก�ำหนดขึ้นมาทั้ง 5 งานนัน้ ยังไม่มีการก�ำหนดรายละเอียดที่ ชัดเจนว่ามีขอบเขตมากน้อยเพียงใดและปฏิบัติอย่างไร และเมื่อพิจารณาเพิ่ม เติมในกรอบของประเทศไทยพบว่า งานทัง้ 5 งานดังกล่าวนัน้ กระทรวงกลาโหม ได้มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ เป็นหัวหน้าคณะท�ำงานแล้ว แต่กองทัพบกยัง ไม่ได้ถกู มอบหมายงานใดงานหนึง่ โดยตรง แต่สามารถให้การสนับสนุนได้เกือบ ทุกงานเมื่อหน่วยเหนือก�ำหนด ยกเว้นงานความมั่นคงทางทะเล ซึ่งกองทัพเรือ ถือว่าเป็นหน่วยงานหลัก แต่ถึงอย่างไรกองทัพบกก็สามารถมีบทบาทในการ สนับสนุนได้ เช่น การร่วมลาดตระเวนตามล�ำน�้ำ หรือการรักษาความปลอดภัย บริเวณชายฝั่งและท่าเรือ การเตรียมกองทัพบกต่อประชาคมอาเซียน  ถึงแม้วา่ จะมีการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน แต่กองทัพบก ยังต้องด�ำรงขีดความสามารถหลักในด้านการรบเพื่อป้องกันประเทศไว้ เพราะ ทหารเท่านัน้ ที่สามารถปฏิบัติงานนี้ได้  การทบทวนปัญหาเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องการรักษา ความมั่นคงตามแนวชายแดน ในเรื่องที่เคยเป็นประเด็นหลักของความขัดแย้ง เช่น เส้นเขตแดนหรือพื้นที่ซับซ้อน พร้อมทั้งก�ำหนดแนวทางปฏิบัติที่แน่ชัดให้ กับหน่วยรอง โดยเฉพาะกองก�ำลังป้องกันชายแดนที่ต้องทราบนโยบายอย่าง ชัดเจนในทุกระดับชั้น  การก� ำ หนดงานและเจตนารมณ์ ที่แน่ ชัด ของกองทัพ บก ต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เช่น จากงานทั้ง 5 งานดังกล่าว งานใดต้องการ เข้าไปมีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด งานใดต้องการเป็นผู้น�ำ งานใดเป็นแค่ผู้ให้ ความร่วมมือ หรืองานใดไม่ตอ้ งการปฏิบตั ิ หรือหน่วยใดควรเป็นหน่วยรับผิดชอบ หลักในงานต่างๆ  การก�ำหนดแผนแม่บทและแผนการบริหารจัดการด้านการ [ 37 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ใช้ก�ำลังหน่วยที่ชัดเจน ไม่ซ�้ำซ้อน กล่าวคือ มีการแบ่งงานที่แน่ชัดเลยว่าหน่วย ใดมีไว้ส�ำหรับงานการรบ เพื่อป้องกันประเทศ หน่วยใดมีไว้ส�ำหรับงานป้องกัน ชายแดน หน่วยงานใดมีไว้ส�ำหรับสนับสนุนหน่วยงานพลเรือนอื่นๆ ของไทย และหน่วยงานใดมีไว้ส�ำหรับสนับสนุนการปฏิบัติให้กับประชาคมอาเซียน ไม่ ควรมีการใช้งานข้ามหน้าที่ ซึ่งเมื่อจัดแบ่งได้อย่างเหมาะสมแล้ว ก็จะสามารถ เตรียมก�ำลังและใช้ก�ำลังได้ถูกต้องและเหมาะสมกับขีดความสามารถของ แต่ละหน่วยสอดคล้องกับแนวคิด “ฝึกอย่างที่จะรบ”  ทบทวนกฎหมายรองรับทีเ่ กีย่ วข้องโดยเฉพาะในเรือ่ งอ�ำนาจ และหน้าที่ และกฎการใช้กำ� ลังในแต่ละภารกิจ เนือ่ งจากงานแต่ละงานมีขอบเขต ความยากที่แตกต่างกัน  ปรับทัศนคติและสร้างความเข้าใจแก่ก�ำลังพล ในการเข้าไป มีส่วนร่วมในประชาคมอาเซียน อย่างน้อยให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นและกองทัพบก จะต้องท�ำอะไรบ้าง  พัฒนาขีดความสามารถของก�ำลังพล เช่น ภาษา (ภาษา อังกฤษและประเทศเพื่อนบ้าน) การท�ำงานร่วมกับภาคเอกชนและนานาชาติ (Joint Interagency Multinational Operations : JIMO) การปรับตัวและความคิด ให้เป็นสากล โดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อทหารที่อยู่ตาม แนวชายแดน เห็นคนหนึง่ มีลกั ษณะคล้ายกับพลเมืองในประเทศเพือ่ นบ้าน ทหาร สามารถเรียกเข้ามาตรวจค้นได้หรือไม่ หากคนนัน้ ยังไม่ได้ก่อเหตุหรือกระท�ำ ความผิด โดยปกติแล้วในต่างประเทศบางประเทศ ไม่สามารถกระท�ำได้ เนื่องจากเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน  การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รบั ทราบ เกีย่ วกับผลกระทบ ด้านความมั่นคงและภัยคุกคามรูปแบบใหม่ อันอาจเกิดขึ้นจากประชาคม อาเซียน เนือ่ งจากปัญหาความมัน่ คงในอนาคต หน่วยงานราชการและทหารไม่ สามารถด�ำเนินการได้เพียงล�ำพังอีกต่อไป จ�ำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจาก ทุกส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน  ในระยะยาวอาจต้องมีการจัดตัง้ หน่วยงานเฉพาะ เพือ่ ปฏิบตั ิ [ 38 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก หน้าทีส่ นับสนุนประชาคมอาเซียน ทัง้ ในระดับหน่วยงานด้านนโยบายและหน่วย ปฏิบัติ เช่น การตั้งกรมผสมอาเซียน เป็นต้น ปัญหาอุปสรรคส�ำคัญที่สุดในเสาหลักประชาคมการเมืองและความ มั่นคงอาเซียน คือ การสร้างค่านิยมร่วมกัน เนื่องจากความหลากหลายของ วัฒนธรรมการเมือง (Political Culture) ของประเทศสมาชิกอาเซียน และการที่ แต่ละประเทศยังไม่มุ่งไปสู่การสร้างผลประโยชน์ร่วมกันของประชาคมอย่าง ชัดเจน ส่วนหนึง่ ของปัญหาเกิดจากการทีร่ ะบบสถาบันของอาเซียนทีจ่ ะช่วยส่ง เสริมค่านิยมอาเซียนยังอ่อนแอ เกือบทุกประเทศไม่ประสงค์ที่จะให้อาเซียนมา ยุ่งเกี่ยวกับปัญหาภายในประเทศ แม้ว่าปัญหาดังกล่าวจะมีนัยหรือผลกระทบ ในระดับภูมิภาคก็ตาม ปัญหาอุปสรรคอีกอันหนึง่ คือการที่ยังไม่มีความไว้เนื้อ เชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เนื่องจากประเทศต่างๆ ยังอยู่ในสภาพที่ ต้องแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ระหว่างกัน เช่น ในเรือ่ งการแสวงหาผลประโยชน์ จากทรัพยากรทางทะเล การเสริมสร้างก�ำลังทางทหาร (Armed Racing) ของ ประเทศในภูมิภาค ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึง่ ที่ท�ำให้เป็นปัญหาภัยคุกคามต่อความ มัน่ คงอย่างหนึง่ โดยจะเห็นว่าทีผ่ า่ นมาและปัจจุบนั ประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ต่างเสริมเขีย้ วเล็บทางทะเลด้วยการจัดหาเรือด�ำน�ำ้ และ อากาศยานเข้าประจ�ำการอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าการเสริมสร้างก�ำลังทางเรือ ของประเทศดังกล่าวมีเหตุผลเพื่อปกป้องผลประโยชน์และอธิปไตยของตนเอง ก็ตาม นอกจากนีก้ ารจัดท�ำยุทธศาสตร์ทหารของประเทศในภูมิภาคก็มักจะ ก�ำหนดยุทธศาสตร์บนพืน้ ฐานทีว่ า่ ประเทศเพือ่ นบ้านอาจเป็นศัตรูหรือทีเ่ รียกว่า Threats Base ซึ่งการกระท�ำดังกล่าวท�ำให้แต่ละประเทศขาดความไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งกันและกัน ท�ำให้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของภูมิภาคได้ ปัญหาอืน่ ๆ ทีม่ ผี ลกระทบต่อความมัน่ คงและการป้องกันประเทศอาจ เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปจากเดิม เช่น ข้อตกลงร่วมบางประการที่ยังไม่ชัดเจนใน เรื่องนีก้ องทัพบกควรมีการพิจารณาและสร้างความชัดเจนในทุกระดับชั้น โดย เฉพาะการป้องกันประเทศตามแนวชายแดนต้องมีการทบทวนและสร้างความ ชัดเจนให้มากขึ้น เพื่อลดปัญหาการกระทบกระทั่งตามแนวชายแดนและเขต [ 39 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก พื้นที่ซับซ้อน นอกจากนีก้ ารยึดติดในความเป็นชาติดั้งเดิมของตนเอง และการ ที่หลายๆ ประเทศยังยึดติดกับการที่เคยเป็นกลุ่มย่อยในภูมิภาค เช่น กลุ่ม สหพันธรัฐอินโดจีน หรือกลุ่มเครือจักรภพอังกฤษ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้ อาจมีผลประโยชน์ร่วมกันมาก่อน เรื่องต่างๆ เหล่านี้อาจส่งผลต่อความมั่นคง ในประชาคมอาเซียนได้ หากมีการรวมตัวในลักษณะกลุ่มย่อยในประชาคม อาเซียน ดังนั้น กองทัพบกจึงควรมีความพร้อมที่จะเผชิญต่อความท้าทาย ดังกล่าว และมีความอ่อนตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของประชาคมอาเซียนตลอด เวลา จากความต้องการงานด้านความมั่นคงของประชาคมอาเซียนกับขีด ความสามารถของกองทัพบกนั้น กองทัพบกควรน�ำมาเป็นแนวทางในการ พิจารณาก�ำหนดนโยบายให้มคี วามพร้อมต่อการปรับตัวเข้าสูก่ ารเป็นประชาคม อาเซียนในฐานะกองทัพบกของประเทศในกลุม่ สมาชิกซึง่ อาจจะมีบทบาททีแ่ ตก ต่างไปจากเดิมโดยเฉพาะการรองรับต่อนโยบายในข้อตกลงร่วมทางทหารทั้ง 5 ประการ ซึง่ จะเห็นได้วา่ เมือ่ ต้องปฏิบตั ติ ามความร่วมมือในข้อตกลงดังกล่าวนัน้ กองทัพบกจะยังเป็นหน่วยงานหลักในการด�ำเนินการเกือบทัง้ สิน้ ซึง่ ความพร้อม ของกองทัพบกในทุกด้านจึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง

[ 40 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก บรรณานุกรม ด้านการศึกษา ۩۩۩۩۩۩

การเตรียมพร้อมด้านการศึกษาของไทย เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน, http://blog.eduzones.com/aec/85546, Accessed 22 May 2012. นโยบาย 5 ประการ ของกระทรวงศึกษาธิการในการด�ำเนินงานตาม ปฏิญญาอาเซียนด้านการศึกษา เพื่อจัดท�ำแผนปฏิบัติการ อาเซียนด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ, http://www. bcca.go.th/asean/?name=EducationPolicy, Accessed 22 May 2012. ฟาฏินา วงศ์เลขา, กลไกขับเคลื่อนการศึกษา...ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน, http://social.obec.go.th/node/81, Accessed 12 May 2012. ว่าที่ ร.ต.หญิง ศศิวิมล บริบุญวงค์, มุมอาเซียน, “พิบูลวิทยาลัย ลพบุรีเตรียม พร้อมสูป่ ระชาคมอาเซียน Spirit of ASEAN : Sister School”, กรกฎาคม 2554. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, อาเซียน 2015 กับอุดมศึกษาไทย, http://www. thaigb.net, Accessed 22 May 2012. .............................

[ 41 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ۩۩۩۩۩۩

ความส�ำคัญของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน, http:// region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=13943&ffiilename= asean2558, Accessed 2 June 2012. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน, http://web62.sskru.ac.th/aseans skru/maxsite/?name=page&ffiile=page&op=5, Accessed 21 May 2012. ประชาคมการเมื อ งและความมั่ นคงอาเซี ย น, http://www.enn.co.th/ 2313.html, Accessed 21 May 2012. ภัยคุกคามรูปแบบใหม่-วาระส�ำคัญของโลกที่ต้องรู้จัก, http://tortaharn. net/contents/index.php? option=com_content&task=view &id=125&Itemid=75, Accessed 2 May 2012. สภาความมัน่ คงแห่งชาติ, นโยบายความมัน่ คงแห่งชาติ พ.ศ. 2550 - 2554, www.navy.mi.th/skbase/act52/document/mankong.doc, Accessed 12 June 2012. .............................

[ 42 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก ขอขอบคุณข้อมูลจาก ۩۩۩۩۩۩

- - - -

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ กรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย กรมข่าวทหารบก กรมยุทธการทหารบก

[ 43 ]


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ของกองทัพบก

พิมพ์ที่ : ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด อรุณการพิมพ์ โทรศัพท์ : 0 2282 6033-4 www.aroonprinting.com [ 44 ]


ศูนยพัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร กรมยุทธศึกษาทหารบก เปนหนวยขึน้ ตรง กองบัญชาการ กรมยุทธศึกษาทหารบก จัดตัง้ ขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาแบงสวนราชการและกําหนดหนาที่ของสวนราชการ กองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2552 ซึง่ กําหนดใหสถาบันวิชาการทหารบกชัน้ สูงและหนวยขึน้ ตรงยุบรวมกับกรมยุทธ ศึกษาทหารบก ตั้งแตวันที่ 1 เมษายน 2552 เปนตนมา มีผูอํานวยการศูนย พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตรยศพลตรี โดยเกิดจากการแปรสภาพสวนวิจยั และพัฒนายุทธศาสตร สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง กองวิจัยและพัฒนา การรบ กรมยุทธศึกษาทหารบก และสวนจําลองยุทธ โรงเรียนเสนาธิการ ทหารบกมีอัตราการจัดประกอบดวย แผนกธุรการ กองพัฒนาหลักนิยม กองพัฒนายุทธศาสตร และกองฝกจําลองยุทธ มีหนาที่สําคัญในการเปน หนวยปฏิบัติหลักดานการพัฒนาหลักนิยมทางทหารของกองทัพบก การพัฒนายุทธศาสตร การจัดการฝกดวยระบบจําลองยุทธ และการให ความรู การอบรมแกหนวยตางๆ ของกองทัพบก ตามที่กําหนดไวใน อัตราการจัดเฉพาะกิจ 4100 นอกจากนีย้ งั ไดรบั ความไววางใจจากผูบ งั คับบัญชาใหรบั ผิดชอบ งานที่น อกเหนือจากภารกิจที่กําหนดให ไดแก เปนบรรณาธิการวารสาร เสนาธิปตย เปนหนวยดําเนินการสัมมนาทางวิชาการประจําป รวมทั้งยังเปน ผูรับผิดชอบในการดําเนินการการตรวจสอบและประเมินผลการฝก ซักซอมแผนปองกันประเทศ และการปฏิบัติการในพื้นที่สวนหลังหนวย ทภ. ของกองทัพบก และการปรับปรุงและการจัดทําอัตราการจัดยุทโธปกรณ ของหนวยระดับกองพลขึ้นไป


กองทัพบกไทย “ÊÒ¹ã¨... สู่ประชาคมอาเซียน”


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.