hello SOPHISAI

Page 1

1


2


3





พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตจังหวัดบึงกาฬ เป็นสถานที่ซึ่งมีการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ในชุมชน โดยน�าศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยมาต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่ม จนกลายเป็น สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เป็นที่จับตามองอย่างยิ่งในปัจจุบัน มีนักศึกษาจิตอาสา ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาวาดภาพสีสันสดใส สะท้อนเรื่องราวความเชื่อ ต�านาน พญานาค และความเป็นอยู่ของชาวบ้านตามผนัง และจุดต่างๆ ทั่วชุมชน ชาวบ้าน พากันน�าวัตถุดิบในท้องถิ่นมาผลิต และจ�าหน่ายเป็นสินค้า อาทิ ปลาร้าบอง เครื่องจักสานจากต้นคล้า ยาหม่องตะไคร้หอม ผ้าฝ้ายทอมือ เป็นต้น ดิฉันในนามส�านักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ขอแสดงความ ชื่นชมและขอขอบคุณอาจารย์สุทธิพงษ์ สุริยะ ที่ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตจังหวัด บึงกาฬ และพัฒนาจนเป็นต้นแบบของการน�าศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยมาสร้างมูลค่า เพิ่มจนเกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ขอขอบคุณคณะนักเขียนที่ร่วมกันถ่ายทอดเรื่องราว วิถีชีวิตและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างงดงาม หนังสือเล่มนี้ นอกจากจะเป็นการถอดบทเรียนในการพัฒนาพื้นที่ด้วยศิลปวัฒนธรรม ร่วมสมัยแล้ว ยังสะท้อนภาพแนวคิด มุมมอง และวิถีชีวิตของผู้คนทั้งในและนอก ชุมชนได้อย่างน่าสนใจ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุมชนอื่นๆ ที่สนใจจะได้ประโยชน์ใน การน�าไปใช้พัฒนาชุมชนของตนเอง โดยมีรูปแบบเฉพาะตนอันเป็นเอกลักษณ์ที่ แตกต่าง ดึงดูดผู้คนให้มาเยือน และร่วมชื่นชม น�าพารายได้ ตลอดจนความเข้มแข็ง ของผู้คนในพื้นที่เช่นเดียวกับที่นี่...พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตจังหวัดบึงกาฬ

นางสาววิมลลักษณ์ ชูชาติ ผู้อา� นวยการส�านักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

7


10 12 18 22 26

MORNING ชีพจรยามเช้า สวนยางและทุ่งนาอีสาน โรแมนติกบนความจริง ของหวานจากข้าว: ข้าวต้มมัด ข้าวต้มผัด ขนมดอกบัว ข้าวปาด รั้วดอกพุด ดงต้นคล้า 28 30 32 42

46 48 60 62

LATE MORNING แผนที่เดินเที่ยว กราฟฟิตี้พญานาคมากที่สุดในโลก แผ่นดินพญานาค

AFTERNOON จากบ้านพัก สู่พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต สถาปัตยกรรมที่ไม่ได้ออกแบบ ผญาวิถีชีวิตคนลาวอีสาน 64 66 68 74 78

EVENING ล้อมวงเปิบพาแลง อาหารจากพื้นดิน การกินที่ไร้พรมแดน กลุ่มต้นคล้าอาชีพ จากกระติบสู่กระเป๋า When in So Phisai

กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ : ค�าหอม ศรีนอก นักเขียน : ธนาพร ตั้งเจริญมั่นคง ช่างภาพ : พาทยุติ หิรัญพฤกษ์ กราฟิก : ภุวิส หิรัญพฤกษ์ พิสูจน์อักษร : กันทิมา ว่องเวียงจันทร์ ที่ปรึกษา : สุทธิพงษ์ สุริยะ


Contributors

อนุสรณ์ ติปยานนท์ ชาวกรุงเทพฯ โดยก�าเนิดและชาวอื่นๆ ในเวลาต่อมา มีผลงานเขียน ทั้งนวนิยาย เรื่องสั้น รวมบทความ และนวนิยายขนาดสั้น Cat on a cold flesh Heart เพราะเป็นคนรักแมวและแสวงหาโอกาสฉกฉวย การอุ้มแมวอยู่เสมอ ล่าสุดได้รับรางวัลนักเขียนรางวัลแม่นา�้ โขงในปี 2562 ปัจจุบันนอกจากวรรณกรรมและการเขียน ได้เพิ่ม ความสนใจมาที่อาหารและการกินด้วย โดยสนใจในเรื่องราวของ อาหารทั้งประวัติศาสตร์อาหาร วัฒนธรรมอาหาร และความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับอาหารในแง่มุมต่างๆ ความเรียงเรื่อง My Chefs คือ หนึ่งผลิตผลจากความสนใจที่ว่านั้น

ต้องการ วลัยกร สมรรถกร หรือที่รู้จักกันในนามว่า “ต้องการ” เป็นนักวาดและ นักเขียนที่เริ่มต้นด้วยการวาดการ์ตูนและภาพประกอบ เป็นนักเขียนที่ มักจะเขียนงานแต่ในสิ่งที่ตัวเองมีความสนใจอย่างจริงจังเท่านั้น อย่าง เช่นเรื่องเกี่ยวกับออร์แกนิก ส่วนดอกไม้ก็ถือเป็นสิ่งที่จริงจังอีกอย่าง หนึ่ง นอกเหนือจากการเอามาท�าสีนา�้ เพื่อใช้แล้ว ที่บ้านยังต้องมี ดอกไม้สดเด็ดจากในสวนมาปักแจกันอยู่ทุกวันด้วย

วิทยากร โสวัตร รักแม่น�้าโขงจึงมาเรียนคณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลฯ ซึ่งเป็นปลายแม่นา�้ โขงในไทยด้วยความหวังว่าจะได้เดินทางจากจุดนี้ล่องลงไปถึงปากน�้า โขงที่ไหลลงทะเล และเดินทางทวนขึ้นไปต้นแม่นา�้ ให้ไกลที่สุด 20 ปี ผ่านไปความฝันนั้นยังไม่บรรลุ แต่ได้เก็บซับเรื่องเล่า ต�านาน และเรื่อง ราวสองฟากฝั่งแม่น�้าไว้มากมาย และงานเขียนแทบทุกชิ้นก็ออกมาจาก ข้อมูลเหล่านี้ ผลงานเขียน อาทิ รวมเรื่องสั้นฆาตกร (ฆาตกร เรื่องสั้น ยอดเยี่ยมรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ปี 2552) ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์ เดอะอีสานเรคคอร์ด และคอลัมนิสต์ GM live พัลลภ เอมศรีกุล Co-Founder สตูดิโอบูรณะสถาน ชอบมองโลกเหมือนเด็ก ชอบ เดินทางพอๆ กับชอบนั่งเฉยๆ ชอบคิด ถึงหัวจะช้า คิดช้า แต่ไม่เคย หยุดคิด และชอบท�างานเยอะๆ เพราะยิ่งท�างาน ยิ่งเห็น ยิ่งรู้ ยิ่งสงสัย ยิ่งศึกษา ยิ่งมีอะไรให้คิดมากขึ้น 9




ชีพจร ยามเช้า

12


เสียงไก่ขันและกลิ่นควันไฟจากเตาหุงหาอาหารบ่งบอกว่าโมงยามของวันใหม่ก�าลังเริ่มต้น ขึ้นแล้ว...อย่างเงียบๆ และไม่รีบร้อน ท้องถนนโล่งว่าง นานๆ จะมีรถผ่านมาสักคัน พระสงฆ์จากวัดสังขลิการาม หรือที่ชาวโซ่พิสัยเรียกว่าวัดแสนสามหมื่นออกเดินบิณฑบาต บางบ้านหุงข้าวเหนียวนั่งรอใส่บาตรหน้าบ้าน ส่วนบรรดาแม่ๆ ยายๆ บ้างก็เดิน บ้างก็ ขี่จักรยานมาที่วัดเพื่อใส่บาตรและสวดมนต์ สงบงามเช่นนี้เรื่อยมา

13


วัดสังขลิการามเป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าแสน สามหมื่น พระพุทธรูปอายุกว่า 800 ปี สร้างขึ้นใน สมัยเชียงแสนเป็นราชธานี เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ได้ อัญเชิญพระเจ้าแสนสามหมื่นมาประดิษฐานไว้ในหอไตร (เวียงจันทน์) ก่อนจะมาประดิษฐานที่วัดสังขลิการาม โดยมีประวัติเคยถูกขโมยจากวัดไป 2 ครั้ง คือในปี พ.ศ. 2462 และ ปีพ.ศ. 2514 ครั้งแรกคนร้ายขโมยไป ซ่อนไว้ใต้ต้นดอกเตยใกล้บ่อน�้า ผู้หญิงคนหนึ่งออกไป ตักน�้าพร้อมสุนัข 3 ตัว สุนัขพากันเห่าพระพุทธรูปที่ถูก ซ่อนไว้ แต่นางไม่ได้สนใจ เมื่อไปตักน�า้ อีกครั้ง สุนัข ยังคงเห่าไม่หยุด จึงได้เข้าไปดูและพบพระพุทธรูป 14

ครั้งที่สอง คนร้ายขโมยแล้วเอาไปจมน�า้ ไว้ในห้วย ประมาณ 15 วัน จากนั้นได้น�าไปซ่อนไว้ที่บ้านของ หัวหน้าคนร้ายใน จ.สกลนคร รุ่งขึ้นหัวหน้าคนร้าย ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ภรรยาจึงน�าพระเจ้าแสนสาม หมื่นไปฝากไว้ที่วัดใกล้บ้าน จากนั้นพระก็นา� ไปฝากที่ สถานีตา� รวจ ซึ่งพระเจ้าแสนสามหมื่นได้แสดงอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ตั้งแต่ต�ารวจบนโรงพักต่อยกัน นักโทษ 3 คน แหกคุกโดยไม่ได้เปิดกุญแจห้องขัง ต�ารวจจึงอธิษฐาน ขอให้จับนักโทษได้ เมื่อจับกลับมาได้ก็ประกาศหาวัดที่ เป็นเจ้าของ จนกลับมาประดิษฐานที่โบสถ์วัดสังขลิการามตราบจนทุกวันนี้



16


ตลาดโซ่พิสัยไม่เคยหลับใหลเช่นเดียวกับตลาดหลายๆ แห่งทั่วประเทศ หากจะนับว่าตีสองคือวันใหม่ ตลาดแห่งนี้เริ่มต้นวันใหม่เวลาสองนาฬิกา ร้านปาท่องโก๋เปิดแล้ว ร้านอื่นๆ ทั้งผักสด เนื้อสัตว์ และอาหาร เช้าอย่างหมูปิ้ง ข้าวจี่ น�้าเต้าหู้ โจ๊ก และข้าวเปียกก็ทยอยเปิดเช่นกัน จนช่วงสายบ่ายและเย็นก็เป็นผลัดของ แผงอาหารส�าเร็จรูป 17


สวนยางและทุ่งนาอีสาน

โรแมนติกบนความจริง


นานแค่ไหนแล้วที่เราได้เห็นภาพต้นยางปลูกแซม เป็นหย่อมเล็กๆ อยู่ในท้องทุ่งนาของจังหวัดทาง ภาคอีสาน ซึ่งต่างจากภาพสวนยางสุดลูกหูลูกตา ทางภาคใต้ หรือทุ่งนาสีเขียวกว้างใหญ่ไพศาล ในภาคกลาง เวลากว่าหนึ่งอาทิตย์ที่ฉันปั่นจักรยานวนเวียนใน หมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่ ได้ส่งยิ้มให้บ้านหลังนั้นหลังนี้ จนคุ้นเคยกัน หลังจากแอบสนใจพริกงามๆ และ ชี้ชวนเพื่อนดูใบคาวตองที่คนอีสานใช้กินกับลาบ แล้ว ก็ได้รับค�าชักชวนให้ลองเด็ดชิม จึงถือโอกาส ถามไถ่ถึงความเปลี่ยนแปลงของทุ่งนาอีสานที่ สังเกตเห็น

ลุงๆ ป้าๆ ใจดีเล่าให้ฟังว่าต้นยางมาถึงอีสานในช่วง รัฐบาลทักษิณ ชาวนาอีสานหลายคนมีลูกหลานที่ เคยไปรับจ้างกรีดยางทางภาคใต้ ก็เลยท�าเป็น แล้ว ก็เลยพากันปลูกต้นยาง แถมตอนนั้นยางราคาดี ถึง ตอนนี้ราคาจะตกไปเยอะก็เถอะ แต่ถึงอย่างไรการ ท�าสวนยางก็ยังช่วยให้มีรายได้สม�่าเสมอ ได้เป็นเงิน ค่ากับข้าวทุกเดือน เพราะปลูกยางไม่ต้องมีฤดู ต่าง จากปลูกข้าวที่ทา� ได้ปีละครั้งสองครั้ง แต่ทั้งหมดที่ ท�าก็ไม่ได้ร�่ารวย แค่พออยู่ได้ เพราะเราปลูกผัก ปลูกหญ้ากินเองด้วย มันก็อยู่พอสบาย สวนยางอีสานที่เราเห็นกันนั้น ส่วนใหญ่จะกรีดยาง ช่วงเช้าๆ ไม่ใช่ตีหนึ่งตีสองแบบทางใต้ ยางที่ได้จะ ขายเป็นก้อนยาง แต่ทางใต้ขายเป็นน�า้ ยางซึ่งราคา ดีกว่า แต่ด้วยวิถีของคนที่นี่มีนามีสวนต้องดูแลใน ยามกลางวัน การท�ายางจึงเหมือนเป็นงานเสริม แต่กลับเป็นงานที่สร้างรายได้หลักในตอนนี้ ฟังแล้วฉันก็ชอบจัง นี่สินะการปรับตัวที่แท้จริง รับ สิ่งใหม่มา แต่ปรับให้เข้ากับวิถีของเราเอง 19


20


ทุ่งนาของอีสานตอนเหนือส่วนใหญ่เป็นนาข้าวเหนียว ต่างจากอีสานใต้ที่ปลูกข้าวเจ้า มาเยือนหมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่ คราวนี้ได้กินข้าวเหนียวแทบทุกมื้อ ข้าวเหนียวดีๆ กินเพลิน มาก หมดกระติบไม่รู้ตัว ไม่ว่ามื้อไหน กินไม่มีเบื่อ ทั้งข้าวจี่ ตอนเช้า กินกับส้มต�ามื้อกลางวัน หรือปั้นจิ้มแจ่วบองมื้อแลง ส่วนใบคาวตองที่ลองเด็ดชิมนั้น เมื่อกินกับลาบปลาป้อมแล้ว เข้ากันอย่างไม่น่าเชื่อ ความคาวที่เคี้ยวแล้วต้องรีบคายทิ้ง เมื่อตอนบ่ายไม่มีหลงเหลืออยู่เลย ในหมู่บ้านเล็กๆ ของอ�าเภอโซ่พิสัยแห่งนี้ ฉันเห็นเรื่องราวของ ชุมชนมีชีวิตที่แม้จะไม่โรแมนติกนัก แต่นี่คือชีวิตจริงซึ่งสะท้อน ถึงการปรับตัวเพื่อที่จะอยู่ให้ได้ในสังคมและเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ฉันมองเห็นพลังของคนหนุ่มสาวที่เริ่มกลับมา และเชื่อว่านี่คือสัญญาณที่ดี

21


ของหวาน จากข้าว

ทุกเทศกาลงานบุญ นอกเหนือจากอาหารคาวแล้ว ของหวาน คือสิ่งที่ไม่เคยขาดจากส�ารับ ไม่ว่าจะอิ่มข้าวเหนียวและ ข้าวเจ้ากันแค่ไหน แทบทุกคนยังมีพื้นที่ว่างในกระเพาะไว้ให้ ของหวานเสมอ และแม้ว่าขนมหรือของหวานนั้นๆ จะแปรรูป มาจากข้าวซึ่งเพิ่งอิ่มไปก็ตาม แต่เมื่อขึ้นชื่อว่าขนมแล้ว ก็ยากที่จะอดใจ

ข้าวต้มมัด 1. น�าข้าวเหนียวที่แช่ค้างคืนไว้

ผสมมะพร้าวทึนทึกขูด เกลือ และกะทินิดหน่อยคนให้เข้ากัน 2. ห่อข้าวเหนียวในใบตองที่ตาก แดดเรียบร้อยแล้วหรือ ใบตองนึ่ง ใส่ส่วนผสมเพิ่ม รสชาติตามชอบใจ เช่น เผือก หรือกล้วย ห่อให้สวยงาม 3. นึ่งจนใบตองเปลี่ยนเป็น สีนา�้ ตาล

22

ข้าวต้มผัด 1. ตั้งกระทะ แล้วเทกะทิ

และเกลือนิดหน่อย คนไปเรื่อยๆ จนกะทิเริ่มแตกมัน ตักเผือกหั่น เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงไป คนให้เข้ากัน 2. ใส่ข้าวเหนียวที่แช่ค้างคืนไว้ ผัดไปเรื่อยๆ จนน�้ากะทิงวด และซึมเข้าไปในข้าวเหนียว 3. เมื่อข้าวเริ่มสุกใส่นา�้ ตาล ผัดต่อสักพัก 4. ห่อข้าวเหนียวพร้อมกล้วยน�้าว้า 5. นึ่งสักพัก


ข้าวเหนียวในห่อใบตอง 2 ชนิดนี้มีกรรมวิธีการท�าคล้ายกัน เพียงแต่ ข้าวต้มผัดจะน�าข้าวเหนียวไปผัดก่อนแล้วจึงนึ่ง แต่ข้าวต้มมัดใช้การนึ่ง เป็นวิธีท�าให้สุกเพียงขั้นตอนเดียว จึงใช้เวลานึ่งนานกว่า หน้าตาและ รสชาติที่ได้ใกล้เคียงกัน แต่ข้าวต้มผัดจะแห้งกว่า เพราะใช้เวลานึ่งไม่นาน

23


24


ขนมดอกบัว 1. ผสมแป้งข้าวเหนียว แป้งสาลี และ

แป้งข้าวเจ้าในอัตราส่วนเท่าๆ กัน พร้อมด้วยน�้าตาลทราย กะทิ และเกลือ ค่อยๆ เติมน�้าใบเตยลงไป แล้วนวดแป้ง ไปเรื่อยๆ จนส่วนผสมเข้ากัน พักไว้ สองชั่วโมง 2. ตั้งกระทะไฟกลาง รอน�้ามันร้อนได้ที่ ใช้ทัพพีตักส่วนผสมหยอดลงในกระทะ 3. เมื่อกรอบได้ที่ ตักขึ้นพัก ในตะแกรงสะเด็ดน�้ามัน 4. ถ้าชอบหวานมันสามารถหยอดนมข้น กะทิ หรือโปะหน้าด้วยเนื้อมะพร้าวอ่อน เพิ่มความอร่อย

ข้าวปาด 1. ผสมแป้งข้าวโพด 1 กิโลกรัมเข้ากับ

กะทิ เกลือ และน�า้ ใบเตยจ�านวน 6 ถ้วย เข้าด้วยกัน 2. คนส่วนผสมให้เข้ากัน พักไว้ 3. ตั้งกระทะไฟอ่อนถึงกลาง เทส่วนผสม ลงในกระทะ 4. ใช้ไม้พายคนไปเรื่อยๆ ระวังอย่าให้ติด กระทะ 5. คนหรือกวนจนแป้งเริ่มงวดและจับตัว หนึบๆ จึงค่อยๆ ใส่น้ำตาลทรายลงไป ำตาลทรายลงไป แล้วกวนต่อ 6. กวนจนได้เนื้อขนมหนึบพอสมควร แล้วเทใส่ถาดใบใหญ่ 7. ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นตัดเป็นชิ้น โรยมะพร้าวขูดฝอยเพิ่มความอร่อย

25


ดงต้นคล้า รั้วดอกพุด ต้องการ

ฉันไปถึงอ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ สายตาที่มักสอดส่ายหาดอกไม้ของฉันก็ได้ตั้งข้อสังเกตขึ้นมาว่า ท�าไมที่นี่ถึง ได้มีต้นพุดมากมาย เรียกว่าทุกบ้านที่ขี่จักรยานผ่านจะต้องเห็นพุดดอกขาวๆ ต้นใหญ่บ้างเล็กบ้างปลูกเอา ไว้ และเมื่อผ่านทุ่งและที่ว่าง ฉันก็เห็นดงต้นอะไรสักอย่างสีเขียวๆ เข้มๆ เป็นก้านยาวๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป ซึ่ง จากนั้นไม่นานฉันก็ได้รู้ว่ามันคือต้นคล้าที่ชาวบ้านเอามาสานกระติบข้าวเหนียวกันทุกบ้านนี่เอง คนที่นี่ ใช้ทรัพยากรที่อยู่รอบตัวท�าของใช้ในชีวิตประจ�าวันมากมาย เขามักจะตัดต้นคล้ามาตากเอาไว้เพื่อท�างาน จักสาน นอกจากนั้นเขายังน�ามาท�า “หมากเบ็ง” ที่หน้าตาคล้ายบายศรีเล็กๆ กับ “ดอกข่า” ที่ประดิษฐ์เป็น ก้านเอาไว้ปักแจกัน และยิ่งตอนได้นั่งลองท�าดู ก็ยิ่งรู้ว่าของรอบตัวเหล่านั้นถูกเอามาคิดออกแบบกันอย่างดี จากส่วนต่างๆ ของต้นไม้ที่งอกงามเองแบบเทวดาเลี้ยงกันอยู่ในพื้นที่ ก็ถูกจับมาม้วนจับ พับ เย็บ เรียงร้อย ไปมา กลายเป็นงานฝีมือที่ชาวบ้านภาคภูมิใจที่จะน�าไปใช้บูชาพระรัตนตรัยที่พวกเขาศรัทธา ตัวดอกข่านั้น ถ้าใครพอมีพื้นฐานด้านร้อยพวงมาลัยอยู่บ้างจะพอรู้จัก เพราะคนภาคกลางก็มี “ดอกข่า ดอกพุด” เช่นกัน มักจะเอาไว้ทา� เป็นตุ้มปลายชายพวงมาลัย แต่โดยปกติมักท�าจากกลีบดอกไม้ออกมาเป็น ดอกข่าสีแดงมากกว่า แต่ดอกข่าของที่นี่เอามาท�าเป็นดอกช่อ เกาะกันอยู่บนก้านคล้าสด ลักษณะคล้ายๆ กระแตไต่กิ่งไม้แบบชาววังมากกว่า สิ่งที่ใช้ในการท�าดอกข่าก็มีเพียงแค่ดอกพุดที่คัดแยกกันมา 3 ขนาด ตั้งแต่ตูมมาก ตูมกลางไปถึงตูมใหญ่ สองคือใบเตย อันนี้ใช้ไม่เยอะ แค่ตัดใบช่วงกลางให้เป็นทรงรูปตัววี หรือทรงคล้ายๆ ลูกศร ดอกข่า 1 ก้านใช้ 3 อันเป็นส่วนใหญ่ และอย่างสุดท้ายคือก้านคล้าสด ตัดมายาวสัก หนึ่งไม้บรรทัด อุปกรณ์ทา� ก็มีแค่ด้ายกับกรรไกร แค่นี้ก็ประดิษฐ์ดอกข่าสวยๆ ออกมาใช้บูชาพระกันได้แล้ว

26


ฉันเลือกลองท�าดอกข่าก่อน เพราะดูทรงแล้วน่าจะง่ายกว่าหมากเบ็ง แต่คนไม่ชินงานฝ งานฝีมืออย่างฉันก็ใช้เวลา ไปเยอะกับอันแรกที่พังถึงกับต้องทิ้ง พอเริ่มอันที่ 2 ถึงค่อยๆ ตั้งใจท�าได้จนจบ ได้ดอกข่ากิ่งน้อยๆ ของตัว เองมาสมใจ หลังจากนั้นก็ถึงเวลาเรียนท�าหมากเบ็ง สิ่งแรกที่ต้องใช้เลยคือใบตอง ซึ่งต้องเตรียมฉีกเป็นริ้วๆ กว้างประมาณหนึ่งฝ่ามือ สองคือดอกพุดคัดไซส์ใหญ่ใกล้เคียงกันไว้เยอะๆ และสามคือไม้กลัด แต่ตัวฉันกับ การท�าหมากเบ็งนั้น ออกจะไม่เหมาะกับมือหยาบๆ นี้เลย หลังจากพยายามกับการทิ่มไม้กลัดลงในใบตองที่ พับซ้อนๆ กันเป็นชั้นๆ แล้ว ในที่สุดฉันก็ได้หมากเบ็งอันแรกในชีวิต ไม่ค่อยเป็นทรงกลมกรวยสวยงามแบบ ที่แม่ๆ สอนท�า แต่ดูไปก็ภูมิใจดีระหว่างท�าก็มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่แม่ๆ เล่าให้ฟัง เช่น ใบตองที่สวยที่สุดคือ ใบตองจากกล้วยตานี เพราะสีเขียวเข้มสวยหรือจ�านวนใบตองที่พับเป็นกลีบ 3 ชั้น เพราะหมายถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระรัตนตรัยที่เราก�าลังท�าสิ่งนี้ไปบูชา แต่ที่แน่ๆ คือฉันว่าการออกแบบนั้นเรียบง่ายและ ลงตัวมาก กรวยกลางและใบตองที่พับเป็นชั้น เมื่อพับแล้วจะเหลือรูเล็กๆ พอใส่ พอใ ก้านพุดลงไปพอดี ส�าหรับฉัน การเอาพืชพรรณหรือของใกล้ตัวมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดนั้น คือความอัจฉริยะของมนุษย์ เลยล่ะ มันคือการประดิษฐ์ที่ต้องใช้ทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะ ตอนแรกคนเราท�าเพื่อความอยู่รอดก่อน และต่อมาเมื่อเราอยู่รอดได้อย่างดีแล้ว เราก็เริ่มมีสุนทรีย์ในหัวใจ หมากเบ็งและดอกข่าส�าหรับถวายบูชา พระรัตนตรัยนี้ คืออีกหนึ่งวัฒนธรรมน่ารักที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อมายืนยันว่าชาวบ้านแถบโซ่ น พิสัยมีความอุดม สมบูรณ์ดี และมีความสุขพอที่จะมีเวลาและสุนทรียะที่จะประดิษฐ์เครื่องบูชาจากดอกไม้สดเอาไว้ถวายพระ ในอุโบสถด้วยตัวเอง 27




แผนที่เดินเที่ยว ต้องการ

วัดสังขลิการาม ( วัดแสนสามหมื่น )

สถานีตา� รวจภูธรโซ่พิสัย

ตลาดสดเทศบาล

วงเวียนหอนาฬิกา

30


ร้านค้าของฝาก จากชุมชน

วัดโพธิ์ศรีมงคล

พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต

31


กราฟฟิตี้พญานาค มากที่สุดในโลก 32


33


34


แม้จะเป็นหนึ่งในสี่อา� เภอของจังหวัดบึงกาฬที่ไม่ ติดแม่น�้าโขง แต่ความเชื่อความศรัทธาต่อต�านาน พญานาคก็ฝังรากลึกในจิตใจชาวอ�าเภอโซ่พิสัย ไม่ต่างจากชาวริมโขงหรือริมเขาในอ�าเภออื่นๆ และเมื่อซาวเสียงเพื่อหาสัญลักษณ์เป็นตัวแทนของ การวาดกราฟฟิตี้รอบหมู่บ้าน พญานาคจึงเป็น ค�าตอบที่เสียงส่วนใหญ่เห็นชอบด้วย จากประสบการณ์การเดินทางและความประทับใจ ที่มีต่อการสร้างสรรค์งานสตรีตอาร์ตที่สุทธิพงษ์ สุริยะ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตได้พบเห็นใน หลายประเทศ เขาพบว่าการสร้างสรรค์ภาพวาดบน ก�าแพงหรือกราฟฟิตี้ กลายเป็นแม่เหล็กดึงดูด นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้มุ่งหน้าไปหา เมื่อลงมือ ปรับปรุงบ้านพักให้เป็นพิพิธภัณฑ์แล้ว สิ่งที่จะมีพลัง มากพอจะสร้างแรงดึงดูดมหาศาล จ�าเป็นต้อง ยิ่งใหญ่ หนักแน่น ชัดเจน และต้องแปลกแตกต่าง การสร้างสรรค์ภาพวาดพญานาคขึ้นในหมู่บ้าน ขี้เหล็กใหญ่ โดยมีเป้าหมายที่ 100 ภาพจึงเริ่มต้น ควบคู่ไปพร้อมกัน

35


กราฟฟิตี้รูปพญานาคโดยรอบหมู่บ้าน เป็น ผลงานของนักศึกษาหลากหลายสถาบัน อาทิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และ นักเรียนด้านศิลปะจากสถาบันกวดวิชาจังหวัด อุดรธานี ที่มาร่วมแรงวาดภาพพญานาคลงบน ฝาเรือน ก�าแพง ฉากสังกะสี หรือแม้กระทั่ง ห้องขังในสถานีต�ารวจอ�าเภอโซ่พิสัย 36

กราฟฟิตี้พญานาค 100 ภาพที่กระจายอยู่ใน หมู่บ้านนั้น ครึ่งหนึ่งสะท้อนวิถีชีวิตของ ชาวบ้านขี้เหล็กใหญ่ผ่านอาชีพการงาน และความคิดความเชื่อ อีกครึ่งเป็นภาพ พญานาคกับความงดงามเชิงสุนทรียศาสตร์ ด้านต่างๆ โดยทั้งหมดนี้สุทธิพงษ์กล่าวว่าคือ การผสานศิลปะร่วมสมัย วิถีถิ่น และนวัตกรรม สร้างสรรค์งานออกแบบเข้าด้วยกัน เพื่อสร้าง การรับรู้ แรงสะเทือน และการเข้าถึงในที่สุด


37


38


39


40


41


แผ่นดินพญานาค วิทยากร โสวัตร

๑. นิทานอุรังคะทาด ผมมีความรู้สึกว่าเหตุการณ์ในหนังสือเก่าแก่เล่มนั้นเป็นวันในฤดูหนาว... เมื่อเวลาใกล้รุ่ง พระอานนท์ได้จัดแจงไม้สีฟันและน�า้ ส่วยหน้าถวายแด่พระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าทรง ช�าระเรียบร้อยแล้ว ทรงหลิงเห็นพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ในอดีตที่ได้ก่อธาตุไว้ในดอยกัปปันนะคีรีอยู่ใกล้ เมืองศรีโคตรบอง แล้วพระองค์ก็คองผ้าอุ้มบาตรผินหน้าไปทางทิศตะวันออก มีพระอานนท์ติดตามมาด้วย ทางอากาศ และได้ประทับอยู่ที่ดอนคอนพระเนานั้นก่อนแล้วไปที่หนองคันแทเสืสื้อน�า้ (แถวเวียงจันทน์) ขณะนั้นพระพุทธเจ้าได้หลิงเห็นแลนค�าตัวหนึ่งแลบลิ้นอยู่ที่โพนจิกเวียงงัวใต้ปากห้วยคุก (แถบหนองคาย) เห็นดังนั้นแล้วพระพุทธเจ้าก็ทรงท�าอาการแย้มหัว พระอานนท์เมื่อเห็นดังนั้นจึงทูลถามเหตุแย้มหัวนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “ดูราอานนท์, เราเห็นแลนค�าตัวหนึ่งแลบลิ้นให้เป็นเหตุแล เมืองสุวรรณภูมินี้เป็นที่ อยู่ของนาคทั้งหลาย มีสุวรรณนาคเป็นเค้า พร้อมทั้งผีเสื้อบกผีเสื้อน�า้ ทั้งหลาย ในอนาคตภายหน้า คนทั้ง หลายที่อยู่ในเมืองอันนี้ แม้นว่ารู้แตกฉานในธรรมของตถาคต ก็จักเลือกหาผู้มีสัจจะซื่อสัตย์สุจริตนั้นยาก แท้แล บ้านเมืองจักย้ายที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไปมาเป็นหลายชื่อหลายเสียงแล บางพ่องเชื่อในคุณแก้วสาม ประการส่วนหนึ่ง บางพ่องนั้นบ่มีความเชื่อ บางพ่องก็มีความเชื่อทั้งหมด บางพ่องนั้นส่วนหนึ่งเชื่อมิจฉาทิฏฐิ ก็มี บางพ่องสองส่วนเชื่อในมิจฉาทิฏฐิก็มี บางพ่องนั้นมีความเชื่อในมิจฉาทิฏฐิหมดก็มี เหตุว่าตถาคตเห็น แลนแลบลิ้นสองแง่มเป็นนิมิตแล หากเมื่อใดท้าวพระยาองค์เป็นหน่อพุทธังกูรได้มาเสวยราชย์ บ้านเมือง พระพุทธศาสนาของตถาคตก็จักรุ่งเรืองเหมือนดังพระตถาคตยังมีชีวิตอยู่นั้นแล”

42


๒. ก�าเนิดแม่นา�้ โขงจากพญานาค ผมก�าลังเดินทางจากอุบลไปโซ่พิสัย บนรถตู้โดยสาร ไปลงสกลนคร หญิงที่นั่งข้างๆ ผมเล่าเรื่องราว เกี่ยวกับพญานาค นางพาความทรงจ�าของผมกับ พื้นที่แถบนี้ – ที่ราบจากพานไปจดแม่นา�้ โขง, กลับมา แล้วผมก็นึกได้ว่าไม่มีพื้นที่ใดในประเทศนี้ อีกแล้วที่รุ่มรวยไปด้วยเรื่องเล่าเกี่ยวกับพญานาค แล้วผมก็เปิดอ่านหนังสือโบราณเล่มนั้น...

ให้พินทะโยนาควัตตี ต่อมาอีกสองสามวันได้มีเม่น โตหนึ่งตกหัวหนอง พินทะโยนาควัตตีก็แบ่งพูดซิ้น ส้วงหนึ่งไปให้ตอบ ทะนะมุนละนาคไปเบิ่งบ่อนเม่น ตกตายเห็นขนเม่นยาวค่าศอก ก็เอาขนเม่นมาแจ้ง แก่หลานชีวายะนาคผู้เป็นสักขีพยานแห่งสัญญา ทะนะมุนละนาคกล่าวต้านว่าเมื่อเฮาได้ช้างสาร โตใหญ่ปานนั้น เฮายังแบ่งปันให้กินพออิ่ม แต่เม่นโตนี้กะใหญ่กว่าช้างสารเหตุใดจึงบ่แบ่งให้ กินพออิ่ม เมื่อเป็นดังนี้แล้วค�าสัญญาซื่อสัตย์ เวลานั้นยังมีนาคสองโตเป็นเสี่ยวฮักแพงกัน ได้ ต่อกันระหว่างนาคทั้งสองก็ขาดสะบั้นลงทันใด อาศัยอยู่นา�้ หนองแส โตหนึ่งอยู่หัวหนองชื่อว่า แล้วพญานาคทั้งสองก็ผิดเถียงกัน เกี้ยวพันขบตอด พินทะโยนาควัตตี อีกโตหนึ่งอยู่ท้ายหนองชื่อ ทะนะมุนละนาค และมีหลานชื่อชีวายะนาค ทั้งสอง กันในน�า้ จนว่าน�้าหนองแสขุ่นเป็นตม สัตว์ทั้งหลาย ได้ให้สัจจะแก่กันว่า ถ้าสัตว์โตใดมาตกลงหัวหนอง ที่อยู่ในน�า้ ก็ล้มตายหลวงหลาย พวกเทวดาผู้รักษา หนองแสห้ามปานใดก็บ่ฟัง เทวดาจึงขึ้นเมือไหว้ ก็ตาม ท้ายหนองก็ตาม เฮาทั้งสองมีความฮักแพง พญาอินทร์ เมื่อพญาอินทร์รู้เหตุเช่นนั้นจึงให้ กัน จงแบ่งมันปันส่วนกันกินเลี้ยงชีวิตต่อไปแล ให้ ท้าวจตุโลกบาลลงมาไล่นาคทั้งสามนั้นให้หนีจาก เอาหลานชื่อชีวายะนาคนี้เป็นสักขีพยาน หนองแส นาคทั้งสามแฮ่งซ�า้ พันกันหนีด้วยอกบุดิน เวลาต่อมา วันหนึ่งมีช้างสารโตหนึ่งมาตกอยู่ท้าย เป็นคลองลึก หนอง ทะนะมุนละนาคก็แบ่งพูดซิ้นช้างนั้นส้วงหนึ่ง

43


ชีวายะนาคควัดเป็นคลองแม่น�้ามาด้วยอกของตน ตั้งแต่นั้นจึงชื่อว่าอุรังคะนทีคือแม่น�้าอูในบัดนี้ ทะนะมุนละนาคและชีวายะนาคก็ควัดเป็นแม่นา�้ มา สู่ตีนดอยนันทะกังฮีจนฮอดเมืองศรีโคตรบอง และ แต่อุรังคะนทีมาฮอดที่ทะนะมุนละนาคอยู่นั้นชื่อว่า ทะนะนทีเทวาคือแม่นา�้ ของในบัดนี้ เวลานั้น นาคทั้งหลายคือสุวัณณนาค กุทโธปาปะ นาค ปัพพารนาค สุกขหัตถีนาค สีสัตตนาค และ ถหัตถีนาค เป็นต้น ตลอดนาคทั้งหลายผู้เป็นบริวาร ที่อยู่ในหนองแสบ่สามารถอาศัยอยู่ได้ เพราะว่าน�า้ หนองแสขุ่นมัวเป็นตมหมดและหมู่นาคและสัตว์สา ก็ตายกันไปมาก ส่งกลิ่นเน่าเหม็น พวกผีก็มารุมกิน ซากเหล่านั้น จึงพากันออกมาอยู่แม่นา�้ และบนบก ในต่างๆ กัน นาคและเงือกงูทั้งหลายอยู่ตามน�า้ ของ ก็ยอมมาเป็นบริวารของพญานันทะกังฮีสุวัณณนาค และก็พากันไปอาศัยอยู่ภูกู่เวียน ส่วนพุทโธปาปะ นาคควัดแต่ภูกู่เวียนจนเกิดเป็นหนองใหญ่มีชื่อว่า หนองบัวบานในบัดนี้ แต่นั้นมา นาคทั้งหลายมักใคร่อยู่บ่อนใดกะอยู่ บ่ได้แล เงือก งูทั้งหลายอันเป็นบริวารก็ไปน�า ทุกแห่ง ส่วนปัพพาสนาคก็ควัดไปอาศัยอยู่ภูเขาลวง พญาเงือก พญางู โตบ่อยากอยู่ดอมนาคทั้งหลาย ๓. สุวรรณภูมิแผ่นดินทองของมวลพญานาค ฝนตกหนักมาแต่มุกดาหาร พอใกล้ถึงธาตุพนม

44

รถเลี้ยวเข้านาแกเลียบตีนภูพานไป ผมปิดหนังสือ โบราณเล่มนั้นลง หลับตาพัก และภาพๆ หนึ่งก็ผุด ขึ้นในห้วงนึก- - ถ้าขีดเส้นตามเทือกเขาภูพานที่เริ่ม จากรอยต่อเลย-อุดรก็จะมาสิ้นสุดที่โขงเจียม อุบลฯ เทือกเขาภูพานนี้เองที่ในวรรณคดีโบราณนิทาน อุรังคะทาดคือภูกู่เวียน ถ้าถือเอาเทือกเขาภูพาน เป็นคันนาฝั่งตะวันตก ก็จะมีเทือกเขาฝั่งตะวันออก ที่คั่นลาวกับเวียดนามตีเป็นเส้นขนาน ที่ราบยาว ้ ้ำของ พร้อมทั้งแม่น้ำ เหยียดนี้มีแม่นำโขงหรื อแม่นำของ สาขาจากสองเทือกเขาที่ขนานกันนี้มากมายหลาย สาย หล่อเลี้ยงให้ความอุดมสมบูรณ์มาแต่ปางบรรพ์ ที่เปิดให้เรื่องราวของดินแดนสุวรรณภูมิเดินทางออก ไปสู่โลกกว้าง และเปิดให้เรื่องราวจากโลกกว้าง เดินทางเข้ามา.. รถถึงสกลนครแล้ว และผมพบว่าตัวเองก�าลังเดิน หายเข้าไปในหนังสือโบราณเล่มนั้น.... ยังมีนิทานอันหนึ่งแต่พระเจ้าโคตมะเฮานี้ ยังมี พญานาคโตหนึ่งชื่อว่าสุวัณณนาค เกิดเป็นค�า ทั้งหมดโต นาคโตนั้นอยู่บ่อนใดก็ตาม แม่นว่าแต่ เก็ดหล่นตกลงบ่อนใดก็เป็นค�าในบ่อนนั้น นาคโต นั้นได้มีฤทธานุภาพเช่นนี้ จึงได้เป็นใหญ่ในเมือง สุวรรณภูมิ ดังนั้นเมืองนี้จึงได้ชื่อว่าสุวัณณภูมิ ตามชื่อนาคโตนั้นแล เวลานั้น พระปรเมศวรมาจากเมืองอินทปัตถะนคร ได้มาเป็นใหญ่ในบ้านเมืองแถบนี้ แต่บ่ได้


สักการะบูชาเลี้ยงดูพญานาคโตชื่อว่าสุวัณณนาคนั้น พญาสุวัณณนาคจึงเคียดบันดาลให้น�้าท่วมบ้าน ท่วมเมือง เมื่อเป็นดังนี้แล้วคนทั้งหลายจึงไปไหว้ พระปรเมศวรให้รู้เหตุ จึงได้ให้ผู้มีฤทธิ์ไปต่อว่า พญานาคว่าเมืองนี้พระปรเมศวรหากเป็นใหญ่ ปกครองหมดแล้ว จักให้เป็นพระพานแล้ว พญานาคจึงเคียดกล่าวต้านว่า มึงบ่ฮู้จักกูบ้อ โตกูบ่ทันตายมากุมคอถากเก็ดนอ ถ้าอยากได้เมือง กะให้มารบกับกูก่อน ถ้ากูแพ้มึงบ่ดีแล (ถ้าความแพ้ มีต่อมึง ก็จงหนีไป) คันแพ้กู (ถ้าความแพ้มีต่อกู) กูก็จะมอบเมืองให้ กูจักเวียนเป็นกงเป็นดอยอ้อมไว้ ให้เมืองพระพานนั้นแล

ลงทอดพายเฮือ ซ่วงกันบูซาฝูงนาโคนาคเนาว์ในพื้น ซื่อว่าอุสุพะนาโคเนาว์ในพื้นแผ่สิบห้าสกุลบอกไว้ บูซาให้ส่งสะการ จงให้ท�าทุกบ้านบูซาท่านนาโค แล้วลงโมทนาดอมซื่นซมกันเล่น กลางเว็นกลางคืน ให้ระงมกันเข้าเสพ จังสิสุขอยู่สร้างสบายเนื้ออยู่เย็น ทุกข์ทั้งหลายหลีกเว้นหนีห่างบ่มีพาน ของสามานย์ ทั้งปวงบ่ได้มีมาใกล้ ไผผู้ทา� ตามนี้เจริญขึ้นยิ่งๆ ทุกสิ่ง บ่ไฮ้ทั้งข้าวหมู่ของ กรรมบ่ได้ถืกต้องล�าบาก ในตัวโลด บ่มีมัวหมองอย่างใดพอดี้ มีแต่สุขีล้นครอง คนสนุกยิ่ง อดให้หลิงป่องนี้เด้อเจ้าแก่ซรา

ผมเดินทางมาถึงบึงกาฬในเวลาเย็นย�า่ แม่น้ำโขง ำโขง เปล่งประกายในแสงแห่งยามเย็น แล้วผมก็ได้ยิน เสียงร่ายผญาแว่วมาจากที่ใดสักแห่ง... เดือนสิบสองมาแล้วลมวอยหนาวสั่น เดือนนี้หนาว สะบั้นบ่คือแท้แต่หลัง ในเดือนนี้เพิ่นว่าให้

ตลอดเส้นทางจากอินทปัตถะนครถึงเชียงดง เชียงทอง (หลวงพระบาง) ขบวนเรือแห่งธรรม ปัญญาได้รับปกปักรักษาคุ้มครองจากอุสุพะนาค ๑๕ ตระกูล แล้วพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองตลอด สองฝั่งลุ่มน�า้ โขงถึงทะเล

ในห้วงฝันของผม ขบวนเรือของพระยาฟ้างุ่มน�า เมื่อความแพ้มีต่อสุวัณณนาค พระปรเมศวรก็แกว่ง พระไตรปิฎกขึ้นมาแต่เมืองอินทปัตถะนคร (เมือง ้ำมาในฤดูหนาว พระนครหรือเขมร) ทวนกระแสน ทวนกระแสนำมาในฤดู ดาบเข้าไปหาพญานาค เสียงดาบดัง “กูเวียน” ้ำโขงฤดูหนาวอบอวลไป เมื่อเกือบพันปีที่แล้ว แม่นำโขงฤดู ดังนี้ พญานาคจึงฮ้องค�าว่า “กูเวียน ให้เป็นภูเป็น ดอยไว้” ดังนี้แต่เค้ามา จึงมาเวียนด้วยฤทธิอธิษฐาน ด้วยหมอกยามเช้า แผ่นดินสองข้างฝั่งเหลืองอร่าม ด้วยข้าวในฤดูเก็บเกี่ยว พอมาถึงที่นี่ก็ในเวลาเย็นย�า่ ให้เป็นภูอ้อมเมืองสุวัณณภูมิเป็นทางไว้นั้นแล คบไฟของเมืองบึงกาฬและบริคัณฑ์ (ปากซัน) คงถูกจุดขึ้น พลุ ดอกไม้ไฟ ก็ดังสนั่นกังวาน ๔. แผ่นดินธรรม ประกายไฟแตกกระจายประดับฟ้าราตรี

45


จากบ้านพัก สู่พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต

บ้านไม้สองชั้นเลขที่ 9 หมู่ 7 อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ อาจเป็นเพียงบ้านหลังหนึ่งในจ�านวน 45 หลังคา เรือนของชุมชนบ้านขี้เหล็กใหญ่ที่ดา� เนินไปอย่าง สงบเงียบและเรียบง่าย นับตั้งแต่เช้าจรดค�า่ ตาม ปกติสุขของชาวอีสานเหนือทั่วไป แต่นับเนื่องจาก ปี 2561 เป็นต้นมา บ้านไม้เก่าแก่หลังนี้ได้กลาย เป็นหมุดหมายหนึ่งของการเดินทางท่องเที่ยวสู่ จังหวัดบึงกาฬ จากหมู่บ้านเล็กๆ ที่ไม่เคยปรากฏในลิสต์ท่องเที่ยว กลายมาเป็นหมู่บ้านที่มีผู้มาเยี่ยมเยือนอย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะวันหยุดเสาร์อาทิตย์ และบ้าน เลขที่ 9 แห่งนี้เองที่ก่อให้เกิดการไหลเวียนเปลี่ยน ผ่านระหว่างเจ้าบ้านและผู้มาเยือนต่างถิ่น กลาย เป็นทั้งจุดท่องเที่ยว ตลาดชุมชน แหล่งเรียนรู้ แลกเปลี่ยน และกรณีศึกษา ซึ่งทั้งหมดนี้คือ ความตั้งใจของ “ขาบ” สุทธิพงษ์ สุริยะ ผู้ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต

48



ลมหายใจแห่งบ้านไม้

50

แม้ปัจจุบันเรือนไทยที่มีความสมบูรณ์ตามลักษณะ ดั้งเดิมของแต่ละท้องถิ่นเหลืออยู่ไม่มากนัก เพราะ บ้านไม้จา� นวนไม่น้อยถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นบ้านกึ่ง ปูน ไม่ก็บ้านปูนทั้งหลังตามการเปลี่ยนแปลงเชิง โครงสร้างในหลายๆ ด้าน แต่ถึงกระนั้นบ้านไม้ที่ สะท้อนความเป็นอยู่ของคนไทยพื้นถิ่น ก็ยังพอหลง เหลือให้ได้ชมตามหมู่บ้านในจังหวัดต่างๆ อยู่บ้าง

เช่นเดียวกับบ้านไม้อายุ 60 ปีของครอบครัวสุริยะ ที่วันนี้กลายเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน ชุมชน และ จังหวัดบึงกาฬ เมื่อสุทธิพงษ์ปรับปรุงบ้านที่เติบโต มาให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นความมุ่งหวังที่อยู่ ในใจของเขามาช้านาน ด้วยความตั้งใจที่จะพัฒนา บ้านเกิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถสร้าง รายได้ให้แก่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน

การคงอยู่อย่างเงียบเชียบท่ามกลางกระแสการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ท�าให้เรือนไม้ โบราณที่ยังยืนหยัด เป็นเสมือนกล่องบันทึกความ ทรงจ�าที่ผนึกวันเวลาเก่าก่อน ทั้งของยุคสมัยและ ของผู้เป็นเจ้าของบ้าน และเมื่อมีการปรับปรุงบ้าน พักเก่าไปสู่บริบทใหม่ๆ เรื่องราวในวันวานจึงได้รับ การปัดฝุ่น รื้อฟื้น ทบทวน และน�ามาบอกเล่าใน แง่มุมสดใหม่ มีชีวิตโลดแล่นขึ้นอีกครั้ง

สุทธิพงษ์เล่าว่าการจากไปของคุณแม่พุทธาเป็นแรง ผลักดันให้โครงการที่เขาวาดฝันไว้เป็นรูปเป็นร่างขึ้น เมื่อพบว่าคุณพ่อส�าอางในวัย 88 ปีเริ่มซึมลงหลังแม่ จากไป เขาคิดว่าหากบ้านไม่เงียบเหงามีคนมาเยี่ยม มายาม ชวนพ่อใหญ่ของบ้านพูดคุย ความเหงา เศร้าคงบรรเทาเบาบางลง และนั่นคือจุดเริ่มต้นการ ลงมือปรับปรุงบ้านพักสู่พิพิธภัณฑ์


ถอดรหัสชื่อ “ชุมชนมีชีวิต”

การจากไปของคนหนึ่งคนได้ปลุกลมหายใจให้ บ้านเก่า คนแก่ และชุมชนที่เคยเงียบเหงาให้มีการ ไปมาหาสู่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน กล่าวได้ว่าบ้านหนองขี้เหล็กใหญ่ไม่ต่างจากหมู่บ้าน อีกหลายร้อยหลายพันแห่งทั่วประเทศไทย ที่มีความ เป็นอยู่เป็นไปอย่างไม่ซับซ้อน หาเลี้ยงชีพด้วยการ ท�านา ท�าสวนยาง และท�างานหัตถกรรมเย็บปัก ถักสานเป็นรายได้เสริม ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวทาง ธรรมชาติ หรือสิ่งดึงดูดใดให้เดินทางไปหา จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่จะไม่อยู่ในหมุดหมายการ ไปเที่ยวชม ดังนั้น การริเริ่มสิ่งใหม่เพื่อปลุกตัวตนจึง เริ่มต้นขึ้น อย่างไรก็ตาม การจูงใจให้ชุมชนร่วมสร้างความ เปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนไม่ใช่เรื่องง่าย การเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดจึงเป็นการเริ่มต้นที่ตัวเอง ขั้นแรกสุทธิพงษ์ลงมือปรับปรุงบ้านโดยใช้ความรู้ ความช�านาญ และประสบการณ์การท�างานในฐานะ ฟู้ดสไตลิสต์และงานออกแบบสไตล์ ซึ่งเชี่ยวชาญ การพัฒนาแนวความคิดและการเล่าเรื่อง น�าเรื่อง เก่าผสานเข้ากับการน�าเสนอแบบใหม่ และสิ่งส�าคัญ คือสุนทรียศาสตร์ที่สุทธิพงษ์ใช้เป็นแกนหลักในการ สร้างความโดดเด่นเสมอมา พิพิธภัณฑ์ซึ่งปรับปรุงจากบ้านพักอาศัย จึงหมายถึง ชีวิตที่เคยเป็นมาและก�าลังด�าเนินต่อไป ทั้งของผู้ที่ จากไปซึ่งยังคงได้รับการเล่าขาน ผู้ที่ยังคงอยู่กับการ ส่งต่อเรื่องราว และชีวิตชีวาใหม่ๆ ภายในชุมชนทั้ง ในแง่กิจกรรมและรายได้ 51


ใหม่ในเก่าบ้านสีน�้าตาลเขียว ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต คือการใช้สีเขียวเข้มสดใสตัดกับสีนา�้ ตาลหนักแน่นของตัวบ้าน สุทธิพงษ์บอกว่าสีเขียวเฉดที่ใช้คือ “สีเขียวตั้งแช” หรือ Khiaotangsae เป็นสีประจ�ามหาวิทยาลัยศิลปากร โดยตัวบ้านใช้สีน�้าตาลเข้ม ส่วนสีเขียวนั้นหยอดตามจุดต่างๆ เช่น บันได หน้าต่าง บานเฟี้ยม รวมถึง เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งภายในบ้าน อาทิ ตั่งไม้ ตู้กับข้าว ม้านั่ง ฝาชี และพัด เป็นต้น แปลนพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็น 4 โซน เริ่มจากโซนแรกบริเวณลานข้างใต้ถุนบ้าน ปรับให้เป็นที่นั่งพักผ่อนและ ลานกิจกรรมส�าหรับการท�างานร่วมกับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ โดยปรับระดับพื้นให้สูงขึ้นหนึ่งขั้น แล้วปูกระเบื้องเต็มบริเวณ ฝ้าเพดานกรุด้วยไม้ไผ่สาน ตกแต่งไฟด้วยสุ่มไก่ขนาดใหญ่ 52


โซนที่สองคือตัวบ้านไม้ซึ่งยังคงแปลนเดิม ด้านล่าง เป็นใต้ถุนโล่งโดยกั้นส่วนหนึ่งเป็นห้องท�างาน เมื่อ เดินขึ้นชั้นบนจะพบกับชานบ้านซึ่งเคยเป็นที่นั่งกิน ข้าวกันพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งครอบครัว ด้านข้าง คือครัวเดิมแบบคนไทยยุคก่อนที่หุงหาอาหารด้วย ฟืนไฟ ฝาบ้านบ่งบอกร่องรอยของวันเวลาจากเขม่า ควันของการหุงต้ม เป็นครัวที่กั้นห้องเป็นสัดส่วน แต่มีช่องแสงธรรมชาติและช่องระบายอากาศคือ หน้าต่างและช่องลม ตรงข้ามกับครัวคือห้องเก็บของ ปัจจุบันจัดเก็บข้าวของเครื่องใช้ของคุณแม่พุทธา ภายในบ้านแบ่งเป็น 3 ห้อง ห้องใหญ่คือโถงกลาง เคยเป็นห้องนอนพ่อและแม่ รวมถึงเป็นห้องนอน รวมในวันหยุดปิดเทอม ห้องด้านซ้ายคือห้องพระ และห้องขวามือหรือห้องริมทุ่งนาเคยเป็นห้องนอน ของพี่สาว ปัจจุบันจัดให้เป็นห้องนั่งเล่น

โซนที่สามคือครัวที่ต่อเติมขึ้นใหม่ เป็นครัวปัจจุบัน ขนาดใหญ่ และเป็นอีกหัวใจส�าคัญที่ขับเคลื่อน พิพิธภัณฑ์อย่างมีสีสันและชีวิตชีวา อาหารคาว หวานที่ปรุงจากครัวแห่งนี้ ภายใต้การก�ากับดูแล ของพี่สาวสองคนคือพี่หวังและพี่หวาด รวมถึง บรรดาแม่ๆ น้าๆ นั้น ทุกเมนูล้วนอร่อย สดใหม่ สมกับเป็นบ้านที่สุทธิพงษ์เล่าให้ฟังว่า “แม่ทา� อาหารอร่อยมาก” ลูกๆ ทุกคนจึงผ่านการเป็น ลูกมือของคุณแม่พุทธามาแล้วทั้งสิ้น สุดท้ายคือโซนตรงข้ามพิพิธภัณฑ์ เป็นป่ายาง โปร่งโล่ง มีแคร่ไม้ส�าหรับนั่งกินอาหารใต้ต้นยาง ได้บรรยากาศเอาต์ดอร์ และเป็นตลาดชุมชนให้ ชาวบ้านน�าสินค้ามาจ�าหน่าย 53


54


55


56


ปรับภูมิทัศน์ จัดระเบียบ

นอกจากปรับปรุงและตกแต่งบ้านเป็นพิพิธภัณฑ์ ส�าหรับการศึกษาลักษณะบ้านไทยอีสานแล้ว การ จัดการส่วนอื่นๆ เพื่อรองรับผู้มาเยี่ยมชม โดยใช้ หลักการจัดผังและภูมิสถาปัตยกรรมอย่างเรียบง่าย แต่มีความลื่นไหลและคล่องตัวอย่างดีเยี่ยม กล่าว คือด้านหน้าทางเข้าบ้านมีภาพเพ้นต์ผนังขนาดใหญ่ ด้านข้างมีช่องจอดรถขนาดเล็ก 2-3 คัน ส่วนลาน จอดรถที่สามารถรองรับรถจ�านวนมากอยู่ถัดจาก ลานสวนยาง มี 2 ลานอยู่ทางทั้งฝั่งซ้ายและขวา โดยด้านข้างกั้นเป็นแนวต้นไม้เป็นระเบียบสวยงาม บริเวณลานจอดรถทั้ง 2 ลานยังมีภาพวาดพญานาค ในลักษณะกราฟฟิตี้ที่นักศึกษาจากหลากหลาย สถาบันมาเพ้นต์ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้มาเยี่ยมชม

ด้านข้างของลานสวนยางมีอ่างซิงค์และก๊อกน�้า จัด เตรียมไว้ให้นักท่องเที่ยวล้างมือก่อนและหลังเปิบ พาแลงซึ่งอยู่ในต�าแหน่งที่ใช้งานได้สะดวก ด้านหลัง ฉากสังกะสีคือห้องน�้า มีทั้งสิ้น 3 จุด ได้แก่ ด้าน หลังลานป่ายางแห่งนี้ ด้านข้างใกล้ลานจอดรถ และ ห้องน�้าบนเรือนพิพิธภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีจุดแยก ขยะโดยกั้นสัดส่วนไว้อย่างเป็นระเบียบ จากความตั้งใจเล็กๆ สู่การลงมือลงแรง และขยาย ผลสู่ครัวเรือนอื่นๆ ภายในชุมชน บ้านไม้เก่าแก่ อายุ 60 ปี และชุมชนบ้านขี้เหล็กใหญ่จึงกลาย เป็นตัวอย่างของการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ค่อยๆ เติบโตขึ้น จนเป็นอีกหมุดหมายหนึ่งของการเยือน จังหวัดบึงกาฬ 57


58


59


สถาปัตยกรรม ที่ไม่ได้ออกแบบ พัลลภ เอมศรีกุล

ตั้งแต่เริ่มรู้ภาษา เท้าก็สัมผัสกับพื้นไม้ที่รุ่นปู่ย่าสร้างไว้ ท่ามกลางชุมชนที่รายล้อมด้วยคติความเชื่อและวิถี ชุมชนดั้งเดิม ท่ามกลางธรรมชาติผู้ให้ร่มเงาแก่ชีวิต ถึงแม้ในปัจจุบันหลายสิ่งได ได้เปลี่ยนไปแล้ว แต่รากเหง้า ในความทรงจ�ายังชัดเจน 60


ส�าหรับที่นี่ บ้านคือ “เฮือน” เฮือนในชุมชนแห่งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการด�าเนินชีวิตของผู้คนจากรุ่น สู่รุ่น หลากหลายอาชีพ การไร้รั้ว อยู่กันแบบสังคม เครือญาติ ยังคงมีให้เห็นบ้างประปราย ถนนหนทาง ถูกปรับปรุงพัฒนา เชื่อมต่อตามโครงสร้างผังเมืองที่ ผู้คนเริ่มกั้นรั้วรอบขอบชิดแทนรั้วธรรมชาติแบบเดิม บ้างแล้ว หากมองไปรอบๆ เราจะเห็นอาคารเล็กๆ ยกใต้ถุนสูงอยู่หลังเฮือนแทบทุกเฮือน นั่นก็คือ “เล้าข้าว” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาการท�าโรงส�าหรับการ เก็บข้าวเปลือก และผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้ ยังชีพตลอดทั้งปี ทั้งยังสามารถแสดงถึงฐานะของ แต่ละเฮือนจากขนาดของเล้าข้าวอีกด้วย เล้าข้าวพาให้นึกย้อนกลับไปถึงการใช้ชีวิตของผู้คน ภาคอีสานในสมัยก่อน ที่คนยังผูกพันกับธรรมชาติ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมบนที่ดินใกล้บ้าน แบ่ง ปันผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้จากการเพาะปลูกให้แก่กัน มีแหล่งน�า้ ที่อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งทรัพยากรอาหาร ที่สา� คัญร่วมกันของชุมชน ผู้คนปลูกสร้างบ้านเฮือน

ไม้แทรกตัวอยู่ตามความอุดมสมบูรณ์เหล่านี้ โดยใช้ วัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น และจัดพื้นที่ใช้งาน ในตัวอาคารและใต้ถุนอาคารให้เชื่อมโยงกัน เหมาะสมกับอาชีพของตนเอง เป็นสังคมแบบพึ่งพา ตัวเอง และอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ ปัจจุบันหลายสิ่งเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาจากการ ขับเคลื่อนของคนยุคใหม่ ผสมผสานกับวิถีเดิม เกิด เป็นการสรรสร้างพื้นที่ร่วมกัน ที่สะท้อนกลับลงไป อยู่ในตัวอาคารและชุมชนอย่างเรียบง่าย และเป็น ธรรมชาติ โดยแทบไม่ได้รับการปรุงแต่งจากการ ออกแบบโดยตรงแต่อย่างใด เฮือนไม้ดั้งเดิมซึ่งมีให้ เราเห็นอยู่ไม่มากนัก ถูกน�ามาพัฒนาต่อยอด เป็นการร่วมมือกันของคนในชุมชน เกิดเป็น เสน่ห์ของชุมชนที่มีความเก่าแบบทันยุคทันสมัย พิพิธภัณฑ์มีชีวิตแห่งนี้ท�าให้ชุมชนกลับมามีชีวิต และพึ่งพาตนเองได้ท่ามกลางธรรมชาติที่เป็น ถิ่นฐานบ้านเกิด ที่เฝ้ารอการกลับไปพัฒนาต่อยอด ของคนรุ่นหนุ่มสาวในยุคต่อไป 61


เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย ฝูงหมู่สงฆ์เจ้าก็เตรียมเข้าอยู่กรรม มันหากธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน อย่าได้ละห่างเว้นเข็นสิข่องแล่นน�า แท้แหล่ว

พอเถิงเดือนห้าให้พวกไพร่ซาวเมือง จงพากันสรงน�้าขัดสีพุทธรูป ให้ท�าทุกวัดแท้อย่าไลม้างห่างเสีย ให้พากันท�าแท้ๆ ไผๆ บ่ได้ว่า ทุกทั่วทีปแผ่นหล้าให้ท�าแท้สู่คน จังสิสุขยิ่งล้นท�าถืกค�าสอน ถือฮีตคองควรถือแต่หลังปฐมพู้น

๒ พอแต่เดือนยี่ได้ล�้าล่วงมาเถิง ให้พากันหาฟืนสู่คนโฮมไว้ อย่าได้ไลคองนี้มันสิสูญเสียเปล่า ข้าวและของหมู่นั้นสิหายเสี่ยงบ่ยัง จงให้ฟังคองนี้ แนวกลอนเฮาบอก อย่าเอาใดออก แท้เข็นฮ่ายสิแล่นเถิงเจ้าเอย ๓ เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันจี่ข้าวจี่ ไปถวายสังฆะเจ้าเอาแท้หมู่บุญ กุศลสิน�าค�้าตามเฮามื้อละคาบ หากธรรมเนียมจั่งซี้ มีแท้แต่นาน ๔ พอเถิงเดือนสี่ได้ให้เก็บดอกบุปผา หามาลาดวงหอมสู่คนเก็บไว้ อย่าได้ไลคองนี้เสียศรีสูญเปล่า หาเอาตากแดดไว้ให้ท�าแท้สู่คน แท้ดาย * คิดฮอดบ้านบุญผะเหวดเดือนสี่ คือสิมีกัณฑ์หลอนแห่งันล�าฟ้อน ทศพรเป็นกัณฑ์ต้นมหาพนเป็นกัณฑ์สี่ มัทรีเป็นกัณฑ์เก้ารวมเข้าสู่นคร

๖ เฮาจักตามฮีตเฒ่าเก่าคองหลัง กูจักพาสูท�าบุญแปงสร้าง เดือนหกขึ้นวันเพ็งสิบห้าค�่า กับทั้งเบิกแถนซ�้าส่งบุญ จักมีการเล่นไฟหางบั้งหมื่น กับทั้งมีบวชพร้อมสรงน�้าราชครู ๗ พอเมื่อเดือนเจ็ดแล้วจงพากันบูซาราช ฝูงหมู่เทพเหล่านั้นบูซาแท้สู่ภาย ตลอดไปฮอดอ้ายอายักษ์ใหญ่มเหสัก ทั้งหลักเมืองสู่หนบูซาเจ้า พากันเอาใจตั้งท�าตามฮีตเก่า นิมนต์สังฆะเจ้าซ�าฮะแท้สวดมนต์ ให้ฝูงคนเมืองนั้นท�ากันอย่าได้ห่าง สูตรซ�าฮะเมืองอย่าค้างสิเสียเศร้าต�่าสูญ ทุกข์สิแลนวุ่นๆ มาใส่เต็มเมือง มันสิเคืองค�าขัดต�่าลงสูญเศร้า ให้เจ้าท�าตามนี้แนวเฮาสิต้านกล่าว จึงสิสุขอยู่สร้างสวรรค์ฟ้าเกิ่งกัน ทุกข์หมื่นฮ้อยซั้นบ่มีว่ามาพาน ปานกับเมืองสวรรค์สุขเกิ่งกันเทียมได้


ผญาวิถีชีวิต คนลาวอีสาน ๘ พอเดือนแปดได้ล�้าล่วงมาเถิง ฝูงหมู่สังโฆคุณเข้าวัสสาจ�าจ้อย ท�าตามฮอยของเจ้าพระโคดมท�าก่อน บ่ทะลอนเลิกม้างท�าแท้สู่ภาย แล้วจงพากันผ่ายหาของไปเททอด ท�าทานไปอย่าได้คร้านเอาไว้หมู่บุญ สิเป็นของหนุนเจ้าไปเทิงอากาศ สู่สวรรค์บ่ฮ้อนด้วยบุญนี้ส่งไป ๙ พอเถิงเดือนเก้าแล้วเป็นกลางวัสสกาล ฝูงประซาซาวเมืองก็เล่าเตรียมตัวพร้อม พากันทานยังข้าวประดับดินกินก่อน ทายกทานให้เจ้าพระสงฆ์พร้อมสู่ภาย ๑๐ พอเถิงเดือนสิบแล้วทายกทอดอวยทาน ข้าวสากน�้าไปให้สังโฆทานทอด พากันหวังยอดแก้วนิพพานพู้นที่สูง ฝูงหมู่ลุงอาว์ป้าคณาเมืองน้อยส่ง ศรัทธาลงทอดไว้ทานให้แผ่ไป อุทิศให้ฝูงเปรตเปโต พากันโมทนาน�าสู่คนจนเกลี้ยง

๑๑ เถิงเดือนสิบเอ็ดแล้วก็แม่นแนวทางป่อง เป็นคองของพระเจ้าเคยเข้าแล้วออกมา เถิงวัสสาแล้วสามเดือนก็เลยออก เฮียกว่าออกพรรษาปวารณากล่าวไว้ เฮาได้กล่าวมา ๑๒ เดือนสิบสองมาแล้วลมวอยหนาวสั่น เดือนนี้หนาวสะบั้นบ่คือแท้แต่หลัง ในเดือนนี้เพิ่นว่าให้ลงทอดพายเฮือ ซ่วงกันบูซาฝูงนาโคนาคเนาว์ในพื้น ซื่อว่าอุซุพะนาโคเนาว์ในพื้นแผ่น สิบห้าสกุลบอกไว้บูซาให้ส่งสะการ จงให้ท�าทุกบ้านบูซาท่านนาโค แล้วลงโมทนาดอมซื่นซมกันเล่น กลางเว็นกลางคืนให้ระงมกันเข้าเสพ จังสิสุขอยู่สร้างสบายเนื้ออยู่เย็น ทุกข์ทั้งหลายหลีกเว้นหนีห่างบ่มีพาน ของสามานย์ทั้งปวงบ่ได้มีมาใกล้ ไผผู้ท�าตามนี้เจริญขึ้นยิ่งๆ ทุกสิ่งบ่ไฮ้ทั้งข้าวหมู่ของ กรรมบ่ได้ถืกต้องล�าบากในตัวโลด บ่มีมัวหมองอย่างใดพอดี้ มีแต่สุขีล้นครองคนสนุกยิ่ง อดให้หลิงป่องนี้เด้อเจ้าแก่ซรา




ล้อมวงเปิบพาแลง

การกินอาหารเป็นส�ารับบ่งบอกถึงการกินข้าวร่วมกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในวิถีวัฒนธรรมที่เด่นชัดของ คนไทย การจัดส�ารับตรงกลางเชิญชวนให้ทุกคนล้อมวงเข้ามา แบ่งปันความอร่อย และ แลกเปลี่ยนบทสนทนาซึ่งกันและกัน วัฒนธรรมการกินอาหารของชาวอีสานนิยมล้อมวงกินร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นวงส้มต�า หรือลาบ ปลา ต้มปลา อาหารรสจัดจ้านเหล่านี้ กินคนเดียวไม่อร่อย ต้องมีเพื่อนร่วมแบ่งปันความเผ็ด ความนัว บรรยากาศการกิน เสียงซี้ดซ้าด และบทสนทนาจะช่วยชูรสชาติอาหารให้แซบยิ่งขึ้น ส�ารับของชาวอีสานเรียกว่า “พาแลง” โดย “พา” หมายถึง พาข้าว เป็นโต๊ะเตี้ยสานจากไม้ไผ่ ส่วน “แลง” หมายถึงเวลาเย็น พาแลงจึงเป็นมื้ออาหารเย็นที่สมาชิกได้ใช้เวลาร่วมกัน อาหารในพาแลงไม่ได้กา� หนดตายตัวว่าต้องมีอะไรบ้าง แต่เน้นการจัดให้รสชาติสมดุล มีส้มต�า รสเผ็ดแล้วก็ต้องมีต้มปลาให้ซด มีอาหารทอด มีหมก มีลาบ และที่ขาดไม่ได้คือผักนึ่งและแจ่ว ปลาร้าบอง น�า้ พริกต�ารับคนอีสานที่อยู่ในทุกมื้ออาหาร 66


วิธีท�าแจ่วปลาร้าบอง 1. คั่วตะไคร้ ซอยหอมแดง ข่า หัวหอม กระเทียม ใบมะกรูด โดยแยกคั่วทีละอย่างจนแห้ง 2. ผัดมะเขือเทศสีดาจนมีนา�้ ออกมา ใส่ผักชีซอยละเอียดลงผัดจนแห้ง 3. ตักส่วนผสมทุกอย่างใส่ครกแล้วต�ารวมกัน 4. คั่วปลาร้าสับให้สุก แล้วโขลกรวมกับเครื่องเทศทั้งหมดให้ทุกอย่างเข้ากัน 5. ปรุงรสด้วยพริกป่น ชิมรสชาติ อาจเติมน�้าตาลได้นิดหน่อย 6. ผัดอีกครั้งจนแห้งสนิทจะช่วยให้เก็บได้นานยิ่งขึ้น 67


อาหารจากพื้นดิน การกินที่ไร้พอนุรมแดน สรณ์ ติปยานนท์

68


“มนุษย์นั้นมีธรรมชาติแห่งการกินและต้องกินเป็น หลัก เป็นเวลาหลายพันปีที่มนุษย์ออกหาอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการเข้าป่าล่าสัตว์ ตกปลา เก็บผลไม้ หรือเก็บธัญพืช จากประวัติศาสตร์เช่นนั้นของมนุษย์ การล่าสัตว์เริ่มเปลี่ยนแปลงไป การเก็บเกี่ยวธัญพืช ท�าได้ดีมากขึ้นเรื่อยๆ การเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชก็ สะดวกและเป็นระบบ การท�าการเกษตรก็ได้รับ การพัฒนา และแม้ว่าผู้คนในประเทศพัฒนาจะมี ความสะดวกสบายในการซื้อหาอาหารจากซูเปอร์ มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ แต่ผู้คนอีกในหลายพื้นที่ ทั่วโลกก็ยังคงเข้าป่าล่าสัตว์ ตกปลา และแสวงหา อาหารเพื่อยังชีพเป็นการส�าคัญ” ดัลเลน เจ ทิโมธี่ (Dallen J. Timothy) ผู้เขียน “อาหารในฐานะ มรดกทางวัฒนธรรม วิถีของอาหารและวัฒนธรรม การกิน” (Heritage cuisines, foodways and culinary traditions) ภาพของการนึ่งข้าวกลางลานที่บ้านหนองโดก อ�าเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ที่ถูกถ่ายโดย อาจารย์วิโรฒ ศรีสุโร ในปี พ.ศ.2513 ปรากฏขึ้นใน ความคิดของผมขณะเขียนบทความชิ้นนี้ ภาพของ ชายคนหนึ่งที่นุ่งโสร่งเพียงตัวเดียว นั่งอยู่ข้างหวด ข้าวแบบโบราณ เป็นหวดข้าวที่สานขึ้น ทรงสูง ปาก แคบ ไม่ใช่หวดข้าวแบบปัจจุบันที่ปากผายออกและ หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านค้า รอบตัวเขามีกองฟืน มีต้น มะพร้าว มีเล้าข้าว ภาพถ่ายเป็นสีขาวด�า เราแยก อะไรออกได้ยากเต็มที แต่กระนั้นสิ่งหนึ่งที่แน่ใจได้ คือในภาพนี้ดูเหมือนไม่มีอาหารอย่างอื่นประกอบ อยู่อีก ชายผู้นี้กา� ลังรอทานอาหารธรรมดาที่สุดอัน ได้แก่ข้าว

หากเราจะใช้คา� กินข้าว กินปลา แทนถ้อยค�าภาษา ไทยที่ว่าด้วยกระบวนการรับอาหารเข้าสู่ร่างกาย ดินแดนอีสานน่าจะเป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของถ้อยค�า นี้ ไม่มีพื้นที่ใดในอีสานที่ไม่มีข้าวประจ�าถิ่น ไม่มีปลา ประจ�าถิ่น ความหลากหลายของข้าวพื้นเมืองนับ ร้อยๆ พันธุ์ ความหลากหลายของปลาจากแม่นา�้ มูล แม่นา�้ ชี แม่นา�้ สงคราม แม่นา�้ แกว แม่นา�้ ยัง ไป จนถึงแม่น�้าโขง ทุ่งนาหลากที่ สายน�า้ หลากทิศ ล้วน สร้างสรรค์รูปแบบของอาหารที่เฉพาะตัว และการ มีรูปแบบอาหารที่เฉพาะตัวนี้เองที่ทา� ให้ทุกพื้นที่ใน อีสานมีความหมาย แทบทุกเช้าผมจะออกเดินจากบ้านพักหน้าวัดแสนสามหมื่นในอ�าเภอโซ่พิสัย ไปยังตลาดเช้าที่บริเวณ หน้าหอนาฬิกากลางอ�าเภอ เช่นเดียวกันกับอ�าเภอ อื่นๆ ในภาคอีสาน ตลาดเช้าคือแหล่งสนทนา แหล่ง ซื้อหา แหล่งประกาศตนของอาหารตามฤดูกาล อาหารในอีสานเป็นอาหารที่ขึ้นอยู่กับฤดูกาล บาง เดือนเราอาจมีไข่มดแดงกินอย่างอุดมสมบูรณ์ และ บางเดือนเราอาจจ�าเป็นต้องซื้อหามันในฐานะของ หายากหาเย็น บางเดือนเรามีเห็ดตาโล่ บางเดือนเรา มีเห็ดระโงก บางเดือนเรามีเห็ดปลวก และบางเดือน เรามีเพียงเห็ดฟางและเห็ดเข็มทองในซองพลาสติก ที่ถูกส่งมาจากบริษัทยักษ์ใหญ่ หากประเทศญี่ปุ่น มีการกินตามฤดูกาลแบบไคเซกิ-Kaiseki อีสานก็มี ใครใคร่กิน กินที่มี อันเป็นการกินตามฤดูกาลเช่น เดียวกัน ฤดูกาลนี้ ในเดือนกรกฎาคมจรดสิงหาคม ต้นฤดูฝน โซ่พิสัยมีหวายเป็นตัวละครหลัก

69


แทบทุกซอกของตลาด เราจะพบแม่ค้านั่งอยู่พร้อม มัดของท่อนหวายขนาดใหญ่ ก้านหวายสีเขียวเข้มให้ ความรู้สึกเสมือนดังการซื้อต้นไม้ไปปลูกมากกว่าการ ซื้อวัตถุดิบไปท�าอาหาร ในตอนแรกที่ผมพบท่อน หวายเหล่านี้ ความทรงจ�าของผมหวนกลับไปใน วัยเด็ก ผมคิดถึงยอดเรียวยาวของมันที่ลงกระหนาบ ก้นของพวกเด็กนักเรียนชายในโรงเรียนของเรา ในยุคสมัยที่การตีก้นคือการลงโทษขนานหนัก หวาย เป็นสิ่งที่เราจ�าจดมันได้ขึ้นชื่อนอกจากไม้ไผ่ ปัจจุบัน นี้เมื่อการตีเพื่อลงโทษไม่มีอีกต่อไป หวายน่าจะหาย ไปจากโรงเรียนแล้วเช่นกัน แต่แน่นอนในที่นี้ ในโซ่พิสัย หวายไม่เคยหายไปจากครัว หลังการค้นพบหวายที่โซ่พิสัย ผมย้อนกลับเข้า จังหวัดบึงกาฬ บึงกาฬนั้นเป็นจังหวัดใหม่ที่แยกตัว 70

ออกจากจังหวัดหนองคาย และจังหวัดหนองคาย นั้นเมื่อเรามองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ ก็คือ ส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างที่มีเวียงจันทน์ เป็นศูนย์กลาง อาณาเขต ความเป็นชาตินิยม เส้น เขตแดน แผนที่อาจชัดเจนในยุคสมัยนี้ แต่เมื่อหลาย ร้อยปีก่อนที่ทุกอย่างซ้อนทับและพร่าเลือน พื้นที่ บริเวณนี้เป็นเนื้อเดียวกันโดยเฉพาะในความเป็น อาหาร ผมข้ามแม่น�้าโขงด้วยเรือจากบึงกาฬไปยัง ปากซัน ขึ้นจากท่าเรือ ตรงไปที่ตลาดสดประจ�า เมือง และที่นั่นเอง หวายจ�านวนมากพากันวางเรียง อยู่ในตลาด ยกตัวหนังสือที่เขียนอยู่รอบๆ ออกเสีย ตลาดสดปากซัน ตลาดสดบึงกาฬ ตลาดสดโซ่พิสัย ไม่มีความแตกต่างอันใดเลย สิ่งของในตลาดนั้น วัตถุดิบในตลาดนั้นล้วนแสดงถึงฤดูกาล


ผมสอบถามแม่ค้าในตลาดปากซันถึงการปรุงอาหาร จากหวาย มีหลายชื่ออาหารที่น่าสนใจ อาทิเช่น แกงหน่อหวายใส่เห็ดกับใบย่านาง ซุปหน่อหวาย กับปลาดุก ไปจนถึงแกงหน่อหวายกับไก่บ้าน ผม จดรายชื่ออาหารเหล่านั้น หิ้วหน่อหวายที่ได้มา จากตลาดปากซัน แขวงบอลิค�าไซ นั่งเรือกลับคืนสู่ บึงกาฬ กลับสู่โซ่พิสัย ที่โซ่พิสัย มีพิพิธภัณฑ์ชุมชน ที่มีชีวิตอันเป็นการรวมตัวของกลุ่มชาวบ้านในบ้าน หนองพันทาจากการริเริ่มของคุณขาบ-สุทธิพงษ์ สุริยะ ที่มีแนวทางในการส่งเสริมวัฒนธรรมและวิถี ท้องถิ่นของชาวโซ่พิสัยให้เป็นที่รู้จักและรับรู้ในวง กว้างมากขึ้น และที่นั่นมีกลุ่มแม่บ้านที่พร้อมจะแปร หวายเหล่านี้ให้เป็นอาหาร แม่ใหญ่ทารับกองหวายจากผม ก่อนที่จะลงมือปอก หวายจนเห็นเนื้อในสีขาวนวลของมัน หลังจากนั้น

แม่ใหญ่ทาหั่นมันออกเป็นท่อนเล็กๆ และน�าลงต้ม ในน�้าจนเดือดเอาความขมในตัวมันออกไป แม่ใหญ่ ทาบอก ถ้าอยากให้มันขมน้อยก็ต้มสักสองน�้า แต่ ถ้าอยากให้มันขมปะแล่มๆ หรือขมอ�าล�าก็ต้มสักน�้า เดียว หลังจากนั้นเราคั้นน�้าจากใบย่านาง เอาน�้าใบ ย่านางตั้งเตา ใส่หวาย ใส่พริกแกงที่มีพริก หอมแดง และตะไคร้ พอเดือดเราเติมเห็ด และใส่ผักอีตูหรือ ใบแมงลักปิดท้าย เท่านี้เองส�าหรับแกงหน่อหวายใส่ เห็ดและใบย่านาง ค�าว่าเท่านี้เองของแม่ใหญ่ทาไม่ใช่เท่านี้ในความ เป็นจริง ส�าหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับวิธีการท�าอาหาร แต่ละขั้นตอนคือการจดข้อมูลอย่างละเอียด เราคั้น น�้าใบย่านางเท่าใดจึงจะพอ สัดส่วนระหว่างหวาย กับเครื่องแกงเป็นเท่าใดกันแน่ ระบบที่ขาดการชั่ง ตวง วัด และต้องผ่านประสบการณ์แต่เพียงอย่าง 71


เดียว เป็นระบบที่ดูยุ่งยากแต่ใช้การได้จริง และการ จดข้อมูลเหล่านั้นเองท�าให้ผมมีค�าถาม “หวาย ใบย่านาง เห็ด ล้วนเป็นของจากป่าแทบ ทั้งสิ้น แบบนี้เราเรียกแกงถ้วยนี้ว่าอาหารป่าได้ไหม ครับแม่” “อาหารแต่เดิมของโซ่พิสัยมาจากป่า มาจากแม่น�้า มาจากท้องไร่ท้องนาแทบทั้งนั้น ก่อนนั้นไม่มีหรอก ตลาดนัด ตลาดไม่นัด หน่อไม้ที่แกงกับไก่ก็มาจาก ป่า เราเอามาดองให้ส้ม ให้เปรี้ยว ไก่ก็เป็นไก่บ้าน วิ่งแถวนี้ หน้าหน่อไม้ก็เข้าป่าหาหน่อไม้ หน้าเห็ด ก็ขึ้นเขา ขึ้นภูหาเห็ด หน้าน�้าก็หาปลา ได้มามากก็ หมักปลาแดกเก็บไว้กิน หน้าแล้งก็หาแมลง ตอนแม่ เด็กๆ ไม่เคยใช้เงินซื้ออาหารเลย หิวก็ออกไปแถวนี้ ไปแม่น�้านี่ ตั้งไฟรอไว้เลย กลับมาน�้ายังไม่ทันเดือด ได้ปลามาแกงแล้ว” ค�าพูดของแม่ใหญ่ทาท�าให้ผมคิดถึงค�าเรียกขาน หมู่บ้านนี้ว่าพิพิธภัณฑ์มีชีวิต สองค�านี้มีความหมาย ขัดแย้งกันอย่างสูง ค�าว่าพิพิธภัณฑ์นั้นหมายถึง สถานที่ที่จัดเก็บของสิ่งของที่ควรค่าแก่การเข้าชม และหลายครั้งสิ่งของเหล่านั้นมักเป็นสิ่งของที่มา จากอดีตกาลที่ปราศจากลมหายใจอีกต่อไป ในขณะ ที่ค�าว่ามีชีวิตนั้นหมายถึงสิ่งที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ สิ่งที่ยังมีพลวัต สิ่งที่ยังมีลมหายใจ สิ่งที่กระตุ้นเตือน ให้เราเห็นว่ามันยังด�าเนินต่อไปอย่างมีชีวิต และมีชีวา กระนั้นค�าค�านี้เมื่ออยู่ที่นี่ ที่บ้านหนองพันทา โซ่พิสัย ค�าค�านี้กลับไม่มีความขัดแย้งเลย ผู้คนที่อยู่ อาศัยที่นี่ล้วนเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตโดยแท้จริง 72

พวกเขามีอายุ สั่งสมประสบการณ์ และพยายามชุบ ชีวิตองค์ความรู้ทั้งหลายในอดีตให้ฟื้นคืนมา ผู้คน กลุ่มแล้วกลุ่มเล่าที่มาเยือนสถานที่แห่งนี้ เป็นผู้คน กลุ่มแล้วกลุ่มเล่าที่ได้ร่วมรับประสบการณ์อันมี ชีวิตจากผู้คนในพื้นที่ที่มีลมหายใจอยู่จริง อาหาร วัฒนธรรม เรื่องเล่าของหมู่บ้าน แทบทุกอย่าง ด�าเนินไปอย่างผสานกลมกลืน ไม่มีสิ่งที่แปลกปลอม อยู่ในนั้น อาหารที่ผู้มาเยือนได้กิน คืออาหารที่ผู้คน แถบนี้กิน บรรยากาศที่ผู้มาเยือนได้เห็น ท้องนาสี เขียวขจี ท้องฟ้าสีสดใส คือบรรยากาศที่ผู้คนเหล่า นี้ด�าเนินชีวิตอยู่ ทุกคนที่มาเยือนไม่ได้เพียงมาชม พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต หากแต่พวกเขาคือส่วนหนึ่งของ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ด้วยในเวลาเดียวกัน รายการอาหารต่อไปคือซุปหน่อหวายใส่ป่นปลาทู แม่ใหญ่ทาใช้หน่อหวายที่ต้มไว้แล้วมาต�ากับป่น ปลาทูหรือน�้าพริกปลาทูที่ท�าไว้ล่วงหน้าแล้ว ใส่ น�้าปลาร้า พริกสด ตะไคร้ซอย ต�าต่อไปจนเนื้อ หวายกลืนเป็นเนื้อเดียวกันกับป่นปลาทู หลังอาหารทั้งสองอย่างเสร็จเรียบร้อย ผมบอกแม่ ใหญ่ทาว่าหวายที่ผมน�ามานั้นข้ามแม่น�้าโขงมาจาก ปากซัน และคนที่นั่นบอกรายการอาหารเหล่านี้ให้ ผมมา แม่ใหญ่ทานิ่งคิดไปชั่วครู่ “นึกถึงสมัยก่อน นะ ที่คนข้ามแม่น�้าโขงไปมาแบบเสรี น้าคนหนึ่งใน ครอบครัวป้าข้ามไปตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ไปบวชเณร ที่ฝั่งนั้น พอลาวเกิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง แก ก็หายตัวไปเลย หลายสิบปีผ่านไป คนคิดว่าแก ไม่มีชีวิตแล้ว แต่วันหนึ่งมีคนมาเดินถามหาญาติ ในหมู่บ้านนี้ ถึงได้รู้ว่าแกยังมีชีวิตอยู่ แกสึกแล้วก็ ท�างานราชการที่นั่น ถูกส่งไปเรียนที่นั่นที่นี่ จนมี ครอบครัวถึงได้ตัดสินใจกลับมาตามหาญาติที่นี่


ก็คงเหมือนหวายละนะ ไปงอกที่ไหน แบบใด มันก็รากเหง้าเดียวกัน ท�าแบบเดียวกัน กินแบบเดียวกัน” อาหารมื้อค�่าวันนั้น พวกเราตั้งวงกันที่ใต้ถุนของพิพิธภัณฑ์มีชีวิต นอกจากผมกับแม่ใหญ่ทาแล้ว ยังมีสมาชิก ของพิพิธภัณฑ์มีชีวิตอีกสองสามคนหิ้วข้าวเหนียวและอาหารแบบอื่น อย่างลาบปลาตองหรือลาบปลากราย ต้มไก่บ้านใส่ใบมะขามอ่อน และแจ่วพริกป่นมาร่วมวงด้วย ความมืดด้านนอกโผล่พ้นตนเองมาทีละน้อย ใครบางคนลุกขึ้นไปเปิดวิทยุเครื่องเล็กในบริเวณนั้นเพื่อสร้างเสียงเพลง บทเพลงจากนักร้องหญิงคนหนึ่งใน ภาษาอีสานดังขึ้นมาตามค�าขอ ท่อนแรกของบทเพลงนั้นเริ่มต้นว่า “ฝั่งโขงเมื่อยามค�่าแลง ฟ้าเปลี่ยนสีแดง ค�่ารอนๆ...”

73


กลุ่มต้นคล้าอาชีพ จากกระติบสู่กระเป๋า เสียงพูดคุยและเสียงหัวเราะดังออกมาจากบ้านหลัง หนึ่งใกล้โรงเรียนบ้านไร่โนนม่วง กลุ่มแม่บ้านเกือบ 10 ชีวิตก�าลังนั่งล้อมวงสานกระเป๋ากันอยู่ บางคน เพิ่งอิ่มจากมื้อกลางวันซึ่งการรวมตัวกันท�างานที่บ้าน พี่ดอกรัก เบญจวรรณไชยวงค์ ในวันนั้น มีขนมจีน น�า้ ยาปลานิลหม้อใหญ่ทา� กินด้วยกันตั้งแต่เด็กเล็กไป จนถึงบรรดาแม่ๆ น้าๆ

พี่ดอกรักเล่าให้ฟัง นอกจากเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม ต้นคล้าอาชีพแล้ว พี่ดอกรักยังท�าหน้าที่ผู้ประสาน งานศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว รัตนาภาด้วย “บางคนก็แวะมาคุยมาเล่นกัน มา อาสาท�าข้าวกลางวัน”

กลุ่มต้นคล้าอาชีพเป็นการรวมตัวของสมาชิก 30 คน อายุตั้งแต่ 25-50 ปี ที่ผ่านมานับสิบๆ ปี เช้ามืดตีสามตีสี่ตื่นไปกรีดยาง ฟ้าสางกลับบ้านอาบ รายได้เสริมนอกเหนือจากการกรีดยางคือการสาน น�า้ อาบท่า สายหน่อยไปสานกระเป๋า หมุนเวียนกัน กระติบข้าวเหนียว จนเมื่อปีที่ผ่านมา ศูนย์เรียนรู้ ไปตามบ้านสมาชิกในกลุ่ม นี่คือการงานและกิจวัตร การพัฒนาสตรีและครอบครัวรัตนาภา จ.ขอนแก่น ของผู้หญิงในหมู่บ้านแถบนี้ เข้ามาส่งเสริมอาชีพและแนะน�าให้สานกระเป๋าเพิ่ม เติม เพราะกระติบข้าวเหนียวมีกลุ่มแม่บ้านอื่นท�า “มานั่งท�างานด้วยกัน แล้วก็มากินข้าวเที่ยงด้วยกัน” เยอะแล้ว 74


75


76


แม้จะใช้พื้นฐานการสานเหมือนกัน แต่การเย็บและการขึ้นรูปทรงกระติบและกระเป๋าแตกต่างกัน การท�าสิ่ง ใหม่ซึ่งต้องอาศัยความละเอียดประณีตนั้น ต้องใช้เวลา ต้องฝึกฝน และต้องใช้ความอดทนไม่น้อย “บางคน ไม่ถนัด ก็ท้อ แต่บางคนใจสู้ พอใครท�าเป็นก็สอนคนทั้งหมู่บ้าน” กระติบข้าวเหนียวเป็นงานที่ทา� จนช�านาญแล้ว แต่ละคนสามารถท�าเสร็จทั้งชิ้นงานด้วยตัวเองและใช้เวลา ไม่นาน แต่การท�ากระเป๋าต้องใช้คล้าเส้นเล็กกว่ากระติบ เพื่อให้ได้งานสานที่สวยงามน่าใช้ จึงท�ายากกว่า “แรกๆ แต่ละคนก็แยกกันท�าทั้งใบ แต่พอท�าเสร็จแล้วไม่สวย เพราะในหนึ่งใบต้องใช้ทักษะหลายอย่าง บางคนเย็บสวย บางคนท�าหูกระเป๋าเก่ง ก็เลยแบ่งงานกันท�า ใครท�าอะไรไม่เก่งเลยก็ทา� งานสานไป เพราะสานเป็นทุกคน” ผ่านไปหนึ่งปี รูปทรงกระเป๋าเริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้น จากที่แทบไม่มีไอเดีย พอได้เห็นแบบกระเป๋าจาก นิตยสาร สมาชิกก็สนุกกับการสร้างสรรค์แบบต่างๆ เพิ่มขึ้นมากมาย แม้จะใช้ได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ข้อดีคือ การได้หลุดไปจากกรอบเดิมๆ ได้ค้นพบศักยภาพของการสร้างสรรค์ พี่ดอกรักบอกว่าชาวบ้านจะสานคล้าช่วงหน้าร้อนและหน้าฝน ส่วนหน้าหนาวเป็นช่วงของการน�าคล้ามา ตากหมอก “คล้าต้องการน�า้ หมอกหน้าหนาว ถ้าได้หมอกได้แดด เส้นคล้าจะมีสีเหลืองสุกปลั่ง คล้าที่ไม่ได้ น�้าหมอกจะออกสีเขียวๆ หม่นๆ นี่ก็เป็นภูมิปัญญาที่พ่อแม่ทา� ไว้ และเราก็เรียนรู้ต่อๆ กันมา” ทุกวันนี้เวลาเดินไปไหน สมาชิกแต่ละคนจะมีฟ็อกกี้พกติดตัวไปด้วย “เอาไว้ฉีดคล้าให้นุ่ม ช่วยให้สาน ง่าย ดูทีวีไปก็สานไป แต่ส่วนใหญ่จะมานั่งท�างานด้วยกัน แต่ก่อนตอนท�ากระติบ ต่างคนต่างสานอยู่ที่บ้าน ของตัวเอง พอมาท�ากระเป๋า ก็รวมกลุ่มกันท�างาน ได้ช่วยกันคิด ช่วยกันออกแบบ รายได้ก็เพิ่มขึ้น และมี ปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นด้วย” 77


When in So Phisai เมื่อมาถึงโซ่พิสัยและพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตแล้ว อย่าพลาด 5 กิจกรรมนี้ 1. แกะรอยลายแทงกราฟฟิตี้พญานาค 100 รูป ซึ่งสะท้อนความหลากหลายในช นความหลากหลายในชุมชน ทั้ง อาชีพของแต่ละบ้าน อาหารการกินและวัตถุดิบของชุมชน ความเชื่อ และศิลปวัฒนธรรม 2. เดินชมพิพิธภัณฑ์แล้ว อย่าลืมแวะไปดูยุ้งข้าวด้านข้างพิพิธภัณฑ์ เดินอ้อมไปด้านหลัง สักหน่อย จะเจอมุมถ่ายรูปสวยๆ หลบมุมอยู่ 3. พลาดไม่ได้ด้วยประการทั้งปวงเมื่อมาถึงพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตแล้ว นั่นคือการกิน พาแลงในป่ายาง บรรยากาศดี อาหารอร่อย ชุดพาแลงประกอบด้วยอาหาร 4-6 เมนู อาทิ ส้มต�า ปลาทอด แกงหน่อไม้ ลาบปลา ไส้กรอกอีสาน ต้มปลา และที่ขาดไม่ได้คือ แจ่วบองปลาร้าและผักสดผักนึ่ง ทั้งหมดนี้แซบนัวจนกลับไปแล้วยังคิดถึง 4. ขี่จักรยานลัดเลาะทุ่งนาและป่ายาง มีเส้นทางเทรลที่ไม่โหดจนเกินไปให้ปั่นชม ธรรมชาติ 5. อย่าลืมช้อปกระเป๋าคล้าสาน ผ้าไหม และแจ่วบองปลาร้ากลับไปด้วย แจ่วบองที่จะถือ ขึ้นเครื่อง (กรณีบรรจุในถุงพลาสติก) ต้องระบุน�้าหนักด้วยว่ากี่มล. มิเช่นนั้นจะโดนสกัดไว้ ที่สนามบิน อดเอากลับมาอร่อยที่บ้าน แล้วจะเศร้าแบบพวกเรานะเออ

78


79


80


81


82


83



1


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.