ปี่ที่ 9 ฉบับที่ 54

Page 1


15

6 EXECUTIVE TALK 8-12, 14 HOME SOCIAL 15 VIP CORNER

HOME PEOPLE

HIGHLIGHT

VIP CORNER

20 NEWS MEMORANDUM

รศ.ดร.พิพัฒน์ ตั้งสืบกุล

ประธานสภาธุรกิจไทย-ลาว วาระ 2554-2556

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ก�ำลังจะเกิดขึ้นแล้ว คนไทยเราควรจะหันมามอง ประเทศเพื่อนบ้านให้มากขึ้น สิ่งส�ำคัญก็คือควรกระชับความสัมพันธ์กับมิตรเพื่อนที่ ใกล้ชิดให้มากขึ้น บทบาทของสภาธุรกิจไทย-ลาวจะช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ทางการ ค้ากับ สปป.ลาว ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของการรักษาผลประโยชน์ ของกันและกัน

21, 24-26 HOME BUSINESS 22 CAMPUS NEWS 28 HOME PEOPLE 32 YOUNG EXECUTIVE 35 HOME KNOWLEDGE

28

พ.ท.เอกสิทธิ์ ตรีวัฒน์สุวรรณ

The Posri..ตลาดแนวใหม่ เพื่อคนอุดร

ส�ำหรับ “เดอะโพศรี” เป็นตลาดสดแนวใหม่ มีสินค้าหลากหลายจากกลุ่มผู้ค้าราย ย่อย ตกแต่งแบบเรียบง่ายอย่างมีสไตล์ โดยเน้นความสะดวกสบายของ ผู้ซื้อสามารถ จอดรถหน้าร้านแล้วมาจับจ่ายซื้อของได้เลย คุณเอกสิทธิ์ สรุปให้เห็นภาพง่ายๆ ว่า “ผมอยากท�ำแบบตลาดบองมาเช่ ทีป่ ระชาชืน่ ในกรุงเทพ เอาคอนเซ็ปท์อย่างนัน้ เลย”

32

CONTENTS OCTOBER - NOVEMBER 2011 36 HOME HEALTH 38 HOME TIPS 39 NEW RELEASE 42 HOME REVIEW 44 HOME CULTURE 46 HOME KNOWLEDGE 48 HOME REPORT

YOUNG EXECUTIVE

50 HOME TIPS & BOOK

ประสิทธิ เหล่าเราวิโรจน์

Bike Kingdom ตัวแทนจ�ำหน่าย “เวสป้า” อุดรธานี

“คนขี่เวสป้า เพราะเขาชอบในเอกลักษณ์ของเวสป้า เขาขับขี่ไว้ส�ำหรับเดินทางท่อง เที่ยว มากกว่าจะขับเพื่อใช้งานประจ�ำวัน นั่นหมายความว่าเวสป้าจะเป็นรถคันที่ 2 มากกว่า” ประเด็นนี้สะท้อนให้เห็นว่าการขับขี่รถเวสป้าเป็นเรื่องของรสนิยม หรือเป็น ไลฟ์สไตล์ของคนที่ชื่นชอบจริงๆ

52 HOME TRAVEL 54 HOME REVIEW 56 HOME RELAX


EXECUTIVE TALK บรรณาธิการ

AEC...มาแล้ว เราจะได้อะไร ผมอดตื่นเต้นกับกระแสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอีก 2-3 ปีข้าง หน้า ฟังดูเหมือนกับว่าเราจะได้ตลาดค้าขายที่กว้างขึ้น ทั้งมีความพร้อม ด้านเส้นทางคมนาคมเต็มที่ แล้วยังมีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง รวม ทั้งมีนักธุรกิจมีฝีมือสามารถบุกไปท�ำตลาดกับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่าง สบายๆ แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงความรู้สึกที่เข้าข้างตัวเองเท่านั้น ในความจริงแล้ว ผมว่าคนไทยยังมีความเข้าใจเพื่อนบ้านน้อยมาก และการเตรียมพร้อมเข้าสู่ตลาดอาเซียนของบ้านเรายังไม่ค่อยเป็นกระบวน จังหวะก้าวของภาครัฐกับภาคเอกชนยังก้าวไม่พร้อมเพรียงกัน ที่ส�ำคัญภาค ประชาชนยังไม่ตื่นตัวเท่าที่ควร โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่จะใช้เป็นภาษา กลาง ยิ่งภาษาเพื่อนบ้านเราแล้วมีคนไทยน้อยมากที่อยากเรียนรู้ แต่เมื่อถึง วันนั้นการเคลื่อนย้ายแรงงานไปมาระหว่างกัน โอกาสก็คงไม่ใช่ของคนไทย คงไม่ต้องพูดเรื่องความพร้อมทางเศรษฐกิจ เพราะหากมีทุนนอกไหลเข้ามา มาก ทุนท้องถิ่นก็ต้องหดหายไปเป็นธรรมดา สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องเศรษฐกิจ ระดับมหภาค ที่ภาครัฐต้องมีวิสัยทัศน์เตรียมตัวป้องกันไว้ล่วงหน้า ผมได้ยินท่านประธานสภาธุรกิจไทย-ลาว เล่าว่าท�ำไม “อียู” ถึงล้ม เหลวในขณะนี้ เรื่องนี้ควรเป็นกรณีศึกษาให้การรวมตัวของอาเซียน (AEC) ที่ก�ำลังจะเกิดขึ้นด้วย แม้ว่าการรวมตัวจะเป็นสิ่งที่ดีมากกว่า แต่ควรค�ำนึง ถึงรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย แต่ละประเทศต่างมีอัตลักษณ์ไม่เหมือน กัน รวมทั้งวัฒนธรรมของชาติต่างกัน ประเด็นเหล่านี้ยังไม่มีใครพูดถึง ยก ตัวอย่าง คนไทยอาจเคยชินกับการค้าเสรี แต่ไม่สามารถท�ำลักษณะเดียวกัน ได้ในประเทศพม่า ลาว เวียดนาม เป็นต้น ผมเกริ่นน�ำ เพื่อจะให้ท่านผู้อ่านได้ติดตามบทบาทขององค์กรภาค เอกชน เช่น สภาธุรกิจไทย-ลาว ซึ่งท�ำหน้าที่เสมือนทูตทางการค้าระหว่าง ไทย-ลาว ในฐานะของภาคเอกชนที่จะเข้าไปสร้างสรรค์พัฒนาเศรษฐกิจ ในภูมิภาคนี้ส่วนหนึ่ง แม้จะไม่ใช่ทั้งหมดในกลุ่มอาเซียน คงไม่ต้องถามว่า เราจะได้อะไรจาก AEC แต่ต้องถามว่า AEC มาแล้ว เราจะพัฒนาตัวเอง อย่างไรดีกว่า วิโรจน์ พิพัฒน์ไชยศิริ

เจ้าของ : บริษัท โฮมเคเบิ้ลทีวี แอนด์ วีดีโอ 1990 จำ�กัด 23/17 ถ.อดุลยเดช อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000 โทร. 042-344-444 แฟกซ์ : 042-246-407 คณะกรรมการที่ปรึกษา : พล.ต.ท วีระยุทธ สิทธิมาลิก, ศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล, นิพันธ์ สัจจะไพบูลย์, วิวัฒน์ พิพัฒน์ไชยศิริ กรรมการอำ�นวยการ : วิโรจน์ พิพัฒน์ไชยศิริ ผู้จัดการ อุดรธานี : สมพิศ มีพรหม ผู้จัดการ หนองคาย : วิภาวดี นันทบุตร

HOME CABLE TV MAGAZINE / กองบรรณาธิการและศิลปกรรม : POONSWAT GROUP E-mail : poonswat_ch@yahoo.com ฝ่ายโฆษณาอุดรธานี : รัตนาพร พลโคตร, เปรมนีย์ เมฆาพร โทร. 042-344-444 ต่อ 30 (ฝ่ายวารสาร) E-mail : hometvudon@yahoo.com ฝ่ายโฆษณาหนองคาย : ปาริฉัตร วงษนู, ประจบพร อินทมาตย์ โทร. 042-461-202 website : www.homecable.co.th


HOME SOCIAL เรื่อง / ภาพ : กองบรรณาธิการ

ประดับปีกกองบิน

พล.อ.ท.ระพีพัฒน์ หลาบเลิศบุญ ผบ.อย. เป็นประธานใน พิธีประดับปีก กิตติมศักดิ์ ของกองทัพอากาศ ณ กองบิน 23 โดย น.อ.นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผบ.กองบิน 23 ผู้อ่านรายชื่อ ได้แก่ นาย คมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี พล.ต.ต.บุญจันทร์ นวลสาย ผบ.ต�ำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี นางอรพรรณ ฑีฆ ธนานนท์ นางกฤษณา คุณะปุระ กรรมการบริหารโรงแรมเจริญ โฮเต็ล นายกิตติชัย ภูมิมาโนช ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและ ครอบครัวจังหวัดอุดรธานี พร้อมแขกผู้มีเกียรติอีกหลายท่าน

8

HOME CABLE TV MAGAZINE


ค่ายเยาวชนต้านยาเสพติด

นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดโครงการค่ายเยาวชนต่อต้านยาเสพติด โดยมี นางตนุษา ซิ้มเจริญ ประธานคณะกรรมการ สงเคราะห์เด็กและเยาวชน ส�ำหรับสถานพินิจและคุ้มครอง เด็กและเยาวชนจังหวัดอุดรธานีให้การต้อนรับ เมื่อวัน ที่ 23 สิงหาคม 2554 ที่โรงเรียนค่ายประจักษ์ศิลปาคาร ต�ำบลหนองบัว อ�ำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีกลุ่ม ดารานักร้องยินดีเข้าร่วมสนับสนุนโครงการด้วย

9

HOME CABLE TV MAGAZINE


วางศิลาฤกษ์ เซ็นทรัลอุดร

นายวันชัย จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการ กลุ่ม บริษัทเซ็นทรัลฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารเซ็น ทรัลพลาซา ได้ท�ำพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี เมื่อวันที่ 13 กันยายนนี้ โดยมีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมพิธีเป็นจ�ำนวนมาก

ต่อต้านคอร์รัปชั่น

นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัด อุดรธานี ผู้น�ำส่วนราชการ ร่วมกับภาคเอกชน ประกอบด้วย นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานสภาหอการค้าจังหวัด ประธานสภา อุตสาหกรรมจังหวัด และภาคธุรกิจต่างๆ ใน จังหวัดอุดรธานี ซึ่งรวมทั้งบริษัทโฮมเคเบิล ทีวี โดยมี นายสมชัย ไกรครุฑรี ประธานคณะ กรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก เฉียงเหนือเป็นผู้กล่าวน�ำ เมื่อวันที่ 29 กันยายน นี้ ที่หน้าศูนย์อเนกประสงค์จังหวัดอุดรธานี

10

HOME CABLE TV MAGAZINE


อุตสาหกรรมเอ็กซ์โป 2011

นายสาโรช แสงอรุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัด อุดรธานี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “อุตสาหกรรมเอ็กซ์โป 2011” ครั้งที่ 2 โดยมี นายพรเทพ ศักดิ์สุจริต ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดอุดรธานี เป็นผู้กล่าวรายงาน งานจัดขึ้นที่ สนามทุ่งศรีเมือง เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2554 โดยมี แขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง

11

HOME CABLE TV MAGAZINE


วันรพี

นายอุตสาห์ ทองโคตร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด อุดรธานี เป็นผู้แทนกล่าวค�ำเทิดพระเกียรติพระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เนื่องใน วันรพี 7 สิงหาคมของทุกปี เพื่อร�ำลึกถึงพระบิดาแห่งกฎหมาย ไทย ที่อนุสาวรีย์พระองค์ท่านหน้าศาลจังหวัดอุดรธานี

เทศกาลวันออกพรรษา

นายวิรัตน์ ลิ้มสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็น ประธานในวันแถลงข่าวเทศกาลออกพรรษา ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวัน ที่ 9-15 ตุลาคมนี้ และงานโพนพิสัย บั้งไฟพญานาคโลก ระหว่างวัน ที่ 11-12 ตุลาคม 2554 ด้วย โดยมีนายก อบจ.หนองคาย นายก เทศมนตรีเมืองหนองคาย และ ผอ.ททท.อุดรธานี เข้าร่วมงานแถลง ข่าวครั้งนี้ด้วย เมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา

12

HOME CABLE TV MAGAZINE


Freshy Teen’s Idol 2011

บริษัท โฮมเคเบิลทีวี แอนด์ วีดีโอ 1990 จ�ำกัด ได้จัดการประกวด Freshy Teen’s Idol 2011 โดยมีนายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ รองผู้ว่า ราชการจังหวัดอุดรธานี คุณธัญญาภา นิโครธรา นนท์ ผอ.ททท.อุดรธานี เป็นแขกรับเชิญให้เกียรติ มอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศรอบสุดท้าย โดยมีและ นางสมพิศ มีพรหม ผู้จัดการบริษัทโฮมเคเบิล ให้การต้อนรับ งานจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายนนี้ ที่ศูนย์การค้า ยูดี ทาวน์ อุดรธานี พร้อมด�ำเนิน การถ่ายทอดสด ทางโฮมเคเบิลทีวี ช่อง 2

ดูงานโฮมสเตย์หนองคาย

เครือข่ายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการจังหวัดหนองคาย ได้จัดการศึกษาดูงานหมู่บ้านโฮมสเตย์ในจังหวัดหนองคาย ที่หมู่บ้าน จอมแจ้ง บ้านสีกาย บ้าน พร้าวใต้ และวังน�้ำมอก เพื่อเพิ่มศักยภาพตาม แผนยุทธศาสตร์ และเพิ่ม ศักยภาพการท�ำงานเป็น ทีม ในจังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 7-8 กันยายนนี้

14

HOME CABLE TV MAGAZINE


VIP CORNER เรื่อง/ภาพ : กองบรรณาธิการ

รศ.ดร.พิพัฒน์ ตั้งสืบกุล ประธานสภาธุรกิจไทย-ลาว วาระปี 2554 - 2556

สภาธุรกิจไทย-ลาว (THAILAND-LAOS BUSINESS CONSIL) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2550 โดยวางบทบาทเป็น สะพานเชื่อมทางการค้าระหว่างสอง ประเทศของภาคธุรกิจเอกชนด้วย กันเอง โดยเฉพาะนักธุรกิจจาก ประเทศไทยที่สนใจจะไปลงทุนใน ประเทศ สปป.ลาว แต่อาจจะยัง ไม่เข้าใจในกฎระเบียบการลงทุน รวมไปถึงลักษณะนิสัยใจคอ ของคนลาวที่คนไทยควรเรียนรู้

15

HOME CABLE TV MAGAZINE


ผ่ า น ไปแล้ว 4 ปี สภาธุรกิจ ไทย-ลาว ได้มีบทบาทส่งเสริมการลงทุนใน

ประเทศ สปป.ลาวมีมูลค่าการลงทุนของนัก ลงทุนชาวไทยในประเทศ สปป.ลาว สูงถึง 50,000 กว่าล้านบาทอย่างต่อเนื่อง ต่อมา ในช่วง 2 ปีหลังการลงทุนของไทยถูกแซง ด้วยนักลงทุนจากประเทศ จีน เกาหลี และ เวียดนาม ตามล�ำดับ ปัจจุบันการลงทุนของ ไทยในประเทศลาว น่าจะอยู่ในอันดับ 4 แล้ว ทั้งนี้เพราะประเทศ สปป.ลาวก�ำลังพัฒนา เศรษฐกิจในประเทศอย่างขนานใหญ่ ด้วย ทรัพยากรธรรมชาติที่ยังมีความสมบูรณ์ ประกอบกับการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในอีก 3 ปีข้าง หน้า จึงเป็นที่สนใจของนักลงทุนจากหลายๆ ประเทศทั่วโลก

16

HOME CABLE TV MAGAZINE

ในช่วงของการก่อตั้งสภาธุรกิจไทยลาว คุณศักดิ์ชัย วงศ์มาลาสิทธิ์ หรือ คุณ ปีเตอร์ ชาน นักธุรกิจระดับชาติชาวไทยผู้รับ งานโครงการใหญ่ๆ ในประเทศลาว นับเป็น บุคคลที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงในประเทศ ลาว จึงได้อาสาเข้าท�ำหน้าที่ประธานสภา ธุรกิจไทย-ลาวเป็นท่านแรก ท่านเป็นผู้วาง รากฐานให้สภาธุรกิจไทย-ลาวเป็นที่ยอมรับ และให้ความเชื่อถือจากรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ จนถึงวันนี้ถือว่าได้ครบวาระแล้ว 2 สมัย สมควรจะเลือกตั้งเฟ้นหาประธานคนใหม่บ้าง ในที่สุดที่ประชุมสภาได้เลือก รศ.ดร.พิพัฒน์ ตั้งสืบกุล ให้เป็นประธานสภาธุรกิจไทย-ลาว ในวาระปี 2554-2556 พร้อมแต่งตั้งคณะ กรรมการชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่เมื่อเร็วๆ นี้ รศ.ดร.พิพัฒน์ ตั้งสืบกุล ปัจจุบัน ท่านเป็นประธานกรรมการบริหารของโรง พยาบาลวัฒนา อยู่ที่จังหวัดอุดรธานี ด้วย ประสบการณ์ที่ใกล้ชิดกับผู้หลักผู้ใหญ่ใน ประเทศ สปป.ลาว ส่วนหนึ่งมาจากเพื่อนเก่า สมัยเรียนอยู่ที่ฝรั่งเศสด้วยกัน ซึ่งหลายท่าน ได้รับบทบาทหน้าในระดับสูงของรัฐบาลลาว รวมทั้งตัวท่านเองก็เคยได้รับเกียรติให้เป็นที่ ปรึกษาอดีตรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศมา แล้ว ด้วยคุณูปการเหล่านี้ ส่งผลให้ รศ.ดร. พิพัฒน์ ตั้งสืบกุล พร้อมจะแบกรับภาระ หน้าที่ประธานสภาธุรกิจไทย-ลาวในวาระนี้ ด้วยความยินดี แม้จะตระหนักว่าเป็นงาน ที่โยงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดย เฉพาะประเทศ สปป.ลาว ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านที่ ใกล้ชิดกับเราอย่างมาก ด้วยศิลปวัฒนธรรม และประเพณีที่คล้ายคลึงกัน แต่ส�ำหรับเรื่อง การค้าแล้วอาจไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว

เราจะต้องช่วยให้ลาวขาดดุลการค้า น้อยลง

รศ.ดร. พิพัฒน์ ให้ความเห็นว่าขณะ นี้ประเทศไทยเรายังได้เปรียบดุลการค้าเขา อยู่มาก และคงเป็นไปไม่ได้ที่ใครจะยอม เสียเปรียบดุลการค้าตลอดไป แน่นอนว่าใน ช่วงพัฒนาเศรษฐกิจเช่นนี้เขาก็ยินดีไปก่อน แต่เมื่อเขาเข้มแข็งแล้วเขามีสิทธิที่จะเลือก ค้าขายกับใครก็ได้ ฉะนั้น เราควรจะส่งเสริม ธุรกิจการค้ากับประเทศเขามากขึ้น เพราะ อีกไม่นาน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ก�ำลังจะเกิดขึ้นแล้ว คนไทยเราควรจะ หันมามองประเทศเพื่อนบ้านให้มากขึ้น สิ่ง ส�ำคัญก็คือควรกระชับความสัมพันธ์กับมิตร เพื่อนที่ใกล้ชิดให้มากขึ้น ด้วยการฟื้นฟู ประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงความผูกพันรักใคร่ ต่อกัน เช่น พระธาตุศรีสองรัก เป็นต้น ส่วน ประเด็นไหนที่อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งก็ ควรละเว้นเสีย เพราะเรื่องลักษณะนี้เป็นเรื่อง ละเอียดอ่อน ในอนาคตประเทศ สปป.ลาว จะกลาย เป็นศูนย์กลางโลจิสติคส์ที่มีบทบาทส�ำคัญ ในภูมิภาคนี้อย่างมาก เพราะมีลักษณะ ภูมิประเทศที่ติดต่อกับประเทศจีน พม่า เวียดนาม ไทย และยังเชื่อมต่อถึงกัมพูชา ได้อีกด้วย โดยประเทศจีนมีศักยภาพทาง เศรษฐกิจสูงมากในขณะนี้ ได้สร้างเส้นทาง เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ทั้งถนนสาย R3A และโครงการรถไฟความเร็วสูงจากคุนหมิง ผ่านหลายประเทศ รวมทั้งไทยเราด้วย ไป สิ้นสุดที่สิงคโปร์อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ถึง แม้ว่าขณะนี้ยังมีการสะดุดอยู่บ้าง เพราะต้อง ผ่านหลายประเทศก็ตาม แต่ก็เชื่อได้ว่าจะ ต้องด�ำเนินการต่อไปอย่างแน่นอน จึงพอ จะมองเห็นได้ว่าลาวจะได้ประโยชน์จากเป็น ศูนย์กลางการขนส่งในอนาคต ประกอบกับ


การเคลื่อนย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศ ลาวมากขึ้น ด้วยสิทธิพิเศษทางภาษีต่างๆ มากมาย และมีค่าแรงงานถูกกว่าหลาย ประเทศในอาเซียน และข้อส�ำคัญ ลาวยังมี ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถพัฒนาด้าน เกษตรกรรม รวมถึงวัตถุดิบจากสินแร่ใต้ดิน อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ลาวเป็นประเทศที่สามารถ ผลิตพลังงานไฟฟ้าส่งจ�ำหน่ายให้กับประเทศ ไทย โดยมีต้นทุนทางธรรมชาติคือแหล่งน�้ำ อยู่ในทุกภาคของลาว ด้วยองค์ประกอบเหล่า นี้ นับเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะพัฒนาประเทศ สปป.ลาว ให้มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ อย่างรวดเร็วในไม่ช้านี้ อย่างไรก็ตาม ลาวมีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับเวียดนามมากกว่าไทย ด้วยมี วัฒนธรรมทางการเมืองคล้ายๆ กัน และ เคยให้การสนับสนุนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในระหว่างสงครามเวียดนาม เป็นอีกเหตุผล หนึ่งที่ท�ำให้ลาวจะเปิดประตูให้เวียดนามเข้า มาลงทุนเพิ่มขึ้น และดูเหมือนจะแซงไทยไป แล้วด้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สภาธุรกิจไทยลาวจะต้องท�ำงานหนักขึ้น ท่ามกลางการ แข่งขันทางธุรกิจและการมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ กันอย่างขนานใหญ่ในภูมิภาคแห่งนี้

ชายแดน อาจจะเริ่มจากจังหวัดเลย ลงไป ถึงอุบลราชธานี ให้เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน เพราะจะพบปัญหาคล้ายๆ กัน สภาจะได้ ส่งเสริมและจัดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน 2 ประเทศเพื่อลดช่องว่างระหว่างกัน ในขณะ เดียวกันกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่จากส่วนกลาง เขามีศักยภาพโดยตัวเขาเองอยู่แล้ว เราก็ดึง เขามามีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วย เพราะพวก เราทั้งหมดต่างก็อยู่ในสภาธุรกิจเหมือนกัน การจัดเป็นคลัสเตอร์จะช่วยให้มีประสิทธิภาพ ในการจัดการได้มากกว่า โครงสร้างของสภาธุรกิจไทย-ลาว ซึ่ง ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการร่วม ภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. ซึ่งได้ ส่งตัวแทนเข้ามาเป็นคณะกรรมการนโยบาย ประกอบด้วยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สมาคมธนาคารไทย รวมกับคณะกรรมการ

อีกส่วนหนึ่ง เพื่อก�ำหนดแนวทางการบริหาร งาน และอีกส่วนหนึ่งเป็นคณะกรรมการ บริหาร โดยท่านเป็นประธานคณะกรรมการ รวมกับกรรมการอีก 40 ท่าน ส่วนใหญ่ก็ เป็นผู้ประกอบธุรกิจการค้าชายแดนอยู่แล้ว กรรมการคณะนี้จะเป็นฝ่ายแอ็คชั่นมากกว่า นอกจากนี้ สภายังมีที่ปรึกษาอีกหลายระดับ ทั้งกิตติมศักดิ์และในรูปคณะกรรมการที่ ปรึกษา ทั้งหมดจะเป็นทีมเวิร์คเดียวกัน โดยขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันภายใต้ โครงสร้างที่เป็นระบบ และจะเป็นรากฐาน ให้รุ่นต่อๆ ไปเข้ามาต่อยอดการท�ำงานให้ ก้าวหน้ายิ่งขึ้น บทบาทของสภาฯ จะเน้นกิจกรรม เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันและสนับสนุน ข้อมูลทางวิชาการในประเด็นต่างๆ ที่ สนับสนุนความเข้าใจมากขึ้น รวมทั้งเป็นเวที พบปะแลกเปลี่ยนหรือจับคู่ทางธุรกิจให้เป็น

สภาจะต้องท�ำงานกันเป็น Cluster และสร้างระบบใหม่ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

รศ.ดร.พิพัฒน์ พูดถึงทิศทางการ ท�ำงานของสภาธุรกิจไทย-ลาวในวาระนี้ว่า จะต้องพัฒนาการท�ำงานให้สามารถเติบโต สอดคล้องกับสถานการณ์ ประเด็นแรกจะ ต้องจัดกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ โดยเฉพาะนัก ธุรกิจรายย่อยที่เป็น SME ในแถบจังหวัด

17

HOME CABLE TV MAGAZINE


รูปธรรมมากขึ้น โดยสภาฯจะด�ำเนินงานบน พื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่ง ภาครัฐทั้ง 2 ประเทศจะต้องรับทราบและ ให้การส่งเสริมด้วย

ลูท่ างการลงทุนในประเทศ สปป. ลาว

ด้วยขณะนี้ประเทศ สปป.ลาว มีความ พร้อมและก�ำลังเปิดประตูต้อนรับนักลงทุน จากกลุ่มทุนที่มีศักยภาพทั่วโลก ประเทศไทย เรามีขอ้ ได้เปรียบกว่าชาติอนื่ ๆ ทีเ่ รามีหน้าตา ภาษา และวัฒนธรรม ที่ใกล้เคียงกัน และ คนไทยมีความสามารถด้านการเกษตรและ อุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านเกษตรกรรมจน สามารถผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปได้ระดับ มาตรฐานสากล ก็น่าจะเป็นโอกาสที่ดีมาก เพราะประเทศลาวยังมีพื้นที่เพาะปลูกอีก มากและเขาให้การส่งเสริม และได้รับสิทธิ ต่างภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขง GMS และกรอบ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดีเจ้าพระยา-แม่โขง ACMECS ฉะนั้น การ เคลื่อนย้ายฐานการผลิตเข้ามาในลาว โดยจะ ต้องลงทุนเป็นระยะยาว ก็จะได้ประโยชน์ทั้ง 2 ประเทศ รศ.ดร.พิพัฒน์ ให้ความเห็นว่า รัฐบาล ลาวทุกวันนี้เขาฉลาดคิด อะไรที่ประเทศ เขาได้ประโยชน์เขาก็สนับสนุนส่งเสริม ยก ตัวอย่างขณะนี้เขาก�ำลังต้องการหาบริษัท บ�ำบัดน�้ำเสีย และก�ำจัดขยะในนครหลวง เวียงจันทน์ ทั้งนี้เขาให้บริษัทฝรั่งมาท�ำการ ศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ครบถ้วนแล้ว แต่ ยังขาดบริษัทที่จะเข้าไปลงทุนและด�ำเนินงาน

18

HOME CABLE TV MAGAZINE

ซึ่งแน่นอนว่าบริษัทผู้รับงานนี้จะต้องพร้อม แบกรับความเสี่ยงในทางธุรกิจด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งเสริมการลงทุนในลาว ส�ำหรับ ยุคนี้จะต้องศึกษาการลงทุนให้รอบด้าน และ ควรจะเข้าให้ถูกทาง ซึ่งสภาธุรกิจไทย-ลาว จะท�ำหน้าที่ช่วยเหลือให้ค�ำแนะน�ำแก่สมาชิก และผู้สนใจ ท่านประธานได้ให้ความเห็นว่า อีก 3 ปีประเทศในกลุ่มอาเซียนจะเข้ามาเป็น ประชาคมเศรษฐกิจเดียวกัน ซึ่งเป็นที่สังเกต ว่าทุกฝ่ายต่างกระตือรือร้นเพื่อจะได้เห็นภาพ ความส�ำเร็จเกิดขึ้นได้จริง แต่ยังมีข้อคิดใน มุมกลับอีกหลายประเด็น ถ้าหันไปศึกษาการ รวมตัวของ EU ที่เกิดขึ้นมาก่อนเรา ถึงวันนี้ ก็มีปรากฏการณ์สภาวะทางเศรษฐกิจถดถอย ทยอยเรียงตัวกันหลายประเทศในยุโรปเริ่ม จากประเทศกรีซเป็นต้นไป ประเด็นเหล่านี้ยัง ไม่ค่อยได้น�ำมาศึกษากันอย่างจริงจัง อย่างไร

ก็ตาม การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC คงได้ดีเดย์กันใน 3 ปีข้างหน้า แน่นอน แต่จะส�ำเร็จอย่างสมบูรณ์เพื่อชาว อาเซียนจริงๆ เชื่อว่าต้องใช้เวลาอีกพอ สมควร ยกเว้นประเทศมหาอ�ำนาจอย่างจีน น่าจะได้ผลประโยชน์เต็มๆ จากการรุกคืบ ทางเศรษฐกิจสู่ภูมิภาคอาเซียน เราได้คุยกับ รศ.ดร พิพัฒน์ ตั้งสืบกุล ในอีกหลายๆ ประเด็น แต่ส�ำหรับบทบาท ของสภาธุรกิจไทย-ลาวในวาระนี้ ท่านจะ ท�ำงานภายใต้วิสัยทัศน์ดังที่น�ำเสนอข้างต้น โดยการท�ำงานในรูปของคณะกรรมการทั้ง 2 ส่วนจะขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ท�ำ หน้าที่น�ำร่องบุกเบิกตลาดการค้าการลงทุน ในประเทศลาว โดยยืนอยู่บนผลโยชน์ที่ยั่งยืน ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย


รายชื่อคณะกรรมการบริหารและที่ปรึกษา สภาธุรกิจไทย-ลาว ประธานคณะกรรมการกิตติมศักดิ์

๑) ๒) ๓) ๔) ๕) ๖) ๗)

นายศักดิ์ชัย วงศ์มาลาสิทธิ์

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

ฯพณฯ เอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรไทย ประจ�ำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) ประจ�ำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กงสุลใหญ่ไทย ประจ�ำแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสมาคมธนาคารไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

คณะกรรมการนโยบาย

๑) นายไพรัช บูรพชัยศรี สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ๒) นายนิยม ไวยรัชพานิช สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ๓) นายประเสริฐ วิทยาภัทร์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ๔) นายธนิต โสรัตน์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ๕) นายธวัชชัย เฮงประเสริฐ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ๖) นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ๗) ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารไทย ๘) ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารไทย ๙) ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารไทย ๑๐) นายศักดิ์ชัย วงศ์มาลาสิทธิ์ ประธานกิตติมศักดิ์ ๑๑) รศ.ดร.พิพัฒน์ ตั้งสืบกุล ประธานกรรมการ ๑๒) รศ.ดร.สมบัติ วิอังศุธร ประธานที่ปรึกษา ๑๓) นายขันธ์ชัย เกียรติศรีธนากร กรรมการ ๑๔) นายประจักษ์ ตั้งคารวะคุณ กรรมการ ๑๕) นายจารุอุดม เรืองสุวรรณ กรรมการ ๑๖) นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ กรรมการ ๑๗) นายเปรมชัย กรรณสุต กรรมการ ๑๘) นายกันตธรณ์ มาลาสุทธิชัย กรรมการ ๑๙) นาบบรรเทิง ว่องกุศลกิจ กรรมการ ๒๐) บริษัท เอ็กโกเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จ�ำกัด กรรมการ ๒๑) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ กรรมการ ๒๒) ดร.กร โปษยานนท์ กรรมการ ๒๓) นางศิริวรรณ ด�ำเนินชาญวนิชย์ กรรมการ ๒๔) ดร.วิลาวรรณ ตันวัฒนพงษ์ กรรมการ ๒๕) นายอุดมศักดิ์ อุดมทองเกษม กรรมการ ๒๖) ดร.กีรติ ธนศรีวนิชชัย กรรมการ ๒๗) นายประเสริฐ วงศ์มาลาสิทธิ์ กรรมการ ๒๘) นายประดิษฐ์ อาภรณ์ เหรัญญิก ๓๙) นายจตุรงค์ บุญนาค ประชาสัมพันธ์ ๓๐) นายวิโรจน์ พิพัฒน์ไชยศิริ เลขาธิการ

คณะกรรมการบริหาร

๑) รศ.ดร.พิพัฒน์ ตั้งสืบกุล ๒) นายไพรัช บูรพชัยศรี ๓) นายนิยม ไวยรัชพานิช ๔) นายจตุรงค์ บุญนาค ๕) นายพงษ์ศักดิ์ สกุลคู ๖) นางมัณฑนา เล็กสมบูรณ์

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ

๗) นายประเสริฐ วิทยาภัทร์ รองประธานกรรมการ ๘) นายประเสริฐ วงศ์มาลาสิทธิ์ รองประธานกรรมการ ๙) นายอุดมศักดิ์ อุดมทองเกษม รองประธานกรรมการ ๑๐) นางสุภาพร พงษ์นุเคราะห์ศิริ รองประธานกรรมการ ๑๑) นายสุรชัย ทวีแสงสกุลไทย รองประธานกรรมการ ๑๒) นางสุพิชชา รามสูตร รองประธานกรรมการ ๑๓) นางอมลวรรณ เรืองอรรถวัตน์ รองประธานกรรมการ ๑๔) นางศิริวรรณ ด�ำเนินชาญวนิชย์ รองประธานกรรมการ ๑๕) นายประดิษฐ์ อาภรณ์ เหรัญญิก ๑๖) นายวิโรจน์ พิพัฒน์ไชยศิริ เลขาธิการ ๑๗) ดร.ผุสดี พลสารัมย์ กรรมการ ๑๘) นายนพพร ประโยชน์เจริญผล กรรมการ ๑๙) ดร.วิลาวรรณ ตันวัฒนพงษ์ กรรมการ ๒๐) นายสุวิชา สิริวิชช์ กรรมการ ๒๑) ดร.ถานันดร์ วัชโรทยางกูร กรรมการ ๒๒) นายวรงค์ วงศ์วรกุล กรรมการ ๒๓) นายวัชระ รัถยาภิชาติ กรรมการ ๒๔) นายพิเศษ เอี่ยมสกุลรัตน์ กรรมการ ๒๕) นายไพบูลย์ ตันกูล กรรมการ ๒๖) นายกิตติพงษ์ อมรศิริวัฒนกุล กรรมการ ๒๗) นพ.รัตนพันธ์ อินเจริญศักดิ์ กรรมการ ๒๘) พญ.พีรวรรณ จังศิริวัฒนธ�ำรง กรรมการ ๒๙) นายบัณฑิต พงศาโรจน์วิทย์ กรรมการ ๓๐) นายวิชัย ธนาลงกรณ์ กรรมการ ๓๑) ดร.ณัฐธิรา ตั้งสืบกุล กรรมการ ๓๒) นายวิเชียร เลาหธนสาร กรรมการ ๓๓) นายอนุพงษ์ แต้ศิลปสาธิต กรรมการ ๓๔) นายท�ำนอง พลทองมาก กรรมการ ๓๕) นายสกล ชีวะโกเศรษฐ กรรมการ ๓๖) นายเดช พัฒนเศรษฐพงษ์ กรรมการ ๓๗) นายกิตติรัตน์ กุลตังวัฒนา กรรมการ ๓๘) นางสาววรลักษณ์ บุตรชิเดช กรรมการ ๓๙) นายวีระสิทธิ์ โรจนณัฐกุล กรรมการ ๔๐) นายชาติชาย โรจนวิไลวุฒิ กรรมการ

ประธานที่ปรึกษา

รศ.ดร.สมบัติ วิอังศุธร นายเสนอ ชูรามานี

ฝ่ายไทย ฝ่ายลาว

19

HOME CABLE TV MAGAZINE


รายชื่อคณะกรรมการบริหารและที่ปรึกษา สภาธุรกิจไทย-ลาว ที่ปรึกษาคณะกรรมการ

๑) นายสมชัย ไกรครุฑรี ๒) พล.ต.วุฒิชัย กระบวนรัตน์ ๓) ดร.อัจฉรา ศรีสดใส ๔) นายชูศักดิ์ ยงวงศ์ไพบูลย์ ๕) นายหลักชัย กิตติพล ๖) นายสุระพล ทวีแสงสกุลไทย ๗) นายเกียรติชัย ลิมปิโชติพงษ์ ๘) นายวิรัตน์ ตยางคนนท์ ๙) นายสวาท ธีระรัตนนุกุลชัย ๑๐) นายกฤษฎา บุตรเจริญ ๑๑) นายธีระ ตั้งหลักมั่นคง

คณะกรรมการที่ปรึกษา (กลุ่มองค์กร)

๑๒) สมาคมมิตรภาพไทย - เวียดนาม ๑๓) สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ๑๔) ศูนย์ปฏิบัติการร่วมกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ROC) ๑๕) ส�ำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ๑๖) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) ๑๗) ธนาคารเพื่อการส่งออกและน�ำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ๑๘) สมาคมไทย - ลาว เพื่อ มิตรภาพ ๑๙) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ๒๐) ธนาคารแห่งประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒๑) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ๒๒) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๒๓) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ๒๔) มหาวิทยาลัยนครพนม ๒๕) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๖) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ๒๗) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คณะกรรมการที่ปรึกษา (จังหวัดชายแดนติด สปป.ลาว)

ประกอบด้วย หอการค้าจังหวัด และสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี อ�ำนาจเจริญ มุกดาหาร นครพนม บึงกาฬ หนองคาย เลย อุตรดิตถ์ น่าน เชียงราย พะเยา

NEWS MEMORANDUM เรื่อง/ภาพ : กองบรรณาธิการ

จังหวัดระดมทุกภาคส่วนช่วยน�้ำท่วม อุดรธานี ท่วมแล้ว 6 อ�ำเภอ ประชาชนเดือดร้อนกว่า 3 หมื่นคน ผลกระทบจากอ่างเก็บน�้ำห้วยหลวงล้น จนเก็บน�้ำไม่ไหว ต้องปล่อยระบายน�้ำ ท�ำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนแล้ว

กว่า 30,000 คน ไร่นาเสียหายกว่า 10,000 ไร่ ซึ่งทางจังหวัด อุดรธานี โดยการน�ำของ นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัด อุดรธานี ได้ก�ำชับเจ้าหน้าที่เขื่อนห้วยหลวงให้ดูแลอย่างใกล้ชิด และควรประสานงานเพื่อบูรณาการร่วมกับหน่วยงาน อื่นๆ ด้วย ในเบื้องต้นจังหวัดได้แจกจ่ายถุงยังชีพไป แล้ว ซึ่งจะต้องกระจายให้ทั่วถึง จากนี้ไปต้องดูเรื่องค่า ชดเชย บ้านเรือนถูกน�้ำท่วม ทรัพย์สินเสียหายรายละ 5,000 บาท สถานการณ์น�้ำในช่วงนี้ ส่งผลให้เขตเทศบาล นครอุดรธานีต้องเตรียมตั้งรับ นายอิทธิพล ตรีวัฒน์ สุวรรณ นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี เปิดเผยว่า ได้ ท�ำตามแผนป้องกันน�้ำท่วม “อุดรโมเดล” เพราะเมื่อ น�้ำนอกเมืองสูงเกินถนนในเมือง จะต้องปิดประตูน�้ำ ทั้งหมด แล้วใช้เครื่องสูบน�้ำช่วย รวมทั้งสูบออกจาก แก้มลิงทั้งหมดด้วย เพื่อเตรียมรับฝนที่อาจจะตกลงมา อีก ซึ่งช่วงนี้ก็จะมีหน่วยสู้น�้ำ ออกให้ความช่วยเหลือ ประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง โดยตั้งศูนย์รับเรื่องร้อง ทุกข์ หมายเลขโทรศัพท์ 199 (ข่าว ปชส.อุดรธานี 27-9-2011)

20

HOME CABLE TV MAGAZINE


HOME PEOPLE เรื่อง/ภาพ : กองบรรณาธิการ

ที เ่ กริ่นมาเพื่อจะเข้าประเด็นของ ท่าน พ.ท.เอกสิทธิ์ ตรีวัฒน์สุวรรณ นัก

พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งท่านจับ งานด้านนี้มานานพอสมควร หลังจากสร้าง โครงการบ้านจัดสรรมาแล้วหลายโครงการ วันนี้หันมาปัดฝุ่นโครงการดั้งเดิม ซึ่งเริ่ม ต้นมาตั้งแต่ปี 2538 บนพื้นที่ 14 ไร่ ขณะ นั้นคิดจะสร้างอาคารพาณิชย์ขาย พร้อมๆ กับเปิดตลาดสดไปด้วยกัน ซึ่งก็ได้ท�ำไป แล้วจนเป็นที่รู้จักว่า “ตลาดโพศรี” โดย ใช้ชื่อถนนเป็นชื่อเดียวกับชื่อตลาด เพื่อ ง่ายแก่การจดจ�ำ กระทั่งถึงวันนี้เกิดชุมชน เป็นที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น ตั้งอยู่ล้อมรอบ พื้นที่ พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไป

ตลาดแนวใหม่ เพื่อคนอุดร

ท�ำจะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของ ผู้คนในเมือง ต้องรู้จักหมั่นสังเกตพฤติกรรมและ วิถีชีวิตของคนเมืองให้ออก รู้ว่าเขานิยมบริโภค อย่างไร มองคนกลุ่มไหนเป็นเป้าหมาย และอีก หลายๆ ประเด็น ถึงจะวิเคราะห์ได้ว่าคนกลุ่มนั้น ต้องการอะไร แล้วจะเติมอะไรลงไปให้ชีวิตมัน สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น มีความสอดคล้องกับทิศทาง ของตลาดยุคใหม่

พ.ท. เอกสิทธิ์ ตรีวัฒน์สุวรรณ

28

HOME CABLE TV MAGAZINE


มาก เป็นแรงบันดาลใจให้กลับมาปัดฝุ่นท�ำ โครงการต่อ บนพื้นที่ยังเหลืออยู่ในรูปแบบ ใหม่ เรียกว่า “คอมมูนิตี้ มอลล์” โดยมี กลุ่มเป้าหมายแตกต่างกับตลาดในใจกลาง เมือง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ห้างสรรพสินค้า โรง ภาพยนตร์ และแหล่งบันเทิง ส�ำหรับ “เดอะโพศรี” เป็นชื่อใหม่ ซึ่งอยู่ท่ามกลาง ชุมชนที่อยู่อาศัย จึงต้องการพัฒนาให้เป็น ตลาดสดแนวใหม่ มีสินค้าหลากหลายจาก กลุ่มผู้ค้ารายย่อย ตกแต่งแบบเรียบง่าย อย่างมีสไตล์ โดยเน้นความสะดวกสบาย ของผู้ซื้อสามารถจอดรถหน้าร้านแล้วมา

แผงให้เช่าส่วนหนึ่ง และบู๊ธขายสินค้าส่วน หนึ่ง ซึ่งได้เริ่มลงมือไปแล้วตั้งแต่กลางปีที่ แล้ว ทั้งนี้ยังคงรักษากลุ่มพ่อค้าแม่ค้าราย เดิม และเพิ่มพื้นที่ให้เจ้าใหม่ๆ เข้ามาขาย สินค้าที่หลากหลายเพิ่มขึ้น แต่อาจจะยัง ไม่รู้สึกว่าแตกต่างจากของเดิมไปมากนัก เพราะโครงการที่ออกแบบไว้อยู่ระหว่าง การก่อสร้าง “ถ้าเราขึ้นเฟส 2 เฟส 3 ครบ ภาพ เดอะโพศรีก็จะชัดขึ้น ตอนนี้ก็พยายามจะ ดึงกิจกรรมมาแสดงที่นี่ เช่นจัดประกวด ร้องเพลงของเด็กๆ และยังมีตลาดนัดขาย

ใหญ่ ทุกคนท�ำมาหากินร่วมกันได้ ทั้งหมด โครงการคาดว่าปลายปีหน้าจะเห็นภาพ ชัดขึ้น “เราจะท�ำ อย่างไร ให้ตลาด เดอะโพศรีรองรับ ชีวิตประจ�ำวัน ของคนในย่าน นี้ได้ตลอดเวลา ตั้งแต่ตอนเช้ามา จ่ายตลาด ตอน กลางวันมาทาน

จับจ่ายซื้อของได้เลย คุณเอกสิทธิ์ สรุปให้ เห็นภาพง่ายๆ ว่า “ผมอยากท�ำแบบตลาด บองมาเช่ ที่ประชาชื่น ในกรุงเทพ เอา คอนเซ็ปท์อย่างนั้นเลย” การเติบโตของตลาดบองมาเช่มี ความน่าสนใจ เอาเป็นแบบอย่างได้ ข้อ แรกตลาดบองมาเช่ไม่มีร้านชื่อดังระดับ แบรนด์อินเตอร์มาเป็นแม่เหล็ก ต่อมา ตลาดมีการยกระดับและพัฒนารูปลักษณ์ ใหม่ โดยเปิดโอกาสให้กับผู้เช่าเดิม หรือผู้ เช่าใหม่อัพเกรดมาตรฐานร้านใหม่ให้มีจุด ขายเด่นชัด มีเอกลักษณ์ มีรสนิยม เพื่อ ดึงดูดลูกค้า จากเดิมเป้าหมายของตลาด ต้องการช่วยเหลือคนตกงานยุคไอเอ็มเอฟ เช่นเดียวกันตลาดเดอะโพศรี ต้องการ พัฒนาตลาดใหม่ โดยเริ่มจากตลาดโพ ศรีเก่าปรับเป็นศูนย์อาหารส่วนหนึ่ง เป็น

ต้นไม้ทุกวันอังคาร วันศุกร์” คุณเอกสิทธิ์ มั่นใจว่าเฟส 2 ที่ก�ำลังก่อสร้างด้วยรูป ลักษณ์ใหม่จะเรียกความสนใจผู้บริโภคมาก ขึ้น ขณะนี้มีบริษัทเซเว่นอีเลฟเว่น แว่นตา ท็อปเจริญ รวมทั้งบริษัทพูนทรัพย์ประดับ ยนต์ก็ได้เข้ามาจองพื้นที่แล้ว ซึ่งคาดว่า ต้นปีหน้าก็คงได้เปิดให้บริการได้ ส่วนเฟส 3 อยู่ริมถนนโพศรี ขนานไปกับอาคาร พาณิชย์เดิม ออกแบบเป็นห้องเช่าล้อม รอบอาคาร 2 ชั้นตรงกลาง ส่วนนี้คาดจะ เป็นแหล่งการศึกษาพิเศษ เช่น สถาบัน ติวเตอร์ ห้องสอนดนตรี ศิลปะ เป็นต้น เพราะเป็นท�ำเลที่สวยมาก มีลานจอดรถ กว่า 200 คัน และมีถนนล้อมรอบสามารถ จอดรถได้สะดวก รวมพื้นที่ทั้งหมดแล้วจะ กลายเป็นคอมมูนิตี้ มอลล์ ที่สมบูรณ์แบบ โดยมีกลุ่มผู้ค้าตั้งแต่รายเล็กไปจนถึงราย

ข้าว ตอนหัวค�่ำมาดินเนอร์กับครอบครัว วันหยุดเสาร์อาทิตย์พาลูกมาเรียนพิเศษ เป็นต้น หรือจะมาเดินเล่นในวันมีตลาดนัด ซึ่งตอนนี้ผมพยายามจะท�ำ เราไม่ได้แข่ง กับใคร เพราะที่ตรงนี้มีกลุ่มเป้าหมายที่ ชัดเจนอยู่แล้ว เราเป็นตลาดของผู้บริโภค ไม่ใช่ที่ช็อปปิ้งแบบตลาดศูนย์การค้า” ในช่วงที่ก�ำลังพัฒนาตลาดเก่า เริ่ม ได้รับการตอบรับที่ดีทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย บ้าง หลังจากมีการจัดประกวดร้องเพลง ของเด็กๆ โดยมีทีมงานข้ามาด�ำเนินงาน ให้ เราเป็นกรรมการคัดเลือกด้วย ส่วน ใหญ่เยาวชนก็เป็นเด็กๆ ในพื้นที่ เขามี ความสนุกสนานแถมได้รางวัลอีกด้วย เขา ก็อยากให้เราจัดบ่อยขึ้น ทั้งหมดนี้เพื่อ ปลุกกระแสให้ตลาดเดอะโพศรีมีชีวิตชีวา มากขึ้น

29

HOME CABLE TV MAGAZINE


YOUNG EXECUTIVE เรื่อง/ภาพ : กองบรรณาธิการ

“คนขี่เวสป้า เพราะชอบใน เอกลักษณ์ ของเวสป้า” “เวสป้า” เป็นต้นต�ำหรับของ

รถสกู๊ตเตอร์แท้ๆ เริ่มต้นผลิตที่เมืองปอนเต เดรา ในแคว้นทัสกานี ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. 1946 โดย Piaggio & Co. จากนั้น ได้แพร่หลายในช่วงปี 50-60 และเป็นที่ นิยมคลั่งไคล้ของวัยรุ่นยุคนั้น จุดเด่น ของ “Vespa” ด้วยรูปลักษณ์ที่แตก ต่างจากรถมอเตอร์ไซค์ทั่วๆ ไป มีล้อเล็ก ก้นป่องที่ล้อหลัง และมี โครงบังส่วนหน้าของรถ รวมทั้งมีเสียง เครื่องยนต์คล้ายเสียง “ตัวต่อ” เป็นที่มาให้ ผู้ผลิตชาวอิตาลีตั้งชื่อสกู๊ตเตอร์รุ่นนี้ว่า “เวส ป้า” แปลว่าตัวต่อ เพราะมีความคล้ายคลึง ทั้งรูปลักษณ์และเสียงเครื่องยนต์ ความคลาสสิคของรถ “เวสป้า” ยัง คงประทับใจแฟนพันธุ์แท้มาอย่างต่อเนื่อง ยาวนานนับหลายทศวรรษติดต่อกัน กระทั่ง รถรุ่นใหม่ๆ ได้มีการวิวัฒนาการเครื่องยนต์ ให้มีสมรรถนะและประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ ยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมของ “เวสป้า” มาโดย ตลอด ปัจจุบันจึงไม่ได้มีแต่แฟนพันธุ์แท้รุ่น คลาสสิคเท่านั้น ยังมีกลุ่มวัยรุ่นที่เรียกว่า “นิว เวสป้า” เป็นตลาดกลุ่มใหม่ที่ก�ำลังขยาย ตัวเข้ามาแชร์ตลาดรถมอเตอร์ไซค์แฟชั่นที่ ก�ำลังเป็นที่นิยม ปัจจุบนั บริษทั เวสปิอาริโอ ​​​(ประเทศไทย) จ�ำกัด เป็นผู้น�ำเข้ารถเวสป้ามาจ�ำหน่ายใน ประเทศ พร้อมด้วยการบริการหลังการขาย ทั้งในด้านซ่อมแซมบ�ำรุงรักษา และน�ำเข้า

32

HOME CABLE TV MAGAZINE

ประสิทธิ เหล่าเราวิโรจน์

Bike Kingdom ตัวแทนจ�ำหน่าย “เวสป้า” อุดรธานี อะไหล่แท้ส�ำรอง เพื่อให้การจ�ำหน่าย สามารถดูแลลูกค้าได้อย่างครบวงจร โดย เริ่มเปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว และก�ำลังขยายตลาด โดยตั้งตัวแทนจ�ำหน่ายในจังหวัดใหญ่ทั่ว

ประเทศไทย รวมทั้งที่จังหวัดอุดรธานีด้วย บิ๊กไบค์ คิงดอม เป็นชื่อใหม่ส�ำหรับ ตัวแทนจ�ำหน่าย “เวสป้า” ในอุดรธานี แต่ ไม่ใช่มือใหม่ส�ำหรับวงการมอเตอร์ไซค์ เพราะชื่อ “เหล่ายานยนต์” ตัวแทนจ�ำหน่าย รถมอเตอร์ไซค์ฮอนด้า และอีกหลายยี่ห้อจน เป็นที่รู้จักของจังหวัด หรือกล่าวได้ว่าเป็น บริษัทที่ยึดครองตลาดรถมอเตอร์ไซค์อยู่ใน อันดับต้นๆ ของจังหวัดอุดร ทว่าการเลือก แบรนด์ “เวสป้า” มาท�ำตลาดในจังหวัดอุดร เพื่อเป็นอีกทางเลือกส�ำหรับกลุ่มคนรักรถเวส ป้าจริงๆ นับเป็นความท้าทายของผู้บริหาร คุณประสิทธิ เหล่าเราวิโรจน์ หรือ เฮีย เส็ง ผู้บริหารกล่าวว่า “คนขี่เวสป้า เพราะ เขาชอบในเอกลักษณ์ของเวสป้า เขาขับขี่ไว้ ส�ำหรับเดินทางท่องเที่ยว มากกว่าจะขับเพื่อ ใช้งานประจ�ำวัน นั่นหมายความว่าเวสป้าจะ เป็นรถคันที่ 2 มากกว่า” ประเด็นนี้สะท้อนให้


เห็นว่าการขับขี่รถเวสป้าเป็นเรื่องของรสนิยม หรือเป็นไลฟ์สไตล์ของคนที่ชื่นชอบจริงๆ หรืออาจจะมีความผูกพันกันนานก็เป็นไปได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวคนที่จะเลือกซื้อรถเวสป้า ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนในวัยท�ำงานมากกว่า ซึ่งเป็นกลุ่มตลาดบนในทัศนะของเฮียเส็ง ประกอบกับรถที่น�ำมาจ�ำหน่ายรุ่น 125 CC ถือว่าเป็นรุ่นที่ถูกที่สุดแล้ว เริ่มต้นที่ราคา 7 หมื่นกว่าๆ ขึ้นไป หากเปรียบเทียบกับรถ จากญี่ปุ่นก็จัดว่ามีราคาแพงกว่าแน่นอน

ถ้าดูกันอย่างผิวเผินจะมองว่าตลาด รถเพื่อการใช้งาน ที่มีราคาย่อมเยากว่าน่า จะท�ำตลาดได้ง่ายกว่า ประเด็นนี้เฮียเส็งไม่ ได้ขัดแย้ง แต่ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ราคา รถขนาดนี้ไม่ได้เป็นปัญหากับคนซื้อมาก นัก เพราะเขาเชื่อมั่นในชื่อเสียงของเวสป้า เป็นความสุขความพอใจส่วนตัวที่จะได้ขับ ลองสังเกตดูบนถนนก็ได้จะเห็นรถเวสป้าไม่ เหมือนใคร แตกต่างกับยี่ห้ออื่นๆ ค่อนข้าง ชัดเจน อย่างไรก็ตาม เฮียเส็งยังไม่ทิ้งตลาด จ�ำหน่ายรถยี่ห้ออื่นๆ ซึ่ง ขายอยู่ก่อนแล้ว หากแต่ มองเห็นเทรนด์ของคนรุ่น ใหม่ ที่ปรารถนาจะขยับตัว เองขึ้นมาขับรถสกู๊ตเตอร์ สกุลยุโรปบ้าง เฮียเส็งเล่า ว่า เพิ่งเปิดตัวที่ตลาดอุดร เมื่อเดือนเมษาที่ผ่านมา ก็ สามารถขายได้เกินความ คาดหมาย เดิมนึกว่าคน จะติดใจกับรุ่นคลาสสิค มากกว่า แต่พบว่ากลุ่มคน รุ่นใหม่ที่มีงานท�ำแล้วกลับ ชอบรถรุ่นที่น�ำมาขายขณะ นี้มาก มาทราบว่าเขาชอบ ที่สมรรถนะ มีความคล่อง ตัวสูง และมีเทคโนโลยีที่ แตกต่างกับรถยี่ห้ออื่นๆ ใน ท้องตลาด บางคนอยาก จะได้รุ่น 150 CC เพราะ อยากได้ความแรงมากขึ้น อีก แต่ที่แน่ๆ กลุ่มคนรัก

รถเวสป้าเขาจะไม่นิยมแต่งรถสไตล์แฟชั่น สีสันลวดลายเยอะๆ ส่วนใหญ่จะเลือกที่โทน เดียว หรือสีธงชาติอิตาลี นอกจากนี้ รถเวส ป้ารุ่นใหม่ๆ ยังมีเทคโนโลยีซึ่งเป็นนวัตกรรม ใหม่ ช่วยป้องกันการขโมยรถแบบเดิมๆ ด้วย กุญแจพิเศษ ซึ่งใช้ชิพความจ�ำช่วยท�ำงาน จับคู่รถกับกุญแจโดยเฉพาะ ถึงแม้รถจะถูก ท�ำลายระบบนี้ออกไปก็ตาม เครื่องยนต์ก็จะ ไม่ตอบสนองอัตราการเร่งเครื่องได้ทันใจ “ผมตั้งเป้าว่าเดือนละ 10 คัน น่าจะ เป็นไปได้ เพราะดูแล้วตลาดก็มีแนวโน้มดี ตอนนี้ถือว่าเพิ่งเริ่มต้นพอคนเริ่มเห็นว่าเรา น�ำมาขายที่อุดร พร้อมบริการหลังการขาย อย่างครบวงจร เขาก็ให้ความมั่นใจยิ่งขึ้น เดิมคนอุดรก็รู้จักเหล่ายานยนต์มานานแล้ว ด้วย ผมถึงได้มาใช้ชื่อ ไบค์ คิงด้อม ส�ำหรับ ตลาดรถเวสป้า เพื่อความชัดเจนในการท�ำ ตลาดเฉพาะกลุ่ม ซึ่งอนาคตเราจะมีกิจกรรม การตลาดมากขึ้น ถ้าได้ลูกค้าใช้เวสป้าเติบโต เป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น เรามีแผนจะจัดทริปเวสป้า ท่องเที่ยวกันก็เป็นไปได้ครับ” คุณประสิทธิ์ หรือ เฮียเส็ง ทิ้งท้าย ว่าท�ำตลาดรถเวสป้า สนุกดี เพราะต้องใช้ โซเชียลเน็ตเวิร์คมากขึ้น ท�ำให้ต้องรู้จักกับ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาแอดเฟรนด์ และได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของเขา ทราบว่าเขา ชอบอะไรกัน เรียกว่าเป็นกลุ่มที่แอ็คทีพมาก และยังเป็นกลุ่มที่มีก�ำลังซื้ออีกด้วย

33

HOME CABLE TV MAGAZINE


HOME TRAVEL เรื่อง/ภาพ : กองบรรณาธิการ

สานสัมพันธ์ กันที่...

ฮาลอง เบย์

โฮม

ทราเวลฉบับนี้มีโอกาสได้เดินทางไปกับคณะกรรมการ และผู้ติดตามของสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย เพื่อไปเยี่ยมเยียน สานสัมพันธ์กับสถานีโทรทัศน์เวียดนาม พร้อมๆ กับเปิดโลกทัศน์ เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านของเรา เพราะอีก 3 ปีข้างหน้าประเทศใน กลุ่มอาเซียนเราจะต้องมีความใกล้ชิดมากขึ้น เนื่องจากเป็นประชาคม เศรษฐกิจเดียวกันแล้ว เมื่อถึงกรุงฮานอยประเทศเวียดนามแล้ว สิ่งที่ พลาดชมไม่ได้ ก็คือ แหล่งมรดกโลก ที่อ่าวฮาลอง รวมทั้งสถานที่อื่นๆ ด้วย

52

HOME CABLE TV MAGAZINE

พูดถึง “อ่าวฮาลอง” ต้องย้อนไปถึงเรื่องเล่าเป็นต�ำนานพื้นบ้าน ว่า บริเวณอ่าวแห่งนี้เคยมีมังกรจากสวรรค์ลงมาช่วยปกป้องแผ่นดิน ด้วยการพ่นน�้ำเป็นหยกตกลงบนท้องทะเล เพื่อสกัดข้าศึกทางทะเลไม่ ให้มารุกราน สุดท้ายหยกที่ว่าก็กลายเป็นเกาะภูเขาหินปูนน้อยใหญ่นับ พันๆ ลูก กระจัดกระจายอยู่เต็มปากอ่าว ความงดงามของธรรมชาติ ที่เป็นเอกลักษณ์เช่นนี้ ท�ำให้อ่าวฮาลองได้เป็นแหล่งมรดกโลกทาง ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่ง ถึงวันนี้รัฐบาลเวียดนามได้เข้ามาพัฒนา แหล่งท่องเที่ยวที่นี่ให้มีกฎระเบียบมากขึ้น และเพิ่มสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกอย่างเพียบพร้อม ช่วยให้รัฐได้เงินตราต่างประเทศเข้ามาอย่าง เป็นกอบเป็นก�ำ สังเกตได้จากเรือท่องเที่ยวตามเส้นทางในอ่าวฮาลอง ถูก ออกแบบให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม คล้ายๆ กับเรือโบราณ ทุกล�ำ จะมีหน้าตาคล้ายคลึงกันหมด ไม่มีสีสันฉูดฉาดโดดเด่นหรือติดป้าย โฆษณารกหูรกตา ให้เป็นมลภาวะทางสายตา เส้นทางการล่องเรือถูก จัดระเบียบให้เหมือนๆ กันทุกคณะ โดยล่องเรือตามๆ กัน แวะชมแพ ปลากลางน�้ำ แล้ววกกลับอีกมุมหนึ่งผ่านภูเขาหินปูน โดยนักท่องเที่ยว จะต้องเดินขึ้นชมถ�้ำเขาเรียกว่า “ถ�้ำนางฟ้า” ภายในตกแต่งด้วยแสงสี ดูน่าตื่นตาตื่นใจดี แล้วเดินออกทะลุไปขึ้นเรืออีกด้านหนึ่ง มาเที่ยวฮาลองเบย์ ให้นึกถึงภาพภูเขาหินปูนในทะเลอันดามัน แถวจังหวัดกระบี่ พังงา ก็คล้ายๆ กัน ผมว่าสีน�้ำทะเลของเราจะสวย กว่า ที่ต่างกันก็จะเป็นจ�ำนวนภูเขาหินปูนที่โผล่มากลางทะเล ทั้งใหญ่ ทั้งเล็กมีมากเหลือเกินจนตั้งชื่อเกาะแทบไม่หมด ของเขาอ้างอิงเรื่อง


“มังกรร่อนลง” ตามชื่อฮาลอง แต่ของเราไม่ค่อยพูดถึงเรื่องนี้สักเท่า ไหร่ แล้วแต่จะจินตนาการ โดยมากคนมาเที่ยวมักมีอารมณ์ดี สบายๆ ก็จะมีจินตนาการไปตามเรื่องเล่า อันนี้เป็นเสน่ห์ที่ท�ำให้หลายๆ คนอาจ หลงใหล แม้กลับไปแล้วก็อยากจะมาอีก กว่า 3 ชั่วโมงของการล่องชมเกาะแก่ง แวะชมแพปลา เดิน เที่ยวถ�้ำ รับประทานอาหารเที่ยงบนเรือจนเสร็จสรรพ ดูหน้าตาของ พวกเราจะสดชื่นแจ่มใสกันทุกคน เหมือนได้เติมพลังธรรมชาติเข้าไป เต็มปอด แม้อากาศจะร้อนอยู่บ้างแต่มีลมพัดผ่านตลอดเวลา แต่อยู่ ได้ไม่นานความรู้สึกเดิมหวนกลับมาอีกครั้งด้วยอากาศร้อนแผดเผาจน แทบจะเอาน�้ำมารดหัวกันเลยทีเดียว หลังจากเรือถึงฝั่งและขึ้นท่าเรือ ได้ไม่นาน ต้องยอมรับว่ามีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในประเทศ เวียดนาม จากอดีตเมืองฮานอยเคยเป็นเมืองเกษตรกรรมมาช้านาน ปัจจุบันเมืองหลวงแห่งนี้ได้เพิ่มจ�ำนวนประชากรถึง 5 ล้านคน รัฐบาล วางแผนขยายเมืองหลวงออกมารอบนอกเป็นที่อยู่อาศัย โดยยังคง ความเจริญไว้อยู่ใจกลางเมือง ซึ่งมีถนนสายเก่าตามผังเมืองเดิมเล็ก และคับแคบ ทัง้ ยังคับคัง่ ด้วยคลืน่ รถมอเตอร์ไซค์ทไี่ หลเวียนเป็นระลอกๆ อยู่บนท้องถนนอย่างไม่ขาดสาย ยังดีที่ว่าเขายังคงอนุรักษ์ตึกและ อาคารเก่าๆ ซึ่งเป็นมรดกของฝรั่งเศสสร้างไว้ รวมๆ กับต้นไม้ใหญ่

ไปถึงฮานอยแล้ว ถ้าไม่ได้ไปสุสานโฮจิมินห์ ก็แปลว่ายังไปไม่ ถึง ในฐานะของสมาคมฯ เขาจัดให้พวกเราเป็นแถวพิเศษเดินพาเหรด พร้อมน�ำหรีด (ที่เขาจัดไว้แล้ว) แยกกับกลุ่มผู้ชมทั่วไป งานนี้ท่าน นายกเกษม อินทร์แก้วต้องเป็นผู้น�ำแถวหน้า เข้าใจว่าถ้าเดินทางมา เป็นกลุ่มคณะในการเข้าไปเคารพศพที่สุสานแห่งนี้ เขาคงจัดให้ลักษณะ นี้เช่นกันเพื่อเป็นเกียรติให้แก่หมู่คณะ เสียอย่างเดียวไม่อนุญาตให้พก พากล้องถ่ายรูปเข้าไป ถ้าจะถ่ายรูปจะให้ถ่ายเฉพาะด้านหน้าสุสาน เท่านั้น แต่ต้องเสียเงินให้กับตากล้องเอาเองของใครของมัน ซึ่งเขารอ เราอยู่แล้ว การเดินทางครั้งนี้ เริ่มต้นจากการปรึกษาหารือเพื่อจะสร้างความ สัมพันธ์กับเวียดนาม คุณวิโรจน์ พิพัฒน์ไชยศิริ รองนายกสมาคมฯ และเจ้าของโฮมเคเบิลอุดร-หนองคาย ซึ่งบรรจุช่องของทีวีเวียดนาม อยู่ในรายการ 80 กว่าช่องมาหลายปีแล้ว จึงอาสาเป็นผู้ประสานงาน ทั้งหมดร่วมกับกรรณิการ์ทัวร์ ของคุณอมลวรรณ เรืองอรรถวัฒน์ (คุณไก่) ท�ำให้มีทริปนี้เกิดขึ้น และเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ร่วมเดินทาง ซึ่งต่างหวังว่าจะมีทริปต่อๆ ไปอีก โดยเฉพาะการเดินทางไปเยี่ยมชม สถานีโทรทัศน์ของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนด้วยกัน ทริปนี้ เอาแค่นี้ก่อนนะครับ

ริมถนนที่มีอายุมากพอกับบ้านเมือง ดูเขียวครึ้มช่วยให้นัก ท่องเที่ยวอย่างเรารู้สึกผ่อนคลายกับการเดินทางได้บ้าง พวกเราเดินทางกลับจากท่องเที่ยวแหล่งมรดกโลก กลับเข้าเมืองฮานอยอีกครั้ง ต้องใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง ส�ำหรับการเดินทางที่ดูสับสนวุ่นวาย โดยไม่ต้องใช้บริการ ของต�ำรวจจราจร คนที่นี่เขาบอกว่าไม่จ�ำเป็น เพราะ ประชาชนคนใช้ถนนเขาตกลงกันเอง ขืนเรียกใช้บริการ ต�ำรวจมีสิทธิต้องขึ้นศาลกันหมดทุกฝ่าย แถมยังลากเอา ผู้ใหญ่ผู้ปกครองมาร่วมรับโทษด้วยในฐานะปล่อยปละ ละเลย สรุปว่าตกลงกันเองง่ายกว่าเยอะ

53

HOME CABLE TV MAGAZINE


HOME REVIEW เรื่อง/ภาพ : กองบรรณาธิการ

แหล่งศึกษานอกโรงเรียน

พิพิธภัณฑ์สัตว์น�้ำสิรินธร

ขึ้นชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์สัตว์น�้ำสิรินธร” อาจจะ ไม่คุ้นชื่อนี้ แต่ถ้าเอ่ยชื่อ “พิพิธภัณฑ์สัตว์น�้ำจังหวัด หนองคาย” เชื่อว่าเด็กๆ จะรู้จักดี แม้ว่าจะเปิดให้ชมมา แล้วประมาณ 3 ปีก็ตาม แต่ยังอยู่ในความสนใจของน้องๆ เยาวชนทั้งคนไทย และคนลาว ทั้งนี้เพราะที่นี่เป็นแหล่ง ศึกษานอกโรงเรียนที่ให้ความรู้สึกตื่นตาตื่นใจเหมือนเดิน อยู่ในอ่างปลาขนาดใหญ่ และยังเป็นสถานที่รวบรวมปลา หายากจ�ำนวนมากมาไว้ที่นี่ที่เดียว และยิ่งเป็นความภาค ภูมิใจแก่ทีมงานผู้บริหาร เมื่อได้รับพระราชทานชื่อใหม่จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ให้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์สัตว์น�้ำ สิรินธร” อย่างเป็นทางการเมื่อเร็วๆ นี้

54

HOME CABLE TV MAGAZINE

โ ฮมแมกกาซีนเคยแนะน�ำ สถานที่แห่งนี้มาแล้ว ในฉบับที่

37 ปลายปี 51 ซึ่งขณะนั้นยังมี ปลาไม่มาก และความพร้อมของ Giant Tank ขนาด 20 x 26 x 7 เมตร ยังไม่ได้เปิดใช้ แต่วันนี้นับ เป็นอุโมงค์ชมปลาที่ยาวที่สุดใน ประเทศไทยก็ว่าได้ โดยผู้ชมสามารถเดินทะลุผ่านทางเดินวนจาก ชั้น 2 ลงไปชั้น 1 นอกจากนี้ยังเพิ่มสีสันด้วยการให้มีมนุษย์กบด�ำ น�้ำลงไปให้อาหารปลาสร้างความตื่นตื่นใจให้กับเด็กๆ มาชม การจัดแบ่งประเภทปลาน�้ำจืด ปลาน�้ำเค็ม ปลาน�้ำลึก และ สิ่งมีชีวิตในน�้ำอื่นๆ อย่างเป็นสัดส่วน น่าจะเป็นผลดีกับการเรียนรู้ ของคณะนักเรียน นักศึกษา ที่เดินทางเข้ามาชมเป็นหมู่คณะ และ มีจุดเด่นที่รวบรวมพันธุ์ปลาต่างๆ จากแม่น�้ำโขงมาไว้ให้ศึกษา เชื่อ ว่าแม้แต่ชาวหนองคายก็อาจยังไม่เคยรู้ว่ามีปลาชนิดใดบ้างอยู่ใน แม่น�้ำโขง เพราะชีวิตคนเมืองเริ่มห่างจากวิถีชีวิตพื้นบ้านจนไม่อาจ นึกภาพได้เลย ปลาที่ไม่เคยปรากฏในพื้นที่ภาคอีสาน เช่น ปลาตูหนา ปลา จากต่างประเทศหน้าตาแปลกๆ หรือที่เคยมีแต่เป็นปลาพันธุ์หา ยาก เช่น ปลาเสือตอลายใหญ่ และลายเล็ก รวมถึงปลากระโห้ ล้วนจะใกล้สูญพันธ์แทบทั้งสิ้น ยังมีปลาอีกหลายชนิด ส�ำหรับคนที่ สนใจเรื่องปลา ไม่ควรพลาดชมที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น�้ำแห่งนี้ และเป็น ที่เดียวที่ใหญ่เพียงพอในภาคอีสานตอนบน และสามารถรองรับให้ผู้ เข้าชมได้ไม่จ�ำกัดในขณะนี้ พิพิธภัณฑ์สัตว์น�้ำสิรินธร เป็นหน่วยงานอยู่ในความดูแลของ


มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย โดยให้แยก การบริหารให้เป็นอิสระ ภายใต้การดูแลควบคุมของคณะ กรรมการ ซึ่งประกอบด้วยหลายฝ่ายรวมทั้งจังหวัดด้วย รศ.ดร.สมพงษ์ ธรรมถาวร เป็นท่านแรกที่ถูกคัดเลือก ให้เป็นผู้อ�ำนวยการ ซึ่งท่านเคยด�ำรงต�ำแหน่งคณบดี คณะสิ่งแวดล้อม ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา หลังจากเกษียณแล้วท่านยินดีจะเข้ามา ดูแลพิพิธภัณฑ์สัตว์น�้ำสิรินธร ด้วยเหตุผลว่า อยากเห็น พิพิธภัณฑ์สัตว์น�้ำสิรินธรเป็นศูนย์การเรียนรู้ของเด็กๆ “ผมเห็นเด็กตาด�ำๆ จากบ้านนอกเข้ามาชม แล้วเขาตื่น เต้น ดีใจที่ได้เห็นปลาแปลกๆ ในบรรยากาศน่าตื่นเต้น เร้าใจแบบนี้ สิ่งนี้เป็นแรงบันดาลใจให้ผมอยากพัฒนา ยิ่งๆ ขึ้นไป” อย่างไรก็ตาม อาจารย์สมพงษ์ ได้สะท้อนปัญหาใน ช่วงของการเริ่มต้นเข้ามาบริหารพิพิธภัณฑ์สัตว์น�้ำที่นี่ว่า เป็นความล�ำบากใจไม่น้อย เพราะการดูแลสัตว์น�้ำขนาด ใหญ่ และมีจ�ำนวนมากเช่นนี้ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ทุกวัน แต่ด้วยความจ�ำกัดในการดูแล ทรัพยากรและสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ก�ำลังเสื่อม ทรุดอย่างรวดเร็ว ด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ได้คุณภาพ รวม ทั้งยังขาดบุคลากรด้านการประมงมาช่วยงานมากขึ้น ซึ่ง ขณะนี้ยังได้รับงบประมาณค่อนข้างจ�ำกัด ยังไม่มีความ คล่องตัวในการผลักดันงานไปข้างหน้า แต่ถึงอย่างไร อาจารย์ก็ยังไม่ต้องการปรับขึ้นค่าเข้าชม เพราะอยาก ให้เด็กในจังหวัดแถบนี้เข้ามาชมมากที่สุด ปัจจุบันยังคิด ในอัตรา 30 บาทส�ำหรับนักเรียน และผู้ใหญ่ 50 บาท เท่านั้น รายได้จากเข้าชมต่อวันยังไม่เพียงพอต่อการเลี้ยง ปลาในแต่ละวันด้วยซ�้ำ ทุกวันนี้อยู่ได้เพราะยังได้งบ ประมาณจากมหาวิทยาลัยช่วยเหลือ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ทุกคนยังมีความสุขกับการท�ำงาน นอกจากนี้ อาจารย์ ได้คิดหามูลค่าเพิ่มจากกิจกรรมต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์ เช่น ผลิตของที่ระลึกจ�ำหน่าย จัดมุมขายอาหารและเครื่องดื่ม เตรียมผลิตหนังสือคู่มือชมปลาจ�ำหน่าย เป็นต้น สุดท้าย ท่านขอฝากถึงภาคส่วนต่างๆ เช่น ภาคการเมืองท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชนในจังหวัด ให้แวะข้ามาเยี่ยมชมบ้าง พบปะกันบ้าง หรือจะมาช่วยสงเคราะห์ให้พิพิธภัณฑ์สัตว์ น�้ำสิรินธรเป็นศูนย์รวมแหล่งศึกษานอกโรงเรียน และเป็น สถานที่เชิดหน้าชูตาของจังหวัด ไม่แพ้บึงฉวากที่ท่าน อดีตนายกบรรหารลงทุนปลุกปั้นด้วยตัวเอง จนโด่งดังไป ทั่วประเทศ และสมควรอย่างยิ่งที่จะพัฒนาพิพิธภัณฑ์สัตว์น�้ำ สิรินธรให้เพียบพร้อมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อให้สมพระเกียรติ กับที่ได้รับพระราชทานนามจากพระองค์ในครั้งนี้ด้วย รศ.ดร.สมพงษ์ ธรรมถาวร

55

HOME CABLE TV MAGAZINE


HOME RELAX เรื่อง/ภาพ : กองบรรณาธิการ

บ้านสวนคณาณัฎ และ

SoChic

Food & Beverage

อพักหญิงแห่งหนึ่งตั้งอยู่ ถนน ฝั่งตรงข้ามประตูรั้วมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคายมากนัก ซึง่ ถ้าไม่สงั เกต ป้ายทางแยกเข้าซอย ก็มสี ทิ ธิขบั รถผ่านเลย ไป แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงหอหัก หญิง “คณาณัฎ” แล้ว สามารถสัมผัสได้ ถึงบรรยากาศที่อบอุ่น สงบ ร่มเย็น เหมาะ กับเป็นสถานที่พักอาศัยส่วนตัวมากๆ และ แทบจะไม่รู้สึกว่าเป็นหอพักนักศึกษาหญิง เพราะสิ่งแวดล้อมของบ้านสวนถูกตกแต่ง

56

HOME CABLE TV MAGAZINE

ให้มีอารมณ์แบบรีสอร์ทมากกว่าหอพัก และเพื่อต้องการอ�ำนวยความสะดวกสบาย ให้แก่ผู้มาพักอาศัยเจ้าของร้านได้เปิดห้องอาหาร SoChic ส�ำหรับเป็นห้องรับแขกไว้ต้อนรับแขกผู้ มาเยือน แบบเรียบๆ ง่ายๆ แต่มีเสน่ห์ แม้เปิด ได้ไม่นานนักห้องอาหาร SoChic กลายเป็นจุด นัดพบของนักศึกษาและอาจารย์ โดยเฉพาะภาค ปริญญาโทที่เปิดสอนที่วิทยาเขตแห่งนี้ เพราะ นอกจากจะเป็นที่นัดพบทานอาหารและเครื่องดื่ม แล้ว ยังเป็นสถานที่แอบซุ่มท�ำงานเงียบๆ ก็ยังมี เนื่องด้วยมีความเงียบ สงบ อบอุ่น และปลอดภัย เป็นจุดเด่นของที่นี่ ภายในบริเวณห้องอาหารและ หอพักยังมีระบบอินเตอร์เน็ต Wi Fi ไว้รองรับให้ บริการคนชอบไอที SoChic ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของหอพักหญิงคณาณัฎ เริ่มต้นด้วย ความร่วมมือร่วมใจของ 3 พี่น้องในครอบครัว เดียวกัน รวมถึงญาติๆ โดยทุกคนให้ “ใจ” ท�ำงาน เพื่อจะสร้างแบรนด์ “SoChic” ให้เป็นร้านอาหาร เล็กๆ ที่เน้นอาหารสุขภาพ ไม่จ�ำหน่ายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ โดยจัดโต๊ะรับแขกไว้อย่างเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป สามารถให้บริการ


คุณคณาณัฎ ฉัตรภัทรไชย

ได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้เจ้าของร้านจะค�ำนึง ถึงความเป็นส่วนตัว และยังให้ความ รู้สึกเหมือนต้อนรับเพื่อนหรือญาติสนิท มากกว่า จึงไม่เน้นเรื่องจ�ำนวนของลูกค้า ประกอบกับที่หอพักหญิงเปิดให้บริการ เพียง 10 ห้องเท่านั้น ตั้งอยู่ด้านหลังห้อง อาหาร โดยแบ่งพื้นที่แยกเป็นคนละเขต เพื่อดูแลความปลอดภัย และป้องกันการ รบกวนผู้พักอาศัย คุณคณาณัฎ ฉัตรภัทรไชย หรือ คุณแยม ร่วมกับพี่ๆ น้องๆ ช่วยกันแบ่ง เบาภาระของที่ร้าน โดยมีคุณพ่อซึ่ง เกษียณอายุราชการแล้วก็มาช่วยอีกแรง คุณชนทัศน์ (โจ้) เคยคลุกคลีอยู่กับครัวใน โรงแรมมาก่อนรับหน้าทีเ่ ป็นพ่อครัวประจ�ำ ร้าน ส่วนน้องปณิชา (โอ๋) มีงานประจ�ำอยู่ แล้วก็ผลัดเวรกันเข้ามาดูแลร้าน แล้วยังมี ญาติพี่น้องมาช่วยตามวาระโอกาส ท�ำให้ แขกที่มาทานอาหารที่ร้าน จะมีความรู้สึก เหมือนนั่งอาหารในบ้าน ด้วยบรรยากาศ แบบครอบครัวเดียวกัน นอกจากนี้ ทราบ ว่าวัตถุดิบในการท�ำอาหาร เช่น “ข้าว” ก็ เป็นข้าวที่ได้จากที่นาของครอบครัว ผัก

พื้นบ้านก็ปลูกกันเองในบ้านสวนแห่งนี้ ใน อนาคตเจ้าของร้านยังมีไอเดียอยากจะท�ำ สวนเกษตรแบบปลอดสารพิษไว้สนับสนุน งานในครัวอีกด้วย เมนูที่ได้รับความนิยม เช่น สปาเก็ตตี้ ซอสหมู เกี๊ยวห่อชีส ปลาทอดครีมสลัด ย�ำโซชิค และ ข้าวผัดโซชิค เป็นต้น ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นเมนูที่ประยุกต์ใหม่ให้ถูกปาก ลูกค้ามากขึ้น หลังจากเปิดหอพักและร้าน อาหารได้ไม่นาน Sochic เริ่มเป็นที่รู้จัก มากขึ้น แม้จะเป็นสถานที่ไม่ได้ติดถนน ใหญ่ก็ตาม ถ้าลูกค้าเก่าก็จะแวะเวียนมา ทานอีกครั้ง เพราะราคาอาหารที่นี่ไม่แพง อย่างที่คิด ด้วยบรรยากาศที่แตกต่างกับ ร้านในเมืองหนองคาย นอกจากนี้ ลูกค้า เก่าๆ ที่รู้จักแล้ว ก็สามารถติดตามความ เคลื่อนไหวของที่ร้านได้จากเฟซบุ๊คของ ที่ร้าน SoChic...มุมสงบ อีกมุมหนึ่ง ของหนองคาย ชวนให้นึกถึงค�ำชื่นชมว่า “หนองคายเป็นเมืองน่าอยู่” จริงๆ

57

HOME CABLE TV MAGAZINE


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.