513

Page 1






บทบรรณาธิการ สวัสดีครับท่านสมาชิกที่เคารพรัก วารสารกรมบัญชีกลางที่อยู่ในมือท่านฉบับนี้ เป็นฉบับที่ 3 ของปี 2553 ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบ 120 ปี แห่ ง การสถาปนากรมบั ญ ชี ก ลาง และในโอกาสอั น สำคั ญ เช่ น นี้ วารสาร กรมบั ญ ชี ก ลางได้ รั บ เกี ย รติ เ ป็ น อย่ า งสู ง

จากท่านที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงิน การคลัง กรมบัญชีกลาง (ท่านมนัส แจ่มเวหา) ในฐานะประธานคณะกรรมการจั ด งาน 120 ปี กรมบัญชีกลาง ได้กรุณาให้สัมภาษณ์ ถึ ง กิ จ กรรมต่ า งๆ ที่ ก รมได้ จั ด ให้ มี ขึ้ น เช่ น การจั ด สร้ า งพระพุ ท ธสิ ท ธั ต ถศาสดา การจัดทำแสตมป์ เหรียญ และเหรียญกษาปณ์ ที่ ร ะลึ ก การจั ด ทำหนั ง สื อ ที่ ร ะลึ ก การจั ด เสวนาทางวิ ช าการ การออกร้ า นจำหน่ า ย สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การทำบุญ เลี้ ย งพระ การแข่ ง ขั น กี ฬ าภายใน และ การแข่ ง ขั น กี ฬ าเดิน - วิ่ง กรมบัญชีกลาง มิ นิ ม าราธอน ครั้ ง ที่ 10 ซึ่ ง ท่ า นสมาชิ ก วารสารสามารถเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมที่ ท่ า น สนใจได้ ต ามอั ธ ยาศั ย ครั บ ขอถื อ โอกาส ประชาสั ม พั น ธ์ เ รื่ อ งการจั ด สร้ า งพระพุ ท ธ สิทธัตถศาสดาอีกนิดครับ ทราบมาว่ามีการ

ทำพิ ธี ป ลุ ก เสกมวลสารที่ ใ ช้ ใ นการจั ด สร้ า ง พระรุ่ น นี้ ในวั น เสาร์ ที่ 20 มี น าคม 2553 ซึ่งวันดังกล่าวถือเป็นวันที่เป็นฤกษ์มหามงคล เสาร์ห้า มหาเศรษฐี โดยมีพระเกจิอาจารย์จาก ทั่วประเทศมาร่วมทำพิธีปลุกเสก และพระที่ จัดสร้างให้ผู้มีจิตศรัทธาเช่าบูชาจะมีทั้งที่เป็น พระพุ ท ธรู ป บู ช า พระกริ่ ง และพระเหรี ย ญ และขอกระซิบท่านสมาชิกวารสารนะครับว่า พระรุ่นนี้สร้างจำนวนจำกัดมากต้องรีบหน่อย นะครับ โดยรับสั่งจองตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และเช่นเคยครับวารสารฉบับนี้ยังคง มีบทความน่าสนใจจากผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน ได้ ก รุ ณ าส่ ง บทความวิ ช าการอั น มี ส าระ มานำเสนอแก่ท่านสมาชิกผู้อ่านอีกมากมาย เช่น เรื่องการประเมินประสิทธิภาพการบริหาร รายจ่ายภาครัฐกับเงินนอกงบประมาณ สำหรับ สมาชิ ก ที่ เ ป็ น กองทุ น หรื อ เงิ น ทุ น หมุ น เวี ย น ส่ ว นสมาชิ ก ที่ เ ป็ น นั ก บั ญ ชี จ ะมี เ รื่ อ งของการ เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม น่าติดตาม นะครับ พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ



6 บทบรรณาธิการ 11 20 29 41 47

บทความสัมภาษณ์พิเศษ

บทสัมภาษณ์ ประธานคณะกรรมการจัดงาน 120 ปี กรมบัญชีกลาง

บทความพิเศษ

การทำให้ระบบเศรษฐกิจไทย โตต่อเนื่อง ยั่งยืน และเท่าเทียม (ตอนที่ 2)

บทความการเงินการคลัง

หลักการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด การประเมินประสิทธิภาพการบริหารรายจ่ายภาครัฐ กับเงินนอกงบประมาณ บทบาทนักบัญชี : การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

นานาสาระ

52 ศัพท์การเงินการคลังน่ารู้ 55 คลายสงสัย 69 กฎหมายและระเบียบการคลังน่ารู้ ภาพ ข้อเขียน หรือบทความใดที่ได้นำลงในวารสารกรมบัญชีกลาง ขอสงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย หากผู้ใดประสงค์

นำไปตี พิ ม พ์ อ้ า งอิ ง หรื อ ประโยชน์ อั น ใดในสิ่ ง พิ ม พ์ อื่ น ต้ อ งขออนุ ญ าตต่ อ กองบรรณาธิ ก ารหรื อ ผู้ เ ขี ย นก่ อ น ข้ อ เขี ย น

หรือบทความที่ปรากฏในวารสารกรมบัญชีกลาง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีส่วนผูกพันกับกรมบัญชีกลางแต่อย่างใด อนึ่ง รายละเอียดต่างๆ ที่ปรากฏในวารสาร หากมีข้อผิดพลาดด้วยเหตุประการใดก็ตาม ทางวารสารกรมบัญชีกลาง

จะชี้แจงแก้ไขในฉบับถัดไป วารสารกรมบัญชีกลางนี้ เป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการกรมบัญชีกลาง



บทความสัมภาษณ์พิเ3ศษปีครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

เชิญบูชาวัตถุมงคล พระพุทธสิทธัตถศาสดา เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๒๐ ปี แห่งการสถาปนากรมบัญชีกลาง ๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ กรมบัญชีกลางได้จัดสร้างพุทธสิทธัตถศาสดา ซึ่งประทานพระนามโดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก มวลสารที่ใช้ในการสร้างได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษก

ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๓ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ (เสาร์ ๕) พร้อมทั้งแผ่นทอง

เงิน ทองแดง ที่ผ่านการลงอักขระจากพระเกจิอาจารย์ทั้งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ ครบทั้ง ๗๕ จังหวัด ตลอดจนมวลสารต่างๆ อีกมากมาย ประกอบพิธีเททองหล่อพระเมื่อ

วันพฤหัสบดีที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ โดยสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิต มหาสี ม าราม เป็ น ประธานฝ่ า ยสงฆ์ นายมนั ส แจ่ ม เวหา ที่ ป รึ ก ษาด้ า นพั ฒ นาระบบ

การเงิน การคลัง กรมบัญชีกลาง เป็นประธานฝ่ายฆราวาส โดยจะทำพิธีพุทธาภิเษกพระ

ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นพระอารามหลวง ประมาณเดือนกันยายน ๒๕๕๓

*รายละเอียดการสั่งจอง ดูได้จากท้ายเล่ม*

10วารสาร กรมบัญชีกลาง


งาน ฒ120 ปี จกรมบั บทความสัมภาษณ์พิเ3ศษปีครึ่ง บทสัมภาษณ์ ประธานคณะกรรมการจั กับดการพั นาภารกิ ... ญชีกลาง 3 ปีครึ่ง

โดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมบัญชีกลาง

บทสัมภาษณ์

ประธานคณะกรรมการจัดงาน 120 ปี กรมบัญชีกลาง

ท่านที่ปรึกษาฯมนัส แจ่มเวหา

เนื่องในโอกาสที่กรมบัญชีกลางจะมีอายุครบ 120 ปี ในวันที่ 7 ตุลาคม 2553 กรมบัญชีกลางได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานครบ รอบ 120 ปี กรมบัญชีกลาง โดยมีท่านที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการ เงินการคลัง (นายมนัส แจ่มเวหา) เป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้ มี ห น้ า ที่ พิ จ ารณาคั ด เลื อ กกิ จ กรรมที่ เ หมาะสมแต่ ง ตั้ ง คณะ อนุกรรมการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่คัดเลือก และอำนวยการให้การ ดำเนินงานสำเร็จลุล่วง เพื่อให้สมาชิกวารสารกรมบัญชีกลาง ได้รับทราบการจัด กิจกรรมเนื่องในโอกาส 120 ปี กรมบัญชีกลาง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมบั ญ ชี ก ลาง ได้ ข อสั ม ภาษณ์ ท่ า นที่ ป รึ ก ษาฯมนั ส แจ่ ม เวหา ประธานคณะกรรมการ ถึงการจัดกิจกรรม 120 ปี กรมบัญชีกลาง เพื่อที่จะนำมาเสนอให้กับผู้อ่านได้ทราบดังนี้ อยากจะทราบว่ า การจั ด กิ จ กรรมเนื่ อ งในโอกาส 120 ปี กรมบั ญ ชี ก ลาง มี วั ต ถุ ป ระสงค์ อ ย่ า งไร และมี กิ จ กรรม ที่น่าสนใจอะไรบ้าง การจั ด กิ จ กรรมในโอกาส 120 ปี ก รมบั ญ ชี ก ลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทบาทหน้าที่ของกรมบัญชีกลาง ด้านการบริหารจัดการด้านการคลังของประเทศและผลการ ดำเนินงานที่ผ่านมา รวมถึงแผนการพัฒนากรมบัญชีกลาง ในอนาคต

11

วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความสัมภาษณ์พิเ3ศษปีครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

แต่ โ ดยที่ ก ารจั ด งานครั้ ง นี้ ไ ม่ ไ ด้ ตั้ ง งบประมาณไว้ การจัดงานจึงต้องจัดในลักษณะ หาเงิ น รายได้ จ ากกิ จ กรรมกลุ่ ม หนึ่ ง ไปเป็ น ค่ า

ใช้จ่ายในกิจกรรมอีกกลุ่มหนึ่ง กิ จ กรรมที่ จ ะจั ด ในโอกาส 120 ปี

กรมบัญชีกลาง ประกอบด้วย 1. การจัดสร้างพระพุทธสิทธัตถศาสดา 2. การจั ด ทำแสตมป์ เหรี ย ญและเหรี ย ญ กษาปณ์ที่ระลึก 3. การจัดทำหนังสือที่ระลึก 4. การจัดกิจกรรมด้านวิชาการ 5. การแข่งขันกีฬาสีภายใน 6. การทำบุญเลี้ยงพระ 7. การจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ (OTOP) 8. การจัดกิจกรรม เดิน - วิ่ง มินิมาราธอน อยากจะขอความกรุ ณ าให้ ท่ า นช่ ว ย อธิบายถึงรายระเอียดของแต่ละกิจกรรม ว่ามีอย่างไรบ้าง สำหรับรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมมี

ดังนี้

12วารสาร กรมบัญชีกลาง

การจัดสร้างพระพุทธสิทธัตถศาสดา การจั ด สร้ า งพระพุ ท ธสิ ท ธั ต ถศาสดา มีการจัดสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในโอกาสครบรอบ 100 ปี กรมบัญชีกลาง เมื่อปี พ.ศ. 2533 โดย สมเด็ จ พระญาณสั ง วร สมเด็ จ พระสั ง ฆราช

สกลมหาสั ง ฆปริ ณ ายก ทรงประทานพระนาม ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม สำหรับ การจัดสร้างในครั้งนี้ มีคณะอนุกรรมการจัดสร้าง พระพุทธรูปบูชาเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ โดยคุณพิชิต อุ๋ยตระกูล คลังเขต 7 เป็นประธาน และการจัดสร้างครั้งนี้มีความพิเศษหลายประการ เริ่ ม จากการปลุ ก เสกมวลสารที่ ใ ช้ ใ นการสร้ า ง ได้ทำพิธีปลุกเสกในวันที่ 20 มีนาคม 2553 อันเป็น วันมหามงคลเสาร์ห้า คือ วันเสาร์ ขึ้นหรือแรม 5 ค่ ำ เดื อ น 5 ซึ่ ง โอกาสที่ จ ะเกิ ด วั น เสาร์ ห้ า

นั้นเกิดได้ยาก ตามคติความเชื่อของโบราณเชื่อว่า ดาวเสาร์เป็นดาวแห่งความเข้มแข็ง และมีพลังมาก หากมี ก ารประกอบพิ ธี พุ ท ธาภิ เ ษกวั ต ถุ ม งคล ในวั น เสาร์ ห้ า จะมี พุ ท ธคุ ณ ด้ า นคงกระพั น และ แคล้ ว คลาดมากกว่ า วั น ปกติ “และวั น ที่ 20

มีนาคม 2553 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำเดือน 5


บทสัมภาษณ์ ประธานคณะกรรมการจั งาน ฒ120 ปี จกรมบั กับดการพั นาภารกิ ... ญชีกลาง 3 ปีครึ่ง

ฤกษ์มหามงคลเสาร์ห้า มหาเศรษฐี 100 ปี มีครั้งเดียว” นอกจากนั้นยังมี การลงอักขระในแผ่นทอง เงินและทองแดง โดยพระเกจิอาจารย์ หรือพระ ที่ประชาชนเคารพนับถือ ทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ครบทั้ง 75 จั ง หวั ด นำมาร่ ว มเป็ น มวลสารด้ ว ย และได้ ท ำพิ ธี เ ททองหล่ อ พระ เป็ น ที่ เ รี ย บร้ อ ยแล้ ว เมื่ อ วั น พฤหั ส บดี ที่ 6 พฤษภาคม 2553 มี

ท่ า นเจ้ า ประคุ ณ สมเด็ จ พระมหามุ นี ว งศ์ เจ้ า อาวาสวั ด ราชบพิ ธ สถิ ต

มหาสีมาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และท่านอธิบดีได้มอบหมายให้ผม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส โดยจะทำพิธีพุทธาภิเษกพระ ณ วัดราชบพิธ สถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นพระอารามหลวง ประมาณเดือนกันยายน 2553 ในการจัดสร้างครั้งนี้ ได้จัดสร้างพระพุทธรูปบูชาขนาดหน้าตักกว้าง 12 นิ้ว จำนวน 9 องค์ สำหรับไว้ประจำสำนักงานคลังเขต ทั้ง 9 เขต และสำหรับ ให้เช่าบูชา ขนาดหน้าตักกว้าง 5.9 นิ้ว จำนวน 999 องค์ ราคาองค์ละ 3,999 บาท ขนาดหน้าตักกว้าง 3 นิ้ว จำนวน 1,999 องค์ ราคาองค์ละ 2,999 บาท พระกริ่งขนาด 3 เซนติเมตร จำนวน 9,999 องค์ ราคาองค์ละ 299. บาท และพระเหรียญขนาด 3 เซนติเมตร จำนวน 19,999 เหรียญ ราคาเหรียญละ 99 บาท ขณะนี้ได้เปิดให้จองแล้วและจะปิดรับจองในวันที่ 30 กรกฎาคม 2553

13

วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความสัมภาษณ์พิเ3ศษปีครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

การจัดทำแสตมป์ เหรียญและเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก

การจั ด ทำแสตมป์ เหรี ย ญและเหรี ย ญกษาปณ์ ที่ ร ะลึ ก มี คณะอนุกรรมการจัดทำเหรียญ แสตมป์และของที่ระลึกรับผิดชอบในการ ดำเนินการ โดยมี คุณสุวิภา สุขวณิชนันท์ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐาน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ เป็นประธาน การจัดทำ แสตมป์ที่ระลึก ได้ให้ บริ ษั ท ไปรษณี ย์ ไ ทย จำกั ด เป็ น ผู้ ผ ลิ ต เป็ น แสตมป์ ช นิ ด ราคาดวงละ 3 บาท มีการจัดพิมพ์ทั้งสิ้น 7 แสนดวง โดยกรมบัญชีกลางจะรับซื้อไว้เอง 2 แสนดวง ซึ่งในส่วนนี้จะนำมาให้บุคลากรของกรมบัญชีกลางได้ซื้อเก็บเอา ไว้เป็นที่ระลึก ส่วนที่เหลืออีก 5 แสนดวง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

จะกระจายไปยังที่ทำการไปรษณีย์ต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อจำหน่ายให้แก่ ประชาชนผู้สนใจทั่วไป กำหนดวันแรกจำหน่ายตรงกับวันคล้ายวันสถาปนา กรมบัญชีกลาง วันที่ 7 ตุลาคม 2553ส่วนเหรียญที่ระลึก ได้ให้กรมธนารักษ์ เป็นผู้ดำเนินการผลิต มีการผลิต 2 ประเภท คือ เหรียญที่ระลึก เป็นเหรียญ ทองแดงรมดำพ่นทราย ด้านหน้าเหรียญเป็นพระบรมรูปรัชกาลที่ 9 ปั้มนูน ด้านหลังเป็นตราสัญลักษณ์กรมบัญชีกลาง มีข้อความ “ครบรอบ 120 ปี กรมบัญชีกลาง” และ “7 ตุลาคม 2553” มี 3 ขนาด คือ ขนาด 35 มม. ราคา 120 บาท ขนาด 50 มม. ราคา 820 บาท และขนาด 70 มม. ราคา 1,200 บาท และเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนที่ระลึก เป็นเหรียญกษาปณ์ โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ชนิดราคา 10 บาท โดยมีรูปแบบเช่นเดียวกับ เหรียญที่ระลึก

14วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทสัมภาษณ์ ประธานคณะกรรมการจั งาน ฒ120 ปี จกรมบั กับดการพั นาภารกิ ... ญชีกลาง 3 ปีครึ่ง

การจัดทำหนังสือที่ระลึก การจัดทำหนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 120 ปี กรมบัญชีกลาง มีคณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือที่ระลึกครบรอบ 120 ปี กรมบัญชีกลาง เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ โดยมี คุณสุทธิรัตน์ รัตนโชติ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นประธาน เนื้อหา ของหนังสือจะแบ่งออกเป็น 2 ภาค ภาคที่ 1 “120 ปี กรมบัญชี กลาง” มีทั้งหมด 4 บท ประกอบด้วย บทที่ 1 : ปฏิรูปการเงินการ คลังสยามสู่ความไพบูลย์ บทที่ 2 : สร้างฐานงานคลังทั่วแผ่นดิน บทที่ 3 : พัฒนากลไก เสริมสร้างเศรษฐกิจไทย และบทที่ 4 : นำการ บริหารการเงินการคลังของชาติในโลกาภิวัฒน์ ในภาคนี้จะเป็นการ เล่ า เรื่ อ งของกรมบั ญ ชี ก ลางตั้ ง แต่ ก่ อ นจะเกิ ด เป็ น กรมบั ญ ชี ก ลาง จนถึงปัจจุบัน ว่ามีวิวัฒนาการมาอย่างไร ส่วนภาคที่ 2 “กรมบัญชี กลาง ปีที่ 120 จากวันนี้...สู่อนาคต” มีทั้งหมด 4 บท ประกอบด้วย บทที่ 5 : รุก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม บทที่ 6 : สร้าง ดุลยภาพ เพื่อเสถียรภาพ บทที่ 7 : มั่นคงด้วยปณิธานเที่ยงธรรม และบทสรุป : ก้าวไปข้างหน้า...บนเส้นทางสู่ความยั่งยืน ในภาคนี้จะ เป็ น การบอกกล่ า วว่ า กรมบั ญ ชี ก ลางจะดำเนิ น การต่ อ ไปอย่ า งไร เพื่อสนับสนุนให้การพัฒนาประเทศเติบโตอย่างยั่งยืน

15

วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความสัมภาษณ์พิเ3ศษปีครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

การจัดกิจกรรมด้านวิชาการ การจัดกิจกรรมด้านวิชาการ มีคณะอนุกรรมการจัดกิจกรรมด้านวิชาการ เป็นผู้ดำเนินการ คุณสุธีรา ทั่วประโคน ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรด้าน การคลังและบัญชีภาครัฐ เป็นประธาน มีการจัดเสวนา 2 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 1 จัดใน วันที่ 8 กรกฎาคม 2553 ณ ห้องประชุมชั้น 7 กรมบัญชีกลาง เป็นการเสวนา ในหัวข้อ “กรมบัญชีกลาง รำลึกอดีต ดูปัจจุบัน วาดฝันสู่อนาคต” โดยเชิญ ปลัดกระทรวงการคลังมาเป็นประธานในการเปิดงาน เชิญผู้บริหารทั้งในอดีต

และปัจจุบันมาร่วมเสวนา เป็นการมาเล่าหรือพูดคุยให้ฟังถึงความยิ่งใหญ่ของ กรมบัญชีกลางในอดีตจนถึงปัจจุบัน ว่ามีการคงอยู่หรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ส่ ว นอนาคตจะเดิ น หรื อ ควรจะเดิ น ไปในทิ ศ ทางไหนและจะต้ อ งทำอย่ า งไร โดยมี บุ ค ลากรของกรมฯ ทั้ ง ส่ ว นกลางและส่ ว นภู มิ ภ าคเข้ า ร่ ว มฟั ง การเสวนา ส่วนครั้งที่ 2 จัดในวันที่ 10 กันยายน 2553 ณ โรงแรมระดับมาตรฐานในกรุงเทพฯ เป็ น การเสวนาในหั ว ข้ อ “120 ปี ก รมบั ญ ชี ก ลาง จากวั น นี้ . ..สู่ อ นาคต”

โดยเชิญฯพณฯนายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานในการเปิดงาน เชิญรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังทั้งในอดีตและปัจจุบันมาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็ น การเผยแพร่ บทบาทหน้าที่ของกรมบัญชีกลางด้านการบริหารจัดการด้าน การคลั ง ของประเทศและผลการดำเนิ น งานที่ ผ่ า นมา รวมถึ ง แผนการพั ฒ นา กรมบั ญ ชี ก ลางในอนาคต โดยมี หั ว หน้ า ส่ ว นราชการและหน่ ว ยงานภาครั ฐ แขกผู้มีเกียรติ สื่อมวลชน บุคลากรกรมบัญชีกลางเข้าร่วมฟังการเสวนา โดยทั้ง

2 ครั้ง จะมีการนำเสนอแผนแม่บท “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงิน

ภาครัฐ” และจะใช้พิธีกรมืออาชีพเป็นผู้ดำเนินรายการ

16วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทสัมภาษณ์ ประธานคณะกรรมการจั งาน ฒ120 ปี จกรมบั กับดการพั นาภารกิ ... ญชีกลาง 3 ปีครึ่ง

การแข่งขันกีฬาสีภายใน การแข่ ง ขั น กี ฬ าสี ภ ายใน เป็ น การแข่ ง ขั น ที่ มิ ไ ด้ มุ่งหวังแต่ผลแพ้ชนะ แต่มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ สร้ า งความรั ก สามั ค คี ข องบุ ค ลากรภายในกรม มี ค ณะ อนุ ก รรมการจั ด การแข่ ง ขั น กี ฬ าสี ภ ายในกรมบั ญ ชี ก ลาง เป็นผู้ดำเนินการ คุณสุวัฒน์ ปิ่นนิกร ผู้อำนวยการสำนัก ความรับผิดทางแพ่ง เป็นประธาน แบ่งออกเป็น 4 สี คือ ส้ม เขียว ม่วง ฟ้า มีรองอธิบดีแต่ละท่าน เป็นหัวหน้าสี ซึ่งได้มีการจับสลากแบ่งสีและมอบธงสีให้กับหัวหน้าสีแต่ละสี ไปแล้ ว ผมเป็ น ประธานในการจั บ สลากเมื่ อ วั น ที่ 18 มิ ถุ น ายน 2553 ท่ า นรองฯอุ ไ ร ร่ ม โพธิ ห ยก สี ม่ ว ง

ท่านรองฯสุทธิรัตน์ รัตนโชติ สีส้ม ท่านรองฯจินดา สังข์ศรี อิ น ทร์ สี ฟ้ า และท่ า นรองฯณพงศ์ ศิ ริ ขั น ตยกุ ล สี เ ขี ย ว สมาชิกของแต่ละสีประกอบด้วยบุคลากรทั้งส่วนกลางและ ภูมิภาคที่อยู่และไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของแต่ละท่าน คละกั น ไปในจำนวนที่ ใ กล้ เ คี ย งกั น มี 6 ชนิ ด กี ฬ า คื อ

ฟุ ต ซอล เปตอง แชร์ บ อล แบดมิ น ตั น กอล์ ฟ และกี ฬ า พื้นบ้าน ซึ่งกีฬาบางชนิดจะเริ่มการแข่งขันประมาณต้นเดือน กั น ยายน และชิ ง ชนะเลิ ศ ในวั น ที่ 8 ตุ ล าคม 2553 นอกจากนั้นยังมีการประกวดกองเชียร์และเชียร์ลีดเดอร์ด้วย

17

วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความสัมภาษณ์พิเ3ศษปีครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

พิธีทำบุญเลี้ยงพร พิธีทำบุญเลี้ยงพระเรามีการจัดเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 7 ตุลาคม ซึ่งตรงกับวันสถาปนากรม โดยมี บุ ค ลากรของกรมบั ญ ชี ก ลางทั้ ง อดี ต และปั จ จุ บั น ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติ มาร่วมทำบุญกันอย่างคับคั่ง นอกจากนั้น ในงานนี้ยังมีการมอบรางวัลข้าราชการ ดีเด่นของกรมฯทั้งส่วนกลางและภูมิภาคด้วย

การออกร้านจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การออกร้านจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของสำนักงานคลังเขต/คลังจังหวัด งานนี้ เป็นการขอความร่วมมือจากคลังเขตและคลังจังหวัดทุกท่าน ให้คัดสรรสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดั บ 4 - 5 ดาว ของแต่ ล ะจั ง หวั ด มาให้ บ ริ ก ารกั บ ผู้ ที่ ม าร่ ว มงานวั น คล้ า ยวั น สถาปนา กรมบัญชีกลางได้จับจ่ายใช้สอย สร้างความคึกคักให้กับงานเป็นอย่างมาก ในปีที่ผ่านมามีกระแสตอบรับ เป็นอย่างดี สำหรับปีนี้จะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้ากันในวันที่ 7 - 8 ตุลาคม 2553

18วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทสัมภาษณ์ ประธานคณะกรรมการจั งาน ฒ120 ปี จกรมบั กับดการพั นาภารกิ ... ญชีกลาง 3 ปีครึ่ง

เดิน - วิ่ง กรมบัญชีกลาง มินิมาราธอน ครั้งที่ 10 กิ จ กรรมเดิ น - วิ่ ง กรมบั ญ ชี ก ลางมิ นิ มาราธอน มีการจัดมาแล้ว 9 ครั้ง ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 10 ตรงกั บ วั น อาทิ ต ย์ ที่ 10 ตุ ล าคม 2553 ณ บริ เ วณ กระทรวงสาธารณสุข และในงานนี้นอกจากท่านจะได้ เสื้ อ และเหรี ย ญที่ ร ะลึ ก แล้ ว ยั ง มี ถ้ ว ยรางวั ล สำหรั บ ผู้เข้าเส้นชัยในแต่ละรุ่นและของรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่ ง ทั้ ง 3 กิ จ กรรมหลั ง นี้ คุ ณ สมโภชน์

ศิ ริ วั ฒ น์ ชั ย พร เลขานุ ก ารกรมบั ญ ชี ก ลาง ท่ า นเป็ น แม่งานในการดำเนินการและประสานงาน สุดท้ายนี้ท่านมีอะไรอยากจะฝากกับท่านผู้อ่านบ้างหรือไม่ สำหรับท่านใดที่สนใจจะเช่าบูชาพระพุทธสิทธัตถศาสดา แสตมป์และเหรียญที่ระลึก 120 ปี

กรมบัญชีกลาง หรือต้องการเข้าร่วมกิจกรรมเดิน-วิ่ง กรมบัญชีกลางมินิมาราธอน สามารถติดต่อ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเลขานุการกรม กรมบัญชีกลาง สำนักงานคลังเขต และสำนักงานคลังจังหวัด ทั่วประเทศ หรือเว็บไซต์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th แบนเนอร์ “120 ปี กรมบัญชีกลาง” ขอขอบพระคุ ณ ท่ า นที่ ป รึ ก ษาด้ า นพั ฒ นาระบบการเงิ น การคลั ง (นายมนั ส

แจ่มเวหา) เป็นอย่างสูงที่ได้ให้โอกาสทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ ได้มาสัมภาษณ์ท่านในครั้งนี้ และขออนุญาตนำบทสัมภาษณ์นี้ลงพิมพ์ในวารสารกรมบัญชีกลาง ฉบับที่ 3 ปี 2553 ด้วยนะครับ สวัสดีครับ

19

วารสาร กรมบัญชีกลาง


3 ปีครึ่ง

บทความพิเศษ

กับการพัฒนาภารกิจ...

โดย ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

เศรษฐกิจไทย

การทำให้ระบบ

โตต่อเนื่อง ยั่งยืนและเท่าเทียม

(ตอนที่ 2)

จากฉบับที่แล้ว ที่ได้กล่าวถึงการทำให้ระบบเศรษฐกิจไทย โตต่ อ เนื่ อ ง ยั่ ง ยื น และเท่ า เที ย ม ผ่ า นไป 6 หั ว ข้ อ แล้ ว ฉบั บ นี ้

จะกล่าวเพิ่มอีก 6 หัวข้อ ดังนี้ 7 การค้าต่างตอบแทน หากเราไม่ พ ร้ อ มที่ จ ะใช้ น โยบายค่ า เงิ น บาทอ่ อ นกว่ า

ความเป็นจริง และไม่สามารถชักชวนให้ผู้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีสูงๆ ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศได้ เราก็อาจใช้กรอบคิดในการ แลกเปลี่ยนสินค้า (Barter Trade) ที่รัฐบาลเคยใช้เป็นนโยบาย ซึ่ ง อาจเรี ย กว่ า Basket of Commodity Currency Model เนื่องจากเป็นการสร้างกรอบความคิดใหม่ในการซื้อสินค้านำเข้า ของรัฐบาล

20วารสาร กรมบัญชีกลาง


การทำให้ระบบเศรษฐกิ ยั่งยืฒนนาภารกิ และเท่จา...เทียม ตอนที่ 2 3 ปีคจไทย รึ่ง โตต่อเนืกั่อบงการพั

ตัวอย่างเช่น การซื้อระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์และสินค้าเทคโนโลยีสูงอื่นๆ รั ฐ บาลไทยจะจ่ า ยเงิ น ในรู ป ของสิ น ค้ า เกษตร แบบต่างๆ อาจเรียกว่า Commodity Currencies การจ่ายเงินในรูปสินค้านั้น ไม่ต้องแลกสินค้าในปี เดี ย วกั น แต่ ล งบั ญ ชี กั น ไว้ (Account Trade) เมื่อถึงเวลาที่จ่ายเป็นสินค้าเกษตร ก็ใช้ราคาตลาด โลกในช่ ว งนั้ น ๆ ดั ง นั้ น ทฤษฎี นี้ จ ะไม่ ท ำให้ ประเทศไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระยะยาว ประเทศคู่ค้าเองก็ได้ประโยชน์ เพราะต้องซื้อสินค้า เกษตรอยู่ แ ล้ ว เพี ย งแต่ ม าซื้ อ จากประเทศไทย ในราคาตลาดโลก การซื้อสินค้านำเข้าโดยจ่ายด้วย Basket of Commodity Currencies จะทำให้เรามั่นใจได้ ว่าจะไม่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จึงไม่ทำให้เป็นหนี้ ต่างประเทศเพิ่มขึ้น และยังมั่นใจได้ว่าการส่งออก ของเราจะเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่ม GDP โดยตรง ทำให้ ป ระเทศมี อั ต ราความเจริ ญ เติ บ โตทาง เศรษฐกิจสูงขึ้น พัฒนาได้เร็วขึ้น ทำให้ประชาชนมี ฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น ปัญหาทางปฏิบัติของ Account Trade ในปั จ จุ บั น ก็ คื อ บริ ษั ท ที่ ท ำ Account Trade มักไปซื้อ Invoices การส่งออกจากบริษัทไทยที่ ส่งออกอยู่แล้ว ทำให้ Account Trade ตามวิธี ปฏิบัติในปัจจุบัน ไม่ทำให้การส่งออกสินค้าและ บริ ก ารของไทยเพิ่ ม ขึ้ น รั ฐ บาลจึ ง ควรปรั บ ปรุ ง วิ ธี ก ารปฏิ บั ติ ใ ห้ ส อดคล้ อ งกั บ ทฤษฎี Account Trade เพื่ อ ให้ มี ก ารเพิ่ ม การส่ ง ออกสิ น ค้ า และ บริการ และทำให้ขนาด GDP เพิ่มขึ้น มิฉะนั้น ทฤษฎี Account Trade จะไม่เป็นผลในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ผู้ขายเทคโนโลยีของโลก ไม่ ช อบวิ ธี ก ารแลกสิ น ค้ า อยากได้ เ ป็ น เงิ น ตรา ต่ า งประเทศมากกว่ า วิ ธี ก าร Account Trade

จึงอาจทำให้เราซื้อสินค้าราคาแพงขึ้น เพราะผู้ขาย ต้องคิดค่าจ้างให้ผู้อื่นไปขายสินค้าเกษตรให้เรา ด้วย Account Trade จึงอาจกลายเป็นข้อจำกัด ทำให้ได้สินค้าไม่ดีแต่ราคาแพง มาแลกเปลี่ยน สินค้าเกษตรของไทย นอกจากนี้ สินค้าเกษตรของ เราส่วนใหญ่ก็ขายได้อยู่แล้ว ณ ราคาตลาดโลก จึงอาจไม่จำเป็นต้องทำ Account Trade ก็ได้ โดยเราอาจขายสินค้าเองได้เงินตราต่างประเทศ เพื่ อ มาซื้ อ สิ น ค้ า นำเข้ า ที่ มี ร าคาและคุ ณ ภาพที่ ดี ตามระบบการค้าเสรี อาจให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า 8 การสร้างความเท่าเทียมกันทาง เศรษฐกิจ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตรา สูงอย่างเดียว ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าประชาชนจะ มี ร ายได้ แ ละทรั พ ย์ สิ น เท่ า เที ย มกั น และความ ยากจนจะหมดไปจากประเทศ ดังนั้น รัฐบาลจึง ควรกำหนดเป็นนโยบายหลักในการแก้ไขปัญหา ความยากจนและการสร้างการกระจายรายได้ที่ เท่าเทียมกัน ในส่วนนี้ผู้เขียนจะนำเสนอภาพและ วิ ธี ก ารแก้ ไ ขปั ญ หาความยากจนเป็ น หลั ก ซึ่งจะทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในการกระจาย รายได้ด้วย ธนาคารโลกได้ศึกษาและพบว่า ประเทศ ที่ ส ามารถแก้ ไ ขปั ญ หาความยากจนและสร้ า ง ความเท่าเทียมกันในรายได้ของประชาชนได้ดีนั้น รั ฐ บาลจะต้ อ งมี ค วามมุ่ ง มั่ น ตั้ ง ใจทางการเมื อ ง อย่ า งแท้ จ ริ ง รั ฐ บาลจะต้ อ งถื อ ว่ า การแก้ ไ ข ปั ญ หาความยากจนเป็ น นโยบายหลั ก โดยมี กลุ่มเป้าหมายคนยากจนอย่างชัดเจน ปัญหาความยากจนนั้นจะดูได้จาก (1) การไม่มีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพอย่าง

21

วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความพิเศษ

3 ปีครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

เพี ย งพอ (2) ทารกแรกเกิ ด มี อั ต ราการตายสู ง (3) อายุ ขั ย โดยเฉลี่ ย ของประชากรต่ ำ และ (4) ประชาชนมีโอกาสทางการศึกษาขั้นมูลฐาน น้อย โดยปัญหาเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะพบในประเทศ ที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ อย่างไรก็ตาม แม้ในประเทศ ที่ มี ศั ก ยภาพทางเศรษฐกิ จ ที่ ดี ก็ ยั ง มี ปั ญ หา ความยากจนด้วย ลั ก ษณะของปั ญ หาความยากจนโดย ทั่ ว ไปจะแตกต่ า งกั น ในแต่ ล ะประเทศ แต่ จ ะมี ลักษณะทั่วๆไปที่คล้ายกันอย่างน้อย 3 ประการ คื อ (1) ปั ญ หาความยากจนจะอยู่ ใ นภาค การเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะอยู่ในหมู่คนที่มี ที่ ดิ น น้ อ ยหรื อ ไม่ มี ที่ ดิ น เลย (2) ปั ญ หา ความยากจนจะรุนแรงในเขตชนบท โดยปัญหา ความยากจนในเมืองได้เริ่มมีเพิ่มขึ้น เนื่องจาก การเคลื่อนย้ายของคนยากจนเข้าสู่ตัวเมือง และ (3) ปัญหาความยากจนมักเกิดขึ้นกับครอบครัว

ที่มีขนาดใหญ่ เพราะเงินเดือนจะหมดไปเพื่อใช้ ในการบริโภค เราจึ ง ควรทำความเข้ า ใจว่ า ปั ญ หา ความยากจนนั้ น เป็ น ปั ญ หาที่ เ กิ ด จากความ ไม่ เ ท่ า เที ย มกั น ในเชิ ง โครงสร้ า งทางเศรษฐกิ จ สังคม เชื้อชาติ การเมือง และกฎหมาย ความ ไม่เท่าเทียมกันนี้มีตั้งแต่แรกเกิด การแก้ไขปัญหา ความยากจนจึงต้องแก้ที่โครงสร้างดังกล่าวข้างต้น ความเข้าใจเดิมๆ ที่ว่าความยากจนเกิดจากความ เกี ย จคร้ า น การใช้ จ่ า ยสุ รุ่ ย สุ ร่ า ย ความงมงาย การขาดการอดออม อาจมีส่วนอยู่บ้าง แต่ภาพที่ เห็นเหล่านี้มิใช่เหตุแรกเริ่มที่ทำให้เกิดความยากจน สิ่งเหล่านี้เป็นผลมาจากความยากจนโดยโครงสร้าง แต่ เ มื่ อ เกิ ด ผลดั ง กล่ า วแล้ ว ก็ ยิ่ ง ทำให้ เ กิ ด ความยากจนมากยิ่งขึ้นอีก วนเวียนเป็นวงจรแห่ง ความยากจนไม่มีที่สิ้นสุด

22วารสาร กรมบัญชีกลาง

9 การแก้ ไ ขปั ญ หาความยากจน เชิงเศรษฐกิจ ประเทศต่างๆ ที่ประสบผลสำเร็จในการ แก้ ไ ขปั ญ หาความยากจน มั ก ใช้ ยุ ท ธศาสตร์

สำคัญ 3 ประการ คือ (1) การทำให้ ผ ลิ ต ภาพของแรงงาน (Labor Productivity) สูงขึ้น ซึ่งสามารถทำได้โดย (ก.) การพัฒนาความรู้ความสามารถของแรงงาน (Human Resource Development) (ข.) การเพิ่ม โครงสร้ า งบริ ก ารพื้ น ฐาน (Infrastructure Improvement) (ค.) การเพิ่มการใช้เทคโนโลยีใน การผลิ ต (Technology Improvement) และ (ง.) การลดการนำเข้าแรงงานไร้ฝีมือจากประเทศ เพื่อนบ้าน (Import Control of Unskilled Labor) หลักการก็คือ รัฐบาลจะต้องพยายามที่ จะเปลี่ยนเวลาของแรงงานของคนยากจนที่เก็บ

ไม่ได้และสูญเปล่าไปในแต่ละวันให้เป็นผลผลิต (GDP) และทรัพย์สิน (Wealth) ที่สามารถเก็บออม ได้ และต้องเพิ่มคุณภาพของแรงงานในคนยากจน เหล่านั้นให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ โดยให้การศึกษาและ การฝึกอบรม หากรัฐบาลไม่สร้างงานให้คนยากจน และไม่ พั ฒ นาความสามารถของคนยากจน นอกจากรายได้ของคนยากจนจะไม่เพิ่มขึ้นแล้ว เขาเหล่านั้นยังต้องบริโภค ซึ่งจะเป็นภาระต่อระบบ เศรษฐกิ จ และสั ง คม ทำให้ ป ระเทศเป็ น หนี้ แ ละ ยากจนลงอีกด้วย รัฐบาลต้องทำให้สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวคนยากจนให้สามารถสร้างความสะดวกและเพิ่ม ผลิ ต ภาพของเขาได้ ม ากยิ่ ง ขึ้ น โดยการพั ฒ นา โครงสร้ า งบริ ก ารพื้ น ฐาน เช่ น ถนน แหล่ ง น้ ำ โครงข่ า ยโทรคมนาคมสื่ อ สาร และการขนส่ ง มวลชน


การทำให้ระบบเศรษฐกิ ยั่งยืฒนนาภารกิ และเท่จา...เทียม ตอนที่ 2 3 ปีคจไทย รึ่ง โตต่อเนืกั่อบงการพั

รั ฐ บาลต้ อ งพยายามจำกั ด การนำเข้ า แรงงานไร้ฝีมือจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อผลักดัน ให้ มี ก ารเพิ่ ม เทคโนโลยี ก ารผลิ ต ในชาติ อ ย่ า ง ต่ อ เนื่ อ ง ซึ่ ง จะทำให้ ค่ า แรงงานสู ง ขึ้ น ไปเรื่ อ ยๆ หากมี ก ารขาดแคลนแรงงานคนไทยในสาขาใด ผู้ลงทุนต้องแก้ไขโดยเพิ่มเทคโนโลยี ทำให้แรงงาน คนไทยที่มีอยู่มีผลิตภาพ (Labor Productivity) สูงขึ้น ทำให้รายได้มากขึ้น หากไม่มีการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีการผลิต ค่าแรงงานจะเพิ่มได้น้อยมาก ความยากจนในประเทศจะไม่หมดไป หากผู้ลงทุน อ้างว่าการขึ้นค่าแรงงานคนไทยจะทำให้เขาอยู่ไม่ ได้ แสดงว่าเทคโนโลยีของเขาล้าสมัยแล้ว เขาควร ย้ายการผลิตไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันรัฐบาลไทยยังนำเข้าแรงงานไร้ ฝีมือจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นจำนวนมาก ทำให้ ไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตในประเทศเท่าที่ ควร ค่าแรงงานคนไทยจึงเพิ่มขึ้นช้า การเคลื่อน ย้ า ยแรงงานจากภาคการเกษตรมาสู่ ภ าค อุตสาหกรรมและบริการจึงมีน้อยกว่าที่ควร ทำให้ มีคนยากจนมากกว่าที่ควรจะเป็นด้วย (2) การทำให้ระบบเศรษฐกิจเจริญเติบโต ในอั ต ราสู ง (High Economic Growth Rate) คนยากจนที่ ไ ด้ รั บ การพั ฒ นาผลิ ต ภาพแล้ ว จะสามารถหางานทำได้ก็ต่อเมื่อประเทศมีความ ต้องการแรงงาน มีความต้องการผลผลิต เราจะ แก้ไขปัญหาความยากจนไม่ได้ หากประเทศไม่มี ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือมีความเจริญ เติบโตในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราการเพิ่มของประชากร ระบบเศรษฐกิจที่เจริญเติบโตในอัตราสูง จะเพิ่ม ช่องทางและรายได้ให้แรงงาน ทำให้เกิดการพัฒนา ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ เป็ น ผลให้ ร ายได้ ข องแรงงาน เพิ่มขึ้นได้รวดเร็ว จึงมีการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มี ความสามารถน้อยกว่าไปทดแทนแรงงานที่ก้าว

เข้ า สู่ ภ าคที่ มี ก ารพั ฒ นาเทคโนโลยี สู ง กว่ า อย่ า ง ต่อเนื่อง แทนที่กันไปเป็นชั้นๆ วิธีการนี้จึงเป็น ปัจจัยหลักในการเพิ่มรายได้ของคนยากจนให้สูงขึ้น ดังนั้น การสร้างความเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิ จ และการลงทุ น ในทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ไ ป พร้ อ มๆ กั น จะเป็ น ปั จ จั ย ที่ ส ำคั ญ ในการแก้ ไ ข ปัญหาความยากจน ในบางประเทศ เช่น ศรีลังกา มีการพัฒนาคุณภาพประชากรไปก่อน แต่ระบบ เศรษฐกิจเติบโตช้าเกินไป ทำให้ไม่สามารถแก้ไข ปัญหาความยากจนได้ ในกรณีประเทศบราซิลและ ปากีสถาน มีการเน้นการสร้างความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีการพัฒนา คุณภาพแรงงาน ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความ ยากจนได้เช่นกัน (3) การจัดหาบริการทางสังคมให้กับกลุ่ม คนยากจนโดยตรง (Direct Provision of Social Services) ในด้านรายจ่ายที่จำเป็นของคนยากจน ได้แก่ การรักษาพยาบาล การศึกษา การวางแผน ครอบครั ว รั ฐ บาลจะต้ อ งจั ด งบประมาณอย่ า ง เพี ย งพอในการจั ด หาบริ ก ารทางสั ง คมดั ง กล่ า ว ให้ กั บ คนยากจน โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในชนบท โดยหลั ก การแล้ ว การจั ด การศึ ก ษาและการ สาธารณสุขให้ถึงมือผู้ยากจนอย่างแท้จริง จะสร้าง ประโยชน์ ต่ อ ระบบเศรษฐกิ จ ส่ ว นรวมอย่ า งมาก เนื่ อ งจากการศึ ก ษาและสุ ข ภาพที่ ดี จ ะช่ ว ยเพิ่ ม ผลผลิตของแรงงาน และเร่งความเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจได้ การวางแผนครอบครัวก็เป็นปัจจัยที่ สำคัญมากในการแก้ไขปัญหาความยากจน การที่ มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 3 - 4 ต่อปี จะทำให้ประเทศไม่สามารถมีเงินออมที่จะใช้เพิ่ม การลงทุนให้เพียงพอกับการเพิ่มของประชากรได้ เป็ น ผลให้ ค่ า แรงงานต่ ำ ลง และปั ญ หาความ ยากจนกลับรุนแรงยิ่งขึ้น

23

วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความพิเศษ

3 ปีครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

10 การสร้างโอกาสให้กับผู้ยากจน การเพิ่มรายได้ของผู้ยากจนนั้น นอกจาก จะต้องมีการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในอัตราที่สูงแล้ว รัฐบาลยังต้องมีนโยบายในพื้นที่ เป้าหมายอีก 2 ประการ คือ (1) นโยบายพัฒนาชนบท โดยจะต้อง (ก.) เร่ ง การพั ฒ นาโครงสร้ า งบริ ก ารพื้ น ฐานใน ชนบทให้มีความสะดวกและลดต้นทุนในการผลิต (ข.) ส่งเสริมและเผยแพร่เพื่อให้เกษตรกรรายย่อย สามารถนำเทคโนโลยี ใ หม่ ๆ มาใช้ ไ ด้ ม ากขึ้ น

(ค.) ออกเอกสารสิทธิ์ทางกฎหมาย เช่น การออก โฉนดที่ดินให้แก่คนยากจน ทำให้มีทรัพย์สินที่มีค่า มากขึ้นกว่าเอกสารสิทธิ์ที่ดินชนิดอื่นๆ ทำให้มีการ พัฒนาที่ดินและสามารถใช้ที่ดินค้ำประกันสินเชื่อ ได้ (ง.) สร้ า งความเชื่ อ มโยงจากการผลิ ต ใน ภาคการเกษตรไปสู่การตลาดในภาคบริการ และ (จ.) พั ฒ นาสถาบั น การเงิ น ของรั ฐ ในชนบท เช่น ธกส. ธนาคารออมสิน ให้เป็นแหล่งเงินทุน หมุนเวียนที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราการกู้ยืม จากพ่อค้าท้องถิ่น (2) นโยบายสร้างงานในเมือง รัฐบาลจะ ต้องวางยุทธศาสตร์ให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน ในภาคการเกษตรไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการ เพราะผลตอบแทนของแรงงานในภาคอุตสาหกรรม และบริการดีกว่าของภาคการเกษตรถึงกว่า 2 เท่า โดยรั ฐ บาลจะต้ อ งเร่งปรับปรุงโครงสร้างบริการ พื้ น ฐานในเขตเมื อ งให้ เ หมาะสม ตลอดจนการ ส่ ง เสริ ม การฝึ ก อบรมและฝึ ก อาชี พ ให้ แ รงงาน ในเมืองให้สามารถปรับเปลี่ยนต่อการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีที่รวดเร็วได้

24วารสาร กรมบัญชีกลาง

11 การช่วยเหลือผู้ที่ช่วยตัวเองไม่ได้ นอกจากคนยากจนโดยทั่วไปแล้ว ยังมี คนยากจนอีก 2 กลุ่ม ที่ไม่สามารถได้รับประโยชน์ จากโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจหรือบริการทาง สังคมที่รัฐบาลจัดหาให้ รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะ ต้ อ งให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ เป็ น กรณี พิ เ ศษ คื อ (1) กลุ่ ม คนที่ ไ ม่ ส ามารถช่ ว ยตั ว เองได้ เช่ น คนชรา คนพิ ก าร ในกลุ่ ม นี้ จ ะต้ อ งให้ ค วาม ช่ ว ยเหลื อ เพื่ อ ให้ ด ำรงชี พ อยู่ ไ ด้ โดยรั ฐ บาล ควรจัดโครงการเงินประกันสังคม เป็นเงินให้เปล่า แก่ ผู้ พิ ก ารและผู้ สู ง อายุ ทุ ก คนให้ ส ามารถอยู่ ไ ด้ (2) กลุ่มคนผู้ประสบภัยพิบัติ รัฐบาลจะต้องจัด งบประมาณพิเศษที่จะช่วยเหลือเป็นระบบป้องกัน ภั ย สาธารณะ เช่ น สึ น ามิ (Tsunami) ฝนแล้ ง

น้ำท่วม โดยกำหนดกฎเกณฑ์และกลุ่มเป้าหมาย อย่างชัดเจน


การทำให้ระบบเศรษฐกิ ยั่งยืฒนนาภารกิ และเท่จา...เทียม ตอนที่ 2 3 ปีคจไทย รึ่ง โตต่อเนืกั่อบงการพั

กรอบความคิดหลัก ประเด็นความคิดจาก The Mystery of Capital* คำว่าทุน (Capital) ในภาษาละตินมีความหมายรวมถึง (1) ลักษณะทางกายภาพของ ทรัพย์สิน และ (2) ศักยภาพในการสร้างผลผลิตส่วนเกิน (Surplus Value) ที่มาจากการขาย การแปลงสภาพ และการสร้างผลผลิตใหม่ (Reproducing) คุณลักษณะประการที่สองเป็นสิ่งที่ ประเทศในแถบตะวันตกมี แต่ประเทศกำลังพัฒนาไม่มี ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบ ทุนนิยมทำงานในประเทศแถบตะวันตก แต่ไม่ทำงานในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย การสร้างทุนในประเทศซีกโลกตะวันตกเป็นขบวนการภายใน (Implicit Process) ที่ น ำเข้ า สู่ ร ะบบที่ เ ป็ น ทางการ (Formal Sector) ซึ่ ง ทำให้ เ กิ ด การแปลงสิ น ทรั พ ย์ ซ่ อ นเร้ น

หรื อ สิ น ทรั พ ย์ ที่ ใ ช้ ป ระโยชน์ ไ ม่ ไ ด้ (Dead Asset) มาเป็ น สิ น ทรั พ ย์ เ ปิ ด เผยหรื อ สิ น ทรั พ ย์ ที่ใช้ประโยชน์ได้ (Active Asset) ระบบที่เป็นทางการนี้เองก่อให้เกิดผล 6 ประการแก่ประเทศ แถบตะวันตก ประกอบด้วย (1) การสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจแก่สินทรัพย์ (2) การรวบรวม ข้อมูลข่าวสารที่กระจัดกระจายให้อยู่ในระบบเดียว (3) การสร้างความรับผิดชอบแก่ประชาชน ในประเทศ (4) ความสามารถในการแบ่งย่อยขนาดของทรัพย์สินให้เหมาะสมกับความต้องการ ของตลาดและประชาชน (5) การสร้ า งระบบเครื อ ข่ า ยที่ เ ชื่ อ มโยงประชาชนเข้ า ด้ ว ยกั น

และ (6) การปกป้องการซื้อ - ขายแลกเปลี่ยนสินค้า สิ่งที่ประเทศยากจนต้องการไม่ใช่เงิน แต่เป็นความเข้าใจถึงความสำคัญของสถาบัน ทางกฎหมายและระบบการเมืองที่จะสร้างระบบที่ดินทำกิน (Property System) ที่คนจนเข้าถึง

ได้ง่าย ความสำเร็จในการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ในประเทศแถบตะวันตกมาจากระบบ กฎหมายที่รวมประชากรทุกคนให้เข้าสู่ระบบเดียวกัน สร้างโอกาสในการผลิต และสร้างมูลค่า ส่วนเกินแก่ระบบเศรษฐกิจภายใต้ตลาดที่ขยายตัวมากขึ้น ประวัติศาสตร์ของประเทศอเมริกา แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงจากระบบที่ไม่เป็นทางการ มาเป็นระบบที่เป็นทางการ เนื่องจาก เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญในด้านกฎหมายที่สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคม ของประชาชน ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นอีกว่าอุปสรรค (ทางกฎหมาย) ที่มากขึ้นจะทำให้ขนาด ของเศรษฐกิจนอกระบบ (Extralegal Sector) ใหญ่ขึ้น

25

วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความพิเศษ

3 ปีครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายมีระบบกฎหมายที่เป็นทางการอยู่แล้ว แต่ประชาชน เข้าไม่ถึงหรือไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ทั้งนี้ เพราะว่ารัฐบาลดำเนินการภายใต้ความเข้าใจผิด 5 ประการดังนี้ (1) ประชาชนทั้งหมดที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจนอกระบบต้องการหลีกเลี่ยงภาษี (2) สิ่งปลูกสร้างที่ไม่ถูกกฎหมายต่างๆ เกิดขึ้นเนื่องจากการวัดหรือการบันทึกที่ไม่ถูกต้อง (3) การออกกฎหมายบังคับต่อสิ่งปลูกสร้างเพียงพอที่จะให้ประชาชนปฏิบัติตาม รัฐบาล ไม่ต้องสนใจต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามกฎหมาย (4) กฎระเบียบและสิ่งปลูกสร้าง ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว รัฐบาลสามารถเพิกเฉยได้ และ (5) รัฐบาลสามารถเปลี่ยนวิธีการ ถื อ ครองสิ นทรัพย์ของประชาชนที่อยู่ทั้งในและนอกระบบได้ โดยไม่ต้องอาศัยผู้นำทาง การเมืองระดับสูง สิ่งที่รัฐบาลควรทำประกอบด้วย (1) ศึกษาและสำรวจสถานการณ์และศักยภาพ ของคนจนโดยละเอียด (2) ทำความเข้าใจว่าคนจนสามารถเก็บออมได้ (3) พัฒนาระบบ กฎหมายด้านอสังหาริมทรัพย์อย่างมีเอกภาพเพื่อใช้แปลงสินทรัพย์และงานของคนจนเป็นทุน (4) ความไม่มีระเบียบในสังคมและกลุ่มอิทธิพลต่างๆ (Mafia) เกิดขึ้นจากการไหลเข้า

ของคนจนจำนวนมหาศาลสู่ สั ง คมเมื อ ง (5) คนจนไม่ ใ ช่ ปั ญ หา แต่ เ ป็ น คำตอบ และ (6) การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างเป็นระบบเพื่อสร้างทุนทางเศรษฐกิจเป็นความท้าทาย ทางการเมื อ ง เพราะมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ ประชาชน การเข้ า ใจสั ญ ญาทางสั ง คม (Social Contract) และการตรวจสอบแก้ไขระบบกฎหมายของประเทศ ------------------------------------- *สำนักวางแผนเศรษฐกิจมหภาค สศช. วันที่ 12 พฤศจิกายน 2545 ประเด็นความคิดประมวลจากหนังสือ The Mystery of Capital, Why Capitalism Triumphs in the West and Fails Everywhere Else (2000) โดย Mr.Hernando de Soto

26วารสาร กรมบัญชีกลาง


การทำให้ระบบเศรษฐกิ ยั่งยืฒนนาภารกิ และเท่จา...เทียม ตอนที่ 2 3 ปีคจไทย รึ่ง โตต่อเนืกั่อบงการพั

12 การแก้ ไ ขปั ญ หาความยากจน เชิงสังคม ในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เราสามารถ แก้ไขปัญหาความยากจนโดย (1) การทำให้ระบบ เศรษฐกิ จ เจริ ญ เติ บ โตในอั ต ราสู ง และ (2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะ สามารถแก้ ไ ขปั ญ หาความยากจนในวงกว้ า งได้ วิธีการนี้ อาจเพิ่มรายได้ต่อหัวให้เพิ่มขึ้นได้อย่าง รวดเร็ ว แต่ อ าจไม่ ส ามารถลดความเหลื่ อ มล้ ำ ในด้านการกระจายรายได้ โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้น อาจจะกระจุกตัวอยู่ในเมืองและในกลุ่มที่มีอำนาจ ทางเศรษฐกิจมาก่อน ในมิ ติ ท างสั ง คม รั ฐ บาลจึ ง ควรจั ด สรร งบประมาณโดยตรงให้แก่องค์กรชุมชนคนดีของคน ยากจนในชนบทที่ได้รวมตัวกันแล้ว เพื่อให้ชุมชน ของคนยากจนในชนบทได้มีโอกาสและมีบทบาท มากขึ้นในการพัฒนาตนเอง เช่น การจัดตั้งกองทุน หมู่ บ้ า นที่ บ ริ ห ารโดยคนดี การพั ฒ นาศั ก ยภาพ ของหมู่ บ้ า นโดยองค์ ก รชุ ม ชน (โครงการ SML ของรั ฐ บาล) การทำให้ ก ลุ่ ม ชุ ม ชนคนยากจน ที่ น ำโดยคนดี ให้ มี ฐ านะทางเศรษฐกิ จ ดี ขึ้ น จะเป็นการเพิ่มจำนวนชุมชนคนดีในชาติ และจะ เป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างถาวร กลุ่ ม ชุ ม ชนคนดี เ กิ ด ขึ้ น โดยการนำของ ผู้นำชุมชนที่เป็นคนดีเท่านั้น ผู้นำชุมชนที่เป็นคนดี จะมีลักษณะเฉพาะที่เห็นได้ชัดเจน คือเป็นคนที่ เสี ย สละ มี สั ม มาทิ ฐิ ไม่ โ ลภ - โกรธ - หลง มากนั ก ไม่ ติ ด อบายมุ ข คนกลุ่ ม นี้ ก ำลั ง มี ขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆ ในสังคมไทย เพราะไม่มีทุน ทางเศรษฐกิจเพียงพอ แม้ว่าจะมีทุนทางสังคมที่ดี แต่กลุ่มคนไม่ดีกลับมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่ พวกนักเลงและเจ้าพ่อ ซึ่งร่วมกับนักการเมืองที่โกง

สามารถนำเงินงบประมาณไปใช้ทำโครงการต่างๆ ได้ คนกลุ่มนี้พอได้เงินมา ก็สามารถไปทำให้คนใน หมู่บ้านมาเป็นบริวารได้มากขึ้นเรื่อยๆ ห า ก เ ร า ท ำ ต า ม แ บ บ อิ ส ร า เ อ ล เนเธอร์ แ ลนด์ หรื อ เบลเยี ย ม โดยนำเงิ น ทุ น

ของรั ฐ บาลไปช่ ว ยเฉพาะกลุ่ ม ชุ ม ชนคนดี เช่ น รั ฐ บาลอิ ส ราเอล จะไม่ ถ ามองค์ ก รชุ ม ชน ของเขาว่าผลิตอะไร มีการตลาดหรือไม่ แต่เขา ถามเพี ย งว่ า องค์ ก รชุ ม ชนนั้ น ๆ ลงทุ น เท่ า ไร แล้วรัฐบาลก็ไปเพิ่มทุนให้ 40 - 50% จึงทำให้ฐานะ ทางเศรษฐกิจขององค์กรชุมชนดีขึ้นอย่างรวดเร็ว เหตุที่ไม่ต้องถาม เพราะองค์กรเหล่านี้เกิดขึ้นได้ และอยู่ได้มานานแล้ว หากเป็นกลุ่มคนไม่ดีคงอยู่ ไม่ได้ การช่วยเพิ่มทุนให้องค์กรชุมชนจึงเป็นการ ขยายความเจริญเติบโตของชุมชนคนดี การร่วม ทุนของรัฐบาลจะทำให้ชุมชนสามารถไปจ้างคนมา ทำงานเพิ่ ม ขึ้ น ได้ คนในหมู่ บ้ า นก็ จ ะย้ า ยจาก กลุ่มคนไม่ดีมาอยู่ในกลุ่มคนดี ก็จะทำให้จำนวน คนดีในหมู่บ้านเพิ่มขึ้น เป็นการลดจำนวนคนไม่ดี ไปในตัว วิ ธี ก ารนี้ จะทำให้ ก ลุ่ ม ชุ ม ชนคนดี ข อง ชาติซึ่งมีทุนทางสังคมอยู่แล้วมีฐานะทางเศรษฐกิจ ดีขึ้น และเนื่องจากเขาเป็นกลุ่มชุมชนคนดี เขาจะ สร้างชุมชนคนดีต่อไปเรื่อยๆ การขายเสียงเลือกตั้ง ก็จะลดลง การเลือกตั้งก็ไม่ต้องใช้เงิน นอกจากนั้น เขาจะส่ ง ลู ก หลานเขาให้ ไ ด้ รั บ การศึ ก ษาสู ง ขึ้ น เพราะฐานะทางเศรษฐกิจเขาดีขึ้น จึงเกิดเป็นวงจร ใหม่ เป็นวงจรของการสร้างชุมชนคนดี มีฐานะ และมีความรู้ เป็นการแก้ไขปัญหาความยากจน ด้วยการส่งเสริมกลุ่มชุมชนที่นำโดยคนดีให้มีฐานะ ทางเศรษฐกิ จ ดี ขึ้ น ประเทศเราก็ จ ะมี แ ต่ ค นดี คนไม่ ดี ก็ จ ะลดลง ปั ญ หาความยากจนก็ ไ ด้ รั บ

การแก้ไขอย่างถาวร

27

วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความพิเศษ

3 ปีครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

บรรณานุกรม ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2523). “Co-ordinate of Monetary Policy, Fiscal Policy and Debt Management ”เศรษฐทรรศน์ รวมข้อคิดและข้อเขียนทางเศรษฐศาสตร์ของ ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (กรกฎาคม2523), 83-91. สุ ช าติ ธาดาธำรงเวช. (2550). ทฤษฎี ห ลั ก ว่ า ด้ ว ยการบริ ห ารนโยบายเศรษฐกิ จ กรุ ง เทพมหานคร : สำนักพิมพ์มิ่งมิตร พิมพ์ครั้งที่ 3. Barro, Robert. (1984). “Rational Expectations and Macroeconomics in 1984,”American

Economics Review. 74 (May 1984). Cagan, Philip. (1956) “The Monetary Dynamics of Hyperinflation,” in Milton Friedman, ed., Studies in the Quantity Theory of Money (Chicago: University of Chicago Press,1956). Corden, W. M. (1998). “The Asian Crisis: Is There a Way Out? Are the IMF Prescriptions Right? ”, in Institute of Southeast Asian Studies, The Asian Crisis: Is There a Way Out?, Singapore. De Soto, Hernando. (2000). The Mystery of Capital, Why Capitalism Triumphs in the West and Fails

Everywhere Else. New York: Basic Books and London: Bantam Press. Dornbusch, Rudiger. (1997). “Capital Controls: An Idea Whose Time Is Gone”, mimeo. Friedman, Milton and Friedman, Rose J. (1981). Free to Choose. New York : Harcourt Brace Jovanovich, Inc. Keynes, John M. (1936). The General Theory of Employment, Interest and Money. New York: Harcourt, Brace and Company. Kindleberger, Charles P. (1996). Manias, Panics, and Crashes: A History of Financial Crises. Third Edition. New York : NY, John Wiley. Krugman, Paul. (1999).“Balance Sheets, the Transfer Problem, and Financial Crises”, mimeo. January. Krugman, Paul. (1998). “What happened to Asia?”, mimeo. January. Mundell, Robert. (1963). “Capital Mobility and Stabilization Policy Under Fixed and Flexible Exchange Rates,” Canadian Journal of Economics and Political Science. 29 (November 1963), pp. 475-85. Smith, Adam. (1776) The Wealth of Nations (reprinted in 1977), London: Everyman’s Library. Stiglitz, Joseph E. (1998). “Sound Finance and Sustainable Development in Asia”, Keynote Address to Asia Development Forum, Manila, the Philippines, March 12. Wade, Robert and Veneroso, Frank. (1998). “The Asian Crisis: The High Debt Model vs. the Wall Street-Treasury-IMF Complex”, New Left Review. March-April. World Bank. (2007). World Development Report 2007. New York : Oxford University Press.

28วารสาร กรมบัญชีกลาง


งตันาภารกิ ้งคณะกรรมการสอบข้ อกับเท็การพั จจริฒงนาภารกิ ความรัจบ...ผิดทางละเมิด บทความการเงินการคลั กับการพัฒ 3จ...ปีครึ่ง 3 ปีง คหลัรึก่งการพิจารณาแต่

โดย มณีรัตน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะด้านละเมิดและแพ่ง สำนักความรับผิดทางแพ่ง กรมบัญชีกลาง

หลักการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการ

สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ปั จ จุ บั น พระราชบั ญ ญั ติ ค วามรั บ ผิ ด ทางละเมิ ด ของ เจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ได้บังคับใช้มาเป็นระยะเวลาเกือบ 15 ปีแล้ว แต่ในทางปฏิบัติยังพบปัญหาข้อขัดข้องเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ และการปฏิบัติตามหลักการของกฎหมาย รวมถึง ขั้นตอนการ ดำเนินการเมื่อเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ ตามระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความ รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งปัญหาที่ต้องพิจารณา เป็นลำดับแรกก็คือ กรณีจะต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบ ข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดหรือไม่ และหากต้องแต่งตั้ง จะมี วิธีดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และระเบียบว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งโดย หลักการ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิด

ทางละเมิด ตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบว่ามีการกระทำละเมิดเกิดขึ้นหรือไม่

29

วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความการเงินการคลั 3 ปีง ครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

มีเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมา จากการกระทำโดยจงใจหรื อ ประมาทเลิ น เล่ อ อย่างร้ายแรงหรือไม่ เจ้าหน้าที่ผู้ต้องรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายจะต้องรับผิดชดใช้เป็นจำนวนเท่าใด ใน กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดหลายคนเจ้าหน้าที่ แต่ละคนมีสัดส่วนความรับผิดเป็นอย่างไร และ ความเสี ย หายที่ เ กิ ด ขึ้ น หน่ ว ยงานของรั ฐ มี ส่ ว น บกพร่องด้วยหรือไม่ เพื่อที่จะได้นำส่วนแห่งความ รั บ ผิ ด ของหน่ ว ยงานของรั ฐ ไปหั ก ออกจาก ค่ า เสี ย หายที่ จ ะเรี ย กให้ เ จ้ า หน้ า ที่ ช ดใช้ ดั ง นั้ น หน่วยงานของรัฐ จึงต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบ ข้ อ เท็ จ จริ ง ความรั บ ผิ ด ทางละเมิ ด เพื่ อ สอบสวน ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุละเมิดที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำ ให้ได้ความกระจ่าง สำหรับองค์ประกอบหรือเงื่อนไขสำคัญใน การพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ความรับผิดทางละเมิด เป็นไปตามนัยข้อ 8 ของ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์ การปฏิ บั ติ เ กี่ ย วกั บ ความรั บ ผิ ด ทางละเมิ ด ของ เจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ส่วน คือ เกิดความเสียหาย และหัวหน้าหน่วยงานของ รัฐแห่งนั้นมีเหตุอันควรเชื่อว่าความเสียหายนั้นเกิด จากการกระทำของเจ้าหน้าที่ โดยในเบื้องต้นมี ประเด็นต้องพิจารณาเป็นลำดับไปว่า อย่างไรจึงจะ ถือว่าเกิดความเสียหายแล้วและความเสียหายนั้น เป็นความเสียหายตามนัยข้อ 4 ของระเบียบสำนัก นายกฯ หรือไม่ และอย่างไรจึงจะถือว่ามีเหตุอัน ควรเชื่ อ ว่ า เกิ ด จากการกระทำของเจ้ า หน้ า ที่ ซึ่งประเด็นเรื่องความเสียหายและเหตุอันควรเชื่อ นั้ น เป็ น ปั ญ หาข้ อ เท็ จ จริ ง ที่ ไ ม่ ส ามารถกำหนด เงื่อนไขการพิจารณาเป็นหลักการแต่ต้องพิจารณา วิ นิ จ ฉั ย เป็ น รายกรณี โดยมี ค ำวิ นิ จ ฉั ย ของคณะ กรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ไว้พอสรุปได้ดังนี้

30วารสาร กรมบัญชีกลาง

1. กรณี เ กิ ด ความเสี ย หายแก่ ห น่ ว ยงาน ของรั ฐ และเกิ ด จากการกระทำของ เจ้าหน้าที่ ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบ ข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด 1.1 กรณี ใ ช้ ง บประมาณถมดิ น ไปแล้ ว แต่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ ความเห็ น ชอบให้ ก่ อ สร้ า งอาคาร สำนักงาน “การที่คณะอนุกรรมการพิจารณาสถานที่ ทำงานของหน่วยราชการในเขตกรุงเทพมหานคร และเมื อ งหลั ก มี ม ติ ไ ม่ เ ห็ น ชอบให้ ก ระทรวง พาณิ ช ย์ ใ ช้ ที่ ดิ น บริ เ วณบึ ง หั ว ทะเล จั ง หวั ด นครราชสีมา สร้างอาคารสำนักงานพาณิชย์จังหวัด โดยกระทรวงพาณิ ช ย์ ไ ด้ ใ ช้ เ งิ น งบประมาณ

เพื่ อ ถมดิ น ในบริ เ วณดั ง กล่ า วไปแล้ ว ทำให้ กระทรวงพาณิชย์ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้าง อาคารสำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครราชสีมาได้ เป็ น กรณี ที่ ไ ด้ เ กิ ด ความเสี ย หายแก่ ก ระทรวง พาณิ ช ย์ โ ดยการกระทำของเจ้ า หน้ า ที่ แ ล้ ว ”

(เรื่องเสร็จที่ 238/2542) 1.2 กรณีต้องชำระเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม

เนื่องจากชำระภาษีไว้ไม่ถูกต้อง “เมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับ ความเสี ย หายจากการที่ ต้ อ งชำระเงิ น เพิ่ ม ภาษี มูลค่าเพิ่มจำนวน 3,421,291.06 บาท เนื่องจาก ชำระภาษี ไ ม่ ถู ก ต้ อ งกรณี จั ด ซื้ อ เครื่ อ งบิ น

CN 235-220 จำนวน 2 ลำ จากประเทศ อินโดนีเซีย และความเสียหายดังกล่าวเกิดจาก การกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากร ในการ ดำเนิ น การแต่ ง คณะกรรมการสอบข้ อ เท็ จ จริ ง

ความรั บ ผิ ด ทางละเมิ ด กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ และกรมศุลกากรจะต้องร่วมกันแต่งตั้ง คณะกรรมการ” (เรื่องเสร็จที่ 112/2544)


หลักการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้ อกับเท็การพั จจริฒงนาภารกิ ความรัจบ...ผิดทางละเมิด 3 ปีครึ่ง

1.3 กรณีนำรถยนต์ของทางราชการจอด ทิ้งไว้บนถนนสาธารณะแล้วสูญหาย “จากข้อเท็จจริงดังกล่าวเห็นว่า นาย พ. ได้ จ อดรถยนต์ ทิ้ ง ไว้ บ นถนนสาธารณะซึ่ ง เป็ น ที่ สัญจรไปมาและได้จอดทิ้งไว้ข้ามคืน ประกอบกับ รถยนต์ คั น ดั ง กล่ า วเป็ น รถใหม่ การจอดทิ้ ง ไว้

เช่ น นั้ น ย่ อ มเป็ น การเสี่ ย งต่ อ การที่ ร ถยนต์ จ ะ สูญหายได้โดยง่าย แม้จะได้มีการขออนุญาตไว้ใน กรณีออกปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการหรือในวัน หยุดราชการสามารถจอดที่บ้านพักได้ก็ตาม แต่ก็ ไม่ปรากฏว่านาย พ. ได้ดูแลรักษาทรัพย์สินของ ทางราชการด้วยความระมัดระวังอย่างพอเพียง การที่ ร ถสู ญ หายไปนี้ ย่ อ มเกิ ด ความเสี ย หายแก่

กรมโยธาธิการและผังเมืองแล้ว และมีเหตุอันควร เชื่ อ ว่ า เกิ ด จากการกระทำของเจ้ า หน้ า ที่ ข อง

กรมโยธาธิ ก ารและผั ง เมื อ ง จึ ง ต้ อ งแต่ ง ตั้ ง

คณะกรรมการสอบข้ อ เท็ จ จริ ง ความรั บ ผิ ด ทาง ละเมิ ด ตามข้ อ 8 ของระเบี ย บสำนั ก นายก

รั ฐ มนตรี ฯ อย่ า งไรก็ ต าม ข้ อ เท็ จ จริ ง ในกรณี นี้ แตกต่างจากเรื่องที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะ พิเศษ) ได้เคยวินิจฉัยไว้ในเรื่องเสร็จที่ 91/2541 และเรื่องเสร็จที่ 129/2542 เนื่องจากกรณีนี้เกิดจาก ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่ แต่กรณีที่เคย วินิจฉัยไว้นั้นเป็นเรื่องที่เกิดจากอุบัติเหตุ เจ้าหน้าที่ ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าและไม่สามารถ ป้องกันได้” (เรื่องเสร็จที่ 399/2546) 2. กรณี เ กิ ด ความเสี ย หายแก่ ห น่ ว ยงาน ของรัฐนั้น แต่ยังมีประเด็นต้องพิจารณา ว่ า เป็ น ความเสี ย หายของทางราชการ

โดยรวมหรือไม่ 2.1 การนำเงินงบประมาณของหน่วยงาน หนึ่งไปใช้จ่ายโดยไม่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานนั้น

แต่เป็นประโยชน์แก่อีกหน่วยงานหนึ่ง อาจถือได้ว่า ทางราชการในภาพรวมไม่ได้รับความเสียหาย “หากพิ จ ารณาในส่ ว นของกระทรวง พาณิชย์ในฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีฐานะ เป็นนิติบุคคล มีงบประมาณและการบริหารงาน ของตนเอง โดยการใช้จ่ายเงินงบประมาณและการ บริหารงานต้องกระทำภายในกรอบอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อมีการนำเงินงบประมาณ ของกระทรวงพาณิชย์ไปใช้จ่ายโดยไม่ได้เป็นไปเพื่อ ประโยชน์ ข องกระทรวงพาณิ ช ย์ แม้ จ ะเกิ ด ประโยชน์แก่หน่วยงานอื่นของรัฐดังเช่นกรณีที่หารือ มานี้ ก็ ต าม ก็ ถื อ ได้ ว่ า กระทรวงพาณิ ช ย์ ไ ด้ รั บ ความเสียหาย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาใน ส่ ว นของทางราชการในภาพรวม กล่ า วคื อ แม้ กระทรวงพาณิชย์จะเป็นนิติบุคคลหนึ่งแต่ก็อยู่ภาย ใ ต้ ก า ร บ ริ ห า ร ร า ช ก า ร แ ผ่ น ดิ น ข อ ง รั ฐ ซึ่ ง ประกอบด้ ว ยราชการส่ ว นกลาง ราชการ ส่ ว นภู มิ ภ าค และราชการส่ ว นท้ อ งถิ่ น มี ก าร ประสานและร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วย กันภายใต้การบังคับบัญชาและการกำกับดูแลหรือ ควบคุมดูแลของรัฐบาลเพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย ของตน เมื่อคณะรัฐมนตรีซึ่งบังคับบัญชาและ กำกับดูแลหรือควบคุมดูแลการบริหารงานของรัฐ พิ จ ารณาแล้ ว เห็ น ว่ า การนำที่ ดิ น ที่ ก ระทรวง พาณิ ช ย์ จ่ า ยเงิ น ค่ า ถมดิ น ไปทำสวนสาธารณะ ทางราชการยังคงได้ใช้ประโยชน์อยู่ จึงอาจถือได้ ว่าทางราชการในภาพรวมไม่ได้รับความเสียหาย” (เรื่องเสร็จที่ 247/2546) 2.2 การจ่ า ยขาดเงิ น สะสมขององค์ ก ร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น เกิ น ร้ อ ยละ 40 ของ งบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุน ต้องพิจารณา ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องประกอบว่าเกิดความเสียหาย หรือไม่

31

วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความการเงินการคลั 3 ปีง ครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

“กรณี เ ทศบาลตำบลกู่ ก าสิ ง ห์ มี ก าร

จ่ายขาดเงินสะสมเกินร้อยละ 40 ของงบประมาณ รายจ่ า ยเพื่ อ การลงทุ น ของปี ง บประมาณ 2548

จะถือว่าเทศบาลตำบลกู่กาสิงห์ได้รับความเสียหาย ซึ่งจะต้องดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบ ข้ อ เท็ จ จริ ง ความรั บ ผิ ด ทางละเมิ ด ตามระเบี ย บ สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เกี่ ย วกั บ ความรั บ ผิ ด ทางละเมิ ด ของเจ้ า หน้ า ที ่ พ.ศ. 2539 หรือไม่ นั้น เห็นว่าปัญหานี้มิใช่ปัญหา ข้อกฎหมาย แต่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงว่าเทศบาล ตำบลกู่กาสิงห์ได้รับความเสียหายจากการจ่ายขาด เงินสะสมเกินร้อยละ 40 ของงบประมาณรายจ่าย เพื่ อ การลงทุ น ของปี ง บประมาณ 2548 หรื อ ไม่

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายกเทศมนตรีเทศบาล ตำบลกู่กาสิงห์ได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ความรับผิดทางละเมิดโดยผลการสอบสวนฟังได้ว่า เทศบาลตำบลกู่กาสิงห์ได้รับความเสียหายจำนวน 1,129,019 บาท และได้ส่งสำนวนการสอบสวนให้ กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของ กระทรวงการคลังจะต้องพิจารณาว่าเทศบาลตำบล กู่กาสิงห์ได้รับความเสียหายหรือไม่ ทั้งนี้ ตามข้อ 17 แห่ ง ระเบี ย บสำนั ก นายกรั ฐ มนตรี ฯ ซึ่ ง การ พิจารณาดังกล่าวย่อมต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริง ที่ เ กี่ ย วข้ อ งทั้ ง หลายประกอบกั น มิ ใ ช่ เ พี ย งแต่ พิจารณาว่ามีการจ่ายขาดเงินสะสมเกินร้อยละ 40 ของงบประมาณรายจ่ า ยเพื่ อ การลงทุ น ของ ปีงบประมาณ 2548 เท่านั้น” (เรื่องเสร็จที่ 547/ 2542) 2.3 กรณี เ จ้ า หน้ า ที่ ไ ปทำสั ญ ญาประนี ประนอมยอมความในชั้นศาลโดยไม่คิดดอกเบี้ย ผ่อนชำระ ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง ประกอบว่าเกิดความเสียหายหรือไม่ “ ปั ญ ห า ที่ ห า รื อ ม า นี้ มิ ใ ช่ ปั ญ ห า

32วารสาร กรมบัญชีกลาง

ข้อกฎหมาย แต่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงว่าสำนักงาน ตำรวจแห่ ง ชาติ ไ ด้ รั บ ความเสี ย หายจากการทำ สั ญ ญาประนี ป ระนอมยอมความในชั้ น ศาลของ

ผู้ บั ง คั บ การ กองปราบปรามผู้ รั บ มอบอำนาจ

หรื อ ไม่ เมื่ อ ข้ อ เท็ จ จริ ง ในกรณี นี้ ป รากฏว่ า สำนั ก งานตำรวจแห่ ง ชาติ ยั ง มิ ไ ด้ พิ จ ารณาว่ า สำนั ก งานตำรวจแห่ ง ชาติ ไ ด้ รั บ ความเสี ย หาย

หรือไม่ และความเสียหายนั้นเกิดจากการกระทำ ของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือไม่ อันจะทำให้ต้องดำเนินการตามข้อ 8 ของระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เกี่ ย วกั บ ความรั บ ผิ ด ทางละเมิ ด ของเจ้ า หน้ า ที ่ พ.ศ. 2539 และส่งให้กระทรวงการคลังพิจารณา ตามข้ อ 17 ของระเบี ย บสำนั ก นายกรั ฐ มนตรี

ดังกล่าวต่อไป สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงต้อง พิจารณาว่าการกระทำของผู้บังคับกองปราบปราม ผู้ รั บ มอบอำนาจก่ อ ให้ เ กิ ด ความเสี ย หายแก่

ทางราชการหรือไม่ โดยการพิจารณาดังกล่าวคงจะ ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ประกอบกั น เช่ น จำนวนหนี้ ต ามสั ญ ญาประนี

ประนอมยอมความมี จ ำนวนน้ อ ยกว่ า หนี้

ตามสั ญ ญาเดิ ม มากน้ อ ยเพี ย งใด ซึ่ ง ในการทำ สั ญ ญาประนี ป ระนอมยอมความของสำนั ก งาน ตำรวจแห่งชาติก็ได้รับคืนค่าธรรมเนียมศาลเป็น พิ เ ศษถึ ง 43,000 บาท ทั้ ง การทำสั ญ ญาประนี

ประนอมยอมความทำให้ ค ดี สิ้ น สุ ด โดยเร็ ว

การพิ จ ารณาว่ า สำนั ก งานตำรวจแห่ ง ชาติ ไ ด้ รั บ ความเสียหายหรือไม่ จึงมิใช่พิจารณาแต่เพียงว่า ในการทำสั ญ ญาประนี ป ระนอมยอมความได้ ตกลงให้ จ ำเลยผ่ อ นชำระหนี้ โ ดยไม่ คิ ด ดอกเบี้ ย

ซึ่งไม่ได้รับความเห็นชอบหรือความยินยอมจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติเท่านั้น เนื่องจากการทำ สั ญ ญาประนี ป ระนอมยอมความย่ อ มต้ อ งมี ก าร ผ่อนปรนให้แก่กันและกัน” (เรื่องเสร็จที่ 552/2547)


หลักการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้ อกับเท็การพั จจริฒงนาภารกิ ความรัจบ...ผิดทางละเมิด 3 ปีครึ่ง

3.กรณีข้อเท็จจริงได้ความแน่ชัดว่าความ เสียหายเกิดจากกระทำของบุคคลภายนอก โดยเจ้าหน้าที่ไม่มีส่วนในการกระทำละเมิด ไ ม่ ต้ อ ง แ ต่ ง ตั้ ง ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร ส อ บ ข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด 3.1. กรณีการสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นแล้ว ความเสี ย หายเกิ ด จากการกระทำของบุ ค คล ภายนอก ถือว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิด จากการกระทำของเจ้าหน้าที่ จึงไม่ต้องแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบข้ อ เท็ จ จริ ง ความรั บ ผิ ด ทาง ละเมิด แต่ต้องรายงานผลการพิจารณาให้ปลัด กระทรวง ปลั ด ทบวง หรื อ รั ฐ มนตรี ซึ่ ง เป็ น ผู้บังคับบัญช หรือผู้กำกับดูแล หรือควบคุมการ ปฏิบัติงานของบุคคลดังกล่าว แล้วแต่กรณี จะได้ พิ จ ารณาว่ า สมควรดำเนิ น การแต่ ง ตั้ ง คณะ กรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ตามข้ อ 12 ของระเบี ย บสำนั ก นายกรั ฐ มนตรี ฯ

ต่อไปหรือไม่

“เมื่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เ ศ ร ษ ฐ กิ จ แ ล ะ สั ง ค ม แ ห่ ง ช า ติ ไ ด้ แ ต่ ง ตั้ ง

คณะกรรมการสอบข้ อ เท็ จ จริ ง ในเบื้ อ งต้ น แล้ ว

เห็ น ว่ า ความเสี ย หายที่ เ กิ ด ขึ้ น ไม่ ไ ด้ เ กิ ด จาก

การกระทำของเจ้าหน้าที่แต่เกิดจากการกระทำ ละเมิ ด ของบุ ค คลภายนอกแต่ เ พี ย งฝ่ า ยเดี ย ว เจ้าหน้าที่ไม่มีส่วนในการกระทำละเมิดแต่อย่างใด สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติจึงไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบ ข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ตามข้อ 8 ของ ระเบี ย บสำนั ก นายกรั ฐ มนตรี ฯ แต่ ต้ อ งรายงาน

ผลการพิ จ ารณาให้ น ายกรั ฐ มนตรี ห รื อ รั ฐ มนตรี

ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเพื่อพิจารณาตามข้อ 12 ของระเบี ย บสำนั ก นายกรั ฐ มนตรี ฯ อนึ่ ง คณะ กรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) มีข้อสังเกตว่า เมื่ อ ข้ อ เท็ จ จริ ง ฟั ง ได้ ว่ า เหตุ ล ะเมิ ด เกิ ด จากการ

กระทำของบุ ค คลภายนอก สำนั ก งาน

คณะกรรมการพั ฒ นาการเศรษฐกิ จ และสั ง คม

แห่ ง ชาติ จ ะต้ อ งพิ จ ารณาดำเนิ น การเรี ย กให้

ผู้ ก ระทำละเมิ ด ชดใช้ ค่ า สิ น ไหมทดแทนตาม กฎหมายต่อไป” (เรื่องเสร็จที่ 129/2542)

33

วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความการเงินการคลั 3 ปีง ครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

“การที่ เ จ้ า หน้ า ที่ ก ลุ่ ม งานนิ ติ ก าร สำนักงานศาลปกครองไม่ดำเนินการฟ้องโรงแรม

ว. ให้รับผิดภายในกำหนดอายุความตามความเห็น ที่ ไ ด้ เ สนอต่ อ เลขาธิ ก ารสำนั ก งานศาลปกครอง

แต่กลับรอผลการพิจารณาของคณะกรรมการสอบ ข้ อ เท็ จ จริ ง ความรั บ ผิ ด ทางละเมิ ด ที่ น ำเสนอ เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองเพื่อให้ความเห็น ชอบจนกระทั่งสิทธิเรียกร้องขาดอายุความ ถือได้ ว่ า มี เ หตุ อั น ควรเชื่ อ ว่ า มี ค วามเสี ย หายเกิ ด ขึ้ น

จากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานศาล ปกครองแล้ ว ตามข้ อ 8 ของระเบี ย บสำนั ก นายกรั ฐ มนตรี ฯ เมื่ อ เลขาธิ ก ารสำนั ก งานศาล ปกครองไม่ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบ ข้ อ เท็ จ จริ ง ความรั บ ผิ ด ทางละเมิ ด ในกรณี นี้ ประธานศาลปกครองสูงสุดซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง

พ.ศ. 2542 มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบ ข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดขึ้นได้ตามข้อ 12 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ในกรณีดังกล่าว แม้ว่าเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองพิจารณา แล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าความเสียหาย เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ศาลปกครอง ก็ ต้ อ งรายงานผลการพิ จ ารณา

ให้ ป ระธานศาลปกครองสู ง สุ ด ทราบ เพื่ อ ที่

จะได้ พิ จ ารณาว่ า สมควรดำเนิ น การแต่ ง ตั้ ง

คณะกรรมการสอบข้ อ เท็ จ จริ ง ความรั บ ผิ ด ทาง ละเมิดหรือไม่ต่อไป ทั้งนี้ ตามข้อ 12 ของระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีฯ” (เรื่องเสร็จที่ 174/2547) 3.2.กรณีเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดยินยอม ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่หน่วยงานของรัฐแล้ว กรณี ที่ ห น่ ว ยงานของรั ฐ ทราบแน่ ชั ด ว่ า เจ้ า หน้ า ที่ ผู้ ก ระทำละเมิ ด ที่ จ ะต้ อ งรั บ ผิ ด ชดใช้

34วารสาร กรมบัญชีกลาง

ค่าสินไหมทดแทนคือผู้ใด ทราบจำนวนค่าเสียหาย ที่แน่นอน และเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดยินยอม ชดใช้ ค่ า สิ น ไหมทดแทนให้ แ ก่ ห น่ ว ยงานของ รั ฐ แล้ ว หน่ ว ยงานของรั ฐ ก็ ไ ม่ จ ำต้ อ งแต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการสอบข้ อ เท็ จ จริ ง ความรั บ ผิ ด ทาง ละเมิด (เรื่องเสร็จที่ 193/2543) 4. กรณีความเสียหายที่เกิดจากการออก คำสั่ ง ทางปกครอง ไม่ อ ยู่ ใ นความหมาย ของ “ความเสี ย หาย” ตามข้ อ 4 ของ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ จึงไม่ต้อง แต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการสอบข้ อ เท็ จ จริ ง ความรับผิดทางละเมิด “การที่ผู้ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการได้ ยื่นฟ้องกรมบัญชีกลางและคณะกรรมการสอบสวน ความผิดวินัยอย่างร้ายแรงเป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง คดี ห มายเลขดำที่ 3962/2545 ฐานละเมิ ด

เรียกค่าเสียหายจำนวน 31,816,000 บาท โดย กล่าวอ้างว่าคณะกรรมการกลั่นแกล้งเป็นเหตุให้ได้ รับความเสียหายนั้น เนื่องจากการสอบสวนทาง วินัยเป็นการดำเนินการโดยคณะกรรมการสอบสวน ความผิดวินัยซึ่งได้รับแต่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาเพื่อ เสนอต่อผู้บังคับบัญชาว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิด วินัยหรือไม่ หากการสอบสวนปรากฏว่าได้มีการ

กระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาก็ จะออกคำสั่งลงโทษทางวินัยผู้ถูกกล่าวหานั้น และ หากสอบสวนแล้ ว ได้ ค วามว่ า ผู้ ถู ก กล่ า วหาไม่ มี ความผิด ผู้บังคับบัญชาของผู้กล่าวหาก็จะต้องมี คำสั่งยืนยันสภาพของผู้ถูกกล่าวหาว่ามิได้กระทำ ผิดวินัย ดังนั้น การสอบสวนทางวินัยจึงเป็น “การ พิจารณาทางปกครอง” ตามพระราชบัญญัติวิธี ปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และคำสั่ง ลงโทษทางวินัยจึงเป็น “คำสั่งทางปกครอง” ตาม


หลักการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้ อกับเท็การพั จจริฒงนาภารกิ ความรัจบ...ผิดทางละเมิด 3 ปีครึ่ง

พระราชบั ญ ญั ติ วิ ธี ป ฏิ บั ติ ร าชการทางปกครอง

พ.ศ.2539 ด้วย กรณีนี้เป็นความเสียหายที่เกิดจาก การออกคำสั่งทางปกครองจึงไม่อยู่ในความหมาย ของ “ความเสียหาย” ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพราะฉะนั้น จึ ง ไม่ ต้ อ งดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบ ข้ อ เท็ จ จริ ง ความรั บ ผิ ด ทางละเมิ ด แต่ อ ย่ า งใด”

(เรื่องเสร็จที่ 399/2546) อย่ า งไรก็ ดี หากหน่ ว ยงานของรั ฐ ต้ อ ง รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการออกคำสั่ง ทางปกครองที่ไม่ชอบ ถือว่าเกิดความเสียหายแก่ หน่ ว ยงานของรั ฐ จะต้ อ งพิ จ ารณาว่ า เจ้ า หน้ า ที ่

ที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติความรับ ผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 หรือไม่ โดยที่ ร ะเบี ย บสำนั ก นายกรั ฐ มนตรี ว่ า ด้ ว ย หลั ก เกณฑ์ ก ารปฏิ บั ติ เ กี่ ย วกั บ ความรั บ ผิ ด ทาง ละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ไม่ใช้บังคับกับ ความเสี ย หายที่ เ กิ ด จากการออกคำสั่ ง หรื อ กฎ แต่ ห น่ ว ยงานของรั ฐ อาจใช้ ระเบี ย บสำนั ก นายกรั ฐ มนตรี ฯ เป็ น แนวทางในการแสวงหา ข้อเท็จจริงของการละเมิดอันเนื่องมาจากการออก คำสั่งได้ ตามแนวความเห็นของคณะกรรมการ กฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เรื่องเสร็จที่780/2552 นอกจากหน่ ว ยงานของรั ฐ จะต้ อ ง พิ จ ารณาแต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการสอบข้ อ เท็ จ จริ ง ความรับผิดทางละเมิดตามนัยข้อ 8 ของระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีฯ ซึ่งเป็นข้อกำหนดตามหมวด 1 กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ แล้ว ยังมีกรณียกเว้นของหลักการทั่วไปตามข้อ 8 โดยแม้ ยั ง ไม่ เ กิ ด ความเสี ย หายก็ ต้ อ งแต่ ง ตั้ ง

คณะกรรมการสอบข้ อ เท็ จ จริ ง ความรั บ ผิ ด ทาง ละเมิ ด ตามหมวด 2 กรณี เจ้ า หน้ า ที่ ข องรั ฐ กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก ดังนี้

1. กรณีผู้เสียหายยื่นคำขอให้หน่วยงาน ของรั ฐ ชดใช้ ค่ า สิ น ไหมทดแทน จะต้ อ งมี ก าร แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิด ทางละเมิดเพื่อพิจารณาว่า หน่วยงานของรัฐจะ ต้ อ งจ่ า ยเงิ น ตามคำขอนั้ น หรื อ ไม่ ตามระเบี ย บ สำนักนายกรัฐมนตรีฯ ข้อ 33 ที่กำหนดว่า “เมื่อได้ รั บ คำขอตามข้ อ 32 และหน่ ว ยงานของรั ฐ ที่ ไ ด้ รับคำขอไว้เห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตน ให้แต่งตั้ง คณะกรรมการเพื่อดำเนินการต่อไปโดยไม่ชักช้า” หากหน่วยงานของรัฐไม่พิจารณาให้มีการจ่ายเงิน ตามคำขอก็ ถื อ ว่ า ทางราชการยั ง ไม่ ไ ด้ รั บ ความ เสี ย หาย คณะกรรมการไม่ ต้ อ งดำเนิ น การสอบ ข้ อ เท็ จ จริ ง ความรั บ ผิ ด ทางละเมิ ด ต่ อ ไป หากผู้ เ สี ย หายหรื อ ผู้ ยื่ น คำขอไม่ พ อใจในคำสั่ ง

ไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีดังกล่าว ก็สามารถ ไปใช้สิทธิฟ้องศาลต่อไป แต่หากหน่วยงานของรัฐ พิ จ ารณาแล้ ว เห็ น ว่ า สมควรจ่ า ยเงิ น ตามคำขอ ต้ อ งถื อ ว่ า ทางราชการได้ รั บ ความเสี ย หายแล้ ว คณะกรรมการต้องดำเนินการสอบข้อเท็จจริงความ รับผิดทางละเมิดต่อไปเพื่อให้ทราบว่ามีเจ้าหน้าที่ ต้องรับผิดหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด 2. กรณี ผู้ เ สี ย หายยื่ น คำขอตามข้ อ 33 แล้ ว ไม่ พ อใจผลการพิ จ ารณาจึ ง ฟ้ อ งคดี ต่ อ ศาล หรือเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายยังไม่เคยยื่นคำขอไว้แต่ เลือกใช้สิทธิทางศาลโดยตรง ตามระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีฯ ข้อ 35 ที่กำหนดว่า “ในกรณีที่ ผู้ เ สี ย หายฟ้ อ งคดี ต่ อ ศาล ให้ ผู้ มี อ ำนาจแต่ ง ตั้ ง ตั้งคณะกรรมการโดยไม่ชักช้า เว้นแต่จะได้มีการ ตั้ ง คณะกรรมการดั ง กล่ า วไว้ แ ล้ ว ...” กรณี น ี้

หน่วยงานของรัฐต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบ ข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดเพื่อพิจารณาใน เบื้องต้นก่อนว่า การที่ผู้เสียหายฟ้องคดีต่อศาลนั้น

35

วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความการเงินการคลั 3 ปีง ครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

เนื่ อ งมาจากการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ข องเจ้ า หน้ า ที ่

ผู้ เ กี่ ย วข้ อ งหรื อ ไม่ เพื่ อ จะได้ ด ำเนิ น การตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ต่อไป จากหลักการ เงื่อนไขและองค์ประกอบ ของการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความ รั บ ผิ ด ทางละเมิ ด ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น จะเห็ น ได้ ว่ า เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ ดำเนินการควรจะมีความรู้และศึกษารายละเอียด เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวพอสมควร จึงจะทำให้การ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิด ทางละเมิดเป็นไปอย่างครบถ้วนและถูกต้องตาม ระเบียบที่กำหนดไว้ สำหรั บ กรณี เ กิ ด เหตุ ก ารณ์ ไ ม่ ส งบ ระหว่างเดือนเมษายน - เดือนพฤษภาคม 2553 ทำให้ทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐ เช่น การวาง ระเบิ ด หรื อ การเกิ ด เพลิ ง ไหม้ อ าคารสถานที ่

หรือยานพาหนะ หรือทรัพย์สินอื่นของหน่วยงาน ของรั ฐ ก็ เ ป็ น ไปตามหลั ก การที่ ก ล่ า วในข้ อ 3 กล่าวคือจะต้องปรากฏข้อเท็จจริงจากการสอบสวน ข้อเท็จจริงเบื้องต้น หรือจากการรายงานความเห็น ของพนั ก งานสอบสวน หรื อ หน่ ว ยงานอื่ น ที่ เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงและความสงบ โดยแจ้งชัดว่า อาคารสถานที่ได้รับความเสียหาย จากการกระทำของบุคคลภายนอกที่ก่อความไม่ สงบ หรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ทรัพย์สินของหน่วยงาน ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่และทรัพย์สินดังกล่าวได้ รับความเสียหายหรือสูญหายจากการกระทำของ บุคคลภายนอกที่ก่อความไม่สงบ ซึ่งความเสียหาย ที่ เ กิ ด ขึ้ น หน่ ว ยงานของรั ฐ ได้ ต รวจสอบและ พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าความ เสียหายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ จึงไม่ ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับ ผิดทางละเมิด ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

36วารสาร กรมบัญชีกลาง

ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 แต่หัวหน้า หน่วยงานของรัฐ ต้องรายงานผลการพิจารณาให้ ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง หรือรัฐมนตรีซึ่งเป็น ผู้บังคับบัญชา หรือผู้กำกับดูแล หรือควบคุมการ ปฏิ บั ติ ง านของบุ ค คลดั ง กล่ า ว แล้ ว แต่ ก รณี จะได้ พิ จ ารณาว่ า สมควรดำเนิ น การแต่ ง ตั้ ง

คณะกรรมการสอบข้ อ เท็ จ จริ ง ความรั บ ผิ ด ทาง ละเมิ ด ตามข้ อ 12 ของระเบี ย บสำนั ก นายก รัฐมนตรีฯ ต่อไปหรือไม่ ทั้งนี้ ให้หน่วยงานของรัฐ ที่ได้รับความเสียหายพิจารณาดำเนินการในทาง อาญาและทางแพ่ ง กั บ บุ ค คลภายนอกผู้ ท ำให้ ทรัพย์สินของทางราชการได้รับความเสียหายหรือ สู ญ หายต่ อ ไป รายละเอี ย ดปรากฏตามหนั ง สื อ กระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0406.3/ว 50 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2553






บเงินนอกงบประมาณ บทความการเงินการคลั กับการพัฐฒกันาภารกิ จ... 3 ปีคหรึารรายจ่ ่ง ายภาครั 3 ปีง คการประเมิ รึ่ง นประสิทธิภาพการบริ

โดย พชร อนันตศิลป์

การประเมินประสิทธิภาพ การบริหารรายจ่ายภาครัฐ กับเงินนอกงบประมาณ

ก. ความเป็นมา • คณะรั ฐ มนตรี ไ ด้ มี ม ติ เ มื่ อ วั น ที่ 14 ตุ ล าคม 2551 พิจารณาอนุมัติแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2552 โดยมีแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศสำหรับการกู้เงิน

เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคมจากธนาคารโลก และธนาคารพั ฒ นาเอเชี ย ในวงเงิ น 1,000 ล้ า นเหรี ย ญสหรั ฐ ฯ รวมอยู่ด้วย เพื่อใช้สนับสนุนการลงทุนในโครงการพื้นฐานภาครัฐ ในสาขาเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ

41

วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความการเงินการคลั 3 ปีง ครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

• กระทรวงการคลังได้มีคำสั่ง ที่ 1798/ 2551 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากรอบนโยบาย ภายใต้ เ งิ น กู้ เ พื่ อ พั ฒ นาโครงสร้ า งพื้ น ฐานด้ า น เศรษฐกิจและสังคม (Development Policy Loan : DPL) ของธนาคารโลก เพื่อเป็นการจัดเตรียม เอกสารประกอบการกู้เงินตามระเบียบและขั้นตอน การดำเนินการกู้เงินของธนาคารโลก และกรอบ นโยบายมาตรการเป็ น ไปอย่ า งถู ก ต้ อ ง ทั น ตาม กำหนดเวลา ตลอดจนสามารถประสานงานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการดังกล่าว โดยมี ร องปลั ด กระทรวงการคลั ง หั ว หน้ า กลุ่ ม ภารกิ จ ด้ า นรายจ่ า ยและหนี้ สิ น เป็ น ประธาน ผู้แทนกรมบัญชีกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วม เป็นกรรมการ เช่น - สำนักงบประมาณ - สำนั ก งานคณะกรรมการพั ฒ นาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ - สำนั ก งานคณะกรรมการข้ า ราชการ พลเรือน - สำนั ก งานคณะกรรมการพั ฒ นาระบบ ราชการ - สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง - กรมสรรรพากร และสำนั ก งานบริ ห ารหนี้ ส าธารณะเป็ น ฝ่ า ย เลขานุการของคณะกรรมการฯ • การจั ด เตรี ย มเอกสารกู้ เ งิ น ตาม ระเบียบและขั้นตอนของธนาคารโลกกำหนดให้ รั ฐ บาลไทยดำเนิ น การจั ด ทำ “การประเมิ น ประสิทธิภาพการบริหารรายจ่ายภาครัฐ (Public Expenditure and Financial Accountability

(PEFA) Performance Measurement Framework Assessment)” ที่มีลักษณะเป็นการ ประเมิ น ผลการดำเนินงานด้านการเงินการคลัง

42วารสาร กรมบัญชีกลาง

ภาครั ฐ ในภาพรวมโดย ธนาคารโลกจั ด ให้ มี คณะผู้ เ ชี่ ย วชาญดำเนิ น การรวบรวมข้ อ เท็ จ จริ ง ต่ า งๆ จากทุ ก ภาคส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ทั้ ง ที่ เ ป็ น หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยการเข้าพบเพื่อ สัมภาษณ์ระดับผู้บริหารและปฏิบัติการ ในประเด็น ต่างๆ พร้อมทั้งขอรับเอกสารหลักฐานที่สอดคล้อง ตามแนวทางของการสัมภาษณ์ ทั้งหมด • การประเมินประสิทธิภาพการบริหาร รายจ่ า ยภาครั ฐ (Public Expenditure and Financial Accountability (PEFA) Performance Measurement Framework Assessment) มีวัตถุประสงค์หลักให้รัฐบาลไทยประเมินขีดความ สามารถในการบริหารจัดการภาครัฐในภาพรวม โดย PEFA จะแสดงผลลัพธ์เป็น “รายงานผลการ ประเมินประสิทธิภาพการบริหารรายจ่ายภาครัฐ

(Public Financial Management Performance Report : PFM-PR)” ข. หลักการของ PEFA หลักการของการจัดทำ PEFA ได้มีการกำหนดไว้ อย่างชัดเจนในกรอบการประเมินผลประสิทธิภาพ การบริหารการเงินการคลัง (The Public Finance Management Performance Measurement Framework) ที่ปรากฏอยู่ใน http://:www.pefa.org ประกอบด้วย ดัชนีชี้วัดรวม 28 ดัชนีครอบคลุม ด้ า นการเงิ น การคลั ง ภาครั ฐ ทั้ ง หมด ซึ่ ง ในการ ประเมินฯ จะใช้ข้อมูลหลักฐานที่เป็นข้อเท็จจริง ย้อนหลัง 2 - 3 ปี โดยมีหน่วยวัดเทียบเคียงจาก “A” เท่ า กั บ ระดั บ คะแนนสู ง สุ ด หมายถึ ง มาตรฐานในระดั บ สากลถึ ง “D” เท่ า กั บ ระดั บ คะแนนต่ ำ สุ ด หมายถึ ง มี ค วามจำเป็ น ต้ อ ง ปรับปรุงให้มีมาตรฐานการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น


การประเมินประสิทธิภาพการบริ บเงินนอกงบประมาณ กับการพัฐฒกันาภารกิ จ... 3 ปีคหรึารรายจ่ ่ง ายภาครั

ในส่วนของข้อมูลต่างๆ ที่ธนาคารโลก ใช้ ส ำหรั บ การประเมิ น ฯ ภายใต้ PEFA มี ก าร ดำเนินการดังต่อไปนี้ - ประสานงานรวบรวมเอกสารหลักฐาน และข้อมูลเชิงสถิติ - สัมภาษณ์ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ เช่ น หน่ ว ยงานภาครั ฐ และเอกชน รวมทั้ ง ที่ปรึกษาด้านระบบภาษีและกฎหมายที่ได้รับการ ยอมรับเป็นการทั่วไป - ดำเนิ น การประเมิ น ฯ จากเอกสาร หลั ก ฐานและข้ อ มู ล เชิ ง สถิ ติ ข้ อ เท็ จ จริ ง โดย คณะผู้ เ ชี่ ย วชาญขององค์ ก รที่ เ ป็ น กลาง เช่ น ธนาคารโลก หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นต้น

ค. ขอบเขตของการประเมินประสิทธิภาพฯ ภายใต้ PEFA การประเมินประสิทธิภาพฯ ภายใต้ PEFA มุ่ ง เน้ น ในระดั บ ประเทศเป็ น สำคั ญ โดยดั ช นี ชี้ วั ด ของ PEFA สามารถครอบคลุ ม ระบบการ บริหารภาครัฐทั้งหมด เช่น - ระบบการจัดทำและบริหารงบประมาณ - ระบบบริหารการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ - ระบบการรับ-จ่ายเงินภาครัฐ - ระบบบัญชีและการบริหารเงินสด - ระบบการกำกั บ และตรวจสอบการ บริหารการเงินการคลังภาครัฐ - ประสิ ท ธิ ภ าพของการบริ ห ารจั ด การ ระหว่างรัฐบาลในส่วนกลางและองค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

43

วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความการเงินการคลั 3 ปีง ครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยมีส่วนงาน หนึ่ ง ที่ มี ค วามสำคั ญ ในระบบบริ ห ารภาครั ฐ เป็นอย่างมาก ซึ่งมีรูปแบบและลักษณะการบริหาร จัดการเป็นการเฉพาะแตกต่างจากประเทศอื่นๆ คื อ ระบบบริ ห ารเงิ น นอกงบประมาณหรื อ เงิ น ทุ น ห มุ น เ วี ย น ที่ อ ยู่ น อ ก ร ะ บ บ ก า ร บ ริ ห า ร งบประมาณแผ่ น ดิ น แต่ เ นื่ อ งจากขนาดของ เงิ น ทุ น (Size of Funds) ในระบบบริ ห ารเงิ น นอกงบประมาณดังกล่าว มีขนาดที่มีนัยสำคัญต่อ เศรษฐกิจในประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะส่วนที่ เป็นภาระต่อรัฐในการจัดสรรวงเงินงบประมาณ รายจ่ า ยประจำปี ส นั บ สนุ น การดำเนิ น งานของ เงิ น นอกงบประมาณต่ า งๆ ดั ง กล่ า ว ขณะที่ การบริ ห ารเงิ น นอกงบประมาณก็ จ ะกำกั บ และ บริหารงานโดยหน่วยงานภาครัฐที่เป็นต้นสังกัดของ เงินนอกงบประมาณนั้นๆ โดยอาจไม่มีกฎระเบียบ กำหนดให้ มี ก ารแสดงผลการดำเนิ น งาน หรื อ การบริ ห ารงานเงิ น นอกงบประมาณเป็ น การ สาธารณะ รวมถึง กรณีที่หน่วยงานภาครัฐในฐานะ ต้นสังกัดมีการบริหารเงินนอกงบประมาณ แต่ไม่ นั บ รวมว่ า เป็ น หน่ ว ยงานของรั ฐ หรื อ มี ก ฎหมาย รองรับเฉพาะว่าเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐที่มี ความเป็นอิสระชัดเจนเป็นรูปธรรม จึงไม่จำเป็น ต้องแสดงสถานะของเงินนอกงบประมาณ ทำให้ การประเมินฯ ภายใต้ PEFA ให้ความสำคัญโดยมี การกำหนดดั ช นี ชี้ วั ด ที่ ค รอบคลุ ม ถึ ง ระบบการ บริหารเงินนอกงบประมาณในประเทศไทย

44วารสาร กรมบัญชีกลาง

ง. การประเมิ น ประสิ ท ธิ ภ าพการบริ ห าร รายจ่ายภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเงิน นอกงบประมาณ เ นื่ อ ง จ า ก ร า ย ง า น ก า ร ป ร ะ เ มิ น ประสิทธิภาพการบริหารรายจ่ายภาครัฐมีความ ครอบคลุมการบริหารการเงินการคลังของภาครัฐ ในภาพรวม ซึ่ ง ได้ มี ก ารจั ด เตรี ย มข้ อ มู ล ต่ า งๆ ได้แก่ - สถานะเงิ น นอกงบประมาณ ณ สิ้ น ปี งบประมาณ พ.ศ.2552 - กฎหมายที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เช่ น พระราช บั ญ ญั ติ เ งิ น คงคลั ง พ.ศ. 2491 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติวิธีการ งบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่ แ ก้ ไ ข เพิ่มเติม เป็นต้น - สั ม ภาษณ์ ผู้ บ ริ ห ารเงิ น ทุ น หมุ น เวี ย น ที่ ส ำคั ญ ฯ เช่ น กองทุ น กู้ ยื ม เพื่ อ การ ศึกษา เป็นต้น - สั ม ภาษณ์ หั ว หน้ า ส่ ว นราชการที่ มี เ งิ น นอกงบประมาณ ประเภทเงินฝาก - รูปแบบวิธีการบริหารเงินนอกงบประมาณ ในปั จ จุ บั น โดยมี ดั ช นี ชี้ วั ด ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง โดยตรงกับการบริหารเงินนอกงบประมาณ 3 ดัชนีชี้วัด ดังนี้ • ดัชนีชี้วัดที่ 7 : ขอบเขตการดำเนินงาน ภาครั ฐ ที่ ไ ม่ ไ ด้ มี ก ารรายงาน (Extent of unreported government operation) กำหนด หลั ก เกณฑ์ ก ารประเมิ น ประสิ ท ธิ ภ าพฯ เป็ น 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 เนื่องจากรายจ่าย ของเงินทุนหมุนเวียนที่เป็นเงินนอกงบประมาณ ส่วนหนึ่งไม่นับรวมในรายการแสดงฐานะการคลัง


การประเมินประสิทธิภาพการบริ บเงินนอกงบประมาณ กับการพัฐฒกันาภารกิ จ... 3 ปีคหรึารรายจ่ ่ง ายภาครั

เช่น กองทุนเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กรณี ร ายได้ ห รื อ รายรั บ ของหน่ ว ยงานภาครั ฐ

บางแห่ ง ที่ ไ ม่ ต้ อ งนำส่ ง คลั ง เป็ น รายได้ แ ผ่ น ดิ น

ของสถานศึกษาและโรงพยาบาล เป็นต้น ขณะที่ ภาครัฐจะต้องมีการจัดสรรเงินงบประมาณอุดหนุน ให้หน่วยงานดังกล่าวเป็นประจำ สำหรับในส่วน ของที่ไม่มีการรายงานฯ อีกส่วนหนึ่ง คือรายได้ รัฐวิสาหกิจที่รัฐมีนโยบายควบคุมราคาค่าบริการต่ำ กว่าต้นทุนการผลิต ซึ่งส่งผลให้ขาดทุนจากการ ดำเนิ น งานปกติ ข องรั ฐ วิ ส าหกิ จ อย่ า งไรก็ ต าม กระทรวงการคลังก็มีนโยบายบัญชีที่สนับสนุนให้ สามารถจั ด ทำรายการชดเชยทางบั ญ ชี ข อง รั ฐ วิ ส าหกิ จ เฉพาะรายนั้ น ๆ (Public Service Obligation) ทำให้ ผ ลของการประเมิ น ฯ ของ องค์ประกอบที่ 1 เท่ากับ “B” องค์ประกอบที่ 2 รายจ่ายภาครัฐที่ใช้ ในโครงการลงทุนโดยใช้เงินกู้ต่างประเทศ และการ ได้รับความช่วยเหลือโดยตรงจากต่างประเทศ ก็จะ ไม่ มี ข้ อ มู ล ปรากฏในรายงานฐานะการคลั ง หรื อ รายงานการเงินแผ่นดิน โดยมีผลของการประเมินฯ ขององค์ประกอบที่ 2 เท่ากับ “A” ดั ง นั้ น ผลการประเมิ น ฯ ในภาพ รวมของดัชนีชี้วัดที่ 7 เท่ากับ “B+” • ดัชนีชี้วัดที่ 17 : การบันทึกข้อมูลและ การบริ ห ารเงิ น คงคลั ง หนี้ ส าธารณะ และการ ค้ ำ ประกั น หนี้ ข องรั ฐ (Recording and management of cash balances, debt and guarantees) กำหนดหลั ก เกณฑ์ ก ารประเมิ น ประสิทธิภาพฯ เป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ข้อมูลหนี้สาธารณะ ทั้ ง เงิ น กู้ ภ ายในประเทศ ต่ า งประเทศ และ ค้ำประกันถูกต้องเชื่อถือได้ และมีการปรับปรุงให้ ทั น สมั ย เป็ น ปั จ จุ บั น รายไตรมาส ซึ่ ง กระทรวง

การคลังโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะมีการ จัดทำรายงานข้อมูลหนี้สาธารณะครบถ้วน รวมทั้ง กรณี การกู้ยืมโดยตรงของรัฐวิสาหกิจที่กระทรวง การคลังมิได้ค้ำประกัน ทำให้ผลของการประเมิน ประสิทธิภาพฯ เท่ากับ “A” องค์ประกอบที่ 2 การประมวลผลดุล เงินนอกงบประมาณที่เป็นส่วนหนึ่งของฐานะเงิน คงคลังไม่สามารถนับรวมเงินนอกงบประมาณที่ เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเงินฝากในบัญชีของหน่วย งานภาครัฐและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แม้ว่า กระทรวงมหาดไทยจะทำหน้าที่กำกับการบริหาร การเงินขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในภาพ รวม แต่ก็ไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลสถานะการ เงิ น ขององค์ ก ารปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น รายแห่ ง ทำให้ ฐ านะเงิ น คงคลั ง มิ ไ ด้ แ สดงสถานะที่ เ ป็ น ข้ อ เท็ จ จริ ง ภาครั ฐ ทำให้ ผ ลการประเมิ น ประสิทธิภาพฯ ในองค์ประกอบที่ 2 เท่ากับ “C” องค์ประกอบที่ 3 ระบบการบริหาร สัญญากู้เงินภาครัฐ และค้ำประกันหนี้สาธารณะ ซึ่ ง พระราชบั ญ ญั ติ ห นี้ ส าธารณะ พ.ศ. 2549 และที่ แ ก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดยกำหนดสั ด ส่ ว นความ สามารถในการก่อหนี้สาธารณะและการค้ำประกัน ไว้ อ ย่ า งชั ด เจน รวมทั้ ง จั ด ทำรายงานหนี้ สาธารณะที่มีรายละเอียดครบถ้วน โดยสำนักงาน บริ ห ารหนี้ ส าธารณะได้ มี ก ารดำเนิ น การตาม กฎหมายดังกล่าวอย่างเป็นระบบ ทำให้ได้รับผล การประเมินประสิทธิภาพฯ เท่ากับ “A” ดั ง นั้ น ผลการประเมิ น ฯ ในภาพ รวมของดัชนีชี้วัดที่ 17 เท่ากับ “B+”

45

วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความการเงินการคลั 3 ปีง ครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

จ. บทสรุป จากผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารรายจ่ายภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ได้จัดทำโครงการขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการแบบให้เปล่าจากธนาคารโลก เพื่อพัฒนาระบบงานที่ได้รับผลการประเมินประสิทธิภาพฯ ในระดับต่ำ ซึ่งมี โครงการที่เกี่ยวข้องกับเงินนอกงบประมาณ คือ “โครงการพัฒนาระบบการบริหาร จัดการเงินนอกงบประมาณ” โดยมีขอบเขตของงานในการศึกษา วิเคราะห์รูปแบบ และแนวทางการบริหารจัดการ รวมทั้งการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ของเงินนอกงบประมาณในต่างประเทศที่สำคัญ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ข้อดี - ข้อเสีย เพื่อนำเสนอแนวทางที่เหมาะสม และเกิดประโยชน์ต่อระบบ เศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะการบริหารจัดการเงินนอกงบประมาณของประเทศ ในอนาคตต่อไป

46วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความสัมภาษณ์พิเ3ศษปีครึ่ง

บทบาทนั ลเกี่ยวกั การพัอฒมูนาภารกิ จ... บสิ่งแวดล้อม 3 กปีบัคญรึชี่ง : การเปิดกับเผยข้

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อิสรีย์ โชว์วิวัฒนา คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

บทบาทนักบัญชี : การเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ในปั จ จุ บั น ความเจริ ญ เติ บ โตทางเศรษฐกิ จ และการขยายตั ว

ของภาคอุ ต สาหกรรมในหลายประเทศทั่ ว โลกได้ ส่ ง ผลกระทบต่ อ สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ เช่น ปัญหาน้ำเน่าเสีย อากาศเป็นพิษ ขยะมูลฝอย ฝุ่นควัน และ การทำลายป่าไม้ ซึ่งมีผลกระทบที่เป็นวงกว้าง ต่อชุมชนและประเทศชาติเป็นอย่างมาก ปัจจุบันประเทศไทยก็ได้รับ ผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ทั้งปัญหามลภาวะทางน้ำ มลภาวะทางอากาศ ของเสียที่เป็นพิษ และปัญหาตัดไม้ทำลายป่า ปัญหา ต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้เกิดอย่างฉับพลันทันที แต่เป็นปัญหาที่ได้สะสมเพิ่มขึ้น ทีละเล็กทีละน้อยจนกลายเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้ มีการจัดตั้งหน่วยงานราชการเพื่อรับผิดชอบและวางแผนควบคุมดูแล ปัญหาต่างๆ ไว้โดยเฉพาะ แต่ปัญหาน้ำเน่าเสีย และอากาศเป็นพิษ

การตัดไม้ทำลายป่ายังไม่ได้ลดน้อยลงแต่ประการใด และบางปัญหา กลับพบว่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น น้ำเสีย และอากาศเป็นพิษในเขต ชุมชนอย่างกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

47

วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความการเงินการคลั 3 ปีง ครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

ปัญหาที่เกิดขึ้นหลายท่านอาจคิดว่าเป็น เรื่องของนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มิได้เป็นหน้าที่ของ ตัวเองที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม ส่วนผู้ที่มองโลก ในแง่ดีที่อยากให้โลกนี้เป็นสีเขียวก็ไม่ทราบว่าจะ เข้ า มี ส่ ว นร่ ว มได้ อ ย่ า งไร ดั ง นั้ น นั ก บั ญ ชี ค วรมี ความรับผิดชอบต่อสังคมและตระหนักถึงปัญหา สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ เนื่องจากการ รั บ ผลของมลพิ ษ และความเสื่ อ มโทรมของ สิ่ ง แวดล้ อ มจะเสี ย ทั้ ง เวลาและงบประมาณ เป็นจำนวนมากเพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่เสียหาย ให้กลับคืนสภาพเดิม การบริหารสิ่งแวดล้อมจึงเป็น วิ วั ฒ นาการทางการบั ญ ชี ที่ นั ก บั ญ ชี ส มั ย ใหม่ ไ ด้ พัฒนาขึ้นมา การค้นหามาตรการเพื่อหลีกเลี่ยง ผลกระทบด้ า นลบที่ มี ต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม การบั ญ ชี สิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดและ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้โดยการกระตุ้นให้องค์กร ธุ ร กิ จ เปิ ด เผยข้ อ มู ล ในการจั ด การสิ่ ง แวดล้ อ ม เพราะเมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลจะทำให้องค์กรธุรกิจ มีการจัดการสิ่งแวดล้อมดีขึ้นและให้ความสำคัญ ต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น การบัญชีสิ่งแวดล้อมเป็นการนำแนวคิด ในการอนุ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ มมาประยุ ก ต์ เ ข้ า กั บ หลักการบัญชีที่สามารถช่วยปกป้องและลดปัญหา สิ่งแวดล้อมได้โดยการกระตุ้นให้หน่วยงานธุรกิจมี การเปิ ด เผยข้ อ มู ล และวิ ธี ป ฏิ บั ติ ท างบั ญ ชี ใ ห้ มี มาตรฐานเดี ย วกั น และมี ค วามชั ด เจนในการนำ เสนอเพื่อให้สาธารณชนได้รับรู้ถึงการดำเนินงาน ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม องค์กรธุรกิจจะ มีวิธีการจัดการสิ่งแวดล้อมจากผลกระทบนี้อย่างไร เช่น น้ำเน่าเสีย อากาศเป็นพิษ เพราะสิ่งเหล่านี้จะ ส่งผลสะท้อนกลับไปสู่ธุรกิจในที่สุด ธุรกิจควรมี บทบาทหน้ า ที่ แ ละรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมที่ มี ต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มในสั ง คม โดยการเปิ ด เผยข้ อ มู ล

48วารสาร กรมบัญชีกลาง

ที่ เ กี่ ย วกั บ สิ่ ง แวดล้ อ มการนำเสนอรายงานและ มาตรฐานในการบันทึกข้อมูลให้มีผู้มีส่วนได้เสียทั้ง ภายในภายนอกธุ ร กิ จ ได้ รั บ รู้ และสามารถที่ จ ะ สนองตอบในด้ า นต่ า งๆ ที่ จ ะเป็ น ประโยชน์ ต่ อ สิ่งแวดล้อมได้ เป็นกระตุ้นจิตสำนึกทุกคนรวมถึง องค์กรธุรกิจให้คำนึงถึงสภาพแวดล้อมมากขึ้นด้วย ในต่างประเทศมีการเคลื่อนไหวมากใน ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการออกกฎระเบียบ มากมายตลอดจนมี ก ารส่ ง เสริ ม ให้ อ งค์ ก รธุ ร กิ จ ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว Intergovernmental Working Group of Experts on International Standards of Accounting and Reporting (ISAR) (ผู้เชี่ยวชาญ มาตรฐานการบั ญ ชี แ ละการรายงานระหว่ า ง ประเทศ ISAR ช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการ เปลี่ ย นแปลงที่ จ ะใช้ วิ ธี ป ฏิ บั ติ ที่ ดี ที่ สุ ด ในความ โปร่งใสขององค์กรและการบัญชีเพื่ออำนวยความ สะดวกในการลงทุนและการพัฒนา) ได้ให้แนวทาง ปฏิ บั ติ ใ นการเปิ ด เผยข้ อ มู ล ที่ เ กี่ ย วกั บ ต้ น ทุ น สิ่งแวดล้อมและหนี้สินด้านสิ่งแวดล้อมว่ากิจการ อาจเปิ ด เผยข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม ซึ่ ง เป็ น การอธิ บ าย รายการที่ อ ยู่ ใ นงบดุ ล หรื อ งบกำไรขาดทุ น หรื อ เปิ ด เผยในหมายเหตุ ป ระกอบงบการเงิ น หรื อ เปิดเผยไว้ในรายงานแยกต่างหากจากงบการเงิน เช่น ต้นทุนสิ่งแวดล ้อม และหนี้สินสิ่งแวดล้อม ไว้ดังนี้ ต้นทุนสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1. ประเภทของรายการที่เป็นต้นทุนสิ่งแวดล้อม 2. รายการที่รวมอยู่ในต้นทุนสิ่งแวดล้อม 3. จำนวนต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่บันทึกเป็นต้นทุนของ สินทรัพย์ในระหว่างงวด


บทบาทนั ลเกี่ยวกั การพัอฒมูนาภารกิ จ... บสิ่งแวดล้อม 3 กปีบัคญรึชี่ง : การเปิดกับเผยข้

4. เปิดเผยต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็น ผลมาจากการปฏิบัติตามกฏหมายสิ่งแวดล้อมรวม ถึงการชดเชยผลเสียหายที่มีสาเหตุมาจากมลพิษ ทางสิ่งแวดล้อมให้แก่บุคคลที่สามเป็นรายการแยก ต่างหาก หนี้สินด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1. เปิดเผยหนี้สินที่มีต่อสิ่งแวดล้อมเป็นรายการ แยกต่างหากในงบดุลหรือในหมายเหตุประกอบ งบการเงิน 2. ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการวัดค่าของหนี้สินที่มีต่อ สิ่งแวดล้อม 3. คำอธิบายเกี่ยวกับประเภทของหนี้สินระยะยาว และเงื่อนไขของการชำระหนี้ นอกจากให้แนวทางในการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ISAR ยังให้แนวปฏิบัติ ในการรั บ รู้ ต้ น ทุ น สิ่ ง แวดล้ อ ม การรั บ รู้ ห นี้ สิ น สิ่งแวดล้อม การรับรู้ค่าชดเชยที่คาดว่าจะได้รับ จากบุ ค คลที่ ส าม การวั ด มู ล ค่ า หนี้ สิ น ด้ า น สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปตามแม่บทการบัญชี คณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อ สั ง คมและสิ่ ง แวดล้ อ มของบริ ษั ท จดทะเบี ย น สำนั ก งานคณะกรรมการกำกั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้หลักการที่สำคัญใน การเปิดเผยข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นการปฏิบัติตาม แนวทาง CRS 7 ข้ อ ดั ง ต่ อ ไปนี้ อ ย่ า งครบถ้ ว น ได้แก่ 1. การกำกับดูแลกิจการที่ดี 2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม 3. การเคารพสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนและการปฏิ บั ติ ต่ อ

แรงงานอย่างเป็นธรรม 4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค

5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม 6. การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม 7. นวัตกรรมและการเผยแพร่นวัตกรรมจากการ ดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคม ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมของธุ ร กิ จ (Coporate Social Responsibility) (CSR) หมายถึง การดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรม และการกำกับที่ดีควบคู่ไปกับการใส่ใจและดูแล รักษาสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนา ธุรกิจอย่างยั่งยืน The Securities and Exchange Commission (SEC) ได้ออกข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง กับสิ่งแวดล้อมไว้ 3 ข้อ ดังนี้ ข้ อ 101 กำหนดให้ บ ริ ษั ท ต้ อ งเปิ ด เผย ผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญต่อค่าใช้จ่ายในการ ลงทุน กำไรและฐานะการแข่งขันของบริษัทหรือ การปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายสิ่ ง แวดล้ อ มและต้ อ ง เปิดเผยประมาณการค่าใช้จ่ายสิ่งแวดล้อมทั้งในปี ปัจจุบันและในอนาคตด้วย ข้อ 103 กำหนดให้บริษัทต้องเปิดเผยถึง การดำเนินงานตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น ภายใต้ ก ฎหมายสิ่ ง แวดล้ อ มและค่ า ใช้ จ่ า ยที่ เกี่ยวข้อง ข้อ 303 กำหนดให้บริษัทเปิดเผยข้อมูล สิ่งแวดล้อมโดยการอธิบายและวิเคราะห์เกี่ยวกับ การจั ด การสิ่ ง แวดล้ อ ม กฎระเบี ย บข้ อ บั ง คั บ ข้อผูกมัด เหตุการณ์ หรือความไม่แน่นอนที่อาจจะ เกิ ด ผลกระทบที่ มี นั ย สำคั ญ ต่ อ สภาพคล่ อ งและ ทรัพยากรด้านเงินทุนของบริษัท ในประเทศไทย มีการให้ความสำคัญกับ การบั ญ ชี สิ่ ง แวดล้ อ มเพิ่ ม มากขึ้ น ในปั จ จุ บั น ณ วั น ที่ 7 กั น ยายน 2552 บริ ษั ท ที่ ไ ด้ รั บ รอง มาตรฐาน ISO 14000 จำนวน 1,540 บริ ษั ท

49

วารสาร กรมบัญชีกลาง


บทความการเงินการคลั 3 ปีง ครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

ซึ่ ง เป็ น บริ ษั ท ที่ ใ ห้ ค วามสำคั ญ ต่ อ สั ง คมและ สิ่งแวดล้อม (ที่มา http://www.tisi.go.th/syscer/ 14000_t.html) นอกจากที่ ก ล่ า วแล้ ว ข้ า งต้ น ยั ง มี บ ริ ษั ท

อื่นๆ ที่มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ในรายงานประจำปี ซึ่งจากการศึกษาการเปิดเผย ข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ของประเทศไทย พบว่ า การเปิ ด เผยส่ ว นใหญ่ เป็นการเปิดเผยข้อมูลในเชิงบรรยายเกี่ยวกับผลก ระทบของกระบวนการผลิ ต ต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม นโยบายในการบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม กิจกรรม ต่างๆ ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อม อย่างไรก็ตามการศึกษาเกี่ยวกับการบัญชี สิ่งแวดล้อมในต่างประเทศต้องการให้ธุรกิจต่างๆ มี ก ารเปิ ด เผยข้ อ มู ล ในรู ป ของตั ว เงิ น มากขึ้ น Professor Rob Groy แนะนำว่าควรมีการเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับ - การเปิ ด เผยจำนวนเงิ น ที่ ล งทุ น ใน โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากข้อบังคับ ตามกฎหมาย และที่เกิดจากธุรกิจดำเนินการเอง โดยสมัครใจ - การเปิดเผยภาระหนี้สินที่ไม่แน่นอน เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม - การเปิดเผยต้นทุน และค่าใช้จ่ายทาง ด้านสภาพแวดล้อม

50วารสาร กรมบัญชีกลาง

จากที่กล่าวมาข้างต้น ถึงแม้ว่าประเทศ ไทยยังไม่มีวิธีการปฏิบัติทางการบัญชีที่ชัดเจนลง ไปว่าจะต้องบันทึกต้นทุนสิ่งแวดล้อม และค่าใช้ จ่ายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร แต่มีนักวิชาการ รวมถึงองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่ให้ความสำคัญในการ เปิดเผยข้อมูลสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น บางองค์กร ได้เริ่มมีส่วนร่วมในการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้ว ซึ่งจะมีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่ออนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม หรือทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ดังนั้น นักบัญชีควรเข้ามามีบทบาทใน การจัดทำบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ในการใช้ บั ญ ชี เ พื่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม คื อ การขาด มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชีที่ เกี่ยวข้องเพื่อนำไปเป็นกรอบในการปฏิบัติงานได้ อย่างชัดเจน จึงทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น การรับรู้ว่าจะรับรู้ค่าความเสียหายเมื่อเกิด คดีความฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากคู่กรณีเมื่อใด ควรจะรับรู้เมื่อเกิดคดีความฟ้องร้องต่อศาล หรือ เมื่อองค์กรจะต้องจ่ายเงินชดเชย ค่าเสียหายเป็น จำนวนมาก จะบันทึกรายงานและจัดประเภทของ รายงานนี้อย่างไร เป็นระยะเวลากี่งวด รวมทั้งการ เปิดเผยอย่างไรจึงจะถูกต้องเหมาะสม ไม่มากจน ทำลายชื่ อ เสี ย งและภาพลั ก ษณ์ ข ององค์ ก ร หรื อ เปิ ด เผยน้ อ ยจนทำให้ ดู เ หมื อ นว่ า ไม่ ท ำการ เปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ


บทบาทนั ลเกี่ยวกั การพัอฒมูนาภารกิ จ... บสิ่งแวดล้อม 3 กปีบัคญรึชี่ง : การเปิดกับเผยข้

บรรณานุกรม : สุรศักดิ์ ธรรมโม. 2551. “คาร์บอนเครดิต ธุรกิจลดโลกร้อน” เข้าถึงจาก : http://www.siamintelligence.com/carbon_credit_busines/ พิเชษฐ์ โสภาพงษ์ . 2545. “การเปิดเผยข้อมูลการบัญชีสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา : กลุ่มบริษัทเคมีภัณฑ์และพลาสติก” เข้าถึงจาก http://dllibrary.spu.ac.th:8080/ dspace/handle/123456789/51 ศิลปะพร ศรีจั่นเพชร. 2552. “การบัญชีสิ่งแวดล้อม”วารสารวิชาชีพบัญชี ปีที่ 5 ฉบับที่ 12 เมษายน

51

วารสาร กรมบัญชีกลาง


นานาสาระ

3 ปีครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

ศัพท์น่ารู้ หลายครั้งที่เราจะพบกับคำศัพท์ทางด้านการ เงินการคลังต่างๆ มากมาย ซึ่งอาจจะมีการอธิบายศัพท์ ที่ แ ตกต่ า งกั น ไป คอลั ม น์ ศั พ ท์ น่ า รู้ จะมานำเสนอ คำศั พ ท์ ที่ อ ยู่ ใ นพจนานุ ก รมศั พ ท์ เ ศรษฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่น่ารู้และพบเห็นอยู่เป็นประจำ ซึ่งจะไล่เรียงกันไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ A ถึง Z ค่ะฉบับนี ้

เป็ น ฉบั บ ที่ 3 นะคะ ครั้ ง ที่ แ ล้ ว มี ก ารผิ ด พลาด เล็กน้อยค่ะ ครั้งนี้ขอแก้ตัวใหม่กับอักษร K L M N ค่ะ

Key Currency

เงินตราสกุลหลัก : เงินตราสกุลที่เป็นที่นิยมกัน อย่ า งแพร่ ห ลายสำหรั บ ใช้ ช ำระหนี้ ร ะหว่ า งประเทศ และซื้ อ ขายกั น ในตลาดเงิ น ตราต่ า งประเทศ รวมทั้ ง เป็ น เงิ น ตราที่ ป ระเทศต่ า งๆ ทั่ ว โลกใช้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ เงินตราสกุลหลัก ในปัจจุบัน เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ปอนด์สเตอร์ลิง ยูโร และเยนญี่ปุ่น labour…คำศัพท์ที่เกี่ยวกับแรงงาน (labour) มีหลายคำที่น่าสนใจค่ะ อาทิ

Labour

แรงงาน : ปัจจัยการผลิตประเภทหนึ่งในระบบ เศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ได้จากทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งหมายถึง ทั้งแรงงานและสติปัญญาของมนุษย์

52วารสาร กรมบัญชีกลาง


3 ปีครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

ศัพท์น่ารู้

Labour Force

กำลังแรงงาน : จำนวนประชากรที่อยู่ในวัยทำงานสามารถที่จะ ทำงานได้และพร้อมที่จะทำงาน ซึ่งสัดส่วนของกำลังแรงงานต่อประชากร ทั้งหมดจะบ่งบอกถึงขีดความสามารถในการผลิตของประเทศ เพราะแรงงาน เป็นปัจจัยการผลิตในระบบเศรษฐกิจ ตามกฎหมายในประเทศไทยประชากร ที่มีอายุระหว่าง 15 - 60 ปี ถือว่าเป็นกำลังแรงงาน

Labour Intensive

การผลิ ต ที่ เ น้ น การใช้ แ รงงาน : การผลิ ต ที่ ใ ช้ ปั จ จั ย แรงงาน ในสั ด ส่ ว นที่ ค่ อ นข้ า งสู ง เมื่ อ เที ย บกั บ ปั จ จั ย อื่ น หน่ ว ยผลิ ต ใดจะเลื อ กใช้ แรงงานมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับต้นทุนโดยเปรียบเทียบระหว่างการใช้ ปัจจัยทุนกับแรงงาน ถ้าหากปัจจัยทุนกับแรงงานสามารถใช้ทดแทนกันได้

ในระดับหนึ่ง และค่าจ้างแรงงานถูกกว่าค่าใช้จ่ายในการใช้เครื่องจักรในการ ผลิ ต สิ น ค้ า ต่ อ หน่ ว ย ก็ มี แ นวโน้ ม ที่ ห น่ ว ยผลิ ต จะใช้ แ รงงานในการผลิ ต มากกว่าการใช้เครื่องจักร

Labour Mobility; Mobility Of Labour

การเคลื่อนที่ของแรงงาน : ความสามารถและกระบวนการในการ เปลี่ยนอาชีพหรือสถานที่ทำงานของแรงงาน ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการ เคลื่อนที่ของแรงงานคือความแตกต่างของอัตราค่าจ้างและสภาพการทำงาน เป็นสำคัญ แต่การที่แรงงานจะสามารถเคลื่อนที่ได้มากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของแรงงาน ตำแหน่ง งานว่าง การรับรู้ ข้อมูลข่าวสารของแรงงาน ปัจจัยทางด้านสังคม การเมือง และกฎหมาย

Labour Turnover

การหมุนเวียนของแรงงาน : การเข้าและออกของแรงงานที่ทำงาน ในหน่ ว ยผลิ ต โดยที่ ใ นช่ ว งเวลานั้ น มี ทั้ ง การลาออกของแรงงานเดิ ม

และการเข้ามาทำงานของแรงงานใหม่ ซึ่งหากพิจารณาในแง่ตลาดแรงงาน โดยรวม การเข้ า และออกของแรงงานอาจมาจากความผั น ผวนของการ จ้างงานที่เกิดขึ้นได้ตามวัฏจักรธุรกิจ หรือตามฤดูกาล หรือเกิดจากการ เคลื่อนย้ายกิจการที่มีการจ้างงานตามแหล่งภูมิศาสตร์ เช่น ในอุตสาหกรรม ก่อสร้าง นอกจากนี้ ยังอาจมาจากวัยของกำลังแรงงานเอง เช่น การลาออก ของผู้สูงอายุ การเข้ามาสู่การทำงานของคนหนุ่มสาว

53

วารสาร กรมบัญชีกลาง


นานาสาระ

3 ปีครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ...

Monetary...คำว่า monetary ก็มีหลายคำศัพท์ที่น่าสนใจค่ะ อาทิ

Monetary Base

ฐานเงิน : เงินตราซึ่งประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกระษาปณ์ ที่หมุนเวียนและสะท้อนให้เห็นถึงประมาณเงิน (money supply) ในระบบ เศรษฐกิจ ทั้งที่ฐานเงินจะไม่รวมเงินตราที่อยู่ในมือรัฐบาล และเงินฝาก ของสถาบันการเงินที่ฝากไว้ที่ธนาคารกลาง ที่มา (sources) ของฐานเงิน หรื อ ตั ว แปรที่ ส ำคั ญ ของฐานเงิ น ได้ แ ก่ สิ น ทรั พ ย์ ต่ า งประเทศสุ ท ธิ ของทางการ สิ น เชื่ อ สุ ท ธิ ที่ ใ ห้ ทั้ ง แก่ ภ าครั ฐ บาล รั ฐ วิ ส าหกิ จ ที่ มิ ใ ช่ สถาบันการเงิน และสถาบันการเงิน

Monetary Reserves; Currency Reserves

ทุนสำรองเงินตรา : ทรัพย์สินทางการเงินที่ใช้หนุนหลังธนบัตร ที่ออกใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทยตามพระราช บั ญ ญั ติ เ งิ น ตรา พ.ศ. 2501 กำหนดไว้ ว่ า การออกธนบั ต ร ธนาคาร แห่งประเทศไทยจะต้องมีทุนสำรองหนุนหลัง ร้อยละ 100 ของธนบัตรที่ใช้ หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และจำนวนทุนสำรองร้อยละ 60 จะต้อง ประกอบด้วยทองคำ เงินตราต่างประเทศสกุลหลัก เช่น ปอนด์สเตอร์ลิง ดอลลาร์สหรัฐ มาร์คเยอรมัน ฟรังก์สวิส เยน หลักทรัพย์ต่างประเทศ ที่มีมูลค่าเป็นสกุลเงินนั้น ใบสำคัญสิทธิซื้อส่วนสำรอง ใบสำคัญสิทธิพิเศษ ถอนเงิน

Monetary Unit

หน่ ว ยเงิ น ตรา : หน่ ว ยเงิ น มาตรฐานที่ ใ ช้ เ ป็ น สื่ อ กลางในการ แลกเปลี่ ย นของประเทศใดประเทศหนึ่ ง เช่ น ประเทศไทยใช้ เ งิ น บาท ประเทศอังกฤษใช้เงินปอนด์สเตอร์ลิง ประเทศญี่ปุ่นใช้เงินเยน

Normative Economics

54วารสาร กรมบัญชีกลาง

เศรษฐศาสตร์บรรทัดฐาน : การศึกษาทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่ง

ที่ควรจะเป็นในสังคม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเห็นของคนส่วนใหญ่ที่คิดว่า ควรจะปฏิบัติหรือเน้นเพื่อผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวม เช่น คนส่วนใหญ่ เชื่อว่า คนที่มีรายได้มากควรจะเสียภาษีมาก


คลายสงสัย

3 ปีครึ่ง

3 ปีครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ... คลายสงสัย

ย ั ส ง ส คลาย

ข้อ

ถาม

1

ที่นี่ เป็นเวทีคลายประเด็นสงสัยเกี่ยวกับข้อปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรมบัญชีกลาง ท่านจะได้พบกับคำถามหลากหลาย และคำตอบที่มีอย่างมากมาย ทั้งเรื่องเกี่ยวกับกฎระเบียบการเบิกจ่าย การบัญชี GFMIS การจัดซื้อจัดจ้าง สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ นอกจากนี้ ท่านยังสามารถส่งประเด็นคำถามหรือข้อสงสัย ที่ยังไม่ พบคำตอบมายังเราได้อีกด้วย เรายินดีที่จะไปค้นหาคำตอบมาให้ค่ะ ขอหารื อ เกี่ ย วกั บ การเบิ ก จ่ า ยเงิ น ค่ า ก่ อ สร้ า งอาคาร สำนั ก งานสรรพากร ด้ ว ยกรมสรรพากรได้ ม อบอำนาจให้ สรรพากรภาค เป็ น ผู้ มี อ ำนาจลงนามในสั ญ ญาก่ อ สร้ า งอาคาร สำนั ก งานสรรพากรพื้ น ที่ สรรพากรภาคจึ ง ได้ ท ำสั ญ ญาก่ อ สร้ า ง อาคารกั บ บริ ษั ท แห่ ง หนึ่ ง และกรมสรรพากรได้ อ นุ มั ติ เ งิ น ฝาก ค่าใช้จ่ายเก็บภาษีท้องถิ่น เป็นค่าก่อสร้างอาคารสำนักงาน ในระบบ GFMIS กับสรรพากรพื้นที่ ที่ก่อสร้างอาคารสำนักงาน ซึ่งอยู่คนละ จังหวัดกับสรรพากรภาค เมื่อบริษัทได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารงวด ที่ 1 เสร็จเรียบร้อย จึงได้ทำหนังสือส่งมอบงาน คณะกรรมการตรวจ การจ้าง ได้ตรวจรับงานเรียบร้อย ข้าพเจ้าในฐานะเจ้าหน้าที่พัสดุ

ของสรรพากรพื้นที่ จึงได้ส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่การเงินทำการเบิกเงิน

ให้บริษัทผู้รับจ้างทันที และรายงานให้สรรพากรภาคทราบภายหลัง จึงขอหารือว่า การดำเนินการดังกล่าวถูกต้องแล้วหรือไม่ หรือจะต้อง รายงานและขออนุ มั ติ เ บิ ก จ่ า ยเงิ น จากสรรพากรภาค โดยไม่ ไ ด้ รายงานและขออนุมัติเบิกจ่ายค่าก่อสร้างอาคารสำนักงานงานงวดที่ 1 จากสรรพากรภาคเสียก่อน จึงขอเรียนถามว่าข้าพเจ้าทำถูกต้อง เจ้าหน้าที่พัสดุสรรพากรพื้นที่

55

วารสาร กรมบัญชีกลาง


3 ปีครึ่ง

คลายสงสัย

ตอบ

56วารสาร กรมบัญชีกลาง

กับการพัฒนาภารกิจ...

คำถามนี้เกี่ยวข้องกับระเบียบ 2 ฉบับ คือ ระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

และระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและนำเงิน ส่งคลัง พ.ศ. 2551 การดำเนินการจึงต้องแยกกันตามระเบียบ ทั้ง 2 ฉบับ ดังนี้ กรณีที่ผู้รับจ้างส่งมอบงาน คณะกรรมการตรวจการจ้าง ต้ อ งดำเนิ น การตามข้ อ 72 (3) และ (4) ตามระเบี ย บสำนั ก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมคือ (3) โดยปกติ ใ ห้ ต รวจผลงานที่ ผู้ รั บ จ้ า งส่ ง มอบภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบการส่งมอบ งาน และให้ทำการตรวจรับให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด (4) เมื่อตรวจเห็นว่าเป็นการถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตาม แบบรู ป รายการละเอี ย ดและข้ อ กำหนดในสั ญ ญาแล้ ว ให้ ถื อ ว่ า ผู้รับจ้างส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งมอบงานจ้างนั้น และให้ ท ำใบรั บ รองผลการปฎิ บั ติ ง านทั้ ง หมดหรื อ เฉพาะงวด แล้วแต่กรณี โดยลงชื่อเป็นหลักฐานอย่างน้อย 2 ฉบับ มอบให้แก่ ผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ 1 ฉบับ เพื่อทำการเบิกจ่าย เงิ น ตามระเบี ย บว่ า ด้ ว ยการเบิ ก จ่ า ยเงิ น จากคลั ง และรายงาน ให้หัวหน้าส่วนราชการทราบ ท่าน ในฐานะเจ้าหน้าที่พัสดุ เมื่อได้รับใบรับรองผลการ ปฏิบัติงาน จากคณะกรรมการตรวจการจ้าง จึงต้องนำใบรับรอง ดั ง กล่ า วส่ ง ให้ เ จ้ า หน้ า ที่ ก ารเงิ น (สรรพากรพื้ น ที่ ) เพื่ อ ทำการ เบิกจ่ายตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง และรายงานผลการ ดำเนิ น งานก่ อ สร้ า งอาคารสำนั ก งานให้ หั ว หน้ า ส่ ว นราชการ (สรรพากรภาค) ทราบต่อไป การเบิกเงินและการอนุมัติการจ่ายเงิน ตามระเบียบการ เก็ บ รั ก ษาเงิ น และนำเงิ น ส่ ง คลั ง พ.ศ. 2551 ข้ อ 14 กำหนดว่ า ให้หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกหรือผู้ที่หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกมอบหมาย ตามข้อ 9 เป็นผู้เบิกเงินจากคลัง และอนุมัติการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ หรือผู้มีสิทธิรับเงินโดยการจ่ายตรง ซึ่งสรรพากรพื้นที่ ได้รับเงินค่า ก่อสร้างอาคารสำนักงาน ในระบบ GFMIS สรรพากรพื้นที่ จึงเป็น หั ว หน้ า หน่ ว ยงานผู้ เ บิ ก มี ห น้ า ที่ เ บิ ก จ่ า ยเงิ น ตามข้ อ 24 แห่ ง ระเบี ย บการเบิ ก จ่ า ยเงิ น จากคลั ง การเก็ บ รั ก ษาเงิ น และนำเงิ น


3 ปีครึ่ง

ข้อ

ถาม ตอบ

2

กับการพัฒนาภารกิจ... คลายสงสัย

ส่งคลัง พ.ศ. 2551 โดยไม่ต้องขออนุมัติเบิกจ่ายเงินจากสรรพากร พื้นที่แต่อย่างใด สรุป สรรพากรพื้นที่ มีหน้าที่เบิกจ่ายเงินค่าก่อสร้างให้ ผู้รับจ้าง ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังฯ สรรพากรภาค รอรับรายงานจากเจ้าหน้าที่พัสดุของ สรรพากรพื้นที่ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ่อแม่จดทะเบียนสมรสกัน มีลูกหนึ่งคน ต่อมาหย่ากัน บันทึกสิทธิโดยใช้ใบหย่าของพ่อ ส่วนลูกอีกคนเกิดภายหลังการ หย่ากันแล้ว ลูกคนที่ 2 จะใช้สิทธิของพ่อได้ไหม ต้องดูว่าบูตรคนที่เกิดหลังการหย่า เกิดภายใน 310 วัน นับจากวันหย่าหรือไม่ เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 กำหนดว่า เด็ก เกิดแต่หญิง ขณะเป็นภริยาชาย หรื อ ภายใน 310 วั น นั บ แต่ วั น ที่ ก ารสมรสสิ้ น สุ ด ลง ให้ สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของชาย ผู้เป็น สามี หรือ เคยเป็นสามี แล้วแต่กรณี ถ้าเกิน 310 วัน ไม่สามารถใช้สิทธิของบิดาได้ จะใช้ สิทธิของบิดา จะต้องดำเนินการ ดังนี้ 1. จดทะเบียนรับรองบุตร 2. คำสั่งศาลให้เป็นบุตร

57

วารสาร กรมบัญชีกลาง


3 ปีครึ่ง

คลายสงสัย

กับการพัฒนาภารกิจ...

ข้อ

3

ข้อ

4

ถาม ตอบ

ถาม

58วารสาร กรมบัญชีกลาง

มี บุ ต รของข้ า ราชการ เรี ย นประกาศนี ย บั ต รวิ ช าชี พ ครู

ได้นำใบเสร็จรับเงินค่าการศึกษามาเบิกกับทางราชการ ขอถามว่า สามารถเบิกได้หรือไม่ จ.การเงินคะ ตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 8 (2) กำหนดว่า บุตรที่ ศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินบำรุงการศึกษาเต็มจำนวนที่จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ต้องเป็น ไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด จึงต้อง ดูว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพครู เป็นหลักสูตรปริญญาตรีหรือไม่ ซึ่งจากข้อเท็จจริง ปรากฏว่าเป็นการเรียนเพิ่มเติมจากปริญญาตรี

อี ก 1 ปี จึ ง ไม่ ใ ช่ ห ลั ก สู ต รปริ ญ ญาตรี ไม่ ส ามารถนำเงิ น ค่ า

การศึกษามาเบิกกับทางราชการได้ เรียน ท่านสมเจตน์ 1. ปี 2543 ผมรั บ ราชการ ประจำอยู่ จั ง หวั ด ลำปาง ขอย้ายตามคำร้องขอของตนเองจึงไม่มีสิทธิเบิก ค่าเช่าบ้านได้ 2. ได้กู้เงินกับธนาคาร เพื่อปลูกสร้างบ้านใน ปี 2546 แยกออกเป็น 2 บัญชี แต่ไม่เบิกเงินค่าเช่าซื้อแต่อย่างใด 3. จังหวัดมีคำสั่งย้ายให้ผม ไปช่วยราชการเป็นการประจำ ที่อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ในปี 2550 4. เดื อ นธั น วาคม 2552 จั ง หวั ด มี ค ำสั่ ง ย้ า ยผมกลั บ ตำแหน่งเดิมประจำสำนักงานจังหวัดลำปาง ในข้อ 1 - 4 ผมได้ สอบถามเรื่องสิทธิในการเบิกค่าเช่าซื้อ และท่านได้กรุณาตอบให้ แล้วครับว่าผมเป็นผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้


3 ปีครึ่ง

กับการพัฒนาภารกิจ... คลายสงสัย

ผมขอสอบถามเพิ่มเติมนะครับ โดยเป็นคำถามในแต่ละ ข้อๆ นะครับ 1. ถ้าผมขายบ้านหลังนี้ (ปลูกสร้างปี 2546) ผมยังมี สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน และค่าเช่าซื้อได้อีกหรือไม่ - หากได้ ผมขายให้ ค นอื่ น ต่ อ มาภายหลั ง แต่ ง งาน กั บ เจ้ า ของบ้ า นที่ ซื้ อ บ้ า นหลั ง เดิ ม ของผม ผมจะยั ง มี สิ ท ธิ เ บิ ก ค่าเช่าซื้อได้ไหมครับ 2. ถ้าผมไม่ขายแต่ผมรีไฟแนนท์กับธนาคารอื่นแทน โดยนำทั้ง 2 บัญชีที่ทำกับธนาคารเดิม มารวมเป็น 1 บัญชีกับ ธนาคารใหม่ โดยเพิ่มยอดวงเงินกู้มากกว่าเดิมด้วย ผมสามารถ นำสั ญ ญาใหม่ ซึ่ ง เป็ น สั ญ ญาแรกที่ ท ำกั บ ธนาคารใหม่ แบบนี้ ผมสามารถทำได้หรือไม่ครับ 3. ถ้าผมกู้ปลูกสร้างบ้านในท้องที่เดียวกันใหม่ ซึ่งเป็น หลังที่ 2 ในการกู้กับธนาคาร จำเป็นหรือเปล่าครับ ที่จะต้อง นำบ้ า นหลั ง แรกมาเบิ ก เราสามารถใช้ ห ลั ง ที่ 2 เบิ ก แทนได้ หรือเปล่าครับ ขอขอบพระคุณท่าน มา ณ โอกาสนี้ด้วย หมายเหตุ ผมยังไม่เคยใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้อครับ

59

วารสาร กรมบัญชีกลาง


3 ปีครึ่ง

คลายสงสัย

ตอบ

60วารสาร กรมบัญชีกลาง

กับการพัฒนาภารกิจ...

คุณได้รับคำสั่งให้เดินทางไปปฏิบัติราชการประจำต่าง ท้ อ งที่ ต ามมาตรา 7 ถ้ า ไม่ ติ ด มาตรา 7 (1) - (3) มี สิ ท ธิ เ บิ ก ค่าเช่าบ้าน สามารถนำบ้านที่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน ที่ทางราชการกำหนด มาเบิกแทนค่าเช่าบ้านได้ ขอตอบคำถาม คุณเป็นข้อๆ ดังนี้ 1. การขายบ้าน ถือเป็นโอนกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 9 แห่งพระราช กฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน ยกเว้นคุณขายบ้านหลังนี้ ขณะที่คุณ ทำงานอยู่ที่อื่น เช่น ที่อำเภอวังเหนือ เมื่อคุณย้ายมาอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง คุณย่อมมีสิทธิ เบิกค่าเช่าบ้าน โดยถือว่าคุณไม่มี เคหสถานเป็นของตนเอง 2. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับ การเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2549 และที่แก้ไข เพิ่มเติมข้อ 23 กำหนดว่า ในกรณีที่มีการขยายวงเงินกู้หรือขยาย ระยะเวลาการผ่อนชำระราคาบ้าน ให้นำหลักฐานการผ่อนชำระมา เบิกค่าเช่าบ้านได้ตามจำนวนเงินกู้และระยะเวลาการผ่อนชำระ ที่เหลืออยู่ของสัญญาเงินกู้ฉบับแรกเท่านั้น ฉะนั้นคุณสามารถทำสัญญาฉบับใหม่และนำมาเบิกกับ ทางราชการได้ แต่จำนวนเงินและระยะเวลาการผ่อนชำระใช้สัญญา ฉบับแรกเท่านั้น 3. ตามพระราชกฤษฎี ก าค่ า เช่ า บ้ า นข้ า ราชการ พ.ศ. 2547

และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 17 (1) ตนเองหรือคู่สมรส ได้ทำการ ผ่ อ นชำระค่ า เช่ า ซื้ อ หรื อ ผ่ อ นชำระเงิ น กู้ เ พื่ อ ชำระราคาบ้ า น ในท้องที่นั้น จะเบิกจ่ายได้เฉพาะบ้านหลังแรกเท่านั้น เว้นแต่บ้าน ที่ เ คยใช้ สิ ท ธิ ถู ก ทำลายหรื อ เสี ย หายเนื่ อ งจากภั ย พิ บั ติ จ น ไม่สามารถพักอาศัยได้ คุณจึงเบิกค่าเช่าบ้านได้เฉพาะหลังแรก เท่านั้น ไม่สามารถเบิกบ้านหลังที่ 2 ได้










$0MCTD`GRER_<WD<$TE'GS c #=* ; +>TL E[

9" :+&9 !:(:+ < Å´Å´Å´

$0MCTD`GR ER_<WD<$TE'GS* ; TE[

69

ITELTE $EC<S‰-ÿ$GT*


70ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


71

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


72ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


73

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


74ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


75

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


76ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


77

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


78ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


79

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


80ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


81

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


82ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


83

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


84ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


85

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


86ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


87

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


88ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


89

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


90ITELTE $EC<S -ÿ$GT*






95

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


96ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


97

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


98ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


99

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


100ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


101

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


102ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


103

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


104ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


105

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


106ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


107

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


108ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


109

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


110ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


111

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


112ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


113

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


114ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


115

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


116ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


117

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


118ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


119

ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


120ITELTE $EC<S -ÿ$GT*


b<LCS'ELCT-ÿ$ c #= +>L

9" :+&9 !:(:+ < ŴŴŴ

_@WD* °³­ <T9 ® = ³ ,<S< ¥C«'« ª :«'«¦ AEĀ ' T+S6L * LCS'Eb;;TC

ª×èÍ˹èǧҹ............................................................................................................................. ¹Ê¯ º §

9WgOD[ +S6L *

àºÍÃìâ·ÃμÔ´μèÍ/Á×Ͷ×Í..........................................................................................................

ª×èÍ......................................................................................................................................................................................................... § ·Ê ­£»Ê ·Ê ­£»Ê Ë´ ¯´ ´¥ ³Ë ·Ê «ÍÂ.................................................................................... ¶¹¹..................................................................................................... à © µ §  ¯µÂ¢¯ ³ ­©³ ¥­³¬Æ ¥« ·¤Î

Iÿ:Ā$TE-UER_*ÿ; LCT-ÿ$b;_%7 $EZ*_9@Q

LCT-ÿ$b;_%7 7 T*+S*MIS6

 ¶ ¬ µ¥²Ä ¤ ¥ ³  ˴­ Ë´ ·Ê Ê´¤ ´¥Â ¶ ©´¥¬´¥ ¥£ ³ · §´ ³Ë §ºÊ£ ´ ¯ º£³ ¶ ¶Âª« ¬µ ³ ­£´¤ ¥£ ³ · §´ ¥² ¥© ´¥ §³  ¶ ´ ¥º Æ ¤ £­´ ³ ·¯¯£ ¥³ ¤Î § · Ê ¬´ ´ ¥² ¶ ³ Î ¹Ê¯ ³ ·  ¶ ´ Ê´©´¥¬´¥ ¥£ ³ · §´ ´ ³ ¶¬³Ê Ê´¤ ©´¥¬´¥ ¥£ ³ · §´ ¥² ¥© ´¥ §³ ´ ³ ¶Â§ ·Ê

¥ · ·ÊÆ£ÊÆ Ë µ¥²Â ¶ ¬ ¥º ´¬Ê Å ¬£³ ¥¬£´ ¶ ¥Ë¯£­§³ ´ ¤¹ ¤³ ´¥ µ¥²Â ¶ £´ ·Ê ¯ ¥¥ ´ ¶ ´¥©´¥¬´¥ ¥£ ³ · §´ ³Ë ¥£ ³ · §´ ¥²¥´£  ´Æ ¥º  ±  ¶ ¬ µ¥²Ä ¤ ¥ ³  ˴­ Ë´ ·Ê Ê´¤ ´¥Â ¶ ©´¥¬´¥ ¥£ ³ · §´ ¬µ ³ ´ §³  ç²¬µ ³ ´ §³ ³ ­©³ ³Ê© ¥²Â ª

¨« ° m« ·£¾ ²Æ ¾ ²  m ³Æ g° ¨ ° ² ¥°¡¨°¡ ¡ ¯ ³ £° ¶ £² ² «¶Â¡¡° ·£ ¿£® ¶ ¡¡§ ¯ ¾«³ ¿ m¥ À ¡¦¯ p l«


ITELTE$EC<S -W$GT* ITELTE$EC<S -W$GT*_EVgC6U_;V;$TE7Sh*`7 = ¯²­° CWIS78Z=ERL*' _@YgO_= ;LYgO$GT*LUMES<_>D`@E `GR`G$_=GWgD;'ITCE[ b;9T*$TE'GS* _JEK2$V+ LS*'C $TE<EVMTE$TE_*V; $TE*<=ERCT5 $TE<S -W $TE+S6.YhO +S6+ T* `GR$0MCTD`GRER_<WD<$TE'GS*

'5R>[ +S69U '5R9Wg=EX$KT ;TD@*K BT5Z _JI7EZ;9E O:V<6W$EC<S -W$GT* ;TDC;SL `+ C_IMT 9Wg=EX$KT6 T;@S4;TER<<$TE_*V;$TE'GS* ;T*OZcE E Ca@:VMD$ « ;T*LTILZ9:VES7; ES7;a-7V « ;T*+V;6T LS*% JEWOV;9E « ;TD5@*J JVEV%S;7D$ZG EO*O:V<6W$EC<S -W$GT* `GR'5R>[ <EVMTE$EC<S -W$GT* <EE5T:V$TE ;TDIES- _@-EE I* >[ - ID<EE5T:V$TE ;TDLC_+7; CW`L*@ETI $O*<EE5T:V$TE ;TD_+K0T a@:V+V;6T ¬ I T9WgE OD7EW@GIS7 IE_C:T$E ¬ ;T*LTIOS -;T _C)CTLV; ;T*LTILZ;WD C*'G_GVJ@T;V- ¬ ;T*LTIOS+,ET -U;T $V+ ¬ ;T*LTI+TEZCTJ LC<[E5 JVG= ;T*LTI;@@E OZ5TBT' ¬ ;TD5S2-;; JVEV@*K LZEBT ¬ ;T*LTI_;7EDT IZ4V@S;: ? TD$TE_*V; ;T*@EEK-;S _OWD6`$ I ¬ ;T*DZ@V; DVhC$UB[ ? TD+S6$TE ;TDOBVES$K <Z +S;9E ¬ ;TDLS;7V _@YgO7ER$[G ;T*LTIaC;V$T 7S;7DT;Z<Z7E ¬ ;TD@*K LZBS9E LT@+; ? TD=ERLT;*T; ;T*;VG;T9 CMS9:;@VJTG$V+ ¬ ;TDGV%V7 OZcEET*$[G ¬ ;T*LTILZ';:T 9O*'U OO$`<<`GR+S6@VC@ <EVKS9 c<E9 `O;6 @EVh; +U$S6 `D$LWª9U_@G9 <EVKS9 OO'7 T'SG_GOE ¥=ER_9Jc9D¦ +U$S6 7V67 O$O*<EE5T:V$TEITELTE$EC<S -W$GT* <EE5T:V$TEITELTE$EC<S -W$GT* -Sh; ± $GZ C*T;O;ZCS7V@V_JK LU;S$$0MCTD $EC<S -W$GT* 8;;@ERETC³ _%7@ Tc9 $EZ*_9@Q ®­±­­ a9EJS@9 ­¯ ¯´° ¶­¯± 7 O ±±³° ? TD9R_<WD;LCT-V$ ³±¯´ ? TD$TE_*V; MEYO âªêÞæé · ôÞïÞñÜí½àäá«äì«ñå


óøąóčìíÿĉìíĆêëýćÿéćǰǰ óøąóčìíøĎððćÜÿöćíĉǰ÷čÙÙšîíćøøćþãøŤǰ

óøąïĎßćǰ đîČĚĂìĂÜđĀúČĂÜøöéĈǰ ǰĒéÜǰ ÿĊöĆîðĎ ǰĦ ĪǰîĉĚüǰ ïĎßćĂÜÙŤúąǰĤ ĪĪĪǰïćìǰ

óøąïĎßćǰ đîČĚĂìĂÜđĀúČĂÜøöéĈǰ ǰĒéÜǰ ÿĊöĆîðĎ ǰĤǰîĉĚüǰ ïĎßćĂÜÙŤúąǰģ ĪĪĪǰïćìǰ

óøąÖøĉęÜǰ ìĂÜĒéÜÖąĕĀúŠìĂÜǰĤǰàö ǰ ïĎßćĂÜÙŤúąǰģĪĪǰïćìǰ

đĀøĊ÷âǰ ìĂÜĒéÜÖąĕĀúŠìĂÜǰĤǰàö ǰ ïĎßćđĀøĊ÷âúąǰĪĪǰïćìǰ

2 :! =L29L 5 p« LU;S$*T;'GS*_%7 v a9EJS@9 oªrsqtªsoqr a9ELTE oªrsqtªsqst MEYO9Wg ªêÞæé · ÷ìëâ´½àäá«äì«ñå q« LU;S$*T;'GS*+S*MIS6ET-<ZEW a9EJS@9 oªrqrqªrrxu oªrqrrªvptr a9ELTE oªrqrqªpwtr MEYO9Wg ªêÞæé · ïßï½àäá«äì«ñå r« LU;S$*T;'GS*_%7 `GR LU;S$*T;'GS*+S*MIS6 9SgI=ER_9J s« LU;S$*T;_G%T;Z$TE$EC<S -W$GT* ¥? TD- IDOU;ID$TE¦ $EZ*_9@CMT;'E a6DaO;_*V;_% T<S -W :;T'TE$EZ*c9D +U$S6 ¥CMT-;¦ LT%TD OD$ER9EI*$TE'GS* =ER_B9$ER`LETDIS; -YgO<S -W @ER@Z9:E[=<[-T pqo = $EC<S -W$GT* _G%9Wg<S -W ouwªvªoooopªv +9"29L 5 9M E ĉ"9 !=MD#đ! Ċ!H# ŮF#+ +="29L 5 /9 @) -)= ;!/! ; 9 ů


G"29L 5 &+8&@ 2< 9 0:2 : UVT #ā +)"9 = -: -YgO ;TD ;T* ;T*LTI «««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««« 9WgOD[ _G%9Wg«««««««««««««« MC[ 9Wg««««««««« MC[ < T;¬E T;¬<EVKS9¬OT'TE«««««««««««««««««««««««««««««««««««« .OD««««««««««««««««««««««««««««««« `%I*¬7U<G««««««««««««««««««««««««««««««««««««« _%7¬OU_BO«««««««««««««««««««««««««««««««««««« +S*MIS6«««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««« EMSLc=EK5WD ««««««««««««««««««««««««««««««««««« a9EJS@9 < T;«««««««««««««««««««««««««««««««««« CYO8YO««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««« ªêÞæé ««««««««««««««« CW'ITC=ERL*' +RLSg*+O*@ER@Z9:LV9:S78JTL6T pqo = $EC<S -W$GT* 6S*;Wh

!: ;!/! +: :D ĉ: ;!/!29L 5 9 2+Ċ: "A : Ů": ů ;!/! ;!/!D <!

!< &+8ŵD!?M5F-38

p« @ER<[-T_;YhO9O*_MGYO*EC6Uª`6* ¥LWCS;=[¦ t«x ;VhI xxx r©xxx q« @ER<[-T_;YhO9O*_MGYO*EC6Uª`6* ¥LWCS;=[¦ r ;VhI p©xxx q©xxx r .C« x©xxx qxx r« @ER$EVg*9O*`6*$RcMG 9O* r .C« px©xxx xx s« _MEWD 9O*`6*$RcMG 9O* +/)

:+ ;+8D <! + TD_*V;L6_= ;_*V;«««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««« <T9 aO;_*V;_% T<S -W :;T'TE$EZ*c9D +U$S6 ¥CMT-;¦ LT%TD OD$ER9EI*$TE'GS* =ER_B9$ER`LETDIS; -YgO<S -W @ER@Z9:E[=<[-T pqo = $EC<S -W$GT* _G%9Wg<S -W ouwªvªoooopªv G*-YgO««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««« >[ ES<+O* ¥««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««¦ 7U`M; *««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««« LU;S$*T;'GS*_%7««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««¬LU;S$*T;'GS*+S*MIS6««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««««« 3):*D3 @ +9"/9 @) -#+8): -: D ?5! 9!*:*! VYYW D#đ! Ċ!H#










Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.