วารสารวิทยาการจัดการ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1

Page 40

พร้อมทั้งน�ำเสนอให้เห็นในมุมตรงกันข้ามว่า ภาพยนตร์ อาจเป็ นพื้นที่ของการประกอบ สร้ า งความจริ ง เสี ย มากกว่า (รายละเอี ย ดโปรดดู หัว ข้อ ถัด ไปของกลุ่ ม ที่ ส องส�ำ นัก มาร์กซิ สม์)

กลุ่มทฤษฎีบริบท (การวิเคราะห์ บริบท contextual criticism)

ในขณะที่ การวิเคราะห์ภาพยนตร์ ในกลุ่มแรก หรื อตัวบท มักจะมุ่งเน้นการ วิเคราะห์เฉพาะตัวบทและอยู่บนพื้นฐานของศิลปะ แต่ส�ำหรับในกลุ่มนี้ การวิเคราะห์ ภาพยนตร์ จะขยายไปสู่ การวิเคราะห์บริ บทภาพยนตร์ โดยอาจเปรี ยบได้ว่า เป็ นการ วิเคราะห์ป่าแทนที่จะวิเคราะห์เพียงแค่ตน้ ไม้ตน้ เดียว (Andrew Sarris อ้างถึงในอัญชลี ชัยวรพร 2548: 79) การวิเคราะห์บริ บทมักจะได้รับความนิยมในหมูข่ องนักวิชาการในด้าน อื่นๆ นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1970 ไม่วา่ จะเป็ นประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม อันท�ำให้ศาสตร์ ด้านภาพยนตร์ มีลกั ษณะเป็ นสหวิทยาการหรื อการ เชื่อมร้อยกับศาสตร์ดา้ นอื่นมากขึ้นไม่ได้ผกู ขาดเฉพาะนักวิชาการด้านภาพยนตร์แต่เพียง อย่างเดี ยว อี กทั้งท�ำให้การก่ อร่ างสร้ างวิชาการด้านภาพยนตร์ ศึกษา (Film studies) เข้มข้นขึ้น และเนื่ อ งด้ว ยการวิเ คราะห์ บ ริ บ ทมี จำ� นวนมาก ส�ำ หรั บ ในที่ น้ ี จะพิ จ ารณา ในสามด้านคือ การศึกษาประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์ และปั จจัยเศรษฐกิ จ การศึกษาการ ประกอบสร้างความหมายและอุดมการณ์ในภาพยนตร์ตามส�ำนักมาร์กซิสม์และวัฒนธรรม ศึกษา และการศึกษากลุ่มภาพยนตร์ ตามส�ำนัก genre และ auteur รายละเอียดดังนี้ กลุ่มแรก การศึกษาประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์ และปัจจัยเศรษฐกิจ การศึกษา ทั้งสองนี้ จะพิจารณาถึงบริ บทด้านประวัติศาสตร์ และปั จจัยด้านเศรษฐกิ จที่ส่งผลต่อ ภาพยนตร์ ในขณะที่ดา้ นแรก มักจะเป็ นกลุ่มนักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ ซึ่ งจะสนใจการ เปลี่ ยนแปลงของประวัติศาสตร์ สังคม รวมถึ งประวัติศาสตร์ ของการพัฒนาการด้าน เทคโนโลยีภาพยนตร์ จะมีผลต่อเนื้อหาและรู ปแบบในภาพยนตร์ ตัวอย่างเช่น งานศึกษา เรื่ อง “ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย” ของโดม สุ ขวงศ์ (2533) แสดงให้เห็นการก�ำเนิดของ ภาพยนตร์ไทยอันน�ำเข้ามาจากต่างประเทศ และแพร่ กระจายในหมู่คนชั้นสูง หลังจากนั้น จึงเข้าสู่ ประชาชนทัว่ ไป โดยภาพยนตร์ไทยเรื่ องแรกก็คือ “นางสาวสุ วรรณ” (2466) ซึ่ ง ผลิตโดยชาวต่างชาติ คือ Henry A. MacRae ต่อจากนั้น ภาพยนตร์ไทยที่ผลิตโดยคนไทย ก็กำ� เนิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2470 โดยพี่นอ้ งสกุลวสุ วตั คือ “โชคสองชั้น” ภาพยนตร์ของไทยก็ 32

วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ปีท่ี 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถนุ ายน 2554)


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.