สวนสาธารณะเขื่อนนเรศวร

Page 1



โครงการออกแบบและวางผังภูมิสถาปัตยกรรมสวนสาธารณะเขื่อนนเรศวร อาเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก LANDSCAPE ARCHITECTURAL DESIGN AND PLANNING PROJECT OF NARESUAN DAM PARK, PROMPIRAM, PHITSANUROK

อรวรรณ ศุภนิจวัฒนา 5013101323

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของความสมบูรณ์ของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาภูมสิ ถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ.2555 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้




ชื่อผู้เขียน

โครงการออกแบบและวางผังภูมิสถาปัตยกรรมสวนสาธารณะ เขื่อนนเรศวร อาเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก อรวรรณ ศุภนิจวัฒนา

ชื่อปริญญา

ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม

ประธานกรรมการที่ปรึกษา

อาจารย์ จรัสพิมพ์ บุญญานันต์

ชื่อเรื่อง

บทคัดย่อ โครงการออกแบบและวางผังภูมิสถาปัตยกรรมสวนสาธารณะเขื่อนนเรศวร อาเภอพรหม พิราม จังหวัดพิษณุโลก มีเนื้อที่ 171 ไร่ วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนมี พื้นที่สีเขียวได้พักผ่อนหย่อนใจ และส่งเสริมให้ประชาชนมาออกกาลังกายเพื่อมีสุขภาพที่แข็งแรง โครงการออกแบบและวางผังภูมิสถาปัตยกรรมสวนสาธารณะเขื่อนนเรศวรอาเภอพรหม พิราม จังหวัดพิษณุโลก มีแนวความคิดในการออกแบบโครงการครั้งนี้ คือ ได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิม พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบรอบ 84 พรรษา พร้อมทั้งสามารถรองรับกิจกรรมของ ชุมชนอาเภอพรหมพิราม โครงการออกแบบและวางผังภูมิส ถาปัตยกรรมสวนสาธารณะเขื่อนนเรศวร สามารถ นาไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับสภาพของชุมชน ส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวพระราชดาริของในหลวง เพื่อชีวิตที่ยั่งยืนของประชาชนสืบไป


Author

Landscape Architectural Design and Planning Project of Naresuan dam park, Prompiram, Phitsanurok Miss. Orawan Suphanitwattana

Degree of

Bachelor of Landscape Architecture

Advisory Committee Chairperson

Miss. Charaspim Boonyanant

Title

Abstract The Landscape Architectural Design and Planning Project of Naresuan dam park, Prompiram, Phitsanurok had 153 rai area. The design objective of the project for was to promote and provide recreation green open spaces for people living in surrounding communities. As a results, they would be encouraged to do more exercises and be more healthy. The main concept of the Landscape Architectural Design and Planning Project of Naresuan dam park, Prompiram, Phitsanurok. were to honor His Majesty the King on the occasion of his 7th cycle, or 84th, birthday anniversary, and to provide public spaces for activities of the communities in Amphur Prompiram. The Landscape Architectural Design and Planning Project of Naresuan dam park. could be applied as design guidelines for environmental design and improvement suiting to contexts of communities. This would also promote learning under the royal initiatives for sustainable lives of Thai people.


กิตติกรรมประกาศ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สาเร็จลงได้ จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองเป็นส่วนมาก แต่ ขั้นตอนทั้งหมดจะไม่สามารถสาเร็จลงได้ด้วยดีหากปราศจากบุคคลผู้มีพระคุณทุกท่าน จึง ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ ขอขอบพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่ ที่คอยสนับสนุนในทุกๆด้านที่เกี่ยวกับการศึกษามาโดย ตลอด อบรมสั่งสอน ให้คาแนะนาในการแก้ปัญหาต่างๆ และให้กาลังใจเสมอมา ขอขอบพระคุณ อาจารย์จรัสพิมพ์ บุญญานันต์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษา ให้ความรู้ ให้คาแนะนา และสั่งสอนมาโดยตลอด ขอบคุณพี่กู๊ด ที่ช่วยหาพื้นที่โครงการนี้และสามารถนามาทาวิทยานิพนธ์จนสาเร็จ ขอบคุณเพื่อนร่วมรุ่นและรุ่นน้องทุกคน คอยให้กาลังใจและให้คาปรึกษาในการทางาน และ ทาให้การทาวิทยานิพนธ์ครั้งนี้นั้นสาเสร็จลงได้

อรวรรณ ศุภนิจวัฒนา


สารบัญเรื่อง เรื่อง

หน้า

หน้าปกด้านใน

(1)

หน้าใบรับรองวิทยานิพนธ์

(2)

บทคัดย่อภาษาไทย

(3)

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

(4)

กิตติกรรมประกาศ

(5)

สารบัญประกอบด้วย -สารบัญเรื่อง

(6)

-สารบัญตาราง

(10)

-สารบัญภาพ

(11)

-สารบัญแผนที่

(13)

-สารบัญแผนภูมิ

(15)

1. บทนา 1.1 ความเป็นมาของโครงการ

1

1.2 สถานที่ตั้งโครงการและเหตุผลในการเลือกที่ตั้งโครงการ

1

1.3 วัตถุประสงค์

1

1.4 ขอบเขตของการศึกษา

2

1.5 ขั้นตอนและวิธีการดาเนินการศึกษา

4

1.6 ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษา

5

2. ที่ตั้งและความสาคัญของโครงการ 2.1 ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ

7

2.2 การเข้าถึงพื้นที่โครงการ

7

2.3 การเชื่อมโยงพื้นที่โครงการ

7


สารบัญเรื่อง (ต่อ) 2.4 สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันพื้นที่โครงการ

8

3. การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ 3.1 พิจารณาความเป็นไปได้ด้านการเลือกพื้นที่โครงการ

14

3.2 การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐศาสตร์

15

3.3 การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน

15

3.4 พิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการทางด้านการบริหารการจัดการ

15

3.5 พิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการทางด้านสาธารณูปโภค

16

3.6 พิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการทางด้านสาธารณูปการ

17

4. กรณีศึกษา 4.1 กรณีศึกษาโครงการในประเทศ สวนหลวง ร.9 4.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ

18

4.1.2 สถานที่ตั้ง

19

4.1.3 แนวความคิดในการออกแบบ

19

4.1.4 รายละเอียดโครงการ

19

4.1.5 วิเคราะห์โครงการ

21

4.1.6 การประยุกต์ใช้กับการศึกษา

21

4.2 กรณีศึกษาโครงการในประเทศ สวนหลวงพระราม 8 4.2.1 ประวัติความเป็นมา

27

4.2.2 สถานที่ตั้ง

27

4.2.3 วัตถุประสงค์ของโครงการ

28

4.2.4 แนวคิดในการออกแบบ

28

4.2.5 วิเคราะห์การออกแบบโครงการ

28

4.2.6 การประยุกต์ใช้กับการศึกษา

29

4.3 กรณีศึกษาโครงการต่างประเทศ PARC DE LA VILLETTE


สารบัญเรื่อง (ต่อ) 4.3.1 ความเป็นมา

34

4.3.2 สถานที่ตั้ง

34

4.3.3 วัตถุประสงค์ของโครงการ

34

4.3.4 แนวความคิดในการออกแบบ

34

4.3.5 รายละเอียดของโครงการ

35

4.3.6 วิเคราะห์การออกแบบโครงการ

36

4.3.7 การประยุกต์ใช้กับการศึกษา

36

5. ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลของโครงการ 5.1 การวิเคราะห์ปัจจัยทางธรรมชาติ

42

5.2 การวิเคราะห์ปัจจัยทางวัฒนธรรม

47

5.3 การวิเคราะห์ปัจจัยทางสุนทรียภาพ

48

5.4 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้และความต้องการทางด้านพื้นที่ใช้ สอยของโครงการ 5.5 การวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะด้าน

49 50

6. แนวความคิดในการออกแบบ 6.1 แนวคิดในการออกแบบโดยรวม (Main Concept)

75

6.2 แนวความคิดในการออกแบบวางผังและจัดกลุ่มพื้นที่โครงการ

75

6.3 แนวความคิดเรื่องระบบการสัญจร

76

6.4 แนวความคิดในการใช้พืชพรรณ

77

7. รายละเอียดโครงการเพื่อการออกแบบ 7.1 รายละเอียดการออกแบบ ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ

83

7.2 รายละเอียดรูปแบบของสิ่งปลูกสร้าง

85

8. ผลงานการออกแบบ 9. บทสรุปและข้อเสนอแนะ

87


สารบัญเรื่อง (ต่อ) 9.1 บทสรุป

104

9.2 ข้อเสนอแนะ

104

บรรณานุกรม

106

ประวัตินักศึกษา

107


สารบัญตาราง ตารางที่

หน้า

1. แสดงจานวนประชากรในอาเภอพรหมพิราม

50

2. แสดงการวิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของพื้นที่โครงการ

67

3. แสดงการแบ่งพื้นที่ใช้สอยของโครงการ

70


สารบัญภาพ ภาพที่

หน้า

1. แสดงทัศนียภาพบริเวณสวนพฤกษศาสตร์และอาคารพันธุ์ไม้ทะเลทราย

25

2. แสดงทัศนียภาพบริเวณสวนนานาชาติ สวนจีน

25

3. แสดงทัศนียภาพบริเวณอาคารหอรัชมงคล

26

4. แสดงทัศนียภาพพื้นที่ของตระพังแก้วเก็บน้า

26

5. แสดงทัศนียภาพเส้นทางสัญจรทางเท้า

32

6. แสดงทัศนียภาพพื้นที่ติดริมน้า

32

7. แสดงทัศนียภาพบริเวณสวนประดิษฐ์

33

8. แสดงทัศนียภาพบริเวณศาลานั่งเล่นริมน้า

33

9. แสดงบรรยากาศพื้นที่ริมแม่น้า Ring road

40

10. แสดงพื้นที่ของสนามเด็กเล่นภายในสวนสาธารณะ

40

11. แสดงประติมากรรมรูปรถจักรยาน

41

12. แสดงผลงานชื่อว่า Geode

41

13. ส่วนประกอบของเขื่อนป้องกันตลิ่งและวัสดุที่ใช้เป็นชั้นป้องกันการกัดเซาะ

52

14. แสดงวัสดุที่ใช้เป็นเขื่อนป้องกันตลิ่งชนิดอาศัยธรรมชาติ

53

15. แสดงสภาพถนนทางเข้าทางด้านหน้าของพื้นที่โครงการ

63

16. แสดงถนนด้านในพื้นที่โครงการทางทิศตะวันออก

63

17. แสดงถนนทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่โครงการ

63

18. แสดงพื้นที่สนามฟุตบอลเดิมบริเวณด้านหน้าภายในพื้นที่โครงการ

64

19. แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินเดิมเป็นศาลานั่งริมน้าและโครงสร้างเขื่อน

64

20. แสดงพื้นที่ภายในพื้นที่โครงการเป็นพื้นที่รกร้าง

64

21. แสดงสภาพพื้นที่ทางทิศตะวันออกแม่น้าน่านติดกับพื้นที่โครงการ

65

22. พื้นที่ริมแม่น้าน่านทางด้านทิศใต้ติดกับหมูบ้านกรับพวงเหนือ

65


สารบัญภาพ (ต่อ) 23. พื้นที่รอบข้างทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่โครงการ

65

24. SITE INTRODUCTION & SITE INVENTORY

91

25. SITE ANALYSIS

92

26. SITE ANALYSIS

93

27. SITE ANALYSIS

94

28. SITE SYNTHESIS

95

29. CONCEPTUAL DESIGN

96

30. PLANTING DESIGN

97

31. MASTER PLAN

98

32. DETAIL A

99

33. DETAIL B

100

34. DETAIL C

101

35. OVER ALL

102

36. MODEL

103


สารบัญแผนที่ แผนที่

หน้า

1. แสดงที่ตั้งโครงการระดับประเทศ

9

2. แสดงที่ตั้งโครงการระดับจังหวัด

10

3. แสดงที่ตั้งโครงการระดับอาเภอ

11

4. แสดงที่ตั้งโครงการระดับตาบล

12

5. แสดงแผนที่ขอบเขตที่ตั้งโครงการ

13

6. แผนทีต่ ั้งสวนหลวง ร. 9

23

7. แผนทีภ่ ายในพื้นที่สวนหลวง ร. 9

24

8. แผนทีแ่ สดงที่ตั้งของสวนสาธารณะ สวนหลวงพระราม 8

30

9. แผนที่ภายในสวนสาธารณะ สวนหลวงพระราม 8

31

10. แผนที่ตั้งของสวน Parc de la Villette

38

11. แผนที่ภายในสวนสาธารณะ Parc de la Villette 12. แผนทีแ่ สดงความลาดชันของพื้นที่

39 55

13. แผนทีแ่ สดงแหล่งน้าและทิศทางการไหลของน้าในพื้นที่

56

14. แผนที่แสดงตาแหน่งพืชพรรณ

57

15. แผนที่แสดงเส้นทางสัญจร

58

16. แผนที่แสดงตาแหน่งอาคารและสิ่งก่อสร้างเดิม

59

17. แผนที่แสดงตาแหน่งสาธารณูปโภค

60

18. แผนที่แสดงตาแหน่งสาธารณูปการ

61

19. แผนที่แสดงตาแหน่งมุมมองในพื้นที่โครงการ

62

20. แผนที่แสดงการวิเคราะห์พื้นที่โครงการ

66

21. แผนทีแ่ สดงความต้องการของพื้นที่โครงการ

69

22. แผนที่แสดง Bubble Diagram

79

23. แผนที่แสดง Zoning Diagram

80


23. แผนที่แสดง Function Diagram

81

24. แผนที่แสดง Circulation Diagram

82


สารบัญแผนภูมิ แผนภูมิที่

หน้า

1. แสดงข้อมูลอุณหภูมิที่สถานีอุตุนิยมวิทยา เฉลี่ยย้อนหลัง ปี 2551 - 2554

45

2. แสดงข้อมูลปริมาณน้าฝนเฉลี่ยย้อนหลัง ปี 2551 – 2554

45

3. แสดงความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยย้อนหลัง ปี 2551 – 2554

46

4. แสดงความเร็วลมเฉลี่ยย้อนหลังปี 2544 - 2553

46


บทที่ 1 บทนา 1.1 ความเป็นมาของโครงการและเหตุผลในการเลือกโครงการ เขื่อนนเรศวร ตั้งอยู่ตาบลพรหมพิราม อาเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เป็นเขื่อนทด น้าขนาดใหญ่บนแม่น้าน่าน ได้มีการก่อสร้างระบบส่งน้าเพื่อการชลประทาน โดยพื้นที่บริเวณ เขื่อนถูกใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากพื้นที่บนเขื่อนมีสภาพแวดล้อมที่สวยงามติดริม แม่น้า ทาให้มีผู้มาใช้พื้นที่ในการทากิจกรรมนันทนาการต่างๆ เนื่ อ งจากปั จ จุ บั น พื้ น ที่ บ ริ เ วณเขื่ อ นนเรศวร มี ป ระชาชนมาใช้ พื้ น ที่ เ ขื่ อ นในการท า กิจกรรมนันทนาการต่างๆ ทาให้กรมชลประทานเขื่อนนเรศวร เทศบาลตาบลพรหมพิราม และ องค์การบริหารส่วนตาบลพรหมพิราม ได้มีนโยบายสร้างโครงการสวนสาธารณะสาหรับชุมชน โดยใช้พื้นที่บริเวณเขื่อนนเรศวรที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์นามาสร้างสวนสาธารณะเพื่อส่งเสริมให้ ประชาชนได้ออกกาลังกายและสามารถรองรับกิจกรรมประจาปีของอาเภอ เช่น วันสงกรานต์ และ กีฬาประจาอาเภอ 1.2 สถานที่ตั้งของโครงการและเหตุผลในการเลือกที่ตั้งโครงการ พื้นที่โครงการตั้งอยู่เลขที่ 57 หมู่ที่ 7 บ้านหาดใหญ่ ตาบลพรหมพิราม อาเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยเหตุผลที่เลือกที่ตั้งโครงการ เนื่องจากพื้นที่โครงการมีสภาพแวดล้อมที่ สวยงามมีพื้ นที่ กว้างติดริม น้าและอยู่ ใกล้กั บชุมชน ทาให้มีความเหมาะสมในการเป็นสถานที่ พักผ่อนและออกกาลังกาย 1.3 วัตถุประสงค์ 1.3.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ 1.3.1.1 เพื่อเป็นสถานที่ออกกาลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ โดยมีพื้นที่พักผ่อนติด ริมน้าให้แก่ประชาชนและผู้ที่มาเที่ยวเขื่อนนเรศวร


1.3.1.2 เพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชน ในการรองรับกิจกรรมทางด้านนันทนาการ ตลอดจนกิจกรรมประจาของอาเภอ เช่น วันสงกรานต์และกีฬาประจาอาเภอ 1.3.1.3 เพื่อนาพื้นที่ว่างบนเขื่อนมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและส่งเสริมให้ คนในชุมชนได้ออกกาลังกาย 1.3.1.4 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสเฉลิม พระชนมพรรษา 84 พรรษา 1.3.2 วัตถุประสงค์หรือประเด็นปัญหาของการศึกษา 1.3.2.1 เพื่อศึกษาความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และกิจกรรมต่างๆของชุมชน ตลอดจนกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆของชาวอาเภอพรหมพิราม 1.3.2.2 เพื่อศึกษาแนวทางในการออกแบบพื้นที่สวนสาธารณะริมน้าให้เหมาะสม กับพื้นที่โครงการและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งสามารถรองรับกิจกรรม ต่างๆของคนในชุมชนได้ 1.4 ขอบเขตของการศึกษา 1.4.1 ขอบเขตของพื้นที่ศึกษา พื้นที่การศึกษามีเนื้อที่ทั้งหมด 171 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นต่างๆที่ดังนี้ ทิศเหนือ

มีอาณาเขตติดต่อกับ บ้านพักอาศัยเจ้าหน้าที่และบุคลากร ของกรมชลประทานเขื่อนนเรศวร ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับ แม่น้าน่านและหมู่บ้านกรับพวง เหนือ ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับ แม่น้าน่าน ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้าจืด พิษณุโลก

1.4.2 ขอบเขตของเนื้อหาที่จะศึกษา 1.4.2.1 ศึกษากรณีศึกษาของโครงการสวนสาธารณะทั้งในประเทศและต่าง


ประเทศที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เพื่อที่จะนามาประยุกต์ใช้และปรับปรุงให้สอดคล้องกับพื้นที่ โครงการ 1.4.2.2 ศึกษาลักษณะรูปแบบและองค์ประกอบของสวนสาธารณะระดับอาเภอ เพื่อนามาออกแบบและพัฒนาพื้นที่โครงการ เพื่อให้เป็นสวนสาธารณะที่ได้มาตรฐาน 1.4.2.3 ศึกษาข้อมูลเฉพาะด้าน 1) กฎหมายข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่โครงการ 2) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ริมน้า เพื่อนามาส่งเสริมการออกแบบ สวนสาธารณะพื้นที่ริมน้า 1.4.2.4 ศึกษาข้อมูลลักษณะทางด้านกายภาพของพื้นที่โครงการประกอบด้วยปัจจัย ดังนี้ 1) ปัจจัยทางธรรมชาติ 1.1) สภาพภูมิประเทศ 1.2) แหล่งน้าและการระบายน้า 1.3) ธรณีวิทยาและลักษณะดิน 1.4) ลักษณะพืชพรรณ 1.5) ลักษณะสภาพภูมิอากาศ 2) ปัจจัยต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น 2.1) การใช้ที่ดิน 2.2) ระบบการสัญจร 2.3) กิจกรรมเดิมในพื้นที่โครงการและพื้นที่ใกล้เคียง 2.4) ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ 2.5) ลักษณะของอาคารสิ่งก่อสร้างภายในและรอบพื้นที่ โครงการ 3) ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม 3.1) วัฒนธรรมประเพณีของคนในชุมชน 3.2) ระบบความเชื่อมโยงในด้านการขนส่ง การคมนาคม 4) ทัศนียภาพ 3.3) พิจารณาและวิเคราะห์มุมมองที่ดีและไม่ดีของโครงการ 3.4) ปัญหามลทัศน์


1.4.2.5 ศึกษาความต้องการของผู้ใช้สอย 1.5 ขั้นตอนและวิธีการดาเนินการศึกษา 1.5.1 กาหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษาโครงการ 1.5.2 กาหนดขอบเขตการศึกษา 1.5.3 สารวจและเก็บข้อมูล 1.5.3.1 ข้อมูลภาคสนาม ทางด้านที่ตั้ง พื้นที่ข้างเคียง สภาพธรรมชาติ สภาพภูมิ ประเทศ สภาพภูมิอากาศ เพื่อทราบถึงศักยภาพและปัญหาของพื้นที่ 1.5.4 ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ 1.5.5 งานวิเคราะห์ข้อมูล (Site Analysis) 1.5.5.1 ที่ตั้งโครงการ การเข้าถึง การคมนาคม และการเชื่อมโยงพื้นที่โครงการ (Site Location, Accessibility, Transportation and Linkage) 1.5.5.2 สภาพทั่วไปของโครงการ (Existing Condition) 1) อาคารสิ่งก่อสร้างเดิม( Existing Buildings and Structures) 2) พืชพรรณเดิม (Existing Plants) 3) มุมมองและทัศนียภาพ (Visual Impact) 4) สภาพภูมิอากาศ (Climate) 5) ความลาดชัน (Slope) 6) การระบายน้า (Drainage) 7) ลักษณะและคุณสมบัติของดิน (Soil Characteristics) 1.5.5.3 ลักษณะทั่วไปรอบๆโครงการ 1.5.5.4 ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (Utilities and Facilities) 1.5.5.5 ผู้ใช้และกิจกรรม (Users and Activities) 1.5.6 การวิเคราะห์หาความต้องการของโครงการ (Program Synthesis) 1.5.7 ศึกษาโครงการที่มีความใกล้เคียงกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ (Case Studies) 1.5.8 งานสังเคราะห์ข้อมูล (Site Synthesis) 1.5.8.1 การพัฒนาโปรแกรม (Program Development) 1.5.8.2 ข้อกาหนดของโปรแกรม (Program Requirements) 1.5.8.3 ศักยภาพและข้อจากัด (Site Potential and Constrains)


1.5.9 งานขั้นตอนเสนอแนวคิดในการออกแบบ 1.5.9.1 แนวคิดด้านสถาปัตยกรรมและการวางผังอาคาร 1.5.9.2 แนวคิดด้านภูมิสถาปัตยกรรมและการวางผังอาคาร 1.5.9.3 แนวคิดด้านการวางผังอื่นๆ 1.5.10 งานขั้นออกแบบ 1.5.10.1 การออกแบบผังแม่บท 1.5.10.2 การออกแบบผังบริเวณ 1.5.10.3 การออกแบบผังรายละเอียด 1.5.11 นาเสนอผลงานการออกแบบขั้นสมบูรณ์ 1.5.11.1 ผังแม่บท (Master Plan) 1.5.11.2 ผังบริเวณ (Site Plans) 1.5.11.3 ผังรายละเอียด (Detail Plans) 1.5.11.4 รายละเอียดการใช้พืชพรรณ (Planting Details) 1.5.11.5 รายละเอียดโครงสร้าง (Construction Details) 1.5.11.6 รูปตัดและรูปด้าน (Sections and Elevations) 1.5.11.7 รูปทัศนียภาพ (Perspective) 1.5.11.8 หุ่นจาลอง (Model) 1.5.11.9 รูปเล่มวิทยานิพนธ์ 1.5.12 สรุปการศึกษาและข้อเสนอแนะในการจัดทาวิทยานิพนธ์ 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.6.1 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ 1.6.1.1 ประชาชนในชุมชน ได้มีพื้นที่สาหรับออกกาลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ 1.6.1.2 อาเภอพรหมพิรามและประชาชนในชุมชน ได้มีพื้นที่สาหรับจัดกิจกรรม ประจาอาเภอและกิจกรรมตามประเพณีต่างๆ 1.6.1.3 ประชาชนชาวอาเภอพรหมพิราม ได้ตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากการเรียนรู้ถึงพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ด้านการประมงและการจัดการน้า 1.6.2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษา


1.6.2.1 สามารถเรียนรู้ถึงความต้องการของประชาชนและกิจกรรมประเพณีต่างๆใน พื้นที่ เพื่อที่สามารถนามาเป็นแนวทางในการออกแบบสวนสาธารณะ 1.6.2.2 สามารถเรียนรู้ถึงแนวทางในการออกแบบวางผังสวนสาธารณะติดพื้นที่ ริมน้าให้เหมาะสมกับพื้นที่โครงการ


บทที่ 2 ที่ตั้งและความสาคัญของพื้นที่โครงการ 2.1 ที่ตั้งโครงการและอาณาเขตติดต่อ พื้นที่โครงการตั้งอยู่เลขที่ 57 หมู่ที่ 7 บ้านหาดใหญ่ ตาบลพรหมพิราม อาเภอพรหม พิราม จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่การศึกษามีเนื้อที่ทั้งหมด 171 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นต่างๆที่ ดังนี้ ทิศเหนือ

มีอาณาเขตติดต่อกับ บ้านพักอาศัยเจ้าหน้าที่และบุคลากร ของกรมชลประทานเขื่อนนเรศวร ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับ แม่น้าน่านและหมู่บ้านกรับพวง เหนือ ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับ แม่น้าน่าน ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้าจืด พิษณุโลก 2.2 การเข้าถึงพื้นที่โครงการ พื้นที่โครงการ สามารถเดินทางเข้าพื้นที่โครงการได้ 2 ทาง คือ - ทางรถยนต์ เดินทางจากตัวเมืองมายังพื้นที่โครงการโดยถนนทางหลวง หมายเลข 1275 ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 45 นาที - ทางรถยนต์โดยสารรับจ้าง จากสถานีขนส่งในตัวเมืองพิษณุโลก และ เดินทางมายังถนนหมายเลข 1275 มายังพื้นที่โครงการ 30 นาที 2.3 การเชื่อมโยงพื้นที่โครงการ เนื่องจากพื้นที่โครงการตั้งอยู่บนพื้นที่เขื่อนนเรศวรติดริมแม่น้าน่าน โดยห่างจากอาเภอ พรหมพิราม 3 กิโลเมตร การสัญจรจะมีถนนทางหลวงหมายเลข 1275 ทาให้มีการเชื่อมโยงไปยัง สถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและให้การบริการแก่พื้นที่โดยรอบ ดังนี้ (ดูแผนที่ 4)


2.3.1 สถานที่ราชการ สถานที่ราชการที่อยู่ในเขตให้บริการมี ดังนี้ สานักงานกรมชลประทาน ศูนย์วิจัย และเพาะพันธุ์สัตว์น้า ที่ว่าการอาเภอพรหมพิราม สถานีตารวจภูธรพรหมพิราม เทศบาลตาบล พรหมพิราม โรงพยาบาลพรหมพิราม โรงเรียนพรหมพิรามวิทยาลัย โรงเรียนพรหมพิรามอุทิศ โรงเรียนอินทุภูติ โรงเรียนศึกษากุลบุตร โรงเรียนชุมชนวัดย่านขาด ซึ่งสถานที่ราชการและโรงเรียน อยู่ใกล้กับพื้นที่โครงการ สามารถมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้สะดวก 2.3.2 สถานีขนส่ง สถานีขนส่งอยู่ห่างจากพื้นที่โครงการประมาณ 9 กิโลเมตร แต่ในการเดินทาง มายังพื้นที่โครงการสามารถทาได้อย่างสะดวก เพราะภายในบริเวณตัวเมืองจะมีรถบริก ารประจา ทางคอยให้บริการหากเดินทางไปถึง 2.4 สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันของพื้นที่โครงการ พื้นที่โครงการเป็นพื้นที่ของราชพัสดุ ซึ่งได้มอบหมายให้กรมชลประทานเขื่อนนเรศวร ได้รับ หน้า ที่ ดู แลพื้ นที่ แห่ง นี้ โดยให้เป็น พื้ นที่เขื่อนเพื่ อใช้ส่งน้าในการชลประทาน และพื้ น ที่ บางส่วนทางด้านทางทิศตะวันตก เป็นของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้าจืด จังหวัดพิษณุโลก ในพื้นที่โครงการ ส่วนด้านเป็นสนามฟุตบอลเก่าและได้มีการจัดเป็นสถานที่นั่งพักผ่อน บริเวณริมน้าทางทิศตะวันออก ซึ่งติดกับประตูเขื่อน ทาให้มีผู้ที่ มาใช้พื้นที่ริมน้าในการทากิจกรรม นันทนาการ ส่วนทางด้านหลังของพื้นที่โครงการ เป็นพื้นที่รกร้างเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ยังไม่ได้ใช้ ประโยชน์ (ดูแผนที่ 5)






5


บทที่ 3 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โครงการออกแบบและวางผังภูมิสถาปัตยกรรมสวนสาธารณะเขื่อนนเรศวร อาเภอพรหม พิ ร าม จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก เป็ น โครงการที่ ต้ อ งการการพั ฒ นาพื้ น ที่ บนเขื่ อ นนเรศวร เป็ น สวนสาธารณะเพื่ อให้ ป ระชาชนในพื้ น ที่ มี ที่ พั ก ผ่ อ นหย่ อนใจที่ ไ ด้ ม าตรฐาน สามารถ รองรั บ กิจกรรมตามประเพณีและกิจกรรมกี ฬาประจาอาเภอได้ เพื่อให้ชุมชนมีสุ ขภาพที่ดีทั้งทางด้าน สุ ข ภาพกายและสุ ข ภาพใจ ดั ง นั้ น ในการพิ จ ารณาการท าโครงการออกแบบและวางผั ง ภู มิ สถาปัตยกรรมสวนสาธารณะเขื่อนนเรศวร จึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทาการศึกษาความ เป็นไปได้ของโครงการ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบพัฒนาพื้นที่ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ วางไว้ สามารถแบ่งการพิจารณาได้ดังนี้ 3.1 ความเป็นไปได้ทางด้านการเลือกพื้นที่โครงการ 3.1.1 ที่ตั้งของโครงการและการเข้าถึง พื้นที่โครงการตั้งอยู่ที่ 57 หมู่ที่ 7 บ้านหาดใหญ่ ตาบลพรหมพิราม อาเภอพรหม พิราม จังหวัดพิษณุโลก ขนาดพื้นที่โครงการมีเนื้อที่ 171 ไร่ พื้นที่โครงการเป็นพื้นที่ของราชพัสดุ ซึ่งได้มอบหมายให้กรมชลประทานเขื่อนนเรศวรได้รับหน้าที่ดูแลพื้นที่แห่งนี้ พื้นที่โครงการเข้าถึงได้สะดวกโดยด้านหน้าของพื้นที่ติดกับถนนทางเข้าหลักของ ทางเข้าพื้นที่เขื่อนนเรศวรและติดริมแม่น้าน่านจึงมีมุมมองที่สวยงาม ดังนั้นพื้นที่จึงเหมาะสมกับ การสร้างสวนสาธารณะสาหรับให้ประชาชนได้ออกกาลังกายและมาเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เพราะอยู่ห่างจากตัวอาเภอพรหมพิราม 3 กิโลเมตรและอยู่บนพื้นที่เขื่อนนเรศวรที่มีวิวทิวทัศน์ที่ สวยงาม เหมาะแก่การพัฒนาให้ชุมชนสามารถเข้ามาใช้ 3.2 การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ จากนโยบายของภาครัฐ ในปี 2554 ในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ได้ร่วมมือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลตาบล สถาบันการศึกษา เพื่อจัดสร้าง


สวนสาธารณะ สนามกีฬาให้กับประชาชน เป็นแนวคิดที่มุ่งหวังให้มีการพัฒนาแบบยั่งยืนและเกิด ประโยชน์ต่อคนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการเลือกพัฒนาสวนสาธารณะเขื่อนนเรศวรจึงมีความสอดคล้องกับ ศักยภาพ และ สภาพปัจจุบันของพื้นที่ ที่มีขนาดใหญ่ อยู่ใกล้แหล่งชุมชน จึงสามารถพัฒนาให้เป็นสวนสาธารณะ ที่จะร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และสร้างสังคมให้มีความเข้มแข็ง 3.3 การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน ในการดาเนินการก่อสร้างและปรับปรุงโครงการนั้นได้รับเงินงบประมาณทางเขื่อนนเรศวร และองค์การบริหารส่วนตาบลได้หมอบหมายให้เทศบาลตาบลพรหมพิรามเป็นผู้ดูแล นอกจากนั้น ในช่วงเทศกาลประเพณีต่างๆของอาเภอ ก็จะได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน ในปั จจุบั นหน่วยงานที่ ดูแลสวนสาธารณะโดยเฉพาะ คือ กองช่าง ฝ่ายสวนสาธารณะ เทศบาลตาบลพรหมพิราม มีเงินงบประมาณในการพัฒนาสวนสาธารณะเกิดขึ้น เงินทุนหมุนเวียนที่ ใช้ในการดูแลซึ่งได้มาจากภาษีของผู้ประกอบการค้ าและชาวบ้านในชุมชน แต่ยังไม่เพียงพอที่จะ นามาใช้ในการพัฒนา ดังนั้น หากมีการดาเนินการโครงการออกแบบและวางผังภูมิสถาปัตยกรรมสวนสาธารณะ เขื่อนนเรศวร จาเป็นต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดาเนินการก่อสร้างและดูแลรักษา จากทางราชการ 3.4 การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการบริหารและการจัดการ เนื่องจากอาเภอพรหมพิรามมีนโยบายพัฒนาพื้นที่สีเขียวให้เป็นสวนสาธารณะสาหรับ ชุมชน ซึ่งมีหน่วยงานการประสานงานกันหลายฝ่าย ตั้งแต่ สานักงานชลประทานเขื่อนนเรศวร เทศบาลตาบลพรหมพิรามและหน่วยงานอื่นๆ ความเป็นไปได้ที่ โครงการออกแบบและวางผังภูมิ สถาปัตยกรรมสวนสาธารณะเขื่อนนเรศวร จะจัดสร้างขึ้นนั้นย่อมมีความเป็นไปได้สูง อีกหนึ่ง หน่วยงานที่มีบทบาทร่วมไปกับโครงการนั้นคือ หน่วยงานที่อยู่กับชุมชน เช่น องค์การบริหารส่วน ตาบล ชุมชนบ้านย่านขาด ชุมชนบ้านกรับพวงเหนือ ที่ชุมชนสามารถพัฒนาและดูแลพื้นที่ ได้ ซึ่ง เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทางโครงการจะนามาใช้ในการออกแบบพื้นที่ที่ให้ชุมชน การจัดการและการ บริหารจะเป็นหน่วยงานใหญ่ของทางจังหวัดเป็นฝ่ายจัดหา ส่วนเจ้าหน้าที่หรือพนักงานนั้นจะเป็น คนในท้องถิ่น 3.5 การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านสาธารณูปโภค 3.5.1 ระบบไฟฟ้า


ระบบไฟฟ้าเดิมได้รับกระแสไฟฟ้าจากสถานีจ่ายไฟฟ้าองค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อาเภอสันพรหมพิราม เดินสายผ่านพื้นที่โครงการได้ทั่วถึง ควรมีการจัดการสายไฟ เช่น ตัดแต่งกิ่ง ไม้ใบไม้ หรือ นาสายไฟลงใต้ดินช่วยในการสร้างทัศนียภาพให้ดีขึ้น ในอนาคตมีการนาใช้พลังงาน ทางเลือกอื่นมาใช้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้า พลังงานลม เป็นต้น 3.5.2 โทรคมนาคมและการสื่อสาร ระบบโทรคมนาคมและการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์อาเภอสัน พรหมพิราม ซึ่ง ใช้ เสาร่ ว มกั บ เสาไฟฟ้ า เดิ ม ระบบโทรศั พ ท์ส าธารณะกระจายอยู่ ทั่ ว ไปของพื้ น ที่ โ ครงการ สามารถติดต่อได้ทั่วถึงทั้งภายนอกและภายในพื้นที่ ในอนาคตสามารถใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ติดต่อสื่อสารได้ทั่วถึงในพื้นที่ 3.5.3 ระบบประปา น้าประปาได้มาจากองค์การประปาส่วนภูมิภาคอาเภอพรหมพิราม และภายในกรม ชลประทานมีสถานีกักเก็บน้าไว้ใช้ในศูนย์ราชการ โดยสูบน้าจากแม่น้าน่าน เพื่อใช้ในการอุปโภค และมีการจัดเก็บน้าฝนแล้วนามากรองเพื่อใช้ในการบริโภค 3.5.4 การคมนาคมและการขนส่ง การคมนาคมสามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1275 เป็นทางหลัก สาหรับทางที่ เข้าถึงพื้นที่โครงการใช้ถนนทางเข้ากรมชลประทานซึ่งติดต่อกับถนนทางหลวงหมายเลข 1275 ถนนสภาพดีกว้าง 10 เมตร และถนนด้านหน้าติดกับพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้าจืด มีความ กว้างประมาณ 4 เมตร ต้องมีการปรับปรุงเรื่องของขนาดและวัสดุเพราะเป็นถนนดิน 3.6 การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านสาธารณูปการ 3.6.1 การบริการสาธารณสุข และสถานพยาบาล สถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดมี 1 แห่งคือโรงพยาบาลพรหมพิราม ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นที่ ประมาณ 3 กิโลเมตร เดินทางสะดวก ใช้เวลาในการเดินทาง 10-15 นาที และทางสถานพยาบาลได้ มีการจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่มาดูแลให้กับชุมชนใกล้เคียงโดยตลอด เพื่อความสะดวกในพื้นที่ควร มีการจ้างแพทย์อาสาเข้ามาอยู่ประจาในพื้นที่ 3.6.2 สถานีตารวจ สถานีตารวจภูธรอาเภอพรหมพิรามอยู่ห่างจากพื้นที่ประมาณ 3 กิโลเมตรอยู่ใกล้ กับที่ว่าการอาเภอพรหมพิรามและโรงพยาบาลพรหมพิราม เดินทางสะดวก ใช้เวลาในการเดินทาง ประมาณ 10-15 นาที ในการจั ด งานต่ า งๆสามารถร้ อ งขอเจ้ า หน้ า ต ารวจมาดู แ ลและควบคุ ม สถานการณ์ 3.6.3 สถานีรถไฟ


สถานีรถไฟอยู่ในตัวอาเภอพรหมพิราม ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นที่โครงการประมาณ 3 กิโลเมตร สามารถมาลงยังสถานีรถไฟและมายังพื้นที่โครงการประมาณ 15 นาที


บทที่ 4 กรณีศึกษา 4.1 กรณีศึกษาโครงการในประเทศ สวนหลวง ร.9 สวนหลวง ร.๙ สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือร่วมใจของกรุงเทพมหานครมูลนิธิสวนหลวง ร.๙ องค์กรภาครัฐและเอกชน รวมถึงปวงชนชาวไทยเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในมงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ใน พ.ศ. 2530 โดยสร้างบนที่ดินของกรุงเทพมหานคร บริเวณหนองบอน ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่มีศักยภาพในการเป็นพื้นที่รับน้าก่อนระบายสู่ แม่น้า เจ้าพระยา ซึ่งเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาน้าท่วมตามพระราชดาริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โครงการเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ตามความมุ่งหวังร่วมกันที่จะสร้างสวนสาธารณะระดับ นครให้เป็นหน้าตาของประเทศ และสร้างพื้นที่สีเขียวเพื่อให้ประชาชนได้มาเที่ยวพักผ่อน ด้วยที่ดิน ผืนนี้ไม่ได้ต่อเนื่องกันเป็นผืนเดียว แต่มีที่ดินหลายแปลงปะปนในที่ดินเอกชน จึงต้องแลกที่ดินกับ เอกชน และได้รับบริจาคเพิ่ม ทาให้มีพื้นที่รวมถึง 500 ไร่ เหมาะสมกับการเป็นสวนระดับนคร และ การแปรสภาพจากพื้นที่ลุ่ม รกร้าง เต็มไปด้วยหลุมบ่อ และทุ่งนา กลายเป็นสวนสาธารณะสมบูรณ์ แบบที่งามสง่าจับตาดังเนรมิต แสดงถึง พลังศรัทธา ความสมานสามัคคี และความจงรักภักดีต่อองค์ พระประมุขของชาติ และเป็น อนุสรณ์แห่งสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างพระมหากษัตริย์ และ ราษฎรชาวไทย ผลงานยิ่งใหญ่นี้จะสืบทอดเป็นมรดกล้าค่าสู่ชนรุ่นต่อไป 4.1.1 วัตถุประสงค์โครงการ 4.1.1.1 สร้างสวนสาธารณะ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนพรรษาครบ 5 รอบ ในปี พ.ศ. 2530 4.1.1.2 เป็นศูนย์กลางเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ภายในเมืองที่เพียงพอกับ ความต้องการของประชาชน 4.1.1.3 เป็นศูนย์กลางรวบรวมสะสม และอนุรักษ์พรรณไม้ ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ ให้เป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่สมบรูณ์แบบแห่งแรกของประเทศไทย 4.1.1.4 ส่งเสริมวิชาด้านการศึกษา ค้นคว้าวิจัย และเผยแพร่ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป


4.1.2 สถานที่ตั้ง ที่ตั้ง

: ถนนสุขุมวิทย์ 103 แขวงหนองบอน สานักงานประเวศ กรุงเทพมหานคร พื้นที่ : 500 ไร่ (200 เอเคอร์) ผู้ออกแบบ : ร.ศ. เดชา บุญค้า คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ผู้รับผิดชอบโครงการ : มูลนิธิสวนหลวง ร.9. งบประมาณก่อสร้าง : ประมาณ 400 ล้านบาท 4.1.3 แนวความคิดในการออกแบบ ในการทาการออกแบบเบื้องต้น ผู้ออกแบบได้แบ่งสวนออกเป็น 5 บริเวณ ต่อมาได้ ทราบพระราชทานดาริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “ บริเวณโครงการเป็นพื้นที่ลุ่มต่า ควรจัดทา เป็นสวนน้า มีต้นไม้ขึ้นในน้าแล้วปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เงียบสงบ จะได้มีสัตว์ต่าง ๆ เช่น นกน้า นกกาต่าง ๆ ได้มาอยู่อาศัยตามธรรมชาติ โดยให้ดูตัวอย่างจากสวนน้าในโครงการศูนย์ศึกษา การพัฒนาพิกุลทองจังหวัดนราธิวาส เป็นต้น ” คณะกรรมการมูลนิธิจึงได้ปรับปรุงแบบ ให้ สอดคล้องกับแนวพระราชดาริของพระองค์ท่าน และวัตถุประสงค์ที่วางไว้ให้มากที่สุด 4.1.4 รายละเอียดโครงการ สามารถแบ่งพื้นที่ออก 6 บริเวณ ได้แก่ บริเวณที่ 1 เป็นบริเวณเฉลิมพระเกียรติ มีเนื้อที่ประมาณ 21 ไร่ ประกอบด้วย หอรัชมงคลประติมากรรมสัญลักษณ์ พระปฐมบรมราชโองการที่ว่า “เราครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์แห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งจะจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชจริยวัตรในด้านต่าง ๆ และโครงการใน พระราชดาริรวมทั้งเครื่องใช้ส่วนพระองค์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทาน สวนราช พฤกษ์ สระน้าพุ 3สระบริเวณนี้ถูกขนานว่า “ อุทยานมหาราช ”


บริเวณที่ 2 สวนพฤกษศาสตร์ มีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ อยู่ด้านเหนือ เป็นที่รวบรวมพันธุ์ไม้ตามหลัก อนุกรมวิธานและนิเวศวิทยา เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ประกอบด้วยพันธุ์ไม้นานชนิด ตึก อานวยการห้องสมุดสาหรับค้นคว้า และสวนนานาชาติเป็นแบบฉบับของการจัดสวนแบบอังกฤษ อิตาลี ฝรั่งเศสสเปน จีน และจีโอเดสิค โดมของอเมริกาซึ่งเป็นที่ราบรวมพันธุ์ไม้ทะเลทรายและ พันธุ์ไม้อวบน้าต่าง ๆ บริเวณที่ 3 ตระพังแก้วเก็บน้า อยู่ส่วนกลางพื้นที่ มีเนือ้ ที่ประมาณ 40 ไร่ เป็นที่พักน้าเพื่อบรรเทาปัญหาน้า ท่วมขังบริเวณเมืองชั้นใน ในขณะเดียวกันเป็นที่สาหรับเล่นกีฬาทางน้า อนุรักษ์สัตว์น้า ริมฝั่งเป็น ที่ตั้งของอาคารชายชลซึ่งให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม บริเวณที่ 4 สวนรมณีย์ อยู่ทางด้านตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ เป็นสวนสาหรับพักผ่อนที่ ตกแต่งเลียนแบบธรรมชาติของท้องถิ่นแต่ละภาคของประเทศ บริเวณที่ 5 สวนน้า อยู่ระหว่างรอยต่อของสวนรมณีย์และสนามราษฏร์ มีเนื้อที่ประมาณ 40ไร่ เป็นสวนไม้น้าแหล่งอภัยทานแก่ ชีวิต อาทิ ปลา และนกน้า เป็นส่วนที่เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งจัด ขึ้นตามพระราชดาริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บริเวณที่ 6 สนามราษฏร์ และลานเอนกประสงค์ อยู่ทางด้านใต้ มีเนื้อที่ประมาณ 70 ไร่ ประกอบด้วย ลานเอนกประสงค์ ซึ่งเป็นสนาม หญ้า สาหรับ การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม และประกวดผลิตผลทางการเกษตร


ปัจจุบันสวนหลวง ร.9 มีประชาชนเข้าใช้พื้นที่ประมาณ 500-1000 คน/วัน ในวันธรรมดา และ 1000-3000 คนในวันหยุดเวลาที่ให้บริการ 06.00-18.00 น. ทุกวัน 4.1.5 วิเคราะห์โครงการ 4.1.5.1 ข้อดีของโครงการ 4.1.5.1.1 สวนสาธารณะแห่งนี้เป็นสวนสาธารณะที่สามารถให้ความรู้ ทางวิชาการทางด้านพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการได้อย่างถูกต้องตามหลักอนุกรมวิธาน ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนได้รับความรู้ที่ถูกต้อง 4.1.5.1.2 การวางผังสามารถวางผังสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ มีการ จัดการระบบเส้นทางที่เด่นชัดทั้งทางหลักและทางรอง มี LANDMAREK ที่ชัดเจนสามารถเห็นได้ อย่างชัดเจน 4.1.5.1.3 มีการจัด ZONE ของการใช้กิจกรรมได้ดี ทาให้พื้นที่มีกิจกรรม ที่หลากหลายน่าสนใจ 4.1.5.2 ข้อด้อยของโครงการ 4.1.5.2.1 ระบบการจัดการและบารุงรั กษาที่ยังไม่ดีพอ เช่น การทาถนน ส่วนใหญ่ขาดการทารางระบายน้าที่ถูกต้องทาให้ ถนนบางส่วนมีน้าขังและเกิดการพัง 4.1.5.2.2 เส้นทางในการดูแลกิจกรรมในส่วนต่างๆ ยังไม่ค่อยดีนัก อาทา ให้ผู้ที่เข้ามาใช้สวนสาธารณะไม่สามารถเดินดูได้ทั่วถึง หรืออาจทาให้เกิดปัญหาการเดินซ้าเส้นทาง ได้ 4.1.5.2.3 กิจกรรมที่เป็นลักษณะ ACTIVE มีน้อยเกินไปควรจะเพิ่ม มากกว่านี้ เพื่อให้รองรับกลุ่มคนได้ทุกระดับและเกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้พื้นที่ 4.1.6 การประยุกต์ใช้กับการศึกษา


4.1.6.1 สามารถนารูปแบบการวางกิจกรรมและการจัดกลุ่มกิจกรรมมาใช้ในพื้นที่ โครงการ 4.1.6.2 สามารถนาเอาเอกลักษณ์ของสวนสาธารณะ มาสร้างเป็นโซนของกิจกรรม ได้อย่างหลากหลาย ทาให้พื้นที่โครงการดูน่าสนใจ ช่วยดึงดูดให้ประชาชนเข้ามาใช้ในพื้นที่


โครงการออกแบบและวางผังภูมิสถาปัตยกรรมสวนสาธารณะเขื่อนนเรศวร อาเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก แผนที่ 6 แสดงแผนที่ตั้งของสวนหลวง ร.9 ที่มา http://www.ezytrip.com/Thailand.com

สัญลักษณ์

มาตราส่วน Not to scale


โครงการออกแบบและวางผังภูมิสถาปัตยกรรมสวนสาธารณะเขื่อนนเรศวร อาเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก แผนที่ 7 แสดงแผนที่ภายในสวนสาธารณะสวนหลวง ร.9 ที่มา http://www.parzapark.ob.tc/map.html?hl=th&tab=wl

มาตราส่วน Not to scale


ภาพที่ 1 แสดงทัศนียภาพบริเวณสวนพฤกษศาสตร์และอาคารพันธุ์ไม้ทะเลทราย เพื่อให้ประชาชน ได้รู้จักพรรณไม้ในท้องถิ่นและพรรณไม้หายาก ที่มา : http://bunniezshop.blogspot.com/2010_09_01_archive.html

ภาพที่ 2 แสดงทัศนียภาพบริเวณสวน นานาชาติ สวนจีน ซึ่งมีการนาเอาเอกลักษณ์ของสวนจีนมาแสดงให้แก่ประชาชนเพื่อเพิ่มความ น่าสนใจในพื้นที่โครงการ ที่มา : http://www.suanluangrama9.or.th/suan-luang-rama-ix-public-park-areas/


ภาพที่ 3 แสดงทัศนียภาพบริเวณอาคารหอรัชมงคล ซึ่งจะจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชจริยวัตรในด้านต่าง ๆ และโครงการในพระราชดาริ ที่มา: http://www.suanluangrama9.or.th/suan-luang-rama-ix-public-park-areas/

ภาพที่ 4 แสดงทัศนียภาพพื้นที่ของตระพังแก้วเก็บ น้า ใช้เป็นที่พักน้าเพื่อแก้ปัญหาน้าท่วมขังบริเวณเมืองชั้นใน ตลอดจนอนุรักษ์สัตว์น้า มีบริการเรือพาย และจักรยานน้า

ใช้ประโยชน์เพื่อการกีฬาทางน้า

ที่มา: http://travel.sanook.com/gallery/galleryws/647181/1135949/ 4.2 กรณีศึกษาโครงการในประเทศ สวนหลวงพระราม 8 4.2.1 ประวัติความเป็นมา


จากการก่อสร้างสะพานพระราม 8 ข้ามแม่น้าเจ้าพระยาเพื่อเชื่อมต่อถนนวิสุทธิ กษั ตริ ย์ กั บ ถนนอรุณ อั ม ริ น ทร์ อัน เป็น ส่ วนหนึ่ง ของโครงการพระราชดาริ เพื่ อ บรรเทาปัญ หา การจราจรภายในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ ให้ระบายออกสู่ย่านธนบุรีให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น และ เนื่องจากพื้นที่ริมน้าบริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่มีคุณสมบัติ เฉพาะตัวที่ดีในหลายๆด้าน กล่าวคือการเป็น พื้นที่ริมแม่น้าเจ้าพระยาที่มีบรรยากาศและทิวทัศน์งดงาม ทั้งสามารถมองเห็นสิ่งก่อสร้างสาคัญทาง ประวัติศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามได้หลายแห่ง เช่น ป้อมพระสุเมรุ วังบางขุน พรหม ยอดอาคารโดมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสะพานพระปิ่นเกล้า รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่มี ศักยภาพสามารถพัฒนาให้เกิดภูมิทัศน์ที่ดี เป็นมุมมองที่สาคัญแห่งใหม่ของการสัญจรในแม่น้า เจ้าพระยา รวมทั้งการสัญจรบนสะพานพระราม 8 กรุงเทพมหานคร จึงได้ริเริ่มโครงการก่อสร้าง สวนเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 8 ในพื้นที่บริเวณเชิงสะพานพระราม 8 ริมแม่น้าเจ้าพระยาบริเวณฝั่ง ธนบุรี เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 แห่ง ราชวงศ์จักรี ตลอดจนเพื่ อ ให้ ป ระชาชนได้ ถ วายความเคารพและใช้ เ ป็ น สถานที่ ส าธารณะ สาหรับการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งต่อมาสวนแห่งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “สวนหลวงพระราม 8” และเนื่องจากเป็นสวนสาธารณะประกอบ พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 8 ประชาชนทั่วไปสามารถใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหรือออกกาลัง กาย ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่จะได้ราลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ภายใต้ บรรยากาศความร่มรื่นและภูมิทัศน์ที่สวยงามริมฝั่งแม่น้าเจ้าพระยา

4.2.2 สถานที่ตั้ง ที่ ตั้ ง : เชิ ง สะพานพระราม 8 ถนนอรุ ณ อั ม ริ น ทร์ แขวงบาง เขตบาง พลัด กรุงเทพมหานคร พื้นที่ : 33 ไร่ ผู้รับผิดชอบโครงการ : สานักงานสวนสาธารณะสานักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร 4.2.3 วัตถุประสงค์โครงการ


4.2.3.1 เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 แห่ง ราชวงศ์จักรี 4.2.3.2 เพื่อให้ประชาชนในเมืองได้มีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ และส่งเสริมให้ ประชาชนได้ออกกาลังกาย 4.2.4 แนวความคิดในการออกแบบ พื้นที่สวนสาธารณะสวนหลวงพระราม 8 ได้ออกแบบเป็นพื้นที่ดาดแข็งตลอด แนวเพื่อรองรับการใช้งานจากคนจานวนมาก รวมทั้งยังเป็นเขื่อนป้องกันน้าท่วมที่สามารถใช้งาน ได้ในหลากหลายลักษณะ เช่น เดิน วิ่ง หรือนั่งเล่น จัดกิจกรรมในงานเทศกาล จัดงานแสดงต่างๆ โดยเฉพาะกิ จ กรรมประเพณี ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ น้ าโดยตรง เช่น การชมขบวนเรื อ พระราชพิ ธี ซึ่ ง ประกอบด้วย ศาลาพักผ่อน และท่าเทียบเรือ พื้นที่นันทนาการสาธารณะ แบ่งเป็นพื้นที่สวนสาธารณะติดกับคลองบางยี่ขัน และพื้นที่สวนสาธารณะติดกับพื้นที่ใต้สะพานพระราม 8 โดยมีอาคารพระบรมราชานุสาวรีย์เป็น ส่วนกั้น แต่สามารถเชื่อมต่อกันได้ด้วยการเดิน ใช้เป็นพื้นที่สาหรับการพักผ่อนหย่อนใจ ออกกาลัง กายหรือเล่นกีฬา รวมทั้งสามารถใช้เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมการแสดงต่าง ๆ ด้วย 4.2.5 วิเคราะห์การออกแบบโครงการ 4.2.5.1 ข้อดีของโครงการ 1) พื้นที่โครงการมีจุดเด่นคือ เป็นพื้นที่ติดริมแม่น้าเจ้าพระยา สามารถ มองเห็นทัศนียภาพความสวยงามของริมแม่น้าเจ้าพระยาได้ 180 อาศา 2) ในพื้นที่มี Land mark พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 8 สามารถเป็นที่ สังเกตได้ง่ายต่อผู้ที่มาใช้ และภายใต้ พระบรมราชานุสาวรีย์ ได้ออกแบบให้เป็นลานเอนกประสงค์ สามารถใช้ประโยชน์ในการทากิจกรรมต่างๆได้ 4.2.5.2 ข้อด้อยโครงการ


1) ภายในพื้นที่มาการจัดกิจกรรม ไม่ค่อยหลากหลาย ส่วนใหญ่พื้นที่ เป็นกิจกรรมแบบ passive เป็นส่วนใหญ่ 2) พรรณไม้ในพื้นที่โครงการ มีไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อย ทาให้ช่วงกลางวัน ทาให้พื้นที่มีอากาศร้อน ทาให้ประชาชนไม่สามารถมานั่งเล่นในช่วงตอนกลางวันได้ 4.2.6 การประยุกต์ใช้กับการศึกษา 4.2.6.1 เนื่องจากพื้นที่ของสวนสาธารณะสวนหลวงพระราม 8 อยู่ติดริมแม่น้าเจ้า พระยา สามารถนาไปประยุกต์ในเรื่องของการออกแบบพื้นที่ที่มีระดับน้าขึ้นน้าลงได้


โครงการออกแบบและวางผังภูมิสถาปัตยกรรมสวนสาธารณะเขื่อนนเรศวร อาเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก แผนที่ 8 แสดงแผนที่ตั้งของสวนสาธารณะ สวนหลวงพระราม 8

มาตราส่วน

ที่มา http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab

Not to scale

สัญลักษณ์


โครงการออกแบบและวางผังภูมิสถาปัตยกรรมสวนสาธารณะเขื่อนนเรศวร อาเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก แผนที่ 9 แสดงแผนที่ภายในสวนสาธารณะ สวนหลวงพระราม 8 ที่มา http://minpininteraction.com/bkk_static/park24.asp

มาตราส่วน Not to scale


ภาพที่ 5 แสดงทัศนียภาพเส้นทางสัญจรทางเท้า โดยไว้สาหรับให้ประชาชนได้วิ่งออกกาลังกาย ภายในสวน ที่มา: http://minpininteraction.com/bkk_static/park24.asp

ภาพที่ 6 แสดงทัศนียภาพพื้นที่ติดริมน้า มีการออกแบบให้เป็นท่าเทียบเรือ มีศาลาริมน้าและพื้นที่ไว้ นั่งชมเรือขบวนเรือพระราชพิธี ที่มา: http://minpininteraction.com/bkk_static/park24.asp


ภาพที่ 7 แสดงทัศนียภาพบริเวณสวนประดิษฐ์ บริเวณด้านในของสวน สามารถใช้เป็นสวนประดับ และสามารถใช้เป็นพื้นที่นั่งเล่นพบปะกัน ที่มา: http://minpininteraction.com/bkk_static/park24.asp

ภาพที่ 8 แสดงทัศนียภาพบริเวณศาลานั่งเล่นริมน้า ไว้สาหรับให้ประชาชนได้นั่งพักผ่อนบริเวณ พื้นที่ริมน้า ที่มา: http://minpininteraction.com/bkk_static/park24.asp 4.3 กรณีศึกษาโครงการต่างประเทศ PARC DE LA VILLETTE 4.3.1 ความเป็นมา


THE PARC DE LA VILLETTE ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็น สวนสาธารณะสร้างริมแม่น้า ring road ซึ่งเป็นแม่น้าที่ใช้สาหรับการคมนาคมรอบๆในกรุงปารีส ทางรั ฐ บาลฝรั่ ง เศสเจ้ า ของโครงการ ต้ อ งการให้ ส วนสาธารณะแห่ ง นี้ เ ป็ น สวนสาธารณะยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ให้มีลักษณะแสดงถึงลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของ ชาติ โดยการรับอิทธิพลจากสถานที่สาคัญ หลายแห่งในอเมริกา เช่น Central Park The Lincolm ,Wachington , National Air and Space Museum ซึ่งรูปแบบสวนสาธารณะ สาหรับเมืองในยุค ศตวรรษที่ 21 4.3.2 สถานที่ตั้ง ที่ตั้ง พื้นที่ ผู้ออกแบบ ผู้รับผิดชอบโครงการ งบประมาณก่อสร้าง

: Paris, FRANCE : 337.5 ไร่ ( 135 เอเคอร์) : Bemard Tschumi : รัฐบาลฝรั่งเศส : 256.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ส่วนพิพิธภัณฑ์)

4.3.3 วัตถุประสงค์โครงการ 4.2.3.1 เพื่อให้ประชาชนได้สัมผัสกับสวนสาธารณะยุคใหม่ โดยใช้รูปทรง เรขาคณิตเข้ามาออกแบบสวนสาธารณะแบบสมัยใหม่ 4.2.3.2 เพื่อให้ประชาชนในเมืองได้มีพื้นที่สีเขียว ในการทากิจกรรมการออก กาลังกายและกิจกรรมนันทนาการ 4.3.4 แนวความคิดในการออกแบบ Bernard Tschumi ซึ่งเป็นผู้นาของกลุ่มที่ชนะการประกวดแบบสวนสาธารณะได้ เสนอแนวความคิดเบื้ องต้นที่ ต้องการให้ส วนสาธารณะแห่งนี้ เป็นสวนสาธารณะส าหรับยุ ค ศตวรรษที่ 21 ที่เน้นรูปแบบที่ เน้นการเคลื่อนไหว (Active Recreation) มากกว่า การพักผ่อนหย่อน ใจแบบเบาๆ (Passive Recreation) สามารถตอบสนองกลุ่มวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว ได้มากกว่ากลุ่ม


วัยผู้ใหญ่ ซึ่งสวนสาธารณะทั่วไปกรุงปารีสก็มีให้บริการอยู่มาก และสามารถให้บริการแก่ชนกลุ่ม น้อยที่อยู่อาศัยในกรุงปารีสด้วย เช่น พวกอาหรับ โปรตุเกส แอฟริกัน เป็นต้น ในการออกแบบจะคานึงถึงความสั มพันธ์กับระบบของเมืองทั้งหมด ไม่เฉพาะ พื้นที่ ที่ ตั้ง อยู่รอบโครงการแต่เกี่ย วข้องกั บรูปแบบทั้งเมืองเก่ าและใหม่ที่มีความผสมผสานกั น โครงสร้างของสวนสาธารณะต้องส่งเสริม และสนับสนุนต่อการเกิดกิจกรรมที่ไม่ได้คาดหมาย เอาไว้เป็นจานวนมาก จึงต้องเตรียมพื้นที่ที่สามารถเปลี่ยนแปลงยืดหยุ่นต่อกิจกรรมได้ตลอดเวลา โดยอาศัยตัวโครงสร้างที่มีอยู่ 4.3.5 รายละเอียดโครงการ โครงการมีข้อจากัดคือ พื้นที่โครงการมีการใช้งานเดิมอยู่แล้วและโครงสร้าง อาคารขนาดใหญ่ 2 แห่งในพื้นที่ ดังนั้นการออกแบบจึงไม่พยายามสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่เพิ่ม แต่จะกระจายพื้นที่ รองรับกิจกรรมออกไปทั่ว ๆ โครงการ ตามตาแหน่ง ๆ ที่มีความเข้มของ กิจกรรมพอเหมาะในรูปของ Follies ซึ่งจะก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวสูงสุดทั่วทั้งพื้นที่โครงการ กระตุ้นให้เกิดความอยากเห็น และนาเสนอความหลากหลายของความต้องการและกิจกรรมให้กับผู้ มาใช้สวนสาธารณะ สวนสาธารณะรูปแบบใหม่นี้ถูกออกแบบโดยอาศัย 3 ระบบผสมผสานเข้าด้วยกัน คือ ระบบการวางวัสดุ หรือตาแหน่งจุด ( Point ) ระบบการเคลื่อนไหว หรือตาแหน่งของเส้น ( Line )และระบบของที่ว่าง หรือตาแหน่งของระนาบ ( Surfaces ) Point ตาแหน่ง Follies จะอยู่จุดเส้นตาราง ( Grid ) แต่ Folly จะเป็นรูปลูกบาศก์ มี โครงสร้างแบบที่เอื้ออานวยต่อการยืดหยุ่นของที่ว่าง (Spaces) ซึ่งอาจถูกเปลี่ยนแปลงตามลักษณะ การใช้งานของกิจกรรม การซ้า ๆ กันเองของ Follies นั้นมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเป็นสัญลักษณ์ที่ เด่นชัดของสวนสาธารณะ Line มี ระบบทางสั ญจรทางเท้ าซึ่ งมี ระดั บการสัญ จรหนาแน่น ภายในพื้ น ที่ โครงการทาให้เกิดรูปกากบาทบนพื้นที่ คือ เส้นทางเชื่อมทางเหนือใต้ระหว่างทางขึ้นลงทางรถไฟ 2 แห่ง ได้แก่สถานี Porte De La Villette และ Porte De Pabtin เส้นทางด้านตะวันตก ทิศตะวันตก มี ทางทั้งสองเส้น กว้าง 5 เมตร มีหลังคาคลุมตลอดทางเปิดตลอด 24 ชั่วโมง เส้นที่มีใน สวนสาธารณะเพื่อเดินชนสิ่งที่จัดแสดงไว้ในThematic Garden จะตัดกับเส้นทางหลักในหลาย ๆ ตาแหน่ง ซึ่ง ณ จุดนั้นจะทาให้เกิดการเผชิญหน้าโดยไม่ได้คาดหมาย ทางเดินระหว่างแนวต้นไม้จะ ทาให้เกิดลักษณะเฉพาะที่เป็นแนว สามารถเรียงเป็นรูปเรขาคณิตได้ง่าย


Surfaces ระนาบของพื้นที่รองรับกิจกรรมทั้งหมด จึงต้องควบคุมความยืดหยุ่นใน แนวราบสามารถขยับขยายได้ตามต้องการ ระนาบที่เป็นสนามหญ้าสาหรับวิ่งเล่นมีรูปร่างทรงกลม สามเหลี่ยมโค้งอิสระทางด้านใต้ และสี่เหลี่ยมด้านตะวันตก สาหรับที่เบา ๆ จะมีพื้นที่รองรับด้าน ตะวันออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมระนาบที่เหลือจะเป็นพื้นดินอัดแน่นโรยกรวดซึ่งเป็นที่คุ้นเคยกันเดียวอยู่ แล้วสาหรับชาวเมืองปารีส 4.3.6 วิเคราะห์การออกแบบโครงการ 4.3.6.1 ข้อดีของโครงการ 1) การวางผังโดยรวมมีการวางแผนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกันทั้ง พื้นที่โครงการโดยคานึงถึงความสอดคล้องกับการเชื่อมโยงกับระบบของเมือง 2) การวางผังคานึงถึงความหลากหลายของผู้ใช้ที่มีความแตกต่างทางเชื้อ ชาติความหลากหลายของกิจกรรม จึงออกแบบให้พื้นที่โครงการมีความยืดหยุ่นสูง 4.3.6.2 ข้อด้อยโครงการ 1) การใช้รูปทรง (Froms)หรือเส้นสายในสวนสาธารณะที่มีรูปแบบเรขาคณิต (Geometry Forms)ทาให้เกิดความรู้สึกเป็นทางการมากไป ควรจะมีการใช้เส้นโค้งหรือ รูปทรง อิสระ (Free Forms)ให้มากกว่านี้ เพื่อให้เกิดความรู้สึกสบาย ลื่นไหล และไม่ดูเป็นทางการมาก เกินไป 2) จากลักษณะของพื้นที่ที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ โดยถนนและแม่น้า ทาให้ การเชื่อมโยงของพื้นที่ทาได้ไม่ค่อยดีนัก ยังขาดความต่อเนื่องของกิจกรรมระหว่างพื้นที่ 4.3.7 การประยุกต์ใช้กับการศึกษา 4.3.7.1 การออกแบบลักษณะดังกล่าวสามารถใช้ได้กับพื้นที่ตั้งเฉพาะแห่ง เนื่องจาก ความแตกต่างของลักษณะนิสัยของแต่ละผู้ใช้ประเทศ แต่ละส่วนของโลกมีความแตกต่างกัน เช่น ในประเทศไทยโดยรวมค่อนข้างที่จะชอบการใช้พื้นที่มี ประโยชน์ใช้สอย (Functions) ที่ตายตัว หรือกาหนดการใช้ที่แน่นอนในพื้นที่รองรับกิจกรรมมากกว่า


4.3.7.2 สามารถนาเอาหลักการการแก้ปัญหาในการออกแบบ เมื่อพื้นที่ถูกแบ่ง ออกเป็นส่วนๆ เพื่อทาให้เกิดความเป็นเอกภาพและการเชื่อมโยงของกิจกรรมในพื้นที่


โครงการออกแบบและวางผังภูมิสถาปัตยกรรมสวนสาธารณะเขื่อนนเรศวร อาเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก มาตราส่วน แผนที่ 10 แสดงแผนที่ตั้งของสวน Parc de la Villette ที่มา http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab สัญลักษณ์ Not to scale


โครงการออกแบบและวางผังภูมิสถาปัตยกรรมสวนสาธารณะเขื่อนนเรศวร อาเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก แผนที่ 11 แสดงแผนที่ภายในสวนสาธารณะ Parc de la Villette

มาตราส่วน

ที่มา www.planetware.com/map/parc-de-la-villette-map-f-villette.htm

Not to scale


ภาพที่ 9 แสดงบรรยากาศพื้นที่ริมแม่น้า Ring road เป็นถนนทางเท้าขนานกับแม่น้าสามารถใช้ใน การสัญจรและเป็นที่นั่งเล่นริมน้า ที่มา: http://static.panoramio.com/photos/original/11546321.jpg

ภาพที่ 10 แสดงพื้นที่ของสนามเด็กเล่นภายในสวนสาธารณะ เป็นการผสมผสานระหว่างรูปทรง เรขาคณิตของตัวเครื่องเล่นให้ดูน่าสนใจ ที่มา: http://static.panoramio.com/photos/original/2825486.jpg


ภาพที่ 11 แสดงประติมากรรมรูปรถจักรยาน ตรงบริเวณถนนไว้เป็นสัญลักษณ์สาหรับให้ ประชาชนขี่จักรยานออกกาลังกาย ที่มา: http://static.panoramio.com/photos/original/495674.jpg

ภาพที่ 12 แสดงผลงานชื่อว่า Geode ซึ่งประติมากรรมชิ้นนี้ได้มีแนวคิดให้เป็นสัญลักษณ์ของ จักรวาล ซึ่งมารวมตัวกันอยู่ในสวนสาธารณะแห่งนี้ ที่มา: http://www.paris4travel.com/parc-de-la-villette/


บทที่ 5 ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลโครงการ 5.1 การวิเคราะห์ปัจจัยทางธรรมชาติ 5.1.1 สภาพแวดล้อมโดยรอบพื้นที่โครง พื้นที่โครงการตั้งอยู่ที่ 57 หมู่ที่ 7 บ้านหาดใหญ่ ตาบลพรหมพิราม อาเภอพรหม พิ ร าม จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก มี ข นาด 171 ไร่ โครงการสวนสาธารณะเขื่ อ นนเรศวรเป็ น พื้ น ที่ มี ลักษณะเฉพาะ คือเป็นพื้นที่ ที่อยู่ติดกับแม่น้าน่านและติดกับประตูระบายน้าเขื่อนนเรศวร พื้นที่ โครงการในปั จ จุ บั น ส่ วนใหญ่ เ ป็ น พื้ นที่ ร กร้ า ง มี ส ภาพค้ อ นข้ า งเสื่ อมโทรมเนื่ อ งจากขาดการ บารุงรักษา แต่มีสภาพบรรยากาศโดยรอบที่สวยงาม เหมาะแก่การพัฒนา ซึ่งจะทาให้เกิดประโยชน์ กับคนในชุมชนและคนที่เข้ามาใช้ พื้นที่โครงการเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นสถานที่ พักผ่อนและออกกาลังกายของคนในชุมชน และสามารถรองรับกิจกรรมตามประเพณีของชาว อาเภอพรหมพิราม ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับ บ้านพักอาศัยเจ้าหน้าที่และบุคลากรของกร ชลประทานเขื่อนนเรศวร ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับ แม่น้าน่านและหมู่บ้านกรับพวงเหนือ ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับ แม่น้าน่าน ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้าจืดพิษณุโลก 5.1.2 ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศของพื้นที่โครงการโดยทั่วไปพื้นที่ลาดเอียงจากกึ่งกลางพื้นที่ โครงการไปยังรอบนอกของพื้นที่ โดยแบ่งเส้นชั้นความลาดชันได้เป็น 4 ระดับ ระดับที่ 1 เส้นชั้นความสูงระหว่าง 0 – 5 % สามารถก่อสร้างได้ดี เป็นส่วนบริเวณ ทางเข้าด้านหน้าโครงการและบริเวณส่วนกลางของพื้นที่โครงการ ในพื้นที่มีเนื้อที่ 68.83 % ระดับที่ 2 เส้นชั้นความสูงระหว่าง 5 - 10 % สามารถก่อสร้างได้แต่ไม่เหมาะสม ในการสร้างสนามกีฬา เป็นส่วนบริเวณริมสันเขื่อนและริมตลิ่งติดริมแม่น้าน่าน ในพื้นที่มีเนื้อที่ 15.49 %


ระดับที่ 3 เส้นชั้นความสูงระหว่าง 10 - 15 % สามารถก่อสร้างก่อสร้างอาคารบาง ประเภทได้ เป็นส่วนของพื้นที่ติดริมแม่น้าน่านทางด้านทิศใต้ พื้นที่มีเนื้อที่ 10.67 % ระดับที่ 4 เส้นชั้นความสูงมากกว่า 15 % ต้องการเทคนิคพิเศษในการก่อสร้าง เนื่องจากมีความลาดชันมาก เป็นส่วนของพื้นที่สันเขื่อนทางด้านทิศตะวันออก พื้นที่มีเนื้อที่ 4.90 % (ดูแผนที่ 12) 5.1.3 ลักษณะดินภายในโครงการ ดินในพื้นที่โครงการเป็นดินชุดที่ 33 เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย เกิดจากต้นกาเนิด ดินพวกตะกอนล าน้ า พบบนสั นดิน ริม น้าและเนิน ตะกอนรูป พั ด มีก ารระบายน้ าได้ดี มีค วาม สมบูรณ์ปานกลางถึงดี ดินส่วนใหญ่ใช้ในการทาการเกษตรทานาเหมาะแก่การเพาะปลูก 5.1.4 พืชพรรณ พื ช พรรณเดิ ม ในพื้ นที่ แ บ่ง เป็น สองส่ วน คือ ส่ว นที่ไ ด้ รับ การตกแต่ งสวนหย่ อ ม บริเวณติดริมแม่น้าน่าน จัดเป็นที่นั่งเล่นชมวิวริมน้าและศาลานั่งเล่นริมน้า แบ่งเป็นไม้ยืนต้น ได้แก่ นนทรี ราชพฤกษ์ อินทนิลบก อโศกอินเดีย ปาล์มหางกระรอก ไม้ พุ่มได้แก่ ไทรทอง หูปลาช่อน เฟื่องฟ้า ส่วนพื้นที่รกร้างส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น เช่น จามจุรี กระถินณรงค์ และมีวัชพืช ได้แก่ต้น ไมยราบยักษ์ (ดูแผนที่ 14) 5.1.5 แหล่งน้าและทางระบายน้า เนื่องจากพื้ นที่ติดกั บแหล่งน้าธรรมชาติคือแม่น้าน่าน น้าส่วนใหญ่ที่ เอามาใช้ใ น โครงการได้มาจากการสูบน้าจากแม่น้านามาใช้ในพื้นที่ ส่วนการระบายน้าจะระบายได้ 2 ทางคือ วิธีแรกจะไหลซึมลงสู่พื้นดินเนื่องจากพื้นที่เป็นดินที่ระบายน้าได้ดี ไม่ท่วมขัง ส่วนวิธีที่สอง น้าจะ ไหลลงทางระบายน้าที่ชาวบ้านได้ขุดขึ้น และไหลลงสู่แม่น้าน่านโดยตรง (ดูแผนที่ 13) 5.1.6 สภาพภูมิอากาศ 5.1.6.1 อุณหภูมิ


จากพื้นที่ตั้งของจังหวัด พิษณุโลกซึ่งอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ตอนล่างและ ภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ทาให้มีอากาศค่อนข้างหนาวในช่วงฤดูหนาว และร้อนอบอ้าว ในช่วงฤดูร้อนลักษณะภูมิอากาศ แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู (ดูแผนภูมิที่ 1) ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 36.54 องศา เซลเซียส ฤดูฝน อยู่ระหว่างเดือนมิถุนายน - ตุลาคมโดยจะมีปริมาณน้าฝนสูงสุด 285.30 มิลลิเมตร และต่าสุดอยู่ที่ 0.10 มิลลิเมตร ฤดูหนาว อยู่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่าสุด 23.53 องศาเซลเซียส 5.1.6.2 ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณความชื้นในจังหวัดพิษณุโลก มีความชื้นปานกลางถึงดี ทาให้พืช พรรณในพื้นที่สามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยสูงสุดในเดือนกันยายนร้อยละ 88.69 ต่าสุดในเดือน เมษายน ร้อยละ 66.82 (ดูแผนภูมิที่ 3 ) 5.1.6.3 ความเร็วลม ความเร็วลมเฉลี่ยอยู่ที่ 15.93 นอต จัดว่าเป็นลมปานกลาง ส่งผลให้กิ่งไม้ ของพืชพรรณขนาดเล็กแกว่ง ทาให้บรรยากาศภายในพื้นที่สบาย (ดูแผนภูมิที่ 4)

40

36.54

35 30

23.53

25 20 15 10 5 0

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค. เม.ย. พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.


แผนภูมิที่ 1 แสดงข้อมูลอุณหภูมิที่สถานีอุตุนิยมวิทยา เฉลี่ยย้อนหลัง ปี 2551 - 2554 ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดพิษณุโลก

285.30

300 250 200 150 100 50

0.10

0

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

แผนภูมิที่ 2 แสดงข้อมูลปริมาณน้าฝนเฉลี่ยย้อนหลัง ปี 2551 – 2554 ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดพิษณุโลก 100 90 80 70 60 50 40 30 20 10 0

แผนภูมิที่ 3 แสดงความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยย้อนหลัง ปี 2551 – 2554

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.


ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดพิษณุโลก 25

21.90

20

15

10

9.9

5

0

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.

แผนภูมิที่ 4 แสดงความเร็วลมเฉลี่ยย้อนหลังปี 2544 - 2553 ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดพิษณุโลก 5.2 การวิเคราะห์ปัจจัยทางวัฒนธรรม 5.2.1 การใช้ที่ดิน พื้นที่โครงการเป็นพื้นที่ของราชพัสดุ ซึ่งได้มอบหมายให้กรมชลประทานเขื่อน นเรศวรได้รับหน้าที่ดูแลพื้นที่แห่งนี้ โดยให้เป็นพื้นที่เขื่อน เพื่อใช้ส่งน้าในการชลประทาน และ พื้นที่บางส่วนทางด้านทางทิศตะวันตก เป็นของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้าจืด จังหวัดพิษณุโลก ในพื้ น ที่ โ ครงการ เดิ ม ได้ มี ก ารจั ด เป็ น สถานที่ นั่ ง พั ก ผ่ อ นบริ เ วณริ ม น้ าทางทิ ศ ตะวันออก ซึ่งติดกับประตูเขื่อน ทาให้มีผู้ที่มาใช้พื้นที่ริมน้าในการทากิจกรรมนันทนาการ 5.2.2 ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เนื่ อ งจากอยู่ ใ กล้ กั บถนนหลัก และอยู่ ใ กล้ กั บ ชุม ชนโดยห่ า งจากอ าเภอเพี ย ง 3 กิโลเมตร จึง มี ระบบสาธารณูป โภคครบครั น ทั้งไฟฟ้ าของเทศบาลตาบลพรหมพิ ราม ประปา


หมู่บ้านพรหมพิราม ทางระบายน้าและโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์อาเภอพรหมพิราม และพื้นที่ อยู่ใกล้ตัวอาเภอ สาธารณูปการจึงมีความพร้อมเช่นกัน (ดูแผนที1่ 7 และแผนที่ 18) 5.2.3 การเข้าถึงและการสัญจรภายในพื้นที่ พื้นที่ตั้งโครงการตั้งอยู่ใกล้กับถนนทางหลวงหมายเลข 1275 และใช้เส้นทางถนน ทางหลักของเขื่อนนเรศวร เข้าไปเพียงเล็กน้อยจึงทาให้เข้าถึงโครงการได้สะดวก (ดูแผนที่ 15 ) 5.2.3.1 ทางรถยนต์ส่วนตัว เนื่องจากโครงการบนพื้นที่เขื่อนนเรศวรโดยมีแม่น้าน่านล้อมรอบทาให้มี สะพานข้ามจากชุมชนเข้ามายังพื้นที่อยู่ 4 ช่องทาง คือ 1) เส้นทางจากหมู่บ้านหาดใหญ่ทางทิศเหนือของพื้นที่โครงการ ถนนมี ขนาดประมาณ 8 เมตร 2) เส้นทางจากชุมชนหมู่บ้านกรับพวงเหนือ อยู่ทางทิศใต้ของพื้นที่ โครงการมีขนาดประมาณ 6 เมตร 3) เส้นทางจากหมู่บ้านย่านขาด ทางทิศตะวันตกของพื้นที่โครงการ มี ขนาดประมาณ 6 เมตร 4) เส้นทางจากถนนทางหลวงหมายเลข 1275 ระยะทางเข้ามายังพื้นที่ โครงการประมาณ 400 เมตร ถนนมีขนาด 10 เมตร 5.2.3.2 ทางรถโดยสารสองแถว ทางเข้าหลักที่รถโดยสารสองแถววิ่งผ่านคือ ถนนทางหลวงหมายเลข 1275 และวิ่งเข้ามายังทางเข้าหลั กของพื้นที่เขื่อนนเรศวรระยะทางประมาณ 400 เมตร มาถึงยังพื้นที่ โครงการ 5.2.3.3 การสัญจรภายในโครงการ ทางสัญจรภายในพื้นที่โครงการมีอยู่ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางที่คนในชุมชนใช้ เข้ามานั่งเล่นบริเวณศาลาริมแม่น้าอยู่ทางด้านหน้าของพื้นที่โครงการ และอีกเส้นทางคือเส้นทางที่ที่ ตัดผ่านพื้นที่มายังด้านหลังของพื้นที่โครงการ แต่ทางนี้ได้ปิดให้ใช้บริการแล้ว เนื่องจากทางเกิด ความชารุด


5.2.4 อาคารและสิ่งปลูกสร้างเดิม เนื่องจากพื้นที่โครงการเป็นเขื่อนทดน้าและได้มีสวนพั กผ่อนริมน้าขนาดเล็ก ทา ให้มีสิ่งปลูกสร้างเดิมในพื้นที่ ดังนี้ (ดูแผนที่ 16 ) 5.2.4.1 ศาลาพักผ่อนริมน้า มีขนาด 10x7 เมตร วัสดุโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริม เหล็ก 5.2.4.2 โครงสร้างเขื่อน เป็นโครงสร้างคอนกรีตและแบบหินทิ้งทางทิศตะวันออก ของพื้นที่โครงการ 5.3 การวิเคราะห์ปัจจัยทางสุนทรียภาพ 5.3.1 ทัศนียภาพและมุมมอง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่น้า มุมมองจากมุมต่างๆจึงมีความ หลากหลาย มุมมองที่ดีส่วนใหญ่อยู่บริเวณริมน้า และมุมมองที่ไม่ดีส่วนใหญ่เป็นพื้นที่รกร้าง 5.3.2 ความรู้สึกต่อพื้นที่โครงการ โดยรวมแล้วอยู่ในสภาพที่ดี มีต้นไม้ปกคลุมทั่วพื้นที่ทาให้สภาพพื้นที่โดยรวมไม่ ร้อนและประกอบกับพื้ นที่ ส่วนใหญ่เป็นพื้ นที่น้าช่วยใหญ่รู้สึกถึงความเย็ นสบายเหมาะแก่ การ ออกแบบให้เป็นพื้นที่สาหรับพักผ่อน 5.3.3 พิจารณาและวิเคราะห์มุมมองที่ดีและไม่ดีของโครงการ จากการวิเคราะห์มุมมองของพื้นที่โครงการแล้ว พบว่า พื้นที่โครงการส่วนใหญ่ใน บริเวณริมน้ามีมุมมองที่ดีมาก เนื่องจากมีพืชพรรณและน้าช่วยในการเสริมสร้างมุมมองให้กับพื้นที่ และมุมมองที่ไม่ดีส่วนใหญ่เป็นพื้นที่รกล้างที่มีพืชพรรณน้อยและขาดการดูแล พื้นที่ส่วนนี้ควร ได้รับการปรับปรุง (ดูแผนที่ 19 และดูภาพที่ 15 – ภาพที่ 23 ) 5.4 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้และความต้องการทางด้านพื้นที่ใช้สอยของโครงการ 5.4.1 ผู้ใช้สอยโครงการ


5.4.1.1 ผู้ใช้ที่อยู่ในรัศมีบริการ 8 กิโลเมตร คือ กลุ่มของข้าราชการ บุคลากรเขื่อน นเรศวร โรงเรียน โรงพยาบาล เทศบาลตาบลพรหมพิราม ที่ว่าการอาเภอ หมู่บ้านหาดใหญ่ หมู่บ้าน ดงสมอ หมู่บ้านย่านขาด มาใช้โดยการเดิน หรือยานพาหนะส่วนตัว 5.4.1.2 ผู้ใ ช้ ที่ อยู่ นอกรัศมีบริก าร คือ กลุ่ มที่มาจากพื้ นที่ใ กล้เคียงจากตาบลอื่น ได้แก่ ตาบลมะต้อง ตาบลวงฆ้อง ซึ่งมาทากิจกรรม นันทนาการต่างๆ หรือมาเที่ยวเขื่อนในบางครั้ง 5.4.2 จานวนประชากรในเขตเทศบาลตาบลพรหมพิราม โดยในเขตเทศบาลมีชุมชนที่อยู่ใกล้กับพืน้ ที่โครงการ ในเขตรัศมีไม่เกิน 3 กิโลเมตร มีจานวนทั้งหมด 12 หมู่บ้านมีจานวนประชากรทั้งหมด 13,587 คน และนอกเขตรัศมี ให้บริการอีก 11 ตาบล โดยมีจานวนประชากรรวมทั้งหมด 83,002 คน (ดูตารางที่ 1) ตารางที่ 1 แสดงจานวนประชากรในอาเภอพรหมพิราม

ที่มา : ศูนย์บริการข้อมูลอาเภอ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2553 5.5 การวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะด้าน


5.5.1 ข้อมูลเฉพาะด้านประเภทของสวนสาธารณะ พื้นที่โครงการมีเนื้อที่ทั้งหมด 171 ไร่ จัดอยู่ในประเภทสวนสาธารณะขนาดกลาง ระดับอาเภอ โดยใช้เกณฑ์การแบ่งประเภทแต่ละระดับ ดังนี้ (เดชา บุญค้า,2538) 5.5.1.1 สวนหย่อมขนาดเล็กย่านชุมชน มีขนาดพื้นที่ไม่เกิน 2 ไร่ รัศมี ให้บริการ 1 กม. ให้บริการในระยะเดินเข้าถึง ใช้เวลา 5-10 นาที อาจจะอยู่ในระหว่างอาคาร ใช้เป็น สนามเด็กเล่นสถานที่ออกกาลังกายและพบปะสังสรรค์ของประชาชนทุกวัย 5.5.1.2 สวนละแวกบ้าน พื้นที่ 2-25 ไร่ รัศมีบริการ 1-3 กม.เป็นสวน สาหรับผู้อาศัยในละแวกนั้น มีสิ่งอานวยความสะดวกมากกว่าสวนระดับที่ 1 5.5.1.3 สถานที่พักผ่อนหย่อนใจขนาดเล็ก พื้นที่ 25-124 ไร่ รัศมีบริการ 3-8 กม.มีสิ่งอานวยความสะดวกเพิ่มขึ้นมากว่าสวนระดับที่ 1 และ 2 มีที่เล่นกีฬา พื้นที่พักผ่อนชม ธรรมชาติสวยงาม 5.5.1.4 สถานที่พักผ่อนหย่อนใจขนาดกลาง ( สวนระดับเขตหรือย่าน ) พื้นที่ 125-500 ไร่ รัศมีบริการมากกว่า 8 กม.ให้บริการทั้งผู้ที่เดินเท้าเข้าถึงและผู้ที่อยู่ในระยะไกล สามารถเดินเท้าหรือเข้าถึงด้วยระบบขนส่งมวลชนหรือรถยนต์มีสิ่งอานวยความสะดวกที่มีในสวน ระดับที่1 ระดับที่ 2 และระดับที่ 3 เช่น พื้นที่ปิกนิก ลานอเนกประสงค์และบริเวณที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น บึงน้าลาธาร สวนดอกไม้ขนาดใหญ่ 5.5.1.5 สถานที่พักผ่อนหย่อนใจขนาดใหญ่ พื้นที่มากกว่า 500 ไร่ รัศมี บริการเป็นวงรอบแก่คนทั้งเมือง และพื้นที่ใกล้เคียงในเขตอิทธิพลของเมือง มีลานกว้างเพื่อจัดงาน และใช้เวลาพักผ่อนมากกว่าครึ่งวัน มีกิจกรรมหลากหลายดึงดูดความสนใจ นอกเหนือจากสวน ระดับล่าง 5.5.2 ข้อมูลเฉพาะด้านประเภทของตลิ่ง ตลิ่งของลาน้าต่างๆ สามารถจาแนกออกได้เป็น 3 ประเภทตามลักษณะของดินได้ ดังต่อไปนี้ 5.5.2.1 ตลิ่งที่มีความเชื่อมแน่น (Cohesive Banks) เป็นตลิ่งที่ประกอบจากดิน ประเภทที่มีดินเหนียวเป็นสาคัญ ตลิ่งประเภทนี้มีความต้านทานต่อการกัดเซาะเนื่องจากการไหล ของกระแสน้าได้ดี 5.5.2.2 ตลิ่งที่ไม่มีความเชื่อมแน่น (Non-Cohesive Banks) เป็นตลิ่งที่ ประกอบจากดินประเภทที่ไม่มีความเชื่อมแน่น เช่น ทราย หรือกรวด การยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค


ของเม็ดดินอาศัยเพียงแรงเสียดทานระหว่างอนุภาคเป็นหลัก ตลิ่งประเภทนี้มีความต้านทานต่อการ กัดเซาะเนื่องจากการไหลของกระแสน้าต่า 5.5.2.3 ตลิ่งแบบผสม (Composite Banks) เป็นตลิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปใน แม่น้าที่มีการนาพาตะกอน ตลิ่งประเภทนี้ประกอบด้วยดินที่มีความเชื่อมแน่นและไม่มีความเชื่อม แน่นวางตัวเป็นชั้นๆ ชั้นล่างของตลิ่งเป็นดินประเภทที่ไม่มีความเชื่อมแน่นที่ถูกกัดกร่อนและพัดพา ได้ง่าย เช่นทราย หรือกรวด ส่วนชั้นบนของตลิ่งเป็นดินประเภทที่มีความเชื่อมแน่น เช่น ดินเหนียว ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนและทับถมของอนุภาคละเอียดจากการไหลหลากของน้าบนผิวดิน 5.5.3 ข้อมูลเฉพาะด้านประเภทโครงสร้างเขื่อน เขื่อนป้องกันตลิ่งประกอบด้วยส่วนสาคัญ 3 ส่วน ดังต่อไปนี้ (รูปภาพที่ 1 ) 5.5.3.1 สันเขื่อน (Upper Part หรือ Crest) โดยทั่วไปเป็นส่วนของเขื่อนที่ อยู่สูงกว่าระดับน้าสูงสุด รวมถึงพื้นที่ใช้สอยด้านหลังเขื่อน และสิ่งสาธารณูปโภคอื่นๆ เช่น ทางเท้า ระบบระบายน้า และถนนด้านหลังเขื่อน เป็นต้น ในการออกแบบส่วนนี้ควรมีการพิจารณาการกัด เซาะเนื่องจากการไหลของน้าผิวดิน การป้องกันการกัดเซาะดังกล่าวสามารถกระทาได้โดยการปลูก หญ้า ซึ่งหญ้าที่ใช้ปลูกควรมีรากลึก สามารถต้านทานการกัดเซาะได้ดี และมีความทรหด 5.5.3.2 ส่วนป้องกันการกัดเซาะ (Protection Part) เป็นส่วนของเขื่อนที่ทา หน้าที่ป้องกันตลิ่งจากการกัดเซาะเนื่องจากกระแสน้าและคลื่น ผู้ออกแบบอาจเลือกใช้โครงสร้าง ปิดทับหน้าตลิ่ง (Revetment) หรือโครงสร้างถาวร เช่น กาแพงกันดิน ทาหน้าที่ในส่วนป้องกันการ กัดเซาะดังกล่าว 5.5.3.3 ฐานเขื่อน (Lower Part หรือ Toe) คือ ส่วนล่างสุดของเขื่อน ซึ่งทา หน้าที่เป็นฐานของเขื่อนและป้องกันการกัดเซาะท้องน้าบริเวณตีนตลิ่ง ซึ่งปัญหาการกัดเซาะ ดังกล่าวเป็นปัญหาสาคัญที่ทาให้เขื่อนป้องกันตลิ่งเกิดความเสียหาย


ภาพที่ 13 ส่วนประกอบของเขื่อนป้องกันตลิ่งและวัสดุที่ใช้เป็นชั้นป้องกันการกัดเซาะ ที่มา : เอกสารประกอบการฝึกอบรม งานเขื่อนป้องกันตลิ่งสาหรับวิศวกร สถาบันพัฒนาช่างโยธา มหาดไทยกระทรวงมหาดไทย 2543 5.5.3 ข้อมูลเฉพาะด้านชนิดของเขื่อนป้องกันตลิ่ง เขื่อนป้องกันตลิ่งสามารถจาแนกออกเป็น 3 ชนิด ได้ดังนี้ 5.5.3.1 เขื่อนป้องกันตลิ่งชนิดลาดเอียง เขื่อนป้องกันตลิ่งชนิดลาดเอียง เป็นการป้องกันตลิ่งโดยการ ถมด้วยวัสดุที่คัดเลือกแล้ว จนกระทั่งมีความลาดเอียงที่พอเหมาะทาให้ตลิ่งมีความมั่นคงแข็งแรง 5.5.3.2 เขื่อนป้องกันตลิ่งชนิดแนวตั้ง การก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งชนิดลาดเอียงในลาน้าที่แคบหรือ ตลิ่งมีความสูงชันมาก อาจไม่เป็นการเหมาะสม เนื่องจากลาดของตัวเขื่อนจะยื่นล้าเข้าไปในลาน้า มาก ทาให้เกิดปัญหาในการใช้ลาน้าได้ วิธีแก้ปัญหาวิธีหนึ่ง คือ เลือกใช้เขื่อนป้องกันตลิ่งชนิด แนวตั้ง เขื่อนป้องกันตลิ่งชนิดแนวตั้งสามารถจาแนกได้ออกเป็น 6 แบบ ได้แก่ หินเรียงใหญ่ หิน เรียงยาแนว กล่องลวดตาข่าย แผ่นคอนกรีตสาเร็จรูป กระสอบทราย และหญ้า 5.5.4 เขื่อนป้องกันตลิ่งชนิดอาศัยธรรมชาติ


เขื่อนป้องกันตลิ่งโดยวิธีธรรมชาติเป็นการผสมผสานระหว่างการป้องกันตลิ่งโดย วิธีธรรมชาติและการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งโดยการนาหลักการทาง Biotechnical Stabilization มาใช้กับโครงสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง วัสดุที่นามาใช้เป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น พืช ประเภทต่างๆ ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาถึงการใช้พืชในท้องถิ่นและการคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสม รวมทั้งยังต้องคานึงถึงสภาพแวดล้อมอีกด้วย สาหรับพันธุ์ไม้ที่นิยมนามาใช้การป้องกันดังกล่าว ได้แก่ ต้นสน (Willow) เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ทนทรหด มีรากที่สามารถยึดติดกับสภาพตลิ่งได้ดี (ดูภาพที่ 14)

ภาพที่ 14 แสดงวัสดุที่ใช้เป็นเขื่อนป้องกันตลิ่งชนิดอาศัยธรรมชาติ ที่มา : เอกสารประกอบการฝึกอบรม งานเขื่อนป้องกันตลิ่งสาหรับวิศวกร สถาบันพัฒนาช่างโยธา มหาดไทยกระทรวงมหาดไทย 2543 5.5.5 ข้อมูลเฉพาะด้านกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่ริมน้า กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543 ) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 42 อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้แหล่งน้าสาธารณะ เช่น แม่น้า คู คลอง ลาธาร หรือลากระโดง ถ้าแหล่งน้าสาธารณะนั้นมีความกว้างน้ อยกว่า 10 เมตร ต้องร่นแนวอาคารให้ห่าง จากเขตแหล่งน้าสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ถ้าแหล่งน้าสาธารณะนั้นมีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ต้องร่นแนวอาคารให้ห่างจากเขตแหล่งน้าสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 6 เมตร


โครงการออกแบบและการวางผังภูมิสถาปัตยกรรม สวนสาธารณะเขื่อนเรศวร อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก แผนที่ 12 : แผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่ สัญลักษณ์:

ที่มา : จากการคานวนความลาดชัน

มาตราส่วน 1: 3,000


โครงการออกแบบและการวางผังภูมิสถาปัตยกรรม สวนสาธารณะเขื่อนเรศวร อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก แผนที่ 13 : แผนที่แสดงแหล่งน้าและทิศทางการไหลของน้าในพื้นที่ สัญลักษณ์: เส้นทางการไหลของน้า ที่มา : จากการสารวจ

มาตราส่วน 1: 3,000


โครงการออกแบบและการวางผังภูมิสถาปัตยกรรม สวนสาธารณะเขื่อนเรศวร อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก แผนที่ 14 : แผนที่แสดงตาแหน่งพืชพรรณ สัญลักษณ์: A : เป็นพืชพรรณที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ได้แก่ นนทรี มะขาม เทศ B : เป็นพื้นที่รกร้างพืชพรรณ ได้แก่ จามจุรี กระถินณรงค์ C : เป็นวัชพืชริมน้าได้แก่ ไมยราบยักษ์ ที่มา : จากการสารวจ มาตราส่วน 1: 3,000


โครงการออกแบบและการวางผังภูมิสถาปัตยกรรม สวนสาธารณะเขื่อนเรศวร อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก แผนที่ 15 : แผนที่แสดงเส้นทางสัญจร สัญลักษณ์: ถนนหลัก ทางหลวงหมายเลข 1275กว้าง 10 เมตร ถนนย่อยในพื้นที่โครงการกว้าง 6 เมตร ถนนแปลงนาปลูกข้าวกว้าง 3 เมตร ถนนรองในพื้นที่โครงการ กว้าง 10 เมตร ที่มา : จากการสารวจ

มาตราส่วน Not to scale


บ้านบุคลากร

ศูนย์วิจัยและ พัฒนาประมง น้าจืด

แม่น้าน่าน บ้านกรับพวงเหนือ

โครงการออกแบบและการวางผังภูมิสถาปัตยกรรม สวนสาธารณะเขื่อนเรศวร อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก แผนที่ 16 : แผนที่แสดงตาแหน่งอาคารและสิ่งก่อสร้างเดิม สัญลักษณ์: ศาลาริมน้า โครงสร้างเขื่อนคอนกรีต โครงสร้างเขื่อนหินทิ้ง ที่มา : จากการสารวจ

มาตราส่วน 1: 3,000


โครงการออกแบบและการวางผังภูมิสถาปัตยกรรม สวนสาธารณะเขื่อนเรศวร อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก แผนที่ 17 : แผนที่แสดงตาแหน่งสาธารณูปโภค สัญลักษณ์: ตาแหน่งเสาไฟในพื้นที่โครงการ

ที่มา : จากการสารวจ

มาตราส่วน 1: 3,000


โรงเรียน วัด

โรงพยาบาล

ตลา

ที่ว่าการอาเภอ

สถานีรถไฟ

สถานีตารวจ เทศบาลตาบล พรหมพิราม

โครงการออกแบบและการวางผังภูมิสถาปัตยกรรม สวนสาธารณะเขื่อนเรศวร อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก แผนที่ 18 : แผนที่แสดงตาแหน่งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ สัญลักษณ์: ตาแหน่งสาธารณูปการ

ที่มา : จากการสารวจ

มาตราส่วน Not to scale


โครงการออกแบบและการวางผังภูมิสถาปัตยกรรม สวนสาธารณะเขื่อนเรศวร อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก แผนที่ 19 : แผนที่แสดงตาแหน่งมุมมองในพื้นที่โครงการ สัญลักษณ์: มุมมอง ที่มา : จากการสารวจ

มาตราส่วน 1: 3,000


ภาพที่ 15 แสดงสภาพถนนทางเข้าทางด้านหน้าของพื้นที่โครงการ ที่มา : ข้อมูลจากการสารวจของผู้ศึกษา

ภาพที่ 16 แสดงถนนด้านในพื้นที่โครงการทางทิศตะวันออก ที่มา : ข้อมูลจากการสารวจของผู้ศึกษา

ภาพที่ 17 แสดงถนนทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่โครงการ ที่มา : ข้อมูลจากการสารวจของผู้ศึกษา


ภาพที่ 18 แสดงพื้นที่สนามฟุตบอลเดิมบริเวณด้านหน้าภายในพื้นที่โครงการ ที่มา : ข้อมูลจากการสารวจของผู้ศึกษา

ภาพที่ 19 แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินเดิมเป็นศาลานั่งริมน้าและโครงสร้างเขื่อน บริเวณริมแม่น้า น่าน ทางทิศตะวันออกของพื้นที่โครงการ ที่มา : ข้อมูลจากการสารวจของผู้ศึกษา

ภาพที่ 20 แสดงพื้นที่ภายในพื้นที่โครงการเป็นพื้นที่รกร้าง ทีม่ า : ข้อมูลจากการสารวจของผู้ศึกษา


ภาพที่ 21 แสดงสภาพพื้นที่ทางทิศตะวันออกแม่น้าน่านติดกับพื้นที่โครงการ ที่มา : ข้อมูลจากการสารวจของผู้ศึกษา

ภาพที่ 22 พื้นที่ริมแม่น้าน่านทางด้านทิศใต้ติดกับหมูบ้านกรับพวงเหนือ ที่มา : ข้อมูลจากการสารวจของผู้ศึกษา

ภาพที่ 23 พื้นที่รอบข้างทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่โครงการ ที่มา : ข้อมูลจากการสารวจของผู้ศึกษา


โครงการออกแบบและการวางผังภูมิสถาปัตยกรรม สวนสาธารณะเขื่อนเรศวร อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก แผนที่ 20 : แผนที่แสดงการวิเคราะห์พื้นที่โครงการ สัญลักษณ์: : พื้นที่ A พื้นที่ B พื้นที่ D พื้นที่ E ที่มา : จากการวิเคราะห์พื้นที่

พื้นที่ C

มาตราส่วน 1: 3,000


ตารางที่ 2 การวิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของพื้นที่โครงการ (ดูแผนที่ 20) พื้นที่

Site characteristic

Constrain

Potential

เนื่องจากพื้นที่เป็นสนามฟุตบอล เก่า จึงขาดการดูแลทาให้พื้นที่มี วัชพืชขึ้น และชาวบ้านได้นาวัว มาหากินในบริเวณนี้ ทาให้พื้นที่ ขรุขระจากรอยเท้าสัตว์และมีมูล ของสัตว์จานวนมาก

สามารถพัฒนาเป็นพื้นที่ ส่วนต้อนรับด้านหน้าเป็น

A

พื้ น ที่ อ ยู่ ท างทิ ศ เหนื อของ พื้นที่โครงการ ลักษณะของ พื้ น ที่ เ ป็ น ที่ โ ล่ ง กว้ า ง ไม่ มี พื ช พรรณขึ้ น ในบริ เ วณนี้ เนื่ อ งจ ากเ ดิ ม พื้ น ที่ เป็ น สนามฟุตบอลเก่า

B

เป็ น พื้ น ที่ ด้ า นหน้ า ทางทิ ศ ในพื้นที่มีท่อน้าและสปริงเกอร์ เหนื อ ของพื้ น ที่ โ ครงการ อยู่ใต้ดิน ทาให้มีข้อจากัดในการ ลักษณะของพื้นที่เป็นที่ราบ ออกแบบ มีศ าลาริม น้าและไม้ ยืนต้น เดิ ม อยู่ เนื่ อ งจากบริ เ วณนี้ เป็นสวนริมน้าเดิมในพื้นที่

สามารถพัฒนาเป็นพื้นที่ ส่วนต้อนรับ มีอาคาร บริการสาหรับติดต่อสอบ ถาม และสวนนั่งเล่นริม น้า เนื่องจากเป็นพื้นที่ ด้านหน้าสามารถเข้า ถึงได้สะดวก

C

พื้นที่ทางทิศตะวันออกของ พื้นที่โครงการ ลักษณะของ พื้นที่เป็นโครงสร้างคอน กรีตเสริมเหล็ก มีความลาด ชันมากเนื่องจากเป็นโครง สร้างของพนังกั้นน้าของ เขื่อนนเรศวร

บริเวณพื้นที่เป็นพื้นที่ดาดแข็ง และมีความลาดชันมาก ทาให้มี ข้อจากัดในการออกแบบใน บริเวณนี้

เนื่องจากพื้นที่เป็นโครง สร้างป้องกันตลิ่งอยู่แล้ว สามารถพัฒนาเป็นพื้นที่ ริมน้า ออกแบบให้เป็น ระดับขั้นบันได ไว้สารับ ให้ประชาชนได้มานั่ง พักผ่อน

D

พื้นที่ทางทิศตะวันตกของ พื้นที่โครงการ ลักษณะของ พื้นที่เป็นที่ราบ มีพืชพรรณ และวัชพืชขึ้นเป็นจานวน มากเนื่องจากพื้นที่เป็น พื้นที่รกร้างไม่ได้พัฒนา

พื้นที่อยู่ทางด้านใน เข้าถึงได้ยาก มีพืชพรรณและวัชพืชขึ้นเป็น จานวนมาก ทาให้มีอุปสรรคใน การออกแบบ

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ สามารถพัฒนาเป็นส่วน ของกิจกรรม Active มี สนามฟุตบอล สนามเด็ก เล่น และสนามกีฬา กลางแจ้งต่างๆ

ลานจอดรถ และพื้นที่ลาน เอนกประสงค์ไว้จัดงาน กิจกรรมประจาปีของ อาเภอ


E

พื้นที่ทางทิศใต้ของพื้นที่ โครงการ พื้นที่อยู่ทางด้าน ใน เข้าถึงได้ยาก ลักษณะ ของพื้นที่มีความลาดชัน ปานกลาง เนื่องจากเป็นพื้น ที่ริมน้า มีวัชพืชขึ้นจานวน มาก

พื้นที่อยู่ทางด้านใน เข้าถึงได้ยาก และพื้นที่ค่อนข้างรกร้างมีวัชพืช ขึ้นจานวนมาก ทาให้มีอุปสรรค ในการก่อสร้าง

สามารถพัฒนาเป็นส่วน ของกิจกรรม Passive เป็น ส่วนพื้นที่ติดริมน้า ออก แบบให้มีระดับสามารถ นั่งเล่นริมน้าได้


โครงการออกแบบและการวางผังภูมิสถาปัตยกรรม สวนสาธารณะเขื่อนเรศวร อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก แผนที่ 21 : แผนที่แสดงความต้องการของพื้นที่โครงการ สัญลักษณ์: : พื้นที่ A พื้นที่ B พื้นที่ C พื้นที่ D พื้นที่ E ที่มา : จากการวิเคราะห์พื้นที่

มาตราส่วน 1: 3,000


ตารางที่ 3 การวิเคราะห์การแบ่งพื้นที่ใช้สอยของโครงการ (ดูแผนที่ 21)

หมายเหตุ User 0 = ไม่ใช้เลย 1 = ใช้น้อย 2 = ใช้ปานกลาง 3

= ใช้มาก

Program Requirement & Description ผู้ใช้บริการ(USER) Requirement/Description

ZONE

1.พื้นที่ A ส่วนพื้นที่ส่วนต้อนรับ - สวนต้อนรับ - อาคารติดต่อสอบถาม - ร้านอาหาร - ลานต้อนรับน้าพุดนตรี - เวทีการแสดงกลางแจ้ง - ที่จอดรถ - ป้อมยาม - พื้นที่สีเขียว พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด

วัยเด็ก อายุ 112 ปี

วัยรุ่น อายุ 13-

3 0 3 3 3 0 0 3

24 ปี

วัยผู้ใหญ่ อายุ 25-60 ปี

วัยชรา 60 ปี ขึ้นไป

3 3 3 3 3 3 0 3

3 2 3 3 3 3 0 3

3 1 3 3 3 1 0 3

- สวนประดับมีไม้ดอกและมีพื้นที่นั่งเล่นพักผ่อน - ติดต่อสอบถามในเรื่องต่างๆภายในพื้นที่ - เป็นลานน้าพุดนตรี เป็นจุดรวมคน - เป็น step ขั้นบันไดของผู้ชมนั่งชมการแสดง - เป็นพื้น Grass Block

ขนาดพื้นที่ (ตรม.) ขนาดพื้นที่ จานวน พื้นที่รวม

24,431 200 25 2,100 6,664 3,885 9 11,705

1 1 3 1 1 1 1 1

24,431 200 75 2,100 6,664 3,885 9 11,705 49,069 (18%)


2.พื้นที่ B ส่วนกิจกรรม Active - สนามกีฬากลางแจ้ง - สนามฟุตบอล - สนามบาสเก็ตบอล - สนามวอลเลย์บอล - สนามเปตอง - สนามแบตมินตัน - สนามตะกร้อ - อาคารกีฬาในร่ม - ร้านค้าเครื่องดื่ม - สนามเด็กเล่น - ทางวิ่งและทางจักรยาน - ห้องน้า - ศาลาพักคอย - ที่จอดรถยนต์ - ท่าเรือปั่น

1 1 0 0 1 1 0 3 3 3 3 3 0 1

3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3

3 3 3 3 3 3 3 3 1 3 3 3 3 3

0 0 0 3 0 0 1 3 0 3 3 3 0 1

- เป็นสนามกีฬาที่ได้มาตรฐานไว้สาหรับแข่งขันกีฬา ประจาอาเภอและจากโรงเรียนต่างๆ

- เป็นเครื่องออกกาลังกายในร่ม - เป็นซุ้มศาลาไม้มีจานวน 2 หลัง - สนามเด็กเล่นที่เสริมสร้างทั้งร่างกายและสติปัญญา - ออกแบบให้มีส่วนของทางจักรยานและทางวิ่ง - เป็นศาลาไม้ระแนง - เป็นพื้น Grass Block สามารถระบายน้าได้ - เป็นท่าเรือระแนงไม้ริมน้า

100 x 70 28 x 15 18 x 9 15 x 4 13.4 x 6.1 13.4 x 6.1 272 326.43 9,955 44,509 32 5x5 448 412.61

1 2 2 4 2 2 1 1 1 1 1 8 1 1

700 840 324 240 163.48 163.48 272 326.43 9,955 44,509 32 200 448 412.61


- ที่จอดจักรยาน - พื้นที่สีเขียว พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด

2 3

3 3

3 3

1 3

3

3

3

3

- อาคารห้องสมุด - อาคารศูนย์เรียนรู้ปลา น้าจืดไทย - สระเก็บน้า

3 3

3 3

3 3

3 3

0

2

2

0

- สวนจัดนิทรรศการ ศิลปะ - สถานีออกกาลังกาย - ศาลาพักผ่อนริมน้า - พื้นที่ปิกนิกนั่งเล่น

3

3

3

3

1 3 3

3 3 3

3 3 3

3 3 3

3.พื้นที่ C ส่วนกิจกรรม การเรียนรู้ Semi-passive - อาคารเฉลิมพระเกียรติ

480 31,292

- เป็นอาคารรวบรวมพระราชกรณียกิจต่างๆของใน 390.69 หลวง - เป็นแหล่งให้ความรู้แก่ประชาชน 15 x 20 - เป็นอาคารให้ความรู้เรื่องชนิดของปลาน้าจืดของ 224.93 ไทยที่สามารถสร้างอาชีพได้และวิธีการเลี้ยง - เป็นสระน้าในโครงการและสาหรับทากิจกรรม 21,471.91 ต่างๆ - เป็นสวนที่จัดงานแสดงศิลปะของนักเรียนจาก 5,057.30 โรงเรียนต่างๆ - ออกแบบให้มีสถานีออกกาลังกายทั้งหมด 12 สถานี 24.63 - เป็นศาลาเรือนไทยริมน้าในสมัยก่อน 7x7 - เป็นสวนนั่งเล่น อ่านหนังสือแบบ open space 11,254.94

1 1

480 31,292 90,358 (33%)

1

390.69

1 1

300 224.93

1

21,471.91

1

5,057.30

12 3 1

295.56 147 11,254.94


- พื้นที่กิจกรรมไทเก๊ก และโยคะ - สวนประติมากรรมปลา น้าจืด - จุดชมวิวริมน้า - ที่จอดจักรยาน - พื้นที่สีเขียว พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด

0

3

3

3

- เป็น open space สนามหญ้าริมน้า เพื่อให้ออกกาลัง กายพร้อมกับได้บรรยากาศริมน้า - เป็นสวนประติมากรรมปลาต่างๆ

3,058.21

1

3,058.21

3

3

3

3

2,479.63

1

2,479.63

1 2 3

3 3 3

3 3 3

3 1 3

- เป็นจุดชมวิวเป็นระเบียงยื่นออกไปริมน้า

1,458.82 230.65 12,783.09

1 1 1

1,458.82 230.65 12,783.09 59,152.73 (21.56%)

4.พื้นที่ D ส่วนกิจกรรม Passive - สวนสมุนไพร

3

3

3

3

13,593.84

1

13,593.84

3

3

3

32,252.84

1

32,252.84

3

3

3

3

10 x 5

1

50

3

3

3

3

- เป็นสวนที่รวบรวมสมุนไพรต่างๆเพื่อให้ความรู้แก่ ประชาชนและเป็นสวนนั่งเล่นพักผ่อน - เป็นจุดชมวิวริมน้าโดยเป็น step ขั้นบันไดลงไปริม แม่น้า - เป็นร้านอาหารที่บริการให้แก่ประชาชนที่เข้ามา พักผ่อนบริเวณพื้นที่ริมน้าติดแม่น้าน่าน - เป็นจุดเด่นของพื้นที่ สาหรับนั่งชมธรรมชาติริมน้า

- สวนริมน้า

3

- ร้านอาหาร - สวนน้าพุ

6,870.91

1

6,870.91


- ที่จอดรถยนต์ - ห้องน้าหญิงและชาย - พื้นที่สีเขียว พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด

0 3 3

3 3 3

3 3 3

0 3 3

- เป็นพื้น Grass Block สามารถระบายน้าได้

5.พื้นที่ E ส่วนบริการ - อาคารซ่อมบารุง - บ้านพักคนงาน - เรือนเพาะชา

0 0 1

2 0 2

2 0 2

0 0 2

- เรือนหมักปุ๋ย

0

2

3

3

- ห้องเครื่องปั๊มน้า - ห้องเครื่องระบบไฟฟ้า - ที่จอดรถยนต์ - พื้นที่สีเขียว พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด

0 0 0 3

1 1 1 3

3 3 3 3

0 0 0 3

- เป็นส่วนของอาคารเก็บอุปกรณ์ซ่อมบารุงต่างๆ - เป็นบ้านพักคนงานสาหรับเฝ้าสวนสาธารณะ - เป็นโรงเพาะต้นกล้าพืชพรรณที่นามาปลูกใน โครงการ - เป็นโรงพักขยะและเป็นที่หมักปุ๋ยจากเศษใบไม้ใน โครงการ - อาคารควบคุมระบบปั๊มน้าในสวนสาธารณะ - อาคารควบคุมระบบไฟฟ้าในสวนสาธารณะ

448.13 16 x 7 13,992.69

1 1 1

448.13 112 13,992.69 67,270.41 (24.52%)

18 x 7 7 x 10 10 x 15

1 1 1

126 70 150

10 x 15

1

150

5x5 5x5 38

1 1 1

25 25 38 8,953.78 9,537.78 (3.46%)


บทที่ 6 แนวความคิดในการออกแบบ 6.1 แนวคิดในการออกแบบโดยรวม (Main Concept) ชื่อแนวความคิด “ พรหมเฉลิม ” แนวคิ ด ในการออกแบบของการออกแบบและวางผั ง ภู มิ ส ถาปั ต ยกรรม สวนสาธารณะเขื่อนนเรศวร อาเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เป็นสวนสาธารณะตั้งอยู่บนพื้นที่ เขื่ อ นนเรศวร ซึ่ ง เป็ น เขื่ อ นทดน้ าหนึ่ ง ในโครงการพระราชกรณี ย กิ จ ของพระบาทสมเด็จ พระ เจ้าอยู่หัว ผู้ออกแบบจึงมีแนวคิดออกแบบเป็นสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นปราชญ์ของแผ่นดิน ทาให้ประชาชนชาว ไทย มีอาชีพที่สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ โดยอยู่บนแนวทางแห่งความพอเพียง และ ส่งเสริมให้ประชาชนได้มาออกกาลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพกายและจิตใจ ตามจุดประสงค์หลัก ของทางเทศบาลตาบลพรหมพิรามและอาเภอพรหมพิรามที่ส่งเสริมให้ประชาชนหันมาออกกาลัง กาย 6.2 แนวความคิดในการออกแบบวางผัง และจัดแบ่งกลุ่มพื้นที่โครงการ พื้นที่โครงการเป็นพื้นที่ตั้งอยู่บนเขื่อนนเรศวรโดยติดกับริมแม่น้าน่าน ซึ่งมีศักยภาพใน การเป็นสวนสาธารณะตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชน จึงสามารถพัฒนาให้เป็นสวนสาธารณะ ที่ สามารถ รองรับการใช้งานที่หลากหลายของประชาชนได้ โดยแบ่งพื้นที่สวนสาธารณะออกเป็นส่วนต่างๆ ตามแนวความคิด ดังนี้ (ดูแผนที่ 23) 6.2.1 ส่วนด้านหน้า เป็นส่วนต้อนรับ ซึ่งอยู่ใกล้กับเส้นทางเข้าหลักของโครงการ มีความสาคัญสาหรับพื้นที่โครงการ จะเป็นพื้นที่เห็นชัดเจนเข้าถึงง่ายมีจุดนาสายตาสามารถให้


ข้อมูลและคาแนะนาต่าง ๆ ในการพักผ่อน และพื้นที่โครงการอยู่ติดกับถนนสายหลัก และสามารถ เชื่อมโยงกับกิจกรรมอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี 6.2.2 พื้นที่นันทนาการ เป็นพื้นที่พักผ่อนเพื่อทากิจกรรมนันทนาการประเภท ต่างๆ ของประชาชน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่พักผ่อน พื้นที่ออกกาลังกายแบบเบา เช่น ไทเก๊ก โยคะ ในพื้นที่โครงการทั้งการออกกาลังกายสร้างเสริมร่างกาย ในบรรยากาศที่ร่ม รื่น หรือบรรยากาศริมฝั่งน้าที่มีความร่มเย็น และบางแห่งพัฒนาให้เป็นลานเปิดโล่งเพื่อการทา กิจกรรมได้อย่างหลากหลาย 6.2.3 พื้นที่รมิ น้า เป็นพื้นที่สาคัญของโครงการ โดยจะเป็นพื้นที่ริมน้าทั้งในพื้นที่ โครงการและพื้นที่ติดริมแม่น้า สามารถพัฒนาให้มีศาลานั่งพัก จุดพักผ่อนและจุดชมวิวตามริมน้า มี ทางเดินตามริมแม่น้า มีทางเดินลงไปยังสระน้า และพื้นที่นี้ยังเป็นพื้นที่รองรับประชาชนในช่วงที่มี กิจกรรมตามเทศกาลของอาเภอพรหมพิราม 6.2.4 ส่วนการเรียนรู้ เป็นส่วนให้ความรู้เกี่ยวกับการประมง เนื่องจากพื้นที่อยู่ติด กับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้าจืด และเรียนรู้การแก้ปัญหาน้าเน่าเสียจากการทาประมงโดยนาเอา ทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนามาใช้ 6.2.5 ส่วนกีฬา เป็นส่วนของกิจกรรมที่รองรับการแข่งขันกีฬาของอาเภอ หรือจาก โรงเรียนต่างๆ ซึ่งจัดเป็นพื้นที่ของสนามกีฬาที่ได้มาตรฐานในการแข่งขัน 6.3 แนวความคิดเรื่องระบบการสัญจร ระบบการสัญจรภายในโครงการแบ่งได้เป็น 2 ระบบ ดังนี้ (ดูแผนที่ 25) 6.3.1 ทางสัญจรระบบทางรถยนต์ ขนาดของถนนกว้าง 7.00 เมตร ออกแบบให้ รถยนต์สามารถวิ่งได้เฉพาะในส่วนที่เป็นทางรถยนต์เท่านั้น โดยออกแบบให้อยู่ริมขอบด้านในของ พื้นที่โครงการและกระจายพื้ นที่จอดรถไปตามแนวถนนเพื่อลดพื้นที่ดาดแข็ง และสะดวกในการ จอดรถเพื่อเดินเข้าไปยังจุดต่างๆของพื้นที่ ส่วนทางบริการ (Service Ways) สามารถใช้เส้นทางของทางรถยนต์และทาง จักรยานได้ ในกรณีฉุกเฉินและในเวลาที่ไม่เปิดให้บริการเท่านั้น ระบบทางบริก ารจึงสามารถเข้าถึง ได้ทุกพื้นที่ของโครงการ 6.3.2 ทางสัญจรระบบทางเท้า และทางจักรยาน โดยออกแบบส่วนทางเท้าหลักให้ อยู่บริเวณในส่วนของทางเข้าด้านหน้าเป็นแกนเพื่อเดินมายังส่วนที่เป็นจุดนาสายตาในแต่ละส่วน


และส่วนทางด้านในของพื้นที่โครงการจะออกแบบให้ท างเท้าขนานคู่ไปกับทางจักรยานโดยใช้ ขนาดและวัสดุที่แตกต่างกันในการจาแนกทาง โดยขนาดของทางเท้าที่ออกแบบทางเท้ากว้าง 3.00 เมตร สามารถเดินสวนทางได้ 3 คน และทางจักรยานกว้าง 2.50 เมตร โดยจักรยานวิ่งสวนทางได้ 2 คัน 6.4 แนวความคิดในการใช้พืชพรรณ พื้นที่โครงการได้กาหนดพืชพรรณให้สอดคล้องกับกิจกรรมของแต่ละพื้นที่ ดังนี้ 6.4.1 พื้นที่ส่วนต้อนรับ กิ จ รรมในพื้ น ที่ ข องส่ ว นต้ อ นรั บ เป็ น ส่ ว นของสวนเฉลิ ม พระเกี ย รติ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การเลือกพืชพรรณส่วนใหญ่จะเน้นพืชพรรณที่ให้ดอกสี เหลือง เช่น ราชพฤกษ์ นนทรี เหลืองปรีดียาธร เหลืองอินเดีย เป็นต้น 6.4.2. พื้นที่กิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจแบบเบาๆ (Passive Recreation) การเลือกใช้พรรณไม้ส่วนใหญ่จะเป็นพรรณไม้ที่ให้ร่มเงา และดอกมีกลิ่น หอม เช่น กระทิง กระพี้จั่น พิกุล จาปี ลาดวน เป็นต้น 6.4.3 พื้นที่กิจรรมกิจกรรมที่เน้นการเคลื่อนไหว (Active Recreation) การเลือกพรรณไม้จะเน้นทรงพุ่มที่สูงโปร่ง ดอกมีสีโทนร้อนเพื่อกระตุ้นให้ ร่างกายตื่นตัว เช่น ประดู่แดง ศรีตรัง แคแสด จามจุรี ปีบ เป็นต้น 6.2.4 พื้นที่ส่วนสนามเด็กเล่น การออกแบบพืชพรรณจะเน้นพืชพรรณที่กิ่งไม่แตกหักง่าย และไม่มียางหรือ หนามที่เป็นอันตรายแก่เด็ก เช่น นนทรี พิกุล สารภี กระพี้จั่น เป็นต้น 6.2.5 พื้นที่ริมน้า เนื่ อ งจากพื้ น ที่ อ ยู่ ติ ด ริ ม แม่ น้ าน่ า น และมี ช่ ว งน้ าขึ้ น น้ าลง ท าให้ ใ นการ ออกแบบพืชพรรณควรเลือกพรรณไม้ที่ทนน้าท่วมได้ เช่น กระทุ่ม ลาพู มะดัน มะกอกน้า เป็นต้น ส่วนพื้นที่ที่อยู่ริมน้าควรเลือกพรรณไม้ที่ชอบอยู่ริมน้า เช่น อินทนิลน้า อโสก น้า หลิว กุ่มน้า กันเกรา เป็นต้น


โครงการออกแบบและการวางผังภูมิสถาปัตยกรรม สวนสาธารณะเขื่อนเรศวร อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก แผนที่ 22 : แผนที่แสดง Bubble Diagram สัญลักษณ์: แสดงในรูปภาพ ที่มา : จากการออกแบบ

มาตราส่วน Not to scale


โครงการออกแบบและการวางผังภูมิสถาปัตยกรรม สวนสาธารณะเขื่อนเรศวร อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก แผนที่ 23 : แผนที่แสดง Zoning Diagram สัญลักษณ์: แสดงในรูปภาพ ที่มา : จากการออกแบบ

มาตราส่วน Not to scale


โครงการออกแบบและการวางผังภูมิสถาปัตยกรรม สวนสาธารณะเขื่อนเรศวร อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก แผนที่ 24 : แผนที่แสดง Function Diagram สัญลักษณ์: แสดงในรูปภาพ ที่มา : จากการออกแบบ

มาตราส่วน Not to scale


โครงการออกแบบและการวางผังภูมิสถาปัตยกรรม สวนสาธารณะเขื่อนเรศวร อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก แผนที่ 25 : แผนที่แสดง Circulation Diagram สัญลักษณ์: แสดงในรูปภาพ ที่มา : จากการออกแบบ

มาตราส่วน Not to scale


บทที่ 7 รายละเอียดโครงการออกแบบ 7.1 รายละเอียดการออกแบบ ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ 7.1.1 ระบบการสัญจรภายในโครงการ ดังนี้ 7.1.1.1 ทางสัญจรรถยนต์ ในบริเวณทางเข้าออกหลักของโครงการ เป็นถนน ลาด ยางมะตอย (Asphalt Road) ขนาดความกว้าง 7.00 เมตร 7.1.1.2 ทางสัญจรบริการ (Service Ways)ใช้ร่วมกับทางสัญจรรถยนต์และทาง จักรยาน 7.1.1.3 ทางสัญจรเท้าแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1) ทางสัญจรเท้าหลักภายในโครงการ ซึ่งอยู่บริเวณทางเข้าออกของพื้นที่ โครงการ ออกแบบเป็นแนวแกนไปยังจุดนาสายตา วัสดุเป็นหินแกรนิตสลับกับพื้นทรายล้าง 2) ทางสัญจรเท้ารองภายในโครงการ กว้าง 3.00 เมตร วัสดุที่ใช้เป็นทราย ล้างสีครีม 3) ทางสัญจรเท้าคู่ขนานกับทางจัก รยาน ออกแบบให้เป็น แบบวนรอบ (Loop Circulation) เพื่อเข้าถึงกิจกรรมได้อย่างทั่วถึง วัสดุที่ใช้เป็นทรายล้างสีแตกต่างกันเพื่อแยก ระบบการสัญจร โดยทางเท้ากว้าง 3.00 เมตรและทางจักรยานกว้าง 2.50 เมตร 7.1.2 รายละเอียดด้านระบบน้าใช้ ภายในพื้นที่โครงการแบ่งระบบการใช้น้าออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบน้าใช้ภายใน สวนสาธารณะ และระบบน้าใช้เพื่อการบารุงพืชพรรณ เมื่อถึงช่วงหน้าฝน ปริมาณน้าในแม่น้าจะ สูง ขึ้นมาก ช่วงนั้นสามารถใช้ น้าจากแม่น้าโดยใช้เครื่องสูบน้าสูบจากแม่น้าโดยตรง ส่วนช่วง หน้าแล้งปริมาณน้าจะลดต่าสุด โครงการสามารถใช้น้าที่กักเก็บในสระน้าภายในโครงการ ซึ่ง ระบบการจ่ายน้าจะมีตาแหน่งของวาล์วจ่ายน้าเป็นระยะประมาณ 20 – 30 เมตร


7.1.3 รายละเอียดด้านระบบไฟฟ้า 7.1.3.1 ระบบไฟฟ้าของโครงการใช้ระบบฝังท่อใต้ดิน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ ๆ คือ ระบบไฟฟ้าที่อยู่บริเวณริมถนนในโครงการ และระบบไฟฟ้าที่อยู่ภายในสวนสาธารณะ ในโครงการ โดยมีจุดเปิดให้ซ่อมบารุงเป็นระยะทุกๆ 500 เมตร บริเวณภายในสวนสาธารณะเว้น ระยะทุกๆ 200 เมตร 7.1.3.2 ระบบให้แสงสว่างในการเลือกใช้ไฟส่องสว่างสาหรับโครงการแบ่งการใช้ ไฟส่องสว่างตามระดับการติดตั้งดังต่อไปนี้ 1) ไฟสนาม มีขนาดความสูงประมาณ 0.50 เมตร ใช้กับบริเวณที่ไม่ ต้องการความชัดเจนในการมองเห็นมากนัก 2) ไฟส่องสว่างระดับกลาง มีขนาดความสูงประมาณ 3.2 เมตร สาหรับใช้ ในพื้นที่ทั่วไปของพื้นที่โครงการอาทิเช่น บริเวณภายในสวนสาธารณะ ถนนหลัก ถนนรอง ทางเดินหลัก เป็นต้น 7.1.3.3 ไฟที่จอดรถ มีขนาดความสูง 7.00 เมตร เพื่อให้เกิดแสงสว่างได้ทั่วบริเวณ 7.1.3.4 ไฟติดตามกาแพงและสปอร์ตไลท์ ใช้หลอดฮาโลเจน ใช้บริเวณมุมอาคารที่ต้องการแสดงความสวยงามและบรรยากาศให้แก่ตัวอาคาร และสถานที่สาคัญ 7.1.4 รายละเอียดด้านระบบระบายน้า ระบบการระบายน้าของพื้นที่โครงการ จะระบายน้าลงสู่รางระบายน้าริมขอบพื้นที่ โดยออกแบบให้เป็น Rain Garden เพื่อให้ดูเป็นสวนระบายน้าและเป็นการกรองน้าก่อนปล่อยลงสู่ แหล่งน้าธรรมชาติ 7.1.5 รายละเอียดด้านระบบกาจัดขยะ การกาจัดขยะของพื้นที่โครงการจะใช้รถบริการของทางเทศบาลเป็นหลัก โดย ภายในโครงการมีการกาจัดขยะวันละ 2 ครั้ง โดยมีถังขยะตั้งตามจุดต่าง ๆ แล้วรวบรวมไปไว้ยังจุด พักขยะ และใช้รถเก็บขยะของเทศบาลเป็นเครื่องมือลาเลียงนาไปกาจัดทิ้งนอกพื้นที่ โดยขยะ บางส่วนจะถูกนาไปกาจัดเพื่อทาเป็นปุ๋ยในสวนบารุงรักษาภายในโครงการ


7.1.6 รายละเอียดด้านระบบการรักษาความปลอดภัย พื้ น ที่ ภ ายในพื้ น ที่ โ ครงการมี ข นาดใหญ่ ม าก พึ่ ง การดู แ ลและรั ก ษาความสงบ เรียบร้อยและความปลอดภัยเป็นหน้าที่รับผิดชอบของสถานีตารวจภูธรซึ่งตั้งอยู่ในเขตเมืองและไม่ ห่างกับโครงการมากนัก แต่บางพื้นที่มีเขตและเป็นที่ลับตาจะมียามรักษาความปลอดภัยตามจุดเข้า ออกต่าง ๆ ตามถนนสายรองและจุดกิจกรรม ระบบแจ้งภัยและป้องกันเพลิงไหม้จะกระจายอยู่ตาม พื้นที่ซึ่งจะติดตั้งตามอาคารต่าง ๆ และตามจุดในสวนสาธารณะ 7.1.7 ป้าย (Signs & Signates) การแสดงข้ อ ความในแต่ ล ะส่ ว นแตกต่ างกั น ออกไป มี ก ารใช้ วั ส ดุ ที่ เ รี ย บง่ า ย มองเห็นได้ชัดเจน ใช้ ความสูง ตามมาตรฐานความสูงอยู่ ใ นช่ วงมุมเงยและก้ มจากระดับสายตา ระดับสูงประมาณ 0.80 เมตร , 1.20 เมตรและ 1.80 เมตร 7.2 รายละเอียดรูปแบบของสิ่งปลูกสร้าง 7.2.1 สิ่งปลูกสร้ างถาวร สิ่งปลูกสร้ างที่ เกิดขึ้นในโครงการ ทั้งหมดถูกสร้ างขึ้นใหม่ อาคารส่วนใหญ่สร้างแบบถาวร เช่น 1) อาคารต้อนรับ เป็นอาคารสาหรับติดต่อสอบถามในเรื่องการใช้สวนสาธารณะ 2) อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา เป็นอาคารที่รวบรวมพระราชประวัติและพระ ราชกรณียกิจในด้านต่างๆ จัดเป็นแกลอรี่ให้ประชาชนทั่วไปได้มาชม 3) ศูนย์เรียนรู้ประมงน้าจืด เป็นแหล่งให้ความรู้ในด้านการประมง เช่น เรื่องการ เลี้ยงปลาน้าจืดในเชิงเศรษฐกิจ การบาบัดน้าเสียโดยเครื่องเติมอากาศและการใช้พืชในการบาบัดน้า เสีย 4) ศาลาริมน้า เป็นศาลาไม้ที่จาลองมาจากบ้านริมน้าในสมัยก่อน 5) เวทีการแสดงกลางแจ้ง เป็นเวทีสาหรับใช้ในการแสดงดนตรีต่ างๆทั้งเพลง สากล และเพลงลูกทุ่ง อีกทั้งสามารถให้ประชาชนทั่วไปที่อยากแสดง สามารถมาแสดงที่ ณ เวที กลางแจ้งแห่งนี้ได้


6) สนามกีฬากลางแจ้งต่างๆ เช่น สนามฟุตบอล สนามวอลเลย์บอล สนามเปตอง สนามแบตมินตัน และอาคารกีฬาในร่ม เป็นส่วนที่สามารถรองรับการแข่งขันกีฬาของอาเภอพรหม พิราม และสามารถใช้ในการแข่งขันกีฬาของโรงเรียนต่างๆได้ 7) ลานอเนกประสงค์ต่างๆ เป็นตัวจาแนกกิ จกรรม หรือเป็นศูนย์รวมกิจกรรม ต่างๆ


บทที่ 8 ผลงานการออกแบบ 8.1 แผ่นงานที่ 1 SITE INTRODUCTION & SITE INVENTORY (ดูภาพที่ 24) 8.1.1 ความเป็นมาของโครงการ 8.1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ 8.1.3 ที่ตั้งโครงการและอาณาเขตติดต่อ 8.1.4 สภาพทั่วไปของพื้นที่โครงการ 8.1.5 การเข้าถึงพื้นที่โครงการ 8.1.6 การเชื่อมโยงพื้นที่โครงการกับพื้นที่สาคัญอื่นๆ 8.2 แผ่นงานที่ 2 SITE ANALYSIS (ดูภาพที่ 25) 8.2.1 สภาพภูมิอากาศ 8.2.2 ลักษณะภูมิประเทศ 8.2.3 สภาพธรณีวิทยา โครงสร้างดิน 8.2.4 ความลาดชันและระดับของพื้นที่ 8.2.5 แหล่งน้าและทางระบายน้าธรรมชาติ 8.3 แผ่นงานที่ 3 SITE ANALYSIS (ดูภาพที่ 26) 8.3.1 การใช้ประโยชน์ที่ดินในโครงการ 8.3.2 ผังพืชพรรณเดิม 8.3.3 สิ่งปลูกสร้างเดิม 8.3.4 ระบบทางสัญจร 8.3.5 ระบบสาธารณูปโภค และระบบสาธารณูปการ 8.3.6 ข้อมูลด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม


8.3.7 ทัศนียภาพภายในและภายนอกโครงการ 8.3.8 ข้อมูลผู้ใช้โครงการ 8.4 แผ่นงานที่ 4 SITE ANALYSIS (ดูภาพที่ 27) 8.4.1 ข้อมูลพิเศษ 8.5 แผ่นงานที่ 5 SITE SYNTHESIS (ดูภาพที่ 28) 8.5.1 การวิเคราะห์คุณลักษณะของพื้นที่โครงการ 8.5.2 การวิเคราะห์ศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่โครงการ 8.5.3 การวิเคราะห์ความต้องการของพื้นที่โครงการ 8.5.4 ตารางแสดงลักษณะขององค์ประกอบต่างๆในพื้นที่โครงการ 8.6 แผ่นงานที่ 6 DESIGN CONCEPT (ดูภาพที่ 29) 8.6.1 แนวความคิดหลัก 8.6.2 แผนผังอธิบายแบบวงกลม 8.6.3 แผนผังอธิบายการแบ่งพื้นที่ใช้สอย 8.6.4 แผนผังอธิบายการใช้สอยที่สัมพันธ์กับพื้นที่ 8.6.5 แผนผังอธิบายระบบทางสัญจร 8.6.6 แผนผังอธิบายแบบพื้นที่ว่าง 8.7 แผ่นงานที่ 7 DESIGN CONCEPT (ดูภาพที่ 30) 8.7.1 แผนผังอธิบายพืชพรรณ 8.7.2 แผนผังอธิบายแนวคิดทั้งหมดในโครงการ 8.8 แผ่นงานที่ 8 MASTER PLAN (ดูภาพที่ 31) 8.8.1 ผังแม่บทแสดงการใช้ที่ดิน มาตราส่วน 1:1000


8.9 แผ่นงานที่ 9 DETAIL PLAN A (ดูภาพที่ 32) 8.9.1 ผังแสดงองค์ประกอบบริเวณพื้นที่ต้อนรับ มาตราส่วน 1 : 750 8.9.2 แนวความคิดในการออกแบบ บริเวณพื้นที่ส่วนทางเข้าหลักของพื้นที่โครงการ 8.9.3 รูปตัดบริเวณทางเข้าหลักของพื้นที่โครงการ มาตราส่วน 1 : 250 8.9.4 รูปตัดบริเวณเวทีการแสดงกลางแจ้ง มาตราส่วน 1 : 250 8.9.5 ทัศนียภาพบริเวณทางเข้าหลักของสวนต้อนรับบริเวณด้านหน้าพื้นที่โครงการ 8.9.6 ทัศนียภาพบริเวณลานน้าพุดนตรี 8.9.7 ทัศนียภาพบริเวณสวนปะติมากรรม 84 พรรษา 8.9.8 ทัศนียภาพบริเวณเวทีการแสดงกลางแจ้ง 8.9.9 KEY PLAN 8.9.10 IMAGE 8.9.11 TYPICAL DETAIL 8.10 แผ่นงานที่ 10 DETAIL PLAN B (ดูภาพที่ 33) 8.10.1 ผังแสดงองค์ประกอบบริเวณพื้นที่กิจกรรม Active มาตราส่วน 1 : 750 8.10.2 แนวความคิดในการออกแบบ บริเวณพื้นที่กิจกรรม Active 8.10.3 รูปตัดบริเวณทางเข้ารองและบริเวณอัฒจรรย์ดิน ของพื้นที่กิจกรรม Active มาตรา ส่วน 1 : 250 8.10.4 รูปตัดบริเวณทางเข้าทางเท้า มาตราส่วน 1 : 250 8.10.5 ทัศนียภาพบริเวณสวนน้าพุริมน้า 8.10.6 ทัศนียภาพบริเวณทางเข้ารองรถยนต์ 8.10.7 ทัศนียภาพบริเวณท่าเรือปั่นริมน้า 8.10.8 IMAGE 8.10.9 TYPICAL DETAIL - รายละเอียดศาลานั่งเล่น


- รายละเอียดน้าพุ 8.11 แผ่นงานที่ 11 DETAIL PLAN C (ดูภาพที่ 34) 8.11.1 ผังแสดงองค์ประกอบบริเวณพื้นที่กิจกรรม Passive มาตราส่วน 1 : 750 8.11.2 แนวความคิดในการออกแบบ บริเวณพื้นที่พื้นที่กิจกรรม Passive 8.11.3 รูปตัดบริเวณด้านหน้าอาคารเฉลิมพระเกียรติ มาตราส่วน 1 : 150 8.11.4 รูปตัดบริเวณพื้นที่ริมน้า มาตราส่วน 1 : 150 8.11.5 ทัศนียภาพบริเวณสวนน้าพุริมน้า 8.11.6 ทัศนียภาพบริเวณสวนเรียนรู้ประมงและปลาน้าจืด 8.11.7 ทัศนียภาพบริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติ 8.11.8 KEY PLAN 8.11.9 IMAGE 8.11.10 TYPICAL DETAIL - รายละเอียดบริเวณโครงสร้างพื้นที่ริมน้า - รายละเอียดภาพตัดน้าพุ 8.12 แผ่นงานที่ 12 OVER ALL PERSPECTIVE (ดูภาพที่ 35) 8.12.1 ทัศนียภาพทั้งหมดของพื้นที่โครงการ 8.13 แผ่นงานที่ 13 MASS MODEL (ดูภาพที่ 36) 8.13.1 แบบจาลองพื้นที่โครงการ มาตราส่วน 1:1000


ภาพที่ 24 SITE INTRODUCTION & SITE INVENTORY ที่มา: จากการเก็บและรวบรวมข้อมูล


ภาพที่ 25 SITE ANALYSIS ที่มา: จากการวิเคราะห์พื้นที่โครงการ


ภาพที่ 26 SITE ANALYSIS ที่มา: จากการวิเคราะห์พื้นที่โครงการ


ภาพที่ 27 SITE ANALYSIS ที่มา: จากการเก็บรวบรวมข้อมูล


ภาพที่ 28 SITE SYNTHESIS ที่มา: จากการสังเคราะห์ข้อมูล


ภาพที่ 29 CONCEPTUAL DESIGN ที่มา: จากการออกแบบ


ภาพที่ 30 PLANTING DESIGN ที่มา: จากการออกแบบ


ภาพที่ 31 MASTER PLAN ที่มา: จากการออกแบบ


ภาพที่ 32 DETAIL A ที่มา: จากการออกแบบ


ภาพที่ 33 DETAIL B ที่มา: จากการออกแบบ


ภาพที่ 34 DETAIL C ที่มา: จากการออกแบบ


ภาพที่ 35 OVER ALL


ที่มา: จากการสร้างสรรค์

ภาพที่ 36 MODEL ที่มา: จากการสร้างสรรค์


บทที่ 9 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 9.1 บทสรุป โครงการออกแบบและวางผังภูมิสถาปัตยกรรมสวนสาธารณะเขื่อนนเรศวร อาเภอพรหม พิราม จังหวัดพิษณุโลก มีเนื้อที่ 171 ไร่ เป็นพื้นที่ติดริมน้าน่านทางทิศตะวันออกและทางทิศใต้ พื้นที่โดยรอบโครงการประกอบไปด้วยพืชพรรณที่อุดมสมบูรณ์ มีทัศนียภาพที่สวยงามสามารถ มองเห็ น วิ ว ทิ ว ทั ศ น์ ข องธรรมชาติ ที่ ส วยงาม ท าให้ ไ ด้ บ รรยากาศของการมาพั ก ผ่ อ นใน สวนสาธารณะได้เป็นอย่างดี แนวความคิ ด ในการออกแบบโครงการนี้ กล่ า วโดยสรุ ป แล้ ว การออกแบบโครงการ โดยรวมเน้นเพื่อตอบสนองผู้ใช้ที่อยู่ในชุมชนใกล้เคียงพื้นที่โครงการ เพื่อเป็นพื้นที่ที่นอกจากจะ เป็นสวนสาธารณะสาหรับการพักผ่อนแล้ว ยังมีแนวความคิดในการเพิ่มพื้นที่กิจกรรมสาหรับการ เรียนรู้ เพื่อสร้างให้พื้นที่เป็นสวนสาธารณะที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนใน ชุมชนที่พักอาศัยใกล้เคียงกับพื้นที่สวนสาธารณะให้ได้มากที่สุด 9.2 ข้อเสนอแนะ 9.2.1 การออกแบบโดยคานึงถึงพื้นที่ใช้สอย ประโยชน์ใช้สอยที่มีความเกี่ยวข้องควรจะ เน้นความต้องการของประชาชนผู้ใช้เป็นหลัก 9.2.2 การเลือกทางเข้าโครงการควรมี หลักการและเหตุผลที่สอดคล้องกัน 9.2.3 การวางพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนของอาคาร ควรคานึงถึง สภาพแวดล้อมภายนอกและพื้นที่ที่เชื่อมโยงกัน 9.2.4 ไม่ควรให้ที่จอดรถเป็นจุดแรกที่มองเห็นในการเดินเข้ามาจากทางเข้าหลัก ควรเป็ น พื้นที่สวนต้อนรับเป็นจุดแรกในการมองเห็นเพื่อความสวยงามและเป็นจุดนาสายตาในการเข้ามาใช้ 9.2.5 พื้นที่ออกแบบที่ใกล้น้า ควรมีระบบในเรื่องความปลอดภัย หรือมีการใช้น้าจากนอก พื้นที่ควรมีระบบในการนาน้าเข้า -ออก เช่น ประตูกั้นน้า หรือพนังกั้นน้า ในเรื่องความสะอาด การ ถ่ายเทน้าในเข้า-ออกจากพื้นที่


9.2.6 ในการออกแบบพื้นที่สวนสาธารณะที่ดี ควรจะเน้นการใช้สอยจากประชาชนเป็น หลัก เนื่องจากปั ญหาส่วนใหญ่ของสวนสาธารณะคือ ไม่มี ประชาชนเข้าไปใช้ทาให้พื้ นที่ ของ สวนสาธารณะดูไม่น่าสนใจและไม่สามารถดึงดูดให้ประชาชนเข้ามาใช้ได้ตรงตามเป้ าหมาย และ ควรค านึ ง ถึ ง มุ ม อั บ ที่ เ ป็ น อั น ตรายต่ อ ผู้ ใ ช้ ควรจะออกแบบพื้ น ที่ ใ ห้ มี พื้ น ที่ เ ปิ ด โล่ ง เพื่ อ ไม่ ใ ห้ สวนสาธารณะดูอึดอัดจนเกินไป


บรรณานุกรม จรัสพิมพ์ บุญญานันต์. 2550. คู่มือการเขียนโครงร่างวิทยานิ พนธ์ระดับปริญญาภูมิสถาปัตยกรรม ศาสตร์บัณฑิต. อัดสาเนา. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เดชา บุญค้า. 2537. การวางผังบริเวณ. กรุงเทพมหานคร : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เว็บไซต์การออกแบบก่อสร้างภูมิสถาปัตยกรรม 2. การออกแบบป้องกันตลิ่ง. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา. http://opens.dpt.go.th/dpt_subkm01/index.php?option=com_weblinks&catid=16&Itemid =35 (15 มกราคม 2555) เว็บไซต์พิษณุโลก. ข้อมูลพิษณุโลก. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา. http://cddweb.cdd.go.th/phromphiram/Category/context/context.pdf (15 มกราคม 2555) เว็บไซด์กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ฐานข้อมูลกลุ่มชุดดิน . [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา. http://www.giswebldd.ldd.go.th (20 มกราคม 2555)


ประวัตินักศึกษา ชื่อ

: อรวรรณ ศุภนิจวัฒนา

วันเดือนปีเกิด

: 3 สิงหาคา 2531

ที่อยู่

: 41/4 ม.3 ต.บางขาม อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี

เบอร์โทร

: 089 - 6706107

ประวัติการศึกษา

: ระดับประถมศึกษา โรงเรียนจุฑาทิพย์ : ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา : ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา

ปัจจุบัน

:สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

ประสบการณ์การทางาน : ปี พ.ศ.2554 ฝึกงานบริษัท P landscape Design



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.