โฉมหน้าศักดินาไทย จิตร ภูมิศักดิ์

Page 47

45

ทั้งชายหญิงจากประเทศจาม, ญวน, พุกาม และมอญ เป็ นจำานวนถึง ๓๐๖,๓๗๒ คน

๓๙

พวกไทยในแคว้น

มอญก็คงรวมอยู่ในจำา นวน “ผู้สร้างสรรค์” ที่ถูกกดขี่เหล่านี้ ด้วย ครั้นพอพวกประเทศจามตั้งตัวติด ก็ยก พวกมาชิงทาสไปจากเขมรบ้าง เป็ นสงครามชิงทาสระหว่างรัฐทาส พวกทาสเชลยไทยทั้งปวงก็ถูกต้อนไป เป็ นทาสสำาหรับงานโยธา สร้างเทวสถานศิลาในเมืองจามอีกทอดหนึ่ ง ตรงนี้ ไม่ใช่นึกเดาเอาเอง มีหลักฐาน อ้างอิงได้ กล่ าวคือมีศิลาจารึกจามเล่าถึ งการอุทิศถวายทาสให้ เป็ นผู้ทำา งานรับ ใช้ ในวัด (เทวสถานศิลาที่ สร้างขึ้น) ของจาม ในนั้ นมีระบุด้วยว่ามีทาส “สยาม” (เขาใช้คำานี้ จริงๆ)

๔๐

พวกทาส “สยาม” ที่จามได้ไปนี้

นอกจากจะได้ไปโดยการทำาสงครามชิงทาสแล้ว ยังได้ไปโดยจับเป็ นเชลยศึก ที่ว่าดังนี้ ก็เพราะพวก “สยาม” ต้องถูกเกณฑ์ให้จัดกองทัพไปช่วยเขมรรบ ที่ว่านี้ ก็มีหลักฐานอีกนั ่นแหละ ใครที่ไปเที่ยวนครวัต จะได้เห็น ภาพสลักน้น (Basrelief) บนผนั งของระเบียงนครวัต (เหมือนระเบียงวัดพระแก้วของไทย) ตอนหนึ่ งเป็ น ภาพการยกทัพของพระเจ้าสูรยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๖๕๗-๑๖๘๘) ผู้สร้างนครวัต ในขบวนทัพนั้ นกองหน้าสุด อันเป็ นพวกทหารเลวตายก่อนก็คือพวก “สยาม” มีหนั งสือเขียนบรรยายภาพเอาไว้อย่างชัด เจนตั้งสอง แห่ง นอกจากนั้ นถัดมาเป็ นอันดับที่สองคือตายที่สองก็คอ ื พวกไพร่พลเมือง “ละโว้” มีคำาจารึกบรรยายภาพ ไว้ด้วยเหมือนกัน

๔๑

สภาพของชีวิตอันเกิดมีการต่อสู้เพื่อช่วงชิงแหล่งทำาเลทำามาหากินที่ไทยต้องทำากับชนพื้ นเมืองเดิม ก็ดีหรือการต่อสู้ช่วงชิงทาสระหว่างไทยกับรัฐทาสของเขมรก็ดี เหล่านี้ เป็ นเงื่อนไขที่จะทำาให้ระบบผลิตของ สังคมไทยพัฒนาไปสู่ระบบทาสได้อย่างสมบูรณ์ การรบชนะเจ้าของดินถิ่นเดิมหรือรบชนะพวกชาติกุลอื่น ทำา ให้ไม่จำา เป็ นต้องผลิตรวมหมู่แบบช่วยกันทำา เหมือนสมัยชมรมกสิกรรมของยุคชุมชนบุพกาลอีกต่อไป ทั้งนี้ เพราะแต่ละครัวหรือสกุล ต่างมีทาสเชลยเป็ นพลังแห่งการผลิต การผลิตโดยเอกเทศแบ่งแยกกันก็ เกิดขึ้นได้บนพื้ นฐานของการขูดรีดแรงงานทาส แต่ ถึ งอย่ า งไรก็ ดี แม้ จ ะได้ เ กิ ด รัฐ ทาสขึ้ นแล้ ว ลั ก ษณะของการปกครองแบบพ่ อ ครัว (Patriachal Family) ที่ไทยพวกนี้ เคยใช้มาแต่ยุคชุมชนบุพกาลก็ยังหาได้สูญสิ้นซากไปทีเดียวไม่ ไทยพวกนี้ ยังคงเรียก ประมุขว่า “พ่อ” ดังจะเห็นได้จากที่ได้ตกทอดมาจนถึงสมัยสุโขทัย ในรัฐสุโขทัยเราก็ยังเรียกประมุขของรัฐ ว่า “พ่อขุน” และพวกข้ารัฐการ เราก็เรียกว่า “ลูกขุน” เป็ นคำา คู่กันอยู่ นี่ คือร่องรอยของระบบชุมชนยุค บุพกาลที่ตกทอดผ่านลงมาในสังคมทาส และในที่สุดก็มาสูญไปตอนที่สังคมได้กลายเป็ นระบบศักดินาอย่าง เต็มที่ และในยุคทาสนี้ เอง ที่สรรพนามกูและมึงของเราเกิดถูกรังเกียจ เงื่อนไขของชนชั้นทางภาษาได้เกิด ขึ้น กูและมึงใช้ได้เฉพาะกับผู้ท่ีเสมอกัน หรือผู้ท่ีโตกว่าเขื่องกว่าใช้กับผู้นอ ้ ย ถ้าเป็ นทาสกับเจ้าทาสหรือข้า กั บ เจ้ า ข้ า แล้ ว พวกทาสต้ อ งเรีย กตั ว เองว่ า “ข้ า ” เรีย กนายว่ า “เจ้ า ” และเวลาตอบรับ ก็ ต้ อ งใช้ คำา ว่ า “เจ้าข้า” จะใช้คำาว่า “เออ” อย่างมีภราดรภาพแบบเดิมไม่ได้เสียแล้ว ด้วยหลักฐานอันยืดยาวประกอบกับข้อสันนิ ษฐานดังกล่าวมานี้ เอง จึงทำา ให้น่าจะเชื่อถืออยู่ค ราม ครันว่าสังคมไทยได้ผ่านยุคทาสมาแล้วช่วงระยะหนึ่ ง อย่างน้อยก็ ๔๐๐ ปี และสังคมของไทยได้เริม ่ คืบ


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.