วารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 93 ก.ค.-ก.ย.54

Page 1

พลังงาน

ฉบับที่ 93 กรกฎาคม-กันยายน 2554

นโยบาย วารสาร

สัมภาษณพิเศษ

ชีวมวล

นายพิชัย นรพทะพันธุ รัฐมนตรวาการกระทรวงพลังงาน

จากวัสดุเหลือใชสูพลังงานทดแทน

ISSN 0859-3701

www.eppo.go.th

นโยบายการใชเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟาของประเทศในกลุมอาเซียน นโยบายการกำหนดโครงสรางอัตราคาไฟฟาของประเทศไทยป 2554-2558 สถานการณพลังงานไทยในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 ผลงานที่ชนะการประกวดบทอาขยาน “ประหยัดพลังงาน…เราทำได”


ความเคลื่อนไหวใน กบข.

เศรษฐกิจผันผวน

ออมตอ รอจังหวะ

นางสาวโสภาวดี เลิ ศ มนั ส ชั ย เลขาธิ ก าร กองทุ น บำเหน็ จ บำนาญ ขาราชการ (กบข.) กลาววา วิกฤตหนี้ สาธารณะในยุ โ รปและภาวะเศรษฐกิ จ สหรั ฐ อเมริ ก าที่ ช ะลอตั ว อยู ใ นเวลานี้ ไดสงผลกระทบตอตลาดเงิน ตลาดทุน ทั่ ว โลก ที่ ผ า นมา กบข. ได ติ ด ตาม ส ถ า น ก า ร ณ อ ย า ง ใ ก ล ชิ ด แ ล ะ ปรั บ กลยุ ท ธ ก ารลงทุ น โดยลดสั ด ส ว น สิ น ทรั พ ย ที่ มี ค วามเสี่ ย งสู ง เช น หุ น และเพิ่มสัดสวนการลงทุนในสินทรัพย ที่มี ค วามมั่ น คงสู ง เช น ตราสารหนี้ ทั้ ง ห ม ด นี้ เ พื่ อ รั ก ษ า เ งิ น ต น แ ล ะ ผ ล ป ร ะ โ ย ช น ข อ ง ส ม า ชิ ก ก บ ข . ใ ห ป ล อ ด ภั ย อ ย า ง เ ต็ ม ก ำ ลั ง แ ล ะ มี ค วามเป น ไปได ว า ป 2554 มู ล ค า หนวยลงทุน (NAV) ของ กบข. จะต่ำกวา ป 2553

สมาชิก กบข. จะรับมือภาวะ เศรษฐกิจผันผวนนีอ้ ยางไร ? วิ ธี ที่ 1 : อ อ ม ต อ ร อ จั ง ห ว ะ สำหรับปนี้ กบข. คาดวา NAV จะต่ำกวาป 2553 จึงใครขอแนะนำสมาชิกที่เกษียณ ปนี้ใหออมตอรอให NAV ปรับตัวดีขึ้นตาม ภาวะเศรษฐกิจ แลวจึงนำเงินออกจะเปน ผลดี กั บ สมาชิ ก มากกว า กรณี เ ช น นี้ เ คย เกิดขึ้นเมื่อป 2551 ปนั้นเศรษฐกิจชะลอ ตั ว ส ง ผลให NAV ก็ ป รั บ ตั ว เพิ่ ม ขึ้ น มาที่ 15.36 บาทตอหนวย จะเห็นวา NAV มีขนึ้ มีลงตามภาวะเศรษฐกิจ หากสมาชิกออมตอ รอจังหวะก็อาจไดรับผลตอบแทนที่ดีกวา

วิธีที่ 2 : ออมเพิ่ม เหมาะสำหรับสมาชิกที่มองวิกฤตเปนโอกาส ชวงที่การลงทุนผันผวนเชนนี้ NAV จะมีราคาลดลง ขอดีคือ เงินออมเทาเดิม แต จ ะได จ ำนวนหน ว ยลงทุ น เพิ่ ม ขึ้ น ดั ง นั้ น การออมเพิ่ ม จึ ง ทำให ส ะสม หนวยลงทุนไดมากกวาสถานการณปกติ ยิ่งออมเพิ่ม จำนวนหนวยลงทุน ยิ่งเพิ่มมากขึ้น พลังของดอกเบี้ยทบตนจะชวยทบทวีคูณผลตอบแทนใน อนาคต โดย กบข. เปดโอกาสใหสมาชิกออมเพิ่มสูงสุดถึง 12% วิธีที่ 3 : เปลี่ยนแผนการลงทุน ในสถานการณการลงทุนที่ผันผวน การเปลี่ ย นแผนการลงทุ น อาจช ว ยพลิ ก วิ ก ฤตให เ ป น โอกาสได เ ช น กั น โดย กบข. มี 4 แผนทางเลือกการลงทุนสำหรับสมาชิก โดยสมาชิก กบข. สามารถปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนใหเหมาะสมกับความเสี่ยงที่ยอมรับได ดังนี้ • ชอบเสี่ยงสูง การเปลี่ยนแผนลงทุนเปนแผนผสมหุนทวีเปนอีก ทางเลือกสำหรับสมาชิก กบข. ที่ชอบความเสี่ยงสูง เพื่อลุนผลตอบแทน แผนนี้เหมาะสำหรับสมาชิก กบข. ที่ยอมรับความเสี่ยงไดสูง ระยะเวลา เหลือออมอีกนาน ในชวงที่ระดับราคาหุนลดลงเชนนี้ ถือเปนโอกาสสำหรับ การลงทุนระยะยาว • ไมชอบเสี่ยง การเปลี่ยนแผนลงทุนเปนแผนตราสารหนี้ หรือ แผนตลาดเงิน ที่มีความเสี่ยงนอย ผลตอบแทนไมหวือหวาแตเนนรักษา เงินตนเปนทางเลือกที่เหมาะสำหรับสมาชิกที่ไมชอบความเสี่ยง และกังวล กับราคาหุนที่ผันผวน

ศูนยขอมูลสมาชิก กบข. โทรศัพท 1179 กด 6 อีเมล member@gpf.or.th หรือเว็บไซต www.gpf.or.th


ทักทาย จากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่ มี แ นวโน ม ขยายตั ว ขึ้ น ทุ ก ป ส ง ผลให ป ริ ม าณ ความตองการพลังงานเพิ่มขึ้นเปนเงาตามตัว แต เนื่องจากประเทศไทยมีแหลงพลังงานจำกัด แมจะ สามารถขุดเจาะกาซธรรมชาติไดภายในประเทศ แตก็ถือวายังไมเพียงพอ ยังมีบางสวนที่ตองนำเขา จากประเทศเพื่ อ นบ า น และโดยเฉพาะอย า งยิ่ ง น้ ำ มั น ที่ ไ ทยต อ งนำเข า แทบทั้ ง หมด ทำให เ มื่ อ พิจารณาถึงความมั่นคงดานพลังงานแลวจะพบวา ไทยมีความเสี่ยงดานพลังงานที่สูง หากตางประเทศ ไมสามารถสงน้ำมันและกาซธรรมชาติใหแกไทยได กิจกรรมตาง ๆ ทางเศรษฐกิจจะเกิดภาวะชะงักงัน ไมสามารถดำเนินการตอไปได ประชาชนก็จะไดรับ ความเดือดรอนในทายที่สุด แต ก็ ต อ งถื อ ว า เป น ความโชคดี ข องประเทศ ไทยที่มีวัสดุเหลือใชจากการเกษตรจำนวนมากที่ สามารถนำมาแปรเปลี่ยนเปนพลังงานทดแทนได แม ศั ก ยภาพของวั ส ดุ เ หลื อ ใช จ ากพื ช เกษตรจะ แตกตางกันไป แตหากสามารถบริหารจัดการและ

นำมาใชไดอยางมีประสิทธิภาพจะชวยเสริมสราง ค ว า ม มั่ น ค ง ด า น พ ลั ง ง า น ใ ห แ ก ป ร ะ เ ท ศ ไ ด ขณะเดี ย วกั น ก็ ช ว ยลดการนำเข า น้ ำ มั น และ ก า ซธรรมชาติ จ ากต า งประเทศได ด ว ย ซึ่ ง เรื่ อ งนี้ ถื อ เป น นโยบายหลั ก อี ก ด า นหนึ่ ง ของกระทรวง พลั ง งาน ดั ง ที่ นายพิ ชั ย นริ พ ทะพั น ธุ รั ฐ มนตรี ว า การกระทรวงพลั ง งาน ตั้ ง เป า หมายการใช พลังงานทดแทนใหได 25% ภายใน 10 ป โดย รั ฐ บาลจะให ก ารส ง เสริ ม อย า งเต็ ม ที่ จึ ง ถื อ เป น เปาหมายใหญหากสามารถทำได สุ ด ท า ยนี้ ข อนำข อ คิ ด ของรั ฐ มนตรี ว า การ กระทรวงพลังงานที่ตองการฝากไปถึงประชาชนผูใช พลังงานทุกคนวา ในชวงที่พลังงานราคาถูกขอให ใช กั น อย า งประหยั ด เพราะเรายั ง ต อ งนำเข า พลังงานจำนวนมาก ตองใชใหเกิดประโยชน และ เกิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด เพราะอนาคตพลั ง งาน ยิ่งหายากขึ้นเรื่อย ๆ ถาเราไมรักษาหรือสรางไว ใหลูกหลาน ความสะดวกสบายที่เราไดรับในวันนี้ ลูกหลานอาจจะไมไดรับในวันขางหนา คณะทำงาน

เจาของ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

จัดทำโดย คณะทำงานวารสารนโยบายพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เลขที่ 121/1-2 ถ.เพชรบุรี แขวงทุงพญาไท เขตราชเทวี ที่ปรึกษา กรุงเทพฯ 10400 ผูอำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน โทร. 0 2612 1555 โทรสาร 0 2612 1357-8 รองผูอำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน www.eppo.go.th รองผูอำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน

ออกแบบและจัดพิมพ บริษัท ไดเร็คชั่น แพลน จำกัด โทร. 0 2642 5241-3, 0 2247 2339-40 โทรสาร 0 2247 2363 www.DIRECTIONPLAN.org


ฉบับที่ 93 กรกฎาคม-กันยายน 2554 www.eppo.go.th

8

47 52

67

สารบัญ • ENERGY NEWS ZONE •

3 6

สรุปขาวพลังงานรายไตรมาส ภาพเปนขาว

• ENERGY LEARNING ZONE •

8

13 18 36 42 45 47 50 52 62 67 73

สัมภาษณพิเศษ : นายพิชัย นริพทะพันธุ รัฐมนตรีวาการกระทรวงพลังงาน ปน “แลนดบริดจ” สงไทยเปนศูนยกลางพลังงานของอาเซียน Scoop : “ชีวมวล” จากวัสดุเหลือใชสูพลังงานทดแทน สถานการณพลังงานไทยในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 สถานการณราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบโครงขายไฟฟาอัจฉริยะ (Smart Grid) การซักซอมแผนเตรียมความพรอมรองรับสภาวะวิกฤติดานพลังงานไฟฟา ประจำป 2554 นโยบายการกำหนดโครงสรางอัตราคาไฟฟาของประเทศไทยป 2554-2558 การกำหนดพื้นที่ตั้งโรงไฟฟาที่ประชาชนมีสวนรวม นโยบายการใชเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟาของประเทศในกลุมอาเซียน การปลอยกาซคารบอนไดออกไซด (CO2) จากการใชพลังงานชวง 2 ไตรมาสแรกป 2554 ผลงานที่ชนะการประกวดบทอาขยาน “ประหยัดพลังงาน...เราทำได” เทคโนโลยีพลังงานจากตางประเทศ : “น้ำแข็งติดไฟ” ความหวังใหมพลังงานทดแทน

• ENERGY GAME ZONE •

69 70

การตูนประหยัดพลังงาน : รวมใจประหยัดพลังงานอุปกรณสำนักงาน เกมพลังงาน : เขาใจใน “ชีวมวล” และ “พลังงานชีวมวล” ดีแคไหน ?


ENERGY NEWS ZONE

สรุปขาวพลังงานรายไตรมาส

สรุปขาวประจำเดือน

กรกฎาคม 2554

• นายณอคุ ณ สิ ท ธิ พ งศ ปลั ด กระทรวงพลั ง งาน สั่ ง หั ว หน า หน ว ยงานในสั ง กั ด เตรี ย มข อ มู ล ดานพลังงาน กอนถกแกนนำพรรคเพื่อไทย ซึ่งนอกจากเรื่องกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแลว ยังมี เรื่องพลังงานทดแทน โครงการโซลารเซลล ที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการสนับสนุนจากเดิมใหคาไฟฟา สวนเพิ่ม (แอดเดอร) 8 บาทตอหนวย เปนการคิดแบบใหการสนับสนุนระยะยาว แบบ FEED IN TARIFF ดานนายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผูอำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปดเผยวา ปลัดกระทรวงพลังงานไดมอบหมายใหทุกหนวยงานภายใตสังกัดกระทรวง พลังงานเตรียมขอมูลดานพลังงานโดยเฉพาะขอมูลที่ศึกษาชวงรัฐบาลทักษิณ โดยในสวนของ สนพ.ไดรับมอบหมายใหเตรียมขอมูลจำลองสถานการณการผลิตไฟฟาของประเทศในลักษณะตาง ๆ รวมถึงผลดี ผลเสีย และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในสวนของคาไฟฟาผันแปรอัตโนมัติ หรือคา Ft • นายณอคุ ณ สิ ท ธิ พ งศ ปลั ด กระทรวงพลั ง งาน เป ด เผยว า จากคำสั่ ง คณะรั ฐ มนตรี เ มื่ อ วั น ที่ 1 กรกฎาคม 2554 เกี่ยวกับมาตรการปองกันและแกไขปญหาขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเตรียม ประกาศลอยตัวราคากาซ LPG ในภาคอุตสาหกรรม และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2554 กระทรวงพลังงานไดสั่งการใหกรมธุรกิจพลังงานไปดำเนินการออกประกาศรายละเอียด การเก็บเงินสงเขากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากอุตสาหกรรมที่ใชกาซ LPG ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2554 นี้ โดยกลุมอุตสาหกรรมที่ใชกาซ LPG จะตองสงเงินเขากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไตรมาสละ 3 บาท จากเดิม ราคากาซ LPG 18.13 บาทตอกิโลกรัม เมื่อรวมกับภาษีมูลคาเพิ่มเขาไปจะทำใหราคาตอกิโลกรัมสำหรับ ภาคอุตสาหกรรมมีราคาอยูที่ 21.13 บาทตอกิโลกรัม และพรอมศึกษานโยบายรัฐบาลใหม ลดเก็บเงิน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง รอประกาศชัด ปจจุบันติดลบ 600 ลานบาท • นายดิเรก ลาวัณยศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือเรกกูเลเตอร เผยวา มติที่ประชุม กกพ.จะนำเงินที่เรียกคืนจากการลงทุนที่ต่ำกวาแผนของการไฟฟาทั้งสามแหง หรือ คลอวแบ็ค ประกอบดวย การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย การไฟฟาสวนภูมิภาค และการไฟฟา นครหลวง ระหวางป 2551-2553 มาลดคาไฟฟาอัตโนมัติ (คา Ft) ใหแกผูใชไฟฟาทุกรายจำนวน 6 สตางคตอหนวย เปนเวลา 6 เดือน นับจากเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม 2554 คิดเปนเงิน 4,500 ลานบาท เพื่อลดภาระการจายคาไฟฟาแกประชาชนและภาคอุตสาหกรรมที่ใชไฟฟาเกิน 90 หนวยตอเดือน • นายประเสริฐ บุญสัมพันธ ประธานเจาหนาที่บริหารและกรรมการ ผูจัดการใหญ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระบุถึงนโยบายของพรรคเพื่อไทย ที่จะยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงวา จะทำใหราคาน้ำมันทั้งเบนซินและดีเซล ลดลงได แตราคาของพลังงานอื่นที่ไดรับการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ขณะนี้จะปรับราคาขึ้นทันที เชน กาซหุงตมและ NGV ทั้งนี้ตองดูวารัฐบาล จะนำเงินจากสวนใดมาดูแลราคากลุมดังกลาว โดยผูคาพรอมปฏิบัติตามนโยบาย ทุกเรื่อง ดานนายไพรินทร ชูโชติถาวร ประธานเจาหนาที่ปฏิบัติการกลุมธุรกิจปโตรเลียมขั้นตนและ กาซธรรมชาติ ปตท.ระบุ การยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงทำไดหากเปนนโยบายรัฐบาลที่ในหลายประเทศ ทำแลว แตตองมีวิธีจัดการที่ดี อาจถึงเวลาที่ไทยควรมีการจัดตั้งคลังน้ำมันยุทธศาสตร เพื่อบริหารความเสี่ยง ดานราคาพลังงาน ดานความคืบหนาการหยุดรูรั่วทอกาซสามารถทำไดแลว คาดวาภายในกลางเดือน สิงหาคมนี้จะสามารถสงกาซผานทอไดตามปกติ www.eppo.go.th • 3


สรุปขาวประจำเดือน

สิงหาคม 2554

• นายพิชัย นริพทะพันธุ รัฐมนตรีวาการกระทรวงพลังงาน ระบุ กระทรวง พลังงานเรงเดินหนาเจรจากับกัมพูชาพัฒนารวมแหลงปโตรเลียมพื้นที่ทับซอน ไทย-กัมพูชา ในรูปแบบจีทูจี ตั้งเปาลดจัดเก็บเงินสมทบกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กอนวันที่ 1 กันยายนนี้ หารือคลังดึงทุนสำรองระหวางประเทศซื้อบอกาซ-บอน้ำมัน สรางความมั่นคงดานพลังงาน เตรียมทยอยยกเลิกอุดหนุนราคาพลังงาน กอน เปดเสรีอาเซียน ปองกันเพื่อนบานไดประโยชนพลังงานราคาถูก สวนแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟาหรือ PDP ภายใน 10 ป ประเทศไทยตองมีกำลังการผลิตไฟฟาเพิ่มขึ้นอีก 1 เทาตัว คือ จาก 30,000 เมกะวัตต เปน 60,000 เมกะวัตต เพื่อรองรับการพัฒนาของประเทศ • นายพิชัย นริพทะพันธุ รัฐมนตรีวาการกระทรวงพลังงาน เปดเผยวา เตรียมผลักดันโครงการ สะพานเศรษฐกิจเชื่อมชายฝงอันดามัน-อาวไทย (แลนดบริดจ) ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อรองรับการลงทุน ในอนาคต โดยเฉพาะกลุมญี่ปุนอาจเลือกเขามาลงทุนในประเทศไทย โดยแลนดบริดจของรัฐบาลเนนใหเกิด การลงทุนอุตสาหกรรมที่ปลอดมลพิษ คาดวาจะใชพื้นที่จังหวัดในภาคใต แตตองมีการทำประชาพิจารณ และตองไดรับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ตามกรอบของรัฐธรรมนูญใหเรียบรอยกอนจึงสามารถ ดำเนิ น การได ส ว นการพั ฒ นาพื้ น ที่ นิ ค มอุ ต สาหกรรมทวายซึ่ ง เป น นโยบายของรั ฐ บาลชุ ด ที่ ผ า นมา รัฐบาลชุดนี้อาจไมสนับสนุนหรือเขาไปลงทุนอยางเต็มตัว แตตองใหภาคเอกชนเปนผูพิจารณาเขาไป ลงทุนเอง • นายพิชัย นริพทะพันธุ รัฐมนตรีวาการกระทรวงพลังงาน เปดเผยภายหลังเปนประธานประชุม คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2554 เพื่อพิจารณาลดจัดเก็บเงิน เขากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในสวนของน้ำมันแกสโซฮอล 95 และ 91 วา ที่ประชุมมีมติใหปรับลดราคา การเก็บเงินเขากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกลุมแกสโซฮอลลง 1.00-1.50 บาทตอลิตร เพื่อเพิ่มสวนตางราคาขาย ปลีกระหวางน้ำมันเบนซินกับแกสโซฮอล มีผลตั้งแตวันที่ 31 สิงหาคม 2554 ดานนายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผูอำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กลาววา กระทรวงพลังงานมีแผนที่จะลอยตัว ราคากาซ LPG ที่ 30 บาทตอกิโลกรัม จากเดิมตรึงราคาอยูที่ 18.13 บาทตอกิโลกรัม โดยรัฐบาลมีนโยบาย ชวยเหลือผูมีรายไดนอย ทั้งนี้ การออกบัตรเครดิตพลังงาน เบื้องตนจะใชกับกาซ LPG ในภาคครัวเรือนกอน สวนการกำหนดราคา NGV หลังจากรัฐบาลปรับโครงสรางพลังงานนั้น ในสวน NGV ตองปรับราคาขึ้นไป อยูที่ 50% ของราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานเตรียมเสนอแผนทั้งหมดในเร็ว ๆ นี้ พรอมกับแผนพลังงานทดแทนในคราวเดียวกัน โดยมุงสงเสริมรถที่ใชแกสโซฮอล • นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผูอำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปดเผยวา สนพ.เตรียมขอมูลจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟา (PDP) ฉบับใหมเสร็จแลว ชง 3 แนวทางเสนอ รัฐมนตรีวาการกระทรวงพลังงานคนใหมพิจารณา ระบุหากโรงไฟฟานิวเคลียร-ถานหินถูกตาน เล็งเพิ่ม สัดสวนนำเขา LNG และผลิตไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียน เพิ่มการรับซื้อไฟฟาจากเพื่อนบาน หนุนผลิต ปโตรเลียมจากพื้นที่ทับซอนไทย-กัมพูชา สรางความมั่นคงระยะยาว • นายสิทธิโชติ วันทวิน ผูอำนวยการสำนักนโยบายอนุรักษพลังงานและพลังงานทดแทน สำนักงาน นโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) รวมกับ สำนักงานนวัตกรรมแหงชาติ (องคการมหาชน) (สนช.) เผยถึงการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 26 ลานบาท ใหแกเอกชน อันจะกอใหเกิดการลงทุนดานพลังงาน ทดแทนจากภาคเอกชนทั้งสิ้น 114 ลานบาท ภายใต “โครงการนำรองเพื่อผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวล ในระดับชุมชน (ระบบผลิตไฟฟา)” เพื่อสงเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดานพลังงาน ทดแทน ทั้งระดับตนแบบและการขยายผลสูการสรางธุรกิจนวัตกรรมดานพลังงานทดแทนอยางยั่งยืน

4 • นโยบายพลังงาน


สรุปขาวประจำเดือน

กันยายน 2554

• นายพิชัย นริพทะพันธุ รัฐมนตรีวาการกระทรวงพลังงาน เปดเผยหลังมอบนโยบายแกสำนักงาน นโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) วันที่ 1 กันยายน วา ไดมอบหมายให สนพ.ศึกษาการปรับโครงสราง ราคาพลั ง งานทั้ ง ระบบ รวมถึ ง ปรั บ แผนพั ฒ นากำลั ง การผลิ ต ไฟฟ า ระยะยาวหรื อ แผน PDP 20 ป ปรับโครงสรางราคาพลังงานใหดูเรื่องของราคาเชื้อเพลิงทุกชนิด มีเปาหมายระยะยาวตองปรับใหสะทอน ราคาตนทุนที่แทจริง กอนเปดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในป 2558 ดานนายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผูอำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กลาววา ไดนำเสนอขอมูลปริมาณการใช LPG ของประเทศไทย โดยปจจุบันมีการใชอยูที่ประมาณ 5.9 แสนตันตอเดือน แบงเปนการใชในภาคครัวเรือน 2.16 แสนตันตอเดือน ภาคขนสง 7.8 หมื่นตันตอเดือน และภาคอุตสาหกรรม 6.6 หมื่นตันตอเดือน สวนที่เหลือเปนการใชในภาคปโตรเคมี การใช LPG ในภาคครัวเรือนถือวามีสัดสวนสูงที่สุดประมาณ 40% ของปริมาณการใชทั้งหมด หากรัฐบาลจะอุดหนุนราคา LPG ในภาคครัวเรือนภายหลังจากลอยตัว ราคาแลวก็ควรกำหนดดวยวาครัวเรือนไหนควรไดรับการสนับสนุน ซึ่งโดยหลักการแลวจะใชรายไดครัวเรือน เปนเกณฑ หากสามารถชวยเหลือเฉพาะครอบครัวที่มีรายไดต่ำจะทำใหภาระของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลง จากปจจุบัน 3,000 ลานบาทตอเดือน เหลือไมเกิน 1,000 ลานบาทตอเดือน และเมื่อรวมกับ การทยอยลอยตัว LPG ภาคขนสงจะทำใหภาระของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงจากระดับปจจุบัน • นายพิชัย นริพทะพันธุ รัฐมนตรีวาการกระทรวงพลังงาน เผยวา กระทรวงพลังงานอยูระหวาง การศึกษาถึงรูปแบบการลงทุนสรางคลังสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตรของประเทศไทย เพื่อเพิ่มปริมาณ น้ำมันสำรองไวใชในกรณีฉุกเฉินในชวงวิกฤตน้ำมันแพง โดยจะใชบทบาทของ ปตท.ผาน ปตท.สผ. เขาไป ลงทุนยังแหลงผลิตปโตรเลียมในตางประเทศใหมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเปนการดำเนินการในระยะยาวเพื่อ ความมั่นคงดานพลังงานอยางแทจริง พรอมกลาววา นางสาวยิ่งลักษณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทาง ไปยังเมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอรแลนด ในเดือนมกราคม 2555 และจะประกาศใหทั่วโลกทราบวา ไทยพรอมเปนเจาภาพจัดประชุมเวิลด อิโคโนมิก ฟอรั่ม ในเดือนมิถุนายน 2555 ซึ่งกระทรวงพลังงาน และ ปตท.จะเปนเจาภาพหลัก • นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผูอำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปดเผยวา กระทรวงพลังงานกำลังเรงดำเนินการปรับโครงสรางราคาพลังงานทั้งระบบตามนโยบายของรัฐมนตรีวาการ กระทรวงพลังงาน โดยในตนป 2555 จะเริ่มทยอยปรับขึ้นกาซ LPG/NGV ทั้งนี้ การประกาศขึ้ น ราคา LPG/NGV จะดำเนิ น การภายหลั ง จากกระทรวง พลังงานออกบัตรเครดิตพลังงานใหแกกลุมผูที่มีอาชีพขับรถสาธารณะ กลุมเกษตร และแจกคูปองใหแกภาคครัวเรือนที่มีรายไดนอย เพราะ สามารถลดภาระของกองทุ น น้ ำ มั น เชื้ อ เพลิ ง ที่ แ บกภาระชดเชยก า ซ LPG/NGV นอกจากนี้ การปรับราคาของกาซธรรมชาติเพิ่มขึ้นจะสงผลดี ตอการพัฒนาพลังงานทดแทนในประเทศ รวมทั้งขณะนี้กระทรวงพลังงาน กำลังพิจารณายกเลิกการจำหนายน้ำมันเบนซิน 91 ซึ่งคาดวาจะสามารถ ยกเลิกการจำหนายไดภายในป 2555 • นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปดเผยวา กระทรวงพลังงานเตรียมตออายุ การบังคับใชน้ำมันดีเซล บี 4 ออกไปอีก 1 เดือน จากเดิมที่ กบง.ไดกำหนดใหมาตรการนี้สิ้นสุดในเดือน กันยายน 2554 เพื่อรองรับปริมาณปาลมน้ำมันที่เริ่มลนตลาด และชวยพยุงราคาปาลมดิบไมใหลดลง ทางดานนายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระและผูเชี่ยวชาญดานพลังงาน แนะใหจับตาสถานการณ ผลผลิต เพราะหวั่นจะซ้ำรอยน้ำมันปาลมขาดตลาดชวงปลายป อยางไรก็ตาม กระทรวงพลังงานควรหารือ กับกระทรวงเกษตรและสหกรณเพื่อดูวัตถุดิบวาเพียงพอหรือไม www.eppo.go.th • 5


ENERGY NEWS ZONE

ภาพเปนขาว

รมว. พน. มอบนโยบายพลังงาน นายพิชัย นริพทะพันธุ รัฐมนตรีวาการ กระทรวงพลังงาน และนายณอคุณ สิทธิพงศ ปลั ด กระทรวงพลั ง งาน เดิ น ทางตรวจเยี่ ย ม สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) พร อ มมอบนโยบายพลั ง งานที่ ส ำคั ญ ให แ ก ผูบริหารและเจาหนาที่ สนพ. โดยเนนใหเรง ศึ ก ษาโครงสร า งราคาพลั ง งาน การส ง เสริ ม พลังงานทดแทน โครงการแลนดบริดจในภาคใต การคำนวณราคารับซื้อไฟฟา (Adder) ซึ่งจะนำไปสู การสร า งความเข ม แข็ ง ให แ ก เ ศรษฐกิ จ ของประเทศในภาพรวมและเสริ ม สร า งความมั่ น คง ดานพลังงานของประเทศ ซึ่งมีนายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผูอำนวยการ สนพ. พรอมคณะผูบริหาร ใหการตอนรับ

เกษียณรองปลัดกระทรวงพลังงาน เมตตา บันเทิงสุข นายเมตตา บันเทิงสุข รองปลัดกระทรวงพลังงาน ถายรูปเปนที่ระลึกเนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554 โดยมีนายนที ทับมณี รองผูอำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ผูบริหารและเจาหนาที่ สนพ. ใหการตอนรับ ทั้งนี้ นายเมตตา บันเทิงสุข เคยดำรงตำแหนง ผู อ ำนวยการสำนั ก งานนโยบายและแผนพลั ง งาน ระหว า งป พ.ศ. 2545-2549 และดำรงตำแหน ง รองปลัดกระทรวงพลังงานจนเกษียณอายุราชการ

6 • นโยบายพลังงาน


Biogas จากเศษอาหาร ระยะ 3 นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผูอำนวยการสำนักงานนโยบาย และแผนพลังงาน (สนพ.) เปนประธานเปดงาน “สัมมนาชี้แจง รายละเอียดโครงการสงเสริมเทคโนโลยีกาซชีวภาพ เพื่อจัดการ ของเสี ย เศษอาหารจากโรงแรมและสถานประกอบการต า งๆ ระยะที่ 3” ซึ่งมีวัตถุประสงคเพื่อใหความชวยเหลือสถานประกอบการ ตางๆ ใหเกิดการใชเทคโนโลยีกาซชีวภาพในประเทศไทย โดยเปาหมายของการสงเสริมสถานประกอบการ ตางๆ จำนวน 3 ระยะ รวมทั้งสิ้น 300 แหง โดยผลการดำเนินโครงการระยะที่ 1 และระยะที่ 2 มีสถานประกอบการเขารวมโครงการฯ รวม 54 ราย รองรับขยะเศษอาหารไดประมาณ 27,860 กิโลกรัมตอวัน ผลิตกาซชีวภาพไดประมาณ 933,609 ลูกบาศกเมตรตอป ทดแทน LPG ได 429,460 กิโลกรัมตอป คิดเปนเงิน 7.7 ลานบาท

เยี่ยมชมแปลงปลูกหญาเลี้ยงสัตว บจก. เชียงใหมเฟรชมิลค นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผูอำนวยการสำนักงานนโยบาย และแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน (คนกลาง) รวมดวย นายอมรพันธุ นิมานันท อดีตผูวาราชการจังหวัดเชียงใหม (ที่ 2 จากซาย) รศ.ประเสริฐ ฤกษเกรียงไกร ผูอำนวยการสถาบันวิจัยและ พัฒนาพลังงานนครพิงค มหาวิทยาลัยเชียงใหม (ขวาสุด) และ ดร.อำพล วริทธิธรรม นักวิชาการ สัตวบาล ศูนยวิจัยและพัฒนาอาหารสัตวลำปาง กรมปศุสัตว (ซายสุด) เยี่ยมชมแปลงปลูกหญา เลี้ยงสัตวขนาดใหญของบริษัท เชียงใหมเฟรชมิลค จำกัด อำเภอบานโฮง จังหวัดลำพูน ซึ่งมีการบริหาร จัดการที่ดีรวมทั้งมีศักยภาพในการผลิตพลังงานทดแทน โดยมีนายบัลลพกุล ทิพยเนตร เจาของฟารม เชียงใหมเฟรชมิลค (ที่ 2 จากขวา) ใหการตอนรับ

การตูนเสริมทักษะ “กาซชีวภาพ” สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดทำหนังสือ การ ตู น สารคดี เสริ ม ทั ก ษะ เรื่ อ ง “ก า ซชี ว ภาพ จากปฏิ กู ล สูพลังงานไทย” เพื่อเผยแพรความรูเกี่ยวกับการเปลี่ยน “ของเสีย” เปน “กาซชีวภาพ” ใหแกเยาวชนและประชาชนทั่วไปไดศึกษา ทำความเขาใจ ดวยการถายทอดขอมูลผานตัวการตูน จากทีมงาน กบนอกกะลา ซึ่งอัดแนนไปดวยเรื่องราวที่นารักและนาลุน อาทิ หมูบานหมูผลิตกาซชีวภาพและ ลดภาวะโลกรอน กับกบแสนซน ผู ส นใจสามารถติ ด ต อ ขอรั บ ฟรี ! ได ที่ ศู น ย ป ระชาสั ม พั น ธ ร วมพลั ง หาร 2 หรื อ โทรศั พ ท 0 2612 1555 ตอ 204-205 ในวันและเวลาราชการ

www.eppo.go.th • 7


ENERGY LEARNING ZONE

สัมภาษณพิเศษ

พิชัย นริพทะพันธุ รมว.พลังงาน ปน “แลนดบริดจ” สงไทย เปนศูนยกลางพลังงานของอาเซียน ถือเปนรัฐมนตรีวาการกระทรวงพลังงานที่ไดรับการจับตา ม อ ง ม า ก ที่ สุ ด อี ก ค น ห นึ่ ง เ มื่ อ น า ย พิ ชั ย น ริ พ ท ะ พั น ธุ มาดำรงตำแหน ง รั ฐ มนตรี ว า การกระทรวงพลั ง งาน เพราะ เปนชวงที่เรื่องของพลังงานกำลังคุกรุนจากหลาย ๆ มาตรการของ รัฐบาล กอปรกับประเทศไทยตองเตรียมความพรอมเพื่อรับมือกับ การเขารวมเปนหนึ่งในประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในป พ.ศ. 2558 รวมถึ ง การจั ด หาและสร า งความมั่ น คง ด า นพลั ง งานให แ ก ป ระเทศ วารสารนโยบายพลั ง งานฉบั บ นี้ มีคำตอบจากหลายคำถามที่ประชาชนอยากรูมาใหไดทราบกัน

ลอยตัว LPG เรื่องที่ตองหาคำตอบ นายพิชยั นริพทะพันธุ รัฐมนตรีวา การกระทรวงพลังงาน เป ด เผยถึ ง นโยบายด า นพลั ง งานของรั ฐ บาลว า นอกจาก ดำเนิ น การตามนโยบายเดิ ม ที่ ไ ด ด ำเนิ น การมาแล ว ยั ง มี นโยบายระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยนโยบาย ระยะสั้นเรื่องแรกคือการชวยเหลือประชาชนดวยการชะลอ การเก็บเงินเขากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งไดดำเนินการทันที ที่เขามาเปนรัฐบาล ขั้นตอนตอไปคือการวางแผนระยะกลาง และระยะยาว โดยเฉพาะเรื่องการเก็บเงินเขากองทุนน้ำมัน เชื้ อ เพลิ ง ทั้ ง นี้ จ ะพบว า กองทุ น น้ ำ มั น ฯ มี ภ าระเดื อ นละ 3 พันกวาลานบาท ที่ตองไปสนับสนุนพลังงานประเภทอื่น ๆ อาทิ การสนับสนุนกาซ LPG NGV ซึ่งหนาที่หลักของกองทุน น้ำมันฯ ไมควรเปนเชนนั้น กองทุนน้ำมันฯ ควรมีหนาที่หลัก ในการรั ก ษาเสถี ย รภาพของราคา ถ า ราคาแพงก็ เ ข า ไป สนับสนุน ถาราคาถูกก็เก็บเงินเขากองทุนน้ำมันฯ เพราะถา ไปสนับสนุนตลอดประเทศก็เติบโตไมได โดยหลักการแลว

8 • นโยบายพลังงาน

ไมควรเปนเชนนั้น เพราะเมื่อไปสนับสนุนกาซ LPG เมื่อถึงวัน ที่ไทยตองเขาเปนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะพบปญหาวา ประเทศเพื่อนบานเขามาซื้อกาซจากประเทศไทยหมด เพราะ ราคาในประเทศไทย 18 บาทตอกิโลกรัม ขณะที่ประเทศ รอบนอกไทยราคาแพงกวา อาทิ เวียดนาม ราคา 46 บาท กัมพูชา ราคา 44 บาท ลาว ราคา 46 บาท พมา ราคา 35 บาท แมแตประเทศมาเลเซียที่เปนประเทศสงออกกาซ ราคา ยังอยูที่ 20 กวาบาท ประเทศอื่น ๆ จะหันมาซื้อกาซจาก ประเทศไทยไปใช ห มด ซึ่ ง ป จ จุ บั น ก็ มี ก ารซื้ อ ไปใช อ ยู แ ล ว แมจะพยายามกีดกัน แตในความเปนจริงไมสามารถกีดกันได เรื่องนี้เปนความจริงที่ตองคุยกัน และยิ่งเมื่อถึงป พ.ศ. 2558 จะไมสามารถกีดกันได เพราะตองเปดใหคาขายกันอยางเสรี ดังนั้นจึงตองกำหนดวากอนถึงป พ.ศ. 2558 ตองปลอยให ลอยตั ว เพื่ อ ให ร าคาใกล เ คี ย งกั บ ประเทศอื่ น ป อ งกั น การถายเทหรือลักลอบนำกาซไปใช


“สวนกาซ NGV ก็มีปญหาคือปริมาณคนใชกาซมีมาก แตสถานีที่ใหบริการยังมีไมทั่วถึง ซึ่งกระทรวงพลังงานไดให ปตท.เร ง ขยายสถานี บ ริ ก าร ขณะเดี ย วกั น ก็ ใ ห ขึ้ น ราคาได โดยจะเริ่มตั้งแตปหนา เพราะถาให ปตท.เรงขยายอยางเดียว จะกลายเปนวายิ่งขายยิ่งขาดทุน ถาเปนเชนนั้น ปตท.ก็ไม อยากขยาย จึงตองให ปตท.ขยายสถานีบริการแลวมีกำไร เพื่อจูงใจให ปตท.อยากขยายสถานีบริการ” รัฐมนตรีวาการ กระทรวงพลังงานกลาว นอกจากนั้นกระทรวงพลังงานกำลังดำเนินการเขียนแผน แมบทดานพลังงานของประเทศวา ประเทศไทยตองดำเนินการ ไปอยางไร เชน กระทรวงพลังงานตองแจงเตือนใหประชาชน ทราบลวงหนาวาในอนาคตกำลังจะเกิดอะไรขึ้น และจะกาวไป ขางหนาอยางไร แลวหาวิธีการปรับตัวที่เหมาะสม ฯลฯ ซึ่งบาง เรื่องก็อาจจะถูกใจ บางเรื่องก็อาจไมถูกใจประชาชน ซึ่งจะ พยายามหาแนวทางไปเรื่อย ๆ ถามองแตภาพในอดีต ปจจุบัน ไมมองอนาคตประเทศชาติก็กาวไปไมได สำหรับการแกปญหากาซ LPG เนื่องจากชวงที่ผานมา ประเทศไทยประสบป ญ หาน้ ำ ท ว มในหลายพื้ น ที่ กระทรวง พลังงานจึงไมอยากเพิ่มภาระใหแกประชาชนในชวงนี้ ดังนั้น LPG ในภาคครั ว เรื อ นจึ ง ให ค งราคาต อ ไปก อ น ในภาวะที่ เหมาะสมจึงคอยกลับมาหารือเรื่องนี้กันอีกครั้ง แตสำหรับกาซ LPG ในภาคขนสงจะเริ่มลอยตัว เพราะกาซ LPG มีความสำคัญ ตอระบบเศรษฐกิจ สามารถนำไปแยก กลั่น เพื่อนำไปใชใน กระบวนการปโตรเคมีคอลไดมากและมีมูลคาสูงกวา รวมถึง ประเด็ น ด า นความปลอดภั ย เพราะเมื่ อ LPG รั่ ว ไหลโดย ธรรมชาติแลวจะรั่วลงพื้นดิน ไมลอยขึ้นไปในอากาศ ทำใหมี โอกาสเกิดอุบัติเหตุไฟไหมได รัฐบาลจึงอยากสงเสริมใหใช NGV สำหรั บ รถยนต ม ากกว า เพราะเมื่ อ เกิ ด การรั่ ว ไหลจะ ระเหยขึ้ น ไปในอากาศจึงไมเ กิ ดเพลิงไหม ที่ส ำคัญสามารถ ขุดกาซ NGV ไดเองภายในประเทศ ขณะที่ LPG ตองนำเขามา ในราคาสู ง แต ข ายราคาต่ ำ ทำให ข าดทุ น มากเพราะไม ใ ช ราคาที่แทจริง จึงตองหาทางแกไขเรื่องนี้ในระยะยาวเพื่อให ราคากาซใกลเคียงกับประเทศเพื่อนบาน

สงเสริมพลังงานทดแทน ชวยเกษตรกร และสภาพแวดลอม นอกจากการสงเสริมใหใชกาซ NGV ในภาคขนสงแลว รัฐมนตรีวาการกระทรวงพลังงานกลาววา รัฐบาลมีนโยบาย สงเสริมการใชแกสโซฮอล เพราะประเทศไทยเปนประเทศ เกษตรกรรม มีทงั้ ออย มันสำปะหลัง ทีน่ ำมาใชทำแกสโซฮอลได ขณะนี้กระทรวงพลังงานกำลังพิจารณาเรื่องการยกเลิกเบนซิน 91 วาเวลาที่เหมาะสมควรเปนเมื่อไหร เพราะหากยกเลิก เบนซิน 91 ปริมาณการใชเอทานอลก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจาก ไดชวยเหลือเกษตรกรแลวยังไดชวยสภาพแวดลอมดวย

“กระทรวงพลังงานกำลังพิจารณาเรื่องการยกเลิก เบนซิน 91 วาเวลาที่เหมาะสมควรเปนเมื่อไหร เพราะ หากยกเลิกเบนซิน 91 ปริมาณการใชเอทานอลก็จะ เพิ่ ม ขึ้ น ซึ่ ง นอกจากได ช ว ยเหลื อ เกษตรกรแล ว ยังไดชวยสภาพแวดลอมดวย”

ยกตัวอยางประเทศในทวีปยุโรป หลายประเทศไมได ปลูกพืชทำแกสโซฮอลและตองนำเขา แตประชาชนในประเทศ เขาเลือกเติมแกสโซฮอลมากกวาน้ำมันเบนซิน ทัง้ ๆ ทีแ่ กสโซฮอล แพงกวาน้ำมันเบนซิน นัน่ เพราะประเทศเหลานัน้ ปลูกจิตสำนึก ให ป ระชาชนตระหนั ก ถึ ง สภาพแวดล อ มว า เป น เรื่ อ งสำคั ญ จึงอยากใหประชาชนชวยกันคิด และที่สำคัญคือเวลาที่น้ำมันมี ราคาถูกใหชวยกันประหยัด เพราะประเทศไทยยังตองนำเขา พลังงานถึง 55%

www.eppo.go.th • 9


“ส ว นเอทานอลก็ ยั ง เป น นโยบายหลั ก ซึ่ ง ในเดื อ น มกราคม 2555 กระทรวงพลังงานจะหันมาเก็บเงินเขา กองทุนน้ำมันเชือ้ เพลิงในสวนของเบนซินมากกวาแกสโซฮอล เพือ่ ใชราคาเปนเครือ่ งจูงใจใหประชาชนหันมาใชแกสโซฮอล ใหมากขึ้น แตโดยสวนตัวแลวอยากใหประชาชนมีจิตสำนึก ว า การใช แ ก ส โซฮอลเป น ประโยชน ต อ สภาพแวดล อ ม” รัฐมนตรีวาการกระทรวงพลังงานกลาว

ต อ มาคื อ เรื่ อ งการส ง เสริ ม ไบโอดี เ ซลต อ งยอมรั บ ความจริ ง ว า ประเทศไทยไม ไ ด ป ลู ก ปาล ม น้ ำ มั น มากนั ก เพราะฉะนั้ น การทำน้ ำ มั น ไบโอดี เ ซลจึ ง มี ไ ว เ พื่ อ ช ว ย ชาวสวนปาลมเวลาที่ปาลมราคาตก เพื่อเปนการพยุงราคา แต ก ารทำเช น นี้ ไ ม ใ ช วั ต ถุ ป ระสงค ห ลั ก เพราะหากผสม ไบโอดีเซลมากไปในชวงที่ปาลมขาดตลาดประชาชนอาจ ไดรับความเดือดรอน เพราะน้ำมันที่ใชสำหรับการบริโภค ขาดแคลน เรื่องอาหารตองมากอน เพราะถาไมมีอาหาร คนเราอยูไ มได ดังนัน้ รัฐบาลจึงตองใหมกี ารจำนำขาวทีต่ นั ละ 15,000 บาท เพราะตระหนักแลววาในอนาคตพืชพลังงาน จะมีราคาสูง คนจะหันไปปลูกพืชพลังงานกันหมด ชาวนา จะไม ป ลู ก ข า วแต จ ะหั น ไปปลู ก พื ช พลั ง งานแทน และ นอกจากการเพิ่ ม รายได ใ ห เ กษตรกรแล ว ยั ง ต อ งมองถึ ง ความมั่นคงดานพลังงานและอาหารดวย ทั้งนี้ เรื่องพลังงาน ทดแทนรัฐบาลใหการสงเสริมอยางเต็มที่ โดยตั้งเปาหมาย การใชพลังงานทดแทนใหได 25% ภายใน 10 ป ซึ่งเปน เปาหมายใหญมากหากสามารถทำได

ลดการตอตานสรางโรงไฟฟาใหม จากความต อ งการใช ไ ฟฟ า ที่ ม ากขึ้ น ตามการเจริ ญ เติบโตทางเศรษฐกิจ ทำใหกระทรวงพลังงานมีความจำเปน ต อ งจั ด หาพลั ง งานไฟฟ า ให เ พี ย งพอต อ ความต อ งการจึ ง จำเป น ต อ งก อ สร า งโรงไฟฟ า แห ง ใหม แต ที่ ผ า นมายั ง มี ความไมเขาใจเพราะการกอสรางโรงไฟฟาแตละครั้งจะเกิด การต อ ต า นจากประชาชน ซึ่ ง เรื่ อ งนี้ รั ฐ มนตรี ว า การ กระทรวงพลังงานกลาววา อยากใหประชาชนเขาใจจึงไดตั้ง หนวยงานขึ้นมาใหมเพื่อใหความรูความเขาใจแกประชาชน วา เพราะเหตุใดจึงตองสรางโรงไฟฟาใหม ๆ ซึง่ โรงไฟฟารุน ใหม ในปจจุบันมีความเปนมิตรกับสิ่งแวดลอม นอกจากนั้นยังได คารบอนเครดิตดวย เวลานี้ประเทศไทยพึ่งโรงไฟฟากาซ มากถึง 75% ซึ่งเชื้อเพลิงอื่นที่ถูกกวากาซและสามารถนำ มาใชไดกค็ อื ถานหิน แตประชาชนมักไปยึดติดกับภาพเดิม ๆ ของโรงไฟฟ า แม เ มาะที่ มี ม ลพิ ษ อากาศเสี ย แต โ รงไฟฟ า ถานหินยุคใหมจะใชเทคโนโลยีถานหินสะอาด ที่เรียกวา Clean Coal Power Plant ซึ่งในตางประเทศมีการใชกันมาก ทัง้ เยอรมนี ญีป่ นุ ทีท่ ำโรงไฟฟาถานหินสะอาดอยูใ จกลางเมือง จึงอยากใหประชาชนเปดใจยอมรับ เพราะถาไมมีไฟฟาใช จะลำบาก นโยบายของรัฐบาลคือตองการใหเศรษฐกิจมี การขยายตัวสูง ซึง่ จะเห็นวาจีน อินเดีย มีอตั ราการเติบโตสูง ประเทศเหล า นี้ มี ข นาดใหญ ก ว า ไทย เศรษฐกิ จ ก็ เ ติ บ โต มากกวา ขณะที่ไทยเปนประเทศเล็ก ๆ ถาเติบโตชาจะไม สามารถตามประเทศเหลานั้นไดทัน ซึ่งรัฐบาลตั้งเปาขยาย การเติบโตของ GDP จากปจจุบันอยูที่ 10 ลานลานบาท ตองขยายการเติบโตใหได 20 ลานลานบาท ในป พ.ศ. 2563 ซึ่ ง การที่ จ ะทำได ข นาดนั้ น ก็ คื อ ไทยต อ งเป น ศู น ย ก ลางของอาเซี ย น ป จ จุ บั น กำลั ง จะเกิ ด ประชาคม อาเซียน ถาสามารถทำใหไทยเปนศูนยกลางของภูมิภาคได จะทำใหไทยกาวทันประเทศสิงคโปรและอินเดีย “ปจจุบันกำลังจะเกิดประชาคมอาเซียน ถาสามารถ ทำใหไทยเปนศูนยกลางของภูมิภาคได จะทำใหไทย กาวทันประเทศสิงคโปรและอินเดีย” สำหรับการสรางโรงไฟฟานิวเคลียร รัฐมนตรีวาการ กระทรวงพลังงานบอกวา อาจเปนเรื่องยากที่จะบอกวาสราง หรื อ ไม ส ร า ง เพราะในอนาคตหากประเทศมี ก ารเติ บ โต สู ง อาจไม ส ามารถเลี่ ย งการสร า งโรงไฟฟ า นิ ว เคลี ย ร ไ ด แตถาบอกวาไมสรางแลววันหนึ่งกลับมาสรางจะถูกตอตาน

10 • นโยบายพลังงาน


จากประชาชนทำใหสรางไมได สุดทายจึงอยูที่การยอมรับ และการตัดสินใจของประชาชนวาจะสรางหรือไม อยางไร ก็ตาม โรงไฟฟานิวเคลียรในปจจุบันมีความปลอดภัยสูง แมหลายคนจะจำภาพโรงไฟฟานิวเคลียรที่เกิดปญหาใน ประเทศญี่ปุนจากเหตุการณสึนามิ จึงเกิดความหวาดกลัว ทั้งนี้ โรงไฟฟานิวเคลียรที่เกิดปญหาเปนโรงไฟฟารุนเกา อายุ 40-50 ป แ ล ว ขณะที่ โ รงไฟฟ า นิ ว เคลี ย ร ยุ ค ใหม โ ด ย เ ฉ พ า ะ เ จ เ น อ เ ร ชั น ที่ 4 ถื อ เ ป น โ ร ง ไ ฟ ฟ า ที่ มี ความปลอดภั ย สู ง จึ ง อยากให ป ระชาชนได รั บ รู ข อ มู ล ที่ ถู ก ต อ ง และให ก ารยอมรั บ ในระยะยาว แต สุ ด ท า ยก็ ขึ้นอยูกับประชาชนเปนผูตัดสินใจวาจะสรางหรือไมสราง

มองในภาพใหญ ยกตั ว อย า งสนามบิ น สุ ว รรณภู มิ ถ า เรา สร า งตั้ ง แต 30 ป ที่ แ ล ว ประเทศไทยจะเจริ ญ ขนาดไหน เมื่อเราสรางเสร็จก็กลายเปนศูนยกลางการบินของอาเซียน อยางแทจริง สนามบินชางงี (Changi Airport) ของสิงคโปร ก็ สู ไ ม ไ ด เพราะจุ ด ทางภู มิ ศ าสตร ข องเราดี ก ว า สิ ง คโปร นี่จึงถือเปนจุดที่เปลี่ยนโฉมหนาประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง แลนดบริดจก็เชนกันถาเราทำไดจะทำใหประเทศเจริญขึ้น อีกมาก” รัฐมนตรีวาการกระทรวงพลังงานกลาว

“แลนด บ ริ ด จ ” ดั น ไทยเป น ศู น ย ก ลาง ดานพลังงาน เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่ประเทศ บรูไน สิ่งหนึ่งที่มีการพูดถึงคือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ซึง่ จะมีการเชือ่ มโยง อาเซี ย นเข า ด ว ยกั น ไม ว า จะเป น เรื่ อ งรถไฟ การติ ด ต อ สื่อสาร แตเรื่องหลัก ๆ คือเรื่องของพลังงาน โดยเล็งเห็น ความสำคั ญ ของการสร า งความมั่ น คงทางพลั ง งานเพื่ อ รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศตาง ๆ โดยมี ความรวมมือดานพลังงานที่สำคัญคือ โครงขายระบบสายสง ไฟฟาอาเซียน หรือ ASEAN Power Grid และโครงการเชือ่ มโยง ทอสงกาซธรรมชาติอาเซียน หรือ ASEAN Gas Pipeline หาก 2 โครงการนี้เกิดขึ้นจริงประเทศไทยจะเปนศูนยกลาง และทำใหระบบเศรษฐกิจของประเทศเติบโตสูงมาก “ที่ผานมาผมเคยขายความคิดเรื่องโครงการสะพาน เศรษฐกิจ หรือ ‘แลนดบริดจ’ (Land Bridge) มาโดยตลอด เราจะเปนศูนยกลางดานพลังงานของภูมิภาคนี้อยางแทจริง เพราะทุ ก ประเทศต อ งใช พ ลั ง งานในการขนส ง หากมี แลนด บ ริ ด จ ก ารขนส ง จากฝ ง ตะวั น ตกไปตะวั น ออกจะ สามารถลดเวลาลงได 3-4 วัน ซึ่งชวยลดเวลาไปไดมาก อีกทั้งน้ำมันที่จะขนสงไปยังจีน เกาหลี ไตหวัน ลวนตอง ผานประเทศไทยแทบทัง้ หมด หากเรานำทีต่ งั้ ทางภูมศิ าสตร มาเปนจุดแข็ง สิ่งนี้จะทำใหไทยเปนศูนยกลางการขนสง พลั ง งานของอาเซี ย น ซึ่ ง นี่ เ ป น โอกาสของประเทศไทย ถ า เราทำเรื่ อ งนี้ ส ำเร็ จ จะเกิ ด ประโยชน กั บ ทั้ ง ประเทศ อยางไรก็ตาม แลนดบริดจก็เหมือนกับโรงไฟฟานิวเคลียรที่ ตองใหประชาชนตัดสินใจวาจะดำเนินการหรือไม ซึ่งตอง

“โรงไฟฟานิวเคลียรยุคใหม โดยเฉพาะเจเนอเรชันที่ 4 ถือเปนโรงไฟฟาที่มีความปลอดภัยสูง จึงอยาก ใ ห ป ร ะ ช า ช น ไ ด รั บ รู ข อ มู ล ที่ ถู ก ต อ ง แ ล ะ ใ ห การยอมรั บ ในระยะยาว แต สุ ด ท า ยก็ ขึ้ น อยู กั บ ประชาชนเปนผูตัดสินใจวาจะสรางหรือไมสราง”

เจรจาพื้ น ที่ทั บ ซ อ น ฝ น ของ รมว.พลัง งาน “ความตั้ ง ใจจริ ง ของผมในช ว งเวลาที่ เ ข า มาเป น รัฐมนตรีวา การกระทรวงพลังงาน สิง่ ทีอ่ ยากทำมี 2 อยาง คือ 1. เรื่ อ งการเจรจาพื้ น ที่ ทั บ ซ อ นกั บ กั ม พู ช า เพราะ พื้นที่ดังกลาวมีกาซธรรมชาติปริมาณมาก หากทำสำเร็จเรา จะมีพลังงานใชตอไปอีก 40-50 ป ที่สำคัญประเทศไทย มี เ ซกเตอร พ ลั ง งานมากถึ ง 40% ในตลาดหลั ก ทรั พ ย มูลคาหลักทรัพยตามราคาตลาด (Market Cap) เรากวาง มากเพราะมีทงั้ เซกเตอรนำ้ มัน เซกเตอรกา ซ เซกเตอรไฟฟา เซกเตอรปโ ตรเคมีคอล ซึง่ ความจริงแลวเซกเตอรปโ ตรเคมีคอล ของเราจะไดประโยชนอยางเต็มที่ ยกตัวอยางกาซ เพราะ กั ม พู ช าไม มี โ รงแยกก า ซ ไม มี โ รงงานป โ ตรเคมี ค อล เมื่อขุดขึ้นมาก็ตองขายใหแกไทย กาซที่ขุดขึ้นมาเมื่อนำไป แยกจะได มู ล ค า เพิ่ ม (Value Add) มากขึ้ น 6-20 เท า ตรงนี้คนไมคอยเขาใจวาถาขุดกาซขึ้นมาประเทศไทยจะได ประโยชนเต็ม ๆ เรื่องนี้จึงตองทำความเขาใจ เพราะถา www.eppo.go.th • 11


ไมพูดคนจะไมเขาใจ คิดวาไปแบงผลประโยชนกัน จึงอยาก ให ค นไทยเข า ใจเรื่ อ งนี้ ให คิ ด ถึ ง ประโยชน ข องประเทศ เปนหลัก ซึ่งกัมพูชาเองก็ไดประโยชนเพราะประเทศเขา ยากจน คนก็จะมีงานทำ เราตองคิดวาเมื่อเราเจริญแลว ประเทศรอบขางตองเจริญดวย เพราะเมื่อเขามีเงินก็มาซื้อ ของของเรา ถาเราเปนศูนยกลางแตคนรอบขางแยสุดทาย เราก็อยูไมได 2. การทำเรื่องแลนดบริดจ เมื่อเปนแลนดบริดจแลว เราต อ งมี โ รงกลั่ น เอง มี ป ริ ม าณน้ ำ มั น สำรองในประเทศ ซึ่ ง จะสามารถตอบโจทย ค วามมั่ น คงด า นพลั ง งานของ ประเทศได หากทำ 2 เรื่องนี้ไดถือเปนความสำเร็จแลว ในชีวิตของผม” รัฐมนตรีวาการกระทรวงพลังงานกลาว

ตั้ ง เ ป า เ พิ่ ม ป ริ ม า ณ น้ ำ มั น ส ำ ร อ ง ของประเทศ เนื่องจากพลังงานใชแลวหมดไป ยิ่งนานวันพลังงาน ยิ่งหายากและมีราคาแพง นอกจากนั้นสิ่งที่นาเปนหวงคือ ไม มี พ ลั ง งาน ดั ง นั้ น ประเทศไทยจำเป น ต อ งหาปริ ม าณ น้ำมันสำรองของประเทศ เพราะปจจุบันที่ไทยยังไมสามารถ ทำแลนด บ ริ ด จ ไ ด มี ป ริ ม าณน้ ำ มั น สำรองเพี ย ง 18 วั น ซึ่งถือวาต่ำมาก ขณะที่ประเทศที่เจริญแลวอื่น ๆ มีปริมาณ สำรองนับ 100 วัน เราจึงตองเตรียมพรอมเรื่องปริมาณ น้ ำ มั น สำรอง เพราะไม ส ามารถคาดเดาได ว า อนาคต จะเป น เช น ไร สถานการณ โ ลกตอนนี้ ผั น ผวนอยู ต ลอด อาจไม ใ ช ส งคราม แต อ าจเกิ ด จากภั ย พิ บั ติ แผ น ดิ น ไหว ซึ่งสามารถเกิดขึ้นไดตลอด ประเทศไทยจึงตองซื้อน้ำมัน สำรองเก็บไว เพื่อใหมั่นใจวาอนาคตขางหนาจะมีน้ำมันใช ซึ่ ง เรื่ อ งพลั ง งานต อ งคิ ด ให ค รบทุ ก ด า นและวางแผนไว สำหรับอนาคต

เ ร ง ป ลู ก ฝ ง จิ ต ส ำ นึ ก ก า ร อ นุ รั ก ษ พลังงาน กระทรวงพลั ง งานเริ่ ม มี ก ารประชาสั ม พั น ธ เ รื่ อ ง การอนุรักษพลังงานมากขึ้น ซึ่งที่ผานมาก็พยายามปลูกฝง เรื่ อ งนี้ ม าโดยตลอด จากการประชุ ม รั ฐ มนตรี พ ลั ง งาน อาเซียนที่ประเทศบรูไน มีการจัดงานมอบรางวัลผลงาน ด า นการอนุ รั ก ษ พ ลั ง งานและพลั ง งานหมุ น เวี ย นระดั บ อาเซี ย น (ระหว า งวั น ที่ 20-21 กั น ยายน 2554) ผลปรากฏวาผูประกอบการและหนวยงานดานพลังงานซึ่ง เปนตัวแทนจากประเทศไทยไดสรางชื่อเสียงในเวทีระดับ ภู มิ ภ าค ด ว ยการคว า รางวั ล รวมทั้ ง สิ้ น 13 รางวั ล และ เปนรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 มากถึง 7 รางวัล สงผลใหไทย ครองรางวัลสูงสุดเหนือทุกชาติในอาเซียน จึงอาจกลาวได วาจิตสำนึกดานการประหยัดพลังงานของไทยดีกวาหลาย ๆ ประเทศในอาเซียน แมไทยจะสูประเทศที่พัฒนาแลวไมได แตในประเทศอาเซียนดวยกันเองถือวาไทยมีจิตสำนึกที่ดี และตองพยายามประชาสัมพันธเรื่องนี้เพื่อใหผูไดรับรางวัล ไดรับการยกยอง และใหผูประกอบการอื่น ๆ นำไปเปน แบบอยางตอไป นอกจากนั้ น กระทรวงพลั ง งานได อ อกกฎหมาย เพื่ อ ให อ าคารราชการที่ จ ะปลู ก สร า งในอนาคตต อ งเป น อาคารประหยัดพลังงาน โดยจะเริ่มบังคับใช Building Code กั บ สถานที่ ร าชการที่ จ ะปลู ก สร า งใหม หลั ง จากที่ ใ ช กั บ สถานที่ราชการแลวตอไปจะนำมาใชกับเอกชน เพื่อปลูกฝง จิตสำนึกและการมีสวนรวม ขณะเดียวกันก็ตองดูในสวน Supply Chain วามีความพรอมแคไหน ผูประกอบการหรือ ผูที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการกอสรางตองทราบวาตอไปนี้ทิศทาง ของประเทศจะก า วไปสู ก ารประหยั ด พลั ง งาน จึ ง ต อ ง วางแผนการผลิตเสียตั้งแตตอนนี้เพื่อใหสอดรับกับแนวทาง ดังกลาว หากไทยสามารถประหยัดการใชพลังงานไดเทาไหร ก็จะเหลือเงินใชในประเทศมากเทานั้น “อยากใหประชาชนชวยกันประหยัดพลังงานเพราะ เรายั ง ต อ งนำเข า พลั ง งานจำนวนมาก เราต อ งใช ใ ห เ กิ ด ประโยชน แ ละประหยั ด ใช ใ ห เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพ เพราะ อนาคตพลังงานยิ่งหายากขึ้นเรื่อย ๆ ถาเราไมรักษาหรือ สรางไวใหลูกหลาน ความสะดวกสบายที่เราไดรับในวันนี้ ลูกหลานอาจจะไมไดรับในวันขางหนา” รัฐมนตรีวาการ กระทรวงพลังงานกลาวทิ้งทาย

12 • นโยบายพลังงาน


ENERGY LEARNING ZONE

SCOOP

“ชีวมวล”

จากวัสดุเหลือใช้สู่พลังงานทดแทน เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีแหล่งพลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการใช้ รวมทั้งอัตราการเจริญเติบโต ที่สูงขึ้นของเศรษฐกิจและประชากร ทำให้ขณะนี้ประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ซึ่งต้องแก้ไขด้วยการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ และแม้ว่ามีพลังงานจากต่างประเทศเข้ามาเป็นตัวช่วย แต่ประเทศไทยก็ยังประสบกับปัญหาราคาพลังงานที่สูงขึ้นโดยเฉพาะราคาน้ำมัน จากปัญหาเหล่านี้ทำให้ เกิดแนวคิดในการหาพลังงานทดแทนมาใช้เพื่อทดแทนพลังงานฟอสซิลหรือพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป ไม่ว่า จะเป็นพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังน้ำ และหนึ่งในพลังงานทดแทนที่มีความสำคัญอยู่ในขณะนี้ คื อ “พลั ง งานชี ว มวล” พลั ง งานที่ ไ ด้ จ ากเศษวั ส ดุ ห รื อ ของเสี ย ไร้ ค่ า แต่ ก ลั บ สามารถช่ ว ยแก้ ไ ขปั ญ หา การขาดแคลนพลังงานในอนาคตและช่วยลดปัญหาด้านมลพิษได้ดีอีกด้วย

พลังงานชีวมวล

ชีวมวล คือ พืช สัตว์ องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต และสารอินทรีย์ต่าง ๆ รวมไปถึงของเสียจากโรงงานแปรรูปทาง การเกษตร เศษวัสดุจากการเกษตรและป่าไม้ ขยะ และมูลสัตว์ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของแหล่งที่มาได้ดังนี้ 1. พืชผลทางการเกษตร เช่น ปาล์ม ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง สบู่ดำ พืชตระกูลถั่ว และเมล็ดทานตะวัน ฯลฯ 2. เศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรหรือการแปรรูปทางการเกษตร เช่น ซังข้าวโพด ฟางข้าว ชานอ้อย กะลาปาล์ม เส้นใยปาล์ม เหง้ามันสำปะหลัง กากถั่วเหลือง กากน้ำตาล รำ และแกลบ ฯลฯ 3. เศษวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานไม้ อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ และอุตสาหกรรมแปรรูปกระดาษ เช่น ขี้เลื่อย เนื้อไม้ เศษไม้ และเปลือกไม้ ฯลฯ 4. ของเสียจากชุมชนและโรงงานแปรรูปทางการเกษตร เช่น ขยะมูลฝอย ขยะสด มูลสัตว์ และน้ำเสีย ฯลฯ จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่า ชีวมวลนั้นอยู่ในรูปของเศษวัสดุเหลือทิ้งและของเสียซึ่งเป็นสิ่งไร้ค่าที่ไม่สามารถนำ กลับไปทำอะไรได้อีก แต่ในด้านพลังงานทดแทน ชีวมวลเหล่านี้กลับมีค่าและสามารถนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักใน การผลิตพลังงานเพื่อให้มีใช้อย่างเพียงพอ โดยมีกระบวนการหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เปลี่ยนชีวมวลเหล่านี้ให้เป็นพลังงาน ชีวมวลในหลากหลายรูปแบบ เช่น พลังงานความร้อน ก๊าซเชื้อเพลิง และเชื้อเพลิงเหลว ฯลฯ www.eppo.go.th • 13


พลังงานความร้อน

ชีวมวลที่เป็นเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและเศษไม้ อาทิ แกลบ ฟางข้าว ขี้เลื่อย เปลือกไม้ กะลาปาล์ม เส้นใย ปาล์ม เหง้ามันสำปะหลัง ซังข้าวโพด และชานอ้อย สามารถ นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานความร้อนได้โดยตรง หรือนำมาอัดเป็นแท่งเพื่อให้ได้เชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพและ ใช้งานได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งเรียกว่า “เชื้อเพลิงอัดแท่ง” เชื้ อ เพลิ ง อั ด แท่ ง เป็ น เชื้ อ เพลิ ง ที่ เ หมาะสำหรั บ นำมา หุงต้มในระดับครัวเรือน เพราะมีคุณสมบัติที่ จุ ด ติ ด ไฟง่ า ยและให้ ค วามร้ อ นสู ง ถึ ง 700 องศาเซลเซี ย ส มี พื้ น ผิ ว สำหรั บ การเผาไหม้ มากและมี ค วั น น้ อ ย นอกจากนี้ การใช้ เชื้ อ เพลิ ง อั ด แท่ ง ยั ง ส่ ง ผลทางอ้ อ มให้ ก ารใช้ ก๊ า ซหุ ง ต้ ม ในครั ว เรื อ นลดลงและประหยั ด ค่าใช้จ่ายอีกด้วย

พลังงานไฟฟ้า

เศษวัสดุเหลือทิ้งที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้พลังงานความร้อนนั้นไม่ได้มีใช้เฉพาะในระดับครัวเรือนเท่านั้น แต่ยัง นำมาใช้ในโรงไฟฟ้าด้วย โรงไฟฟ้าที่นำเศษวัสดุเหลือทิ้งมาใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้านั้น เรียกว่า โรงไฟฟ้า พลังงานชีวมวล ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการผลิตพลังงานทดแทนให้กับประเทศไทย ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลอยู่หลายแห่ง หนึ่งในนั้น ได้แก่ โรงไฟฟ้าร้อยเอ็ดกรีน ที่ใช้แกลบซึ่ง เป็นเศษวัสดุไร้ค่าจากโรงสีข้าวมาทำเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อช่วยเพิ่มเสถียรภาพในการผลิตไฟฟ้าให้กับ ประเทศไทย ทำให้การนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศลดลง อีกทั้งยังช่วยลดปัญหามลพิษจากเศษฝุ่นแกลบได้อีกด้วย

โรงไฟฟ้า บริษัท ร้อยเอ็ดกรีน จำกัด

14 • นโยบายพลังงาน


ไบโอดีเซล

น้ำมันพืชใช้แล้วจะไม่ถูกทิ้งให้สูญเปล่าเพราะสามารถนำมาผลิตเป็น ไบโอดีเซล เชื้อเพลิงเหลวที่เป็นพลังงานทดแทนในรูปแบบหนึ่งและสามารถ นำมาใช้แทนน้ำมันดีเซลได้โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ ทราบหรือไม่ว่า ประเทศไทยมีการบริโภคน้ำมันพืชสูงถึง 800,000 ตัน ต่อปี ซึ่งทำให้มีน้ำมันพืชใช้แล้วถึงมากกว่า 100 ล้านลิตรต่อปี บางส่วนของ น้ำมันพืชใช้แล้วถูกนำกลับไปใช้เพื่อประกอบอาหารซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ และบางส่ ว นถู ก ทิ้ ง ลงในที่ ส าธารณะก่ อ ให้ เ กิ ด ปั ญ หามลพิ ษ ด้ ว ยเหตุ นี้ จึ ง จำเป็นต้องมีวิธีกำจัดอย่างถูกต้องหรือนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศในยุโรปได้ออกกฎหมายควบคุมและ ดำเนินการจัดการกับน้ำมันพืชใช้แล้วอย่างเข้มงวด โดย นำน้ำมันพืชใช้แล้วมาผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้ได้ ออกมาเป็นน้ำมันไบโอดีเซล และสามารถนำไปใช้ได้กับ เครื่องจักรกลทางการเกษตร สำหรับประเทศไทยก็มีการนำน้ำมันพืชใช้แล้วมา ผลิตไบโอดีเซลเช่นกัน อาทิ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้รับซื้อน้ำมันพืชใช้แล้วจากตลาดทั่วไป มาตั้งแต่ พ.ศ. 2550 และดำเนินการรับซื้อโดยผ่านสถานี บริการน้ำมันกว่า 20 แห่ง มาผลิตไบโอดีเซลบางจาก ซึ่งมีกำลังผลิตมากถึง 50,000 ลิตรต่อวัน ส่งผลให้ลด การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ และลดปัญหา มลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้ในเครื่องยนต์ได้ อีกด้วย

www.eppo.go.th • 15


น้ำมันแก๊สโซฮอล

เศษเหลื อ ทิ้ ง จากพื ช จำพวกแป้ ง และ น้ำตาล เช่น กากน้ำตาล ชานอ้อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด ฯลฯ กลายมาเป็นวัตถุดิบหลักใน กระบวนการผลิ ต น้ ำ มั น แก๊ ส โซฮอลที่ ใ ช้ กั น อยู่ในปัจจุบัน เศษเหลือทิ้งเหล่านี้จะถูกนำมา ย่ อ ยสลายแป้ ง น้ ำ ตาล และเซลลู โ ลส ด้ ว ย กระบวนการทางชีวภาพเพื่อให้ได้เอทานอล สำหรับนำไปผสมกับน้ำมันเบนซิน จึงได้ออก มาเป็ น น้ ำ มั น แก๊ ส โซฮอล หนึ่ ง ในพลั ง งาน ทดแทนในรู ป เชื้ อ เพลิ ง เหลวที่ ใ ช้ ไ ด้ กั บ เครื่องยนต์เบนซิน

ในหลายประเทศทั่วทุกทวีปต่างก็หันมาใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลกันอย่างแพร่หลาย เช่น จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา แคนาดา สวีเดน สเปน เคนยา ปรากวัย บราซิล ฯลฯ เพราะมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินทั่วไป และเป็นน้ำมันที่ ช่วยให้การเผาไหม้ในห้องเครื่องยนต์สมบูรณ์มากขึ้น จึงทำให้ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสีย มีปริมาณน้อยลง นอกจากนี้ การใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลยังช่วยลดการขาดดุลการค้าที่ต้องนำเข้าน้ำมันจากต่างชาติ ลดปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรคาร์บอนในบรรยากาศซึ่งช่วยให้มลพิษทางอากาศลดลง และลดปัญหาการเผาทำลาย เศษต้นพืชและการทิ้งกากของเสีย

ก๊าซชีวภาพอัด

ก๊ า ซชี ว ภาพอั ด เป็ น อี ก หนึ่ ง พลั ง งานทดแทนจากของเสี ย ไร้ ค่ า จำพวกมูลสัตว์จากโรงเลี้ยงสัตว์และของเสียจากโรงงานแปรรูปทาง การเกษตร เช่น มูลวัว มูลสุกร น้ำเสียจากโรงงานน้ำตาล โรงงาน แป้งมันสำปะหลัง โรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม โรงงานเอทานอล ฯลฯ ใน กระบวนการผลิตจะนำของเสียเหล่านี้มาหมักด้วยแบคทีเรียในสภาวะ ไร้ออกซิเจนเพื่อย่อยสลายให้ได้ก๊าซชีวภาพ จากนั้นนำก๊าซชีวภาพนี้ไป ผ่ า นกระบวนการปรั บ ปรุ ง เพื่ อ ให้ มี คุ ณ ภาพที่ ดี ขึ้ น แล้ ว นำไปอั ด ความดันบรรจุลงถังพร้อมใช้ เพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์แทน น้ำมัน หรือ ก๊าซเอ็นจีวี (NGV) ในประเทศไทยได้เริ่มผลิตแล้วในหลาย จังหวัด ซึ่งมีส่วนช่วยให้ประหยัดค่าขนส่งก๊าซเอ็นจีวีของ ปตท.

16 • นโยบายพลังงาน


การใช้ ก๊ า ซชี ว ภาพอั ด คื อ การนำของเสี ย กลั บ มาใช้ ใ หม่ เ พื่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ ทั้ ง ต่ อ ประเทศและสิ่ ง แวดล้ อ ม ก๊ า ซชี ว ภาพอั ด ช่ ว ยลดการนำเข้ า น้ำมันดิบและก๊าซแอลพีจี (LPG) จากต่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทย ไม่ ต้ อ งเสี ย เงิ น ตราให้ แ ก่ ต่ า งชาติ ลดปริ ม าณของเสี ย จากโรงเลี้ ย งสั ต ว์ แ ละ โรงงานแปรรูปทางการเกษตร ลดก๊าซมีเทนที่เกิดขึ้นเองจากการย่อยสลาย ของเสียซึ่งส่งผลฟดีต่อสภาพแวดล้อม

พลังงานชีวมวลดังที่ได้กล่าวมาคือการนำเศษวัสดุไร้ ค่ า มาผ่ า นกระบวนการและเทคโนโลยี เ พื่ อ ให้ ก ลายเป็ น พลังงานทดแทน ซึ่งสามารถช่วยให้ประเทศไทยลดการนำ เข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศและไม่ต้องสูญเสียเงินตราไป เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังช่วยลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล หรือพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป และช่วยลดผลกระทบที่เกิด ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงานเหล่านี้ อย่ า งไรก็ ต าม แม้ ว่ า พลั ง งานชี ว มวลหรื อ พลั ง งาน ทดแทนในรู ป แบบอื่ น ๆ จะสามารถช่ ว ยแก้ ไ ขปั ญ หา การขาดแคลนพลังงานในอนาคตได้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความ ว่าเราจะใช้พลังงานเหล่านี้กันอย่างสิ้นเปลืองและไม่รู้คุณค่า สิ่งสำคัญคือเราทุกคนต้องตระหนักถึงคุณค่าของพลังงาน และร่วมแรงร่วมใจกันใช้อย่างประหยัด เพื่อให้มีพลังงาน ไว้ใช้ได้นาน ๆ

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม 1. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน www.dede.go.th 2. ที่ปรึกษาด้านพลังงาน บจก. ไดเร็คชั่น แพลน www.directionplan.org 3. นิตยสารเกียร์ www.gearmag.info

www.eppo.go.th • 17


ENERGY LEARNING ZONE

สถานการณพลังงาน

สถานการณพลังงานไทย ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 1. ภาพรวมเศรษฐกิจ

2. อุปสงคพลังงาน

ความตองการใชพลังงานเชิงพาณิชยขั้นตน ในชวง 6 เดือน สำนั ก งานคณะกรรมการพั ฒ นาการ เศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ (สศช.) รายงาน แรกของป 2554 อยูที่ระดับ 1,898 เทียบเทาพันบารเรลน้ำมันดิบ อั ต ราการเจริ ญ เติ บ โตทางเศรษฐกิ จ ไทย ตอวัน เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 5.8 การใชพลังงานเชิง ไตรมาสที่ 2/2554 ขยายตั ว ร อ ยละ 2.6 พาณิชยขั้นตนเพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยการใชน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ชะลอลงเมื่ อ เที ย บกั บ การขยายตั ว ร อ ยละ รอยละ 3.4 การใชกาซธรรมชาติเพิ่มขึ้นรอยละ 7.9 การใชถานหิน 3.2 ในไตรมาสที่ แ ล ว การผลิ ต ในสาขา นำเขาเพิ่มขึ้นรอยละ 4.1 การใชลิกไนตเพิ่มขึ้นรอยละ 8.7 และการใช เกษตรกรรมขยายตั ว ร อ ยละ 8.7 ส ว น ไฟฟาพลังน้ำ/ไฟฟานำเขาเพิ่มขึ้นรอยละ 5.7 การผลิตในสาขาอุตสาหกรรมหดตัวลงเล็กนอย รอยละ 0.3 สาขากอสรางหดตัวรอยละ 7.6 สัดสวนการใชพลังงานเชิงพาณิชยขั้นตนในชวง 6 เดือนแรกของ เนื่ อ งมาจากการลดลงของการเบิ ก จ า ยงบ ป 2554 กาซธรรมชาติมีสัดสวนการใชมากที่สุดคิดเปนรอยละ 44 ลงทุ น ของภาครั ฐ สาขาขนส ง และคมนาคม รองลงมาคือน้ำมันมีสัดสวนการใชรอยละ 36 ลิกไนต/ถานหินนำเขามี ขยายตัวรอยละ 6.6 เปนผลจากการขนสงทาง สัดสวนการใชรอยละ 18 และพลังน้ำ/ไฟฟานำเขามีสัดสวนการใช อากาศและทางบกที่ขยายตัวสูงขึ้นจากจำนวน รอยละ 2 นั ก ท อ งเที่ ย วที่ เ พิ่ ม ขึ้ น สาขาโรงแรมและ ภัตตาคารขยายตัวรอยละ 19.8 จากนักทองเที่ยว สัดสวนการใชพลังงานเชิงพาณิชยขั้นตน (เดือนมกราคม-มิถุนายน 2554) ตางประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ในสวน ของการใช จ า ยเพื่ อ การอุ ป โภคบริ โ ภคของ ครัวเรือนขยายตัวรอยละ 2.8 โดยการใชจาย เพื่ อ บริ โ ภคสิ น ค า หมวดอาหารและหมวด บริ ก ารยั ง คงขยายตั ว ในขณะที่ ก ารอุ ป โภค สินคาคงทนชะลอลงโดยเฉพาะการใชจายใน หมวดยานยนต การส ง ออกขยายตั ว ร อ ยละ 9.2 ชะลอลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ โลก สงผลใหการสงออกสินคาอุตสาหกรรม หลักลดลง อาทิ เครื่องใชไฟฟาและรถยนต ซึ่ง ป จ จั ย เหล า นี้ ส ง ผลต อ สถานการณ พ ลั ง งาน ไทยในประเทศ ดังนี้

18 • นโยบายพลังงาน


3. อุปทานพลังงาน การผลิตพลังงานเชิงพาณิชยขั้นตน ในชวง 6 เดือน แรกของป 2554 อยูที่ระดับ 1,028 เทียบเทาพันบารเรล น้ำมันดิบตอวัน เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 3.9 โดยที่การผลิตกาซธรรมชาติ การผลิตคอนเดนเสท และการผลิตลิกไนต เพิ่มขึ้นรอยละ 8.6 รอยละ 2.9 และ รอยละ 2.2 ตามลำดับ ในขณะที่การผลิตน้ำมันดิบลดลง รอยละ 10.3 และการผลิตไฟฟาพลังน้ำลดลงรอยละ 12.2 เนื่องจากปญหาอุทกภัยในชวงตนปที่ผานมา

พันบารเรลน้ำมันดิบตอวัน เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปกอน รอยละ 2.8 โดยพลังงานที่มีการนำเขาเพิ่มขึ้น ไดแก การนำเขา ไฟฟ า สุ ท ธิ ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ร อ ยละ 56.3 เนื่ อ งจากมี ก ารนำเข า จากโรงไฟฟาน้ำงึม 2 ขนาด 615 เมกะวัตต ซึ่งเริ่มจายไฟฟา ตั้งแตเดือนมีนาคม 2554 การนำเขาถานหินสุทธิเพิ่มขึ้น รอยละ 5.3 และการนำเขากาซธรรมชาติเพิ่มขึ้นรอยละ 4.9 ในขณะที่การสงออกน้ำมันสำเร็จรูปสุทธิลดลงรอยละ 20.8 และการนำเขาน้ำมันดิบสุทธิลดลงรอยละ 2.9 ทั้งนี้ ประเทศไทย มีอัตราการพึ่งพาพลังงานจากตางประเทศตอความตองการ การนำเขา (สุทธิ) พลังงานเชิงพาณิชยขั้นตน ในชวง ใชในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 อยูที่ระดับรอยละ 56 6 เดื อ นแรกของป 2554 อยู ที่ ร ะดั บ 1,068 เที ย บเท า ลดลงเล็ ก น อ ยเมื่ อ เที ย บกั บ ช ว งเดี ย วกั น ของป ก อ นซึ่ ง อยู ที่ ระดับรอยละ 58

การใช การผลิต และการนำเขาพลังงานเชิงพาณิชยขั้นตน (1) 2553 การใช (2) การผลิต การนำเขา (สุทธิ) การเปลี่ยนแปลงสตอก การใชที่ไมเปนพลังงาน (Non-Energy use) การนำเขา/การใช (%) (1) (2)

1,783 989 1,002 -80 288 56

ม.ค.-มิ.ย. 2553 2554 1,795 1,898 990 1,028 1,039 1,068 -45 -120 280 318 58 56

หนวย : เทียบเทาพันบารเรลน้ำมันดิบ/วัน

เปลี่ยนแปลง (%) (ม.ค.-มิ.ย.) 2553 2554 8.6 5.8 10.6 3.9 12.5 2.8 20.3 13.9 -

พลังงานเชิงพาณิชย ประกอบดวย น้ำมันดิบ กาซธรรมชาติ คอนเดนเสท ผลิตภัณฑน้ำมันสำเร็จรูป ไฟฟาจากพลังน้ำและถานหิน/ลิกไนต การใชไมรวมการเปลี่ยนแปลงสตอก และการใชที่ไมเปนพลังงาน (Non-Energy use) ไดแก การใชยางมะตอย NGL Condensate LPG และ Naphtha ซึ่งเปนวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปโตรเคมี

4. การใชพลังงานเชิงพาณิชยขั้นสุดทายและมูลคาการนำเขาพลังงาน การใช พ ลั ง งานเชิ ง พาณิ ช ย ขั้ น สุ ด ท า ย ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 อยูที่ระดับ 1,259 เทียบเทาพัน บารเรลน้ำมันดิบตอวัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกัน ของปกอนรอยละ 4.6 เปนผลสืบเนื่องมาจากการขยายตัว ของการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัว รอยละ 10.5 ทั้งการลงทุนดานการกอสรางและการลงทุน ดานเครื่องจักรเครื่องมือ โดยที่การใชน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่ม ขึ้นรอยละ 3.2 การใชกาซธรรมชาติเพิ่มขึ้นรอยละ 23.0

การใชถานหินนำเขาเพิ่มขึ้นรอยละ 4.9 และการใชลิกไนต เพิ่มขึ้นรอยละ 3.4 ในขณะที่การใชไฟฟาลดลงเล็กนอย รอยละ 0.4 สัดสวนการใชพลังงานเชิงพาณิชยขั้นสุดทายในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 การใชน้ำมันสำเร็จรูปมีสัดสวน มากที่สุดคิดเปนรอยละ 54 รองลงมาเปนไฟฟาคิดเปน รอยละ 21 ลิกไนต/ถานหินนำเขาคิดเปนรอยละ 13 และ กาซธรรมชาติคิดเปนรอยละ 12 www.eppo.go.th • 19


การใชพลังงานเชิงพาณิชยขั้นสุดทาย 2550 การใช 1,088 น้ำมันสำเร็จรูป 652 กาซธรรมชาติ 74 ถานหินนำเขา 108 ลิกไนต 21 ไฟฟา 233 อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) การใช 4.6 น้ำมันสำเร็จรูป 2.2 กาซธรรมชาติ 24.5 ถานหินนำเขา 19.3 ลิกไนต -28.9 ไฟฟา 4.5

หนวย : เทียบเทาพันบารเรลน้ำมันดิบ/วัน

2551 1,098 629 87 125 20 236

2552 1,133 640 106 131 20 237

2553 1,192 650 123 138 19 262

2554 (ม.ค.-มิ.ย.) 1,259 680 148 147 20 264

0.9 -3.5 18.1 15.6 -1.9 1.3

3.2 1.8 21.1 4.4 -3.6 0.3

5.2 1.4 16.8 5.4 -1.2 10.4

4.6 3.2 23.0 4.9 3.4 -0.4

อัตราการขยายตัวของการใชพลังงานเชิงพาณิชยขั้นสุดทาย (เดือนมกราคม 2550-มิถุนายน 2554)

มูลคาการนำเขาพลังงาน ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 มี มู ล ค า การนำเข า ทั้ ง หมด 606 พั น ล า นบาท เพิ่ ม ขึ้ น จากช ว งเดี ย วกั น ของป ก อ นร อ ยละ 26.5 มู ล ค า การนำเขาพลังงานเพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยน้ำมันดิบซึ่งมี สัดสวนรอยละ 80 ของมูลคาการนำเขาทั้งหมดมีมูลคา การนำเขา 483 พันลานบาท เพิ่มขึ้นรอยละ 27.3 ซึ่งสวน หนึ่งเปนผลจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้นเพราะ

ปญหาความไมสงบภายในประเทศของผูผลิตน้ำมันหลาย ประเทศ โดยราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยในชวง 6 เดือนแรกของ ป 2554 อยูที่ระดับ 109 เหรียญสหรัฐตอบารเรล เพิ่มขึ้น 31 เหรียญสหรัฐตอบารเรล จากชวงเดียวกันของปกอน นอกจากนี้ ประเทศไทยเริ่มมีการนำเขากาซธรรมชาติเหลว (LNG) ตั้ ง แต เ ดื อ นพฤษภาคม 2554 คิ ด เป น มู ล ค า 3 พันลานบาท ในชวง 6 เดือนแรกของปนี้

มูลคาการนำเขาพลังงาน

หนวย : พันลานบาท

ชนิด

2553

น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป กาซธรรมชาติ ถานหิน ไฟฟา กาซธรรมชาติเหลว (LNG) รวม

752 69 84 39 8 952

20 • นโยบายพลังงาน

2554 (ม.ค.-มิ.ย.) 483 46 44 23 7 3 606

2554 (ม.ค.-มิ.ย.) การเปลี่ยนแปลง (%) สัดสวน (%) 27.3 80 30.1 7 6.5 7 16.0 4 103.4 1 1 26.5 100


5. น้ำมันดิบและคอนเดนเสท การผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสท ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 มีปริมาณ 230 พันบารเรลตอวัน ลดลงจาก ชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 5.6 คิดเปนสัดสวนรอยละ 24 ของปริมาณความตองการใชในโรงกลั่น การผลิตน้ำมันดิบ ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 อยูที่ระดับ 140 พันบารเรลตอวัน ลดลงจากชวงเดียวกันของ ปกอนรอยละ 10.3 การผลิตคอนเดนเสท ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 อยูที่ระดับ 90 พันบารเรลตอวัน เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกัน ของปกอนรอยละ 2.9

การผลิตน้ำมันดิบ แหลง Big Oil Project* เบญจมาศ สิริกิติ์ จัสมิน สงขลา บัวหลวง ทานตะวัน บานเย็น นาสนุน ชบา อื่น ๆ รวมในประเทศ

หนวย : บารเรล/วัน

ผูผ ลิต

2553

Chevron Thailand E&P Chevron Offshore PTTEP Pearl Oil NU Coastal SOGO Thailand Chevron Offshore Pearl Oil Pan Orient Resources Chevron Offshore PTTEP, Chevron Offshore, Chevron Thailand E&P, Chevron Pattanee, SINO US Petroleum, Pacific Tiger Energy

36,998 26,665 21,808 13,868 7,926 8,327 3,860 3,891 6,689 3,739 19,403 153,174

2554 (ม.ค.-มิ.ย.) ปริมาณ สัดสวน (%) 31,196 22 27,633 20 22,716 16 13,024 9 7,752 6 6,266 4 5,361 4 4,876 3 2,637 2 2,634 2 15,754 11 139,849

100

* BIG OIL PROJECT ของบริษัท ยูโนเเคล (เดิม) ประกอบดวย แหลงปลาทอง ปลาหมึก กะพง สุราษฎร และยะลา

การนำเขาและสงออก ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 มีการนำเขาน้ำมันดิบอยูที่ระดับ 802 พันบารเรล ตอวัน ลดลงจากชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 1.9 โดย ส ว นใหญ ร อ ยละ 72 เป น การนำเข า จากกลุ ม ประเทศ ตะวันออกกลาง รองลงมารอยละ 7 นำเขาจากกลุมประเทศ ตะวั น ออกไกล และร อ ยละ 21 นำเข า จากที่ อื่ น ๆ และ การส ง ออกน้ ำ มั น ดิ บ อยู ที่ ร ะดั บ 36 พั น บาร เ รลต อ วั น เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 27.2

www.eppo.go.th • 21


การจัดหาและการใชน้ำมันดิบ ป

น้ำมันดิบ คอนเดนเสท 2549 129 75 2550 135 79 2551 144 85 2552 154 84 2553 153 89 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) 140 90 อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 2550 4.4 4.8 2551 7.3 8.0 2552 6.7 -1.4 2553 -0.6 5.6 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) -10.3 2.9

หนวย : พันบารเรล/วัน

การจัดหา รวม 204 213 229 238 242 230 4.5 7.2 4.0 1.6 -5.6

กำลังการกลั่นน้ำมันดิบ ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 มี ค วามสามารถในการกลั่ น รวมทั้ ง สิ้ น 1,117 พันบารเรลตอวัน โดยไทยออยล (TOC) มีกำลังการกลั่น 275 พันบารเรลตอวัน ไออารพีซี (IRPC) มีกำลังการกลั่น 215 พันบารเรลตอวัน เอสโซ (ESSO) และ ปตท.อะโรเมติกส และการกลั่ น (PTTAR) มี ก ำลั ง การกลั่ น เท า กั น ที่ 170 พั น บาร เ รลต อ วั น สตาร ป โ ตรเลี ย ม (SPRC) มี ก ำลั ง การกลั่น 150 พันบารเรลตอวัน บางจาก (BCP) มีกำลัง การกลั่น 120 พันบารเรลตอวัน และระยองเพียวริฟายเออร (RPC) มีกำลังการกลั่น 17 พันบารเรลตอวัน

นำเขา 829 804 812 803 816 802

รวมทั้งสิ้น 1,034 1,018 1,040 1,041 1,058 1,032

-3.0 0.9 -1.0 1.6 -1.9

-1.5 2.2 0.1 1.6 -2.7

-20.5 -11.9 -10.5 -27.1 27.2

การใช ใชในโรงกลั่น 925 921 928 937 962 948 -0.5 0.8 0.9 2.7 -0.8

การใชน้ำมันดิบเพื่อการกลั่น ในชวง 6 เดือนแรก ของป 2554 อยูที่ระดับ 948 พันบารเรลตอวัน คิดเปน สั ด ส ว นร อ ยละ 85 ของความสามารถในการกลั่ น ทั่วประเทศ ซึ่งลดลงเล็กนอยจากชวงเดียวกันของปกอน คิดเปนรอยละ 0.8 เนื่องจากมีการปดซอมบำรุงโรงกลั่น น้ ำ มั น ของ PTTAR (AR-2) ซึ่ ง ป ด ซ อ มบำรุ ง ในช ว งวั น ที่ 20 มิถุนายน–6 กรกฎาคม 2554

การใชกำลังการกลั่นของประเทศ (เดือนมกราคม-มิถุนายน 2554)

22 • นโยบายพลังงาน

สงออก 65 52 46 41 30 36


6. กาซธรรมชาติ การจัดหากาซธรรมชาติ ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 มีการจัดหารวมทั้งประเทศอยูที่ระดับ 4,631 ลานลูกบาศก ฟุตตอวัน เพิ่มขึ้นรอยละ 7.9 เมื่อเทียบกับชวงเดียวกันของปกอน โดยที่สัดสวนรอยละ 81 เปนการผลิตภายในประเทศ และที่เหลือรอยละ 19 เปนการนำเขา การผลิตกาซธรรมชาติ ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 การผลิตภายในประเทศอยูที่ระดับ 3,738 ลานลูกบาศก ฟุตตอวัน เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 8.6 เนื่องจากแหลงมรกตซึ่งเปนแหลงกาซธรรมชาติแหลงใหมของ ปตท.เริ่มทำการผลิตไดตั้งแตเดือนพฤษภาคม 2554 และแหลง JDA เพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น การนำเขากาซธรรมชาติ ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 อยูที่ระดับ 893 ลานลูกบาศกฟุตตอวัน เพิ่มขึ้นจาก ชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 4.9 เนื่องจากเริ่มมีการนำเขา LNG ตั้งแตเดือนพฤษภาคม 2554 จากประเทศกาตารและ รัสเซีย ซึ่งคิดเปนสัดสวนรอยละ 1 ของปริมาณการจัดหาทั้งหมด

การจัดหากาซธรรมชาติ แหลง แหลงผลิตภายในประเทศ แหลงอาวไทย บงกช เจดีเอ ไพลิน อาทิตย เอราวัณ ฟูนานและจักรวาล ยะลา โกมินทร เบญจมาศ สตูล อื่น ๆ แหลงบนบก ภูฮอม สิริกิติ์ น้ำพอง แหลงนำเขา* ยาดานา เยตากุน LNG รวม

หนวย : ลานลูกบาศกฟุต/วัน

ผูผ ลิต

PTTEP องคกรรวมฯ Chevron E&P PTTEP Chevron E&P Chevron E&P Chevron E&P Chevron E&P Chevron Offshore Chevron E&P Chevron E&P Amerada PTTEP Exxon Mobil สหภาพพมา สหภาพพมา กาตารและรัสเซีย

2553 3,511 3,343 596 649 430 501 256 199 95 85 76 82 374 168 87 63 18 853 434 419 4,364

2554 (ม.ค.-มิ.ย.) ปริมาณ สัดสวน (%) 3,738 81 3,574 77 631 14 773 17 444 10 488 11 243 5 179 4 68 1 94 2 81 2 111 2 462 10 165 4 98 2 50 1 17 0.4 893 19 431 9 406 9 56 1 4,631 100

* คาความรอนของกาซธรรมชาติจากพมา เทากับ 1,000 บีทียูตอลูกบาศกฟุต

การใชกาซธรรมชาติ ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 อยูที่ระดับ 4,219 ลานลูกบาศกฟุตตอวัน เพิ่มขึ้นจากชวง เดียวกันของปกอนรอยละ 7.5 โดยเปนการใชเพื่อผลิตไฟฟาคิดเปนสัดสวนรอยละ 61 ของการใชทั้งหมด อยูที่ระดับ 2,555 ลานลูกบาศกฟุตตอวัน ลดลงรอยละ 6.3 ใชเปนวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปโตรเคมีและอื่น ๆ (โพรเพน อีเทน และ LPG) คิดเปนสัดสวนรอยละ 21 อยูที่ระดับ 886 ลานลูกบาศกฟุตตอวัน เพิ่มขึ้นรอยละ 58.2 ใชเปนเชื้อเพลิงในโรงงาน อุตสาหกรรม คิดเปนสัดสวนรอยละ 13 อยูที่ระดับ 550 ลานลูกบาศกฟุตตอวัน เพิ่มขึ้นรอยละ 17.8 และที่เหลือรอยละ 5 ถูกนำไปใชเพื่อเปนเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต (NGV) โดยเพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปที่แลวรอยละ 34.9 อยูที่ระดับ 228 ลานลูกบาศกฟุตตอวัน www.eppo.go.th • 23


การใชกาซธรรมชาติรายสาขา** สาขา การใช ผลิตไฟฟา * อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมปโตรเคมีและอื่น ๆ เชื้อเพลิงสำหรับรถยนต (NGV)

หนวย : ลานลูกบาศกฟุต/วัน

2551

2552

2553

3,444 2,423 361 583 77

3,564 2,435 387 599 143

4,039 2,728 478 652 181

2554 (ม.ค.-มิ.ย.) ปริมาณ เปลี่ยนแปลง (%) สัดสวน (%) 4,219 7.5 100 2,555 -6.3 61 550 17.8 13 886 58.2 21 228 34.9 5

* ใชใน EGAT, EGGO, ราชบุรี (IPP), IPP, SPP ** คาความรอนเทากับ 1,000 บีทียูตอลูกบาศกฟุต

สัดสวนการใชกาซธรรมชาติ

7. กาซโซลีนธรรมชาติ (NGL) การผลิตกาซโซลีนธรรมชาติ (NGL) ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 อยูที่ระดับ 16,706 บารเรลตอวัน เพิ่มขึ้น จากชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 31.1 โดยนำไปใชในอุตสาหกรรมตัวทำละลาย (Solvent) ภายในประเทศปริมาณ 14,547 บารเรลตอวัน คิดเปนสัดสวนรอยละ 87 ของการผลิตทั้งหมด ที่เหลือรอยละ 13 สงออกไปจำหนายยังประเทศ สิงคโปร จำนวน 2,159 บารเรลตอวัน

การผลิต การสงออก และการใช NGL รายการ

2553

การผลิต การสงออก การใชภายในประเทศ

13,962 2,322 11,639

24 • นโยบายพลังงาน

ปริมาณ 16,706 2,159 14,547

2554 (ม.ค.-มิ.ย.) การเปลี่ยนแปลง (%) 31.1 2.3 36.8

หนวย : บารเรล/วัน

สัดสวน (%) 100 13 87


8. ผลิตภัณฑน้ำมันสำเร็จรูป การผลิตน้ำมันสำเร็จรูป ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 อยูที่ระดับ 957 พันบารเรลตอวัน เพิ่มขึ้นจากชวง เดียวกันของปกอนรอยละ 1.4 โดยการผลิตน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้นรอยละ 0.6 และกาซปโตรเลียมเหลวเพิ่มขึ้นรอยละ 12.4 ในขณะที่การผลิตน้ำมันเบนซินลดลงรอยละ 2.6 น้ ำ มั น เครื่ อ งบิ น ลดลงร อ ยละ 0.7 และน้ ำ มั น เตาลดลง รอยละ 5.6

เพิ่มขึ้นรอยละ 1.0 น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นรอยละ 3.4 น้ำมัน เครื่องบินเพิ่มขึ้นรอยละ 10.9 และกาซปโตรเลียมเหลว เพิ่มขึ้นรอยละ 9.1 ในขณะที่การใชน้ำมันเตาลดลงรอยละ 12.8

การนำเข า และส ง ออกน้ ำ มั น สำเร็ จ รู ป ในช ว ง 6 เดือนแรกของป 2554 มีการนำเขาน้ำมันสำเร็จรูปอยูที่ ระดับ 49 พันบารเรลตอวัน ลดลงจากชวงเดียวกันของ การใชน้ำมันสำเร็จรูป ในชวง 6 เดือนแรกของป ปกอนรอยละ 13.8 ดานการสงออกมีปริมาณลดลงจาก 2554 อยูที่ระดับ 739 พันบารเรลตอวัน เพิ่มขึ้นจากชวง ช ว งเดี ย วกั น ของป ก อ นร อ ยละ 11.5 อยู ที่ ร ะดั บ 157 เดียวกันของปกอนรอยละ 3.8 โดยการใชน้ำมันเบนซิน พันบารเรลตอวัน โดยมีรายละเอียดของน้ำมันแตละชนิด ดังนี้

การผลิต การใช การนำเขา และการสงออกน้ำมันสำเร็จรูป (เดือนมกราคม-มิถุนายน 2554) เบนซิน เบนซิน 91 เบนซิน 95 แกสโซฮอล 91 แกสโซฮอล 95 ดีเซล ไบโอดีเซล B5 น้ำมันกาด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตา กาซปโตรเลียมเหลว * รวม

การใช 128 49 1 33 46 340 24 0.2 90 42 140 739

ปริมาณ (พันบารเรล/วัน) การผลิต การนำเขา การสงออก 146 0.3 16 61 12 5 4 33 47 400 1 63 23 3 2 106 0.3 14 103 4 62 199 44 0.4 957 49 157

การใช 1.0 -3.5 -61.7 27.0 -5.6 3.4 -81.6 -30.5 10.9 -12.8 9.1 3.8

การเปลี่ยนแปลง (%) การผลิต การนำเขา การสงออก -2.6 -30.5 -3.8 -15.0 -57.1 -53.6 27.5 -3.2 0.6 10.8 -11.8 -82.0 19.4 72.0 -0.7 428.7 -38.0 -5.6 87.0 6.2 12.4 -18.9 -48.8 1.4 -13.8 -11.5

* ไมรวมการใชเพื่อเปนวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปโตรเคมี

อัตราการขยายตัวของการใชน้ำมันสำเร็จรูป (เดือนมกราคม 2550-มิถุนายน 2553)

www.eppo.go.th • 25


• น้ำมันเบนซิน การผลิตน้ำมันเบนซิน ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 อยูที่ระดับ 146 พันบารเรลตอวัน ลดลงจากชวง เดียวกันของปกอนรอยละ 2.6 โดยเบนซิน 91 ผลิตได 61 พันบารเรลตอวัน ลดลงรอยละ 3.8 เบนซิน 95 ผลิตได 5 พันบารเรลตอวัน ลดลงรอยละ 57.1 และแกสโซฮอล 95 ผลิตได 47 พันบารเรลตอวัน ลดลงรอยละ 3.2 ในขณะที่ แก ส โซฮอล 91 ผลิ ต ได 33 พั น บาร เ รลต อ วั น เพิ่ ม ขึ้ น รอยละ 27.5

แกสโซฮอล 95 อยูที่ระดับ 46 พันบารเรลตอวัน ลดลง รอยละ 5.6 ทั้งนี้ การใชน้ำมันเบนซินเกือบทุกประเภท ลดลงจากชวงเดียวกันของปกอน โดยเฉพาะอยางยิ่งเบนซิน 95 ที่มีแนวโนมลดลงอยางตอเนื่องจากการสงเสริมการใช แกสโซฮอลโดยใชมาตรการดานราคาของรัฐบาล สงผลให ราคาขายปลี ก เฉลี่ ย เบนซิ น 95 สู ง กว า ราคาขายปลี ก แกสโซฮอลอยูมาก ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 มี สถานีจำหนายแกสโซฮอล 95 (E20) จำนวน 723 แหง และแกสโซฮอล 95 (E85) จำนวน 23 แหง โฟดยแบงเปน การใช น้ ำ มั น เบนซิ น ในช ว ง 6 เดื อ นแรกของป ของ ปตท. 6 แหง และบางจาก 17 แหง 2554 อยูที่ระดับ 128 พันบารเรลตอวัน เพิ่มขึ้นจากชวง การนำเขาและสงออกน้ำมันเบนซิน ในชวง 6 เดือน เดียวกันของปกอนรอยละ 1.0 โดยการใชแกสโซฮอล 91 เพิ่มขึ้นรอยละ 27.0 จากชวงเดียวกันของปกอน อยูที่ระดับ แรกของป 2554 การนำเขาอยูที่ระดับ 0.3 พันบารเรลตอ 33 พันบารเรลตอวัน ในขณะที่การใชเบนซิน 91 อยูที่ วัน การสงออกอยูที่ระดับ 16 พันบารเรลตอวัน โดยแบง ระดับ 49 พันบารเรลตอวัน ลดลงรอยละ 3.5 เบนซิน 95 เปนการสงออกเบนซิน 91 อยูที่ระดับ 12 พันบารเรลตอ อยูที่ระดับ 1 พันบารเรลตอวัน ลดลงถึงรอยละ 61.7 และ วัน และเบนซิน 95 อยูที่ระดับ 4 พันบารเรลตอวัน

อัตราการขยายตัวของการใชน้ำมันเบนซิน (เดือนมกราคม 2550-มิถุนายน 2554)

การผลิตเอทานอล ปจจุบันมีโรงงานผลิตเอทานอลที่ไดรับอนุญาตแลวทั้งสิ้น 47 โรง มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 12.30 ลานลิตรตอวัน แตมีโรงงานที่เดินระบบแลวเพียง 19 โรง ทำใหมีกำลังการผลิตรวม 2.93 ลานลิตรตอวัน หรืออยูที่ระดับ 18 พันบารเรลตอวัน มีการผลิตเอทานอลเพื่อใชเปนพลังงาน 1.42 ลานลิตรตอวัน หรืออยูที่ระดับ 9 พันบารเรลตอวัน โดยราคาเฉลี่ยเอทานอลในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 อยูที่ราคา 25.58 บาทตอลิตร

• น้ำมันดีเซล การผลิตน้ำมันดีเซล ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 อยูที่ระดับ 400 พันบารเรลตอวัน เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกัน ของปกอนรอยละ 0.6 การใชน้ำมันดีเซล ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 อยูที่ระดับ 340 พันบารเรลตอวัน เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของ ปกอนรอยละ 3.4

26 • นโยบายพลังงาน


การนำเขาและสงออกน้ำมันดีเซล ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 การนำเขาอยูที่ระดับ 1 พันบารเรลตอวัน เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 10.8 สวนการสงออกอยูที่ระดับ 63 พันบารเรลตอวัน ลดลงจากชวงเดียวกัน ของปกอนรอยละ 11.8

อัตราการขยายตัวของการใชน้ำมันดีเซล (เดือนมกราคม 2550-มิถุนายน 2554)

การผลิตไบโอดีเซล บี 100 ปจจุบันมีโรงงานผลิตที่ • น้ำมันเตา ไดคุณภาพตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน จำนวน 15 ราย มีกำลังการผลิตรวม 6.0 ลานลิตรตอวัน หรือประมาณ การผลิตน้ำมันเตา ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 38 พันบารเรลตอวัน อยู ที่ ร ะดั บ 103 พั น บาร เ รลต อ วั น ลดลงร อ ยละ 5.6 เมื่อเทียบกับชวงเดียวกันของปกอน การผลิตไบโอดีเซล บี 5 (น้ำมันดีเซลหมุนเร็วผสม ไบโอดีเซลรอยละ 5) ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 การใชน้ำมันเตา ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 การผลิตไบโอดีเซล บี 5 อยูที่ระดับ 23 พันบารเรลตอวัน อยูที่ระดับ 42 พันบารเรลตอวัน ลดลงจากชวงเดียวกันของ ลดลงจากชวงเดียวกันของปกอนถึงรอยละ 82.0 เนื่องจาก ปกอนรอยละ 12.8 โดยสวนใหญใชเปนเชื้อเพลิงในภาค ปญหาน้ำมันปาลมดิบขาดแคลนในชวงตนป 2554 สงผล อุ ต สาหกรรม อยู ที่ ร ะดั บ 37 พั น บาร เ รลต อ วั น ลดลง ใหตั้งแตวันที่ 1 กุมภาพันธ 2554 เปนตนมา รัฐบาลมี รอยละ 17.5 ที่เหลือเปนการใชเปนเชื้อเพลิงในการผลิต นโยบายปรับลดสัดสวนการนำไบโอดีเซล บี 100 ผสมใน ไฟฟ า 4 พั น บาร เ รลต อ วั น เพิ่ ม ขึ้ น ถึ ง ร อ ยละ 76.6 น้ ำ มั น ดี เ ซลหมุ น เร็ ว จากเดิ ม ที่ มี ก ารผสมเป น ไบโอดี เ ซล เนื่องจากในชวงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม 2554 บี 3 และ บี 5 ใหเหลือเพียงไบโอดีเซล บี 2 เพื่อแกไข แหล ง ก า ซธรรมชาติ ได แ ก แหล ง อาทิ ต ย และแหล ง ป ญ หาดั ง กล า ว หลั ง จากนั้ น เมื่ อ ป ญ หาน้ ำ มั น ปาล ม ดิ บ JDA-B17 ปดซอมบำรุง ประกอบกับแทนผลิตของบริษัท ขาดแคลนเริ่มคลี่คลาย ตั้งแตวันที่ 1 พฤษภาคม 2554 ปตท. จำกัด (มหาชน) ในอาวไทยหยุดซอมบำรุง รวมทั้ง รัฐบาลมีนโยบายใหผูผลิตสามารถปรับสัดสวนในการนำ อุบัติเหตุทอกาซในอาวไทยรั่วตั้งแตปลายเดือนมิถุนายน ไบโอดีเซล บี 100 ผสมในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วไดตั้งแต 2554 สงผลใหมีการใชน้ำมันเตาในการผลิตไฟฟาเพิ่มขึ้น รอยละ 3 ถึงรอยละ 5 ขึ้นอยูกับปริมาณน้ำมันปาลมใน เพื่อทดแทนกาซธรรมชาติที่ขาดหายไป ชวงนั้น การนำเขาและสงออกน้ำมันเตา ในชวง 6 เดือน การใชไบโอดีเซล บี 5 ในชวง 6 เดือนแรกของป แรกของป 2554 มีการนำเขาอยูที่ระดับ 4 พันบารเรล 2554 อยู ที่ ร ะดั บ 24 พั น บาร เ รลต อ วั น ลดลงจากช ว ง ตอวัน เพิ่มขึ้นถึงรอยละ 87.0 โดยสวนใหญใชในการผลิต เดี ย วกั น ของป ก อ นถึ ง ร อ ยละ 81.6 เนื่ อ งจากการผลิ ต ไฟฟาเพื่อทดแทนกาซธรรมชาติในชวงที่เกิดเหตุการณทอ ไบโอดี เ ซล บี 5 ที่ ล ดลงจากป ญ หาน้ ำ มั น ปาล ม ดิ บ กาซในอาวไทยรั่ว นอกจากนี้ มีการสงออกน้ำมันเตาอยูที่ ขาดแคลน ระดั บ 62 พั น บาร เ รลต อ วั น ซึ่ ง ส ว นใหญ เ ป น น้ ำ มั น เตา Grade 5 ที่มีปริมาณเกินความตองการใชภายในประเทศ www.eppo.go.th • 27


• น้ำมันเครื่องบิน การผลิตน้ำมันเครื่องบิน ในชวง 6 เดือนแรกของป ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น โดยเฉพาะนั ก ท อ งเที่ ย วกลุ ม เอเชี ย ตะวั น ออก 2554 อยูที่ระดับ 106 พันบารเรลตอวัน ลดลงจากชวง ซึ่งสงผลใหสาขาขนสงและคมนาคมขยายตัวรอยละ 4.8 ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 เดียวกันของปกอนรอยละ 0.7 การนำเข า และส ง ออกน้ ำ มั น เครื่ อ งบิ น ในช ว ง การใชน้ำมันเครื่องบิน ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 อยูที่ระดับ 90 พันบารเรลตอวัน เพิ่มขึ้นจากชวง 6 เดื อ นแรกของป 2554 มี ก ารนำเข า อยู ที่ ร ะดั บ 0.3 เดียวกันของปกอนรอยละ 10.9 เปนผลจากการขนสงทาง พันบารเรลตอวัน และมีการสงออกอยูที่ระดับ 14 พันบารเรล อากาศและทางบกที่ขยายตัวสูงขึ้นจากจำนวนนักทองเที่ยว ตอวัน

• กาซปโตรเลียมเหลว (LPG) โพรเพน และบิวเทน การผลิต LPG ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 อยูที่ ระดับ 2,756 พันตัน เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปกอน รอยละ 33.5 โดยเปนการผลิตจากโรงแยกกาซอยูที่ระดับ 1,655 พันตัน เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 43.5 เนื่องจากโรงแยกกาซหนวยที่ 6 ของ ปตท. สามารถ ผลิต LPG ไดเกือบเต็มกำลังผลิตตั้งแตเดือนมีนาคม 2554 รวมทั้งในชวงเดือนกุมภาพันธถึงเดือนมิถุนายน 2553 มี การทยอยปดซอมบำรุงโรงแยกกาซ ปตท. หนวยที่ 1-3 ทำใหการผลิต LPG จากโรงแยกกาซในชวงเดียวกันของป กอนมีปริมาณต่ำกวาปกติ นอกจากนี้ ในสวนของการผลิต LPG จากโรงกลั่นน้ำมันอยูที่ระดับ 1,001 พันตัน เพิ่มขึ้น รอยละ 15.8 เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให โรงกลั่นน้ำมันผลิต LPG เขาสูระบบมากขึ้น

สัดสวนการใช LPG

28 • นโยบายพลังงาน

การใช LPG ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 อยูที่ ระดับ 3,405 พันตัน เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปกอน รอยละ 20.1 โดยสาขาที่มีการใชสูงที่สุด คือ ภาคครัวเรือน คิดเปนรอยละ 38 ของปริมาณการใชทั้งหมด รองลงมาคือ อุ ต สาหกรรมป โ ตรเคมี คิด เป น ร อ ยละ 33 ของปริมาณ การใชทั้งหมด สวนการใชในรถยนตคิดเปนสัดสวนรอยละ 12 ของปริมาณการใชทั้งหมด มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นรอยละ 30.5 เนื่องจากราคา LPG ที่ต่ำกวาราคาน้ำมันเบนซินและ ดีเซลสงผลใหผูใชรถยนตหันไปใช LPG มากขึ้น การนำเขาและสงออก LPG ในชวง 6 เดือนแรกของ ป 2554 มีการนำเขาในรูปแบบของ LPG โพรเพน และ บิวเทน อยูที่ระดับ 679 พันตัน ลดลงจากชวงเดียวกันของ ปกอนรอยละ 18.9 และมีการสงออกอยูที่ระดับ 7 พันตัน โดยสวนใหญสงออกไปประเทศเพื่อนบาน ไดแก มาเลเซีย กัมพูชา ลาว และพมา ตามลำดับ


การผลิตและการใช LPG โพรเพน และบิวเทน การจัดหา - การผลิต โรงแยกกาซ โรงกลั่นน้ำมัน อื่น ๆ - การนำเขา ความตองการ - การใช ครัวเรือน อุตสาหกรรม รถยนต อุตสาหกรรมปโตรเคมี ใชเอง - การสงออก

2552

2553

5,217 4,463 2,622 1,766 75 753 5,223 5,208 2,231 586 666 1,289 435 15

6,061 4,412 2,603 1,726 83 1,649 5,968 5,943 2,435 769 680 1,592 466 25

• การใช พ ลั ง งานในการขนส ง ทางบก ในช ว ง 6 เดือนแรกของป 2554 การใชพลังงานอยูที่ระดับ 10,219 พั น ตั น เที ย บเท า น้ ำ มั น ดิ บ ซึ่ ง ส ว นใหญ เ ป น การใช น้ ำ มั น ดี เ ซลคิ ด เป น สั ด ส ว นร อ ยละ 59 ของการใช พ ลั ง งานใน การขนสงทางบก รองลงมาคือการใชน้ำมันเบนซินคิดเปน สัดสวนรอยละ 27 ของการใชพลังงานในการขนสงทางบก นอกจากนี้ ในสวนของการใช LPG ในรถยนตและการใช NGV พบวามีการใชเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับชวงเดียวกันของ ปกอน ดังนี้

ม.ค.-มิ.ย. 2553 2554 2,901 3,435 2,064 2,756 1,154 1,655 864 1,001 46 100 838 679 2,849 3,412 2,837 3,405 1,177 1,286 370 389 325 424 724 1,116 240 191 13 7

หนวย : พันตัน

อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 2553 2554 (ม.ค.-มิ.ย. ) 16.2 18.4 -1.1 33.5 -0.7 43.5 -2.3 15.8 10.5 116.5 118.9 -18.9 14.3 19.7 14.1 20.1 9.2 9.3 31.3 5.1 2.1 30.5 23.5 54.0 7.1 -20.7 63.3 -49.0

การใช NGV เพิ่มขึ้นรอยละ 34.8 เนื่องจากนโยบาย การส ง เสริ ม การใช NGV ของภาครั ฐ ประกอบกั บ ราคา น้ ำ มั น ที่ ป รั บ ตั ว สู ง ขึ้ น ทำให ป ระชาชนบางส ว นตั ด สิ น ใจ หันมาติดเครื่องยนต NGV กันมากขึ้น ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือน มิ ถุ น ายน 2554 มี จ ำนวนรถยนต ที่ ติ ด ตั้ ง NGV ทั้ ง สิ้ น 267,698 คัน โดยทดแทนน้ำมันเบนซินรอยละ 16.2 และ ทดแทนน้ำมันดีเซลรอยละ 5.1 และมีจำนวนสถานีบริการ NGV ทั้ ง หมด 444 สถานี อยู ใ นเขตกรุ ง เทพฯ และ ปริมณฑล 227 สถานี และตางจังหวัด 217 สถานี

การใช LPG ในรถยนต เพิ่มขึ้นรอยละ 30.5 ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 มีรถที่ใช LPG จำนวน 25,317 คัน รวมทั้งมีรถที่ใช LPG รวมกับน้ำมันเบนซิน 727,465 คัน และใช LPG รวมกับน้ำมันดีเซล 5,576 คัน โดยมี สถานีบริการ LPG ทั่วประเทศจำนวน 1,063 สถานี

www.eppo.go.th • 29


การใชพลังงานในการขนสงทางบก

เบนซิน ดีเซล LPG NGV รวม

หนวย : พันตันเทียบเทาน้ำมันดิบ

การเปลี่ยนแปลง (%)

2550

2551

2552

2553

2554 (ม.ค.-มิ.ย.)

2552

2553

5,466 11,703 667 215 18,052

5,305 10,802 905 692 17,705

5,606 11,401 778 1,282 19,067

5,526 11,291 794 1,623 19,234

2,742 5,970 494 1,013 10,219

5.7 5.5 -14.1 85.2 7.7

-1.4 -1.0 2.1 26.6 0.9

2554 (ม.ค.-มิ.ย.) 1.1 3.5 30.5 34.8 6.3

9. ถานหิน/ลิกไนต • การจัดหาลิกไนต/ถานหิน ในชวง 6 เดือนแรก • การใชลิกไนต/ถานหิน ในชวง 6 เดือนแรกของป ของป 2554 มีปริมาณการจัดหาอยูที่ระดับ 8,261 พันตัน 2554 มีปริมาณการใชอยูที่ระดับ 8,335 พันตันเทียบเทา เที ย บเท า น้ ำ มั น ดิ บ เพิ่ ม ขึ้ น จากช ว งเดี ย วกั น ของป ก อ น น้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 5.5 รอยละ 4.4 การใชลิกไนต ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 อยูที่ การผลิตลิกไนต ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 มี ระดับ 2,699 พันตันเทียบเทาน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากชวง ปริมาณ 2,625 พันตันเทียบเทาน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากชวง เดียวกันของปกอนรอยละ 8.7 โดยรอยละ 81 ของปริมาณ เดียวกันของปกอนรอยละ 2.6 โดยรอยละ 83 ของการผลิต การใชลิกไนต เปนการใชในภาคการผลิตไฟฟาของ กฟผ. ลิ ก ไนต ใ นประเทศผลิ ต จากเหมื อ งแม เ มาะของ กฟผ. สวนที่เหลือรอยละ 19 นำไปใชภาคอุตสาหกรรมตาง ๆ จำนวน 2,183 พันตันเทียบเทาน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นรอยละ เชน การผลิตปูนซีเมนต กระดาษ อุตสาหกรรมอาหาร และ 8.8 เมื่อเทียบกับชวงเดียวกันของปกอน การผลิตลิกไนต อื่น ๆ เปนตน จากเหมืองแมเมาะจะนำไปใชในการผลิตไฟฟาที่โรงไฟฟา แมเมาะทั้งหมด สวนที่เหลือรอยละ 17 เปนการผลิตจาก การใช ถ า นหิ น นำเข า ในช ว ง 6 เดื อ นแรกของป เหมื อ งเอกชน จำนวน 442 พั น ตั น เที ย บเท า น้ ำ มั น ดิ บ 2554 อยู ที่ ร ะดั บ 5,636 พั น ตั น เที ย บเท า น้ ำ มั น ดิ บ ลดลงจากชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 19.8 เพิ่ ม ขึ้ น ร อ ยละ 4.1 โดยร อ ยละ 64 ของปริ ม าณการใช ถานหิน เปนการใชในภาคอุตสาหกรรม สวนที่เหลือรอยละ การนำเขาถานหิน ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 36 นำไปใช เ ป น เชื้ อ เพลิ ง ในการผลิ ต ไฟฟ า ของ SPP มีปริมาณ 5,636 พันตันเทียบเทาน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจาก และ IPP ชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 5.3

30 • นโยบายพลังงาน


การผลิตและการใชลิกไนต/ถานหิน

หนวย : พันตันเทียบเทาน้ำมันดิบ

2553 การจัดหา การผลิตลิกไนต การไฟฟาฝายผลิตฯ เหมืองเอกชน การนำเขาถานหิน ความตองการ การใชลิกไนต ผลิตกระแสไฟฟา อุตสาหกรรม การใชถานหิน ผลิตกระแสไฟฟา (SPP และ IPP) อุตสาหกรรม

15,489 4,938 3,960 978 10,551 15,478 4,927 3,964 962 10,551 3,669 6,882

ปริมาณ 8,261 2,625 2,183 442 5,636 8,335 2,699 2,195 504 5,636 2,001 3,635

2554 (ม.ค.-มิ.ย.) เปลี่ยนแปลง (%) 4.4 2.6 8.8 -19.8 5.3 5.5 8.7 9.9 3.4 4.1 2.6 4.9

สัดสวน (%) 100 83 17 100 81 19 100 36 64

10. ไฟฟา กำลังการผลิตติดตั้ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2554 มี จำนวนรวมทั้งสิ้น 31,447 เมกะวัตต เปนการผลิตติดตั้ง ของ กฟผ. 14,998 เมกะวัตต คิดเปนสัดสวนรอยละ 48 รับซื้อจาก IPP จำนวน 12,082 เมกะวัตต คิดเปนสัดสวน รอยละ 38 รับซื้อจาก SPP จำนวน 2,182 เมกะวัตต คิด เปนสัดสวนรอยละ 7 นำเขาจาก สปป.ลาว และแลกเปลี่ยน กับมาเลเซีย จำนวน 2,185 เมกะวัตต คิดเปนสัดสวน รอยละ 7

กำลังการผลิตติดตั้งแยกตามผูประกอบการผลิตไฟฟา ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 รวมทั้งสิ้น 31,447 MW

การผลิตพลังงานไฟฟา ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 มีการผลิตพลังงานไฟฟาจำนวน 81,227 กิกะวัตต ชั่ ว โมง ลดลงจากช ว งเดี ย วกั น ของป ก อ นร อ ยละ 1.8 เนื่องจากภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของประเทศไทย สงผลใหความตองการใชไฟฟาในชวง 6 เดือนแรกของปนี้ ลดลง การผลิตพลังงานไฟฟาตามชนิดของเชื้อเพลิงที่สำคัญ ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 สรุปไดดังนี้ • การผลิ ต ไฟฟ า จากก า ซธรรมชาติ (รวม EGCO KEGCO ราชบุรี IPP และ SPP) คิดเปนสัดสวนรอยละ 68 ของปริ ม าณการผลิ ต ไฟฟ า ทั้ ง หมด อยู ที่ ร ะดั บ 55,188 กิกะวัตตชั่วโมง ลดลงจากชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 6.2 • การผลิ ต ไฟฟ า จากถ า นหิ น /ลิ ก ไนต คิ ด เป น สัดสวนรอยละ 20 อยูที่ระดับ 16,261 กิกะวัตตชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 4.2 • การผลิตไฟฟาจากพลังน้ำ คิดเปนสัดสวนรอยละ 4 อยูที่ระดับ 3,051 กิกะวัตตชั่วโมง ลดลงจากชวงเดียวกัน ของปกอนรอยละ 12.2 • การนำเขาไฟฟาจาก สปป.ลาว ไฟฟาแลกเปลี่ยน กับมาเลเซีย และอื่น ๆ คิดเปนสัดสวนรอยละ 8 อยูที่ระดับ 6,207 กิกะวัตตชั่วโมง • การผลิตไฟฟาจากน้ำมันเตาและน้ำมันดีเซล คิด เปนสัดสวนรอยละ 0.6 อยูที่ระดับ 510 กิกะวัตตชั่วโมง

www.eppo.go.th • 31


การผลิตไฟฟาแยกตามชนิดเชื้อเพลิง (เดือนมกราคม-มิถุนายน 2554)

ความตองการไฟฟาและคาตัวประกอบการใชไฟฟา ป 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 (ม.ค.-มิ.ย.)

32 • นโยบายพลังงาน

ความตองการไฟฟาสูงสุด (เมกะวัตต) 18,121 19,326 20,538 21,064 22,586 22,568 22,596 24,630 24,518

คาตัวประกอบการใชไฟฟา (รอยละ) 73.9 71.6 74.9 76.9 74.3 74.8 73.4 75.9 76.3


ความตองการไฟฟาสูงสุด (Gross Peak Generation) ของปนี้เกิดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 24 พฤษภาคม 2554 เวลา 14.00 น. อยูที่ระดับ 24,518 เมกะวัตต โดยต่ำกวา Peak ของป 2553 ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันจันทรที่ 10 พฤษภาคม 2554 เวลา 14.00 น. ที่ ร ะดั บ 24,630 เมกะวั ต ต อยู 112 เมกะวัตต หรือคิดเปนลดลงรอยละ 0.5

การใชไฟฟา ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 มีการใช ไฟฟารวมทั้งสิ้น 74,129 กิกะวัตตชั่วโมง ลดลงรอยละ 0.9 จากชวงเดียวกันของปกอน โดยการใชไฟฟาในภาคครัวเรือน ลดลงรอยละ 6.5 เชนเดียวกับภาคเกษตรกรรมที่ลดลง รอยละ 12.1 เนื่องจากสถานการณฝนตกหนักในหลาย พื้นที่ของประเทศ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมซึ่งเปนสาขา หลักที่มีการใชไฟฟาในระดับสูงคิดเปนสัดสวนรอยละ 46 ของการใชไฟฟาทั้งประเทศ มีการใชไฟฟาเพิ่มขึ้นรอยละ 2.7 และภาคธุรกิจมีการใชไฟฟาเพิ่มขึ้นรอยละ 0.9 โดยมี รายละเอียด ดังนี้

การใชไฟฟารายสาขา สาขา ครัวเรือน กิจการขนาดเล็ก ธุรกิจ อุตสาหกรรม สวนราชการและองคกร ที่ไมแสวงหากำไร เกษตรกรรม การใชไฟฟาที่ไมคิดมูลคา อื่น ๆ รวม

หนวย : กิกะวัตตชั่วโมง

2554 (ม.ค.-มิ.ย.) ปริมาณ เปลี่ยนแปลง (%) สัดสวน (%) 16,098 -6.5 22 7,631 -4.2 10 11,584 0.9 16 34,290 2.7 46

2551

2552

2553

28,691 13,730 21,052 64,148

30,257 14,342 21,341 60,874

33,216 15,586 23,005 67,952

4,392

4,677

5,049

2,324

-6.8

3

281 1,777 1,449 135,520

318 1,843 1,530 135,181

335 2,034 2,123 149,301

215 1,048 940 74,129

-12.1 4.8 -11.8 -0.9

0.3 1 1 100

การใชไฟฟาในเขตนครหลวง ในชวง 6 เดือนแรก ของป 2554 อยูที่ระดับ 22,006 กิกะวัตตชั่วโมง ลดลง จากชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 3.3 โดยกลุมผูใชไฟฟาที่ มีการใชลดลงเมื่อเทียบกับชวงเดียวกันของปกอน ไดแก ภาคครัวเรือน สวนราชการและองคกรที่ไมแสวงหากำไร และกิจการขนาดเล็ก ในขณะที่ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม มีการใชเพิ่มขึ้นเล็กนอย การใชไฟฟาในเขตภูมิภาค ในชวง 6 เดือนแรกของ ป 2554 อยู ที่ ร ะดั บ 51,291 กิ ก ะวั ต ต ชั่ ว โมง เพิ่ ม ขึ้ น เล็กนอยจากชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 0.1 โดยกลุม ผูใชไฟฟาที่มีการใชลดลงเมื่อเทียบกับชวงเดียวกันของป กอน ไดแก ภาคเกษตรกรรม สวนราชการและองคกรที่ไม แสวงหากำไร ภาคครัวเรือน และกิจการขนาดเล็ก ในขณะที่ ภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจมีการใชเพิ่มขึ้น

การใชไฟฟาภาคอุตสาหกรรม ในชวง 6 เดือนแรก ของป 2554 การใชไฟฟาในกลุมอุตสาหกรรมที่สำคัญสวน ใหญเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับชวงเดียวกันของปกอน โดยปจจัยที่ ส ง ผลกระทบต อ การใช ไ ฟฟ า ในภาคอุ ต สาหกรรมมี ดั ง นี้ อุตสาหกรรมอาหารมีการใชไฟฟาเพิ่มขึ้นรอยละ 6.7 จาก การขยายตัวของการใชจายเพื่ออุปโภคบริโภคของครัวเรือน ในหมวดอาหารที่ ข ยายตั ว ร อ ยละ 3.1 อุ ต สาหกรรม พลาสติกมีการใชไฟฟาเพิ่มขึ้น 2.6 เนื่องจากการผลิตเพื่อ ส ง ออกยั ง คงขยายตั ว อย า งต อ เนื่ อ ง และอุ ต สาหกรรม อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส มี ก ารใช ไ ฟฟ า เพิ่ ม ขึ้ น 25.6 เนื่ อ งจาก ความตองการสินคาอิเล็กทรอนิกสที่มีเทคโนโลยีระดับสูง เชน Smart phone และ Tablet ในขณะที่อุตสาหกรรมเหล็ก และเหล็กกลามีการใชไฟฟาลดลงรอยละ 1.4 เนื่องจาก ผู ผ ลิ ต มี ก ารผลิ ต ตามคำสั่ ง ซื้ อ ของลู ก ค า เท า นั้ น ไม มี ก าร สตอกสินคาไว เนื่องจากเกรงผลกระทบของราคาวัตถุดิบที่ สูงขึ้น และอุตสาหกรรมสิ่งทอมีการใชไฟฟาลดลงเล็กนอย รอยละ 0.4 เนื่องจากราคาวัตถุดิบในการผลิตของปนี้สูง กวาปที่ผานมาคอนขางมากสงผลใหมีคำสั่งซื้อลดลง โดยมี รายละเอียดการใชไฟฟาในกลุมอุตสาหกรรมที่สำคัญ ดังนี้ www.eppo.go.th • 33


การใชไฟฟาในกลุมอุตสาหกรรมที่สำคัญ

หนวย : กิกะวัตตชั่วโมง

ประเภท

2551

2552

2553

ม.ค.–มิ.ย. 2553 2554

1. อาหาร 2. เหล็กและเหล็กกลา 3. สิ่งทอ 4. พลาสติก 5. อิเล็กทรอนิกส 6. ซีเมนต 7. ยานยนต 8. เคมีภัณฑ 9. ยางและผลิตภัณฑยาง 10. การผลิตน้ำแข็ง

7,598 5,370 4,513 3,699 4,532 4,214 2,913 2,777 2,516 2,201

7,974 4,384 4,268 3,603 4,203 3,766 2,472 2,607 2,423 2,342

8,241 5,151 4,707 4,155 4,125 3,785 3,396 2,849 2,657 2,575

3,997 2,493 2,336 2,043 2,086 1,916 1,651 1,321 1,320 1,356

การใชไฟฟาภาคธุรกิจ ในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 การใชไฟฟาในกลุมธุรกิจที่สำคัญสวนใหญลดลงเมื่อ เที ย บกั บ ช ว งเดี ย วกั น ของป ก อ น เนื่ อ งจากป จ จั ย ด า น อุณหภูมิที่ต่ำกวาชวงเดียวกันของปกอน ประกอบกับมีฝน ตกหนักในหลายพื้นที่ของประเทศอยางตอเนื่องและเกิด อุทกภัยในหลายพื้นที่ สงผลใหธุรกิจบางประเภทมีการใช ไฟฟาลดลง เชน อพารตเมนตและเกสตเฮาส และธุรกิจ

4,263 2,459 2,327 2,096 2,620 1,940 1,740 1,395 1,354 1,215

เปลี่ยนแปลง (%) 2554 2552 2553 (ม.ค.-มิ .ย.)

5.0 -18.4 -5.4 -2.6 -7.3 -10.6 -15.1 -6.1 -3.7 6.4

3.3 17.5 10.3 15.3 -1.9 0.5 37.4 9.3 9.6 9.9

6.7 -1.4 -0.4 2.6 25.6 1.2 5.4 5.6 2.6 -10.4

โรงแรม นอกจากนี้ ในสวนของหางสรรพสินคา ธุรกิจขาย ปลีกและขายสง มีความตองการใชไฟฟาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบ กับชวงเดียวกันของปกอน สืบเนื่องจากการขยายตัวของ การใชจายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนที่ขยายตัว รอยละ 3.1 โดยปจจัยที่สนับสนุนการใชจายที่สำคัญ ไดแก อัตราการวางงานที่ลดลง และรายไดเกษตรกรอยูในเกณฑดี ตามราคาพืชผลหลักที่ยังอยูในระดับสูง โดยมีรายละเอียด การใชไฟฟาในกลุมธุรกิจที่สำคัญ ดังนี้

การใชไฟฟาในกลุมธุรกิจที่สำคัญ

หนวย : กิกะวัตตชั่วโมง

ม.ค.–มิ.ย.

เปลี่ยนแปลง (%) 2554 2552 2553 (ม.ค.-มิ .ย.) 3.2 2.8 3.4 1.7 7.9 1.0

ประเภท

2551

2552

2553

2553

2554

1. หางสรรพสินคา 2. ขายปลีก 3. อพารตเมนต และเกสตเฮาส 4. โรงแรมทั่วไป 5. อสังหาริมทรัพย 6. โรงพยาบาลทั่วไป 7. ขายสง 8. กอสราง 9. สถาบันการเงิน 10. โรงแรมเพื่อการทองเที่ยว

3,769 3,330

3,889 3,385

3,999 3,652

1,994 1,849

2,062 1,867

2,418

2,554

2,864

1,476

1,435

5.6

12.1

-2.8

2,211 2,215 1,640 1,545 1,145 870 759

2,367 2,257 1,721 1,517 909 884 703

2,628 2,456 1,891 1,740 920 914 699

1,356 1,236 959 851 474 461 347

1,346 1,223 904 903 474 435 326

7.1 1.9 5.0 -1.8 -20.6 1.6 -7.4

11.0 8.8 9.8 14.7 1.2 3.5 -0.6

-0.8 -1.1 -5.7 6.2 0.0 -5.7 -6.1

34 • นโยบายพลังงาน


คาเอฟที ในชวงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม 2554 อยูที่อัตรา 95.81 สตางคตอหนวย ปรับเพิ่มขึ้นจากอัตรา 86.88 สตางคตอหนวย ในชวงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2554 ที่ผานมา ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท อ อ นค า และอั ต ราการใช ไ ฟฟ า น อ ยกว า ที่ ป ระมาณการไว รวมทั้ ง ราคาน้ ำ มั น เตาและราคาก า ซธรรมชาติ สู ง กว า ที่ ประมาณการไว

11. รายไดสรรพสามิต และฐานะกองทุนน้ำมัน รายไดสรรพสามิต จากน้ำมันสำเร็จรูปในชวง 6 เดือนแรกของป 2554 มีจำนวน 63,401 ลานบาท ฐานะกองทุนน้ำมัน ในชวงตนป 2554 สถานะกองทุนน้ำมันเปนบวกมาตลอด โดยเริ่มมาติดลบในเดือนมิถุนายน 2554 ซึ่งฐานะกองทุนน้ำมันเทากับติดลบ 1,253 ลานบาท

รายไดสรรพสามิต และฐานะกองทุนน้ำมัน ณ สิ้นป 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) มกราคม กุมภาพันธ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน

ภาษีสรรพสามิต 77,021 74,102 76,962 54,083 123,445 153,561 63,401 12,514 14,068 13,536 13,246 4,915 5,122

หนวย : ลานบาท

ฐานะกองทุนน้ำมัน -76,815 -41,411 0 11,069 21,294 27,441 -1,253 25,183 21,684 14,258 1,003 550 -1,253

รายรับ (รายจาย) -26,588 35,404 41,411 11,069 10,225 6,147 -28,694 -2,258 -3,499 -7,426 -13,255 -453 -1,803

www.eppo.go.th • 35


ENERGY LEARNING ZONE

ปโตรเลียม

สถานการณราคาน้ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 1. ราคาน้ำมันดิบ กรกฎาคม 2554 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสตเท็กซัส เฉลี่ยอยูที่ระดับ $109.99 และ $97.26 ตอบารเรล ปรับตัว เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แลว $2.22 และ $1.05 ตอบารเรล ตามลำดับ จากรัฐมนตรีพลังงานของอิรักใหสัญญาณจะไมมี การเพิ่ ม กำลั ง การผลิ ต จากการประกาศว า สถานการณ น้ำมันดิบในปจจุบันมีความสมดุลระหวางความตองการและ อุปทานพรอมกับราคาตลาดที่เหมาะสม (ปจจุบันอิรักผลิตที่ 2.7 ลานบารเรลตอวัน) อีกทั้งเงินดอลลารสหรัฐออนคาลง เมื่ อ เที ย บกั บ เงิ น 16 สกุ ล อื่ น เนื่ อ งจากประธานาธิ บ ดี สหรัฐอเมริกา นายบารัก โอบามา แสดงความกังวลตอ ภาวะเศรษฐกิ จ สหรั ฐ อเมริ ก าและการขยายเพดานหนี้ สงผลใหราคาสินคาโภคภัณฑที่ซื้อขายในเงินสกุลดอลลาร สหรัฐอเมริกาปรับตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เศรษฐกิจยุโรป ยังคงเปราะบาง โดยสถาบันวิจัยการตลาด GfK รายงานดัชนี แนวโน ม ความเชื่ อ มั่น ของผู บ ริโภคเยอรมัน (Consumer Sentiment Index) เดื อ นสิ ง หาคม ลดลง 0.1 จุ ด (M-O-M) มาอยูที่ 5.5 จุด ต่ำสุดตั้งแตเดือนธันวาคม 2553 อยางไรก็ตาม Alaska Oil and Gas Conservation Commission รายงานปริ ม าณการผลิ ต น้ ำ มั น ดิ บ บริ เ วณ North Slope ของอะแลสกา ในเดือนกรกฎาคม 2554 ลดลง รอยละ 30 จากระดับการผลิตปกติ อยูที่ 453,000 บารเรล ตอวัน เนื่องจากการปดซอมบำรุง และคาดวาจะลดลงอีกจาก การปดซอมแซมหนวยผลิตบริเวณแหลง Prudhoe Bay ของ BP หลังจากพบการรั่วไหลเพิ่มเติม

36 • นโยบายพลังงาน

สิงหาคม 2554 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสตเท็กซัส เฉลี่ยอยูที่ระดับ $105.02 และ $86.28 ตอบารเรล ปรับตัว ลดลงจากเดือนที่แลว $4.97 และ $10.98 ตอบารเรล ตามลำดับ จากกระทรวงพาณิชยสหรัฐอเมริกาปรับทบทวน การขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ของป นี้ ที่ ร ะดั บ ร อ ยละ 1 ต อ ป ซึ่ ง ลดลงจากก อ นหน า นี้ ที่คาดการณไวที่รอยละ 1.3 ประกอบกับนาย Ali Tarhouni ผูดูแลกิจการการคลังและพลังงานของกลุมผูตอตานรัฐบาล ลิเบียประกาศลิเบียมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบให กลับมาอยูที่ระดับ 500,000-600,000 บารเรลตอวัน ภายในระยะเวลา 2-3 เดือนขางหนานี้ และกลับมาผลิต เต็มกำลังการผลิตที่ระดับ 1.60 ลานบารเรลตอวัน ภายใน ระยะเวลา 1 ป ขณะที่คณะปฏิวัติในลิเบียเขาควบคุมแหลง ผลิตน้ำมันของประเทศไดทั้งหมด โดยนาย Nouri Balroin เจ า หน า ที่ ร ะดั บ สู ง ของ National Transitional Council กลาววา ลิเบียจะกลับมาสงออกภายใน 3 สัปดาห และ กลับมาสูระดับ 1.6 ลานบารเรลตอวันภายใน 15 เดือน นอกจากนี้ คูเวตแจงลูกคาในเอเชียวาจะสงมอบน้ำมันดิบ แบบเทอมในไตรมาส 4/54 เต็ ม ปริ ม าณตามสั ญ ญา เช น เดี ย วกั บ ในไตรมาส 3/54 ทั้ ง นี้ ปริ ม าณการผลิ ต น้ำมันดิบของคูเวตในเดือนกรกฎาคม 2554 อยูที่ 2.6-2.7 ลานบารเรลตอวัน อีกทั้งปริมาณสงออกน้ำมันดิบของโอเปก ไมรวมแองโกลาและเอกวาดอร ในระยะเวลา 4 สัปดาห ถึงวันที่ 10 กันยายน 2554 เพิ่มขึ้น 30,000 บารเรลตอวัน อยูที่ระดับ 22.69 ลานบารเรลตอวัน


2. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร กรกฎาคม 2554 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซล เฉลี่ยอยูที่ระดับ $126.15 $123.38 และ $128.46 ตอบารเรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แลว $5.82 $5.61 และ $2.51 ตอบารเรล ตามลำดับ จาก อุปสงคน้ำมันเบนซินในอินโดนีเซียอยูในระดับสูง เนื่องจาก เทศกาลรอมฎอน ประกอบกับโรงกลั่น Suncor Energy ของแคนาดา (135,000 บาร เ รลต อ วั น ) อาจลดกำลั ง การผลิตเนื่องจากปญหาเทคนิค ขณะที่ปริมาณนำเขาน้ำมัน เบนซินของปากีสถานมีแนวโนมจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากรัฐบาล กำหนดให เ พิ่ ม ปริ ม าณสำรองน้ ำ มั น เป น 2 สั ป ดาห (ป จ จุ บั น อยู ที่ ร ะดั บ ประมาณ 1 สั ป ดาห ) เพื่ อ ป อ งกั น ภาวะขาดแคลนซึ่งเคยเกิดเมื่อตนเดือนมิถุนายน 2554 นอกจากนี้ Pertamina ของอินโดนีเซียมีแผนเพิ่มปริมาณ การนำเข า น้ ำ มั น ดี เ ซลเดื อ นสิ ง หาคม-กั น ยายน 2554 ที่ระดับ 4.4 ลานบารเรลตอเดือน มากกวาปริมาณนำเขา ปกติ ที่ ร ะดั บ 2.5-3 ล า นบาร เ รล และ International Enterprise Singapore (IES) รายงานปริ ม าณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชยของสิงคโปร สัปดาหสิ้นสุด วั น ที่ 27 กรกฎาคม 2554 ลดลง 1.08 ล า นบาร เ รล (W-O-W) อยู ที่ ร ะดั บ 14.52 ล า นบาร เ รล รวมทั้ ง Arbitrage น้ำมันดีเซลจากเอเชียไปยุโรปและอเมริกาใตเปด

สิงหาคม 2554 ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และน้ำมันดีเซล เฉลี่ยอยูที่ระดับ $122.85 $119.75 และ $122.99 ตอบารเรล ปรับตัวลดลงจากเดือนที่แลว $3.30 $3.63 และ $5.47 ตอบารเรล ตามลำดับ ตามราคา น้ำมันดิบและอุปสงคทางฝงตะวันตกที่ลดลงอาจสงผลให ปริมาณน้ำมันเบนซินจากอินเดียไหลเขาสูเอเชีย กอปรกับ Formosa ของไตหวันกลับมาดำเนินการผลิตและสงออก สงผลใหราคาน้ำมันดีเซลในภูมิภาคปรับตัวลดลง ขณะที่ โรงกลั่นน้ำมันในภูมิภาคเริ่มกลับมาดำเนินการผลิตอีกครั้ง หลั ง การป ด ซ อ มบำรุ ง นอกจากนี้ ทางการจี น รายงาน ความตองการใชน้ำมันดีเซลในเดือนกรกฎาคม 2554 อยูที่ 3.36 ลานบารเรลตอวัน ลดลงรอยละ 0.7 (M-O-M) อยางไรก็ตาม เพิ่มขึ้นรอยละ 7.0 (Y-O-Y) อีกทั้งปริมาณ การสงออกน้ำมันดีเซลของญี่ปุนเพิ่มขึ้นรอยละ 20 มาอยูที่ 1.5 ลานบารเรล ในสัปดาหสิ้นสุด 20 สิงหาคม 2554 รวมทั้ง Petroleum Association of Japan (PAJ) รายงาน ปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลของญี่ปุนสัปดาหสิ้นสุดวันที่ 20 สิ ง หาคม 2554 เพิ่ ม ขึ้ น ร อ ยละ 4.9 (W-O-W) อยู ที่ 14.28 ลานบารเรล ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นรอยละ 1.4 (W-O-W) อยูที่ 5.63 ลานบารเรล และปริมาณสงออก เพิ่มขึ้นรอยละ 20.8 (W-O-W) อยูที่ 155 บารเรล

3. ราคาขายปลีก กรกฎาคม 2554 ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95, 91 แกสโซฮอล 95 E10, แกสโซฮอล 91 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.60 บาทตอลิตร แกสโซฮอล 95 E20 และ E85 เพิ่มขึ้น 1.00 และ 0.80 บาทต อ ลิ ต ร ส ว นดี เ ซลหมุ น เร็ ว ไม มี การปรั บ ราคา ในขณะที่ ก องทุ น น้ ำ มั น เชื้ อ เพลิ ง ปรั บ ลด อัตราเงินสงเขากองทุนน้ำมันของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ลดลง จำนวน 2 ครั้ง โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 แกสโซฮอล 95 E10, E20, E85 แกสโซฮอล 91 และ ดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2554 อยูที่ระดับ 48.44 43.04 38.14 34.14 22.52 35.64 และ 29.99 บาทตอลิตร ตามลำดับ www.eppo.go.th • 37


สิงหาคม 2554 ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95, 91 แกสโซฮอล 95 E10, E20, E85 แกสโซฮอล 91 และ ดีเซลหมุนเร็ว ปรับลดลง 8.52 7.67 2.77 3.30 1.20 3.30 และ 3.00 บาทตอลิตร ตามลำดับ จากคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2554 มีมติเห็นชอบปรับลดอัตราเงินสงเขากองทุนน้ำมัน น้ำมันเบนซิน 95, 91 และดีเซลหมุนเร็ว ลดลง 7.50 6.70 และ 2.80 บาทตอลิตร ตามลำดับ และในวันที่ 30

สิงหาคม 2554 มีมติปรับลดอัตราเงินสงเขากองทุนน้ำมัน แกสโซฮอล 95 แกสโซฮอล 91 และแกสโซฮอล 95 E20 ลดลง 1.00 1.50 และ 1.50 บาทตอลิตร ตามลำดับ โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 แกสโซฮอล 95 E10, E20, E85 แกสโซฮอล 91 และดีเซลหมุนเร็ว ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2554 อยูที่ระดับ 39.92 35.37 35.37 30.84 21.32 32.34 และ 26.99 บาทตอลิตร ตามลำดับ

ราคาเฉลี่ยน้ำมันเชื้อเพลิง 2552 2553 2554 (เฉลี่ย) (เฉลี่ย) (เฉลี่ย) พฤษภาคม น้ำมันดิบ (หนวย : เหรียญสหรัฐ/บารเรล) ดูไบ 61.91 78.10 106.24 108.38 เบรนท 62.05 79.89 111.85 114.25 เวสตเท็กซัส 61.92 79.49 96.69 101.22 น้ำมันสำเร็จรูปตลาดจรสิงคโปร (หนวย : เหรียญสหรัฐ/บารเรล) เบนซินออกเทน 95 70.38 88.40 120.58 124.82 เบนซินออกเทน 92 68.18 86.23 118.07 121.69 ดีเซลหมุนเร็ว 69.13 89.56 124.98 126.61 ราคาขายปลีกของไทย (หนวย : บาท/ลิตร) 2552 2553 2554 (เฉลี่ย) (เฉลี่ย) (เฉลี่ย) 31 พ.ค. เบนซินออกเทน 95 37.97 41.15 46.93 47.84 เบนซินออกเทน 91 31.36 36.08 41.77 42.44 แกสโซฮอล 95 E10 27.52 32.34 37.15 37.54 แกสโซฮอล 91 26.72 30.84 34.65 35.04 แกสโซฮอล 95 E20 25.41 29.95 33.67 34.14 แกสโซฮอล 95 E85 18.99 19.21 21.94 22.22 ดีเซลหมุนเร็ว 24.80 28.68 29.92 29.99 คาการตลาดของผูคาน้ำมัน (หนวย : บาท/ลิตร) 2552 2553 2554 (เฉลี่ย) (เฉลี่ย) (เฉลี่ย) พฤษภาคม เบนซินออกเทน 95 5.55 4.89 5.26 5.50 เบนซินออกเทน 91 1.62 1.50 1.63 1.72 แกสโซฮอล 95 E10 1.58 1.52 1.46 1.62 แกสโซฮอล 91 1.81 1.75 1.64 1.80 แกสโซฮอล 95 E20 2.32 2.62 2.40 2.84 แกสโซฮอล 95 E85 4.77 5.06 7.65 8.84 ดีเซลหมุนเร็ว 1.49 1.51 1.18 1.32 เฉลี่ยรวม 1.65 1.56 1.30 1.44

38 • นโยบายพลังงาน

2554 มิถุนายน กรกฎาคม

สิงหาคม

107.77 114.14 96.21

109.99 117.31 97.26

105.02 110.32 86.28

120.33 117.77 125.95

126.15 123.38 128.46

122.85 119.75 122.99

2554 30 มิ.ย. 31 ก.ค. 46.84 48.44 41.44 43.04 36.54 38.14 34.04 35.64 33.14 34.14 21.72 22.52 29.99 29.99

31 ส.ค. 39.92 35.37 35.37 32.34 30.84 21.32 26.99

2554 มิถุนายน กรกฎาคม 5.67 5.55 1.86 1.75 1.57 1.63 1.78 1.79 2.61 2.80 7.89 8.87 1.26 1.10 1.41 1.29

สิงหาคม 5.55 1.68 1.51 1.70 2.13 9.00 1.28 1.39


ราคาเฉลี่ยน้ำมันเชื้อเพลิง (ตอ) คาการกลั่นของผูคาน้ำมัน (หนวย : บาท/ลิตร) 2552 2553 2554 2554 (เฉลี่ย) (เฉลี่ย) (เฉลี่ย) พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม เฉลี่ยรวม 0.8563 1.1234 1.5886 1.6602 1.5760 1.5505 1.8023 อัตราเงินสงเขากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (หนวย : บาท/ลิตร) 31 มี.ค. 54 30 เม.ย. 54 31 พ.ค. 54 30 มิ.ย. 54 31 ก.ค. 54 31 ส.ค. 54 เบนซินออกเทน 95 7.50 7.50 7.50 7.50 7.50 0.00 เบนซินออกเทน 91 6.70 6.70 6.70 6.70 6.70 0.00 แกสโซฮอล 95 E10 2.40 2.40 2.40 2.40 2.40 1.40 แกสโซฮอล 91 0.10 0.10 0.10 0.10 0.10 -1.40 แกสโซฮอล 95 E20 -1.30 -1.30 -1.30 -1.30 -1.30 -2.80 แกสโซฮอล 95 E85 -13.50 -13.50 -13.50 -13.50 -13.50 -13.50 ดีเซลหมุนเร็ว -5.10 -0.1645 1.80 2.40 1.30 0.00 LPG (บาท/กก.) 1.0314 1.1470 1.2516 1.1893 1.0994 1.2443

โครงสรางราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2554 สโซฮอล เบนซิน 95 เบนซิน 91 แก95 E10 ราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่น 24.1487 23.7613 24.2695 ภาษีสรรพสามิต 7.0000 7.0000 6.3000 ภาษีเทศบาล 0.7000 0.7000 0.6300 กองทุนน้ำมันฯ 0.000 0.0000 1.4000 กองทุนอนุรักษพลังงาน 0.2500 0.2500 0.2500 ภาษีมูลคาเพิ่ม (ขายสง) 2.2469 2.2198 2.2995 รวมขายสง 34.3456 33.9311 35.1489 คาการตลาด 5.2097 1.3448 0.2066 ภาษีมูลคาเพิ่ม (ขายปลีก) 0.3647 0.0941 0.0145 รวมขายปลีก 39.92 35.37 35.37

แกสโซฮอล 91 24.0915 6.3000 0.6300 -1.4000 0.2500 2.0910 31.9625 0.3528 0.0247 32.34

แกสโซฮอล 95 E20 24.3068 5.6000 0.5600 -2.8000 0.2500 1.9542 29.8710 0.9056 0.0634 30.84

หนวย : บาท/ลิตร

แกสโซฮอล 95 E85 23.7248 1.0500 0.1050 -13.5000 0.2500 0.8141 12.4439 8.2954 0.5807 21.32

ดีเซล หมุ น เร็ ว 24.2196 0.0050 0.0005 0.0000 0.2500 1.7133 26.1883 0.7492 0.0524 26.99

www.eppo.go.th • 39


4. สถานการณ ก า ซป โ ตรเลี ย มเหลว (LPG) กรกฎาคม 2554 ราคาก า ซ LPG ในตลาดโลก ปรับตัวลดลง 52 เหรียญสหรัฐตอตัน มาอยูที่ระดับ 831 เหรียญสหรัฐตอตัน ตามราคาน้ำมันดิบและแนฟทา รวมทั้ง ซาอุดิอารัมโกกำหนดราคาโพรเพนเดือนกรกฎาคมอยูที่ 855 เหรียญสหรัฐตอตัน ลดลง 70 เหรียญสหรัฐตอตัน จากเดือนมิถุนายน 2554 และบริษัท Bharat Petroleum Corp. Ltd ของอิ น เดี ย ยกเลิ ก สั่ ง ซื้ อ ก า ซ LPG จำนวน 100,000 ตัน ของเดือนกรกฎาคม 2554 นอกจากนั้น ไทยมีนโยบายปรับขึ้นราคา LPG ภาคอุตสาหกรรมในเดือน กรกฎาคม 2554 โดยปรับเพิ่มราคาขายปลีกไตรมาสละ 1 ครั้ง จำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 3 บาทตอกิโลกรัม สิงหาคม 2554 ราคากาซ LPG ในตลาดโลก ปรับตัว เพิ่มขึ้น 20 เหรียญสหรัฐตอตัน มาอยูที่ระดับ 855 เหรียญ สหรัฐตอตัน จากซาอุดิอารัมโกกำหนดราคาโพรเพนและ บิวเทนเดือนสิงหาคมอยูที่ 835 และ 855 เหรียญสหรัฐ ตอตัน ตามลำดับ รวมทั้งบริษัท Sonatrach ของแอลจีเรีย กำหนดโพรเพนอยูที่ 880 เหรียญสหรัฐตอตัน เพิ่มขึ้น 60 เหรี ย ญสหรั ฐ ต อ ตั น นอกจากนั้ น Vietnam’s Saigon มีความตองการ Pressurized LPG 2,700 ตัน สงมอบวันที่ 26-28 สิ ง หาคม 2554 และ Costa Rica’s Recope มีความตองการจัดหา LPG ระยะยาว 1.45 ลานบารเรล ส ง มอบเดื อ นกั น ยายน 2554-สิ ง หาคม 2555 2.95 ล า นบาร เ รล ส ง มอบเดื อ นกั น ยายน 2555-สิ ง หาคม 2556 และ 4.5 ล า นบาร เ รล ส ง มอบเดื อ นกั น ยายน 2556-สิงหาคม 2557 สถานการณราคา LPG ในประเทศ รัฐไดกำหนด ราคากาซ LPG ณ โรงกลั่น ที่ระดับ 10.0550 บาทตอ กิ โ ลกรั ม และกำหนดราคาขายส ง ณ คลั ง ที่ ร ะดั บ 13.6863 บาทต อ กิ โ ลกรั ม ส ง ผลให ร าคาขายปลี ก ณ กรุงเทพฯ อยูที่ระดับ 18.13 บาทตอกิโลกรัม สถานการณการนำเขากาซ LPG ตั้งแตเดือนเมษายน 2551-สิ ง หาคม 2554 ได มี ก ารนำเข า รวมทั้ ง สิ้ น 3,771,011 ตัน คิดเปนภาระชดเชย 55,440 ลานบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

40 • นโยบายพลังงาน

ภาระเงินชดเชยการนำเขากาซ LPG เดือนเมษายน 2551-สิงหาคม 2554 ปริมาณนำเขา อัตราเงินชดเชย เงินชดเชย เดือน (ตัน) (บาท/กิโลกรัม) (ลานบาท) รวม ป 51 446,414 17.80 7,948 รวม ป 52 745,302 9.25 6,896 ม.ค. 53 110,156 14.75 1,625 ก.พ. 53 111,838 14.36 1,606 มี.ค. 53 126,219 14.39 1,816 เม.ย. 53 125,912 14.28 1,798 พ.ค. 53 177,118 14.03 2,486 มิ.ย. 53 129,878 12.65 1,643 ก.ค. 53 90,925 10.15 923 ส.ค. 53 136,360 9.85 1,343 ก.ย. 53 135,680 11.48 1,558 ต.ค. 53 149,124 13.25 1,976 พ.ย. 53 143,426 16.94 2,429 ธ.ค. 53 156,499 19.55 3,059 รวม ป 53 1,593,135 13.97 22,262 ม.ค. 54 114,085 19.52 2,227 ก.พ. 54 113,744 16.45 1,871 มี.ค. 54 90,906 18.26 1,660 เม.ย. 54 74,348 19.36 1,439 พ.ค. 54 115,579 21.71 2,509 มิ.ย. 54 171,079 19.15 3,276 ก.ค. 54 146,800 17.13 2,515 ส.ค. 54 159,619 17.78 2,838 รวม ป 54 986,160 18.59 18,334 รวมทั้งสิ้น 3,771,011 14.70 55,440 ประมาณการภาระเงินชดเชยกาซ LPG ของโรงกลั่นน้ำมัน เดือนมกราคม-สิงหาคม 2554 ปริมาณผลิต เดือน เพื่อเปนเชื้อเพลิง อัตราเงินชดเชย เงินชดเชย (บาท/กิโลกรัม) (ลานบาท) (ตัน) 14-31 ม.ค. 54 36,656 ก.พ. 54 66,125 มี.ค. 54 72,039 เม.ย. 54 79,623 พ.ค. 54 83,226 มิ.ย. 54 82,878 ก.ค. 54 78,535 ส.ค. 54* 81,947 รวม ป 54 581,029

16.18 11.28 11.80 12.71 14.51 12.70 11.60 11.99 12.66

593 746 850 1,012 1,207 1,053 911 983 7,355


5. สถานการณเอทานอลและไบโอดีเซล 5.1 การผลิตเอทานอล ผูประกอบการผลิตเอทานอล จำนวน 19 ราย กำลังการผลิตรวม 2.93 ลานลิตรตอวัน แต มี ร ายงานการผลิ ต เอทานอลเพื่ อ ใช เ ป น เชื้ อ เพลิ ง เพี ย ง 15 ราย มีปริมาณการผลิตประมาณ 1.46 ลานลิตรตอวัน โดยราคาเอทานอลแปลงสภาพเดือนกรกฎาคม 2554 อยูที่ 24.28 บาทตอลิตร และเดือนสิงหาคม 2554 อยูที่ 23.65 บาทตอลิตร

5.2 การผลิตไบโอดีเซล ผูผลิตไบโอดีเซลที่ไดคุณภาพ ตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน จำนวน 12 ราย โดยมี กำลั ง การผลิ ต รวม 1.52 ล า นลิ ต รต อ วั น การผลิ ต อยู ที่ ประมาณ 2.54 ลานลิตรตอวัน ราคาไบโอดีเซลในประเทศ เฉลี่ยเดือนกรกฎาคม 2554 อยูที่ 32.90 บาทตอลิตร และเดือนสิงหาคม 2554 อยูที่ 34.18 บาทตอลิตร

6. ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2554 มีเงินสดในบัญชี 16,805 ลานบาท มีหนี้สินกองทุน 15,488 ลานบาท แยกเปนหนี้อยูระหวางการเบิกจายชดเชย 15,309 ลานบาท และงบบริหารและโครงการซึ่งไดอนุมัติแลว 179 ลานบาท ฐานะกองทุนน้ำมันสุทธิ 1,317 ลานบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2554) เงินสดในบัญชี • เงินฝาก ธ.ออมสิน (สลากออมสิน (อายุ 5 ป) ตามมติ กบง.) • เงินฝาก ธ.ก.ส. (โครงการสงเสริมการปลูกปาลม (อายุ 10 ป)) • เงินคงเหลือในบัญชี หนี้สินกองทุน • หนี้อยูระหวางการเบิกจายเงินชดเชย หนี้ชดเชยกาซ LPG (คาขนสงกาซในประเทศ) หนี้ชดเชยกาซ LPG กรณีนำเขาจากตางประเทศ ป 2554 (ปตท.) (ชดเชย ม.ค.-31 ส.ค. 54) หนี้ชดเชยการตรึงราคากาซ NGV (มติ กบง. 2/53 ชดเชย มี.ค.-ส.ค. 53)* หนี้ชดเชยการตรึงราคากาซ NGV (มติ กบง. 4/53 ชดเชย ก.ย. 53-ก.พ. 54)** หนี้ชดเชยการตรึงราคากาซ NGV (มติ กบง. 8/54 ชดเชย มี.ค. 54-มิ.ย. 54)** หนี้ชดเชยการตรึงราคากาซ NGV (มติ กพช. 3/54 ชดเชย ก.ค. 54-ก.ย. 54)*** หนี้เงินชดเชยน้ำมันดีเซล และแกสโซฮอล หนี้เงินชดเชยการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐานยูโร 4 หนี้เงินชดเชยกาซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมัน (มติ กบง. 2/54 ชดเชย 14 ม.ค. 54) หนี้เงินชดเชยสวนลดราคากาซธรรมชาติโรงไฟฟาขนอม • งบบริหารและโครงการซึ่งไดอนุมัติแลว ฐานะกองทุนน้ำมันฯ

หนวย : ลานบาท 16,805 5,000 500 11,305 -15,488 -15,309 -208 -6,097 -381 -2,069 -1,580 -809 -1,242 -499 -2,091 -335 -179 1,317

หมายเหตุ : ยังไมรวมหนี้เงินชดเชยคาปรับเปลี่ยนเครื่องยนตรถแท็กซี่ (มติ กพช. 4/52) ประมาณ 130 ลานบาท * ชดเชยไมเกิน 300 ลานบาทตอเดือน ** ชดเชยตามปริมาณของกรมธุรกิจพลังงาน โดยชดเชยกิโลกรัมละ 2 บาท *** ชดเชยตามปริมาณของกรมธุรกิจพลังงานในเดือนกรกฎาคม 2554 และการประมาณการของ สนพ. (วันที่ 1-31 สิงหาคม 2554) โดยชดเชยกิโลกรัมละ 2 บาท ที่มา : สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องคการมหาชน)

www.eppo.go.th • 41


ENERGY LEARNING ZONE

ไฟฟา

ระบบโครงขายไฟฟาอัจฉริยะ (Smart Grid) มี แ นวคิ ด โดยมุ ง เน น ให ภ าคการผลิ ต อยู ใ กล กั บ ผู บ ริ โ ภค มากขึ้ น และการพั ฒ นาระบบไฟฟ า รู ป แบบใหม นี้ เ ป น การเปดชองทางใหผูบริโภคมีสวนรวมในการผลิตไฟฟาดวย การสร า งแหล ง ผลิ ต ไฟฟ า ขนาดเล็ ก ของตนเอง อาทิ แผงโซลารบนหลังคาบาน หรือแมกระทั่งการติดตั้งกังหันลม ผลิตไฟฟาขนาดเล็ก โดยมุงเนนใหพลังงานไฟฟาที่ผลิตขึ้น มาไดนั้นสามารถนำมาใชในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน และ พลังงานไฟฟาสวนที่เหลือจากการบริโภค ผูบริโภคสามารถ ขายคื น สู ร ะบบส ง จ า ยไฟฟ า หลั ก ได ซึ่ ง จะช ว ยลดภาระ การผลิตไฟฟาของหนวยงานหลักอยางการไฟฟาฝายผลิต แหงประเทศไทย และเปนการกระจายแหลงพลังงานเพื่อ ลดความสู ญ เสี ย ในระบบส ง ไฟฟ า อี ก ทั้ ง ยั ง ช ว ยรั ก ษา สิ่งแวดลอมโดยลดกำลังการผลิตไฟฟาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

ระบบไฟฟาในปจจุบันเปนการสงจายกำลังไฟฟาแบบ ทิศทางเดียวจากผูผลิตมายังผูบริโภคโดยผานสายสงระยะไกล ก อ ให เ กิ ด ความสู ญ เสี ย ในระบบไฟฟ า เป น อย า งมาก ประกอบกับความตื่นตัวทั่วโลกในเรื่องของสภาวะโลกรอน อันเปนผลมาจากการปลดปลอยกาซเรือนกระจกในปริมาณ มากจากการผลิตไฟฟาของโรงไฟฟาที่ใชเชื้อเพลิงฟอสซิล ดวยเหตุนี้จึงทำใหมีการผลักดันใหมีงานวิจัยและการลงทุน ในโครงการผลิตไฟฟารูปแบบใหมซึ่งเปนพลังงานที่สะอาด เพื่ อ ลดปริ ม าณการปลดปล อ ยก า ซเรื อ นกระจก รวมทั้ ง ลดความสูญเสียในการสงพลังงานไฟฟาจากระยะไกลทำให มีระบบไฟฟารูปแบบใหมเกิดขึ้น ระบบไฟฟารูปแบบใหมนี้

42 • นโยบายพลังงาน

นอกจากที่ไดกลาวมาขางตนแลว ระบบไฟฟารูปแบบ ใหม นี้ น ำมาซึ่ ง การเปลี่ ย นแปลงแนวคิ ด ในการส ง จ า ย พลังงานไฟฟาที่เปลี่ยนไปจากเดิมเปนอยางมาก จากการสง จ า ยพลั ง งานไฟฟ า แบบทิ ศ ทางเดี ย ว เป น การส ง จ า ย พลั ง งานไฟฟ า แบบสองทิ ศ ทาง โดยอาศั ย เทคโนโลยี สารสนเทศเขามาชวยในการสื่อสารและบริหารจัดการ เพื่อ ใหผูบริโภคเขาถึงขอมูลการบริโภคพลังงานของผูบริโภค ณ ชวงเวลานั้น และบริหารจัดการการใชพลังงานที่ตอบสนอง ความตองการของผูบริโภคใหเกิดประโยชนสูงสุดทั้งในดาน ความพอใจในการบริโภคพลังงานไฟฟา และจำนวนเงิน ที่ ต อ งสู ญ เสี ย ไปในการบริ โ ภคพลั ง งานไฟฟ า รวมไปถึ ง จำนวนเงินและปริมาณพลังงานไฟฟาที่ผูบริโภคสามารถ ประหยั ด ได ห ากมี ก ารปรั บ เปลี่ ย นพฤติ ก รรมการบริ โ ภค ทั้งนี้การรับทราบขอมูลการบริโภคไฟฟาดังกลาวอาจสงผล


ความหมายโดยรวมของระบบดั ง กล า วที่ เ ข า ใจกั น อย า ง กว า งขวางในป จ จุ บั น นี้ ระบบโครงข า ยไฟฟ า อั จ ฉริ ย ะ (Smart Grid) จะหมายถึ ง ระบบโครงข า ยไฟฟ า ที่ ใ ช เทคโนโลยี ส ารสนเทศและสื่ อ สารมาบริ ห ารจั ด การ ดานการควบคุมการผลิต การสงจายพลังงานไฟฟา ทำให สามารถรองรับการเชื่อมตอระบบไฟฟาจากแหลงพลังงาน ทางเลือกที่สะอาด หรือระบบแหลงผลิตไฟฟากระจายตัว (Distributed Generation : DG) และระบบบริหารการใช สินทรัพยใหเกิดประโยชนสูงสุด รวมทั้งใหบริการแกผูเชื่อมตอ อยางไรก็ตาม หากจะกลาวถึงนิยามหรือความหมาย กั บ โครงข า ยผ า นมิ เ ตอร อั จ ฉริ ย ะได อ ย า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ที่แทจริงของระบบโครงขายไฟฟาอัจฉริยะแลว ปจจุบันยังไม มี ค วามมั่ น คง และเชื่ อ ถื อ ได รวมทั้ ง มี คุ ณ ภาพไฟฟ า ได ไดมีการบัญญัติคำนิยามออกมาอยางเปนทางการ แตนิยาม มาตรฐานสากล

ใหพฤติกรรมการบริโภคพลังงานไฟฟาเปลี่ยนแปลงไป และ เปนการกระตุนใหผูบริโภคเกิดจิตสำนึกในการใชพลังงาน ไฟฟาใหเกิดประโยชนสูงสุด ดังนั้น การที่จะทำใหระบบ ไฟฟาแบบใหมมีประสิทธิภาพ มีความเสถียร มีความมั่นคง และมีความสมดุลระหวางภาคการผลิตและภาคการบริโภค จึงทำใหมีการคิดคนเทคโนโลยีใหมขึ้นมาที่เรียกกันตอมาวา สมาร ท กริ ด (Smart Grid) หรื อ ระบบโครงข า ยไฟฟ า อัจฉริยะ

Centralized Power System

Smart Grid / Modern Grid

www.eppo.go.th • 43


จากนิยามของระบบโครงขายไฟฟาอัจฉริยะดังที่ไดกลาวขางตนแลวนั้น จะสามารถเปรียบเทียบใหเห็นถึงความแตกตาง ระหวางระบบโครงขายไฟฟาแบบดั้งเดิมที่ใชกันอยูในปจจุบันกับระบบโครงขายไฟฟาอัจฉริยะ ซึ่งเปนเปาหมายการพัฒนา ในลำดับตอไป ดังนี้ ขอเปรียบเทียบ

ระบบโครงขายไฟฟาดั้งเดิม

ระบบโครงขายไฟฟาอัจฉริยะ

1. ทิศทางการไหลของพลังงาน ทิ ศ ทางการไหลของพลั ง งานไฟฟ า เป น ไป ทิ ศ ทางการไหลของพลั ง งานไฟฟ า มี ส อง ในทิ ศ ทางเดี ย ว จากแหล ง ผลิ ต ไปถึ ง ทิ ศ ทาง โดยผู บ ริ โ ภคสามารถทำการผลิ ต ไฟฟา ผูบริโภค ไฟฟาเอง และจายกลับเขาระบบไฟฟาหลักได 2. การติ ด ต อ สื่ อ สารระหว า ง การติ ด ต อ สื่ อ สารและส ง ผ า นข อ มู ล มี อุ ป กรณ ต า ง ๆ ในระบบ ข อ จำกั ด โดยมี เ พี ย งแค ก ารส ง ผ า นข อ มู ล โครงขายไฟฟา ระหวางผูผลิตและผูจำหนายไฟฟาเปนหลัก และมีความถี่ในการสงผานขอมูลนอย

ผูบริโภคจะมีสวนรวมในการติดตอสื่อสารผาน มิเตอรไฟฟาอัจฉริยะ (Smart Meter) ทำให การสงผานขอมูลเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

3. ความสามารถในการรองรับ ก า ร ผ ลิ ต ไ ฟ ฟ า จ า ก เทคโนโลยีที่มาจากพลังงาน สะอาด

การบริ ห ารจั ด การเสถี ย รภาพของระบบ โครงขายไฟฟาเมื่อมีระบบการผลิตไฟฟาจาก เทคโนโลยีสะอาดเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีระบบการสงผานขอมูลที่ดี ทำให การจั ด การเป น ไปได อ ย า งรวดเร็ ว และมี ประสิทธิภาพ

การเชื่ อ มต อ ระบบการผลิ ต ไฟฟ า จาก เทคโนโลยี ส ะอาดเข า กั บ ระบบโครงข า ย ไฟฟาหลัก จะทำใหเสถียรภาพของระบบ ไฟฟาหลักโดยรวมลดลง เนื่องจากการสง ผานขอมูลที่ดอยประสิทธิภาพกวา สูญเสีย เวลาในการดำเนิ น การตั ด สิ น ใจแก ไ ข สถานการณ

4. ประสิ ท ธิ ภ าพในการรั ก ษา การควบคุมเสถียรภาพของระบบไฟฟาดอย การควบคุมเสถียรภาพของระบบไฟฟาเปนไป ค ว บ คุ ม เ ส ถี ย ร ภ า พ ข อ ง ประสิทธิภาพกวา และใชเวลาในการแกไข อย า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เนื่ อ งจากการส ง ผ า น ระบบโครงขายไฟฟา ขอบกพรองที่เกิดขึ้นคอนขางนาน ข อ มู ล ร ะ ห ว า ง อุ ป ก ร ณ เ ป น ไ ป อ ย า ง มี ประสิทธิภาพ ทำใหการตรวจจับและเขาถึง จุดบกพรองเปนไปอยางรวดเร็ว 5. ประสิทธิภาพในการบริหาร การบริหารจัดการดานพลังงานเปนไปอยาง การมี ร ะบบส ง ผ า นและจั ด เก็ บ ข อ มู ล ที่ ดี จัดการดานพลังงานไฟฟา ไมแนนอน เนื่องจากตองพึ่งพาขอมูลจาก ระหวางทุกภาคสวน ทำใหมีขอมูลที่ใกลเคียง การดำเนินการที่ผานมาในการวางแผน กั บ ความเป น จริ ง และสามารถนำมาใช ใ น การวางแผนและการตัดสินใจในการดำเนินงาน ได ดี ขึ้ น ส ง ผลให ก ารบริ ก ารจั ด การด า น พลังงานไฟฟามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ประเทศไทยโดยหนวยงานที่มีความเกี่ยวของกับ อุตสาหกรรมไฟฟาก็ไดตระหนักถึงปญหาตาง ๆ ที่เกิดขึ้น กับสถานการณดานพลังงาน ซึ่งสงผลกระทบตอการวางแผน การดำเนินงาน รวมทั้งเสถียรภาพของระบบโครงขายไฟฟา ทำใหมีการพิจารณาดำเนินการพัฒนาระบบโครงขายไฟฟา ที่ มี อ ยู เ ดิ ม ไปสู ร ะบบโครงข า ยไฟฟ า อั จ ฉริ ย ะ โดยมี แ รง ขับเคลื่อนที่สำคัญ ดังนี้ 1. การสงเสริมการใชพลังงานหมุนเวียน และขอจำกัด ดานการจัดหาเชื้อเพลิงเชิงพาณิชยในอนาคต 2. ความจำเปนในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช พลังงานเพื่อลดตนทุนในภาคการผลิต 3. กระแสโลกที่ปรับเปลี่ยนไปสู Low Carbon Economy 4. การพัฒนาระบบไฟฟาของไทยเพื่อความมั่นคงและ รองรับความตองการใชพลังงานที่เพิ่มขึ้น

44 • นโยบายพลังงาน

5. การวางโครงสรางพื้นฐานเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยน ไปใชรถไฟฟาในอนาคต นอกจากการที่หนวยงานที่เกี่ยวของจะตองเปนผูนำ หลั ก ในการปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นาระบบโครงข า ยไฟฟ า อั จ ฉริ ย ะแล ว ก็ ยั ง จะต อ งมี ห น า ที่ ใ นการเผยแพร ค วามรู ความเข า ใจ ในเรื่ อ งของเทคโนโลยี ดั ง กล า วให แ ก ภ าค ประชาชนอี ก ด ว ย เพื่ อ เป น การส ง เสริ ม ให ป ระชาชน ตระหนั ก ถึ ง ป ญ หาทางด า นพลั ง งานที่ เ กิ ด ขึ้ น ในป จ จุ บั น และยังเปนการสรางความรู ความเขาใจ ที่ดีตอการพัฒนา ดั ง กล า วแก ป ระชาชน เพราะการพั ฒ นาระบบโครงข า ย ไฟฟาอัจฉริยะไมไดกอใหเกิดผลประโยชนแกกลุมบุคคล กลุมใดกลุมหนึ่งเทานั้น แตจะสงผลประโยชนตอประชาชน ชาวไทยทั้งประเทศดวยกัน


ENERGY LEARNING ZONE

ไฟฟา

การซักซอมแผนเตรียมความพรอม รองรับสภาวะวิกฤติดานพลังงานไฟฟา ประจำป 2554 กระทรวงพลังงาน ไดมีนโยบายในการพัฒนาพลังงาน ของประเทศไทยให มี ค วามมั่ น คงด า นพลั ง งาน โดยให มี การจัดหาพลังงานใหเพียงพอ มีเสถียรภาพ และการมีแผน เตรียมพรอมรองรับสภาวะวิกฤติการณดานพลังงาน โดย มอบหมายใหสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ดำเนิ น การจั ด ทำแผนรองรั บ สภาวะวิ ก ฤติ ด า นพลั ง งาน ไฟฟา ทั้งนี้เพื่อเปนการเตรียมความพรอมในการรองรับ วิกฤติดานพลังงานไฟฟาของประเทศไทยในอนาคต เพื่อให การจัดทำแผนรองรับสภาวะวิกฤติดานพลังงานไฟฟาของ ประเทศไทยเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ และสามารถบรรลุ เป า หมายตามที่ ก ระทรวงพลั ง งานกำหนด สนพ. จึ ง ได แต ง ตั้ ง คณะทำงานจั ด ทำแผนรองรั บ สภาวะวิ ก ฤติ ด า น พลั ง งานไฟฟ า ประกอบด ว ย ผู แ ทนจากสำนั ก งาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) การไฟฟา ทั้ง 3 แหง นักวิชาการผูทรงคุณวุฒิในสาขาพลังงานไฟฟา และ สนพ. เพื่ อ ทำหน า ที่ ร วบรวม ศึ ก ษา วิ เ คราะห เสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการพลังงานของประเทศ ในสภาวะวิกฤติดานพลังงานไฟฟา และจัดทำแผนรองรับ สภาวะวิ ก ฤติ ด า นพลั ง งานไฟฟ า รวมทั้ ง ร ว มกั น ซั ก ซ อ ม

แผนรองรับสภาวะวิกฤติดานพลังงานไฟฟา และเสนอแนะ แนวทางเพื่อปรับปรุงแผนรองรับสภาวะวิกฤติดานพลังงาน ไฟฟาใหสอดคลองกับสถานการณปจจุบัน การซั ก ซ อ มแผนเตรี ย มความพร อ มรองรั บ สภาวะ วิกฤติดานพลังงานไฟฟา ประจำป 2554 มีวัตถุประสงค เพื่ อ ให ค ณะทำงานจั ด ทำแผนรองรั บ สภาวะวิ ก ฤติ ด า น พลั ง งานไฟฟ า และเจ า หน า ที่ ที่ เ กี่ ย วข อ งได มี ค วามรู ใ น หลั ก การ วิ ธี ก ารและขั้ น ตอนการปฏิ บั ติ ต ามแผนรองรั บ สภาวะวิกฤติดานพลังงานไฟฟา และเพื่อเตรียมความพรอม กรณีเกิดสภาวะวิกฤติดานพลังงานไฟฟา โดยดำเนินการ ซั ก ซ อ มการดำเนิ น งานภายใต ห ลั ก การตามแผนรองรั บ สภาวะวิกฤติดานพลังงานไฟฟา เพื่อใหคณะทำงานจัดทำ แผนรองรับสภาวะวิกฤติดานพลังงานไฟฟา และเจาหนาที่ ที่เกี่ยวของไดทราบและเขาใจบทบาท หนาที่ ในการดำเนินงาน ตลอดจนเกิ ด ความคล อ งตั ว ในการดำเนิ น งานเมื่ อ เกิ ด สถานการณสภาวะวิกฤติดานพลังงานไฟฟา รวมถึงเปน แนวทางเพื่อนำไปปรับปรุงการดำเนินงานใหมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น

การซั ก ซ อ มแผนเตรี ย มความพร อ ม รองรับสภาวะวิกฤติดานพลังงานไฟฟา ภายใตสถานการณสมมติ การซอมแผนดังกลาว เริ่มจากการประชุมรวมกันของ คณะทำงานจั ด ทำแผนรองรั บ สภาวะวิ ก ฤติ ด า นพลั ง งาน ไฟฟา จากนั้นหนวยงานที่เกี่ยวของแยกยายไปประจำตาม หองตาง ๆ เพื่อปฏิบัติการตามแผน โดยจำลองสถานการณ เหมื อ นจริ ง โดยใช ห อ งประชุ ม ของคณะทำงานจั ด ทำแผน รองรับสภาวะวิกฤติดานพลังงานไฟฟา เปนหองประชุมและ www.eppo.go.th • 45


สั่งการ (War Room) โดยมี ผูอำนวยการสำนักงานนโยบาย และแผนพลั ง งาน เป น ประธานคณะทำงานเพื่ อ เตรี ย ม ความพร อ มรองรั บ สภาวะวิ ก ฤติ ด า นพลั ง งานไฟฟ า มี นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ผูอำนวยการสำนักนโยบายไฟฟา และนายพรชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ รองเลขาธิการสำนักงาน คณะกรรมการกำกั บ กิ จ การพลั ง งาน ร ว มให ค ำปรึ ก ษา ในการซ อ มแผนเตรี ย มความพร อ มรองรั บ สภาวะวิ ก ฤติ ดานพลังงานไฟฟา การซั ก ซ อ มแผนเตรี ย มความพร อ มรองรั บ สภาวะ วิ ก ฤติ ด า นพลั ง งานไฟฟ า ได มี ก ารสมมติ เ หตุ ก ารณ ใ น วั น อั ง คารที่ 5 เมษายน 2554 ว า การไฟฟ า ฝ า ยผลิ ต แห ง ประเทศไทย (กฟผ.) จำเป น ต อ งมี ก ารดั บ ไฟฟ า ประมาณ 1,400 MW โดยแบงเปนการไฟฟานครหลวง (กฟน.) 700 MW และการไฟฟ า ส ว นภู มิ ภ าค (กฟภ.) 700 MW เนื่องจากเกิดการรั่วของกาซธรรมชาติ (กาซฯ) ที่ Common Header ที่จังหวัดระยอง ทำใหกาซฯ หายไป 600 MMsfcd คิ ด เป น กำลั ง ผลิ ต ประมาณ 3,500 MW หลังจากที่ กฟผ. บริหารจัดการกำลังการผลิตอื่นทดแทนแลว ทำใหตองขอดับไฟฟาปริมาณ 1,400 MW กฟน. และ กฟภ. ตองไปบริหารจัดการเพื่อดับไฟฟา ตามแผนที่กำหนดไว ทั้งนี้คณะทำงานเพื่อเตรียมความพรอม รองรั บ สภาวะวิ ก ฤตด า นพลั ง งานไฟฟ า ได ก ำหนดให เ กิ ด อุบัติการณซ้ำซอนทำใหเกิดไฟฟาดับดังนี้

เซเสดและเขื่อนฮวยเฮาะไมสามารถเดินเครื่องไดเนื่องจาก ระดับน้ำต่ำ และโรงไฟฟาเขื่อนปากมูลไมสามารถเดินเครื่อง ไดตองทำการ Black start เขื่อนสิรินธรจายโหลดประมาณ 36 เมกะวัตต บริเวณดังกลาว

กฟน. และ กฟภ. ตองทำการยายโหลดและหมุนเวียน 1. เขตความรับผิดชอบของ กฟน. : สภาพระบบ ส ง มี ก ารปลดสายส ง รั ช ดาภิ เ ษก-บางกะป เพื่ อ แก ไ ข ดับไฟฟาจนกวาจะแกไขสถานการณได และเมื่อสถานการณ เข า สู ส ภาวะปกติ ทั้ ง 3 การไฟฟ า ได ร ายงานการแก ไ ข Jumper loop หลุดจาก Sleeve สถานการณ ใ ห ป ระธานทราบ ภายหลั ง การซั ก ซ อ มแผน 2. เขตความรับผิดชอบของ กฟภ. : สภาพระบบ เตรียมความพรอมรองรับสภาวะวิกฤติดานพลังงานไฟฟา ส ง มี ก ารปลดสายส ง ยโสธร-อุ บ ลราชธานี เพื่ อ เปลี่ ย น คณะทำงานจั ด ทำแผนรองรั บ สภาวะวิ ก ฤติ ด า นพลั ง งาน ลูกถวยและเปลี่ยน PT Line ที่สถานีไฟฟาแรงสูงยโสธร และ ไฟฟาไดประชุมรวมกันเพื่อสรุปปญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น สายสงยโสธร-ศรีสะเกษ Trip สาเหตุรถเครนกอสรางลม โดยมีประเด็นปญหา อาทิ การกำหนดผูมีอำนาจสั่งการเปด พาดสายสงเสียหาย บริเวณถนนวงแหวน จังหวัดศรีสะเกษ War Room ตามระดับความรุนแรงของปญหา การกำหนด ทำใหเสาลม 3 ตน คาดวาแกไขประมาณ 5 วัน และสายสง สัดสวนที่เหมาะสมในการดับไฟและอำนาจในการดับไฟของ อำนาจเจริญ-อุบลราชธานี Trip ขาด คาดวาใชเวลาแกไข การไฟฟาฝายจำหนาย การจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ ประมาณ 1 ชั่วโมง ทำใหบริเวณศรีสะเกษ กันทรลักษณ ในกรณีมีความจำเปนตองดับไฟของการไฟฟาฝายจำหนาย อุบลราชธานี 1 อุบลราชธานี 2 และเขื่อนสิรินธร ไฟฟาดับ ซึ่งคณะทำงานจัดทำแผนรองรับสภาวะวิกฤติดานพลังงาน ทั้งหมด 295 MW และขณะชวงเวลาดังกลาวโรงไฟฟาปากมูล ไฟฟาจะนำประเด็นปญหาที่เกิดขึ้นไปปรับปรุงแผนรองรับ โรงไฟฟาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เขื่อน สภาวะวิกฤติดานพลังงานไฟฟาใหมีความสมบูรณยิ่งขึ้นตอไป

46 • นโยบายพลังงาน


ENERGY LEARNING ZONE

ไฟฟา

นโยบายการกำหนด

โครงสรางอัตราคาไฟฟา

ของประเทศไทยป 2554-2558

1. ความเปนมา คณะกรรมการนโยบายพลั ง งานแห ง ชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2548 ไดเห็นชอบ ขอเสนอโครงสรางอัตราคาไฟฟาขายสง โครงสรางอัตรา คาไฟฟาขายปลีก สูตรการปรับอัตราคาไฟฟาโดยอัตโนมัติ การชดเชยรายไดระหวางการไฟฟา และแนวทางการกำกับ การดำเนินงานตามแผนการลงทุนของการไฟฟา โดยใหมี ผลบั ง คั บ ใช ตั้ ง แต เ ดื อ นตุ ล าคม 2548 เป น ต น มา ทั้ ง นี้ หลั ก เกณฑ ท างการเงิ น ที่ ใ ช ใ นการพิ จ ารณากำหนด โครงสรางอัตราคาไฟฟาที่ใชนั้น เปนขอเสนอหลักเกณฑ ทางการเงิ น ที่ ใ ช ส ำหรั บ การพิ จ ารณากำหนดโครงสร า ง อั ต ราค า ไฟฟ า ในป 2549-2551 ดั ง นั้ น จึ ง ควรมี การทบทวนอั ต ราค า ไฟฟ า ใหม ใ ห ส อดคล อ งกั บ ภาวะ เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

2. นโยบายโครงสร า งอั ต ราค า ไฟฟ า ของประเทศไทยป 2554-2558 2.1 วัตถุประสงค เพื่ อ กำหนดโครงสร า งอั ต ราค า ไฟฟ า ของ ประเทศไทยให ส ะท อ นถึ ง ต น ทุ น ในการจั ด หาไฟฟ า ที่ เหมาะสมและเปนธรรม สงเสริมใหมีการใชไฟฟาที่สะทอน ถึงตนทุนคาไฟฟาที่แตกตางกันตามชวงเวลาในแตละวัน ตลอดจนส ง เสริ ม ให มี ก ารใช ไ ฟฟ า อย า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เหมาะสมกั บ ภาวะเศรษฐกิ จ และสั ง คม โดยคำนึ ง ถึ ง การดูแลผูใชไฟฟาบานอยูอาศัยที่มีรายไดนอย 2.2 หลักการทั่วไป

2.2.1 อัตราคาไฟฟาตองมีความเหมาะสมกับ กพช.ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ 2554 ลั ก ษณะโครงสร า งเศรษฐกิ จ และสั ง คม โดยเป น อั ต รา ไดเห็นชอบนโยบายการกำหนดโครงสรางอัตราคาไฟฟา คาไฟฟาที่สะทอนถึงตนทุนทางเศรษฐศาสตรมากที่สุด เพื่อ ของประเทศไทยป 2554-2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ สงเสริมใหมีการใชไฟฟาอยางคุมคาและมีการใหบริการ อยางมีประสิทธิภาพ www.eppo.go.th • 47


2.2.2 อัตราคาไฟฟาจะตองสงเสริมความเสมอภาค (Debt Service Coverage Ratio: DSCR) และอัตราสวน ของประชาชนในทุ ก ภู มิ ภ าค สำหรั บ ผู ใ ช ไ ฟฟ า ประเภท หนี้สินตอสวนทุน (Debt/Equity Ratio) ประกอบการพิจารณา เดียวกันตองเปนอัตราเดียวทั่วประเทศ (Uniform Tariff) ยกเวนไฟฟาพิเศษสำหรับธุรกิจบนเกาะ 2.2.6 เพื่อใหเกิดความเปนธรรมตอผูใชไฟฟา เห็นควรใหมีกลไกในการติดตามการลงทุนของการไฟฟาให 2.2.3 โครงสร า งอั ต ราค า ไฟฟ า จะมี ก ารแยก เปนไปเพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพบริการและความมั่นคง ตนทุนของแตละกิจการ ไดแก กิจการผลิต กิจการระบบสง ของระบบไฟฟาของประเทศไทย โดยกำหนดใหมีบทปรับ กิจการระบบจำหนาย และกิจการคาปลีก ออกใหเห็นอยาง การลงทุ น ของการไฟฟ า ไม เ ป น ไปตามแผนการลงทุ น ชัดเจนและโปรงใส สามารถตรวจสอบไดอยางเปนระบบ ที่ เ หมาะสมที่ ใ ช ใ นการกำหนดโครงสร า งอั ต ราค า ไฟฟ า หรื อ การลงทุ น ในโครงการที่ ไ ม มี ค วามจำเป น หรื อ ไม มี 2.2.4 อั ต ราค า ไฟฟ า จะต อ งอยู ภ ายใต ก รอบ ประสิทธิภาพ (Crawl Back) คาใชจายการดำเนินงานของการไฟฟาที่มีประสิทธิภาพ โดย การพิจารณาผลตอบแทนการลงทุนของการไฟฟาจะตอง 2.3 โครงสรางอัตราขายสง (Wholesale Tariffs) พิจารณาภายใตเงื่อนไขกรอบคาใชจายการดำเนินงานของ การไฟฟาที่มีประสิทธิภาพ และเห็นควรใหมีการปรับปรุง 2.3.1 โ ค ร ง ส ร า ง อั ต ร า ค า ไ ฟ ฟ า ข า ย ส ง ที่ ประสิทธิภาพการดำเนินงานของการไฟฟาอยางตอเนื่อง การไฟฟ า ฝ า ยผลิ ต แห ง ประเทศไทย (กฟผ.) ขายให การไฟฟานครหลวง (กฟน.) และการไฟฟาสวนภูมิภาค 2.2.5 เพื่อใหการไฟฟาทั้ง 3 แหง มีฐานะการเงิน (กฟภ.) ควรกำหนดเปนโครงสรางเดียวกัน ซึ่งประกอบดวย ที่สามารถขยายการดำเนินงานไดอยางเพียงพอในอนาคต ค า ผลิ ต ไฟฟ า และค า กิ จ การระบบส ง โดยค า ไฟฟ า จะ ซึ่งอัตราผลตอบแทนทางการเงินจะอางอิงจากอัตราสวน แตกตางกันตามระดับแรงดันและชวงเวลาของการใชไฟฟา ผลตอบแทนการลงทุ น (Return on Invested Capital: (Time of Usage-TOU) ROIC) เปนหลักในการกำหนดโครงสรางอัตราคาไฟฟา โดย 2.3.2 กำหนดบทปรับคาตัวประกอบกำลังไฟฟา ใหมีการทบทวนความเหมาะสมและจำเปนตอการดำเนินการ ของสินทรัพยของการไฟฟาที่ใชในฐานกำหนดผลตอบแทน (Power Factor) ในระดับขายสงสำหรับการไฟฟาทั้ง 3 แหง การลงทุน และใหใชอัตราสวนรายไดสุทธิตอการชำระหนี้ และผู ป ระกอบกิ จ การไฟฟ า ที่ เ หมาะสมสอดคล อ งกั บ สถานการณในปจจุบัน 2.3.3 กำหนดเงินชดเชยรายไดระหวางการไฟฟา ฝายจำหนายในลักษณะที่ตองติดตามตรวจสอบตาม หนวยจำหนายที่เกิดขึ้นจริง (Output Base) โดยผาน กลไกกองทุนพัฒนาไฟฟาตามมาตรา 97 (1) ของ พระราชบัญญัติประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550

48 • นโยบายพลังงาน


2.4 โครงสรางอัตราคาไฟฟาขายปลีก

2.4.4 อัตราคาไฟฟาขายปลีกควรสะทอนความ มั่นคง ความถี่ของแรงดันไฟฟา ตามลักษณะความตองการ ใชไฟฟาของผูใชไฟฟาประเภทตาง ๆ เชน โรงพยาบาล โรงงานอุ ต สาหกรรม เป น ต น ทั้ ง นี้ ควรมี ก ารกำหนด คำนิ ย ามของอั ต ราค า ไฟฟ า ขายปลี ก แต ล ะประเภทให มี ความชัดเจน ตลอดจนมีกลไกในการทบทวนการรับภาระ คาไฟฟาระหวางกลุมที่เกิดขึ้น การพิจารณาบทปรับกรณีใช ไฟฟาผิดวัตถุประสงค เชน การใชไฟฟาเพื่อความปลอดภัย สาธารณะ การสูบน้ำเพื่อการเกษตร เปนตน

2.4.1 โครงสร า งอั ต ราค า ไฟฟ า ขายปลี ก จะ ประกอบดวยคาไฟฟาฐาน (G, T, D, R) ควรมีการทบทวน ทุก 2 ป เพื่อสะทอนคาใชจายในการลงทุนและคาใชจาย ในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และคาไฟฟาตามสูตร ปรับอัตราคาไฟฟาโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยใหกำหนดอัตรา คาไฟฟาขายปลีกสะทอนตนทุนตามชวงเวลาและลักษณะ การใชไฟฟาของผูใชไฟฟาแตละประเภทใหมากที่สุด เพื่อ ส ง สั ญ ญาณในการใช พ ลั ง งานไฟฟ า อย า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ 2.4.5 กำหนดใหมีการคำนวณอัตราคาบริการ ตลอดจนมีการดูแลผูใชไฟฟาบานอยูอาศัยที่มีรายไดนอย ที่ใชไฟฟาไมเกิน 90 หนวยตอเดือน ทั้งนี้ บานอยูอาศัยที่มี พิเศษสำหรับธุรกิจบนเกาะและอัตราคาไฟฟาสำหรับผูใช รายไดนอยดังกลาวจะไดรับการอุดหนุนคาไฟฟาจากผูใช ไฟฟ า ระบบเติ ม เงิ น เพื่ อ สะท อ นต น ทุ น ที่ แ ท จ ริ ง ของการ ไฟฟาประเภทอื่น ๆ โดยโครงสรางอัตราคาไฟฟาฐานมี ดำเนินโครงการของการไฟฟา ลั ก ษณะเป น อั ต ราก า วหน า (Progressive Rate) และมี การกำหนดอัตราคาบริการรายเดือน ทั้งนี้ ผูใชไฟฟาสามารถ 2.5 การปรับอัตราคาไฟฟาโดยอัตโนมัติ เลือกใชอัตราคาไฟฟาที่แตกตางกันตามชวงเวลาของการใช 2.5.1 การปรับอัตราคาไฟฟาโดยอัตโนมัติ โดย 2.4.2 อัตราคาไฟฟาควรเปนอัตราที่มีการทบทวน ใชสูตรการปรับอัตราคาไฟฟาโดยอัตโนมัติ (คา Ft) เพื่อ หรือปรับปรุงอยางสม่ำเสมอ โดยพิจารณาตามองคประกอบ สะทอนตนทุนถึงการเปลี่ยนแปลงของตนทุนที่อยูนอกเหนือ ของต น ทุ น ที่ แ ท จ ริ ง ซึ่ ง จะทำให อั ต ราค า ไฟฟ า ต อ หน ว ย การควบคุ ม ของการไฟฟ า อย า งแท จ ริ ง มี ค วามโปร ง ใส ไมผันผวนเกินสมควร รวมทั้งการบริหารจัดการตนทุนให เปนธรรมตอผูใชไฟฟา มีประสิทธิภาพ ตลอดจนลดการอุดหนุนระหวางกลุมให 2.5.2 คา Ft ควรประกอบดวย คาใชจายดาน นอยลงเทาที่จะทำได เชื้อเพลิงและคาซื้อไฟฟา ที่เปลี่ยนแปลงไปจากคาเชื้อเพลิง 2.4.3 กำหนดบทปรับคาตัวประกอบกำลังไฟฟา และค า ซื้ อ ไฟฟ า ฐานที่ ใ ช ใ นการกำหนดโครงสร า งอั ต รา (Power Factor) ในระดับขายปลีกสำหรับผูใชไฟฟากิจการ คาไฟฟา รวมถึงผลกระทบจากนโยบายของรัฐ เชน สวนเพิ่ม ขนาดกลาง ขนาดใหญ และกิ จ การเฉพาะอย า ง เพื่ อ ให ราคารับซื้อไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียน เปนตน สะทอนถึงภาระการลงทุนในการปรับปรุงคาตัวประกอบ 2.5.3 คา Ft ควรมีการเปลี่ยนแปลงทุก 4 เดือน กำลังไฟฟาของการไฟฟาฝายจำหนาย โดยคำนึงถึงผลกระทบ เพื่อมิใหเปนภาระตอการไฟฟา และเพื่อใหผูใชไฟฟาไมตอง ตอผูใชไฟฟาประกอบดวย รับภาระความผันผวนของคาไฟฟาที่เปลี่ยนแปลงบอยเกินไป ดังนั้น จึงควรพิจารณาใชคาถัวเฉลี่ย 4 เดือน

www.eppo.go.th • 49


ENERGY LEARNING ZONE

ไฟฟา

การกำหนดพื้นที่ตั้งโรงไฟฟา ที่ประชาชนมีสวนรวม โครงการโรงไฟฟาของเอกชน (IPP) ที่ผานการประเมิน คัดเลือกขอเสนอในป 2550 หลายโครงการไดรับการคัดคาน และการต อ ต า นจากประชาชนในพื้ น ที่ ท ำให ไ ม ส ามารถ ดำเนิ น โครงการได ทั้ ง นี้ โรงไฟฟ า ที่ ผ า นการประเมิ น ดั ง กล า วได ถู ก รวมเป น ส ว นหนึ่ ง ของแผนจั ด หาพลั ง งาน ไฟฟ า ของประเทศ (PDP) การที่ โ รงไฟฟ า กลุ ม ดั ง กล า ว ไมสามารถดำเนินการไดจะสงผลกระทบตอการจัดหาไฟฟา เพื่อตอบสนองความตองการใชไฟฟาในประเทศ กระทรวง พลังงานรวมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ไดมีการรวมกันเพื่อหาแนวทางแกไขปญหาที่เกิดขึ้น โดยได

จัดตั้งคณะอนุกรรมการประสานการจัดการสิ่งแวดลอมและ พลังงาน (คณะอนุกรรมการฯ) และไดมีการประชุมรวมกัน เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบใน หลักการเกี่ยวกับขอเสนอแนวทางดำเนินการ โดยเห็นควร ใหมีการศึกษาพิจารณาสิทธิประโยชนที่ประชาชนจะไดรับ และกำหนดเกณฑในการออกประกาศเชิญชวนเสนอพื้นที่ ใหไดขอสรุปที่ชัดเจนกอน จึงจะเสนอรัฐบาลเพื่อขอจัดตั้ง คณะอนุกรรมการฯ ภายใต คณะกรรมการนโยบายพลังงาน แหงชาติ (กพช.) เพื่อดำเนินการในกระบวนการทั้งหมด ตอไป โดยกำหนดแนวทางดำเนินการเปน 3 ระยะ ดังนี้

ทั้งนี้ การกำหนดพื้นที่ตั้งโรงไฟฟามีวัตถุประสงคเพื่อใหการกำหนดสิทธิประโยชนที่ประชาชนควรจะไดรับสอดคลองกับ ความตองการของประชาชนในแตละพื้นที่อยางแทจริง ซึ่งจะชวยสงเสริมการพัฒนาโรงไฟฟาใหสามารถอยูรวมกับชุมชน ได นำไปสูการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนโดยรอบโรงไฟฟา รวมทั้งเปนการสงเสริมการมีสวนรวมกับผูที่เกี่ยวของ สรางความรวมมือตอกันและสรางความนาเชื่อถือที่ประชาชนมีตอภาครัฐ

50 • นโยบายพลังงาน


การดำเนินการตามแนวทางระยะสั้น คณะอนุ ก รรมการฯ ได แ ต ง ตั้ ง คณะทำงานศึ ก ษา สิทธิประโยชนที่ประชาชนควรจะไดรับ และศึกษากำหนด เกณฑในการออกประกาศเชิญชวนใหประชาชนเสนอพื้นที่ สำหรับตั้งโรงไฟฟา (คณะทำงานฯ) เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2553 โดยมี ผู อ ำนวยการสำนั ก งานนโยบาย และแผนพลั ง งานเป น ประธาน ซึ่ ง คณะทำงานได มี ก ารประชุ ม และได ดำเนินการวาจางคณะนิเทศศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (ที่ปรึกษาฯ) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2553 ใน การศึกษาสิทธิประโยชนที่ประชาชน ควรจะได รั บ และเกณฑ ใ นการออก ประกาศเชิญชวนใหประชาชนเสนอ พื้ น ที่ ส ำหรั บ ตั้ ง โรงไฟฟ า โดยได มี การคัดเลือกพื้นที่ในการสำรวจขอมูลและสอบถามความเห็น ของประชาชนรวมถึ ง ผู เ กี่ ย วข อ งในการจั ด ตั้ ง โรงไฟฟ า ในพื้นที่ดังรูปดานขวา

คณะทำงานฯ และที่ปรึกษาฯ ไดประชุมรวมกันในการดำเนินงาน โดยสรุปขั้นตอนการดำเนินงานไดดังนี้

ภายหลังจากการจัดประชุมรับฟงความคิดเห็นตอรางสิทธิประโยชนที่ประชาชนควรจะไดรับและเกณฑในการออกประกาศ เชิญชวนใหประชาชนเสนอพื้นที่ตั้งโรงไฟฟา ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2554 ที่ปรึกษาฯ ไดจัดสงรายงานฉบับสมบูรณ ให แ ก ค ณะทำงานฯ ซึ่ ง คณะทำงานได มี ก ารพิ จ ารณาผลการศึ ก ษาแล ว และจะได น ำเสนอผลการศึ ก ษาดั ง กล า วต อ คณะอนุกรรมการฯ เพื่อประกอบการดำเนินการออกประกาศเชิญชวนและคัดเลือกพื้นที่ และศึกษากำหนดพื้นที่ที่เหมาะสม (Site Suitability) ตามแนวทางการดำเนินการในระยะกลางตอไป www.eppo.go.th • 51


ENERGY LEARNING ZONE

นโยบายพลังงาน

นโยบายการใชเชื้อเพลิง เพื่อผลิตไฟฟา ของประเทศในกลุมอาเซียน

การประชุมสัมมนานโยบายดานเชื้อเพลิง สำหรั บ ผลิ ต กระแสไฟฟ า ของอาเซี ย น วั น ที่ 2-3 มีนาคม 2554 ที่ผานมา ณ จังหวัดเชียงใหม ไดรับความสนใจเปนอยางมากทั้งจากในกลุมประเทศ อาเซียนและนอกกลุมอาเซียน ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียน ที่ เ ข า ร ว มมี 8 ประเทศ คื อ 1. บรู ไ น 2. อิ น โดนี เ ซี ย 3. มาเลเซีย 4. พมา 5. ฟลิปปนส 6. สิงคโปร 7. ไทย และ 8. เวี ย ดนาม ส ว นประเทศลาวและกั ม พู ช าไม ส ามารถ เข า ร ว มในการประชุ ม ครั้ ง นี้ ไ ด ในส ว นองค ก รระหว า ง ประเทศนอกกลุมอาเซียนที่เขารวม ไดแก 1. สถาบันวิจัย ดานเศรษฐกิจของอาเซียนและเอเชียตะวันออก (Economic Research Institute for ASEAN and East Asia: ERIA) 2. ทบวงพลังงานโลก (International Energy Agency: IEA) 3. คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแหงเอเชียแปซิฟก องคการสหประชาชาติ (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) 4. บริ ษั ท ผลิ ต ไฟฟ า เกาหลี (Korea Electric Power Corporation: KEPCO) 5. ศู น ย พ ลั ง งานถ า นหิ น ญี่ ปุ น (Japan Coal Energy Center: JCOAL) 6. บริษัทเยอรมัน เพื่อความรวมมือระหวางประเทศ (Deutsche Gesellschaft for Internationals Zusammenarbeit: GIZ)

52 • นโยบายพลังงาน

วั ต ถุ ป ระสงค ก ารจั ด สั ม มนาครั้ ง นี้ มี จุ ด มุ ง หมายเพื่ อ ส ง เสริ ม ความร ว มมื อ ใน การแบ ง ป น ข อ มู ล และประสบการณ เ พื่ อ ผลิ ต ไฟฟ า ในอาเซี ย น รวมทั้ ง เพื่ อ หารื อ กั บ แนวทาง ที่ เ ป น ต น แบบในการบริ ห ารจั ด การใช เ ชื้ อ เพลิ ง ที่ ดี ที่ สุ ด เพื่ อ นำไปสู ก ารบรรลุ วั ต ถุ ป ระสงค ข องการเสริ ม สร า ง ความมั่นคงดานพลังงาน (Energy Security) และคำนึงถึง การพั ฒ นาอย า งยั่ ง ยื น (Sustainable Development) นอกจากนี้ เป า หมายในการสร า งความสมดุ ล ในการใช ทรัพยากรเชื้อเพลิงในภูมิภาคอาเซียนก็เปนอีกปจจัยที่ตอง มีการคำนึงถึงเพื่อสรางเสถียรภาพในระยะยาวแกภูมิภาค อาเซียน ในการนี้ ประเทศไทยไดรับเกียรติใหเปนผูประสานงาน หลักในการรวบรวมและจัดทำแผนนโยบายการใชเชื้อเพลิง ดังกลาว ซึ่งในการสัมมนาจำแนกตามชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช ในการผลิ ต ไฟฟ า ได แ ก 1. ถ า นหิ น 2. ก า ซธรรมชาติ 3. นิวเคลียร และ 4. พลังงานทดแทน และเปดโอกาสให ประเทศสมาชิกไดนำเสนอแนวนโยบายการผลิตไฟฟาของ แตละประเทศ เพื่อเปดโอกาสใหเรียนรูและแบงปนขอมูล กันและกัน


1. ภาพรวมการใช เ ชื้ อ เพลิ ง เพื่ อ ผลิ ต ไฟฟาของอาเซียน ในปจจุบันอาเซียนกำลังประสบกับปญหาความยาก ลำบากในการเสริมสรางความมั่นคงดานพลังงาน เนื่องจาก ภู มิ ภ าคอาเซี ย นมี ก ารเจริ ญ เติ บ โตทั้ ง ทางเศรษฐกิ จ และ ประชากรอยางรวดเร็ว ในขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียน ตางก็พึ่งพาพลังงาน ถานหิน กาซธรรมชาติ อยางมาก และ แนวโน ม การพึ่ ง พาเช น นี้ จ ะยิ่ ง ทวี ค วามเข ม ข น มากขึ้ น ในขณะที่ ท รั พ ยากรเหล า นี้ ก ลั บ มี แ นวโน ม จะหายากและ ราคาแพงขึ้น ดั ง นั้ น การเสริ ม สร า งความร ว มมื อ ด า นพลั ง งาน ระหวางประเทศจึงมีความสำคัญอยางมาก เพื่อเสริมสราง ความมั่นคงดานพลังงาน โดยนโยบายและมาตรการตาง ๆ ตามแผนปฏิ บั ติ ก ารความร ว มมื อ อาเซี ย นด า นพลั ง งาน ป 2553-2558 ไมวาจะเปนแผนการเชื่อมโยงทอสงกาซ อาเซี ย น (Trans ASEAN Gas Pipeline: TAGP) และ การเชื่อมโยงสายสงไฟฟาอาเซียน (ASEAN Power Grids: APG) ก็เปนสวนสำคัญของการสรางความรวมมือในอาเซียน นอกจากนี้ ความรวมมือในการซื้อขายไฟฟาระหวางประเทศ ถือเปนแนวทางสำคัญที่จะชวยเสริมสรางความมั่นคงดาน พลังงานของอาเซียน เหมือนเชนประสบการณในประเทศ ที่พัฒนาแลว ซึ่งสามารถผานเหตุการณวิกฤตดานพลังงาน ไมวาจะเปนปญหาภัยแลงในประเทศนอรเวยเมื่อป 25452546 หรือการขาดแคลนกาซธรรมชาติในยุโรปเมื่อป 2552 2. ดานถานหิน เหลานี้ลวนแสดงใหเห็นถึงความสำเร็จของความรวมมือกัน ประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีทรัพยากรถานหินที่อุดมสมบูรณ เพื่อจัดตั้งตลาดพลังงานในภูมิภาคที่มีกลไกการทำงานที่มี ประสิทธิภาพ ในการชวยเตรียมความพรอมสำหรับรองรับ ในภูมิภาคอาเซียน และในฐานะประธานกลุมความรวมมือ ดานถานหินในอาเซียน (ASEAN Forum on Coal: AFOC) สถานการณยามฉุกเฉิน ได ร ายงานว า ในป จ จุ บั น การทำเหมื อ งถ า นหิ น และผลิ ต อยางไรก็ตาม ความมั่นคงดานพลังงานไมควรจะเปน สวนใหญจะกระจุกตัวอยูที่เกาะสุมาตราและกลิมันตัน ซึ่ง เพียงเปาหมายเดียวในการพัฒนาดานพลังงาน เพราะในภาวะ รอยละ 66 ของถานหินที่ผลิต ไดถานหินคุณภาพปานกลาง ที่มีการเจริญเติบโตสูง การปลดปลอยกาซคารบอนไดออกไซด ที่มีคาความรอนประมาณ 5,100-6,100 กิโลแคลอรีตอ รวมทั้ ง สารอื่ น ๆ ที่ ก อ ให เ กิ ด มลพิ ษ ต อ สิ่ ง แวดล อ มย อ ม กิ โ ลกรั ม อิ น โดนี เ ซี ย มี เ ป า หมายการใช เ ชื้ อ เพลิ ง ในแผน สูงขึ้นตามไปดวย กระแสการพัฒนา “สีเขียว” ที่เนนคือ การผลิตไฟฟาในป 2565 ที่ยังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควบคูกันกับการดูแลรักษา ในสั ด ส ว นที่ ค อ นข า งสู ง กล า วคื อ ถ า นหิ น ร อ ยละ 33 สิ่งแวดลอมอยางยั่งยืน จึงเปนแนวทางหลักในการดำเนิน กาซธรรมชาติ รอยละ 30 น้ำมัน รอยละ 20 และพลังงาน ทดแทน รอยละ 17 ธุรกิจและขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคตอไป www.eppo.go.th • 53


ในป จ จุ บั น อิ น โดนี เ ซี ย มี ก ารผลิ ต ถ า นหิ น ประมาณ 270 ลานตัน ซึ่งประมาณ 55.5 ลานตัน ใชในการผลิต ไฟฟาในประเทศอีก 11.5 ลานตัน ใชในภาคอุตสาหกรรม คาดวาในอีก 4 ปขางหนาปริมาณการใชถานหินในการผลิต ไฟฟาจะเพิ่มเปน 70 ลานตัน และใชในภาคอุตสาหกรรม เพิ่มเปน 17.5 ลานตัน ประเทศอินโดนีเซียคาดวาการผลิต ถานหินจะยังคงเติบโตอยางตอเนื่องจากระดับ 270 ลานตัน ในป 2553 ขึ้นไปสูระดับ 361 ลานตัน และ 405 ลานตัน ในป 2563 และป 2568 ตามลำดับ สวนระดับการสงออก ในป 2553 อยูที่ 206 ลานตัน และคาดวาการสงออก ถานหินของอินโดนีเซียจะมีแนวโนมลดลงเรื่อย ๆ โดยอยูที่ ระดับ 191 ลานตัน และ 185 ลานตัน ในป 2563 และ ป 2568 ตามลำดั บ เนื่ อ งจากความต อ งการใช ถ า นหิ น ในอินโดนีเซียมีการขยายตัวในอัตราที่สูงอยางตอเนื่อง ในดานการเติบโตอยางยั่งยืนหรือที่เรียกกันสั้น ๆ วา Green Growth นั้น เปนการเจริญเติบโตที่เนนการเจริญเติบโต อยางมีคุณภาพ โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบตอสิ่งแวดลอม และสั ง คม หั ว ใจสำคั ญ ของการเติ บ โตอย า งยั่ ง ยื น อยู ที่ การสงเสริมการมีประสิทธิภาพในการใชพลังงาน การจัดการ ดานทรัพยากรอยางยั่งยืน โดยเนนการใชนโยบายการสราง แรงจูงใจเปนตัวผลักดันใหเกิดกระแสการพัฒนาอยางยั่งยืน ผานกลไกทางดานราคาและภาษี รวมทั้งการใหการสงเสริม การลงทุนและการจัดหาแหลงเงินทุน ในมุ ม มองของการสนั บ สนุ น ด า น Green Growth ตอโรงไฟฟาแบบถานหินนั้นสามารถทำการสงเสริมไดใน 4 ดานหลัก คือ 1. นโยบายการควบคุ ม ซึ่ ง เน น การควบคุ ม และ จำกัดการปลอยกาซ รวมทั้งการสรางแรงจูงใจเพื่อมุงไปสู การพัฒนาแบบมีการปลดปลอยคารบอนต่ำ 2. การใชเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีความสะอาดเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพของหนวยผลิตและการทำงานของสายสง เชน เรื่องของระบบสงไฟฟาอัจฉริยะ (Smart Grid) 3. การจัดหาแหลงทุนและการลงทุน เชน (1) การใช กลไกราคาและนโยบายภาษีที่รวมเอาตนทุนสิ่งแวดลอม เขา ไปไว ใ นต น ทุ น การผลิ ต ของผู ป ระกอบการ หรื อ (2) การให ก ารสนั บ สนุ น ด า นแหล ง ทุ น ที่ ทั น สมั ย จากตลาด คารบอน (Carbon Market)

54 • นโยบายพลังงาน

4. การปรั บ ปรุ ง เชิ ง สถาบั น เช น (1) การปฏิ รู ป โครงสรางของตลาดคาไฟฟาอาเซียนดวยระบบการเชื่อมโยง สายสงไฟฟาอาเซียน (ASEAN Grid Connection) หรือ (2) การสงเสริมการจัดตั้งบริษัทจัดการดานพลังงาน (Energy Service Company: ESCO) เพื่อชวยใหการสงเสริมงาน ดานอนุรักษพลังงานเปนไปไดอยางตอเนื่อง ในดานแนวทางการบริหารการจัดการดานเชื้อเพลิง ในภาวะขาดแคลน ประเทศไทยโดยการไฟฟ า ฝ า ยผลิ ต แหงประเทศไทย (กฟผ.) ไดรวมแบงปนประสบการณใน การเสริมสรางความมั่นคงระยะยาว และแนวทางการบริหาร สถานการณฉุกเฉินดังตอไปนี้ 1. ในด า นการจั ด ซื้ อ กฟผ.มี แ นวโน ม ที่ จ ะเน น การกระจายการจั ด หาเชื้ อ เพลิ ง ถ า นหิ น จากหลายแหล ง และมาจากในหลายประเทศ 2. ในด า นการสำรองและบริ ห ารเชื้ อ เพลิ ง ถ า นหิ น ทาง กฟผ.ไดมีการกำหนดระดับสำรองขั้นต่ำที่ 1.5-2 เดือน เพื่อใหมีถานหินใชเพียงพอสำหรับการบริหารสถานการณ ในภาวะฉุกเฉิน 3. นอกจากนี้ ทาง กฟผ.ยังมีนโยบายมุงเนนการลงทุน ในเหมืองถานหินตางประเทศ เพื่อเปนหลักประกันสำหรับ ความมั่นคงดานถานหินในระยะยาวตอไป


4. การจั ด ตั้ ง ศู น ย ถ า นหิ น ประเทศไทย โดยเป น ความรวมมือระหวาง กฟผ.กับผูมีสวนเกี่ยวของ ทั้งนี้ เพื่อ สรางเสถียรภาพทางดานราคาถานหินและความตอเนื่อง ของอุปทานถานหิน

3. ดานกาซธรรมชาติ ในอดี ต ที่ ผ า นมา ช ว งป 2514-2552 การผลิ ต กาซธรรมชาติในทวีปเอเชีย (ยกเวนประเทศจีน) ยังไมมี บทบาทที่ เ ด น ชั ด นั ก เมื่ อ เที ย บกั บ ภาพรวมของการผลิ ต ก า ซธรรมชาติ ใ นโลก การใช ก า ซธรรมชาติ ส ว นใหญ จ ะ เปนการใชในภาคอุตสาหกรรม และอีกสวนจะเปนการใช เพื่อผลิตกระแสไฟฟาซึ่งกำลังมีบทบาทเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง ในดานการซื้อขายกาซระหวางอาเซียนถือไดวามีการสนับสนุน อยางตอเนื่องจากโครงการเชื่อมโยงทอสงกาซอาเซียน ซึ่ง มีการเจรจาหารือกันมายาวนาน จนในปจจุบันตามที่ระบุไว ในแผนของการเชื่อมโยงทอสงกาซ ระยะทางของทอสงกาซ รวมทั้ ง สิ้ น ยาวประมาณ 3,020 กิ โ ลเมตร และมี ก ำลั ง การขนส ง ได ป ระมาณ 3,000 ล า นลู ก บาศก ฟุ ต ต อ วั น ในขณะที่ ก ารใช ท้ั ง ภู มิ ภ าคอยู ที่ ป ระมาณ 10,000 ล า น ลู ก บาศก ฟุ ต ต อ วั น ดั ง นั้ น การสำรวจ การผลิ ต และ การจัดสรรการใชทรัพยากรในภูมิภาคอาเซียนอยางสมดุล ถือเปนเงื่อนไขสำคัญที่จะสงผลตอความมั่นคงในการผลิต ไฟฟ า ของอาเซี ย นในระยะยาว โดยในขั้ น ต อ ไปอาเซี ย น ควรจะดำเนินการดังนี้ 1) ทบทวนและประเมิ น สถานการณ ก ารใช แ ละ การจัดหากาซธรรมชาติของอาเซียนในปจจุบัน 2) การสรางความเชื่อมโยงและสอดคลองระหวาง ฐานข อ มู ล ในด า นการคาดการณ ก ารใช การประเมิ น ปริมาณกาซธรรมชาติที่มีอยู 3) การผนวกเอาป จ จั ย การเปลี่ ย นแปลงที่ ส ำคั ญ ในตะวันออกกลางและในโลกเขามาสูบริบทของการทบทวน แผนการใชและจัดหาในอาเซียน

ไฟฟาในสัดสวนที่สูงมาก โดยรอยละ 93 ของกำลังผลิต ติดตั้งบนคาบสมุทรมาเลเซียเปนกำลังผลิตติดตั้งที่พึ่งพา กาซธรรมชาติ ในภาพรวมสัดสวนของการใชเชื้อเพลิงเพื่อ ผลิ ต กระแสไฟฟ า ของมาเลเซี ย ในป จ จุ บั น สรุ ป ได ดั ง นี้ กาซธรรมชาติ รอยละ 58 ถานหิน รอยละ 32 พลังน้ำ รอยละ 8.6 น้ำมัน รอยละ 1.7 และชีวมวล รอยละ 0.1 ในอี ก 20 ป ข า งหน า มาเลเซี ย มี เ ป า หมายที่ จ ะ กระจายการใชเชื้อเพลิงใหเกิดความสมดุลมากยิ่งขึ้น โดย สั ด ส ว นการใช ก า ซธรรมชาติ ข องประเทศจะลดลงจาก ร อ ยละ 54 เหลื อ ร อ ยละ 41 รวมทั้ ง จะเน น การเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพของการใช พ ลั ง งานให ดี ยิ่ ง ขึ้ น ควบคู ไ ปกั บ การพิจารณาพลังงานทางเลือกชนิดอื่น ๆ ทั้งในสวนของ พลังงานทดแทนและพลังงานนิวเคลียร นอกจากนี้ มาเลเซียยังมีนโยบายในการจัดการกับ ภาวะความขาดแคลนยามฉุกเฉินทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยในระยะสั้นการนำเชื้อเพลิงชนิดอื่นซึ่ง ได จ ากกระบวนการกลั่ น จะถู ก นำมาใช ท ดแทนเมื่ อ เกิ ด ความขาดแคลนแบบเรงดวน สวนในระยะกลางและระยะยาว การจั ด ตั้ ง โรงรั บ และเปลี่ ย นสถานะก า ซป โ ตรเลี ย มเหลว (Liquefied Natural Gas: LNG) ใหกลับเปนกาซธรรมชาติ (LNG Regasification Terminal) รวมทั้ ง การพั ฒ นา เทคโนโลยีใหม ๆ เพื่อใหการใชเชื้อเพลิง เชน ถานหินและ นิ ว เคลี ย ร มี ค วามปลอดภั ย และเป น มิ ต รกั บ สิ่ ง แวดล อ ม มากยิ่งขึ้น

ในส ว นของการใช ก า ซเพื่ อ ผลิ ต กระแสไฟฟ า นั้ น ในสวนของภาพรวมของประเทศสิงคโปรนั้น เนื่องจาก ประเทศมาเลเซียและสิงคโปรไดมารวมแบงปนประสบการณ ขอมูลดังนี้ มาเลเซียไดชี้แจงใหเห็นถึงการเจริญเติบโตของ ประเทศสิงคโปรมีขอจำกัดในเรื่องขนาดของพื้นที่และทรัพยากร การใชกาซธรรมชาติอยางกาวกระโดดในชวงป 2533-2551 ธรรมชาติของประเทศ ดังนั้น สิงคโปรจึงไมสามารถหันไปสู ซึ่งประเทศมาเลเซียมีการพึ่งพากาซธรรมชาติในการผลิต นโยบายการผลิตไฟฟาดวยพลังงานแสงอาทิตยไดอยางเต็มที่ www.eppo.go.th • 55


สิ่งที่สิงคโปรจำเปนตองใชในการผลิตไฟฟาคือ กาซธรรมชาติ ซึ่ ง ในป จ จุ บั น แหล ง นำเข า ก า ซธรรมชาติ ข องสิ ง คโปร คื อ มาเลเซียและอินโดนีเซีย แตในอนาคตสิงคโปรจะเปลี่ยนแปลง รูปแบบการนำเขากาซธรรมชาติเปนการนำเขาแบบชนิดเหลว (LNG) มากยิ่งขึ้น นโยบายที่ทางการสิงคโปรใชอยูในขณะนี้ คือ การควบคุมการนำเขาและเนนการสงเสริมการสราง ความต อ งการ LNG เพิ่ ม มากขึ้ น ภายใต น โยบายใหม นี้ การผลิตกระแสไฟฟาดวยกาซธรรมชาติที่ลำเลียงมาทางทอ จะถูกจำกัดและไดรับการอนุมัติใหสามารถใชกาซทางทอ ไดนอยลง นอกจากนี้ สิ ง คโปร ยั ง ได แ ต ง ตั้ ง กลุ ม BG ให เ ป น ผู ร วบรวมก า ซ LNG ให ไ ด 3 ล า นตั น ต อ ป ซึ่ ง ในขณะนี้ สามารถรวบรวมไดแลว 2 ลานตันตอป เพื่อการผลิตไฟฟา ในสวนของจุดรับ-สงและกระจายกาซ LNG (LNG Terminal) ทางการสิงคโปรไดจัดตั้งกลุมบริษัทเพื่อดำเนินธุรกิจดังกลาว เป น กรณี พิ เ ศษ ซึ่ ง รู จั ก กั น ในนาม Singapore LNG Corporation แตภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา เมื่อป 2551 การสรางทอรับ-สงกาซ LNG ไดถูกโอนยาย มาอยู ภ ายใต ก ารกำกั บ ขององค ก รกำกั บ กิ จ การพลั ง งาน (Energy Market Authority: EMA) สถานการณผลิตไฟฟาของสิงคโปรในปจจุบันพบวา ประมาณรอยละ 80 ของไฟฟาที่ผลิตไดในสิงคโปรมาจาก การใชเชื้อเพลิงกาซธรรมชาติ สวนอีกรอยละ 20 เปนไฟฟา ที่ผลิตไดจากน้ำมัน ในอนาคตคาดวาสัดสวนการผลิตไฟฟา ดวยกาซธรรมชาติจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากนโยบายสงเสริม การนำเขา LNG และการซอมแซมปรับปรุงโรงไฟฟาเกาที่ใช กาซธรรมชาติเปนเชื้อเพลิง อยางไรก็ตาม สิงคโปรก็ได เนนย้ำถึงนโยบายการกระจายการใชเชื้อเพลิงอยางสมดุล โดยอยูบนพื้นฐานของกลไกตลาด

ดำเนิ น ไปอย า งรวดเร็ ว ในภู มิ ภ าคต า ง ๆ แต ใ นภู มิ ภ าค อาเซียนความกาวหนาดานนิวเคลียรยังไมปรากฏผลเปน รูปธรรมที่ชัดเจนนัก จากขอมูลลาสุด ณ เดือนกุมภาพันธ 2554 มีโรงไฟฟา นิวเคลียร จำนวน 442 โรง ทั่วโลกที่กำลังผลิตกระแสไฟฟา อยู และมีกำลังผลิตติดตั้งรวมคิดเปน 375,000 เมกะวัตต อุปสรรคที่สำคัญในการพัฒนาโรงไฟฟานิวเคลียรในชวงที่ ผานมา อาจจะเปนเรื่องของความชะงักงันทางเศรษฐกิจ จนทำใหความตองการใชไฟฟาลดลง ความกาวหนาและ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง ขึ้ น ของเครื่ อ งจั ก รที่ ใ ช ก า ซธรรมชาติ เปนเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟา หรือแมแตอุบัติเหตุ ครั้ ง สำคั ญ ในโรงไฟฟ า นิ ว เคลี ย ร ที่ Three Mile Island ประเทศสหรัฐอเมริกา และการระเบิดของโรงไฟฟาเชอรโนบิล (Chernobyl) ที่ประเทศรัสเซีย แตอุปสรรคเหลานี้ก็เปน ประเด็นเพียงชั่วคราว เพราะเมื่อสถานการณเศรษฐกิจโลก มีการฟนตัว ประกอบกับราคาพลังงานในโลกมีความผันผวน และปรั บ ตั ว สู ง ขึ้ น อย า งต อ เนื่ อ ง อี ก ทั้ ง กระแสเรี ย กร อ ง เรื่องการปกปองสิ่งแวดลอมควบคูกับการลดการปลอยกาซ เรือนกระจก ปจจัยเหลานี้ลวนสงผลในทางบวกตอโรงไฟฟา นิวเคลียร โดยเมื่อการดำเนินการดานโรงไฟฟานิวเคลียร ชวงที่ผานมามีมาตรฐานความปลอดภัยที่ดีขึ้น ก็ยิ่งทำให โรงไฟฟานิวเคลียรมีทิศทางที่แจมใสในชวงของทศวรรษที่ ผานมา1

4. ดานพลังงานนิวเคลียร การผลิ ต ไฟฟ า จากพลั ง งานนิ ว เคลี ย ร ใ นโลกมี ความกาวหนาไปมากในชวงทศวรรษที่ผานมา โดยในป 2551 พลังงานไฟฟาที่ผลิตไดจากทั่วโลกประมาณ 20,180 เทราวัตต ประกอบดวยไฟฟาที่ผลิตจากพลังงานนิวเคลียรประมาณ ร อ ยละ 13.5 ถึ ง แม ว า ความก า วหน า ด า นนิ ว เคลี ย ร จ ะ 1

ความคิดเห็นจากการสัมมนานี้มีขึ้นกอนที่จะมีเหตุการณระเบิดของโรงไฟฟานิวเคลียรที่เมืองฟุกุชิมา ประเทศญี่ปุน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2554

56 • นโยบายพลังงาน


ทั้ ง นี้ ทางผู แ ทนจากทบวงการพลั ง งานปรมาณู ใ ห ความเห็นวา ประเด็นที่คาดวาจะเปนอุปสรรคตอการผลิต กระแสไฟฟาจากนิวเคลียรในอนาคตคือ เรื่องปญหาดาน แหลงทุน ปญหาดานการยอมรับ การออกแบบเตาปฏิกรณ แหลงที่ตั้งที่เหมาะสม เชื้อเพลิง และการจางงาน การพัฒนา ความพรอมของบุคลากร การไดรับการสนับสนุนจากภาครัฐ ปญหาความปลอดภัยและการกำจัดกากเชื้อเพลิงนิวเคลียร

หากจะกลาวถึงความกาวหนาของนโยบายโรงไฟฟา นิวเคลียรในกลุมอาเซียน อาจจะพอสรุปไดดังนี้

ดวยเหตุของปญหาดังกลาวขางตนจึงทำใหโครงการ โรงไฟฟานิวเคลียรดำเนินการไปอยางลาชา และไมประสบ ผลสำเร็จเทาที่ควรในอาเซียน ซึ่งทางผูเชี่ยวชาญไดเนนย้ำ ถึงความสำคัญของภาครัฐในการจัดเตรียมกรอบโครงสราง ดานกฎหมายสำหรับพลังงานนิวเคลียร ซึ่งจะครอบคลุม ถึงกฎระเบียบและวิธีดำเนินการขององคกรที่จะทำหนาที่ ตรวจสอบด า นความปลอดภั ย ที่ มี ค วามเป น อิ ส ระและมี อำนาจเต็มในการกำกับดูแล เพื่อเปนหลักประกันใหเกิด ความมั่นใจแกสาธารณชน จากนั้นการชี้แจงใหเห็นถึงขอดี ขอเสียของพลังงานนิวเคลียรควรดำเนินการไปควบคูกัน และควรกระทำอยางโปรงใส เพื่อเปดโอกาสในการรับฟง และอภิปรายขอดีขอเสียกอนการตัดสินใจในอนาคต

1) อินโดนีเซีย มีความพยายามที่จะดำเนินโครงการ ดานโรงไฟฟานิวเคลียรหลายครั้ง ในชวงป 2513-2522 แตก็ยังไมประสบผลสำเร็จเทาที่ควร 2) มาเลเซีย ไดมีการตัดสินใจทางการเมืองที่ชัดเจน แลวที่จะสนับสนุนพลังงานนิวเคลียร โดยมอบหมายใหบริษัท TNB (Tenaga Nasional Berhad) ซึ่งเปนบริษัทผูจัดหา พลังงานรายใหญของมาเลเซียเปนผูรับผิดชอบในเรื่องนี้ ทั้งนี้ คาดวาโครงการโรงไฟฟานิวเคลียรจะเริ่มดำเนินการได ประมาณป 2564-2565 ขอดีขอเสียของพลังงานนิวเคลียรที่ไดมีการรวบรวม 3) ฟลิปปนส ไดมีการจัดสรางเตาปฏิกรณปรมาณู ตั้งแตเมื่อประมาณ 40 ปที่แลว แตยังไมเคยเปดใชดำเนินการ และถกเถียงกันในทุกวันนี้อาจสรุปไดดังนี้ จริง ดังนั้น จึงจำเปนตองมีการกอสรางโครงสรางพื้นฐาน • ขอดี เพิ่มเติมควบคูกับการพัฒนาบุคลากรสำหรับดูแลโรงไฟฟา ➭ มีตนทุนการดำเนินการที่ต่ำ นิวเคลียร ➭ มี ต น ทุ น การผลิ ต ที่ มี เ สถี ย รภาพและสามารถ 4) สิงคโปร กำลังอยูระหวางการศึกษาขอมูลเพื่อ คาดการณได ทำการตัดสินใจ ➭ มีอายุของโรงไฟฟาที่คอนขางยาว 5) ไทย การศึกษาและพัฒนาโครงสรางพื้นฐานกำลัง ➭ มีความมัน่ คงดานการจัดหาเชื้อเพลิง อยูระหวางการดำเนินการ ทั้งนี้ ทางทบวงการพลังงานปรมาณู ➭ มีผลกระทบตอสิ่งแวดลอมต่ำ ระหวางประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) ไดเขามาทำการตรวจสอบและประเมินสถานะของ • ขอเสีย โครงสรางพื้นฐานของไทย แลวเสร็จเมื่อป 2553 ที่ผานมา ➭ มีตนทุนแรกเริ่มดำเนินการสูง 6) เวี ย ดนาม การประเมิ น ผลความพร อ มด า น ➭ ต น ทุ น มี โ อกาสผั น แปรตามอั ต ราดอกเบี้ ย ได โครงสรางพื้นฐานดานนิวเคลียรของเวียดนามไดแลวเสร็จ คอนขางสูง ไปเมื่อป 2552 จึงทำใหการกอสรางโรงไฟฟานิวเคลียร ➭ ระยะเวลาในการคืนทุนนาน จำนวน 2 โรง ขนาดโรงละ 1,200 เมกะวั ต ต ซึ่ ง ใช ➭ ความเสี่ยงเชิงนโยบายที่อาจมีความไมแนนอน เทคโนโลยี ต น แบบจากประเทศรั ส เซี ย และญี่ ปุ น และจะ ➭ ความเสี่ยงของตลาดที่อาจจะมีพลังงานทดแทน สามารถดำเนินการไดในป 2557 อื่นเขามาแยงสวนแบงตลาด

www.eppo.go.th • 57


อย า งไรก็ ต าม ทางผู เ ชี่ ย วชาญได ใ ห ข อ คิ ด เห็ น ว า พลังงานนิวเคลียรก็ยังถือเปนทางเลือกในการผลิตกระแส ไฟฟาที่มีอนาคต ดวยเหตุผลสนับสนุนหลาย ๆ ประการ กลาวคือ ➭ การเพิ่มขึ้นของความตองการใชพลังงาน ➭ การเปนพลังงานทางเลือกที่มีผลตอสิ่งแวดลอม ต่ำ โดยเฉพาะในดานการปลอยกาซเรือนกระจก (Green House Gases: GHG) ➭ การเปนแหลงพลังงานที่จะสงผลในดานบวกตอ สถานะความมั่นคงดานพลังงาน ➭ การเป น แหล ง พลั ง งานที่ มี ค วามเชื่ อ ถื อ ได แ ละ มีตนทุนต่ำ เหมาะสำหรับการเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟา แบบฐาน (Base load) ซึ่งจะสงผลดีใหราคากระแสไฟฟา ถูกลง และชวยเหลือดานการกระจายรายไดของประเทศ ➭ กากกั ม มั น ตรั ง สี ที่ เ หลื อ จากการผลิ ต ไฟฟ า มี ปริมาณนอยและสามารถจัดการได ➭ สามารถเป น แหล ง พลั ง งานที่ มี ค วามพร อ มใน การตอบสนองตอความตองการใชไฟฟาที่มีปริมาณที่สูง

5. ดานพลังงานทดแทน ในด า นการสนั บ สนุ น การพั ฒ นาพลั ง งานทดแทน ในอาเซียนนั้น ประเทศไทยมีความเปนผูนำในการพัฒนา ดานพลังงานทดแทนในอาเซียนอยางตอเนื่อง ซึ่งแนวทาง และมาตรการที่ไทยไดดำเนินการตลอดชวงระยะเวลาที่ผานมา ณ ปจจุบัน คือ การใหการสนับสนุนทางดานการเงินใน รูปแบบตาง ๆ เชน การใหการอุดหนุนการใหเงินกูดอกเบี้ย ต่ำ การใหสวนชดเชยสวนตางของอัตราคาไฟฟาที่ผลิตจาก

พลั ง งานทดแทน (Adder or feed-in tariffs) แต ทั้ ง นี้ ประสบการณและบทเรียนที่ทำใหประเทศไทยประสบผลสำเร็จ อาจใชไมไดกับในบางประเทศ เนื่องจากความแตกตางของ ขอจำกัดดานพื้นฐานในแตละประเทศที่แตกตางกัน เชน อั ต ราการเข า ถึ ง กระแสไฟฟ า ระบบเศรษฐกิ จ และ ทรั พ ยากรธรรมชาติ ด ว ยเหตุ นี้ จึ ง ทำให แ ต ล ะประเทศ จำเป น ต อ งใช ก ลยุ ท ธ ที่ แ ตกต า งกั น ในการส ง เสริ ม และ สนับสนุนการพัฒนาพลังงานทดแทน นอกจากนี้ ทางผูเชี่ยวชาญยังไดใหความเห็นอีกวา ศั ก ยภาพของพลั ง งานทดแทนในอาเซี ย นมี อ ยู อ ย า งมาก เช น เขื่ อ นพลั ง น้ ำ ขนาดเล็ ก ที่ อิ น โดนี เ ซี ย พลั ง งานลมที่ เวียดนาม ชีวมวลที่ประเทศไทย ทวาศักยภาพของพลังงาน ทดแทนเหลานี้ยังไมไดถูกนำมาใชอยางเต็มที่ และนอกจากนี้ ตลาดของพลังงานทดแทนยังไมยั่งยืนเพียงพอ ซึ่งประเด็น การสรางตลาดพลังงานทดแทนนี้ถือเปนปจจัยของความสำเร็จ

58 • นโยบายพลังงาน


ในการพัฒนาพลังงานทดแทนอยางยิ่ง เพราะปจจัยดังกลาว จะช ว ยทำให เ กิ ด ความเชื่ อ มั่ น ที่ จ ะส ง เสริ ม ให ภ าคเอกชน เขารวมมืออยางเต็มที่ รวมทั้งในเรื่องของการรับประกัน อัตราคาไฟฟาจากพลังงานทดแทน และโครงสรางการบริหาร งานและตนทุนการดำเนินงานที่มีความโปรงใส หากปจจัย เหลานี้ไดรับการวางรากฐานและสนับสนุนอยางดีพอ เชื่อวา การพั ฒ นาพลั ง งานทดแทนในภู มิ ภ าคอาเซี ย นจะเติ บ โต อยางตอเนื่องและจะชวยเสริมสรางความมั่นคงดานพลังงาน ตามเปาหมายของแผนพัฒนาพลังงานอาเซียน

6. นโยบายด า นพลั ง งานไฟฟ า ของ ประเทศสมาชิกในอาเซียน 1. บรูไน • เ ชื้ อ เ พ ลิ ง หลั ก สำหรั บ การผลิ ต ไฟฟาของบรูไน คือ กาซ ธรรมชาติ ซึ่ ง ป จ จุ บั น มี บ ริ ษั ท บรู ไ นเชลล ปโตรเลียม จำกัด เปนผูดูแลการจัดหากาซธรรมชาติของ ประเทศ • อยางไรก็ตาม บรูไนมีแผนที่จะกระจายเชื้อเพลิง ในการผลิตกระแสไฟฟา โดยเนนการใชพลังงานทดแทน และถานหินมากขึ้น • จากการสำรวจพบว า ศั ก ยภาพด า นพลั ง งาน ทดแทนในบรูไนที่เดนชัด 3 ลำดับแรก คือ พลังงานคลื่น ทะเล พลังงานแสงอาทิตย และพลังงานลม 2. อินโดนีเซีย • ปจจุบันอินโดนีเซีย ก ำ ลั ง ใ ห ค ว า ม ส ำ คั ญ กั บ การเสริ ม สร า งความมั่ น คง ดานพลังงาน และพยายามลด ต น ทุ น การใช พ ลั ง งานขั้ น ต น โดยการดำเนิ น นโยบายดาน ต า ง ๆ อาทิ การปรั บ ปรุ ง ระบบการจัดหากาซธรรมชาติ ให มี ค วามยื ด หยุ น ตามสั ญ ญาระยะสั้ น ระยะกลาง และ ระยะยาว รวมทั้ ง การสนั บ สนุ น การควบรวมกิ จ การแบบ ยอนหลัง (Backward integration)

• ป จ จุ บั น ถ า นหิ น เป น เชื้ อ เพลิ ง หลั ก ประมาณ ร อ ยละ 45 ของการผลิ ต ไฟฟ า และคาดว า จะเพิ่ ม เป น รอยละ 59 ในป 2557 เชน การจัดตั้งบริษัทจัดหาเชื้อเพลิง ดานถานหิน (PTPLN Coal Company) • รัฐบาลไดสงสัญญาณที่ชัดเจนและตอเนื่องเพื่อให ประชาชนตระหนักถึงตนทุนการใชน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และ พยายามสงเสริมการใชพลังงานทดแทนดานอื่น ๆ แทน 3. มาเลเซีย • มาเลเซี ย มี การออกกฎหมายเพื่ อ บริ ห ารจั ด การการใช เชื้อเพลิงมาตั้งแตป 2522 เพื่อสรางความมั่นคงใน ระบบพลังงานของประเทศ โดยไดมีการดำเนินนโยบาย การกระจายเชื้อเพลิงมาตั้งแตป 2523 • มาเลเซียตระหนักถึงปญหาที่ทาทายใน 3 ดาน หลักของมาเลเซียขณะนี้ คือ ความไมมีเสถียรภาพทางดาน ราคาพลั ง งาน การหมดไปของทรั พ ยากรที่ มี อ ยู รวมทั้ ง การสรางความสมดุลในการใชทรัพยากรพลังงานแตละชนิด • ดังนั้น มาเลเซียจึงไดมียุทธศาสตรในการบริหาร เชื้อเพลิงแตละชนิดที่แตกตางกัน เชน กาซธรรมชาติ มี เปาหมายการจัดหาเพื่อสำหรับการใชในประเทศเปนสำคัญ และสงเสริมใหมีการจัดตั้งคลังกักเก็บกาซสำรอง • ในดานถานหิน มาเลเซียสงเสริมการทำสัญญา ระยะยาวกับผูผลิต และสงเสริมการกระจายแหลงถานหิน ใหมีความหลากหลายจากประเทศตาง ๆ 4. พมา • พมามีการผลิต ไ ฟ ฟ า ที่ พึ่ ง พ า พ ลั ง น้ ำ เป น สำคั ญ โดยป จ จุ บั น การผลิตไฟฟาจากพลังน้ำ มีปริมาณ 2,211 เมกะวัตต จากกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด 3,095 เมกะวัตต หรือ คิดเปนรอยละ 71 ของกำลังผลิตติดตั้งทั้งหมด • จากสถานการณความผันผวนของราคาพลังงาน ที่มีอยางตอเนื่อง ไดสงผลกระทบตอประเทศพมาอยางรุนแรง และนำไปสูการปรับโครงสรางการใชพลังงานในภาคขนสง และสงเสริมการแปรรูปการผูกขาดสถานีบริการน้ำมัน ซึ่ง www.eppo.go.th • 59


จะมี รั ฐ เป น ผู ดู แ ลให ก ลไกการแปรรู ป ดำเนิ น ไปอย า ง เรียบรอย • ดังนั้น พมาจึงเริ่มหันมาคำนึงถึงการนำเชื้อเพลิง ชีวภาพมาใชมากขึ้น โดยตั้งเปาไวที่ระดับรอยละ 8 ภายใน ป 2563 • นอกจากนี้ สั ด ส ว นของพลั ง งานทดแทนก็ จ ะ เพิ่มขึ้นเปนรอยละ 15-20 ของกำลังผลิตติดตั้งทั้งหมด ภายในป 2563 ดวยเชนกัน 5. ฟลิปปนส • ด ว ย ลักษณะทางกายภาพ ของพื้นที่ในประเทศ ที่ ป ร ะ ก อ บ ด ว ย หมู เ กาะถึ ง 7,100 เกาะ จึ ง ทำให ก ารจั ด หาและการใช บ ริ ก ารด า นไฟฟ า ให ทั่วถึงเปนประเด็นที่ทาทายยิ่งสำหรับรัฐบาลฟลิปปนส • รัฐบาลฟลิปปนสไดสนับสนุนการปรับเปลี่ยน โครงสรางอุตสาหกรรมไฟฟาเรื่อยมา โดยสงเสริมการแขงขัน ในดานการผลิตและการเขารวมของเอกชนผูผลิตไฟฟาแบบ อิสระ (IPP) นอกจากนี้ ในดานสายสงและการจัดจำหนาย ก็มีการแปรรูปดวยเชนกัน • ในสวนที่เปนหมูเกาะ โรงไฟฟาจะตั้งอยูในบริเวณ ที่ใกลกับเชื้อเพลิงหรือแหลงทรัพยากรที่ใชในการผลิต • ฟ ลิ ป ป น ส มี ก ารจั ด ทำแผนบริ ห ารความเสี่ ย ง ด า นเชื้ อ เพลิ ง ในภาวะฉุ ก เฉิ น ซึ่ ง แผนดั ง กล า วมี ร ะบบ การเตือนภัย และระบบติดตามตรวจสอบที่มีการประสาน งานกั น ระหว า งสถาบั น กำกั บ กิ จ การพลั ง งาน (Energy Regulatory Commission) และกลุมผูผลิตไฟฟา • นอกจากนี้ ฟ ลิ ป ป น ส ยั ง ได เ น น ย้ ำ ถึ ง ป จ จั ย ความสำเร็จในการกระจายการใชเชื้อเพลิงจะตองประกอบดวย ความตอเนื่องและชัดเจนทางดานการเมือง การบริหารงาน ที่มีหลักธรรมาภิบาล ความตอเนื่องในการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการสนับสนุนจากทุกภาคสวนในสังคม อาทิ ภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษา ภาคประชาชน และการถายทอดเทคโนโลยี และแบงปนขอมูลกันอยางตอเนื่อง • ส ว นประเด็ น ที่ เ ป น อุ ป สรรคต อ การกระจาย เชื้อเพลิง ประกอบดวย การตอตานและไมยอมรับของสังคม โดยเฉพาะในดานเชื้อเพลิงนิวเคลียร การแทรกแซงของ

60 • นโยบายพลังงาน

รั ฐ บาลท อ งถิ่ น ต น ทุ น เบื้ อ งต น สำหรั บ การดำเนิ น งานที่ คอนขางสูงสำหรับเทคโนโลยีพลังงานสะอาด 6. สิงคโปร • สิ ง คโปร มีความตองการพลัง ไฟฟ า สู ง สุ ด (Peak demand) ที่ สู ง ขึ้ น อ ย า ง ต อ เ นื่ อ ง ถึ ง รอยละ 73 ในชวงป 2538-2552 • ระบบการซื้ อ ขายไฟฟ า แบบส ง (Wholesale market) ได มี ก ารปฏิ รู ป ไปแล ว ตั้ ง แต ป 2551 โดยมี การเปดเสรีถึงรอยละ 75 และมีสถาบันกำกับกิจการพลังงาน (Energy Market Authority: EMA) เปนผูดูแล ซึ่งขณะนี้ ทำใหในกลุมผูผลิตไฟฟามีการแขงขันขายไฟฟาเขาสูระบบ ทุก ๆ ครึ่งชั่วโมง • มาตรการดานความมั่นคงที่สำคัญ คือ ➭ การกำหนดให บ ริ ษั ท ผลิ ต ไฟฟ า ต อ งทำ การสำรองเชื้อเพลิงไวอยางนอย 90 วัน เพื่อใชในการผลิต ➭ โรงไฟฟ า แบบก า ซธรรมชาติ จ ะต อ งมี ความสามารถในการปรับเปลี่ยนระบบเชื้อเพลิงไดอยาง คลองตัว ในยามฉุกเฉิน ➭ การเชื่ อ มโยงสายส ง กั บ มาเลเซี ย จะต อ ง ดำเนินการตอไป • สำหรับมาตรการที่สิงคโปรมองในระยะตอไป เพื่ อ สร า งความมั่ น คงด า นพลั ง งาน เนื่ อ งจากป จ จุ บั น สิงคโปรพัฒนาการผลิตไฟฟาจากกาซธรรมชาติสูงมากถึง ร อ ยละ 81 ของไฟฟ า ที่ ผ ลิ ต ได ดั ง นั้ น ในระยะกลาง สิงคโปรจึงมองถึงการปรับเปลี่ยนไปใชถานหินและพลังงาน แสงอาทิตยมากขึ้น สวนในระยะยาวพลังงานนิวเคลียรเปน ทางเลือกหนึ่งที่นาสนใจภายหลังป 2573 • นอกจากนี้ การนำระบบอัจฉริยะในการจัดการ ระบบไฟฟา (Smart Grids) ก็เปนปจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่จะชวยเสริมสรางความมั่นคงในระยะยาว


7. บทสรุป ผลจากการประชุ ม หารื อ ในครั้ ง นี้ ไ ด ข อ สรุ ป ร ว มกั น ที่ชัดเจนคือ ประเทศสมาชิกอาเซียนตางเห็นถึงความจำเปน ในการรวมมือกันวางแผนการใชเชื้อเพลิงสำหรับการผลิต ไฟฟาของอาเซียน เพื่อทำใหการจัดสรรทรัพยากรดานพลังงาน ในภู มิ ภ าคอาเซี ย นสำหรั บ การผลิ ต ไฟฟ า เป น ไปอย า งมี ประสิทธิภาพที่สุด โดยโครงสรางพื้นฐานที่จะชวยสนับสนุนให การวางแผนดังกลาวสัมฤทธิผลเปนรูปธรรมไดนั้น ขึ้นอยูกับ ความสำเร็ จ ของการเชื่ อ มโยงสายส ง ไฟฟ า ในอาเซี ย น (ASEAN Power Grids) และโครงการทอสงกาซอาเซียน 7. ประเทศไทย • ประเทศไทยมี ก ารพั ฒ นาปรั บ ปรุ ง โครงสร า ง (Trans ASEAN Gas Pipeline) นอกจากนี้ การวางแผน การซื้อขายไฟฟาเปนแบบผูซื้อรายเดียว (Enhanced Single Buyer: ESB) โดยมีการไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทยเปน เจาของระบบผลิตและดูแลระบบสายสง นอกจากนี้ ไดมี การจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (Energy Regulatory Commission: ERC) ขึ้นมาเปนผูกำกับ ดูแลกิจการดานไฟฟาใหดำเนินไปอยางมีประสิทธิภาพและ เปนธรรม • สถานการณ ก ารผลิ ต และการใช ไ ฟฟ า ล า สุ ด พบวา ในป 2553 ความตองการใชไฟฟาสูงสุด (Peak demand) อยูที่ 24,630 เมกะวัตต ในขณะที่กำลังการผลิต การใชเชื้อเพลิงของอาเซียนรวมกันยังจะชวยเพิ่มแตมตอ ที่ไดทำสัญญาไวอยูที่ 30,920 เมกะวัตต หรือหากมองใน และสรางความแข็งแกรงในการตอรองของอาเซียนที่มีฐานะ ภาพรวมด า นการใช แ ล ว ปริ ม าณการใช ไ ฟฟ า รวมของ เปนผูซื้อเชื้อเพลิงรายใหญของโลก ซึ่งหากการเจรจาประสบ ประเทศอยูที่ระดับ 149,319 กิกะวัตต-ชั่วโมง ในขณะที่ ผลสำเร็จก็จะทำใหสามารถจัดหาเชื้อเพลิงที่มีตนทุนถูกลง แกหมูสมาชิกอาเซียน อีกทั้งการมีแผนการใชเชื้อเพลิงของ กำลังการผลิตอยูที่ 163,668 กิกะวัตต-ชั่วโมง • การใชเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟาของประเทศ อาเซียนที่ชัดเจนก็จะยิ่งชวยสรางความมั่นใจในการเขามา ยังคงพึ่งพากาซธรรมชาติมากที่สุดถึงรอยละ 72 ของไฟฟา ลงทุนของนักลงทุนตางประเทศในภูมิภาคอาเซียน ทั้งใน ที่ผลิตได ตามมาดวยถานหิน/ลิกไนตอีกประมาณรอยละ ดานการผลิต การวางสายสงไฟฟา และการพัฒนาโครงสราง 18 ของไฟฟาที่ผลิตได โดยมีการนำเขาไฟฟาจากลาว รอยละ พื้นฐานดานพลังงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวของ ซึ่งผลจากการพัฒนา ในดานตาง ๆ เหลานี้ลวนมีสวนชวยเสริมสรางความมั่นคง 4 และมาเลเซีย รอยละ 1 • ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟาฉบับลาสุด (PDP ด า นพลั ง งานของอาเซี ย น และทำให ก ารพั ฒ นาในสาขา 2010) ไดกำหนดสัดสวนของการใชถานหินในป 2573 พลังงานเปนการพัฒนาที่ยั่งยืนตอไป ทั้งหมดนี้ลวนชวย ไวที่รอยละ 21 ขณะที่สัดสวนการนำเขาไฟฟาจากเพื่อนบาน สงเสริมเปาหมายใหญของอาเซียนในการเปนภูมิภาคที่มี ความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและตอเนื่องตามวิสัยทัศนอาเซียน จะเพิ่มจากรอยละ 5 เปนรอยละ 19 • นอกจากนี้ ในแผน PDP 2010 ยั ง ได ร ะบุ 2563 (ASEAN Vision 2020) ที่ตั้งไว เป า หมายของการลดการปล อ ยก า ซเรื อ นกระจกไว เ ป น เปาหมายหลักดวยเชนกัน

www.eppo.go.th • 61


ENERGY LEARNING ZONE

นโยบายพลังงาน

การปลอยกาซคารบอนไดออกไซด (CO2) จากการใชพลังงานชวง 2 ไตรมาสแรกป 2554 การคำนวณการปลอยกาซคารบอนไดออกไซด (CO2) ของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) มีหลักเกณฑ โดยอางอิงวิธปี ระมาณการและคาปจจัยทีเ่ กีย่ วของตอการปลอย กาซ CO2 ตามหลักเกณฑของ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ฉบับป ค.ศ. 2006 จากการใช พลังงานใน 4 ภาคเศรษฐกิจ ไดแก ภาคการผลิตไฟฟา (Power Generation) ภาคการขนสง (Transportation) ภาคอุตสาหกรรม (Industry) และภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ (Other Sectors) ซึ่ง หมายถึง ภาคครัวเรือน เกษตรกรรม และพาณิชยกรรม เปนตน

ดานชนิดเชือ้ เพลิง ไดแบงเชือ้ เพลิงในการคำนวณออกเปน 3 ชนิด ไดแก น้ำมันสำเร็จรูป (คำนวณจากการใชน้ำมันเบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา กาซปโตรเลียมเหลว (LPG) น้ำมันเครื่องบิน และ น้ำมันกาด) กาซธรรมชาติ และถานหิน/ลิกไนต ทั้งนี้ยกเวน เชือ้ เพลิงบางชนิดเพือ่ ปองกันการนับซ้ำตามหลักเกณฑของ IPCC ไดแก น้ำมันเตาสำหรับเรือเดินสมุทรระหวางประเทศ (Bunker Oil) และน้ ำ มั น เครื่ อ งบิ น สำหรั บ เที่ ย วบิ น ระหว า งประเทศ เชือ้ เพลิงหมุนเวียนตาง ๆ ไดแก ชีวมวล กาซชีวภาพ เอทานอล ไบโอดีเซล และพลังน้ำ เปนตน ถือวาไมมกี ารปลอยกาซ CO2

1. ภาพรวมการปลอยกาซ CO2 จากการใชพลังงานของประเทศ การปล อ ยก า ซ CO 2 จากการใช พ ลั ง งานมี ความสั ม พั น ธ กั บ ปริ ม าณการใช พ ลั ง งานขั้ น ต น ของ ประเทศ ไดแก น้ำมัน กาซธรรมชาติ ถานหิน/ลิกไนต และพลังงานหมุนเวียน เชน กากออย กาซชีวภาพ และ เชือ้ เพลิงดัง้ เดิม เชน ถาน ฟน โดยการปลอยกาซ CO2 จากการใช พ ลั ง งานของประเทศในช ว งที่ ผ า นมามี แนวโนมเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่องมาโดยลำดับนับตั้งแต หลังการฟน ตัวจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จาก 145.35 ลานตัน CO2 ในป 2541 เปน 220.64 ลานตัน CO2 ในป 2553 หรือเพิม่ ขึน้ เฉลีย่ รอยละ 3.5 ตอป

การปลอยกาซ CO2 และการใชพลังงานของไทย (มิ.ย.)

ทัง้ นีใ้ นชวง 2 ไตรมาสแรกป 2554 มีปริมาณการปลอยกาซ CO2 รวม 114.19 ลานตัน CO2 เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปกอนซึ่งมี การปลอยกาซรวม 110.60 ลานตัน CO2 หรือเพิ่มขึ้นรอยละ 3.3 มีทิศทางเปนไปในแนวเดียวกับการใชพลังงานของประเทศที่มีแนวโนม เพิม่ ขึน้ อยางตอเนือ่ ง จากป 2553 ซึง่ มีการใชพลังงานชวง 2 ไตรมาสแรก ที่ ร ะดั บ 54,965 พั น ตั น เที ย บเท า น้ ำ มั น ดิ บ (KTOE) เพิ่ ม ขึ้ น เป น 57,531 KTOE ในชวงเดียวกันของปนี้ หรือเพิม่ ขึน้ รอยละ 4.7 อันเปน ผลมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยังคงมีการขยายตัวอยางตอเนื่อง สะทอนไดจากผลิตภัณฑมวลรวมในประเทศ (GDP) ชวง 2 ไตรมาสแรก ป 2554 ทีข่ ยายตัวเพิม่ ขึน้ จากชวงเดียวกันของปทแี่ ลวรอยละ 2.9

ม.ค.-มิ.ย. การเปลี่ยนแปลง (%) 2552 2553 (2009) (2010) 2553 2554 2552 2553 2554 (2010) (2011) (ม.ค.-มิ.ย.) 4.7 การใชพลังงานของไทย 102,552 108,559 54,965 57,531 2.2 5.9 (KTOE) 208.48 220.64 110.60 114.19 2.6 5.8 3.3 การปลอยกาซ CO2 (ลานตัน CO2)

62 • นโยบายพลังงาน


2. การปลอยกาซ CO2 จากการใชพลังงานแยกรายภาคเศรษฐกิจและชนิดเชือ้ เพลิง ในชวง 2 ไตรมาสแรกป 2554 เกือบทุกภาคเศรษฐกิจ ยังคงมีการปลอยกาซ CO2 เพิ่มขึ้น ยกเวนภาคการผลิตไฟฟา โดยเชือ้ เพลิงทีม่ สี ดั สวนการปลอยกาซ CO2 จากการใชพลังงาน มากที่ สุ ด ได แ ก น้ ำ มั น สำเร็ จ รู ป และก า ซธรรมชาติ ทั้ ง นี้ ภาคอุตสาหกรรมและภาคการขนสง ซึ่งมีสัดสวนการปลอย กาซ CO2 เทากันคือรอยละ 26 ของปริมาณการปลอยกาซ CO2 ของประเทศ มีการปลอยกาซทีร่ ะดับ 30.0 และ 29.3 ลานตัน CO2 ตามลำดับ เพิม่ ขึน้ จากชวงเดียวกันของปทแี่ ลวรอยละ 4.9

การปลอยกาซ CO2 รายภาคเศรษฐกิจ

ภาคการผลิตไฟฟา ภาคอุตสาหกรรม ภาคการขนสง ภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ รวม

ม.ค.-มิ.ย. 2552 2553 สัดสวน 2553 2554 (2009) (2010) (2010) (2011) (%) 45.7 54.9 39 84.5 90.8 28.6 30.0 26 57.1 55.9 26.9 29.3 26 54.0 49.9 9.4 10.0 18.8 18.2 9 208.5 220.6 110.6 114.2 100

การปลอยกาซ CO2 รายชนิดเชื้อเพลิง

น้ำมันสำเร็จรูป ถานหิน/ลิกไนต กาซธรรมชาติ รวม

ม.ค.-มิ.ย. 2552 2553 2553 2554 (2009) (2010) (2010) (2011) 40.8 42.3 80.0 81.0 32.6 34.4 62.4 63.9 37.2 37.5 66.0 75.8 208.5 220.6 110.6 114.2

และรอยละ 9.0 ในขณะทีภ่ าคเศรษฐกิจอืน่ ๆ ซึง่ แมจะมีสดั สวน การปลอยกาซ CO2 เพียงรอยละ 9 แตมปี ริมาณการปลอยกาซ เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปที่แลวถึงรอยละ 6.3 ในขณะที่ การผลิ ต ไฟฟ า ซึ่ ง มี สั ด ส ว นการปล อ ยก า ซ CO 2 สู ง สุ ด คื อ รอยละ 39 ของปริมาณการปลอยกาซ CO2 ทั้งหมด ในชวง 2 ไตรมาสแรกมีการปลอยกาซ 44.9 ลานตัน CO2 ลดลงจาก ชวงเดียวกันของปที่แลวรอยละ 1.8 โดยมีการปลอยกาซ CO2 ที่ระดับ 45.7 ลานตัน CO2 สามารถแสดงรายละเอียดไดดังนี้

หนวย : ลานตัน CO2 การเปลี่ยนแปลง (%) 2554 2552 2553 (ม.ค.-มิ.ย.) -1.8 -0.8 7.4 4.9 6.4 2.1 9.0 4.0 8.1 6.3 4.1 3.7 3.3 2.6 5.8

หนวย : ลานตัน CO2 การเปลี่ยนแปลง (%) สัดสวน 2554 (%) 2552 2553 (ม.ค.-มิ.ย.) 3.7 37 2.1 1.2 5.5 30 0.4 2.3 0.8 33 5.5 14.8 3.3 100 2.6 5.8

• ภาคการผลิตไฟฟา เชื้อเพลิงสำคัญที่กอใหเกิด การปลอยกาซ CO2 ในการผลิตไฟฟา ไดแก กาซธรรมชาติ และถานหิน/ลิกไนต ซึง่ คิดเปนสัดสวนถึงรอยละ 60 และ รอยละ 39 ของปริมาณการปลอยกาซ CO2 ในการผลิต ไฟฟ า ทั้ ง หมด โดยในช ว งที่ ผ า นมาก า ซธรรมชาติ แ ละ ถ า นหิ น /ลิ ก ไนต ยั ง คงมี แ นวโน ม การปล อ ยก า ซ CO 2 สูงขึ้น ในขณะที่การปลอยกาซ CO2 จากการใชน้ำมัน สำเร็จรูป (น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา) ซึง่ โดยปกติใชเปน เชือ้ เพลิงสำรองในการผลิตไฟฟา มีปริมาณการปลอยกาซ เพียงเล็กนอยและคอนขางทรงตัวอยูใ นระดับคงที่

การปลอยกาซ CO2 รายภาคเศรษฐกิจ (มิ.ย.)

การปลอยกาซ CO2 รายชนิดเชื้อเพลิง (มิ.ย.)

ในชวง 2 ไตรมาสแรกป 2554 มีการปลอยกาซ CO2 จากการใช กาซธรรมชาติในการผลิตไฟฟาลดลง โดยอยูที่ระดับ 26.9 ลานตัน CO2 ลดลงจากชวงเดียวกันของปกอ นรอยละ 6.3 ในขณะทีก่ ารปลอย กาซ CO2 จากการใชถานหิน/ลิกไนตในการผลิตไฟฟาชวงดังกลาว ยังคงเพิม่ ขึน้ รอยละ 6.4 โดยอยูท รี่ ะดับ 17.5 ลานตัน CO2 ทัง้ นีเ้ นือ่ งจาก ชวงครึง่ ปแรกแหลงกาซธรรมชาติยาดานาและเยตากุนจากประเทศพมา จายกาซธรรมชาติเขาระบบลดลง ประกอบกับในชวงเดือนมิถุนายน เกิดเหตุการณทอ สงกาซธรรมชาติในอาวไทยรัว่ ทำใหตอ งลดการจาย กาซธรรมชาติใหโรงไฟฟา อันสงผลใหปริมาณการปลอยกาซ CO2 จาก การใชกา ซธรรมชาติในการผลิตไฟฟาดังกลาวลดลงตามไปดวย www.eppo.go.th • 63


การปลอยกาซ CO2 ภาคการผลิตไฟฟา

น้ำมันสำเร็จรูป ถานหิน/ลิกไนต กาซธรรมชาติ รวม

ม.ค.-มิ.ย. 2552 2553 สัดสวน 2553 2554 (2009) (2010) (2010) (2011) (%) 1.0 1 1.0 0.5 0.5 31.7 31.8 16.4 17.5 39 51.8 58.0 28.7 26.9 60 84.5 90.8 45.7 44.9 100

หนวย : ลานตัน CO2 การเปลี่ยนแปลง (%) 2552 2553 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) -14.9 -3.7 -10.8 -2.0 0.2 6.4 0.2 12.0 -6.3 -0.8 7.4 -1.8

การปลอยกาซ CO2 ภาคการผลิตไฟฟา แยกรายชนิดเชื้อเพลิง (มิ.ย.)

• ภาคอุตสาหกรรม เชื้อเพลิงสำคัญที่กอใหเกิดการปลอยกาซ CO2 ใน ภาคอุตสาหกรรม ไดแก ถานหิน/ลิกไนต และกาซธรรมชาติ ซึง่ ยังคงมีแนวโนม การปลอยกาซ CO2 เพิ่มขึ้น โดยในชวง 2 ไตรมาสแรกของป 2554 มีการปลอย กาซ CO2 จากกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรมรวม 29.3 ลานตัน CO2 เพิม่ ขึน้ จากชวงเดียวกันของปกอ นรอยละ 9.0 โดยถานหิน/ลิกไนตมกี ารปลอยกาซ CO2 ทีร่ ะดับ 16.9 ลานตัน CO2 (โดยคิดเปนสัดสวนกวาครึง่ ถึงรอยละ 58 ของปริมาณ การปลอยกาซ CO2 ในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด) เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของ ปกอ นรอยละ 4.7 เชนเดียวกับการปลอยกาซ CO2 จากการใชกา ซธรรมชาติทยี่ งั คงมีแนวโนมเพิม่ ขึน้

การปลอยกาซ CO2 ภาคอุตสาหกรรม

น้ำมันสำเร็จรูป ถานหิน/ลิกไนต กาซธรรมชาติ รวม

ม.ค.-มิ.ย. 2552 2553 2553 2554 (2009) (2010) (2010) (2011) 8.0 7.9 4.0 4.2 30.7 32.0 16.2 16.9 11.3 14.0 6.7 8.2 49.9 54.0 26.9 29.3

หนวย : ลานตัน CO2 การเปลี่ยนแปลง (%) สัดสวน 2554 (%) 2552 2553 (ม.ค.-มิ.ย.) 14 -9.8 -1.1 4.1 58 3.0 4.5 4.7 28 20.5 24.4 22.4 100 4.0 8.1 9.0

• ภาคการขนสง เชือ้ เพลิงสำคัญทีก่ อ ใหเกิดการปลอยกาซ CO2 ในภาคการขนสง ไดแก น้ำมันสำเร็จรูป (น้ำมันเบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา น้ ำ มั น เครื่ อ งบิ น และ LPG) ซึ่ ง คิ ด เป น สั ด ส ว นถึ ง ร อ ยละ 92 ของปริมาณการปลอยกาซ CO2 ในภาคการขนสงทัง้ หมด อยางไรก็ดี ตั้งแตป 2547 การปลอยกาซ CO2 จากการใชน้ำมันสำเร็จรูปใน ภาคการขนสงเริม่ มีแนวโนมคอนขางคงที่ ในขณะทีก่ ารปลอยกาซ CO2 จากการใชกา ซธรรมชาติ ทีแ่ มจะมีสดั สวนนอยเพียงรอยละ 8 กลับมี แนวโนมเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็ว เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุน การใช NGV เปนเชือ้ เพลิงในภาคขนสงทดแทนน้ำมันเบนซินและดีเซล

64 • นโยบายพลังงาน

ในชวง 2 ไตรมาสแรกของป 2554 มีการปลอยกาซ CO2 จากการใชกา ซธรรมชาติ ที่ ร ะ ดั บ 8 . 2 ล า น ตั น C O 2 เ พิ่ ม ขึ้ น จากชวงเดียวกันของปกอนถึงรอยละ 22.4 ในขณะทีก่ ารใชนำ้ มันสำเร็จรูป (น้ำมันดีเซล น้ ำ มั น เตา น้ ำ มั น ก า ด และ LPG) มี การปลอยกาซ CO2 ที่ระดับ 4.2 ลานตัน CO2 เพิ่มขึ้นรอยละ 4.1 เมื่อเทียบกับชวง เดียวกันของปกอ นหนา

การปลอยกาซ CO2 ภาคอุตสาหกรรม แยกรายชนิดเชื้อเพลิง (มิ.ย.)

ในชวง 2 ไตรมาสแรกป 2554 มีการปลอยกาซ CO2 จากการใชนำ้ มันสำเร็จรูป 27.6 ลานตัน CO2 เพิม่ ขึน้ รอยละ 2.9 จากชวงเดียวกันของปที่แลวซึ่งมีการปลอย ก า ซ CO 2 26.8 ล า นตั น CO 2 ในขณะที่ ก ารใช ก า ซ ธรรมชาติมกี ารปลอยกาซ CO2 ทีร่ ะดับ 2.4 ลานตัน CO2 เพิม่ ขึน้ จากชวงเดียวกันของปกอ นซึง่ มีการปลอยกาซ CO2 1.8 ลานตัน CO2 ถึงรอยละ 34.9 โดยเปนการเพิม่ ขึน้ ใน อัตราทีส่ งู ตามปริมาณการใช NGV ภาคขนสงชวงดังกลาว ซึง่ มีการใชเพิม่ ขึน้ จากปทแี่ ลวถึงรอยละ 34.8


การปลอยกาซ CO2 ภาคการขนสง

น้ำมันสำเร็จรูป ถานหิน/ลิกไนต กาซธรรมชาติ รวม

ม.ค.-มิ.ย. 2552 2553 2553 2554 (2009) (2010) (2010) (2011) 52.8 53.2 26.8 27.6 3.0 3.8 1.8 2.4 55.9 57.1 28.6 30.0

หนวย : ลานตัน CO2 การเปลี่ยนแปลง (%) สัดสวน 2554 (%) 2552 2553 (ม.ค.-มิ.ย.) 92 3.9 0.7 2.9 8 84.1 26.8 34.9 100 6.4 2.1 4.9

การปลอยกาซ CO2 ภาคการขนสง แยกรายชนิดเชื้อเพลิง (มิ.ย.)

• ภาคเศรษฐกิจอืน่ ๆ การปลอยกาซ CO2 ในภาคเศรษฐกิจอืน่ ๆ เกิดจากการใชนำ้ มันสำเร็จรูป (น้ำมันเบนซิน ดีเซล และ LPG) เชนเดียวกับภาคการขนสง ทัง้ นีต้ ลอดชวงทีผ่ า นมามีแนวโนมการปลอยกาซ CO2 จากการใชนำ้ มันสำเร็จรูปเพิม่ สูงขึน้ มาโดยลำดับ โดยในชวง 2 ไตรมาสแรกของป 2554 มีการปลอยกาซ CO2 จากการใชนำ้ มันสำเร็จรูปรวม 10.0 ลานตัน CO2 เพิม่ ขึน้ จากชวงเดียวกันของปกอ นรอยละ 6.3

การปลอยกาซ CO2 ภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ

น้ำมันสำเร็จรูป ถานหิน/ลิกไนต กาซธรรมชาติ รวม

ม.ค.-มิ.ย. 2552 2553 2553 2554 (2009) (2010) (2010) (2011) 9.4 10.0 18.8 18.2 9.4 10.0 18.8 18.2

สัดสวน (%) 100 100

หนวย : ลานตัน CO2 การเปลี่ยนแปลง (%) 2554 2552 2553 (ม.ค.-มิ.ย.) 6.3 4.1 3.7 6.3 4.1 3.7

การปลอยกาซ CO2 ภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ แยกรายชนิดเชื้อเพลิง (มิ.ย.)

3. ดัชนีชี้วัดการปลอยกาซ CO2 ภาคพลังงานของไทย • การปล อ ยก า ซ CO 2 ต อ การใช พ ลั ง งาน ในช ว ง 2 ไตรมาสแรกของป 2554 มีการปลอยกาซ CO2 เฉลี่ย 1.98 พันตัน CO2 ตอการใชพลังงาน 1 KTOE ลดลงจากชวงเดียวกัน ของปกอนซึ่งมีการปลอยกาซ CO2 เฉลี่ย 2.01 พันตัน CO2 ตอการใชพลังงาน 1 KTOE รอยละ 1.3 ทั้งนี้ปจจัยสำคัญ เนื่ อ งจากประเทศไทยมี ก ารส ง เสริ ม การใช ก า ซธรรมชาติ ซึ่ ง เป น เชื้ อ เพลิ ง ที่ มี ก ารปล อ ยก า ซ CO 2 ต อ หน ว ยการใช พลั ง งานต่ ำ กว า เชื้ อ เพลิ ง ฟอสซิ ล ชนิ ด อื่ น เพิ่ ม ขึ้ น โดย ในช ว ง 2 ไตรมาสแรกของป นี้ มี ก ารใช ก า ซธรรมชาติ แ ละ กาซธรรมชาติเหลว (Liquid Natural Gas) ที่ระดับ 20,594 KTOE คิดเปนสัดสวนรอยละ 44 ของปริมาณการใชพลังงาน เชิงพาณิชยขั้นตน เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปที่แลวซึ่งมี สัดสวนการใชกาซธรรมชาติรอยละ 43 หรือเพิ่มขึ้นรอยละ 7.3 อันสงผลใหสัดสวนการปลอยกาซ CO2 ตอการใชพลังงาน ของประเทศในชวงดังกลาวลดลง เมื่อเปรียบเทียบการปลอยกาซ CO2 ตอการใชพลังงาน ของประเทศไทยกับตางประเทศ พบวา ณ เดือนมิถุนายน

2554 ประเทศไทยมีการปลอยกาซ CO2 เฉลี่ย 2.01 พันตัน CO2 ตอการใชพลังงาน 1 KTOE ซึ่งเปนอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับ ทั้ ง ค า เฉลี่ ย ของประเทศในกลุ ม สหภาพยุ โ รปและประเทศ ในกลุมอาเซียน ที่มีการปลอยกาซ CO2 ในชวง 2.14–2.56 พันตัน CO2 ตอการใชพลังงาน 1 KTOE รวมทั้งยังต่ำกวา คาเฉลี่ยของโลกซึ่งมีการปลอยกาซ CO2 คอนขางสูง คือเฉลี่ย 2.61 พันตัน CO2 ตอการใชพลังงาน 1 KTOE

การปลอยกาซ CO2 ตอการใชพลังงาน (มิ.ย.)

คาเฉลี่ยการปลอยกาซ CO2 ตอการใชพลังงาน ณ ป พ.ศ. 2551 (จาก EDMC, 2554) www.eppo.go.th • 65


• การปลอยกาซ CO2 ตอหนวยการผลิตไฟฟา (kWh) ในชวงที่ผานมามีการเปลี่ยนแปลงไปตามสัดสวนของเชื้อเพลิง ทีใ่ ชในการผลิตไฟฟา จนกระทัง่ ในชวง 20 ปทแี่ ลวประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงโครงสรางเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟา โดย มีการใชกาซธรรมชาติและถานหิน/ลิกไนตเปนเชื้อเพลิงใน การผลิตไฟฟาในสัดสวนที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่มีปริมาณการใช น้ำมันสำเร็จรูปลดลง สงผลใหสัดสวนการปลอยกาซ CO2 ตอ kWh เริ่มมีแนวโนมลดลงโดยลำดับ ทั้งนี้ในชวง 2 ไตรมาสแรกของป 2554 มีการปลอย กาซ CO2 เฉลี่ยที่ระดับ 0.552 กิโลกรัม CO2 ตอ 1 kWh ใกลเคียงกับชวงเดียวกันของปกอนซึ่งมีการปลอยกาซ CO2 เฉลีย่ ทีร่ ะดับ 0.553 กิโลกรัม CO2 ตอ 1 kWh หรือลดลงเล็กนอย ร อ ยละ 0.1 อย า งไรก็ ดี เมื่ อ เปรี ย บเที ย บการปล อ ยก า ซ CO2 ตอ kWh ของประเทศไทยกับตางประเทศ พบวา ณ เดือน มิถุนายน 2554 ประเทศไทยมีการปลอยกาซ CO2 0.535 กิโลกรัม CO2 ตอ 1 kWh ซึ่งเปนอัตราที่สูงกวาคาเฉลี่ยของ โลกและกลุมประเทศในสหภาพยุโรป ที่มีการปลอยกาซ CO2 ในช ว ง 0.335–0.502 กิ โ ลกรั ม CO 2 ต อ 1 kWh โดย ณ ป 2550 กลุ ม ประเทศสหภาพยุ โ รป และค า เฉลี่ ย ของ ทุ ก ประเทศในโลก มี ก ารใช นิ ว เคลี ย ร ซึ่ ง เป น เชื้ อ เพลิ ง

ที่กอใหเกิดการปลอยกาซ CO2 ปริมาณต่ำ ในการผลิตไฟฟา คิดเปนสัดสวนถึงรอยละ 32 และรอยละ 16 ของเชื้อเพลิงใน การผลิตไฟฟาทั้งหมดตามลำดับ ในขณะที่ประเทศไทยยังคง ใช เ ชื้ อ เพลิ ง ฟอสซิ ล ในการผลิ ต ไฟฟ า เป น หลั ก จึ ง ส ง ผลให สั ด ส ว นการปล อ ยก า ซ CO 2 ต อ kWh ของประเทศไทย ในปจจุบันมีคาสูงกวากลุมประเทศดังกลาว อยางไรก็ตาม เมื่อ เที ย บกั บ ประเทศในกลุ ม อาเซี ย นซึ่ ง มี ก ารปล อ ยก า ซ CO 2 เฉลี่ยที่ระดับ 0.751 กิโลกรัม CO2 ตอ 1 kWh นับไดวา ประเทศไทยยังปลอยกาซ CO2ตอ kWh ในระดับต่ำกวามาก

การปลอยกาซ CO2 ตอหนวยการผลิตไฟฟา (มิ.ย.)

คาเฉลี่ยการปลอยกาซ CO2 ตอหนวยการผลิตไฟฟา ณ ป พ.ศ. 2551 (จาก IEA, 2553)

• การปลอยกาซ CO2 ตอ GDP ในชวงกอนเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจป 2541 ประเทศไทยมีแนวโนมการปลอยกาซ CO2 ตอ GDP เพิ่มขึ้นอยางตอเนื่องจนมาอยูที่ระดับสูงสุด 52.86 ตัน CO2 ตอลานบาท ในป 2541 หลังจากนั้นก็ลดต่ำลง จนในป 2551 มีระดับต่ำสุดที่ 46.55 ตัน CO2 ตอลานบาท

ทั้งนี้ชวง 2 ไตรมาสแรกของป 2554 มีการปลอยกาซ การปลอยกาซ CO2 ตอ GDP (มิ.ย.) CO2 เฉลี่ยที่ระดับ 48.52 ตัน CO2 ตอลานบาท ใกลเคียงกับ ชวงเดียวกันของปกอนซึ่งมีการปลอยกาซ CO2 เฉลี่ย 48.32 ตัน CO2 ตอลานบาท หรือเพิ่มขึ้นเล็กนอยรอยละ 0.4 โดย ในไตรมาส 2 ของป 2554 มีการปลอยกาซ CO2 เฉลี่ยที่ระดับ 51.00 ตัน CO2 ตอลานบาท ใกลเคียงกับไตรมาสเดียวกัน ของปกอนซึ่งมีการปลอยกาซ CO2 เฉลี่ยที่ระดับ 50.53 ตัน CO 2 ต อ ล า นบาท หรื อ เพิ่ ม ขึ้ น เล็ ก น อ ยเพี ย งร อ ยละ 0.9 ซึ่ ง ไตรมาส 2 ของทุ ก ป จ ะเป น ช ว งที่ มี ก ารปล อ ยก า ซ CO2 ตอ GDP สูงสุดของป

66 • นโยบายพลังงาน


ENERGY LEARNING ZONE

อนุรักษพลังงาน

ผลงานที่ชนะการประกวดบทอาขยาน

“ประหยัดพลังงาน...เราทำได งาน...เราทำได” ประเภทเยาวชน อายุ 12-18 ป รางวัลชนะเลิศ

นายศรีรัตน กอคูณ กรุงเทพฯ

หลายคนไปหนึ่งคัน พัดลมคอมทีวี พอเพียงและประหยัด เชื่อมั่น...เราทำได

ลดน้ำมันประหยัดดี ปดทันทีถอดปลั๊กไฟ ปฏิบัติเปนนิสัย ประหยัดใชพลังงาน

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

เด็กหญิงวิวิศนา ตรงจิตร อำเภอหาดใหญ จังหวัดสงขลา

ประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำและไฟ ปดแอรเมื่อเลิกใช น้ำมันอยาใชเกิน

วิธีการเราทำได ชวยชาติไทยใหเจริญ หากอยูใกลเราควรเดิน เชิญคนไทยประหยัดกัน

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

นายชยพล กล่ำปลี อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

ลมพัดเราปดแอร กินขาวใหหมดจาน คอมพิวเตอรเลิกเปดทิ้ง กระดาษใชใหดี

ตูเย็นแชพอประมาณ น้ำและไฟใชพอดี และอีกสิ่งคือทีวี ทั้งสองหนาพาสุขใจ

www.eppo.go.th • 67


รางวัลชนะเลิศ

ประเภทประชาชนทั่วไป

นายอุดม นุสาโล อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

ทางเดียวไปดวยกัน น้ำไฟใชพอดี หางฝาสิบหาเซ็นต รวมมือเราทำได

ลดน้ำมันไดทันที ปดทีวีถอดปลั๊กไฟ ชวยตูเย็นไมรอนใน ประหยัดใช...พลังงาน

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

นายยุทธนา เสียดขุนทด อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี

ประหยัดพลังงาน ขึ้นลงเลือกบันได ไมขับดับเครื่องยนต น้ำใชใหคุมคา

จักรยานขี่กันไป ปดเปดไฟเปนเวลา ทุกทุกคนรูรักษา ถึงเวลาตองชวยกัน

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

นายไวรุจน เดชมหิทกุล กรุงเทพฯ

ลิฟต รถ ลดการใช นอยชิ้นไมรีดผา ไมเปดตูเย็นบอย ไมใชหลอดไฟกลม

ไมเหนื่อยไปเดินดีกวา ไมรอนจัดใชพัดลม หรี่กาซคอยยามอุนตม เราทำไดงายนิดเดียว

รางวัลพิเศษสำหรับบทอาขยานยอดนิยม ประเภทเยาวชน

นายศรีรัตน กอคูณ กรุงเทพฯ

ใชน้ำอยางคุมคา เบอรหานานิยม เปดปดตองคิดกอน พอเพียงและพอดี

ใชไฟฟาอยางเหมาะสม แอรพัดลมคอมทีวี ยึดคำสอนองคภูมี ประหยัดนี้ไมยากเอย

รางวัลพิเศษสำหรับบทอาขยานยอดนิยม ประเภทประชาชนทั่วไป

นายปริยากร พิงพิณ จังหวัดกาฬสินธุ

เลือกใชใหสมเหตุ ลดทิ้งอยางเชี่ยวชาญ ทำตัวเปนแบบอยาง พอเพียงเลี้ยงชีวัน

68 • นโยบายพลังงาน

ทุกประเภทพลังงาน ทุกถิ่นฐานตองชวยกัน ชี้นำทางอยางสรางสรรค รักษโลกนั้นเริ่มที่เรา


ENERGY GAME ZONE

การตูนประหยัดพลังงาน

รวมใจประหยัดพลังงาน อุปกรณสำนักงาน รูหรือไมวาอุปกรณสำนักงานใชไฟฟาประมาณรอยละ 15 ของการใชพลังงานทั้งหมดของอาคาร อุปกรณสำนักงาน ประกอบดวย คอมพิวเตอร เครื่องพรินเตอร เครื่องถายเอกสาร และเครื่องโทรสาร

วิธีงาย ๆ ประหยัดพลังงานอุปกรณสำนักงาน

• ปดเครื่องหลังเลิกงานพรอมทั้งถอดปลั๊กออกดวย เนื่องจากยังมีการสิ้นเปลือง พลังงาน ยกเวนเครื่องโทรสาร ซึ่งตองเปด 24 ชั่วโมง • ป ด จ อ ค อ ม พิ ว เ ต อ ร ใ น เ ว ล า พั ก เ ที่ ย ง เนื่ อ งจากจอภาพใช ไ ฟฟ า กว า ร อ ยละ 70 ของคอมพิ ว เตอร และควรสั่ ง ให ร ะบบ ประหยัดพลังงานอัตโนมัติที่มากับเครื่อง คอมพิวเตอรทำงาน • เลือกซื้อเฉพาะอุปกรณสำนักงานที่มีสัญลักษณ Energy Star และตรวจสอบวาระบบประหยัดพลังงานทำงานไดจริง • พิ จ ารณาเครื่ อ งพริ น เตอร แ ละเครื่ อ ง ถ า ยเอกสารที่ มี ร ะบบถ า ย 2 หน า จะ ชวยประหยัดกระดาษ www.eppo.go.th • 69


ENERGY GAME ZONE

เกมพลังงาน

เขาใจใน “ชีวมวล” และ “พลังงานชีวมวล” ดีแคไหน?

ชีวมวล เศษวัสดุเหลือทิ้งและของเสียไรคาที่ไมไดไรคาอีกตอไป เพราะสามารถนำมาใชเปนวัตถุดิบหลักในการผลิต พลังงานได โดยผานกระบวนการหรือเทคโนโลยีตาง ๆ ที่เปลี่ยนชีวมวลเหลานี้ใหเปนพลังงานชีวมวล ซึ่งมีอยูหลายรูปแบบ ดวยกัน เชน เชื้อเพลิงเหลว กาซเชื้อเพลิง พลังงานความรอน ฯลฯ หลังจากที่ไดอานเนื้อหาเกี่ยวกับชีวมวลและพลังงานชีวมวลในคอลัมน Scoop กันไปแลว เราลองมาเลนเกมกันดู เพื่อทดสอบวาคุณผูอานเขาใจในเรื่องนี้ดีแคไหน วิธีเลนก็ไมยาก ใหคุณผูอานจับคูหัวขอทางดานซายมือกับคำอธิบาย ทางดานขวามือ โดยเติมอักษรลงในชองวางใหถูกตอง ถาพรอมแลวลงมือไดเลย

1. เศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร _________ 2. โรงไฟฟารอยเอ็ดกรีน _________ 3. เชื้อเพลิงอัดแทง _________ 4. ของเสียจากชุมชนและโรงงานแปรรูป ทางการเกษตร _________ 5. กาซชีวภาพอัด _________ 6. ไบโอดีเซล _________ 7. เศษวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานไมและอุตสาหกรรม แปรรูปกระดาษ _________ 8. น้ำมันแกสโซฮอล _________ นโยบายพลังงาน ฉบับที่ 93 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554

a ชีวมวลที่นำมาอัดเปนแทงเพื่อใหเปนเชื้อเพลิง ที่มีประสิทธิภาพและใชงานไดสะดวก c พลังงานที่ไดจากน้ำมันพืชใชแลว ซึ่งสามารถ ใชแทนน้ำมันดีเซลได e พลังงานที่ไดจากของเสียไรคาจำพวกมูลสัตว และน้ำเสียจากโรงงาน b โรงไฟฟ า ที่ ใ ช แ กลบจากโรงสี ข า วมาทำเป น เชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟา h ขยะมูลฝอย ขยะสด มูลสัตว และน้ำเสีย g ขี้เลื่อย เนื้อไม เศษไม และเปลือกไม f ซั ง ข า วโพด ฟางข า ว กะลาปาล ม และเหง า มันสำปะหลัง d พลังงานที่ไดจากเศษเหลือทิ้งจากพืชจำพวก แปงและน้ำตาล

ทานผูอานสามารถรวมสนุก โดยสงคำตอบพรอมชื่อ-ที่อยูและเบอรโทรศัพท (ตัวบรรจง) มาที่ โทรสาร 0 2247 2363 หรือ บจก.ไดเร็คชั่น แพลน 539/2 อาคารมหานครยิบซั่ม ชั้น 22 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 วงเล็บมุมซองวา เกมพลังงาน ผูตอบถูก 5 ทาน จะไดรับของรางวัลสงใหถึงบาน ชื่อ-นามสกุล........................................................................................................................................................................... ที่อยู......................................................................................................................................................................................... โทรศัพท..............................................โทรสาร..............................................E-mail..............................................................

รองเรียน/รองทุกข แจงเบาะแสการทุจริต ประพฤติมิชอบของบุคลากร สำนักงานนโยบายและ แผนพลังงาน ผาน

70 • นโยบายพลังงาน

6 ชองทาง

1 ทางโทรศัพทหมายเลข 0 2612 1555 2 ทางโทรสารหมายเลข 0 2612 1358 3 ทางไปรษณียถึงผูอำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ที่อยู สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน 121/1-2 ถ.เพชรบุรี แขวงทุงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 4 เว็บไซต www.eppo.go.th (หัวขอ “สนพ. ใสสะอาด”] 5 กลองแสดงความคิดเห็น ณ บริเวณชั้น 1 สนพ. และศูนยขอมูลขาวสาร สนพ. 6 หรือมาดวยตนเองที่ ศูนยราชการใสสะอาด สนพ. ชั้น 4 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน 121/1-2 ถ.เพชรบุรี แขวงทุงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400


www.eppo.go.th

สมัครสมาลช ิก

รูปแบบไฟ t) PDF (Acroba

ี ร ฟ เรื่อง “พลังงาน” งาน” กอนใคร รูลึก รูจริง • สรุปขาวพลังงาน รายไตรมาส • Scoop ประเด็นเดนประจำฉบับ • สถานการณพลังงานไทย รูทันความเคลื่อนไหวทุกเรื่องพลังงาน • สถานการณราคาน้ำมันเชื้อเพลิง รูลึก เกาะติด ความเคลื่อนไหวราคาน้ำมัน • พลังงานทางเลือก ทางเลือก ทางรอดในยุคพลังงานวิกฤต

• เทคโนโลยีพลังงานตางประเทศ กาวทันทุกเทคโนโลยีการผลิตพลังงานเพื่อความยั่งยืน ทานที่สนใจสมัครสมาชิก “วารสารนโยบายพลังงาน” ในรูปแบบไฟล PDF (Acrobat)

กรุณาแจงขอมูลดานลางใหครบถวน แลวสงมาที่ E-mail : eppodp01@gmail.com หรือ โทรสาร 0 2247 2363 กองบรรณาธิการจะจัดสงวารสารนโยบายพลังงานฉบับลาสุดใหทานทาง E-mail ชื่อ-นามสกุล................................................................................................................................................................................................ บริษัท........................................................................................................................................................................................................... ที่อยู.............................................................................................................................................................................................................. โทรศัพท............................................................................................โทรสาร............................................................................................... E-mail……………………………………………………………………………………………………………...


แบบสอบถามความเห็น “วารสารนโยบายพลังงาน” ฉบับที่ 93 กรกฎาคม-กันยายน 2554

คณะทำงานวารสารนโยบายพลังงาน มีความประสงคจะสำรวจความคิดเห็นของทานผูอาน เพื่อนำขอมูลมาใชประกอบการปรับปรุงวารสาร นโยบายพลังงานใหดียิ่งขึ้น ผูรวมแสดงความคิดเห็น 10 ทานแรกจะไดรับของที่ระลึกจากคณะทำงานฯ เพียงแคทานตอบแบบสอบถามและเขียนชื่อ-ที่อยู ใหชัดเจน สงไปที่ คณะทำงานวารสารนโยบายพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เลขที่ 121/1-2 ถ.เพชรบุรี แขวงทุงพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400 หรือโทรสาร 0 2612 1358 หากทานใดตองการสมัครสมาชิกวารสารฯ รูปแบบไฟล pdf สมัครไดที่ e-mail : eppodp01@gmail.com

ชื่อ-นามสกุล...................................................................................................หนวยงาน....................................................................................... อาชีพ/ตำแหนง.............................................................................................โทร................................................................................................... ที่อยู........................................................................................................................................................................................................................

กรุณาทำเครื่องหมาย üลงในชอง และเติมขอความที่สอดคลองกับความตองการของทานลงในชองวาง 1 ทานเคยอาน ‘วารสารนโยบายพลังงาน’ หรือไม 10 คอลัมนภายใน “วารสารนโยบายพลังงาน” ที่ทานชื่นชอบ (โปรดทำเครื่องหมาย ü) เคย ไมเคย (จบการตอบแบบสอบถาม) 2 ทานอาน ‘วารสารนโยบายพลังงาน’ จากที่ใด ประเด็น มาก ปานกลาง นอย สรุ ป ข า วพลั ง งานรายไตรมาส ที่ทำงาน/หนวยงานที่สังกัด หองสมุด ภาพเปนขาว หนวยงานราชการ/สถานศึกษา อื่นๆ.......................... สกูป 3 ทานอาน ‘วารสารนโยบายพลังงาน’ ทุกเลมหรือไม สัมภาษณพิเศษ อานทุกเลม อานบางเลม สถานการณพลังงานไทย 4 ทานอาน ‘วารสารนโยบายพลังงาน’ อยางไร สถานการณพลังงานเชื้อเพลิง อานทั้งเลม อานผานๆ อานบางคอลัมน ศัพทพลังงาน เกมพลังงาน 5 ทานอาน ‘วารสารนโยบายพลังงาน’ เพราะเหตุใด ตองการขอมูล เพิ่มความรู มีคนแนะนำใหอาน อื่นๆ.......................... 11 “วารสารนโยบายพลังงาน” มีประโยชนอยางไร 6 ทานใชเวลาอาน ‘วารสารนโยบายพลังงาน’ กี่นาที ประเด็น มาก ปานกลาง นอย 0-10 นาที 11-20 นาที ทำใหรูและเขาใจเรือ่ งพลังงาน 21-30 นาที​ี มากกวา 30 นาที​ี ทำใหรูสถานการณพลังงาน 7 ความคิดเห็นตอรูปแบบ ‘วารสารนโยบายพลังงาน’ (ตอบได > 1 ขอ) นำไปใชในชีวิตประจำวันได ปก เนื้อหา

ภาพประกอบ

สวย ไมสวย สอดคลองกับเนื้อหา ไมสอดคลองกับเนื้อหา นาสนใจ ไมนาสนใจ ตรงกั บ ความต อ งการ ไมตรงกับความตองการ นำไปใชประโยชนได นำไปใชประโยชนไมได สวย สอดคลองกับเนื้อหา ทำใหเขาใจเรื่องดีขึ้น เล็กไป

ไมสวย ไมสอดคลองกับเนื้อหา ไมทำใหเขาใจเรื่องไดดีขึ้น ใหญไป พอดี

สำนวนการเขียน เขาใจ ขนาดตัวอักษร เล็กไป

ไมเขาใจ

รูปแบบตัวอักษร อานงาย การใชสี ขัดตา

อานยาก

ขนาดรูปเลม

ใหญไป

เล็กไป

ใหญไป สบายตา

ไดความรูรอบตัว อื่นๆ ……………......................... ............................................. .............................................

12 ขอเสนอแนะเพิ่มเติม ........................................................................................................ ........................................................................................................ ........................................................................................................ พอดี ........................................................................................................ ........................................................................................................ ........................................................................................................ พอดี

8 ระยะเวลาการเผยแพร ราย 3 เดือน เหมาะสม ไมเหมาะสม อื่นๆ........................ 9 ทานเคยอานวารสารนโยบายพลังงาน บนเว็บไซตของสำนักงานหรือไม เคย ไมเคย


เทคโนโลยีพลังงานจากตางประเทศ

ความหวังใหมพลังงานทดแทน เชือ้ เพลิงจากฟอสซิลอยางน้ำมันและกาซธรรมชาตินบั วัน จะเหลือนอยลงไปทุกที หลายประเทศจึงพยายามเสาะหาแหลง พลังงานทดแทนอืน่ ๆ ทีอ่ าจนำมาใชเปนพลังงานทดแทนเชือ้ เพลิง เดิมทีก่ ำลังจะหมดไป ซึง่ พลังงานทดแทนหนึง่ ทีไ่ ดรบั ความสนใจ ในชวงนี้ก็คือ “น้ำแข็งติดไฟ” (Combustible ice) ซึ่งถือเปน กาซธรรมชาติทอี่ ยูใ นรูปของแข็งชนิดหนึง่ (Natural gas hydrate : NGH) มี ลั ก ษณะเหมื อ นน้ ำ แข็ ง สามารถติ ด ไฟได เ หมื อ น เอทานอลแข็ง จึงเรียกกันวา “น้ำแข็งติดไฟ” หรือบางก็เรียก “น้ำแข็งมีเทน” เพราะในผลึกโครงสรางประกอบดวยกาซมีเทน จำนวนมาก แหลงน้ำแข็งติดไฟจะอยูใตทะเลและที่ราบสูงขนาดใหญ ที่มีอากาศหนาวเย็น เกิดขึ้นจากกาซธรรมชาติและน้ำภายใต ความกดดันสูงและอุณหภูมิต่ำจนมีลักษณะคลายกับน้ำแข็ง

หากสกัดและขนสงไมดีจะเปนการกระตุนใหเกิดการปลอย ก า ซมี เ ทนออกสู บ รรยากาศมากยิ่ ง ขึ้ น รวมถึ ง หากขุ ด เจาะ สำรวจใต ท อ งทะเลอย า งไม ร ะมั ด ระวั ง อาจเป น ตั ว การที่ ทำให เ กิ ด หายนะภั ย อย า งแผ น ดิ น ถล ม ตามชายฝ ง หรื อ แมกระทั่งเกิดสึนามิตามมาได ซึ่งเปนเรื่องที่หลายฝายตองหา วิธีการปองกัน รวมถึงหาเทคโนโลยีที่จะนำน้ำแข็งไฟมาใชให ไดอยางเหมาะสม ที่ผานมาประเทศที่ไดชื่อวามีแหลงน้ำแข็งติดไฟมากที่สุด ของโลกคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุน และอินเดีย แตลาสุดจีนได ออกมาเปดเผยถึงการคนพบแหลงน้ำแข็งไฟใหมในทะเลทาง ตอนเหนือของทะเลจีนใต ครอบคลุมพืน้ ที่ 430 ตารางกิโลเมตร ซึง่ ถือเปนแหลงน้ำแข็งติดไฟใหญทสี่ ดุ ในโลก ทำใหจนี กาวขึน้ มา เปนเจาแหงน้ำแข็งติดไฟรายที่ 4 ของโลก

น้ำแข็งติดไฟปริมาตร 1 ลูกบาศกเมตร สามารถปล อ ย กาซธรรมชาติไดเกือบ 164 ลูกบาศกเมตร มีการประมาณ กันวาปริมาณของคารบอนอินทรียในแหลงพลังงานของน้ำแข็ง ติดไฟทัง้ หมดของโลกมีมากเปน 2 เทา ของปริมาณแหลงสำรอง ทีพ่ สิ จู นแลวของน้ำมัน กาซธรรมชาติ และถานหินของโลกรวมกัน แนนอนวาหากสามารถขุดเจาะและนำน้ำแข็งติดไฟมาใชได โลกจะมีแหลงกาซธรรมชาติทสี่ ามารถตอบสนองความตองการ ของมนุษยไดอีกนับพันป

จีนมีแผนขุดเจาะน้ำแข็งติดไฟระหวางป ค.ศ. 20102015 และมีแผนขุดเจาะเชิงพาณิชยในป ค.ศ. 2020 โดย จะใช ง บประมาณราว 800 ล า นหยวน ซึ่ ง มหาวิ ท ยาลั ย ปโตรเลียมจีนเปดเผยวา คาใชจายในการขุดเจาะน้ำแข็งติดไฟ สูงถึง 200 เหรียญดอลลารสหรัฐตอลูกบาศกเมตร ขณะที่ น้ ำ แข็ ง ไฟ 1 ลู ก บาศก เ มตร ให ก า ซธรรมชาติ ร าว 164 ลูกบาศกเมตร ทำใหคาใชจายกาซธรรมชาติ 1 ลูกบาศกเมตร มากกวา 1 เหรียญดอลลารสหรัฐ ซึ่งถือวาสูงกวาคาใชจายใน การผลิ ต ก า ซธรรมชาติ ป จ จุ บั น ของจี น ที่ อ ยู ที่ 0.125 เหรีย ญดอลลาร สหรั ฐ ต อ ลูกบาศก เ มตร

แตอยางไรก็ตาม การนำน้ำแข็งติดไฟมาใชยังมีปญหา ที่สำคัญและหลายฝายอาจยังเปนกังวลโดยเฉพาะปญหาดาน สิ่งแวดลอม เนื่องจากน้ำแข็งติดไฟอัดแนนไปดวยกาซมีเทนถึง รอยละ 80-99.9 ซึง่ กาซมีเทนเปนกาซเรือนกระจก ตัวการสำคัญ ทีท่ ำใหเกิดภาวะโลกรอนและนากลัวยิง่ กวากาซคารบอนไดออกไซด

การจะนำน้ำแข็งติดไฟมาใชจึงยังตองศึกษาวิจัยเพื่อลด ผลกระทบต อ สิ่ ง แวดล อ มอี ก มาก เพื่ อ ให ไ ด ป ระสิ ท ธิ ภ าพ พลังงานและเกิดความคุมคามากที่สุด แตอยางนอยเราก็ยังมี ความหวังวาแหลงพลังงานใหมนี้จะเปนทางออกใหแกเราไดใน อนาคต แหลงขอมูลเพิ่มเติม 1. www.tundragas.com 2. www.giss.nasa.gov

www.eppo.go.th • 73


พลังงานชีวมวล พลังงานสีเขียว


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.