Journal of Social Research

Page 26

10

วารสารวิจัยสังคม ปที่ 34 ฉบับที่ 2 2554

การรั ก ษาราชอาณาจั ก รและความมั่ น ใจในความเจริ ญ รุ ง เรื อ งของมะละกา (อันดายาและอันดายา 2549: 77-78) อยางไรก็ตาม ในชวงคริสตศตวรรษที่ 16 เปนตนมา ความสําคัญของ ออรัง ลาอุต ในภูมิภาคนี้เริ่มเสื่อมถอยอันเนื่องมาจากสาเหตุประการแรกคือ การเปลี่ยนขั้วอํานาจทางการเมืองของชนชั้นปกครองในราชอาณาจักรยะโฮร กลาวคือมีการยึดอํานาจจากสุลตานองคเกาดวยการใชกองกําลังที่เปนชาวบูกิส ผลจากการลอบปลงพระชนม สุล ต า นองคเ ก า ทํ าให ลํ าดั บ ชั้น ทางสั ง คมของ ออรั ง ลาอุ ต เกิ ด ความสั่ น คลอน กษั ต ริ ย อ งค ใ หม ก็ ดู จ ะวางใจในชาวบู กิ ส มากกวา ออรัง ลาอุต ในชวงนี้เอง ออรัง ลาอุต ก็เริ่มกระจัดกระจายหายไป จากบริเวณชองแคบ อันดายาไดระบุวานี่เปนจุดเปลี่ยนที่มีนัยในประวัติศาสตร ของกลุม ออรัง ลาอุต ทําใหคนกลุมนี้กลับกลายมาเปนคนมีนิสัยขี้อาย เก็บตัว และหันไปมีวิถีชีวิตแบบเรรอนที่ไมมีอะไรโดดเดน (Trocki 2007: 26 อางใน Andaya 1975: 323 ) อีกทั้งความภาคภูมิใจและสถานะเดิมก็หายไปดวย สาเหตุของความเสื่อมสลายประการถัด มาก็คือ การเขามาของชาติ ตะวันตกที่ตองการยึดครองการคาไมเพียงในชองแคบ แตยังตลอดทั่วทั้งภูมิภาค ชาติตะวันตกตางตระหนักดีวา อุปสรรคที่ขัดขวางการแผอิทธิพลของตนเองนั้น คือ กลุมกองกําลัง ออรัง ลาอุต ซึ่งเปนกองกําลังหลักของราชสํานักมาเลยใน ขณะนั้น ขออางหนึ่งที่อังกฤษไดนําขึ้นมาเปนประเด็นคือเรื่องปญหาโจรสลัดใน ชองแคบที่เปนอุปสรรคตอการเจริญเติบโตของการคาในบริเวณนี้ โจรสลัดใน ความหมายนี้ก็คือกลุม ออรัง ลาอุต นั่นเอง


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.