PhayaoTV

Page 1



ก้าวแรก...

พะเยาทีวีช ุมชน


ผู้เขียน : ภัทรา บุรารักษ์ ออกแบบรูปเล่ม : น้ำ�มนสตูดิโอ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์การพิมพ์ดอทคอม พิษณุโลก ฟอนต์สวยๆ จาก ไอฟอนต์ ขอบคุณ : ไทยพีบ ีเอส มหาวิทยาลัยพะเยา สถาบันปวงผญาพยาว เครือข่ายร่วมพะเยาทีวีช ุมชน และคนพะเยา มูลนิธีฟรีดิช เนามัน เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจ ัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาและทดลองดำ�เนินการโทรทัศน์สาธารณะท้องถิ่นต้นแบบ” ได้รับทุนสนับสนุนการวิจ ัยจาก สำ�นักงานคณะกรรมการวิจ ัยแห่งชาติ 2557 ผลการวิจ ัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ไม่อนุญาตนำ�ไปอ้างอิง พฤศจิกายน 2557 2 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน


ผังรายการ

เปิดสถานี 5 การก่อตัว/ความหมาย 7 เครือข่ายชุมชน/ผู้ชม 10 บทบาทสถานบันการศึกษา/ผู้ผลิต 18 ผู้หนุนเสริม วิชาชีพ 24 รูปแบบรายการทดลอง 26 การมีส่วนร่วมของชุมชน 28 ความสัมพันธ์ทีวีกับ เครือข่าย 29 ทีวีช ุมชน มองออกไปนอกบ้าน 30 ปิดสถานี 42 ภาคผนวก--กติกา/โครงการจัดตั้งพะเยาทีวี 44

ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 3


ตราสัญลักษณ์ : สถานีโทรทัศน์ช ุมชน”พะเยาทีว”ี เดิม ออกแบบใหม่

คัดเลือกและปรับปรุง

4 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน


เปิดสถานี

ถานีโทรทัศน์ช ุมชน เป็นจินตภาพที่มีอยู่แล้วในสถานะสื่อ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ของสังคม หากแต่มี ใครบางคนอาจจะปล่อยวางหรือหลงลืมไว้ ในที่ซึ่งมี “สื่อใหม่”อื่นๆ อันกว้างขวางกว่าได้กดทับลง ผมเชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ช ุมชนในประเทศไทย หรือประเทศไหนๆ คงมี อยู่และกำ�เนิดแตกต่างกัน มีช่วงเวลาและอายุ มีความหมายและคำ�จำ�กัดความ มีความจำ�เป็นและความสำ�คัญ รวมถึงบริบทและปัจจัยต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งถ้าเราคิดว่า สิ่งนี้เป็นเครื่องมือหนึ่งของสังคมที่ต้องจัด วางระบบและออกแบบไว้ เพื่อยังประโยชน์ต่อการสื่อสารและพัฒนาสังคมนั้นๆ ได้ขับ เคลื่อนไปอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน ก็ควรแก่การสนับสนุน ให้มี ให้เข้าถึง หากว่าข้อกังวลที่มีต่อกระแสโลกอนาคต ถึงความไม่เท่าทันของชุมชน ท้องถิ่น มีความท้าทายหลายประการที่เราต้องบริหารจัดการ โดยเฉพาะทักษะ ในการค้นหาความรู้ อันมิได้มีแต่เพียงความรู้ที่เป็นสากล แต่เรายังไม่อาจเข้าถึง และได้เรียนรู้ภูมิปัญญาเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ในชุมชน ซึ่งกำ�ลังจะทำ�ให้สูญหาย หรือ ลดทอนคุณค่าวิถีวัฒนธรรมลง เป็นสิ่งที่เราควรธำ�รงรักษาไว้ ให้คนรุ่นต่อไป ผมจึงคิดว่า คงเสี่ยงเกินไปหากเราจะผูกขาดโลกของความรู้และการ สื่อสารไว้เพียงลำ�ต้นของไม้ ใหญ่ แต่ละเลยรากไม้ กิ่งไม้ ใบไม้เล็กๆ อันเป็นโครง ข่ายเชื่อมโยงขุมพลังของต้นไม้ท ั้งหมดที่จะให้ ไม้ ใหญ่ยืนหยัดอย่างทระนง การจัดระบบองค์ความรู้และการสื่อสารในชุมชน ด้วยการสร้างเครื่องมือ หรือช่องทาง “สถานีโทรทัศน์” อาจจะไม่ใช่คำ�ตอบของทั้งหมด แต่ผมเชื่อว่า นี่ คือ การออกแบบอนาคตของสังคมอีกทางหนึ่ง ที่จะทำ�ให้คนเล็กคนน้อย คนที่อยู่ ชายขอบของเมืองหลวง ได้มีพื้นที่ของตนเอง เพื่อการจัดการตนเองอย่างมีส่วน ร่วม เป็นไปตามกระบวนการประชาธิปไตยอันพึงปรารถนา ...สอดคล้องและชอบธรรม ตามสิทธิ์ ตามวาระของการปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะการปฏิรูปสื่อ ซึ่งกำ�ลังดำ�เนินไปขณะนี ้ ด้วยเหตุนี้ สถานีโทรทัศน์ช ุมชน “พะเยาทีวี” จึงขอประกาศตัว “เปิด สถานี” โดยอาศัยจินตภาพของคนพะเยาที่จะได้ช่วยกันผลักดันให้มีตัวตนหรืออัต ลักษณ์นั้นๆ ตามเจตนารมณ์ของคนในชุมชนท้องถิ่น จึงเรียนเชิญท่านมาเป็นเจ้าของ“สถานีโทรทัศน์ช ุมชน”แห่งนี้ร่วมกันครับ ชัยวัฒน์ จันธิมา : ผู้ร่วมก่อตั้งพะเยาทีวีช ุมชน ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 5


6 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน


การก่อตัวของพะเยาทีวีช ุมชน

เริ่มมาจากการรวมตัวของกลุ่มแกนนำ�หลัก ที่มีประสบการณ์ ในการ ทำ�งานด้านสื่อ การทำ�งานเพื่อชุมชนและนักวิชาการในพื้นที่ รวมตัวกันตั้งเป็น กลุ่มเล็ก ๆ ภายใต้ช ื่อ “สถาบันปวงผญาพยาว” โดยมีบุคคลจากหน่วยงานต่าง ๆ ในชุมชนเข้ามาร่วมเป็นคณะทำ�งานและที่ปรึกษา กลุ่มแกนนำ�หลักดังกล่าวมีการ ทำ�งานและทำ�กิจกรรมเพื่อขับ เคลื่อนประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนอย่าง ต่อเนื่อง ผ่านเครื่องมือสำ�คัญที่เรียกว่า “การสร้างพื้นที่การสื่อสารสาธารณะ ชุมชน” เช่น การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เวทีระดมสมอง การสร้างฉันทามติ ในประเด็นสำ�คัญของท้องถิ่น พร้อมกับการเชื่อมโยงเนื้อหา ไปยังสื่อใหญ่ระดับ ชาติ หรือการบันทึกเทปรายการเพื่อเผยแพร่ทางกลุ่มในสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้ คนในชุมชนได้คุ้นชินกับกระบวนการทำ�งานของสื่อโทรทัศน์ ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 7


“ทีวีช ุมชน”

คำ�จำ�กัดความของคนพะเยา

ความหมายของพะเยาทีวีช ุมชน

จากความคิดเห็นของคนพะเยาและบุคคลที่เข้ามาร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่ พะเยาทีวีช ุมชนจัดขึ้น จำ�นวน 55 ฉบับ การถามความคิดเห็นของประชาชน (Voxpop) ในชุมชน จำ�นวน 100 คน และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมการทำ�งาน ของพะเยาทีวีช ุมชนและเวทีเสวนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการตลอด การศึกษา สามารถนำ�มาประมวลผลได้ข้อสรุปได้ ดังนี้ 8 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน


บทบาทหน้าที่

เป็นสื่อสำ�หรับการระแวดระวัง เตือนภัย ให้การศึกษา อบรมบ่มเพาะ เด็กเยาวชนและคนในชุ ม ชนให้ เป็ นไป ในทิศทางที่ด ี เน้นการทำ�หน้าที่เพื่อ นำ�เสนอเนื้อหาที่เป็นการพัฒนาชุมชน สะท้อนปัญหา จุดอ่อน จุดเด่น ของ ชุมชนขึ้นมาให้คนภายนอกและภายใน ชุมชน ได้รับรู้เพื่อนำ�ไปสู่การแก้ ไข ความหมาย เป็ น สื่ อ เพื่ อ การพั ฒ นาชุ ม ชน ปัญหาและทางออกให้กับชุมชน ที่ เป็ น สื่ อ กลางในการสื่ อ สารเรื่ องราว ของชุมชนให้ปรากกฎต่อคนนอกชุมชน การมีส่วนร่วม ลักษณะการมีส่วนร่วมมีความ และในชุมชน เป็นอิสระจากอิทธิพลของ นักการเมืองหรือกลุ่มราชการ เป็น หลากหลาย และมีรายละเอียดในหลาย สื่ อ ที่ เปิ ด พื้ นที่ ส ร้ า งการมี ส่ ว นร่ ว มให้ ลักษณะขึ้นอยู่กับบริบทของชุมชนแต่ละ กับคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ไม่ตก พื้นที่ ตั้งแต่การเป็นเจ้าของจนถึงการ เป็ น เครื่ อ งมื อ ทางการเมื อ งหรื อ ผล เป็นผู้ชมที่กระตือรือร้น ประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในชุมชน นำ � เสนอเนื้ อ หาที่ ส ะท้ อ นความเป็ น ชุมชนหลากหลายมิติ เพื่อตอบสนอง คนดูทุกกลุ่ม กลุ่มวัย

หลักการของทีวีช ุมชน

เป็ น สื่ อ โท ร ทั ศ น์ เพื่ อ กา ร พัฒนาชุมชน ที่เป็นสื่อกลางและเป็น เครื่ องมื อ ในการสื่ อ สารเรื่ องราวของ ท้องถิ่นในมิติต่างๆ ระหว่างคนในท้อง ถิ่ นด้วยกันเองและระหว่างคนในท้อง ถิ่นและคนนอกท้องถิ่น ที่เข้าถึงและ นำ� เสนอเนื้อหาสำ�หรับคนทุกกลุ่มทุก วัย ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 9


ผู้ประสานงาน “พะเยาทีวี”

ชัยวัฒน์ จันธิมา

ผู้ประสานงานสถาบันปวงผญาพยาว / แกนหลักเริ่มต้นพะเยาทีวีช ุมชน

แรงผลักภายในและเป้าหมาย

พื้นที่สื่อที่เข้าถึงคนในชุมชนชนบทในทุกวันนี้น่าจะเป็นทีวี เพราะมีเกือบ ทุกครัวเรือน เมื่อเทียบกับวิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ เพราะฉะนั้นเราอยากทำ�ทีวี ชุมชนเพราะต้องการมีช่องทางการสื่อสาร เป้าหมายที่เราเห็นก็คือเราอยากมีพื้นที่ สำ�หรับการสื่อสารภายในชุมชน เป็นการจัดระบบการสื่อสารภายในชุมชนของ เรา อยากให้คนในชุมชนได้เกิดความรู้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และเกิดการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน

แนวทางการบริหารจัดการ

ควรใช้หลัก 5C คือ Creative(สร้างสรรค์) Content (เนื้อหา) Connect (การเชื่อมโยงเครือข่าย) Community (ชุมชน) และ Cash (เงินหรือทุน) โดยเฉพาะการออกแบบการทำ�งานให้มีความคิดสร้างสรรค์ ต่างจากสื่อกระแส หลัก เนื้อหาต้องเป็นทั้งความรู้ที่เป็นความรู้ช ุมชนและสากล และการเชื่อมโยง เครือข่ายที่เน้นไปที่คนในพื้นที่หรือชุมชน และมีทุนในการดำ�เนินการในระดับหนึ่ง ที่จะทำ�ให้การทำ�งานมันต่อเนื่องไปได้” 10 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน


ความเสี่ยงต่อการบริหารจัดการ

ความเสี่ยงที่จะทำ�ให้เกิดความล้มเหลวมีอยู่ แต่ไม่ได้กังวลมาก เพราะถ้า มันล้มก็เป็นบทเรียนให้คนอื่นที่ทำ�ต่อๆ มาอาจจะล้มช้าลงหรือสำ�เร็จเร็วขึ้นก็ ได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ คือ 1) คนที่จะเข้ามาทำ�งานตรงนี้ต่อไปในระยะต่อเนื่อง 2) นโยบายหลักจากภายนอก กสทช./รัฐ ซึ่งไม่ชัดเจนและเปลี่ยนบ่อย 3) คนดู ทำ� อย่างไรให้เขาชมทีวีแและรู้สึกเป็นเจ้าของ 4) ทักษะในด้านการบริหารจัดการของ คนท้องถิ่น เพราะองค์กรสื่อเป็นเรื่องใหม่สำ�หรับชุมชน และ 5) การเปลี่ยนแปลง ด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็ว อาจส่งผลต่อการรับชมและความสามารถในการเปลี่ยน เทคโนโลยีของทีวีช ุมชนที่อาจจำ�กัดและไม่เท่าทัน

ข้อค้นพบที่สำ�คัญ

องค์ประกอบของทีวีช ุมชน ในความหมายก็ชัดเจน คือคำ�ว่า “ทีวี” กับ “ชุมชน” โดยชุมชน คือ เจ้าของสาร เจ้าของเนื้อหา เจ้าของประเด็น ส่วน“ทีวี” เป็นช่องทางหรือพื้นที่สาธารณะ ซึ่งจากการทำ�งานของเราที่ผ ่านมา ค้นพบว่า ชุมชนมีความตื่นตัวในเรื่องนี้มาก เพราะเนื้อหาที่เขาได้รับ เป็นเรื่องที่เขามีส่วนได้ ส่วนเสียโดยตรง และที่สำ�คัญเขาเข้าถึง มันจับต้องหรือสัมผัสได้จริง ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 11


เครือข่ายการศึกษา/ผู้ทรงคุณวุฒิ

วัชระ ศรีคำ�ตัน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ทีวีช ุมชน เป็นทีวีที่อาศัยต้นทุน ทางสังคมของคนที่เข้าร่วมสูง มาก...มีความแตกต่างที่ โดดเด่นจาก ทีวีประเภทอื่นก็คือ ความใกล้ตัว คือ เนื้อหาใกล้ตัว คนทำ�ใกล้ตัว และ สถานี ใกล้ตัว ( ใกล้ตัวผู้ชม) รวดเร็ว กว่าสื่อกลาง เนื้อหาได้นำ�เสนอแน่นอน คนทำ� คนออก(ทีวี)ก็ภูมิ ใจ บอกได้ ชัดเจนว่าจะออกอากาศเมื่อไหร่ แต่ ปัญหาก็คือตอบเขาไม่ได้ว่าจะดูได้ทาง ไหน...จะทำ�อย่างไรให้ทีวีช ุมชนไปให้ถึง บ้านคนดูก่อน แล้วเรา(ทีวีช ุมชน)ถึงจะ พัฒนาด้านอื่นๆ ไปได้

สื่อ

12 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน

ประพันธ์ นันทยา

ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสื่อจากเอบีซีนิวส์

ไทย

เราจ�ำ เป ็ น ต ้ อ ง มี ส ถา นี โทรทั ศน์ชุ มชนเช่นเดี ยวกับที่ อื่นๆ เพราะจะช่วยให้เกิดการสื่อสารใน ระดับต่างๆ โดยเฉพาะการพั ฒนาท้อง ถิ่น การประชาสัมพั นธ์สินค้าผลิตภัณฑ์ ต�ำบล การท่องเที่ยว การช่วยเหลือด้าน ภัยพิบัติ ตลอดจนการสร้างความเข้ม แข็งด้านประชาธิปไตยแก่ชุมชน การ ก่อตัวของพะเยาที วีถือเป็นต้นแบบที่ รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การ สนับสนุน เพราะสร้างกระบวนการมี ส่วนร่วมทั้ งวิ ชาชี พสื่อ ชุ มชน สถาบัน การศึกษาควบคู่ไปด้วยกัน”


เครือข่ายวัฒนธรรม/ จิตอาสา

บรรจง วงศ์ราษฎร์

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม

พะเยา

ของเรา เป็ น เมื อ ง เล็กๆ แต่มีความ อุดมสมบูรณ์ท ั้งดินน้ำ�ป่า จึงส่งผลให้ สภาพชุมชนมีความรุ่งเรืองมาแต่อดีต เป็นเมืองปราชญ์ เมืองการศึกษา มี หลักฐานศิลาจารึกหินทราย มีวัดวา โบราณสถานเด่นชัด การเกิดขึ้นของทีวี พะเยาจะช่ ว ยให้ สั ง คมของเรามี ค วาม ตื่ นตัวในการเรียนรู้และพัฒนามากขึ้น อย่างแน่นอน ทั้งนี้คงต้องสร้างประ บวนการอย่างมีส่วนร่วม ให้ทุกฝ่ายได้ เข้ามาเป็นเจ้าของบริหารจัดการด้วยกัน เพื่อประโยชน์สูงสุด

ประพล ประวัง

ประธานสภาวัฒนธรรมอำ�เภอเชียงคำ�

ทีวี

ชุ ม ชนเป็ น ที วี ที่ ก ารทำ � งาน ต้ องอาศั ย เครื อ ข่ า ยในชุ ม ชน กระจายกันไปในแต่ละพื้นที่ มีการ ตกลงกำ � หนดพื้ น ที่ ห รื อ ความถี่ ไว้ กว้างๆ เป็นเครื่องมือทำ�ให้การทำ�งาน ประเด็นต่างๆขับ เคลื่อนในพื้นที่สะดวก ขึ้น เพราะสามารถเข้าถึงคนในพื้นที่ ได้ มากและง่ า ย..ที่ ผ ่ า นมามี ผ ลตอบ รับจากคนดูค่อนข้างดี มีผู้รู้จ ักกันว่า พะเยาทีวีช ุมชน รู้พ ันธกิจ รู้หน้าที่ของ สื่อ แต่ก็มีข้อจำ�กัด เพราะเวลานี้คงมี พื้นที่ทดลองแพร่ภาพเฉพาะทางเคเบิล ทีวี ในเมืองเท่านั้น ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 13


เครือข่ายพัฒนาสังคม/ชุมชน

ยุทธภูมิ นามวงศ์

สำ�นักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพะเยา

เป็น

สิ่ ง ที่ ด ี มากที่ ท้ อ งถิ่ น หรื อ ท้องที่เราสามารถนำ�เสนอ ผลงาน เพื่อสื่อข่าว ให้กับคนในชุมชน ทั้ ง ในจั ง หวั ด และต่ า งจั ง หวั ด ได้ ช ม เป็ น การเปิ ด โอกาสให้ กั บ คนหลายๆ กลุ่มที่อยากจะเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่า จะเป็นนักเรียน นักศึกษา กลุ่มชาวบ้าน กลุ่มอาสาสมัครต่างๆ หรือผู้นำ�ชุมชน ได้เข้ามา ผลิตสื่อ หรือช่วยทำ�ข่าว และ เข้าถึงข่าวสารที่ประโยชน์ ในการดำ�รง ชี ว ิ ต ของเขาด้ ว ย...มี การอบรมให้ กั บ เครือข่ายที่จะทำ�สื่อ ไม่ว่าจะเป็นการ สัมภาษณ์ การทำ�สารคดี ข่าว แนะนำ� วิธีการที่ถูกต้องให้กับ เครือข่าย ต่อไป สื่อชุมชนก็จะเกิดเพิ่มมากขึ้น

14 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน

ธนู ธิแก้ว

ผู้อำ�นวยการศูนย์สังคมพัฒนาที่ 31

สื่อ

ที วี นั้ น ถื อ เป็ น สื่ อ ที่ มี พ ลั ง มาก ที่สุด และมีศักยภาพในการ เปลี่ยนแปลงได้ด ีที่สุด ทีวี ในระดับ ชุมชนจึงเป็นสื่อที่ น่าสนับสนุนส่งเสริม ขณะนี้อยู่ในระยะเริ่มต้น เราเป็นเครือ ข่ายเข้าร่วมในฐานะนักพัฒนา ซึ่งนัก พัฒนาเกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง แล้วสื่อ เป็นเครื่องมือสำ�คัญของนักพัฒนา ถ้า ไม่อาศัยสื่อช่วย การพัฒนาก็จะไปได้ ช้าและไม่บรรลุวัตถุประสงค์ เวลานี้ เจ้าหน้าที่เราก็ ไม่รู้ข้อมูลเรื่องทีวีช ุมชน เพราะอาจยังเปิดตัวไม่เต็มที่ คนก็ยังไม่ เข้าใจว่าทีวีช ุมชนนี้จะให้ประโยชน์อะไร กับ เขาบ้าง อยากให้มีการเผยแพร่เข้า ถึงชาวบ้านมากขึ้น


เครือข่ายเด็ก/ชุมชน และสื่อ

รู้

ชุรีพร ยอดฟ้า

ผู้ปกครองบุคคลออทิสติก จ.พะเยา

สึกมีความหวังกับทีวีชุ มชน จาก ที่ มีส่วนร่วมในกระบวนการตั้งแต่ เป็นคนดู คนร่วมแสดง ท�ำให้ มองภาพออกว่าต่อไปชาวบ้านในชุ มชน อย่างเราจะมีโอกาส ลูกๆ เด็กๆพิเศษ ผู้ด้อยโอกาสมีช่องทางมีแนวทาง มี ที่ยืนบ้าง เราได้พูด ได้สื่อสาร ได้ ก�ำหนดประเด็ น ความต้ อ งการที่ เรา น�ำเสนอจริง ๆ ไปสู่สาธารณะ และ ท�ำให้เรามองตัวเราอย่างมีศักดิ์ศรี เช่น เดี ยวกับกลุ่มอื่นๆ เราก็ ได้เข้าใจ ได้ แบ่งปันประสบการณ์ ได้มีเครือข่ายท�ำ กิจกรรมมากกว่าเดิม ทีวีชุ มชนช่วยให้ ความเป็ นพี่ เป็ น น้ องร่ ว มกั น ในชุ ม ชน กลับคืนมาอีก

พรรณีย์ มูลเทศ

พะเยาเคเบิลทีวี สื่อท้องถิ่น

เปิด

พื้ น ที่ อ อกอากาศให้ พ ะเยา ที วี ชุ ม ชนเพราะอยากให้ ค น พะเยาได้ดูรายการของบ้านเรา...มีการ ตอบกลับจากผู้ชมพอสมควร มีคนดู ถามกันมาว่าใครเป็นคนท�ำ เราก็บอก ว่ า เป็ นของเด็ ก ๆพะเยาที วี ชุ ม ชนจาก มหาวิ ทยาลัยพะเยา ที่มีเนื้อหาเป็นของ บ้านเราจริงๆ บางทีเรายังไม่รู้เลยว่า มีเรื่ องนั้นเรื่ องนี้อยู่ในพะเยา...ซึ่งการ ผลิตรายการ คงมีข้อจ�ำกัดบ้าง เพราะ ทุกอย่างมันมีต้นทุนในการผลิต คิด ว่าไม่ได้ก�ำไรแต่ขอให้อยู่ได้เดินต่อไปได้ ถ้าผลิตไปแล้วมันขาดทุน คงท�ำได้แต่ ท�ำได้ ไม่นาน คิดว่าเรื่องนีส้ �ำคัญที่จะ ท�ำให้ทีวีชุ มชนท�ำงานได้ ในระยะยาว ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 15


เสียงจากผู้(อยาก)ชม เดือนนภา ปัญญาวงศ์

เครือข่ายสิ่งแวดล้อมจังหวัดพะเยา

ได้

เห็ น สิ่ ง ดี ๆ ที่ ชุ ม ช น มี ห รื อ ทุ น ของชุ ม ช นทำ � ทั พ ยากร ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรม วิถี ชุมชน หลากหลายกลุ่มเป้าหมาย เข้า ถึงทุกเพศ ทุกวัย เป็นรายการที่เหมาะ สมประเด็นอาชีพที่อยู่ เหมาะสมกับ วิถีช ีว ิตของชุมชน (เน้นเศรษฐกิจพอ เพียง) นโยบายที่เกี่ยวข้องเครือข่าย ประเด็นที่อยากจะให้นำ�เสนอประเด็น สิ่งแวดล้อม อาชีพ ที่อยู่ภาวะใต้สิ่ง แวดล้อมสะอาด ป่าต้นน้ำ� การบริการ จัดการน้ำ� ประเด็น สุขภาพกับความ ปลอดภัยในการทำ�งาน (OSH)

ปรีชา ปาใจ

สภาพัฒนาการเมือง จังหวัดพะเยา

ต้อง

การชมรายการสร้ างสรรค์ ทางสังคม ส�ำนึกพลเมือง ตามแนวประชาธิปไตย อันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประเด็น ที่ อ ยากจะให้ น�ำเสนอการมี ส ่ ว นร่ ว ม ของประชาชนในการพั ฒนาและก�ำกับ นโยบายสาธารณะ ตามวิ ถีชุ มชนพึ่ง ตนเอง

บุญส่ง เมืองกรุง

ควร

ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา

เสนอ

ณรงค์ศักดิ์ กาจารี

กลุ่มเด็ก “สะพานสายรุ้ง” พะเยา

ว่ าควรมี รายการเกี่ ย ว กับ ประวัติศาสตร์ท้อง ถิ่นวิ ถีชี วิ ต ประเพณีวัฒนธรรมและ กิจกรรมสร้างสรรค์ส�ำหรับ เด็ก รวมถึง รายการอาหารปลอดภัย ส่วนประเด็น ที่อยากให้น�ำเสนอ คือ การใช้สมุนไพร ถ้ า ที วี ชุ ม ชนเกิ ด ขึ้ นจริ ง ก็ ยิ น ดี เป็ น ผู ้ สนับสนุนทั้ งเป็นที่ปรึ กษา ผู้ชม ผู้ผลิต 16 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน

มีรายการด้านวัฒนธรรม เกี่ยวกับ เด็กและเยาวชน โดยการแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การสาธิตในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ เด็กและเยาวชน เรื่องเตรียมการด้าน วั ฒ นธรรมสู ่ ส มาคมอาเซี ย นประเด็ น ที่ อ ยากจะให้ น�ำเสนอด้ า นวั ฒ นธรรม ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีพื้นบ้านใน แต่ล่ะท้องถิ่น การบู ร ณาการเรื่ อ ง ของวัฒนธรรมประเพณี ในด้านต่างๆ ยิ น ดี ที่ จ ะร่ ว มเป็ น เครื อ ข่ า ยในด้ า น ที่ ป รึ ก ษาและร่ ว มรายการในการจั ด รายการร่วม


โกวิท ไชยเมือง

ผู้ประกอบการธุรกิจขยะรีไซเคิล

พะเยา

ทีวีช ุมชน ควรเผย แพร่ ค วามเป็ นท้ อ ง ถิ่น วีถี​ีช ีว ิต ความเป็นชุมชนและเปิดพื้น ที่ ใหทุ ก ภาคส่ ว นมาใช้พ้ืนที่ นี้แจ้ง บอก ข่าวสารต่างๆได้ ประเด็นที่อยากจะให้ นำ�เสนอคือแนวทางและวิธีการจัดการ สิ่งแวดล้อมในชุมชน เมืองของตนเอง การจัดการขยะของชุมชนอย่างยั่งยืนมุม มองทางกายภาพแปลกๆ ยินดีที่จะเข้า ร่วมเป็นเครือข่ายในด้านเป็นที่ปรึกษา คณะทำ�งาน สนับสนุนงบและเครื่อง มือทำ�งาน

ดร.รัฐภูมิ พรหมณะ

นักวิชาการ มหาวิทยาลัยพะเยา

น่า

จะท�ำรายการที่ ส ร้ า งและส่ ง เสริมวิ ถีชี วิ ต วิ ธีคิด และ ประสบการณ์ ในการใช้ ชี วิ ตอย่ า งมี คุณธรรม และสร้างสรรค์สังคมให้สงบ สุข เป็นสังคมความรู้และสังคมปัญญา แประเด็นที่อยากจะให้น�ำเสนอ คือ การน�ำความรู้ผลการวิ จั ย ผลการปฏิบัติ ที่มีส่วนร่วมกับชุ มชนท้องถิ่น เพื่อพั ฒนา คุณภาพชี วิ ตชุ มชนท้องถิ่น ส�ำหรับการมี ส่วนร่วมนั้นยินดี ที่ จะร่วมเป็นเครือข่าย ในด้านที่ปรึ กษา

อินเต้า ปัญจขันธ์

อยาก

เครือข่ายป่าต้นน้ำ�กว๊านพะเยา

ดู ร ายการวิ ถี ชี วิ ต คนในชุ มช นความ เป็นมาของชุ มชนดั้งเดิม เพื่อเป็นการ ศึ ก ษาของชุ ม ชนดั้ ง เดิ ม และชุ ม ชนใน ปัจจุบันถึงความแตกต่าง ประเด็น ที่อยากจะให้น�ำเสนอคือ โครงการ อนุรักษ์ฟื้นฟูป่า ดิน น�้ำ และโครงการ อนุรักษ์วัฒนธรรม จารีต ประเพณี ของคนพื้นเมือง เช่น การพูด การเขี ยน การแต่งกาย และความเป็นอยู่ของคน สมัยก่อนกับคนสมัยใหม่ เพื่อจะศึกษา ถึงจุด ดีจุดเด่นของแต่ละสมัย ยินดี ที่ จะร่วมเป็นเครือข่าย แต่จะไม่เอาการ เมืองเข้ามาก้าวก่าย หรือข้าราชการ ขอ ให้เป็นทีวีชุ มชนจริงๆ

ประดิษฐ์ เลี้ยงอยู่

เครือข่ายสวัสดิการชุมชน ดอกคำ�ใต้

คิด

ถึ ง รายการที่ เ ล่ า เรื่ อ งเมื อ ง พะเยาทุกแง่มุมทั้งเรื่องดีและ ปัญหาโดยการนำ�เสนอแบบสร้างสรรค์ รวดเร็วทันสมัยและไม่แบ่งขั้นอำ�นาจ โดยครอบคลุ ม ทุ ก กลุ่ ม เพศวั ย และ สถานะทางสังคม ประเด็นที่อยากจะ ให้นำ�เสนอ ประเด็นการขับ เคลื่อน สวั ส ดิ การชุ ม ชนเพื่ อ สร้ า งโอกาสทาง สังคมของคนพะเยา และ เชื่อมโยงกับ งานด้านอื่นๆ ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 17


บทบาทสถาบันการศึกษา

ภัทรา บุรารักษ์ นักวิชาการและนักวิจ ัยด้านสื่อกระจายเสียงชุมชน มหาวิทยาลัยพะเยา

นิสิตกับกระบวนการท�ำงานแบบทีวีชุ มชน

กลุ่มมหาวิ ทยาลัยพะเยาที่ถือว่าเป็นก�ำลังหลักในช่วงเริ่มต้น ที่พะเยาทีวี ชุ มชนต้องรับผิ ดชอบ ออกอากาศทุกวันพฤหัส การท�ำงานต้องชัดเจนขึ้น นิสิต สาขาการสื่อสารสื่อใหม่ที่ตัวเองสอน ที่สมัครใจเข้ามาท�ำ จึงมีบทบาทส�ำคัญมาก ในการเป็นตัวขับ เคลื่อนรายการ ดูแลรายการหลักๆ 3 รายการ ดูแลกระบวนการ และผลิตงานภายใต้แนวคิดความเป็นทีวีชุ มชนออกอากาศ หัวใจส�ำคัญของการท�ำงานร่วมกับนิสิตในสถาบันการศึกษา ให้ท�ำรายการ แบบทีวีชุ มชนที่ค่อนข้างต่างจากทั่ วไปก็คือ การถ่ายทอดแนวคิดของเกี่ยวกับ ปรัชญาความเป็นทีวีชุ มชน หลักการของทีวีชุ มชน แรก ๆ อาจจะยาก ถ้าเรา พูดหรือบรรยายอย่างเดี ยว เขาอาจไม่เห็นภาพหรือไม่เข้าใจ บางครั้งก็ต้องอาศัย การเรียนรู้ ไปด้วยในระหว่างการท�ำงาน ค่อยๆ ชี้ ให้เห็น ใช้ทั้ งไม้อ่อน ไม้แข็ง สิ่ง ส�ำคัญที่มักย�้ำเสมอกับนิสิตก็คือ “สถานะตอนนีเ้ ราคือเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่อาจารย์ ลูกศิษย์ เพราะฉะนั้นเราต้องช่วยกัน พูดคุยกันเหมือนเพื่อนร่วมงาน” 18 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน


ท่ าที ข องนิสิ ตเมื่ อ ท�ำงานร่ ว ม กติกาบังคับของการท�ำรายการ กับชุ มชน คือ เจ้าของเรื่องต้องได้ชม นิสิตจะเข้าไปในพื้นที่ ต้อง เข้ า ไปโดยแบบไม่ ใช่ ไปวางตั ว เหมื อ น กับ เรามาถ่าย โดยคนในชุ มชนมักถูก ก�ำหนดไว้เพื่อการถ่ายท�ำ แต่นสิ ิตต้อง เริ่มตั้งแต่เรียนรู้กับชุ มชน แล้วการ ที่จะถ่ายไม่ใช่ตามใจนิสิตได้ทั นที นิสิต จะต้องไปคุยและออกแบบร่วมกับ เขา เอาโครงเรื่องไปคุยกับ เขา ว่าเขาพอใจ ไหม อะไรขาดหายไป แล้วถึงก�ำหนด ออกมาเป็นโครงร่างเรื่อง แล้วถึงเริ่ม ถ่ายท�ำ แต่การไปถ่ายท�ำต้องไม่ไปเอง ด้วย คนในชุ มชนก็ต้องไปด้วย เพราะ เขาก็ต้องเรียนรู้ ไปพร้อมๆ กัน จะไป ในฐานะที่จะเป็นคนเดินเรื่องก็ ได้ หรือ ฐานะคนที่ ให้พื้นที่ ให้ข้อมูลก็ ได้ พอ ถ่ายเสร็จแล้วเราก็กลับไปตัดต่อ

กติกาบังคับที่ เราก�ำหนดร่วม กั บ นิ สิ ต ในกระบวนการท�ำงานก็ คื อ นิสิตต้องเอางานที่ ผลิตเสร็จแล้วกลับ ไปให้ ชุ ม ชนดู ไ ม่ ว ่ า ก่ อ นหรื อ หลั ง แพร่ ภาพ ให้ชาวบ้านหรือเจ้าของเรื่องได้ วิ พากษ์วิ จารณ์ ปรับปรุง เพิ่มเติม ไม่ ให้เป็นลักษณะที่ ถ่ายเสร็จออกอากาศ แล้วก็จบเลย เหตุผลเพราะปัจจุบัน ทีวีชุ มชนมีข้อจ�ำกัดในการรับชม เป็น กระบวนการเรียนรู้ เด็กเองก็เรียนรู้ อาจจะเป็นค�ำชมหรือค�ำติ แต่มันเกิด ก�ำลังใจอยู่แล้ว เท่าที่ประเมินออกมา เราก็จะเห็นว่าชุ มชนก็ประทั บใจ เด็กมี ระมัดระวังในการท�ำงาน ทั้ งหมดถือ เป็นการทดลองภายใต้สถานการณ์ทาง ด้านนโยบายที่ค่อนข้างจ�ำกัด

ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 19


บทบาทผู้ผลิต เจนจิรา เขื่อนเพชร รายการคุยกับกำ�นัน ชุมชน คือ สื่อที่จะนำ�เสนอ เรื่ องราวของคนในชุ ม ชนของ ตนเอง เป็นพื้นที่เล็กๆ ให้คนในท้อง ถิ่ น ได้ มี ส่ ว นร่ ว มในการนำ � เสนอเรื่ อง ราว ซึ่งการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็น หัวใจสำ�คัญของการพัฒนาชุมชน การ ที่เราทำ�งานกับชุมชนทำ�ให้เราเห็นรอย ยิ้ ม และความสุ ข ที่ เราได้ รั บ จากชุ ม ชน ซึ่งชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และเขาก็เต็มใจและอยากจะนำ� เสนอ เรื่องราวต่างๆที่เขาอยากจะบอก ซึ่งเรา ภูมิ ใจที่เป็นส่วนหนึ่ง

ทีวี

สุว ิมล ใจวงค์ รายการแก้วดาปาแอ่ว ชุมชนเป็นช่องทางอีกหนึ่งช่อง ทางที่ ให้คนในพื้นที่ ได้หันมา เห็นความสำ�คัญเป็นสื่อสาธารณะที่ ให้ คนในชุมชนทุกระดับที่อยากจะสื่อสาร เรื่ อ งราวเหตุ ก ารณ์ ข องคนในชุ ม ชน ตั ว เองและยั ง ให้ ค นในชุ ม ชนช่ ว ยกั น ออกแบบเนื้อหาที่คนใน ชุมชนอยากจะ นำ�เสนอเรื่องราวให้คนภายนอกได้รับรู้ เป็นการเรียนรู้ร่วมกันกับ เพื่อนๆและ ทีมงานที่แชร์ประสบการณ์ ให้กันและ กัน คนในชุมชนที่พร้อมที่จะให้เนื้อหา และช่วยให้เราได้ผลิตรายการออกมาได้

ทีวี

20 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน

จีรวรรณ ฉันท์รัตนโยธิน รายการเรียนรู้คำ�เมือง แรกก็ ไปหาชุ มชน หา ข้ อ มู ล แล้ ว เอามาท� ำ เป็นสื่อ เราเป็นสื่อกลาง เราไม่ได้เอา ความคิดของเราเป็นศูนย์กลางในการ ก�ำหนดเรื่องหรือการน�ำเสนอเอง เรา เอาความคิดหรือว่าสิ่งที่ ชุ มชนอยากจะ บอก เอามาเผยแพร่ พอเราตัดต่อเสร็จ เราก็ จ ะเอาไปให้ เจ้ า ของเรื่ อ งดู ก ่ อ น ท�ำให้ ห ลายคนก็ เริ่ ม สนใจในประเด็ น นั้นมากขึ้นด้วย

ตอน

นิภาพร เพ็ชรเอม รายการแก้วดาปาแอ่ว ชุ ม ชนเป็ น ที วี ส าธารณะเพื่ อ คนในชุ มชน ให้ความส�ำคัญกับ คนในชุ มชน โดยผ่านสื่อที่มีพวกเรา ทีมงานเข้าไปเป็นเครื่องมือ ที่ท�ำให้ เรื่ องราวของคนพะเยาได้ ถูก เผยแพร่ ออกสู่สาธารณะชน ทีวีชุ มชนเป็นสื่อ ที่ ส ามารถท�ำให้ ค นในชุ ม ชนกล้ าที่ จ ะ น�ำเสนอ เรื่องราวภายในชุ มชนตัวเอง ท�ำให้คนในชุ มชนและทีมงานพวกเราได้ เห็นคุณค่า หันกลับมารักษาดูแล

ทีวี


กิตติธัช ธรรมใจ รายการคุยกับกำ�นัน ไม่เข้าใจด้วยว่าคืออะไร ท�ำ ไปเพื่ออะไร หลังจากท�ำไป เรื่ อยๆผมก็เริ่ มเข้าใจอะไรบางอย่างว่า สิ่งที่ท�ำไปนั้นมีความหมาย เพราะเรา เหมือนคนที่ ไปท�ำให้ชุ มชนหรือชาวบ้าน ได้มีความสุขสนุกสนานผ่านรอยยิ้มซึ่ง ท�ำให้เราสัมผัสได้และผมยังได้ประสบ การณ์ ใหม่ๆได้เรียนรู้ว่าแต่ละพื้นที่ ก็มี จุดเด่นของตนเอง เพี ยงแค่เราไปช่วย เสนอและผลิตออกมาเป็นสื่อ สิ่งที่ท�ำ ต่อเนื่องคือ ผมท�ำแล้วผมมีความสุข

เดิม บรรเจิด หงษ์จ ักร รายการทีวีของคนพะเยา ชุมชน มันคล้ายๆกับสนาม สนามเด็กเล่น ที่ ให้เราลง ไปเล่ น แล้ ว ก็ ล องทำ � อะไรใหม่ ๆ ที่ ใน ห้องเรียนไม่มี เป็นการผลิตจริงแต่ว่า ไม่ได้มาจากกึ๋นของเราเอง มันมาจาก อาจารย์สอน อยู่ในพื้นฐานที่อาจารย์ เขาสอนมา แล้วก็มาประยุกต์ ให้เข้ากับ ความคิดของเราเองเป็นการก้าวออกมา อีกขั้น ที่ ไม่ใช่แค่ในบทเรียน

ทีวี

ฐิติณัฐ ลาวิณห์ รายการเรียนรู้คำ�เมือง ชุ มชน มีประโยชน์ต่อตัวเอง มากทั้ ง ทางด้ า นการเรี ย นใน รายวิ ชาต่างๆรู้จั กแบ่งเวลาท�ำงานและ แยกแยะในเรื่องต่างๆ จากคนที่ ไม่เก่ง ทางด้ า นโปรแกรมทางคอมพิ ว เตอร์ แต่ ต อนนี้ ตั ด ต่ อ เป็ น แล้ ว และรู ้ สึ ก สนุกกันงานที่ท�ำอยู่ การได้รับค�ำติ ชมจากอาจารย์ แ ละเพื่ อ นๆน้ องๆพ่ อ แม่ ผู ้ ป กครองที่ ติ ด ตามรายการของ เราอยู ่ นั้ น มั น เป็ น สิ่ ง ที่ ผ ลั ก ดั น ให้ เรา พั ฒนาการท�ำงานขึ้นไปเรื่อยๆ

ทีวี

ณรงค์ วงค์ ไชย รายการแก้วดาปาแอ่ว บวนการท�ำงานพวกเรา ต้องช่วยกันท�ำไปพร้อมๆ กั น และเรี ย นรู ้ แ ลกเปลี่ ย นซึ่ ง กั น และ กัน และที่ส�ำคัญการเรียนรู้ชุ มชนการ ได้มิตรภาพระหว่างเรากับชุ มชนที่เราได้ รับ เพี ยงแค่ยาย ตาป้า ลุง เด็กๆจั บมือ เราเราก็รู้ถึงได้เพี ยงแค่เรามี ใจรักรักที่ อยากจะท�ำ ท�ำเพื่อให้ชุ มชนน�ำไปสู่การ เปลี่ยนแปลง เพื่อให้ชุ มชนได้มีความสุข และเมื่อชุ มชนมีความสุขผมก็มีความสุข ไปด้วยกับชุ มชน

กระ

ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 21


ทัศไนย ไชยเหล็ก รายการคุยกับกำ�นัน ชุ มชน แรก ๆ ผมเองก็ยังไม่รู้ ว่ า มั น คื อ อะไรเราต้ องท�ำไหม หรือว่าไม่ท�ำก็ ได้ แต่พอได้ลองลงมือ ท�ำแล้วมันก็รู้สึกเหนื่อย พอท�ำนานเข้า มันก็สนุกและท�ำให้รู้ว่า ผมจะหาความ รู้ประสบการณ์เพิ่มเติมที่ มากกว่าการ เรียนในห้องได้จากที่ ไหน

ปฐมพงษ์ ใจแก้ว รายการกินอยู่อย่างเหนือ ก็ คิ ด ว่ า พะเยาเป็ น เมื อง เล็ ก ๆคงไม่ มี อ ะไรมาก นอกจากสถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วที่ ขึ้ น ชื่ อ ว่ากว๊านพะเยา แต่พอผมได้ เข้ามา เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของพะเยาที วี ชุ ม ชนได้ ลงพื้ นที่ เพื่ อ หาข้ อ มู ล และท�ำรายการ ท�ำให้ ผ มรู ้ สึ ก ว่ า มี อ ะไรที่ เรายั ง ไม่ เ คย รู้อีกมากมายทั้ งวิ ถีชี วิ ต ความเป็นอยู่ รอยยิ้มที่เปี่ยมไปด้วยความสุข ความ หวั ง ของของคนในพื้ นที่ ๆ ผมได้ เข้ า ไป สัมผัสท�ำให้ผมรู้สึกชอบและบางครั้งก็ หลงใหลในเสน่ห์ของคนพะเยา

ทีวี

แรก

รัชพล เรือนวงค์ รายการกินอยู่อย่างเหนือ ชวนไปฟังสัมมนา ก็เลย ตามเพื่อนไป พอไปถึง ก็ ไ ด้เห็นเครื อข่ายจากที่ ต่างๆมาน�ำ เสนอเรื่องราวของชุ มชนตัวเอง ท�ำให้ เรารู ้ ว ่ า ยั ง มี เรื่ องราวอี ก มากมายใน พะเยาที่เรายังไม่รู้ ทั้ งๆ ที่เราเอง ก็เป็นคนพะเยา จากนั้นก็ ได้เริ่ม ท�ำตอนแรกกั บ เครื อ ข่ า ยที่ อ ยาก น�ำเสนอ สิ่งที่ท�ำออกมาอาจจะไม่ สมบูรณ์แบบ อาจจะไม่เหมือนมือ อาชี พ แต่สิ่งหนึ่งที่ท�ำให้มีแรงท�ำต่อ ไปก็คือ รอยยิ้มจากชาวบ้าน ซึ่งเป็น แรงผลักดันให้ท�ำต่อเนื่องมาเรื่อยๆ

ปวเรศ วิเดช รายการแก้วดาปาแอ่ว ที่ ต้องท�ำงานร่วมกับชาว บ้าน ชอบที่ชาวบ้านได้ เล่าเรื่องในชุ มชน และชอบที่ ได้เห็น รอยยิ้มของชาวบ้าน อยากให้มีช่องทาง ให้ชาวบ้านได้น�ำเสนอและที่ท�ำต่อเนื่อง เพราะว่า เห็นว่าชาวบ้านในแต่ละชุ มชน มีเรื่องราวอีกมากมายที่ยังไม่ได้เล่าออก มาโดยชุ มชนเอง

เพื่อน

22 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน

ชอบ


อภิสิทธิ์ สุภาเมสิทธิ์ รายการข่าวพลเมือง ชุ มชนท�ำให้ผมย้อนกลับมามอง ถึงสาขาวิ ชาที่เรียนว่า ถ้าหาก สามารถน�ำไปเป็นสื่อให้กับชุ มชน ท�ำให้ ชุ มชนของเราเป็นชุ มชนที่เข้มแข็งไม่ด้อย ไปกว่าประเทศเพื่อนบ้าน จากการ ท�ำงานที่ผ ่านมาได้รับความร่วมมือของ ชาวบ้านและเพื่อนๆพี่ ๆพะเยาทีวีชุ มชน ที่ มอบให้ผมมันท�ำให้ผมเกิดความรั ก ความเป็ นชุ ม ชนและอยากจะท�ำเพื่ อ ชุ มชนให้มากขึ้นเมื่อจบการศึกษา

ปิยะฉัตร พึ่งศรี รายการกินอยู่อย่างเหนือ หาประสบการณ์ ในการ ทำ � งานจริ ง และอยาก เรียนรู้ การทำ�งานโดยใช้ความรู้ที่ ได้ เรียนมาไปทำ�งานจริงและพอได้ทำ�แล้ว ก็ทำ�ให้เราทำ�อะไรเป็นได้หลายๆอย่าง เป็นเช่นในเรื่องการถ่ายรายการ การ ตัดต่อ และได้เรียน รู้การทำ�งานเป็นก ลุ่ม เรียนรู้การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใน การทำ�งานซึ่งเป็นประสบการณ์ท่ีหาไม่ ได้จากในห้องเรียน

ทีวี

อยาก

คมสัน จันโจ รายการข่าวพลเมือง จ า ก ที่ ไ ด ้ ท�ำ ง า น กั บ พะเยาทีวีชุ มชน ผมก็ ได้ ประสบการณ์ด้านตัดต่อวีดีโอ และ การถ่ายวีดีโอ และทั กษะด้านมุมภาพ และการท�ำงานร่วมกันเป็นทีม การลง ท�ำงานพื้นที่จริง การตรงต่อเวลาใน การท�ำงานและผมก็ ได้น�ำสิ่งที่ผมได้ ไป ท�ำมาน�ำมาใช้กับการเรียนได้ด้วย

ธิดารัตน์ เฉียบแหลม รายการแก้วดาปาแอ่ว ดิฉันได้ท�ำงานร่วมกับชุ มชุ น ท�ำให้ดิฉันมีความอดทนมาก ขึ้น ได้รู้ว่าทุกเวลานั้นมีค่า และได้เรียน รู้อะไรอีกมากมายจากคนในชุ มชน มีทั้ ง ความสุขและความทุกข์ ถึงแม้มันจะ เหนื่อยมากเเค่ไหน เพราะการท�ำงาน นีท้ �ำให้ ได้รู้วิ ธีการแก้ ไข ปัญหาอะไร หลายๆอย่าง และยังท�ำเวลาว่างให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและชุ มชนอีกทั้ งได้ มิตรภาพที่ดี

หลัง

พอ

ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 23


ผู้หนุนเสริม/วิชาชีพ สมเกียรติ จันทรสีมา

ผู้อำ�นวยการสำ�นักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ไทยพีบ ีเอส

ดร.ไลเนอร์ อดัม

มูลนิธีฟรีดิช เนามัน ผู้ ให้ทุนสนับสนุน เวที“ประชาธิปไตยการสื่อสาร”

นี่คือ

. . . ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ ก า ร ทำ�งานร่วมกับสถานี ไทย พีบ ีเอสและพะเยาทีวีช ุมชน เรามาดู ว่าอะไรที่จะทำ�ให้งานบรรลุเป้าหมาย โดยผ่ า นกิ จ กรรมด้ า นวั ฒ นธรรมของ ชุมชนท้องถิ่น ผมหวังว่าการทำ�งาน ทีวีช ุมชนในครั้งนี้จะเป็นการให้ช่องทาง โดยสร้างโอกาส และพื้นที่ ให้กับคนใน ชุมชนได้มีพื้นที่ ในการแสดงออก หรือ นำ� เสนอความเป็นชุมชนหรือความคิด เห็นของพวกเขา หรือกลุ่มในพื้นที่ของ พวกเขาเองให้ สื่ อ สารออกไปยั ง สั ง คม ภายนอกกว้ างขวางขึ้ น ...และเป็ น การ ถ่ายทอดความหลากหลายของชุมชนใน ประเทศไทยที่ ไม่ใช่แค่การรวมศูนย์อยู่ ที่กรุงเทพฯ

24 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน

แนว

คิ ด การพั ฒนาให้ เ กิ ด เครื อ ข่ า ยสื่ อ สาธารณะ ในทุกระดับ ถือเป็นหนึ่งในภารกิจหลัก ของสื่อสาธารณะอย่างไทยพี บี เอส ผ่าน กระบวนการท�ำงานของส�ำนั ก เครื อ ข่ายสื่อสาธารณะ ซึ่งในกระบวนการ พั ฒนาที่ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับ ภูมิภาค นับตั้งแต่โครงการน�ำร่อง เพื่ อ พั ฒนารายการสถานีโทรทั ศ น์ ภูมิภาค โดยท�ำให้เกิดรายการเฉพาะ ถิ่ นที่ ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วม และเกิดกลไกการเรียนรู้ ในรูปของกอง บรรณาธิ ก ารร่ ว มภาคประชาสั ง คม ส�ำหรับพะเยาทีวีชุ มชน ถือว่าเป็นส่วน หนึ่งของกระบวนการพั ฒนาเครือข่าย สื่อสาธารณะชุ มชน ทั้ งยังมีแนวคิดเริ่ม ต้นจากการสร้ างกระบวนการสื่ อสาร แบบมีส่วนร่วมจากคนในจั งหวัดพะเยา ผลิ ต และถู ก สื่ อ สารส�ำหรั บ คนพะเยา และมี เจตจ�ำนงชั ด เจนที่ จ ะพั ฒ นาให้ เป็นทีวี(สาธารณะ)ชุ มชนในอนาคต


อัจฉราวดี บัวคลี่

ผู้จ ัดการฝ่ายพัฒนาเครือข่ายสื่อพลเมือง สำ�นักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ไทยพีบ ีเอส

ภาค

ประชาชนที่ ส นใจก่อเกิด ที วี ชุ ม ชนเริ่ มรวมตั ว กั น มากขึ้นในหลายพื้นที่ ถือเป็นส่วน ส�ำคั ญ ต่ อ จั ง หวะก้ า วของกั น และกั น รวมถึงพะเยาทีวีชุ มชนด้วย ส�ำหรับ ด้านการท�ำงานหลังจอแต่ละพื้นที่ย่อม มีการก่อเกิดและสร้างกลไกการท�ำงาน ตลอดจนเนื้อหาและรูปแบบรายการใน สถานีอาจมีความแตกต่างกันไป แต่ บทเรียนของการท�ำงานสามารถจะแบ่ง ปั น และเรี ย นรู ้ กั น และกั น และน�ำมา ปรับใช้กันได้ ขณะที่เนื้อหาที่ผลิตออก มาก็สามารถเชื่ อมโยงน�ำมาเผยแพร่ให้ ต่างชุ มชนได้เรียนรู้ข้อมูลจากต่างพื้นที่ ด้วย นอกจากนั้นเครือข่ายคนท�ำทีวี ชุ มชนยังคงจะต้องมีบทบาทที่ จะผลัก ดันแนวคิด แนวนโยบายอีกหลายด้าน เพื่ อ ที่ จ ะท�ำให้ การมี อ ยู ่ ข องที วี ชุ ม ชน เป็นไปอย่างยั่งยืน ดังนั้นการก้าวเดิน ไปด้วยกันเป็นเรื่องส�ำคัญ และไทย พี บี เ อสสามารถเป็ น อี ก หนึ่ ง กลไกที่ จะเชื่ อมร้อยและเติมทั กษะ หรือชุ ด ประสบการณ์ การท�ำสื่ อ สาธารณะใน บางลั ก ษณะร่ ว มกั บ เครื อ ข่ า ยฯระดั บ ภาคหรือเชื่ อมโยงระดับประเทศไปด้วย กัน

ดร.เอื้อจิต

นักวิชาการ/มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา

ทีวี

ชุ มชนเป็นสื่อระดับท้องถิ่น ที่ ต้องท�ำให้คนในพื้นที่ สามารถ สัมผัสและเสพมันได้ มีการก�ำหนด วาระที่ เป็ นของท้ อ งถิ่ น อย่ า งชั ด เจน โดยอาจเป็นการท�ำงานสวมโครงสร้าง เดิมที่ท้องถิ่นมีอยู่ แต่ยังขาดเนื้อหา เช่น เคเบิ ลทีวี หรือวิ ทยุชุ มชน ซึ่ง พร้อมจะเป็นสื่ออยู่แล้ว ซึ่งแกนน�ำหรือ คนท�ำงานขับ เคลื่อนต้องท�ำหน้าที่สร้าง สื่อ สร้างคน สร้างงาน เอาสื่อไปโอบ ชุ มชน พยายามไต่เป้าไปเรื่อย ๆ อย่า มองแต่เป้าหมายอย่างเดี ยว ให้ค�ำนึง ถึงว่าระหว่างทางนั้นจะเสริ มอะไรเพื่อ ให้ ไปถึงเป้าหมาย โดยเริ่มจากการคิด เป็นโมเดล เอาตัววาระของชุ มชนเป็น ตั ว ตั้ ง แล้ ว ใช้ การสื่ อ สารหรื อ สื่ อ เป็ น เครื่ อ งมื อ ในการขั บ เคลื่ อ นและผลั ก ดั น ประเด็ น น�ำไปสู ่ การเปลี่ ย นแปลง ท�ำเหมือนเป็นห้องปฏิบัติการ ต้องมี กระบวนการท�ำงานจริง ๆ ไม่ควร ให้เรียนรู้อย่างเดี ยว แต่ต้องให้คนใน ชุ มชน กลุ่มต่างๆ ที่หลากหลายมา ขับ เคลื่อนร่วมกัน ท�ำเป็นประจ�ำให้ กลายเป็นชี วิ ตประจ�ำวัน และที่ส�ำคัญ ในกระบวนการท�ำงานควรมีการถอด บทเรียนที่ชัดเจนเป็นระยะว่า ล้มเหลว หรือส�ำเร็จตรงไหน เพราะอะไร จะแก้ อย่างไร เพื่อน�ำมาปรับปรุง ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 25


รูปแบบรายการ(ทดลอง) รายการข่วงบ้านลานเมือง ออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 29 สิงหาคม 2556 และทางยูทูป 31 สิงหาคม 2556 ความยาว 30 นาที เป็นรายการประเภทสนทนา เน้นการสนทนาเกี่ยว กับประเด็นชุมชน หรือบุคคลในชุมชนที่มีความน่าสนใจ เป็นแบบอย่าง เพื่อเป็น พื้นที่ของคนในชุมชนเพื่อเจาะลึกประเด็นบุคคลที่น่าสนใจและเป็นแบบอย่าง รายการแก้วดาปาแอ่ว ออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 29 สิงหาคม 2556 และทางยูทูป 31 สิงหาคม 2556 ความยาว 12 นาที ผลิตโดยนิสิตสาขาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัย พะเยา ออกอากาศครั้งแรก เป็นรายการประเภทวาไรตี้ เน้นการเข้าถึงชุมชนที่ มีกิจกรรม สถานที่น่าสนใจ ประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ หรือการรวมกลุ่มกันทำ� กิจกรรม ของคนในชุมชน นำ�เสนอในรูปแบบรายการบันเทิง เพื่อเป็นรายการหัว หอกในการนำ�แนวคิด หรือเรื่องพะเยาทีวีช ุมชนเข้าสู่ช ุมชน เพราะสนุกสนาน เข้าถึง และเข้าใจง่าย

รายการ UP News

รายการเรียนรู้คำ�เมืองกับน้องมาลูน

ออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 29 สิงหาคม 2556 ความยาว 12 นาที ผลิตโดยนิสิตสาขาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา เน้นข่าวที่เกี่ยวข้อง กับจังหวัดพะเยา เพื่อเกาะติดสถานการณ์ต่างๆ ในจังหวัดพะเยา ให้คนดูเกิด การรับรู้และติดตามรายการ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 12 ธันวาคม 2556 และทางยูทูป 14 ธันวาคม 2556 ความยาว 2 นาที ผลิตโดยนิสิตสาขาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นรายการรูปแบบวาไรตี้ สนุกสนาน เน้นการนำ�เสนอเนื้อหาเพื่อการเรียนรู้ภาษา คำ�เมืองของคนที่ ไม่ใช่คนในพื้นที่ผ ่านวิถีช ีว ิตของคนในชุมชน เพื่อเข้าถึงและให้ คนในชุมชนมีส่วนร่วมและเกิดความคุ้นชินในกระบวนการผลิตรายการทีวีที่ ไม่ยุ่ง ยากและซับซ้อนมากนัก 26 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน


รายการกินอยู่อย่างเหนือ

รายการคุยกับกำ�นัน

รายการทีวีของคนพะเยา

ออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 3 เมษายน 2556 และทางยูทูป 3 เมษายน 2556 ความยาว 13 นาที ผลิตโดยนิสิตสาขาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัย พะเยา เป็นรายการวาไรตี้ นำ�เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารการกินของคนพะเยา โดยเน้นถึงกระบวนการได้มาของวัตถุดิบ และความสัมพันธ์ของการกินกับชีว ิต ประจำ�วันของคนในชุมชน ที่มีคนในชุมชนเป็นผู้ร่วมดำ�เนินรายการและออกแบบ รายการอาหารที่จะนำ�เสนอ เพื่อเพิ่มโอกาสในการในการมีส่วนร่วมและความคุ้น เคยของคนในชุมชนต่อกระบวนการทีวีช ุมชน โดยออกแบบวิธีการนำ�เสนอให้ลด ความยุ่งยากและพิธีการของการผลิตรายการให้น้อยลง ออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 2 พฤษภาคม 2556 ความยาว 15 นาที ผลิต โดยนิสิตสาขาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นรายการสนทนากับ กำ�นันตำ�บลต่างๆ เพื่อนำ�เสนอข้อมูลภาพรวมด้านต่างๆ ของตำ�บล นั้น ๆ ใน จังหวัดพะเยา โดยนำ�เสนอการสัมภาษณ์รูปแบบต่างๆ ขึ้นอยู่กันความต้องการของ กำ�นันในพื้นที่ เพื่อขยายการเข้าถึง และการรับรู้ ในท้องถิ่นให้ครอบคลุมมากที่สุด และสร้างเครือข่ายในการทำ�งาน ออกอากาศครั้งแรก เมื่อ 3 เมษายน 2556 ความยาว 3 นาที ผลิตโดย นิสิตสาขาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อเป็นช่องทางในการฟังเสียง สะท้อนของคนดูรายการต่อพะเยาทีวีช ุมชน เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและมีส่วนร่วม ในพะเยาทีวีช ุมชนและสะท้อนของพฤติกรรมการเปิดรับชมทีวีของคนพะเยา ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 27


การมีส่วนร่วมของชุมชน

การ

สร้างการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนการสร้างการมีส่วนร่วมของพะเยา ทีวีช ุมชน พบว่ามีลักษณะดังนี้ 1.การสร้างการมีส่วนร่วมในระดับคนดูที่กระตือรือร้น โดยการพัฒนาผู้ ชมผู้ดู ในท้องถิ่น เริ่มจากการรับรู้และคุ้นชินกับคำ�ว่า “ทีวีช ุมชน” ในระดับต่างๆ 2.การสร้างการมีส่วนร่วมในรายการโดยใช้รายการที่ผลิตขึ้นเป็นเครื่องมือ ในการดึงการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 3.การสร้ า งการมี ส่ ว นร่ ว มในระดั บ การผลิ ต ใช้ รายการที่ ผ ลิ ต ขึ้ น เป็ น แนวทาง และนำ�ไปเป็นเครื่องมือในการชักชวนขยายผลไปยังกลุ่มที่มีศักยภาพใน การผลิต และใช้การฝึกอบรมทักษะด้านการผลิตสื่อและการสื่อสารให้กับกลุ่มที่ สนใจ เป็นการเตรียมความพร้อมด้านกำ�ลังคน โดยเปิดฝึกอบรมทักษะเช่นการ ถ่ายภาพ การตัดต่อ การเล่าเรื่องให้กับผู้สนใจในท้องถิ่น พร้อม ๆ ไปกับขยาย แนวคิดและการชักชวนให้เข้ามามีส่วนร่วมในพะเยาทีวีช ุมชน 4.การสร้างการมีส่วนร่วมในระดับนโยบาย การสร้างการมีส่วนร่วมใน ระดับความเป็นเจ้าของหรือร่วมเป็นผู้กำ�หนดนโยบาย พบว่ากลุ่มแกนนำ� หลัก ได้เริ่มที่จะขยายแนวคิดความเป็นเจ้าของไปยังกลุ่มต่างๆ ในชุมชน และจาก การสังเกตการณ์ ในการประชุมของกลุ่มแกนนำ�หลักพบว่าเริ่มมีการหารือกันถึง แนวทางการระดมทุนจากชุมชนในรูปแบบต่างๆ เช่นระดมทุนเป็นหุ้นส่วนทีวีช ุมชน หุ้นละ 1 บาท การทอดผ้าป่าทีวีช ุมชน หรือการรับบริจาคโดยตรงจากผู้ที่สนใจ เพื่อให้เกิดความรู้สึกมีส่วนได้ส่วนเสียกับทีวีช ุมชน เป็นต้น แต่ปัจจุบัน แนวคิดยัง กล่าวยังไม่ได้นำ�ไปสู่การปฏิบัติ

28 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน


ความสัมพันธ์ทีวีช ุมชนกับ เครือข่าย

“ดัน”และ“ดึง”ให้เข้มแข็ง

รูป

แบบการเกิ ด ขึ้ นของที วี ช ุ ม ชน เริ่มจากกลุ่มคนเล็ก ๆ แล้ว ค่ อ ยขยายแนวคิ ด และกิ จ กรรมไปสู่ กลุ่มคนในวงกว้าง กลายเป็นเครือข่าย การทำ�งานร่วม โดยใช้ว ิถีประเพณี ของชุ ม ชนเป็ น ตั ว เชื่ อ มในการทำ � งาน แสวงหาเครื อ ข่ า ยจากภายนอกและ ภายใน ในการเสริมพลังของทีวีช ุมชน ทั้งในแง่ของการขยายฐานการทำ�งาน และขยายผู้ชม โดยบทบาทของทั้ง สองเครือข่ายนั้น เครือข่ายภายใน ชุมชน มีบทบาทในการ “ดัน” ให้ทีวี ชุมชนค่อยๆ ขยายตัวภายในชุมชนเช่น บทบาทการร่วมเวทีออกแบบทีวีช ุมชน การร่วมผลิตรายการ การสนับสนุน กลุ่มผลิตรายการในรูปแบบต่างๆ และ การเป็นผู้ช มหรือให้ ใช้ช่องทางการออก อากาศ เป็นต้น

ขณะ

เ ดี ย ว กั น เ ค รื อ ข่ า ย ภายนอกก็ ช่ ว ย“ดึ ง ”เพื่ อ ให้ทีวีช ุมชนเข้มแข็งมากขึ้น โดยเฉพาะ ในระยะเวลาช่วงเริ่มต้นไม่ว่าจะเป็นการ ช่วยขยายแนวคิดในภาพรวม การฝึก อบรมทักษะและเทคโนโลยี ในการผลิต และแพร่ภาพ เป็นต้น ดังนั้นรูปแบบ ความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายและการ พัฒนาทีวีช ุมชนจึงมีลักษณะ“ดัน”และ “ดึง” “ดึง”และ“ดัน”ให้หยัดยืน ใจสำ � คั ญ ของเกิ ด ขึ้ น และการ ดำ�รงอยู่ของทีวีช ุมชน คือ คน และการมี ส่ ว นร่ ว มของเครื อ ข่ า ยทั้ ง ในชุมชนและภายนอกชุมชนที่มาอย่าง ถูกที่ถูกเวลาและถูกหน้าที่ และเมื่อ สามารถสร้างเครือข่ายการทำ�งานร่วม ได้ ต้องมีกลไกและเครื่องมือในการ เชื่อมโยงกลุ่มต่างๆ เหล่านั้น ไม่ให้ หายไป ซึ่งถือเป็นเรื่องท้าทายของชุมชน ต่อการบริหารจัดการทีวีช ุมชนระยะยาว

หัว

ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 29


ทีวีช ุมชน : มองออกไปนอกบ้าน เรียนรู้ ต่อยอดประสบการณ์จากที่อื่น*

ทีวีช ุมชน : ทำ�ไมต้องมาคุยกัน

ย้อนไป 50 กว่าปี การที่คนธรรมดา หรือคนในชนบทจะปรากฏตัวผ่าน หน้าจอทีวี เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก หากไม่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง หรือแปลก ประหลาดที่ต้องกลายเป็นข่าวใหญ่โต เพราะคำ�ว่า“ทีวี” เป็นเรื่องที่ ไกลตัว ทำ�ได้ แค่เป็นเพียงผู้ดู ผู้ชม ครั้นจะให้คิดไปไกลเป็น “ผู้ผลิต” ยิ่งเป็นเรื่องแทบจะไม่ เกิดขึ้น ดังนั้นการใช้สื่อทีวีของคนท้องถิ่นบ้านเราในช่วงแรก ๆ ของการมีทีวี จึง มีลักษณะแยกส่วนอย่างชัดเจนระหว่างคนดู กับคนทำ� หรือระหว่างคนดูกับตัว สื่อโทรทัศน์ แต่ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่ส่งผลกระทบต่อการ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไข กติกาของการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ ใช้กับทีวีและวิทยุ เกิด กระแสการพัฒนาที่เน้นพลังของชุมชนให้มีสิทธิ์มีเสียงในสังคม รวมไปถึงการ เปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสื่อดังกล่าวมีราคาที่ถูกลงและใช้ *บทความนี้เรียบเรียงใหม่จาก บทความเรื่อง โทรทัศน์ท้องถิ่น: สื่อใหญ่ที่อยู่ได้เพราะความรักของคนเล็กๆ. ใน กาญจนา แก้วเทพ ภัทรา บุรารักษ์ และตปกร พุธเกส. 2555. สื่อที่ ใช่ ของใครที่ชอบ การ์ตูน โทรทัศน์ ท้องถิ่น แฟนคลับ. ห้างหุ้นส่วนจำ�กัดภาพพิมพ์.กรุงเทพ หน้า 212-290. 30 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน


งานง่ายมากขึ้น จึงทำ�ให้เส้นแบ่งระหว่างผู้ชมและผู้ทำ�ค่อย ๆ หายไป คนกลุ่ม ต่างๆ ในท้องถิ่น เริ่มตระหนักถึงความจำ�เป็นของการสื่อสารในระดับต่างๆ รวม ทั้งการเกิดขึ้นของวิทยุช ุมชนที่ถือเป็นสื่อกระจายเสียงใหม่สำ�หรับชุมชม ที่มี ศักยภาพในการสื่อสารที่กว้างขวางขึ้น แต่ก็ต้องการต้นทุนและศักยภาพของชุมชน ในการจัดการมากกว่าหอกระจายเสียง และการเข้าไปมีส่วนร่วมกับสื่อมวลชนขนาด ใหญ่ระดับประเทศอย่างทีวีมากขึ้น แต่การเข้าไปมีส่วนร่วมกับสื่อทีวีนั้นยิ่งเข้ามี ส่วนร่วมในระดับสูงเท่าไหร่ ก็ต้องการทักษะ ศักยภาพ และต้นทุนของท้องถิ่นมาก ยิ่งขึ้น แต่ถ้าชุมชนสามารถทำ�ได้พลังในการสื่อสารจะมีพลังมากกว่าวิทยุช ุมชน เพราะวิทยุช ุมชนมีข้อจำ�กัดเป็นสื่อที่อาศัยจำ�นวนคนและทักษะความสามารถที่เข้า มาเกี่ยวข้องที่มากขึ้นทั้งภายในและภายนอกชุมชน และขึ้นอยู่กับ เงื่อนไขเศรษฐกิจ การเมืองสังคมและวัฒนธรรมและข้อกฎหมายการใช้คลื่นความถี่มากมาย อย่างไรก็ตามหากเทียบวิทยุช ุมชนกับทีวีช ุมชน จะพบว่าวิทยุช ุมชนมีข้อได้ เปรียบ คือเป็นสื่อที่มีเทคนิคการผลิตรายการที่ยุ่งยากน้อยกว่า คนในท้องถิ่น สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ด ีกว่า และบางสถานีฯ สามารถกำ�หนดรูปแบบการ บริหารจัดการ การผลิตรายการ การกำ�หนดเนื้อหาให้เป็นไปตามศักยภาพและ ความต้องการของท้องถิ่น และสามารถสร้างความใกล้ชิด ผูกผันและความรู้สึก เป็นเจ้าของได้ง่ายกว่าทีวี แต่ข้อจำ�กัดก็คือการเป็นสื่อที่มีเฉพาะเสียงของวิทยุ ชุมชน ทำ�ให้การสร้างความสนใจ ความเข้าใจในข่าวสารมีความชัดเจนน้อยกว่า และวิทยุช ุมชนมีพื้นที่ ในการกระจายเสียงแคบกว่า อาจไม่เหมาะกับการสื่อสารใน ประเด็นของท้องถิ่นที่ต้องอาศัยการรับรู้ และความเข้าใจกับคนภายนอกชุมชนมากนัก สำ�หรับทีวีช ุมชน ซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อสารหน้าใหม่ที่กำ�ลังอยู่ใน กระบวนการเรียนรู้และทดลอง ที่แม้คนท้องถิ่นจะคุ้นชินกับทีวีที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่น มานานแล้ว แต่แนวคิดและรูปแบบวิธีการทำ�งานที่คนท้องถิ่นสามารถแสดง ความคิดเห็น เสนอแนะ ให้ข้อมูล เป็นนักแสดง ออกรายการหรือกระทั่งการไป เป็นผู้ผลิตทำ�งานร่วมกับคนโทรทัศน์มืออาชีพ ยังเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่แพร่หลาย หรือเป็นที่รับรู้และนำ�ไปสู่ปฏิบัติอย่างกว้างขวางเท่าวิทยุช ุมชน อีกทั้งในด้าน การบริหารจัดการ การมีส่วนร่วมกับสื่อทีวี ที่มีความใหญ่โตและซับซ้อนกว่าวิทยุ ชุมชนหลายเท่า ทั้งในแง่ของทักษะการผลิตรายการ การบริหารจัดการ จำ�นวน คนที่เกี่ยวข้องที่เรียกร้องเวลาและต้นทุนจากท้องถิ่นสูง และยังเกี่ยวพันกับมิติ ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรมไม่ต่างจากวิทยุช ุมชนแล้ว และที่ยัง สำ�คัญก็คือการทำ�ทีวีช ุมชนเป็นกระบวนการทำ�งานที่ยังต้องร่วมกับคนภายนอก ท้องถิ่นที่เป็นสื่อมืออาชีพ ที่มีว ิธีคิด การรับรู้และวัฒนธรรมต่อเรื่องทีวีแตกต่าง ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 31


กัน ทำ�ให้เมื่อมาทำ�งานร่วมกันต้องใช้เวลาในการการเรียนรู้ การสร้างความเข้าใจ ถึงแนวคิด “ทีวีช ุมชน” แต่ไม่ว่าจะมีความข้อจำ�กัด ความยุ่งยากและซับซ้อนมากแค่ไหนก็ตาม ความพยายามของกลุ่ม เครือข่ายในชุมชนหรือท้องถิ่นที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมและ ใช้สื่อทีวี และความพยายามที่จะทำ�ให้ทีวี สามารถแสดงคุณลักษณะของการเป็น “ทีวีช ุมชน” ในปัจจุบัน(2557) ก็ยังคงเกิดขึ้นและจำ�เป็นต้องเกิดขึ้นเพื่อค้นหารูป แบบและวิธีการที่เหมาะสมสำ�หรับกับสังคมไทยให้มากที่สุด

ทำ�ไมชุมชนต้องมี “ทีวีช ุมชน”

แม้ว่าการดำ�เนินการของทีวีช ุมชนจะมีกระบวนการ การดำ�เนินงาน และ เรียกร้องต้นทุนจากคนท้องถิ่นในการเข้าร่วมสูงกว่าสื่อกระจายเสียงระดับอื่น แต่ คนในท้องถิ่นเอง หรือองค์กร หน่วยงานต่างๆ พยายามที่จะต่อสู้เพื่อให้เกิดขึ้น และอยู่รอด เหตุผลที่สามารถอธิบายว่าทำ�ไมชุมชน หรือองค์กร ในหลายๆ ประเทศมี การต่อสู้เพื่อให้ ได้มาและอยู่รอดของทีวีช ุมชน สามารถอธิบายใน 2 มิติ คือ 1. เหตุผลด้านธรรมชาติหรือคุณลักษณะของตัวสื่อทีวี ที่เป็นสื่อที่ ให้การ รับรู้ที่สมจริงด้วยภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ที่มีพลังในการอธิบายและสร้าง ความเข้าใจได้อย่างชัดเจนที่หอกระจายเสียงหรือวิทยุช ุมชนทำ�ไม่ได้ ประกอบกับ หากต้องการสื่อสารในเรื่องที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายอื่นๆ นอกชุมชน แล้ว สื่อวิทยุช ุมชนหรือหอกระจายข่าวจะไม่สามารถตอบสนองได้ด ีเท่า อีกทั้งการ บันทึกหรือเผยแพร่ผ ่านโทรทัศน์แล้ว สามารถนำ�ชิ้นงานนั้นไปฉายซ้ำ�หรือเผย แพร่ในสถานการณ์อื่นๆ ได้อีกอย่างน่าสนใจกว่าสื่อเสียงหรือสื่อวิทยุช ุมชน 2. เหตุผลด้านการเป็นเครื่องมือหรือกลไกในการพัฒนาของท้องถิ่น ทีวี ชุมชนสำ�หรับคนท้องถิ่น ไม่เพียงแต่เป็นสถานีฯโทรทัศน์หรือรายการโทรทัศน์ที่ นำ�เสนอประเด็นของของถิ่นและตั้งในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังถือเป็นเครื่องมือการ สื่อสารหรือกลไกการสื่อสารที่สำ�คัญสำ�หรับการพัฒนาที่สะท้อนให้คนท้องถิ่ นได้ เห็นตัวเองและท้องถิ่นของตนที่สามารถสร้างความรักและความผูกพันกับท้องถิ่น นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องมือที่ทำ�ให้คนท้องถิ่นได้แสดงฐานะการเป็นพลเมืองที่มี สิทธิ์มีเสียงต่อความเป็นไปของท้องถิ่นอย่างที่ โทรทัศน์ระดับชาติทำ�ไม่ได้ หรือ การเป็นเครื่องมือในการเพิ่มพลังให้เสียงหรือเรื่องราวของพวกเขาไม่ว่าจะเป็น ประเด็นปัญหา หรือประเด็นคุณค่า ความงามของวิถีช ีว ิต วัฒนธรรมและภาษา ของพวกเขาให้สื่อสารออกไปทั้งในระดับชุมชนและนอกชุมชนได้ 32 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน


คุณลักษณะทีวีช ุมชนของเพื่อนบ้าน : แบบใด อย่างไร

แม้ว่าคุณลักษณะของสื่อ ขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมนั้นๆ ดังนั้นเมื่อศึกษา คุณลักษณะทีวีช ุมชนจากในและต่างประเทศจำ�นวน 13 สถานีฯ ที่มีบริบททาง สังคมแตกต่างกัน จึงทำ�ให้คุณลักษณะของทีวีช ุมชนจึงมีท ั้งความต่างและคล้ายกัน เช่น คุณลักษณะด้านหลักการความเป็นเจ้าของ บางประเทศไม่เคร่งครัดที่จะต้อง ให้ประชาชนหรือกลุ่มเครือข่าย องค์กรในท้องถิ่นเป็นเจ้าของ ขณะที่บางแห่งระบุ ชัดเจนว่าทีวีช ุมชนควรให้ประชาชน หรือท้องถิ่นเป็นเจ้าของ หรือคุณลักษณะการ เป็นสื่อที่ ไม่แสวงหากำ�ไร ที่พบว่าทีวีช ุมชนส่วนใหญ่ตระหนักว่าเป็นคุณลักษณะ ที่จำ�เป็นสำ�หรับการแสดงการเป็นโทรทัศน์ท้องถิ่นเป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากการ ศึกษาคุณลักษณะร่วมของทีวีช ุมชน 13 สถานีฯ สามารถสรุปคุณลักษณะสำ�คัญ ๆ ได้ 8 คุณลักษณะ ได้ดังนี้ 1.คุณลักษณะด้านการบริหารจัดการ 2.คุณลักษณะด้านเป้าหมายในการดำ�เนินงาน 3.คุณลักษณะด้านที่ตั้งสถานีฯ 4.คุณลักษณะด้านรัศมีการแพร่ภาพกระจายเสียง 5.คุณลักษณะด้านความเป็นเจ้าของ 6.คุณลักษณะด้านกระบวนการดำ�เนินการ 7.คุณลักษณะด้านเนื้อหารายการ 8.คุณลักษณะด้านภาษาที่ ใช้ ในการนำ�เสนอรายการ ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 33


ตาราง : แสดงคุณลักษณะของทีวีช ุมชน/ทีวีท้องถิ่น

จากข้อมูลในตารางข้างต้น แสดงให้เห็นว่าคุณลักษณะความเป็นสื่อชุมชน ของทีวีช ุมชน ไม่จำ�เป็นต้องแสดงทุกคุณลักษณะครบถ้วน ขึ้นอยู่กับบริบททาง สังคม การเมืองของแต่ละพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามหากศึกษาถึงน้ำ�หนักการให้ความ สำ�คัญ โดยพิจารณาจากความถี่ที่ปรากฏในตารางดังกล่าว(มีความถี่มาก หมาย ถึง ให้น้ำ� หนั ก หรื อ ความสำ�คัญ ว่า เป็น คุณ ลักษณะของที วี ช ุ ม ชนมากตามลำ � ดั บ ) สามารถจัดกลุ่มการให้น้ำ�หนักหรือความสำ�คัญของคุณลักษณะความเป็นทีวีช ุมชน ได้ 3 กลุ่ม คือ

1. คุณลักษณะร่วมของทีวีช ุมชนในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย 4 คุณลักษณะดังนี้

1.1.คุณลักษณะด้านพื้นที่ตั้งสถานี ตั้งอยู่ในชุมชน ถึงแม้ว่าปัจจุบัน เทคโนโลยีการแพร่ภาพกระจายเสียงจะสามารถแพร่ภาพได้ ไปถึงทุกที ในเวลา 34 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน


เดียวกัน แต่สำ�หรับทีวีช ุมชนการตั้งอยู่ในท้องถิ่นยังมีความสำ�คัญเพราะ ความ เป็นโทรทัศน์ท้องถิ่นที่แท้จริงนอกจากไปตั้งในชุมชนแล้ว ยังต้องแสดงบทบาท หน้าที่มีความหมายโดยเฉพาะการเป็นพื้นที่ทางจิตใจและพื้นที่ทางสังคมให้กับ คนในพื้นที่ เช่นการเป็นที่พึ่งในยามเกิดวิกฤติ การเป็นพื้นที่จ ัดกิจกรรมสำ�คัญ ของท้องถิ่นเป็นต้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวล้วนแต่เป็นสร้างความใกล้ชิดและผูกพันที่ ส่งผลต่อความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ ซึ่งถือเป็นปัจจัยของการเป็นโทรทัศน์ท้องถิ่น 1.2.คุณลักษณะด้านกระบวนการดำ�เนินงาน ที่ ใช้แนวคิดการมีส่วนร่วม ของคนในชุมชน ทีวีช ุมชนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะมีสถานะความเป็นเจ้าของจะแตกต่างกันอย่างไร มักใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของคนท้องถิ่ นเป็นหัวใจสำ�คัญในการดำ�เนินงานเช่น สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยภาคเหนือ(ช่อง11 เชียงใหม่) แม้เป็นสื่อของรัฐ และมีเป้าหมายการดำ�เนินงานเพื่อรัฐเป็นหลัก แต่บางส่วนของการผลิตรายการ ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 35


ยังเปิดโอกาสให้คนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งระดับการมีส่วนร่วมที่ทำ�ได้คือ การเป็นผู้ร่วมรายการที่สถานีฯ ผลิตขึ้นหลายลักษณะทั้งการเป็นแขกรับ เชิญใน รายการ การเป็นเจ้าของสถานที่ ในการถ่ายทำ� รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการให้ข้อ เสนอแนะติชมรายการ เป็นต้น ส่วนการมีส่วนร่วมในสถานีฯ ที่มีกลุ่ม หน่วยงาน และคนท้องถิ่นเป็น เจ้าของ และมีเป้าหมายการดำ�เนินงานเพื่อท้องถิ่นเป็นหลัก เช่นสถานีโทรทัศน์ Salto ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ ให้ความสำ�คัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของคน ท้องถิ่น ในการร่วมกำ�หนดและผลิตรายการแบบอาสาสมัคร มากกว่าให้มืออาชีพ หรือเจ้าหน้าที่สถานีฯ เป็นผู้ผลิตรายการ (Jankowski,1998:150-151) หรือ กรณีเคเบิลทีวีท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกา ที่กฎหมาย(พระราชบัญญัติ Federal Telecommunication Act of 1997) ระบุ ให้ผู้ ให้บริการเคเบิลทีวจี ัดสรรเวลา ให้กับท้องถิ่น และให้แต่ละท้องถิ่นจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการเข้าถึงทีวีช ุมชน ที่ ให้ บริการกับคนท้องถิ่นในด้านการฝึกอบรม การใช้อุปกรณ์และห้องสตูดิโอสำ�หรับ คนท้องถิ่นที่ต้องการผลิตรายการผ่านสถานีเคเบิลทีวี (www.ctamaine.org) ซึ่ง ถือเป็นความพยายามที่จะสร้างระบบทีวี ในนิยามของการเป็นพื้นที่การสื่อสารให้ กับคนท้องถิ่น 1.3.คุณลักษณะด้านพื้นที่กระจายเสียง รัศมีครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ คุณลักษณะด้านนี้สัมพันธ์กับการที่ตั้งของสถานีฯ จากข้อมูลพบว่าทีวีช ุมชนเกือบ ทุกแห่งแพร่ภาพกระจายเสียงครอบคลุมในพื้นที่เฉพาะเขตให้บริการเท่านั้น โดย การแบ่งเขตพื้นที่อาจแบ่งตามการแบ่งตามเขตการปกครองของรัฐ หรือแบ่งตาม ความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น หรือ ผสมผสานทั้งแบ่งตามเขต การปกครองและทางวัฒนธรรม ข้อเด่นของการแพร่ภาพจำ�กัดเฉพาะพื้นที่ก็คือสถานีฯ สามารถนำ�เสนอ เนื้อหาที่มุ่งตอบสนองคนในท้องถิ่นตามคุณค่า ความสนใจและวิถีช ีว ิตรวมถึง ภาษาถิ่นได้ด ีกว่าการแพร่ภาพกระจายเสียงครอบคลุมทั้งประเทศ ซึ่งเนื้อหาที่ ตอบสนองท้องถิ่นได้ ใกล้ชิด และสะท้อนอัตลักษณ์ของท้องถิ่นได้ด ี จะเป็นปัจจัย ให้คนท้องถิ่นให้ความสำ�คัญและสนใจเข้ามีส่วนร่วม 1.4.คุณลักษณะการเป้าหมายในการดำ�เนินการ ที่มุ่งเน้นการทำ�งานเพื่อ คนในชุมชน แนวคิดทีวีช ุมชนส่วนใหญ่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความคาดหวัง และความต้องการของคนในสังคมที่ต้องการสื่อที่สร้างจิตสำ�นึกสาธารณะให้กับ พลเมือง และเป็นสื่อในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาและยึดท้องถิ่นเป็นเป้า หมายในการดำ�เนินการ (Berrigan F. 1977:213-224) ซึ่งการดำ�เนินการโดย 36 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน


มีท้องถิ่นเป็นเป้าหมายจะส่งผลต่อความสามารถในการแสดงคุณลักษณะการเป็น ทีวีช ุมชน เช่นด้านรายการ เนื้อหา การกำ�หนดรูปแบบและการสร้างโอกาสให้คน ท้องถิ่นมีส่วนร่วม มักทำ�ได้มากกว่าทีวีที่มีเป้าหมายเพื่อการแสวงหากำ�ไร

2.คุณลักษณะร่วมของทีวีช ุมชนในระดับปานกลาง

ประกอบด้วย 3 คุณลักษณะดังนี้ 2.1. คุณลักษณะการบริหารจัดการสถานีเป็นสถานีโทรทัศน์ที่เป็นอิสระ รูปแบบของการบริหารจัดการสถานีฯ ท้องถิ่นที่เป็นอิสระ คือการจัด ตั้งสถานีฯ ขึ้นตามกฎหมายของแต่ละประเทศ มีอำ�นาจและการบริหารจัดการ ทั้งด้านนโยบาย การเงิน การดำ�เนินการและการคัดเลือกเนื้อหา รวมถึงความ เป็นอิสระในการจัดสรรเวลาและรายการของท้องถิ่น โดยไม่ขึ้นกับสถานี โทรทัศน์ แม่ข่าย เช่นประเทศยูโกสลาเวีย ออกกฎหมายกำ�หนดให้โทรทัศน์ท้องถิ่นเป็น โทรทัศน์ที่ ให้บริการสาธารณะระดับท้องถิ่น ที่สามารถจัดตั้งสถานีอิสระในแต่ละ ท้องถิ่นได้ ซึ่งสถานีฯ แต่ละแห่งมีอำ�นาจในการบริหารจัดการในการตอบสนอง ท้องถิ่นได้เต็มศักยภาพ จนได้รับการยอมรับจากคนในสังคมว่าเป็นส่วนสำ�คัญ ในการพัฒนาประเทศ (Berrigan F. 1977: 213-224) อย่างไรก็ตามแม้ว่า คุณลักษณะการเป็นสถานีโทรทัศน์ที่เป็นอิสระ จะเป็นคุณลักษณะที่ยอมรับร่วม กัน แต่ก็ยังมีรูปแบบอื่นๆ เช่น ลักษณะการเป็นสถานีฯ ลูกข่าย ที่อยู่ภายใต้การ บริหารจัดการของสถานีแม่ข่ายที่เป็นสถานีโทรทัศน์ระดับชาติ เช่น สถานีโทรทัศน์ BBC ของประเทศอังกฤษ และโทรทัศน์ท้องถิ่นของไทย ทั้งสถานีโทรทัศน์แห่ง ประเทศไทย ช่อง 11 เชียงใหม่ และสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบ ีเอส 2.2. คุณลักษณะด้านภาษาท้องถิ่นเป็นหลักในการนำ�เสนอ การใช้ภาษาในการนำ�เสนอรายการของทีวีเป็นสิ่งที่สะท้อนความเป็นท้อง ถิ่นที่แตกต่างจากโทรทัศน์ระดับชาติ และยังสะท้อนถึงการตอบสนองท้องถิ่น เพราะภาษาคือศูนย์กลางในการประกอบสร้างตัวตนและอัตลักษณ์ อีกทั้งยังเป็น เครื่องมือที่ทำ�ให้มนุษย์สามารถอธิบายหรือสามารถพูดถึงตัวเองได้ด้วยวิธีการที่ แตกต่างกันไป (Barker,Galasinski,2001:28) ภาษาถิ่นจึงเป็นสัญลักษณ์ และเครื่องมือที่ ใช้อธิบายหรือแสดงความเป็นคนท้องถิ่นนั้น ๆ ได้ด ีกว่าการใช้ ภาษาราชการ และการที่สื่อมวลชนในท้องถิ่นใช้ภาษาถิ่นนำ�เสนอเนื้อหาหรือ รายการ นอกจากจะสร้างความรู้สึกถึงความเป็นท้องถิ่นนั้นแล้วยังสร้างความใกล้ ชิดและความเป็นเจ้าของให้เกิดขึ้นในใจของคนท้องถิ่นได้อีกด้วย จากตัวอย่าง ของสถานีฯหลายแห่งมีการใช้ภาษาถิ่ นของผู้รับ เป้าหมายในการนำ�เสนอรายการ ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 37


ที่นอกจากจะสามารถนำ�เสนออัตลักษณ์และวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ๆ ได้เป็น อย่างดี ยังสร้างความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ เช่นโทรทัศน์ภูมิภาค Wales สถานีฯ ลูกข่ายของ BBC ที่มีภาษาถิ่นของตนเองได้เรียกร้องให้โทรทัศน์ภูมิภาคให้ความ สำ�คัญกับภาษาถิ่นในรายการมากขึ้น เพราะเห็นว่าการนำ�เสนอรายการด้วยภาษา ถิ่ นเข้าถึงและสะท้อนถึงความเป็นท้องถิ่ นของพวกเขาได้มากกว่าภาษาอังกฤษซึ่ง เป็นภาษาราชการ (Briggs,1995:89) อย่างไรก็ตามยังมีสถานีฯอีก 4 แห่งที่เห็นว่าสามารถผสมผสานทั้งภาษา ถิ่ นและภาษาราชการในการนำ�เสนอรายการแล้วแต่ว่าจะให้น้ำ�หนักของภาษาใด มากกว่า เช่นสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เชียงใหม่และในท้องถิ่นอื่น สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบ ีเอส (ทีวจี อเหนือ) และสถานีโทรทัศน์ภูมิภาคที่เป็นลูกข่าย ของ BBC ประเด็นน่าที่สนใจในการศึกษาก็คือไม่พบว่ามีทีวีช ุมชนใดที่นำ�เสนอเฉพาะ ภาษาราชการเพียงภาษาเดียว แสดงให้เห็นว่าคุณลักษณะการเป็นทีวีช ุมชนนั้นต้อง ปรากฏภาษาถิ่นด้วย ไม่ว่าจะมีสัดส่วนการนำ�เสนอมากหรือน้อยก็ตาม 2.3 คุณลักษณะด้านเนื้อหารายการมีความต่างและสะท้อนความเป็นท้องถิ่น เนื้อหารายการของโทรทัศน์ท้องถิ่น สามารถบอกถึงคุณลักษณะของการ เป็นโทรทัศน์ท้องถิ่นได้ จากนิยามความหมายของทีวีช ุมชน จะเห็นว่า มีการคาด หวังให้เนื้อหารายการควรแตกต่างจากโทรทัศน์ระดับชาติ หรือโทรทัศน์ของรัฐ และเอกชน โดยควรสะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เจาะลึกท้องถิ่น จนถือ เป็นจุดแข็งของการเป็นทีวีช ุมชนอย่างที่สถานีอื่นๆ ก็ ไม่สามารถทำ�ได้ด ีเท่า(Moragas Spä and Carmelo Garitaonandia,1998:150) โดยเนื้อหาท้องถิ่นที่ทีวี ชุมชนส่วนใหญ่นำ�เสนอได้ต่อเนื่องก็คือ “ข่าว” เพราะลักษณะของรูปแบบรายการ ข่าวสามารถสร้างความใกล้ชิด และนำ�เสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นได้ด ีกว่า รูปแบบรายการประเภทอื่นๆ(หฤทัย ขัดนาค, 2547 และ Moragas Spa and Carmelo Garitaonandia,1998) นอกจากนี้ การนำ�เสนอเนื้อหาของทีวีช ุมชนยังมีความสัมพันธ์กับความ เป็นเจ้าของ และแนวคิดในการการดำ�เนินงานของสถานีฯ นั้น ๆ เช่นสถานี โทรทัศน์ที่เป็นของเอกชนมักนำ�เสนอเนื้อหาที่ตอบสนองนโยบายการแสวงหากำ�ไร มากกว่า เช่นเคเบิลทีวีท้องถิ่นในประเทศไทย และสถานี Professional Television ประเทศอิตาลี เน้นการแสวงหากำ�ไร ทำ�ให้รายการส่วนใหญ่เป็นรายการ บันเทิง ภาพยนตร์หรือรายการจากสถานีฯแม่ข่ายมากกว่าที่จะเป็นเรื่องราวของ ท้องถิ่นอย่างที่ควรจะเป็น 38 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน


ขณะที่สถานีฯที่รัฐเป็นเจ้าของ การนำ�เสนอเนื้อหามุ่งเน้นการตอบสนอง นโยบายของรัฐโดยใช้ข้อมูลหรือแหล่งข้อมูลจากท้องถิ่นที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐ เช่นเนื้อหาสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เชียงใหม่ ในช่วง พ.ศ. 25352550 (ภัทรา บุรารักษ์, 2551:246)

3. คุณลักษณะร่วมของทีวีช ุมชนในระดับน้อยที่สุด คือ ความเป็นเจ้าของ

คุณลักษณะด้านความเป็นเจ้าของ แบ่งความเป็นเจ้าของตามความถี่ที่พบ ตามลำ�ดับมากไปถึงน้อยได้ดังนี้ 3.1 องค์กรสาธารณะเป็นเจ้าของ เช่นสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบ ีเอส จัดตั้งขึ้น โดยพระราชบัญญัติองค์กรแพร่ภาพและกระจายเสียงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 และ สถานีโทรทัศน์ BBC ประเทศอังกฤษที่จ ัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมาย Royal Chater มีความเป็นอิสระและปลอดจากอำ�นาจทางการเมืองและเป็นองค์กร ที่กำ�กับควบคุมดูแลตนเอง มีรายได้มาจากการเก็บค่าธรรมเนียมจากประชาชน (วิภา อุตมฉันท์,2546:93-94) รวมถึงการเป็นเจ้าของโดยองค์กรที่ ไม่แสวงหา กำ�ไร ไม่ขึ้นอยู่กับรัฐและทุน เช่น สถานีชนพื้นเมืองประเทศแคนาดา 3.2 กลุ่ม หรือองค์กรในท้องถิ่น/ชุมชนเป็นเจ้าของ ส่วนใหญ่มักเป็น สถานีฯ ในรูปแบบเคเบิลทีวีที่จะมีความแตกต่างกันในเรื่องเป้าหมายของการ ดำ�เนินงานที่มีท ั้งเชิงพาณิช ย์ และเพื่อท้องถิ่น หรือต้องตอบสนองท้องถิ่นโดยการ จัดสรรเวลาให้กับท้องถิ่นตามกฎหมายกำ�หนด (www.ctam@maine.org) เช่น ทีวีช ุมชนของประเทศอิสราเอล ภายหลังประกาศเป็นเอกราชเมื่อปี ค.ศ 1948 ประเทศอิสราเอลเริ่มใช้ระบบสื่อท้องถิ่น โดยประยุกต์ต้นแบบมาจากทางด้าน ประเทศยุโรปมาผสมผสานกับบริบทในประเทศ โดยมีการกระจายอำ�นาจในคลื่น ความถี่หรือการกระจายเสียงไปยังระดับประเทศ ภูมิภาค และชุมชน ทั้งในรูปแบบ ของคลื่นความถี่ เคเบิลและดาวเทียม พร้อมกำ�หนดนโยบายโทรทัศน์ ในระดับ ท้องถิ่นให้เป็นสื่อที่ทำ�หน้าที่เป็นสื่อท้องถิ่นสำ�หรับกลุ่มหรือชุมชนต่างๆ นอกจาก นั้นยังออกพ.ร.บ. Knesset Bill มาตรา4 กำ�หนดให้มีการอนุญาตให้เกิดการก ระจายเสียงท้องถิ่ น/ชุมชนผ่านระบบเคเบิลขึ้นเพื่อให้เป็นสถานีฯที่มีความเป็น ท้องถิ่น ที่มีกลุ่มองค์กรในท้องถิ่นเป็นเจ้าของ โดยอาจอยู่ในรูปคณะกรรมการที่ อาจประกอบด้วย ตัวแทนจากรัฐต่างๆ ตัวแทนจากท้องถิ่นหรือชุมชน ตัวแทน จากภาคการศึกษาและวัฒนธรรมและตัวแทนจากภาคเอกชนเข้าร่วมกันเพื่อหาข้อ กำ�หนดในการดำ�เนินการสื่อกระจายเสียงท้องถิ่นร่วมกัน นำ�เสนอรายการแตก ต่างจากระดับชาติ และเป็นพื้นที่สื่อสารในประเด็นสำ�คัญของวิถีช ีว ิต และความ ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 39


เป็นไปในสังคมท้องถิ่น (Opened channel) (Fuller,2007) ขณะเดียวกัน ความเป็นเจ้าของในลักษณะนี้ อาจเป็นกลุ่ม องค์กรที่ ไม่แสวงหากำ�ไรเช่นสถาบัน ศาสนา สถาบันการศึกษา กลุ่ม NGOs หรือสถาบันที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่อยู่ใน ท้องถิ่น อย่างไรก็ตามยังอาจมีข้อจำ�กัด ในด้านความยั่งยืน เพราะหากองค์ กรนั้นๆ ต้องยุติการทำ�งาน ก็ย่อมจะทำ�ให้โทรทัศน์ท้องถิ่นต้องยุติการดำ�เนิน งานตามไปด้วย ดังนั้นหากต้องการลดข้อจำ�กัด ดังกล่าวออกไปแล้ว ในการบริหาร จัดการ โทรทัศน์ท้องถิ่นควรสร้างความน่าเชื่อถือโดยการทำ�งานที่ตอบสนอง คนท้องถิ่น เปิดกว้างสำ�หรับการทำ�งานร่วมกับ เครือข่าย หรือกลุ่มอื่นๆ และที่ สำ�คัญคือต้องสร้างกลไกและระบบให้ท้องถิ่นภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามากำ�กับดูแล การทำ�งานร่วมด้วย แม้จะมีข้อจำ�กัด ดังกล่าว แต่ในมุมมองของผู้ศึกษาและนัก ปฏิบัติการการสื่อสารชุมชนยังเห็นว่าความเป็นเจ้าของทีวีช ุมชนโดยองค์กร หรือ กลุ่มในท้องถิ่ นเป็นเจ้าของโทรทัศ น์ท้องถิ่ นคือรูปแบบที่สามารถรับ ประกันการ ดำ�รงอยู่ของทีวีช ุมชนได้ด ีกว่าการให้รัฐ องค์กรสาธารณะหรือเอกชนเป็นเจ้าของ แต่ท ั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการมีกฎหมายที่ส่งเสริม ปกป้องความเป็นเจ้าของ ของชุมชนและเอื้อต่อการสร้างกลไกเสริมพลังให้กับชุมชนท้องถิ่นไปพร้อมกันด้วย (USIAD,:9) 3.3 รัฐเป็นเจ้าของ ทีวีช ุมชนอาจมีรัฐเป็นเจ้าของได้ หากรัฐแสดงบทบาท ในการเป็นฝ่ายสนับสนุนด้านข้อกฎหมาย เงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้สถานีฯ สามารถจัด ตั้งและดำ�เนินการได้ เช่น โทรทัศน์ท้องถิ่นของประเทศสิงค์ โปร์ รัฐบาลสนับสนุน ให้จ ัดตั้งสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นเชิงทดลองแพร่ภาพผ่านเคเบิลทีวี ดำ�เนินงานโดย ให้สถาบันการศึกษา ในท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลัก และทำ�งานเชื่อมโยงกับองค์กร สถาบัน และกลุ่มในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครผลิตรายการ นอกจาก นั้นรัฐยังให้การสนับสนุนในด้านเทคนิค อุปกรณ์และกำ�หนดเป็นนโยบายให้เกิด การพัฒนาสถานีฯ ในการขยายฐานผู้ชมให้มากที่สุด โดยสนับสนุนให้เชื่อมสัญญาณ รายการผ่านช่องทางทั้งอินเตอร์เน็ตและการถ่ายทอด สดผ่าน Telecast เพื่อ ให้เป็นทางเลือกให้กับประชาชนโดยไม่ต้องชำ�ระค่าชม (Fuller,2007) ในกรณี นี้ นักวิชาการและนักปฏิบัติการสื่อสารในพื้นที่ ในสิงค์ โปร์เสนอว่า บทบาทของ รัฐควรเข้ามาสนับสนุนด้านทุนดำ�เนินการระยะแรกการก่อตั้งมากกว่าระยะดำ�เนิน การ เพราะเป็นช่วงที่สถานีฯ ต้องลงทุนเรื่องอุปกรณ์มากที่สุด และควรกำ�หนดให้ องค์การหรือกลุ่มที่จะเข้ามาบริหารจัดการสถานีฯ ควรเป็นกลุ่มที่ ไม่แสวงหากำ�ไร ที่เน้นทำ�งานเพื่อให้บริการสาธารณะ ด้วยการขยายการมีส่วนร่วมไปยังภาคส่วน หน่วยงาน หรือองค์การต่างๆ ในท้องถิ่นให้หลากหลาย (Fuller,2007)

40 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน


แผนภาพ แสดงคุณลักษณะร่วมของทีวีช ุมชน 3 ระดับ

ทีวีช ุมชน : ทำ�ไมชุมชนต้องมีส่วนร่วม

แนวคิดการมีส่วนร่วมในการสื่อสาร เป็นแนวคิดที่อธิบายพลังของผู้รับ สารในกระบวนการสื่อสาร ที่ ไม่เพียงแต่แสดงบทบาทการเป็นผู้รับสารที่เอาการ เอางาน (Active audience) เท่านั้น แต่ยังก้าวไปถึงการพลิกบทบาทไปเป็นผู้ส่ง สารในกระบวนการสื่อสาร ที่ฉายภาพของการต่อสู้เพื่อให้ ได้สิทธิการสื่อสาร การ เข้าถึง และการมีส่วนร่วมในโทรทัศน์ท้องถิ่นของคนท้องถิ่น ซึ่งสิทธิการสื่อสาร สามารถแยกออกเป็น 2 หมวดสำ�คัญ คือสิทธิการเป็นผู้รับสาร เช่นการเข้าถึง ข่าวสารอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และสิทธิการเป็นผู้ส่งสารผ่านการใช้สื่อหรือช่อง ทางต่างๆ (กาญจนา แก้วเทพ,2546:27) ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำ�ให้แนวคิดการมี ส่วนร่วมกลายเป็นหัวใจสำ�คัญของการเป็นโทรทัศน์ท้องถิ่น แม้ว่าทางปฏิบัติแล้ว โทรทัศน์ท้องถิ่นแต่ละแห่งจะแสดงระดับ และความเข้มข้นของการมีส่วนร่วมแตก ต่างกันไป อย่างไรก็ตามแม้ว่าแนวคิด การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ สื่อสารถูกมองว่า สามารถนำ�ไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นบนฐานพลังของท้องถิ่นได้ แต่ก็ยังมีอุปสรรคในการปฏิบัติเพราะเนื่องจากแนวคิด ดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยน โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำ�นาจระหว่างพลเมืองกับชนชั้นปกครอง เพื่อเกิด ความสมดุลและให้เสียงของพลเมืองได้ปรากฏในสังคมในฐานะเจ้าของสื่อหรือผู้ ส่งสาร ทำ�ให้แนวคิดนี้ ไม่เป็นที่ยอมรับจากบางกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ ปกครองแบบเผด็จการหรืออำ�นาจนิยม (white, 1994:20) รวมถึงปัจจัยอื่นที่ ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 41


เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของพลเมืองในกระบวนการสื่อสารคือ การเข้าไม่ถึง ของพลเมือง ทั้งในฐานะผู้รับสารที่เข้าไม่ถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมและในฐานะผู้ส่ง สารที่เข้าไม่ถึงสื่อหรือช่องทางการสื่อสาร ซึ่งการเข้าไม่ถึงอาจมาจากเงื่อนไขทาง กายภาพ เช่นพื้นที่อยู่ห่างไกลจากข้อมูลหรือสื่อ การเข้าไม่ถึงเพราะเงื่อนไขทาง ด้านเศรษฐกิจ ที่ ไม่สามารถเป็นเจ้าของสื่อ หรือการเข้าถึงมีต้นทุนทางเศรษฐกิจ สูงเกินที่จะจ่ายได้ การเข้าไม่ถึงเพราะเงื่อนไขข้อจำ�กัด ด้านวัฒนธรรม อันหมาย ถึงต้นทุน ทักษะและความสามารถที่มีต่อสื่อเช่นการรู้เท่าทัน การอ่านออกเขียน ได้ หรือความรู้ท ักษะเกี่ยวกับการสื่อสาร การใช้อุปกรณ์ และเทคนิคในการผลิตสื่อ (กาญจนา แก้วเทพ,2546:117-120)

ปิดสถานี

ทีวีช ุมชน สื่อกระจายเสียงที่กำ�ลังเข้ามามีส่วนร่วมกับคนในท้องถิ่นอย่าง ใกล้ชิดมากขึ้น แม้กระบวนการทำ�งานจะมีความยุ่งยากและต้องใช้ท ักษะและความ เชี่ยวชาญอีกทั้งต้องเป็นการทำ�งานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนอย่างหลากหลาย เกี่ยว พันกับระบบการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย และเทคโนโลยีต่างๆ แต่คนท้อง ถิ่นและคนในสังคมจากหลาย ๆ ประเทศต่างพยายามที่จะเรียนรู้ ฝึกฝนเพื่อใช้ สื่อดังกล่าวให้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารสำ�หรับคนเล็ก คนชายขอบ หรือคนที่ สื่อกระแสหลักระดับชาติเข้าไม่ถึง เนื่องจากพลังอำ�นาจของการเป็นสื่อโทรทัศน์ที่ 42 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน


ผนวกกับหลักการของการเป็นทีวีช ุมชนที่สามารถตอบสนองความต้องการอันจะนำ� ไปสู่การเปลี่ยนแปลงในท้องถิ่นและเพิ่มพลังของความเป็นพลเมืองของคนท้องถิ่น ได้อย่างที่สื่ออื่นๆ ทำ�เลียนแบบได้ยาก แม้ทีวีช ุมชนแต่ละแห่งจะให้นิยามที่แตกต่างกันภายใต้บริบททางสังคม ที่อาจแตกต่างกัน แต่คุณลักษณะสำ�คัญที่ ใช้สำ�หรับการดำ�เนินการอันเป็นพื้น ฐานร่วมที่สำ�คัญก็คือการเป็นโทรทัศน์ที่ตั้งและพื้นที่ออกอากาศเฉพาะพื้นที่ โดย เฉพาะพื้นที่ที่มีคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรม และเป็นสถานีฯ ที่มีกระบวนการ การดำ�เนินงานโดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมระหว่างสถานีฯ และคน/กลุ่มใน ท้องถิ่ นร่วมกันในระดับตั้งแต่การเป็นผู้ช มที่กระตือรือร้นจนถึงการร่วมกำ�หนด นโยบาย ส่วนความเป็นเจ้าของนั้น ยังคงมีความแตกต่างกันในทางปฏิบัติ ทั้งการ ให้สาธารณะเป็นเจ้าของในลักษณะการเป็นทีวีสาธารณะ การให้คน/กลุ่มในท้อง ถิ่นเป็นเจ้าของหรือให้รัฐเป็นเจ้าของ โทรทัศน์ท้องถิ่นอาจเป็นเจ้าของ แต่ท ั้งนี้ ไม่ว่าการเป็นเจ้าของแบบใดก็ตาม ความเป็นทีวีท้องถิ่นจะดำ�รงอยู่ได้ต้องทำ�งาน บนหลักการให้คนท้องถิ่ นเข้าไปมีส่วนร่วมทุกระดับ และเน้นการตอบสนองท้อง ถิ่นเป็นสำ�คัญ เพราะทีวีช ุมชนจะดำ�รงอยู่ได้ นั้นต้องเป็นสื่อที่พยายามเข้าไปอยู่ใน พื้นที่ทางใจให้คนท้องถิ่นเกิดความรู้สึกผูกพัน รักและเห็นคุณค่าของสื่อดังกล่าว เพราะหากไม่มีปัจจัยตัวนี้แล้ว ทีวีช ุมชนก็จะกลายเป็นเพียงทีวีที่เข้าไปตั้งอยู่ใน ท้องถิ่นเท่านั้น ไม่สามารถแสดงคุณลักษณะและพลังของความเป็นทีวีช ุมชนที่เป็น ประโยชน์ต่อท้องถิ่นได้

ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 43


ภาคผนวก

คุณสมบัติ ลักษณะผังรายการ สัดส่วนรายการและการหารายได้ : การให้ บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ประเภทกิจการบริการชุมชนตามประกาศฯหลัก เกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 1. คุณสมบัติผู้ยื่นขอประกอบกิจการทีวีบริการชุมชน

2. รายละเอียดหลักฐานเชิงประจักษ์ต่อการสร้างความเข้มแข็งในชุมชนที่ต้องแสดง เมื่อจะขอรับใบอนุญาต

44 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน


3. หลักฐานเชิงประจักษ์ของการมีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆ จากชุมชนที่รับบริการที่ ต้องแสดงเมื่อจะขอรับใบอนุญาต

4. ผังรายการและสัดส่วนรายการของทีวีบริการชุมชน

ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 45


5. คุณสมบัติกรรมการฯหรือผู้มีอำ�นาจกระทำ�การของทีวีบริการชุมชน

6. ข้อกำ�หนดในการหารายได้ของทีวีบริการชุมชน

46 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน


แนวคิดโครงการก่อตั้ง

สถานีโทรทัศน์บริการชุมชน “พะเยาทีวี” หลักการและเหตุผล

ในประเทศไทย สื่อโทรทั ศน์ ถือเป็นช่องทางการสื่อสารมวลชนที่ประชาชน นิยมรับชมและเข้าถึงทุกครัวเรือนมากที่สุด เพราะเป็นสื่อที่มีองค์ประกอบทั้ งภาพ เคลื่อนไหว เสียง และถ่ายทอดสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงได้ตลอดเวลา โดยเห็นได้ จากการรับข้อมูลข่าวสารและเหตุการณ์ทางการเมือง อันน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ทางสังคมในช่วงที่ผ ่านมา แต่ทว่า,การรับรู้และเข้าถึงสื่อโทรทั ศน์ดังกล่าวคงถูก ผูกขาดโดยรัฐและกลุ่มธุรกิจในเมืองหลวง ท�ำให้ชุ มชนหรือท้องถิ่นยังไม่อาจเข้าถึง สื่อหรือเนื้อหาอันสอดคล้องกับวิ ถีวัฒนธรรมของตนเองได้อย่างแท้จริง ระยะ2-3 ปีข้างหน้า ประเทศไทยก�ำลังอยู่ระหว่างเปลี่ยนผ่านและพั ฒนา ระบบการส่งสัญญาณวิ ทยุโทรทั ศน์ภาคพื้นดินจากระบบอนาล็อกเป็นระบบดิจิ ตัล ซึ่งส่งผลให้เกิดคลื่นความถี่หรือช่องสถานีมากขึ้น จากเดิมมีเพี ยง 6 ช่อง ขยายเป็น 48 ช่อง ทั้ งนีต้ ามกฏหมายยังได้ก�ำหนดให้มีการจั ดสรรคลื่นความถี่เพื่อให้บริการ ชุ มชน โดยชุ มชนที่มีคุณสมบัติเป็นองค์กร สมาคมที่ ไม่แสวงหาก�ำไร สามารถยื่น ขอเป็นผู้ประกอบการและผลิตสื่อของชุ มชนได้นั้น โดยก่อนหน้านี้ สถาบันปวงผญาพยาว องค์กรที่ ไม่แสวงหาก�ำไร ซึ่ง ท�ำงานด้านการจั ดระบบองค์ความรู้และสื่อสารเพื่อการพั ฒนาท้องถิ่น ในจั งหวัด พะเยา และลุ่มน�้ำอิง-โขง ร่วมกับมหาวิ ทยาลัยพะเยา สถาบันการศึกษาที่ ให้ บริการวิ ชาการในพื้นที่จั งหวัดพะเยาและภาคเหนือ และไทยพี บี เอส องค์กรสื่อสาร สาธารณะของประเทศ ได้สร้างความร่วมมือกันในการทดลองผลิตรายการและ พั ฒนาเครือข่ายสื่อชุ มชนและสื่อพลเมืองในระดับต่างๆ ซึ่งค้นพบความต้องการ ของชุ มชน องค์กรภาครัฐ องค์กรท้องถิ่น เอกชน และประชาสังคม ถึงประโยชน์ ที่จะเกิดขึ้นทั้ งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จนมีแนวคิดก่อตั้งสถานี โทรทั ศน์บริการชุ มชนต้นแบบขึ้น

วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาและออกแบบการก่อตั้งสถานีโทรทั ศน์บริการชุ มชน “พะเยา ทีวี” อันเป็น “ต้นแบบ”หรือ “โมเดล” ขยายไปสู่พื้นที่อื่นๆ ในอนาคต 2.เพื่อพั ฒนาและเชื่ อมโยงระบบการสื่อสารของประเทศในระดับต่างๆ อัน จะน�ำไปสู่การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความรักสามัคคี และยอมรับความหลาก หลายทางวัฒนธรรม ตลอดจนการรวบรวมองค์ความรู้ท้องถิ่นเพื่อการพั ฒนาด้าน อื่นๆต่อไป

ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน 47


3.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์ และ การประชาสัมพั นธ์สินค้าและการท่องเที่ยวของชุ มชน และรองรับ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียนที่จะมาถึง

ระยะเวลาด�ำเนินการ

ด�ำเนินงานก่อตั้ง 3 ปี ( 2558 – 2560)

กระบวนการและวิ ธีด�ำเนินการ

1.ประชุ มเครือข่ายความร่วมมือ ตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการและ คณะท�ำงาน ประสานองค์กรสื่อวิ ชาชี พ นักวิ ชาการ องค์กรที่เกี่ยวข้อง 2.ศึกษาวิ จั ย อบรม และทดลองผลิตรายการโทรทั ศน์ 3 ระยะ a.ศึกษา ทดลองผลิตรายการ เพื่อดูศักยภาพ ระยะ 1 ปี b.การบริหารจั ดการองค์กรและการระดมทุน เพื่อจั ดรูปองค์กร สถานที่ อุปกรณ์ และบุคลากร ระยะ 2 ปี c.ก่อตั้งสถานีและองค์กรบริหาร เพื่อดูแลความยั่งยืนและก�ำกับนโยบาย 3.จั ดเวทีระดมความคิดเห็นภาคประชาชนและเครือข่ายในชุ มชน ตลอด ระยะการด�ำเนินการ เพื่อสร้างการมีส่วร่วมและความเป็นเจ้าของ 4.สรุปต้นแบบสถานีโทรทั ศน์บริการชุ มชน

งบประมาณและการสนับสนุน (ทุน/เครื่องมือ/บุคลากร/การอบรม)

1.จากองค์กรความร่วมมือ (มหาวิ ทยาลัยพะเยา,ไทยพี บี เอส) 2.จากเครือข่ายและชุ มชน 3.จากหน่วยงานรัฐ กองทุนทั่ วไป และ กสทช. 4.จากการบริจาคองค์กรทั้ งในและต่างประเทศ 5.จากการผลิตรายการและให้บริการอื่นๆ

อุดมการณ์และแนวทางด�ำเนินการ

1.ยึดหลักการมีส่วนร่วม ความโปร่งใส ความถูกต้อง 2.สร้างการเรียนรู้เพื่อการพั ฒนา มีความคิดสร้างสรรค์ 3.เป็นองค์กรสื่อสาธารณะ ประเภทบริการชุ มชน โดยไม่แสวงหาก�ำไร ไม่ เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมือง

สถานที่ติดต่อโครงการ

สถาบันปวงผญาพยาว วัดศรีโคมค�ำ อ�ำเภอเมือง จั งหวัดพะเยา 56000 e-mail : phayaoforum@gmail.com , www.phayaoforum.com website : www.phayaoTV.com , facebook : phayaoTV

48 ก้าวแรก...พะเยาทีวีช ุมชน




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.