คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น

Page 66

คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น

60

2.1 การแจ้ ง เตื อ นภั ย และการประเมิ น สถานการณ์ ได้ กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐ อันได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา ศูนย์เตือนภัยพิบัติ แห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัด อำเภอ อาสาสมัคร ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนและเครือข่ายเฝ้าระวัง ทำหน้าที่รับผิดชอบการแจ้ง เตื อ นภั ย ไปยั ง หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น การแจ้ ง ไปสู่ ก อง

อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดปัญหา ดั ง กล่ า วขึ้ น เพื่ อ ให้ ห น่ ว ยงานปฏิ บั ติ ก ารในพื้ น ที่ ท ำการเฝ้ า ระวั ง ประเมิ น สถานการณ์ของสภาพปัญหาและเตรียมพร้อมอพยพประชาชนให้ปลอดภัย จากปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นจึงกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบ ต่อการบริหารจัดการสาธารณภัย จัดทำประกาศแจ้งเตือนภัยที่มีความชัดเจน และละเอี ย ดมากพอ โดยการแจ้ ง เตื อ นภั ย ในระดั บ ท้ อ งถิ่ น จะอาศั ย การ

แจ้ ง เตื อ นผ่ า นทางบุ ค ลากรที่ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั บ การบริ ห ารจั ด การ สาธารณภัยในพื้นที่และดำเนินการแจ้งเตือนภัยผ่านเครื่องมือสื่อสารและ

เครือข่ายการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ แจ้งเตือนภัยไปยังประชาชนโดยตรง และผ่ า นไปยั ง หน่ ว ยงานรั บ ผิ ด ชอบการปฏิ บั ติ ใ นระดั บ พื้ น ที่ เ พื่ อ แจ้ ง เตื อ น ประชาชนต่อไป 2.2 การจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ เมื่อสาธารณภัย เกิดขึ้นให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตพื้นที่แปลง สภาพเป็นศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ และเพื่อ เป็นศูนย์กลางในการระดมทรัพยากรเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว รวมถึงทำ หน้าที่อำนวยการประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในส่วน ราชการภาครัฐและนอกเหนือจากภาครัฐ 2.3 การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในสภาวะฉุกเฉิน เป็น ขั้ น ตอนการกระจายข่ า วสารที่ ค าดว่ า จะเกิ ด ขึ้ น ให้ กั บ ส่ ว นราชการและ ประชาชนได้รับรู้และทำความเข้าใจกับสถานการณ์ในทิศทางที่ถูกต้อง


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.