การถ่ายภาพเพื่อการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์

Page 1

การถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร บทนําของการสื่อสาร การติดต่อสื่อสาร คือ กระบวนการในการส่งผ่านหรือสื่อความหมายระหวา่ง บุคคล สังคม มนุษย์เป็น สัตว์ สังคม ที่สมาชิกสามารถใช้ความสามารถของตนสื่อความหมาย ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ โดยแสดงออกในรูปของ ความ ต้องการ ความปรารถนา ความรู้สึกนึกคิด ความรู้และประสบการณ์ต่างๆ จากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง การติ ดต่อสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางแห่งสถานการณ์และพฤติกรรมที่ก่อให้เกิด ประโยชน์แก่มนุษย์ มนุษย์สามารถส่งข่าวสารไปยังมนุษย์อีกผู้หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ เป็นผู้รับ (Receiver) โดยมนุษย์ ที่ ทำหน้าที่เป็นผู้ส่ง (Sender) เจตนาที่จะใหเ้ กิดผลกระทบต่อพฤติกรรมของมนุษย์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้รับ ฉะนั้น จึง อาจให้คํานิยามการติดต่อสื่อสารอย่างง่ายๆว่า การติดต่อสื่อสาร หมายถงึ ศิลปะแห่งการถ่ายทอดข่าวสาร ความ รู้สึกนึกคิด และทัศนคติจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง (วิรัช ลภิรัตนกุล (2527) ใน วิทยา ดํารงเกียรติศักดิ์, 2537:19) องค์ประกอบของการสื่อสาร 1. ผู้ส่งสาร (Communicator or Sender) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ รวบรวมข้อมูลข่าวสาร จัดเป็นระเบียบ ก่อนที่จะส่ง สารนํ้นไปยังผู้รับ เพื่อทําหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดสารนั้น 2. สาร (Message) เป็นข้อมูลในลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ความรู้ เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งได้มาจากหน่วยงานทางวิชาการ จากการค้นพบจากนักวิชาการ หรือหน่วยงานวิจัย อื่น ๆ 3. ช่องทางข่าวสาร (Channel) คือช่องทางที่ใช้ในการส่งข่าวสารนั้นๆ ซึ่งได้แก่ สื่อหรือวิธีการส่งเสริมในรูป แบบต่าง ๆ เช่นแผ่นพับ, แผ่นโฆษณา, หนังสือพิมพ,์ นิทรรศการ, วิทย,ุ โทรทัศน์ เป็นต้น 4. ผู้รับสาร (Receiver) ผู้รับสารในที่นี้ หมายถึง บุคคล เป้าหมาย ซึ่งผู้ส่งสารต้องการใ เพื่อห้ผู้รับสารเข้าใจ ตามที่ผู้ส่งต้องการ และนำความรู้ต่างๆนั้น ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือประกอบอาชีพ แล้วแต่จุดประสงค์ ของ ผู้ส่งสาร ซึ่งผู้รับสารนั้น ป็นจุดหมายปลายทางของผู้ส่งนั่นเอง นักสื่อสารหรือนักนิเทศศาสตร์ ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร (sender) ซึ่งรับข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆ หรือเป็นผู้ที่ ผลิตข่าวสารนั้นๆ เพื่อนําข่าวสารนั้นไปถ่ายทอดสู่บุคคลเป้าหมาย จึงต้องมีการจัดเตรียมข่าวสาร(message) ต่างๆ ให้เป็นระบบ และยังต้องอาศัย สื่อ เป็นช่องทางในการส่งข่าวสาร (Channel) หากไม่มีช่องทางก็ไม่สามารถไปถึง ผู้รับ (receiver) ได้

วิธีการในการใช้สื่อ
 มีรูปแบบคล้ายคลึงกับวิธีการเผยแพร่ หรือผลิตสื่อการสอน ได้แก่
 1. การสื่อสารแบบรายบุคคล เช่น การพบปะพูดคุย หรือการสอนแบบ ตัวต่อตัว 2. การสื่อสารแบบกลุ่ม ได้มีการใช้สื่อในรูปแบบต่างๆ เช่น การสาธิต, การประชุม, การบรรยายเป็นต้น
 3. การสื่อสารแบบมวลชน ใช้สื่อในรูปแบบของเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ, หนังสือพิมพ,์ วิทย,ุ โทรทัศน,์ รวมถึง แผ่นโฆษณา จากการศึกษาถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนษุย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และ ผิวหนัง จะเห็นได้ว่า ในวัน หนึ่งๆ มนษุย์เราจะใชัประสาทสัมผัสต่างๆ เป็นร้อยละ ดังนี้ (บุญสม วราเอกศิร,ิ 2538: 164) - จักษุสัมผัส - โสตสัมผัส - นาสิกสัมผัส

83.0%
 11.0%
 3.5%


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.