RS : Annual Report 2018 (TH)

Page 1


ส า ร บั ญ สารจากประธานกรรมการ รายงานคณะกรรมการบริษัท รายงานคณะกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตรวจสอบ

คณะกรรมการบริษัท

2

4

5

6

นโยบายและภาพรวม การประกอบธุรกิจ

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ปัจจัยความเสี่ยง

18

20

30

ทรัพย์สินที่ใช้ ใน การประกอบธุรกิจ

34

ข้อพิพาททางกฎหมาย

ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลส�ำคัญอื่น

ข้อมูลหลักทรัพย์ และผู้ถือหุ้น

โครงสร้างการจัดการ

36 การก�ำกับดูแลกิจการ

37

40

42

ความรับผิดชอบต่อสังคม การควบคุมภายในและ นโยบายการต่อต้าน สิ่งแวดล้อม และผู้ที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการความเสี่ยง การทุจริตคอร์รัปชัน

73

81

82

รายการระหว่างกัน

ข้อมูลทางการเงินที่ส�ำคัญ

งบการเงิน

83

88

การวิเคราะห์และค�ำอธิบาย ของฝ่ายจัดการ

57

98

106


เป้าหมาย ในการด�ำเนินธุรกิจ ใน 5 ปี ข้างหน้า “อาร์เอส เป็นองค์กรที่ท�ำธุรกิจร่วมกับ “โอกาส” โดยมุ่งเน้นความเป็นผู้น�ำ และลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนในธุรกิจพาณิชย์โดยขยายไปยังธุรกิจ ที่เกี่ยวเนื่องกัน ให้มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของรายได้รวมของบริษัทฯ”


2 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

สารจากประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “อดีตจะส�ำเร็จมากเพียงใด ก็ไม่สามารถส่งต่อสูค่ วามส�ำเร็จในปัจจุบนั ได้ และความส�ำเร็จ ที่ยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน ก็ไม่สามารถการันตีความยั่งยืนในอนาคตได้เช่นกัน หัวใจส�ำคัญของ ความส�ำเร็จในธุรกิจทุกวันนี้ คือ การมีโครงสร้างธุรกิจที่แข็งแรง-หลากหลาย ความพร้อม ขององค์กรที่ยืดหยุ่น-ปรับตัวเร็ว และทัศนคติที่ดีของทีมท�ำงาน” ส�ำหรับปี 2561 นี้ เป็นอีกปี หนึง่ ทีอ่ าร์เอสเผชิญกับความผันผวนและปัจจัยภายนอกต่างๆ ตลอดเวลา แต่ดว้ ยการขับเคลือ่ น ขององค์กรที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ท�ำให้เป็นอีกหนึ่งปีที่อาร์เอสประสบความส�ำเร็จ และมีก�ำไรสูงสุด ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา โครงสร้างธุรกิจของอาร์เอสที่หลากหลายและยืดหยุ่นจนเกิดเป็นโมเดลทางธุรกิจ แบบใหม่ เริ่มต้นจากสิ่งที่บริษัทฯ เชี่ยวชาญและเป็นข้อได้เปรียบที่ส�ำคัญ นั่นก็คือ ธุรกิจสื่อทีวี และวิทยุ รวมถึงธุรกิจเพลง ต่อยอดไปสูธ่ รุ กิจสุขภาพและความงาม จนพัฒนากลายมาเป็นธุรกิจ พาณิชย์หลายช่องทาง หรือ Multi-platform Commerce (“MPC”) ในปัจจุบัน การที่เราไม่ พึง่ พาการขายผ่านช่องทางเดียว แต่อาศัยทุกช่องทางสือ่ ของบริษทั ฯ ส่งเสริมซึง่ กันและกัน กอปร กับความสามารถในการรังสรรค์ทงั้ รายการโทรทัศน์และผลงานเพลงต่างๆ พัฒนาไปสูก่ ารท�ำการ ตลาดและส่งเสริมการขาย เราสามารถวิเคราะห์ไลฟ์สไตล์ และเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ มากขึ้น สามารถเปลี่ยนผู้ชมและผู้ฟังให้กลายเป็นผู้ซื้อได้ ท�ำให้แบรนด์สินค้าของอาร์เอสและ พันธมิตรท�ำยอดขายสูงที่สุดติดต่อกันเป็นปีที่ 4 การเป็ น ธุ ร กิ จ MPC ที่ ส มบู ร ณ์ นั้ น ยั ง มี ป ั จ จั ย สนั บ สนุ น ทั้ ง จากการเพิ่ ม จ� ำ นวน ฐานลูกค้าให้เติบโตจนทะลุ 1 ล้านราย น�ำมาวิเคราะห์และบริหารระบบฐานข้อมูลดูแลลูกค้า โดยทีมงานที่มีความช�ำนาญท�ำให้ลูกค้ามีอัตราการซื้อสินค้าซ�้ำอย่างต่อเนื่อง การพัฒนา ช่องทางการขายอื่นๆ ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ให้แข็งแกร่ง และสิ่งที่เราไม่เคยหยุด พัฒนา นั่นก็คือ สินค้าทุกชิ้นต้องมีคุณภาพ ตอบโจทย์ปัญหาและไลฟ์สไตล์ของลูกค้าได้อย่าง ตรงจุด ผลประกอบการส�ำหรับปี 2561 บริษัทฯ มีรายได้รวมเท่ากับ 3,827 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปีก่อนร้อยละ 9 จากการเติบโตของรายได้ธุรกิจ MPC ที่มีระบบนิเวศทางธุรกิจที่แข็งแรง และสมบูรณ์จากต้นน�้ำจนถึงปลายน�้ำ ประกอบกับการมีพันธมิตรซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้า ท�ำให้มี สินค้าคุณภาพหลากหลายบนทุกช่องทางการขายของบริษัทฯ ทั้งสินค้าสุขภาพและความงาม (Health & Beauty Products) สินค้าเครื่องใช้ส่วนตัวและผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน (Home & Lifestyle Products) และขยายไปสู่สินค้าเครื่องประดับ รวมถึงบริการต่างๆ รวมทั้งสิ้นเกือบ 100 รายการ แม้ว่าในช่วงกลางปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมสุขภาพและความงามทั้งระบบจะได้รับ ผลกระทบชัว่ คราวจากข่าวการปราบปรามสินค้าปลอมปนสารต้องห้ามและผิดกฎหมาย แต่ตลาด โดยรวมส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจนตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา ส�ำหรับยอดขาย ของธุรกิจ MPC ของอาร์เอสนั้น กลับมาท�ำรายได้สูงขึ้นกว่าเดิมอีกครั้งตั้งแต่ไตรมาส 4 รวมถึง การท�ำแคมเปญใหญ่ในรอบ 4 ปี “Shop1781 New Year Grand Sale” ที่ได้รับการตอบรับ จากลูกค้าอย่างท่วมท้น ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยท�ำให้ผลการด�ำเนินงานประจ�ำปีของอาร์เอส ออกมาอย่างสวยงาม

ในส่วนของช่อง 8 ได้สร้างปรากฏการณ์ เรตติ้งละครไทยขึ้นสู่อันดับต้น กระแสแรง ส่งท้ายปี รวมถึงมีการแชร์และพูดถึงอย่างมาก บนโลกออนไลน์ ทั้ ง “สาปกระสื อ ” และ “ซิ่นลายหงส์” ในส่วนของซีรีส์ต่างประเทศ และรายการข่าวยังคงมีฐานผู้ชมที่เหนียวแน่น ท�ำให้ช่อง 8 มีเรตติ้งเสถียรตลอดทั้งปี แม้ว่า รายได้ จ ากภายนอกของช่ อ ง 8 จะได้ รั บ ผลกระทบจากอุ ต สาหกรรมสื่ อ โดยรวม ที่ทรงตัว แต่ช่อง 8 คือหนึ่งในช่องทางส�ำคัญ ในการสร้างรายได้ของธุรกิจ MPC และยังเห็น การเติบโตที่โดดเด่นต่อเนื่อง อีกหนึ่ง DNA ของอาร์ เ อสทั้ ง ธุ ร กิ จ เพลง วิ ท ยุ และอื่ น ๆ แม้รายได้จากธุรกิจเหล่านี้จะทรงตัว แต่ความ สามารถในการท�ำก�ำไรดีขนึ้ จากการปรับโครงสร้าง ของธุรกิจให้เคลื่อนตัวเร็ว และเพิ่มมูลค่าของ ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ บุ ค ลากรคื อ อี ก หนึ่ ง ก� ำ ลั ง ส� ำ คั ญ ของความส�ำเร็จ คนอาร์เอสคือคนที่เปิดกว้าง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทาย ใหม่ ๆ แสวงหาโอกาสตลอดเวลา และมี ทั ศ นคติ ที่ ดี ต ่ อ งานของตน เรามี Passion to win ร่วมกัน การสร้างธุรกิจใหม่ที่เติบโตสูง มากในช่วงที่ผ่านมา ก็ได้ก�ำลังแรงและก�ำลัง ความคิดจากพนักงานที่อยู่ในองค์กร ซึ่งรู้จัก วั ฒ นธรรมองค์ ก รเป็ น อย่ า งดี เราเน้ น การ พั ฒ นาคนในให้ เ ติ บ โต แทนการแสวงหา บุคลากรจากภายนอก เรียนรูจ้ ากประสบการณ์ การท�ำงาน ผนวกกับแสวงหาความรู้เพิ่มจาก ภายนอก ท�ำให้พนักงานรู้สึกผูกพันกับองค์กร และมุ่งสู่ความส�ำเร็จเดียวกัน เรามีการสื่อสาร ผ่านกิจกรรมต่างๆ โดยเป็นการสร้างก�ำลังใจ และการชื่นชมต่อความส�ำเร็จของพนักงาน ผู ้ บ ริ ห ารลงพื้ น ที่ กั บ คนท� ำ งานจริ ง ท� ำ ให้ ผูบ้ ริหารสามารถสือ่ สารกับพนักงานได้โดยตรง


3 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ส่ ว นพนั ก งานเองก็ เข้ า ใจภาพของบริ ษั ท ฯ และพร้อมเดินไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งนั่น ท�ำให้เรามี Passion to win ร่วมกัน เป้าหมายของอาร์เอสส�ำหรับปี 2562 คือการเข้าสู่ยุคของการด�ำเนินธุรกิจใหม่อย่าง สมบูรณ์ โดยธุรกิจ MPC จะเติบโตและเป็น รายได้หลักของกลุ่ม นอกเหนือจากช่องทาง การขายในปั จ จุ บั น ที่ จ ะมี ก ารพั ฒ นาควบคู ่ ไปกับการพัฒนา Big Data แล้วนั้น ช่องทาง ขายตรงชั้นเดียว หรือ LifestarBIZ รวมถึง ช่องทางออนไลน์ จะเป็นอีกส่วนส�ำคัญในการ สร้างรายได้ให้มีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น ธุรกิจสื่อ และเพลงยั ง คงเป็ น ฐานส� ำ คั ญ ให้ บ ริ ษั ท ฯ ต่อยอดไปสู่ธุรกิจใหม่อื่นๆ ปี 2562 จะเป็น ปี ที่ อ าร์ เ อสขยายธุ ร กิ จ ไปทั้ ง แนวตรงและ แนวราบ โดยการแสวงหาโอกาส ท�ำความร่วมมือ กับพันธมิตรทางธุรกิจในธุรกิจที่น่าสนใจ และ สามารถต่อยอดเชื่อมโยงกับธุรกิจของอาร์เอส ได้เป็นอย่างดี เพื่อขยายโครงข่ายธุรกิจและ สร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด ที่จะสร้าง ความแข็ ง แกร่ ง ของกลุ ่ ม ให้ มั่ น คงยั่ ง ยื น ระยะยาวต่อไป อาร์ เ อสเตรี ย มพร้ อ มส� ำ หรั บ การ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่หากขาดการ สนับสนุนจากท่านผู้ถือหุ้น พันธมิตรองค์กร ลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียทุกท่าน อาร์เอสคงไม่สามารถก้าวมาได้อย่างมั่นคง ถึ ง ทุ ก วั น นี้ ในนามของผู ้ บ ริ ห ารและคณะ กรรมการบริ ษั ท ขอขอบคุ ณ ทุ ก ท่ า น และ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะยังสนั บ สนุ น และเติบโตไปพร้อมกับเราอย่างยั่งยืน

นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร


4 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

รายงานคณะกรรมการบริษัท เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) คณะกรรมการบริษัท เป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยซึ่งจัดท�ำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม�่ำเสมอ ใช้ดุลยพินิจอย่างระมัดระวัง และประมาณการที่ดีที่สุดในการจัดท�ำ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลส�ำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2546 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารเป็นผู้ดูแล รับผิดชอบเกีย่ วกับคุณภาพของรายงานทางการเงินและระบบควบคุมภายใน และความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกีย่ วกับเรือ่ งนีไ้ ด้ปรากฏ ในรายงานคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งแสดงไว้ในรายงานประจ�ำปีนี้แล้ว คณะกรรมการบริษัท มีความเห็นว่า บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่ดีและงบการเงินประจ�ำปี 2561 ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ทีค่ ณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานร่วมกับฝ่ายบริหารและผูส้ อบบัญชีของบริษทั ฯ ได้แสดงฐานะการเงินและผลการด�ำเนินงานเป็นจริง ถูกต้อง ครบถ้วน ตามที่ควร ตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป

(นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์) ประธานกรรมการ/ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร


5 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

รายงานคณะกรรมการ ตรวจสอบ เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) ส�ำหรับปี พ.ศ. 2561 คณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ บริษัท และสนับสนุนให้บริษัทฯ มีระบบการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) เพื่อให้มีความโปร่งใส มีคุณธรรมและ จริยธรรม ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ รวมถึง ได้มีการพิจารณาสอบทานงบการเงินประจ�ำปี พ.ศ. 2561 ร่วมกับ ฝ่ายบริหารและผู้สอบบัญชีภายนอก ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาแล้ว มีความเห็นสอดคล้องกับผู้สอบบัญชีภายนอกและฝ่ายบริหาร ว่า งบการเงินและการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของบริษัทฯ ครบถ้วน เพียงพอ และถูกต้องตามที่ควร และเป็นไปตามมาตรฐานบัญชีที่รับรอง ทั่วไป นอกจากนั้นระบบการควบคุมภายในมีความเพียงพอเหมาะสมไม่พบข้อบกพร่องที่เป็นสาระส�ำคัญ ส�ำหรับรายการที่อาจมีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้การด�ำเนินการในรายการดังกล่าว เป็นไปอย่างสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ คณะกรรมการตรวจสอบมีการประชุมร่วมกับฝ่ายตรวจสอบกลางเพือ่ หารือแลกเปลีย่ นข้อคิดเห็นการประเมินความเสีย่ ง ผลการตรวจสอบ และความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการป้องกันหรือลดความเสี่ยง พิจารณาและอนุมัติแผนงานตรวจสอบ ภายใน ตลอดจนก�ำกับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทฯ ให้มีความโปร่งใสและมีการปฏิบัติตามข้อก�ำหนดของกฎหมาย ในปี 2561 คณะกรรมการตรวจสอบมีการประชุมทั้งสิ้นจ�ำนวน 6 ครั้ง รวมการประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีภายนอกโดยไม่มีผู้บริหารหรือ ฝ่ายบริหารเข้าร่วมการประชุมด้วย เพือ่ เปิดโอกาสให้ผสู้ อบบัญชีภายนอกน�ำเสนอข้อมูล ปัญหาทีพ่ บจากการตรวจสอบ รวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ คณะกรรมการยังได้ทำ� การประเมินผลการปฏิบตั งิ านของคณะกรรมการตรวจสอบประจ�ำปี 2561 และได้พจิ ารณาสอบทานคุณสมบัติ ความเป็นอิสระ ค่าสอบบัญชี ผลงาน และความพร้อมในการให้บริการของผูส้ อบบัญชีภายนอกตามทีผ่ บู้ ริหารเสนอ พิจารณาเห็นว่ามีความเหมาะสม จึงน�ำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทส�ำหรับการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีจาก บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จ�ำกัด เป็นผู้สอบบัญชี ของบริษัทฯ ส�ำหรับปี พ.ศ. 2562 เพื่อน�ำเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติแต่งตั้งต่อไป

(นายพิศิษฐ์ ดัชณาภิรมย์) ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ


6 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

คณะกรรมการบริษัท

นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล กรรมการ กรรมการบริหาร ประธานกรรมการบรรษัทภิบาล ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง ประธานกรรมการพัฒนา ทรัพยากรบุคคล เลขานุการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ

นายดามพ์ นานา กรรมการ กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน


7 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

นายดนัยศิษฏ์ เปสลาพันธ์ กรรมการ กรรมการบรรษัทภิบาล กรรมการบริหารความเสี่ยง และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย

นายองอาจ สิงห์ล�ำพอง กรรมการ

นายโสรัตน์ วณิชวรากิจ กรรมการ


8 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

คณะกรรมการบริษัท นายพิศิษฐ์ ดัชณาภิรมย์ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ และประธานกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน

พลเอก ไพโรจน์ พานิชสมัย กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน

นางวรรณสุดา ธนสรานาต กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน


9 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อายุ 56 ปี สัดส่วนการถือหุ้น : ร้อยละ 36.26 การศึกษา : ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง การอบรมจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย : Director Accreditation Program (DAP) ปี 2546 การอบรมหลักสูตรต่างๆ ในปี 2561 : ประสบการณ์การท�ำงาน : 2555 - ปัจจุบัน 2546 - ปัจจุบัน 2535 - ปัจจุบัน 2546 - 2555

ประธานกรรมการ บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) รองประธานกรรมการ บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน)

การด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นที่ ไม่ ได้ถือหุ้นโดย บมจ.อาร์เอส : กรรมการ บริษัท เชษฐโชติศักดิ์ จ�ำกัด กรรมการ บริษัท เม็มเบอร์ชิป จ�ำกัด กรรมการ บริษัท ไทเกอร์ฟัน จ�ำกัด กรรมการ บริษัท เชษฐโชติ จ�ำกัด สัดส่วนการถือหุ้น ต้นปี 2561 (หุ้น) ซื้อ/ได้มาระหว่างปี 2561 (หุ้น) จ�ำหน่าย/โอนออกระหว่างปี 2561 (หุ้น) สัดส่วนการถือหุ้น สิ้นปี 2561 (หุ้น)

321,000,000 45,300,000 366,300,000

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี


10 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล กรรมการ กรรมการบริหาร ประธานกรรมการบรรษัทภิบาล ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง ประธานกรรมการพัฒนา ทรัพยากรบุคคล เลขานุการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ อายุ 48 ปี สัดส่วนการถือหุ้น : การศึกษา : ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาตรี สถิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Executive Development Program รุ่นที่ 4 (EDP4) ปี 2552 สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง (หลักสูตร วตท.) รุ่นที่ 23 สถาบันวิทยาการตลาดทุน การอบรมจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย : Director Certification Program (DCP) ปี 2550 Director Accreditation Program (DAP) ปี 2547 การอบรมหลักสูตรต่างๆ ในปี 2561 : ประสบการณ์การท�ำงาน : 2554 - ปัจจุบัน 2553 - ปัจจุบัน 2551 - ปัจจุบัน 2550 - ปัจจุบัน 2547 - ปัจจุบัน

ประธานกรรมการบรรษัทภิบาล บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) เลขานุการบริษัท บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) กรรมการ กรรมการบริหาร และประธานกรรมการพัฒนา ทรัพยากรบุคคล บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน)

การด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นที่ ไม่ ได้ถือหุ้นโดย บมจ.อาร์เอส : สัดส่วนการถือหุ้น ต้นปี 2561 (หุ้น) ซื้อ/ได้มาระหว่างปี 2561 (หุ้น) จ�ำหน่าย/โอนออกระหว่างปี 2561 (หุ้น) สัดส่วนการถือหุ้น สิ้นปี 2561 (หุ้น) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี

-


11 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

นายดามพ์ นานา กรรมการ กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน อายุ 49 ปี สัดส่วนการถือหุ้น : -

การศึกษา : ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ( MBA) University of Notre Dame, Indiana , U.S.A ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การอบรมจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย : Director Certification Program (DCP) ปี 2551 Director Accreditation Program (DAP) ปี 2551 การอบรมหลักสูตรต่างๆ ในปี 2561 : ประสบการณ์การท�ำงาน : 2550 - ปัจจุบัน 2554 - 2559 2553 - 2559 2545 - 2550

กรรมการ กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) กรรมการบรรษัทภิบาล บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) กรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) Senior Vice President ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด (HSBC)

การด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นที่ ไม่ ได้ถือหุ้นโดย บมจ.อาร์เอส : สัดส่วนการถือหุ้น ต้นปี 2561 (หุ้น) ซื้อ/ได้มาระหว่างปี 2561 (หุ้น) จ�ำหน่าย/โอนออกระหว่างปี 2561 (หุ้น) สัดส่วนการถือหุ้น สิ้นปี 2561 (หุ้น) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี

-


12 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

นายดนัยศิษฏ์ เปสลาพันธ์ กรรมการ กรรมการบรรษัทภิบาล กรรมการบริหารความเสี่ยง และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย อายุ 63 ปี สัดส่วนการถือหุ้น : การศึกษา : น.บ.ท. เนติบัณฑิตไทย ส�ำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา น.บ. นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ประกาศนียบัตรกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ส�ำนักอบรมศึกษากฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตยสภา ประกาศนียบัตรกฎหมายภาษีอากร ส�ำนักอบรมและศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา การอบรมจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย : Director Certification Program (DCP) ปี 2551 Director Accreditation Program (DAP) ปี 2551 Financial Statements for Directors (FSD) ปี 2551 การอบรมหลักสูตรต่างๆ ในปี 2561 : ประสบการณ์การท�ำงาน : 1 ก.พ. 2560 - ปัจจุบัน 2558 - ปัจจุบัน 2551 - ปัจจุบัน 2550 - 2558 2555 - 2557 2540 - 2550

กรรมการบรรษัทภิบาล และกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) ประธานเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยกฎหมาย บริษทั อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) รองกรรมการผู้อ�ำนวยการอาวุโส ส�ำนักกฎหมาย บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) ที่ปรึกษากฎหมาย บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน)

การด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นที่ ไม่ ได้ถือหุ้นโดย บมจ.อาร์เอส : สัดส่วนการถือหุ้น ต้นปี 2561 (หุ้น) ซื้อ/ได้มาระหว่างปี 2561 (หุ้น) จ�ำหน่าย/โอนออกระหว่างปี 2561 (หุ้น) สัดส่วนการถือหุ้น สิ้นปี 2561 (หุ้น) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี

-


13 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

นายองอาจ สิงห์ล�ำพอง กรรมการ อายุ 49 ปี สัดส่วนการถือหุ้น : -

การศึกษา : ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สื่อสารมวลชน วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท สื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาตรี การโฆษณา บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง การอบรมจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย : Director Accreditation Program (DAP) ปี 2561 การอบรมหลักสูตรต่างๆ ในปี 2561 : ประสบการณ์การท�ำงาน : 4 เม.ย. 2561 - ปัจจุบัน 9 ก.พ. 2560 - ปัจจุบัน 22 มิ.ย. 2560 - ปัจจุบัน 2559 - ปัจจุบัน 2557 - 2559 2556 - 2557 2555 - 2556

กรรมการบริษัท บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) รองกรรมการผู้อ�ำนวยการอาวุโส บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) กรรมการบริษัท บริษัท อาร์.เอส. เทเลวิชั่น จ�ำกัด กรรมการผู้อ�ำนวยการใหญ่สถานีโทรทัศน์ ช่อง 8 บริษัท อาร์.เอส. เทเลวิชั่น จ�ำกัด กรรมการผู้อ�ำนวยการสถานีโทรทัศน์ ช่อง 8 บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) รองกรรมการผู้อ�ำนวยการสถานีโทรทัศน์ ช่อง 8 บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) ผู้อ�ำนวยการสถานีโทรทัศน์ ช่อง 8 บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน)

การด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นที่ ไม่ ได้ถือหุ้นโดย บมจ.อาร์เอส : สัดส่วนการถือหุ้น ต้นปี 2561 (หุ้น) ซื้อ/ได้มาระหว่างปี 2561 (หุ้น) จ�ำหน่าย/โอนออกระหว่างปี 2561 (หุ้น) สัดส่วนการถือหุ้น สิ้นปี 2561 (หุ้น) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี

-


14 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

นายโสรัตน์ วณิชวรากิจ กรรมการ อายุ 45 ปี สัดส่วนการถือหุ้น : ร้อยละ 11.19

การศึกษา : ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) การอบรมจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย : Director Certification Program (DCP) ปี 2556 การอบรมหลักสูตรต่างๆ ในปี 2561 : ประสบการณ์การท�ำงาน : 2555 - ปัจจุบัน 2543 - ปัจจุบัน

กรรมการ บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพนเอเชียอุตสาหกรรม จ�ำกัด

การด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นที่ ไม่ ได้ถือหุ้นโดย บมจ.อาร์เอส : บริษัท แพนเอเชียอุตสาหกรรม จ�ำกัด สัดส่วนการถือหุ้น ต้นปี 2561 (หุ้น) ซื้อ/ได้มาระหว่างปี 2561 (หุ้น) จ�ำหน่าย/โอนออกระหว่างปี 2561 (หุ้น) สัดส่วนการถือหุ้น สิ้นปี 2561 (หุ้น)

115,000,000 13,000,000 15,000,000 113,000,000

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี


15 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

นายพิศิษฐ์ ดัชณาภิรมย์ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ และประธานกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน อายุ 77 ปี สัดส่วนการถือหุ้น : การศึกษา :

ปริญญาตรี บัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาตรี พาณิชยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 966

การอบรมจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย :

Director Certification Program (DCP) ปี 2550 Audit Committee Program (ACP) ปี 2548 Director Accreditation Program (DAP) ปี 2547

การอบรมหลักสูตรต่างๆ ในปี 2561 :

-

ประสบการณ์การท�ำงาน :

2561 - ปัจจุบัน 2557 - ปัจจุบัน ก.พ. 2550 - ปัจจุบัน 2546 - ปัจจุบัน 2544 - ปัจจุบัน 2535 - ปัจจุบัน 2545 - 2557

ประธานกรรมการ สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงาน บริษทั เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จ�ำกัด กรรมการ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จ�ำกัด (มหาชน) กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ และประธาน กรรมการสรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน บริษทั อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) กรรมการ ประธานกรรมการตรวจสอบ และรองประธานกรรมการ สรรหาและค่าตอบแทน บริษัท เจมาร์ท จ�ำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาในเครือ บริษัท โปรเฟสชั่นแนล อัลไลแอนซ์ กรุ๊ป จ�ำกัด กรรมการ และกรรมการบริหาร บริษัท โปลิฟาร์ม จ�ำกัด กรรมการบริหาร บริษทั ภูเก็ต อินเตอร์เนชัน่ แนล ฮอสปิตอล จ�ำกัด

การด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นที่ ไม่ ได้ถือหุ้นโดย บมจ.อาร์เอส :

ประธานกรรมการ สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงาน บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จ�ำกัด กรรมการ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จ�ำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการบริหาร กลุม่ บริษทั ทีป่ รึกษาในเครือบริษทั โปรเฟสชัน่ แนล อัลไลแอนซ์ กรุป๊ จ�ำกัด กรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท เจมาร์ท จ�ำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท โปลิฟาร์ม จ�ำกัด

สัดส่วนการถือหุ้น ต้นปี 2561 (หุ้น) ซื้อ/ได้มาระหว่างปี 2561 (หุ้น) จ�ำหน่าย/โอนออกระหว่างปี 2561 (หุ้น) สัดส่วนการถือหุ้น สิ้นปี 2561 (หุ้น) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี

-


16 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

พลเอก ไพโรจน์ พานิชสมัย กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน อายุ 72 ปี สัดส่วนการถือหุ้น : การศึกษา : ปริญญาโท พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตทางพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ปริญญาตรี โรงเรียนนายร้อย Sandhurst U.K. ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง การอบรมจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย : Director Certification Program (DCP) ปี 2550 Director Accreditation Program (DAP) ปี 2550 Audit Committee Program (ACP) ปี 2550 Finance for Non-Finance Director (FN) ปี 2550 การอบรมหลักสูตรต่างๆ ในปี 2561 : ประสบการณ์การท�ำงาน : 2557 - ปัจจุบัน ม.ค. 2550 - ปัจจุบัน ก.พ. 2550 - ปัจจุบัน 2549 2548 2543

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2557 กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ทบ.) กองบัญชาการทหารสูงสุด ประธานคณะที่ปรึกษา กองทัพบก ผู้บัญชาการศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ กองทัพบก

การด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นที่ ไม่ ได้ถือหุ้นโดย บมจ.อาร์เอส : สัดส่วนการถือหุ้น ต้นปี 2561 (หุ้น) ซื้อ/ได้มาระหว่างปี 2561 (หุ้น) จ�ำหน่าย/โอนออกระหว่างปี 2561 (หุ้น) สัดส่วนการถือหุ้น สิ้นปี 2561 (หุ้น) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี

-


17 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

นางวรรณสุดา ธนสรานาต กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน อายุ 67 ปี สัดส่วนการถือหุ้น : การศึกษา : ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาตรี บัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การอบรมจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย : Director Accreditation Program (DAP) ปี 2559 การอบรมหลักสูตรต่างๆ ในปี 2561 : ประสบการณ์การท�ำงาน : ม.ค. 2559 - ปัจจุบัน 2553 - ปัจจุบัน

กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) Senior Vice President ลูกค้าจีน ลูกค้าธุรกิจรายกลาง ธนาคารกรุงเทพ จ�ำกัด (มหาชน)

การด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นที่ ไม่ ได้ถือหุ้นโดย บมจ.อาร์เอส : สัดส่วนการถือหุ้น ต้นปี 2561 (หุ้น) ซื้อ/ได้มาระหว่างปี 2561 (หุ้น) จ�ำหน่าย/โอนออกระหว่างปี 2561 (หุ้น) สัดส่วนการถือหุ้น สิ้นปี 2561 (หุ้น) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี

-


18 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

นโยบายและภาพรวม การประกอบธุรกิจ บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) (“อาร์เอส” หรือ “บริษัทฯ”) ได้ด�ำเนินการก่อตั้งในปี พ.ศ. 2519 โดยเริ่มต้นจากการท�ำธุรกิจเพลง ครบวงจร ต่อมาบริษัทฯ ได้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน และได้ท�ำการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี พ.ศ.2546 ด้วยทุน จดทะเบียน 560 ล้านบาท และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน)” โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 บริษัทฯ มีทนุ จดทะเบียนทีอ่ อกและเรียกช�ำระแล้ว จ�ำนวน 1,010,149,192 หุน้ มูลค่าหุน้ ละ 1 บาท อย่างไรก็ดี บริษทั ฯ ได้ขยายธุรกิจมาอย่างต่อเนือ่ งจาก ธุรกิจเพลงไปสู่ธุรกิจสื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ และธุรกิจรับจ้างและผลิตกิจกรรม โดยในเดือนเมษายน ปี 2557 เป็นต้นมา บริษัทฯ ได้น�ำ “ช่อง 8” ที่เดิมออกอากาศอยู่บนระบบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เปลี่ยนมาออกอากาศในระบบดิจิทัล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ หมวดหมู่ทั่วไป แบบความคมชัดปกติ (Standard Definition) และในปีเดียวกันนั้นเอง บริษัทฯ ได้เริ่มจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม โฆษณาผ่านสื่อ โทรทัศน์และวิทยุของบริษัทฯ รวมทั้งเปิดตัวสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และร้านค้าปลีกสมัยใหม่ รวมถึงพัฒนาระบบเทเลเซลล์ซึ่งใช้รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า น�ำเสนอสินค้า ปิดการขาย และพัฒนาระบบหลังการขายให้มีประสิทธิภาพ ในปี 2561 บริษัทฯ ยังคงพัฒนาและขยาย ช่องทางการจัดจ�ำหน่ายอย่างต่อเนื่อง โดยธุรกิจใหม่นี้ถูกเรียกว่า ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง นอกจากการเพิ่มช่องทางการขายตรงชั้นเดียวแล้ว บริษัทฯ ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรน�ำเสนอผลิตภัณฑ์ให้เกิดความหลากหลาย ทั้งเครื่องใช้ส่วนตัวและผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน รวมถึงสินค้าประเภท เครื่องประดับ และบริการต่างๆ อีกทั้งพัฒนาและเพิ่มจ�ำนวนทีมเทเลเซลล์ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าอย่างแม่นย�ำ และรองรับจ�ำนวน ลูกค้าที่เพิ่มขึ้นรวมเกิน 1 ล้านราย ท�ำให้ธุรกิจนี้เป็นเอกลักษณ์ และไม่เหมือนใคร รวมถึงมีอัตราการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง

วิสัยทัศน์ (Vision)

“เราคือผู้สร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ด้วยการต่อยอดจากจุดแข็งในธุรกิจสื่อและบันเทิง”

พันธกิจ (Mission) “อาร์เอสจะน�ำจุดแข็งจากธุรกิจสือ่ ของตนเองไปต่อยอดในทุกธุรกิจทีม่ โี อกาส เพือ่ ตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยทีมบุคลากร ที่มีความเป็นเลิศ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและแสวงหาโอกาสใหม่ๆ อยู่เสมอ ภายใต้ระบบการจัดการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย”


19 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

เป้าหมายการด�ำเนินธุรกิจใน 5 ปีข้างหน้า (5-Year Business Direction) “อาร์เอส เป็นองค์กรที่ท�ำธุรกิจร่วมกับ “โอกาส” โดยมุ่งเน้นความเป็นผู้น�ำ และลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนในธุรกิจพาณิชย์ โดยขยายไปยังธุรกิจทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกัน ให้มสี ดั ส่วนรายได้จากธุรกิจใหม่เพิม่ ขึน้ อย่างมีนยั ส�ำคัญเพือ่ เสริมความแข็งแกร่งของรายได้รวมของบริษทั ฯ”

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่ส�ำคัญในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ปรับเปลี่ยนองค์กร จากการเป็นผู้น�ำในธุรกิจสื่อ มาเป็น ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง ซึ่งมีสินค้าทั้งของตนเองและพันธมิตร รวมถึงมีระบบวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า และระบบเทเลเซลล์ “โทร 1781” และขยายช่องทางการจัดจ�ำหน่ายให้มีความหลากหลาย ท�ำให้กลายเป็น ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทางที่ครบวงจร

ภาพรวมการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ปัจจุบนั อาร์เอส ด�ำเนินธุรกิจหลักแบ่งออกเป็น 3 กลุม่ ได้แก่ ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง ธุรกิจสือ่ ธุรกิจเพลงและอืน่ ๆ โดยธุรกิจพาณิชย์ หลายช่องทาง มีสัดส่วนรายได้สูงสุด ด�ำเนินธุรกิจภายใต้บริษัท ไลฟ์สตาร์ จ�ำกัด จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม เครื่องใช้ส่วนตัวและ ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน เครือ่ งประดับและอืน่ ๆ ผ่านสือ่ ทุกช่องทางของบริษทั ฯ ซึง่ ประกอบไปด้วย สือ่ โทรทัศน์ โดยมี ช่อง 8 เป็นผูน้ ำ� ในกลุม่ ดิจทิ ลั ทีวี ภายใต้บริษัท อาร์.เอส. เทเลวิชั่น จ�ำกัด และ 4 ช่องทีวีดาวเทียม สื่อวิทยุผ่านคลื่น COOLfahrenheit รวมถึงผ่านช่องทางออนไลน์ ร้านค้า ปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) และการขายตรงชัน้ เดียว นอกจากนีบ้ ริษทั ฯ ได้มกี ารลงทุนผ่านบริษทั ย่อยต่างๆ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ บริษัทย่อยในเครือของบริษัทฯ ที่ด�ำเนินงานอยู่ ประกอบด้วย

• บริษัท ไลฟ์สตาร์ จ�ำกัด (ร้อยละ 99.99) ด�ำเนินธุรกิจจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามช่องทางค้าปลีกต่างๆ • บริษัท อาร์.เอส. เทเลวิชั่น จ�ำกัด (ร้อยละ 99.99) ด�ำเนินธุรกิจให้บริการสื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล • บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จ�ำกัด (ร้อยละ 99.99) ด�ำเนินธุรกิจจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ • บริษัท บันเทิง วาไรตี้ จ�ำกัด (ร้อยละ 99.99) ด�ำเนินธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์

โครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่มบริษัท

บร�ษัท อาร เอส จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุ

บจ.ไลฟ สตาร 99.99%

บจ.อาร .เอส. เทเลว�ชั่น 99.99%

บจ.จัดเก็บ ลิขสิทธิ์ ไทย 99.99%

บจ.บันเทิง วาไรตี้ 99.99%

- ตัวเลขร้อยละ (แสดงเป็นเปอร์เซ็นต์) แสดงสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) - กรณีทไี่ ม่ใช่บริษทั ย่อยทีถ่ อื หุน้ โดยบริษทั ฯ ร้อยละ 100 กลุม่ ผูถ้ อื หุน้ หลักส่วนทีเ่ หลือไม่ได้เป็นบุคคลทีเ่ กีย่ วโยงกันของบริษทั อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) - บริษทั ทีห่ ยุดธุรกรรมชัว่ คราว ได้แก่ บจ.คูลลิซมึ่ บจ.อาร์.เอส. สปอร์ตมาสเตอร์ บจ.อาร์เอส อินเตอร์เนชัน่ แนล บรอดคาสติง้ แอนด์ สปอร์ต แมเนจเม้นท์ บจ.อาร์ อัลไลแอนซ์ บจ.ย๊าค และ บจ.กู๊ดไลฟ์ กรุ๊ป


20 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ลักษณะการประกอบธุรกิจ


21 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ธุรกิจในปัจจุบันของอาร์เอส ประกอบด้วย 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง ธุรกิจสื่อ ธุรกิจเพลง และอื่นๆ

โครงสร้างรายได้ 2559 ประเภทรายได้ ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง

จ�ำนวน (ล้านบาท)

2560

สัดส่วน (ร้อยละ)

จ�ำนวน (ล้านบาท)

2561

สัดส่วน (ร้อยละ)

จ�ำนวน (ล้านบาท)

สัดส่วน (ร้อยละ)

227.7

8

1,389.1

40

2,126.8

56

ธุรกิจสื่อ

1,694.8

56

1,703.5

49

1,344.7

35

ธุรกิจเพลงและอื่นๆ

1,076.1

36

409.1

11

355.2

9

2,998.6

100

3,501.7

100

3,826.7

100

รวมรายได้

ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง (Multi-platform Commerce (“MPC”))

ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง (MPC) ด�ำเนินงานภายใต้บริษัท ไลฟ์สตาร์ จ�ำกัด (“ไลฟ์สตาร์”) โดยมีผลิตภัณฑ์หลากหลายทั้งผลิตภัณฑ์ สุขภาพและความงาม (Health & Beauty Products) ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัวและผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน (Home & Lifestyle Products) และเครื่องประดับ รวมถึงบริการต่างๆ โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม แบ่งเป็น ผลิตภัณฑ์บ�ำรุงผิว (Skin Care) ภายใต้แบรนด์ “มาจีค” (Magique) ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม (Hair Care) ภายใต้แบรนด์ “รีไวฟ์” (Revive) และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Food Supplement) ภายใต้ แบรนด์ “เอส.โอ.เอ็ม.” (S.O.M.) ซึ่งไลฟ์สตาร์ได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยและผู้ผลิตสินค้ามาตรฐานสากลทั้งในและต่างประเทศ ผลิตผลิตภัณฑ์ คุณภาพที่ตอบโจทย์ลูกค้า อีกทั้ง ได้ร่วมมือกับพันธมิตรซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์โดยตรง ท�ำให้มีสินค้าขายผ่านช่องทางการขายของธุรกิจ MPC รวมทั้งสิ้นกว่า 100 รายการ โดยการจัดหาสินค้าจะมาจากข้อมูลวิจัยโดยห้องวิจัยและทดลองชั้นน�ำที่ไลฟ์สตาร์ท�ำงานร่วมกัน รวมถึงการเก็บ ข้อมูลจากลูกค้าโดยตรง ซึ่งจะท�ำให้เข้าใจถึงเทรนด์และความต้องการของสภาพตลาดโดยรวมและความต้องการของผู้บริโภคก่อนที่จะพัฒนา สินค้าแต่ละประเภท โดยทั้งก่อนและระหว่างการจ�ำหน่ายสินค้าแต่ละประเภท จะมีการสุ่มตรวจสอบคุณภาพสินค้า โดยน�ำส่งส่วนประกอบ เพื่อการตรวจสอบกับห้องวิจัยอย่างสม�่ำเสมอ หากเป็นสินค้าของพันธมิตร จะมีการสุ่มตรวจทั้งก่อนน�ำส่งเข้าคลัง และในระหว่างที่ออกจากคลัง ไปถึงมือผู้บริโภค


22 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ช่องทางการขายหลายช่องทางทีบ่ ริษทั ฯ มีการพัฒนาและเสริมความหลากหลายอย่างต่อเนือ่ ง ณ ปัจจุบนั มียอดการเข้าถึงของลูกค้าผ่าน ช่องทางสื่อทั้งออฟไลน์และออนไลน์ของบริษัทฯ รวมทุกช่องทางกว่า 17 ล้านรายต่อวัน ได้แก่ 1) สื่อออฟไลน์ที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของทั้งช่อง 8 ช่องทีวดี าวเทียมจ�ำนวน 4 ช่อง และสือ่ วิทยุผา่ นคลืน่ COOLfahrenheit 2) สือ่ ออนไลน์บนแพลตฟอร์มของบริษทั ฯ ได้แก่ www.shop1781.com ซึ่งมีจ�ำนวนเข้าเยี่ยมชม (Pageviews) ในปี 2561 กว่า 3 ล้านราย และ LINE SHOP ผ่าน @Shop1781, @HOME1781 และ @COOLanything ซึ่งมีผู้ติดตาม (Followers) รวมกันกว่า 450,000 บัญชี และในระหว่างปี ไลฟ์สตาร์ได้ท�ำข้อตกลงทางการค้ากับแพลตฟอร์มออนไลน์ชั้นน�ำอื่นๆ ในประเทศเพื่อน�ำเสนอสินค้าผ่านช่องทางเหล่านั้นด้วย 3) จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) และร้านจ�ำหน่าย เวชส�ำอาง (Drug Store) กว่า 600 แห่งทั่วประเทศ 4) ช่องทางขายตรงชั้นเดียว หรือ ธุรกิจไลฟ์สตาร์ (LifestarBIZ) เพื่อเป็นช่องทางการขายใหม่ และเสริมความหลากหลายของช่องทางการขายของบริษทั ฯ อย่างครบวงจร ท�ำให้เกิดการขยายฐานลูกค้าออกไปนอกเหนือจากลูกค้าที่รับชมรับฟัง ผ่านสื่อต่างๆ ของบริษัทฯ เพียงอย่างเดียว การขายผ่านช่องทางต่างๆ นั้น หากลูกค้ามีความประสงค์ที่จะซื้อสินค้าและบริการ สามารถติดต่อสั่งซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบ คอลเซ็นเตอร์ หรือ โทร.1781 โดยไลฟ์สตาร์พัฒนาระบบเทเลเซลล์อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับจ�ำนวนฐานลูกค้าที่เติบโตสูงขึ้นกว่า 1 ล้านราย สามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าได้ตรงตามความต้องการและไลฟ์สไตล์ของลูกค้าอย่างแม่นย�ำ รวมถึงพัฒนาทักษะและความสามารถของทีม คอลเซ็นเตอร์ที่โทรออก (Outbound Call Center) ให้สามารถน�ำเสนอสินค้าได้ตอบโจทย์ของลูกค้า และปิดการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเพิ่มทีมระบบหลังการขาย (Customer Relationship Management (CRM)) เพื่อดูแลลูกค้าคนส�ำคัญระดับวีไอพี สร้างความพึงพอใจ และรักษาฐานลูกค้าคนส�ำคัญเหล่านี้ให้มี loyalty ที่ดีต่อองค์กร ไลฟ์สตาร์ได้จัดจ้างบริษัทภายนอกในการส่งสินค้าแก่ลูกค้า ส�ำหรับลูกค้าในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะได้รับสินค้าภายใน วันถัดจากวันที่สั่งซื้อสินค้าและบริการ และลูกค้าในพื้นที่ต่างจังหวัด จะได้รับสินค้าภายใน 1-5 วัน และการช�ำระเงินกว่าร้อยละ 99 เป็นการ เก็บเงินสดปลายทางจากลูกค้า


23 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

การตลาดและการแข่งขัน ตลาดค้าปลีกของไทยมีขนาดตลาดเกือบ 5 ล้านล้านบาท และมีอัตราการเติบโตในอัตราที่ค่อนข้างสม�่ำเสมอที่ประมาณร้อยละ 5 ต่อปี คาดว่าตลาด E-Commerce จะเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น และมีอัตราการเติบโตสูงในระดับเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี โดยในอีก 3-5 ปีข้างหน้า คาดว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดในระดับร้อยละ 8-10 ของตลาดค้าปลีกโดยรวมของไทย ขึ้นอยู่กับความพร้อมในเรื่องของการจัดส่งสินค้าและระบบ การช�ำระเงินที่มีความปลอดภัย ณ สิ้นปี 2561 รายได้กว่าร้อยละ 90 ของธุรกิจ MPC เป็นการโฆษณาและจัดจ�ำหน่ายผ่านสื่อออฟไลน์ของ บริษทั ฯ หากพิจารณาในแง่ของการแข่งขัน ถือได้วา ่ บริษทั ฯ ไม่มคี แู่ ข่งโดยตรง จากพฤติกรรมการซือ้ ของลูกค้าผ่านช่องทางดังกล่าว ซึง่ เกิดความ พึงพอใจและการตัดสินใจซือ้ ผลิตภัณฑ์ จากคุณสมบัตขิ องผลิตภัณฑ์ ราคา รวมถึงการจัดท�ำโปรโมชัน่ ทีต่ รงกับความต้องการของลูกค้า ณ ขณะนัน้ ๆ อีกทั้งกลุ่มผู้ชม ผู้ฟัง รวมถึงแฟนเพลง และแฟนรายการที่เข้าถึงสื่อของบริษัทฯ ก็มีความแตกต่างจากสื่อของบริษัทอื่น ณ ช่วงเวลาเดียวกัน จากบทวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้ตลาด Online Shopping จะเข้ามามีบทบาทต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของ ผู้บริโภคมากขึ้น แต่ในอีก 5 ปีข้างหน้า คาดว่าผู้บริโภคก็ยังมีการเลือกซื้อสินค้าผ่านทั้ง ช่องทางออฟไลน์ และออนไลน์ ขึ้นอยู่กับประเภทของ สินค้าและอารมณ์หรือความต้องการ ณ ขณะนั้นๆ (Emotional) อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการค้าปลีกต้องสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า พร้อมกับการบริการที่สร้างความประทับใจ หรือสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้าในแต่ละราย (Customized Experience) มีความยืดหยุ่น ในการปรับตัวเร็ว เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแต่ละรายที่พยายามมองหาประสบการณ์หรือสิ่งแปลกใหม่อยู่เสมอ เพื่อให้เกิดการ กลับมาซือ้ ซ�ำ้ และยังอาจเกิดการบอกเล่าหรือการแชร์ขอ้ มูลหรือประสบการณ์ทไี่ ด้รบั จนเกิดเป็นลูกค้ากลุม่ ใหม่ได้ โดยการคาดการณ์นี้ สอดคล้อง กับวิธีการขยายธุรกิจ MPC ของบริษัทฯ ดังจะเห็นได้ว่า ในปี 2561 นอกเหนือจากการโฆษณาและขายผ่านช่องทางสื่อของบริษัทฯ ที่มีอัตราการ เติบโตสูงจากผลของการวิเคราะห์ข้อมูลและความต้องการของลูกค้าอย่างใกล้ชิด และมีทีมเทเลเซลล์ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นแล้วนั้น ไลฟ์สตาร์ ยังได้ขยายช่องทางการจัดจ�ำหน่ายใหม่ๆ ทัง้ ช่องทางออนไลน์ ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ และเปิดตัวช่องทางขายตรงชัน้ เดียว ซึง่ ช่องทางการจัดจ�ำหน่าย เหล่านี้ จะเข้ามาส่งเสริมรายได้ของธุรกิจ MPC เพิ่มขึ้น ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่จัดจ�ำหน่าย อันได้แก่ ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัวและผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน เครื่องประดับและอื่นๆ โดยกว่าร้อยละ 85 ของรายได้รวมเป็นการจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม หากพิจารณาตลาดสุขภาพ และความงามในประเทศไทย ซึง่ มีขนาดใหญ่กว่าแสนล้านบาท อีกทัง้ ยังมีอตั ราการเติบโตทีส่ ม�ำ่ เสมอแม้วา่ เศรษฐกิจของประเทศจะมีการขยายตัว ในระดับต�่ำก็ตาม แม้ว่าในช่วงกลางปี 2561 ตลาดโดยรวมจะได้รับผลกระทบจากการตรวจพบสินค้าปลอมปนสารต้องห้ามและการปราบปราม สินค้าผิดกฎหมาย ส่งผลกระทบต่อตลาดโดยรวมชะลอตัวลงชัว่ คราว โดยในไตรมาส 4 ตลาดได้กลับสูส่ ภาวะปกติ ผูบ้ ริโภคท�ำความเข้าใจในข้อมูล ของสินค้าเพิ่มขึ้น และมีความเชื่อมั่นมากขึ้นต่อสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับผลกระทบนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้น หากพิจารณาอีกทางหนึ่ง ก็ถอื ได้วา่ เป็นเรือ่ งดีของอุตสาหกรรม ซึง่ ได้คดั กรองผูผ้ ลิตและจ�ำหน่ายสินค้าทีไ่ ม่มคี ณ ุ ภาพออกไปจากท้องตลาด และท�ำให้ผบู้ ริโภคมีความมัน่ ใจ มากขึ้นในการเลือกใช้สินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค กลยุทธ์ดา้ นการส่งเสริมการตลาด นอกเหนือจากการเพิม่ ทีมเทเลเซลล์และทีมดูแลหลังการขายเพือ่ น�ำเสนอโปรโมชัน่ ทีต่ รงใจลูกค้าทันที เพื่อให้ลูกค้าใช้สินค้าได้ต่อเนื่อง ไลฟ์สตาร์ยังได้วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อให้ทราบถึงรสนิยม และความต้องการอื่นๆ เพื่อน�ำเสนอสินค้าใหม่ๆ สอดคล้องกับการมีสินค้าที่มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น และมีจ�ำนวนสินค้ามากกว่า 100 รายการเพื่อน�ำเสนอต่อลูกค้า นอกจากนี้ ไลฟ์สตาร์ ยังมีการจัดท�ำโปรโมชั่นให้เหมาะสมกับเทศกาลและเหมาะกับลูกค้าในแต่ละช่องทางการ ได้แก่ แคมเปญ 1781 New Year Grand Sale ซึ่งประสบความส�ำเร็จอย่างสูง หรือการท�ำโปรโมชั่น Shock Deal ผ่านทาง LINE Account อีกทั้ง ไลฟ์สตาร์ยังวางแผนจัดกิจกรรมภายนอก เพิ่มเติม เพื่อให้ลูกค้าได้ทดลองใช้สินค้าใหม่ๆ ที่ออกสู่ท้องตลาดเพิ่มขึ้นอีกด้วย การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ไลฟ์สตาร์ร่วมมือกับสถาบันวิจัยนานาชาติเป็นผู้คิดค้นส่วนผสมที่ส�ำคัญในแต่ละผลิตภัณฑ์ เมื่อได้ส่วนผสมหรือสารสกัดที่ส�ำคัญแล้ว จะน�ำมาผลิตโดยผูผ้ ลิตชัน้ น�ำระดับประเทศ และบางส่วนไลฟ์สตาร์ได้รว่ มมือกับพันธมิตรซึง่ เป็นผูร้ บั จ้างผลิตผลิตภัณฑ์ทมี่ คี ณ ุ ภาพ น�ำผลิตภัณฑ์ มาโฆษณาและจ�ำหน่ายผ่านช่องทางการขายของบริษัทฯ


24 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ธุรกิจสื่อ

ประกอบด้วย 2 สื่อหลัก ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ และสื่อวิทยุ

ธุรกิจสื่อโทรทัศน์ อาร์เอสประกอบธุรกิจทีวีดิจิทัลช่อง 8 และทีวีดาวเทียมจ�ำนวน 4 ช่อง ได้แก่ สบายดีทีวี ช่อง 2 Series Channel และเพลินทีวี ซึ่งมีรูปแบบ และกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ดังนี้

ช่อง 8 สถานีโทรทัศน์ “ช่อง 8” ภายใต้คอนเซปต์ “เข้มทุกเรื่องราว สุดทุกอารมณ์” น�ำเสนอรายการที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้ชม โทรทัศน์ส่วนใหญ่ของประเทศ วางคอนเซปต์ให้เป็นฟรีทีวีที่เข้าถึงผู้คนได้หลากหลายเพศและวัย โดยมีรายการที่เป็นแม่เหล็กของช่อง ได้แก่ รายการข่าวที่ดูง่าย เข้าใจง่าย และได้รับความนิยมเรตติ้งผู้น�ำของประเทศส�ำหรับ “คุยข่าวเช้าช่อง 8” “คุยข่าวเย็นช่อง 8” และรายการข่าวอื่นๆ เกี่ยวกับปากท้องชาวบ้าน เรื่องร้องทุกข์ พาชิมเมนูเด็ด และสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิตต่างๆ ทั้งรายการ “เจาะประเด็น” “ปากท้อง ต้องรู้” และ “สะกิดข่าวเด็ด” รวมถึงรายการในกลุ่มกีฬา “มวยไทย Super Champ” อีกทั้งมวยระดับโลกที่ได้รับลิขสิทธิ์มาถ่ายทอดสด ได้แก่ “ศึกมวยโลก ช่อง 8 HBO Boxing” และ “UFC มวยกรง 8 เหลี่ยม” และช่อง 8 ยังคงเป็นผู้น�ำซีรีส์ต่างประเทศที่ได้รับความนิยมสูงต่อเนื่อง ทั้ง “หนุมาน สงครามมหาเทพ” ต่อด้วย “พิฆเนศ มหาเทพไอยรา” โดย “ช่อง 8” น�ำมาตัดต่อเนื้อหาให้กระชับ พากย์เสียง พร้อมใส่เพลงประกอบซีรีส์เพื่อ ให้เข้ากับรสนิยมผู้ชมไทยมากขึ้น รวมถึงซีรีส์อินเดียสมัยใหม่ และ Bollywood Blockbuster ส�ำหรับละครใหม่ในปี 2561 จ�ำนวน 7 เรื่อง ได้แก่ “พ่อปลาไหล” “บุษบาเปื้อนฝุ่น” “เสน่ห์นางครวญ” “พยัคฆา” “รักฉันสวรรค์จัดให้” “สาปกระสือ” และ “ซิ่นลายหงส์” ซึ่งละครในปี 2561 นี้ได้รับความนิยมทั้งในแง่ของเรตติ้งและเป็นที่กล่าวถึงบนแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นอย่างมาก อีกทั้ง “ช่อง 8” ยังเพิ่มความบันเทิงด้วยรายการ วาไรตี้ต่างๆ ที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด ได้แก่ “ครัวลั่นทุ่ง” และ “อึ้งทึ่งเสียว” ด้วยความหลากหลายของประเภทรายการที่ได้รับความนิยม ท�ำให้ “ช่อง 8” มีเรตติ้งครองอันดับต้นของประเทศ จากการส�ำรวจของ AGB Nielsen Media Research (Thailand) ในเดือนธันวาคม 2561

ทีวีผ่านดาวเทียม ประกอบด้วย 4 ช่องหลัก ได้แก่ สบายดีทีวี ช่อง 2 Series Channel และเพลินทีวี โดยแต่ละช่องจะมีคอนเซปต์ และลักษณะรายการ เป็นของตนเอง ดังนี้ สบายดีทีวี

“สบายดีทีวี” จับกลุ่มเป้าหมายผู้ชื่นชอบเพลงไทย ในหลากหลายแนวเพลง ทั้งเพลงลูกทุ่ง เพลงแนวเพื่อชีวิต เพลงสตริง เพลงฮิตในอดีต และเพลงเก่าหาฟังยาก ด้วยจุดแข็งของช่อง “สบายดีทวี ”ี ทีด่ แู ลการผลิตและบริหารคอนเทนต์เองภายใต้คา่ ยเพลงอาร์สยาม ท�ำให้มกี ารน�ำเสนอ รายการได้หลากหลายรูปแบบ ควบคู่ไปกับการคัดสรรผู้ด�ำเนินรายการที่มีเอกลักษณ์ เป็นที่จดจ�ำและชื่นชอบกับคนหลากหลายกลุ่ม จึงท�ำให้ ช่อง “สบายดีทีวี” เป็นช่องที่สามารถรับชมได้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนานได้ตลอดทั้งวัน และมีอีเว้นท์อย่างต่อเนื่อง ท�ำให้สามารถสื่อสารและ เข้าถึงผู้ชมได้มากขึ้น


25 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ช่อง 2

“ช่อง 2” รวบรวมสุดยอดละครดัง และซีรีส์ต่างประเทศ ทั้งจีน อินเดีย และเกาหลีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากช่อง 8 คัดสรรและน�ำ เสนออย่างเข้มข้นบน “ช่อง 2” เพื่อรักษาฐานกลุ่มผู้ชมที่ชื่นชอบความบันเทิงอย่างครบรส Series Channel

“Series Channel” น�ำเสนอซีรสี แ์ ละภาพยนตร์ตา่ งประเทศ ทัง้ จีน อินเดีย และเกาหลี ตอบโจทย์ผชู้ มทีช่ นื่ ชอบการชมซีรสี แ์ ละภาพยนตร์ ตลอดทั้งวัน เพลินทีวี

“เพลินทีวี” ตอบโจทย์กลุ่มผู้ชมส่วนใหญ่ของประเทศ โดยน�ำข่าว และรายการวาไรตี้ของช่อง 8 มาน�ำเสนอบนช่อง “เพลินทีวี” เพื่อให้ ผู้ชมที่ชื่นชอบรายการมีสาระครบรสได้รับชมกันอย่างเต็มที่ การตลาดและการแข่งขัน อุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์มีการแข่งขันเพื่อแย่งชิงสายตาคนดูและเม็ดเงินโฆษณารุนแรงขึ้นมากกว่าในอดีต ตามใบอนุญาตดิจิทัลทีวี ประเภทธุรกิจทีเ่ พิม่ ขึน้ เป็น 24 ใบอนุญาต (22 ช่อง) ท�ำให้มจี ำ� นวนคูแ่ ข่งเพิม่ ขึน้ ช่อง 8 ในฐานะทีเ่ ป็นช่องทีม่ ปี ระสบการณ์ในการท�ำสือ่ โทรทัศน์ มาอย่างยาวนานจากการทีเ่ คยอยูใ่ นธุรกิจทีวดี าวเทียมมาก่อน ท�ำให้บริษทั ฯ มีความรูค้ วามสามารถ ผลิตผลงานทีม่ คี ณ ุ ภาพได้ถกู ใจผูช้ มเป็นอย่างดี มาอย่างต่อเนื่อง จากการแข่งขันของผูป้ ระกอบการอย่างสูงในปัจจุบนั ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจทีม่ กี ารชะลอตัว ท�ำให้เม็ดเงินโฆษณาในระบบค่อนข้าง จ�ำกัด และบางส่วนถูกย้ายไปส�ำหรับการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ การจะอยู่ให้ได้ในอุตสาหกรรมนี้ การผลิตรายการให้โดดเด่น เป็นที่สนใจ และ ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการบริหารต้นทุนการผลิตรายการอย่างเหมาะสม เป็นปัจจัยที่ส�ำคัญอย่างยิ่งยวด และอีกสิ่งหนึ่ง ที่ละเลยไม่ได้ ก็คือ การน�ำคอนเทนต์ที่น่าสนใจไปวางไว้บนสื่อออนไลน์ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ก็จะก่อให้เกิดรายได้อีกทางหนึ่ง การแข่งขันกันอย่างสูงด้วยความเข้มข้นและหลากหลายของคอนเทนต์บนช่องดิจิทัลทีวี ท�ำให้การรับชมผ่านช่องทีวีผ่านดาวเทียม มีจ�ำนวนลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการประกอบการทีวีผ่านดาวเทียมนั้นไม่สูงนักเมื่อเทียบกับดิจิทัลทีวี บริษัทฯ จึงยังคงให้ความส�ำคัญ กับธุรกิจทีวีดาวเทียมทั้ง 4 ช่อง โดยพยายามรักษาความเป็นผู้น�ำในธุรกิจทีวีดาวเทียม และบริหารต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยส่วนหนึ่งเป็นการน�ำคอนเทนต์ดังในอดีตมาฉายผ่านหน้าจออีกครั้ง ซึ่งจะได้สายตาผู้ชมที่หลากหลายและไม่ซ�้ำกัน ร่วมกับการแสวงหา รายได้ใหม่ โดยการน�ำช่องทีวีดาวเทียมไปต่อยอดเป็นอีกช่องทางหนึ่งส�ำหรับธุรกิจ MPC ของบริษัท กลยุทธ์การตลาด นอกจากก�ำหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมายที่ชัดเจน การออกแบบและผลิตรายการให้มีคุณภาพนั้น บริษัทฯ ยังได้น�ำจุดแข็ง ทางการแข่งขันขององค์กรส�ำหรับกลุม่ ผูช้ มช่อง 8 จะเน้นไปทีก่ ลุม่ ผูช้ มอายุ 35 ปีขนึ้ ไป เนือ่ งจากยังเป็นกลุม่ ผูช้ มหลักทีด่ รู ายการทีวี ซึง่ เป็นตลาด ขนาดใหญ่และมีความสามารถในการซื้อสูง อีกทั้งการใช้ประโยชน์จากกลุ่มตลาดวัยรุ่นและตลาดเพลงลูกทุ่งที่บริษัทฯ คุ้นเคยดีมาตั้งแต่อดีต ผลิตรายการบนช่องทีวีดาวเทียม ทั้งในด้านศิลปิน นักร้องนักแสดง พิธีกรในสังกัด เพลง และคอนเทนต์อื่นๆ โดยน�ำมาใช้เป็นองค์ประกอบหลัก ในการผลิตรายการ เมื่อผนวกเข้ากับจุดแข็งของทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการผลิตสื่อรายการโทรทัศน์แล้วท�ำให้ผลงาน การผลิตมีคุณภาพและมีผลตอบรับที่ดี ผนวกเข้ากับการวางโครงสร้างให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และการบริหารต้นทุน โดยใช้ พนักงานของบริษัทฯ ในการผลิตงานส่วนหนึ่ง และใช้การจ้างงานบุคลากรภายนอก (Outsourcing) อีกส่วนหนึ่ง รวมถึงการใช้บุคลากรร่วมกัน ส�ำหรับการด�ำเนินงานของทีวีดิจิทัลและทีวีดาวเทียมอีก 4 ช่อง ท�ำให้การบริหารต้นทุนของสื่อโทรทัศน์เป็นไปตามแผนที่วางไว้ นอกจากนี้ บริษทั ฯ ยังมุง่ เน้นการสร้างคุณภาพรวม เพือ่ ให้เป็นทีย่ อมรับและไว้วางใจจากทัง้ ผูช้ มและลูกค้า ไม่เฉพาะแต่ในส่วนของการวิเคราะห์ความต้องการ ของผู้ชมซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนารูปแบบการผลิตรายการให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้ชมและลูกค้า และท�ำให้ ความนิยมในตัวรายการสูงขึ้น อีกส่วนที่ส�ำคัญ คือ คุณภาพการผลิตที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ชมและลูกค้า รวมถึงด้านการบริการทั้งก่อนและ หลังการขาย เช่น การตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็วและแม่นย�ำ การรับฟังและแก้ปัญหาให้กับลูกค้า การจัดท�ำแพ็คการขาย โฆษณาให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าและเกิดประโยชน์สูงสุด เป็นต้น


26 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ การเกิดขึ้นของดิจิทัลทีวีท�ำให้มีผู้เล่นมากขึ้น การแย่งชิงบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ จึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม บริษทั ฯ ได้เซ็นสัญญากับบุคลากรต่างๆ และยังมีการคัดสรรบุคลากรทัง้ เบือ้ งหน้าและเบือ้ งหลังทีม่ ศี กั ยภาพ มีความเชีย่ วชาญ และ เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเป้าหมาย โดยในส่วนของบุคลากรเบื้องหน้า มุ่งเน้นที่ศิลปินนักแสดงในสังกัดของกลุ่มอาร์เอส และอีกส่วนหนึ่งได้มาจาก การคัดเลือกนักแสดง และศิลปินอิสระ ส�ำหรับทีมงานผลิตนั้น ในส่วนของการสร้างสรรค์รูปแบบงานและการควบคุมการผลิต เป็นการจัดการ โดยทีมงานของบริษัทฯ ส่วนของการด�ำเนินการผลิตอยู่ในรูปแบบของพนักงานภายในส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นการจ้างผลิต รวมถึงบริษัทฯ มีพันธมิตรซึ่งเป็นบริษัทชั้นน�ำทั้งในและต่างประเทศ ในการคัดเลือกรายการที่มีความแปลกใหม่มาน�ำเสนอต่อผู้ชมอย่างสม�่ำเสมอ

ธุรกิจสื่อวิทยุ บริษัทฯ ด�ำเนินธุรกิจผ่านช่องทาง On-Air ระบบคลื่นความถี่วิทยุ F.M. 93.0 MHz ในกรุงเทพและปริมณฑล ทั่วประเทศผ่านช่องทาง Online ที่ www.COOLISM.net และช่องทาง On Mobile ที่ Application COOLISM ภายใต้แบรนด์ COOLfahrenheit โดยมีรายละเอียด ดังนี้

สถานีวิทยุ

COOL fahrenheit

ผู้ให้สัมปทานคลื่นวิทยุ

สถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือ

วันและเวลาออกอากาศ

24 ชั่วโมง

สัญญาณส่งครอบคลุมพื้นที่

กรุงเทพฯ ปริมณฑล และทั่วประเทศ ผ่านออนไลน์และโทรศัพท์มือถือ

แนวคิด (Concept)

เป็นมากกว่าคนรู้ใจ

กลุ่มผู้ฟังเป้าหมายหลัก

Generation C อายุระหว่าง 20-44 ปี

สถานีเพลง COOLfahrenheit COOLfahrenheit ด�ำเนินการตามกลยุทธ์ Digital Transformation ไม่ยึดติดแบรนด์ไว้กับช่องทางวิทยุ FM Analog เท่านั้น โดยรุกสู่ แพลตฟอร์มดิจิทัลด้วย และยังคงรักษาแพลตฟอร์มวิทยุควบคู่กันไป ในรูปแบบ Hybrid บริษัทฯ ยังคงประกอบกิจการวิทยุเชิงพาณิชย์ เต็มรูปแบบ โดยยังคงเน้นรักษาฐานความนิยมไว้ได้อย่างต่อเนือ่ ง จนท�ำให้ในปัจจุบนั COOLfahrenheit ภายใต้คอนเซปต์ “เป็นมากกว่าคนรูใ้ จ” สามารถรักษาฐานผู้ฟังทั่วประเทศและความนิยมในการรับฟังไว้จนครองความนิยมของสถานีในอันดับ 1 ของกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่องมากว่า 15 ปี จากผลการส�ำรวจของ AGB Nielsen Media Research (Thailand) ส่งผลให้ลกู ค้าบริษทั โฆษณา และบริษทั เจ้าของสินค้า ยังคงความเชือ่ มัน่ ในการใช้สื่อโฆษณาของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง


27 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

รูปแบบของรายการ COOLfahrenheit สถานีที่น�ำเสนอเพลงไทยสากลส�ำหรับกลุ่ม Generation C ที่เชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ อายุระหว่าง 20-44 ปี ทั้งใน กรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ทวั่ ประเทศ สถานีได้รบั การยอมรับจากกลุม่ ผูฟ้ งั สูงสุดมากว่า 15 ปี และเป็นสถานีแรกทีส่ ร้างปรากฏการณ์ การน�ำเสนอเพลงเพราะต่อเนื่องมากที่สุด โดยทุกๆ บทเพลงเพราะได้ผ่านการคัดสรรจากผลส�ำรวจความนิยมของผู้ฟังอย่างแท้จริง พร้อมด้วย ทีมคูลเจมืออาชีพทีม่ เี อกลักษณ์เฉพาะตัวและได้รบั ความนิยมจากกลุม่ คนฟัง และการจัดกิจกรรมทีต่ อบสนองไลฟ์สไตล์และเปิดโลกทัศน์ของกลุม่ คนท�ำงานรุน่ ใหม่อย่างต่อเนือ่ ง โดยมีกจิ กรรม Signature อาทิ COOL Outing ทีม่ อบรางวัลใหญ่ให้กบั ผูโ้ ชคดีแบบยกออฟฟิศได้เดินทางพักผ่อน ยังจุดหมายท่องเทีย่ วยอดนิยมทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ Ink Eat All Around กิจกรรมส�ำหรับนักชิมทีจ่ ะพาไปชิมอาหารอร่อยทัง้ ในประเทศ และต่างประเทศโดย การันตีโดย มล.ภาสันต์ สวัสดิวัฒน์ COOL Music Fest มหกรรมมิวสิคเฟสติวัลริมทะเลส�ำหรับคน Gen Y ส่งผลให้ COOLfahrenheit เป็นสถานีเพลงอันดับ 1 อย่างต่อเนื่อง จากการส�ำรวจของ AGB Nielsen Media Research (Thailand) ตั้งแต่ปี 2545 จนถึง ปัจจุบัน (ข้อมูลเดือนธันวาคม 2561) ในกลุ่มรายการวิทยุประเภทเพลงไทยสากล ของผู้ฟังอายุ 20 - 44 ปี การตลาดและการแข่งขัน การตลาดและการแข่งขันของธุรกิจสือ่ วิทยุยงั คงมีอยูส่ งู เนือ่ งจากงบประมาณโฆษณาทีล่ ดลง ท�ำให้ลกู ค้าเลือกซือ้ สือ่ โฆษณากับสถานีทไี่ ด้ รับความนิยมสูงเป็นปัจจัยหลัก ในขณะเดียวกันกลยุทธ์ด้านราคาก็มีความส�ำคัญต่อการตัดสินใจ บริษัทฯ จึงน�ำจุดแข็งในความเป็นสถานีที่มี เรตติง้ อันดับที่ 1 มาเป็นกลยุทธ์ CPM หรือ Cost per thousand เป็นการเปรียบเทียบสัดส่วนจ�ำนวนผูฟ้ งั และราคาโฆษณาต่อหน่วย เพือ่ น�ำเสนอ ความคุม้ ค้า ให้ลกู ค้าสามารถใช้มเี ดียได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเข้าถึงกลุม่ เป้าหมายได้มากทีส่ ดุ นอกจากนัน้ ยังมีการสร้างแพคเก็จการขายใหม่ๆ ที่ Bundle สื่อภายใต้แบรนด์ COOL อย่างครบวงจรทั้ง On Air, Online และ On Mobile กลยุทธ์การตลาด

1. กลยุทธ์นโยบายความคุ้มค่า (Value for money) เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับงบประมาณที่ลูกค้ามีอยู่เพื่อการโฆษณา ในลักษณะของการขายแบบแพ็คเกจ คือ การขายเวลา โฆษณาร่วมกับการจัดกิจกรรมทางการตลาดซึ่งมีผลต่อการส่งเสริมการขายอย่างเป็นรูปธรรมและคุ้มค่าต่อการลงทุน นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ออกแบบแพ็คเกจที่เข้าถึงกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย ทั้งระบบ FM Analog และ Digital Platform ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมาย Gen Y ทั่วประเทศ ท�ำให้ตอบโจทย์ผู้ซื้อสื่อโฆษณา ที่มีแนวโน้มนิยมการใช้สื่อดิจิทัล ออนไลน์ ที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย 2. กลยุทธ์การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย จากสภาวะการแข่งขันอย่างเข้มข้นของธุรกิจวิทยุที่ต้องการสร้างความแตกต่างของรายการให้เกิดขึ้น เพื่อเสริมสร้างมูลค่าเพิ่ม ทัง้ ต่อสถานี ต่อลูกค้า และสินค้าทีร่ ว่ มกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ ดังนัน้ การขายเวลาโฆษณาอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า และต่อการสร้างแบรนด์ของบริษัทฯ ด้วยเหตุนี้ทางบริษัทฯ จึงมีการปรับปรุงกลยุทธ์การด�ำเนินการให้ความส�ำคัญกับการจัดกิจกรรมส่งเสริม การขายโดยมีกลยุทธ์การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Synergy) กับพันธมิตรในด้านต่างๆ โดยการเข้าร่วมเป็นสื่อพันธมิตร (Media Partner) ให้กับ กิจกรรมหรือคอนเสิรต์ ทีม่ กี ลุม่ ลูกค้าเป้าหมายเดียวกัน รวมถึงการเพิม่ มูลค่าของสินค้าโดยมีกจิ กรรมส่งเสริมการขายทีท่ ำ� ร่วมกันระหว่างรายการ และผู้ฟัง กิจกรรมส่งเสริมการขายทั้งหมดนี้ บริษัทฯ จะเน้นกิจกรรมที่มีคุณภาพที่สามารถให้สาระและบันเทิงกับผู้ร่วมกิจกรรม และ ในขณะเดียวกันยังสามารถตอบสนองนโยบายการตลาดของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความชัดเจนและตรงกับกลุม่ เป้าหมาย ส่งผลให้บริษทั ฯ สามารถสร้างรายได้จากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายให้กับลูกค้าได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนีแ้ ล้ว บริษทั ฯ ยังใช้ศกั ยภาพของฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของบริษทั ฯ เพือ่ เผยแพร่กจิ กรรมของ COOLfahrenheit และกิจกรรมของลูกค้าให้เป็นที่ยอมรับและรู้จักอย่างแพร่หลายทั้งในรูปแบบข่าวประชาสัมพันธ์และการโฆษณาในสื่ออื่นๆ เช่น สื่อออนไลน์ รายการโทรทัศน์ สื่อนอกบ้าน (OOH) ฯลฯ อีกด้วย


28 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

3. กลยุทธ์การให้บริการวางแผนโฆษณา บุคลากรของบริษัทฯ เป็นผู้ที่อยู่ในสายงานวิทยุมาเป็นเวลานาน มีความรู้และความเข้าใจในธุรกิจสื่อวิทยุเป็นอย่างดี สามารถให้ ค�ำปรึกษากับลูกค้าในการวางแผนการบริหารสื่อให้มีคุณภาพมากที่สุด และการเลือกซื้อเวลาโฆษณาหรือแพ็คเกจโฆษณาที่เหมาะสมกับ วัตถุประสงค์ของลูกค้าและกลุ่มผู้ฟังรายการ บริษัทฯ มีการวางแผนโฆษณาโดยสร้างสรรค์กิจกรรมพิเศษเฉพาะกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าและข้อจ�ำกัดของสินค้าแต่ละประเภท ซึ่งบริษัทฯ ได้ใช้นโยบายการเป็นคู่ค้าร่วมกับผลิตภัณฑ์ในการวางแผนโฆษณาเช่นนี้กับสินค้า ทุกรายที่สนับสนุนรายการ เพื่อสร้างแรงจูงใจและเกิดความคุ้มค่าสูงสุดในการเลือกใช้บริการสื่อของบริษัทฯ การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ 1. นักจัดรายการวิทยุ และบุคลากรฝ่ายผลิตและสร้างสรรค์ บริษัทฯ ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ของวงการวิทยุโดยนักจัดรายการวิทยุแต่ละคนจะต้องเพิ่มศักยภาพของตนเองให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะจะต้องมีเรือ่ งของความรูเ้ บือ้ งต้นทางการตลาด รูจ้ กั การใช้เทคโนโลยี และสือ่ ออนไลน์ (Social Media) ให้เกิดประโยชน์สงู สุด พร้อมทัง้ สามารถด�ำเนินรายการตามรูปแบบของรายการทีว่ างไว้ให้สอดคล้องกับรสนิยมของกลุม่ ผูฟ้ งั เป้าหมาย ปัจจุบนั นักจัดรายการของบริษทั ฯ ยังต้องเป็น ผู้มีทักษะในการเป็นผู้ด�ำเนินรายการในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย (on ground) เพื่อรองรับงานกิจกรรมพิเศษ (event) เพื่อส่งเสริม การขายอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งนักจัดรายการจะเป็นผู้มีส่วนส�ำคัญในการสร้างความนิยมให้แก่สถานี 2. ระบบการออกอากาศ บริษัทฯ ได้เลือกใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการออกอากาศแบบอัตโนมัติซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานสากล และ มีการอัพเดทซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อความทันสมัย และคุณภาพในการออกอากาศ ผ่านคลื่นวิทยุระบบเอฟเอ็ม และ Digital Platform ที่เข้าถึงทุกอุปกรณ์สื่อสาร

ธุรกิจเพลง

ธุรกิจเพลงของอาร์เอส มีการด�ำเนินงานในลักษณะครบวงจร โดยท�ำงานในทุกมิติ เน้นการท�ำงานที่ไร้ขอบ เพื่อให้เกิดคอนเทนต์ที่มี ความหลากหลาย สามารถตอบโจทย์ได้ทงั้ ตัวศิลปิน ตลาด และกลุม่ เป้าหมาย ผ่านการวางกลยุทธ์สอื่ และการตลาด การบริหารศิลปิน และการบริหาร คอนเทนต์เพลง ทั้งในแง่ตัวศิลปิน ตัวงานเพลง ผ่านช่องทางทั้งในสื่อ Online เช่น streaming, download และ Offline เช่น โทรทัศน์, Event และ Showbiz


29 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

1. การวางโครงสร้างการประกอบธุรกิจเพลง (Business Model) การท�ำงานเพลงจะเริ่มต้นจากการน�ำเสนอแนวความคิด คอนเซปต์ ของงาน และก�ำหนดกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย ร่วมกับศิลปินที่พร้อมจะร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กัน ด้วยการที่ อาร์เอส มีทีมงานที่มีประสิทธิภาพและ ประสบการณ์ในหลากหลายรูปแบบ รวมถึงช่องทางสื่อที่มีศักยภาพทั้ง Offline และ Online ท�ำให้สามารถผลิตผลงานเพลงได้หลากหลาย เพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายได้ครบทุกกลุ่มและสามารถผลิตผลงานออกสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นจึงน�ำเสนอคอนเซปต์และกลยุทธ์ ต่อคณะกรรมการบริหารธุรกิจเพลง (Music Business Management Board) เพื่อพิจารณาอนุมัติในหลักการ 2. การวางนโยบายการผลิตผลงานในจ�ำนวนที่เหมาะสม เน้นการให้ความส�ำคัญกับคุณภาพของผลงาน และการดูแลสินค้าเมื่อออก สู่ตลาดอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ท�ำให้การผลิตผลงานแต่ละโปรเจคเป็นไปตามการวางแผนในขั้นต้น และมีการวัดผลทั้งในเชิง คุณภาพและเชิงการตอบรับของกลุ่มเป้าหมาย ผ่านตัววัดในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ 3. การใช้ประโยชน์จากสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ ทั้งทางเว็บไซต์ และโซเชียลมีเดียต่างๆ ของบริษัทฯ และบริษัท ในเครือ เพื่อให้การประชาสัมพันธ์ผลงานมีประสิทธิภาพ และเป็นการใช้สื่อที่มีอยู่ทั้งหมดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 4. การบริหารจัดการลิขสิทธิ์งานเพลงที่มีอยู่อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับบริษัทฯ 5. การต่อยอดในเชิง Value ของศิลปินที่ผลิตผลงาน โดยจะต่อยอดทั้งในเชิงของการวางกลยุทธ์ในการสร้างรายได้จากงาน Event และ Showbiz ต่างๆ รวมไปถึงการเป็น Brand Ambassador หรือ Presenter ของผลิตภัณฑ์ที่มี positioning และกลุ่มเป้าหมายเดียวกับตัวศิลปิน 6. การวางนโยบายในการเปิดโอกาสให้กับกลุ่มศิลปินใหม่ นักแต่งเพลง และช่องทางสร้างสรรค์งานเพลงหรือช่องทางสื่อในรูปแบบใหม่ เพื่อพัฒนาและยกระดับงานเพลงของกลุ่มอาร์เอสให้ทันสมัยและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตลอดเวลา การประกอบธุรกิจเพลง มีรายได้จาก 3 แหล่งดังนี้ 1. รายได้จาก Event และ Showbiz ของศิลปินที่อยู่ในสังกัด เป็นการวางกลยุทธ์เพื่อการขายงานแสดง งานโชว์ของศิลปิน ตลอดทั้งปี รวมทั้งการต่อยอดเชิงภาพลักษณ์ของศิลปินในแง่ของการเป็น Brand Ambassador หรือ Presenter ผลิตภัณฑ์ต่างๆ 2. รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์เพลงในรูปแบบต่างๆ ผ่านทางระบบดิจิทัล (Digital Content) ทั้งการฟังเพลงในรูปแบบ Online Streaming ผ่าน Platform ต่างๆ เช่น JOOX, Spotify การฟังเพลงและดูมิวสิควิดีโอออนไลน์ผ่าน Platform ต่างๆ เช่น YouTube, Line TV หรือจะเป็นการดาวน์โหลดเพลง (Download) การดาวน์โหลดเสียงเรียกเข้าผ่านทางโทรศัพท์ (Ring Tone) การเลือกซื้อเพลงรอสายผ่าน เครือข่ายของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Ring Back Tone) การดาวน์โหลดเพลง (Full Song) ผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น iTunes หรือผ่านเครือข่าย ของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (WAP) เป็นต้น 3. รายได้จากการจัดเก็บลิขสิทธิเ์ พลง โดยบริษทั จัดเก็บลิขสิทธิไ์ ทย จ�ำกัด หรือในชือ่ ย่อว่า TCC (Thai Copyright Collection CO., LTD.) เป็นบริษัทในเครือที่ท�ำหน้าที่จัดเก็บลิขสิทธิ์ผลงานต่างๆ ที่ถูกน�ำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ให้กับบริษัทฯ ศิลปินนักร้องในสังกัด (Artist/Singer) ปัจจุบนั บริษทั ฯ มีศลิ ปินนักร้องเพลงทีม่ ศี กั ยภาพ ภายใต้การน�ำเสนอในแบรนด์ อาร์สยาม เพียงค่ายเดียว ศิลปินนักร้องในสังกัดเป็นศิลปิน ทีม่ คี วามสามารถในการ Performance และมีมลู ค่าในการต่อยอดทางธุรกิจ โดยมีทงั้ ศิลปินเดีย่ วและศิลปินกลุม่ ซึง่ สามารถน�ำเสนองานเพลงที่ หลากหลายครอบคลุมทุกกลุม่ เป้าหมายทัว่ ประเทศ ตัวอย่างศิลปินในค่ายอาร์สยาม ได้แก่ ใบเตย อาร์สยาม จ๊ะ อาร์สยาม กระแต อาร์สยาม เบิล้ ปทุมราช อาร์สยาม ลูลู่ - ลาล่า อาร์สยาม วงเฟลม แมน มณีวรรณ หญิง ธิตกิ านต์ วิด ไฮเปอร์ ธัญญ่า อาร์สยาม เป็นต้น การตลาดและการแข่งขัน ในปัจจุบันผู้บริโภคมีพฤติกรรมการฟังเพลงที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีตัวแปรที่ส�ำคัญคือการใช้งานอินเทอร์เน็ตและการเพิ่มขึ้น อย่างแพร่หลายของอุปกรณ์สมาร์ทโฟน (Smartphone) ส่งผลให้ ผูบ้ ริโภคหันมาฟังเพลงออนไลน์ผา่ นทางเว็บไซต์หรือสือ่ Social ต่างๆ และฟังเพลง บนอุปกรณ์สมาร์ทโฟนกันมากขึ้น ดังนั้นบริษัทฯ จึงต้องให้ความส�ำคัญกับช่องทางการจัดจ�ำหน่ายและช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ต้องมีชอ่ งทางทีห่ ลากหลาย เพือ่ ให้สามารถเข้าถึงผูบ้ ริโภคได้อย่างทัว่ ถึงโดยไม่จำ� เป็นจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์แผ่นเพลงเสมอไป นอกจากนีใ้ นปัจจุบนั คอนเทนต์เพลงมีการผลิตกันออกมาหลากหลาย ท�ำให้ผบู้ ริโภคสามารถเลือกฟังได้งา่ ยผ่านโซเชียลมีเดีย หรือ Platform ต่างๆ ท�ำให้เกิดรูปแบบใหม่ๆ ของคอนเทนต์เพลงในตลาดมากขึน้ ด้วย


30 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ปัจจัยความเสี่ยง บริษัท อาร์เอส จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (บริษัทฯ) ประเมินความเสี่ยงที่มีนัยสำ�คัญที่อาจเกิดขึ้นและอาจส่งผลกระทบต่อการ ดำ�เนินธุรกิจ มีดังนี้

ความเสี่ยงจากพึ่งพิงผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ บริษัทฯ มีพันธมิตรที่มีชื่อเสียงเพื่อผลิตและจ�ำหน่ายทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัวและผลิตภัณฑ์ ในครัวเรือน เครื่องประดับและอื่นๆ โดยในส่วนของผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ เองนั้น บริษัทฯ จะเป็นผู้ก�ำหนดวัตถุดิบหลัก (Active ingredient) รวมถึงคุณสมบัตขิ องผลิตภัณฑ์โดยรวม และร่วมกับสถาบันวิจยั ชัน้ น�ำทัว่ โลก รวมถึงโรงงานผูผ้ ลิตในการพัฒนาสูตรการผลิตและขัน้ ตอนการผลิต แต่โรงงานผู้ผลิตจะเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบและด�ำเนินการผลิตเองทั้งกระบวนการ ซึ่งหากผู้ผลิตรายใดรายหนึ่งเกิดปัญหาไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวให้แก่บริษัทฯ ได้ จะส่งผลให้บริษัทฯ ไม่สามารถท�ำการจัดหาผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามเวลาหรือตามความต้องการของลูกค้า และหากเป็น ผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้าของพันธมิตร ก็อาจเกิดปัญหาไม่สามารถส่งสินค้าได้ตามปริมาณที่บริษัทฯ ต้องการ หรือสินค้าไม่มีคุณภาพตามที่ บริษัทฯ ก�ำหนด ซึ่งอาจส่งผลต่อผลประกอบการรวมของบริษัทฯ ได้ อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีนโยบายในการจัดการต่อความเสี่ยงดังกล่าว โดยการ กระจายค�ำสัง่ ผลิตสูผ่ ผู้ ลิตชัน้ น�ำในประเทศออกไปจ�ำนวนหลายราย เพือ่ ไม่ให้เกิดการพึง่ พิงผูผ้ ลิตเพียงรายเดียว รวมถึงความพยายามในการสร้าง ความสัมพันธ์อันดีกับผู้ผลิตรายใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ท�ำให้บริษัทฯ สามารถต่อรองกับผู้ผลิตและสามารถควบคุมต้นทุนสินค้าได้มากขึ้น และในส่วนของพันธมิตร บริษัทฯ จะมีการสุ่มตรวจคุณภาพสินค้าอย่างสม�่ำเสมอ รวมถึงมีการวางแผนระหว่างกันในการเตรียมจ�ำนวนสินค้า ให้เพียงพอส�ำหรับการขายในแต่ละครั้ง


31 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ความเสี่ยงจากอายุของผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม การสัง่ ผลิตผลิตภัณฑ์สขุ ภาพและความงามต้องมีจำ� นวนมากเพียงพอเพือ่ การบริหารต้นทุนให้อยูใ่ นระดับทีเ่ หมาะสม และต้องมีการบริหาร สินค้าส�ำหรับการจัดเก็บสินค้าคงคลังเพือ่ การกระจายสินค้าให้แก่ลกู ค้าและร้านค้าปลีกทัว่ ประเทศ บริษทั ฯ จึงมีความเสีย่ งจากอายุของผลิตภัณฑ์ สุขภาพและความงามซึ่งโดยอายุเฉลี่ยส่วนใหญ่ประมาณ 3 ปี หากในกรณีที่กระแสนิยมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับบริษัทฯ อยู่ใน ช่วงที่ธุรกิจมีการขยายตัวสูง ท�ำให้ต้องมีการน�ำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ก่อนการผลิตสินค้า บริษัทฯ ต้องท�ำการ ส�ำรวจตลาดและพฤติกรรมของผูบ้ ริโภค เพือ่ ให้สามารถวิเคราะห์และคาดการณ์ยอดขายของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทให้แม่นย�ำทีส่ ดุ และเพือ่ ให้ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในขณะนัน้ ๆ โดยต้องติดตามและตรวจสอบอายุคงเหลือของสินค้าอย่างสม�ำ่ เสมอ รวมทัง้ มีการบริหารจัดการ สินค้าคงเหลือให้เหมาะสมกับช่วงอายุของแต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งโดยเฉลี่ยหากสินค้ามีอายุคงเหลือประมาณ 18 เดือนและมีอัตราการสั่งซื้อช้าลง สินค้านั้นจะถูกน�ำมาพิจารณาโดยฝ่ายบริหาร และจัดให้มีโปรโมชั่นหรือท�ำการตลาดใดๆ เพื่อเร่งการขายสินค้าเหล่านั้นออกไปให้เร็วที่สุด

ความเสี่ยงจากผลกระทบของสินค้าอื่นในท้องตลาดที่ ไม่ได้มาตรฐาน จากการที่มีผู้ผลิตและจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่มีคุณภาพออกสู่ท้องตลาด ท�ำให้ผู้บริโภค ได้รับผลกระทบจากสิ่งปลอมแปลงดังกล่าว และได้ถูกน�ำเสนอข่าวออกมาเป็นระยะ ท�ำให้ผู้บริโภคเกิดความตื่นตระหนก และบางส่วนเกิดความ เข้าใจผิดต่อผลิตภัณฑ์ทั้งหมดในตลาด ทั้งนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก็ได้มีมาตรการตรวจสอบและตรวจจับอย่างเข้มข้น ซึ่งจะ เป็นการคัดกรองสินค้าทีไ่ ม่ได้คณ ุ ภาพออกไปจากตลาด ในส่วนของบริษทั ฯ เองได้ทำ� การโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างเป็นวงกว้าง เพือ่ ให้ผบู้ ริโภค รับทราบในส่วนของผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ที่มีคุณภาพ ผลิตจากแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ รวมถึงบริษัทฯ ยังคงยึดมั่นสรรหาผลิตภัณฑ์คุณภาพ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการการันตีว่าลูกค้าได้ใช้สินค้าคุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการในทุกแง่มุม มีความเชื่อถือในผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ และกลับมาซื้อผลิตภัณฑ์ซ�้ำอย่างต่อเนื่อง

ความเสี่ยงจากการออกประกาศ หลักเกณฑ์ จากส�ำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) บริษัทฯ ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการประกอบกิจการโทรทัศน์ทั้งในระบบภาคพื้นดินซึ่งส่งสัญญาณแบบดิจิทัล (Digital Terrestrial Television) และระบบดาวเทียม (Satellite Television) ซึ่งกิจการโทรทัศน์นับได้ว่าเป็นกิจการสื่อสารมวลชนที่มีอิทธิพลต่อประชาชน เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการสื่อสารที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลได้อย่างทั่วถึงมากกว่าสื่อมวลชนประเภทอื่นๆ ดังนั้นการประกอบ กิจการโทรทัศน์จึงต้องด�ำเนินภายใต้กฎหมายเป็นส�ำคัญ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่เข้ามามีบทบาทการก�ำกับดูแลผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ของประเทศไทย คือ ส�ำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีอ�ำนาจ หน้าที่หลักในการก�ำกับดูแลและออกประกาศหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อควบคุมก�ำกับดูแลผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรี และเป็นธรรม มีมาตรฐานทางจริยธรรม และคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับประโยชน์และมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการ เช่น การก�ำกับดูแล เนื้อหารายการต้องมีคุณภาพเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การจัดระดับความเหมาะสมของรายการเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน การโฆษณา การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ เป็นต้น ณ ปัจจุบัน กสทช. ยังคงทบทวนแก้ไขหลักเกณฑ์และออกประกาศต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาของผู้ประกอบกิจการในแต่ละช่วงเวลา และสอดคล้องตามนโยบายของภาครัฐ ดังนั้น กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่จะออกมาควบคุมการด�ำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการประกอบกิจการโทรทัศน์ของ บริษทั ฯ จึงยังไม่เสถียร และต้องใช้เวลาสักระยะเพือ่ ให้เห็นกฎเกณฑ์ทอี่ อกมาบังคับทัง้ หมดก่อนว่าจะส่งผลกระทบกับการด�ำเนินธุรกิจของบริษทั ฯ หรือไม่เพียงใดอันจะสะท้อนเป็นปัจจัยความเสี่ยงในการด�ำเนินธุรกิจได้


32 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ความเสี่ยงจากการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจสื่อโทรทัศน์ ตั้งแต่เริ่มออกอากาศทีวีดิจิทัลช่วงกลางปี 2557 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมโทรทัศน์เผชิญกับสภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง เกิดการปรับตัว เปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมายจากผู้ประกอบการของแต่ละช่อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายเดิม (ระบบแอนะล็อก) ที่ต้องพยายามรักษาอันดับ ของตนเอง และรายใหม่ที่ต้องต่อสู้เพื่อช่วงชิงเรตติ้งและเม็ดเงินโฆษณาในตลาดให้ได้มากที่สุด ซึ่งต่างก็ใช้กลยุทธ์ในการเรียกคะแนนความนิยม โดยมีคอนเทนต์เป็นแม่เหล็กส�ำคัญในการดึงดูดผู้ชมรายการ โดยเฉพาะในช่วงของไพรม์ไทม์ (Prime Time) จะมีการแข่งขันรุนแรงมากที่สุด ผู้ชมรายการจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากทางเลือกที่หลากหลายขึ้น บริษัทเอเยนซี่โฆษณาจะมีตัวเลือกในการลงโฆษณามากขึ้น โดยมี “เรตติ้ง” และ “ความคุ้มค่าของราคา” เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาลงโฆษณา ซึ่งจะท�ำให้การขายเวลาโฆษณายากขึ้น อย่างไรก็ดี จากการที่บริษัทฯ มีประสบการณ์การท�ำธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ และบริหารช่องรายการของตัวเองมาเป็นเวลานาน มีกลุ่มผู้ชมเป้าหมายชัดเจน มีคอนเทนต์ ที่แข็งแรงและหลากหลายด้วยรูปแบบที่ตรงกับรสนิยมของผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย มีบุคลากรและทีมงานที่มีคุณภาพและประสบการณ์ ตลอดจน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดรูปแบบต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมติดตามรับชมอย่างต่อเนื่องและเพื่อให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ท�ำให้ช่องโทรทัศน์ ของบริษัทฯ ติดอยู่ในอันดับต้นเสมอมา จากการจัดอันดับของ AGB Nielsen Media Research (Thailand) และท�ำให้บริษัทฯ สามารถช่วงชิง และรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดจากคู่แข่งในอุตสาหกรรมได้

ความเสี่ยงจากการต่ออายุสัญญาสัมปทาน สัมปทานธุรกิจทีวีดาวเทียม จากการที่ กสทช. ได้ อ อกประกาศเรื่ อ ง หลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก ารอนุ ญ าตให้ บ ริ ก ารกระจายเสี ย งหรื อ โทรทั ศ น์ เพื่ อ จั ด ระเบี ย บ ผู้ประกอบการช่องทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีให้เข้าสู่กลไกการก�ำกับดูแล โดย กสทช. จะออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการเป็นคราวๆ ในขั้นแรก ใบอนุญาตจะมีอายุ 1 ปี หลังจากนั้นจะพิจารณาต่อใบอนุญาตให้อีกคราวละไม่เกิน 2 ปี โดย กสทช. ได้น�ำหลักเกณฑ์เรื่องร้องเรียนการกระท�ำ ความผิดเกี่ยวกับเนื้อหารายการที่ไม่เหมาะสม หรือ การโฆษณาที่ผิดกฎหมาย หรือ การกระท�ำอันเป็นการขัดหรือแย้งกับการก�ำกับดูแลด้านการ คุม้ ครองผูใ้ ช้บริการ รวมถึงหลักเกณฑ์อนื่ ๆ ทีท่ าง กสทช. จะออกเพิม่ เติมในอนาคต มาเป็นพืน้ ฐานในการพิจารณาต่อใบอนุญาตแก่ผปู้ ระกอบการ กิจการแต่ละราย ซึ่งการได้รับใบอนุญาตเป็นคราวๆ และแต่ละคราวมีอายุการประกอบการระยะสั้นอาจเป็นข้อจ�ำกัดในการขยายธุรกิจ การวางแผนการผลิต และการสร้างรายได้ของบริษัทฯ อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ตระหนักถึงความส�ำคัญของการปฏิบัติตามข้อก�ำหนดและกฎเกณฑ์ อย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าบริษัทฯ จะสามารถได้รับการต่อใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดาวเทียมได้อย่างต่อเนื่อง สัมปทานธุรกิจวิทยุ โดยปกติการท�ำสัญญาข้อตกลงเป็นผู้จัดรายการร่วมของสถานีวิทยุกระจายเสียงมีระยะเวลาประมาณ 2 ปี ซึ่งหากบริษัทฯ ไม่ได้รับการ ต่ออายุสัญญาดังกล่าวจะส่งผลกระทบถึงความต่อเนื่องของการออกอากาศรายการและรายได้ของบริษัทฯ ทั้งนี้ หมายรวมถึงความเสี่ยงจากการ เปลีย่ นแปลงเงือ่ นไขในสัญญาซึง่ อาจท�ำให้บริษทั ฯ ได้รบั เงือ่ นไขทีด่ อ้ ยลงไปจากเดิม นอกจากนี้ การแสวงหาเวลาออกอากาศใหม่เพือ่ ทดแทนอาจ ท�ำให้บริษทั ฯ สูญเสียประโยชน์จากการขาดความต่อเนือ่ งทางธุรกิจ และการสร้างความนิยมให้เทียบเคียงกับรายการเดิมได้ หรืออาจท�ำให้ตน้ ทุน เพื่อการได้มาสูงขึ้น อย่างไรก็ดี บริษัทฯ เชื่อว่าจากการที่บริษัทฯ ผลิตผลงานที่มีคุณภาพออกมาอย่างต่อเนื่องจนได้รับความนิยม มีฐาน ผู้ฟังรายการประจ�ำ รวมถึงการที่บริษัทฯ ได้รักษามาตรฐานในการช�ำระเงินและปฏิบัติตามเงื่อนไขของการจ่ายค่าเช่าเวลาอย่างเคร่งครัด ตลอดจนมีการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ให้สัมปทาน จะท�ำให้บริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจและสามารถลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการ ต่ออายุสัญญาได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ จะพิจารณาถึงมูลค่าของสัญญา โดยเปรียบเทียบกับความคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งหากพิจารณาแล้ว เห็นว่าไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ทางบริษัทฯ อาจพิจารณาไม่ต่ออายุสัญญาดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ผ่านการพิจารณาอนุมัติให้ต่ออายุสัญญา ออกไปอีก 2 ปี โดยสัญญาสิ้นสุดในปี 2562 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559 ได้มีค�ำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยืดระยะเวลาที่ กสทช. เรียกคืนคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงจากเดิมในปี 2560 ออกไปอีก 5 ปี และให้คงสิทธิในการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียง และการถือครองคลื่นความถี่ดังกล่าวได้ตามขอบเขตและสิทธิเดิม ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่าค�ำสั่งดังกล่าว จะเป็นผลดีต่อธุรกิจวิทยุของ บริษัทฯ ที่จะท�ำให้มูลค่าสัมปทาน รวมถึงขอบเขตและสิทธิไม่เปลี่ยนแปลง


33 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ความเสี่ยงจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลก ส่งผลให้พฤติกรรมการสื่อสารของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามความเจริญ ก้าวหน้าของเทคโนโลยีในช่วงเวลานัน้ ๆ การติดต่อสือ่ สาร การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารความบันเทิงอยูใ่ กล้เพียงแค่ปลายนิว้ ผูค้ นในปัจจุบนั สามารถ แสวงหาข้อมูลต่างๆ รวมถึงเป็นผู้ผลิตข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ด้วยตนเอง ประกอบกับข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วด้วย การส่งผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอยู่ในมือของทุกคน อย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต อุปกรณ์พกพาต่างๆ หรือ ที่เรียกว่า Second Screen ซึ่งเปรียบเสมือนหน้าจอที่ 2 รองจากโทรทัศน์ จึงเป็นสิ่งส�ำคัญที่ส่งผลให้บทบาทของรายการโทรทัศน์ต้องเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ด้วย บริษัทฯ จึงตระหนักดีถึงการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีเพื่อสร้างโอกาส การสื่อสารกับผู้รับชมให้ครอบคลุมทุกช่องทาง แต่อีกปัจจัยที่ส�ำคัญของการเติบโตทางสื่อสังคมออนไลน์ คือ การควบคุมก�ำกับดูแลของภาครัฐ ที่มีแนวโน้มจะเข้มข้นขึ้น เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดที่ก�ำกับดูแลโดยตรง จึงท�ำให้การเสนอข้อมูลข่าวสารในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ ค่อนข้างเสรีและมีขดี จ�ำกัดน้อยกว่าสือ่ โทรทัศน์ทตี่ อ้ งอยูภ่ ายใต้การก�ำกับดูแลของ กสทช. ดังนัน้ ในอนาคตอันใกล้ ภาครัฐย่อมต้องก�ำหนดหน่วยงาน ก�ำกับดูแลและออกกฎระเบียบเพือ่ ควบคุมก�ำกับดูแลสือ่ สังคมออนไลน์ ให้ชดั เจนมากยิง่ ขึน้ ซึง่ จะส่งผลให้การด�ำเนินธุรกิจผ่านช่องทางนีอ้ าจถูกก�ำกับ มากยิง่ ขึน้ เช่น การขอใบอนุญาตประกอบกิจการ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมประกอบกิจการ การควบคุมเนื้อหารายการ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี บริษทั ฯ ด�ำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังและอยูภ่ ายใต้กฎเกณฑ์กรอบของกฎหมาย จึงมัน่ ใจว่า บริษทั ฯ จะสามารถปรับตัวให้ทนั กับทุกสถานการณ์ได้

ความเสี่ยงจากการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเพลงได้รับผลกระทบหลักจากการถูก ละเมิดลิขสิทธิ์ ในหลากหลายรูปแบบ จากรูปแบบ Physical เข้าสู่ Digital แบบละเมิดลิขสิทธิ์ การดาวน์โหลดเพลงจากเว็บไซต์ที่ไม่ได้รับอนุญาต การน�ำคอนเทนต์เพลงไปหารายได้ของ ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหาร และร้านคาราโอเกะ การจัดกิจกรรมและงานแสดงคอนเสิร์ต ต่างๆ รวมถึงการน�ำคอนเทนต์ไปใช้เพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์หรือเพื่อความบันเทิงส่วนตัว ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ส่งผลให้รายได้ของส่วนงานเพลง ไม่สะท้อนปริมาณการบริโภคที่แท้จริง อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ตระหนักถึงความส�ำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น และได้ด�ำเนินการ หาทางแก้ไข โดยการทบทวนแผนธุรกิจใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้มีความยืดหยุ่น เหมาะสมและ ทันเหตุการณ์ เช่น การปรับโครงสร้างภายในของสายงานเพื่อรองรับแผนงานที่เปลี่ยนแปลง และตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละรายอย่างตรงจุด การใช้กลยุทธ์การขายให้เข้ากับ พฤติกรรมของผู้บริโภคตามยุคสมัย รวมถึงการปรับรูปแบบการขายให้เหมาะสมกับสภาวะ ตลาดในปัจจุบัน เหมาะสมส�ำหรับลักษณะของสื่อ หรือช่องทางการเผยแพร่ตา่ งๆ ในปัจจุบัน และในอนาคต รวมถึงการพัฒนาระบบงานภายในให้รองรับกับระบบ Platform ต่างๆ ที่มีอยู่ในตลาด ปัจจุบัน และที่จะเกิดขึ้นใหม่ได้ ทั้งนี้ยังมีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลเรื่องการป้องกันและ ปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์โดยเฉพาะ ซึ่งได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากภาครัฐในการ บังคับใช้กฎหมายเข้าด�ำเนินการกับผูป้ ระกอบการทีก่ ระท�ำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิใ์ นผลงาน ของบริษัทฯ รวมถึงรณรงค์ประชาสัมพันธ์กระตุ้นลูกค้าและผู้ประกอบธุรกิจที่น�ำงานลิขสิทธิ์ ไปใช้ ต้องเคารพต่อสิทธิ์และท�ำการช�ำระค่าลิขสิทธิ์เป็นการตอบแทน จากมาตรการดังกล่าว ข้างต้น บริษัทฯ คาดว่าจะช่วยลดผลกระทบอย่างมีนัยส�ำคัญจากความเสี่ยงของการถูกละเมิด ลิขสิทธิ์ได้


34 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ทรัพย์สินที่ ใช้ ในการประกอบธุรกิจ

ทรัพย์สินหลักที่ใช้ในการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ และบริษัทย่อย (กลุ่มอาร์เอส) แสดงรายละเอียด ดังต่อไปนี้

อุปกรณ์

อุปกรณ์หลักที่ใช้ในการประกอบธุรกิจของกลุ่มอาร์เอส มีดังนี้ มูลค่าตามบัญชี ปี 2561 (ล้านบาท)

ประเภท

ลักษณะ กรรมสิทธิ์

อุปกรณ์ห้องควบคุมการออกอากาศ และอุปกรณ์ถ่ายท�ำรายการโทรทัศน์

เจ้าของ

176.38

ไม่มี

ซอฟท์แวร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการด�ำเนินงาน

เจ้าของ

87.41

ไม่มี

ภาระผูกพัน

คลังสินค้า

คลังสินค้าของบริษัทย่อย มีดังนี้ ค่าเช่า/ค่าบริการ ต่อเดือน (ล้านบาท)

ที่ตั้ง

ผู้เช่า

อายุสัญญา

เลขที่ 9/102 หมู่ที่ 5 ถนนพหลโยธิน ต�ำบลคลองหนึ่ง อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

บจ. ไลฟ์สตาร์

1 ปี (สิ้นสุดสัญญาเดือน เมษายน 2562)

0.21

เลขที่ 9/46 หมู่ที่ 5 ถนนพหลโยธิน ต�ำบลคลองหนึ่ง อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

บจ. ไลฟ์สตาร์

1 ปี (ปัจจุบันได้ต่ออายุสัญญาเช่า เป็นช่วงเวลา 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2562)

0.10

เลขที่ 9/119 หมู่ที่ 5 ถนนพหลโยธิน ต�ำบลคลองหนึ่ง อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

บจ. ไลฟ์สตาร์

1 ปี (สิ้นสุดสัญญาเดือน พฤษภาคม 2562)

0.10

สัมปทานและสัญญาเช่าวิทยุ

บริษัทฯ ได้ท�ำสัญญาเช่าสถานีวิทยุจากหน่วยงานราชการและบริษัทภายนอก ตามรายละเอียดดังนี้ สถานี

เจ้าของสถานี

F.M. 93.0 MHz

สถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน

ช่วงเวลาตามสัญญา 1 มกราคม 2561 - 31 ธันวาคม 2562


35 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

สัญญาบริการการส่งสัญญาณภาพ

บริษัทฯ และบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง ได้ท�ำสัญญาบริการการส่งสัญญาณภาพ และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้ ผู้ให้บริการ

ช่วงเวลาตามสัญญา

1. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย 2. บริษัท ไทยคม จ�ำกัด (มหาชน) 3. บริษัท ทีซี บรอดคาสติ้ง จ�ำกัด

สิ้นสุดวันที่ 16 มิถุนายน 2571 1 มกราคม 2561 - 30 มิถุนายน 2563 1 มกราคม 2561 - 30 มิถุนายน 2563

ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์เพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล บริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชั่น จ�ำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ เป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ ภาคพืน้ ดินในระบบดิจทิ ลั ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ หมวดหมูท่ วั่ ไปแบบความคมชัดปกติ จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการ โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ใบอนุญาตเลขที่ B1-S20031-0012-57 ในราคาประมูล 2,265 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่า เพิ่ม) ส�ำหรับระยะเวลา 15 ปี นับตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2557 ถึงวันที่ 24 เมษายน 2572 โดยบริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชั่น จ�ำกัด ได้ช�ำระเงินค่า ธรรมเนียมใบอนุญาตในส่วนของราคาขั้นต�่ำ และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในส่วนที่เกินกว่าราคาขั้นต�่ำ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,303.50 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 ค่าใบอนุญาตฯ ส่วนที่เหลือ จ�ำนวนเงินรวม 961.50 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีรายละเอียดดังนี้ หน่วย : ล้านบาท งวดการ จ่ายช�ำระ

ค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต รวมค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตในส่วนที่ ในส่วนของราคาขั้นต�่ำ ใบอนุญาต เกินกว่าราคาขั้นต�่ำ

วันที่ครบก�ำหนดช�ำระ

8

19.00

188.50

207.50

23 พฤษภาคม 2564

9

-

188.50

188.50

23 พฤษภาคม 2565

10

-

188.50

188.50

23 พฤษภาคม 2566

11

-

188.50

188.50

23 พฤษภาคม 2567

12

-

188.50

188.50

23 พฤษภาคม 2568

19.00

942.50

961.50

ตารางดังกล่าวเป็นการจ่ายช�ำระภายใต้เงื่อนไขใหม่ ซึ่งบริษัทฯ ได้เลือกใช้สิทธิเพื่อขยายเวลาช�ำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ตามค�ำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 76/2559 (เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559) ในปี 2560 และในปี 2561 บริษัทฯ ได้ใช้สิทธิพักช�ำระ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลืน่ ความถี่ ตามค�ำสัง่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 9/2561 (เมือ่ วันที่ 23 พฤษภาคม 2561) โดยมีรายละเอียด ที่เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ 14


36 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ข้อพิพาททางกฎหมาย บริษทั ฯ และบริษทั ย่อยไม่มขี อ้ พิพาท ทางกฎหมายทีม่ ผี ลกระทบต่อการด�ำเนินธุรกิจ ของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อยอย่างมีนัยส�ำคัญ และไม่ มี ข ้ อ พิ พ าทที่ มี ผ ลกระทบด้ า นลบ อั น อาจจะมี ผ ลกระทบต่ อ สิ น ทรั พ ย์ ข อง บริ ษั ท ฯ หรื อ บริ ษั ท ย่ อ ยที่ มี จ� ำ นวนสู ง กว่ า ร้ อ ยละ 5 ของส่ ว นของผู ้ ถื อ หุ ้ น ณ วั น ที่ 31 ธันวาคม 2561 ตลอดจนไม่มีข้อพิพาท ทางกฎหมายทีม่ ไิ ด้เกิดจากการประกอบธุรกิจ โดยปกติของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย


37 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลส�ำคัญอื่น ข้อมูลทั่วไป ชื่อบริษัท ประเภทธุรกิจ ที่ตั้งส�ำนักงานใหญ่ ทะเบียนเลขที่ เว็บไซต์ โทรศัพท์ โทรสาร ทุนจดทะเบียน ทุนช�ำระแล้ว นายทะเบียนหลักทรัพย์ ผู้สอบบัญชี ที่ปรึกษากฎหมาย

: : : : : : : : : : : :

บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) ปัจจุบันกลุ่มอาร์เอสประกอบด้วย 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง ธุรกิจสื่อทั้งสื่อโทรทัศน์และสื่อวิทยุ ธุรกิจเพลงและอื่นๆ อาคารเชษฐโชติศักดิ์ 419/1 ซอยลาดพร้าว 15 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0107546000016 http://www.rs.co.th +66 2511 0555 +66 2511 2324 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 จ�ำนวน 1,203,270,516 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 1,203,270,516 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 จ�ำนวน 1,010,149,192 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 1,010,149,192 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด 93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ +66 2009 9000 โทรสาร +66 2009 9991 เว็บไซต์ http://www.set.or.th/tsd บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จ�ำกัด อาคารบางกอกซิตี้ทาวเวอร์ ชั้น 15 179/74-80 ถนนสาทรใต้ กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ +66 2844 1000 โทรสาร +66 2286 5050 เว็บไซต์ http://www.pwc.com/th ส�ำนักกฎหมาย บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) อาคารเชษฐโชติศักดิ์ 419/1 ซอยลาดพร้าว 15 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ +66 2511 0555 โทรสาร +66 2938 5622


38 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ข้อมูลทั่วไปของบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นเกินร้อยละ 10 ประเภทธุรกิจ

ชนิดหุ้น

1. บริษัท ไลฟ์สตาร์ 419/2 ซอยลาดพร้าว 15 จ�ำกัด ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ +66 2902 1933, +66 2511 0555 โทรสาร +66 2938 5621

ธุรกิจจ�ำหน่าย ผลิตภัณฑ์ตาม ช่องทางค้าปลีก ต่างๆ

หุ้นสามัญ

ทุนจด ทุนช�ำระแล้ว ถือหุ้น ทะเบียน (บาท) ร้อยละ (บาท) 200,000,000 200,000,000 99.99

2. บริษัท อาร์.เอส. เทเลวิชั่น จ�ำกัด

419/2 ซอยลาดพร้าว 15 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ +66 2902 1933, +66 2511 0555 โทรสาร +66 2938 5621

ธุรกิจให้บริการ สื่อโทรทัศน์ ในระบบดิจิทัล

หุ้นสามัญ

300,000,000 300,000,000 99.99

3. บริษัท จัดเก็บ ลิขสิทธิ์ไทย จ�ำกัด

419/2 ซอยลาดพร้าว 15 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ +66 2511 0555 โทรสาร +66 2938 5694

ธุรกิจจัดเก็บ ค่าลิขสิทธิ์

หุ้นสามัญ

5,000,000

5,000,000 99.99

4. บริษัท บันเทิง วาไรตี้ จ�ำกัด

419/2 อาคารเชษฐโชติศักดิ์ 2 ชั้นที่ 3 ซอยลาดพร้าว 15 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ +66 2511 0555 โทรสาร +66 2511 2324

ธุรกิจผลิตรายการ โทรทัศน์

หุ้นสามัญ

1,000,000

1,000,000 99.99

5. บริษัท คูลลิซึ่ม จ�ำกัด*

419/2 ซอยลาดพร้าว 15 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ +66 2511 0555 โทรสาร +66 2938 5694

-

หุ้นสามัญ

25,000,000

25,000,000 99.99

ชื่อบริษัท

สถานที่ตั้ง


39 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ประเภทธุรกิจ

ชนิดหุ้น

6. บริษัท ย๊าค จ�ำกัด* 419/2 ซอยลาดพร้าว 15 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ +66 2511 0555 โทรสาร +66 2938 5694

-

หุ้นสามัญ

ทุนจด ทุนช�ำระแล้ว ถือหุ้น ทะเบียน (บาท) ร้อยละ (บาท) 2,500,000 2,500,000 99.97

7. บริษัท กู๊ดไลฟ์ กรุ๊ป 419/1 ซอยลาดพร้าว 15 จ�ำกัด* ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ +66 2511 0555 โทรสาร +66 2511 2324

-

หุ้นสามัญ

37,000,000

37,000,000 99.99

8. บริษัท อาร์ อัลไล แอนซ์ จ�ำกัด*

203/34-36 ซอยลาดพร้าว 15 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ +66 2511 0555 โทรสาร +66 2511 2324

-

หุ้นสามัญ

80,000,000

80,000,000 99.99

9. บริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเม้นท์ จ�ำกัด*

419/3 ซอยลาดพร้าว 15 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ +66 2511 0555 โทรสาร +66 2511 2324

-

หุ้นสามัญ

9,375,000

9,375,000 83.33

10. บริษัท อาร์.เอส. สปอร์ตมาสเตอร์ จ�ำกัด*

419/2 ซอยลาดพร้าว 15 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ +66 2511 0555 โทรสาร +66 2511 2324

-

หุ้นสามัญ

4,500,000

4,500,000 75.98

ชื่อบริษัท

สถานที่ตั้ง

* บริษัทดังกล่าว เป็นบริษัทที่หยุดธุรกรรมชั่วคราว

ข้อมูลส�ำคัญอื่น -ไม่มี-


40 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ข้อมูลหลักทรัพย์และผู้ถือหุ้น จ�ำนวนทุนจดทะเบียนและทุนช�ำระแล้ว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนจ�ำนวน 1,203,270,516 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจ�ำนวน 1,203,270,516 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท มีทุนช�ำระแล้วจ�ำนวน 1,010,149,192 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจ�ำนวน 1,010,149,192 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท

ผู้ถือหุ้น

กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2561 มีดังนี้ ล�ำดับที่

ชื่อ-สกุล

จ�ำนวนหุ้นที่ถือ

คิดเป็นร้อยละ

1

กลุ่ม เชษฐโชติศักดิ์ *

390,980,701

38.71

2

นายโสรัตน์ วณิชวรากิจ

113,000,000

11.19

3

บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จ�ำกัด

54,714,369

5.42

4

ธนาคาร กรุงเทพ จ�ำกัด (มหาชน)

50,331,900

4.98

5

บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน)

43,273,300

4.28

6

นายชาญยุทธิ์ เหล่ารัดเดชา

20,050,000

1.98

7

กองทุนเปิดแวลูพลัส ปันผล หุ้นระยะยาว

11,260,600

1.11

8

นางขันทอง อุดมมหันติสขุ โดย บล.เคทีบี (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน)

9,373,000

0.93

9

กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวอิควิตี้

8,306,800

0.82

10

กองทุนเปิดกรุงศรีอิควิตี้ปันผล

7,128,700

0.71

หมายเหตุ *กลุ่มเชษฐโชติศักดิ์ ได้แก่

1. นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ถือหุ้นจ�ำนวน 366,300,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 36.26 2. นายเชษฐ เชษฐโชติศักดิ์ ถือหุ้นจ�ำนวน 17,710,701 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.75 3. นายโชต เชษฐโชติ ถือหุ้นจ�ำนวน 6,970,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.69

รายชื่ อ กลุ ่ ม ผู ้ ถื อ หุ ้ น รายใหญ่ ที่ โ ดยพฤติ ก ารณ์ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การก� ำ หนดนโยบายการจั ด การ หรื อ การด� ำ เนิ น งานของบริ ษั ท ฯ อย่ า งมี นั ย ส� ำ คั ญ (กลุ่มผู้ถือหุ้น หรือ ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 และด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการบริษัท หรือส่งตัวแทนเข้ามาเป็นกรรมการบริษัท)


41 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

การออกหลักทรัพย์อื่น ใบส�ำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ รุ่นที่ 3 (RS-W3) ใบส�ำคัญแสดงสิทธิทจี่ ะซือ้ หุน้ สามัญของบริษทั ฯ รุน่ ที่ 3 (RS-W3) ได้รบั อนุญาตให้เริม่ ซือ้ ขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ตงั้ แต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2560 โดยมีรายละเอียดดังนี้ ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน ตลาดรอง จ�ำนวนใบส�ำคัญแสดงสิทธิ จ�ำนวนหุ้นที่รองรับการใช้สิทธิ ผู้ออกใบส�ำคัญแสดงสิทธิ สิทธิของใบส�ำคัญแสดงสิทธิ ชนิดของใบส�ำคัญแสดงสิทธิ อายุของใบส�ำคัญแสดงสิทธิ ราคาใบส�ำคัญแสดงสิทธิ การใช้สิทธิตามใบส�ำคัญแสดงสิทธิ

ใบส�ำคัญแสดงสิทธิทจี่ ะซือ้ หุน้ สามัญของบริษทั อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) รุน่ ที่ 3 (RS-W3) ตลาดหลักทรัพย์ 193,332,760 หน่วย 193,332,760 หุ้น บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) โดยจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทที่มีรายชื่อ ปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 18 เมษายน 2560 และรวบรวมรายชื่อ ตามมาตรา 225 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 โดยวิธีปิดสมุดทะเบียนในวันที่ 19 เมษายน 2560 ในอัตราส่วนหุ้นสามัญเดิม 5 หุ้น ต่อใบส�ำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย โดยไม่คิดมูลค่า ใบส�ำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย มีสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของบริษัทได้ 1.0014 หุ้น ในราคาหุ้นละ 12.4830 บาท ทั้งนี้ราคาการใช้สิทธิและอัตราการใช้สิทธิอาจ เปลี่ยนแปลงในภายหลัง ตามเงื่อนไขการปรับสิทธิ (อัตราการใช้สทิ ธิกอ่ นการปรับสิทธิคอื 1 หน่วยต่อ 1 หุน้ สามัญ และราคาการใช้สทิ ธิ ก่อนการปรับสิทธิคือ 12.50 บาทต่อ 1 หุ้นสามัญ เนื่องด้วยที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท ครั้งที่ 3/2561ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2561 ได้มีมติอนุมัติให้จ่าย เงินปันผลระหว่างกาลนัน้ การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวเป็นผลให้บริษทั ฯ ต้องด�ำเนินการ ปรับราคาใช้สทิ ธิและอัตราใช้สทิ ธิใหม่ตามข้อ 4.2 (จ) ของข้อก�ำหนดว่าด้วยสิทธิและ หน้าที่ของผู้ออกใบส�ำคัญแสดงสิทธิและผู้ถือใบส�ำคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นสามัญ ของบริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 3) ชนิดระบุชื่อผู้ถือและโอนเปลี่ยนมือได้ 3 ปี นับจากวันที่ออก (วันที่ออกคือวันที่ 24 พฤษภาคม 2560 วันที่ครบก�ำหนดและวันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย ตรงกับวันที่ 23 พฤษภาคม 2563 ซึ่งใบส�ำคัญแสดงสิทธิจะพ้นสภาพจากการเป็น หลักทรัพย์จดทะเบียนในวันถัดไป) หน่วยละ 0 บาท (ศูนย์บาท) ผู้ถือใบส�ำคัญแสดงสิทธิสามารถใช้สิทธิได้ในวันท�ำการสุดท้ายของเดือนเมษายน และตุลาคม ของแต่ละปี ตลอดอายุของใบส�ำคัญแสดงสิทธิ โดยก�ำหนดการใช้สิทธิ ครั้งแรก คือวันที่ 31 ตุลาคม 2560 และวันก�ำหนดการใช้สิทธิครั้งสุดท้าย คือวันที่ 23 พฤษภาคม 2563

นโยบายการจ่ายเงินปันผล บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีนโยบายจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของก�ำไรสุทธิหลังจากหักภาษีและส�ำรองตามกฎหมาย แล้ว ทั้งนี้ คณะกรรมการของบริษัท มีอ�ำนาจในการพิจารณายกเว้นไม่ด�ำเนินการตามนโยบายดังกล่าว หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าว ได้เป็นครั้งคราว โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่การด�ำเนินการดังกล่าวจะต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น


42 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

โครงสร้างการจัดการ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน

(Nomination and Remuneration Committee)

คณะกรรมการบริษัท (Board of Directors) คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee)

คณะกรรมการบรรษัทภิบาล (Corporate Governance Committee)

คณะกรรมการบริหาร (Executive Board)

เลขานุการบริษัท (Company Secretary)

คณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Development Committee)

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO)

ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง (Multi-platform Commerce (“MPC”))

สายงานการเงินและบัญชี (Finance & Accounting)

สายงานบริหารลูกค้าองค์กร (Corporate Client Management)

ธุรกิจสื่อโทรทัศน์ (Television)

ส�ำนักกฎหมาย (Legal Office)

สายงานบริหารบุคลากรและจัดซื้อจัดจ้าง (People Operation & Procurement)

ธุรกิจสื่อวิทยุ (Radio)

สายงานเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)

สายงานวิศวกรรมการออกอากาศ (Broadcast Engineering)

ธุรกิจเพลง (Music)

สายงานสื่อสารองค์กร (Corporate Communication)

ฝ่ายบริหารส�ำนักงาน (Administration)

ฝ่ายตรวจสอบกลาง (Internal Audit)


43 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

โครงสร้างการจัดการ โครงสร้างการจัดการของบริษัทฯ ประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัท และคณะอนุกรรมการรวมทั้งหมด 7 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการ บริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบรรษัทภิบาล และคณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

คณะกรรมการบริษัท

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 คณะกรรมการบริษัท ของบริษัทฯ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ จ�ำนวน 9 ท่าน โดยมีรายนามดังต่อไปนี้ 1. นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานกรรมการบริษัท และประธานกรรมการบริหาร 2. นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล กรรมการบริษัท กรรมการบริหาร ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง ประธานกรรมการบรรษัทภิบาล ประธานกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล และเลขานุการบริษัท 3. นายดามพ์ นานา กรรมการบริษัท และกรรมการบริหาร 4. นายดนัยศิษฏ์ เปสลาพันธ์ กรรมการบริษัท กรรมการบริหารความเสี่ยง และกรรมการบรรษัทภิบาล 5. นายองอาจ สิงห์ล�ำพอง กรรมการบริษัท 6. นายโสรัตน์ วณิชวรากิจ กรรมการบริษัท 7. นายพิศิษฐ์ ดัชณาภิรมย์ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ และประธานกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน 8. พลเอกไพโรจน์ พานิชสมัย กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน 9. นางวรรณสุดา ธนสรานาต กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน

หมายเหตุ นายองอาจ สิงห์ลำ� พอง ได้รบั การแต่งตัง้ ด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการบริษทั จากมติทปี่ ระชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจ�ำปี 2561 เมือ่ วันที่ 4 เมษายน 2561

นิยามกรรมการอิสระ กรรมการอิสระ หมายถึง กรรมการจากภายนอกทีไ่ ม่ได้มตี ำ� แหน่งเป็นผูบ้ ริหารหรือพนักงานประจ�ำของบริษทั ฯ ไม่ได้เป็นกรรมการบริหาร หรือกรรมการผู้มีอ�ำนาจลงนามผูกพันบริษัทฯ และเป็นอิสระจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถท�ำหน้าที่คุ้มครอง ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน และสามารถช่วยดูแลไม่ให้เกิดรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัทฯ กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน โดยมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 1. ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 0.5 ของจ�ำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจ มีความขัดแย้ง ทั้งนี้ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้อง* ด้วย 2. ไม่เป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน**/พนักงาน/ลูกจ้าง/ที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจ�ำ/ผู้มีอ�ำนาจควบคุมบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยล�ำดับเดียวกัน*** หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทั้งในปัจจุบัน และในช่วงเวลา 2 ปีก่อน ได้รับการแต่งตั้ง 3. ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยการจดทะเบียนในลักษณะที่เป็นบิดามารดา คู่สมรส พี่น้องและบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร กับผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอ�ำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้บริหารหรือผู้มีอ�ำนาจควบคุมของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย หมายเหตุ * ผู้ที่เกี่ยวข้อง หมายถึง บุคคลตามมาตรา 258 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ** กรรมการทีม่ สี ว่ นร่วมบริหารงาน หมายถึง กรรมการทีด่ ำ� รงต�ำแหน่งเป็นผูบ้ ริหาร กรรมการทีท่ ำ� หน้าทีร่ บั ผิดชอบเยีย่ งผูบ้ ริหาร และกรรมการ ที่มีอ�ำนาจลงนามผูกพัน เว้นแต่แสดงได้ว่าเป็นการลงนามผูกพันตามรายการที่คณะกรรมการมีมติอนุมัติไว้แล้ว และเป็นการลงนามร่วมกับ กรรมการรายอื่น *** บริษัทย่อยล�ำดับเดียวกัน หมายถึง บริษัทย่อยตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไปที่มีบริษัทใหญ่เป็นบริษัทเดียวกัน


44 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

4. ความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ แบ่งได้ ดังนี้

(ก) ลักษณะความสัมพันธ์ l ความสัมพันธ์ในลักษณะของการให้บริการทางวิชาชีพ l ลั ก ษณะความสั ม พั น ธ์ : ผู ้ ส อบบั ญ ชี ผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารทางวิ ช าชี พ อื่ น เช่ น ที่ ป รึ ก ษากฎหมาย ที่ ป รึ ก ษาทางการเงิ น ผู้ประเมินราคาทรัพย์สิน เป็นต้น l ระดับนัยส�ำคัญที่เข้าข่ายไม่อิสระ - กรณีผู้สอบบัญชี : ห้ามทุกกรณี - กรณีเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพอื่น : มูลค่ารายการเกิน 2 ล้านบาทต่อปี l ความสั ม พั น ธ์ ท างการค้ า /ทางธุ ร กิ จ (ใช้ แ นวทางในท� ำ นองเดี ย วกั บ ข้ อ ก� ำ หนดว่ า ด้ ว ยการท� ำ รายการที่ เ กี่ ย วโยงกั น ของตลาดหลักทรัพย์) l ลักษณะความสัมพันธ์ : ก�ำหนดครอบคลุมรายการทางธุรกิจทุกประเภท ได้แก่ รายการที่เป็นธุรกรรมปกติ รายการเช่า/ ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์/บริการ และรายการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน l ระดับนัยส�ำคัญที่เข้าข่ายไม่อิสระ : มูลค่ารายการ ≥ 20 ล้านบาท หรือ ≥ ร้อยละ 3 ของ NTA ของบริษัทแล้วแต่จ�ำนวนใด จะต�่ำกว่า ทั้งนี้ ในการพิจารณามูลค่ารายการให้รวมรายการที่เกิดขึ้นในระหว่าง 6 เดือนก่อนวันที่มีการท�ำรายการในครั้งนี้ด้วย (ข) กรณีที่มีลักษณะความสัมพันธ์ตาม (ก) กับนิติบุคคล บุคคลที่ถือว่าเข้าข่ายไม่อิสระ ได้แก่ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ (ยกเว้นกรณีเป็นกรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ) และผู้บริหารหรือ Partner ของนิติบุคคลนั้น (ค) ก�ำหนดช่วงเวลาที่ห้ามมีความสัมพันธ์ตาม (ก) และ (ข) : ปัจจุบันและ 2 ปีก่อนได้รับการแต่งตั้ง (ง) ข้อยกเว้น : กรณีมีเหตุจ�ำเป็นและสมควร ซึ่งมิได้เกิดขึ้นอย่างสม�่ำเสมอและต่อเนื่อง กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ อาจมีความสัมพันธ์เกินระดับนัยส�ำคัญที่ก�ำหนดในระหว่างด�ำรงต�ำแหน่งก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทก่อน และมติที่ได้ต้องเป็นมติเป็นเอกฉันท์ นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทต้องจัดให้มีการเปิดเผยความดังกล่าวของกรรมการรายนั้น ไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ Filing) แบบแสดงรายการข้อมูลประจ�ำปี(แบบ 56-1) และรายงาน ประจ�ำปี (แบบกรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบรายนั้นเพื่อด�ำรงต�ำแหน่งต่ออีกวาระหนึ่ง คณะกรรมการบริษัทต้องจัด ให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าวในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นในวาระเลือกตั้งกรรมการด้วย 5. ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ 6. ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ท�ำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระได้ 7. กรรมการอิ ส ระที่ มี คุ ณ สมบั ติ ต ามข้ อ 1-6 อาจได้ รั บ มอบหมายจากคณะกรรมการบริ ษั ท ให้ ตั ด สิ น ใจในการด� ำ เนิ น กิ จ การ ของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยล�ำดับเดียวกัน หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง โดยมีการตัดสินใจ ในรูปแบบองค์คณะ (Collective Decision) ได้ ทัง้ นี้ ในกรณีทกี่ รรมการอิสระมีการด�ำรงต�ำแหน่งเป็นกรรมการอิสระในบริษทั ใหญ่ บริษทั ย่อย และบริษทั ย่อยล�ำดับเดียวกัน คณะกรรมการ บริษัทจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการด�ำรงต�ำแหน่งดังกล่าว และค่าตอบแทนรวมที่กรรมการอิสระรายนั้นได้รับในแบบ Filing แบบ 56-1 และแบบ 56-2 ด้วย


45 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

กรรมการผู้มีอ�ำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทฯ กรรมการผู้มีอ�ำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทฯ ประกอบด้วย นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ นายดนัยศิษฏ์ เปสลาพันธ์ นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล นายดามพ์ นานา นายองอาจ สิงห์ล�ำพอง สองในห้าคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราส�ำคัญของบริษัทฯ ขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2546 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2546 ได้มีมติก�ำหนดขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทไว้ ดังนี้ คณะกรรมการบริษทั มีอำ� นาจหน้าทีจ่ ดั การบริษทั ฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ มติของทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ และมีอำ� นาจ มอบหมายแต่งตั้งกรรมการจ�ำนวนหนึ่งให้เป็นกรรมการบริหารหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นใด เพื่อด�ำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่าง ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการบริษทั ได้ เว้นแต่อำ� นาจในการด�ำเนินการดังต่อไปนี้ จะกระท�ำได้กต็ อ่ เมือ่ ได้รบั อนุมตั จิ ากทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ ก่อน ทัง้ นีก้ ำ� หนดให้รายการทีก่ รรมการหรือบุคคลทีอ่ าจมีความขัดแย้ง มีสว่ นได้เสีย หรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อนื่ ใดกับบริษทั ฯ หรือบริษทั ย่อย ให้กรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใด ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น 1. เรื่องที่กฎหมายก�ำหนดให้ต้องได้มติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น 2. การท�ำรายการที่กรรมการมีส่วนได้เสียและอยู่ในข่ายที่กฎหมาย หรือข้อก�ำหนดของตลาดหลักทรัพย์ระบุให้ต้องได้รับอนุมัติ จากที่ประชุมผู้ถือหุ้น และในกรณีดังต่อไปนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจ�ำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน 1. การขายหรือโอนกิจการของบริษัทฯ ทั้งหมดหรือบางส่วนที่ส�ำคัญ 2. การซื้อหรือรับโอนกิจการของบริษัทอื่นหรือบริษัทเอกชนมาเป็นของบริษัทฯ 3. การท�ำ แก้ไข หรือเลิกสัญญาเกีย่ วกับการให้เช่ากิจการของบริษทั ฯ ทัง้ หมดหรือบางส่วนทีส่ ำ� คัญ การมอบหมายให้บคุ คลอืน่ เข้าจัดการ ธุรกิจของบริษัทฯ หรือการรวมกิจการกับบุคคลอื่นโดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งก�ำไรขาดทุนกัน 4. การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับ 5. การเพิ่มทุน การลดทุน การออกหุ้นกู้ การควบหรือเลิกบริษัทฯ 6. การใดที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ หรือประกาศตลาดหลักทรัพย์ก�ำหนดให้ต้องได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น เช่น การได้มาหรือ จ�ำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน หรือรายการที่เกี่ยวโยงกัน

หน้าที่ความรับผิดชอบ ตลอดจนอ�ำนาจอนุมัติของคณะกรรมการบริษัท รวมถึงเรื่องดังต่อไปนี้ 1. ดูแลการก�ำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักในการประกอบธุรกิจเป็นไปเพื่อความยั่งยืน โดยเป็นวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ที่สอดคล้องกับการสร้างคุณค่าให้ทั้งบริษัทฯ ลูกค้า ผู้มีส่วนได้เสีย และสังคมโดยรวม 2. ดูแลให้มั่นใจว่า วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตลอดจนกลยุทธ์ในระยะเวลาปานกลางและ/หรือประจ�ำปีของกิจการสอดคล้องกับ การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัทฯ โดยมีการน�ำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย 3. ดูแลการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นในจริยธรรม เคารพสิทธิ และมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสีย เป็นประโยชน์ ต่อสังคม และพัฒนาหรือลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประพฤติตนเป็นต้นแบบ 4. ดูแลโครงสร้างและการปฏิบัติของคณะกรรมการให้เหมาะสมต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายหลักในการประกอบธุรกิจ อย่างมีประสิทธิภาพ 5. ดูแลให้กรรมการทุกคนและผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบระมัดระวัง (duty of care) และซื่อสัตย์สุจริตต่อองค์กร (duty of loyalty) และดูแลให้การด�ำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น 6. ดูแลการประเมินผลงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 7. ดูแลการก�ำหนดโครงสร้างค่าตอบแทนทีเ่ ป็นเครือ่ งจูงใจให้บคุ ลากรปฏิบตั งิ านให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลักขององค์กร และการก�ำหนดหลักเกณฑ์และปัจจัยในการประเมินผลงานส�ำหรับทั้งบริษัทฯ


46 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

8. พิจารณาและอนุมัติการก�ำหนดและทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ เป้าหมาย แผนงานประจ�ำปี และงบประมาณประจ�ำปี การก�ำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการด�ำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย รวมถึงแผนงานที่ก�ำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 9. พิจารณาการดูแลความเหมาะสมเพียงพอของระบบบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน 10. พิจารณาการก�ำหนดอ�ำนาจด�ำเนินการที่เหมาะสมกับความรับผิดชอบของฝ่ายจัดการ 11. พิจารณาการก�ำหนดกรอบการจัดสรรและจัดการทรัพยากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โคยค�ำนึงถึงผลกระทบ และการพัฒนาทรัพยากรตลอดสาย value chain เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักได้อย่างยั่งยืน ตลอดจน การพัฒนาและงบประมาณ เช่น นโยบายและแผนการบริหารจัดการบุคคล และนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจัดให้มีกรอบ การก�ำกับดูแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศระดับองค์กร ที่สอดคล้องกับความต้องการของบริษัทฯ รวมทั้งดูแล ให้มีการน�ำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและพัฒนาการด�ำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง เพื่อให้บริษัท สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัทฯ 12. พิจารณาการติดตามและประเมินผลการด�ำเนินงาน 13. พิจารณาการดูแลให้การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินและไม่ใช่การเงินมีความน่าเชื่อถือและตามความเหมาะสม 14. ติดตามดูแลความเพียงพอของสภาพคล่องทางการเงินและความสามารถในการช�ำระหนี้ 15. พิจารณาให้มั่นใจได้ว่า ในภาวะที่กิจการประสบปัญหาทางการเงินหรือมีแนวโน้มจะประสบปัญหา กิจการมีแผนในการแก้ไขปัญหา หรือมีกลไกอื่นที่จะสามารถแก้ไขปัญหาทางการเงินได้ ทั้งนี้ ภายใต้การค�ำนึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย 16. ดูแลให้การด�ำเนินการต่างๆ เป็นไปตามนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี และคู่มือจรรยาบรรณของกลุ่มบริษัทฯ 17. พิจารณาและอนุมัติรายการที่มีนัยส�ำคัญ ตามที่ก�ำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ ประกาศ นโยบาย ระเบียบ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง หรืออ�ำนาจด�ำเนินการของบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่พิจารณารายชื่อกรรมการใหม่ซึ่งได้รับการพิจารณากลั่นกรองแล้ว และน�ำเสนอโดยคณะกรรมการสรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน กรรมการที่ได้รับการเสนอชื่อจะต้องพร้อมที่จะทุ่มเทเวลา ความรู้ ความสามารถที่มีให้แก่บริษัทฯ และมีความเข้าใจ หน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการ ส�ำหรับกรรมการใหม่ ทางบริษัทฯ มีกระบวนการให้ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจและการด�ำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อให้กรรมการใหม่มีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจของบริษัทฯ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษทั มีการประเมินผลการท�ำงานของคณะกรรมการบริษทั ประจ�ำปีตามแบบประเมินตนเองของคณะกรรมการ บริษัท เพื่อเป็นการตรวจสอบการท�ำงานและปรับปรุงประสิทธิภาพการท�ำงานของคณะกรรมการบริษัทให้ดียิ่งขึ้น ขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการ เพื่อท�ำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ อีกทั้งลงคะแนนเสียงชี้ขาดในกรณีที่ ที่ประชุมคณะกรรมการมีการลงคะแนนเสียง และคะแนนเสียงเท่ากัน ตลอดจนท�ำหน้าทีเ่ รียกประชุมคณะกรรมการ และเป็นประธานในทีป่ ระชุมใหญ่ผถู้ อื หุน้ ของบริษทั ฯ รวมถึงปฏิบตั หิ น้าที่ ตามกฎหมายซึ่งก�ำหนดไว้เฉพาะให้เป็นหน้าที่ของประธานกรรมการ และครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. การก�ำกับ ติดตาม และดูแลให้มนั่ ใจได้วา ่ การปฏิบตั หิ น้าทีข่ องคณะกรรมการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายหลักขององค์กร 2. การดูแลให้มั่นใจว่า กรรมการทุกคนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่มีจริยธรรม และการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี 3. การก�ำหนดวาระการประชุมคณะกรรมการโดยหารือร่วมกับประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารและมีมาตรการทีด่ แู ลให้เรือ่ งส�ำคัญได้ถกู บรรจุ เป็นวาระการประชุม 4. การจัดสรรเวลาไว้อย่างเพียงพอที่ฝ่ายจัดการจะเสนอเรื่องและมากพอที่กรรมการจะอภิปรายประเด็นส�ำคัญกันอย่างรอบคอบ โดยทั่วกัน การส่งเสริมให้กรรมการมีการใช้ดุลยพินิจที่รอบคอบ ให้ความเห็นได้อย่างอิสระ 5. การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกรรมการที่เป็นผู้บริหารและกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร และระหว่างคณะกรรมการ และฝ่ายจัดการ


47 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทในปี 2561 รายนามคณะกรรมการ

ต�ำแหน่ง

1. นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์

ประธานกรรมการ

จ�ำนวนครั้งที่เข้าร่วมประชุม 5/5

2. นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล

กรรมการ

5/5

3. นายดามพ์ นานา

กรรมการ

5/5

4. นายดนัยศิษฏ์ เปสลาพันธ์

กรรมการ

5/5

5. นายองอาจ สิงห์ล�ำพอง

กรรมการ

3/5

6. นายโสรัตน์ วณิชวรากิจ

กรรมการ

5/5

7. นายพิศิษฐ์ ดัชณาภิรมย์

กรรมการอิสระ

5/5

8. พลเอกไพโรจน์ พานิชสมัย

กรรมการอิสระ

5/5

9. นางวรรณสุดา ธนสรานาต

กรรมการอิสระ

5/5

หมายเหตุ 1. นายองอาจ สิงห์ล�ำพอง ได้รับการแต่งตั้งด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการบริษัท จากมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจ�ำปี 2561 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2561 2. นายองอาจ สิงห์ล�ำพอง ไม่ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2561 เนื่องจากติดภารกิจ

คณะกรรมการตรวจสอบ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจ�ำนวน 3 ท่าน โดยมีรายนามดังต่อไปนี้

1. นายพิศิษฐ์ ดัชณาภิรมย์ 2. พลเอกไพโรจน์ พานิชสมัย 3. นางวรรณสุดา ธนสรานาต

ประธานคณะกรรมการ กรรมการ กรรมการ

หมายเหตุ นายพิศษิ ฐ์ ดัชณาภิรมย์ คือ กรรมการตรวจสอบทีม่ คี วามรู้ และประสบการณ์ในการสอบทานงบการเงินของบริษทั ฯ โดยเป็นผูส้ อบบัญชีรบั อนุญาต เลขทะเบียน 966 รับตรวจสอบบัญชี บริษทั ต่างๆ ซึง่ ไม่ใช่บริษทั จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ 1. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อมีส่วนร่วมในการก�ำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางธุรกิจ ตลอดจนการก�ำกับดูแลกิจการ 2. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้ง ถอดถอนผู้สอบบัญชี และเสนอค่าสอบบัญชีบริษัทฯ ประจ�ำปี รวมถึงประเด็น ดังนี้ (ก) พิจารณาความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชี เช่น พิจารณาจากการให้บริการอื่นนอกเหนือจากการสอบบัญชี (non-audit service) ที่อาจท�ำให้ขาดความเป็นอิสระ เช่น การวางระบบบัญชี เป็นต้น (ข) ให้มีการประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าประชุมด้วยอย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อปี เพื่อขอความเห็นจากผู้สอบบัญชี ในเรื่องต่างๆ 3. พิจารณานโยบายและแนวทางปฏิบัติของฝ่ายตรวจสอบกลางให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง 4. พิจารณาทบทวนแผนงานการตรวจสอบประจ�ำปีของฝ่ายตรวจสอบกลาง 5. สอบทานให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายในที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิผล โดยสอบทานร่วมกับ ผู้สอบบัญชีภายในและภายนอก รวมถึงประเด็น ดังนี้


48 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

(ก) ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง และพิจารณาความดีความชอบของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง (ข) พิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายในโดยพิจารณาจากการปฏิบัติหน้าที่ และการรายงานต่างๆ รวมถึง สายงาน บังคับบัญชาของหน่วยงานนี้ 6. พิจารณารายงานผลการตรวจสอบรายไตรมาส และข้อเสนอแนะของผู้สอบบัญชีทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งติดตามผลการ ด�ำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว 7. สอบทานรายการทางการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อยรายไตรมาส ให้มีความถูกต้องเชื่อถือได้ และมีการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอ ตามกระบวนการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี 8. ดูแล และสอบทานให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือข้อก�ำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 9. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อก�ำหนด ของตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่า รายการดังกล่าว สมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ 10. พิจารณาร่วมกับผู้สอบบัญชีถึงปัญหา หรือข้อจ�ำกัดที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบงบการเงิน 11. จัดท�ำรายงานการก�ำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจ�ำปีของบริษัทฯ ซึ่งรายงานดังกล่าว ลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลดังนี้ (ก) จ�ำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน (ข) ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบในประเด็น ดังนี้ l ความถูกต้องครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัทฯ l ความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ l การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อก�ำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับธุรกิจของบริษัทฯ l ความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี l รายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ l ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (ค) รายการอื่นที่เห็นว่า ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการบริษัท 12. คณะกรรมการตรวจสอบมีอ�ำนาจเชิญกรรมการบริหาร ผู้บริหาร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล หรือ เข้าร่วมประชุมได้ 13. การปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย ด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจ�ำนวน 3 ท่าน โดยมีรายนาม ดังต่อไปนี้

1. นายพิศิษฐ์ ดัชณาภิรมย์ 2. พลเอกไพโรจน์ พานิชสมัย 3. นางวรรณสุดา ธนสรานาต

ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ


49 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน 1. พิจารณาหลักเกณฑ์ และกระบวนการในการสรรหาบุคคลทีม่ คี ุณสมบัตเิ หมาะสมเพือ่ ด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการ รวมทัง้ คัดเลือกบุคคล ตามกระบวนการสรรหาที่ได้ก�ำหนดไว้ และเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัทซึ่งจะน�ำเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นผู้แต่งตั้ง กรรมการ แบ่งได้เป็น (ก) ก�ำหนดคุณสมบัติของกรรมการที่ต้องการสรรหาให้เป็นไปตามโครงสร้าง ขนาด และองค์ประกอบของคณะกรรมการที่ คณะกรรมการก�ำหนดไว้ โดยด�ำเนินการ ดังนี้ l พิจารณาความเหมาะสมของความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของกรรมการโดยรวมว่า คณะกรรมการต้องการ กรรมการที่มีคุณสมบัติลักษณะใดบ้าง l พิ จ ารณาความเป็ น อิ ส ระของกรรมการอิ ส ระแต่ ล ะคน เพื่ อ พิ จ ารณาว่ า กรรมการอิ ส ระคนใดมี คุ ณ สมบั ติ ค รบถ้ ว นหรื อ คนใดขาดคุ ณ สมบั ติ ใ นการเป็ น กรรมการอิ ส ระ รวมทั้ ง พิ จ ารณาว่ า จ� ำ เป็ น ต้ อ งสรรหากรรมการอิ ส ระใหม่ ห รื อ ไม่ หากมีกรรมการอิสระไม่ครบตามนโยบายของคณะกรรมการ l พิจารณาการอุทิศเวลาของกรรมการ (ข) สรรหาและเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมที่จะมาด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการให้คณะกรรมการพิจารณาเพื่อเสนอชื่อให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นผู้แต่งตั้ง โดยด�ำเนินการ ดังนี้ l ก�ำหนดวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของบริษัทฯ l ด�ำเนินการพิจารณารายชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อมาและคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับเกณฑ์คุณสมบัติที่ ก�ำหนดไว้ l ตรวจสอบให้รอบคอบว่าบุคคลที่จะถูกเสนอชื่อนั้นมีคุณสมบัติตามกฎหมายและข้อก�ำหนดของหน่วยงานทางการ l ด� ำ เนิ น การทาบทามบุ ค คลที่ มี คุ ณ สมบั ติ ส อดคล้ อ งกั บ เกณฑ์ คุ ณ สมบั ติ ที่ ก� ำ หนดไว้ เพื่ อ จะได้ มั่ น ใจว่ า บุ ค คลดั ง กล่ า ว มีความยินดีจะมารับต�ำแหน่งกรรมการของบริษัท หากได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้น l เสนอชื่อให้คณะกรรมการเพื่อพิจารณาและบรรจุชื่อในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาแต่งตั้ง ต่อไป 2. พิจารณารูปแบบและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการเพื่อเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ ซึ่งจะน�ำเสนอที่ประชุม ผู้ถือหุ้นให้เป็นผู้อนุมัติ 3. พิจารณาเกณฑ์ประเมินผลประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 4. พิจารณาก�ำหนดค่าตอบแทนประจ�ำปีของกรรมการ 5. พิจารณาการเสนอขายหลักทรัพย์ใหม่ (หรือใบส�ำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น) ให้แก่กรรมการ และพนักงาน โดยให้เงื่อนไขต่างๆ จูงใจ ให้กรรมการและพนักงานปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผู้ถือหุ้นในระยะยาว และสามารถรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพ ได้อย่างแท้จริง แต่ในขณะเดียวกันต้องไม่สูงเกินไปและเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นด้วย ทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 3/2550 เมือ่ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 ได้มมี ติแต่งตัง้ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และอนุมัติขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน


50 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

คณะกรรมการบริหาร

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 คณะกรรมการบริหารของบริษัทฯ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจ�ำนวน 3 ท่าน ดังรายนามต่อไปนี้ 1. นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานกรรมการ 2. นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล กรรมการ 3. นายดามพ์ นานา กรรมการ

ขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร ทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 1/2546 เมือ่ วันที่ 28 มกราคม 2546 และทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 2/2556 เมือ่ วันที่ 14 พฤษภาคม 2556 ได้มมี ติกำ� หนดขอบเขตอ�ำนาจหน้าทีข่ องคณะกรรมการบริหาร โดยก�ำหนดให้คณะกรรมการบริหารมีอำ� นาจหน้าทีด่ งั ต่อไปนี้ 1. มีอ�ำนาจพิจารณาอนุมัติการกู้หรือให้กู้ยืมเงิน หรือการขอสินเชื่อใดๆ จากสถาบันการเงิน รวมตลอดถึงการเข้าเป็นผู้ค�้ำประกัน หรื อ การช� ำ ระหรื อ ใช้ จ ่ า ยเงิ น เพื่ อ ธุ ร กรรมตามปกติ ธุ ร กิ จ ของบริ ษั ท ฯ ทั้ ง นี้ ภายในวงเงิ น ส� ำ หรั บ แต่ ล ะรายการไม่ เ กิ น กว่ า 100 ล้านบาท หรือจ�ำนวนเทียบเท่า 2. มีอ�ำนาจแต่งตั้ง ถอดถอนเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ในต�ำแหน่งที่ไม่สูงกว่าต�ำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (เดิมใช้ชื่อต�ำแหน่งเป็น กรรมการผู้จัดการ) 3. มีอ�ำนาจจัดท�ำ เสนอแนะ และก�ำหนดนโยบายแนวทางธุรกิจ และกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทฯ ต่อคณะกรรมการ 4. จัดตั้งโครงสร้างองค์กรและการบริหาร และกรรมการบริหาร โดยให้ครอบคลุมทุกรายละเอียดของการคัดเลือก การฝึกอบรม การว่าจ้าง และการเลิกจ้างของพนักงานของบริษัทฯ 5. ก�ำหนดแผนธุรกิจ อ�ำนาจการบริหารงาน อนุมัติงบประมาณส�ำหรับประกอบธุรกิจประจ�ำปี และงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปี และด�ำเนินการตามแผนทางธุรกิจและกลยุทธ์ทางธุรกิจโดยสอดคล้องกับนโยบาย และแนวทางธุรกิจที่ได้แถลงต่อคณะกรรมการ 6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายในแต่ละช่วงเวลาจากคณะกรรมการ อนึ่ง การอนุมัติการเข้าท�ำรายการดังกล่าวข้างต้น จะต้องไม่มีลักษณะเป็นการอนุมัติการเข้าท�ำรายการที่ท�ำให้คณะกรรมการบริหาร หรือผู้รับมอบอ�ำนาจจากคณะกรรมการบริหาร สามารถอนุมัติการเข้าท�ำรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง หรือมีส่วนได้เสีย หรืออาจ มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อนื่ ใด (ตามข้อบังคับของบริษทั ฯ และตามทีส่ ำ� นักงานคณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกาศก�ำหนด) ท�ำกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย ยกเว้นเป็นการอนุมัติการเข้าท�ำรายการที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ บริษัท ได้พิจารณาอนุมัติไว้ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการมีอ�ำนาจในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารได้ตามที่ จ�ำเป็นหรือเห็นสมควร

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจ�ำนวน 2 ท่าน โดยมีรายนามดังต่อไปนี้ 1. นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานกรรมการ 2. นายดนัยศิษฏ์ เปสลาพันธ์ กรรมการ


51 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2553 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2553 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และอนุมัติ ขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยก�ำหนดให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีอ�ำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. พิจารณานโยบาย แผนงาน และการด�ำเนินงานบริหารความเสี่ยง รวมถึงให้ค�ำแนะน�ำแก่คณะกรรมการบริษัท และฝ่ายจัดการ ในเรื่องการบริหารความเสี่ยง 2. ก�ำกับ ดูแล และสนับสนุนให้การบริหารความเสี่ยงเป็นไปตามแผนงานและส�ำเร็จลุล่วงในระดับองค์กร ตลอดจนระดับโครงการ 3. พิจารณาความเสี่ยงที่ส�ำคัญของบริษัทฯ ในระดับองค์กร และประเมินการด�ำเนินงานบริหารความเสี่ยง ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ และแผนธุรกิจของบริษัทฯ 4. รายงานการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบรรษัทภิบาล

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 คณะกรรมการบรรษัทภิบาล ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จ�ำนวน 2 ท่าน โดยมีรายนามดังต่อไปนี้ 1. นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานกรรมการ 2. นายดนัยศิษฏ์ เปสลาพันธ์ กรรมการ

ขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบรรษัทภิบาล ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาล และอนุมัติ ขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบรรษัทภิบาล โดยก�ำหนดให้คณะกรรมการบรรษัทภิบาล มีอ�ำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. เสนอแนวทาง หรือนโยบายด้านการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี ต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัท 2. ทบทวน หรือปรับปรุงแนวทาง หรือนโยบายด้านการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ 3. ให้ค�ำแนะน�ำด้านการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี แก่คณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัท 4. ดูแลให้กรรมการและฝ่ายจัดการปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี

คณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 คณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของบริษทั ฯ ประกอบด้วยผูท้ รงคุณวุฒจิ ำ� นวน 3 ท่าน โดยมีรายนาม ดังต่อไปนี้ 1. นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานกรรมการ 2. นางสาวประอรศรี อุดมผล กรรมการ 3. นายชาคริต พิชญางกูร กรรมการ ขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล

1. น�ำเสนอนโยบาย และแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคล 2. พัฒนากลยุทธ์ และเทคนิควิธีเพื่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคล 3. ก�ำกับ และดูแลการด�ำเนินงานด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล 4. พิจารณา และตัดสินใจในประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล ตามแนวทางที่ได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการบริหาร


52 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

คณะผู้บริหาร

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 คณะผูบ้ ริหารของบริษทั ฯ ประกอบด้วยผูท้ รงคุณวุฒจิ ำ� นวน 6 ท่าน โดยมีรายนามดังต่อไปนี้ 1. นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 2. นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ 3. นายดามพ์ นานา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน 4. นายดนัยศิษฏ์ เปสลาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย 5. นางสาวนงลักษณ์ งามโรจน์ รองกรรมการผู้อ�ำนวยการอาวุโส 6. นายองอาจ สิงห์ล�ำพอง รองกรรมการผู้อ�ำนวยการอาวุโส

หมายเหตุ 1. ผู้บริหาร หมายถึง ผู้บริหารตามนิยามของประกาศส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ สจ.14/2540 2. นายองอาจ สิงห์ล�ำพอง ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560

ขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2546 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2546 และครั้งที่ 2/2556 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556 ได้มีมติ ก�ำหนดขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (เดิมใช้ชื่อต�ำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ) โดยก�ำหนดให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มีอำ� นาจอนุมตั ใิ นการด�ำเนินการใดๆ ที่จ�ำเป็นหรือเกี่ยวเนื่องกับการด�ำเนินงานตามธุรกิจปกติของบริษัทฯ ภายในวงเงินส�ำหรับแต่ละรายการ ไม่เกินกว่า 25 ล้านบาท หรือจ�ำนวนเทียบเท่า ทั้งนี้ การอนุมัติการท�ำรายการดังกล่าวข้างต้น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไม่มีอ�ำนาจในการ ด�ำเนินการใดๆ ในหรือเกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกัน รายการการได้มาหรือจ�ำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่ส�ำคัญของบริษัทฯ และ/หรือ รายการหรือ เรื่องที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้ส่วนเสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดที่จะ ท�ำขึน้ กับบริษทั ฯ และบริษทั ย่อย ในกรณีดงั กล่าว รายการหรือเรือ่ งดังกล่าวจะต้องน�ำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และ/หรือ คณะกรรมการ ของบริษัทฯ (แล้วแต่กรณี) เพื่อพิจารณาอนุมัติ การสรรหากรรมการและผู้บริหาร ทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 3/2550 เมือ่ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 ได้มมี ติแต่งตัง้ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และอนุมตั ขิ อบเขตอ�ำนาจหน้าทีข่ องคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ดังนัน้ การคัดเลือกบุคคลทีจ่ ะเข้าด�ำรงต�ำแหน่งเป็นกรรมการ ของบริษัทฯ ต้องผ่านคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน วิธีการสรรหากรรมการจะกระท�ำโดยคณะกรรมการสรรหาและพิจารณา ค่าตอบแทนจะเป็นผูพ้ จิ ารณาคัดเลือกตามเกณฑ์คณ ุ สมบัตติ ามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัตบิ ริษทั มหาชนจ�ำกัด พ.ศ. 2535 และตามประกาศ คณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงความหลากหลายของทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ และความสามารถเฉพาะเพือ่ ประโยชน์และการพัฒนากิจการของบริษทั ฯ รวมทัง้ การอุทศิ เวลา และความพยายามในการปฏิบตั หิ น้าที่ จากนัน้ จึงน�ำ รายชือ่ เสนอคณะกรรมการบริษทั และทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ เพือ่ พิจารณาแต่งตัง้ ในการแต่งตัง้ คณะกรรมการของบริษทั ฯ ทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ เป็นผูแ้ ต่งตัง้ กรรมการ โดยใช้เสียงข้างมากตามหลักเกณฑ์และวิธกี ารดังต่อไปนี้ 1. ผูถ้ อื หุน้ คนหนึง่ มีคะแนนเสียงเท่ากับหนึง่ หุน้ ต่อเสียงหนึง่ 2. ให้ผถู้ อื หุน้ ออกเสียงลงคะแนนเลือกตัง้ กรรมการเป็นรายบุคคลไป 3. บุคคลซึง่ ได้รบั คะแนนเสียงสูงสุดตามล�ำดับลงมาเป็นผูไ้ ด้รบั การเลือกตัง้ เป็นกรรมการเท่าจ�ำนวนกรรมการทีจ่ ะพึงมีหรือจะพึงเลือกตัง้ ในครัง้ นัน้ ในกรณีทบี่ คุ คลซึง่ ได้รบั การเลือกตัง้ ในล�ำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจ�ำนวนทีจ่ ะพึงมีหรือจะพึงเลือกตัง้ ในครัง้ นัน้ ให้ผเู้ ป็นประธานเป็นผูอ้ อกเสียงชีข้ าด


53 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

เลขานุการบริษัท คณะกรรมการบริษทั ได้แต่งตัง้ ให้ประธานเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยปฏิบตั กิ าร ท�ำหน้าทีเ่ ป็นเลขานุการบริษทั ซึง่ ปัจจุบนั คือ นางพรพรรณ เตชรุง่ ชัยกุล เพือ่ ให้การด�ำเนินการของบริษทั ฯ เป็นไปตามหลักการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ ี (Good Corporate Governance) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชื่อสกุล

นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล

ต�ำแหน่ง

กรรมการ กรรมการบริหาร ประธานกรรมการบรรษัทภิบาล ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง ประธานกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เลขานุการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ

อายุ

48 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา

ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) สถาบันศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาตรี สถิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Executive Development Program รุ่นที่ 4 (EDP 4) ปี 2552 สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง (หลักสูตร วตท.) รุ่นที่ 23 สถาบันวิทยาการตลาดทุน

สัดส่วนการถือหุ้น

ไม่มี

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร

ไม่มี

ประสบการณ์ท�ำงาน

2551 - ปัจจุบัน เลขานุการบริษัท บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) 2550 - ปัจจุบัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) 2547 - ปัจจุบัน กรรมการบริษัท และกรรมการบริหาร บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน)


54 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ค่าตอบแทนผู้บริหาร ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน

1. กรรมการบริษัท

ปี 2561

รายการ

จ�ำนวน (ท่าน)

จ�ำนวนเงิน (บาท)

รายละเอียดค่าตอบแทน

กรรมการบริษัท

9

1,885,000

ค่าตอบแทนประจ�ำปีและเบี้ยประชุม

กรรมการตรวจสอบ

3

2,200,000

ค่าตอบแทนประจ�ำและเบี้ยประชุม

โดยมีรายละเอียดค่าตอบแทนประจ�ำปี และเบีย้ ประชุมกรรมการบริษทั เป็นรายบุคคลดังนี้ ปี 2561 ล�ำดับ

รายนามกรรมการบริษัท

ค่าตอบแทนประจ�ำ ค่าตอบแทนประจ�ำปี (บาท) (บาท)

ค่าเบี้ยประชุม (บาท)

1

นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์

-

-

125,000

2

นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล

-

-

100,000

3

นายดามพ์ นานา

-

-

100,000

4

นายดนัยศิษฏ์ เปสลาพันธ์

-

-

100,000

5

นายองอาจ สิงห์ล�ำพอง

-

-

60,000

6

นายโสรัตน์ วณิชวรากิจ

-

-

100,000

7

นายพิศิษฐ์ ดัชณาภิรมย์

-

400,000

100,000

8

พลเอกไพโรจน์ พานิชสมัย

-

300,000

100,000

9

นางวรรณสุดา ธนสรานาต

-

300,000

100,000

รวมทั้งหมด

-

1,000,000

885,000

หมายเหตุ 1. ค่าตอบแทนกรรมการนี้เป็นผลประโยชน์ที่จ่ายให้แก่กรรมการของบริษัทฯ ตามมาตรา 90 ของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จ�ำกัด พ.ศ. 2535 ( โดยไม่รวมเงินเดือน และผลประโยชน์ทเี่ กีย่ วข้องทีจ่ า่ ยให้กบั กรรมการซึง่ ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นผูบ้ ริหารของบริษทั ฯ ด้วย) และการเป็นกรรมการบริษทั ย่อย ไม่ได้รบั ค่าตอบแทน 2. นายองอาจ สิงห์ลำ� พอง ได้รบั การแต่งตัง้ ด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการบริษทั จากมติทปี่ ระชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจ�ำปี 2561 เมือ่ วันที่ 4 เมษายน 2561


55 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

2. กรรมการบริหารและผู้บริหารของบริษัทฯ

รายการ

ปี 2561 จ�ำนวน (ท่าน)

จ�ำนวนเงิน (ล้านบาท)

รายละเอียดค่าตอบแทน

กรรมการบริหาร

3

-

-

ผู้บริหาร

6

103.56

เงินเดือน โบนัส และสวัสดิการอื่นๆ

ในปี 2561 บริษทั ได้จา่ ยเงินสมทบกองทุนส�ำรองเลีย้ งชีพส�ำหรับผูบ้ ริหาร 6 ราย จ�ำนวนเงินรวมประมาณ 2.21 ล้านบาท

ค่าตอบแทนอื่น

-ไม่ม-ี

บุคลากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 กลุ่มบริษัทฯ มีจ�ำนวนพนักงานทั้งหมด 1,468 คน ประกอบด้วยพนักงานใน บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) 458 คน และบริษัทในเครือ 1,010 คน และได้จ่ายผลตอบแทนเป็นจ�ำนวนเงินรวมประมาณ 833.53 ล้านบาท โดยเป็นผลตอบแทนในรูปของ เงินเดือน โบนัส และค่าใช้จา่ ยบุคลากรอืน่ ๆ ตลอดจนเงินสมทบกองทุนส�ำรองเลีย้ งชีพส�ำหรับพนักงาน จ�ำนวนเงินรวมประมาณ 20.30 ล้านบาท

นโยบายการพัฒนาทรัพยากรบุคคล 1. บริษัทฯ ค�ำนึงถึงความส�ำคัญของพนักงานในฐานะทุนมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งเป็นปัจจัยส�ำคัญที่สุดที่จะผลักดันให้องค์กรบรรลุ สู่เป้าหมายได้ จึงก�ำหนดให้มีแผนงานและมีการจัดสรรงบประมาณในแต่ละปีไว้อย่างชัดเจน และมีการจัดระดับการพัฒนาทรัพยากร บุคคล ไว้ 3 ระดับคือการพัฒนาองค์กร (Organization Development) การพัฒนาอาชีพ (Career Development) และ การฝึกอบรมและพัฒนา (Training Development) โดยในปี 2561 ได้จัดการอบรมรวมทั้งสิ้น 8 หลักสูตร จ�ำนวน 13 รุ่น แบ่งเป็นจัดฝึกอบรมภายในเป็นจ�ำนวน 154 ชัว่ โมง และฝึกอบรมภายนอกเป็นจ�ำนวน 473.5 ชัว่ โมง รวมทัง้ หมด 627.5 ชัว่ โมง แบ่งเป็น 1.1 การพัฒนาองค์กร (Organization Development) ได้ส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมองค์กรภายในของกลุ่มบริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ช่วงการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ ผ่านกิจกรรม Welcome Day และการใช้งานโปรแกรม Lotus Notes จัดทั้งหมด 10 รุ่น จ�ำนวนผู้เข้าอบรม 160 คน 1.2 การพัฒนาอาชีพของพนักงาน (Career Development) ได้ก�ำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) และ ก�ำหนดหลักเกณฑ์การเลื่อนต�ำแหน่ง/ปรับระดับต�ำแหน่ง (Promotion Path) 1.3 การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน (Training Development) ได้ก�ำหนดแนวทางการพัฒนาโดยใช้กรอบของความสามารถ (Competency Base Training) ประกอบกับผลส�ำรวจความจ�ำเป็นในการฝึกอบรม (Training Need) โดยมีวิธีการพัฒนา ทั้งในส่วนของการส่งไปฝึกอบรมภายนอก (Public Training) ได้แก่ อบรมด้านวิศวกรรมโทรทัศน์ ปี 2561 รุ่นที่ 2 ผู้เข้า อบรมจ�ำนวน 2 คน และจัดฝึกอบรมภายใน (In-house Training) ที่ครอบคลุมทั้งด้านการพัฒนาความรู้ (Knowledge Development) การพัฒนาทัศนคติ (Attitude Development) และการพัฒนาทักษะ (Skill Development) ได้แก่ 1 ) ระบบพื้นฐานงานออกอากาศสถานีโทรทัศน์ จ�ำนวน 2 รุ่น ผู้เข้าอบรมจ�ำนวน 57 คน 2) ความเข้าใจในการท�ำงานHR (HR Issue) จ�ำนวน 1 รุ่น ผู้เข้าอบรมจ�ำนวน 54 คน


56 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัทฯ ยังได้จัดอบรมตามที่กฎหมายก�ำหนด ได้แก่ 1) ความปลอดภัยส�ำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้างานใหม่ จ�ำนวน 4 รุ่น ผู้เข้า อบรมจ�ำนวน 166 คน 2) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการท�ำงานระดับบริหาร จ�ำนวน 1 รุ่น ผู้เข้าอบรมจ�ำนวน 12 คน 3) เจ้าหน้าที่ความ ปลอดภัยในการท�ำงานระดับหัวหน้างาน จ�ำนวน 1 รุ่น ผู้เข้าอบรมจ�ำนวน 16 คน และ 4) การดับเพลิงขั้นต้น จ�ำนวน 1 รุ่น ผู้เข้าอบรมจ�ำนวน 57 คน 5) คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท�ำงานของสถานประกอบกิจการ จ�ำนวน 1 รุ่น ผู้เข้าอบรม จ�ำนวน 45 คน 2. บริษทั ฯ ให้ความส�ำคัญกับการสร้างความผูกพัน (Engagement) ของพนักงานในองค์กรมาอย่างต่อเนือ่ ง โดยจัดให้มกี จิ กรรมต่างๆ เช่น กิจกรรม We Applause ที่ไปร่วมปรบมือเพื่อแสดงความยินดีกับพนักงานเป็นรายบุคคลหรือหน่วยงาน เมื่อมีเรื่องความส�ำเร็จ หรือท�ำงานตามแผนได้ตามหรือเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ใน KPI กิจกรรม Job Switching ที่ให้ผู้เข้าร่วมโปรเจ็คได้ลองท�ำงานในบทบาทอื่นๆ ที่ตรงข้ามกับหน้าที่งานของตัว เพื่อให้เกิดความ ยอมรับนับถือในหน้าที่งานของฝ่ายอื่นๆ กิจกรรมสวัสดีวันพุธสีเขียว รณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าและพกแก้วน�้ำมาใช้ กิจกรรมให้ก�ำลังใจ สร้างความรักและภูมิใจในงานของตัวเองให้กับพนักงาน Telesales 1781 อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ กิจกรรมเธอ คือหัวใจของ Lifestar, Luck is all around กิจกรรมเพื่อสร้างความใกล้ชิดและมีส่วนร่วมระหว่างพนักงานกับพนักงาน พนักงานกับศิลปิน รวมไปถึงพนักงานกับผู้บริหาร ได้แก่ Meet&Greet กับศิลปินที่ก�ำลังมีผลงานขณะนั้น การนัดกันแต่งซิ่นตามกระแสละครซิ่นลายหงส์ ประกวดการแต่งกายสไตล์ ภารตะซีรีส์อินเดีย หรือการส่งคลิปร่ายมนต์เรียกหลัวตามละครเสน่ห์นางครวญ Passion To Win Birthday Voucher มอบเครื่องดื่มสุดพิเศษแด่พนักงานในเดือนเกิดให้กับทุกคนและทุกเดือน เป็นต้น 3. จากการที่บริษัทฯ ได้ประกาศนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท�ำงาน โดยจัดให้มีตัวแทนพนักงาน ทุ ก ระดั บ ร่ ว มเป็ น คณะท� ำ งานด้ า นความปลอดภั ย ในระดั บ ต่ า งๆ เพื่ อ ขั บ เคลื่ อ นนโยบายด้ า นความปลอดภั ย ให้ เ ห็ น ผลเป็ น รูปธรรมและสอดคล้องตามกฎหมายและมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง ในปี 2561 บริษทั ฯ ได้ขยายผลและติดตามการด�ำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ โดยน�ำแผนงานไปปฏิบตั กิ บั พนักงานทุกระดับเพือ่ ปรับปรุง การด�ำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เช่น 1) ลงพื้นที่ตรวจสอบ รายงาน และติดตามการแก้ไขจุดเสี่ยงภัยในพื้นที่การท�ำงาน 2) ปรับปรุงพื้นที่การท�ำงาน ในจุดที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและท�ำการติดป้ายสัญลักษณ์ด้านความปลอดภัยต่างๆ 3) ปรับปรุงระบบทางหนีไฟ ปรับปรุงป้ายบอกทางหนีไฟ และไฟส่องสว่างฉุกเฉินให้อยู่ในมาตรฐานที่ก�ำหนด 4) ตรวจสอบสภาพถังดับเพลิงในแต่ละตึกตามระยะเวลาที่ก�ำหนด และ 5) เก็บสถิติการเกิด อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยของพนักงานที่ใช้บริการห้องพยาบาลของบริษัทฯ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ แนวทางแก้ไขและให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการท�ำงานเพือ่ ให้พนักงานน�ำไปปรับเปลีย่ นพฤติกรรมการท�ำงานให้มคี วามปลอดภัยและมีสขุ ภาพทีด่ ี เป็นต้น ทั้งนี้ ในปี 2561 อัตราการเจ็บป่วยของพนักงานที่ใช้บริการห้องพยาบาลของบริษัทฯ อยู่ที่ประมาณร้อยละ 7.75 ต่อเดือน


57 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

การก�ำกับดูแลกิจการ บริษัทฯ ได้ก�ำหนดนโยบายเกี่ยวกับการก�ำกับดูแลกิจการ โดยให้ความส�ำคัญต่อระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายใน และมุ่งเน้น การก�ำกับดูแลฝ่ายบริหารให้ด�ำเนินการตามนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ระยะยาวของผู้ถือหุ้น รวมทั้งมุ่งเน้นเรื่องความโปร่งใส ในการด�ำเนินกิจการ การเปิดเผยข้อมูล และการบริหารความเสีย่ งทีเ่ หมาะสม ตลอดจนความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน ในปี พ.ศ. 2561 บริษัทฯ ได้รับการจัดอันดับที่ Very Good CG Scoring จากผลส�ำรวจการก�ำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย ประจ�ำปี พ.ศ. 2561

สรุปการปฏิบัติตามหลักการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีในปี 2561 ดังนี้

นโยบายการก�ำกับดูแลกิจการ คณะกรรมการบริษทั ได้กำ� หนดให้มนี โยบายการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ ขี องบริษทั ฯ อย่างเป็นลายลักษณ์อกั ษร จัดให้มกี ารพิจารณาทบทวน นโยบายการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ แี ละคูม่ อื จรรยาบรรณของกลุม่ บริษทั ฯ รวมถึงติดตามประเมินผลการปฏิบตั ติ ามนโยบายดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และบริษัทฯ ได้เผยแพร่ให้กรรมการและพนักงานเพื่อใช้อ้างอิงและถือปฏิบัติ รวมทั้งเผยแพร่บนเว็บไซต์ภายในของบริษัทฯ คณะกรรมการมีกระบวนการในการทบทวนการน�ำหลักการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ สี ำ� หรับบริษทั จดทะเบียนปี 2560 ไปปรับใช้ให้เหมาะสม กับบริบททางธุรกิจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ได้มีการพิจารณาทบทวน ปรับปรุง อนุมัตินโยบาย การก�ำกับดูแลกิจการทีด่ แี ละคูม่ อื จรรยาบรรณของกลุม่ บริษทั ฯ ทัง้ ติดตามประเมินผลการปฏิบตั ติ ามนโยบายดังกล่าว และคณะกรรมการตระหนัก ถึงบทบาทหน้าที่ในฐานะผู้น�ำ (governing body) ขององค์กร และมีกรรมการเกินกว่ากึ่งหนึ่งที่ได้ศึกษาหลักปฏิบัติตาม CG Code จนเข้าใจ ประโยชน์และหลักปฏิบัติในการน�ำไปใช้สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืนเป็นอย่างดีแล้ว รวมทั้งได้ประเมินการปฏิบัติตามหลักปฏิบัติใน CG Code แต่ละข้อ เพื่อให้มั่นใจว่า มีกระบวนการที่ได้ปรับใช้ หรือมีแผนพัฒนาให้เหมาะสมกับธุรกิจแล้ว นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ปฏิบัติตามหลักการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี ส�ำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 (Corporate Governance Code for listed companies 2017) ซึ่งก�ำหนดโดยคณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี ส�ำหรับ บริษัทจดทะเบียนที่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก�ำหนด ครอบคลุมแนวทางปฏิบัติเป็น 5 หมวด ได้แก่

สิทธิของผู้ถือหุ้น l การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน l บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย l การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส l ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ l

สิทธิของผู้ถือหุ้น บริษทั ฯ ได้ให้ความส�ำคัญและเคารพสิทธิของผูถ้ อื หุน้ โดยปฏิบตั ติ ามหลักเกณฑ์ทกี่ ฎหมายก�ำหนด ใน ปี 2561 บริษทั ฯ จัดประชุมสามัญ ผู้ถือหุ้นวันที่ 4 เมษายน 2561 ซึ่งกรรมการทุกท่าน ที่อยู่ในต�ำแหน่งได้เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น (รายชื่อกรรมการบริษัทที่เข้าประชุมผู้ถือหุ้น ดูรายละเอียดได้ที่รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น) บริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมและอ�ำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้น รวมถึงนักลงทุนสถาบัน ในการเข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้น โดยบริษัทฯ เลือกสถานที่จัดการประชุมมีระบบขนส่งมวลชนเข้าถึงและเพียงพอเพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถเดินทางเข้าร่วมการประชุมได้สะดวก


58 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษทั ฯ มีนโยบายการปฏิบตั กิ บั ผูถ้ อื หุน้ อย่างเท่าเทียมกัน โดยตระหนักถึงความส�ำคัญของสิทธิของผูถ้ อื หุน้ ในการเข้าถึงข้อมูลของบริษทั ฯ อย่างเพียงพอและทันเวลา ในการจัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทฯ จะจัดส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมทั้งข้อมูลประกอบการประชุมตามวาระต่างๆ ให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าก่อนวันประชุมอย่างน้อย 7 วัน ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายก�ำหนด ในปี 2561 บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด ซึ่งเป็นนายทะเบียนหุ้นของบริษัทฯ เป็นผู้จัดส่งหนังสือเชิญประชุมให้แก่ ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือ 14 วัน แล้วแต่กรณีที่กฎหมายก�ำหนด ในปี 2561 บริษทั ฯ ได้จดั ส่งหนังสือนัดประชุม พร้อมทัง้ ข้อมูลประกอบการประชุมตามวาระต่างๆ ให้ผถู้ อื หุน้ ทราบล่วงหน้าก่อนวันประชุม ในระยะเวลาที่กฎหมายก�ำหนด ซึ่งในแต่ละวาระมีหลักการและเหตุผลและความเห็นของคณะกรรมการบริษัทประกอบ นอกจากนั้น บริษัทฯ ได้เผยแพร่หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น และ เอกสารประกอบการประชุม ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษไว้ที่เว็บไซต์ของบริษัทฯ http://www. rs.co.th/investor.html ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 30 วัน และเผยแพร่รายงานประจ�ำปี ไว้ที่ เว็บไซต์ของบริษัทฯ ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ถือหุ้น ส่วนรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่จัดในปี 2561 ได้น�ำไปโพสต์ไว้ภายใน 14 วัน หลังการประชุมผู้ถือหุ้นแล้วเสร็จ บริษัทฯ ได้จัดการประชุมผู้ถือหุ้น โดยก่อนเริ่มประชุม ประธานในที่ประชุมได้มอบหมายให้เลขานุการบริษัท ชี้แจงวิธีการออกเสียงลงคะแนนให้ที่ประชุมทราบ ในระหว่างการประชุม ประธานในที่ประชุมเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน ในการสอบถามเพิ่มเติม แสดงความคิดเห็นก่อนการออกเสียงลงคะแนนในทุกวาระ และสนับสนุนให้มีการใช้บัตรลงคะแนนเสียงในวาระที่ส�ำคัญ เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ รายงานการประชุมถูกจัดท�ำขึ้นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เสร็จสมบูรณ์ ในเวลาที่กฎหมายก�ำหนด และมีระบบ การจัดเก็บที่ดีเพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบได้ ในปี 2561 บริษัทฯ ดูแลผู้ถือหุ้นมากกว่าสิทธิตามกฎหมาย เช่น การให้ข้อมูลส�ำคัญที่เป็นปัจจุบันผ่านเว็บไซต์ และไม่มีการลิดรอนสิทธิ ของผู้ถือหุ้นในการศึกษาสารสนเทศของบริษัทฯ ที่ต้องเปิดเผยตามข้อก�ำหนดต่างๆ และการเข้าประชุมผู้ถือหุ้น ได้แก่ ไม่เพิ่มวาระการประชุม หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลส�ำคัญโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า ไม่แจกเอกสารที่มีข้อมูลส�ำคัญเพิ่มเติมในที่ประชุมผู้ถือหุ้นอย่างกะทันหัน และไม่จ�ำกัดสิทธิในการเข้าประชุมของผู้ถือหุ้นที่มาสาย เป็นต้น และในระหว่างการประชุมผู้ถือหุ้น ประธานในที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้น มีสิทธิอย่างเท่าเทียมกันในการสอบถาม แสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับผลการด�ำเนินงานของบริษัทฯ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ ผู้ถือหุ้นส่งค�ำถามล่วงหน้าก่อนวันประชุม โดยส่งค�ำถามผ่านเว็บไซต์ของบริษัทฯ หรือส่งจดหมายถึงคณะกรรมการบริษัท ซึ่งการให้สิทธิของ ผู้ถือหุ้นและการส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิเป็นไปตามนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี

การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน ส�ำหรับผูถ้ อื หุน้ ทีไ่ ม่สะดวกเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง บริษทั ฯ เสนอให้มอบฉันทะให้กรรมการอิสระซึง่ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ เข้าประชุมและลงคะแนนเสียงแทน ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2561 มีผู้ถือหุ้นจ�ำนวน 336 ราย มอบฉันทะให้ประธานกรรมการตรวจสอบ ซึ่งเป็นกรรมการอิสระที่บริษัทฯ เสนอเป็นผู้รับมอบฉันทะ ให้ออกเสียงแทน เมือ่ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 บริษทั ฯ ได้เผยแพร่ขอ้ มูลถึงผูถ้ อื หุน้ ผ่านเว็บไซต์ของบริษทั ฯ เพือ่ ให้ผถู้ อื หุน้ ส่วนน้อยเสนอเรือ่ งเพือ่ บรรจุ เป็นวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น พร้อมทั้งก�ำหนดกฎเกณฑ์ท่ีชัดเจนล่วงหน้าส�ำหรับการพิจารณาการเพิ่มวาระที่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเสนอ และ บริษัทฯ ก�ำหนดวิธีการให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการพิจารณาด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการ พร้อมข้อมูลประกอบการพิจารณา ด้านคุณสมบัติและการให้ความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อ อย่างไรก็ตาม ไม่มีผู้เสนอเรื่องเพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น และ ไม่มีผู้เสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ บริษทั ฯ มีมาตรการป้องกันกรรมการและผูบ้ ริหารใช้ขอ้ มูลภายในเพือ่ หาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผูอ้ นื่ ในทางมิชอบเป็นลายลักษณ์อกั ษร ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทก�ำหนดให้กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้างของบริษัทฯ รายงานรายการที่อาจมีความขัดแย้งของ ผลประโยชน์ของตนและผูเ้ กีย่ วข้องต่อคณะกรรมการ โดยส่งข้อมูลให้แก่สำ� นักกฎหมาย เพือ่ น�ำเสนอต่อคณะกรรมการบริษทั และให้คณะกรรมการ สามารถพิจารณาธุรกรรมของบริษัทฯ ที่อาจมีความขัดแย้งของผลประโยชน์ และสามารถตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ โดยรวม ทั้งนี้ กรรมการและผู้บริหารที่มีส่วนได้เสียกับธุรกรรมที่ท�ำกับบริษัทฯ ไม่ให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจท�ำธุรกรรมดังกล่าว ดังรายละเอียดที่ได้เปิดเผย


59 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ในหัวข้อการดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน อีกทั้ง คณะกรรมการบริษัทก�ำหนดให้ในการท�ำรายการระหว่างกันนั้นจะต้องเป็นไปตามข้อก�ำหนด ทีเ่ กีย่ วข้องของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังรายละเอียดทีไ่ ด้เปิดเผยในหัวข้อมาตรการ หรือขัน้ ตอนการอนุมตั กิ ารท�ำรายการระหว่างกัน ตั้งแต่ปี 2551 คณะกรรมการบริษัทได้ก�ำหนดนโยบายห้ามกรรมการและผู้บริหารระดับสูง* ซื้อขายหุ้นบริษัทฯ ในช่วง 3 สัปดาห์ก่อนงบการเงิน เผยแพร่และ 2 วันหลังเปิดเผยงบการเงิน บริษทั ฯ ก�ำหนดข้อห้ามไม่ให้มกี ารใช้โอกาสหรือข้อมูลทีไ่ ด้จากการเป็นกรรมการ ผูบ้ ริหาร หรือพนักงานในการหาประโยชน์สว่ นตน หรือ ท�ำธุรกิจแข่งขันกับบริษทั ฯ หรือธุรกิจทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง รวมทัง้ ไม่ใช้ขอ้ มูลภายในเพือ่ ประโยชน์ของตนในการซือ้ ขายหุน้ ของบริษทั ฯ ไว้ในคูม่ อื จรรยาบรรณ และได้เปิดเผยไว้ในหัวข้อการดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน หมายเหตุ * หมายถึง ผูบ้ ริหารตามนิยามของส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทีม่ หี น้าทีร่ ายงานการเปลีย่ นแปลงการถือครอง หลักทรัพย์ตามกฎหมาย

บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทฯ ให้ความส�ำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ทั้งผู้มีส่วนได้เสียภายใน ได้แก่ พนักงาน ผู้บริหารของบริษัทฯ และบริษัทย่อย หรือผู้มีส่วนได้เสียภายนอก ได้แก่ คู่แข่ง เจ้าหนี้ ภาครัฐและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากบริษัทฯ ตระหนักถึงแรงสนับสนุนจากผู้มีส่วน ได้เสียโดยเฉพาะอย่างยิง่ ชุมชนและสังคม ซึง่ ให้ความส�ำคัญอย่างสม�ำ่ เสมอ (ดูตวั อย่างในหัวข้อบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคมและนโยบาย การพัฒนาทรัพยากรบุคคล) รวมทั้งบริษัทฯ ได้จัดให้มีระเบียบและแนวปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษร รวมถึงก�ำหนดบทลงโทษทางวินัย เพื่อให้ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของกลุ่มบริษัทอาร์เอส เป็นต้น ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของ บริษทั ฯ ด้วยความซือ่ สัตย์สจุ ริตและมีจริยธรรม ทัง้ การปฏิบตั ติ อ่ บริษทั ฯ และผูม้ สี ว่ นได้เสียกลุม่ ต่างๆ ส่วนเนือ้ หาของคูม่ อื จรรยาบรรณของกลุม่ บริษัทฯ ครอบคลุมในเรื่องจรรยาบรรณในการด�ำเนินธุรกิจและจรรยาบรรณของพนักงาน ซึ่งได้แก่ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ มีโครงการ “สวัสดีวันพุธสีเขียว” ที่รณรงค์ให้พนักงานลดการใช้แก้วพลาสติก โดยมอบส่วนลดค่าเครื่องดื่มหากน�ำแก้วมาเอง และร่วมกันปลุกกระแสการใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก และยังมีการประชาสัมพันธ์แนวทางรักษ์โลกด้วยวิธีง่ายๆ ที่ท�ำได้ในชีวิตประจ�ำวันของ ผู้บริหาร ศิลปิน CoolJ และพนักงานออกเผยแพร่ทางสื่อของบริษัททุกสัปดาห์ ตามนโยบายที่จะด�ำเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยค�ำนึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่พึงมีต่อประเทศชาติ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนด�ำเนินธุรกิจและควบคุมให้มีการ ปฏิบัติภายใต้กรอบของกฎหมาย รวมถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน และน�ำความรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจมาพัฒนาโครงการ ที่สามารถสร้างเสริมประโยชน์ต่อชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม ส่วนทางด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการป้องกัน ลด จัดการ และดูแลให้มั่นใจว่าบริษัทฯ จะไม่สร้างหรือก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมการใช้พลังงานในส�ำนักงาน การใช้น�้ำ การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น รวมถึงมุ่งมั่นผลักดันให้เกิดกระแสพัฒนาคุณภาพของสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งที่ด�ำเนินการเองและร่วมมือ กับรัฐและชุมชน ตลอดจนส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและต่อเนื่องให้แก่พนักงานและลูกจ้างทุกระดับ ในการ ปฏิบตั ติ นเป็นคนดีทำ� ประโยชน์ให้กบั ชุมชนและสังคม รวมทัง้ สนับสนุนให้พนักงานและลูกจ้างมีสว่ นร่วมสร้างสรรค์กจิ กรรมต่างๆ เพือ่ ชุมชน และ สังคมอย่างสม�่ำเสมอ อันก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่ดีในองค์กรต่อไป โดยมีการติดตาม และวัดผลความคืบหน้าและความส�ำเร็จในระยะยาว เพื่อให้ แน่ใจว่า บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามนโยบายเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนบริษัทฯ ได้สนับสนุนให้มีกิจกรรมรณรงค์การใช้ทรัพยากรอย่าง รู้คุณค่าในองค์กร เช่น บริษัทสนับสนุนให้ลดการใช้กระดาษ โดยทดแทนด้วยวิธีอื่นแทน เช่น ใช้ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ท�ำให้บริษัทฯ สามารถลดการใช้กระดาษลงไปได้อย่างมาก และสนับสนุนการใช้กระดาษสองหน้า การช่วยกันประหยัดพลังงาน เช่น ปิดแอร์และปิดไฟ ช่วงระหว่างพัก รวมถึงการให้ข่าวสารข้อมูลความรู้ พร้อมทั้งรณรงค์การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด เป็นต้น (ดูตัวอย่างในหัวข้อบทบาทและ ความรับผิดชอบต่อสังคมและนโยบายการพัฒนาทรัพยากรบุคคล)


60 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ลูกค้า บริษัทฯ มุ่งมั่นในการจ�ำหน่ายสินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพกับลูกค้าของบริษัทฯ โดยปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐาน ทีเ่ กีย่ วข้อง การค�ำนึงถึงสุขภาพ ความปลอดภัย ความเป็นธรรม การเก็บรักษาข้อมูลลูกค้า การบริการหลังการขายตลอดช่วงอายุสนิ ค้าและบริการ การติดตามวัดผลความพึงพอใจของลูกค้าเพื่อการพัฒนาปรับปรุงสินค้าและบริการ รวมทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขาย อย่างมีความรับผิดชอบ ไม่ท�ำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือใช้ประโยชน์จากความเข้าใจผิดของลูกค้า และรับผิดชอบในการปฏิบัติตามสัญญาอย่าง เคร่งครัด ตลอดจนมีหน่วยงานให้บริการ ดูแล ชี้แจงข้อสงสัย และแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับลูกค้า ผู้ถือหุ้น บริษัทฯ บริหารงานด้วยความรู้ความสามารถที่ดี มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผลการด�ำเนินงานที่ดี โดยค�ำนึงถึงความเสี่ยงในปัจจุบันและ อนาคต ตลอดจนให้เกิดผลตอบแทนที่เหมาะสมต่อผู้ถือหุ้น และควบคุมดูแลให้เป็นที่มั่นใจได้ว่า ได้มีการรายงานผลการปฏิบัติงาน และสถานะ ทางการเงินของบริษัทฯ ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้องครบถ้วน พนักงานและลูกจ้าง บริษัทฯ ถือว่าพนักงานและลูกจ้างเป็นสมบัติอันมีค่าของบริษัทฯ ดังนั้นคุณค่าของพนักงานและลูกจ้างจึงถือเป็นเรื่องส�ำคัญ โดยปฏิบัติ ให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติต่อพนักงานและลูกจ้างอย่างเป็นธรรม รวมถึงเคารพสิทธิมนุษยชน ซึ่งบริษัทฯ จัดให้ มีสวัสดิการทีเ่ หมาะสมแก่พนักงาน ทีไ่ ม่นอ้ ยกว่าทีก่ ฎหมายก�ำหนด ให้ผลตอบแทนและค่าผลประโยชน์อนื่ ๆ ทีเ่ ป็นธรรมและเหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน ให้สอดคล้องกับผลการด�ำเนินงานของบริษัทฯ ในระยะสั้น ได้แก่ เงินเดือน โบนัส และกองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ และสอดคล้องกับผลการด�ำเนินงานของบริษัทในระยะยาว ได้แก่ การวัดผลการปฏิบัติงานพนักงาน ตาม Key Performance Indicators (KPI) และการจ่ายผลตอบแทนของอุตสาหกรรมเดียวกัน รวมถึงกลุ่มบริษัทอาร์เอสให้ความส�ำคัญกับ การรักษาสุขภาพอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการท�ำงานให้มคี วามปลอดภัยต่อชีวติ และทรัพย์สนิ ของพนักงานอยูเ่ สมอ การอบรม ให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ และส่งเสริมความก้าวหน้า รวมถึงเปิดโอกาสให้พนักงานมีโอกาสพัฒนาทักษะการท�ำงานในด้านอืน่ ๆ และยึดมัน่ ปฏิบตั ิ ตามกฎหมายแรงงาน ทัง้ นีบ้ ริษทั ฯ จัดให้มกี ารตรวจสุขภาพพนักงาน การประกันชีวติ และสุขภาพพนักงาน รวมถึงจัดให้มกี ารตรวจสอบความปลอดภัย ของสถานที่ท�ำงานสม�่ำเสมอ

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ได้มีการพิจารณาและอนุมัตินโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท�ำงาน

บริษัทฯ ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมให้ความรู้แก่พนักงาน กรรมการ และผู้บริหาร เป็นต้น (ดูตัวอย่างในหัวข้อบทบาทและความรับผิดชอบ ต่อสังคมและนโยบายการพัฒนาทรัพยากรบุคคล) คู่ค้าและเจ้าหนี้ บริษัทฯ ตั้งมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต และเที่ยงธรรมต่อคู่ค้า โดยค�ำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ มีกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและ เงื่อนไขสัญญาหรือข้อตกลงที่เป็นธรรม โดยอยู่บนพื้นฐานของการได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย หลีกเลี่ยงความล�ำเอียง หรือ สถานการณ์ทที่ ำ� ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ตลอดจนยึดมัน่ และถือปฏิบตั ติ ามสัญญา เงือ่ นไขตามข้อตกลง และหน้าทีท่ พี่ งึ มีตอ่ คูค่ า้ และ เจ้าหนี้ รวมถึงการช่วยให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพและยกระดับความสามารถในการผลิตและให้บริการให้ได้มาตรฐาน ชีแ้ จงและดูแลให้คคู่ า้ เคารพ สิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อแรงงานตนเองอย่างเป็นธรรม รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลคู่ค้า เพื่อพัฒนาการประกอบธุรกิจระหว่างกันอย่างยั่งยืน หากเกิดกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาที่ตกลงกันไว้ได้ บริษัทฯ จะแจ้งให้ เจ้าหนี้ทราบล่วงหน้าเพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทฯ มีการวางแผนการบริหารสภาพคล่องเพื่อ เตรียมพร้อมส�ำหรับการช�ำระคืนหนีใ้ ห้แก่เจ้าหนีข้ องบริษทั ตามระยะเวลาทีค่ รบก�ำหนด อีกทัง้ บริษทั ฯ ไม่สนับสนุนการทุจริตและการจ่ายสินบน เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจของบริษัทฯ (ดูรายละเอียดได้ในหัวข้อนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน)


61 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัทฯ มีเกณฑ์การคัดเลือกคู่ค้า/ผู้ขาย/ให้บริการภายนอก ดังนี้

l

คุณภาพของสินค้าและบริการ

l

ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ความช�ำนาญ และประสบการณ์

l

นโยบายการค้า

l

ความมีชื่อเสียงทางธุรกิจ

l

สถานภาพทางการเงิน

คู่แข่ง บริษัทฯ ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรี และเป็นธรรม ตลอดจนปฏิบัติต่อคู่แข่งอย่างมืออาชีพ โดยการประกอบธุรกิจ อย่างเปิดเผยโปร่งใสและไม่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม คุณธรรม บริษัทฯ มุ่งมั่นกระท�ำในสิ่งที่ถูกต้อง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา ภายใต้กฎหมาย และกฎระเบียบของบริษัทฯ โดยถือปฏิบตั ติ ามจรรยาบรรณนีใ้ นทุกกิจกรรมและในการตัดสินใจในทุกเรือ่ งของบริษทั ฯ บริษทั ฯ จะด�ำเนินธุรกิจด้วยความซือ่ สัตย์และค�ำนึงถึง ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อบริษัทฯ ความเสมอภาคกับสิทธิมนุษยชนแก่ผู้เกี่ยวข้อง บริษัทฯ ไม่มีการกีดกัน หรือไม่ให้สิทธิพิเศษ หรือเลือกปฏิบัติแก่ผู้หนึ่งผู้ใด เนื่องจากความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เพศ อายุ สถาบันการศึกษา รวมทั้งไม่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์

บริษัทฯ มีนโยบายสนับสนุนการไม่ล่วงละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์

คณะกรรมการบริษัทได้มีการพิจารณาทบทวน และปรับปรุงคู่มือจรรยาบรรณของกลุ่มบริษัทฯ เป็นประจ�ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งในปี 2562 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2562 ได้มีการพิจารณาทบทวน ปรับปรุง และอนุมัติคู่มือจรรยาบรรณของกลุ่มบริษัทฯ และ ประกาศลงในระบบ Intranet ของบริษัทฯ รวมถึงใช้เป็นข้อมูลในการฝึกอบรมพนักงานใหม่เพื่อให้พนักงานทุกระดับรับทราบอย่างทั่วถึง และมี กระบวนการดูแลให้มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณที่ก�ำหนดอย่างเคร่งครัด บริษัทฯ มีนโยบายให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับปฏิบัติตามที่ก�ำหนดในคู่มือจรรยาบรรณของกลุ่มบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด ในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ และบริษัทย่อยไม่มีข้อพิพาททางกฎหมายที่มีผลกระทบต่อการด�ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างมีนัยส�ำคัญและที่มี ผลกระทบด้านลบอันอาจจะมีผลกระทบต่อสินทรัพย์ของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อยที่มีจ�ำนวนสูงกว่าร้อยละ 5 ของส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 ตลอดจนไม่มีข้อพิพาททางกฎหมายที่มิได้เกิดจากการประกอบธุรกิจโดยปกติของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย บริษัทฯ พัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในการสร้างเสริมผลการด�ำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืน ให้กับกิจการโดยการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส และรับฟังความเห็น ข้อร้องเรียน หรือ ข้อเสนอแนะ (ยกเว้นค�ำร้องเกี่ยวกับพฤติกรรมที่อาจส่อ ถึงการทุจริต หรือประพฤติมชิ อบของบุคคลในองค์กร ดูรายละเอียดเพิม่ เติมในหัวข้อนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รปั ชัน) ทัง้ จากพนักงานเอง และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ผ่านทางการพบผู้บริหาร หน่วยงานตรวจสอบกลาง หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ เลขานุการบริษัท หรือคณะกรรมการ ตรวจสอบเพื่อน�ำเสนอผ่านไปยังคณะกรรมการบริษัทโดยตรง โดยทางเว็บไซต์ http://www.rs.co.th/investor.html ทางโทรศัพท์ หมายเลข +66 2938 4307 และ +66 2511 0555 ต่อ 1496 หรือติดต่อโดยตรงตามหน่วยงานดังกล่าว เพื่อให้มีการรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลตาม กระบวนการที่บริษัทฯ ก�ำหนดไว้และรายงานต่อคณะกรรมการ


62 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ส�ำหรับค�ำร้องเกีย่ วกับรายงานทางบัญชีและการเงิน การควบคุมภายใน การบริหารความเสีย่ ง การปฏิบตั ติ ามกฎหมายและจรรยาบรรณ เลขานุการบริษัท จะเป็นผู้รับเอกสารและสรุปประเด็นต่างๆ ทั้งหมดเสนอให้คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัทเป็นรายไตรมาส บริษัทฯ ให้ความส�ำคัญกับการเก็บข้อมูลร้องเรียนเป็นความลับเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ร้องเรียน และเรื่องร้องเรียนดังกล่าวจะรับรู้เฉพาะ ในกลุ่มบุคคลที่ได้รับมอบหมายและเกี่ยวข้องด้วยเท่านั้น

การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส บริษทั ฯ ให้ความส�ำคัญต่อระบบการควบคุมภายในทัง้ ในระดับบริหาร และระดับปฏิบตั งิ านทีม่ ปี ระสิทธิภาพ โดยก�ำหนดภาระหน้าที่ อ�ำนาจ การด�ำเนินการของผูป้ ฏิบตั งิ าน และผูบ้ ริหารไว้อย่างชัดเจน มีการควบคุมดูแลการใช้ทรัพย์สนิ มีการแบ่งแยกหน้าทีผ่ ปู้ ฏิบตั งิ าน ผูต้ ดิ ตามควบคุม และ ประเมินผลออกจากกัน เพือ่ ให้เกิดการถ่วงดุลและการตรวจสอบระหว่างกันอย่างเหมาะสม นอกจากนีย้ งั มีการควบคุมภายในทีเ่ กีย่ วกับระบบการเงิน โดยบริษทั ฯ ได้จดั ให้มรี ะบบรายงานทางการเงินเสนอผูบ้ ริหารสายงานทีร่ บั ผิดชอบ บริษัทฯ มีฝ่ายตรวจสอบภายในท�ำหน้าที่ตรวจสอบโดยจะรายงานการตรวจสอบตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจว่าการ ปฏิบตั งิ านหลัก และกิจกรรมทางการเงินส�ำคัญของบริษทั ฯ ได้ดำ� เนินการตามแนวทางทีก่ ำ� หนดและมีประสิทธิภาพ โดยบริษทั ฯ มีนโยบายทีจ่ ะมี การตรวจสอบการปฏิบตั ติ ามกฎหมายและข้อก�ำหนดทีเ่ กีย่ วข้องกับบริษทั ฯ (Compliance Control)

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อช่วยกลั่นกรองรายละเอียดโดยก�ำหนดขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบไว้ใน ระเบียบของแต่ละคณะ สมาชิกส่วนใหญ่ของคณะกรรมการชุดย่อยเป็นกรรมการอิสระ ยกเว้น คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบรรษัทภิบาล และคณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ประธานกรรมการไม่ด�ำรงต�ำแหน่งในคณะกรรมการชุดย่อยทุกคณะ อี ก ทั้ ง ยั ง ก� ำ หนดให้ ก รรมการอิ ส ระเป็ น ประธานของแต่ ล ะคณะด้ ว ย ยกเว้ น คณะกรรมการบริ ห าร คณะกรรมการบริ ห ารความเสี่ ย ง คณะกรรมการบรรษัทภิบาล และคณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ปัจจุบัน บริษัทฯ มีคณะกรรมการชุดย่อย 6 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการ ตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบรรษัทภิบาล และคณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รายละเอียดเกีย่ วกับรายชือ่ หน้าทีค่ วามรับผิดชอบของคณะกรรมการชุดย่อยอยูใ่ นหัวข้อโครงสร้างการจัดการของบริษทั ฯ คณะกรรมการ บริษัท ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยในการก�ำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ดังนี้ คณะกรรมการตรวจสอบ มีวาระการด�ำรงต�ำแหน่งคราวละ 3 ปี ประกอบด้วยกรรมการ 3 ท่าน ทุกท่านเป็นกรรมการอิสระ รายนามคณะกรรมการตรวจสอบ และ หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ ดูรายละเอียดในหัวข้อโครงสร้างการจัดการของบริษัทฯ คณะกรรมการบริษทั เห็นว่า นายพิศษิ ฐ์ ดัชณาภิรมย์ เป็นกรรมการอิสระทีม่ คี วามรูแ้ ละความเชีย่ วชาญด้านบัญชีและการเงิน จึงได้แต่งตัง้ ให้เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ โดยในปี 2561 บริษัทฯ มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ รวมทั้งสิ้นจ�ำนวน 6 ครั้ง ซึ่งกรรมการตรวจสอบทุกท่านที่อยู่ในต�ำแหน่ง ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการตรวจสอบทุกครั้ง และรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างสม�่ำเสมอ อีกทั้งในการ ประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบ มีการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการตรวจสอบกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีผู้บริหารอยู่ทั้ง 6 ครั้ง


63 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3/2550 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและพิจารณา ค่าตอบแทน อนุมัติขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ และพิจารณาค่าตอบแทน โดยคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งหมดจ�ำนวน 3 ท่าน ซึ่งมีสมาชิกที่เป็นกรรมการอิสระทั้งหมด จ�ำนวน 3 ท่าน โดยกรรมการอิสระ 1 ใน 3 ท่าน เป็นประธานกรรมการสรรหาและ พิจารณาค่าตอบแทน และคณะกรรมการ มีวาระในการด�ำรงต�ำแหน่งคราวละ 3 ปี ดูรายละเอียดในหัวข้อโครงสร้างการจัดการของบริษทั ฯ ในปี 2561 บริษัทฯ มีการประชุมคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน รวมทั้งสิ้นจ�ำนวน 3 ครั้ง ซึ่งกรรมการทุกท่านที่อยู่ ในต�ำแหน่งได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนทุกครั้ง และคณะกรรมการสรรหาฯ รายงานผลการปฏิบัติ หน้าที่ต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างสม�่ำเสมอ ในระหว่างปี 2561 สรุปสาระส�ำคัญของงานที่ปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้ 1. พิจารณาสรรหาและคัดเลือกบุคคลทีม่ คี ณ ุ สมบัตแิ ละความเหมาะสม เพือ่ ด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการบริษทั แทนกรรมการทีพ่ น้ จากต�ำแหน่ง ตามวาระ 2. พิจารณาทบทวนและอนุมัติกฎบัตรของคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน 3. พิจารณาทบทวนความเหมาะสมของรูปแบบและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทน 4. พิจารณาทบทวนเรื่องค่าตอบแทนประจ�ำปีของกรรมการ 5. พิจารณาเกณฑ์การประเมินผลประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 6. พิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนประจ�ำปี 2561 7. รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างสม�่ำเสมอ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนมีความเห็นว่า รายการดังกล่าวมีความเหมาะสมและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาวแล้ว คณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ จ�ำนวน 3 ท่าน รายนามคณะกรรมการบริหาร ดูรายละเอียดในหัวข้อโครงสร้างการจัดการของบริษัทฯ ในปี 2561 บริษัทฯ มีการประชุมคณะกรรมการบริหาร รวมทั้งสิ้นจ�ำนวน 36 ครั้ง ในระหว่างปี 2561 สรุปสาระส�ำคัญของงานที่ปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้ 1. จัดท�ำ เสนอแนะ และก�ำหนดนโยบายแนวทางธุรกิจ และกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทฯ ต่อคณะกรรมการ 2. ก�ำหนดแผนธุรกิจ การบริหารงาน อนุมตั งิ บประมาณส�ำหรับประกอบธุรกิจประจ�ำปี และงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปี รวมถึงด�ำเนินการ ตามแผนทางธุรกิจและกลยุทธ์ทางธุรกิจโดยสอดคล้องกับนโยบาย และแนวทางธุรกิจที่ได้แถลงต่อคณะกรรมการ 3. ก�ำกับ ควบคุม และดูแลบริหารงานให้เป็นไปตามกลยุทธ์และแผนงานที่ได้วางไว้ 4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายในแต่ละช่วงเวลาจากคณะกรรมการ คณะกรรมการบริหารได้บริหารงาน อย่างรอบคอบ เต็มก�ำลังความรู้ความสามารถ และสอดคล้องกับนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาวแล้ว คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 5/2553 เมือ่ วันที่ 16 สิงหาคม 2553 ได้มกี ารแต่งตัง้ คณะกรรมการบริหารความเสีย่ ง อนุมตั ขิ อบเขต อ�ำนาจหน้าที่ และพิจารณาค่าตอบแทน โดยคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งหมดจ�ำนวน 2 ท่าน ดูรายละเอียดในหัวข้อ โครงสร้างการจัดการของบริษัทฯ


64 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

โดยในปี 2561 บริษทั ฯ มีการประชุมคณะกรรมการบริหารความเสีย่ งเพือ่ วางแผน ทบทวนระบบ หรือประเมินประสิทธิผลของการบริหาร จัดการความเสี่ยง รวมทั้งสิ้นจ�ำนวน 1 ครั้ง ในระหว่างปี 2561 สรุปสาระส�ำคัญของงานที่ปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้ 1. พิจารณาแผนงาน ปัจจัยความเสีย่ งทีส่ ำ� คัญของบริษทั ฯ การด�ำเนินงานบริหารความเสีย่ ง การประเมินการบริหารความเสีย่ งให้สอดคล้อง กับกลยุทธ์ และแผนธุรกิจของบริษัทฯ 2. ก�ำกับดูแลและสนับสนุนให้การบริหารความเสี่ยงเป็นไปตามแผนงาน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้ปฏิบัติงานในการบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบ เต็มก�ำลังความรู้ความสามารถ และสอดคล้องกับ นโยบายการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ แี ละจรรยาบรรณของกลุม่ บริษทั ฯ เพือ่ ประโยชน์ของบริษทั ฯ ผูถ้ อื หุน้ และผูม้ สี ว่ นได้เสียในระยะยาวแล้ว คณะกรรมการบรรษัทภิบาล ทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 1/2554 เมือ่ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 ได้มกี ารแต่งตัง้ คณะกรรมการบรรษัทภิบาล อนุมตั ขิ อบเขต อ�ำนาจหน้าที ่ และพิจารณาค่าตอบแทน โดยคณะกรรมการประกอบด้วยผูท้ รงคุณวุฒิ ทัง้ หมดจ�ำนวน 2 ท่าน ดูรายละเอียดในหัวข้อโครงสร้าง การจัดการของบริษทั ฯ โดยในปี 2561 คณะกรรมการบรรษัทภิบาลได้มกี ารพิจารณาทบทวน ปรับปรุง นโยบายการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ ี คูม่ อื จรรยาบรรณของกลุม่ บริษทั ฯ และนโยบายทีเ่ กีย่ วข้องอืน่ ๆ รวมถึงการติดตามประเมินผลการปฏิบตั ติ ามนโยบายดังกล่าว รวมทัง้ สิน้ จ�ำนวน 1 ครัง้ ในระหว่างปี 2561 สรุปสาระส�ำคัญของงานทีป่ ฏิบตั ไิ ด้ดงั ต่อไปนี้ 1. ทบทวนนโยบายก�ำกับดูแลกิจการทีด่ ี คูม่ อื จรรยาบรรณของกลุม่ บริษทั อาร์เอส และนโยบายอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง 2. ส่งเสริมให้การปฏิบัติงานสอดคล้องไปกับนโยบายก�ำกับดูแลกิจการที่ดี คู่มือจรรยาบรรณของกลุ่มบริษัทอาร์เอส และนโยบายอื่นๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง 3. ให้คำ� แนะน�ำด้านการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ แี ก่คณะกรรมการบริษทั 4. ก�ำหนดแนวทางและสอบทานการรายงานการปฏิบตั ติ ามหลักการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ เี พือ่ เสนอในรายงานประจ�ำปี คณะกรรมการบรรษัทภิบาลมีความเห็นว่า รายการดังกล่าวมีความเหมาะสมและเป็นไปเพือ่ ประโยชน์ของบริษทั ฯ ผูถ้ อื หุน้ และผูม้ สี ว่ น ได้เสียในระยะยาวแล้ว คณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ประกอบด้วยผูท้ รงคุณวุฒิ จ�ำนวน 3 ท่าน รายนามคณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล และ หน้าทีข่ องคณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ดูรายละเอียดในหัวข้อโครงสร้างการจัดการของบริษัทฯ โดยในปี 2561 บริษัทฯ มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมทั้งสิ้นจ�ำนวน 4 ครั้ง ในระหว่างปี 2561 สรุปสาระส�ำคัญของงานที่ปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้ 1. ทบทวนและพัฒนานโยบาย และแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคล 2. พัฒนากลยุทธ์ และเทคนิควิธีเพื่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคล 3. ก�ำกับ และดูแลการด�ำเนินงานด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล 4. พิจารณา และตัดสินใจในประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล ตามแนวทางที่ได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ได้ปฏิบัติงานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างรอบคอบ เต็มก�ำลังความรู้ความสามารถ และ สอดคล้องกับนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสีย ในระยะยาวแล้ว


65 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

เลขานุการบริษัท คณะกรรมการบริษทั ได้แต่งตัง้ ให้ประธานเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยปฏิบตั กิ าร ท�ำหน้าทีเ่ ป็นเลขานุการบริษทั ซึง่ ปัจจุบนั คือ นางพรพรรณ เตชรุง่ ชัยกุล เพือ่ ให้การด�ำเนินการของบริษทั ฯ เป็นไปตามหลักการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ ี (Good Corporate Governance) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีบทบาทหน้าทีห่ ลัก ดังนี้ 1. ให้คำ� แนะน�ำด้านกฎหมาย ด้านบัญชีและภาษี และกฎเกณฑ์ตา่ งๆ ทีค่ ณะกรรมการจะต้องทราบ 2. ปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นการดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการ 3. ประสานงานให้มกี ารปฏิบตั ติ ามมติคณะกรรมการ เลขานุการบริษทั เป็นผูท้ มี่ คี วามรูท้ งั้ ทางด้านบัญชีและกฎหมาย อย่างไรก็ตาม บริษทั ฯ ได้สง่ เสริมให้ผทู้ ที่ ำ� งานสนับสนุนงานของเลขานุการ บริษทั และคณะกรรมการบริษทั ได้เข้าร่วมอบรมคอร์ส Company Secretary Program (CSP) ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษทั ไทย (IOD) นอกจากนัน้ บริษทั ฯ ยังมีหน่วยงานก�ำกับการปฏิบตั งิ าน (Compliance Unit) ซึง่ อยูใ่ นสังกัดส�ำนักกฎหมาย ช่วยดูแลงานของคณะกรรมการบริษทั ให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายอีกด้วย การประชุมคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทมีก�ำหนดประชุมโดยปกติอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง และมีการประชุมพิเศษเพิ่มเติมตามความจ�ำเป็น โดยมีการก�ำหนด วาระการประชุม และวันประชุมไว้ล่วงหน้า โดยมีวาระพิจารณาติดตามผลการด�ำเนินงานเป็นประจ�ำ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้จัดส่งหนังสือเชิญประชุม พร้อมระเบียบวาระการประชุม และเอกสารการประชุมก่อนการประชุมล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทได้มีเวลาศึกษา ข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม โดยประธานกรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการอิสระซึ่งได้รับการแต่งตั้ง 1 ท่าน ร่วมกัน พิจารณาการเลือกเรื่องเข้าวาระการประชุมคณะกรรมการบริษัท โดยพิจารณาให้แน่ใจว่าเรื่องที่ส�ำคัญได้ถูกบรรจุเข้าวาระการประชุมเรียบร้อย แล้ว และกรรมการแต่ละท่านมีความเป็นอิสระที่จะเสนอเรื่องเข้าสู่วาระการประชุม ตลอดจนคณะกรรมการบริษัทสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จ�ำเป็น ได้จากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทั้งนี้ กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ (นิยามและคุณสมบัติดูรายละเอียดในหัวข้อโครงสร้างการจัดการ ของบริษัทฯ) จะเข้าร่วมประชุมทุกครั้ง โดยในปี 2561 บริษัทฯ มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทรวมทั้งสิ้นจ�ำนวน 5 ครั้ง โดยการประชุม จัดที่ส�ำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ ทุกครั้ง ซึ่งกรรมการทุกท่านที่อยู่ในต�ำแหน่งได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัท ทุกครั้ง ยกเว้น นายองอาจ สิงห์ล�ำพอง ที่ขาดการประชุม 1 ครั้ง เนื่องจากติดภารกิจ ในกรณีทมี่ กี รรมการท่านใดเป็นผูม้ สี ว่ นได้เสียอย่างมีนยั ส�ำคัญในเรือ่ งทีก่ ำ� ลังพิจารณา กรรมการท่านนัน้ จะไม่เข้าร่วมการประชุมระหว่าง การพิจารณาเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้ จ�ำนวนองค์ประชุมขั้นต�่ำ ณ ขณะที่คณะกรรมการจะลงมติในที่ประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจ�ำนวนกรรมการทั้งหมด คณะกรรมการบริษัท มีนโยบายให้กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารมีโอกาสที่จะประชุมระหว่างกันเองตามความจ�ำเป็น เพื่ออภิปรายปัญหา ต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการที่อยู่ในความสนใจโดยไม่มีฝ่ายจัดการร่วมด้วย และให้แจ้งประธานเจ้าหน้าที่บริหารทราบถึงผลการประชุมด้วย การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทเป็นประจ�ำทุกปีตามแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการบริษทั แบ่งออกเป็นการประเมินผลเป็นรายบุคคลโดยตนเอง และการประเมินผลคณะกรรมการทัง้ คณะ เพือ่ ให้คณะกรรมการ บริษัทร่วมกันพิจารณาตรวจสอบผลงานและปัญหาเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการท�ำงานของคณะกรรมการบริษัทให้ดียิ่งขึ้น องค์ประกอบของการประเมิน ประกอบด้วย โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของ คณะกรรมการ การประชุมคณะกรรมการ การท�ำหน้าทีข่ องกรรมการ ความสัมพันธ์กบั ฝ่ายจัดการ การพัฒนาตนเองของกรรมการและการพัฒนา ผู้บริหาร


66 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

อีกทั้งคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนให้ความเห็นในการก�ำหนดเกณฑ์การประเมินผลงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และน�ำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาให้ความเห็นชอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารจะถูกประเมิน ตามแบบประเมินผลการปฏิบตั งิ านทีค่ ณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนก�ำหนด และประเมินโดยคณะกรรมการบริษทั ซึง่ เป็นกรรมการ อิสระเท่านั้น เพื่อการปรับปรุงแก้ไขต่อไป คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทเป็นประจ�ำทุกปี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2562 ได้มีการพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทประจ�ำปี 2561 เพื่อให้ คณะกรรมการบริษัทร่วมกันพิจารณาผลงานและปัญหาเพื่อการปรับปรุงแก้ไขต่อไป และผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจ�ำ ปี 2561 ได้ถูกประเมินโดยคณะกรรมการบริษัทซึ่งเป็นกรรมการอิสระเท่านั้น เพื่อพิจารณาผลงานและการปรับปรุงแก้ไขต่อไป นอกจากนัน้ คณะกรรมการยังจัดให้มกี ารประเมินผลงานทัง้ คณะ และเป็นรายบุคคลของคณะกรรมการชุดย่อยทัง้ หมด ได้แก่ คณะกรรมการ ตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน คณะกรรมการบรรษัทภิบาล คณะกรรมการบริหารความเสีย่ ง คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การจ่ายค่าตอบแทน บริษัทฯ ได้ก�ำหนดนโยบายค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารไว้อย่างชัดเจนและโปร่งใส ส�ำหรับประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหาร ระดับสูง บริษทั ฯ มีนโยบายทัง้ ระยะสัน้ และระยะยาวทีจ่ ะให้ผลตอบแทนทีเ่ หมาะสมกับความรูค้ วามสามารถ ประสบการณ์ ภาระหน้าที่ ขอบเขต ของบทบาทและความรับผิดชอบ ผลการปฏิบัติงานของแต่ละคน รวมถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากกรรมการแต่ละคน และสอดคล้องกับ กลยุทธ์และเป้าหมายระยะยาวของบริษัทและผลการด�ำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และการจ่ายผลตอบแทนของ อุตสาหกรรมเดียวกัน ส่วนนโยบายค่าตอบแทนกรรมการนั้น ผู้ถือหุ้นได้อนุมัติค่าตอบแทนของกรรมการ โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2561 และที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจ�ำปี 2561 ได้พิจารณาอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการให้อยู่ในระดับเดียวกับอุตสาหกรรมซึ่งสูง เพียงพอทีจ่ ะดึงดูด รักษากรรมการทีม่ คี ณ ุ สมบัตทิ ตี่ อ้ งการ และสอดคล้องกับผลการด�ำเนินงานของบริษทั ฯ ส่วนการประเมินผลงานของประธาน เจ้าหน้าทีบ่ ริหาร คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนก�ำหนดเกณฑ์การประเมินผลงานของประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร และน�ำเสนอให้ คณะกรรมการบริษัทพิจารณาให้ความเห็นชอบ อีกทั้งผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารจะถูกประเมินโดยคณะกรรมการบริษัท ซึ่งเป็นกรรมการอิสระเท่านั้น (รายละเอียดค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารได้แสดงไว้ในหัวข้อโครงสร้างการจัดการของบริษัทฯ) การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัทมีนโยบายให้กรรมการเดิมซึ่งได้รับมอบหมายแนะน�ำกรรมการใหม่ให้รู้จักบริษัทฯ และบรรยายสรุปแผนธุรกิจของ บริษัทฯ ผลประกอบการ กลยุทธ์ สภาพการแข่งขัน วิสัยทัศน์ ค่านิยมองค์กร นโยบายก�ำกับดูแลกิจการ และจรรยาบรรณธุรกิจ รวมทั้งข้อมูล อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการด�ำเนินธุรกิจของบริษัท เป็นต้น คณะกรรมการบริษัทมีนโยบายที่จะเสริมสร้างและพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ให้กับกรรมการและผู้บริหาร โดยสนับสนุนให้เข้ารับการสัมมนา และการอบรมในหลักสูตรที่เป็นประโยชน์ ซึ่งจัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และสถาบันอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทฯ ออกค่าใช้จ่าย ซึ่งในปี 2561 ได้สนับสนุนกรรมการเข้าร่วมอบรม ดังนี้ กรรมการ

ต�ำแหน่ง

หลักสูตรที่อบรมในปี 2561

นายองอาจ สิงห์ล�ำพอง

กรรมการ และรองกรรมการ ผู้อ�ำนวยการอาวุโส

Director Accreditation Program (DAP) class 150 ปี 2561


67 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

แผนการสืบทอดงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการบริษัทได้สนับสนุนให้มีการจัดท�ำแผนสืบทอดต�ำแหน่ง ซึ่งจะช่วยให้การด�ำเนินงานของบริษัทฯ เป็นไปได้อย่างราบรื่น นอกจากนัน้ คณะกรรมการบริษทั จัดให้มโี ครงการส�ำหรับพัฒนาผูบ้ ริหาร ซึง่ เป็นการเตรียมให้พร้อมเป็นแผนทีต่ อ่ เนือ่ งถึงผูส้ บื ทอดงานของประธาน เจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูง ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดความต่อเนื่องในการบริหารจัดการ องค์กร มีขั้นตอนด�ำเนินการ ดังนี้ 1. คณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล พิจารณาเสนอชื่อและคัดเลือกกลุ่มผู้บริหารซึ่งมีศักยภาพสูง เพื่อน�ำมาพัฒนาและเตรียมความพร้อม 2. คณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด�ำเนินการให้มีการพัฒนาผู้บริหารกลุ่มดังกล่าวโดยจัดโปรแกรมพัฒนาผู้บริหารระดับสูง 3. คณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ร่วมพิจารณาคัดเลือกผูท้ มี่ คี วามเหมาะสมเพือ่ มาด�ำรงต�ำแหน่งประธาน เจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูง ส�ำหรับต�ำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารที่มีการคัดเลือกแล้วจะน�ำเสนอต่อที่ประชุม คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ตลอดจนคณะกรรมการบริษัทต่อไป 4. คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนจะพิจารณาบุคคลที่ได้รับการเสนอมาว่ามีความเหมาะสม และมีความรู้ความสามารถ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ ได้ พร้อมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อน�ำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อแต่งตั้งต่อไป งานนักลงทุนสัมพันธ์ คณะกรรมการบริษัท ตระหนักดีว่าข้อมูลของบริษัทฯ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงินและที่ไม่ใช่การเงิน ล้วนมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจของ ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ จึงให้ความส�ำคัญต่อการเปิดเผยสารสนเทศที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส และทั่วถึง ทั้งโดยผ่าน ช่องทางจากสือ่ การเผยแพร่ขอ้ มูลต่างๆ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และเว็บไซต์ของบริษทั ฯ พร้อมทัง้ จัดให้มกี ารประชุมพบปะระหว่างคณะผู้บริหาร ของบริษัทฯ กับนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กองทุน และนักลงทุนทั่วไป เพื่อตอบข้อซักถามต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ก�ำหนดให้ “แผนกนักลงทุนสัมพันธ์” ท�ำหน้าที่ติดต่อสื่อสาร ให้ข้อมูล ข่าวสาร และ กิจกรรมต่างๆ ของบริษัทฯ แก่นักลงทุนสถาบัน ผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์ ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และนักลงทุนทั่วไป ทั้งนี้ นักลงทุนสามารถติดต่อหน่วยงานดังกล่าวได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ : +66 2938 4307 และ +66 2511 0555 ต่อ 1496 เว็บไซต์ : http://www.rs.co.th/investor.html เฟซบุ๊ก : http://www.facebook.com/pages/rs-ir/256459961140733 ทวิตเตอร์ : https://twitter.com/rs_ir หรือ อีเมล : ir@rs.co.th

นอกจากนี้ในรอบปี 2561 บริษัทฯ ได้เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศของบริษัทฯ ผ่านกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ การจัดประชุมนักวิเคราะห์ เพื่อแถลงผลการด�ำเนินงานของบริษัทฯ ในทุกไตรมาส โดยเปิดโอกาสให้นักวิเคราะห์ได้พบปะผู้บริหาร เพื่อตอบข้อซักถามในประเด็นต่างๆ และเอกสารประกอบการประชุมได้ถูกน�ำเสนอผ่านเว็บไซต์ของบริษัทฯ การเข้าร่วมงานที่จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์ในการพบปะนักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ งาน J.P. Morgan’s Thailand Conference งาน Corporate Day by Krungsri (H&B and Medical Tourism) งาน Corporate Day by KTBST งาน Thailand Focus 2018 “The Future is Now” งาน Money Talk ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และงาน Media Day by Bualuang Securities อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนและผู้ถือหุ้นได้พบปะพูดคุยกับผู้บริหารระดับสูงที่บริษัทฯ เพื่อตอบข้อสงสัยในประเด็นต่างๆ และทราบถึงแนวทางการด�ำเนินงานในอนาคต รวมถึงธุรกิจใหม่และกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่บริษัทฯ ได้ด�ำเนินการระหว่างปีด้วย


68 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ผูบ้ ริหารและทีมนักลงทุนสัมพันธ์เดินทางไปพบและพูดคุยเกีย่ วกับภาพรวมเศรษฐกิจไทย ภาพรวมของบริษทั ฯ รวมถึงการเติบโตของ ธุรกิจใหม่ แก่นกั วิเคราะห์ นักลงทุน และกองทุนในต่างประเทศ นอกจากนี้ บริษทั ฯ ได้จดั ท�ำแบบแสดงรายการข้อมูลประจ�ำปี (แบบ56-1) และรายงานประจ�ำปี (แบบ56-2) เผยแพร่ทางระบบ SETPortal ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และในเว็บไซต์ของบริษทั ฯ ในส่วนของรายงานประจ�ำปีบริษทั ฯ ได้จดั ส่งให้ผถู้ อื หุน้ เป็นประจ�ำทุกปี รวมถึงจัดท�ำ รูปเล่มและแผ่นซีดสี ำ� หรับผูถ้ อื หุน้ ในงานประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจ�ำปี การสรรหาและแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารระดับสูงสุด ทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 3/2550 เมือ่ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 ได้มมี ติแต่งตัง้ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และอนุมตั ขิ อบเขตอ�ำนาจหน้าทีข่ องคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ดังนัน้ การคัดเลือกบุคคลทีจ่ ะเข้าด�ำรงต�ำแหน่งเป็นกรรมการ ของบริษัทฯ ต้องผ่านคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน วิธีการสรรหากรรมการจะกระท�ำโดยคณะกรรมการสรรหาและพิจารณา ค่าตอบแทนจะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจ�ำกัด พ.ศ. 2535 และตามประกาศ คณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ทเี่ กีย่ วข้อง นอกจากนีย้ งั พิจารณาถึงความหลากหลายของทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ และ ความสามารถเฉพาะเพื่อประโยชน์และการพัฒนากิจการของบริษัทฯ รวมทั้งการอุทิศเวลา และความพยายามในการปฏิบัติหน้าที่ จากนั้นจึงน�ำ รายชื่อเสนอคณะกรรมการบริษัทและที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง ในการแต่งตัง้ คณะกรรมการของบริษทั ฯ ทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ เป็นผูแ้ ต่งตัง้ กรรมการ โดยใช้เสียงข้างมากตามหลักเกณฑ์และวิธกี ารดังต่อไปนี้ 1. ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อเสียงหนึ่ง 2. ให้ผู้ถือหุ้นออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการเป็นรายบุคคลไป 3. บุคคลซึง่ ได้รบั คะแนนเสียงสูงสุดตามล�ำดับลงมาเป็นผูไ้ ด้รบั การเลือกตัง้ เป็นกรรมการเท่าจ�ำนวนกรรมการทีจ่ ะพึงมีหรือจะพึงเลือกตัง้ ในครั้งนั้น ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในล�ำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจ�ำนวนที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ให้ผู้เป็นประธานเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด นโยบายความหลากหลายในโครงสร้างของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทได้ก�ำหนดคุณสมบัติของกรรมการที่ต้องการสรรหา ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการด�ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และมี ความหลากหลายส�ำหรับผูท้ จี่ ะมาท�ำหน้าทีเ่ ป็นกรรมการ โดยพิจารณาจากทักษะทีจ่ ำ� เป็นทีย่ งั ขาดอยูใ่ นคณะกรรมการบริษทั รวมทัง้ วิชาชีพ ความ เชีย่ วชาญเฉพาะด้าน และเพศ เป็นต้น ดังจะเห็นได้ในปี 2558 คณะกรรมการ ได้มกี ารสรรหากรรมการอิสระทีเ่ ป็นผูห้ ญิงจ�ำนวน 1 ท่าน เพือ่ ให้ มีความหลากหลายของโครงสร้างคณะกรรมการ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ ยังได้ใช้ฐานข้อมูลกรรมการ (Director Pool) ในการสรรหากรรมการ ใหม่ แต่คณ ุ สมบัตยิ งั ไม่เหมาะสมกับบริษทั ฯ ณ ขณะนัน้ และในการสรรหากรรมการ คณะกรรมการได้จดั ท�ำ Board Skill Matrix เพือ่ ก�ำหนดคุณสมบัติ ของกรรมการทีต่ อ้ งการสรรหาโดยพิจารณาจากกลยุทธ์ในการด�ำเนินธุรกิจของบริษทั ฯ ความเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษทั ประกอบด้วยกรรมการทีไ่ ม่เป็นผูบ้ ริหาร 4 ท่าน (เป็นกรรมการอิสระ 3 ท่าน) และเป็นกรรมการทีเ่ ป็นผูบ้ ริหาร 5 ท่าน ประวัตขิ องกรรมการแต่ละท่านแสดงไว้ในหัวข้อคณะกรรมการบริษทั ประธานกรรมการเป็นบุคคลเดียวกับประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร และเป็นตัวแทนของกลุม่ ผูถ้ อื หุน้ ใหญ่ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างคณะกรรมการ ของบริษทั ประกอบด้วย กรรมการทีเ่ ป็นอิสระ 1 ใน 3 ของกรรมการทัง้ คณะ ท�ำให้เกิดการถ่วงดุลและสอบทานการบริหารงาน คณะกรรมการบริษทั เห็นว่า กรรมการอิสระทัง้ 3 ท่าน มีความเป็นอิสระ และมีคณ ุ สมบัตติ ามนิยามทีบ่ ริษทั ฯ ก�ำหนดขึน้ ดังรายละเอียด ในหัวข้อโครงสร้างการจัดการของบริษทั ฯ ทัง้ นี้ คณะกรรมการบริษทั เห็นว่า นายพิศษิ ฐ์ ดชั ณาภิรมย์ เป็นกรรมการอิสระทีม่ คี วามรูแ้ ละความเชีย่ วชาญ ด้านบัญชีและการเงิน จึงได้แต่งตัง้ ให้เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ


69 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ความเหมาะสมของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษทั ได้กำ� หนดคุณสมบัตทิ เี่ หมาะสมของผูท้ จี่ ะด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการ ประกอบด้วยผูม้ คี วามรู้ ประสบการณ์ ความสามารถ เฉพาะด้านทีเ่ ป็นประโยชน์กบั บริษทั ฯ รวมทัง้ อุทศิ เวลา ความรู้ ความสามารถ และความพยายามในการปฏิบตั หิ น้าทีเ่ พือ่ เสริมสร้างให้บริษทั ฯ เจริญก้าวหน้า และก�ำหนดนโยบายให้กรรมการทุกคนและผูบ้ ริหารระดับสูง* ทีม่ หี น้าทีร่ ายงานการถือครองหลักทรัพย์ตามกฎหมายจัดส่งรายงาน ดังกล่าวให้แก่คณะกรรมการบริษทั เป็นประจ�ำ ในคณะกรรมการของบริษทั ให้กรรมการด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการในบริษทั จดทะเบียนได้ไม่เกิน 3 บริษทั และให้กรรมการทีเ่ ป็นผูบ้ ริหาร ไปด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการในบริษทั จดทะเบียนอืน่ ได้ไม่เกิน 2 บริษทั ตลอดจนในการไปด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการทีบ่ ริษทั จดทะเบียนอืน่ ของประธาน เจ้าหน้าทีบ่ ริหารและผูบ้ ริหารระดับสูง* ของบริษทั ฯ ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษทั ก่อน กรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของบริษัทไม่เคยเป็นพนักงานหรือหุ้นส่วนของบริษัทสอบบัญชีภายนอกที่บริษัทใช้บริการอยู่ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา หมายเหตุ * หมายถึง ผู้บริหารตามนิยามของ ก.ล.ต.

ประสิทธิภาพในการท�ำหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท การก�ำหนดนโยบาย

คณะกรรมการบริษทั มีสว่ นร่วมในการก�ำหนดวิสยั ทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ กลยุทธ์ เป้าหมาย แผนธุรกิจและงบประมาณของบริษทั ฯ ตลอดจน ก�ำกับดูแลให้ฝา่ ยจัดการด�ำเนินการให้เป็นไปตามแผนธุรกิจ และงบประมาณทีว่ างไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนมีจดุ มุง่ หมาย ไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงการจัดการให้บริษทั ฯ มีนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ ี ระบบการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน และนโยบาย และการด�ำเนินงานบริหารความเสีย่ งทีเ่ หมาะสม รวมทัง้ มีการติดตามผลการด�ำเนินงานในเรือ่ งดังกล่าวอย่างสม�ำ่ เสมอในการประชุมคณะกรรมการ บริษัท นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้พิจารณาการก�ำหนดและแยกบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน คณะกรรมการบริหารความเสีย่ ง คณะกรรมการบรรษัทภิบาล คณะกรรมการ บริหาร คณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล และประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารอย่างชัดเจน ทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 1/2562 เมือ่ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ได้มกี ารพิจารณาทบทวนและอนุมตั วิ สิ ยั ทัศน์และภารกิจ ของบริษทั ฯ ซึง่ คณะกรรมการได้พจิ ารณาทบทวนและอนุมตั วิ สิ ยั ทัศน์และภารกิจของบริษทั ฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครัง้ การก�ำกับดูแลฝ่ายจัดการ

คณะกรรมการบริษทั ได้มกี ารประเมินความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน ผลการจัดการความเสีย่ ง และการปฏิบตั ติ ามนโยบายการก�ำกับ ดูแลกิจการทีด่ เี ป็นประจ�ำอย่างน้อยปีละ 1 ครัง้ เมือ่ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 1/2562 ได้มกี ารพิจารณาประเมิน ความเพียงพอของระบบควบคุมภายในและผลการบริหารความเสีย่ ง และประเมินเรือ่ งการปฏิบตั ติ ามนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ ี การก�ำกับดูแลการด�ำเนินงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม การเสนอชือ่ และใช้สทิ ธิออกเสียงแต่งตัง้ บุคคลเป็นกรรมการ ผูบ้ ริหาร หรือผูม้ อี ำ� นาจควบคุมในบริษทั ย่อยและบริษทั ร่วมต้องได้รบั อนุมตั ิ จากคณะกรรมการบริษทั เป็นลายลักษณ์อกั ษรด้วย เว้นแต่บริษทั ดังกล่าวเป็นบริษทั ขนาดเล็กทีเ่ ป็น operating arms ของบริษทั ฯ คณะกรรมการ บริษทั มอบหมายให้ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารเป็นผูแ้ ต่งตัง้ โดยบุคคลทีไ่ ด้รบั แต่งตัง้ ให้เป็นกรรมการ ผูบ้ ริหาร หรือผูม้ อี ำ� นาจควบคุมในบริษทั ย่อย หรือบริษัทร่วม มีหน้าที่ด�ำเนินการเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมนั้นๆ และให้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทแม่ ซึ่งบริษัทได้ก�ำหนดให้บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งนั้น ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทก่อนที่จะไปลงมติ หรือใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องส�ำคัญ ในระดับเดียวกับที่ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ หากเป็นการด�ำเนินการโดยบริษัทฯ เอง


70 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

นอกจากนี้ ในกรณีเป็นบริษัทย่อย บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทฯ นั้น ต้องดูแลให้บริษัทย่อยมีข้อบังคับในเรื่องการท�ำรายการเกี่ยวโยง ทีส่ อดคล้องกับบริษทั ฯ มีการจัดเก็บข้อมูล และการบันทึกบัญชีให้บริษทั สามารถตรวจสอบ และรวบรวมมาจัดท�ำงบการเงินรวมได้ทนั ก�ำหนดด้วย ตลอดจนก�ำหนดระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมและรัดกุมเพียงพอและท�ำรายการต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และหลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดปี 2561 บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามหลักการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี ยกเว้นเรื่องต่อไปนี้ 1. ไม่ได้เปิดเผยค่าตอบแทนของกรรมการที่เป็นผู้บริหารในส่วนที่ได้รับจากการเป็นกรรมการบริษัทอื่น เพราะไม่ใช่ข้อมูลของบริษัทฯ 2. ประธานกรรมการเป็นบุคคลเดียวกับประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร และเป็นตัวแทนของกลุม่ ผูถ้ อื หุน้ ใหญ่ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างคณะกรรมการ ของบริษัท ประกอบด้วย กรรมการที่เป็นอิสระ 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะ ท�ำให้เกิดการถ่วงดุลและสอบทานการบริหารงาน ทีโ่ ปร่งใสและรัดกุม 3. คณะกรรมการไม่ได้ก�ำหนดวาระการด�ำรงต�ำแหน่งของกรรมการอิสระไว้ให้ไม่เกิน 9 ปี เนื่องจากมีความเห็นว่า กรรมการอิสระเป็น ผู้ทมี่ คี วามรูค้ วามสามารถ และมีประสบการณ์มาก ดังนัน้ การด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการเป็นเวลานานจะช่วยให้เข้าใจการด�ำเนินธุรกิจของ บริษัทได้ดียิ่งขึ้น 4. บริษทั ฯ ไม่ได้กำ� หนดให้กรรมการและผูบ้ ริหารระดับสูงแจ้งต่อคณะกรรมการ หรือผูท้ คี่ ณะกรรมการมอบหมายเกีย่ วกับการซือ้ ขายหุน้ ของบริษทั ฯ อย่างน้อย 1 วันล่วงหน้า ก่อนท�ำการซือ้ ขาย เนือ่ งจากบริษทั มีระเบียบข้อบังคับในเรือ่ งการใช้ขอ้ มูลภายในของบริษทั ฯ และ นโยบายที่ครอบคลุมเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน บริษทั ฯ ได้ดำ� เนินการแจ้งให้ผบู้ ริหารฝ่ายต่างๆ ให้เข้าใจถึงภาระหน้าทีใ่ นการรายงานการถือหลักทรัพย์ในบริษทั ฯ ของตนเอง คูส่ มรส และ บุตรทีย่ งั ไม่บรรลุนติ ภิ าวะ ตลอดจนรายงานการเปลีย่ นแปลงการถือหลักทรัพย์ตอ่ ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตาม มาตรา 59 และบทก�ำหนดโทษตามมาตรา 275 แห่งพระราชบัญญัตหิ ลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 นอกจากมาตรการทีเ่ ป็นข้อก�ำหนด ของกฎหมายแล้ว บริษทั ฯ ได้มนี โยบายเป็นลายลักษณ์อกั ษรซึง่ ครอบคลุมเรือ่ งการใช้ขอ้ มูลภายในไว้ในคูม่ อื จรรยาบรรณของกลุม่ บริษทั ฯ เพือ่ เป็น แนวทางการปฏิบตั แิ ก่กรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงานทุกคน โดยคูม่ อื จรรยาบรรณของกลุม่ บริษทั ฯ ผ่านมติการอนุมตั จิ ากคณะกรรมการบริษทั แล้ว เมือ่ วันที่ 1 มีนาคม 2549 ซึง่ ได้มกี ารพิจารณาทบทวน ปรับปรุง และอนุมตั จิ ากทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั เป็นประจ�ำทุกปี ซึง่ การพิจารณา ทบทวน ปรับปรุง และอนุมตั คิ รัง้ ล่าสุดเป็นการประชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 1/2562 เมือ่ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 นอกจากนี้ บริษทั ฯ ได้มี การก�ำหนดระเบียบข้อบังคับในการน�ำข้อมูลภายในของบริษทั ฯ ไปใช้ดงั นี้ 1. กรรมการ ผูบ้ ริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษทั ฯ จะต้องรักษาความลับ และ/หรือข้อมูลภายในของบริษทั ฯ 2. กรรมการ ผูบ้ ริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษทั ฯ จะต้องไม่นำ� ความลับ และ/หรือข้อมูลภายในของบริษทั ฯ ไปเปิดเผย หรือแสวงหา ผลประโยชน์แก่ตนเองหรือเพือ่ ประโยชน์แก่บคุ คลอืน่ ใด ไม่วา่ โดยทางตรงหรือทางอ้อม และไม่วา่ จะได้รบั ผลตอบแทนหรือไม่กต็ าม 3. กรรมการ ผูบ้ ริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษทั ฯ จะต้องไม่ทำ� การซือ้ ขาย โอนหรือรับโอน หลักทรัพย์ของบริษทั ฯ โดยใช้ความลับและ/ หรือข้อมูลภายในบริษัทฯ และ/หรือเข้าท�ำนิติกรรมอื่นใดโดยใช้ความลับและ/หรือข้อมูลภายในของบริษัทฯ อันอาจก่อให้เกิดความ เสียหายต่อบริษทั ฯ ไม่วา่ โดยทางตรงหรือทางอ้อม โดยข้อก�ำหนดนีร้ วมความถึงคูส่ มรสหรือผูท้ อี่ ยูก่ นิ ด้วยกันฉันสามีภริยา บุพการี ผูส้ บื สันดาน ผูร้ บั บุตรบุญธรรม หรือบุตรบุญธรรม และพีน่ อ้ ง ร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือพีน่ อ้ งร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ของกรรมการ ผูบ้ ริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษทั ฯ พนักงานคนใดฝ่าฝืน ในระเบียบดังกล่าวบริษทั ฯ จะถือว่าได้กระท�ำผิดอย่างร้ายแรงโดยอาจมีโทษตัง้ แต่ขนั้ ตักเตือนด้วยวาจาจนถึงขัน้ ให้ออกจากงาน ตั้งแต่ปี 2551 คณะกรรมการบริษัทได้ก�ำหนดนโยบายห้ามกรรมการและผู้บริหารระดับสูงซื้อขายหุ้นบริษัทฯ ในช่วง 3 สัปดาห์ก่อน งบการเงินเผยแพร่และ 2 วันหลังเปิดเผยงบการเงิน


71 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี บริษัทฯ และบริษัทย่อยจ่ายค่าสอบบัญชีให้กับบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จ�ำกัด ซึ่งเป็นส�ำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบ บัญชีของบริษัทประจ�ำปี 2561 สังกัด รวมทั้งบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและส�ำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด ในรอบปี บัญชีที่ผ่านมามีจ�ำนวนเงินรวม 5 ล้านบาท โดยเป็นของบริษัทฯ จ�ำนวนเงิน 1.39 ล้านบาท และบริษัทย่อยรวมกัน จ�ำนวนเงิน 3.61 ล้านบาท ค่าบริการอื่นๆ บริษัทฯ และบริษัทย่อยจ่ายค่าบริการส�ำหรับการสอบทานแบบสรุปค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี (นส.1) และแบบแสดงประเภทของ รายได้จากการประกอบกิจการ (นส.2) ตามประกาศ กสทช. เรื่องค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 และค่าบริการอื่นๆ ให้กับบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส์ เอบีเอเอส จ�ำกัด มีจ�ำนวนเงินรวม 0.35 ล้านบาท โดยเป็นของบริษัทฯ จ�ำนวนเงิน 0.15 ล้านบาท และบริษัทย่อยรวมกัน จ�ำนวนเงิน 0.20 ล้านบาท


72 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1


73 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้ที่เกี่ยวข้อง บริษัทฯ ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (Vision) ของบริษัทฯ โดยแบ่งตามกิจกรรมได้ดังนี้

1. การประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม บริษัทฯ มุ่งมั่นกระท�ำในสิ่งที่ถูกต้อง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา ภายใต้กฎหมายและกฎระเบียบของบริษัทฯ โดยถือปฏิบัติตามจรรยาบรรณนี้ในทุกกิจกรรมและในการตัดสินใจในทุกเรื่องของบริษัทฯ

2. การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน บริษัทฯ ตระหนักถึงความส�ำคัญในเรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ก�ำหนดนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันเพื่อให้แนวทาง ปฏิบัติของบริษัทมีความชัดเจนยิ่งขึ้น และไม่ยอมรับการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ ตลอดจนสร้างจิตส�ำนึกและค่านิยมในเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต และการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร โดยก�ำหนดให้มีการก�ำกับดูแล ควบคุมดูแล บริหารความเสี่ยง และระบบ ควบคุมภายในเพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ

3. การเคารพสิทธิมนุษยชน บริษัทฯ ให้ความส�ำคัญในการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยเป็นหลักยึดมั่นในการด�ำเนินธุรกิจโดยถือว่าหลักสิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิ ขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเสมอภาค ความเท่าเทียมในแง่ของศักดิ์และสิทธิ์ โดยจะไม่มีการกีดกัน หรือไม่ให้สิทธิพิเศษ หรือเลือก ปฏิบัติแก่ผู้หนึ่งผู้ใด เนื่องจากความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เพศ สีผิว อายุ ภาษา สถาบันการศึกษา รวมทั้งไม่เกี่ยวข้องกับการ ละเมิดสิทธิมนุษยชน

4. การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม บริษัทฯ ค�ำนึงถึงความส�ำคัญของทุนมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งเป็นปัจจัยส�ำคัญที่สุดที่จะผลักดันให้องค์กรบรรลุสู่เป้าหมาย บริษัทฯ จึงมีแผนการส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรบุคคลไว้ดังนี้ ก�ำหนดให้มีแผนงานและมีการจัดสรรงบประมาณในแต่ละปีไว้อย่างชัดเจน มีการจัดระดับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลไว้ 3 ระดับ คือ การพัฒนาองค์กร (Organization Development) การพัฒนาอาชีพ (Career Development) และการฝึกอบรมและพัฒนา (Training Development) จัดตรวจสุขภาพประจ�ำปีให้พนักงาน โดยจัดโปรแกรมการตรวจสุขภาพทีเ่ หมาะสม และเจรจาต่อรองกับโรงพยาบาลให้พนักงานสามารถ เพิ่มรายการตรวจสุขภาพได้ในราคาพิเศษ พร้อมทั้งอ�ำนวยความสะดวกให้โรงพยาบาลมาให้บริการตรวจสุขภาพถึงที่อาคารส�ำนักงาน ของบริษัทฯ จัดสรรสวัสดิการพนักงาน เช่น สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลผ่านการประกันชีวิตและอุบัติเหตุหมู่ สวัสดิการเงินช่วยเหลือและอื่นๆ เช่น เงินช่วยเหลืองานศพ กรณีพนักงานเสียชีวิต และกรณีบิดา มารดา บุตร หรือคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของพนักงานเสียชีวิต เงินช่วยเหลือกรณีพนักงานสมรส กรณีพนักงานอุปสมบท เป็นต้น บริษทั ฯ ให้ความส�ำคัญกับการสร้างความผูกพัน (Engagement) ของพนักงานในองค์กรมาอย่างต่อเนือ่ ง โดยจัดให้มกี จิ กรรมต่างๆ เช่น กิจกรรม We Applause และกิจกรรมที่ร่วมให้ก�ำลังใจพนักงาน และร่วมแสดงความยินดีกับพนักงานเป็นรายบุคคลหรือหน่วยงาน ที่ประสบความส�ำเร็จ และสร้างความภูมิใจในงานของตน กิจกรรม Job Switching ให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้ลองท�ำงานในหน้าที่อื่นๆ เพื่อให้เกิดการยอมรับระหว่างกัน เป็นต้น บริษัทฯ ได้ประกาศนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท�ำงาน โดยจัดให้มีตัวแทนพนักงานทุกระดับ ร่วมเป็นคณะท�ำงานด้านความปลอดภัยในระดับต่างๆ เพือ่ ขับเคลือ่ นนโยบายด้านความปลอดภัยให้เห็นผลเป็นรูปธรรมและสอดคล้อง ตามกฎหมายและมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง


74 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

5. ความรับผิดชอบต่อลูกค้าและผู้บริโภค บริษัทฯ มุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ ผลิตและจ�ำหน่ายสินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพ รวมถึงผลงานด้านสื่อและด้านบันเทิงทุกรูปแบบ เพื่อสร้างความพึงพอใจอย่างต่อเนื่องให้กับลูกค้าของบริษัทฯ ตลอดจนมีหน่วยงานให้บริการ ดูแล ชี้แจงข้อสงสัย และแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับลูกค้า บริษัทฯ ยินดีรับคืนสินค้าทุกประเภท หากพบว่าสินค้าช�ำรุด ไม่ได้คุณภาพตามต้องการ หรือใช้แล้วเกิดปัญหาในภายหลัง

6. การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม บริษทั ฯ ส่งเสริมให้มกี ารรณรงค์และสร้างจิตส�ำนึกให้แก่พนักงานในการอนุรกั ษ์และการใช้ทรัพยากรและพลังงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รณรงค์ให้พนักงานลดการใช้แก้วพลาสติก ปลุกกระแสการใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก และประชาสัมพันธ์แนวทางรักษ์โลกที่ท�ำได้ในชีวิตประจ�ำวัน ของผูบ้ ริหารและศิลปิน ตลอดจนสร้างสรรค์และสนับสนุนกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ตอ่ การดูแลรักษา การอนุรกั ษ์ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยการส่งเสริม รณรงค์ และปลูกจิตส�ำนึกร่วมกันในการรู้จักถึงประโยชน์ เห็นคุณค่า และ ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการสนับสนุนให้ลดการใช้กระดาษ เช่น ใช้ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น การใช้กระดาษสองหน้า การช่วยกันประหยัดไฟฟ้า เช่น การปิดระบบปรับอากาศก่อนเลิกงานประมาณ 30 นาที ดับหลอดไฟหลอดกลางส�ำหรับโคมไฟที่เป็นประเภท 3 หลอด ปิดแอร์และไฟฟ้าช่วงระหว่างพัก โดยการติดสื่อประชาสัมพันธ์ตามจุดต่างๆ ให้พนักงานรับทราบ

7. การร่วมพัฒนาชุมชนหรือสังคม บริษัทฯ ผลักดันให้เกิดกระแสพัฒนาคุณภาพของสังคม ทั้งที่ด�ำเนินการเอง และร่วมมือกับรัฐและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้พนักงาน และลูกจ้างมีส่วนร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ เพื่อชุมชน และสังคมอย่างสม�่ำเสมอ โดยมีการติดตาม วัดผลความคืบหน้า และความส�ำเร็จ ในระยะยาว เพื่อให้แน่ใจว่า บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามนโยบายเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยในปี 2561 กลุ่มบริษัทฯ มีบทบาทและความ รับผิดชอบต่อสังคมผ่านกิจกรรมเพื่อสังคม ดังนี้ COOLfahrenheit น�ำโดยคุณปริญญ์ หมื่นสุกแสง กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วย คูลเจ. ไปป์-ปวร กิจเจริญการกุล มอบเงินจากการจัด กิจกรรม COOL Running #วิ่งเอาลุค ให้ “มูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี” โดยมี นพ. วิรชั พันธ์พานิช รองเลขาธิการ ฝ่ายบริหาร และ นพ.พิรุณ ค�ำอุ่น รองเลขาธิการฝ่ายวิชาการและวิจัย เป็นผูร้ บั มอบเพือ่ น�ำไปจัดท�ำขาเทียมให้กบั คนพิการทีย่ ากไร้ดอ้ ยโอกาส

COOLfahrenheit น� ำ โดยคุ ณ ปริ ญ ญ์ หมื่ น สุ ก แสง กรรมการ ผู้จัดการ และ คูลเจ. เป็นตัวแทนน�ำเงินบริจาค จากกิจกรรม “COOL Degree ฟังดีได้ดี 2018” ทีแ่ ฟนๆ ผูฟ้ งั ร่วมกันท�ำความดีจากการสะสม คะแนนการฟังผ่าน Application COOLISM เพื่อแลกเป็นเงินบริจาค ส่งมอบให้กบั “มูลนิธคิ นตาบอดไทย” และ “มูลนิธชิ ว่ ยคนตาบอดไทย แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์”


75 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ตัวแทนศิลปินดารา น�ำโดย มังกร-ปภาวิน หงส์ขจร และ มีน-อัจจิมา โกสุมา จากสถานีโทรทัศน์ ช่อง 8 และ ต้นข้าว-เขมนาฏธ จิรมงคลกิตต์ หรือ ต้นข้าว อาร์สยาม และ กล้วย-ศิริรัตน์ จันทน์เทศ หรือ กล้วย อาร์สยาม ค่ายอาร์สยาม ภายใต้โครงการ “ช่อง 8 ประสานใจ ช่วยภัย น�ำ้ ท่วม” พร้อมด้วยนายศรีธรรม ราชแก้ว นายอ�ำเภอบ้านแหลม จังหวัด เพชรบุ รี และชาวบ้ า นในชุ ม ชนกว่ า 200 คน ลงพื้ น ที่ ฟ ื ้ น ฟู แ ละ ท�ำความสะอาด บริเวณมัสยิดอิสลามมุรเราะห์มาน ต�ำบลบางครก อ�ำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุร ี รวมถึงให้กำ� ลังใจ พีๆ่ น้องๆ หลังจาก เกิดเหตุการณ์น�้ำท่วมจนท�ำให้บ้านเรือน และพื้นที่สาธารณะเสียหาย นอกจากนี้ยังได้น�ำเสื้อไปแจกให้แก่ผู้ประสบภัยด้วย

เนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ ประจ�ำปี 2561 สภาสังคมสงเคราะห์ แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดเลี้ยงอาหารพระราชทาน แก่ผู้เดินทางที่สถานีรถไฟหัวล�ำโพง เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณ สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 โดยมี สองศิลปิน จิตอาสา จากบริษัทฯ น�ำโดย ลาล่า อาร์สยาม และ ธัญญ่า อาร์สยาม ร่วมน�ำปิ่นโตอาหารมอบให้ผู้เดินทาง จ�ำนวน 5,000 ชุด

โครงการ “ปันน�้ำใจ จากเพื่อนถึงเพื่อนครั้งที่ 3” โดยศิลปินป็อบร็อค ของเมืองไทย“วงเฟลม” ทั้ง เก่ง-อภิมงคล คูณธาการเจน-วัชรศักดิ์ ค�ำแสน และ โจ้-สาริษฐ์ จรัสวิโรจน์ ที่ชวนพี่น้องศิลปิน และแฟนคลับ ร่ ว มเลี้ ย งอาหารกลางวั น พร้ อ มจั ด มิ นิ ค อนเสิ ร ์ ต ที่ ส ถานคุ ้ ม ครอง และพัฒนาคนพิการบ้านกึ่งวิถี (หญิง) คลอง 6 ปทุมธานี

COOLfahrenheit ร่วมกับ สถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือทั่วประเทศ น�ำทีมโดย คุณปริญญ์ หมื่นสุกแสง พร้อมด้วย คูลเจ. กัญ-รังรอง วัณณรถ คูลเจ. ตัม้ -ภัทรวุฒิ สิงหเสนี และคูลเจ. นิค-ถิรภัทร ชัยจรรยา จั ด กิ จ กรรมชวนท� ำ ดี ปั น รั ก ปั น น�้ ำ ใจ ให้ น ้ อ งผู ้ ด ้ อ ยโอกาส ในโครงการ “เสี ย งเพื่ อ น้ อ ง” ณ โรงเรี ย นบ้ า นเด็ ก รามอิ น ทรา (บ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ�้ำซ้อน) โดยได้มอบเงินบริจาคและสิ่งของ เครื่องใช้ที่จ�ำเป็นรวมทั้งเลี้ยงอาหารท�ำกิจกรรมสร้างความสุขมอบ รอยยิ้มให้กับน้องๆ อีกด้วย


76 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า กั ล ยาณิ วั ฒ นา กรมหลวงนราธิ ว าสราชนคริ น ทร์ ทางสภาสั ง คม สงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดงาน “น้อม ร�ำลึกสมเด็จเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ...แก้วกัลยาของแผ่นดิน” เพือ่ น้อม ร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ ทีม่ ตี อ่ คนพิการ ตลอดจนประชาสัมพันธ์ให้ เป็นทีร่ จู้ กั อย่างแพร่หลาย ณ โซน Atrium 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดย ต้นข้าว อาร์สยาม และ เพลง อาร์สยาม ตัวแทนศิลปินค่าย อาร์สยาม ร่วมจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ดอกแก้วกัลยา ดอกไม้ประดิษฐ์ โดยคนพิการเพื่อหารายได้ช่วยเหลือคนพิการทั่วประเทศ

ดร.องอาจ สิงห์ล�ำพอง กรรมการผู้อ�ำนวยการใหญ่ สถานีโทรทัศน์ ช่ อ ง 8 พร้ อ มด้ ว ยนั ก แสดงในสั ง กั ด ฟลุ ค -จิ ร ะ ด่ า นบวรเกี ย รติ เอี้ยง-สิทธา สภานุชาติ ยีนส์-เกวลิน ศรีวรรณา ฝ้าย-เวฬุรยี ์ ดิษยบุตร เข้ามอบรายได้หลังหักค่าใช้จา่ ยในกิจกรรม “หนุ ม านรั น วิ่ ง บุ ก กรุ ง ” ให้กับโรงพยาบาลทหารผ่านศึก เพื่อสนับสนุนการจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ทางการแพทย์

2 ดาราศิลปิน น�ำโดย โบว์ลิ่ง-ปริศนา กัมพูสิริ นักแสดงจากช่อง 8 และ ลาดา อาร์สยาม จากค่ายอาร์สยาม เข้าร่วมเป็นแกนน�ำในงาน วันเด็กแห่งชาติ ร่วม “กิจกรรมท�ำบุญไม่ทารุณสัตว์” ของสมาคม ป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSCA) ณ สวนสัตว์ดุสิต (เขาดินวนา) เพื่อเป็นการปลูกฝังจิตส�ำนึกให้เด็ก และเยาวชนได้เกิด ความรู้ ความเข้าใจ และมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์

นางวัลยา วัฒนรัตน์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ปิดไฟ 1 ชั่วโมงเพื่อลดโลกร้อน ในแคมเปญ “60+ Earth Hour 2018” เชิญชวนให้คนไทยทัว่ ประเทศปิดไฟ 1 ชัว่ โมง โดยมีดารานักแสดงจากช่อง 8 ฝ้าย-เวฬุรีย์ ดิษยบุตร และกฤตฎ์ อมรชัยฤกษ์ ท�ำหน้าที่พรีเซ็นเตอร์ และร่วมเป็นแกนน�ำเดินรณรงค์ และเมืองใหญ่อื่นๆ ทั่วโลกร่วมมือกัน เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะวิกฤตโลกร้อนอีกด้วย


77 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

พลเอกประวิตร วงษ์สวุ รรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานในพิธี พร้อมด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา และศิลปินดาราอาร์เอส ได้แก่ มังกร-ปภาวิน หงส์ขจร ช่อง 8 เก่งอภิมงคล คูณทาการ ธัญญ่า-ดาราภัช ทวีนันท์ หรือ ธัญญ่า อาร์สยาม และ ต้นข้าว-เขมนาฏ ธจิรมงคลกิตต์ หรือ ต้นข้าว อาร์สยาม พร้อมภาคี เครื อ ข่ า ยกั บ คณะอนุ ก รรมการปราบปรามการละเมิ ด ทรั พ ย์ สิ น ทางปัญญา กองอ�ำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กองทัพบก กองทัพเรือ ส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กรมทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญา กรมศุ ล กากร กรมสื บ สวนคดี พิ เ ศษ กรมประชาสัมพันธ์ และภาคเอกชนเจ้าของสิทธิในทรัพย์สนิ ทางปัญญา จัดพิธีท�ำลายของกลางคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่คดีถึงที่สุด

นาวาโทหญิ ง แพทย์ ห ญิ ง อุ บ ลวั ณ ณ์ จรู ญ เรื อ งฤทธิ์ ผู ้ อ� ำ นวยการ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย น�ำศิลปิน บิว กัลยาณี อาร์สยาม เข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเชิญชวนคนไทยแต่งชุดไทย มาบริจาคโลหิต เพือ่ ร่วมสืบสานอนุรกั ษ์ประเพณีสงกรานต์ในโครงการ “แล้งนี้ ไม่แล้งน�้ำใจ ด้วยการให้โลหิต” ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เพื่อให้มีปริมาณโลหิตเพียงพอจ่ายให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ

คุ ณธี ร ะพงศ์ ปั ง ศรี ว งศ์ นายกสมาคมป้องกัน การทารุณ สั ต ว์ แห่ ง ประเทศไทย (TSPCA) และ นสพ.ปานเทพ รัตนากร คณบดีคณะสัตว แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานจัดงาน “รักไม่ปล่อย ให้ Set Zero No Rabies” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างความ เข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการแก้ปัญหาสัตว์จรจัด โดยรณรงค์ให้สุนัข จรจัดได้รับการฉีดวัคซีน โดยมี ศิลปินดารา มังกร-ปภาวิน หงษ์ขจร ทูตสันถวไมตรี TSPCA มิ้ม-รัตนาภรณ์ กลิ่นกุหลาบหิรัญ ดารา นักแสดงช่อง 8 ร่วมรณรงค์ในงานด้วย

ดาราศิลปินอาร์เอส และช่อง 8 อาทิ มังกร-ปภาวิน หงษ์ขจร และ ต้นข้าว อาร์สยาม ในฐานะพรีเซ็นเตอร์ ร่วมกัน รณรงค์คนไทยงด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอด 3 เดือนเข้าพรรษา ในงานแถลงข่าววัน งดดื่มสุราแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันเข้าพรรษาของทุกปี โดยจะช่วยลด ค่าใช้จา่ ยได้กว่า 11,000 ล้านบาท ซึง่ เป็นจุดเริม่ ต้น ลด ละ เลิกเครือ่ งดืม่ แอลกอฮอล์ เสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว จัดทํา โครงการ “ค้นฅน เลิกเหล้า เข้าพรรษา” ค้นหาผู้มีปัญหาจากการ ดื่มเหล้าให้เข้าถึงระบบบําบัดรักษา จับมือทุกหน่วยงานจัดกิจกรรม “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ”


78 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

รางวัลที่ได้รับในปี 2561

ฟลุค-จิระ ด่านบวรเกียรติ ศิลปินช่อง 8 ได้รับเลือกจาก ศูนย์วิจัย ศิลปิน อ๊อฟ ดอกฟ้า อาร์สยาม และ กานดา อาร์สยาม ได้เข้ารับรางวัล โรคเอดส์ สภากาชาดไทย ให้เป็น “พรีเซ็นเตอร์วันเอดส์โลก ประจ�ำ เพชรแห่งสยาม 2018 (บุคคลต้นแบบตัวอย่างดีเด่นที่ทรงคุณค่าแห่งปี ปี 2561” โดยได้เข้ารับพระราชทานเข็มทีร่ ะลึกจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ 2018) สาขาดารานักแสดง จัดโดยชมรมสื่อสร้างสรรค์ไทย พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พร้อมท�ำหน้าที่รณรงค์ เชิญชวนคนไทยร่วมกันป้องกันภัยจากโรคเอดส์

นักร้องลูกทุ่ง บิว พงศ์พิพัฒน์ อาร์สยามได้เข้ารับโล่ในนาม บริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) และในฐานะพรีเซ็นเตอร์วันคนพิการประจ�ำปี 2561 ซึ่งในงานมีการจ�ำหน่ายดอกแก้วกัลยา ดอกไม้ประจ�ำสัญลักษณ์ วันคนพิการ เพื่อน�ำรายได้ช่วยเหลือคนพิการ

“อาร์สยาม” ค่ายเพลงดนตรีไร้ขอบแห่งแรกของเมืองไทย ได้รับ รางวัล “ปุม่ เพชร” จากยูทปู เพราะมียอดผูต้ ดิ ตาม (Subscribers) ทะลุ 10 ล้านราย ถือเป็นอีกหนึง่ ความภาคภูมใิ จและการันตีความส�ำเร็จของ “อาร์เอส” ทีส่ ามารถเข้าถึงผูบ้ ริโภคยุคใหม่ซงึ่ มีไลฟ์สไตล์เปลีย่ นแปลง ไปตามเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น


79 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ผู ้ ป ระกาศ ต่ ว ย-ภคพงศ์ อุ ด มกั ล ยารั ก ษ์ และ แนส-ทิฆัมพร อยู่ก�ำเนิด จากรายการ “ปากท้องต้องรู้” ทางช่อง 8 เข้ารับรางวัล พิฆเนศวรประเภท “รายการส่งเสริมอาชีพ และพั ฒ นาดี เ ด่ น ” จั ด โดย สมั ช ชานั ก จั ด รายการข่าววิทยุโทรทัศน์หนังสือพิมพ์แห่ง ประเทศไทย (สว.นท.) ในงานประทานรางวัล วิ ท ยุ โ ทรทั ศ น์ แ ห่ ง ชาติ รางวั ล พิ ฆ เนศวร ครั้งที่ 6 ประจ�ำปี 2561

อีกหนึ่งต้นแบบที่ดีแก่เยาวชน ในการสร้าง ทั ศ นคติ ใ ห้ วั ย รุ ่ น ไทยไม่ อ ยากลองสู บ บุ ห รี่ โดย 2 ศิลปินจากค่ายอาร์สยาม ได้แก่ ธัญญ่า อาร์สยาม และ ลาดา อาร์สยาม เข้ารับรางวัล ศิลปินเพือ่ สังคมไทยปลอดบุหรีป่ ระจ�ำปี 2561

ส ภ า ศิ ล ป ิ น ส ่ ง เ ส ริ ม พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า แห่งประเทศไทย ส�ำนักงานพระพุทธศาสนา แห่งชาติ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดไตรมิตร ร่วมเป็นประธานในพิธีมอบรางวัล “ทู ต พระพุ ท ธศาสนา ประจ� ำ วั น มาฆบู ช า 2561” โดยมียีนส์-เกวลิน ศรีวรรณา และ กฤต อมรชัยฤกษ์ นักแสดงช่อง 8 เข้ารับรางวัล เพือ่ ประกาศเกียรติคณ ุ ในฐานะพุทธศาสนิกชน ชาวไทยที่ เ ผยแพร่ ค� ำ สอนพระพุ ท ธศาสนา อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง และมี จิ ต ช่ ว ยเหลื อ สั ง คม อยู่เสมอ


80 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ดารานักแสดง พิธีกร ผู้ประกาศข่าว จากช่อง 8 อาทิ แนน-กัญดา ศรีธรรมูปถัมภ์ ฝ้าย-เวฬุรยี ์ ดิษยบุตร กฤตฎ์ อมรชัยฤกษ์ ออฟ-อัครพล ทองธราดล รับพระราชทาน “เข็มวันอานันทมหิดล” ท�ำหน้าที่บุคคล ต้นแบบรณรงค์รับบริจาคเข็ม วันอานันทมหิดล เพื่อหารายได้สมทบ มูลนิธิอานันทมหิดล มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก สภากาชาดไทย และช่วย เหลื อ พระภิ ก ษุ อ าพาธ ผู ้ ป ่ ว ยยากไร้ โรงพยาบาลจุ ฬ าลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ก้อย-บุญญิตา งามศัพพศิลป์ และ หลี่แช-วิยดา พีรรัฐกุล จากรายการ คุยข่าวเช้าช่อง 8 เข้ารับประทานโล่รางวัลเกียรติยศ “ตาชัง่ ทอง” บุคคล สงเคราะห์ดีเด่นแห่งปี 2561 โดยสหพันธ์กรรมการสงเคราะห์เด็กและ เยาวชนแห่งประเทศไทย สมาคมสถาบันคุม้ ครองสิทธิประโยชน์ผบู้ ริโภค และภาคีเครือข่าย ประจ�ำปี 2561 ครั้งที่ 7 เพื่อเป็นขวัญก�ำลังใจ ยกระดับและเผยแพร่เกียรติคุณให้แก่บุคคลที่มีจิตอาสา

8. การมีนวัตกรรมและเผยแพร่นวัตกรรมซึ่งได้จากการด�ำเนินงานที่มีความรับผิดชอบ ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทฯ ไม่หยุดนิ่งที่จะค้นหาธุรกิจใหม่ เพื่อต่อยอดจากธุรกิจเดิม เพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในแต่ละ ยุคสมัย บริษทั ฯ พร้อมทีจ่ ะเปลีย่ นแปลง และใช้คณ ุ ค่าของบุคลากรและทรัพยากรทีม่ อี ยูใ่ ห้เกิดประโยชน์สงู สุด โดยน�ำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาปรับใช้ให้เกิดคุณค่าร่วมสูงสุด เห็นได้จากการเกิดขึ้นของธุรกิจใหม่ ซึ่งก็คือ ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง บริษัทฯ ได้รับแรงบันดาลใจในการ ผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามจากนวัตกรรมโลก และน�ำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยต้องการให้ ผู้บริโภคมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด ต้องการให้คนไทยได้เข้าถึงเทคโนโลยีที่เท่าเทียมระดับสากล โดยทีมงานได้ร่วมมือกับพันธมิตรจากสถาบันวิจัย ในต่างประเทศน�ำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์แต่ละแบรนด์ในเครือของบริษัท ไลฟ์สตาร์ จ�ำกัด


81 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

การควบคุมภายในและการ บริหารจัดการความเสี่ยง บริษัทฯ ให้ความส�ำคัญต่อการเสริมสร้างการควบคุมภายใน ให้มีความเพียงพอ และเหมาะสมกับการด�ำเนินธุรกิจ เพื่อเป็นการป้องกัน ทรัพย์สินของบริษัทฯ ไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือน�ำไปหาประโยชน์โดยมิชอบ โดยมีฝ่ายตรวจสอบกลางเป็นหน่วยงานท�ำหน้าที่ตรวจสอบ การปฏิบัติงานและกิจกรรมทางการเงินที่ส�ำคัญ และรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อให้ฝ่ายตรวจสอบกลาง มีความเป็นอิสระเพียงพอในการปฏิบัติงาน ปัจจุบันหัวหน้างานผู้ตรวจสอบภายใน คือ นางสาวกรพินธุ์ นาคศุภรังษี มีต�ำแหน่งเป็น ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการฝ่ายตรวจสอบกลาง คุณวุฒิทางการศึกษา/การอบรม : • ปริญญาโทบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • ปริญญาตรีบัญชีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • เข้าร่วมอบรมและสัมมนาต่างๆ ที่จัดโดยสภาวิชาชีพบัญชี สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย (สตท.) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประสบการณ์การท�ำงาน : • ธันวาคม 2544-ปัจจุบัน • 2536 - 2544

ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการฝ่ายตรวจสอบกลาง บมจ. อาร์เอส ผู้ช่วยผู้จัดการ บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย ออดิท จ�ำกัด

ในการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบ 3 ท่านเข้าร่วมประชุมด้วย คณะกรรมการได้ประเมินความเพียงพอของระบบควบคุมภายในโดยการซักถามข้อมูลจากฝ่ายบริหาร และการตอบแบบประเมินความเพียงพอ ของระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ ด้วยตนเอง สรุปได้ว่า การประเมินระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ ในด้านต่างๆ 5 ส่วน คือ

1. องค์กรและสภาพแวดล้อม บริษัทฯ ค�ำนึงถึงสภาพแวดล้อมการท�ำงานที่ดี โดยได้ก�ำหนดให้มีนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี คู่มือจรรยาบรรณของกลุ่มบริษัทฯ และได้เผยแพร่เพื่อใช้อ้างอิงและถือปฏิบัติ ตลอดจนติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายฯ นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทมีการก�ำหนดเป้าหมายการด�ำเนินธุรกิจอย่างชัดเจน ทบทวนแผนธุรกิจ และให้ข้อสังเกตแก่ ฝ่ายจัดการไปพิจารณาด�ำเนินการ 2. การบริหารความเสีย่ ง บริษทั ฯ มุง่ เน้นให้ความส�ำคัญกับการบริหารความเสีย่ ง โดยจัดให้มคี ณะกรรมการบริหารความเสีย่ ง เพือ่ ก�ำหนด นโยบาย ก�ำกับดูแล และสนับสนุนให้การบริหารความเสี่ยงเป็นไปตามนโยบาย หรือแผนงาน และส�ำเร็จลุล่วง 3. การควบคุมการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร บริษัทฯ มีนโยบาย ระเบียบข้อบังคับ วิธีปฏิบัติงาน อ�ำนาจหน้าที่ และอ�ำนาจอนุมัติ เพื่อให้มีการควบคุมที่รัดกุม 4. ระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูล บริษัทฯ จัดให้มีระบบสารสนเทศที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติงานทางบัญชีและการรายงานทาง การเงินอย่างเป็นระบบ และเป็นไปตามนโยบาย และระเบียบข้อบังคับที่ควบคุม 5. ระบบการติดตาม คณะกรรมการบริษัทได้รับทราบผลการด�ำเนินงานเปรียบเทียบกับเป้าหมายทุกไตรมาส และมีฝ่ายงานตรวจสอบ ภายในท�ำหน้าทีป่ ระเมินความเพียงพอและความมีประสิทธิผลของการควบคุมภายในทีม่ อี ยู่ ตลอดจนตรวจสอบการปฏิบตั ติ ามระบบ การควบคุมภายในของหน่วยงานต่างๆ ตามแผนการตรวจสอบที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว

คณะกรรมการมีความเห็นว่า ปัจจุบันบริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในในเรื่องการท�ำธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวอย่างเพียงพอแล้ว ส�ำหรับการควบคุมภายในในหัวข้ออื่น คณะกรรมการเห็นว่าบริษัทมีการควบคุมภายใน ที่เพียงพอแล้วเช่นกัน


82 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

นโยบายการต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชัน บริษัทฯ ตระหนักถึงความส�ำคัญในเรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ดังนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 จึงได้มีการพิจารณาอนุมัตินโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันเพื่อให้แนวทางปฏิบัติของบริษัทมีความชัดเจนยิ่งขึ้น และที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ได้มีการพิจารณาทบทวน ปรับปรุง อนุมัตินโยบายการต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชัน และติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว

นโยบายและแนวทางปฏิบัติ

คณะกรรมการบริษทั มุง่ มัน่ ในการด�ำเนินธุรกิจภายใต้กรอบการปฏิบตั ติ ามนโยบายก�ำกับดูแลกิจการทีด่ ี และจรรยาบรรณของกลุม่ บริษทั อาร์เอส เพื่อให้มีความโปร่งใส และไม่ยอมรับการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ ตลอดจนสร้างจิตส�ำนึกและค่านิยมในเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต และการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร โดยก�ำหนดให้มีการก�ำกับดูแล ควบคุมดูแล บริหารความเสี่ยง และระบบควบคุม ภายในเพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางการปฏิบัติ ดังนี้ 1. ก�ำหนดหลักการการให้ หรือรับของขวัญ การรับประโยชน์และการเกีย่ วข้องทางการเงิน ไว้ในคูม่ อื จรรยาบรรณของกลุม่ บริษทั อาร์เอส 2. ก�ำหนดระเบียบปฏิบัติในเรื่องต่างๆ รวมถึงล�ำดับอ�ำนาจอนุมัติไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้างไม่ให้มีการให้หรือรับในลักษณะ ที่เป็นการทุจริตคอร์รัปชัน และให้ด�ำเนินการตามคู่มือการปฏิบัติงานฝ่ายจัดหาจัดซื้อ เพื่อให้มีความชัดเจนและโปร่งใส 3. จัดให้มีการควบคุมภายในอย่างเพียงพอและเหมาะสม ได้แก่ การแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบในงานอย่างชัดเจนและเหมาะสม การอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบตามล�ำดับชั้น การตรวจสอบ และการสอบทาน เป็นต้น 4. มีการสื่อสารนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี และคู่มือจรรยาบรรณของกลุ่มบริษัทอาร์เอส รวมถึงนโยบายการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน 5. จัดให้มีช่องทางการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแส ทั้งจากพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียอื่น รวมทั้งยังได้ก�ำหนดมาตรการคุ้มครองและ รักษาความลับของผู้ร้องเรียน

การประเมินความเสี่ยงจากการทุจริต คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้มีการพิจารณาวางแผน ทบทวนระบบ และประเมินประสิทธิผลของการบริหารจัดการความเสี่ยงเป็น ประจ�ำปี ซึ่งครอบคลุมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการทุจริตคอร์รัปชันด้วย

การก� ำ กั บ ดู แ ลและควบคุ ม ดู แ ลเพื่ อ ป้ อ งกั น และติ ด ตามความเสี่ ย งจากการทุ จ ริ ต คอร์ รั ป ชั น และการติ ด ตามประเมิ น ผล การปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

1. จัดให้มีการสื่อสารและฝึกอบรมแก่พนักงานทุกคนเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน 2. เปิดโอกาสให้พนักงานในทุกระดับได้เสนอความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการควบคุมภายใน รวมถึงการป้องกัน การทุจริตคอร์รัปชันให้เหมาะสมและรัดกุมมากขึ้น 3. กรรมการ ผู้บริหาร หรือหัวหน้างานในทุกระดับมีหน้าที่สอดส่องติดตามไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจริยธรรม ในเรื่องนี้ รวมถึงสื่อสารและให้ความรู้กับผู้เกี่ยวข้อง 4. ฝ่ายตรวจสอบกลางปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามแผนงานตรวจสอบประจ�ำปีที่ก�ำหนดไว้ หากตรวจพบความเสี่ยงหรือการกระท�ำซึ่งส่ง ผลกระทบทีม่ นี ยั ส�ำคัญในเรือ่ งเกีย่ วเนือ่ งกับการทุจริตคอร์รปั ชัน ให้นำ� เสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษทั 5. ช่องทางในการแจ้งเบาะแสและร้องเรียน ในกรณีที่พบเห็นการกระท�ำที่ฝ่าฝืนนโยบายดังกล่าว ทั้งจากพนักงานเอง และผู้มีส่วน ได้เสียอื่น สามารถร้องเรียน หรือให้ข้อมูลผ่านช่องทางอีเมล : IA_Anti_Corruption@rs.co.th และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงต่างๆ

มาตรการคุ้มครองและรักษาความลับของผู้ร้องเรียน บริษัทฯ ให้ความส�ำคัญกับการเก็บข้อมูลร้องเรียนเป็นความลับเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ร้องเรียน และเรื่องร้องเรียนดังกล่าวจะรับรู้ เฉพาะในกลุม่ บุคคลทีไ่ ด้รบั มอบหมายและเกีย่ วข้องด้วยเท่านัน้ และบุคคลใดๆ ทีไ่ ด้รบั ทราบเรือ่ งร้องเรียน หรือข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ งร้องเรียน จะต้องปกป้องข้อมูลเรื่องร้องเรียน หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียนให้เป็นความลับ และไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่น เว้นแต่เป็นการให้ข้อมูล เพือ่ การตรวจสอบข้อเท็จจริงตามกระบวนการ หรือตามทีก่ ฎหมายก�ำหนด หากมีการจงใจฝ่าฝืนน�ำข้อมูลไปเปิดเผย บริษทั ฯ จะด�ำเนินการลงโทษ ทางวินัยและ/หรือด�ำเนินการทางกฎหมายแล้วแต่กรณี


83 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

รายการระหว่างกัน รายละเอียดข้อมูลของรายการระหว่างกัน ระหว่างบริษัทฯ บริษัทย่อย และบริษัทที่เกี่ยวข้องกันได้แสดงไว้ในหมายเหตุประกอบ งบการเงินของบริษัทฯ ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ได้สอบทานรายการระหว่างกันของ บริษัทฯ แล้วมีความเห็นว่ารายการระหว่างกันดังกล่าว เป็นไปตามเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไปและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อก�ำหนดของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีหลักฐานการท�ำรายการครบถ้วน ตลอดจนมีการเปิดเผยในงบการเงินอย่างเพียงพอ ในปี 2561 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจตามปกติกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2561 ดังต่อไปนี้ บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง

ความสัมพันธ์

นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์

เป็นกรรมการและถือหุ้นร้อยละ 36.26 ในบริษัทฯ

บริษัท เชษฐโชติศักดิ์ จ�ำกัด

นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ เป็นกรรมการและถือหุ้นร้อยละ 18.70 ในบริษัท เชษฐโชติศักดิ์ จ�ำกัด นางสุจีรา เชษฐโชติ ผู้ถือหุ้นร้อยละ 6.30 ของบริษัท เชษฐโชติศักดิ์ จ�ำกัด และเป็นคู่สมรสของนายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ซึ่งเป็นกรรมการ และผู้ถือหุ้นร้อยละ 36.26 ของทุนจดทะเบียนช�ำระแล้วของบริษัทฯ นายสุวัฒน์ เชษฐโชติศักดิ์ เป็นกรรมการและถือหุ้นร้อยละ 14.35 ในบริษัท เชษฐโชติศักดิ์ จ�ำกัด และเป็นน้องชาย ของนายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ นางสาวมาลี เชษฐโชติศักดิ์ เป็นกรรมการและถือหุ้นร้อยละ 14.50 ในบริษัท เชษฐโชติศักดิ์ จ�ำกัด และเป็นพี่สาว ของนายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์

บริษัท เม็มเบอร์ชิป จ�ำกัด

นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ เป็นกรรมการและถือหุ้นร้อยละ 50.00 โดยรวมการถือหุ้นของคู่สมรสด้วย ในบริษัท เชษฐโชติ จ�ำกัด ซึ่งบริษัท เชษฐโชติ จ�ำกัด เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท เม็มเบอร์ชิป จ�ำกัด นายโชต เชษฐโชติ ผู้ถือหุ้นร้อยละ 10.00 ในบริษัท เม็มเบอร์ชิปจ�ำกัด และถือหุ้นร้อยละ 0.69 ในบริษัทฯ และเป็นบุตรชายของนายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ นายเชษฐ เชษฐโชติศักดิ์ ผู้ถือหุ้นร้อยละ 30.00 ในบริษัท เม็มเบอร์ชิป จ�ำกัด และถือหุ้นร้อยละ 1.75 ในบริษัทฯ และเป็นบุตรชายของนายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์

หมายเหตุ สัดส่วนการถื อหุ ้นของบุคคลที ่อาจมี ความขัดแย้ งในบริษัทฯ เป็นข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561


84 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ลักษณะรายการระหว่างกัน เงื่อนไขและนโยบายราคา การก�ำหนดราคาของรายการระหว่างกันกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนใหญ่เป็นการให้เช่าทรัพย์สิน ได้กระท�ำโดยค�ำนึงถึงความเหมาะสม โดยอ้างอิงได้กับราคาตลาดและมีเงื่อนไขอื่นๆ ไม่แตกต่างอย่างเป็นสาระส�ำคัญจากตลาด โดยลักษณะของรายการระหว่างกันประกอบไปด้วย

การเช่าอาคาร งบการเงินส�ำหรับปี สิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561 บริษทั ฯ และบริษทั ย่อยได้ชำ� ระค่าเช่าอาคาร ค่าบริการส่วนกลาง และค่าสาธารณูปโภค ให้แก่ บริษัท เชษฐโชติศักดิ์ จ�ำกัด และ บริษัท เม็มเบอร์ชิป จ�ำกัด เป็นจ�ำนวน 79.51 ล้านบาท และ 13.41 ล้านบาท ตามล�ำดับ บริษัทฯ ได้มีการเช่าอาคารเชษฐโชติศักดิ์ 1-3 จากบริษัท เชษฐโชติศักดิ์ จ�ำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นอาคารส�ำนักงาน โดยคิด ค่าเช่าและค่าบริการส่วนกลาง ในอัตรา 425 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งมีความสมเหตุสมผลเมื่อเทียบกับอาคารที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับบริษัทฯ ซึ่งคิดค่าเช่าและค่าบริการในอัตรา 450 - 620 บาทต่อตารางเมตร ส่วนการเช่าอาคารอื่นในบริเวณใกล้เคียงจากบริษัท เชษฐโชติศักดิ์ จ�ำกัด และ บริษัท เม็มเบอร์ชิป จ�ำกัด นั้น (รายละเอียดในตาราง ค่าเช่าอาคารส�ำนักงาน ข้อ 4 ข้อ 5 และ ข้อ 6) มีการเรียกเก็บค่าเช่าและค่าบริการส่วนกลางแบบเหมารวม (การคิดค่าบริการแบบเหมารวม หมายถึง การคิดค่าเช่าและค่าบริการรวมต่ออาคารทั้งหลัง แทนที่จะคิดเป็นตารางเมตร โดยคิดราคาตามสภาพของอาคารแต่ละอาคารที่ให้เช่า) โดยมีวัตถุประสงค์ของการเช่าเพื่อใช้เป็นอาคารส�ำนักงาน และอาคารจอดรถของบริษัทฯ ทัง้ นี้ อาคารส�ำนักงานทีท่ างบริษทั ฯ ได้ทำ� การเช่าจากบริษทั เชษฐโชติศกั ดิ์ จ�ำกัด (ตารางค่าเช่าอาคารส�ำนักงาน ข้อ 5 และ ข้อ 6 ซึง่ อยูใ่ น บริเวณติดกับอาคารเชษฐโชติศักดิ์ 2) เป็นอาคารที่ทางบริษัท เชษฐโชติศักดิ์ จ�ำกัด ได้ท�ำการเช่าช่วงต่อมาจากนายเกรียงไกร เชษฐโชติศักดิ์ และ น�ำมาปรับปรุงพื้นที่ลักษณะการใช้งานจากบ้านทาวน์เฮ้าส์ มาเป็นอาคารส�ำนักงาน พร้อมให้บริการอ�ำนวยความสะดวกเกี่ยวกับสาธารณูปโภค ต่างๆ และคิดค่าเช่า/ค่าบริการในอัตราเหมารวม โดยมีอัตราเฉลี่ยประมาณ 337-412 บาทต่อตารางเมตร (ค�ำนวณจากค่าเช่า/ค่าบริการที่คิด ในอัตราเหมารวมหารพื้นที่ใช้สอยโดยประมาณของอาคาร) ซึ่งเป็นอัตราที่ต�่ำกว่า อาคารเชษฐโชติศักดิ์ 1-3 โดยอัตราดังกล่าวมีความสมเหตุ สมผลตามรายละเอียดที่เปรียบเทียบตามวรรคก่อน อนึ่ง สาเหตุหลักที่บริษัทฯ ท�ำการเช่าช่วงต่อจาก บริษัท เชษฐโชติศักดิ์ จ�ำกัด นั้น เนื่องจาก บริษัทดังกล่าวมีความช�ำนาญเชี่ยวชาญในการบริหารส�ำนักงานเช่าได้ดี โดยสัญญาเช่าที่ท�ำกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งมีรายละเอียดดังตาราง ต่อไปนี้


85 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ผู้เช่า

พื้นที่ (ตร.ม.)

ค่าเช่าและค่า บริการ/เดือน (ล้านบาท)

บจ. เชษฐโชติศักดิ์

บมจ. อาร์เอส

3,745

2. อาคารเชษฐโชติศักดิ์ 2 เลขที่ 419/2 ซอยลาดพร้าว 15 เขตจตุจักร กทม.

บจ. เชษฐโชติศักดิ์

บมจ. อาร์เอส

3. อาคารเชษฐโชติศักดิ์ 3 เลขที่ 419/3 ซอยลาดพร้าว 15 เขตจตุจักร กทม.

ผู้ให้เช่า/ ผู้เช่าช่วง

1. อาคารเชษฐโชติศักดิ์ 1 เลขที่ 419/1 ซอยลาดพร้าว 15 เขตจตุจักร กทม.

อาคาร/ที่ตั้ง

อายุสัญญา

อนุมัติรายการ โดย (**)

เริ่ม

สิ้นสุด (*)

1.59

มิ.ย. 61

พ.ค. 62

คณะกรรมการ

5,955

2.55

มิ.ย. 61

พ.ค. 62

คณะกรรมการ

บจ. ไลฟ์สตาร์

50

0.02

มิ.ย. 61

พ.ค. 62

คณะกรรมการ

บจ. เชษฐโชติศักดิ์

บมจ. อาร์เอส

2,242

0.95

มิ.ย. 61

พ.ค. 62

คณะกรรมการ

4. อาคารเลขที่ 419/4 ซอยลาดพร้าว 15 เขตจตุจักร กทม.

บจ. เม็มเบอร์ชิป

บมจ. อาร์เอส

พื้นที่เหมารวม

0.25 (ราคาเหมารวม) 0.51 (ราคาเหมารวม)

ส.ค. 61

พ.ค.62

คณะกรรมการ

ม.ค. 60

ธ.ค. 61

คณะกรรมการ

5. อาคารเลขที่ 203/18-20 ซอยลาดพร้าว 15 เขตจตุจักร กทม. 6. อาคารเลขที่ 203/34-36 ซอยลาดพร้าว 15 เขตจตุจักร กทม.

บจ. อาร์.เอส. เทเลวิชั่น

850

นายเกรียงไกร เชษฐโชติศักดิ์/ บจ. เชษฐโชติศักดิ์

บจ. ไลฟ์สตาร์

600

0.25 (ราคาเหมารวม)

มิ.ย. 61

พ.ค. 62

คณะกรรมการ

นายเกรียงไกร เชษฐโชติศักดิ์/ บจ. เชษฐโชติศักดิ์

บจ. ไลฟ์สตาร์

600

0.20 (ราคาเหมารวม)

มิ.ย. 61

พ.ค. 62

คณะกรรมการ

หมายเหตุ * สามารถต่ ญญาเช่า ออกไปได้อ ีก เมื่อสิ้นสุด อายุสัญญาเช่า อ อายุของสั (การต่ออายุสัญญาเช่าดังกล่าว ไม่เป็นไปโดยอัตโนมัติ ต้องมีการพิจารณาสัญญาใหม่ทุกครั้ง) ** รายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นได้มีการอนุมัติรายการและเปิดเผยข้อมูลตามประกาศของคณะกรรมการก�ำกับตลาดทุนแล้ว


86 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

การเช่าที่ดิน งบการเงินส�ำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561 บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้ช�ำระค่าเช่าที่ดิน ให้แก่ บริษัท เชษฐโชติศักดิ์ จ�ำกัด และ คณะบุคคลเชษฐโชติศักดิ์ เป็นจ�ำนวนเงิน 0.19 ล้านบาทต่อปี บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้มีการเช่าที่ดินจากบริษัท เชษฐโชติศักดิ์ จ�ำกัด และคณะบุคคลเชษฐโชติศักดิ์ ซึ่งเป็นที่ดินที่เช่าช่วงต่อมาจาก นายเกรียงไกร เชษฐโชติศักดิ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นโรงเก็บอุปกรณ์และร้านค้า โดยคิดค่าเช่าที่ดินในอัตราตารางวาละ 36-137 บาท ซึ่งมี ความสมเหตุสมผลเมื่อเปรียบเทียบกับการเช่าที่ดินในบริเวณใกล้เคียง รายละเอียดการเช่ามีดังตารางต่อไปนี้

ประเภท

พื้นที่

อายุสัญญา เริ่ม

สิ้นสุด (*)

อนุมัติรายการ โดย (**)

คณะบุคคลเชษฐ โชติศักดิ์

บมจ. อาร์เอส

152 ตร.ว.

22,000

มิ.ย. 58

พ.ค. 61

ด�ำเนินการโดย ฝ่ายจัดการ

2. ที่ดิน ซอยลาดพร้าว 15 เขตจตุจักร กทม.

บจ. เชษฐโชติศักดิ์

บมจ. อาร์เอส

52 ตร.ม.

5,500 7,100

มิ.ย. 58 มิ.ย. 61

พ.ค. 61 พ.ค. 62

ด�ำเนินการโดย ฝ่ายจัดการ

* สามารถต่ออายุของสัญญาเช่าออกไปได้อีก เมื่อสิ้นสุดอายุสัญญาเช่า (การต่ออายุสัญญาเช่าดังกล่าว ไม่เป็นไปโดยอัตโนมัติ ต้องมีการพิจารณาสัญญาใหม่ทุกครั้ง) ** สัญญาที่ด�ำเนินการโดยฝ่ายจัดการเนื่องจากขนาดของรายการไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ตามประกาศของ คณะกรรมการก�ำกับตลาดทุนแล้ว

การซื้อทรัพย์สินถาวร -ไม่มี-

การค�้ำประกัน

ผู้เช่า

ค่าเช่า/เดือน (บาท)

1. ที่ดิน ซอยลาดพร้าว 15 เขตจตุจักร กทม.

หมายเหตุ

ผู้ให้เช่า / ผู้เช่าช่วง

-ไม่มี-


87 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ความจ�ำเป็นและความสมเหตุสมผลของการท�ำรายการระหว่างกัน รายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นนั้นมีความจ�ำเป็นและความสมเหตุสมผลของการท�ำรายการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ ซึ่งในปี 2561 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีรายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นกับบริษัทย่อย และกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง โดยมีรายการหลักๆ อันได้แก่ การเช่าที่ดิน การเช่าอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารส�ำนักงาน หรือเพื่อการด�ำเนินธุรกิจ และรายการค�้ำประกันซึ่งเป็นรายการที่ด�ำเนินตามธุรกิจปกติ ไม่มีเงื่อนไขพิเศษ และไม่มีการถ่ายเทผลประโยชน์ ระหว่างบริษัทฯ และผู้ท่ีเกี่ยวข้อง การก�ำหนดราคา อัตราค่าธรรมเนียม และ/หรือ อัตรา ดอกเบี้ย เป็นการก�ำหนดตามราคาที่สอดคล้องกับอัตราปกติที่สามารถเปรียบเทียบได้กับการท�ำรายการกับบุคคลอื่นที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งได้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินประจ�ำปี 2561 แล้ว คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ได้สอบทานรายการระหว่างกันของบริษัทฯ และบริษัทย่อย และกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง อันได้แก่ การเช่าที่ดิน การเช่าอาคาร รายการซื้อขายสินค้า หรือทรัพย์สิน ค่าลิขสิทธิ์ การรับจ้างผลิต งานคอนเสิร์ตและกิจกรรมการตลาด การขายโฆษณา ค่าบริการ และดอกเบี้ยเงินกู้ ฯลฯ ซึ่งได้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินประจ�ำปี 2561 แล้ว มีความเห็นว่า รายการ ดังกล่าวเป็นรายการที่ด�ำเนินตามธุรกิจปกติ มีความจ�ำเป็นและความสมเหตุสมผลของการท�ำรายการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ

มาตรการ หรือขั้นตอนการอนุมัติการท�ำรายการระหว่างกัน บริษัทฯ มีนโยบายในการท�ำรายการระหว่างกัน คือ รายการระหว่างกันนั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานของความจ�ำเป็น ความสมเหตุสมผล และ เป็นการด�ำเนินการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มบริษัทฯ ซึ่งเป็นไปในราคา และเงื่อนไขที่ไม่แตกต่างกับรายการที่มีกับบุคคลภายนอก ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน และในกรณีที่มีรายการระหว่างกันที่มีสาระส�ำคัญ บริษัทฯ จะจัดให้ผ่านการอนุมัติจาก คณะกรรมการตรวจสอบและ คณะกรรมการบริษัท รวมถึงที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามแต่กรณี โดยก�ำหนดให้การออกเสียงในที่ประชุมนั้นๆ กรรมการ หรือผู้ถือหุ้น ซึ่งมีส่วนได้เสีย จะไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ทั้งนี้ การด�ำเนินการใดๆ จะต้องเป็นไปตามประกาศที่เกี่ยวข้องของคณะกรรมการก�ำกับตลาดทุน

นโยบายหรือแนวโน้มการท�ำรายการระหว่างกันรวมทั้งการได้มาหรือจ�ำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ ในอนาคต บริษัทฯ ยังคงมีนโยบายหรือแนวโน้มในการท�ำรายการระหว่างกันในอนาคตกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันต่อไป เช่น การเช่าอาคารส�ำนักงาน การเช่าที่ดิน และการค�้ำประกันเงินกู้ของบริษัทในกลุ่มโดยบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ไม่มีนโยบายที่จะท�ำรายการกับบุคคลที่อาจขัดแย้งกัน ยกเว้นในกรณีที่บริษัทฯ เห็นว่าจะได้รับผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งเป็นไปในราคาและเงื่อนไขที่ไม่แตกต่างหรือดีกว่าจากบุคคลภายนอก ซึ่งบริษัทฯ จะก�ำหนดให้ผา่ นความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษทั และทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ ในกรณีทเี่ ป็นรายการตามประกาศของคณะกรรมการก�ำกับตลาดทุน


88 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ทางการเงินนทีที่ ส่สาคั ข้ข้ออมูมูลลทางการเงิ �ำคัญญ งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 2560 และ 2561

งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 2560 และ 2561

งบการเงินรวม 31 ธันวาคม 2559

31 ธันวาคม 2560

31 ธันวาคม 2561

พันบาท

พันบาท

พันบาท

ร้ อยละ

ร้ อยละ

ร้ อยละ

สินทรั พย์ สินทรั พย์ หมุนเวียน : เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

103,762

2.5%

230,824

5.5%

339,640

8.3%

ลูกหนี ้การค้ าและลูกหนี ้อืน่ (สุทธิ )

647,567

15.6%

622,302

14.8%

553,168

13.6%

สินค้ าคงเหลือ (สุทธิ)

129,680

3.1%

315,635

7.5%

284,786

7.0%

ภาษีมลู ค่าเพิ่ม (สุทธิ)

67,630

1.6%

24,836

0.5%

3,816

0.1%

1,483

0.1%

2,276

0.1%

4,934

0.1%

950,123

22.9%

1,195,873

28.4%

1,186,344

29.1%

4,104

0.1%

3,989

0.1%

3,991

0.1%

473,046

11.5%

402,468

9.6%

331,535

8.1%

1,666,431

40.3%

1,531,085

36.4%

1,395,738

34.3%

สินทรัพย์ไม่มตี วั ตน (สุทธิ)

551,610

13.3%

587,247

14.0%

720,150

17.7%

ค่าใช้ จา่ ยจ่ายล่วงหน้ าเกินปี

35,417

0.9%

27,083

0.6%

9,030

0.2%

ภาษีเงินได้ ถูกหัก ณ ที่จา่ ย (สุทธิ )

124,080

3.0%

153,555

3.6%

180,090

4.4%

สินทรัพย์ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี (สุทธิ)

303,618

7.3%

273,924

6.5%

231,609

5.7%

30,860

0.7%

33,906

0.8%

14,840

0.4%

รวมสินทรั พย์ ไม่ หมุนเวียน

3,189,166

77.1%

3,013,257

71.6%

2,886,983

70.9%

รวมสินทรั พย์

4,139,289

100.0%

4,209,130

100.0%

4,073,327

100.0%

สินทรัพย์หมุนเวียนอืน่ (สุทธิ) รวมสินทรั พย์ หมุนเวียน สินทรั พย์ ไม่ หมุนเวียน : เงินลงทุนในบริ ษัทร่ วม (สุทธิ) อาคาร และอุปกรณ์ (สุทธิ) ใบอนุญาตให้ ใช้ คลื่นความถี่ และ ประกอบกิจการโทรทัศน์ (สุทธิ )

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอืน่ (สุทธิ )


89 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

งบการเงินรวม 31 ธันวาคม 2559

31 ธันวาคม 2560

31 ธันวาคม 2561

พันบาท

พันบาท

พันบาท

ร้ อยละ

ร้ อยละ

ร้ อยละ

หนีส้ นิ และส่ วนของเจ้ าของ หนีส้ นิ หมุนเวียน : เจ้ าหนี ้การค้ าและเจ้ าหนี ้อืน่

589,116

14.2%

815,419

19.4%

733,203

18.0%

11,668

0.3%

11,682

0.3%

11,071

0.3%

378,076

9.1%

176,864

4.2%

4,072

0.1%

706,000

17.1%

213,000

5.0%

240,000

5.9%

-

-

40,000

1.0%

80,000

2.0%

1,892

0.0%

-

-

-

-

ภาษีมลู ค่าเพิ่ม (สุทธิ)

43,962

1.1%

29,758

0.7%

39,369

0.9%

ภาษีเงินได้ ค้างจ่าย

22,905

0.5%

41,610

1.0%

28,983

0.7%

ภาษีเงินได้ หกั ณ ที่จา่ ยค้ างจ่าย

15,150

0.4%

10,091

0.2%

9,242

0.2%

1,768,769

42.7%

1,338,424

31.8%

1,145,941

28.1%

หนี ้สินภายใต้ สญ ั ญาเช่าการเงิน (สุทธิ)

24,702

0.6%

17,689

0.4%

6,617

0.2%

เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน

444,060

10.7%

626,085

14.9%

316,085

7.8%

727,843

17.6%

717,672

17.0%

826,556

20.3%

ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน

97,959

2.4%

96,135

2.3%

99,545

2.4%

หนี ้สินไม่หมุนเวียนอืน่

16,432

0.4%

11,068

0.3%

6,249

0.1%

รวมหนีส้ นิ ไม่ หมุนเวียน

1,310,996

31.7%

1,468,648

34.9%

1,255,053

30.8%

รวมหนีส้ นิ

3,079,765

74.4%

2,807,072

66.7%

2,400,994

58.9%

หนี ้สินภายใต้ สญ ั ญาเช่าทางการเงินที่ถึง กาหนดชาระภายในหนึ่งปี (สุทธิ ) ค่าใบอนุญาตให้ ใช้ คลื่นความถี่ และ ประกอบกิจการโทรทัศน์ค้างจ่าย ที่ถึงกาหนดชาระภายในหนึ่งปี (สุทธิ) เงินกู้ยืมระยะสัน้ จากสถาบันการเงิน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ที่ถึงกาหนดชาระภายในหนึ่งปี ประมาณการค่าเผื่อการรับคืนสินค้ า

รวมหนีส้ นิ หมุนเวียน หนีส้ นิ ไม่ หมุนเวียน :

ค่าใบอนุญาตให้ ใช้ คลื่นความถี่ และ ประกอบกิจการโทรทัศน์ค้างจ่าย (สุทธิ)


90 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

งบการเงินรวม 31 ธันวาคม 2559

31 ธันวาคม 2560

31 ธันวาคม 2561

พันบาท

พันบาท

พันบาท

ร้ อยละ

ร้ อยละ

ร้ อยละ

หนีส้ นิ และส่ วนของเจ้ าของ (ต่ อ) ส่ วนของเจ้ าของ : ทุนเรื อนหุ้น ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญ 1,203,270,516 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท หุ้นสามัญ 1,009,937,646 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท

1,203,271 1,009,938

28.6%

1,203,271

29.5%

-

1,010,149

24.8%

24.4%

ทุนที่ออกและชาระเต็มมูลค่าแล้ ว หุ้นสามัญ 1,010,149,192 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท

-

-

หุ้นสามัญ 1,010,147,392 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท

-

-

หุ้นสามัญ 1,009,937,646 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท

1,010,147 -

24.0%

-

-

-

-

-

1,009,938

24.4%

ส่วนเกิ นมูลค่าหุ้นสามัญ

255,825

6.2%

258,237

6.1%

258,258

6.3%

หุ้นสามัญซื ้อคืน

(465,275)

(11.2%)

(465,275)

(11.1%)

(465,275)

(11.4%)

จัดสรรแล้ ว-ทุนสารองตามกฎหมาย

100,895

2.4%

112,972

2.7%

120,327

3.0%

จัดสรรแล้ ว-สารองหุ้นสามัญซื ้อคืน

465,275

11.2%

465,275

11.1%

465,275

11.4%

ยังไม่ได้ จดั สรร

(317,336)

(7.7%)

15,518

0.4%

282,483

7.0%

1,049,321

25.3%

1,396,874

33.2%

1,671,217

41.1%

10,203

0.2%

5,184

0.1%

1,116

0.0%

รวมส่ วนของเจ้ าของ

1,059,524

25.5%

1,402,058

33.3%

1,672,333

41.1%

รวมหนีส้ นิ และส่ วนของเจ้ าของ

4,139,289

100.0%

4,209,130

100.0%

4,073,327

100.0%

กาไรสะสม

รวมส่ วนของผู้เป็ นเจ้ าของของบริ ษทั ใหญ่ ส่วนได้ เสียที่ไม่มอี านาจควบคุม


91 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

งบก าไรขาดทุ นเบ็จ ดส�ำเสร็ สิน้ ธัสุนวาคม ดวันที2559 ่ 31 2560 ธันวาคม 2559 2560 และ 2561 งบก� ำไรขาดทุ นเบ็ดเสร็ หรับจปีสสิ้นาหรั สุดวันบทีปี่ 31 และ 2561 งบการเงินรวม พ.ศ. 2560 พันบาท ร้ อยละ

พ.ศ. 2559 พันบาท ร้ อยละ

พ.ศ. 2561 พันบาท ร้ อยละ

รายได้ รายได้ จากการขาย

846,939

27.1%

1,413,407

40.0%

2,129,659

2,151,676

68.9%

2,088,275

59.2%

1,697,022

2,998,615

96.0%

3,501,682

99.2%

3,826,681

123,590

4.0%

26,644

0.8%

33,750

3,122,205

100.0%

3,528,326

100.0%

3,860,431

(405,270)

(13.0%)

(475,530)

(13.5%)

(712,254)

(18.5%)

ต้ นทุนการให้ บริ การ

(1,925,733)

(61.7%)

(1,653,680)

(46.8%)

(1,493,023)

(38.6%)

รวมต้ นทุนขายและการให้บริ การ

(2,331,003)

(74.7%)

(2,129,210)

(60.3%)

(2,205,277)

(57.1%)

ค่าใช้ จา่ ยในการขาย

(315,635)

(10.1%)

(398,268)

(11.3%)

(452,641)

(11.7%)

ค่าใช้ จา่ ยในการบริ หาร

(516,763)

(16.5%)

(533,853)

(15.1%)

(601,744)

(15.6%)

(1,907)

(0.1%)

(1,847)

(0.1%)

(3,174)

(0.1%)

(834,305)

(26.7%)

(933,968)

(26.5%)

(1,057,559)

(27.4%)

(43,103)

(1.4%)

465,148

13.2%

597,595

15.5%

(83,373)

(2.7%)

(90,471)

(2.5%)

(68,340)

(1.8%)

-

-

45,539

1.3%

94,615

2.5%

รายได้ จากการให้ บริ การ

รวมรายได้ จากการขายและการให้บริ การ รายได้ อนื่

รวมรายได้

55.1%

44.0% 99.1% 0.9% 100.0%

ต้ นทุน ต้ นทุนขาย

ค่ าใช้ จ่าย

ค่าใช้ จา่ ยอืน่ รวมค่ าใช้ จ่าย กาไร(ขาดทุน)ก่อนต้ นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ ต้ นทุนทางการเงิน กาไรที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนเงื่อนไข การชาระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ ใช้ คลื่นความถี่ และประกอบกิจการโทรทัศน์ กาไร(ขาดทุน)ก่อนภาษีเงินได้

(126,476)

(4.0%)

420,216

12.0%

623,870

16.2%

(ค่าใช้ จา่ ย)รายได้ ภาษีเงินได้ กาไร(ขาดทุน)สาหรั บปี

24,235 (102,241)

0.7% (3.3%)

(87,193) 333,023

(2.5%) 9.5%

(107,832) 516,038

(2.8%) 13.4%

-

15,086

0.4%

(3.3%)

(3,017) 12,069 345,092

(0.1%) 0.3% 9.8%

กาไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็ จอื่น : รายการที่จะไม่จดั ประเภทรายการใหม่ไปยัง กาไรหรื อขาดทุนในภายหลัง - การวัดมูลค่าใหม่ของภาระผูกพันผลประโยชน์

-

-

-

- ภาษีเงินได้ ของรายการที่จะไม่จดั ประเภทรายการใหม่ ไปยังกาไรหรื อขาดทุนในภายหลัง กาไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็ จอื่นสาหรั บปี - สุทธิจากภาษี กาไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็ จรวมสาหรั บปี

(102,241)

516,038

13.4%


92 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

การแบ่ งปั นกาไร(ขาดทุน) ส่วนที่เป็ นของผู้เป็ นเจ้ าของของบริ ษัทใหญ่ ส่วนที่เป็ นของส่วนได้ เสียที่ไม่มอี านาจควบคุม การแบ่ งปั นกาไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็ จ ส่วนที่เป็ นของผู้เป็ นเจ้ าของของบริ ษัทใหญ่ ส่วนที่เป็ นของส่วนได้ เสียที่ไม่มอี านาจควบคุม กาไร(ขาดทุน)ต่ อหุ้นส่ วนที่เป็ นของบริ ษทั ใหญ่ กาไร(ขาดทุน)ต่อหุ้นขั ้นพื ้นฐาน (บาท) จานวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน ้าหนัก (พันหุ้น) กาไร(ขาดทุน)ต่อหุ้นปรั บลด (บาท) จานวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน ้าหนัก ที่ใช้ ในการคานวณกาไรต่อหุ้นปรั บลด (พันหุ้น)

พ.ศ. 2559 พันบาท ร้ อยละ

งบการเงินรวม พ.ศ. 2560 พันบาท ร้ อยละ

พ.ศ. 2561 พันบาท ร้ อยละ

(102,145) (96) (102,241)

(3.3%) (0.0%) (3.3%)

332,862 161 333,023

9.4% 0.0% 9.4%

516,040 (2) 516,038

13.4% (0.0%) 13.4%

(102,145) (96) (102,241)

(3.3%) (0.0%) (3.3%)

344,931 161 345,092

9.8% 0.0% 9.8%

516,040 (2) 516,038

13.4% (0.0%) 13.4%

(0.1043) 978,992

0.3443 966,696

0.5337 966,875

(0.1043)

0.3328

0.4924

978,992

1,000,276

1,047,925


93 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

งบกระแสเงินสด สำหรับปี สิน้ สุดวันที่ 31 ธันวำคม 2559 2560 และ 2561 งบกระแสเงินสด ส�ำหรับปีส้ินสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2559 2560 และ 2561 งบการเงินรวม พ.ศ. 2560

พ.ศ. 2559 พันบาท

ร้ อยละ

พันบาท

พ.ศ. 2561

ร้ อยละ

พันบาท

ร้ อยละ

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดาเนินงาน กาไร(ขาดทุน)ก่อนภาษีเงินได้ รายการปรั บปรุ ง ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจาหน่าย ค่าตัดจาหน่ายค่าใช้ จา่ ยล่วงหน้ า (กลับรายการ)ค่าเผื่อหนี ้สงสัยจะสูญ กลับรายการค่าเผื่อหนี ้สงสัยจะสูญภาษีเงินได้ หกั ณ ที่จา่ ย (กลับรายการ)ค่าเผื่อสินค้ าล้ าสมัย ขาดทุนจากการทาลายสินค้ า กลับรายการประมาณการค่าเผื่อการรับคืนสินค้ า ค่าเผื่อการด้ อยค่าของสินทรัพย์ไม่มตี วั ตน (กลับรายการ)ค่าเผื่อการด้ อยค่าของสินทรัพย์หมุนเวียนอืน่ และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอืน่ (กลับรายการ)ค่าเผื่อการด้ อยค่าของเงินลงทุนในบริ ษัทร่ วม ขาดทุนจากการปิดกิจการของบริ ษัทย่อย

(126,477)

(121.9%)

420,216

182.1%

623,870

183.7%

468,499 4,932 (1,361) 17,555 6,960 (12,474) 15,153

451.5% 4.8% (1.3%) 16.9% 6.7% (12.0%) 14.6%

558,173 (2,697) (47,116) 314 (1,892) 13,502

241.8% (1.2%) (20.4%) 0.1% (0.8%) 5.8%

591,460 18,053 (15,333) 16,624 11,027

174.1% 5.3% (4.5%) 4.9% 3.2%

(1,010) 999 -

(1.0%) 1.0% -

80 115 -

0.0% 0.1% -

456

0.4%

-

-

-

-

(419) 12,414 (1,742) 83,373

(0.4%) 12.0% (1.7%) 80.4%

53 13,262 (1,143) 90,471

0.0% 5.7% (0.5%) 39.2%

819 3,604 (1,071) 68,340

0.2% 1.1% (0.3%) 20.1%

-

-

(45,539)

(19.7%)

(94,615)

(27.8%)

466,858

450.0%

997,799

432.3%

1,222,703

360.0%

การเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียน ลูกหนี ้การค้ าและลูกหนี ้อืน่ สินค้ าคงเหลือ ภาษีมลู ค่าเพิ่ม สินทรัพย์หมุนเวียนอืน่ ค่าใช้ จา่ ยล่วงหน้ าเกินปี สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอืน่ เจ้ าหนี ้การค้ าและเจ้ าหนี ้อืน่ ภาษีเงินได้ หกั ณ ที่จา่ ยค้ างจ่าย หนี ้สินไม่หมุนเวียนอืน่ ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานจ่าย

223,220 8,900 (31,150) 96,948 (35,417) 970 (879,676) 3,200 (2,384) -

215.1% 8.6% (30.0%) 93.4% (34.1%) 0.9% (847.8%) 3.1% (2.3%) -

54,020 (139,154) 28,590 (872) 8,333 (3,046) 201,334 (5,058) (5,364) -

23.4% (60.3%) 12.4% (0.4%) 3.6% (1.3%) 87.2% (2.2%) (2.3%) -

58,346 14,226 30,631 (2,583) 19,066 (70,873) (849) (4,818) (193)

17.2% 4.2% 9.0% (0.8%) 5.6% (20.9%) (0.2%) (1.4%) (0.1%)

เงินสดได้ มาจาก(ใช้ ไปใน)กิจกรรมดาเนินงาน ก่อนภาษีเงินได้ จา่ ย รับคืนภาษีถูกหัก ณ ที่จา่ ย เงินสดจ่ายภาษีเงินได้

(148,531) 61,887 (120,168)

(143.1%) 59.6% (115.8%)

1,136,582 36,250 (107,536)

492.4% 15.7% (46.6%)

1,265,655 31,802 (136,483)

372.6% 9.4% (40.2%)

เงินสดสุทธิได้ มาจาก(ใช้ ไปใน)กิจกรรมดาเนินงาน

(206,812)

(199.3%)

1,065,296

461.5%

1,160,974

341.8%

(74) (2) *,** 2

0.0% 0.0% 0.0%

ขาดทุนจากการตัดจาหน่ายอาคารและอุปกรณ์ และสินทรัพย์ ไม่มตี วั ตน (กาไร)ขาดทุนจากการจาหน่ายอาคารและอุปกรณ์ และสินทรัพย์ไม่มตี วั ตน ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน ดอกเบี ้ยรับ ต้ นทุนทางการเงินดอกเบี ้ยจ่าย กาไรที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการชาระ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ ใช้ คลื่นความถี่ และ ประกอบกิจการโทรทัศน์

*,**


94 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

งบการเงินรวม พ.ศ. 2560

พ.ศ. 2559 พันบาท

ร้ อยละ

พันบาท

พ.ศ. 2561

ร้ อยละ

พันบาท

ร้ อยละ

กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เงินสดรับจากดอกเบี ้ยรับ เงินให้ ก้ ูยืมระยะสัน้ แก่บคุ คลและกิจการที่เกี่ ยวข้ องกันเพิ่มขึ ้น รับชาระเงินให้ ก้ ูยืมระยะสัน้ แก่บคุ คลและกิจการที่เกี่ ยวข้ องกัน เงินลงทุนชัว่ คราว-เงินฝากประจาครบกาหนด 12 เดือน เงินสดรับ(ลูกหนี ้)จากการปิดกิจการของบริ ษัทย่อย เงินสดจ่ายซื ้ออาคารและอุปกรณ์ เงินสดรับจากการจาหน่ายอาคารและอุปกรณ์ เงินสดจ่ายสินทรัพย์ไม่มตี วั ตน เงินสดรับจากการจาหน่ายสินทรัพย์ไม่มตี วั ตน เงินสดสุทธิได้ มาจาก(ใช้ ไปใน)กิจกรรมลงทุน

1,735 (30,000) 30,000 4,522 (139,435) 6,949 (442,309) -

1.7% (28.9%) 28.9% 4.4% (134.4%) 6.7% (426.3%) -

1,150 (26,065) (69,184) 1,581 (301,415) -

0.5% (11.3%) (30.0%) 0.7% (130.6%) -

1,071 0.3% *,** 22,056 6.5% (44,769) (13.1%) 4,618 1.3% (501,377) (147.6%) 23 0.0%

(568,539)

(547.9%)

(393,934)

(170.7%)

(518,378)

(152.6%)

(46,947) (20.3%) 2,125,000 920.6% (2,618,000) (1,134.2%) 222,025 96.2% (16,320) (7.1%)

(29,982) 930,000 (903,000) (270,000) (12,874)

(8.8%) 273.8% (265.9%) (79.5%) (3.8%)

กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน จ่ายชาระดอกเบี ้ย เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะสัน้ จากสถาบันการเงิน จ่ายชาระเงินกู้ยืมระยะสัน้ จากสถาบันการเงิน รับเงินจากเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน จ่ายชาระเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน จ่ายชาระหนี ้สินภายใต้ สญ ั ญาเช่าการเงิน

(28,400) (27.4%) 3,046,000 2,935.6% (2,340,000) (2,255.2%) 444,060 428.0% (19,266) (18.6%)

จ่ายชาระค่าใบอนุญาตสาหรับสิทธิในการดาเนินการ บนคลื่นความถี่ สาหรับกิจการบนโทรทัศน์ระบบดิจทิ ลั จ่ายเงินปันผล ส่วนได้ เสียที่ไม่มอี านาจควบคุมลดลงจากการจ่ายเงินปันผล จ่ายเงินลดทุนส่วนได้ เสียที่ไม่มอี านาจควบคุม เงินสดรับจากการออกหุ้นเพิ่มทุน เงินสดรับ(จ่าย)จากหุ้นทุนซื ้อคืน

(415,000) (100,109) (9) (465,275)

(399.9%) (96.5%) (0.0%) (448.4%)

(207,500) (493) (4,688) 2,622 -

(89.9%) (0.2%) (2.0%) 1.1% -

(6,225) (241,719) (3) 23 -

(1.8%) (71.2%) (0.0%) 0.0% -

เงินสดสุทธิได้ มาจาก(ใช้ ไปใน)กิจกรรมจัดหาเงิน

122,001

117.6%

(544,300)

(235.8%)

(533,780)

(157.2%)

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึน้ (ลดลง) สุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดยอดคงเหลือต้ นปี

(653,350) 757,112

(629.6%) 729.6%

127,062 103,762

55.0% 45.0%

108,816 230,824

32.0% 68.0%

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดยอดคงเหลือปลายปี

103,762

100.0%

230,824

100.0%

339,640

100.0%

* รายการนี้รวมการเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากการปิดบริษัท อาร์เอส อินสโตร์ มีเดีย จ�ำกัด ส่งผลให้บริษัทดังกล่าวสิ้นสุดการเป็นบริษัทย่อยตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561 * รายการนีร้ วมการเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากการปิ ดบริ ษัท อาร์ เอส อินสโตร์ มีเดีย จากัด ส่งผลใ ห้ บริ ษัทดังกล่าวสิน้ สุดการเป็ น ** รายการนี้รวมการเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากการปิดบริษัท บลูแฟร์รี่ จ�ำกัด บริษัท เวรี่เวลล์ จ�ำกัด และบริษัท อะลาดิน เฮ้าส์ จ�ำกัด ส่งผลให้บริษัทดังกล่าว บริ ษ้นัทสุดย่การเป็ อยตังแต่ ้ นบริวษนั ัททีย่​่ อ19ยตักั้งแต่ นยายน 2561พ.ศ. 2561 สิ วันที่ 28พ.ศ. กันยายน

** รายการนี ้รวมการเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากการปิ ดบริ ษัท บลูแฟร์ รี่ จากัด บริ ษัท เวรี่ เวลล์ จากัด และบริ ษัท อะลาดิน เฮ้ าส์ จากัด ส่งผลให้ บริ ษัทดังกล่าวสิ ้นสุดการเป็ นบริ ษัทย่อยตังแต่ ้ วนั ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561


95 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

พ.ศ. 2559 พันบาท

ร้ อยละ

งบการเงินรวม พ.ศ. 2560 พันบาท

ร้ อยละ

พ.ศ. 2561 พันบาท

รายการที่มิใช่ เงินสด ตัดจาหน่ายลูกหนี ้อืน่ และค่าเผื่ อหนี ้สงสัยจะสูญลูกหนี ้อืน่

-

53,100

-

ตัดจาหน่ายภาพยนตร์ และค่าเผื่ อด้ อยค่าภาพยนตร์

-

7,693

-

-

-

5,400

อาคารและอุปกรณ์ ในระหว่างปี เจ้ าหนี ้คงค้ าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม จากการซื ้อสินทรั พย์ ไม่มตี วั ตน

28,752

2,082

7,440

ในระหว่างปี เจ้ าหนี ้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม จากการซื ้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

28,928

80,386

63,452

41,278

7,634

-

-

7,805

928

ตัดจาหน่ายสินทรั พย์ ไม่หมุนเวียนอืน่ และ ค่าเผื่ อหนี ้สงสัยจะสูญของสินทรั พย์ ไม่หมุนเวียนอืน่ เจ้ าหนี ้คงค้ าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม จากการซื ้อที่ดิน

ภายใต้ สญ ั ญาเช่าการเงินระหว่างปี ตัดจาหน่ายภาษีหกั ณ ที่จา่ ยและค่าเผื่ อภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จา่ ยที่คาดว่าจะไม่ได้ รับเงิน

ร้ อยละ


96 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

อัตราส่วนทางการเงินที่ส�ำคัญ ปี 2559 2560 และ 2561

อัตราส่ วนทางการเงินที่สาคัญ ปี 2559 2560 และ 2561 พ.ศ. 2559

งบการเงินรวม พ.ศ. 2560

พ.ศ. 2561

อัตราส่ วนสภาพคล่ อง อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า)

0.54

0.89

1.04

อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ ว (เท่า)

0.34

0.55

0.70

อัตราส่วนสภาพคล่องกระแสเงินสด (เท่า)

-0.11

0.69

0.93

อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี ้การค้ า (เท่า)

4.65

6.25

7.18

79

58

51

15.92

9.56

7.35

ระยะเวลาขายสินค้ าเฉลี่ย (วัน)

23

38

50

อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้ าหนี ้ (เท่า)

15.58

9.92

7.63

ระยะเวลาชาระหนี ้เฉลี่ย (วัน)

23

37

48

Cash Cycle (วัน)

79

59

53

22.26%

39.19%

42.37%

-5.50%

12.58%

14.82%

N/A

241.92%

204.75%

อัตรากาไรสุทธิ (%)

-3.27%

9.43%

13.37%

อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (%)

-7.39%

27.21%

33.64%

อัตราผลตอบแทนจากสินทรั พย์ (%)

-0.96%

11.14%

14.43%

อัตราผลตอบแทนจากสินทรั พย์ ถาวร (%)

0.53%

103.24%

172.11%

0.70

0.85

0.93

อัตราส่วนหนี ้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า)

2.94

2.01

1.44

อัตราส่วนความสามารถชาระดอกเบี ้ย (เท่า)

-0.52

5.14

8.74

อัตราส่วนความสามารถชาระภาระผูกพัน (Cash basis)(เท่า)

-0.30

1.30

1.96

-

-

84.31%

มูลค่าตามบัญชีตอ่ หุ้น (บาท)

1.0961

1.4501

1.7296

กาไร(ขาดทุน)ต่อหุ้นส่วนที่เป็ นของบริ ษัทใหญ่ (บาท)

-0.1043

0.3443

0.5337

ระยะเวลาเก็ บหนี ้เฉลี่ย (วัน) อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้ าคงเหลือ (เท่า)

อัตราส่ วนแสดงความสามารถในการทากาไร อัตรากาไรขั ้นต้ น (%) อัตรากาไรจากการดาเนินงาน (%) อัตราส่วนเงินสดต่อการทากาไร (%)

อัตราส่ วนแสดงประสิทธิภาพในการดาเนินงาน

อัตราการหมุนของสินทรั พย์ (เท่า)

อัตราส่ วนวิเคราะห์ นโยบายทางการเงิน

อัตราการจ่ายเงินปันผล (%)

ข้ อมูลต่ อหุ้น


อัตรากาไรขั ้นต้ น (%)

22.26%

39.19%

42.37%

-5.50%

12.58%

14.82%

N/A

241.92%

204.75%

อัตรากาไรสุทธิ (%)

-3.27%

9.43%

13.37%

อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (%)

-7.39%

27.21%

33.64%

ตราผลตอบแทนจากสิ นทรันพทีย์่ ส(%) -0.96% อัตอัราส่ วนทางการเงิ าคัญ ปี 2559 2560 และ 2561

11.14%

14.43%

อัตรากาไรจากการดาเนินงาน (%) อัตราส่วนเงิ97นสดต่อการทากาไร (%)

บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

อัตราส่ วนแสดงประสิทธิภาพในการดาเนินงาน อัตราผลตอบแทนจากสินทรั พย์ ถาวร (%)

อัตราการหมุนของสินทรั พย์ (เท่า)

ราส่วนวิ วนสภาพคล่ ง อัอัตตราส่ เคราะห์ นอโยบายทางการเงิ น

ตราส่วนหนี วนสภาพคล่ ง (เท่า)้ ถือหุ้น (เท่า) อัตอัราส่ ้สินต่อส่วอนของผู ตราส่วนความสามารถช วนสภาพคล่องหมุาระดอกเบี นเร็ ว (เท่า)้ย (เท่า) อัตอัราส่

ตราส่วนความสามารถช วนสภาพคล่องกระแสเงิ นสดก(เท่ ) อัตอัราส่ าระภาระผู พันา(Cash basis)(เท่า) ตราส่วนหมุ หนี ้การค้ า (เท่า) อัตอัราการจ่ ายเงินนเวีปัยนนลู ผลก(%)

0.53%

0.70 พ.ศ. 2559

103.24% งบการเงินรวม 0.85 พ.ศ. 2560

0.54 2.94 0.34 -0.52

0.89 2.01 0.55 5.14

79

58

0.93 พ.ศ. 2561

1.04 1.44 0.70 8.74

0.69 1.30 -6.25

0.93 1.96 7.18 84.31%

15.92 1.096123 -0.1043 15.58

9.56 1.450138 0.3443 9.92

7.35 1.729650 0.5337 7.63

23

37

48

-5.50%

12.58%

14.82%

N/A

241.92%

204.75%

อัตรากาไรสุทธิ (%)

-3.27%

9.43%

13.37%

อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (%)

-7.39%

27.21%

33.64%

อัตราผลตอบแทนจากสินทรั พย์ (%)

-0.96%

11.14%

14.43%

อัตราผลตอบแทนจากสินทรั พย์ ถาวร (%)

0.53%

103.24%

172.11%

0.70

0.85

0.93

อัตราส่วนหนี ้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า)

2.94

2.01

1.44

อัตราส่วนความสามารถชาระดอกเบี ้ย (เท่า)

-0.52

5.14

8.74

อัตราส่วนความสามารถชาระภาระผูกพัน (Cash basis)(เท่า)

-0.30

1.30

1.96

-

-

84.31%

มูลค่าตามบัญชีตอ่ หุ้น (บาท)

1.0961

1.4501

1.7296

กาไร(ขาดทุน)ต่อหุ้นส่วนที่เป็ นของบริ ษัทใหญ่ (บาท)

-0.1043

0.3443

0.5337

ระยะเวลาเก็ บหนี ้เฉลี่ย (วัน)

ข้ อมูลอัต่ตราส่ อหุ้นวนหมุนเวียนสินค้ าคงเหลือ (เท่า) มูลระยะเวลาขายสิ ค่าตามบัญชีตอ่ นหุค้​้ นา(บาท) เฉลี่ย (วัน)

กาไร(ขาดทุ น)ต่นอเวีหุ้ยนนเจ้ ส่วนที ่เป็ น้ (เท่ ของบริ อัตราส่วนหมุ าหนี า) ษัทใหญ่ (บาท)

ระยะเวลาชาระหนี ้เฉลี่ย (วัน)

-0.11 -0.30 -4.65

172.11%

51

* อัตราการจ่ายเงินปั นผล ปี 2561 : คานวณเงินปั นผลจ่ายตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริ ษัทเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ที่อนุมตั ิให้ จ่ายเงินปั น Cash Cycle น) ปี้ น2561 59 2561 53นปั่ อนงการ อัตราการจ่ ายเงินปั(วั นตผล : ค�ำบาท นวณเงิและตามที นปันผลจ่า่ปยตามมติ ที่ประชุมคณะกรรมการบริ เมื่อกุวัมนภาพั ที่ 8 สินงธ์หาคม ผล *ผลระหว่ างกาลในอั ราหุ ละ 0.25 ระชุมคณะกรรมการบริ ษัทเมื่อวันษทีัท่ 79 15 พ.ศ.พ.ศ. 2562 มีมติทีอ่อนุนุมมัตัติใิให้ห้เจส่ายเงิ นอเรื ระหว่ า งกาลในอั ต ราหุ น ้ ละ 0.25 บาท และตามที ป ่ ระชุ ม คณะกรรมการบริ ษ ท ั เมื อ ่ วั น ที ่ 15 กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ. 2562 มี ม ติ อ นุ ม ต ั ใ ิ ห้ เ สนอเรื อ ่ งการจ่ า ยเงิ น ปั น จ่ายเงินปั นผลสาหรับผลการดาเนินงานประจาปี พ.ศ. 2561 ในอัตราหุ้นละ 0.20 บาท ต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจาปี พ.ศ. 2562 พิจารณาอนุผล มตั ิ ส�ตำหรั บผลการด� ำเนินงานประจ�ำปี พ.ศ. 2561 ในอัตาก ราหุาไร ้นละ 0.20 บาท ต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจ�ำปี พ.ศ. 2562 พิจารณาอนุมัติ รวมการจ่าย อัรวมการจ่ ราส่ วายเงิ นแสดงความสามารถในการท นผลตราหุ ทังสิ ้ ้น้นในอั ตราหุบาท ้ นละคิด0.45 คิดเป็ ทังสิ ้ ้นไม่ กิน 435.1 ปั นผลเท่ เงินปันผล ทั้งนสิ้นปัในอั ละ 0.45 เป็นจ�บาท ำนวนเงิ นทัน้งจสิานวนเงิ ้นไม่เกินน435.1 ล้าเนบาท โดยมีล้อาัตนบาท ราการจ่โดยมี ายเงิอนตัปัราการจ่ นผลเท่าากัยเงิ บร้อนยละ 84.31ากับร้ อยละ 84.31อัตรากาไรขั ้นต้ น (%) 22.26% 39.19% 42.37%

อัตรากาไรจากการดาเนินงาน (%) อัตราส่วนเงินสดต่อการทากาไร (%)

อัตราส่ วนแสดงประสิทธิภาพในการดาเนินงาน

อัตราการหมุนของสินทรั พย์ (เท่า)

อัตราส่ วนวิเคราะห์ นโยบายทางการเงิน

อัตราการจ่ายเงินปันผล (%)

ข้ อมูลต่ อหุ้น


98 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

การวิเคราะห์และค�ำอธิบาย ของฝ่ายจัดการ การวิเคราะห์และค�ำอธิบายของฝ่ายจัดการในส่วนนี้ได้จัดท�ำขึ้นจากผลประกอบการรวมของบริษัท อาร์เอส จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัท ในเครือ (“บริษัทฯ”) ตามงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี เพื่อประโยชน์ในการแสดงภาพผลประกอบการโดยรวมของบริษัทฯ ได้มีการจัดแบ่งกลุ่มธุรกิจหลัก ออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง ธุรกิจสื่อ ธุรกิจเพลงและอื่นๆ ดังตาราง ธุรกิจ 1) ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง

ประเภท • ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม - ผลิตภัณฑ์บ�ำรุงผิว : แบรนด์ “มาจีค” - ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม : แบรนด์ “รีไวฟ์” - ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร : แบรนด์ “เอส.โอ.เอ็ม.” • ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัวและผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน • เครื่องประดับ และอื่นๆ

2) ธุรกิจสื่อ

3) ธุรกิจเพลงและอื่นๆ

ธุรกิจสื่อโทรทัศน์

“ช่อง 8” “ช่อง 2” “สบายดีทีวี” “Series Channel” (เดิม “You Channel”)

ธุรกิจสื่อวิทยุ

“COOLfahrenheit”

ธุรกิจดิจิทัล จัดเก็บลิขสิทธิ์ บริหารศิลปิน จัดคอนเสิร์ตและกิจกรรมการตลาด

สรุปผลการด�ำเนินงานส�ำหรับปี 2561 งบการเงินรวมของบริษัทฯ ส�ำหรับปี 2561 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561 บริษัทฯ มีก�ำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่จ�ำนวน 516.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2560 จ�ำนวน 183.2 ล้านบาท หรือสูงขึ้นร้อยละ 55.0 เป็นผลจากการเติบโตสูงของรายได้จากธุรกิจพาณิชย์หลาย ช่องทาง (Multi-platform Commerce หรือ MPC) กว่าร้อยละ 53.1 อย่างไรก็ตาม รายได้ของสื่อโดยรวมลดลงร้อยละ 21.1 จากผลกระทบ จากสภาพอุตสาหกรรมโดยรวมที่ไม่เติบโต อัตราก�ำไรขั้นต้นเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 42.4 เทียบกับร้อยละ 39.2 ในปี 2560 จากสัดส่วน ของธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทางซึง่ มีอตั ราการท�ำก�ำไรสูงมีสดั ส่วนเพิม่ ขึน้ รวมถึงช่อง 8 ควบคุมต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของอัตราส่วน ค่าใช้จ่ายต่อยอดขายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามค่าใช้จ่ายของธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทางซึ่งเพิ่มขึ้นตามจ�ำนวนพนักงานที่เพิ่มขึ้น


99 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

สรุปผลการด�ำเนินงานแยกตามกลุ่มธุรกิจ รายได้ หน่วย : ล้านบาท

ปี 2560 จ�ำนวน

ปี 2561

ร้อยละ

จ�ำนวน

เปลี่ยนแปลง

ร้อยละ

จ�ำนวน

(y-y)

รายได้ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง

1,389.1

39.7%

2,126.8

55.6%

737.7

53.1%

รายได้ธุรกิจสื่อ

1,703.5

48.6%

1,344.7

35.1%

-358.8

-21.1%

409.1

11.7%

355.2

9.3%

-53.9

-13.2%

3,501.7

100.0%

3,826.7

100.0%

325.0

9.3%

รายได้ธุรกิจเพลงและอื่นๆ รายได้จากการขายและบริการ

รายได้จากการขายและบริการส�ำหรับปี สิน้ สุด 31 ธันวาคม 2561 จ�ำนวน 3,826.7 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ สุทธิจากปีกอ่ น จ�ำนวน 325.0 ล้านบาท หรือ เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 9.3 ตามล�ำดับ แยกอธิบายตามกลุม่ ธุรกิจ ได้ดงั นี้

รายได้ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง

รายได้ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง ประกอบด้วย รายได้จากการจัดจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้าของบริษัทฯ เองและสินค้า จากพันธมิตร รวมสินค้าหลากหลายประเภทกว่า 100 รายการ จ�ำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ ของบริษัทฯ ทั้งโทรทัศน์ระบบดิจิทัล โทรทัศน์ ผ่านดาวเทียม และสื่อวิทยุ รวมถึงสื่อออนไลน์ การจ�ำหน่ายผ่านตัวแทนขายตรงชั้นเดียว หรือที่บริษัทฯ เรียกว่า LifestarBIZ และผ่านร้านค้า ปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ทั่วประเทศ ซึ่งช่องทางเหล่านี้ ได้พัฒนามาจากจุดแข็งและความสามารถหลักของบริษัทฯ และยังพัฒนา อย่างต่อเนื่องให้ครบวงจรและเหนือคู่แข่งในตลาด รวมถึงการมีฐานข้อมูลลูกค้าที่เติบโตขึ้นทุกเดือน โดย ณ ปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 1 ล้านราย ได้ถกู น�ำมาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบมากขึน้ อีกทัง้ บริษทั ฯ ได้พฒ ั นาระบบหลังการขายเพือ่ ตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าได้ทันท่วงทีและเหมาะสม ผนวกกับการท�ำโปรโมชั่นในแต่ละเทศกาลให้ตอบโจทย์ของลูกค้า ท�ำให้ยอดขายในรอบปี ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญ และยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง แม้ว่าจะถูกผลกระทบชั่วคราวจากข่าวการปราบปรามสินค้าผิดกฎหมาย ช่วงกลางปี 2561 แต่นั่นเป็นเพียงผลกระทบระยะสั้น และสถานการณ์กลับสู่ปกติแล้วตั้งแต่ปลายไตรมาส 3 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว ถือว่าส่งผลดี ต่ออุตสาหกรรมโดยรวม ท�ำให้เกิดการคัดกรองผู้ผลิตและจ�ำหน่ายสินค้าที่ผิดกฎหมายออกไปจากตลาด

รายได้ธุรกิจสื่อ

ภาพรวมธุรกิจสื่อโทรทัศน์ทั้งอุตสาหกรรมส�ำหรับปี 2561 งบการใช้โฆษณา (ADEX) ผ่านสื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลจากผลการส�ำรวจ ของ AGB Nielsen Media Research (Thailand) เพิ่มขึ้น 5,061 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 แต่หากหักรายการพิเศษจากเม็ดเงินโฆษณา ส�ำหรับการถ่ายทอดกีฬาในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ถือว่างบโดยรวมค่อนข้างทรงตัว หากพิจารณาสัดส่วนผู้ชมโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลรายใหม่ ก็มีจ�ำนวนสูงขึ้น หากเทียบกับกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์รายเดิมและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่มีจ�ำนวนลดลง โดยสัดส่วนผู้ชมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ ร้อยละ 52.1 ในเดือนธันวาคม ปี 2561 เทียบกับร้อยละ 46.7 ในเดือนธันวาคม ปี 2560 อย่างไรก็ตาม ผลจากการแข่งขันที่รุนแรงด้านราคา ในอุตสาหกรรมเนื่องมาจากเม็ดเงินโฆษณาอันจ�ำกัด ท�ำให้ธุรกิจสื่อโทรทัศน์ระบบดิจิทัลของบริษัทฯ หรือ “ช่อง 8” มีผลประกอบการลดลง


100 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

แม้ว่าเรตติ้งเฉลี่ยของเดือนธันวาคม ปี 2561 ในกลุ่มอายุ 4+ ตลอด 24 ชั่วโมง จะลดลงเล็กน้อยจากการหยุดการถ่ายทอดรายการมวยในช่วง วันศุกร์และเสาร์ แต่รายการหลักโดยรวมยังคงได้รบั ความนิยมและประสบความส�ำเร็จ ได้แก่ ละครไทย “พยัคฆา” “สาปกระสือ” และ “ซิน่ ลายหงส์” ซีรสี ต์ า่ งประเทศ “หนุมาน สงครามมหาเทพ” “ลิขติ แค้นแสนรัก” และ “พิฆเนศ มหาเทพไอยรา” รวมถึงรายการข่าว “คุยข่าวเช้า” และ “คุยข่าวเย็น” ทว่า จากการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพของทั้งกลุ่มบริษัทฯ ท�ำให้สามารถบริหารสื่อทั้งหมดในมือได้เต็มประสิทธิภาพร้อยละ 100 โดยน�ำมาโฆษณาและจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ของธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทางของกลุ่มบริษัทฯ เองให้มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของธุรกิจสื่อวิทยุ หรือ “COOLfahrenheit” ยังคงได้รับความนิยมอยู่ในอันดับ 1 ของกลุ่ม Easy Listening และอันดับ 2 ของประเทศ และมีการจัดกิจกรรมส�ำหรับผู้ฟังที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง อาทิ “COOL Outing” และ “อิ๊งค์ Eat All Around”

รายได้ธุรกิจเพลงและอื่นๆ

รายได้ธุรกิจเพลงและอื่นๆ ลดลงจากผลกระทบของทั้งอุตสาหกรรมที่หดตัวลง แต่เนื่องจากการปรับโครงสร้างธุรกิจและควบคุมต้นทุน ให้มีประสิทธิภาพ ท�ำให้ธุรกิจเหล่านี้ยังมีประสิทธิภาพในการท�ำก�ำไรได้ดี ส�ำหรับธุรกิจเพลง รายได้หลักยังคงมาจากรายได้ที่ได้รับจากการฟัง ผ่านออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนขายและบริการ ต้นทุนขายและบริการจ�ำนวน 2,205.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า จ�ำนวน 76.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.6 ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น ของธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง แต่อตั ราการเพิม่ ขึน้ ของต้นทุนขายและบริการยังน้อยกว่าอัตราการเพิม่ ขึน้ ของรายได้รวม ซึง่ มาจากการควบคุม ต้นทุนส�ำหรับธุรกิจสื่อ ธุรกิจเพลง และอื่นๆ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าใช้จ่ายอื่น และต้นทุนทางการเงิน ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร จ�ำนวน 1,054.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2560 จ�ำนวน 122.3 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.1 โดยหลักๆ เป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนรายได้ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทางที่สูงขึ้น ในส่วนของต้นทุนทางการเงิน จ�ำนวน 68.3 ล้านบาท ลดลง 22.1 ล้านบาท คิดเป็นลดลงร้อยละ 24.5 ตามการลดลงของดอกเบี้ย จ่ายธนาคารส�ำหรับเงินกู้ยืมระยะยาว ซึ่งเป็นผลมาจากก�ำไรของธุรกิจหลักที่เพิ่มสูงขึ้น และการบริหารกระแสเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ ในรอบปีที่ผ่านมา มีรายการพิเศษ ได้แก่ ก�ำไรที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการช�ำระค่าธรรมเนียมในอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และประกอบกิจการโทรทัศน์ (หลังหักภาษี) จ�ำนวน 75.7 ล้านบาท อัตราก�ำไรขั้นต้น อัตราก�ำไรสุทธิ และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ปี 2560

ปี 2561

อัตราก�ำไรขั้นต้น

39.2%

42.4%

อัตราก�ำไรสุทธิ

9.4%

13.4%

27.2%

33.6%

อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE)

ปี 2561 บริษัทฯ มีอัตราก�ำไรขั้นต้น อัตราก�ำไรสุทธิ และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อน สาเหตุหลักมาจากการเติบโต ของรายได้จากกลุ่มธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทางเป็นหลัก และการควบคุมต้นทุนสื่อโทรทัศน์ช่อง 8 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


101 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

สินทรัพย์ ส่วนประกอบของสินทรัพย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 บริษทั ฯ มีสนิ ทรัพย์รวมทัง้ สิน้ 4,073.3 ล้านบาท แบ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน ร้อยละ 29.1 และสินทรัพย์ ไม่หมุนเวียน ร้อยละ 70.9 สินทรัพย์หลักประกอบด้วย ใบอนุญาตให้ใช้คลืน่ ความถีแ่ ละประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจทิ ลั ร้อยละ 34.3 ลูกหนีก้ ารค้าและลูกหนีอ้ นื่ (สุทธิ) ร้อยละ 13.6 สินทรัพย์ไม่มตี วั ตน (สุทธิ) ร้อยละ 17.7 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ร้อยละ 8.3 อาคาร และอุปกรณ์ (สุทธิ) ร้อยละ 8.1 สินค้าคงเหลือ (สุทธิ) ร้อยละ 7.0 และอืน่ ๆ ร้อยละ 11.0 สินทรัพย์รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 จ�ำนวน 4,073.3 ล้านบาท ลดลงจากปีกอ่ นเล็กน้อย ร้อยละ 3.2 มีสาเหตุหลักมาจากการตัดจ�ำหน่าย ค่าใบอนุญาตให้ใช้คลืน่ ความถีแ่ ละประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจทิ ลั จ�ำนวน 135.3 ล้านบาท ลูกหนีก้ ารค้าและลูกหนีอ้ นื่ (สุทธิ) ลดลง 69.1 ล้านบาท มาจากลูกหนีก้ ารค้ากลุม่ ธุรกิจสือ่ ทีล่ ดลงผันแปรตามรายได้ ในขณะที่ สินทรัพย์ไม่มตี วั ตนเพิม่ ขึน้ สุทธิ 132.9 ล้านบาท จากการลงทุน ทัง้ ลิขสิทธิล์ ะครไทยและซีรสี ต์ า่ งประเทศ คุณภาพของสินทรัพย์

ลูกหนี้การค้า - กิจการอื่น (สุทธิ)

ลูกหนี้การค้าแยกตามอายุหนี้ที่ค้างช�ำระ : หน่วย : ล้านบาท

จ�ำนวน

ปี 2561

ร้อยละ

จ�ำนวน

เปลี่ยนแปลง

ร้อยละ

จ�ำนวน

(y-y)

ลูกหนี้ที่ยังไม่ถึงก�ำหนดช�ำระ

301.7

53.8%

324.3

64.2%

22.6

7.5%

เกินกว่าก�ำหนดเวลาช�ำระหนี้น้อยกว่า 3 เดือน

188.1

33.6%

132.0

26.1%

-56.1

-29.8%

3 - 6 เดือน

3.1

0.5%

3.1

0.6%

-

-

6 - 12 เดือน

6.5

1.2%

0.7

0.2%

-5.8

-89.2%

60.9

10.9%

44.9

8.9%

-16.0

-26.3%

560.3

100.0%

505.0

100.0%

-55.3

-9.9%

-58.9

-10.5%

-42.4

-8.4%

-16.5

-28.0%

501.4

89.5%

462.6

91.6%

-38.8

-7.7%

เกินกว่า 12 เดือน รวม หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้การค้า - กิจการอื่น (สุทธิ)

ปี 2560

อัตราส่วนทางการเงินที่ส�ำคัญ : ปี 2560 อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า (เท่า) ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (วัน)

ปี 2561 6.25

7.18

58

51


102 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 บริษัทฯมีลูกหนี้การค้า – กิจการอื่น (สุทธิ) 462.6 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 38.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.7 มาจากการลดลงของลูกหนีจ้ ากกลุม่ ธุรกิจสือ่ ซึง่ ผันแปรตามรายได้ทลี่ ดลง ในปี 2561 บริษทั ฯ มีระยะเวลาในการเรียกเก็บหนีเ้ ฉลีย่ ที่ 51 วัน ลดลงจากปีก่อนที่ 58 วัน เนื่องจากในปีนี้มีสัดส่วนของยอดขายสินค้าจากธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทางเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นการรับ เงินสดหรือมีเครดิตไม่เกิน 1 เดือน ท�ำให้ระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้เฉลี่ยของบริษัทฯ ลดลง อย่างไรก็ดี หากพิจารณาถึงอายุของลูกหนี้การค้า โดยส่วนใหญ่เกินร้อยละ 80 มีอายุค้างช�ำระไม่เกิน 3 เดือน ซึ่งยังเป็นไปตามนโยบายการให้เครดิตกับลูกค้าเฉลี่ยที่ 2-3 เดือน ส�ำหรับลูกหนี้ ที่มีอายุค้างนานเกิน 1 ปี หรือมีปัญหาในการจ่ายช�ำระ บริษัทฯ มีนโยบายในการพิจารณาและทบทวนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอย่างสม�่ำเสมอ เพื่อให้มูลหนี้ที่คงเหลือในงบการเงินสะท้อนมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับจริง โดยในปี 2561 บริษัทฯ มีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญคิดเป็นร้อยละ 8.4 ลดลง จากปีก่อน ที่ร้อยละ 10.5

สินค้าคงเหลือ (สุทธิ)

หน่วย : ล้านบาท

ปี 2560 จ�ำนวน

ปี 2561

ร้อยละ

จ�ำนวน

เปลี่ยนแปลง

ร้อยละ

จ�ำนวน

(y-y)

ราคาทุน

326.5

100.0%

312.3

100.0%

-14.2

-4.4%

หัก ค่าเผื่อสินค้าล้าสมัย

-10.9

-3.3%

-27.5

-8.8%

16.6

152.1%

สินค้าคงเหลือ (สุทธิ)

315.6

96.7%

284.8

91.2%

-30.8

-9.8%

อัตราส่วนทางการเงินที่ส�ำคัญ : ปี 2560 อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ (เท่า) ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ยรวม (วัน)

ปี 2561 9.56

7.35

38

50

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 สินค้าคงเหลือประกอบด้วย สินค้าส�ำเร็จรูปประเภทสินค้าอุปโภคบริโภค งานระหว่างท�ำประเภทรายการ โทรทัศน์ งานกิจกรรมการตลาด และอื่นๆ รวมมูลค่าสุทธิ 284.8 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 30.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.8 โดยในปีนี้ บริษัทฯ บันทึกค่าเผื่อสินค้าล้าสมัยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนส�ำหรับสินค้าที่ค้างสต๊อกเป็นเวลานานตามนโยบายที่ก�ำหนดให้มีการทบทวนมูลค่าสินค้าคงเหลือ อย่างสม�่ำเสมอในทุกงวดบัญชีเพื่อให้มูลค่าสินค้าคงเหลือที่แสดงในงบการเงินไม่ต�่ำกว่ามูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ท�ำให้ปีนี้มีสัดส่วนค่าเผื่อสินค้า ล้าสมัยคิดเป็นร้อยละ 8.8 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ร้อยละ 3.3 อย่างไรก็ดี สินค้าค้างสต๊อกเหล่านี้บริษัทฯ ยังคงมีแผนการท�ำโปรโมชั่นทางการตลาด ต่างๆ เพื่อให้สามารถระบายสินค้าออกจากสต๊อกได้ทั้งหมด ในปี 2561 บริษัทฯ มีระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย 50 วัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่ 38 วัน เนื่องจากปลายปี 2560 บริษัทฯ มีแผนการเพิ่ม ประเภทของสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น รวมถึงแผนการเพิ่มปริมาณสินค้าเพื่อรองรับยอดขายที่จะเติบโตให้อนาคต ท�ำให้สินค้าคงเหลือ เฉลี่ยปีนี้สูงกว่าปีก่อน อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีนโยบายในการจัดการควบคุมสินค้าคงเหลือให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเพียงพอเพื่อให้สอดคล้อง กับแผนการขายและการท�ำการตลาด รวมถึงให้งานขายและงานบริหารคลังสินค้าประสานงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ


103 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

สินค้าไม่มีตัวตน (สุทธิ)

หน่วย : ล้านบาท

ปี 2560 จ�ำนวน

ปี 2561

ร้อยละ

จ�ำนวน

เปลี่ยนแปลง

ร้อยละ

จ�ำนวน

(y-y)

ราคาทุน

2,277.2

100.0%

2,747.1

100.0%

469.9

20.6%

หัก ค่าเผื่อตัดจ�ำหน่ายสะสม

-1,340.5

-58.9%

-1,666.4

-60.7%

325.9

24.3%

ค่าเผื่อการด้อยค่า

-349.5

-15.3%

-360.6

-13.1%

11.1

3.2%

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (สุทธิ)

587.2

25.8%

720.1

26.2%

132.9

22.6%

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (สุทธิ) ประกอบด้วย ลิขสิทธิ์ละคร ลิขสิทธิ์เพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์และอื่นๆ รวมมูลค่าสุทธิ 720.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 132.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 22.6 จากการเพิ่มขึ้นของลิขสิทธิ์ละคร ซีรีส์ต่างประเทศ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับระบบการท�ำงานในด้านต่างๆ ส�ำหรับค่าเผื่อการด้อยค่า ณ สิ้นปี 2561 มีจ�ำนวน 360.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย มาจากการบันทึกค่าเผื่อด้อยค่าของลิขสิทธิ์เพลงที่มีอายุการให้ประโยชน์ที่ไม่ทราบแน่นอน บริษัทฯ จึงไม่มีการตัด จ�ำหน่ายแต่ใช้วิธีการทดสอบการด้อยค่าแทน อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีนโยบายในการทบทวนการด้อยค่าส�ำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนทุกประเภท อย่างสม�่ำเสมอในทุกรอบบัญชีเพื่อให้มูลค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่แสดงในงบการเงินไม่ต�่ำกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน

สภาพคล่อง กระแสเงินสด หน่วย : ล้านบาท กระแสเงินสดจากกิจกรรมด�ำเนินงาน

ปี 2560

ปี 2561 1,065.3

1,161.0

กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน

-393.9

-518.4

กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน

-544.3

-533.8

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น - สุทธิ

127.1

108.8

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นปี

230.8

339.6

ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 339.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นระหว่างปี 108.8 ล้านบาท มาจากการเพิ่มขึ้นของกระแสเงินสดจากกิจกรรมด�ำเนินงานเป็นหลัก ซึ่งเป็นผลมาจากยอดขายที่เติบโตสูงจากธุรกิจพาณิชย์ หลายช่องทางในขณะที่ มีเงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน 518.4 ล้านบาท จากการลงทุนในคอนเทนต์ละครและซีรีส์ต่างประเทศ ส�ำหรับ การออกอากาศที่สื่อโทรทัศน์ ช่อง 8 กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินใช้ไปสุทธิ 533.8 ล้านบาท จากการช�ำระคืนหนี้เงินกู้ระยะยาว จ�ำนวน 270.0 ล้านบาท และจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 241.7 ล้านบาท


104 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

อัตราส่วนสภาพคล่องที่ส�ำคัญ ปี 2560

ปี 2561

อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า)

0.89

1.04

อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า)

0.55

0.70

ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (วัน)

58

51

ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย (วัน)

38

50

ระยะเวลาช�ำระหนี้เฉลี่ย (วัน)

37

48

Cash cycle (วัน)

59

53

ภาพรวมปี 2561 บริษัทฯ มีสภาพคล่องสูงขึ้นจากปีก่อน ทั้งจากยอดขายที่สูงขึ้นของธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทางท�ำให้มีกระแสเงินสด รับเพิ่มขึ้น และจากมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลของภาครัฐที่อนุญาตให้พักช�ำระหนี้ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทีวีดิจิทัลได้เป็นเวลา 3 ปี ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาให้ภาระหนี้สินที่ต้องช�ำระในระยะสั้นของบริษัทฯ ลดลง นอกจากนี้ ในปี 2561 บริษัทฯ มี Cash cycle จ�ำนวน 53 วัน ลดลงจากปีก่อนที่ 59 วัน จากการเก็บหนี้เฉลี่ยได้เร็วขึ้น และการบริหารเครดิตได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แหล่งที่มาของเงินทุน หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ และ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หน่วย : ล้านบาท

ปี 2560

ปี 2561

เปลี่ยนแปลง จ�ำนวน

(y-y)

เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน

213.0

240.0

27.0

12.7%

เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน

666.1

396.1

-270.0

-40.5%

ค่าใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ค้างจ่าย (สุทธิ)

894.5

830.6

-63.9

-7.1%

หนี้สินหมุนเวียนอื่น

908.6

821.9

-86.7

-9.5%

หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น

124.9

112.4

-12.5

-10.0%

หนี้สินรวม

2,807.1

2,401.0

-406.1

-14.5%

ส่วนของผู้เป็นเจ้าของของบริษัทใหญ่

1,396.9

1,671.2

274.3

19.6%

2.01

1.44

อัตราส่วนหนี้สินต่อ ส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า)


105 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 บริษัทฯ มีหนี้สินรวม 2,401.0 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 406.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.5 มาจาก การจ่ายคืนเงินกูย้ มื ระยะยาว 270.0 ล้านบาท ซึง่ เป็นการคืนก่อนก�ำหนดช�ำระ จ�ำนวน 230.0 ล้านบาท หนีส้ นิ หมุนเวียนอืน่ ลดลงจากค่านายหน้า และค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขายซึ่งผันแปรตามรายได้สื่อที่ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 บริษัทฯ มีส่วนของผู้เป็นเจ้าของของบริษัทใหญ่ จ�ำนวน 1,671.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 274.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19.6 จากการเพิ่มขึ้นของผลก�ำไรระหว่างงวด 516.0 ล้านบาท และจ่ายเงินปันผล 241.7 ล้านบาท ในปี 2561 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 1.44 เท่า ลดลงจากปี 2560 ที่มีอัตราส่วน 2.01 เท่า จากการที่หนี้สินรวมลดลงจาก การคืนหนี้เงินกู้ระยะยาวเป็นหลัก และส่วนของผู้เป็นเจ้าของของบริษัทใหญ่เพิ่มขึ้นจากผลก�ำไรที่เพิ่มสูงในระหว่างปี

ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลต่อผลการด�ำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต ในปี 2562 ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง ยังคงขยายช่องทางการจัดจ�ำหน่ายออกไปอย่างต่อเนือ่ ง ทัง้ ช่องทางขายตรงชัน้ เดียว ซึง่ ผลิตสินค้า โดยเฉพาะให้แก่ช่องทางดังกล่าว ท�ำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านทั้งช่องทางสื่อของบริษัทฯ สื่อออนไลน์ และสื่ออื่นๆ ทั่วประเทศ ส�ำหรับ ช่องทางออนไลน์ มีแผนการน�ำระบบ data analytics มาเพื่อพัฒนาช่องทางดังกล่าวเพิ่มขึ้น รวมถึงน�ำมาช่วยวิเคราะห์ลูกค้าที่มีอยู่ในมือ กว่าล้านราย ร่วมกับการพัฒนาระบบหลังการขาย เพื่อให้ลูกค้าเกิดการซื้อซ�้ำ และสนใจซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย ในส่วนของการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ บริษัทฯ มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายของประเภทสินค้าเพิ่มขึ้น และมุ่งเน้นที่สินค้าที่มีอัตราการท�ำก�ำไรสูง ส�ำหรับสถานีโทรทัศน์ “ช่อง 8” พร้อมสโลแกน “ใครๆ ก็ดูช่อง 8” ในปี 2562 จะได้เห็นทั้งละครไทย ซึ่งประสบความส�ำเร็จอย่างมาก จากปีก่อน ซีรีส์ต่างประเทศทั้ง “พิฆเนศ มหาเทพอวตาร” ต่อด้วย “อะลาดิน” รวมถึงรายการข่าว เสริมความเข้มข้นด้วยกิจกรรม “เคาะประตู ดูช่อง 8” และวาไรตี้รูปแบบใหม่ที่จะเข้ามาสนับสนุนเรตติ้งของช่อง 8 ให้เพิ่มขึ้นด้วย


106 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

งบการเงิน

รายงานของผู้สอบบัญชี รับอนุญาต เสนอผูถ้ ือหุน้ ของบริ ษทั อาร์เอส จากัด (มหาชน) ความเห็น ข้าพเจ้าเห็น ว่า งบการเงิน รวมของบริ ษ ัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) (“บริ ษัท”) และบริ ษ ัทย่อย (“กลุ่ มกิ จการ”) และงบการเงินเฉพาะ กิจการของบริ ษทั แสดงฐานะการเงินรวมของกลุ่มกิจการและฐานะการเงินเฉพาะกิจการของบริ ษทั ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ ผลการดาเนิ นงานรวมและผลการดาเนิ นงานเฉพาะกิ จการ กระแสเงินสดรวมและกระแสเงินสดเฉพาะกิ จการสาหรับปี สิ้ นสุ ดวันเดียวกัน โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสาคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน

งบการเงินทีต่ รวจสอบ งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการประกอบด้วย  งบแสดงฐานะการเงินรวมและงบแสดงฐานะการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561  งบกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จรวมและงบกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จเฉพาะกิจการสาหรับปี สิ้ นสุ ดวันเดียวกัน  งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่ วนของเจ้าของรวมและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่ วนของเจ้าของเฉพาะกิ จการสาหรั บปี สิ้ นสุ ด วันเดียวกัน  งบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะกิจการสาหรับปี สิ้ นสุ ดวันเดียวกัน และ  หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการซึ่ งรวมถึงหมายเหตุสรุ ปนโยบายการบัญชีที่สาคัญ

เกณฑ์ ในการแสดงความเห็น ข้าพเจ้าได้ปฏิบตั ิงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ความรับผิดชอบของข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในส่ วนของความรับผิดชอบของ ผูส้ อบบัญชีต่อการตรวจสอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการในรายงานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีความเป็ นอิสระจากกลุ่มกิจการ และบริ ษทั ตามข้อกาหนดจรรยาบรรณของผูป้ ระกอบวิชาชีพบัญชีในส่ วนที่เกี่ ยวข้องกับการตรวจสอบงบการเงินรวมและงบการเงิน เฉพาะกิ จการที่กาหนดโดยสภาวิชาชี พบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ และข้าพเจ้าได้ปฏิบตั ิตามความรับผิดชอบด้านจรรยาบรรณอื่น ๆ ซึ่ งเป็ นไปตามข้อกาหนดเหล่านี้ ข้าพเจ้าเชื่อว่าหลักฐานการสอบบัญชีที่ขา้ พเจ้าได้รับเพียงพอและเหมาะสมเพื่อใช้เป็ นเกณฑ์ในการแสดง ความเห็นของข้าพเจ้า

เรื่ องสาคัญในการตรวจสอบ เรื่ อ งส าคัญ ในการตรวจสอบคื อ เรื่ อ งต่ าง ๆ ที่ มี นัยส าคัญ ที่ สุ ด ตามดุ ล ยพิ นิ จเยี่ยงผูป้ ระกอบวิช าชี พ ของข้าพเจ้าในการตรวจสอบ งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการสาหรับงวดปั จจุบนั ข้าพเจ้าได้นาเรื่ องเหล่านี้ มาพิจารณาในบริ บทของการตรวจสอบงบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะกิจการโดยรวมและในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ทั้งนี้ ข้าพเจ้าไม่ได้แสดงความเห็นแยกต่างหากสาหรับเรื่ องเหล่านี้


107 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

เรื่ องสาคัญในการตรวจสอบ

วิธีการตรวจสอบ

การประเมิ น มู ล ค่ า ของใบอนุ ญ าตให้ ใช้ คลื่ น ความถี่ และ ประกอบกิจการโทรทัศน์ อ้ างอิ งหมายเหตุป ระกอบงบการเงิ น รวมและงบการเงิ น เฉพาะกิจการข้ อ 14 เรื่ องใบอนุ ญาตให้ ใช้ คลื่นความถี่และ ประกอบกิจการโทรทัศน์ (สุทธิ ) ณ วัน ที่ 31 ธัน วาคม พ.ศ. 2561 กลุ่ ม กิ จการมี ใบอนุ ญ าต ให้ใช้ค ลื่ น ความถี่ แ ละประกอบกิ จการโทรทัศ น์ จานวน 1,396 ล้านบาทสุ ท ธิ จากค่ า ตัด จาหน่ ายสะสม เนื่ อ งจาก จานวนช่ อ งที วีดิจิตอลที่ มีจานวนมากท าให้ผูช้ มรายการ โทรทัศน์มีท างเลือกในการชมรายการต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้ น จึงมีผลให้ผูป้ ระกอบการที วีดิจิตอลต้องเผชิ ญสภาวะการ แข่งขันรุ นแรงของทีวดี ิจิตอล จากข้อบ่งชี้ขา้ งต้นแสดงให้เห็นว่ามูลค่าที่กลุ่มกิจการคาดว่า จะได้รั บคื นจากการใช้ใบอนุ ญ าตให้ ใช้คลื่ น ความถี่ และ ประกอบกิจการโทรทัศน์น้ ันอาจต่ากว่ามูลค่าตามบัญชีสุทธิ ซึ่ งผูบ้ ริ ห ารจะประเมิ น การด้อ ยค่ า ของใบอนุ ญ าตให้ ใช้ คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์เป็ นประจาทุก ๆ ปี และจากการทดสอบในปี นี้ ผูบ้ ริ หารพบว่าไม่มีการด้อยค่า ของใบอนุญาตดังกล่าว ข้ า พ เจ้ า ให้ ค วามใส่ ใจการประเมิ น การด้ อ ยค่ า ใน ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ เนื่ อ งจากใบอนุ ญ าตมีมู ล ค่ าเป็ นจานวนที่ มีส าระส าคัญ และมีขอ้ สมมติฐานที่สาคัญที่ผบู ้ ริ หารใช้ดุลยพินิจในการ ประเมินอัตราการเติบโตโดยรวมของรายได้และอัตราคิดลด เพื่อใช้ในการคานวณประมาณการกระแสเงินสดในอนาคต การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสมมติฐานเพียงเล็กน้อย อาจส่ งผลให้ป ระมาณการกระแสเงิ น สดเปลี่ ยนแปลง อย่างเป็ นมีสาระสาคัญ

วิธีการตรวจสอบของข้าพเจ้า รวมถึง  ประเมิน ความเหมาะสมของวิธีการในการจัดท าประมาณการ กระแสเงิ น สดของกลุ่ ม กิ จ การรวมถึ ง ขั้ นตอนการจัด ท า และทดสอบข้อ มู ล ส าคัญ ที่ ใ ช้ ใ นการค านวณประมาณการ กระแสเงินสดในอนาคต  เปรี ยบเที ยบประมาณการกระแสเงิน สดของกลุ่ ม กิ จการที่ ท า ในปี ปั จจุบนั กับ ประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตที่ ทาใน ปี ที่แล้ว รวมถึงประเมินเกี่ยวกับการปรับปรุ งของประมาณการ ที่ ส าคัญ และเปรี ยบเที ย บประมาณการกระแสเงิ น สดของ กลุ่มกิจการกับผลการดาเนินงานที่เกิดขึ้นจริ งของปี ปัจจุบนั  สอบถามผูบ้ ริ หารเชิงทดสอบเกี่ยวกับข้อสมมติฐานที่สาคัญคือ การเติ บ โตของรายได้แ ละอัต ราคิ ด ลด เพื่ อ ท าความเข้า ใจ แผนการเติ บ โตในอนาคต พร้ อ มด้วยพิ จารณาว่า กลุ่ ม กิ จการ มีความสามารถในการทาให้แผนสั มฤทธิ์ ผลภายในระยะเวลา ที่ ส มควร โดยการเปรี ยบเที ยบอัตราการเติ บ โตของรายได้กับ ภาพรวมของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม  ทดสอบความเหมาะสมของการใช้อตั ราคิดลดของต้นทุนเงินทุ น ในกลุ่ มกิ จการโดยเปรี ยบเที ยบกับ อัตราดอกเบี้ ยที่ กลุ่มกิ จการ ได้จ่ายจริ ง  ทดสอบการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของข้อสมมติฐานเกี่ ยวกับ อัตราการเติ บโตของรายได้ และอัตราคิ ดลด เพื่อ พิจารณาการ เปลี่ ย นแปลงของสมมติ ฐ านเหล่ านี้ ซึ่ งอาจส่ งผลให้ เกิ ด การ ด้อ ยค่ าของใบอนุ ญ าตให้ใช้คลื่ น ความถี่ แ ละประกอบกิ จการ โทรทัศน์ จากผลการปฏิบตั ิงานดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าพบว่าสมมติฐาน ที่ผบู ้ ริ หารใช้ในการประเมินมูลค่าของใบอนุ ญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และประกอบกิจการโทรทัศน์มีความสมเหตุสมผลตามหลักฐาน ที่มีอยูแ่ ละไม่จาเป็ นต้องบันทึกค่าเผือ่ การด้อยค่า

2


108 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

เรื่ องสาคัญในการตรวจสอบ

วิธีการตรวจสอบ

สิ นทรั พย์ ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชีจากผลขาดทุนสะสม ทางภาษีที่ยังไม่ ได้ใช้ อ้ างอิงหมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะ ข้าพเจ้าทาความเข้าใจรายการสิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ที่ กิจการข้ อ 17 เรื่ อง สิ นทรั พย์ ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี (สุทธิ ) ส าคัญ และได้ท ดสอบข้อ สมมติ ฐานที่ ส าคัญ ที่ ผูบ้ ริ ห ารใช้ในการ ค านวณก าไรทางภาษี ใ นอนาคตซึ่ งใช้เป็ นเกณฑ์ใ นการก าหนด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 กลุ่มกิ จการมีสิน ทรั พย์ภาษี สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีโดย เงิ น ได้รอการตัดบัญ ชี จานวน 232 ล้านบาท ประกอบด้ว ย  ประเมินผลขาดทุนสะสมทางภาษีที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจากขาดทุนสะสมทางภาษี โดยพิจารณาจากระยะเวลาสิ้ นสุ ดการใช้ได้ตามประมวลรัษฎากร ที่ยงั ไม่ได้ใช้ของบริ ษทั และบริ ษทั ย่อยจานวน 81 ล้านบาท ที่ เกี่ ยวข้อ ง รวมถึ งพิ จารณาความถู กต้อ งของการคานวณภาษี และประมาณการการใช้ภาษีในอนาคต กลุ่มกิ จการรั บรู ้ สิ นทรั พย์ภาษี เงิน ได้รอการตัดบัญชี จากผล ขาดทุนสะสมทางภาษีที่ยงั ไม่ได้ใช้ เมื่อผูบ้ ริ หารพิจารณาว่า  ประเมินและสอบถามผูบ้ ริ หารเชิงทดสอบเกี่ยวกับดุลยพินิจและ จะมี ก าไรทางภาษี ในอนาคตเพี ย งพอที่ จ ะสามารถน าผล สมมติฐานที่ใช้ในการประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตของ ขาดทุ น สะสมทางภาษี ม าใช้ป ระโยชน์ ได้ ผูบ้ ริ ห ารจัด ท า กลุ่ ม กิ จการในช่ วงระยะเวลา 5 ปี ข้างหน้ า ซึ่ งเป็ นระยะเวลา ประมาณการก าไรที่ ต้อ งเสี ยภาษี ในอนาคต เพื่ อ พิ จ ารณา ที่กลุ่มกิจการสามารถใช้สิทธิประโยชน์จากขาดทุนสะสมทางภาษี ความสามารถในการใช้ป ระโยชน์ ท างภาษี ของภาษี เงิ น ได้ โดยพิจารณาความเป็ นไปได้ของข้อสมมติฐานด้านการเติบโตของ รอการตัดบัญชี ที่ต้ งั จากขาดทุนสะสมทางภาษีที่ยงั ไม่ได้ใช้ ก าไรในอนาคตอั น เป็ นผลมาจากการเติ บ โตของรายได้ ซึ่งประมาณการอัตราการเติบโตของรายได้และกาไรทางภาษี และเปรี ย บเที ย บอัต ราการเติ บ โตของรายได้ ต ามแผนธุ ร กิ จ ในอนาคตเป็ นปั จจัยส าคัญที่ ส่ งผลกระทบต่ อประมาณการ กับประมาณการทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม เหล่านี้ จากวิธีปฏิบตั ิงานของข้าพเจ้าดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าพบว่าข้อสมมติฐาน ที่ ส าคัญ ที่ ผู ้บ ริ หารใช้ ใ นการประมาณการก าไรที่ ต้อ งเสี ยภาษี ข้า พเจ้าให้ค วามใส่ ใจในเรื่ อ งสิ น ทรั พ ย์ภ าษี เงิ น ได้ร อการ ตัดบัญ ชี ที่ ต้ งั จากขาดทุ น สะสมสุ ท ธิ ที่ ยงั ไม่ได้ใช้เนื่ อ งจาก ในอนาคตอยูใ่ นระดับที่สมเหตุสมผล มูล ค่ าสิ น ทรั พย์ภาษี เงิ น ได้รอการตัดบัญชี มีส าระส าคัญ ต่ อ งบการเงิน รวม และการคานวณประมาณการกาไรทางภาษี ในอนาคตมีความซับซ้อน และมีการใช้ขอ้ สมมติฐานที่สาคัญ ซึ่ งขึ้ น อยู่กับ ดุ ลยพินิ จที่ ส าคัญ ของผูบ้ ริ หารในการประเมิน ความสามารถในการทากาไรที่ตอ้ งเสี ยภาษีในอนาคต

3


109 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

เรื่ องสาคัญในการตรวจสอบ

วิธีการตรวจสอบ

การรับรู้ จานวนการตัดจาหน่ ายต้ นทุนการผลิตละคร อ้ า งอิ ง หมายเหตุ ป ระกอบงบการเงิ น รวมและงบการเงิ น ข้าพเจ้าท าความเข้าใจและตรวจสอบวิธีการตัดจาหน่ ายต้น ทุน การ เฉพาะกิจการข้ อ 15 เรื่ อง สิ นทรั พย์ ไม่ มตี ัวตน ผลิตละครโดย ณ วัน ที่ 31 ธัน วาคม พ.ศ. 2561 กลุ่ ม กิ จการมี ยอดคงเหลื อ  ประเมิ น ความเหมาะสมของวิธี ก ารคาดการณ์ ที่ เกี่ ย วกับ การ ต้น ทุ น การผลิ ต ละครสุ ทธิ จ านวน 389 ล้านบาท คิ ด เป็ น ประมาณการจานวนตอนของการออกอากาศละครแต่ละเรื่ อ ง สัดส่ วนร้ อยละ 54 ของสิ นทรั พย์ไม่มีตวั ตนทั้งหมด ต้นทุ น โดยเทียบกับแผนการออกอากาศ การผลิตละครแสดงมูลค่าตามราคาทุนหักค่าตัดจาหน่ ายสะสม ซึ่ งต้นทุนการผลิตละครตัดจาหน่ ายตามรู ปแบบที่คาดการณ์  ประเมิ น จ านวนตอนที่ อ อกอากาศจริ งของละครเรื่ องนั้ น โดยเปรี ยบเทียบกับแผนการออกอากาศละครที่นามาใช้คานวณ ของการใช้สินทรัพย์เพื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต การตัดจาหน่ายต้นทุนการผลิตละคร ผูบ้ ริ หารแบ่ งสั ดส่ วนต้น ทุน การผลิ ตละครออกเป็ น 2 ส่ วน กล่าวคือ ส่ วนแรกของต้นทุ นการผลิตละคร จะตัดจาหน่ าย  ทดสอบการคานวณ เพื่อประเมินความถูกต้องของการคานวณ การตัดจาหน่ายต้นทุนการผลิตละคร ตามจานวนตอนในแต่ล ะครั้ งที่ คาดการณ์ ว่าจะออกอากาศ ทางโทรทัศน์ ส่ วนที่ เหลื อ ของต้น ทุ น การผลิ ตละครจะตัด ข้า พเจ้า พิ จ ารณาแล้ว ว่า ดุ ล ยพิ นิ จ ของผู ้บ ริ ห ารในการคาดการณ์ จาหน่ายด้วยวิธีเส้นตรง จานวนตอนที่ จะออกอากาศนั้น สมเหตุ ส มผล และอยู่ในระดับ ที่ ยอมรับได้ ตามหลักฐานที่มีอยู่ ข้าพเจ้าให้ความใส่ ใจวิธีการตัดจาหน่ายต้นทุนการผลิตละคร ในส่ วนที่ตดั จาหน่ ายตามจานวนตอนในแต่ละครั้งที่คาดการณ์ ว่าจะออกอากาศทางโทรทัศน์ เนื่ องจากวิธีตดั จาหน่ ายในส่ วนนี้ เกี่ ยวข้องกับการใช้ดุลยพินิจของผูบ้ ริ หารในการคาดการณ์ จานวนตอนที่ จะออกอากาศในอนาคต และต้น ทุนการผลิ ต ละครตามส่ วนแบ่งมีจานวนเงินที่มีสาระสาคัญต่องบการเงิน

4


110 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ข้ อมูลอื่น กรรมการเป็ นผูร้ ั บผิดชอบต่ อข้อมูลอื่ น ข้อมู ลอื่ นประกอบด้วย ข้อมูลซึ่ งรวมอยู่ในรายงานประจาปี แต่ ไม่ รวมถึ งงบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะกิจการ และรายงานของผูส้ อบบัญชี ที่อยู่ในรายงานนั้น ข้าพเจ้าคาดว่าข้าพเจ้าจะได้รับรายงานประจาปี ภายหลังวันที่ ในรายงานของผูส้ อบบัญชีน้ ี ความเห็นของข้าพเจ้าต่องบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการไม่ครอบคลุมถึงข้อมูลอื่น และข้าพเจ้าไม่ได้ให้ความเชื่อมัน่ ต่อข้อมูลอื่น ความรับผิดชอบของข้าพเจ้าที่เกี่ยวเนื่องกับการตรวจสอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการคือ การอ่านและพิจารณาว่าข้อมูลอื่น มีความขัดแย้งที่ มีสาระส าคัญ กับ งบการเงิน รวมและงบการเงินเฉพาะกิ จการ หรื อกับ ความรู ้ ที่ได้รับ จากการตรวจสอบของข้าพเจ้า หรื อปรากฏว่าข้อมูลอื่นมีการแสดงข้อมูลที่ขดั ต่อข้อเท็จจริ งอันเป็ นสาระสาคัญหรื อไม่ เมื่อข้าพเจ้าได้อ่านรายงานประจาปี หากข้าพเจ้าสรุ ปได้ว่ามีการแสดงข้อมูลที่ขดั ต่อข้อเท็จจริ งอันเป็ นสาระสาคัญ ข้าพเจ้าต้องสื่ อสาร เรื่ องดังกล่าวกับคณะกรรมการตรวจสอบ

ความรับผิดชอบของกรรมการต่องบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ กรรมการมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทาและนาเสนองบการเงิน รวมและงบการเงินเฉพาะกิ จการเหล่านี้ โดยถูกต้องตามที่ควรตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน และรั บ ผิด ชอบเกี่ ยวกับ การควบคุ มภายในที่ กรรมการพิ จารณาว่าจาเป็ น เพื่อ ให้ส ามารถจัดท า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการที่ปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขดั ต่อข้อเท็จจริ งอันเป็ นสาระสาคัญไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริ ต หรื อข้อผิดพลาด ในการจัดทางบการเงิน รวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ กรรมการรับผิดชอบในการประเมินความสามารถของกลุ่มกิจการและบริ ษทั ในการดาเนิ น งานต่ อเนื่ อง เปิ ดเผยเรื่ อ งที่ เกี่ ยวกับ การดาเนิ น งานต่อ เนื่ อ ง (ตามความเหมาะสม) และการใช้เกณฑ์การบัญชี ส าหรั บ การดาเนิ นงานต่อเนื่ อง เว้นแต่กรรมการมีความตั้งใจที่จะเลิกกลุ่มกิ จการและบริ ษทั หรื อหยุดดาเนิ นงาน หรื อไม่สามารถดาเนิ นงาน ต่อเนื่องต่อไปได้ คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ช่วยกรรมการในการสอดส่ องดูแลกระบวนการในการจัดทารายงานทางการเงินของกลุ่มกิจการและบริ ษทั

5


111 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีต่อการตรวจสอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ การตรวจสอบของข้าพเจ้ามีวตั ถุประสงค์เพื่อให้ได้ความเชื่ อมัน่ อย่างสมเหตุสมผลว่างบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิ จการโดยรวม ปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขดั ต่อข้อเท็จจริ งอันเป็ นสาระสาคัญหรื อไม่ ไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริ ตหรื อข้อผิดพลาด และเสนอรายงาน ของผูส้ อบบัญ ชี ซ่ ึ งรวมความเห็ น ของข้าพเจ้าอยู่ด้ว ย ความเชื่ อ มั่น อย่า งสมเหตุ ส มผลคื อ ความเชื่ อ มั่น ในระดับสู ง แต่ ไม่ ได้เป็ น การรับประกันว่าการปฏิบตั ิงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีจะสามารถตรวจพบข้อมูลที่ขดั ต่อข้อเท็จจริ งอันเป็ นสาระสาคัญ ที่ มี อ ยู่ได้เสมอไป ข้อ มู ล ที่ ขัด ต่ อ ข้อ เท็ จ จริ งอาจเกิ ด จากการทุ จ ริ ต หรื อ ข้อ ผิด พลาด และถื อ ว่า มี ส าระส าคัญ เมื่ อ คาดการณ์ อ ย่า ง สมเหตุ ส มผลได้ว่ารายการที่ ขัดต่ อ ข้อเท็จจริ งแต่ ล ะรายการ หรื อ ทุ ก รายการรวมกัน จะมีผลต่ อ การตัดสิ น ใจทางเศรษฐกิ จของผูใ้ ช้ งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการเหล่านี้ ในการตรวจสอบของข้าพเจ้าตามมาตรฐานการสอบบัญชี ข้าพเจ้าได้ใช้ดุลยพินิจเยีย่ งผูป้ ระกอบวิชาชีพและการสังเกต และสงสัยเยี่ยง ผูป้ ระกอบวิชาชีพตลอดการตรวจสอบ การปฏิบตั ิงานของข้าพเจ้ารวมถึง 

  

 

ระบุและประเมินความเสี่ ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขดั ต่อข้อเท็จจริ งอันเป็ นสาระสาคัญในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ ไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริ ตหรื อข้อผิดพลาด ออกแบบและปฏิบตั ิงานตามวิธีการตรวจสอบเพื่อตอบสนองต่อความเสี่ ยงเหล่านั้น และได้หลักฐานการสอบบัญชี ที่เพียงพอและเหมาะสมเพื่อเป็ นเกณฑ์ในการแสดงความเห็น ของข้าพเจ้า ความเสี่ ยงที่ไม่พบ ข้อ มูล ที่ ขดั ต่ อ ข้อ เท็จจริ งอัน เป็ นสาระส าคัญซึ่ งเป็ นผลมาจากการทุ จริ ตจะสู งกว่าความเสี่ ยงที่ เกิ ดจากข้อผิดพลาด เนื่ องจาก การทุจริ ตอาจเกี่ยวกับการสมรู ้ร่วมคิด การปลอมแปลงเอกสารหลักฐาน การตั้งใจละเว้นการแสดงข้อมูล การแสดงข้อมูลที่ไม่ตรง ตามข้อเท็จจริ งหรื อการแทรกแซงการควบคุมภายใน ทาความเข้าใจในระบบการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ เพื่อออกแบบวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงความเห็นต่อความมีประสิ ทธิผลของการควบคุมภายในของกลุ่มกิจการและบริ ษทั ประเมินความเหมาะสมของนโยบายการบัญชีที่กรรมการใช้และความสมเหตุสมผลของประมาณการทางบัญชี และการเปิ ดเผย ข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งจัดทาขึ้นโดยกรรมการ สรุ ปเกี่ยวกับความเหมาะสมของการใช้เกณฑ์การบัญชีสาหรับการดาเนิ นงานต่อเนื่ องของกรรมการจากหลักฐานการสอบบัญชี ที่ได้รับ และประเมิน ว่ามีความไม่แน่ นอนที่มีสาระสาคัญที่เกี่ ยวกับเหตุการณ์หรื อสถานการณ์ที่อาจเป็ นเหตุให้เกิ ดข้อสงสั ย อย่างมีนัยสาคัญต่อความสามารถของกลุ่มกิจการและบริ ษทั ในการดาเนิ นงานต่อเนื่ องหรื อไม่ ถ้าข้าพเจ้าได้ขอ้ สรุ ปว่ามีความ ไม่แน่ นอนที่ มีสาระสาคัญ ข้าพเจ้าต้อ งกล่าวไว้ในรายงานของผูส้ อบบัญชี ของข้าพเจ้าโดยให้ขอ้ สังเกตถึงการเปิ ดเผยข้อมูล ในงบการเงิ น รวมและงบการเงิ น เฉพาะกิ จ การที่ เกี่ ยวข้อ ง หรื อ ถ้า การเปิ ดเผยดังกล่ า วไม่ เพี ย งพอ ความเห็ น ของข้าพเจ้า จะเปลี่ยนแปลงไป ข้อสรุ ปของข้าพเจ้าขึ้นอยู่กบั หลักฐานการสอบบัญชี ที่ได้รับจนถึงวันที่ในรายงานของผูส้ อบบัญชี ของข้าพเจ้า อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์หรื อสถานการณ์ในอนาคตอาจเป็ นเหตุให้กลุ่มกิจการและบริ ษทั ต้องหยุดการดาเนินงานต่อเนื่อง ประเมิ น การน าเสนอ โครงสร้ างและเนื้ อ หาของงบการเงิ น รวมและงบการเงิ น เฉพาะกิ จการโดยรวม รวมถึ งการเปิ ดเผยว่า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการแสดงรายการ และเหตุการณ์ในรู ปแบบที่ทาให้มีการนาเสนอข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควร ได้รับหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินของกิจการภายในกลุ่มหรื อกิจกรรมทางธุ รกิจ ภายในกลุ่มกิจการเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินรวม ข้าพเจ้ารับผิดชอบต่อการกาหนดแนวทางการควบคุมดูแลและการปฏิบตั ิงาน ตรวจสอบกลุ่มกิจการ ข้าพเจ้าเป็ นผูร้ ับผิดชอบแต่เพียงผูเ้ ดียวต่อความเห็นของข้าพเจ้า

6


112 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

ข้าพเจ้าได้สื่อสารกับคณะกรรมการตรวจสอบในเรื่ องต่าง ๆ ที่สาคัญซึ่งรวมถึงขอบเขตและช่วงเวลาของการตรวจสอบตามที่ได้วางแผนไว้ ประเด็นที่มีนัยสาคัญที่พบจากการตรวจสอบและข้อบกพร่ องที่มีนัยสาคัญในระบบการควบคุมภายใน หากข้าพเจ้าได้พบในระหว่าง การตรวจสอบของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ให้คารับรองแก่ คณะกรรมการตรวจสอบว่า ข้าพเจ้าได้ปฏิบตั ิตามข้อกาหนดจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับความเป็ นอิสระและ ได้สื่ อ สารกับ คณะกรรมการตรวจสอบเกี่ ยวกับ ความสั มพัน ธ์ท้ งั หมด ตลอดจนเรื่ อ งอื่น ซึ่ งข้าพเจ้าเชื่ อ ว่ามีเหตุ ผลที่ บุ คคลภายนอก อาจพิจารณาว่ากระทบต่อความเป็ นอิสระของข้าพเจ้าและมาตรการที่ขา้ พเจ้าใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ขา้ พเจ้าขาดความเป็ นอิสระ จากเรื่ องที่ สื่ อสารกับคณะกรรมการตรวจสอบ ข้าพเจ้าได้พิ จารณาเรื่ องต่ าง ๆ ที่ มี นัยส าคัญที่ สุ ดในการตรวจสอบงบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะกิจการในงวดปัจจุบนั และกาหนดเป็ นเรื่ องสาคัญในการตรวจสอบ ข้าพเจ้าได้อธิบายเรื่ องเหล่านี้ในรายงานของผูส้ อบบัญชี เว้นแต่กฎหมายหรื อข้อบังคับไม่ให้เปิ ดเผยต่อสาธารณะเกี่ยวกับเรื่ องดังกล่าว หรื อในสถานการณ์ที่ยากที่จะเกิดขึ้น ข้าพเจ้าพิจารณาว่า ไม่ควรสื่ อสารเรื่ องดังกล่าวในรายงานของข้าพเจ้าเพราะการกระทาดังกล่าวสามารถคาดการณ์ ได้อย่างสมเหตุผลว่าจะมีผลกระทบ ในทางลบมากกว่าผลประโยชน์ต่อส่ วนได้เสี ยสาธารณะจากการสื่ อสารดังกล่าว บริ ษทั ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จากัด

กฤษณ์ ชัชวาลวงศ์ ผูส้ อบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 5016 กรุ งเทพมหานคร 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

7


113 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จํากัด (มหาชน) งบแสดงฐานะการเงิน  ันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2561 งบการเงินรม 31 ธันาคม 31 ธันาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ 31 ธันาคม 31 ธันาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

339,639,957 553,168,390 284,785,668 3,816,152 4,933,691

230,823,831 622,302,372 315,635,411 24,836,068 2,275,876

168,511,981 611,655,348 881,700,000 11,956,542 528,592

29,268,469 461,028,178 841,700,000 2,646,381 620,355

1,186,343,858

1,195,873,558

1,674,352,463

1,335,263,383

11 12 13

3,991,133 331,535,298

3,988,995 402,467,819

534,507,003 292,850,997

555,909,254 370,491,352

14 15

1,395,738,282 720,149,700 9,030,000 180,089,907 231,609,431 14,839,736

1,531,084,848 587,247,391 27,083,333 153,554,601 273,923,902 33,905,738

117,423,678 115,677,411 118,755,960 14,629,038

145,938,925 90,014,129 119,457,000 30,549,040

รมสิ นทรัพย์ ไม่ หมุนเยน

2,886,983,487

3,013,256,627

1,193,844,087

1,312,359,700

รมสิ นทรัพย์

4,073,327,345

4,209,130,185

2,868,196,550

2,647,623,083

หมายเหตุ สิ นทรัพย์ สิ นทรัพย์ หมุนเยน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลกนีการาและลกนีน (สุ ทธิ) เงินกย  ระยะสนแก่กิการทีเกียงกน (สุ ทธิ) สิ นางเล (สุ ทธิ) าีล่าเิ (สุ ทธิ) สิ นทรยุนเียนน (สุ ทธิ)

7 8 34 ง) 9 22 10

รมสิ นทรัพย์ หมุนเยน สิ นทรัพย์ ไม่ หมุนเยน เงินลงทุนนบริ ท ย่ย (สุ ทธิ) เงินลงทุนนบริ ท ร่  (สุ ทธิ) าาร และุปกรณ (สุ ทธิ) บนุาลนาีและ ประกบกิการโทรทศน (สุ ทธิ) สิ นทรยไ่ี น (สุ ทธิ) ่า่าย่ายล่งนาเกินปี าีเงินไดกก ณ ที่าย (สุ ทธิ) สิ นทรยาีเงินไดรการดบี (สุ ทธิ) สิ นทรยไ่ุนเียนน (สุ ทธิ)

16 17 18

กรรการ ____________________________________________

กรรการ _____________________________________________

หมายเหตุ ระกอบงบการเงินนรและงบการเงิ รวมและงบการเงินเฉาะกิ นเฉพาะกิ จในหน้า า126 208เป นเป็ส่นส่นนึ วนหนึ ่งของงบการเงิ ายเุปประกบงบการเงิ การนน 21 ึถึงง103  งงงบการเงิ นนีน นี้ 8


114 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จํากัด (มหาชน) งบแสดงฐานะการเงิน  ันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2561 งบการเงินรม 31 ธันาคม 31 ธันาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ 31 ธันาคม 31 ธันาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

19

733,203,437

815,418,868

256,246,002

284,267,502

20

11,070,866

11,681,888

11,070,866

11,681,888

14 21 34 )

4,072,392 240,000,000 -

176,864,317 213,000,000 -

240,000,000 208,027,125

213,000,000 121,827,125

23 22

80,000,000 39,369,040 28,982,918 9,242,313

40,000,000 29,758,153 41,610,288 10,091,089

39,269,571 5,080,334

20,614,565 5,546,049

1,145,940,966

1,338,424,603

759,693,898

656,937,129

20 23

6,617,037 316,085,000

17,688,912 626,085,000

6,617,037 -

17,688,912 -

14 24 25

826,556,413 99,545,179 6,249,237

717,671,638 96,134,656 11,067,587

78,422,968 777,874

72,801,538 879,874

รมหนส ิ นไม่ หมุนเยน

1,255,052,866

1,468,647,793

85,817,879

91,370,324

รมหนส ิ น

2,400,993,832

2,807,072,396

845,511,777

748,307,453

หมายเหตุ หนส ิ นแะส่ นองเจ าอง หนส ิ นหมุนเยน เานีการาและเานีน นีสินายส  าเ่าการเงินทีึงกานดาระ ายนนึงปี (สุ ทธิ) ่าบนุาลนาีและ ประกบกิการโทรทศนา ง่ายทีึง กานดาระายนนึงปี (สุ ทธิ) เงินกย  ระยะสนากสาบนการเงิน เงินกย  ระยะสนากกิการทีเกียงกน เงินกย  ระยะยาากสาบนการเงิน ทีึงกานดาระายนนึงปี าีล่าเิ (สุ ทธิ) าีเงินไดา ง่าย าีเงินไดก ณ ที่ายาง่าย รมหนส ิ นหมุนเยน หนส ิ นไม่ หมุนเยน นีสินายส  าเ่าการเงิน (สุ ทธิ) เงินกย  ระยะยาากสาบนการเงิน ่าบนุาลนาีและ ประกบกิการโทรทศนา ง่าย าระผกนผลประโยนนกงาน นีสินไ่ุนเียนน

หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจในหน้า 126 ถึง 208 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ ายเุประกบงบการเงินรและงบการเงินเฉาะกิการนนา 21 ึง 103 เป นส่ นนึงงงบการเงินนี

9


115 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จํากัด (มหาชน) งบแสดงฐานะการเงิน  ันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2561

หมายเหตุ

งบการเงินรม 31 ธันาคม 31 ธันาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ 31 ธันาคม 31 ธันาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

หนส ิ นแะส่ นองเจ าอง (่) ส่ นองเจ าอง ทุนเร นุน ทุนดทะเบียน ุน สา 1,203,270,516 ุน ล่าทีราไุน ละ 1 บาท ทุนทีกและาระเล่าแล ุน สา 1,010,149,192 ุน ล่าทีไดรบาระแลุน ละ 1 บาท ุน สา 1,010,147,392 ุน ล่าทีไดรบาระแลุน ละ 1 บาท ส่ นเกินล่าุน สา ุน สาน กาไรสะส ดสรรแล - ทุนสารงากฎาย ดสรรแล - สารงุน สาน ยงไ่ไดด สรร

26.1 1,203,270,516

1,010,149,192

1,203,270,516

-

1,203,270,516

1,010,149,192

1,203,270,516

-

1,010,147,392 258,257,595 258,236,895 (465,274,840) (465,274,840)

1,010,147,392 258,257,595 258,236,895 (465,274,840) (465,274,840)

120,327,052 465,274,840 282,483,158

112,971,941 465,274,840 15,517,712

120,327,052 465,274,840 633,950,934

112,971,941 465,274,840 517,959,402

รมส่ นองผูเป็ นเจ าององบริษัทใหญ่ ส่ นไดเสี ยทีไ่ีา นาบุ

1,671,216,997 1,116,516

1,396,873,940 5,183,849

2,022,684,773 -

1,899,315,630 -

รมส่ นองเจ าอง

1,672,333,513

1,402,057,789

2,022,684,773

1,899,315,630

รมหนส ิ นแะส่ นองเจ าอง

4,073,327,345 -

4,209,130,185 -

2,868,196,550 -

2,647,623,083 -

26.1 26.5

หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจในหน้า 126 ถึง 208 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ ายเุประกบงบการเงินรและงบการเงินเฉาะกิการนนา 21 ึง 103 เป นส่ นนึงงงบการเงินนี

10


116 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จํากัด (มหาชน) งบกําไราดทุนเบ็ดเสร็จ สํ าหรับป สินสุ ดันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2561

หมายเหตุ

งบการเงินรม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

รายได รายไดากการาย รายไดากการบริ การ

2,129,659,415 1,697,021,676

1,413,406,904 2,088,275,276

8,072,557 851,574,716

468,940 658,870,040

รมรายได จากการายแะการให บริการ

3,826,681,091

3,501,682,180

859,647,273

659,338,980

นทุนาย นทุนการบริ การ

(712,253,980) (1,493,023,063)

(475,530,387) (1,653,680,037)

(5,366,136) (549,061,928)

(238,400) (572,332,608)

รมต นทุนายแะการให บริการ

(2,205,277,043)

(2,129,210,424)

(554,428,064)

(572,571,008)

กําไรันต น รายไดน

28

1,621,404,048 33,749,627

1,372,471,756 26,644,598

305,219,209 680,208,582

86,767,972 723,917,238

1,399,116,354 (398,268,164) (533,852,730) (1,847,151) (90,471,386)

985,427,791 (110,399,228) (497,512,380) (517,160) (11,231,273)

810,685,210 (134,940,260) (438,569,053) (3,521,205) (19,454,519)

กําไรก่ อนค่ าใช จ่าย ่า่ายนการาย ่า่ายนการบริ าร ่า่ายน นทุนทางการเงิน กาไรทีเกิดากการปรบเปลียนเงนไ การาระ่าธรรเนียบนุา ลนาีและประกบกิการโทรทศน

29 31

1,655,153,675 (452,640,570) (601,744,463) (3,173,862) (68,339,595)

14

94,614,823

45,539,315

-

กําไรก่ อนภาษเงินได (่า่าย)รายไดาีเงินได

32

623,870,008 (107,832,327)

420,216,238 (87,192,943)

365,767,750 (702,134)

214,200,173 27,339,481

516,037,681

333,023,295

365,065,616

241,539,654

กําไรสํ าหรับป กําไรเบ็ดเสร็จอน : รายการทีะไ่ด ประเทรายการ่ไปยงกาไร ร าดทุนนายลง การดล่า่งาระผกน ผลประโยนนกงาน 24 าีเงินไดงรายการทีะไ่ด ประเท รายการ่ไปยงกาไรร าดทุนนายลง กําไรเบ็ดเสร็จอนสํ าหรับป - สุ ทธิจากภาษ กําไรเบ็ดเสร็จรมสํ าหรับป

-

-

15,086,776

-

13,029,660

-

(3,017,355)

-

(2,605,932)

-

12,069,421

-

10,423,728

516,037,681

345,092,716

365,065,616

251,963,382

หมายเหตุ ระกอบงบการเงินนรและงบการเงิ รวมและงบการเงินเฉาะกิ นเฉพาะกิ จในหน้า า126 208เปเป็ วนหนึ ่งของงบการเงิ ายเุประกบงบการเงิ การนน 21 ึถึงง103 นส่นส่นนึ  งงงบการเงิ นนีน นี้ 11


117 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จํากัด (มหาชน) งบกําไราดทุนเบ็ดเสร็จ สํ าหรับป สินสุ ดันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2561

หมายเหตุ การแบ่ งปันกําไร(าดทุน) ส่ นทีเป นงผเ ป นเางงบริ ท ่ ส่ นทีเป นงส่ นไดเสี ยทีไ่ีา นาบุ

การแบ่ งปันกําไร(าดทุน)เบ็ดเสร็จ ส่ นทีเป นงผเ ป นเางงบริ ท ่ ส่ นทีเป นงส่ นไดเสี ยทีไ่ีา นาบุ

งบการเงินรม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

516,039,530 (1,849)

332,861,741 161,554

365,065,616 -

241,539,654 -

516,037,681

333,023,295

365,065,616

241,539,654

516,039,530 (1,849)

344,931,162 161,554

365,065,616 -

251,963,382 -

516,037,681

345,092,716

365,065,616

251,963,382

กําไร(าดทุน)ต่ อหุนส่ นทเป็ นองบริษัทใหญ่

กาไร(าดทุน)่ุน นนาน (บาท)

33.1

0.5337

0.3443

0.3776

0.2499

กาไร(าดทุน)่ุน ปรบลด (บาท)

33.2

0.4924

0.3328

0.3484

0.2415

หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจในหน้า 126 ถึง 208 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ ายเุประกบงบการเงินรและงบการเงินเฉาะกิการนนา 21 ึง 103 เป นส่ นนึงงงบการเงินนี

12


-

-

27

258,236,895

-

-

1,010,147,392

2,412,079

255,824,816

1,009,937,646 209,746

ส่ นเกิน มูค่ าหุน

26.4

หมายเหตุ

ทุนจดทะเบยน ทออกแะ เรยกชําระแ  หุนสามัญ อคน

(465,274,840)

-

-

-

112,971,941

-

12,076,983 -

-

100,894,958

ทุนสํ ารอง ตามกฎหมาย

465,274,840

-

-

-

465,274,840

สํ ารอง หุนสามัญ อคน

15,517,712

12,069,421 332,861,741

(12,076,983) -

-

(317,336,467)

ยังไม่ ได จัดสรร

งบการเงินรม (บาท) สํ าหรับป สินสุ ดันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2560 ส่ นองผูเป็ นเจ าององบริษัทใหญ่ กําไรสะสม จัดสรรแ 

(465,274,840)

หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจในหน้า 126 ถึง 208 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ายเุประกบงบการเงินรและงบการเงินเฉาะกิการนนา 21 ึง 103 เป นส่ นนึงงงบการเงินนี

ยอดคงเหอปายป  ันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2560

ยอดคงเหอต นป  ันท 1 มกราคม พ.ศ. 2560 การเปย นแปงในส่ นองเจ าองสํ าหรับป การเิุน สา ส่ นไดเสี ยไ่ีา นาบุลดลงากการลดทุน ดทะเบียนงบริ ท ย่ย ดสรรทุนสารงากฎาย เงินป นผล่าย กาไร(าดทุน)เบดเสร น - การดล่า่ง าระผกนผลประโยนนกงาน (สุ ทธิ ากาี) กาไรสุ ทธิ สา รบปี

บริษทั อาร์ เอส จํากัด (มหาชน) งบแสดงการเปย นแปงส่ นองเจ าอง สํ าหรับป สินสุ ดันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2561

1,396,873,940

12,069,421 332,861,741

-

2,621,825

1,049,320,953

5,183,849

161,554

(4,687,500) (492,913)

-

10,202,708

รมส่ น องผูเป็ นเจ าอง ส่ นได เส ยทไ ม่ ม องบริษัทใหญ่ อํานาจคบคุม

13

1,402,057,789

12,069,421 333,023,295

(4,687,500) (492,913)

2,621,825

1,059,523,661

รม

118 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1


-

-

27

258,257,595

-

-

1,010,149,192

20,700

258,236,895

1,010,147,392 1,800

ส่ นเกิน มูค่ าหุน

26.4

หมายเหตุ

ทุนจดทะเบยน ทออกแะ เรยกชําระแ  หุนสามัญ อคน

(465,274,840)

-

-

-

120,327,052

-

7,355,111 -

-

112,971,941

ทุนสํ ารอง ตามกฎหมาย

465,274,840

-

-

-

465,274,840

สํ ารอง หุนสามัญ อคน

282,483,158

516,039,530

(7,355,111) (241,718,973)

-

15,517,712

ยังไม่ ได จัดสรร

งบการเงินรม (บาท) สํ าหรับป สินสุ ดันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2561 ส่ นองผูเป็ นเจ าององบริษัทใหญ่ กําไรสะสม จัดสรรแ 

(465,274,840)

หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจในหน้า 126 ถึง 208 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ายเุประกบงบการเงินรและงบการเงินเฉาะกิการนนา 21 ึง 103 เป นส่ นนึงงงบการเงินนี

ยอดคงเหอปายป  ันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2561

ยอดคงเหอต นป  ันท 1 มกราคม พ.ศ. 2561 การเปย นแปงในส่ นองเจ าองสํ าหรับป การเิุน สา ส่ นไดเสี ยไ่ีา นาบุลดลงากการลดทุน ดทะเบียนงบริ ท ย่ย ดสรรทุนสารงากฎาย เงินป นผล่าย กาไร(าดทุน)เบดเสร น - การดล่า่ง าระผกนผลประโยนนกงาน (สุ ทธิ ากาี) กาไรสุ ทธิ สา รบปี

บริษทั อาร์ เอส จํากัด (มหาชน) งบแสดงการเปย นแปงส่ นองเจ าอง (่) สํ าหรับป สินสุ ดันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2561

1,671,216,997

516,039,530

(241,718,973)

22,500

1,396,873,940

1,116,516

(1,849)

(4,062,333) (3,151)

-

5,183,849

รมส่ น องผูเป็ นเจ าอง ส่ นได เส ยทไ ม่ ม องบริษัทใหญ่ อํานาจคบคุม

14

1,672,333,513

516,037,681

(4,062,333) (241,722,124)

22,500

1,402,057,789

รม

119 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )


26.4

หมายเหตุ

258,236,895

-

1,010,147,392

2,412,079 -

255,824,816

1,009,937,646 209,746 -

ส่ นเกิน มูค่ าหุน

ทุนจดทะเบยน ทออกแะ เรยกชําระแ 

หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจในหน้า 126 ถึง 208 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ายเุประกบงบการเงินรและงบการเงินเฉาะกิการนนา 21 ึง 103 เป นส่ นนึงงงบการเงินนี

ยอดคงเหอปายป  ันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2560

ยอดคงเหอต นป  ันท 1 มกราคม พ.ศ. 2560 การเปย นแปงในส่ นองเจ าองสํ าหรับป การเิุน สา ดสรรทุนสารงากฎาย กาไร(าดทุน)เบดเสร น - การดล่า่ง าระผกนผลประโยนนกงาน (สุ ทธิากาี) กาไรสุ ทธิสา รบปี

บริษทั อาร์ เอส จํากัด (มหาชน) งบแสดงการเปย นแปงส่ นองเจ าอง (่) สํ าหรับป สินสุ ดันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2561

(465,274,840)

-

-

(465,274,840)

112,971,941

-

12,076,983

100,894,958

465,274,840

-

-

465,274,840

งบการเงินเฉพาะกิจการ (บาท) สํ าหรับป สินสุ ดันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2560 ส่ นองเจ าอง กําไรสะสม จัดสรรแ  สํ ารอง หุนสามัญ ทุนสํ ารอง หุนสามัญ อคน ตามกฎหมาย อคน

517,959,402

10,423,728 241,539,654

(12,076,983)

278,073,003

ยังไม่ ได จัดสรร

15

1,899,315,630

10,423,728 241,539,654

2,621,825 -

1,644,730,423

รม

120 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1


26.4

หมายเหตุ

258,257,595

-

1,010,149,192

20,700 -

258,236,895

1,010,147,392 1,800 -

ส่ นเกิน มูค่ าหุน

ทุนจดทะเบยน ทออกแะ เรยกชําระแ 

ายเุประกบงบการเงินรและงบการเงินเฉาะกิการนนา 21 ึง 103 เป นส่ นนึงงงบการเงินนี หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจในหน้า 126 ถึง 208 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหอปายป  ันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2561

ยอดคงเหอต นป  ันท 1 มกราคม พ.ศ. 2561 การเปย นแปงในส่ นองเจ าองสํ าหรับป การเิ ุน สา ดสรรทุนสารงากฎาย เงินป นผล่าย กาไร(าดทุน)เบดเสร น - การดล่า่ง าระผกนผลประโยนนกงาน (สุ ทธิากาี) กาไรสุ ทธิสา รบปี

บริษทั อาร์ เอส จํากัด (มหาชน) งบแสดงการเปย นแปงส่ นองเจ าอง (่) สํ าหรับป สินสุ ดันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2561

(465,274,840)

-

-

(465,274,840)

120,327,052

-

7,355,111 -

112,971,941

465,274,840

-

-

465,274,840

งบการเงินเฉพาะกิจการ (บาท) สํ าหรับป สินสุ ดันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2561 ส่ นองเจ าอง กําไรสะสม จัดสรรแ  สํ ารอง หุนสามัญ ทุนสํ ารอง หุนสามัญ อคน ตามกฎหมาย อคน

633,950,934

365,065,616

(7,355,111) (241,718,973)

517,959,402

ยังไม่ ได จัดสรร

16

2,022,684,773

365,065,616

22,500 (241,718,973)

1,899,315,630

รม

121 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )


122 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จํากัด (มหาชน) งบกระแสเงินสด สํ าหรับป สินสุ ดันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2561 งบการเงินรม พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

623,870,008

420,216,238

365,767,750

214,200,173

591,459,708 18,053,333 (15,332,768)

558,172,985 (2,696,990)

147,051,541 (746,734)

142,106,043 548,855

16,624,104 11,026,990

(47,116,226) 314,226 (1,891,930) 13,502,476

11,026,990

43,228 13,502,476

(74,488) (2,138) 2,453

80,000 114,683 -

(74,488) (11,105,642) 10,452,343

80,000 2,014,839 -

29

2

228

2

69

28 24 27 28 31

818,508 3,603,773 (1,071,311) 68,339,595

52,717 13,262,138 (1,143,323) 90,471,386

732,070 5,621,430 (268,171,848) (35,230,160) 11,231,273

(447,793) 1,738,917 (355,556,461) (31,750,488) 19,454,519

(94,614,823)

(45,539,315)

1,222,702,946

997,799,293

หมายเหตุ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน กาไร(าดทุน)ก่นาีเงินได รายการปรบปรุ ง ่าเส ราาและ่าดาน่าย ่าดาน่าย่า่ายล่งนา (กลบรายการ)่าเผ นีสงสยะส  (กลบรายการ)่าเผ สิ นาลาสย าดทุนากการทาลายสิ นา กลบรายการประาณการ่าเผ การรบนสิ นา ่าเผ การดย่างสิ นทรยไ่ี น (กลบรายการ)่าเผ การดย่างสิ นทรยุนเียนน และสิ นทรยไ่ุนเียนน (กลบรายการ)่าเผ การดย่างเงินลงทุนนบริ ท ร่  (กลบรายการ)่าเผ การดย่างเงินลงทุนนบริ ท ย่ย าดทุนากการปิ ดกิการงบริ ท ย่ย *, ** าดทุนากการดาน่ายาารและุปกรณ และสิ นทรยไ่ี น (กาไร)าดทุนากการาน่ายาารและุปกรณ และสิ นทรยไ่ี น าระผกนผลประโยนนกงาน เงินป นผลรบ ดกเบียรบ นทุนทางการเงินดกเบีย่าย กาไรทีเกิดากการปรบเปลียนเงนไการาระ ่าธรรเนียบนุาลนาีและ ประกบกิการโทรทศน

งบการเงินเฉพาะกิจการ

13, 14, 15, 30 8 9

15 10, 18 12 11 11, 29

236,554,527

5,934,377

หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ นรวมและงบการเงิ นเฉพาะกิ จในหน้า า 21126 ถึง เป208 นส่ว งนหนึ ่งของงบการเงิ ายเุประกบงบการเงิ นรและงบการเงิ นเฉาะกิ การนน ึง 103 นส่เป็ นนึ งงบการเงิ นนี นนี้ 17


123 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จํากัด (มหาชน) งบกระแสเงินสด (่) สํ าหรับป สินสุ ดันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2561 งบการเงินรม พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

58,346,414 14,225,639 30,630,803 (2,583,327) 19,066,002 (70,873,456) (848,776) (4,818,350) (193,250)

54,020,085 (139,153,646) 28,590,085 (872,410) 8,333,334 (3,045,812) 201,333,527 (5,058,488) (5,364,036) -

(149,441,631) (9,310,161) 18,655,006 166,251 15,920,002 14,903,577 (465,715) (102,000) -

397,480,985 836,209 (13,093,303) (373,451) (2,835,113) (5,908,811) 556,359 (9,952,500) -

1,265,654,645 31,802,191 (136,482,723)

1,136,581,932 36,250,232 (107,536,330)

126,879,856 (25,664,376)

372,644,752 (34,324,501)

1,160,974,113

1,065,295,834

101,215,480

338,320,251

1,071,311 22,055,550 (44,768,802) 4,617,757

1,150,334 (26,065,280) (69,183,829) 1,580,632

34,791,355 (553,500,000) 513,500,000 22,055,550 268,171,848 (26,579,470) 4,997,292

32,229,096 (400,000,000) 136,000,000 23,437,500 355,556,461 (53,671,322) 5,299,754

เงินสด่ายสิ นทรยไ่ี น เงินสดรบากการาน่ายสิ นทรยไ่ี น

(501,376,770) 23,177

(301,415,463) 7

(74,925,256) -

(9,848,752) 13,142,441

เงินสดสุ ทธิไดาาก(ไปน)กิกรรลงทุน

(518,377,777)

(393,933,599)

188,511,319

102,145,178

หมายเหตุ การเปย นแปงองเงินทุนหมุนเยน ลกนีการาและลกนีน *, ** สิ นางเล าีล่าเิ สิ นทรยุนเียนน ่า่าย่ายล่งนาเกินปี สิ นทรยไ่ุนเียนน เานีการาและเานีน าีเงินไดก ณ ที่ายาง่าย นีสินไ่ุนเียนน าระผกนผลประโยนนกงาน่าย เงินสดไดาากกิกรรดาเนินงาน ก่นาีเงินได่าย รบนาีกก ณ ที่าย เงินสด่ายาีเงินได

16

เงินสดสุ ทธิไดาากกิกรรดาเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมงทุน เงินสดรบากดกเบียรบ เงินกย  ระยะสนแก่บุลและกิการทีเกียงกนเิึน รบาระเงินกย  ระยะสนแก่บุลและกิการทีเกียงกน เงินสดรบากการลงทุนนบริ ท ย่ย เงินสดรบ(ลกนี)ากการปิ ดกิการงบริ ท ย่ย *, ** เงินป นผลรบ เงินสด่ายาาร และุปกรณ เงินสดรบากการาน่ายาาร และุปกรณ

งบการเงินเฉพาะกิจการ

34 ง) 34 ง)

ายเุประกบงบการเงิ นรและงบการเงิ นเฉาะกิ การนน ึง ถึ103 เป นส่เป็นนนึ  งงงบการเงิ นนี นนี้ หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ นรวมและงบการเงิ นเฉพาะกิ จในหน้าา 21126 ง 208 ส่วนหนึ ่งของงบการเงิ 18


124 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จํากัด (มหาชน) งบกระแสเงินสด (่) สํ าหรับป สินสุ ดันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2561 งบการเงินรม หมายเหตุ กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ่ายาระดกเบีย เงินสดรบากเงินกย  ระยะสนากสาบนการเงิน ่ายาระเงินกย  ระยะสนากสาบนการเงิน รบเงินากเงินกย  ระยะยาากสาบนการเงิน ่ายาระเงินกย  ระยะยาากสาบนการเงิน ่ายาระนีสินายส  าเ่าการเงิน ่ายาระ่าบนุาสารบสิ ทธินการดาเนินการ บนลนาีสา รบกิการบนโทรทศนระบบดิิล รบเงินากเงินกย  ระยะสนากกิการทีเกียงกน ่ายาระเงินกย  ระยะสนากกิการทีเกียงกน ่ายเงินป นผล ส่ นไดเสี ยทีไ่ีา นาบุลดลงากการ่ายเงินป นผล ่ายเงินลดทุนส่ นไดเสี ยทีไ่ีา นาบุ เงินสดรบากการกุน เิ ทุน

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

(29,981,873) (46,946,871) 930,000,000 2,125,000,000 (903,000,000) (2,618,000,000) 222,025,000 (270,000,000) (12,873,713) (16,319,903)

(9,113,101) (17,665,798) 930,000,000 1,870,000,000 (903,000,000) (2,255,000,000) (12,873,713) (16,319,903)

(6,225,000) (241,718,973) (3,151) 22,500

(207,500,000) (492,913) (4,687,500) 2,621,825

385,500,000 (299,300,000) (241,718,973) 22,500

332,000,000 (350,572,875) 2,621,825

เงินสดสุ ทธิไปนกิกรรดาเงิน

(533,780,210)

(544,300,362)

(150,483,287)

(434,936,751)

เงินสดแะรายการเทยบเท่ าเงินสดเพิม น สุ ทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดยดงเลนปี

108,816,126 230,823,831

127,061,873 103,761,958

139,243,512 29,268,469

5,528,678 23,739,791

เงินสดแะรายการเทยบเท่ าเงินสดยอดคงเหอปายป

339,639,957

230,823,831

168,511,981

29,268,469

34 ) 34 ) 27 26.3

ายเุประกบงบการเงิ นรและงบการเงิ นเฉาะกิ การนน ึง 103 นส่เป็ นนึ งงบการเงิ นนี นนี้ หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ นรวมและงบการเงิ นเฉพาะกิ จในหน้า า 21126 ถึง เป208 นส่ว งนหนึ ่งของงบการเงิ 19


125 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จํากัด (มหาชน) งบกระแสเงินสด (่) สํ าหรับป สินสุ ดันท 31 ธันาคม พ.ศ. 2561 งบการเงินรม หมายเหตุ

งบการเงินเฉพาะกิจการ

พ.ศ. 2561

พ.ศ. 2560

พ.ศ. 2561

พ.ศ. 2560

บาท

บาท

บาท

บาท

รายการทมใิ ช่ เงินสด ดาน่ายลกนีนและ่าเผ นีสงสยะส ลกนีน

-

53,100,066

-

45,578,383

ดาน่ายายนร และ่าเผ ดย่าายนร

-

7,692,756

-

-

5,400,000

-

-

-

7,439,913

2,081,869

6,682,995

1,537,346

63,451,817

80,386,069

3,583,858

52,581,940

-

7,633,953

-

7,633,953

927,856

7,805,101

1,094

ดาน่ายสิ นทรยไ่ุนเียนนและ ่าเผ นีสงสยะส งสิ นทรยไ่ุนเียนน เานีงาง ณ นที 31 ธนา ากการทีดิน าารและุปกรณนระ่างปี เานีงาง ณ นที 31 ธนา ากการสิ นทรยไ่ี น นระ่างปี เานี ณ นที 31 ธนา ากการทีดิน าารและุปกรณ ายส  าเ่าการเงินระ่างปี ดาน่ายาีก ณ ที่ายและ่าเผ าีเงินได ก ณ ที่ายทีาด่าะไ่ไดรบน

*

148,513

รายการนีรการเปลียนแปลงเน งาากการปิ ดบริ ท าร เส ินสโร ีเดีย ากด ส่ งผลบริ ท ดงกล่าสิ นสุ ดการเป นบริ ท ย่ยงแ่น ที 19 กนยายน .ศ. 2561 (ายเุ 11)

** รายการนี รการเปลียนแปลงเน งาากการปิ ดบริ ท บลแร รี ากด บริ ท เรี เลล ากด และบริ ท ะลาดิ น เาส ากด ส่ งผลบริ ท ดงกล่าสิ นสุ ดการเป นบริ ท ย่ยงแ่น ที 28 กนยายน .ศ. 2561 (ายเุ 11)

ายเุประกบงบการเงินรและงบการเงินเฉาะกิการนนา 21 ึง 103 เป นส่ นนึงงงบการเงินนี

หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจในหน้า 126 ถึง 208 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ 20


126 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 1

ข้ อมูลทั่วไป บริ ษทั อาร์ เอส จากัด (มหาชน) (“บริ ษทั ”) เป็ นบริ ษทั จากัดซึ่ งที่จดั ตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2535 บริ ษัท ได้แปลงสภาพเป็ นบริ ษัทมหาชนจากัดเมื่อ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2546 และจดทะเบี ยนกับ ตลาดหลักทรั พย์แห่ งประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และมีที่อยูจ่ ดทะเบียนดังนี้ เลขที่ 419/1 ซอยลาดพร้าว 15 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจกั ร กรุ งเทพมหานคร ประเทศไทย เพื่อวัตถุประสงค์ในการรายงานข้อมูล จึงรวมเรี ยกบริ ษทั และบริ ษทั ย่อยว่า “กลุ่มกิจการ” ธุรกิจหลักของกลุ่มกิจการ ได้แก่ ธุรกิจพาณิ ชย์หลายช่องทาง ธุรกิจสื่ อ ธุรกิจจัดจาหน่ายเพลง และธุรกิจรับจ้างและผลิตกิจกรรม งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการได้รับอนุมตั ิจากคณะกรรมการบริ ษทั เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

2

นโยบายการบัญชี นโยบายการบัญชีที่สาคัญที่ใช้ในการจัดทางบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการมีดงั ต่อไปนี้ 2.1

เกณฑ์ การจัดทางบการเงิน งบการเงินรวมและงบการเงิ น เฉพาะกิ จการได้จัดท าขึ้ นตามหลักการบัญชี ที่ รับรองทั่วไปภายใต้พระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่ งหมายถึงมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกภายใต้พระราชบัญญัติวชิ าชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และตามข้อกาหนด ของคณะกรรมการก ากับ หลัก ทรั พ ย์แ ละตลาดหลัก ทรั พ ย์ว่า ด้ว ยการจัด ท าและน าเสนอรายงานทางการเงิ น ภายใต้ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการได้จดั ทาขึ้นโดยใช้เกณฑ์ราคาทุนเดิมในการวัดมูลค่าขององค์ประกอบของงบการเงิน ยกเว้น เรื่ องที่อธิบายในนโยบายการบัญชีในลาดับต่อไป การจัดท างบการเงินให้ส อดคล้องกับ หลักการบัญชี ที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย กาหนดให้ใช้ประมาณการทางบัญชี ที่สาคัญและการใช้ดุลยพินิจของผูบ้ ริ หารซึ่ งจัดทาขึ้นตามกระบวนการในการนานโยบายการบัญชีของกลุ่มกิจการไปถือปฏิบตั ิ และต้องเปิ ดเผยเรื่ องการใช้ดุลยพินิ จของผูบ้ ริ หาร หรื อ ความซับ ซ้อน หรื อ เกี่ ยวกับข้อ สมมติ ฐานและประมาณการที่ มี นัยสาคัญต่องบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการในหมายเหตุ 4 ตัวเลขเปรี ยบเทียบได้มีการจัดประเภทรายการใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการนาเสนอรายการในงบการเงินงวดปั จจุบนั เท่า ที่จาเป็ นตามที่แสดงไว้ในหมายเหตุ 6 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการฉบับภาษาอังกฤษจัดทาขึ้นจากงบการเงินตามกฎหมายที่เป็ นภาษาไทย ในกรณี ที่มีเนื้อความขัดแย้งกันหรื อมีการตีความในสองภาษาแตกต่างกัน ให้ใช้งบการเงินตามกฎหมายฉบับภาษาไทยเป็ นหลัก

21


127 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.2

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีการปรับปรุ ง และการตีความมาตรฐานที่เกีย่ วข้ อง 2.2.1 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่มีการปรับปรุ งใหม่ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้สาหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่ มต้น ในหรื อหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีสาระสาคัญและเกี่ยวข้องกับกลุ่มกิจการ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 (ปรับปรุ ง 2560) เรื่ อง งบกระแสเงินสด มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 (ปรับปรุ ง 2560) เรื่ อง ภาษีเงินได้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 (ปรับปรุ ง 2560) เรื่ อง การเปิ ดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่ วนได้เสี ยในกิจการอื่น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 (ปรับปรุ ง 2560) ได้มีการปรับปรุ งการเปิ ดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ในหนี้สินของกิจการที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมจัดหาเงินทั้งที่เป็ นรายการที่เป็ นเงินสดและรายการที่ไม่ใช่เงินสด มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 (ปรั บ ปรุ ง 2560) ได้มีการอธิ บายให้ชัดเจนในเรื่ องวิธีการบัญชี สาหรั บภาษี เงิน ได้ รอตัด บั ญ ชี ก รณี มี สิ นทรั พ ย์ที่ ว ัด มู ล ค่ า ด้ว ยมู ล ค่ า ยุ ติ ธ รรมที่ มี จ านวนต่ า กว่ า มู ล ค่ า ฐานภาษี ข องสิ นทรั พ ย์ ในเรื่ องดังต่อไปนี้ - กรณี สินทรัพย์ที่วดั ด้วยมูลค่ายุติธรรมมีมูลค่าต่ากว่าฐานภาษีของสิ นทรัพย์น้ นั ณ วันสิ้ นรอบระยะเวลารายงาน จะถือว่ามีผลแตกต่างชัว่ คราวที่ใช้หกั ภาษีเกิดขึ้น - ในการประมาณการกาไรทางภาษีในอนาคต กิจการสามารถสันนิษฐานว่าจะได้รับประโยชน์จากสิ นทรัพย์ใน มูลค่าที่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชีได้ - ในกรณี ที่กฎหมายภาษีอากรมีขอ้ จากัดเกี่ยวกับแหล่งที่มาของกาไรทางภาษี ที่สามารถใช้ประโยชน์สินทรัพย์ ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีได้เฉพาะในประเภทที่กาหนด การพิจารณาการจะได้ใช้ประโยชน์ของสิ นทรัพย์ภาษีเงิน ได้รอตัดบัญชีจะต้องนาไปประเมินรวมกันกับสิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีที่เป็ นประเภทเดียวกันเท่านั้น - ในการประมาณก าไรทางภาษี ในอนาคตจะไม่ ร วมจ านวนที่ ใช้หั ก ภาษี ที่ เกิ ด จากการกลับ รายการของ ผลแตกต่างชัว่ คราวที่ใช้หกั ภาษีน้ นั มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 (ปรับปรุ ง 2560) ได้มีการอธิบายให้ชดั เจนว่าการเปิ ดเผยตามข้อกาหนด ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับ นี้ ให้ถื อปฏิ บ ัติกับ ส่ วนได้เสี ยที่ ถูกจัดประเภทเป็ นสิ น ทรั พย์ที่ ถื อไว้ เพื่อขาย ตามขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 (ปรับปรุ ง 2560) ยกเว้นการเปิ ดเผยข้อมูลทาง การเงินโดยสรุ ป ผูบ้ ริ หารของกลุ่ มกิ จการได้ประเมิน และพิจารณาว่ามาตรฐานที่ ปรั บ ปรุ งใหม่ดงั กล่าวข้างต้นไม่มีผลกระทบที่ มี นัยสาคัญต่อกลุ่มกิจการ ยกเว้นเรื่ องการเปิ ดเผยข้อมูล

22


128 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.2

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีการปรับปรุ ง และการตีความมาตรฐานที่เกีย่ วข้ อง (ต่อ) 2.2.2 มาตรฐานการรายงานทางการเงินและการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ที่มีการประกาศแล้ว แต่ยงั ไม่มีผลบังคับใช้ 2.2.2.1 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับ ที่ 15 เรื่ อ ง รายได้จากสั ญ ญาที่ ท ากับ ลู กค้า ซึ่ งจะมีผลบังคับ ใช้ สาหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่ มต้นในหรื อหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มกิจการและ กลุ่มกิจการไม่ได้นามาตรฐานที่ปรับปรุ งใหม่ดงั กล่าวมาถือปฏิบตั ิก่อนวันบังคับใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิ น ฉบับ ที่ 15 เรื่ อ ง รายได้จ ากสั ญ ญาที่ ท ากับ ลู ก ค้า ใช้แ ทนมาตรฐาน การบัญชีและการตีความมาตรฐานบัญชีดงั ต่อไปนี้ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 (ปรับปรุ ง 2560) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 (ปรับปรุ ง 2560) การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 (ปรับปรุ ง 2560) การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 (ปรับปรุ ง 2560) การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 (ปรับปรุ ง 2560) การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 18 (ปรับปรุ ง 2560)

เรื่ อง สัญญาก่อสร้าง เรื่ อง รายได้ เรื่ อง รายได้-รายการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบริ การโฆษณา เรื่ อง โปรแกรมสิ ทธิพิเศษแก่ลูกค้า เรื่ อง สัญญาสาหรับการก่อสร้างอสังหาริ มทรัพย์ เรื่ อง การโอนสิ นทรัพย์จากลูกค้า

หลักการของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่น้ ีอา้ งอิงหลักการว่า  

รายได้จะรั บ รู ้ เมื่ อ การควบคุ มในสิ น ค้าหรื อ บริ การได้โอนไปยังลู กค้า ซึ่ งแนวคิ ดของการควบคุ ม ได้ถูกนามาใช้แทนแนวคิดของความเสี่ ยงและผลตอบแทนที่ใช้อยูเ่ ดิม กิ จการรั บรู ้ รายได้เพื่อแสดงการส่ งมอบสิ นค้าหรื อบริ การที่สัญญาให้ลู กค้าในจานวนเงินที่ สะท้อ น ถึงสิ่ งตอบแทนที่กิจการคาดว่าจะมีสิทธิได้รับจากการแลกเปลี่ยนสิ นค้าหรื อบริ การนั้นๆ

การรับรู ้รายได้ตอ้ งปฏิบตั ิตามหลักการสาคัญ 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1) 2) 3) 4) 5)

ระบุสัญญาที่ทากับลูกค้า ระบุแต่ละภาระที่ตอ้ งปฏิบตั ิในสัญญา กาหนดราคาของรายการในสัญญา ปันส่ วนราคาของรายการให้กบั แต่ภาระที่ตอ้ งปฏิบตั ิ และ รับรู ้รายได้ขณะที่กิจการเสร็ จสิ้ นการปฏิบตั ิตามแต่ละภาระที่ตอ้ งปฏิบตั ิ

23


129 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.2

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีการปรับปรุ ง และการตีความมาตรฐานที่เกีย่ วข้ อง (ต่อ) 2.2.2 มาตรฐานการรายงานทางการเงินและการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ที่มีการประกาศแล้ว แต่ยงั ไม่มีผลบังคับใช้ (ต่อ) 2.2.2.1 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับ ที่ 15 เรื่ อ ง รายได้จากสั ญ ญาที่ ท ากับ ลู กค้า ซึ่ งจะมีผลบังคับ ใช้ สาหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่ มต้นในหรื อหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มกิจการและ กลุ่มกิจการไม่ได้นามาตรฐานที่ปรับปรุ งใหม่ดงั กล่าวมาถือปฏิบตั ิก่อนวันบังคับใช้ (ต่อ) การเปลี่ยนแปลงที่สาคัญจากวิธีปฏิบตั ิในปัจจุบนั ได้แก่ - สิ นค้าหรื อบริ การที่ แตกต่างกัน แต่นามาขายรวมกัน จะต้องรับรู ้ รายการแยกกัน และการให้ส่วนลด หรื อการให้ส่วนลดภายหลัง จากราคาตามสัญญาจะต้องถูกปันส่ วนไปยังแต่ละองค์ประกอบของแต่ละ สิ นค้าหรื อบริ การ - รายได้อาจจะต้องถูกรับรู ้เร็ วขึ้นกว่าการรับรู ้รายได้ภายใต้มาตรฐานปั จจุบนั หากสิ่ งตอบแทนมีความ ผันแปรด้วยเหตุผลบางประการ (เช่น เงินจูงใจ การให้ส่วนลดภายหลัง ค่าธรรมเนี ยมที่กาหนดจากผล การปฏิบตั ิงาน ค่าสิ ทธิ ความสาเร็ จของผลงาน เป็ นต้น) - จานวนเงินขั้นต่าของสิ่ งตอบแทนผันแปร จะต้องถูกรับรู ้รายได้หากไม่ได้มีความเสี่ ยงที่มีนยั สาคัญที่จะกลับรายการ - จุดที่รับรู ้รายได้อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม : รายได้บางประเภทที่ในปั จจุบนั รับรู ้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ ง ณ วันสิ้ นสุ ดสัญญาอาจจะต้องเปลี่ยนเป็ นรับรู ้รายได้ตลอดช่วงอายุสัญญา หรื อในกรณี ตรงกันข้าม - มีขอ้ กาหนดใหม่ที่เฉพาะเจาะจงสาหรับรายได้จากการให้สิทธิ การรับประกัน ค่าธรรมเนี ยมเริ่ มแรก ที่ไม่สามารถเรี ยกคืนได้ และสัญญาฝากขาย - เนื่องจากเป็ นมาตรฐานฉบับใหม่จึงมีการเปิ ดเผยข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น กิ จการมี ท างเลื อกในการปรั บ ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิ นฉบับนี้ โดยการปรั บปรุ งย้อนหลังตาม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่ อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด โดยมีข้ออนุ โลม หรื อปรั บปรุ งโดยรั บรู ้ ผลกระทบสะสมย้อนหลัง กับก าไรสะสม ณ วันต้นงวดของรอบ ระยะเวลารายงานที่เริ่ มต้นใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ประกอบกับการเปิ ดเผยข้อมูลเพิ่มเติม ฝ่ ายบริ หารได้ประเมินผลกระทบจากการใช้มาตรฐานฉบับใหม่ในงบการเงินของกลุ่มกิจการและได้มีการ ระบุถึงรายการที่ได้รับผลกระทบดังต่อไปนี้ ธุรกิจเพลงเป็ นกลุ่มธุ รกิจที่จะได้รับผลกระทบอย่างมีสาระสาคัญในส่ วนของการรับรู ้รายได้ ค่าลิขสิ ทธิ์ สาหรับ เพลงจะต้องรับรู ้รายได้ทนั ทีเมื่อสัญญามีผลบังคับใช้แทนการรับรู ้ รายได้โดยวิธีเส้นตรงตามอายุสัญญาซึ่ งจะ ส่ งผลทาให้กลุ่มกิจการจะมีรายได้เพิ่มสู งขึ้นในช่วงแรกที่มีการทาสัญญาใหม่ และในส่ วนของธุรกิจสื่ อ, ธุ รกิจ รับจ้าง และผลิตกิจกรรม, ธุ รกิจพาณิ ชย์หลายช่องทาง และธุ รกิจบริ การ และอื่นๆ ฝ่ ายบริ หารประเมินว่าจะไม่มี ผลกระทบต่องบการเงินรวมอย่างมีสาระสาคัญในการนามาตราฐานฉบับนี้ มาใช้เป็ นครั้งแรก 24


130 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.2

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีการปรับปรุ ง และการตีความมาตรฐานที่เกีย่ วข้ อง (ต่อ) 2.2.2 มาตรฐานการรายงานทางการเงินและการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ที่มีการประกาศแล้ว แต่ยงั ไม่มีผลบังคับใช้ (ต่อ) 2.2.2.2 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่มีการปรั บปรุ ง ซึ่ งจะมีผลบังคับใช้สาหรับ รอบระยะเวลาบัญชี ที่ เริ่ มต้นในหรื อหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 กลุ่มกิจการไม่ได้นามาถือปฏิบตั ิก่อนวันบังคับใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 (ปรับปรุ ง 2561) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 (ปรับปรุ ง 2561) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 (ปรับปรุ ง 2561)

เรื่ อง การจ่ายโดยใช้หุน้ เป็ นเกณฑ์ เรื่ อง เงินลงทุนในบริ ษทั ร่ วมและการร่ วมค้า เรื่ อง อสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 มีการอธิบายให้ชดั เจนขึ้นเกี่ยวกับ -

-

-

การวัดมูล ค่ าของรายการจ่ายโดยใช้หุ้น เป็ นเกณฑ์ที่ ช าระด้วยเงิน สด กิ จการต้องไม่น าเงื่อ นไขการ ได้รับสิ ทธิ ซึ่ งอยู่นอกเหนื อเงื่อนไขทางตลาดมาพิจารณาในการประมาณมูลค่ายุติธรรมของการจ่าย โดยใช้หุ้นเป็ นเกณฑ์ที่ชาระด้วยเงินสด ณ วันที่วดั มูลค่า แต่ตอ้ งนามาปรั บปรุ งจานวนผลตอบแทน ที่รวมอยูใ่ นจานวนที่วดั มูลค่าของหนี้สินที่เกิดขึ้นจากรายการดังกล่าว เมื่อกิ จการต้องหักจานวนภาระผูกพันภาษี เงินได้ของพนักงานที่เกี่ ยวข้องกับการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็ น เกณฑ์ และนาส่ งภาษีที่หักไว้ดงั กล่าวซึ่ งโดยปกติเป็ นเงินสด กิจการต้องจัดประเภทรายการดังกล่าว เป็ นรายการจ่ายโดยใช้หุ้น เป็ นเกณฑ์ที่ชาระด้วยตราสารทุ นทั้งหมด เสมือนว่าไม่มีลกั ษณะของการ ชาระด้วยยอดสุ ทธิ การบัญชีสาหรับการปรับปรุ งเงื่อนไขของรายการจ่ายโดยใช้หุน้ เป็ นเกณฑ์ที่เปลี่ยนการจัดประเภทจาก การจ่ายชาระด้วยเงินสดเป็ นการจ่ายชาระด้วยตราสารทุน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ได้มีการอธิ บายให้ชดั เจนว่ากิ จการร่ วมลงทุน กองทุนรวม กองทรัสต์ และ กิจการที่มีลกั ษณะคล้ายคลึงกันที่สามารถเลือกวิธีการวัดมูลค่าเงินลงทุนในบริ ษทั ร่ วมหรื อการร่ วมค้าด้วย วิธีมูลค่ายุติธรรมผ่านกาไรหรื อขาดทุน โดยกิจการต้องเลือกวิธีการนี้ ในแต่ละบริ ษทั ร่ วมหรื อการร่ วมค้า ณ วันที่รับรู ้รายการครั้งแรกของบริ ษทั ร่ วมและการร่ วมค้า มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 ได้มีการอธิบายให้ชดั เจนเกี่ยวกับการโอนอสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุนไปยัง บัญชีอื่นๆ หรื อโอนจากบัญชีอื่นๆ มาเป็ นอสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุนจะทาได้ก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง การใช้งานของอสั งหาริ มทรั พ ย์น้ ัน โดยมีหลักฐานสนับ สนุ น การเปลี่ ยนแปลงในการใช้งานจะเกิ ดขึ้ น เมื่ออสังหาริ มทรัพย์เข้าเงื่อนไข หรื อสิ้ นสุ ดการเข้าเงื่อนไขของอสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุน การเปลี่ยนแปลง ในความตั้งใจเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนว่าเกิดการโอนเปลี่ยนประเภทของสิ นทรัพย์น้ นั

25


131 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.2

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีการปรับปรุ ง และการตีความมาตรฐานที่เกีย่ วข้ อง (ต่อ) 2.2.2 มาตรฐานการรายงานทางการเงินและการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ที่มีการประกาศแล้ว แต่ยงั ไม่มีผลบังคับใช้ (ต่อ) 2.2.2.3 กลุ่มมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเครื่ องมือทางการเงิน ประกอบด้วยมาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานการรายงานทางการเงินดังต่อไปนี้ ที่ประกาศแล้วและจะมีผลบังคับใช้สาหรับรอบระยะเวลา บัญชี ที่เริ่ มต้นในหรื อหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ซึ่ งมาตรฐานการรายงานทางการเงินกลุ่มนี้ สามารถ นามาใช้ก่อนวันที่มีผลบังคับใช้เฉพาะสาหรับรอบระยะเวลาที่เริ่ มในหรื อหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 19

เรื่ อง การแสดงรายการเครื่ องมือทางการเงิน เรื่ อง การเปิ ดเผยข้อมูลเครื่ องมือทางการเงิน เรื่ อง เครื่ องมือทางการเงิน เรื่ อง การป้องกันความเสี่ ยงของเงินลงทุนสุ ทธิ ในหน่วยงานต่างประเทศ เรื่ อง การชาระหนี้สินทางการเงินด้วยตราสารทุน

กลุ่มมาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม่ดงั กล่าวข้างต้น จะนามาใช้แทนและยกเลิกมาตรฐานการบัญชี ดังต่อไปนี้ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 101 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 103 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 104 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 105 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 106 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 107

เรื่ อง หนี้สงสัยจะสู ญและหนี้สูญ เรื่ อง การเปิ ดเผยข้อมูลในงบการเงินของธนาคารและ สถาบันการเงินที่คล้ายคลึงกัน เรื่ อง การบัญชีสาหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา เรื่ อง การบัญชีสาหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้ และตราสารทุน เรื่ อง การบัญชีสาหรับกิจการที่ดาเนินธุรกิจเฉพาะด้าน การลงทุน เรื่ อง การแสดงรายการและการเปิ ดเผยข้อมูลสาหรับ เครื่ องมือทางการเงิน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่ อง การแสดงรายการเครื่ องมือทางการเงิน กาหนดหลักการเกี่ ยวกับการ แสดงรายการเครื่ องมือทางการเงินเป็ นหนี้ สินหรื อส่ วนของเจ้าของ และการหักกลบสิ นทรัพย์ทางการเงิน กับหนี้สินทางการเงิน มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ใช้กบั การจัดประเภทเครื่ องมือทางการเงินในมุมของผูอ้ อก เครื่ องมือทางการเงิน เพื่อจัดเป็ นสิ น ทรัพย์ทางการเงิน หนี้ สินทางการเงิน และตราสารทุน รวมถึงการจัด ประเภทดอกเบี้ย เงินปั นผล ผลกาไรและขาดทุนที่เกี่ยวข้อง และสถานการณ์ที่ทาให้สินทรัพย์ทางการเงิน และหนี้สินทางการเงินต้องหักกลบกัน 26


132 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.2

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีการปรับปรุ ง และการตีความมาตรฐานที่เกีย่ วข้ อง (ต่อ) 2.2.2 มาตรฐานการรายงานทางการเงินและการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ที่มีการประกาศแล้ว แต่ยงั ไม่มีผลบังคับใช้ (ต่อ) 2.2.2.3 กลุ่มมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเครื่ องมือทางการเงิน ประกอบด้วยมาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานการรายงานทางการเงินดังต่อไปนี้ ที่ประกาศแล้วและจะมีผลบังคับใช้สาหรับรอบระยะเวลา บัญชี ที่เริ่ มต้นในหรื อหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ซึ่ งมาตรฐานการรายงานทางการเงินกลุ่มนี้ สามารถ นามาใช้ก่อนวันที่มีผลบังคับใช้เฉพาะสาหรับรอบระยะเวลาที่เริ่ มในหรื อหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 (ต่อ) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่ อง การเปิ ดเผยข้อมูลเครื่ องมือทางการเงิน กาหนดให้กิจการ ต้องเปิ ดเผยข้อมูลเพื่อให้ผใู ้ ช้งบการเงิน สามารถประเมินเกี่ยวกับความมีนัยสาคัญของเครื่ องมือทางการเงิน ที่ มีต่ อ ฐานะการเงิ น และผลการดาเนิ น ของกิ จการ และลักษณะและระดับ ของความเสี่ ยงที่ เกิ ดขึ้ น จาก เครื่ องมือทางการเงินที่ กิจการเปิ ดรับระหว่างรอบระยะเวลารายงานและ ณ วันสิ้ นรอบระยะเวลารายงาน รวมทั้งแนวทางการบริ หารความเสี่ ยงดังกล่าว มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่ อ ง เครื่ อ งมือ ทางการเงิน กล่ าวถึ งการจัดประเภทรายการ การวัด มูล ค่ า การตัดรายการสิ น ทรั พ ย์ท างการเงิน และหนี้ สิ น ทางการเงิ น การค านวณการด้อ ยค่ าของ สิ นทรัพย์ทางการเงิน และการบัญชีป้องกันความเสี่ ยง ดังต่อไปนี้ -

การจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่า - การจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่าสิ นทรัพย์ทางการเงินประเภทตราสารหนี้ แบ่งออกเป็ น สามประเภทได้แก่ ราคาทุนตัดจาหน่ าย มูลค่ายุติธรรมผ่านกาไรหรื อขาดทุน มูลค่ายุติธรรมผ่าน กาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่น โดยขึ้นอยู่กับโมเดลธุ รกิจของกิ จการในการจัดการสิ นทรั พย์ทางการ เงินและลักษณะของกระแสเงินสดตามสัญญาของสิ นทรัพย์ทางการเงินนั้น - การจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่าสิ นทรัพย์ทางการเงินประเภทตราสารทุน ต้องวัดมูลค่า ด้วยมูล ค่ ายุติธรรมผ่านกาไรหรื อ ขาดทุ น โดยกิ จการสามารถเลื อ กรั บ รู ้ สิ น ทรั พ ย์ท างการเงิ น ประเภทตราสารทุนด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่นโดยไม่สามารถโอนไปเป็ น กาไรหรื อขาดทุนในภายหลัง - หนี้ สิ น ทางการเงิน จัดประเภทรายการและวัดมูล ค่ าด้วยวิธีราคาทุ น ตัดจาหน่ าย ยกเว้น หนี้ สิ น ทางการเงินที่ตอ้ งวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกาไรหรื อขาดทุน หรื อกิจการเลือกวัดมูลค่าด้วย มูลค่ายุติธรรมผ่านกาไรหรื อขาดทุนเมื่อเข้าเงื่อนไขที่กาหนด - ตราสารอนุพนั ธ์จดั ประเภทและวัดมูลค่าด้วยวิธีมูลค่ายุติธรรมผ่านกาไรหรื อขาดทุน

27


133 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.2

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีการปรับปรุ ง และการตีความมาตรฐานที่เกีย่ วข้ อง (ต่อ) 2.2.2 มาตรฐานการรายงานทางการเงินและการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ที่มีการประกาศแล้ว แต่ยงั ไม่มีผลบังคับใช้ (ต่อ) 2.2.2.3 กลุ่มมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเครื่ องมือทางการเงิน ประกอบด้วยมาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานการรายงานทางการเงินดังต่อไปนี้ ที่ประกาศแล้วและจะมีผลบังคับใช้สาหรับรอบระยะเวลา บัญชี ที่เริ่ มต้นในหรื อหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ซึ่ งมาตรฐานการรายงานทางการเงินกลุ่มนี้ สามารถ นามาใช้ก่อนวันที่มีผลบังคับใช้เฉพาะสาหรับรอบระยะเวลาที่เริ่ มในหรื อหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 (ต่อ) -

ข้อกาหนดการด้อยค่ากล่าวถึงการบัญชีสาหรับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อ สิ นทรัพย์ ทางการเงินที่วดั มูลค่าด้วยวิธีราคาทุนตัดจาหน่ าย หรื อสิ นทรัพย์ทางการเงินประเภทตราสารหนี้ ที่วดั มูลค่าด้วยวิธีมูลค่ายุติธรรมผ่านกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่น ลูกหนี้ตามสัญญาเช่า และสิ นทรัพย์ที่เกิดจาก ภาระผูก พัน วงเงิ น สิ น เชื่ อ และสั ญ ญาค้ าประกัน ทางการเงิน โดยไม่จาเป็ นต้อ งรอให้เกิ ดเหตุ การณ์ ด้านเครดิตขึ้นก่อน กิ จการต้องพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในคุณภาพเครดิตของสิ นทรัพย์ทางการเงิน เป็ นสามระดับ ในแต่ ล ะระดับ จะกาหนดวิธีการวัดค่ าเผื่อ การด้อยค่ าและการคานวณวิธีดอกเบี้ ยที่ แท้จริ งที่ แตกต่างกันไป โดยมีขอ้ ยกเว้นส าหรั บ ลูกหนี้ การค้าหรื อ สิ น ทรั พย์ที่ เกิ ดจากสั ญญาภายใต้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 ที่ไม่มีองค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดหาเงินที่มีนยั สาคัญ และ ลูกหนี้ตามสัญญาเช่า จะใช้วธิ ีการอย่างง่าย (simplified approach) ในการพิจารณาค่าเผือ่ การด้อยค่า

-

การบัญชีป้องกันความเสี่ ยงมีวตั ถุประสงค์เพื่อแสดงผลกระทบในงบการเงิน ซึ่ งเกิดจากกิจกรรมการบริ หาร ความเสี่ ยงของกิ จการที่ใช้เครื่ องมือทางการเงินในการจัดการฐานะเปิ ดที่เกิ ดขึ้ นจากความเสี่ ยงนั้น ๆ ซึ่ งอาจส่ งผลกระทบต่ อ ก าไรหรื อ ขาดทุ น (หรื อ กาไรขาดทุ น เบ็ด เสร็ จ อื่ น ในกรณี ของเงิ น ลงทุ น ในตราสารทุนที่กิจการเลือกแสดงการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมในกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่น) วิธีการ ดังกล่าวมีเป้ าหมายในการแสดงถึงบริ บทของเครื่ องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ ยงภายใต้การบัญชีป้องกัน ความเสี่ ยงเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่ อง การป้ องกันความเสี่ ยงของเงินลงทุนสุ ทธิ ใน หน่ วยงานต่ างประเทศ ให้ ค วามชัด เจนเกี่ ยวกับ วิธี ก ารทางบัญ ชี ที่ เกี่ ยวกับ การป้ อ งกัน ความเสี่ ยงของ เงินลงทุนสุ ทธิในหน่ วยงานต่างประเทศ โดยให้แนวทางในการระบุความเสี่ ยงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศที่ เข้าเงื่อ นไข ให้แ นวทางเกี่ ยวกับเครื่ องมือป้ องกัน ความเสี่ ยงในการป้ องกันความเสี่ ยงของ เงินลงทุนสุ ทธิ ในหน่ วยงานต่างประเทศ ว่าสามารถถือโดยกิจการใดๆภายในกลุ่มกิ จการมิใช่ เฉพาะเพียง บริ ษทั ใหญ่เท่านั้น และให้แนวทางในการที่จะระบุมูลค่าที่จะจัดประเภทรายการใหม่จากส่ วนของเจ้าของ ไปยังกาไรหรื อขาดทุนสาหรับทั้งเครื่ องมือป้องกันความเสี่ ยงและรายการที่มีการป้องกันความเสี่ ยง

28


134 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.2

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีการปรับปรุ ง และการตีความมาตรฐานที่เกีย่ วข้ อง (ต่อ) 2.2.2 มาตรฐานการรายงานทางการเงินและการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ที่มีการประกาศแล้ว แต่ยงั ไม่มีผลบังคับใช้ (ต่อ) 2.2.2.3 กลุ่มมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเครื่ องมือทางการเงิน ประกอบด้วยมาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานการรายงานทางการเงินดังต่อไปนี้ ที่ประกาศแล้วและจะมีผลบังคับใช้สาหรับรอบระยะเวลา บัญชี ที่เริ่ มต้นในหรื อหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ซึ่ งมาตรฐานการรายงานทางการเงินกลุ่มนี้ สามารถ นามาใช้ก่อนวันที่มีผลบังคับใช้เฉพาะสาหรับรอบระยะเวลาที่เริ่ มในหรื อหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 (ต่อ) การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 19 เรื่ อง การชาระหนี้ สินทางการเงินด้วยตราสารทุน ให้ข้อ กาหนดทางบัญ ชี ส าหรั บ กรณี ที่ กิจการออกตราสารทุ น ให้แ ก่ เจ้าหนี้ เพื่ อ ช าระหนี้ สิ น ทางการเงิ น ทั้งหมดหรื อบางส่ วน กิจการต้องวัดมูลค่าตราสารทุนที่ออกให้แก่ เจ้าหนี้ ดว้ ยมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องตัด รายการหนี้ สินทางการเงิน ทั้งหมดหรื อบางส่ วนเมื่อเป็ นไปตามข้อกาหนดของมาตรฐานการรายงานทาง การเงิน ฉบับ ที่ 9 ผลต่ างระหว่างมูล ค่ าตามบัญ ชี ของหนี้ สิ น ทางการเงิ น (หรื อ บางส่ วนของหนี้ สิ น ทาง การเงิน) ที่ชาระและมูลค่ายุติธรรมของตราสารทุนที่ออกต้องรับรู ้ในกาไรหรื อขาดทุน ผูบ้ ริ หารของกลุ่มกิ จการอยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบของการนามาตรฐานกลุ่มเครื่ องมือทางการเงิน ฉบับเหล่านี้มาใช้เป็ นครั้งแรก

29


135 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.3

บัญชีกลุ่มกิจการ - เงินลงทุนในบริษัทย่ อยและบริษัทร่ วม (1)

บริ ษทั ย่อย บริ ษทั ย่อยหมายถึงทุกกิจการที่กลุ่มกิจการมีอานาจในการควบคุม กลุ่มกิจการมีอานาจการควบคุมเมื่อกลุ่มกิ จการ เปิ ดรั บ หรื อมีสิ ทธิ ในผลตอบแทนผัน แปรจากการเกี่ ยวข้องกับ ผูไ้ ด้รับ การลงทุ น และมีความสามารถที่จะทาให้ เกิดผลกระทบต่อผลตอบแทนนั้นจากการมีอานาจเหนือผูไ้ ด้รับการลงทุน กลุ่มกิจการรวมงบการเงินของบริ ษทั ย่อย ไว้ในงบการเงินรวมตั้งแต่วนั ที่กลุ่มกิจการมีอานาจในการควบคุมบริ ษทั ย่อย กลุ่มกิ จการจะไม่นางบการเงินของ บริ ษทั ย่อยมารวมไว้ในงบการเงินรวมนับจากวันที่กลุ่มกิจการสู ญเสี ยอานาจควบคุม กลุ่ มกิ จการบัน ทึ ก บัญชี การรวมธุ รกิ จที่ ไม่ใช่ การรวมธุ รกิ จภายใต้การควบคุ มเดียวกัน โดยถื อ ปฏิบ ัติตามวิธีซ้ื อ สิ่ งตอบแทนที่โอนให้สาหรับการซื้อบริ ษทั ย่อย ประกอบด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ นทรัพย์ที่ผซู ้ ้ือโอนให้และหนี้สินที่ ก่อขึ้นเพื่อจ่ายชาระให้แก่เจ้าของเดิมของผูถ้ ูกซื้ อและส่ วนได้เสี ยในส่ วนของเจ้าของที่ออกโดยกลุ่มกิจการ สิ่ งตอบแทนที่ โอนให้รวมถึงมูลค่ายุติธรรมของสิ นทรัพย์ หรื อหนี้ สินที่ผซู ้ ้ื อคาดว่าจะต้องจ่ายชาระตามข้อตกลง ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับ การซื้ อจะรั บรู ้ เป็ นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิ ดขึ้น มูลค่าเริ่ มแรกของสิ นทรัพย์ที่ระบุได้ที่ได้มาและหนี้ สินและหนี้ สินที่อาจ เกิ ด ขึ้ นที่ รั บ มาจากการรวมธุ ร กิ จ จะถู ก วัด มู ล ค่ า ด้ว ยมู ล ค่ า ยุ ติ ธ รรม ณ วัน ที่ ซ้ื อ ในการรวมธุ ร กิ จ แต่ ล ะครั้ ง กลุ่มกิ จการวัดมูลค่าของส่ วนได้เสี ยที่ไม่มีอานาจควบคุมในผูถ้ ูกซื้ อด้วยมูลค่ายุติธรรม หรื อ มูลค่าของสิ นทรัพย์ สุ ทธิที่ระบุได้ของผูถ้ ูกซื้อตามสัดส่ วนของหุน้ ที่ถือโดยส่ วนได้เสี ยที่ไม่มีอานาจควบคุม ในการรวมธุ รกิจที่ดาเนิ นการสาเร็ จจากการทยอยซื้ อ ผูซ้ ้ื อต้องวัดมูลค่าส่ วนได้เสี ยที่ผซู ้ ้ือถืออยู่ในผูถ้ ูกซื้อก่อนหน้า การรวมธุ รกิจใหม่โดยใช้มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่ซ้ื อและรับรู ้ผลกาไรหรื อขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการวัดมูลค่าใหม่น้ ัน ในกาไรหรื อขาดทุน สิ่ งตอบแทนที่ ค าดว่าจะต้อ งจ่ ายออกไปโดยกลุ่ มกิ จการ รั บ รู ้ ด้วยมูล ค่ ายุติธรรม ณ วัน ที่ ซ้ื อ การเปลี่ ยนแปลง ในมูลค่ายุติธรรมของสิ่ งตอบแทนที่คาดว่าจะต้องจ่ายที่รับรู ้ภายหลังวันที่ซ้ือซึ่งจัดประเภทเป็ นสิ นทรัพย์หรื อหนี้สิน ให้รับรู ้ในกาไรหรื อขาดทุน สิ่ งตอบแทนที่คาดว่าจะต้องจ่ายซึ่ งจัดประเภทเป็ นส่ วนของเจ้าของต้องไม่มีการวัดมูลค่าใหม่ และให้บนั ทึกการจ่ายชาระในภายหลังไว้ในส่ วนของเจ้าของ ส่ วนเกินของมูลค่าสิ่ งตอบแทนที่โอนให้ มูลค่าส่ วนได้เสี ยที่ไม่มีอานาจควบคุมในผูถ้ ูกซื้อและมูลค่ายุติธรรม ณ วันซื้ อ ธุรกิจของส่ วนได้เสี ยในส่ วนของเจ้าของของผูถ้ ูกซื้ อที่ผซู ้ ้ื อถืออยู่ก่อนการรวมธุ รกิจ ที่มากกว่ามูลค่ายุติธรรมสุ ทธิ ณ วันที่ซ้ือของสิ นทรัพย์สุทธิ ที่ระบุได้ที่ได้มา ต้องรับรู ้เป็ นค่าความนิ ยม หากมูลค่าของมูลค่าสิ่ งตอบแทนที่โอนให้ มูลค่ าส่ วนได้เสี ยที่ ไม่ มี อ านาจควบคุ มในผูถ้ ู กซื้ อ และมู ลค่ ายุติธรรม ณ วันซื้ อธุ รกิ จของส่ วนได้เสี ยในส่ วนของ เจ้าของของผูถ้ ูกซื้อที่ผซู ้ ้ื อถืออยูก่ ่อนการรวมธุ รกิจ น้อยกว่ามูลค่ายุติธรรมของสิ นทรัพย์สุทธิของบริ ษทั ย่อยที่ได้มา เนื่องจากการซื้อในราคาต่ากว่ามูลค่ายุติธรรม จะรับรู ้ส่วนต่างโดยตรงไปยังกาไรขาดทุน กลุ่มกิ จการจะตัดรายการบัญชีระหว่างกัน ยอดคงเหลือ และกาไรที่ยงั ไม่ได้เกิ ดขึ้นจริ งระหว่างกันในกลุ่มกิจการ ขาดทุนที่ยงั ไม่เกิดขึ้นจริ งก็จะตัดรายการในทานองเดียวกัน เว้นแต่รายการนั้นมีหลักฐานว่าสิ นทรัพย์ที่โอนระหว่างกัน เกิดการด้อยค่า นโยบายการบัญชีของบริ ษทั ย่อยได้ถูกปรับปรุ งเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการบัญชีของกลุ่มกิจการ 30


136 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.3

บัญชีกลุ่มกิจการ - เงินลงทุนในบริษัทย่ อยและบริษัทร่ วม (ต่อ) (2)

รายการกับส่ วนได้เสี ยที่ไม่มีอานาจควบคุม กลุ่มกิ จการปฏิบตั ิต่อรายการกับส่ วนได้เสี ยที่ไม่มีอานาจควบคุมเช่ นเดียวกันกับส่ วนที่เป็ นของเจ้าของของกลุ่มกิ จการ ส าหรั บ การซื้ อ ส่ วนได้เสี ยที่ ไม่ มีอ านาจควบคุ ม ผลต่ างระหว่างสิ่ งตอบแทนที่ จ่า ยให้แ ละมูล ค่ าตามบัญ ชี ของ สิ น ทรั พย์สุท ธิ ของหุ ้นที่ ซ้ื อ มาในบริ ษทั ย่อย และกาไรหรื อ ขาดทุน จากการขายส่ วนได้เสี ยที่ ไม่มีอานาจควบคุ ม จะถูกบันทึกในส่ วนของเจ้าของ

(3)

การจาหน่ายบริ ษทั ย่อย เมื่อ กลุ่ ม กิ จการสู ญ เสี ยการควบคุ ม ต้อ งหยุดรวมบริ ษ ัท ย่อ ยในการจัดท างบการเงิน รวม ส่ วนได้เสี ยในกิ จการ ที่ เหลื อ อยู่จะวัดมู ล ค่ า ใหม่ โดยใช้มู ล ค่ ายุติ ธรรม การเปลี่ ยนแปลงในมูล ค่ าจะรั บ รู ้ ในก าไรหรื อ ขาดทุ น มูล ค่ า ยุติธรรมนั้นจะถือเป็ นมูลค่าตามบัญชีเริ่ มแรกของมูลค่าของเงินลงทุนเพื่อวัตถุประสงค์ในการวัดมูลค่าในเวลาต่อมา ของเงินลงทุนที่เหลืออยูใ่ นรู ปของบริ ษทั ร่ วม กิจการร่ วมค้า หรื อสิ นทรัพย์ทางการเงิน สาหรับทุกจานวนที่เคยรับรู ้ ในก าไรขาดทุ น เบ็ดเสร็ จอื่ น ในส่ วนที่ เกี่ ยวข้อ งกับ กิ จการนั้น จะถู กปฏิ บ ัติเสมื อ นว่ากลุ่ ม กิ จการมี การจาหน่ าย สิ นทรัพย์หรื อหนี้สินที่เกี่ยวข้องนั้นออกไป

(4)

การรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน กลุ่มกิจการบันทึกบัญชีการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน โดยรับรู ้สินทรัพย์และหนี้สินของกิจการที่ถูกนามา รวมด้วยมูลค่าตามบัญชี ของกิ จการที่ ถูกน ามารวมเฉพาะสัดส่ วนที่ เคยอยู่ภายใต้การควบคุมเดี ยวกันตามมูลค่าที่ แสดงอยู่ในงบการเงินรวมของบริ ษทั ใหญ่ลาดับที่สูงสุ ดที่ตอ้ งจัดทางบการเงิ นรวมก่ อนการรวมธุ รกิจภายใต้การ ควบคุมเดียวกัน ณ วันที่มีการรวมธุ รกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน โดยกลุ่มกิจการต้องปรับปรุ งรายการเสมือนว่า การรวมธุ รกิ จได้เกิ ดขึ้นตั้งแต่วนั ต้นงวดในงบการเงินงวดก่ อนที่นามาเปรี ยบเทียบซึ่ งเป็ นไปตามแนวปฏิบตั ิทาง การบัญชีสาหรับการรวมธุ รกิจภายใต้การควบคุมเดียวกันที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชี ต้น ทุ น การรวมธุ รกิ จภายใต้การควบคุ มเดี ยวกัน เป็ นผลรวมของมูล ค่ายุติธรรมของสิ น ทรั พย์ที่ ให้ไป หนี้ สิ น ที่ เกิดขึ้นหรื อรับมาและตราสารทุนที่ออกโดยผูซ้ ้ือ ณ วันที่มีการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งการควบคุม ค่าใช้จ่ายอื่นที่ เกี่ยวข้องในการรวมธุ รกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน เช่น ค่าธรรมเนี ยมวิชาชีพจ่ายที่ปรึ กษากฎหมาย และที่ปรึ กษาอื่น ในการรวมธุ รกิ จ ค่าธรรมเนี ยมในการจดทะเบียน รวมถึ งรายจ่ายในการจัดเตรี ยมข้อ มูลให้แก่ ผูถ้ ื อหุ ้น รั บรู ้ เป็ น ต้นทุนของเงินลงทุนในงบการเงินเฉพาะกิ จการ และรับรู ้เป็ นค่าใช้จ่ายทันทีในงบการเงินรวมในงวดที่มีการรวม ธุรกิจเกิดขึ้น ส่ วนต่างระหว่างต้นทุนของการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน กับส่ วนได้เสี ยของผูซ้ ้ื อในมูลค่าตามบัญชีของ กิจการที่ถูกนามารวม แสดงเป็ นรายการ “ส่ วนเกิ นทุนจากการรวมธุ รกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน” ในส่ วนของ เจ้าของ โดยกลุ่มกิจการจะตัดรายการนี้ออกเมื่อขายเงินลงทุนออกไปโดย(โอนไปยังกาไรสะสม)

31


137 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.3

บัญชีกลุ่มกิจการ - เงินลงทุนในบริษัทย่ อยและบริษัทร่ วม (ต่อ) (5)

บริ ษทั ร่ วม บริ ษ ัท ร่ วมเป็ นกิ จการที่ กลุ่ มกิ จการมีอิ ท ธิ พลอย่างเป็ นสาระส าคัญ แต่ ไม่ถึงกับ ควบคุ มซึ่ งโดยทัว่ ไปก็คือ การที่ กลุ่ มกิ จการถื อ หุ ้น ที่ มีสิ ท ธิ อ อกเสี ยงอยู่ระหว่างร้ อยละ 20 ถึ งร้ อ ยละ 50 ของสิ ท ธิ อ อกเสี ยงทั้งหมด เงิน ลงทุ น ในบริ ษ ัท ร่ วมรั บ รู ้ โดยใช้วิธี ส่ วนได้เสี ยในการแสดงในงบการเงิน รวม ภายใต้วิธีส่ วนได้เสี ย กลุ่ ม กิ จการรั บ รู ้ เงินลงทุนเมื่อเริ่ มแรกด้วยราคาทุน มูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนนี้ จะเพิ่มขึ้นหรื อลดลงในภายหลังวันที่ได้มาด้วย ส่ วนแบ่งกาไรหรื อขาดทุนของผูไ้ ด้รับการลงทุนตามสัดส่ วนที่ผลู ้ งทุนมีส่วนได้เสี ยอยู่ เงินลงทุนในบริ ษทั ร่ วมของ กลุ่มกิจการรวมถึงค่าความนิยมที่ระบุได้ ณ วันที่ซ้ือเงินลงทุน ถ้าส่ วนได้เสี ยของเจ้าของในบริ ษ ัทร่ วมนั้นลดลงแต่ยงั คงมีอิท ธิ พลอย่างมีนัยสาคัญ กลุ่มกิ จการต้องจัดประเภท รายการที่เคยรับรู ้ในกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่นเข้ากาไรหรื อขาดทุนเฉพาะสัดส่ วนในส่ วนได้เสี ยของเจ้าของที่ลดลง กาไรและขาดทุนจากการลดสัดส่ วนในบริ ษทั ร่ วมจะรับรู ้ในกาไรหรื อขาดทุน ส่ วนแบ่งกาไรหรื อขาดทุนของกลุ่มกิจการในบริ ษทั ร่ วมที่เกิดขึ้นภายหลังการได้มาจะรวมไว้ในกาไรหรื อขาดทุน และส่ ว นแบ่ งในก าไรขาดทุ น เบ็ด เสร็ จ อื่ น ที่ เกิ ดขึ้ น ภายหลังการได้ม าจะรวมไว้ในกาไรขาดทุ น เบ็ด เสร็ จอื่ น ผลสะสมของการเปลี่ ยนแปลงภายหลังการได้มาดังกล่ าวข้างต้น จะปรั บ ปรุ งกับ ราคาตามบัญ ชี ของเงิน ลงทุ น เมื่อ ส่ วนแบ่ งขาดทุ นของกลุ่ มกิ จการในบริ ษ ัท ร่ วมมีมูล ค่าเท่ ากับ หรื อ เกิ น กว่ามูล ค่าส่ วนได้เสี ยของกลุ่ มกิ จการ ในบริ ษทั ร่ วมนั้น กลุ่มกิจการจะไม่รับรู ้ส่วนแบ่งขาดทุนอีกต่อไป เว้นแต่กลุ่มกิจการมีภาระผูกพันในหนี้ของบริ ษทั ร่ วม หรื อรับว่าจะจ่ายหนี้แทนบริ ษทั ร่ วม กลุ่มกิจการมีการพิจารณาทุกสิ้ นรอบระยะเวลาบัญชี ว่ามีขอ้ บ่งชี้ที่แสดงว่าเงินลงทุนในบริ ษทั ร่ วมเกิดการด้อยค่า หรื อไม่ หากมีขอ้ บ่งชี้เกิดขึ้นกลุ่มกิจการจะคานวณผลขาดทุนจากการด้อยค่า โดยเปรี ยบเทียบมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน กับ มูล ค่ าตามบัญ ชี ของเงิ น ลงทุ น และรั บ รู ้ ผลต่ างไปที่ ส่ วนแบ่ งกาไร(ขาดทุ น )ของเงิน ลงทุ น ในบริ ษ ัท ร่ วมใน กาไรหรื อขาดทุน รายการกาไรที่ยงั ไม่ได้เกิดขึ้นจริ งระหว่างกลุ่มกิจการกับบริ ษทั ร่ วมจะตัดบัญชีตามสัดส่ วนที่กลุ่มกิจการมีส่วนได้เสี ย ในบริ ษทั ร่ วมนั้น รายการขาดทุนที่ยงั ไม่ได้เกิดขึ้นจริ งก็จะตัดบัญชีในทานองเดียวกัน เว้นแต่รายการนั้นมีหลักฐานว่า สิ นทรัพย์ที่โอนระหว่างกันเกิดการด้อยค่า บริ ษทั ร่ วมจะเปลี่ยนนโยบายการบัญชีเท่าที่จาเป็ นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการบัญชีของกลุ่มกิจการ ในงบการเงินเฉพาะกิจการ เงินลงทุนในบริ ษทั ร่ วม จะบันทึกบัญชีดว้ ยราคาทุนหักค่าเผื่อการด้อยค่า ต้นทุนจะมี การปรับเพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงสิ่ งตอบแทนที่เกิ ดขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของสิ่ งตอบแทนที่ คาดว่า ต้องจ่าย ต้นทุนจะรวมต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวข้องจากการได้มาของเงินลงทุนนี้ รายชื่อของบริ ษทั ร่ วมของกลุ่มกิจการได้แสดงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อที่ 12

32


138 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.4

การแปลงค่ าเงินตราต่ างประเทศ (ก)

สกุลเงินที่ใช้ในการดาเนินงานและสกุลเงินที่ใช้นาเสนองบการเงิน รายการที่ ร วมในงบการเงิ น ของแต่ ล ะบริ ษ ัท ในกลุ่ ม กิ จ การถู ก วัด มู ล ค่ าโดยใช้ส กุ ล เงิ น ของสภาพแวดล้อ ม ทางเศรษฐกิ จหลักที่บ ริ ษ ัทดาเนิ น งานอยู่ (สกุลเงิน ที่ใช้ในการดาเนิ น งาน) งบการเงินรวมแสดงในสกุล เงิน บาท ซึ่งเป็ นสกุลเงินที่ใช้ในการดาเนินงานและสกุลเงินที่ใช้นาเสนองบการเงินของบริ ษทั

(ข)

รายการและยอดคงเหลือ รายการที่เป็ นสกุลเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็ นสกุลเงินที่ใช้ในการดาเนิ นงานโดยใช้อตั ราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ เกิดรายการหรื อวันที่ตีราคาหากรายการนั้นถูกวัดมูลค่าใหม่ รายการกาไรและรายการขาดทุนที่เกิดจากการรับหรื อ จ่ายชาระที่ เป็ นเงินตราต่างประเทศ และที่ เกิ ดจากการแปลงค่ าสิ น ทรั พย์และหนี้ สิ น ที่ เป็ นตัวเงิน ซึ่ งเป็ นเงิน ตรา ต่างประเทศด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้ นปี ได้บนั ทึกไว้ในกาไรหรื อขาดทุน เมื่อมีการรับรู ้รายการกาไรหรื อขาดทุนของรายการที่ไม่เป็ นตัวเงินไว้ในกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่น องค์ประกอบของ อัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดของกาไรหรื อขาดทุนนั้นจะรับรู ้ไว้ในกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่นด้วย ในทางตรงข้ามการ รับรู ้กาไรหรื อขาดทุนของรายการที่ไม่เป็ นตัวเงินไว้ในกาไรหรื อขาดทุน องค์ประกอบของอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมด ของกาไรหรื อขาดทุนนั้นจะรับรู ้ไว้ในกาไรขาดทุนด้วย

2.5

เงินสดและรายการเทียบเท่ าเงินสด ในงบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดรวมถึงเงินสดในมือ เงินฝากธนาคาร ประเภทจ่ ายคื น เมื่อทวงถาม เงิน ลงทุ น ระยะสั้ นอื่ น ที่ มีส ภาพคล่อ งสู งซึ่ งมีอ ายุไม่เกิ น สามเดื อ นนับ จากวัน ที่ ได้มา และ เงินเบิกเกินบัญชี เงินเบิกเกินบัญชีจะแสดงไว้ในส่ วนของหนี้สินหมุนเวียนในงบแสดงฐานะการเงิน

2.6

ลูกหนี้การค้ า ลูกหนี้ การค้ารับรู ้เริ่ มแรกด้วยมูลค่าตามใบแจ้งหนี้ และจะวัดมูลค่าต่อมาด้วยจานวนเงินที่เหลืออยู่หักค่าเผื่อหนี้ สงสัยจะสู ญ ซึ่ งประมาณจากการสอบทานยอดคงเหลือ ณ วันสิ้ นงวด ค่าเผื่อหนี้ สงสั ยจะสู ญหมายถึ ง ผลต่างระหว่างราคาตามบัญชี ของ ลูกหนี้การค้าเปรี ยบเทียบกับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้การค้า หนี้สูญที่เกิดขึ้นจะรับรู ้ในกาไรหรื อขาดทุนโดยถือเป็ น ส่ วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการบริ หาร

33


139 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.7

สิ นค้ าคงเหลือ สิ นค้าคงเหลือแสดงในงบแสดงฐานะการเงินด้วยราคาทุนหรื อมูลค่าสุ ทธิ ที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ากว่า ราคาทุนของ สิ นค้าคงเหลือคานวณโดยวิธีเข้าก่อนออกก่อน ต้นทุนในการซื้ อประกอบด้วยราคาซื้ อ และค่าใช้จ่ายทางตรงที่เกี่ยวข้องกับ การซื้ อสิ น ค้านั้น เช่ น ค่าอากรขาเข้า ค่าขนส่ ง หักด้วยส่ วนลดเกี่ ยวข้องทั้งหมด ส่ วนยอมให้หรื อเงินที่ได้รับคืน ต้นทุนของ สิ นค้าสาเร็ จรู ป และงานระหว่างทาละคร และอื่นๆ ประกอบด้วย ต้นทุนการผลิตทางตรง การถ่ายทา และค่าใช้จ่ายในการผลิต อื่น มูลค่าสุ ทธิ ที่จะได้รับประมาณจากราคาที่คาดว่าจะขายได้ตามปกติของธุ รกิ จหักด้วยค่าใช้จ่ายที่ จาเป็ นเพื่อให้สินค้านั้น สาเร็ จรู ปและเพื่อให้สินค้านั้นขายได้รวมถึงค่าใช้จ่ายในการขาย กลุ่มกิจการจะบันทึกบัญชีค่าเผื่อลดมูลค่าสิ นค้าเมื่อพบว่า มีสินค้าเก่า ล้าสมัย เสื่ อมคุณภาพเท่าที่จาเป็ น

2.8

อาคารและอุปกรณ์ อาคารและอุปกรณ์แสดงรายการด้วยราคาทุนหักค่าเสื่ อมราคาสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่าของสิ นทรั พย์ ต้นทุนเริ่ มแรก จะรวมต้นทุนทางตรงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสิ นทรัพย์น้ นั ต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลังจะรวมอยูใ่ นมูลค่าตามบัญชีของสิ นทรัพย์หรื อรับรู ้แยกเป็ นอีกสิ นทรัพย์หนึ่งตามความเหมาะสม เมื่อต้นทุนนั้นเกิดขึ้นและคาดว่าจะให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตแก่กลุ่มกิจการ และต้นทุนดังกล่าวสามารถวัดมูลค่า ได้อย่างน่ าเชื่ อถือ มูลค่าตามบัญชีของชิ้นส่ วนที่ถูกเปลี่ยนแทนจะถูกตัดรายการออก สาหรั บค่าซ่ อมแซมและบารุ งรักษาอื่นๆ กลุ่มกิจการจะรับรู ้ตน้ ทุนดังกล่าวเป็ นค่าใช้จ่ายในกาไรหรื อขาดทุนเมื่อเกิดขึ้น ค่ าเสื่ อมราคาของสิ นทรั พย์ค านวณด้วยวิ ธี เส้ น ตรงเพื่ อ ลดราคาตามบัญ ชี ให้ เท่ ากับ มู ล ค่ าคงเหลื อ ของสิ นทรั พย์แ ต่ ล ะ ชนิด ตามอายุการให้ประโยชน์ของสิ นทรัพย์ที่ประมาณไว้ดงั ต่อไปนี้ อาคาร ส่ วนปรับปรุ งอาคารเช่า เครื่ องจักรและอุปกรณ์ เครื่ องตกแต่ง ติดตั้งและอุปกรณ์สานักงาน ยานพาหนะ

20 ปี ตามอายุสัญญาเช่าที่ดิน 8 ปี 7 เดือน 5 - 10 ปี 5 - 10 ปี 5 ปี

ทุกสิ้ นรอบระยะเวลารายงานกลุ่มกิจการได้มีการทบทวนและปรับปรุ งมูลค่าคงเหลือ และอายุการให้ประโยชน์ของสิ นทรัพย์ ให้เหมาะสม ในกรณี ที่มูลค่าตามบัญชีของสิ นทรัพย์สูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน มูลค่าตามบัญชีของสิ นทรัพย์ดงั กล่าวจะถูกปรับลด ให้เท่ากับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนทันที รายการกาไรและรายการขาดทุนจากการจาหน่ าย อาคารและอุปกรณ์ คานวณโดยการเปรี ยบเทียบสิ่ งตอบแทนสุ ทธิ ที่ได้รับจาก การจาหน่ายสิ นทรัพย์กบั มูลค่าตามบัญชีของสิ นทรัพย์ และได้รวมอยูใ่ นรายได้อื่นและค่าใช้จ่ายอื่นตามลาดับ

34


140 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.9

ใบอนุญาตให้ ใช้ คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ ใบอนุ ญ าตให้ ใช้ค ลื่ น ความถี่ แ ละประกอบกิ จการโทรทัศ น์ ประกอบด้ว ย ต้น ทุ น ทางตรงที่ เกี่ ยวข้อ งกับ การได้ม าซึ่ ง ใบอนุ ญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ประเภทบริ การทางธุ รกิจระดับชาติ ในหมวดหมู่ทวั่ ไป แบบความคมชัดปกติ แสดงด้วยมูลค่าเทียบเท่าเงินสดโดยวิธีคิดลดจานวนเงินที่ตอ้ งจ่ายชาระเพื่อให้เป็ น มูลค่าปั จจุบนั โดยใช้อตั ราคิดลดตามที่ธนาคารกาหนดสาหรับสิ นเชื่อเพื่อการดังกล่าวหักค่าตัดจาหน่ ายสะสมและขาดทุน จากการด้อ ยค่ า ผลต่างระหว่างราคาเทียบเท่ าเงิน สดกับจานวนเงินทั้งหมดที่ ตอ้ งจ่ายชาระบันทึ กเป็ นต้น ทุ นทางการเงิน ตลอดอายุก ารจ่ ายชาระค่ าธรรมเนี ยมการได้รับ ใบอนุ ญ าตให้ใช้คลื่ น ความถี่ และประกอบกิ จการโทรทัศน์ โดยจะเริ่ ม ตัดจาหน่ ายเมื่อ พร้ อ มที่ จะให้บริ การ กลุ่มกิ จการตัดจาหน่ ายใบอนุ ญาตให้ใช้คลื่น ความถี่ และประกอบกิ จการโทรทัศน์ โดยวิธีเส้นตรงตามอายุของใบอนุญาต 15 ปี

2.10 สิ นทรัพย์ ไม่ มีตัวตน ต้นทุนการผลิตละครและรายการ ต้นทุนการผลิตละครและรายการ แสดงมูลค่าตามราคาทุนหักค่าตัดจาหน่ ายสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่า (ถ้ามี) ซึ่ งกลุ่มกิจการ ตัดจาหน่ายต้นทุนการผลิตละครด้วยจานวนครั้งที่ออกอากาศ ลิขสิ ทธิ์อื่น ลิ ขสิ ท ธิ์ อื่ น แสดงมูล ค่ าตามราคาทุ น หักค่ าตัดจาหน่ ายสะสมและค่ าเผื่อ การด้อ ยค่ า (ถ้ามี) กลุ่ มกิ จการตัดจาหน่ ายเป็ น ค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงตามอายุสัญญาที่เกี่ยวข้อง ลิขสิ ทธิ์มาสเตอร์เทปเพลง ลิขสิ ท ธิ์ มาสเตอร์ เทปเพลงมีอ ายุการให้ป ระโยชน์ ไม่ท ราบแน่ น อน กลุ่ มกิ จการจึงไม่มีการตัดจาหน่ ายแต่ จะใช้วิธีการ ทดสอบการด้อยค่าแทน

35


141 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.10 สิ นทรัพย์ ไม่ มีตัวตน (ต่อ) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ต้น ทุ น ที่ ใช้ในการบ ารุ งรั กษาโปรแกรมคอมพิ วเตอร์ ให้บ ัน ทึ กเป็ นค่ าใช้จ่ายเมื่ อ เกิ ดขึ้ น ค่ าใช้จ่ายที่ เกิ ดจากการพัฒ นา ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการออกแบบและทดสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มีลกั ษณะเฉพาะเจาะจงซึ่ งกลุ่มกิจการเป็ นผูด้ ูแล จะรับรู ้เป็ นสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตนเมื่อเป็ นไปตามข้อกาหนดทุกข้อดังนี้      

มีความเป็ นไปได้ทางเทคนิคที่กิจการจะทาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้เสร็ จสมบูรณ์เพื่อนามาใช้ประโยชน์หรื อขายได้ ผูบ้ ริ หารมีความตั้งใจที่จะทาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้เสร็ จสมบูรณ์และนามาใช้ประโยชน์หรื อขาย กิจการมีความสามารถที่จะนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ น้ นั มาใช้ประโยชน์หรื อขาย สามารถแสดงว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์น้ นั ให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในอนาคตอย่างไร มีความสามารถในการจัดหาทรั พยากรด้านเทคนิ ค ด้านการเงิน และด้านอื่ นได้เพียงพอที่จะนามาใช้เพื่อทาให้การ พัฒนาเสร็ จสิ้ นสมบูรณ์ และนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มาใช้ประโยชน์หรื อนามาขายได้ กิจการมีความสามารถที่จะวัดมูลค่าของรายจ่ายที่เกี่ ยวข้องกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่เกิ ดขึ้นในระหว่างการพัฒนา ได้อย่างน่าเชื่อถือ

ต้นทุนโดยตรงที่รับรู ้เป็ นส่ วนหนึ่ งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะรวมถึงต้นทุนพนักงานที่ทางานในทีมพัฒนาโปรแกรม คอมพิวเตอร์และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในจานวนเงินที่เหมาะสม ต้นทุนการพัฒนาอื่นที่ไม่เข้าเงื่อนไขเหล่านี้ จะรับรู ้เป็ นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดขึ้น ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาหากก่อนหน้านี้รับรู ้เป็ น ค่าใช้จ่ายไปแล้ว จะไม่รับรู ้เป็ นสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตนในเวลาภายหลัง ต้นทุ นในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิ วเตอร์ จะรั บรู ้ เป็ นสิ นทรั พย์ไม่ มี ตัวตนและตัดจ าหน่ ายโดยใช้วิธี เส้ นตรงตลอดอายุ ประมาณการให้ประโยชน์ในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี 2.11 การด้อยค่ าของสิ นทรัพย์ สิ นทรั พย์ที่ มีอายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบแน่ ชัดเช่ น ค่าความนิ ยม ซึ่ งไม่มีการตัดจาหน่ ายจะถูกทดสอบการด้อยค่ าเป็ น ประจาทุกปี สิ นทรัพย์อื่นที่มีการตัดจาหน่ ายจะมีการทบทวนการด้อยค่า เมื่อมีเหตุการณ์หรื อสถานการณ์บ่งชี้ว่าราคาตามบัญชี อาจสู งกว่ามู ลค่ าที่ คาดว่าจะได้รับคื น รายการขาดทุ นจากการด้อยค่ าจะรั บรู ้ เมื่อราคาตามบัญชี ของสิ นทรั พย์สู งกว่ามูลค่ า ที่ คาดว่าจะได้รับ คื น ซึ่ งหมายถึ งจานวนที่ สู งกว่าระหว่างมูล ค่ ายุติธรรมหักต้น ทุ น ในการขายเที ยบกับ มูล ค่ าจากการใช้ สิ นทรั พย์จะถูกจัดเป็ นหน่ วยที่เล็กที่สุดที่สามารถแยกออกมาได้ เพื่อวัตถุประสงค์ของการประเมินการด้อยค่า สิ นทรั พย์ ที่ ไม่ ใช่ สิ น ทรั พ ย์ท างการเงิ น นอกเหนื อจากค่ าความนิ ยมซึ่ งรั บ รู ้ รายการขาดทุ น จากการด้อยค่ าไปแล้ว จะถู กประเมิ น ความเป็ นไปได้ที่จะกลับรายการขาดทุนจากการด้อยค่า ณ วันสิ้ นรอบระยะเวลารายงาน

36


142 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.12 สั ญญาเช่ าระยะยาว - กรณีทกี่ ลุ่มกิจการเป็ นผู้เช่ า สัญญาเช่าการเงิน สัญญาเช่าที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ซ่ ึ งผูเ้ ช่าเป็ นผูร้ ับความเสี่ ยงและผลตอบแทนของความเป็ นเจ้าของเกือบทั้งหมดถือเป็ น สัญญาเช่าการเงิน สัญญาเช่าการเงินจะบันทึกเป็ นรายจ่ายฝ่ ายทุนด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ นทรัพย์ที่เช่า หรื อมูลค่าปั จจุบนั สุ ทธิ ของจานวนเงินที่ตอ้ งจ่ายตามสัญญาเช่าแล้วแต่มูลค่าใดจะต่ากว่า โดยจานวนเงินที่ตอ้ งจ่ายจะปั นส่ วนระหว่างหนี้ สิน และค่ าใช้จ่า ยทางการเงิ น เพื่อ ให้ได้อ ัตราดอกเบี้ ยคงที่ ต่อ หนี้ สิ น คงค้างอยู่ โดยพิ จารณาแยกแต่ ล ะสั ญ ญา ภาระผูก พัน ตามสั ญ ญาเช่ า หักค่ า ใช้จ่ายทางการเงิน จะบัน ทึ กเป็ นหนี้ สิ น ระยะยาว ส่ วนดอกเบี้ ยจ่ ายจะบัน ทึ กในก าไรหรื อ ขาดทุ น ตลอดอายุของสัญญาเช่า สิ นทรัพย์ที่ได้มาตามสัญญาเช่าทางการเงินจะคิดค่าเสื่ อมราคาตลอดอายุการใช้งานของสิ นทรัพย์ที่เช่า หรื ออายุของสัญญาเช่า แล้วแต่ระยะเวลาใดจะสั้นกว่า สัญญาเช่าดาเนินงาน สัญญาเช่ าสิ นทรั พย์ซ่ ึ งผูใ้ ห้เช่ าเป็ นผูร้ ั บความเสี่ ยงและผลตอบแทนของความเป็ นเจ้าของเกื อบทั้งหมดถือเป็ นสัญญาเช่ า ดาเนิ นงาน เงินที่ตอ้ งจ่ายภายใต้สัญญาเช่าดาเนิ นงาน (สุ ทธิ จากสิ่ งตอบแทนจูงใจที่ได้รับจากผูใ้ ห้เช่า) จะทยอยบันทึกใน กาไรหรื อขาดทุนโดยใช้วธิ ีเส้นตรงตลอดอายุของสัญญาเช่านั้น 2.13 เงินกู้ยืม เงินกูย้ ืมรับรู ้เริ่ มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ่ งตอบแทนที่ได้รับหักด้วยต้นทุนการจัดทารายการที่เกิดขึ้น เงินกูย้ ืมวัดมูลค่า ในเวลาต่อมาด้วยวิธีราคาทุนตัดจาหน่ายตามวิธีอตั ราดอกเบี้ยที่แท้จริ ง ผลต่างระหว่างสิ่ งตอบแทน (หักด้วยต้นทุนการจัดทา รายการที่เกิดขึ้น) เมื่อเทียบกับมูลค่าที่จ่ายคืนเพื่อชาระหนี้น้ นั จะรับรู ้ในงบกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จตลอดช่วงเวลาการกูย้ มื ค่าธรรมเนี ยมที่จ่ายไปเพื่อให้ได้เงินกู้มาจะรับรู ้เป็ นต้นทุนการจัดทารายการเงินกูใ้ นกรณี ที่มีความเป็ นไปได้จะใช้วงเงินกู้ บางส่ วนหรื อทั้งหมด ในกรณี น้ ี ค่าธรรมเนี ยมจะรอการรับรู ้จนกระทัง่ มีการถอนเงิน หากไม่มีหลักฐานที่มีความเป็ นไปได้ ที่ จะใช้วงเงิน บางส่ วนหรื อ ทั้งหมด ค่ าธรรมเนี ยมจะรั บ รู ้ เป็ นค่ า ใช้จ่ายจ่ายล่ วงหน้าส าหรั บ การให้บ ริ ก ารสภาพคล่ อ ง และจะตัดจาหน่ายตามระยะเวลาของวงเงินกูท้ ี่เกี่ยวข้อง เงินกูย้ มื จัดประเภทเป็ นหนี้ สินหมุนเวียนเมื่อกลุ่มกิจการไม่มีสิทธิอนั ปราศจากเงื่อนไขให้เลื่อนชาระหนี้ออกไปอีกเป็ นเวลา ไม่นอ้ ยกว่า 12 เดือน นับจากวันสิ้ นรอบระยะเวลารายงาน

37


143 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.14 ภาษีเงินได้งวดปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้สาหรับงวดประกอบด้วย ภาษีเงินได้ของงวดปั จจุบนั และภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ภาษีเงินได้จะรับรู ้ ในกาไรหรื อขาดทุน ยกเว้นส่ วนภาษี เงิน ได้ที่ เกี่ ยวข้องกับรายการที่ รับ รู ้ในกาไรขาดทุน เบ็ดเสร็ จอื่ น หรื อรายการที่รับ รู ้ โดยตรงไปยังส่ วนของเจ้าของ ในกรณี น้ ี ภาษี เงิ น ได้ต้อ งรั บ รู ้ ในกาไรขาดทุ น เบ็ดเสร็ จอื่ น หรื อ โดยตรงไปยังส่ วนของ เจ้าของตามลาดับ ภาษีเงินได้ของงวดปั จจุบนั คานวณจากอัตราภาษีตามกฎหมายภาษีอากรที่มีผลบังคับใช้อยู่ หรื อที่คาดได้ค่อนข้างแน่ วา่ จะมี ผลบังคับใช้ภายในสิ้ นรอบระยะเวลาที่รายงานในประเทศที่บริ ษทั และบริ ษทั ย่อยต้องดาเนิ นงานอยู่และเกิดรายได้เพื่อเสี ยภาษี ผูบ้ ริ หารจะประเมินสถานะของการยืน่ แบบแสดงรายการภาษีเป็ นงวด ๆ ในกรณี ที่มีสถานการณ์ที่การนากฎหมายภาษี ไปปฏิบตั ิ ขึ้นอยู่กับการตีความ และจะตั้งประมาณการค่าใช้จ่ายภาษีที่ เหมาะสมจากจานวนที่ คาดว่าจะต้องจ่ายชาระภาษี แก่ หน่ วยงาน จัดเก็บ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีรับรู ้ตามวิธีหนี้ สิน เมื่อเกิดผลต่างชัว่ คราวระหว่างฐานภาษีของสิ นทรัพย์และหนี้ สิน และราคาตามบัญชี ที่แสดงอยู่ในงบการเงิน อย่างไรก็ตามกลุ่มกิจการจะไม่รับรู ้ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดจากการรับรู ้เริ่ มแรกของรายการ สิ นทรัพย์หรื อรายการหนี้สินที่เกิดจากรายการที่ไม่ใช่การรวมธุ รกิจ และ ณ วันที่เกิดรายการ รายการนั้นไม่มีผลกระทบต่อ กาไรหรื อขาดทุนทั้งทางบัญชีหรื อทางภาษี ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีคานวณจากอัตราภาษี (และกฎหมายภาษีอากร) ที่มี ผลบังคับใช้อยู่ หรื อที่คาดได้ค่อนข้างแน่ วา่ จะมีผลบังคับใช้ภายในสิ้ นรอบระยะเวลาที่รายงาน และคาดว่าอัตราภาษีดงั กล่าว จะน าไปใช้เมื่อสิ นทรั พย์ภาษี เงินได้รอการตัดบัญชี ที่ เกี่ ยวข้องได้ใช้ประโยชน์ หรื อหนี้ สิ นภาษี เงิ นได้รอการตัดบัญชี ได้มี การจ่ายชาระ สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะรับรู ้หากมีความเป็ นไปได้ค่อนข้างแน่วา่ กลุ่มกิจการจะมีกาไรทางภาษีเพียงพอที่จะนา จานวนผลต่างชัว่ คราวนั้นมาใช้ประโยชน์ กลุ่มกิจการได้ต้ งั ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีโดยพิจารณาจากผลต่างชัว่ คราวของ เงินลงทุนในบริ ษทั ร่ วม บริ ษทั ย่อย และส่ วนได้เสี ยในกิจการร่ วมค้าที่ตอ้ งเสี ยภาษีเว้นแต่กลุ่มกิจการสามารถควบคุมจังหวะ เวลาของการกลับรายการผลต่างชัว่ คราวและการกลับรายการผลต่างชัว่ คราวมีความเป็ นไปได้ค่อนข้างแน่ วา่ จะไม่เกิดขึ้นได้ ภายในระยะเวลาที่คาดการณ์ได้ในอนาคต สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและหนี้ สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะแสดงหักกลบกันก็ต่อเมื่อกิจการมีสิทธิ ตามกฎหมาย ที่จะนาสิ นทรัพย์ภาษีเงินได้ของงวดปั จจุบนั มาหักกลบกับหนี้ สินภาษีเงินได้ของงวดปั จจุบนั และทั้งสิ นทรัพย์ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชีและหนี้ สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้ที่ประเมินโดยหน่ วยงานจัดเก็บภาษีหน่ วยงาน เดี ยวกันโดยการเรี ยกเก็บเป็ นหน่ วยภาษีเดี ยวกันหรื อหน่ วยภาษี ต่างกันซึ่ งตั้งใจจะจ่ ายหนี้ สิ นและสิ นทรั พย์ภาษี เงินได้ของ งวดปัจจุบนั ด้วยยอดสุ ทธิ

38


144 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.15 ผลประโยชน์ พนักงาน กลุ่ มกิ จการได้ก าหนดโครงการผลประโยชน์เมื่อ เกษี ยณอายุในหลายรู ป แบบ กลุ่ มกิ จการมีท้ งั โครงการสมทบเงิ นและ โครงการผลประโยชน์ ส าหรั บโครงการสมทบเงิ น กลุ่ มกิ จการจะจ่ ายเงิ นสมทบให้กองทุ นในจานวนเงิ นที่ คงที่ กลุ่ มกิ จการไม่ มี ภาระผูกพันทาง กฎหมายหรื อภาระผูก พัน จากการอนุ มานที่ จะต้องจ่ายเงินเพิ่ม ถึ งแม้กองทุ นไม่มีสิ นทรั พย์เพียงพอที่จะจ่ายให้พนักงาน ทั้งหมดสาหรับการให้บริ การจากพนักงานทั้งในอดีตและปั จจุบนั กลุ่มกิจการจะจ่ายสมทบให้กับกองทุนส ารองเลี้ยงชี พ ซึ่ งบริ หารโดยผูจ้ ดั การกองทุน ภายนอกตามเกณฑ์และข้อกาหนดของ พระราชบัญญัติกองทุนสารองเลี้ยงชี พ พ.ศ. 2530 กลุ่มกิจการไม่มีภาระผูกพันที่จะจ่ายเงินเพิ่มอีกเมื่อได้จ่ายเงินสมทบไปแล้ว เงินสมทบจะถูกรับรู ้เป็ นค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ พนัก งานเมื่อ ถึงกาหนดชาระ ส าหรั บ เงิน สมทบจ่ ายล่ วงหน้าจะถูกรั บ รู ้ เป็ นสิ น ทรั พย์จนกว่าจะมีการได้รับ เงิน คื น หรื อ หักออกเมื่อครบกาหนดจ่าย สาหรับโครงการผลประโยชน์คือโครงการบาเหน็จบานาญที่ไม่ใช่โครงการสมทบเงิน ซึ่ งจะกาหนดจานวนเงินผลประโยชน์ ที่พนักงานจะได้รับเมื่อเกษียณอายุ โดยส่ วนใหญ่จะขึ้นอยูก่ บั หลายปัจจัย เช่น อายุ จานวนปี ที่ให้บริ การ และ ค่าตอบแทน หนี้ สินสาหรับโครงการผลประโยชน์จะรับรู ้ในงบแสดงฐานะการเงินด้วยมูลค่าปั จจุบนั ของภาระผูกพัน ณ วันที่สิ้นรอบ ระยะเวลารายงานหักด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ นทรัพย์โครงการ ภาระผูกพันนี้ คานวณโดยนักคณิ ตศาสตร์ ประกันภัยอิสระ ทุกปี ด้วยวิธีคิดลดแต่ละหน่ วยที่ประมาณการไว้ ซึ่ งมูลค่าปั จจุบนั ของโครงการผลประโยชน์จะประมาณโดยการคิดลด กระแสเงินสดออกในอนาคต โดยใช้อ ัตราผลตอบแทนในตลาดของพัน ธบัตรรั ฐบาล ซึ่ งเป็ นสกุลเงิน เดี ยวกับ สกุลเงิน ที่ จะจ่ ายภาระผูก พัน และวัน ครบกาหนดของพัน ธบัตรรั ฐ บาลใกล้เคี ยงกับ ระยะเวลาที่ ต้อ งช าระภาระผูกพัน กองทุ น บาเหน็จบานาญ กาไรและขาดทุนจากการวัดมูลค่าใหม่ที่เกิดขึ้นจากการปรับปรุ งจากประสบการณ์หรื อการเปลี่ยนแปลงในข้อสมมติฐาน จะต้องรับรู ้ในส่ วนของเจ้าของผ่านกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่นในงวดที่เกิดขึ้น ต้นทุนบริ การในอดีตจะถูกรับรู ้ทนั ทีในกาไรหรื อขาดทุน

39


145 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.16 สิ นทรัพย์ ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน สิ น ทรั พ ย์ท างการเงิ น ที่ ส าคัญ ซึ่ งได้แสดงในงบแสดงฐานะการเงิ น ประกอบด้วย เงิ น สดและรายการเที ยบเท่ าเงิ น สด ลูกหนี้ การค้าและลูกหนี้ อื่น เงินให้กยู้ ืมระยะสั้นแก่บริ ษทั ย่อย สิ นทรัพย์หมุนเวียนอื่น และสิ นทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น หนี้ สิน ทางการเงินที่ แสดงในงบแสดงฐานะการเงินประกอบด้วย เงิ นกู้ยืมระยะสั้ นจากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้ การค้าและเจ้าหนี้ อื่ น เงินกู้ยืมระยะสั้ นจากกิ จการที่ เกี่ ยวข้องกัน หนี้ สิ นหมุนเวียนอื่ น หนี้ สิ นตามสั ญญาเช่ าการเงิน และภาระผูกพันผลประโยชน์ พนักงาน ซึ่งนโยบายการบัญชีเฉพาะสาหรับรายการแต่ละรายการได้เปิ ดเผยแยกไว้ในแต่ละหัวข้อที่เกี่ยวข้อง บริ ษัท มี การท าสั ญ ญาแลกเปลี่ ยนเงิน ตราต่ างประเทศล่ ว งหน้า เพื่ อ ช่ วยป้ อ งกัน บริ ษ ัท จากความเคลื่ อ นไหวของอัต รา แลกเปลี่ยนด้วยการกาหนดอัตราที่ จะใช้ในการจ่ ายหนี้ สิ น ที่ เป็ นสกุล เงิน ต่ างประเทศ บริ ษ ัท ไม่รับ รู ้ สั ญญาแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศล่วงหน้าในงบการเงินในวันเริ่ มแรกและจะรับรู ้เมื่อครบกาหนดตามสัญญา 2.17 ประมาณการหนี้สิน - ทั่วไป ประมาณการหนี้ สินจะรับรู ้ก็ต่อเมื่อ กลุ่มกิจการมีภาระผูกพันในปั จจุบนั ตามกฎหมายหรื อตามข้อตกลงซึ่ งจัดทาไว้อนั เป็ น ผลสื บ เนื่ องมาจากเหตุการณ์ ในอดี ต ซึ่ งการชาระภาระผูกพันนั้นมีความเป็ นไปได้ค่อนข้างแน่ ว่าจะส่ งผลให้กลุ่มกิ จการ ต้องสู ญเสี ยทรัพยากรออกไปและสามารถประมาณการจานวนที่ตอ้ งจ่ายได้อย่างน่าเชื่อถือ ในกรณี ที่มีภาระผูกพันที่คล้ายคลึงกันหลายรายการ กลุ่มกิจการกาหนดความน่ าจะเป็ นที่กิจการจะสู ญเสี ยทรัพยากรเพื่อจ่าย ชาระภาระผูกพัน เหล่ านั้น โดยพิจารณาจากความน่ าจะเป็ นโดยรวมของภาระผูกพัน ทุ กประเภท แม้ว่าความเป็ นไปได้ ค่อนข้างแน่ที่กลุ่มกิจการจะสู ญเสี ยทรัพยากรเพื่อชาระภาระผูกพันบางรายการที่จดั อยูใ่ นประเภทเดียวกันจะมีระดับต่า กลุ่มกิจการจะวัดมูลค่าของจานวนประมาณการหนี้สิน โดยใช้มูลค่าปั จจุบนั ของรายจ่ายที่คาดว่าจะต้องนามาจ่ายชาระภาระผูกพัน โดยใช้อ ัตราก่ อ นภาษี ซ่ ึ งสะท้อนถึ งการประเมินสถานการณ์ ตลาดในปั จจุบ ันของมูลค่าของเงินตามเวลาและความเสี่ ยง เฉพาะของหนี้ สิ น ที่ ก าลังพิจารณาอยู่ การเพิ่มขึ้ น ของประมาณการหนี้ สิ น เนื่ อ งจากมูล ค่ าของเงิน ตามเวลา จะรั บ รู ้ เป็ น ดอกเบี้ยจ่าย 2.18 ทุนเรื อนหุ้น หุ ้นสามัญและหุ ้นบุ ริมสิ ทธิ ชนิ ดไถ่ ถอนไม่ได้ (ถ้ามี ) ที่ กลุ่ มกิ จการสามารถก าหนดการจ่ ายเงิ นปั นผลได้อย่างอิ สระจะจัด ประเภทไว้เป็ นส่ วนของเจ้าของ หุน้ ประเภทอื่นซึ่งรวมถึงหุน้ บุริมสิ ทธิ์ชนิดบังคับไถ่ถอนจะจัดประเภทไว้เป็ นหนี้สิน ต้นทุนส่ วนเพิ่มที่เกี่ยวข้องกับการออกหุ ้นใหม่หรื อการออกสิ ทธิในการซื้ อหุ ้นซึ่ งสุ ทธิ จากภาษีจะถูกแสดงในส่ วนของเจ้าของ โดยนาไปหักจากสิ่ งตอบแทนที่ได้รับจากการออกตราสารทุนดังกล่าว กรณี ที่บริ ษทั ใดก็ตามในกลุ่มกิจการซื้อคืนหุ ้นสามัญของบริ ษทั กลับคืน (หุ ้นทุนซื้อคืน) สิ่ งตอบแทนที่จ่ายไปรวมถึงต้นทุน เพิ่ม เติ มที่ เกี่ ยวข้อ งโดยตรง (สุ ท ธิ จากภาษี เงิ นได้ จะรั บ รู ้ เป็ นหุ ้น ทุ น ซื้ อ คื น และแสดงเป็ นรายการหักจากยอดรวมของ ส่ วนของเจ้าของของบริ ษ ัทจนกว่าหุ ้นทุนซื้ อคืนดังกล่าวจะถูกยกเลิ กไปหรื อจาหน่ ายออกไปใหม่ เมื่อมีการจาหน่ ายหุ ้นทุ น ซื้ อคืนออกไปใหม่ สิ่ งตอบแทนใดๆ ที่ได้รับจากการขายหรื อนาหุ ้นทุนซื้ อคืนออกจาหน่ ายใหม่สุทธิ จากต้นทุนเพิ่มเติมที่ เกี่ยวข้องโดยตรงสุ ทธิจากภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้อง จะแสดงรวมไว้ในส่ วนของเจ้าของ 40


146 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.19 การรับรู้ รายได้ รายได้ประกอบด้วยมูลค่ายุติธรรมที่จะได้รับจากการขายสิ นค้าและบริ การซึ่ งเกิดขึ้นจากกิจกรรมตามปกติของกลุ่มกิจการ รายได้ จะแสดงด้วยจ านวนเงิ นสุ ทธิ จากภาษี ขาย การรั บคื น เงิ นคื นและส่ วนลด โดยไม่ รวมรายการขายและการให้ บริ การภายใน กลุ่มกิจการสาหรับงบการเงินรวม 2.19.1 รายได้จากการขายสิ นค้า รายได้จากการขายสิ นค้ารับรู ้เมื่อผูซ้ ้ือรับโอนความเสี่ ยงและผลตอบแทนที่เป็ นสาระสาคัญของความเป็ นเจ้าของสิ นค้า 2.19.2 รายได้จากการให้บริ การ ก) ข) ค) ง) จ) ฉ) ช) ซ)

รายได้จากการบริ การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์จะรับรู ้เป็ นรายได้เมื่อได้ให้บริ การแล้วทางสื่ อโทรทัศน์ และสื่ อวิทยุ รายได้จากการรับจ้าง รับรู ้เป็ นรายได้เมื่อมีการส่ งมอบงาน รายได้จากการผลิตกิจกรรมรับรู ้เป็ นรายได้ตามสัดส่ วนงานที่ให้บริ การเสร็ จ รายได้จากการให้เช่าช่วงสถานีโทรทัศน์รับรู ้เป็ นรายได้ตามระยะเวลาของการให้เช่าช่วง รายได้จากการจัดคอนเสิ ร์ตรับรู ้เป็ นรายได้เมื่อมีการแสดงแล้ว รายได้ค่าบริ หารศิลปิ นรับรู ้เป็ นรายได้เมื่อได้ให้บริ การแล้ว รายได้ธุรกิจดิจิตอลรับรู ้เมื่อมีการให้บริ การดาวน์โหลดเพลงแล้ว รายได้จากการบริ หารจัดการรับรู ้เป็ นรายได้เมื่อได้ให้บริ การแล้ว

2.19.3 รายได้ค่าลิขสิ ทธิ์ ก) ข)

รายได้จากค่าลิขสิ ทธิ์เพลงรับรู ้เป็ นรายได้เมื่อมีการส่ งมอบหรื อรับรู ้รายได้ตามวิธีเส้นตรงตามอายุสัญญา รายได้จากการขายลิขสิ ทธิ์ภาพยนตร์รับรู ้เป็ นรายได้เมื่อมีการส่ งมอบ

2.19.4 รายได้ดอกเบี้ย รายได้ดอกเบี้ยรับรู ้ตามเกณฑ์สัดส่ วนของเวลาโดยคานึ งถึงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริ งของช่วงเวลาจนถึงวันครบอายุ และพิจารณาจากจานวนเงินต้นที่เป็ นยอดคงเหลือในบัญชีสาหรับการบันทึกค้างรับของกลุ่มกิจการ 2.19.5 เงินปันผลรับ เงินปันผลรับถือเป็ นรายได้เมื่อบริ ษทั มีสิทธิในการรับเงินปันผล

41


147 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 2

นโยบายการบัญชี (ต่อ) 2.20 ต้ นทุนทางการเงิน ต้นทุนทางการเงินประกอบด้วย ดอกเบี้ยจ่ายและค่าธรรมเนี ยมจากเงินกูย้ มื ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน และจากบริ ษทั ย่อย และดอกเบี้ยจ่ายจากหนี้สินภายใต้สัญญาเช่าการเงิน 2.21 การจ่ ายเงินปันผล เงิน ปั น ผลและเงิน ปั น ผลระหว่างกาลที่จ่ายบันทึ กในงบการเงินรวมและงบการเงิน เฉพาะกิ จการในรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งที่ประชุมผูถ้ ือหุน้ และกรรมการของกลุ่มกิจการที่เกี่ยวข้องได้อนุมตั ิการจ่ายเงินปันผลตามลาดับ 2.22 ข้ อมูลจาแนกตามส่ วนงาน ส่ วนงานด าเนิ น งานได้ถู ก รายงานในลักษณะเดี ยวกับ รายงานภายในที่ น าเสนอให้ผูม้ ี อ านาจตัด สิ น ใจสู งสุ ดด้านการ ดาเนิ นงาน ผูม้ ีอานาจตัดสิ นใจสู งสุ ดด้านการดาเนิ นงานหมายถึงบุคคลที่มี หน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรและประเมินผล การปฏิบตั ิงานของส่ วนงานดาเนินงาน ซึ่งพิจารณาว่าคือ คณะกรรมการบริ ษทั ที่ทาการตัดสิ นใจเชิงกลยุทธ์

3

การจัดการความเสี่ ยงทางการเงิน 3.1

ปัจจัยความเสี่ ยงทางการเงิน กิ จกรรมของกลุ่มกิ จการย่อมมีความเสี่ ยงทางการเงินที่ หลากหลายซึ่ งได้แก่ ความเสี่ ยงจากตลาด (รวมถึงความเสี่ ยงจาก อัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ ยงด้านมูลค่ายุติธรรมอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ ยงด้านกระแสเงินสด อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย และความเสี่ ยงด้านราคา) ความเสี่ ยงด้านการให้สินเชื่ อ และความเสี่ ยงด้านสภาพคล่อง แผนการจัด การความเสี่ ย งโดยรวมของกลุ่ ม กิ จ การจึ งมุ่ ง เน้ น ความผัน ผวนของตลาดการเงิ น และแสวงหาวิธี ก ารลด ผลกระทบที่ทาให้เสี ยหายต่อผลการดาเนินงานทางการเงินของกลุ่มกิจการให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่เป็ นไปได้ การจัดการความเสี่ ยงดาเนิ นงานโดยฝ่ ายบริ หารเงินของกลุ่มกิจการ เป็ นไปตามนโยบายที่อนุ มตั ิโดยคณะกรรมการบริ ษทั ส่ วนงานบริ หารเงินของกลุ่มกิจการจะชี้ประเด็น ประเมิน และป้ องกันความเสี่ ยงทางการเงินด้วยการร่ วมมือกันทางานอย่าง ใกล้ชิดกับหน่ วยปฏิบตั ิงานต่างๆ ภายในกลุ่มกิ จการ คณะกรรมการจัดการความเสี่ ยงจะกาหนดหลักการโดยภาพรวมเพื่อ จัดการความเสี่ ยงและนโยบายที่เกี่ยวข้องรวมถึงนโยบายสาหรับความเสี่ ยงที่เฉพาะเจาะจง เช่น ความเสี่ ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ ความเสี่ ยงอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ ยงการให้สินเชื่อ การใช้ตราสารทั้งที่เป็ นอนุ พนั ธ์ทางการเงินและไม่ใช่ อนุพนั ธ์ทางการเงินและการลงทุนโดยใช้สภาพคล่องส่ วนเกินในการจัดการความเสี่ ยง 3.1.1 ความเสี่ ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน กลุ่มกิจการมีความเสี่ ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเนื่ องจากบริ ษทั มีรายการบางรายการเป็ นเงินตรา ต่างประเทศ บริ ษทั ได้เข้าทาสัญญาซื้ อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพื่อป้ องกันความเสี่ ยงในอนาคตที่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 บริ ษทั ไม่มีสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า คงเหลือ 42


148 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 3

การจัดการความเสี่ ยงทางการเงิน (ต่อ) 3.1

ปัจจัยความเสี่ ยงทางการเงิน (ต่อ) 3.1.2 ความเสี่ ยงจากอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ ยงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเกิดจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่ งความผันผวนดังกล่าวจะส่ งผลกระทบ ต่อผลการดาเนิ นงานและกระแสเงินสดของบริ ษทั ในอนาคต ซึ่ งเกี่ ยวเนื่ องโดยตรงกับบัญชี เงินฝากธนาคารและ เงินกู้ยืมจากธนาคารอย่างไรก็ตาม กลุ่มกิจการไม่ได้ใช้เครื่ องมือทางการเงินเพื่อลดความเสี่ ยงจากการผันผวนของ อัตราดอกเบี้ยแต่อย่างใด เนื่องจากฝ่ ายบริ หารมีความเห็นว่ากลุ่มกิจการไม่มีความเสี่ ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่จะกระทบ ต่อกลุ่มกิจการอย่างเป็ นสาระสาคัญ 3.1.3 ความเสี่ ยงด้านการให้สินเชื่อ กลุ่มกิ จการไม่มีก ารกระจุกตัวอย่างมีนัยสาคัญของความเสี่ ยงทางด้านสิ น เชื่ อ กลุ่มกิ จการมีนโยบายที่เหมาะสม เพื่ อ ท าให้เชื่ อ มั่น ได้ว่าได้ขายสิ น ค้าและให้บ ริ การแก่ ลู กค้าที่ มี ป ระวัติสิ น เชื่ อ อยู่ในระดับ ที่ เหมาะสม คู่ สั ญ ญา ในอนุ พนั ธ์ทางการเงินและรายการเงินสดได้เลือกที่จะทารายการกับ สถาบัน การเงิน ที่มีระดับ ความน่ าเชื่ อถือสู ง กลุ่มกิจการมีนโยบายจากัดวงเงินธุรกรรมสิ นเชื่อกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งอย่างเหมาะสม 3.1.4 ความเสี่ ยงด้านสภาพคล่อง จานวนเงินสดที่มีอย่างเพียงพอและเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีตลาดรองรับย่อมแสดงถึงการจัดการความเสี่ ยงของ สภาพคล่อ งอย่างรอบคอบ ความสามารถในการหาแหล่ งเงินทุ น แสดงให้เห็ น ได้จากการที่ มีวงเงิน อานวยความ สะดวกในการกูย้ ืมที่ได้มีการตกลงไว้แล้วอย่างเพียงพอ ส่ วนงานบริ หารเงินของกลุ่มกิจการได้ต้ งั เป้ าหมายว่าจะใช้ ความยืดหยุ่นในการระดมเงินทุนโดยการรักษาวงเงินสิ นเชื่อที่ตกลงไว้ให้เพียงพอที่จะหามาได้เนื่ องจากลักษณะ ธรรมชาติของธุรกิจที่เป็ นฐานของกลุ่มกิจการมีพลวัตเปลี่ยนแปลงได้

3.2

การประมาณมูลค่ ายุติธรรม ความแตกต่างของระดับข้อมูลสามารถแสดงได้ดงั นี้  

ข้อมูลระดับ 1 ได้แก่ ราคาเสนอซื้อขาย (ไม่ตอ้ งปรับปรุ ง) ในตลาดที่มีสภาพคล่องสาหรับสิ นทรัพย์หรื อหนี้สินอย่างเดียวกัน ข้อมูลระดับ 2 ได้แก่ ข้อมูลอื่นนอกเหนื อจากราคาเสนอซื้ อขายซึ่ งรวมอยู่ในข้อมูลระดับ 1 ทั้งที่สามารถสังเกตได้โดยตรง (ได้แก่ ข้อมูลราคาตลาด) หรื อโดยอ้อม (ได้แก่ ข้อมูลที่คานวณมาจากราคาตลาด) สาหรับสิ นทรัพย์น้ นั หรื อหนี้สินนั้น ข้อมูลระดับ 3 ได้แก่ ข้อมูลสาหรั บสิ นทรั พย์หรื อหนี้ สินซึ่ งไม่ได้มาจากข้อมูลที่สามารถสังเกตได้จากตลาด (ข้อมูลที่ไม่ สามารถสังเกตได้)

ข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่ายุติธรรมของเงินกูย้ มื ระยะยาวจากสถาบันการเงินอยูใ่ นหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อที่ 23 43


149 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 4

ประมาณการทางบัญชีที่สาคัญ ข้ อสมมติฐานและการใช้ ดุลยพินิจ การประมาณการ ข้อสมมติฐานและการใช้ดุลยพินิจ ได้มีการประเมินทบทวนอย่างต่อเนื่ อง และอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ในอดีต และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่เชื่อว่ามีเหตุผลในสถานการณ์ขณะนั้น กลุ่มกิจการมีการประมาณการทางบัญชีและใช้ขอ้ สมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอนาคต ผลของประมาณการทางบัญชีอาจไม่ตรง กับ ผลที่ เกิ ดขึ้ น จริ ง ประมาณทางการบัญชี ที่ ส าคัญ และข้อ สมมติ ฐานที่ มีความเสี่ ยงอย่างเป็ นสาระส าคัญ ที่ อ าจเป็ นเหตุ ให้เกิ ด การปรับปรุ งยอดคงเหลือของสิ นทรัพย์และหนี้สินในรอบระยะเวลาบัญชีหน้า มีดงั นี้ (ก)

ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สิ นทรั พย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เกิ ดจากผลแตกต่างชั่วคราวบางรายการซึ่ งมีความเป็ นไปได้ค่อนข้างแน่ ที่จะใช้สิท ธิ ประโยชน์ทางภาษี โดยการประมาณการของผูบ้ ริ หาร ซึ่ งมีขอ้ สมมติฐานจากการคาดการณ์ ผลกาไรที่คาดว่าจะเกิ ดขึ้นในอนาคต และปรั บปรุ งด้วยปั จจัยความผันผวนภายนอกอย่างอื่นที่คาดว่าจะกระทบต่อประมาณผลกาไรที่คาดว่าจะเกิ ดขึ้น รวมทั้ง การพิจารณาการใช้ผลขาดทุนทางภาษีในอดีต ซึ่งผูบ้ ริ หารได้พิจารณาด้วยหลักความระมัดระวังรอบคอบ

(ข)

ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน มูลค่าปั จจุบนั ของภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานขึ้นอยู่กบั หลายปั จจัยที่ใช้ในการคานวณตามหลักคณิ ตศาสตร์ ประกันภัย โดยมีขอ้ สมมติฐานหลายตัว รวมถึงข้อสมมติฐานเกี่ยวกับอัตราคิดลด การเปลี่ยนแปลงของข้อสมมติฐานเหล่านี้จะส่ งผลกระทบ ต่อมูลค่าของภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน กลุ่มกิจการได้พิจารณาอัตราคิดลดที่เหมาะสมในแต่ละปี ซึ่งได้แก่อตั ราดอกเบี้ยที่ควรจะใช้ในการกาหนดมูลค่าปัจจุบนั ของ ประมาณการกระแสเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน ในการพิจารณาอัตราคิดลดที่เหมาะสม กลุ่มกิ จการพิจารณาใช้ อัตราผลตอบแทนในตลาดของพันธบัตรรั ฐบาล ซึ่ งเป็ นสกุลเงินเดียวกับสกุลเงิน ที่ตอ้ งจ่ายชาระ ผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุ และมีอายุครบกาหนดใกล้เคียงกับระยะเวลาที่ตอ้ งจ่ายชาระภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน ที่เกี่ยวข้อง ข้อสมมติฐานหลักอื่นๆสาหรับ ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานอ้างอิงกับสถานการณ์ปั จจุบนั ในตลาด ข้อมูลเพิ่มเติม เปิ ดเผยในหมายเหตุ 24

(ค)

ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ และสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน ในการบันทึกและวัดมูลค่าของใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์และสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน ณ วันที่ได้มา ตลอดจนการทดสอบการด้อยค่าในภายหลัง ฝ่ ายบริ หารจาเป็ นต้องประมาณการกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต จากสิ นทรัพย์หรื อหน่ วยของสิ นทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด รวมทั้งการเลือกอัตราคิดลดที่เหมาะสมในการคานวณหามูลค่าปั จจุบนั ของกระแสเงินสดนั้นๆ

44


150 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 5

การจัดการความเสี่ ยงในส่ วนของทุน วัตถุประสงค์ของกลุ่มกิ จการในการบริ หารทุนของกลุ่มกิ จการนั้นเพื่อดารงไว้ซ่ ึ งความสามารถในการดาเนิ นงานอย่างต่อเนื่ อ ง ของกลุ่มกิจการ เพื่อสร้างผลตอบแทนต่อผูถ้ ือหุ ้นและเป็ นประโยชน์ต่อผูท้ ี่มีส่วนได้เสี ยอื่น และเพื่อดารงไว้ซ่ ึ งโครงสร้างของทุน ที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนทางการเงินของทุน ในการดารงไว้หรื อปรับโครงสร้างของทุน กลุ่มกิจการอาจปรับนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้กบั ผูถ้ ือหุ ้น การคืนทุนให้แก่ผถู ้ ือหุ ้น การออกหุน้ ใหม่ หรื อการขายทรัพย์สินเพื่อลดภาระหนี้สิน

6

การจัดประเภทรายการใหม่ งบกาไรขาดทุ นเบ็ดเสร็ จรวมและในระหว่างปี สิ้ น สุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ที่นามาแสดงเปรี ยบเทียบไว้มีการจัดประเภท รายการใหม่เพื่อให้เปรี ยบเทียบได้กบั การแสดงรายการที่เปลี่ยนแปลงไปในปี ปัจจุบนั เท่าที่จาเป็ นดังนี้ งบการเงินรวม

งบกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสาหรั บปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 รายได้ รายได้อื่น ค่ าใช้ จ่าย ต้นทุนการให้บริ การ

ตามที่เคยรายงานไว้ บาท

เพิม่ ขึน้ (ลดลง) จากการ จัดประเภทใหม่ บาท

ภายหลังการ จัดประเภทใหม่ บาท

40,906,581

(14,261,983)

26,644,598

(1,667,942,020)

14,261,983

(1,653,680,037)

45


151 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 7

เงินสดและรายการเทียบเท่ าเงินสด

เงินสดในมือ เงินฝากธนาคาร - ประเภทออมทรัพย์ - ประเภทกระแสรายวัน - ประเภทฝากประจา (ระยะเวลา 3 เดือน)

งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

3,555,202 337,275,597 (1,203,840)

4,497,180 222,543,132 3,770,696

1,095,110 167,876,740 (459,869)

1,904,646 27,348,409 15,414

12,998 339,639,957

12,823 230,823,831

168,511,981

29,268,469

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เงินฝากธนาคารประเภทออมทรั พย์มีอตั ราดอกเบี้ยร้อยละ 0.10 ถึงร้อยละ 0.75 ต่อปี (พ.ศ. 2560 : 0.10 ถึงร้อยละ 0.63 ต่อปี ) ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เงินฝากธนาคารประเภทฝากประจา (ระยะเวลา 3 เดือน) มีอตั ราดอกเบี้ยร้อยละ 1.00 ต่อปี (พ.ศ. 2560 : ร้อยละ 1.25 ต่อปี )

46


152 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 8

ลูกหนี้การค้ าและลูกหนี้อื่น (สุ ทธิ)

หมายเหตุ ลูกหนี้การค้า - กิจการอื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ลูกหนี้อื่น - ผูช้ าระบัญชี - กิจการอื่น รายได้คา้ งรับ - กิจการอื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินทดรองจ่าย - พนักงาน - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ดอกเบี้ยค้างรับ - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า - กิจการอื่น หัก ค่าเผือ่ หนี้สงสัยจะสู ญ - ลูกหนี้การค้า - กิจการอื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - ลูกหนี้อื่น - กิจการอื่น - รายได้คา้ งรับ - กิจการอื่น - ดอกเบี้ยค้างรับ - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

34 ข)

34 ข) 34 ข) 34 ข)

34 ข)

งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

504,972,145 1,729,306 47,199,157 2,738,945 -

560,343,541 26,065,280 5,075,496 54,495,039 1,758,559 -

163,707,932 431,165,260 526,836 17,428,522 4,642,970 732,013 302,974

109,208,279 258,906,786 422,508 24,033,236 80,371,471 44,433 263,679

2,489,884 45,843,420 604,972,857

2,489,884 39,211,808 689,439,607

10,280,552 26,580,710 655,367,769

9,841,747 22,395,194 505,487,333

(42,383,287) (1,469,898) (5,461,398)

(58,929,725) (1,469,898) (4,247,728)

(35,363,437) (526,767) (414,500) (3,879,474)

(36,482,840) (414,500) (4,151,750)

(2,489,884) (51,804,467)

(2,489,884) (67,137,235)

(3,528,243) (43,712,421)

(3,410,065) (44,459,155)

553,168,390

622,302,372

611,655,348

461,028,178

47


153 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 8

ลูกหนี้การค้ าและลูกหนี้อื่น (สุ ทธิ) (ต่อ) ยอดคงเหลือของลูกหนี้การค้าแยกตามอายุหนี้ที่คา้ งชาระได้ดงั นี้ งบการเงินรวม

กิจการอื่น ลูกหนี้ที่ยงั ไม่ถึงกาหนดชาระ เกินกว่ากาหนดเวลาชาระหนี้ น้อยกว่า 3 เดือน 3 - 6 เดือน 6 - 12 เดือน เกินกว่า 12 เดือน

งบการเงินเฉพาะกิจการ

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

324,274,299

301,704,934

71,445,195

31,969,061

131,994,710 3,108,366 660,399 44,934,371 504,972,145

188,059,380 3,085,338 6,547,232 60,946,657 560,343,541

52,528,032 2,011,600 7,500 37,715,605 163,707,932

36,864,249 16,211 422,926 39,935,832 109,208,279

งบการเงินรวม

กิจการที่เกีย่ วข้ องกัน ลูกหนี้ที่ยงั ไม่ถึงกาหนดชาระ เกินกว่ากาหนดเวลาชาระหนี้ น้อยกว่า 3 เดือน 3 - 6 เดือน 6 - 12 เดือน เกินกว่า 12 เดือน

งบการเงินเฉพาะกิจการ

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

-

-

163,094,566

123,962,276

-

-

75,014,947 126,369,777 66,685,970 431,165,260

82,490,152 50,422,640 2,031,718 258,906,786

48


154 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 9

สิ นค้ าคงเหลือ (สุ ทธิ) งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท สิ นค้าสาเร็ จรู ปประเภท เพลงในสื่ อ ซีดี วีซีดี ดีวดี ี และ อื่น ๆ สิ นค้าอุปโภคบริ โภค สิ นค้าของที่ระลึก รวมสิ นค้าสาเร็ จรู ป งานระหว่างทา : รายการทีวี คอนเสิ ร์ตและกิจกรรมอื่นๆ รวมงานระหว่างทา วัตถุดิบ กล่องรับสัญญาณดาวเทียม เงินจ่ายล่วงหน้าค่าสิ นค้า อื่น ๆ รวม สิ นค้าคงเหลือ หัก ค่าเผือ่ สิ นค้าล้าสมัย สิ นค้าคงเหลือ (สุ ทธิ)

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

599,592 273,722,056 3,176,879 277,498,527

599,592 298,461,403 1,039,683 300,100,678

599,592 3,176,879 3,776,471

599,592 1,039,683 1,639,275

127,384 5,657,218 5,784,602

1,511,022 4,138,027 5,649,049

91,666 103,336 195,002

130,000 1,691,024 1,821,024

1,504,765 119,697 27,428,542 1,620 312,337,753 (27,552,085) 284,785,668

1,210,269 7,832,013 11,197,182 574,201 326,563,392 (10,927,981) 315,635,411

8,798,987 12,770,460 (813,918) 11,956,542

3,460,299 (813,918) 2,646,381

ต้นทุนของสิ นค้าคงเหลือที่รับรู ้ เป็ นค่าใช้จ่ายและรวมอยู่ในต้นทุนขายในงบการเงินรวมและงบการเงิน เฉพาะกิจการเป็ นจานวน 713,479,826 บาท และ 5,484,626 บาท (พ.ศ. 2560 : 519,527,598 บาท และ 271,286 บาท) ตามลาดับ บริ ษัทกลับรายการค่าเผื่อสิ นค้าคงเหลือที่เคยรั บรู ้ ในงบการเงินรวมเป็ นจานวน 8,042,978 บาท และตั้งเพิ่มค่าเผื่อสิ นค้าคงเหลื อใน งบการเงิ น รวมเป็ นจานวน 24,667,082 บาท (พ.ศ. 2560 : บริ ษทั กลับรายการค่าเผื่อสิ นค้าคงเหลือที่ เคยรั บรู ้ ในงบการเงินรวมเป็ น จานวน 47,159,453 บาท และตั้งเพิ่มค่าเผื่อสิ นค้าคงเหลือในงบการเงินเฉพาะกิจการเป็ นจานวน 43,227 บาท) จานวนค่าเผื่อที่ต้ งั เพิ่ม และกลับรายการได้รวมอยูใ่ นต้นทุนขายในงบกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จ

49


155 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 10

สิ นทรัพย์ หมุนเวียนอื่น (สุ ทธิ) งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท เงินมัดจา เงินประกัน อื่น ๆ หัก ค่าเผือ่ การด้อยค่า สิ นทรัพย์หมุนเวียนอื่น (สุ ทธิ)

11

1,245,200 2,926,572 801,919 4,973,691 (40,000) 4,933,691

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

912,001 371,202 1,107,161 2,390,364 (114,488) 2,275,876

15,200 9,345 544,047 568,592 (40,000) 528,592

12,000 293,539 429,304 734,843 (114,488) 620,355

เงินลงทุนในบริษัทย่ อย (สุ ทธิ) เงินลงทุนในบริ ษทั ย่อย ซึ่ งบันทึกโดยวิธีราคาทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย สั ดส่ วนการถือหุ้น ชื่ อบริษัท

พ.ศ. 2561 ร้ อยละ

พ.ศ. 2560 ร้ อยละ

ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย

100 100 100 100

100 100 100 100

ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย

100 100 100

100 100 100

ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย

100 76

100 100 100 65 100 76

ประเทศไทย ประเทศไทย

83 100

83 100

ลักษณะธุรกิจ

จดทะเบียนใน

บริ ษทั คูลลิซ่ ึม จากัด บริ ษทั ย๊าค จากัด บริ ษทั อาร์ อัลไลแอนซ์ จากัด

ให้บริ การสื่ อโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล จาหน่ายผลิตภัณฑ์ตามช่องทางค้าปลีกต่าง ๆ จัดเก็บค่าลิขสิ ทธ์ ให้บริ การสื่ อโทรทัศน์ในระบบดาวเทียม สื่ อโฆษณา และผลิตรายการโทรทัศน์ ให้บริ การสื่ อวิทยุ ผลิตรายการโทรทัศน์ รับจ้างจัดกิจกรรม

บริษัทย่ อยทีห่ ยุดดาเนินธุรกิจ บริ ษทั บลูแฟร์รี่ จากัด บริ ษทั เวรี่ เวลล์ จากัด บริ ษทั อะลาดิน เฮ้าส์ จากัด บริ ษทั อาร์เอส อินสโตร์ มีเดีย จากัด บริ ษทั กู๊ดไลฟ์ กรุ๊ ป จากัด บริ ษทั อาร์.เอส. สปอร์ตมาสเตอร์ จากัด บริ ษทั อาร์เอส อินเตอร์ เนชัน่ แนล บรอดคาสติง้ แอนด์ สปอร์ ต แมเนจเม้นท์ จากัด บริ ษทั เอส - วัน สปอร์ต จากัด

รับจ้างจัดกิจกรรม รับจ้างจัดกิจกรรม รับจ้างจัดกิจกรรม รับจ้างจัดกิจกรรม รับจ้างจัดกิจกรรม รับจ้างผลิตรายการโทรทัศน์และกิจกรรม ให้บริ การและรับจ้างจัดกิจกรรม ด้านการกีฬา ให้บริ การเช่าสนามฟุตบอล

บริษัทย่ อยทีด่ าเนินธุรกิจ บริ ษทั อาร์.เอส.เทเลวิชนั่ จากัด บริ ษทั ไลฟ์ สตาร์ จากัด บริ ษทั จัดเก็บลิขสิ ทธิ์ ไทย จากัด บริ ษทั บันเทิง วาไรตี้ จากัด

50


11

รวม

บริษัทย่ อยทีด่ าเนินธุรกิจ บริ ษทั อาร์.เอส.เทเลวิชนั่ จากัด บริ ษทั ไลฟ์ สตาร์ จากัด บริ ษทั จัดเก็บลิขสิ ทธิ์ ไทย จากัด บริ ษทั บันเทิง วาไรตี้ จากัด บริ ษทั คูลลิซ่ ึม จากัด บริ ษทั ย๊าค จากัด บริ ษทั อาร์ อัลไลแอนซ์ จากัด 300,000,000 200,000,000 5,000,000 1,000,000 25,000,000 2,500,000 80,000,000 613,500,000

300,000,000 200,000,000 5,000,000 1,000,000 25,000,000 2,500,000 80,000,000 613,500,000

ทุนชาระแล้ ว พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท 300,209,300 199,999,300 4,999,400 852,193 5,199,993 2,499,300 80,000,000 593,759,486

300,209,300 199,999,300 4,999,400 852,193 5,199,993 2,499,300 80,000,000 593,759,486

วิธีราคาทุน พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

เงินลงทุนในบริ ษทั ย่อย ซึ่งบันทึกโดยวิธีราคาทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และพ.ศ. 2560 ประกอบด้วย (ต่อ)

เงินลงทุนในบริษัทย่อย (สุ ทธิ) (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

(852,193) (76,139,839) (76,992,032)

(76,078,180) (76,078,180)

งบการเงินเฉพาะกิจการ ค่ าเผื่อการด้ อยค่ า พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท 300,209,300 199,999,300 4,999,400 5,199,993 2,499,300 3,860,161 516,767,454

300,209,300 199,999,300 4,999,400 852,193 5,199,993 2,499,300 3,921,820 517,681,306

มูลค่ าตามบัญชี พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท 226,599,207 13,823,340 9,674,807 18,074,494 268,171,848

51

107,599,623 21,829,880 4,853,903 199,309,419 18,979,684 352,572,509

เงินปันผลรับ (หมายเหตุ 28) พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

156 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1


11

9,375,000 15,000,000 109,875,000 723,375,000

9,375,000 15,000,000 65,875,000 679,375,000

รวมทั้งสิ้น

* เลิกกิจการ ** อยูภ่ ายใต้กระบวนการล้มละลายและได้พิทกั ษ์ทรัพย์เด็ดขาด

5,000,000 4,000,000 5,000,000 30,000,000 37,000,000 4,500,000

37,000,000 4,500,000

บริษัทย่ อยทีห่ ยุดดาเนินธุรกิจ บริ ษทั บลูแฟร์รี่ จากัด* บริ ษทั เวรี่ เวลล์ จากัด* บริ ษทั อะลาดิน เฮ้าส์ จากัด* บริ ษทั อาร์เอส อินสโตร์ มีเดีย จากัด* บริ ษทั กู๊ดไลฟ์ กรุ๊ ป จากัด บริ ษทั อาร์.เอส. สปอร์ตมาสเตอร์ จากัด บริ ษทั อาร์เอส อินเตอร์เนชัน่ แนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเม้นท์ จากัด บริ ษทั เอส - วัน สปอร์ต จากัด** รวม

ทุนชาระแล้ ว พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

830,815,111

167,812,500 33,800,530 237,055,625

32,775,000 2,667,595

863,323,004

167,812,500 33,800,530 269,563,518

4,009,993 3,999,300 4,999,300 19,499,300 32,775,000 2,667,595

วิธีราคาทุน พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

เงินลงทุนในบริ ษทั ย่อย ซึ่งบันทึกโดยวิธีราคาทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย (ต่อ)

เงินลงทุนในบริษัทย่อย (สุ ทธิ) (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

(296,308,108)

(156,809,468) (33,800,530) (219,316,076)

(26,038,483) (2,667,595)

(307,413,750)

(156,874,257) (33,800,530) (231,335,570)

(11,996,774) (25,996,414) (2,667,595)

งบการเงินเฉพาะกิจการ ค่ าเผื่อการด้ อยค่ า พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

534,507,003

11,003,032 17,739,549

6,736,517 -

555,909,254

10,938,243 38,227,978

4,009,993 3,999,300 4,999,300 7,502,526 6,778,586 -

มูลค่ าตามบัญชี พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

268,171,848

-

-

52

355,556,461

2,394,055 2,983,952

589,897 -

เงินปันผลรับ (หมายเหตุ 28) พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

157 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )


158 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 11

เงินลงทุนในบริษัทย่ อย (สุ ทธิ) (ต่อ) เงินลงทุนในบริ ษทั ย่อย ซึ่งบันทึกโดยวิธีราคาทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย (ต่อ) บริ ษทั ย่อยดังกล่าวข้างต้นได้รวมอยู่ในการจัดทางบการเงินรวมของกลุ่มกิ จการ สัดส่ วนของสิ ทธิ ในการออกเสี ยงในบริ ษทั ย่อย โดยบริ ษทั ใหญ่ไม่แตกต่างจากสัดส่ วนที่ถือหุน้ สามัญ บริ ษทั ใหญ่ไม่ได้ถือหุน้ บุริมสิ ทธิของบริ ษทั ย่อยที่รวมอยูใ่ นกิจการ -

บริ ษทั อาร์เอส อินเตอร์เนชัน่ แนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเม้นท์ จากัด บริ ษทั กู๊ดไลฟ์ กรุ๊ ป จากัด และบริ ษทั อาร์ .เอส. สปอร์ ตมาสเตอร์ จากัด เป็ นบริ ษทั ย่อยที่มีส่วนได้เสี ยที่ไม่มีอานาจควบคุมไม่เป็ นสาระสาคัญ ดังนั้น บริ ษ ัท จึงไม่ได้เปิ ดเผย ข้อมูลทางการเงินโดยสรุ ปของบริ ษทั ย่อยดังกล่าว

บริ ษทั เอส - วัน สปอร์ ต จากัด เป็ นบริ ษทั ย่อยที่ อ ยู่ภายใต้กระบวนการล้มละลายและได้ถูกพิทกั ษ์ท รั พย์เด็ดขาด ดังนั้น ข้อ มูล ทางการเงินของบริ ษทั ย่อยนี้ไม่ได้รวมอยูใ่ นงบการเงินรวม รายการเคลื่อนไหวของเงินลงทุนในบริ ษทั ย่อยสาหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 มีดงั นี้ -

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ที่ประชุมวิสามัญผูถ้ ือหุ ้นของบริ ษทั บลูแฟร์ รี่ จากัด บริ ษทั เวรี่ เวลล์ จากัด และบริ ษทั อะลาดิน เฮ้าส์ จากัด ได้มีมติอนุ มตั ิให้เลิกบริ ษทั โดยให้มีผลตั้งแต่วนั ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็ นต้นไป และบริ ษทั ทั้ง 3 แห่ ง ได้แจ้ง ขอยกเลิกกิจการกับกระทรวงพาณิ ชย์แล้วเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 และต่อมาเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561 บริ ษทั อาร์ เอส อินสโตร์ มีเดีย จากัด และเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 บริ ษ ัท บลูแฟร์ รี่ จากัด บริ ษ ัท เวรี่ เวลล์ จากัด และบริ ษ ัท อะลาดิน เฮ้าส์ จากัด ได้จดทะเบียนขอยกเลิกกิจการกับกระทรวงพาณิ ชย์ ดังนั้น นับตั้งแต่วนั ที่จดทะเบียนยกเลิกกิจการข้อมูล ทางการเงินของบริ ษทั ย่อยทั้ง 4 แห่ งนี้ ไม่ได้รวมอยูใ่ นงบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ปั จจุบนั บริ ษทั ทั้ง 4 แห่ ง ได้ชาระบัญชีเสร็ จสิ้ นแล้ว รายการเคลื่อนไหวของเงินลงทุนในบริ ษทั ย่อยที่เลิกกิจการและกาไร(ขาดทุน)จากการเลิกกิจการ สรุ ปได้ดงั นี้ มูลค่าตามบัญชี 31 ธันวาคม กลับรายการ พ.ศ. 2560 ค่าเผื่อการด้อยค่ า บาท บาท บริ ษทั อาร์ เอส อินสโตร์ มีเดีย จากัด บริ ษทั บลูแฟร์รี่ จากัด บริ ษทั เวรี่ เวลล์ จากัด บริ ษทั อะลาดิน เฮ้าส์ จากัด รวม

-

7,502,526 4,009,993 3,999,300 4,999,300 20,511,119

11,996,774 11,996,774

มูลค่าตามบัญชี จากการ เลิกกิจการ บาท

มูลค่ายุติธรรม (เงินสดรับคืน จากการ ปิ ดกิจการ) บาท

กาไร(ขาดทุน) จากการ เลิกกิจการ (หมายเหตุ 29) บาท

19,499,300 4,009,993 3,999,300 4,999,300 32,507,893

7,544,062 4,975,590 4,265,414 5,270,484 22,055,550

(11,955,238) 965,597 266,114 271,184 (10,452,343)

เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560 ผูถ้ ือหุ ้นของบริ ษทั อาร์ เอส อินเตอร์ เนชัน่ แนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ ต แมเนจเม้นท์ จากัด มีมติ อนุ มตั ิการลดทุ นจดทะเบี ยนของบริ ษัท จากทุ นจดทะเบี ยนจานวน 37,500,000 บาท เป็ นทุ นจดทะเบี ยน 9,375,000 บาท โดยลดหุ ้นสามัญจานวน 281,250 หุ ้น มูลค่ าหุ ้นละ 100 บาท รวมมูลค่ า 28,125,000 บาท และบริ ษ ัทย่อยดังกล่ าวได้จดทะเบี ยน ลดทุนกับกระทรวงพาณิ ชย์แล้วเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560 53


159 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 12

เงินลงทุนในบริษัทร่ วม (สุ ทธิ) งบการเงินรวม บาท

ชื่ อบริษัท

ธุรกิจหลัก

บริ ษทั ไอเดีย เพาเวอร์ จากัด

รับจ้างจัดกิจกรรม

ร้ อยละ

ทุนที่ออกและเรียกชาระ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท 20,000,000

20,000,000

สั ดส่ วนการถือหุ้นของบริษัท พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท 25.00

25.00

งบการเงินรวม เงินลงทุนตามวิธีส่วนได้ เสี ย พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท เงินลงทุนในบริ ษทั ไอเดีย เพาเวอร์ จากัด หัก ค่าเผือ่ การด้อยค่า เงินลงทุนในบริ ษทั ร่ วม (สุ ทธิ)

3,991,133 3,991,133

3,988,995 3,988,995

เงินลงทุนตามวิธีราคาทุน พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท 6,303,621 (2,312,488) 3,991,133

6,303,621 (2,314,626) 3,988,995

เงินลงทุนในบริ ษทั ร่ วมสาหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท ราคาตามบัญชีสุทธิตน้ ปี การคานวณส่ วนแบ่งกาไรสาหรับปี การคานวณส่ วนแบ่งกาไรสู งไป(ต่าไป)สาหรับปี ก่อน ราคาตามบัญชีสุทธิปลายปี

3,988,995 3,939 (1,801) 3,991,133

4,103,678 13,922 (128,605) 3,988,995

มูล ค่ าของสิ น ทรั พ ย์สุ ท ธิ ตามสั ด ส่ วนการลงทุ น ส าหรั บ ปี สิ้ น สุ ดวัน ที่ 31 ธัน วาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 คานวณขึ้ น จาก งบการเงินซึ่ งจัดทาโดยฝ่ ายบริ หารของบริ ษทั นั้น และไม่ได้ผ่านการตรวจสอบโดยผูส้ อบบัญชี ฝ่ ายบริ หารของบริ ษทั เชื่อว่ามูลค่า ของสิ น ทรั พ ย์สุ ท ธิ ต ามสั ด ส่ ว นการลงทุ น ไม่ มี ค วามแตกต่ างอย่า งเป็ นสาระส าคัญ หากได้ค านวณจากงบการเงิ น ซึ่ งได้รั บ การตรวจสอบจากผูส้ อบบัญชี

54


160 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 12

เงินลงทุนในบริษัทร่ วม (สุ ทธิ) (ต่อ) ข้ อมูลทางการเงินโดยสรุ ปสาหรับบริษัทร่ วม ข้อมูลทางการเงินสาหรับบริ ษทั บริ ษทั ไอเดีย เพาเวอร์ จากัด ซึ่งปฏิบตั ิตามวิธีส่วนได้เสี ย แสดงดังต่อไปนี้ งบแสดงฐานะการเงินโดยสรุ ป

สิ นทรัพย์หมุนเวียน สิ นทรัพย์ไม่หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน สิ นทรัพย์สุทธิ

บริษัท ไอเดีย เพาเวอร์ จากัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท 15,795,903 172,566 15,968,469

15,782,167 187,731 15,969,898

3,939 3,939

13,922 13,922

15,964,530

15,955,976

งบกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จโดยสรุ ป บริษัท ไอเดีย เพาเวอร์ จากัด สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท รายได้ ค่าใช้จ่าย กาไรก่อนภาษี ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ กาไรสุ ทธิ ส่ วนได้เสี ยตามสัดส่ วนการถือหุน้ ของบริ ษทั

36,271 (16,578) 19,693 (3,939) 15,754

90,301 (20,693) 69,608 (13,922) 55,686

3,939

13,922

55


13

ราคาตามบัญชีสุทธิ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ราคาทุน หัก ค่าเสื่ อมราคาสะสม

ราคาตามบัญชีสุทธิปลายปี

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ราคาตามบัญชีสุทธิตน้ ปี ซื้อสิ นทรัพย์ รับโอนจากงานระหว่างก่อสร้างและอุปกรณ์ระหว่างติดตั้ง จาหน่ายสิ นทรัพย์ - ราคาทุน - ค่าเสื่ อมราคาสะสม ตัดจาหน่ายสิ นทรัพย์ - ราคาทุน - ค่าเสื่ อมราคาสะสม ค่าเสื่ อมราคา (หมายเหตุ 30)

ราคาตามบัญชีสุทธิ

ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ราคาทุน หัก ค่าเสื่ อมราคาสะสม

อาคารและอุปกรณ์ (สุ ทธิ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

2,639,106 (2,501,063) 138,043

937,388 (31,549,959) 31,549,866 (799,252) 138,043

34,189,065 (33,251,677) 937,388

อาคารและส่ วน ปรับปรุ งอาคารเช่ า

408,047,691 (196,658,824) 211,388,867

249,194,245 7,256,014 (12,267,084) 12,206,324 (45,000,632) 211,388,867

413,058,761 (163,864,516) 249,194,245

อุปกรณ์

492,153,873 (352,902,213) 139,251,660

179,265,350 23,197,044 2,395,833 (15,845,042) 14,849,579 (1,173,796) 1,173,708 (64,611,016) 139,251,660

483,579,834 (304,314,484) 179,265,350

72,515,762 (20,826,513) 51,689,249

43,488,972 17,459,405 (3,210,000) 2,632,896 (8,915,042) 8,915,033 (8,682,015) 51,689,249

67,181,399 (23,692,427) 43,488,972

งบการเงินรวม (บาท) เครื่ องตกแต่ ง ติดตั้งและ อุปกรณ์สานักงาน ยานพาหนะ

-

160,394 2,235,439 (2,395,833) -

160,394 160,394

งานระหว่างก่อสร้ าง และอุปกรณ์ ระหว่างติดตั้ง

56

975,356,432 (572,888,613) 402,467,819

473,046,349 50,147,902 (31,322,126) 29,688,799 (41,638,797) 41,638,607 (119,092,915) 402,467,819

998,169,453 (525,123,104) 473,046,349

รวม

161 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )


13

ราคาตามบัญชีสุทธิ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ราคาทุน หัก ค่าเสื่ อมราคาสะสม

ราคาตามบัญชีสุทธิปลายปี

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ราคาตามบัญชีสุทธิตน้ ปี ซื้อสิ นทรัพย์ รับโอนจากงานระหว่างก่อสร้างและอุปกรณ์ระหว่างติดตั้ง จาหน่ายสิ นทรัพย์ - ราคาทุน - ค่าเสื่ อมราคาสะสม ตัดจาหน่ายสิ นทรัพย์ - ราคาทุน - ค่าเสื่ อมราคาสะสม ค่าเสื่ อมราคา (หมายเหตุ 30)

ราคาตามบัญชีสุทธิ

ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ราคาทุน หัก ค่าเสื่ อมราคาสะสม

อาคารและอุปกรณ์ (สุ ทธิ) (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

2,639,106 (2,501,063) 138,043

138,043 138,043

2,639,106 (2,501,063) 138,043

อาคารและส่ วน ปรับปรุงอาคารเช่ า

407,282,243 (231,911,429) 175,370,814

211,388,867 967,925 3,130,220 (4,863,593) 4,863,551 (40,116,156) 175,370,814

408,047,691 (196,658,824) 211,388,867

อุปกรณ์

488,300,793 (381,863,735) 106,437,058

139,251,660 24,640,321 9,107,880 (37,601,281) 37,598,172 (66,559,694) 106,437,058

492,153,873 (352,902,213) 139,251,660

66,151,762 (28,192,879) 37,958,883

51,689,249 650,000 (6,978,000) 1,544,886 (36,000) 35,998 (8,947,250) 37,958,883

72,515,762 (20,826,513) 51,689,249

งบการเงินรวม (บาท) เครื่ องตกแต่ ง ติดตั้งและ อุปกรณ์สานักงาน ยานพาหนะ

11,630,500 11,630,500

23,868,600 (12,238,100) 11,630,500

-

งานระหว่างก่อสร้ าง และอุปกรณ์ ระหว่างติดตั้ง

57

976,004,404 (644,469,106) 331,535,298

402,467,819 50,126,846 (49,442,874) 44,006,609 (36,000) 35,998 (115,623,100) 331,535,298

975,356,432 (572,888,613) 402,467,819

รวม

162 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1


13

346,459,529 (100,189,325) 246,270,204

26,439,477 (25,743,852) 695,625 695,625 (24,194,271) 24,194,228 (695,580) 2 2,245,206 (2,245,204) 2

ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ราคาทุน หัก ค่าเสื่ อมราคาสะสม ราคาตามบัญชีสุทธิ

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ราคาตามบัญชีสุทธิตน้ ปี ซื้อสิ นทรัพย์ รับโอนจากงานระหว่างก่อสร้างและอุปกรณ์ระหว่างติดตั้ง จาหน่ายสิ นทรัพย์ - ราคาทุน - ค่าเสื่ อมราคาสะสม ตัดจาหน่ายสิ นทรัพย์ - ราคาทุน - ค่าเสื่ อมราคาสะสม ค่าเสื่ อมราคา (หมายเหตุ 30) ราคาตามบัญชีสุทธิปลายปี

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ราคาทุน หัก ค่าเสื่ อมราคาสะสม ราคาตามบัญชีสุทธิ

347,404,578 (137,744,408) 209,660,170

246,270,204 6,940,530 (5,995,481) 5,937,144 (43,492,227) 209,660,170

อุปกรณ์

อาคารและส่ วน ปรับปรุ งอาคารเช่ า

อาคารและอุปกรณ์ (สุ ทธิ) (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

432,256,133 (321,405,226) 110,850,907

162,801,662 10,699,924 160,394 (18,411,612) 14,197,076 (779,190) 779,173 (58,596,520) 110,850,907

440,586,617 (277,784,955) 162,801,662

67,475,421 (17,495,148) 49,980,273

40,771,620 17,459,406 (3,210,000) 2,632,896 (8,915,042) 8,915,033 (7,673,640) 49,980,273

62,141,057 (21,369,437) 40,771,620

งบการเงินเฉพาะกิจการ (บาท) เครื่ องตกแต่ ง ติดตั้งและ อุปกรณ์ สานักงาน ยานพาหนะ

-

160,394 (160,394) -

160,394 160,394

งานระหว่างก่อสร้ าง และอุปกรณ์ ระหว่างติดตั้ง

58

849,381,338 (478,889,986) 370,491,352

450,699,505 35,099,860 (27,617,093) 22,767,116 (33,888,503) 33,888,434 (110,457,967) 370,491,352

875,787,074 (425,087,569) 450,699,505

รวม

163 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )


13

2 2,245,206 (2,245,204) 2

-

349,219,272 (172,838,816) 176,380,455

209,660,170 2,218,167 4,460,120 (4,863,593) 4,863,551 (39,957,960) 176,380,455

347,404,578 (137,744,408) 209,660,170

2,245,206 (2,245,204) 2 2

อุปกรณ์

อาคารและส่ วน ปรับปรุงอาคารเช่ า

406,888,287 (338,759,106) 68,129,181

110,850,907 5,638,352 7,777,980 (38,784,178) 38,487,972 (55,841,852) 68,129,182

432,256,133 (321,405,226) 110,850,907

60,461,421 (23,750,562) 36,710,859

49,980,273 (6,978,000) 1,544,886 (36,000) 35,998 (7,836,298) 36,710,859

67,475,421 (17,495,148) 49,980,273

งบการเงินเฉพาะกิจการ (บาท) เครื่ องตกแต่ ง ติดตั้งและ อุปกรณ์สานักงาน ยานพาหนะ

11,630,500 11,630,500

23,868,600 (12,238,100) 11,630,500

-

งานระหว่างก่อสร้ าง และอุปกรณ์ ระหว่างติดตั้ง

830,444,686 (537,593,689) 292,850,997

370,491,352 31,725,119 (50,625,771) 44,896,409 (36,000) 35,998 (103,636,110) 292,850,997

849,381,338 (478,889,986) 370,491,352

รวม

59

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ราคาตามบัญชี ก่อนหักค่าเสื่ อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ซ่ ึ งหักค่าเสื่ อมราคาทั้งจานวนแล้วแต่ยงั คงใช้งานอยูใ่ นงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิ จการมีจานวนเงินทั้งสิ้ น 246,543,377 บาท และ 245,052,564 บาท (พ.ศ. 2560 : 227,306,608 บาท และ 208,948,434 บาท) ตามลาดับ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ราคาทุน หัก ค่าเสื่ อมราคาสะสม ราคาตามบัญชีสุทธิ

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ราคาตามบัญชี สุทธิตน้ ปี ซื้อสิ นทรัพย์ รับโอนจากงานระหว่างก่อสร้างและอุปกรณ์ระหว่างติดตั้ง จาหน่ายสิ นทรัพย์ - ราคาทุน - ค่าเสื่ อมราคาสะสม ตัดจาหน่ายสิ นทรัพย์ - ราคาทุน - ค่าเสื่ อมราคาสะสม ค่าเสื่ อมราคา (หมายเหตุ 30) ราคาตามบัญชีสุทธิปลายปี

ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ราคาทุน หัก ค่าเสื่ อมราคาสะสม ราคาตามบัญชีสุทธิ

อาคารและอุปกรณ์ (สุ ทธิ) (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

164 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1


165 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 13

อาคารและอุปกรณ์ (สุ ทธิ) (ต่อ) สิ น ทรั พย์ตามสั ญญาเช่ าการเงิน ที่ บ ริ ษ ัทและบริ ษทั ย่อ ยเป็ นผูเ้ ช่ า ซึ่ งรวมแสดงในรายการข้างต้น ประกอบด้วย รถยนต์ มีมูลค่ า ตามบัญชีดงั นี้ งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท ราคาทุนของสิ นทรัพย์ตามสัญญาเช่าการเงิน หัก ค่าเสื่ อมราคาสะสม มูลค่าสุ ทธิตามบัญชี

14

53,181,399 (19,230,314) 33,951,085

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

53,181,399 (11,216,510) 41,964,889

53,181,399 (19,230,314) 33,951,085

53,181,399 (11,216,510) 41,964,889

ใบอนุญาตให้ ใช้ คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ (สุ ทธิ) รายการเคลื่อนไหวของใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์สาหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 แสดงได้ดงั นี้ งบการเงินรวม

มูลค่าเทียบเท่าเงินสด (มูลค่าปัจจุบนั ) หัก ค่าตัดจาหน่ายสะสม

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

2,030,326,376 (634,588,094) 1,395,738,282

2,030,326,376 (499,241,528) 1,531,084,848

เมื่อ วัน ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 บริ ษ ัท ย่อ ยแห่ งหนึ่ ง (“บริ ษัท อาร์ .เอส.เทเลวิชั่น จากัด”) ได้รับ ใบอนุ ญ าตให้ใช้ค ลื่ น ความถี่ และประกอบกิจการโทรทัศน์เพื่อให้บริ การโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ประเภทบริ การทางธุ รกิจระดับชาติในหมวดหมู่ ทั่วไป แบบความคมชัดปกติ ในราคาประมูล 2,265 ล้านบาท (ไม่รวมภาษี มู ล ค่ าเพิ่ ม) ส าหรั บ ระยะเวลา 15 ปี (เริ่ ม ตั้งแต่ วนั ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2572) เมื่ อ วัน ที่ 20 ธัน วาคม พ.ศ. 2559 คณะรั ก ษาความสงบแห่ งชาติ (คสช.) ออกค าสั่ งที่ 76/2559 ตามมาตรา 44 ของรั ฐธรรมนู ญ แห่ งราชอาณาจักรไทย (ฉบับ ชัว่ คราว) เรื่ อง มาตรการส่ งเสริ มการประกอบกิ จการวิทยุกระจายเสี ยง วิทยุโทรทัศน์ และกิ จการ โทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยให้ผไู ้ ด้รับใบอนุ ญาตรายใดที่ไม่สามารถปฏิบตั ิตามหลักเกณฑ์การชาระค่าธรรมเนี ยม ใบอนุ ญาตในส่ วนที่เหลือตั้งแต่งวดที่ สี่เป็ นต้น ไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กาหนดเริ่ มแรก แจ้งเป็ นหนังสื อไปยัง กสทช. ล่วงหน้าก่ อนวันครบกาหนดชาระค่าธรรมเนี ยมใบอนุ ญาตตามที่ กาหนดไว้ในประกาศ ในกรณี ที่ กสทช. พิจารณาแล้ว เห็ นเป็ นการสมควร ก็ให้ผูไ้ ด้รับใบอนุ ญาตรายนั้นชาระค่าธรรมเนี ยมใบอนุ ญาตในส่ วนที่ เหลือทั้งหมดตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กาหนดไว้ในคาสั่งนี้ซ่ ึงกาหนดให้ขยายการชาระค่าธรรมเนียมใบอนญาตในส่ วนที่เหลือ 60


166 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 14

ใบอนุญาตให้ ใช้ คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ (สุ ทธิ) (ต่อ) บริ ษทั ย่อยดังกล่าวจะต้องชาระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่โดยแยกชาระ ดังนี้ 1) ค่าธรรมเนี ยมใบอนุ ญาตในส่ วนของราคาขั้นต่าจานวน 380 ล้านบาท แบ่ งช าระ 4 งวด ภายใน 3 ปี (สิ้ นสุ ดวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560) นับแต่วนั ที่ได้รับใบอนุญาตตามเงื่อนไขเดิมที่ กสทช. กาหนด ตามเงื่อนไขซึ่งเป็ นไปตามคาสั่งคณะรักษาความสงบแห่ งชาติ (คสช.) ที่ 76/2559 กาหนดการชาระค่าธรรมเนี ยมใบอนุญาตให้ ใช้คลื่นความถี่ ซึ่ งกลุ่มกิ จการได้รับหนังสื ออนุ ญาตให้ขยายการชาระค่าธรรมเนี ยมใบอนุ ญาตให้ใช้คลื่นความถี่จาก กสทช. เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560 ส่ วนของราคาขั้นต่าที่เหลืออีก 38 ล้านบาทโดยแบ่งชาระออกเป็ น 2 งวด ดังนี้ งวดที่ 1 ให้ชาระค่าธรรมเนียมใบอนุ ญาตในส่ วนของราคาขั้นต่า จานวน 19 ล้านบาท ภายในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 งวดที่ 2 ให้ชาระค่าธรรมเนี ยมใบอนุ ญาตในส่ วนของราคาขั้นต่า จานวน 19 ล้านบาท ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วนั ครบกาหนด ชาระใหม่ พร้อมดอกเบี้ยของเงินที่ตอ้ งชาระ นับตั้งแต่วนั ที่ครบกาหนดชาระเดิม (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560) จนถึง วันที่ชาระเสร็ จ ตามเงื่ อ นไขใหม่ ซึ่ งเป็ นไปตามค าสั่ งคณะรั ก ษาความสงบแห่ งชาติ (คสช.) ที่ 9/2561 ก าหนดการช าระค่ าธรรมเนี ย ม ใบอนุ ญ าตให้ใช้คลื่นความถี่ ลงวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 กลุ่ มกิ จการได้รับ อนุ ญ าตให้การพักช าระค่ าธรรมเนี ยมกับ สานักงานกสทช. มีผลตั้งแต่วนั ที่ในประกาศ ส่ วนของราคาขั้นต่าของงวดที่ 2 ที่เหลืออีก 19 ล้านบาท ดังนี้ งวดที่ 2 ให้พกั ชาระค่าธรรมเนี ยมใบอนุ ญาตให้ใช้คลื่นความถี่และกาหนดระยะเวลาการพักชาระค่าธรรมเนี ยมซึ่ งต้องไม่เกิน 3 ปี นับแต่ ว นั ที่ ค าสั่ งนี้ มี ผลใช้บ ังคับ ซึ่ งในระหว่างเวลาพักช าระค่ าธรรมเนี ยมใบอนุ ญาตให้ ใช้คลื่ นความถี่ ให้ ผูร้ ั บ ใบอนุ ญาตช าระดอกเบี้ ยในวัน ที่ ครบก าหนดช าระค่ าธรรมเนี ยมใบอนุ ญาตให้ ใช้คลื่ นความถี่ ในแต่ ละงวดให้แก่ ส านักงาน กสทช. โดยให้ช าระดอกเบี้ ยในอัตราเท่ ากับอัตราดอกเบี้ ยนโยบายตามที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิ น ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศกาหนด

61


167 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 14

ใบอนุญาตให้ ใช้ คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ (สุ ทธิ) (ต่อ) บริ ษทั ย่อยดังกล่าวจะต้องชาระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่โดยแยกชาระ ดังนี้ (ต่อ) 2) ค่ าธรรมเนี ยมใบอนุ ญ าตในส่ วนที่ เกิ น กว่าราคาขั้น ต่ า จานวน 1,885 ล้านบาท แบ่ งช าระ 6 งวด ภายใน 5 ปี (สิ้ น สุ ด วัน ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) นับแต่วนั ที่ได้รับใบอนุ ญาตตามเงื่อนไขเดิมที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสี ยงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (“กสทช”) กาหนด ตามเงื่อนไขซึ่ งเป็ นไปตามคาสั่งคณะรักษาความสงบแห่ งชาติ (คสช.) ที่ 76/2559 การกาหนดการชาระค่าธรรมเนี ยมใบอนุ ญาต ให้ใช้คลื่นความถี่ ซึ่ งกลุ่มกิจการได้รับหนังสื ออนุ ญาตให้ขยายการชาระค่าธรรมเนี ยมใบอนุ ญาตให้ใช้คลื่นความถี่จาก กสทช. เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560 กาหนดการชาระค่าธรรมเนี ยมใบอนุ ญาตในส่ วนที่เกิ นกว่าราคาขั้นต่าในส่ วนที่เหลือ 1,131.00 ล้านบาท ให้แบ่งชาระออกเป็ น 6 งวดดังนี้ งวดที่ 1 ให้ชาระเงินค่าธรรมเนี ยมใบอนุ ญาตในส่ วนที่เกินกว่าราคาขั้นต่าจานวน 188.50 ล้านบาท ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ ครบกาหนด งวดที่ 2 ถึงงวดที่ 6 ให้ชาระเงินค่าธรรมเนี ยมใบอนุ ญาตในส่ วนที่เกินกว่าราคาขั้นต่าจานวน 188.50 ล้านบาท ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วนั ที่ครบกาหนดชาระใหม่พร้อมดอกเบี้ยนับตั้งแต่วนั ที่ครบกาหนดเดิมจนถึงวันที่ชาระเสร็ จทั้งนี้ ดอกเบี้ย ให้ช าระในอัตราเท่ า กับ อัตราดอกเบี้ ยนโยบายตามที่ ค ณะกรรมการนโยบายการเงิ น ธนาคารแห่ งประเทศไทย ประกาศกาหนดให้วนั ที่ชาระ ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 8/2561 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้ข้ ึนอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากเดิมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.50 ต่อปี เป็ น 1.75 ต่อปี โดยให้มีผลทันที ตามเงื่ อ นไขใหม่ ซึ่ งเป็ นไปตามค าสั่ งคณะรั ก ษาความสงบแห่ งชาติ (คสช.) ที่ 9/2561 ก าหนดการช าระค่ า ธรรมเนี ย ม ใบอนุ ญ าตให้ใช้คลื่นความถี่ ลงวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 กลุ่ มกิ จการได้รับ อนุ ญ าตให้การพักช าระค่ าธรรมเนี ยมกับ สานักงาน กสทช. มีผลตั้งแต่วนั ที่ในประกาศ กาหนดการชาระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในส่ วนที่เกินกว่าราคาขั้นต่าในส่ วนที่เหลือ 942.50 ล้านบาท ดังนี้ งวดที่ 2 ถึงงวดที่ 6 ให้พกั ชาระค่าธรรมเนี ยมใบอนุ ญาตให้ใช้คลื่นความถี่และกาหนดระยะเวลาการพักชาระค่าธรรมเนี ยม ซึ่ งต้อ งไม่ เกิ น 3 ปี นับ แต่ วนั ที่ ค าสั่ งนี้ มี ผลใช้บ ังคับ ซึ่ งในระหว่างเวลาพักช าระค่ า ธรรมเนี ยมใบอนุ ญ าตให้ใช้ คลื่นความถี่ ให้ผรู ้ ับใบอนุ ญาตชาระดอกเบี้ยในวันที่ครบกาหนดชาระค่าธรรมเนี ยมใบอนุ ญาตให้ใช้คลื่นความถี่ใน แต่ ล ะงวดให้ แ ก่ ส านั ก งาน กสทช. โดยให้ ช าระดอกเบี้ ยในอั ต ราเท่ า กั บ อั ต ราดอกเบี้ ยนโยบายตามที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศกาหนด

62


168 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 14

ใบอนุญาตให้ ใช้ คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ (สุ ทธิ) (ต่อ) บริ ษทั ย่อยดังกล่าวจะต้องชาระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่โดยแยกชาระ ดังนี้ (ต่อ) 3) วางหนังสื อค้ าประกันการชาระคืนค่าธรรมเนี ยมส่ วนที่เหลือจากการจ่ายชาระให้กบั กสทช. ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 หนังสื อค้ าประกันดังกล่าวมียอดคงเหลือจานวน 1,028.81 ล้านบาท (วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 : 1,028.81 ล้านบาท) 4) ตารางแสดงภาระผูกพันที่ตอ้ งจ่ายชาระค่าใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ มีดงั นี้ ตามเงื่อนไขซึ่งเป็ นไปตามคาสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 76/2559

งวดการ จ่ ายชาระ

ค่ าธรรมเนียม ใบอนุญาตใน ส่ วนของราคา ขั้นต่า ล้านบาท

ค่ าธรรมเนียม ใบอนุญาต ในส่ วนที่ เกินขั้นต่า ล้านบาท

รวมค่ าธรรมเนียม ใบอนุญาต ล้านบาท

ดอกเบีย้ ของ เงินที่ต้องชาระ จากการขยาย เวลาการชาระ ค่ าธรรมเนียม ล้านบาท

วันที่ครบกาหนดชาระ ภายหลังการขยายเวลา การชาระค่ าธรรมเนียม 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

1 2 3 4 5 6 7 8 9

190.00 114.00 38.00 19.00 19.00 -

188.50 188.50 377.00 188.50 188.50 188.50 188.50 188.50 188.50

378.50 302.50 415.00 207.50 207.50 188.50 188.50 188.50 188.50

3.11 2.82 5.66 5.66 8.48

รวม

380.00

1,885.00

2,265.00

25.73

63


169 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 14

ใบอนุญาตให้ ใช้ คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ (สุ ทธิ) (ต่อ) บริ ษทั ย่อยดังกล่าวจะต้องชาระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่โดยแยกชาระ ดังนี้ (ต่อ) 4) ตารางแสดงภาระผูกพันที่ตอ้ งจ่ายชาระค่าใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ มีดงั นี้ (ต่อ) ตามเงื่อนไขใหม่ซ่ ึงเป็ นไปตามคาสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 9/2561

ค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตใน ส่ วนของราคา งวดการ ขั้นต่า จ่ ายชาระ ล้านบาท

ค่าธรรมเนียม ใบอนุญาต ในส่ วนที่ เกินขั้นต่า ล้านบาท

ดอกเบีย้ ของ เงินที่ต้องชาระ รวม จากการขยาย ค่าธรรมเนียม เวลาการชาระ ใบอนุญาต ค่าธรรมเนียม ล้านบาท ล้านบาท

ดอกเบีย้ ของ เงินที่ต้องชาระ จากการขยาย เวลาการชาระ ค่าธรรมเนียม (ปรับใหม่ ตาม การปรับอัตรา ดอกเบีย้ นโยบาย) ล้านบาท

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12

190.00 114.00 38.00 19.00 19.00 -

188.50 188.50 377.00 188.50 188.50 188.50 188.50 188.50 188.50

378.50 302.50 415.00 207.50 207.50 188.50 188.50 188.50 188.50

6.23 5.59 8.75 2.82 5.66 5.66 8.48

6.23 6.94 10.21 3.30 6.60 6.60 9.90

รวม

380.00

1,885.00

2,265.00

43.55

49.78

วันที่ครบกาหนดชาระ ภายหลังการขยายเวลา การชาระค่าธรรมเนียม 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

บริ ษทั ย่อยบันทึกใบอนุญาตดังกล่าว ณ วันที่ได้รับสิ ทธิดว้ ยมูลค่าเทียบเท่าเงินสด (มูลค่าปัจจุบนั )

64


170 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 14

ใบอนุญาตให้ ใช้ คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ (สุ ทธิ) (ต่อ) รายการเคลื่อนไหวของภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ดงั นี้ งบการเงินรวม 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (บาท)

ราคาตามบัญชีตน้ ปี ส่วนที่เพิม่ (ส่วนที่ลด)จากการ ขยายเวลาการชาระ ค่าใบอนุญาต (จ่ายชาระ)/ตัดจ่าย ราคาตามบัญชี สิ้นปี

31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (บาท)

ภาระผูกพัน จะต้ องจ่ าย

ดอกเบีย้ ในอนาคต

ราคาตาม บัญชีสุทธิ

ภาระผูกพัน จะต้ องจ่ าย

ดอกเบีย้ ในอนาคต

ราคาตาม บัญชีสุทธิ

987,232,500

(92,696,545)

894,535,955

1,169,000,000

(63,081,162) 1,105,918,838

24,041,250 (6,225,000) 1,005,048,750

(118,656,073) 36,932,673 (174,419,945)

(94,614,823) 30,707,673 830,628,805

25,732,500 (207,500,000) 987,232,500

(71,271,815) 41,656,432 (92,696,545)

(45,539,315) (165,843,568) 894,535,955

ผลจากการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการชาระค่าธรรมเนี ยมใบอนุ ญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ตามประกาศ คสช. ที่ 9/2561 ได้รับรู ้เป็ นกาไรจานวน 94.61 ล้านบาท (พ.ศ. 2560 : ตามประกาศ คสช. ที่ 76/2559 45.54 ล้านบาท) ในงบกาไรขาดทุน เบ็ดเสร็ จ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 บริ ษทั ย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าใบอนุ ญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบ กิจการโทรทัศน์ ดังนี้ งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ที่ตอ้ งจ่าย หัก ดอกเบี้ยในอนาคต หัก ส่ วนที่ถึงกาหนดชาระภายในหนึ่งปี

1,005,048,750 (174,419,945) 830,628,805 (4,072,392) 826,556,413

987,232,500 (92,696,545) 894,535,955 (176,864,317) 717,671,638

ณ วันที่ และวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 จานวนเงินที่ตอ้ งจ่ายชาระมีดงั นี้

กาหนดชาระภายใน 1 ปี 2 - 5 ปี

งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 บาท 6,941,516 998,107,234 1,005,048,750

พ.ศ. 2560 บาท 210,612,500 776,620,000 987,232,500 65


15

302,960,790 1,663,787,298 180,175,104 113,228,704 (82,763,674) (1,181,067,388) (76,637,966) (181,755,801) (166,242,368) (1,544,808) 38,441,315 316,477,542 101,992,330 113,228,704

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ราคาทุน หัก ค่าตัดจาหน่ายสะสม ค่าเผื่อการด้อยค่า ราคาตามบัญชีสุทธิ

116,080,987 178,639,025 (181,491,308) 113,228,704

49,306,159 2,637,632 (13,502,476) 38,441,315

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ราคาตามบัญชีสุทธิ ตน้ ปี ซื้อสิ นทรัพย์ โอนงานระหว่างติดตั้ง จาหน่ายสิ นทรัพย์ - ราคาทุน - ค่าตัดจาหน่ายสะสม ตัดจาหน่ายสิ นทรัพย์ - ราคาทุน - ค่าตัดจาหน่ายสะสม ค่าตัดจาหน่าย (หมายเหตุ 30) ค่าเผื่อด้อยค่า ราคาตามบัญชีสุทธิ ปลายปี 298,725,528 76,207,502 138,894,772 7,201,834 169,038,208 32,135,600 (24,129) 24,100 (7,692,756) (1,609,033) 1,608,995 (290,180,966) (13,552,539) 7,692,756 316,477,542 101,992,330

300,323,158 1,363,547,074 142,470,832 116,080,987 (82,763,674) (890,886,422) (64,718,522) (168,253,325) (173,935,124) (1,544,808) 49,306,159 298,725,528 76,207,502 116,080,987

รวม

551,610,176 352,873,263 (24,129) 24,100 (9,301,789) 1,608,995 (303,733,505) (5,809,720) 587,247,391

49,306,175 2,637,632 (13,502,476) 38,441,331

17,107,500 2,277,259,396 302,960,830 (1,340,469,028) (82,763,674) (349,542,977) (181,755,825) 17,107,500 587,247,391 38,441,331

11,290,000 25,500,000 (19,682,500) 17,107,500

2,608,000 2,608,000

72,094,281 17,192,000 4,493,380 8,361,600 22,945,600 (22,945,600) (15,185,837) 2,041,412 (11,503,525) 74,885,311 2,608,000 670,598,723 144,081,462 (474,352,084) (69,196,151) (166,242,356) 30,004,283 74,885,311

3,578,834 46,570,000 (20,144,551) 30,004,283

-

-

-

งบการเงินเฉพาะกิจการ (บาท) โปรแกรม คอมพิวเตอร์ ต้ นทุน จ่ ายล่ วงหน้ าค่ า และอื่นๆ ระหว่ างทา ลิขสิ ทธิละคร

624,028,723 131,828,319 17,192,000 (454,207,533) (59,734,038) (166,242,356) 3,578,834 72,094,281 17,192,000

ต้ นทุนการผลิต ค่ าลิขสิ ทธิ์ ละครและ สาหรับเพลง ภาพยนตร์

11,290,000 1,933,712,051 300,323,198 (1,038,368,618) (82,763,674) (343,733,257) (168,253,349) 11,290,000 551,610,176 49,306,175

งบการเงินรวม (บาท) โปรแกรม คอมพิวเตอร์ ต้ นทุน จ่ ายล่ วงหน้ าค่ า และอื่นๆ ระหว่ างทา ลิขสิ ทธิละคร

ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ราคาทุน หัก ค่าตัดจาหน่ายสะสม ค่าเผื่อการด้อยค่า ราคาตามบัญชีสุทธิ

ต้ นทุนการผลิต ค่ าลิขสิ ทธิ์ ละครและ สาหรับเพลง ภาพยนตร์

สิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

สิ นทรัพย์ ไม่ มีตัวตน (สุ ทธิ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

66

1,120,249,015 (626,311,909) (347,998,181) 145,938,925

142,171,290 62,062,612 (15,185,837) 2,041,412 (31,648,076) (13,502,476) 145,938,925

1,073,372,240 (596,705,245) (334,495,705) 142,171,290

รวม

171 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )


15

304,668,790 2,046,194,730 227,880,720 144,861,534 (82,763,674) (1,491,143,474) (92,513,959) (192,782,791) (166,242,368) (1,544,808) 29,122,325 388,808,888 133,821,953 144,861,534

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ราคาทุน หัก ค่าตัดจาหน่ายสะสม ค่าเผื่อการด้อยค่า ราคาตามบัญชีสุทธิ

316,477,542 101,992,330 113,228,704 177,569,020 45,616,856 215,791,642 219,368,412 2,119,900 (184,158,812) (31,140) 7,963 (14,530,000) 14,530,000 (324,606,086) (15,883,956) 388,808,888 133,821,953 144,861,534

38,441,315 1,708,000 (11,026,990) 29,122,325

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ราคาตามบัญชีสุทธิ ตน้ ปี ซื้อสิ นทรัพย์ โอนงานระหว่างติดตั้ง จาหน่ายสิ นทรัพย์ - ราคาทุน - ค่าตัดจาหน่ายสะสม ตัดจาหน่ายสิ นทรัพย์ - ราคาทุน - ค่าตัดจาหน่ายสะสม ค่าตัดจาหน่าย (หมายเหตุ 30) ค่าเผื่อด้อยค่า ราคาตามบัญชีสุทธิ ปลายปี

รวม

587,247,391 484,442,518 (31,140) 7,963 (14,530,000) 14,530,000 (340,490,042) (11,026,990) 720,149,700

38,441,331 1,708,000 (11,026,990) 29,122,341

23,535,500 (2,747,140,774) 304,668,830 (1,666,421,107) (82,763,674) (360,569,967) (192,782,815) 23,535,500 720,149,700 29,122,341

17,107,500 43,757,000 (37,329,000) 23,535,500

74,885,311 12,809,174 1,798,000 (11,329,665) 78,162,820 667,478,723 158,688,636 (491,907,850) (80,525,816) (166,242,356) 9,328,517 78,162,820

30,004,283 11,410,000 (14,530,000) 14,530,000 (32,085,766) 9,328,517

810,000 810,000

2,608,000 (1,798,000) 810,000

2,608,000 2,608,000

-

-

-

งบการเงินเฉพาะกิจการ (บาท) โปรแกรม คอมพิวเตอร์ ต้ นทุน จ่ ายล่ วงหน้ าค่ า และอื่นๆ ระหว่ างทา ลิขสิ ทธิละคร

670,598,723 144,081,462 (474,352,084) (69,196,151) (166,242,356) 30,004,283 74,885,311

ต้ นทุนการผลิต ค่ าลิขสิ ทธิ์ ละครและ สาหรับเพลง ภาพยนตร์

17,107,500 2,277,259,396 302,960,830 (1,340,469,028) (82,763,674) (349,542,977) (181,755,825) 17,107,500 587,247,391 38,441,331

งบการเงินรวม (บาท) โปรแกรม คอมพิวเตอร์ ต้ นทุน จ่ ายล่ วงหน้ าค่ า และอื่นๆ ระหว่ างทา ลิขสิ ทธิละคร

302,960,790 1,663,787,298 180,175,104 113,228,704 (82,763,674) (1,181,067,388) (76,637,966) (181,755,801) (166,242,368) (1,544,808) 38,441,315 316,477,542 101,992,330 113,228,704

ต้ นทุนการผลิต ค่ าลิขสิ ทธิ์ ละครและ สาหรับเพลง ภาพยนตร์

ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ราคาทุน หัก ค่าตัดจาหน่ายสะสม ค่าเผื่อการด้อยค่า ราคาตามบัญชีสุทธิ

สิ นทรัพย์ ไม่ มีตัวตน (สุ ทธิ) (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

67

1,131,646,189 (655,197,340) (359,025,171) 117,423,678

145,938,925 25,927,174 (14,530,000) 14,530,000 (43,415,431) (11,026,990) 117,423,678

1,120,249,015 (626,311,909) (347,998,181) 145,938,925

รวม

172 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1


173 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 15

สิ นทรัพย์ ไม่ มีตัวตน (สุ ทธิ) (ต่อ) ณ วัน ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ราคาตามบัญชี ก่อนหักค่าตัดจาหน่ ายสิ นทรั พย์ของสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตนซึ่ งหักค่าตัดจาหน่ ายทั้ง จานวนแล้วแต่ยงั คงใช้งานอยู่ ในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิ จการมีจานวนทั้งสิ้ น 147,655,485 บาท และ 127,394,435 บาท (พ.ศ. 2560 : 119,531,268 บาท และ 110,831,268 บาท) ตามลาดับ ค่าตัดจาหน่ ายในงบการเงินรวมและงบเฉพาะกิจการจานวน 340,490,042 บาท และ 43,415,431 บาท (พ.ศ. 2560 : 303,733,505 บาท และ 31,648,076 บาท) ได้รวมอยูใ่ นต้นทุนขายและบริ การจานวน 325,270,474 บาท และ 32,749,699 บาท (พ.ศ. 2560 : 290,920,468 บาท และ 20,884,053 บาท) และรวมอยูใ่ นค่าใช้จ่ายในการบริ หารจานวน 15,219,568 บาท และ 10,665,732 บาท (พ.ศ. 2560 : 12,813,036 บาท และ 10,764,023 บาท) ตามลาดับ

16

ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย (สุ ทธิ)

ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย หัก ค่าเผือ่ ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย ที่คาดว่าจะไม่ได้รับคืน

งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

180,320,232

154,376,616

115,677,411

90,014,129

(230,325) 180,089,907

(822,015) 153,554,601

115,677,411

90,014,129

ในระหว่ างปี สิ้ น สุ ดวัน ที่ 31 ธั น วาคม พ.ศ. 2561 กลุ่ ม บริ ษัท ได้รั บ เงิ น คื น ภาษี เงิ น ได้ถู กหั ก ณ ที่ จ่ ายทั้งในงบการเงิ น รวมเป็ น จานวนเงิน 31,802,191 บาท (พ.ศ. 2560 : ได้รับเงินคืนภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายในงบการเงินรวมเป็ นจานวน 36,250,232 บาท) และ บันทึกรายการค่าเผื่อภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายที่คาดว่าจะไม่ได้รับคืนในงบการเงินรวมจานวน 281,362 บาท และตัดจาหน่ายภาษี เงินได้ถูกหัก ณ ที่ จ่ายสาหรั บปี พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2559 ในงบการเงินรวมเป็ นจานวนรวม 927,856 บาท และในงบการเงินเฉพาะ กิ จการเป็ นจานวน 1,094 บาท (พ.ศ. 2560 : บันทึ กรายการค่าเผื่อภาษี เงินได้ถู กหัก ณ ที่จ่ายที่คาดว่าจะไม่ได้รับคื นในงบการเงินรวม จานวน 541,720 บาท และตัดจาหน่ ายภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายสาหรับปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2560 ในงบการเงินรวมและงบการเงิน เฉพาะกิจการเป็ นจานวนรวม 7,656,586 บาท และ 148,514 บาท ตามลาดับ) และกลับรายการค่าเผือ่ ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายที่คาดว่า จะไม่ได้รับคืนเป็ นจานวน 873,052 บาท ในงบการเงินรวม (พ.ศ. 2560 : กลับรายการค่าเผื่อภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายที่คาดว่าจะไม่ได้ รับคืนในงบการเงินรวม 7,587,168 บาท)

68


174 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 17

ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (สุ ทธิ) ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้

สิ นทรัพย์ ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ที่จะใช้ประโยชน์ภายใน 12 เดือน สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ที่จะใช้ประโยชน์เกินกว่า 12 เดือน หนี้สินภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ที่จะจ่ายชาระภายใน 12 เดือน หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ที่จะจ่ายชาระเกินกว่า 12 เดือน สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (สุ ทธิ)

งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

95,264,972

80,242,743

30,855,919

19,568,645

137,867,262 233,132,234

195,685,304 275,928,047

89,422,844 120,278,763

101,892,500 121,461,145

(71,365)

(461,459)

(71,365)

(461,459)

(1,451,438) (1,522,803)

(1,542,686) (2,004,145)

(1,451,438) (1,522,803)

(1,542,686) (2,004,145)

231,609,431

273,923,902

118,755,960

119,457,000

รายการเคลื่ อนไหวของภาษี เงิ น ได้รอการตัดบัญชี ส าหรั บปี สิ้ น สุ ดวัน ที่ 31 ธัน วาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 ประกอบด้ว ย รายละเอียดดังนี้ งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท บาท บาท ยอดคงเหลือต้นปี เพิ่ม(ลด)ในงบกาไรขาดทุน ลดในกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่น ยอดคงเหลือปลายปี

273,923,902 (42,314,471) 231,609,431

303,617,658 (26,676,401) (3,017,355) 273,923,902

119,457,000 (701,040) 118,755,960

94,574,938 27,487,994 (2,605,932) 119,457,000

สิ นทรั พย์และหนี้ สิ นภาษี เงิ นได้รอการตัดบัญชี แสดงรายการสุ ทธิ ตามหน่ วยภาษี ในงบแสดงฐานะการเงิ น ณ วันที่ 31 ธัน วาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 ดังนี้ งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท บาท บาท สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (สุ ทธิ) หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (สุ ทธิ)

231,609,431 231,609,431

273,923,902 273,923,902

118,755,960 118,755,960

119,457,000 119,457,000 69


17

(2,952,144) (1,478,390) 277,312 2,244,821 (15,291,322) (4,451) (46,277,385) 18,193,790 2,491,956 (42,795,813) 481,342 481,342 (42,314,471)

18,390,907 40,760,367 3,265,596 21,776,644 19,226,931 127,529,993 41,067,831 3,909,778 275,928,047 (2,004,145) (2,004,145) 273,923,902

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน ผลแตกต่างชัว่ คราวระหว่างมูลค่าคงเหลือของสิ นค้าคงเหลือ ในงบแสดงฐานะการเงินรวมและฐานภาษี ค่าเผื่อสิ นค้าล้าสมัย ค่าใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน ขาดทุนสะสมทางภาษี ค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน ค่าเสื่ อมราคาอาคารและอุปกรณ์ รวมสิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

หนีส้ ินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ทรัพย์สินภายใต้สญ ั ญาเช่าการเงิน รวมหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (สุทธิ)

1 มกราคม เพิม่ (ลด)ใน พ.ศ. 2561 งบกาไรขาดทุน บาท บาท

-

-

-

-

ลดใน กาไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น บาท

งบการเงินรวม

231,609,431

(1,522,803) (1,522,803)

277,312 5,510,417 6,485,322 19,222,480 81,252,608 59,261,621 6,401,734 233,132,234

15,438,763 39,281,977

31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 บาท 14,270,903 1,366,609

1 มกราคม พ.ศ. 2561 บาท

119,457,000

(2,004,145) (2,004,145)

162,784 14,560,308 46,122,932 41,067,831 3,909,778 121,461,145

รายการเคลื่อนไหวของภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสาหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้

ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (สุ ทธิ) (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

(701,040)

481,342 481,342

437,730 (20,639,688) 18,193,790 2,299,513 (1,182,382)

(164,243) (1,309,484)

เพิม่ (ลด)ใน งบกาไรขาดทุน บาท

-

-

-

-

ลดใน กาไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ

70

118,755,960

(1,522,803) (1,522,803)

162,784 14,998,038 25,483,244 59,261,621 6,209,291 120,278,763

14,106,660 57,125

31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 บาท

175 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )


17

(325,257) (325,257) (26,676,401)

(1,678,888) (1,678,888) 303,617,658

หนีส้ ิ นภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ทรัพย์สินภายใต้สญ ั ญาเช่าการเงิน รวมหนี้ สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (สุทธิ)

(710,958) 1,231,452 (378,386) (9,314,757) (4,284,174) 2,652,427 (15,514,727) 459,850 (491,871) (26,351,142)

19,101,865 39,528,915 378,386 12,580,353 26,060,818 19,591,859 143,044,720 40,607,981 4,401,649 305,296,546

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ค่าเผื่อหนี้ สงสัยจะสู ญ สิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน ประมาณการรับคืนสิ นค้า ค่าเผื่อสิ นค้าล้าสมัย ค่าใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน ขาดทุนสะสมทางภาษี ค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน ค่าเสื่ อมราคาอาคารและอุปกรณ์ รวมสิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

1 มกราคม เพิม่ (ลด)ใน พ.ศ. 2560 งบกาไรขาดทุน บาท บาท

(3,017,355)

-

(3,017,355) (3,017,355)

ลดใน กาไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น บาท

งบการเงินรวม

273,923,902

(2,004,145) (2,004,145)

18,390,907 40,760,367 3,265,596 21,776,644 19,226,931 127,529,993 41,067,831 3,909,778 275,928,047

31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 บาท

94,574,938

(1,678,888) (1,678,888)

14,145,133 5,267,457 154,138 16,818,456 14,859,012 40,607,981 4,401,649 96,253,826

1 มกราคม พ.ศ. 2560 บาท

รายการเคลื่อนไหวของภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสาหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ (ต่อ)

ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (สุ ทธิ) (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

27,487,994

(325,257) (325,257)

125,770 (3,900,848) 8,646 347,784 31,263,920 459,850 (491,871) 27,813,251

เพิม่ (ลด)ใน งบกาไรขาดทุน บาท

(2,605,932)

-

(2,605,932) (2,605,932)

ลดใน กาไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ

71

119,457,000

(2,004,145) (2,004,145)

14,270,903 1,366,609 162,784 14,560,308 46,122,932 41,067,831 3,909,778 121,461,145

31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 บาท

176 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1


177 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 18

สิ นทรัพย์ ไม่ หมุนเวียนอื่น (สุ ทธิ)

เงินมัดจา เงินประกัน หัก ค่าเผือ่ การด้อยค่าของเงินประกัน สิ นทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น (สุ ทธิ) 19

เจ้ าหนี้การค้ าและเจ้ าหนี้อื่น

หมายเหตุ เจ้าหนี้การค้า - กิจการอื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เจ้าหนี้อื่น - กิจการอื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน รายได้รับล่วงหน้า - กิจการอื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย - ค่านายหน้าและค่าใช้จ่าย ส่ งเสริ มการขายค้างจ่าย - กิจการอื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายโครงการ - กิจการอื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - ดอกเบี้ยค้างจ่าย - กิจการอื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นๆ - กิจการอื่น

งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

553,000 18,372,613 18,925,613 (4,085,877) 14,839,736

553,000 18,161,915 18,714,915 (4,085,877) 14,629,038

553,000 42,838,615 43,391,615 (9,485,877) 33,905,738

งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

553,000 34,081,917 34,634,917 (4,085,877) 30,549,040

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

34 ค)

279,232,192 29,025,840 2,511,086

298,967,549 27,358,338 2,143,248

24,559,283 19,371,035 13,330,953 1,675,380

64,232,672 6,316,643 15,460,207 1,771,878

34 ค)

65,036,936 -

81,556,576 -

17,168,585 9,584,949

9,693,717 31,899,802

34 ค)

162,885,684 -

229,614,500 -

60,029,296 2,266,473

69,296,518 2,944,792

34 ค)

50,493,700 -

61,394,605 -

12,560,062 7,615,346

20,345,547 6,598,677

34 ค)

777,138 -

542,905 -

454,302 976,289

503,235

143,240,861 733,203,437

113,841,147 815,418,868

86,654,049 256,246,002

55,203,814 284,267,502

34 ค)

72


178 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 20

หนี้สินตามสั ญญาเช่ าการเงิน (สุ ทธิ) งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน หัก ดอกเบี้ยในอนาคตของสัญญาเช่าการเงิน หัก ส่ วนที่ถึงกาหนดชาระภายในหนึ่งปี

18,692,908 (1,005,005) 17,687,903 (11,070,866) 6,617,037

31,566,621 (2,195,821) 29,370,800 (11,681,888) 17,688,912

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท 18,692,908 (1,005,005) 17,687,903 (11,070,866) 6,617,037

31,566,621 (2,195,821) 29,370,800 (11,681,888) 17,688,912

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 จานวนเงินที่ตอ้ งจ่ายสาหรับสัญญาเช่าการเงินข้างต้น มีดงั นี้

ภายใน 1 ปี เกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี

21

งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

11,708,728 6,984,180 18,692,908

11,708,728 6,984,180 18,692,908

12,871,620 18,695,001 31,566,621

12,871,620 18,695,001 31,566,621

เงินกู้ยืมระยะสั้ นจากสถาบันการเงิน

ประเภทของเงินกู้ยืมระยะสั้ น ตัว๋ สัญญาใช้เงิน

งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท 240,000,000

213,000,000

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท 240,000,000

213,000,000

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ตัว๋ สัญญาใช้เงินที่ต่ออายุได้ในสกุลเงินบาท มีอตั ราดอกเบี้ยเงินกูย้ ืมในระหว่างอัตราร้อยละ 3.08 ถึง 3.50 ต่ อ ปี (พ.ศ. 2560 : ร้ อ ยละ 3.50 ต่ อ ปี ) เงิ น กู้คงเหลื อ พร้ อมดอกเบี้ ยมีกาหนดช าระคื น ในระหว่างเดื อ นกุมภาพัน ธ์ ถึงเดื อ น มีนาคม พ.ศ. 2562 (พ.ศ. 2560 : กาหนดชาระในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561)

73


179 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 21

เงินกู้ยืมระยะสั้ นจากสถาบันการเงิน (ต่อ) เงินกูย้ มื ระยะสั้นจากสถาบันการเงินสาหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ งบการเงินรวม ตั๋วสั ญญาใช้ เงิน ราคาตามบัญชีสุทธิตน้ ปี เงินกูย้ มื เพิ่ม ชาระคืนเงินกูย้ มื ราคาตามบัญชีสุทธิ ปลายปี

22

งบการเงินเฉพาะกิจการ

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

213,000,000 930,000,000 (903,000,000) 240,000,000

706,000,000 2,125,000,000 (2,618,000,000) 213,000,000

213,000,000 930,000,000 (903,000,000) 240,000,000

598,000,000 1,870,000,000 (2,255,000,000) 213,000,000

ภาษีมูลค่ าเพิม่ (สุ ทธิ) งบการเงินรวม

ภาษีขายยังไม่ถึงกาหนดชาระ ภาษีซ้ือยังไม่ถึงกาหนดชาระ ภาษีมูลค่าเพิ่มรอรับคืน ภาษีมูลค่าเพิ่มค้างจ่าย

งบการเงินเฉพาะกิจการ

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

(63,079,097) 38,078,673 910,318 (11,462,782) (35,552,888)

(55,474,132) 25,649,014 31,570,170 (6,667,137) (4,922,085)

(38,609,222) 2,156,201 (2,816,549) (39,269,570)

(23,908,251) 1,417,306 1,876,380 (20,614,565)

ภาษีมูลค่าเพิ่มแสดงรายการสุ ทธิตามหน่วยภาษี ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 ดังนี้ งบการเงินรวม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (สิ นทรัพย์) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (หนี้สิน)

งบการเงินเฉพาะกิจการ

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

3,816,152 (39,369,040) (35,552,888)

24,836,068 (29,758,153) (4,922,085)

(39,269,570) (39,269,570)

(20,614,565) (20,614,565)

74


180 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 23

เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน เงินกูย้ มื ระยะยาวจากสถาบันการเงินมีรายการเคลื่อนไหวสาหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 มีดงั นี้ งบการเงินรวม

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม กูเ้ พิ่มระหว่างปี จ่ายชาระคืนเงินกูย้ มื ระหว่างปี ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

666,085,000 (270,000,000) 396,085,000

444,060,000 222,025,000 666,085,000

ในระหว่างปี กลุ่มกิจการได้จ่ายชาระคืนเงินกูย้ มื ระยะยาวบางส่ วนก่อนวันครบกาหนดเป็ นจานวน 230 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 กลุ่มกิจการมีวงเงินกูย้ มื ระยะยาวจากสถาบันการเงินแห่งหนึ่งจานวน 1.60 พันล้านบาท (พ.ศ. 2560 : จานวน 1.60 พันล้านบาท) อัตราดอกเบี้ ย MLR ลบด้วยร้ อ ยละคงที่ ตามสั ญญา โดยชาระคืน เงิน ต้น งวดแรกในวัน ครบกาหนด ระยะเวลา 25 เดื อ นนับ จากวัน เบิ ก เงิน กู้ครั้ งแรกในวัน ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 และงวดต่ อ ไป ชาระเป็ นรายไตรมาส ทั้งนี้ กาหนดชาระคืนดอกเบี้ยทั้งหมดภายใน 96 เดือน นับตั้งแต่วนั เบิกเงินกูค้ รั้งแรก อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริ ง ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน มีดงั นี้ งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 ร้ อยละต่ อปี ร้ อยละต่ อปี เงินกูย้ มื ระยะยาวจากสถาบันการเงิน

4.25

4.25

75


181 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 23

เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน (ต่อ) ราคาตามบัญชีและมูลค่ายุติธรรมของเงินกูย้ มื ระยะยาว มีดงั นี้ งบการเงินรวม ราคาตามบัญชี พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท เงินกูย้ มื ระยะยาวจากสถาบันการเงิน

396,085,000 396,085,000

666,085,000 666,085,000

มูลค่ ายุติธรรม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท 396,085,000 396,085,000

666,085,000 666,085,000

มูล ค่ายุติธรรมของเงิน กู้ยืมส่ วนที่หมุน เวียนมีมูล ค่าเท่ ากับราคาตามบัญชี เนื่ อ งจากผลกระทบของอัตราคิ ดลดไม่มีส าระส าคัญ มูล ค่ ายุติธรรมคานวณจากกระแสเงิน สดในอนาคตซึ่ งคิ ดลดด้วยอัตราดอกเบี้ ยเงิ น กู้ยืม ที่ อ ัต ราร้ อ ยละ 4.25 ต่ อ ปี (พ.ศ. 2560 : ร้อยละ 4.25 ต่อปี ) และอยูใ่ นข้อมูลระดับ 2 ของลาดับขั้นมูลค่ายุติธรรม ณ วัน ที่ 31 ธัน วาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 ก าหนดระยะเวลาช าระคื น เงิ น ต้น ของเงิ น กู้ยืม ระยะยาวจากสถาบัน การเงิ น สรุ ปได้ดงั นี้

ถึงกาหนดชาระภายในปี สิ้นสุ ด ครบกาหนดชาระภายในไม่เกิน 1 ปี ครบกาหนดชาระเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี

งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 บาท 80,000,000 316,085,000 396,085,000

พ.ศ. 2560 บาท 40,000,000 626,085,000 666,085,000

76


182 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 24

ภาระผูกพันผลประโยชน์ พนักงาน ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้

งบแสดงฐานะการเงิน ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน

งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

99,545,179

78,422,968

96,134,656

72,801,538

รายการเคลื่อนไหวของภาระผูกพันผลประโยชน์ที่กาหนดไว้ระหว่างปี มีดงั นี้

ยอดต้นปี ต้นทุนบริ การปัจจุบนั ต้นทุนดอกเบี้ย กาไรจากการประมาณการ ตามหลักการคณิ ตศาสตร์ประกันภัย โอนย้ายระหว่างกลุ่มบริ ษทั จ่ายพนักงานเกษียณอายุ ยอดปลายปี

งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

96,134,656 1,676,695 1,927,078

97,959,294 10,080,582 3,181,556

72,801,534 521,813 1,386,989

84,092,281 (635,893) 2,374,810

(193,250) 99,545,179

(15,086,776) 96,134,656

3,712,632 78,422,968

(13,029,660) 72,801,538

งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ อัตราคิดลด อัตราการเพิ่มของเงินเดือน อัตราการลาออก อัตราการตาย อัตราเงินเฟ้อ

พ.ศ. 2561

พ.ศ. 2560

ร้อยละ 1.42 - 4.17 ร้อยละ 7.00 - 7.50 ร้อยละ 0.00 - 30.00 ร้อยละ 1.00 ร้อยละ 2.50

ร้อยละ 1.42 - 4.17 ร้อยละ 7.00 - 7.50 ร้อยละ 0.00 - 30.00 ร้อยละ 1.00 ร้อยละ 2.50

77


183 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 24

ภาระผูกพันผลประโยชน์ พนักงาน (ต่อ) การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของข้อสมมติหลักในการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัย ภาระผูกพันผลประโยชน์ พนักงานเพิม่ ขึน้ (ลดลง) งบการเงินรวม พ.ศ.2561 พ.ศ.2560 บาท บาท

การเปลีย่ นแปลงใน ข้ อสมมติฐาน อัตราคิดลด อัตราคิดลด อัตราการเพิ่มของเงินเดือน อัตราการเพิ่มของเงินเดือน อัตราการลาออก อัตราการลาออก อัตราการตาย อัตราการตาย

เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ลดลงร้อยละ 1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ลดลงร้อยละ 1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ลดลงร้อยละ 20 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ลดลงร้อยละ 1

(10,656,521) 12,381,507 12,777,159 (11,186,320) (12,879,515) 16,094,243 321,933 (355,873)

(10,062,514) 11,738,964 11,119,026 (9,768,443) (11,016,761) 13,653,042 276,355 (304,910)

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ.2561 พ.ศ.2560 บาท บาท (7,627,191) 8,800,828 9,129,935 (8,048,025) (8,838,771) 10,863,124 212,746 (234,261)

(6,910,711) 7,983,440 7,558,633 (6,703,751) (7,071,202) 8,576,985 169,840 (186,174)

การวิเคราะห์ความอ่อนไหวข้างต้นนี้ อา้ งอิงจากการเปลี่ยนแปลงข้อสมมติ ขณะที่ให้ขอ้ สมมติอื่นคงที่ ในทางปฏิบตั ิสถานการณ์ ดังกล่ าวยากที่ จะเกิ ดขึ้ น และการเปลี่ ยนแปลงในข้อสมมติอ าจมีความสั มพัน ธ์กัน ในการคานวณการวิเคราะห์ ความอ่ อ นไหว ของภาระผูกพันผลประโยชน์ที่กาหนดไว้ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงในข้อสมมติหลักได้ใช้วธิ ีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2561 สภานิ ติบญ ั ญัติแห่ งชาติได้มีมติผ่านร่ างพระราชบัญญัติคุม้ ครองแรงงานฉบับใหม่ ซึ่ งกฎหมายดังกล่าว อยู่ในระหว่างรอประกาศในราชกิ จจานุ เบกษา พระราชบัญญัติคุม้ ครองแรงงานฉบับใหม่น้ ี กาหนดอัตราค่าชดเชยเพิ่มเติมกรณี นายจ้างเลิกจ้าง สาหรับลูกจ้างซึ่ งทางานติดต่อกันครบ 20 ปี ขึ้นไปให้มีสิทธิ ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุ ดท้าย 400 วัน สุ ดท้าย การเปลี่ ยนแปลงดังกล่ าวถื อ เป็ นการแก้ไขโครงการส าหรั บ โครงการผลประโยชน์ หลังออกจากงาน และมีผลกระทบ ให้บ ริ ษ ัทและบริ ษ ัทย่อ ยมีหนี้ สิ นส ารองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ บ ริ ษ ัท และบริ ษ ัท ย่อยอยู่ระหว่างการ ประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวโดยนักคณิ ตศาสตร์ประกันภัยอิสระ 25

หนี้สินไม่ หมุนเวียนอื่น งบการเงินรวม

เงินมัดจารับ เงินค้ าประกันผลงาน อื่น ๆ

งบการเงินเฉพาะกิจการ

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

66,000 6,135,874 47,363 6,249,237

66,000 10,964,224 37,363 11,067,587

66,000 686,874 25,000 777,874

66,000 798,874 15,000 879,874 78


184 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 26

ทุนเรื อนหุ้น 26.1 ทุนเรื อนหุ้นและส่ วนเกินมูลค่ าหุ้น งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ

ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 การออกหุน้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 การออกหุน้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

จานวนหุ้นสามัญ หุ้น

หุ้นสามัญ บาท

ส่ วนเกินมุลค่ าหุ้น บาท

1,009,937,646 209,746 1,010,147,392 1,800 1,010,149,192

1,009,937,646 209,746 1,010,147,392 1,800 1,010,149,192

255,824,816 2,412,079 258,236,895 20,700 258,257,595

26.2 การเพิม่ ทุนจดทะเบียนของบริษัท ในการประชุมสามัญผูถ้ ือหุน้ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 ผูถ้ ือหุน้ ได้มีมติอนุมตั ิเพิ่มทุนจากทุนของบริ ษทั จดทะเบียนเดิม 1,009,937,646 บาท เป็ นทุ น จดทะเบี ย นใหม่ 1,203,270,516 บาทโดยออกหุ ้ น สามัญ ใหม่ จ านวน 193,332,870 หุ ้ น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 193,332,870 บาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิ ของใบสาคัญแสดงสิ ทธิที่จะซื้ อหุ ้นสามัญของบริ ษทั รุ่ นที่ 3 (RS-W3) จานวน 193,332,870 หุน้ และบริ ษทั ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนกับกระทรวงพาณิ ชย์ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 มีผแู ้ สดงความจานงในการใช้สิทธิ ใบสาคัญแสดงสิ ทธิ จานวน 209,746 หน่ วย เพื่อซื้ อหุ ้นสามัญ จานวน 209,746 หุ ้น ราคาใช้สิ ท ธิ ห น่ วยละ 12.5 บาท รวมเป็ นจานวนทั้งสิ้ น 2,621,825 บาท ซึ่ งบริ ษัท ได้รับ ชาระแล้ว เต็มจานวน และบริ ษทั ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนกับกระทรวงพาณิ ชย์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561 มีผแู ้ สดงความจานงในการใช้สิทธิ ใบสาคัญแสดงสิ ทธิ จานวน 1,800 หน่ วย เพื่อซื้ อหุ ้นสามัญ จ านวน 1,800 หุ ้ น ราคาใช้สิ ท ธิ ห น่ ว ยละ 12.50 บาท รวมเป็ นจ านวนทั้ง สิ้ น 22,500 บาท ซึ่ งบริ ษัท ได้ รั บ ช าระแล้ว เต็มจานวน และจดทะเบียนเพิ่มทุนกับกระทรวงพาณิ ชย์ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 26.3 การลดทุนจดทะเบียนของบริษัทย่ อย ในการประชุมผูถ้ ือหุ ้นของบริ ษทั อาร์ เอส อินเตอร์ เนชัน่ แนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ ต แมเนจเม้นท์ จากัด บริ ษทั ย่อย แห่ งหนึ่ งเมื่ อ วัน ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560 ที่ ป ระชุ มได้มี มติ ล ดทุ น จดทะเบี ยนของบริ ษ ัท ย่อ ยจาก 37,500,000 บาทเป็ น 9,375,000 บาท โดยลดหุ ้นสามัญจานวน 281,250 หุ ้น มูลค่ าหุ ้น ละ 100 บาท เป็ นจานวนเงิน 28,125,000 บาท บริ ษัทได้ จดทะเบียนลดทุนกับกระทรวงพาณิ ชย์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560 โดยจ่ายเงินคืนให้กับส่ วนได้เสี ยที่ไม่มีอานาจควบคุม เป็ นจานวนเงิน 4,687,500 บาท

79


185 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 26

ทุนเรื อนหุ้น (ต่อ) 26.4 ใบสาคัญแสดงสิ ทธิซื้อหุ้น ใบสาคัญแสดงสิ ทธิ ที่จะซื้ อหุ ้นสามัญของบริ ษทั อาร์ เอส จากัด (มหาชน) สาหรับสาหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 ดังนี้ งบการเงินรวม/ งบการเงิน เฉพาะกิจการ ใบสาคัญแสดงสิ ทธิรุ่นที่ 3 (RS-W3) หน่ วย

ใบสาคัญแสดงสิ ทธิที่จดั สรรให้ผถู ้ ือหุน้ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ใบสาคัญแสดงสิ ทธิที่ถูกใช้ จานวนใบสาคัญแสดงสิ ทธิคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ใบสาคัญแสดงสิ ทธิที่ถูกใช้ จานวนใบสาคัญแสดงสิ ทธิคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

193,332,760 (209,746) 193,123,014 (1,800) 193,121,214

ในการประชุมสามัญผูถ้ ือหุ ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 ผูถ้ ือหุ ้นได้มีมติให้บริ ษทั ดาเนิ นการออกและจัดสรรใบสาคัญ แสดงสิ ทธิจะซื้ อหุ ้นสามัญของบริ ษทั รุ่ นที่ 3 (RS-W3) จานวน 193,332,870 หน่ วย ให้แก่ผถู ้ ือหุ ้นเดิมของบริ ษทั ที่มีรายชื่อ ปรากฎในสมุดทะเบียนผูถ้ ือหุ ้น ณ วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560 และรวบรวมรายชื่ อตามมาตรา 225 ของพระราชบัญญัติ หลัก ทรั พ ย์และตลาดหลักทรพัย ์ พ.ศ. 2535 โดยวิธี ปิ ดสมุ ดทะเบี ยนในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560 ในอัตราส่ วนการถื อ หุน้ สามัญเดิม 5 หุน้ ต่อใบสาคัญแสดงสิ ทธิ 1 หน่วย โดยไม่คิดมูลค่า กรณี มีเศษของใบสาคัญแสดงสิ ทธิเหลือจากการคานวณ ตามอัตราส่ วนการจัดสรรใบสาคัญแสดงสิ ทธิดงั กล่าว ให้ตดั เศษดังกล่าวทิ้งทั้งจานวน จานวนหุน้ ที่รองรับการใช้สิทธิ มีจานวน 193,332,870 หุ ้น มูล ค่ าที่ ตราไว้หุ้น ละ 1.00 บาท ทั้งนี้ ใบส าคัญ แสดงสิ ท ธิ ที่ ส ามารถใช้สิ ท ธิ ซ้ื อ หุ ้น สามัญ ได้มี จานวน 193,332,760 สิ ทธิ โดยใบสาคัญแสดงสิ ทธิ 1 หน่ วยสามารถใช้สิทธิ ซ้ื อหุ ้นได้ 1 หุ ้น ในราคาหุ ้นละ 12.50 บาท โดยกาหนด การใช้สิทธิครั้งแรกคือ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ผูถ้ ือใบส าคัญแสดงสิ ทธิ ซ่ ึ งประสงค์จะใช้สิ ทธิ ในการซื้ อหุ ้นสามัญของบริ ษ ัท จะต้องแจ้งความจานงในการใช้สิท ธิ ซ้ื อ หุน้ สามัญของบริ ษทั ในระหว่างเวลา 9.00 น. ถึง 15.00 น. ภายในระยะเวลา 5 วันทาการก่อนวันกาหนดการใช้สิทธิในแต่ละครั้ง (“ระยะเวลาแจ้งความจานงในการใช้สิทธิ ”) เว้นแต่การแสดงความจานงในการใช้สิทธิซ้ื อหุน้ สามัญตามใบสาคัญแสดงสิ ทธิ ครั้ งสุ ด ท้าย ก าหนดให้ แ สดงความจ านงในการใช้สิ ท ธิ ใ นช่ ว งระยะเวลา 15 วัน ก่ อ นก าหนดการใช้สิ ท ธิ ค รั้ งสุ ด ท้าย (“ระยะเวลาแจ้งความจานงในการใช้สิทธิครั้งสุ ดท้าย”) เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 มีผแู ้ สดงความจานงในการใช้สิทธิ ใบสาคัญแสดงสิ ทธิ จานวน 209,746 หน่ วย เพื่อซื้ อหุ ้นสามัญ จานวน 209,746 หุ ้น ราคาใช้สิ ท ธิ ห น่ วยละ 12.5 บาท รวมเป็ นจานวนทั้งสิ้ น 2,621,825 บาท ซึ่ งบริ ษัท ได้รับ ชาระแล้ว เต็มจานวนและจดทะเบียนเพิ่มทุนกับกระทรวงพาณิ ชย์เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561 มีผแู ้ สดงความจานงในการใช้สิทธิ ใบสาคัญแสดงสิ ทธิ จานวน 1,800 หน่ วย เพื่อซื้ อหุ ้นสามัญ จ านวน 1,800 หุ ้ น ราคาใช้สิ ท ธิ ห น่ ว ยละ 12.50 บาท รวมเป็ นจ านวนทั้ง สิ้ น 22,500 บาท ซึ่ งบริ ษัท ได้รั บ ช าระแล้ว เต็มจานวน และจดทะเบียนเพิ่มทุนกับกระทรวงพาณิ ชย์ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 80


186 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 26

ทุนเรื อนหุ้น (ต่อ) 26.4 ใบสาคัญแสดงสิ ทธิซื้อหุ้น (ต่อ) เนื่องจากเมื่อวันที่ 8 สิ งหาคม พ.ศ. 2561 ที่ประชุมคณะกรรมการบริ ษทั ครั้งที่ 3/2561 มีมติอนุ มตั ิให้จ่ายเงินปั นผลระหว่างกาล ซึ่ งการจ่ายเงินปั นผลดังกล่าวเป็ นผลให้บริ ษทั ต้องดาเนิ นการปรั บราคาใช้สิทธิ และอัตราใช้สิทธิ ใหม่ของใบสาคัญแสดง สิ ทธิ ซ้ือหุน้ โดยเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2561 บริ ษทั ได้ประกาศรายละเอียดการใช้สิทธิซ้ื อหุน้ ตามใบสาคัญแสดงสิ ทธิ โดย เปลี่ยนแปลงราคาใช้สิทธิ เดิมจาก 12.50 บาทต่อ 1 หุ ้นสามัญ เป็ น 12.483 บาทต่อ 1 หุ ้นสามัญ และ อัตราการใช้สิทธิ เดิม จาก 1 หน่วย ต่อ 1 หุน้ สามัญ เป็ น 1 หน่วย ต่อ 1.0014 หุน้ สามัญ ซึ่งจะมีผลต่อการใช้สิทธิในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561 26.5 หุ้นสามัญซื้ อคืน/สารองหุ้นสามัญซื้ อคืน หุน้ สามัญซื้อคืน เมื่อ วัน ที่ 2 กุมภาพัน ธ์ พ.ศ. 2559 ที่ ป ระชุ มคณะกรรมการของบริ ษ ัท ครั้ งที่ 1/2559 มีมติ ให้บ ริ ษ ัท ดาเนิ น การซื้ อ หุ ้น คื น โดยมีรายละเอียดดังนี้  วงเงินสู งสุ ดที่ใช้ในการซื้อหุน้ คืนไม่เกิน 470.00 ล้านบาท  จานวนหุ ้นที่ จะซื้ อคืนไม่เกิ น 50.70 ล้านหุ ้น มูลค่าที่ ตราไว้หุ้น ละ 1 บาท จานวนหุ ้นที่จะซื้ อคื นไม่เกิ นร้ อยละ 5.02 ของหุน้ ที่จาหน่ายได้แล้วทั้งหมด  วิธีการในการซื้อหุน้ คืนโดยซื้อในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  กาหนดระยะเวลาที่จะซื้อหุน้ คืนภายในระยะเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่วนั ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559  หลักเกณฑ์ในการกาหนดราคาหุ ้นที่จะซื้ อคืน โดยให้นาราคาหุ ้นเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วันก่อนที่บริ ษทั จะทาการเปิ ดเผย ข้อมูลมาประกอบการพิจารณากาหนดราคาซื้ อคืน ราคาซื้ อคืนจะไม่เกินกว่าราคาปิ ดของหุ ้นเฉลี่ย 5 วันทาการซื้อขาย ก่อนหน้าวันที่ทาการซื้อขายในแต่ละครั้งบวกด้วยจานวนร้อยละ 15 ของราคาปิ ดเฉลี่ยดังกล่าว ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 บริ ษทั ได้ซ้ื อหุ ้นทุนซื้ อคืนจานวน 4,840,300 หุ ้น ในราคาระหว่างหุ ้นละ 9.10 บาท ถึง 9.70 บาท รวมเป็ นจานวนเงิน 45,850,070 บาท ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 บริ ษทั ได้ซ้ื อหุ ้นทุนซื้ อคืนจานวน 9,637,600 หุ ้น ในราคาระหว่างหุ ้นละ 10.10 บาท ถึง 10.60 บาท รวมเป็ นจานวนเงิน 99,155,940 บาท ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 บริ ษทั ได้ซ้ื อหุ ้นทุนซื้ อคืนจานวน 13,740,600 หุ ้น ในราคาระหว่างหุ ้นละ 10.10 บาทถึง 12.10 บาท รวมเป็ นจานวนเงิน 151,530,140 บาท ในเดื อ นพฤษภาคม พ.ศ. 2559 บริ ษ ัท ได้ซ้ื อ หุ ้ น ทุ น ซื้ อ คื น จานวน 15,054,800 หุ ้ น ในราคาระหว่างหุ ้น ละ 10.40 บาท ถึง 11.70 บาท รวมเป็ นจานวนเงิน 168,738,690 บาท วัน ที่ 21 กุ ม ภาพัน ธ์ พ.ศ. 2561 ที่ ป ระชุ ม คณะกรรมการบริ ษัท ครั้ งที่ 1/2561 มี ม ติ อ นุ ม ัติ ก ารจ าหน่ า ยหุ ้ น ที่ ซ้ื อคื น จานวน 43,273,300 หุ ้น คิดเป็ นร้อยละ 4.28 ของหุ ้นที่จาหน่ ายแล้วทั้งหมด โดยขายในตลาดหลักทรั พย์แห่ งประเทศไทย มีกาหนดระยะเวลาการขายหุน้ ที่ซ้ือคืนตั้งแต่วนั ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

81


187 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 26

ทุนเรื อนหุ้น (ต่อ) 26.5 หุ้นสามัญซื้ อคืน/สารองหุ้นสามัญซื้ อคืน97 รายการเคลื่อนไหวของหุ ้นสามัญซื้ อคืนและส่ วนเกิ นมูลค่าหุ ้นสามัญซื้ อคืนสาหรั บปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 เป็ นดังนี้ งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ

ยอดคงเหลือต้นปี ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ซื้อคืน ยอดคงเหลือปลายปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ซื้อคืน ยอดคงเหลือปลายปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 27

จานวนหุ้น

มูลค่ าของ หุ้นสามัญซื้ อคืน บาท

ส่ วนเกินมูลค่ า หุ้นสามัญซื้ อคืน บาท

43,273,300 43,273,300 43,273,300

465,274,840 465,274,840 465,274,840�

(600,184) (600,184) (600,184)

การจ่ ายเงินปันผล ในการประชุมคณะกรรมการบริ ษทั ครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 8 สิ งหาคม พ.ศ. 2561 ที่ประชุมได้มีมติอนุมตั ิจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล สาหรั บงวดหกเดือนสิ้ นสุ ด ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ในอัตราหุ ้นละ 0.25 บาท เป็ นจานวนเงินรวม 241,718,973 บาท ซึ่ งบริ ษทั ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561 ในการประชุมสามัญผูถ้ ือหุ ้นประจาปี ของบริ ษทั เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561 ที่ประชุมผูถ้ ือหุ ้นได้มีมติอนุ มตั ิงดจ่ายเงินปั นผล จากผลการดาเนินงานสาหรับปี พ.ศ. 2560 ในการประชุมสามัญผูถ้ ือหุ ้นประจาปี ของบริ ษทั เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 ที่ประชุมผูถ้ ือหุ ้นได้มีมติอนุ มตั ิงดจ่ายเงินปั นผล จากผลการดาเนินงานสาหรับปี พ.ศ. 2559

82


188 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 28

รายได้อื่น

กาไร(ขาดทุน)สุ ทธิจากอัตราแลกเปลี่ยน กาไร(ขาดทุน)จากการจาหน่ายอาคารและ อุปกรณ์ และสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน รายได้ดอกเบี้ย รายได้เงินปันผล (หมายเหตุ 12) รายได้ค่าเช่า รายได้จากการบริ หารจัดการ (หมายเหตุ 34 ก) รายได้จากการละเมิดลิขสิ ทธิ์ รายได้อื่น

29

ค่ าใช้ จ่ายอื่น

ขาดทุนจากการตัดจาหน่ายอาคาร และอุปกรณ์ และสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน กลับรายการ(ขาดทุนจาก)ด้อยค่าสิ นทรัพย์ หมุนเวียนอื่นและสิ นทรัพย์ไม่หมุนเวียน กลับรายการด้อยค่าจากเงินลงทุนในบริ ษทั ร่ วม กลับรายการ(ขาดทุนจาก)ด้อยค่าจากเงินลงทุน ในบริ ษทั ย่อย ขาดทุนจากการปิ ดกิจการของบริ ษทั ย่อย

ค่าความเสี ยหาย ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

(211,816)

8,873

(483,486)

(93,719)

(818,508) 1,071,311 167,700 432,682 33,108,258 33,749,627

(52,717) 1,143,323 258,100 348,411 24,938,608 26,644,598

(732,070) 35,230,160 268,171,848 2,379,250 344,624,130 31,018,750 680,208,582

447,793 31,750,488 355,556,461 2,819,900 310,747,910 22,688,405 723,917,238

งบการเงินรวม สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม

งบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

(2)

(228)

(2)

(69)

74,488 2,138

(217,046) -

74,488 -

(80,000) -

(3,250,486) (3,173,862)

(1,629,877) (1,847,151)

10,460,697 (10,452,343) (600,000) (517,160)

(2,132,441) (1,308,696) (3,521,205)

83


189 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 30

ค่ าใช้ จ่ายตามลักษณะ ค่าใช้จ่ายที่สาคัญสาหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 ถูกจัดประเภทตามลักษณะดังต่อไปนี้ ซึ่ งแสดงรวมไว้ ในกาไร(ขาดทุน)ก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้

การเปลี่ยนแปลงในสิ นค้าสาเร็ จรู ป และงานระหว่างทา ต้นทุนบริ การและวัตถุดิบใช้ไป ค่าใช้จ่ายพนักงาน ค่าเสื่ อมราคา (หมายเหตุ 13) ค่าตัดจาหน่าย (หมายเหตุ 14 และ 15) ค่าเช่าและค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายในการส่ งเสริ มการขายและโฆษณา ขาดทุนจากการด้อยค่าสิ นทรัพย์ ขาดทุนจากการทาลายสิ นค้า และค่าเผือ่ สิ นค้าล้าสมัย ค่าขนส่ ง 31

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

11,826,636 1,535,861,300 760,927,998 115,623,100 475,836,608 120,825,361 140,056,272 10,950,364

(140,776,586) 1,684,067,684 687,596,460 119,092,915 439,080,070 106,979,124 137,264,242 13,583,697

16,624,103 111,638,802

(46,123,603) 92,429,912

(9,310,161) 371,728,436 426,764,506 103,636,110 43,415,431 89,697,220 55,380,912 10,952,503 -

836,209 375,996,912 393,074,749 110,457,967 31,648,076 77,877,458 82,405,808 13,625,704 -

ต้ นทุนทางการเงิน งบการเงินรวม สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท ดอกเบี้ยจ่ายเงินกูย้ มื ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ดอกเบี้ยจ่ายเงินกูย้ มื ระยะสั้นจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 34 ก)) ดอกเบี้ยจ่ายหนี้สินภายใต้สัญญาเช่าการเงิน ดอกเบี้ยจ่ายจากค่าใบอนุ ญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และประกอบกิจการโทรทัศน์ตดั จ่าย

งบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

(30,216,105)

(47,127,837)

(5,568,167)

(15,847,474)

(1,190,817)

(1,687,117)

(4,472,289) (1,190,817)

(1,919,928) (1,687,117)

(36,932,673) (68,339,595)

(41,656,432) (90,471,386)

(11,231,273)

(19,454,519)

84


190 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 32

ภาษีเงินได้ รายการกระทบยอดภาษีเงินได้สาหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้

ภาษีเงินได้ในงวดปั จจุบนั สาหรับกาไรทางภาษี สาหรับปี ภาษีเงินได้ปีก่อนบันทึกสู งไป ภาษีเงินได้ปีก่อนบันทึกต่าไป ตัดจาหน่ายภาษีเงินได้หกั ณ ที่จ่ายที่คาดว่า จะไม่ได้รับคืน ค่าเผือ่ ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายที่คาดว่า จะไม่ได้รับคืน กลับรายการค่าเผือ่ ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย ที่คาดว่าจะไม่ได้รับคืน รายการที่เกิดจากผลแตกต่างชัว่ คราว (หมายเหตุ 17) รวม(ค่าใช้จ่าย)รายได้ภาษีเงินได้

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

(66,249,022) 1,080,000 (12,668)

(59,763,081) 6,192 -

(927,856)

(7,805,101)

(281,362)

(541,720)

873,052 (42,314,471) (107,832,327)

7,587,168 (26,676,401) (87,192,943)

(1,094)

(148,513)

-

-

(701,040) (702,134)

27,487,994 27,339,481

85


191 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 32

ภาษีเงินได้ (ต่อ) รายการกระทบยอดภาษีเงินได้สาหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

กาไรก่อนภาษีทางบัญชี

623,870,008

420,216,238

365,767,750

214,200,173

ภาษีคานวณจากอัตราภาษีร้อยละ 20 ผลกระทบ: ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถหักภาษี ค่าใช้จ่ายที่สามารถหักเพิ่มได้ ผลแตกต่างชัว่ คราวที่ไม่ได้บนั ทึกเป็ นสิ นทรัพย์ ค่าเผือ่ เงินลงทุนของบริ ษทั ร่ วมและบริ ษทั ย่อย ค่าเผือ่ ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายที่คาดว่า จะไม่ได้รับคืน รายได้ที่ไม่ตอ้ งเสี ยภาษี - เงินปันผลรับ ผลแตกต่างชัว่ คราวระหว่างมูลค่าคงเหลือ ของสิ นค้าคงเหลือในงบแสดงฐานะการเงิน รวมและฐานภาษี ภาษีเงินได้ปีก่อนบันทึกสู งไป ภาษีเงินได้ปีก่อนบันทึกต่าไป ภาษีเงินได้

(124,774,002)

(84,043,248)

(73,153,550)

(42,840,035)

(7,990,550) 3,695,689 (1,150,396) 20,415,347

3,315,140 4,126,552 55,188 33,946

(3,075,770) 2,555,107 (995,625) 20,414,919

(3,645,685) 2,946,014 (140,475) 56,883

164,476 -

(759,654) -

(81,585) 53,634,370

(148,513) 71,111,292

739,776 1,080,000 (12,668) (107,832,327)

6,192 (87,192,943)

(702,134)

27,339,481

86


192 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 33

กาไร(ขาดทุน)ต่ อหุ้น 33.1 กาไร(ขาดทุน)ต่ อหุ้นขั้นพื้นฐาน กาไร(ขาดทุ น)ต่อ หุ ้น ขั้นพื้นฐานคานวณโดยการหารกาไร(ขาดทุน )ส่ วนที่เป็ นของผูถ้ ื อหุ ้น สามัญด้วยจานวนหุ ้นสามัญ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ าหนักที่ออกจาหน่ายในระหว่างปี

ส่ วนแบ่งกาไร(ขาดทุน)ที่เป็ นของ บริ ษทั ใหญ่ (บาท) จานวนหุน้ สามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ าหนัก (หุน้ ) กาไร(ขาดทุน)ต่อหุน้ ขั้นพื้นฐาน (บาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560

516,039,530 966,875,251 0.5337

332,861,741 966,695,952 0.3443

365,065,616 966,875,251 0.3776

241,539,654 966,695,952 0.2499

33.2 กาไร(ขาดทุน)ต่ อหุ้นปรับลด กาไร(ขาดทุน)ต่อหุ ้นปรับลดคานวณโดยปรับจานวนหุ ้นสามัญถัวเฉลี่ยที่ถือโดยบุคคลกลุ่มภายนอกในระหว่างปี ปรับปรุ ง ด้วยจานวนหุน้ สามัญเทียบเท่าปรับลดโดยสมมุติว่าหุ ้นสามัญเทียบเท่าปรับลดได้แปลงเป็ นหุ ้นสามัญทั้งหมด กลุ่มบริ ษทั มี หุ ้นสามัญเทียบเท่าปรับลดคือใบสาคัญแสดงสิ ทธิ ที่จะซื้ อหุ ้นสามัญ บริ ษทั คานวณจานวนหุ ้นเทียบเท่าปรับลดโดยพิจารณา จากมูลค่ายุติธรรมซึ่ งขึ้นอยู่กบั มูลค่าที่เป็ นตัวเงินของราคาตามสิ ทธิ ซ้ื อหุ ้นที่มาพร้อมกับสิ ทธิ เลือกซื้ อหุ ้น (กาหนดจากราคา ถัวเฉลี่ยของหุ ้นสามัญของบริ ษทั ในระหว่างปี ) การคานวณนี้ ทาขึ้นเพื่อกาหนดจานวนหุน้ สามัญที่ตอ้ งบวกเพิ่มกับหุน้ สามัญที่ถือ โดยบุคคลภายนอกในการคานวณกาไร(ขาดทุน)ต่อหุน้ ปรับลด โดยไม่มีการปรับปรุ งกาไร(ขาดทุน)แต่อย่างใด

ส่ วนแบ่งกาไรที่เป็ นของ บริ ษทั ใหญ่ (บาท) จานวนหุน้ สามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ าหนัก ที่ออกจาหน่ายและชาระแล้ว (หุน้ ) การปรับปรุ ง : การใช้สิทธิของใบสาคัญแสดงสิ ทธิ จานวนหุน้ สามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ าหนัก ที่ใช้ในการคานวณกาไรต่อหุน้ ปรับลด (หุน้ ) กาไรต่อหุน้ ปรับลด (บาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560

516,039,530

332,861,741

365,065,616

241,539,654

966,875,251

966,695,952

966,875,251

966,695,952

81,049,943

33,579,802

81,049,943

33,579,802

1,047,925,194 0.4924

1,000,275,754 0.3328

1,047,925,194 0.3484

1,000,275,754 0.2415 87


193 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 34

รายการกับบุคคลหรื อกิจการที่เกีย่ วข้ องกัน บุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้องกันกับบริ ษทั หมายถึง บุคคลหรื อกิจการที่มีอานาจควบคุมบริ ษทั หรื อถูกควบคุมโดยบริ ษทั ไม่ว่าจะเป็ น โดยทางตรงหรื อทางอ้อม หรื ออยูภ่ ายใต้การควบคุมเดียวกันกับบริ ษทั รวมถึงบริ ษทั ที่ทาหน้าที่ถือหุน้ บริ ษทั ย่อยและกิจการที่เป็ น บริ ษทั ย่อยในเครื อเดียวกัน นอกจากนี้ บุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้องกันยังหมายรวมถึง บริ ษทั ร่ วมและบุคคลซึ่ งถือหุ ้นที่มีสิทธิออกเสี ยง ไม่ว่าทางตรงหรื อทางอ้อม และมีอิทธิ พลอย่างเป็ นสาระสาคัญกับบริ ษทั ผูบ้ ริ หารสาคัญ กรรมการหรื อพนักงานของบริ ษทั ตลอดทั้ง สมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิดกับบุคคลดังกล่าว และกิจการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านั้น ในการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้องกันกับบริ ษทั แต่ละรายการ บริ ษทั คานึ งถึงเนื้ อหาของความสัมพันธ์ มากกว่ารู ปแบบทางกฎหมาย เงินลงทุนในบริ ษทั ย่อยและบริ ษทั ร่ วมที่สาคัญเปิ ดเผยในหมายเหตุ 11 และ หมายเหตุ 12 รายการกับบุคคลหรื อบริ ษทั ที่เกี่ยวข้องกันที่สาคัญที่นอกเหนือจากบริ ษทั ย่อยและบริ ษทั ร่ วมสรุ ปได้ ดังนี้ บุคคลหรื อกิจการที่เกีย่ วข้ องกัน บริ ษทั เชษฐโชติศกั ดิ์ จากัด บริ ษทั ไอเดีย เพาเวอร์ จากัด บริ ษทั เม็มเบอร์ชิพ จากัด บริ ษทั เชษฐโชติ จากัด ผูบ้ ริ หาร

ลักษณะธุรกิจ ให้บริ การเช่าสถานที่ รับจ้างจัดกิจกรรม ให้บริ การเช่าสถานที่ ขายและให้บริ การ -

ลักษณะความสั มพันธ์ มีผถู ้ ือหุน้ และกรรมการร่ วมกัน บริ ษทั ร่ วม มีผถู ้ ือหุน้ และกรรมการร่ วมกัน มีผถู ้ ือหุน้ และกรรมการร่ วมกัน บุ คคลที่ มี อ านาจและความรั บ ผิด ชอบการวางแผน สั่ งการและ ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของกิจการไม่วา่ ทางตรงหรื อทางอ้อม ทั้งนี้ รวมถึ งกรรมการของกลุ่ ม กิ จ การ (ไม่ ว่า จะท าหน้ าที่ ใ นระดับ บริ หารหรื อไม่)

88


34

ก)

รวม

บริษัทย่ อย บริ ษทั อาร์.เอส.เทเลวิชนั่ จากัด บริ ษทั ไลฟ์ สตาร์ จากัด บริ ษทั คูลลิซ่ ึม จากัด บริ ษทั จัดเก็บลิขสิ ทธิ์ ไทย จากัด บริ ษทั บันเทิง วาไรตี้ จากัด บริ ษทั อาร์.เอส. สปอร์ตมาสเตอร์ จากัด 20,580,002 106,084,167 12,337,534 15,200,000 154,201,703

รายได้ ธุรกิจสื่ อ 4,722,200 246,900 33,465,430 38,434,530

รายได้ ธุรกิจ จัดจาหน่ าย เพลง -

รายได้ ธุรกิจ รับจ้ างและ ผลิตกิจกรรม 7,429,800 7,429,800

รายได้ ธุรกิจ และบริการ อื่นๆ 206,755,830 129,013,164 4,222,920 4,632,216 344,624,130

รายได้ จากการ บริหารจัดการ

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (บาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ

รายได้และค่าใช้จ่ายระหว่างกลุ่มกิจการกับบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกันสาหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560

รายการค้าที่สาคัญกับบุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้องกัน สามารถสรุ ปได้ดงั นี้

รายการกับบุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้ องกัน (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

34,893,753 6,904 93,600 34,994,257

ดอกเบีย้ รับ

รายได้ อื่น

89

85,184 8,966,775 1,628,321 10,680,280

รายได้ อื่น

194 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1


34

ก)

รวม

บริษัทย่ อย บริ ษทั อาร์.เอส.เทเลวิชนั่ จากัด บริ ษทั ไลฟ์ สตาร์ จากัด บริ ษทั คูลลิซ่ ึม จากัด บริ ษทั จัดเก็บลิขสิ ทธิ์ ไทย จากัด บริ ษทั บันเทิง วาไรตี้ จากัด บริ ษทั อาร์.เอส. สปอร์ตมาสเตอร์ จากัด 49,568,104 57,135,422 6,845,000 113,548,526

รายได้ ธุรกิจสื่ อ 630,250 622,000 41,331,814 210,000 42,794,064

รายได้ ธุรกิจ จัดจาหน่ าย เพลง 13,075,865 13,075,865

รายได้ ธุรกิจ รับจ้ างและ ผลิตกิจกรรม 10,557,778 10,557,778

รายได้ ธุรกิจ และบริการ อื่นๆ

198,466,895 59,171,222 48,045,817 5,063,976 310,747,910

รายได้ จากการ บริหารจัดการ

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (บาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ

รายได้และค่าใช้จ่ายระหว่างกลุ่มกิจการกับบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกันสาหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 (ต่อ)

รายการค้าที่สาคัญกับบุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้องกัน สามารถสรุ ปได้ดงั นี้ (ต่อ)

รายการกับบุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้ องกัน (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

31,458,356 93,600 31,551,956

ดอกเบีย้ รับ

รายได้ อื่น

90

152,095 6,932,131 18,668 369,835 7,472,729

รายได้ อื่น

195 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )


34

ก)

รวม

บริ ษทั เชษฐโชติศกั ดิ์ จากัด บริ ษทั เม็มเบอร์ซิพ จากัด บริ ษทั เชษฐโชติ จากัด คณะบุคคลเชษฐ์โชติศกั ดิ์

รวม

บริ ษทั เชษฐโชติศกั ดิ์ จากัด บริ ษทั เม็มเบอร์ซิพ จากัด บริ ษทั เชษฐโชติ จากัด คณะบุคคลเชษฐโชติศกั ดิ์

20,415,986 20,415,986

51,446,476 3,306,000 45,535 110,000 54,908,011

50,109,021 3,222,000 264,000 53,595,021

20,063,406 20,063,406

91

39,748,273 3,222,000 264,000 43,234,273

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (บาท) ต้ นทุนขายและ ค่าใช้ จ่ายในการขาย บริการ และบริหาร

20,063,406 9,649,674 29,713,080

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (บาท) ต้ นทุนขายและ ค่าใช้ จ่ายในการขาย บริการ และบริหาร

งบการเงินเฉพาะกิจการ

60,311,728 3,306,000 45,535 110,000 63,773,263

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (บาท) ต้ นทุนขายและ ค่าใช้ จ่ายในการขาย บริการ และบริหาร

20,564,486 10,107,880 30,672,366

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (บาท) ต้ นทุนขายและ ค่าใช้ จ่ายในการขาย บริการ และบริหาร

งบการเงินรวม

รายได้และค่าใช้จ่ายระหว่างกลุ่มกิจการกับบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกันสาหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 (ต่อ)

รายการกับบุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้ องกัน (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

196 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1


34

ก)

* เลิกกิจการ

รวม

บริ ษทั คูลลิซ่ ึม จากัด บริ ษทั จัดเก็บลิขสิ ทธิ์ ไทย จากัด บริ ษทั อะลาดิน เฮ้าส์ จากัด* บริ ษทั เวรี่ เวลล์ จากัด* บริ ษทั บลูแฟร์ รี่ จากัด* บริ ษทั อาร์ เอส อินเตอร์เนชัน่ แนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเม้นท์ จากัด บริ ษทั บันเทิง วาไรตี้ จากัด บริ ษทั กู๊ดไลฟ์ กรุ๊ ป จากัด

บริษทั ย่อย บริ ษทั อาร์.เอส.เทเลวิชนั่ จากัด บริ ษทั ไลฟ์ สตาร์ จากัด 40,090,560 413,235 374,786 40,878,581

ต้ นทุนขายและ บริการ 471,450 176,907 2,908,477 3,556,834

ค่าใช้ จ่าย ในการขาย และบริหาร 3,469,733 512,464 283,451 147,244 1,942 66,164 4,480,998

ต้ นทุน ทางการเงิน - ดอกเบีย้ จ่ าย 13,120,205 5,071,656 18,191,861

ต้ นทุนขายและ บริการ

2,914,618 121,860 20,000 3,056,478

ค่าใช้ จ่าย ในการขาย และบริหาร

92

450,171 895,750 27,158 57,067 56,717 57,067 286,943 19,826 69,229 1,919,928

ต้ นทุน ทางการเงิน - ดอกเบีย้ จ่ าย

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (บาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (บาท)

รายได้และค่าใช้จ่ายระหว่างกลุ่มกิจการกับบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกันสาหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 (ต่อ)

รายการกับบุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้ องกัน (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 197 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )


34

ข)

-

-

รายได้ ค้างรับ

** อยูภ่ ายใต้กระบวนการล้มละลายและได้พิทกั ษ์ทรัพย์เด็ดขาด

รวม

บริษัทย่ อย บริ ษทั เอส - วัน สปอร์ต จากัด**

ลูกหนีก้ ารค้ า 2,489,884 2,489,884

(2,489,884) (2,489,884)

ค่ าเผื่อ หนีส้ งสั ยจะสู ญ ดอกเบีย้ ค้ างรับ - ดอกเบีย้ ค้ างรับ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (บาท)

ยอดคงเหลือที่เกิดจากการลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560

รายการกับบุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้ องกัน (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

-

เงินทดรองจ่ าย -

ลูกหนีก้ ารค้ า

งบการเงินรวม

-

รายได้ ค้างรับ

2,489,884 2,489,884

(2,489,884) (2,489,884)

ค่ าเผื่อ หนีส้ งสั ยจะสู ญ ดอกเบีย้ ค้ างรับ - ดอกเบีย้ ค้ างรับ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (บาท)

-

93

เงินทดรองจ่ าย

198 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1


34

ข)

* เลิกกิจการ

บริษัทย่ อย บริ ษทั อาร์.เอส.เทเลวิชนั่ จากัด บริ ษทั ไลฟ์ สตาร์ จากัด บริ ษทั คูลลิซ่ ึม จากัด บริ ษทั จัดเก็บลิขสิ ทธิ์ ไทย จากัด บริ ษทั อาร์ อัลไลแอนซ์ จากัด บริ ษทั ย๊าค จากัด บริ ษทั อะลาดิน เฮ้าส์ จากัด* บริ ษทั เวรี่ เวลล์ จากัด* บริ ษทั บลูแฟร์รี่ จากัด* บริ ษทั กู๊ดไลฟ์ กรุ๊ ป จากัด บริ ษทั บันเทิง วาไรตี้ จากัด บริ ษทั อาร์.เอส. สปอร์ตมาสเตอร์ จากัด บริ ษทั เอส-วันสปอร์ต จากัด รวม 379,270,126 38,732,441 2,606,560 1,067,315 9,488,818 431,165,260

ลูกหนีก้ ารค้ า 4,642,970 4,642,970

รายได้ ค้างรับ 5,989,446 1,801,222 2,489,884 10,280,552

(1,038,359) (2,489,884) (3,528,243)

ค่ าเผื่อ หนีส้ งสั ยจะสู ญ ดอกเบีย้ ค้ างรับ - ดอกเบีย้ ค้ างรับ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (บาท)

ยอดคงเหลือที่เกิดจากการลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ อื่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 (ต่อ)

รายการกับบุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้ องกัน (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

302,904 302,904

เงินทดรองจ่ าย 225,637,832 20,274,261 4,287,766 1,158,077 7,548,850 258,906,786

ลูกหนีก้ ารค้ า

งบการเงินเฉพาะกิจการ

74,500,284 5,871,187 80,371,471

รายได้ ค้างรับ 5,644,241 1,707,622 2,489,884 9,841,747

(920,181) (2,489,884) (3,410,065)

ค่ าเผื่อ หนีส้ งสั ยจะสู ญ ดอกเบีย้ ค้ างรับ - ดอกเบีย้ ค้ างรับ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (บาท)

94

1,121 4,655 6,763 3,555 6,929 240,656 263,679

เงินทดรองจ่ าย

199 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )


34

ค)

รวม

บริ ษทั เชษฐโชติศกั ดิ์ จากัด บริ ษทั เม็มเบอร์ชิพ จากัด บริ ษทั เชษฐโชติ จากัด

รวม

บริ ษทั เชษฐโชติศกั ดิ์ จากัด บริ ษทั เม็มเบอร์ชิพ จากัด บริ ษทั เชษฐโชติ จากัด

1,606,820 59,920 8,640 1,675,380

เจ้ าหนีอ้ ื่น

เจ้ าหนีก้ ารค้ า

-

2,073,397 429,049 8,640 2,511,086

เจ้ าหนีอ้ ื่น

-

เจ้ าหนีก้ ารค้ า -

ดอกเบีย้ ค้ างจ่ าย

-

รายได้ รบั ล่ วงหน้ า -

ดอกเบีย้ ค้ างจ่ าย

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (บาท)

-

รายได้ รบั ล่ วงหน้ า

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (บาท)

-

ค่ าใช้ จ่าย ค้ างจ่ ายนายหน้ า และค่ าใช้ จ่าย ส่ งเสริมการขาย

-

ค่ าใช้ จ่าย ค้ างจ่ ายนายหน้ า และค่ าใช้ จ่าย ส่ งเสริมการขาย

ยอดคงเหลือที่เกิดจากเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560

รายการกับบุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้ องกัน (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

-

เจ้ าหนีก้ ารค้ า

-

ค่ าใช้ จ่าย ค้ างจ่ ายโครงการ

-

เจ้ าหนีก้ ารค้ า

งบการเงินเฉพาะกิจการ

-

ค่ าใช้ จ่าย ค้ างจ่ ายโครงการ

งบการเงินรวม

1,432,105 59,920 1,492,025

เจ้ าหนีอ้ ื่น

1,777,030 366,218 2,143,248

เจ้ าหนีอ้ ื่น

-

ดอกเบีย้ ค้ างจ่ าย

-

รายได้ รับ ล่ วงหน้ า

-

ดอกเบีย้ ค้ างจ่ าย

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (บาท)

-

รายได้ รับ ล่ วงหน้ า

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (บาท)

-

ค่ าใช้ จ่าย ค้ างจ่ ายนายหน้ า และค่ าใช้ จ่าย ส่ งเสริมการขาย

-

ค่ าใช้ จ่าย ค้ างจ่ ายนายหน้ า และค่ าใช้ จ่าย ส่ งเสริมการขาย

-

95

ค่ าใช้ จ่าย ค้ างจ่ ายโครงการ

-

ค่ าใช้ จ่าย ค้ างจ่ ายโครงการ

200 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1


34

-

1,675,380

19,213,825 141,160 16,050 -

19,371,035

19,371,035

รวมทั้งสิ้น

เจ้ าหนีอ้ ่ืน

บริษัทย่ อย บริ ษทั อาร์.เอส.เทเลวิชนั่ จากัด บริ ษทั ไลฟ์ สตาร์ จากัด บริ ษทั คูลลิซ่ ึม จากัด บริ ษทั จัดเก็บลิขสิ ทธิ์ ไทย จากัด บริ ษทั ย๊าค จากัด บริ ษทั บันเทิง วาไรตี้ จากัด บริ ษทั กู๊ดไลฟ์ กรุ๊ ป จากัด บริ ษทั อะลาดิน เฮ้าส์ จากัด* บริ ษทั เวรี่ เวลล์ จากัด* บริ ษทั บลูแฟร์ รี่ จากัด* บริ ษทั อาร์เอส อินเตอร์ เนชัน่ แนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ ต แมเนจเม้นท์ จากัด รวม

เจ้ าหนีก้ ารค้ า

9,584,949

9,584,949

107,500 120,000 9,357,449 -

รายได้ รับ ล่ วงหน้ า

976,289

30,218 976,289

755,647 92,358 84,487 13,579 -

ดอกเบีย้ ค้ างจ่ าย

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (บาท)

2,266,473

2,266,473

2,266,473 -

ค่ าใช้ จ่าย ค้ างจ่ ายนายหน้ า และค่ าใช้ จ่าย ส่ งเสริมการขาย

ยอดคงเหลือที่เกิดจากเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 (ต่อ)

* เลิกกิจการ

ค)

รายการกับบุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้ องกัน (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

7,615,346

7,615,346

7,615,346 -

ค่ าใช้ จ่าย ค้ างจ่ ายโครงการ

6,316,643

6,316,643

5,812,816 343,327 160,500 -

เจ้ าหนีก้ ารค้ า

งบการเงินเฉพาะกิจการ

1,771,878

279,853

279,853 -

เจ้ าหนีอ้ ื่น

31,899,802

31,899,802

31,899,802 -

รายได้ รับ ล่ วงหน้ า

503,235

23,245 503,235

317,638 130,993 19,452 1,462 10,445 -

ดอกเบีย้ ค้ างจ่ าย

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (บาท)

2,944,792

2,944,792

2,944,792 -

ค่ าใช้ จ่าย ค้ างจ่ ายนายหน้ า และค่ าใช้ จ่าย ส่ งเสริมการขาย

96

6,598,677

6,598,677

6,598,677 -

ค่ าใช้ จ่าย ค้ างจ่ ายโครงการ

201 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )


34

ง)

553,500,000

864,395,000

รวม

** อยูภ่ ายใต้กระบวนการล้มละลายและได้พิทกั ษ์ทรัพย์เด็ดขาด

550,000,000 3,500,000 -

เพิม่ ขึน้ ในระหว่ างปี

-

(513,500,000)

(510,000,000) (3,500,000) -

รับชาระคืน ในระหว่ างปี

เงินให้ ก้ ยู ืมระยะสั้ น

-

2,340,000 841,700,000 20,355,000

ยอดยกมา

20,355,000

รับชาระคืน ในระหว่ างปี

เงินให้ ก้ ยู ืมระยะสั้ น เพิม่ ขึน้ ในระหว่ างปี

บริษัทย่ อย บริ ษทั อาร์.เอส.สปอร์ตมาสเตอร์ จากัด บริ ษทั อาร์.เอส.เทเลวิชน่ั จากัด บริ ษท บันเทิง วาไรตี้ บริ ษทั เอส-วัน สปอร์ต จากัด**

บริ ษทั เอส-วัน สปอร์ต จากัด**

บริษัทย่ อย

ยอดยกมา

เงินให้กยู้ มื ระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (สุ ทธิ)

รายการกับบุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้ องกัน (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

904,395,000

2,340,000 881,700,000 20,355,000

ยอดคงเหลือ

20,355,000

ยอดคงเหลือ

(22,695,000)

(20,355,000) -

-

เพิม่ ขึน้ ในระหว่ างปี

-

-

ลดลง ในระหว่ างปี

(20,695,000)

(2,340,000) (20,355,000)

ยอดคงเหลือ

ค่ าเผื่อการด้ อยค่ าของเงินให้ ก้ ยู ืมระยะสั้ น

(2,374,000)

ยอดยกมา

(20,355,000)

ยอดคงเหลือ

งบการเงินเฉพาะกิจการ

-

ลดลง ในระหว่ างปี

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (บาท)

-

เพิม่ ขึน้ ในระหว่ างปี

ค่ าเผื่อการด้ อยค่ าของเงินให้ ก้ ยู ืมระยะสั้ น

(20,355,000)

ยอดยกมา

งบการเงินรวม สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (บาท)

841,700,000

841,700,000 -

ยอดยกมา

-

ยอดยกมา

-

553,500,000

550,000,000 3,500,000 -

(513,500,000)

(510,000,000) (3,500,000) -

รับชาระคืน ในระหว่ างปี

-

-

ลดลง ในระหว่ างปี

-

ลดลง ในระหว่ างปี

เงินให้ ก้ ยู ืมระยะสั้ น (สุ ทธิ) เพิม่ ขึน้ ในระหว่ างปี

-

รับชาระคืน ในระหว่ างปี

เงินให้ ก้ ยู ืมระยะสั้ น (สุ ทธิ) เพิม่ ขึน้ ในระหว่ างปี

97

881,700,000

881,700,000 -

ยอดคงเหลือ

-

ยอดคงเหลือ

202 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1


34

ง)

400,000,000

600,395,000

รวม

(136,000,000)

(136,000,000) -

รับชาระคืน ในระหว่ างปี

-

864,395,000

2,340,000 841,700,000 20,355,000

ยอดคงเหลือ

20,355,000

ยอดคงเหลือ

(22,695,000)

-

-

เพิม่ ขึน้ ในระหว่ างปี

-

-

ลดลง ในระหว่ างปี

(22,695,000)

(2,340,000) (20,355,000)

ยอดคงเหลือ

ค่ าเผื่อการด้ อยค่ าของเงินให้ ก้ ยู ืมระยะสั้ น

(2,340,000) (20,355,000)

ยอดยกมา

(20,355,000)

ยอดคงเหลือ

งบการเงินเฉพาะกิจการ

-

ลดลง ในระหว่ างปี

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (บาท)

-

เพิม่ ขึน้ ในระหว่ างปี

ค่ าเผื่อการด้ อยค่ าของเงินให้ ก้ ยู ืมระยะสั้ น

(20,355,000)

ยอดยกมา

งบการเงินรวม สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (บาท)

577,700,000

577,700,000 -

ยอดยกมา

-

ยอดยกมา -

400,000,000

400,000,000 -

(136,000,000)

(136,000,000) -

รับชาระคืน ในระหว่ างปี

-

-

ลดลง ในระหว่ างปี

-

ลดลง ในระหว่ างปี

เงินให้ ก้ ยู ืมระยะสั้ น (สุ ทธิ) เพิม่ ขึน้ ในระหว่ างปี

-

รับชาระคืน ในระหว่ างปี

เงินให้ ก้ ยู ืมระยะสั้ น (สุ ทธิ) เพิม่ ขึน้ ในระหว่ างปี

98

841,700,000

841,700,000 -

ยอดคงเหลือ

-

ยอดคงเหลือ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เงินให้กยู้ มื ระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันคงค้างเป็ นเงินให้กยู้ มื ที่ไม่มีหลักประกันในสกุลเงินบาท มีอตั ราดอกเบี้ยร้อยละ 4.00 ต่อปี (พ.ศ. 2560 : อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.00 ต่อปี )

** อยูภ่ ายใต้กระบวนการล้มละลายและได้พิทกั ษ์ทรัพย์เด็ดขาด

400,000,000 -

เพิม่ ขึน้ ในระหว่ างปี

เงินให้ ก้ ยู ืมระยะสั้ น

-

2,340,000 577,700,000 20,355,000

ยอดยกมา

20,355,000

รับชาระคืน ในระหว่ างปี

เงินให้ ก้ ยู ืมระยะสั้ น เพิม่ ขึน้ ในระหว่ างปี

บริษัทย่ อย บริ ษทั อาร์.เอส.สปอร์ตมาสเตอร์ จากัด บริ ษทั อาร์.เอส.เทเลวิชนั่ จากัด บริ ษทั เอส-วัน สปอร์ต จากัด**

บริ ษทั เอส-วัน สปอร์ต จากัด**

บริษัทย่ อย

ยอดยกมา

เงินให้กยู้ มื ระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (สุ ทธิ) (ต่อ)

รายการกับบุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้ องกัน (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 203 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )


34

จ)

11,127,125 5,000,000 700,000 105,000,000 121,827,125

75,000,000 278,000,000 32,500,000 385,500,000

(48,000,000) (700,000) (240,000,000) (10,600,000) (299,300,000)

27,000,000 11,127,125 5,000,000 143,000,000 21,900,000 208,027,125

ยอดคงเหลือ 89,000,000 30,000,000 4,500,000 4,900,000 4,500,000 5,000,000 2,500,000 140,400,000

ยอดยกมา

110,000,000 210,000,000 12,000,000 332,000,000

(199,000,000) (18,872,875) (4,500,000) (4,900,000) (4,500,000) (1,800,000) (105,000,000) (12,000,000) (350,572,875)

11,127,125 5,000,000 700,000 105,000,000 121,827,125

ยอดคงเหลือ

เงินกู้ยืมระยะสั้ น เพิม่ ขึน้ จ่ ายชาระคืน ในระหว่างปี ในระหว่างปี

เงินกู้ยืมระยะสั้ น เพิม่ ขึน้ จ่ ายชาระคืน ในระหว่างปี ในระหว่างปี

ยอดยกมา

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (บาท)

สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (บาท)

งบการเงินเฉพาะบริษทั

99

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เงินกูย้ ืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เป็ นเงินกูย้ ืมที่ไม่มีหลักประกันในสกุลเงินบาทมีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1.25 ถึงร้อยละ 1.63 ต่อปี (พ.ศ. 2560 : อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ถึงร้อยละ 1.50 ต่อปี )

* เลิกกิจการ

บริษทั ย่อย บริ ษทั คูลลิซ่ ึม จากัด บริ ษทั อาร์เอส อินเตอร์ เนชัน่ แนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเม้นท์ จากัด บริ ษทั อะลาดิน เฮ้าส์ จากัด* บริ ษทั เวรี่ เวลล์ จากัด* บริ ษทั บลูแฟร์รี่ จากัด* บริ ษทั กู๊ดไลฟ์ กรุ๊ ป จากัด บริ ษทั บันเทิง วาไรตี้ จากัด บริ ษทั ไลฟ์ สตาร์ จากัด บริ ษทั จัดเก็บลิขสิ ทธิ์ไทย

เงินกูย้ มื ระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

รายการกับบุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้ องกัน (ต่อ)

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

204 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1


205 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 34

รายการกับบุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้ องกัน (ต่อ) ฉ)

ค่าตอบแทนผูบ้ ริ หารสาคัญ ผูบ้ ริ ห ารส าคัญ ของบริ ษ ัท รวมถึ งกรรมการ (ไม่ ว่า จะท าหน้าที่ ในระดับ บริ ห ารหรื อ ไม่ ) และคณะผูบ้ ริ ห ารระดับ สู ง ค่าตอบแทนที่จ่ายหรื อค้างจ่ายสาหรับผูบ้ ริ หารสาคัญมีดงั นี้ งบการเงินรวม สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม

เงินเดือนและผลประโยชน์ระยะสั้นอื่น ผลประโยชน์ระยะยาวอื่น 35

งบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

พ.ศ. 2561 บาท

พ.ศ. 2560 บาท

128,444,302 4,937,407 133,381,709

147,392,995 2,594,072 149,987,067

106,516,402 4,191,957 110,708,359

121,625,995 2,168,502 123,794,497

ข้ อมูลทางการเงินจาแนกตามส่ วนงาน ในการวัดผลการดาเนิ นงานของกลุ่มกิจการ กลุ่มกิ จการมีการพิจารณาจากกาไรขั้นต้นจากรายได้ต่างๆโดยจัดประเภทของรายได้ ออกเป็ นรายได้ธุรกิจพาณิ ชย์หลายช่องทาง รายได้ธุรกิจสื่ อ รายได้ธุรกิจเพลง รายได้ธุรกิจรับจ้างและผลิตกิจกรรม และรายได้ธุรกิจ บริ การและอื่นๆ ยอดรายได้ได้ตดั รายการระหว่างกันออกแล้ว กาไรขั้นต้นคานวนจากยอดรายได้หกั ด้วยต้นทุนขายและต้นทุนการ ให้บริ การ งบการเงินรวม สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ธุรกิจสื่ อ บาท

ธุรกิจเพลง บาท

ธุรกิจ รับจ้ างและ ผลิตกิจกรรม บาท

2,126,820,966 1,344,681,665 7,561,725 651,731,056

236,847,131 38,434,530

118,331,329 1,040,550

3,826,681,091 34,783,112 733,550,973

3,826,681,091 (733,550,973) -

ต้นทุนขายและบริ การ

2,134,382,691 1,996,412,721 717,607,797 1,506,376,963

275,281,661 110,337,837

119,371,879 71,733,102

34,783,112 4,560,232,064 34,783,112 2,440,838,811

(733,550,973) 3,826,681,091 (235,561,768) 2,205,277,043

กาไรขั้นต้น

1,416,774,894

164,943,824

47,638,777

ธุรกิจพาณิชย์ หลายช่ องทาง บาท รายได้ รายได้ภายนอก รายได้ภายใน รวมรายได้

490,035,758

ธุรกิจบริการ และอื่นๆ บาท

-

รวม รายการตัดบัญชี บาท บาท

2,119,393,253

รวม บาท

(497,989,205) 1,621,404,048

งบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ธุรกิจสื่ อ บาท

ธุรกิจเพลง บาท

ธุรกิจ รับจ้ างและ ผลิตกิจกรรม บาท

37,738,719 196,430,357 55,581,875 1,952,159,231

828,684 29,174,058

267,394 -

ธุรกิจพาณิชย์ หลายช่ องทาง บาท สิ นทรัพย์ถาวร สิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน

ธุรกิจบริการ และอื่นๆ บาท

รวม รายการตัดบัญชี บาท บาท

96,270,144 331,535,298 78,972,818 2,115,887,982

-

รวม บาท 331,535,298 2,115,887,982

100


206 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 35

ข้ อมูลทางการเงินจาแนกตามส่ วนงาน (ต่อ) งบการเงินรวม สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ธุรกิจสื่ อ บาท

ธุรกิจเพลง บาท

ธุรกิจ รับจ้ างและ ผลิตกิจกรรม บาท

1,389,095,731 1,703,504,304 86,149 332,164,386

254,507,293 47,244,064

154,574,852 33,854,761

3,501,682,180 28,494,755 441,844,115

3,501,682,180 (441,844,115) -

1,389,181,880 2,035,668,690 467,109,190 1,658,885,622

301,751,357 149,959,409

188,429,613 118,259,381

28,494,755 3,943,526,295 28,494,755 2,422,708,357

(441,844,115) 3,501,682,180 (293,497,933) 2,129,210,424

151,791,948

70,170,232

ธุรกิจพาณิชย์ หลายช่ องทาง บาท รายได้ รายได้ภายนอก รายได้ภายใน รวมรายได้ ต้นทุนขายและบริ การ กาไรขั้นต้น

922,072,690

376,783,068

ธุรกิจบริการ และอื่นๆ บาท

-

รวม รายการตัดบัญชี บาท บาท

1,520,817,938

รวม บาท

(148,346,182) 1,372,471,756

งบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ธุรกิจสื่ อ บาท

ธุรกิจเพลง บาท

ธุรกิจ รับจ้ างและ ผลิตกิจกรรม บาท

28,247,828 252,009,348 27,345,440 1,974,991,853

1,723,913 38,501,636

494,380 -

ธุรกิจพาณิชย์ หลายช่ องทาง บาท สิ นทรัพย์ถาวร สิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน

36

ธุรกิจบริการ และอื่นๆ บาท

รวม รายการตัดบัญชี บาท บาท

119,992,350 402,467,818 77,493,310 2,118,332,239

-

รวม บาท 402,467,819 2,118,332,239

วงเงินสิ นเชื่ อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 วงเงินสิ นเชื่อที่ยงั ไม่ได้เบิกใช้มีดงั นี้ งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 ล้านบาท ล้านบาท วงเงินสิ นเชื่อต่างๆ ที่ได้รับ - วงเงินที่ยงั ไม่ได้ใช้

2,345

2,026

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 ล้านบาท ล้านบาท 855

672

101


207 บ ริ ษั ท อ า ร์ เ อ ส จํ า กั ด ( ม ห า ช น )

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 37

ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึน้ และสั ญญาที่สาคัญ 37.1 ภาระผูกพัน งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 บาท บาท

ภาระผูกพันรายจ่ ายฝ่ ายทุน ซื้อทรัพย์สิน

10,957,460

1,151,100

10,229,560

-

ภาระผูกพันตามสั ญญาเช่ าดาเนินงาน ภายในระยะเวลาหนึ่งปี ระยะเวลามากกว่าหนึ่งปี ถึงสามปี รวม

17,594,562 17,594,562

21,654,302 21,654,302

14,171,196 14,171,196

12,682,868 12,682,868

37.2 สั ญญาสาคัญที่ทากับกิจการที่เกีย่ วข้ องกันและกิจการอื่น ก) บริ ษัท และบริ ษ ัท ย่อ ยแห่ งหนึ่ งได้ท าสั ญ ญาจานวน 6 สั ญ ญา เพื่อ ใช้บ ริ ก ารช่ อ งสั ญ ญาณดาวเที ยมและใช้บ ริ ก าร ส่ งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โดยมีกาหนดระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยบริ ษทั ตกลงจ่ายค่าธรรมเนียมสาหรับการใช้บริ การและจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้บริ การดังกล่าว ตามที่ระบุในสัญญา ทั้งนี้ บริ ษทั ต้องปฏิบตั ิตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ระบุไว้ในสัญญา ข) บริ ษทั ย่อยแห่ งหนึ่ งได้ทาสัญญาเช่าเวลาของสถานี วิทยุกระจายเสี ยงกับส่ วนราชการจานวน 1 สัญญา กาหนดระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่วนั ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ค) บริ ษทั และบริ ษทั ย่อยสองแห่ งได้รับใบอนุ ญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสี ยง กิจการโทรทัศน์และกิ จการโทรคมนาคมแห่ งชาติ (กสทช.) โดยมีภาระผูกพัน ที่จะต้องปฏิบตั ิตามข้อกาหนดต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในใบอนุ ญาตและต้องชาระค่าธรรมเนี ยมใบอนุ ญาตรายปี และค่าธรรมเนี ยมในการน าส่ งเข้ากองทุน ตาม ข้อกาหนดและเงื่อนไขที่ประกาศโดย กสทช. ง) บริ ษทั ย่อยแห่ งหนึ่ งได้ทาสัญญาเช่าใช้บริ การโครงข่ายโทรทัศน์ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล กับ องค์การกระจายเสี ยงและแพร่ ภาพสาธารณะแห่ งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ส าหรั บ ดาเนิ น กิ จการโทรทัศน์ระบบ ดิจิตอลระยะเวลา 15 ปี โดยมีค่าธรรมเนี ยมสาหรับการใช้บริ การตามที่ระบุไว้ในสัญญา และบริ ษทั ย่อยได้วางหนังสื อ ค้ าประกันจากสถาบันการเงินร้อยละ 5 ของมูลค่าตามสัญญา

102


208 ร า ย ง า น ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 1

บริษัท อาร์ เอส จากัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ สาหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 37

ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึน้ และสั ญญาที่สาคัญ (ต่อ) 37.3 หนี้สินที่อาจเกิดขึน้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 กลุ่มกิจการมีภาระผูกพันกับธนาคารพาณิ ชย์ ดังนี้ งบการเงินรวม พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 ล้านบาท ล้านบาท ค้ าประกันให้บริ ษทั ใหญ่บริ ษทั ย่อยและ บริ ษทั อื่น

38

46.59

49.61

งบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 ล้านบาท ล้านบาท 5.48

8.26

ข้ อพิพาททางกฎหมายที่สาคัญ 38.1 ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2560 บริ ษทั และบริ ษทั ย่อยถูกฟ้ องร้ องเรี ยกค่าเสี ยหาย เนื่ องจากการปฏิบตั ิงาน เกี่ยวกับการละเมิดลิขสิ ทธิ์และอื่นๆของบริ ษทั จานวนทุนทรัพย์ 41.96 ล้านบาท และ 45.58 ล้านบาท ตามลาดับ ปั จจุบนั อยู่ ระหว่างการพิจารณาของศาล ดังนั้นผูบ้ ริ หารจึงยังไม่ได้บนั ทึกประมาณการหนี้สินที่เกี่ยวข้อง 38.2 เงินสนับสนุนการถ่ายทอดฟุตบอลโลกปี พ.ศ. 2557 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 บริ ษทั ย่อยและคณะกรรมการกิจการกระจายเสี ยงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่ งชาติ (กสทช.) ได้ตกลงร่ วมกันให้บริ ษทั ย่อยถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ทุกการแข่งขันผ่านบริ การโทรทัศน์ที่เป็ นการทัว่ ไป (Free TV) โดยกสทช.จะให้เงินสนับสนุน ปั จจุบัน บริ ษัท ย่อ ยได้ยื่น ฟ้ อ งต่ อ ศาลปกครองสู งสุ ดเพื่ อ เรี ยกเงิน สนับ สนุ น 57.14 ล้านบาท จากคณะกรรมการกิ จการ กระจายเสี ยงกิ จการโทรทัศน์และกิ จการโทรคมนาคมแห่ งชาติ (กสทช.) ซึ่ ง ณ ปั จจุบนั คดี อยู่ระหว่างการพิจารณาของ ศาลปกครองสู งสุ ด

39

เหตุการณ์ ภายหลังวันที่ในงบการเงิน ที่ประชุมคณะกรรมการของบริ ษทั เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 มีมติอนุ มตั ิให้เสนอที่ประชุมสามัญผูถ้ ือหุ ้นประจาปี พ.ศ. 2562 พิจารณาอนุมตั ิ  

ให้ เพิ่ มทุ น จดทะเบี ยนจ านวน 2,000,000 บาท โดยการออกหุ ้ นสามัญใหม่ จ านวน 2,000,000 หุ ้ น มู ลค่ าที่ ตราไว้หุ้ นละ 1 บาท เพื่อรองรับการปรับราคาใช้สิทธิ และอัตราใช้สิทธิ ใหม่ของใบสาคัญแสดงสิ ทธิซ้ือหุ ้น ให้จ่ายเงินปั นผลสาหรับผลการดาเนิ นงานประจาปี พ.ศ. 2561 ในอัตราหุ ้นละ 0.20 บาท เงินปั นผลดังกล่าวจะจ่ายให้แก่ผถู ้ ือหุ ้น ภายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 103




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.