การศึกษาการเปลี่ยนแปลงเสียงของคำที่ปรากฏในบทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สิธิชัย เหมือนยา,ประภาษ เพ็งพุ่ม
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาการเปลี่ยนแปลงเสียงของคำที่ปรากฏในบทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” โดยมีจุดมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบและสาเหตุการเปลี่ยนแปลงเสียงของคำที่ปรากฏในบทละครเรื่องอิเหนา ผลการวิจัยพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงเสียงปรากฏ 6 รูปแบบ คือ การเปลี่ยนแปลงเสียงสระ การเปลี่ยนแปลงเสียงพยัญชนะ การเปลี่ยนแปลงเสียงวรรณยุกต์ การเพิ่มเสียง การตัดเสียง และการซ้ำเสียง โดยพบรูปแบบการเปลี่ยนแปลงเสียงของคำที่ปรากฏมากที่สุด คือ การเพิ่มเสียงสระอาลงท้ายคำ ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ส่วนสาเหตุการเปลี่ยนแปลงเสียงของคำที่ปรากฏในบทละครเรื่องอิเหนา พบว่า กวีมีเจตนาที่จะเปลี่ยนแปลงเสียงของคำ เพื่อประโยชน์ใน การประพันธ์ ได้แก่ กวีเปลี่ยนแปลงเสียงสระเพื่อต้องการให้คำมีเสียงยาวทำให้คำไพเราะยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการหลากคำ กวีต้องการเปลี่ยนแปลงเสียงสระและเสียงพยัญชนะ เพิ่มเสียงสระและเสียงพยัญชนะท้าย ร