กรณีเปรียบเทียบคำเรียกสัมผัสของชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในเขตอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย: ภาษาเลย และภาษาอีสาน
ยุวธิดา สิมสวัสดิ์
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องกรณีเปรียบเทียบคำเรียกสัมผัสของชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในเขตอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย: ภาษาเลย และภาษาอีสาน ซึ่งถือเป็นการศึกษาภาษาในแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ เนื่องจากได้นำทัศนคติและภาษาของมนุษย์เพียงจำนวนหนึ่งมาวิเคราะห์เพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างกันระหว่างภาษาที่อยู่ในพื้นถิ่นเดียวกัน แต่มีสำเนียงและการพูดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยได้สร้างแบบสัมภาษณ์ที่มีผลต่อคำเรียกสัมผัสจากการรับรู้ทั้ง 6 ของมนุษย์ ได้แก่ การรับรู้ทางตา การรับรู้ทางหู การรับรู้ทางจมูก การรับรู้ทางลิ้น การรับรู้ทางกาย และการรับรู้ทางใจ ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาษาเลยปรากฏคำเรียกสัมผัส ได้แก่ ทางตา 14 คำ ทางหู 14 คำ ทางจมูก 15 คำ ทางลิ้น 19 คำ ทางกาย 21 คำ และทางใจ 24 คำ 2) ภาษาเลยปรากฏคำเรียกสัมผัส ได้แก่ ทางตา 15 คำ ทางหู 22 คำ ทางจมูก 13 คำ ทางลิ้น 23 คำ ทางกาย 26 คำ และทางใจ 23 คำ
เมื่อนำคำที่ปรากฏมาเทียบเคียงกันแล้ว พบว่า หากเทียบจากลักษณะการใช้คำเรียกสัมผัสในแต่ละสถานการณ์ของผู้บอกภาษา มีคว