adB434

Page 1

TODAY EXPRESS PRESENTS

ISSUE 434 I 24 OCTOBER 2016


ขอน อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ข าพระพ�ทธเจ า เดอะ โมเมนตัม


Blue Day อย่าให้วันคืนอันมืดหม่น ท�าให้หัวใจคนต้องมืดมิด

ปีที่ 9 ฉบับที่ 434 วันที่ 24 ตุลาคม 2559

Editor’s Note Contents

ไม่แน่ใจว่าเป็นความรู้สึกคิดไปเองคนเดียวหรือเปล่า แต่หลายวันมานี้ สิ่งที่ผู้เขียนสังเกตเห็นอย่างหนึ่งก็คือ ผู้คนมีนา�้ จิตน�้าใจให้กันมากขึ้น ในแทบทุกๆ เรื่อง แม้ยามนี้จะเป็นช่วงเวลาที่หมอกแห่งความหม่นเศร้าครอบคลุมทั่วทั้งแผ่นดินและความปวดร้าวกัดกินเข้าไปถึงหัวใจของ คนไทยทุกคนก็ตาม สิ่งที่สังเกตได้ง่ายที่สุดและใกล้ตัวที่สุดก็คือ พฤติกรรมการขับรถบนท้องถนน ที่ปกติในชั่วโมงเร่งด่วนจะเต็มไปด้วย ความเร่งรีบและกราดเกรี้ยว แต่ตอนนี้แม้แต่เสียงแตรรัวเร็วก็แทบไม่ได้ยิน ทุกคนขับรถด้วยอาการสงบนิ่ง แม้บางคันจะขับรถชวนให้ไม่สบ อารมณ์ แต่ก็ดูเหมือนทุกคนพร้อมใจกันมองข้ามความขุ่นมัวเหล่านั้นไป ซึ่งแม้แต่ตัวผู้เขียนเองก็ยังรู้สึกว่าตัวเองนิ่งมากขึ้น ถ้าให้ลองคิดหา สาเหตุ ก็คิดว่าน่าจะเป็นเพราะเราเศร้าโศกเกินกว่าจะโกรธเกรี้ยว อะไรจะเป็นก็เป็นไปเถิด เพราะล�าพังเพียงการรับมือกับความรู้สึกสูญเสีย ครั้งใหญ่นี้ ก็หนักหนาสาหัสเหลือเกินแล้ว จะว่าชาด้านกับเรือ่ งราวรอบตัวก็ได้ หรือจะว่าไม่มกี ะจิตกะใจจะสนใจเรือ่ งอืน่ ก็ได้ แต่พน้ ไปจากนัน้ ยังมีอีกเหตุผลหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือ พวกเราคงอยากท�าในสิ่งที่ดีกว่าเดิม เป็นคนที่ดีกว่าเดิม ทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น อาจเพราะว่าเรา ขาดแคลนความรู้สึกดีในช่วงนี้มากเหลือเกิน การท�าความดีจึงอาจเป็นสิ่งเดียวที่เราท�าได้เพื่อชุบชื้น-ฟื้นฟูหัวใจของทั้งตัวเองและผู้อื่น หัวใจที่ ถ้าร้องไห้ได้ ก็คงร้องไห้จนน�า้ ตาแทบแห้งขอดแล้ว และการท�าความดีนั่นเองที่ช่วยให้เราพอจะยิ้มให้กันได้ในช่วงเวลาทุกข์ทนแบบนี้ ในความมืดมีความสว่างฉันใด ในการสูญเสียก็มกี ารให้ฉนั นัน้ ดังนัน้ ในโมงยามทีท่ กุ คนล้วนต้องก้าวผ่านความสูญเสียไปพร้อมๆ กัน พวกเรา จึงหันหน้ามา ‘ให้’ ซึง่ กันและกันมากกว่าเดิม สิง่ ทีย่ นื ยันความคิดนีข้ องผูเ้ ขียนก็คอื ภาพบริเวณโดยรอบท้องสนามหลวง ทีพ่ ลันก็เกิดกลุม่ อาสาสมัคร มากมายเดินทางเพือ่ ไปเป็นจิตอาสา ช่วยเหลือเกือ้ กูลกันอย่างน่าชืน่ ใจ เช่น กลุม่ หนุม่ สาวทีถ่ อื ถุงด�าช่วยกันเก็บขยะโดยไม่มใี ครร้องขอ ทัง้ นีก้ เ็ พือ่ ช่วยแบ่งเบาหน้าที่อันหนักหน่วงของเจ้าหน้าที่ท�าความสะอาดที่อาจท�างานได้ไม่ทั่วถึง และยังไม่ทันจะตั้งตัวรับมือกับคลื่นมหาชนที่เดินทาง มาร่วมสักการะพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั โดยรอบบริเวณรอบสนามหลวงและริมก�าแพงพระบรมมหาราชวังอย่างไม่วา่ งเว้น ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากกลุ่มจิตอาสาเหล่านี้แล้ว ยังมีอาสาสมัครอีกมากมายหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัครหมอและพยาบาล ประชาชนที่เดินทางมาแจกข้าว แจกน�า้ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อสิ่งใดเลย นอกจากเพื่อช่วยกันบรรเทาเบาบางความทุกข์ที่ทุกหัวใจก�าลัง แบกรับร่วมกันอยู่ และจะเป็นไปอย่างอื่นหาได้ไม่ หากไม่ใช่เพราะเราก�าลังช่วยเหลือกัน เพราะเชื่อว่าเราก�าลังท�าความดีต่อหน้าพระพักตร์ท่าน ไม่ว่าท่านจะประทับอยู่ที่ใดในโลกนี้ แต่ท่านก็จะยังทอดพระเนตรมองประชาชนของท่านอยู่เสมอ แต่หากเราท�าความดีเพราะเราเชือ่ ว่าพระองค์ทา่ นก�าลังมองเราอยู่ ค�าถามคือ ท�าไมยังคงมีคนอีกกลุม่ ท�าในสิง่ ทีจ่ ะท�าให้พระองค์ทา่ นไม่สบาย พระทัยได้อกี เช่น การวิพากษ์วจิ ารณ์ ไล่ลา่ คนทีไ่ ม่แสดงความรูส้ กึ จงรักภักดีตอ่ ในหลวง คนทีไ่ ม่ใส่ชดุ ด�า คนทีท่ า� อะไรต่อมิอะไรทีเ่ ขาเชือ่ กันว่า ไม่รักพระองค์ และพวกเขาทนเห็นไม่ได้ แม้จะเกิดค�าถามนี้ขึ้นในใจ แต่ช่วงเวลานี้ ผู้เขียนก็ยังเลือกที่จะไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ มากนัก เหตุผลแรกก็ด้วยเพราะยังไม่สามารถผ่านความเศร้าในช่วงนี้ไปได้ อีกเหตุผลหนึ่งก็เพราะไม่อยากให้ความรู้สึกขุ่นมัว ไม่ดีไม่งาม มาแปดเปื้อน ความรู้สึกใดๆ ก็ตามที่ผู้เขียนมีให้พระองค์ท่าน ที่ส�าคัญ ช่วงเวลานี้เป็นเวลาแห่งการไว้อาลัย ซึ่งถ้าสังเกตรอบตัวเราจะรู้สึกได้อย่างชัดเจนว่า ทุกหนทุกแห่งที่เราเดินทางไป จะงดการใช้เสียงในที่สาธารณะ รอบตัวเราจึงเงียบงันไปหมด ความเงียบเหล่านี้เองที่ผู้เขียนอยากชวนให้คิดว่า น่าจะเป็นความเงียบที่เราควรใช้เพื่อตั้งสติและทบทวนสิ่งที่เราก�าลังคิดและท�าอยู่ เพราะนี่คงเป็นความเงียบที่เงียบเสียจนเราน่าจะได้ยินเสียง ความคิดของตัวเองชัดเจนที่สุดแล้ว ดังนั้น หากเราก�าลังคิดไม่ดีกับใคร หากเราก�าลังคิดจะท�าอะไรก็ตามที่จะสร้างความขุ่นข้องหมองใจทั้งกับ ตัวเองและผู้อื่น เราควรใช้สติและน้อมน�าค�าสอนสั่งที่พระองค์พร�่าสอนประชาชนของพระองค์ท่านให้มีความสามัคคี เพื่อรักษาให้บ้านเมือง ร่มเย็นเป็นสุข บ้านเมืองทีพ่ ระองค์ทา่ นทุม่ เทเรีย่ วแรงดูแลมาตลอด 70 ปีแห่งการครองราชย์ อย่างทีเ่ ห็นกันอยู่ วันนีบ้ า้ นเมืองของเราก�าลังเผชิญ กับทุกข์หนัก เปรียบไปแล้วก็คล้ายกับบทเพลง ‘อาทิตย์อับแสง’ (Blue Day) หนึ่งในบทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่าน ‘ทิวาทราม ยามห่างดวงกมล สุริยาหมองหม่น ปวงชีวิตในโลก อับจนเสื่อมทราม’ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็ยังหวังในสิ่งที่ท่อนจบของบทเพลงว่าไว้ ‘หวังคอย คอยเฝ้าโมงยาม จวบจนทิวา เรืองงาม สบความรักยาม คืนคง จวบจนทิวา เรืองงาม สบความรักยาม คืนคง’ วันแห่งอาทิตย์อับแสงเช่นวันนี้ อย่าให้ต้องเกิดความเศร้าสลดที่อาจท�าให้พระองค์ท่านต้องเบือนพระพักตร์หนีอีกเลย วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการบริหาร

In Memory of Thailand’s Beloved King ประมวลภาพเหตุการณ์ ถวายความอาลัย ของพสกนิกรชาวไทย ทั่วประเทศ

Wherever We Live ภาพเหล่าพสกนิกร ชาวไทยทีถ่ วายความอาลัยจากทั่วทุกมุมโลก

The Royal Duties พระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

The Artist Talks บทสัมภาษณ์ ศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี กับผลงาน ‘พระเจ้าอยู่หัว’ ที่เขา บรรจงสรรค์สร้างขึ้นมา ด้วยความรักและศรัทธา

Royal Speech พระราชด�ารัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

ทีป่ รึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการผูพ ้ มิ พ์ผโู้ ฆษณา นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย บรรณาธิการอ�านวยการ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม รองบรรณาธิการ วสิตา กิจปรีชา บรรณาธิการบทความ วรัญญู อินทรก�าแหง กองบรรณาธิการ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ปริญญา ก้อนรัมย์ พิมพ์อร นทกุล มิ่งขวัญ รัตนคช กมลวรรณ ส่งสมบูรณ์ ศรัญญา โรจน์พทิ กั ษ์ชพี ประสานงาน / นักเขียน ตนุภทั ร โลหะพงศธร บรรณาธิการภาพ นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย ช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร ภาสกร ธวัชธาตรี วงศกร ยี่ดวง มณีนชุ บุญเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม วีระยุทธ คงเทศน์ ศิลปกรรม เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี ชยุตม์ คชโกศัย อรณัญช์ สุขเกษม พิสจู น์อกั ษร หัสยา ตัง้ พิทยาเวทย์ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ไม้ลา� ดวน ธมนวรรณ กัวหา ฝ่ายผลิต วิทยา ภูท่ อง ทศพล บุญคง ทีป่ รึกษาฝ่ายโฆษณา ศรวณีย์ ศิรจิ รรยากุล ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา ศุภลักษณ์ เลิศกาญจนวัฒน์ 09-2964-1635, มนัสนันท์ รุ่งรัตนสิทธิกุล 08-4491-9241 ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายโฆษณา วาณี กนกวิลาศ 09-5592-9419, มาสสุภา เอี่ยมมงคลศิลป์ 08-5056-0083, ณัฐวีณ์ ประมุขปฐมศักดิ์ 08-3922-9929 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ธนาภรณ์ ศรีจุฬางกูล 08-1639-1929, สุธาวัลย์ สุวรรณสิงห์ 08-1304-7070, ดวงใจ ดวงจังหวัด 08-6802-9996 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผู้ผลิต บริษัท เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com เว็บไซต์ www.daypoets.com, www.godaypoets.com นักศึกษาฝึกงาน ชัญญานิษฐ์ ชัยณรงค์สิงห์


In Memory Of Thailand’s Beloved King

14 - 17 October 2016


In Memory Of Thailand’s Beloved King

ภาพ : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ, Themomentum.co, Reuters

ช่ ว งเวลาตลอด 6 วั น หลั ง เหตุ ก ารณ์ สู ญ เสี ย ครั้ ง ยิ่ ง ใหญ่ ที่ สุ ด ของพสกนิ ก รชาวไทย เราได้เห็นพลังความรักทีย่ งิ่ ใหญ่ทคี่ นไทยมีตอ่ ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพ ิ ลอดุลยเดช’ ตลอดการเคลื่อนขบวนพระบรมศพจากโรงพยาบาลศิริราชเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง โดยมี พสกนิกรจ�านวนมากฝ่าเปลวแดดที่ร้อนระอุมารอรับเสด็จตลอดสองข้างทาง ซึ่งหลังพิธีการ เสร็จสิ้น ก็ยังมีผู้คนทยอยเดินทางมาร่วมจุดเทียนถวายสักการะพระบรมศพรอบบริเวณ พระบรมมหาราชวังตลอดทั้งวัน ซึ่งแม้บรรยากาศจะเต็มไปด้วยความโศกเศร้า แต่เราก็ยัง ได้เห็นธารน�้าใจของคนไทยที่ออกมามอบให้แก่กันผ่านการกระท�าดีๆ ที่เกิดขึ้นอีกด้วย


Washington D.C. Royal Thai Embassy, 16 ตุลาคม 2559 ภาพโดย เพจ VoA Thai

San Francisco

City Hall, San Francisco, 16 ตุลาคม 2559 ภาพโดย เพจ Phitha Tanpairoj

New York

Union Square, 16 ตุลาคม 2559 ภาพโดย Piyawan Chitsamran, จุฑารัตน์ ภิญโญดุลยเจต

Wherever We Live


Sydney

Tambalong Park, 16 ตุลาคม 2559 ภาพโดย วรรณธมล ทองศรีนุ่น

London

Office of Educational Affairs, Royal Thai Embassy London และ Wat Buddhapadipa London, 13 ตุลาคม 2559 ภาพโดย Paneeta Thanasatit, Eve Jiratchaya

Cambridge

King Bhumibol Adulyadej of Thailand Square, Cambridge, Massachusetts, USA, 16 ตุลาคม 2559 ภาพโดย เพจ Be Variety, Navin Voranavin

ข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 ท�าให้การห่างบ้านในเวลานี้ โศกเศร้ายิง่ กว่าครัง้ ไหนๆ การติดตาม ข่าวจากประเทศไทยบนหน้าจอสมาร์ตโฟนก็ ไม่ช่วยให้ระยะห่าง ระหว่างใจใกล้ขึ้นเลยแม้แต่น้อย สิ่งเดียวที่คนไทยในต่างประเทศ จะท�าได้คงเป็นการร่วมไว้อาลัยอย่างส�านึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ ของพระองค์และส่งใจกลับมาที่นี่ แม้ตัวของพวกเขาจะอยู่ไกล ก็ตาม



“การกีฬานั้นเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไปว่า เป็นการบริหารร่างกายให้แข็งแรง ทั้งเป็นการฝึกอบรมจิตใจให้เป็นผู้ร่าเริง รู้จักแพ้และชนะไม่เอารัดเอาเปรียบ ให้อภัย ซึ่งกันและกันอย่างที่เรียกว่ามีน�้าใจเป็นนักกีฬา” พระบรมราโชวาท ในวันเปิดงานกรีฑาและศิลปหัตถกรรมนักเรียน เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2502

พระอัจฉริยภาพด้านงานช่าง

Talents of His Majesty King Bhumibol Adulyadej พระอัจฉริยภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมี พ ระอั จ ฉริ ย ภาพหลายด้ า นเป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ไม่ว่าจะเป็นงานช่าง งานศิลปะ ดนตรี ภาพถ่าย กีฬา วรรณกรรม ที่ทรงเป็นแบบอย่างอันดีงาม ของผู ้ ที่ ศึ ก ษาทุ ก อย่ า งอย่ า งรู ้ แ จ้ ง จนสามารถ ทรงงานในทุกๆ ด้านได้อย่างเชี่ยวชาญ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมี งานอดิ เ รกทางด้ า นงานช่ า งมาตั้ ง แต่ ท รงพระเยาว์ เนื่ อ งจากสมเด็ จ พระชนนี ไ ม่ ไ ด้ พ ระราชทานของเล่ น ให้พระองค์มากมาย ระหว่างที่ประทับอยู่ที่พระต�าหนัก วิลลาวัฒนา เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์ ทรงมีห้องปฏิบัติการงานช่างโดยเฉพาะ เพื่อที่พระองค์ จะได้นา� สิง่ ของเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่น โดยพระองค์ สามารถต่อเรือรบจ�าลอง เครื่องบินจ�าลอง และยังเคย ทรงจ� า ลองเรื อ รบหลวงศรี อ ยุ ธ ยา และพระราชทาน ไปประมูลเพื่อน�าเงินที่ได้ ไปบ�ารุงสมาคมปราบวัณโรค เมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษา พระองค์ก็ทรงเลือก ศึ ก ษาที่ แ ผนกวิ ท ยาศาสตร์ แ ละวิ ศ วกรรมศาสตร์ ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย โลซานน์ เมื่ อ ทรงขึ้ น ครองราชย์ เ ป็ น พระมหากษั ต ริ ย ์ พระองค์ ก็ ได้ เ ปลี่ ย นไปศึ ก ษาต่ อ ทางด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ แต่พระองค์ก็ยังคง ใช้ พ ระอั จ ฉริ ย ภาพทางด้ า นงานช่ า งในการทรงงาน หลายๆ ด้ า น เช่ น ทรงออกแบบและต่ อ เรื อ ใบขึ้ น เอง ทรงประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน�้าหมุนช้าแบบ ทุ่นลอย หรือที่รู้จักในชื่อกังหันชัยพัฒนา โดยพระองค์ ได้ จ ดทะเบี ย นสิ ท ธิ บั ต รเมื่ อ วั น ที่ 2 กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ. 2506 ต่อมารัฐบาลจึงได้ก�าหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันนักประดิษฐ์ เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และระลึกถึงวันประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนและออกสิทธิบัตร แด่พระมหากษัตริย์เป็นพระองค์แรกของโลก

“ช่างทุกประเภท เป็นกลไกส�าคัญอย่างยิ่งในชีวิตของบ้านเมืองและของคนทุกคน เพราะตลอดชีวิตของเรา เราต้องอาศัยและใช้บริการหรือสิ่งต่างๆ ที่มาจากฝีมือของช่าง อยู่ทุกวี่ทุกวัน ผู้เป็นช่างจึงสมควรได้รับความเอาใจใส่ สนับสนุนจากทุกๆ ฝ่าย” พระราชด�ารัสระหว่างพิธีเปิดงานแนะแนวอาชีพ และแข่งขันฝีมือแห่งชาติครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2513

พระอัจฉริยภาพด้านกีฬา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดการเล่นกีฬามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ตั้งแต่ครั้ง ที่ยังประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เช่น เทนนิส แบตมินตัน สกี และกีฬาที่ชาวไทยได้ชื่นชมกับ พระอัจฉริยภาพของพระองค์อย่างเด่นชัดก็คือ กีฬาเรือใบ ที่พระองค์ทรงออกแบบและต่อเรือเอง จนได้เรือที่มีคุณสมบัติเด่น และพระองค์ยังทรงเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเรือใบระหว่างประเทศ ที่จัดขึ้น ในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบันคือการแข่งขันซีเกมส์) ครั้งที่ 4 ณ ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2510 โดยพระองค์ ได้รับเหรีย ญทองร่วมกับสมเด็จ พระเจ้ า ลู ก เธอเจ้ า ฟ้ า หญิ ง อุ บ ลรั ตนราชกั ญ ญาฯ พระธิดา เนื่องจากท�าคะแนนได้เท่ากัน ส่วนกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สนพระราชหฤทัย ก็คือ กีฬาแบดมินตัน ที่พระองค์โปรดที่จะเล่นในหมู่พระประยูรญาติและพระสหาย และเสด็จทอดพระเนตร การแข่งขันครั้งส�าคัญ นอกจากนั้น พระองค์ท่านก็ยังทรงสนับสนุนกีฬาประเภทอื่นๆ โดยพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พระราชทานทุนนักกีฬา พระราชทานไฟพระฤกษ์ ในพิธีเปิดกีฬาครั้งส�าคัญ


“ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของข้าพเจ้า จะเป็นแจ๊ซหรือ ไม่ใช่แจ๊ซก็ตาม ดนตรีล้วนอยู่ในตัวทุกคน เป็นส่วนที่ ยิ่งใหญ่ในชีวิตคนเรา ส�าหรับข้าพเจ้า ดนตรีคือสิ่งประณีตงดงาม และทุกคนควรนิยม ในคุณค่าของดนตรีทุกประเภท เพราะว่าดนตรี แต่ละประเภทต่างก็มีความเหมาะสม ตามแต่โอกาสและอารมณ์ที่แตกต่างกันไป” พระราชด�ารัสที่ตรัสกับนักข่าวชาวอเมริกัน ในรายการเสียงแห่งวิทยุอเมริกา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2503

พระอัจฉริยภาพ ด้านดนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช ทรงศึกษาดนตรีตงั้ แต่ทรงพระเยาว์ โดยเครือ่ งดนตรี ชิ้ น แรกของพระองค์ คื อ คลาริ เ น็ ต ที่ ซื้ อ ด้ ว ย พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เมื่อพระชนมพรรษา 10 พรรษา ทรงเรียนรู้ศาสตร์ของดนตรีอย่าง ถ่องแท้ ทรงสะสมแผ่นเสียง ศึกษาประวัติของ นักดนตรี และทรงฝึกฝนจนมีความเชี่ยวชาญ ทางด้านดนตรีแจ๊ซ พระองค์ทรงเครื่องดนตรี ได้หลายชนิด เช่น เครื่องเป่าอย่างแซกโซโฟน คลาริเน็ต ทรัมเป็ต เปียโน กีตาร์ เมื่อพระองค์มีพระชนมพรรษาได้ 18 พรรษา ทรงพระราชนิพนธ์ท�านองเพลง แสงเทียน เป็น เพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก แต่ยงั ไม่พระราชทาน ให้ อั ญ เชิ ญ ออกเผยแพร่ ต่ อ มาพระองค์ ไ ด้ พระราชนิพนธ์เพลง ยามเย็น และ สายฝน และน�า เพลง แสงเที ย น ออกเผยแพร่ ซึ่ ง บทเพลง พระราชนิพนธ์ของพระองค์จะพระราชทานให้กับพสกนิกรทุกหมู่เหล่า เช่น เพลง ยามเย็น พระราชทานแก่สมาคมปราบวัณโรค เพือ่ น�าออกแสดง เก็บเงินบ�ารุงการกุศล เพลง ยิม้ สู้ พระราชทานแก่โรงเรียนสอนคนตาบอด ปัจจุบัน มีเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งสิ้น 48 เพลง พระปรีชาสามารถของพระองค์ ในด้านดนตรีนั้นถือว่าเป็นที่ประจักษ์ ไปทั่ ว โลก โดยพระองค์ ไ ด้ ท รงดนตรี ร ่ ว มกั บ นั ก ดนตรี ที่ มี ชื่ อ เสี ย ง ระดับโลก จนมีค�ากล่าวว่า หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มิได้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ก็จะต้องทรงเป็นพระราชานักดนตรี ของโลก แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เป็นทัง้ พระมหากษัตริย์ และทรงเป็น นักดนตรีได้พร้อมกัน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ก็ ได้ทรงตัง้ วงดนตรีลายครามรวมกับพระสหาย ต่อมาจึงทรงตัง้ วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ เพื่อบรรเลงดนตรีออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง พระที่นั่งอัมพรสถาน

“...การถ่ายรูปนั้นไม่ได้ตั้งใจจะถ่ายรูปให้เป็นศิลปะหรือจะเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงอะไร เป็นแต่เพียงกดชัตเตอร์ส�าหรับเก็บรูปให้เป็นที่ระลึกแล้ว ถ้ารูปนั้นดี มีคนได้เห็นรูป เหล่านั้นและพอใจ ก็จะท�าให้เป็นการแผ่ความสุขไปให้ผู้ที่ได้ดูเพราะว่าเขาชอบ หมายความว่าได้ให้ เขามีโอกาสได้เห็นทัศนียภาพที่เขาอาจไม่ค่อยได้เห็น หรือในมุมที่ เขาไม่เคยเห็น ก็แผ่ความสุขไปให้เขาอีกทีหนึ่ง เป็นจุดประสงค์ของการถ่ายรูป” พระราชด�ารัสในโอกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้คณะกรรมการจัดท�าหนังสือภาพพัฒนาประเทศ เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท ณ พระต�าหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2537

อัจฉริยภาพด้านศิลปะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช สนพระราชหฤทัยทัง้ ด้านการถ่ายภาพและวาดภาพ ซึง่ พสกนิกรชาวไทย ก็ ได้ชนื่ ชมถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะภาพถ่ายฝีพระหัตถ์พระบรมฉายาลักษณ์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ ในพระอิรยิ าบถ ต่างๆ หากจะย้อนไปถึงครัง้ ยังทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีกล้องส่วนพระองค์ ตัง้ แต่พระชนมพรรษา 8 พรรษา และทรงฝึกฝนการถ่ายภาพ อย่างต่อเนื่องจนมีความช�านาญทั้งการถ่ายรูปและล้างรูป ทุกๆ อิรยิ าบถของพระองค์ทา่ นในการทรงงาน เหล่าพสกนิกร ชาวไทยจะเห็นท่านทรงสะพายกล้องติดพระองค์อยู่เสมอ นอกจากภาพนิง่ แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ ยังสน พระราชหฤทัยด้านการถ่ายภาพยนตร์ โดยพระองค์ ได้รเิ ริม่ สร้างภาพยนตร์สว่ นพระองค์ และน�าไปจัดฉายเพือ่ หารายได้ โดยเสด็จพระราชกุศล ส�าหรับพระอัจฉริยภาพทางด้านศิลปะอื่นๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวฯ ทรงสนพระราชหฤทัยการวาดภาพ มาตัง้ แต่ยงั ทรงพระเยาว์ เทคนิคทีท่ รงใช้ในการเขียนภาพก็คอื เทคนิคสีนา�้ มันบนผ้าใบ โดยภาพวาดฝีพระหัตถ์ของพระองค์ จะมีทั้งแบบเหมือนจริง แบบเอกซ์เพรสชันนิสซึม และแบบ นามธรรม ตลอดระยะเวลาที่ พ ระองค์ ท รงครองราชย์ มีภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์รวมทั้งสิ้น 107 ภาพ แต่ที่ เผยแพร่แล้วมีเพียง 47 ภาพ ในภาพทรงใช้พระนามย่อว่า ภ.อ.



Feature Editor

พสกนิกรต่างร่วมใจ ช่ ว งหลายวั น ที่ ผ ่ า นมา นอกจากทางที ม งานนิ ต ยสาร a day BULLETIN จะร่วมมือร่วมใจกันโดยไม่ต้องพูดหรืออธิบายอะไรกันให้มากมายทั้งๆ ที่อยู่ในภาวะ ของพายุอารมณ์ที่ผันแปรหลากหลาย แต่ทุกคนต่างก็ตั้งหน้าตั้งตาท� างานของ ตัวเองไปอย่างรู้หน้าที่ และดูจะเปิดกว้างเข้าอกเข้าใจกันเป็นอย่างดีแล้ว เรายังได้รับ ความช่วยเหลือจากใครอีกหลายต่อหลายคน เช่น พระบรมฉายาลักษณ์บนปก ฉบับที่ 432 นั้นเราได้รับการเอื้อเฟื้อจากภาพถ่ายหายากของคุณหมอ นพ. พงศกร จิ น ดาวั ฒ นะ ซึ่ ง เมื่ อ บรรณาธิ ก ารบริ ห าร และอาร์ ต ไดเร็ ก เตอร์ ข องเราเห็ น แล้ ว ถึงกับสั่งให้เปลี่ยนปกในทันที ทั้งๆ ที่ส่งอาร์ตเวิร์กเดิมเพื่อท�าเพลตไปแล้ว เช่นเดียวกับภาพพระบรมฉายาลักษณ์ภายในเล่ม ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจาก วั ช รชั ย นุ ่ น งาม Creative Director ของนิ ต ยสาร Lips Garcon ช่ ว ยคุ ย กั บ คุณศักดิช์ ยั กาย ซึง่ ให้ความกรุณาน�าพระบรมฉายาลักษณ์ในคลังภาพของนิตยสาร Lips มาใช้ ได้ โดยให้คณ ุ ต้องทีเ่ ป็นเลขาฯ ส่งภาพมาให้อย่างรวดเร็วเพือ่ น�ามาประกอบ บทความเกี่ยวกับพระราชประวัติในฉบับนี้ นอกจากนี้ยังมีบุคคลอีกหลายๆ ท่าน ซึ่ ง เมื่ อ เราติ ด ต่ อ เพื่ อ ขอความร่ ว มมื อ ในการท� า เนื้ อ หาเพื่ อ ลงในล� า ดั บ ถั ด ไป เป็นการถวายความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่าน ก็ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ในวาระเช่นนี้ ต้องขอขอบพระคุณทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ที่ทุกคนต่างร่วมมือกันท�าสิ่งเหล่านี้อย่างไม่อิดออด นั่นคงเป็นเพราะนี่อาจเป็น สิ่งสุดท้ายที่พสกนิกรชาวไทยผู้รักและซาบซึ้งในน�้าพระทัยของในหลวงจะสามารถ ท�าเพื่อถวายพระองค์ท่านได้นั่นเอง ข้าพระพุทธเจ้า นายวรัญญู อินทรก�าแหง บรรณาธิการบทความ นิตยสาร a day BULLETIN

Photographer

ProofReader ข้าพระพุทธเจ้า นางสาวหัสยา ตั้งพิทยาเวทย์

With All Our Hearts


Writer

“พ่อเคยสอนว่า ขาดทุนคือก�าไร ส�าหรับเราแล้ว การสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ครั้งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของบางอย่างที่จะท�าให้พ่อผู้ยิ้มยากจากบนฟ้า... ยิ้มกว้างได้อีกครั้ง” ข้าพระพุทธเจ้า นางสาวพิมพ์อร นทกุล นักเขียนประจ�ากองบรรณาธิการ นิตยสาร a day BULLETIN และ นายกิตติ ศรีวิเชียร

ตั้งแต่จ�าความได้ ผมก็เห็นภาพของในหลวงทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจจากสื่อต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และแบบเรียนมาตั้งแต่เด็ก จนกระทั่งวันหนึ่งครอบครัวของเรา มีโอกาสได้ขับรถผ่านพระต�าหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งผม จ�าไม่ได้หรอกว่า เราก�าลังมุ่งหน้าไปไหน แต่สิ่งที่จ�าได้เด่นชัด จนถึงทุกวันนีค้ อื ผมรูว้ า่ เราก�าลังขับรถผ่านบ้านของในหลวง บ้านของมหาบุรษุ อันเป็นทีร่ กั ของทุกคน ซึง่ นัน่ เป็นความรูส้ กึ ซาบซึ้งตื้นตันอย่างถึงที่สุด แม้จะเป็นเพียงแค่การนั่งรถผ่าน แต่เด็กคนนี้ก็รู้สึกว่าตัวเองช่างมีบุญเหลือเกินที่ได้มีโอกาส ใกล้ชิดพระเจ้าอยู่หัวขนาดนี้ น้อมส�านึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ เป็นล้นพ้นหาทีส่ ดุ มิได้ ข้าพระพุทธเจ้า นายทรรศน หาญเรืองเกียรติ นักเขียนประจ�ากองบรรณาธิการ นิตยสาร a day BULLETIN

Writer

ด้วยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ เป็ น ล้ น พ้ น อั น หาที่ สุ ด มิ ไ ด้ ที ม งาน a day BULLETIN ขอร่วมน้อมร�าลึกแสดงความอาลัย ต่ อ การเสด็ จ สวรรคตของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักยิ่งของปวงพสกนิกร ชาวไทย


The Artist Talks สัมภาษณ์ : วิ ไลรัตน์ เอมเอี่ยม, ทรรศน หาญเรืองเกียรติ เรียบเรียง : วิ ไลรัตน์ เอมเอี่ยม ภาพ : กฤตธกร สุทธิกิตกิตติบุตร

Sakwut Wisesmanee ศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี ผลงาน : พระเจ้าอยู่หัว


ชือ่ ของ ศักดิว์ ฒ ุ ิ วิเศษมณี เป็นชือ่ ศิลปินคนแรกๆ ทีเ่ รานึกถึง เมือ่ ต้อง ขอเชิญภาพพระบรมฉายาลักษณ์-พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ จากศิลปิน มาเป็นปกฉบับพิเศษของเรา อย่างไรก็ตาม... เราเองก็กังวลว่านี่อาจยัง ไม่ใช่เวลาทีจ่ ะติดต่อไป ด้วยการสูญเสียครัง้ ยิง่ ใหญ่ทสี่ ดุ ของคนไทยทัง้ ชาติ คราวนี้ อาจท�าให้หลายๆ คนไม่พร้อมที่จะพูด แต่ศักดิ์วุฒิกลับตอบตกลง อย่างรวดเร็ว เพราะภาพทีเ่ ขาอนุญาตให้นา� มาลงปกของ a day BULLETIN ฉบับนี้ เป็นภาพที่เขาทั้งรักและผูกพันอย่างหาที่สุดมิได้ “ภาพชือ่ พระเจ้าอยูห่ วั เป็นภาพล่าสุดทีผ่ มเขียนเสร็จ เป็นภาพลายเส้น หรือดรอว์อิ้ง ที่ท�าให้ผมย้อนกลับไปสู่จุดของความเป็นธรรมชาติที่สุด ในการวาดรูป คือการใช้ดินสอวาดรูปลงไปบนกระดาษ และรูปนี้ก็เป็นรูป ที่ผมพอใจที่สุดในตอนนี้ อาจจะเป็นเพราะวัยของตัวเองด้วยที่สนใจภาพ แบบเรียบง่าย ถ้าเทียบกับตัวเองสมัยก่อน ผมจะวาดภาพแบบใส่เข้าไปหมด ทุกอย่าง พูดง่ายๆ ถ้าผมไม่ได้เขียนภาพทีม่ พี นื้ หลังเยอะๆ หรือใส่สลี งไปมากๆ นีผ่ มอาจจะอกแตกตายเลย อาจารย์จกั รพันธุ์ โปษยกฤต เคยพูดกับผมว่า เดี๋ยวสักวันศักดิ์วุฒิจะน้อยลงไปเอง และวันนี้ผมก็เข้าใจแล้ว “รูปนีเ้ ป็นรูปทีผ่ มวาดเป็นของขวัญวันเกิดให้ตวั เองเมือ่ วันที่ 5 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันเกิดอายุครบ 54 ปี โดยเป็นการตั้งใจวาดรูป ที่ง่ายที่สุด ธรรมดาที่สุด ให้ออกมาดีที่สุด “จ�าได้เลยว่าวันนั้นเอากระดาษมาขึงและตั้งใจว่าวันนี้เป็นวันเกิดของเรา ก็ขอท�าสิง่ ทีด่ ที สี่ ดุ นัน่ คือการเขียนรูปพระเจ้าอยูห่ วั จากนัน้ ผมก็เริม่ ร่างเส้น จนกระทั่งวาดเสร็จ ใช้เวลารวมๆ กันแล้วประมาณสองวัน ซึ่งผมพอใจมาก จึงรีบเอาไปใส่กรอบกระจก เพราะไม่อย่างนั้นผมจะต้องคอยมานั่งแก้ เติมรูปทุกวันจนรูปเลยจุดทีด่ ไี ปแล้วแน่ๆ และตัง้ ใจไว้วา่ ตัวรูปออริจนิ อลนัน้ ผมจะไม่ขาย “ในงานศิลปะจะมีอยู่ค�าหนึ่งที่เรียกว่า ‘มันได้แล้ว’ ซึ่งแปลว่า แม้จะมี ความผิดพลาดอยู่บ้างนิดๆ หน่อยๆ หรือไม่สมบูรณ์แบบ แต่มีความลงตัว ตามรู ป แบบความงามของศิ ล ปะก็ ถื อ ว่ า เพี ย งพอแล้ ว ถ้ า เราไปแก้ อี ก อารมณ์บางอย่างก็อาจจะหายไป ผมเชือ่ ว่า บางทีความถูกต้องก็ทา� ให้เสน่ห์ บางอย่างหายไป และถ้าเขียนให้สมบูรณ์แบบมากๆ ในที่สุดก็จะกลายเป็น รูปถ่าย ซึ่งศัพท์ของช่างเขียนคือ งานดูแข็งกระด้าง ซึ่งคนอื่นอาจจะดูไม่รู้ แต่ตวั เราเองดูรู้ เคยมีรนุ่ พีท่ า่ นหนึง่ บอกกับผมว่า เวลาคนดูรปู พระเจ้าอยูห่ วั เขาไม่ได้นา� รูปต้นแบบมาเทียบว่ารูปนีเ้ หมือนหรือไม่เหมือน เวลาดูเขาตัดสินใจ ตรงข้างหน้าเลย ไม่มกี ารเปรียบเทียบ ดังนัน้ ถ้ารูส้ กึ ว่าได้แล้ว ในความรูส้ กึ ของศิลปินคือจบแล้ว” ภาพที่ชื่อ พระเจ้าอยู่หัว นี้ เขาบอกด้วยว่า ต้องเป็นชื่อนี้ ไม่มีชื่ออื่น เพราะทุกครั้งที่เอ่ยค�านี้ เขาจะรู้สึกตื้นตันและเป็นมงคลกับชีวิต และด้วย ความที่เขาเป็นศิลปินที่ได้ชื่อว่า มีความจงรักภักดีและทุ่มเทหัวใจวาดภาพ พระองค์ท่านมาอย่างต่อเนื่องมาตลอดชีวิต ข่าวในคืนวันที่ 13 ตุลาคม 2559 จึงท�าให้หัวใจของเขาแตกสลายไม่ต่างจากพสกนิกรคนอื่นๆ

“ผมได้ยินข่าวเรื่องนี้มานานแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาผมถือว่าเป็นการท�าลาย ขวัญและความเชือ่ มัน่ ของเรา ซึง่ ผมก็คดิ เสมอว่าไม่เป็นความจริง และเชือ่ ว่า ทุกคนก็คดิ แบบผม เรารูว้ า่ ต้องมีวนั นัน้ แต่ไม่ใช่วนั นีแ้ น่ๆ ผมไม่เชือ่ อะไรทัง้ นัน้ จนกว่าจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการ ซึ่งทุกคนก็คงคิดเหมือนกัน ใจของเรายังไงก็อยากให้เรื่องนี้เป็นแค่ข่าวลือ เพราะเราเกิดมาก็เห็นท่าน แล้ว จ�าได้ว่าสมัยเด็กๆ ตอนผมไปดูหนัง ตอนหนังจบก็มีการฉายเพลง สรรเสริญพระบารมี ผมก็ยืนดูทุกครั้ง ตอนที่ท่านเสด็จฯ มาที่จังหวัด นครศรีธรรมราช ผมก็ ไปนัง่ เฝ้าท่านอยูข่ า้ งทาง ซึง่ สมัยนัน้ เราจะถูกผู้ ใหญ่ สอนว่าห้ามมองพระพักตร์ของท่าน ผมก็กม้ กราบท่านแนบพืน้ ถึงไม่ได้เห็น พระพักตร์ แต่รู้สึกได้ถึงความยิ่งใหญ่ของท่าน จ�าได้ว่าวันที่ 13 ตุลาคม ที่ผ่านมานั้น เพื่อนผมโทร.มาหาแล้วร้องไห้ แปลว่าข่าวนั้นจริงแล้ว ผมเอง ก็... ร้องไห้ตามไปด้วย วันนั้นทุกอย่างมีแต่ความตึงเครียด จนสุดท้ายผม ต้องออกไปปั่นจักรยานเพราะทนอยู่บ้านไม่ได้ ตอนนั้นเราต้องยอมรับแล้ว ว่ า มั น คื อ เรื่ อ งจริ ง และถ้ า ให้ พู ด แบบไม่ อ าย ที่ ผ มมี ชื่ อ เสี ย งในทุ ก วั น นี้ ก็เพราะรูปพระเจ้าอยูห่ วั รุง่ ขึน้ วันที่ 14 ตุลาคม ผมจึงไปทีบ่ ริเวณพระบรมมหาราชวัง อยากไปส่งเสด็จฯ แต่เข้าไม่ถึงเพราะคนเยอะมาก แต่ก็ถือว่า ได้ ไปซึมซับบรรยากาศของเวลานั้น ได้อยู่ใกล้พระองค์ท่านเท่าที่สามารถ ท�าได้ ไม่นับตอนที่รับปริญญาบัตร ซึ่งวันที่ผมรับปริญญา ผมยังไม่กล้า มองพระพักตร์ของท่านเลย ต้องก้มหน้าตลอดเวลา” แม้ตลอดระยะเวลาการให้สัมภาษณ์ ศักดิ์วุฒิจะน�้าตาคลอเบ้าและมี เสียงแผ่วเบายามที่ต้องพูดถึงพระเจ้าอยู่หัว แต่เมื่อถามถึงความรู้สึกที่ได้ เกิดมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เขากลับพูด ด้วยน�้าเสียงหนักแน่นว่า “ผมภูมิใจมาก สมัยเด็กๆ ผมเคยไปเข้าแถวรับของแจกพระราชทาน จากสมเด็จย่าด้วยนะ บ้านของตายายผมอยู่ที่เกาะแตน ซึ่งเป็นเกาะที่อยู่ ห่างออกไปจากเกาะสมุย ท่านเสด็จฯ มาด้วยเฮลิคอปเตอร์ พวกผมก็ ไป นั่งรอรับเสด็จฯ ท่านตรงชายหาด ซึ่งเป็นภาพเหตุการณ์ที่ผมจ�าได้หมด สิ่งเหล่านี้ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก และตายายก็จะเล่าเรื่องบุญคุณของ พระเจ้าแผ่นดินให้ผมฟัง เวลาเล่านิทานก็จะอิงกับเรื่องเหล่านี้ พอโตขึ้นมา ไม่ว่าผมจะเกเรแค่ไหน แต่ถ้าเรื่องของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินผมก็จะแยกไว้ ไม่ไป วิจารณ์ เหมือนที่ผู้ ใหญ่บอกว่าระวังเหาจะขึ้นหัว นรกจะกินกบาล ถือเป็น เรือ่ งไม่ดี เพราะถ้าไม่มที า่ นเราจะเป็นอย่างไร ลองดูประเทศทีอ่ ยูใ่ กล้เคียงเรา ก็ ได้ เราจะเห็นว่าประเทศเหล่านั้นเป็นอย่างไร ท�าไมถึงมีแต่ความแตกแยก มีสงคราม ท�าไมบ้านเราถึงไม่เป็น เราโชคดีขนาดไหนทีบ่ า้ นเรามีศนู ย์รวมใจ คือท่าน เมื่อปี พ.ศ. 2535 บ้านเมืองมีความขัดแย้ง วุ่นวาย ท่านก็เรียก ทุกฝ่ายมาคุย แล้วก็หยุดทะเลาะเลย เป็นประเทศที่แปลกมาก คนจะฆ่ากัน อยู่แล้วทุกอย่างหยุดเลย กลับมาเป็นเหมือนเดิม นี่คือสิ่งที่เราเห็น แต่เด็ก รุ่นใหม่ไม่เห็น และถ้าไม่มีการบอกต่อทุกอย่างก็จบ เราจึงต้องเผยแพร่ ความดีของท่านให้มากที่สุด “พระบรมราโชวาทที่ผมยึดไว้เสมอคือ ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและ คนไม่ดี ไม่มีใครที่จะท�าให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การท�าให้บ้านเมืองมี ความปกติสุข เรียบร้อย จึงมิใช่การท�าให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่ การส่งเสริมความดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดไี ม่ให้มอี า� นาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้ อีกเรื่องคือให้ทุกคนท�าหน้าที่ของตัวเอง ให้ดี คุณเป็นนักเขียนก็เขียนเรื่องดีๆ เป็นนักเรียนก็เรียนไป ท�างานด้วย ความซื่อสัตย์ นักการเมืองก็ปกครองด้วยความดี ศิลปินก็ซื่อสัตย์กับ งานตัวเอง ท�างานด้วยความจริงใจ ท�าได้แค่นี้บ้านเมืองเราก็จะเจริญ” บ่ายวันนั้น ศักดิ์วุฒิพาเราเดินชมภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ตั้งไว้รอบบ้าน ซึ่งบางภาพก็เขียนค้าง ไว้นานกว่า 6 ปี และยังไม่สามารถเขียนต่อได้ด้วยหลายๆ เหตุผล ไม่นับว่า ต่อไปนี้ การวาดภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขึ้นมาใหม่จะยิ่งยาก ส�าหรับเขามากขึ้นไปอีก เพราะความรู้สึกสูญเสียที่ท่วมท้นจนเขาเอง ก็ตอบไม่ได้วา่ จะวาดได้อกี เมือ่ ไหร่ แต่ทเี่ ขาแน่ใจได้กค็ อื ตลอด 54 ปีทเี่ กิดมา ใช้ชวี ติ บนแผ่นดินนี้ เขาเขียนภาพทีด่ ที สี่ ดุ ของพระองค์เป็นของขวัญให้ตวั เอง ได้แล้ว


“...ในสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งภายนอกภายใน ความสามัคคีเป็นคุณธรรมที่ส�าคัญที่สุด ได้ย�้าได้พูดอยู่เสมอว่าทุกคนทุกฝ่ายต้องสามัคคีกัน อาจเป็นค�าพูดที่ฟุ่มเฟือยหรือซ�้าซากเกินไป หรือชักจะน่าเบื่อหน่าย แต่ต้องเข้าใจว่า ถ้าพูดถึงประเทศไทย โดยเฉพาะที่เรามีความเป็นคนไทย ท�าไมเราอยู่อย่างนี้ได้ ก็เพราะว่าทุกคนรู้จักหน้าที่ของตน ทุกคนรู้ว่าถ้าตนปฏิบัติดีก็เป็นความดีส�าหรับบ้านเมือง ถ้าตัวปฏิบัติชั่วก็ท�าให้บ้านเมืองล่มจม ความเสียหายในการที่บ้านเมืองจะล่มจมนั้น ไม่ใช่อยู่ที่บ้านหรือเมืองหรือแผ่นดินจะจมลงไป หมายถึงว่า แต่ละคนที่อาศัยแผ่นดินนี้จะจมลงไปด้วย และไม่มีใครอยากที่จะจมลงไป เพราะว่าไม่สบาย ไม่สนุก ฉะนั้นคุณธรรมแห่งความสามัคคีนี้มีความส�าคัญมาก หมายความว่าทุกคนท�าหน้าที่ของตนด้วยความตั้งใจจริงและด้วยน�้าใจที่จะสร้างสรรค์ ไม่ท�าลาย ประเทศไทยจึงจะอยู่ได้ และแต่ละคนจึงจะอาศัยแผ่นดินได้และมีความมั่นคงสุขความก้าวหน้าได้ “ประเทศไทยนั้น ได้กล่าวแล้วว่า เปรียบเทียบกับประเทศอื่น มีโชคดี เพราะว่าอยู่ได้อย่างนี้เพราะมีสามัคคีธรรม ก็ขอให้รักษาสามัคคีธรรมให้ดีให้จงหนัก มีอะไรที่ขุ่นเคืองจิตใจบ้างก็ขอให้อดทน มีความเหน็ดเหนื่อยหรือความท้อใจบ้างก็ขอให้ขจัด และใช้ความสามารถความรู้ของแต่ละฝ่ายในหน้าที่ของตนท�าให้หน้าที่เจริญรุ่งเรืองและสอดคล้องกัน เราจะสามารถรักษาความดีและความเป็นเอกราชของประเทศได้...”

Royal Speech

พระราชด�ารัส

พระราชทานในงานราชอุทยานสโมสร ณ สวนศิวาลัย วันพุธที่ 8 ธันวาคม 2514


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.