DAY AFTER DAY

Page 1



คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ แม้ ทุ ก วั น นี้ จ ะมี สื่ อ อื่ น ให้ ติ ด ตามได้ ร วดเร็ ว ทั น ใจกว่ า กั น แต่วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ก็ยังไม่วางมือจากการร้อยเรียงตัวอักษร ออกมาเป็นเล่ม แม้ความถีจ่ ะสูส้ อ่ื อืน่ ไม่ได้ แต่หนังสือก็มสี นุ ทรียใ์ นแบบทีไ่ ม่เหมือน สือ่ ไหน เนือ่ งจากมันต้องใช้เวลา-ทัง้ ในการผลิตและการเสพ-เหมือนไวน์ ที่ต้องรอให้ได้ที่จึงนำ�มาดื่ม (โดยการจิบช้าๆ) ความละเมียดละไมจึง ต่างจากเครือ่ งดืม่ ทีส่ ามารถยกดืม่ อัก้ ๆ อืน่ ๆ อย่างน้�ำ ผลไม้คน้ั (เปรียบไป ก็เหมือนทวิตเตอร์ทใี่ ห้อารมณ์สดและไว) หรือกาแฟ (เปรียบไปก็เหมือน รายการโทรทัศน์-ที่ถึงจะต้องใช้ความพิถีพิถันในการทำ� แต่ก็ยังเสพกัน ได้บ่อยๆ สิ่งนี้เริ่มกลายเป็นงานหลักของพี่โหน่งเราไปแล้วในปัจจุบัน นอกเหนือไปจากการดูแลมูลนิธิอะเดย์) แม้จะใช้เวลากว่าจะพร้อมให้เสพนานกว่าอย่างอื่น แต่หนังสือ ก็จะอยู่กับเรานานที่สุดเช่นกัน นี่คือเหตุผลที่อะบุ๊กแสนจะยินดี เมื่อพี่โหน่ง-วงศ์ทนง ตกลงใจ มอบต้นฉบับจากหนังสือหลายเล่มทีเ่ ขียนเอาไว้ในรอบทศวรรษทีผ่ า่ นมา ให้เราคัดสรรมารวบรวมไว้อีกครั้ง ในโอกาสที่สำ�นักพิมพ์ครบรอบสิบปี กับโครงการ ‘a book: a decade’ เพื่อให้ตัวหนังสือของเขาอยู่กับเรา ไปอีกนานๆ ต่ออายุจากเล่มเก่าที่เราอาจเป็นเจ้าของอยู่แล้ว ซึ่งแม้ว่า เนื้อหาและแรงบันดาลใจในนั้นจะยังไม่ล้าสมัย แต่ร่างกระดาษของมัน อาจแพ้ภัยปลวกหรือน้ำ�ท่วมไปแล้วอย่างน่าเศร้าใจ


โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่าหนึ่งในปัจจัยที่ทำ�ให้งานของเรามีคุณค่า ถ้าไม่นับเรื่องเงินดี บริษัทดังแล้ว ก็คือการที่เราได้ภูมิใจในตัวเจ้านาย ผมว่ามันคือความเท่อย่างมาก ที่เจ้านายของผมสร้างตัวและสร้างชื่อ ขึ้นมาจากตัวหนังสือ และจนทุกวันนี้ แม้เวลาผ่านไปนานปี หรือแม้จะ ไปหยิบจับอะไรใหม่ๆ ให้กลายเป็นความสำ�เร็จขึ้นมาอีกหลายอย่าง แต่ผมก็ยังสัมผัสและรู้สึกได้ว่า ความเจ๋งในตัวหนังสือของเขายังคง อยู่ครบ ผมอยากจะเปรียบว่า เหมือนเราติดใจรสชาติซูชิของพ่อครัว คนหนึง่ จนต้องมาฝากตัวเป็นศิษย์ แต่เมือ่ เวลาผ่านไป พ่อครัวคนนีก้ ลับ ขยับขยายรายการอาหารในเมนูออกไปอีกมากมายจนขายดิบขายดี แต่ถา้ ซูชขิ องเขา-เหตุผลทีท่ �ำ ให้เราเคยมาคุกเข่าขอเข้าสำ�นัก-กลับรสชาติ แย่ลงเรื่อยๆ เมื่อนั้นเราคงอดรู้สึกผิดหวังไม่ได้ แม้ว่าโดยรวม อาหาร สำ�นักนี้จะยังคงถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในใต้หล้าก็ตาม แต่ซูชิฝีมือของพี่โหน่ง-วงศ์ทนง ยังคงเป็นรสชาติที่เราภูมิใจ ไม่เสื่อมคลาย กว่า 80 ข้อเขียนความเรียงที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘วันแล้ววันเล่า’ เล่มนี้ คงจะเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันได้เป็นอย่างดี

ภูมิชาย บุญสินสุข ตุลาคม 2556


วันแล้ววันเล่า

ขออนุญาตเขียนคำ�นำ�หนังสือเล่มนี้ยาวสักหน่อยนะครับ เนื่องในโอกาสเปิดดำ�เนินการมาครบสิบปีในปี 2556 สำ�นักพิมพ์ a book จึ ง ฉลองความสำ � เร็ จ ในการยื น หยั ด เป็ น สำ � นั ก พิ ม พ์ เ ล็ ก ๆ ทีจ่ ดั ทำ�หนังสือดีๆ มาได้ครบหนึง่ ทศวรรษ ด้วยการคัดสรรผลงานในอดีต ของสำ � นั ก พิ ม พ์ มาจั ด พิ ม พ์ ใ หม่ ใ นโครงการ ‘a book: a decade’ จุ ด ประสงค์ แ รกก็ เ พื่ อ ให้ ผู้ อ่ า น ‘เห็ น ภาพ’ แนวทางการทำ � หนั ง สื อ ของ a book ตลอดสิบปีที่ผ่านมา ส่วนอีกเหตุผลก็เพื่อให้ผลงานเก่าๆ ที่ ห ายหน้ า หายตาไปจากร้ า นหนั ง สื อ ได้ ก ลั บ มาปรากฏตั ว อี ก ครั้ ง เพื่อผู้อ่านทั้งรุ่นเยาว์และรุ่นใหญ่ที่ไม่เคยอ่านมาก่อน จะได้รู้จักกับ หนังสือและผลงานเขียนของนักเขียนคนนั้นๆ คุณภูมิชาย บุญสินสุข บรรณาธิการ a book เอ่ยปากขอรวมเล่ม งานเขียนของผมตลอดสิบปีเศษที่ผ่านมา ร่วมโครงการนี้ด้วย (เขาใช้คำ� ว่า “ประมาณ The Best of Wongthanong น่ะครับ” ซึ่งผมฟังแล้วนึกไป ถึงอัลบัม้ รวมเพลงฮิตของนักร้องหรือวงดนตรียคุ 80’s 90’s ยังไงชอบกล) ตามประสาล่ะครับ คนเป็นนักเขียนทุกคนย่อมดีใจอยู่แล้วที่จะได้ออก หนั ง สื อ เล่ ม ใหม่ ผมตกปากรั บ คำ �คุ ณ ภู มิ ชายไปทันทีโ ดยไม่คิดมาก แต่หลังจากนัน้ พอได้มเี วลาเอาหนังสือของตัวเองมานัง่ อ่านทวนอีกครัง้ ผมก็เกิดความรู้สึกลังเลใจขึ้นมาว่าจะพิมพ์ดีหรือไม่ดี เหตุผลเพราะ งานเขียนบางชิน้ (เช่น งานเขียนจากหนังสือ เรือ่ งเล็ก หรือ มากกว่านัน้ )


เป็ น งานที่ ผ มเขี ย นให้ ค อลั ม น์ ใ นนิ ต ยสารรายสั ป ดาห์ คื อ มติ ช น สุดสัปดาห์ และ a day weekly ซึ่งเลี่ยงไม่ได้ที่เนื้อหาจะมีการกล่าวอ้าง ถึงสถานการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ในช่วงเวลานัน้ เมื่อเอาเรื่องตอนนั้นมาอ่านตอนนี้ มันจึงดู ‘ล้าสมัย’ ไปโดยปริยาย อีกทั้งงานเขียนคอลัมน์ในนิตยสารรายสัปดาห์นั้น เหล่าคอลัมนิสต์ ทัง้ หลายเป็นอันรูก้ นั ว่ามันคือ ‘วรรณกรรมเร่งรีบ’ ประเภทหนึง่ การต้อง ทำ�งานเขียนในเวลาจำ�กัดเพือ่ ส่งต้นฉบับให้ทนั จึงอาจทำ�ให้งานเขียนนัน้ ดู ตื้ น และเบาไปบ้ า ง ซึ่ ง เป็ น เรื่ อ งเขิ น อายพอสมควรสำ � หรั บ คนเป็ น นักเขียนอาชีพ เหตุผลสุดท้ายเป็นความรูส้ กึ ส่วนตัวล้วนๆ ครับ นัน่ คือ งานเขียน บางชิ้นซึ่งผมเขียนขึ้นเมื่อทศวรรษที่แล้ว ผมรู้สึกว่าอ่านแล้วมันอบอุ่น อ่อนหวาน อ่อนไหว หรือเรียกรวมๆ ว่าช่าง ‘โลกสวย’ เสียเหลือเกิน ซึ่งดูขัดแย้งกับมุมมองความคิดของผมในปัจจุบันที่เปลี่ยนไปจากเดิม พอสมควร พูดง่ายๆ ทุกวันนีผ้ มเป็นผูใ้ หญ่ทคี่ อ่ นข้างมองโลกด้วยสายตา ที่ ซี เ รี ย สจริ ง จั ง ไม่ อ่ อ นหวาน อ่ อ นไหว ขี้ เ หงา เศร้ า ง่ า ยเหมื อ น เจ้าเด็กหนุ่มเมื่อสิบปีก่อนคนนั้นแล้วล่ะครับ สารภาพว่าบางทีอ่าน งานเขียนของตัวเองในช่วงนั้น ผมรู้สึกถึง ‘ความแปลกหน้า’ เสียด้วยซ้ำ� ร่ำ�ๆ ว่าจะตัดสินใจไม่พิมพ์แล้ว ก็มีเหตุให้ผมต้องเปลี่ยนใจจนได้ เมื่อผมมีโอกาสไปแจกลายเซ็นที่บูท a book ในงานสัปดาห์หนังสือ แห่งชาติครั้งล่าสุด แล้วมีผู้อ่านรุ่นใหม่หลายคนบอกผมว่า อยากอ่าน งานเขียนเก่าๆ ของผม แต่หาอ่านที่ไหนไม่ได้ ตอนงาน ‘อ่านออกเสียง หนังสือชื่อ วงศ์ทนง’ ซึ่งหอนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ให้เกียรติจัดให้ผมได้ พบปะพูดคุยกับผู้อ่านอย่างอบอุ่นเมื่อกลางปีที่ผ่านมา ก็มีผู้อ่านชนิด เหนียวแน่นหลายคนพูดทำ�นองเดียวกันว่า ผมน่าจะเอางานเขียนเก่าๆ มาจัดพิมพ์ใหม่อีกสักครั้ง ไม่ควรปล่อยให้มันเลือนหายไปกับกาลเวลา


เมือ่ ผนวกกับทีค่ ณ ุ ภูมชิ ายพูดโน้มน้าวว่า ผลงานเขียนของผมเป็นตัวแทน ที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางในการผลิตหนังสือของสำ�นักพิมพ์ a book ได้ นัน่ คือการมุง่ ทำ�หนังสือทีใ่ ห้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ ซึง่ เรือ่ ง ของผมมีคณ ุ สมบัตติ รงตามนัน้ อีกอย่าง มันก็ไม่ได้เป็นเรือ่ งเลวร้ายอะไร ทีจ่ ะรวบรวมหลักไมล์ทางการเขียนของวงศ์ทนงไว้เป็นหนังสือสักเล่มหนึง่ ทั้งหมดนี้ทำ�ให้ผมเปลี่ยนใจตอบตกลงกับทางสำ�นักพิมพ์ a book ว่า โอเค พิมพ์ก็พิมพ์ หนังสือ Day After Day เล่มนี้ คัดสรรขึ้นจากงานเขียนที่ผมเขียน ไว้ในหนังสือ 5 เล่มด้วยกัน ได้แก่ เรือ่ งเล็ก (พิมพ์ครัง้ แรกโดย Macaroni Book สำ�นักพิมพ์ที่มติชนสนับสนุน ซึ่งเมื่อจัดพิมพ์ซ้ำ�ในภายหลังโดย สำ�นักพิมพ์ a book ผมเพิ่มเรื่องใหม่เข้าไปอีก 5 เรื่อง แล้วเปลี่ยนชื่อ ปกเป็น หญิงสาวนักขายขนมปัง), Wake Up!, มากกว่านั้น, Try และ No More No Less งานเขียนส่วนใหญ่เป็นลักษณะบทความ ความเรียง และบางชิน้ มีกลิน่ อายของเรือ่ งสัน้ ผสมอยู่ ส่วนหนังสือเล่มอืน่ ๆ ของผม คือ a day Story, The Bear Wish Proje (พิมพ์ซ้ำ�ภายหลังใช้ชื่อปกว่า Bearwish), Question Mark, มัชฌิมนิเทศ และ In My Life นัน้ ไม่สามารถ นำ�มารวมเล่มด้วยได้ในคราวนี้ ด้วยเพราะบางเล่มเป็นนวนิยาย ขณะที่ บางเล่มมีลักษณะเป็นบทสัมภาษณ์ ซึ่งคงแปลกแปร่งเกินไปหากจะนำ� มารวมไว้ในเล่มเดียวกัน เรื่องเล็ก เป็นชื่อคอลัมน์ในนิตยสาร มติชนสุดสัปดาห์ ซึ่งผมมี โอกาสไปเป็นคอลัมนิสต์ให้ระยะเวลาหนึง่ ในช่วงปี 2543 จากการชักชวน ของ คุณเสถียร จันทิมาธร และ คุณสรกล อดุลยานนท์ ตอนนั้นผมยัง ทำ�งานอยู่ที่นิตยสาร IMAGE ของ คุณคำ�รณ ปราโมช ณ อยุธยา ใกล้ๆ จะออกมาก่อตั้ง a day ร่วมกับเพื่อนๆ เมื่อได้รับการติดต่อให้เขียน คอลัมน์ให้ มติชนสุดสัปดาห์ ผมรู้สึกดีใจมาก ขณะเดียวกันก็รู้สึกกดดัน


ไม่น้อย เพราะไม่เคยทำ�งานเขียนที่ต้องส่งต้นฉบับทุกสัปดาห์มาก่อน แต่สุดท้ายทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี เรื่องเล็ก กลายเป็นทั้ง ‘โอกาส’ และ ‘ประสบการณ์ ’ ที่ น่ า จดจำ � ในชี วิ ต การเขี ย นหนั ง สื อ ของผม คอลัมน์นี้ทำ�ให้ผมเป็นที่รู้จักของผู้อ่านในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งก็มาจาก ยอดพิมพ์ที่สูงมากของ มติชนสุดสัปดาห์ บวกกับการมีกลุ่มเป้าหมาย ที่ ก ว้ า งมาก จำ � ได้ ว่ า ผมได้ รั บ จดหมายผู้ อ่ า นทั้ ง ที่ เ ป็ น นั ก ศึ ก ษา คนหนุ่มสาววัยทำ�งาน ไปจนถึงผู้อาวุโสวัยเกษียณ จดหมายบางฉบับที่ กองบรรณาธิ ก ารมติ ช นเก็ บ ไว้ ใ ห้ เ วลาผมแวะไปที่ สำ � นั ก งานย่ า น ประชานิเวศน์ ถูกส่งมาจากยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย เชื่อไหมครับว่า ผมได้รับแม้กระทั่งจดหมายจากคนไทยในไต้หวัน อิสราเอล โคลัมเบีย และนิวซีแลนด์ ที่บอกว่าอ่านคอลัมน์ เรื่องเล็ก แล้วชอบมาก สิ่งเหล่านี้ เป็นความทรงจำ�อันอบอุ่นสวยงามที่ผ่านไปนานแค่ไหนผมก็ไม่เคยลืม คุณพลอย จริยะเวช เคยเขียนคำ�นิยมให้หนังสือ หญิงสาวนักขาย ขนมปัง หรือ เรื่องเล็ก ฉบับตีพิมพ์ในปี 2547 โดยสำ�นักพิมพ์ a book ว่า “ข้อเขียนของผูช้ ายคนนีม้ าแปลก ขัดแย้งแบบพอดี มีเสน่ห์ ตัวหนังสือ สไตล์วงศ์ทนงมีทั้งอารมณ์ซ่า อบอุ่น ท้าสู้ สนุกแบบเด็กซน กิ๊กกั๊ก กวน และบางทีมกี ารกระตุน้ ให้คนอ่านได้ฮกึ เหิมบ่อยๆ แน่นอนว่า มุมนุม่ นวล ก็มีให้เราสัมผัสเพียบด้วย อย่างในหนังสือเล่มนี้ มีหลายบทที่อาจทำ�ให้ คุ ณ น้ำ � ตาซึ ม ขณะเดียวกัน อีกหลายเรื่อ งก็ทำ�ให้เราเห็นทางเลือก ทางออกของการตัดสินใจในชีวิต” มากกว่านัน้ เป็นชือ่ คอลัมน์หน้าสุดท้ายใน a day weekly นิตยสาร รายสัปดาห์ในเครือบริษัทผม ซึ่งมี คุณอธิคม คุณาวุฒิ เป็นบรรณาธิการ บริหาร a day weekly วางตำ�แหน่งตัวเองเป็นนิตยสารข่าวสังคมการเมือง ดังนั้น เรื่องที่ผมเขียนลงคอลัมน์ มากกว่านั้น จึงมีประเด็นเกาะเกี่ยว เชื่อมโยงกับเรื่องราวทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของ


สังคมไทยและสังคมโลกในเวลานั้น ซึ่งก็เป็นประสบการณ์การทำ�งาน เขียนทีเ่ ข้มข้นและสนุกไปอีกแบบ โดยเฉพาะการพยายามเอาเรือ่ งจริงจัง มาย่อยและปรุงให้อา่ นง่าย อ่านสนุก ถือเป็นเรือ่ งท้าทายอย่างหนึง่ ทีผ่ ม ได้ลองทำ� ระหว่างที่ a day weekly มีชีวิตอยู่บนแผงหนังสือในช่วง ปี 2547-2548 คุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เขียนคำ�นำ�ให้หนังสือ มากกว่านั้น ฉบับจัดพิมพ์ครัง้ แรกเมือ่ ปี 2548 โดยสำ�นักพิมพ์มติชนว่า “อ่านหนังสือ เล่มนี้ คุณจะพบว่า คุณวงศ์ทนงเป็นนักสังเกตการณ์รอบข้างตัวจริง เขาสามารถนำ � แง่ มุ ม เล็ ก ๆ ในชี วิ ต ประจำ � วั น ที่ ผู้ ค นต่ า งมองข้ า ม มานำ�เสนอให้กลายเป็นเรือ่ งน่าสนใจได้ หนังสือเล่มนีจ้ งึ น่าจะเรียกได้วา่ เป็นบันทึกของผู้เขียน ผ่านมุมมองของเขา ที่ได้เดินทางไปตามที่ต่างๆ มากมาย เป็นการเดินทางในเมือง นอกเมือง นอกประเทศ และลึกลงไป ถึ ง การเดิ น ทางในจิ ต ใจของผู้ เ ขี ย นเอง ผสมผสานกั บ การเป็ น คน ช่างสังเกต ช่างจดจำ� และบางเรื่องนำ�มาเทียบเคียงกับข้อมูลในโลก หนั ง สื อ จำ � นวนมากที่ ผ่ า นสายตาของเขา ทั้ ง หมดเป็ น วั ต ถุ ดิ บ ชั้ น ดี ก่ อ นที่ ผู้ เ ขี ย นจะนำ � มาปรุ ง เป็ น อาหารกิ น เล่ น ง่ า ยๆ แต่ ไ ด้ ร สชาติ แสนอร่อยหลากหลายเมนู “ทุ ก วั น นี้ มี ห นั ง สื อ ในท้ อ งตลาดมากมายจนแทบจะสำ � ลั ก แผงหนังสือ แต่มีเพียงไม่กี่เล่มที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนหนังสือด้วยความรัก และให้แง่คิดแก่ผู้อ่านอย่างเนียนๆ มากกว่านั้น เป็นหนึ่งในหนังสือ เหล่านั้น” ใครทีต่ ดิ ตามนิตยสาร a day คงทราบว่า Wake Up! คือชือ่ คอลัมน์ บทบรรณาธิการ a day ผู้ที่ตั้งชื่อคอลัมน์นี้คือ คุณภาสกร ประมูลวงศ์ อดี ต ผู้ ร่ วมก่ อ ตั้ ง a day กับผม และคุณนิติพัฒน์ สุขสวย จำ�ได้ว่า ตอนทำ� a day เล่มแรกพวกเราขี้เล่นกันมาก เรียกว่าอยากทดลองอะไร


ก็ทำ�เลย ในเมื่อนิตยสารชื่อ ‘หนึ่งวัน’ แล้ว เราเลยตั้งชื่อคอลัมน์ต่างๆ เลียนล้อกันไปเหมือนลักษณะกิจวัตรประจำ�วันในวันหนึ่งๆ ในเล่มจึงมี คอลัมน์ไล่ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า Wake Up!, สกู๊ปประจำ�ฉบับเหมือน กินอาหาร Main Course มื้อหนัก ไปจนถึงคอลัมน์สบายๆ ส่งคนอ่าน เข้านอนที่ชื่อ Bedtime ในหน้าสุดท้าย หนังสือ Wake Up! ถูกจัดพิมพ์ ขึ้นในปี 2549 โดยเป็นการรวมบทบรรณาธิการของ บ.ก. a day สามคน คือ ผม, คุณวชิรา รุธิรกนก และคุณทรงกลด บางยี่ขัน ซึ่งยังคงรับหน้าที่ เป็น บ.ก. a day จนถึงปัจจุบัน ในหนังสือเล่มนี้ผมคัดเลือกงานเขียน จาก Wake Up! มาไม่มากนัก เนื่องจากหน้าที่บทบรรณาธิการมีกรอบ ให้ ง านเขี ย นหลายชิ้ น ต้ อ งอิ ง อยู่ กั บ การบอกเล่ า เนื้ อ หาในนิ ต ยสาร ฉบับนั้นๆ ซึ่งมาอ่านตอนนี้แล้วออกจะดูส่วนตัวและพ้นสมัยเกินไป สักหน่อย หากบางชิน้ ทีผ่ มตัดสินใจคัดมารวมอยูใ่ นหนังสือเล่มนี้ ก็เพราะ มีแก่นความคิดและอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างที่น่าสนใจอยู่ หนังสือเล่มหนึง่ ทีม่ คี วามหมายเป็นพิเศษกับชีวติ นักเขียนของผม ก็คือ Try ผมเชื่อว่า นักเขียนแทบทุกคนคงเคยประสบภาวะที่เรียกว่า ‘Writer’s Block’ หรือพูดง่ายๆ ว่า ภาวะเขียนหนังสือไม่ออก ผมก็เคย เป็นอย่างนั้นอยู่กว่าสองปี ที่แทบไม่ได้เขียนผลงานอะไรใหม่ๆ ออกมา เลย ไม่ว่าจะในรูปหนังสือหรือคอลัมน์ นึกย้อนกลับไปผมเข้าใจว่า เป็ น เพราะภาวะอารมณ์ ใ นช่ ว งเวลานั้ น ของผมไม่ ค่ อ ยปกติ รู้ สึ ก เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดแรง ไม่นึกอยากทำ�อะไรแม้แต่เขียนหนังสือ ซึ่งเคยเป็นงานแห่งความรัก จนกระทั่งได้มาออกหนังสือ Try ในปี 2552 ซึ่ ง มั น เหมื อ นกั บ ผมได้ ป ลดปล่ อ ยตั ว เองจากพั น ธนาการนั้ น Try เป็นผลงานที่ผมรู้สึกพึงพอใจ ไม่ว่าในแง่งานเขียนหรือเสียงตอบรับ จากผู้อ่าน รวมทั้งยอดจำ�หน่าย ซึ่งผ่านไปนานปีแล้ว ปัจจุบันก็ยังถูก พิมพ์ซ้ำ�


Try รวบรวมขึ้ น จากคอลั ม น์ วงศ์ ท นงสอนน้ อ ง ซึ่ ง ตี พิ ม พ์ ในนิตยสาร a day ช่วงปี 2551-2552 ทรงกลด บางยี่ขัน เขียนคำ�นำ�ไว้ ในหนังสือเล่มนี้ตอนหนึ่งว่า “นอกจากหนังสือเล่มเล็กเล่มนี้จะเปี่ยม ไปด้วย ‘พลัง’ แล้ว ผมยังเชือ่ ว่ามันน่าจะทำ�ให้ผอู้ า่ นใส่ใจเรือ่ งราวเล็กๆ รอบตัวมากขึ้น และที่สำ�คัญไปกว่านั้น มันน่าจะทำ�ให้เราอยากแบ่งปัน เรื่องราวดีๆ แก่กันมากขึ้น” ซึ่งตรงกับเจตนารมณ์ในการทำ�งานเขียน ชุดนี้ของผมทุกประการ No More No Less รวบรวมจากคอลัมน์ ปฐมนิเทศ ในนิตยสาร a day เป็นอีกหนึง่ ชุดงานเขียนทีผ่ มทดลองใช้วธิ เี ขียนแบบพรัง่ พรูถอ้ ยคำ� โดยให้อารมณ์ความรู้สึกขณะนั้นนำ�พาไป เรื่องที่ไม่เคยบอกใครคือ ผมมักจงใจเขียนคอลัมน์นี้ในเวลาที่ a day ใกล้จะปิดเล่ม และใช้เวลาที่ มีอยูน่ อ้ ยนิดนัน้ คิดและเขียนออกไปแบบฉับพลันทันใด เปรียบเทียบกับ งานศิลปะก็คงคล้ายกับ Performance Art ถ้าลองสังเกตดู ตัวหนังสือ ในเรือ่ งชุดนีจ้ ะจัดเรียงไม่คอ่ ยเป็นระเบียบสักเท่าไหร่ สำ�เนียงในไวยากรณ์ อาจผิดเพีย้ นไปจากงานเขียนของผมทีผ่ า่ นมาบ้าง เพราะผมตัง้ ใจมุง่ เน้น ไปที่อารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่านหลังจากอ่านจบเป็นหลัก ซึ่งผมคิดว่า ผมทำ�ได้ตามที่คิดไว้พอสมควร เมื่อวัดจากยอดจำ�หน่ายหนังสือและ เสียงสะท้อนจากผู้อ่าน รวมไปถึงการที่ No More No Less ได้รับเลือก จาก สสค. (สำ�นักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน) ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ วิทยากร เชียงกูล เป็นหัวหน้าคณะ ให้เป็น หนั ง สื อ ดี 1 ใน 100 เล่ ม ที่ เ ด็ ก และเยาวชนควรอ่ า น ซึ่ ง สารภาพ โดยไม่ ต้ อ งปิ ด บั ง ว่ า ผมรู้ สึ ก ภู มิ ใ จ เพราะนอกจากเคยได้ รั บ รางวั ล ‘บรรณาธิการดีเด่น รางวัลคุณนิลวรรณ ปิ่นทอง’ จากสมาคมภาษา และหนังสือแห่งประเทศไทยในปี 2552 แล้ว ตั้งแต่เขียนหนังสือมา ผมไม่เคยได้รางวี่รางวัลอะไรในการเขียนกับเขาเลย


ใน No More No Less ยังมีงานเขียนอีกประเภทหนึ่งบรรจุอยู่ แบบจงใจจั ด วางให้ ก ระจายไปทั้ ง เล่ ม นั่ น คื อ สิ่ ง ที่ เ รี ย กว่ า ‘Quote’ (ซึง่ ผมกระดากปากทีจ่ ะเรียกมันว่า ‘คำ�คม’) งานเขียนนีเ้ กิดขึน้ ขณะทีผ่ ม เริ่มสมัครแอ็กเคานต์ทวิตเตอร์ @wongthanong ที่นอกจากจะใช้มัน สือ่ สารกับผูค้ นและประชาสัมพันธ์กจิ การ กิจกรรมต่างๆ ของบริษทั แล้ว ทวิตเตอร์ยังคล้ายกับเป็นสมุดบันทึกเล่มใหญ่ให้ผมได้เขียนความคิด ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานั้นลงไป ถ้อยคำ�เหล่านั้น บางส่วนถูกนำ� ไปรวมอยู่ในหนังสือ No More No Less และก็มีอีกจำ�นวนหนึ่งที่ไม่เคย ตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อน ถูกรวบรวมมาลงตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในช่วงท้าย ของหนังสือเล่มนี้ ผมชอบอ่ า นหนั ง สื อ ตั้ ง แต่ เ ริ่ ม อ่ า นหนั ง สื อ ออก เรี ย กว่ า เป็ น หนอนหนั ง สื อ ตั้ ง แต่ จำ � ความได้ ก็ ว่ า ได้ การอ่ า นสำ � หรั บ ผมคื อ โลก มหัศจรรย์เหมือน ‘Wonderland’ ของอลิซ ตั้งแต่เล็กจนโต หนังสือ และการอ่านมีคุณูปการต่อชีวิตผมมากมายเหลือเกิน หนังสือบางเล่ม ให้ความสนุก หนังสือบางเล่มให้ความรู้ หนังสือบางเล่มให้ความคิด ขณะที่หนังสือบางเล่มให้ทั้งแรงบันดาลใจและช่วยเยียวยาจิตใจผม ไปในตัว ส่วนในด้านการเขียน ผมก็เริ่มฝึกหัดเขียนหนังสือมาตั้งแต่เด็ก เช่นกัน ในบทนำ�ของหนังสือ No More No Less ผมเล่าถึงเรื่องนี้ไว้ ตอนหนึ่งว่า “ผมเป็นคนชอบจดบันทึกตั้งแต่เด็ก เชื่อไหมครับ แค่ ป.4-ป.5 ผมก็เริ่มเขียนไดอารีแล้ว ยังจำ�ได้เลยว่าหน้าปกสมุดไดอารีเล่มแรก ในชีวิตของผมเป็นการ์ตูนรูปลูกหมีสีน้ำ�ตาลนั่งอยู่บนสนามหญ้าสีเขียว แล้วก็มีสายรุ้งพาดผ่าน ส่วนข้อความในบันทึกประจำ�วันของเด็กผู้ชาย อายุ 9 ขวบ 10 ขวบ ก็ไม่มอี ะไรมากไปกว่า วันนีต้ นื่ กีโ่ มง เรียนวิชาอะไร


บ้าง ตอนกลางวันกินอะไร เล่นฟุตบอลยิงได้กี่ประตู แม่ทำ�อะไรเป็น มื้อเย็น ครูให้การบ้านกี่วิชา การ์ตูนหลังข่าวสนุกแค่ไหน เข้านอนกี่โมง ฯลฯ “ข้อดีของไดอารีเมื่อเวลาผ่านไปคือ มันจะกลายเป็นหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ส่วนตัวของผู้จดบันทึกไปโดยปริยาย ไม่นานนี้ผมเพิ่ง รื้อเอาไดอารีทั้งหมดที่เคยเขียนตั้งแต่เด็กมาอ่าน ผมพบว่าเจ้าเด็กคนนี้ เป็นเด็กที่ไม่เลวเลยนะครับ เขารักดีใช้ได้ ขยันเรียน (ตอนเด็กเรื่องเรียน เขาไม่เป็นสองรองใคร) รักพี่น้อง ช่วยพ่อแม่ทำ�งานบ้าน และมีน้ำ�ใจ กับเพื่อน เขายังมีความเป็นนักผจญภัยอยู่ในตัวด้วย เช่น ชอบไปเล่น ลุยสวนท้ายหมู่บ้านโดยจินตนาการว่าเป็นป่าดงดิบ และชอบนั่งรถเมล์ ตลอดสายเพื่อได้ไปเห็นสถานที่ที่ไม่เคยเห็นในกรุงเทพฯ เขาใฝ่รู้ทีเดียว เพราะเขียนเล่าเรื่องการตระเวนนั่งอ่านหนังสือในห้องสมุดประชาชน ที่โน่นที่นั่นอยู่บ่อยครั้ง และเขาเป็นเด็กที่ซื่อสัตย์น่าชมเชย เขาเล่าว่า ป้ า แม่ ค้ า ทอนเงิ น ให้ เ กิ น แล้ ว เขาเอาไปคื น ได้ รั บ คำ � ชมพร้ อ มขนม กลับบ้านเป็นรางวัลห่อหนึ่ง แต่ไม่ใช่จะดีไปหมดหรอกนะครับ เขาเป็น เด็ ก ขี้ ง อนแล้ วก็ ใ จร้อ นอยู่เหมือ นกัน เขาเคยน้อยใจพี่สาวถึงขนาด ประท้วงไม่กินข้าวกินปลา และมีอยู่วัน เขาบันทึกว่า วันนี้ต่อยเพื่อน ชือ่ พูนยศ เพราะพูนยศมาล้อชือ่ พ่อ (เลยถูกครูตหี น้าชัน้ ทัง้ คู่ เพราะตอน ที่ต่อยกันนั้นอยู่ในชั้นเรียนวิชาสังคมศึกษา) “พลิกไดอารีสมัยเขาอยู่ ม.3 ที่กระดาษหน้าหนึ่ง มีข้อความ ตัวบรรจงลายมือเขาว่า “จงเป็นคนอ่อนโยน แต่อย่าเป็นคนอ่อนแอ” ผมเดาว่าเขาไม่ได้เขียนข้อความนี้เองหรอก แต่คงไปอ่านหรือไปได้ยิน จากที่ไหนมา ที่น่าสนใจคือหลังจากวลีนี้ มีข้อคิดคำ�คมตามมาอีกหลาย ต่อหลายข้อความในสมุดบันทึก บางข้อความเขาคัดลอกมา โดยบอกชือ่ ไว้ว่าเป็นคำ�พูดของใคร แต่หลายข้อความเขาก็พยายามคิดเขียนขึ้นเอง


ซึ่งผมอ่านแล้วก็อดยิ้มไม่ได้ในความไร้เดียงสาของเขา “เป็นไปได้ว่าตั้งแต่ตอนนั้น เขาเริ่มหลงใหลคำ�คมเข้าให้แล้ว” สำ�หรับผมแล้ว เขียนหนังสือเป็นการงานแห่งความสุขแล้วก็ ความทุกข์ไปในตัว เวลาเกิดไฟอยากเขียนหนังสือขึ้นมา ผมจะรู้สึก ตืน่ เต้นดีใจทุกครัง้ ยิง่ ไฟแรงเท่าไหร่กย็ งิ่ ผลักให้เราอยากลุกขึน้ มาทำ�งาน เดีย๋ วนัน้ ผมพบว่าส่วนใหญ่ไฟทีแ่ รงนัน้ มาจากความรูส้ กึ ‘อยากเล่าเรือ่ ง’ อยากถ่ายทอดเรื่องราวที่เราได้พบ ได้เห็น ได้ฟัง ได้สัมผัสออกไปให้ คนอื่นๆ ได้รับรู้บ้างผ่านตัวหนังสือของเรา In My Life คือกรณีตัวอย่าง ทีผ่ มเคยเล่าไปแล้วในคำ�นำ�หนังสือว่า มีอยูค่ นื หนึง่ ทีผ่ มเกิดนอนไม่หลับ แล้วไม่รู้จะทำ�อะไรดี จึงลุกขึ้นมาเขียนหนังสือ ตอนนั้นผมเปิดโน้ตบุ๊ก โดยไม่รู้ด้วยซ้ำ�ว่าจะเขียนอะไร แต่สุดท้าย เรื่องราวที่ถูกเก็บกักไว้ ยาวนานในชีวติ ก็ผดุ ขึน้ มา แล้วผมก็จดั การถ่ายเทมันลงไปเป็นตัวหนังสือ ตัวแล้วตัวเล่า จนกระทั่งเสร็จสิ้นเป็นนวนิยายเรื่องหนึ่งเมื่อท้องฟ้า ข้างนอกใกล้สว่าง ห้วงเวลานั้นเป็นความรู้สึกยากอธิบายจริงๆ ครับ ขณะลงมือเขียน เราจะรู้สึกคล้ายเข้าสู่สมาธิชนิดหนึ่ง จิตใจจดจ่ออยู่กับ ทุกตัวหนังสือที่กดพิมพ์ลงไป รู้สึกเหมือนได้ออกผจญภัยไปกับความ ว่างเปล่าตรงหน้าที่ค่อยๆ ปรากฏภาพขึ้นทีละน้อย อึดอัดทรมานบ้าง บางครั้ ง ที่ เ กิ ด อาการชะงั ก งั น ไม่ รู้ จ ะไปไหนต่ อ หรื อ จะไปอย่ า งไร ต่ อ เมื่ อ คลำ � ทางถู ก และออกเดิ น ต่ อ ไปได้ จ นถึ ง จุ ด หมายปลายทาง เมื่อนั้นแหละที่เราจะรู้สึกโปร่ง โล่ง เบาสบาย และอิ่มอกอิ่มใจ ราวกับ ได้บรรลุความหมายบางอย่างของชีวิต เปล่าเลยนะครับ ผมไม่ได้ภาคภูมิใจถึงขนาดคิดว่า การเขียน หนั ง สื อ เป็ น กิ จ กรรมศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ แ สดงถึ ง ศั ก ยภาพ สติ ปั ญ ญาหรื อ จิตวิญญาณที่สูงส่งกว่าคนที่ทำ�อาชีพอื่น นักเขียนก็เหมือนคนทำ�งาน อื่นๆ นั่นแหละครับ เราเพียงตกหลุมรักและอยากปักหลักอยู่กับงาน


ที่เรารักตราบนานเท่านาน เราจึงพยายามฝึกฝนทักษะความสามารถ ให้ดียิ่งขึ้น เราอ่าน เราดู เราฟัง เราคิด เราออกเดินทางเปิดหูเปิดตา เราแสวงหาประสบการณ์แปลกใหม่และหมัน่ เติมตัวเองอยูเ่ สมอ เพือ่ นำ� มันมากลั่นกรองขัดเกลา ถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือสู่ผู้อ่าน อาจเพราะ เราล่วงรู้ว่าเมื่อผลงานที่เกิดจากความตั้งใจของเราสำ�เร็จเสร็จสิ้นแล้ว ถูกเผยแพร่ออกไป เราจะได้สัมผัสกับคุณค่าความสุขซึ่งเกิดจากการ ที่ผู้คนมากมายได้รับรู้เรื่องราวความคิดของเรา ตลอดจนเกิดอารมณ์ ความรู้สึกร่วมไปกับตัวหนังสือของเรา วงจรความสุขอันสุดแสนจะธรรมดาและเรียบง่ายเช่นนี้นี่ล่ะครับ คือเหตุผลทีท่ �ำ ให้ผมยังคงเขียนหนังสืออยูท่ กุ เมือ่ เชือ่ วัน...วันแล้ววันเล่า

วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์



สารบัญ 19

เ รื่ อ ง เ ล็ ก 109

ม า ก ก ว่ า นั้ น 223 WAKE UP! 259 TRY


337 NO MORE NO LESS 381 QUOTES 529 INTERVIEW





วัยเยาว์ไม่อยู่กับเรานาน

“เคยย้อนความทรงจำ�กลับไปให้ไกลที่สุดได้แค่ไหน” เคยมีคนถามผมอย่างนี้ ผมนิ่งนึกอยู่นานก่อนตอบว่า น่าจะเป็น ตอนที่ เ รี ย นอยู่ ชั้ น อนุ บ าล ผมนึ ก ภาพตอนเข้ า แถว ร้ อ งเพลงชาติ สวดมนต์ ท่องคำ�ปฏิญาณตนตรงระเบียงห้องเรียนออก และจำ�ได้ว่า ผมชอบกินลูกชิ้นทอดเจ้าประจำ�ที่ทอดขายอยู่หน้าโรงเรียนมาก อืม...นึกดูอีกทีน่าจะไกลกว่านั้น จำ�ได้ว่าก่อนที่จะถึงวัยเรียน ผมเป็นเด็กทีไ่ ม่ชอบใส่กางเกง แม่เคยเล่าว่าขนาดพ่อจะพาออกไปขับรถ เทีย่ วข้างนอก ผมยังต่อรองกับพ่อว่าพอขึน้ รถแล้วขอถอดกางเกงได้ไหม อย่าครับ อย่าเพิ่งคิดลึก นิสัยนี้ผมเลิกได้อย่างเด็ดขาดในอีก สองปีถัดมา วันก่อน แม่มาปรับทุกข์กับผมว่า สงสารหลานสาววัย 5 ขวบ ทีต่ อ้ งโดนน้องสาวผมดุจนร้องไห้ทกุ เช้า เหตุเพราะน้องสาวรำ�คาญหลาน ทีโ่ ยกโย้โยเยไม่อยากไปโรงเรียน แถมตอนทีถ่ กั เปียยังยุกยิกอยูไ่ ม่เป็นสุข จนน้องสาวที่รับหน้าที่แต่งตัวให้ต้องอารมณ์เสียทุกครั้ง แล้วก็เลยต้อง ดุเอ็ดแกด้วยความหงุดหงิดจนเด็กน้อยต้องเสียน้ำ�ตาเป็นกิจวัตร 2 1


ที่น่าเศร้าคือ น้องสาวผมเป็นคนขี้งอน แต่เด็กๆ คุณก็รู้ใช่ไหม ครับว่าลืมง่ายจะตายไป หลานสาวพอหายเสียใจก็อยากจะโบกมือ บ๊ายบายกับน้าสาวก่อนขึ้นรถไปโรงเรียน แต่น้าสาวนี่สิไม่ยอมโบกมือ ตอบ กลับทำ�หน้าเมินเฉยไม่แม้แต่จะชายตามอง แม่เล่าว่าแม่แอบสังเกตหลาน เห็นสีหน้าของหลานตอนนั้นแล้ว สงสารเหลือเกิน เช้าวันนั้นผมตัดสินใจว่าต้องคุยกับน้องสาว ตอนเด็กๆ ผมกับน้องสาวสนิทกันมาก เพราะเราอายุห่างกัน แค่สองปี เลยโตไล่กันและเป็นเพื่อนเล่นกันมาตลอด เกลียวแห่งความ ใกล้ชิดของเราเริ่มคลายก็เมื่อผมและเธอเข้าสู่การเป็นวัยรุ่น ยิ่งเมื่อ ผมต้องไปเรียนอยูท่ มี่ หาวิทยาลัยในต่างจังหวัดหลายปี และพอเรียนจบ ก็ย้ายออกจากบ้านไปอยู่อพาร์ตเมนต์ ผมกับน้องจึงเหมือนกับห่างเหิน กันไปโดยปริยาย ผมเคาะประตูห้องน้องสาว “ว่างรึเปล่า อยากคุยด้วย” ผมเอ่ย พลางยิ้มเมื่อน้องสาวมาเปิดประตู มีวี่แววประหลาดใจเล็กๆ ปรากฏ บนใบหน้า แต่เธอก็พยักหน้ายินดีให้ผมก้าวเข้าไป ห้องของเธอไม่มเี ก้าอี้ เราจึงต้องนัง่ คุยกันบนเตียงนอนหลังใหญ่ ซึ่งมีอายุแก่เกือบยี่สิบปีเห็นจะได้ ผมถามว่า จำ�ได้รึเปล่า ตอนเด็กๆ เราสองคนกับพี่สาวอีกคนชอบเล่นจระเข้ด้วยกันบนเตียงนี้ ฟังแล้วเธอก็หัวเราะเพราะนึกภาพออก ‘จระเข้’ ที่ว่าคือ เราต้อง โอน้ อ ยออก ใครแพ้ ต้อ งเป็ น จระเข้ ล งไปอยู่ บ นพื้นห้องซึ่งสมมติว่า เป็นท้องน้ำ� และจะห้ามขึ้นมาบนเตียงซึ่งสมมติว่าเป็นบก จระเข้จะ ว่ายน้ำ�ไล่รอบบกแล้วเหยียดแขนมาแตะมือให้โดนตัวคนที่วิ่งหนีอยู่ ข้างบน แตะโดนใครคนนัน้ ก็ตอ้ งเปลีย่ นลงมาเป็นจระเข้แทน ส่วนจระเข้ 2 2


ก็ได้กลับขึ้นไปเป็นคนบนบกบ้าง เราหัวเราะกันใหญ่ เมื่อผมเฉลยว่าตอนนั้นผมชอบเป็นจระเข้ และขอเป็นจระเข้ทุกครั้งโดยไม่ต้องโอน้อยออก เพราะผมชอบที่ได้ ทำ � หน้ า ดุ ร้ า ยวิ่ ง ไล่ ใ ห้ พี่ ส าวน้ อ งสาวได้ ส่ ง เสี ย งกรี๊ ด กั น ลั่ น บ้ า นด้ ว ย ความตื่นเต้น ผมบอกน้องว่ามีอีกเรื่องจะเล่าให้ฟัง ไม่ใช่เรื่องสมัยเด็กของเรา หรอก แต่ เ ป็ น เรื่ อ งที่ ห ญิ ง สาวคนหนึ่ ง เล่ า ถึ ง ชี วิ ต ในวั ย เด็ ก ของเธอ ให้ผมฟัง หญิงสาวเล่าว่า โรงเรียนแห่งแรกในชีวิตของเธอ เป็นโรงเรียน ประจำ� ตอนนั้นเด็กอายุ 7 ขวบอย่างเธอเฝ้าแต่ถามตัวเองว่า ทำ�ไม พ่อกับแม่ถึงต้องส่งเธอมาอยู่โรงเรียนอย่างนี้ด้วย จากที่เคยได้ใกล้ชิด พูดคุยกับพ่อแม่ทุกวัน กลายเป็นว่าในหนึ่งสัปดาห์ มีแค่สองคืนกับ อี ก สองวั น เท่ า นั้ น ที่ เ ธอจะได้ อ ยู่ บ้ า นซึ่ ง คุ้ น ชิ น มาตั้ ง แต่ จำ � ความได้ ซ้ำ�ร้ายอาทิตย์ไหนที่ทางบ้านติดธุระ เธอก็ต้องถูกปล่อยให้อยู่อย่าง หงอยเหงาที่โรงเรียน เป็นเช่นนี้แล้ว ในทุกเย็นวันศุกร์ซึ่งเป็นวันที่แม่จะมารับกลับบ้าน เธอจะรอคอยอย่างเบิกบานจนอดยิ้มออกมาไม่ได้ ในทางกลับ กัน เธอก็เกลียดยามบ่ายของทุกวันอาทิตย์ ซึง่ เป็นเวลาทีแ่ ม่จะพาเธอมาส่ง คืนโรงเรียน ผมจำ�คำ�บอกเล่าของหญิงสาวได้ติดใจ เธอเล่าว่า “เชื่อไหม ภาพทีฝ่ งั แน่นอยูใ่ นความทรงจำ�ของเรามาเสมอก็คอื ทุกครัง้ ทีแ่ ม่พาเรา มาส่งในห้องรับแขกของโรงเรียน พอแม่เดินออกไป เราก็จะไปนั่งบน เก้าอี้ตัวที่แม่นั่งเมื่อครู่ แล้วน้ำ�ตาไหลโดยไม่มีเสียงร้องไห้ออกมา...” เล่าถึงตอนนี้น้องสาวผมก็ร้องไห้ 2 3


ความเป็ น เด็กจะไม่ใช้เวลาอยู่กับเรานาน นี่คือเรื่องจริงของ คนทุกคน อาจจะ 5, 7 หรือ 9 ปี เมื่อเทียบกับอายุทั้งชีวิตของคน คนหนึ่ง ก็นับว่าเป็นช่วงเวลาอันแสนสุขที่สั้นและน้อยเต็มที บ่อยครั้ง เวลาผมเล่นกับหลานแล้วได้เห็นปฏิกิริยาโต้ตอบแบบเด็กๆ ของแก ที่ทำ�ให้ผมอารมณ์ดีจนต้องหัวเราะออกมาดังๆ ผมมักอดคิดไม่ได้ว่า ไม่ อ ยากให้ แ กโตเป็ น ผู้ ใ หญ่ เ ลย ผมเสี ย ดายความไร้ เ ดี ย งสาน่ า รั ก ซึ่งอีกไม่นานจะหายไปและไม่หวนกลับมาอีก เช้ า วั น ต่ อ มา ผมกั บ แม่ นั่ ง จั บ มื อ กั น อมยิ้ ม กั บ ภาพตรงหน้ า ภาพนั้นคือหญิงสาววัย 28 ปี กำ�ลังแต่งชุดนักเรียนให้เด็กหญิงอายุ 5 ขวบ พลางพูดคุยกันกะหนุงกะหนิง สลับกับเสียงหัวเราะให้ได้ยิน เป็นระยะๆ อากาศข้างนอกสดใส หนูน้อยเดินออกไปขึ้นรถโรงเรียนพร้อม โบกมือให้น้าสาวที่โบกตอบ หางเปียของเด็กหญิงที่ถูกประดับไว้ด้วย โบสีชมพูดูเรียบสวยเป็นพิเศษกว่าวันที่ผ่านมา

2 4



เรื่องของลูกหมาตัวเล็กๆ ที่เติบโตเป็น สุนัขตัวโตๆ ในร้านขายสัตว์เลี้ยง

ร้านขายสัตว์เลี้ยงร้านนั้นตั้งอยู่ริมถนน เป็นร้านขนาดไม่เล็ก ไม่ใหญ่ ในร้านมีสัตว์หลายอย่างขาย ซึ่งจะว่าไปก็แปลกอยู่เหมือนกัน เพราะร้านขายสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ ผมเห็นเขาขายสัตว์เป็นชนิดๆ ไป อย่างเช่น ขายปลาก็ปลาอย่างเดียว ขายหมาก็หมาอย่างเดียว หรือ ขายนกก็ น กอย่างเดียว แต่ร้านนี้มีห ลายอย่าง ทั้งปลาตู้ เต่า ญี่ปุ่น นกหงส์หยก แมว แล้วก็หมา เรียกว่าเป็นร้านขายสัตว์แบบ ‘รวมมิตร’ ก็คงจะได้ สัตว์เลี้ยงทั้งหมดมีไม่มาก อย่างละนิดละหน่อย ปลามีอยู่ 2-3 ตู้ (ส่วนใหญ่เป็นปลาทอง) เต่าญี่ปุ่น ผมเห็นมีอยู่ในอ่างแก้วสิบกว่าตัว นกหงส์ ห ยกมี 2 กรง กรงละ 7-8 ตั ว แมวมี 4 ตั ว (แมวไทย 3 แมวเปอร์เซีย 1) สุดท้ายคือ หมา มีอยู่ 5 ตัว เป็นลูกหมาตัวเล็กๆ หลายพันธุ์คละกัน ลูกหมาเป็นจุดดึงดูดความสนใจของลูกค้า ความทีม่ นั ตัวเล็กอ้วน น่ารักน่าเอ็นดู และช่างซุกซน จึงทำ�ให้คนชอบมาเล่นกับมัน ผมเอง เวลาแวะไปซื้ออาหารให้แมวที่บ้าน ยังชอบไปลูบหัวลูบหางมันเล่น 3 1


แม้จะมีปา้ ยติดไว้ทหี่ น้ากรงว่า ‘กรุณาอย่าให้ลกู สุนขั เลียมือ’ แต่ผมก็ชอบ แอบยื่นมือให้พวกลูกหมางับอยู่บ่อยๆ สนุกดีนะครับให้ลูกหมางับมือเล่น ไม่เชื่อลองดู ผ่านไปหลายวัน ผมแวะที่ร้านขายสัตว์เลี้ยง เดินผ่านกรงลูกหมา สังเกตเห็นลูกหมาหายไปหนึ่งตัว “มีคนซื้อไปค่ะ” เจ้าของร้านบอกเมื่อผมถาม สองอาทิตย์ถดั มา ผมไปทีร่ า้ นเพือ่ ซือ้ อาหารแมวมาตุนไว้ เพราะ ต้องไปต่างจังหวัดหลายวัน จึงต้องฝากน้องสาวเลี้ยงแมว เห็นลูกหมา เหลืออยู่แค่สามตัว “มีคนซื้อไปค่ะ” เจ้าของร้านเฉลยเมื่อผมถาม ราวหนึง่ เดือนถัดมา ผมไปร้านขายสัตว์เลีย้ งอีกครัง้ ทีนใ้ี นกรงหมา เหลือลูกหมาอยู่แค่ตัวเดียวเท่านั้น “มีคนซื้อไปค่ะ ตอนนี้เหลือเจ้านี่อยู่แค่ตัวเดียว” เจ้าของร้าน เดินมาบอกโดยที่ผมไม่ทันเอ่ยถาม พลางชี้ไปที่กรง มีลูกหมาเหลืออยู่ ตัวเดียวอย่างที่เธอว่า มันกระดิกหางไหวๆ เมื่อผมเดินเข้าไปใกล้ ผมเพิ่งสังเกตลูกหมาตัวนี้ชัดๆ หน้าตามันค่อนข้างประหลาด ตัวเป็นสีน�้ำ ตาล มีดา่ งสีขาวประปรายตรงช่วงล่าง ส่วนทีห่ วั เป็นสีกระดำ� กระด่างดูแล้วเหมือนหัวกับตัวอยูผ่ ดิ ทีผ่ ดิ ทาง ไม่เข้ากันเอาเสียเลย ผมนึกในใจ...มิน่า ถึงไม่มีใครซื้อ แต่ จ ะว่ า ไปลู ก หมาตั ว นี้ ก็ ร่ า เริ ง และน่ า รั ก ดี ผมเอื้ อ มมื อ ไป ลูบหัวมัน หมากระดิกหางรัวเร็วแล้วแลบลิ้นเลียมือผมแผล็บๆ หลายเดือนหลังจากนั้น ผมเปลี่ยนที่ทำ�งานใหม่ ซึ่งอยู่ในทำ�เล ทีไ่ กลจากบ้าน เดินทางไม่ใคร่สะดวก จึงตัดสินใจย้ายไปอยูอ่ พาร์ตเมนต์ ละแวกที่ทำ�งาน นั่นเป็นสาเหตุที่ทำ�ให้ไม่ได้กลับบ้านไปหลายเดือน (ส่วนแมวสองตัว ผมยกให้น้องสาวเลี้ยงแทนแล้ว) 3 2


วันหนึ่ง ผมกลับไปที่บ้าน ก่อนเข้าบ้านรู้สึกนึกถึง จึงแวะร้านขาย สัตว์เลี้ยงริมถนนร้านเดิม เจ้าของร้านส่งยิ้มมาให้แต่ไกลเมื่อเห็นผม ผลักประตูเข้าไป เราเอ่ยทักทายกันเล็กน้อย ผมมองไปทีก่ รงสุนขั ลูกหมาตัวนัน้ ยังอยู่ มันเปลีย่ นไปมากทีเดียว ตัวโตขึ้นเกือบสองเท่าจากเดิม ทว่าสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงเลยคือ รูปร่าง หน้าตาทีแ่ สนประหลาดน่าขัน และดูเหมือนว่ายิง่ โตขึน้ มันก็ยงิ่ อัปลักษณ์ มากขึ้นไปอีก หมากระดิกหางเมื่อผมเดินเข้าไปใกล้กรง ผมเอื้อมมือไปลูบหัว มันกระดิกหางแล้วแลบลิน้ เลียมือผมอย่างดีใจ ผมไม่แน่ใจว่ามันจำ�ผมได้ หรือเปล่า “เจ้านี่มันอย่างนี้แหละค่ะ ช่างประจบเขาไปทั่ว สงสัยอยากให้ คนมาซื้อไปเลี้ยง” หญิงเจ้าของร้านที่คงนั่งสังเกตอยู่เอ่ยขึ้นมา ผมฟัง แล้วยิ้ม มองไปที่หมาชักเห็นคล้อยตามที่เธอพูด เพราะอาการของมัน ดูแล้วออกจะดีใจเกินปกติอยู่สักหน่อย ผมอยู่ บ้ า นเดิ ม ไม่ กี่ วั น ก็ ต้ อ งกลั บ ไปอยู่ อ พาร์ ต เมนต์ อี ก ครั้ ง และคราวนี้เป็นการอยู่ยาว หลายเดือนผมถึงจะกลับบ้านสักครั้ง และก็ ไม่ได้แวะไปที่ร้านขายสัตว์เลี้ยงร้านนั้นเลย จนกระทั่งสองปีผ่านไป วันหนึง่ ผมเผอิญขับรถผ่านไปแถวร้านขายสัตว์เลีย้ ง ใจนึกถึงอะไร บางอย่างขึ้นมาฉับพลันจึงตัดสินใจแวะที่ร้าน “ไม่ได้มาเสียนานเลยนะคะ” หญิงเจ้าของร้านคนเดิมเอ่ยทักทาย เมื่อเห็นลูกค้าเก่า ผมเอ่ยปากถามสารทุกข์สุกดิบเธอกลับไป แน่นอน ผมมองไปที่กรงหมากรงเดิม ซึ่งเป็นจุดประสงค์ที่ผม แวะมาคราวนี้ 3 3


หมาสีน้ำ�ตาล ส่วนหัวสีดำ� มีด่างสีขาวประปรายทั่วตัวยังคงอยู่ ในกรงเดิม เวลานี้ตัวมันโตใหญ่จนเกือบคับกรง หางท่อนใหญ่และ บิดเบี้ยวของมันกระดิกรัวเร็ว เมื่อเห็นผมเดินเข้าไปใกล้ “ขายไม่ออกค่ะ ไม่มีใครซื้อเลย ก็ใครจะไปอยากได้ล่ะ หน้าตา ขี้เหร่ออกอย่างนี้” หญิงเจ้าของร้านบอกเล่าพลางส่ายหน้า ทว่าเธอ ก็ยังยิ้มอยู่ “ตอนเล็กๆ ก็น่ารักดีอยู่หรอก แต่ตอนนี้สิ ดูได้ที่ไหน” ผมลูบหัวหมา มันเลียมือผม แต่ไม่เป็นไร ตอนนี้ไม่มีป้าย ‘กรุณา อย่าให้ลูกสุนัขเลียมือ’ แปะอยู่ที่กรงแล้ว ใจผมนึ ก อยากซื้ อ หมาตั ว นี้ ก ลั บ ไปเลี้ ย งที่ บ้ า น ซึ่ ง ก็ น่ า แปลก เพราะอันที่จริงผมไม่ได้เป็นคนที่รักหมา ผมชอบแมวมากกว่า แต่คง เพราะผมสงสารมันกระมัง...หมาที่ขายไม่ออก ถ้ามันรู้ความจริงเรื่องนี้ มันจะเสียใจมั้ยนะ แต่ในโลกของความจริง ผมไม่สามารถทำ�อย่างนั้นได้แน่นอน งานผมยุ่งมาก เวลาส่วนตัวไม่ค่อยมี แถมยังอยู่อพาร์ตเมนต์ ไม่มีทาง ที่ผมจะเลี้ยงหมาตัวนี้ได้เลย วันนั้นผมจึงได้แต่ลูบหัวลูบหูมัน แล้วผละจากไป ไม่รวู้ า่ ผมคิดไปเองหรือเปล่า ก่อนทีจ่ ะเดินออกจากร้าน แวบหนึง่ ที่เหลียวกลับไปมอง ผมเห็นหน้ามันเศร้าสลดลง ราวสามเดื อ นผ่ า นไป ผมกลั บ ไปที่ ร้ า นขายสั ต ว์ เ ลี้ ย งอี ก ครั้ ง แต่คราวนี้มีเรื่องแปลกเกิดขึ้น หมาสีน้ำ�ตาลหัวสีดำ�ไม่อยู่ในกรงแล้ว “มีคนซื้อไปค่ะ ไม่อยากจะเชื่อเหมือนกัน เขาบอกว่ากำ�ลังอยาก ได้หมาที่ตัวโตขนาดนี้อยู่พอดี” หญิงเจ้าของร้านบอกเล่า “เจ้านั่นดีใจ ใหญ่เลย สงสัยคงคิดว่าในที่สุดฉันก็ขายออก นึกว่าจะต้องอยู่ด้วยกันไป จนแก่ซะแล้ว” เธอพูดล้อมันแล้วหัวเราะขัน 3 4


ได้ยินแล้วผมอดดีใจไปกับหมาไม่ได้ พลางคิดว่าต่อแต่นี้ ชีวิต มันคงสุขสบายขึ้น ได้อยู่ในบ้านกว้างๆ มีสนามหญ้า มีบริเวณให้วิ่งเล่น ไม่ต้องทนอุดอู้อยู่แต่ในกรงอย่างที่เป็นมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา งานและชีวิตที่ยุ่งเหยิง ทำ�ให้ผมลืมเรื่องหมาตัวนี้ไปเสียสนิท จนกระทั่งหลายเดือนเคลื่อนผ่าน จึงมีโอกาสแวะไปที่ร้านขายสัตว์เลี้ยง อีกครั้ง คราวนี้ สิ่งที่ผมเห็นที่ร้านขายสัตว์เลี้ยง สร้างความประหลาดใจ ให้ กั บ ผมเป็ น อย่ างยิ่ ง ...เป็ น ความประหลาดใจที่ มากกว่ า ครั้ ง ที่ แ ล้ว เสียอีก หมาสีน้ำ�ตาล หัวสีดำ� ตัวด่างขาวตัวนั้น นั่งอยู่ในกรงเดิมของมัน “คนที่ซื้อไปเขาเอามาคืนค่ะ” หญิงเจ้าของร้านพูด “เขาเล่าว่า แรกๆ ที่ไปอยู่บ้านเขา มันก็คึกคักดีหรอก แต่พออยู่ๆ ไป กลับหงอยลง ไม่ยอมกินข้าว พาไปหาหมอ หมอตรวจดูแล้วก็บอกว่าไม่เป็นอะไร สงสัย คิดถึงบ้าน เขาไม่รู้ทำ�ไงเลยเอามาคืนที่ร้าน เขาก็ดีนะคะ ไม่ยอมรับ เงินคืนด้วย บอกว่าสงสัยมันไม่อยากอยู่กับผม” เธอเล่าพลางส่ายหน้า “แล้วไงล่ะ พอกลับมาทีน่ ี่ มันก็คกึ เหมือนเดิมเลย ไม่เห็นเป็นอะไร สักหน่อย” เธอพูดแล้วลูบหัวมัน หมาสั่นหางแรงจนหางใหญ่ๆ ตีกรง เสี ย งดั ง ปั บ ๆ มั น เงยหน้ า แล้ ว แลบลิ้ น เลี ย มื อ หญิ ง เจ้ า ของร้ า น เป็นการใหญ่ ผมมองเข้าไปในดวงตาและรอยยิ้มของมัน ผมไม่เคยเข้าใจความรูส้ กึ นึกคิดของสัตว์เลีย้ งเลย ทว่าในนาทีนนั้ ผมคิดว่าผมเข้าใจเจ้าหมาตัวนี้

3 5




อะไรในชื่อ

ทันที่ท่ีมัคคุเทศก์ชาวไทยแนะนำ�ว่าผู้ช่วยมัคคุเทศก์ชาวอินโดนีเซียประจำ�คณะท่องเที่ยวเมืองบาหลีของเราชื่อ ‘เกตุ๊ท’ เสียงหัวร่อ โดยไม่ได้นัดหมายของพวกเราก็ดังลั่นรถขึ้นพร้อมๆ กัน “เอ้า! เอาเข้าไป เป็นเกย์ไม่พอ ยังเป็นตุ๊ดอีกแน่ะ” สิ้นเสียงเพื่อน นักแสดงตลกขาแซวประจำ�คณะ ทั้งรถก็ได้หัวร่อคิกคักกันอีกรอบ ผมเองก็เผลอหัวเราะไปกับเขาด้วย ก่อนจะรู้สึกว่าเสียมารยาท ยังไงชอบกล แต่พอเห็นคนที่ถูกแซวยืนยิ้มเผล่อารมณ์ดีอยู่ที่หน้ารถ ก็คอ่ ยหายรูส้ กึ ผิดไปหน่อย ผมเดาว่าเขาคงเจอสถานการณ์นบี้ อ่ ยจนชิน แล้ว โดยเฉพาะกับคณะลูกทัวร์จากเมืองไทยที่เส้นตื้นและช่างขำ�ขัน ไปได้กับเรื่องทุกเรื่อง ความรู้ (เรื่องชื่อ) อย่างหนึ่งที่ผมได้จากการเที่ยวบาหลีทริปนั้น ก็คือ คนที่ชื่อ ‘Ketut’ ในบาหลีนี่มีมากมายเลยนะครับ ชาวบาหลีมี ธรรมเนียมการตั้งชื่อที่เป็นเอกลักษณ์อย่างมาก คือมีชื่อเพียง 4 หลัก เท่านั้น ซึ่งจะตั้งตามลำ�ดับการเกิด ลูกคนแรกของครอบครัวไม่ชื่อ Putu ก็ Wayan หรือ Gede (ชื่อนี้สำ�หรับเด็กชายเท่านั้น) ลูกคนที่ 2 จะได้ชื่อ 1 4 5


ว่า Made หรือ Kadek คนที่ 3 ชื่อ Nyoman หรือ Komang และคนที่ 4 ชื่อ Ketut หรือเกตุ๊ท (จริงๆ แล้วออกเสียงคล้ายๆ ‘เกอ-ตุ๊ท’ มากกว่า) ที่พวกเราขำ�กันนั่นแหละ ทีนคี้ งมีคนสงสัยขึน้ มาว่า แล้วถ้าครอบครัวนัน้ มีลกู มากกว่า 4 คน ล่ะ คนที่ 5 จะมีชื่อว่าอะไร คำ�ตอบคือ ก็วนกลับไปใช้ชื่อลูกคนแรก อีกรอบไงครับ เพราะฉะนัน้ จึงไม่ตอ้ งสงสัยว่าทำ�ไมไปบาหลีแล้วคุณจึงเจอะเจอ แต่คนชือ่ ซ้�ำ ๆ ราวกับพวกเขาเป็นญาติพนี่ อ้ งทีค่ ลอดมาจากท้องเดียวกัน ผมมีเพือ่ นชาวญีป่ นุ่ คนหนึง่ ชือ่ เรียวตะ ซูซกู ิ เรียวตะมาพำ�นักอยู่ เมืองไทยได้ 3-4 ปีแล้ว แรกๆ เขาก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำ�ไมเวลา แนะนำ�ชื่อ-นามสกุลกับคนไทยถึงต้องมีคำ�ถาม (แกมแซว) ตามทำ�นอง ว่า “ที่บ้านขายมอเตอร์ไซค์ใช่ไหม” ไม่ก็ “พ่อเป็นเจ้าของบริษัทรถยนต์ หรือเปล่า” เรียวตะบอกผมว่า ซูซูกิเป็นนามสกุล ‘โหลๆ’ ประเภทเดียวกับ ซาโต้, ทานากะ, วาตานาเบะ, ตากาฮาชิ, นากามูระ ฯลฯ “ที่ญี่ปุ่น คนที่นามสกุลซูซูกิมีเยอะมาก ตั้งแต่ผมเรียนอนุบาล จนถึ ง มหาวิ ท ยาลั ย ในห้ อ งเรี ย นอย่ า งน้ อ ยต้ อ งมี ค นนามสกุ ล ซู ซู กิ สองสามคน” เขาเล่าอย่างไม่ค่อยภูมิใจในนามสกุลของตัวเองเท่าใดนัก เรื่องชื่อ-นามสกุลนี่ เท่าที่เห็นๆ และรู้ๆ มา ผมเข้าใจว่าไม่น่าจะ มีคนชาติไหนในโลกนีท้ ตี่ งั้ ได้วจิ ติ รพิสดารและหลากหลายเท่าคนไทยแล้ว นะครับ เพราะชื่อที่เรานำ�มาตั้ง มีตั้งแต่คำ�นามอย่างชื่อสัตว์ สิ่งของ สถานที่ มีทั้งคำ�กริยา คำ�วิเศษณ์ ไปจนถึงประโยคและวลีลอยๆ มีทั้ง คำ�ไทยแท้และคำ�ที่หยิบยืม หรือผสมขึ้นจากภาษาโบราณและภาษา สมัยใหม่ 1 4 6


หลายปีมาแล้ว เคยมีฟอร์เวิรด์ เมลยอดนิยมเรือ่ งหนึง่ ส่งต่อถึงกัน อย่างแพร่หลาย จนกระทัง่ สืบหาต้นตอไม่เจอแล้ว เข้าใจว่าน่าจะมาจาก กระทู้หนึ่งในเว็บบอร์ดห้องเฉลิมไทยของ pantip.com ผมเองก็ได้รับ ข้อความนี้ มันเป็นเรือ่ ง (ทีว่ า่ กันว่า) จริงเกีย่ วกับชือ่ และนามสกุลแปลกๆ ของคนไทยหลายๆ คน เชื่อไหมครับว่า ชื่อเหล่านี้คือชื่อจริง (ไม่ใช่ชื่อเล่น) ของบุคคล ทีม่ อี ยูจ่ ริง ลองดูนะครับ... ท้ายรถ, กันลืม, ชะรอยจุตมิ า, จอมหัทยาสนิท, ดาวประกายฟ้า, แลคโตเย่น, รรรรรร (อ่านว่า ระ-รัน-รอน), คิดถึงเสมอ, นิ้งนิ้ง, นุชหนุ่ย, ช้างน้อย, แย้น้อย, โชว์เดียร์, นาเย็น, เหมือนพ่อ, คล้ายย่า, สองโลเจ็ด, หนุ่มบ้านนา, ขนเพชร ส่วนนามสกุล ผมคัดลอกจากข้อความส่งต่อมาได้ดงั นี.้ ..ป๊อกแป๊ก, บาดตาสาว, เกาะมหาสนุ ก , หงษ์ ส ามสิ บ เจ็ ด , เจ็ ด พี่ น้ อ งร่ ว มใจ, หวั ง กระแทกคาง, หนึ่ ง ในยุ ท ธจั ก ร, ถนั ด ใช้ ปื น , พิ สู จ น์ จั ก รวาล, จันทร์ป้อดแป้ด, เศรษฐีใจเย็น, ชาวไร่ใจดี, โก้งโค้งขุดดิน, บัวคุณสวย จริงนะ, ชอบนอนหงาย, จูก๋ ระจ่าง, กางมุง้ คอย, จ้องสืบพันธุ,์ มันยังเล็ก ขออนุญาตออกตัวซ้ำ�อีกครั้งนะครับ ว่าชื่อทั้งหมด ทั้งชื่อตัว และชื่อนามสกุลที่กล่าวมา ผมไม่ยืนยันว่ามีอยู่จริงหรือไม่ อีกทั้งไม่ได้ ตั้งใจจะล้อเลียนหรือลบหลู่แต่อย่างใด เพราะขนาดตัวผมเองครั้งหนึ่ง เคยมีเพื่อนฝรั่งถามด้วยความสงสัยว่า นามสกุลของผมมีความหมายว่า อะไร พอผมแปลให้เขาฟังว่า “Fighting with lions” เท่านั้นแหละ หมอนั่นหัวร่อค้างจนผมนึกเคือง ดังนั้น ก่อนที่จะไปพูดแซวหรือขำ�ขันกับชื่อ-นามสกุลของใคร ลองแปลความหมายชื่อ-นามสกุลของคุณหรือคนใกล้ๆ ตัวคุณดูก่อน อาจเรียกเสียงฮากว่า ‘เกย์ตุ๊ด’ ก็ได้นะครับผมว่า 1 47


หนูบนเก้าอี้ทำ�ฟัน

คุณอานายทหารยศพันเอกคนนี้มักมานั่งคุยที่บ้านผมเสมอๆ ผมก็ไม่แน่ใจนะครับว่าท่านเป็นเพื่อนฝ่ายพ่อหรือแม่ผมกันแน่ แต่จำ�ได้ ว่ามาทีไรท่านก็จะนัง่ คุยครัง้ ละนานๆ ท่าทางคุณอาจะเป็นคนอารมณ์ดี เสียด้วย ผมได้ยินท่านหัวร่อเสียงดังเป็นประจำ� แต่ บ่ า ยวั น นั้ น ขณะที่ ผ มกลั บ จากโรงเรี ย นเดิ น เข้ า ไปในบ้ า น เห็นคุณอาทหารนั่งอยู่บนโซฟาก็ยกมือไหว้สวัสดี คุณอารับไหว้ด้วย สีหน้าฝืนยิ้มอย่างไรชอบกล ตอนนั้นเองที่ผมสังเกตเห็นว่ามีน้ำ�ตา คลอหน่วยอยู่ในดวงตาทั้งสองของนายทหารใหญ่ “คุณอาเป็นอะไรหรือครับ” ผมถามแม่เมื่อคุณอาทหารลากลับ “ปวดฟัน” แม่ตอบแล้วเดินเข้าครัวไป .................................. หลักฐานจากกะโหลกของมนุษย์โบราณฟ้องว่า มนุษย์เรามีปญ ั หา เรื่องอาการปวดฟันมาตั้งแต่สมัยดึกดำ�บรรพ์แล้วนะครับ ซึ่งนึกๆ ดูแล้ว คงเป็นเรือ่ งทรมาทรกรรมพอสมควร เพราะการแพทย์เกีย่ วกับการรักษา ฟันเพิ่งมาก้าวหน้าเอาเมื่อไม่ถึงร้อยปีมานี้เอง 1 6 9


ส่วนในบ้านเรา ผมอ่านจากบทความที่ คุณ ส.พลายน้อย เขียนถึง หมอบรัดเลย์ในนิตยสาร สารคดี ฉบับเดือนกรกฎาคม 2547 เล่าบันทึก ประวัติศาสตร์การถอนฟันในเมืองไทยไว้ว่า เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2380 เจ้าพระยาพระคลังอยากให้พวกมิชชันนารีช่วยตรวจฟันของท่าน ซี่หนึ่งที่โยกอยู่และปวดมาก แต่พอมิชชันนารีไปหาท่านพร้อมด้วย หีบเครื่องมือเท่านั้นล่ะ เจ้าพระยาพระคลังเห็นเครื่องมือถอนฟันที่เป็น แท่งเหล็กเข้าก็ตกใจ ไม่ยอมให้ถอน แต่ให้คนใช้คนหนึ่งที่กำ�ลังปวดฟัน อยู่ เ หมื อ นกั น ลองเป็ น หนู ท ดลองแทน มิ ช ชั น นารี ก็ จั ด การถอนฟั น ให้โดยง่าย แต่พอเจ้าพระยาพระคลังเห็นคนใช้บว้ นเลือดออกมาจากปาก ก็ถอดใจอีกครั้ง เพราะกลัวว่าจะเลือดไหลไม่หยุดแล้วอาจตายได้ นี่ คื อ หนึ่ ง ในตั ว อย่ า งที่ ยื น ยั น ได้ เ ป็ น อย่ า งดี น ะครั บ ว่ า ใครๆ ก็กลัวการถอนฟัน ไม่เว้นแม้แต่ไพร่หรืออำ�มาตย์ สารภาพไปเลยแล้ ว กั น นะครั บ ว่ า ถึ ง ผมจะมั่ น ใจและเชื่ อ มั่ น อย่างยิ่งว่าผมเป็นหนึ่งในคนที่นับได้ว่า ‘แมนมาก’ แต่เรื่องหนึ่งในชีวิต ที่อยู่ในสารบบความกลัวส่วนตัวของผม ก็คือเรื่องการถอนฟันนี่แหละ เข้าใจว่าสาเหตุอาจเพราะตอนเด็กๆ ผมมีประสบการณ์การถอนฟันที่ ไม่ค่อยดีก็เป็นได้ มันจึงฝังลึกอยู่ในใจเรื่อยมา 7-8 ปีที่แล้ว หมอฟันที่คลินิกแถวบ้านตรวจฟันให้ผมแล้วบอกว่า ฟั น ซี่ ใ นสุ ด ด้ า นขวาของผมอาจจะกลายเป็ น ฟั น คุ ด หรื อ ไม่ คุ ด ก็ ไ ด้ หมอแนะนำ�ว่าทางที่ดีน่าจะถอนออก ตอนนั้นผมก็แค่รับฟังแล้วก็จงใจ ทำ�เป็นลืมๆ ไปซะ คิดเข้าข้างตัวเองว่า โอกาสมี 50/50 ฟันซี่ที่ว่ามัน อาจจะไม่คุดก็ได้ แล้วเท่าที่เคยคุยๆ กับคนที่รู้จักหลายคนก็ไม่เห็น ต้องถอนฟันคุดเลยนี่ แต่ เ มื่ อ ไม่ กี่ วันที่ผ่านมานี่เองครับ จู่ๆ ฟันซี่ที่ว่าของผมมันก็ เกิดปวดขึ้นมา เริ่มจากรู้สึกเสียวฟันเวลาดื่มน้ำ�เย็นก่อน จากนั้นอาการ 1 7 0


ก็กลายเป็นเจ็บจีด๊ ๆ ถึงปวดตุบๆ ความปวดทวีมากขึน้ เรือ่ ยๆ จนกินยา แก้ปวดก็ไม่หาย สุดท้ายผมทนไม่ไหวต้องเดินซมซานเข้าคลินิก แล้วก็เป็นดังคาด คุณหมอตรวจดูแล้วบอกว่า ฟันซีใ่ นสุดด้านขวา ของผมมันคุด ต้องผ่าออกสถานเดียว... ได้ยนิ เท่านัน้ ภาพอดีตวัยเด็กทีเ่ คยนัง่ เหงือ่ แตก ตัวเกร็ง เจ็บปวด รวดร้าวอยู่บนเก้าอี้ทำ�ฟันก็ผุดขึ้นมาหลอกหลอน ในที่สุดชีวิตผมก็ต้อง เผชิญหน้ากับสิ่งที่พยายามเลี่ยงหนีมาตลอดจนได้ ผมเอาเรื่องฟันคุดไปปรึกษาเพื่อนๆ น้องๆ ที่สนิทกันไม่กี่คน (เพราะไม่อยากให้คนอืน่ รูค้ วามจริงว่าแมนๆ อย่างผมน่ะ ขีข้ ลาดเรือ่ งนี้ ขนาดไหน) แล้วไม่รู้ทำ�ไมนะครับไอ้พวกนี้ พอรู้ว่าผมจะต้องผ่าฟันคุด เท่านั้นแหละ คำ�บอกเล่าต่างๆ นานาก็ประเดประดังเข้ามา ซึ่งทั้งหมด ล้วนไปในทางลบทั้งสิ้น เป็นต้นว่า “โหย...กูโดนมาแล้ว ชีวิตไม่เคยเจ็บอะไรเท่านี้เลย” “วันก่อนเพือ่ นหนูเพิง่ ไปถอนฟันคุดมา แก้มบวม เขียวช้�ำ เป็นจ้�ำ ๆ อย่างกับโดนใครตบ” “ก่อนจะไปอย่าลืมกินให้อิ่มๆ ล่ะ เพราะจะกินอะไรไม่ได้อยู่ สามวัน” ฯลฯ ไงล่ะครับ ฟังแล้วแทนที่จะฮึกเหิม มันกลับบั่นทอนกำ�ลังใจกัน จนหมดเสียนี่ ผมลองเปิดอินเทอร์เน็ตเข้ากูเกิ้ล พิมพ์คำ�ว่า ‘ฟันคุด’ ลงไป มีขอ้ มูลขึน้ มาเยอะแยะ ทัง้ จากสมาคมทันตกรรมต่างๆ ทีใ่ ห้ความรูเ้ รือ่ ง ฟันคุด ว่าคือฟันที่ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาบนช่องปากได้ตามปกติ ที่พบ บ่อยคือฟันกรามซี่สุดท้าย ซึ่งจะขึ้นเมื่ออายุประมาณ 18-20 ปี หรือ ฟันเขี้ยวซึ่งจะขึ้นประมาณ 11-13 ปี (ฟันคุดที่เป็นฟันเขี้ยวอาจแทงทะลุ 1 7 1


เพดานปากออกมา ชอนใต้ ร ากฟั น ข้ า งเคี ย งหรื อ ฝั ง อยู่ ใ นกระดู ก ขากรรไกรไม่โผล่เลยก็ได้) ส่วนสาเหตุทเี่ กิดฟันคุดก็เนือ่ งจากพืน้ ทีข่ องขา กรรไกรไม่เพียงพอที่จะให้ฟันซี่นั้นขึ้นได้ตามปกติ ข้อมูลยังบอกถึงผลเสียต่างๆ นานาอันเกิดจากฟันคุด อาทิ เป็น ที่กักเศษอาหารได้ง่าย ทำ�ความสะอาดลำ�บาก ทำ�ให้ฟันข้างเคียงที่ถูก ชนและฟันคุดนั้นผุทั้งคู่ หรือทำ�ให้เหงือกอักเสบ มีกลิ่นปาก แก้มบวม อ้าปากไม่ขึ้น การมีฟันคุดอยู่ยังจะทำ�ให้มีการละลายตัวของขากรรไกร ที่ ถู ก ชนหรื อ เป็ น ถุ ง น้ำ � กระดู ก ขากรรไกรจะเปราะ และอาจไปกด เส้นประสาททำ�ให้มีอาการปวดหัวได้ ข้ อ มู ล นอกจากนั้ น ในกู เ ก้ิ ล ก็ เ ป็ น การพู ด คุ ย กั น เรื่ อ งฟั น คุ ด ใน เว็บบอร์ดต่างๆ ซึ่งบ้างก็มีประสบการณ์ที่เลวร้าย บ้างก็มีประสบการณ์ ทีด่ ี หลายคนยังช่วยแนะนำ�คลินกิ หรือโรงพยาบาลทีเ่ ก่งเรือ่ งรักษาฟันคุด พร้อมกับบอกราคาค่ารักษาให้รู้ด้วย ในฐานะที่มีประสบการณ์มาก่อน น้องคนหนึ่งที่ออฟฟิศช่วย แนะนำ�คลินกิ ทำ�ฟันแห่งหนึง่ ให้ผม เป็นคลินกิ เล็กๆ ตัง้ อยูแ่ ถวพัฒนาการ แต่คุณหมอที่นั่นฝีมือดีมาก “รับรองพี่ว่าฟันหลุดไปเมื่อไหร่ไม่รู้ตัว” น้ อ งยื น ยั น สรรพคุ ณ มั่ น เหมาะ ถึ ง นาที นั้ น แล้ ว ผมไม่ เชื่ อ ก็ ต้ อ งเชื่ อ แหละครับ หลังจากทำ�เป็นงานยุ่งบ้างล่ะ ติดธุระหรือไปต่างประเทศบ้างล่ะ สุดท้ายผมก็ไม่รู้จะหาข้ออ้างอะไรไปเลื่อนคุณหมออีกแล้วเลยจนมุม ต้องเดินขึ้นเขียงจนได้ ขนาดอุ ต ส่ า ห์ ทำ � ใจมาจากบ้ า นแล้ ว นะครั บ แต่ พ อผ่ า นการ เอ็กซเรย์เรียบร้อย ถึงเวลาต้องขึ้นไปนั่งบนเก้าอี้ทำ�ฟันจริงๆ สีหน้าผม คงออกอาการพอสมควร จนคุณหมอเจ้าของไข้ต้องเอ่ยปากแซวว่า “ยังไม่ทันถอนเลย หน้าซีดแล้ว” 1 7 2


ผมได้แต่ยิ้มแหยๆ แล้วพูดอะไรตลกๆ กล้อมแกล้มกลบเกลื่อน ไป เก้าอี้ค่อยๆ ถูกปรับให้เอนลง จนเท้าผมยกขึ้นมาสูงในระดับ ใกล้เคียงกับใบหน้า หญิงสาวผู้ช่วยคุณหมอเอาผ้ามาคลุมตัวให้ผม จากนั้นก็เอาผ้าผืนเล็กอีกผืนมาปิดตาผมไว้ ซึ่งช่วยกันความเย็นจาก เครื่ อ งปรั บ อากาศและปกป้อ งแสงจ้าที่น่ากลัวของดวงไฟใหญ่ยัก ษ์ ที่ผงาดอยู่ตรงหน้าผมได้พอสมควร เมือ่ คุณหมอบอกให้อา้ ปากกว้างๆ แล้วเอาเหล็กยาวเย็นท่อนแรก แยงเข้าไปในปาก ผมก็รู้สึกถึงก้อนเนื้อหัวใจที่เต้นตุบตับ แวบหนึ่ง ใจนึกไปถึงนักโทษประหารที่ถูกเพชฌฆาตเอาผ้าผูกตา ก่อนจะกดปุ่มเก้าอี้ไฟฟ้า... ผมคิ ด ว่ า คุ ณ หมอมี จิ ต วิ ท ยาใช้ ไ ด้ ที เ ดี ย ว ขณะที่ บ อกให้ ผ ม อ้าปากกว้างๆ เพื่อทยอยขนเครื่องไม้เครื่องมือเข้าไปตรวจฟันในปาก ของผม คุณหมอก็ฮัมเพลงตามวิทยุไปด้วย “ป่าเหนือเมื่อหน้าดอกไม้บาน ลมฝนบนฟ้าผ่าน ฟ้ามองดัง ม่านน้ำ�ตา น้ำ�ฝนหล่นจากฟากฟ้า ขังแก่งเหมือนแอ่งน้ำ�ตา ไหลตก จากผาแว่วฟัง...” ผมชอบเพลง มนต์ เ มื อ งเหนื อ ที่ค รูไพบูลย์ บุตรขัน แต่งให้ สมยศ ทัศนพันธ์ ขับร้องมานานแล้ว นอกจากเนื้อเพลงจะไพเราะ เพราะพริง้ ผมยังจำ�ได้วา่ ตอนเด็กๆ พ่อชอบร้องเพลงเพลงนี้ (ทีผ่ มเข้าใจ ผิดอยู่นานว่าชื่อเพลง ‘ป่าเหนือ’) ให้ลูกๆ ฟังเสมอ พ่อผมร้องดีด้วย นะครับ เสียงนุ่มทุ้มอย่างกับสมยศตัวจริงมาเอง เสียงเพลงเพราะๆ ช่วยชักจูงให้ใจเพลิดเพลินเคลิบเคลิ้มไปได้ ชัว่ ขณะหนึง่ กระทัง่ คุณหมอพูดว่า “ขอฉีดยาชาหน่อยนะครับ” นัน่ ล่ะ... โลกแห่งความจริงก็กลับมาอยู่ตรงหน้าผม 1 7 3


ฉี ด ยาชาเป็ น ขั้ น ตอนในการทำ � ฟั น ที่ ส มั ย เด็ ก ผมกลั ว ที่ สุ ด นั่นก็เพราะว่ามันเจ็บเป็นบ้า! คิดดูสิครับ แค่อะไรเล็กๆ อย่างก้างปลา ทิม่ เหงือกก็เจ็บจะแย่ นีเ่ ล่นเอาเข็มคมๆ แหลมๆ แทงเข้าไปในเนือ้ เหงือก อ่อนๆ แล้วมันจะไม่เจ็บน่าดูได้อย่างไร แต่ผมเพิ่งรู้นะครับว่าเดี๋ยวนี้การฉีดยาชาเขาพัฒนาแล้ว ไม่ใช่ แทงเข็มเข้าเหงือกทือ่ ๆ เหมือนสมัยก่อน แต่มกี ารเอายาชามาป้ายทีหนึง่ ก่อน สักพักพอปากเริ่มรู้สึกชาๆ ตึงๆ ถึงค่อยตามด้วยเข็ม วิธีนี้ช่วย ลดความเจ็บจากการฉีดยาชาลงอย่างได้ผล พอปากทั้ ง ปากชาได้ ที่ คุ ณ หมอกั บ ผู้ ช่ ว ยก็ เริ่ ม ปฏิ บั ติ ก ารผ่ า ขุด แซะ เลาะ ฟันคุดอายุเกือบทศวรรษของผม คุณหมอทำ�ไปพลาง ก็พดู เปรยว่า เคสผมยากพอสมควร เนือ่ งจากฟันซีท่ วี่ า่ มันคุดมานานแล้ว รากจึงฝังลึก แต่ก็ถือว่าโชคดีที่ตัวฟันตั้งอยู่ในตำ�แหน่งตรง ไม่เหมือน บางคนทีฟ่ นั คุดเอนเบีย่ งไปจนเกือบเป็นแนวขวาง ซึง่ ยากต่อการผ่ามาก ถึ ง อย่ า งนั้ น คุ ณ หมอก็ บ อกว่ า ฟั น ของผมคงดึ ง ออกมาที เ ดี ย วไม่ ไ ด้ ต้องทยอยผ่าออกเป็นสามเสี่ยงแล้วเอาออกมาทีละชิ้น เครื่องมือทันตกรรมแต่ละชนิดทยอยกันเดินทางเข้าไปในปาก ของผม ที่แม้เวลานี้จะเริ่มชาจนหยิกไม่เจ็บแล้ว แต่ก็ยังพอรู้ได้ว่ามีอะไร ต่อมิอะไรง่วนอยูใ่ นปาก ทัง้ ท่อดูดน้�ำ ลายทีค่ อยพ่นฝอยน้�ำ แล้วก็ดดู กลับ สวบสาบ คีมเหล็กแข็งๆ เย็นๆ อันใหญ่บ้างเล็กบ้าง และอาจจะเป็น สิ่วหรือเลื่อยไฟฟ้าอะไรสักอย่าง แม้ว่าผมจะไม่รู้สึกเจ็บจากบรรดา เครือ่ งมือเหล่านี้ แต่เสียงเวลาทำ�งานของมันก็ดงั น่ากลัวพิลกึ โดยเฉพาะ ตอนที่เลื่อยตัดฟันกำ�ลังเดินเครื่องอยู่นั้น ผมรู้สึกเหมือนมีมอเตอร์ไซค์ ซิ่ง 2-3 คันวิ่งแข่งกันอยู่ในปาก ผมนึกเล่นๆ ในใจว่า ถ้าผมเป็นเจ้าของคลินิกทำ�ฟัน จะให้คลินิก ของผมมีหูครอบให้คนไข้ไว้สวมครอบปิดเสียงดัง ซึ่งจะช่วยลดความ 1 74


น่าหวาดเสียวลงไปได้เยอะเลย เสียงดังนี่มีส่วนกับอารมณ์ความรู้สึก ของเราจริงๆ นะครับ ไม่เชื่อลองเข้าไปดูหนังผีในโรงหนังแล้วปิดหู ให้มิดสิ ความน่ากลัวจะลดลงทันทีครึ่งหนึ่ง การที่ต้องอ้าปากอยู่นานๆ นั้นทำ�ให้ปากแห้งได้ หญิงสาวผู้ช่วย จึงคอยเอาวาสลีนป้ายริมฝีปากให้ผมเป็นระยะจนปากผมเยิม้ มันราวกับ เพิ่งกินไข่เจียวมา ส่วนคุณหมอก็รายงานผมอยู่เรื่อยๆ ว่าตอนนี้กำ�ลัง ทำ�อะไร “ไม่ต้องห่วงนะ ทุกอย่างเป็นไปตามแผน” คุณหมอพูดอย่างกับ ผมเป็นลูกทีมในหน่วยจารชนอย่างนั้นแหละ เพลง มนต์เมืองเหนือ จบไปนานแล้ว เสียงเพลงจากวิทยุเวลานี้ เป็นเพลง ครวญ ที่ผมไม่ทราบว่าใครเป็นคนร้องต้นตำ�รับ เพราะผม มาได้ฟงั ก็สมัยทีม่ นั เป็นเพลงฮิตในหมูว่ ยั รุน่ ซึง่ ขับร้องโดย แซม ซิกซ์เซนส์ “เมื่ออยู่ริมฝั่งชล ฉันยลทุกยามเย็น พักในร่มเงาไม้เอน ฉันมอง เห็นนกบินกลับรัง ตะวันใกล้จะลับแล้ว เห็นเรือแจวอยู่ริมฝั่ง...” ในเพลงเรือกำ�ลังแจวเลาะริมฝั่ง แต่ในปากของผมที่บวมเจ่อ อยู่นั้นเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายแล้ว นั่นคือการใช้คีมดึงฟันที่ถูกผ่าออกเป็น สามเสีย่ งให้หลุดออกมา ซึง่ ดูทา่ แล้วคงจะยากพอสมควร เพราะคุณหมอ ต้ อ งออกแรงดึ ง จนหั ว ผมคลอนและขากรรไกรล่ า งแทบจะเคลื่ อ น ช่วงหนึ่งคุณหมอเหมือนกับจะเฮดล็อกผมด้วย หลังจากใช้เวลาปลุกปล้�ำ อยูพ่ กั หนึง่ ทันตแพทย์ผใู้ จดีกบ็ อกผมว่า “โอเค! เรียบร้อย บ้วนน้ำ�ได้” ผ้าปิดตาถูกเปิดออก ผมหยีตาแล้วค่อยๆ ยกแผ่นหลังขึน้ จากเก้าอี้ ยกถ้วยสเตนเลสที่มีน้ำ�ปริ่มถ้วยขึ้นซดกลั้วปากแล้วบ้วนทิ้งสองครั้ง ระหว่างนั้นผู้ช่วยคุณหมอก็เอาฟันคุดของผมซึ่งวางอยู่บนผ้าขาวใน ถาดสเตนเลสมาให้ดู รูปร่างหน้าตาของมันคล้ายกระดูกสัตว์ทถี่ กู ทุบแตก 1 7 5


ออกเป็นสามเสี่ยงสามขนาด ใหญ่-กลาง-เล็ก หญิงสาวผูช้ ว่ ยถามผมว่าอยากเอาฟันกลับบ้านไหม ผมส่ายหน้า “ไม่ล่ะครับ” ผมเคยอ่านเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ที่ คมสัน นันทจิต แปลลง จุดประกายวรรณกรรม เมื่อนานมาแล้ว (ถ้าจำ�ไม่ผิดชื่อเรื่องของมันคือ One of These Days) เนื้อเรื่องเล่าถึง ยามบ่ายวันหนึ่งในร้านทำ�ฟัน ขณะที่หมอฟันนั่งพักอยู่ ก็เห็นนายทหาร คนหนึง่ กำ�ลังเดินมุง่ ตรงมาทีร่ า้ นของเขา หมอฟันจำ�ได้ทนั ทีวา่ เจ้านีเ่ ป็น ผู้นำ�เผด็จการจอมโหดที่ชาวบ้านชาวช่องเกลียดกันทั่วเมือง พอเข้ามาในร้าน ท่านผู้นำ�ก็แจ้งความจำ�นงเสียงเข้มทันทีว่า ต้องการจะถอนฟันซี่ที่ปวดทรมานอยู่ หมอฟันนึกอะไรบางอย่างในใจ ขณะตรวจฟันให้ทา่ นผูน้ � ำ พอตรวจเสร็จหมอฟันก็แจ้งว่า อาการปวดฟัน ของท่านผู้นำ�นั้นไม่ธรรมดา ขั้นตอนถอนฟันจะใช้ยาชาไม่ได้ ต้องถอน สดๆ สถานเดียว ผมขำ�ที่มาร์เกซเขียนว่า ตอนที่เดินเข้ามาในร้านนั้น ท่วงท่าของ ท่านผู้นำ�จอมเผด็จการดูสง่าผ่าเผยราวกับราชสีห์ ทว่าขณะนั่งอยู่บน เก้ า อี้ ทำ � ฟั น ให้ ห มอฟั น จั ด การถอนฟั น ให้ นั้ น ท่ า นผู้ นำ � ที่ นั่ ง ตั ว เกร็ ง ร้องโอดโอยดูเหมือนหนูเล็กๆ ตัวหนึ่ง ในที่สุด ประสบการณ์ ‘ครั้งหนึ่งในชีวิต’ กับการผ่าฟันคุดของผม ก็ ผ่ า นพ้ น ไปจนได้ 2-3 วั น นั บ จากนี้ ผ มต้ อ งปฏิ บั ติ ต ามข้ อ แนะนำ � หลายข้อทีผ่ ชู้ ว่ ยทันตแพทย์ก�ำ ชับเพือ่ ให้แผลหายไวๆ เป็นต้นว่าต้องกัด ผ้าก๊อซไว้จนกว่าเลือดจะหยุดไหล ต้องกินยาแก้อกั เสบให้ครบชุด จากนี้ ไป 5 ชัว่ โมงอย่าเพิง่ กินอาหาร ถ้าปวดแผลให้เอาผ้าอุน่ ประคบด้านนอก ห้ามกินน้�ำ แข็งเด็ดขาด อย่าพูดมากและอย่าเอาลิน้ ดุนแผล อาทิตย์หน้า ให้มาตัดไหม ฯลฯ 1 7 6


จ่ายเงินค่ารักษาเสร็จสรรพเรียบร้อย ผมก็เดินย้อนกลับเข้าไป ในห้องทำ�ฟันอีกครั้งเพื่อกล่าวลาคุณหมอ ชายกลางคนในเสื้อกาวน์ อมยิ้มรับไหว้เมื่อผมเอ่ยขอบคุณ ในนาที นั้ น ผมมองหน้ า ทั น ตแพทย์ ผู้ ใ จดี ที่ ยื น อยู่ ต รงหน้ า เห็นภาพราชสีห์ผู้ยิ่งใหญ่กำ�ลังฉีกยิ้มให้เจ้าหนูตัวน้อยๆ ที่ไร้ซึ่งพิษสง ด้วยประการทั้งปวง

1 7 7






Seize the Day

ผมเข้าใจว่า a day ฉบับขึ้นเลขสองหลักฉบับนี้ คงวางแผงใกล้ๆ กับการเปิดภาคเรียนของนักศึกษาใหม่ ทัง้ นักศึกษามหาวิทยาลัย สถาบัน ราชภัฏและราชมงคล ในฐานะทีเ่ คยผ่านการใช้ชวี ติ ทัง้ มีสาระและไร้สาระ ในรั้วมหาวิทยาลัยมา 4 ปีเต็ม ผมอยากเขียนอะไรฝากถึง ‘น้องใหม่’ สัก 10 ข้อ 1. อย่าเรียนเก่งไปเลยครับ หากการ ‘เรียนเก่ง’ นั้น มันทำ�ให้คุณ ต้องคร่ำ�เคร่งอยู่แต่กับตำ�ราเรียน จนไม่ได้ทำ�กิจกรรม อย่าง เข้าชมรม เดินทาง ดูหนัง ทำ�งานศิลปะ อ่านวรรณกรรมดีๆ ฯลฯ แต่ถา้ คุณทำ�ควบคู่ กันไปได้ดีทั้งสองอย่างก็แจ๋วเลย 2. ลงเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากๆ และเรียนอย่างตั้งใจว่าจะเอา ให้เก่งให้ได้ (โดยเฉพาะการพูดและอ่าน) โลกยุคนี้และยุคหน้า ภาษา อังกฤษมีบทบาทมากขึ้นทุกขณะ ถ้าคุณเก่งภาษาอังกฤษ คุณได้เปรียบ 3. เข้าชมรมการแสดงของมหาวิทยาลัย และหาโอกาสให้ได้ร่วม ทำ�ละครเวทีสกั เรือ่ ง รับรองว่าคุณจะได้ประสบการณ์มากมาย ละครเวที เป็นโลกจำ�ลองของการทำ�งานร่วมกับผู้อื่นที่ครบเครื่อง 2 3 3


4. มี แ ฟนสั ก คนก็ ดี น ะครั บ ถ้ า ใครยั ง ไม่ มี ก็ ห าเสี ย ตอนเรี ย น มหาวิทยาลัยนี่แหละ โอกาสเหมาะสุดแล้ว เลือกแฟนที่ดี ที่ช่วยเสริมส่ง กันทั้งการเรียนและความรัก 5. ถ้ามีเพศสัมพันธ์กับแฟน คุณต้องรู้วิธีป้องกันด้วย 6. การลองยาเสพติดเป็นเรื่องที่โง่มาก เพื่อนที่ชวนคุณเล่นยา อย่าไปนับเขาเป็นเพื่อน ผมมีเพื่อนหลายคนที่ตอนเรียนมหาวิทยาลัย ลองใช้ยาเสพติด เพราะเห็นเป็นเรือ่ งเท่ ทุกวันนีแ้ ต่ละคนทีว่ า่ ไม่มอี นาคต บางคนเสียชีวิตไปแล้ว นี่เป็นเรื่องจริง 7. ปี 1, ปี 2 ใช้ชีวิตเรียน เล่น ลองนั่นลองนี่ให้สนุก พอขึ้นปี 3 คุณควรถ่องแท้แล้วว่า คุณต้องการและเหมาะจะทำ�อาชีพอะไร (ให้เลือก ไว้สกั 2 อาชีพ) แล้วใช้เวลาทีเ่ หลือ 2 ปี ทำ�พอร์ตฟอลิโอทีแ่ สดงถึงทักษะ ทีค่ ณ ุ มีตอ่ งานทีค่ ณ ุ อยากจะทำ� เพือ่ จะได้น�ำ ไปใช้สมัครงานเมือ่ เรียนจบ ต่อไป การเขียนจดหมายสมัครงานอย่างเดียวไม่มปี ระโยชน์แล้ว คุณต้อง มีผลงานแนบไปด้วย เขาถึงจะเชื่อว่าคุณทำ�งานได้จริง 8. หางานพิเศษทำ�ยามว่าง ได้ทั้งเงิน ได้ทั้งประสบการณ์และ ความภาคภูมิใจ จำ�เอาไว้เลยครับ ประสบการณ์ไม่มีขายที่ไหน อยากได้ ต้องเอาตัวลงไปคลุก 9. ข้อนีผ้ มเพิง่ นึกออก แต่คดิ ว่าเข้าท่าดี ตัง้ แต่วนั แรกทีเ่ ดินเข้ามา เป็ น นั ก ศึ ก ษา คุ ณ ลองเก็บเงินสะสมทุกวัน วันละ 20 บาทดูสิครับ เรียนมหาวิทยาลัย 4 ปี วันสุดท้ายที่เดินออกจากมหาวิทยาลัย คุณจะมี เงินประมาณ 29,200 บาท เงินนี่จะเอาไปใช้อะไรก็เรื่องของคุณแล้ว (ถ้าเก็บวันละ 100 บาท ในเวลา 4 ปี คุณก็จะเป็นเจ้าของเงินราว 146,000 บาท! ทีนี้ตกงาน 3 เดือน ก็เรื่องเล็ก) 2 3 4


10. ทำ�แต่ละวันให้ดแี ละมีคณ ุ ค่าทีส่ ดุ ทัง้ ต่อตัวคุณเอง ครอบครัว คนรอบข้าง และสังคม Seize the Day ครับ

นิตยสาร a day ปีที่ 1 ฉบับที่ 10 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2544 2 3 5



คุณค่าแห่งการงาน

คื น วานหลัง เลิกงาน ผมเรียกรถแท็กซี่คันหนึ่งให้ไปส่งที่บ้าน เมื่อขึ้นนั่งในรถและรับทราบจุดหมายปลายทางแล้ว คนขับแท็กซี่ที่เป็น คนหนุ่มอายุปลายๆ สามสิบ ก็หันมาถามผมด้วยน้ำ�เสียงสุภาพว่า “ขอโทษนะครับ อยากฟังเพลงไทยหรือเพลงฝรั่งครับ” ..................... หลายปีกอ่ น ตอนทีเ่ ริม่ ทำ�งานนิตยสารใหม่ๆ ผมเห่องานของผม มาก เนื่องจากมันเป็นงานที่ใฝ่ฝันอยากทำ�มาตั้งนานแล้ว พอได้มาทำ� จริงๆ มันจึงเหมือนฝันที่เป็นจริง วั น หนึ่ ง ผมนั ด กิ น ข้ า วกั บ เพื่ อ นฝู ง สมั ย เรี ย นมหาวิ ท ยาลั ย หลายคน บนโต๊ะอาหาร หัวข้อสนทนาของพวกเราก็เลี่ยงไม่พ้นที่จะ พูดคุยถึงเรือ่ งการงานของแต่ละคน และก็ดว้ ยความทีภ่ าคภูมใิ จกับอาชีพ สื่อมวลชนของตัวเองนักหนา ตอนหนึ่งของการสนทนา ผมจึงเผลอคุย อวดถึงความดีของอาชีพทำ�หนังสือที่ทำ�อยู่ ว่าเป็นอาชีพที่อิสระมาก ไม่ต้องตอกบัตรเข้า-ออกงานตามเวลา มีโอกาสได้พบเจอคนมีชื่อเสียง หลากหลายวงการ ได้เดินทางไปโน่นมานี่ ได้มีประสบการณ์แปลกใหม่ เป็นงานที่ไม่จำ�เจน่าเบื่อ ทำ�ให้กระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา 2 3 7


“ไม่เหมือนงานธนาคารที่วันๆ หมกมุ่นอยู่แต่กับตัวเลข ต้องทำ� บั ญ ชี ซ้ำ � ๆ ซากๆ ถ้ า ให้ เราทำ � อย่ า งนั้ น เราตายดี ก ว่ า ” ผมพู ด แล้ ว หัวเราะขัน รอจนเสียงหัวเราะจางลง หญิงสาวท่าทางเรียบร้อยซึ่งเป็นเพื่อน ของเพื่อนที่นั่งอยู่ถัดไป ก็เอ่ยแย้งขึ้นด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่า งานบัญชี ไม่น่าเบื่ออย่างที่ผมคิดหรอก เธอทำ�งานธนาคารและเธอก็สนุกกับงาน มาก มันเป็นงานที่ท้าทาย เธอภูมิใจทุกครั้งที่สามารถจัดการกับตัวเลข ให้ มั น ลงตั ว ถู ก ต้ อ ง สุ ด ท้ า ย เธอบอกผมว่ า เธอตั้ ง ใจจะทำ � งานนี้ ไปจนเกษียณอายุ หลังจากฟังเธอพูดจบ ไม่ต้องสงสัยว่าผมจะสลดขนาดไหน... จนถึงวันนี้ คำ�พูดของหญิงสาวคนนี้ก็ยังติดอยู่ในใจผมเสมอมา มันเป็นคำ�พูดทีเ่ ปลีย่ นแปลงทัศนคติของผมโดยสิน้ เชิง ทุกวันนีผ้ มไม่เคย ทะนงตนว่าอาชีพสือ่ มวลชนของตัวเองวิเศษวิโสกว่าอาชีพอืน่ ๆ อีกแล้ว ในทางกลับกัน ผมก็เชือ่ ว่างานทุกงาน อาชีพสุจริตทุกอาชีพ ไม่วา่ จะเป็น นักวิทยาศาสตร์, ชาวประมง, คนกวาดถนน, บรรณารักษ์, นักแสดง, พนักงานรับ-ส่งเอกสาร, เกษตรกร, ทันตแพทย์, ตำ�รวจ, พ่อค้าหาบเร่, คนขายประกันชีวิต ฯลฯ ล้วนมีศักดิ์ศรีแห่งสถานภาพที่ตนดำ�รงอยู่ เท่าเทียมกัน แต่ คุ ณ ค่ า ของการงานจะเกิ ด ขึ้ น หรื อ ไม่ มั น ก็ อ ยู่ ที่ ว่ า คุ ณ รั ก และภูมิใจในงานที่คุณทำ�อยู่หรือไม่ และมากน้อยเพียงใด ...................... “แล้วแต่พี่เถอะครับ” ผมบอกคนขับแท็กซี่ เขายิ้ม แล้วหยิบซีดี แผ่นหนึ่งเสียบเข้าไปในช่องเล่น ชั่วอึดใจ เสียงเพลง Another Day In Paradise ของ ฟิล คอลลินส์ ก็ล่องลอยไปทั่วรถ 2 3 8


แม้เครื่องเสียงของรถจะเป็นแค่สเตอริโอธรรมดาๆ และผมก็เคย ฟังเพลงนี้มาหลายต่อหลายครั้ง แต่ค่ำ�คืนนั้น ผมรู้สึกว่ามันเพราะมาก

นิตยสาร a day ปีที่ 1 ฉบับที่ 11 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2544 2 3 9





ปมด้อย

มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเชิญผมไปเป็นอาจารย์พิเศษ ผมสนใจ อยากลองสอนหนังสืออยู่แล้วจึงตกปากรับคำ�ทันที วิชาที่เขาให้ผมสอน ชื่อวิชา ‘การเขียนเพื่อสื่อสารมวลชน’ หรือ ‘Writing for Mass Media’ นั ก ศึ ก ษาในชั้ น เรี ย นของผมมี 32 คน ทั้ ง หมดเป็ น นั ก ศึ ก ษา ชั้นปีที่ 3 เช้าวันแรกของคลาส หลังจากพูดคุยทักทายกันพอหอมปากหอมคอแล้ว ผมบอกพวกเขาว่า ชั่วโมงแรกเราอย่าเพิ่งเรียนอะไรที่ วิชาการเลยดีกว่า ผมขอให้ทกุ คนหยิบกระดาษขึน้ มาคนละแผ่น จากนัน้ ให้ เขี ย นสิ่ ง ที่ คิ ด ว่ า เป็ น ‘ปมด้ อ ย’ ของตั ว เองลงไปคนละ 5 อย่ า ง โดยไม่ต้องบอกชื่อเจ้าของ แต่มีข้อแม้ว่าอย่าปิดบังความจริง และต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งในบรรดาสิ่งที่พวกเขาเขียนลงไป ตัวดำ�, ตัวเตี้ย, สะโพกใหญ่, อ้วน, ผอม, ผมแห้งเสีย, หน้าบาน, ตาตก, ผมบาง, เล็บเท้าสั้น, มือสั้น, มือหนา, แขนใหญ่, ขาใหญ่, สิวเยอะ, พูดติดอ่าง, แขนเล็ก, ไหล่เล็ก, รูขุมขนกว้าง, หัวเถิก, หัวโต, หัวฟู, มีตีนกา, เป็นฝ้า, ใต้ตาคล้ำ�, ต้นขาใหญ่, พูดไม่ชัด, สายตาสั้น, ฟันดำ�, มีแผลเป็น, หน้าอกเล็ก, หน้ากลม, เท้าใหญ่, มีพุง, หน้าตาไม่ดี, 2 6 1


จู้จี้จุกจิก, หงุดหงิดง่าย, ชอบคิดมาก, ไม่ค่อยกระตือรือร้น, ขี้เกียจ, ขี้ลืม, ไม่ตรงต่อเวลา, ขี้อาย, อารมณ์ร้าย, ขี้เหงา, ขี้ระแวง, อืดอาด เชื่ อ งช้ า , เรี ย นไม่ เ ก่ ง , ลายมื อ ไม่ ส วย, ไม่ มั่ น ใจในตั ว เอง, เก็ บ ตั ว , ไม่ ก ล้ า แสดงออก, ไม่ เ ก่ ง ภาษาอั ง กฤษ, ขี้ น้ อ ยใจ, กลั ว ความมื ด , ชอบประหม่า, ตื่นเต้น, ชอบฟุ้งซ่าน, ขี้กังวล, ขี้เบื่อ, ชอบคิดแง่ลบ, พูดมาก, ใจร้อน, โลเล, ปากไม่ดี, ซุ่มซ่าม, โง่, พูดไม่รู้เรื่อง, จน, แฟนไม่หล่อ, นอนน้ำ�ลายไหล ฯลฯ ทีแรกผมบอกไปว่าจะเก็บเรื่องนี้เป็นความลับ แต่ผมหักหลัง พวกเขาด้วยการอ่านข้อความทั้งหมดให้ฟังที่หน้าชั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทุกคนฟังแล้วหัวเราะกันเสียงดังลั่น จนอาจารย์ที่สอนอยู่ห้องข้างๆ ต้องโผล่หน้ามาดู ผมบอกพวกเขาว่า บางอย่างที่พวกเขาเขียนมาเป็นปมด้อยแท้ๆ ทีต่ ดิ ตัวมาแต่เกิด บางอย่างเป็นปมด้อยทีเ่ กิดขึน้ ภายหลัง แต่หลายอย่าง ในจำ�นวนนั้นไม่ใช่ปมด้อยหรอก หากเป็น ‘นิสัยเสีย’ ที่ส่วนใหญ่แล้ว สามารถลงมือปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขให้ดีขึ้นได้ต่างหาก และ เห็นไหมว่าปมด้อยเป็นเรื่องตลกที่น่าหัวร่อ ต่อไป ผมถามพวกเขาว่าสังเกตเห็นอะไรอย่างหนึ่งหรือเปล่า นั่นคือ ไม่มีใครสักคนในห้องนี้ที่ไม่มีปมด้อย พูดกลับกันก็คือ ทุกคน ในห้องนี้ล้วนมีปมด้อย (บางคนเขียนมา 10 ข้อด้วยซ้ำ�) ดังนั้น ปมด้อย จึงไม่ใช่เรื่องของคนส่วนน้อยอย่างที่บางคนเคยเข้าใจเสียแล้ว แต่เป็น เรือ่ งของคนส่วนใหญ่ เป็นเรือ่ งของคนส่วนมาก เราแต่ละคนล้วนรูส้ กึ ว่า ตัวเองขาด-ตก-บกพร่องอะไรสักอย่างสองอย่างหรือหลายอย่างเสมอ ไม่มีใครในโลกนี้หรอกที่คิดว่าตัวเองสมบูรณ์พร้อม สิ่ ง สำ � คั ญ คื อ การเปิ ด โอกาสให้ ป มด้ อ ยมาเกาะกิ น รบกวน และรังควานชีวติ นัน้ เป็นเรือ่ งทีไ่ ม่ฉลาด และยุตธิ รรมต่อตัวเราเท่าใดนัก 2 6 2


เพราะมันรังแต่จะทำ�ให้เราอับอาย เบื่อหน่าย ท้อแท้ ท้อถอยและ เป็นทุกข์ สิ่งที่ควรทำ�ทันทีคือ ละลายมันออกไปจากความรู้สึกเบื้องลึก เสีย ซึ่งข้อควรปฏิบัติอย่างแรกก็คือ ยืดอกยอมรับมันอย่างเต็มใจ โอเคนะครับ ไปหยิบกระดาษกับปากกามา สูดลมหายใจเข้าปอด แล้วลงมือเขียนปมด้อยทั้งหลายแหล่ที่สิงสู่อยู่ในชีวิตของคุณลงไป เขียนให้เต็มแผ่นเลยนะครับ จากนั้นขยำ�มันให้เละ เขวี้ยงทิ้งถังขยะ แล้วหัวเราะดังๆ!

2 6 3


ทฤษฎีถุงเท้ากลับด้าน

พอจะรู้ตัวว่า ‘ภาพลักษณ์’ ชุดหนึ่งที่ติดตัวผมตลอดระยะเวลา หลายปีที่ผ่านมา (อาจนับตั้งแต่วันที่เริ่มต้นทำ� a day) คือ ดื้อ ซ่า กล้า บ้าบิ่น แหกคอก ฯลฯ ซึ่งจะว่าไปก็ไม่ได้เป็นเรื่องรำ�คาญใจสักเท่าไหร่ หรอกนะครับ พูดกันตามตรง ผมออกจะชอบๆ มันด้วยซ้ำ� นึกเสียว่า อย่างน้อยก็ดีกว่ามีภาพลักษณ์หน่อมแน้ม ก๊องแก๊งล่ะ ไม่มากก็น้อย ภาพลักษณ์เป็นสิ่งสะท้อนลักษณะนิสัยของคน คนนั้น ผมไม่แน่ใจว่านิสัยดื้อ ซ่า กล้า บ้าบิ่น แหกคอก มันเกิดขึ้น เมื่อไหร่หรือเกิดจากอะไร หากให้ลองประมวลดู สาเหตุสำ�คัญน่าจะ มาจากภูมหิ ลังและบรรยากาศของครอบครัว บ้านผมเป็นครอบครัวใหญ่ มีพี่น้องหลายคน พ่อผมเป็นผู้นำ�ที่ดุ เด็ดขาด ใจร้อน และมักไม่รั้งรอ ที่จะแสดงอำ�นาจ ส่วนแม่เป็นคนไม่มีปากมีเสียง อ่อนโยน อ่อนไหว และใจดี อิทธิพลทั้งสองด้านอาจผ่องถ่ายไหลเคลื่อนมาที่ผมบ้าง แม้จะมีกฎระเบียบพอสมควร แต่กับบางเรื่อง ครอบครัวผม ก็ไม่เคร่งครัดเท่าใดนัก ยกตัวอย่างเรื่องการเรียน ที่บ้านจะให้อิสระ แก่พวกเราพี่น้องเต็มที่ ในการตัดสินใจว่าจะเลือกเรียนอะไร สายไหน 2 8 5


หรือที่ไหน ซึ่งเมื่อนำ�ไปเปรียบเทียบกับเด็กบางคนที่ถูกบีบคั้นบังคับ จากผู้ปกครอง ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมแล้ว ผมคิดว่า นั่นถือเป็นเรื่องโชคดีที่สำ�คัญประการหนึ่งของพวกเรา การได้ตัดสินใจด้วยตนเอง ได้ลองผิด ได้ลองถูก ถือเป็น ‘การ เรียนรู้’ อย่างหนึ่ง ผมเชื่อเช่นนั้น ในทางกลับกัน คนทีไ่ ม่กล้าลองทำ�อะไรทีผ่ ดิ แผกแตกต่างออกไป จากวิถีหรือวิธีเดิมๆ ที่ผู้อาวุโสหรือคนรุ่นก่อนหน้าทำ�ซ้ำ�ๆ ต่อๆ กันมา (อาจด้วยเหตุผลเพราะกลัวว่าจะต้องพบกับความผิดหวังเสียใจ) ก็น่า เสียดายที่เขาจะไม่มีโอกาสได้รับรู้บทเรียนใหม่ๆ ที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน “มีวธิ ขี บถกับตัวเองจะบอกกับน้องๆ สักข้อมัย้ ครับ” บนเวทีเสวนา ที่ว่าด้วยเรื่องการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีผู้ฟังเป็นวัยรุ่น เกือบร้อยคน พิธีกรยื่นคำ�ถามนี้กับผม ผมนึกคำ�ตอบฉับพลันไม่ทัน จึงเล่าเรื่องสมัยเป็นเด็กให้พวกเขาฟังว่า ตอนนั้นสิ่งหนึ่งที่ผมไม่ชอบ คือ ถุงเท้านักเรียนที่ตรงด้านปลายมีเส้นด้ายที่เหลือจากการตัดเย็บ โผล่มา ซึ่งผมใส่แล้วรู้สึกรำ�คาญ เช้าวันหนึ่งก่อนออกจากบ้านไปโรงเรียน ผมนั่งสวมถุงเท้าอยู่ หน้าบ้านแล้วเกิดนึกว่า แม้ถุงเท้าด้านนอกจะดูเรียบร้อยสวยงามกว่า ด้านใน แต่เราไม่ได้ถอดรองเท้าให้ใครเห็นนี่ คิดแล้วผมจึงลองกลับด้าน ถุงเท้าดู... ปรากฏว่าสวมสบายเท้ากว่าเดิมมาก จากประสบการณ์ที่ได้รู้ได้เห็นมา ผมพบว่าความคิดสร้างสรรค์ มักมีจุดกำ�เนิดสำ�คัญจาก ‘ความไม่เชื่อ’ เสียก่อน ไล่ตั้งแต่ไม่เชื่อว่าสิ่งที่ เป็นอยู่หรือมีอยู่นั้นดีอยู่แล้ว ไม่เชื่อว่าอย่าไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมัน ไม่เชื่อที่ใครบอกเตือนว่าเราทำ�ไม่ได้หรืออย่าไปทำ� ฯลฯ พอตั้งต้นได้ อย่างนี้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือพยายามคิด-ค้น-หา ‘ความเชื่อ’ ของเรา 2 8 6


เมื่อได้เหตุผลที่ดีมาสนับสนุน และทดลองทำ�แล้วเห็นผลจริง ท้ายที่สุด ก็ยึดมันไว้เป็นรูปแบบเฉพาะของเรา วิธคี ดิ แบบนี้ ผมเชือ่ ว่าใช้ได้ตงั้ แต่กบั การเปลีย่ นแปลงเล็กๆ น้อยๆ ในระดับปัจเจก ไปจนถึงการปรับเปลีย่ นในระดับทีก่ ว้างใหญ่อย่างสังคม ใครไม่เชื่อก็ลองทำ�ดู ถ้ายังนึกอะไรไม่ออก เริ่มจากกลับด้านถุงเท้าที่สวมอยู่ก่อนก็ได้

2 8 7





ก่อนที่จะมองการณ์ไกล ควรมองการณ์ใกล้ให้ชัดเสียก่อน

หลายปี ที่ ผ่ า นมา มี ค นหอบเอาความฝั น มาขอพู ด คุ ย กั บ ผม มากมาย ซึ่งผมก็ยินดี เพราะผมเป็นคนที่ให้ค่ากับความใฝ่ฝันอยู่แล้ว แต่นา่ เสียดายทีค่ วามฝันของพวกเขา ส่วนใหญ่เป็นความฝันประเภทฟุง้ ๆ เฟื่องๆ น้อยคนจะฝันอย่างมีเหตุมีผลและมีความเป็นไปได้ ผมเข้าใจว่าสาเหตุกเ็ พราะพวกเขายังไม่เข้าใจความฝันของตัวเอง ดี พ อ ซึ่ ง อาจโยงไปถึ ง ว่ า พวกเขายั ง ไม่ เข้ า ใจตั ว เองดี พ อก็ เ ป็ น ได้ คนจำ�นวนมากอยากเป็นอย่างคนอืน่ อยากทำ�อย่างคนอืน่ อยากประสบ ความสำ � เร็ จ เหมื อ นที่ ใ ครบางคนทำ � ได้ แต่ ไ ม่ เ คยประเมิ น ต้ น ทุ น ความสามารถของตัวเองเลย ว่าทำ�อะไรได้บ้าง ทำ�อะไรไม่ได้บ้าง ไม่นับ ปริมาณความรักจริงเอาจริงว่ามีมากพอเท่าเขาไหม ส่วนใหญ่เรามักมอง คนที่ประสบความสำ�เร็จที่ปลายทาง แต่ไม่ค่อยมองย้อนกลับไปว่า กว่าจะมีวันนี้ได้ คนคนนั้นต้องล้มลุกคลุกคลานหรือผ่านร้อนผ่านหนาว มาอย่างไร ข้อสังเกตอีกอย่างคือ นักฝันหลายคนใจร้อนอยากประสบความ สำ�เร็จเร็วๆ เรียกว่าฝันวันนีแ้ ล้วอยากเห็นตัวเองสำ�เร็จพรุง่ นีเ้ ลย นัน่ เป็น 3 6 7


ที่มาที่ทำ�ให้พวกเขาไม่ค่อยอดทน เวลาพบเจออุปสรรคเล็กๆ น้อยๆ ขวางหน้าก็ยอมแพ้ไม่เอาแล้ว จะว่าไปธาตุความอดทนนี่สำ�คัญนะครับ หลายกรณีของการประสบความสำ�เร็จหรือไม่ส�ำ เร็จ วัดกันทีใ่ ครยืนระยะ ได้นานกว่ากันนี่ล่ะ เวลาเจอใครฝันเฟื่อง ผมจะช่วยตบๆ ความฝันของเขาให้เข้าที่ อาจเริม่ ด้วยการซักถามถึงความรูจ้ ริงถ่องแท้ในสิง่ ทีเ่ ขาอยากทำ� ถ้าข้อนี้ ผ่าน ผมจะยกตัวอย่างอุปสรรคปัญหาให้เขาลองแก้ไข จินตนาการ ความยากลำ�บากให้เขาลองหาวิธจี ดั การกับมันดู ไม่ได้อยากให้เสียกำ�ลังใจ หรอก ผมเพี ย งต้ อ งการให้ เขาฝั น บนพื้ น ฐานของความจริ ง ซึ่ ง เป็ น เรื่องสำ�คัญ พิบูลศักดิ์ ละครพล นักเขียนคนหนึ่งที่ผมชื่นชอบ เคยเขียน บทกวีที่ผมจดจำ�ใส่ใจว่า “ฝัน ฉันฝัน ทุกวันที่มีชีวิตอยู่ เวลาได้บอกกับ ฉันว่า จงจุดความฝันขึ้นบนความจริง” จริงอยู่ว่าคนเราควรฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง ซึ่งการจะไปให้ถึง จุดหมายที่มุ่งหวังนั้นเราต้องมีความเข้าใจในเส้นทางที่จะไปพอสมควร ผมถึงบอกว่า ก่อนที่จะมองการณ์ไกล เราควรมองการณ์ใกล้ให้เห็นชัด เสียก่อน และก่อนที่จะข้ามขั้นไปคิดการใหญ่ ลองทดสอบตัวเองด้วย การคิดการเล็กก่อนดีไหม

3 6 8


ถ้าสิ่งที่ฝันไว้ไม่เป็นจริง ก็ฝันใหม่ ไม่มีใครห้ามเราฝันเกินหนึ่งครั้งในชีวิต เสียเมื่อไหร่ ถูกจัดอยูใ่ นประเภท ‘นักฝัน’ ตัง้ แต่เมือ่ ไหร่ผมก็ไม่แน่ใจ และแม้วา่ จะถูกเสียดสีเหน็บแนมอยูบ่ า้ ง ผมก็ไม่ใส่ใจเอาเป็นอารมณ์ เหตุผลเพราะ ผมเชื่ อ ว่ า คนเหล่ า นั้ น ไม่ เข้ า ใจความหมายที่ แ ท้ จ ริ ง ของความฝั น ความฝันในความหมายของผมไม่ใช่ความรู้สึกโลกสวยสายลมแสงแดด หรือความล่องลอยหลงลืมสาระจนละเลยความจริง หากมันคือความ โรแมนติกอย่างเข้มข้นทีม่ นุษย์ควรจะมี ความฝันคือความมุง่ หวังถึงสิง่ ที่ ดีงามกว่าเดิม คือการไม่ระย่อต่อมรสุมไม่ว่าลูกไหน และคือการสู้ต่อไป โดยไม่ยอมจำ�นนโดยง่าย ความฝันเป็นสิ่งมหัศจรรย์ มันเป็นจุดเริ่มต้น แห่งความคิดสร้างสรรค์ มันสร้างนวัตกรรม มันให้แรงบันดาลใจ มันทำ�ให้ สิง่ ทีเ่ คยเป็นไปไม่ได้กลายเป็นสิง่ ทีเ่ ป็นไปได้ ความฝันทำ�ให้มนุษย์ทะยาน ไปไกลเกินขอบเขต มนุษย์ที่สิ้นไร้ความฝันจึงเป็นเหมือนสิ่งมีชีวิตที่ หยุดนิ่งอยู่กับที่ สิ่งสำ�คัญที่ทำ�ให้นักฝันส่วนใหญ่มักไปไม่รอด คือการมีหัวใจที่ ไม่หนักแน่น พอพบเจอว่าโลกความจริงไม่เห็นเหมือนกับโลกที่ฝันไว้ ก็ถอดใจไม่เอาแล้ว คลินต์ อีสต์วดู นักแสดงและผูก้ �ำ กับอาวุโสยอดฝีมอื 3 7 1


เคยกล่ า วไว้ ใ นสารคดี ชี วิ ต ของเขา เรื่ อ ง The Eastwood Factor ว่า “ความจริงมักปรากฏตัวเสมอ ในขณะที่เราฝันเพ้อเจ้อ แต่ไม่ใช่ว่า ความฝันจะไม่จำ�เป็น” ใช่ ความฝันเป็นสิ่งสำ�คัญและจำ�เป็น แต่เราต้อง รูว้ า่ ไม่มคี วามฝันไหนได้มาโดยง่าย ยิง่ ความฝันทีว่ า่ ก้อนใหญ่และอยูไ่ กล เท่าใด มันก็ตอ้ งอาศัยหัวจิตหัวใจและพลังงานมหาศาลเพือ่ ทีจ่ ะไปให้ถงึ จุดนั้น อีกหนึ่งความจริงคือ ความฝันไม่ใช่เป็นเรื่องที่ต้องทันตาเห็น ภาษิตญี่ปุ่นบทหนึ่งกล่าวว่า “ถ้ารีบก็ต้องอ้อม” ฟังเผินๆ ไม่ค่อยเข้าใจ และออกจะสับสนอยู่เหมือนกัน ถ้าเรารีบเราก็ต้องเร่งสิ ยิ่งไปทางลัดได้ ยิง่ ดีจะได้ถงึ เร็วๆ ทำ�ไมมาสอนให้เราเดินอ้อมถ้ากำ�ลังรีบ แต่ความหมาย ของภาษิตนี้คือ คนส่วนใหญ่พอทำ�อะไรด้วยความเร่งรีบใจร้อน ก็มัก ลนลาน ขาดสติ ซึ่งนั่นก็เป็นที่มาของการเกิดความผิดพลาดบกพร่อง คำ � แนะนำ � ให้ เ ดิ น อ้อ มจึง หมายถึง ให้เราใจเย็นๆ หยุดคิดใคร่ครวญ ให้รอบคอบเสียก่อนแล้วค่อยลงมือทำ � อาจช้าไปบ้าง เสียเวลาบ้าง แต่ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นก็อาจน้อยลงหรือแทบไม่มีเลย ซึ่งก็นำ�ไปสู่ การคาดหวังถึงผลสำ�เร็จได้ในท้ายที่สุด มีคนเคยถามผมว่า ถ้าสิ่งที่ฝันไว้มันไม่เป็นจริง ต้องทำ�อย่างไร ผมตอบเขาไปว่า ก็ฝนั ใหม่สิ ไม่มใี ครทีไ่ หนห้ามเราฝันเกินหนึง่ ครัง้ ในชีวติ เสียเมื่อไหร่ ความฝันเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของเรา ไม่ต้องขออนุญาตใคร ถ้าคุณอยากฝัน

3 7 2




ครึ่งหนึ่งของความสำ�เร็จ มาจากความกล้าหาญที่จะเริ่มต้น

3 8 2


อย่าคาดหวังว่าจะได้ประสบการณ์ยิ่งใหญ่ จากการเลือกทำ�แต่อะไรง่ายๆ

3 8 3


ถ้าลงเล่นโดยตั้งเป้าแค่ว่าจะแพ้ให้น้อย สุดท้ายแล้วมันมักลงเอย ด้วยการพ่ายแพ้ยับเยิน

3 8 4


บ่อยครั้ง คนเราแพ้ชนะกันที่ใครอดทนกว่าใคร ไม่ใช่ใครเก่งกว่าใคร

3 8 5


เหตุผลอย่างเดียว อาจไม่พอสำ�หรับการเลือก ที่จะทำ�อะไรบางอย่าง

3 8 6


ชีวิตคือการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่วิ่ง 100, 200 เมตร

3 8 7


วิธีง่ายๆ ที่จะกันชีวิตจากความวุ่นวายคือ อะไรที่ไม่ใช่เรื่องของเรา อย่าไปยุ่ง

3 8 8


ความสุขสร้างได้ ความทุกข์ทำ�เอง

3 8 9


ความทุกข์คือภาวะที่ความสุขเจือจางลง จนกระทั่งเราไม่รู้สึกถึงการมีอยู่ของมัน

3 9 0


ข้อดีของการสูญเสียคือ มันทำ�ให้เราเข้าใกล้ ความเป็นจริงของชีวิตมากขึ้น

3 9 1


เกี่ยวกับผู้เขียน

วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์

กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด บรรณาธิการอำ�นวยการและบรรณาธิการที่ปรึกษา นิตยสาร a day, HAMBURGER, a day BULLETIN, สำ�นักพิมพ์ a book และสำ�นักพิมพ์ Polkadot ผู้ก่อตั้งและประธานองค์กรไม่แสวงผลกำ�ไร a day Foundation

ติดตาม

wongthanong.com twitter.com/wongthanong twitter.com/adayfoundation facebook.com/adayfoundation


ผลงานหนังสือ

2543 เรื่องเล็ก 2546 a day Story 2547 The Bear Wish Project 2548 หญิงสาวนักขายขนมปัง 2548 มากกว่านั้น 2549 Wake Up! 2550 Question Mark 2552 Try 2553 มัชฌิมนิเทศ 2555 No More No Less 2555 In My Life 2556 Day After Day


DAY AFTER DAY วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์

หนังสือในชุด Life & Inspiration ลำ�ดับที่ 009 เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-027-6 พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2556 ราคา 385 บาท

ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์. Day After Day. -- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2556. 568 หน้า. 1. ความเรียง. I. ชื่อเรื่อง. 895.914 ISBN 978-616-327-027-6

ในกรณีที่หนังสือมีตำ�หนิจากการพิมพ์หรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือเล่มนั้นกลับมา ตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ ทางเรายินดีเปลี่ยนให้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้ง สิ้น

สั่งซื้อหนังสือราคาพิเศษ 0-2726-9996 ต่อ 49 E-mail member@daypoets.com


บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร ภูมิชาย บุญสินสุข ผู้ช่วยบรรณาธิการ สุรเกตุ เรืองแสงระวี อาร์ตไดเร็กเตอร์ บพิตร วิเศษน้อย กราฟิกดีไซเนอร์ เพกา เจริญภักดิ์ กราฟิกดีไซเนอร์ เมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ ออกแบบปก วีระยุทธ คงเทศน์ เลขานุการ/เรียงพิมพ์ พิมพ์นารา มีฤทธิ์ พิสูจน์อักษร เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ การตลาด วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล ประสานงานการผลิต อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ ดิจิทัลคอนเท็นต์มาสเตอร์ วิศรุต วิสิทธิ์ ผู้จัดการทั่วไป จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ลูกค้าสัมพันธ์ นริศรา เปยะกัง เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่

สำ�นักพิมพ์ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด

เลขที่ 3 ซอยเจริญมิตร ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2726-9996 ต่อ 22 โทรสาร 0-2714-4252 E-mail abook9@gmail.com Official Page facebook.com/abookpublishing แยกสี/พิมพ์ บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2428-7500 จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.