คู่มือการอบรมลำตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลาง

Page 1


คู่มือการอบรมลาตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลาง กิจกรรมอบรมศิลปะการแสดงลาตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลางออนไลน์ โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๔ โดยการสนับสนุนจาก กระทรวงวัฒนธรรม จังหวัดนครปฐม สานักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม มหาวิทยาลัยมหิดล

© แหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลาตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลาง พ่อหวังเต๊ะ-แม่ศรีนวล ตาบลลาลูกบัว อาเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ที่ปรึกษา

บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ปก

ศรีนวล ขาอาจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล นิรามัย นิมา อธิชนัน สิงหตระกูล บัณฑิตย์ แตงอ่อน สิทธิพล สังทับ กิตตินันท์ พลอยสระศรี

เอกสารชุดนี้จัดทาขึ้นเพื่อประโยชน์สาหรับการศึกษา ห้ามจาหน่าย



คำนำ คู่มือการอบรมลาตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลางนี้จัดทาขึ้นเพื่อใช้ประกอบกิจกรรมอบรม ศิลปะการแสดงลาตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลางออนไลน์ เพื่อถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมสู่ผู้สนใจ โดยการสนับสนุนจากจังหวัดนครปฐม สานักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม กระทรวงวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับแหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลาตัด และเพลงพื้นบ้านภาคกลาง พ่อหวังเต๊ะ -แม่ศรีนวล เนื้อหาประกอบด้วยประวัติครูเพลงลาตัด ประวัติคณะลาตัดหวังเต๊ะ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับลาตัด เพลงลาตัด เพลงพื้นบ้าน ลักษณะและ ตัวอย่างการแต่งเพลงลาตัด และท่าราแบบลาตัด คณะกรรมการดาเนินงานขอขอบพระคุณครูเพลงพื้นบ้าน แม่ศรีนวล ขาอาจ และคณะ วิทยากร ที่กรุณาอุทิศตนเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาด้านลาตัดให้ยังคงอยู่สืบมา ทั้งยังเสียสละแรงกาย แรงใจร่วมเป็นผู้ดาเนินงานครั้งนี้อย่างดียิ่ง คณะกรรมการดาเนินงาน ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔


สำรบัญ ประวัติพ่อหวังดี (หวังเต๊ะ) นิมำ ประวัติแม่ศรีนวล ขำอำจ ลำตัด: ประวัติและควำมเป็นมำ ประวัติคณะลำตัดหวังเต๊ะ คู่มือลำตัดคณะพ่อหวังเต๊ะ-แม่ศรีนวล รูปแบบอินโฟกรำฟิกและสื่อประสม เพลงลำตัด เพลงลอยนกน้อย (หญิง) เพลงลอยนกน้อย (ชาย) เพลงลอยป๊ะเพียว ลาตัดทานองกลาง กลอนไลตบมือ ลาตัดทานองกลาง กลอนลู ลาตัดทานองกระพือ กลอนเลย ลาตัดทานองกระพือ กลอนลา ลาตัดทานองเพราะ กลอนลี ลาตัดทานองโศก กลอนลอน ลาตัดทานองแขก ทานองมอญ ทานองลาว เพลงพื้นบ้ำน เพลงเรือ เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงอีแซว ลักษณะและตัวอย่ำงกำรแต่งเพลงลำตัด ท่ำรำแบบลำตัด

๑ ๕ ๙ ๒๑ ๒๓ ๓๕ ๓๕ ๓๖ ๓๗ ๓๘ ๓๙ ๔๐ ๔๑ ๔๒ ๔๔ ๔๖ ๔๗ ๔๗ ๔๘ ๕๒ ๕๔ ๕๕ ๕๖



พ่อหวังดี (หวังเต๊ะ) นิมำ* ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) พุทธศักราช ๒๕๓๑

ประวัติ นายหวังดี นิมา หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนาม “หวังเต๊ะ” เกิดเมื่อเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๖๘ ที่จังหวัดปทุมธานี พ่อหวังเต๊ะเป็นศิลปินผู้มีความสามารถเป็นเลิศด้านศิลปะเพลงพื้นบ้าน มีความชานาญ เป็นพิเศษในการแสดงลาตัด โดยตั้งคณะชื่อ “ลาตัดหวังเต๊ะ” รับงานแสดงเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบัน จนชื่อ หวังเต๊ะแทบจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของลาตัด แม้ว่าจะชานาญในเพลงพื้นบ้านแบบอื่นๆ ด้วย กล่าวได้ว่า พ่อหวังเต๊ะเป็นศิล ปินผู้ ส ร้างสรรค์แ ละสื บทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้านให้ยืนยงอยู่ได้ อย่า งน่าภาคภู มิ ยิ่ ง พ่อหวังเต๊ะเป็นศิลปินที่มีความสามารถรอบตัว มีความเป็นเลิศทั้งด้านปฏิภาณและความคิดในการแสดงเพลง พื้นบ้าน สามารถด้นกลอนสดและแต่งคาร้องได้อย่างคมคาย เหมาะสมกับลีลาและสถานการณ์ สร้างความ บันเทิงเริงรมย์แก่ผู้ฟังผู้ชมตลอดเวลาอย่างยากจะหาใครเทียบได้ทั้งในอดีตและปัจจุบัน พ่อหวังเต๊ะได้แ สดงให้ มหาชนประจักษ์ถึงอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาและการแสดงได้อย่างเชี่ยวชาญ สมกับสุนทรียลักษณ์ของ ภาษาไทยที่มีมาแต่โบราณกาล และยังเป็นศิลปินผู้มีคุณธรรม ได้ใช้ศิลปะการแสดงเป็นสัมมาชีพอย่างซื่อสัตย์ ตลอดมา ทั้งได้ถ่ายทอดศิลปะวิชาให้แก่ทั้งบุคคลในคณะและสถาบันต่างๆ อย่างสม่าเสมอ นับได้ว่าพ่อหวังเต๊ะ เป็นศิลปินที่ได้บาเพ็ญประโยชน์ทั้งด้านสร้างสรรค์และอนุรักษ์ศิลปะ อันเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมไทยมาตลอด ระยะเวลายาวนาน นายหวังดี นิมา หรือหวังเต๊ะ จึงได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขา ศิลปะการแสดง (เพลงพืน้ บ้าน) พุทธศักราช ๒๕๓๑ พ่อหวังเต๊ะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับ มะเร็งปอด และโรคหัวใจ เมื่อวันอังคารที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๕ เวลา ๐๓.๑๓ น. ณ โรงพยาบาลบารุงราษฎร์ สิริอายุรวม ๘๗ ปี *

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. ๒๕๕๕. นำยหวังดี นิมำ (หวังเต๊ะ) ศิลปินแห่งชำติ สำขำศิลปะกำรแสดง (เพลงพื้นบ้ำน) พุ ท ธ ศั ก ร ำ ช ๒ ๕ ๓ ๑ . ( อ อ น ไ ล น์ ) . แ ห ล่ ง ที่ ม า : http: / / www1 . culture. go. th/ subculture3 / images/ M_images/vt4.pdf. เข้าถึงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๐.



คำประกำศเกียรติคุณ นายหวังดี นิมา หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามหวังเต๊ะ เกิดเมื่อเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๖๘ ที่จังหวัด ปทุมธานี หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้มีความสามารถเป็นเลิศด้านศิลปะเพลงพื้นบ้าน มีความชานาญเป็นพิเศษในการ แสดงลาตัด โดยตั้งคณะชื่อลาตัดหวังเต๊ะรับงานแสดงเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบันกว่า ๔๐ ปี จนชื่อหวังเต๊ะแทบ จะกลายเป็นสัญลักษณ์ของลาตัด แม้ว่าจะชานาญในเพลงพื้นบ้านแบบอื่น ๆ ด้วย กล่าวได้ว่า หวังเต๊ะ เป็น ศิลปินผู้สร้างสรรค์และสืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้านให้ยืนยงอยู่ได้อย่างน่าภาคภูมิยิ่ง หวังเต๊ะเป็นศิลปินที่มี ความสามารถรอบตัว มีความเป็นเลิศทั้งด้านปฏิภาณและความคิดในการแสดงเพลงพื้นบ้าน สามารถด้นกลอน สดและแต่งคาร้องได้อย่างคมคาย เหมาะสมกับลีลาและสถานการณ์ สร้างความบันเทิงเริงรมย์แก่ผู้ฟังผู้ชม ตลอดเวลา อย่ า งยากจะหาใครเที ย บได้ ทั้ ง ในอดี ต และปั จ จุ บั น หวั ง เต๊ ะ ได้ แ สดงให้ ม หาชนประจั ก ษ์ ถึ ง อัจฉริยภาพในการใช้ภาษาและการแสดงได้อย่างเชี่ยวชาญ สมกับสุนทรียลักษณ์ของภาษาไทยที่มีมาแต่โบราณ กาล หวังเต๊ะเป็นศิลปินผู้มีคุณธรรม ได้ใช้ศิลปะการแสดงเป็นสัมมาชีพอย่างซื่อสัตย์ตลอดมา ทั้งได้ถ่ายทอด ศิลปะวิชาให้แก่ทั้งบุคคลในคณะและสถาบันต่าง ๆ อย่างสม่าเสมอ นับว่าหวังเต๊ะเป็นศิลปินที่ได้บาเพ็ญ ประโยชน์ทั้งด้านสร้างสรรค์และอนุรักษ์ศิลปะ อันเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมไทยมาตลอดระยะเวลายาวนาน นายหวังดี นิมา หรือหวังเต๊ะ สมควรได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขา ศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ประจาปี พุทธศักราช ๒๕๓๑



แม่ศรีนวล ขำอำจ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-ลาตัด) พุทธศักราช ๒๕๖๒

ประวัติ นางศรีนวล ขาอาจ เริ่มฝึกหัดการแสดงพื้นบ้าน ประเภทลาตัด ตั้งแต่อายุ ๑๕ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยมี ครูเต๊ะ นิมำ ผู้เป็นบิดาของนายหวังดี นิมา หรือหวังเต๊ะ เป็นครูคนแรก นอกจากนี้ แม่ศรีนวลยังได้ ศึ ก ษาการแต่ ง บทล าตั ด แบบโบราณจากแม่ ต ะลุ่ ม แม่ เ พลงล าตั ด อาวุ โ สอี ก ท่ า นหนึ่ ง อี ก ทั้ ง ยั ง ได้ ศึ ก ษา แบบแผนการแสดงจากศิ ล ปิ น เพลงพื้ น บ้ า นรุ่ น เก่ า ด้ ว ยตนเอง อาทิ แม่ ท องอยู่ รั ก ษำพล แม่ ท องหล่ อ ทำเลทอง ตำพรหม ตำผ่ำน เป็นต้น ตลอดจนได้ฝึกหัดแต่งบทลาตัดตามคาแนะนาของนายหวังดี (หวังเต๊ะ) ผู้เป็นหัวหน้าคณะ นอกจากลาตัดซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านที่แม่ศรีนวลมีความชานาญเป็นพิเศษแล้ว แม่ศรีนวลยังสนใจศึกษา ศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้านประเภทอื่นๆ จากพ่อเพลงแม่เพลงหลายท่าน อันได้แก่ ฝึกหัดเพลงอีแซวและ เพลงฉ่อยจากแม่บัวผัน จันทร์ศรี (ศิลปินแห่งชาติ) และแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ (ศิลปินแห่งชาติ) เพลง ปรบไก่และเพลงโนเนจาก อำจำรย์นำฏยำ สุวรรณทรัพย์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ รวมถึง เพลงขอทาน เพลงเกี่ยวข้าวและเพลงพวงมาลัยของจังหวัดปทุมธานีจาก พ่อหวังเต๊ะ (หวังดี)นิมำ (ศิลปิน แห่งชาติ) ยิ่งไปว่านั้น นางศรีนวลยังได้ศึกษาศิลปะการราตามแบบนาฏศิลป์ไทยมาตรฐานจาก คุณครูทองเริ่ม มงคลนัฏ ครูนาฏศิลป์ผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงโขนของกรมศิลปากร และศิลปะการราแบบพื้นบ้านจาก คณะ ลิเกศิลป์พร อีกด้วย แม่ศรีนวล เริ่มเข้าสู่วงการเพลงพื้นบ้านลาตัดภายหลังจากสาเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ซึ่ ง เป็นการศึกษาภาคบังคับ โดยหลั งจากศึกษาและฝึกซ้ อมการร้องลาตัดจากครูเต๊ะ นิมา ได้เพียง ๓ เดือน แม่ศรีนวลก็ส ามารถออกแสดงเป็นครั้งแรกในคณะลาตัดของคณะบุญ ช่ วยในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่ งขณะนั้น แม่ศรีนวลมีอายุเพียง ๑๕ ปี


นานวันเข้าความสามารถของนางศรีนวลในฐานะ “แม่เพลงลาตัด” ยิ่งปรากฏออกมาอย่างเด่นชัด ส่งผลให้แม่ทองเลื่อน ครูลาตัดอาวุโสซึ่งเป็นที่เคารพของคนในวงการเพลงพื้นบ้าน ได้สนับสนุนให้แม่ศรีนวล เข้าร่วมกับ คณะลำตัดของพ่อหวังเต๊ะ นิมำ และแม่ประยูร ยมเยี่ยม เพื่อให้เป็นนักแสดงหลักอีกคนหนึ่งของ คณะในเวลาต่อมา ทั้งนีแ้ ม่ศรีนวลได้แสดงประจาคณะลาตัดของนายหวังดี (หวังเต๊ะ) นิมา มาจนถึงปัจจุบัน นำงศรี น วล ข ำอำจ ได้ รั บ กำรประกำศยกย่ อ งเชิ ด ชู เ กี ย รติ เ ป็ น ศิ ล ปิ น แห่ ง ชำติ สำขำ ศิลปะกำรแสดง (เพลงพื้นบ้ำน-ลำตัด) พุทธศักรำช ๒๕๖๒

๕ ศิลปินแห่งชำติ ด้ำนเพลงพื้นบ้ำนได้แก่ แม่บัวผันจันทร์ จันทร์ศรี พ่อหวังดี (หวังเต๊ะ) นิมำ แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ แม่ศรีนวล ขำอำจ และอ.เอนก นำวิกมูล เมื่อครั้งไปเล่นเพลงที่วัดพังม่วง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ๒๗ พฤศจิกำยน ๒๕๓๗ (ให้ควำมอนุเครำะห์ภำพโดย อำจำรย์เอนก นำวิกมูล)


คำประกำศเกียรติคุณ นางศรีนวล ขาอาจ เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๐ ที่เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน อายุ ๗๓ ปี มีความสนใจใฝ่รู้ในศิลปะการแสดงพื้นบ้านมาตั้งแต่วัยเยาว์ โดยสามารถจดจาคาร้อง ท่ารา และ ฝึกฝนด้วย ตนเอง หลังจบการศึกษาระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนวัดกลางทอง (วัดปุรณาวาส) เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี จึงได้เริ่มฝึกหัดการแสดงพื้นบ้าน (ลาตัด) จากครูเต๊ะ นิมา ซึ่งเป็นบิดาของ นายหวังดี นิมา (หวังเต๊ะ) ต่อมาได้เรียนรู้การขับร้องเพลงพื้นบ้านเพิ่มเติมจากครูเพลงอีกหลายท่าน อาทิ แม่ทองอยู่ รักษาพล แม่ทองหล่อ ทาเลทอง พ่อพรหม เอี่ยมเจ้า แม่บัวผัน จันทร์ศรี แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ (นางเกลียว เสร็จกิจ) และ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ นางศรีนวล ขาอาจ ออกแสดงลาตัดเป็นครั้งแรกกับคณะบุญช่วย และด้วยความเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบ และลีลาการร้องการราอันสวยงาม จึงทาให้แม่ทองเลื่อน คุณพันธ์ ครูลาตัดอาวุโสสนับสนุนให้เข้าร่วมในคณะลาตัดของหวังเต๊ะ นับแต่นั้นเป็นต้นมา รับบทนางเอก ทาหน้าที่ แม่เพลงร้องนา ด้วยความรักในงานแสดงจึงพยายามศึกษา เพิ่มเติมจากครูเพลงรุ่นเก่าที่มีชื่อเสียง ทาให้พัฒนา ฝีมือในการแสดงมากขึ้น รวมถึงได้รับคาแนะนาเทคนิคต่างๆ ในการแสดงลาตัดจากนายหวังดี นิมา (หวังเต๊ะ) หัวหน้าคณะซึ่งเป็นทั้งครูและคู่ชีวิต ในช่วงเวลาเกือบ ๖ ทศวรรษ นางศรีนวลได้สร้างสรรค์ผลงานการแสดง พื้นบ้าน (ลาตัด) มาอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถด้านการขับร้อง ด้นสด การประพันธ์บทร้องลาตัด สร้างสรรค์ ท่าราประกอบการแสดงลาตัด จนเป็นมาตรฐานให้กับศิลปินลาตัดทั่วไป เผยแพร่ การแสดงผ่านสื่อสมัยใหม่ ทุกรูปแบบสู่สังคม รักษากฎเกณฑ์การใช้ภาษาที่สุภาพ และปรับวิธีการแสดงให้ เหมาะสมกับกาลเทศะ เป็น ผู้สร้างศิลปินลาตัดรุ่นใหม่และถ่ายทอดความรู้แก่เยาวชนอย่างต่อเนื่อง จนได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย ทั้งใน ระดับท้องถิ่นและระดับชาติจึงนับได้ว่าเป็นศิลปินเพลงพื้นบ้ านชั้นนาที่สามารถอนุรักษ์สืบสาน ศิลปะและ วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ผ่านบทร้องราที่ไพเราะ มีอารมณ์ขัน เป็นผู้ใฝ่รู้ พัฒนาตนเองอยู่ เสมอ นาความรู้ในโลกปัจจุบัน ปรับประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย เข้าถึงคนทุกกลุ่ม เพื่อปลุกจิตสานึกและภาคภูมิใจใน ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน (ลาตัด) ผ่านการแสดง การส่งเสริม การฝึกอบรม โดยเปิดบ้านพักให้เป็น “แหล่งเรียนรู้ เพลงพื้นบ้านภาคกลาง พ่อหวังเต๊ะ แม่ศรีนวล” ถ่ายทอดแก่เยาวชน และประชาชน ผู้สนใจโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ใดๆ นอกจากนี้ ยั ง เป็ น ผู้ ที่ ใ ห้ ค วามร่ ว มมื อ สนั บ สนุ น หน่ ว ยงานทั้ ง ภาครั ฐ และเอกชนอย่ า งเต็ ม ความรู้ ความสามารถ และ เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษให้กับสถาบันทางการศึกษาหลายแห่ง ตลอดจนให้การช่วยเหลือ งานสาธารณกุศลต่าง ๆ อย่างสม่าเสมอ นางศรีนวล ขาอาจ จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปิน แห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน - ลาตัด) พุทธศักราช ๒๕๖๒



ลำตัด: ประวัติและควำมเป็นมำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล* เรียบเรียง

ลาตัดเป็นการแสดงพื้นบ้านของภาคกลาง จัดเป็ นการแสดงบนเวทีที่มีขึ้นในเทศกาลเพื่อความรื่นเริง และได้รับความนิยมมาก การเล่นลาตัดนั้นมีทั้งการร้องด้วยทานองต่างๆ กันเปลี่ยนแปลงไปตามเนื้อร้องที่ ปรากฏ และการราประกอบด้วยลีลาต่างๆ ในเรื่องความหมายของลาตัดนั้น มีผู้รู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมได้ให้ความหมายไว้อย่างน่าสนใจ ดังจะ ยกตัวอย่างมาดังต่อไปนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคาว่า “ลาตัด” ไว้ว่า หมายถึง “การละเล่นที่ เป็นทานองร้องต่อกันคนละวรรคหรือคนละหน”๑ เด่นดวง พุ่มศิริ ได้กล่าวถึงความหมายของลาตัดไว้ว่า “ลำ คือ เนื้อร้องในใจควำมต่ำงๆ กัน เช่น ลำไหว้ครู ลำเกี้ยว ลำสำด ลำว่ำ ลำ ด่ำ ลำลอย เป็นต้น ส่วนคำว่ำ ตัด หมำยถึง ว่ำตัดเข้ำทำนองเพลงต่ำงๆ ของแขกของไทย ของเพลงมโหรี ปี่พำทย์ ในตอนที่ไพเรำะเหมำะสมที่จะร้องเข้ำจังหวะรำมะนำได้ครึกครื้น กระฉับกระเฉง นอกจำกนี้ก็ไปตัดหรือเลียนแบบกำรแสดงอื่นๆ อย่ำงโน้นนิดนี้หน่อย เช่น โขน ละคร งิ้ว สวดคฤหัสถ์ และทำนองเพลงพื้นบ้ำนอื่นๆ เช่น เพลงฉ่อง เพลงเกี่ยวข้ำว เพลง อีแซว ...”๒ นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของคาว่า ลาตัด ไว้อีกว่า “ลา คือ เพลง ตัด คือ แยก ฉะนั้น ลาตัด จึง เป็นการนาเพลงประเภทต่างๆ เป็นบางตอนจากบทเพลงมาร้องต่อกัน ว่ากันไปเรื่อยๆ เช่น ว่าเพลงอีแซวต่อ ด้วยเพลงฉ่อย อะไรทานองนี้ เพลงลาตัดจึงตัดสมชื่อจริง”๓ มนตรี ตราโมท ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านการดนตรี และการแสดงในด้านต่างๆ ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้ พยายามค้นหาที่มาของคาว่า ลาตัด ว่าใครเป็นผู้ตั้งชื่อของการละเล่นชนิดนี้ และการตั้งชื่อเช่นนี้มาจากอะไร ซึ่งก็ไม่ได้รับคาตอบเป็นที่พอใจหรือได้รับความสว่างขึ้นอย่างไรเลย แต่เมื่อมาพิจารณาดูการเล่นลิเกบันตน ซึ่งเป็นการเล่นของมลายู จะพบว่ามีการเล่นที่คล้ายกับลาตัดของไทย คือ ตอนที่เรียกว่า ละกูเยา ซึ่งมีลักษณะ เป็ น กลอนด้ น และมี ลู ก คู่ รั บ เมื่ อ จบบทหนึ่ ง ๆ ส่ ว นชื่ อ ล าตั ด นั้ น ถ้ า พิ จ ารณาตามชื่ อ น่ า จะสั น นิ ษ ฐานได้ ว่ า “เป็นเพราะลาที่ร้องนั้นตัดทอนจากเพลงต่างๆ ที่ใช้ร้องส่งกันทั่วไป”๔ นอกจากข้อสันนิษฐานดังกล่าวแล้ว มนตรี ตราโมท ๕ ยังได้ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมไว้ว่า คาว่า เพลง กับ ลา นี้ไม่เหมือนกัน หากจะว่ากันตามข้อสันนิษฐานข้างต้นก็ควรจะเรียกว่า “เพลงตัด” ไม่ใช่ “ลาตัด” และหาก จะใช้คาว่า “ลา” ก็ควรใช้กิริยาว่า “ขับ” แต่เมื่อใช้กิริยาว่า “ร้อง” ก็ควรใช้คาว่า “เพลง” *

ประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ราชบัณฑิตยสถาน, พจนำนุกรม, หน้า ๗๑๐. ๒ เด่นดวง พุ่มศิริ, กำรศึกษำและวิจัยวัฒนธรรมพื้นบ้ำนในแนวศิลปกรรม, หน้ำ ๑๔๔. ๓ ปฏิญญำ ๒, ๑๕ (๑๔ ธันวาคม ๒๕ ๒๒): ๔๐. ๔ มนตรี ตราโมท, กำรละเล่นของไทย, หน้า ๙๒. ๕ เรื่องเดิม, หน้า ๙๓. ๑


๑๐

เมื่อ “ขับ” เป็นกิริยาที่ทาให้เกิดเสียงออกมาเป็น “ลา” และ “ร้อง” เป็นกิริยาที่ทาให้เกิดเสียงออกมา เป็น “เพลง” ต่อจากนั้นก็ต้องมาวินิจฉัยคาว่า “ลา” กับ “เพลง” นั้นว่าต่างกันอย่างไร ตามหลักวิชาคีตศิลป์ นั้น สิ่งที่ประกอบขึ้นด้วยเสียงให้เกิดความไพเราะหรือแสดงความรู้สึกนั้นๆ ได้แก่ ลานา ทานอง และจังหวะ “ลานา” หมายถึง ความสั้นยาว เบา แรง ของเสียง เรียกว่า “ทานอง” หมายถึง เสียงสูงๆ ต่าๆ สลับกันไป เรียกว่า Melody และ “จังหวะ” หมายถึง ส่วนแบ่งย่อยที่เป็นระยะสม่าเสมอ เรียกว่า Timing หรือมาตรา ทั้ง “ลา” และ “เพลง” ย่อมมีส่วนประกอบทั้ง ๓ ส่วนนี้ประกอบอยู่ทั้งสิ้น ผิดกันแต่ว่า “ลา” นั้น ยึดลานามากกว่า ทานอง ใช้เสียงสูงต่าไปตามส่วนของถ้อยคาและจังหวะไม่ค่อยจะแน่นอน เช่น แอ่วและเสภา เป็นต้น สาหรับ “เพลง” ยึดทานองอย่างเคร่งครัดมากกว่าลานา เสียงสูงต่าที่ประดิษฐ์แต่งไว้อย่างไรต้อง ดาเนินไปอย่างนั้น แม้เสียงของถ้ อยคาจะขัดกับทานองก็ต้องพยายามอนุโลมถ้อยคานั้นให้หวนมาเข้ากับ ทานองให้ได้ และจังหวะต้องสม่าเสมอแน่นอน เช่น เพลงร้องต่างๆ ที่ร้องส่งเข้ากับดนตรี เป็นต้น ถึงแม้ว่าหลักวิชาจะเป็นดังกล่าวข้างต้นก็จริง แต่ความหมายอันเกิดจากการเคยชินของคาพูดก็อาจ เปลี่ยนแปลงไปและยังต้องติดแน่นอยู่ในความรู้สึกของคนเราได้ เช่นคาว่า ดนตรี ซึ่งมีความหมายเพียงเครื่องที่ มีสาย หรือวงบรรเลงที่มีเครื่องสาย (ดีด สี) เป็นประธาน ส่วนดุริยะ หมายถึง เครื่องปี่พาทย์ ซึ่งมีเครื่องตี เป่า เป็นประธาน แต่ความรู้สึกที่เราพูดกันจนมีความหมายฝังตัวแน่น ด้วยความเคยชินนั้น ไม่ว่าดุริยะหรือดนตรีก็ หมายถึงเครื่องบรรเลงได้ทั่วไป ไม่ว่าชนิดไหน แม้ลา กับ เพลง ก็เช่นเดียวกัน คือ ใช้พูดโดยมีความหมายถึงสิ่ง เดียวกันมาแต่โบราณแล้ว เช่น เพลงร้อง ในการเล่นสักวา ก็เรียก ลา ซึ่งมี ลาพระทอง ลาแขกลพบุรี และลาลา เป็นต้น เพลงที่นักสวดคฤหัสถ์ร้องก็เรียกกันว่า ลาสวด ละครพูดที่แทรกเพลงร้อง ก็เรียกว่า ละครพูดสลับคา ดังนั้น คาว่า ลา ที่ประกอบเป็นชื่อเรียกการละเล่นชนิดนี้ว่า ลาตัด นั้นอาจจะหมายถึง การร้องเพลง ตัดก็ได้ แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วลาตัดนี้ก็มีส่วนเป็นลาอยู่ด้วย คือ ตอนที่ต้นเสียงและคอสองร้องเป็นใจความนั้น ยึดลานา (Rythum) มากกว่าทานอง (Melody) ซึ่งเป็นลักษณะของลา ส่วนตอนท้ายที่ลูกคู่รับนั้นจะเป็น ลักษณะของเพลงทานองที่นามาให้ลูกคู่รับโดยมากจะตัดมาจากเพลงร้องหรือเพลงดนตรีอีกชั้นหนึ่ง โดยเลือก เอาแต่ตอนที่ ๑ เหมาะสาหรับการร้องมาเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าจะเรียกการละเล่นชนิดนี้ให้ถูกต้องตาม ลักษณะที่เป็นอยู่ จะต้องใช้ชื่อเรียกอย่างยืดยาวดังที่ มนตรี ตราโมท เรียกว่า “ขับลานาด้วยร้องเพลงตัด” ๖ ซึ่งแทนที่จะเป็นชื่อเรียกก็จะกลายเป็นคาอธิบายไป จึงเห็นได้ว่า ผู้ที่เริ่มการแสดงชนิดนี้ขึ้นพร้อมทั้งตั้งชื่อว่า ลิเกลาตัด (เพราะมาจากดิเกร์) และต่อมาก็ถูกตัดลงไปโดยความกร่อนของภาษาเหลือเพียงคาว่า ลาตัด จึงเป็น การตั้งชื่อที่เหมาะสม เรียกง่าย และมีความหมายตรงกับการแสดงมากที่สุด ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่า ลาตัด หมายถึง การแสดงที่เป็นทานองเพลงที่ชายหญิ งร้องโต้ตอบกันด้วย ถ้อยคาที่เผ็ดร้อน ชวนคิด ชวนขัน มีรามะนาเป็นดนตรีประกอบ การแสดงจะเริ่มต้นด้วยการโหมโรงรามะนา ก่อน แล้วชายหญิงจึงจะว่ากลอนโต้ตอบกัน ประวัติควำมเป็นมำของลำตัด ลาตัดเป็นการละเล่นที่สืบเนื่องมาจากลิเกหรือดิเกร์ของมลายูสาขาหนึ่งที่เรียกว่า “ละกูเยา”๗ วิธีการ แสดงละกูเยานี้ เริ่มด้วยโหมโรงรามะนาล้วนๆ ก่อน ต่อจากนั้นผู้เป็นต้นบทจะนาร้อง บันตน เพลงใดเพลงหนึ่ง ซึ่งเป็นภาษาแขกอันเป็นสร้อยสาหรับลูกคู่รับขึ้นก่อน แล้วบรรดาผู้ตีรามะนาในวงนั้นร้องตามอีก ๒ เที่ยว ๖ ๗

มนตรี ตราโมท, กำรละเล่นของไทย, หน้า ๙๓. มนตรี ตราโมท, กำรละเล่นของไทย, หน้า ๓๒.


๑๑

ต้นบทจึงแยกออกร้องเป็นใจความสั้นๆ แล้ วลูกคู่ก็ร้องรับยืนในทานองเดิมนั้นตลอดไป นานพอสมควรแล้วต้ นบทก็เปลี่ยนเพลงต่อไปตามลาดับ ผู้ร้องต้นบทนั้นจะมีกี่คนจะผลัดกันอย่างไรก็ได้ บางทีผลัดกันร้องเป็น ต้นบทเรียงลาดับไปทั้งวงก็มี ถ้อยคาที่ร้องนั้นภายหลังแทรกคาไทยเข้าไปมาก เหลือภาษาแขกไว้แต่คาที่ลูก คู่ รับจนกระทั่งต่อมาร้องเป็นคาไทยทั้งหมด แยกออกเป็น ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งว่ากันให้เสียหายเพื่อให้อีกส่วนหนึ่ง กล่าวแก้ อีกชนิดหนึ่งเป็นการสอบถามความรู้กัน เด่นดวง พุ่มศิริ กล่าวถึงความเป็นมาของลาตัดไว้ว่า ลาตัดน่าจะมาจากลิเกบันตน ซึ่งคาว่า บันตน นี้ กร่อนมาจากคาว่า ลิเกบันตน เกิดในราวปลายรัชกาลที่ ๕ สมัยนั้นชาวปัตตานีที่เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ นานเข้า ก็ได้เรียนภาษาไทยจนอ่านออกเขียนได้กันบ้างแล้ว ประกอบกับมีญาติพี่น้องเป็นไทยพุทธกันบ้าง การสมาคมก็ ขยายวงกว้างออกไป การจะร้องบันตนเป็นภาษามลายูอย่างเดียวคนอื่นที่ไม่รู้ภาษามลายูก็ไม่เข้าใจ จึงมีการ ปรับปรุงการเล่นโดยร้องเป็นกลอนคาไทยปนคามลายูอยู่บ้าง ในทานองเพลงมลายูเรียกว่า “เพลงกะเล็ง” ผู้ที่ เล่นลิเกบันตนพวกแรกนั้น เด่นดวง พุ่มศิริ กล่าวว่า มีอยู่ ๔ พวก คือ “หะยีแดง เรียกกันทั่วไปว่า ยีแดง อยู่ตาบลไผ่เหลือง สุเหร่าไซกองคิ น อาเภอมีนบุรี ครูซัน อยู่ตาบลถนนตก ครูพันโด่ง อยู่ตาบลสมเด็จเจ้าพระยา และครูหมัดตุ๊ อยู่ตาบลบ้านครัว (หลังวิทยาลัยเทคนิคปทุมวัน) ยีแดงเล่นบันตนแยกออกเป็น ๒ แบบ คือ แบบหนึ่งเล่นบัน ตนร้องเป็นเรื่อง เรียกว่า “เล่นลูกบท” และอีกแบบหนึ่งเล่นเป็นการโต้ตอบกั นไปมา แบบนี้ เองที่ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปเป็นลิเกลาตัด ภายหลังตัดคาว่า ลิเกออก เหลือแต่ “ลาตัด”๘ เอนก นาวิกมูล ได้กล่าวถึงความเป็นมาของลาตัดไว้ว่า มีการแสดงชนิดหนึ่งซึ่งชาวมลายูจัดขึ้นเพื่อ สรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม โดย “เริ่มต้นจากการตีกลองรามะนาพร้อมกับสวดสรรเสริญพระเจ้า ทางศาสนาอิสลาม เดิมเริ่มเล่นกันที่ปัตตานีและในเขตวัฒนธรรมมลายู เรียกว่า “ลิเกฮูลู” ผู้เล่นหรือสวด ทั้งหมดเป็นผู้ชายยังไม่มีผู้หญิงเข้ามาปะปน ลิเกฮูลูเป็นต้นแบบที่แยกออกเป็น “ลิเกแบบลาตัด”๙ แต่มีผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ม าของลาตัดที่แตกต่างไปจากความเห็นของเอนก นาวิกมูล คือ มีความเห็นว่ามาจากอินเดีย ดังบทความในวารสารปฏิญญา ว่า “ลาตัดเป็นญาติพี่น้องกับลิเก มีความเป็นมาจากที่เดียวกัน เป็นการละเล่นที่มาจากอินเดียซึ่ง เดิ ม เป็ น การสวดบู ช าพระเจ้ า พร้ อ มกั บ ตี ร ามะนาไปด้ ว ย จากการสวดและตี ร ามะนาก็ กลายเป็น “ฮันดาเลาะ” (ลิเก) แล “ละกูเยา” (ลาตัด) ละกูเยาหรือลาตัดสมัยบุกเบิกนี้ผู้เล่น จะนั่งเป็นวง แล้วเริ่มโหมโรงด้วยเพลงรามะนาล้วนๆ ผู้เป็นต้นบทจะร้อง “บันตน” เป็น ภาษาแขก อันเป็นบทร้องสร้อยสาหรับลูกคู่รับขึ้นก่อน บรรดาผู้ตีรามะนาในวงนั้น ก็ ร้องตาม อีก ๒ เที่ยว ต้นบทจึงร้องตามเป็นใจความสั้นๆ ต้นบทร้องในระยะหลังมีการแทรกคาไทยจน กลายเป็นภาษาไทยล้วน ละกูเยาของอิสลามจึงโอนสัญชาติเป็นลาตัดไทยโดยสมบูรณ์”๑๐ จะเห็นได้ว่า ความเห็นเกี่ยวกับต้นกาเนิดของลาตัดของ เอนก นาวิกมูล และบทความในวารสาร ปฏิญญานั้นกล่าวไว้ไม่เหมือนกัน โดย เอนก กล่าวว่า มาจากแถวปัตตานีและเขตวัฒนธรรมมลายู ส่วนใน วารสารปฏิญญากล่าวว่า มาจากอินเดีย แต่ส่วนที่กล่าวไว้เหมือนกัน คือ การละเล่นชนิดนี้เดิมเป็นบทสวดบูชา ๘

เด่นดวง พุ่มศิริ, กำรศึกษำและวิจัยวัฒนธรรมพื้นบ้ำนในแนวศิลปกรรม, หน้า ๑๔๐. เอนก นาวิกมูล, สำรำนุกรมเพลงพื้นบ้ำนภำคกลำง, หน้า ๗๙. ๑๐ ปฏิญญำ ๒,๑๕ (๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๒): หน้า ๔๐. ๙


๑๒

พระเจ้าในศาสนาอิสลาม แต่จะเป็นอิสลามอินเดียหรืออิสลามมลายูนั้นเราในสมัยปัจจุบันไม่อาจทราบได้แน่ชัด นอกจากจะต้องพิจารณาจากความคิดเห็นของผู้รู้ที่ได้สนใจศึกษาค้นคว้าทางด้านนี้ไว้ นอกจาก เด่นดวง พุ่มศิริ แล้ว อีกท่านหนึ่งที่มีความเห็นในเรื่องที่มาของลาตัดตรงกับ เอนก นาวิกมูล คือ มานิต ม่วงบุญ ได้กล่าวไว้ว่า “ลาตัดเท่าที่มีหลักฐานพอเชื่อว่า เป็นการแสดงแบบหนึ่งที่ไทยเรานาแบบแผนการแสดง “ดิ เกร์” ของมลายูมาปรับปรุงดัดแปลงแก้ไขจนกลายเป็นลาตัดอยู่ในปัจจุบัน ดิเกร์นั้นชาวมลายู นามาแสดงในกรุงเทพฯ ครั้งแรกเมื่อต้นรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วิธีการแสดงมีคน ตีรามะนาหลายคนพร้อมด้วยเครื่องประกอบจังหวะอื่นๆ พอผู้เป็นต้นบทร้องนาขึ้นเป็นภาษา มลายูแล้ว พวกที่นั่งล้อมกันเป็นวงก็ร้องรับเป็นลูกคู่พร้อมกับตีรามะนาและเครื่องประกอบ จังหวะไปด้วย ลาร้องนั้น เรียกว่า “บันตน” เมื่อร้องบันตนไปจนจบกระบวนความหรื อ สมควรแก่เวลา การแสดงจะเริ่มพลิกแพลงออกเป็น ๒ สาขา สาขาหนึ่งเรียกว่า “ฮันดา เลาะ” มีการแสดงเป็นชุดและเรื่องเบ็ดเตล็ดต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาของลิเก ส่วนอีกสาขาหนึ่ง เรียกว่า “ละกูเยา” เป็นการว่ากลอนด้นแก้กันอันเป็นต้นทางที่ก้าวสู่ “ลิเกลาตัด” หรือเรียก สั้นๆ ว่า “ลาตัด”๑๑ จากความเห็นของ เด่นดวง พุ่มศิริ และมานิต ม่ วงบุญ ทาให้เราทราบว่า การแสดงบันตนนั้นปรากฏ ในเมืองไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการกล่าวถึงการแสดงในลักษณะนี้ไว้ในสาส์นสมเด็จ เล่มที่ ๒๗ ของสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารง ราชานุภาพ หน้า ๒๖๒ - ๒๖๔ ความว่า “ยั ง มี ต านานอี ก เรื่ อ งหนึ่ ง ซึ่ ง เกิ ด เนื่ อ งมาแต่ ค รั้ ง งานพระศพสมเด็ จ พระนางสุ นั น ทา เหมือนกับเมื่อมีกงเต๊กเป็นงานหลวงครั้งนั้น คนทั้งหลายคงจะเห็นเป็นการทรงบาเพ็ญพระ ราชกุศลอย่างกว้างขวาง ผิดกับที่เคยมีมาก่อน เป็นเหตุให้พระยามิตรภักดี (หรือสร้อยอย่าง อื่นจาไม่ได้แน่) เป็นแขกอาหรับ พวกเราเรียกกันแต่ว่า “ขรัวหยา” ซึ่งเป็นเขยสู่ข้าหลวงเดิม กราบทูลขอเอาพวกนักสวดแขกอิสลามเข้ามาสวดช่วยพระราชกุศลและทูลรับรองว่าไม่ขัดกับ ศาสนาอิสลาม จึงโปรดให้เข้ามาสวดในเวลาค่าตามเวลาของเขา ณ ศาลาอัฏวิจารณ์ที่พระ ญวนเคยทากงเต๊ก หม่อมฉันไปดูเห็นล้วนเป็นแขกเกิดในเมืองไทย ทราบภายหลังว่าเป็นชาว นนทบุรี นั่งขัดสมาธิถือรามะนาแขกล้อมเป็นวง จะเป็นวงเดียวหรือ ๒ วงจาไม่ได้แน่ แต่นั่ง สวดโยกตัวไปมา สวดเป็นลานาอย่างแขก เข้ากันเป็นจังหวะรามะนา ได้เห็นครั้งแรกก็ไม่สู้ เข้าใจนัก ต่อมาในปีนั้นเองมีงานฉลองพระชันษาสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียที่สถานทูตอังกฤษ ในงานนั้นพวกคนต่างชาติในบังคับอังกฤษที่อยู่ในกรุงเทพฯ พากันหาเครื่องมหรสพต่างๆ ไป เห็นพวกนักสวดแขกชาวเมืองไทยนั่งเป็นวงตีรามะนาสวดประชันกันอยู่ ๒ ประรา...”๑๒ นอกจากความคิ ดเห็ นของนั ก วิ ชาการหลายท่ านดั ง กล่ าวมาแล้ว ก็ยั ง มีศิ ลปิ นลาตั ด ท่า นหนึ่ ง คื อ นายหวังดี นิมา หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของ หวังเต๊ะ เจ้าของคณะลาตัดคณะหวังเต๊ะ ได้กล่าวถึงความ เป็นมาของลาตัดไว้ว่า ๑๑ ๑๒

อมรา กล่าเจริญ, วัฒนธรรมไทย ๒๓,๔ (เมษำยน ๒๕๒๗): ๔๒. อมรา กล่าเจริญ, วัฒนธรรมไทย ๒๓,๔ (เมษำยน ๒๕๒๗): ๔๒.


๑๓

“ลาตัดเจริญในสมัยรัชกาลที่ ๖ เกิดในกรุงเทพฯ เดิมนั้นรัชกาลที่ ๑ ตีเอาปัตตานีมาได้ก็ต้อน ผู้คนมาปล่อยไว้แถวมีนบุรี ถนนตก ก็มี พวกนี้ได้นากลองเรียกว่า รามะนามาด้วย กลอง รามะนานี้ปัจจุบันยังมีอยู่ที่กะลันตันและปัตตานี แต่ไม่สวยเท่าของเราในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการ นามาเปลี่ยนแปลงรูปโฉมใหม่ให้สวยงาม แล้วนากลองรามะนานี้มาตีประชั นกันว่า ใครจะดัง กว่ากัน เรียกว่า ดิเกเรียบ หมายถึง เรียบร้อยไม่มีการด่ากัน แต่เดิมมีแสดงในปัตตานี เรียกว่า ดิเกฮูลู มีการด่ากัน ปัจจุบันก็ยังมีการแสดงอยู่ ดิเกเรียบไม่มีว่ากัน เล่นกันนานๆ เข้าก็เป็นลา ตัดร้องเป็นภาษาไทย พวกครูโรงเรียนเป็นคนเล่น สมัยนั้นคนไม่รู้หนังสือมาก ผู้เขียนกลอนดู เหมือนจะเป็นครูประชาบาลเขียนเนื้อว่าแก้กัน ในกรุงเทพฯ คณะแรกคือ คณะทหารเรือ สามสมอ เล่นกันก่อน ยืนร้อง เอากลองตี ร้องว่ากันวงเดียว ต่อมาก็แยกว่า ต่อมามีพวกหนอง จอกเข้ามาประชันในกรุงเทพฯ พระยาไพบูลย์สมบัติเป็นคนริเริ่มการประชันขึ้ น ก่อนที่วิก บุษปะ ผู้ชายต่อผู้ชาย ต่อมามีการเขียนกลอนว่ากัน คนเขียนกลอนเป็นครูชื่อครูกบ หรือ เรียกว่า หะยีกบ”๑๓ จากความเห็นของหลายๆ ท่านดังกล่าวมาแล้ว จึงพอสรุปได้ว่า ลาตัดนั้นมีแบบแผนการแสดงมาจาก การแสดง ลิเก หรือ ดิเกร์ ของมลายู ซึ่งแต่เดิมดิเกร์นี้เป็นบทสวดบูชาพระเจ้าของศาสนาอิสลาม วิธีการแสดง จะเริ่มด้วยมีคนตีรามะนาและเครื่องประกอบจังหวะอื่นๆ หลายคน ต้นบทจะร้องนาขึ้นมาเป็นภาษามลายู เรียกว่า “บันตน” แล้ วพวกที่ ตีรามะนาก็จะเป็นลูกคู่ร้ อ งรับไปด้ วย ต่อมาการแสดงแบบนี้แยกออกเป็ น ๒ สาขา คือ “ฮันดาเลาะ” ซึ่งแสดงเป็นชุดและเรื่องเบ็ดเตล็ดต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาของลิเก ส่วนอีกสาขาหนึ่ง เรียกว่า “ละกูเยา” เป็นการด้นกลอนว่าแก้กัน ซึ่งเป็นที่มาของ “ลิเกลาตัด” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ลาตัด” ใน ปัจจุบัน ลักษณะของกำรแสดง ลักษณะการแสดงในสมัยแรกๆ กับปัจจุบันนี้มีความแตกต่างกันในหลายด้าน เป็นต้นว่า ผู้แสดงลาตัด ในระยะแรกๆ นั้นเป็นชายล้วน การประชันจะประชันกันเป็นคู่ๆ อย่างเผ็ดร้อน ซึ่งเด่นดวง พุ่มศิริ ได้กล่าวถึง การแสดงลาตัดในสมัยแรกๆ ว่า “ลาตัดในครั้งนั้นมีการประคารมกันอย่างเผ็ดร้อน เหมือนเป็นการโต้ว าทีคากลอน ลาตัด สมัยก่อนไม่มีเป็นวงหรือเป็นคณะอย่างในปัจจุบันนี้ เป็นการละเล่นตามงานบ้านพวกมุสลิม ในงานแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ เข้าสุหนัต ตะมัดกุรอ่าน เป็นต้น เจ้าภาพจะไปหาลาตัดฝีปากดี มาประชันกัน บางทีประชันตัวต่อตัว บางทีประชันเป็นคู่ คู่ประชันเป็นชายล้วน ยังไม่มีผู้หญิง เข้ามาร่วมด้วย เนื้อเรื่องที่ว่ากันเป็นการขุดคุ้ยความไม่ดีของกันและกันมาประจาน ใครไปทา ไม่ดีไว้ที่ไหน เช่น ไปเป็นชู้เมียใครมาบ้าง ติดฝิ่นกินกัญชา หรือติดการพนันเล่นเบี้ยเสียถั่ว หรือเคยลักขโมยใครมา หรือไปมีแผลไว้ที่ไหนก็เก็บมาร้องว่ากัน แบบนี้ตามภาษาลาตัด เรียกว่า “กล่าวประวัติ” เพราะฉะนั้นพวกลาตัดจะต้องระมัดระวังตัวให้ดีไม่ทาอะไรเสียหาย หรือถ้าจะมีก็ต้องปิดให้มิดชิด แต่อย่างไรก็ไม่พ้นเพราะเขาคอยสืบกันอยู่เสมอ ประชันเมื่อใด ก็เป็นได้แฉกันหมดไส้หมดพุง”๑๔

๑๓ ๑๔

สัมภาษณ์ นายหวังดี นิมา, ศิลปินลำตัดเจ้ำของคณะหวังเต๊ะ , ๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๙. เด่นดวง พุ่มศิริ, กำรศึกษำและวิจัยวัฒนธรรมพื้นบ้ำนในแนวศิลปกรรม, หน้า ๑๔๔.


๑๔

การแสดงลาตัดในสมัยก่อนไม่ได้มีการตั้งเป็นวงหรือเป็นคณะอย่างในปัจจุบันนี้ เพราะถือว่าเป็น การละเล่ น มิ ใ ช่ เ ป็ น อาชี พ เหมื อ นอย่ า งปั จ จุ บั น การประชั น กั น จะเป็ น แบบตั ว ต่ อ ตั ว บ้ า ง คู่ ต่ อ คู่ บ้ า ง มีกรรมการคอยตัดสิน แต่ละฝ่ายจะว่าและแก้กัน ต้นบทต่างก็จะต้องหาทางแก้กันให้ได้ เรื่องที่นามาว่ากันก็ไม่ พ้นเรื่องส่วนตัว หรือปมด้อยของฝ่ายตรงกันข้ามซึ่งจะต้องคอยสืบความลับของอีกฝ่ายให้ได้ “ฉะนั้นกว่าจะเล่น ลาตัดกันที ก็ต้องเป็นกรมประมวลข่าวกลาง คือ สืบประวัติกันหน้าดาหน้าแดงไปเลย ว่ากันทีให้ดุเด็ดเผ็ดมัน ก็ต้องว่าแบบสองแง่สองง่าม ฟังแล้วมันในอารมณ์ หัวร่อจนท้องแข็งขากรรไกรค้างไปเลย”๑๕ ลักษณะอีกอย่าง หนึ่งของลาตัดในระยะแรกๆ ที่แตกต่างจากในปัจจุบัน คือ ในเวลาที่ร้องลาตัดนั้นจะไม่ได้ยืนร้องเต็มตัวอย่างใน ปัจจุบัน ซึ่งเอนก นาวิกมูล ได้กล่าวไว้ว่า “เดิมลาตัดเวลาร้องก็ยืนครึ่งนั่งครึ่ง เรียกว่า “ครึ่งท่อน” คือ ยืน ไม่เต็มตัว ต่อมาจึงยืนร้องเต็มตัว ผลัดกันว่าโต้ตอบฝ่ายละ “ยืน” คือเวลาราว ๓๐ นาที คล้ายคาว่า “ยก” ใน วงการมวย”๑๖ แต่เดิมการแสดงลาตัดมีแต่ผู้ชายล้วนๆ ต่อมาจึงมีการตั้งวงลาตัดผู้หญิงขึ้นมาบ้าง และสามารถว่าแก้ กันกับผู้ชายได้ ดังนั้นการแสดงลาตัดจึงได้รับความนิ ยมมากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อมีการประชันขันแข่งกันระหว่าง วงฝ่ายหญิงกับฝ่ายชาย เพราะถ้อยคาที่กล่าวแก้กันนั้นได้เพิ่มการเกี้ยวพาราสีกันเข้าไปด้วย ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ในวงผู้ชายล้วนๆ การประชันกันในลักษณะนี้ในบางครั้งก็มีการกระทบกระทั่งกันอย่างรุนแรงจนเกิดเรื่อง บาดหมางใจกัน จนกระทั่งเกิดเรื่องทะเลาะเบาะแว้งระหว่างวง จึงได้มีผู้คิดดัดแปลงโดยให้ในวงเดียวกันมีทั้ง ฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ประชันคารมกันในวง มีการฝึกซ้อมเพื่อความกลมกลืนและฟังไพเราะรื่นดูดังที่เห็นอยู่ใน ปัจจุบัน ส่วนลักษณะการแสดงลาตัดในปัจจุบันนี้ ได้มีการพัฒนาไปหลายอย่างตามยุคสมัย ลักษณะการแสดง ในปัจจุบัน อมรา กล่าเจริญ กล่าวไว้ว่า “ความหมายของชื่อ ลาตัด บอกอยู่ในตัวเองว่า ตัด เฉือน กันด้วยเพลง (ลา) เพราะฉะนั้นการ ว่าลาตัดจึงเป็นการเล่นลับฝีปากของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงโดยตรง มีทั้งบทเกี้ยวพาราสี เสียด สี แทรกลูกขัดลูกหยอดให้ได้ตลกเฮฮากัน สานวนกลอนจะออกความหมายมีนัยเป็นสองแง่ ทางภาษาของลาตัดจะเรียกว่า “สองง่ามสองกลอน” ถือว่าเป็นศิลปะการใช้ภาษา ในบางครั้ง การแสดงลาตัดขึ้นอยู่กับโอกาสและสถานที่ บางครั้งจะใช้ภาษาที่หยาบและตรงมาก ซึ่งถือว่า เป็นเรื่องธรรมดาของการว่าเพลง เนื้อร้องจะปรับปรุงให้เข้ากับโอกาสและลักษณะของงาน มี การใช้ท่าราบ้างในขณะที่ร้องและขณะที่รามะนารับ ซึ่งท่ารานี้จะไม่มีความหมายอะไรนัก เพียงแต่เคลื่อนไหวให้เข้ากับการร้องและจังหวะรามะนา ทาให้ดูกระฉับกระเฉง เสริมลีลาให้ น่าดูขึ้นเท่านั้น”๑๗ การแสดงลาตัดนั้นได้รับความนิยมมากขึ้นตามลาดับ เนื่องจากมีการประชันขันแข่งทั้งในด้านเพลงร้อง ฝีมือการตีรามะนา และที่สาคัญคือ ปฏิภาณหรือฝีปากการว่ากลอนแก้กัน จึงทาให้เกิดความสนุกสนาน และสิ่ง สาคัญอีกประการหนึ่งที่สร้างความนิยมให้แก่การแสดงลาตัดก็คือ การประชันกันระหว่างชายจริงหญิงแท้ ซึ่งแต่เดิมนั้นการแสดงลาตัดใช้ผู้ชายล้วน การประชันกันจึงเป็นเพียงการขุดคุ้ยเรื่องส่วนตัวและปมด้อยของ ฝ่ายตรงกันข้ามมาว่ากันเป็นส่วนมาก แต่เมื่อเกิดมีการประชันกันระหว่างชายกับหญิงนั้น จึงมีเรื่องของการ ๑๕

ปฏิญญำ ๒,๑๕ (๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๒): หน้า ๔๐. เอนก นาวิกมูล, เพลงนอกศตวรรษ, หน้า ๖๓๐. ๑๗ อมรา กล่าเจริญ, ศิลปวัฒนธรรม ๒๓, ๔ (เมษายน ๒๕๒๗): ๔๓. ๑๖


๑๕

เกี้ยวพาราสี ไต่ถาม ค่อนขอด ทาให้เกิดความไพเราะ เผ็ดร้อน ในหลายรสล้วนแต่สร้างความตื่นเต้นสนุกสนาน แก่ผู้ดูผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง และมีผลทาให้ลาตัดได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถยึดเป็นอาชีพได้ ดังที่เห็น กันในปัจจุบัน ดนตรีประกอบกำรแสดงลำตัด ในการแสดงลาตัดนั้นดนตรีประกอบจะใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องประกอบจั งหวะเท่านั้น เช่น รามะนา ฉิ่ง และกรับ โดยมีรามะนาเป็นตัวนา และมีฉิ่ง กรับ เป็นส่วนประกอบ จานวนรามะนาที่ใช้ ๔-๕ ใบ แต่จะมีอยู่ใบหนึ่งที่ตีไม่พร้อมใบอื่นๆ คือจะตีขัดกับใบอื่น ในระยะแรกมีเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่งคือ โหม่ง แต่ในปัจจุบันไม่ใช้แล้ว ตาแหน่งการตั้งวงดนตรีนั้นจะต่างจากการแสดงดนตรีทั่วๆ ไป คือ การแสดงดนตรีนั้น นักร้องจะอยู่ ข้างหน้าดนตรีอยู่ข้างหลัง แต่ลาตัดนั้นวงดนตรีจะตั้งอยู่ด้านหน้ากลางเวที ส่วนผู้แสดงหรือคนร้องจะอยู่ ด้านหลัง การแสดงลาตัดนั้นกลอนที่ร้องส่งสาหรับให้รามะนารับนั้นมีมากมายด้วยกัน จึงเกิดปัญหาว่า ผู้ตี รามะนาจาจังหวะรามะนาที่จะใช้รับได้อย่างไร อมรา กล่าเจริญ กล่าวไว้ว่า “ในตอนแรกๆ จะผลัดกันจาต้น เสียงของแต่ละคนที่ขึ้นเกริ่นหรือนาสร้อย ต่อๆ มาเมื่อเกิดความเคยชินเพราะการซ้อมหรือออกแสดงมากขึ้นก็ จะมีความคล่องตัวไปเอง”๑๘ ดังนั้นผู้เล่นดนตรีจะต้องใช้ความสามารถส่วนตัวสังเกต เพื่อจะได้สามารถรับเวลา ผู้ร้องลาตัดร้องกลอนหนึ่งๆ จบ ผู้แสดง แต่เดิมนั้นผู้แสดงลาตัดจะมีเฉพาะผู้ชายเท่านั้น ต่อมาเมื่อมีการห้ามประชันลาตัดในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ เนื่องจากการประชันลาตัดเป็นสาเหตุที่ทาให้ผู้ดูซึ่งถือหางลาตัดแต่ละฝ่ายเกิดการวิวาทกัน หลังจากนั้นจึงเกิดมี ลาตัดผู้หญิงขึ้นมา คนแรกคือ นางเซาะ การแสดงในระยะแรกนั้นหญิงชายคู่หนึ่งจะว่าแก้กับหญิงชายอีกคู่หนึ่ง ต่อมาเปลี่ยนเป็นฝ่ายหญิงว่าแก้กับฝ่ายชายดังเช่นในปัจจุบัน ซึ่งในวงเดียวกันนั้นจะแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายหญิงกับฝ่ายชาย จึงไม่ได้กาหนดจานวนแน่นอน อาจเป็นฝ่ายละ ๓-๕ คนก็ได้ แล้วแต่ว่าแต่ละคณะจะมี ความสามารถฝึกหัดขึ้นมา ผู้แสดงที่ขึ้นมาร้องคนแรกนั้น ฝ่ายชายเรียกว่า พระเอก ฝ่ายหญิงเรียกว่า นางเอก แต่ในสมัยโบราณ เรียกว่า “ตัวพื้น”๑๙ ซึ่งจะเป็นตัวซักทอดป้อนคาถามแก่ผู้แสดงตัวอื่ นๆ เป็นผู้แสดงที่มีบทบาทสาคัญมากคน หนึ่ง แต่ไม่จาเป็นต้องเป็นหัวหน้าคณะก็ได้ พระเอกหรือนางเอกนี้จะว่ากลอนที่เป็นไปในทานองไพเราะ ไม่หยาบหรือแม้กระทั่งตลกก็ไม่ได้ ส่วนผู้แสดงคนอื่นๆ จะไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ แต่จะเรียกกันตามลาดับการร้องว่า คอหนึ่ง คอสอง หรือ คอสาม ซึ่งเรียกตามสมัยโบราณเพราะในสมัยโบราณมีผู้แสดงไม่มากเพียง ๒-๓ คนเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีผู้ แสดงมากขึ้น บางคณะอาจมี ๕-๖ คนขึ้นไป จึงไม่นิยมเรียกตามแบบโบราณ ในการแสดงลาตัดนั้นมีลักษณะที่แตกต่างจากการแสดงประเภทอื่นๆ เป็นต้นว่า ลิเกหรือละคร ก็คือ ในขณะที่ผู้แสดงหยุดพักบทบาทของตนโดยมีผู้แสดงอื่นแสดงหรือร้องอยู่นั้น ผู้แสดงที่ไม่มีบทบาทจะเข้าไปพัก หลังโรงหรือเวทีที่มีฉากกั้น ผู้ชมจะไม่ได้เห็นผู้แสดงผู้นั้น แต่ลาตัดต่างจากการแสดงที่กล่าวมาคือ ถึงแม้จะ ๑๘ ๑๙

อมรา กล่าเจริญ, วัฒนธรรมไทย, หน้า ๔๓. จากการให้ปากคาในการสัมภาษณ์นายหวังดี นิมา, ๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๙.


๑๖

ไม่ได้ขึ้นร้องก็จะต้องนั่งอยู่หน้าเวที ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายจะนั่งอยู่ตรงกันข้ามกัน โดยมีวงรามะนาเป็นตัว คั่นกลาง ส่วนมากฝ่ายหญิงจะอยู่ทางขวามือของผู้ชม ฝ่ายชายจะอยู่ทางซ้ายมือของผู้ชม ดังนั้นผู้แสดงลาตัด มักจะต้องสารวมกิริยาทุกอย่างเป็นอย่างมาก เพราะอยู่ในสายตาของผู้ชมตลอดเวลา ถ้าแสดงกิริยาที่ไม่สมควร ออกไป เป็นต้นว่า บ้วนน้าลาย การนั่งที่ไม่เรียบร้อย ก็จะเป็นการไม่ให้เกียรติผู้ชม ซึ่งจะทาให้ผู้ชมเกิดความ เสื่อมศรัทธาในขณะไป ดังนั้นสิ่ งที่ จะทาให้ผู้ชมเกิดความนิยมและประทับใจในการแสดงลาตัดนั้น ไม่ใช่ เพียงแต่การว่ากลอนแก้กันอย่างสนุกสนานเท่านั้น แต่บทบาทของผู้แสดงทั้งขณะแสดงและหยุดพักการแสดง จึงมีส่วนสาคัญในการสร้างความนิยมและศรัทธาแก่ผู้ชมได้ทั้งสองประการ การดื่มสุราของผู้แสดงในขณะแสดงก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่เหมาะสม เพราะนอกจากจะเป็นกิริยาที่ไม่ น่าดูและอาจเป็นผลเสียต่อการแสดงของผู้แสดงเอง อาจทาให้เกิดการขาดสติเนื่องจากความมึนเมา ถ้ามีการ เย้าแหย่จากผู้ชมอาจทาให้เกิดเรื่องวิวาทบาดหมางกันได้เช่นกัน กำรแต่งกำย การแต่งกายของผู้แสดงลาตัดแต่เดิมซึ่งเป็นชายล้วนนั้น จะนุ่งโสร่งสวมเสื้อแขกคอตั้ง ที่เรียกว่า “ดาโละบลังงา”๒๐ ในปัจจุบันการแต่งกายของผู้ แสดงลาตัดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ ฝ่ายชายจะนุ่งโจงกระเบนสีสด สวมเสื้อคอพวงมาลัยหรือคอกลม ติดกระดุมหน้า ๓ เม็ด เสื้อจะเป็นผ้าที่มีลวดลายสดใส เสื้อที่สวมนั้น หวังเต๊ะ เรียกว่า “เสื้อมิสกรี”๒๑ มีผ้าขาวม้าคาดพุง เครื่องประดับอื่นๆ ไม่มี นอกจากบางคนจะสวมสร้อยคอพร้อม พระเครื่องที่นับถือ รองเท้า ถุงเท้า ไม่สวม ฝ่ายหญิง นุ่งโจงกระเบนเช่นเดียวกัน ส่วนเสื้อที่สวมมีหลายแบบ เช่น คอกลม คอแหลม คอปาด มี ระบายสวยงามตามความต้องการ ผ้าที่ใช้ตัดมักจะเป็นผ้ามัน มีสอดดิ้นหรือปักเลื่อมสีสดใส เครื่องประดับ ส่วนมากจะเป็นพวกต่างหู กาไล แหวน หรือสร้อยคอ มีผ้าคาดเอวเช่นเดียวกับฝ่ายชาย แต่มักจะเป็นผ้าที่ สวยงามไม่ใช่ผ้าขาวม้า ไม่สวมถุงเท้า รองเท้า เช่นเดียวกับฝ่ายชาย ลักษณะคำประพันธ์ ลักษณะกลอนลาตัดนั้นฉันทลักษณ์เป็นแนวเดียวกับเพลงฉ่อย เพลงอีแซว คือ วางสัมผัสข้างท้ายไป เรื่อยๆ กลอนลาตัดมี ลักษณะเป็นกลอนหัวเดียว จานวนคาในวรรคค่อนข้างมาก ประมาณ ๑๐ คาเป็นส่วน ใหญ่ นิยมส่งสัมผัสในวรรคซึ่งมักจะเป็นคาที่ ๕ กับคาที่ ๘ จนดูคล้ายจะเป็นสัมผัสบังคับ ซึ่งอาจแยกออกเป็น ๒ วรรค ได้ กลอนลาตัดนั้นจะมี ๒ ส่วน คือ ๑. สร้อยเพลง ๒. บทร้อง ๑. สร้อยเพลง มีจานวนคาไม่มากเท่าบทร้อง คือ มีวรรคละ ๔-๘ คา สร้อยเพลงนี้คนที่เป็นต้นบทจะร้องก่อนแล้วลูก คู่จะรับ พร้อมกับรามะนา แล้วจึงจะขึ้นบทร้อง คาสุดท้ายในวรรคสุดท้ายของสร้อยเพลงจะส่งสัมผัสไปยังคา สุดท้ายในวรรคที่ ๒ ของบทร้อง แผนผังของสร้อยเพลงมีลักษณะดังนี้ ๒๐ ๒๑

เด่นดวง พุ่มศิริ, กำรศึกษำและวิจัยวัฒนธรรมพื้นบ้ำนในแนวศิลปกรรม, หน้า ๑๔๓. เอนก นาวิกมูล, สำรำนุกรมเพลงพื้นบ้ำน, หน้า ๘๑.


๑๗

“ 





” ๒๒

ตัวอย่างสร้อยเพลง ชนไหนชนกัน ชนไหนชนวา หรือ นกขมิ้นบนมา นกกระจาบบินว่อน หรือ อกเราคราวชะตา พลัดพรากจากถิ่น

ไม่หวั่นเกรงกลัว วันนี้ได้ว่ากันนัว เวลาฟ้ามัว คลึงเคล้าเฝ้าฟอนเกสรดอกบัว วาสนานักกลอน ได้มาหากินไกลถิ่นพระนคร

๒. บทร้อง บทร้องหรือเนื้อร้องจะมีจานวนคาในวรรคประมาณ ๑๐-๑๒ คา มีลักษณะเป็นกลอนหัวเดียว คือ ส่ง สัมผัสในคาท้ายไปเรื่อยๆ ดังแผนผังต่อไปนี้ “ 









 

.......................  

 

ตัวอย่างบทร้อง เธอก็ลาตัดฉันก็ลาตัดเคยจดประวัติกันไว้ ครอบครัวของเธอแหมเออฉันพอรู้ วันไหนไม่มีงานแหมอยู่บ้านไม่ไปไหน ถ้าวันไหนไม่มีลาตัดอีก็นัดกันเป็นนิจ วันนั้นผมไปหางานเข้าหลังบ้านลืมให้เสียง เดินย่องเบาเบาแล้วแอบเข้าไปข้างหลัง ผมเลยเอามือเคาะฝาทาท่าเป็นเจ้าหน้าที่ ๒๒ ๒๓





 ”๒๓ ฯลฯ เคยรู้เส้นเห็นไส้ภายในครอบครัว ว่าเดี๋ยวฉันจะบอกคุณหนูหนูให้เขารู้กันได้ทั่ว ชอบจับกลุ่มเล่นไพ่ชนิดที่ไม่มีตั๋ว ชอบเล่นไพ่ญาติมิตรอย่างสะกิตกับจั่ว ฉันเดินหลบเข้าระเบียบเดินเลาะเลี่ยงไปข้างรั้ว แม่ประยูรพูดเสียงดังว่าเขายังไม่ได้คั่ว พอเห็นกางเกงสีกากีอีโดดหนีจนลืมตัว

ประเทือง คล้ายสุบรรณ์, ร้อยกรองชำวบ้ำน, หน้า ๙๙. ประเทือง คล้ายสุบรรณ์, ร้อยกรองชำวบ้ำน, หน้า ๑๐๐.


๑๘

ฯลฯ จานวนคาของกลอนลาตัดในวรรคหนึ่งๆ นั้นจะมีจานวนคามากกว่ากลอนทั่วๆ ไป คือ มีตั้งแต่ ๑๐๑๒ คา จึงทาให้กลอนลาตัดสามารถบรรยายถึงสิ่งต่างๆ ได้อย่างละเอียดและได้ใจความชัดเจนกว่าคาประพันธ์ ชนิดอื่นๆ ซึ่งบางครั้งต้องรวบใจความเพื่อไม่ให้จานวนคาเกินกาหนดของฉันทลักษณ์ของคาประพันธ์ชนิดนั้นๆ เช่น เมื่อกล่าวถึงเรื่องของการเกิด แก่ เจ็บและตาย จะกล่าวได้อย่างละเอียดลออ ผู้ฟังเข้ าใจได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น เมื่อกล่าวถึงการเกิดว่า มนุษย์สัตว์อุบัติขึ้นในภาคพื้นจักรวาล ไม่ผิดแผกแตกต่างนับแต่เมื่อตั้งครรภ์มา เป็นทารกตกฟากย่อมประจักษ์แจ้งจิต ล้วนเปลือยเปล่าขาวดารูปธรรมต่างกัน มันแน่นอนตอนว่าล้วนแล้วแต่มีมามือเปล่า ไม่ปรากฏยศศักดิ์ล้วนน้าหนักเท่าเท่ากัน ถ้าลูกบ่าวเขาเรียกว่าไอ้ถ้าลูกนายเขาเรียกคุณ

กาเนิดกายคล้ายกันทุกคนท่านทั้งผอง เมื่อยามปลอดก็คลอดมาจากมารดาอุ้มท้อง ทั้งผ่อนผ้าภูษิตไม่มีปิดปกป้อง แต่ไม่เป็นของสาคัญในข้อนั้นดอกพี่น้อง ไม่ว่าไพร่หรือเจ้าไม่มีข้าวไม่มีของ มาภายหลังจึงสร้างสรรค์แล้วช่วยกันยกย่อง แบ่งชั้นขั้นตระกูลแล้วแต่บุญจะสนอง ฯลฯ

เมื่อมีการเกิดก็ต้องมีแก่และเจ็บตามมา กลอนลาตัดก็สามารถกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างคมคายและได้ ใจความ นอกจากนั้นยังกล่าวถึงความไม่เสมอภาคระหว่างคนจนกับคนรวยในเรื่องของสวัสดิการที่ได้รับ จาก สังคมไว้อีกด้วย เช่น โอ้มนุษย์ปุถุชนกาเนิดเป็นคนแล้วเล่า มิหนาซ้ายามเฒ่าโรคก็เข้ารังควาน เดี๋ยวมืดหน้าตามัวเดี๋ยวปวดหัวปวดหลัง ชักออดแอดแพทย์มาคอยเยือนเคหาชูช่วย อนาถแท้ก็แต่คนที่ยากจนสมบัติ ถ้าคนป่วยรวยสตางค์เพียงแต่สั่งด้วยปากเปล่า สู้รวบรวมล่วมยามาตามเวลานัดหมาย ถ้าคนจนข้นขัดมักบอกปัดอยู่ทุกวัน

ย่อมผันแปรแก่เฒ่าลงเหี่ยวเฉาเศร้าหมอง ความเจ็บป่วยช่วยกันทาให้สังขารขัดข้อง ปวดแก้มปวดคางปวดสีข้างปวดท้อง เมื่อญาติเราเขาร่ารวยพอหยิบฉวยเงินทอง จะตามหมอก็ติดขัดเพราะอัตคัดเงินทอง ไม่ต้องเดินไปเชิญเขาหรือบอกเล่าเป็นคาสอง ถึงทางจะไกลแสนไกลคุณหมอก็ไม่ขัดข้อง ถึงอยู่บันไดติดติดกันเขาก็ไม่หันมามอง ฯลฯ

นอกจากการเกิด แก่และเจ็บแล้ว การตาย กลอนลาตัดก็กล่าวถึงได้อย่างคมคายเช่นกัน เช่น จนสุดขั้นบั้นปลายถึงความตายแน่ชัด เจ้าหรือนายไพร่ผู้ดีเศรษฐีหรือขอทาน เกิดแต่กายไปแต่ตัวทิ้งดีชั่วไว้เบื้องหลัง ผิดก็แต่แห่แหนขนัดแน่นน้องพี่ บ่าวไพร่ใช้สอยมีหลายร้อยหลายสิบ

ต้องสิ้นสุดมนุษย์สัตว์เมื่อความวิบัติมาสนอง มาและไปคล้ายกันเมื่อครบอาการสามสิบสอง พื้นพิภพกลบร่างเนื้อก็พังหนังก็พอง ทั้งโทนกรับกระจับปี่มโหรีขับร้อง ผู้นาตายวายชีพบรรจุหีบปิดทอง


๑๙

อนาถแท้ก็แต่คนที่ยากจนสมบัติ นั่นตายผู้เดียวเปลี่ยวเปล่าไม่มีเขามาดูใจ ที่วอดวายตายเปล่าไม่ได้เข้าไปเขตวัด ถ้าคนรวยม้วยมรณ์ผู้อาวรณ์ก็มากมาย ต่างโศกเศร้าเฝ้าบ่นด้วยเล่ห์กลมารยา ถ้าคนยากซากศพถ้าใครได้พบได้เห็น มักจะเป็นเช่นนี้เรื่องคนมีกับคนยาก

เป็นศพผีไม่มีญาติออกเกลื่อนกลาดก่ายกอง ต้องสูญเปล่าเน่าไปไม่มีใครเขาแตะต้อง แลไปก็คล้ายสัตว์เพราะไร้ญาติพี่น้อง ต่างครวญคร่าร่าไห้น้าตาไหลเนืองนอง ถึงจะไม่มีน้าตาก็ยังอุตส่าห์แกล้งร้อง ต่างเบือนหน้าเบนไม่อยากเห็นไม่อยากมอง ยังถือยศถือศักดิ์กันมากนักพี่น้อง ฯลฯ

เพื่อได้เห็นชัดเจนในเรื่องของฉันทลักษณ์หรือลักษณะคาประพันธ์กลอนลาตัด จึงพอสรุปไว้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้ ๑. บทสร้อยบทหนึ่งมี ๒ บาท หรือ ๔ วรรค จานวนคาในวรรค ๔-๘ คา กาหนดสัมผัสคาท้ายวรรค หน้า กับคาที่ ๕ วรรคหลังและคาท้ายบทสัมผัสกัน ๒. บทร้องบทหนึ่งไม่จากัดความยาว จะร้องกี่บทก็ได้ ๓. จานวนคาในวรรคประมาณ ๑๐-๑๒ คา แต่บางวรรคอาจมีน้อยกว่านี้ก็ได้ ๔. ถ้าจานวนคามากนิยมสัมผัสในระหว่างคาที่ ๕ กับคาที่ ๘ ในวรรคหน้า (หรือคาที่ ๓ นับจากท้าย วรรค) และคาที่ ๕ กับคาที่ ๘ ในวรรคหลัง ๕. คาท้ายวรรคหน้าทุกบาท สัมผัสกับคาที่ ๕ ของวรรคหลัง แต่บางครั้งอาจเลื่อนไปสัมผัสคาอื่นได้ ๖. คาท้ายบทสัมผัสจากท้ายบาทในบทสร้อย สัมผัสต่อเนื่องไปจนจบบท ควำมแพร่หลำยของลำตัด ในบรรดาเพลงพื้นบ้านด้วยกันแล้ว เมื่อกล่าวถึงลาตัด คนทั่วไปจะรู้จักดีกว่าเพลงพื้นบ้านชนิดอื่นๆ คณะนักแสดงที่มีอาชีพทางการเล่นลาตัดนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายคณะ นับว่าเป็นเพลงพื้นบ้านที่ยังแพร่หลายอยู่ ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงถือได้ว่า ลาตัดเป็นมหรสพร่วมสมัยกับคนในยุคนี้มากกว่าเพลงพื้นบ้านอื่นๆ ความนิยมแพร่หลายของลาตัดนั้น กระจายไปทุกภาคและแสดงในงานรื่นเริงทุกชนิด จนแม้กระทั่ง งานศพ ลาตัดก็แสดงสมโภชได้ ลาตัดได้มีการบันทึกเป็นแผ่นเสียงขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ โดย เอนก นาวิกมูล ได้ กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ หนังสือพิมพ์ศรีกรุง ฉบับวันอังคำรที่ ๓ ธันวำคม หน้ำ ๔ ได้ลง โฆษณำขำยแผ่นเสียง ตรำสุนักข์ อัดด้วยไฟฟ้ำ มีทั้งลำตัด เพลง (ฉ่อย) และโนรำ คือ ลำตัด เรื่องลักษณวงษ์ตำมพรำหมณ์ ลำตัดเรื่องทุกข์เรื่องหนำว ลำตัดเรื่องกำเนิด ลำตัดสองง่ำม จัด เพลงแก้กันเรื่องหนีภำษี เพลงแก้กันเรื่องกระทู้ยักคิ้ว เพลงแก้กันกระทู้รับแขกกิน หมำก โนรำบทขุนแผนตำมวันทอง โนรำบทไกรทอง โนรำกำพรัดซัดพระ โนรำกำพรัด เกี้ยวแม่ค้ำตลำดปำกพนัง เหล่ำนี้มีขำยที่บริษัทรัตนมำลำ จำกัด สี่แยกถนนพำหุรัด กับที่ แผ่นเสียงสโตร์ ถนนเจริญกรุง ตอนสี่แยกรำชวงศ์”๒๔

๒๔

เอนก นาวิกมูล, เพลงนอกศตวรรษ, หน้า ๖๓๔.


๒๐

จากข้อความดังกล่าวเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า ความนิยมของลาตัดนั้นมีแพร่หลายมานานแล้ว การบันทึก แผ่นเสียงลาตัดก็มีมาไม่ต่ากว่า ๔๕ ปีแล้ว และในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ หนังสือพิมพ์ศรีกรุง ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๔ กันยายน หน้า ๒๘ ได้ลงโฆษณาขายแผ่นเสียงลาตัดคณะคลองท่าไข่ เรื่องหญิงชายเกี้ยวกัน โดยนายสะโอด นายหล่น นางเคลือบ นางเชื่อม ๓ แผ่น มีขายที่บริษัทรัตนมาลา จากัด และแผ่นเสียงสโตร์เช่นเดียวกัน นอกจากนี้แผ่นเสียงลาตัดจริงๆ ที่อัดขึ้นในสมัย นาย ต.เง็กชวน เป็นแผ่นเสียงตรากระต่ายก็มีอัดไว้หลายแผ่น เช่นกัน ในปั จ จุ บั นนี้ ความแพร่ หลายของลาตั ดก็ ไ ม่ได้ ลดน้ อ ยลงไปแต่อ ย่ า งใด การอั ด บั น ทึ กเสียงล าตัด จาหน่ายตามท้องตลาดยิ่งมีมากขึ้นตามลาดับ แต่ในปัจจุบันจะอัดออกจาหน่ายในรูปของแถบบันทึกเสียง (Cassette Tape) ซึ่งเป็นที่นิยมและสะดวกในการเปิดฟังมากกว่าแผ่นเสียงในสมัยนั้น คณะลาตัดที่อัดเป็นแถบบันทึกเสียงจาหน่ายนั้น มีหลายคณะด้วยกัน เช่น คณะหวั งเต๊ะ คณะแม่ ประยูร คณะแม่บุญชู เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีนักร้องเพลงลูกทุ่งบางคนได้หันมาสนใจร้องลาตัดเหมือนกัน และมีอัดเสียงจาหน่ายด้วย เช่น ชินกร ไกรลาศ ขวัญจิต ศรีประจัน รุ่งนภา กลมกล่อม เป็นต้น ความแพร่หลายของลาตัดนี้ นอกจากจะอัดเป็นแถบบันทึกเสียงจาหน่ ายเป็นธุรกิจการค้าแล้ว ใน ปัจจุบันยังมีนักกลอนสมัครเล่นได้ส่งกลอนลาตัดไปลงในนิตยสารโต้ตอบกันอีกด้วย ที่พบมากที่สุดคือ นิตยสาร สตรีสาร ซึ่งจะมีคอลัมน์สาหรับนักกลอนสมัครเล่น โดยเปิดโอกาสให้ส่งกลอนเพลงพื้นบ้านต่างๆ เช่น เพลง ฉ่อย เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงลาตั ด ฯลฯ ไปลงในคอลัมน์นี้ได้ และสัปดาห์ต่อมาก็อาจจะมีผู้ส่งกลอน โต้ตอบกลับมาและระบุว่าโต้ตอบกับเพลงอะไรในฉบับที่เท่าไหร่ นั่นแสดงว่า วงการเพลงพื้นบ้านของไทยเรา นั้นก็ยังคงมีผู้นิยมแพร่หลายอยู่ มิได้ถูกลืมเลือนไปเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งลาตัด ซึ่งยังคงเป็นที่ นิยมของ คนทุกระดับ ทุกวงการ เพราะศิลปินลาตัดในปัจจุบันได้รู้จักปรับปรุงเนื้อหา และสอดแทรกมุขตลกได้ทันต่อ เหตุการณ์ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี และก็เป็นที่แน่นอนว่าลาตัดยังคงจะเป็นที่นิยมในกลุ่มคนทั่วๆ ไปอีกนาน ทีเดียว


๒๑

ประวัติคณะลำตัดหวังเต๊ะ “ลาตัดคณะหวังเต๊ะ ” ก่อตั้งโดยนายหวังดี นิมา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕ ด้วยวัย ๒๖ ปี ซึ่ ง ได้รับการ ถ่ายทอดจากบิดา (นายเต๊ะ นิมา)เป็นนักแสดงลาตัด และการราจากมารดา (นางลาไย นิมา) เป็นละครชาตรี ที่มาของชื่อคณะ คือหวัง เป็นชื่อของตน ในสมัยนั้นจะมีคนชื่อซ้าๆกันมาก เลยจะเรียกชื่อพ่อพ่วงตาม ไปเช่น หวังตาเต๊ะ นายหวังดีเลยใช้ชื่อหวังเต๊ะเป็นชื่อคณะ คณะลาตัดหวังเต๊ะ ได้รับความนิยมและยอมรับอย่างต่อเนื่อง ด้วยลีลาการแสดง และบทเพลงที่แสดง ถึ ง ความสวยงามของภาษา ลดถ้ อ ยค า และเนื้ อ หาที่ เ กี่ ย วกั บ เรื่ อ งเพศอย่ า งโจ่ ง แจ้ ง ลดค าหยาบอย่ า ง ตรงไปตรงมา อาจเลี่ยงโดยการใช้การหยุดคาร้องหรือที่เรียกว่าหักคอรอจังหวะ หรือ ใช้คาสองแง่สองง่ามแทน ด้วยความต้องการให้เพลงพื้นบ้านเข้าถึงคนทุกเพศทุกวัย และไปได้กับสังคมปัจจุบัน ดังเนื้อเพลงลาตัดที่ว่า ว่าให้เด็กฟังได้ให้ผู้ใหญ่ฟังดี เพื่อพักผ่อนหย่อนอารม เชิญท่านชมลาตัด

เพื่อส่งเสริมศักดิ์ศรี การกวีของไทย แบบเสียงดังฟังชัด เป็นสมบัติของไทย

ความสามารถในการแสดงลาตัด และการสืบทอดให้คณะลาตัดสามารถดารงอยู่ในสังคมสืบมาของ นายหวังดี นิมา และคณะหวังเต๊ะเป็นที่ประจักษ์ชัด จนกระทั่งในปี ๒๕๓๑ นายหวังดี นิมา ได้รับการเชิดชูเกียรติ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ลาตัด ซึ่งเป็นรางวัลที่สร้างชื่อเสียงให้กับนายหวังดี นิมา และคณะลาตัดหวังเต๊ะ ในปีพ.ศ.๒๕๕๑ นายหวังดี นิมา อายุ ๘๖ ปี ป่วยเป็นโรคเส้นเลือดสมองตีบ และมะเร็งตับ ทาให้ไม่ สามารถไปทาการแสดงได้ นางศรีนวล ขาอาจ ผู้เป็นภรรยา จึงทาหน้าที่ควบคุมวงไปทาการแสดงแทนเรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ ๒๖ มิถุนายนพ.ศ.๒๕๕๕ นายหวังดี นิมาได้เสียชีวิตลง นางศรีนวล ขาอาจได้สืบทอดเจตนารมณ์ ของนายหวังดี นิมา ในการควบคุม ดูแล รับผิดชอบคณะ ลาตัดหวังเต๊ะ และยังคงใช้ชื่อเดิมไม่เปลี่ยนแปลง


๒๒

ภำคผนวก ๒


๒๓


๒๔


๒๕


๒๖


๒๗


๒๘


๒๙

รำมะนำ


๓๐


๓๑


๓๒


๓๓


๓๔


๓๕

เพลงลอย นกน้อย (หญิง) (ลูกคู่) โอ้เจ้ำนกน้อยเอย เจรจำจู๋จี๋ กล่อมพี่ให้นอน เจ้ำมำหลุดจำกกรงหลงเข้ำดงกลำงดอน

ก่อนนี้เคยจับอยู่บนคอน (ซ้ำ) เจรจำเสียงร้องกล่อมน้องให้นอน ทิ้งน้องให้นอนคนเดียว......เอย

โอ้ว่าคุณครูบา ท่านอุตส่าห์สงั่ สอน ถ้าไม่จาท่านให้จด มีกาหนดเอาไว้แน่นอน

ท่านให้ความรูไ้ ว้เป็นกระทู้คากลอน ทุกตับทุกตอนของลาตัด.....เอย

ขอคารวะอีกสักครั้ง ท่านผู้ฟงั ทั้งหลาย ทั้งคุณนายคุณน้า ที่ได้มามากมาย กราบเรียนท่านผู้ชม เชิงคารมดิฉันไม่คมคาย ให้รู้สึกอับอายเสียจริง.....เอย

พูดถึงชีวิตนักแสดง ไปทุกแห่งทุกหน ต้องทาความครึกครื้น สิ่งอื่นไม่กังวล

ถึงจะถูกเหยียดหยามก็พยายามอดทน บริการชาวชนที่มาชม..........เอย


๓๖

เพลงลอย นกน้อย (ชำย) (ลูกคู่) โอ้เจ้ำนกน้อยเอย เจรจำจู๋จี๋ กล่อมพี่ให้นอน ทิ้งพี่ให้นอนคนเดียว....เอย

ก่อนนี้เคยจับอยู่บนคอน (ซ้ำ) เจ้ำมำหลุดจำกกรงหลงเข้ำดงกลำงดอน

โอ้แม่นกเขาเอย เมื่อเจ้าอยู่ในกรง พี่ตกอับทรัพย์จาง เจ้าจึงหลบเลี่ยง

ก่อนนี้เคยขันคู่อยู่เคียง เจ้าเคยได้ส่งสาเนียง กรงพี่กว้างไม่พอเพียง ออกไปไกลเอย

โอ้แม่นกเขาชวา พี่ปล่อยเจ้าเข้าป่า ให้เจ้าบินถลา เมื่อเข้าไพรไกลโพ้น ประเดี๋ยวจะติดเอาตัง

พี่ยังอุตส่าห์ระวัง ไปเสาะหารวงรัง เจ้าอย่าตะโกนเสียงดัง ของตาพรานเอย

โอ้แม่นกเขาเสียงดี เดี๋ยวนี้ เป็นไฉน มาลืมตัวลืมตน มาเคียดแค้นเจ้าของ

เจ้าอยู่กรงพี่ไม่เคยมีมัวหมอง มีนิสัยจองหอง ลืมคนที่คุ้มครอง ที่เคยขังเอย


๓๗

เพลงลอย ป๊ะเพียว (ลูกคู่) ป๊ะเพียงซวยม้องกระจ้องเยำเล เลเลเลเล้เลเลเลเล เลเลเลเล้เลเลเลเล เล้เลเล้เลเลเลเลเล เรำมำเล่นเอิ้งเอยดิเกรเอิงเอ่อเฮ่อเอ้ยจะรวนเรไปทำไม สิบนิ้วประนมกราบก้มวันทาเลเลเลเล้เลเลเลเล เลเลเลเล้เลเลเลเล เล้เลเล้เลเลเลเลเล กราบก้มวันทา ต่อหญิงชายเอิ้งเอยซ้ายขวาเอิ้งเอ่อเฮ่อเอ้ย ฉันขอสมาอาภัย -------------------------------------------------------แถวย่านบ้านนี้นานทีจะได้ผ่าน เลเลเลเล้เลเลเลเล เลเลเลเล้เลเลเลเล เล้เลเล้เลเลเลเลเล นานทีจะได้ผ่าน นึกว่าเอิ้งเอยสงสารเอิ้งเอ่อเฮ่อเอ้ย หนูซมซานมาไกล --------------------------------------------------------


๓๘

ลำตัดทำนองกลำง กลอนไล ตบมือ (ลูกคู่) ชื่นจิตนี่กระไร ชื่นใจจะไปเที่ยวเล่น ลมพัดเย็นๆ จะไปเที่ยวเล่นที่สวนลำไย ทุกๆ ท่านที่นับถือ หนูยกมือขึน้ วันทา การละเล่นที่เห็นว่า จะนามาซึ่งความสุข ว่าให้เด็กฟังได้ให้ผู้ใหญ่ฟังดี เพื่อส่งเสริมสรรค์สร้างเป็นแนวทางสาธิต เพื่อพักผ่อนหย่อนอารมณ์ เชิญท่านชมลาตัด การละเล่นพื้นเมือง ที่สืบเนื่องมานมนาน ยังอยู่ยั้งยืนยง มั่นคงไม่แคลนคลอน

กรประนมก้มศีรษะ ขอคารวะท่านผู้ฟัง ทุก ๆ ท่านที่นบั ถือ ช่วยตบมือให้หนูซักที ท่านให้เกียรติกันแบบนี้ รู้สึกว่ามีกาลัง เรารู้สึกครึกครืน้ สดชื่นกระฉับกระเฉง พวกเราทุกคน จะเริ่มต้นกันได้หรือยัง ท่านตบมือตั้งสองหน พวกเราทุกคนต้องพยายาม

พวกลาตัดพัฒนา มีลีลาใหม่ๆ มันเป็นของสนุกๆ ทีท่ ันยุคทันสมัย เพื่อส่งเสริมศักดิ์ศรี การกวีของไทย ฟังกันเล่นเย็นๆ จิต ไม่มีพิษไม่มีภัย แบบเสียงดังฟังชัด เป็นสมบัตขิ องไทย อยู่มาหลายรัชกาล นับว่านานพอใช้ ใช้คมขาในคากลอน ศัพท์สุนทรภาษาไทย

ข้างซ้ายข้างขวาข้างหน้าข้างหลังถ้าผิดพลั้ง ต้องขออภัย ท่านให้เกียรติกันแบบนี้ รู้สึกว่ามีกาลังใจ แหมท่านตบมือกันไม่ค่อยดัง ขออีกสักครั้งได้ไหม ถ้าท่านถือเป็นกันเอง อาการเกร็งก็หมดไป เพราะตามบรรดาท่านผู้ฟัง ท่านกาลังให้อภัย อยากให้ท่านตบเป็นครั้งที่ สาม ตบเพื่อความแน่ใจ


๓๙

ลำตัดทำนองกลำง กลอนลู (ลูกคู่) ตำโป๋เป่ำปี่ ตำขำแกไปไถนำ

ชวำเสียงดี ชะนีแอบดู ตำดีเดินมำ ตำสำดีงู

ไหว้ครูประเดิมเริ่มหัด ที่คิดลาตัดเป็นขั้นตอน ไหว้ครูพักลักจา มาแต่โบร่าโบราณ เคยผ่านเคยพบ เราจึงเคารพครูบา วิชาศิลปะ จะขึ้นลูกคู่ ไม่รู้ทานอง ต้องร้องให้เป็น ครูแก่ครูเก่า ไม่บิดไม่เบือน ครูดั้งครูเดิม เรายึดมั่นกตัญญุตา

จังหวะทานอง แบบครูสอนไว้ ก็ร้องลาบาก ต้องเน้นสัมผัส ครูเฒ่าชรา ช่วยเตือนกระตุ้น ที่ส่งเสริมสั่งสอน เราถือว่าเป็นของขลัง

ไหว้ครูเฒ่าเก่าก่อนที่เขียนกลอนกระทู้ จนเกิดความชานาญ เพราะเคยได้ผ่านเข้าหู ผู้มีพระคุณล้าค่า ที่ให้วิชาความรู้ ให้การแคล่วคล่อง เราต้องเข้าใจ เป็นเรื่องยุ่งยาก ฉะนั้นลาตัด ข้าขอศรัทธา ข้าขอขอบคุณ มีกาหนดบทกลอน จะเล่นลาตัดแต่ละครั้ง

การร้องลูกคู่ กลอนไลกลอนลู ถ้าหากไม่รู้ ต้องหัดจากครู บูชาเชิดชู ครูสุนทรภู่ แน่นอนน่าดู พวกเราต้องตั้งกานลครู


๔๐

ลำตัดทำนองกระพือ กลอนเลย (ลูกคู่) กำกะไน เอ๋ย ไก่ก็ขัน ..........สนัน่ แจ้ว ได้เวลำเสียแล้ว .............. แม่แก้วตำ..............เอ้ย (๑) สิบนิ้วขึ้นนอบนบ ขาขอเคารพครูบา ทั้งครูบาอาจารย์ ที่มีการสอนสั่ง ขอให้มานั่งอยู่ในคอ ขอให้มาต่อปัญญา ให้ท่านผู้ชมนิยมว่าดี และขอให้มีชื่อดัง

ด้วยยึดมั่นกตัญญุตา ขอบูชาเช่นเคย ช่วยส่งเสริมเพิ่มพลัง ถ้าผิดพลั้งเกินเลย ให้ปากไวอย่างว่า เมื่อลูกจะอ้าจะเอ่ย จะร้องเฉไฉยังไงก็ช่าง ขอให้ผู้ฟังชมเชย

(๒) เคารพสองรองลงมา ไหว้บรรดาผู้ฟัง ฉันขอเผยเอ่ยพิพจน์ ขึ้นเป็นบทฉนา แรกประเดิมเริ่มร้อง ใช้ทานองเก่า ๆ เกรงว่าท่านที่มา จะไปนินทาภายหลัง

ตามอัธยาศัยยังไงก็ช่าง ขอให้ท่านนั่งเฉยๆ เป็นศุภสร้อยถ้อยคา ในเนื้อลาเฉลย เออากาศชักอบอ้าว นี่เราจะเอายังไงเอ่ย ว่าไม่อร่อยหูฟัง ไม่เหมือนหนมปังจิ้มเนย


๔๑

ลำตัดทำนองกระพือ กลอนลำ (ลูกคู่)ยำซียำไซ เอิงเงอเอ่อ เข้ำใจเล่น ฉันร้องไม่เป็นจะให้ฉันเล่นไปอย่ำงไร บอกเถิดบอกเถิดเจ้ำข้ำ ฮ้ำนี่ก็ฮ้ำไฮ้ ตำมแต่จะเมตตำ กำวันกีตอมำรีดูโด๊ะ อำมอตำโก๊ะ มำช่วยกันโจ๊ะรำมะนำ (1)สวัสดีสวัสดี อ้อราตรีสวัสดิ์ ท่านนิ่งนั่งฟังคารม เชิญท่านชมตามสบาย ดูลีลาท่าทาง ตามแบบอย่างโบราณ ควรศึกษาหาหลัก และอนุรักษ์กันเอาไว้ พูดถึงกลองลาตัด ฉันนาเรื่องเก่า จากยายจากตา ยังมองเห็นเป็นหลักฐาน

มาจากปัตตานี มาเล่ามาสู่ เล่ามาย่อ ๆ คนโบราณเขารับรอง

(2)พูดถึงกลองรามะนา ที่มีมาเป็นสมบัติ พอตกมาอยู่ภาคกลาง เปลี่ยนรูปร่างจากเดิม เรามาสร้างเรามาเสริมหุ่นเดิมเขาก็ยังมี สี่จังหวัดภาคใต้ เขาก็ยังใช้กันอยู่ สี่จังหวัดภาคใต้ เขาก็ยังใช้กันอยู่ ฉันเคยไปโชว์ลาตัด ทางจังหวัดเขาต้องการ ภาคกลางภาคเหนือภาคอีสาน สนุกสนานกันน่าดู เขาเกี้ยวพาราสี แบบวิธีของลาตัด เพราะฉะนัน้ วันนี้ พ่อคนดีที่มานั่ง เธอร้องเป็นกันหรือเปล่า แบบที่ฉันกล่าวร้องเกริ่น ดูพ่อคนนี้หน้าม่อย เพราะเขาไม่ค่อยจะรู้

คณะได้นาลาตัด มาให้ท่านทัศนา ไม่มีหยาบไม่มคี าย ดูลวดลายลีลา ดูกันได้หลายด้าน ดูเพื่อการศึกษา เป็นมรดกของไทย ความเป็นไปเป็นมา ขอบอกอีกที เพียงแต่เรียนรู้ คุณแม่คุณพ่อ เครื่องรับสาหรับร้อง

เท่าที่รู้มา จากปู่จากย่า เล่าต่อกันมา เขาเรียกว่ากลองรามะนา

ที่มองเห็นเป็นลาตัด มีหลายศตวรรษแล้วท่านขา เรามาสร้างเรามาเสริม ผิดกว่าเดิมธรรมดา แต่ปัจจุบันทุกวันนี้ แถวๆ ปัตตานี ยะลา เขาเรียกว่าดิเกฮูลู ฉันเคยไปดูเขามา เขามาแสดงให้ดู ในวิทยาลัยครูสงขลา เป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านและมีการสัมมนา พูดถึงดิเกฮูลู ฉันเคยได้ดูเต็มตา แต่เราฟังไม่ค่อยชัด เพราะไม่ถนัดภาษา จะลงมือกันได้หรือยัง อย่ามัวมานั่งลอยหน้า ทานองนี้ดีเหลือเกิน ฟังเพลินจริงพับผ่า เขาไม่ใช่เชื้อมลายู บ้านเขาอยู่อยุธยา///


๔๒

ลำตัดทำนองเพรำะ กลอนลี (อยำกดัง) (ลูกคู่) ช่อลาไย เอ้อเอย ใบจาปี ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากล จงบันดาลดลให้ทุกคนโชคดี สวัสดีทุก ๆ ท่าน ที่ชอบการครึกครื้น พอดิฉันว่าท่านฮาครืน ก็พอจะชื่นฤดี ดิฉันเป็นนักลาตัด เคยถนัดแต่ทางว่า พอมีสาเนียงเสียงฮา ความประหม่าก็เริ่มมี การประหม่าตื่นเต้น ดิฉันว่าเป็นกันแทบทกคน แทบทุกครั้งแทบทุกหน เมื่อย่างขึ้นบนเวที พอย่างขึ้นบนเวที ทุกคนต้องมีประหม่า ชักซู่ ๆ ซ่า ๆ แทบเบือนหน้าหลบหนี แรกประเดิมเริ่มแสดง ให้ระแวงไหวหวั่น บ้างหน้าซีดใจสั่น อาทิเช่นดิฉันเวลานี้ ชักกลัว ๆ กล้า ๆ ในเรื่องว่าลาตัด ฉันเป็นนักกลอนอ่อนหัด ยังไม่ถนัดถนี่ ดี ๆ ชั่ว ๆ ขอฝากตัวเป็นลูกหลาน ศิโรราบกราบกราน มาขอสมานไมตรี 00---000-------------000---00 ฉันขอสมานไมตรี และยินดีสนอง ท่านพากันมาเนืองนอง นับถือเหมือนน้องเหมือนพี่ ขอให้ทุกท่านที่มาชม และนิยมลาตัด ให้สุขสมบูรณ์พูนพิพัฒน์ กันตามถนัดถนี่ เมื่อท่านจะคิดมีเงิน ก็ขอให้เงินมากอง เมื่อท่านจะคิดมีทอง ให้เหมือนเจ้าของเซ่งเฮงหลี เมื่อท่านจะคิดมีคู่ ก็ขอให้อยู่กันกับเหย้า ให้มีลูกมีเต้า กันหัวปีท้ายปี ให้ท่านทามาค้าขึ้น ยังยืนยิ่งใหญ่ ท่านจะประสงค์สิ่งใด ก็ขอให้ได้ทันที 00---000-------------000---00 ท่านคิดสิ่งใด ให้ได้ดังคิด จะทาธุรกิจ ให้มีสทิ ธิ์เสรี ให้มีอานาจ ให้มีวาสนา จะทาการค้า ขอให้พูนทวี ให้ท่านมั่งคั่ง เหมือนดังคาพร ให้ท่านถาวร ดังพรทั้งสี่ อายุวรรโณ สุโขพลัง ให้มีชื่อดัง เหมือนยังเคนาดี้ ให้มีเหลือเฟือ ให้เหลือขนาด ให้มีอานาจ ดังกับราชสีห์ ให้มีชื่อเสียง ให้เกรียงให้ไกร อย่าได้ป่วยไข้ ให้ไร้โรคี ให้มีสขุ ภาพ เหมือนดังอาบว่านยา ต่อไปภายหน้า ให้ท่านเป็นเศรษฐี ขอให้ท่านเป็นเศรษฐี มั่งมีขึ้นทุกวัน ขอให้ทุก ๆท่านจงแฮปปี้แฮปปี้ ให้ลือชาปรากฏ มียศมีศักดิ์ บรรดายู ๆ ทีฉ่ ันไม่รู้จัก ให้กู๊ดลัคตลอดปี 00---000-------------000---00


๔๓

ฉันเป็นลาตัด เพิ่งหัดรุ่นหลัง ถึงชื่อจะดัง แต่ยังไม่ดี อยากดัง ทุกคนอยากดัง แต่ว่าความหวัง นั้นยังไม่มี จะดังหรือจะโด่ง ก็คงแค่เก่า เขาหรือเรา ก็เท่าที่มี บางคนอยากดัง ไปในทางที่ผิด บางคนอยากคิด ไปในทางสุขี บางคนอยากดู ให้รู้กับตา บางคนอยากว่า เขาทุกวันทุกวี่ คาพระท่านจึงว่า ว่านานาจิตตัง ฉะนั้นเพลงอยากดัง ของเขาจึงฟังเพราะดี 00---000-------------000---00 คนเสียงดังฟังชัด มีส่วนสัดเหมาะสม คนอื่นเขาชื่นชม เป็นที่นิยมยินดี ใครเห็นใครรัก อันนี้เป็นหลักธรรมดา กุศลกรรมทามา จึงโสภาโสภี แข่งเรือแข่งแพ เขาแข่งกันแค่กาลัง การยื้อแย่งแข่งกันดัง จะพลาดพลั้งนะคะคุณพี่ จะขอเตือนพ่อคุณ อย่าหุนหัน การยื้อแย่งแข่งขัน นั้นไม่ดี ต้องรู้แพ้รู้ชนะ จึงจะเหมาะ แล้วใคร่ครวญพิเคราะห์ ให้ถ้วนถี่ อย่าคิดว่าเราเท่านั้น รู้ทันเขา อย่าคิดแล้วคิดเล่า ว่าเราดี อย่าคิดว่าพวกนั่งกับพื้น จะไร้ผล ต้องยับแย่แพ้คน บนเวที อย่าเห่อเหิมเคลิ้มคลั่ง ว่าเรานี้ดังมากกว่า เดี๋ยวจะต้องเป็นคนป่า ไปชั่วนาตาปี 00---000-------------000---00 อยากดัง ทุกคนอยากดัง แต่ว่าความหวัง นั้นยังไม่มี จะดังหรือไม่ดัง มันก็อยู่ที่ดวง ไม่ต้องเป็นห่วง พ่อพวงมาลี ฉันร้องเรื่องดัง อย่าเพิ่งนั่งหน้างอ พ่อ...รูปหล่อ ฉันขอเสียที จะดังหรือโด่ง ก็คงแค่เก่า เขาหรือเรา ก็เท่าที่มี บางคนอยากดัง ไปในทางที่ผิด บางคนอยากคิด ไปในทางสุขี บางคนอยากดู ให้รู้กับตา บางคนอยากว่า เขาทุกวันทุกวี่ ว่าคาพระท่านจึงว่า ว่านานาจิตตัง ฉะนั้นเพลงอยากดัง ของเขาจึงฟังเพราะดี **-----**---------**-----**


๔๔

ลำตัดทำนองโศก กลอนลอน ลูกคู่ เมื่อชีวิตเรายังไม่ตาย จะทาดีกันสักเท่าไร ก็ไม่มีใครเขาให้พร จะนึกถึงกันบ้างหรือก็เปล่า เขาจะเห็นใจเราก็ตอนเมือ่ เข้ากองฟอน โอ้บุหลันขวัญเอ๋ย กระไรเลยแลหาย ทั้งนกไม้ไก่กา ก็ไม่ถลาลอยลม ฉันมาราพึงคะนึงคิด ถึงชีวิตมนุษย์เรา ไม่พลิกฟื้นคืนหลัง เหมือนแต่ดั้งเดิมมา เมื่อชีพเรายังยั่งยืน ก็สดชื่นกันเย็นเช้า โอ้ป่าช้าเจ้าข้าเอ๋ย ใครใครก็เคยเกลียดกลัว ใครเล่าจะลี้หนีได้ จากความตายนี้พ้น ถึงมีเงินมีทอง ออกก่ายกองท่วมกาย แม้แต่ชีวิตเพียงนิดหนึ่ง อย่าหมายพึงซื้อหา พูดถึงเรื่องเป็นเศรษฐี ดวงฤดีก็แจ่มใส

หริ่งแต่เสียงเรไร ก้องอยู่ในดงดอน หนาวน้าค้างพรั่งพรม ให้ทุกข์ระทมทอดถอน ล้วนวอดวายตายเปล่า ต่างหันเข้ากองฟอน น่าสมเพชเวทนา ยิ่งคิดขึ้นมายิ่งอาวรณ์ พอกายพังหนังเน่า ใครเล่าจะร่วมหมอน เป็นดินแดนอันแสนชั่ว แต่แล้วตัวก็ต้องไปนอน ไม่ว่าเศรษฐีมีหรือจน ย่อมจะไม่พ้นม้วยมรณ์ จะซื้ออะไรก็ซื้อได้ สุดแต่ใจจะอาวรณ์ จงหมั่นนึกถึงป่าช้า ทุกเมื่อเวลาเราเข้านอน พอมานึกถึงความตาย เล่นเอาหัวใจชักรอนรอน

**************************************************************** เพราะฉะนั้นท่านจ๋า ตามบรรดาญาติมิตร ญาติสนิทมิตรสหาย ที่ตายตายกันก็มาก มานึกถึงเรื่องนี้ ฉันแทบไม่มแี ก่ใจ ผู้ล่วงลับดับขันธ์ ดวงวิญญาณยังล่องลอย เราไม่ใช่ญาติก็เหมือนญาติ เราไม่ใช่มิตรก็เหมือนมิตร แม้ตัวท่านตายไปภายหลัง ลูกหลานก็ยังวุ่นวาย นึกถึงตัวข้าพเจ้า เมื่อถึงคราวตัวตาย เรากาเนิดเกิดเป็นตน ทุกบุคคลหญิงชาย มาอย่างไรไปอย่างนั้น เราทุกท่านทุกคน เพราะตอนเราเกิดมาเป็นกาย ไม่มีอะไรติดมา จะเอาอะไรไปไม่ได้ ต้องทิ้งไว้เบื้องหลัง จะเหลืออยู่กันก็แต่นาม ลูกหลานก็จะตามติดมา

เมื่อเรามีชีวิต ก็ควรจะคิดสังวร ที่ตกระกาลาบาก ฉันขอฝากเอาไว้ก่อน มันหนักหน่วงห่วงใย สุดอาลัยอาวรณ์ ฟังประพันธ์ฉันสักหน่อย จะกล่าวถ้อยสนองกลอน ดวงวิญญาณและชีวิต ที่หลับสนิทแน่นอน สละทรัพย์จับจ่าย จนสู่ในเชิงตะกอน ผีจะไหม้หรือไม่ไหม้ คิดแล้วให้อาวรณ์ การเกิดแก่เจ็บตาย ประจากายแน่นอน เกิดมาก็แต่กายตายไปก็แต่ตน ใครเล่าจะขนเงินจร เมื่อถึงวันสัญญา ก็สุดจะพาติดจร ให้ลูกบ้างหลานบ้าง คนอยู่ข้างหลังเขาแบ่งทอน มายืนเช็ดน้าตา กันอยู่ที่หน้ากองฟอน


๔๕

พอความตายนั้นมาพราก เราจะต้องจากพี่น้อง ถึงมีเงินหรือมีทอง มันก็เป็นของที่แคลนคลอน ดูแต่กระดูกหนังเนื้อ ต้องตกเป็นเหยื่อแร้งกา ถึงรูปร่างเป็นเทวดา ก็มีเวลาเน่าหนอน ใครก็ไม่รักใครจริง หรอกชายหญิงที่เกิดมา อันบ้านเก่าคราวหน้า ก็คือป่าช้าแน่นอน ผู้ล่วงลับดับสูญ สู่กองกูณฑ์อัคคี เคยสร้างคุณงามความดี โอบอารีมาแต่ก่อน เคยพูดจาปราศรัย ทักทายเช่นเคย ไม่ไหวติงนอนนิ่งเฉย โอ้อกเอ๋ยมาขาดรอน เสียงนกแสกบินผ่าน ในยามวิกาลเวลา บอกถึงวันสัญญา ของผู้ที่ลาม้วยมรณ์ ขอให้ดวงวิญญาณ ของท่านผู้ตายผู้เป็นมนุษย์อันบริสุทธิ์สดใส จงสู่สวรรค์ครรลัยเหมือนดั่งอุทัยทินกร **************************************************************** ขอให้ดวงวิญญาณ ของท่านผู้ตายผู้เป็นมนุษย์ อันบริสุทธิ์สดใส จงสู่สวรรค์ครรลัยเหมือนดั่งอุทัยทินกร ดารารายพรายพรรณ แสงพระจันทร์จะจากโลก โอ้ลมหนาวในคราวโศก สะบัดโบกมาอ่อนอ่อน น้าค้างฟุ้งจรุงรื่น สู่ภาคพื้นแม่ธรณี หอมจาปามาลี ในราตรีรุ่งค่อน จันทร์จารัสอัสดง จะลับลงที่แนวไพร ยังอิดออดแต่ยอดไม้ ไม่เต็มใจจะจากจร โอ้ยอดโศกโบกไสว สะบัดให้หัวใจโศก ให้ซาบซ่านสะท้านสะทก เมือ่ คิดถึงอกประชากร ใครยังมีชีวง ก็โลภหลงในตัณหา ใครถึงวันสัญญา ก็ล่วงหน้ากันไปก่อน ไปดีมาดี เถิดน้องพี่ทั้งหลาย สู่สวรรค์เป็นขัน้ หมาย ให้ห่างไกลเดือดร้อน มนุษย์โลกโชคชะตา ย่อมหมุนมาเวียนไป เข้าป่าช้าเวลาใด นั่นแหละจะได้พักผ่อน คนอยู่ข้างหลังยังปลื้ม ทาเป็นลืมป่าช้า เริ่มแต่คิดอิจฉา ริษยาแง่งอน แบ่งชั้นวรรณะ ตลอดกระทั่งพระและสงฆ์ รักโกรธโลภหลง ยังทะนงแบ่งทอน แม้แต่กษัตริยส์ ูงสุด ตลอดจนมนุษย์ขอทาน เมื่อวันสัญญามาประหาร ย่อมถึงการม้วยมรณ์ เราตายท่านตาย ตายๆๆๆๆไปสิ้น ใครเล่าจะอยู่คาฟ้ ้ าดิน ดังโขดหินสิงขร โอ้จันทราเจ้าข้าเอ๋ย จะลับเลยลงไปแล้ว ยังอยู่ก็แต่ดาวพราวแพรว เสียงไก่แก้วที่ขันวอน ขอผีภูตผีพราย หาดินทรายทีด่ ีๆ เอาไว้ให้ฉันสักหนึ่งที่ อีกไม่กปี่ ีฉันจะไปนอน ****************************************************************


๔๖

ลาตัด ทานองแขก (ลูกคู่) ศุลตอยินดี ซิอาเด๊ะเอ้ยศุลตอยินเยา หนุ่มๆสาวๆ คอยฟังผมกล่าวบทกลอน ผมรู้สึกครึกครืน้ แต่ก็ยังตื่นสถานที่ นาน นาน จะผ่านมาที สวัสดีท่านเสียก่อน สวัสดี สวัสดี อ้อ ราตรีสวัสดิ์ คณะได้นาลาตัด มาจากจังหวัดพระนคร กระผมลาตัดจังหวัดนนท์ เรียกว่าคนชานเมือง ยังไม่เจริญ รุ่งเรือง ท่านอย่างชาเลืองเเลค้อน เป็นนักแสดงที่แข็งกระด้าง รูปร่างเหมือนผู้ร้าย วันนี้มาเป็นพระเอกแล้วนึกอาย เพราะมือไม้ ผมยังไม่อ่อน ผมกสิกรรมทาสวน เเม่หน้านวล ทราบไว้หน่อย ทั่วสรรพางค์ด่างพร้อย ซิอาเด๊ะเอ้ย น้องเอย ไม่เเช่มช้อยอรชร ****************************************************

ลาตัด ทานองมอญ (ลูกคู่) เต๊ะฮเอยอาราราว โอ้นี่เต๊ะฮเอยอาราราว เนื้ออุ่นแม่รนุ่ สาวจะอาราราวอีเต๊ะฮเอ้ย ตาน้าพริกกันกุกกุก ตาน้าพริกกันกุกกุก จะแกงอะไรกันจ๊ะแม่คนสวย

นี่จะแกงบุกหรือว่าแกงบอน จะแกงปลาดุกหรือแกงปลาช่อน ให้ฉันกินสักถ้วยแม่ผมมวยเชื้อมอญ

****************************************************

ลาตัด ทานองลาว (ลูกคู่) สาวเจ้าเอยสาวเอยเจ้าเอิ้นเกริ่นลาวๆ สองแก้มเจ้าขาวคล้ายกับลาวเวียงเอ้ย เอาอย่างนี้ นะกันดีกว่า พวกเธอทั้งหมดฉันจะทดสอบ จะเป็นลาตัดมันก็ต้องหัดร้อง จะเป็นเศรษฐีต้องมีมานะ มีอวนมันก็ต้องมีแห มีดีมันก็ต้องมีชุ่ย หยุดพักเสียทีเถอะแม่คนโต

เรามาลองปัญญา ไหมเล่าแม่คนโต เพราแม่อ้วนเขาชอบแต่จะคุยโว จะเป็นคนตีกลองมันก็ต้องหัดสโล่ ถ้าอยากอยากจะเป็นจ้าบ๊ะมันก็ต้องหัดโป๊ มีแห่มันก็ต้องมีโห่ มีคุยมันก็ต้องมีโม้ หมดเวลาโม้เสียแล้วเอ้ย


๔๗

เพลงเรือ

สิบนิ้วลูกจะประนม ลูกขอกราบก้มเอิงเอ้ย ประนมกร ไหว้ครูเพลงเรือ ช่วยเหลือเจือจุน ครูบาอาจารย์ ที่ได้มีการชักจูง ไหว้แม่นางธรณี ทุกถิ่นที่เที่ยงแท้ ไหว้สาเร็จเสร็จสรรพ ก็หันกลับมาตรงกลาง ขอให้มานั่งอยู่ในคอ ขอให้มาต่อปัญญา ให้ขึ้นคล่องลงคล่อง เหมือนยังกับท้องธารา ให้ถูกใจท่านทีม่ าชมเอย ///////

สองกรกราบก้ม วันทา ลูกขอไหว้คุณบิดร มารดา ลูกซาบซึ้งถึงพระคุณ ครูบา ลูกขอไหว้ไปถึงเจ้าทุ่ง เจ้าท่า ลูกจะไหว้ไปถึงเจ้าแม่ คงคา ลูกขอไหว้แม่ยา่ นาง นาวา


๔๘

เพลงฉ่อย เกริ่น(ช)

เข้าป่าระโหง มาเจอะมะงั่วสุขงอม ถึงอยู่ใต้ต้นหล่นตก

มาหลงเข้าดงไม้หอม หมายจะเก็บไปฝากแม่งาม ถึงจะเป็นเดนนกก็ตาม...........ใจ

ทุกวันพี่เที่ยวหานาง ทุกวันพี่เที่ยวหาน้อง อีแม่คานน้อยหาบหนัก

เปรียบเหมือนก็ยังกวางหาหนอง เปรียบเหมือนก็ยังพรานหาเนื้อ ไม่รู้เลยว่าจะหักลงเมื่อ..............ไร


๔๙

เพลงฉ่อย เกริ่น (ญ)

ผู้ชายมาเชิญ สาเนียงเสนาะนี่แหมมันเพราะพริ้ง แม่หนูที่รักอย่ามัวชักช้า

แม่หนูน้อยก็ไม่เนิ่น อยู่นิ่ง ฟังๆแล้วมันน่าเพลิดเพลิน นั่นพวกผู้ชายเขามาร้องเชิญ.....ไป

แม่หนูที่รักอย่ามัวชักช้า แม่อย่ามัวแต่งหน้า ให้เวลาเนิ่น ได้ยินสาเหนียกเรียกอยู่ข้างนอก

นั่นพวกผู้ชายเขามาร้องเชิญ เร็วๆนะเข้าหน่อย ซินางหนู ว่าจาเป็นจะต้องออกไปดู........ใจ

ได้ยินสาเหนียกเรียกอยู่ข้างนอก จะไปถามไถ่กันเสียให้รู้ ได้ยินสาเนียงเสียงคุ้นๆ

ว่าจาเป็นจะต้องออกไปดู ว่าพี่มาธุระ อะไรหรือ จึงร้องถามไปว่าคุณนั่นคือ.....ใคร


๕๐

เพลงฉ่อยประ(ช)

(ช) ได้มาประสบพบภาพ ได้มาประสบได้มาพบพักตร์ รักคุดสุดคิดทีจ่ ะปิดบัง เมื่อจะรักก็บอกไม่รักก็บอก พี่จะขอรวบรัดขอตัดบท พี่มารักเจ้ารักเข้าทุกที พอเจอะเจอรู้จักก็นึกรักเป็นประจา

ให้รู้สึกหวามวาบหวั่นไหว ในอารมณ์นึกรักนึกใคร่ เห็นใจกันบ้างหน่อยจะเป็นไร แม่อย่าทาหวานนอกซึ่งว่าขมใน ว่ากันสดๆไม่ต้องสงสัย รักออกมันมีเสียเมื่อไหร่ ไม่เชื่อลองมาคลาดูใจ


๕๑

เพลงฉ่อย ประ(ญ)

ญ) ได้ยินสาเหนียก ผู้ชายมาเรียกหา ครั้นจะนิ่งเฉย เสียไม่เอ่ยขาน จะออกไปดู เสียให้รู้แน่ จะเป็นจีนจาม หรือว่าพราหมณ์มอญ จะเป็นเจ๊กแคระ หรือว่ากวางตุ้ง หรือจะเป็นเจ๊กอ้าย ที่มาขายหมู หรือจะเป็นตั้งสู้ ไอ้ที่หูยาน ถ้ามีข้าวเปลือก จะโปรยให้ทาน ถึงคุณยายจะรู้ คุณปู่จะด่า

แม่หนูก็จึงร้องขา นั่นใคร มาร้องเรียกอยู่ตั้งนาน มากันจากไหน ว่าสีคาดอกแค ลูกใคร หรือจะเป็นชาวละครบ้านไกล หรือจะเป็นชาวตะลุงภาคใต้ หรือจะเป็นตั้งสู้ ที่มาซื้อไก่ ที่เขามาร้องขอทาน ในเมืองไทย ถ้ามีข้าวสาร ฉันก็จะโปรยให้ ก็นึกว่าให้ทานหมามันไป


๕๒

เพลงเกี่ยวข้ำว ไหว้ครู กลอนลุ สิบนิ้วขึ้นประนมขอกราบก้มบรมครุ ขอกราบก้มประนมกร ขอวิงวอนพระวิษณุ พระวิษณุพระนารายณ์ ทั้งแม่พระพายแม่ลมพายุ แม่คงคา แม่ธรณี ทั้งพระอัคคีที่กาลังคุ พระพิรุณอย่าเพิ่งโปรยมา เพราะเหตุว่าหลังคาทะลุ ไหว้แม่โพสพทีเ่ คารพรัก ต้องรู้จักเพราะว่าฉันกินจุ ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกทิศา อีกทัง้ เทวดาองค์ดุดุ ทั้งผีสางนางไม้ ต้นเล็กต้นใหญ่อีกทั้งต้นผุๆ มาดลบันดาลในการร้องให้หัวสมองฉันโปร่งปรุ ให้ชื่อเสียงฉันหอมฟุ้ง พวยพุ่งปานน้าพุ เวลาฉันเต้นอย่าให้เหม็นตุตุให้มองทะลุปรุโปร่งเอย

เพลงเกี่ยวข้ำว กลอนลี(ญ) หยิบเอาเคียวขึ้นมาราฟ้อน ขอยอกรขึ้นอัญชุลี สิบนิ้วขึ้นนอบนบ ไหว้แม่โพสพแม่สาลี ทั้งเทวดาทุกสารทิศ ที่สิงสถิตในท้องที่ ทั้งห้วยหนองคลองบึง ที่ลูกได้พึ่งบารมี ไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่ที่ชอบแก่ดกี รี จะไหว้ประตูหน้าต่าง จะไหว้แม่นางธรณี อันทุกข์โศกโรคภัยขอให้ไกลกายี ให้ฉันมีสง่าราศี เหมือนรัศมีเดือนเอย


๕๓

เพลงเกี่ยวข้ำว กลอนลี(ชำย) ทาไร่ทานาไอ้ข้าวไอ้ข้าวไอ้ปลาไม่ค่อยจะดี เวลาทาน้าท่า มันคอยจะมาเอาปลายปี ไอ้น้าไอ้ท่ามันท่วมไม่ถึง มันตายนึ่งเป็นที่ๆ ไอ้ข้าวไอ้ปลาราคาก็ถูก แถมลูกยังถี่ๆ ทานาห้าปี ได้ลูกตั้งสี่คนเอย

เพลงเกี่ยวข้ำว กลอนลี (ญ) เธอร้องเพลงเกี่ยวข้าว เป็นเรื่องราวของคุณพี่ ว่าทานาทาไร่ ทาก็ไม่มั่งมี ไอ้ข้าวไอ้ปลาราคาก็ถูก แถมลูกยังถี่ๆ ลูกถี่หรือลูกห่าง เข้าใจเสียบ้างซิคุณพี่ พูดถึงชนชาวนา เวล่าเวลาก็พอมี ภรรยาไม่ค่อยไปไหนไม่เหมือนสมัยเดี๋ยวนี้ พอเข้าเคหาเจอสามี ลูกต้องถี่แน่นอนเอย


๕๔

เพลงอีแซว

เมื่อจะร้องออกไปต้องขออภัยกันเสียก่อน

จะกล่าวเกริ่นเดินกลอน เป็นเพลงอีแซวกลายๆ

ฉันว่าผิดไปบ้างว่าพลั้งไปหนอ

ยกมือร้องขอขออภัย

ว่าคราวลุงคราวป้าคราวน้าและพี่

คราวเดียวกับฉันก็มีหนอกันมากมาย

ฉันว่าผิดไปบ้างว่าพลั้งไปหรือ

ไม่ควรถืออย่าถือ ฉันยกมือไหว้

จะออกตัวไปหนักก็ขี้มักจะช้า

นี่ฉันดูเวลามันก็นานหลาย

เสียงว่าใครหนอเชียวหนอใครหนา

ใครหนอมาเรียกหาอยู่กันที่ไหน

จะร้องขัดเวลาไปซักห้าชั่วโมง

แม่หวีผมโป่งแล้วยังไม่ไป…….

แม่ก็ยกฝ่าเท้าเชียวนะก้าวย่อง

แล้วก็เดินเข้าในห้องหอใน

ถึงโต๊ะเครื่องตั้งแม่ก็นั่งแต่ง

แม่สาวน้อยประแป้งกันเป็นใย

ถ้าฉะนั้นตอนบนฉันนั่งผัดกันแต่หน้า

ตอนล่างนั่งทาน้าอบไทย……..

แม่หยิบแป้งหนึ่งเม็ดมาตบเป็นเกล็ดกระดี่

จะพรมน้าอบราตรีให้ส่งกลิ่นไปไกล

แม่ก็พรมตรงโน้นแล้วก็พรมตรงนี้

แล้วก็พรมตรงที่ ชอบใจผู้ชาย

แม่จะประน้าอบกันเสียให้หอมฟุ้ง

แล้วเดินผ่านไปทางฝูงพวกผู้ชาย


๕๕

แผนผังกลอนลำตัด (กลอนสิบ)

0000000000

0000000000

0000000000

0000000000

0000000000

000000000 ตัวอย่ำงกำรแต่งเพลงลำตัด กลอนเลำ

โชคชักนาอานวย พบสาวสวยลาตัด ลออเอี่ยมสาอาง สวยกว่านางสาวไทย ตะลึงงงหลงงาม อยากทาบทามถามไถ่ แม่ยอดอนงค์องเอก เหมือนอินทร์เอกทรงสรร ประไพพริ้งเพริศพร้อย งามเยี่ยงย้อยหยาดฟ้า ตาหนิน้อยไปร่มีสมานศรีงามแสน เจริญร่างเริ่มรุน่ ละไมละมุนเหลือดี ทั้งสองเนตรเกตุแก้ม ยามยิ้มแย้มยียวน เนื้อหน้าอกอวบอั๋น เหมือนดอกสัตบันกลางบึง สวยสุดสิ้นอินทรีย์ แม่สาวศรีสูงศักดิ์

รูปพรรณสันทัดได้ส่วนสัดสมสาว ช่างผ่องแผ้วอาไพ งามวิไลแพรวพราว มิอาจกล้าปราศรัย ด้วยเกรงใจสูเจ้า แสนโสภาสารพันไปทั่วสรรพางพราว วิสุทธิ์สาวเสาวภางามกายาอาสกาว งามมนุษย์สุดแดน บ่มีแม้นนงเยาว์ ดูเกศากายีหาได้มีราคีคาว น่านิยมสมควร ให้ชายชวนรักเจ้า ช่างตูมตั้งเต่งตึง ดูกลมกลึงเกลี้ยงเกลา เพิ่งเจอะเจอรู้จัก ขอฝากรักไว้ซักคราว


๕๖

ท่ำรำแบบลำตัด แม่ศรีนวล ขำอำจ เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์ท่าราแบบลาตัดให้มีแบบแผน งดงาม ได้ศึกษาศิลปะการรา ตามแบบนาฏศิลป์ไทยมาตรฐานจาก คุณครูทองเริ่ม มงคลนัฏ ครูนาฏศิลป์ผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงโขนของ กรมศิลปากร และศิลปะการราแบบพื้นบ้านจาก คณะลิเกศิลป์พร ได้ฝึกกระบวนราอย่างมีแบบแผน และได้นา ท่ารามาตรฐานมาประยุกต์ พัฒนา สร้างสรรค์ให้เหมาะสมกับการแสดงลาตัด ประดิษฐ์เป็นท่าราแบบลาตัด ๕ ท่า ได้แก่ ท่าตั้งวง ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง ท่าผาลาเพียงไหล่ ท่าชักแป้งผัดหน้า และ ท่าภมรเคล้า

ท่ำชักแป้งผัดหน้ำ


๕๗

ท่ำสอดสร้อยมำลำแปลง


๕๘

ท่ำตั้งวง


๕๙

ท่ำผำลำเพียงไหล่


๖๐

ท่ำภมรเคล้ำ



“ลาตัด”|


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.