Proceeding KPI Congress1-193

Page 54

ความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย ศาสตราจารย์ธีรยุทธ บุญมี*

ผู้ที่มีอายุสัก 60 ปี จะรู้จักวิชาหน้าที่พลเมือง ซึ่งเป็นหนึ่งใน สามของวิชาน่าเบื่อ ที่นอกเหนือไปจากวิชาคณิตศาสตร์ และวิชา ศีลธรรม อันอาจวิเคราะห์ได้ว่าทำไมแนวคิดเรื่อง citizenship – ความเป็นพลเมืองของไทย จึงไม่เกิดและเพิ่งได้รับการพูดถึงอย่าง จริงจัง เมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา พั ฒ นาการทางการเมื อ งไทยในระยะเวลา 20 ปี ที่ ผ่ า นมา นับเป็นช่วงเวลาที่มีการเกิดการคลี่คลายทางการเมือง และเป็น ที่มาของวิกฤตทางการเมืองในปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่การคลอนแคลน ของอำนาจศูนย์กลาง กองทัพ และประชาธิปไตยครึ่งใบ นำไปสู่ การเลือกตั้งทั่วไป ในปี 2531 ช่วงเวลาดังกล่าวมีการเสนอแนวคิด การสร้างสังคมเข้มแข็ง (civil society) และแนวคิดชุมชนเข้มแข็ง (communitarianism) ซึ่งปัจจุบันมีแนวคิดพลเมืองเข้มแข็งเพิ่มขึ้น และทั้งสามต่างเป็นทฤษฎีที่มีข้อถกเถียงหลากหลายในต่างประเทศ และการนำทั้ ง 3 แนวคิ ด เข้ า สู่ ป ระเทศไทยนั้ น เป็ น ผลจากการ เปลี่ ย นผ่ า นของประชาธิ ป ไตยดั ง กล่ า ว ด้ ว ยความเชื่ อ ที่ ว่ า การมี สังคม (civil society) เข้มแข็ง และการมีชุมชน (community)

ที่เข้มแข็งมาช่วยเสริม จะสามารถสร้างเสถียรภาพทางการเมือง

ให้มากขึ้น * ผู้อำนวยการสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.