มารยาทไทย 2

Page 1

บทที่ 6 มารยาทและการสมาคม มารยาทและการสมาคมเป็นสิ่งสําคัญอย่างหนึ่งของบุคคลในการที่จะปฏิบัติตนให้เหมาะสมในเรื่อง ของกริยามารยาท การแต่งกาย และการวางตนให้เหมาะสมกับสถานที่ และเหมาะสมกับกาลเทศะ ซึ่งบุคคล สามารถเรีย นรู้ แ ละฝึ ก ฝนได้ ด้วยตนเอง และสามารถวางตนในการเข้า ร่วมงานพิธีต่า ง ๆ ได้ ถูกต้ องตาม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมทั้งแบบไทยและสากล ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความเคารพแบบไทยและ แบบสากล รวมถึงมารยาทในการเข้าร่วมงานสังคมบางอย่าง

มารยาทไทย มารยาท คือ การแสดงอิริยาบถต่าง ๆ ที่มีความสุภาพ อ่อนน้อม ละเมียดละไม ทั้งกิริยา วาจาที่สุภาพ เรียบร้อย รวมทั้งการแต่งกายที่มีระเบียบ เหมาะสมกับกาลเทศะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงออกถึงความเป็น เอกลักษณ์ของคนไทย กิริ ยามารยาทที่ ปฏิ บัติอยู่ เป็น ประจํานั้น โดยทั่วไปก็สามารถปฏิ บัติได้อย่างดี ง าม แต่ใ นปัจจุ บั น บางครั้งยังมีข้อบกพร่อง จึงใคร่ขอเสนอเฉพาะบางเรื่องที่เกี่ยวกับมารยาทในสังคม ซึ่งเยาวชนไทยควรได้ เรียนรู้และจึงถือปฏิบัติต่อไป เช่น การแสดงความเคารพต่อบุคคลที่มีวัยต่าง ๆ บุคคลที่มีตําแหน่งหน้าที่การ งานสูงกว่าและมีฐานันดรต่างๆ ตลอดจนการปฏิบัติตนในการเข้าร่วมงานสังคม ได้แก่ งานบวช งานแต่งงาน งานศพ งานรดน้ําผู้ใหญ่ และงานทอดกฐิน การปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีและ วัฒนธรรมอันดีงามของไทย ถือว่าเป็นเสน่ห์เสริมสร้างบุคลิกของผู้ประพฤติและปฏิบัตใิ ห้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

การแสดงความเคารพแบบไทยและแบบสากล การแสดงความเคารพเป็นการแสดงออกของบุคคลต่อบุคคล ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมสืบต่อกันมา โดยมี หลักให้ปฏิบัติอยู่ 3 อย่าง คือ 1. การแสดงความเคารพทางกาย 1.1 การแต่งกายให้เรียบร้อยเหมาะสมกับสถานที่ เช่น สถานที่ราชการ วัด ฯลฯ 1.2 การแสดงความเคารพผู้ใ หญ่ ซึ่งอยู่ แห่ งเดี ยวกันหลายคน ควรจะทําความเคารพให้ เป็นไปตามลําดับอาวุโสของผู้ใหญ่เหล่านั้น 1.3 เมื่ออยู่ในสถานที่ประชุมที่มีประธานในที่นั้น เช่น ห้องปาฐกถา ห้องประชุม ไม่ต้องลุก ขึ้นทําความเคารพใคร นอกจากนั้นจะมีสัญญาณจากผู้เป็นประธานให้ลุกขึ้นแสดงความเคารพ หน้า 38

การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)


1.4 เมื่อทําความเคารพผู้ใหญ่ หรือสนทนากับผู้ใหญ่ ถ้าสวมแว่นตาดําควรถอดเสียก่อน 1.5 ขณะแสดงความเคารพอย่าคาบบุหรี่เป็นอันขาด 1.6 การเข้าไปในสถานที่ราชการ วัด ศาสนสถาน ตลอดจนการเข้าไปสู่พระบรมมหาราชวัง ปูชนียสถาน สํานักงาน องค์กรต่างๆ ต้องถอดหมวกออกถือไว้เสมอ 1.7 ต้องสํารวมอิริยาบถ เช่น ไม่ล้วง แคะ แกะ เกา ฯลฯ ต่อหน้าธารกํานัลอันมิใช่ที่รโหฐาน 1.8 ขณะที่เรานั่งอยู่ มีผู้แสดงท่าตรงเข้ามาขอจับมือด้วย เราต้องลุกขึ้นและแสดงท่าตอบ ทันที 1.9 การเก็บของตกได้ ถ้าเป็นของสตรีเวลาส่งคืนให้สุภาพบุรุษเปิดหมวกเพื่อแสดงความ เคารพ 2. การแสดงความเคารพทางวาจา คือ เมื่อจะพูดจากับใครควรพูดแต่วาจาที่สุภาพอ่อนหวาน เรียกว่า ปิยวาจา ให้เหมาะกับบุคคลที่ เราพูดด้วย ตามลําดับฐานะ และบุคคลและโอกาสในการพูด โดยยึดคติจากสุภาษิตสอนหญิงของสุนทรภู่ที่ เตือนไว้ว่า “เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ” 3. การแสดงความเคารพทางใจ คือ การทําใจเป็นกลาง ทําใจบริสุทธิ์ ไม่ลําเอียง ตั้งใจปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียม ประเพณีของท้องถิ่นนั้นๆ ด้วยความเต็มใจและเหมาะสมกับสถานที่ ใครเห็นก็จะนิยมชมชอบในการกระทํา ของเรา จงอย่าลืมว่า “สําเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล”

การแสดงความเคารพแบบไทย การแสดงความเคารพแบบไทยๆ ที่นิยมปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันมีดังนี้ 1. การแสดงความเคารพเมื่ออยู่ในอิริยาบถยืน การยืนแสดงคารวะ คือ การยืนตรง หน้าตรง ขาชิด ปลายเท้าแยกเล็กน้อย ปล่อยมือไว้ข้างตัว ใช้ ในโอกาสต่างๆ ดังนี้ 1.1 การยืนตรงเคารพธงชาติ หรือธงชัยเฉลิมพล ในสถานทีส่ าธารณะ การเคารพธงชาติหรือเพลง ชาติให้ยืนแสดงความเคารพ หันหน้าไปทางธงชาติเมื่อเพลงจบให้ค้อมศีรษะคํานับ 1.2 การถวายความเคารพสมเด็จพระสังฆราช เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาถึงมณฑลพระราช พิธีก่อนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือพระบรมวงศ์ชั้นสูง ผู้ที่เฝ้าละอองธุลีพระบาทอยู่ ณ ที่นั้น ถวาย การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)

หน้า 39


ความเคารพโดยการพนมมือไหว้เมื่อเสด็จผ่านแล้วจึงจะนั่ง ในกรณีที่เสด็จมาถึงหลังพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวให้ถวายความเคารพ โดยวิธีนั่งพนมมือ 1.3 การยืนแสดงความเคารพในกรณีเดียวกับพระมหากษัตริย์ - การยืนรับเสด็จ การยืนในแถวให้ปฏิบัติตามระเบียบ ถ้าแต่งเครื่องแบบสวมหมวก ทั้ง ชายและหญิงให้ยืนแสดงความเคารพด้วยการทําวันทยาหัตถ์ แต่ถ้าไม่สวมหมวกให้ถวายคํานับโดยก้มศีรษะลง ต่ําพอสมควร ทําครั้งเดียวแล้วยืนตรง ส่วนผู้ไม่แต่งเครื่องแบบ ผู้ชายถวายคํานับ ผู้หญิงถวายความเคารพแบบย่อเข่า เรียกว่าถอน สายบัว ถ้าสวมหมวกอื่นไม่ใช่เครื่องแบบให้ถอดหมวกออกแล้วถวายความเคารพ เช่น ผู้ไม่แต่งเครื่องแบบ - การยืนในที่เฝ้ารับเสด็จ เมื่อพระองค์ท่านเสด็จมาถึงให้ยืนถวายความเคารพ แล้วยืน จนกว่าจะประทับที่นั่งหรือลับพระองค์ไปแล้ว และให้ถวายความเคารพอีกครั้งจึงลงนั่งหรือเคลื่อนที่ เมื่อเสด็จ ไปปฏิบัติภารกิจต่างๆ เช่น ทรงจุดธูปบูชาพระรัตนตรัยหรือพระบรมราโชวาทให้ยืนขึ้นจนกว่าจะปฏิบัติภารกิจ เสร็จแล้วประทับนั่ง จึงถวายบังคมแล้วจึงนั่งลง 2. เมื่อผู้ใหญ่ที่เป็นประธานในพิธีเดินเข้าห้องประชุมผู้ที่อยู่ในห้องประชุมทั้งหมดต้องยืนตรง เพื่อ แสดงความเคารพเมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้วจึงนั่งลง 3. เมื่อครูหรือผู้ใหญ่เดินผ่านในระยะใกล้ นักเรียนชายต้องยืนตรง โค้งคํานับ นักเรียนหญิงยืนตรง แล้วไหว้ 4. เมื่อครูเข้าห้องเพื่อทําการสอน และออกจากห้องเมื่อหมดเวลา มักจะให้นักเรียนยืนตรงเพื่อแสดง ความเคารพหรือนั่งแล้วไหว้หรือกราบ 2. การทําความเคารพแบบโค้งคํานับ เป็นการแสดงความเคารพของบุรุษในลักษณะที่นอบน้อม และเป็นการแสดงความเคารพต่อบุคคล เสมอหรือผู้อาวุโสกว่า 3. การไหว้ เป็นการแสดงความเคารพที่ปฏิบัติกันมาทําได้ทั้งชายและหญิง เริ่มด้วยการพนมมืออยู่ระดับกลาง อกให้นิ้วทั้งหมดชิดกัน ปลายนิ้วตั้งตรงขึ้นเบื้องบนและหันหน้าตรงไปยังผู้ที่เราต้องการแสดงความเคารพ ระดับการไหว้ มีอยู่ 3 ระดับ คือ การไหว้ระดับ 1 เป็นการไหว้พระ โดยการประนมมือขึ้น ก้มศีรษะจรดหัวแม่มือที่กลวงหว่าง คิ้ว นิ้วชี้แตะที่เหนือหน้าผาก ชาย ยืนแล้วค้อมตัวให้ต่ํา พร้อมกับยกมือขึ้นไว้ หญิง ให้ก้าวขาขวาออกไปข้างหน้าเล็กน้อย ย่อตัวลง พร้อมยกมือขึ้นไหว้ หน้า 40

การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)


การไหว้ระดับ 2 เป็นการไหว้บิดามารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ และบุคคลที่มีอาวุโสกว่า โดยประนมมือให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายคิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว ชาย ค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ พร้อมกับประนมมือไหว้ หญิง ย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระโดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย การไหว้ระดับ 3 เป็นการไหว้ผู้เคารพนับถือทั่วไป หรือผู้อาวุโสไม่มาก รวมทั้งผู้เสมอกันโดย ประนมมือยกขึ้นให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก ก้มหน้าเล็กน้อยไม่ต้องค้อมตัวหรือย่อตัว ชาย ค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้ หญิง ย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้ ในการไหว้ผู้ที่เสมอกัน ทั้งชายและหญิงให้ยกมือขึ้นไหว้พร้อมกัน หรือในเวลาใกล้เคียงกันให้ ประนมมือระหว่างอกก้มหน้าเล็กน้อย

การแสดงความเคารพเมื่ออยู่ในอิริยาบถนั่ง 1. การนั่งไหว้ ทั้งชายและหญิง ให้เดินเข้าไปใกล้พอสมควรแล้ว นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้ายกมือไหว้ ในระดับ 2 หรือระดับ 3 2. การกราบ ใช้กราบผู้ใหญ่ที่มีอาวุโสมาก รวมทั้งผู้มีพระคุณ ได้แก่ พ่อ แม่ ครู อาจารย์และผู้ที่ เคารพ กราบเพียงครั้งเดียว โดยที่ผู้กราบทั้งชายและหญิงนั้งพับเพียงเก็บปลายเท้าแล้วหมอบลง ให้แขนทั้ง สองข้างอยู่ข้างเข่าที่ยื่นออกมา เมื่อกราบก็ประนมมือให้อยู่ในระดับพื้นแล้วก้มศีรษะลงไปจรดหัวแม่มือ ห้าม ยกหัวแม่มือขึ้นรับเด็ดขาด ถ้ากราบบุคคลธรรมดาก็กราบโดยตั้งมือและกราบครั้งเดียว ถ้ากราบพระพุทธรูปหรือพระภิกษุให้คว่ํามือลงและกราบ 3 ครั้ง กราบโดยอาศัยการหมอบ เมื่อจะลุกขึ้นต้องวางแขนทั้งสองข้างราบกับพื้น ยกส่วนสะโพกขึ้นก่อน แล้วจึงยกตัวตาม 2.1 การกราบหรือการอภิวาท เป็นการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ให้กราบพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การกราบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง การที่ให้อวัยวะทั้ง 5 คือ เข่าทั้ง 2 ข้าง และหน้าผากจรดพื้น การกราบมี 3 จังหวะ และจะต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ ดังนี้ ชาย นั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้า ให้เข่าห่างกันประมาณ 1 คืบ ของตนเอง ตัว ตรง มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง เรียกว่า ท่าเทพบุตร หญิง นั่งคุกเข่าให้ชิดกันปลายเท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองข้างวางบนหน้าขาทั้งสอง ข้าง เรียกว่า ท่าเทพธิดา การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)

หน้า 41


จังหวะที่ 1 เรียกว่ า อัญ ชลี ยกมือขึ้นประนมหว่างอก ปลายนิ้ วชิ ดกั นเบนจากทรวงอก ประมาณ 45 องศา ไม่ควรกางแขนหรือแขนแนบตัวมากเกินไป จังหวะที่ 2 เรียกว่า วันทา ยกมือขึ้นประนม พร้อมกับก้มศีรษะลงรับมือเล็กน้อยโดยให้ปลาย นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดตีนผม จังหวะที่ 3 เรียกว่า อภิวาท ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน มือคว่ํา ห่างกันเล็กน้อย พอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้ 2.2 การกราบศพ ศพพระสงฆ์ ให้กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หรือนั่งพับเพียบกราบแบมือ 3 ครั้ง ศพบุคคลธรรมดา ให้กราบ 1 ครั้ง โดยไม่แบมือ เหมือนกับกราบผู้ใหญ่ การเคารพศพเด็ก หรือผู้อาวุโสน้อยกว่า นั่งพับเพียบในลักษณะที่สํารวมมือประสานกัน 2.3 การถวายบังคม เป็นการถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ พระราชินี และงานในพระราชพิธีที่สําคัญ ซึ่งเป็น ประเพณีสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน ขั้นตอนในการถวายบังคมมีดังต่อไปนี้ ทั้งหญิงและชายจะต้อง นั่งในท่าเตรียม คือ คุกเข่า นั่งบนส้นเท้า ปลายนิ้วเท้าตั้งขึ้น ยกอก ลําตัวตั้งตรง ไหล่ไม่ห่อ มือทั้งสองวางคว่ํา ลงบนหน้าขา แล้วยกมือขึ้นประนมตรงระดับหน้าท้องให้ปลายมือจรดหน้าผาก หน้าเงยขึ้นให้ตาอยู่ในระดับหัว แม่มือ แล้วลดลงพร้อมกับโน้มตัวกลับไปข้างหน้า ให้มือลงมาถึงระดับหน้าท้องปลายมือต่ํา แล้วยกขึ้นประนม ปลายมือตั้งพร้อมกับเลื่อนมือขึ้นสูงระดับอก และยกตัวขึ้นตรง ทําเช่นนี้ 3 ครั้ง แล้วเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่า หมอบเวลาถวายบังคม ให้เอนลําตัวเหนือเอวไปข้างหลัง ชายเอนมากกว่าหญิง โดยทําตามลําดับเป็น 3 จังหวะ ดังนี้ จังหวะที่ 1 ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก จังหวะที่ 2 ยกมือขึ้นประนม ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดหน้าผากเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย จังหวะที่ 3 ลดมือกลับลงตามเดิมมาอยู่ในจังหวะที่ 1 ทําให้ครบ 3 ครั้ง โดยจบลงอย่างจังหวะที่ 1 แล้วจึงลดมือลงวางคว่ําเหนือเข่าทั้งสองข้าง การถวาย บังคมนี้ หญิงมีโอกาสใช้น้อย จะใช้ในกรณีที่มีชายกับหญิงไปถวายบังคมร่วมกัน ถ้าหญิงล้วนให้ใช้วิธีหมอบ กราบ การถวายบังคมที่นิยมอีกแบบหนึ่ง คือ การหมอบกราบ ซึ่งปฏิบัติเช่นเดียวกับการหมอบกราบผู้ใหญ่ 3. การก้มศีรษะ เพื่อแสดงกิริยาเคารพสําหรับผู้ชาย ใช้ในทั้งกรณีที่แต่งเครื่องแบบและไม่แต่ง เครื่องแบบ แต่ไม่ได้สวมหมวก 4. เปิดหมวก เป็นการแสดงความเคารพสําหรับผู้ชาย ในกรณีที่ไม่ได้แต่งเครื่องแบบแต่สวมหมวก และกําลังยืนอยู่ หน้า 42

การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)


5. คํ า นั บ หรื อ ถวายคํ า นั บ เป็ น ท่ า แสดงกิ ริ ย าทํ า ความเคารพโดยก้ ม ศี ร ษะให้ และค้ อ มตั ว ต่ํ า พอสมควร (สําหรับผู้ชาย) แต่ถ้าเป็นผู้หญิงควรย่อเข่าหรือถอนสายบัว 6. การลุกยืนตรง เป็นการแสดงความเคารพหรือการแสดงอาการต้อนรับอย่างหนึ่งในโอกาสต่างๆกัน 7. การจับมือ เป็นการแสดงความเคารพตามสากลนิยมอย่างหนึ่ง โดยการใช้มือขวายื่นจับกัน จับแต่ เพียงปลายนิ้วเบาๆ พอเป็นพิธี การจับมือกันควรโค้งกายพองาม เขย่ามือเพียงครั้งเดียว มืออีกข้างหนึ่งเหยียด ตรงข้างลําตัว ถ้าจับมือกับผู้ใหญ่ต้องให้ผู้ใหญ่ยื่นมือมาให้ผู้น้อย

การแสดงความเคารพแบบสากล การแสดงความเคารพแบบสากล มีดังนี้ 1. วันทยหัตถ์ เป็นการเคารพของทหารตํารวจและลูกเสือ ขณะที่แต่งเครื่องแบบสวมหมวก แต่ไม่มี อาวุธและอยู่ตามลําพัง 2. วันทยาวุธ เป็นการเคารพของทหาร ตํารวจและลูกเสือ ที่แต่งเครื่องแบบ สวมหมวกและถืออาวุธ อยู่กับที่ ทั้งอยู่ตามลําพัง และอยู่ในความควบคุมแบบของทางการนั้น 3. แต่งเครื่องแบบไม่สวมหมวก ผู้ชายแสดงความเคารพโดยก้มศีรษะ 4. แต่งเครื่องแบบแต่สวมหมวก แสดงความเคารพโดยการเปิดหมวก 5. พบกับชาวต่างชาติ จะแสดงความเคารพและทักทาย ด้วยการสัมผัสมือ โดยยื่นมือขวาออกไป สัมผัสกัน เขย่าเบาๆ แล้วค่อยปล่อยมืออย่างนุ่มนวล

มารยาทในการเข้าร่วมงานสังคมบางอย่าง 1. การบวช การบวชมีความหมายรวมไปถึง การบวชเณร (บรรพชา) และการบวชพระ (อุปสมบท) ผู้ที่มี ความประสงค์จะบวชต้องมีคุณสมบัติตามข้อบัญญัติของวินัยสงฆ์ มารยาทของผู้ที่จะไปร่วมงานอุปสมบท นัน้ ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1.1 การแต่งกาย สุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับสภาพของงาน เช่น ถ้าเป็นสุภาพสตรีก็ควรนุ่ง กระโปรงที่ดูเรียบร้อยไม่สั้นจนเกินไป สะดวกแก่การลุกนั่ง เน้นความสุภาพเรียบร้อยเป็นสําคัญ 1.2 ไปถึงงานให้ตรงกําหนดเวลาหรือก่อนเวลาเล็กน้อย 1.3 เมื่อไปถึงงานควรเข้าพบเจ้าภาพก่อน เพื่อช่วยเงินในการทําบุญตามกําลังศรัทธา 1.4 นั่งในที่เจ้าภาพเชิญให้นั่ง ไม่ควรนั่งข้างหน้าผู้ใหญ่ 1.5 ไม่ควรส่งเสียงดัง และแสดงกิริยาไม่สุภาพ 1.6 ไม่ควรดื่มสุราและของมึนเมาในงานบวชหรือสูบบุหรี่ให้รบกวนผู้นั่งใกล้ 1.7 การลากลับ ถ้าแขกไม่มากนัก ควรไปลาเจ้าภาพก่อนกลับด้วย การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)

หน้า 43


2. การแต่งงาน การแต่งงาน หรืองานมงคลสมรสเป็นงานที่มีเกียรติของคู่บ่าวสาว ที่จะประกาศให้สังคมรับรู้ว่าทั้ง สองตกลงใช้ชีวิตร่วมกัน โดยกําหนดพิธีการแต่งงานขึ้น สําหรับผู้ที่ได้รับเชิญให้ไปในงานมงคลสมรส เพื่อไป แสดงความยินดีกับคู่บ่าวสาว ควรปฏิบัติตามหลัก ดังต่อไปนี้ 2.1 เตรียมของขวัญสําหรับคู่บ่าวสาว ซึ่งอาจจะเป็นของขวัญ เป็นเงินสด หรืออื่นๆ ที่เห็นว่า เหมาะสม พร้อมติดบัตรที่ของขวัญด้วย เพื่อให้ผู้รับทราบว่าเป็นของของใคร 2.2 ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับลักษณะของงาน เวลา และสถานที่ ซึ่งถือเป็น การให้เกียรติกับคู่บ่าวสาว สีของเสื้อผ้าควรเสมาะสมด้วย (ห้ามสีดํา เทา และม่วง) 2.3 ควรไปถึงงานให้ตรงเวลาหรือก่อนเล็กน้อย 2.4 เมื่อไปถึงในงาน ควรไปพบเจ้าภาพหรือคู่บ่าวสาวก่อน เพื่อส่งของขวัญให้ 2.5 ถ้าต้องไปร่วมตักบาตรเช้าควรเตรียมอาหารคาวหวานไปให้พร้อม 2.6 ให้นั่งตามที่เจ้าภาพเชิญให้นั่ง และไม่ควรนั่งข้างหน้าผู้ใหญ่ 2.7 เมื่อเดินเข้าห้องพิธีผ่านโต๊ะหมู่บูชาให้ยกมือไหว้พระก่อน 2.8 การหลั่งน้ําพระพุทธมนต์ ควรเป็นไปตามลําดับอาวุโส เช่น อาวุโสสูง เข้าไปก่อน อาวุโสน้อย เดินตามหลัง 2.9 ควรหยิบของชําร่วย จากพานเพียงชิ้นเดียว 2.10 การรับประทานอาหารจะเริ่มได้ ก็ต่อเมื่อเจ้าภาพประกาศเชิญให้ทานก่อนและให้ปฏิบัติ ตามมารยาทของการรับประทานอาหารแต่ละแบบ 2.11 ขณะที่ผู้ใหญ่กําลังกล่าวสุนทรพจน์ไม่ควรพูดคุยส่งเสียงดังและไม่ควรสูบบุหรี่ 2.12 เมื่อสมควรแก่เวลากลับ ควรบอกลาเจ้าภาพก่อน 3. งานศพ งานศพ เป็นงานที่เศร้าโศก ผู้ไปร่วมงานต้องสํารวมกิริยามารยาทให้เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นการไป ฟังสวดศพ ต้องพยายามไปเคารพศพก่อน หรือการทําบุญ 7 วัน 50 วัน 100 วัน จนถึงวันฌาปนกิจศพ พึง ปฏิบัติดังต่อไปนี้ 3.1 การแต่งกายไว้ทุกข์ ตามความนิยมของท้องถิ่นนั้นให้แต่งชุดไว้ทุกข์ที่มีแบบเรียบร้อย สุภาพ ไม่ตกแต่ง ด้วยเครื่องประดับที่แวววาว 3.2 เมื่อไปถึงให้แสดงความเสียใจ กับเจ้าภาพก่อน 3.3 ถ้าไปในพิธีรดน้ําศพ เมื่อเข้าไปในห้องพิธีมีโต๊ะหมู่บูชาให้กราบพระก่อนแล้วจึงเข้าไปรดน้ํา ศพโดยเรียงตามอาวุโสสูง ไปหาอาวุโสน้อยตามลําดับ

หน้า 44

การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)


3.4 การรดน้ําศพเมื่อใช้น้ําอบไทย รดที่ตัวผู้ตายแล้วกล่าวคําอโหสิกรรม แล้วกราบหรือไหว้ศพ อีกครั้ง 3.5 ในการรดน้ําศพพระภิกษุ ควรกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง แล้วรดด้วยน้ําหอม หรือ น้ําอบโดยการเทบนฝ่ามือ เสร็จแล้วให้กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง 3.6 การสนทนาในงานศพ สํารวมกิริยามารยาทไม่ส่งเสียงดังหรือหัวเราะเสียงดัง 3.7 ถ้าไปงานสวดศพในตอนกลางคืน ควรนําพวงหรีด หรือปัจจัยทําบุญไปมอบให้เจ้าภาพ เพื่อ ร่วมทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่เสียชีวิต และแสดงความเสียใจด้วย 3.8 ควรกราบพระก่อน แล้วจึงไปเคารพศพ โดยใช้ธูป 1 ดอก ถ้าเป็นศพเด็กให้นั่ง พับเพียบใน ลักษณะสํารวมมือประสานกัน ไม่ต้องไหว้ศพ 3.9 ถ้าเป็นแขกโดยทั่วไป ควรอยู่ฟังพระสวดศพจนจบแล้วจึงลากลับ 3.10 ถ้าได้รับเชิญไปเป็นประธานในการฌาปนกิจ ควรไปถึงก่อนเวลาพอสมควร 3.11 เมื่อเข้าไปบริเวณเมรุซึ่งมีศพตั้งอยู่ ชายคํานับ หญิงควรน้อมตัวไหว้ศพก่อนแล้วจึงนั่งด้วย ท่าสงบ แต่ไม่ควรนั่งหน้าผู้ใหญ่ 3.12 เมื่อประธานในพิธีจุดไฟ แขกทุกคนจะต้องลุกขึ้นยืนสงบนิ่ง 3.13 เมื่อประธานลงจากเมรุ จึงค่อยทยอยกันขึ้นไปเผา โดยเรียงลําดับอาวุโสโดยวางดอกไม้ธูป เทียนให้วางบนเชิงตระกอน แล้วทําความเคารพศพอีกครั้งก่อนลงจากเมรุ 3.14 ควรหยิบของชําร่วย จากพานเพียงชิ้นเดียว 3.15 ก่อนกลับถ้ามีโอกาส ควรลาเจ้าภาพด้วย 4. การรดน้ําผู้ใหญ่ การรดน้ําผู้ใหญ่ การรดน้ํา หมายถึงการหลั่งน้ําในพิธีมงคลต่างๆ เช่น พิธีแต่งงาน โกนจุก ฯลฯ การรดน้ําผู้ใหญ่ คือ การหลั่งน้ําลงที่มือของผู้ใหญ่ในโอกาสวันเทศกาลต่างๆ เช่น วันสงกรานต์ วันทําบุญอายุ ครบรอบต่างๆ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป การรดน้ําผู้ใหญ่ที่จะนิยมทําแตกต่างกันออกไป เช่น คนไทยนิยมรดน้ําผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์ คือ วัน ที่ 13 เมษายน ของทุ ก ๆ ปี ภาคเหนือ ถื อ ปฏิ บั ติ กั น เป็ น ประเพณี ป ระจํ า ทุ ก ปี เ นื่ อ งในโอกาสเทศกาล สงกรานต์เช่นกัน โดยทางภาคเหนือ เรียกว่า “รดน้ําดําหัว” เป็นการรดน้ําเฉพาะบิดา มารดา ญาติอาวุโส และผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ เพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณท่าน โดยจะนําผ้านุ่งห่ม หรือสิ่งของที่ตนเห็นสมควรมา ให้ท่าน และขอศีล ขอพรจากผู้ใหญ่ บางแห่งจะมีการจัดงานรื่นเริงต่างๆ เป็นพิเศษ ในปัจจุบันนี้ ในวันขึ้นปี ใหม่ บุตร หลาน ก็นิยมไปรดน้ําให้ผู้ใหญ่ ครู อาจารย์ ที่ตนเคารพนับถือ เพื่อขอพรจากท่าน มารยาทผู้ไปรดน้ําผู้ใหญ่ มีดงั นี้ 4.1 ผู้ไปรดน้ําให้ผู้ใหญ่ต้องมีอาวุโสน้อยกว่า ผู้รบั น้ํา การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)

หน้า 45


4.2 การแต่งกายควรแต่งกายแบบไทย หรือแบบสากลนิยมที่ดูแล้วเรียบร้อย เพื่อเป็นการแสดง คารวะแต่ผู้ใหญ่ 4.3 น้ําที่จะไปรด ต้องนํามาเอง โดยทั่วไปนิยมใช้น้ําผสมน้ําอบไทย และมีดอกมะลิ ลอยน้ําเพื่อให้ หอมชื่นใจ 4.4 สิ่งของที่จะนําไปให้ผู้ใหญ่ ตามประเพณีเดิมเป็น ผ้าคู่ ปัจจุบันจะเป็นเสื้อกางเกง กระโปรง ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ ตามแต่ความสะดวกและโอกาสอํานวย ควรห่อเป็นของขวัญให้เรียบร้อย แล้ววางบนพาน 4.5 เมื่อเข้าพบผู้ใหญ่ให้นั่งพับเพียบ แล้วกราบ 1 ครั้ง แล้วจึงนําน้ําที่เตรียมมาเทลงบนมือผู้ใหญ่ ไม่ต้องให้พรแก่ผู้ใหญ่แต่ผู้ใหญ่จะเป็นฝ่ายให้พรผู้น้อย ผู้รดน้ําเพียงแต่พนมมือรับพร เสร็จจากการรับพรของ ผู้ใหญ่แล้ว ควรไหว้หรือกราบอีกครั้ง 4.6 เมื่อเสร็จจากการรับพรแล้ว ให้ยื่นพานของขวัญให้ท่านหยิบเอง แล้วกราบอีก 1 ครั้ง 4.7 เมื่อจะลากลับ ควรไหว้หรือกราบลาอีกครั้งแล้วจึงกลับไป

หน้า 46

การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.