หัตถกรรมอาเยาะห์อาลี

Page 1

หัตถกรรมอาเยาะห์อาลี รั ง สรรค์ ด ว ้ ยสองมื อ ลงลวดลายผ่ า นจิ น ตนาการ ทรงเสน่ห์ชายแดนใต้

นายอาลี (อาเยาะห์อมาหะ าลี)


บทน�ำ

หนังสือคูม่ อื รวบรวมผลงานหัตถกรรมอาเยาะห์อาลี เล่มนี้ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ รวบรวมผลงานหัตถกรรม พืน้ บ้าน ประเภทเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ของคนในยุคสมัย ก่อน ทีป่ ระกอบอาชีพ ทำ�ประมง ทำ�นาและเกษตรกร ฯลฯ ให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้า ตลอด จนสามารถนำ�ข้อมูลเหล่านี้​้ไปต่อยอด จนเกิดเป็น ชิ้นงานที่สมบูรณ์แบบในอนาคตข้างหน้าได้ ผลงาน หัตถกรรมทุกประเภทถูกรังสรรค์ด้วยสองมือหรือ ที่รู้จักกันในนาม งานฝีมือ (Hand made) ซึ่งผล งานเหล่านี้เคยได้รับความนิยมในยุคสมัยหนึ่ง ก่อน ความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีจะมาแทนที่ ซึ่ง ปัจจุบันประโยชน์การใช้สอยจากผลงานหัตถกรรม เหล่านีค้ อ่ ย ๆ จางหายไป ทำ�ให้คนเริม่ ให้ความสนใจ น้อยลง กระทั้งเป็นที่น่ากังวลใจว่า คนรุ่นหลังอาจ จะไม่รู้จักและคุ้นชินหากกล่าวถึงงานฝีมือ ทั้งที่งาน ฝีมอื เหล่านี้ มีเรือ่ งราวทีม่ คี วามเกีย่ วข้องกับวิถชี วี ติ ความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาค ใต้เป็นอย่างมาก นับว่าเป็นวัฒนธรรมอันดีงาม ที่ น่าภาคภูมิใจยิ่ง อีกประการหนึ่งก็ว่าได้ ข้อมูล ประวัติศาสตร์อันดีงามเหล่านี้ถูกจารึก แค่ในความทรงจำ�ของคนสมัยก่อน และในศูนย์พิพิธภัณฑ์รวมของ เก่าโบราณเท่านั้น แต่เรื่อง ราวความเป็นมาเหล่านี้ยัง ไม่ได้รบั การถ่ายทอดไปสู่ คนรุ่นหลังได้อย่างเพียง พอ อาจด้วยข้อจำ�กัด หลายประการ ดังนั้น การจัดทำ�หนังสือคูม่ อื เล่มนี้ เป็นหนึ่งงานใน โปรเจคของรายวิ ช า ก า ร ฝ ึ ก ป ฏิ บั ติ ก า ร สื่อสารการตลาด ซึ่งมี ความประสงค์ อ ยากจะ ฟืน้ ฟูและถ่ายทอดองค์ความ รู้เหล่านี้ ผ่านการบันทึกเรื่อง ราวทางประวัติศาสตร์ ด้วยวิธี การใช้ภาพประกอบเล่าเรื่องผลงาน หั ตถกรรมพื้ น บ้ านในแต่ละชิ้นงาน อาทิ กระต่ายขูดมะพร้าว(กอแร) จือปู เลฮา ก

กล่องใส่ของ (กอเตาะ) กะลาตักน�้ำ ไม้พาย ภาชนะ เตรียมสำ�รับ และเครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลอง มลายู กลองรำ�มะนา จาปี และปี่(ซูนา) เป็นต้น คณะ ผูจ้ ดั ทำ�มีการสร้างสรรค์สอื่ ในรูปแบบของหนังสือคูม่ อื และหนังสือออนไลน์ E-book เพื่อให้มีความทันสมัย มากขึ้น ซึ่งมีส่วนทำ�ให้คนในยุคปัจจุบันได้มีโอกาส เข้าถึงและเข้าใจเกี่ยวกับผลงานหัตถกรรมได้อย่าง ท่องแท้ ด้วยวิธีการผสมผสานทุกศาสตร์ที่มีความ เกี่ยวข้องกับการสื่อสารการตลาด มาบูรณาการเพื่อ การถ่ายทอดงานฝีมือให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากที่สุด นายอาลี มาหะ หรือ อาเยาะห์อาลี ปัจจุบัน อายุ 77 ปี เป็นศิลปินมากงานฝีมอื เป็นช่างแกะสลักไม้ ทีม่ ผี ลงานโดดเด่นและเป็นทีร่ จู้ กั มายาวนานของชุมชน บ้านบาราโหมและชาวจังหวัดปัตตานี โดยมีความสนใจ และริเริ่มสร้างผลงานไม้มาตั้งแต่อายุ 20 ปี ปัจจุบัน ศิลปินยังคงมีการประดิษฐ์ชิ้นงานอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้เราสามารถถ่ายทอดเรือ่ งราว ได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง ครบ ถ้วนและสมบูรณ์ มากที่สุด


สาบทน�รบัำ ญ

ก การเลือกไม้ 1 เครื่องมือที่ใช้ 2 กระต่ายขูดมะพร้าวก่อนมีลวดลาย 5 รวมลวดลาย 7 รวมผลงานหัตถกรรมอาเยาะห์อาลี 9 กระต่ายขูดมะพร้าว 12 จือปู 13 กอเตาะ 16 เลฮา 17 จาปี 19 โฆ่ง 21 ปี่ (ซูนา) 22 สืบต่อความงามในแบบฉบับชายแดนใต้ 23 บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นงาน 35 คณะผู้จัดท�ำ 36


การเลือกไม้

การเลือกสรรไม้เพื่อนำ�มาประดิษฐ์ชิ้นงานกระต่ายขูดมะพร้าว ถือเป็น ชิ้นงานที่ค่อนข้างเลือกหาไม้ได้อย่างยากลำ�บาก เนื่องจากไม้ที่นำ�มาตัดและ สร้างชิ้นงาน จะต้องเลือกหาไม้ที่มีกิ่งก้าน สะดวกต่อการทำ�โครงสร้างของ กระต่ายขูดมะพร้าว โครงสร้างของกระต่ายขูดมะพร้าว จะมีความยาว 20 นิ้ว และส่วนหัว 12 นิ้ว และในส่วนของการหาไม้ที่จะนำ�มาทำ�จือปู กอเตาะ และเครือ่ งดนตรีประเภทต่าง ๆ นิยมหาไม้ทมี่ ลี กั ษณะกลมขนาดใหญ่หรือเป็น ก้อน แล้วนำ�มาเก็บเกี่ยวรายละเอียดต่าง ๆ ภายหลัง

1


เครื่องมือที่ใช้ผลิตชิ้นงาน

2


3


4


กระต่ายขูดมะพร้าวก่อนมีลวดลาย

5


6


รวมลวดลาย

กอแรทีก่ ล่าวถึงนัน้ มีลวดลายฉลุทแี่ ตกต่างกันไป มีทั้งที่เป็นลวดลายมลายูและลวดลายไทย สำ�หรับแรง บันดาลใจของศิลปินในการสร้างสรรค์ลวดลาย เกิดจาก การได้พบเจอ กับสิง่ ทีอ่ ยูร่ อบตัว แล้วเก็บความประทับใจ มาประดับประดาบนชิ้นงานของตัวเอง ด้วยการแกะสลัก ลวดลายอย่างประณีต ชิ้นงานอาเยาะห์อาลี เป็นงานฉลุไม้ที่มีลวดลาย หลายรู ป แบบมาประดั บ ประดาลงบนชิ้ น งานอย่ า ง สร้างสรรค์สวยงาม ลวดลายส่วนใหญ่ทอี่ อกแบบจะผ่าน กระบวนการคิด ผสมผสานลวดลายรูปแบบต่างๆ ทั้ง ลวดลายมลายูและลวดลายไทยเข้าไว้ด้วยกัน

ลวดลายมลายู จะมีลักษณะที่ชัดเจน

ลวดลายไทย เป็นลวดลายกนก จะมี

ลวดลายจะบ่งบอกถึงวัตถุได้คอ่ นข้างเห็นได้ชดั ลวดลาย มลายูจะไม่ค่อยมีใบไม้ให้ได้เห็น งานแกะสลักลวดลาย มลายูจึงมีให้เห็นแค่เพียงกิ่งก้านที่เชื่อมต่อระหว่างกัน เท่านั้น ดอกไม้ที่ได้รับความนิยมใน การทำ�ลวดลาย คือ ดอกกุหลาบและดอกชบา ลักษณะคดม้วนเชือ่ มต่อกัน ได้รบั แรงบันดาลใจและอาศัย รูปทรงพรรณไม้ สรรพสัตว์ และสิ่งที่เป็นประกฎการณ์ ทางธรรมชาติ อย่างเปลวไฟ ดอกไม้ที่ได้รับความนิยม ในการแกะสลักลวดลายไทย คือ ดอกบัว และจะมีใบไม้ ปรากฏให้เห็นในลวดลายนี้ด้วย ลวดลายไทยที่พบเห็น บนชิ้นงานของศิลปิน ได้รับแรงบันดาลใจจากการพบ เจอผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มตรา สิงค์ จนกระทั้งเกิดไอเดีย สร้างสรรค์ลวดลายไทยมาจนถึงปัจจุบันนี้

7

วิ ธี ก ารทำ�ให้ เ กิ ด ลวดลาย

จำ�เป็ น ต้ อ งผ่ า นกระบวนการที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยใจรั ก ใน งานฝีมือ ด้วยการออกแบบลวดลายลงบนวัตถุ แล้ว ใช้เครื่องมือมีคม เช่น สิ่ว ขวาน สว่านไร้สาย เลื่อย ค้อน ฉาก ตะไบ หางปลากระเบน กบ มีดปลายแหลม เจาะตัดวัสดุตามเส้นลวดลายที่ได้ออกแบบไว้ให้ทะลุ โปร่ง จนเกิดเป็นลวดลายที่มีความประณีตคมชัดและ มีช่องไฟที่เหมาะสมลงตัว ลวดลายที่อยู่บนชิ้นงานเกิด จากความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินเป็นสำ�คัญและ ค่อยๆเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของลูกค้า


8


กอเตาะ

สำ�รับ

ร วมผ หัตถกรรมอ จือปู

ปี่(ซูนา) 9

โฆ่ง


เลฮา

จาปี

ผลงาน อาเยาะห์อาลี กระต่ายขูดมะพร้าว

กลองมลายู(บานอ)

ไม้พาย 10


11


กระต่ายขูดมะพร้าว

ประวัติความเป็นมา

กอแฆ มาจากภาษามลายูถิ่นปัตตานี แปลว่า กระต่ายขูดมะพร้าว คำ�ว่า กอแฆ มาจากคำ�ว่า อูโก แร ซึ่งหมายถึงการเปรียบเทียบ ดังคำ�บอกเล่าของผู้ เฒ่าว่า มีหนุ่มสาวคู่หนึ่งเป็นสามีภรรยา ทั้งสองเป็น คนที่หน้าตาดี สวย หล่อ คุณสมบัติเพียบพร้อมไม่มี คนใดคนหนึ่งด้อยกว่ากัน อยู่มาวันหนึ่งเขาทั้งสองได้ หยอกล้อเล่นกัน ให้ฝ่ายชายทำ�ท่านั่งหมอบแบบสี่ขา แล้วฝ่ายหญิงขึ้นไปขี่บนหลัง โดยฝ่ายชายยินยอมให้ ฝ่ายหญิงขึ้นไปนั่งเล่นอยู่บนหลัง นั่นแปลว่าสามียอม ให้ภรรยาหยอกล้อ แม้ให้ขึ้นไปเล่นถึงบนหลังของเขา จึงเป็นที่มาของคำ�เปรียบเทียบว่าสามีกลัวเมียเสมือน กอแฆหรือท่าขูดมะพร้าว ซึ่งเป็นท่าหมอบ ซึ่งกระต่าย ขูดมะพร้าวจะมีเฉพาะตัวผู้เท่านั้น โดยสังเกตจากรูป ทรงคล้ายเพศชายอยู่ใต้ท้องของกระต่ายขูดมะพร้าว ทุกตัว บ้างจะเรียกว่ากระต่ายขูดหรือเหล็กขูด เป็น เครือ่ งมือใช้สำ�หรับขูดมะพร้าว จะมีฟนั ซีโ่ ดยรอบปลาย เหล็กคมเรียกว่า “ฟันกระต่าย” ใช้สำ�หรับขูดมะพร้าว มักจะทำ�เป็นตัวกระต่ายหรือสัตว์ประเภทอืน่ ๆ แต่ชาว บ้านก็ยังคงเรียกว่า “กอแฆ” ซึ่งเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ ภายในครัวเรือนของคนในอดีต แต่ในปัจจุบันอาจจะมี ให้เห็นเพียงบางบ้านเท่านั้น จึงต้องการให้มกี ารอนุรกั ษ์และสืบทอดไปยังชนรุน่ หลัง โดยการร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อลูกหลานต่อไป

ประวัติการใช้งาน กระต่ายขูดมะพร้าว คนสมั ย ก่ อ นใช้ ช ้ อ นที่ แ หลมคมในการขู ด มะพร้ า ว หลั ง จากนั้ น ก็ มี ก ารพั ฒ นาประดิ ษ ฐ์ ที่ ขู ด มะพร้าว จากช้อนปรับเปลี่ยนให้มีความสะดวกและ รวดเร็วกว่า และนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดเป็น รูปทรงต่างๆ อย่างรูปทรงกระต่าย รูปก้อนธรรมดา และรูปทรงก้อนสี่เหลี่ยมที่สามารถนั่งได้ กระต่ายขูด มะพร้าวแต่ละพืน้ ทีจ่ ะมีความแตกต่างกัน และออกแบบ รูปทรงตามความชอบและความเหมาะสมของรูปร่าง สรีระของแต่ละบุคคล กอแรรากศัพท์มาจากภาษายาวี ในภาษาทางภาคใต้ เรียกว่า (เหล็กขูด) ส่วนภาคเหนือ เรียกว่า แมวขูดมะพร้าวหรืององ รูปทรงกอแรตัวผูจ้ ะ มีรูปร่างผอม ยาว ไม้ที่นำ�มาทำ�กอแร คือไม้ที่ปลวก

หรือแมลงไม่กิน ส่วนใหญ่ทำ�มาจากไม้ขนุน ลักษณะ กระต่ายทีไ่ ด้รบั ความนิยม คือ จะมีลกั ษณะทีน่ งั่ กว้าง 5 นิว้ เพือ่ ความสะดวกในการนัง่ ความยาวของกระต่าย นับจากหัวถึงปลายประมาณ 20 นิว้ เท่ากับ 1 ฟุต ระยะ เวลาในการทำ�กระต่ายขูดมะพร้าว 15 วัน และจะนิยม ทำ�ในช่วงเวลาว่าง หลังจากเสร็จสิน้ งานหลักเท่านัน้ คน ทีค่ ดิ ค้นทำ�กระต่ายขูดมะพร้าว คือ คนบาเตาะ ประเทศ อินโดนีเซีย และถูกเผยแพร่สู่ประเทศมาเลเซีย (บือแน ยาวอ) เข้าสู่ชนเผ่าซาไก เรียกจาบี หลังจากนั้นแต่ละ ชนเผ่าก็จะมีรูปทรงที่เหมือนและแตกต่างกันไป

ท่านั่งขูดมะพร้าวของชายหญิง ท่ า ทางขู ด มะพร้ า วของผู ้ ช ายและผู ้ ห ญิ ง มี ความแตกต่างกัน โดยหากผูช้ ายเป็นคนขูด มักจะนิยม นัง่ คร่อมบนกระต่ายขูดมะพร้าว ในขณะทีผ่ หู้ ญิงจะนัง่ ไพล่หรือนั่งพับขาไปทางด้านใดด้านหนึ่งของกระต่าย ขูดมะพร้าว วิธีการขูดมะพร้าวของชาวบ้านจะขูดเบา ๆ ไม่กดแรงเกินไป เพราะจะทำ�ให้คั้นกะทิยาก หากขูด เบา ๆ แล้วเนื้อมะพร้าวจะเป็นฝอยละเอียด ทำ�ให้คั้น น�้ำกะทิได้ง่ายและได้ปริมาณมากกว่า ไม่นิยมขูดเนื้อ มะพร้าวไว้ล่วงหน้านาน ๆ เพราะจะทำ�ให้เนื้อมะพร้าว เหม็นบูด ดังนั้นการขูดมะพร้าวจะต้องขูดในระหว่าง เตรี ย มอาหารขณะนั้ น เท่ า นั้ น การใช้ ก ระต่ า ยขู ด มะพร้าวในปัจจุบันค่อย ๆ ลดลง เนื่องจากมีเครื่องมือ ขูดมะพร้าวชนิดใช้มอื หมุนและเครือ่ งยนต์เข้ามาแทนที่ หรือใช้กะทิสำ�เร็จรูปที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปในการ ปรุงอาหารแทน

12


จือปู

ประวัติความเป็นมา จื อ ปู เป็ น อุ ป กรณ์ เ ครื่ อ งใช้ ต ามครั ว เรื อ น มี อ ายุ ยาวนานกว่า 100 ปี ชาวประมงนิยมใช้งาน เพื่อ ถนอมอาหารในช่วงการออกเดินทางหาเลี้ยงชีพ จือ ปู ก่อกำ�เนิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของคนในยุค สมัยโบราณ ซึ่งมีวิวัฒนาการจากการเริ่มใช้ใบตอง ในการหุ้มหออาหาร แต่ด้วยความที่ใบตองไม่มีความ แข็งแรง คงทนพอต่อการหุ้มหออาหารได้ในระยะเวลา นานๆ พร้อมทั้งยังเป็นอุปสรรคในการพกพาอีกด้วย ทำ�ให้มนุษย์เริ่มมีการคิดค้นประดิษฐ์เครื่องใช้ที่เพิ่ม ความสะดวกสบายมากขึ้น ด้วยการหาไม้ที่มีความ แข็งแรงคงทนมาประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ที่มีชื่อเรียกว่า “จือปู” การใช้ไม้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานนั้น นับว่า เป็นประโยชน์อย่างมหาศาล แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม้ทุกชนิดจะสามารถนำ�มาผลิตเป็นชิ้นงานได้ การคัด สรรไม้จึงต้องคัดสรรไม้ที่มีความคงทน อย่างไม้โฉนด (เกรดB) ซึ่งเป็นพันธ์ไม้ที่มีคุณสมบัติเป็นไม้คงทนและ สามารถถนอมอาหารได้เป็นอย่างดี ทัง้ นีย้ งั มีไม้อกี หนึง่ ชนิดที่ถือว่าหายากและเหมาะแก่การทำ�จือปูมากที่สุด นั่นคือ ไม้หยี (เกรดA) เป็นไม้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว สามารถกักเก็บความร้อนของอาหารได้ดี แต่ไม้ชนิดนี้ กลับเป็นไม้ทหี่ ายาก การประดิษฐ์ชนิ้ งาน จึงมีให้เห็นแค่ บางโอกาสเท่านั้น

13


การใช้งานจือปู จือปูนบั ว่าเป็นเครือ่ งใช้ทใี่ ช้งานได้สะดวกสบาย ไม่แพ้ชนิ้ งานอืน่ และยังใช้งานได้ดกี ว่าสิง่ ของเครือ่ งใช้ใน ยุคสมัยปัจจุบนั เสียอีก เพียงแต่วา่ ก่อนทีจ่ ะใส่อาหาร ไม่ ว่าจะข้าวสวย แกงต่างๆ จำ�เป็นต้องนำ�ใบตอง มารอง ในภาชนะเสียก่อน เพื่อความสะอาดแบบง่ายๆ นั่นเอง จือปู สามารถเปรียบเทียบได้กับปิ่นโตในยุคปัจจุบัน ที่ นิยมใช้งานเป็นภาชนะบรรจุอาหาร อาเยาะห์อาลีเริ่ม คิดค้นทำ�จือปูในช่วงที่ประกอบอาชีพประมง เนื่องจาก จำ�เป็นต้องนำ�อาหารบรรจุใส่ภาชนะ เพื่อเป็นเสบียงใน การรับประทานอาหารของแต่ละมือ้ ระหว่างวัน หลังจาก นัน้ อาเยาะห์อาลีเริม่ ทำ�จือปูเพือ่ ใช้งานเองและเริม่ มีการ สัง่ ซือ้ สินค้าขึน้ ในภายหลัง จือปู มีหลายขนาด ทัง้ ขนาด เล็ก กลาง และขนาดใหญ่ แต่ในปัจจุบัน จือปู เริ่มหา ยากและไม่ค่อยมีการทำ�แล้ว เนื่องจากคนที่มีจือปูส่วน ใหญ่ คือ นักอนุรกั ษ์และบุคคลทีช่ นื่ ชอบส่วนตัวมากกว่า การใช้งานจึงเป็นไปในเชิงการรักษาภูมิปัญญาของคน ยุคสมัยก่อน ทดแทนการใช้งานจริง

วิธีการทำ�จือปู นำ�ไม้ ที่ เ ป็ น ก้ อ นวาดรู ป ทรงบนไม้ แ ละนำ�มา แกะเนือ้ ไม้ออกตามรูปทรงทีว่ ดั ไว้ แล้วเก็บรายละเอียด ให้เรียบ อย่างประณีต การทำ�จือปูควรเป็นไม้หวาย เนือ่ งจากไม้หวายเป็นไม้ทแี่ ข็งแรงคงทน ไม่หลุดง่าย ใช้ งานได้นาน ระยะเวลาในการประดิษฐ์ชนิ้ งาน ประมาณ 15 วัน นิยมทำ�ในช่วงเวลาว่าง หลังจากเสร็จสิ้นงาน หลัก เป็นหนึ่งงานประดิษฐ์ที่ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน เพราะเป็นการแกะสลักด้วยมือและใช้อุปกรณ์ที่ช่างมี ตามบ้านเท่านั้น 14


15


กอเตาะ

สุดยอดเครื่องใช้สำ�หรับบรรจุใส่สิ่งของมีค่า ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณประโยชน์ใช้สอย คนสมัยก่อน ใช้กอเตาะทดแทนกระเป๋าคาดเอวในปัจจุบัน กอเตาะ นิยมใช้ทั้งเพศชายและเพศหญิง บรรจุของมีค่า อย่าง แหวน เงินทอง เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งของได้รับความเสีย หายและหล่นหายลงน�้ำทะเลไป ที่เป็นเช่นนั้น เนื่องจาก กอเตาะมีคุณสมบัติพิเศษ ที่ผู้ผลิตคิดค้นประดิษฐ์และ เลือกคัดสรรชนิดไม้ชั้นดี อย่างไม้ขนุน มาประดิษฐ์ชิ้น งาน เพื่อเป็นวัสดุที่สามารถลอยน�้ำได้ ขนาดของกอ เตาะที่ศิลปินคิดค้นจะมีหลายขนาดด้วยกัน ทั้งขนาด เล็ก กลาง และขนาดใหญ่ แต่ทั้งนี้ก็คำ�นึงถึงความ สะดวกสบายในการใช้ประโยชน์เป็นหลัก กอเตาะนอกเหนือจากการใช้ประโยชน์ในการ เก็บสิ่งของมีค่าได้แล้ว ยังสามารถเป็นที่นั่งและหมอน รองศีรษะ ในช่วงพักเหนื่อยระหว่างวันได้อีกด้วย การ ผลิตชิน้ งาน ศิลปินจะเลือกใช้ไม้ทงั้ ก้อนมาประดิษฐ์เพือ่ ไม่ให้มีรอยต่อ ซึ่งถ้ามีจำ�เป็นต้องใช้ตะปูมาเชื่อมต่อให้ ติดกัน และนัน้ เป็นจุดเริม่ ต้นของการเกิดสนิม ทีเ่ ป็นเช่น นัน้ เนือ่ งจากการพกพาลงทะเลในช่วงการทำ�ประมง น�ำ้ ทะเลทีเ่ ค็มจะส่งผลทำ�ให้เกิดสนิมได้ และแน่นอนเครือ่ ง ใช้ อันมีคา่ เหล่านัน้ ก็จะพลอยเกิดความเสียหายไปด้วย แต่ดว้ ยความสะดวกสบายเข้ามามีบทบาทกับคนในยุค สมัยปัจจุบัน ที่เรียกกันว่า เทคโนโลยี ทำ�ให้ปัจจุบันไม่

นิยมใช้งานกอเตาะในชีวติ ประจำ�วันแล้ว แต่ปรับเปลีย่ น เป็นการเก็บสะสมแทน ในยุคสมัยนีก้ ารผลิตกอเตาะไม่ ค่อยมีให้เห็นโดยทั่วไป ศิลปินที่ทำ�ก็มีจำ�นวนน้อยมาก อย่างอาเยาะห์อาลี เป็นบุคคลหนึง่ ทีร่ กั ในวิถคี วามเป็น สมัยก่อน ยังคงคิดค้นและประดิษฐ์สิ่งของเหล่านี้อยู่ การประดิษฐ์ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกำ�ไร แต่ เป็นการประดิษฐ์เพื่อการใช้งานและใช้เวลาว่างให้เกิด ประโยชน์เสียมากกว่า การประดิษฐ์กอเตาะจะแกะสลัก ด้วยการใช้ไม้ขนุนที่เป็นก้อน มาแกะให้เรียบ แล้วลงมือเจาะให้เป็นลิน้ ชักทัง้ สองข้าง ระมัดระวังอย่า ให้มีช่องว่างระหว่างกัน ซึ่งอาจทำ�ให้ชิ้นงานเกิดความ เสียหายได้ เมื่อเจาะและเก็บรายละเอียดทุกอย่างแล้ว ก็จะใช้แลคเกอร์ทาทับเพือ่ ความสวยงามในลำ�ดับต่อไป

16


เลฮา

เลฮา เป็นชิ้นงานที่ถูกประดิษฐ์ เพื่อใช้งานรอง คัมภีรอ์ ลั กรุอาน คัมภีรอ์ นั ทรงคุณค่าต่อศาสนาอิสลาม อาเยาะห์อาลีได้จัดทำ�เลฮา ตั้งแต่ตัวเองยังเป็นวัยรุ่น อายุประมาณ 20 ปีที่แล้ว ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ตัวเองกำ�ลัง อยู่ในวัยศึกษาคัมภีร์อัลกรุอาน จึงเกิดความคิดที่อยาก จะสร้างเลฮาเป็นของตัวเอง โดยสร้างสรรค์ลวดลาย ต่างๆอย่างสวยงาม ผ่านการสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัว ทั้ง ที่เป็นดอกไม้ ใบไม้ และสิ่งของต่างๆ แล้วมาประดับเป็น ลวดลาย เลฮาที่อาเยาะห์อาลีประดิษฐ์ขึ้น เป็นชิ้นงานที่ สามารถเปิด-ปิด การใช้งานได้สะดวก ไม่มีรอยต่อ แต่ จะผ่านกรรมวิธีการแกะสลักลวดลายบนไม้ที่เป็นก้อน แล้วทำ�การผ่า จนเกิดเป็นที่รองคัมภีร์อัลกรุอานขึ้นมา

17


18


จาปี

ในภาษามาเลเซียเรียกว่าฆือแนบาเตาะ หรือฆือแนยาวอ เครื่องดนตรีประเภทนี้เป็นแนวความคิดของชนเผ่า บา เตาะ ซึง่ ชนเผ่าบาเตาะเป็นมนุษย์มหี าง ผมยาวและอาศัย อยู่ในป่าลึก ในประเทศอินโดนีเซีย หลังจากนั้นได้มีการ เผยแพร่เครื่องดนตรีประเภทนี้มายังประเทศมาเลเซีย พร้อม ๆ กับการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในสมัยนั้น ปัจจุบัน ชนเผ่าบาเตาะ เป็นทีร่ จู้ กั ในนามคนอัสลี คนอัสลีมคี วาม ชำ�นาญการด้านการประดิษฐ์เครื่องดนตรีต่าง ๆ ด้วย ไม้ไผ่ เพื่อสร้างความบันเทิงในการดำ�รงชีวิตร่วมกัน เมือ่ ถึงช่วงเวลาหนึง่ คนอัสลี ได้เคลือ่ นย้ายถิน่ ฐานมายัง พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย และ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพทำ� นาในสมัยนั้น ซึ่งอาเยาะห์อาลีเป็นบุคคลหนึ่งที่ประกอบ อาชีพทำ�นา เกิดความประทับใจและซึมซับในชิ้นงาน แล้วกลับมาประดิษฐ์สร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยตัวเอง และ นำ�มาถ่ายทอดเป็นผลงานหัตถกรรมให้แก่ลูกหลาน ที่ เรารู้จักในงานหัตถกรรมอาเยาะห์อาลีในปัจจุบัน

19


20


โฆ่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี การใช้งานจะถูกใช้ร่วมกับเครื่องดนตรีประเภทอื่นๆ ส่วนมากจะถูกนำ�มาใช้งาน กับการแสดงลิเกฮูลู นิยมมาจัดแสดงในช่วงเทศกาลต่างๆ

21


ปี(่ ซูนา)

เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า นิยมนำ�มาใช้งานในช่วงเทศกาลสำ�คัญ ๆ ต่าง ๆ เช่น เมาลิดนบี งานแต่งงาน และ งานเข้าสุนัต ฯลฯ

22


สืบต่อ

ความงาม ในแบบฉบับ

ความเป็นใต้ 23


14

24


25


26


27


28


29


30


31


32


33


34


บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นงาน

นายแวยูโซะ มาหะ เป็นลูกชายแท้ๆของอา เยาะห์อาลี ประกอบอาชีพเป็นช่างก่อสร้างทั่วไป นาย แวยูโซะคอยอยู่เคียงข้างอาเยาะห์อาลี ช่วยแกะสลัก แต่งเติมในส่วนต่างๆที่พอทำ�ได้ แม้ไม่ชำ�นาญ แต่ก็ พอสร้างสรรค์ผลงานโดยมีอาเยาะห์อาลีคอยสอนและ ช่วยแนะนำ�วิธีการต่างๆ แต่ในอนาคตข้างหน้า นาย แวยูโซะ มาหะ ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ถ้าไม่มีอาเยาะห์ อาลีค่อยชี้แนะแล้ว ชิ้นงานเหล่านี้ จะเกิดขึ้นได้อีกไหม เพราะตัวเองไม่มีความชำ�นาญการณ์ในด้านนี้เลย ใน ด้านการนำ�ชิ้นงานไปวางขาย นายแวยูโซะก็มีการจัด จำ�หน่ายกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศมาเลเซีย คอยดูแลและให้คำ�แนะนำ�แก่ลูกค้าที่สนใจในผลงาน

นายนัสซีมี การอบา ลุกเขยคนที่ 2 ของอา เยาะห์อาลี เป็นอีกหนึ่งคนที่คอยส่งเสริม สนับสนุน อาเยาะห์อาลี เกือบทุกสิ่งอย่าง โดยตัวเองประกอบ อาชีพ รับจ้างทาสีบ้าน จึงมีความสามารถในการ ทาสีบนกระต่ายขูดมะพร้าวได้ดี ไม่แพ้ช่างทาสีทั่วไป นอกจากนี้นายนัสซีมีจะค่อยช่วยเหลือในเรื่องของไม้ ที่จะนำ�มาประดิษฐ์ชิ้นงาน ช่วยเหลือไปจนถึงการวัด ขนาด แบ่งสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อนำ�มาขัดและแกะ สลักในขั้นตอนต่อไป นายนัสซีมีค่อนข้างใกล้ชิดกับ อาเยาะห์มาก เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้ชิดกับอาเยาะห์อา ลี คอยช่วยเหลือมาหาสูใ่ นเรือ่ งต่างๆ เป็นประจำ� ด้วย ประสบการณ์ที่ชอบเดินทางและรู้จักผู้คนภายนอกใน วงกว้าง ทำ�ให้นายนัสซีมี ชำ�นาญด้านการขาย คอย เสนอราคาและจัดหาลูกค้าให้อาเยาะห์ ไปจนถึงเผย แพร่สู่โลกภายนอกด้วย นายแวเมาเซ็ง หะยีแวนาแว ลูกเขยคนที่ 3 ของอา เยาะห์อาลี เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่คอยส่งเสริมและช่วยเหลืออา เยาะห์ในด้านการแกะสลักลวดลาย ไปจนถึงกรรมวิธีการทำ� ต่างๆ นายแวเมาเซ็ง ได้กล่าวอีกว่า เขาเป็นเพียงคนหนึง่ ทีค่ อย ช่วยเหลืออาเยาะห์อาลีในยามที่เขาว่างจากงานหลักเท่านั้น ส่วนมากจะเป็นการร่วมมือร่วมใจกันช่วยเหลืออาเยาะห์อาลี ทีละนิดทีละหน่อยมากกว่า แต่โดยหลักๆแล้วอาเยาะห์อาลี จะ เป็นคนประดิษฐ์ชิ้นงานเอง หากไม่มีอาเยาะห์อาลีแล้ว การ สานต่อก็อาจเป็นไปได้ยากลำ�บาก อาจถึงขัน้ ไม่มชี นิ้ งานให้ลกู หลานรุ่นหลังๆได้รู้จัก

35


คณะผู้จัดท�ำ

บรรณาธิการ

เรียบเรียง

พิศูจน์อักษร

ช่างภาพ

นากีเราะ อาตา ซูไฮลา ดาลียา นูรูลฟาฏีละห์ สตาปอ

ซูไฮลา ดาลียา นูรูลฟาฏีละห์ สตาปอ

นากีเราะ อาตา ซูไฮลา ดาลียา นูรูลฟาฏีละห์ สตาปอ

อรรณพ เจะสุหลง นากีเราะ อาตา ซูไฮลา ดาลียา นูรูลฟาฏีละห์ สตาปอ

สมาชิกในกลุ่ม

น.ส.ซูไฮลา ดาลียา 5820610002 น.ส.นากีเราะ อาตา 5820610033 น.ส.นูรูลฟาฎีละห์ สตาปอ 5820610038 น.ส.เจะฟารีด๊ะ ดารี 5820610176 น.ส.ซูไรดา สะเตาะ 5820610182 น.ส.นัสมี ร่าหีม 5820610187 นักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ กลุ่มวิชาการสื่อสารการตลาด ชั้นปีที่4

สถานที่พิมพ์ โรงพิมพ์ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาส�ำนักวิยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

36



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.