รายงานเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับครู

Page 1

รายงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ จัดทาโดย 1. นางสาวฐิติวรดา

รอดวันโน 524143011

2. นางสาวทิวาพร

สุขศรี

3. นางสาวนุสรา

ศิลาจันทร์ 524143015

524143013

4. นางสาวสิริลักษณ์ อินทรบุตร 524143024 ค.บ.4 คณิตศาสตร์ นาเสนอ อาจารย์สุทธิดา ชูเกียรติ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศสาหรับครู มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี 70150 ภาคเรียนที่ 1

ปีการศึกษา 2555


คานา รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศสาหรับครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี 70150 รายงานฉบับนี้จัดทาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศอันประกอบไปด้วย 1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา 2. แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 3. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 4. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ โดยทางคณะผู้จัดทาได้หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับจะมอบเนื้อหาสาระความรู้ให้แก่ผู้อ่าน หรือผู้ที่สนใจ ในทางด้านนี้ได้ไม่มากก็น้อย หากในรายงานฉบับนี้มีส่วนบกพร่องผิดพลาดประการใด ทาง คณะผู้จัดทาต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ


สารบัญ หัวเรื่อง

หน้า

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

1

 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสสนเทศในงานด้านการศึกษา

1

 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา

3

แหล่งการสืบค้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

4

 ลักษณะการค้นหาข้อมูลของ Search Engine

4

 หลักการเลือกใช้ Search Engine

7

 เทคนิคการค้นหาให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ

8

 วิธีการหาข้อมูลโดยใช้ Search Engine

11

 เว็บไซด์ Search Engine ยอดนิยม

13

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

18

 ลักษณะของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

19

 ประโยชน์และข้อจากัด

19

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  ความหมาย

20

 ประวัติความเป็นมา

20

 มารยาทในการใช้

22


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนามาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้าน การศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออานวยความสะดวกใน การประกอบธุรกิจ การทางาน การศึกษาหาความรู้ ทาให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น นอกจากนี้ หน่วยงานราชการต่างๆ ก็นาเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาอานวยความสะดวกให้กับ ประชาชน ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ และในธุรกิจเอกชนทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว ก็ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการลูกค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ทาได้อย่างสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเพียงการประยุกต์ใช้ในการศึกษา และในสถานศึกษา ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศที่นามาใช้สาหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอน ด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่อง คอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นามาใช้ในด้านการเรียนการ สอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนามาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุกส์ , วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์,การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ต เป็น ต้น - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนาเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่ง เรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนาเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจ ในเนือ้ หาวิชาของบทเรียนนั้นๆ - การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การ เรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนาเอาสื่อการเรียน การสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยง เครือข่าย ทาให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียก หลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (elearning) เป็นต้น


- อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจานวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สาคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทาให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือ สามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนาซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทาให้ ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจานวนมากยิ่งขึ้นได้ - วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการ ประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทาให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทาให้ผู้เรียน และผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกล สามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของ ผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่าง สองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลาโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัส และถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN) - ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กาลังได้รับความนิยมนามาใช้ ในหลาย ประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทาให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จานวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูล ขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนามาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจากัดด้านเวลา ผู้เรียน สามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้ - การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์


ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูล ขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบ ลาดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง และบันทึก ร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจานวนมาก ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียง ได้แก่ HTML Compossor FrontPage Marcromedia DreaWeaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อ นาข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทาเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว - อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชือ่ มต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดย ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนาระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามา ใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา - งานรับมอบตัว ทาหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานที่นักศึกษานามารายงานตัว จากนั้นก็จัดเก็บประวัติภูมิหลัง นักศึกษา เช่น ภูมิลาเนา บิดามารดา ประวัติการศึกษา ทุนการศึกษา ไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลประวัตินักศึกษา - งานทะเบียนเรียนรายวิชา ทาหน้าที่จัดรายวิชาที่ต้องเรียนให้กั บนักศึกษา ในแต่ละภาคเรียนทุกชั้นปี ตามแผนการเรียนของแต่ละแผนก แล้วจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลผลการเรียน - งานประมวลผลการเรียน ทาหน้าที่นาผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอนมาประมวลในแต่ละภาคเรียน จากนั้นก็จัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลผลการเรียน และแจ้งผลการเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ - งานตรวจสอบผู้จบการศึกษา ทาหน้าที่ตรวจสอบรายวิชา และผลการเรียน ที่นักศึกษาเรียนตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งจบหลักสูตร จากแฟ้มเอกสาร ข้อมูลผลการเรียน ว่าผ่านเกณฑ์การจบหรือไม่ - งานส่งนักศึกษาฝึกงาน ทาหน้าที่หาข้อมูลจากสถานที่ฝึกงาน ในแต่ละแห่งว่าสามารถรองรับจานวน นักศึกษาที่จะฝึกงานในรายวิชาต่าง ๆ ได้เป็นจานวนเท่าใด จากนั้นก็จัดนักศึกษา ออกฝึกงานตามรายวิชา ให้ สอดคล้องกับจานวนที่สถานประกอบการต้องการ


แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ จนได้รับสมญานามว่า “ห้องสมุดโลก” ซึ่งมีข้อมูล หลากหลายประเภทและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในการที่เราจะค้นหา ข้อมูลที่ต้องการได้อย่าง รวดเร็วนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ สาหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับแหล่งข้อมูลนี้ นั่นคือ มักประสบปัญหาไม่ทราบว่าข้อมูลที่ ต้องการนั้นอยู่ในเว็บไซต์ใด ดังนั้นจึงได้มีเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า เครื่องมือช่วยค้น หรือ เซิร์ชเอ็นจิน (Search Engine) ในการสืบค้นข้อมูลนั้นถ้าหากเราทราบแหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์ เราก็สามารถพิมพ์หรือระบุ URL ใน ช่อง Address ได้เลย แต่ถ้าหากเราไม่ทราบว่าแหล่งข้อมูลนั้นอยู่ที่ใด เราสามารถใช้เว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ช่วยในการค้นหาได้อย่างรวดเร็ว

โดยทั่วไป Search Engine แบ่งลักษณะรูปแบบการค้นหา เป็น 3 ลักษณะ คือ 1. การค้นแบบนามานุกรม (Directory) หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัด หมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด ซึ่งการจัดทาแบบนามานุกรมนี้มีข้อดีคือ ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความ ต้องการ เนื่องจากนาข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ และสามารถกาหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือก จากรายการที่ทาไว้แล้ว เว็บไซต์ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไว้แบบนามานุกรม เช่น www.yahoo.com , www.lycos.com www.sanook.com, www.siamguru.com เป็นต้น ตัวอย่าง การค้นแบบนามานุกรม ของ www.sanook.com


รายการกลุ่มเรื่องแบ่งออกเป็น หมวดหมู่ใหญ่ 14 หมวดหมู่ เช่น กีฬา ท่องเที่ยว อินเทอร์เน็ต ฯลฯ

การแบ่งกลุ่มเรื่องย่อยๆ ของแต่ละกลุ่มและแบ่งย่อยลงเรื่อยๆจนกระทั่งระบุเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง


2. การค้นหาแบบดรรชนี (Index) หรือคาสาคัญ (Keywords) เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคาหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคาสาคัญ (Keyword) ในการ ค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทาดรรชนีค้นที่เรียกว่า Spider หรือ Robot หรือ Crawler ทาหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆ ของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่ แล้วนาคาที่ค้นมาจัดทาเป็นดรรชนี ค้นหาโดยอัตโนมัติ ซึ่งการค้นแบบนี้จะสามารถค้นหาเว็บเพจใหม่ๆและทันสมัยมากกว่าการค้นแบบนามานุ กรม แต่ทั้งนี้การสืบค้นแบบนี้จะต้องมีเทคนิควิธีการค้นเฉพาะด้านด้วย เช่น การใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือโอเปอเรเตอร์ (Operator) เป็นต้น โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยก หมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คานึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร ตัวอย่าง การค้นหาแบบดรรชนี โดยใช้คาสาคัญ 1.

ระบุคา เรื่องที่ต้องการค้นในเว็บไซต์ที่เป็น search engine เช่น ดาวอังคาร

ลงในช่องสืบค้น 2.

จะปรากฏจานวนรายการข้อมูลที่ค้นพบ และโยงไปยังแหล่งข้อมูลที่ต้องการ


3. การค้นหาแบบ Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไป ยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการ นี้จะไม่ให้ความสาคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคาประเภท Natural Language (ภาษา พูด) ดังนั้น หากจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย

Search Engine แต่ละตัวมีข้อดีในการสืบค้นและวิธีการในการสืบค้นที่แตกต่างกัน ตลอดจนมีการจัดทา ส่วนพิเศษต่างๆ ในการสืบค้นเพื่อช่วยผู้ใช้ และเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ควรมี ความรู้เกี่ยวกับการค้นหา ดังนี้ คือ 1.

วิธีการใช้ Search Engine แต่ละเว็บไซต์

Search Engine แต่ละตัวจะมีส่วนช่วยในการอธิบายวิธีใช้ในส่วนที่เรียกว่า Help หรือ About เช่น Yahoo มีวิธีกาหนดคาค้นเพื่อให้ได้ผลค้นที่เฉพาะเจาะจงหรือตรงต่อความต้องการ โดย 1.1

ใช้เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) เพื่อค้นหาคาที่มีการสกดคล้ายกัน เช่น smok* หมายความว่า ให้ค้นหาคาทั้งหมดที่ขึ้นด้วย 5 ตัวอักษรแรก เช่น smoke smoker เป็นต้น

1.2

ใช้เครื่องหมาย + สาหรับกาหนดให้แสดงผลการค้นเฉพาะเว็บไซต์ คาทั้งสองคา เช่น Secondary + education

ที่ปรากฏ

1.3 ใช้เครื่องหมาย “ ” สาหรับการค้นหาคาที่เป็นวลี เช่น “great barrier reaf” ฯลฯ 2.

การใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic)

เพื่อให้สามารถกาหนดการค้นหาที่แคบเข้ามา โดยใช้คา AND OR NOT เข้าช่วยในการกาหนดคาค้น เพื่อให้สามารถค้นหาได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น


2.1

การใช้ AND การกาหนดใช้ AND จะใช้เมื่อต้องการกาหนดให้ค้นรายการที่ปรากฏคาที่มี ความเกี่ยวข้องกัน ในรายการเดียวกัน เช่น water and soilการกาหนดแบบนี้หมายความว่า 1.

ผลการค้นต้องการ คือ เฉพาะรายการที่มีคาว่า water และ soil เท่านั้น

2.

หากรายการใดที่มีแต่คาว่า water หรือ soil ไม่ต้องการ

2.2 การใช้คาว่า OR การใช้ OR เป็นการขยายคาค้น โดยกาหนดคาหลายที่เห็นว่ามีความหามายคล้ายกัน หรือสามารถ สะกดได้หลายแบบ 2.3 การใช้ NOT การใช้ NOT จะใช้ในเมื่อต้องการจากัดการค้นเข้ามา คือไม่ต้องการรายการที่มีเนื้อหาส่วนที่ไม่ ต้องการปรากฏอยู่ โดยกาหนดให้ตัดคาที่ไม่ต้องการออกเช่น water not soil การกาหนดคาแบบนี้ หมายถึง 1.

ให้ค้นหารายการที่มีคาว่า water แต่หากรายการใดมีคาว่า soil อยู่ด้วย ไม่ต้องการ

2.

ผลสืบค้นที่ได้ทุกรายการที่มีคาว่า water และหากมีคาว่าSoil ให้คัดออกทุกรายการ

การค้นหาข้อมูลด้วยเว็บไซต์ค้นหานั้น เพื่อให้ขอบข่ายของการค้นหาแคบเข้า สามารถ ค้นหาได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น จะต้องใช้เทคนิคในการค้นหาดังนี้


ตารางที่ 12.1 เทคนิคการค้นหา บีบประเด็นให้แคบลง

หัวข้อเรื่องที่ต้องการค้นหาต้องพยายามบีบประเด็นให้แคบลง เช่น หาก ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะหาโดยใช้คาว่า คอมพิวเตอร์ หรือ Computer นี้ค้นหา เพื่อลองดูเนื้อหากว้างๆ เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ ว่ามีเรื่องใดบ้าง จากนั้นก็บีบหัวข้อเรื่องลง โดยอาจจะเลือก จากหัวข้อที่เว็บไซต์นั้นจัดทา หรืออาจจะพิมพ์ข้อความเพื่อค้นหาอีกครั้ง

การใช้คาที่ใกล้เคียง

ควรค้นหาคาที่มีความหมายใกล้เคียงกับคาที่กาลังค้นหาด้วย เช่น หาก ต้องการค้นเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Computer คาที่เกี่ยวข้องที่สามารถ ใช้ค้นหาได้ คือ technology, IT เป็นต้น

การใช้คาหลัก (Keyword)

คาหลัก (Keyword) หมายถึง คาหรือข้อความที่เราจะนึกถึงเว็บไซต์นั้น เมื่อเอ่ยถึง เช่น สสวท. เรามักจะนึกถึงเว็บไซต์ของสถาบันส่งเสริมการ สอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี http://www.ipst.ac.th หรือ schoolnet เราจะนึกถึงเว็บไซต์เครือข่ายโรงเรียนไทย http://www.school.net.th

หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข

พยายามเลี่ยงการใช้คาค้นหาที่เป็นคาเดี่ยวๆ หรือเป็นคาที่มีตัวเลขปน แต่ ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายคาพูด (" ") ลงไปด้วย เช่น "windows 98"

ใช้เครื่องหมายบวกและลบช่วย

ใช้เครื่องหมาย + และ - เพื่อช่วยในการค้นหา โดย + เพื่อใช้กับคาที่คุณ ต้องการใช้ในการค้นหา และ - เพื่อใช้กับคาที่ไม่ต้องการใช้ในการค้นหา เครื่องหมาย "+" หมายถึง การระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องมีคานั้น ปรากฎอยู่ในหน้าเว็บเพจ ข้อควรระวังคือ เราจะต้องใช้เครื่องหมายบวก ติดกับคาหลักนั้นเสมอ ห้ามมีช่องว่างระหว่างเครื่องหมายบวกกับคาหลัก เช่น +เศรษฐกิจ +การเมือง หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฎคาว่า "เศรษฐกิจ" และ "การเมือง" อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งสองคา หรือ


+เศรษฐกิจ การเมือง สังเกตเห็นว่าที่คาว่า "การเมือง" ไม่ปรากฏ เครื่องหมายบวก "+" อยู่ข้างหน้า เหมือนตัวอย่างบน หมายถึง การค้นหา หน้าเอกสารเว็บเพจที่จะต้องปรากฏ คาว่า "เศรษฐกิจ" โดยในหน้าเอกสาร นั้นอาจจะปรากฏหรือไม่ปรากฏคาว่า "การเมือง" ก็ได้

เครื่องหมายลบ "-" หมายถึง เป็นการระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องไม่ ปรากฎคานั้น อยู่ในหน้าเว็บเพจ เช่น โรงแรม -รีสอร์ท หมายถึง หน้าเว็บเพจนั้นต้องมีคาว่า โรงแรม แต่ต้องไม่ปรากฎคาว่า รีสอร์ท อยู่ โดยการใช้งานต้องอยู่ในรูปของ A -B หรือ +A -B โดย A และ B เป็น คาหลักที่ต้องการค้นหา ตัวอย่าง +มะม่วง -มะม่วงอกร่อง -มะม่วงน้าดอกไม้ หมายถึง หน้าเว็บเพจ ที่พบจะต้องปรากฎคาว่า "มะม่วง" แต่ต้องไม่ปรากฎคาว่า "มะม่วง อกร่อง" และ "มะม่วงน้าดอกไม้" อยู่ในหน้าเดียว หลีกเลี่ยงภาษาพูด

หลีกเลี่ยงคาประเภท Natural Language หรือเรียกง่ายๆ ว่าคาหรือ ข้อความที่เป็นภาษาพูด หรือเป็นประโยค ควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคาหรือ วลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้

Advanced Search

อย่าลืมที่จะใช้ Advanced Search เพราะจะมีส่วนช่วยได้มาก ในการบีบ ประเด็นหัวข้อ ให้แคบลง ซึ่งจะทาให้ได้รายชื่อเว็บไซต์ ที่ตรงกับความ ต้องการของมากขึ้น อย่าละเลย Help ซึ่งในแต่ละเว็บ จะมี ปุ่ม help หรือ Site map ไว้คอย ช่วยเหลือคุณ แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม ซึ่ง help/site map จะมี ประโยชน์มากในการอธิบาย option หรือการใช้งาน/แผนผังปลีกย่อยของ แต่ละเว็บไซต์


ในการค้นหาข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นเรา สามารถสืบค้นข้อมูลได้ ในที่นี้ขอยก ตัวอย่าง Search Engine เว็บไซต์ที่น่าสนใจต่างๆ ซึ่งมีรูปแบบการสืบค้น ทั้งแบบนามานุกรมและแบบดรรชนีสืบค้น โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้ 1.

เข้าไปยังเว็บไซต์ www.google.com โดยพิมพ์ URL ที่ช่อง Address

2. พิมพ์คาสาคัญหรือวลีที่ต้องการค้นหาลงในช่อง ค้นหา ซึ่งบริการค้นหาของ Google จะแยก ฐานข้อมูลออกเป็น 4 หมวด (ในแต่ละหมวดมีการค้นหาแบบพิเศษเพิ่มเติมด้วย) คือ -

เว็บ : เป็นการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก

-

รูปภาพ : เป็นการค้นหารูปภาพหลากหลายฟอร์แมตจากเว็บไซต์ต่างๆ

-

กลุ่มข่าว : เป็นการค้นหาเรื่องราวที่น่าสนใจจากกลุ่มข่าวต่างๆ

-

สารบนเว็บ : การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่แยกออกเป็นหมวดหมู่


3. จะปรากฏหน้าเว็บที่มีรายการเว็บไซต์ที่สอดคล้องกับคาที่ต้องการค้นหา พร้อม เว็บไซต์ที่พบ เช่น แจ้งรายการที่ค้นได้ ชื่อเรื่อง และ URL

4. คลิกที่ชื่อเรื่อง เพื่อเข้าไปยังเว็บไซต์ที่มีข้อมูลตามต้องการ

รายละเอียดของ


ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่เป็นเครื่องมือช่วยค้นเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะ นามานุกรม และแบบ ดรรชนี ซึ่งแต่ละเว็บไซต์ก็มีข้อดีแตกต่างกันไป ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ระดับแนวหน้าของไทยและ ต่างประเทศ

Yahoo http://www.yahoo.com Yahoo (อ่านว่า ยา-ฮู) เป็น Search Engine ที่เก่าแก่และเรียกว่ามีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดตัวหนึ่งในอาณาจักร อินเทอร์เน็ต จุดเด่นหลักของเว็บไซต์นี้คงมาจากความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่ทาได้อย่างรวดเร็ว จุดหนึ่งที่ ทาให้ Yahoo โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือการ แบ่งเว็บไซต์ที่เก็บในฐานข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่และยังมีการโยงใย ระหว่าง กลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ

AltaVistahttp://www.altavist.com


AltaVista เป็น Search Engine ที่มีคุณสมบัติการค้นหาด้วยความเร็วปานสายฟ้าแลบและตรงกับความต้องการ ของผู้ใช้อย่างมาก สามารถสั่งให้ค้นหาแบบคาสาคัญหรือคีย์เวิร์ดได้อย่างชัดเจน อีกทั้งในการใช้ตรรกบูลีน (OR, AND, NOT) จะดีมาก

Go http://www. go.com เป็น Search Engine ที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่และยังรวมถึงฐานข้อมูลของรายชื่อ อีเมล์และนิวส์กรุ๊ปได้ เป็น Search Engine ที่เป็นแบบ นามานุกรมที่มีความเร็วในการค้นหา อีกทั้งหน้าตาเว็บยัง สวยงาม และมีลูกเล่นด้วย

Shareware http://www.shareware.com เป็น Search Engine เฉพาะด้านซึ่งจะเก็บรวบรวมรายชื่อโปรแกรม ทั้งฟรีแวร์ (Freeware) (โปรแกรมแจกฟรี) แชร์แวร์ (Shareware)(โปรแกรมใช่ก่อน ถูกใจจ่ายเงินทีหลัง) และ โปรแกรมอัพเกรดต่าง ๆ มาทาเป็นฐานข้อมูลไว้ ดังนั้นถ้าคุณต้องการหาโปรแกรมแชร์แวร์มาใช้สามารถใช้ เว็บไซต์นี้ค้นหาตาแหน่งได้อย่างดีเยี่ยม


Siamguru http://www.siamguru.comBasic Search คือ เครื่องมือในการค้นหา เว็บไซต์ ทาหน้าที่ในการ ให้บริการค้นหาข้อมูลโดยเน้นเรื่องความสามารถ ในการค้นหาข้อมูลภาษาไทยบน อินเทอร์เน็ต มี ความสามารถเทียบเท่า search engineชื่อดังจากต่างประเทศ

Sanook http://www.sanook.comเป็นเว็บไซต์ชื่อดังของไทยที่เป็นแหล่งค้นหาข้อมูลของไทยที่มีข้อมูลให้ ค้นหามากมายทั้งของไทยและทั่วโลกซึ่งมีทั้งแบบนามานุกรม และคาค้น ซึ่งจะบอกที่อยู่ของเว็บไซต์และมี คาอธิบายเว็บที่หาอย่างเข้าใจง่าย และยังสามารถส่งเว็บไซต์นี้ให้เพื่อนๆ ทางอีเมล์ด้วย


Thaiseek http://www.thaiseek.com เป็นเว็บไซต์ Search Engine ที่มีคุณสมบัติของการค้นหาได้อย่างยอด เยี่ยมเว็บหนึ่งของไทย ซึ่งสามารถค้นหาได้แบบนามานุกรม และคาสืบค้น ซึ่งผลการสืบค้นค่อนข้างชัดเจนตรง กับความต้องการ

Thaifind http://www.thaifind.comเป็นเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งค้นหาข้อมูลที่ดีอีกเว็บหนึ่งของเมืองไทย โดย มีการจัดจัดอันดับคาสาคัญในการค้นหาไว้อย่างเป็นระเบียบ และผลการค้นเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง


Google www.google.com Google เป็นเว็บไซต์ฐานข้อมูลที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งของโลก ในอดีตเป็นบริษัทที่ดาเนินการด้านฐานข้อมูลเพื่อ ให้บริการแก่เว็บไซต์ค้นหาอื่นๆ ปัจจุบันได้เปิดเว็บไซต์ค้นหาเอง มีฐานข้อมูลมากกว่าสามพันล้านเว็บไซต์และ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน จุดเด่นที่เหนือกว่าผู้ให้บริการรายอื่นๆ คือเป็นเว็บไซต์ค้นหาที่สนับสนุนภาษาต่างๆ มากกว่า 80 ภาษาทั่วโลก (รวมทั้งภาษาไทย) และมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้บริการในส่วนต่างๆ ของโลกมากถึง 36 ประเทศ รวมทั้งใน ประเทศไทย ซึ่งบริการค้นหาของ Google จะแยกฐานข้อมูลออกเป็น 4 หมวด และแต่ละหมวดมีการค้นหาแบบ พิเศษเพิ่มเติมด้วย คือ -

เว็บ : เป็นการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก

-

รูปภาพ : เป็นการค้นหารูปภาพหลากหลายฟอร์แมตจากเว็บไซต์ต่างๆ

-

กลุ่มข่าว : เป็นการค้นหาเรื่องราวที่น่าสนใจจากกลุ่มข่าวต่างๆ

-

สารบนเว็บ : การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่แยกออกเป็นหมวดหมู่


ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ E-library มาจากคาว่า Electronic Library หรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ หมาย ถึง แหล่งความรู้ที่บันทึก ข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ตห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยการทางานของระบบห้องสมุดอัตโนมัติห้องสมุดดิจิตอล ห้องสมุดเสมือนระบบ ห้องสมุดอัตโนมัติ เป็นระบบการทางานของห้องสมุดโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เพื่อให้ การทางานของฝ่ายต่างๆ ในห้องสมุดสามารถทางานเชื่อมโยงประสานกันได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องทางาน ด้วยมือซ้าหลายๆครั้งห้อง สมุดดิจิตอล หมายถึง ห้องสมุดที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลใน รูปแบบดิจิตอลที่ผู้ ใช้เข้าถึงเนื้อหาฉบับเต็มได้โดยตรง มีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิตอลมาจัดเก็บอย่างเป็น ระบบเพื่อความสะดวกใน การสืบค้นและให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ห้องสมุดเสมือน หมายถึง สถานที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ ผ่านระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก ห้อง สมุดเสมือนจึงเป็นที่รวมแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่มี การจัดการอย่างมี ระบบและให้บริการค้นคืนสารสนเทศแบบออนไลน์ในระบบเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้สามารถ เข้าถึงระยะไกลมายังห้องสมุดเพื่อสืบค้นและใช้สารสนเทศ ของห้องสมุดหรือเชื่อมโยงกับแหล่งสารสนเทศอื่น ได้ทุกที่ในระบบเครือข่าย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล ดังนั้นความหมายของคาว่าห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้อง สมุดดิจิตอลและห้องสมุดเสมือน จึงมีความ คล้าคลึงกันในหลายด้าน เช่น การจัดเก็บข้อมูลไว้ในระบบฐานข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) และ ให้บริการข้อมูลผ่านเครือข่าย แต่มีความแตกต่างในจุดเน้นบางประการ เช่น ห้องสมุดดิจิตอลมีการบริการ เนื้อหาข้อมูลโดยตรง ห้องสมุดเสมือนเน้นการเชื่อมโยงข้อมูลจากหลายแหล่งไว้ด้วยกันโดยไม่จาเป็น ต้องมี อาคารสถานที่ในการจัดเก็บ เป็นต้น ห้อง สมุดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ก็คงจะคาดการณ์ได้ยากว่าจาก ห้องสมุด อิเล็กทรอนิกส์และห้องสมุดเสมือนแล้วจะเกิดอะไรขึ้นตามมาอีกความพร้อมที่จะ ปรับตัวตาม สภาพแวดล้อมที่แตกต่างไปจากเดิมคงจะเป็นสิ่งที่จาเป็นสาหรับผู้ ปฎิบัติงานสารนิเทศทั้งหลาย และการเสาะ แสวงหาความรู้เพิ่มเติม การเพิ่มพูนทักษะโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีจะทวีความสาคัญยาก ขึ้น เพราะพัฒนาการของห้องสมุดในอนาคตคงจะเป็นการผสมผสานกันระหว่างความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีและ การสื่อสารที่จะช่วยอานวยความสะดวกในการบริการสารนิเทศให้ แก่ผู้ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่คงจะเป็นผู้ใช้ที่ไม่เห็น ตัว(Invisibleusers) ที่ใช้บริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง


ลักษณะของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ 1. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ 2. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์ 3. บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้ เพื่อ ช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์ 4. ความสามารถในการจัดเก็บ รวบรวมและนาส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์ ประโยชน์ของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ประโยชน์ของการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ คือ การจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบช่วยเพิ่มความ รวดเร็ว ในการเข้าถึงข้อมูลหรือค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ในเวลาที่ต้องการเป็นการ แพร่กระจายความรู้ให้ผู้ใช้ ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้นโดยไม่มีข้อจากัดด้าน เวลาและสถานที่เช่นเดียวกับการดาเนินงานขององค์กรใน ลักษณะ e-Office และ e-Commerce เป็นต้น ข้อจากัด -ผู้ใช้จะต้องมีอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต -ผู้ใช้ต้องมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์


ไปรษณียอ์ ิเล็กทรอนิคส์ ความหมายของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Mail หรือที่เราเรียกกันอย่างสั้น ๆ ว่า E-mail ซึ่งเป็นการรับส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ไปยังผู้รับที่อาจจะอยู่ที่ใดก็ ได้ในโลก การใช้งานอีเมล์ทาให้เราสามารถติดต่อกับผู้คนทั่วโลกได้ทันที โดยที่เราสามารถรับและตอบ จดหมายกลับได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ทาให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกรวดเร็วและรู้สึกเพลิดเพลินกับการ ติดต่อสื่อสารกับผู้คนทั่วทุกมุมโลก จะสั้นหรือยาว การรับส่งอีเมล์ในระบบเครือข่ายจะเป็นไปอย่างถูกต้องได้ นั้นจะต้องอาศัยที่อยู่ของทั้งผู้ส่งและผู้รับที่เรียกว่า “อีเมล์แอดเดรส (E-Mail Address)” เป็นตัวอ้างอิง อีเมล์ แอดเดรสนี้เป็นชื่อเฉพาะของผู้ใช้แต่ละคน ภายในชื่อนี้จะระบุว่าเป็นอีเมล์ของผู้ใช้รายใด ส่งมาจากระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์แห่งใด เช่น webmaster@moe.go.th หมายถึงผู้ใช้ที่มีรหัสว่า webmaster จากระบบ เครือข่าย moe.go.th จากชื่อของอีเมล์นี้ก็จะสามารถบอกได้ว่า เป็นจดหมายของ ผู้ใด ส่งมาจากที่ใดหรือประเทศ ใด เหมือนกับการส่งจดหมายทั่ว ๆ ไป ประวัติความเป็นมาของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์เริ่มมีขึ้นในปี ค.ศ. 1971 โดยนาย Roy Tomilisonเป็นผู้คิดค้น ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลในรูปแบบของอีเมล์ขึ้นมาได้เป็นคนแรก ซึ่งขณะนั้นทางานอยู่ที่ Bolt Beranek and Newman(BBN) โดยที่เขาคงไม่คาดคิดว่าการรับส่งอีเมล์จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และมี การเปลี่ยนแปลงรูปแบบต่างๆ ไปจากเดิมเป็นอันมากเช่นในปัจจุบัน ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าว บรรดา วิศวกรของ BNN สามารถส่งข้อความไปยังคนอื่นๆ ได้ โดยข้อความที่ส่งออกไปนั้นจะถูกเก็บไว้ใน Mailbox ของผู้รับ แต่ดูเหมือนว่าประโยชน์การใช้งานนั้นยังมีไม่มากนักเพราะข้อจากัดในการใช้งาน ในส่วนของเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ใช้ส่งข้อความและใช้ในการเปิดอ่านจาก Mailbox นั้นจะต้องเป็นเครื่องเดียวกัน กระบวนการทางานของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กระบวนในการรับ-ส่งอีเมล์นั้น ทั้งผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีอีเมล์แอดเดรส หรืออาจจะเข้าใจง่าย ๆ ว่า “ตู้ ไปรษณีย์” เพื่อใช้ในการรับ-ส่งเริ่มต้นจากการที่ผู้ส่งเขียนอีเมล์ จากนั้นระบุอีเมล์ของผู้รับและทาการกดปุ่มส่ง อีเมล์ โปรแกรมก็จะทาการติดต่อไปยังเครื่องแม่ข่ายที่ผู้ส่งใช้บริการอยู่ โดยตัวควบคุมก็จะค้นหาที่อยู่เครื่องแม่ ข่ายของผู้รับ แล้วทาการติดต่อไปยังเครื่องแม่ข่ายของผู้รับ ซึ่งเมือ่ เครื่องแม่ข่ายของผู้รับได้รับอีเมล์ก็จะทาการ จัดเก็บอีเมล์ฉบับนี้ไว้ในกล่องรับอีเมล์ของผู้รับ (Inbox) โดยในการส่งอีเมล์นี้จะกระทาผ่านโปรโตคอลที่เรียกว่า


“SMTP” อีเมล์แอดเดรส ( E-mail address) E-mail address หมายถึง ที่อยู่ของผู้ร้องขอใช้บริการอีเมล์ไม่ว่าจะ เป็นผู้รับหรือผู้ส่ง โดย การส่งจดหมายผ่านอินเตอร์เนตนั้น มีรูปแบบดังนี้ ชื่อล็อคอินหรือชื่อเรียกเข้า @ องค์กรที่ให้บริการ ชื่อล็อคอินหรือชื่อเรียกเข้า หมายถึง ชื่อหรือ สัญลักษณ์ที่ผู้ขอใช้บริการอีเมล์ตั้งขึ้นแทนตัวเอง อาจเป็นชื่อย่อ หรือรหัสแทน โดยจะต้องไม่ซ้ากับคนอื่นใน เครือข่ายที่ให้บริการนั้น ๆ @ อ่านว่า แอ็ท แปลว่า อยู่ที่ ใช้คั้นระหว่างชื่อล็อคอินกับชื่อองค์กรที่ให้บริการ องค์การที่ให้บริการ หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมล์โดยการลงทะเบียนสมัครสมาชิก หรือองค์กร ที่สังกัดอยู่ เช่น webmaster@yahoo.com webmaster คือ ชื่อที่ผู้ขอใช้กาหนดขึ้น โดยการให้บริการของ www.yahoo.com หรือ reddevil@redarmyfc.com reddevil คือ ชื่อที่ผู้ขอใช้กาหนดขึ้น โดยการให้บริการของ ww.redarmyfc.com เป็นต้น ประเภทของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในปัจจุบัน อีเมล์จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) คือ อีเมล์ที่ มีแถมมาให้ควบคู่กับการสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตของบริษัทผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (ISP) ซึ่งเป็นการ ให้บริการกับลูกค้าที่สมัครใช้บริการ ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าของสินค้า และเป็นอีกช่องทางในการที่จะโฆษณาการ ให้บริการ และจัดส่งข้อมูลข่าวสารไปถึงสมาชิกที่สมัครใช้เลือก Text Size ซึ่งสามารถเลือกได้ 5 ระดับตัวอักษร คือ Largest Larger Medium Smaller และ Smallestบริการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อสมัครแล้วทางศูนย์จะให้อีเมล์ แอดเดรสกับสมาชิก เช่น ploy241@ksc.net ซึ่งก็คืออีเมล์ที่บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต KSC แจกให้กับ สมาชิก เป็นต้น อีเมล์จากหน่วยงาน คือ อีเมล์ที่องค์กรออกให้เพื่อให้บุคลากรภายในองค์กรได้ใช้ติดต่อสื่อสารกับ บุคคลอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งบุคลากรในหน่วยงานนั้น ๆ จะได้รับอีเมล์แอดเดรสของตนเอง จากการสมัครหรือกาหนดให้จากผู้ดูแลระบบ อาทิ เช่น ploy221@kku.ac.th คือ อีเมล์ของบุคลากรที่ชื่อ พลอย ซึ่งเป็นสมาชิกในหน่วยงานมหาวิทยาลัยขอนแก่น อีเมล์ฟรีจากเว็บไซต์ คือ อีเมล์ที่มีเว็บไซต์เปิดให้บริการรับ-ส่งอีเมล์ หรือทาหน้าที่เป็นตู้รับฝาก-ส่ง จดหมายบนอินเทอร์เน็ตฟรี ซึ่งอีเมล์ฟรีเหล่านี้พบได้จากเว็บไซต์ชื่อดังมากมายบนอินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่จะอยู่ ในรูปแบบการให้บริการเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล บริการให้พื้นที่ฟรีสาหรับการสร้างเว็บไซต์ และให้บริการอีเมล์ ฟรีโดยตรง จุดประสงค์หลักเพื่อเรียกให้คนเข้ามาใช้บริการในจานวนมาก ๆ ซึ่งเมื่อคนเข้ามาชมและใช้บริการ มาก จะทาให้เว็บไซต์นั้น ๆ ได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบอื่น ๆ เช่น จากการโฆษณาที่ลงโฆษณาผ่านเว็บนั้น รูปแบบของการบริการฟรีอีเมล์ การให้บริการฟรีอีเมล์ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ Web Based E-mail เป็นอีเมล์ที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจัดเก็บไว้ในเครื่องเชิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ ดังนั้นทุกครั้งที่ ผู้ใช้จะเข้าไปอ่านหรือส่งอีเมล์จาเป็นจะต้องเปิดเว็บพร้อมกรอกชื่อและรหัสผู้ใช้ก่อนเข้าไปใช้บริการ และผู้ใช้ สามารถเข้าสู่ระบบจากเครื่องใดก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต Pop Mail เป็นอีเมล์ที่


สนับสนุนให้สามารถเรียกมาเปิดอ่านผ่านโปรแกรมรับส่งอีเมล์บนเครื่องของผู้ใช้ แต่เมื่อผู้ใช้ได้เปิดอ่านอีเมล์ แล้ว โปรแกรมจะโหลดอีเมล์มาไว้บนเครื่องของผู้ใช้ พร้อมกับลบต้นฉบับบนเซิร์ฟเวอร์ทิ้งไป Imap Mail เป็น อีเมล์ที่คลายกับ Pop Mail ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมโหลดอีเมล์ มาเปิดอ่านที่เครื่องของผู้ใช้ได้ แต่เหนือกว่านั้น คือ ผู้ใช้สามารถเห็นหัวข้ออีเมล์ก่อนที่จะโหลดข้อความ และถูกถ่ายโอนข้อมูลถึงกันทันทีหลัง จากมีการเลือก เปิดอ่านอีเมล์ที่ต้องการ มารยาทในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ มารยาทที่ควรต้องจาในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ มี ดังนี้ 1. การขึ้นต้นและลงท้ายให้เหมาะสม ก็เหมือนกับหลักการเขียนจดหมายโดยทั่ว ๆ ไป ควร ข้อความที่ สุภาพ เพราะการติดต่อกันในครั้งแรกนั้น ถือว่าสาคัญ เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจ แก่กัน 2. เนื้อหาในตัวจดหมายต้องเป็นข้อความที่สุภาพเรียบร้อย ไม่พาดพิงเพื่อให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ซึ่ง ผู้ส่งต้องรับผิดชอบในเนื้อหาเหล่านั้น เพราะสามารถเผยแพร่ไปยังบุคคลอื่นๆ ได้ 3. งดการใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ในการเขียนตลอดประโยค (ในกรณีภาษาอังกฤษ) เพราะมันแสดงถึง การที่คุณกาลังตะโกนใส่เขา 4. ไม่ควรส่งจดหมายขยะ (Junk Mail) หรือจดหมายลูกโซ่แก่บุคคลอื่น เพราะจะสร้างความราคาญ ให้แก่ผู้รับ และในบางครั้งเมล์เหล่านั้นอาจมีไวรัสปะปนไปด้วย 5. เมือ่ ต้องการแนบไฟล์หรือเอกสารอื่น ๆ ประกอบไปพร้อมกันเมล์ ควรย่อไฟล์ก่อนส่งไปพร้อม จดหมาย เพราะไฟล์ที่จะส่งไปพร้อมกับจดหมาย (attachment) ขนาดโตๆ จะทาให้ผู้รับปลายทางต้องรอดาวน์ โหลดข้อมูล การที่เราส่งไฟล์ก้อนโตๆ ไปให้เขานั้น เท่ากับเป็นการปิดกั้นเมลล์อื่นๆ ที่จะถูกคนอื่น ๆ ส่งไปหา เขา เพราะถ้าตู้เก็บจดหมายของเขาเต็ม เขาก็ไม่สามารถรับอีเมล์ฉบับอื่นๆ ได้อีก


อ้างอิง 1. – ,การประยุกต์ใช้สารสนเทศในการศึกษา,วันที่ 6 ก.ย. 2555 เว็บไซด์ http://forum.datatan.net/index.php/topic,126.msg126.html 2. - , แหล่งการสืบค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต,วันที่ 6 ก.ย. 2555 เว็บไซด์ http://portal.edu.chula.ac.th/peng/blog/view.php?Bid=1277613762810293&msite=peng 3. ดีน่า, ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์,วันที่ 6 ก.ย. 2555 เว็บไซด์ http://blog.eduzones.com/dena/4913 4. -,ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ,วันที่ 6 ก.ย. 2555 เว็บไซด์ http://www.bangkapi.ac.th/ELEARN2%5CInternet/email.htm


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.