เสียงจากถ้ำ ฉบับที่ ๒๙

Page 1


ขอเชิญร่วมงานมหากุศล

พิธีพุทธาภิเษกและเททอง ในวันพุธที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖

ร่วมบำ�เพ็ญกุศลกับพระอาจารย์สายพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง โดยมีพระภาวนากิจวิมล (อนันต์ พทฺธญาโณ) เป็นประธาน


พระบรมรูปรัชกาลที่ ๑

ติดตามข่าวสารและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: www.watkhaowong.com และหน้า FaceBook Watkhaowong Thamnarai


สารบัญ ฉบับที่ ๒๙ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕

www.watkhaowong.com บรรณาธิการ พระครูภาวนาพิลาศ ผ้าป่าสร้างหอประชุม-หอฉัน มรดกพระดี ‘บนเส้นทางพระโยคาวจร’ หลวงตา พูดตามพ่อสอน ‘หาบุญเดิม’ พระครูภาวนาพิลาศ ใบไม้ในป่าใหญ่ ‘หัวใจพระอรหันต์’ มินตรา วันนี้ดีที่สุด ‘อยู่กับตาย ตอนที่ ๒’ ธูปหอม งบการเงิน ‘เดือนกันยายน ๕๔-มีนาคม ๕๕’ โมทนากุศล กองทุนธรรมทาน ‘ข้าวก้นบาตรของหนู’ ปกิณกะ ใบไม้พูดได้ ‘นิพพานฯ’ เรื่องจากปก ‘พระศรีอาริยเมตไตรย’ ท้ายเล่ม โชติธมฺโม ขอโมทนากุศลครอบครัว

‘คุณชูเกียรติ-คุณเมตตา อุทกะพันธุ์’

เป็นเจ้าภาพพิมพ์หนังสือเสียงจากถ้ำ� เป็นธรรมทาน

๖ ๘ ๑๐ ๑๙ ๔๘ ๕๔ ๖๒ ๖๘ ๘๖ ๑๐๗ ๑๑๑ ๑๑๒ ๑๒๒


ววาริ โปกฺขรปตฺเตว อารคฺเคริว สาสโป โย น ลิมฺปติ กาเมสุ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ. ผู้ใดไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำ�ไม่ติดอยู่บนใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลมฉะนั้น, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์. (อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖)

บรรณาธิการ: พระครูภาวนาพิลาศ กองบรรณาธิการ: สายฟ้า, โชติธมฺโม,

วิสูตร จิรโสภณ,ชาญยุทธ บุญธนศักดิ์, สิริวรรณ เอกผล, อภิสรา จุลพันธ์, ธนัญชนก รัตนธาดา พิสูจน์อักษร: วิสูตร จิรโสภณ, ชมรมคนรักษ์เขาวง ปกและรูปเล่ม: พระนิพพาน โชติธมฺโม

แยกสีและพิมพ์ที่:

บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน)

๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐ โทร. ๐ ๒๘๘๒-๑๐๑๐, ๐ ๒๔๒๒-๙๐๐๐ โทรสาร : ๐ ๒๔๓๓-๒๗๔๒, ๐ ๒๔๓๔-๑๓๘๕ ถ่ายภาพ : ธีระฉัตร โพธิสิทธิ์


เสียงจากถ้ำ�นารายณ์ฉบับนี้ พิมพ์แจกเป็น บรรณาการวันทอดกฐินวัดเขาวง.. ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ในวันนี้... ท่านที่มาร่วมงานทุกท่าน เมื่อเข้าไป รับประทานอาหารในสวนอาหารลานโพธิ์ ท่านจะเห็น อาคารกระจกแปดเหลี่ยมที่สวย สงบ มีสนามหญ้า และ ต้นไม้ประดับพองามล้อมรอบ และก็จะมีลานตัวหนอน คอนกรีตปูโอบรอบสวนให้ท่านเดิน ยืน รับประทาน อาหาร สะดวกกายสบายใจ.. สวนสงบสุขนี้ ในช่วงเวลาปกติตลอดทั้งปีจะใช้ เป็นสถานที่ฝึกอบรมสติ และมโนมยิทธิ เพื่อผลสูงสุดใน


การชำ�ระกิเลสและฟูมฟักคุณธรรมความดีให้แก่ทุกท่าน ที่คู่ควรและมีศรัทธา... เพื่อกลับไปเป็นคนดีมีความสุข ในชีวิตจริงของแต่ละท่าน ซึ่งจะได้ผลดีในระดับใดนั้น ก็ขึ้นอยู่ที่ความตั้งใจจริง และความศรัทธาที่ท่านมีอยู่ใน ตัวของท่านเองโดยตรง สถานที่และระบบระเบียบของพระพุทธศาสนา นี้ เป็นช่วงหนึ่งบนเส้นทางของพระโยคาวจรผู้ปรารถนา พระนิพพาน ที่ก้าวมาพานพบและผ่านไปเท่านั้น.


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้าง

หอฉัน-หอประชุม รองรับนักปฏิบัติธรรมและผู้เข้ารับการอบรม มูลค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามล้านบาทถ้วน)* หรือร่วมบุญตามศรัทธา

โอนเงินทางธนาคารกรุงไทย สาขาหน้าพระลาน บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์) เลขบัญชี ๑๓๓-๐-๒๔๓๘๐-๓ (133-0-24380-3) * เฉพาะงานอาคารไม่รวมงานไฟฟ้า ตกแต่งภายใน


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสร้าง

สวนพระศรีจักรีวงศ์

วัตถุประสงค์ :

๑. เพื่อสร้างเป็นอุทยานปฎิบัติธรรมเทิดพระเกียรติบรมราชจักรีวงศ์ (จะหล่อพระบรมรูปรัชกาลที่ ๑ ในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖) ๒. เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระศรีอาริยเมตไตรยที่หล่อเสร็จแล้วเมื่อวันมาฆบูชา ๒๕๕๕

งบประมาณทั้งสิ้น : ๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน) หรือร่วมบุญตามศรัทธา

โอนเงินทางธนาคารกรุงไทย สาขาหน้าพระลาน บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี วัดเขาวง (พระศรีอาริยเมตไตรย) เลขบัญชี ๑๓๓-๐-๒๔๓๘๐-๓ (133-0-24380-3) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : สำ�นักงานกลางวัดเขาวง(ถ้ำ�นารายณ์) โทร.๐๓๖ ๓๔๗-๗๓๐ โทรสาร : ๐๓๖ ๓๔๗-๗๓๑(อัตโนมัติ)


10


11

ลูกหลานเอย.. หลวงตาเพิ่งกลับจากดูงานสร้างสวนพระศรีจักรี วงศ์กลับสู่ลานวินัยกรรม แล้วก็เลยขึ้นมาเขียนต้นฉบับ เสียงจากถ้ำ� เขาเร่งมากลูก.. เขาใช้หลวงตามากมาย หลายอย่าง ฟ้องลูก ๆ เสียเลยว่า อายุหลวงตาก็ตั้ง ๗๑ ปีแล้ว ขาก็เดินไม่ไหว สมองก็จำ�อะไรไม่ค่อยได้ทั้งโรค หัวใจ.. ทั้งม้ามก็ไม่มี ถุงน้ำ�ดีก็ตัดออกหมด ... โอย.. แล้ว จะบ่นทำ�ไม?..หลวงตา.. รีบทำ�งานเข้าไปเวลาชีวิตมัน เหลือน้อยนิดแล้ว!


12

กฐินปีนี้ ถ้าลูก ๆ มาร่วมงาน ก็จะเห็นตรงทาง เข้าวัดลานจอดรถด้านติดภูเขา กำ�ลังพัฒนาเป็นสวน สวย ที่เรียกชื่อว่า ‘สวนพระศรีจักรีวงศ์’ บางคนก็ถาม ว่าจะรีบเร่งสร้างอะไรนักหนา แก่มากแล้ว ตังค์ก็ไม่มี เหนื่อยเข้าหน่อยก็ขี้บ่น.. ลูกหลานเอ๋ย! ใครจะอยาก เหนื่อยอยากลำ�บากบ้างเล่า แต่มันต้องทำ�ให้เสร็จโดย เร็ว ก็เพื่อรักษาแผ่นดินพระพุทธศาสนาตรงนี้ไว้เป็น มรดกแก่ลูกหลานสืบไปในภายหน้า ลูกเอย.. เมื่อเข้าประตูวัดผ่านมาถึงลานจอดรถ ติดกับเขตสังฆาวาส ตอนนีล้ กู จะเห็นว่ามีสวนศรีสวยงาม เกิดขึ้นแล้ว.. ซ้ายมือของลูกจะเป็นเนินสวย มีฐานหิน ประดิษฐานองค์พระศรีอาริยเมตไตรยที่พวกเราหล่อ หลอมถวายบัดนี้ประทับนั่งงามนักหนา.. ที่ขออนุญาต ท่านสร้างขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์สุขของพุทธศาสนิกชน ผู้มีศรัทธาปรารถความพ้นทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน หาก บุญบารมียังไม่พอจะเข้าพระนิพพานในชาติปัจจุบัน จะ ได้เป็นที่สักการะอธิษฐานได้เกิดทันสมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าองค์ถัดไป ได้พบได้ฟังธรรมจากสมเด็จพระ


13

หากบุญบารมียังไม่พอจะเข้า พระนิพพานในชาติปัจจุบัน จะได้เป็นที่สักการะอธิษฐานได้ เกิดทันสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าองค์ถัดไป ศรีอาริยเมตไตรยเข้าสู่แดนบรมสุขได้ในพระกาลพุทธ ศาสนาของท่าน หรือหากบุญบารมีของเราพรั่งพร้อม เข้าพระนิพพานตามพระคุณครูบาอาจารย์ไปได้ในชาติ นี้ ก็ถือว่าเป็นที่สักการะต่อพระบรมโพธิสัตว์ผู้ยิ่งด้วย พระบารมีเป็นสิริมงคลแด่ชีวิตก่อนเข้าสู่พระนิพพาน.. เทพ พรหม มนุษย์ที่เป็นสาวกบริวารของท่านจะได้ปก ปักรักษาสถานที่นี้ ให้มั่นคงไปอีกนานแสนนาน


14

ลูกหลานเอย... ทีนี้มองด้านหน้ามีภูเขาเป็นฉาก ก็จะมีแท่นฐานหินธรรมชาติตั้งไว้รอเป็นที่ประทับพระ บรมรูปเจ้าของแผ่นดินจักรีวงศ์


15

ในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ปีหน้านี้แหละ จะ มีงานหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประทับเป็นมิ่งมงคลแก่แผ่นดินพระพุทธศาสนาวิสุงคามสีมาวัดเขาวงถ้ำ�นารายณ์ จะมีป้ายแผ่น หินใหญ่จารึกมงคลนามว่า อุทยานธรรรมปฏิบัติ เทิดพระเกียรติบรมราชจักรีวงศ์


16

ลูกหลานเอยสมเด็จพ่อใหญ่ต้นแผ่นดิน ประทับ อยู่.. ด้านหลังของพระองค์คือขุนเขาแห่งประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนาจารึกอักษรถ้ำ�นารายณ์บ่งบอกว่าเป็น โบราณสถานที่ระลึกการแลกเปลี่ยนสืบอายุพระพุทธ ศาสนาลังกาวงศ์สยามวงศ์ ซึ่งมีอายุบันทึกไว้ ๑,๓๐๐ ปี หากลูกเหาะข้ามภูเขาลูกนี้ไปถึงชายเขาทางทิศเหนือก็ จะเป็นวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ซึ่งสมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาประทับรอยพระพุทธบาทไว้ เป็นมหามิ่งมงคลในการสืบสานเผยแผ่พระพุทธธรรมแก่ ชาวโลกตราบท้าว ๕,๐๐๐ ปี ซึ่งในบริเวณภูเขาทั้งหมด นี้ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแห่งแผ่นดินศรีอยุธยา ได้ พระราชทานเขตสีมาไว้กว้างครอบคลุม ๑ โยชน์ คือ ๑๖ กิโลเมตร พระภิกษ์สงฆ์และชาวพุทธทั้งหลาย ก็ได้อาศัยเทือกเขาสำ�คัญนี้ปฎิบัติธรรม รักษาแผ่นดินพระพุทธศาสนา ตลอดมาจนทุกวันนี้ ภาพขวา : จารึกอักษรถ้ำ�นารายณ์ หนึ่งในห้าที่เป็นหลักฐาน ในประเทศไทยที่ยืนยันการเผยแผ่วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา สมัยทวารวดีกับเมืองลังกา


17

ลูกหลานเอย .. เมื่อหลวงตาจากวัดท่าซุงมาอยู่ ที่วัดเขาวงนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ เมื่อพระคุณ‘พ่อ’หลวง พ่อฤาษีฯ วัดท่าซุงได้พักแล้ว เข้าสู่พระนิพพานเมืองแก้ว ได้ ๑ ปี หลวงตาก็ได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อสมเด็จ พระพุฒาจารย์ และท่านเจ้าคุณพระพรหมสิทธิ แห่ง วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ให้มาครองสีมารักษาเขต พระพุทธศาสนานี้ไว้อีกกำ�ลังหนึ่ง


18

๑๙ ปี แล้วหนอที่หลวงตามาทำ�รอลูก.. มาทำ�บูชาพระคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระ สงฆ์ ทำ�บูชาองค์พระคุณพ่อผู้นั่งพักแล้ว หลวงตาก็จะหมดแรงแล้ว.. ๑ พฤษาคม ๒๕๕๖ งานหล่อพระบรมรูปเปิดสวนพระศรี และถวาย อุทยานธรรมปฎิบัติเทอดพระเกียรติบรมราชจักรีวงศ์นี้ เกินกำ�ลังหลวงตานัก พระอาจารย์เจ้าคุณภาวนากิจวิมล ผู้ครองวัดท่าซุงต้นสายพระคุณพ่อฤาษีฯ จะเมตตาเป็น ประธานในพิธี รวมทั้งหัวหน้าสาขา สายวัดท่าซุงอีก ๓๗ วัด ที่จะมารวมกันเป็นประเพณีผนึกกำ�ลัง สืบสาย พระคุณครูบาอาจารย์ต่อไป.



ภาษาไทยที่ท่านจะได้อ่านจาก‘พูดตามพ่อสอน’ ฉบับนี้ เป็นถ้อยคำ�ที่ถอดจากการพูดตอบปัญหาและการสนทนาในงานประจำ�วันจริง ๆ โปรดทราบว่าเป็นการพูด เฉพาะกิจ เฉพาะกาลเวลา และเฉพาะอารมณ์ของบุคคล ซึ่งอาจไม่ถูกใจท่านก็ได้ เราถอดเทปพิมพ์ไว้ อ่านแล้วเห็นว่าฟังง่ายสบายใจ ก็ลองนำ�เสนอแบ่งกันอ่าน... ตัวผู้พูดคือ ‘หลวงตา’ ท่านปรารภว่า พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นละเอียดอ่อนบริสุทธิ์มหาศาล ทรงเลือกสรรเพียงน้อยนิดมาสอน พระสาวกองค์ใดดื่มด่ำ�สิ้นสงสัย ก็พยายามใช้ภาษามนุษย์พูดออกมาได้เพียงหนึ่งในหมื่นพันที่กินใจอิ่มเอิบ หลวงตาท่านฟังจากหลวงพ่อครูบาอาจารย์ แล้วทรงไว้ได้เพียงหนึ่งในล้าน ที่พ่อปรารถนาจะให้เข้าถึง ต่อไปนี้จะเป็นภาษามนุษย์ ที่พยายามบรรยายถ่ายทอดรสชาติที่ผ่านมาในใจ ของหลวงตา ท่านว่าจะได้สักกี่ส่วน จะเกิดประโยชน์สักกี่สัด ก็ทำ�ได้สุดความสามารถสุดวาสนา.. แล้วแต่ผู้ฟัง ผู้อ่านจะพิจารณาเอาเองเถิด.

ถ่ายภาพ : วัดเขาวง


21

พระครูภาวนาพิลาศ (๑๑ มีนาคม ๒๕๕๔)

ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ที่พระเรียนมานี่.. ไม่มีอะไรเลย อาการ ๕ อย่าง เวลามันตายไปแล้ว มันก็หลบอยู่ ถูกเผาไป ไม่มีอะไรที่จะไปเสนอหน้าช่วยแบ่งเบาไฟนรกให้มันร้อนน้อย ลงหน่อยซิ(ใจน่ะนะ) ไม่มีเลย.. มันไม่เอาเรื่องเลย บางทีร่างกายโกงยิ่งกว่านั่นอีกนะ ตรงที่เป็นตูดเป็น หัวเข่าเรานี่นะ ธาตุดินก็เป็นปุ๋ยลงไปในดินใช่มั้ยลูก? เข้าไปใน ต้นมะม่วงเนาะ หัวก็เข้าไปในร่างดอกบัว ดอกมะลิน่ะ ปุ๋ยนี่มัน กินกันอยู่ ใช่มั้ยล่ะ? ดูดเข้าไปจากดิน ใช่มั้ยลูก? เขาบอกเป็นสี ขาว กลิ่นหอม.. ทำ�บาปมาด้วยกันแท้ ๆ ดันไปเป็นดอกไม้บูชา พระ แล้วกูตกนรกแทนมึง(ร่างกาย) อย่างนี้น่ะนะ..


22 เขาถึงให้เห็นว่าร่างกายที่เราไปผิดแทนมันเนี่ยเป็น เรื่องโง่มาก ๆ ภาษาบาลีท่านให้เขียนว่า ‘อวิชชา’ คือไม่รู้ความ จริง ก็เลยไปคิดว่าร่างกายเป็นเราของเรา แต่ภาษาไทยเรียกว่า ‘ไอ้บรมโง่’ เลย.. มันไม่เคยออกร้อนแทนเราเลยนะลูกนะ เวลา เขาด่า “อี.. อีดำ�ตับห่าน” อย่างงี้นะ อีโน่นอีนี่เนี่ย ไอ้ตับไอ้ตัว ดำ�ก็ไม่เคยได้โกรธใครเขา ใจเนี่ยไปเหมาเอา เขาเรียก ‘มัวเมา’ ยึดน่ะ เขาเรียก ‘อุปาทาน’ เนี่ยนะ “โห..ด่ากู” ใช่มั้ยลูก? นั่นแหละ “แม่มึงซิดำ�..” จับ ปากไปด่า “ย่ามึงด้วย โคตรมึงด้วย..” ทีนี้ว่าไอ้พวกนี้ด่าแล้วมันก็เป็นดิน แต่ใจซึ่งอาฆาต ปรุงคำ�พูด “มันต้องโคตรมันถึงจะเจ็บ!” นะ.. ดำ�ไม่พอต้อง “ช้ำ�เลือดช้ำ�หนอง” อะไรนี่นะ.. ไอ้ตัวที่ปรุงเขาเรียก ‘สังขาร’ ตัวเจตนาเนี่ย ตัวนี้เขาเรียกกำ�ลังของจิต เข้าใจมั้ยลูก? เหมือน ไปโหลดอะไรลงในคอมพิวเตอร์ ไอ้ตัวชิพ.. เชิพ.. อะไรนี่นะ โหลดลงไปนี่นะลูกนะ แล้วเวลาไปเปิดใช้มันก็แรง! ออกไปตาม นั้น เพราะฉะนั้นถึงได้บอกว่าการปฏิบัติกรรมฐานคือว่า ทำ�ให้ใจเราสงบหยุดคิดเรื่องอื่นเลย ตั้งแต่เกิดมาจนถึงบัดนี้ นี่นะ ข้างในข้างนอก เมื่อวานพรุ่งนี้อะไรก็ตาม พ่อคุณเอ๊ย แม่คุณเอ๊ย.. หยุดคิดเสียชั่วคราว เอาใจมาอยู่ในภาวะอะไรซัก


23 อย่างซึ่งมัน.. สงบ ไม่มีความคิดอะไร วิธีจะทำ�ก็คือว่า เวลามัน วิ่งไปไหนก็จับเอามา หางของลมหายใจจับเอามาจับลมหายใจ “จับ ๆ” จิตน่ะจับ! “เออ..เข้าแล้วนะ ๆ ออกแล้วโว้ย ออก ๆ ออกแล้วก็เข้าอีกนึงทีแล้ว” บางคนก็นับ “๑...๒...๓...” ๗ คู่ ๑๐ คู่เนี่ย กูจะไม่ยอมให้มึงไปคิดไปด่าใครเขาเลย ไปปรุง “ช้ำ� เลือดช้ำ�หนอง” อะไรเลย จะปรุงอย่างเดียว “เข้าแล้ว ๆ ออก แล้ว ” ให้อย่างนี้น่ะลูก ใจมันก็จะเชื่องไปทุกทีมันจะสงบทุกที มันจะอยู่กับที่ มันไม่วิ่งออกไปทำ�อะไรอื่น ใช่มั้ยลูก? พออยู่กับที่เขาเรียก ‘อยู่แล้ว-เชื่องแล้ว’ ก็เลี้ยงให้มัน อ้วนด้วยการ “โอ๊..นี่หนอ พระพุทธเจ้าสอนเรา พระอรหันต์ สอนเรา เพราะฉะนั้นพระธรรมก็สอนเราให้จับลมหายใจ อู้หู จับได้ ๑๐ คู่ยังเว้นความเลวได้ตั้ง ๑๐ คู่เนาะ ใจยังผ่องใสได้ ขนาดนี้น้อ.. ถ้าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ท่านเป็นยอดคน ยอดพระอรหันต์ ยอดจิตจะขนาดไหนน้อ...?” “เอาแล้วตานี้พอเข้าไปจะเรียก ‘พุท..’ ออก ‘โธ..’ ตา นี้สมเด็จพระรัตนตรัยกะหนูรู้กันเลยนะ ตกลงกันนะ ถ้า‘พุทโธ’ เมื่อไรหมายถึงเคารพหมดเลยนะ ความดีอะไรมีอยู่ท่านมีอยู่ ให้หนูหมดนะ หนูขอพึ่งความดีอันนั้นเป็นที่พึ่งนะ” ก็เอาเลย ทำ�สติผูกใจอย่างนั้นเราก็ “พุท.. โธ” ทีนี้มันเป็นสมาธิแล้วเรา อิ่มด้วย ผ่องใสด้วย ได้มีที่พึ่งเป็นที่พึ่งด้วย พอใจมั่นคงอย่างนี้


24 แล้วก็นั่นแหละ ก็เอามาพิจารณาร่างกาย พิจารณาแบบที่ว่านี่นะ ถ้าไม่พิจารณาทำ�ไมรู้มั้ยลูก? สมมุติใครทรงได้ครึ่งชั่วโมงมันก็นั่งยิ้มไม่มีความทุกข์ครึ่งชั่วโมง แต่ปัญญาก็ไม่ได้เข้ามาเลยนะ ก็แค่รู้ว่าสุข “โอ๊...เข้าก็สุข ออก ก็สุข” ก็สุขอยู่อย่างนี้ ใครประกอบเหตุได้ ผลก็ได้เหมือนกัน ทั้งหมด ใช่มั้ยลูก? แล้วหลวงตาก็ยกตัวอย่าง(หยาบคายทุกที ขอโทษด้วย ลูก) เวลา “พุท...” แมว(ร้อง) “แป๊ว!” กัดกัน.. แก้วแตก “เห้ย ๆ ! ใครวะ?” ไปไล่แมว โอ้โห.. ไปสนใจแมวมากกว่า พระพุทธเจ้าทั้งองค์เลยนะ ใช่มั้ยลูก? หมาเห่าข้างล่าง หมา เยี่ยวล้อรถ กำ�ลังพุทโธ.. เห็น “อ้าวรถกูนี่หว่า เห้ย!” แทนจะ พุทโธไป “เห้ย!” แล้วใช่มั้ยลูก? เห็นมั้ยจิตมันพร้อมจะวิ่งไปหา อย่างอื่น ถ้าไม่ฝึกผูกเอาไว้ ถึงผูกเอาไว้ได้แล้วก็ตาม ถ้ายังไม่ใช้ ให้มันถูกต้องเนี่ย มันจะวิ่งไปหาอย่างอื่น ยกตัวอย่างหยาบ ๆ อีกอันนึง (ฟังได้เนาะ) นั่งอยู่ อย่างนี้สบายใจ..วี้ด คนข้าง ๆ ท้องเสียตด..ปี๊ด! เหม็นขึ้นมานี่ ถามว่าจับคู่ที่ ๒ นี่ จะพุทโธมั้ย? มันต้อง(เหม็น) “แดกอะไร มา?” เข้าใจมั้ย.. เข้าใจมั้ยลูก? เป็นธรรมดา.. เป็นธรรมดา ใจมันวิ่งออกไปด่าเขา เพราะมันคิดว่า “มึงตดเข้าจมูกกู” (หัวเราะ) “จมูกกูตดมึง” จมูกกูนี่นะมันก็เลยโกรธขึ้นมา เข้าใจ


25 มั้ยลูก? ใจมันก็ละสติจากตรงนี้ ไปจับตรงโน้นก็เลยด่า “แดก ช้างเน่า!” เออ.. “พ่อแม่ไม่สั่งสอน!” ไปด่าพ่อแม่เขาอีก เข้าใจ ไหมลูก? ฌานเราฝึกมาตั้งแต่เป็นพรหมเป็นเทวดา หลายล้าน ชาติมาก เรื่องศีลสมาธิปัญญานี่นะ แต่ว่ายังอยู่ในลักษณะที่ยัง ไม่ขาดจากกิเลส ก็วนเกิดทั้งดีทั้งเลวอยู่อย่างนี้ แล้วขณะที่เรา ทำ�ขณะปัจจุบันที่ว่าอารมณ์ดี ๆ เนี่ย มันเป็นผลรวมของความ ดีทั้งหมดที่เคยทำ�มา นะลูกนะ ก็ทำ�เป็นพรหมเทวดามาตั้งเป็น ล้านชาติ เป็นพระมาก็ตั้งหลายสิบล้านชาติ บวกวันนี้อีกวัน นาทีนี้ เข้าฌานกำ�ลังดี พอตดปี๊ด! ออกมา ฌานแพ้ตดว่ะ เออ.. ขอประทานโทษ ไม่ได้ว่าพระธรรมไม่ดีนะ ใช่ไหมลูก? เอาไม่ อยู่! ทำ�ไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะถ้าเป็นของดีแท้ ๆ ถ้าใครก็ตามทำ�ลมหายใจเข้าออก.. สบายใจแล้วตาย ไปขณะนี้ อย่างน้อยเป็นเทวดาชั้นที่ละเอียดที่สุด หรือเป็น พรหมไปเลย สมมุติ “พุทโธ” แล้วใจผ่องใส แล้วคุณธรรมก็มี พระพุทธเจ้า ถ้าตายด้วยอารมณ์นี้ จิตตัวนี้มันจะนำ�ให้เราไป เกิดเป็นเทวดานับเวลามนุษย์นับเวลาเป็นพันล้านปี.. ร้อยล้าน ปี เขาเรียก ‘กัป’ นี่นะลูกนะ หลายกัป.. อายุของความดีขนาด นี้นะลูกนะ แล้วคนที่มีค่าของความดีขนาดนี้.. แพ้ตดว่ะ แพ้ เสียงแมวอ่ะ ทำ�ไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ?


26 เพราะว่าสภาพภาวะทุกอย่างซึ่งปรากฏทั้งฌานสมบัติก็ ดีความดีก็ดี มีสภาพเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป ตามเหตุปัจจัย ของเขา ถูกไหมเล่า? เออ ๆ สมมุติ “พุทโธ” อยู่ดี ๆ พอ “เห้ย! หลวงตาบัวมาที่หน้าวัด!” “เหรอ ๆ ไป ๆ..” ละพระพุทธเจ้า ไปหาหลวงตาหลวงปู่แล้ว เข้าใจมั้ยลูก? ขนาดความดีต่อความ ดีด้วยกันยังดึงใจเราไปเลย เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านถึงบอกว่า เมื่อทรง ความชินของความสุขตรงนี้ได้แล้วเนี่ย (เขาเรียก ‘ฌาน’ ภาษา บาลีน่ะ) เมื่อทรงความอยู่ตัว ความสุข ความผ่องใสตรงนี้ได้ แล้วเนี่ย (ภาษาบาลีเรียกว่า ‘ทรงฌาน’ ได้แล้วเนี่ย) อย่าหลง ติดตรงนี้ เดี๋ยวเหตุมามึงจะจ๋อย เข้าใจมั้ยลูก? เออ ๆ แล้วเวลา ทำ�ความดีมานานแสนนานนะ ถ้าเกิด.. แฟนของเราก็นั่งอยู่ตรง นี้ คนเขามาทำ�ตาปริ๊บ ๆ ๆ ๆ กับแฟนเราเนี่ยนะ แล้วแฟนเราก็ หันไปยิ้มกับเขาด้วย ท่องพุทโธอยู่ดี ๆ นะ “อื๋อ!..” ธาตุไฟแลบ ขึ้นมา ตายห่าตอนนั้นไปตามอารมณ์นั้นก่อนนะลูกนะ ส่วน อารมณ์ดีเอาไว้รับทีหลัง ๆ จากไปใช้ตรงนี้แล้วนะลูกนะ มัน เสี่ยงขนาดนี้ จิตสุดท้ายก่อนออกจากร่างเป็นยังไง ก็ต้องไปรับ ผลอย่างนั้นก่อน! ทำ�ยังไงถึงจะทำ�ตัวนี้ให้เป็นประโยชน์ถาวรได้? ท่านก็ เอาความบริสุทธิ์ผ่องใสที่ทรง.. ชินอย่างนี้ เปรียบเหมือนเราทำ�


27 ห้องตรงนี้ไว้เนี่ยนะ หรือวงกลมอะไรไว้ตรงนี้ เขาเรียก ‘นิมิต หมาย’ ที่ผูกไว้ให้ผ่องใส.. แล้วเราไม่ติดอยู่ตรงนี้ เราจะอัญเชิญ ความจริงเข้ามาอยู่ ดูในนี้โดยไม่ต้องไปคิดอย่างอื่น ดูความ จริงตามพระพุทธเจ้าสอนเลย เขาเรียก ‘สูตรของท่าน’ พระ อรหันต์คนไหนทำ�ตามสูตรนี้ เหมือนแกง เหมือนสเต็กน่ะถ้า ทำ�ตามสูตรนี้.. อร่อย! เข้าใจมั้ยลูก? ไม่ต้องไปคิดสูตรใหม่ ท่าน อุตส่าห์ตรัสรู้มาให้แล้ว บำ�เพ็ญบารมีมาตั้งนานแสนนานแล้ว เทศน์เป็นพระสูตรให้ไว้แล้วนี่ เราหาสักสูตรนึง ที่เออ.. ฟังแล้ว มันขนลุกเกรียว ๆ นะ เออ.. นั่นแสดงว่ามันตรงกับใจเดิมของ เรา ใช่มั้ยลูก? ฟังให้เข้าใจ เรียบเรียงให้เข้าใจแล้วก็ปฏิบัติ ปรุง อารมณ์ตามสูตรนั้นเลย แล้วมันก็จะอร่อยน่ะลูก สูตรต่าง ๆ ยกตัวอย่างเรื่องมรณานุสติ กายคตาสติ สูตร พอใจผ่องใสแล้ว ก็นึกในใจ “หลวงตาเคยบอกว่า อาจ จะแพ้แมวแพ้หมาก็ได้ (ฌานไม่ได้แพ้นะ เราน่ะแพ้!) ออกจาก ฌานไปโกรธซะ โอหนอ.. ท่านพูดถึงพระสูตร ๆ หนึ่งซึ่งเรียกว่า ‘มรณานุสติสูตร’ ที่บอกว่า โอหนอ.. ร่างกายอันนี้ เกิดขึ้นเป็น เด็ก แล้วก็เป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วก็ตายไป ใช่มั้ย? พระพุทธเจ้า ทุกองค์เกิดมาแล้วทุกองค์ก็ตายไป ผู้หญิงผู้ชายที่ยิ่งใหญ่หรือ ไม่ยิ่งใหญ่ก็ตามเกิดแล้วก็ตายไป หาความเที่ยงไม่ได้” (แต่อย่าลืมนะอย่าคิดอย่างอื่นเลยนะ คิดอยู่ในนี้


28 อันเดียวจนกว่าจะจบอารมณ์อันนี้นะ) “โอ..อีกไม่นานน้อ.. (เอาสูตรนี้มาใช้) อะจิรัง วะตะ ยัง กาโย (บังสกุลเป็น) ปะฐะวิง อะธิเสสสะติ ฉุฑโฑ อะเปตะ วิญญาโณ นิรัตถังวะ กะลิงคะรังฯ อีกไม่นานหนอ.. ร่างกายที่ ไม่เที่ยงนี้ ก็มีวิญญาณออกจากร่างแล้ว” เมื่อวิญญาณออกจาก ร่างจิตหน้าด้านอยู่ไม่ได้หรอกลูก ต้องออกด้วย เข้าใจมั้ยลูก? เหมือนนกมันบินออกจากกิ่งไม้ เงาต้องบินตามไปด้วย ไม่มีเงาตัวไหนหน้าด้านอยู่ได้หรอก.. ตามกฎธรรมดา เมื่อ วิญญาณออกจากร่างแล้วก็ต้องตาย.. นอนทับถมแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์ ไม่มีใครเขาสนใจใยดี พอฟัง.. พิจารณา “อืมม..ไม่มีใครสนใจจริง ๆ มันจับเราพนมมือ เอา มือไปอย่างงี้ รดน้ำ�ศพด้วย ตอนเย็นมันเอาเข้าโลงแล้ว” เข้าใจ มั้ยลูก? จริงมั้ย? เข้าโลงแล้วตอกตะปู ๘ ตัวเลย กันเด้งขึ้นมา.. กันเหม็น เข้าใจมั้ยลูก? เออ ๆ ถูกไหม? ไม่ใช่ว่าเขาไม่รักเรา เขาไม่รักความสกปรก! ในสมัย ร่างกายนี้ยังมีวิญญาณใช้อยู่ ยังมีจิตใจครองอันนี้ได้อยู่ จิตใจซึ่ง มีความเมตตากรุณา มีความซื่อสัตย์ มีความขยันขันแข็ง ก็เอา ร่างกายนี้ไปทำ�งานเอาเงินมาให้เรา มาลูบหัวเราจ๊ะ ๆ จ๋า ๆ กัน ที่เรารักร่างกายนี่ที่จริงรักปฏิกิริยาของจิตใจคน ๆ นี้ ซึ่งเจตนา ทำ�ดีต่อเรา เพราะใช้ร่างกายเป็นเหตุ ถูกมั้ย?


29 พอร่างกายตาย..ใจเขาไปเป็นเทวดาหรือเป็นหมาก็ ตามนะลูกนะ ไอ้นี่ก็คือสมบัติกลางของโลกแล้ว ให้คิดต่อว่า โอหนอ..เมื่อวิญญาณออกจากร่าง ธาตุลมก็ไปสู่ในอากาศธาตุ นะลูกนะ ไม่มีลมผู้หญิงผู้ชายแล้ว ไม่มีลมพระไม่มีลมพรรษา ๑ พรรษา ๒ แล้ว เป็นลมเท่ากันออกไปแล้ว หนูเอาไปหายใจต่อ เลย เข้าใจมั้ยลูก? นิโกรอยู่ใกล้ ๆ เอาไปหายใจต่อเลย.. ลมคน ไทยแท้ ๆ ผู้หญิง นางสาวไทย ดาราหนัง พอลมออกไปขอทาน เอาไปหายใจต่อเลย โอ.. ลมนี้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็ยังใช้ได้ เมื่อ ตายไปแล้ว หรือยังไม่ตายก็ไปอย่างนี้เหมือนกัน ธาตุ ไ ฟซึ่ ง เป็ น อุ ณ หภู มิ ใ นร่ า งกายที่ อ บอุ่ น ทำ � ให้ ร่างกายไม่เน่าเปื่อย ออกไปแล้วร่างกายก็เย็นเฉียบ แข็งทื่อ เคลื่อนไหวไม่ได้ ธาตุดินกับธาตุน้ำ�ก็ทำ�ลายกันเหมือนแกงซื้อ มาจากตลาด มึงไม่อุ่นนี่บูดไหมลูก? ๖ ชั่วโมงเนี่ย.. มันไม่มีไฟ มาเลี้ยงไง เข้าใจมั้ยลูก? มันก็เน่า คนก็เหมือนกัน เริ่มบวม.. เขียวแล้วเนาะ ถูกมั้ยลูก? แล้วถามจริง ๆ น่ะ ผัวเมียให้รักกัน หรือว่าคู่หมั้นจะแต่งงานกันพรุ่งนี้แล้ว มันมาตายแลบลิ้นให้เรา ดู ปลิ้นอย่างนั้นน่ะ มึงคิดว่าเขาจะสนใจใยดีเราตอบไหมลูก? อย่างมากก็ร้องไห้ ฮือ ๆ ๆ เนาะใช่มั้ยลูก ? ที่จริงพอตอกโลง แล้ว มันกลัวรีบกลับบ้าน เข้าใจมั้ยลูก? เคยไปกินข้าว สเต็กด้วยกัน ปรากฏว่าอะไรรู้มั้ยลูก?


30 เอาถาดอะไรก็ไม่รู้ ใส่ข้าวตามประเพณีไปวางไว้หัวโลง รีบเคาะ “พ่อมากินข้าว” แล้วรีบไป “แม่ ๆ มากินข้าว” เข้าใจมั้ยลูก? เขาสนใจแค่นั้น สวดให้แล้ว ก็ไม่มีเลยที่จะไปเปิดฝาโลงหอม กัน.. ไม่มีง่ะ รีบกลับบ้าน พอถึงวันพระราชทานเพลิงศพหรือ เผาศพ เขาก็เอาไปขึ้นข้างบนแล้ว เข้าใจมั้ยลูก? แถมร่วมมือกับ คนทั้งหลายใส่ไฟเราเสียอีกเนาะ ไม่กลัวเราร้อนสักหน่อย เออน้อ..ร่างกายนี้น้อ..เมื่อวิญญาณออกจากร่างแล้ว ต้องนอนทับถมแผ่นดินเหมือนท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์ ไม่มีใคร เขาสนใจใยดี เมื่อร่างกายเป็นศพไปอย่างนี้แล้ว เวทนา ตอนมีชีวิตอยู่ กินข้าวอร่อยก็มีสุข เขาเรียก ‘เวทนา’ คนเขาต่อยปากก็เป็นทุกข์ เขาเรียก ‘ทุกขเวทนา’ เข้า ใจมั้ยลูก? พอตายแล้วให้มันเอาสเต็กมายัดปากศพ สุขเวทนา มีมั้ยลูก? เอาตีนกระทืบ!มันก็ไม่โกรธเข้าใจมั้ยลูก? โอ..ความ จริงคืออย่างนี้น้อ.. พอร่างกายไม่มีชีวิตไม่มีจิตใจครอง เวทนา ความรู้สึกทั้งหลายก็ทำ�ร้ายใจนี้ไม่ได้แล้ว สัญญา เคยจำ�กูชื่อนี้ ๆ จะเซ็นเงินเดือนรับตรงนี้ แม่ ชื่อนี้ พ่อชื่อนี้ ไปถามว่า “คุณ..แม่มึงชื่ออะไร?” แอ่..น้ำ�เหลือง พ่นออกมาตอบก่อน ใช่มั้ยลูก? สัญญาความจำ�ได้หมายรู้ก็ดับ สูญไปตามเวทนา (ภาษาคอมพิวเตอร์เขาเรียกอะไร? ‘เมมโมรี่’ เหรอ?) เออ.. พอชักปลั๊กหมดหงิกแดกเลย ใช่มั้ยลูก? เออ ๆ


31 แล้วอีกตัวหนึ่งก็หมดไปแล้วใช่ไหมลูก? แล้วสังขาร ความปรุงของสมองของจิตใจ คิดโน่นคิด นี่ ไอ้นี่ดีไอ้นี่ไม่ดี หนึ่งบวกหนึ่งเป็นสอง สองคูณสองเป็นสี่ คิด ออกหมดนะลูกนะ พอตายถามว่า “คุณ..ให้ล้านนึงตอบหน่อย รวมหนึ่งบวกหนึ่งเป็นเท่าไร?” ฟังไงก็ตอบไม่ได้ สังขารหมดสิ้น ไปแล้ว ใช่มั้ยลูก? เห็นมั้ย? วิญญาณ ที่สำ�คัญคือประสาทตา เคยเห็นรูปปิ๊บ ๆ ๆ ทำ�ตาหวานก็ได้ ตาเป็นปลาตาย.. คนตายแล้วเนอะ ให้ศัตรูมา ร้อง “เห้ย ๆ ๆ ไอ้บ้า ๆ ๆ.. ” ก็ไม่เห็น ร้องเพลงเพราะ ๆ ใส่หู ก็ไม่ได้ยินใช่มั้ยลูก? โอหนอ.. อีกไม่นานหนอร่างกายนี้ เมื่อทอดร่างกาย ลงกับพื้นแล้ว เน่าเปื่อยไปแล้ว เวทนาก็ไม่มีในรูปนี้ในกายนี้ กายนี้ก็ไม่มีเวทนา สัญญาก็ไม่มีในกายนี้ กายนี้ไม่มีสัญญา ชัด มั้ย?! สังขารก็ไม่มีในร่างกายนี้สงบสิ้นเชิงไปแล้ว ไม่มีสังขาร วิญญาณก็ไม่มีร่างกายนี้ กายนี้ไม่มีวิญญาณ โอหนอ.. เมื่อรูปพังนามธรรม ๔ อย่าง ก็สลายตัวไป หมด เหมือนคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ถอดปลั๊กออก เอาอะไร ต่ออะไรออก ตะกี้นี้ อู้หู.. ดูสึนามีที่ญี่ปุ่นดูทางยูทูปได้เนาะ นะ ลูกนะ โอ้โห..พอชักปลั๊กออก ชักซิมออก ถอดสมาชิก.. เอา วิญญาณออก มึงเคาะยังไงมันก็ไม่มาใช่มั้ยลูก?


32 ทุกข์ทั้งหลายในโลก เมื่อใจยังครองร่างกายอยู่ ถ้าหิว ข้าวหิวน้ำ�ก็ต้องทุกข์ ปวดท้องขี้ท้องเยี่ยวก็ต้องทุกข์ต้องบริหาร ง่วงเหงาหาวนอนก็ต้องบริหารหาที่นอน เจ็บไข้ไม่สบายก็ต้อง รักษา แก่ก็ต้องทะนุบำ�รุงตัวเอง ผลที่สุดตายก็ต้องทำ�ศพกัน แต่ก็.. เมื่อร่างกายตายไปแล้ว ทุกข์ทั้งหลายนี่ทำ�ร้ายร่างที่ไม่มี จิตใจไม่ได้แล้วเนาะ ร่างนี้จบกิจจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง! ทุกข์ อะไรมีในโลกไม่ได้เกี่ยวกับไอ้ศพนี้เลย! เข้าใจมั้ยลูก? ให้ของ แพงน้ำ�มันขึ้นราคา สึนามิอยู่ที่ไหนก็ตาม ไม่เกี่ยวกับธาตุดินซึ่ง กำ�ลังเน่าอยู่ ถูกมั้ย? ทุกข์ในโลกก็มีอยู่ในโลก ความโลภ โกรธ หลงก็ยังมีอยู่ในโลก เขาก็โกรธกันรอบ ๆ ศพ.. รอบ ๆ วัด.. แต่ กิเลสทั้งหลายทำ�ร้ายศพไม่ได้แล้ว แล้วทำ�ไมวะลูก? จิตใจซึ่งออกจากศพไปแล้วเนี่ย.. ติ๋งต่างว่ามึงลอยอยู่ตรงนี้นะ กำ�ลังจะบ๊ายบายศพเนี่ยนะ กำ�ลัง จะไปเกิดเป็นเทวดาเป็นพรหม หรือกำ�ลังจะไปเกิดเป็นสัตว์ นรก หรือไปเป็นคนเก่าใหม่ก็ตาม ขนาดเจ้าของทุกข์มัน.. ร่างกายแท้ ๆ ที่มันหิวข้าวหิวน้ำ� มันยังไม่มีทุกข์แล้ว แล้วมึง ไม่มีกระเพาะ ไม่มีลูกกะตา มึงไปทุกข์แทนร่างกายที่ผ่านมา มันใช่ไหมล่ะ? ใช่ของเราไหมเล่า? ติ๋งต่าง! เอ้า! สมมุติให้สนุกเลย มึงออกจากร่างนี้แล้ว นะลูกนะ มึงเกิดปุ๊บ! เป็นเด็กข้างบ้านนะลูกนะ โต ๓ ขวบ


33 เลยเป็นเด็กอนุบาล จำ�ได้โว้ย เป็นดอกเตอร์ เป็นคุณนายผู้ว่า เป็นคนเงินเดือนดี ๆ จบโน่นจบนี่ไป เข้าใจมั้ยลูก? แม่พาไป โรงเรียน “เจี๊ยบเอ้ย! หนูเอ้ยไปโรงเรียนลูก แม่ไปฝากเข้าสาธิต เข้าได้แล้ว” “ฮึ..หนูไม่ไป หนูจบปริญญาเอกมาแล้ว” ได้ไหม ลูก? ห่างกัน ๓ ปี ไอ้นี่น่ะมึงเคยครองอยู่อ่ะ สายสะพายทั้งสาย เนี่ย เงินเดือนตั้งเดือนละแสน บริษัทอะไรต่ออะไรที่ครองอยู่นี่ นะ ผัวเมียพ่อแม่บ้านทั้งหลังครองอยู่นี่ พออกจากสภาพนี้มา เกิดใหม่ปั๊บ! มึงเอามาใช้ได้ไหมลูก? มันใช่ของเราไหมล่ะ? นี่แน่ะ! ความจริงที่ท่านให้พิจารณาหมายความว่า ให้ พิจารณาให้มันรู้แจ้งความจริง แล้วแทงตลอดไปถึงจุดสุดท้าย หลังตายแล้วน่ะ เพราะสิ่งที่เราโลภ โกรธ หลงแทนมัน.. เพราะ มันเนี่ย มันใช่ตัวเราของเรามั้ย? ถ้ารู้ว่าไม่ใช่แล้วก็อย่าไปทำ�ผิด แทนมัน-เพราะมันได้ไหม? เพราะถ้าทำ�ผิดแทนมัน.. เพราะมัน แล้วนี่ พอเวลาตายไปเราไปตกนรก มันไม่ได้ตกด้วย อย่างที่ บอก เข้าใจมั้ยลูก? เด็กอายุ ๓ ขวบถือปากกาเมจิกอะไรไปเรียกเมียเก่า ซึ่งเป็นคุณป้าแล้วนะ “เห้ย! น้องเอาเช็คมาพี่จะเซ็น” ได้มั้ย? ทั้งที่ตามเรื่องแล้วแค่ ๓ ปีนี่เนาะ มันยัง... ใช่มั้ยล่ะ? พอไปถึง ลูก..เขาเป็นนายอำ�เภอไปตบหัวลูก ได้มั้ยล่ะ? ถามจริง ๆ ว่า ใช่ตัวเราของเรามั้ยลูก? ที่เราไม่ได้คิดอย่างนี้เพราะว่า ไม่มีสูตร


34 ให้คิด สูตรอันนี้พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้มาสอนพระอรหันต์มา ถ้าใครคิดตามสูตร อย่าตะแบงนะ! ก็ต้องเข้าถึงความจริง ถูก มั้ยลูก? แต่ไม่ใช่ว่า “ไหน ๆ จะตายออกจากนั่นไปแล้ว กูก็ไม่ ดูแลมึง” ไม่ใช่!.. อีตอนอยู่ในชีวิตนี้ต้องดูแลกัน เข้าใจมั้ยลูก? แตให้รู้ว่า.. เมื่อตายแล้วเราก็ต้องเปลี่ยนสภาพ เพราะฉะนั้น ทรัพย์สินก็ดี เงินทองก็ดี ร่างกายก็ดี เวลาในโลกก็ดี เราจะ เอาใจเราบริหารให้เป็นกำ�ลังของจิตเป็นสมบัติทิพย์ เพื่อไปเกิด ซื้อคอมพิวเตอร์ตัวใหม่(เกิดใหม่) มันจะได้รุ่นที่ดีกว่าเก่า เข้าใจ มั้ยลูก? เพราะฉะนั้นเขาต้องเอามา ใส่บาตร รักษาศีล ภาวนา แทนที่จะเดินไปเตะฟุตบอล เตะปากคนอย่างเดียว ก็เอามัน มาเดินจงกรมเสียบ้าง เข้าใจมั้ยลูก? ไปลมหายใจไปสูดน้ำ�หอม สูดแก้มผู้หญิงแก้มผู้ชายเนอะ เออ.. มึงเอามาสูดพุทโธ พระ พุทธเจ้าเข้าออกซะมั่ง เพื่อจะได้เป็นกำ�ลังของใจ เขาเรียกอะไร ลูก? (เขาเรียก ‘โหลด’ เหรอ?) ใช่มั้ยลูก? เออ ๆ.. เอาเข้ามา ให้มันอยู่ในนี้นะลูกนะ เผื่อว่าความชำ�นาญกำ�ลังตรงนี้มัน อยู่ในใจเราแล้วเนี่ย เราโหลดรุ่นอันนี้ไปแล้ว เข้าใจมั้ยลูก? ‘แม็คบุ๊ค’ รุ่นใหม่ออกมาแล้วโว้ย.. ก็ไปซื้อ เข้าใจมั้ยลูก? พอ ไปซื้อปั๊บ! ไอ้ความชำ�นาญจากเครื่องเก่านี่ลูก มึงมาเรียนเดี๋ยว


35 เดียวมึงชำ�นาญ ถูกมั้ยลูก? เนี่ยเขาเรียกกำ�ลังของใจที่ติดใจมา เนี่ย ภาษาบาลีเขาเรียก ‘บารมี’ เกิดเป็นคนเกิดมาชาติหนึ่งต้องใช้ร่างกาย ใช้ทรัพย์สิน ใช้เวลาเนี่ยสร้างบารมีให้ใจเราเอาติดใจไป แต่ในเวลาเดียวกัน ขณะที่ทำ�ความดีอยู่ คนรอบตัวเราที่เราปกครองก็พลอยได้รับ ผลของความดีไปด้วย ถูกมั้ย? นั่นคือหน้าที่ของเราที่จะต้อง ทำ�ใจให้สงบ แล้วมองความจริงตามพระสูตรที่ท่านสอน จะไป คิดเอง อ่านเองหรือไปฟังเทศน์พระ หรือจะไปทำ�.. คิด.. จน กระทั่งคิดออกเองตามสูตร ฟลุค ๆ อะไรก็ตาม ไปรอฟลุคทำ�ไม ลูก? ฟังพระเลย! อ่านหนังสือเลย ฟังเทปเลย มึงไปคิดเองอีก ๘ แสนชาติ.. ล้านชาติถึงจะคิดออก ต้องเป็นพระพุทธเจ้าเอง เข้าใจมั้ยลูก? ท่านตรัสรู้มาแล้ว มึงจะไปโง่ทำ�ไมเล่า รีบกินเสีย ให้อิ่ม เข้าใจมั้ยลูก? เออ..ฟังเสีย! อย่าไปเสือกวิจารณ์พระธรรมในทีวี นิพพานสูญไม่สูญ มึงรู้ไหมว่า.. มึงไม่รู้เลยพอมึงตายแล้ว ลมหายใจไม่ใช่ของมึง นี่นะ แค่นี้มึงยังไม่รู้เลย มึงจะบอกนิพพานเป็นอย่างโน้นอย่าง นี้ มันสุดวิสัย มันเหมือนกับเด็กเห็นพ่อ เห็นใครเป็นนายทหาร นะ เป็นนายพลกัน พอเป็นเด็กอนุบาลอยากเป็นนายพลบ้าง นะลูกนะ อยู่แค่อนุบาล ๓ น่ะ มันจะไปนั่งเซ็นหนังสือแบบนาย พลได้ไหมเล่า? ไปเดินตรวจสวนสนามได้ไหมเล่า? ..มันไม่ได้


36 มันต้องไต่เต้าไปก่อน นั่นน่ะลูก เพราะฉะนั้นการสร้างสมบารมี เป็นหน้าที่ ของจิตเราดวงจิตเรา ซึ่งมาได้ร่าง ๆ หนึ่งได้ ได้ตระกูล ได้ ประเทศที่อยู่ แล้วได้เวลาวันละ ๒๔ ชั่วโมง นาทีละ ๖๐ วินาที เท่ากันหมดเลย! เข้าใจมั้ยลูก? ได้ตามาคู่หนึ่ง เอาไว้ดูพระพุทธ รูป ดูหนังสือด้วย! ใช่ไหมลูก? หูเนี่ย ฟังเทป ฟังความจริงเสีย บ้าง เข้าใจมั้ยลูก? ใจมันจะได้โหลดความรู้สึกอันนี้เข้ามาให้มัน เกิดปัญญามั่นคง ไม่ใช่ไปฟังเพลงเนาะ เปิดมาปั๊บ! ก็.. “เมีย ใครผัวใครสวยจริงโว้ย กูจะรักซะอย่างจะทำ�ไม?” เขาอุตส่าห์ ประพันธ์ออกมาแล้วมึงเสือกไปท่อง แล้วไปดีดกีตาร์ร้อง แล้ว ก็เห็นตามไปด้วย เห็นภาพชัดเจน ใช่มั้ยลูก? เออ.. “ผัวใครก็ไม่รู้กูจะรักเสียอย่าง” อ้าว..นั่นมันผิด ศีลไหมล่ะ? ถ้าไปทำ�ตามนั้นน่ะ เข้าใจมั้ยลูก? แทนที่จะบอก เออ.. “อนิจจา วะตะ สังขาราฯ มันไม่เที่ยงน้อ..” บอกอันนี้เชย ก็ไปบอกไอ้นั่นทันสมัย แล้วเวลาตายไปด้วยกัน มึงรู้ใช่มั้ยลูก? มึงโหลดอะไรไป มึงไปซื้อเครื่องใหม่เนี่ย มึงโดนเต็มที่เลย เล่น เว็บโป๊ เว็บด่าคน ชำ�นาญอย่างเดียว ตื่นขึ้นมายังไม่ทันทำ�อะไร เลยกดปั๊บ! เว็บปุ๊บ! ขึ้นมาแล้ว ใจมันจะเอาไอ้นี้อันเดียวน่ะ ลูก แล้วเวลาไอ้นี่มันเต็มใจ มึงเลิกใช้เครื่องนี้มาซื้อเครื่องใหม่ นี่ มึงจะเล่นอะไรเล่าลูก บาปบารมีเดิมมันมีอยู่ขณะนี้ พอมาได้


37 ร่างกายใหม่มันจะไปโหลดอะไร มันก็เล่นอย่างเก่าถูกมั้ยลูก? แล้วถ้าไปได้พ่อแม่รวยนะ ช่องทางในการทำ�ความเลว มาก! เนาะ อยากจะฆ่าใครสักคนนี่ แย่งแฟนกันนี่ ถ้าเป็น คนจนด้วยกัน หรือคนไม่มีพ่อแม่มีอิทธิพลด้วยกัน.. คิดหนัก กลัวเขาสู้เนาะ กลัวติดคุก เข้าใจมั้ยลูก? ถ้าเป็นลูกนายก หรือ รัฐมนตรีมหาดไทย บอกคนติดตาม “แฮะ” แค่นี้! ร้องงี้หรือทำ� ยังงี้(บุ้ยหน้า) ตาย! ไปหลายคนเลย เข้าใจมั้ยลูก? เจตนาเท่ากัน แต่การกระทำ�นี่ง่ายมาก เพราะกำ�ลังของเงินกับเวลาในอำ�นาจ ของคนของเราหรือเรานี่ เป็นเหตุให้ทำ�บาปได้สาหัสมากกว่า คนธรรมดา ถูกมั้ยลูก? แล้วคนฉลาดนี่นะ แต่ไม่ใช่มีปัญญานี่ นะ ทำ�บาปได้ลึกซึ้งมากกว่าคนโง่ปกติเนาะ ถูกมั้ยเล่าลูก? นั่น น่ะลูก! เพราะฉะนั้นตรงนี้เขาถึงบอกไงลูก ต้องหาเวลาฟังใคร ก็ได้ ตรงไหนก็ได้ เรียกว่า ‘วัด’ หรือเรียก ‘สำ�นัก’ อะไรก็ได้ ให้เราสะดุดใจ “อือ ๆ ๆ .. (พยักหน้า) ใช่ ๆ ๆ .. แต่ว่าฟังมาก เดี๋ยวจะบวช ไม่ได้!เสียดายสตางค์.. เอางี้ก็แล้วกัน วันนี้ฟังแล้ว ก็มะรืนนี้กลับ” อะไรอย่างนี้นี่นะ อย่างน้อยเดือนหนึ่งฟังสัก ๒ ครั้ง ให้ใจมันได้เชื้ออะไรเข้ามาเตือนใจ เข้าใจมั้ยลูก? ฉวยว่า ความดีเดิมของเรามีมาก แล้วบาปของเรามันหมดสิ้นแล้ว พอฟังเข้าใจปั๊บ! มันเหมือนอย่างนี้เลยลูก เหมือนกับ


38 ข้อมูลเดิมเป็นระเบิดปรมาณู(ของความดีนะ) มีหัวชนวนโผล่ ออกมาหน่อยนึงนะ.. เขาต้องการอย่างเดียว ต้องการประกาย แป๊บเดียว!(หลวงตาดีดนิ้ว) ไม่ต้องการระเบิดอีกลูกมาระเบิด .. ถึงจะระเบิดด้วยกัน ต้องการเชื้อของความร้อนหน่อยเดียว บุญทั้งหมดก็เหมือนกัน ต้องการแสงของปัญญา แสงของ ศรัทธานี่จะ.. “บุญที่เราทำ�ยังมีความสุขจริงน้อ.. บุญทั้งหมดที่ เราทำ�จงมารวมตัวกัน!!(หลวงตาดีดนิ้ว)” เข้าใจมั้ยลูก? โอ้โห.. เต็มหัวใจเราเลย ก็บรรลุมรรคผลง่าย ๆ แค่ฟังเทศน์กัณฑ์เดียว เลย ก็เพราะว่าข้อมูลเดิมเขาเต็มแล้ว แล้วเขามาทำ�ให้เท่า เป็น ลักษณะเดียวกับข้อมูลใหม่ แล้วยอมเสียบปลั๊ก! เข้าไป เข้าใจ มั้ยลูก? เออ..มันไม่ยังงั้น พอพิจารณาดีแล้ว “เห้ย..ต่อไม่ได้ เดี๋ยวเป็นพระอรหันต์ไม่สนุก”(หัวเราะ) ถอดปลั๊กออก เอาไป เสียบอินเทอร์เน็ตโป๊อีกแล้ว เข้าใจมั้ยลูก? นั่นแหละลูก หลวงตาพูดคนเดียวไม่มีใครถาม จะบอกลูก ๆ ว่า ทุก สำ�นักสอนอย่างนี้ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์สอนอย่างนี้ แต่ สอนได้เลิศล้นและผ่องใสมากกว่านี่เป็นพันล้านเท่า เข้าใจมั้ย ลูก? พระอรหันต์ทั้งหลาย หลวงตาบัว หลวงพ่อฤๅษีฯ หลวง พ่อพุทธทาส ขึ้นชื่อว่าเป็นพระดีทั้งหมด! ท่านเป็นมิ่งขวัญ ของลูกศิษย์ท่านในดินแดนนั้น เหมือนเพชรของพระศาสนา ที่รับธรรมมาจากดวงอาทิตย์ สว่างแว่บ! ก็สะท้อนให้ลูกศิษย์ใน


39 ดินแดนนั้น ๆ เห็นแสงสว่าง เข้าใจมั้ยลูก? เออๆ.. เป็นมิ่งขวัญ ของแต่ละแผ่นดินแต่ละจุดของโลก ทุกสำ�นักมีค่ามาก นะลูก นะ!.. อย่าไปว่ากัน.. เสียเวลา! เสียเวลาทำ�ความดีของเรา เปล่า ๆ นะลูกนะ แล้วเราฟังทุกสำ�นัก เหมือนกับมือนี่เป็น พระพุทธเจ้า สำ�นักต่าง ๆ ก็เป็นนิ้ว ก็แหม.. คุยทุกนิ้ว “พี่โป้ง หลวงปู่ชี้ หลวงย่านาง.. ก้อย” ก็คุยได้ ใช่มั้ยลูก? เพื่อเราจะ ไต่เข้ามาตรงนี้ เราถนัดนิ้วไหน เรามาทางสายไหน เราก็ไต่ขึ้น มา หลุดไปนี่หน่อยก็ยัง.. ก็อยู่ในกำ�มือของพระธรรม อย่าไป โง่ทำ�ลายโอกาสของตัวเอง อย่างนั้นนะลูกนะ ฟังแล้วถ้ามันไม่ ตรงกับเรา เราก็ “บาย ๆ นะนิ้วก้อย หนูอยู่นิ้วกลาง” มันก็ เป็นของพระพุทธเจ้าเหมือนกันทั้งหมด เข้าใจมั้ยล่ะ? เออ.. นั่น แหละ แล้วใจเราจะสบาย นี่คือหลักของการปฏิบัติธรรม พูดให้ฟังนะลูกนะ ทีนี้ เป็นหน้าที่ของเราเอง ที่จะอธิษฐานตั้งใจทำ�ให้สงบ แล้วบอก ว่า บัดนี้เห็นเหตุผลแล้ว ถ้าหากว่าเราเข้าถึงความดีสูงสุดหรือ เริ่มต้นดีชนิดไม่เวียนเกิดอีกได้ เราปรารถนาสูตรตรงนั้น จะกิน จะปฏิบัติตามนั้น ใครน้อ...? จะสอนเรา จะชี้เราจะแนะนำ�เรา จะด่าเรา ไม่ให้เราไปทำ�อย่างอื่น ที่จะหลอกเรา จะสะกดจิตเรา ให้มาทำ�ความดี เรายอมงมงายเลย! เพราะงมงายในความเลว


40 มานานแล้วเนาะ ยอมงมงายในความดี เออ.. ถูกเพื่อนหลอก ไปกินยาม้ากินยาแมวก็แล้ว ถูกพระหลอกให้มาทำ�กรรมฐาน.. เชื่อ! เชื่อท่านเลยเถอะ ยอมงมงายสักเดือนละ ๓ วัน เดี๋ยวรู้ ผล.. เดี๋ยวก็รู้ผล หลวงตาไม่สุภาพนะลูกนะ แต่อยากให้รีบ ๆ ฟัง รีบ ๆ สะดุ้ง เพราะไม่รู้จะอยู่ได้อีกกี่ชั่วโมงกัน ใครตายก่อน คนพูด คนฟังเนี่ยไม่รู้เลย.. ไม่รู้เลย เออ ๆ ก่อนจะตายเราต้องได้หลัก ของเรา ต้องตั้งใจของเราให้ได้.. ต้องตั้งใจให้ได้ ส่วนจะจบชาติ ไหน เรื่องของความเพียรพยายาม เรื่องของความเหมาะสม นะลูกนะ แต่ในชาตินี้ ในปัจจุบันนี้ ในวันนี้.. ต้องเริ่มคิดแล้ว ว่า ด้วยอำ�นาจของความดีที่เราทำ�มาทั้งหมดเราไม่รู้ว่ามีเท่าไร แต่ให้รู้ความจริงว่าวันนี้เป็นวันที่บุญของเราสมบูรณ์ที่สุดและ ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะทำ�มากกว่าเมื่อวาน ถูกมั้ย? พรุ่งนี้ก็ยังไม่ ได้ทำ� อาจจะตายคืนนี้ก็ได้ ถูกไหม? เพราะฉะนั้นวันนี้เป็นวันที่ บุญของเราสมบูรณ์ที่สุด ถ้าหากว่าจะถามว่าตอนเป็นพรหมดีกว่านี่มั้ย? ..ไม่ดี กว่านี่ ดีกว่านี่! แต่ว่าพลั้งก็ยังตกนรกไปได้ ลงมาเป็นมนุษย์ ก็ยังทำ�บาปเพราะอำ�นาจได้ มาเป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่แท้ ๆ เงินก็มีในท้องพระคลัง รถก็มี ทหารก็มีตั้ง ๔ กองทัพ แทนที่จะ กรีฑาทัพไปสร้างเจดีย์ สร้างถนนเนาะ สร้างทางจงกรมให้พระ


41 ทั่วประเทศเนาะ มันตีถนนไปยึดเมืองเขายึดเมียเขาอ่ะ แล้วก็ ไปเผาบ้านเผาเมืองเขา ใช้อำ�นาจแล้วก็ตกนรกอ่ะ จากพรหม จากเทวดา มาเป็นมนุษย์แล้วมันยังตกนรก ขึ้นมาว่อกแว่ก ๆ จนมาถึงชาตินี้! แล้วชาติไหนมันจะดีเท่าชาตินี้เล่า.. มันพบ พระพุทธศาสนา แล้วมีคนพูดให้ฟัง ตั้งสติให้ฟังอย่างนี้ บุญของ เราวันนี้เป็นบุญที่สมบูรณ์ที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุด ใจของเรา ดวงนี้นะ ไม่มีใครเหมือนเรา เราก็ไม่เหมือนใคร เราก็ไม่ไปเท่า ใคร ใครก็ไม่เท่าเรา ต่างคนต่างเท่ากับตัวเองเหมือนกับตัวเอง ถูกมั้ยลูก? ทำ�อย่างไรหนอ..? ใครหนอ..? วัดไหนหนอ..? หนังสือ เล่มไหนหนอ? ที่จะเตือนให้เราเข้าใจบุญเดิม แล้วรู้วิธีใช้บุญ เดิมของเราต่อเนื่องให้ถึงพร้อมให้ได้..ใครหนอ..? ใครหนอ? ที่มี ความสามารถอย่างนี้ แม้เป็นหมา เป็นอิสลาม เป็นคริสต์ก็ตาม พูดให้เราฟังสักประโยคเดียว(หลวงตาดีดนิ้ว) เราเข้าถึงแล้วนี่ เราจะกราบเท้าขอบคุณเป็นครูบาอาจารย์ เราต้องการเข้าถึง บุญเดิมของเรา แล้วใครหนอ..? ที่จะมีอุบายบอกสูตรหรือด่าว่าหรือ หลอกลวงเรา หลอกล่อเรา ให้เราเกลียดความเลวด้วยประการ ทั้งปวง ไม่ยอมผิดศีล ๕ มาเลี้ยงตัวชีวิตตัวเองอย่างเด็ดขาด ตลอดจนกว่าจะเข้านิพพาน ใครหนอ?! จะสามารถหลอกเรา


42 ขนาดนั้นได้ เราจะยอมให้หลอก เนาะลูกเนาะ ถูกมั้ย? เออ ๆ ใช่มั้ยล่ะ? ใครหนอ..? ที่จะสามารถพูดให้เราฟังว่า เขากำ�ลัง สร้างเจดีย์กัน สร้างโบสถ์กัน ถ้าใครสามารถตัดแขนข้างนี้ เอา เลือดไปแทนน้ำ� เอากระดูกไปแทนหิน แล้วปรารถนาให้บารมี เต็ม ถ้าได้ผลอย่างนั้นจริง ๆ เราอยากให้คนมาพูดให้เรากล้าตัด แขนเหลือเกิน! เข้าใจมั้ยลูก? แต่ไม่ใช่ตัดแล้วด้วนแล้วไปไม่ได้ นะ ไม่เอานะ.. ยกตัวอย่าง! ไม่ว่าทรัพย์สินอะไรก็ตาม ในแบงก์ในอะไรก็ตาม หรือ แขนหรือศีรษะเราก็ตาม ถ้าใครพูดให้เราศรัทธาที่จะตัดศีรษะ บูชาธรรมะ แล้วเราสามารถจะโหลดเอาใจของเราออกจากศพ หัวขาดนี้ไปเกิดที่ดีกว่าได้.. มาเลย! มาพูดให้เราฟัง เราจะทำ� ตาม นี่คือสิ่งที่เราตามหา เพื่อจะได้รู้จักบุญเดิมของเรา เพิ่มบุญ เดิมของเราให้ถึงพร้อม แล้วทำ�ใจให้ผ่องใส ให้กล้าสละชีวิตเพื่อ ธรรมะ เนี่ยนะลูกนะ เพราะฉะนั้นหาเอาเอง ไม่มีใครเขาไปบอก “ฉันดีกว่า วัดอื่น วัดอื่นสู้ฉันไม่ได้” ไม่มีใครบ้าขนาดนั้น หรือจะเปรียบ ความ.. หมายความว่าธรรมะเหมือนพระพุทธเจ้าทั้งองค์ วัดนี้ ก็เป็นหัวเข่าพระพุทธเจ้า.. วัดหัวเข่าเนอะ วัดนี้วัดนิ้วก้อย วัด นี้วัดหัว วัดไหล่พระพุทธเจ้า คนที่เข้าถึงความจริงแล้ว ไม่มีใคร เขาบอกว่า “วัดศอกดีกว่าวัดนิ้วก้อยพระบาท!” ก็แสดงว่าด่า


43 นิ้วก้อยพระพุทธเจ้า ถูกมั้ยล่ะ? ใครเขาจะไปบ้าขนาดนั้น แล้ว มีหัวกะโหลก บอกว่า “ฉันดีกว่าหัวเข่า” ก็แสดงว่า.. ไปอ้าง พระพุทธเจ้าว่าดีกว่าพระพุทธเจ้า ไม่มีใครเขาหยาบคายขนาด นั้น ถ้ารู้ความจริงแล้วเขาจะถนอมน้ำ�ใจกันระหว่างนัก ปฏิบัติด้วยกัน ใครไปก่อนก็ “สาธุ..!” จะได้หมดคู่แข่ง ไป นิพพานเสีย จะได้ไม่มีใครมาด่าเรา ถ้ามันยังไม่ไป มันอาจมา แย่งผัวแย่งเมีย แย่งทรัพย์สินเราก็ได้ ใช่มั้ยลูก? ถ้าเป็นพระ อรหันต์เนี่ย “อื้อหือ! ไปก่อนเลย” จะได้หมดศัตรู เข้าใจมั้ยลูก? เพราะพระอรหันต์ไม่มีศัตรูกับใคร นี่แหละลูก นี่คือสิ่งที่ลูก ๆ ทุกคนต้องเข้าวัด ต้องอ่าน หนังสือ ต้องฟังธรรม แล้วต้องอธิษฐานว่า “ขอให้เรา...” ถ้าจะ เปรียบเหมือนกับ “กูจะเข้าเว็บไซต์ไหนดีวะ?” นะ (เคาะปัง!) ถึงจะเรียกความรู้เดิมเข้ามาใช้ได้.. หาเลยลูก เที่ยวไปในโลก ของธรรมะอันนี้เลย เมื่อเจอแล้วเราก็ใช้สูตรเดียว นะลูกนะ เนี่ย.. ก็หมดกิเลสแล้ว สูตรที่ว่า.. ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวเราของเรา เพราะฉะนั้น ก่อนที่มันจะจากกันไป เราจะเลี้ยงดูมัน มันเป็นกองทุกข์แท้ ๆ แล้วก็สกปรกอยู่ข้างในด้วย ตายแล้วก็ยิ่งสกปรกใหญ่ เราจะ รีบใช้กองทุกข์อันนี้ เพื่อจะโหลดกำ�ลังบุญเข้ามาหาใจเรา นะ


44 ลูกนะ แล้วก็ถ้าหากว่า ร่างกายหมดสิ้นชีวิต จิตใจออกจาก ร่างกายแล้ว ร่างกายนี้ก็ไม่สุขไม่ทุกข์ อดีตของศพที่เผาแล้วก็ ไม่มี แล้วเราไปเป็นเทวดาแล้ว อดีตของกระดูกซึ่งไม่มีอะไร มัน จะเป็นอดีตของเทวดาได้มั้ยล่ะ? อนาคตข้างหน้า.. น้ำ�มันลิตร ละ ๕๐ บาท หุ้นกูกำ�ลังจะขึ้น เนี่ยอนาคตของไอ้นี่นะ เวลามัน ตายแล้วเราไปเป็นพรหมเป็นเทวดาแล้วนี่ มันเกี่ยวกับอนาคต ของเทวดาองค์นี้มั้ยล่ะ? แล้วปัจจุบันเนี่ย กำ�ลังถูกเผา กำ�ลังถูกไหว้ กงเต็กอยู่นี่ เกี่ยวกับปัจจุบันของเทวดาองค์นั้นมั้ยล่ะ? เกี่ยวด้วยกระแสจิต ของความกตัญญูของคนที่ไปไหว้ศพ “บุญที่ลูกมีขอถวาย.. ให้ พระคุณผู้มีพระคุณ” นั่นแน่ะเขาเรียก ‘แชท’(คุย)กันแล้ว เข้า ใจมั้ยลูก? นั่นถึงจะเกี่ยว เข้าใจมั้ยลูก? แต่ถ้างมงายมากเกิน ไป (ขอโทษนะลูกนะ..เป็นประเพณีที่ดี) แต่ไปถึงขนาด “พ่อ กู.. กางเกงยี่ห้ออะไรแพง ๆ” เนาะลูกเนาะ มึงไม่เอากางเกง จริงแต่เอากางเกงกระดาษแล้วเขียนว่า ‘ลีวาย’ เนี่ย มึงหลอก เทวดา หลอกผีนี่หว่า เอ๊ะ! แล้วมึงก็ไปเผาแล้วมึงก็เชื่อว่า พ่อ มึงจะได้นุ่งลีวายบนสวรรค์ หรือว่ามีเครื่องทิพย์เนี่ย มันใช่มั้ย ล่ะ? เออ.. ถ้ามึงไปซื้อลีวายมาจริง ๆ ยังมีเปอร์เซ็นต์มั่ง เข้า ใจมั้ยลูก? นี่ก็ไม่กล้าซื้อ แล้วมึงหลอกขนาดนั้นน่ะ นั่นเขาเรียก


45 งมงาย แต่ว่าถ้าทำ�ด้วยเหตุผลของประเพณี รักษาประเพณีไว้ เป็นเรื่องดี เพราะเป็นประเพณีของความกตัญญู ปีนึงขับรถ ติดซะแทบตายห่าไปไหว้กระดูกพ่อแม่น่ะนะ ทีตอนอยู่น่ะไม่ ได้เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่เลย เอาเป็ดเอาไก่ไปตั้ง ให้หลุมฝังศพกิน นั่งเฝ้าอยู่ครึ่งชั่วโมงก็ขับรถกลับ แล้วท่านจะแดกได้ยังไงวะ ท่านไปเกิดที่อื่นแล้ว ใช่มั้ยลูก? ถามจริง ๆ นะลูก แล้วทำ�ไม? ทำ�อย่างนี้ก็ทำ� เราก็ถวายสังฆทานสิลูก เงิน ๕๐๐ บาทที่มี พระพุทธรูปกับผ้าไตรกับของบริวารเนี่ย พระท่านเอาไปใช้เป็น ค่าแรง ค่าน้ำ�ค่าไฟ (เนี่ยเลี้ยงหนู ๒ เวลาเนี่ยเงินนี้..) “โอน้อ.. เป็นบุญที่ต่ออายุพระศาสนาเนาะ เราจะ ถวายสักชุดนึงหรืออะไรก็ตาม ขอถวายเป็นค่าโน่นค่านี่ บุญที่ เกิดจากท่านเอาน้ำ�เงินน้ำ�ใจของเราไปทำ�ให้พระศาสนายั่งยืน ทำ�ให้จิตมีโอกาสฟังธรรม บุญอันนั้นเราไม่รู้ประณีตแค่ไหน บุญนั้นแหละขอจงมีประโยชน์สุขกับเราเพียงใด ขอให้บุญนั้น จงถึง...” เผากงเต็กด้วยแล้วให้อย่างนี้ด้วย เข้าใจมั้ยลูก? เออ.. มันได้แน่ไง ทั้ง ๒ อย่าง อย่าไปละอย่างใดอย่างหนึ่ง..ไม่ได้ นั่น แน่ะลูก จะสรุปลูก จะสรุปว่าเกิดมาต้องหาหลัก หาความคิด ตรงนี้ให้เจอ หาธรรมะตรงนี้ให้เจอ แล้วต้องให้เจอตรงกับสูตร ที่เราทำ�มา เข้าใจมั้ยลูก? มันจะได้ทำ�ต่อได้ให้ถึงพร้อม จะได้


46 หมดเลวโดยสิ้นเชิง ได้ผ่องใสบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง พ้นการเวียน เกิดเสียทีนึง นะลูกนะ นั่นแน่ะลูก ก็หากันต่อไป มีเวลาก็มาที่นี่ ก็ได้ ปลอดภัย สะอาดดี แล้วก็มากันนะลูกนะ แล้วก็ฟังหลักอัน นี้แล้วไปฟังวัดอื่นหนูจะเข้าใจง่ายขึ้น ไม่ใช่หลักของหลวงตานะ หลักของพระพุทธเจ้า พูดกันเจ๋ง ๆ ตรง ๆ อย่างนี้นี่นะ หลักก็คือต้องพิจารณา ต้องทำ�ให้ใจสงบ ต้องมั่นใจ ว่าร่างกายนี้มีทุกข์และเป็นของสกปรก เดี๋ยว ๆ ก็ตายจากกัน ก่อนจะตายทำ�ไมกูต้องไปผิดศีลของใจกูแทนมึงเพราะมึงด้วย? มึงตายลงดินไปกูต้องไปตกนรกแทนมึงทำ�ไม ทำ�ไมกูไม่ทำ�แก้ คืนบ้าง? ตั้งแต่เด็กมายันป่านนี้เนี่ย ตามใจมึงทุกอย่างแล้ว ต่อ ไปนี้! มึงต้องตามใจกู กูจะเป็นใหญ่เป็นประธาน กูจะจับมึงเดิน จงกรม ขอยืมตีนมึง “ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ” ๑๕ นาที เพื่อให้ใจกูมั่นคงอยู่แต่อารมณ์ตรงนี้ มึงเคยหายใจฟุ้งซ่านมา ตลอด กูจะบังคับจะเอา “พุทเข้า โธออก” วันละครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ใจกูเนี่ยโหลดกำ�ลังของความมั่นคงเข้าไป เราจะเอาใจ เป็นใหญ่เป็นประธานตรงนี้ ด้วยสัจจะวาจาตรงนี้นะลูกนะ อยากให้ลูกทุกคนได้ สติ ให้หาทางรู้จักบุญเดิมให้ได้ แล้วทำ�ให้ถึงพร้อม กิเลสอัน ใดที่เราเคยคบกันมา ตกนรกแทนมันมา ก็แทนร่างกายมาโดย ตลอด เลิกคบกันเสียที กิเลสหยาบเราอย่าไปทำ�มัน เอางี้แล้ว


47 กันลูก! กิเลสทุกอย่างในโลกชื่อมันเยอะ อย่าไปทำ�มันเลยสัก อย่างเดียว แต่ถ้าทนไม่ไหว ก็ทำ�แม่ง! มันได้ทุกอย่าง แต่อย่า ผิดศีล ๕ ขออย่างเดียวลูก ทำ�ทุกอย่าง.. มึงจะคดจะโกงใคร จะ เป็นชู้เป็นแช้ เป็นอะไรก็ตาม ขออย่างเดียวอย่าละเมิดศีล ๕ ลูก เข้าใจมั้ยลูก? เท่านั้นเอง.. เท่านั้นเอง แล้วมึงจะไปทำ�อะไร ได้วะเนี่ย จะเลวตรงไหนวะ? เอานะลูกนะ.. ขอให้ทุกคนเข้าถึงธรรมของตัวเองนะ ลูกนะ มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ถ้าคำ�พูดของ หลวงตาในวันนี้จะมีประโยชน์ในการฟูมฟักจิตใจเราบ้าง ยินดี ต้อนรับให้กลับมานะลูกนะ ถือเป็นบ้านหลังหนึ่งของเรานะลูก นะ กลับมาได้ตลอด ให้ทุกคนจงมีความสุข ไปพักผ่อนกัน.


48

เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ฉันได้ฟังเคล็ดลับแห่ง ‘หัวใจพระอรหันต์’ จากหลวงตา คำ�นี้จึงยังดังก้อง อยู่ในใจ เป็นไงมาไง? หลวงตาจึงได้พูดคำ�นี้กับฉัน... เรื่องมีอยู่ว่า..บัดนี้ฉันได้กลายเป็นคุณแม่มือใหม่ เพราะเพิ่งจะมีลูกเป็นของตัวเอง ชื่อน้อง ‘เมน่า’ ค่ะ ตอนนี้ก็ ๙ เดือนกว่า ๆ พอได้ชื่อว่าเป็นแม่ก็เพิ่งจะรู้สึก เดี๋ยวนี้เองว่า... คำ�ว่า ‘แม่’ นี้ยิ่งใหญ่เพียงไร ทุกวินาที ทุกลมหายใจ.. ฉันเอาลูกเป็นฌานโดยไม่รู้ตัว...


49

ภาพ : พระมหากัจจายนะ ที่อุโบสถวัดเขาวง(ถ้ำ�นารายณ์)


50

คำ�นี้ ‘หลวงตา’ ท่านเป็นคนบอกกับฉัน... “เอ็ง เอาลูกเป็นฌาน..!! ” ฉันทำ�หน้าไม่เข้าใจ.. หลวงตาท่านก็เลยบอกอีก ว่า... “ก็ทุกวินาที..ทุกลมหายใจ ไม่มีวินาทีไหนที่เอ็ง.. ไม่นึกถึงลูกใช่ไหมล่ะ..ดูซิ! แม้ว่าตัวเองจะนั่งเมื่อยขาสัก แค่ไหน ก็ยังพยายามอุ้มลูกไว้ ให้ลูกสบายไว้ก่อน ใจไม่ ได้นึกถึงตัวเองเลย.. แล้วอย่างนี้จะไม่เรียกว่าเอาลูกเป็น ฌานได้ไง..” “จริงแฮะ!..” ฉันนึกตาม ตั้งแต่ฉันรู้ว่ามีลูก อยู่ในท้อง ฉันทำ�ทุกอย่างเพื่อลูก.. ไม่มีวินาทีไหนเลย ที่ไม่นึกถึงลูก.. จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จะกินอะไร จะใช้อะไร แม้กระทั่งยาสระผม.. เครื่องสำ�อาง.. ฉัน เปลี่ยนไปใช้ของที่มาจากธรรมชาติทั้งหมด เพราะกลัว ว่าจะมีสารเคมีไปถึงลูก เวลานอนแม้ว่าจะรู้สึกอึดอัดสัก แค่ไหน เมื่อต้องพลิกตัว.. ก็จะต้องเอามือประคองท้อง เพราะกลัวลูกจะกระเทือน สองเดือนสุดท้าย.. มีหลาย


51

คืนฉันต้องลุกขึ้นมานั่งหลับจนถึงเช้า เพราะไม่รู้จะนอน ท่าไหน ใกล้คลอดท้องโตมาก เมื่อนอนลงจะรู้สึกหายใจ ไม่ออก อาหารการกิน.. ก็พยายามกินให้ได้มากที่สุด เพราะห่วงลูกในท้อง แต่โดยธรรมชาติฉันเป็นคนกิน น้อย วันละ ๒ มื้อ พอต้องมากินหลายมื้อต่อวัน ความ อึดอัดจึงเพิ่มมากขึ้น จนบางครั้งกลายเป็นความทุกข์ ทรมานทั้งกายและใจ เพราะกายก็รับไม่ไหว ใจก็ห่วง ลูก... เมื่อคลอดลูก.. ฉันทนเจ็บ ทุกข์ทรมานร่างกาย ทั้งจากการผ่าตัด และการให้นมลูกกว่าจะคั้นน้ำ�นมได้ แต่ละหยดช่างยากเย็น และเจ็บปวดทรมานมาก จน พยาบาลต้องเอากระเป๋าน้ำ�ร้อนมาประคบแล้วประคบ อีก เพื่อให้มีน้ำ�นมออกมาให้ลูกกิน แม้จะเจ็บปวดสัก เพียงไหน แต่ฉันก็สู้ และพร้อมที่จะทนเพื่อลูก... หัวใจ.. ที่พร้อมจะให้อย่างไม่มีข้อแม้ ไม่มีที่สิ้น สุด


52

หัวใจ.. ที่รักลูกอย่างไม่มีประมาณ หัวใจ.. ที่ห่วงใยลูกทุกวินาที ทั้งยามหลับยาม ตื่น.. หลวงตาท่านบอกว่า... “เอ็งเอาใจไปดูแต่ลูก.. ทำ�ไมไม่มาดูใจตัวเอง.. อย่างนี้แหละเขาเรียก‘หัวใจพระอรหันต์’ พระอรหันต์.. ท่านก็มีหัวใจแบบนี้.. เพียงแต่ท่านไม่ได้ทำ�เพื่อลูกของ ตัวเองคนเดียว.. ท่านมีหัวใจแบบนี้ให้กับทุกคน..!!” โอ้โห..ฉันฟังแล้วอึ้งไปเลย..!! “ถ้าอยากเป็นพระอรหันต์ ต้องมีหัวใจแบบนี้ให้ กับทุกคนโดยไม่เลือกงั้นหรือ?” นั่นหมายความว่า.. สุดท้ายแล้ว หัวใจแห่งพระ อรหันต์ คือไม่ห่วงแม้กระทั่งร่างกายของตนเอง มีใจ รักและเมตตาสงสารผู้อื่นอยู่เป็นนิจ ทุกอย่างที่ทำ�ไม่ใช่ ทำ�เพื่อเป็นของ ๆ ตน ทุกวินาทีทำ�เพื่อผู้อื่นอยู่เสมอ สามารถตายแทนใครก็ได้.. แม้ว่าจะไม่เคยรู้จักคนผู้นั้น มาก่อนก็ตาม พร้อมจะให้และเสียสละได้ทุกเมื่อ และไม่


เคยคิดอยากได้อะไรเป็นการตอบแทน.. ขอเพียงเห็นผู้ อื่นเป็นสุข ท่านก็พอใจ... ‘หัวใจแห่งพระอรหันต์’ ช่างยิ่งใหญ่สุดพรรณา จริง ๆ ตั้งแต่วันนั้นมา.. ฉันรู้สึกภาคภูมิใจในความเป็น ‘แม่’ มากขึ้น และยินดีที่จะทำ�หน้าที่ของแม่ให้ดีที่สุด นอกเหนือจากนั้น.. ฉันหวังว่า หัวใจแห่งความเป็นแม่ จะนำ�พาให้ฉันเข้าถึง ‘หัวใจแห่งพระอรหันต์’ ได้สัก วันหนึ่ง.

ภาพ : น้องเมน่ากับผู้เขียน ผู้เพิ่งเข้าใจหัวใจของ ‘แม่’


54

ตอนที่ ๒ ขี้ขลาด ฉันเข้าออกโรงพยาบาลถี่มากขึ้น ทั้งแบบพักแรม และ ไป-กลับ บางช่วงก็มาเช้า-มาเย็น คาเข็มเอาไว้ที่มือนานเป็น สัปดาห์จนกว่าจะให้ยาครบ ชีวิตไม่เป็นอันทำ�อะไร แต่ฉันยังคง ตั้งใจทำ�งานแต่งหนังสือเด็กแข่งกับเวลา และหาโอกาสช่วยงาน พระศาสนาตามกำ�ลัง วันหนึ่งฉันบอกกับเพื่อน ๆ ที่สำ�นักพิมพ์ ว่า รู้สึกผิดปกติ ปิดประชุมแล้วจะขอลาไปหาหมอ เหมือนมี


55 บางอย่างในปอด กลิ่นลมหายใจผิดปกติ ตอนนั้นฉันเริ่มรู้ตัว แล้วว่าต้องนอนโรงพยาบาลแน่ ๆ จึงค่อย ๆ ตั้งสติ หยิบของที่ คิดว่าต้องใช้ คิดและทำ�สิ่งที่ควรทำ� ขอใบส่งตัวเข้ารับการรักษา หาคนขับรถไปส่ง.. แล้วอีก ๕ นาทีต่อมาฉันก็ไอออกเลือด เพื่อน ๆ พากันตกใจ แต่ฉันนิ่งและเดินหาถุงเก็บมันไปด้วย... เป็นของฝากจากคนไข้ ข้อดีของการนอนห้องรวม ๓ เตียง มีคนไข้แวะเวียน เปลี่ยนหน้ามาเรื่อย ๆ ทั้งคนจน.. คนต่างด้าว.. และคนรวยที่แวะ มานอนชั่วคราวรอห้องพิเศษว่าง ไม่ว่าจะชนชั้นไหนเวลาป่วยก็ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เหมือนกันทุกคน ฉันได้เห็นว่าชีวิตคนเรา เท่ากัน เรามีบันไดแค่ ๔ ขั้นเหมือน ๆ กัน คือ เกิด แก่ เจ็บ และตาย บางคนอาจจะกระโดดข้ามขั้น เกิดแล้วตายเลยก็ม ี ตอนนี้ฉันอยู่ขั้นเจ็บรอตาย แต่ก็ยังไม่ตาย! ‘ยังทำ�ดีได้’ ความดี ง่าย ๆ ที่ฉันทำ�คือการยิ้มให้คุณหมอ.. พยาบาล.. คนทำ�ความ สะอาด.. คนส่งอาหาร.. และคนไข้ด้วยกัน รวมทั้งไม่ลืมที่จะยิ้ม ให้ตัวฉันเอง ฉันทำ�ตัวเป็นมาเฟียแจกยิ้มไปทั่ว ชวนคนไข้เดิน ออกกำ�ลังบ้าง แบ่งปันอาหาร ขนมอร่อย ๆ นั่งคุยกันสร้างเสียง หัวเราะเวลาญาติ ๆ ของเขาไม่อยู่ ชวนไหว้พระก่อนนอน คิดว่า ป่วยกายก็ทุกข์มากแล้ว เราพวกเดียวกันป่วยเหมือน ๆ กัน น่า จะยิ้มให้กันดีกว่า อย่าให้ใจเราป่วยอีกเลย


56 ครึ่งเดือนผ่านไป...ฉันยังอยู่ที่เตียงเดิม ยังคงต้องนอน ให้ยาฆ่าเชื้ออยู่ในโรงพยาบาล เพราะหมอผ่าตัดยังไม่ยอมผ่า อยากให้เก็บปอดไว้ใช้นาน ๆ การผ่าตัดจะเป็นหนทางสุดท้าย ที่หมอจะทำ� หมอโรคปอดจึงรักษาโดยการให้ยามาเรื่อย ๆ ใน ที่สุดร่างกายเริ่มรับไม่ไหว ระบบขับถ่ายเริ่มรวน เพราะยาฆ่า เชื้อมันฆ่าทั้งแบคทีเรียตัวดีตัวร้าย ฉันเริ่มพะอืดพะอม ไม่อยาก กินอะไร หมอบอกว่าให้ฉันเตรียมตัวไว้ เผื่อฉุกเฉินจะต้องตัด ปอดออกจริง ๆ ต้องตามญาติมา เมื่อต้องมีญาติลงชื่อยินยอม ความลับจึงถูกเปิดเผย ที่ผ่านมาฉันแอบมานอนป่วยคนเดียว บอกพ่อแม่ไม่หมด เกรงว่าท่านจะทุกข์ใจ ครั้งนี้จำ�เป็น ฉัน บอกพี่ชายเป็นคนแรกและขอให้พี่ช่วยกลับไปบอกพ่อแม่ที่ต่าง จังหวัด ไม่ให้โทรศัพท์ไปเพราะฉันกังวลใจห่วงแม่ และพ่อที่ ป่วยเป็นโรคหัวใจ โถ...พระอรหันต์ของลูก พี่ชายพาพ่อกับแม่มาเยี่ยมที่ โรงพยาบาล ทุกคนยิ้มให้ฉัน แต่ดูยังไงก็รู้ว่าฝืน กระแสความ ทุกข์พุ่งเข้าทิ่มแทงหัวใจฉัน ท่านอุตส่าห์หอบหิ้วผลไม้และ อาหารโปรดมาเยี่ยม ลูกจะถวายความชื่นใจแด่พระอรหันต์ทั้ง สองได้ด้วยวิธีไหนหนอ เมื่อพ่อปอกแอปเปิ้ลส่งให้ ฉันรีบคว้า มากินให้พ่อดูหวังให้พ่อชื่นใจ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ไม่อยากกิน อะไรแล้ว แม่เห็นก็ดีใจคว้าถุงองุ่นไปล้างให้ลูกบ้าง พี่ชายก็ช่วย


57

คิดว่าป่วยกายก็ทุกข์มากแล้ว เราพวกเดียวกันป่วยเหมือนๆ กัน น่าจะยิ้มให้กันดีกว่า อย่าให้ใจเราป่วยอีกเลย จัดแจงหาจานชาม และส่งส้มให้น้องสาว พอฉันกินได้ทุกคนก็ ดูสบายใจขึ้น แต่หลังจากทุกคนกลับไปแล้ว... ฉันร้องไห้ และ ตัดสินใจโทรหา พระอาจารย์อุทัย อุทโย ท่านเป็นคุณอาสมัย ยังเป็นฆราวาส คอยช่วยอบรมเลี้ยงดูฉันตั้งแต่ครั้งยังเล็ก “หลวงอาเจ้าขา หนูป่วยหนักไม่รู้จะตายวันไหน หนู ไม่ปรารถนาให้ท่านลำ�บากมาเยี่ยม สิ่งเดียวที่หนูจะรบกวนขอ ความเมตตาคือฝากพ่อกับแม่ด้วย โปรดช่วยแนะนำ�วิธีทำ�กำ�ลัง ใจให้แก่ท่านด้วย ลำ�พังหนูรักษากำ�ลังใจตัวเองก็ยากลำ�บาก แล้ว พ่อเคยพูดว่าอย่าให้พ่อต้องเผาผีลูกเลย หนูทนฟังไม่ได้ พ่อกับแม่เพิ่งมาเยี่ยม หนูสงสารรู้ว่าท่านเจ็บปวด หนูผิดที่ไม่ เคยบอกให้ท่านได้มีเวลาเตรียมใจ โปรดเมตตาสงเคราะห์ด้วย นะเจ้าคะ” พระอาจารย์เอ่ยรับและย้ำ�ให้หลานคนนี้ใช้เวลาที่


58 เหลือมุ่งหน้าทำ�กำ�ลังใจของตัวเองให้เต็มที่ ท่านสอนว่า “ให้นอบน้อมในพระธรรม อย่าฝืนธรรมชาติ (ธรรมะ +ชาติ) ให้รับรู้ความเจ็บป่วยตามความเป็นจริงให้ได้ แค่รับรู้ ตามความจริงแล้ววิธีปฏิบัติจะตามมาเอง หลานจะรู้เอง” ไม่กี่วันต่อมาฉันถ่ายเป็นน้ำ�ยี่สิบกว่าครั้ง จนกระทั่ง ตีสองฉันรู้สึกเปียกเย็นทั่วแผ่นหลัง ตื่นขึ้นมาพบว่านอนเปียก เมือกมูลของตัวเอง ฉันควบคุมการขับถ่ายไม่ได้แล้ว ตกใจและ อนาถใจจริง ๆ ผู้หญิงที่ชอบอยู่กับดอกไม้เครื่องหอมต้องมา นอนจมขี้... รับไม่ได้!!! ฉันนอนน้ำ�ตาซึมอยู่พักหนึ่งด้วยความ ขลาดกลัว ก่อนจะรวบรวมแรงลุกขึ้น ขอให้พยาบาลมาช่วย ล้างเนื้อล้างตัว.. วันรุ่งขึ้นฉันโทรศัพท์ถึงพระนิพพาน (หลวงพี่ เอ๊ด) เล่าให้ท่านฟังแล้วขอคำ�แนะนำ�ในการทำ�กำ�ลังใจ หลวงพี ่ ก็เมตตาเล่าเรื่องพี่สาวของท่านช่วงที่ป่วยหนักให้ฟัง.. และยัง ทิ้งท้ายให้ฉันได้คิดว่า “นอนจมอาจมตัวเอง ยังไม่เน่าเท่าตอน นอนในโลงนะ ตัวเปื้อนไม่เป็นไรจ้ะ ล้างได้.. แต่อย่าให้ใจเรา เปื้อน” ฟังแล้วฉันก็พิจารณาอสุภกรรมฐาน รวบรวมกำ�ลังใจ ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง วันฤกษ์ดี.. ในที่สุดคณะแพทย์ก็ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า... ต้องผ่าตัดเอาปอดล่างขวาออก ฉันตามพี่ชายมาฟังแผนการ


59 ผ่าตัดร่วมกัน หมอบอกให้ฉันรับรู้ทุกอย่าง ฉันรู้ถึงความเสี่ยงที่ จะเกิดขึ้น รู้สึกโล่งใจเกือบ ๆ จะดีใจว่า เอ๊า!.. ตัดเป็นตัด เอา เลย! จะได้จบ ๆ ซะที ลุ้นนานมันเหนื่อย คุณหมอรวบรวมทีม ผ่าตัดมาจากหลายโรงพยาบาล ล้วนแต่เป็นคุณหมอฝีมือเยี่ยม สบายใจได้ หมอพร้อม.. อุปกรณ์พิเศษพร้อม.. ห้องผ่าตัด พร้อม.. เลือดพร้อม.. แต่ฉัน..ไม่พร้อม! ปัญหาเกิดที่เม็ดเลือด ของฉันเองมีแอนติบอดี้เกาะ มันทำ�ท่าจะจำ�พวกเดียวกันเองไม่ ได้ จะทำ�ลายพวกเดียวกันเอง และอาจจะไม่ยอมรับเลือดจาก ใคร อาจจะผ่าตัดไม่ได้ ต้องเลื่อนการผ่าตัดออกไปก่อน ต้องรอ ความเห็นจากหมอโรคเลือด

ผู้หญิงที่ชอบอยู่กับดอกไม้เครื่องหอม ต้องมานอนจมขี้... รับไม่ได้!!! เฮ้อ!.. เอาอีกแล้ว พรุ่งนี้จะผ่าอยู่แล้วเชียว อะไรกันอีก ต้องทำ�กำ�ลังใจใหม่อีกกี่รอบเนี่ย กำ�ลังใจมันไม่นิ่งเหมือนชิงช้า แกว่งไปมาอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวเศร้าเสียใจ เดี๋ยวกลัว เดี๋ยวยิ้ม เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวดีใจ ฉันบังคับชิงช้าอารมณ์ที่กำ�ลังเหวี่ยงแรง


60 ให้หยุดทันทีไม่ได้ ฝืนอารมณ์ไม่ได้ ทำ�ได้แค่รับรู้ นั่งดูชิงช้าใน ใจแกว่งไปมา แล้วรอเวลาให้มันอ่อนแรงและหยุดนิ่งไปเอง หมอโรคเลือดรีบมาจากอีกโรงพยาบาล ตกใจที่ยังเจอ ฉัน หมอเคยมารักษาเตียงข้าง ๆ จนเขาออกไปไหนต่อไหน แล้ว “อ้าว! ไอ้หนูอยู่มานานแล้วนี่ รู้ตัวไหมว่าเขากำ�ลังจะทำ� อะไรกับเรา แล้วเราจะเป็นยังไง” รู้ค่ะ! “แล้วรู้ไหมว่าเราซีด มาก” หนูรู้ทุกอย่างรู้มานานแล้วค่ะ ว่าเป็นพาหะธาลัสซีเมีย ชนิดแอลฟ่า-๑ หนูเป็นโรคหลอดลมโป่งพองทั้ง ๆ ที่ไม่ได้สูบ บุหรี่ ทำ�ให้ถุงลมแตกกลายเป็นโพรงในปอด ก็เลยติดเชื้อง่าย

บางวันก็มือซ้าย บางวันก็ขวาค่ะ... ขวาขวาซ้ายซ้าย.. ย้ายไปย้ายมา เปลี่ยนเข็มซ้ายขวา.. ให้ยาทุกวัน!


61 และบ่อย ถึงจะตัดปอดขวาออกแล้ว ปอดซ้ายก็อาจจะเป็น แบบเดียวกันตามมา แล้วตำ�แหน่งที่ผ่าก็ใกล้หัวใจ เวลาผ่าปอด ขวา ปอดซ้ายก็ต้องทำ�งานปกติห้ามหยุดหายใจ แล้วก็ต้องผ่า ผ่านช่องว่างระหว่างซี่โครงใช่ไหมคะ? หมอไม่อยากตัดแต่มัน ต้องตัดแล้วใช่ไหมคะ ปอดมีปัญหา เลือดก็มีปัญหา หนูรู้ว่ายาก และเสี่ยง หนูอาจจะตายแต่หนูทำ�ใจมาแล้ว ผ่าเถอะค่ะ หนูรู้ว่า หมอทุกคนช่วยหนูเต็มที่แล้ว กราบขอบพระคุณจริง ๆ หนูจะ ไม่โกรธ ไม่ว่าหมอ ไม่ต้องเลื่อนวันค่ะ เอาพรุ่งนี้เจ็ดโมงเช้า ตามเดิมนะคะ ตามฤกษ์พรหมประสิทธิ์ ๑๗ กันยายน เป็นวัน ฤกษ์ดีค่ะ หนูดูมาแล้ว หมอกอดฉันไว้ถามว่าไอ้หนูสู้ไหม?. สู้ ค่ะ! พอหมอกลับไปฉันก็นั่งซึมอีก.. เอ๊า! ผ่าก็เสี่ยง ไม่ผ่าก็เสี่ยง ค่าเท่ากัน ทำ�ดีอะไรมาบ้างเนี่ย? ความชั่วไม่นับ ถือว่าเผลอ เอาล่ะ ความดีพอประมาณ โอเค...ตายเป็นผี ความดียังคุ้ม.


62 วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์) สำ�หรับเดือน กันยายน - ธันวาคม ๒๕๕๔

เงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด ๙๘๗,๔๔๓.๑๗ รายรับ รับเงินทำ�บุญวิหารทาน ๑,๔๒๔,๕๘๒.๐๐ รับเงินทำ�บุญธรรมทาน ๔๕๔,๗๓๙.๐๐ รับเงินทำ�บุญสังฆทาน ๓,๖๗๙,๒๗๔.๔๓ รับเงินทำ�บุญชำ�ระหนี้สงฆ์ ๑๓๑,๗๙๑.๐๐ รับเงินทำ�บุญอื่น ๖,๔๖๓.๐๐ รับเงินอื่น ๔,๔๓๗.๗๗ รับเงินยืม ๔,๖๐๐,๐๐๐.๐๐ รวมรายรับ ๑๐,๓๐๑,๒๘๗.๒๐ รายจ่าย รายจ่ายเกี่ยวกับงานสาธารณูปการ ๖,๘๓๕,๓๙๕.๕๖ รายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษาและงานเผยแผ่ ๖๐๒,๐๖๐.๐๐ รายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษาสงเคราะห์ ๐.๐๐ รายจ่ายเกี่ยวกับงานสาธารณสงเคราะห์ ๕๖,๕๐๕.๐๐ รายจ่ายเกี่ยวกับงานปกครอง ๑,๖๙๐,๙๖๕.๔๕ รายจ่ายชำ�ระคืนเงินยืม ๑,๗๐๗,๑๐๐.๐๐ รวมรายจ่าย ๑๐,๘๙๒,๐๒๖.๐๑ เงินสดและเงินฝากธนาคารปลายงวด ๓๙๖,๗๐๔.๓๖ เงินสดในมือ ๒๓๖,๓๐๓.๕๘ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด(มหาชน) ๔๗,๒๒๗.๙๓ เงินฝากธนาคารกรุงไทย จำ�กัด(มหาชน) ๖๒,๖๒๖.๔๓ เงินฝากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำ�กัด(มหาชน) ๕๐,๕๔๖.๔๒


63 วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์) สำ�หรับเดือน มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๕

เงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด ๓๙๖,๗๐๔.๓๖ รายรับ รับเงินทำ�บุญวิหารทาน ๕,๖๙๒,๙๔๙.๐๐ รับเงินทำ�บุญธรรมทาน ๑,๒๗๐,๒๐๕.๐๐ รับเงินทำ�บุญสังฆทาน ๒,๕๔๖,๖๒๔.๘๓ รับเงินทำ�บุญชำ�ระหนี้สงฆ์ ๒๑๔,๐๐๑.๐๐ รับเงินทำ�บุญอื่น ๔๗,๓๓๘.๐๐ รับเงินอื่น ๑๐,๘๕๗.๐๐ รับเงินยืม ๒๗๐,๐๐๐.๐๐ รวมรายรับ ๑๐,๐๕๑,๙๗๔.๘๓ รายจ่าย รายจ่ายเกี่ยวกับงานสาธารณูปการ ๔,๙๓๘,๔๗๕.๐๘ รายจ่ายเกี่ยวกับงานการศึกษาและงานเผยแพร่ ๑,๒๓๑,๕๘๓.๐๐ รายจ่ายเกี่ยวกับงานการศึกษาสงเคราะห์ ๒๕,๒๕๗.๐๐ รายจ่ายเกี่ยวกับงานสาธารณสงเคราะห์ ๑๙,๒๓๕.๐๐ รายจ่ายเกี่ยวกับงานปกครอง ๘๖๖,๐๔๔.๔๖ รายจ่ายชำ�ระคืนเงินยืม ๒,๘๐๐,๐๐๒.๐๐ รวมรายจ่าย ๙,๘๘๐,๕๙๖.๕๔ เงินสดและเงินฝากธนาคารปลายงวด ๕๖๘,๐๘๒.๖๕ เงินสดในมือ ๓๓๖,๙๒๙.๓๓ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๑๐๑,๔๐๕.๗๖ เงินฝากธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) ๗๙,๒๐๑.๑๔ เงินฝากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำ�กัด (มหาชน) ๕๐,๕๔๖.๔๒


64 บัญชีข้าวก้นบาตร สำ�หรับเดือน กันยายน - ธันวาคม ๒๕๕๔ เงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด ๙๘,๕๓๓.๔๘ เงินสดในมือ ๗๖,๓๘๙.๙๙ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๒๒,๑๔๓.๔๙ รายรับ รับเงินจากสมาชิก ๒๖๕,๐๑๐.๔๓ รับเงินบริจาคค่าสาธารณประโยชน์ ๑๗,๐๐๐.๐๐ รับจากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ๑๒๒.๔๓ รับคืนเงินยืม ๑๕๒,๐๐๐.๐๐ รวมรายรับ ๔๓๔,๑๓๒.๘๖ รายจ่าย ค่างานศึกษาสงเคราะห์ ๓๕,๐๐๐.๐๐ ค่างานสาธารณสงเคราะห์และการกุศล ๑๓,๔๐๐.๐๐ ค่างานสาธารณูปการและการสื่อสาร ๙๗,๕๒๓.๐๓ ค่างานปกครอง ๑๓๓,๐๖๒.๐๐ ให้เงินยืม ๑๔๐,๐๐๐.๐๐ รวมรายจ่าย ๔๑๘,๙๘๕.๐๓ เงินสดและเงินฝากธนาคารปลายงวด ๑๑๓,๖๘๑.๓๔ เงินสด ๗๐,๒๒๗.๔๒ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด ( มหาชน ) ๔๓,๔๕๓.๙๒


65 บัญชีข้าวก้นบาตร สำ�หรับเดือน มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๕ เงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด ๑๑๓,๖๘๑.๓๔ เงินสดในมือ ๗๐,๒๒๗.๔๒ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๔๓,๔๕๓.๙๒ รายรับ รับเงินจากสมาชิก ๗๔๘,๑๗๔.๐๐ รับเงินบริจาคค่าสาธารณประโยชน์ ๔๔,๗๒๕.๐๐ รับคืนเงินยืมจากถ้ำ�นารายณ์ ๑๐๐,๐๐๐.๐๐ รวมรายรับ ๘๙๒,๘๙๙.๐๐ รายจ่าย ค่างานศึกษาสงเคราะห์ ๖,๐๐๐.๐๐ ค่างานสาธารณสงเคราะห์และการกุศล ๒๑๐,๑๐๐.๐๐ ค่างานสาธารณูปการและการสื่อสาร ๕๙,๕๖๙.๐๐ ค่างานปกครอง ๓๓๒,๕๘๙.๐๐ เงินยืมถ้ำ�นารายณ์ ๒๗๐,๐๐๐.๐๐ รวมรายจ่าย ๘๗๘,๒๕๘.๐๐ เงินสดและเงินฝากธนาคารปลายงวด ๑๒๘,๓๒๒.๓๔ เงินสด ๑๒๔,๒๗๘.๔๒ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด ( มหาชน ) ๔,๐๔๓.๙๒


66 ร้านค้าสวัสดิการวันยังค่ำ� สำ�หรับเดือน กันยายน - ธันวาคม ๒๕๕๔ เงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด ๒๒๙,๐๔๙.๖๑ เงินสดในมือ ๑๖๓,๐๔๙.๖๑ เงินสดย่อย ๑๕,๐๐๐.๐๐ เงินฝากธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) ๕๑,๐๐๐.๐๐ รายรับ รายรับจากการขายเครื่องดื่ม อาหารตามสั่ง และสินค้า ๑,๐๑๕,๔๔๗.๐๐ รายรับจากการขายของผาติกรรม ๒,๐๐๐.๐๐ รวมรายรับ ๑,๐๑๗,๔๔๗.๐๐ รายจ่าย ต้นทุนขายในการผลิต ๔๒,๔๙๕.๐๐ ต้นทุนขายจากสินค้าสำ�เร็จรูป ๖๔๑,๘๗๘.๒๕ ค่าปรับปรุงขยายร้านและอุปกรณ์เครื่องใช้ ๔๐,๘๕๗.๐๐ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ๒๑๒,๒๗๒.๐๐ รวมรายจ่าย ๙๓๗,๕๐๒.๒๕ เงินสดและเงินฝากธนาคารคงเหลือ ปลายงวด เงินสดในมือ เงินสดย่อย เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน)

๓๐๘,๙๙๔.๓๖ ๒๙๒,๙๙๔.๓๖ ๑๕,๐๐๐.๐๐ ๑,๐๐๐.๐๐


67 ร้านค้าสวัสดิการวันยังค่ำ� สำ�หรับเดือน มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๕ เงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด ๓๐๘,๙๙๔.๓๖ เงินสดในมือ ๒๙๒,๙๙๔.๓๖ เงินสดย่อย ๑๕,๐๐๐.๐๐ เงินฝากธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) ๑,๐๐๐.๐๐ รายรับ รายได้จากการขายเครื่องดื่ม และสินค้าสำ�เร็จรูป ๑,๐๗๕,๖๔๕.๐๐ รายได้จากการขายของผาติกรรม ๖,๘๒๓.๐๐ รวมรายรับ ๑,๐๘๒,๔๖๘.๐๐ รายจ่าย ต้นทุนขายในการผลิต ๗๓,๙๖๑.๗๕ ต้นทุนขายจากสินค้าสำ�เร็จรูป ๗๐๓,๒๑๘.๒๕ ค่าปรับปรุงขยายร้านและอุปกรณ์เครื่องใช้ ๑๗,๙๗๗.๐๐ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ๑๔๔,๔๓๓.๐๐ รวมรายจ่าย ๙๓๙,๕๙๐.๐๐ เงินสดและเงินฝากธนาคารคงเหลือ ปลายงวด ๔๕๑,๘๗๒.๓๖ เงินสดในมือ ๓๙๔,๑๗๐.๓๖ เงินสดย่อย ๑๕,๐๐๐.๐๐ เงินฝากธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) ๓๑,๐๐๐.๐๐ ลูกหนี้ค่าเครื่องดื่ม ๑๑,๗๐๒.๐๐


68


69


70 สังฆทาน คุณประนอม อินทร์สุข คุณประเวศ ธรรมรุจิ คุณกุลธิดา โลหะนันทน์ คุณสิริวรรณ เอกผล คุณป้าบุญช่วย พิชัยกุล คุณทองใบ พวงแก้ว คุณแจง คุณชูศรี พวงแก้ว คุณสิทธิศาสน์ ลัญชานนท์ บ้านทรัพย์บุญชัย บ้านสุวรรณภูมิ ผศ.พาณี ยงใจยุทธ คุณปานเทพ บุญเสรีและน้อง คณะนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พระวิทวัส กิตฺติปาโล ครอบครัวเจริญสิน คุณพุฒิ บุญแต้ม คุณนิทานต์ กองทอง คุณเล็ก ลพบุรี ฟ้าสีทอง ครอบครัวแสงเจริญ คุณจรัญญา แซ่โค้ว คุณเสาวณี หลอดศรี คุณอทิตตยา เสนะวงศ์ ครอบครัวธารากรสันติและเส็งประเสริฐ คุณรสิกา องอาจทวีชัย คุณอังคณา ดิษฐวงษ์ คุณนงลักษณ์ ดิษฐวงษ์ คุณอุษา ดิษฐวงษ์ ครอบครัวกุลจิตติลักษร คุณประกอบ ผลาสุข คุณศิริลักษ์ พุทธโคตร คณะนวรัตน์

๑,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๓๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑,๐๐๐ ๖๗,๐๒๐ ๓๖,๗๕๘ ๓๐๐ ๑,๐๐๐ ๓,๑๗๐ ๖,๓๐๐ ๑,๒๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๔๐๐ ๒,๐๐๐ ๑๐๐ ๕,๐๐๐ ๕๐๐ ๑,๐๐๐ ๕๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๓๐๐ ๑๐๐ ๔๐๐ ๑,๑๐๐ ๕๐๐ ๔๖,๘๘๐


71 ครอบครัวเตชะนุภาพวัฒนา คุณนิสา สุขแสวง คุณรสกมล วงศ์เสาวนาถ ครอบครัวส่วนพงษ์ คุณชัยพร เฟื่องภักดี คุณพิณชนก ธารากรสันติ คุณชินพัฒน์ บัวชาติ คุณสุพรรณี ศรีบัณฑิตมงคล คุณเบญจวรรณ บุตรศรีจันทร์ คุณเมตตา อุทกะพันธุ์ และครอบครัวและเพื่อน ด.ช. สหณัฐ จิระกิจ คุณเฉลิมพันธุ์ ปิยะธนะศิริกุล พระเทวสิริ ภิกขุและครอบครัว คุณสุคนธ์ กิติยะวงษ์ พระธีระฉัตร อินฺทปญฺโญ คุณเมย์ คุณนราวดี โฆสิตเภสัช คุณเลิศฤทธิ์ สงวนชม คุณศิริลักษ์ พุทธโคตร คุณชินพัฒน์ บัวชาติ พระวิชัย อคฺคธมฺโม คุณจีราวดี พุ่มเจริญ คุณพรเทพ เทียนประทีป คุณชุติมา สุวรรณวนิช คุณแวววลัย วัฒนา คุณอรุณี ไชยอนันต์สุจริต คุณอุทุมพร คุณากร คุณฟุ้ง ลักษณโกเศศ คุณนวพรรณ โพธิวัฒน์โสภา คุณวิเชาว์ เอี่ยมสำ�อางค์ คุณรสิกา องอาจทวีชัย คุณปรียนันท์ อมรศุภพรพงษ์ คุณวิมล เรืองศรี

๕๐๐ ๒๐๐ ๕,๐๐๐ ๑,๘๖๐ ๑,๐๐๐ ๑๐๐ ๑,๐๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒,๕๐๐ ๕๐๐ ๑,๐๐๐ ๒,๕๑๐ ๓๐๐ ๓,๑๐๐ ๑,๓๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๔๐๐ ๑๐๐ ๓,๑๔๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๕๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๕๐๐ ๒๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๒,๐๐๐


72 ครอบครัวอนันต์เจริญกิจ ร้านกาแฟบุญ (วัดสระเกศ) คุณวิไลวรรณ สัมฤทธิ์-คุณประกอบ อินทร์นอก คุณกาณชษา สิงห์ทอง คุณปวันรัตน์ ใจเที่ยง คุณพรชนก กลิ่นโกสุม คุณเกตน์สิริ สุโขทัย คุณตะวันฉาย เลิศศรีชัยสกุล คณะภูเก็ต คุณมัลลิกา ทองเพิ่มสมสิทธิ์ คณะหนุนบุญ คุณศุภต-นภัค ศรีชุมแสง ขันติ หินอ่อน คุณสมชาย เปรมปรีชา คุณปุณยวีร์ เศวตบุณยสิทธิ์ พลังจิตธรรมสัญจร คณะพี่อ้อย พระบาท คุณประกอบ ผลาสุข คุณพรรณี วันสี พระกิตฺติสาโร คุณณัฐพร ธีรเนตร ครอบครัวไกรพิบูลย์ คณะแม่ชีระเบียบ หลวงพี่กอล์ฟและลูกศิษย์ คุณวาสนา กิตติโรจนเสถียร ครอบครัวสุวรรณหงส์ คุณกุ่ย-คุณประไพศรี กุลหงวน คุณพ่อเสถียร เกตุนุติ คุณตาแดว-คุณยายเขียน สิงห์นันท์ น.ต. บำ�รุง-คุณจารุวรรณ ศรีม่วง คุณธนศร สังเวชชภัณฑ์และครอบครัว คุณสิทธิศาสน์ ลัญชานนท์ คุณพ่อเสถียร เกตุนุติ

๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๕๐๐ ๒๐๐ ๓๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๕๐๐ ๗๘๔ ๕๐๐ ๑,๒๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๑,๐๐๐ ๓,๓๐๐ ๑,๖๐๐ ๖๐๐ ๓,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑๐๐ ๑,๘๐๐ ๕,๐๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๒,๐๐๐ ๒๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๒๐๐


73 คุณตาแดว-คุณยายเขียน สิงห์นันท์ น.ต. บำ�รุง-คุณจารุวรรณ ศรีม่วง คุณธนศร สังเวชชภัณฑ์และครอบครัว คุณณัฐสุดา ลายวิศรุต ครอบครัวหวังพราย คุณจิรภา วัดแย้ม พระภูกิจและคุณอ้อย พระบาท ส.ต.อ. วรพจน์ สุจิตตกุล คุณสิริรักษ์ กำ�ลังหาญ คุณณัฐกฤตา แท่นทอง คุณพรยมล ภัทรเลิศกุล คณะจังหวัดสตูล คุณสุพจน์ สิงห์คำ�และครอบครัว คณะพระจากประเทศธิเบต โรงพยาบาลราชวิถี คุณปฐมพงษ์ ศิริมงคล พระจิรศักดิ์ ฐิตสีโล คุณประภาส-คุณกรวิกา ชื่นยืนยง คุณจรรยา ศิลารัตน์ คุณวิไลวรรณ สมฤทธิ์ คุณพรลดา ศิริบุตร คุณไพรัช แสงงาม คุณภวัค ลาภหลาย คุณโสภี ยอดละ พ.ต.อ. สิทธิพันธ์-คุณณัฐณันท์-นิชดา พุฒทอง คุณเมย์ มหาดำ�รงค์กุลและครอบครัว ครอบครัวธนะเกียรติไกร คุณวิทยา มหิทธิวาณิชชา คุณพงพล มหิทธิวาณิชชา คุณปองพล มหิทธิวาณิชชา คุณมีนา ติยะวุณิการ คุณสวรรยา โพธิสุนทร คุณยุวดี สกุลพิเชษรัตน์

๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๒,๕๒๐ ๕,๑๔๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๓๐๐ ๕,๕๐๐ ๑,๖๐๐ ๕,๐๐๐ ๗๐๐ ๕๐๐ ๒๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒,๘๐๐ ๓๐๐ ๖๗๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐


74 คุณประจวบ ประจงจิต ด.ญ. อังคณา โพธิ์เปรม ครอบครัวคุณบัณฑิต - คุณมาลี สุวรรณรัชตมณี คุณมาฆะมาส ศิลารัตน์ คุณหนอม เดือนกว้าง คุณเมย์ มหาดำ�รงค์กุลและครอบครัว คุณมณีนันท์ องอาจนัทพนท์ ครอบครัวคาร์สเลค คุณวรรธนะ-คุณสุณี-คุณฐิตารีย์ วงศ์สีนิล ครอบครัวคุณเมย์ มหาดำ�รงค์กุลและครอบครัว คุณรธันวินท์ ครองสัจจา คณะครูและผู้ปกครองโรงเรียนประสาทวิทยานนทบุรี คุณวิรุฬห์เทพ-พรบุลกัณณ์ ชัยวัชรเสถียร คุณประกอบ ผลาสุข ครอบครัวจันทรเพชร ครอบครัวเจริญญา ครอบครัวอร่ามรักษ์ พระธรรมญาโณ คุณนินา ฐานทองธรรม คุณฐิติมา ศรีวิเชียร พระประวิน โชติธมฺโม พระสุรัชชาญ ชยธมฺโม คุณวรรณี พรสวัสดิ์ ครอบครัวเทียนโต คุณพันเลิศ สุทธิวงศ์ คณะบ้านก๋ง ดร.ทรงพร-ทิพย์-พรรณทิภา จั่นเทศ และพนักงาน บ.ทีทีซี น้ำ�ดื่มสยามและมอเตอร์ จำ�กัด คณะคุณเมย์ มหาดำ�รงค์กุล ครอบครัวภาษีสุทธ์ คุณสังวาลย์ ทองประดับ คุณสมพร สมวิทย์ คุณมยุรี มนต์ชัยวิทิต

๑๐๐ ๓๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๕๒๐ ๕๐๐ ๓,๐๐๐ ๕๐๐ ๑,๐๒๐ ๕๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๕๐๐ ๓๓,๐๓๓ ๑,๒๐๐ ๕๖๐ ๕๐๐ ๔๐๐ ๕๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๕๐๐ ๒,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๑,๒๐๐ ๖๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๔๐,๒๑๐ ๒,๐๐๐ ๕๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๓๐๐


75 ครอบครัวสุขเกษม คุณเนตรนภิส ตั้งตรงวัฒนา คุณพีรพัฒน์-ปริศนา กนกนาค ครอบครัวลือชัยขจรพันธ์ ครอบครัวคุณเมย์ มหาดำ�รงกุล คุณวีระชาติ ศิริไกรวัฒนาวงศ์และคณะ คุณสมชาย เปรมปรีดา คณะครูนักเรียน ร.ร.วัดเขาวง คุณสุพจน์ สิงห์คำ� สำ�นักงานวัฒนธรรม จ. สระบุร ี พระทรงศักดิ์ สุทฺธิญาโณ คุณอุทิศ คงคารัตน์ คุณปวีณา บุนนาคและครอบครัว ครอบครัววิทยาธิกรณศักดิ์ คุณพั่ว นิสสัยมั่น คุณแม่สนิท ตรีศาสตร์ ครอบครัวโพธิ์พิจารณ์ พระอนุรักษ์ วชิรวํโส คุณแม่เกศแก้ว จิรัฐรุสิกร คุณบรรจง วัฒนา คุณพิเชษ-อรทัย คงจันทร์ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุวาสนะเวศม์ คุณสมนึก ศรีสุข คุณจรัญ-คุณสมคิด อุดมรัตน์ คุณแม่แตร่น เที่ยงธรรม ครอบครัวกาญจนสุนทรสุข อ.พรพรรณ รัตนอมร คุณอาทิตย์ นนทรี ครอบครัวนันทนวิจิตร คุณพัชนีย์ แก้วประดิษฐ์ คุณเพชรน้อย บุญคุณ คุณธิดา โพธิบุตร คุณสิริการย์ ภูรีพงศ์พีระ

๕๐๐ ๑,๐๐๐ ๒๐๐ ๕,๐๐๐ ๑๒,๐๐๐ ๑,๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐๐ ๑,๕๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๕๐๐ ๔,๓๐๐ ๓๐๐ ๒,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๕๐๐ ๑,๓๐๐ ๕๐๐ ๑,๓๐๐ ๕๐๐ ๙,๔๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐


76 คุณวราภรณ์ ศรีจันทร์ พระมหาสุริยัน ปภากโร คุณประกอบ ผลาสุข คุณวจินี ดงจิต คุณเมย์ มหาดำ�รงค์กุล ธ.อาคารสงเคราะห์สระบุรี คุณขวัญรัฐ ส่วนพงษ์ คุณจิราพร ชัยชาญ คุณนิล โว๊ค คณะเจ้าหน้าที่โรงพยบาลบ้านหมอ บริษัทอินดักชั่น ซอร์ซ จำ�กัด คณะคุณมณีรัตน์ เบญจรัตนานนท์และครอบครัว คุณดวงกมล คันธจ คุณสุทธิชัย ผึ้งแดง คุณทัศน์พล ผึ้งแดงและครอบครัว คุณชะเอม ผลสุขขา คุณธนศร สังวรเวชชภัณฑ์ คณะคุณเกรซ มหาดำ�รงค์กุล คุณเมย์ มหาดำ�รงค์กุลและครอบครัว คณะคุณศรีเสาวลักษณ์ เหม็งตระกูล คุณตรึงตา อดุลสุทธานนท์ คุณปภาวดี นิมิตกมลเลิศ คุณป้าสุนีย์และลูก ๆ พล.ต.ท.รชต - พ.ท.หญิง พนัสญา เย็นทรวง คุณสุรเดช อุตเจริญ พนักงาน CELL วางแผนงานเหมือง บ.ปูนซีเมนต์ตราช้าง จำ�กัด ด.ช.ระพินญ์ ยาคุณ ครอบครัวโค้วอำ�นวยโชค ส.ต.อ. วรพจน์ สุจิตกุล คณะคุณวิริยา ไชยสิทธิ์ คุณขจร สุภัทร์วัน คุณทัศน์พล ผึ้งแดง และครอบครัว

๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๒,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๓๑,๕๑๙ ๑๐,๐๐๐ ๕๐๐ ๑,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๓๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๔๐๐ ๒,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๗,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑๐๐ ๑,๓๐๐ ๓,๐๐๐ ๑๐๐ ๕,๑๔๐ ๑๐๐ ๕๐๐ ๔,๑๐๐ ๗๐๐ ๓,๐๐๐ ๖๐๐


77 คุณคมสัน ผึ้งแดงและครอบครัว ร.ต.ต.ภูมินทร์-คุณวรรณภา-คุณธนัฐพงศ์ กุลรักษา คุณสมจิต เสนาะกลาง - คุณอุไร ปะนามะทัง คุณแม่สาลี่ เข็มศรี กลุ่มเพื่อนธรรม หินเหล็กไฟ คุณสุทธินัน เส็งน้อยและครอบครัว คุณโสภิณ จันทรคติ

๓๐๐ ๒,๐๐๐ ๒๐๐ ๓๐๐ ๒,๕๐๐ ๒,๑๐๐ ๓,๐๐๐

บูชาคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า คุณพชร อุทัชกุล

๑๔,๐๐๐

ชำ�ระหนี้สงฆ์ พระรตนพโล -พระภทฺทธมฺโม วัดสระเกศ บ้านทรัพย์บุญชัย บ้านสุวรรณภูมิ คุณนินา กรศิริเดโช คุณรสิกา องอาจทวีชัย คณะคุณอ้อยพระบาท คุณสิทธิศาสน์ ลัญชานนท์ คณะพระนวกะ ปี ๕๓ คุณเซี่ยมเซ้ง เลี่ยวไพรัชต์ คณะนวรัตน์ คุณณรงค์-วิมล ภมรานนท์ คุณประจักษ์ อดุลสุทธานนท์ คุณกัญญา แซ่เอี้ย คุณกฤษดากร ศรีม่วง พระวิเชียร สุธมฺมวชิโร คุณศรีจิตรา ภัทรพฤทธ์พาณิช พระทรงศักดิ์ สุทฺธิญาโณ พระนพธนนท์ ญาณธีโร สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) คุณจิราภรณ์ ชินวงศ์

๗๗๐ ๔,๗๒๑ ๖,๓๗๐ ๒,๐๐๐ ๑,๑๐๐ ๖๒๐ ๓,๐๐๐ ๑,๓๑๓ ๒๐๐ ๗,๘๘๐ ๔๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๑,๐๐๐ ๒๙๐ ๕๐๐ ๑,๔๓๐ ๒,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐๐


78 คุณพิเชษ-อรทัย คงจันทร์ คณะนวรัตน์ คุณมยุรีย์ อาจศิริ ชมรมคนรักษ์เขาวง คุณซิ้มเซ็ง เลี่ยวไพรัตน์ คุณอ้อย พระพุทธบาทและครอบครัว คุณอรญา พรกระแส คุณมุกดา เพิ่มศรีวานิช คุณมนิวรา ลุนพล คุณกมลวรรณ พรกระแส คุณสมพงษ์ ริดจะนา คุณสุมาลี แซ่เตี่ย คุณปทุม กงไกรลาศ คุณกิรณา ตั้งสิริวิบูล คุณธนศร สังวรเวชชภัณฑ์ คุณคนึงนิจ ละม้ายอินทร์ คุณแน่งน้อย สวนสมุทร คุณพิเชษ-อรทัย คงจันทร์ คุณเงิน สุรินทร์สมบูรณ์

๑,๑๐๐ ๔,๔๕๔ ๒,๑๐๐ ๕๐๐ ๓๐๐ ๒,๖๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๕๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๑,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๖๐๐ ๕๐๐ ๑,๓๐๐ ๑๐๐

ถวายซื้อที่ดินวัด คุณสาลินี สุทธิถวิล คุณรสิกา องอาจทวีชัย ด.ช. ณธกร องอาจทวีชัย คุณเมย์ มหาดำ�รงค์กุลและครอบครัว ครอบครัวสุวรรณหงษ์ ครอบครัว ตรึงจิตวิลาส-ครอบครัวสุทธิวงศ์ พระศักรินทร์ ทิวากโร พระสี่ทิศ อาภสฺสโร คุณกาญจนา อ่ำ�ถนอม คุณศิริวรรณ พันธ์แจ่ม คุณธนาคาร อ่ำ�ถนอม พระอภิเดช สิริวํโส

๑๐๐ ๕๐๐ ๑๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๑๐,๑๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๒,๑๐๐ ๗๐๐ ๗๐๐ ๗๐๐ ๗๐๐ ๗๐๐


79 คุณธงชัย - คุณวรญา จึงทองดี ถวายอาหารพระ คุณนุชชยาพัสตร์ ศิริฤกษ์รัตนา คุณลักษณ์สิภา ศิริถาวรสถิตย์ คุณมาตรา เทพสาธร พระวิทวัส กิตฺติปาโล-คุณเกษม-คุณวัชรี ปานนาค คณะคุณอ้อยใจ พุฒเจริญ คุณสุพจน์ ชุติพัฒนะลุคณะ คุณปานเทพ บุญเสรี ตระกูลธนสารศิลป์ คุณนภาพร เจริญศิริ คุณประกอบ ผลาสุข คุณพิเชษ-อรทัย คงจันทร์ คุณชะอวบ จิระกิจ คุณณิชกานต์ กรองทองและคณะ คุณนิตต์ คุณากร คุณสายยุทธ ปานผา น.ท. บำ�รุง-จารุวรรณ ศรีม่วง คุณภวีญาภรณ์ จิตต์โอภาส คุณประกอบ ผลาสุข คุณวิชิตพร คงคาใส พระอาจารย์เฉลิมชาติ ชาติวโร คุณณัฐสุดา ลายวิศรุต คุณป้าพยอม ผดุงพล คณะคุณสุเทพ สนามชัยเขต คณะพระวัดทรงเมตตาวนาราม พระชูชาติ รัตนสุนทร ครอบครัววงศ์เมืองและครอบครัวศรีบุตร สำ�นักปฏิบัติธรรมปทุมรัฐและ คุณสมาน-คุณพจนีย์ พิชิตบัญชรชัย พระโอภาส ฐานิสฺสโร คุณธันยาภรณ์ สุพรรณรัตน์-คุณสุรภัช นามสังข์

๕,๗๐๐ ๓,๒๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๔๐๐ ๕,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๕๐๐ ๘๐๐ ๔,๐๐๐ ๓,๗๐๐ ๕,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๙๙๕ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๙๕๐ ๕,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๓๐๐ ๕,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๓,๑๖๐


80 คุณบรรจง - ธนาตย์ เสถียรถิระกุล ๑,๐๐๐ คุณปิยะวดี รมยานนท์และครอบครัว ๑,๓๐๐ คุณวราภรณ์ กูเกเรยา-คุณสิริพร ธีรปกรณ์-พี่เหม่ย พัทยา ๑,๓๐๐ คณะนวรัตน์ ๑,๓๐๐ คณะปิยะบุตร ๕๐๐ คณะมหาบุญ ๕๐๐ คุณบุษย โค้วสถิตย์ ๕๐๐ ครอบครัวรมยานนท์ ๑,๕๔๐ คุณเชิดชัย อุดมวงศ์ไพบูลย์ ๑๐๐ คุณจู แซ่เอียว ๑๐๐ คุณเซียม แซ่เอียว ๑๐๐ ครอบครัวเพิ่มเจริญ ๕๐๐ คุณปราณี ศุภศิริและคณะ ๑,๗๐๐ คุณจีรศักดิ์ ฉิมคล้าย ๑,๕๐๐ คุณศรีจิตรา ภัทรพฤทธ์พาณิช ๖๐๐ คุณภารุณี รมยานนท์ ๓,๐๐๐ ครอบครัวจิวังกูร ๓,๐๐๐ ครอบครัวรมยานนท์ ๓,๐๐๐ คุณสมทรง-วริศา-นันท์ภัส โสธนกุล ๓,๐๐๐ คณะลูกหลานคุณป้าสถาพร เอื้อบุณยะนันท์ ๕,๐๐๐ คุณประกอบ ผลาสุข ๑,๐๒๐ คุณวันเพ็ญ ม่วงเอม ๓,๐๐๐ ครอบครัวบูรณะพิมพ์ ๗,๐๐๐ คุณจิราพร ชัยชาญ-คุณสุภาพรรณ์ ธนะเกียรติไกร ๑,๕๐๐ คุณวลีรัตน์ สุทธนันท์ ๓,๐๐๐ คุณนุชชยาพัสตร์ ศิริฤกษ์รัตนา ๕,๐๐๐ คุณมยุรีย์ อาจศิริ ๑๓,๐๐๐ คุณสุชาดา อุดมรัตน์ ๓,๐๐๐ คุณประกอบ ผลาสุข ๗๔๕ โรงพยาบาลพระพุทธบาท ๓,๔๐๐ คุณกนกขวัญ พลรักษ์และครอบครัว ๒,๐๐๐ คุณทัศน์พล ผึ้งแดงและครอบครัว ๗๒๐ คุณธนศร สังวรเวชชภัณฑ์ ๓,๐๐๐


81 คุณคนึงนิจ ละม้ายอินทร์ คุณสุวรรณ สรีโรจนันท์และครอบครัว

๔,๐๐๐ ๓,๐๐๐

ถวายหลอดไฟ คุณพรยมล ภัทรเลิศกุล คุณสมศักดิ์ ฉัตรศิริวัฒน์ คุณฉัตริษา ศรีสานติวงศ์ คณะนวรัตน์ สร้างหอประชุม-หอฉัน คุณนันทกานต์ ฤทธิวงศ์และญาติมิตร คุณเมย์ มหาดำ�รงค์กุลและครอบครัว ครอบครัวพระมนภวัต คุณวีโร คุณวิไลรัตน์ ลี้อนันต์ศักดิ์ศิริ ครอบครัว ตรึงจิตวิลาส-ครอบครัวสุทธิวงศ์ คณะปิยะบุตร คุณกัญญา แซ่เอี้ย คุณสุทธิพงษ์ ไชยเสน กลุ่มสหกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณกิ่งฟ้า ขอเอิบกลาง คุณวิลาวัณย์ วรินทร์รักษ์

๓๐,๐๓๙ ๑๐,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๕๒๐ ๒๐,๐๐๐ ๒๐๐ ๕,๐๐๐ ๒๕๐ ๑,๐๐๐

สร้างโบสถ์ พระสมคิด สิริจันโท คุณประกอบ ผลาสุข พระทรงศักดิ์ สุทฺธิญาโณ คุณศุภจักร-วารุณี จิรโร คุณอนุสรา หงษ์หยก คณะสงฆ์วัดเขาวง พระศักรินทร์ ทิวากโร

๒,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๕๐๐ ๒๒,๒๒๒ ๑๐,๐๐๐

พิมพ์หนังสือธรรมะ คุณกมลวรรณ ต่างใจ ร้านอินเขาใหญ่

๑๑,๖๐๐ ๑๕,๐๐๐

๒,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๔,๕๐๐ ๘,๒๐๐


82 สร้างห้องน้ำ�พระ คุณวีระชัย อำ�ไพพันธุ ์ คุณยายทองใส ฆาระเสน อาหารปลา คณะนวรัตน์

๓,๔๐๐ ๒๕,๐๐๐ ๖,๑๔๖

สร้างสวนพระศรีจักรีวงศ์ คณะนวรัตน์ พ.ต.นพ.อรรถสิทธิ์ ประดิษฐ์พรกูลคุณธีราพร ประดิษฐ์พรกูล คุณปรียาภา ปัญควณิช คุณพิมพ์ภัทรา บรรจงจิต คณะคุณทัศวรรณ พิพัฒน์รังสรรค์ คุณสุนทรี วงศ์ทองแก้ว คุณอาทิตย์ นนทรี คุณคมสัน ผึ้งแดง คุณวิสุทธิ รุ่งทิม คุณทัศน์พล-สมวงษ์-สุทธิณี-สุทธิชัย ผึ้งแดง พระศักรินทร์ ทิวากโร คณะคุณฉัตริษา ศรีสานติวงศ์

๒๐๐ ๕๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๒๕,๘๐๐ ๑,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑๒,๐๐๐ ๕๐๐ ๕๕๐ ๒,๐๐๐ ๑๒,๘๐๐

ดอกไม้ธุปเทียน คณะคุณอ้อยพระพุทธบาท

๑,๖๒๐

๒,๒๕๐

ยานพาหนะพระ คุณศิวโรจน์ สุรเลิศรังศรี คุณนันทนา ตรัยญาลักษณ์และครอบครัว

๑๐๐,๐๐๐ ๑๐๐,๐๐๐

ผ้าป่าวิหารทาน คุณธีรชัย เอื้อชลิตนุกูล

๕๗๔,๖๐๐


83 คณะภูเก็ต

ธรรมทาน

๒๐๐

สร้างห้องกรรมฐาน คุณเล็ก ฟ้าสีทอง

๑๐๐,๐๐๐

สร้างศาลาแปดเหลี่ยม พระปลัดนิพพาน โชติธมฺโม คณะนวรัตน์ พญ.ภัทรกานต์ ทองครบุรี คุณพชร อุทัชกุล คณะศิษยานุศิษย์ พระปิยวิทย์ มหาญาโณและญาติโยม ครอบครัวนิรมิตศิริพงศ์ คณะปิยะบุตร วรดา วงศ์กาญจนา คุณกรฤต ลีลาประชากุล คุณเนาวรัตน์ ทวีศิลป์ แม่ชีเขียวหวาน ถ้วนถี่ คุณกานต์สุดา บัวสอน คุณกุ่ย-คุณประไพศรี กุลหงวน เพ็ญจันทร์ คำ�เมืองปลูก ครอบครัวธนรัตน์สุวรรณ ครอบครัวสีฉิม

๑,๕๐๐ ๖๑๒,๒๑๖ ๒๕๔,๐๐๐ ๕๐,๐๐๐ ๓๑,๓๒๕ ๒๓,๖๓๐ ๒๐,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๓๐๐ ๒,๑๒๐ ๕๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐

ถวายเชือกแดงทำ�ตะกรุด พระทรงศักดิ์ สุทฺธิญาโณ พระนพฐนนท์ ญาณธีโร พระอนุรักษ์ วชิรวํโส พระศักรินทร์ ทิวากโร พระอภิเดช สิริวํโส พระมนภวัต คุณวีโร พระสี่ทิศ อาภสฺสโร

๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๕๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๕๐๐


84 สร้างถังแชมเปญ ระบบประปาในวัด คุณแม่สุมน สินพรม, คุณวิบูลย์-สุพัตรานายสรัล-นายจิณณ์-นายภวัต เรืองเกรียงสิน คุณแม่สุมน สินพรม, คุณสมบูรณ์-อรวรรณด.ช.วรวิทย์-ด.ญ.วรยา วรปัญญาสกุล กลุ่มครุฑานุภาพ ผ้าป่าการสื่อสารในวัด คุณบั๋ม-คุณเล็กและคณะ พระประสาน อนาลโย, นายประพันธ์ นางสมคิด-นายธีรศักดิ์ แสงเมือง

๑๐๐,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๖๒,๓๐๐ ๔๐,๐๐๐ ๔,๐๐๐

ปลูกต้นไม้สวนพระศรีจักรีวงศ์ คณะสงฆ์วัดเขาวง ปีพุทธชยันตี ๒๕๕๕ พระปลัดนิพพาน โชติธมฺโม คุณทัศวรรณ พิพัฒนรังสรรค์

๒๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐

ร่วมหล่อพระบรมรูป รัชกาลที่ ๑ คุณอนุตตรีย์ โพธิสุทัศน์ คุณอุทุมพร คุณากร และครอบครัว คุณปราณี เทพเจษฎาทรศักดิ์ แวววลัย วัฒนา

๓,๐๐๐ ๑๐๐,๐๐๐ ๕๐,๐๐๐ ๑,๐๐๐

ซ่อมรูปหล่อหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤๅษีฯ คุณธริต จึงทองดีและครอบครัว ซ่อมศาลาหลวงปู่อุบาลี คุณจักฤษณ์ เอื้อบุณยะนันท์ พระธีระฉัตร โพธิสิทธิ์

สร้างสวนครัววัด

๕๐,๙๘๐ ๑๐๐,๐๐๐ ๕๐,๐๐๐


85 ถวายน้ำ�ดื่ม ดร.ทรงพร-คุณทิพย์ จั่นเทศ บ.ทีทีซี น้ำ�ดื่มสยามและมอเตอร์ จำ�กัด ถวายระบบปรับอากาศศาลาแปดเหลี่ยม คุณอุดม-สุรีย์พร เลาหเจริญสมบัติและครอบครัว

๑๖,๘๐๐ ๑๕๐,๐๐๐


เชิญตรวจสอบรายชื่อ และร่วมโมทนาบุญ ด้วยกันค่า!..


หมายเลข ๖๘๓๖ ๖๘๓๗ ๖๘๓๘ ๖๘๓๙ ๖๘๔๐ ๖๘๔๑ ๖๘๔๒ ๖๘๔๓ ๖๘๔๔ ๖๘๔๕ ๖๘๔๖ ๖๘๔๗ ๖๘๔๘ ๖๘๔๙ ๖๘๕๐ ๖๘๕๑ ๖๘๕๒ ๖๘๕๓ ๖๘๕๔ ๖๘๕๕ ๖๘๕๖ ๖๘๕๗ ๖๘๕๘ ๖๘๕๙ ๖๘๖๐ ๖๘๖๑ ๖๘๖๒ ๖๘๖๓ ๖๘๖๔ ๖๘๖๕ ๖๘๖๖

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน

คุณเรณู อนุศาสตร์ ๑๐๐ คุณชมพูนุช อินทร์อารีย์ ๒๐ คุณธนพร อินทร์อารีย์ ๔๐ คุณศิริชัย เปี่ยมทรัพย์ ๒๐ ด.ช. นากร บัวแย้ม ๑๐๐ คุณภานุวัฒน์ บัวแย้มและครอบครัว ๑๐๐ คุณสุวณี เปี่ยมทรัพย์ ๑๐๐ ด.ญ. อาทิตยา เปี่ยมทรัพย์ ๑๐๐ จ.ส.อ. นิยม ภู่พันธ์ ๑๐๐ คุณสววนศรี วสวานนท์ ๑,๐๐๐ คุณเกษสิริ ตั้งสุพงษ์ ๑๐๐ คุณอารยารัฐ จันท์นอก ๑๐๐ คุณชิสารัต์ อยู่เกตุ ๑๐๐ คุณฉัตรสุดา ศักดิ์สิทธิกร ๑๕๐ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ๑,๐๐๐ คุณสุดเขตต์ ทองเนียม ๒๐๐ ด.ญ.จิตรกัญญา ทัศน์ธนาวัฒน์ ๑,๐๐๐ คุณพัณณ์ชิตา ศิริโรจน์วรากร ๓๐๐ คุณสมรักษ์ อินทร์อารีย์ ๒๐ ครอบครัววงษ์หุ่น ๗๔๖ คุณเพียงใจ ปิยะธนะศิริกุล ๑๐๐ คุณเฉลิมพันธุ์ ปิยะธนะศิริกุล ๑๐๐ ด.ญ. เบ็นซ์ น้ำ�ฉ่ำ� ๑,๐๑๐ คุณศิริจิตต์ นุชประไพ ๑๐๐ คุณณัฐภัทร รุณผาบ ๑,๐๐๐ อินเขาใหญ่ รีสอร์ท ๕,๘๐๐ คุณสมชาย สินปรุ-คุณถวิล โสภา ๑๐๐ มารดาของคุณ รัชดา เบญจลักษณ์ ๑๐๐ ครอบครัว ตาจันทึก-จันทร์ดี ๕๐๐ คุณกิติมา คงขำ� ๒๖๐ คุณรุ่งนภา ศิริเศรษฐ-ทินกร มโนประเสริฐ ๖๑๔

วั น เริ่ ม ทุ น ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๑๑ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕


88 หมายเลข ๖๘๖๗ ๖๘๖๘ ๖๘๖๙ ๖๘๗๐ ๖๘๗๑ ๖๘๗๒ ๖๘๗๓ ๖๘๗๔ ๖๘๗๕ ๖๘๗๖ ๖๘๗๗ ๖๘๗๘ ๖๘๗๙ ๖๘๘๐ ๖๘๘๑ ๖๘๘๒ ๖๘๘๓ ๖๘๘๔ ๖๘๘๕ ๖๘๘๖ ๖๘๘๗ ๖๘๘๘ ๖๘๘๙ ๖๘๙๐ ๖๘๙๑ ๖๘๙๒ ๖๘๙๓ ๖๘๙๔ ๖๘๙๕

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน

คุณเกียรติ-จิรวรรณ เรืองวุฒิ กาญจนารัตนากร ๒๕๐ คุณสุเทพ นิดใหม่ ๑,๖๕๐ คุณมณีพรรณ์ กระจ่างเมธีกุล และครอบครัว ๑,๙๔๖ คุณพิพิธ พรปัญญารัตน์ ๙๘๕ คุณศิณีภรณ์ ปัญญาสกุลวงศ์ ๑,๖๘๐ ด.ช. ธนัทร-ด.ญ.ญาณิศา พันธ์งาม ๔๕๐ คุณรุ่งนภา สุวรรณาเทศ ๑๐๐ คุณวิไลพร ชีพชื่นสุข ๑๐๐ คุณสุวรรณ์ดี อนิวัฒนานนท์ ๑๐๐ คุณนงลักษณ์ สนิทไทย ๑๐๐ คุณสมจิตร ทัพสอาด ๑๐๐ คุณศุภาวีร์ เอี่ยมวงศ์นุกุล ๒๐๐ คุณปราณี ศุภศิริ ๕๐๐ คุณนลินรัตน์ เคนพันค้อ ๒๘๐ คุณบุญฤทธิ์ พันธ์บุตร ๔๘๐ คุณชูชาติ-พัชรินร์ สร้อยทอง ๕๐๐ คุณพรพรรณ ชวศิลป ๒๐๐ คุณชมเดือน สละชีพ ๑๐๐ คุณลภัศศ์ษร โคกอ้อและครอบครัว ๑๐๐ คุณวรรณชนก ศรีวิชัย ๖๐๐ คุณทินกฤต ดวงสมร ๓๓๐ คุณธนภร - ด.ช. ณัฏฐ์ประณัย คัณตานันท์ ๒๐๐ คุณสุพรรณี พันธุ์อำ�ไพ ๒๐ นายแพทย์ ถาวร-คุณสุริยา จันทรสกุล ๕๐๐ คลีนิคหมอถาวร ๓๐๐ คุณก้องภพ จันทรงสกุล ๑๐๐ ด.ญ. ปาวีณา จันทรงสกุล ๑๐๐ คุณอริสา บาลดี ๘๒๙ คุณจำ�นงค์ กระจ่างฤกษ์ ๒๐

วั น เริ่ ม ทุ น ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕


หมายเลข ๖๘๙๖ ๖๘๙๗ ๖๘๙๘ ๖๘๙๙ ๖๙๐๐ ๖๙๐๑ ๖๙๐๒ ๖๙๐๓ ๖๙๐๔ ๖๙๐๕ ๖๙๐๖ ๖๙๐๗ ๖๙๐๘ ๖๙๐๙ ๖๙๑๐ ๖๙๑๑ ๖๙๑๒ ๖๙๑๓ ๖๙๑๔ ๖๙๑๕ ๖๙๑๖ ๖๙๑๗ ๖๙๑๘ ๖๙๑๙ ๖๙๒๐ ๖๙๒๑ ๖๙๒๒ ๖๙๒๓ ๖๙๒๔

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน

คุณภัคธัญญา มณีพรต ๑๐๐ คุณรตี สีมารักษ์และครอบครัว ๑๐๐ ด.ช.นพณัฐ สุกใส ๑๐๐ คุณพุฒิพัฒน์ - มนัสนันท์ โฆธิตพิพัฒน์ ๒๐๐ คุณวราภรณ์ โฆษิตพิพัฒน์ ๑๐๐ คุณศมล พงศ์พจนาพร-คุณพิชญ์ มานะกิจไพโรจน์ ๒๐๐ น.ค. ประสิทธิ์-จิตรลัดดา กุลสุทธิชัย ๑๐๐ คุณดาราพร รัตนพงศ์วัฒนา ๑๐๐ คุณอำ�นวย ศุภวาศรี ๑๐๐ คุณพลวัฒน์ ประเจียด ๘๐๐ คุณสิริญา แช่มเชิงกิจ - สิทธรัตน์ เมืองประเสริฐ ๕๗๑ คุณสมรัก ปราณี ๖๐๐ คุณประสาร ฉลาดคิด ๕๐๐ คุณนิชา เลาก่อสกุล ๑๐๐ คุณธีรชัย เลาก่อสกุล ๕๕๐ คุณหฤทัย คูสกุล ๑๐๐ คุณวัชราภรณ์ คูสกุล ๑๐๐ คุณพรรณภา เจริญพงศ์ ๑๐๐ คุณวรพจน์ จุลพันธ์ ๑๐๐ ด.ช. วาริทธิ์นันญ์ ดุลนรัตน์ ๑๐๐ ด.ช. ศุภกร ดุลนรัตน์ ๑๐๐ ด.ญ. ณัชช อุดมศิลป์ ๑๐๐ ด.ญ.ปภาสิริ คงเพ็ชรศักดิ์ ๔๙๘ ด.ช. ดนตร์ ศรียศชาติ ๑๐๐ คุณรัชนีกร รังสุวรรณ์ ๒๐๐ คุณภริษา ธันยากิตติกุล ๑,๕๐๐ ด.ญ. วิมุตตา พงษ์ประดิษฐ์ ๑๐๐ คุณวนิสา สุขแสวง ๑๒๐ คุณอนิวรรต สาลีผล ๑,๗๐๘

วั น เริ่ ม ทุ น ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๒๕ เม.ย. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕


90 หมายเลข ๖๙๒๕ ๖๙๒๖ ๖๙๒๗ ๖๙๒๘ ๖๙๒๙ ๖๙๓๐ ๖๙๓๑ ๖๙๓๒ ๖๙๓๓ ๖๙๓๔ ๖๙๓๕ ๖๙๓๖ ๖๙๓๗ ๖๙๓๘ ๖๙๓๙ ๖๙๔๐ ๖๙๔๑ ๖๙๔๒ ๖๙๔๓ ๖๙๔๔ ๖๙๔๕ ๖๙๔๖ ๖๙๔๗ ๖๙๔๘ ๖๙๔๙ ๖๙๕๐ ๖๙๕๑

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน

คุณพัชรี-อนันต์ วงศ์พันธ์ ๑๐๐ คุณเบญจมาศ สกุลทา ๕๐ คุณกนกทิพย์ พุกทอง ๑๐๐ คุณกรกริช สุคันธมาลัย ๒๐๐ คุณภัทรนิชฐ์ อุตมะ ๑๐๐ ด.ญ ปวันรัตน์-ด.ช. ราชานนท์ รุ่งเรืองวรโชติ ๕๐๐ คุณภัตจิมา ชาวประมง ๑๐๐ คุณจิรายุ อัษฎบดี ๑๐๐ คุณอธิพงศ์ ศรีเกื้อกูล ๑๐๐ คุณณัฐธัญ รติชน ๒๔๑ คุณศิโรรักษ์ พันธ์นิคพ์คุณทิพวรรณ สิ่งกลาง ๖๐ คุณกิตติภพ แก้วมี ๕๐ คุณธันยพร NIEDERMAIER ๕๐๐ คุณอัมพร สัมฤทธิ์ ๕๐๐ คุณนวลักษณ์ สนิทไทย ๑๓๖ คุณจิราวดี พุ่มเจริญ ๑๐๐ คุณสุรีย์ นาจรูญ ๙๙ คุณสมบูรณ์ ปานผา ๑๐๐ คุณฉัตรอร ม่วงกรุง ๑๐๐ คุณสุนิดา โจมจตุรงค์-ญาดา โบราณรัตน์ ๒๙๒ นักศึกษาในคาบเรียน ผอ.ธนู ทดแทนคุณ ๑,๘๐๐ คุณณัฐวิสิทฐ ตรีสิทธิโชคคุณกัลยา อาทอง ๔,๖๙๙ คุณประเสริฐ สิงหะพันธ์ ๑,๐๘๑ โรงเรียนพระพุทธบาท ๘๔ คุณอรอรุณ อุเทศรักษ์สกุล ๑๔๒ คุณจิระวัฒน์-จิณธกาญจน์-พิชชามณฐ์ ธีร์ชญาน์ นนท์บุญญาวัฒน์ ๕๐๐ คุณพรรณรัศม์ ภัทรธัญภาคย์ ๑๐๐

วั น เริ่ ม ทุ น ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๐ พ.ค. ๕๕ ๑๒ พ.ค. ๕๕ ๑๒ พ.ค. ๕๕ ๑๒ พ.ค. ๕๕ ๑๒ พ.ค. ๕๕ ๑๒ พ.ค. ๕๕ ๑๒ พ.ค. ๕๕ ๑๒ พ.ค. ๕๕ ๑๒ พ.ค. ๕๕ ๑๒ พ.ค. ๕๕ ๑๒ พ.ค. ๕๕ ๑๒ พ.ค. ๕๕ ๑๒ พ.ค. ๕๕ ๑๒ พ.ค. ๕๕ ๑๒ พ.ค. ๕๕ ๑๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕


หมายเลข ๖๙๕๒ ๖๙๕๓ ๖๙๕๔ ๖๙๕๕ ๖๙๕๖ ๖๙๕๗ ๖๙๕๘ ๖๙๕๙ ๖๙๖๐ ๖๙๖๑ ๖๙๖๒ ๖๙๖๓ ๖๙๖๔ ๖๙๖๕ ๖๙๖๖ ๖๙๖๗ ๖๙๖๘ ๖๙๖๙ ๖๙๗๐ ๖๙๗๑ ๖๙๗๒ ๖๙๗๓ ๖๙๗๔ ๖๙๗๕ ๖๙๗๖ ๖๙๗๗ ๖๙๗๘ ๖๙๗๙ ๖๙๘๐ ๖๙๘๑ ๖๙๘๒

ชื่อเจ้าของทุน คุณนพพร เบ้าศรี คุณนุวรี ศิริวัฒนกุล คุณดลญาดา จาขุมเหล็ก ว่าที่ รต.ลัดดา วังคำ�หาญ ครอบครัว จิตต์วิมลกุล คุณธณัสศรณ์ ธนณัฎฐากุล ด.ช.รัชชานนท์ ทับทิม คุณชานนท์ รุ่งเรืองวรโชติ คุณอดิศักดิ์ สีสำ�ฤทธิ ์ คุณหลัด นาโศรก คุณสาริศา จิตร์ศิริ คุณณิชชา จิตต์ศิริ คุณพิศิษฐ์-คุณจิณฐ์จุธา สกุลวานิชฒ์ คุณศรุดา จิตร์ศิริ คุณกษิดิศ โค้ววารินทร์ คุณอรรคพร เพ็งหมื่น คุณวริศรา สุขไทย คุณพรษนันท์ จินดาอินทร์ คุณธรรมโอสถ กำ�เนิดมะไฟ คุณคำ�เพียร กำ�เนิดมะไฟ คุณวิลาวัลย์ ใจใส่ คุณนพดล วังทะพันธ์ คุณสุธิดา เชษฐสิงห์ คุณอภิพร คุณากร คุณจันทรา ตุลยวศินพงศ์ คุณสุจิตรา อัสจรรย์ คุณชนิดา กลิ่นโกสุม คุณปรารถนา สิริสาลี คุณสีวิชัย สิริสาลี คุณปกรณ์ ธีรวณิชพันธุ์ คุณศรวัฒนต์ ฦาชา

จำ�นวนทุน ๑๐๐ ๕๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒,๐๕๐ ๔๐๐ ๔๐๐ ๑,๑๔๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๓๐ ๓๐ ๓๐ ๕๐ ๕๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑,๕๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๕๐๐ ๑๐๐

วั น เริ่ ม ทุ น ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๒ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕


92 หมายเลข ๖๙๘๓ ๖๙๘๔ ๖๙๘๕ ๖๙๘๖ ๖๙๘๗ ๖๙๘๘ ๖๙๘๙ ๖๙๙๐ ๖๙๙๑ ๖๙๙๒ ๖๙๙๓ ๖๙๙๔ ๖๙๙๕ ๖๙๙๖ ๖๙๙๗ ๖๙๙๘ ๖๙๙๙ ๗๐๐๐ ๗๐๐๑ ๗๐๐๒ ๗๐๐๓ ๗๐๐๔ ๗๐๐๕ ๗๐๐๖ ๗๐๐๗ ๗๐๐๘ ๗๐๐๙ ๗๐๑๐ ๗๐๑๑ ๗๐๑๒

ชื่อเจ้าของทุน คุณเขมญา ผนิดรัตนากร บุญสุริยพันธ์ คุณสมทรง วงษ์ดวง คุณกำ�พล ติละบาร คุณจรูญ-ถวิล กลิ่นขจร คุณรุ่งเรือง กลิ่นขจร Idearickky Zuil คุณวรัญญาภรณ์ จั่นแตง คุณวรรณา เรืองพงษ์ ด.ช. ธนทัต เลิศสวัสดิ์วัฒนา ด.ช. ธรรมธัช เลิศสวัสดิ์วัฒนา ด.ญ.เอธยา เลิศสวัสดิ์วัฒนา คุณวิลาอรณ์ วัฒนานันทวัชร์ น.ท.หญิง ปภัทธา ปิตรชาต คุณศิริรัตน์ มีอาษา คุณมารศรี เลมงคล คุณกุลวัชร ตั้งภา คุณวีรพงษ์ กระแสทีป โรงเรียนชมรมภาษาอังกฤษ-สวนพลู คุณไซ้ฮวย แซ่ไซ้ คุณวีระยศ ชูผลา คุณฐิติพร จารุวรรณ คุณณกรณ์ สร้อยสน คุณรัชเดช พูลเจริญ คุณพ่อสุริน คุณแม่หนู พุทธชนะ ด.ช. ภูวฤน พูลเจริญ ด.ญ.ณิชดาภา พูลเจริญ คุณพิเชษฐ์-คุณชนสรณ์ ด.ญ. อังสุดา ญาณฤกษ์ คุณสุทธิรักษ์ กรศิศิ บุญศรี คุณเสาวลักษณ์ จงธนจินดากิจ

จำ�นวนทุน

วั น เริ่ ม ทุ น

๒๐๐ ๓๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๑๑๙ ๙๙ ๓๔๐ ๔๓๐ ๔๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๘๘๕ ๑,๐๐๐ ๕๐๐ ๒๑๑ ๒๓๔ ๒๔๙ ๗๘๖ ๖๐๐ ๑๑๙ ๗๓๖ ๕๐๐ ๒๘๑ ๕๐๘

๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๓ พ.ค. ๕๕ ๒๙ พ.ค. ๕๕ ๒๙ พ.ค. ๕๕ ๒๙ พ.ค. ๕๕ ๒๙ พ.ค. ๕๕ ๒๙ พ.ค. ๕๕ ๒๙ พ.ค. ๕๕ ๒๙ พ.ค. ๕๕ ๓๐ พ.ค. ๕๕ ๓๐ พ.ค. ๕๕ ๓๐ พ.ค. ๕๕ ๓๐ พ.ค. ๕๕

๘๔๘ ๑๐๐

๓๐ พ.ค. ๕๕ ๓๐ พ.ค. ๕๕


หมายเลข ๗๐๑๓ ๗๐๑๔ ๗๐๑๕ ๗๐๑๖ ๗๐๑๗ ๗๐๑๘ ๗๐๑๙ ๗๐๒๐ ๗๐๒๑ ๗๐๒๒ ๗๐๒๓ ๗๐๒๔ ๗๐๒๕ ๗๐๒๖ ๗๐๒๗ ๗๐๒๘ ๗๐๒๙ ๗๐๓๐ ๗๐๓๑ ๗๐๓๒ ๗๐๓๓ ๗๐๓๔ ๗๐๓๕ ๗๐๓๖ ๗๐๓๗ ๗๐๓๘ ๗๐๓๙ ๗๐๔๐

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน

และครอบครัว คุณชวันรัตน์ นพคุณ คุณวิรารมย์ พันธุกานนท์ คุณสุภาพ โพธิ์ศรีเมือง คุณนภัสริญญ์ และแม่ทองสา คุณวิเชียร เกนวัฒนะศิริกุล คุณปรีชา-อาภรณ์-โอภาส -เฉลิมพล ภากุลญา-วีณา - พรรนิภา -วลาลีอภิพันธ์-ชวิษ รัตนเจริญ คุณปปุริมพัฒน์ ปรวัฒน์ปรียากร ด.ช. ปราณประวีร์ คงจันทร์ คุณสุเนตรศิริ ไพรวัลย์ คุณรุ่งทิพย์ พันธุ คุณพัชรินทร์ วีนะนานนท์และครอบครัว คุณชลดิษฎ์-คุณฑิรัรตร์ กิจตันขจร คุณศรีสุดา พงศ์ศรีประเสริฐ คุณณัฐภิญญา สีหรัตนปทุม คุณปราโมทย์ พรมรุ่งโรจน์ คุณขนิฐาณันท์ เทียมประเสริฐ คุณศิริกานต์ ลำ�แยง คุณบุณยวีร์ พงศ์สุวรรณ คุรวิรินทร์ทิพย์ เล็กอินทร์ คุณอรุณ พนมสุวรรณ คุณขจรศักดิ์ ผ่านเมือง คุณวนิดา ผ่านเมือง คุณพชรพร ผ่านเมือง คุณศิรินภา แสงใส คุณวาสนา สุระพงษ์ คุณธัญธร พิทักษ์ชัยสุข คุณอัจฉราพร หล่ำ�วีระกุล คุณรวิสุมล เอื้อพงษ์กิริกุล

วั น เริ่ ม ทุ น

๙๕๐ ๓๓๒ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐๐

๓๐ พ.ค. ๕๕ ๓๐ พ.ค. ๕๕ ๓๐ พ.ค. ๕๕ ๓๐ พ.ค. ๕๕ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒

๑๐๐ ๑๐๐ ๒๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑,๐๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๕๐๐ ๒๐ ๕๐๙ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๔๐๐ ๑๒๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐

๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒


94 หมายเลข ๗๐๔๑ ๗๐๔๒ ๗๐๔๓ ๗๐๔๔ ๗๐๔๕ ๗๐๔๖ ๗๐๔๗ ๗๐๔๘ ๗๐๔๙ ๗๐๕๐ ๗๐๕๑ ๗๐๕๒ ๗๐๕๓ ๗๐๕๔ ๗๐๕๕ ๗๐๕๖ ๗๐๕๗ ๗๐๕๘ ๗๐๕๙ ๗๐๖๐ ๗๐๖๑ ๗๐๖๒ ๗๐๖๓ ๗๐๖๔ ๗๐๖๕ ๗๐๖๖ ๗๐๖๗ ๗๐๖๘ ๗๐๖๙ ๗๐๗๐

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน

คุณนิภาพร ขลังธรรมเนียม ๕๐ คุณสุมาลี กาแก้ว ๕๐ พันเอก(พิเศษ) หญิง จริยา บุญสนธิ ๕๐๐ คุณเกศนี สมบัติหอม ๕๐๐ คุณกรรณิการ์-การดี-อรุชาอาทินันท์ กำ�แพงเพ็ชร์ ๑๐๐ คุณณิชนันทม์ สิงหา ๑๐๐ ร.ต.พีระพัส พวงสด ๑๐๐ คุณปิยะฉัตร รัตนชัย ๑๐๐ คุณเจนจิรา สันติธารา ๖๐๐ คุณเฉลิม ภูมิลัคป์ ๑,๐๖๔ คุณวิไลพร สัทธินทรีย์และครอบครัว ๑,๑๗๙ คุณทัศนียา พิพัฒน์ธนางกูร ๓๐๑ คุณเศวษฐ์ภัทร์ โครตพัฒน์ ๔๐๐ คุณทวี ประกอบธรรม ๔๐๗ คุณสวัสดิ์ ปรางค์รัตนากร ๘๔๐ คุณณัฐสุดา ลายวิศรุต ๖๗๐ ครอบครัวสุพรรณรัตน์-ครอบครัวนามสังข์ ๒๐๐ คุณนัทธมน อยู่เย็น ๑๐๐ คุณชัชวาลย์ คงบุญมี ๕๙ คุณพรรษา เงาศรี ๓๕๔ ครอบครัวพุทธนิพพานเนตร ๖๑๓ คุณศรีสังข์งาม - วิทยาธิกรณศักดิ์ ๖๐๐ คุณศรีสมร เพชรสวัสดิ์ ๒๐๐ คุณศศิพร เพชรสวัสดิ์ ๑๐๐ คุณสิทธิ์ จันทร์ทิพย์และครอบครัว ๕๐๐ คุณอมรรัตน์ สินเภาและครอบครัว ๕๐ คุณโต๊ะ เข็มมา ๔๐ คุณอรวีร์ ทองคำ� ๑๐๐ คุณนิตยา ปุษยะนาวิน ๑๐๐ คุณสุภาพร ตรีพิศาล-ด.ช.สิรกานต์ ตรีพิศาล ๒๐

วั น เริ่ ม ทุ น ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๘-มิ.ย.-๑๒ ๑๓-มิ.ย.-๑๒ ๑๓-มิ.ย.-๑๒ ๑๓-มิ.ย.-๑๒ ๑๓-มิ.ย.-๑๒ ๑๓-มิ.ย.-๑๒ ๑๓-มิ.ย.-๑๒ ๑๓-มิ.ย.-๑๒ ๑๓-มิ.ย.-๑๒ ๑๓-มิ.ย.-๑๒ ๑๓-มิ.ย.-๑๒ ๑๓-มิ.ย.-๑๒ ๑๓-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒


หมายเลข ๗๐๗๑ ๗๐๗๒ ๗๐๗๓ ๗๐๗๔ ๗๐๗๕ ๗๐๗๖ ๗๐๗๗ ๗๐๗๘ ๗๐๗๙ ๗๐๘๐ ๗๐๘๑ ๗๐๘๒ ๗๐๘๓ ๗๐๘๔ ๗๐๘๕ ๗๐๘๖ ๗๐๘๗ ๗๐๘๘ ๗๐๘๙ ๗๐๙๐ ๗๐๙๑ ๗๐๙๒ ๗๐๙๓ ๗๐๙๔ ๗๐๙๕ ๗๐๙๖ ๗๐๙๗ ๗๐๙๘ ๗๐๙๙

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน

คุณสุรเดช สว่างขัน ๑,๐๐๐ คุณพิชญ์สิณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ๒๐๐ คุณฉัฐหทัย ประดิษฐ์กุลและครอบครัว ๖๖ คุณวรรณวิภา เรียบร้อยและครอบครัว ๑๐๒ ครอบครัววรรณเจริญ บ้านคลองสิบ หนองเสือ ๑๐๐ คุณชวัลวิทย์ สกุลวานิช ๑๐๐ คุณชนิกา สุธัมสภาและครอบครัว ๑๐๐ ด.ช.อานนท์ สุขนิล ๒๐ คุณปฤษฎี - ปาณิศรา พรมมา ๑๐๐ คุณธันย์ณิชา ไชยโรจน์ ๕๐๐ ครอบครัวบารมีธรรมารักษ์ ๓๐๐ ด.ช.พุทธคุณ สุขสว่าง ๔๐ คุณดวงรัตน์ สกลบรรณ์ ๓๐๐ คุณวลัยพรรณ รติเบญจรัตน์ ๒๐ คุณวิชุดา ชุติธรรมมิกุล ๒๕๐ คุณสุวรรณ์-จริตควร ๒๐ ร.ต. อุดม-คุณบุบผา สมรรจันทร์ ๓๕๐ คุณผิองเพ็ญ บุญมีมา-คุณจีราวรรณ ตั้งศักดิ์เจริญสุข ๑,๒๒๐ กคว.สบ.ทบ. แผนกบรรจุกำ�ลัง ๓๒๙ คุณแสงดำ�รง เหมวงศักดิ ์ ๑๐๐ คุณรสสุคนธ์ คงตระกูล ๑๐ คุณภาวนา สงค์จันทร์ ๔๐๐ คุณสมบัติ จำ�เรียน ๑๐๐ คุณสุววัฒน์ ล่องทอง ๑๐๐ ครอบครัวสมถวิล ๑๐๐ คุณวราพร บูรณกิจวิสูตร ๒๐๐ คุณละเมียด สุคนธรัตน์ ๓๐๐ คุณสุพรรณี ศรีบัณฑิตมงคล ๑๐๐ คุณโกศล จันทร์ทองและครอบครัว ๕๖๐

วั น เริ่ ม ทุ น ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๗-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒


96 หมายเลข ๗๑๐๐ ๗๑๐๑ ๗๑๐๒ ๗๑๐๓ ๗๑๐๔ ๗๑๐๕ ๗๑๐๖ ๗๑๐๗ ๗๑๐๘ ๗๑๐๙ ๗๑๑๐ ๗๑๑๑ ๗๑๑๒ ๗๑๑๓ ๗๑๑๔ ๗๑๑๕ ๗๑๑๖ ๗๑๑๗ ๗๑๑๘ ๗๑๑๙ ๗๑๒๐ ๗๑๒๑ ๗๑๒๒ ๗๑๒๓ ๗๑๒๔ ๗๑๒๕ ๗๑๒๖ ๗๑๒๗ ๗๑๒๘

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน

ครอบครัวจันทร์ทอง ๗๘๗ ครอบครัวนัยพรม ๒๐ คุณสุพิน สุวรรณา ๒๐๐ น.อ.หญิง ทิพย์วรรณ ภานุเวศ ๑๐๐ น.อ. สุรชจรัส-คุณแม่อารี กวีวัฒนา ๑,๐๐๐ คุณวีณา ระวีแสงศูรย์ และครอบครัว ๕๐๐ คุณพจนารถ-อัฎฐเลท รักประเทศ ๑๐๐ ด.ช. พีรวัส รัตนนะเศรษฐ ๑๐๐ ด.ช. สุนิธิ รัตนนรเศรษฐ ๑๐๐ ด.ญ. กรวัตน์ รัตนนรเศรษฐ ๑๐๐ อุทิศให้ คุณพ่อ จาง ไป่ ถาง ๑๐๐ คุณไพศาล กิ่งน้อย-คุณบัวลอย ตันคำ�แดง ๒๐๐ คุณไพโรจน์และครอบครัวอัมพวันวงศ์ ๔๐๐ คุณยรรยง-คุณเบญจพรคุณปฏิพล ทิมพิทักษ์ ๓๐๐ ชั้นป. ๖/๑ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๑๖๘ ชั้นป. ๓/๒ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๑๗๑ ชั้นป. ๓/๑ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๘๓ ชั้นป. ๖/๒ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๕๐๐ คุณศิระพร แก้วรุ่งฟ้าไทย ๑,๓๐๖ คุณสิริจันทร์ หงศิมากุล ๑,๐๕๐ คุณภูดิษ พัสถาน ๑๕๑ คุณประวาลปัทม์ คุปตารักษ์ ๕๔๔ คุณนฤมนต์ ชัยยะและครอบครัว ๓๘๕ คุณศิริยะ ศรีพนมยมคุณกัญญ์ณพัชญ์ สิงห์ไชย ๓๐๐ คุณวิภาพร หวงวงษ์ ๑๒๐ คุณพรเพ็ญ โพธิถาวรนันท์ ๓๐๐ คุณฐิติภา-สงคราม - ด.ญ.นงนภัส แย้มกลิ่น ๑๕๐ คุณถาวร แก้วมณี ๑๐๐ คุณวรรณสิกา คำ�มณีและครอบครัว ๑๐๐

วั น เริ่ ม ทุ น ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๑๙-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒


หมายเลข ๗๑๒๙ ๗๑๓๐ ๗๑๓๑ ๗๑๓๒ ๗๑๓๓ ๗๑๓๔ ๗๑๓๕ ๗๑๓๖ ๗๑๓๗ ๗๑๓๘ ๗๑๓๙ ๗๑๔๐ ๗๑๔๑ ๗๑๔๒ ๗๑๔๓ ๗๑๔๔ ๗๑๔๕ ๗๑๔๖ ๗๑๔๗ ๗๑๔๘ ๗๑๔๙ ๗๑๕๐ ๗๑๕๑ ๗๑๕๒ ๗๑๕๓ ๗๑๕๔ ๗๑๕๕ ๗๑๕๖

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน

คุณเสาวลักษณ์ ทองยุทธ ๑,๕๐๒ คุณธีรัญญ์ ไพโรจน์อังสุธร ๑๐๐ คุณพิมพ์ ศรีจันทร์ ๑๐๐ คุณสุรเชษฐ-ทุมมี-ทวีโชคชุติกาญจน์ ช้อนทอง ๑๐๐ คุณศริญญา ประชานันท์ ๑๐๐ น.ท. รวยลาภ เอี่ยมทอง ๒๐ คุณสุวพงษ์กิจ ประเสริฐพันธ์ และครอบครัว ๑๐๐ คุณรัตนา ธัมพิพิธ ๑,๐๐๐ คุณสิตา ลายวิเชียร ๑๐๐ ด.ญ. อัยยา เอียดมุสิก ๑๐๐ คุณพรวลี สถาปนรัตนกุล ๕๐๐ คุณวิสูตร ปรีดาสุข ๑๐๐ คุณนฤชิต คงสกุล ๑๐๐ คุณสมยศ จงรักษ์ตระกูล ๑๐๐ บ้านดวงธรรม (บัวขวัญ) อ.คนวัด ๑,๐๐๐ คุณวลิลดา รัฒรัชนากูล-รัฐธสิทธิ์ เข็มกลัด ๓๐๐ คุณภุชมัธย์ พิบูลย์สวัสดิ์ ๑๐๐ คุณกุลนาถ อุตรภิชาติ ๑๐๐ คุณชลนาถ ใจชาย ๒๐๐ คุณธำ�รงค์ อภิการพนิช ๒๐๐ คุณสุวณิต เทศเรือง ๑๐๐ คุณสิทธาดา เตชะธัญโชติ ๕๐๐ คุณปิยวิทย์ มั่นพันธ์พาณิชย์ ๑๐๐ คุณรติวรรษ ยงวิวัฒนกุล ๑๐๐ คุณวรรณพงษ์-สุดา วัชรงค์และครอบครัว ๑,๐๐๐ คุณอดิรณ์ สาดศรี-คุณสิริลักษณ์ คุณากรภิชญ์-คุณสุรชัย จันทรส ๓๐๐ คุณบุญมา วงษ์ศรีเมือง ๒๐๐ ด.ช. พัฒธนานนท์ พงอาจนัทพนท์ ๑๐๐

วั น เริ่ ม ทุ น ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๒๑-มิ.ย.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒


98 หมายเลข ๗๑๕๗ ๗๑๕๘ ๗๑๕๙ ๗๑๖๐ ๗๑๖๑ ๗๑๖๒ ๗๑๖๓ ๗๑๖๔ ๗๑๖๕ ๗๑๖๖ ๗๑๖๗ ๗๑๖๘ ๗๑๖๙ ๗๑๗๐ ๗๑๗๑ ๗๑๗๒ ๗๑๗๓ ๗๑๗๔ ๗๑๗๕ ๗๑๗๖ ๗๑๗๗ ๗๑๗๘ ๗๑๗๙ ๗๑๘๐ ๗๑๘๑ ๗๑๘๒ ๗๑๘๓ ๗๑๘๔ ๗๑๘๕

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน

คุณปิยะวดี รมยานนท์และครอบครัว ๑,๐๐๐ คุณสุดาวรรณ วรศรีวิศาล ๑๐๐ คุณอาภา ผดุงเวียง ๑๐๐ คุณสมคิด ธนภร -ชนิชา เริงวิจิตรา ๑๐๐ คุณภารดี เอี่ยวตระกูล ๑๐๐ ตระกูลพลอยทรัพย์-อรุณภักดี ๑,๐๐๐ คุณธิษตยา เรืองฉาย ๔๐ คุณศิวพร เผือกผกา ๑๐๐ คุณขวัญเดือน คำ�ผุด ๑๐๐ คุณถม บุญช่วย ๑๐๐ คุณวริศรา บุญช่วย ๑๐๐ คุณพัชรฎา มณีพันธุ์ ๑๐๐ คุณเขียน กองศรี ๑๐๐ ครอบครัวศิริธรรมวัฒน์ ๒๐๐ พ.อ. หญิง อุษากรณ์ จันทรวงศ์คุณจักร์สุรักษ์ จันทรวงศ์ ๑๐๐ คุณวิทยา-ปองพล-มีนา ๓,๐๐๐ คุณชูจิต วรรณศิริ ๕๐๐ คุณวิทวัศ สังสะกิจ ๑๐๐ คุณธีระศักดิ์ ยี่ภู่ศรี ๒๗๔ คุณระเวง สุวรรณสิทธิ์ ๕๖๘ คุณลรุชา-อังคณา โพธิ์เปรม ๗๐๐ คุณวรรณดี -สัญชัย เอกผล ๑,๕๘๔ ด.ช.ธณวรรธน์ เพิ่มผล ๑,๖๙๗ คุณกฤษณา สอนวงษ์ ๑,๐๐๐ คุณพรนภัทร จัตุพรและนักเรียนชั้น ป.๔/๒ ๔๙๐ คุณพลอยนภัส บุญประเทพและครอบครัว ๕๐๐ คุณชัชพล - คุณบุรัสกร ด.ช.ชีวสาธน์ ภัทรกุลนจิ และครอบครัว ๖๐ คุณฐาปนีย์ กิ่งทอง(น้องต้นข้าว) ๙๐๐ คุณศุภนิช กฤติธำ�รง ๔๐

วั น เริ่ ม ทุ น ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ก.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒


หมายเลข ๗๑๘๖ ๗๑๘๗ ๗๑๘๘ ๗๑๘๙ ๗๑๙๐ ๗๑๙๑ ๗๑๙๒ ๗๑๙๓ ๗๑๙๔ ๗๑๙๕ ๗๑๙๖ ๗๑๙๗ ๗๑๙๘ ๗๑๙๙ ๗๒๐๐ ๗๒๐๑ ๗๒๐๒ ๗๒๐๓ ๗๒๐๔ ๗๒๐๕ ๗๒๐๖ ๗๒๐๗ ๗๒๐๘ ๗๒๐๙ ๗๒๑๐ ๗๒๑๑ ๗๒๑๒ ๗๒๑๓ ๗๒๑๔ ๗๒๑๕

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน

คุณสุพัฒน์ เริงสำ�ราญ ๑๐๐ คุณสมหมาย เริงสำ�ราญ ๑๐๐ คุณน้ำ�พึ่งเรือ เสือพึ่งป่า ๑๐๐ คุณปัณฑาณัท กาฬพันธุ์ ๑๐๐ คุณธวัชชัย ไชยเรืองโรจน์ ๑๗๐ คุณบุรัสกร ปัญญาพฤกษ์ ๒๐ คุณนันท์นภัส โสธนกุล ๑๐๐ คุณอัญจนา รวมจิตร์ ๕๐๐ คุณนงเยาว์ วงศ์เกษมศักดิ์ ๑๐๐ ครอบครัวสินเจริญ ๑๐๐ ห้างทองแม่ยุพา เยาวราช ๒๐๐ คุณวรรัตน์ แซ่อึ้ง ๑๐๐ ครอบครัวเจริญมิตรภาพ ๑๐๐ คุณสมบูรณ์-อ้อยทิพย์-สกล วิแก้วมรกต ๕๐๐ คุณธนพร จ้อยเอม ๙๙๙ คุณภิรัศชกาฑณ์ อัครอุดมโรจน์ ๕๐๐ คุณเยี่ยมยุทธ เตโชทัย ๓๐๐ คุณอนุทิน โมตา ๖๐ คุณจักรวุธ ปัดสูงเนิน ๒๐๐ คุณพงษ์พันธ์ - เจนภัทร ปรีชานนทสวัสดิ์ ๒๐๐ Gold Sunco ๑๐๐ คุณรชตวัน มีภักดี ๑๐๐ คุณอาทิยา ทิพย์รัตน์ ๑๐๐ คุณอรรถกร-กาญจนา ทวีกุล และครอบครัว ๑๐๐ คุณฐิตินันท์-เรียงศักดิ์-กาณต์ชนัต ศุภรัตณาภรณ์ ๑๐๐ คุณหาญยุทธ-วิลัยพร-ศรัณยงศ์ เวชยันต์ ๓๐๐ คุณรัชนีพร เชื้อปานมลิชัย ๓๐๐ คุณมณีเทพ กำ�เหนิดมณี ๑๐๐ คุณวิภา สันติวงษ์ ๓๐๐ คุณเบญญาภา พานิชวัฒนา ๑๐๐

วั น เริ่ ม ทุ น ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒


100 หมายเลข ๗๒๑๖ ๗๒๑๗ ๗๒๑๘ ๗๒๑๙ ๗๒๒๐ ๗๒๒๑ ๗๒๒๒ ๗๒๒๓ ๗๒๒๔ ๗๒๒๕ ๗๒๒๖ ๗๒๒๗ ๗๒๒๘ ๗๒๒๙ ๗๒๓๐ ๗๒๓๑ ๗๒๓๒ ๗๒๓๓ ๗๒๓๔ ๗๒๓๕ ๗๒๓๖ ๗๒๓๗ ๗๒๓๘ ๗๒๓๙ ๗๒๔๐ ๗๒๔๑ ๗๒๔๒ ๗๒๔๓ ๗๒๔๔ ๗๒๔๕ ๗๒๔๖

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน

คุณนิพนธ์-ปิยะนารถ-นวรัตน์ ตั้งไพบูลย์ ๕๐๐ คุณสุมน ตั้งไพบูลย์ ๒๐๐ คุณสุรัตน์-นิตยา นุชจรีพร ๑๐๐ คุณสรรค์นิธิ รัตนศิริสกุล ๕๐๐ คุณสุรัตน์ นุชจรีพร ๑๐๐ คุณเกษมศรี ราษีสุทธ์ และครอบครัว ๕๐๐ คุณคชา เตชะวัฒนวรรณา ๓๕๐ ครอบครัวพจน์จิรานุกูล ๕๐๐ ครอบครัวขัตตฤกษ์ ๑๐๐ ครอบครัววิชญะไพบูลย์ศรี ๘๖๐ คุณพันทิษา ว่องเชิดชู ๕๐๐ คุณพรสวรรค์ ขันทอง ๑๐๐ คุณพิมพ์นิภา จันทร์เที่ยง ๑๐๐ คุณคชา เตชะวัฒนวรรณา ๑๐๐ คุณอำ�ภา วณิชโกศล ๑๐๐ คุณประอรรัตน์ กีรติผจญและครอบครัว ๑๐๐ MR. ZENG YUAN และครอบครัว ๑๐๐ คุณภัทรวดี เพชรรุ่ง ๑๐๐ คุณสถิระ ชัยชนะกลาง(โต) ๕,๐๐๐ คุณพิมลศรี สมเดช ๑๐๐ คุณเทพฤทธิ์ สุขโท ๑๐๐ คุณอรรถกร แก้ววิชา ๑๐๐ คุณเกษราภรณ์ ลิ้มเลิศผลบุญ ๒๐๐ คุณประสิทธิ์ สรรพสาร ๒๐๐ คุณจีระศักดิ์ นิมิตร์รุ่งเรือง ๑๐๐ คุณศิวะ วรพงศาทิตย์ ๑๐๐ คุณภัทรภรณ์ ลาเหลา ๕๐ คุณภาณุวัฒน์ ลาเหลา ๕๐ คุณพรชัย ลาเหลา ๕๐ คุณสมพิศ ลาเหลา ๕๐ คุณศรัญญา ไพบูลย์อำ�นวยเดช ๒๐

วั น เริ่ ม ทุ น ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒


หมายเลข ๗๒๔๗ ๗๒๔๘ ๗๒๔๙ ๗๒๕๐ ๗๒๕๑ ๗๒๕๒ ๗๒๕๓ ๗๒๕๔ ๗๒๕๕ ๗๒๕๖ ๗๒๕๗ ๗๒๕๘ ๗๒๕๙ ๗๒๖๐ ๗๒๖๑ ๗๒๖๒ ๗๒๖๓ ๗๒๖๔ ๗๒๖๕ ๗๒๖๖ ๗๒๖๗ ๗๒๖๘ ๗๒๖๙ ๗๒๗๐ ๗๒๗๑ ๗๒๗๒ ๗๒๗๓ ๗๒๗๔

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน

คุณเชิดชัย จ่ากลาง ๑๐๐ คุณธัญญาณี ศรประจักร์ชัย ๑๐๐ คุณบุณยนุช อินทพล และครอบครัว ๑๐๐ คุณชวลิต อุมาร ๓,๐๐๐ คุณศิริญา บุตญาพันธ์ ๑๐๐ คุณนิโลบล ขัดแก้ว และนักเรียนชั้นป. ๔/๑ ๕๖๐ คุณธวัชชัย และครอบครัว และคุณสมพร เถิ่งเฟื่อง ๑๖๐ คุณประทานพร คงคาใส ๓,๐๐๐ พระฉัตรชิภัค อริโย ๕๐๐ คุณอุษา-ด.ช.ศิริ สมเดช ๔๐ พระเฉลิมชาติ ชาติวโรและคณะ ๕,๐๐๐ คุณนพสิทธิ์-ธัญสิทธิ์-นพอนนต์ อิทธิอัครพงศ์และ ธันย์จิรา สุทธิวณิชศักดิ์ ๑,๐๐๐ ธัญเนศวร์-รุ่งวิทย์-วรินกาญจน์ โชคชัยนิพัทธ์ ๓๐๐ ครอบครัวชินอมรสิริ ๑,๐๐๐ คุณกัญญารินทร์ มั่งมี ๖๐๐ คุณอนุชิต สุวรรณมาลี และครอบครัว ๒๐๐ ธัชพันธุ์ ฉิมะพันธุ์และครอบครัว ๑๐๐ สุวรรณา-นิภา วังโสภณ และศุภมาศ ทวีโชติภัทร์ ๓๐๐ คณะภูเก็ต ๕๐๐ ทนงศักดิ์ หุตานุวัตร ๕๐๐ คุณเรวดี จันทวิช ๕๐๐ คุณถนอมสิน รื่นกลิ่นและคุณภวิลหวัง ชูรอด ๔๒๐ คุณฐิติวิชญ์ ทองประเสริฐ ๔๐ นพ.ธีรพงษ์ บุญญะกิริยากร ๔๐๐ คุณวรนุช พงษ์พานิช ๑๐๐ คุณธนัญภรณ์ - ด.ญ. พิชญธิดา ศิริกุล ๕๐๐ คุณบุญยืน เพ็ชรพล ๑,๑๔๐ คุณกฤติน จันทร์โชติเสถียร ๑๐๐

วั น เริ่ ม ทุ น ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๔-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๕-ส.ค.-๑๒ ๖-ส.ค.-๑๒ ๖-ส.ค.-๑๒ ๖-ส.ค.-๑๒ ๖-ส.ค.-๑๒ ๖-ส.ค.-๑๒ ๖-ส.ค.-๑๒


102 หมายเลข ๗๒๗๕ ๗๒๗๖ ๗๒๗๗ ๗๒๗๘ ๗๒๗๙ ๗๒๘๐ ๗๒๘๑ ๗๒๘๒ ๗๒๘๓ ๗๒๘๔ ๗๒๘๕ ๗๒๘๖ ๗๒๘๗ ๗๒๘๘ ๗๒๘๙ ๗๒๙๐ ๗๒๙๑ ๗๒๙๒ ๗๒๙๓ ๗๒๙๔ ๗๒๙๕ ๗๒๙๖ ๗๒๙๗ ๗๒๙๘ ๗๒๙๙ ๗๓๐๐ ๗๓๐๑ ๗๓๐๒ ๗๓๐๓ ๗๓๐๔

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน

คุณพงศ์ชัช เมธีสและครอบครัว ๑๐๐ ด.ช. ปัญญวัฒน์ ศรีอรุณลักษณ์ ๑๐๐ คุIวริศา โสธนกุล ๑๐๐ คุณสมทรง โสธนกุล ๑๐๐ แพทย์ พยาบาล ซีซียู รพ.พระมงกุฎเกล้า ๔,๔๓๗ คุณอรพรรณ อารีหมาน ๒๒๐ ด.ญ. ตรีรัตน์ สีดาดวง ๗๕๗ คุณมนยศ ผลาศาสตร์-ชวนพิศ เวชกามาด.ช. ชนนิทร์ ผลาศาสตร์ ๒,๘๗๗ คุณกำ�พล ติละบาล ๖๐๐ คุณสุวิมล ศรสุวรรณศรี ๖๓๖ ้ คุณปวีณา นาถำ�พลอย - คุณวิรัช พึ่งไชย ๗๖๙ คุณนิติ บุญประเสริฐ ๑๐๐ คุณนวรัตน์ ชาวดร ๒๐๐ คุณกัญญารัตน์ พานทอง ๑๐๐ คุณกิตติ คำ�วรรณ ๓๐๐ คุณวิชชุดา งดงาม ๑๐๐ คุณรุจิรา สุภัคโรบล ๑๐๐ ครูปู (เสาวนีย์) ๑๐๐ คุณบุญสม ศักดิ์ศรี ๑๐๐ คุณณัฐกร คำ�มณีและครอบครัวว ๑๐๐ คุณสุราค์ โภคนิภา ๑๐๐ คุณรุ่งนภา จงประสิทธิ์ ๑๐๐ คุณอธิณี-สกนธ์ คำ�สาคร ๑๐๐ คุณสุภาพร พลมลตรี ๑๐๐ คุณผ่องศรี พุฒพรม ๑๐๐ คุณกุลยา จิวเจริญ ๑๐๐ คุณพิมลพัชร์ เดชเรืองรัศมี ๑๐๐ คุณสุกัญญา รูปขาว-คุณยุพาบุญโชติ ๑๐๐ คุณสุมาลีร แซ่เตีย ๑๐๐ ด.ช. ภัทร เจียรพัฒนาคม ๑๐๐

วั น เริ่ ม ทุ น ๖-ส.ค.-๑๒ ๖-ส.ค.-๑๒ ๖-ส.ค.-๑๒ ๖-ส.ค.-๑๒ ๖-ส.ค.-๑๒ ๖-ส.ค.-๑๒ ๖-ส.ค.-๑๒ ๖-ส.ค.-๑๒ ๖-ส.ค.-๑๒ ๖-ส.ค.-๑๒ ๖-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒


หมายเลข ๗๓๐๕ ๗๓๐๖ ๗๓๐๗ ๗๓๐๘ ๗๓๐๙ ๗๓๑๐ ๗๓๑๑ ๗๓๑๒ ๗๓๑๓ ๗๓๑๔ ๗๓๑๕ ๗๓๑๖ ๗๓๑๗ ๗๓๑๘ ๗๓๑๙ ๗๓๒๐ ๗๓๒๑ ๗๓๒๒ ๗๓๒๓ ๗๓๒๔ ๗๓๒๕ ๗๓๒๖ ๗๓๒๗ ๗๓๒๘ ๗๓๒๙ ๗๓๓๐ ๗๓๓๑ ๗๓๓๒ ๗๓๓๓ ๗๓๓๔

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน

คุณสิรีรัตน์ เชษฐสุมนคุณสุรภรณ์ สงค์ประชา ๕,๐๐๐ คุณปริยุทธิ์ ธนัญญา เจียรพัฒนาคม ๑๐๐ ด.ญ.ปริยา เจียรพัฒนาคม ๑๐๐ คุณสาคร ชินวงค์และครอบครัว ๑๐๐ คุณวจินี จงจิตร ๑๐๐ คุณศตกมล ตันฆธนกิจ ๑๐๐ โรงเรียนพระพุทธบาท “พลานุกูลวิทยา” ๔๐ คุณสุกัญญา ศรีอ่อน ๑๐๐ คุณเมวดี สีวัน ๑๐๐ คุณวีระยุทธ ทีปะนาวิน ๑๐๐ คุณทศพล จันทร์ฉาย ๑๐๐ ครอบครัวเชื้อลำ�เภาวงศ์ ๔๐๐ คุณธนยพร ทับทิมทอง ๒๐๐ คุณจรัญญา แก้วทรวง ๑๐๐ ด.ช. โชติวัฒน์ ศรีอ่อน ๑๐ ด.ช. โชติตวิทย์ ศรีอ่อน ๑๐ คุณณัฐธิดา สุปัญญากร ๕๐ ด.ญ. เบญญาภา ศรีอ่อน ๑๐ ครอบครัวสัวัน-แก้วกงพาน ๑๐๐ คุณพูลลาภ-คุณกาญจนา เศรษฐบุตร ๑๐๐ คุณจันทรฉาย ยมสูงเนิน ๒๐๐ นักเรียนและคณะครู ๒๐๐ คุณวรณี คติสวัสดิ์วงษ์ ๑,๐๐๐ คุณกัญญธร ฤทธิอร่าม ๖๐๐ คุณนฤมล ทรงอาจ ๕๐๐ คุณสุรพันธ์ พิมพ์ชื่น ๕๐๐ คุณวิชัย เลิศวิบูลย์ศรี ๓๐๐ คุณปัทมาพันธุ์ พิชัยสวัสดิ์ ๒๗๕ คุณมัลลิกา จันทโร ๒๕๐ คุณเจษฎา จันทโร ๒๕๐

วั น เริ่ ม ทุ น ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒


104 หมายเลข ๗๓๓๕ ๗๓๓๖ ๗๓๓๗ ๗๓๓๘ ๗๓๓๙ ๗๓๔๐ ๗๓๔๑ ๗๓๔๒ ๗๓๔๓ ๗๓๔๔ ๗๓๔๕ ๗๓๔๖ ๗๓๔๗ ๗๓๔๘ ๗๓๔๙ ๗๓๕๐ ๗๓๕๑ ๗๓๕๒ ๗๓๕๓ ๗๓๕๔ ๗๓๕๕ ๗๓๕๖ ๗๓๕๗ ๗๓๕๘ ๗๓๕๙ ๗๓๖๐ ๗๓๖๑ ๗๓๖๒ ๗๓๖๓ ๗๓๖๔ ๗๓๖๕

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน

คุณสุภาพร ทองปรุง ๒๕๐ คุณนลินี ธนะสูติ ๒๕๐ คุณปราณี ธนะสูติ ๒๕๐ คุณธีรพงษ์ พงษ์นรินทร์ ๒๕๐ คุณสร้อยนภา พิมพ์ชื่น ๒๕๐ คุณอมรรัตน์ ฑีฆะและครอบครัว ๒๒๕ คุณจันทร์เพ็ญ วงษ์เพ็ง ๒๒๕ คุณสุรัชนา ใจสอาด ๒๒๕ คุณสุทธินี เอี่ยมสุนทร ๒๒๕ คุณศิริพงษ์ พิมพ์ชื่น ๒๒๕ คุณภาณุมาศ ศุขะนิล ๒๒๕ คุณบุญมั่น ศุขุนิล ๒๒๕ คุณธนารักษ์ ทองปุก ๒๒๕ คุณนวรัตน์ สระบัวทอง ๒๒๕ คุณวรรณดี ศรีเงิน ๒๐๐ คุณปิยะรัตน์ พงศ์สิริสาโรช ๒๐๐ คุณพรรณพร เฉลิมสุช ๒๐๐ คุณทัศนัย คงสุข ๒๐๐ คุณหนูจีน ภาภิรมณ์ ๑๒๕ ชั้นป.๓/๑ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๖๘๓ ชั้นป. ๖/๒ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๖๖๐ คุณจินดา จำ�รูญกิตติชัย ๑๐๗ คุณมณนณีนันท์ องอาจนัทพนท์ ๑๐๐ คุณอลิสรา นิลาบุตร ๔๐๐ คุณชุติกาญจน์ วุฒิโรจน์ธนกุล ๑,๐๐๐ คุณวารุณี เกตุนิรัตน์ ๔๑๗ ชั้นอนุบาล ๓/๒ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๔๔๘ ชั้นป. ๒/๒ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๓๐๐ ชั้นป. ๑/๑ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุร ๖๐๐ คุณสมยศ เทียบปิ่นหยก ๑,๕๘๑ ชั้นป. ๖/๒ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๔๖๐

วั น เริ่ ม ทุ น

๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๑๕-ส.ค.-๑๒ ๒๐-ส.ค.-๑๒ ๒๐-ส.ค.-๑๒ ๒๒-ส.ค.-๑๒ ๒๒-ส.ค.-๑๒ ๒๒-ส.ค.-๑๒ ๒๒-ส.ค.-๑๒ ๒๒-ส.ค.-๑๒ ๒๒-ส.ค.-๑๒ ๒๒-ส.ค.-๑๒ ๒๒-ส.ค.-๑๒ ๒๒-ส.ค.-๑๒ ๒๒-ส.ค.-๑๒


หมายเลข ๗๓๖๖ ๗๓๖๗ ๗๓๖๘ ๗๓๖๙ ๗๓๗๐ ๗๓๗๑ ๗๓๗๒ ๗๓๗๓ ๗๓๗๔ ๗๓๗๕ ๗๓๗๖ ๗๓๗๗ ๗๓๗๘ ๗๓๗๙ ๗๓๘๐ ๗๓๘๑ ๗๓๘๒ ๗๓๘๓ ๗๓๘๔ ๗๓๘๕ ๗๓๘๖ ๗๓๘๗ ๗๓๘๘ ๗๓๘๙ ๗๓๙๐ ๗๓๙๑ ๗๓๙๒

ชื่อเจ้าของทุน

ชั้นป. ๖/๑ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี คุณรัศมี-เฉลียว-ครอบครัวระวังภัย คุณกาญดา แก่นจันทร์ วอล์คเกอร์ คุณประอร ชุติมนต์ คุณภรภัทรรัก ธารามณีภาดาภัทร คุณเหมกร - ธิรดา - ทัชชกร พรหมมา คุณทิพย์วลี โอปนายิกุล คุณเอริค โอปนายิกุล คุณเกรซ มหาดำ�รงค์กุล น.ท. จงเจต วัชรานันท์ คุณจันทิพา เง็กทองดี คุณชาลี คล้ายหงษ์ ครอบครัวเลิศสวัสดิ์วัฒนา คุณศักดิ์ชัย ดีประสิทธิ์ คุณชุติมา เสือพันธุ์ คุณพรรณี เข็มพงษ์ ด.ญ. อภิสรา เข็มพงษ์ คุณวรวุฒิ วีรวงกชมณี เภสัชกรคมสัน-คุณจุฑารัตน์ด.ช. รุจิราพร-ด.ช. อภิณัฐ สงสัย พ.ต.ท. ศรัณย์-คุณสุพรรษาด.ช. ศิวัตม์-ด.ช. ณัฐธวัช วงศ์สนิท คุณพัชสัณฑ์ สมตน โลหิตหาญ คุณเปริกา วงษ์สวัสดิ์ คุณธงธรรม - คุณธนพร เกตุพิชัย คุณไพบูลย์ ด่านขับต้อน คุณไพบูลย์ ด่านขับต้อน คุณแม่สุนีย์ ปุษยะนาวิน คุณบุษกร กิตติเศวตกุล คุณอุทุมพร เขตต์บรรพต

จำ�นวนทุน

วั น เริ่ ม ทุ น

๒๖๗ ๒,๙๒๙

๒๒-ส.ค.-๑๒ ๒๖-ส.ค.-๑๒

๗๔๐ ๓,๐๐๐ ๒๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐

๒๖-ส.ค.-๑๒ ๒๗-ส.ค.-๑๒ ๒๗-ส.ค.-๑๒ ๒๗-ส.ค.-๑๒ ๒๗-ส.ค.-๑๒

๔,๐๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒,๔๒๐ ๑๐๐ ๔๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐๐

๒๗-ส.ค.-๑๒ ๒๗-ส.ค.-๑๒ ๒๗-ส.ค.-๑๒ ๒๗-ส.ค.-๑๒ ๑๐-ก.ย.-๑๒ ๑๐-ก.ย.-๑๒ ๑๐-ก.ย.-๑๒ ๑๐-ก.ย.-๑๒ ๑๐-ก.ย.-๑๒

๕๐๐

๑๐-ก.ย.-๑๒

๑๐๐ ๑,๐๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐

๑๐-ก.ย.-๑๒ ๑๐-ก.ย.-๑๒ ๑๐-ก.ย.-๑๒ ๑๐-ก.ย.-๑๒ ๑๐-ก.ย.-๑๒ ๑๐-ก.ย.-๑๒ ๑๐-ก.ย.-๑๒ ๑๐-ก.ย.-๑๒ ๑๐-ก.ย.-๑๒ ๑๐-ก.ย.-๑๒


106 หมายเลข ๗๓๙๓ ๗๓๙๔ ๗๓๙๕ ๗๓๙๖ ๗๓๙๗ ๗๓๙๘ ๗๓๙๙ ๗๔๐๐ ๗๔๐๑ ๗๔๐๒ ๗๔๐๓ ๗๔๐๔ ๗๔๐๕ ๗๔๐๖ ๗๔๐๗ ๗๔๐๘ ๗๔๐๙ ๗๔๑๐ ๗๔๑๑ ๗๔๑๒

ชื่อเจ้าของทุน คุณเกษร บุญกำ�เนิด คุณสิทธิศักดิ์ ศรีเพชรธนเมธาคุณสมิทธิชา โฉมงามและครอบครัว คุณนรารัตน์ ไชยเพชร คุณธิดาภรณ์ คล้ายจรจรัส คุณแววธิดา เศวตสิน คุณกวีศักดิ์ แสงแก้ว คุณณัฐพล จันทร์งาม คุณมุทิตา มณีกร คุณพิชญา อินชื่น คุณสรัญชิฎาภัทร-คุณขณิษฐา สายชล เสรี่ยมวิลัย ร.ต.ต. จักรพงษ์ โพธิสิงห์ คุณหนูเล็ก-ทองทิพย์ นาเมืองรักษ์ คุณธนภร กระต่ายอินทร์ คุณสุนันท์ พานิชกุล คุณกิตติกร ศรีโรจนันท์ คุณถาวร แสนซ้ง คุณภานุวัฒน์ โหนแหน้ม คุณอัยรินทร์ อริยะฉัตรมงคล คุณธัญญ์พิชชา กองแอ คุณทนงศักดิ์ นิลพงษ์

จำ�นวนทุน

วั น เริ่ ม ทุ น

๔๐

๑๐-ก.ย.-๑๒

๒,๕๔๓ ๑๐๐ ๒๐๐ ๑,๐๐๐ ๑๐ ๘ ๑๐๐ ๑๐๐

๑๐-ก.ย.-๑๒ ๑๘-ก.ย.-๑๒ ๑๘-ก.ย.-๑๒ ๑๘-ก.ย.-๑๒ ๑๘-ก.ย.-๑๒ ๑๘-ก.ย.-๑๒ ๑๘-ก.ย.-๑๒ ๑๘-ก.ย.-๑๒

๑๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๔๙๒ ๒,๐๐๐ ๑๐๐ ๔๐๔

๑๘-ก.ย.-๑๒ ๑๘-ก.ย.-๑๒ ๑๘-ก.ย.-๑๒ ๑๘-ก.ย.-๑๒ ๑๘-ก.ย.-๑๒ ๑๘-ก.ย.-๑๒ ๑๘-ก.ย.-๑๒ ๑๘-ก.ย.-๑๒ ๑๘-ก.ย.-๑๒ ๑๘-ก.ย.-๑๒ ๑๘-ก.ย.-๑๒


107

พระครูภาวนาพิลาศ (ธันวาคม ๒๕๔๘) หนูจำ�ไว้อย่างหนึ่งลูก.. ของที่จะทำ�ส่งเสริมให้เราเข้านิพพานได้ ต้องใช้กำ�ลัง ๒ อย่างคือ วาสนาเดิมกับบารมีที่สั่งสมมา วาสนาเป็น ความเคยชินของการบำ�เพ็ญกุศล เช่นเลื่อมใสในความประณีต ใส่บาตร ก็ต้องแต่งตัวดี แต่งตัวตามสีตามวัน ขันข้าวก็ขัดอย่างดี กับข้าวก็ใส่ อย่างดี ทุกอย่างไปตามวาสนา แต่ตัวบุญซึ่งยังที่มีกิเลสเจืออยู่ว่าไม่ทำ� อย่างนั้นไม่สบายใจ เขาเรียก ‘วาสนา’ สมัยก่อนที่หลวงพ่อท่านเล่า.. อย่างหลวงปู่สารีบุตรท่านก็ยัง กระโดดบ้าง ไม่ได้นั่งเรียบร้อยเหมือนหลวงปู่โมคคัลลาน์ด้วยซ้ำ�ไป ด้วย วาสนาที่ท่านสนุกในเรื่องความเป็นลิงของท่านเนาะ นั่นคือลีลาในเรื่อง การบำ�เพ็ญบารมี เขาเรียก ‘วาสนา’ ที่จริงถ้าแปล เขาแปลว่า ‘กุศล อันกิเลสอบรมมา’ ถ้าไม่แต่งตัวให้สวยนั่ง ‘พุทโธ’ นี่ ไม่สบายใจ ยังไม่ ยอมนั่งต้องอาบน้ำ�ก่อน บางคนก็วาสนาไปทางสมบุกสมบันลำ�หักลำ� โค่น ทีนี้วาสนากับบารมีก็มาคู่กัน (บารมี ๑๐) วาสนานี่เป็นลีลาออก ทางร่างกาย กับทางวาจาเป็นเงาของจิตออกมา ทีนี้จะเปรียบก็คือว่า ‘เสือกับช้าง’ หลวงตาก็เปรียบอย่างเดิม เสือกับช้างฝูงหนี่งเดินไปกิน น้ำ�ด้วยกัน สมมุติว่าน้ำ�เป็นพระนิพพาน เป็นเป้าหมาย พ่อแม่ช้างก็เดิน นำ�หน้าลูกตัวน้อยก็เดินอ๊อกแอ๊ก ๆ ไปตามเหมือนสัญชาติ วาสนาช้างก็ ต้องเดินอย่างช้าง


108 ทีนี้แถวเสือ.. พ่อแม่เสือก็เดินสง่าแบบเสือ ลูกเสือก็เดินสง่าแบบ ลูกเสือ เวลาพ่อแม่กินเนื้อตบเนื้อกิน ลูกเสือก็ไปกินและหัดตบเนื้อบ้าง มันเป็นวาสนาของสายบุญ ช้างก็เอางวงไปดึงกิ่งโพธิ์กิ่งอะไรเอาหญ้ามา กิน ถ้าหากลูกเสือจะเปลี่ยนวาสนาตัวเอง.. ดัดวาสนาตัวเอง โดยการ เอาขาไปม้วนหญ้ากิน มันไม่ใช่วาสนาตัว หรืออยู่ ๆ ลูกช้างจะกระโดด มาตบกวางกินมันก็ไม่ใช่วาสนาของช้าง.. มันทำ�ไม่ได้ เขาเรียก ‘ดัดจริต’ ดัดวาสนามันดัดไปไม่นานหรอกเดี๋ยวก็อ้วก ช้างกินกวางอ้วกมั้ยลูก? เสือกินหญ้าก็อ้วก มันฝืนไม่ได้นาน... ทีนี้จะเห็นภาพอุปมาใหม่ที่ว่า ลูกเสือเกิดนึกเลื่อมใสลูกช้าง ก็ ย้ายแถวมาต่อแถวช้าง เห็นพี่ช้างเดินก็พยายามเดินตาม เริ่มตลกแล้ว ไม่รักสัญชาติตัวเอง เห็นมั้ย? มันเริ่มตลกแล้วนา เข้าไปถึงหนองน้ำ�.. แม่ช้างก็เอางวงดูดน้ำ�ขึ้นมาพ่นให้พ่อช้าง..ป๊าด! พ่นให้ตัวเองแล้วก็พ่น เป็นน้ำ�พุให้ลูก ให้ลูกเห็นว่างวงมีประโยชน์อย่างนี้นะ เอามาใช้อาบน้ำ� ให้ลูก ลูกช้างเขาก็มีงวงตามวาสนา เขาก็ดูดน้ำ�พ่นให้แม่..แป๊ด! พ่นให้ ตัวเอง... ก็เห็น ก็ได้ ลูกเสือเดินย่องไปที่น้ำ� เอาขาขวาจุ่มลงไป พ่นยังไง ก็ดังแป้ด! หยดเดียว มันดัดจริตไปไม่นานก็ท้อ มันพ่นไม่ได้ มันก็ต้อง กลับมาหาแม่เสือ แม่เสือก็ตบหัว “นี่! ไม่รักชาติตัวเอง” สอนเสียหน่อย นึง “เราต้องอย่างนี้ลูก.. ลงทั้งตัว เสือนี่ลงไปอาบทั้งตัว ไม่ต้องพ่นอะไร อย่างนี้” ก็เลยเข้าใจว่า.. มันดัดไม่ได้! ทีนี้สำ�นักหนึ่งเป็นสำ�นักช้างสง่างาม ทำ�อย่างไรก็ทำ�ไปเถิด กินเจ กินอาหารอะไรก็กินไปเถอะ เป็นวาสนาสั่งสมมาดีแล้ว บารมีก็เต็มแล้ว เสือเขาก็กินแบบของเขา ก็วาสนาตัวเองก็สั่งสมมาดีแล้ว ต่างคนต่างไป ถึงจุดหมายคือพระนิพพาน แต่ระหว่างทางเดินอย่าคุยกันเลย.. ทะเลาะ กันเต็มที่เลย ทะเลาะกันตลอดทางเลย เหมือนคำ�ภาวนาไม่เหมือนกัน ในสำ�นักต่าง ๆ ดึงเอาครูบาอาจารย์มาทะเลาะกัน ครูก็ไม่ทะเลาะ ลูก ศิษย์มันอ้างตัวเอามาทะเลาะกัน เหมือนเสือกับช้างนั่นแหละ ใช่มั้ย? มันต้องรู้ว่าเลื่อมใสตรงไหน กลางทางตรงไหน วิธีตรงไหนที่มันฟังแล้ว


109 ชุ่มใจมันเข้าใจ ก็ลองทำ�จริง ๆ สักระยะหนึ่ง ถ้ามันอ้วกขึ้นมาก็แสดง ว่าไม่ใช่ ก็ค่อย ๆ หาแถวใหม่หาสายใหม่ ต้องตามเชื้อสายให้เจอ สาย เดียวกันหมายความว่า ‘สายวาสนา’ ไม่ใช่ถือครูบาอาจารย์มึงดี กูไม่ ดี ไม่ใช่สายอย่างนั้นนะ.. นั่นสายกิเลส สายกุศลคือสายวาสนาที่จะส่ง เสริมบารมีเท่านั้นเอง ก็ต้องหาจนเจอ เจอแล้วเราจะรู้ เราฟังเราได้ยิน ข่าวก็อิ่มใจแล้ว ยิ่งเห็นหน้าท่านเนี่ย.. ใจไปแล้ว ยังไม่ทันได้ยินเสียง ยิ่ง ด่ายิ่งรัก หลวงพ่อฤๅษีฯ ด่าพวกเรา เราโกรธที่ไหนเล่า ยิ่งสบายใจ.. ก็อย่าไปกังวลกับวาสนาเขา เราก็ทำ�ของเราไป ไม่ต้องไปอธิบาย ให้ช้างบำ�เพ็ญอย่างเสือ เสือบำ�เพ็ญอย่างช้าง ถ้าถามว่าระหว่างวาสนากับวาสนาเอาอะไรเป็นเครื่องบอกว่า เหมือนกัน เดินในทางเดียวกัน? ตรงนี้ทำ�ไมไม่ถามยังงี้ ถ้าถามยังงี้ ก็จะ ตอบว่า.. ๑. ไม่ว่าจะเดินยังไง.. กินยังไง.. ศีล ๕ ต้องบริสุทธิ์เหมือนกัน ถูกมั้ย? ถ้าอีกคนบริสุทธิ์ อีกคนไม่บริสุทธิ์ ไม่ใช่ทางนั้นแล้ว! มันเลี้ยว ยูเทิร์นแล้ว เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาแล้ว จะไปอบายภูมิแล้ว ใช่มั้ย? ๒. ต้องยึดพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นเกณฑ์ในการ ถาม ในการตอบ ในการเถียง ในการทำ�ตาม ในการปฏิเสธ ต้องยึด พระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์ กับพระธรรมที่ท่านบรรลุน่ะเป็นธงชัยเป็น สรณะ ถ้าใครถามขึ้นมาหรือให้เราอธิบาย ถามที่ไม่ได้เอากิเลสออกจาก ใจ ไม่ได้เอาความดีเข้ามาในใจ ไม่ได้ถามเพื่อให้ใจผ่องใส ไม่ได้ถามใน หัวใจพระพุทธศาสนา เราไม่ตอบเพราะคนละทางแล้ว เราไม่สามารถจะ บอกได้ แล้วที่ทำ�เนี้ยะ! ไปทำ�กรรมฐาน.. ทำ�บุญเนี่ย ถ้าหากคุณถึงจุด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ คุณคิดว่าคุณต้องการอะไร? ถ้าไม่ใช่นิพพานก็ไม่ใช่ แล้ว ก็ยังวนไปเป็นพรหมเป็นเทวดาเป็นพระเจ้าจักพรรดิอยู่ เราก็ไม่ ตอบ ท่านก็ถูกของท่าน เราน่ะเป็นทางสุดท้ายแล้ว จำ�ไว้ว่ากี่วาสนาก็ตาม ต้องรักศีลยิ่งกว่าชีวิตร่างกายนี่ ต้อง


110 เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นธงชัยเป็นเป้าหมายในการฟัง ในการพูดในการถาม ในการทรงชีวิตทุกอย่าง แล้วธงชัยจริง ๆ คือพระ นิพพาน และที่เหมือนกันที่สุดคือ ต้องสอนเพื่อให้ละร่างกาย ให้มองให้ หมดความรักความพอใจในร่างกายให้ได้ ต้องหมดทิฐิมานะ หมดมานะ ในร่างกายเพราะร่างกายให้ได้ ต้องเหมือนกันดูตรงต้นเนี่ย เสือ ช้าง หมา กวาง เก้ง ก็ต้องดู ตรงศีล ๕ ตรงสรณาคมน์ ตรงพระนิพพานเป็นเป้าหมาย และต้องละ ร่างกายให้ได้ ต้องพิจารณาร่างกายที่เราอาศัยเป็นศัตรูต่อจิตใจอย่าง รุนแรงที่สุด ต้องเห็นมันสกปรก เห็นมันทุกข์ เห็นมันไม่เที่ยง เห็นมัน ไม่ใช่ตัวตนให้ได้ งานใหญ่คือการพิจารณาร่างกาย แต่งานทั้งหมดที่ว่า เป็นบารมีที่บริสุทธิ์รออยู่แล้ว คือการไม่ปรามาสในศีล เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ปรารถนาพระนิพพาน ที่มองไม่เห็นตัวเหมือนกัน ชั่งก็ไม่ได้ จับก็ไม่ได้ ดมก็ไม่ได้กลิ่น นิพพานก็ดมไม่ได้ พระพุทธพระ ธรรมพระสงฆ์ที่เข้านิพพานไปแล้ว ก็จับมาตั้งให้ดูยังไง? มันดูด้วยตามัน จะดูเห็นยังไง? ศีล ๕ บริสุทธิ์ ศีล ๒๒๗ บริสุทธิ์ จะเอาอะไรมาตั้งให้ดูเป็นโจทย์.. มันไม่มี สิ่งเหล่านี้เป็นนามธรรมมันอยู่ในกำ�ลังของใจ เขาเรียก ‘ความ เป็นทิพย์’ (ความสะอาดของกำ�ลังจิต) มีอยู่แล้วเหมือนกันทุกสำ�นัก แต่ ที่มันยุ่งคือไม่ยอมตัดร่างกาย มีมานะแทนร่างกาย ทุกอย่างนั่นแหละ ที่เกี่ยวกะร่างกายทำ�ให้ไม่นึกถึงใจทั้งนั้นแหละ เนี้ยะ!.. ไอ้ตัวนี้มันจะยุ่ง หมาอยากเป็นช้าง ช้างอยากเป็นเสือ.. ตรงนี้แหละ! อีตรงลีลาวาสนา ร่างกายนี่แหละ..


ที่ใด ที่ไม่มี ‘ลม’พัด เงียบสงัด สะบัดไป ไม่ได้หนอ ที่จิตตั้ง มั่นไว้ ไม่ย่อท้อ จับจดจ่อ ขอแค่ สงบใจ ลมรุนแรง แกล้งพัด บัดเดี๋ยวผ่าน ลมปากหวาน หว่านรัก ปฏักไว้ ลมปากร้อน ลวกแล้ว เผารนใจ ลมใดใด ไม่สู้ รู้‘รมณ์’ตน เข้าก็รู้ ออกก็รู้ ดูมันอยู่ ที่ร้อนรอบ ไม่สู้ ไม่ขัดสน สักว่าผ่าน ผ่านไป ไม่หลงกล ระวัง‘รมณ์’ ไหวไปปน กับลมพัด.


112


113

ฝนเทลงมาอย่างไม่เกรงใจคนทำ�งานในวัดเขาวง โดย เฉพาะอย่างยิ่งช่วงนี้พระคุณหลวงตาท่านเร่งงานที่คั่งค้างให้ เสร็จก่อนวันทอดกฐินสามัคคีปี ๒๕๕๕ เพื่อว่าเมื่อเวลาที่ลูก หลานมาเยี่ยมเยือนตามเทศกาลอย่างนี้ ก็จะเห็นว่าบ้านของ เราเปลี่ยนแปลงไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว.. คนทำ�งานต่างพากันวิ่ง หลบฝนเม็ดเล็ก ๆ ถึงเม็ดเล็กแต่โดนนาน ๆ เข้่าก็เจ็บเย็นไปถึง ขั้วหัวใจ ช่างปูนแหงนหน้ามองค้อนท้องฟ้าปะหลับปะเหลือก.. บางคนต้องทำ�งานกลางสายฝนอย่างไม่ย่อท้อ เพราะฝนไล่ก็ยัง ดีกว่าพระคุณหลวงตามาถามไถ่ไล่งานเอาทีหลัง กลัวกำ�ลังใจ ของท่าน มีกำ�ลังมากกว่าความหนาวเย็นของฝนจากฟ้าเสียอีก


114 พลอยสงสัยว่า ฝนสร่างฟ้าไปพักใหญ่.. แล้วทำ�ไมหนอ? พ่อมาพรมสายน้ำ�ฉ่ำ�หัวอกเอาในช่วงปลายตุลาคมที่ก้าวเข้าสู่ ฤดูหนาวเอาเสียได้ ก็ตามธรรมดาของเรื่องฟ้าฝน แต่ใจคนก็ซน ค้นหา จนเดินไปได้คำ�ตอบที่ลานสวนพระศรีจักรีวงศ์.. เราลืมไปเองว่านัดช่างที่โรงหล่อกำ�แพงแสน โรงหล่อคู่ บุญหลวงตา.. เขานำ�พระรูปของพระศรีอาริยเมตไตรยมาส่งให้ ประดิษฐานบนแท่นหินที่สร้างรอไว้แล้ว ช่างเล่าให้ฟังว่าพอ องค์พระเข้ามาในเขตรั้ววัด ฝนก็เทลงมาทันที แล้วพรำ�พรมอยู่ อย่างนั้นจนช่างยกพระรูปขึ้นตั้งบนแท่นเสร็จสิ้น ผู้เขียนออก ไปดูช่วงท้าย ๆ ของการตั้งติดประดิษฐาน ยังกางร่มชมซ้ายที ขวาที พอเข้าที่เข้าทาง ฝนก็ขาดเม็ด! นี่ล่ะหนออานุภาพของ พระรัตนตรัย ย้อนหลังกลับไปประมาณ ๗ เดือน ตรงวันขึ้น ๑๑ ค่ำ� เดือน ๓ วันเสาร์ เป็นวันที่พระคุณหลวงตาวัชรชัย (พระครู ภาวนาพิลาศ) จุดไฟฤกษ์สุมหุ่นเพื่อหลอมขี้ผึ้งให้ละลายรอเท ทองในวันเพ็ญมาฆมาส อีก ๔ วันถัดจากนั้น ในวันงานเททองหล่อองค์พระศรีอาริยเมตไตรยนั้น คน มาร่วมบุญเททองหล่อองค์ท่านนับจำ�นวนพันคนเศษ เรียกว่า แน่นลานปะรำ�พิธีเลยทีเดียว ‘คนของท่าน’ หลวงตาท่านเรียก อย่างนั้น.. แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่มาร่วมบุญหล่อท่านจะ


115 ต้องเกิดไปเจอสมเด็จท่านในสมัยหน้าโน้นเสียทุกคน.. เป็นไป ตามกำ�ลังใจของนักปฏิบัติแต่ละคน ใครขยันหมั่นตามนึกถึง ความเป็นจริงของโลก และให้เบื่อหน่ายคลายกำ�หนัดยินดี ต่อการเวียนเกิดเวียนตาย ให้รู้ว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของ เรา ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ก็ไม่ใช่ของเราด้วย.. ทำ�ในใจจน ชำ�นาญเสียก่อนตาย.. ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง (พระราชพรหมยาน) ท่านเมตตาบอกแนวทางไว้กับ ลูกหลานว่า


116 “..ทำ�เสียอย่าให้ขาดช่วง ทำ�เสียให้ต่อเนื่อง วันละห้า นาทีสิบนาที แต่ให้ทำ�อย่างจริงจังและจริงใจ ไม่ให้มีนิวรณ์ ทั้ง ๕ ประการมาปะปนได้ ทำ�ทุกวันไม่ขาดสายไปจนกว่า จะตาย เมื่อเวลาเราตายจริง ๆ ช่วงนั้นจิตจะรวมตัวเองเป็น อัตโนมัติ พระท่านจะมาโปรดสอนนำ�อารมณ์ให้ตัดร่างกาย ครั้งสุดท้าย เราก็จะจบกิจทางกายได้เหมือนกัน!” แต่ถ้าดวงจิตใด.. ยังมีความสุขในการทำ�ทาน รักษาศีล แต่พร่องภาวนา.. วิปัสสนาญาน.. หลวงตาท่านก็เมตตาสร้าง รูปหล่อองค์พระศรีอาริยเมตไตรยขึ้น เพื่อให้ท่านที่กล่าวถึง ทั้งหลายผูกใจไว้กับองค์สมเด็จท่านล่วงหน้า เมื่อละอัตภาพ ร่างกายปัจจุบัน ก็จะได้เคลื่อนจิตสถิตใจในคติที่ดี.. อันมีมนุษย์ เป็นลำ�ดับท้ายสุด ไม่ร่วงหล่นลงอบายทั้งหลายอีก! จนสมเด็จ ท่านตรัสอุบัติขึ้นในโลกเบื้องหน้า มาเกิดร่วมสมัยเฉพาะพระ พักตร์ ฟังธรรมจากท่านเพียงกัณฑ์เดียวก็ยกจิตหมดกิเลสตาม พระองค์ท่านได้.. นี่คือความตั้งใจของพระคุณหลวงตาที่มีต่อ ลูกหลาน ‘คนของท่าน’ อย่างที่ท่านเรียก ในวันประกอบพิธีเททองหล่อองค์พระนั้น ก็ได้รับความ เมตตาจากท่านเจ้าคุณพระพรหมสิทธิ เจ้าคณะภาค ๑๐ ผู้ ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร มาเป็นประธานใน พิธีมีคณะสงฆ์จังหวัดสระบุรีนำ�โดยพระครูมงคลรัตนวัฒน์ รอง


พระพรหมสิทธิ เจ้าคณะภาค ๑๐ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร พระครูภาวนาพิลาศ เจ้าคณะอำ�เภอพระพุทธบาท เจ้าอาวาสวัดเขาวง(ถ้ำ�นารายณ์)


เจ้าคณะจังหวัดสระบุรี พร้อมเจ้าคณะอำ�เภอทั้ง ๑๓ อำ�เภอ เมตตาร่วมเจริญพระพุทธมนต์ และมีท่านผู้มีเกียรติมาร่วมงาน เป็นจำ�นวนมาก.. คุณมยุรีช์ อาจศิริ, คุณอำ�ไพ อุไรรัตน์, คุณ พัชนีย์ โสภณดิษย์ โยมผู้มีอุปการะต่อวัดเขาวงมานานหลาย ปี, ท่านธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี และ ท่านที่ไม่ได้กล่าวนาม ณ ที่นี้อีกหลายท่าน เป็นที่น่าเสียดายที่ ท่านเจ้าภาพหลัก คุณเมตตา อุทกะพันธุ์ และครอบครัว ไม่ได้ มาร่วมในพิธีเททององค์ท่าน เนื่องจากติดการเข้าปฏิบัติธรรม ของครอบครัว ก็ได้แต่ฝากใจมาร่วมบุญครั้งนี้ หลวงตาท่าน ทราบความ จึงบอกให้ทางโรงหล่อจัดพิธีหล่อยอดพระมงกุฏ


119 ขององค์พระศรีอาริยเมตไตรยขึ้นที่โรงหล่อกำ�แพงแสน จังหวัด นครปฐมอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้โยมเมตตาไม่ยอมพลาดบุญตัว ไป ร่วมงานแบบเรียบง่าย ไม่มีผู้คนมากหน้าหลายตา มีแต่หลวง ตา ท่านเจ้าภาพ และจิตใจที่น้อมไปในพระรัตนตรัยอย่างยิ่ง เมื่อร่วมพิธีเสร็จทั้งสองงานสำ�คัญ หลังจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของ โรงหล่อ โดยมีคุณไพโรจน์ ศิริพรเลิศ นำ�ช่างตกแต่งองค์พระใน ขั้นตอนต่อไป ภาพซ้ายมือ : ท่านธวัชชัย เทอดเผ่าไทย มาร่วมงานเททองหล่อพระ ภาพล่าง : โยมผู้มีอุปการะคุณต่อวัดเขาวง


120 เผลอแผล็บเดียว! เจ็ดเดือนล่วงมาแล้ว วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ ตรงกับวันจันทร์ เริ่มเทศกาลกินเจ องค์พระท่านก็ได้ มาประดิษฐานที่วัดเขาวงเป็นที่เรียบร้อย สายฝนก็โปรยสาย ประหนึ่งน้ำ�พระพุทธมนต์ ประพรมไปทั่วบริเวณเขตขัณฑสีมา ของวัดเขาวงแห่งนี้ คนทำ�งานก็คงต้องทำ�กันต่อไป.. งานที่ว่าก็คืองานสวน ปฏิบัติธรรมลานโพธิ์ ที่พวกเรานักบุญทั้งหลายได้เดินเลือกรับ ประทานอาหารคาวหวานอยู่นี่แหละ! วันกฐินปีนี้คงจะแปลก ตาไปบ้าง.. แต่พวกเราคงไม่แปลกใจกับกำ�ลังใจของหลวงตา ท่านแล้วล่ะมังนะ หากมีโอกาสจะได้กลับมาเล่าเรื่องการสร้าง ศาลาแปดเหลี่ยม.. ลานโพธิ์ แบบฟังไปน้อมใจตามคำ�สอนของ พระคุณหลวงตาที่ท่านสอดแทรกธรรมะไว้ในงานก่อสร้างได้ อย่างแนบเนียน.


้ว!

ึ้นไปสั่งงานบนหลังคาแล

ตาท่านข เผลอหน่อยเดียว.. หลวง


ถ่ายภาพ : เอกชัย เอี่ยมหนู


123

“เราได้อะไร? จากการมาร่วมงานศพ!” คำ�ถามนี้ผุดขึ้นมาในใจ.. ขณะที่ผู้เขียนนั่งฟังพระ สงฆ์สวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์อยู่ในงานของผู้มีคุณ ท่านหนึ่ง บรรยากาศของงานศพส่วนใหญ่ก็คงหนีไม่พ้น ความเศร้าโศกของบรรดาญาติสนิทมิตรสหายของผู้ตาย เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งความพลัดพรากจากบุคคลอัน เป็นที่รักที่พอใจ ความรู้สึกของบุคคลทั้งหลาย นั่นเรียก ว่า ‘ทุกข์’ แล้วทำ�ไมหนอ? งานศพถึงใช้พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์มาสวด.. คำ�ถามต่อมาก็เล่นงานผู้เขียนอีกระลอก! เดือดร้อนต้องมานั่งค้นหาความหมายของพระอภิธรรม อ่านไปอ่านมาเห็นว่าเป็นประโยชน์มาก เลยขออนุญาต นำ�มาเล่าสู่กันฟัง..


124 ค้นหาได้ความว่า๑.. พระอภิธรรมนั้นมีอยู่ทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ คือ ธรรมะหมวดที่ ๓ ในพระไตรปิฎกแบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ เรียกโดยย่อว่า สัง. วิ. ธา. ปุ. กะ. ยะ. ปะ. (หัวใจพระอภิธรรม) คือ.. ๑. คัมภีร์ธัมมสังคิณี ว่าด้วยธรรมะที่ประมวลไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม เรียกว่า กัณฑ์ มีทั้งหมด ๔ กัณฑ์ คือ ๑) จิตตวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจำ�แนกจิตและเจตสิก เป็นต้น ๒) รูปวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจำ�แนกรูป เป็นต้น ๓) นิกเขปราสิกัณฑ์ แสดงคำ�อ้างอิงว่า พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนั้นอย่างนี้ ๔) อัตถุทธารกัณฑ์ แสดงการจำ�แนกเนื้อความ ตามแม่บทของปรมัตถธรรม๒ ๒. คัมภีร์วิภังค์ ว่าด้วยการจำ�แนกมาติกาในคัมภีร์ธัมมสังคณี ทั้งติกมาติกา ๒๒ หมวด และทุกมาติกา ๑๐๐ หมวด โดยแบ่งเป็น ๑๘ วิภังค์ เช่น ขันธวิภังค์ จำ�แนกขันธ์, อายตนวิภังค์ จำ�แนกอายตนะ, ธาตุ วิภังค์ จำ�แนกธาตุ, สัจจวิภังค์ จำ�แนกสัจจะ, อินทริยวิภังค์ จำ�แนก ๑. เรียบเรียงจาก : http://www.buddhism-online.org/Section01_02.htm ๒. ปรมัตถธรรม หรืออภิธรรม แปลว่าธรรมอันประเสริฐ, ธรรมอันยิ่ง, ธรรมที่มีอยู่แท้จริงปราศจากสมมุติ


125 อินทรีย์, ปฏิจจสมุปบาทวิภังค์ จำ�แนกปฏิจจสมุปบาท, สติปัฏฐาน วิภังค์ จำ�แนกสติปัฏฐาน เป็นต้น ๓. คัมภีร์ธาตุกถา ว่าด้วยคำ�อธิบายเรื่องขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ โดยนำ�มาติกาของคัมภีร์นี้จำ�นวน ๑๐๕ บท และมาติกาจากคัมภีร์ ธัมมสังคณีจำ�นวน ๒๖๖ บท (ติกมาติกา ๖๖ บท ใน ๒๒ หมวด และทุกมาติกา ๒๐๐ บท ใน ๑๐๐ หมวด) มาแสดงด้วยนัยต่างๆ (จำ�นวน ๑๔ นัย) เพื่อหาคำ�ตอบว่าสภาวธรรมบทนั้น ๆ สงเคราะห์ เข้าได้กับขันธ์เท่าไร เข้าได้กับอายตนะเท่าไร และเข้าได้กับธาตุ เท่าไร เข้าไม่ได้กับขันธ์เท่าไร เข้าไม่ได้กับอายตนะเท่าไร และเข้าไม่ ได้กับธาตุเท่าไร ๔. คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยการบัญญัติ (การประกาศ แสดง หรือชี้แจง) ในเรื่อง ๖ เรื่อง คือ (๑) ขันธบัญญัติ การบัญญัติเรื่องขันธ์ (๒) อายตน บัญญัติ การบัญญัติเรื่องอายตนะ (๓) ธาตุบัญญัติ การบัญญัติเรื่อง ธาตุ (๔) สัจจบัญญัติ การบัญญัติเรื่องสัจจะ (๕) อินทริยบัญญัติ การบัญญัติเรื่องอินทรีย์ (๖) ปุคคลบัญญัติ การบัญญัติเรื่องบุคคล ๕. คัมภีร์กถาวัตถุ ว่ า ด้ ว ยการโต้ ว าทะเพื่ อ ชี้ แ จงแสดงเหตุ ผ ลให้ เ ห็ น ว่ า วาทกถา (ความเห็น) ของฝ่ายปรวาที (พวกภิกษุในนิกายที่แตกไป จากเถรวาท ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช) จำ�นวน ๒๒๖ กถา


126 ล้ วนผิ ด พลาดคลาดเคลื่อนจากพระพุท ธพจน์ดั้งเดิมที่ภิกษุฝ่าย เถรวาทยึดถือปฏิบัติอยู่ วิธีการโต้วาทะใช้หลักตรรกศาสตร์ที่น่า สนใจมาก นับเป็นพุทธตรรกศาสตร์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งมีใน คัมภีร์นี้เท่านั้น ๖. คัมภีร์ยมก ว่าด้วยการปุจฉา-วิสัชนา สภาวธรรม ๑๐ หมวด ด้วยวิธีการ ยมก คือการถาม-ตอบ เป็นคู่ๆ ซึ่งเป็นวิธีการเฉพาะของคัมภีร์ยมก สภาวธรรม ๑๐ หมวด ได้แก่ (๑) หมวดมูล (สภาวธรรมที่เป็นเหตุ) (๒) หมวดขันธ์ (๓) หมวดอายตนะ (๔) หมวดธาตุ (๕) หมวดสัจจะ (๖) หมวดสังขาร (๗) หมวดอนุสัย (๘) หมวดจิต (๙) หมวดสภาว ธรรมในกุสลติกะ เรียกสั้นๆ ว่า หมวดธรรม (๑๐) หมวดอินทรีย์ สภาวธรรม ๑๐ หมวดนี้ ทำ�ให้แบ่งเนื้อหาของคัมภีร์ยมก ออกเป็น ๑๐ ยมก เรียกชื่อตามหมวดสภาวธรรม ที่เป็นเนื้อหา คือ (๑) มูลยมก (๒) ขันธยมก (๓) อายตนยมก (๔) ธาตุยมก (๕) สัจจ ยมก (๖) สังขารยมก (๗) อนุสยยมก (๘) จิตตยมก (๙) ธัมมยมก (๑๐) อินทริยยมก ๗. คัมภีร์ปัฏฐาน ว่าด้วยการจำ�แนกสภาวธรรมแม่บท หรือ มาติกา ทั้ง ๒๖๖ บท (๑๒๒ หมวด) ในคัมภีร์ธัมมสังคณี โดยอำ�นาจปัจจัย ๒๔ ประการ ๓ มี เหตุปัจจัย เป็นต้น เพื่อให้เห็นว่าสภาวธรรมทั้งหลาย ปรากฏเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยทั้งสิ้น มิได้เกิดจากการบงการของ


127 ผู้ใด แต่เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ที่เรียกว่า จิตตนิยาม กรรม นิยาม และธรรมนิยาม พระอภิธรรมก็คือธรรมะที่สอนให้รู้จักธรรมชาติอันแท้จริง ที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลาย อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และรู้จัก พระนิพพาน ซึ่งเป็นจุดหมายอันสูงสุดในพระพุทธศาสนา ธรรมชาติทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน นี้รวมเรียกว่า ปรมัตถธรรม หากแปลตามศัพท์ คำ�ว่า ‘อภิธัมม’ หรือ อภิธรรม แปลว่าธรรมอันประเสริฐ, ธรรมอันยิ่ง, ธรรมที่มีอยู่แท้จริงปราศ จากสมมุติ อภิธรรม ๗ คัมภีร์ ที่พระสงฆ์นำ�มาสวดนี้ ไม่ได้สวดหมด ทั้ง ๗ คัมภีร์ สวดเฉพาะ ‘หัวข้อ’ หรือ ‘แม่บท’ ของพระคัมภีร์ ซึ่ง พระพุทธเจ้าทรงตรัส อันเรียกว่า ‘มาติกา’ (แม่บท, หัวข้อใหญ่) นั่นเอง.. เพื่อบรรเทาความโศกเศร้า และเพื่อชี้น�ำ ใจของผู้สูญเสีย ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์สมัยโบราณท่านจึงน้อมนำ�พระธรรมอันยิ่ง มาสาธยายให้ผู้ทุกข์ใจสดับรับฟัง ให้ทราบถึงความจริงอันประเสริฐ ว่า ตัวเรา ของเรา นั้นไม่มี สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นไม่มี สักแต่เพียง เป็นแค่รูปในขันธ์ทั้งห้าประการ ที่เรานั้นมาอาศัยเพียงชั่วครู่ชั่ว ยาม แล้วก็ต้องแยกจากกัน เมื่อเวลานั้นมาถึง จิต(เรา)ก็ต้องเคลื่อน ไป ตามเหตุปัจจัย(กรรม) ที่เราสร้างขึ้นด้วยเจตนา แล้วไปรับผล (วิบาก) ตามประเภทของกรรมที่ทำ�ไว้ทั้งสิ้น


128 การมางานศพจึงเป็นการมาฟังธรรม และเป็นพระธรรม อันละเอียดอ่อน สุขุม ลึกซึ้ง ผู้ที่เข้าใจความหมายไม่ว่าจะเป็นผู้ สวดและผู้ฟังย่อมได้อานิสงส์มาก และน้อมนำ�ผลานิสงส์ที่ได้จาก การร่วมบำ�เพ็ญกุศลในงานศพ อุทิศกุศลให้แก่ผู้ตายด้วยจิตเมตตา กรุณาต่อกัน หลายท่านอาจเข้าใจไปว่าการสวดพระอภิธรรมนั้น เป็นการสวดให้ผู้ตาย แต่แท้ที่จริงแล้ว.. เป็นการปรารภเหตุการ ตายของผู้ล่วงลับ แล้วแสดงธรรมให้ผู้ที่ไปร่วมงานศพฟังต่างหาก.. และเพื่อให้พวกเราทั้งหลายทราบถึงความหมายของแม่บท (มาติกา) จึงขอนำ�คำ�แปลของบทสวดที่เรานิยมใช้ในงานสวดศพมา เล่าสู่กันฟัง ... มาติกา --------------- ธรรมที่เป็นกุศล.. ธรรมที่เป็นอกุศล.. ธรรมที่เป็น อัพยากฤต (ธรรมที่มีสภาวะเป็นกลาง ๆ ไม่เป็นกุศลหรือเป็น อกุศล).. ธรรมประกอบด้วยสุขเวทนา.. ธรรมประกอบด้วย ทุกขเวทนา.. ธรรมประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนา.. ธรรมเป็น วิบาก.. ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก.. ธรรมไม่เป็นวิบากและไม่เป็น เหตุแห่งวิบาก.. ธรรมอันเจตนากรรมที่ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิ เข้ายึดครองและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน.. ธรรมอันเจตนากรรม ที่ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครองแต่เป็น อารมณ์ของ


129 อุปาทาน.. ธรรมอันเจตนากรรมที่ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้า ยึดครองและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.. ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส.. ธรรมไม่ เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.. ธรรมไม่เศร้าหมองและ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส (เครื่องทำ�ให้ใจเศร้าหมอง).. ธรรมมีวิตกมีวิจาร.. ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร.. ธรรมไม่มี วิตกไม่มีวิจาร (วิตก คือ กำ�หนดอารมณ์ได้ วิจาร คือ รู้สึกใคร่ครวญ ไปได้ตามอารมณ์นั้น).. ธรรมที่ไปพร้อมกันด้วยปีติ.. ธรรมที่ไปพร้อมกันด้วยสุข เวทนา.. ธรรมที่ไปพร้อมกันด้วยอุเบกขาเวทนา.. ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.. ธรรมอันมรรคเบื้อง สูงทั้ง ๓ ประหาณ๓.. ธรรมอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูงทั้ง ๓ ไม่ประหาณ.. ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.. ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูงทั้ง ๓ ประหาณ.. ธรรมไม่มี สัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูงทั้ง ๓ ประหาณ (ประหาณ แปลว่า การละ, การทิ้ง) ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ.. ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน.. ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิและไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน.. ธรรมเป็นของเสกขบุคคล.. ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล ..ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคลและไม่เป็นของอเสกขบุคคล.. ๓. กล่าวคือมรรคของพระอริยเจ้าที่สูงขึ้นไปจนถึงอรหัตตมรรค


130 ธรรมเป็นปริตตะ(อันเล็กน้อย).. ธรรมเป็นมหัคคตะ(อันยิ่ง ใหญ่).. ธรรมเป็นอัปปมาณะ(อันประมาณไม่ได้).. ธรรมมีอารมณ์ เป็นปริตตะ.. ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ.. ธรรมมีอารมณ์เป็นอัป ปมาณะ.. ธรรมทราม.. ธรรมปานกลาง.. ธรรมประณีต.. ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน.. ธรรมเป็นสัมมา สภาวะและให้ผลแน่นอน.. ธรรมให้ผลไม่แน่นอน.. ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์.. ธรรมมีเหตุคือมรรค.. ธรรมมี มรรคเป็นอธิบดี.. ธรรมเกิดขึ้นแล้ว ธรรมยังไม่เกิดขึ้น ธรรมจักเกิดขึ้น.. ธรรมเป็นอดีต ธรรมเป็นอนาคต ธรรมเป็นปัจจุบัน.. ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต.. ธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคต.. ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน.. ธรรมเป็นภายใน.. ธรรมเป็นภายนอก.. ธรรมเป็นทั้งภายใน และภายนอก.. ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน.. ธรรมมีอารมณ์เป็นภาย นอก.. ธรรมมีอารมณ์เป็นภายในและเป็นภายนอก.. ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้.. ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบ ได้.. ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้.. การแสดงพระอภิธรรมดัง กล่าวมานี้เ ป็นเหตุให้ชาวพุทธ ถือว่าพระอภิธรรมเป็น ‘พุทธวจนะ’ คือตรัสออกจากพระโอษฐ์ของ


131

พระพุทธเจ้าในคราวที่ทรงแสดงโปรดพุทธมารดา ที่ทรงแสดงโดยละเอียดพิสดาร ตลอดพรรษากาล คือ ๓ เดือนเต็ม อันเป็นพุทธจริยาแสดงกตัญญู กตเวทิตาธรรม ส่วนในโลกมนุษย์นี้พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรม โดยย่อแก่พระสารีบุตรผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาเป็นครั้งแรก ณ ริมสระอโนดาต และพระสารีบุตรเถระได้นำ�พระอภิธรรม นั้นมาแสดงแก่พระภิกษุที่เป็นศิษย์โดยไม่ย่อและไม่ พิสดารเกินไปส่งผลให้พระอภิธรรมได้รับการศึกษา เผยแผ่นำ�สืบกันมาตราบเท่าทุกวันนี้ “เราได้อะไร? จากการมาร่วมงานศพ!” คำ�ตอบตามปัญญาอันน้อยนิดในใจบอกว่า เรามา แสดงความเห็นอกเห็นใจต่อครอบครัวของผู้สูญเสีย และมาตามนึกถึงอาการของความตายคือมรณสติ เตือนผู้ที่อยู่เบื้องหลังว่า ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง จะได้ใช้โอกาสอันน้อยนิดก่อนตาย ทำ�ประโยชน์สุขต่อตัวเองและคนรอบตัว ด้วยการทำ�ความดี อยู่ด้วยความไม่ประมาทนั่นเอง.

ภาพ : พระสารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวา ที่อุโบสถวัดเขาวง(ถ้ำ�นารายณ์)



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.