woke

Page 28

15

องศาเซลเซียสภายใต้ความดัน ดังนั้นระบบนี้จะใช้ผลิตในโรงงานเท่านั้นและเครื่องจักรที่ใช้ ในการผลิตต้องใช้เงินลงทุนสูง 2) ใช้โฟมเป็นส่วนผสม (Cellular Lightweight Concrete or Foam Concrete) คอนกรีตหรือมอร์ต้าที่มีอากาศอยู่ในเนื้อมากกว่าร้อยละ 25 ซึ่งการเพิ่มปริมาณอากาศสามารถ ทาได้ด้วยการ ผสมฟองโฟมที่คล้ายจากเครื่องมือดับเพลิง แล้วนาโฟมนี้ไปผสมคอนกรีต ทันที หรือใส่สารเกิดฟองลงไป ในส่วนผสมคอนกรีตแล้วตีเนื้อคอนกรีตด้วยเครื่องผสมแรง เฉือนสูงเพื่อให้เกิดฟอง ฟองอากาศที่ได้จะเป็น เม็ดกลมขนาดเล็กมาก เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 0.3-1 มม. ซึ่งจะมีความมั่นคง แข็งแรงจนคอนกรีตก่อตัว ( Time of Setting) จึงได้ โพรงอากาศขนาดเล็กภายใน ดังนั้นคอนกรีตมวลเบา ที่ได้จากเทคโนโลยี จึงมี สมบัติ เช่นเดียวกับคอนกรีตปกติแต่กาลังน้อยกว่าตามปริมาณฟองอากาศที่ใส่ลงไปโพรงอากาศ แบบปิด ไม่ต่อเนื่องในมวลคอนกรีต ก่อให้เกิดผลดี คือ น้าหนักเบา ป้องกันความร้อน ป้องกันเสียง และทนไฟได้ดี กว่าคอนกรีตปกติ ดังนั้นคอนกรีตมวลเบา CLC จึงเหมาะที่จะ นามาใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง เช่น ผนังหรือกาแพงอาคาร เทพื้นทับหน้า รั้วสาเร็จรูป ผนัง สาเร็จรูป (Precast Wall & Panel) เป็นต้น 2.1.5.2 วิธีการผลิตคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่า (Cellular Lightweight Concrete) Cellular Lightweight Concrete คือ คอนกรีตที่มีโพรงอากาศ ผลิตจากปูนต์ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ , ทราย, น้า (Mortar) และฟองโฟม ส่วนผสมฟองอากาศที่เกิดขึ้นนี้ได้จากเครื่องผลิตฟองโฟม (Foam 3 Generator) คอนกรีตธรรมดามีค่าความหนาแน่นประมาณ 2400 ถึง 2600 กก./ ม. เมื่อลดการใช้หินซึ่ง เป็นวัสดุมวลรวมหยาบ (Coarse Aggregate) และแทนที่ด้วยฟองโฟม ค่าความหนาแน่นของคอนกรีต ลดลงเหลือ 1800 ถึง 300 กก./ม. 3 นอกจากนี้ ค่าความหนาแน่น ( Density) และค่ากาลังรับแรงอัด (Compressive Strength) ยังสามารถกาหนดได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบส่วนผสม ( Designing and Proportioning Concrete Mixtures) เพื่อนาไปประยุกต์ใช้งานตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ทาให้ประหยัด ต้นทุนในการก่อสร้าง เนื่องจาก ปริมาตรของคอนกรีตเพิ่มขึ้น ( Volume) สาเหตุมาจากฟองอากาศเข้า ไปแทรกตัวอยู่ระหว่าง ปูนต์ซิเมนต์ ทราย และ น้า คอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า ไม่ต้องทาให้แน่น ด้วยการกระทุ้งหรือใช้เครื่องสั่นคอนกรีต (Vibrator) เนื่องจากคอนกรีตชนิดนี้มีความเหลวมาก ( Flow Concrete) มีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางทั้ง 2 แนว มากกว่า 500 มม. ซึ่งเป็นการช่วยลดเวลาการทางาน อีกระดับหนึ่ง จากข้อจากัดของคอนกรีตมวลเบาระบบ Autoclaved Aerated Concrete (AAC) ซึ่งต้อง มีกระบวนการผลิตที่ผ่านการอบด้วยไอน้าความดันสูง ดังนั้นจะมีข้อจากัดในเรื่องราคา และการขนส่ง อีกทั้งเกิดความยุ่งยากในกรณีต้องการให้ผลิตออกมาเป็นรูปร่าง ( Shape) ขนาด (Dimension) ตามที่ ต้องการ (Made to order) ดังนั้นคอนกรีตมวลเบาระบบ Cellular Lightweight Concrete (CLC) จึงมี


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.