คู่มือการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่า

Page 1

คู่มือการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ ของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่า

สำนักพัฒนาขีดความสามารถการท่องเที่ยว องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)


คู่มือการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ ของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่า

โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว ที่มีศักยภาพ (Carrying Capacity) ภายใต้โครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม และทุนทางปัญญา และวัฒนธรรมเพื่อการท่องเทีย่ วทีย่ ั่งยืน”

ความร่วมมือระหว่าง สำนักพัฒนาขีดความสามารถการท่องเที่ยว องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) และ คณะผู้วิจัยจาก มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ขอนแก่น) และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต


คู่มือการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ ของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่า

คู่มือการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวในพืน้ ที่ชุมชนย่านเมืองเก่า ผู้เขียน จิตศักดิ์ พุฒจร และคณะ ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ จากสำนักพัฒนาขีดความสามารถการท่องเที่ยว องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) บรรณาธิการเล่ม ออกแบบ ภาพถ่าย

จิตศักดิ์ พุฒจร ธนวรรษ ดอกจันทร์ จิตศักดิ์ พุฒจร และ เปรมจิต ธนอัญญาพร

พิมพ์ครั้งที่ ปีที่พิมพ์ จำนวนที่พิมพ์ สงวนลิขสิทธิ์โดย

1 พ.ศ. 2563 700 เล่ม สำนักพัฒนาขีดความสามารถการท่องเที่ยว องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

จัดพิมพ์

สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

ISBN

978-974-641-759-4


คำนำ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. โดยสำนัก พัฒนาขีดความสามารถการท่องเที่ยว ได้กำหนดแนวทางการประเมินขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว (Carrying Capacity) ในบริเวณที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะพื้นที่ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา และ เตรียมความพร้อมยกระดับเพื่อเตรียมประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จากแนวคิดดังกล่าวจึงเป็น ที่มาของโครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ (Carrying Capacity) ภายใต้โครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทุนทางปัญญา และ วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ” ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับคณะผู้วิจัยจาก มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และมหาวิทยาลัยศรีปทุม (ขอนแก่น) คู ่ ม ื อ การประเมิ น ขี ด ความสามารถในการรองรั บ ได้ ข องแหล่ ง ท่ อ งเที ่ ย วในพื ้ น ที ่ ช ุ ม ชนย่ า นเมื อ งเก่ า เป็นเครื่องมือในการบริหารจัด การใช้ประโยชน์พื้นที่ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสาธารณูปโภค ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจิตวิทยา ด้านสังคมวัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจ ให้มีความเหมาะสม เกิดสมดุล และลด ผลกระทบต่าง ๆ จากการท่องเที่ยว โดยเฉพาะปัญหานักท่องเที่ยวหนาแน่น ทั้งนี้ การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ให้มีประสิทธิภาพนั้น ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ต้องตระหนักถึงความสำคัญ มีความรู้ มีความเข้าใจเรื่อง “การประเมินความสามารถในการรองรับได้” เป็นกรอบในการวางแผนและการควบคุมผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเพื่อ นำไปสู่การเพิ่มศักยภาพ การยกระดับทั้งในแง่ “คุณค่า” และ “มูลค่า”ทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นสิ่งทีช่ ่วยสร้างความเชื่อมัน่ ให้กับผู้ที่อยู่ในระบบการท่องเที่ยวได้ การนำคู่มือฯเล่มนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต้องอาศัยหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่ต้อง “ชวนคิด ชวนคุย ชวนทำ” โดยต้องเข้าใจบริบท เข้าใจสถานการณ์ และการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวแต่ละพื้นที่ว่ามีความ แตกต่างกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจ การเปิดใจเรียนรูร้ ่วมกัน และการนำข้อมูลไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่จงึ เป็น ความตั้งใจของคณะผู้วิจัยซึ่งได้นำเสนอแนวทางการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ ทั้ง 5 ด้านเพื่อให้เข้าใจ ว่า แต่ละด้านควรดำเนินการอย่างไร และเกี่ยวข้องกับใครบ้าง คณะผู้วิจัยขอขอบคุณ ตัวแทนชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต ตัวแทนชุมชนริมน้ำจันทบูร หน่วยงานในพื้นที่ และ ผู้เชี่ยวชาญจากภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานวิจัยและมีส่วนช่วยให้ คู่ม ือ การประเมิ น ขี ด ความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่า เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ สร้าง ความเข้าใจ และพัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยวของชุมชนและพื้นที่ต่าง ๆ ได้เหมาะสมต่อไป


สารบัญ

1. บทนำ 2. ความเป็นมาและความสำคัญของการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ 3. วัตถุประสงค์ 4. องค์ประกอบของการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ 5. แนวทางในการใช้คู่มือและการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ ชุมชนย่านเมืองเก่า 6. “ชวนคิด ชวนคุย ชวนทำ” กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมก่อนการประเมินขีดความสามารถใน การรองรับได้ทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่า การมีส่วนร่วมในการจัดทำขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว การคำนึงถึงผู้เกี่ยวข้องภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม และการประสานดำเนินงาน “ชวนคิด ชวนคุย ชวนทำ” กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมและการยอมรับ ข้อพึงใส่ใจต่อการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของพื้นที่ในมิติการท่องเที่ยว 7. ประเมินผลกระทบเบื้องต้น ตัวชี้วัดผลกระทบด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก ตัวชี้วัดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัดผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรม ตัวชี้วัดผลกระทบด้านจิตวิทยา ตัวชี้วัดผลกระทบด้านเศรษฐกิจ 8. การประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ ตัวชี้วัดและมาตรฐานชี้วัดการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ กระบวนการและเครื่องมือในการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับได้ เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก สูตรและวิธีการคำนวณ

หน้า 1 2 3 4 5 7 7 8 9 10 11 15 16 18 20 22 23 24 25 34 52 55 56


คู่มือการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ ของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่า 1. บทนำ การท่องเที่ยวมีส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึง ประเทศไทยให้เกิด การขยายตัว และเป็นการกระจายรายได้ลงสู่ท้องถิ่น องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations World Tourism Organization - UNWTO) ระบุว่า รายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วโลกคิดเป็น 10.3% ของจีดีพีโลก สามารถสร้างงานให้กับคนได้ประมาณ 120 ล้านอาชีพ ที่ผ่านมาก็ต้องเผชิญกับปัญหาภาวะนักท่องเที่ยว ล้นพื้นที่ (Over Tourism) ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบตามมาอีกหลายประการ อาทิ ความเสื่อมโทรมของแหล่ง ท่องเที่ยว ปัญหามลภาวะทางเสียงและอากาศ ปัญหาขยะ ชุมชนรู้สึกสูญเสียความสุข และวิถีชีวิตดั้งเดิมของตนไป อย่างไรก็ดี ภายหลังทั่วโลกเผชิญกับการระบาดของไวรัส โควิด-19 การท่องเที่ยวเปลี่ยนจากภาวะที่มีนักท่องเที่ยวล้น พื้นที่ (Over tourism) ไปสู่การท่องเที่ยวซบเซา (No Tourism) นักท่องเที่ยวลดจำนวนลงอย่างน่าตกใจในชั่วข้ามคืน หลายประเทศเริ่มตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการพึ่งพาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมากเกินจำเป็น ซึ่งส่งผลเชิงลบต่อ ความเป็นอยู่ของคนท้องถิ่นและระบบนิเวศ ทางรอดของอุตสาหกรรมนี้จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงความยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่ง ยืนยันว่า การพัฒนาเพื่อตั้งรับ และปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งสำคัญ หลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ ท่ อ งเที ่ ย ว ผู ้ ป ระกอบการ และชุ ม ชน จำเป็ น ต้ อ งให้ ความสำคั ญ อั น เห็ น ได้ จ ากการที ่ ห ลายองค์ ก รกลั บ มาให้ ความสำคัญกับการพัฒนาพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนมากขึ้น หลายองค์กรจึงมีการพัฒนาเครื่องมือ (Tool) แนวทาง (Guideline) และมาตรฐานต่ า ง ๆ (Standard) เพื ่ อ ยกระดั บ การจั ด การการท่ อ งเที ่ ยวให้ ม ี ป ระสิ ท ธิ ภาพ อาทิ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) เกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวสากล (Global Sustainable Tourism Criteria - GSTC) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุง รัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. 2546 เป็นต้น เพื่อให้เกิดกำหนดนโยบาย แผนงาน มาตรการ และแนวทางเกี่ยวกับ การอนุรักษ์พื้นที่เมืองเก่าก่อเกิดการยกระดับการจัดการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ (Carrying Capacity: CC) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ ในการศึกษาระดับการใช้ประโยชน์ พื้นที่เพื่อรองรับการท่องเที่ยวและผลกระทบจากการท่องเที่ยว เพื่อให้มีการ วางแผนยกระดับการบริการจัดการแหล่งท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถควบคุมผลกระทบด้านลบที่จะ เกิดขึ้นต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจท้องถิ่น และคุณภาพของประสบการณ์ที่ นักท่องเที่ยวจะได้รับเมื่อมาเยือนแหล่งท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี การประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ ส่วนใหญ่ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากนักวิชาการในการประเมิน เพื่อให้เครื่องมือดังกล่าวสามารถปรับใช้ในการประเมินพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่า สำนักพัฒนาขีดความสามารถการ ท่องเที่ยว องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) จึงเล็งเห็นว่า ควรมีการพัฒนา ตัวชี้วัดและวิธีการประเมินเพื่อให้ชุมชนสามารถใช้คู่มือประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ประเมินตนเอง เพื่อ ตั้งรับปรับสู้ วางแนวทางในการบริหารจัดการท่องเที่ยวได้กับสถานการณ์ท่องเที่ยวในปัจจุบัน โดยใช้การประเมินขีด ความสามารถในการรองรับได้มาประยุกต์ใช้ในการยกระดับการบริหารจัดการในย่านเมืองเก่า


2

2. ความเป็นมาและความสำคัญของการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ ขีดความสามารถในการรองรับ ได้ (Carrying Capacity: CC) “ถือเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยในการระบุ ระดับการใช้ประโยชน์สูงสุด ความเปลี่ยนแปลง ผลกระทบ และปัจจัยเสี่ยง ที่เกิดจากการไม่ควบคุมหรือขาด แนวทางในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวที่ดีซึ่งจะส่งผลกระทบต่อลักษณะทางกายภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สังคมวัฒนธรรมชุมชน จิตวิทยาของผู้มาเยือน และเศรษฐกิจท้องถิ่น " แนวคิดเรื่องของขี ดความสามารถในการ รองรับได้มีมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในด้านการจัดการอุทยานฯและสัตว์ป่า แนวคิดนี้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1945 เพื่อการประเมินความสามารถของป่าเพื่อการเลี้ยงโดยสัตว์ ต่อมาในช่วงต้นปี ค.ศ. 1960 แนวคิดดังกล่าว ถูกนำไปใช้กับกิจกรรมสันทนาการ เพื่อระบุการรบกวนต่อระบบนิเวศจากประกอบกิจกรรม ต่อมามีการใช้แนวคิดขีด ความสามารถในการรองรับได้ ในการท่องเที่ยวอย่างแพร่หลายเพื่อเป็นแนวทางการอนุรักษ์และตัดสินใจเกี่ยวกับการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อให้กิจกรรมท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นเกิดการควบคุม และส่ง ผลกระทบน้อยที่สุดในพื้นที่ธรรมชาติ ในยุคปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หลายประเทศอยู่รอดได้ด้วยการท่ องเที่ยว เช่นเดียวกับประเทศไทย ที่มีการท่องเที่ยวในการสร้างรายได้ให้กับคนหลายระดับ ตั้งแต่เขตชุมชนบทไปจนถึงชุมชน เมือง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นส่งผลคุกคามต่ออัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยเฉพาะชุมชนย่านเมืองเก่าและนำไปสู่ผลกระทบ ต่ อ พลเมื อ งผู ้ อ ยู ่ อาศั ย ในชุ ม ชน รวมไปถึ ง ประสบการณ์ ด้ า นลบต่ อผู ้ ม าเยื อ น ดั ง นั ้ น แนวคิ ด เรื ่ อ งการกำหนด ขีดความสามารถในการรองรับได้ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการความสมดุล ในการใช้ประโยชน์พื้นที่เมืองเก่าใน แง่ของการท่องเที่ยว หลักการของการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ 1. ชุมชนกำหนดขอบเขตพื้นที่ในการควบคุมและบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่ชัดเจน 2. มีกลุ่มในลักษณะคณะกรรมการชุมชน กลุ่มชมรมท่องเที่ยว กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือรูปแบบอื่น ๆ และ สมาชิกพร้อมเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาร่วมกัน 3. มีการเตรียมความพร้อมของคนก่อน มีการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับได้ ทั้งในด้านเป้าหมาย ขั้นตอนกระบวนการ วิธีการ ช่วงเวลา และจำนวนคนในการประเมินแต่ละด้าน 4. ควรประเมินผลกระทบก่อนการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ เพื่อระบุความสำคัญในการศึกษา ในการแก้ไขปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขเร่งด่วน 5. ชุมชนต้องอาศัยพี่ เลี้ยงหรือนักวิชาการในพื้นที่ เข้าร่วมการประเมิน เนื่องจากบางปัจจัยต้องอาศัยความ เชี่ยวชาญเฉพาะ 6. ต้องสำรวจเก็บข้อมูลตามแนวทางที่ได้ระบุไว้เบื้องต้นก่อนประเมินตามเกณฑ์ 7. ขีดความสามารถในการรองรับได้ สามารถเปลี่ยนหรือมีความหมายแตกต่างกันไป ตามชนิดของแหล่ง ท่องเที่ยว กิจกรรม เวลา และสถานที่ 8. เกณฑ์และปัจจัยที่นำมาพิจารณาขึ้นอยู่กับพื้นที่และเป้าหมายในการประเมิน เช่น ขนาดพื้นที่ความต้องการ น้ำ การปล่อยของเสีย การดำรงรักษาทัศนียภาพ ตลอดจนขีดความสามารถในการรองรับได้แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น


3

9. ความสามารถหรือโอกาสในการจัดการ ในการควบคุม และการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ต้อง พิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องก่อนตัดสินใจเลือกระดับขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยว และ จะต้องคำนึงถึงความเกี่ยวข้องของปัจจัยต่าง ๆ 10. ขั้นตอนสุดท้ายการตัดสินใจเลือกขีดความสามารถในการรองรับได้ จะต้องคำนึงถึงความเกี่ยวข้องของปัจจัย ต่าง ๆ และเลือกสรรข้อกำหนดที่มีประสิทธิภาพ 11. ผลที่ได้จากการประเมินนำไปยกระดับหรือควบคุมการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพ 12. ชุมชนควรมีการทบทวนและประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ต่อเนื่องอย่างน้อยทุก ๆ 2 ปี ประโยชน์จากการพัฒนาคู่มือการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ ทั ้ ง นี ้ เพื ่ อ ป้ อ งกัน ปั ญ หานั กท่อ งเที ่ ย วหนาแน่น ตลอดจนการบริ ห ารจั ดการด้ า นสาธารณู ป โภค ด้ า น สิ่งแวดล้อม ด้านจิตวิทยา ด้านสังคมวัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจให้มีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ส่งผลกระทบ ต่ อ สิ ่ ง แวดล้ อ มน้ อ ยที ่ สุ ด และก่ อ ให้ เ กิ ด การท่ อ งเที ่ ย วที ่ ย ั ่ ง ยื น ประโยชน์ จ ากการพั ฒ นาคู ่ ม ื อ การประเมิ น ขี ด ความสามารถในการรองรับได้ อธิบายได้ 3 ประการ ดังนี้ ประการที่ 1 เป็นเครื่องมือในการศึกษาสถานภาพ ฐานข้อมูล และขีดความสามารถในการรองรับได้ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้าน กายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจิตวิทยา ด้านสังคมวัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจ เพื่อเป็น กรอบแนวทางในการจัดการและควบคุมผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อย่านชุมชนเมืองเก่า ชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลข้อมูลตามแนวทางของการประเมินได้ด้วยตนเอง ประการที่ 2 เป็นการสร้างเสริมศักยภาพและยกระดับการพัฒนาการท่องเที่ยวและการจัดการเมืองเก่า ของชุมชนให้มี ประสิทธิภาพ และเป็นฐานข้อมูลให้กับหน่วยงานหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้ามาส่งเสริมและพัฒนาในประเด็นที่ เกี่ยวข้อง ประการที่ 3 เพิ ่ ม โอกาสในการเข้ า ถึ งการตลาดที ่ ม ี ศั ก ยภาพ เนื ่ อ งจากมี แนวทางการจั ดการที ่ เ หมาะสมในการลด ผลกระทบด้านต่าง ๆ เพื่อยกระดับ “คุณค่า” และ “มูลค่า” ทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้ที่ อยู่ในระบบการท่องเที่ยว

3. วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเครื่องมือให้กับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการตรวจสอบ ประเมินผล และกำหนดแนว ทางการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าแบบมีส่วนร่วมภายใต้ขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่ง ท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่าในด้านต่าง ๆ


4

ประโยชน์จากนำคู่มือไปใช้ 1. ชุมชนเกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินการตามมาตรการในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว เพื่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหานักท่องเที่ยวหนาแน่น 2. ชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยว สามารถนำผลการศึกษามาเป็นแนวทางในการประเมิน ขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเทีย่ ว และการกำหนดมาตรการในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวให้ เหมาะสมกับขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่า

4. องค์ประกอบของการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้

จากแผนภาพข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการเชื่อมโยงการประเมินขีดความสามารถในการรองรับ ได้ทั้ง 5 ด้าน ที่จำเป็นต่อการศึกษาเพื่อทบทวนศักยภาพในการรองรับการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชน มีรายละเอียด อธิบายได้ดังนี้ ด้านที่ 1 ขีดความสามารถในการรองรับทางการท่องเที่ยวด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก (Physical Carrying Capacity for Tourism : PCC) ระดับการใช้ประโยชน์ด้านท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับ พื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกซึ่งใช้ในการรองรับ กิจกรรมการท่องเที่ยวในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยพิจารณาจากขนาดพื้นที่ที่สามารถเปิดให้ใช้ประโยชน์ ด้านการท่องเที่ยว ค่ามาตรฐานด้านพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกซึ่งกิจกรรมแต่ละประเภทต้องการเพื่อ ให้การประกอบกิจกรรม เป็นไปอย่างมีคุณภาพ


5

ด้านที่ 2 ขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Carrying Capacity for Tourism : ECC) ระดับการใช้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ ค่าสูงสุดของผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สามารถยอมให้ เกิดขึ้นได้ โดยสิ่งแวดล้อมไม่เสื่อมโทรม การกำหนดขีดความสามารถของธรรมชาติ เช่น ดิน น้ ำ อากาศ เสียง ในการ รองรับต่อผลกระทบจากกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ มีการกำหนดค่าเพื่อรักษาระดับไม่ให้ผลกระทบที่เกิดขึ้ น ทำลายสิ่งแวดล้อมและ ระบบนิเวศจนไม่สามารถฟื้นฟูได้ ด้านที่ 3 ขีดความสามารถในการรองรั บการท่องเที ่ยวด้า นสังคมวัฒนธรรม (Social - Cultural Carrying Capacity for Tourism, SCC) จำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุดต่อช่วงเวลาที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อสังคม และวัฒนธรรมของชุมชน ท้องถิ่นในแหล่งท่องเที่ยวจนชุมชนเกิดความรู้สึกอึดอัด และส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ด้านที่ 4 ขีดความสามารถในการรองรับทางการท่องเที่ยวด้านจิตวิท ยา (Psychological Carrying Capacity for Tourism, PsCC) จำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุดในแหล่งท่องเที่ยวในช่วงเวลาหนึ่ง ที่ยังคงทำให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ ท่องเที่ยวที่มีคุณภาพได้ โดยเฉพาะด้านความรู้สึกและอารมณ์ เช่น ความรู้สึกแออัดต่อจำนวนนักท่องเที่ยว ด้านที่ 5 ขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวด้านเศรษฐกิจ (Economic Carrying Capacity for Tourism, EconTCC) จำนวนนักท่องเที่ยวที่จะสามารถให้ผลตอบแทนที่มีความเหมาะสมที่สุดในด้านเศรษฐกิจ และจำนวน นักท่องเที่ยวน้อยที่สุดที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้คุ้มกับการลงทุนพัฒนาแหล่งท่องเทีย่ ว สิ่งอำนวยความสะดวก และการ บริการ


6

5. แนวทางในการใช้คู่มือและการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ทางการท่องเที่ยว ในพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่า แนวทางในการใช้คู่มือและการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนย่าน เมืองเก่า อธิบายได้ดังแผนภาพด้านล่างนี้


7

6. “ชวนคิ ด ชวนคุ ย ชวนทำ” กระบวนการสร้ า งการมี ส ่ ว นร่ ว มก่ อ นการประเมิ น ขี ด ความสามารถในการรองรับได้ทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่า การมีส่วนร่วมจัดทำขีดความสามารถในการรองรับได้ทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่า การนำแนวคิดการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไปสู่การปฏิบั ตินั้น ต้องอาศัยหลักการดำเนินการด้านการ จัดการความยั่งยืนของการท่องเที่ยว รวมถึงการให้ความสำคัญกับการสร้างความสมดุลของความต้องการของผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียที่สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ การได้รับประโยชน์ การอนุรักษ์ และการปกป้องทรัพยากรการท่องเที่ยว โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ การพิจารณาขีดความสามารถในด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงสังคม วัฒนธรรมในการใช้ทรัพยากรเพื่อให้การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวไม่เกินขีดความสามารถในการรองรับ ได้ของพื้นที่ และส่งผลกระทบต่อชุมชนในบริเวณดังกล่าว ซึ่งขั้นตอนของการพิจารณาขีดความสามารถในการรองรับได้ทางการ ท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่า นั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนร่วมกันในทุกกระบวนการของการจัดทำ ทั้งการ วางแผน การปฏิบัติการ การพัฒนา การติดตามประเมินผล และการควบคุม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบหรือ ปัญหาที่ส่งผลเสียต่อคุณภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวอันนำไปสู่การจัดการท่องเที่ยวที่ไม่ยั่งยืนในพื้นที่ การดำเนินการไปสู่การปฏิบั ติเพื่อบรรลุเป้าหมายตามแผนที่วางไว้ จึงไม่ใช่เป็นเพียงบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นสิ่งที่ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องมีส่วนร่วมดำเนินการ” หรืออาจเรียกในภาพรวมได้ว่า “การมีส่วนร่วมของ ประชาชน” ซึ่งในที่นี้ หมายถึง กระบวนการที่ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียได้มีโอกาสแสดงทัศนะ แลกเปลี่ยน ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นหลากหลายแง่มุม เพื่อแสวงหาทางเลือก รวมถึงการตัดสินใจต่าง ๆ จนสามารถประเมิน ขีดความสามารถในการรองรับ ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน เพื่อนำผลไปสู่การวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ในการ วางแผน การจัดการ และการพัฒนาได้อย่างเหมาะสม โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรเข้า มามีส่วนร่วมในกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ การรับรู้ การตระหนักร่วม การเรียนรู้ นำไปสู่การกำหนดแนวทางต่าง ๆ ตาม เป้าหมายและการได้รับประโยชน์ร่วมกัน ดังนั้น การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยว ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถ หรือศักยภาพ ของประชาชนในชุมชนต่อการดูแลและจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ของ ตนอย่างเหมาะสม ตามความพร้อม ความต้องการ และขีดความสามารถในการรองรับ ได้ตามที่เห็นพ้องร่วมกัน จะ นำไปสู่การมีพลังความร่วมมือ และพร้อมมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการท่องเที่ยว ประโยชน์ที่เกิดจากการ ท่องเที่ยวจึงจะส่งผลย้อนกลับไปสู่ชุมชนท้องถิ่นโดยตรง ประเภทของขี ด ความสามารถในการรองรั บ ได้ น ั ้ น สามารถพิ จ ารณาจาก 5 ประเภท ได้ แ ก่ (1) ขี ด ความสามารถในการรองรับได้ทางการท่องเที่ยวด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก (2) ขีดความสามารถในการ รองรับ ได้ทางการท่องเที่ยวด้านสิ่งแวดล้อม (3) ขีดความสามารถในการรองรับ ได้ทางการท่องเที่ยวด้านสัง คม วัฒนธรรม (4) ขีดความสามารถในการรองรับ ได้ทางการท่องเที่ยวด้านจิตวิทยา และ (5) ขีดความสามารถในการ รองรับได้ทางการท่องเที่ยวด้านเศรษฐกิจ โดยมิติการมีส่วนร่วมกับการประเมินขีดความสามารถในการรองรับ ได้ พบว่าในแต่ละด้านนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต้องสร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่เป็นสำคัญ ด้วยการ ร่วมทบทวนข้อมูลรอบด้านและการประเมินตนเองเพื่อให้ได้ผลการประเมินสะท้อนถึงศักยภาพ ปัญหา ข้อจำกัดต่าง ๆ


8

นำมาคิดวิเคราะห์ในการกำหนดเป้าหมายและการจัดการท่องเที่ยวที่มีขีดความสามารถในการรองรับได้มาเป็น แนวทางหรือกรอบการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนได้อย่างยั่งยืน การใช้คู่มือการประเมิน ขีดความสามารถในการรองรับได้ทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่า นี้ ประกอบด้วยการประเมินขีดความสามารถในการรองรับด้วยกัน 5 ด้าน ซึ่งในแต่ละด้านนั้นผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียจาก กิจกรรมการท่องเที่ยวต่างกันแต่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อกัน ดังนั้นการใช้คู่มือ นี้ต้องสร้างการรับรู้และความเข้าใจ ในบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างมีส่วนร่ วม เพื่อให้การประเมินขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวนั้นมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในพื้นที่ คู่มือเล่มนี้จัดทำเพื่อประเมินขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองเก่า โดยได้ทำการศึกษา ในพื้นที่ย่านเมืองเก่าภูเก็ต และชุมชนริมน้ำจันทบูร ดังนั้นแนวทางการใช้คู่มือนี้จึงต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม ของชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และนำคู่มือไปใช้ประโยชน์ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้ การคำนึงถึงผู้เกี่ยวข้องภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม และการประสานดำเนินงาน หลังจากทำความเข้าใจในสถานการณ์การท่องเที่ยวในพื้นที่แล้วสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การค้นหาผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมการท่องเที่ยวนั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านเมืองเก่าอาจมีความพิเศษมากกว่าแหล่ง ท่องเที่ยวทั่วไป ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับคนในชุมชนเป็นลำดับแรก จากนั้นต้องดำเนินการสำรวจหาผู้มีส่วนได้ส่วน เสียอื่น ๆ เช่น อาจมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์อาคาร การจัดการสิ่งแวดล้อม ระเบียบข้อ บังคับเกี่ยวกับผัง เมือง โดยสามารถจัดประชุมชวนคิดชวนคุยเพื่อกำหนดบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ดังตารางต่อไปนี้ ขั้นตอน ขีดความสามารถในการรองรับ ทางการท่องเทีย่ วด้านกายภาพ และสิ่งอำนวยความสะดวก

ผู้เกี่ยวข้อง ชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน นักท่องเที่ยว

ขี ด ความสามารถในการรองรั บ ชุมชน ทางการท่องเที่ยวด้านสิ่งแวดล้อม ภาครัฐ ภาคเอกชน นักท่องเที่ยว

บทบาท เป็นผู้ประเมินผลกระทบ และศึกษาการใช้ประโยชน์สิ่ง อำนวยความสะดวกในพื้นที่ และดูแลรักษา ศึกษาการใช้ประโยชน์ สนับสนุนสิ่งอำนวยความ สะดวก และปรับปรุง ซ่อมแซม ใช้ประโยชน์สิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ และดูแล รักษา ใช้ประโยชน์สิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ และดูแล รักษา เป็นผู้ประเมิ น ผลกระทบ และใช้ประโยชน์ ทางด้ า น สิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ และดูแล รักษา ให้การสนับสนุน ออกมาตรการ ควบคุม และดูแลรักษา ใช้ประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมธุรกิจ และ ดูแลรักษา ใช้ประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อกิจกรรมท่องเที่ยว ในพื้นที่ และดูแลรักษา


9

ขั้นตอน ผู้เกี่ยวข้อง ขี ด ความสามารถในการรองรั บ ชุมชน ทางการท่ อ งเที ่ ย วด้ า นสั ง คม ภาครัฐ วัฒนธรรม ภาคเอกชน นักท่องเที่ยว ขี ด ความสามารถในการรองรั บ ชุมชน ทางการท่องเที่ยวด้านจิตวิทยา ภาครัฐ ภาคเอกชน นักท่องเที่ยว ขี ด ความสามารถในการรองรั บ ชุมชน ทางการท่องเที่ยวด้านเศรษฐกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน นักท่องเที่ยว

บทบาท เป็นผู้ประเมินผลกระทบ และสร้างการมีส่วนร่วม ให้การสนับสนุน ออกมาตรการ ควบคุม ส่งเสริม การมี ส่วนร่วม และดูแลรักษา ให้การสนับสนุน และมีส่วนร่วมกับชุมชนพื้นที่ ไม่ ส ร้ า งผลกระทบเชิ ง ลบต่ อ การท่ อ งเที ่ ย วในพื ้ น ที่ ชุมชน เป็นผู้ประเมินผลกระทบ การสนับสนุน ออกมาตรการ ควบคุม และดูแลรักษา ให้การสนับสนุน ส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ เป็นผู้สะท้อนถึงผลการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวใน พื้นที่ เป็นผู้ประเมินผลกระทบ การสนั บ สนุ น ออกมาตรการ ควบคุ ม และส่ ง เสริ ม ทางด้านเศรษฐกิจ ให้การสนับสนุน ส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ เป็นผู้สะท้อนถึงผลการศึกษา

“ชวนคิด ชวนคุย ชวนทำ” กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมและการยอมรับร่วมกัน จากการทำความเข้าใจสถานการณ์ และรู้ว่าใครเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแล้ว สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป คือ การชวนคิด ชวนคุย และชวนลงมือ เพื่อดำเนินการประเมินขีดความสามารถในการรองรับนั ได้ โดยมีเกณฑ์มาตรฐาน ที่ชุมชนสามารถดำเนินการตามได้ แต่อะไรที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะอะไร และจะหาแนวทางแก้ ไขอย่างไร โดยมีขั้นตอนการสร้างการมีส่วนร่วม ดังนี้ 1) ร่วมคิดด้วยกัน ว่าอะไรที่เป็นปัญหาของชุมชน มีสาเหตุอย่างไร และจำกัดลำดับความสำคัญของปัญหา และเป้าหมายอย่างไร และควรที่จะจัดการกับปัญหาใดก่อนหลัง 2) ร่วมกันวางแผน การดำเนินงานว่าจะจัดกิจกรรมหรือโครงการอะไร จะมีการแบ่งงานกันอย่างไร มีการ กำหนดงบประมาณที่จะใช้ดำเนินการมากน้อยเพียงใด รวมถึงจะหาแหล่งงบประมาณจากที่ใด และใครเป็นผู้ดูแล รักษา 3) ร่วมดำเนินงาน ประชาชนต้องเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความเต็มใจตามกำลังความรู้ความสามารถของตนเอง 4) ร่วมกันติดตามประเมินผล ตลอดเวลาที่ทำงานร่วมกัน โดยประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการตรวจสอบถึง ปัญหาอุปสรรคและร่วมกันในการหาทางแก้ไขปัญหา เพื่อให้งานหรือภารกิจดังกล่าวนั้นสามารถสำเร็จลุล่วงตาม เป้าหมาย 5) ร่วมรับผลประโยชน์ จากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนแล้วย่อมที่จะได้ รับ ผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งอาจจะไม่ได้อยู่ในรูปของตัวเงินวัตถุสิ่งของแต่อาจเป็นความสุข ความสบายใจ หรือความพอใจ ในสภาพของความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


10

กระบวนการดังกล่าวอาจจัดเวทีพูดคุยจากวงเล็ก ๆ ไปสู่วงที่ใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ อย่าลืมว่ากระบวนการนี้เรามี เพื่อนที่จะช่วยเรา บางเรื่องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจยื่นมือเข้ามาให้การสนับสนุน ดังนั้น เราจึงต้องดำเนินการระบุผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียให้ชัดเจน ทำความเข้าใจว่าเขามีหน้าที่อะไร ช่วยเหลืออะไรได้บ้าง ข้อพึงใส่ใจต่อการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม การเตรียมคนร่วมกระบวนการ การค้นหาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต้องเริ่มจากการศึกษาและทำความเข้าใจถึง การจัดการท่องเที่ยวว่ามีบุคคล หรือองค์กรใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งต้องเปิดมุมกว้างถึงภารกิจและบทบาทเป็น สำคัญ โดยไม่นำอคติมาปิดกั้น จนไม่สามารถค้นหาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างครบถ้วน การสร้างความเข้าใจ จุดเริ่มต้นของการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ต้องสร้างการรับรู้ ความเข้าใจต่อ สถานการณ์และความจำเป็นของการจัดการท่องเที่ยวโดย ต้องดำเนินการเพิ่มเติมในส่วนของการประเมิน ขีด ความสามารถในการรองรับ ได้ ซึ่งมีวิธีการหรือแนวทางต้องดำเนินการอย่างไรให้ มีความชัดเจนตรงกัน จะสร้างการ ยอมรับในวิธีการและไม่กังวลถึงความยากง่ายของการดำเนินการ การสร้างความตระหนักร่วม จากการสร้างความเข้าใจ เมื่อเสริมด้วยการได้เห็นถึงผลที่ได้ รับในด้านบวก โดยใช้ ก รณี ต ั ว อย่ า งจากชุ ม ชนที ่ ด ำเนิ น การประเมิ น และจั ด การขี ด ความสามารถในการรองรั บ ได้ จนประสบ ความสำเร็จในรูปแบบวิธีการต่าง ๆ และกรณีศึกษาชุมชนที่ไม่มีการประเมินและจัดการขีดความสามารถในการรองรับ ได้ แล้วประสบปัญหาต่าง ๆ จะส่งผลต่อการสร้างการยอมรับและมีความตระหนักร่วม ว่าควรต้องมีการดำเนินการ อย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน การสร้างความชัดเจนถึงผลประโยชน์ที่ได้รับ การมีส่วนร่วมนั้นแน่นอนว่าอาจมีผู้ที่ได้ประโยชน์และผู้ที่ อาจจะเสียประโยชน์ วิธีการดำเนินการสร้างข้อตกลงร่วมกันเพื่อประสานประโยชน์แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้มีความ ชัดเจน เกิดการยอมรับ และเห็นประโยชน์ร่วมกัน ทั้ งต่อตนเองและชุมชนจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าผลที่ตามมาจะเป็น อย่างไรแต่อย่างน้อยที่สุดการที่ชุมชนได้ร่วมคิด ร่วมทำ ชุมชนและทรัพยากรในชุมชนย่อมได้รับการใส่ใจ ดูแล และ ได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม สามารถเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ประกอบการสร้างการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะวิธีการจัดประชุมกลุ่ม หรือจัดเวที โดยมีผู้ดำเนินการจัดประชุม เพื่อเปิดโอกาสให้ร่วมคิด ร่วมเสนอในแง่มุม ต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง แม้มีความคิดต่าง แต่ต้องสร้างการยอมรับ รับฟังซึ่งกันและกัน พร้อมผสานความคิดให้เป็น ความคิดร่วมของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ ให้การยอมรับร่วมกัน ซึ่งอาจดำเนินการทั้งเพื่อการสร้างความเข้าใจ ความ ตระหนัก การค้นหาข้อมูล สรุปข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ให้เกิดประโยชน์ต่อ การประเมินขีดความสามารถในการรองรับ นักท่องเที่ยว และนำไปสู่การจัดการท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน “การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นพลังสำคัญของการขับเคลื่อนในการประเมินขีดความสามารถใน การรองรับได้ทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่า” “การจัดการท่องเที่ยว ด้วยขีดความสามารถในการรองรับได้ สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ศักยภาพ ความต้องการของผู้มีสว่ นได้ส่วนเสีย สามารถสร้างประโยชน์สู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และไม่สร้างผลกระทบด้านลบต่อพื้นที่ ชุมชน ท้องถิ่น


11

การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของพื้นที่ในมิติการท่องเที่ยว การดำเนินการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ สิ่งแรกที่สำคัญและ จำเป็นต้องดำเนินการอย่างมาก คือ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การท่องเที่ยวในย่านเมืองเก่า ซึ่งในแต่ละ พื้นที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นที่แตกต่างกัน การทำความเข้าใจในบริบทของพื้นที่ รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่ความจำเป็นในการจัดการท่องเที่ยวตามขีดความสามารถในการ รองรับได้ของชุมชนเพราะ กิจกรรมท่องเที่ยวอาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ จนนำมาสู่ความอึดอัดของคน ในพื้นที่ ถึงแม้ว่าสถานการณ์ในวันนี้อาจจะดีเป็นที่พึงพอใจ หากไม่มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าแล้ว กิจกรรมการ ท่องเที่ยวอาจส่งผลกระทบทางลบและนำไปสู่ความไม่ยั่งยืนในอนาคต การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของพื้นที่ ในคู่มือนี้เป็นการนำเสนอเพื่อเป็นตัวอย่างของประเด็นคำถาม ซึ่ง ผู้นำไปใช้ประโยชน์สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางกำหนดประเด็นคำถามได้ตามความเหมาะสมกับบริบท สถานการณ์ หรือสภาพการณ์ของพื้นที่ รวมถึงประเด็นตามความสนใจของชุมชน ในที่นี้จึงขอนำเสนอแนวคำถาม แบ่งประเด็น คำถามสำหรับการสัมภาษณ์ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) แนวคำถามสำหรับ การสัมภาษณ์ชุมชน โดยเน้นข้อมูลบริบท ศักยภาพ ปัญหา ความต้องการของชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับด้านการท่องเที่ยว และ 2) แนวคำถามสำหรับ การ สัมภาษณ์ภาครัฐและภาคเอกชน เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานในมิติด้านการท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชน โดยแนว คำถามเพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของพื้นที่ในมิติการท่องเที่ยว แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ชุมชน มีประเด็นคำถาม 7 ส่วน ดังนี้ 1. ประเด็นคำถามเกี่ยวกับขีดความสามารถในการรองรับได้ 1.1 การมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับขีดความสามารถในการรองรับด้านการท่องเที่ยว 1.2 ความต้องการที่จะกำหนดขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว 1.3 แผนการจัดการด้านการท่องเที่ยวของชุมชน 1.4 กลุ่มหรือประเภทนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวภายในชุมชน ประเภทความสนใจสินค้าและ การบริการของชุมชน และจำนวนนักท่องเที่ยวในแต่ละช่วงเดือน 1.5 มาตรการจัดการนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวภายในชุมชนจำนวนมาก 2. ประเด็นคำถามด้านชุมชน สังคม และวัฒนธรรม 2.1 วัฒนธรรม ประเพณี และคุณค่าทางวัฒนธรรมของชุมชน 2.2 กิจกรรมที่ทำร่วมกันของชุมชน และลักษณะของกิจกรรม 2.3 สถานที่ทางศาสนา เวลาปิด-เปิด และจำนวนคน 2.4 ลักษณะความสัมพันธ์ของคนในชุมชน เช่น ระบบเครือญาติ ต่างคนต่างอยู่ 2.5 วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต 2.6 สัดส่วนและสภาพของกลุ่มสมาชิกภายในชุมชน เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก คนดั้งเดิม หรือคนย้ายเข้ามา ใหม่


12

3.

4.

5.

6.

7.

2.7 พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ไม่พึงประสงค์ของชุมชน และการส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ของชุมชน ประเด็นคำถามด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 3.1 สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่มีคุณค่าต่อชุมชน 3.2 สภาพภูมิทัศน์ภายในชุมชน และการดูแลรักษาภูมิทัศน์ของชุมชน 3.3 การนำทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มาใช้ในการท่องเที่ยว 3.4 ปัญหาสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมชุมชน 3.5 การจัดการปัญหา และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน 3.6 การตรวจสอบคุณภาพน้ำ จำนวนการตรวจสอบ การจัดการ 3.7 ปริมาณฝุ่นละอองในพื้นที่ (ลงวันที่ตรวจสอบ) ประเด็นคำถามด้านเศรษฐกิจ 4.1 การประกอบอาชีพของสมาชิกในชุมชน 4.2 ธุรกิจภายในชุมชนที่คนในชุมชนเป็นเจ้าของ และภาคเอกชนเป็นเจ้าของ 4.3 สภาพการใช้จ่าย และรายได้ การเพียงพอของรายได้ต่อการใช้จ่าย 4.4 การลงทุนทำธุรกิจภายในพื้นที่ของคนนอกชุมชน ธุรกิจประเภท ผลกระทบต่อชุมชน 4.5 ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นภายในชุมชน 4.6 การจ้างแรงงานในชุมชน ประเด็นคำถามด้านการบริหารและการจัดการ 5.1 การจัดการในพื้นที่ของชุมชน การกำหนดกฎเกณฑ์ หรือกฎระเบียบของชุมชน 5.2 กลุ่มผู้นำจัดการหรือพัฒนาพื้นที่ และลักษณะการมีส่วนร่วมของชุมชน 5.3 การจัดประชุมชุมชนพูดคุยแลกเปลี่ยนการบริหารจัดการพื้นที่ หรือการจัดโครงการ/กิจกรรม 5.4 การจัดการพื้นฐานของชุมชน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะ ด้านความสะอาด สุขอนามัย ด้าน ความปลอดภัย 5.5 การจัดการกองทุน หรือสวัสดิการชุมชน และการช่วยเหลือเยียวยาสมาชิกภายในชุมชน 5.6 หน่วยงานที่เข้ามาส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนากิจกรรมภายในชุมชน 5.7 การจัดการด้านการท่องเที่ยวของชุมชน และการได้รับความรู้ด้านการจัดการการท่องเที่ยว ประเด็นคำถามด้านจิตวิทยา 6.1 ความรู้สึกแออัดต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าเยือน และช่วงเวลาที่เกิดขึ้น 6.2 ความรู้สึกไม่ปลอดภัยในชุมชน 6.3 ความรู้สึกพึงพอใจกับจำนวนนักท่องเที่ยว และจำนวนที่พอใจ 6.4 ความรู้สึกพึงพอใจต่อช่วงวัน เวลา ภายใน 1 สัปดาห์ต่อความพร้อมในการรับนักท่องเที่ยว 6.5 ความรู้สึกต่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ ประเด็นคำถามด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก 7.1 กิจการที่พักและโรงแรมภายในชุมชน จำนวนห้องพัก สถิติการใช้น้ำของนักท่องเที่ยวในแต่ละเดือน 7.2 ศูนย์การให้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ลักษณะการให้ข้อมูล และขนาดพื้นที่ในการรองรับนักท่องเที่ยว


13

7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 7.8 7.9

สถานที่สาธารณะ และสถานที่ส่วนรวมของชุมชน ห้องน้ำสาธารณะของชุมชนมี การแยกห้องน้ำชายและห้องน้ำหญิง และห้องน้ำสำหรับผู้พิการ สถานที่จอดรถ และความสามารถในการรองรับจำนวนรถ แยกประเภทรถสี่ล้อ รถจักรยานยนต์ จุดทิ้งขยะ หรือถังขยะ และจำนวนปริมาณขยะ ป้ายบอกทาง ป้ายสื่อความหมายภายในชุมชนมี คุณภาพ/ลักษณะการใช้งานของป้าย ลักษณะการสัญจรในพื้นที่ภายในชุมชน ลักษณะของเส้นทางเดินเท้าภายในชุมชน ความสามารถในการรองรับผู้พิการ (Tourism for All) และลักษณะของผู้พิการ เช่น ทางสายตา ทาง กาย และการเข้ามาเยือนในชุมชน เช่น ครอบครัว กลุ่มทัวร์ เป็นต้น

แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ภาครัฐ มีประเด็นคำถาม 6 ส่วน ดังนี้ 1. ประเด็นคำถามด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก 1.1 มีสถานที่รวมตัวของชุมชนไหม จำนวนแห่ง ขนาดพื้นที่ ตำแหน่งสถานที่ (จุดนัดพบ/สะดวก) 1.2 จำนวนสถานที่จอดรถ ตำแหน่งสถานที่ จำนวนรถที่รองรับได้ (แยกประเภท) 1.3 สิ่งสนับสนุนอำนวยความสะดวกของหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ท่องเที่ยว 1.4 การรองรับผู้พิการ (Tourism for All) 2. ประเด็นคำถามด้านชุมชน สังคม และวัฒนธรรม 2.1 งานประเพณี ช่วงวัน เดือน 2.2 กิจกรรมที่ส่วนรวมหรือชุมชนทำร่วมกัน หมายรวมถึงกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวเข้าร่วมได้ 2.3 การเข้ามาของคนนอกพื้นที่ ทางด้านการท่องเที่ยว 2.4 ความสุขมวลรวมของประชากรในพื้นที่ 2.5 กลุ่มอาชีพ สังคม และเครือข่ายของชุมชนในพื้นที่ 2.6 ปัญหาทางสังคม ความขัดแย้งในพื้นที่ระหว่างคนในพื้นที่กับคนต่างถิ่นหรือหนักท่องเที่ยวกับคนในพื้นที่ 3. ประเด็นคำถามด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 3.1 การตรวจสอบคุณภาพน้ำ ความถี่ในการตรวจสอบ ผลที่ได้ วิธีการจัดการ 3.2 สภาพภูมิทัศน์ภายในชุมชน การดูแลภูมิทัศน์ในชุมชน 3.3 การจัดการขยะ (การจัดเก็บ/ภาชนะจัดเก็บ) 3.4 ผลกระทบที่เกิดจากเสียง (เสียงตามสาย ร้านกลางคืน ผับ เสียงริมถนน) 4. ประเด็นคำถามด้านเศรษฐกิจ 4.1 การจัดเก็บภาษี (ที่ดิน โรงเรือน ขยะ การท่องเที่ยว) 4.2 แผนและงบประมาณในการจัดการท่องเที่ยว 4.3 สถิติทางด้านเศรษฐกิจจากชุมชน (10 – 15 ปีย้อนหลัง)


14

4.4 การลงทุนจากผู้ประกอบการภายนอกที่เข้ามาในพื้นที่ (หอการค้าจังหวัด สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวใน พื้นที่) 4.5 การจ้างแรงงาน ภาคการท่องเที่ยวในพื้นที่ 4.6 อัตราค่าครองชีพ 4.7 การเปลี่ยนเจ้าของสถานประกอบการในพื้นที่ (ร้านเช่า ซื้อ-ขาย) 5. ประเด็นคำถามด้านการจัดการ (มิติการท่องเที่ยว) 5.1 แผนที่ มุ่งเน้นความยั่งยืนของการท่องเที่ยว ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม คุณภาพ สุขอนามัย และความปลอดภัยของแหล่งท่องเที่ยว 5.2 การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันและเปิดเผยต่อสาธารณะ 5.3 แผนที่ได้รับการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมจากประชาชน 5.4 สถานที่ภายในชุมชนที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ชอบไป 6. ประเด็นคำถามด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ 6.1 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค 6.2 ด้านสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย 6.3 ด้านสังคม วัฒนธรรม 6.4 ด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง 6.5 ด้านความปลอดภัย


15

7. ประเมินผลกระทบเบื้องต้น การประเมินผลกระทบเบื้องต้น เป็นกระบวนที่ชุมชนต้องมีการดำเนินการแบบมีส่วนร่วม ก่อนมีการศึกษา และประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ ซึ่งชุมชนจะต้องนำผลที่ไ ด้จากการศึกษาบริบทชุมชนเบื ้ อ งต้ น (กระบวนการชวนคิด ชวนคุย ชวนทำ) มาดำเนินการจัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ลงความเห็น ผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่ปรากฏ และประเมินผลกระทบการจัดการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วม จะทำให้ชุมชน ทราบสถานการณ์ที่เป็นปัญหา และต้องแก้ไขเร่งด่วนที่สำคัญ ในแต่ละด้าน รวมถึงความเป็นไปได้ในการสร้างการมี ส่วนร่วมในการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ร่วมกัน หากชุมชนขาดความพร้อมหรือมีความขัดแย้งภายใน สูง ชุมชนต้องให้ความสำคัญกับการสร้างการมีส่วนร่วมภายใน ให้สามารถมารถทำงานร่วมกันได้เสียก่อน เนื่องจาก การประเมินดังกล่าวต้องอาศัยแกนนำจากกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกั บการจัดการท่องเที่ยวในชุมชน ตัวแทนผู้อยู่อาศัย ในชุมชนร่วมประเมิน และนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินมาประชุมสรุปผล เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ ชุ ม ชนจำเป็ น ต้ อ งศึ ก ษา และวั ด ประเมิ น ผลขี ด ความสามารถในการรองรั บ ได้ ข องพื ้ น ที ่ ย ่ า นเมื อ งเก่ า ซึ ่ ง เป็ น กระบวนการหลังการประเมินผลกระทบเบื้องต้น ทั้งนี้ องค์ประกอบของการประเมินผลกระทบมีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมวัฒนธรรมชุมชน ด้านจิตวิทยา และด้านเศรษฐกิจ ใช้การวัดผลอย่างง่ายโดยการระบุการผลกระทบตามตัวชี้วัด “บวก” หรือ “ลบ” ผลกระทบเกิดขึ้น การวัดประเมินผล กระทบจากปัจจัย เป็นการวิเคราะห์ลงความเห็นการรับรู้ถึงผลกระทบจากกลุ่มผู้ประเมินใน 3 ระดับ ระดับผลกระทบ ต่ำ ระดับผลกระทบปานกลาง และระดับผลกระทบสูง แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1. ตัวชี้วัดผลกระทบด้านกายภาพ และสิ่งอำนวยความสะดวก 2. ตัวชี้วัดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 3. ตัวชี้วัดผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรม 4. ตัวชี้วัดผลกระทบด้านจิตวิทยา และ 5. ตัวชี้วัดผลกระทบด้านเศรษฐกิจ


16

1. ตัวชี้วัดผลกระทบด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก ตัวชี้วัดผลกระทบด้านกายภาพและสิง่ อำนวยความสะดวก ตัวชี้วัด 1. พื้นที่ประกอบกิจกรรมถนนคนเดิน 1) ชุมชนมีมาตรการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวในการเข้าชม ถนนคนเดินหรือพื้นที่ประกอบกิจกรรม 2) ชุมชนมีมาตรการกำหนดรอบหรือระยะเวลาในการเข้าชม ถนนคนเดินหรือพื้นที่ประกอบกิจกรรม 2. พื้นที่ลานจอดรถ 1) ชุมชนมีการจัดสรรพื้นที่จอดรถสำหรับรถยนต์ไม่เกิน 4 ที่ นั่ง / รถตู้ 2) ชุมชนมีการจัดสรรพื้นที่จอดรถสำหรับรถบัส 3) ชุมชนมีการจัดสรรพื้นที่จอดรถสำหรับรถจักรยานยนต์ 3. ห้องน้ำ 1) ชุมชนมีจุดให้บริการห้องน้ำสาธารณะตามจุดต่าง ๆ 4. ที่นั่งสาธารณะ 1) ชุมชนมีการจัดวางที่นั่งสาธารณะตามจุดต่าง ๆ ของถนน คนเดิน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว 5. ทางเดินเท้า 1) มี ก ารจั ด สรรทางเดิ น เท้ า ไว้ เพื ่ อ ความปลอดภั ย ต่ อ นักท่องเที่ยว ที่เข้าชมถนนคนเดิน 6. ร้านค้าบริการอาหารและเครื่องดื่ม 1) ชุมชนมีการจัดทำรายชื่อผู้ประกอบการร้านอาหาร ร้าน เครื่องดื่ม พร้อมทั้งระบุจำนวนที่นั่งสูงสุดที่แต่ละร้านสามารถ รองรับจำนวนนักท่องเที่ยว ณ ปัจจุบันที่ 7. ศูนย์/จุดบริการนักท่องเที่ยว 1) ศู น ย์ / จุ ด บริ ก ารมี พ ื ้ น ที ่ เ พี ย งพอต่ อ การรองรั บ จำนวน นักท่องเที่ยว ณ ปัจจุบัน 2) ศูนย์/จุดบริการมีมาตรการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวใน การเข้าเยี่ยม และสอบถามข้อมูล 3) ศูนย์/จุดบริการมีมาตรการกำหนดรอบ หรือ ระยะเวลาใน การเข้าเยี่ยม และสอบถามข้อมูล

ผลกระทบ บวก ลบ

ข้อพบเห็นเพิ่มเติม


17

ตัวชี้วัดผลกระทบด้านกายภาพและสิง่ อำนวยความสะดวก ตัวชี้วัด

ผลกระทบ บวก ลบ

8. ที่พัก 1) ชุมชนมีการจัดทำรายชื่อผู้ประกอบการทีพ่ ัก พร้อมทั้งระบุ จำนวนเตียงที่สามารถรองรับจำนวนนักท่องเที่ยว ณ ปัจจุบัน ที่ ผลรวมคะแนน (คะแนนเต็ม 13) ระดับผลกระทบด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก ระดับผลกระทบต่ำ ระดับผลกระทบปานกลาง

ข้อพบเห็นเพิ่มเติม

ระดับผลกระทบสูง


18

2. ตัวชีว้ ัดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัด 1.การจัดการขยะ 1) บริเวณชุมชนเมืองเก่า คัดแยกขยะ และแยกประเภทขยะ เบื้องต้น (ขยะทั่วไป รีไซเคิล อันตราย เปียก แห้ง) 2) ปริมาณขยะในพื้นที่ชุมชนเมืองเก่า สัมพันธ์กับปริมาตรถัง จัดเก็บขยะ 3) ไม่ พ บเห็ น ขยะตกค้ า งในแต่ ล ะวั น (ช่ ว งเวลาจั ด เก็ บ แน่นอน) หรือไม่พบขยะกองทิ้งตามสถานที่สาธารณะ ซึ่งไม่ใช่ บริเวณถังขยะ 4) จัดเก็บขยะเพื่อนำไปจัดการและแยกเก็บตามประเภทขยะ 5) ไม่พบเห็นพนักงานคุ้ยขยะมูลฝอยในรถเก็บขนย้าย 6) แผนงานส่งเสริมให้สถานประกอบการลดการใช้พลาสติก และนำเศษวัสดุกลับมาใช้ประโยชน์ในเขตเมืองเก่า 2. การจัดการน้ำ 1) น้ำใช้และหรือลำน้ำสาธารณะในพื้นที่เมืองเก่า ไม่มีกลิ่น เหม็นอันไม่พึงประสงค์ เช่น ก๊าซไข่เน่า ของสดเน่า ขยะ น้ำ ทิ้ง คอกหมู และมูลสัตว์ต่าง ๆ 2) น้ำใช้และหรือลำน้ำสาธารณะไม่มีสีอันไม่พึงประสงค์ เช่น ขุ่น น้ำแดง มีตะกอนปะปน และมีคราบน้ำมัน เป็นต้น 3) ชุมชนมีมาตรการในการจัดการการใช้ปริมาณน้ำอย่าง เหมาะสมเพียงพอ ไม่พบการขาดแคลนน้ำใช้ 4) ท่อน้ำทิ้งสาธารณะไม่ส่งกลิ่นเหม็นอันไม่พึงประสงค์ ไม่พบ เห็นร้านอาหารเทน้ำทิ้งและเศษอาหารลงท่อน้ำสาธารณะ โดยตรง 3. การจัดเสียงในที่สาธารณะ 1) มีมาตรการควบคุมการใช้เสียงในพื้นที่กิจกรรม เช่น ถนน คนเดิน พื้นที่ใจกลางชุมชน เป็นต้น โดยมีการกำหนดช่วงเวลา ในการใช้เสียงที่ชัดเจน เป็นข้อตกลงร่วมของชุมชน 2) มี ร ะบบติ ด ตามข้ อ ร้ อ งเรี ย นของสมาชิ ก ในชุ ม ชนต่ อ ผลกระทบทางเสียงและการจราจร

ผลกระทบ บวก ลบ

ข้อพบเห็นเพิ่มเติม


19

ตัวชี้วัดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัด

ผลกระทบ บวก ลบ

3) มีมาตรการในการจัดการผลกระทบด้านการจราจรในการ ประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้พักอาศัยใน ย่านเมืองเก่า เช่น ระบบขนส่งสาธารณะ การจัดโซน และการ กำหนดเวลาเข้าออก เป็นต้น 4. คุณภาพอากาศ 1) ไม่ พ บเห็ น ฝุ ่ น ละอองจำนวนมากอยู ่ ต ามพื ้ น บ้ า น เฟอร์นิเจอร์ พื้นที่กิจกรรม หรือบนใบไม้ในพื้นที่เมืองเก่า 2) อากาศในพื ้ น ที ่ เ มื อ งเก่ า หรื อ พื ้ น ที ่ ป ระกอบกิ จ กรรม ท่องเที่ยวไม่มีกลิ่นเหม็น 5. การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ 1) ชุมชนมีมาตรการในการจัดการพื้นที่เมืองเก่าเพื่อควบคุม การพัฒนาหรือผลกระทบที่จะเกิดต่อตัวอาคารสถาปัตยกรรม หรือผู้พักอาศัยในย่านเมืองเก่า เช่น การกำหนดโซนไข่แดง ไข่ขาว เป็นต้น 2) มีมาตรการข้อตกลงร่วมกันในการใช้ประโยชน์พื้นที่ตาม การใช้ประโยชน์พื้นที่ที่ไ ด้กำหนดขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลง รูปแบบอาคาร การต่อเติม และการรื้อถอน เป็นต้น ผลรวมคะแนน (คะแนนเต็ม 17) ระดับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ระดับผลกระทบต่ำ ระดับผลกระทบปานกลาง

ข้อพบเห็นเพิ่มเติม

ระดับผลกระทบสูง


20

3. ตัวชี้วัดผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรม ตัวชี้วัดผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรม ตัวชี้วัด 1. การมีส่วนร่วมด้านสังคมและวัฒนธรรม 1) ชุมชนรวมกลุ่มเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมทางการท่องเที่ยว 2) ชุมชนสร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ 2. การส่งเสริมด้านสังคมและวัฒนธรรม 1) ชุมชนมีแผนหรือกลไกเพื่อส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์มรดก ทางวั ฒ นธรรมในพื ้ น ที ่ เช่ น การอนุ ร ั ก ษ์ อ าคารเก่ า และ ประเพณีพื้นถิ่น เป็นต้น 2) ชุมชนจัดตั้งกลุ่มในการสืบทอดและอนุรักษ์วัฒนธรรมและ ประเพณีของตน 3) ชุ ม ชนได้ ร ั บ การสนั บ สนุ น จากหน่ ว ยงานหรื อ องค์ ก ร ภายนอกในการสืบทอดและอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณี ของตน 4) ชุมชนส่งเสริมด้านความรู้ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการ ท่องเที่ยวในพื้นที่ เช่น การอบรม การศึกษาดูงาน และการ พัฒนาทักษะที่จำเป็น เป็นต้น 5) ชุมชนสร้างการมีส่วนร่วมกับเยาวชนในชุมชนในมิติด้าน การท่องเที่ยว เช่น การให้เยาวชนเข้ามามีบทบาทการนำเทีย่ ว การแสดง หรือกิจกรรม เป็นต้น 6) ชุมชนส่งเสริมการขายสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึง เอกลักษณ์ของท้องถิ่น 7) ชุมชนสนับสนุนผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่ในการ พัฒนาปรับปรุงสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ 8) ชุ ม ชนมี ก ลไก หรื อ กระบวนการถ่ า ยทอด วั ฒ นธรรม ภูมิปัญญาให้แก่เยาวชนหรือนักท่องเที่ยว 9) ชุมชนมีแผนการบริหารจัดการพื้นที่เพื่ออนุรักษ์มรดกทาง วัฒนธรรม 10) ชุ ม ชนดู แลรั ก ษาหรื อ มาตรการป้ อ งกั น ผลกระทบต่ อ วัฒนธรรมท้องถิ่น

ผลกระทบ บวก ลบ

ข้อพบเห็นเพิ่มเติม


21

ตัวชี้วัดผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรม ตัวชี้วัด

ผลกระทบ บวก ลบ

11) ชุ ม ชนมี แ ผน มาตรการ หรื อ กลไกในการความคุ ม สิ่งก่อสร้างในพื้นที่ ให้สอดคล้องกับรูปแบบสถาปัตยกรรม ท้องถิ่น 12) ชุมชนมีกลไก หรือมาตรการในการลด การป้องกัน หรือ แก้ไขปัญหาทางด้านอาชญากรรม และยาเสพติด เช่น การลัก ขโมย การจี้ปล้นชิงทรัพย์ และการล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น 13) ชุมชนจัดการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมให้แก่ นักท่องเที่ยว 14) ชุมชนอนุรักษ์เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อ การแต่งกาย และภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. การยอมรับได้ด้านสังคมและวัฒนธรรม 1) คนในชุมชนส่วนใหญ่เห็นชอบให้มีการท่องเที่ยวเกิดขึ้น ภายในชุมชน และยอมรับได้ต่อการมีผู้มาเยือน 2) ชุมชนมีข้อตกลงร่วมกันในการใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อการ ท่ อ งเที ่ ย ว มี ก ารจั ด การอย่ า งเหมาะสม เพื ่ อ ไม่ ใ ห้ เ กิ ด ผลกระทบด้านสิทธิความเป็นส่วนตัวในการอยู่อาศัยของคน ในชุมชน ผลรวมคะแนน (คะแนนเต็ม 19) ระดับผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรม ระดับผลกระทบต่ำ ระดับผลกระทบปานกลาง

ข้อพบเห็นเพิ่มเติม

ระดับผลกระทบสูง


22

4. ตัวชี้วัดผลกระทบด้านจิตวิทยา ตัวชี้วัดผลกระทบด้านจิตวิทยา ตัวชี้วัด

ผลกระทบ บวก ลบ

การยอมรับได้ของนักท่องเทีย่ ว 1) มีข้อร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวในด้านความรู้สึกถึงความ แออัดในพื้นที่ประกอบกิจกรรม (เช่น ถนนคนเดิน พิพิธภัณฑ์ ฐานเรียนรู้) 2) จำนวนนักท่องเที่ยวขณะประกอบกิจกรรมในแต่ละวัน หนาแน่นจนเกิดการเบียดเสียดในพื้ นที่ ประกอบกิจ กรรม ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน 3) พบเห็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจากนักท่องเที่ยว เช่น ทิ้ง ขยะไม่เป็นที่ ดื่มแอลกอฮอล์ ส่งเสียงดัง และแต่งกายไม่ เหมาะสม เป็นต้น 4) นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการมาเที่ยวย่าน เมืองเก่า เช่น ประสบการณ์ความเป็นท้องถิ่น ความสะอาด ความปลอดภัย และความคุ้มค่าในการจ่าย เป็นต้น 5) นักท่องเที่ยวได้รับการบริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ทางกายภาพอย่างเพียงพอ เช่น ห้องน้ำสาธารณะ ทางเดิน เท้าสำหรับผู้พิการ และป้ายบอกทาง เป็นต้น 6) มีจุดบริการหรือจุดให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวที่ชัดเจน เช่น ศูนย์บริการข้อมูลชุมชน และหน่วยบริการชุมชน เป็นต้น 7) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่กลับมาเยือนย่านเมืองเก่า เกิดการ เที่ยวซ้ำ 8) นั ก ท่ อ งเที ่ ย วร้ อ งเรี ย นด้ า นคุ ณ ภาพการบริ ก าร และ คุณภาพอาหาร 9) คนในชุมชนส่วนใหญ่เห็นชอบและพึงพอใจในการพัฒนา พื้นที่ชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ผลรวมคะแนน (คะแนนเต็ม 9) ระดับผลกระทบด้านจิตวิทยา ระดับผลกระทบต่ำ ระดับผลกระทบปานกลาง

ข้อพบเห็นเพิ่มเติม

ระดับผลกระทบสูง


23

5. ตัวชี้วัดผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ตัวชี้วัด

ผลกระทบ บวก ลบ

เศรษฐกิจทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ 1) สภาพเศรษฐกิจชุมชนย่านเมืองเก่าดีขึ้น เป็นผลมาจากการ ท่องเที่ยว 2) คนในชุมชนมีโอกาสในการประกอบอาชีพในกิจการหรือ บริษทั ต่าง ๆ ในย่านเมืองเก่ามีมากขึ้น 3) ชุมชนจัดเก็บข้อมูลรายจ่ายของนักท่องเที่ยว รายได้ของ ผู้ประกอบการ อัตราการจ้างงาน และการลงทุน 4) อัตราการซื้อขายที่ดินหรือที่ดินมีราคาแพงขึ้นจากการ พัฒนาการท่องเที่ยว 5) ชุมชนจัดสรรผลกำไรในลักษณะกองทุนเพื่อพัฒนาด้าน สังคม สิ่งแวดล้อม และการฟื้นฟูอาคารสถาปัตยกรรม 6) การกระจายรายได้ และสร้างความร่วมมือระหว่างกันใน การส่งต่อนักท่องเที่ยวเพื่อกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 7) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่สนับสนุนสินค้าหรือวัตถุดิบจากคน ในชุมชนย่านเมืองเก่าหรือใกล้เคียง 8) สมาชิกส่วนใหญ่มีเงินออมเพิ่มขึ้น หนี้สินคงที่หรือลดลง 9) มาตรการหรือข้อตกลงสนับสนุนโอกาสการจ้างงานอย่าง เท่าเทียมกัน สำหรับผู้หญิง เยาวชนบุคคลทุพลภาพ กลุ่ม ชาติพันธุ์ และประชากรกลุ่มด้อยโอกาสอื่น ๆ ในชุมชน 10) ผู ้ ป ระกอบการ คนในชุ ม ชน และผู ้ ม ี ส ่ ว นข้ อ งในการ พัฒนาเมืองเก่ามีการรวมตัว ในลักษณะกลุ่มหรือเครือข่าย เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม 11) คนในชุมชนได้รับผลกระทบด้านค่าครองชีพที่สูงขึ้นจาก การเป็นเมืองท่องเที่ยว ผลรวมคะแนน (คะแนนเต็ม 11) ระดับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ระดับผลกระทบต่ำ ระดับผลกระทบปานกลาง

ข้อพบเห็นเพิ่มเติม

ระดับผลกระทบสูง


24

8. การประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ การประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ หลังมีการประเมิน ผลกระทบเบื้องต้น จำเป็นต้องศึกษาตาม แนวทางของ “คู่มือการประเมินขีดความสามารถในการรองรับ ได้ของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่า ” เพื่อให้ได้ ข้อมูลประกอบการประเมินตามตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน ผล ทั้งนี้ การศึกษาข้อมูลประกอบการ ประเมินจำเป็นต้องอาศัยแกนนำจากกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวในชุมชน จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลข้อมูล ตามแนวทางของเครื่องมือ เครื่องมือในการศึกษาการประเมินขีดความสามารถในการรองรับ ได้ ของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่า ซึ่งตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน มีดังนี้ (การจะนำเครื่องมือไปใช้ศึกษาถึงขีดความสามารถในการรองรับได้ชุมชนควรมีพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา หรือ นักวิชาการให้ความช่วยเหลือในการนำเครื่องมือไปใช้ในการศึกษา)

ย่านเมืองเก่าภูเก็ต : จังหวัดภูเก็ต


25

8.1 ตัวชี้วัดและมาตรฐานชี้วัดการประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ การประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้แหล่งท่องเทีย่ วย่านเมืองเก่า ประกอบไปด้วยตัวชี้วัดและ มาตรฐานชี้วดั การประเมินผล ดังนี้ 8.1.1 ตัวชีว้ ัดขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านกายภาพและสิง่ อำนวยความสะดวก เป้าหมาย: เพื่อให้ชุมชนสามารถคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อพื้นที่ทางกายภาพและสิ่งอำนวยความ สะดวก ว่าเกินมาตรฐานหรือเกินขีดความสามารถในการรองรับได้หรือไม่ โดยการเก็บข้อมูล จำเป็นต้องทำทุก ๆ 2 ปี โดยการศึกษาขีดความสามารถด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก มีปัจจัยชี้วัด ได้แก่ 1) พื้นที่ประกอบกิจกรรม 2) พื้นที่ลานจอดรถ 3) ห้องน้ำสาธารณะ 4) ที่นั่งสาธารณะ 5) ทางเดินเท้า 6) ร้านอาหาร/ร้านเครื่องดื่ม 7) ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/พิพิธภัณฑ์/แหล่งเรียนรู้ 8) ที่พัก ขีดความสามารถด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นการพิจารณาถึงระดับการใช้ประโยชน์ด้าน ท่องเที่ยวที่เน้นขนาดเนื้อที่ซึ่งใช้ในการรองรับกิจกรรมท่องเที่ยวในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เป็นหลัก โดยพิจารณาจาก จำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุดที่เนื้อที่หรือพื้นที่สามารถรองรับการใช้ประโยชน์ โดยยังสามารถเอื้อให้เกิดกิจกรรมตาม ต้องการได้โดยการกำหนดขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ประกอบกิจกรรมนั้น จะต้องประกอบไปด้วย ข้อมูลด้านต่าง ๆ ได้แก่ จำนวนนักท่องเที่ยวที่สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ได้ในช่วงเวลาเดียวกัน และรอบระยะเวลา ในการใช้ประโยชน์ต่อช่วงเวลา ระดับขีดความสามารถในการรองรับ กำลังถึงหรืออยู่ ในขีด เกินขีด ต่ำกว่าขีด ความสามารถ ความสามารถ ตัวชี้วัด มาตรฐานชี้วัด ความสามารถ สูงสุด (Exceeding (Below CC) (Approaching CC) CC) 1) ความสามารถ - ขนาดของพื้นที่ต่อคน เท่ากับ 2 x น้ อ ยกว่ า 50 50 % - 80 % 81 % - 100 % ในการรองรั บ ได้ 1 เมตร เท่ า กั บ 2 ตารางเมตรต่อ % ของ PCC ของ PCC ที่คำนวณได้ ของพื้นที่ประกอบ นักท่องเที่ยว 1 คน ที่คำนวณได้ ที่คำนวณได้ กิจกรรม 2) ความสามารถ - พื้นที่จอดรถสำหรับรถยนต์ไม่เกิน น้อยกว่า 50% 50%-80% ของ 81%-100% ในการรองรั บ ได้ 4 ที่นั่ง/รถตู้ มีค่าเฉลี่ย 15 ตาราง ของ PCC PCC ที่คำนวณได้ ของพื้นที่ลานจอด เมตรต่อคัน ที่คำนวณได้ ที่คำนวณได้ รถ - พื้นที่จอดรถสำหรับรถบัสขนาด 3 x 15 เมตร มีค่าเฉลี่ย 45 ตาราง เมตรต่อคัน


26

ตัวชี้วัด

มาตรฐานชี้วัด

- พื้นที่จอดรถสำหรับรถจักรยานยนต์ขนาด 1 x 3 เมตร มีค่าเฉลี่ย 3 ตารางเมตรต่อคัน 3) ความสามารถ - จำนวนห้ อ งน้ำ ต่อ ปริ ม าณคนที่ ในการรองรับได้ เข้าใช้ในช่วงเวลาเดียวกัน ของห้องน้ำ - การกระจายของตำแหน่ ง ที ่ ตั้ ง สาธารณะ ห้องน้ำ 4) ความสามารถ - ขนาดของพื้นที่ ต่อคน เท่ากับ 1 ในการรองรับได้ ตารางเมตร ของที่นั่ง - จำนวนที่นั่งสาธารณะที่สามารถ สาธารณะ รองรับได้ 5) ความสามารถ - ขนาดของพื้นที่ต่อคน เท่ากับ 1 x ในการรองรั บ ได้ 1 เมตร เท่ า กั บ 1 ตารางเมตรต่อ ของทางเดินเท้า นักท่องเที่ยว 1 คน 6) ความสามารถ - จำนวนที่นั่งที่สามารถรองรับได้ ในการรองรั บ ได้ ของร้ า นอาหาร/ ร้านเครื่องดื่ม 7) ความสามารถ - ขนาดพื้นที่สำหรับรองรับจำนวน ในการรองรับได้ นักท่องเที่ยวต่อรอบหรือช่วงเวลาใน ของศูนย์/ การใช้ประโยชน์ จุดบริการ นักท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์ หรือ แหล่งเรียนรู้ 8) ความสามารถ - จำนวนห้ อ งพั ก ในปั จ จุ บ ั น ที่ ในการรองรับได้ สามารถรองรั บ ได้ ต ่ อ ขนาดของ ของที่พัก ประเภทที่พัก

ระดับขีดความสามารถในการรองรับ กำลังถึงหรืออยู่ ในขีด เกินขีด ต่ำกว่าขีด ความสามารถ ความสามารถ ความสามารถ สูงสุด (Exceeding (Below CC) (Approaching CC) CC)

น้อยกว่า 50% 50%-80% ของ 81%-100% ของ PCC PCC ที่คำนวณได้ ที่คำนวณได้ ที่คำนวณได้ น้อยกว่า 50% 50%-80% ของ 81%-100% ของ PCC PCC ที่คำนวณได้ ที่คำนวณได้ ที่คำนวณได้ น้อยกว่า 50% ของ PCC ที่คำนวณได้ น้อยกว่า 50% ของ PCC ที่คำนวณได้

50%-80% ของ 81%-100% PCC ที่คำนวณได้ ที่คำนวณได้ 50%-80% ของ 81%-100% PCC ทีค่ ำนวณได้ ที่คำนวณได้

น้อยกว่า 50% 50%-80% ของ 81%-100% ของ PCC PCC ที่คำนวณได้ ที่คำนวณได้ ที่คำนวณได้

น้อยกว่า 50% 50%-80% ของ 81%-100% ของ PCC PCC ที่คำนวณได้ ที่คำนวณได้ ที่คำนวณได้


27

8.1.2 ตัวชี้วัดขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านสิ่งแวดล้อม เป้าหมาย: เพื่อให้ชุมชนสามารถคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ว่าเกินมาตรฐานหรือเกินขีด ความสามารถในการรองรับได้หรือไม่ โดยการเก็บข้อมูลจำเป็นต้องทำทุก ๆ 2 ปี โดยการศึกษาขีดความสามารถด้าน สิ่งแวดล้อม มีปัจจัยชี้วัด ได้แก่ 1) ขยะ 2) การใช้ประโยชน์และคุณภาพน้ำ 3) เสียง 4) คุณภาพอากาศ และ 5) การ แบ่งเขตการใช้ประโยชน์ ขีดความสามารถด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการพิจารณาความสามารถของระบบนิเวศ/สิ่งแวดล้อม รวมถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นที่มีผลต่อ “การดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ” ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบ ในขณะที่ยังคงสามารถ คงไว้ซึ่งผลผลิตและบริการ รวมทั้งความสามารถในการปรับตัว และการทดแทนสิ่งที่สูญเสียไปของระบบได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัด

1) ปริมาณขยะ

2) กลิ่นขยะ 3) กลิ่นน้ำ

4) คุณภาพน้ำ

ระดับขีดความสามารถในการรองรับ กำลังถึงหรืออยู่ ในขีด เกินขีด ต่ำกว่าขีด ความสามารถ ความสามารถ มาตรฐานชี้วัด ความสามารถ สูงสุด (Exceeding (Below CC) (Approaching CC) CC) กิโลกรัมต่อคน (นักท่องเที่ยว 1 คน เมื่อ น้อยกว่า 0.2 0.2 - 0.8 มากกว่า 0.8 เปรียบเทียบกับเกณฑ์ในการประเมินที่ กำหนดไว้ 0.5-1.0 กก./คน) ระดับการรับรู้กลิ่น (ไม่มีกลิ่นขยะ หรือ ไม่ได้กลิ่น กลิ่นเบาบาง กลิ่นเหม็น บางเบาในระยะ 20 เมตร) รุนแรง ระดั บ การรั บ รู ้ ก ลิ ่ น (กลิ ่ น บ่ ง บอกถึ ง หอม/ คาว/ดิน ยา/เหม็นเน่า สาเหตุมลภาวะของน้ำนั้นได้ เช่น น้ำที่ ธรรมชาติ ได้รับการปนเปื้อนจากน้ำเสียชุมชน จะมี กลิ่นเหม็นก๊าซไข่เน่า รวมทั้งระดับที่ได้ กลิ่นบอกได้ว่าคุณภาพน้ำปนเปื้อนมาก หรือน้อยอย่างคร่าว ๆ) ระดับคุณภาพน้ำ (สีของน้ำบ่งบอกถึง ไม่มีสี/สีเขียว เหลือง/น้ำตาล สีรุ้ง/เทา/ดำ สาเหตุที่ทำให้เกิดสีได้ หรือบ่งบอกถึงสิ่ง ขุ่น/แดง ที่ละลายอยู่ในน้ำ การเปรียบเทียบกับสี มาตรฐาน หรือเป็นการตรวจวัดโดยใช้ ความรู้สึกจากการประเมินความเห็นจาก หลายคนในชุมชน)


28

ระดับขีดความสามารถในการรองรับ กำลังถึงหรืออยู่ ในขีด เกินขีด ต่ำกว่าขีด ความสามารถ ความสามารถ ตัวชี้วัด มาตรฐานชี้วัด ความสามารถ สูงสุด (Exceeding (Below CC) (Approaching CC) CC) 5) ความ ร้ อ ยละของผู ้ ไ ด้ ร ั บ ผลกระทบต่ อ ผู ้ ใ ช้ ต่ำกว่าร้อยละ ร้อยละ 50 มากกว่าร้อย เพียงพอของ ประโยชน์ ท ั ้ ง หมด (ครั ว เรื อ น) ความ 50 ร้อยละ 80 ละ 80 ปริมาณน้ำใช้ เพี ย งพอของน้ ำ ใช้ ใ นชุ ม ชนรวมถึ ง ผู้ประกอบการที่พักร้านอาหารในย่าน เมืองเก่า บ่งบอกถึงโอกาสในการเข้าถึง ทรัพยากรน้ำใช้อย่างเท่าเทียม 6) คุณภาพ ระดับคุณภาพอากาศ (คุณภาพอากาศที่ สีฟ้า สีเขียว สีเหลือง สีส้ม/แดง อากาศ ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนในชุมชน และนักท่องเที่ยว) 7) เสียง ระดั บ ผลกระทบทางเสี ย ง (เสี ย งดั ง ที่ น้อยกว่า 40 50 เดซิเบล มากกว่า 90 ส่งผลกระทบต่อการอยู่อาศัยในชุมชน เดซิเบล เดซิเบล ณ ช่ ว งกิ จ กรรม ระดั บ พู ด คุ ย ปกติ ประมาณ 50 เดซิ เ บล ฟั ง ไม่ เ ข้ า ใจใน ระยะ 1 เมตร จัดว่าระดับเสียงปัจจุบันมี ค่าเข้าใกล้หรืออยู่ที่ขีดความสามารถของ พื้นที่ในการรองรับ) 8) การควบคุ ม ระดั บ ผลกระทบการพั ฒ นา (การ ไม่มีหรือต่ำ ปานกลาง สูง การพัฒนา เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อสภาพภูมิทัศน์ อาคารสถาปัตยกรรม บ้ านเรือนชุมชน ย่านเมืองเก่า จัดการแบ่งเขตพื้นที่การ พั ฒ นาเมื อ งเก่ า ที ่ ช ั ด เจน เช่ น โซน ไข่แดง โซนไข่ขาว และรอบนอก เพื่อ ควบคุมกิจกรรมการพัฒนาที่เหมาะสม ไม่ ม ี ห รื อ มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนต่าง ต่ำ ๆ อย่างชัดเจน เป็นพื้นที่สงวน ส่ ว นอนุ ร ั ก ษ์ และส่ ว นพั ฒ นา สามารถควบคุมการเข้าถึงและ การพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมได้


29

ตัวชี้วัด

มาตรฐานชี้วัด

ทำให้ เ กิ ด ความสะดวก ในการ บริหารจัดการ ผลกระทบ มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนต่าง ปานกลาง ๆ ไม่ชัดเจน แต่สามารถควบคุม การดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้อง กับพื้นที่แต่ละส่วนได้ ผลกระทบ ไม่มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วน สูง ต่าง ๆ ที่ชัดเจน ขาดมาตรการ ควบคุมผลกระทบการพัฒนา ทำ ให้ เ กิ ด ผลกระทบสิ ่ ง แวดล้ อ ม และการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่ อ การลดคุ ณ ค่ า ความสำคั ญ ย่ า น เมืองเก่า

ระดับขีดความสามารถในการรองรับ กำลังถึงหรืออยู่ ในขีด เกินขีด ต่ำกว่าขีด ความสามารถ ความสามารถ ความสามารถ สูงสุด (Exceeding (Below CC) (Approaching CC) CC)


30

8.1.3 ตัวชีว้ ัดขีดความสามารถในการรองรับด้านสังคมวัฒนธรรม เป้าหมาย: เพื่อให้ชุมชนสามารถคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อ สังคมวัฒนธรรม ว่าเกินมาตรฐานหรือเกิน ขีดความสามารถในการรองรับได้หรือไม่ โดยการศึกษาขีดความสามารถด้านสังคมวัฒนธรรม มีปัจจัยชี้วัด ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมด้านสังคมและวัฒนธรรม 2) การพบปะผู้คนของชุมชน 3) สิทธิในความเป็นส่วนตัว 4) ผลกระทบ จากการท่องเที่ยวต่อสังคมวัฒนธรรมชุมชน 5) ความพึงพอใจของชุมชน และ 6) ความรู้สึกแออัดของชุมชน ขีดความสามารถในการรองรับด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นการพิจารณาถึงผลกระทบจากการพัฒนาการ ท่องเที่ยวต่อสังคมวัฒนธรรมชุมชน ในด้านของระดับการมีส่วนร่วม ความรู้สึก และผลกระทบที่ก่อให้เกิดความ ขัดแย้งต่อการดำเนินชีวิตในชุมชน

ปัจจัย

มาตรฐานชี้วัด

1) การมีส่วนร่วมด้าน ค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วม สังคมและวัฒนธรรม 2) การพบปะผูค้ น ของชุมชน

ค่าเฉลี่ยการพบปะผู้คน

3) สิ ท ธิ ใ นความเป็ น ค่าเฉลี่ยความเป็นส่วนตัว ส่วนตัว

4) ผลกระทบจากการ ค่าเฉลี่ยผลกระทบ ท่ อ งเที ่ ย วต่ อ สั ง คม วัฒนธรรมชุมชน 5) ความพึงพอใจของ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ชุมชน

ระดับขีดความสามารถในการรองรับ กำลังถึงหรืออยู่ ในขีด เกินขีด ต่ำกว่าขีด ความสามารถ ความสามารถ ความสามารถ สูงสุด (Exceeding (Below CC) (Approaching CC) CC) มีส่วนร่วม มีส่วนร่วม มีส่วนร่วมร้อย น้อยกว่าร้อย มากกว่าร้อย ละ 30 - 70 ละ 30 ละ 70 คนในชุมชน คนในชุมชนรับรู้ คนในชุมชน รับรูถ้ ึงการ ถึงการพบปะ รับรูถ้ ึงการ พบปะผู้คน ผู้คน พบปะผู้คน น้อยกว่า 3.00 3.01 - 7.00 มากกว่า 7.00 ค่าความสุขต่อ ค่าความสุขต่อ ค่าความสุขต่อ การมีการ การมีการ การมีการจัดการ จัดการ จัดการ ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว 3.00 - 7.00 มากกว่า 7.00 น้อยกว่า 3.00 ค่ารับรู้ถงึ ค่ารับรู้ถงึ ค่ารับรู้ถงึ ผลกระทบ ผลกระทบ ผลกระทบ น้อยกว่า 3.00 3.00 - 7.00 มากกว่า 7.00 ค่าพึงพอใจ ค่าพึงพอใจ ค่าพึงพอใจ มากกว่า 7.00 3.00 - 7.00 น้อยกว่า 3.00


31

ปัจจัย

มาตรฐานชี้วัด

6) ความรู ้ ส ึ ก แออั ด ค่าเฉลี่ยความรู้สึกแออัด ของชุมชน

ชุมชนริมน้ำจันทบูร : จังหวัดจันทบุรี

ระดับขีดความสามารถในการรองรับ กำลังถึงหรืออยู่ ในขีด เกินขีด ต่ำกว่าขีด ความสามารถ ความสามารถ ความสามารถ สูงสุด (Exceeding (Below CC) (Approaching CC) CC) ค่ารับรู้ถงึ ค่ารับรู้ถงึ ความ ค่ารับรู้ถงึ ความแออัด แออัดจาก ความแออัด จากจำนวน จำนวน จากจำนวน นักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว น้อยกว่า 3.00 3.00 - 7.00 มากกว่า 7.00


32

8.1.4 ตัวชี้วัดขีดความสามารถในการรองรับด้านจิตวิทยา เป้าหมาย: เพื่อให้ชุมชนสามารถคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อจิตวิทยาของนักท่องเที่ยว ว่าเกินมาตรฐาน หรือเกินขีดความสามารถในการรองรับได้หรือไม่ โดยการเก็บข้อมูลจำเป็นต้องทำทุก ๆ 2 ปี โดยการศึกษาขีด ความสามารถด้านจิตวิทยามีปัจจัยชี้วัด 1) การพบปะผู้คน 2) ความพึงพอใจของผู้มาเยือน และ 3) ความรู้สึกแออัด ขี ด ความสามารถในการรองรั บ ด้ า นจิ ต วิ ท ยา เป็ น การพิ จ ารณาถึ ง ทั ศ นคติ แ ละความพึ ง พอใจของ นักท่องเที่ยวผู้มาเยือน ต่อการระบบการจัดการการท่องเที่ยวในชุมชน จำนวนนักท่องเที่ยว พฤติกรรม ที่มีผลต่อ ความรู้สึกที่ไม่ดี และลดคุณค่าประสบการณ์ที่จะได้รับจากการมาเยือนชุมชนเมืองเก่า

ปัจจัย 1) การพบปะผู้คน

มาตรฐานชี้วัด ค่าเฉลี่ยการพบปะผู้คน

2) ความพึงพอใจของ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ผู้มาเยือน 3) ความรู้สึกแออัด ค่าเฉลี่ยความรู้สึกแออัด

ระดับขีดความสามารถในการรองรับ กำลังถึงหรืออยู่ ในขีด เกินขีด ต่ำกว่าขีด ความสามารถ ความสามารถ ความสามารถ สูงสุด (Exceeding (Below CC) (Approaching CC) CC) นักท่องเที่ยว รับรูถ้ ึงการ พบปะผู้คน น้อยกว่า 3.00

นักท่องเที่ยว รับรูถ้ ึงการ พบปะผู้คน 3.00 - 7.00

นักท่องเที่ยว รับรูถ้ ึงการ พบปะผู้คน มากกว่า 7.00

พึงพอใจ พึงพอใจ พึงพอใจ มากกว่า 7.00 3.00 - 7.00 น้อยกว่า 3.00 ค่ารับรู้ถึง ค่ารับรู้ถึงความ ค่ารับรู้ถึง ความแออัด แออัด ความแออัด น้อยกว่า 3.00 3.00 - 7.00 มากกว่า 7.00


33

8.1.5 ตัวชี้วัดขีดความสามารถในการรองรับด้านเศรษฐกิจ เป้าหมาย: เพื่อให้ชุมชนสามารถคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจ ว่าเกินมาตรฐานหรือเกินขีด ความสามารถในการรองรับได้หรือไม่ โดยการเก็บข้อมูลจำเป็นต้องทำทุก ๆ 2 ปี โดยการศึกษาขีดความสามารถด้าน เศรษฐกิจ มีปัจจัยวัดผล ได้แก่ 1) ผลตอบแทนจากการลงทุน 2) การกระจายตัวทางเศรษฐกิจ และ 3) ค่าครองชีพ จากการพัฒนาการท่องเที่ยว ขีดความสามารถในการรองรับด้านเศรษฐกิจ เป็นการพิจารณาถึง การลงทุน การกระจายตัวทางเศรษฐกิจภายในชุมชน ค่าครองชีพจากการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนเมืองเก่า

ปัจจัย 1) ผลตอบแทนจาก การลงทุน

มาตรฐานชี้วัด

ระดับขีดความสามารถในการรองรับ กำลังถึงหรืออยู่ ในขีด เกินขีด ต่ำกว่าขีด ความสามารถ ความสามารถ ความสามารถ สูงสุด (Exceeding (Below CC) (Approaching CC) CC)

ค่าเฉลี่ยผลตอบแทนการลงทุน (-2 ถึง +2 แสดงระดับผลกำไรขาดทุน 0 - 2 ไม่มี น้อยกว่า 0 ถึง ต่ำสุดถึงสูงสุด) ผลกระทบ 1 2) การกระจายตัวทาง ค่าร้อยละของการกระจายตัวทาง กระจาย กระจาย 30เ ศ ร ษ ฐ ก ิ จ ภ า ย ใ น เศรษฐกิจ มากกว่า 50% 50% ชุมชน 3) ค่ า ครองชี พ จาก ค่าเฉลี่ยผลกระทบทางเศรษฐกิจ ก า ร พ ั ฒ น า ก า ร (-2 ถึง +2 แสดงระดับผลกระทบ 0-2 ไม่มี น้อยกว่า 0 ถึง ท่องเที่ยว ต่ำสุดถึงสูงสุด) ผลกระทบ 1

มากกว่า -1 กระจายน้อย กว่า 30%

มากกว่า -1


34

8.2 กระบวนการและเครื่องมือในการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับได้ 8.2.1 กระบวนการและเครื่องมือในการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับ ได้ด้านกายภาพและสิ่ง อำนวยความสะดวก

ขั้นตอนการศึกษา 1) สำรวจพื้นที่จัดกิจกรรมโดยรอบเพื่อดำเนินการวัดระยะทางทั้งหมด 2) หาขนาดพื้นที่วัดระยะทางบริเวณพื้นที่จัดกิจกรรม (กว้าง x ยาว) หน่วยเป็นตารางเมตร 3) สอบถามนักท่องเที่ยวถึงความต้องการในการใช้พื้นที่เพื่อประกอบกิจกรรม 4) สำรวจสิ่งอำนวยความสะดวกปัจจุบันพื้นที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ คุณภาพและความพอเพียง อัตราการ ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกนั้น ๆ 5) วิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการคำนวณหาจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุดที่พื้นที่สามารถรองรับได้ต่อวัน ด้วย การคำนวณหาค่า PCC (ศึกษาวิธีการคำนวณหาค่า PCC ได้ในภาคผนวก) ตัวชี้วัด พื้นที่ประกอบกิจกรรม พื้นที่ลานจอดรถ

ห้องน้ำสาธารณะ ที่นั่งสาธารณะ ทางเดินเท้า ร้านอาหาร/ร้านเครื่องดื่ม ศูนย์/จุดบริการนักท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ ที่พัก

มาตรฐานชี้วัด - ขนาดของพื้นที่ต่อคน เท่ากับ 2 x 1 เมตร เท่ากับ 2 ตารางเมตรต่อ นักท่องเที่ยว 1 คน - พื้นที่จอดรถสำหรับรถยนต์ไม่เกิน 4 ที่นั่ง หรือรถตู้ มีค่าเฉลีย่ 15 ตารางเมตร ต่อคัน - พื้นที่จอดรถสำหรับรถบัสขนาด 3 x 15 เมตร มีค่าเฉลี่ย 45 ตารางเมตรต่อคัน - พื้นที่จอดรถสำหรับรถจักรยานยนต์ขนาด 1 x 3 เมตร มีค่าเฉลี่ย 3 ตาราง เมตรต่อคัน - จำนวนห้องน้ำต่อปริมาณคนที่เข้าใช้ในช่วงเวลาเดียวกัน - การกระจายของตำแหน่งที่ตั้งห้องน้ำ - ขนาดของพื้นที่ ต่อคน เท่ากับ 1 ตารางเมตร - จำนวนที่นงั่ สาธารณะที่สามารถรองรับได้ - ขนาดของพื้นที่ต่อคน เท่ากับ 1 x 1 เมตร เท่ากับ 1 ตารางเมตรต่อ นักท่องเที่ยว 1 คน - จำนวนที่นงั่ ทีส่ ามารถรองรับได้ - ขนาดพื้นที่สำหรับรองรับจำนวนนักท่องเทีย่ วต่อรอบหรือช่วงเวลาในการใช้ ประโยชน์ - จำนวนห้องพักในปัจจุบันที่สามารถรองรับได้


35

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบไปด้วยแบบสำรวจประเภทที่พัก ร้านอาหารและร้านบริการเครื่องดื่ม ศูนย์/จุดบริการ พิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ ลานจอดรถ ห้องน้ำสาธารณะ ที่นั่งสาธารณะ มีรายละเอียดดังนี้ 1. แบบสำรวจความสามารถในการรองรับผู้มาเยือนด้านสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการประเมินขีดความสามารถ ในการรองรับการท่องเที่ยวด้านกายภาพประเภทที่พัก ลำดับที่ ชื่อสถานประกอบการ จำนวนห้องพัก หมายเหตุ 1. 2. 3. 4. 5. 2. แบบสำรวจความสามารถในการรองรับผู้มาเยือนด้านสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการประเมินขีดความสามารถ ในการรองรับการท่องเที่ยวด้านกายภาพประเภทร้านอาหาร/ร้านบริการเครื่องดื่ม ลำดับที่ ชื่อสถานประกอบการ จำนวนที่นั่ง หมายเหตุ 1. 2. 3. 4. 5. 3. แบบสำรวจความสามารถในการรองรับผู้มาเยือนด้านสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการประเมินขีดความสามารถ ในการรองรับการท่องเที่ยวด้านกายภาพประเภท ศูนย์/จุดบริการ พิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ ลานจอดรถ ห้องน้ำ สาธารณะ ที่นั่งสาธารณะ อัตราการใช้ รายการสิ่ง ขนาดพื้นที่ (ตาราง ความจุ ประโยชน์ ลักษณะการ ลำดับ อำนวยความ จำนวน เมตร) (คนต่อพื้นที่) (คนต่อวันหรือ ใช้ประโยชน์ สะดวก (ตารางเมตร) คนต่อชั่วโมง) 1. ศ ู น ย ์ บ ร ิ ก า ร นักท่องเที่ยว


36

ลำดับ

รายการสิ่ง อำนวยความ สะดวก

2. พื ้ น ที ่ ป ระกอบ กิจกรรมถนนคน เดิน 3. พื ้ น ที ่ ป ระกอบ กิจกรรม 4. พิพิธภัณฑ์ 5. ลานจอดรถ 6. ห้องน้ำสาธารณะ 7. ที่นั่งพักผ่อน

มิวเซียมภูเก็ต : จังหวัดภูเก็ต

จำนวน

ขนาดพื้นที่ (ตาราง เมตร) (ตารางเมตร)

ความจุ (คนต่อพื้นที่)

อัตราการใช้ ประโยชน์ (คนต่อวันหรือ คนต่อชั่วโมง)

ลักษณะการ ใช้ประโยชน์


37

8.2.2 กระบวนการและเครื่องมือในการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนการศึกษา ขยะ : ระบุข้อมูลปริมาณขยะและกลิ่นขยะ ปริมาณขยะต่อ นักท่องเที่ยว 1 คน เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ในการประเมินที่กำหนดไว้ (0.5-1.0 กิโลกรับต่อคน) จัดว่าระดับการใช้ประโยชน์ปัจจุบันมีค่าเข้าใกล้หรืออยู่ที่ขีด ความสามารถของพื้นที่ในการรองรับได้ ไม่มีมีกลิ่นขยะ หรือบางเบาระยะ 20 เมตร จากจุดทิ้งขยะหลักจัดว่าระดับ การใช้ประโยชน์ปัจจุบันมีค่าเข้าใกล้หรืออยู่ที่ขีดความสามารถของพื้นที่ในการรองรับได้ 1) สำรวจพื้นที่ระบุจุดทิ้งขยะมูลฝอยและจุดที่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นในพื้นที่กิจกรรมท่องเที่ยวของชุมชน 2) วัดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นโดยการชั่งน้ำหนัก หรือข้อมูลการจัดเก็บจาก อบต.หรือเทศบาลในแต่ละวัน นำมา หารกับจำนวนผู้ก่อให้เกิดขยะในแต่ละวัน (จำนวนร้านค้า +จำนวนนักท่องเที่ยว+จำนวนครัวเรือน) ชุมชนจะทราบ ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นต่อคน 3) วัดกลิ่นโดยให้สมาชิกในชุมชนอย่างน้อย 3 คน ทำการประเมินโดยการยืนห่างจากจุดทิ้งขยะที่ในระยะ 20 เมตร (ทิศทางใต้ลม) แล้วสูดหายใจเข้าและวิเคราะห์ลงความเห็นระดับการรับรู้กลิ่นเหม็นในระดับใด ทรัพยากรน้ำ: ระบุกลิ่นของน้ำ สีของน้ำ และความเพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ในชุมชน กลิ่นของน้ำบ่ง บอกถึงสาเหตุมลพิษของน้ำนั้นได้ เช่น น้ำที่ได้รับการปนเปื้อนจากน้ำเสียชุมชน จะมีกลิ่นเหม็นก๊าซไข่เน่า รวมทั้ง ระดับที่ได้กลิ่นบอกได้ว่าคุณภาพน้ำปนเปื้อนมากหรือน้อยอย่างคร่าว ๆ สีของน้ำบ่งบอกถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดสีได้ หรือ บ่งบอกถึงสิ่งที่ละลายอยู่ในน้ำ การเปรียบเทียบกับสีมาตรฐาน หรือเป็นการตรวจวัดโดยใช้ความรู้สึกจากการประเมิน ความเห็นจากหลายคนในชุมชน ความเพียงพอของน้ำใช้ในชุมชนรวมถึงผู้ประกอบการทีพ่ ักร้านอาหารในย่านเมืองเก่า บ่งบอกถึงโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรน้ำใช้อย่างเท่าเทียม 1) สำรวจพื้นที่ระบุจุดก่อให้เกิดผลกระทบกลิ่นของน้ำ การปนเปื้อน และข้อร้องเรียนด้านการใช้น้ำไม่ เพียงพอจากสมาชิกในชุมชน การสำรวจและวัดผลต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 3 คนร่วมประเมิน 2) สำรวจกลิ่นแหล่งน้ำธรรมชาติ การยืนริมน้ำแล้วสูดหายใจดมกลิ่น หากยังระบุกลิ่นไม่ได้ให้ ตักน้ำขึ้นมา อย่างน้อย 2 ลิตร ที่ความลึกประมาณไม่เกิน 1 ฟุตจากผิวน้ำ แล้วดมกลิ่นโดยใช้มือโบกไปมา หากเป็นแหล่งน้ำบ่อ บาดาลหรือน้ำประปา ให้ใช้การทดสอบโดยการตักมาดมกลิ่นเช่นเดียวกัน 3) สำรวจการปนเปื้อนสังเกตสีน้ำโดยตรง หรือตักน้ำมาอย่างน้อย 2 ลิตร ที่ความลึกประมาณไม่เกิน 1 ฟุต จากผิวน้ำ ในแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือแหล่งน้ำบ่อบาดาลหรือน้ำประปา แล้วนำมาใส่หลอดแก้วใสเพื่อสังเกตสี และ การปนเปื้อนอย่างง่าย 4) สำรวจจำนวนครัวเรือนผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้น้ำไม่เพียงพอ บันทึกข้อมูลปริมาณการใช้น้ำใน (ครัวเรือน โรงแรมที่พัก ร้านค้าร้านอาหาร) เสียง: ระบุระดับเสียงดัง ที่ส่งผลกระทบต่อการอยู่อาศัยในชุมชน ณ ช่วงกิจกรรม ระดับพูดคุยปกติประมาณ 50 เดซิเบล


38

1) ชุมชนระบุพื้นที่ประกอบกิจกรรม ที่ก่อให้เกิดเสียงดังจนก่อให้เกิดผลกระทบกับผู้พักอาศัยในชุมชน การ สำรวจและวัดผลต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 3 คนร่วมประเมิน 2) ผู้ทดสอบสองคนตะโกนสนทนาแล้วอีกฝ่ายไม่ได้ยิน หรือฟังไม่เข้าใจในระยะ 1 เมตร แสดงว่าบริเวณ ชุมชนมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงเกินกว่าหรือใกล้เคียง 90 เดซิเบล 3) ตรวจวัดด้วยเครื่องมือ หรือ Application ที่ใช้สำหรับการตรวจวัดระดับเสียง อากาศ: ระบุคุณภาพอากาศ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว 1) วัดฝุ่นละอองโดยการสังเกตฝุ่นละอองที่เกาะอยู่ตามพื้นบ้าน เฟอร์นิเจอร์ (ต้องมีการกวนบ้านเพิ่มขึ้น) หรือ สังเกตความหนาแน่นของฝุ่นละอองที่เกาะอยู่บนใบไม้บริเวณชุมชน ดูทิศทางลมเพื่อหาที่มาของแหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น พื้นที่ก่อสร้าง โรงงาน เป็นต้น 2) ตรวจวัดด้วย Application ที่ใช้สำหรับการตรวจวัดคุณภาพอากาศ (แนะนำ Application Air 4 Thai) การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์: ระบุผลกระทบการเปลี่ยนแปลง ต่อสภาพภูมิทัศน์ อาคารสถาปัตยกรรม บ้านเรือนชุมชนย่านเมืองเก่า การมีจัดการแบ่งเขตพื้นที่การพัฒนาเมืองเก่าที่ชัดเจน เช่น โซนไข่แดง โซนไข่ขาว และ รอบนอก เพื่อควบคุมกิจกรรมการพัฒนาที่เหมาะสม 1) สำรวจพื้นที่ระบุจุดก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ และการใช้ประโยชน์ที่ส่งผลต่อการ ลดคุณค่าความเป็นเมืองเก่า การสำรวจและวัดผลต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 3 คนร่วมประเมิน 2) ประชุมนำข้อมูลผลกระทบมาร่วมลงความคิดเห็น เพื่อระบุผลกระทบที่ชุมชนยอมรับได้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบเก็บข้อมูลขีดความสามารถด้านสิ่งแวดล้อม ดังนี้ แบบเก็บข้อมูลขีดความสามารถด้านสิ่งแวดล้อม 1. การจัดการขยะในชุมชน 1) จำนวนจุดจัดเก็บขยะในพื้นที่ย่านเมืองเก่า วันที่มีถนนคนเดิน...............................แห่ง วันธรรมดา ....................... แห่ง 2) การคัดแยกขยะ (ถังขยะแยกประเภท) หรือมีการจัดการที่ลดการการก่อให้เกิดขยะ ไม่มี มี ในลักษณะใด............................................................................................... 3) ปริม0าณขยะมวลรวมที่เ0กิดขึน้ ภายในชุมชนประมาณ................................กิโลกรัม/วัน 4) จำนวนนั กท่องเที่ยวที่เข้0ามาใช้บริการและทำกิจกรรมในพื้นที่เมืองเก่า (ประมาณการ)....................คน/วัน 0 5) จุดจัดเก็บขยะที่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านกลิ่นเหม็น..............................แห่ง (ระดับการรับรู้กลิ่น 20 เมตร) ไม่มีกลิ่น กลิ่นเบาบาง กลิ่นเหม็นรุนแรง 6) การจั0 ดการขยะในครัวเรื0อนของท่านมีการจัดการแบบใด 0 รวมขยะทุกอย่า0งใส่ถงุ ดำทิ้งตามเวลา 0 0 แยกขยะบางส่วนที่ขายได้ เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติก 0 0 0


39

แยกขยะทุกชนิดก่อนทิ้ง 7) ปริมาณขยะครัวเรือนต่อวันที่นำทิ้งเฉลี่ยวันละ ................................... กิโลกรัม 0 2. คุณภาพน้ำและการใช้ประโยชน์ 0 1) จุดน้ำทิง้ ที่ปล่อยลงสู่ลำคลองสาธารณะโดยตรงหรือจุดทีก่ ่อให้เกิดกลิ่นเหม็นจากน้ำเสีย...................แห่ง 2) การวัดกลิ่นแหล่งน้ำธรรมชาติการยืนริมน้ำแล้วสูดหายใจดมกลิ่น หากยังระบุกลิ่นไม่ได้ให้ตักน้ำขึ้นมา อย่างน้อย 2 ลิตร ที่ความลึกประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วดมกลิ่นโดยใช้มือโบกไปมา หากเป็นแหล่งน้ำบ่อบาดาลหรือ น้ำประปา ให้ใช้การทดสอบโดยการตักมาดมกลิ่นเช่นเดียวกัน ระบุ ประเภท ที่มาของกลิ่น กลิ่นหอม ผลไม้ กระเทียม แตงกวา น้ำหอม ยาสมุนไพรต่าง ๆ กลิ่นต้นไม้ใบหญ้า สาหร่าย หญ้า ต้นไม้ แพลงก์ตอนต่าง ๆ กลิ่นดินเชื้อรา ดิน โคลน เชื้อราต่าง ๆ 0 กลิ่นคาว คาวปลา น้ำมันตับปลา หอยต่าง ๆ 0 0 น้ำมัน ไขมัน ของสดเน่า ขยะ น้ำทิง้ คอกหมู มูลสัตว์ตา่ ง ๆ กลิ่นยาหรือกลิ่น กลิ่นยา 0 สารเคมี กลิ่นเน่า ของสดเน่า ขยะ น้ำทิ้ง คอกหมู มูลสัตว์ต่าง ๆ 0 0

3) วัดการปนเปื้อนสังเกตสีน้ำโดยตรง หรือตักน้ำมาอย่างน้อย 2 ลิตร ที่ความลึกประมาณหนึ่งของความลึก แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือแหล่งน้ำบ่อบาดาลหรือน้ำประปา แล้วนำมาใส่หลอดแก้วใส่เพื่อสังเกตสี การปนเปื้อนอย่าง ง่าย ระบุ สี ที่มาของกลิ่น ไม่มีสี ยังไม่ควรสรุปว่าน้ำสะอาดอาจมีสิ่งเจอปนอยู่ (หากยังไม่มั่นใจควรส่งตรวจ) สีเขียว แพลงก์ตอนพืช 0 สีเหลือง/น้ำตาล/ชาใส มีซากพืชย่อยสลาย สีของสาหร่าย 0 สีแดง/เหลือง/ มะฮอกกานี สีน้ำตาลขุ่น/แดง ตะกอนดินเจอปนอาจเกิดจากการกัดเซาะหน้าดิน 0 สีรุ้ง มีคราบน้ำมันบริเวณผิวน้ำ 0 สีเทา/ดำ น้ำเน่าเสียจากสิง่ ปฏิกูล หรืออาจมีแร่ธาตุจากธรรมชาติเจือปน 0 0 4) จำนวนครัวเรือนผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้น้ำไม่เพียงพอ......................................ครัวเรือน

5) จำนวนครัวเรือนผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาคุณภาพน้ำใช้...........................................ครัวเรือน 3. การควบคุมผลกระทบทางเสียงในพื้นที่ย่านเมืองเก่า 1) จุดประกอบกิจกรรมภายในย่านเมืองเก่าที่ต้องมีการใช้เสียง............................................แห่ง


40

2) มีแนวทางในการจัดการหรือควบคุมผลกระทบทางเสียงรบกวนต่อผู้พักอาศัย ไม่มี มี ในลักษณะใด............................................................................................... 3) การทดสอบ 2 คนตะโกนสนทนาแล้ วอีกฝ่ายไม่ได้ยิน หรือฟังไม่เข้าใจในระยะ 1 เมตร แสดงว่าบริเวณ 0 0 ชุมชนมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษ0ทางเสียงเกินกว่าหรือใกล้เคียง 90 เดซิเบล 0 ระบุ ระดับเสียง กิจกรรม (เปรียบเทียบ) 30 เดซิเบล เสียงกระซิบ 40 เดซิเบล เสียงพูดคุยปกติ 0 50 เดซิเบล เสียงสนทนาที่ยนื ห่างกันประมาณ 1 เมตร 0 90 เดซิเบล เสียงตะโกน 0 110-120 เดซิเบล เสียงดนตรีดงั สนั่น 0 0 0

ชุมชนริมน้ำจันทบูร : จังหวัดจันทบุรี


41

4. คุณภาพอากาศ 1) แหล่งที่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ พื้นที่ก่อสร้าง......................แห่ง โรงงาน...............................แห่ง การเผาขยะ........................แห่ง การจราจร..........................คัน (รถที่จอดโดยไม่ดับเครื่องยนต์/วัน) 2) ความหนาแน่นของฝุ่นละอองที่เกาะอยู่บนใบไม้บริเวณชุมชน ตัวอาคารหรือเฟอร์นิเจอร์ (ทำความสะอาด บ้านอาทิตย์ละครั้ง) ไม่มี มี 3) ตรวจวั 0 อยู่ในระดับใด (Application Air 4 Thai) 0 ดด้วย Application ระบุ คุณภาพ 0 0 สี สีฟ้า คุณภาพดีมาก 0 - 25 สีเขียว คุณภาพดี 26 - 50 0 สีเหลือง ปานกลาง 51 - 100 0 สีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 100 - 200 0 สีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ 201 0 0 5. การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์ 0

1) จุดที่พบเห็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิทัศน์หรืออาคารที่ไม่สอดคล้องกับภูมิสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของ ชุมชนย่านเมืองเก่า.............................แห่ง ระบุลักษณะการเปลี่ยนแปลง....................................................................... 2) ขนาดพื้นที่ในการประกาศเขตย่านเมืองเก่า.................................................................................................. 3) ชุมชนมีแผนในการจัดการแบ่งเขตพื้นที่ในการจัดการและพัฒนาเมืองเก่าหรือไม่ ไม่มี 0 มี ในลักษณะใด.......................................................................................................................................... 0 0


42

8.2.3 กระบวนการและเครื่องมือในการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านสังคมและวัฒนธรรม ขั้นตอนการศึกษา กำหนดให้ชุมชนเป็นผู้ศึกษาถึงผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชนในมิติทางสังคมวัฒนธรรม ดังนี้ 1) ชุมชนประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนในการระบุจำนวนกลุ่มตัวอย่างในการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งก็คือชาวบ้าน ในพื้นที่ชุมชนที่มีการท่องเที่ยวเกิดขึ้น 2) นำเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยใช้แบบสอบถาม และการบันทึกข้อมูล เพิ่มเติม 3) วิเคราะห์ผลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล ใน 6 ประเด็น ได้แก่ การมีส่วนร่วมด้านสังคมและวัฒนธรรม การพบปะผู้คนของชุมชน สิทธิในความเป็นส่วนตัว ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคมวัฒนธรรมชุมชน ความพึง พอใจของชุมชน และ ความรู้สึกแออัดของชุมชนด้วยการหาค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย (𝑋̅) ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ (ศึกษาวิธีการคำนวณหาค่าร้อยละ และเฉลี่ย (𝑋̅) ได้ในภาคผนวก) แต่ละประเด็นสามารถวิเคราะห์ผล ได้ดังนี้ 1. การมีส่วนร่วมด้านสังคมและวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมต่อการจัดการท่องเที่ยวสามารถวิเคราะห์ได้ด้วยค่าร้อยละ ถ้ามีค่าร้อยละ ที่ 30 หรือน้อยกว่า หมายความว่าการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมของชุมชนต่อการจัดการท่องเที่ยวอยูใ่ นระดับต่ำ ถ้ามีค่าร้อยละที่ 31 - 70 หมายความว่า การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมของชุมชนต่อการจัดการท่องเที่ยวใน ปัจจุบันอยู่ในขีดความสามารถการรองรับได้ของพื้นที่ในระดับที่เหมาะสม แต่ถ้ามีค่า ร้อยละที่ 70 หรือมากกว่า หมายความว่า การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมของชุมชนต่อการจัดการท่องเที่ยวในปัจจุบัน อยู่ในขีดที่เกิน ความสามารถการรองรับได้ของพื้นที่ 2. การพบปะผู้คนของชุมชน การพบปะผู้คนของชุมชนเป็นการศึกษาถึงความรู้สึกของผู้คนในชุมชนที่มีต่อการเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ใน เชิงสังคม ว่าได้พบปะผู้คนมากน้อยเพียงใด สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยค่าค่าเฉลี่ย (𝑋̅) โดยวัดแบ่งระดับการวัดเป็น 9 ระดับ ตั้งแต่ 1 – 9 วัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการพบปะผู้คนในชุมชน ไล่ลำดับตั้งแต่ค่า 0 หมายถึง จำนวน นักท่องเที่ยวในขณะนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการพบปะผู้คนในชุมชน ไล่ลำดับเพิ่มไปจนถึง ค่า 10 หมายถึง จำนวน นักท่องเที่ยวในขณะนี้ส่งผลกระทบมากที่สุดต่อการพบปะผู้คนในชุมชน ซึ่งสามารถวัดประเมินผลได้ดังนี้ ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 1.00 – 3.00 หมายความว่า จำนวนนักท่องเที่ยวในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อการ พบปะผู้คนในชุมชนน้อย ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 3.01 – 7.00 หมายความว่า จำนวนนักท่องเที่ยวในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อการ พบปะผู้คนในชุมชน ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 7.01 – 9.00 หมายความว่า จำนวนนักท่องเที่ยวในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อการ พบปะผู้คนในชุมชนอย่างมาก ซึ่งถ้าผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 7.01 – 9.00 ชุมชนต้องมีการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการ หรือ กลไกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว


43

3. สิทธิในความเป็นส่วนตัว สิทธิในความเป็นส่วนตัวเป็นการศึกษาผลกระทบการท่องเที่ยว รวมถึงความรู้สึกของของคนในชุมชนต่อการ มีนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวในพื้นที่ว่า ส่งผลต่อความความเป็นส่วนตัวของชุมชนมากน้อยเพียงใดจากความสุขที่คนใน ชุมชนได้รับ เก็บข้อมูลจากคนในชุมชน สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยค่าค่าเฉลี่ย (𝑋̅) โดยแบ่งระดับการวัดเป็น 9 ระดับ ตั้งแต่ 1 – 9 วัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการพบปะผู้คนในชุมชน ไล่ลำดับตั้งแต่ค่า 1 หมายถึง จำนวน นักท่องเที่ยวในขณะนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการพบปะผู้คนในชุมชน ไล่ลำดับเพิ่มไปจนถึงค่า 9 หมายถึง จำนวน นักท่องเที่ยวในขณะนี้ส่งผลกระทบมากที่สุดต่อการพบปะผู้คนในชุมชน ซึ่งสามารถวัดประเมินผลได้ ดังนี้ ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 1.00 – 3.00 หมายความว่า จำนวนนักท่องเที่ยวในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อการ พบปะผู้คนในชุมชนน้อย ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 3.01 – 7.00 หมายความว่า จำนวนนักท่องเที่ยวในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อการ พบปะผู้คนในชุมชนแต่อยู่ในปริมาณทีย่ อมรับได้ ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 7.01 – 9 หมายความว่า จำนวนนักท่องเที่ยวในขณะนีส้ ่งผลกระทบต่อการพบปะ ผู้คนในชุมชนอย่างมาก ซึ่งถ้าผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 7.01 – 9 ชุมชนต้องมีการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการ หรือกลไก ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว 4. ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคมวัฒนธรรมชุมชน ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคมวัฒนธรรมชุมชนเป็นการสอบถามคนในชุมชนถึงจำนวนนักท่องเที่ยวใน ปัจจุบันว่าส่งผลกระทบต่อมิติทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนมากน้อยเพียงใด เป็นการเก็บข้อมูลจากคนใน ชุมชน สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยค่าค่าเฉลี่ ย (𝑋̅) โดยแบ่งระดับการวัดเป็น 9 ระดับ ตั้งแต่ 1 – 9 ในการวัดว่าจำนวน นักท่องเที่ยวขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อมิติทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งไล่ลำดับตั้งแต่ค่า 1 หมายถึง จำนวนนักท่องเที่ยวขณะนี้ ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนในมิติสังคมและวัฒนธรรม ไล่ลำดับเพิ่มไปจนถึงค่ า 9 หมายถึง จำนวนนักท่องเที่ยวขณะนี้ส่งผลกระทบต่อชุมชนในมิติสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด ซึ่งสามารถวัดประเมินผลได้ ดังนี้ ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 1.00 – 3.00 หมายความว่า จำนวนนักท่องเที่ยวขณะนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อทางด้าน สังคมและวัฒนธรรมของชุมชน ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 3.01 – 7.00 หมายความว่า จำนวนนักท่องเที่ยวขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อทางด้าน สังคมและวัฒนธรรมของชุมชนปานกลางและอยู่ในปริมาณที่ยอมรับได้ ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 7.01 – 9.00 หมายความว่า จำนวนนักท่องเที่ยวขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อทางด้าน สังคมและวัฒนธรรมของชุมชนอย่างมากไปจนถึงมากที่สุด ซึ่งถ้าผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 7.01 – 9.00 ชุมชนต้องมีการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการ หรือ กลไกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว


44

5. ความพึงพอใจของชุมชน ความพึงพอใจของชุมชนเป็นการประเมินความพึงพอใจของผู้คนในชุมชนที่มี ต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวใน พื้นที่มากน้อยเพียงใด เก็บข้อมูลจากคนในชุมชน สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยค่าค่าเฉลี่ ย (𝑋̅) โดยแบ่งระดับการวัดเป็น 9 ระดับ ตั้งแต่ 1 – 9 โดยกำหนดให้ค่า 1 หมายถึง คนในชุมชนไม่พึงพอใจต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่เป็นอย่าง มาก ไล่ลำดับเพิ่มไปจนถึงค่ า 9 หมายถึง หมายถึง คนในชุมชนพึงพอใจต่อ กิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่เป็นอย่าง มากที่สุด ซึ่งสามารถวัดประเมินผลได้ ดังนี้ ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 1.00 – 3.00 หมายความว่า คนในชุมชนไม่พึงพอใจต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวใน พื้นที่ หรือพึงพอใจน้อย ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 3.01 – 7.00 หมายความว่า คนในชุมชนพึงพอใจต่อกิจกรรมการท่องเทีย่ วในพื้นที่ และอยู่ในปริมาณที่ยอมรับได้ ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 7.01 – 9.00 หมายความว่า คนในชุมชนไม่พึงพอใจต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวใน พื้นที่เป็นอย่างมากไปจนถึงมากที่สุด ซึง่ ถ้าผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 1.00 – 3.00 ชุมชนต้องมีการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการ หรือ กลไกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว 6. ความรู้สึกแออัดของชุมชน ความรู้สึกแออัดของชุมชนเป็นการสอบถามถึงความรู้สึกอึดอัดของคนในชุมชนที่มีต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่ เดินทางเข้ามาในพื้นที่ว่ามีความรู้สึกอึดอัดในระดับไหน สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยค่าค่าเฉลี่ย (𝑋̅) โดยแบ่งระดับการวัด เป็น 9 ระดับ ตั้งแต่ 1 – 9 ระดับความรู้สึ กอึดอัดต่ำสุดมีค่าคือ 1 หมายถึง คนในชุมชนในพื้นที่นั้นไม่แออัดเลย ไล่ลำดับเพิ่มไปจนถึง แออัดมากที่สุดมีค่าคือ 9 หมายถึง จำนวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่มีความอึดอัดมากที่สุด ซึ่ง สามารถวัดประเมินผลได้ ดังนี้ ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 1.00 – 3.00 หมายความว่า คนในชุมชนมีความรู้สึกแออัดน้อยจนถึงไม่รู้สึกแออัด จากจำนวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่เลย ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 3.01 – 7.00 หมายความว่า คนในชุมชนมีความรู้สึกแออัดจากจำนวนนักท่องเที่ยว ในพื้นที่แต่อยู่ในปริมาณที่ยอมรับได้ ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 7.01 – 9.00 หมายความว่า คนในชุมชนมีความรู้สึกแออัดจากจำนวนนักท่องเที่ยว อย่างมาก และส่งผลกระทบต่อการมาท่องเที่ยวในพื้นที่ ถ้าผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 7.01 – 9.00 ชุมชนต้องมีการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการ หรือกลไก ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบไปด้วยแบบสอบถามจำนวน 6 ดังนี้ แบบเก็บข้อมูลด้านสังคมและวัฒนธรรม ให้

1

ตัวเลขที่ใกล้เคียงกับความรู้สึกจริงมากที่สุด

1. ท่านได้มีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องทางด้านการท่องเทีย่ วในพื้นที่ชมุ ชนของท่านหรือไม่ O มีส่วนร่วม O ไม่มีส่วนร่วม


45

2. จำนวนนักท่องเที่ยวในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อการพบปะผู้คนในชุมชนของท่านมากน้อยเพียงใด ไม่ได้พบปะ 1

พบปะปานกลาง 2

3

4

5

ได้พบปะมากทีส่ ุด 6

7

8

9

3. ท่านมีรู้สึกมีความสุขจากการมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ชุมชนของท่านระดับใด ไม่มีความสุข 1

มีความสุขปานกลาง 2

3

4

5

ความสุขมากทีส่ ุด 6

7

8

9

4. จำนวนนักท่องเที่ยวขณะนี้ส่งผลกระทบสังคมวัฒนธรรมชุมชนมากน้อยเพียงใด ไม่ส่งผล

ส่งผลปานกลาง 1

2

3

4

5

ส่งผลมากที่สุด 6

7

8

9

5. ท่านพึงพอใจต่อการมีกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่มากน้อยเพียงใด ไม่พึงพอใจ 1

พึงพอปานกลาง 2

3

4

5

พึงพอมากที่สุด 6

7

8

9

6. ท่านมีความรูส้ ึกแออัดต่อจานวนนักท่องเทีย่ วในพื้นที่ชุมชนมากน้อยเพียงใด ไม่รู้สึกแออัด 1

รู้สึกแออัดปานกลาง 2

3

4

5

รู้สึกแออัดมากที่สุด 6

7

8

9


46

8.2.4 กระบวนการและเครื่องมือในการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านด้านจิตวิทยา ขั้นตอนการศึกษา กำหนดให้ชุมชนเป็นผู้ศึกษาถึงผลกระทบจากการท่องเที่ยวในด้านจิตวิทยา ดังนี้ 1. ชุมชนประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนในการระบุจำนวนกลุ่มตัวอย่างในการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งก็คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในชุมชน 2. นำเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านจิตวิทยาโดยใช้แบบสอบถาม และการบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม 3. วิเคราะห์ผลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล ใน 3 ประเด็น ได้แก่ การพบปะผู้คน ความพึงพอใจของผู้มา เยือน และ ความรู้สึกแออัด ด้วยการหาค่า ค่าเฉลี่ย (𝑋̅) ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ (ศึกษาวิธีการคำนวณหา ค่าเฉลี่ย (𝑋̅) ได้ในภาคผนวก) แต่ละประเด็นสามารถวิเคราะห์ผลได้ ดังนี้ 1. การพบปะผู้คน การพบปะผู้คนเป็นการศึกษาถึงความรู้สึกของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการพบปะกับนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นในพื้นที่ ว่าได้พบปะหรือพบเจอจำนวนนักท่องเที่ยวมากน้อยเพียงใด สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยค่าค่าเฉลี่ย (𝑋̅) โดยวัดแบ่ง ระดับการวัดเป็น 9 ระดับ ตั้งแต่ 1 – 9 วัดว่านักท่องเที่ยวพบปะหรือพบเจอจำนวนนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความรู้สึก ไล่ลำดับตั้งแต่ค่า 1 หมายถึง จำนวนนักท่องเที่ยวในขณะนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการพบปะหรือพบเจอจำนวน นักท่องเที่ยว ไล่ลำดับเพิ่มไปจนถึง ค่า 9 หมายถึง จำนวนนักท่องเที่ยวในขณะนี้ส่งผลกระทบมากที่สุดต่อการพบปะ หรือพบเจอจำนวนนักท่องเที่ยว ซึ่งสามารถวัดประเมินผลได้ดังนี้ ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 1.00 – 3.00 หมายความว่า จำนวนนักท่องเที่ยวในขณะนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อการ พบปะหรือพบเจอจำนวนนักท่องเที่ยว หรือส่งผลน้อย ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 3.01 – 7.00 หมายความว่า จำนวนนักท่องเที่ยวในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อการ พบปะหรือพบเจอจำนวนนักท่องเที่ยวแต่อยู่ในปริมาณทีย่ อมรับได้ ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 7.01 – 9.00 หมายความว่า จำนวนนักท่องเที่ยวในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อการ พบปะหรือพบเจอจำนวนนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากจนถึงมากที่สุด ซึ่งถ้าผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 7.01 – 9.00 ชุมชนต้องมีการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการ หรือ กลไกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว 2. ความพึงพอใจของผู้มาเยือน ความพึงพอใจของผู้มาเยือน สอบถามนักท่องเที่ยวถึงระดับความพึงพอใจของการเยือน หรือมาท่องเที่ยวใน พื้นที่ สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยค่าค่าเฉลี่ย (𝑋̅) โดยแบ่งระดับการวัดผลเป็น 9 ระดับ ตั้งแต่ 1 – 9 เพื่อวัดระดับความ พึงพอใจในภามรวมไล่ลำดับตั้งแต่ค่า 0 หมายถึง นักท่องเที่ยวไม่มีพอใจอย่างมากต่อการมาท่องเที่ยวในพื้นที่ ไล่ลำดับ เพิ่มไปจนถึง ค่า 10 หมายถึง นักท่องเที่ยวพึงพอใจอย่างมากที่สุดต่อการมาท่องเที่ยวในพื้นที่ ซึ่งสามารถวัด ประเมินผลได้ ดังนี้ ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 1.00 – 3.00 หมายความว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจน้อยจนถึงไม่พึงพอใจต่อ การมาท่องเที่ยวในพื้นที่เลย


47

ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 3.01 – 7.00 หมายความว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจปานกลางต่อการมา ท่องเที่ยวในพื้นที่ ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 7.01 – 9.00 หมายความว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจอย่างมากไปจนถึงมากที่สดุ ต่อการมาท่องเที่ยวในพื้นที่ ซึ่งถ้าผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 1.00 – 3.00 ชุมชนต้องมีการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการ หรือ กลไกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว 3. ความรู้สึกแออัด ความรู้สึกแออัด สอบถามนักท่องเที่ยวถึงระดับความรู้สึกแออัดของนักท่องเที่ยวที่มีต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่ เดินทางเข้ามาในพื้นที่ ณ ขณะนั้นว่ามีความรู้สึกแออัดในระดับไหน สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยค่าค่าเฉลี่ย (𝑋̅) โดยแบ่ง ระดับการวัดเป็น 9 ระดับ ตั้งแต่ 1 – 9 โดยที่ระดับความรู้สึกแออัดต่ำสุดมีค่าคือ 1 หมายถึง จำนวนนักท่องเที่ยวใน พื้นที่นั้นไม่แออัดเลย ไล่ลำดับเพิ่มไปจนถึง แออัดมากที่สุดมีค่าคือ 9 หมายถึง จำนวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่มีความ แออัดมากที่สุดต่อการมาท่องเที่ยวในพื้นที่ ซึ่งสามารถวัดประเมินผลได้ ดังนี้ ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 1.00 – 3.00 หมายความว่า นักท่องเที่ยวมีความรู้สึกแออัดน้อยจนถึงไม่รู้สึกแอดอัด จากจำนวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่เลย ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 3.01 – 7.00 หมายความว่า นักท่องเที่ยวมีความรู้สึกแอดอัดจากจำนวน นักท่องเที่ยวในพื้นที่แต่อยู่ในปริมาณทีย่ อมรับได้ ผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 7.01 – 9.00 หมายความว่า นักท่องเที่ยวมีความรู้สึกแอดอัดจากจำนวน นักท่องเที่ยวอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อการมาท่องเที่ยวในพื้นที่ ถ้าผลค่าเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 7.01 – 9.00 ชุมชนต้องมีการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการ หรือกลไก ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบไปด้วยแบบสอบถามจำนวน 3 ข้อ ดังนี้ แบบเก็บข้อมูลด้านจิตวิทยา ให้

1

ตัวเลขที่ใกล้เคียงกับความรู้สึกจริงมากที่สุด

1. ท่านพบปะหรือพบเจอนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นมากน้อยเพียงใด พบปะน้อย 1

พบปะปานกลาง 2

3

4

5

พบปะมากที่สุด 6

7

8

9


48

2. โดยภาพรวมท่านพึงพอใจต่อการมาเยือนย่านเมืองเก่าในครั้งนี้มากน้อยเพียงใด พึงพอใจน้อยทีส่ ุด 1

พึงพอใจปานกลาง 2

3

4

5

พึงพอใจมากทีส่ ุด 6

7

8

9

3. ท่านรู้สึกว่าย่านเมืองเก่าแห่งนี้มีความแออัดจากจำนวนนักท่องเที่ยวหรือไม่ ไม่แออัดเลย 1

แออัดปานกลาง 2

ชุมชนริมน้ำจันทบูร : จังหวัดจันทบุรี

3

4

5

แออัดมากที่สุด 6

7

8

9


49

8.2.5 กระบวนการและเครื่องมือในการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านด้านเศรษฐกิจ ขั้นตอนการศึกษา

1) ประชุมวางแผนระบุจำนวนกลุ่มตัวอย่างในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านเศรษฐกิจ โดยใช้แบบสอบถาม และการบันทึกข้อมูล เพิ่มเติม 3) การวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุน ROI (Return on Investment) คือ การวัดผลตอบแทน จากการลงทุน กล่าวคือ เมื่อเราลงทุนอะไรไปสักอย่าง เราต้องการทราบหรือประเมินได้ว่าการลงทุนนั้นคุ้มค่า หรือไม่ จากการหาค่ากำไรสุท ธิ และหาค่า ROI (ศึกษาวิธีการคำนวณหาค่า สำไรสุทธิและค่า ROI ได้ใน ภาคผนวก) 4) การวิเคราะห์ผลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) หมายความถึง ผลรวมจากค่าของตัวอย่าง ที่ได้จากการ สำรวจทุกค่าของข้อมูลแล้วหารด้วยจำนวนตัวอย่างของข้อมูล (ผู้ตอบแบบสอบถาม) หลังจากนั้นจึงทำการสรุป และเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ในปัจจัยชี้วัดด้านเศรษฐกิจ จะทำให้ทราบว่าปัจจุบันย่านเมืองเก่า นัน้ ๆ ได้รับผลกระทบการท่องเที่ยวเกินกว่าที่กำหนดไว้หรือไม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทางเศรษฐกิจ (ผู้ประกอบการ) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทางเศรษฐกิจ (คนในชุมชน) ดังนี้ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทางเศรษฐกิจ (ผู้ประกอบการ) สำรวจผู้ประกอบการที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และแหล่งเรียนรู้/กิจกรรมด้านการท่องท่องเที่ยว เพื่อระบุความคุ้มค่าของผลตอบแทนการลงทุนและการกระจายตัวทางเศรษฐกิจในย่านเมืองเก่า 1. การสำรวจผลตอบแทนจากการลงทุน ROI (Return on Investment) 1) ประเภทของสถานประกอบการ โรงแรม/ที่พัก ร้านอาหาร/เครื่องดื่ม ร้านขายของที่ระลึก แหล่งเรียนรู้/กิจกรรม 2) ลักษณะของผู้ประกอบการ (การถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน/บ้าน) เจ้าของดั้งเดิม (คนในชุมชน) ผู้เช่า เจ้าของใหม่ (ซื้อต่อ) ระบุจำนวนปี..............ปี 3) ท่านคิดว่ารายได้ที่น้อยที่สุดต่อวันหรือต่อเดือน ที่สามารถดำเนินกิจการของท่านได้โดยไม่ขาดทุน ประมาณ ..........................................................ต่อวันหรือต่อเดือน 4) ท่านคิดว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ใช้จ่ายอะไรบ้างในธุรกิจของท่าน ............................................................................................................................................................ ประมาณการค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อครั้งที่ใช้บริการ................................................บาท


50

5) ต้นทุนผันแปรในการดำเนินกิจการของท่านต่อครั้งในการประกอบการท่องเที่ยว รายการ ค่าแรงงาน ค่าจ้างพนักงาน ค่าทำความสะอาด ค่าดูแลสิ่งแวดล้อม ค่าวัตถุดิบอาหาร ค่าวัสดุอุปกรณ์ (สิ้นเปลือง) อื่น ๆ

ประมาณการค่าใช้จ่าย (บาท) ต่อวันหรือต่อเดือน

6) ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจ (ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่รวมอาคารสิ่งก่อสร้าง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ วัสดุในห้องพัก) รายการ ค่าใช้จ่าย (บาท) วัสดุอุปกรณ์ในห้องพัก วัสดุอุปกรณ์ร้านอาหาร อื่น ๆ 7) รายได้จากการประกอบกิจการด้านการท่องเที่ยวต่อเดือน (ระบุประมาณการ).................................บาท สถานการณ์การปัจจุบันคาดการณ์ผลกำไรอยู่ในภาวะใด ขาดทุน เท่าทุน ได้กำไร

-2 -1 0 1 2 2. การกระจายตัวทางเศรษฐกิจภายในชุมชน 1) กิจการของท่านก่อให้เกิดความร่วมมือในลักษณะเครือข่ายหรือไม่ (การแนะนำ การส่งต่อนักท่องเที่ยว ภายในชุมชน) ไม่มี มี ในลักษณะใด............................................................................................... 2)0แรงงานในการดำเนินการธุรกิจท่องเที่ยวของท่านมาจากที่ใด (โดยประมาณ) 0 สมาชิกในครัวเรือน จำนวน.............คน ค่าแรงประมาณ................................................บาท/วัน  จ้างแรงงานภายในชุมชน จำนวน...........คน ค่าแรงประมาณ.......................................บาท/วัน  จ้างแรงงานจากภายนอกชุมชน จำนวน .............คน ค่าแรงประมาณ...................................บาท/วัน  จ้างแรงงานต่างด้าวจำนวน...................คน ค่าแรงประมาณ.........................................บาท/วัน 3) สัดส่วนรายจ่ายจากกิจการของท่านหมุนเวียนในชุมชน จากการคาดการณ์เป็นค่าร้อยละของรายได้ ค่าจ้างงานคนท้องถิ่น ประมาณการร้อยละ.................................... การซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในกิจการภายในชุมชน ประมาณการร้อยละ.................................... การคืนกำไรสู่การพัฒนาชุมชน ประมาณการร้อยละ....................................


51

แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทางเศรษฐกิจ (คนในชุมชน)

1. ค่าครองชีพจากการพัฒนาการท่องเทีย่ ว 1) รายรับต่อเดือนต่อครัวเรือน.................................................บาท (ประมาณการ) 2) รายจ่ายต่อเดือนต่อครัวเรือน................................................บาท (ประมาณการ) 3) ผลกระทบจากการพัฒนาการท่องเที่ยวต่อการดำรงชีพในชุมชน** ผลกระทบ ผลลบ ไม่มีผล ผลบวก -2 -1 0 1 2 ราคาสินค้าและบริการในชุมชน รายได้ในครัวเรือน รายจ่ายในครัวเรือน หนี้สินในครัวเรือน เงินออมในครัวเรือน สวัสดิการในชุมชน การนำรายได้พัฒนาชุมชน (สิ่งแวดล้อม การดูแลอาคาร) ราคาที่ดินและการซื้อขายที่ดิน

เพิ่มเติม


52

เอกสารอ้างอิง กองพัฒนาเกษตรที่สูง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2545). คู่มือการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านการ ท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: กองพัฒนาเกษตรที่สูง สำนักงานปลัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. จิราภา ปราเดรา ดิเอส และคณะ (มปป.). จัดทำชุดความรู้และกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเทคนิคการ ปฏิบัติงานของ อพท. ตามแนวทางของหลักเกณฑ์ GSTC (Global Sustainable Tourism Criteria). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. เชียงราย: ศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. ณรงค์ ณ เชียงใหม่. (2546). “การมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน.” รูสมิแล 23, 2-3 (พฤษภาคม – ธันวาคม): 1-4. ดรรชนี เอมพันธุ์ และมยุรี นาสา. (2553). ขีดความสามารถด้านจิตวิทยาในการรองรับกิจกรรมดำน้ำตื้นของ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด. รายงานฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. นภวรรณ ฐานะกาญจน์ สุ ร เชษฎ์ เชษฐมาส ดรรชนี เอมพั น ธุ ์ ณั ฎ ฐ พิ ช กรรม เล็ ก เติ ม ตระกลู สมเกี ย รติ สิงหวรวุฒิ และสิริพงษ์ ราชคีรี. (2541). คู่มือพัฒนาและออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่ง ท่องเที่ยวแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นราวดี บัวขวัญ วนิดา เพ็ชรลมุล และ ภัชภุล ตรีพันธ์. (2559). ขีดความสามารถในการรองรับของการท่องเที่ยว โดยชุมชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานียะลา และนราธิวาส). รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. บันลือศักดิ์ วงษ์ภักดี. (2552). “ขีดความสามารถในการรองรับการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการของ อุทยาน แห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง.” วารสาร Environment and Natural Resources Journal. 7(1), 94 – 109. เบญจมาศ ณ ทองแก้ว อำนาจ รักษาพล และจุฑามาส เพ็งโคนา. (2557), การศึกษาขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying Capacity) การท่องเที่ยวโดยชุมชนของเกาะพิทักษ์จังหวัดชุมพร. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ปิยาณี สุขมณี. (2558). “การพัฒนาชุมชนริมน้ำจันทบูรด้วยแนวคิดกิจการเพื่อสังคม.” วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชนบทศึกษาและการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ และคณะ. (2562). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การกำหนดขีดความสามารถในการรองรับ การท่องเที่ยวด้านกายภาพ จิตวิทยา สังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ของแหล่งท่องเที่ยวใน พื้นที่หมู่ เกาะลันตา จังหวัดกระบี่. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัย มยุรี นาสา. 2554. การศึกษาขีดความสามารถด้านจิตวิทยาในการรองรับกิจกรรมท่อ งเที่ยวบริเวณชายหาดของ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน . การประชุมวิชาการการนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. เมติญา ไถเหี้ยม. (2559). “ลักษณะทางกายภาพที่พึงประสงค์ของถนนคนเดิน: กรณีศึกษาถนนถลาง จังหวัด ภูเก็ต”. วิทยานิพนธ์ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแหงประเทศไทย. (2535). รายงานฉบับสมบูรณ์การศึกษาขีดความสามารถ ในการรองรับการพัฒนาการท่องเที่ยวของเกาะพีพี. กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย


53

หิรัญ หิรัญรัตนพงศ์ และคณะ. (2560). “การประเมินขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว ของอุทยาน แห่งชาติเขาคิชฌกูฏ (ส่วนรอยพระพุทธบาทพลวง).” วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 22 (3) กันยายน – ธันวาคม. 557-568. อรวรรณ พันธ์เนตร. (2542). “การประเมินความต้องการการมีส่วนร่วมและความต้องการพัฒนาการท่องเที่ยว ของประชาชน กรณีศึกษาบ้านหาดไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย.” การค้นคว้า แบบอิสระ ศศม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. อรวรรณ ศาสนียกุล. (2559). “แนวทางการอนุรักษ์ตึกแถวเอกชนในพื้นที่เมืองเก่า กรณีศึกษาตึกแถวบนถนน ถลางและถนนเยาวราช เมื อ งเก่ า ภู เ ก็ ต ” วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญาสถาปั ต ยกรรมศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. Bulter, R. W. ( 1 9 9 3 ) . Tourism – an evolutionary perspective. In Tourism and Sustainable. Deverlopment: Monitoring, Planning, Managing, ed. J.G. Nelson, R.W. Butler and G. Wall, pp. 27 – 44. Waterloo, Ontario: University of Waterloo (Department of Geography Publication 37). Carr, M.H., (2000). Marine protected areas: challenges and opportunities for understanding and conserving coastal marine ecosystems. Environ. Conserv, 27: 106-109. Coccossis, H.; Mexa, A., (2004). The challenge of tourism carrying capacity assessment- theory and practice. Ashgate Publishing, Ashgate. Commission on Sustainable Development (CSD). (1999). Report on the seventh Session. 1 may and 27 July 1998, and 19 – 30 April 1999, Economic and Social Council Official Records, 199, Supplement No. 9, United Nations, New York, 1999. Copyright United Nations Division for Sustainable Development 02/09/1999 Davis, D.; Tisdell, C. (1995). Recreational scuba-diving and carrying capacity in marine protected areas. OceanCoast. Manage., 26(1): 19-40. Nghi, T.; Lan, N.T.; Thai, N.D.; Mai, D.; Thanh, D.X., (2007). Tourism carrying capacity assessment for PhongNh-Ke Bang and Dong Hoi, QuangBinh Province. VNU. J. Sci. Earth Sci., 23: 8087. Nualnapa Jinda. 2005. Information system for recreation carrying capacity monitoring of Mu Ko Surin national park, Phang-Nga province. Master of Science. Mahidol University. Saveriades, A., (2000). Establishing the social tourism carrying capacity for the tourist resorts of the east coast of the Republic of Cyprus. Touri. Manage., 21 (2): 147-156. Shelby, B and T. A. Heberlein. ( 1986) . Carrying Capacity in recreation Settings. Oregon State University Press. U.S.A Snowman. (1987). A Procedure for Assessing Recreation Carrying Capacity of Coastal Resort Areas. Landscape and Urban Planning. Vol. 14.


54

Wagar, J., (1964). The carrying capacity of wilderness for recreation. Forest Service Monograph, Society of American Foresters, 7: 23. Wall, G., (1983). Cycles and Capacity: A contradiction in Terms. Annals Touri. Res., 10: 268-270. Williams, P.W. & A. Gill. (1991). Carrying capacity management in tourism settings: A tourism growth management process. Simon Fraser University.


ภาคผนวก


56

สูตรและวิธีการคำนวณ 1. การคำนวณ PCC มีสูตรดังนี้ PCC = PAOT x Rf PAOT หรือ People at one time หมายถึง จำนวนคนที่สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้ในช่วงเวลาเดียวกัน หรือ จำนวนคนต่อช่วงเวลาซึง่ สามารถคำนวณจากพื้นที่ทงั้ หมดที่สามารถประกอบกิจกรรมได้หารด้วยจำนวนพื้นที่ที่ นักท่องเที่ยวใช้เพื่อการประกอบกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึง่ Rf หมายถึง จำนวนรอบเวลาในการใช้ประโยชน์ต่อช่วงเวลาที่เปิดให้ใช้ประโยชน์ RF = TT x Ta กำหนดให้

TT หมายถึง เวลาที่เปิดให้ใช้ประโยชน์ทั้งหมด Ta หมายถึง เวลาที่ใช้ในการประกอบกิจกรรม

2. การคำนวณค่าร้อยละ 𝑥 =

𝑛 × 100 𝑁

𝑥 หมายถึง ค่าร้อยละ 𝑛 หมายถึง ผลรวมจำนวนทัง้ หมด 𝑁 หมายถึง จำนวนทั้งหมดของผู้ที่ตอบแบบสอบถาม 3. การคำนวณค่าเฉลี่ย (𝑋̅) 𝑋̅ =

∑𝑥 𝑛

𝑋̅ คือ ผลค่าเฉลี่ย ∑𝑥 คือ ผลรวมจำนวนทั้งหมดทีผ่ ู้ตอบแบบสอบถามเลือกตอบ 𝑛 คือ จำนวนของผู้ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด


57

4. การคำนวณค่ากำไรสุทธิ

กำไรสุทธิ = รายรับ – ต้นทุน 5. การคำนวณหาค่า ROI

ROI = (กำไรสุทธิ/ต้นทุน) x 100 ซึ่งการลงทุนใดที่มีค่า ROI เกิน 100% ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า


58

คณะผู้จัดทำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตศักดิ์ พุฒจร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภรัตน์ แสงฉัตรแก้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สดุ า พุฒจร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนกฤต สังข์เฉย อาจารย์ ดร.พฤทธิ์ พุฒจร อาจารย์ ดร.พิชญ์ จิตต์ภักดี ดร.จรรยวรรธ สุธรรมา อาจารย์ รชกร วชิรสิโรดม อาจารย์ กนกวรรณ แก้วอุไทย อาจารย์ ธนวรรษ ดอกจันทร์ อาจารย์ อาภาลัย สุขสำราญ อาจารย์ หทัยรัตน์ สวัสดี อาจารย์ สไบทิพย์ มงคลนิมิตร์ นาย คเชนทร์ พรหมคช นางสาว รินนารา จันทร์หอม นางสาว กุลวดี กุลพักตรพงษ์ นางสาว วรัญญา ยิ้มแย้ม นางสาว ธีรยา อินทรารักษ์

มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ขอนแก่น) มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

หัวหน้าโครงการวิจัย นักวิจัย นักวิจัย นักวิจัย นักวิจัย นักวิจัย นักวิจัย นักวิจัย นักวิจัย นักวิจัย นักวิจัย นักวิจัย นักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจยั ผู้ช่วยนักวิจยั ผู้ช่วยนักวิจยั ผู้ช่วยนักวิจยั ผู้ช่วยนักวิจยั


มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยแม่ฟา้ หลวง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ขอนแก่น) และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.