วารสาร Lanna Spirit ฉบับที่ 4│กรกฎาคม - สิงหาคม 2561

Page 1

LANNA SPIRIT ฉบับที่ 4 / กรกฎาคม 2561

LANNA SPIRIT วารสารเพื่อส่งเสริมความรู ้ และพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือ

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว CTRD

PRENOMENA ประมวลภาพกิจกรรม “ ล้านนาเล่าว่า ...ควรค่าม้ามีเรื่องเล่า ” 16 มิ.ย. 61 ณ ชุ มชนควรค่าม้าสามัคคี หน้า 6 - 7

TOURISM MAP

แผนที่ท่องเที่ยว เชิ งวัฒนธรรม ชุมชนควรค่าม้าสามัคคี รวมที่เที่ยว ที่กิน Street Art และเสน่ห์ชุมชนเมืองเก่าเชี ยงใหม่ หน้า 8 - 9

“ ล้านนาเล่าว่า ...ควรค่าม้ามีเรื่องเล่า ” Street Art โดยกลุ่ม Fineart Ndm Children2018 ชื่อผลงาน ‘ศิลปวัฒนธรรม งามสง่ า คู ่ ฟ ้ า ล้ า นนา ’ หนึ่ ง ในผลงานการตี ค วามประโยค ‘ล้ า นนาเล่ า ว่ า ’ ออกมาได้สวยงามน่าประทับใจ และเป็นหนึ่งชิ้นที่ชาวชุมชนควรค่าม้าสามัคคี เจ้าของพื้นที่หลงรัก และชื่นชอบ ผลงานชิ้นนี้ถูกวาดอยู่ในตรอกเล็กๆ ใจกลาง ชุ ม ชนควรค่ า ม้ า สามั ค คี ชุ ม ชนหั ว เวี ย ง เมื อ งเก่ า เชี ย งใหม่ ชุ ม ชนที่ ก� ำ ลั ง พั ฒ นาศั ก ยภาพด้ า นการรองรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว การรั ก ษามรดกทางวั ฒนธรรม และสภาพแวดล้อม รวมถึงการยกระดับความเข้มแข็งของชุมชน

TREND

INNOVATIVE

ชุ​ุมชนหัวเวียงเชี ยงใหม่ สู่ชุมชนท่องเที่ยว จากชุ มชนที่อยู ่อาศัยดัง้ เดิม สู่การตัง้ รับการท่องเที่ยว กับจุ ดเด่น 4 วัดในชุ มชน

Street Art @ชุมชนควรค่าม้าสามัคคี ผลงานศิลปะข้างก�ำแพง สร้างสรรค์จุดเด่น และความ เปลี่ยนแปลงให้กับชุ มชน

หน้า 10 - 11

หน้า 12 - 13 1


ON THE COVER Street Art @ ชุมชนควรค่าม้าสามัคคี ‘ศิลปวัฒนธรรม งามสง่า คู่ฟ้าล้านนา ’ ภาพ : Fineart Ndm Children2018

บรรณาธิการบริหาร ดร.กรวรรณ สังขกร

We’re trying to find a tourism model that allows communities to thrive while business prospers.

เราพยายามหาโมเดลการท่องเที่ยว ที่จะช่วยให้ทั้งชุมชนและธุรกิจเติบโตไปด้วยกัน - Jochen Zeitz -

ที่ปรึกษา แสนเมือง กองบรรณาธิการ สามารถ สุวรรณรัตน์ คุณากร เมืองเดช จักรพงษ์ วิชญสกุล นักเขียน ดร.อาชวบารมี มณีตระกูลทอง ดร.ศันสนีย์ กระจ่างโฉม ดร.เผชิญวาส ศรีชัย สุดารัตน์ อุทธารัตน์ ศิลปกรรม วิจิตรา ชัยศรี พริม จินดางาม ถ่ายภาพ กรินทร์ มงคลพันธ์ LANNA SPIRIT ฉบับที่ 4 / กรกฎาคม-สิงหาคม 2561 ผลิตโดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ 0 5394 2568 โทรสาร 0 5394 2586 www.sri.cmu.ac.th http://www.sri.cmu.ac.th/~ctrd/ facebook.com/ctrd.cmu

วัดควรค่าม้า ชุมชนควรค่าม้าสามัคคี เมืองเก่าเชียงใหม่ 2


Editor’s Letter

ชุ มชนเมืองเก่าเชี ยงใหม่ สนามทดลองการจัดการการท่องเที่ยว ชาวเชียงใหม่คงได้ประจักษ์กับสายตาตนเองแล้วว่า เมืองเก่าเชียงใหม่วันนี้เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวนานาชาติ และกิจการธุรกิจท่องเที่ยวที่ ผุดขึ้นราวดอกเห็ดฤดูฝน ปรากฏการณ์นี้คงจะไม่ใช่ ‘เรื่องแปลก’ หรือ ‘น่าตกใจ’ เพราะกระแสความเปลี่ยนแปลงด้านการท่องเที่ยวของเมืองแห่งนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงข้ามคืน หรือปีสองปี แต่กินเวลาทอดยาวร่วม 30 ปี เป็นช่วงเวลานานพอที่พวกเราหลายๆ คนจะคุ้นชินเห็นภาพเจนตา จนบางครั้ง ความเงียบงัน ไม่ตั้งค�ำถาม และมองสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องใหญ่ กลายเป็นเรื่องที่ยอมรับได้โดยปริยาย ประเด็นที่น่าขบคิด และควรตั้งค�ำถามอย่างยิ่ง ก็คือ วันนี้และในอนาคตอันใกล้ เมืองเก่าเชียงใหม่ก�ำลังต้องการ แผนการรับมือ แก้ไขปัญหา และการวางแผนการจัดการเมืองด้านการท่องเที่ยวอย่างเฉพาะเจาะจง มีความเชื่อมโยงเป็นระบบ และเกิดเป็นรูปธรรมที่ ชัดเจน หากพิจารณาตาม Supply Chain ของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเมืองเก่าเชียงใหม่ เราจะพบว่า ต้นทุนทางด้านสังคม วิถีชีวิต วัฒนธรรม และ กายภาพ คือทรัพยากรตั้งต้นชั้นเลิศ ซึ่งถูกน�ำมาใช้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และสิ่งรองรับการท่องเที่ยว ขณะนี้ต้นทุนดังกล่าวก�ำลังถูกจัดการแบบตามมี ตามเกิด ขึ้นอยู่กับหน่วยงาน หรือเจ้าของพื้นที่เป็นหลัก ภาวะต่างคนต่างท�ำ ชี้ให้เห็นถึงความขาดพร่องในเรื่องของแนวปฏิบัติ หรือจินตภาพร่วมที่ ทุกฝ่ายเข้าใจ เห็นพ้อง และร่วมมือเพื่อจะไปถึงเป้าหมายเดียวกัน ทุกวันนี้เราจึงมุ่งแก้ปัญหา และให้ความสนใจกับผลลัพธ์ปลายเหตุ ไม่ว่าจะเป็น เรื่อง ปัญหาที่พักเกสต์เฮ้าส์ที่ไม่สามารถปฏิบัติตาม พรบ.โรงแรม ปัญหาการลดลงของจ�ำนวนนักท่องเที่ยว ปัญหาความสะอาด และสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกของเมืองเพื่อรองรับการท่องเที่ยวส�ำหรับคนทุกวัย การเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากคนท้องถิ่น ไปสู่คนนอกชุมชน ปัญหาการสูญสลายของวิถี และสายสัมพันธ์ทางสังคมดั้งเดิม และบรรยากาศความเป็นชุมชนเมืองเก่าที่ก�ำลังเลื่อนหาย ฯลฯ เมื่อขบคิดให้ถึงแก่น เราก็จะพบความโยงใย และ ต้นสายของเรือ่ งราวทัง้ หมดทีเ่ กีย่ วพันกัน เป็นต้นเรือ่ งทีก่ ำ� ลังเฝ้ารอการริเริม่ แก้ไข เสริมสร้างศักยภาพ เพิม่ เติมการพัฒนาทีเ่ หมาะสม จากแผนการจัดการ การท่องเที่ยวของเมืองนี้ที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน และมีส่วนร่วม วันนี!้ ยังคงไม่สายเกินไป หากคนเชียงใหม่และทุกคนทีเ่ กีย่ วข้องกับธุรกิจท่องเทีย่ ว จะร่วมกันตัง้ ค�ำถาม ตรึกตรอง และลงมือจัดการ ให้เกิด “แผนการจัดการท่องเที่ยวเมืองเก่าเชียงใหม่” เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว และรักษาเมืองที่เรารักและภาคภูมิใจ ไปพร้อมๆ กัน ดร. กรวรรณ สังขกร บรรณาธิการบริหาร 3


Tourism Calendar

Time TO TRAVEL ปฏิทินการท่องเที่ยวภาคเหนือตอนบน : กรกฎาคม 2561

ชิมทุเรียนหลง-หลินลับแล

Rustic Market

กรกฎาคม- (ต้นเดือน) สิงหาคม ตลาดวัดหัวดง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

เริ่ม 1 กรกฎาคม (ทุกสุดสัปดาห์) ตลาด JJ มาร์เกต อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

แม้วา่ งานเทศกาลทุเรียนและผลไม้จงั หวัด อุตรดิตถ์จะเปิดตัวไปแล้วเมื่อต้นเดือนมิ.ย. และ ทุเรียนหลง-หลิน หมอนทอง ขายดิบขายดีจน ขาดตลาด โปรดอย่าได้กังวล ทุเรียนรุ่น 3 ก�ำลัง ตามมาในกลางเดือนกรกฎาคมนี้ แค่ 3 ชั่วโมง จากเชียงใหม่ ช้าอยู่ใย

ปั่นไร้มลพิ ษ พิ ชิตดอยสุเทพ 2018 ้ แต่วันนี-้ 31 ตุลาคม ลงทะเบียนตัง อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

Rustic Marketกลับมาแล้ว! ตลาดนัดวัน อาทิตย์มีสไตล์ พร้อมสินค้าคัดสรร คราวนี้มา พร้อมกิจกรรม Hobby Market ทุกเช้าวันเสาร์ ใครที่ชอบผลผลิตออร์แกนิค และของแฮนด์เมด น่ารัก ควรตามไปชม ชิม ช้อป บนเวทีอันงดงาม

เปิ ด ให้ ล งทะเบี ย นกั น แล้ ว ส� ำ หรั บ งาน Sunday cycling 2018 : เดินทางไร้มลพิษพิชิต ดอยสุเทพครั้งที่ 22 เส้นทางเมืองเก่าเชียงใหม่ ถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ ในเช้าวันที่ 2 ธันวาคม ระยะทาง 18.3 กม. ลงทะเบียนที่ Facebook “ชมรมจักรยานวันอาทิตย์เชียงใหม่”

สืบสานต�ำนาน ‘เจ้าพ่ อทิพย์ช้าง’

Pai Jazz & Blue Festival

แอ่วเหนือม่วนใจ๋ รถไฟ ปู๊นปู๊น

18 - 19 กรกฎาคม วัดพระธาตุลำ� ปางหลวง อ.เกาะคา จ.ล�ำปาง

20-22 กรกฎาคม อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน

28-29 กรกฎาคม จ.ล�ำปาง - จ.ล�ำพู น - จ.เชียงใหม่

“เจ้ า ทิ พ ย์ ช ้ า ง” เจ้ า เมื อ งล� ำ ปาง และ ต้ น ตระกู ล เจ้ า เจ็ ด ตนชาวล� ำ ปาง คื อ บุ ค คล ในประวัติศาสตร์ที่ชาวล�ำปางให้ความเคารพ และจัดงานร�ำลึกถึงท่าน เป็นประจ�ำทุกปี ปีนี้มี พิธีบวงสรวง วางพวงมาลา การแสดงแสง-สีเสียง และการออกร้านแสดงสินค้าของดีเมือง ล�ำปางครบครัน

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ส�ำนักงานแม่ฮ่องสอน กับ HIP Magazine และ บรรดาศิลปินนักเพลงทั้งสายแจ๊สและบูล ร่วม จัดการแสดงดนตรีสดจะจัดขึน้ ตามสถานทีต่ า่ งๆ ภายในตัวเมืองอ�ำเภอปาย ใครรักเสียงดนตรีและ บรรยากาศปายหน้าฝนไม่ควรพลาด

เที่ ย วเมื อ งเหนื อ ด้ ว ยรถไฟไม่ มี อ ะไร คลาสสิกเกินกว่านี้แล้ว ยิ่งเที่ยวช่วงหน้าฝนยิ่ง ได้อารมณ์ความรู้สึกพิเศษ ใครสนใจทริปเที่ยว ด้วยรถไฟ จากล�ำปาง-ล�ำพูน-เชียงใหม่ ลอง ติดต่อไปที่ 06-2264-7036 Facebook “แอ่ว เหนือม่วนใจ๋รถไฟปู๊นปู๊น” งานนี้จัดโดย ททท. การรถไฟฯ และภาคีด้านการท่องเที่ยวอีกเพียบ

4


เที่ยวทั่วไทย

งานเงาะโรงเรียนนาสาร

เทศกาลอาหารหรอย ผลไม้อร่อย ประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน�้ำ หาดใหญ่และของดีเมืองใต้

12-23 กรกฎาคม ต.นาสาร อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี

ใครที่ไม่รู้ว่าต้นก�ำเนิดเงาะโรงเรียน มาจากโรงเรียนไหน? โปรดจดจ�ำเอาไว้ว่า มาจากต.นาสาร จ.สุราษฎร์ธานี นู้นเลย และ เงาะพันธุ์นี้ก็เพิ่งได้ขึ้นทะเบียน GI (สิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์) กับกระทรวงพาณิชย์ไปเมื่อต้นปี ทางจังหวัดจึงจัด ‘งานเงาะโรงเรียนนาสาร’ ขึ้นและหวังให้เป็นงานเทศกาลผลไม้ที่ใหญ่ ที่สุดในภาคใต้!! ใครล่องใต้ช่วงนี้อย่าลืมไป 5 – 15 กรกฎาคม ณ สวนหย่อมศุภสาร รังสรรค์ฯ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

27 กรกฎาคม ณ ลาดคลองชะโด อ.ผักไผ่ จ.อยุธยา

อย่างที่เรารู้ว่าเดี๋ยวนี้มีไฟล์ทบินตรงจาก เชียงใหม่ลงใต้แบบทุกวัน! ถ้าจะหาโอกาสไป เที่ยวใต้ ชิมผลไม้สดๆ กับอาหารทะเลหรอยแรง ไปงานนี้เลย ปีนี้จัดเป็นปีที่ 7 แล้วนะ

ช่วงเข้าพรรษาสีสันการท่องเที่ยวจะอยู่ ที่ ข บวนแห่ เ ที ย นฉบั บ นี้ เ ราอยากแนะน� ำ ที่ แปลกใหม่ ขบวนแห่ เ ที ย นพรรษาทางเรื อ ณ ลาดคลองชะโด ของชาวอ.ผักไผ่ จ.อยุธยา เพราะงานนีช้ าวบ้านจะตบแต่งเรือ และแต่งกาย สีสันสวยงาม จงหาโอกาสไปชม!

ประเพณีใส่บาตรเทียน

เชียงใหม่บุ๊คแฟร์

29 กรกฎาคม วัดบุญยืน ต.เวียงสา จ.น่าน

29 มิถุนายน - 8 กรกฎาคม 2561 เชียงใหม่ฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต จ.เชียงใหม่

ประเพณี ที่ ป ฏิ บั ติ กั น มายาวนานของ ชาวเวียงสา จ.น่าน จัดขึ้นหลังวันเข้าพรรษา หนึ่งวัน (วันแรม 2 ค�่ำ เดือน 8) ณ วัดบุญยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเทียนแก่พระสงฆ์ เพื่อ ให้ใช้สอยในช่วงเข้าพรรษา พิธีเริ่ม 9 โมงเช้า ไปถึงก่อนเที่ยงวัน

UPDATE : กิจกรรมส่งเสริมความรู้

และการพัฒนาการท่องเที่ยว กับ CTRD ได้ที่ Facebook Fanpage

งานมหกรรมหนังสือในฝันทีค่ นรักการอ่าน และบรรดานักเขียนต่างร่วมแรงร่วมใจช่วยเชียร์ และช่วยจัด งานนี้มีส�ำนักพิมพ์ และนักเขียน ชื่อดังมาร่วมงาน ร่วมทอล์คกันเพียบ ติดตาม รายละเอียด Facebook “ChiangMaiBookFair”

นิทรรศการอ้อมกอดแม่ วันนี้ -15 กรกฎาคม อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย

ขั ว ศิ ล ปะ ก� ำ ลั ง มี นิ ท รรศการภาพเขี ย น ชุดใหม่จัดแสดง “อ้อมกอดแม่” (ARMS OF MOTHER) ผลงานของ คุณสุวรรณี สารคณา (Suwannee Sarakana) ศิลปินหญิงผู้ถ่ายทอด ความรู้สึก เหล่านี้ออกมาได้อย่างอ่อนหวาน อบอุน่ และนุม่ นวล ใครไปเชียงรายอย่าลืมแวะชม

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว CTRD

The Ultimate Lanna : ท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา

5


PHENOMENA

แม้กิจกรรม ‘ล้านนาเล่าว่า ...ควรค่าม้ามีเรื่องเล่า : Colors of Khuan Kha Ma Community’ จะผ่านไปแล้วเมื่อ วันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา แต่เราเชื่อว่าความประทับใจ และการเล็งเห็นความส�ำคัญในการพัฒนาชุมชนเมืองเก่าเชียงใหม่ให้มี ความพร้อมทั้งในด้านการรองรับการท่องเที่ยว และการรักษามรดกทางวัฒนธรรมกับสภาพแวดล้อม จะเป็นหนึ่งในประเด็น ส�ำคัญเร่งด่วนที่ชาวชุมชนเก่าเชียงใหม่ทุกชุมชน รวมไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ที่เข้าร่วมงาน จะช่วยกันสนับสนุนกิจกรรมใน ลักษณะนี้ต่อไปในอนาคต ส�ำหรับใครพลาดโอกาสไปร่วมงานครั้งนี้ Lanna Spirit ได้รวบรวมภาพบรรยากาศมาให้ชมกันเต็มอิ่ม ชมแล้วก็อย่าลืม หาโอกาสไปเดินเที่ยวชุมชนหัวเวียงเชียงใหม่ เพื่อเก็บภาพประทับใจ และพบปะให้ก�ำลังใจชาวชุมชนนะครับ : งานล้านนาเล่าว่า ..ควรค่าม้ามีเรื่องเล่า จัดขึ้นในชุมชนควรค่าม้าสามัคคี บริเวณ ถนนสิงหราช ซอย 5 หลังวัดหม้อค�ำตวง

: ผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ คุ ณ ปวิ ณ ช� ำ นิ ป ระศาสน์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด

: ตั ว แทนชุ ม ชนในเขต เมืองเก่าเชียงใหม่ และ กลุ ่ ม เยาวชนในพื้ น ที่ เข้าร่วมงาน

6


: ดนตรีแจ๊สจาก North Gate และการแสดง ฟ้อนนกกิงกะหร่า

: กิจกรรมสาธิต งานหัตถกรรมภูมิปัญญา และอาหารท้องถิ่น โดยคนในชุมชน

7

7


TOURISM MAP

8


9


TREND

วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)

ชุ มชนหัวเวียงเชี ยงใหม่ สู่ชุมชนท่องเที่ยว จากแจ่งศรีภูมิ ผ่านประตูช้างเผือก ถึงแจ่งหัวลิน พื้นที่ด้านทิศเหนือของเมืองเก่าเชียงใหม่ ตามต�ำนาน และ หน้าประวัติศาสตร์ระบุว่าเป็นพื้นที่ส�ำคัญของเมืองเชียงใหม่ เป็นทั้งพื้นที่เริ่มก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ (แจ่งศรีภูมิ) ที่ประทับของพระญามังราย (ชุมชนเชียงใหม่) พื้นที่เลี้ยงช้างของกษัตริย์ (ชุมชนล่ามช้าง) ที่ตั้งของประตูชัย (ประตูช้างเผือก) และพื้นที่ด้านหน้าข่วงเวียง (วัดหัวข่วง-ชุมชนควรค่าม้าสามัคคี) เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่คนในชุมชนทั้ง 3 แห่ง ชุมชนล่ามช้าง ชุมชนเชียงมั่น และชุมชนควรค่าม้าสามัคคี ต่างตระหนักถึงคุณค่า และความส�ำคัญของพื้นที่ดังกล่าว และได้ช่วยกันเก็บรักษา ส่งต่อ และขับเคลื่อนสู่การพัฒนาพื้นที่ ทั้งเพื่อการอยู่อาศัย และการท�ำ ธุรกิจด้านการท่องเทีย่ ว ทีเ่ ห็นได้ชดั เจนคือ พืน้ ทีช่ มุ ชนล่ามช้าง-เชียงมัน่ ซึง่ ชาวชุมชนมีความรักสามัคคี และสนับสนุนให้เกิดกิจกรรม เพื่อธ�ำรงรักษามรดกทางวัฒนธรรม และสภาพกายภาพที่เอื้อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี กันอย่างเข้มแข็ง และชุมชนที่ก�ำลังเดินหน้า ความส�ำเร็จ เรียนรู้และปรับปรุงชุมชนตนเองให้เกิดผลลัพธ์เช่นเดียวกันคือ ชุมชนควรค่าม้าสามัคคี ซึ่งในวันนี้ชุมชนได้เริ่มเกาะกลุ่ม กันท�ำงาน และมีความสนใจต้องการพัฒนาชุมชนตนเองให้มคี วามพร้อมในด้านการรองรับนักท่องเทีย่ ว การสร้างจุดทีน่ า่ สนใจในพืน้ ที่ การหยิบเอาต�ำนาน และองค์ความรู้ดั้งเดิมของชุมชนออกมาสร้างมูลค่า รวมไปถึงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น ชุมชนควรค่าม้าสามัคคีเป็นกลุ่มบ้านศรัทธาวัดทั้ง 4 วัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่หัวเมือง (พื้นที่ทิศเหนือของเมือง) ได้แก่ วัดแสนเมือง มาหลวง, วัดหม้อค�ำตวง, วัดควรค่าม้า, และวัดราชมณเฑียร โดยชาวบ้านได้รวมตัวจัดตั้งเป็นชุมชนตามเทศบัญญัติของเทศบาล นครเชียงใหม่ เมื่อ 15 มกราคม 2547 โดยมีพื้นที่ชุมชนครอบคลุมพื้นที่จากถนนเวียงแก้ว-ด้านทิศใต้ ถึงถนนศรีภูมิ-ด้านทิศเหนือ ถนนพระปกเกล้า -ด้านทิศตะวันออก ไปจรดถนนสามล้านด้านทิศตะวันตก และในภายหลังได้ผนวกกลุม่ ศรัทธาวัดป่าพร้าวในบริเวณ แจ่งหัวลินด้านใน ริมถนนอารักษ์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน 10


จุ ด เด่ น ของชุ ม ชนควรค่ า ม้ า สามั ค คี นอกจากความส� ำ คั ญ ตาม ประวัติศาสตร์ และคติความเชื่อการตั้งเมือง ในฐานะพื้นที่หัวเมือง (พื้นที่ทิศ เหนือของเมือง) และมีประตูชา้ งเผือก ซึง่ ถือเป็นประตูชยั ประตูทใี่ ช้เข้าและออก เมืองของกษัตริยใ์ นการประกอบพิธแี ละการออกศึก ชุมชนควรค่าม้าสามัคคียงั เป็นชุมชนที่รักษาวิถีชีวิตแบบคนเมือง (ล้านนา) แม้บ้านเรือน และกายภาพ ของชุมชนจะเปลี่ยนไป แต่ชาวชุมชนควรค่าม้าฯ ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธยังคงรักษาจารีตประเพณีแบบพุทธล้านนา และวิถีคนเมือง ทั้งเรื่องภาษา การฟ้อนร�ำ อาหาร และความเชื่อเรื่องผี เอาไว้อย่างเหนียวแน่น ร่วมไปกับ การรักษาสภาพแวดล้อมของชุมชนให้น่าอยู่ น่าเที่ยว วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง) นามของวัดแสนเมืองมาหลวง สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นตามพระนามของกษัตริย์ ผู ้ ท รงสร้ า งวั ด พระเจ้ า แสนเมื อ งมา กษั ต ริ ย ์ อ งค์ ที่ 7 ในราชวงศ์ มั ง ราย (ครองราชย์ พ.ศ.1928-1944) พระโอรสในพระเจ้ากือนา และได้รับการบูรณะ อีกครั้งรัชสมัย พระเมืองแก้ว กษัตริย์องค์ที่ 11 ในราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ พ.ศ.2038-2068) และภายหลังได้รับการบูรณะเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ส�ำหรับ ชือ่ ‘วัดหัวข่วง’ เป็นชือ่ เรียกขานโดยชาวบ้าน ด้วยวัดแห่งนีม้ ที ตี่ งั้ อยูท่ างทิศเหนือ ของลาน (ข่วง) กลางเมืองเชียงใหม่ นอกจากประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ความโดดเด่นของวัดแห่งนี้ยังอยู่ที่ความงดงามของงานสถาปัตยกรรม ทั้ง ตัววิหาร ที่ประดิษฐานพระพุทธรัตนบุรีสะหลีแสนเมืองมา พระประธานปาง มารวิชัยองค์ใหญ่ และเจดีย์พระธาตุด้านหลังวิหารซึ่งสันนิษฐานตามรูปทรง ทางสถาปัตยกรรมว่าน่าจะสร้างในรัชสมัยพระเมืองแก้ว หรือ 500 กว่าปีทแี่ ล้ว วัดหม้อค�ำตวง สันนิษฐานกันว่านามของวัดมาจาก ฐานันดรศักดิย์ ศ ‘หมืน่ ’ ของผูส้ ร้างวัด ซึง่ มีหน้าทีร่ บั ผิดชอบการหลอมและตีทองแก่ราชส�ำนัก วัดนีจ้ งึ ได้ชอื่ ว่า ‘วัดหมืน่ ค�ำตวง’ และถูกเรียกเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาเป็น ‘วัดหม้อค�ำตวง’ ซึ่ง หมายถึง หม้อทีใ่ ช้สำ� หรับใส่หรือตวงทองค�ำ วัดแห่งนีเ้ ป็นวัดราษฎร์ สันนิษฐาน กันว่าสร้างขึ้นราวปีพ.ศ.2019 มีสิ่งก่อสร้างโดดเด่นได้แก่วิหาร และพระธาตุ รวมไปถึงพระเจ้าทันใจ 3 องค์ที่ชาวบ้านให้การเคารพศรัทธา และเชื่อกันว่า ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก วัดควรค่าม้า วัดราษฎร์ตามประวัติ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2034 ผู้เฒ่าผู้แก่ ในชุมชนเล่าสืบต่อกันมาถึงประวัติวัดไว้ว่า ในพื้นที่ด้านหน้าประตูช้างเผือก ในอดีตเคยเป็นพืน้ ทีค่ า้ ขาย และค้างแรมของพ่อค้าม้า และวัวต่าง ซึง่ น�ำสินค้า จากทุกสารทิศ และได้ใช้พื้นที่บริวเณนี้เพื่อหยุดพักเพราะใกล้กับประตูเมือง และหนองบัว และจากการเดินทางอันยาวไกลม้าต่างของพ่อค้าได้ตายลง ด้วยความอาลัยและส�ำนึกในความดีของสัตว์ตา่ ง กลุม่ พ่อค้าจึงสร้างวัดควรค่า ม้าขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงม้า วัดแห่งนี้โดดเด่นที่พระวิหารหลังเล็ก และ พระธาตุที่มีขนาดไม่ใหญ่ แต่งดงาม และเรียบง่าย วัดราชมณเฑียร หรือวัดมณเฑียร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1974 โดยพระเจ้า ติโลกราชทรงโปรดเกล้าให้น�ำไม้จากพระต�ำนักส่วนพระองค์มาจัดสร้างเป็น วัด เดิมชื่อ ‘วัดราชมณเฑียร’ ในประวัติการสร้างวัดระบุไว้ว่าวัดแห่งนี้มีความ ส�ำคัญอย่างยิ่งด้วยเป็นวัดแห่งแรกที่พระเจ้าติโลกราชทรงสร้างภายหลัง การขึ้นครองราชย์ นอกจากประวัติของวัดที่แสดงออกถึงความส�ำคัญทาง ประวัติศาสตร์ ภายในวิหารยังมีพระประทานที่สร้างด้วยหินทราย ซึ่งเป็นงาน พุทธศิลป์ทหี่ าชมได้ยาก และงานสถาปัตยกรรมของวัด โดยเฉพาะตัววิหารสอง ชัน้ ซึง่ สร้างขึน้ ใหม่กม็ คี วามโดดเด่นสวยงาม และเป็นทีช่ นื่ ชอบของนักท่องเทีย่ ว 11


INNOVATIVE

Street Art @ชุ มชนควรค่าม้าสามัคคี ราว 2 ปีที่ผ่านมาชาวชุมชนควรค่าม้าฯ ได้ท�ำงานร่วมกับศิลปินรุ่นใหม่ ผ่ า นโครงการของ Spark U Chiang Mai สนั บ สนุ น โดย สสส. ท� ำ กิ จ กรรม เปิดชุมชนให้คนมาเดินเที่ยวชมชุมชน โดยริเริ่มจากกิจกรรมท�ำความสะอาด ถนนและซอย กิจกรรมวาด Street Art และการเปิดบ้านสวยในชุมชนให้คนทั่วไป ได้เข้าชม หลังจากกิจกรรมดังกล่าวประสบความส�ำเร็จและได้รับเสียงตอบรับเป็น อย่างดี ศูนย์วจิ ยั และพัฒนาการท่องเทีย่ ว Center of Tourism Research and Development (CTRD) สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้สานต่องานส่งเสริมการ ท่องเที่ยวชุมชน โดยการเปิดรับสมัครศิลปินรับเชิญ และศิลปินที่เข้าร่วมแข่งขัน วาดภาพ Street Art ทั่วภาคเหนือ โดยในพื้นที่เมืองเก่าได้รับความร่วมมือ และ การสนับสนุนจากชาวชุมชนควรค่าม้า ทั้งในเรื่องการให้พื้นที่ และให้ค�ำปรึกษา เรื่องแนวคิดเรื่องราวในภาพ Street Art

นอกจากนี้ ช าวชุ ม ชนควรค่ า ม้ า ได้ ร ่ ว มกั บ CTRD จั ด กิ จ กรรม “ล้ า นนา เล่ า ว่ า ...ควรค่ า ม้ า มี เ รื่ อ งเล่ า ” (Lanna Storytelling : Color of Khuan Khama Community’s Tourism) กิจกรรมยกระดับศักยภาพชุมชนท่องเที่ยวในเขต เมืองเก่า โดยเฉพาะในพื้นที่ ‘ชุมชนควรค่าม้าสามัคคี’ ให้เกิด การปรับปรุง พัฒนา และสร้างความเข้มแข็งในการรับมือ และ การพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนต่อไปในอนาคต “และต่อไปนี้คือผลงาน Street Art ที่ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ลองอ่านแนวคิด และอย่าลืมออกไปชมความงามด้วยตาตนเอง ที่ชุมชนควรค่าม้าสามัคคีนะครับ” ‘ ศิลปวัฒนธรรม งามสง่า คู่ฟ้าล้านนา ’ เจ้าของผลงาน : Fineart Ndm Children2018 แนวคิด : ล้านนา ...ดินแดนที่มีความเป็นมายาวนาน คู่แผ่นดินไทย ดินแห่งนี้เต็มไปด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์ ภู มิ ป ั ญ ญา ความเชื่ อ วิ ถี ชี วิ ต ที่ มั่ น คงยิ่ ง ใหญ่ ม าตั้ ง แต่ ยุคบรรพบุรุษ เป็นจุดก�ำเนิดศิลปวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ งดงาม ทีย่ งั คงถูกเก็บรักษาและสืบทอดต่อเนือ่ งให้คนทัว่ โลกได้ชนื่ ชม

‘ ม้าค�ำตวง ’ เจ้าของผลงาน : นายทวิชนม์ ชมทวีวิรุตม์ แนวคิด : แรงบันดาลใจจากชือ่ วัดหม้อค�ำตวง และวัดควรค่าม้า อันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน แสดงออกถึงการรวม พลังกันเพื่อสร้างสรรค์อนาคตอันรุ่งโรจน์ของชุมชน

12

‘ อาข่า ’ เจ้าของผลงาน : นายคชภัค ศรีสังวาลย์

‘ Lanna Symbolic ’ เจ้าของผลงาน : นายปิยศักดิ์ เขียวสะอาด

แนวคิด : ในแผ่นดินอาณาจักรล้านนาในอดีต และวัฒนธรรมที่เราทั้ง หลายต่างกล่าวถึงความเป็น ‘ล้านนา’ ในปัจจุบนั แท้จริงแล้วมีชนชาติพนั ธุ์ อื่นๆ อาศัยอยู่ร่วม และร่วมพัฒนาพื้นที่แห่งนี้เช่นกัน เช่น กลุ่มคนอาข่า

แนวคิด : การผสานความงานของอัตลักษณ์และภาพจ�ำเมื่อเราคิดถึง ‘เมืองเหนือ’ อันได้แก่ ช้าง ภูเขาและดอยสูง ดอกไม้งาม ความอุดม สมบูรณ์แห่งไร่นา และความงดงามของผ้าซิ่น


‘ ความรักในล้านนา (Love in Lanna) ’ เจ้าของผลงาน : นายทวิชนม์ ชมทวีวิรุตม์ แนวคิ ด : ข้ า พเจ้ า ประทั บ ใจความงามของภาพ จิตรกรรมฝาผนังล้านนาทีม่ เี อกลักษณ์เฉพาะตัว “ความรัก” ที่ แ ฝงอยู ่ ที่ เ ราสั ม ผั ส ได้ เ มื่ อ ก� ำ ลั ง ชมภาพ เสมื อ น สะพานที่ เ ชื่ อ มต่ อ ระหว่ า งคน จากรุ ่ น สู ่ รุ ่ น ซึ่ ง คน รุ ่ น ใหม่ เราจึ ง ควรช่ ว ยกั น สานต่ อ เจตนารมณ์ ใ ห้ ก ลาย เป็นวัฒนธรรมล้านนนาที่มีความงามแบบร่วมสมัย ‘ บ้านอุ ๊ย ’ เจ้าของผลงาน : นางอารียา กุยแก้ว แนวคิด : บ้านอุ๊ย เป็น เฮือนเก๊า (บ้านเค้า) จะมีพ่อ แม่ ลูก หลาน อุ๊ย (ปู่ ย่า ตา ยาย) และอุ๊ยหม่อน (ทวด) อาศัยอยู่ ร่วมกันอย่างอบอุ่น ทุกคนจะช่วยกันท�ำงาน ทั้งงานในบ้าน และงานนอกบ้าน เช่น การท�ำนา ปลูกผัก หาฟืน ฯลฯ ตกเย็น จะล้อมวงกันกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตาอย่างมีความสุข และ

‘ ล้านนา ...ดินแดนแห่งศาสนา และศิลปะอันงดงาม ’ เจ้าของผลงาน : Fineart Ndm.Return

แนวคิด : ล้านนาดินแดนทางภาคเหนือของไทย ดินแดนที่ มีความหลากหลาย และรุม่ รวยทางด้านวัฒนธรรม ประเพณีทยี่ งิ่ ใหญ่ มีเสน่ห์ และมนต์ขลัง ชวนเชิญให้ผคู้ นได้มาสัมผัส ทัง้ ยังเป็น ศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ก่อให้เกิด ความเชือ่ และประเพณี อันงดงาม เป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวทีย่ ากจะหาทีไ่ ด้เปรียบเหมือน

‘ กลิ่นเมือง ’ เจ้าของผลงาน : นายวิวิธวินท์ ตั้งค�ำ แนวคิด : ความสนุกสนานมีชีวิตชีวาของชาวล้านนา ที่ถูกสื่อสาร ผ่านภาพวาดที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ล้านนา

‘ สัตตภัณฑ์ไตรภูมิเล่าความดี ’ เจ้าของผลงาน : นายอรรคพล สาตุ้ม แนวคิด : ภาพสัตตภัณฑ์ เครื่องสักกการะล้านนา ที่สื่อถึงความ ดี ความงาม ความเหมาะสม ในวิถชี วี ติ ของคนล้านนา โดยภาพนี้ได้รับแรง บันดาลใจจาก แหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตการาม 13


HOW TO

สวยดอก เครื่องสักการะล้านนาจากหัวใจและใบตอง สวยดอก หรือ กรวยดอกไม้ คนล้านนาต่างทราบดีวา่ คือหนึง่ ในเครือ่ งสักการะทีร่ งั สรรค์ขนึ้ เพือ่ พิธกี รรมทางความเชือ่ และศาสนพิธี สวยดอกมีมาตัง้ แต่โบราณ และไม่ทราบทีม่ า แต่มกี ารสืบทอดจากรุน่ สูร่ นุ่ อย่างต่อเนือ่ ง สวยดอกอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ สวยดอกธรรมดา ไม่มีการตกแต่ง (กาบ) ปากกรวย ท�ำจากกระดาษ หรือใบตอง ใช้ได้ทั้งงานมงคลและอวมงคล ส่วนสวยกาบ เป็นสวยที่ใช้ส�ำหรับงานมงคล งานบุญ งานศาสนา โดยเฉพาะการสักการะพระธาตุ ‘ชุธาตุ’ ตามความเชือ่ คนล้านนา สวยกาบเป็นสวยทีท่ ำ� จากใบตอง มีการตกแต่งปากกรวย อย่างประณีต กลีบสวยดอก หรือกาบลายทีใ่ ช้ตกแต่ง มีชอื่ เรียกตามสัตว์นกั ษัตรล้านนา มีนยั ยะว่าเป็นตัวแทนของบุคคลผูใ้ ช้สวยดอก เช่น สวย กาบลายหูกระต่าย ส�ำหรับคนปีเถาะ สวยกาบลายหูช้างส�ำหรับคนปีกุญ สวยกาบลายแก้มนาค ประจ�ำปีมะโรง เป็นต้น งาน ‘ล้านนาเล่าว่า ...ควรค่าม้ามีเรื่องเล่า’ ซึ่งจัดขึ้น ณ ชุมชน ควรค่าม้าสามัคคี เขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ได้จัดให้มีซุ้มสาธิตการท�ำ ‘สวยดอก’ โดยมี ป้านิด วนิดา อินทวงศ์ สมาชิกชุมชนผู้มีความรู้ และ ความเชีย่ วชาญในการท�ำสวยกาบ มาร่วมสาธิต และถ่ายทอดองค์ความ รูท้ ำ� ‘สวยกาบลายหูกระต่าย’ Lanna Spirit ฉบับที่ ‘ควรค่าม้ามีเรือ่ งเล่า’ จึงได้เรียนเชิญป้านิดมาถ่ายทอดความรู้ให้พวกเราแบบ Step by step ใครที่สนใจประดิษฐ์สวยกาบลายหูกระต่าย ลองท�ำตาม 30 ขั้นตอนตาม ภาพ รับรองว่าง่าย และท�ำได้ทันที อุปกรณ์ที่ต้องมีติดมือ ได้แก่ ใบตอง, ไม้จิ้มฟัน, ที่เย็บกระดาษ, กรรไกร และความตั้งใจ ...ว่าแล้วก็เริ่มกันเลย 3

ได้กรวย (สวย) ดอกขนาดพอมือ

4

ตัดส่วนปลายแหลมตรงปากกรวย 8

7

พับปลายด้านใน (ส่วนที่ติดกับก้าน กล้วย) 11

จัดใบตองที่พับแล้วในแนวนอน 14

1

ตัดใบตองสดรูปแนวนอน

ม้วนเป็นกรวยหลวมๆ 5

ใช้ไม้จิ้มฟันกลัดเก็บปลายใบตอง เพื่อให้กรวยอยู่ทรง 9

พับปลายด้านปลายใบตองเข้ามาชน พับส่วนทีพ่ บั ทัง้ ซ้ายและขวาเข้าหากัน กันเป็นรูปสามเหลีย่ ม 12

พั บ ปลายด้ า นยาวที่ อ ยู ่ ด ้ า นหน้ า เข้ามาเป็นสามเหลี่ยมชนกับขอบ ใบตองที่พับไว้

2

13

พับสามเหลี่ยมเข้าไปทับกับส่วนที่ พับไว้เดิม

6

ท�ำหูกระต่าย ด้วยใบตองกว้าง 1 นิว้ ยาว 1 คืบ 10

พั บ ทั้ ง สองส่ ว นเข้ า หากั น ได้ เ ป็ น สามเหลี่ยมเล็ก 14

พลิ ก ให้ ป ลายด้ า นสั้ น ขึ้ น ด้ า นบน ปลายด้านยาวตะแคงและส่วนทีพ่ บั เป็นสามเหลี่ยมเอาปลายยอดชี้ลง


15

พับหางส่วนที่ยาวขึ้น

16

17

ส่ ว นที่ พั บ ต่ อ กั บ รอยพั บ เดิ ม ได้ พับส่วนปลายเข้ามาชนให้ชนิดเป็น สามเหลี่ยมขนาดใหญ่ สามเหลี่ยมเล็ก 20

19

น�ำนิ้วสอดเข้าไปในส่วนที่เปิดของ สามเหลี่ยมที่เปิดเข้าหาตัว

พับครึง่ สามเหลีย่ มด้านใน เพือ่ ขยับ เก็บปลายสามเหลี่ยมทั้งด้านหน้า ให้ปลายยอดทั้งสองมาเกือบชิดกัน และหลังให้เรียบร้อย 24

23

ใช้ที่เย็บกระดาษเย็บ ส่วนท้ายของ หูกระต่ายให้รอยพับติดอยู่ด้วยกัน

ท�ำหูกระต่ายเตรียมไว้ตามจ�ำนวน ที่ต้องการ 5, 7, 9 นิยมท�ำเป็นเลขคี่

27

จัดระเบียบหูกระะต่ายให้หูคลี่ออก ดังภาพ

21

28

ตรวจสอบความเรียบร้อย

25

ตัดปลาย (ก้น) สวยดอกที่เตรียมไว้ 29

น�ำสวยดอกทีต่ ดิ หูกระต่ายแล้วสวม เข้ากับสวยดอกอีกหนึ่งชิ้น เย็บด้วย ที่เย็บกระดาษบริเวณปากสวย

18

ได้สามเหลี่ยมเล็กๆ มีชายตองสั้นๆ ดังภาพ 22

ได้หูกระต่าย ดูจากด้านบนจะเป็น รอยพับซิกแซกดังภาพ 26

ติดหูกระต่ายลงไปบนปากสวยดอก ด้วยที่เย็บกระดาษ หรือไม้จิ้มฟัน 30

ใส่ ด อกไม้ ธู ป เที ย นตามต้ อ งการ สวยดอกเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานถึง 1 สัปดาห์

ป้านิด ผู้เชี่ยวชาญสวยดอก และเหมี้ยงหวาน บ้านหลังวัดหม้อค�ำตวง เมืองเก่าเชียงใหม่ ขั้นตอนการท�ำสวยดอกหูกระต่าย ถ่ายทอดโดย ป้านิด วนิดา อินทวงศ์ ชาวชุมชนควรค่าม้าสามัคคี ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ป้านิดฝึกหัดการท�ำสวยดอก และองค์ความรูภ้ มู ปิ ญ ั ญาทางด้านอาหาร และการท�ำเครือ่ งบายศรีจากคุณแม่แสงหล้า กันธวงศ์ แม่ของป้านิด ทุกวันนีแ้ ม้ปา้ นิดจะเกษียณอายุแล้ว แต่กย็ งั คงท�ำงานรับตัดเย็บเสือ้ ผ้า และช่วยงานวัดในฐานะศรัทธาวัดหม้อค�ำตวง รวมถึงเป็นผู้น�ำลูกหลานๆ ในพิธีกรรมเลี้ยงผีปู่ย่า และส่งต่อความคิดเรื่องการรักษาบ้านเก๊า (บ้านเค้า) 15


POSITION

เมื่อนักท่องเที่ยวผู ้สูงอายุ ครองโลก เรื่อง: แสนเมือง ภาพ: นายสมศักดิ์ อัจริยวนิช : ริมน�้ำใต้ต้นไทร : ผลงานชนะการประกวด นิทรรศการภาพถ่าย วันนี้ของวันวาน...ที่ริมน�้ำจันทบูร ปี 2554

มนุษย์เป็น‘นักเดินทาง’ชอบผจญภัยมาแต่ไหนแต่ไร โดยมีหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์มากมายที่บ่งชี้ว่ามนุษย์ชอบไปโน่นมานี่ เช่น ภาพวาดก่อนยุค ประวัติศาสตร์ในผนังถ�้ำที่พบได้หลายแห่งทั่วโลก มหาสมบัติของฟาโรห์อียิปต์ โบราณโดยเฉพาะของตุตนั คามุนทีข่ ดุ พบในสุสานกษัตริยไ์ ด้บง่ ชีว้ า่ กษัตริยห์ นุม่ น้อยได้เตรียมพร้อมเดินทางไปสู่โลกหลังความตายอย่างจัดเต็มแต่หลักฐานใน ยุคโรมันดูจะชัดเจนและมีให้เห็นมากทีส่ ดุ และไม่ใช่มแี ค่ในอิตาลีอย่างเดียว แต่ กระจายให้เห็นทั่วยุโรปทีเดียว ปัจจุบันชาวตะวันตกที่สืบเชื้อสายมาจากนักเดินทางโบราณก็ยังคงเป็น นักเดินทางตัวยงอย่างไม่เปลี่ยนแปลง เห็นได้จากการไปบุกเบิกแหล่งท่องเที่ยว ใหม่ๆ รอบโลก ส่งผลให้เมือ่ สงครามโลกครัง้ ทีส่ องยุตลิ ง ธุรกิจท่องเทีย่ วได้เติบโต ยกระดับเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยิ่งโลกทุกวันนี้มีการติดต่อสื่อสารกัน อย่างไร้พรมแดนมีความก้าวล�้ำทางเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มใหม่ๆ ก็ยิ่งส่ง เสริมให้การท่องเทีย่ วเฟือ่ งฟู เพราะเทีย่ วง่ายและมีคา่ ใช้จา่ ยถูกกว่าเดิมมาก ผูค้ น ทุกเพศและวัยออกเดินทางกันเรียกว่าจ้าละหวั่น ไม่เว้นแม้แต่ผู้สูงอายุหรือคน เกษียณที่เวลานี้ไม่ยอมอยู่บ้านช่วยเลี้ยงหลานให้อีกแล้ว เพราะเวลาเหลือน้อย ต้องใช้สอยให้เต็มที่ (นี่คือค่านิยมใหม่ของ สว.ยุค 4.0) คาดกันว่าอีกแค่ 25 ปี ผูส้ งู อายุทวั่ โลกจะออกเทีย่ วเตร่ไม่ยอมอยูบ่ า้ นเฉยๆ มีมากกว่า 600 ล้านคน และถ้าล็อคเป้าหมายในเอเชีย พวกเขาเลือกประเทศไทย มาอันดับ 1 ...นั่นน่าดีใจหรือน่าตกใจกันนะแต่ที่แน่ๆ คนท�ำธุรกิจท่องเที่ยวไม่ ว่าจะเป็นอินบาวด์หรือเอาท์บาวด์ ล้วนถือว่าเป็นปรากฏการณ์ส้มหล่นด้วยกัน ทั้งสิ้น ทีน้ีในเมื่อลาภลอยมาตกลงตรงหน้าแล้ว ที่เหลือก็แค่บริหารจัดการให้ดี เท่านั้น ใครสร้างสรรค์ได้เข้าตาก่อนก็รับทรัพย์ไปก่อนครับ หลายคนมองการให้บริการการท่องเที่ยวกับผู้สูงอายุว่ามีเงื่อนไขมาก และจะยุ่งยาก แต่ความจริงแล้ว มันง่ายเสียยิ่งกว่าการคุมเด็กประถมไปเที่ยว 16

ทัศนศึกษาเสียอีก ขอแค่ใส่ใจดูรายละเอียดให้รอบคอบซึง่ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะต้องมากไปกว่าคนวัยอื่น ดีไม่ดีอาจน้อยกว่าด้วยซ�้ำ ซึ่งผู้สูงอายุทั้งไทยและ ต่างชาติวา่ ทีจ่ ริงความต้องการหรือมาตรฐานก็ไม่คอ่ ยต่างกันนัก หลักใหญ่ๆ พวก เขาแค่ตอ้ งการการดูแลเอาใจใส่ทตี่ อ้ งใช้ความละเอียดรอบครบมากกว่าปกตินดิ หน่อย เช่น ถ้าพาไปเทีย่ วก็จดั โปรแกรมให้เหมาะสมกับวัยและรสนิยมโปรแกรม ไม่อัดแน่นมากเกินไป แต่ก็ไม่ควรดูเหมือนไร้สาระไม่มีแก่นสาร ที่หลับที่นอน อาหารการกินดูแลกันสักนิด ขนมน�้ำและผ้าเย็นอย่าให้ขาด ห้องน�้ำต้องพาเข้า ทุกๆ สองชั่วโมงและที่จะเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่ได้คือ การตรงต่อเวลา และรักษาสัญญา ปัจจุบันแหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่พากันเอาใจวัยรุ่น แต่ก�ำลังซื้อตอนนี้ และในอนาคตก� ำ ลั ง พลิ ก กลั บ ไปอยู ่ ใ นมื อ ของสว.แล้ ว ดั ง นั้ น เรามาพั ฒ นา แหล่งท่องเที่ยวเพื่อรองรับผู้สูงอายุกันดีกว่าครับ(เสาร์อาทิต ย์ขายวัยรุ่น จันทร์ถึงศุกร์ขายสว.)ซึ่งผมนึกถึงสถานที่หลายแห่งในประเทศไทยของเรา ที่มีศักยภาพสามารถพัฒนาให้เหมาะกับผู้สูงอายุได้อย่างดี เช่น‘ชุมชนริมน�้ำ จันทบูร’เพราะ... ‘จันทบูร’(รวมถึงจังหวัดจันทบุรี)มีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชาติไทย ในหลายช่วงเวลา พอเรียกได้วา่ คนร่วมยุคร่วมสมัยสามารถเชือ่ มร้อยเข้ากับช่วง เวลาหนึง่ ของชีวติ ทีผ่ า่ นพ้นมานาน การฟืน้ ความหลังทีย่ งั มีอะไรให้จบั ต้องได้ ทัง้ รูปรสกลิ่นและเสียงที่ยังคงบินวนอยู่ในห้วงค�ำนึง ไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือน สมัยเก่าทีม่ สี ถาปัตยกรรมงดงามคลาสสิก หรือธุรกิจดัง้ เดิม เช่น ร้านขายยา ร้าน ขายของจิปาถะ ร้านเสริมสวยตัดผม ร้านขายอาหารและขนมที่มีหน้าตาเหมือน ในยุคที่พ่อแม่ยังเด็กก็ยังมีอยู่จริง ล้วนท�ำให้สว.น�้ำตารื้นตื้นตันที่ได้กลับมาพบ เพื่อนเก่า และที่จะชนะใจผู้สูงอายุคือ แม่น�้ำจันทบูร สวยจับใจ


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.