Engineering Today No.175 (Issue Jan-Feb 2020)

Page 16

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประเทศไทยและ ในหลายๆ ประเทศทั่วโลกจะมี ผู้สูงวัยมากขึ้น ดังนั้นการพัฒนางาน วิจัยและนวัตกรรมสมัยใหม่จะช่วยตอบโจทย์ตลาด และสามารถจ�ำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้มากยิ่งขึ้น ในส่วนของรัฐบาลไทยควรจัดการเรียนการสอนด้าน วิทยาศาสตร์ให้มากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างบุคลากรมาช่วยพัฒนา ประเทศ โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทีต่ อ้ งการบุคลากรทีม่ คี วามรูด้ า้ นวิทยาศาสตร์เข้าไป พัฒนาพื้นที่ พัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จะน�ำไปใช้ เป็นต้น ส�ำหรับการขาดแคลนบุคลากร ไม่ใช่เฉพาะในระดับ วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ และนักบริหารเท่านัน้ แต่ประเทศไทย ยังขาดก�ำลังคนในระดับช่างเทคนิค ปวช.และ ปวส.อยู่มาก ต้องน�ำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ ซึ่งสูญเสียงบประมาณ ในแต่ ล ะปี เ ป็ น จ� ำ นวนมาก จึ ง ต้ อ งเร่ ง หาแนวทางและ มาตรการฟื้นฟูส่งเสริมการศึกษาของไทยให้พร้อม “การเรียนรู้ตลอดชีวิต ทุกคนอาจจะมองว่าศิวิไลซ์ แต่จริงๆ ไม่ใช่ เพราะในสังคมไทยแยกออกเป็นหลายสังคม มาก จ�ำเป็นต้องมีการจัดการความรูใ้ ห้แต่ละสังคม ให้คนใน แต่ละช่วงอายุได้มีโอกาสเรียนรู้ตามความเหมาะสม เช่น

Engineering Today January - February

2020

ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในขณะนี้จบออกมาแล้วส่วนใหญ่จะท�ำงาน โรงงานกันเกือบหมด มีนอ้ ยมากทีจ่ ะเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย หรือสายอาชีพอื่นๆ ซึ่งเมื่อเข้าไปท�ำงานในโรงงานแล้วไม่มีโอกาสหรือ คิดที่จะศึกษาต่อเพราะไม่มีเวลา ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ต้องหา เลีย้ งชีพต้องมีรายได้จงึ ท�ำงานก่อนทีจ่ ะเรียน อยากให้ภาครัฐเข้ามาดูแล ให้การศึกษาทั่วถึง เข้าถึงส�ำหรับกลุ่มคนในโรงงานและอื่นๆ โดยปรับ เปลี่ยนเป็นระบบการเรียนที่ไหนก็ได้ เสริมทักษะที่ต้องใช้การประกอบ อาชีพอย่างมั่นคง โดยให้มีการเรียนรู้ที่เป็น Transform มีประสบการณ์ ไม่จ�ำกัดเวลาในการเรียนจบเหมือนกับมหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ไม่ควร ก�ำหนดว่าจะต้องจบใน 8 ปี ต้องให้เขาจบออกมาไม่ว่าจะเกิน 8 ปี แต่ ต้องจบออกมาแบบเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ และยิ่งสมัยนี้เด็กไทยเรียน สายวิทยาศาสตร์นอ้ ยลงท�ำให้การคิดค้นวิจยั สิง่ ต่างๆ น้อยลงตามไปด้วย เมือ่ เทียบกับในหลายๆ ประเทศทีม่ งุ่ ปลูกฝังการเรียนรูท้ างด้านวิทยาศาสตร์ ตัง้ แต่เกิดจนกระทัง่ อายุ 15 ปี เพือ่ ใช้ความรูว้ ทิ ยาศาสตร์คดิ ค้นงานวิจยั ใหม่ ๆ ซึ่ ง จะมี ส ่ ว นช่ ว ยในการขั บ เคลื่ อ นและพั ฒนาประเทศ เช่ น สหภาพยุโรป เยอรมนี ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ปัจจุบนั มีเด็กทีส่ นใจ ด้านวิทยาศาสตร์เทียบกับด้านบริหารประมาณ 50 : 50”

จับตาเทรนด์ Smart Home และบทบาทของ AI ในอนาคต รศ. ดร.กฤษณ์ชนม์ ยอมรับว่าในอนาคตจะมีการน�ำเทรนด์ Smart Home และ AI มาใช้ และปรับเปลี่ยนตามช่วงอายุของประชากรผู้ใช้ สินค้าแต่ละประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยมีจำ� นวนประชากร เข้าสู่วัยสูงอายุมากขึ้น ดังนั้นจึงจ�ำเป็นต้องคิดค้นเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อ รองรับผูส้ งู อายุ ทีเ่ น้นความปลอดภัย ใช้งานไม่ยงุ่ ยาก เช่น มีการควบคุม การเปิด-ปิดใช้ไฟฟ้าเฉพาะจุด การใช้ AI ในการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยจะต้องคิดค้นเองไม่ใช่น�ำเข้ามาจากต่างประเทศ เพราะ จะเป็นการเสียเงินและเสียโอกาสมากกว่าจะได้ประโยชน์ “คนไทยเก่งๆ มีเยอะแต่ขาดการสนับสนุน ดังนั้นภาครัฐต้อง เข้ามามีบทบาทสนับสนุน ต้องเสริมการเรียนรู้ เพื่อเป็น ผู้น�ำในกลุ่ม ประเทศอาเซียนให้ได้ อีกอย่างที่ประเทศไทยต้องเร่งท�ำคือ การเอาคน ออกจาก Comfort Zone ให้ได้ โดยน�ำคนเรียนเก่งสอบได้อันดับที่ 1 และอันดับที่ 2 ไปเป็นครูหรือนักกฎหมายเพื่อสอนคนรุ่นต่อไปให้มี ความรู้ เที่ยงธรรม มีความซื่อสัตย์ในการเรียนและการท�ำงานพัฒนา ประเทศ ส่วนคนที่สอบได้อันดับที่ 3 และอันดับที่ 4 ควรไปเรียนแพทย์ เพราะการท�ำงานย่อมจะมีคนเก่งในหมู่คนไม่เก่งผสมผสานกัน จะให้ เก่งทัง้ กลุม่ เพือ่ มาช่วยกันท�ำงานท�ำ Lab คงไม่ได้ ด้วยแต่ละคนมีพนื้ ฐาน ความรู้ที่ไม่เท่ากัน มีความเก่งความช�ำนาญเฉพาะด้านที่ไม่เหมือนกัน การสังเคราะห์ข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจึงแตกต่างกัน ดังนั้น ต้อง สนับสนุนคนให้เรียนรู้รอบด้านเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันจะต้องค�ำนึงถึง การท�ำงานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญ ก้าวหน้าต่อไป” รศ. ดร.กฤษณ์ชนม์ กล่าวทิ้งท้าย

16


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.