รายงานวิจัยเด็กที่ไม่มีใครต้องการ

Page 1



เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม รายงานโครงการวิจัย : เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม ปีงบประมาณ สนับสนุน คณะนักวิจัย

: 2560 : กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ : รศ. ดร. สุพจน์ เด่นดวง หัวหน้าโครงการวิจัย รศ. นาถฤดี เด่นดวง พรพิรินทร์ อินโส ปัทมา กวนเมืองใต้ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


4

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


ค�ำน�ำ

โครงการวิจัยเรื่อง เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับทุนจาก กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อศึกษาปัญหา ของเด็กที่ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมโดยความไม่เป็นธรรมทางสังคม โครงการวิจัยนี้เป็นโครงการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษากับแม่ที่มีลูกซึ่งมีอายุไม่เกินสิบสองปี และมี ประสบการณ์ในการทอดทิ้งลูกจ�ำนวน 50 คน และศึกษากับเด็กอายุสิบปีถึงยี่สิบปี ที่มีประสบการณ์ในการถูก พ่อแม่ทอดทิ้ง หรือถูกท�ำให้รู้สึกว่าตนเองไม่เป็นที่ต้องการ จ�ำนวน 70 คน เพื่อน�ำเสนอให้เห็นถึง ความไม่เป็น ธรรมของสังคมแบบทุนนิยมและชายเป็นใหญ่ว่า ได้ท�ำให้เด็กที่ไม่ต้องการให้เกิดมา แต่ไม่มีใครต้องการ หรือ ไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้อย่างมีคุณภาพเท่าเทียมกับเด็กคนอื่นๆ ซึ่งสร้างความไม่เป็นธรรมกับเด็กที่เกิดมา และ ท�ำให้เด็กมีความทุกข์ คณะผูว้ จิ ยั ขอขอบคุณ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คง ของมนุษย์ ที่ได้สนับสนุนการด�ำเนินการวิจัย ขอขอบคุณแม่ทุกคน และ เด็กทุกคน ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตของ ครอบครัว โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเลี้ยงลูก และประสบการณ์ชีวิตของเด็กอย่างเปิดเผยและจริงใจ เพื่อให้เป็น ประโยชน์ต่อครอบครัว หรือ พ่อแม่ลูกคนอื่นๆ ในสังคม ตลอดจนท�ำให้หน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้น�ำข้อมูล และผลการศึกษาไปใช้ในการด�ำเนินงานตามความเหมาะสม ขอบคุณนักวิจยั และผูช้ ว่ ยนักวิจยั ทุกท่านทีไ่ ด้ทำ� งาน อย่างหนักเพื่อให้โครงการส�ำเร็จลุล่วง

สุพจน์ เด่นดวง และคณะนักวิจัย

ค�ำน�ำ

5


6

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


สารบัญ

หน้า

ค�ำน�ำ บทสรุปส�ำหรับผู้บริหาร Executive Summary

3 7 12

1. ที่มา ความส�ำคัญของปัญหา และวัตถุประสงค์การวิจัย 2. การทบทวนวรรณกรรม และกรอบแนวคิดใการวิจัย 3. ระเบียบวิธีวิจัย 4. ผลการศึกษา 5. สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ

13 25 33 37 157

เอกสารอ้างอิง

176

สารบัญ

7


8

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


บทสรุปส�ำหรับผู้บริหาร

การศึกษาเรื่อง เด็กที่ไม่ใครต้องการกับความไม่เป็นในธรรมสังคมนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะแสดงให้เห็นว่า หนึ่ง ปัญหาเด็กที่ไม่มีใครต้องการนั้น เกิดขึ้นตลอดทุกขั้นตอนของชีวิตเด็ก หรือ ตั้งแต่ เด็กปฏิสนธิ รู้ว่าเด็กอยู่ ในครรภ์ จนคลอด และเด็กเติบโต สอง การกลายเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการนั้น ไม่เป็นธรรมกับเด็กอย่างที่สุด เด็กเหล่านีเ้ ป็นเหยือ่ ของความไม่เป็นธรรมในสังคม มากกว่าการนเด็กอีกคนหนึง่ ทีต่ อ้ งการความสงสาร หรือ การ สงเคราะห์จากรัฐ หรือ สังคม หรือ เป็นภาระที่เป็นการลงโทษเด็กซ�้ำ สาม ความไม่เป็นธรรมที่กระท�ำกับเด็กนั้น มาจากพ่อแม่ หรือ คนทีร่ กั เด็กมากทีส่ ดุ พอๆกับความไม่เป็นธรรมในสังคมทีส่ บื เนือ่ งจากระบบชายเป็นใหญ่และ ระบบทุนนิยม ซึ่งกระท�ำกับครอบครัวของเด็ก โดยที่สังคมไม่ตระหนักรู้ว่า นโยบายของรัฐ หรือสังคมนั้น โหด ร้ายกับเด็กมากที่สุด สี่ ผลการศึกษานี้ จะเป็นข้อเสนอแนะให้รัฐบาล โดยเฉพาะกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ได้เห็นถึงมิติของปัญหาในเชิงความไม่เป็นธรรมในสังคมของปัญหา และของสาเหตุของ ปัญหา เพื่อพิจารณาปรับนโยบายให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทั้งเนื้อหาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อแสดงถึง ประเด็นปัญหาและสาเหตุของปัญหาเหล่านี้ การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกกับ หนึ่ง แม่ที่มี ลูกและทอดทิ้งลูกจ�ำนวน 50 คนและ สอง เด็กหรือลูกที่ถูกพ่อแม่ทอดทิ้งจ�ำนวน 70 คน ผลการศึกษาพบว่า

หนึ่ง การศึกษาประสบการณ์ของแม่ที่ไม่ต้องการลูกพบว่า การไม่ต้องการลูกของพ่อ และ แม่ หรือ การ ที่ลูกกลายเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการนี้ เกิดขึ้นในทุกช่วงชีวิตของเด็ก ตั้งแต่ขั้นตอนการมีเพศสัมพันธ์ของพ่อแม่ เด็ก ซึ่งเป็นเพศสัมพันธ์ที่เป็นแบบไม่ต้องการลูกแต่กลับได้ลูก ซึ่งเป็นการไม่ต้องการลูกตั้งแต่ต้น จึงแตกต่าง อย่างมากกับพ่อแม่ที่มีเพศสัมพันธ์แบบต้องการลูก ในขั้นตอนการทราบว่าตั้งครรภ์ พ่อและหรือแม่ ก็มีตวาม ต้องการยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความไม่ต้องการเด็กอย่างสูงสุด เนื่องจากขั้นตอนนี้ พ่อของ เด็กมักปฏิเสธลูกของตนเมื่อทราบว่าแฟนของตนตั้งท้อง ส่วนในขั้นตอนการดูแลครรภ์ ก็ไม่มีการดูแลภรรยา ขณะท้อง และการทอดทิ้งภรรยาให้คลอดลูกเองคนเดียว เมื่อถึงขั้นตอนการเลี้ยงดูลูก พ่อและหรือแม่ก็ไม่รับ ผิดชอบเลี้ยงลูกเท่าที่ควร จนลูกบางคนบอกว่า ไม่เคยเห็นหน้าพ่อหรือแม่ของตนเองเลยตั้งแต่เกิด ลูกถูกเลี้ยง ดูโดยบุคคลอืน่ ได้แก่ การทิง้ ลูกไว้กบั ปูย่ า่ ตายา ยเลีย้ งทีบ่ า้ น และตนเองไปท�ำงานในเมือง แต่ไม่สง่ เสียหรือกลับ มาเยี่ยมลูกหรือส่งเสียบ้างแต่ไม่สม�่ำเสมอ ตลอดจนขั้นตอนการหย่าร้าง และการแต่งงานใหม่ของพ่อแม่ ซึ่ง เป็นการไม่ต้องการลูกขั้นสูงสุดอีกครั้ง ความไม่ต้องการลูกทั้งหมดนี้ เป็นความไม่เป็นธรรมกับเด็กที่ถูกท�ำให้ เกิดมาเป็นเด็กที่อ่อนแอ และเป็นเด็กที่ต้องการความรักมากที่สุด สอง การไม่ต้องการเด็กโดยเฉพาะของพ่อนั้น มีสาเหตุจากระบบชายเป็นใหญ่ จากประสบการณ์ของ แม่ที่มีลูกไม่ต้องการนั้นพบว่า เพศสัมพันธ์ของระบบชายเป็นใหญ่ เป็นเพศสัมพันธ์ที่ผู้ชายสามารถมีเพศสัมพันธ์ ได้ไม่จ�ำกัด ผู้ชายซึ่งรวมทั้งพ่อแม่ปู่ย่าตายายของเด็ก ไม่ต้องการรับผิดชอบกับการตั้งครรภ์ หรือ ชีวิตเด็กที่เกิด ขึ้นมาโดยการสั่งให้ท�ำแท้ง ผู้ชายสามารถทิ้งลูกและเมีย ไปมีเมียใหม่และมีลูกคนใหม่ได้ ผู้ชายสามารถผลัก ภาระการส่งเสียการเลี้ยงดูลูกของตนเอง ให้กับแม่ของเด็ก หรือ คนอื่นได้ บทสรุปส�ำหรับผู้บริหาร

9


ในท�ำนองเดียวกันจากประสบการณ์ของลูกทีไ่ ม่เป็นทีต่ อ้ งการนัน้ ก็พบว่า ตนเองทีถ่ กู พ่อแม่ โดยเฉพาะ พ่อทอดทิ้งตั้งแต่แรกเกิด ไม่เคยเห็นหน้า พ่อแม่โดยเฉพาะพ่อบางคน ไม่รับผิดชอบลูก ไม่กลับมาหรือกลับมา น้อยครั้งมาก และไม่ส่งเงินให้ และให้ปู่ย่าตายาย หรือ ญาติที่ยากจน สูงอายุ ช่วยเลี้ยงดูเด็ก โดยไม่ได้รับเงิน ที่พอเพียงจากพ่อแม่ ท�ำให้พวกเขาก็ไม่อาจเลี้ยงดูเด็กอย่างมีคุณภาพ และที่รุนแรงที่สุด คือ การไม่ต้องการเด็ก หรือ ผลักใสให้เด็กออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่น ท�ำมากินด้วยตนเอง ไปอยู่สถานบริการต่างๆของรัฐ อีกนัยหนึ่ง คือ ระบบชายเป็นใหญ่ไม่สนใจความทุกข์ของเด็ก เป็นระบบที่สร้างปัญหา คือ การท�ำให้เด็กเกิด และไม่สนใจที่จะ แก้ปัญหา คือ เพิกเฉยกับเด็กที่ระบบท�ำให้เกิดขึ้นมา นอกจากนีร้ ะบบชายเป็นใหญ่ทที่ ำ� งานในระดับของปูย่ า่ ตายาย ได้สร้างมายาคติตา่ งๆและอคติตอ่ ลูกเขย และลูกสะใภ้กม็ สี ว่ นส�ำคัญ ทีม่ ผี ลกระทบต่อการไม่ตอ้ งการเด็ก กล่าวคือ พ่อแม่ของทัง้ ฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย มัก เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการท้อง การท�ำแท้ง การเลือกลูกเขยและลูกสะใภ้ เช่น มีความเห็นว่า อายุมากเกินไป กลัวจะมาหลอกลูกสาว อายุน้อยเกินไปจะเลี้ยงลูกสาวตนเองอย่างไร ท้องก่อนแต่งหรือท้องระหว่างวัยเรียนซึ่ง ขัดกับค่านิยมชายเป็นใหญ่ท�ำให้ว่าที่พ่อตาแม่ยายอาย และฐานะที่ยากจนกว่าท�ำให้ไม่ยอมรับลูกเขยหรือลูก สะใภ้ อย่างไรก็ตามเมื่อลูกสาว ลูกชาย ลูกเขย ลูกสะใภ้ มาอยู่ด้วยกันแล้ว พฤติกรรมบางอย่างของหนุ่มสาวรุ่น ใหม่ทตี่ า่ งจากค่านิยมของคนรุน่ เก่า ท�ำให้เกิดความขัดแย้งกัน เช่น ความรับผิดชอบในค่าใช้จา่ ยครอบครัว ความ รับผิดชอบในงานบ้าน และการเสพสิ่งเสพติด และอบายมุขต่างๆ ก็ท�ำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวแตกร้าวขึ้น มาและส่งผลท�ำให้เด็กกลายเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการ สาม ระบบทุนนิยมเป็นอีกระบบหนึ่ง ที่บังคับให้พ่อแม่ซึ่งยังมีความรัก ความต้องการลูก ให้ไม่ต้องการ ลูก หรือ ต้องทอดทิ้งลูกไปท�ำงาน ระบบทุนนิยมโลก ได้เปลี่ยน หรือ ท�ำลายระบบเศรษฐกิจในชนบท ที่พึ่งตัว เองได้ ให้พึ่งพาตัวเองไม่ได้ และท�ำให้ชาวนาชาวไร่หรือพ่อแม่ของเด็ก ต้องพึ่งพารายได้จากระบบทุนนิยม ด้วยการให้ผลิต พืชเงินสด และบริโภคโดยใช้เงินสด ท�ำให้พอ่ แม่ตอ้ งเป็นทาสเงินสด และเมือ่ ไม่มเี งินสดก็จำ� เป็น ทีจ่ ะต้องทิง้ ลูกไปท�ำงานให้กบั ระบบทุนนิยมในเมือง เพือ่ ได้เงินอันเล็กน้อยมาเลีย้ งลูก อีกนัยหนึง่ พ่อแม่ถกู ระบบ ทุนนิยมโลกบังคับให้ทิ้งลูกไปท�ำงาน หรือ ระบบทุนนิยมโลกเป็นระบบที่ไม่ต้องการเด็ก เพราะว่าเด็กเป็นภาระ เป็นค่าใช้จ่ายของการผลิต ที่ระบบทุนนิยมต้องลดเพื่อสร้างก�ำไร เนื่องจากการท�ำงานในเมืองนี้ ได้เงินน้อย และ ท�ำงานหนักที่ชาวนาทั่วไปไม่อยากท�ำ แต่ระบบทุนนิยม ก็ใช้ลูกของพ่อแม่ที่ไม่ต้องการลูกนี้เป็นตัวประกัน บังคับให้พ่อแม่ต้องทนท�ำงานหนัก รายได้น้อยด้วยความคิด ว่า เป็นการท�ำเพื่อลูก ทั้งที่การทิ้งลูกเป็นการท�ำร้ายลูก สังคมแบบทุนนิยมนี้ ยังขูดรีดกับพ่อแม่ของเด็กเพิ่มขึ้น อีก โดยการบังคับให้พ่อแม่ของเด็ก เลี้ยงเด็กซึ่งเมื่อโตขึ้นจะเป็นแรงงานให้กับระบบทุนนิยมต่อไป ซึ่งเป็น ประโยชน์กับระบบทุนนิยม หากพ่อแม่เลี้ยงดูเด็กไม่ได้ ระบบสังคมที่ถูกครอบง�ำโดยระบบทุนนิยมนี้ ก็ไม่สนใจ 10

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


ปล่อยให้เด็กเอาชีวิตรอดช่วยตัวเอง หรือ ไม่ก็ปล่อยให้กับระบบครอบครัว วัด หรือ องค์กรสาธารณะ ที่สงสาร เด็กเข้ามารับภาระแทน การที่ระบบทุนนิยมโหดร้ายกับเด็กเช่นนี้ได้ เพราะระบบทุนนิยมนี้ ต้องการแค่ก�ำลัง แรงงานแบบแรงงานไร้ทักษะ ที่ท�ำงานให้ได้จ�ำนวนมาก เช่นเดียวกับความต้องการแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีทักษะ เท่านัน้ ระบบนีไ้ ม่ตอ้ งการเด็กทีม่ คี ณ ุ ภาพ เนือ่ งเพราะระบบนีม้ แี รงงานซึง่ ได้สร้างแรงงานทีม่ คี ณ ุ ภาพสูงแล้วจาก ครอบครัวชนชั้นกลางและชนชั้นสูง อีกนัยหนึ่งระบบทุนนิยมโลกจึงสร้างความไม่เป็นธรรมให้กับเด็ก สี่ ระบบทุนนิยมโลกยังท�ำงานร่วมกับระบบชายเป็นใหญ่ สร้างความไม่เป็นธรรมให้กับเด็กที่ไม่เป็นที่ ต้องการนี้อีกด้วย คือ ระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ ได้สร้างมายาคติเกี่ยวกับคุณค่าของลูกแบบผิดๆ ไว้รองรับ การตัดสินใจไม่เลี้ยงลูกเองขึ้นมา มายาคตินี้ท�ำให้ท้ังพ่อแม่ไม่รู้สึกผิดที่ทิ้งลูก มายาคติเหล่านี้เช่น ความคิดว่า เงินส�ำคัญกว่าลูก การเลี้ยงลูกต้องใช้เงิน ความมั่นคงของชีวิตมาก่อนการเลี้ยงลูก ลูกสองขวบโตแล้ว การไม่คิด อยู่เลี้ยงลูกจนลูกโต ลูกอยู่กับปู่ย่าตายายนั้นดีที่สุดแล้ว เด็กเติบโตในต่างจังหวัดดีกับเด็กมากกว่า และความ สบายที่ไม่ต้องเลี้ยงลูกเอง เป็นต้น นอกจากนีผ้ ชู้ ายในระบบชายเป็นใหญ่เมือ่ เข้ามาท�ำงานในเมือง ได้รบั รายได้เป็นเงินสดจากค่าแรงทีน่ อ้ ย แต่ต้องท�ำงานหนัก ก็จะน�ำเงินสดเหล่านี้ไปใช้ในการดื่มสุรา สูบบุหรี่ ยาเสพติด เล่นการพนัน และการมีเพศ สัมพันธ์นอกสมรส ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่กลายเป็นสินค้า ท�ำก�ำไรให้กับระบบทุนนิยมไปแล้วทั้งสิ้น การกระท�ำ นี้ มีผลท�ำให้ครอบครัวของสามีภรรยาในเมืองล่มสลาย และส่งผลต่อลูกที่อยู่กับปู่ย่าตายายด้วย คือ ท�ำให้สามี และภรรยาแยกทางกัน ลูกไม่ได้รับเงินทองส่งเสียที่เพียงพอ และลูกถูกทอดทิ้ง เมื่อทั้งพ่อและแม่ต่างแต่งงาน ใหม่และมีลูกใหม่ ดังนั้นความไม่เป็นธรรมเชิงโครงสร้าง คือ ระบบทุนนิยมโลกและชายเป็นใหญ่ ได้สร้างความ ไม่เป็นธรรมให้กับเด็ก โดยบังคับให้พ่อแม่ไม่ต้องการ หรือ ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ หรืออีกนัยหนึ่งพ่อแม่เองก็เป็น เหยื่อของระบบทั้งสองนี้มากพอๆกับลูกที่เป็นเหยื่อ

ข้อเสนอแนะ

หนึง่ รัฐและสังคม จะต้องเปลีย่ นวิธคี ดิ เกีย่ วกับเด็กทีไ่ ม่มใี ครต้องการ โดยเปลีย่ นจากแนวคิดสงเคราะห์ ที่คอยรักษา หรือ เยียวยาเด็กที่ถูกพ่อแม่ทิ้ง โดยไม่หาสาเหตุของการเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการ หรือจากการ เปลีย่ นจากแนวคิดเชิงรับ เป็นแนวคิดเชิงรุก ทีต่ อ้ งหาสาเหตุและแก้ไขทีส่ าเหตุของปัญหา การทราบสาเหตุของ ปัญหาท�ำให้สามารถมีนโยบายที่แก้ไขที่เหตุของปัญหาได้ และแม้เหตุของปัญหาเด็กที่ไม่มีใครต้องการจะมีค�ำ ตอบหลายค�ำตอบ แต่ค�ำตอบเหล่านั้นเหล่านั้น มักกล่าวโทษพ่อแม่ว่า ไม่มีศักยภาพ หรือ กล่าวโทษโครงสร้าง ของครอบครัวไม่เข้มเข็ง แต่ไม่ได้ตอบค�ำถามว่า ท�ำไมพ่อแม่ไม่มศี กั ยภาพ หรือ ท�ำไมครอบครัวจึงไม่เข้มแข็ง หรือ หากมีค�ำตอบ ค�ำตอบของสาเหตุของการที่ครอบครัวไม่เข้มแข็ง ก็มักเป็นการอธิบายปัญหาในครอบครัว ที่ไม่ อธิบายปัญหาจากสาเหตุภายนอกครอบครัว ค�ำตอบทีอ่ ยูน่ อกครอบครัว เช่น ระบบเศรษฐกิจ หรือ งานในระบบ ทุนนิยมโลกและสถาบันทางสังคมอื่น ก็มักไม่น�ำมาพิจารณา และแม้ว่าน�ำมาพิจารณา ก็ไม่ได้ดูทั้งสังคมและ บทสรุปส�ำหรับผู้บริหาร

11


นอกสังคม เช่นระบบทุนนิยมโลกและระบบชายเป็นใหญ่ รวมทั้งไม่มองว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาความไม่เป็นธรรม กับเด็ก และความไม่เป็นธรรมเชิงโครงสร้างที่กระท�ำกับเด็ก ผ่านครอบครัวและสถาบันสังคมอื่นๆ ดังนั้นการ แก้ไขปัญหา จึงต้องแก้ที่ปัญหาโครงสร้างสังคมที่ไม่เป็นธรรมลงมาสู่ครอบครัวด้วย อีกนัยหนึ่งการท�ำให้ระบบ ชายเป็นใหญ่สลายไป และการปรับเปลีย่ นระบบทุนนิยม ให้เป็นระบบทีเ่ ป็นประโยชน์กบั ครอบครัวและเด็กมาก ขึ้น สอง การท�ำให้ระบบชายเป็นใหญ่หมดความส�ำคัญ และแทนทีด่ ว้ ยระบบความเป็นธรรมทีม่ มี นุษยธรรม หรือคุณธรรม ระบบชายเป็นใหญ่เป็นระบบที่ครอบง�ำทั้งสังคม แต่ในหัวข้อนี้จะเน้นที่การสลายระบบชายเป็น ใหญ่ในครอบครัวและโรงเรียน ครอบครัวและโรงเรียนควรได้ทราบถึงลักษณะของชายเป็นใหญ่ในครอบครัวและ ในโรงเรียน และต้องมีเป้าหมายในการเปลี่ยน การขัดเกลาลูกหลาน หรือ สอนนักเรียนให้เน้นเรื่องความเสมอ ภาคทางเพศในทุกๆประเด็น ทั้งนี้ระบบความเป็นธรรม จะท�ำให้เห็นทุกชีวิตมีค่า และทุกชีวิต จะต้องได้รับการ พิทักษ์รักษาให้เติบโตอย่างเป็นธรร มหรือ เท่าเทียมกันทุกชีวิต การขจัดระบบชายเป็นใหญ่ต้องเริ่มที่พ่อแม่ ซึ่งต้องเลี้ยงดูลูกของตนที่ก�ำลังเติบโตอย่างเท่าเทียมกัน และต้องท�ำให้ลูกเข้าใจว่า ท�ำไมหญิงและชายต้องเท่าเทียมกัน และระบบการศึกษาก็ต้องท�ำลายมายาคติเหล่า นี้ และสร้างมายาคติของความเป็นธรรมกับเด็กทุกคน โดยเฉพาะเด็กทีไ่ ม่เป็นทีต่ อ้ งการ ไม่วา่ เด็กนัน้ จะเป็นเด็ก ชายหรือหญิง เด็กในเมืองหรือชนบท เด็กจากชนชั้นล่างที่ยากจน หรือ เด็กจากชนชั้นกลางหรือสูงกว่า และ เด็กไทย หรือ เด็กจากชนเผ่า และเด็กที่มาจากต่างชาติ การสือ่ สารกับผูท้ อี่ ยูใ่ นภาวะเจริญพันธ์ุ โดยเฉพาะเด็กและผูท้ อี่ ยูใ่ นวัยรุน่ ในประเด็นเพศสัมพันธ์กบั การ ตั้งครรภ์ที่พึงประสงค์ เนื่องจากผู้ที่อยู่ในวัยเจริญพันธ์ุ มักไม่ค่อยตระหนักถึงผลกระทบข้างเคียงของการมีเพศ สัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งครรภ์ หรือ การมีลูกที่ไม่ต้องการ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเด็กที่ไม่มีใคร ต้องการตัง้ แต่ตน้ สังคมควรมีนโยบาย หรือ การท�ำให้ทกุ คนมีความชัดเจนว่า ตนเองต้องการลูก หรือ ไม่ตอ้ งการ ลูก หากไม่ต้องการลูกก็ต้องระมัดระวังไม่ให้ตั้งครรภ์ เพราะว่าตั้งครรภ์แล้ว ผู้หญิงต้องเสี่ยงชีวิตของตนเองใน การท�ำแท้ง และหากท�ำแท้งไม่ส�ำเร็จ ก็จะได้ลูกที่ตนเองไม่ต้องการขึ้นมา และลูกอาจพิการเนื่องจากการท�ำแท้ง ด้วย นอกจากนี้ตนเองอาจไม่มีความสามารถที่จะเลี้ยงลูกได้ ซึ่งไม่เป็นธรรมกับลูก และคนอื่นที่ต้องมาเลี้ยงลูก ให้แทน ยิ่งไปกว่านั้นตนเองยังต้องเสี่ยง ที่จะสูญเสียโอกาสในชีวิตในการพัฒนาตนเอง ทั้งการศึกษาและอาชีพ ของตนเอง และไม่เป็นธรรมกับสังคม ทีน่ อกจากจะไม่ได้เด็กทีเ่ ติบโตเป็นผูใ้ หญ่อย่างสมบูรณ์ แล้วยังต้องรับภาระ ในพัฒนาเลี้ยงดูเด็กที่ไม่สมบูรณ์แทน ข้อเสนอแนะนี้ไม่ได้ห้ามเด็กมีเพศสัมพันธ์ แต่ห้ามการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ ทราบผลเสียทีจ่ ะตามมาซึง่ อาจรวมทัง้ การมีเพศสัมพันธ์ทอี่ ายุนอ้ ยเกินไป การมีเพศสัมพันธ์ทไี่ ม่เต็มใจ การมีเพศ

12

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


สัมพันธ์ที่ปลอดภัยจากโรคทางเพศสัมพันธ์ร้ายแรงเช่นโรคเอดส์ด้วย ข้อเสนอแนะนี้กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ควรเป็นแกนกลางในการท�ำให้ทุกสถาบันทางสังคมหรือทุกกระทรวง เช่น กระทรวง สาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอืน่ ๆ เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม ประสาน กันในการสือ่ สารเรือ่ งนี้ โดยการแสดงให้เห็นว่าเป็นความไม่เป็นธรรมกับเด็ก เด็กทีไ่ ม่มใี ครต้องการเป็นภาระกับ สังคม สังคมต้องการพลเมืองหรือแรงงานที่มีคุณภาพ ท�ำนองเดียวกันเรื่องนี้ก็ไม่เป็นธรรมส�ำหรับแม่ของเด็ก ที่ อาจท�ำให้ท้องโดยไม่เต็มใจ และต้องเสียโอกาสในการเติบโต เพื่อมาเลี้ยงลูกที่ตนเองไม่ต้องการโดยที่สังคมไม่ ช่วยเหลือ การให้ความเป็นธรรมกับเด็กที่ถูกท�ำให้ไม่เป็นที่ต้องการ โดยการท�ำให้เด็กทุกคนมีสิทธิ หรือ มีโอกาส เสมอกันทุกคนตั้งแต่เริ่มต้น โดยเริ่มต้นด้วยการท�ำให้เพศสัมพันธ์เป็นไปอย่างรับผิดชอบกับเด็กที่จะเกิดขึ้นมา การท�ำให้การเด็กที่อยู่ในท้องเติบโตอย่างสมบูรณ์ ไม่ออกมาพิการ การเกิดหรือการคลอดเป็นความสุขของเด็กที่ เกิดมาพร้อมกับพ่อและแม่ของเขา การเติบโตในวัยเด็กที่อยู่พร้อมกับพ่อและแม่อย่างอบอุ่น โดยที่พ่อและแม่มี สิง่ ทีเ่ ด็กต้องการทุกอย่างไม่วา่ จะเป็นบริการ อาหาร ทีอ่ ยูอ่ าศัย เสือ้ ผ้าและบริการสุขภาพ และการศึกษาเป็นต้น เพื่อการเติบโตที่มีสุขภาวะของเด็ก สาม การท�ำให้ระบบทุนนิยมให้ความส�ำคัญกับเด็ก ซึ่งจะเป็นแรงงานที่ส�ำคัญของระบบทุนนิยมมากขึ้น ปัจจุบันระบบทุนนิยมไม่ให้ความส�ำคัญกับเด็ก เพราะว่ามีแรงงานราคาถูกมากมายหลายประเทศ และระบบนี้ก็ ไม่ตอ้ งการแรงงานทีม่ ที กั ษะสูง ดังนัน้ ระบบทุนนิยมจึงไม่ลงทุนกับเด็ก แต่ระบบทุนนิยมโลกได้เปลีย่ นเป็นระบบ การผลิตที่ต้องการแรงงานที่มีคุณภาพ มีสติปัญญา ที่ผลิตความรู้ใหม่ และเป็นที่มาของความมั่งคั่งใหม่ซึ่งจะต้อง แข่งขันกันในระดับโลก พร้อมกันนั้น ก็ขจัดอุปสรรคความไม่เป็นธรรมเชิงโครงสร้าง คือ ระบบความสัมพันธ์ แบบชายเป็นใหญ่ และระบบทุนนิยมทีม่ องว่าเด็กเป็นค่าใช้จา่ ย และผลักภาระให้แม่ปยู่ า่ ตายายรับผิดชอบในช่วง ที่เด็กยังไม่สามารถท�ำงานได้ แต่เมื่อเด็กโตและสามารถท�ำงานได้ก็หาประโยชน์จากแรงงานของเขา ในท�ำนอง เดียวกันกับระบบชายเป็นใหญ่ที่แสวงหาความสุขและประโยชน์จากผู้หญิง โดยไม่รับผิดชอบกับความทุกข์ของ แม่ และความทุกข์ของเด็ก ที่ท�ำให้กลายเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการ ซึ่งจะเป็นภาระกับระบบทุนนิยม ดังนั้น สังคมควรผลักดันให้ระบบทุนนิยมตระหนักถึงความส�ำคัญของการลงทุนกับเด็ก โดยอย่าผลักภาระให้เป็นหน้าที่ ของครอบครัว และรัฐ หรือ สังคมอย่างเดียว ดังนั้นการจัดความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันเศรษฐกิจ สถาบัน ครอบครัว และสถาบันการศึกษา ควรมีการเปลีย่ นแปลงทีใ่ ห้การท�ำงานและการศึกษานัน้ เป็นมิตรกับครอบครัว และเด็กทุกชนชัน้ และทุกสถานภาพมากขึน้ หรือ ท�ำให้เด็กมีมลู ค่าในทุกๆด้านสูงขึน้ และมีจดุ ทีเ่ ป็นปัญหา หรือ เสียหายน้อยที่สุด

บทสรุปส�ำหรับผู้บริหาร

13


Executive Summary The principal objectives of this study of the unwanted children and inequity are to demonstrate how that the process of being unwanted starting from conception to maturity. Then, the next objective is to influence the perception of the unwanted children as the victim of inequity, which is in need of the rebuilding of their rights rather than therapy or welfare. The following object is the rejection from their parent’s, as well as patriarchy and capitalist society. Last, to recommend the Ministry of Social Development and Social Security revise their notion and policy, that is related to inequity of unwanted children. To illustrate the earlier objectives, this study has utilized the qualitative study to indepth interview fifty mothers who have left their children and seventy unwanted children. According to the mothers with the experienced of leaving children, it is found that the being unwanted has happened in every process: sexuality that is not intended to have children, unwanted pregnancy, father’s rejection of not his children, pregnancy with attempted abortion, pre-natal care, delivery and post-natal care without father, being left to grandparent responsibility, and divorce, remarriage and having brothers or sisters of step parents. It is an injustice for the children whose time need parent most. Second, according to the experiences of the mothers, it is found that patriarchy is closely related to the children un-wanting. Patriarchy allows men to have unlimited sex or sex partners; they are allowed not to take responsibility of the pregnancies, they and decision to do abortion are closely related. They can easily push their children custody to other people especially grandparents. They can have new wives even before their sons were born. They have left their children for work that having no or less money back home to their children. Lastly, they can have new wives and new children and ignore the unwanted ones. Also, the patriarchy has also worked through grandparents. Both sides of patriarchal grandparents have provided the negative meaning of pregnancy, pushing for abortion, rejecting daughters or sons in law based on prejudice criteria such as age that too young or too old, 14

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


pregnancy and schooling, pregnancy and marriage, socioeconomic status, different social values, and lifestyles. Consequently, fathers refused their wives and certainly their children. Third, capitalist society has forced parents to leave their children for work in town. The capitalist system has changed self-sufficiently economy in the rural area to market dependency where parents have to leave their sons to town to earn the little cash. The capitalist system does not willing to pay child care for their parents. Although the wage is small and not enough for child care, the working parents have to work. The capitalist system makes them believe that they have to do it for their children. It blinds them from the belief that it should be the capitalist system to pay for child care because the children are the benefit or the future workers of the capitalist system. The system ignores the unwanted children because it needs only unskilled labor. It externalizes the cost of child care of unwanted children to society. In other words, the global capitalist system is brutality to children. Fourth, the interaction of patriarchy and capitalist system has doubled inequity to the unwanted children by mixing patriarchy and capitalist myths to legitimizes their children leaving such as money and security. They are more important than children, growing in rural area with grandparent, which is better than in town. A two years old child is old enough to leave them or never consider about taking care children until they grow up. Also, the interaction of patriarchy and capitalist ideology on alcohol drinking, cigarette smoking, extra-marital sex, gambling, drug and spending times with male colleagues have drained out time and money from their family and consequently the marriage lives have dissolved, and none can take care of children except grandparents. In other words, both parents and children are the victims of the patriarchy and capitalist system.

บทสรุปส�ำหรับผู้บริหาร

15


Recommendation

1. Paradigm shift, the state, and society have to change passive unwanted children conception from individual pathology that needs therapeutic or welfare to prevention at the root causes. For example, the unwanted children might relate with weakening family; we have to ask more question such as why the family is weakened, and the answers might go out from family institution to other institutions such as economic and educational establishments. Then we have to ask further questions what force outsides economic or educational establishments that weaken the family and the answers might go to the bigger system such as capitalism, patriarchy, paternalism for example and might go to critical perspective such as inequity concept. Consequently, social policy of unwanted children should involve with neutralizing patriarchy and the capitalist system. 2. Neutralization of patriarchy with more human and justice concept to reduce unwanted children is needed. Patriarchy controls the whole society, then to neutralize patriarchy is to be done in all social institutions. For example, family and the school system should identify what, where or how the patriarchy ideology and practices have been or happened, then countermeasures should be designed and implemented, and equity and human value and rights will replace it. To neutralize patriarchy in a family has to start from a parent. Parents should explain their children the importance and principles of equity, equally take care of their son and daughter and teach them to treat others equally. The gender equity idea has to be reaffirmed in the educational system as much as other equity concepts such as classes, ethnicity, and nationality. Sexuality communication with men and women with reproductive age of relation between having sex and pregnancy to prevent unwanted pregnancy should be done. Since males and females tend not to perceive that their sexuality is likely to lead to unwanted pregnancy and unwanted pregnancy is serious, therefore sex education to emphasize unless

16

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


they need pregnancy, they do not use birth control measures. With birth control they might have an unwanted pregnancy, an unwanted abortion, unwanted sexually diseases such as HIV/AIDs, unwanted early school leaving, unwanted future occupation as well as unjust of the unwanted children. However, this does not suggest that sexuality is not possible. The Ministry of Social Development and Human Security should be the focal point to integrate these messages with Ministry of Public Health, Ministry of Education, Ministry of Labor and Ministry of Industry. To reduce unwanted children, unwanted pregnancy HIV/AIDS, early school leaving, low-quality workforce and inequity to the unwanted children. Equity from the start begins from healthy sexuality, healthy pregnancy, healthy baby, and healthy family that can equally provide food, shelter, clothes, medicine, education, and equity value to all children. 3. Accelerate capitalist system to invest in human capital especially invest in children as fast as possible. Globalization has moved from mass production that required unskilled labor to niche and high valued market that required skilled and intellectual workers. To avoid competing with an unskilled and cheap labor of other developing countries and automation or robot from developing countries, the Thai entrepreneurs have no chance to choose except producing innovation and high-value products that need educated workers. The system has to stop externalization of child care to grandparent and start to invest their future workforce since they are very young. In other words relationship between economic and education to a family has to be changed to more friendly to family and all children equally.

บทสรุปส�ำหรับผู้บริหาร

17


Picture Credit: Tormod Sandtorv

18

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


1. ที่มา ความส�ำคัญของปัญหา และวัตถุประสงค์การวิจัย

1. ที่มาของปัญหา : ความไม่เป็นธรรมตั้งแต่การเริ่มต้น

ในครอบครัว ซึง่ เป็นสถาบันส�ำคัญซึง่ สังคมให้ความคาดหวังว่า จะเป็นพืน้ ทีซ่ งึ่ บุคคลต่างๆ มีความสัมพันธ์ อันดี มีความสุข สามีและภรรยามีความรักใคร่ ดูแลซึ่งกันและกัน ลูกมีความสุขได้รับการเลี้ยงดู แต่จากข้อมูล การวิจัย พบว่า ครอบครัวมีปัญหาต่างๆ มาก คือ ถึง 50 ปัญหา และจ�ำแนกได้เป็น 7 กลุ่มปัญหา โดยเฉพาะ ปัญหาเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว และปัญหาที่เกิดกับลูก (สุพจน์ เด่นดวงและนาถฤดี เด่นดวง, 2558) อย่างไรก็ตาม ครอบครัวเหล่านี้ก็ยังมีความเป็น “ครอบครัว” มีสายใยที่ยึดโยงกันและพยายาม ที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น บุคคลหรือสมาชิกต่างๆ ก็ยังได้ชื่อว่ามีลักษณะของความสัมพันธ์เป็นครอบครัว แต่ส�ำหรับบุคคลบางคน โอกาสที่จะมีความเป็นครอบครัวเป็นเรื่องยากยิ่ง เขาเหล่านั้นอาจต้องต่อสู้กับ การใช้ชีวิตเพียงล�ำพัง เช่น เด็กที่ไม่มีใครต้องการหรือถูกทอดทิ้ง ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมหรือไม่ต้องการและ

บทที่ 1 ที่มาและความส�ำคัญของปัญหา และวัตถุประสงค์การวิจัย

19


ต้องพยายามดูแลลูกของตนเพียงล�ำพัง โดยสังคมไม่เห็นว่า พวกเขาเหล่านั้นก็ต้องการครอบครัว ต้องการ ความรัก ความเอาใจใส่ ไม่ต้องการถูกตีตราหรือทอดทิ้งให้เผชิญความทุกข์ตามล�ำพัง การศึกษานี้เชื่อว่า แม้ บุคคลเหล่านี้จะไม่มีครอบครัวตามความหมายแบบอนุรักษ์นิยม แต่พวกเขาต้องไม่ถูกผลักออกจากสังคม สังคม ต้องให้โอกาส ให้ความเป็นธรรมแก่พวกเขาในการมีชวี ติ ให้โอกาสทีพ่ วกเขาจะสร้างครอบครัว ดังนัน้ การท�ำความ เข้าใจทัง้ แม่หรือผูห้ ญิงทีต่ งั้ ครรภ์ไม่พร้อม และเด็กทีเ่ กิดมาโดยไม่มใี ครต้องการ จะท�ำให้เราเข้าใจในวิถหี รือความ หมายของครอบครัวในแบบก้าวหน้า และให้ความเป็นธรรม รวมถึงทรัพยากรเป็นพิเศษกับพวกเขา เพือ่ ให้เขาได้ สามารถสร้างและมีครอบครัวของตนเองได้เฉกเช่นบุคคลอื่น การเริ่มต้นที่เป็นธรรม (Equity from the start) หมายถึง เมื่อเด็กทุกคนเกิดขึ้นมาจากครรภ์มารดา เด็กทุกคน ควรได้รับการเริ่มต้นชีวิตที่เท่าเทียมกัน และสามารถด�ำรงชีวิตที่ต้องมีการแข่งขันกันด้วยความเป็น ธรรม แต่ในความเป็นจริง การเริ่มต้นชีวิตของเด็กแต่ละคนนั้น มีความไม่เท่าเทียมกัน (Inequity from the start) ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากมารดาของเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เช่น อาจแตกต่างทีฐ่ านะ ชนชัน้ ซึง่ เป็นฐานและ โครงสร้างให้แก่บุตรหรือลูกที่เกิดมา นอกจากนี้เด็กที่ก�ำเนิดมาอาจเป็น “เด็ก” ที่พ่อแม่ไม่ต้องการตั้งแต่อยู่ใน ครรภ์มารดา (Unwanted pregnancy/child) ดังนั้น เมื่อเด็กเหล่านี้เกิดขึ้นมาพร้อมกับความไม่ต้องการ การ ขาดแคลนความรัก และการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ ปัญหาต่างๆ เช่น ความพิการ การขาดอาหาร การพัฒนาการที่ ล่าช้า ภาวะปัญหาทางจิตใจต่างๆ ฯลฯ จึงเกิดขึ้น การเริ่มต้นการแข่งขันของเด็กบนพื้นฐานครอบครัวที่มีความ แตกต่างกัน และหริือบนพื้นฐานที่สังคมต้องการเด็กแตกต่างกัน จึงเป็นการเริ่มต้นที่ไม่เป็นธรรมส�ำหรับเด็กซึ่ง ไม่เป็นที่ต้องการของสังคม การเริม่ ต้นทีเ่ ป็นธรรมของเด็กหนึง่ คน อาจเกีย่ วข้องกับประเด็นต่างๆ ทางสังคมหลายประการ นอกจาก ความแตกต่างทางเศรษฐกิจสังคมแล้ว ยังอาจมีสิ่งเหล่านี้ เช่น ระบบเพศสัมพันธ์หรือเพศวิถีของพ่อแม่ การตั้ง ครรภ์และการคลอด การเลี้ยงดูเด็กเล็ก และการให้การศึกษากับเด็ก เนื่องจากเด็กเล็กนั้นอ่อนแอ ต้องการการ ดูแลอย่างใกล้ชิด และเด็กมีการพัฒนาการทางร่างกายสมองจิตใจและสังคมอย่างรวดเร็วในช่วงเวลานี้ ดังนั้น การกลายเป็นเด็กทีไ่ ม่มใี ครต้องการและขาดการดูแลอย่างเหมาะสม จึงเป็นการบัน่ ทอนพัฒนาการส�ำคัญของเด็ก และมีผลท�ำให้ไม่สามารถแข่งขันหรือเติบโตมีคณ ุ ภาพเท่าเทียมกับผูอ้ นื่ ซึง่ เท่ากับเป็นการท�ำลายหรือฆ่าเด็กทาง อ้อม ตามที่ สมัชชาองค์การอนามัยโลก ได้มีมติที่ให้น�ำแนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยสังคมก�ำหนดสุขภาพ (Social determinants of health) มาเป็นกรอบในการพัฒนาสุขภาพเพิม่ เติมจากแนวคิดสาธารณสุขมูลฐาน เพือ่ อธิบาย 20

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


ปัจจัยทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเริ่มต้นชีวิตของเด็กว่า ควรเป็นไปอย่างเท่าเทียมกันเพื่อให้ปัญหาความไม่เป็น ธรรมด้านสุขภาพต่างๆของเด็กที่เกิดมาหมดสิ้นไป ทั้งนี้เพราะว่า การเริ่มต้นชีวิตที่แข็งแรงอบอุ่นนั้น เป็นปัจจัย ส�ำคัญทีท่ ำ� ให้คนมีสขุ ภาพทีด่ ที งั้ ในช่วงกลางและช่วงปลายของชีวติ นอกจากนีส้ ขุ ภาพทีด่ ยี งั ช่วยให้ผลิตภาพของ สังคมสูงขึ้น และไม่เป็นภาระของสังคมอีกด้วย

ส�ำหรับการเริ่มต้นชีวิตที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้น อาจเกิดได้เพราะปัจจัยจากระบบสังคมอย่างหลาก หลาย อาทิ จากระบบเพศสัมพันธ์ การเจริญพันธุ์ (การดูแลครรภ์และการคลอด) การเลี้ยงดูเด็กที่เกิดมาในช่วง วิกฤตของครอบครัว ความไม่เป็นธรรมจากสถานพยาบาล สถานศึกษา สถานทีท่ ำ� งานหรือเศรษฐกิจ และรัฐบาล หรือสังคม แต่ในการศึกษาครั้งนี้ จะเน้นปัญหาแม่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมหรือไม่ต้องการลูก แต่ได้ด�ำรงครรภ์ไว้ จนลูกคลอด และด�ำเนินการศึกษาทั้งการวิจัยเชิวคุณภาพและปริมาณ โดยในปีที่หนึ่ง (2559) เป็นการศึกษา เชิงคุณภาพจากประสบการณ์ของแม่ และส�ำหรับเด็กที่ก�ำเนิดมาโดยไม่มีใครต้องการ ส่วนในปีที่สอง (2560) เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ในแม่หรือมารดา ซึง่ มีความไม่พร้อมในการตัง้ ครรภ์ มีบตุ ร เพือ่ ให้ได้ขอ้ มูลในเชิงขนาด ของปัญหา และข้อมูลในเชิงกว้าง เพื่อน�ำไปสู่การก�ำหนดนโยบายและการด�ำเนินงานแผนงานโครงการต่างๆ ต่อ ไป

2. ความส�ำคัญของปัญหา : ความไม่เป็นธรรมตั้งแต่การเริ่มต้น ความหมายของการเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการนั้น ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ ในมุม มองของพ่อแม่ที่ฝากลูกไว้กับปู่ย่าตายายญาติ หรืออื่นให้ช่วยดูแลนั้น หมายความว่า พ่อแม่ไม่ได้ทอดทิ้งลูก พ่อ แม่จ�ำเป็นต้องไปท�ำงานเพื่อหาเงิน และส่งเงินกลับมาให้ลูกเพื่ออนาคตที่ดีของลูก การฝากลูกไว้กับญาตินั้นไม่ ได้เป็นความไม่เป็นธรรม แต่เป็นความจ�ำเป็นและความหวังดีกับลูก ส่วนพ่อแม่บางคนที่มีปัญหาต้องหย่าร้าง แยกทาง ซึ่งเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้ สามีภรรยาต่างคนต่างแยกกันไปแต่งงานใหม่และมีลูกใหม่ สร้าง ครอบครัวของตนเอง พ่อแม่เหล่านี้ต่างคิดว่า ตนเองไม่ได้ทอดทิ้งหรือไม่ต้องการลูก เนื่องเพราะได้ฝากลูกไว้ กับปู่ย่าตายาย หรือให้ญาติช่วยดูแลแล้ว ส่วนสังคมเองก็ยอมรับว่า การที่พ่อแม่ทิ้งลูกไปท�ำงานหรือการที่พ่อ แม่แยกทางกัน และให้ญาติช่วยเลี้ยงลูกนั้น เป็นความปกติหรือเป็นความจ�ำเป็นของพ่อแม่ ส�ำหรับการศึกษานี้ น�ำเสนอในมุมของเด็กที่ถูกทอดทิ้ง และบนฐานคิดของสังคมที่ไม่เป็นธรรม นั่นคือ การเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการ ถูกทอดทิ้งให้อยู่กับคนอื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่ ต้องเผชิญหน้ากับความเหงา ความว้าเหว่ การเลี้ยงดูแบบปล่อยปละ ละเลย การที่เด็กต้องเอาตัวรอด ซึ่งไม่เป็นธรรมกับเด็กอย่างยิ่ง และในฐานคิดของ สังคมแบบไม่เป็นธรรมก็ คือ การที่พ่อแม่ต้องละทิ้งลูก หรือ ยินยอมให้คนอื่นเลี้ยงลูกนั้น เป็นผลมาจากความ ไม่เป็นธรรมของสังคมแบบทุนนิยม และระบบชายเป็นใหญ่ ที่ท�ำงานสนับสนุนกัน

บทที่ 1 ที่มาและความส�ำคัญของปัญหา และวัตถุประสงค์การวิจัย

21


การที่เด็กต้องกลายเป็น “เด็กที่ไม่มี่ใครต้องการนั้น” เริ่มต้นจากการมีเพศสัมพันธ์ของพ่อแม่ที่ไม่ตั้งใจ หรือไม่พร้อมหรืออาจถูกบังคับ การตั้งครรภ์ไม่พร้อมของแม่ และความไม่พร้อมในการเลี้ยงลูก นับแต่ลูกยัง เป็นทารกจนกระทั่งลูกโต มีวุฒิภาวะ หรือ ช่วยตัวเองได้แล้วนั้น เป็นปัญหาส�ำคัญในขณะนี้ และมีแนวโน้มเพิ่ม สูงขึ้นมาก ปัญหาดังกล่าวมีผลกระทบตัวเด็กเอง ต่อพ่อและแม่ของเด็ก ต่อญาติพี่น้องที่ต้องเลี้ยงเด็ก และต่อ สังคมอย่างมาก ดังนี้ 2.1. การตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ (Unwanted pregnancy) หรือ การเกิดมาเป็นเด็กที่พ่อแม่ไม่ ต้องการมีอัตราสูง และมีแนวโน้มสูงเพิ่มขึ้น การตั้งครรภ์ไม่ต้องการหรือไม่พร้อมนั้น มักได้รับการน�ำเสนอในทางลบต่อผู้หญิง จึงมักจะมีหยิบยก ปัญหาขึ้นมาศึกษาจากมารดาของเด็กเป็นหลัก เพื่อแสวงหาทางออกหรือแก้ไข ปัญหานี้มักไม่ค่อยได้รับการ อธิบายหรือเชื่อมโยงไปยังผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยเฉพาะเด็กที่เกิดจากความไม่ต้องการหรือไม่พร้อมว่า นอกจาก ผลกระทบหรือปัญหาที่เกิดกับแม่โดยตรงแล้ว การตั้งครรภ์ไม่ต้องการนั้นยังเป็นปัญหาที่อาจก่อให้เกิดความไม่ เป็นธรรมต่อเด็กด้วย ทั้งนี้เนื่องจาก เมื่อเด็กเกิดมาจากความไม่พร้อม เด็กจึงมักไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับเด็กอื่นๆ กล่าวคือ นับแต่แม่มีความคิดว่าตนเองตั้งครรภ์ไม่พร้อม ก็อาจจะคิดหรือพยายามยุติการตั้งครรภ์ หรือท�ำแท้งตัวอ่อน ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และหากการยุติการตั้งครรภ์ด�ำเนินการไม่ส�ำเร็จ เด็กที่เกิดมาอาจพิการ เป็นเหยื่อของภาวะ สภาพการไม่เป็นที่ต้องการของครอบครัวหรือตัวแม่เอง รวมทั้งอาจได้รับความไม่เป็นธรรมในด้านอื่นต่อไป เช่น ได้รับความรุนแรงจากครอบครัว ผู้เลี้ยงดู ท�ำให้พัฒนาการ และโอกาสที่เท่าเทียมกันของเด็กนั้น ต�่ำกว่าเด็ก อื่นๆ เราอาจวัดการได้รับความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับเด็ก โดยดูจากการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการได้โดยคร่าว จาก ประมาณการอัตราการท�ำแท้ง อัตราเด็กก�ำพร้าที่ถูกทอดทิ้ง และอัตราการตั้งครรภ์และคลอดบุตรของเด็กอายุ ต�่ำกว่า 19 ปี พบว่า ก. จ�ำนวนการตั้งครรภ์และคลอดบุตรของเด็กอายุต�่ำกว่า 19 ปีนั้นสูงขึ้นอย่างต่อ เนื่องโดยมีจ�ำนวน 95,818 คน ในปี 2546 และจ�ำนวน 112,638 คน 115,596 คน 115,019 คน 118,902 คน และ 121,636 คนในปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2551 ตามล�ำดับ (ส�ำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อ้างจากส�ำนักงานส่งเสริมสังคมแห่ง การเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ส่วนใหญ่เป็นการตั้งครรภ์และคลอดบุตรที่ ไม่เป็นที่ต้องการ

22

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


ข. จ�ำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาภาวะแทรกซ้อนจากการท�ำแท้งที่สูงขึ้น โดยในปี 2548 พบว่า มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจากภาวะแทรกซ้อนจากการท�ำแท้ง 26,947 คน และ จ�ำนวน 28,889 คน 29,647 คน 30,758 คนและ 30,865 ในปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2552 ตามล�ำดับ (ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อ้างจาก http://ilaw.or.th/node/2942) ค. จ�ำนวนเด็กก�ำพร้าที่ถูกทอดทิ้งสูง โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ รายงานว่า มีเด็กจ�ำนวน 11,079 คน ที่ไม่ได้อยู่ในการดูแลของครอบครัวระหว่าง พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2552 โดยร้อยละ 57 ของเด็กกลุ่มนี้ อาศัยในบ้านเด็กก�ำพร้า และศูนย์ ฟื้นฟูรวมทั้งสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน และร้อยละ 43 ถูกส่งตัวไปให้ครอบครัวอุปถัมภ์ที่ รัฐบาลเป็นผู้ด�ำเนินการ (องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ, 2554) 2.2. ความเริ่มต้นที่ไม่เท่าเทียม โดยการเกิดมาเป็นทารกที่พ่อแม่ไม่ต้องการนั้น มีผลเสียต่อร่างกาย อารมณ์ และสังคมเด็ก เด็กอาจไม่ได้รับการดูแลจากครอบครัว และอาจรู้สึกว่าตนเองไม่เป็นที่ต้องการของครอบครัว รวมทั้ง การมีพอ่ หรือแม่คนเดียว หรือ พ่อแม่ให้ญาติเป็นผูเ้ ลีย้ งดูแทน อาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อการพัฒนาการทัง้ ร่างกาย อารมณ์ และสังคมของเด็กอย่างยิ่ง เช่น ปัญหาที่เกิดกับพัฒนาการของร่างกายต่างๆ นับตั้งแต่การขาดอาหาร การได้รับอุบัติเหตุและการเจ็บป่วย ส่วนปัญหาด้านอารมณ์ เด็กอาจมีความเครียดสูง มีปัญหาสมาธิสั้น และ ปัญหาไม่สามารถเข้าใจและปรับตัวเข้ากับสังคมได้ การทีม่ ปี ญ ั หาเหล่านี้ ท�ำให้เด็กเหล่านัน้ ไม่สามารถแข่งขันกับ เด็กทั่วไปได้ และมักถูกมองว่าเป็นเด็กมีปัญหา ซึ่งไม่เป็นธรรมกับเด็ก 2.3. เด็กที่ไม่เป็นที่ต้องการและมีปัญหาที่กล่าวมาแล้ว อาจมีปัญหาอื่นๆ จนกลายเป็นปัญหาสังคม และน�ำมาซึ่งความไม่เป็นธรรมทางสังคมอื่นๆ กันต่อไป เนือ่ งจากช่องว่างระหว่างเด็กทีไ่ ม่เป็นทีต่ อ้ งการกับเด็กปกติทวั่ ไปกว้างขึน้ ท�ำให้เด็กทีไ่ ม่เป็นทีต่ อ้ งการ ไม่สามารถแข่งขันหรือเลือ่ นชัน้ ทางสังคมได้ ช่องว่างทางสังคมของเด็กก็จะยิง่ กว้างขึน้ เมือ่ บุคคลเติบโตขึน้ ความ เป็นเด็กที่ไม่เป็นที่ต้องการมาก่อน ความรู้สึกด้อยค่า ประสบการณ์จากช่องว่างทางสังคมเช่นนั้น อาจสร้างความ คับแค้นใจ และเมื่อสะสมปัญหาอันเนื่องจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมอื่นๆ ทางสังคม ก็จะแสดงภาวะแปลก แยกและอาจต่อต้านสังคมมากขึน้ จนในทีส่ ดุ อาจกระท�ำความรุนแรงเพือ่ เป็นการแก้แค้นสังคม เช่น การก่อปัญหา อาชญากรรม หรือกลายเป็นภาระทางสังคมมากขึ้นเนื่องเพราะมีความเเบเจ็บป่วยทางจิตใจ ดังนั้น ความไม่เป็น ธรรมทางสังคมในวงกว้างก็จะเพิ่มมากขึ้น และ ปัญหาต่างๆ อาทิ ความไม่มั่นคงของมนุษย์ ปัญหาการเมือง ปัญหายาเสพติด และปัญหาการโกงกิน คอรับชันต่างๆ ก็จะติดตามมา

บทที่ 1 ที่มาและความส�ำคัญของปัญหา และวัตถุประสงค์การวิจัย

23


2.4. การเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการและหรือเกิดจากการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ

รวมทัง้ การเป็นผูห้ ญิงทีต่ งั้ ครรภ์ไม่ตอ้ งการ จ�ำเป็นต้องได้รบั การดูแลจากสังคมและรัฐเป็นพิเศษ ปัญหา เหล่านีน้ ำ� มาซึง่ ค่าใช้จา่ ยของรัฐทีเ่ พิม่ สูงมากขึน้ เช่น การให้การรักษาพยาบาลผูห้ ญิงทีท่ ำ� การยุตกิ ารตัง้ ครรภ์ผดิ กฎหมาย ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสุขภาพทั้งกายและใจของหญิงที่ยุติการตั้งครรภ์ ค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็กที่ไม่ ต้องการสูง เป็นต้น

2.5. การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

การยุติการตั้งครรภ์ซึ่งมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น การทอดทิ้งเด็ก และเลี้ยงเด็กอย่างไม่มีคุณภาพ เป็นปัญหาที่ รุนแรงเพิ่มขึ้นในสังคม แต่ขณะเดียวกัน สังคมก็ก�ำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้นอาจท�ำให้ประเทศไทยประสบ ปัญหาความต้องการก�ำลัง หรือ ประชากรที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น แต่อัตราเกิดที่ลดลงต�่ำกว่าการทดแทน ประชากรทีห่ ายไป ท�ำให้สดั ส่วนของผูส้ งู อายุมากกว่าประชากรกลุม่ อืน่ ท�ำให้ผสู้ งู อายุเป็นภาระความรับผิดชอบ ของประเทศ แม้ในปัจจุบันก็ต้องน�ำเข้าแรงงานข้ามชาติมาช่วยในการผลิต ดังนั้น การกลับมาพิจารณาเรื่องนี้ว่า เป็นปัญหาหรือไม่เป็นปัญหา เป็นปัญหาของใครอีกครั้ง และมี สาเหตุจากอะไรที่มากกว่าตัวผู้หญิงและครอบครัวจึงเป็นสิ่งที่จ�ำเป็น

3. วัตถุประสงค์การวิจัย

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาว่าความไม่เป็นธรรมทางสังคมโดยเฉพาะระบบชายเป็นใหญ่และ ทุนนิยมโลกาภิวัตน์นั้น เป็นระบบที่สร้างปัญหาให้เกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมหรือไม่ต้องการอย่างไร จนน�ำไปสู่ การที่ผู้หญิงหรือแม่ไม่สามารถเลี้ยงดูลูก และต้องทอดทิ้งลูกของตนเอง จนท�ำให้เด็กต้องอยู่ในภาวะที่ไม่มีใคร ต้องการ เป็นเด็กก�ำพร้า หรือ เป็นเด็กที่ถูกทอดทิ้งในสังคม หรือได้รับการเลี้ยงดูไม่มีคุณภาพ ดังมีรายละเอียด ดังนี้

24

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


3.1. ประสบการณ์ของแม่หรือผู้หญิงตั้งท้องไม่พร้อม และครรภ์นั้นไม่เป็นที่ต้องการ จนท�ำให้เกิด เด็กที่ไม่มีใครต้องการ เด็กก�ำพร้า เด็กที่ถูกทอดทิ้ง หรือ ได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่มีคุณภาพ ก. ประสบการณ์ของแม่ตั้งท้องไม่เป็นที่ต้องการ และ การท�ำให้ลูกที่เกิดมาต้องเผชิญ หน้ากับภาวะการไม่เป็นที่ต้องการเป็นอย่างไร ตั้งแต่ขั้นตอนของการมีเพศสัมพันธ์หรือความ หมายของการมีเพศสัมพันธ์ การท้องหรือความหมายของการท้อง ความหมายของลูก ความ หมายของการเลี้ยงลูก ความหมายของการเป็นแม่ จนถึงการทอดทิ้งหรือการละเลยลูก ในมิติ ของความไม่เป็นธรรมทางสังคมต่างๆ ข. ศึกษาว่าระบบชายเป็นใหญ่ น�ำมาซึ่งการใช้อ�ำนาจระหว่างหญิงและชาย ตั้งแต่ เมื่อผู้หญิงเริ่มตั้งครรภ์ หรือระหว่างหญิงตั้งครรภ์ ตลอดจนครอบครัวของเธอว่า มีลักษณะ ความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจระหว่างหญิงชายอย่างไร และระบบความสัมพันธ์ดังกล่าว มีบทบาท ในการท�ำให้แม่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม และท�ำให้เด็กที่เกิดมาต้องเผชิญหน้ากับภาวะไม่เป็นที่ ต้องการอย่างไร ทั้งในสถาบันครอบครัว สถานศึกษา การท�ำงานในบริบทของ โลกาภิ วัตน์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ปัญหาการท้องที่ไม่ต้องการของแม่ และต้องทอดทิ้งหรือละเลย ต่อการเลี้ยงดูลูกนั้น เกี่ยวข้องกับระบบความสัมพันธ์หญิงชาย ซึ่งชายมักมีอ�ำนาจเหนือหญิง และระบบเศรษฐกิจโลกที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสถาบันครอบครัว สถาบันการการ ศึกษา สถาบันสุขภาพ และสถาบันเศรษฐกิจหรือไม่ อย่างไร

3.2. ประสบการณ์ของเด็กที่เกิดมา และกลายเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการ เป็นอย่างไร เพราะอะไร ก. ประสบการณ์เป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการในบริบทของสังคมที่ไม่เป็นธรรมกับเด็ก เป็นอย่างไร ทั้งในสถาบันครอบครัว สถานศึกษา สถานพยาบาล หน่วยงานรัฐอื่นๆ เช่น บ้าน พักฉุกเฉิน สถาบันเศรษฐกิจ หรือการท�ำงาน เด็กมีความทุกข์ หรือ ได้รับความไม่เป็นธรรม อย่างไร มีผลเสียกับชีวิตของเขาอย่างไรบ้าง และเขาจัดการกับปัญหาอย่างไร ข. ประสบการณ์ความทุกข์ การจัดการกับปัญหาของเด็ก และความไม่เป็นธรรมนั้น เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์หญิงชายเชิงอ�ำนาจ และระบบเศรษฐกิจโลกที่ไม่เป็นธรรมอย่างไร

บทที่ 1 ที่มาและความส�ำคัญของปัญหา และวัตถุประสงค์การวิจัย

25


Picture Credit: Tormod Sandtorv

26

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


2. การทบทวนวรรณกรรม แนวคิดและกรอบในการวิจัย ในส่วนนี้ เป็นการทบทวนวรรณกรรม แนวคิด เพือ่ สร้างกรอบในการวิจยั เกีย่ วกับปัญหาการถูกกระท�ำ ให้เป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการ

1. การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเรื่องการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ หรือ การท้องไม่พร้อม หรือ การตั้งครรภ์ของวัยรุ่น รวมทั้งเด็ก ก�ำพร้า/ลูกที่ไม่ต้องการนั้น ส่วนใหญ่ ได้รับการอธิบายว่าเป็นปัญหา โดยการใช้เกณฑ์ของแนวคิดทางการแพทย์ ที่อธิบายว่า การตั้งครรภ์ในเด็กนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของแม่ (Ali, 2016) (Gerdts, Dobkin, Foster, & Schwarz, 2016) และการใช้เกณฑ์หรือบรรทัดฐานของสังคม ตีกรอบให้ผู้หญิงท้องโดยไม่มีสามีไม่ได้ เพราะผู้ หญิงคนนั้นจะเป็นผู้หญิงที่ไม่รักนวลสงวนตัว ผู้หญิงจะท้องไม่ได้ถ้ายังไม่แต่งงาน เป็นต้น โดยใช้เกณฑ์ความ เป็นเหตุเป็นผล (Rationality) หรือ ความรับผิดชอบของปัจเจกชนแบบนักจิตวิทยาทีบ่ อกว่า เหตุหรือปัญหาเกิด ขึน้ เพราะผูห้ ญิงเป็นคนทีไ่ ม่รจู้ กั คิด ควบคุมอารมณ์ ความรูส้ กึ และไม่รบั ผิดชอบกับการกระท�ำ (Shahry, Niakan Kalhori, Esfandiyari, & Zamani-Alavijeh, 2016) การมองปัญหาดังกล่าว เป็นการมองที่มีกล่าวโทษ ทั้งสิ้น เป็นการมองแบบการกล่าวโทษเหยื่อ (Blaming the victim) ทั้งที่ผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อนั้น อาจไม่มีความเต็มใจ ที่จะมีเพศสัมพันธ์ อาจไม่รู้จักหรือไม่สามารถหาและใช้อุปกรณ์คุมก�ำเนิด รวมทั้งไม่มีใครต้องการที่จะท้องเพื่อที่ จะยุติการตั้งครรภ์ที่อันตรายหรือการท้อง หรือการท้องเพื่อที่จะทิ้งลูกเพื่อให้โดนสังคมประณาม รวมทั้งการเกิด บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม แนวคิดและกรอบในการวิจัย

27


มาเพื่อถูกตีตราว่าเป็นเด็กก�ำพร้าและถูกเลือกปฏิบัติ (Martínez-Galiano, 2017; Nakhaie & Sacco, 2009) ส่วนนักสังคมวิทยาในแนวคิดโครงสร้างหน้าที่ ก็อธิบายว่า การตั้งครรภ์ไม่พร้อม เป็นปัญหาโดยใช้ บรรทัดฐานทางเพศของสังคม ซึ่งแนวคิดังกล่าว ไม่ตั้งค�ำถามว่า บรรทัดฐานดังกล่าวนั้น สามารถใช้ในสังคมซึ่ง มีการเปลี่ยนแปลงนี้ได้หรือไม่ เนื่องจากบรรทัดฐานของสังคมบางช่วงเวลา ก็ส่งเสริมให้มีลูกมาก และชนเผ่าทั้ง หลายก็มวี ฒ ั นธรรมของการมีลกู มาก มีเพศสัมพันธ์เร็ว หรือการมีลกู ไม่มพี อ่ หรือไม่รวู้ า่ ใครเป็นพ่อก็ไม่เป็นปัญหา อะไร กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ปัญหาดังกล่าวอาจไม่ใช่ปัญหาก็ได้ เช่น ประเทศไทยอาจต้องการประชากรเพิ่มมาก ขึ้น เพื่อทดแทนการเกิดที่น้อยลง ก็อาจท�ำให้การท้องที่ไม่ต้องการไม่เป็นปัญหา นอกจากนี้การนิยามว่าเรื่องนี้ เป็นปัญหา ก็เป็นการมองปัญหาจากคนนอก ที่พยายามจะสร้างความชอบธรรมให้กับวิชาชีพของตัวเอง การ อ้างอิงความมีศลี ธรรม แต่ไม่พยายามทีจ่ ะเข้าใจปัญหาอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะมุมมองของผูท้ ตี่ งั้ ครรภ์หรือเด็ก ที่เกิดมาและไม่เป็นที่ต้องการ รวมถึงไม่พยายามที่จะเข้าใจว่าปัญหาความไม่เป็นธรรมนั้น บางครั้งก็ส�ำคัญกว่า ปัญหาศีลธรรม หรือ การมองปัญหาแบบตีตราเหยือ่ (Gonçalves, Souza, Tavares, Cruz, & Béhague, 2011; Wright, Cullen, & Miller, 2001) เมื่อแนวคิดเหล่านี้ อธิบายว่า การตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการนั้นเป็นปัญหา แนวคิดเหล่านั้นก็พยายามที่จะ อธิบายสาเหตุของปัญหาตามตรรกะของแนวคิดที่ก�ำกับอยู่ ในที่นี้จะยกตัวอย่าง การศึกษาในเชิงทบทวน วรรณกรรมและวิเคราะห์สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย อย่างเป็นระบบของโครงการประเมิน เทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพที่ด�ำเนินการ โดย ศรีเพ็ญ ตัสติเวส และคณะ ซึ่งวิเคราะห์ว่า การตั้งครรภ์ ของวัยรุน่ มีความสัมพันธ์กบั ก. ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น วัยรุน่ ทีไ่ ม่มกี ารศึกษาหรือการศึกษาน้อยกว่ามักจะแต่งงาน เร็วกว่า การไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทางเพศและวิธีการคุมก�ำเนิดจะตั้งครรภ์มากกว่า วัยรุ่นที่ใช้สารเสพ ติดมักจะมีโอกาสตั้งครรภ์มากกว่า ข. ปัจจัยด้านครอบครัวของวัยรุ่น วัยรุ่นที่มีครอบครัวที่อบอุ่น สัมพันธภาพที่ ดี มีความเข้มงวดในครอบครัว และการอบรมให้รักนวลสงวนตัว จะตั้งครรภ์น้อยกว่าครอบครัวที่ไม่มีลักษณะดัง กล่าว และวัยรุ่นในครอบครัวขยายจะตั้งครรภ์น้อยกว่าเนื่องจากมีญาติช่วยดูแลความประพฤติ อย่างไรก็ตาม หากศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยครอบครัวพร้อมกัน ปัจจัยครอบครัวมีความสัมพันธ์กบั การตัง้ ครรภ์นอ้ ยลง ค. ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น การคบเพื่อนที่ชักชวนให้มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม สื่อเทคโนโลยีและสิ่ง ยั่วยุ และปัจจัยทางวัฒนธรรมบางวัฒนธรรมเช่นวัฒนธรรมในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือสัดส่วน การแต่งงานในเด็กอายุน้อยจะสูงกว่าภาคอื่น (ศรีเพ็ญ ตัสติเวส และคณะ, 2556)

28

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


การศึกษาดังกล่าวอธิบายว่า การตั้งครรภ์ไม่พร้อมหรือไม่เป็นที่ต้องการนั้น มีสาเหตุจากลักษณะของ เด็กหรือเป็นความผิดของแม่ที่ไม่มีการศึกษา และไม่ได้อธิบายว่า ท�ำไมแม่ถึงมีการศึกษาน้อย หรือท�ำไมสังคมจึง ไม่สามารถให้การศึกษากับผูห้ ญิงให้มาก ดี เป็นธรรม และทัว่ ถึง รวมทัง้ ไม่ได้เริม่ ค�ำถามการวิจยั ด้วยการไม่กล่าว โทษ ไม่ตีตรา หรือ ลงโทษผู้หญิง ดังนั้น ข้อเสนอแนะส่วนใหญ่จึงกระตุ้นให้สังคมปราศจากความเห็นใจ ใช้วิธี การควบคุม ลงโทษ กล่าวโทษ และไม่สนับสนุนให้แม่รวมถึงเด็กที่ไม่มีใครต้องการให้ได้รับการดูแล สนับสนุนใน ทรัพยากรต่างๆที่มีความขาดแคลน (Unmet needed) จากทุกระบบในสังคม อาทิ โรงเรียน สถานพยาบาล ครอบครัว อย่างเต็มที่ จนเป็นการสร้างความไม่เป็นธรรมให้กบั ผูห้ ญิงทีท่ อ้ ง และเด็กทีเ่ กิดมา แต่ไม่เป็นทีต่ อ้ งการ (Vrijheid et al., 2012) ท�ำนองเดียวกันปัจจัยด้านครอบครัวที่อบอุ่น สัมพันธ์ภาพที่ดี และการขัดเกลา อบรมที่เข้มงวดของ ครอบครัวขยาย จะก�ำหนดให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมน้อยกว่าครอบครัวที่อบอุ่นนั้น เป็นการมองที่กล่าวโทษ ครอบครัวที่อ่อนแออีกเช่นกันว่า เป็นความผิดของครอบครัวที่อ่อนแอ โดยไม่เห็นว่า ครอบครัวที่อ่อนแอก็เป็น เหยื่อของสังคมแบบทุนนิยม ที่ท�ำลายครอบครัวเกษตรกรรม ซึ่งเคยพึ่งพาตนเองได้ มาเป็นครอบครัวเดี่ยวใน เมืองที่พึ่งพารายได้จากโรงงานอุตสาหกรรม หรือธุรกิจภาคบริการ ที่เอาเปรียบเกินเวลาของครอบครัวไป พร้อม กับให้รายได้น้อยจนไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงครอบครัวโดยไม่เป็นหนี้สิน ครอบครัวเหล่านี้จึงไม่มีทางที่จะมีความ อบอุ่นมีเวลาให้กับลูกได้อย่างเต็มที่ และไม่มีรายได้มากพอที่จะเลี้ยงสมาชิก (Kerr, 2004) ส่วนค่านิยมรักนวลสงวนตัวนัน้ ก็เป็นค่านิยมของระบบชายเป็นใหญ่ ทีค่ อยหาประโยชน์ทางเพศของ ผู้หญิงที่ยังหลงเหลืออยู่ เมื่อใดก็ตามที่ผู้ชายได้พรหมจรรย์ของผู้หญิง ก็ถือเป็นชัยชนะของผู้ชาย และเป็นการ ตีตราผูห้ ญิงทีเ่ ป็นเหยือ่ เด็กทีพ่ อ่ แม่ไม่มเี วลาให้และไม่มรี ายได้มากพอ เพราะต้องท�ำงาน จึงเป็นเหยือ่ ของระบบ ชายเป็นใหญ่ได้ง่าย ดังนั้น ทั้งผู้หญิงที่ท้องและครอบครัว ต่างเป็นเหยื่อของเศรษฐกิจทุนนิยม และมายาคติของ ผู้ชาย ซึ่งเป็นสังคมที่ไม่เป็นธรรมและไม่เป็นธรรมกับผู้หญิงด้วย (McGlade, 2012) ส่วนประเด็นทีส่ าม คือ ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม เช่น การคบเพือ่ น สือ่ เทคโนโลยีทยี่ วั่ ยุ และวัฒนธรรม ของภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ผู้คนแต่งงานในอายุน้อยนั้นก็เช่นกัน เป็นการมองที่สังคมมากขึ้น แต่ ไม่อธิบายว่า เพื่อนที่ชักชวนกันนั้น ก็เป็นเพื่อนที่มีปัญหา ซึ่งพ่อแม่ไม่มีเวลาดูลูกเหมือนกัน เมื่อไม่มีพ่อแม่ เด็ก ก็ต้องการเพื่อน โดยเฉพาะในสังคมเมืองที่มีความเป็นตัวใครตัวมันสูง ส่วนสื่อและเทคโนโลยีที่ยั่วยุนั้นก็เช่นกัน ต่างเป็นผลผลิตของอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ในสังคมทุนนิยม ที่แสวงหาก�ำไรจากเรื่องเพศสัมพันธ์ ดังนั้น เด็กที่ บริโภคสื่อดังกล่าวจึงเป็นเหยื่อ เป็นผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือ การคุ้มครองจากสังคม รวมถึงประเด็น วัฒนธรรมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือทีม่ กี ารแต่งงานอายุนอ้ ยนัน้ ก็อาจเป็นประเด็นทางวัฒนธรรม ที่ไม่ได้มองว่าการมีเพศสัมพันธ์เร็วเป็นปัญหา เพราะว่าเป็นสังคมเกษตรที่เพิ่งผ่านการตายของเด็กสูงและการมี ลูกมากมาไม่นาน (Medina et al., 2015) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม แนวคิดและกรอบในการวิจัย

29


ส�ำหรับการศึกษาประเด็นการเป็นลูกก�ำพร้า หรือ เด็กที่ถูกทอดทิ้งเร่ร่อนนั้น การศึกษาว่าเด็กเหล่านี้มี ประสบการณ์ความทุกข์อย่างไรนั้น มักเป็นการศึกษาในแนวคิดเพื่อจะรักษาหรือสงเคราะห์เป็นหลัก ทั้งการที่ แสดงให้เห็นว่าเด็กขาดหรือต้องการอะไร และการเสนอแนะให้เจ้าหน้าที/่ ผูป้ กครองของสถานสงเคราะห์ควรท�ำ อย่างไรบ้าง ถึงแม้ว่าเนื้องานเหล่านั้น จะแสดงหรือมีประเด็นการตีตรา การอคติ และการเลือกปฏิบัติอยู่ก็ตาม แต่การตีความหรือข้อเสนอแนะนัน้ มิได้มงุ่ ไปทีก่ ารชีใ้ ห้เห็นว่า ปัญหานีเ้ ป็นปัญหาของความไม่เป็นธรรมทีม่ าจาก ความไม่เป็นธรรมทางสังคม ที่จะต้องแก้ไขเพื่อลดความไม่เป็นธรรมทางสังคมที่เกิดกับเด็กก�ำพร้า (McGlade, 2012) เพื่อเพิ่มความรู้และมุมมองใหม่ ในประเค็นความไม่เป็นธรรมในปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ไม่เป็นที่ ต้องการ และการเป็นเด็กที่ไม่เป็นที่ต้องการ รวมทั้งและการแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมจากการเริ่มต้นที่ไม่ เท่ากัน ดังนั้น การศึกษานี้จึงใช้มุมมอง “ความไม่เป็นธรรมทางสังคมจากแนวคิดความสัมพันธ์หญิงชายที่ชายมี อ�ำนาจเหนือหญิง และเศรษฐกิจแบบทุนนิยมแบบโลกาภิวัตน์” มาใช้เป็นกรอบในการศึกษาซึ่งจะกล่าวต่อไป

2. แนวคิดและกรอบในการวิจัย การศึกษานี้ใช้แนวคิด ความไม่เป็นธรรมทางสังคมที่เน้น ทุนนิยมชายเป็นใหญ่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึง ความ สัมพันธ์เชิงอ�ำนาจระหว่างหญิงชาย (gender relations / gender power) และ โลกาภิวัตน์ (globalization) เป็นกรอบในการวิจัย เพื่ออธิบายปัญหาต่างๆ

ความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจระหว่างหญิงชาย

ผูช้ ายสร้างอ�ำนาจให้กบั ตนเอง ผ่านการใช้รา่ งกายทีม่ กี ำ� ลังเหนือกว่าผูห้ ญิง และการไม่มขี อ้ จ�ำกัดทาง ชีวภาพที่ผู้หญิงมี คือ ผู้หญิงต้องตั้งครรภ์และเลี้ยงลูก ซึ่งท�ำให้ผู้หญิงพึ่งพาตัวเองไม่ได้ หรือ ได้น้อยระหว่างตั้ง ครรภ์และให้นมลูก ท�ำให้ผู้หญิงต้องพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากผู้ชาย เมื่อร่างกายอ่อนแอกว่าและต้องพึ่งพา เศรษฐกิจจากผู้ชาย ผู้หญิงจึงต้องยอมท�ำตามความต้องการของผู้ชาย จนเป็นสังคมที่ชายมีอ�ำนาจเหนือกว่า สังคมชายเป็นหลักนี้ ยังก�ำหนดชีวิตผู้หญิงและผู้ชายทุกอย่างว่าควรท�ำอะไร และต้องท�ำอย่างไร ซึ่งท�ำให้ชายมี อ�ำนาจเหนือผู้หญิง เช่น มีผลท�ำให้ผู้ชายเป็นผู้น�ำท�ำงานนอกบ้าน ผู้หญิงเป็นผู้ตามและท�ำงานดูแลครอบครัวทุก คนในบ้าน นอกจากการอธิบายอ�ำนาจของผู้ชายผ่านร่างกายที่แข็งแรงและการพี่งพิงทางเศรษฐกิจจากผู้ชาย ยังอาจอธิบายว่า ผู้หญิงต้องเชื่อฟัง เพราะการที่ภาษาหรือวาทกรรมแบบชายเหนือกว่า ที่แบ่งเพศออกเป็นสอง

30

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


เพศคือ ชาย และ หญิง อ�ำนาจของภาษาที่ให้ความส�ำคัญกับผู้ชาย ท�ำให้ผู้ชายมีอ�ำนาจเหนือผู้หญิง สามารถ แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองพื้นที่ คือ นอกบ้านเป็นของผู้ชาย และในบ้านเป็นของผู้หญิง และให้บทบาทอ�ำนาจของ ผู้ชายในการเป็นผู้น�ำ ก้าวร้าว รุกราน และ ให้บทบาทของผู้หญิงในการเป็นผู้ตาม อ่อนโยน และรองรับ ในอดีตหรือในบางสังคม เช่น สังคมการเกษตร ผู้หญิงต้องพึ่งพาผู้ชายในเชิงเศรษฐกิจ การที่ชายแข็ง แรงกว่า และวาทกรรมที่ให้ความส�ำคัญกับผู้ชาย ท�ำให้เกิดระบบอ�ำนาจของชายที่เหนือผู้หญิง ผลที่พบก็คือ ผู้ หญิงถูกจ�ำกัดบทบาทหน้าที่ ให้ท�ำบทบาทของผู้ดูแล เลี้ยงดู ให้ความอบอุ่นกับคนในครอบครัว ผู้หญิงต้อง วางตัวแบบกุลสตรี ซึ่งมีผลท�ำให้ผู้ชายเป็นเจ้าของเพศสัมพันธ์ พรหมจรรย์ การแต่งงาน การตั้งครรภ์ การมีบุตร และการเลี้ยงดูบุตรด้วย ผู้หญิงต้องเป็นผู้ให้ความสุขด้านเพศสัมพันธ์กับสามี ผู้หญิงถูกจ�ำกัดให้อยู่ในบ้านเป็น หลัก และสิ่งที่ผู้หญิงต้องท�ำในบ้านก็คือ การท�ำทุกอย่างตั้งแต่การเลี้ยงลูกอ่อน การให้การศึกษากับลูก การหา อาหารให้ทุกคนในครอบครัว การท�ำความสะอาดบ้าน การดูแลเครื่องนุ่งห่มเครื่องนอน การดูแลสมาชิกใน ครอบครัวทั้งการเจ็บป่วย การให้การศึกษาเบื้องต้นหรือการขัดเกลาทางสังคมหรือการให้ความอบอุ่นกับลูกที่ ก�ำลังเติบโตมา เป็นต้น ผู้หญิงเหล่านี้ยังต้องท�ำหน้าที่ในการผลิตหรือหารายได้เสริมอีกด้วยเช่น การทอผ้าไว้ใช้ เอง การเก็บอาหารการเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกพืชผักสวนครัว ยิ่งไปกว่านั้นยังต้องต้องเป็นแรงงานหลักในการ ผลิตของครอบครัวเคียงข้างสามีหรือผู้ชายด้วย เช่น การท�ำนา การท�ำไร่ที่ต้องออกไปหว่านข้าวด�ำนา และเกี่ยว ข้าวเช่นเดียวกับผู้ชาย ในขณะที่งานในบ้านนั้นผู้ชายไม่ต้องท�ำ หรือมีสถานะเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือท�ำก็ได้ ไม่ท�ำ ก็ได้ (Calasanti & Bailey, 1991) เมื่อสังคมเปลี่ยนจากสังคมประเพณีและสังคมเกษตร มาเป็นสังคมแบบประชาธิปไตย หรือ สังคม โลกาภิวัตน์ ผู้หญิงได้รับสิทธิทางการเมืองเท่ากับผู้ชาย ผู้หญิงได้รับโอกาสทางการศึกษาเท่ากับชาย มายาคติ เกี่ยวกับอ�ำนาจของชายลดน้อยลง แม้ยังมิได้หายไป แต่ก็ยังมีอ�ำนาจและบทบาทเหนือผู้หญิงในรูปแบบใหม่ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงในสังคม ขณะเดียวกันระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมข้ามชาติ ก็เข้ามาเปลี่ยน ระบบเศรษฐกิจ ให้พึ่งพาต่างประเทศมากขึ้น ท�ำให้ต้องท�ำงานนอกบ้านเพิ่มมากขึ้น และผู้หญิงเองก็ถูกดึง หรือ ผลักออกไปท�ำงานนอกบ้านมากขึ้น ผู้หญิงได้รับการศึกษามากขึ้น มีงานท�ำเป็นตัวของตัวเอง ผู้หญิงก็เริ่มพึ่งพา ตัวเองได้มากขึน้ และมายาคติทใี่ ห้อำ� นาจเหนือกว่ากับผูช้ ายเริม่ น้อยลง หรือเปลีย่ นไปแนบเนียนมากขึน้ (Priola, 2010; Walby & Walby, 2009)

บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม แนวคิดและกรอบในการวิจัย

31


โลกาภิวัตน์

ในด้านเศรษฐกิจ สังคมดั้งเดิมมีการผลิตโดยครอบครัว เพื่อตอบสนองความต้องการของครอบครัว ครอบครัว จึงมีลูกมากเพื่อตอบสนองความต้องการแรงงาน และความมั่นคงของครอบครัว การแบ่งงานกันท�ำ ในครอบครัวเกษตร จึงเป็นการที่ผู้ชายท�ำงานการผลิตที่หนักเป็นหลัก และผู้หญิงท�ำงานบ้าน งานผลิตลูกหรือ แรงงานรวมทั้งการเลี้ยงดูลูกด้วย และก็ท�ำงานการผลิตที่เป็นงานเบาด้วย เนื่องจากการผลิตท�ำโดยผู้ชายเป็น หลัก ดังนั้น ผลการผลิตทั้งปวงจึงเป็นของผู้ชายมิใช่ผู้หญิง หรืออ�ำนาจจึงอยู่ที่ผู้ชายที่เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ท�ำ หน้าที่รับผิดชอบหลักในการหาเลี้ยงครอบครัว ต่อมา มีการเปลีย่ นแปลงของระบบเศรษฐกิจโลกทีม่ พี ลวัตทีส่ งู มากจากต่างประเทศ ได้เข้ามามีบทบาท เหนือ หรือ เปลีย่ นระบบเศรษฐกิจในครัวเรือน ให้มาเป็นส่วนหนึง่ ของ/ต้องพึง่ พาเศรษฐกิจระดับประเทศ ระดับ ภูมิภาค และระดับโลกอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมา จนได้ชื่อว่าเป็น “เศรษฐกิจระบบ โลกาภิวัตน์” พลวัตเหล่านี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง สร้างผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม รุนแรง คือ การหมุนเอาเงินทรัพยากรและอ�ำนาจเข้าไว้ในศูนย์กลาง ท�ำให้ประเทศและกลุม่ คนทีอ่ ยูช่ ายขอบสูญ เสียความสมดุล หรือ ได้รับความไม่เป็นธรรม รวมทั้งความไม่สมดุลในครอบครัวอีกด้วย กล่าวคือ เศรษฐกิจโลก ท�ำให้ครอบครัวสูญเสียการผลิตภายในและลดลงอย่างรวดเร็ว แรงงานในครอบครัวกลายเป็นแรงงานไร้ทกั ษะใน เมือง เมือ่ เศรษฐกิจครอบครัวล่มสลาย ผูห้ ญิงก็จำ� เป็นต้องออกจากเศรษฐกิจครอบครัว และย้ายถิน่ เข้าเมืองเป็น แรงงานไร้ทักษะในเมืองเช่นเดียวกับผู้ชาย ยิง่ ไปกว่านัน้ การล่มสลายของครอบครัวนัน้ หมายถึง การท�ำหน้าทีต่ า่ งๆ ของครอบครัวก็ลดลงด้วย เช่น หน้าทีข่ ดั เกลาเข้าสูอ่ าชีพชาวนาก็หมดไป เด็กเรียนรูส้ งั คมสมัยใหม่จากโรงเรียน หน้าทีใ่ นการขัดเกลาและควบคุม ทางสังคมก็ลดน้อยลง เป็นต้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ระบบเศรษฐกิจโลกปลดปล่อยผู้หญิงออกจากครอบครัว ขยายในสังคมเกษตร ให้เป็นแรงงานอิสระของครอบครัวเดี่ยวในเมือง ที่ต้องพึ่งพาค่าจ้างรายวันจากนายจ้าง เริ่มปลดปล่อยผู้หญิงออกจากค่านิยมชายเป็นใหญ่ แต่อาจต้องตกอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยมมากขึ้น ปลดปล่อยผู้ หญิงออกจากเพศสัมพันธ์ที่เคยถูกควบคุมอย่างหนาแน่นของผู้ชาย แต่อาจกลายเป็นการถูกควบคุมโดยทุนนิยม โลกาภิวัตน์แทน

32

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


ความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจระหว่างหญิงชายในสังคมโลกาภิวัตน์

ในบริบทของการเปลี่ยนผ่าน ที่ผู้หญิงยังไม่รู้ถึงสิทธิหรือสุขภาพทางเพศที่แท้จริง ผู้หญิงจึงถูกผู้ชายเอา เปรียบเรื่องเพศสัมพันธ์ ที่อิสระจากการดูแลของครอบครัวของผู้หญิง ครอบครัวของพ่อแม่ที่ถูกเอาเปรียบจาก ระบบเศรษฐกิจที่ต้องท�ำงานเกินเวลาจนไม่มีเวลามาดูแลลูก ความไม่รู้สิทธิและการที่ครอบครัวไม่มีเวลา ท�ำให้ผู้ หญิงมีเพศสัมพันธ์ได้ง่ายเร็ว หรือ และเปลี่ยนแปลงง่ายกว่าสังคมเดิม อย่างไรก็ตามค่านิยมชายเป็นใหญ่ยังไม่หมดไป ดังนั้น การป้องกันการตั้งครรภ์ จึงถูกผลักภาระอย่าง ไม่เป็นธรรมให้เป็นหน้าที่ของผู้หญิงแต่เพียงฝ่ายเดียว เช่นเดียวกับการตั้งท้อง การตัดสินใจว่าจะเก็บลูกไว้หรือ ไม่ การจะเลี้ยงลูกอย่างไร รวมทั้งการรับผิดชอบลูกหรือสร้างครอบครัวใหม่ด้วยกัน ฯลฯ ในภาวะที่ผู้หญิงยัง เด็กหรือเรียนหนังสือหรือต้องท�ำงาน หรือไม่มีรายได้ หรือรายได้น้อย หรือไม่มีครอบครัวพ่อแม่หรือครอบครัว ขยายที่จะดูแลตนและลูกที่จะเกิดมาของตน รวมถึงการทอดทิ้งหรือไม่รับผิดชอบของแฟนหรือสามีด้วย ดังนั้น การตัง้ ท้องจึงเป็นการตัง้ ท้องทีไ่ ม่ตอ้ งการ หากการตัง้ ครรภ์ดงั กล่าวไม่เป็นทีต่ อ้ งการ นอกจากแม่จะมีความทุกข์ แล้ว เด็กที่เกิดมาจึงได้รับความทุกข์และความไม่เป็นธรรมไม่สามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้โดยปริยาย จากอ�ำนาจ ที่เหนือกว่าของผู้ชายและการเอาเปรียบของระบบเศรษฐกิจ (Marchand, Rees, & Riezman, 2011a, 2011b; Voy, 2012)

เด็กที่เกิดมา แต่ไม่มีใครต้องการ

เด็กที่ไม่เป็นที่ต้องการนั้น บางส่วนอาจถูกฆ่า หรือ ปล่อยให้เสียชีวิตหลังคลอด ถูกเอาไปทิ้งเพื่อให้คน อืน่ น�ำไปเลีย้ งดู ถูกส่งมอบให้กบั บ้านทีร่ บั เลีย้ งเด็กทีพ่ อ่ แม่ไม่ตอ้ งการหรือไม่มพี อ่ แม่ ให้ญาติไปเลีย้ ง หรือแม่ตอ้ ง เลี้ยงดูเองตามล�ำพังก็ตาม เด็กที่รอดชีวิตและไม่เป็นที่ต้องการนั้น ต้องประสบกับความทุกข์อย่างยิ่ง เพราะ ว่าในวัยเด็กนัน้ เป็นวัยทีต่ อ้ งพึง่ พิงผูอ้ นื่ เพือ่ จะมีชวี ติ รอดได้นนั้ เป็นช่วงเวลาทีร่ า่ งกายสมองจิตใจและสังคมก�ำลัง พัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ได้รบั การพัฒนา เช่น การขาดอาหาร การขาดความรักและการอุม้ ชู ขาดการดูแลความ ปลอดภัยและป้องกันการเจ็บป่วย ขาดการพัฒนาบุคลิกภาพและทักษะการใช้ชีวิตในสังคม เป็นต้น ซึ่งท�ำให้ไม่ สามารถแข่งขันได้อย่างเป็นธรรม ไม่มีการศึกษาที่สูง และอาชีพที่ดี ยิ่งไปกว่านั้น เด็กเหล่านี้ยังถูกสังคมตีตรา ว่าเป็นเด็กก�ำพร้า ไม่มีใครต้องการ ซึ่งอาจหมายความว่า การเป็นเด็กก�ำพร้านั้นเป็นคนที่ไม่ปกติ อันตราย และ น�ำไปสูก่ ารเลือกปฏิบตั หิ รือกีดกัน การตีตราการกีดกันการเลือกปฏิบตั ิ ซึง่ นอกจากจะเป็นการท�ำร้ายเด็กบริสทุ ธิ์ ซึ่งต้องเกิดมาเป็นผู้ไม่มีใครต้องการ ส�ำหรับครอบครัว สถาบันรับเลี้ยง สถานศึกษา สถานพยาบาล ที่ท�ำงาน และชุมชน ก็ล้วนแล้วแต่อ่อนแอ อันเนื่องจากการกดขี่ของระบบเศรษฐกิจโลก ความคับแค้นใจ น้อยใจ ต่อ สังคมและตนเอง อาจกระตุน้ ให้เกิดความผิดหวังและอาจน�ำไปสูก่ ารติดยาเสพติด หรือน�ำไปสูค่ วามรุนแรงย้อน กลับไปที่สังคมด้วย และแม้ว่าเด็กบางคนอาจมีครอบครัวหรือเครือญาติ ที่ได้รับเลี้ยงไว้ด้วยความรักก็ตาม แต่ ครอบครัวหรือเครือญาติ ก็อาจไม่สามารถทุ่มเทเวลาหรือทรัพยากรให้กับเด็กนั้นได้ ดังนั้นเด็กนั้นก็กลายเป็น ภาระของผู้คนรอบข้าง และน�ำไปสู่ความรุนแรงต่อไป (Carson, 2009; Heimer & De Coster, 1999)

บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม แนวคิดและกรอบในการวิจัย

33


Picture Credit: บางมดคลาสสิคคลับ

34

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


3. ระเบียบวิธีวิจัย

เพือ่ ตอบค�ำถามว่า การไม่ตอ้ งการเด็ก หรือ การเป็นเด็กทีไ่ ม่มใี ครต้องการนัน้ เกีย่ วข้องกับความไม่เป็น ธรรมทางสังคมอย่างไร ระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์หรือระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโลก และความสัมพันธ์เชิง อ�ำนาจทีช่ ายมีอำ� นาจเหนือหญิง กระท�ำผ่านสถาบันครอบครัว ท�ำหน้าทีค่ วบคุมสถาบันหรือระบบต่างๆในสังคม ได้แก่ ระบบเพศสัมพันธ์หรือเพศวิถี ระบบการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนลูก ระบบการรักษาพยาบาลเมื่อเด็กเจ็บป่วย การผลิตทัง้ ในบ้านและการท�ำงานนอกบ้าน และการศึกษาในบ้านและนอกบ้านนัน้ ท�ำงานอย่างไร รูปแบบการ วิจยั เชิงคุณภาพจึงถูกน�ำมาใช้ เพือ่ ศึกษาผูห้ ญิงหรือแม่ของเด็กทีไ่ ม่มใี ครต้องการ และศึกษาเด็กทีไ่ ม่มใี ครต้องการ ดังนี้

1. ศึกษาผู้หญิงหรือแม่ของเด็กที่ไม่มีใครต้องการ จ�ำนวน 50 คน โดยมีเกณฑ์การเลือกดังนี้ ก. แม่ที่เคยมีประสบการณ์ตั้งครรภ์ มีบุตรที่ไม่ต้องการหรือไม่พร้อม เช่น เคยคิด ท�ำแท้ง แสวงหาการท�ำแท้ง หรือ ไม่ต้องการเด็ก หรือ แม่ที่ทอดทิ้งลูกให้อยู่กับบ้านหรือ ญาติพี่น้องเพื่อไปท�ำงาน ข. เป็นแม่ที่มีบุตรที่ไม่ต้องการนั้นมีอายุไม่เกินสิบสองปี หรือ เรียนอยู่ชั้นประถม ศึกษา บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

35


ค. ไม่จ�ำกัดพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของแม่ แต่อย่างไรก็ตามพบว่า กรณี ตัวอย่างที่ได้มา มีแนวโน้มที่จะเป็นแม่ผู้ใช้แรงงานเกือบทั้งหมด การได้มาซึ่งแม่ที่ไม่ต้องการลูกนี้ ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ใช่้วิธีการเลือกแบบเจะจง โดยใช้วิธีการ เลือกแบบลูกโซ่ (Snow-ball sampling) โดยการเริ่มต้นจากผู้เกี่ยวข้องพื้นฐาน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขชุมชน เจ้าหน้าทีร่ ฐั ทีเ่ กีย่ วข้อง ได้แก่ ครู เจ้าหน้าที่ พัฒนากร เจ้าหน้าทีอ่ งค์กรพัฒนาเอกชน ที่ท�ำงานเกี่ยวข้อง ช่วยประสาน และสอบถามความสมัครใจของผู้ให้ข้อมูล พื้นที่เก็บข้อมูล เป็นพื้นที่อยู่ชายขอบของระบบทุนนิยม คือ จังหวัดน่าน แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และ เชียงราย และพื้นที่ศูนย์กลางระบบทุนนิยมโลก คือ กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่การท�ำงานของพ่อ แม่ทตี่ อ้ งจากลูกมาท�ำงาน เป็นพืน้ ทีเ่ น้นหนัก การเก็บข้อมูลด�ำเนินการโดยนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาสังคม และสุขภาพ ซึ่งมีประสบการณ์ ในการเก็บข้อมูลวิจัยทั้งปริมาณและคุณภาพ ประเด็นเกี่ยวกับครอบครัว ผู้หญิง มาแล้ว ผู้ให้ข้อมูลจะได้รับการชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบข่ายของข้อมูลหรือค�ำถาม สิทธิของผู้ให้ ข้อมูลในทุกด้าน ส่วนการบริหารข้อมูล การวิเคราะห์ และการน�ำเสนอผลการวิจัย อยู่บนฐานการคุ้มครองสิทธิ ของผู้ให้ข้อมูลทุกประการ ดังนั้นชื่อของผู้ให้ข้อมูลในรายงานวิจัย จึงเป็นชื่อสมมุติทั้งสิ้น ค�ำถามหลักที่ถามแม่ ที่ไม่ต้องการลูกเป็นค�ำถามเกี่ยวกับประสบการณ์ในการมีเพศ ค�ำถามหลักส�ำหรับแม่ที่ไม่ต้องการลูก เป็นค�ำถามเกี่ยวกับประสบการณ์ต่างๆ ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ การคุมก�ำเนิด การท้องและการยุติการตั้งครรภ์ การคลอดลูกและการเลี้ยงลูก และการทิ้งลูกไว้กับผู้อื่น โดยการ ถามในแต่ละในแต่ละประเด็น เป็นการถามเชื่อมโยงถึงความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แฟนหรือสามี พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ภายใต้ บริบทการท�ำงาน หรือ การหารายได้

2. ศึกษาเด็กที่ไม่มีใครต้องการ จ�ำนวน 70 คน โดยมีเกณฑ์คัดเลือก ดังนี้

36

ก. เป็นเด็กไม่จ�ำกัดเพศ เพศสภาพ ที่มีอายุสิบปีจนถึงยี่สิบปี

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


ข. เป็นเด็กที่พ่อแม่ไม่ต้องการ และเด็กมีความรู้สึกว่า ตนเองนั้นไม่เป็นที่รัก หรือ ที่ ต้องการของพ่อแม่เช่น ถูกพ่อแม่ทอดทิ้งไปท�ำงาน พ่อและ/หรือแม่แยกทางกันเดิน การเป็น เด็กที่ต้องอาศัยในสถาบันสงเคราะห์ดูแลเด็ก เป็นต้น เด็กทีไ่ ม่เป็นทีต่ อ้ งการของพ่อแม่เหล่านี้ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ใช้ การเลือกแบบลูกโซ่ (Snowball sampling) โดยเริ่มต้นจากผู้ที่เกี่ยวข้องพื้นฐาน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน เจ้าหน้าทีข่ องรัฐทีเ่ กีย่ วข้อง และเจ้าหน้าทีข่ ององค์กรพัฒนาเอกชนทีท่ ำ� งานเกีย่ วข้องกับเด็กทีช่ ว่ ยประสานและ สอบถามความสมัครใจของผูใ้ ห้ขอ้ มูล เด็กเหล่านีอ้ ยูพ่ นื้ ทีก่ ารเก็บข้อมูลเดียวกับแม่ทไี่ ม่ตอ้ งการลูก และการเก็บ ข้อมูลท�ำโดยนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาสังคมและสุขภาพ เนื่องจากผู้ให้ข้อมูลเป็นเด็ก แม้บางคนจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม นักวิจัยได้ใช้ความพยายามอย่าง สูง ในการทีจ่ ะเข้าถึงเด็กเพือ่ สร้างความเข้าใจ และความไว้เนือ้ เชือ่ ใจเป็นระยะเวลาพอสมควร ก่อนทีจ่ ะเก็บข้อมูล จริง ในการเก็บข้อมูล จะด�ำเนินการหลายครั้ง และแต่ครั้งจะใช้เวลาไม่นานนัก ผู้ให้ข้อมูลและผู้ปกครองหรือ ผู้ดูแลสถาบันที่ดูแลเด็กก็เช่นเดียวกัน จะได้รัการชี้แจงความเป็นมา วัตถุประสงค์ ขอบเขต และวิธีการด�ำเนิน งาน ขอบข่ายของข้อมูลหรือค�ำถาม สิทธิของผู้ให้ข้อมูลในทุกด้าน การบริหารข้อมูล การวิเคราะห์ และการน�ำ เสนอผลการวิจัย จะอยู่บนการคุ้มครองสิทธิของผู้ให้ข้อมูลทุกประการ ค�ำถามหลักส�ำหรับเด็ก ประกอบด้วย เรื่องราวของครอบครัว ปัญหาต่างๆ การอยู่อาศัย อยู่กับใครมา บ้าง และเป็นระยะเวลาเท่าไร ท�ำไมจึงไม่อยู่กับพ่อและแม่ คิดว่าตนเองถูกทอดทิ้งหรือไม่ ท�ำไมจึงถูกทอดทิ้ง หรือต้องเปลี่ยนผู้ปกครอง ปัญหาหรือความกังวลที่เกิดขึ้นกับเด็กทั้งในครอบครัวในโรงเรียน หรือ เมื่อเจ็บป่วย และการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ว่าท�ำอย่างไร

การวิเคราะห์ขอ้ มูล ใช้โปรแกรมวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงคุณภาพ ช่วยบริหารข้อมูลเพือ่ ตอบค�ำถามหลักๆของ การวิจัย คือ ประสบการณ์และรูปแบบของของการทิ้งลูก การเป็นเด็กที่ไม่ต้องการซึ่งเริ่มจากการมีเพศสัมพันธ์ การคุมก�ำเนิด การจัดการเมื่อทราบว่าท้อง การคลอดลูกและการเลี้ยงลูกจากประสบการณ์ของแม่และของลูก และการวิเคราะห์เชือ่ มโยงการทอดทิง้ ลูก หรือ การเป็นเด็กทีถ่ กู ทอดทิง้ กับการท�ำงานของพ่อแม่ในระบบทุนนิยม โลก ในระบบชายเป็นใหญ่ ทีเ่ กิดขึน้ ในครอบครัวโดยเฉพาะพ่อ ปูย่ า่ ตายาย และโรงเรียน ทีป่ ระกอบไปด้วยเพือ่ น และครู เป็นต้น

บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

37


Picture Credit: R-Hlue Phulangka

38

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


4. ผลการศึกษา

ผลการศึกษาในส่วนนี้แสดงให้เห็นว่า ในแง่ประสบการณ์ของแม่นั้น แม่เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะไม่ ต้องการลูกตั้งแต่ในขณะการมีเพศสัมพันธ์ เพศสัมพันธ์ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสืบเผ่าพันธ์ุ เพศสัมพันธ์เกิด จากตัณหาราคะ การถูกบังคับ ความผิดพลาดต่างๆ แต่ก็ไม่ได้มีการใช้การคุมก�ำเนิดต่างๆจริงจัง ผู้หญิงจึงตั้ง ครรภ์ และเมื่อทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ แม่ก็ไม่ต้องการลูก บางรายก็จ�ำยอมรับการท้องของตน บางรายคิด และลงมือท�ำแท้ง จนกระทั้งเมื่อแม่คลอดลูก และแม่ต้องไปจากหรือทิ้งลูกไปท�ำงานในถิ่นอื่น ท�ำนองเดียวกันกับประสบการณ์ของลูก ลูกก็พบว่า ตนเองถูกท�ำให้เป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการ ความ รู้สึกนี้เกิดขึ้นในช่วงต่างๆของชีวิต เช่น การถูกพ่อแม่ทิ้งไปท�ำงาน พ่อแม่แยกทางกันเดิน การส่งเสียเลี้ยงดูของ พ่อแม่ และปู่ย่าตายายที่ไม่ต้องเลี้ยงดูพวกเขา เท�ำให้เด็กถูกขับไล่ใสส่ง ให้ช่วยเหลือตัวเอง ต้องไปอยู่วัด โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ เป็นต้น

บทที่ 4 ผลการศึกษา

39


การที่พ่อแม่ที่ต้องทอดทิ้งลูกเช่นนี้ เป็นปัญหาจากเหตุอะไร บางค�ำตอบคือ เพราะพ่อแม่ไม่ดี ไม่รักลูก ไม่มีศีลธรรม แต่โดยสถานการณ์ ชีวิตที่ต้องเผชิญกับความยากล�ำบาก ความไม่เป็นธรรมต่างๆในระบบที่กดทับ ความเป็นตัวตนและความต้องการของทั้งหญิงและชาย ความเห็นแก่ตัวของทุกคนทั้งระบบแข่งขันกันว่า ใครจะ มีมากกว่ากัน ใครจะมีความเป็นมนุษย์มากกว่ากัน การศึกษานี้จะแสดงให้เห็น ถึงความเป็นมนุษย์ ความ ต้องการของแม่และเด็ก ซึ่งต้องถูกก�ำหนดและบีบคั้นด้วย ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโลก และระบบความ สัมพันธ์แบบชายเป็นใหญ่ บังคับให้ทอดทิ้งลูก แม้รักลูกเพียงใดก็ตาม บังคับให้ต้องเห็นแก่ตัว แม้จะรู้สึกผิด บังคับให้ต้องเอาตัวรอด แม้เจ็บปวด ระบบทั้งสองโดยเฉพาะระบบทุนนิยมโลก ใช้ลูกและแม่เป็นตัวประกันให้ ระบบด�ำเนินต่อไป ด้วยความทุกข์และความเจ็บปวดของทุกคน ซึง่ การน�ำเสนอประเด็นต่างๆจะน�ำเสนอรวมกันไปทัง้ ประสบการณ์ของแม่และลูก เพือ่ แสดงให้เห็นความ ไม่ต้องการลูกของแม่ ที่น�ำไจะปสู่การเกิดของเด็กที่ไม่มีใครต้องการ รวมถึงสาเหตุให้เกิดปัญหาดังกล่าว และ จะน�ำเสนอในรายละเอียดประเด็นต่างๆ ดังนี้

หนึ่ง เซ็กส์ที่ไม่ต้องการลูก และ ท้องไม่พร้อม

สอง ประสบการณ์ของแม่ที่ต้องทอดทิ้งลูก : รูปแบบการทอดทิ้ง

สาม ประสบการณ์ของลูกที่ไม่มีใครต้องการ : รูปแบบการไม่มีใครต้องการ

สี่ พ่อ แม่ ลูก กับ ระบบเศรษฐกิจและงาน ที่บังคับให้ทอดทิ้งลูก

ห้า ความไม่เป็นธรรมทางสังคม ท�ำให้พ่อแม่ทอดทิ้งลูก และท�ำให้ลูกกลายเป็นเด็กไม่มีใครต้องการ

หก ปู่ย่า ตายาย กับความไม่ต้องการหลาน

เจ็ด แบบจ�ำลองความสัมพันธ์ระหว่างทุนนิยมโลกาภิว้ตน์กับเด็กที่ไม่มีใครต้องการ

หนึ่ง เซ็กส์ที่ไม่ต้องการลูก และ ท้องไม่พร้อม เริ่มต้นจากเซ็กส์ระหว่างหญิงชายที่ไม่ต้องการลูก อาจเกิดจากตัณหาราคะ ผู้ชายฉกฉวยโอกาส บังคับ ข่มขืน จนผู้หญิงตั้งครรภ์ เซ็กส์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อตั้งใจผลิตลูก แต่ไม่ได้มีการป้องกันการตั้งครรภ์ เด็กในท้อง ผู้หญิงจึงเป็นความผิดพลาด เป็นปัญหา ความวิตกกังวลของพ่อแม่ ครอบครัว ผู้หญิงอาจต้องแก้ไขปัญหาตาม ล�ำพัง อาจมีคนอืน่ ร่วมในการแก้ไขปัญหา ส่วนใหญ่พยายามท�ำแท้ง เช่น อาจท�ำแท้งด้วยตนเอง ท�ำแท้งในสถาน บริการ แต่ไม่สำ� เร็จ ผูห้ ญิงหรือแม่ของเด็กไม่อาจปฏิเสธเด็กในครรภ์ ไม่อาจหลีกเลีย่ งการตัง้ ครรภ์ทไี่ ม่ได้ตอ้ งการ ไม่พร้อมน้​้น ซึ่งท�ำให้”เด็ก” ในท้องแม่ถูกบุคคลรอบตัวเขา ปฏิเสธ ไม่ได้รับการยอมรับ ดูแล กล่าวได้ว่า ไม่ได้ รับความเป็นธรรมตั้งแต่ พวกเขาปฏิสนธิในครรภ์แม่ 40

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


ในส่วนนี้น�ำเสนอ ประสบการณ์ความไม่ต้องการลูกของแม่ ซึ่งจะน�ำเสนอความรู้สึกและความต้องการ ของแม่ นับตั้งแต่การมีเพศสัมพันธ์ หรือ เซ็กส์ ที่ไม่ต้องการลูก การไม่ใช้การคุมก�ำเนิดแม้ว่าตนเองไม่ต้องการ ลูก ความตระหนกตกใจเมือ่ ทราบว่าท้องและการพยายามท�ำแท้ง การด�ำรงครรภ์แต่ละเลยการดูแลครรภ์อย่าง เต็มที่ และ การคลอดลูกที่ว้าเหว่

1. การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ต้องการลูก

การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ต้องการลูกนั้น หมายถึง ช่วงของการจะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งทั้งหญิงและชายไม่มี ความคิดที่จะมีลูก จุดมุ่งหมายของการมีเพศสัมพันธ์อยู่ที่ความสุขของการมี”เซ็กส์”เท่านั้น การมีเพศสัมพันธ์ เช่นนี้ อาจเป็นกรณีของเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน อาจตกอยู่ใต้อิทธิพลของของมึนเมา เช่น สุรา อาจม เป็นการ มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่กลัวการท้อง หรือคิดว่าอย่างไรก็ไม่ท้อง หรือไม่เคยทราบว่าการคุมก�ำเนิดเป็นอย่างไร และ อาจเป็นเพศสัมพันธ์ที่ถูกบังคับ ข่มขืน ฉกฉวยโอกาสจากฝ่ายชาย เราจึงอาจเรียกเพศสัมพันธ์แบบนี้ว่า เป็นเพศ สัมพันธ์แบบชายเป็นใหญ่ หรือ เพศสัมพันธ์ที่เอาเปรียบฝู้หญิง ดังนั้นลูกที่เกิดมา จึงเกิดจากความไม่ต้องการ ของพ่อแม่อย่างจริงจัง 1.1. มีเพศสัมพันธ์ และท้องโดยไม่ตั้งใจ เพราะเมา แม้ว่าผู้หญิงที่จะมีเพศสัมพันธ์มีแนวโน้มที่จะคิดถึงเรื่องการตั้งท้อง และการมีลูก เนื่องเพราะเพ่ิ่งรู้จัก หรือคบกันได้ไม่นาน แต่ความคิดเหล่านีม้ กั ถูกท�ำให้ลมื ไปด้วยอิทธิพลของเหล้าและความมึนเมาของทัง้ สองฝ่าย ดังนั้นเซ็กส์จึงเกิดขึ้น โดยไม่มีการป้องกันการตั้งครรภ์ และกลายเป็นการท้องไม่พร้อม เช่นกรณีของคุณหมิวคุณ หมิวคบหากันกับแฟนได้ไม่นานคุณหมิวก็พลาดท้องกับแฟนใหม่ของเธอโดยวันนัน้ เป็นความผิดพลาดทีเ่ ธอยอมรับ ว่าเกิดจากความมึนเมาของทั้งสองฝ่าย และตัวเธอเองก็ไม่ได้มีการคุมก�ำเนิด “คบกันไม่นานเลยไม่ถึงเดือนด้วยซ�้ำ เราก็พลาดท้อง...เราก็นัดกับเค้ากับเพื่อนๆว่าจะไปกินเหล้าแถว ลาดพร้าว...ก็เหมือนเมาด้วยกันทั้งสองนั่นแหละก็เลยพลาด” คุณหมิว

1.2. มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอมและถูกผู้ชายฉวยโอกาส การมีเพศสัมพันธ์ที่เป็นธรรม คือ ความต้องการและยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย ซึ่งหากฝ่ายหญิง พร้อมและตัดสินใจมีเซ็กส์ ก็อาจจะคิดถึงความเสีย่ งต่างๆ รวมทัง้ การท้อง แต่เซ็กส์เกิดขึน้ เพราะเป็นการฉกฉวย โอกาสจากฝ่ายชายเมื่อฝ่ายหญิงเมา ดังกรณีของคุณนุชที่เมา ไม่ตั้งใจมีเซ็กส์ และไม่ได้คิดจะมีความสัมพันธ์ จริงจังกับผู้ชาย และคุณไล ซึ่งก็เมาและพลาดมีเพศสัมพันธ์ แม้ว่าเธอจะไม่ต้องการจริงจังกับเพศสัมพันธ์นี้ แต่จ�ำเป็นต้องจริงจังเนื่องจากฝ่ายชายต้องการรับผิดชอบ บทที่ 4 ผลการศึกษา

41


“วันนั้นเพื่อนที่ท�ำงานในโรงแรมก็ชวนพี่ไปกินเหล้า เค้าก็ไปด้วย ตอนนั้นพี่ยังกินเหล้า กินเบียร์ ไม่เก่ง คือคออ่อนมาก แล้วเหมือนพี่เมา เค้าก็พาพี่เข้าโรงแรม ก็ไม่เหลือแล้วตอนนั้น ก็คือมีอะไร พี่ตื่นมา พี่ก็งงมาก แล้วก็ ทะเลาะกันใหญ่โต คือพี่ไม่ได้ยินยอมก็… พี่เองที่ยังไม่พร้อม คือ ยังไม่คิดว่าจะหยุดที่คนนี้ แล้วก็คิดว่าถ้ามีคนที่ดี กว่านี้ พี่ก็จะไปจากเขา” คุณนุช

“ตอนแรก พี่ก็ไม่ได้คิดว่าจะตกลงปลงใจหรือในชีวิต จะต้องมีครอบครัว แต่ตอนนั้นจะบอกว่า มันคือ ความผิดพลาดก็ว่าได้นะ เพราะตอนนั้นเหมือนที่ท�ำงานเค้าก็แซวๆ ให้ลองคบหากัน แล้ววันนั้นพี่ก็เมาแล้วก็ไป เที่ยวผับกัน ก็เหมือนเค้าฉวยโอกาสพี่นั่นแหละ คือ พี่ก็ไม่ได้ยอมในตอนนั้น เค้าแอบชอบพี่แต่พี่ไม่รู้ แล้ววันนั้นที่ พลาดท่าให้เขาพี่ก็บอกเลยนะว่า ไม่ต้องมารับผิดชอบพี่ แต่เค้าบอกว่าเค้าจะรับผิดชอบ พี่ก็เลยขึ้นมาเหมือนผูกข้อ ต่อแขนกัน” คุณไล

1.3. มีเพศสัมพันธ์ ท้องไม่ตั้งใจ มีนงงที่รู้ว่าตนเองท้อง เมื่อมีเพศสัมพันธ์ ก็มีโอกาสที่จะท้องค่อนข้างสูง โดยทั่วไปบุคคลทั้งหญิงและชายที่ต้องการจะมีเพศ สัมพันธ์ควรรู้ ซึ่งหมายความว่า ถ้าจะมีเพศสัมพันธ์ ก็ต้องคิดถึงการมีท้อง เมื่อท้องก็ต้องรับผิดชอบกับลูกทั้งผู้ หญิงและผู้ชาย อย่างไรก็ตามผู้หญิงจ�ำนวนมาก รวมทั้งคุณโด่ยและคุณมินตรา ต่างไม่คิดว่า ตนจะท้อง และยัง มึนงงกับการตั้งท้องของตน เช่น กรณีคุณโด่ย “ตอนนั้นพี่ไม่ได้ท�ำงาน ท้องแรกพี่อายุประมาณ 22 ปี คือจบ ม.6แล้ว พี่ก็ไปท�ำงานที่กรุงเทพ ท้องแรก พี่ก็ไม่ได้ตั้งใจว่าจะมีนะ คือ พี่ก็ไม่ได้คุมก�ำเนิดอะไร เพราะไม่คิดว่าตัวเองจะมี แต่พอมีก็ยังอึ้งๆ” คุณโด่ย

กรณีคณ ุ มินตรา ระหว่างทีค่ บหากันแฟนและมีเพศสัมพันธ์กนั มาโดยตลอดตัง้ แต่เธอเรียนอยูม่ ธั ยมศึกษา ปีที่ 5 ทั้งคู่ไม่ได้มีการป้องกันหรือคุมก�ำเนิดอะไรทั้งสิ้น ยกเว้นการหลั่งนอก ซึ่งเธอเองก็ไม่ได้คิดว่า จะท้อง แต่ ในที่สุดเธอท้องในขณะเรียนอยู่ชั้นปีที่3 ในมหาวิทยาลัย “ก่อนหน้านั้น เราก็เคยมีอะไรกันครั้งแรกตอนที่หนูอยู่ ม.5 คือก็ไม่ได้ป้องกันหรือคุมก�ำเนิดอะไรทั้งสอง คนเลย คือก็คุมกันเองหลั่งนอกตลอด ก็ไม่ได้รู้สึกกลัวหรืออะไร คือพี่เค้าก็เป็นครั้งแรกของหนูด้วย ตอนแรกที่มี อะไรก็กลัวๆ นะพี่แต่ก็แบบพี่เค้าก็พูดดีๆ บอกว่ารักเราขอเราดีๆ หนูก็ยอมเพราะก็เรารักกัน ซึ่งก็ไม่เคยพลาดเลย สักครั้ง มาพลาดก็ตอนที่ที่เรียนปี 3 นั่นแหละ” คุณมินตรา

42

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


1.4. การมีเพศสัมพันธ์บนการควบคุมของฝ่ายชาย การมีเพศสัมพันธ์ควรเป็นการมีเพศสัมพันธ์ที่เต็มใจและมีความพร้อม อย่างไรก็ตามการมีเพศสัมพันธ์ ทีฝ่ า่ ยชายมีอำ� นาจเหนือฝ่ายหญิงคือ ฝ่ายหญิงจะยังไม่พร้อม ไม่ยนิ ยอมมีเพศสัมพันธ์อย่างแท้จริง และไม่รแู้ ม้แต่ วิธีการคุมก�ำเนิด ด้วยความด้อยประสบการณ์ และฝ่ายชายมีประสบการณ์มากกว่า เพศสัมพันธ์จึงเกิดขึ้น แม้ เธอจะรู้สึกว่า ไม่ได้ถูกบังคับหรือขืนใจ แต่ก็โกรธ กลัว และฝ่ายชายก็ยังให้ฝ่ายหญิงเป็นผู้ใช้ยาคุมก�ำเนิดฉุกเฉิน และแม้ฝ่ายหญิงจะไม่พอใจ แต่ก็ไม่รู้ว่า ก�ำลังตกอยู่ภายใต้การเอาเปรียบ “วันนั้นแฟนเค้าก็มารับเราไปเที่ยวงานบุญนี่แหละ นั่นคือครั้งแรกที่มีอะไรกัน เค้าก็เป็นคนแรกของเรา เราก็ไม่รู้ว่าต้องคุมก�ำเนิดยังไง แต่จ�ำได้ว่าเค้าก็ไม่ได้ใส่ถุงยาง แต่เค้าเอายาคุมฉุกเฉินให้เรากิน คือตอนนั้นเราไม่ ได้ยินยอมเขา เขาก็ไม่ได้บังคับหรือขืนใจเราหรอกนะ เค้าก็ขอเราดีๆ แต่ว่าเราไม่ได้ตั้งใจจะให้ เพราะเรากลัวหลัง จากที่มีอะไรกันครั้งแรก เราก็โกรธเค้านะ คือมันทั้งกลัว ทั้งโกรธ เราก็ไม่พูดกับเค้าประมาณ 3 เดือนถึงกลับมาคุย กัน” คุณตาล

1.5. พ่อข่มขืนหนู และหนูก็ท้อง เด็กสาวที่เป็นเหยื่อของพ่อแท้ๆของตนเอง การเดินทาง ความไว้วางใจญาติ และพ่อแท้ๆของเธอ ท�ำให้ พ่อข่มขืนเธอ แม้เธอพยายามขัดขืน ดิ้นรน ต่อสู้ แต่ก็สู้แรงของเขาไม่ได้ และเขายังขู่ว่าจะท�ำร้ายเธออีกด้วย ผล ที่เกิดขึ้นคือ เธอตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ และถูกส่งตัวไปสถานสงเคราะห์เด็ก “พ่อเป็นคนข่มขืนหนูค่ะ คือ ตอนนั้นหนูไปเชียงใหม่ เพราะว่าญาติที่สนิทกันเขาชวนหนูไปด้วย แล้ว ตอนขากลับ หนูไม่รู้ว่าเขาจะแวะไปนอนที่บ้านพ่อหนู เพราะตอนนั้นมันดึกแล้ว ญาติที่พาไปเขาเป็นเพื่อนกับพ่อ หนู เขาก็บอกว่า ให้แวะพักที่บ้านพ่อก่อนเพราะมันดึกแล้ว พอตีสามเขาก็กลับไป แต่เขาก็ไม่ได้บอกหนู พอตีห้าพ่อ ก็เข้ามาข่มขืนหนู หนูก็ขัดขืน พ่อเก็บอกว่าจะท�ำร้ายหนู วันนั้นพ่อท่าจะเมา...พ่อไม่ได้มาพูดอะไรเลยค่ะ อยู่ๆเขาก็ มาคล่อมหนู หนูก็เอาเท้ายัน แล้วพ่อก็บอกว่า ถ้าหนูขัดขืน พ่อจะท�ำร้าย หนูก็พยายามเอาเท้ายันแต่ก็สู้แรงพ่อไม่ ไหว” คุณเบ

1.6. ฝ่ายชายมีเมียอยู่แล้ว แต่มาหลอกคบกับเธอ ฝ่ายชายมีภรรยาแล้ว แต่มาหลอกมีเพศสัมพันธ์ เธอรู้เพราะว่าภรรยาเขามาต่อว่า และด่าว่า แม้ว่าเป็น แฟนกันระยะเวลาสั้นๆ แต่เมื่อไม่ได้มีการคุมก�ำเนิด ฝ่ายหญิงจึงตั้งครรภ์ นอกจากไม่เป็นธรรมกับฝ่ายหญิง แล้ว ยังไม่เป็นธรรมกับเด็กที่จะเกิดมา เพราะเขาอาจจะไม่มีพ่อเป็นของเขาเอง หรือเด็กคนอื่นอาจต้องมาแบ่ง พ่อกับลูกของผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่แม่ของเขา หรือ อาจไม่มีพ่อ เพราะแม่ของเด็กไม่สามารถทนการนอกใจของสามี

บทที่ 4 ผลการศึกษา

43


“ก็คุยกันไปประมาณ 1-2 เดือน ก็ตกลงเป็นแฟนกัน ไม่นานแฟนของพี่เค้าก็โทรมาว่า แฟนหนูมีเมีย แล้ว เลิกยุ่งกับสามีเค้าซะ ซึ่งตอนนั้นที่หนูได้ยินก็งงๆ เอ้าท�ำไมไม่บอกว่ามีแฟนแล้ว มายุ่งกับหนูท�ำไม หนูก็โกรธ แล้วก็ไม่คุยกับพี่เค้าไปเกือบเดือน คือในใจนี่ ไม่ยุ่งกับผู้ชายคนนี้แล้วดีกว่า ซึ่งพี่เค้าก็เหมือนรู้นะพี่ว่าหนูโกรธแล้ว ก็ แบบมีบางวันแฟนเก่าพี่เค้า ก็มาโวยวายตะโกนด่าพี่เค้าในเซเว่นเลยอันนี้” คุณเพียว

1.7. ผู้ชายไม่ใช้ถุงยาง และยังหลอกว่า “หลั่งนอก” เมือ่ จะมีเพศสัมพันธ์เกิดขึน้ การคุมก�ำเนิดเป็นเรือ่ งส�ำคัญทีท่ งั้ หญิงและฝ่ายชายจะต้องพิจารณา เพราะ การคุมก�ำเนิดสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์โดยตรง ความไม่รับผิดชอบการคุมก�ำเนิ​ิดของพ่อและแม่ อาจท�ำให้เด็กที่ เกิดมาจาก ได้รับความทุกข์และชีวิตที่เลวร้ายโดยไม่ใช่ความผิดของเขา ปกติ “เซ็กส์” มักเป็นการเริ่มต้นจาก ฝ่ายชาย แต่เมื่อฝ่ายชายเอาเปรียบ เห็นแก่ตัว ไม่รับผิดชอบกับการมีลูก และอ้างว่าได้ป้องกันการท้องด้วยการ หลั่งภายนอก แต่ฝ่ายชายไม่ยอมใช้ถุงยางอนามัย ไม่แม้แต่หลั่งนอก แต่หลั่งภายใน จนฝ่ายหญิงตั้งท้อง ส่วน ฝ่ายหญิงก็เชื่อสนิทว่า แฟนของเธอ จะเป็นฝ่ายป้องกันการท้องของเธอด้วยการหลั่งนอก “วันนั้นพี่เค้าก็มาหาหนูที่หอพัก หนูพักอยู่คนเดียว พี่มาหาแล้วก็ชวนหนูกับเพื่อนๆ ไปเที่ยว ไปกินเหล้า ด้วยกัน ก็เมากันทั้งคู่นะพี่ กินเหล้ากลับมาก็มีอะไรกัน หนูก็ยินยอมพี่เค้านะ คือหนูก็เข้าใจว่าพี่เค้าก็หลั่งนอก เหมือนทุกครั้งเพราะว่าเราก็เห็นว่า หลังจากมีอะไรกันเสร็จ พี่เค้าก็เอาออกมาหลั่งข้างนอก ไม่ได้คิดว่าพี่เค้าจะหลั่ง ในด้วย” คุณมินตรา

1.8. ฝ่ายหญิงไม่สนใจการคุมก�ำเนิด จึงท้องโดยไม่รู้ตัว ปกติฝ่ายหญิงมักจะกังวลกับการมีเซ็กส์และตั้งท้อง จึงพยายามป้องกันตัวเองอยู่บ้าง เช่น กินยาคุม ก�ำเนิด กินยาคุมฉุกเฉิน ขอให้ผู้ชายใช้ถุงยาง หลั่งนอก เป็นต้น และมักจะไม่ค่อยไว้ใจว่าฝ่ายชายเท่าใดนักว่า จะ เป็นผู้ป้องกันการท้องจริงจัง แต่ก็มีไม่น้อยที่ผู้หญิงไม่ได้สนใจการคุมก�ำเนิดเลย แต่เชื่อมั่นและวางใจว่า ผู้ชาย จะป้องกัน และในที่สุดผู้ชายไม่ได้ป้องกัน เธอจึงท้อง แต่ก็ไม่รู้ตัวว่าท้องจนกระทั่งเด็กในท้องดิ้นได้ “คบกันก็เคยมีอะไรกันมาบ้าง ส่วนมากจะเป็นพี่เค้าที่เป็นคนป้องกัน ก็คือใส่ถุงยางอนามัย ส่วนหนูก็ไม่ เคยป้องกันเลย…วันนั้นหนูไปเที่ยวงานบุญประจ�ำหมู่บ้านของหมู่บ้าน พี่เเค้าก็ชวนหนูไปก็ไปมีอะไรกัน ตอนที่อยู่ บ้านเพื่อนพี่เค้า คือ ตอนนั้นเหมือนเราก็คิดว่า พี่เค้าเป็นคนป้องกัน เราก็เลยไม่ได้คิดอะไรแล้ว ก็ไม่คิดว่าการมีอะไร กันครั้งนั้นจะท�ำให้หนูท้อง แล้วหนูก็ไม่รู้ตัวเองด้วยว่าท้อง จนเด็กดิ้นได้ ถึงรู้ว่าตัวเองท้องแล้ว คือหนูก็เคยประจ�ำ เดือนมาบ้าง ไม่มาบ้าง ก็เลยไม่ได้ผิดสังเกตุ” คุณแทน

44

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


1.9. ใช้ยาคุมไม่สม�่ำเสมอ ต้องใช้ยาคุมฉุกเฉิน แต่ก็พลาดและตั้งครรภ์ ในกรณีของผู้ชายที่ไม่ยอมที่จะคุมก�ำเนิด และผลักภาระการคุมก�ำเนิดให้กับฝ่ายหญิง การกระท�ำนี้มี ความหมายว่า การจะมีลกู หรือไม่มลี กู นัน้ ไม่สำ� คัญส�ำหรับฝ่ายชาย ถึงอย่างไร เขาก็ไม่ไม่ได้ตอ้ งการลูก หากมีลกู ฝ่ายหญิงจะต้องรับผิดชอบแต่เพียงคนเดียว กรณีคุณโด่ย เมื่อตั้งท้องลูกคนแรก เธอมีเซ็กส์กับอดีตสามีโดยเธอเป็นผู้ที่คุมก�ำเนิด แต่ก็ไม่สม�่ำเสมอ เนื่องจากการหลงลืม และส่วนใหญ่ก็จึงต้องใช้ยาคุมฉุกเฉินหลังการมีเพศสัมพันธ์ ส่วนอดีตสามีไม่ยอมที่จะ ป้องกันอะไรทั้งสิ้น และในที่สุดเธอก็ตั้งท้องลูกคนแรก “ก่อนท้องคนแรกตอนที่พี่อยู่กรุงเทพ พี่ก็จะทานยาคุมฉุกเฉินตลอดเลยนะ ซึ่งเขาไม่ยอมป้องกันอะไร เลย ...แต่พอพี่กลับมาอยู่ที่บ้าน พี่ก็ไม่ได้คุม คือไม่ได้ตั้งใจจะไม่คุมนะ แต่บางครั้งเราก็ลืม หรือบางที ก็คิดว่าไม่เป็น อะไรไม่คิดว่าตัวเองจะมี” คุณโด่ย

1.10. ไม่รู้จักการคุมก�ำเนิด การไม่รู้จักการคุมก�ำเนิด หรือ ไม่มีประสบการณ์เรื่องเพศสัมพันธ์มาก่อน ท�ำให้ผู้หญิงไม่ได้ป้องกันการ ตั้งครรภ์ ส่วนฝ่ายชายก็ไม่ได้ป้องกันเช่นกัน เมื่อมีเพศสัมพันธ์ จึงตั้งท้อง เช่นกรณีคุณเต่า “พี่ไม่เคยคิดว่าพี่จะต้องมาทานยาคุม มาป้องกันอะไร เพราะตั้งแต่ตอนเรียน พี่ก็ไปเที่ยว ไปอะไร ก็ไม่ถึง ขั้นว่า จะต้องลงเอยด้วยการนอนด้วยกัน แต่พอมาเจอเค้านี่แหละ พี่ถึงได้มารู้จักเรื่องพวกนี้ แต่ก่อนไม่เคย พี่ไม่รู้ เรื่องเลยว่า ต้องคุมก�ำเนิดแบบไหน ซึ่งพี่ก็ท้องหลังจากที่กลับมาอยู่บ้านพี่ แล้วก็เทียวไปเทียวมาบ้านพี่บ้านเค้านี่ แหละ” คุณเต่า

2. การไม่ต้องการลูกเมื่อทราบว่าท้อง และท�ำไมไม่ต้องการลูก

หลังจากการมีเซ็กส์ผ่านไป ผลของเซ็กส์ที่ไม่มีการป้องกันและคุมก�ำเนิด ท�ำให้เกิดการตั้งท้อง และเมื่อ ผู้หญิงรับรู้ว่าตนเองตั้งท้อง ผู้หญิงจะท�ำอย่างไร ตัดสินใจอย่างไร กล่าวได้ว่า นี่เป็นจุดหักเหของอนาคตของเด็ก ในท้องว่า จะเป็นเด็กทีเ่ ป็นทีต่ อ้ งการของพ่อแม่ หรือ ไม่เป็นทีต่ อ้ งการของพ่อแม่ จะไม่ได้เกิดหรือไม่ได้เกิด และ เมื่อได้เกิดแต่ไม่เป็นที่ต้องการ หรือ เกิดมาเป็นเด็กที่ได้รับความรักจากพ่อแม่อย่างเต็มที่ ในส่วนนี้จะน�ำเสนอ ให้เห็นว่า ภาวะการณ์ที่พ่อแม่ที่ไม่ต้องการลูกนั้น มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง มีลักษณะอย่างไร คือ แม่คิดอย่างไร ท�ำอย่างไร และใครเกี่ยวข้องบ้าง และกระบวนการตัดสินใจของแม่ มีเหตุผลอย่างไร บทที่ 4 ผลการศึกษา

45


2.1. ช็อก มึนงง ไม่ต้องการ แต่เก็บลูกไว้เพราะ อย่างไรก็ลูก และกลัวอันตรายจากการท�ำแท้ง ความรู้สึกแรกของแม่ของเด็กหลังทราบหลังผลการทดสอบการตั้งครรภ์ และรู้ชัดเจนว่าตนเองตั้งท้อง คือ ตกใจ ช็อก มึนงง สับสน ความรู้สึกไม่พร้อมที่จะมีลูกหรือไม่ต้องการลูก แต่เมื่อความตกใจผ่านไป แม่ก็เริ่ม สามารถปรับใจตนเองให้ยอมรับการมีลูกได้ แต่ก็มีความวิตกว่า จะเลี้ยงลูกในท้องของตนอย่างไรต่อไป “ตกใจนะ เพราะก็ไม่คิดว่าจะท้องเร็วขนาดนี้ ตั้งสติอยู่สักพักเหมือนกัน แต่พอสักพักก็โอเค ก็คือ ถ้ามี เค้าเราก็เลี้ยงไปแค่นั้น...คือ พี่ก็คิดว่า ถ้ามีเค้า แล้วจะเลี้ยงเค้าอย่างไร” คุณเอื้อง

แม่บางรายอาจอยู่ในภาวะมึนงง สับสน เครียดหลายวัน และคิดจะท�ำแท้งในเบื้องต้น แต่ในที่สุดแม่ก็ เก็บลูกไว้ ทั้งที่ความรู้สึกไม่ต้องการลูกยังอยู่ในใจ และเนื่องด้วยเวลาท่ี่จ�ำกัดเพราะเด็กที่ยู่ในท้องน้​้นก็เติบโต พัฒนาขึ้นตลอดเวลา ความรู้สึกในการเป็นแม่ ความรู้สึกต่อลูก โดยเฉพาะเมื่อแม่จับตัวตนของลูกได้ชัดเจน เช่น การดิ้น ท�ำให้แม่เก็บลูกไว้ นอกจากนี้ตัวแม่เองก็กลัวว่าตนเองจะเสี่ยง ได้รับอันตรายจากการท�ำแท้ง

“พอรู้ว่าตัวเองท้องแทบช็อกนะ พี่มึนงง สับสน ไปหมดเลย ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนดี จะท�ำยังไงต่อไปกับ ชีวิตก็ยังไม่รู้ ก็ขังตัวเองอยู่ในห้องตลอดเวลา กลับมาข้าวปลา ก็ไม่อยากทานเลยนะพี่ บางวันก็อยู่แต่ในห้อง ประมาณ 1 อาทิตย์คือ หนูก็เครียด และก็คิดอยู่ตลอดเวลาว่า จะเอาเด็กออกดีไหม เป็นความคิดแรกของหนูเลยนะ พี่จะท�ำยังไงกับเด็กดี แต่ก็ไม่กล้าที่จะเอาเขาออกจริงๆหรอกนะ พี่มาคิดดูอีกที นี่ก็ลูกเรา อีกอย่างเค้าดิ้นแล้ว เป็น ตัวคนแล้ว คือ เรารู้ช้าเกินกว่าที่จะท�ำเรื่องแบบนั้นแล้ว อีกอย่างหนึ่งคือ หนูก็ไม่อยากเสี่ยงให้ตัวเองตกเลือด หรือ ท�ำให้ตัวเองตกอยู่ในอันตรายด้วย” คุณแทน

2.2. ตกใจเพราะเป็นการท้องในวัยเรียน เพราะยังเด็กเกินไปที่จะเป็นแม่คน ความไม่ต้องการลูกของแม่จะรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากรู้สึกผิดว่า ตนเองยังเด็กและเป็นนักเรียน หลัง จากการรู้ว่าท้อง ผู้หญิงตกใจ กังวล กลัว แม่ที่ยังเด็กมักยังไม่คิดจะท�ำแท้งลูกในเบื้องต้น แต่กังวลว่า ความเป็น เด็ก เป็นนักเรี​ียน จะรับผิดชอบ เลี้ยงดูลูกได้อย่างไร เนื่องจากยังเรียนหนังสือ และผู้หญิงรู้ดีว่า ตนเองท�ำผิด ระเบียบ กฏเกณฑ์สังคม ไม่สามารถจะเรียนหนังสือต่อไปเป็นปกติ แต่ก็ไม่สามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้วย ตนเอง เนื่องจากความเป็นเด็ก ดังนั้นจึงต้องหาค�ำปรึกษา และคนช่วยตัดสินใจแทนพวกเธอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น เพื่อน แฟน “เราก็ตกใจนะ คือมาได้ยังไง เพราะเราก็ยังเรียนหนังสืออยู่ จะเอายังไงดี แต่ว่าเราก็ไม่รู้จะท�ำยังไงนะ ซึ่ง ตอนนั้นก็ยังไม่คิดที่จะเอาเค้าออก คือ คิดว่าต้องไปปรึกษาแฟนก่อนว่า เค้าจะเอายังไง” คุณแฟนต้า

46

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


“ทั้งตื่นเต้น ทั้งตกใจ แล้วก็กังวลว่าจะท�ำอย่างไรต่อไป เราจะมีลูกแล้ว แต่เรายังเด็กอยู่เลย เราจะเลี้ยง เค้าอย่างไร เป็นความกังวลเรื่องการเลี้ยงดูมากกว่า” คุณพิศ

“ตอนที่พี่มีลูกคนแรก พี่ยังเรียนอยู่เลย ตอนนั้นอายุ 18 ปี ก็เรียนโรงเรียนมัธยมใกล้บ้าน พี่ก็เรียนไม่จบ เทอมสุดท้ายเพราะพี่มีลูกก่อน ที่พี่รู้คือ ประจ�ำเดือนพี่ไม่มา” คุณอิ้บ

2.3. ไม่พร้อมมีลูก เพราะเพิ่งเริ่มต้นชีวิต ยังไม่มีงาน ยังไม่ได้แต่งงาน เมื่อผู้หญิงรู้ว่าตนเองได้ตั้งครรภ์ ความรู้สึกกังวลไม่พร้อมมีลูก เนื่องด้วยตนเองและฝ่ายชายเพิ่งเริ่มต้น ท�ำงาน ยังไม่มนั่ คงเป็นหลักแหล่ง รวมทัง้ ยังไม่ได้อยูก่ นิ แต่งงานเป็นเรือ่ งเป็นราว พวกเธอไม่ได้เริม่ ต้นเกีย่ วกับลูก ในท้องด้วยความคิดท�ำแท้ง ลึกๆแล้วพวกเธอไม่ได้ปฏิเสธหรือไม่ต้องการลูก แต่ความจ�ำเป็นในการด�ำรงชีวิต อาชีพ การงาน ความรับผิดชอบ เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจมีลูก “คือตอนช่วงที่ท้อง เรารู้สึกว่าไม่พร้อมหรือยังไม่อยากมีลูก เพราะเราก็เพิ่งเริ่มท�ำงาน ยังไม่ได้มีอะไรเป็น หลักแหล่ง ส่วนพี่เค้าก็เพิ่งเริ่มท�ำงานเช่นกัน เพิ่งเริ่มที่จะคิดสร้างอนาคตร่วมกัน ยังไม่ได้แต่งงานหรืออยู่กินกันแบบ สามีภรรยาอย่างจริงจัง…พอไปตรวจก็เจอเลย หัวใจเต้นตุ๊บๆ เลยก็อึ้งกันทั้งเราทั้งแฟน พอแฟนเห็น เค้าก็ตื่นเต้น แต่ใจเราก็ทั้งรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย แล้วก็ตกใจไปด้วย คือ มันเร็วไปไหม นี่เรามีลูกแล้วจริงๆเหรอ ก็คิดไปต่างๆ นาๆ แต่ตอนนั้นไม่ได้คิดว่าจะเอาเขาออกเลยนะ แค่คิดว่าจะเลี้ยงเค้ายังไง จะหาเงินที่ไหนมาเลี้ยงดูเค้า” คุณอี๊ด

2.4. ไม่พร้อมมีลูก เพราะใช้ชีวิตกิน เที่ยว ดื่ม สูบ กลัวลูกพิการ

เมื่อทราบว่าตนเองตั้งท้อง เธอรู้สึกไม่พร้อม แต่เหตุผลมาจาก การที่เธอไม่ได้ดูแลตนเอง เธอใช้ชีวิตกิน เที่ยว ดื่ม สูบบุหรี่ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็กในท้อง เธอกังวลว่าลูกจะไม่แข็งแรง อาจพิการ เธอไม่ได้วิตก กังวลเรื่องความรับผิดขอบของพ่อเด็กในท้อง แต่เธอก็ไม่อยากให้ลูกเกิดมาพิการและเป็นภารกับเธอในอนาคต เธอจึงต้องการท�ำแท้ง แต่เมื่อหมอให้ความมั่นใจเกี่ยวกับสุขภาพเด็ก เธอจึงคลายความกังวล แต่ยังอยู่บนความ รู้สึกไม่พร้อม ไม่ต้องการลูก “พี่ไปไม่เป็นเลย เพราะพี่ไม่เคยดูแลตัวเอง คือ พี่ไม่ห่วงเรื่องที่แฟนจะรับผิดชอบหรือไม่นะ แต่พี่ห่วงว่า เด็กในท้องจะสมบูรณ์แข็งแรงไหม พี่ก็เลยถามหมอว่า ตอนนี้รู้ได้ไหมว่าเด็กแข็งแรงหรือพิการ เพราะว่าถ้าเกิดเด็ก ไม่ปกติพี่อยากจะท�ำแท้ง พี่ก็ถามหมอแบบนี้เลย หมอก็เลยถามพี่กลับมาว่า ท�ำไมถึงอยากท�ำแท้ง พี่ก็บอกว่าพี่ไม่ พร้อม พี่เป็นผู้หญิงที่กินเหล้าสูบบุหรี่ด้วย คือ พี่บอกเลยว่าไม่พร้อมมากๆ แต่หมอก็บอกว่า ไม่มีอะไรนะ ทุกอย่างก็ ปกติ พี่ก็ยังกลับมาที่บ้านแบบงงๆ และยังมีความรู้สึกว่า จะเอายังไงกับลูกดี” คุณนุช

บทที่ 4 ผลการศึกษา

47


2.5. เครียดเพราะความไม่พร้อมทางเศรษฐกิจ และการเป็นพาหะทาลัซซีเมียของพ่อแม่ คู่ครองบางคู่ ไม่พร้อมจะมีลูกเนื่องด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ เช่น เงินเดือนน้อย ภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่ที่มีปัญหามากกว่านั้น ก็คือ ความเสี่ยงในการป่วยของลูก ในกรณีคุณส้ม เธอไม่พร้อมมีลูกเนื่องด้วยปัญหา ทางเศรษฐกิจของทั้งสามี ภรรยา แต่เมื่อรู้ในภายหลังว่า ลูกในท้องเสี่ยงต่อการป่วย เนื่องจากทั้งพ่อแม่เป็นพา หะทาลัซซีเมียทั้งคู่ ก็ยิ่งท�ำให้เครียด วิตกกังวล “ก็ดีใจ แล้วก็ตกใจนะ ตอนที่อยู่โรงพยาบาล แต่ว่าพอกลับมาถึงบ้านคืนนั้น พี่ก็คิดหนักกังวลเครียด คือ ตอนนั้นเงินเดือนพี่ก็ไม่มาก เงินเดือนแฟนก็ถึงจะมากกว่าพี่ แต่ก็ไม่ได้เยอะ แล้วตอนนั้นพี่ก็ไปออกรถมาด้วย ก็ เครียดกัน รู้อย่างนี้พี่น่าจะคุมไว้ก่อน แล้วมารู้ทีหลังอีกว่า ลูกเสี่ยง เพราะพ่อกับแม่เป็นพาหะทั้งคู่ แล้วพี่ก็ต้องไป เช็คที่โรงพยาบาลบ่อยมาก กว่าจะรู้ว่าเค้ารอดก็ 7 เดือนไปแล้ว” คุณส้ม

2.6. แฟน และครอบครัว ต้องการเด็ก แต่ฝ่ายหญิงไม่พร้อม โดยทั่วไป การตั้งครรภ์ไม่พร้อม มักเกิดจากความไม่รับผิดชอบของฝ่ายชาย และครอบครัว ท�ำให้ผู้ หญิงต้องท�ำแท้งหรือไม่สามารถด�ำรงครรภ์ได้ แต่แท้จริงแล้ว ผู้หญิงบางคนอาจยังไม่ต้องการลูกและไม่ ปรารถนาในการเป็นแม่ เนื่องเพราะยังไม่พร้อมจะสร้างชีวิตครอบครัวกับพ่อของเด็ก หรือ เขายังไม่ใช่คนที่เธอ ต้องการร่วมชีวิต แต่สังคมได้ก�ำหนดหรือกีดกั้นความรู้สึก ความต้องการในเรื่องเพศสัมพันธ์ บังคับให้เซ็กส์ ท้อง การแต่งงานอยู่กินของผู้หญิงเป็นเชื่อมต่อกัน ดังนั้นถ้ามีเซ็กส์ ท้อง มีผู้ชายยอมรับเป็นพ่อเด็ก ผู้หญิงก็ ต้องยอมใช้ชีวิตคู่ ด้วยสาเหตุคือเพราะท้อง และในที่สุดก็อาจจะอยู่ด้วยกันไม่ได้ ดังนั้น ในกรณีของคุณปู คือ ความไม่พร้อมในการมีลูก และใช้ชีวิตคุู่กับพ่อของเด็กในท้อง “ตอนที่เราซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจ คือ เราตรวจเองคนเดียว พอผลออกมาว่าท้อง เราก็เลยโทรไปบอก แฟน เค้าก็เข้ามาหาเรา แล้วเราก็เลยบอกให้พาไปตรวจอีกทีที่โรงพยาบาลเพื่อความแน่ใจ พอเค้ารู้ว่าเราท้องเค้าก็ ดีใจนะ เพราะเค้าอยากมีลูกกับเรา แต่เรากลับรู้สึกเสียใจ คือ มันยังไม่พร้อมจริงๆ หลังจากนั้นเค้าก็พาเราไปบอก พ่อแม่ของเค้าว่าเราท้อง คือ ฝ่ายเค้าก็ดีใจหมดที่เรามีลูก” คุณปู

“หนูตัดสินใจโทรบอกแฟนเป็นคนแรก บอกกับเค้าว่า เราไปซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจ หนูท้องนะ พี่เค้าก็ บอกหนูว่าท้อง ก็จะท�ำยังไงก็ต้องเลี้ยง แต่ตอนนั้นหนูบอกพี่เค้าเลยว่า หนูไม่พร้อมนะพี่ แฟนหนูเขาก็บอกว่างั้น แล้วแต่หนู ซึ่งตอนนั้นท้อง 2 เดือน พ่อกับแม่พี่เค้าก็ยังไม่ร”ู้ คุณมินตรา

48

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


2.7. ไม่พร้อมมีลูก เพราะพ่อแม่ยังไม่ได้รับรู้ แม้ว่าเซ็กส์จะเป็นเรื่องเฉพาะของคนสองคน แต่เมื่อเซ็กส์น้นน�ำไปสู่การตั้งครรภ์ ครอบครัว พ่อแม่ ของทั้งสองฝ่ายจะเข้ามาเกี่ยวข้องและร่วมรับรู้ไปกับการตั้งท้องของผู้หญิง บางครอบครัวยอมรับและสนับสนุน การครองคู่ เพราะเห็นแก่หลานหรือเด็ก บางครอบครัวไม่ยอมรับแม่แต่ยอมรับเด็ก ประเด็นเหล่านี้ล้วนติดฝัง อยู่ในผู้หญิงและผู้ชาย และส่งผลกระทบแต่เด็กในครรภ์ว่า เขาจะเป็นที่ต้องการของพ่อแม่ ปู่ย่า ตายายหรือไม่ ซึ่งหมายถึงการได้เติบโตมีชีวิตที่สุข ทุกข์ อย่างไรในอนาคตด้วย “พี่ก็ตกใจนะ คือ เหมือนกับเราก็อยู่กันก่อนแต่งแล้ว ก็คือพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่รับรู้ พี่ก็มองหน้าแฟน เค้าก็บอกว่าเค้าดีใจ มีก็เลี้ยงกันไป แต่พี่ก็กังวลนะว่า จะท�ำยังไงต่อไปที่กังวล คือ เรื่องพ่อแม่นี่แหละ” คุณอ๊อฟ

“แวบแรกคือรู้สึกใจหาย เพราะเราไม่ได้ตั้งใจว่า เรามีลูก คือกังวลด้วย เพราะพ่อแม่ก็ยังไม่รู้ จะไหวไหม จะเลี้ยงลูกเป็นหรอ พ่อแม่ทางเค้าจะว่ายังไง จะรับเราได้ไหม ก็คุยกันว่า จะยังไงมีมาก็ต้องเลี้ยง ก็เลยตกลงว่าจะไป ฝากท้องกัน” คุณเพียน

2.8. คิดจะท�ำแท้ง แต่ไม่ท�ำเพราะไม่กล้า และพ่อของลูกยอมรับผิดชอบ ความรู้สึกแรกคือ ตกใจ คิดว่าการท้อง คือ ความผิดพลาด จึงไม่ต้องการลูก เพราะคิดว่าตนเองยังอายุ น้อย ต้องการใช้ชีวิตในช่วงวัยรุ่น ดังนั้นจึงมีความคิดจะท�ำแท้ง เช่น ดื่มเหล้า กินยา แต่ในที่สุด ก็ไม่กล้าท�ำ และผู้ชายก็ยอมรับการตั้งครรภ์ของเธอด้วย “ตกใจตกใจมาก คือ ไม่คิดว่าเราจะพลาด แล้วก็มีความคิดเลยว่าอยากที่จะเอาเด็กออก เพราะว่าเรายัง ไม่อยากมีลูกตอนนั้นเราก็แค่ 19 ปีเอง ก็คือยังอยากใช้ชีวิตวัยรุ่นอยู่ แต่ก็คือเป็นความคิดอยู่ลึกๆ ว่าเราจะ กินเหล้า กับยาทัมใจดีไหม แต่ก็คือเป็นความคิดแค่นั้น สุดท้ายคือ เราก็ไม่กล้า แล้วอีกอย่างพ่อของเด็ก ก็บอกจะรับผิดชอบ เรา เราก็เลยล้มเลิกความคิดนั้นไปเลย” คุณหมิว

2.9. แฟนนอกใจ มีผู้หญิงใหม่ ไม่แน่ใจอนาคต ดื่มเหล้าให้แท้ง แต่ไม่แท้ง ในช่วงเวลาการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาส�ำคัญที่ผู้หญิงต้องการความรัก ความมั่นใจ แต่เมื่อแฟนนอกใจ และทิ้งเธอไปมีผู้หญิงคนใหม่ ทางเลือกของเธอจึงแคบลง หากตั้งครรภ์ต่อไป ใครจะช่วยรับผิดชอบเลี้ยงดูลูก ผู้หญิงอาจตัดสินใจท�ำแท้ง โดยวิธีต่างๆที่ได้รับค�ำแนะน�ำจากเพื่อน คนรู้จัก ซึ่งวิธีเหล่านี้อาจท�ำให้แท้งหรือไม่

บทที่ 4 ผลการศึกษา

49


แท้งก็ขึ้นอยู่กับวิธีและสภาพร่างกายของแม่ และหากเด็กไม่แท้ง ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็กในอนาคต เช่น กรณีของคุณหน่อย แฟนนอกใจ เธอหมดหนทาง ตัดสินใจไม่เอาลูกไว้ ด้วยการดื่มเหล้าขาว แต่เด็กไม่แท้ง เธอ จึงเก็บลูกไว้ และยอมรับว่า อะไรจะเกิด ก็ต้องเกิด “ช่วงพี่ท้องได้ 6 เดือน พี่ก็เลิกกับแฟน เพราะเค้าเล่นแชท แล้วเค้าไปมีผู้หญิงใหม่ พอพี่รู้พี่ก็เสียใจนะ พอเกิดปัญหาตอนนั้นพี่ก็มีความคิดที่จะเอาลูกออก เพราะตอนนั้นก็คิดอะไรหลายๆ พ่อแม่พี่ก็ไม่รู้ว่าท้อง ไม่ไป เรียนมาอยู่กับแฟน แฟนก็ดันนอกใจอีกแล้ว ถ้าต่อจากนี้ไปต้องหากินหาใช้เอาเอง ไหนจะลูกที่อยู่ในท้อง พี่จะเอา เงินที่ไหนเลี้ยงเค้า ก็คิดไปต่างๆ นาๆ ตอนนั้นพี่ก็ไม่รู้อะไร แต่ว่าเพื่อนพี่เค้าบอกว่า ให้ลองกินเหล้าขาวดู เผื่อมัน จะออก แต่มันก็ไม่ออก พี่ก็ไม่ได้พยายามที่จะท�ำอะไรกับลูกต่อ ก็พอ ก็คิดว่า เอาว่ะเป็นไงเป็นกัน อะไรจะเกิด มันก็ ต้องเกิด” คุณหน่อย

2.10. กลัวต้องเลี้ยงลูกคนเดียวเพราะแฟนจะไปเกณฑ์ทหาร ปัญหาความวิตกกังวลของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมมีเกือบทุกคน คือ กลัวการถูกทอดทิ้งให้รับผิดชอบลูก คนเดียว ซึ่งเธอรู้ดีว่า เป็นเรื่องยากล�ำบากส�ำหรับผู้หญิงที่ไม่มีงานท�ำแน่นอน หรือ มีรายได้สม�่ำเสมอ ดังนั้นจึง มักเลือกจบปัญหาที่การท�ำแท้ง หรือ พยายามท�ำแท้ง “วันที่ไปตรวจที่โรงพยาบาล พี่ก็ไปกับแฟนนั่นแหละ พอผลตรวจออกพี่ก็บอกกับแฟนว่า พี่ท้อง เค้าก็ เงียบ แล้วก็บอกว่าปีหน้าเค้าต้องไปเกณฑ์ทหาร แล้วให้พี่อยู่เลี้ยงลูกไป แต่ตอนนั้นในความรู้สึกพี่ คือ มันใช่เหรอ เราพร้อมที่จะมีครอบครัวแล้วจริงๆหรือ แต่ว่าพี่ก็ไม่ได้คิดว่าพี่จะท�ำแท้งหรืออย่างไร แล้วถ้าเค้าไปเกณฑ์ทหารแล้ว พี่ต้องเลี้ยงลูกต้องหาเงินอยู่คนเดียว เราจะไหวหรอ จะเลี้ยงลูกยังไง จะมีใครช่วยเราเลี้ยงไหม” คุณเล็ก

3. พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง ไม่ต้องการเด็ก และ การกดดันให้ผู้หญิงเอาเด็กออก เมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม เธอจะรู้สึกหวาดวิตก มึนงง อับจนหนทาง การตัดสินใจจึงไม่ได้ใช้เหตุผล หรือความรอบคอบ และพร้อมถูกครอบง�ำ ชักชวน บังคับ ให้ท�ำตามความเห็นของบุคคลรอบข้าง โดยเฉพาะ แฟน หรือ แม่ของผู้หญิงเอง

3.1. แม่ทั้งโกรธและอาย จึงให้หนูไปเอาเด็กออก

ความคาดหวังของสังคม การกล่าวโทษการท้องไม่พร้อมของเด็กสาว ว่าเป็นเรื่องที่น่าอับอาย เสียหาย ร้ายแรง ท�ำให้ครอบครัวผิดหวัง เป็นแรงผลักที่น�ำไปสู่การท�ำแท้ง โดยเฉพาะของแม่ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลต่อเด็ก สาว ความกลัวพ่อแม่ผิดหวัง จึงเป็นแรงผลักดันส�ำคัญให้ผู้หญิงท้องไม่พร้อมท�ำแท้ง 50

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


กรณีคุณมินตรา เธอเป็นลูกสาวคนเดียวของครอบครัว ไม่ต้องการให้แม่ ครอบครัว ญาติพี่น้องที่ฝาก ความหวังไว้กับอนาคตของเธอ ผิดหวัง “หนูเป็นลูกคนเดียวนะพี่ แล้วก็คือญาติพี่น้อง ลูงป้าน้าอา ก็เหมือนฝากความหวังไว้ที่หนู หนูเป็นเด็กที่ เรียนดีด้วย เค้าก็คิดว่าเราต้องมีอนาคตที่ไปได้ไกลแน่ๆ หนูก็ไม่ได้อยากที่จะท�ำให้ที่บ้านผิดหวัง คือ ถ้าทางบ้านรู้หนู ตายแน่ๆ อนาคตที่เค้าคาดหวังกับเราไว้ ก็ต้องพัง”

หลังจากคุณมินตราบอกเรื่องที่เธอท้องกับแม่ ผลที่ตามมาคือ แม่โกรธเธอมาก อับอาย กลัวชาวบ้านจะ ล่วงรู้ และได้พูดจากับพ่อฝ่ายชาย และคิดว่า ทางแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดคือ การเอาเด็กออก ซึ่งแม่ให้เธอบอกให้ แฟนพาไปท�ำแท้ง และขอให้เธอแข็งใจสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้น “แม่หนูเองตอนนั้นก็เครียดเหมือนกันนะพี่ คือ ทั้งอาย ทั้งกังวลว่า ชาวบ้าน ญาติพี่น้องจะรู้ ตัดสินใจ บอกญาติพี่น้องยังไง พอหลังจากวันที่บอกแม่ไป แกก็โกรธหนูนะ ไม่ยอมคุยกับหนู จนก่อนวันที่หนูจะกลับไปเรียน แม่บอกให้หนู ไปบอกแฟน ให้พาไปเอาเด็กออกซะ คือแม่ไม่รู้จะช่วยยังไง แม่มืดแปดด้านไปหมดแล้ว คุยกับพ่อ ของแฟนหนูแล้วว่า จะเอาเด็กออก ยังไงก็ไม่เอาไว้ ซึ่งพ่อของแฟนก็ไม่ได้ว่าอะไร แล้วแต่ทางฝ่ายหนู หนูก็เข้าใจ แม่นะว่า แกคงเครียด แล้วก็คงคิดหาทางออกให้เราได้ดีที่สุด แม่ให้ก�ำลังใจหนูว่า ให้แข็งใจสู้ ไปเอาเด็กออกซะ” คุณมินตรา

กรณีคุณเพียว เธอสงสัยว่าตนเองจะตั้งท้อจึงไปซื้อที่ตรวจครรภ์มาลองตรวจดู และผลก็ออกมาว่าเธอ ท้อง ความรู้สึกแรกคือ ตกใจ สับสน กังวล และนึกถึงหน้าของพ่อแม่ของเธอขึ้นมาในทันที เพราะเธอเองเป็น เหมือนความหวังสุดท้ายของพ่อและแม่ เมื่อเกิดเรื่องนี้จึงท�ำให้เธอคิดหนักคิดมากจนเหมือนตัวเองจะเป็นบ้า และพยายามหาทางออกให้กับเรื่องที่เกิดขึ้นให้เร็วที่สุด เมื่อบอกให้แม่รู้ แม่โกรธและอายมากที่ลูกสาวท้องก่อน แต่งงาน และให้ถามฝ่ายชายว่าจะรับผิดชองหรือไม่ ถ้าไม่รับก็ให้เธอเอาเด็กออก แม้ว่า คุณเพียวได้ตัดสินใจ จะเลี้ยงดูลูกด้วยตนเองไปแล้ว “ตอนที่รู้แรกๆเลยก็ยังไม่อยากที่จะบอกใคร เพราะหนูเป็นคนคิดมาก จนบางที เหมือนตัวเองจะเป็นบ้า คือตอนนั้นเราก็คิดถึงหน้าพ่อกับแม่ ที่บ้านหนู พี่สาวหนูก็เคยพลาดมาท้องแบบนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง เหมือนแกจะฝาก ความหวังไว้ที่เรา อยากให้เราได้เรียน อยากให้เราเป็นหลักของครอบครัว ส่วนน้องชายเกเรก็ไม่ได้เรียนหนังสือแล้ว ตอนนั้นก็ยังไม่กล้า ไม่รู้จะเริ่มบอกใครยังไงก่อน.....แม่บอกหนูว่า ให้ลองไปถามพ่อแม่ฝ่ายชายดู ว่าเค้าจะท�ำยังไง กับเรื่องนี้ แล้วมาบอกพ่อ แต่ตอนนั้นแม่หนูก็บอกมาทางโทรศัพท์ก็พูดประมาณว่า ถ้าแฟนไม่รับ ก็ไปเอาเด็กออก ซะ แต่หนูก็บอกว่าหนูจะเลี้ยงเอง แต่หนูก็คิดว่าที่เค้าพูดแบบนั้น เค้าคงจะอายที่ลูกสาวท้องก่อนได้แต่งงาน” คุณ เพียว

บทที่ 4 ผลการศึกษา

51


3.2. หนูไม่รู้จะท�ำอย่างไร แล้วแต่แม่ว่า อยากให้หนูท�ำอะไร เมื่อรู้ว่าท้อง ผู้หญิงบอกแม่เป็นคนแรก แม่โกรธ ด่าว่าเธอ และบอกว่าจะท�ำอย่างไรก็ท�ำ ซึ่งในเวลา นั้น เธอรู้สึกว่า ตัดสินใจอะไรไม่ได้ คิดว่าตนเองไม่มีทางเลือกใดๆ จึงให้แม่เป็นคนตัดสินใจให้ “แม่หนูรู้ก่อนพี่ คือ พอตั้งสติได้ก็โทรบอกแม่เลยว่า หนูท้อง หนูก็โทรคุยเรื่องทั่วไปก่อน แล้วหนูก็เลย บอกว่าหนูท้อง แล้วแม่ก็ถามหนูว่าท้องกับใคร แล้วแม่ก็ด่าหนูทางโทรศัพท์อยู่นานเลย จนแม่พูดว่าอยากท�ำอะไรก็ ท�ำ จะเอายังไงต่อไปซึ่งหนูเองก็ตัดสินไม่ได้ คือ ก็ไม่รู้จะท�ำยังไงอ่ะพี่ ในใจตอนนั้นก็คือ ถามตัวเองว่ามันมีทางเลือก อื่นให้เราเลือกไหม เรามีสิทธิ์ที่จะเลือกทางอื่นเหรอ หนูคิดเลยว่า ถ้าหนูท้อง ชีวิตหนูต้องเปลี่ยนไปแน่ๆ คิดว่าคงท�ำ อะไรต่อไปไม่ได้แล้ว หนูก็ได้แต่พูดว่าแล้วแต่แม่เลยว่า อยากให้หนูท�ำอะไร” คุณนัท

3.3. พ่อแม่ ครอบครัว อยากให้เธอเอาเด็กออก แต่เธอไม่ยอมท�ำตาม หลังจากที่พ่อแม่ ยายและป้า รู้ว่า เธอท้อง ทุกคนลงความเห็นว่า ควรพาเธอกลับไปบ้านและเอาเด็ก ออก เพราะเธอยังเด็กและรับผิดชอบเลี้ยงตัวเองและลูกไม่ได้ ส่วนเธอดื้อรั้นเก็บลูกไว้และไปอยู่กับฝ่ายชาย เพราะคิดว่า ครอบครัวอับอายและเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง “เค้าก็ขึ้นมาหาเราที่กรุงเทพ พอมาเจอเราก็เป็นแบบนั้นจริงๆ เค้าก็เลยกลับไปปรึกษากับญาติพี่น้อง ทางบ้านว่า จะจัดการยังไงกับเรื่องของเรา ซึ่งยายกับป้าก็แนะน�ำว่า พาเรากลับไปที่บ้าน แล้วพาเราไปเอาเด็กออก มันก็หลายอย่างนะ เราว่าคงอายแหละ แล้วก็มันไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องในสายตาของเค้า คือเค้าก็บอกเราว่าขนาดตัว ของตัวเองตอนนี้ยังเอาไม่รอด จะมีลูก เลี้ยงมันไหวหรอ จะท�ำมาหากินกันยังไง ซึ่งตอนนี้มันก็เป็นเหมือนที่เค้าพูด แต่ตอนนั้นเราก็รั้นที่จะอยู่กับเขา” คุณหลา

3.4. พ่อ แม่ไม่ยอมรับลูกเขย เธอจึงท�ำแท้ง แต่ไม่ส�ำเร็จ เด็กสาวที่ท้องไม่พร้อม มักท�ำให้พ่อแม่รู้สึกอับอาย ผิดหวัง โกรธ ลูก ลูกเขย และ ไม่ยอมมีส่วนร่วมใน ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ บางรายเพิกเฉย ไม่ให้คำ� แนะน�ำ ช่วยเหลือ ก็ยงิ่ ท�ำเด็กสาวเหล่านีไ้ ม่มที างออกหรือทางเลือก อาจ ตัดสินใจโดยประชดประชัน ตัดสินใจแบบไม่มีทางออก เช่น กรณีคุณกี้ เธอต้องการความช่วยเหลือ หรือการยอมรับจากแม่มากๆ แต่เมื่อแม่ปฏิเสธ เธอจึงท�ำแท้ง แต่แท้งไม่ส�ำเร็จ เธอจึงเก็บเด็กไว้ และหนีไปอยู่กับแฟนจึงคลอด “หนูก็ไม่ได้บอกเองหรอกพี่ วันนั้นทางแฟนเค้าก็ให้ญาติที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน มาบอกเรื่องหนูให้พ่อแม่รับรู้ ตอนนั้นหนูก็นั่งอยู่หน้าบ้าน พอแม่หนูรู้เค้า ก็บอกว่าเค้าไม่รับลูกเขยคนนี้เด็ดขาด ยังไงก็ไม่รับ ซึ่งตอนนั้นหนูก็ไม่ 52

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


ถามว่าเพราะอะไร แฟนหนูไม่ดียังไง เพราะเท่าที่ดู เค้าก็ไม่ได้เสียหายอะไร แล้วเค้าก็ไม่ยอมไปคุยกันเรื่องหนูเลย นะพี่ มันก็คาราคาซัง จนสุดท้ายหนูตัดสินใจย้ายไปอยู่ที่บ้านของแฟนเลย จนหนูคลอดแล้วค่อยเอาลูกไปหาแม่… เค้าก็บอกว่ายังไงเค้าก็ไม่เอาลูกเขยคนนี้ ก็เลือกเอาว่าจะเอาแม่ หรือ จะเลือกเขา ตอนนั้นหนูถึงต้องพยายามเอาลูก ออกไงพี่ แต่มันก็ไม่ยอมออก พอกลับมาบ้าน แม่ก็นิ่งเงียบไม่ค่อยคุยกับหนู หนูก็เลยรู้สึกอึดอัด จนสุดท้ายไม่ไหว ก็ เลยหนีไปอยู่บ้านแฟนในช่วงที่ท้องได้ประมาณ 5 เดือน” คุณกี้

3.5. สองจิตสองใจ ว่าจะท�ำแท้งหรือเก็บไว้ แต่ให้เก็บเด็กไว้ การตัดสินใจของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมนั้น หากได้รับการยอมรับจากครอบครัวและแฟน ก็จะท�ำให้มี ความมั่นใจในการตัดสินใจ โดยเฉพาะแฟน ซึ่งยอมรับในตัวเธอและลูก แต่เธอก็ต้องมั่นใจว่า เขาจะดูแลรับผิด ชอบเลี้ยงดูเธอและลูกได้ เช่น มีอาชีพ มีงานท�ำ มีรายได้พอสมควร แต่หากไม่มั่นใจชีวิตหรืออนาคต ผู้หญิงก็ จ�ำเป็นต้องเอาเด็กออก “ตอนแรกก็ตกใจ เพราะเราไม่ได้ตั้งใจว่าเราจะมีเค้าในตอนนี้ แล้วอีกอย่างพ่อแม่พี่ ก็ยังไม่ได้ยอมรับเขา แล้วเราทั้งสองคนก็ยังไม่ได้ตบแต่งกันตามธรรมเนียม พี่ก็ยังงงๆ และก็ยังไม่แน่ใจนะ เพราะตอนนั้นที่อยู่กรุงเทพ พี่ ก็เคยไปซื้อมาตรวจ ก็มีท้องบ้างไม่ท้องบ้าง ครั้งนี้ก็เลยลองซื้อมาตรวจอีกหลายๆอัน เพื่อความมั่นใจ ผลออกมา เหมือนกัน เท่านั้นแหละก็มั่นใจเลยว่าท้องแน่ๆ…พี่เองในใจก็สองจิตสองใจ เพราะเราก็อยากมีลูกมานานแล้ว แต่อีก ใจก็คือ ท�ำไมต้องมาเป็นตอนนี้ ตอนที่อะไรก็ยังไม่ลงตัว แต่พอพี่ได้ฟังจากปากแฟนว่า ให้เก็บเด็กไว้ ก็มั่นใจว่า เรา ไม่เอาเด็กออกจะดีกว่า เพราะอย่างน้อย เค้าก็น่าจะรับผิดชอบในตัวเราและลูก” “หลังจากนั้นเค้าก็ชวนพี่ให้ไปอยู่ด้วยกันที่อุบล ให้ไปท�ำงานอยู่ร้านข้าวต้มที่อุบล ซึ่งแฟนพี่เค้าก็ไปท�ำ อยู่แล้วตอนนั้น ที่พี่รู้ว่าพี่ท้อง พี่ก็ยังไม่ได้บอกพ่อกับแม่พี่นะ คือที่คุยกับแฟนไว้คือจะไปอยู่อุบล จนกว่าลูกจะ คลอดแล้วค่อยกลับมา” คุณขวัญ

3.6. แฟนและพ่อแม่ของเขาไม่ยอมรับเธอและลูกในท้อง การตั้งครรภ์เป็นเหตุการณ์ที่ส�ำคัญที่สุดเหตุการณ์ของลูกผู้หญิง และยิ่งเป็นการตั้งครรภ์ไม่พร้อม สถานการณ์กม็ กั จะแสดงรูปธรรมให้เห็นถึงระบบชายเป็นใหญ่ทคี่ รอบง�ำสังคมไทยอย่างชัดเจน นับแต่การทีฝ่ า่ ย หญิงงอนง้อ ขอร้องให้ฝ่ายชายรับผิดชอบการตั้งครรภ์หรือเด็กในท้อง พ่อแม่ญาติพี่น้องซึ่งต้องการให้ลูกสาว ของตนมีสามี ได้รับการยอมรับจากครอบครัวของฝ่ายชายอย่างถูกต้องตามค่านิยม และ ประเพณี แต่ฝ่ายชาย ก็มักจะมีแนวโน้มที่จะไม่รับผิดชอบกับการตั้งครรภ์ของผู้หญิง เป็นการได้เปรียบที่ไม่ต้องรับผิดชอบ และแม้ จะขอให้พ่อแม่ไปพูดกับผู้ชายและครอบครัวของเขา แต่พ่อแม่ของสามีปฏิเสธเธอ และลูก ไม่ยอมรับ ปล่อย ให้ฝ่ายหญิงก้มหน้ารับผิดชอบชีวิตของตนและลูกโดยล�ำพัง

บทที่ 4 ผลการศึกษา

53


“พอนานวันไปก็ยังไม่มีวี่แววว่า เค้าจะยังไงต่อ พ่อแม่พี่ก็กลัวว่า เค้าจะทิ้งพี่ และหลานเค้าก็เลยเหมารถ ไปหาเค้าถึงกาฬสินธุ์ พอลงรถไปพี่ก็นั่งเล่นอยู่หน้าบ้านเค้า ปล่อยให้ผู้ใหญ่เค้าคุยกัน ซึ่งพี่ไม่รู้ว่าเค้าคุยกันว่า อย่างไร พอเค้าออกมาเค้าก็พาพี่ขึ้นรถกลับบ้านเลย เหมือนผู้ใหญ่เค้าจะตกลงกันไม่ได้ทั้งๆ ที่พี่กับแฟนยังไม่ได้คุย อะไรกันสักค�ำ พี่ก็เลยถามแม่ว่าตกลงมันเป็นยังไง แม่พี่ก็เลยบอกว่าจะมาทนอยู่ที่นี่ท�ำไม แม่ผัวก็ไม่ได้ชอบ ไปกลับ บ้านเรา พี่ก็ยืนงงอยู่ตอนนั้น ทางนั้นก็สามี ทางนี้ก็พ่อแม่ แต่สุดท้ายพี่ก็ตัดสินใจขึ้นรถกลับมาพร้อมแม่กับพ่อ...พี่ก็ อยู่บ้านไม่ได้ท�ำอะไรจนพี่คลอดลูกคลอดที่โรงพยาบาลในอ�ำเภอ แม่พี่เป็นคนไปเฝ้าไปดูแล” คุณเต่า

4. การท�ำแท้ง การตั้งท้องอาจเป็นความสุข เพราะผู้หญิงต้องการลูก พวกเธอวาดฝันและผูกพันความสุขของตนเอง กับเด็กในท้อง แต่ส�ำหรับผู้หญิงที่ไม่ต้องการลูก การตั้งท้องเป็นความทุกข์ และหากจินตนาการของเธอมีแต่ ปัญหา ภาระ การไม่มีทางออก การไม่มีอนาคต และการถูกต�ำหนิ ติเ ตียน ความไม่ต้องการลูกของผู้หญิงก็ยิ่ง รุนแรงมาก เพราะการท้องคือ ความผิดพลาดจะน�ำพาความทุกข์อื่นๆมาให้ เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตตามปกติ เช่น เป็นเงิื่อนไขที่ไม่สามารถเรียนต่อ ท�ำงาน พ่อแม่เสียใจ รับภาระมากขึ้น ดังนั้นความคิดของพวกเธอคือ ไม่ ต้องการลูก และต้องก�ำจัดทุกข์หรือปัญหาคือ “เอาออก” เพราะคิดไปถึงอนาคตของตนและลูก ความไม่แน่ใจ ว่าจะเลี้ยงดูลูกให้เติบโตได้อย่างไร แม้ว่ามีบางคนเแฟนยอมรับการท้องของเธอ แต่ก็ยังไม่ใช่หลักประกันกับ อนาคต ในเมื่อพวกเธอส่วนใหญ่อายุน้อย ยังเรียนหนังสือ ไม่มีงานท�ำ ไม่มีรายได้ พ่อแม่ยังเป็นผู้เลี้ยงดูส่งเสีย และแม้ว่าบางคนจะท�ำงานแต่เธอก็มีลูกเล็กอีกคนที่ต้องเลี้ยงดู

4.1. การท�ำแท้งด้วยตนเอง

ข้อมูลเกี่ยวกับการท�ำแท้งนั้นมีอยู่แพร่หลาย หาได้ทั้งจากเพื่อน คนรู้จัก ซึ่งอาจมีประสบการณ์มาก่อน หรือเคยรู้จักผู้มีประสบการณ์ นอกจากนี้ยังมีในสื่อต่างๆ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความงามของผู้หญิง เช่น ร้านเสริม สวย ธุรกิจขายตรง ผู้หญิงจึงสามารถเข้าหาการท�ำแท้งได้ไม่ยาก ผู้หญิงที่เลือกการท�ำแท้งด้วยตนเอง ไม่ไป ท�ำแท้งในสถานบริการ เพราะความกลัว ไม่กล้า พวกเธอเแสวงหาค�ำแนะน�ำจากเพื่อน คนรู้จัก วิธีการท�ำแท้ง ด้วยตนเองต่างๆถูกน�ำมาใช้ลองผิดลองถูก บางวิธีอาจรุนแรง เช่น กินยาขับเลือดของสตรี ท�ำร้าย ทุบตีท้องของ ตนเองเป็นระยะเวลาหลายวันบ้าง ท�ำงานหนัก รุนแรงมากบ้าง น้อยบ้าง เพื่อให้เด็กแท้งออกมา แต่เมื่อเด็กก็ ไม่ยอมแท้ง พวกเธอก็จ�ำเป็นต้องปล่อยให้ตั้งท้องต่อ ความรู้สึกของพวกเธอจึงผสมกันอยู่ระหว่าง ไม่ต้องการลูก พยายามท�ำแท้ง แต่เมื่อไม่ออก แต่ก็จ�ำยอมต้องเก็บรักษาลูกเอาไว้

54

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


4.1.1 กรณีใช้ยาสตรี ยาขับเลือด

“อยากเอาออกมาก คือ ตอนที่แอบมาเจอกัน พ่อแม่เราก็เริ่มรู้แล้ว ความรู้สึกเราแวบแรก คือ ไม่ได้ตั้งใจ จะมีจริงๆอยากเอาออกมากๆ วันแรกที่รู้ว่าตัวเองท้อง เค้าก็อยู่กับเรานะ เค้าบอกเราว่า ไม่ต้องเอาออกหรอก มีก็ เลี้ยง แต่เรายังไง หัวเด็ดตีนขาดก็อยากจะเอาออก…คือ พยายามท�ำด้วยการกินยาสตรี เราทานจนเมาอ่ะ ก็ยังไม่ ออก พยายามทุบตีท้องตัวเองทั้งเจ็บทั้งร้อง มันก็ยังไม่ออก ก็พยายามทุกทางแล้วก็ไม่ยอมออก แต่จะให้ไปท�ำแท้ง ก็ไม่กล้าเพราะกลัวเจ็บ คือเวลาแฟนไปท�ำงาน เราก็จะเริ่มท�ำหล่ะ พยายามท�ำแบบนั้นอยู่เกือบอาทิตย์ ก็ไม่มีอะไร เกิดขึ้น ก็เลยท้อ ไม่ไหวแล้วก็เลยไม่ท�ำต่อแล้ว ถ้าเค้าอยากจะมาเกิดกับเราก็ให้เขามา” คุณหลา

“เค้าก็ถามพี่ว่า เอายังไงดีหล่ะ จะเอาไว้หรือเอาออกดี ลองไปซื้อยามากินขับดูไหม พี่ก็เลยลองปรึกษา เพื่อนที่เค้าเคยท�ำในกรุงเทพดู เพื่อนพี่ก็แนะน�ำให้ไปซื้อยาตัวนี้มากิน ทีนี้พอมาคุยกับแฟนอีกครั้ง แฟนก็เลยบอก ให้ไปซื้อยาสตรีมากินอีกครั้ง คราวนี้นั่งกินแต่ยาสตรีอย่างเดียววันนั้นหมดไป 5-6 ขวด สุดท้ายก็ไม่ออกแล้ว เพื่อน ที่พี่คุยด้วยก็บอกนะว่า ถ้าอยากเอาออกให้มาหาได้เลยเดี๋ยวพาไปเพราะขนาด 5-6 เดือน ยังเอาออกได้เลย แต่พี่ใจ ไม่เด็ดพอก็เลยไม่ไปเอาออกดีกว่า ส่วนยาตัวนั้นที่บอกก็หาซื้อล�ำบากก็เลยทานแค่ยาสตรี แล้วก็มานั่งคุยกับแฟน นะว่าถ้าแบบให้พี่ไปเอาออกที่คลินิกหรือต้องไปท�ำแท้งจริงจัง พี่บอกเลยว่าพี่ไม่กล้าเค้าก็เลยบอกว่าไม่กล้าก็เก็บไว้ ก็เลยพากันไปฝากท้อง” คุณแพน

“คิดเลยตอนนั้นว่า ยังไงก็มีไม่ได้จะมีลูกตอนนี้ไม่ได้เพราะหนูยังเรียนอยู่ แล้วหนูก็คือยังไม่บอกใครไม่มี ใครรู้นอกจากหนูกับพี่ที่ฝึกงาน หนูก็ปรึกษาพี่เค้าว่าจะเอายังไง คือหนูจะท้องตอนนี้ไม่ได้ พี่เค้าก็เลยเหมือนมีลูกค้า ประจ�ำที่มาซื้อของ เค้าแนะน�ำว่าพี่เค้ารู้จักที่ท�ำแท้ง ก็เลยถามหนูว่าอยากไปท�ำไหม หนูก็บอกว่าไม่เอาหนูไม่กล้า หนูกลัวตายพี่เค้าก็บอกว่าให้คิดให้ดีๆนะ ว่าตัวเองก็อายุยังไม่มาก อายุแค่นี้ยังเรียนอยู่ ท�ำงานหาเงินก็ยังไม่ได้ จะ เอาเงินที่ไหนเลี้ยงลูก ยอมล�ำบากวันนี้แล้วเราค่อยมีเค้าไหม พี่เค้าบอกว่าให้กลับไปคิดดูให้ดีๆ ซึ่งหนูก็บอกเลยว่า หนูไม่กล้า แต่ตอนนั้นก็คือ แม่จะรู้เรื่องนี้ไม่ได้ แต่หนูก็กลัวตายนะ พี่ตอนนั้นแล้วก็ไปได้สูตรจากไหนมานี่แหละว่า ให้กินยาสตรีผสมกับอะไรสักอย่างซึ่งหนูไม่กล้ากิน ก็แอบกินยาสตรีของป้าไปครึ่งขวดแค่นั้น หนูก็เลยหยุดกิน” คุณ นัท

4.1.2 กรณีท�ำงานหนัก ยกของหนัก ไม่พักผ่อน สร้างสถานการณ์ให้ตนเองแท้งโดยไม่ได้ตั้งใจ

“เอาความจริงเลยนะ พี่พยายามท�ำทุกทางเพื่อให้แท้ง ยกของหนักก็แล้ว ท�ำงานหนักก็แล้ว ไปเข้าห้องน�้ำ นี่ท้องพี่หย่อนมากๆ เลยนะ คือหวังว่าเค้าจะออกมาโดยที่เหมือนกับเป็นความบังเอิญ คือ ถ้าเค้าหลุดไปอย่างน้อยก็ ไม่รู้สึกผิดเท่ากับการที่เรากินยา หรือตั้งใจไปท�ำแท้งเอาเขาออก พี่ก็ท�ำงานหนักจนบางทีก็เป็นตะคริว ท้องนี่แข็ง เป็นลูกเลย คือ มันทรมานมาก แล้วพี่ต้องขับรถมอเตอร์ไซต์ไปท�ำงานเองคนเดียว บางวันรู้สึกไม่ไหวจนอยากที่จะ นอนพัก แต่ก็เกรงใจนายจ้างแล้วก็เพื่อนร่วมงาน ก็มีแบบแอบพิงเสาบ้าง กลับมาจากท�ำงานก็ต้องมาวุ่นวายอยู่กับ ลูกชายอี กคือก็คิดหนักและเครียดจนอยากที่จะท�ำอะไรก็ได้ให้ตัวเองไม่ว่าง จะได้ไม่ต้องคิด ให้เจ้าตัวเล็กหลุดออก ไปเลยได้ยิ่งดี คือพี่ก็คิดอยู่ทุกวันว่าพี่อยากจะเอาเจ้าตัวเล็กออก แต่ใจหนึ่งก็กลัว คือถ้าไปท�ำแล้วเด็กออก หรือแท้ง ก็ดีไป แต่ถ้าท�ำแล้วไม่ส�ำเร็จแล้ว เค้าเกิดมาพิการไม่สมบูรณ์ก็เป็นภาระเราอีก ก็คิดหนักไปอีก” คุณโด่ย

บทที่ 4 ผลการศึกษา

55


4.2. การตัดสินใจท�ำแท้งในสถานบริการท�ำแท้งเถื่อน เมือ่ ผูห้ ญิงตัดสินใจอย่างแน่วแน่วา่ ไม่ตอ้ งการเด็ก ก็แสวงหาข้อมูลจากเพือ่ นและในสือ่ ทัว่ ไป ซึง่ มีอย่าง แพร่หลาย และตัดสินใจท�ำแท้งที่สถานบริการ ซึ่งให้บริการทั้งการท�ำแท้งในสถานบริการ การฉีดยา การใช้ยา เหน็บ ซึ่งอาจจะพักค้างคืน หรือกลับบ้าน รอการตกเลือด การท�ำแท้งเหล่านี้อาจส�ำเร็จ อาจผิดพลาดหรือเด็ก ไม่แท้ง และผู้หญิงอาจต้องท�ำแท้งซ�้ำ หรือ ท�ำหลายวิธี กรณีคุณมินตรา เป็นกรณีที่การแท้งไม่ส�ำเร็จ ซึ่งเมื่อทั้งคู่ตัดสินใจชัดเจนว่า ไม่ต้องการเด็ก หาข้อมูล ไปท�ำแท้งด้วยการใช้ยาเหน็บ และคิดว่า เด็กได้หลุดออกไปแล้ว แต่เวลาผ่านไปอีกสามเดือน พบว่า เด็กยังอยู่ ในครรภ์ และมีเด็กมีอายุครรภ์ห้าเดือนแล้ว “พอพุดคุยปรึกษากันก็เลยตัดสินใจว่าจะเอาเด็กออก หนูกับแฟนไปคลินิกด้วยกันในตัวจังหวัด คือคนใน หมู่บ้านเคยไปท�ำแท้งมา ก็เลยไปขอที่อยู่จากเขา พอไปถึงที่คลินิกมันมี 2 แบบ คือ เอาเด็กออกที่นั่น กับเอายามา เหน็บเอง แล้วนอนพักที่รีสอร์ทที่ทางคลินิกเช่าไว้ หนูเลยเลือกการเหน็บยา ก็ของเงินจากแฟนมาซื้อยามา 2 เม็ด ลักษณะยาก็เหมือนเม็ดยาทั่วไปราคาเม็ดละ 1,500 บาท คือ ก็เอามาเหน็บตอนสี่ทุ่ม แล้วก็ห้ามเยี่ยวห้ามเข้าห้องน�้ำ พอประมาณตีสอ งก็รู้สึกปวดท้องเหมือนปวดท้องประจ�ำเดือน ก็เลยลุกไปเข้าห้องน�้ำปรากฏว่า เหมือนเป็นก้อน เลือดไหลออกมา ซึ่งตอนนั้นหนูก็เข้าใจว่าน่าจะหลุดออกมาแล้ว ผ่านไปอีกสามเดือนประจ�ำเดือนหนูก็ยังไม่มา ก็ เลยไปตรวจอีกครั้ง ปรากฏเด็กก็ยังอยู่ในท้อ งเป็นตัวเด็กแล้ว ตอนนั้นก็น่าจะ 5 เดือนได้” คุณมินตรา

กรณีคุณอุ้ย ก็เป็นกรณีที่ท�ำแท้งไม่ส�ำเร็จ คุณอุ้ยต้องการท�ำแท้ง แต่แฟนไม่ต้องการ เขาพร้อมรับผิด ชอบ คุณอุ้ย ความรู้สึกแรกเมื่อรู้ว่า ท้อง คือเธอไม่ต้องเอาเด็กไว้ เพราะเธอยังไม่พร้อมยังเรียนหนังสืออยู่ และ ยังต้องการใช้ชีวิตอิสระ เธอจึงแอบไปท�ำแท้ง โดยใช้วิธีฉีดยาขับเด็ก แต่เธอก็ท�ำแท้งไม่ส�ำเร็จ และเด็กก็ยังอยู่ใน ท้องของเธอ “ไม่เอาเด็กไว้แน่นอนเราไม่อยากมีลูก เรายังไม่พร้อม ยังเรียนอยู่ ยังอยากมีอิสระในชีวิต ตอนที่เรารู้ แรกๆ คือทุกข์มาก จะเป็นจะตาย พยายามท�ำทุกวิถีทางที่จะให้เด็กออกมา” “ใช่ เราก็แอบไปเอาออกเอง ตอนแรกก็ไปหาหมอที่คลินิกท�ำแท้งเถื่อนในตัวจังหวัด หมอเค้าก็จับดูเด็ก ให้เค้าก็ถามเราว่าจะเอาออกไหมเด็กก็คงได้สัก 2-3 เดือน นี่แหละ เค้าคิดเรา 6,000 บาท เราก็เลยไม่กล้า ผ่านมา อีกหนึ่งเดือน ก็เลยไปฉีดยาขับเด็กที่อุบล คลินิกที่อุบล รุ่นพี่ที่รู้จักกัน เค้าเคยพาแฟนไปท�ำ แต่เด็กก็ไม่ยอมออก พอเด็กไม่ยอมออก เราก็เลยต้องจ�ำใจให้เค้าเกิดออกมา ก็จนปัญญา ก็เลยยอมรับความจริง” คุณอุ้ย

56

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


4.3. การท�ำแท้งหลายครั้งหรือหลายวิธีแต่ไม่ส�ำเร็จ ความเข้มข้นในการท�ำแท้งมีหลายระดับ นับแต่เริ่มต้น จากการท�ำงานหนัก ไม่พักผ่อน เพื่อให้เด็กหลุด ออกไปเอง การใช้ยาขับเลือดในปริมาณต่างๆ การทุบตีท้อง บีบกด การฉีดยา การเหน็บยา การขูดมดลูก ซึ่ง ถ้าความพยายามเหล่านี้ไม่ส�ำเร็จ แม่หรือผู้หญิงก็อยู่ในภาวะจ�ำยอมเก็บเด็กในท้องไว้ แต่ส�ำหรับผู้หญิงบางคน อาจมีการท�ำแท้งหลายครั้ง ทั้งเกิดจากความต้องการของแม่ที่มีความแน่วแน่ว่า ไม่ต้องการเด็ก และเกิดจาก บุคคลรอบข้างของผู้หญิง เช่น แฟน สามี พ่อแแม่ เข้ามาบีบบังคับการตั้งท้องของเธอ ประเด็นส�ำคัญคือ เมื่อผู้หญิงไม่พร้อม ไม่ต้องการลูก เธอหาทางแก้ไขปัญหาด้วยการขจัดเด็กในท้อง แต่การขจัดเด็กแบบลองผิดลองถูก ท�ำหลายวิธี ท�ำหลายครั้ง ย่อมส่งผลกระทบต่อตัวอ่อนในครรภ์ ยิ่งตัวอ่อน ได้รับการกระทบกระเทือนมากขึ้นเท่าใด เขาก็ยิ่งมีโอกาสอ่อนแอ พิการ เสี่ยงในการเติบโตมากขึ้นเท่านั้น ความไม่ต้องการ”ท้อง ก็จะติดตามมาด้วยความไม่ต้องการ”ลูก”เมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว ทางเลือกของผู้หญิง ศีลธรรมของสังคม สิทธิของแม่ สิทธิของตัวอ่อน การท�ำแท้งถูกกฏหมายปลอดภัย จ�ำเป็นต้องถูกตรวจสอบใน สังคม กรณีคุณมินตรา เธอพยายามท�ำแท้งลูกเมื่อตั้งท้อง แต่เด็กไม่ออก ดังนั้นการท�ำแท้งครั้งที่สองเกิดขึ้น เมื่อแม่ของเธอทราบเรื่อง และให้เธอไปเอาเด็กออกอีกครั้ง เธอพยายามต่อต้านหรือขัดขืน แต่ด้วยความรู้สึกผิด ต่อแม่ จึงไปท�ำแท้งครั้งที่สอง “ครั้งที่ 2 ที่ไปเอาเด็กออก ตัดสินใจไปหาศูนย์ปรึกษาการวางแผนครอบครัวที่จังหวัดอุบลราชธานี แต่ที่ นั่นเค้าจะเอาเด็กออกให้ถ้าอายุครรภ์ไม่เกิน 2 เดือน และในกรณีที่เด็กพิการหรือพ่อแม่ไม่ต้องการเด็ก ที่นั่นไม่ ท�ำให้ พอเราเดินออกมาจากศูนย์ เค้าก็จะมีนายหน้ามารอดักเรา เข้ามาเจรจาเรื่องราคา ถ้าต้องการจะเอาเด็กออก จริงๆ แฟนหนูก็เลยเหมือนเข้าไปคุยกับเค้าตอนนั้น เหมือนกับว่านายหน้าเค้าคิดราคา 10,000บาท/จ�ำนวนเดือนที่ ท้อง” คุณมินตรา

กรณีคุณกี้ เธอไม่ต้องการเด็ก แม้แฟนจะยอมรับลูก เธอจึงไปฉีดยาให้แท้งเด็กถึง สามเข็ม แต่เด็กก็ไม่ ออก สถานบริการแนะให้ขูดมดลูก แต่เธอกลัว จึงไม่ได้ท�ำ

“ตัดสินใจเองพี่ อย่างที่บอกว่า มันไม่ทางออกแล้วในตอนนั้น หนูก็แอบไปนะพี่ เพื่อนพาไป แต่พอครั้งที่ สองแฟนเป็นคนพาไป เพราะเค้าไม่อยากให้หนูไปคนเดียว แต่ตอนแรกที่รู้เค้าก็ห้ามหนู แต่หนูก็ยืนยันว่ายังไงก็จะ เอาออก ก็ทะเลาะกันไปพักหนึ่ง แต่สุดท้ายเค้าก็พาหนูไป...หนูก็ไปคลินิกรับวางแผนครอบครัวประมาณนี้ในตัว จังหวัด แต่ว่าพอเข้าไปมันก็จะเป็นรีสอร์ท อารมณ์เหมือนสถานที่ที่เค้าให้คนท�ำแท้งไปนอนพักนั่นแหละ หนูก็เลย ไปเอาออกด้วยการฉีดยาขับ แต่ฉีดไปเข็มแรกเด็กก็ยังไม่ออก ไปฉีดเข็มที่สองก็ยังไม่ออก พอไปครั้งที่สามเค้าบอก ว่าต้องขูดมดลูก หนูเลยกลัวแล้วก็ไม่เอาเด็กออกแล้ว อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ผู้ใหญ่เค้าจะว่าอย่างไรก็ช่าง” คุณกี้ บทที่ 4 ผลการศึกษา

57


4.4. ท้องไม่พร้อม ท�ำแท้ง หลายครั้ง ผู้หญิงบางราย มีประสบการณ์ท้องไม่พร้อมหลายครั้ง และท�ำแท้งส�ำเร็จ ประสบการณ์เหล่านี้เป็น ความทุกข์ของพวกเธอ ความรู้สึกผิดก็ยังอยู่กับชีวิตเธอเสมอ แต่ท้องไม่ต้องการก็เกิดขึ้นอีก และเธอก็ต้องผ่าน ประสบการณ์เหล่านี้อีก กรณีคุณตาล เธอเคยท้องไม่ต้องการ ท�ำแท้งส�ำเร็จมาแล้ว เมื่ออายุ 14 ปี และส�ำหรับลูกชายคนนี้ เธอ ก็ท้องไม่ต้องการ และพยายามท�ำแท้ง แต่ไม่ส�ำเร็จ “ก่อนหน้าที่จะมีลูกชายคนนี้ เราเคยท้องลูกชายมาแล้วคนหนึ่งแล้ว เราก็ไปท�ำแท้งออก คนแรกที่เรา ท�ำแท้งออกไป เรามีเค้าตอนอายุ 14 ปี ที่ต้องเอาออกเพราะผู้ใหญ่เค้าไม่ยอมให้เรากับแฟนแต่งงานกัน คือ ยังไงก็ ไม่ยอม ตอนที่ไปเอาเค้าออก เรานี่ร้องไห้เลยนะ คือ นอนมองก้อนเนื้อที่เป็นลูกของเรา เด็กโตจนขนาดที่รู้เพศแล้ว ว่าเป็นผู้ชายก็ประมาณ 5-6 เดือน พอท�ำเสร็จเราก็เลยบอกกับแม่ว่าอยากที่จะเอาเด็กมาท�ำศพที่บ้าน ด้วยแม่เราก็ ยอม คือ ตอนที่เอาเด็กไปฝัง แม่เราก็พูดกับเด็กว่า ยายไม่ได้ตั้งใจว่าจะให้เขาเอาออก แต่จะท�ำยังไงได้ แม่เรายังไม่ พร้อม ตั้งแต่นั้นเราเลยคิดว่ามันเป็นบาปกรรมที่เราท�ำกับเค้ามา คือเหมือนกับว่าพอจะมีกินมีใช้ลืมตาอ้าปากได้ ก็ ต้องมีอันต้องท�ำให้ทุกข์ยากอยู่เรื่อยๆ ไม่เคยลืมตาอ้าปากได้เลยสักครั้ง ตอนที่เราไปท�ำ แม่ก็เป็นคนพาเราไปท�ำเอง ที่คลินิกแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี เราก็ไม่รู้ว่าถูกกฎหมายหรือเปล่านะ แต่ที่หน้าคลินิกเค้าจะเขียนว่ารับ วางแผนครอบครัว เราขัดแม่ไม่ได้ พอเราเอาเด็กออก แม่ก็จับเราแยกจากแฟนตั้งแต่ตอนนั้นเลย” คุณตาล

5. ชีวิตทรมานระหว่างการตั้งครรภ์ เมื่อผู้หญิงตั้งท้องไม่ต้องการ พยายามท�ำแท้งแต่ไม่ส�ำเร็จ และต้องยอมรับการตั้งครรภ์นั้น ต้องเผชิญ หน้ากับปัญหาและทุกข์ต่างๆมากมาย ซึ่งพวกเธออาจคาดการณ์หรือตระหนักอยู่แล้ว จึงได้พยายามท�ำแท้ง หรือไม่คิดจะเก็บเด็กเอาไว้ แต่เมื่อเด็กไม่แท้งและเธอต้องเก็บเด็กไว้ในครรภ์ ประสบการณ์เหล่านี้ คือ สิ่งที่เกิด กับเธอ 5.1. สามีติดยาเสพติด ไม่สนใจ ลูก เมีย ระหว่างตั้งครรภ์จนคลอด ผู้หญิงต้องอดทนกับสามีที่ติดยาเสพติดอย่างหนัก เขาไม่รับผิดชอบทั้งชีวิต เธอและชีวิตลูก ทอดทิ้งไม่ท�ำหน้าที่พ่อและสามี ปล่อยให้เธอเผชิญปัญหาตามล�ำพัง

58

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


“พอพี่ท้อง มันก็ทิ้งพี่ไป เพราะมันติดยาหนักมาก ไม่สนใจอะไรเลย ไม่สนทั้งพี่ทั้งลูก ขนาดพอพี่คลอด ลูกคนแรกยังเล็กๆอยู่ มันยังทิ้งพี่ไป ไม่สนใจคืออยากไปไหน มันก็ไปเลย ไม่เคยสนใจดูแลพี่กับลูกจริงๆ คือไม่สนใจ ลูกสนใจเมียเลย” คุณโด่ย

ความคิดว่า การมีลูกจะช่วยให้สามีท�ำหน้าที่พ่อนั้นเป็นไปได้ยากมาก เพราะเขากลับมีการติดยาเสพติด มากขึ้น จนท�ำให้เกิดการหลอน มีการทะเลาะเบาะแว้งมากขึ้น ถึงกับปฏิเสธว่า เด็กในท้องไม่ใช่ลูก ต้องการเลิก ร้าง และไม่รับผิดชอบเด็กในท้อง ซึ่งก็ยิ่งตอกย�้ำความไม่ต้องการลูกของผู้หญิง “เวลาผ่านไป เขาก็ยังไม่ดีขึ้น คือ เหมือนกับว่ายิ่งติดหนักกว่าเดิม เรากับเขาก็โทรคุยกันตลอด เราพอรู้ ข่าวว่าเขาไม่ดีขึ้น ก็ยิ่งเครียด กินไม่ได้นอนไม่หลับ ผอม เราก็ทั้งเรียน ทั้งลูก ทั้งคิดถึงแฟนคือมันสุมรวมกันไปหมด แล้วมีวันหนึ่งเหมือนเขาหลอนมาก คือ ติดยาจนไม่เอาอะไรแล้ว เขาก็บอกเราว่าเลิกกันเถอะ เขาไม่รับผิดชอบนะ ทั้งลูกและเรา แล้วเขาก็บอกว่าไม่ใช่ลูกเขา เราไปนอนกับใครมา แล้วมาตู่ว่าเด็กในท้องเป็นลูกของเขาหรือเปล่า” คุณเมย์

5.2. ผู้หญิงตั้งท้อง ท�ำงานหนักจนถึงวันคลอด สามีไม่ดูแล แต่ไปกินเหล้า การท้องที่ไม่ต้องการ ก็สร้างความทุกข์ให้กับผู้หญิงมาอยู่แล้ว แต่เธอยังต้องไปท�ำงาน ไม่มีเวลาพัก ผ่อน ต้องท�ำงานจนสัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ ส่วนสามีก็ไม่ใส่ใจทั้งเธอและลูก เขากินเหล้า และมีเรื่อง ทะเลาะกับเธอบ่อยครั้ง “พี่ก็ไม่แพ้ท้องนะมีแพ้ช่วงแรกๆนิดหน่อย แต่หลังจากนั้น พี่ก็ท�ำงานได้ตามปกติ พี่ก็ท�ำงานจนอาทิตย์ สุดท้ายก่อนจะคลอดมั้ง พี่ถึงลางานกลับไปคลอดลูกที่บ้าน ส่วนเรื่องปัญหาหรือพี่ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับที่พี่ท้องหรือเกี่ยว กับอะไร พี่แค่รู้สึกว่า สามีไม่เอาใจใส่ไปกินเหล้าไม่ยอมกลับมาดูแลเรา ซึ่งตอนนั้นก็ทะเลาะกันบ่อย” คุณจิ๊บจ๊อย

5.3. เด็กในท้องไม่ใช่ลูกของเขา เธอทราบว่า ลูกในท้องไม่ใช่ลูกของสามีคนปัจจุบัน เธอจึงไม่ต้องการเด็ก เพราะไม่รู้จะบอกกับสามีคน ปัจจุบัน ญาติพี่น้อง ครอบครัวอย่างไร ทุกข์ของเธอจึงท�ำให้เครียดมากระหว่างตั้งท้องลูก “ความรู้สึกแรกของพี่เลยนะ พี่คิดเลยว่า ไม่เอาไว้แน่นอน เพราะมันเป็นไปไม่ได้ เพราะพี่กับสามีคนใหม่ ไม่เคยมีอะไรกัน และไม่ค่อยได้อยู่ด้วยกัน ทางบ้านก็ต้องฆ่าพี่แน่นอนเลย พอพี่รู้ พี่เครียดมาก หมอเองก็เครียดไป กับพี่ด้วย ขนาดที่ต้องพาพี่ไปพบฝ่ายให้ค�ำปรึกษาด้านครอบครัว” คุณโด่ย บทที่ 4 ผลการศึกษา

59


หลาน

5.4. สามีนอกใจ ทะเลาะ ถูกหลอกให้พาลูกกลับบ้าน ถูกทอดทิ้ง และกล่าวหาว่าเด็กในท้องไม่ใช่ลูก

กรณีคุณทิพย์ เธอและแฟนมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ การนอกใจ จึงทะเลาะกันบ่อยครั้ง และคิดว่า คงจะอยูด่ ว้ ยกันไม่ได้แน่ ไม่นานก็ตอ้ งเลิกร้างกัน ท�ำให้ไม่อยากมีลกู หลังจากทีร่ วู้ า่ ตนเองตัง้ ท้อง ความไม่พร้อม ไม่ต้องการมีลูกจึงรุนแรงมาก ด้วยความสัมพันธ์ที่ง่อนแง่นระหว่างอุ้มท้อง อาการเครียด อาการแพ้ท้อง ฝ่ายชายขอให้เธอกลับไปอยู่ บ้าน เพื่อพักผ่อนให้สบายใจ และสัญญาว่าจะส่งเสียเลี้ยงดูเธอและลูก เธอเชื่อ แยกทางจากเขา อุ้มท้องกลับ บ้าน หลังจากนั้น เขาผิดสัญญาไม่ส่งเสียเลี้ยงดู เธอติดต่อเขา แต่เขาก็ไม่ยอมรับผิดชอบ และยังถูกกล่าวหาว่า เธอมีชู้ เป็นอีตัว ดังนั้นลูกในท้องจึงไม่ใช่ลูก หลาน นับแต่นั้น ความสัมพันธ์ระหว่าง เธอ กับสามีหรือพ่อของลูก ก็สิ้นสุด แม้พบกันก็ไม่ทักทาย “ตอนนั้นเรารู้สึกว่าเรายังไม่พร้อมนะ เพราะหลังจากที่มาอยู่ด้วยกัน คือปัญหาเริ่มรุมเร้า ทะเลาะกัน บ่อยมาก ทั้งในเรื่องที่เค้ากลับไปหาแฟนเก่า ตามจริงคนแถวนั้น เค้าก็บอกเรานะว่า เค้าเคยเอาแฟนมานอนที่ห้อง ด้วย แต่เราไม่เห็นเพราะเราไปท�ำงาน” “ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เรารู้สึกสับสน ร้อนรนคือ อยู่กับที่ไม่ได้ อยู่นิ่งไม่ได้ ตอนแรกรู้ว่ามีลูกด้วยกัน เรากับ แฟนก็พากันไปฝากท้อง พอไปฝากท้องได้ 1 เดือน แฟนก็บอกว่าให้เรากลับไปอยู่บ้าน เดี๋ยวเค้าจะส่งเงินกลับไปให้ เราใช้ คือตอนนั้นเราก็ท�ำงานอยู่ร้านอาหารจีน ส่วนแฟนเราตอนนั้นเหมือนจะท�ำงานอยู่กับแม่เขาแถวๆ ประชาชื่น เหตุผลของเขาคือ เห็นเราแพ้ท้องหนัก อยากให้อยู่ในที่ที่แบบสบายๆ เราก็กลับนะ เค้าก็ไปส่งเราขึ้นรถ พอหลังจาก นั้นมาเราก็ติดต่อเค้าไม่ได้อีกเลย คือโทรไปอีกที แม่เขารับโทรศัพท์แล้วพูดกับเราว่า ไม่ต้องโทรหาลูกชายเขาอีก เพราะเด็กในท้องไม่ใช่หลานของ เขาหาว่าเราไปเป็นอีตัวที่ไหนมา แล้วมาพูดว่าเด็กในท้องเป็นหลานของเขา ไปท�ำ อะไรมาคิดว่าแม่ไม่รู้หรอ เราก็เจอค�ำพูดแบบนั้นตั้งแต่ตอนที่เราหอบท้องกลับไปอยู่บ้านตอน 1 เดือนจนถึงลูกเรา โต ตอนนี้เรากับบ้านของพ่อเด็ก ก็ไม่ได้ติดต่อถามข่าวคราวกันอีกเลย เจอหน้ากัน แต่ว่าไม่เคยทักกันเลย ก็แค่เดิน ผ่านกันไป” คุณทิพย์

6. ความไม่ต้องการเด็ก ตั้งแต่ลูกคลอดออกมา

หลังจากผูห้ ญิงและตัวอ่อนในครรภ์ผา่ นพ้นวิกฤตการท�ำแท้ง และพ่อแม่หรือครอบครัวตัดสินใจเก็บเด็ก ไว้ จนถึงช่วงเวลาใกล้คลอด ซึ่งถือว่าเป็นอีกช่วงเวลาที่ส�ำคัญมาก เพราะเธอรู้แน่ชัดว่า เธอก�ำลังมีลูก และ อีกไม่นานลูกของเธอก็จะเกิด ช่วงเวลาของการคลอดลูกหรือการเกิดของเด็กนี้ จึงเป็นช่วงเวลาทีจ่ ะเห็นเด็กเป็น ตัวตนจริงๆ สามารถสัมผัสได้ เป็นอีกช่วงเวลาที่เด็กซึ่งไม่มีใครต้องการตั้งแต่ปฏิสนธิและอยู่ในครรภ์มารดาจะ ก�ำเนิดมา พวกเเขาจะมีโอกาสได้รับความต้องการหรือไม่ต้องการจากพ่อแม่ ครอบครัวอีกครั้ง ดังนั้นช่วง เวลาที่ผู้หญิงคลอดลูกจึงมีความส�ำคัญ ไม่ใช่เพียงเพราะว่าเธอต้องการความรักความเอาใจใส่ของสามี แต่ยัง แสดงความสัมพันธ์ทางสังคม ว่า เธอและลูกนั้น เป็นที่ต้องการของสามีเธอและพ่อของเลูก หรือ ครอบครัวทาง 60

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


สามีหรือไม่ แต่หากไม่มีใครสนใจดูแล สถานภาพทางสังคมของเธออาจถูกวาทกรรมและการตีตราจากสังคมว่า เป็นเด็กสาวใจแตก เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว เป็นคนที่ไม่ดีตามบันทัดฐานทางสังคม เด็กก็จะเป็นผู้ได้รับความไม่เป็น ธรรมกับเขาตั้งแต่แรกเกิด 6.1. การคลอดที่ไม่มีสามีดูแล ให้ก�ำลังใจ การเกิดของลูกหรือการคลอดลูกเป็นเหตุการณ์สำ� คัญของครอบครัว โดยเฉพาะเป็นการแสดงความยินดี และการแสดงความต้อนรับลูก การไม่ปรากฏตัวสามีในช่วงเวลาการคลอดลูก เพือ่ แสดงความยินดีกบั ลูกและให้ ความรักก�ำลังใจ และการดูแลภรรยา เป็นการแสดงถึงความไม่ต้องการลูก และท�ำให้ผู้หญิงเสียใจ เจ็บปวด ดัง เช่นกรณีของคุณจิ๊บจ้อย ที่ตัดสินใจลางานเพื่อกลับไปคลอดลูกที่บ้านคนเแต่เดียว และคาดหวังว่า สามีจะตาม กลับไป แต่เธอต้องคลอดลูกตามล�ำพัง และมีเพียงแม่ของเธอเท่านั้นที่คอยไปดูแล “พี่ก็กลับไปบ้านคนเดียว ส่วนแฟนก็ตามพี่ไป เหมือนกับพี่ก็โทรบอกเค้าว่า พี่คลอดแล้ว เค้าถึงลงไป ตอนที่พี่คลอดก็ได้แม่พี่นี่แหละไปเฝ้าพี่ผ่าคลอด เพราะเด็กไม่กลับหัว พอคลอดออกมาช่วงที่อยู่โรงพยาบาล พี่ก็ นอนร้องไห้นะคือคนอื่นเค้า มีสามีไปเฝ้า แล้วสามีเราไปไหน” คุณจิ๊บจ้อย

6.2. สามีกลับมาดูแลไม่ได้เพราะต้องท�ำงาน งาน เป็นสาเหตุทพี่ อ่ ของเด็กไม่สามารถมาต้อนรับลูกแรกเกิด ให้ความรัก และก�ำลังใจกับภรรยา เพราะ ว่าต้องท�ำงานหาเงินให้ครอบครัว และกว่าที่พ่อจะเห็นหน้าลูกครั้งแรกก็ใช้เวลาถึงสี่เดือน และนี่อาจเป็นปัญหา ในการเริ่มต้นความสัมพันธ์ในครอบครัวที่วิกฤตในสังคมไทย “วันที่คลอด ก็มีแค่แม่ที่ตามไปดูหนูทีหลัง ส่วนสามีก็ไม่ได้กลับมาจากกรุงเทพ เพราะเค้าก็ท�ำงาน จน ผ่านไป 4 เดือนแฟนหนูถึงได้ลงมาดูหนูกับลูก คือ เขาก็รับผิดชอบหนูกับลูกด้วยการส่งค่าใช่จ่ายค่าเลี้ยงดูให้ลูกทุก อาทิตย์ คื อแล้วแต่หนูจะขอว่าอยากได้เท่าไหร่ ตอนที่ยังไม่มีลูกแฟนก็ให้ตังค์หนูใช่นะ พี่อาทิตย์ละ 1,000 บาท พอมีลูกก็ 2,000-3,000 บาท แต่เค้าก็ต้องมีภาระส่งงวดรถมอเตอร์ไซต์ที่ออกมาเพื่อขับไปท�ำงานด้วย” คุณมินตรา

“พอใกล้คลอด พี่ก็เลยกลับไปอยู่กับตาที่บ้าน ส่วนสามีก็กลับไป แต่เค้าไปท�ำงานที่ขอนแก่น” คุณมุ่ย

6.3. ลุ้นว่าลูกจะรอดไหม

ปัญหาจากการที่ผู้หญิงตั้งท้องไม่ต้องการ และได้พยายามท�ำแท้งในระดับที่รุนแรงน้อยบ้าง มากบ้าง ท�ำให้วิตกกังวลต่อตัวเด็กสูง ว่าลูกจะรอด ปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งแม่ของเด็กต้องท�ำใจไว้ล่วงหน้า ว่าจะมีปัญหา อย่างไรก็ต้องยอมรับ แม้ว่าในวันนั้นสามีของเธอจะไม่ได้อยู่เคียงข้างในเหตุการณ์เนื่องจากเขาต้องท�ำงาน บทที่ 4 ผลการศึกษา

61


“พี่ก็ไปท�ำงานเหมือนเดิม พยายามท�ำตัวให้ปกติคืออะไร จะเกิดก็ต้องเกิด เหมือนตอนนั้น พี่ก็เตรียมใจ กลายๆนะ เพราะว่าเราลุ้นว่า ลูกเราจะรอดตั้งแต่ในท้องมั้ย แต่พอเค้ารอดเราก็สบายใจ แต่พี่ก็พยายามที่จะดูแล เรื่องอาหารการกินมากขึ้น พี่คลอดที่โรงพยาบาลในกรุงเทพ น้องแฟนเป็นคนพาพี่ไปโรงพยาบาลเพราะแฟนพี่ต้อง เข้าเวร พี่ก็คลอดเอง ลูกพี่ก็แข็งแรงดีนะ เค้าน�้ำหนักสามพันกว่า”คุณส้ม

6.4. พ่อไม่ได้สนใจและให้ความส�ำคัญกับลูกที่เกิดมา สามีหรือพ่อของเด็กทีเ่ กิดมา อาจไม่สนใจลูกหรือภรรยาของตนลย ต้องให้ตามหา เพือ่ ให้มารับรองการ เป็นพ่อของเด็กในการแจ้งเกิด และเมื่อด�ำเนินการเสร็จ เขาก็กลับไปโดยไม่ได้พบทั้งลูกและเมียของตน “พี่ก็คลอดเองตามธรรมชาติ คลอดที่ร้อยเอ็ดก็ได้แม่และญาติๆ ไปเฝ้า ส่วนแฟนเค้าก็ยังไม่กลับมาหาลูก ทันทีที่คลอดนะ จนผ่านไป 3-4 เดือน เราก็ต้องโทรไปบอกเค้าว่า จะลงมาไหม ถ้าไม่ลงมาจะไปแจ้งเกิดลูกแล้ว ให้ น้าที่ยังโสดรับเป็นพ่อของลูกแล้วนะถ้าเค้าไม่ลงมา เค้าก็มานะแต่ว่าเค้าก็มาแบบไปเช้าเย็นกลับ พี่กับเค้าก็ไม่เห็น หน้ากันนะ จนพี่คิดว่าเค้าคงไปแล้วหล่ะ” คุณแหวน

6.5.พ่อของหนูดื่มเหล้า เสพยา ติดการพนัน นอกใจแม่ และไม่รู้จักหนูเลย ตั้งแต่เกิดจนลูกอายุ 14 ปี สามีไม่เคยให้ความเป็น “พ่อ” และ”สามี” แก่เธอ แม้เขาจะส่งเสียเงินทอง ให้บ้าง แต่เขาก็ทั้งเสพยา เล่นการพนัน ดื่มเหล้า เธออดทนต่อทุกข์นี้จนถึง 14 ปี จึงเลิกรากับเขา “พี่ก็อยู่ที่บ้านก็ท้อง ไม่ได้ท�ำอะไร ส่วนแฟนก็มาท�ำงานในกรุงเทพ พอเขาลงมาท�ำงาน 4-5 เดือน เค้าก็ ส่งให้เราตลอดนะเดือนละ1,000-2,000 บาท ...แต่ว่าไม่นาน พวกญาติเค้าก็โทรมาบอกเราว่า เหมือนจะเห็นเค้าไป กับผู้หญิงคนอื่น ซึ่งพี่รู้นิสัยเค้าดีว่าเค้าเจ้าชู้แค่ไหน แต่ว่าพี่ก็ไม่เคยเล่าให้ใครฟัง เค้าเล่นยา กินเหล้า การพนัน คือก็ เหมือนเดิม แต่พี่ไม่เคยบอกให้ใครรู้ พี่ก็อยู่แบบนั้นเค้าก็มาเยี่ยมพี่บ้างได้ 3-4 เดือน ก็กลับมาแค่ครั้งนั้น จนพี่คลอด ลูกเค้าก็ไม่ได้มานะ แต่ก็คือโทรไปบอก พี่ก็เสียใจตามประสาผู้หญิงทั่วไปอ่ะนะ ก็ร้องไห้จากที่ร้องจนสะอื้น กลาย เป็นคนร้องแบบไร้เสียงไปเลย ก็อยู่กันแบบนั้นมา 14 ปี จนไม่ไหวต้องขอเลิกกับเขา”คุณแหวน

สรุป

เพศสัมพันธ์เป็นความต้องการและปรารถนาหนึง่ ในชีวติ ของมนุษย์ การมีเพศสัมพันธ์หรือเซ็กส์อาจเกิด จากความต้องการในกามารมณ์ หรือ การต้องการสืบพันธ์ สร้างครอบครัว รวมทั้งอาจเกิดจากการใช้อ�ำนาจ เอาเปรียบจากผู้ชายต่อผู้หญิง ด้วยการฉกฉวยโอกาส การข่มขืน ซึ่งเซ็กส์เหล่านี้ไม่ต้องการลูก ไม่ต้องการรับ ผิดชอบใดๆ เป็นเพียงการปลดปล่อยราคะและความต้องการ และเมื่อไม่ได้มีการคุมก�ำเนิดหรือป้องกันการตั้ง ท้องด้วยความระมัดระวังมากพอ ก็ท�ำให้ผู้หญิงตั้งท้องไม่พร้อมหรือไม่ต้องการลูก ในความคิดของแม่ เด็กใน ท้องเป็นความผิดพลาดของตนเอง และเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขให้ลุล่วง ส่วนพ่อของเด็กก็ยิ่งไม่ต้องการและรับ 62

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


ผิดชอบใดๆ ในขณะที่ครอบครัว แม้สังคม ก็ไม่ต้องการเด็ก เด็กส่วนใหญ่ถูกแม่ ปู่ยา ตายาย และพ่อปฏิเสธ แม่ของเด็กถูกตีตรา เด็กๆเหล่านี้จึงเริ่มต้นโลกของเขาด้วยความไม่ต้องการของผู้คนที่อยู่รายรอบชีวิต พวก เขาจึงมีแต่ความไม่มั่นคง ไม่เป็นที่ต้องการ เพศสัมพันธ์ของผู้หญิงโดยเฉพาะวัยรุ่น มักเป็นเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการฉกฉวยโอกาสจากผู้ชาย จาก การไม่มีประสบการณ์ของผู้หญิง การมีเพศสัมพันธ์ของเธอมักเป็นเพศสัมพันธ์ที่ผู้หญิงไม่ค่อยได้เป็นฝ่ายก�ำหนด เอง หรือ ตั้งใจ เพศสัมพันธ์ของเธอมักถูกก�ำหนดโดยฝ่ายชายเพศสัมพันธ์ เช่นนี้ อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆหลัง จากที่คบกันไม่นาน เพศสัมพันธ์เช่นนี้มักอยู่บนฐานการไม่มีสติ ไม่รู้ตัวของฝ่ายหญิงที่ดื่มเหล้า ส�ำหรับบางราย ยังถูกข่มขืนจากบุคคลที่ไว้วางใจอีกด้วย นอกจากนี้พวกเธอมักถูกท�ำให้เชื่อว่า อย่างไรก็ไม่ท้องทั้งนี้ เพราะว่า ฝ่ายหญิงมีอดุ มการณ์และหรือวาทกรรมเกีย่ วกับความรัก เพศสัมพันธ์ และการคุมก�ำเนิดแบบให้อำ� นาจและความ ส�ำคัญกับชาย มากกว่าการรักตัวเอง ซึ่งส่งผลถึงการตั้งครรภ์ ที่ไม่ได้เกิดจากความต้องการ จึงมักตามมาด้วยการ ไม่สามารถรับผิดชอบเด็กหรือลูกได้ การที่ผู้หญิงรู้ว่า ตนเองตั้งครรภ์ ถือเป็นจุดหักเหของอนาคตของเด็กในท้องว่า ส่วนใหญ่เด็กจะกลาย เป็นผู้ที่ไม่มีใครต้องการ แม่ของเด็กตกใจ มึนงง ไม่พร้อมจะตั้งท้องพวกเขา พวกเธออาจพยายามท�ำแท้ง ก�ำจัด เด็กอย่างรุนแรง อาจพยายามท�ำแท้งด้วยตนเอง โดยให้เหตุผลว่า ยังเด็กเกินไป ยังเรียนอยู่ ยังไม่มีงานท�ำ ยัง ใช้ชีวิตกิน/เที่ยว/สูบ ไม่ได้เตรียมตัวและชีวิตจะรองรับลูก เจ็บป่วย ไม่รู้ว่าผู้ชายจะรับผิดชอบหรือไม่ กลัวพ่อ แม่ผิดหวังเสียใจ ส่วนพ่อของเด็กบางคนพร้อมรับผิดชอบ แต่ผู้หญิงก็ไม่อาจมั่นใจได้ว่า อนาคตระหว่างเธอกับ เขาจะเป็นอย่างไร จะอยู่ด้วยกันหรือต้องเลิกรากันไป พ่อเด็กบางคนไม่รับผิดชอบ ผลักไสเมียและลูกออกจาก ความรับผิดชอบ เด็กที่อยู่ในท้องของผู้หญิงจึงเป็นทุกข์ของแม่ และทั้งแม่และลูกต่างต้องเริ่มต้นเผชิญหน้ากับ ความไม่เป็นธรรม การเอาเปรียบและความเห็นแก่ตัวต่างๆ ที่พวกเขาจะต้องยอมรับและฟันฝ่าต่อไป เมื่อความพยายามท�ำแท้งผ่านไป ผู้หญิงต้องเก็บลูกในท้องไว้ พวกเธอก็ต้องเผชิญหน้ากับ พ่อของเด็ก ที่ติดยาเสพยาเสพติด ไม่สนใจลูกเมีย ถูกสามีนอกใจ ถูกผลักไสให้กลับไปบ้าน การเริ่มต้นชีวิตของเด็กเริ่มจาก ความ”ขาด” หรือ ไม่ได้รับความเป็นธรรมตั้งแต่ยังไม่เกิด แม้ในขณะก�ำลังจะคลอด ผู้หญิงก็ต้องคลอดลูกอย่างโดดเดี่ยว ไม่มีสามี​ีมาดูแลภรรยาที่ก�ำลังคลอดลูก หรือต้อนรับการเกิดของลูก ระบบทุนนิยมและชายเป็นใหญ่เข้ามาท�ำงานร่วมกัน สามีที่ไม่อยากมาดูแลเนื่อง เพราะต้องท�ำงาน ติดเวร เหตุผลเหล่านี้มาจากการท�ำงานที่ต้องไปท�ำงานไกลบ้าน ลางานไม่ได้ และอาจเป็น ความไม่ต้องการของสามีและพ่อที่จะเข้ามารับผิดชอบเมียและลูกอย่างใกล้ชิด พวกเขาเฝ้ามองดูห่างๆ อาจมี

บทที่ 4 ผลการศึกษา

63


การส่งเสียบ้างเล็กน้อย แต่ไม่พยายามสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น สามีบางราย ติดเหล้าสามี ยาเสพติด การ พนัน นอกใจมีหญิงอืน่ บางรายมีครอบครัวกีดกัน ไม่ยอมรับผูห้ ญิงและลูก หรือการไม่ตอ้ งการจดทะเบียนรับเป็น ลูก โดยสรุป แม้ทุนนิยมจะเป็นเหตุที่ท�ำให้งานและการท�ำมาหากินและเงินทองเป็นที่ท�ำให้ผู้ชายไม่สามารถท�ำ หน้าที่พ่อและสามี แต่ก็อาจเป็นเพียงข้ออ้างที่ผู้ชายน�ำมาใช้เพื่อไม่ต้องรับผิดชอบผู้หญิงและลูกก็ได้เช่นกัน ในระบบสังคมที่ให้คุณค่าแก่ความเป็นชาย ไม่มีการติเตียนตัณหาของชาย แต่ติเตียนตัณหาของหญิง ไม่ติเตียนพ่อที่ไม่ต้องการลูกไม่รับผิดชอบ แต่ตีตราแม่ที่สับสน และต้องอุ้มท้องลูก โดยไม่รู้ชะตากรรม ปู่ย่า ตายายที่กลัวสังคมจะกล่าวหาว่าเลี้ยงลูกสาวไม่ดี ท�ำให้ผิดหวัง เด็กที่ใครๆไม่ต้องการ จึงได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง เพราะว่าความไม่ต้องการนี้เกิดขึ้นกับเด็กที่ เพิ​ิ่งปฏิสนธิ ยังไม่เกิดเป็นตัวเซ�้ำสียด้วยซ�้ำ สังคมที่ควรจะยินดีกับเด็กก�ำลังจะเกิด เพราะเด็กน�ำความสุขความ มัง่ คัง่ และความเข้มแข็งของสังคมมาให้ แต่มายาคติตา่ งๆทีก่ ดขีเ่ อาเปรียบกับผูห้ ญิง ท�ำให้เด็กทีเ่ กิดมากลายเป็น เด็กทีไ่ ม่ตอ้ งการ การทีไ่ ม่เป็นทีต่ อ้ งการตัง้ แต่ในท้องท�ำให้แม่ไม่มคี วามสุขจะส่งผลท�ำให้เด็กในท้องไม่มคี วามสุข การพยายามท�ำแท้งถูกไม่ต้องการตั้งแต่อยู่ในท้องของแม่ ท�ำให้เด็กที่รอดชีวิตมา อาจมีพัฒนาการที่บกพร่อง หรือ ร่างกายที่พิการ และความไม่ต้องการดังกล่าวอาจส่งผลร้ายต่อชีวิตของเขาไปอีกนานเท่าใด ไม่มีใครล่วงรู้

สอง ประสบการณ์ของแม่ที่ต้องทอดทิ้งลูก : รูปแบบการทอดทิ้ง การเริ่มต้นที่ไม่เป็นธรรมในสังคมที่เน้นเรื่องการแข่งขันเสรี จ�ำเป็นที่ผู้แข่งขันต้องได้รับความเท่าเทียม ในการเริ่มต้นเพื่อที่จะเป็นการแข่งขันที่เป็นธรรม อย่างไรก็ดี เด็กในสังคมปัจจุบันไม่ได้มีมีชีวิตเริ่มต้นอย่างเป็น ธรรม เขาปฏิสนธิด้วยการไม่ต้องการของพ่อแม่ อยู่ในท้องแม่เพราะความจ�ำเป็นของแม่ และเกิดออกมาโดยที่ พ่อไม่ต้องการ หลังทารกน้อยคลอดออกมา พวกเขาต้องการความรักและการดูแล แต่แม่ของพวกเขาก็ไม่สามารถ อยู่ดูแลจนเขาเติบโตได้ เพียงลืมตาดูโลกได้นาน อาจไม่พ้นวัยทารกด้วยซ�้ำ พวกเขาก็ต้องจากแม่ เนื่องจาก พ่อและ/หรือแม่ต้องไปท�ำงานต่างจังหวัด เด็กอาจถูกพ่อหรือแม่ทอดทิ้งจากการหย่าร้างและมีภรรยาใหม่ เด็ก อาจถูกทอดทิ้งให้อยู่กับตายายหรือปู่ย่าที่อาจยินดีรับเลี้ยง ไม่ต้องการ หรืออยู่ในภาวะจ�ำยอม เด็กที่ถูกทอดทิ้ง ให้อยู่กับญาติเหล่านี้มักไม่ได้รับการดูแลอย่างจริงจัง หรือการดูแลด้วยความรัก และเอาใจใส่เท่าใดนัก เพราะ แม่หรือพ่อของพวกเขาอาจติดต่อกลับมาไม่บ่อย ส่งเงินกลับมาให้น้อยและไม่สม�่ำเสมอ หรืออาจไม่ส่งมาเลย แม่ พ่อ และลูกเด็กเหล่านี้ จึงไม่ได้รู้สึกผูกพันกันเท่ากับครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกัน เด็กอาจโตขึ้นโดยไม่รู้จักความ 64

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


รัก และได้รับการดูแลที่ควรได้เท่ากับลูกที่เป็นที่ต้องการ ในส่วนนี้ จะน�ำเสนอทั้ง ประสบการณ์ของแม่ที่ต้อง จากหรือทอดทิ้งลูก และประสบการณ์ ความรู้สึกของลูกที่ต้องการจากพ่อแม่ของตนตั้งแต่เด็ก แม่ที่มีลูกนั้นส่วนใหญ่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยตนเองได้ เหตุผลหลัก คือ การต้องไปท�ำงานประกอบ อาขีพ และเป็นการท�ำงานที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง เพราะถ้าไม่ท�ำคือ อด หรือ ไม่พอกิน และไม่สามารถเลือกงาน อาชีพ และสถานที่ท�ำงานได้ เด็กทารกที่เกิดมา อาจโชคดีได้อยู่กับแม่ในช่วงทารกบ้าง แต่ก็ต้องจากกับพ่อแม่ ในที่สุด บางรายอาจชั่วครั้ง ชั่วคราว ได้เจอแม่บ้าง บางรายแทบไม่ได้พบหน้าพ่อแม่ ส�ำหรับผู้เลี้ยงดูเด็กแทน พ่อแม่ ส่วนใหญ่คือ ปู่ย่า ตายาย ซึ่งก็ต้องท�ำงานหาเลี้ยงตนเอง แต่เป็นงานที่อยู่ใกล้บ้าน พวกเขาอาจมีรายได้ จากลูกหลานที่ส่งเงินมาเลี้ยงดู แต่ก็เป็นเงินจ�ำนวนน้อย และไม่มีความแน่นอน นอกจากนี้พวกเขาบางคนก็ไม่ เต็มใจ แต่อยู่ในภาวะจ�ำยอมในการเลี้ยงดูเด็ก และเลี้ยงไปตามมี ตามเกิด บางรายอาจมองเด็นเป็นภาระที่ตน ไม่ควรต้องรับผิดชอบ ”การทอดทิ้ง” นี้เป็นสถานการณ์ที่แม่ซึ่งเป็นผู้ตั้งครรภ์ ไม่สามารถดูแลเลี้ยงดูลูกได้ด้วยตนเอง แม่ และเด็กได้แยกห่างจากกัน และมอบหมายให้หรือทิ้งบุคคลอื่นเป็นผู้เลี้ยงดูแทน แม่อาจตั้งใจทอดทิ้ง หรือ อาจ ไม่ตั้งใจ แต่จ�ำเป็นต้องทอดทิ้งลูกให้ผู้อื่นดูแล หรือเด็กและแม่อาจอยู่ด้วยกัน แต่แม่จงใจไม่เลี้ยงดูเด็ก ช่วง เวลาการทอดทิ้งอาจเป็นช่วงเวลาสั้นๆ อาจยาวนานหลายเดือนหรือหลายปี และแม่ลูกอาจแทบไม่เคยมีโอกาส ได้พบเจอ การทอดทิ้งเด็กนี้ มีระดับที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ระดับที่รุนแรงที่สุดหรือการทอดทิ้งจริงๆ คือ แม่แทบ ไม่ได้เลี้ยงดูเด็กตั้งแต่แรกเกิด หรือ ตั้งแต่เด็กยังอยู่ในวัยทารก และให้ผู้อื่นเลี้ยงดูจนเด็กโต และอาจมีการ เปลี่ยนผู้เลี้ยงดูบ่อย ใครเป็นผู้เลี้ยงดูแทนแม่ พ่อหรือแม่อาจส่งเสียเลี้ยงดูบ้าง แต่เจอเด็กน้อยมาก หรือ แม้จะ อยู่ด้วยกันแต่แม่เจตนาทอดทิ้งไม่เลี้ยงดู และรองลงมาคือ การทอดทิ้งเป็นระยะเวลาหนึ่งในช่วงวัยทารก และ ได้กลับมาเลี้ยงดูเมื่อเด็กโต และการทอดทิ้งเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ สิ่งที่บ่งบอกความรุนแรงนั้นไม่ใช่ระยะ เวลาของการทอดทิ้งเท่านั้น แต่ในช่วงเวลาที่ไม่ได้อยู่ด้วยกันนั้น สายสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกมีความเหนียว แน่นเพียงใด หากการทอดทิ้งรุนแรง ความห่วงหาที่เกิดขึ้นหรือเยื่อใยของความผูกพันอาจเบาบางมากจนแทบ ขาดออกจากกัน แต่หากรุนแรงน้อย ก็ยังมีผูกพัน ห่วงใย รับผิดชอบ นอกจากนี้ผู้เลี้ยงเด็กเป็นใคร เขาต้องการ เด็กอย่างแท้จริงหรือไม่ 1. ทิ้งให้ลูกอยู่กับญาติตั้งแต่วัยทารก และแม่ต้องไปท�ำงานที่อื่น รูปแบบการทอดทิ้งลูกนี้ มีทั้งระดับรุนแรงสูงและรุนแรงน้อย ขึ้นอยู่กับว่า เมื่อแม่คลอดลูกแล้ว แม่มี โอกาสและช่วงเวลาที่ได้ดูแล เลี้ยงดูลูุกระยะเวลานานเท่าใด แม่ต้องทอดทิ้ิงเด็กตั้งแต่เด็กอายุน้อยมากเท่าใด เช่น ตั้งแต่แรกเกิด สามเดือน หกเดือน หนึ่งปี ซึ่งส่วนใหญ่คือ แม่ต้องทิ้งลูกกลับไปท�ำงานเมื่อลูกอายุสามเดือน ทิ้งนานเท่าใด และระหว่างนั้น แม่ดูแลลูกหรือสร้างความสัมพันธ์หรือไม่ อย่างไร บางรายแม่ทิ้งลูกต้​้งแต่วัย ทารกหรือแบเบาะ และแทบไม่เคยเลี้ยงดู ใกล้ชิดลูกอีกเลย จนกระทั่งลูกโต บางรายทิ้งลูกเป็นช่วงระยะเวลา และกลับมาดูแลเสมอ บทที่ 4 ผลการศึกษา

65


1.2. ฝากลูกให้ยายเลี้ยงตั้งแต่เล็กจนโต และแทบไม่ได้กลับมาเยี่ยมลูก

รูปแบบนี้รุนแรงมาก เนื่องจากทั้งพ่อและแม่ต้องท�ำงาน และแทบไม่ได้กลับบ้าน จึงไม่ได้เลี้ยงดูแลลูก เลย เด็กๆถูกเลี้ยงโดยยายตั้งแต่เกิดหรือขณะเป็นทารกจนโต เช่น กรณีคุณนิด เธอเและสามี มีลูกด้วยกันสองคน ทั้งคู่ต้องท�ำงานที่กรุงเทพ จึงฝากลูกไว้กับแม่ของเธอ ทีบ่ า้ นเดิม คือ จังหวัดน่าน ซึง่ ห่างไกลและเดินทางไม่สะดวก จึงไม่คอ่ ยได้กลับบ้านและเยีย่ มเยียนลูก จนปัจจุบนั ลูกมีอายุสิบขวบ และหกขวบ ตามล�ำดับ คุณนิด

“พี่มีลูก 2 คน คนโต ผู้ชายอายุ 10 ขวบ คนเล็กผู้หญิงอายุ 6 ขวบ พี่ฝากลูกไว้กับแม่ที่จังหวัดน่าน”

1.3. ทิ้งลูกให้ยายเลี้ยงตั้งแต่อายุสามเดือน เนื่องจากลางานได้เพียงเท่านั้น

การท�ำงาน ท�ำให้แม่มีสิทธิคลอดและดูแลลูกได้เพียงสามเดือน เด็กๆได้ดื่มนมแม่ในเวลาที่สั้นมาก บาง รายเพียงสัปดาห์เดียว เพราะแม่เองก็ตระหนักว่า ตนจะไม่ได้เป็นผู้เลี้ยงดูแเด็ก แต่ปู่ยาหรือตายายจะต้องเป็น ผู้เลี้ยงดู จึงให้นมแม่ได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ และหลังจากนั้น ก็ต้องฝากลูกไว้กับญาติที่ตนเองคิดว่า ไว้วางใจได้ มากที่สุด ก็คิือ ปู่ ย่า ตา ยาย ของเด็ก ในแม่เหล่านี้ จึงแทบไม่ได้เลี้ยงดูลูกของตนเลย กรณีคณ ุ เอือ้ ง เธอมีลกู สองคนและได้ฝากลูกของเธอไว้กบั แม่หรือยายของเด็กไว้ โดยหลังคลอดลูกเ ธอ ขอให้แม่มาช่วยเลี้ยงดูลูกให้ในหนึ่งเดือนแรก จากนั้น ก็ต้องพาลูกกลับบ้าน และอยู่กับลูกได้จนครบสามเดือน ก็ ต้องกลับไปท�ำงาน เนื่องจากลาได้เพียงเท่านั้น หรือ กรณีคุณอ้อย ก็เลี้ยงดูลูกได้เพียงสามเดือน ก็ต้องกลับไป ท�ำงาน และกลับมาอยู่บ้านใกล้ชิดลูกอีกครั้งเมื่อลูกเข้าเรียนอนุบาลแล้ว “พี่มีลูก 2 คน คนโต 7 ขวบ คนเล็ก 1 ขวบ พี่ก็พาลูกมาอยู่ที่ห้องก่อน แม่พี่ก็ลงมาช่วยดูช่วยเลี้ยงลูกให้ เราอยู่ได้ 1 เดือน ก็พาลูกกลับบ้านไปเลี้ยงที่บ้านเพื่อที่จะฝากเค้าไว้กับยาย เพราะพี่ลางานได้แค่ 3 เดือน ครบ เดือนที่ 3 พี่ก็กลับมา” คุณเอื้อง

“ลูกสาว พี่ไม่ค่อยได้เลี้ยงเองสักเท่าไหร่ ก็ให้ตากับยายช่วยเลี้ยงเป็นหลัก เค้าก็จะเป็นเด็กที่ค่อนข้าง เอาแต่ใจ ขี้ใจน้อย เหมือนกับว่า พี่ไม่ค่อยได้ดูแลเค้า หลังจากที่เค้าได้ 3 เดือน พี่ก็ต้องลงไปท�ำงานที่กรุงเทพ หาเงิน ส่งมาเป็นค่านมให้ลูก ไปท�ำงานเป็นพนักงานโรงแรม จนลูกสาวเข้าอนุบาล พี่ถึงได้กลับมาอยู่ที่บ้าน”คุณอ้อย 66

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


กรณีคุณหน่อย ซึ่งให้นมแม่เพียงหนึ่งสัปดาห์ และเนื่องจากตายายเป็นผู้เลี้ยงดูเด็กตั้งแต่แรกเกิด แม่ จึงกลับไปท�ำงานและคิดว่าไม่มีประโยชน์ที่จะอยู่ต่อ เนื่องจากไม่ได้ให้ลูกกินนมและมีตายายเป็นผู้เลี้ยงดูเด็ก แล้ว เช่นเดียวกับคุณดา ที่ให้นมแม่เพียงช่วงสั้นๆ จึงพาไปฝากให้ยายของเด็กเลี้ยง “พอพี่คลอดลูกแล้ว พี่ก็ลาคลอดกลับมาเลี้ยงลูกที่บ้านพ่อกับแม่ได้ 3 เดือน พี่ก็ฝากเค้าไว้ที่ตากับยาย เลย ก็คือตากับยายเป็นคนเลี้ยงมาตั้งแต่เกิดเลย ลูกก็ทานนมพี่ได้แค่อาทิตย์เดียวเอง แล้วพี่เป็นแม่ใหม่ น�้ำนมก็ไม่ ค่อยมี พ่อเด็กก็เลยไปซื้อนมชงมาให้เค้ากินเค้าก็กินได้ เราก็เลยได้จังหวะ เพราะถึงเราอยู่ ก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไร ก็ เลยถือโอกาสฝากเค้าไว้ที่ตากับยายเลย แล้วก็กลับมาท�ำงาน” คุณหน่อย

“พี่มีลูกชาย 2 คน คนโต 10 ขวบ คนเล็ก 8 ขวบ…เค้าก็ได้ทานนมแม่อยู่ประมาณ 2 เดือน พี่ก็ต้องพาเค้า ไปไว้กับแม่พี่ที่ต่างจังหวัด คือ พี่ก็ต้องกลับมาท�ำงาน ส่วนลูกคนที่สอง พี่เลี้ยงเค้าได้เดือนกว่าๆ เอง พี่ก็เอาเค้าไป ฝากไว้ที่ยาย เพราะว่าเหมือนกับเค้าไม่ได้ทานนมพี่ พี่ก็เลยพาเค้าไปฝากยายไว้” คุณคา

1.4. ต้องทิ้งลูกไปท�ำงานกรุงเทพ ช่วงสั้นๆ แล้วกลับมาดูลูก รูปแบบการทอดทิง้ นี้ เป็นรูปแบบทีพ่ อ่ และแม่ลงไปท�ำงานทีก่ รุงเทพช่วงสัน้ ๆ เช่น สามหรือสีเ่ ดือน และ กลับมาดูแลลูกที่ฝากให้ยายเลี้ยง รูปแบบนี้ถือว่าเป็นรูปแบบที่ไม่รุนแรงกับเด็กเท่าใดนัก เพราะว่าเด็กยังได้พบ พ่อแม่เป็นระยะๆ และพ่อแม่ก็ยังมีความห่วงใยลูกตลอด “ก็มีลงไปท�ำงานที่กรุงเทพบ้างเป็นพักๆ ทั้งพี่แล้วก็สามี บางทีพี่ก็ลงไปท�ำงานร้านเอ็มเค หรือก็แล้วแต่ ว่า ลงไปแล้วจะมีงานอะไรให้ท�ำ ช่วงที่พี่ไม่อยู่ก็ให้ยายช่วยเลี้ยงไว้ แต่ก็ไปได้ไม่นานไปประมาณ 3-4 เดือนก็กลับ มา เพราะก็ห่วงลูก คือ ก็จะไปเป็นช่วงๆ นั่นแหละ” คุณอ้น

1.5. ได้เลี้ยงดูลูกในช่วงแรกเกิดนานขึ้น และได้กลับมาเยี่ยมบ่อยๆ รูปแบบการทอดทิง้ นี้ ไม่คอ่ ยรุนแรงเท่าใดนัก คือแม้วา่ แม่ตอ้ งไปท�ำงานและทิง้ ลูกไว้ให้ญาติ เลีย้ งดู แม่ อาจมีโอกาสเลี้ยงลูกในวัยทารกแรกเกิดยาวนานขึ้น มีความผูกพันระหว่างแม่กับลูกมากขึ้น และแม่มีโอกาสได้ กลับมาเยี่ยมลูกบ่อยเป็นระยะ ไม่ได้ทอดทิ้งจนเด็กโต

บทที่ 4 ผลการศึกษา

67


กรณีคุณอี้ด เธอเลี้ยงลูกสาวได้เพียง 6 เดือน เธอก็ต้องกลับไปท�ำงานอีกครั้ง ส่วนลูกสาวของเธอก็ฝาก ให้แม่ของเธอเลี้ยงไว้ เพราะที่บ้านของสามี ทุกคนต้องไปท�ำงานหมดจึงไม่มีใครช่วยดูแลลูกสาวเธอ แต่เธอก็รีบ ไปรับลูกสาวมาอยู่ด้วย “ลูกสาวจะไม่ค่อยเข้ากับคนคือจะค่อนข้างขี้กลัว ส่วนเจ้าตัวเล็กไม่มีกลัวใครอุ้มไปไหนก็ไป ก็ไปฝากยาย เลี้ยงดูแลให้ดูแลให้ในช่วงที่เราไปท�ำงาน พอเราไปท�ำงานกลับมา ก็ไปรับจากยายซึ่งเลี้ยงจนลูกสาวอายุได้ 1 ปี 5 เดือน”คุณอี๊ด

กรณีคุณอุ้ย เธอมีโอกาสได้เลี้ยงลูกสาวตั้งแต่แรกเกิดและให้นมลูกจนลูกหย่านมแม่ เมื่อมีอายุได้หนึ่ง ขวบ เธอจึงกลับไปท�ำงาน “หลังจากที่เราคลอดลูกคนที่ 2 ให้นมลูกได้ 1 ปีกว่าๆ เค้าก็เลิกทาน เราก็ลงไปท�ำงานที่โรงงาน แล้วก็ไป อยู่กับพี่ชายพี่สะไภ้” คุณอุ้ย

1.6. มีลูกติดกันเกินไป เลี้ยงไม่ไหว คนหนึ่งฝากกับยาย คนหนึ่งฝากกับย่า ความจ�ำเป็นที่ต้องทอดทิ้งลูกให้คนอื่นเลี้ยงดู อาจไม่ได้เกิดจากปํญหาการท�ำงานแต่เพียงเหตุผลเดียว ความจ�ำเป็นอาจเกิดเพราะการมีลูกติดกันสองคน ซึ่งเป็นภาระให้พ่อแม่ไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กพร้อมกัน และก็ ไม่อาจฝากญาติคนหนึ่งคนใดเลี้ยงเด็กสองคน เด็กจึงถูกแยกไปให้ย่าเลี้ยงหนึ่งคน ยายเลี้ยงหนึ่งคน แม่ก็ยิ่ง ไม่มีเวลาใกล้ชิดหรือดูแลลูกทั้งสองคน เช่น กรณีคุณนัท “ตอนนี้หนูท�ำงานอยู่ที่ชลบุรี พักบ้านเช่ากับแฟน ก็มีลูก 2 คน คนแรก ลูกชายออยู่กับแม่ของหนู เรียน อนุบาลสอง อีกคนลูกสาวอยู่กับย่าเพิ่ง 7 เดือน” คุณนัท

1.7. ต้องท�ำงาน คนเดียวยังเลี้ยงไม่ไหว ต้องเอาลูกแฝดไปไว้กับปู่ย่า รูปแบบนีร้ นุ แรงใกล้เคียงกับลูกเล็กติดกันสองคน เพราะการมีลกู ฝาแฝดหมายถึง ภาระในการเลีย้ งลูก นั้นเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า แม่ที่ต้องท�ำงานก็จ�ำเป็นที่จะต้องให้ยายเลี้ยง

68

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


กรณีคณ ุ อึง่ ลูกแฝดของเธอมีภาวะไม่สมบูรณ์ ต้องอยูใ่ นโรงพยาบาล และต้องเริม่ แยกจากกันเนือ่ งจาก ภาวะสุขภาพของเด็ก แต่คณ ุ อึง่ ก็ไม่สามารถดูแลเลีย้ งดูลกู สาวฝาแฝดของเธอได้เต็มที่ เนือ่ งจากต้องท�ำงาน เธอ จึงตัดสินใจพาลูกสาวฝาแฝดของเธอ ไปฝากพ่อแม่ของสามีให้ช่วยเลี้ยงและดูแลให้ “ลูกไม่ได้ทานนมพี่เลย เพราะพี่ไม่มีน�้ำนมเค้าก็ทานนมชงตั้งแต่เกิด แฝดกับพี่ก็อยู่โรงพยาบาลประมาณ 1 เดือนแล้ว พี่ก็กลับบ้านมาพร้อมลูกแฝด 1 คนก่อน เพราะลูกแฝดอีกคนเค้ายังทานนมเองไม่ได้ ก็เลยต้องอยู่โรง พยาบาล ต่อพอเค้าออกจากโรงพยาบาลมาเค้าก็ได้ทานนมพี่แค่ 3 เดือน แล้วพี่ก็เอาเค้าไปฝากไว้กับปู่ย่าของเค้าที่ สุรินทร์เพราะว่าฝั่งทางยายคงเลี้ยงไม่ไหว แล้วตัวพี่เองคือเลี้ยงเค้าทั้งสองไม่ได้แน่ๆ เพราะพี่ก็ต้องท�ำงาน แล้วเด็ก ก็ตั้ง 2 คน ขนาดลูกคนเดียวพี่ยังไม่ไหวเลย ก็เลยตัดสินใจเอาไปไว้กับปู่ย่าเค้าดีกว่า”คุณอึ่ง

2. แม้แม่และลูกจะอยู่ด้วยกัน แต่แม่ไม่เลี้ยงดูลูก ไม่สร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิด รูปแบบนี้ นับว่าเป็นการทอดทิ้งเด็กที่มีความรุนแรงมากเช่นกัน คือ เมื่อคลอดแล้ว แม้แม่จะอยู่กับลูก ไม่ได้จากไปท�ำงานเช่นแม่กลุ่มแรก แต่แม่กลุ่มแทบจะไม่ดูแลเลี้ยงดูลูกเลย พวกเธอจงใจไม่สร้างความสัมพันธ์ ระหว่างแม่กับลูก ลูกจึงไม่ต้องการแม่ และแม่เองก็คิดว่าตนได้ท�ำหน้าที่ในการหาเงินมาเลี้ยงดูพวกเขาแล้ว ก็ไม่ จ�ำเป็นต้องเลี้ยงดูเด็กด้วยตนเอง และทอดทิ้งเด็กให้ญาติรับผิดชอบดูแล แม่เหล่านี้อาจมีปัญหาซับซ้อน เช่น มี ลูกหลายคนและเป็นลุูกที่เกิดจากความไม่พร้อม แต่งงานใหม่ อาจต้องท�ำงานที่ไม่เป็นเวลา กรณีคณ ุ อิบ๊ ปัจจุบนั คุณอิบ้ มีลกู ทัง้ หมด 4 คน เป็นลูกทีเ่ กิดจากสามีคนแรก ลูกทัง้ สีค่ นของเธอเกิดจาก การทีเ่ ธอตัง้ ครรภ์ไม่พร้อม และเธอเองก็ไม่ได้เลีย้ งลูกด้วยตัวเองเป็นหลัก แต่จะมีแม่ของเธอหรือยายของหลานๆ เป็นคนช่วยเลี้ยงและดูแลให้ ลูกจึงไม่สนใจหรือต้องการเธอในฐานะแม่

“พี่มีลูกทั้งหมด 4 คน คนโตอยู่ ม.1 แล้วก็ ป.1 อนุบาล 1 อนุบาล 2 พ่อเดียวกันหมดเลย ไม่ค่อยได้เลี้ยง ส่วนมากจะเป็นยาย พี่ก็ออกไปหาเงิน เล่นไพ่ กุ้ง ไก่ ไฮโล ได้เงินมาก็เอามาให้ยายไว้ซื้อนม ซื้อข้าวของเครื่องใช้ ก็ เลี้ยงมันไปแบบนี่แหละ มันก็โตของมันมาจนถึงตอนนี้ พี่ว่าพี่ก็เต็มที่นะ ก็อยู่ด้วยกันแต่ไม่ได้ใส่ใจจะสอนมันเท่าไหร่ ลูกก็ติดยาย ติดอามากกว่า ก็อาจจะมีบ้างที่อยากไปกับเราบ้าง แต่พี่ไม่ให้ไป แต่ลูกชายคนแรก พี่ก็เลี้ยงเอาเองนะ แต่ว่าสามคนหลัง คือพี่ไม่ได้เลี้ยงเลย ก็ทิ้งไว้ให้แม่พี่เลี้ยง ยิ่งลูกสาวคนสุดท้อง พี่นี่แทบไม่ได้เลี้ยงเลย เด็กพวกนี้ เลยไม่ติดแม่ คือ ไม่ได้สนใจเลยว่า แม่จะอยู่ไหน ท�ำอะไร” คุณอิ้บ

กรณีคุณเต่า เธอแต่งงานมีครอบครัวสามครั้ง และมีลูกกับสามีทั้งสามคน และไม่มีใครส่งเสียเลี้ยงดูลูก ที่เกิดจากพวกเขา ไม่มีการติดต่อ เธอจึงท�ำงานหาเลี้ยงตนเอง และไม่ได้เลี้ยงดูลูก แต่ให้ญาติพี่น้องเลี้ยงดูให้

บทที่ 4 ผลการศึกษา

69


“ไม่มีใครส่งเสียลูกนะ คนแรกก็หายไปตั้งแต่ตอนนั้น เค้าไม่ได้เห็นหน้าลูกด้วยซ�้ำ ส่วนคนที่สองก็อย่างที่ บอกว่าเค้าก็ทิ้งลูกพี่ไว้ ก็มีส่งเงินมาบ้างช่วงแรก แต่พอเค้ามีครอบครัวใหม่ก็หายไปเลย ส่วนคนที่สามก็ขาดการ ติดต่อกันไปเลย แต่เค้าได้เห็นหน้าลูกนะตอนที่ลูกยังเล็กๆ” คุณเต่า

3. แม่เลี้ยงลูกเองอยู่กับบ้าน และให้อยู่กับปู่ย่าบางเวลา รูปแบบนี้ค่อนข้างดีกับลูก เนื่องจากสามีและครอบครัวได้เข้ามารับผิดชอบค่าใช้จ่าย แม่จึงสามารถ เลีย้ งลูกอยูก่ บั บ้าน จนกระทัง่ ลูกอายุประมาณหนึง่ ขวบและเริม่ เดิน แม่กเ็ ริม่ ออกไปหารายได้เล็กๆน้อยๆ ในช่วง เวลาสั้นๆ ของแต่ละวัน หรือท�ำงานอยู่บริเวณใกล้บ้าน กรณีคุณเพียว เธอเลี้ยงลูกด้วยตนเอง จนเมื่อลูกชายอายุได้หนึ่งปีและเริ่มเดินได้ คุณเพียวจึงตัดสินใจ ท�ำงาน เพื่อหารายได้เสริมาใช้จ่ายในครอบครัวของเธอ จากเดิมที่อาศัยเงินจากสามีและพ่อแม่ของสามี เธอจึง เริ่มท�ำการค้าขาย และฝากปู่กับย่าดูแลลูกชายของเธอเวลาไปท�ำงาน “มีช่วงหลังๆ ที่มาเริ่มขายของตอนที่ลูกชายเริ่มเดินได้ ก็น่าจะประมาณอายุหนึ่งปี พอเค้าหลับหนูก็จะ เตรียมของขาย เราก็เลยอยากที่จะมีรายได้เข้ามาบ้าง ไม่อยากอาศัยแต่เงินของพ่อกับแม่แฟนเค้า ตอนแรกก็ไปรับ ปลาหมึกจากญาติแฟนที่อุบลมาขาย แต่เหมือนกับเค้าก�ำหนดราคาส่งมาแพงเราก็ต้องมาบวกเพิ่มไปอีก มันก็เลย ขายยาก ก็เลยเลิกขายไปก็เลยมาลองจับสลัดท�ำสลัด ขายเฟรนฟราย ข้าวโพดอบเนย ก็ไปตลาดนัดใกล้ๆบ้าน ไม่ อยากไปไกลเพราะห่วงลูก คือ ช่วงที่แฟนเค้าไม่ได้ไปท�ำงาน ก็ไปขายด้วยกัน แต่พอหลังจากที่เค้าได้ท�ำงานที่ เทศบาลแล้ว เราก็ต้องไปขายคนเดียวบ้าง บางทีเขาไปส่งเราไว้ หรือ บางทีเขาก็ไปช่วยขาย เวลาไปขายของอย่าง เช่น หนูไปประมาณบ่ายสาม ก็จะเอาเขาไปฝากไว้กับปู่กับย่าที่โรงเรียน ให้ไปเล่นกับพี่นักเรียน” คุณเพียว

4. เมื่อแม่ต้องทอดทิ้งลูก ใครท�ำหน้าที่แทนแม่ การที่แม่จ�ำเป็นต้องทอดทิ้งลูกเนื่องด้วยเหตุผลการท�ำงาน ความไม่ผูกพัน หรือเหตุผลอื่นใดก็ตามนั้น จ�ำเป็นต้องพิจารณาร่วมด้วยว่า แม่ทิ้งลูกไว้ให้ใครท�ำหน้าที่แทนตน เนื่องเพราะแม่ผู้ให้ก�ำเนิด ซึ่งเป็นผู้ตั้ง ครรภ์ คลอด กับแม่ที่ท�ำหน้าที่เลี้ยงดูอาจเป็นคนละคนกันก็ได้ ดังนั้นหากบุคคลที่ท�ำหน้าที่เลี้ยงดูเด็กแทนแม่ เป็นคนที่รัก เมตตาและมีความต้องการเด็ก เด็กก็อาจมีชีวิตที่ดี มีความสุขได้ แต่หากบุ​ุคคลที่เลี้ยงดู ไม่ต้องการ เด็ก แต่ท�ำเพราะหน้าที่ จ�ำยอม หรือ เกรงได้รับการต�ำหนิจากสังคม ก็อาจสร้างความทุกข์ให้เด็กได้ บุคคลที่ท�ำ หน้าที่แทนแม่ผู้ให้ก�ำเนิดส่วนใหญ่ เป็นยายหรือย่า 4.1. ยาย ย่า ท�ำหน้าที่แทนแม่ ยาย หรือ ย่า มักเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่แม่เลือกให้ท�ำหน้าที่แทนเธอในการเลี้ยงดูลูก โดยเธอจะเลี้ยงลูก 70

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


ด้วยตนเองสักระยะหนึ่ง และเมื่อเห็นว่าลูกโตพอสมควร หรือ ตนเองต้องกลับไปท�ำงาน ก็จะน�ำลูกไปให้ย่า หรือยายเลี้ยงให้และส่งเงินค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กมาให้ บางกรณีพ่อแม่ก็แทบยกลูกของตนให้ย่าหรือยายมี อ�ำนาจในการตัดสินใจดูแลเด็กอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ย่าหรือยายอาจขอเข้ามาเลี้ยงดูเด็กแทนแม่ เนื่องจากมี ประสบการณ์มากกว่า และเกรงว่า แม่ของเด็กอาจยังเลี้ยงดูเด็กได้ไม่ดีพอ

4.1.1. ให้ย่าเลี้ยง หนูมีหน้าที่แค่ให้นม

่ย่ายาย อาจต้องการเข้ามามีบทบาทในการเลี้ยงดูเด็ก ท�ำให้แม่ผู้ให้ก�ำเนิด ไม่ได้ท�ำหน้าที่แม่ อย่างแท้จริง นอกาจากนี้ภาระการท�ำงาน ก็ท�ำให้แม่ผู้ให้ก�ำเนิดทอดทิ้งลูกได้เร็วขึ้น และสบายใจขึ้นเนื่องจากมี บุคคลอื่นท�ำหน้าที่แทน การเลี้ยงดูอื่นๆ และการตัดสินใจต่างๆ ขึ้นอยู่กับบุคคลที่ท�ำหน้าที่เลี้ยงดูแทนแม่ ส่วน หน้าที่แม่จึงเหลือเพียงการให้ลูกกินนมแม่ในช่วงหกเดือนแรกของชีวิตเท่านั้น กรณีคุณกี้ หลังจากที่คลอดลูก แม่สามีได้เข้ามามีบทบาทเลี้ยงหลาน และรับผิดชอบทุกเรื่อง ยกเว้น การให้นมแม่ ดังนั้น เธอจึงไม่ได้ท�ำหน้าที่แม่หลังจากให้ลูกกินนมครบหกเดือน “หนูให้ลูกกินนมแม่ได้ 6 เดือน หนูก็ลงมาท�ำงาน หนูก็มีหน้าที่แค่ให้นมนะพี่ ที่เหลืออาบน�้ำเปลี่ยนพา อ้อม เอาเค้านอนทุกอย่าง แม่แฟนท�ำให้หมด” คุณกี้

4.1.2. ยกลูกของเรา เป็นลูกตายายไป

การที่แม่ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ด้วยตนเอง ทั้งๆที่อยากเลี้ยง แต่เนื่องจากความจ�ำเป็นทาง เศรษฐกิจ จึงยกลูกและให้กับตาและยายเลี้ยงเป็นลูก เพราะแม่มั่นใจว่า ตายายจะท�ำหน้าที่ดูแลลูกได้ดีเท่าตัว เธอ กรณีคุณหน่อย คุณหน่อยด้วยความจ�ำเป็นหลายอย่างที่ท�ำให้เธอไม่สามารถที่จะเลี้ยงดูลูกทั้งสองของ เธอได้เธอจึงไม่ค่อยได้มีโอกาสที่จะอบรมสั่งสอนหรือเลี้ยงดูลูกของเธอด้วยตนเอง และเธอก็ให้สิทธิ์ในการอบรม เลี้ยงดูลูกกับพ่อแม่ของเธออย่างเต็มที่

บทที่ 4 ผลการศึกษา

71


“พี่ไม่ค่อยมีเวลาเลี้ยงหรือเวลาสอนลูก ส่วนใหญ่ก็จะเป็นตากับยายเป็นหลัก เพราะถ้าพี่ไม่ท�ำงาน ภาระ ที่บ้านก็จะหนักขึ้น พี่ในตอนนี้ก็ คือ เหมือนเสาหลักของบ้าน ถ้าพี่ไม่ฝากเค้าไว้กับตายายพี่ ครอบครัวพี่ก็ไปไม่รอด ถ้าพี่ไม่ไปท�ำงานก็จะไม่มีรายได้เข้ามา เอาจริงๆ พี่ก็อยากเลี้ยงลูกเองนะ แต่มันด้วยความจ�ำเป็นหลายๆ อย่างแล้ว สถานการณ์ของครอบครัวพี่ก็เปลี่ยนไป มันก็มีความจ�ำเป็นที่พี่ต้องฝากลูกไว้กับตายาย คือ ก็ให้เค้าเป็นลูกตายาย ไปอีกคน” คุณหน่อย

4.1.3. ไปท�ำงานกรุงเทพถาวร เลยให้ยายของเด็กดูแลลูกทั้งสามคน

เมื่อมีปัญหาเรื่องอาชีพและการท�ำมาหากิน เนื่องจากไม่สามารถหางานท�ำใกล้บ้านได้ จึงต้อง ตักสินใจไปท�ำงานกรุงเทพพร้อมสามี โดยฝากลูกทั้งสามไว้กับแม่ของเธอ และส่งเงินมาให้ โดยไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับ การเลี้ยงดูลูก “พี่ก็เลี้ยงเค้า จนลูกคนเล็กได้อยู่อนุบาล 1 ก็รู้สึกว่าไม่ไหวแล้ว ล�ำพังจะหากินแถวบ้าน ก็คงไม่มีเงิน พอใช้จ่ายในบ้าน พี่กับสามีก็ต้องไปท�ำงานที่กรุงเทพแบบถาวรเลย ส่งมาแค่เงินแค่นั้น ก็ส่งเดือนละ 3,000 บาท แต่ก็ส่งมาเรื่อยๆนะ แล้วแต่ว่าลูกจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอะไร” คุณเต่า

4.1.4. เราก็อยากเลี้ยงลูกเอง แต่พี่หาเช้ากินค�่ำ จึงต้องเอาไปฝากแม่เลี้ยงให้

ปัญหาอาชีพการงานที่เป็นงานต้องท�ำทุกวัน เป็นงานรับจ้างหาเช้ากินค�่ำ เธอจึงต้องเอาลูกไป ฝากพ่อแม่ของเธอเลี้ยงดูให้ ซึ่งแม่ของเธอก็ยินดี แต่ขอให้ส่งเงินมาเลี้ยงดู “พี่มีลูกหนึ่งคน ลูกสาวพี่ก็ 4 ขวบแล้วนะ พี่ก็อยากเลี้ยงลูกเองนะ แต่ด้วยภาวะทางการเงินของบ้านพี่ก็ คือยังไงหล่ะ พี่ไม่ได้ร�่ำรวยขนาดที่ว่านั่งเลี้ยงลูกเฉยๆ แต่ก็ยังมีเงินทองให้ใช้ ไม่ขัดสน แต่นี่พี่ก็ท�ำงานหาเช้ากินค�่ำ ก็เลยมีความจ�ำเป็นที่พี่จะต้องฝากลูกไว้กับตาและยาย ส่วนแม่พี่เค้าก็ดี เค้าเข้าในส่วนนี้ ส่วนที่พี่เอาภาระไปให้เค้า เค้าก็บอกว่าท�ำงานไปแล้วก็ส่งเงินมาก็พอ ท�ำงานกันไปตราบที่เรายังมีก�ำลัง พี่เองก็อยากท�ำงาน อยากหาเงิน อยากเก็บเงิน คือ พี่ก็เลี้ยงลูกได้เองหมดนะ ท�ำไม่ได้คือตอนอาบน�้ำ เพราะพี่ไม่กล้าลูกพี่ตัวเล็ก”คุณนุช

4.1.5. ลูกสามเดือน โตพอที่เราจะฝากไว้กับตายาย

แม่เลี้ยงลูกด้วยตนเองจนอายุได้สามเดือน เธอเห็นว่าลูกโตพอที่จะให้คนอื่นเลี้ยงดูแทนตนเอง ได้ จึงตัดสินใจฝากลูกชายไว้กับแม่ของเธอ ให้ช่วยเลี้ยงและดูแล ส่วนตนเองกลับไปท�ำงาน “พี่ก็เลี้ยงเค้าเองได้ 3 เดือน ก็พาเค้าไปฝากไว้ที่ตากับยายไว้ พี่ก็คิดว่าลูกก็โตพอ ที่เราจะฝากตากับยาย ไว้ได้แล้ว เพราะพี่เองก็ต้องมาท�ำงานต่อ” คุณอึ่ง 72

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


4.1.6. ช่วงแรกให้ยายเลี้ยง ช่วงหลังให้ปู่ย่าช่วยเลี้ยง

การที่เด็กเกิดมาในสังคมที่ทุกคนต้องท�ำมาหากิน การเลี้ยงเด็กเล็กๆคนหนึ่งเป็นเรื่องยุ่งยาก อาจต้องเปลี่ยนคนเลี้ยงหลายคน เช่น กรณีคุณปลา ในช่วงแรกเธอให้แม่ของเธอมาช่วยเลี้ยง แต่ต่อมาเด็กก็ถูก ส่งไปให้ปู่ย่าเป็นคนช่วยเลี้ยงดูให้ “ด้วยความที่เป็นท้องแรกของพี่ พี่ก็เลยไม่กล้าที่จะเลี้ยงเองคนเดียว ก็ให้แม่พี่ขึ้นมาช่วยเลี้ยงประมาณ 1 เดือน พี่ก็เลยพาลูกกลับมาเลี้ยงที่บ้าน ก็เลี้ยงเค้าได้ 3 เดือน ก็กลับมาท�ำงาน ... แฟนพี่ท�ำงานคนเดียวก็กลัวว่าจะ ไม่ไหว ลูกชายคนโตจะถูกปู่กับย่าเลี้ยงส่วนพี่กับแฟนก็มีหน้าที่ส่งเงินกลับไปให้ลูก” คุณปลา

4.2. ดูแลเอง แต่จ้างญาติ จ้างแม่ จ้างคนเลี้ยงมาช่วย ส�ำหรับแม่ที่ไม่สามารถให้ย่าหรือยายช่วยเลี้ยง และพวกเธอพยายามที่จะเลี้ยงลูกด้วยตนเอง แม้ว่าจะ ต้องท�ำงานไปด้วย ก็อาจจ้างให้ญาติ แม่ของตนเอง หรือจ้างคนที่อาศัยอยู่ใกล้กันช่วยเลี้ยงดูให้

4.2.1. จ้างญาติและพี่เลี้ยงดูแลลูก

การที่ครอบครัว พ่อแม่ลูกจะได้อยู่พร้อมหน้ากันเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่เพื่อให้ลูกอยู่ใกล้ตัว มากที่สุดแม่บางคนก็ต้องจ้างพี่เลี้ยงเลี้ยงลู กแม้ว่าจะเป็นเงินที่ค่อนข้างมาก และเมื่อเด็กโตขี้นอีก ก็ใช้วิธีการ ฝากสถานรับเลี้ยงเด็กคือ ไปฝากตอนเช้าและเย็นไปรับกลับ แต่เมื่อถึงวัยที่เข้าโรงเรียนดูเหมือนว่า แม่ในเมือง แทบจะไม่มีทางเลือกมากนัก หลายคนต้องส่งลูกที่ไม่อยากให้ห่างตัวไปอยู่กับยายเลี้ยงที่ต่างจังหวัด เพราะไม่ สามารถรับส่งลูกดังเช่น กรณีคุณพิศ ที่มีความพยายามหลายอย่างในการให้ลูกอยู่ใกล้ตัวมากที่สุด คุณพิศเลี้ยงลูกคนโตด้วยตัว ของเธอเอง แต่ก็ไม่ได้เลี้ยงเค้าเป็นหลัก เพราะเธอต้องไปท�ำงานเธอจึงต้องจ้างพี่เลี้ยง และให้ญาติทางแฟนช่วย เลี้ยงลูกของเธอมาตลอด จนถึงช่วงวัยที่ต้องเข้าโรงเรียนเธอจึงตัดสินใจฝากยายเลี้ยงที่ต่างจังหวัด “พี่ก็เลี้ยงเค้าในลักษณะที่ตอนเช้าพี่ไปท�ำงาน ทุกคนในบ้านไปท�ำงาน พี่ก็จะเอาเค้าไปฝากเลี้ยงไว้ พอ เย็นพี่ก็ไปรับกลับ แต่ว่าพอเค้าเริ่มไปโรงเรียนก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ปู่ย่า ไปรับไปส่งที่โรงเรียนเด็กก่อนเกณฑ์ ส่วนพี่ กับแฟนก็ต้องท�ำงา นพอเค้าต้องเข้าอนุบาลก็เลยเอาเค้าไปไว้กับยาย…ส่วนคนเล็กพี่เลี้ยงเองได้ 3 เดือน เท่าที่พี่ลา คลอดได้ พี่ก็กลับมาท�ำงานแล้วก็เอาลูกไปฝากยายไว้เลย” คุณพิศ

บทที่ 4 ผลการศึกษา

73


“พี่ก็เลี้ยงเค้าเองที่บ้านของแฟนได้พักหนึ่ง ให้นมลูกได้ 1 เดือน แล้วพี่ก็ต้องกลับไปท�ำงาน ก็ให้ย่าและก็ ญาติทางสามีคอยช่วยดู และก็จ้างคนที่รู้จักให้ช่วยเลี้ยงช่วยดู ให้ค่าเลี้ยงก็เดือนละ 3,000 บาท” คุณเพลิน

4.2.2. จ้างคนเลี้ยงกลางวัน และจ้างแม่เลี้ยงให้ตอนกลางคืน

การท�ำงานบางชนิดไม่อาจก�ำหนดเวลาได้ว่าจะท�ำกลางวันหรือกลางคืน ผู้หญิงจึงต้องหาทาง เลี้ยงลูกเล็กด้วยการจ้างคนในตึกเลี้ยงลูกให้เธอในเวลากลางวัน ส่วนในตอนกลางคืนเธอให้แม่เป็นคนเลี้ยงลูก และเธออกไปท�ำงานกลางคืนเพื่อหาเงินมาจ่ายค่าพี่เลี้ยงและจ่ายค่าจ้างแม่ในการดูแลลูกให้เธอ “ตอนที่ลูกเกิดจนถึง 2 เดือน เราก็อยู่ให้นมจนถึง 3 เดือน คือจ้างคนในตึกเลี้ยงตอนกลางวัน หลังจาก นั้นเราก็ไปท�ำงานตอนกลางคืน ก็เริ่มไม่มีน�้ำนมให้ลูก 3 เดือน จนถึงตอนนี้ลูกก็ทานมาชงมาโดยตลอด ก็ให้แม่เรา เลี้ยงเป็นหลัก เราจ่ายแม่เดือนละ 2,000 บาท แต่เดี๋ยวนี้ก็ต้องให้เพิ่มมากขึ้น เพราะลูกก็เริ่มโต ตอนนี้เราก็จ้างแม่ 5,000 บาท”

4.3. ให้ญาติช่วยเลี้ยง เมื่อแม่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยตนเองได้และต้องทิ้งลูกเพื่อไปท�ำงาน การหาคนมาเลี้ยงดูลูกนั้นเป็น เรื่องยุ่งยาก โดยเฉพาะถ้า ย่าหรือยายไม่สะดวกในการเลี้ยงให้ การมองหาญาติคนอื่นมาช่วยเลี้ยงก็เป็น ทางออก แต่แม่ก็ไม่สามารถคาดหวังหรือแน่ใจ เพราะเป็นการต้องพึ่งพาสูง และต้องส่งเด็กไปอยู่ห่างไกล นอกจากนี้ เด็กในครอบครัวเดียวกันอาจต้องแยกกันถูกน�ำไปเลี้ยง เนื่องเพราะไม่สามารถดูแลเด็กพร้อมกันได้ สองหรือสามคน

4.3.1. ลูกสองคน แบ่งให้ย่าและพี่สะใภ้น�ำไปเลี้ยงดู

แม่ลูกสองต้องน�ำลูกคนโตไปไว้ที่จังหวัดสกลนครกับย่า ส่วนลูกคนเล็กต้องเอาไปฝากพี่สะใภ้ ที่จังหวัดขอนแก่น “คนโตพี่เลี้ยงเค้าได้ 2 เดือน พี่ก็ต้องพาลูกไปไว้ที่ย่า ความจริงก็อยากที่จะเอาไปฝากพี่สาว แต่ว่าแฟน พี่บอกว่ามันไกล อยู่ที่นี่ใกล้กว่า...พี่ก็พาเค้าไปไว้ที่บ้านที่สกลนคร ก็เลี้ยงเค้าได้ 2 เดือนเองมั้ง คนเล็กก็ฝากไว้กับพี่ ชายพี่สะใภ้เลยที่ขอนเก่น คือ ย่าเค้าแก่และก็เลี้ยงไม่ไหวแล้ว พี่ก็เลยต้องแยกเลี้ยงกันคนละที่ คือ ตอนที่พี่ท้องพี่ก็ ถามเค้าแล้วว่า จะเลี้ยงลูกให้เราได้ไหมเค้าก็บอกว่าเลี้ยงได้เอามาเลย” คุณค�ำกอง

74

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


4.3.2. เอาลูกสาวให้พี่ชายช่วยเลี้ยงที่ต่างจังหวัด

กรณีคุณพลอย เธอและแฟนมีลูกด้วยกัน 1 คนซึ่งปัจจุบันเธอไม่ได้เลี้ยงดูแลลูกด้วยตนเอง เพราะเธอต้องท�ำงาน เธอจึงฝากลูกของเธอให้พี่ชายของเธอหรือลุงของลูกเธอช่วยเลี้ยงและดูแลแทน “มีลูกสาว 1 คนอายุ 2 ขวบพี่ก็เลี้ยงเค้าได้ 3 เดือน แล้วพี่ก็ถึงก�ำหนดที่ต้องเข้าไปท�ำงาน พอแฟนเค้าได้ หยุด พี่กับแฟนก็ส่งไปให้พี่ชายเลี้ยงที่ต่างจังหวัดจนถึงตอนนี้” คุณพลอย

สาม ประสบการณ์ของลูกที่ไม่มีใครต้องการ การที่ลูกกลายเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการ หรือ ถูกพ่อแม่ทอดทิ้งนั้น มีสาเหตุหรือความเขื่อมโยงกับการ ท�ำงานของพ่อแม่ ในระบบโลกาภิวัตน์ และระบบชายเป็นใหญ่ คล้ายกับประสบการณ์การทอดทิ้งลูกของแม่ กล่าวคือ พ่อและแม่ส่วนใหญ่จะท�ำงานอยู่ในชนบท แต่เมื่อไม่มีงาน ไม่มีรายได้ เพียงพอกับใช้จ่าย พวกเขาใน วัยสร้างครอบครัว จึงต้องทอดทิ้งลูกเล็กไปท�ำงานต่างถิ่น โดยเฉพาะในเขตเมืองซึ่งห่างไกลจากเด็ก พวกเขา คร�่ำเคร่งกับการท�ำงาน จนกระทั่งไม่มีเวลาเยี่ยมเยียน ใกล้ชิดลูก หรือ ได้ทอดทิ้งลูกในวัยที่พวกเขาต้องการพ่อ แม่ ลูกที่ถูกทอดทิ้งเติบโตเหมือนต้นไม้ที่ไม่เคยถูกดูแล กิ่งก้านสาขาที่ระเกะระกะ หรือ แคระแกรน พวก เขาบางส่วนไม่เรียนหนังสือ บางส่วนขาดแคลนการดูแลใส่ใจ ต้องดูแลตัวเอง ถูกกดดันให้ต้องออกไปช่วยพ่อแม่ เช่น ไปชกมวยหาเงิน ไปเป็นพนักงานเสริฟ เป็นต้น เด็กที่ถูกกดดันให้โตก่อนวัย ให้ท�ำงานในขณะที่ร่างกาย จิตใจ และทักษะต่างๆไม่พร้อมนั้น สร้างความไม่เป็นธรรมให้กับเด็ก พวกเขาถูกเอาเปรียบค่าแรง ท�ำงานที่เสี่ยง ทั้งต่อสุขภาพและการท�ำผิดกฎหมาย ถูกล่อลวงต่างๆ นอกจากนี้ เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือไม่มีใครต้องการนั้น มักจะมีปัญหาการหย่าร้างของพ่อแม่ พ่อแม่มี ครอบครัวใหม่ มีสามีหรือภรรยาหรือลูกใหม่ อาจมีปัญหาการตายของพ่อแม่ มีปัญหาการได้รับความรุนแรง ในครอบครัว เด็กอาจถูกทิ้งทั้งจากพ่อและหรือแม่ ต้องอยู่กับญาติ พ่อและหรือแม่อาจไม่สงเสีย เลี้ยงดู ไม่ เคยกลับมาเยี่ยมเยียน พ่ออาจติดคุก ติดยา ติดเหล้า ปัญหาเหล่านี้ท�ำให้เด็กตกเป็นเหยื่อหรือได้รับผลกระ ทบจากปัญหาของผู้ใหญ่ เด็กก็จ�ำเป็นต้องเอาชีวิตรอด ถูกเลี้ยงดูตามสภาพจ�ำยอมของผู้ใกล้ชิด และหากไม่มี ใครต้องการพวกเขาจริง ก็จะถูกผลักให้รัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไป ซึ่งระบบต่างๆที่มีอยู่อาจมีปัญหา ติดขัด ที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจ ขาดแคลนงบประมาณ การพัฒนาต่างๆให้สอดรับกับสภาพปัญหาทางสังคมที่ เปลีย่ นแปลงไป และทวีความรุนแรงมากขึน้ ทัง้ ทีร่ ะบบเหล่านีค้ อื พืน้ ทีซ่ งึ่ สามารถช่วยเหลือเกือ้ กูลให้เด็กทีไ่ ม่มี ใครต้องการสามารถมีทยี่ นื มีอนาคตต่อไปได้ จ�ำเป็นต้องปรับบทบาทของหน่วยงานภาครัฐให้รองรับปัญหาอย่าง เร่งด่วน จริงจัง เพื่อให้เด็กมีพื้นที่ยืนอยู่ในสังคมต่อไป และไม่กลายเป็นเหยื่อของปัญหาและความไม่เป็นธรรม อื่นๆ บทที่ 4 ผลการศึกษา

75


1. แม้จะอยู่บ้านเดียวกัน แต่พ่อแม่ก็ไม่ได้สนใจผม ประสบการณ์ของเด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือไม่มีใครต้องการนั้น เป็นการน�ำเสนอถึงสถานการณ์ที่เด็กเผชิญ หน้าในปัจจุบัน เป็นเสียงของเด็กที่เขารู้สึก เขาอาจรู้เรื่องราวในอดีตบ้างหรือแทบไม่รู้เลยว่า พ่อแม่ของเขามี ปัญหาอะไร และก็ไม่รู้ว่าท�ำไมเขาถึงกลายเป็นผลพวงจากปัญหาต่างๆ กรณีเชฟ พ่อแม่ของเชฟเคยไปท�ำงานต่างจังหวัดมาก่อน แต่ต่อมาตัดสินใจที่จะกลับมาอยู่บ้านกับลูก โดยพ่อท�ำงานรับจ้างทั่วไป รับจ้างก่อสร้าง ส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้างรายได้ไม่แน่นอน และบางวันก็ไม่มีงาน พ่อจะกินเหล้ามานาน และกินกับเพื่อนเป็นประจ�ำ ถ้ามีงานท�ำ พ่อจะออกไปท�ำงานแต่เช้า และกลับมาบ้านค�่ำ มืด เพราะจะไปสังสรรค์กินเหล้ากับเพื่อนหลังเลิกงาน “พ่อเขากินเหล้ามานานแล้ว ไปกินกับเพื่อนเขาตอนเย็น .... พ่อก็ไปหาเพื่อนตามปกติ ถ้าไม่ไปท�ำงาน ก็ กินเหล้า” เซฟ

ส่วนแม่ก็ท�ำงานเย็บผ้าอยู่ที่บ้าน แม้ว่าแม่จะอยู่ด้วยตลอดเวลา แต่แม่ก็ใช้เวลาทั้งวันท�ำงาน จึงไม่ค่อย มีเวลาได้ใส่ใจกับเซฟมากนัก กิจวัตรที่เซฟท�ำหลังจากกลับจากโรงเรียน คือ กลับมาเปลี่ยนเสื้อผ้าเพื่อออกไปเล่น กับเพื่อน ซึ่งในช่วงที่พ่อกับแม่ต่างท�ำงานจนไม่มีเวลาสนใจลูก ก็เป็นช่วงเวลาที่เซฟเริ่มติดเกมส์อย่างหนัก ใน แต่ละวันเขาจะอยู่ที่ร้านเกมส์มากกว่าอยู่บ้าน 2. พ่อแม่ไม่สามารถส่งเสียเลี้ยงดูเด็ก ผลักให้ลูกต้องออกจากบ้าน ท�ำมาหากินเลี้ยงตนเอง ในรูปแบบนี้ พ่อแม่ก็รักและพยายามเลี้ยงดูพวกเขา แต่ก็จ�ำเป็นต้องปล่อยให้เด็กต้องไปเผชิญโลก เสมือนไม่มีใครต้องการเขา เด็กชายต้องช่วยเหลือตนเอง ดิ้นรนให้มีชีวิตรอดและท�ำตามความฝัน เด็กหญิงต้อง แต่งงาน พ่อแม่ของเด็กต่างก็มีปัญหามากบ้าง น้อยบ้าง เช่น ไม่มีงานหรืออาชีพที่จะมีรายได้เพียงพอเลี้ยงดูส่ง เสียให้ลูกเรียนได้อย่างเต็มที่ พ่อแม่เหล่านี้บางคนก็อายุมาก บางคนเป็นชนกลุ่มน้อย บางคนป่วยไม่สามารถ หารายได้มากพอที่จะเลี้ยงลูก ต้องปล่อยให้เด็กช่วยตัวเอง ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากความต้องการของพ่อแม่ แต่ก็มีส่วนท�ำให้พ่อแม่ต้องปล่อยหรือลดบทบาทของตนเองในการดูแลรับผิดชอบลูก เป็นการได้รับความไม่ เป็นธรรมเชิงโครงสร้างของพ่อแม่ จนท�ำให้ลูกได้รับผลพวง จนท�ำให้พ่อแม่ไม่สามารถที่จะเลี้ยงลูกและส่งเสีย ลูกให้เรียนหนังสือได้ และบีบคั้นจนท�ำให้ลูกต้องท�ำงานเลี้ยงตัวเองระหว่างเรียนหนังสือ ดังกรณีตัวอย่างเหล่า นี้

76

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


2.1. พ่อแม่ท�ำไร่ท�ำนา ยากจน ผมต้องชกมวยเพื่อหาเงินเรียนหนังสือ กรณีอาทิตย์ ครอบครัวของอาทิตย์เป็นครอบครัวใหญ่ อยู่ด้วยกัน 6 คน พ่อวัย 35 ปี และ แม่วัย 40 ปี อาทิตย์เป็นพี่คนโต เขามีน้องชาย 2 คน และน้องสาว 1 คน บ้านเกิดของอาทิตย์อยู่ในจังหวัดตาก ใกล้ๆไป ทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน พ่อแม่ประกอบอาชีพท�ำไร่ท�ำนา พอเลี้ยงชีพมีรายได้ไม่มาก อาทิตย์จึงต้องดิ้นรนหา ทางเรียน และหารายได้ด้วยตัวเองมาตั้งแต่เด็ก อาทิตย์ไม่ได้อยู่กับครอบครัว แต่ต้องมาอาศัยอยู่กินในค่ายมวย หารายได้เลี้ยงและส่งตัวเองเรียนหนังสือตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 3

“ผมย้ายมาอยู่แม่ฮ่องสอนนานแล้วครับ มาอยู่ชกมวย...มาอยู่ค่ายมวยตั้งแต่ ม.3” อาทิตย์

2.2. พ่ออายุมาก เป็นชาวเขา ลูกเยอะ ผมท�ำงานหาเงินเรียนเอง

กรณีปิ่นเพชร เป็นชาวเขาในจังหวัดตาก พ่อมีอายุ 60 ปี มีลูกทั้งหมด 12 คน พ่อแม่ท�ำไร่ท�ำนามีราย ได้ไม่แน่นอน แทบไม่พอกินในครอบครัว เพราะมีลกู ทีต่ อ้ งเลีย้ งดูหลายคน เมือ่ เริม่ ช่วยเหลือตัวเองได้ ปิน่ เพชร เป็นลูกคนที่ 8 เขาซึ่งขณะนั้นอายุเพียง 7 ขวบกับพี่ชาย ต้องไปกรุงเทพเพื่อท�ำงานเพื่อหาเงินเรียนด้วยตัวเอง ส่วนคนอื่นๆก็ไม่ได้เรียนหนังสือ ช่วยพ่อแม่ท�ำไร่ท�ำนา ปัจจุบันอาศัยอยู่ในค่ายมวย เพื่อที่จะมีที่อยู่ที่กิน และมี รายได้เพื่อเรียนต่อ ไม่ค่อยได้ติดต่อกับทางบ้าน “ผมมาอยู่ที่ค่ายมวยนี้ได้ 6 ปี ก่อนหน้านี้ก็ไปอยู่กรุงเทพฯ ไปหาประสบการณ์ ตอนนั้นไปเรียน แล้วก็ ไปชกมวย ผมไม่เคยใช้เงินพ่อแม่ เลยพ่อแม่ท�ำไร่ท�ำนา แล้วก็มีค่าใช้จ่ายเยอะ ผมก็ต้องหาเอง” ปิ่นเพชร

2.3. พ่อแม่อายุมากและป่วย ผมชกมวยหาเงินเรียน กรณีชลแดน เป็นใครอบครัวเกษตรกรที่มีกัน 5 คน คือ พ่อแม่ อายุ 65 ปี แม่อายุ 48 ปี พี่ ชายอีก 2 คน อายุ 25 และ 23 ปี ชลแดนเป็นลูกคนสุดท้อง พ่อแม่ท�ำงานไม่ค่อยไหว มีการเจ็บป่วย ชลแดนจึงท�ำงาน หารายได้ช่วยเหลือตัวเองตั้งแต่เด็กตั้งแต่เมื่อเขาเข้าไปเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเข้าไปอยู่ค่ายมวย ตาม ค�ำแนะน�ำของเพื่อน ได้เงินค่าชกครั้งละ 500 บาท

บทที่ 4 ผลการศึกษา

77


“ผมไม่เคยขอเงินพ่อแม่เลย ตั้งแต่ท�ำงาน ไม่อยากเป็นภาระเขา ...เข้าไปอาศัยอยู่ในค่ายมวยตั้งแต่ ม.4 ได้เริ่มฝึกซ้อม และหารายได้จากการขึ้นชกมวยเพื่อเป็นทุนในการศึกษาเล่าเรียน ได้เงินครั้งละ 500 บาท ตั้งแต่มา อยู่ที่ค่าย ก็ไม่ค่อยได้กลับบ้าน” ชลแดน

2.4. ถูกบังคับให้ออกจากโรงเรียน และแต่งงานตั้งแต่อายุ 14 ปี กรณีน�้ำหวาน พื้นฐานครอบครัวของหวานค่อนข้างยากจน พ่อต้องไปท�ำงานในกรุงเทพฯเพื่อหาเลี้ยง ครอบครัว แม่กต็ อ้ งอยูบ่ า้ นเลีย้ งลูกและหางานรับจ้างทัว่ ไป หวานต้องออกจากโรงเรียน เมือ่ จบชัน้ ประถมศึกษา 6 และต้องแต่งงานกับสามี เพราะความต้องการของพ่อแม่ “ที่บ้านมีปัญหาเรื่องเงิน เพราะพ่อจะเป็นคนหาคนเดีย วแม่ก็หาได้ก็แค่รับจ้างทั่วไป ท�ำนาเสร็จก็ไม่มี อะไร เขาให้แต่ง ก็แต่งเท่านั้นเอง” น�้ำหวาน

3. พ่อแม่ไปท�ำงานกรุงเทพ และทิ้งให้ลูกอยู่กับย่า ตา ป้า

รูปแบบนี้เป็นรูปแบบหลักของการทอดทิ้งลูก คือ พ่อแม่และลูก มีความรัก ความผูกพัน พ่อแม่พยายาม ออกไปท�ำงานหาเงินส่งกลับมาเลี้ยงลูกที่ฝากปู่ย่าตายายเลี้ยง อย่างไรก็ตามลักษณะงานที่ท�ำนั้นไม่อนุญาตให้ พ่อแม่กลับมาเยีย่ มลูกทีบ่ า้ นได้บอ่ ยนัก จนในทีส่ ดุ เด็กก็ไม่ได้รสู้ กึ ว่า พ่อแม่นนั้ ต้องการพวกตนอย่างจริงจัง เนือ่ ง ด้วยพ่อแม่ไม่ค่อยได้กลับมาเยี่ยมลูก ลูกจึงไม่ใคร่รู้สึกว่าตนมีพ่อแม่ อาจมีการโทรศัพท์ติดต่อกันบ้าง เด็กบาง คนยังสนิทสนมกับแม่ เด็กบางคนคิดว่าป้าที่เลี้ยงตนเป็นแม่ และบางคนก็รู้สึกว่า พ่อแม่เหมือนคนไม่รู้จักกัน 3.1. อยู่กับย่าสองคน พ่อแม่มาหาปีละครั้งสองครั้ง กรณีเบ็น เด็กอาศัยอยู่กับย่าเพียงสองคน พ่อแม่ไปท�ำงานที่กรุงเทพ ไม่ค่อยได้กลับบ้าน ปีหนึ่งเจอ หน้าพ่อแม่เพียงหนึ่งถึงสองครั้ง โดยพ่อแม่มาบ้านหรือให้ตนนั่งรถไปหาที่กรุงเทพ “พ่อแม่ท�ำงานที่กรุงเทพฯ หาเงินมาเลี้ยงครอบครัว นานๆ ครั้งที่พ่อกับแม่จะกลับมาหาที่บ้าน มาหาปี ละ1-2ครั้ง หรือบางครั้งในช่วงปิดเทอม เบ็นก็จะนั่งรถไปหาพ่อกับแม่ที่กรุงเทพฯ โดยส่วนใหญ่เบ็นจะอาศัยอยู่กับ ย่าเพียงสองคน” เบ็น

78

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


3.2. อยู่กับตา พ่อแม่ย้ายที่ท�ำงานไปเรื่อยๆ พ่อท�ำแต่งาน กรณีเบียร์ อาศัยอยู่กับตาวัย 50 กว่าปี และน้องชายวัย 11 ขวบ เบียร์อาศัยอยู่กับตามาตั้งแต่เด็กๆ เพราะพ่อแม่ต้องออกไปท�ำงานที่อื่ นจึงต้องทิ้งให้เบียร์ และน้องต้องอาศัยอยู่กับตาตั้งแต่เด็ก พ่อแม่ของเบียร์ ย้ายไปท�ำงานหลายจังหวัด ซึ่งก็ไกลจากบ้านที่เบียร์อาศัยอยู่พอสมควร นานๆ ครั้งพ่อแม่จึงจะกลับมาหาเบียร์ และน้อง แต่ก็ได้โทรศัพท์ติดต่อกันบ้าง “เมื่อก่อนพ่อกับแม่ท�ำงานอยู่ร้านขายหยกที่อ�ำนาจฯ ปัจจุบันพ่อและแม่ก็ย้ายไปท�ำงานที่จังหวัดระยอง ซึ่งย้ายไปได้ประมาณ 2 ปี เขาจะมาช่วงงานบุญปีนึงก็ประมาณ 2 ครั้ง พ่อแม่ก็ไม่ค่อยได้ติดต่อกลับมาบ่อยนัก แม่ก็จะโทรมาบ้าง เบียร์รักมากที่สุด แต่​่พ่อเอาแต่ท�ำงาน ไม่มีเวลาให้เบียร์” เบียร์

3.3. หนูอยู่กับป้าและลุงตั้งแต่จ�ำความได้จนหนูรู้สึกเหมือนป้าเป็นแม่ กรณีปิงปอง ถูกส่งให้มาอยู่กับป้าและลุงตั้งแต่จ�ำความได้ แม่บอกกับปิงปองต้องส่งลูกไปอยู่กับป้า เพราะว่าพ่อแม่ต้องท�ำงานไม่สามารถเลี้ยงดูเองได้ ต้องแบ่งให้ป้าช่วยกันเลี้ยงดูลูกๆ เธอสนิทสนมกับป้าจนรู้สึก ว่า ป้าเป็นแม่ของของเธอ “แม่บอกว่าต้องท�ำงานหาเงินให้ เลยเอาหนูกับพี่ ให้ป้าช่วยๆกันเลี้ยง จึงเรียกป้าว่า แม่ จนมีความรู้สึก ว่าป้าคือแม่ที่เลี้ยงดูมา ส่วนลุงก็มีอาชีพขับรถตู้ ที่ต้องเดินทางไปกลับระหว่างอ�ำนาจเจริญกับกรุงเทพฯเป็นประจ�ำ จึงไม่ค่อยได้มีเวลาอยู่ด้วยกันสักเท่าไร” ปิงปอง

3.4. หนูเรียกตายายว่า พ่อกับแม่

กรณีบีม เธอเป็นเด็กสาววัย 12 ปี เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ปัจจุบันบีมอาศัยอยู่กับตายายวัย 60 ปี และน้องสาวอายุ 11 ปี ตายายเป็นผูเ้ ลีย้ งเธอมาตัง้ แต่แรกเกิด พ่อแม่ของบีมทีท่ ำ� งานอยูใ่ นกรุงเทพฯ พ่อมีอาชีพ ขับรถแท็กซี่ส่วนแม่ท�ำงานในโรงแรม และนานๆครั้งพ่อแม่จะกลับมาหา แต่เธอก็ได้ไปเยี่ยมพ่อแม่ที่กรุงเทพใน ช่วงงปิดเทอม เพราะยายอยากไป “พ่อแม่อยู่กรุงเทพฯ พ่อขับแท็กซี่ แม่ท�ำงานโรงแรมส่งเงินกลับมาให้เดือนละประมาณ 5,000-6,000 บาท ส�ำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว หนูเรียกตากับยายว่าพ่อกับแม่ แต่รู้สึกว่าไม่ชินกับพ่อ ... เวลาแม่โทรมา ก็ ไม่อยากคุย ไม่รู้ท�ำไม คงไม่ชินมั้ง และนานๆครั้งที่พ่อแม่จะมาหา” บีม

บทที่ 4 ผลการศึกษา

79


3.5. หนูอยู่กับยาย พ่อกับแม่จะมาเฉพาะช่วงบุญใหญ่ เหมือนคนไม่รู้จักกัน กรณีฟิล์ม เธอเป็นเด็กสาววัย 15 ปี เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อาศัยอยู่กับยายวัย 61 ปี กับสามี ใหม่ของยาย และน้องชายของฟิล์มอีก 2 คนวัย 9 ปี และ 7 ปี พ่อและแม่ของฟิล์มมีอาชีพค้าขายจากที่เคย ค้าขายอยู่ในกรุงเทพฯ และย้ายไปจังหวัดชลบุรี พ่อและแม่ส่งเงินมาให้ทุกอาทิตย์เป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว และเป็นค่าเล่าเรียนของฟิล์ม และน้องชายทั้งสองคน พ่อส่งเงินมาไม่แน่นอน ไม่ได้ส่งเป็นรายเดือนแต่ส่งมา เป็นรายสัปดาห์ ซึ่งถ้ามีงานมากก็จะส่งเงินมาให้มาก ในวัยเด็ก ฟิลม์ อาศัยอยูก่ บั พ่อแม่อยูท่ กี่ รุงเทพฯ แต่เมือ่ พ่อและแม่เปลีย่ นงาน จึงย้ายไปอยูก่ บั ญาติและ คนรู้จักที่ชลบุรี และส่งเธอมาอยู่กับยาย และนานๆครั้งจึงจะมาเยี่ยม ซึ่งส่วนใหญ่มาช่วงท�ำบุญใหญ่ การที่ไม่ ค่อยได้ตดิ ต่อพูดคุยกับพ่อแม่ ท�ำให้รสู้ กึ ห่างเหินเหมือนกลายเป็นคนไม่คอ่ ยรูจ้ กั กัน เธอไม่อยากจะกลับไปอยูก่ บั พ่อแม่ “เมื่อต้องย้ายไปท�ำงานที่ชลบุรี แม่จึงให้ฟิล์มและน้องๆมาอาศัยอยู่กับยายที่บ้านเกิด ซึ่งในตอนนั้นฟิล์ม เองก็อยากที่จะมาอยู่กับยายเพราะคิดว่ายายจะใจดีกว่าแม่ แม่ชอบดุเป็นประจ�ำจึงเลือกที่จะมาอยู่กับยาย หนูไม่ กล้ากลับไปหาพ่อแม่ ก็กลัวๆ ไม่ค่อยรู้จัก เหมือนไม่ค่อยรู้จักกัน เพราะพ่อแม่จะยุ่งแต่กับการขายของ เราก็อยู่แต่ บ้าน” ฟิล์ม

3.6. ผมอยู่กับตายาย ตั้งแต่เด็กจนโต เจอหน้าพ่อแม่ไม่กี่ครั้ง

กรณีกอล์ฟ เขาอาศัยอยู่กับตายาย ซึ่งไม่มีลูก และเคยเลี้ยงดูแม่ตั้งแต่ยังเด็กเพราะยายแท้ๆเสียชีวิต เมื่อแม่มีลูก ก็น�ำกอล์ฟ มาฝากให้ตายายเลี้ยงดูตั้งแต่อายุได้เพียง 6 เดือน ปัจจุบันตายายก็มีอายุเกือบ 70 ปี แล้ว ตั้งแต่เด็กจนโตกอล์ฟมีโอกาสได้เจอหน้าพ่อแม่เพียงไม่กี่ครั้ง ได้คุยกับพ่อแม่เมื่อโทรไปหา ไปขอเงิน พ่อ แม่ไม่ค่อยส่งเงินมาให้ ต้องพึ่งพาจากตายายเป็นหลัก เมื่อไม่พอก็ต้องกู้ยืมจากคนรู้จัก ตายายก็อายุมากท�ำงาน รับจ้างท�ำไร่ทำ� นาได้เงินไม่มาก แต่ตายายต้องรับผิดชอบส่งเสียดูแลค่าใช้จา่ ยของกอล์ฟ และยังต้องรับภาระหนี้ สินที่กู้ยืมเงินให้แม่ของกอล์ฟอีกด้วย “แม่ผมไปท�ำงานอยู่กรุงเทพฯตั้งแต่ผมได้ 6 เดือน จะมาหาก็หลายๆปีมาครั้ง ผมพึ่งจะมาเห็นหน้าพ่อ แม่ตอนโต พ่อแม่ท�ำงานก่อสร้างได้เป็นรายวัน วันละ 300 บาท เวลาโทรไปขอเงิน เขาก็ไม่บ่น แต่ก็บอกว่าไม่มีให้ ตายายนี่แหละครับ ออกค่าเสื้อผ้าอุปกรณ์การเรียนให้ ส่วนพ่อแม่ต้องโทรไปจิก ถึงจะส่งเงินมา ช่วงที่ต้องจ่าย เยอะๆก็ต้องโทรไปจิก บางทีก็ให้มาน้อยกว่าที่ขอไป ถ้าไม่มีจริงๆยายก็ไปยืมคนแถวบ้าน ....แถมตาก็ยังเป็นหนี้ที่ แม่อยากได้เงิน ให้ตาก็ไปกู้ 50,000 บาท แม่ก็ไม่เอาเงินมาคืน ตายายก็เลยต้องมานั่งใช้หนี้แทน” กอล์ฟ

80

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


4. พ่อแม่พาลูกมาท�ำงาน บังคับให้ขายพวงมาลัย และเป็นขอทาน

รูปแบบนี้พวกเขาคือ เด็กที่ไม่มีใครต้องการอย่างแท้จริง เนื่องจากพวกเขาไม่เคยได้รับการเลี้ยงดูด้วย ความรัก ความเอาใจใส่ แต่พวกเขายังเป็นเด็กที่พ่อแม่ต้องการ เนื่องเพราะสามารถท�ำงานหาเงิน ท�ำประโยชน์ ให้กับพ่อแม่แท้ๆของตนเอง เช่น กรณียวน เด็กหญิงชาวกัมพูชา ซึ่งต้องท�ำงานขอทานช่วยแม่ และเสี่ยงต่อการ ถูกละเมิดทางเพศจากแฟนใหม่ของแม่ และกรณีนิด กรณียวน เด็กหญิงซึ่งเกิดจากพ่อแม่ชาวกัมพูชาในประเทศไทย แม่ของเธอย้ายมาถิ่นมาประเทศไทย เพื่อมาท�ำงานหาเงินและให้ก�ำเนิดยวนขณะอยู่ในประเทศไทย ปัจจุบันยวนอาศัยอยู่บ้านเด็กเร่ร่อน โดยมีครู อาสาเป็นผู้ดูแล ก่อนหน้านั้นยวนอาศัยอยู่ในห้องเช่ากับแม่ ซึ่งเป็นขอทานวัย 40 ปี ร่วมกับน้องต่างพ่ออีก 2 คน วัย 3 ขวบ และ 6 ขวบ พ่อและแม่ของยวนแยกทางกันตั้งแต่ยวนยังเด็กๆ ทั้งคู่ทะเลาะกันจนพ่อแยกทาง กลับไปกัมพูชา ยวนเติบโตมากับแม่และไม่ได้ติดต่อกับพ่ออีกเลย แม่เปลี่ยนแฟนบ่อยครั้ง และแฟนใหม่ของแม่ หลายต่อหลายคนมักจะจบด้วยการทะเลาะกันแยกทางกัน ส่วนใหญ่สามีของแม่จะไม่ค่อยท�ำงานอยู่ห้องเฉยๆ พึ่งพารายได้จากแม่ของยวนซึ่งมีอาชีพขอทานอยู่ตามสถานที่ต่างๆ มีรายได้ประมาณวันละ 1,000 บาท เป็นค่า ใช้จ่ายในครอบครัวแต่แม่ก็ไม่ค่อยดูแลลูก แม่ให้ยวนไปขอทานกับแม่ และถูกต�ำรวจจับ ครูอาสาได้เข้ามาให้ ความช่วยเหลือในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะการให้ยวนมาอาศัยอยู่ที่บ้านสงเคราะห์เด็ก เพราะเป็นห่วงความ ปลอดภัยที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกับสามีใหม่ของแม่ และให้โอกาสในการเข้าเรียนหนังสือ “แฟนแม่ไม่ได้ท�ำงานค่ะ แม่หนูเลี้ยงเขา เขาชอบเบื่อไม่อยากท�ำงาน บางครั้งเขาก็ขอเงินจากแม่ บาง ครั้งก็เอามาเลี้ยงแม่ แม่ออกไปขอทานได้เงินวันละ 1,000บาท แม่บอกให้หนูไปขอทานกับแม่ เพื่อหาเงินมาช่วย ครอบครัว แม่ถูกต�ำรวจจับ...หนูจะต้องอยู่กับพ่อใหม่ ครูกลัวก็เลยให้หนูมาอยู่ด้วย กลัวเขาตี กลัวเขามาท�ำร้าย” ยวน

กรณีนิด พ่อและแม่พา นิด น้อง และยาย มาท�ำงานในกรุงเทพฯ พ่อมีอาชีพท�ำงานก่อสร้าง แม่ท�ำงาน โรงงานขนมปัง ทั้งพ่อและแม่ต่างก็ต้องออกไปท�ำงานเกือบทุกวัน แต่เนื่องจากเป็นงานรายวัน มีรายได้ไม่ แน่นอน ท�ำให้ครอบครัว มีปัญหาค่าใช้จ่ายในครอบครัว เงินไม่พอใช้ ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน ต้องกู้ยืมเงินมา เพื่อใช้จ่ายในครอบครัว แม่ให้นิดต้องออกไปเดินขายพวงมาลัยริมถนนตั้งแต่อายุ 11 ปี ช่วยพ่อแม่หารายได้จน ถูกต�ำรวจจับ และมีหน่วยงานที่ดูแลเด็กเข้ามาดูแล “พ่อท�ำงานก่อสร้างแม่ท�ำร้านขนมปัง พ่อแม่กลับมาบ้านตอน 5 โมง ถ้าไม่มีโอทีก็ 3 โมง แม่ท�ำงานได้ เงิน 350 บาท ถ้าท�ำโอทีก็ได้ 400 บาท พ่อได้เงิน 500 บาท ที่บ้านหนู มีแค่ปัญหาเรื่องเงินค่ะ มันไม่มีเงินจ่ายค่า บ้านเขาก็จะไล่ออก ท�ำให้แม่ต้องไปกู้เงินมาจ่ายค่าบ้าน”

บทที่ 4 ผลการศึกษา

81


“แม่บอกว่าไปขายดอกไม้นะเพราะน้องป่วย ไม่มีเงินใช้ค่าบ้าน แล้วก็เลี้ยงน้องหนู หนูก็เลยไปซื้อดอกไม้ จากปากคลอง ซื้อถุงมาให้แล้วก็เอาไปขายกับเพื่อนหนูได้เงินมา 500 บาท หนูก็เอาให้ แล้วก็เก็บไว้เอง 100 บาท แม่กะยายเป็นคนสอนร้อยพวงมาลัย หนูก็ไปเดินขายกับเพื่อน...ก็เลยถูกจับค่ะ” นิด

5. พ่อแม่แยกทางกัน อาจมีครอบครัวใหม่ ทอดทิ้งให้ลูกต้องอยู่กับ ปู่ย่า ตายาย ญาติ โรงเรียน ศึกษาสงเคราะห์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการไปท�ำงานในระบบทุนนิยม กับความสัมพันธ์แบบชายเป็นใหญ่เป็นเหตุให้พ่อแม่ แยกทางกัน ท�ำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการ มีรูปแบบต่างๆเกิดขึ้นมากมายเนื่องจากเรื่องราวของเด็ก แต่ละคนก็มีความเฉพาะของตนเอง แต่รูปแบบหลัก คือ การที่พ่อแม่ย้ายไปท�ำงานในเมืองและต้องแยกจากกัน อยู่คนละที่ ท�ำให้ต่างฝ่ายต่างเจอคู่ครองหรือแฟนคนใหม่ ต่างแต่งงานใหม่ อยู่กิน และมีครอบครัวใหม่ รวมถึง มีลูกในครอบครัวใหม่ ลูกๆหรือเด็กในครอบครัวเก่า ก็จะกลายเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการมากขึ้น และระดับ ความไม่มีใครต้องการนี้ ผันแปรนี้ตามฐานะเศรษฐกิจหรือสังคมของปู่ย่า ตายาย ว่าดีเพียงใด หากปู่ย่าตายาย มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมไม่ดี เด็กที่พ่อแม่ไม่ต้องการ ก็จะกลายเป็นเด็กที่ปู่ย่าตายายไม่ต้องการไปด้วยอีกชั้น หนึ่ง และไม่มีใครต้องการอย่างจริงจัง และอาจต้องไปอยู่โรงเรียน สถานสงเคราะห์ต่างๆ

5.1. หนูอยู่กับย่า ตั้งแต่แม่ยังไม่คลอดหนู

กรณีกีต้าร์ เธอเป็นเด็กสาววัย 14 ปี ก�ำลังเรียนอยู่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 อาศัยอยู่กับปู่และย่ามาตั้งแต่ เกิด พ่อแม่ของกีต้าร์ท�ำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ แม่ของเธอท้องและมาคลอดที่นี่ เมื่อแม่กลับไปท�ำงาน ย่าจึงเป็นผู้ เลี้ยงดูกีตาร์ตั้งแต่แรกเกิด กีต้าร์ใกล้ชิดกับย่ามากที่สุด แต่ไม่ค่อยสนิทหรือได้ใกล้ชิดกับปู่มากนัก ส่วนพ่อและ แม่ของกีต้าร์เลิกรากัน พ่อมีครอบครัวใหม่ บางครั้งพ่อแม่ก็มาหาที่บ้านย่า แต่ก็นานๆ ครั้ง เพราะพ่อและแม่ ต้องท�ำงานไม่ค่อยมีวันหยุด ก็จะสื่อสารกันผ่านโทรศัพท์ เธอรู้สึกสนิทสนมกับพ่อมากกว่าแม่

“ตั้งแต่ยังไม่คลอด พากลับมาให้ย่าเลี้ยง แล้วก็ไปท�ำงาน” กีตาร์

5.2. หนูอยู่กับยาย ไม่สนิทกับแม่ ไม่รู้จะคุยอะไร กรณีวุ้นเส้น ตั้งแต่ที่พ่อแม่ของวุ้นเส้นยังอยู่ด้วยกัน และไปท�ำงานอยู่กรุงเทพฯ จนกระทั่งพ่อแม่แยก ทางกันเมื่อวุ้นเส้นอายุเพียง 6 ขวบ วุ้นเส้นก็อาศัยอยู่กับยายมาโดยตลอด ไม่เคยมีเวลาที่ได้อยู่กับพ่อและแม่ ส่วนน้องของวุ้นเส้นวัยเพียง 4 ขวบ ก็อาศัยอยู่กับย่าตั้งแต่แรกเกิดเช่นกัน ความสัมพันธ์ที่วุ้นเส้นมีต่อบุคคลใน ครอบครัวมีดังนี้ วุ้นเส้นได้ใช้เวลาร่วมกับแม่น้อยมาก เพราะนานๆครั้งที่แม่จะกลับมาหา ได้โทรศัพท์บ้างแต่ไม่ บ่อย จึงไม่สนิท ไม่รู้จะพูดคุยอะไรกับแม่ 82

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


“แม่จะกลับมาช่วงงานบุญ...ไม่ชอบคุยกับแม่ ไม่รู้จะคุยอะไร ส่วนมากแม่คุยกับยาย” วุ้นเส้น

5.3. หนูอยู่กับยาย พ่อแม่เลิกกัน แต่ส่งเสียให้เดือนละ 6,000 บาท

พ่อแม่แยกทางกันซึ่งท�ำให้มีการทอดทิ้งลูกเกิดขึ้น ลูกต้องอยู่กับยายหรือย่า ซึ่งถ้าพ่อหรือแม่ท�ำงาน ส่งเสียลูก ลูกก็ค่อนข้างมีความสุข แต่ถ้าไม่ส่งเสีย ความถูกไม่ต้องการก็จะมีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นการส่ง เสียของพ่อและหรือแม่จึงส�ำคัญอย่างยิ่ง กรณีแยม เด็กหญิงอายุ 11 ปีก�ำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แยมต้องอาศัยอยู่กับตายาย และ ลูกพี่ลูกน้องอีก 1 คน เนื่องจากพ่อแม่แยกทางกัน ตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันแม่ท�ำงานอยู่ที่ชลบุรี พ่อไปท�ำงานที่พัทยา ในแต่ละเดือนพ่อและแม่จะส่งเงินกลับมาให้รวมกัน 6,000 บาท ถึงแม้แยมจึงไม่ค่อยได้ใช้เวลาอยู่กับพ่อและแม่ แต่เธอก็โทรศัพท์ติดต่อกับแม่เป็นส่วนใหญ่ ส่วนพ่อไม่ค่อยได้เจอ ดังนั้นยายจึงท�ำหน้าที่เสมือนแม่ ดูแล เลีย้ งดูแยมเป็นอย่างดีจากรายได้ทที่ งั้ พ่อแม่ของแยมส่งมาให้ในแต่ละเดือน แยมจึงรักและผูกพันกับยายเป็นอย่าง มาก

“พ่อส่งให้เดือนละ 4,000 บาท แม่ส่งมาให้เดือนละ 2,000 บาท แม่จะโทรมาหลังเลิกงานประมาณทุ่มนึง บางวันแม่เหนื่อย แต่กับพ่อหนูเขิน ไม่ค่อยได้เจอพ่อ เจอแม่บ่อยกว่า ... หนูชอบไปกอดยาย ยายเป็นคนดี แล้วก็ดี มากด้วย แต่หนูไม่กอดพ่อแม่ เราอาย” แยม

5.4. แม่หนีไปจากบ้าน หนูกับน้องต้องไปอยู่ที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ การทีพ่ อ่ แม่แยกทางกัน ฝากลูกไว้กบั ญาติ แต่พอ่ แม่ไม่สง่ เสียเงินทอง ก็ยงิ่ ท�ำให้ลกู ได้รบั ความเดือดร้อน มากขึ้น เด็กต้องถูกส่งตัวไปเรียนที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ กรณีส้ม ในวัยเพียง 8 ขวบ แม่หนีไปจากบ้านและพ่อ ทิ้งให้ส้มและน้องชายอยู่กับปู่ โดยไม่มีการบอก ลา ท�ำให้ส้มโกรธแม่มาก เมื่อไม่มีใครดูแลส้มและน้อง พ่อและปู่จึงให้ส้มและน้องไปเรียนที่โรงเรียน ศึกษาสงเคราะห์ในจังหวัด ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ส้มจึงต้องเรียนในโรงเรียนประจ�ำมาโดยตลอด ส้ม รู้สึกไม่ดีต่อแม่ เพราะแม่ทิ้งเธอไป และพ่อก็มักจะเล่าเรื่องที่ไม่ดีของแม่ให้ฟัง แต่ก็ยังอยากที่จะติดต่อกับแม่ จน วันหนึง่ แม่ได้ตดิ ต่อมาหาทีโ่ รงเรียน ส้มจึงได้ตดิ ต่อพูดคุยกับแม่มาโดยตลอด และไม่บอกให้พอ่ รู้ เพราะกลัวว่าจะ ไม่ได้พูดคุยกับแม่อีก แม่เล่าว่า ที่แม่ต้องทิ้งลูกไป เพราะต้องการท�ำงาน หาเงิน และไม่อยากทะเลาะกับพ่อ

บทที่ 4 ผลการศึกษา

83


ก่อนแม่หนีไป ส้ม แม่ พ่อ น้อง อาศัยอยู่รวมกันกับญาติหลายคน คือ ปู่ อา ป้าและสามี ลูกของป้า ใน บ้านญาติ เป็นบ้านหลังใหญ่มีหลายห้องนอน แต่พ่อและอาไปท�ำงานรับจ้างก่อสร้างในกรุงเทพฯ ช่วงที่พ่อแม่ ยังไม่แยกทางกัน พ่อแม่มปี ญ ั หาทะเลาะตบตีกนั เสมอ พ่อกับแม่กนิ เหล้าทัง้ คู่ แต่แม่กนิ เยอะกว่าพ่อ พ่อ่ ไม่อยาก ให้แม่กินเหล้า เวลาที่พ่อกลับมาอยู่บ้าน ภาพที่ส้มเห็นเป็นประจ�ำ คือ พ่อเป็นฝ่ายท�ำร้ายร่างกายแม่ พ่อท�ำงานในกรุงเทพฯ และเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนของส้มและน้องชาย โดยพ่อจะส่งเงินเก็บ ไว้ที่ปู่ ปู่ก็จะเป็นคนแบ่งเงินให้ส้ม และน้องชายในแต่ละเดือนซึ่งส้มเองก็ไม่รู้ว่าแต่ละเดือนพ่อส่งเงินมาให้เท่าไร บางครั้งถ้าเงินไม่พอ ก็จะโทรไปขอจากพ่อ ถ้ามีพ่อก็จะส่งเงินกลับมาให้ ปู่ของส้มก็มีอายุมากแล้วด้วยวัย 65 ปี จึงท�ำงานรับจ้างอยู่ที่บ้านมีรายได้เพียงเล็กน้อย แม้ว่าในครอบครัวจะอาศัยอยู่กันหลายคน แต่ญาติคนอื่นต่าง ก็มีครอบครัวมีภาระค่าใช้จ่ายของตัวเอง เพียงแต่อาศัยอยู่บ้านหลังเดียวกัน “บ้านที่หนูอยู่ไม่ใช่บ้านหนูค่ะ เป็นบ้านของอาอาศัยเขาอยู่เฉยๆ ... แม่ทิ้งหนูกับน้องไปตั้งแต่หนู 8 ขวบ ค่ะ หนูเสียใจมาก โกรธแม่ด้วย ก็ต้องท�ำใจค่ะ เมื่อแม่ไม่อยู่หนูก็ต้องท�ำใจ ปู่กับพ่อให้มาอยู่ที่โรงเรียนสงเคราะห์ เพราะพ่อก็ไปท�ำงานกรุงเทพฯ ปู่ก็แก่แล้ว ก็เลี้ยงไม่ได้ค่ะ พ่อก็จะส่งเงินมาให้ค่ะ ถ้าอยากได้ก็โทรไปขอ ปู่ท�ำงาน ที่บ้านได้เงินไม่เยอะหรอกค่ะ”

“แม่จะกินเหล้าแล้วก็สูบบุหรี่ เขาจะไม่โวยวาย นอกจากพ่อจะไปหาเรื่องแม่ก่อน เพราะพ่อไม่ชอบที่แม่ กินเหล้า พ่อก็กินแต่ก็ไม่เยอะเหมือนแม่... แม่บอกว่าที่แม่ไป เพราะแม่อยากท�ำงานแต่พ่อไม่ให้ท�ำ แม่บอกว่าอยาก มีเงินเป็นของตัวเองบ้าง แม่ไม่อยากใช้เงินพ่อ” ส้ม

5.5. เมื่อแม่เสียชีวิต เด็กก็เหมือนไม่มีทั้งพ่อและแม่ พ่อแม่เลิกกัน และแม่เป็นศูนย์กลางในการเลี้ยงดูลูก แต่เมื่อแม่เสียชีวิต เด็กๆก็ถูกทอดทิ้ง กระจาย ออกไปให้ญาติช่วยกันเลี้ยงดู ส่วนพ่อก็รับผิดชอบบ้าง หรือ แทบไม่รับผิดชอบเลย ซึ่งแม้เด็กจะมีผู้เลี้ยงดู ให้ ข้าว ให้น�้ำ แต่ก็ไม่เป็นที่ต้องการของใครอย่างแท้จริง กรณีอร พ่อแม่มีลูก 3 คน พ่อไปท�ำงานต่างจังหวัด เมื่อแม่เสียชีวิตตอนเธออยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พ่อให้ อรอยู่กับ ตาและน้องสาว 1 คน ในบ้านหลังเล็กที่มีห้องนอนเพียงห้องเดียว พี่สาวของเธอมีน้าของอรรับ ไปเลี้ยงดู เพราะโตกว่าเพื่อน ส่วนพ่อไปรับจ้างท�ำงานที่อื่น ก็ส่งเงินบ้างไม่ส่งบ้าง เหมือนเด็กไม่มีทั้งพ่อและแม่ จนเธออายุ 15 ปี จึงเข้าไปท�ำงานกรุงเทพฯ เลี้ยงดูตนเอง

84

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


“แม่เสียไปตอนป.2 ตอนนั้นแม่ป่วย พ่อให้อรและน้องสาวอาศัยอยู่กับตา ส่วนพ่อกลับไปท�ำงานที่บ้าน พ่อ” อร

5.6. พ่อก็ไม่ยอมรับ แม่ก็ทิ้งไป ให้หนูอยู่กับยาย ป้า เด็กที่ไม่มีใครต้องการมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน บางรายถูกพ่อทอดทิ้งแต่ยังมีแม่ดูแล บางราย พ่อยังส่งเสีย บางรายอยู่กับปู่ย่าตายาย แต่เด็กบางคนถูกพ่อและแม่ทอดทิ้งให้ต้องอยู่กับยาย และป้า กรณีแพรวา หลังจากแม่พึ่งคลอดออกมาได้เพียงอาทิตย์เดียว แม่ก็ทิ้งเธอไป แต่เธอก็ไม่รู้รายละเอียด มากนักถึงสาเหตุที่แม่ต้องทิ้งไป เธอไม่รู้ว่าใครเป็นพ่อ ยายและป้าเป็นผู้เลี้ยงดู แพรวาไม่มีความสัมพันธ์หรือ ความผูกพันที่มีต่อแม่เลย แม่ไปท�ำงานและอยู่กับสามีใหม่ที่ต่างประเทศ เธอแทบไม่เคยพูดจากับแม่ แต่พอจะ รู้ว่า แม่ส่งเงินมาให้ป้า “หนูไม่รู้ว่าใครเป็นพ่อของหนู ยายเล่าให้ฟังว่าได้กินนมแม่แค่อาทิตย์เดียวแล้วแม่ก็ไป ป้าเป็นคนที่ดูแล เลี้ยงตั้งแต่เด็ก หนูเรียกป้าว่าแม่แม่ค่ะ ไม่รู้ว่าท�ำไมถึงเรียกแต่ก็เรียกแม่มาตลอด” แพรวา

5.7. หนูต้องไปอยู่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ เพราะไม่มีใครต้องการ เด็กบางคน พ่อแม่แยกทางกัน ต่างมีภาระ ถูกส่งไปให้ญาติรับเลี้ยง และในที่สุดก็ถูกส่งไปโรงเรียน ศึกษาสงเคราะห์ที่ไม่ต้องเสียเงินค่าใช้จ่าย กรณีแพร แพรต้องย้ายมาอาศัยอยู่ที่จังหวัดน่านตั้งแต่ช่วงประถมศึกษาปีที่ 2 พ่อและแม่ของแพรส่ง แพรให้มาอาศัยอยู่กับย่า ป้า สามีของป้า ลูกของป้า ส่วนพ่อแม่ก็ไปท�ำงานต่างจังหวัด พ่แม่ก็จะส่งเงินมาให้เป็น ครั้งคราวจนกระทั่งแพรจะขึ้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พ่อแม่แยกทางกัน พ่อมีครอบครัวใหม่ แม่ก็ต้องดูแลพี่ชายและ น้องสาว ป้าและย่าจึงส่งแพรมาเรียนที่สถานศึกษาสงเคราะห์ซึ่งเป็นโรงเรียนประจ�ำ และผู้ปกครองไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน แพรสามารถกลับบ้านได้ในช่วงปิดเทอม แต่ระหว่างที่อาศัยอยู่ที่โรงเรียนก็ไม่ค่อยมี ใครติดต่อหรือแวะมาเยี่ยมแพรเลย นานๆครั้งจึงจะแวะมาหา และให้ค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ติดตัวไว้เท่านั้น “มีผู้อุปการะให้หนูมาเรียนที่นี่โรงเรียนนี้ เป็นโรงเรียนประจ�ำ เขาไม่ให้ออกนอกโรงเรียน บางทีป้าก็ จะมาหาหรือฝากของมากับคนในหมูบ้าน ถ้าปิดเทอมถึงจะได้กลับได้ค่ะ ไม่ค่อยได้ติดต่อกับใคร เพราะโรงเรียน ห้ามไม่ให้มีโทรศัพท์ ใช้ได้แต่โทรศัพท์ตู้” แพร

บทที่ 4 ผลการศึกษา

85


5.8. พ่อแม่เลิกร้างกัน ลูกต้องย้ายไปอยู่กับญาติหลายคน หลายจังหวัด

เด็กที่ไม่มีใครต้องการนั​ั้น ต้องพยายามปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงชีวิต พวกเขาอาจต้องย้ายไปอยู่กับ ญาติของพ่อ ญาติของแม่ ตามแต่สถานการณ์ แต่พวกเขาไม่ได้รับค�ำอธิบายหรือเหตุผล และต้องยอมรับการ ตัดสินใจของพ่อแม่ ญาติ กรณียีนส์ ยีนส์เติบโตมาพร้อมกับการที่โยกย้ายที่อยู่หลายครั้ง เท่าที่จ�ำความได้ยีนส์และพี่น้องก็อาศัย อยูใ่ นกรุงเทพฯพร้อมกับพ่อแม่ในห้องเช่าเล็กๆ พ่อแม่แยกทางกันช่วงเธอเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ยีนส์ตอ้ งย้าย ไปอยู่กับป้า ย่า และในที่สุดก็ย้ายไปที่บ้านเกิดของแม่ อาศัยอยู่ร่วมกับตาและยาย ต่อมายายติดคุกปัญหาเกี่ยว กับที่ดินและหนี้สิน แม่พาสามีใหม่เข้ามาอยู่ในบ้านและแนะน�ำว่า เขาเป็นเพื่อนแม่ และแม่ก็ต้องไปท�ำงานต่าง ประเทศเพื่อนหาเงินมาใช้หนี้ จนตาเริ่มเจ็บป่วยและเสียชีวิต พ่อจึงไปรับมาอาศัยอยู่ด้วยที่อ�ำนาจเจริญ “แม่ไปท�ำงานหาเงินมาใช้หนี้ให้ยาย แม่ไปท�ำงานต่างประเทศตอนประมาณหนูอยู่ ม.1ม.2 ตาชอบกิน เหล้าเมาตลอด” ยีนส์

5.9. แม่มีสามีและลูกหลายคน และไม่รับผิดชอบ ญาติพี่น้องรังเกียจหนู พ่อแม่ของเด็กที่ไม่มีใครต้องการ มีลูกโดยพวกเขาไม่ต้องการ แต่จ�ำเป็นต้องเลี้ยงดูไป หรือ ทอดทิ้งลูก โดยส่งลูกไปให้คนอื่นเลี้ยงดู เด็กๆเองไม่รู้สาเหตุ ไม่รู้ที่มาของชีวิตพวกตน แต่ผู้ใหญ่ที่รู้เรื่องราว ต่างรังเกียจ เด็กเพราะรังเกียจพฤติกรรมของผู้ใหญ่ เด็กจึงต้องทนอยู่กับการทอดทิ้งของพ่อแม่ และผู้คนรอบตัวเขาที่ลง โทษเขา ความเจ็บปวดจึงทวีคูณทั้งความรู้สึกต่อพ่อแม่ คนที่เลี้ยงดู ญาติพี่น้องที่ไม่ได้เลี้ยงดู กรณีแตง แม่เคยแต่งงานอยู่กินกับสามีหลายคน และมีลูกทั้งหมด 7 คน ปัจจุบันแม่ อยู่กับสามีคนที่ 5 และลูกสองคนที่ประเทศมาเลเซีย จากค�ำบอกเล่าของยาย แม่กับสามีแต่ละคนอยู่กินกันได้ไม่นาน ก็ต้องแยก ทางกัน แม่ยกลูกสองคนคือ แตงกับพี่สาวให้ยายเลี้ยง ส่วนลูกอีก 3 คนอยู่กับอดีตสามีและแม่เลี้ยง แตงมา อยู่กับยายตั้งแต่อายุ 3 ขวบ แตงแทบจะไม่รู้จักหรือได้ติดต่อกับพี่น้องคนอื่นเลย นอกจากพี่สาวต่างพ่ออายุ 16 ปี ที่เติบโตมาด้วยกัน ในบ้านอยู่กันหลายคน มี ตา ยาย วัย 50 ปี น้าชายอายุ 22 ปี น้าสะใภ้ “หนูกับพี่คนโตอยู่กับยาย อยู่กับพ่อของพวกเขาอีก 3 คน และก็อยู่กับพ่อและแม่ที่มาเลเซียอีกสองคน แตงต้องอาศัยอยู่ร่วมกับญาติหลายคน หลังจากที่แม่น�ำแตงมากให้ยายเลี้ยงตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ต้องอาศัยอยู่กับตา ยาย น้าชาย น้าสะใภ้ และพี่สาวหนูแต่ไม่ใช่พ่อเดียวกับหนู พ่อกับแม่เลิกกันตั้งแต่หนูยังไม่เกิดเลยมั้งคะ ยายเล่า ให้ฟังว่าแม่หนูไปมีชู้แล้วเมียหลวงมาขู่ มาท�ำร้ายแม่หนู แม่หนูก็เลยหนีออกมาอยู่ที่นี่” แตง

86

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


5.10. พ่อแม่เลิกกัน หนูอยู่กับพ่อ พ่อตาย ต้องย้ายมาอยู่กับแม่และพ่อเลี้ยง และไปอยู่โรงเรียน สงเคราะห์ในที่สุด พ่อแม่เลิกกัน ก็เป็นมรสุมครั้งใหญ่ในชีวิตเด็ก พ่อแม่ต่างไม่ต้องการลูก ไม่ต้องการเลี้ยงดูรับผิดชอบ ต่างต้องการมีชีวิตอิสระของตนเอง แต่เด็กก็ยังรู้สึกว่าเขามีพ่อแม่ แม้พ่อจะขี้เมา จะมีเสียงทะเลาะเบาะแว้ง แต่เมื่อพ่อหรือแม่เสียชีวิต ชีวิตก็เปลี่ยนแปลงจนเด็กหมดแรง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ เมื่อบุคคลสุดท้ายซึ่งเขา สามารถพึ่ีงพิงได้ ไม่สามารถเลี้ยงดูพวกเขา และส่งพวกเขาไปอยู่บ้านหรือโรงเรียนสงเคราะห์ ก็ยิ่งตอกย�้ำความ ไม่ต้องการที่มีต่อเด็ก กรณีแนน พ่อแม่แยกทางกันตั้งแต่เ ธออายุ 2 ขวบ พ่อก็เลี้ยงแนนมา พ่อดื่มเหล้าเป็นประจ�ำ เวลาที่ พ่อเมา พ่อชอบด่าและเสียงดัง ก็จะหนีไปอยู่บ้านสามีของพี่สาวต่างพ่อ แต่แนนก็ชิน เพราะแนนต้องอาศัยอยู่ ร่วมกับพ่อมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี ก่อนที่พ่อจะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ แนนต้องหยุดเรียนไปหนึ่งปี เพราะเสียใจเรื่องพ่อ และมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงหลายอย่างในชีวิตจน ไม่อยากเรียนหนังสือ แนนต้องย้ายไปอยู่กับแม่และสามีใหม่ เธออึดอัด เธอไม่อยากอยู่กับพวกเขาเพราะเขา ทะเลาะกันเป็นประจ�ำ แม่และสามีใหม่ไม่อยากให้แนนอาศัยอยู่ด้วย หลังจากอยู่ด้วยกันเพียงหนึ่งปี แม่ตัดสิน ใจให้แนนย้ายไปเรียนในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ซึ่งเป็นโรงเรียนประจ�ำและไม่ต้องจ่ายเงิน ไม่เป็นภาระของ แม่ แม่บอกว่าไม่มีเงินที่จะส่งให้ไปเรียนที่อื่น และเธอก็อยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน “พ่อแม่เลิกกันตั้งแต่หนู 2 ขวบ ตอนที่พ่อยังไม่เสีย หนูก็อยู่กับพ่อ หนูไปอยู่กับพ่อ เพราะแม่ไปอยู่กับ พ่อใหม่ พอพ่อเสียตอนเรียนป.6 ก็เลยต้องมาอยู่กับแม่ ...ปู่ย่าตายไปนานแล้ว ก็ไม่รู้จะไปอยู่กับใคร หนูก็เลยต้อง ไปอยู่กับแม่ แล้วก็ย้ายมาเรียนที่นี่ตอนม.1 แม่บอกว่าแม่ไม่มีตังเลยส่งมาเรียนที่นี่ แม่ท�ำงานปลูกข้าวโพด พ่อใหม่ ก็ปลูกข้าวโพดแล้วก็ท�ำนา หนูรู้สึกว่าแม่เอามาทิ้งไว้ให้อยู่ที่นี่ ไม่อยากอยู่ อยากกลับบ้าน หนูโทรไปหาแม่บอกให้ แม่มาหา แม่ก็บอกว่าแม่ไม่ว่าง” แนน

5.11. เพราะพ่อแม่ไม่ต้องการ เขาเหงา ชอบอยู่คนเดียว ท�ำให้ถูกสงสัยเป็นขโมย ความทุกข์ของเด็กที่ไม่มีใครต้องการนั้น ไม่ใช่เพียงความขาดแคลนทางความรัก การเอาใจใส่ดูแลจาก พ่อแม่และบุคคลรอบข้าง แต่พวกเขายังขาดแคลนความไว้วางใจ และความเชื่อมั่น จนแม้กระทั่งถุูกสงสัยว่า เป็นขโมย กรณีแจ็ค พ่อแม่ของเขาไม่ค่อยได้อยู่ด้วยกันตั้งแต่แจ๊คยังเด็ก ส่วนใหญ่เขาอยู่กับพ่อ แต่พ่อก็ออกไป ท�ำงานนอกบ้านและไม่เคยดูแลเอาใจใส่ ในช่วงวัยเด็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จึงมีป้าซึ่งเป็นพี่สาวของพ่อ คอยดูแลช่วยเหลือ จนแจ๊คเริ่มที่จะดูแลตัวเองได้ เขาก็ดูแลตัวเองมาตลอด ส่วนแม่ก็ไม่ค่อยได้อยู่ด้วยกัน แม่ไป บทที่ 4 ผลการศึกษา

87


ท�ำงานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ จนเมื่อ 3 ปีก่อน พ่อแม่ทะเลาะกันเพราะแม่ไปอยู่กินกับแฟนใหม่ ก่อนที่จะเลิกกับ พ่อ เม่ื่อพ่อแม่แยกทางกัน แจ๊กยังอยู่กับพ่อต่อไป เพราะอยู่ด้วยกันมานาน และไม่อยากไปอยู่กับแฟนใหม่ของ แม่ บุคลิกเงียบ ชอบอยู่คนเดียว เพราะปัญหาต่างๆในชีวิต ท�ำให้เขาถูกสงสัยว่า ขโมยของในโรงเรียนใกล้ บ้าน และผู้อ�ำนวยการโรงเรียนต้องการให้ไปเรียนที่โรงเรียนอื่น เขาจึงถูกส่งไปเรียนที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ และพ่อของแจ๊คเองก็อยากให้เขาเรียนที่นี่ เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ตั้งแต่มาอยู่โรงเรียนประจ�ำ พ่อไม่ ค่อยมาหา ไม่ส่งเงินมาให้การถูกส่งไปอยู่โรงเรียนประจ�ำเหมือนแจ็คถูกทอดทิ้งจากคนในครอบครัวแม้ว่าช่วงที่ อาศัยอยู่กับพ่อพ่อก็ไม่ค่อยมีเวลามาดูแลใส่ใจแต่ก็ยังได้เจอกันยังได้ท�ำกิจกรรมร่วมกันแต่การต้องอยู่ใน โรงเรียนประจ�ำโดยที่ไม่มีใครมาหาเลยคือการถูกทอดทิ้งละเลยไม่ได้รับความสนใจเลยนานๆครั้งจึงจะแวะมา หาซื้ออาหารส่งเงินมาให้ซึ่งก็แทบจะไม่พอใช้จ่ายตลอดระยะเวลาที่ต้องอยู่ในโรงเรียน

“พ่อแม่ทะเลาะกันเพราะแม่มีแฟนใหม่ พ่อแม่หย่ากันได้3ปีแล้ว แม่แต่งงานใหม่แล้วครับ ตอนนี้ไม่ได้ ติดต่อแม่เลย ผมเลือกอยู่กับพ่อ เพราะแม่เขาไปอยู่กับแฟนใหม่แล้ว และพ่อก็บอกว่าอย่าไปอยู่กับแม่ แม่ไม่ดี”

“พ่อท�ำงานตั้งแต่แปดโมงเช้าถึงห้าโมงเย็น เวลาพ่อแม่ไม่อยู่ ก็อยู่กับป้า ป้าก็ท�ำงาน ท�ำไร่ท�ำสวน ไม่ได้ อยู่กับแม่เลย เพราะแม่ไปท�ำงานอยู่ต่างจังหวัดตั้งนานแล้ว แม่ไปท�ำงานที่เชียงใหม่”

“มาเรียนที่นี่ได้ 2 ปี แล้วครับ พ่อเป็นคนพามา พ่อบอกว่ามาอยู่ที่นี่ก็ดี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ผมไม่ ได้อยากมาอยู่ที่นี่ แต่เพราะตอนนั้นผมโดนสงสัยเรื่อง ขโมยโน้ตบุ๊คโน้ตบุ๊คหาย แล้วเขาก็มาสงสัยผม ..เขาเห็นว่า ผมเป็นคนเงียบๆ ชอบอยู่คนเดียว เลยคิดว่าผมขโมย ผมก็โกรธ แต่ก็ไม่ได้ท�ำอะไรก็เฉยๆ ...ผอ.ก็เลยส่งมาอยู่ที่นี่ เขาบอกว่า ถ้าไม่มาเรียนที่นี่จะต้องซ�้ำชั้น 1 ปี ผมไม่อยากซ�้ำชั้นก็เลยต้องมา พ่อก็ไม่ได้ว่าอะไร เขาบอกแค่ว่าถ้าไม่ ได้เอาไป ก็ไม่ต้องกลัว ...พ่อไม่ค่อยมาหา อยากให้พ่อมาหาเพราะคิดถึงพ่อ (ร้องไห้)” แจ็ค

5.12. พ่อติดคุก พ่อฆ่าตัวตาย แม่ทิ้งไปมีครอบครัวใหม่ หนูอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย การที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งพ่อและแม่ เช่น พ่อติดคุก พ่อฆ่าตัวตาย แม่หนีหายไป แต่งงานใหม่ มีครอบครัวใหม่ มีลูกใหม่ และเด็กต้องอยู่กับปู่ย่าตายายท่ี่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ มีฐานะยากจน และต้องรับผิดชอบ หลานที่พ่อแม่ไม่สามารถเลี้ยงดูได้หลายคน หลานที่พ่อแม่ยากจนและไม่ส่งเสีย เด็กเหล่านี้ก็จะกลายเป็นเด็กที่ ไม่มีใครต้องการของพ่อแม่ แต่จ�ำเป็นต้องดูแลเลี้ยงดูของปู่ย่า ตายยาย ไปตามสภาพ

88

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


กรณีขิม เธออาศัยอยู่กับปู่และย่าวัย 60 ปี ย่าต้องดูแลขิมตั้งแต่แม่หนีไปอยู่ที่อื่น และพ่อติดคุกจาก ข้อหาค้ายาเสพติดตั้งแต่ขิมอายุ 6 ขวบ ย่าเป็นผู้ที่ท�ำหน้าที่ดูแลขิมในทุกด้าน นานๆครั้งย่าก็จะพาขิมไปเยี่ยม พ่อที่เรือนจ�ำ ขิมมีเวลาอยู่กับพ่อในช่วงสั้นๆที่พ่อออกจากคุก และพ่อก็ติดคุกอีกครั้ง ย่าจึงต้องคอยท�ำหน้าที่ ดูแลขิมมาโดยตลอด ส่วนแม่ของขิมก็หนีพ่อของขิมไปมีครอบครัวใหม่ ปัจจุบันแม่ก็มีลูกกับสามีใหม่วัย 6 ขวบ แม่ไม่เคยติดต่อมา ยกเว้น แม่กลับมาเยี่ยมยาย “ตอนนี้อยู่กับปู่ย่าแล้วก็พ่อค่ะ แต่ตอนนี้พ่อไม่อยู่ พ่ออยู่ในคุก ..เคยไปหาพ่อในคุกค่ะ นานๆทีย่าพาไป เวลาไปหาพ่อก็จะบอกว่า ให้เป็นคนดีเรียนเก่งๆ” ขิม

ปัจจุบันขิมมีความรู้สึกไม่มีใครรักและต้องการรุนแรงขึ้น เนื่องจากย่ามีหลานคนใหม่ และพ่อแม่ส่งมา ให้ย่าเลี้ยง จึงรู้สึกว่าได้รับความรักน้อยลง และย่าให้ความส�ำคัญกับหลานคนใหม่มากกว่า “มีคนบอกว่า ย่าจะมีหลานใหม่ จะไม่สนใจเราแล้ วเราก็คิดว่า ช่างมันเถอะ พอมีคนมาพูดกับเรา เราก็ ไม่ชอบ แต่พอมีจริงๆเขาก็ไปสนใจน้องมากกว่า ก็มีความน้อยใจนิดหน่อยที่มันไม่เหมือนแต่ก่อน เมื่อก่อนก็เอาใจ เราตลอด ขอเงินก็ให้ เดี๋ยวนี้ขอก็บอกว่าไม่มีเงิน เอาไปซื้อนมให้น้องหมดแล้ว” ขิม

5.13. หนูเกิดจากความไม่ตั้งใจของพ่อแม่ หนูเข้าใจ กรณีนิ อาศัยอยู่กับตายายวัย 60 กว่าปี และป้าซึ่งเป็นพี่สาวของแม่ ยายเป็นผู้ที่ดูแลเลี้ยงดูหลัก ส่วน ป้าที่อาศัยอยู่บ้านหลังเดียวกัน ก็ไม่ไม่ค่อยได้พูดคุยกัน เพราะป้าออกไปท�ำงานทุกวัน นิรู้ว่า ตัวเองเกิดจาก ความไม่ตั้งใจ ไม่ได้เกิดจากความรัก แม่เล่าให้นิฟังว่า แม่ท้องนิในช่วงที่ก�ำลังเรียน เป็นการตั้งท้องโดยที่ไม่ได้ ตั้งใจ ไม่ได้เกิดจากความรัก แม้จะน้อยใจพ่อแม่ แต่นิแทบจะไม่มีความผูกพันกับพ่อและแม่ เธอจึงเข้าใจและ ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น และรู้สึกว่ายังได้รับความรักการดูแลจากตาและยาย และเรียกตายายผู้ที่เลี้ยงนิมาตั้งแต่เด็ก ว่า พ่อหลวง แม่หลวง ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อแม่ พ่อแม่แยกทางกันตั้งแต่นิอายุ 2 ขวบ ต้องอาศัยอยู่กับตายาย เพราะ แม่ย้ายไปท�ำงานต่างถิ่นและมี สามีใหม่ตั้งแต่นิอายุเพียง 6 ขวบ แม่มีลูกกับสามีใหม่ 1 คน ส่วนพ่อถูกจับในข้อหาฆ่าคนตาย หลังจากที่ติดคุก อยู่หลายปี พ่อก็ได้รับการปล่อยตัวออกมาหางานท�ำ แต่ก็เพียงปีกว่าๆหลังจากได้รับการปล่อยตัว พ่อของนิก็ ตัดสินใจฆ่าตัวตาย โดยที่นิเองก็ไม่รู้ถึงสาเหตุในการกระท�ำของพ่อ นิจึงไม่เคยได้อยู่ร่วมกับพ่อแม่เลยตั้งแต่จ�ำ ความได้

บทที่ 4 ผลการศึกษา

89


“พ่อแม่เลิกกันตั้งแต่หนูได้ 2 ขวบ แล้วแม่ก็ไปท�ำงานที่อื่นพอหนู 6 ขวบ แม่ก็มีใหม่ ก็ไม่ได้รู้สึกอะไร แม่ เคยบอกว่า ท้องหนูตอนที่เรียนอยู่ ตอนแรกที่ได้ยินก็รู้สึกว่า เราไม่ได้เกิดจากความรักเหรอ ก็เสียใจแต่ก็ไม่ได้บอก ใคร แม่บอกว่าไม่ได้รักพ่อ เราก็เสียใจที่ไม่ได้เกิดจากความรัก แม่บอกว่าตอนนั้นมันหลงเขา ก็เล่าเป็นตัวอย่างว่า อย่ามีอะไรในวัยเรียนแล้วมันจะต้องมาเสียใจทีหลัง ... หนูก็อยู่กับตายาย เหมือนเป็น พ่อหลวง แม่หลวง เปรียบ เสมือนเป็นพ่อแม่ ... พ่อตายแล้ว แม่ก็ไปมีสามีใหม่ตั้งแต่อยู่ป.6 พ่อผูกคอตายที่บ้านไม่รู้ว่าท�ำไม ตอนนั้นก็ยังเด็ก อยู่ พ่อติดคุกมาตั้งแต่หนูเด็กๆเรื่องฆ่าคนตาย พอออกมาได้ปีกว่าๆ ก็แขวนคอตาย ตั้งแต่เด็กก็ไม่ได้อยู่กับพ่อเลย” นิ

5.14. ไม่รู้ว่า แม่เป็นใคร พ่อเอาไปฝากให้ปู่ ย่า ป้า ซึ่งเป็นญาติฝ่ายพ่อ เลี้ยงดู การที่พ่อแม่แยกทางกัน และเด็กอยู่กับพ่อ ก็จะถูกส่งตัวให้ญาติผู้หญิง ผู้สูงอายุเลี้ยงดู เนื่องจากความ เชื่อว่า พ่อเป็นผู้ชาย ไม่สามารถเลี้ยงดูและใส่ใจในรายละเอียดของลูก และมักเชื่อว่าลูกจะต้องเข้มแข็งและช่วย ตัวเองได้ นอกจากนั้นพ่อมักแต่งงานมีครอบครัวใหม่ ทิ้งลูกไปไกลและเป็นเวลานานเนื่องด้วยต้องไปหางานท�ำ ในต่างถิ่น เด็กๆที่อยู่กับพ่อ จึงไม่ได้อยู่กับพ่ออย่างแท้จริง แต่อยู่กับญาติ ดังนั้นเด็กจึงรู้สึกไม่มีใคร และโหย หาความรัก กรณีเป้ หลังจากที่พ่อแม่แยกทางกัน พ่อมีภรรยาใหม่ เขาต้องย้ายไปอาศัยอยู่อาศัยอยู่กับปู่ย่าต่าง จังหวัด ในบ้านที่มีผู้อาศัยอยู่ด้วยกัน 4 คน คือ เป้ ปู่ ย่า และป้า ซึ่งย้ายกลับมาอาศัยอยู่ด้วย เป็นผู้เลี้ยงดูเขา ตั้งแต่ อายุได้เพียง 2 เดือน จนกระทั่งเป้เรียนอยู่ชั้นป.1 ป้าต้องย้ายกลับมาท�ำงานที่อื่น ชีวิตที่เคยมีป้าดูแล ให้ ค่าขนมในบางครั้งจึงไม่มีอีกต่อไป ส่วนพ่อก็มีครอบครัวใหม่อาศัยและท�ำงานอยู่ที่จังหวัดชลบุรี พ่อส่งเงินกลับ มาให้ตายายและเป็นค่าใช้จ่ายส�ำหรับเป้ นานๆครั้งพ่อจึงจะติดต่อมาหาเป้และกลับมาเยี่ยม ส่วนแม่ไม่ได้ ติดต่อเลย ไม่รู้ว่าแม่เป็นใคร รู้แต่เพียงว่าแม่อยู่ที่จังหวัดระยองจากค�ำบอกเล่าของปู่ เรื่องราวที่รับรู้เกี่ยวกับแม่ ก็มีเพียงเล็กน้อย แม้จะอยากรู้แต่ก็ไม่กล้าถามใคร เพราะกลัวว่าจะถูกดุด่า

“ก็อยากรู้ว่า แม่อยู่ไหน แต่ผมไม่กล้าถามกลัวโดนดุ” เป้

กรณีเบนเซ่ เขาไม่รู้จักแม่ อาศัยอยู่กับญาติ เรียกว่า ปู่ย่า ลุง แต่ไม่ได้เป็นปู่ย่าที่แท้จริงของพ่อ ครอบครัวนี้ฐานะยากจน ต้องขอเงินจากครอบครัวปู่ย่าจริงๆ ครอบครัวใหม่ของพ่อไม่ต้องการให้พ่อของเบน เซ่มายุ่งกับเขา ปู่ย่าจริงจึงช่วยเหลือรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเบนเซ่เป็นหลัก ส่วนปู่ย่าที่เบนเซ่อาศัยอยู่ด้วยก็ให้ค่า เลี้ยงดูบ้างเป็นบางครั้ง

90

“ย่าแท้ๆของหนู เป็นพี่ของย่าที่เลี้ยงหนูมา” เบนเซ่

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


5.15. พ่อแม่ต่างแต่งงานใหม่ ต้องอยู่กับปู่ย่า พ่อแม่แยกทางกัน และทั้งคู่ต่างแต่งงานใหม่ เมื่อพ่อและแม่ต่างมีครอบครัวใหม่ มีลูก มีภรรยา มีสามี ความรู้สึกของการเป็นเด็กที่ไม่ต้องการก็จะรุนแรงขึ้น เด็กที่อยู่กับปู่ย่า พ่อมักจะยังส่งเสีย แต่ก็เป็นเงินที่น้อย มาก แทบไม่พอกินพอใช้ ส่วนปู่ย่า ก็ไม่สามารถท�ำมาหากินได้เต็มที่เนื่องด้วยสูงวัย ชีวิตเด็กจึงขาดแคลนมาก กรณีเอฟ เขาอาศัยอยู่กับปู่วัย 62 ปี และย่าวัย 60 ปี และน้องสาว วัย 8 ปี รวมกันเป็นครอบครัว ใน บ้านไม้ชั้นเดียวที่พื้นสูงตามแบบบ้านของชาวเหนือทั่วไป ตั้งแต่ก่อนที่พ่อแม่จะแยกทางกัน ส่วนพ่อแม่ซึ่งไป ท�ำงานในเมืองจะกลับมาบ้านทุกช่วงวันหยุด แต่หลังจากที่พ่อแม่แยกทางกัน ย่าก็มีหน้าที่ดูแลเอฟ และน้อง สาวมาโดยตลอด หลังเลิกกัน พ่อและแม่ก็ส่งเงินมาให้เธอและน้องสาวบ้าง แต่ก็ไม่พอใช้จ่าย ปู่ย่าเองก็ช่วย บ้างแต่ก็น้อยมาก “พ่อแม่พึ่งเลิกกันเมื่อกันยาปีที่แล้ว ก่อนหน้านั้นพ่อแม่ก็อยู่ด้วยกัน เมื่อก่อนพ่อแม่ก็ท�ำก่อสร้างอยู่ที่ บ้านพ่อ เลิกกันพ่อก็ไปท�ำไร่ที่แม่จริม แม่ก็ไปอยู่บุรีรัมภ์ไปอยู่กับแฟนใหม่ พ่อก็พึ่งมีแฟนใหม่ได้ไม่นาน พ่อแม่ส่ง เงินมาให้ถ้าไม่พอบางทีย่าก็ให้ ปู่ย่าก็ท�ำไร่ท�ำสวนครับ แต่ช่วงนี้แก่แล้วก็ไม่ค่อยได้ท�ำได้เงินวันละ 200” เอฟ

กรณีชมพู่ ชมพู่อาศัยอยู่กับย่าลุงและพี่ชาย พ่อไปท�ำงานอยู่ชลบุรี และเป็นผู้ส่งเสียเลี้ยงลูกสองคน แต่ก็ไม่ค่อยได้กลับมาบ้าน โดยให้เหตุผลว่างานยุ่งและตั้งแต่พ่อมีแฟนใหม่ พ่อก็ไม่มีเวลาให้กับชมพู่ และไม่ให้ ชมพู่ไปหาช่วงปิดเทอม พ่อบอกว่า งานยุ่ง ไม่ว่าง ซึ่งชมพู่ก็เข้าใจพ่อ และไม่อยากที่จะรบกวนพ่อ ส่วนแม่ไม่ได้ ติดต่อมาเลย ชมพู่เป็นเด็กหญิงวัย 12 ปี ก�ำลังเรียนอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นโรงเรียนใกล้บ้าน ชมพู่ เกิดและเติบโตที่ชลบุรีเพราะพ่อแม่ท�ำงานอยู่ที่นั่น แต่ย้ายกลับมาอาศัยกับย่าวัย 60 ปี ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ เพราะ พ่อแม่แยกทางกัน ไม่มีใครดูแล ย่าไม่ได้ท�ำงาน มีรายได้จากเงินยังชีพคนชราเพียงเท่านั้น ส่วนลุงวัย 45 ปี ท�ำงานรับจ้างทั่วไปและพี่ชายวัย 16 ปี ชมพู่สนิทกับย่า ส่วนพี่ชายและลุงไม่ค่อยได้พูดคุยกัน เพราะลุงออกไป ท�ำงานทุกวัน ดื่มเหล้าและกลับมามืดค�่ำ ส่วนพี่ชายมักจะเก็บตัวอยู่ในห้องหรือไม่ก็ออกไปข้างนอกกับเพื่อน “ตอนนี้หนูอยู่กับย่ากับพี่แท้ๆอายุ 16 ปี และแล้วก็ลุงค่ะ พ่อไปท�ำงานที่ชลบุรี ไปอยู่นานแล้ว ย่าไม่ได้ ท�ำงานค่ะ ย่าได้เงินผู้สูงอายุ บางทีลุงก็เอาให้ ส่วนพ่อท�ำงานอยู่ที่ชลบุรีส่งเงินมา ให้เดือนละประมาณ 30004000 บาท พ่อเป็นผู้ที่ส่งเสียเลี้ยงดูชมพู่และพี่ชายเพียงคนเดียว แม่ไม่เคยว่งเงินช่วยเหลือและ ไม่ได้ติดต่อกลับมา หลังจากที่แยกทางกับพ่อ“

“พ่อมีแฟนใหม่ตั้งแต่หนูอยู่ ป.4 ช่วงนี้พ่องานยุ่งมากพ่อเลยไม่ได้มา ตั้งแต่นั้นมา ก็ไม่เคยไปหาพ่อที่ ชลบุรี เพราะพ่อบอกว่า งานเยอะ พ่อท�ำงานเป็นช่างไฟ พ่อมาหาปีละครั้ง แต่ปีที่แล้วไม่ได้มา เพราะพ่อบอกว่างาน ยุ่งมาก” ชมพู่

บทที่ 4 ผลการศึกษา

91


กรณีฟาง ครอบครัวของฟางเป็นครอบครัวใหญ่ มีปู่ ย่า ฟาง ลูกพี่ลูกน้องของฟาง ซึ่งเป็นลูกสาวของ ป้า รวมถึงลูกและสามีของลูกพี่ลูกน้อง ลักษณะเป็นครอบครัวใหญ่ที่มีครอบครัวย่อย 2 ครอบครัว อาศัยอยู่ด้วย กัน ต่างฝ่ายต่างรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ฟางก็อาศัยอยู่กินกันย่า และต้องช่วยกันเลี้ยงดูลูกของลูกพี่ลูกน้องระหว่าง ที่เขาออกไปท�ำงาน พ่อแม่มีปัญหาทะเลาะกันมาโดยตลอด แม่ถูกพ่อท�ำร้ายร่างกาย จนต้องเลิกกันตั้งแต่ฟางอายุ 6 ขวบ ตัง้ แต่จำ� ความได้ฟางเห็นพ่อแม่มปี ญ ั หาทะเลาะกันมาโดยตลอด ช่วงแรกๆก็ทะเลาะกันไม่บอ่ ย จนกระทัง่ ทะเลาะ กันเกือบทุกวัน ฟางไม่สามารถช่วยอะไรได้ จนท้ายที่สุดพ่อแม่ก็ต้องแยกทางกัน ฟางยอมรับการแยกทางของ พ่อแม่มากกว่าทีจ่ ะต้องทนเห็นพ่อแม่ทะเลาะกัน ท�ำร้ายร่างกายกัน จนปัจจุบนั พ่อและแม่ตา่ งก็มคี รอบครัวใหม่ พ่อก็เข้าไปท�ำงานในกรุงเทพฯ และส่งเงินกลับมาให้เป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว แต่แม่ไม่ติดต่อกลับมา เลย พ่อส่งมาให้เดือนละประมาณ 1,000-2,000 บาท ซึ่งรายได้ที่พ่อส่งมาให้คนเดียวก็ไม่พอใช้จ่ายในครอบครัว ก็ได้รายได้จากการท�ำงานท�ำไร่ท�ำสวนของปู่ที่พอช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัวได้ “ไม่ได้ติดต่อกับแม่เลยค่ะ ไม่มีเบอร์ หนูก็จ�ำหน้าแม่ไม่ได้แล้ว แม่กลับไปอยู่นครฯตั้งแต่หนูอยู่ป.1 ...พ่อ ก็ส่งเงินมาให้ทุกเดือนค่ะ บางทีก็ 1000 บางทีก็ 2000 หนูก็ได้เงินไปโรงเรียนวันละ 10 บาท ค่ะ”ฟาง

“หนูไม่กล้าถามว่า ท�ำไมพ่อแม่เลิกกัน หนูกลัวพ่อโกรธเพราะว่าพ่อทะเลาะกับแม่บ่อยๆ เขาจะเอาขวด น�้ำขว้างกัน พ่อเริ่มก่อน ไม่รู้ว่าพ่อโกรธอะไรแม่” ฟาง

“ตอนนี้แม่กลับไปอยู่นครศรีธรรมราชค่ะ พ่อท�ำงานอยู่กรุงเทพ พ่อแม่เลิกกันนานแล้วค่ะ แม่มีผัวใหม่ แล้วค่ะ มีลูกด้วยกันคนนึง หนูได้ยินมาว่าก�ำลังจะมีน้องอีกคนแล้วค่ะ พ่อก็ท�ำงานอยู่ที่กรุงเทพฯแล้วก็มีแฟนใหม่ แล้ว” ฟาง

5.16. พ่อแม่เลิกกัน ต่างก็มีครอบครัวใหม่ ลูกใหม่ หนูอยู่กับยาย การที่พ่อแม่แยกกันไม่ว่าจะส่งเสียลูกหรือไม่ ลูกก็ยังรู้สึกว่ามีพ่อมีแม่ แต่การที่พ่อหรือแม่แต่งงานใหม่ และมีลูกใหม่ ความรู้สึกของการเป็นลูกที่ไม่ต้องการก็รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่ได้รับการส่งเสีย เงินทองจากพ่อแม่ที่มีลูกใหม่

92

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


กรณีใหม่ เด็กสาววัย 13 ปี เรียนอยู่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นเด็กสาวผิวคล�้ำ รูปร่างผอม ดูท่าทาง เป็นคนเงียบขรึม แต่ก็ดูเป็นเด็กที่มีอัธยาศัยดีสุภาพและได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี ปัจจุบันใหม่อาศัยอยู่กับ ตายายและน้องสาวต่างพ่อวัย 10 ปี ก่อนหน้านี้ทั้ง 4 คน ก็อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน แต่ต่อมาได้ก่อสร้าง ร้านค้าซึ่งเป็นเงินที่แม่ส่งมาให้เพื่อเปิดร้าน ยายกับน้องสาวจึงไปอาศัยนอนในบ้านหลังเล็ก ที่จะท�ำเป็นร้านค้า ส่วนใหม่กับตาก็อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดิม แม่แยกทางกับพ่อตั้งแต่เธอยังไม่คลอดออกมา ใหม่ได้รับการเลี้ยงดูจากแม่และญาติ เธอไม่รู้สาเหตุ การเลิกร้าง แต่รู้ว่า พ่อไม่ต้องการเลี้ยงดู ไม่ยอมรับใหม่เป็นลูก หลังคลอดแม่กลับไปท�ำงานและอยู่กินกับสามี ใหม่ เมื่อมีลูกใหม่ก็ส่งกลับมาให้ตายายดูแล ยายจึงต้องดูแลหลานสาวทั้งสองคน โดยมีแม่และสามีใหม่ของแม่ คอยส่งเงินมาให้เป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว

“แม่อยู่กินกับพ่อใหม่นานแล้ว ตั้งแต่เลิกกับพ่อ ตั้งแต่ตอนที่แม่ยังไม่ออกหนูมา หนูไม่อยากรู้เรื่องอะไร รู้แต่ว่าเขาไม่ต้องการ แม่บอกว่า เขาไม่เคยอุ้มหนู ส่วนพ่อใหม่ม่ก็รู้สึกว่าเขารักและดูแลเธอเป็นอย่างดี หนูก็ เรียกเขาว่าพ่อ... อยากให้แม่กลับมาอยู่ที่บ้าน แม่ก็บอกว่า ขอท�ำงานเก็บเงินอีกสักนิด แล้วแม่จะมาเปิดร้านที่ บ้านเป็นร้านขายของ ตอนนี้ก็ท�ำเสร็จแล้ว รอแม่มาอยู่” ใหม่

6. พ่อแม่แยกทางกัน แม่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว รูปแบบนี้ คือ การที่พ่อแม่แยกทางกัน และแม่ต้องกลายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ดูแลลูกตามล�ำพัง เด็กก็ จะล�ำบากมาก โดยเฉพาะเมื่อแม่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบภาระหลักในครอบครัวใหญ่ แม่ฐานะยากจน ไร้การศึกษา เด็กก็ยิ่งล�ำบากมากเท่านั้น ทั้งการถูกทอดทิ้งซึ่งแม่ไม่สามารถมีเวลาเลี้ยงดู เน่ื่องจากต้องรับภาระหาเงิน ทั้ง ความรู้สึกที่โหยหาความรักและความอบอุ่นแต่อย่างไรก็ตาม ลูกก็ยังมีแม่

6.1. แม่เป็นหัวหน้าครอบครัวใหญ่ถึง 7 คน

กรณีไอเดีย พ่อแม่แยกทางกัน เธออยู่กับยาย และมีแม่เป็นผู้หาเลี้ยงหลักในครอบครัว ซึ่งอาศัยอยู่ด้วย กันถึง 7 คน คือ ตา ยาย ยายทวด ลุง แม่ไอเดีย และน้องชายวัย 7 ปี ตั้งแต่จ�ำความได้ไอเดียก็ต้องนอนกับตา ยาย แม่ทอ้ งไอเดียตัง้ แต่อายุ 17 ปี และหลังจากคลอดน้องชายทีม่ อี ายุหา่ งจากไอเดียสามปี พ่อกับแม่กแ็ ยก ทางกัน การที่แม่ยังมีอายุน้อยมาก มีภาระในการเลี้ยงดูลูกถึง 2 คน ท�ำให้แม่ของไอเดียยังต้องพึ่งพาความช่วย เหลือจากครอบครัว ปัจจุบันหน้าที่การเลี้ยงดู ค่าใช้จ่ายก็ต้องเป็นความรับผิดชอบของแม่ ส่วนพ่อไม่ค่อยได้ ติดต่อมา จึงไม่แน่ใจว่าพ่อได้ส่งเสียเลี้ยงดูหรือไม่ มีเพียงซื้อของห้เป็นบางครั้งเท่านั้น การทีแ่ ม่ของไอเดียต้อง รับภาระเลี้ยงดูลูกถึง 2 คน และเป็นหลักของครอบครัว ท�ำให้แม่ต้องท�ำงานหนัก และท�ำงานล่วงเวลาเพื่อให้ได้ รายได้เพิ่ม บทที่ 4 ผลการศึกษา

93


“แม่ไปท�ำงาน ยายกับตาไปเกี่ยวข้าว ลุงก็ไปทุ่งนา เหลือยายทวดอยู่ที่บ้าน หนูกับน้องก็ไปโรงเรียน

พ่อไม่ได้อยู่ด้วย พ่อไปกรุงเทพฯ พ่อกับแม่เลิกกันแล้ว แม่ไม่ค่อยอยู่บ้าน บางทีแม่ก็กับมาค�่ำ แม่ท�ำงานเพิ่ม จึงไม่มีเวลาที่จะดูแลลูก แต่ชอบให้แม่ท�ำงานเยอะๆ จะได้มีเงินมาใช้” ไอเดีย

6.2. พ่อแม่แยกกัน แม่ท�ำงานหาเงินเลี้ยงหนู และตายาย กรณีมาย เด็กหญิงอายุ 11 ปี เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มายอาศัยอยู่กับตา ยาย ส่วนพี่ชายและ แม่ไปท�ำงานอยู่ในกรุงเทพฯตั้งแต่เธอยังเล็กมาก แม่ท�ำงานหนักเป็นแม่บ้าน ได้รายได้เป็นรายวัน ไม่เกินวันละ 400 บาท นานๆครั้งที่จะได้กลับมาที่บ้าน พ่อแม่เลิกกันตั้งแต่มายอายุได้เพียง 3 เดือน พ่อไม่ได้ติดต่อมาเป็น เวลานานแล้ว หลังจากที่พี่แต่งงานมีครอบครัวใหม่ “แม่ไปท�ำงานกรุงเทพฯตั้งแต่หนูอยู่อนุบาล 1 แม่บอกว่าแม่จะไปท�ำงานหาเงินมาให้หนูเรียน แม่จะ กลับมาปีละครั้ง แม่ก็จะอยู่ด้วย2-3วันแล้วแม่ก็กลับ ...ถ้าแม่เติมเงินมือถื อแม่ก็จะโทรมา ถ้าไม่ได้เติม แม่ก็จะไม่ได้ โทรมา หนูรักแม่ เวลาที่หนูท�ำผิด แม่จะพูดดีๆว่าท�ำแบบนี้ไม่ดี แต่หนูไม่ชอบพ่อ พ่อจะชอบดุ อะไรอะไร ผิดพ่อก็ มักจะต่อว่าซ�้ำเติม เมื่อก่อนพ่อก็จะติดต่อมาบ้าง แต่ตั้งแต่ที่พ่อแต่งงานมีครอบครัวใหม่ พ่อก็ไม่ได้ติดต่อและส่งเงิน มาให้ หนูรู้ว่า พ่อมีลูกใหม่พ่อก็เลยไม่ส่งมา” มาย

6.3. อยู่กับแม่สองคน พ่อไม่เคยมาเลี้ยงดู

กรณีอาย พ่อแม่แยกทางกันตั้งแต่ที่อายยังเด็ก แต่ในช่วงแรกอายก็ยังไปมาหาสู่กับพ่อและปู่ย่าเสมอ จนเมือ่ พ่อย้ายไปอยูก่ รุงเทพฯ ก็ไม่คอ่ ยได้ตดิ ต่อกับพ่อ อายจึงอาศัยอยูก่ บั แม่และตายาย จนตายายเสียชีวติ อาย ก็ใช้ชีวิตอยู่กับแม่ 2 คนมาโดยตลอด แม่มีการศึกษา ฐานะดี มีธุรกิจส่วนตัว และไม่เคยขอความช่วยเหลือจาก พ่อซึ่งแต่งงานมีครอบครัวใหม่ “พ่อแม่เลิกกัน อายก็มาอยู่กับแม่ตายาย แล้วตายายก็เสีย เลยอยู่กับแม่ 2 คน แต่ในบ้านมันก็เป็นรั้ว ใหญ่ก็มีบ้านอยู่อีกหลังหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่จะมานอนกับแม่ที่ตึกออฟฟิต แม่เปิดบริษัทเกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชี มี รายได้ดี ไม่เคยขอความช่วยเหลือจากพ่อ พ่อไม่เคยมาเลี้ยง พ่อก็มีครอบครัวใหม่ที่ต้องเลี้ยงดู” อาย

7. พ่อแม่เลิกกัน ไม่ต้องการผม ผมต้องดูแลตัวเอง เด็กที่พ่อแม่เลิกกันและพ่อทิ้งพวกเขาไป พวกเขาไม่ค่อยได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับพ่อ การบอกเล่าสาเหตุ หรือ หากบอกเล่า ก็จะได้ยินแต่เรื่องราวไม่ดีและไม่ชัดเจน แล้วแต่อารมณ์ของผู​ู้เล่า พวกเขาอาจมีความโกรธ น้อยใจพ่อ แต่เมื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆ เช่น บางรายผู้เลี้ยงดูมีภาระเพิ่มขึ้น มีปัญหาอื่นๆ ที่ท�ำให้เขาไม่ได้รับ

94

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


การดูแลเหมือนเดิม พวกเขาก็ต้องพยายายามช่วยเหลือดูแลตัวเองมากขึ้น และลืมเรื่องราวที่ผ่านมา บางคน ท�ำงานหาเงินเลี้ยงตนเอง บางคนไปอยู่วัด 7.1. พ่อแม่เลิกกัน พ่อตายไปแล้วมั้ง ตายายแม่ มีภาระ ไม่ต้องการผม ผมต้องดูแลตัวเอง กรณีฟิล์ม เขา อาศัยอยู่กับตายายซึ่งปัจจุบันอายุ 60 ปี มาตั้งแต่เด็ก เติบโตมาด้วยการเลี้ยงดูของตา ยาย แม่ไม่ค่อยได้มีเวลาอยู่ดูแลฟิล์มเพราะต้องหาเลี้ยงครอบครัว และเมื่อฟิล์มอายุได้ 7 ขวบ แม่ก็ไปอยู่กับ สามีใหม่ที่จังหวัดเชียงใหม่ แม้ปัจจุบันแม่จะกลับมาอาศัยอยู่ที่บ้านท�ำอาชีพขายไก่ แต่ฟิล์มก็ยังรู้สึกสนิทสนม และได้ใช้เวลาอยู่กับตายายมากกว่าแม่ พ่อแม่แยกทางกันตัง้ แต่ฟลิ ม์ ยังเด็ก ไม่มใี ครเล่าเรือ่ งราวของพ่อให้ฟงั ฟิลม์ ไม่เคยรูจ้ กั ว่าพ่อแท้ๆของเขา เป็นใคร รูเ้ พียงว่าพ่อแม่เลิกกันตัง้ แต่ทฟ่ี ลิ ม์ ยังไม่คลอด โดยพ่อไม่เคยติดต่อกลับ มาหาหรือช่วยเหลือดูแลแม่เป็น ผูร้ บั ผิดชอบเลีย้ งดูมาตัง้ แต่แรกคลอด และฟิลม์ ก็ไม่เคยรูเ้ รือ่ งราวของพ่อ และแม่กไ็ ม่เคยพูดถึงพ่อให้ฟลิ ม์ ฟังเลย สักครั้ง จึงคิดว่าพ่อได้ตายจากเขาไปแล้ว นอกจากฟิล์มที่ตายายต้องคอยดูแลเลี้ยงดูมาตั้งแต่เด็กแล้ว ปัจจุบันก็มีหลานสาวฝาแฝดซึ่งเป็นลูกของ น้าของฟิล์มที่แยกทางกับสามี และน้าต้องไปท�ำงานต่างประเทศจึงต้องทิ้งลูกไว้ให้ตายายดูแล ตาต้องออกไป ท�ำงานหาเลี้ยงครอบครัว และยายต้องท�ำหน้าที่ดแู ลน้องอย่างใกล้ชิด เพราะยังเด็กเกินกว่าที่จะช่วยเหลือตัวเอง ได้ฟิล์มในฐานะพี่คนโตจึงต้องดูแลช่วยเหลือตัวเอง และได้รับการดูแลเอาใจใส่น้อยลง “พ่อกับแม่เลิกกันตั้งแต่ก่อนผมเกิด แม่ไม่ได้เล่าอะไรให้ฟังเลย พ่อผมตายแล้วมั้งครับ ผมก็ไม่รู้ ...น้อง แฝดเป็นลูกของน้าครับ พ่อแม่เขาเลิกกัน แม่น้องไปท�ำงานที่เกาหลี พ่อน้องก็ไปเอาแฟนใหม่ ตอนนี้ทุกคนยุ่งหมด ผมต้องดูแลตัวเอง“ ฟิล์ม

7.2. พ่อแม่เลิกกัน ไม่มีใครต้องการรับผิดชอบเขา จึงต้องรักและต้องการตัวเอง พ่อแม่ที่มีลูกไม่ต้องการนั้น อาจไม่รับผิดชอบดูแลลูกของตนเลย และปล่อยให้ปู่ย่า ตายายของเด็กรับ ภาระ ซึ่งในบางรายก็พอจะเลี้ยงดู ช่วยเหลือกันไป แต่ในบางรายตายายในวัยกลางคนหรือเริ่มสูงอายุ ต้อง ท�ำงานหาเลีย้ งตนเองหรือมีภาระ ก็ไม่อาจช่วยเหลือรับผิดชอบ เด็กจึงต้องเป็นเด็กทีไ่ ม่มใี ครต้องการอย่างแท้จริง ยกเว้นตัวของเขาเอง ซึ่งต้องสร้างความรักและต้องการตนเองให้ได้

บทที่ 4 ผลการศึกษา

95


กรณีไทเกอร์ พ่อแม่แยกทางกันเมือ่ เขาอายุเพียง 3 ขวบ จากนัน้ แม่กไ็ ปท�ำงานในกรุงเทพฯและแต่งงาน ใหม่ มีลูกด้วยกัน 1 คน แม่ก็ส่งให้น้องสาวต่างพ่อมาอาศัยอยู่กับตายายเช่นเดียวกับเขา ตายายวัย 40 ปี จึงต้อง ดูแลเขา น้องสาวต่างพ่อวัย 13 ปี และลูกของตายายวัน 10 ขวบอีก 1 คน อยู่ที่จังหวัดตาก ไทเกอร์ไม่รู้จักพ่อ ส่วนแม่ก็ไม่ค่อยได้ติดต่อกันและไม่ค่อยส่งเสียเงินทองมาเลี้ยงเขาและน้อง ตายาย วัย 40 ปี จึงเป็นผู้รับผิดชอบหาเลี้ยงทั้งครอบครัว ซึ่งอยู่รวมกันที่จังหวัดตาก ซึ่งประกอบไปด้วย ตายาย ตัวเขา น้องสาวต่างพ่อวัย 13 ปี และลูกของตายายวัน 10 ขวบอีก 1 คน ที่จังหวัดตาก “พ่อแม่เลิกกันตั้งแต่ผมได้ 3 ขวบแล้วครับ ผมก็ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับพ่อเลย เขาก็ไม่ได้ติดต่อมา แล้วผมก็ไม่ ชอบถาม ...แม่ก็ไม่ค่อยมาหาด้วย ถึงผมจะถามยาย ยายก็ไม่รู้เหมือนกันเพราะคนที่รู้มีแม่คนเดียว ... ที่บ้านก็อยู่ กันหลายคน มีผม ตายาย น้องสาวผม แล้วก็ลูกของยาย ผมไม่ค่อยได้คุยกับแม่ ถ้ามีไรเขาก็จะโทรมาคุยกับยาย ก็ ไม่รู้ว่าคุยอะไรกัน” ไทเกอร์

ปัจจุบนั ไทเกอร์ อาศัยอยูใ่ นค่ายมวยและต่อยมวยหาเงินเรียนหนังสือ เนือ่ งจากหลังจากไทเกอร์เรียนจบ ชัน้ มัธยมศึกษาปีท3ี่ จากโรงเรียนใกล้บา้ น ซึง่ ไม่มคี า่ ใช้จา่ ยมากนัก และต้องการเรียนต่อในระดับชัน้ มัธยมศึกษา ปีที่ 4 จ�ำเป็นที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน ซึ่งตายายก็ไม่สามารถที่จะส่งเสียให้เรียนต่อได้ และตายยาย ยังมีลูกวัยเพียง 10 ขวบ และน้องสาวของเขาที่ต้องเลี้ยงดู ไทเกอร์จึงย้ายที่เรียนจากจังหวัดตาก มาเรียนที่ แม่ฮ่องสอ นเพื่อที่จะท�ำงานชกมวยหารายได้ระหว่างเรียน และอาศัยอยู่กินในค่ายมวยร่วมกับเพื่อนนักมวยคน อื่น ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเรื่องที่อยู่ หรืออาหารการกิน รายได้จากการชกมวยจึงสามารถเป็นทุนส�ำหรับการ เรียน 7.3. พ่อ แม่ ลุง ป้า ไม่เลี้ยงดู ต้องไปอยู่วัด อาศัยผู้ใจบุญ เด็กที่ไม่มีใครต้องการนั้นอยู่ในสภาพที่ถุูกกระท�ำทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ชีวิตความเป็นอยู่ บุคคลรอบ ข้างพวกเขามักตอกย�ำ้ ความไม่ตอ้ งการกับเขา พวกเขาต้องแสวงหาการช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก เช่น โรงเรียน และบ้านสงเคราะห์ต่างๆ ค่ายมวย และแม้แต่วัด ก็อาจเป็นที่พึ่งให้กับพวกเขาได้ สังคมไทยมีปัญหาเด็กที่ไม่ ต้องการมาก พวกเขามีพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตายาย ญาติพี่น้อง แต่บางทีก็เหมือนกับเขาไม่มีใครเลย มีแต่ตัวเองเพียง คนเดียว ที่ต้องดิ้นรน และต้องรักตัวเองให้มากเพียงพอ กรณีต้น พ่อแม่แยกทางกันตั้งแต่ต้นอายุ 7 ขวบ เพราะพ่อติดการพนันจนมีภาระหนี้สินจ�ำนวนมาก แม่ ต้องช่วยแบ่งรับภาระ ท�ำให้แม่ที่เคยต้องเลี้ยงดูต้นในวัยเด็ก ต้องออกไปหางานรับจ้างทั่วไป เพื่อช่วยช�ำระหนี้ให้ พ่อ แต่หนีส้ นิ ก็เพิม่ ขึน้ และเกิดขึน้ อยูเ่ ป็นประจ�ำ จนแม่ไม่สามารถทนพ่อได้ และต้องแยกทางกันในทีส่ ดุ ปัจจุบนั 96

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


แม่มีครอบครัวใหม่อาศัยอยู่ต่างถิ่น แม่พาต้นมาอยู่กับป้าวัย 40 ปี ซึ่งเป็นพี่สาวของพ่อตั้งแต่เล็ก เขาเรียกป้า ว่า แม่ และสามีของป้าว่า พ่อ ในบ้านป้าอยู่กัน 4 คน คือ ป้า ลุง ต้น และหลานลูกของป้า ต้นไม่ได้รับการดูแล เท่าไรนัก เพราะแม่ไม่ได้ส่งเงินมาให้ป้าสม�่ำเสมอ แต่ต้นก็รักแม่และผูกพันกับแม่มากที่สุด ส่วนพ่อ ไม่เคยติดต่อ กับเขา และเขาเองก็ไม่รู้สึกดีกับพ่อ ในครอบครัวป้าเองไม่มีรายได้ ต้องพึ่งพาลุงซึ่งท�ำงานก่อสร้าง และเป็นผู้ หารายได้หลักเพียงคนเดียวในบ้าน ต้นรู้ว่าลุงเกลียดเขา ป้าจึงไม่กล้าน�ำเงินที่ลุงหามาใช้ดูแลต้น แต่ปัจจุบันได้อาศัยกินนอนอยู่ที่วัดเป็นหลัก เขาไม่อยากอยู่บ้าน เพราะมักเป็นต้นเหตุให้ป้าทะเลาะกับ สามี การมาอาศัยอยู่ที่วัดจึงเป็นทางออกที่จะท�ำให้ป้าและสามีทะเลาะเบาะแว้งกันน้อยลง ต้นได้รับการ ช่วยเหลือจากพระและคนที่มาท�ำบุญ ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ก็มักจะได้มาจาก พระ ผู้ใจบุญที่มาท�ำบุญกับพระ ที่วัดเป็นประจ�ำ “พ่อแม่เลิกกันตอนผมอยู่ป.2 เพราะพ่อเล่นพนันแสนหนึ่ง แม่ก็ท�ำงานใช้ให้แล้ว พ่อก็ไปติดอีก 50,000 แม่ก็เลยเลิก...พ่อไม่เคยติดต่อมาเลยครับ ผมก็ไม่อยากเจอพ่อ ผมไม่ชอบเขาเวลาที่เขากินข้าว เขาก็ไม่แบ่งผม พ่อ ไม่เคยแสดงความรักกับผมเลย แล้วตอนนอนผมอยากดูทีวี แต่เขาไล่ผมไปนอนเพราะเขาจะดูคนเดียว ผมรักแม่ มากที่สุด อยู่กับแม่ผมก็กอดแม่ แม่ก็รักผม” ต้น

“พี่ม่อนบอก ให้ผมมาอยู่วัด เพราะถ้าผมอยู่ที่บ้าน ลุงกับป้าจะตีกัน เพราะลุงเขาไม่ชอบผม เขาเกลียด ผม ที่วัดคนที่มากฐิน เขาซื้อโทรศัพท์ให้ แล้วก็ส่งเงินมาให้ปีละ 3000 บาท เขาให้เงินเพราะเขาสงสารผม” ต้น

8. แม่ไม่ต้องการ พ่อติดเหล้า เธอเสี่ยง จึงต้องไปอยู่โรงเรียนสงเคราะห์ เด็กที่พ่อแม่ไม่ต้องการนั้น ต่างมีความซับซ้อนในสสถานการณ์ชีวิต เช่น พ่อติดเหล้า แม่มีสามีหลายคน และอาจท�ำร้ายลูก เมื่อแม่ไม่ต้องการและทอดทิ้งไป เด็กอยู่กับพ่อที่ติดเหล้า ต้องหวาดระแวงต่อผู้ชายขี้เมา หลายคน ในสภาพบ้านที่ไม่ปลอดภัย ทางออกคือ การไปอยู่โรงเรียนสงเคราะห์ ซึ่งเป็นที่พึ่งสุดท้ายของเด็ก กรณีไอ พ่อแม่ของไอแยกทางกันตั้งแต่เธออยู่อนุบาล 3 พ่อให้เหตุผลที่ต้องแยกกันว่า แม่มีแฟนใหม่ ท�ำร้ายร่างกายลูก และแม่รักลูกติดจากสามีเก่ามากกว่าที่จะอยากดูแลเลี้ยงดูไอและพี่ชาย พ่อจึงต้องพาไอและ พี่ชายกลับมาเลี้ยงดูที่น่านซึ่งเป็นบ้านเกิดของพ่อ

บทที่ 4 ผลการศึกษา

97


สภาพความเป็นอยู่ในครอบครัวของไอ คือ เธออยู่กับพ่ออายุ 35 ปี และพี่ชายวัย 16 ปี ทั้ง 3 คนต้อง อาศัยอยู่ในบ้านที่สร้างมาอย่างหยาบๆในที่ดินของคนอื่น สภาพความเป็นอยู่ยากล�ำบาก ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีพัดลม เป็นห้องโล่งๆ และไม่มปี ระตูบา้ น ช่วงทีพ่ อ่ ไม่อยู่ ไอก็จะไปอาศัยอยูบ่ า้ นป้า เพราะไอเป็นผูห้ ญิง ปลอดภัยมากกว่า และเธอก็อาศัยนอนบ้านป้าเป็นประจ�ำ เพราะหวาดกลัวเพื่อนของพ่อที่มากินเหล้าเป็นประจ�ำที่บ้าน และมี ท่าทาง เจตนาที่ไม่ดีต่อตัวเธอ “ตอนแรกที่พ่อแม่เลิกกัน หนูไปอยู่กับแม่ค่ะ ให้พี่ไปอยู่กับพ่อ แล้วพ่อก็ไปตามบอกว่า อยากได้ลูกสาว ไปเลี้ยง แม่ก็เลยยกให้ เพราะแม่ก็มีลูกสาวอีกคนเป็นพี่สาวหนู แต่คนละพ่อ”ไอ

“หนูไม่รู้ว่าท�ำไมพ่อแม่เลิกกัน หนูก็รู้มาจากพ่อหนู ก็เชื่อที่พ่อบอก แต่ที่พ่อเลิกกับแม่มีหลายเหตุผล ทั้ง ที่แม่มีชู้ แล้วก็ที่แม่ตีหนูทุกวัน”ไอ

“เงินที่พ่อท�ำงาน ก็เอาไปกินเหล้าหมดเลยค่ะ” ไอ

พ่อเป็นคนเดียวที่ท�ำงานหารายได้หลักในครอบครัว แต่ใช้จ่ายไปกับการดื่มเหล้า ไม่เหลือให้ใช้จ่ายใน ครอบครัวในครอบครัวเท่าใดนีก แม้วา่ ป้าจะคอยช่วยเหลือบ้าง แต่กอ็ ยูบ่ า้ นคนละหลัง และป้าก็มภี าระครอบครัว ที่ต้องรับผิดชอบ หลังจากที่ย้ายมาอยู่น่านบ้านของพ่อได้ไม่นาน ไอแล้วพี่ชายต้องไปเรียนในโรงเรียนประจ�ำ โดยพ่อให้เหตุผลว่า พี่มีพฤติกรรมที่ไม่ดีต้องส่งไปเรียนโรงเรียนประจ�ำ และอยากให้เธอไปอยู่กับพี่ชายด้วย ไอ และพี่ชายไม่ได้เต็มใจที่จะไปเลยเพราะต้องห่างไกลครอบครัวแต่การส่งทั้งสองไปเรียนโรงเรียนประจ�ำซึ่งเป็น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เพื่อลดภาระที่ต้องเลี้ยงดูเด็กทั้งสองคน

“มาอยู่ที่โรงเรียนตั้งแต่ ป.2 ค่ะ พ่อบอกว่า ตอนนั้นพี่ชายอยู่โรงเรียนเก่า แล้วดื้อมาก เลยให้มาอยู่

โรงเรียนนี้ แล้วเขาคิดไปคิดมาให้พี่อยู่คนเดียวก็ไม่ดี ก็เลยให้หนูมาอยู่ด้วย” ไอ

9. พ่อแม่ไม่ต้องการเธอ เธออยู่กับยายและญาติ แต่ก็ถูกพ่อแท้ๆข่มขืน ชีวิตของเด็กที่ไม่มีใครต้องการนั้นถูกทอดทิ้งโดยพ่อแม่ของตนตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งก็น�ำความทุกข์ความ เสียใจมาให้กับเด็ก เด็กยังเสี่ยวหรือหมิ่นเหม่ต่อการถูกกระท�ำรุนแรงอื่นๆจากบุคคลรอบข้างที่รู้ว่า เด็กไม่มีใคร ปกป้อง และอาจถูกกระท�ำรุนแรงมากขึ้นไปอีก เช่น การถูกข่มขืนโดยพ่อของตนเอง ซึ่งเป็นกรณีของเบ ชีวิต ของเธอเป็นการถูกทอดทิ้งท่ีสมบูรณ์หรือรุนแรงมากที่สุดคนหนึ่ง 98

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


กรณีเบ พ่อทิง้ แม่ไปตัง้ แต่ทเี่ บยังไม่คลอดไม่เคยติดต่อดูแล เบต้องกลายเป็นลูกไม่มพี อ่ ตัง้ แต่ทยี่ งั ไม่คลอด เพราะพ่อทิ้งแม่ไปตั้งแต่ที่เบยังอยู่ในท้อง พ่อไม่เคยที่จะรับผิดชอบดูแลแม่ ระหว่างที่อยู่กินกับแม่ พ่อก็มีคนอื่น มาโดยตลอ ดเมื่อรู้ว่าแม่ท้องก็หนีไปอยู่กับผู้หญิงคนอื่น ไม่เคยส่งเสียเลี้ยงดูเบในฐานะลูกเลยสักครั้ง หลังจากที่ คลอดเบแล้วแม่ก็ไปท�ำงานต่างจังหวัด ทิ้งให้เบต้องอยู่กับยา ยแม่ก็แทบจะไม่ได้ติดต่อมาเลยจน แม่ไปท�ำงาน ต่างจังหวัดตั้งแต่ที่เบอายุได้เพียง 1 ขวบ ในช่วงแรกๆแม่ก็ส่งเงินมาให้ป้าเป็นค่าใช้จ่ายของเบ แต่หลังจากที่แม่ มีสามีใหม่ และมีลกู กับสามีใหม่ 2 คน แม่กไ็ ม่ได้สง่ เงินกลับมาให้อกี เบจึงต้องพึง่ พาจากญาติๆทีอ่ าศัยอยูด่ ว้ ยกัน แม่เสียชีวิตไปเมื่อเบอายุได้ 12 ปี “พ่อทิ้งไปตั้งแต่หนูอยู๋ในท้องแล้ว แม่บอกว่า ตั้งแต่ที่แม่คบกับพ่อ พ่อก็แอบไปมีเมียน้อย แล้วตอนที่แม่ ท้อง พ่อก็หนีไปอยู่กับเมียน้อย ก็ไม่สนใจแม่ หนูก็เคยเจอพ่อบ้าง เขาไปได้เมียใหม่อยู่อีกหมู่บ้านนึง พ่อไม่พูดด้วย หนูก็เฉยๆเพราะแม่บอกว่าไม่ต้องไปสนใจพ่อ” เบ

“แม่ไปท�ำงานที่ชลบุรีค่ะ แม่ท�ำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาล แม่ไม่ค่อยได้ส่งเงินกลับมาให้เพราะแม่มีลูกกับ พ่อใหม่อีก 2 คน ถ้าส่งมาก็จะส่งมาให้ที่ป้าค่ะ ตั้งแต่แม่มีแฟนใหม่ แม่ก็ส่งเงินมาน้อยแล้ว ก็ไม่ส่งมาเลย เวลาจะ ติดต่อกับแม่ก็ต้องให้ลุงกับป้าติดต่อให้” เบ

เบอาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง ซึ่งเป็นญาติฝั่งแม่หลายคน เธอก็ไม่ได้อยู่กับแม่มาตั้งแต่เด็กๆ แต่อาศัยอยู่กับ ยาย ป้า น้า ซี่งต่างก็มีครอบครัวทั้งสามีและลูกที่อาศัยอยู่ด้วยกัน มีเพียงเบคนเดียวที่ไม่มีพ่อแม่คอยดูแล แต่ม่ี ยายที่คอยดูแลมาตั้งแต่เด็ก แต่หลังจากที่ยายเสียชีวิต เบก็ต้องไปอาศัยอยู่กับพี่สาวของยายเพื่อไปอยู่คอยช่วย เหลือดูแลพี่สาวของยายที่ต้องอยู่คนเดียว “ตอนนี้หนูอาศัยอยู่กับตา ยาย ป้า แล้วก็ลุง แม่เสียไปตั้งแต่หนูอายุ 12 ปี หมอบอกว่าแม่เป็นวัณโรค ปอด แม่มาเสียที่โรงพยาบาลปัว ตอนนั้นแม่อยู่ห้อง ICU ครูที่โรงเรียน ก็ไม่อยากให้หนูไป หนูก็เลยไม่ได้คุยกับแม่” เบ

เบ ถูกพ่อแท้ๆของตนขมขืนจนตั้งท้อง แม้ว่าเบจะไม่ได้ติดต่อกับพ่อ ไม่เคยพูดคุยกัน แต่ก็มีโอกาสได้ เจอกันหลายครั้ง เพราะพ่อก็อาศัยอยู่ในหมู่บ้านใกล้เคียง ญาติฝั่งแม่ก็ยังไปมาหาสู่ พูดคุยรู้จักกันในชุมชน ยัง ต้องพึ่งพาอาศัยกัน จนน�ำไปสู่เหตุการณ์ที่เบต้องไปอาศัยค้างคืนที่บ้านของพ่อ จนถูกผู้เป็นพ่อบังคับข่มขืนจน

บทที่ 4 ผลการศึกษา

99


เธอตั้งท้อง จนต้องให้เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กเข้ามาดูแลจนเบคลอดลูก และได้ส่งให้ไปเรียนในโรงเรียนศึษา สงเคราะห์และอยู่ประจ�ำ เพื่อความปลอดภัย เนื่องจากหวาดกลัวว่า จะถูกผู้เป็นพ่อท�ำร้าย “พ่อเป็นคนข่มขืนหนูค่ะ คื อตอนนั้นหนูไปเชียงใหม่และญาติพา ไปนอนที่บ้านพ่อหนู เพราะตอนนั้นมัน ดึกแล้ว พอตีห้าพ่อก็เข้ามาข่มขืนหนู แต่หนูก็ขัดขืน เขาก็บอกว่าเขาจะท�ำร้ายหนู วันนั้นพ่อท่าจะเมาเพราะวันที่เขา กลับมาก็กินเหล้ากันคนที่มาด้วยกัน เขาก็กินแล้วเขาก็กลับไปก่อน เหลือแต่หนู ลูกชายพ่อ แล้วก็พ่ออยู่ที่บ้าน” เบ

“พ่อไม่ได้มาพูดอะไรเลยค่ะ อยู่ๆเขาก็มาคล่อมหนู หนูก็เอาเท้ายั นแล้วพ่อก็บอกว่า ถ้าหนูขัดขืนพ่อจะ ท�ำร้าย หนูก็พยายามเอาเท้ายันแต่ก็สู้แรงพ่อไม่ไหว”ิ เบ “หลังจากที่หนูคลอดลูกเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กส่งหนูมาเรียนที่นี่ แต่ก็ไม่ให้พ่อรู้หนูอยู่ที่นี่ เขา ไม่อยากให้พ่อมาท�ำร้ายหนู เพราะอยู่ในช่วงด�ำเนินคดี” เบ

หลังจากเจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กเข้ามาดูแล และอยู่ภายใต้ความคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งก็เหมือนเบถูก ทอดทิง้ จากคนในครอบครัว ไม่มใี ครทีจ่ ะมาเยีย่ มเยียนให้กำ� ลังใจเบเลย เธอต้องอยูอ่ ย่างโดดเดีย่ วในบ้านพักเด็ก จนกระทั่งย้ายมาเรียนอยู่โรงเรียนประจ�ำ “ตั้งแต่มาอยู่ที่นี่ ป้าก็มาหาแค่ครั้งเดียวค่ะ ตอนอยู่ที่บ้านพักเด็กก็โทรมาหาครั้งสองครั้ง หนูบอกป้าว่า อยากออกไปจากโรงเรียนนี้ ป้าก็บอกให้อดทน หนูเป็นเด็กบ้านพักเด็กต้องให้เขาดูแล เจ้าหน้าที่บอกว่าตอนนี้จับ ตัวพ่อแล้วตอนนี้อยู่เรือนจ�ำที่น่าน” เบ

10. พ่อโมโหร้าย ท�ำร้ายลูก จนต้องประสานให้เจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล พ่อท�ำร้ายร่างกายแม่ กินเหล้า อารมณ์ร้าย คลุ้มคลั่ง จนแม่ต้องทิ้งลูกสาวแฝดไป เด็กๆซึ่งไม่เคยรู้จัก แม่เลย มีแต่ความโกรธน้อยใจที่ถูกแม่ทอดทิ้ง เธอต้องอยู่กับย่า พ่อ และแม่เลี้ยง พ่อท�ำร้ายเธอและคู่แฝด อย่างรุนแรง จนเจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องต้องเข้ามาดูแล และส่งตัวพวกเธอไปอยู่บ้านพักเด็กและโรงเรียน สงเคราะห์ กรณีมายและมิ้น ฝาแฝดอาศัยอยู่กับครอบครัวกับพ่อวัย 41 ปี ย่าวัย 60 ปี และมีแม่เลี้ยงภรรยาใหม่ ของพ่อเพ่ิงเข้ามาอยู่ด้วยนเมื่อ 2 ปี ที่ผ่านมา คอยช่วยเหลือดูแลความเรียบร้อยในบ้านช่วยย่า แม่ใหม่ของมิ้นมี ปัญหาสุขภาพ ไม่สามารถท�ำงานหนัก ท�ำงานรับจ้างเล็กๆน้อยๆหาผักไปขายเป็นครัง้ คราว ทัง้ บ้านจึงต้องพึง่ พา

100

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


รายได้จากพ่อเพียงคนเดียว ในครอบครัว พ่อจึงท�ำงานหารายได้หลักในครอบครัว และก็มีย่าที่ท�ำงานรับจ้าง ทั่วไปรายได้ไม่แน่นอน พ่อและย่าต้องดูแลค่าใช้จ่ายในครอบครัว และยังมีภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบ จนบาง ครั้งพ่อก็เครียดที่เงินไม่พอใช้ จนเป็นปัญหาที่ทะเลาะกันในครอบครัว “พ่ออายุ36แม่น้า(แม่เลี้ยง)อายุ 46 แล้วค่ะ มีลูกอายุ 20 กับ 21 เป็นลูกติดของแม่น้าค่ะ ลูกเขาท�ำงาน แล้วไปอยู่ที่บ้านอื่น ย่าท�ำงานได้วันละ 250 บาท แต่พ่อท�ำไฟฟ้าได้เยอะกว่าค่ะ .. พ่อทะเลาะกับแม่น้าเพราะพ่อ ไม่มีเงินจ่ายหนี้เขา ก็ต้องทยอยจ่ายให้เขา ช่วยใช้หนี้ให้ย่า เพราะญาติของหนู เอาที่ดินไปจ�ำนอง” มาย

แม่หนีไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ที่มายและมิ้นอายุได้เพียง 11 เดือน เพราะไม่อยากทนอยู่กับพ่อ ส�ำหรับมาย เธอไม่มีความทรงจ�ำเกี่ยวกับแม่ นอกจากค�ำบอกเล่าจากย่าว่า สาเหตุที่ท�ำให้พ่อและแม่ต้องแยกทางกัน คือ แม่ หนีไปเพราะทนไม่ได้ที่พ่อดื่มเหล้าอย่างหนัก และถูกท�ำร้ายร่างกายอยู่บ่อยครั้ง แม่ถูกพ่อข่มขู่ท�ำร้ายด้วยอาวุธ จึงตัดสินใจหนีไปอยู่ที่อื่ นโดยทิ้งให้ลูกอยู่กับย่าและพ่อที่คอยท�ำร้ายร่างกายเป็นประจ�ำ แต่มายก็รู้สึกโกรธที่ แม่ทิ้งไป และไม่เคยติดต่อกลับมาหาเลยสักครั้ง “แม่อยู่ที่สุรินทร์ค่ะ แม่กับพ่อเลิกกันตอนหนู 11 เดือน ย่าเล่าให้หนูฟังเลิกกันเพราะพ่อกินเหล้า ย่าก็ เลยต้องเลี้ยงหนูมา ย่าเล่าว่า ตอนนั้นแม่หนูอยู่ที่บ้านแล้วพ่อหนูเมาเหล้า พ่อก็เอาปืนมาขู่แม่ แม่ก็เลยไปอยู่บ้าน ผู้ใหญ่ แล้วก็ไปเลยค่ะ แม่ก็บอกว่าอยู่ไม่ไหว ให้ย่าดูแลหนู” มาย

พ่อเป็นนักดื่ม ดื่มเหล้าหนักสะสมมาเป็นเวลานาน จนเริ่มมีอาการทางประสาท ต้องคอยกินยาระงับ อาการจึงมีอาการผิดปกติ อาจมีอาการคลุ้มคลั่งได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะเวลาที่ดื่มเหล้า จะท�ำร้ายคนอื่น มิ้นก็ เคยถูกพ่อท�ำร้ายร่างกายอย่างหนัก จนเจ้าหน้าที่ของบ้านพักเด็กต้องเข้ามาช่วยดูแล และส่งไปอยู่ในโรงเรียน ประจ�ำ ตั้งแต่ที่จ�ำความได้ มายและมิ้นถูกพ่อท�ำร้ายร่างกายและทุบตีมาโดยตลอด คนในครอบครัวทั้งย่า และ แม่เลี้ยงก็ถูกพ่อท�ำร้าย ไม่มีใครในครอบครัวกล้าที่จะเข้ามาช่วย เวลาที่มิ้นถูกพ่อท�ำร้ายร่างกายมีบาดแผลจาก การถูกท�ำร้ายเป็นประจ�ำ บางครั้งย่าก็จะคอยดูแลท�ำแผลให้ แต่บางครั้งอาการหนักจนต้องส่งไปรักษาที่โรง พยาบาลซึง่ เมือ่ หมอเห็นอาการแล้ว ก็ให้ความช่วยเหลือด้วยการประสานเจ้าหน้าทีบ่ า้ นพักเด็กให้เข้ามาช่วยดูแล จนในที่สุด มิ้นและฝาแฝดของเธอจึงถูกส่งไปเรียนในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เพื่อจะได้ไม่ต้องถูกพ่อท�ำร้าย ร่างกายอีก

บทที่ 4 ผลการศึกษา

101


“ที่หนูมาอยู่ที่นี่เพราะหนูโดนพ่อตีค่ะ ตีรุนแรงมากค่ะ ช�้ำเลย ตีตรงด้านก้น เพราะหมอประสานไปที่ บ้านพักเด็ก หนูก็เลยได้มาอยู่ที่นี่” มิ้น “หนูไปอยู่ที่บ้านพักเด็กตอนจบป.4 ก่อนขึ้นป.5 จริงๆหนูก็ไม่อยากไป แต่เขาอยากให้หนูไปอยู่ที่นู้น จะ ได้ไม่ถูกพ่อตี และก็ได้มาอยู่ที่โรงเรียนนี้ตอนป.5” มิ้น

สรุป

ประสบการณ์ของลูกที่ถูกทิ้งนั้นเกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นไปท�ำงานหรือไม่ดังนี้คือ แม้พ่อแม่จะพยายาม อยูก่ บั ลูกทีบ่ า้ นในชนบท แต่การงานในชนบทถูกท�ำให้เปลีย่ นไป จึงท�ำให้พอ่ แม่ตอ้ งทอดทิง้ ลูกในรูปแบบทีเ่ ปลีย่ น ไปเช่นกัน คือ พ่อแม่ท�ำงานจนไม่มีเวลาให้ลูก และแม้ท�ำงานอย่างมากแล้วก็ไม่มีเงินมากพอเลี้ยงดูลูกและ ครอบครัวได้ พ่อแม่จึงจ�ำเป็น ที่จะต้องทอดทิ้งลูก โดยการบีบให้ลูกช่วยตัวเองในรูปแบบต่างๆเช่น การออกไป ท�ำงาน หรือหาที่อยู่ ที่เรียนเอง โดยไม่ต้องจ่ายเงินของพ่อแม่ เป็นต้น ส�ำหรับพ่อแม่ที่พร้อมจะสู้เพื่อลูก โดยการย้ายถิ่นไปท�ำงานในเมืองนั้น ก็พบว่า งานในเมืองไม่ได้มีราย ได้ และเวลาที่มากพอให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่พาไปในเมืองด้วย หรือลูกที่ทิ้งไว้ที่บ้าน หากลูกที่ทิ้งไว้ที่บ้าน ให้อยู่กับปู่ย่าตายายที่ยากจนก็ยิ่งท�ำให้ลูกล�ำบากมากขึ้น แต่การย้ายไปท�ำงานในระบบทุนนิยมในเมืองก็มัก ท�ำให้พอ่ แม่ตอ้ งแยกทางกันเดินหรือเลิกราจากกันในทีส่ ดุ ซึง่ เป็นการท�ำให้ลกู รูส้ กึ ว่าตนเองเป็นทีไ่ ม่ตอ้ งการมาก ขึน้ และการถูกไม่ตอ้ งการจะมากขึน้ ไปอีก เมือ่ พ่อและแม่แต่งงานและมีลกู ใหม่ ความสนใจ เวลา และทรัพยากร ของพ่อแม่ทนี่ อ้ ยอยูแ่ ล้ว ยิง่ ถูกแบ่งปันไปให้กบั ครอบครัวใหม่ของพ่อแม่ ระบบทุนนิยมยังท�ำให้พอ่ แม่โดยเฉพาะ พ่อดื่มเหล้า ใช้สิ่งเสพติดมากยิ่งขึ้น เพราะความเหนื่อยล้าจากการท�ำงาน ไร้ทางออกในชีวิต จึงยิ่งท�ำให้เวลา ความรักที่จะมอบให้กับลูกที่ถูกทอดทิ้งน้อยลง จนแทบไม่เหลือความผูกพันใดๆ ความรู้สึกว่า ตนเองไม่เป็นที่ ต้องการ และได้รับความไม่เป็นธรรมก็ยิ่งมากขึ้น และทั้งหมดนี้ ขึ้นกับปู่ ย่า ตา ยาย พี่ป้าน้าอา ที่จะรองรับเด็ก ที่ไม่ต้องการเหล่านี้อย่างไร ถ้าระบบครอบครัวไม่เข้มแข็งและไม่มีทรัพยากร เด็กที่พ่อแม่ไม่ต้องการนี้ก็จะกลาย เป็นเด็กที่ระบบครอบครัวไม่ต้องการและถูกผลักให้ช่วยตัวเอง ทอดทิ้งอย่างจริงจัง หรือถูกกระท�ำรุนแรงต่างๆ จนต้องไปอยูว่ ดั โรงเรียนสงเคราะห์ตา่ งๆ บ้านพักเด็ก ซึง่ ทัง้ หมดนีเ้ ป็นระบบทีไ่ ม่เป็นธรรมกับเด็กอย่างยิง่ และ ก�ำลังเบ่งบานในสังคมไทย

102

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


ส่ี่ พ่อ แม่ ลูก กับ ระบบเศรษฐกิจและงาน ที่บังคับให้ทอดทิ้งลูก เซ็กส์ทไี่ ม่ตอ้ งลูก อาจเกิดจากความปรารถนาทางอารมณ์แต่ไม่ได้มกี ารคุมก�ำเนิด การล่อลวง การบังคับ ข่มขืน ท�ำให้ผู้หญิงท้อง การปฏิสนธิของเด็กที่ไม่มีใครต้องการเริ่มต้นขึ้นในครรภ์มารดา พ่อแม่ ครอบครัวไม่ พร้อมส�ำหรับการเกิดของเด็ก การตั้งท้องเด็กกลายเป็นปัญหา ความทุกข์ การหาทางแก้ไขหรือขจัดปัญหาเกิด ขึ้น การพยายามท�ำแท้งเป็นหนึ่งในวิธีการแก้ไขปัญหาของพ่อแม่ครอบครัว แต่เมื่อการท�ำแท้งไม่ส�ำเร็จ การ ตั้ครรภ์ด�ำรงค์ต่อไป เด็กบางคนเริ่มได้รับการยอมรับ จากพ่อและหรือแม่ ตลอดจนครบครัว แต่เด็กบางคนอาจ ถูกปฏิเสธแม้แต่แม่ของพวกเขา อย่างไรก็ตามพวกเขาคลอดจากครรภ์แม่ ลืมตาดูโลก ด้วยความไม่เป็นธรรม หรืออาจกล่าวได้ว่า พวกเขาได้รับความไม่เป็นธรรมตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา เด็กแรกเกิด หรือ วัยทารก ต้องการความเอาใจใส่ดูแลจากพ่อและแม่อย่างใกล้ชิด สังคมเองก็ต้องการ ให้เด็กเกิดใหม่ได้รบั การดูแลอย่างดี เพือ่ ทีจ่ ะมีสขุ ภาพทีส่ มบูรณ์ และสามารถแข่งขันกับเด็กอืน่ ๆในสังคมได้อย่าง เป็นธรรม เช่นการจัดสวัสดิการให้แม่หยุดงานเลีย้ งดูลกู หลังคลอด โดยได้รบั ค่าตอบแทนจากนายจ้างหรือประกัน สังคมสามเดือนทัง้ นีเ้ พือ่ ให้เด็กทารกได้อยูก่ บั แม่ และกินนมแม่ เพือ่ เสริมสร้างภูมคิ มุ้ กัน เด็กส่วนใหญ่และจ�ำนวน มากจึงต้องถูกแม่ทอดทิ้งไปท�ำงานตั้งแต่พวกเขาอายุสามเดือน และมีไม่น้อยที่ถูกทิ้งไปแทบจะทันทีที่เขาเกิด เนื่องจากปัญหาความซับซ้อนต่างๆของพ่อแม่ของพวกเขา แม่บางคนก็ไปท�ำงานช่วงสั้นๆแล้วกลับมา บางคน ก็ไปนานและแทบไม่ได้เจอลูก ดังนั้นการทิ้งลูกไปท�ำงานโดยไม่ตั้งใจหรือมีความจ�ำเป็น อาจน�ำไปสู่การที่ทั้งพ่อ และแม่ หรือพ่อหรือแม่ ทิง้ ลูกไปอย่างถาวร และหากมีลกู ก็จำ� เป็นทิง้ ลูกคนต่อไปเพือ่ ไปท�ำงานทีอ่ นื่ ซ�ำ้ ซาก และ การทิ้งลูกไปท�ำงานตั้งแต่ลูกเกิด เป็นต้น การที่เด็กยังอยู่ในวัยทารก ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ท�ำให้ต้องมีผู้ท�ำหน้าที่รับภาระเลี้ยงดูพวกเขาต่อจาก พ่อแม่ที่ทอดทิ้งด้วยเหตุผลต่างๆ ดังได้น�ำเสนอไปแล้ว ส�ำหรับพ่อแม่ที่ต้องทอดทิ้งเด็กไปท�ำงาน ผู้ดูแลเด็กส่วน ใหญ่เป็นญาติที่มีความใกล้ชิดที่สุดทางสายเลือด และความสัมพันธ์ที่พ่อแม่วางใจ หรือ มีเยื่อใยของความ สัมพันธ์ในเชิงครอบครัว เช่น ปู่ย่า ตายาย ญาติพนี่ อ้ ง เป็นต้น บุคคลเหล่านีม้ ที งั้ การรับภาระด้วยความรัก ความ เต็มใจ ความจ�ำยอมไม่มีทางเลือก แต่พ่อแม่ก็ต้องส่งเสียเลี้ยงดูเด็ก พ่อแม่อาจม่ีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเด็ก มา เยี่ยมเยียน ได้เจอเด็ก หรือ แทบไม่ได้ดูแลเด็กเลย แต่ในบางรูปแบบพ่อและหรือแม่อาจไม่ต้องการเด็ก ทอด ทิ้งพวกเขาอย่างถาวร จริงจัง ทั้งรูปแบบที่ยังอยู่กับเด็กแต่ละเลยเด็ก รูปแบบที่หนีหายไปเลย ปล่อยให้เด็กต้อง เผชิญหน้ากับปัญหาความไม่เป็นที่ต้องการอย่างรุนแรง อาจถูกท�ำร้าย ข่มขืน และผลักเด็กให้เข้าสู่สถานบริการ ของภาครัฐ บางรูปแบบพ่อหรือแม่อาจเสียชีวิต ติดเหล้า ติดยา บางรูปแบบพ่อหรือแม่หรือผู้ดูแลเด็กใช้เด็ก เเป็นเครือ่ งมือในการแสวงหาผลประโยชน์ บางรูปแบบเด็กถูกทอดทิง้ จนต้องท�ำมาหากินเพือ่ เลีย้ งตนเอง เป็นต้น

บทที่ 4 ผลการศึกษา

103


ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นท�ำให้ต้องตั้งค�ำถามว่า ท�ำไมแม่ถึงต้องทอดทิ้งลูกๆของเธอ จริงอยู่ที่แม่เหล่านี้ก็ ไม่ได้ต้องการลูกมาตั้งแต่ต้น แต่เมื่อผ่านพ้นการอุ้มท้องจนกระทั่งเห็นหน้าลูก มีเหตุการณ์และความจ�ำเป็น หรือเรื่องราวเป็นอย่างไร พ่อแม่จึงต้องทิ้งลูกไปท�ำงานและให้ลูกอยู​ู่กับไปู่ย่าตายายหรือญาติเป็นเวลานานๆ โดยไม่มีโอกาสกลับมา บริบททางสังคมของการทอดทิ้งเด็ก คือ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม เนื่องจากระบบเศรษฐกิจ แบบอุตสาหกรรมทุนนิยมโลก ได้เปลีย่ นไปจากการเกษตรกรรมทีก่ ารผลิต และบริโภคทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีข่ องครอบครัว และชุมชน ให้ย้ายไปการอุตสาหกรรมและบริการในเมือง โดยการท�ำให้แรงงานเกษตรกรรมที่ผลิตเพื่อบริโภค และไม่ต้องใช้เงินหรือใช้เงินสดมาก มาเป็นระบบเกษตรกรรมแบบเงินสดมาก แต่เป็นระบบเกษตรกรรมที่ได้ เงินสดน้อยหรือมีต้นทุนสูง ซึ่งท�ำให้ผู้ผลิตมีรายได้น้อยไม่พอใช้ และสังคมเกษตรแบบเงินสดนั้นยังต้องใช้เงินสด มากเพื่อให้ครอบครัวด�ำรงชีวิตได้ เกษตรกรจึงต้องทิ้งไร่นาเข้าไปหางานท�ำในเมือง โดยเริม่ จากแรงงานชายหรือสามีไปท�ำงานก่อน แต่งานในเมืองก็เป็นงานทีเ่ อาเปรียบแรงงานจากชนบท เน่ื่องด้วยเป็นงานที่รายได้ต�่ำ ไม่มั่นคง ไม่ท�ำให้มีรายได้ไม่พอเลี้ยงลูกในเมืองแต่ต้องส่งลูกกลับมาบ้านเกิดหรือ ถิ่นฐานเดิม ผลที่ตามมาคือ สถาบันครอบครัวเริ่มอ่อนแอลง เพราะพ่อของเด็กต้องแยกไปอยู่ในเมือ งและทิ้งให้ ภรรยาและลูกอยู่บ้าน แต่ค่าแรงของสามีหรือพ่อก็ไม่ได้มากพอที่จะเลี้ยงลูก รวมทั้งความต้องการของภรรยาที่ จะต้องอยู่ใกล้กับสามี ภรรยาจึงย้ายไปในเมืองเพื่ออยู่กับสามี และท�ำงานหาเงินส่งมาเลี้ยงลูก อีกนัยหนึ่ง ครอบครัว คือ สามีและภรรยาอาจมีความใกล้ชิดกันและมีความมั่นคงมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันลูกถูกทอดทิ้งให้ อยู่ในชนบทกับปู่ย่าตายายที่อายุมาก และยากจน หรือ หากภรรยาไม่ได้ย้ายตามสามีไปท�ำงานในเมือง ก็ท�ำให้ เกิดปัญหาหย่าร้าง นอกใจ ก็ทำ� ให้ภรรยา กลายเป็นแม่เลีย้ งเดีย่ ว ทีต่ อ้ งรับผิดชอบ ท�ำมาหากิน และเข้าไปท�ำงาน ในเมืองและต้องทอดทิง้ ลูกในทีส่ ดุ เช่นกัน และนัน่ คือ อีกรูปแบบหนึง่ ของความอ่อนแอของครอบครัวและสังคม ในปัจจุบัน ดังมีรายละเอียดดังนี้คือ 1. ลักษณะของงาน อาชีพ บังคับให้พ่อแม่ทอดทิ้งลูก 2. รายได้จากสามีคนเดียวไม่พอใช้จ่าย หรือ การเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวท�ำให้ต้องทิ้งลูกไปท�ำงาน 3. ต้องทิ้งลูก เพราะการอยู่บ้าน ท�ำไร่ท�ำนา ในชนบท ไม่สามารถท�ำเงินได้พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง 4. ตัวตน ความต้องการของแม่ที่ถูกกดทับกท�ำให้ต้องทอดทิ้งลูก

104

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


1. ลักษณะของงาน อาชีพ บังคับให้พ่อแม่ทอดทิ้งลูก ลักษณะงานในระบบทุนนิยมโลก ทัง้ ในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการนัน้ เป็นงานทีไ่ ม่มนั่ คงเนือ่ งจาก เป็นการจ้างงานที่ต้องการแรงงานไร้ทักษะ เป็นการจ้างแบบรายวัน เป็นการจ้างงานใช้รายได้พื้นฐานต�่ำเป็น ก�ำหนดอัตราค่าจ้าง นอกจากนี้ยังเป็นการจ้างที่พยายามหลีกเลี่ยงการคุ้มครองสิทธิแรงงานทางกฎหมาย เช่น การจ้างรายวัน การจ้างเหมาชิ้นงาน การจ้างงานนอกระบบ แต่ก็มีแรงงานบางส่วนที่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ แรงงานตามกฎหมาย มีระบบประกันสังคม ส�ำหรับระบบงาน ส่วนใหญ่ต้องท�ำงานล่วงเวลา และมีระบบกะ แรงงานไม่สามารถเลือกงานได้ ไม่มีวันหยุด หรือ วันหยุดก็ต้องท�ำงาน ซึ่งเป็นลักษณะงานและการจ้างงานที่ไม่ เป็นธรรม แต่จ�ำเป็นต้องท�ำเพราะไม่สามารถหางานอื่นที่ดีกว่านี้ ดังนั้นด้วยวิถีชีวิตและการท�ำงานในระบบ ทุนนิยม แรงงานจึงแทบไม่สามารถน�ำลูกไปอยู่กับตนและเลี้ยงลูกด้วยตนเองได้ โดยเฉพาะแรงงานที่มีพื้นเพ บ้านเกิดซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกับสถานที่ท�ำงาน แต่ต้องส่งลูกกลับไปถิ่นเกิด หรือ ทิ้งลูกไว้กับญาติพี่น้อง ในบ้านเกิดของตน 1.1. ธุรกิจส่วนตัว ท�ำให้ต้องทิ้งลูก ส�ำหรับครอบครัวชั้นกลาง ที่มีกิจการขนาดเล็กเป็นของตนเองนั้น อาจมีความแตกต่างในวิถีชีิวิต และ การท�ำงานกับแรงงานไร้ทักษะทั่วไปอยู่บ้าง คือ ธุรกิจของเขาหรือครอบครัวนั้น ต้องการดูแลใกล้ชิด หรือใช้ เวลาในการท�ำงานค่อนข้างสูง เสี่ยงต่อการขาดทุน ท�ำให้มีความห่วงใยธุรกิจสูงกว่าความห่วงลูกที่เพิ่งให้ก�ำเนิด แม่จึงจ�ำเป็นต้องทอดทิ้งลูกให้ไปดูแลกิจการของตัวเองตั้งแต่ลูกอายุสองเดือน ไม่สามารถให้นมแม่แก่ลูก ต้อง ให้ลูกกินนมผงส�ำเร็จรูปแทนนมแม่ “ลูกคนที่สอง พี่ก็เลี้ยงลูกอยู่ที่บ้าน พอเค้าได้ 2 เดือน พี่ก็กลับมาขึ้นมาท�ำงานที่กรุงเทพ เพราะตอนนั้น พี่กับแฟนก็มีกิจการเป็นของตัวเองก็คือ ร้านขายของที่พี่สาวแฟนยกให้ ซึ่งเราก็ต้องมาบริหารจัดการกันเอง พอพี่ เลี้ยงลูกกะว่าเค้าสามารถทานนมชงได้ พี่ก็ฝากเค้าไว้กับยายเลย เพราะก็เป็นห่วงร้านด้วย กลัวว่าแฟนจะดูแลไม่ ได้” คุณติ๊ก

1.2. สามี ภรรยา เปลี่ยนงาน มีรายได้เพิ่มขึ้นแต่ความรับผิดชอบสูงขึ้น จนเลี้ยงลูกเองไม่ได้ ส�ำหรับครอบครัวที่ได้บรรจุให้เป็นพนักงานที่มีความมั่นคง ลักษณะของงานบางงาน เช่น งานที่ต้อง เดินทางออกนอกสถานที่ท�ำงานท�ำให้ไม่สามารถควบคุมเวลาการท�ำงาน งานกะ งานที่ไม่มีเวลา วันหยุดที่ แน่นอน ความไม่ก้าวหน้า งานที่ไม่มั่นคง ไม่ถาวร ประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคกับการเลี้ยงลูก ดังนั้นพ่อ แม่ที่ท�ำงานซึ่งมีปัญหาเช่นนี้ จ�ำเป็นต้องส่งลูกกลับไปอยู่ที่บ้านในชนบท

บทที่ 4 ผลการศึกษา

105


กรณีคุณพิศ เธอและสามีเปลี่ยนงาน คุณพิศลาออกจากการท�ำงานในโรงงานอุตสาหกรรมมาเป็น พนักงานส่งของตามบ้าน ส่วนแฟนก็เปลี่ยนไปท�ำงานเป็นพนักงานขับรถขนเงินซึ่งต้องมีความรับผิดชอบสูง ทั้ง คู่มีเงินรายได้มากขึ้น มีความมั่นคงทางอาชีพการงานในครอบครัวมีมากขึ้น แต่ก็ต้องเอาลูกกลับฝากตากับยาย ให้เลี้ยงให้เนื่องจากไม่มเวลาและเงื่อนไขการท�ำงานไม่เหมาะสม “ตอนนี้แฟนพี่เค้าก็เป็นหัวหน้างาน ท�ำงานบริษัทขนเงิน ความรับผิดชอบเค้าก็สูง ส่วนพี่ก็เปลี่ยนงานมา เป็นขับรถส่งนม รายได้ก็ได้มากขึ้น” คุณพิศ

1.3. ต้องรีบกลับไปท�ำงานหลังคลอดเน่ื่องจากกลัวตกงาน ส�ำหรับครอบครัวที่ได้บรรจุให้เป็นพนักงานประจ�ำ ซึ่งมีโอกาสยากมาก เนื่องจากอัตราการว่างงานสูง และการแข่งขันระหว่างพนักงานสูง ท�ำให้ผู้จ้างงานมักไม่ง้อพนักงาน ดังนั้นเมื่อพนักงานลางานเพื่อคลอดลูก และเลี้ยงลูกซึ่งเป็นสิทธิ ก็มักถูกนายจ้างกดดันโดยการบอกกับแรงงานหญิงว่า จะไม่เก็บต�ำแหน่งงานไว้ให้ หาก ลานานเกินกว่ากฎหมายก�ำหนด โดยเฉพาะต�ำแหน่งพนักงานประจ�ำ จึงมีผลท�ำให้แม่ของเด็ก ต้องรีบทิ้งลูก กลับมาท�ำงาน กรณีคุณนัท เธอได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจ�ำ จึงต้องรีบกลับมาท�ำงานทันทีที่ครบก�ำหนด ทั้งที่ ตัวเธอเองและเครือญาติ ต่างอยากจะให้อยู่เลี้ยงดูลูกอย่างใกล้ชิดก่อน แต่ก็ไม่สามารถท�ำได้เพราะกลัวว่าจะ ตกงาน “เลี้ยงไม่ได้หรอกพี่ เพราะหนูต้องท�ำงาน ตอนแรกป้าๆ แม่ๆ เค้าก็บอกว่าให้ลาออกจากงานนี้ก่อนก็ได้ ไปเลี้ยงลูกก่อน แต่หนูมองว่า งานเดี๋ยวนี้มันหายาก แล้วงานที่ท�ำอยู่ หนูก็ได้ท�ำเป็นพนักงานประจ�ำแล้วก็ คือ ถ้า ออกแล้ว ก็ไม่รู้จะได้งานใหม่ท�ำเมื่อไหร่” คุณนัท

1.4. ที่ท�ำงานกับบ้านอยู่ห่างไกลกันมาก ไม่สามารถฝากเลี้ยง ต้องให้น้าเลี้ยงให้ ส�ำหรับผู้ที่มาท�ำงานในเมืองและมีลูกนั้น มีความยากล�ำบากในการเลี้ยงลูกมาก เนื่องจากบ้านพักและ ที่ท�ำงานห่างไกลกัน การจ้างคนเลี้ยงลูก หรือ การฝากลูกไว้กับสถานที่เลี้ยงเด็ก แทบเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าพ่อ แม่ไม่สามารถกลับมาดูแลหรือกลับมารับลูกได้ทันตามเวลาที่ก�ำหนด

106

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


กรณีคุณสาว เธอคลอดลูกในกรุงเทพฯ และอยากเลี้ยงลูกเองโดยการจ้างพี่เลี้ยงช่วยเลี้ยงลูกให้ ซึ่งก็ หาพี่เลี้ยงยาก แต่หากจะเอาลูกไว้สถานรับเลี้ยงเด็กก็ไม่สามารถท�ำได้ เนื่องจากระยะทางระหว่างบ้านกับที่ ท�ำงานห่างไกลกันมาก จึงต้องเอาลูกไปฝากให้น้าช่วยเลี้ยงลูกให้ ซึ่งก็ไม่เต็มใจเท่าใดนัก ต้องขอร้อง “พี่ก็พาลูกไปเลี้ยงที่บ้านที่หนองจอก ลูกทานนมพี่ได้แค่ 2 เดือน พอถึงก�ำหนดท�ำงาน ก็คือ พี่ก็ต้องมา ท�ำงาน แล้วที่ท�ำงานกับโรงงานก็อยู่ไกลกัน...พี่ก็เลยนึกถึงคนที่บ้านก็ คือ น้าพี่ที่พี่นับถือเป็นแม่ แต่ว่าพี่ก็เหมือน ต้องไปขอร้องเค้า ให้ช่วยเลี้ยงลูกให้” คุณสาว

1.5. การหาพี่เลี้ยงเลี้ยงเด็กในเมืองเป็นสิ่งที่ท�ำได้ยาก ต้องส่งไปให้แม่เลี้ยงให้ การเลี้ยงลูกเองอาจเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แต่ก็จ�ำเป็นต้องมีการจ้างพี่เลี้ยงมาดูลลูก อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนไป การหาพี่เลี้ยงมาเลี้ยงลูกเช่นเมื่อสมัยก่อนไม่สามารถท�ำได้แล้ว เนื่องจากราคาค่าจ้าง และไม่สามาร รถหาคนมาท�ำหน้าที่ได้ การส่งลูกสาวไปให้แม่เลี้ยงในต่างจังหวัดหรือบ้านเกิดจึงเป็นทางออกเพื่อจะกลับไป ท�ำงาน กรณีคุณนิด เธอต้องการเลี้ยงลูกด้วยตนเองและพยายามหาพี่เลี้ยง แต่ในที่สุดก็น�ำกลับไปให้แม่ของ เธอเป็นผู้เลี้ยง ซึ่งเหตุผลส่วนใหนึ่งก็มาจากปัญหาค่าใช้จ่าย “พอครบก�ำหนดออกจากโรงพยาบาล พี่ก็พาลูกมาเลี้ยงที่อพาร์ทเม็นท์ ก็ให้นมลูกเองได้ถึง 3 เดือน พี่ก็ กลับไปท�ำงาน ส่วนลูกพี่เอาให้ยายไปเลี้ยงที่บ้านเลย...ตอนแรกคุยกันว่าจะจ้างเลี้ยง แต่แม่พี่บอกว่า แม่เลี้ยงให้ก็ได้ เหมือนแกก็เห็นว่า พี่กับสามีตอนนั้น ก็ยังไมได้มีเงินทองมากมาย” คุณนิด

1.6. ครบก�ำหนดลาคลอดสามเดือน ก็ต้องกลับมาท�ำงาน การลาคลอดเป็นสิทธิของผู้ใช้แรงงานที่ตั้งครรภ์ แต่ผู้ประกอบการหรือนายจ้าง มักจะเข้มงวดกับการ ลาคลอด และพยายามกดดันท�ำให้ระยะเวลาการลาคลอดสั้นลงที่สุดเท่าที่จะท�ำได้หรือตามที่กฏหมายอนุญาต เท่านั้น คือ ให้ลาคลอดแค่สามเดือน กรณีคุณอ๊อฟ ซึ่งต้องรีบกลับมาท�ำงาน และไม่สามารถให้นมลูกได้จนครบเเวลา ที่ได้รับค�ำแนะน�ำ จากโรงเพยาบาล หลังจากคุณอ๊อฟคลอดลูกและเลี้ยงลูกอยู่บ้านในกรุงเทพ แม่ของเธอได้ขึ้นมาช่วยดูแล แต่แม่ ไม่สามารถอยู่ดูแลได้นาน เธอจึงตัดสินใจพาลูกและแม่ที่ขึ้นมาช่วยเลี้ยงลูกกลับบ้าน และให้แม่เป็นผู้เลี้ยงลูก ต่อไป เพื่อตนเองจะได้กลับมาท�ำงานหลังจากที่ครบก�ำหนดลาคลอด “พอได้ 2 อาทิตย์ ก็พาเค้าไปส่งไว้ที่บ้านกับยายเลย พอพี่ลางานได้ครบ 3 เดือน พี่ก็ขึ้นมาท�ำงานเลย ลูก ก็ได้ทานนมพี่แค่ช่วงแรกๆ แป๊ปเดียว เค้าก็ทานนมชง” คุณอ๊อฟ บทที่ 4 ผลการศึกษา

107


กรณีคุณเอื้อง เธอมีลูกสองคนและได้ฝากลูกของเธอไว้กับแม่หรือยายของเด็ก เพราะเธอจะต้องกลับ มาท�ำงาน และไม่สามารถเลี้ยงดูลูกทั้งสองคนของเธอได้ “พี่มีลูก 2 คน คนโต 7 ขวบ คนเล็ก 1 ขวบ พี่ก็พาลูกมาอยู่ที่ห้องก่อน แม่พี่ก็ลงมาช่วยดู ช่วยเลี้ยงลูกให้ เราอยู่ได้ 1 เดือน ก็พาลูกกลับบ้านไปเลี้ยงที่บ้าน เพื่อที่จะฝากเค้าไว้กับยาย เพราะพี่ลางานได้แค่สามเดือน ครบ เดือนที่ 3 พี่ก็กลับมา…” คุณเอื้อง

1.7. นายจ้างเร่งให้กลับไปท�ำงานระหว่างลาคลอด เพราะขาดคนท�ำงาน แม้นายจ้างจะรู้ถึงสิทธิการลาคลอดของลูกจ้างของตน แต่ก็ยังใช้วิธีการโทรมาตามให้กลับไปท�ำงาน โดยอ้างว่าขาดคน โดยไม่ค�ำนึงถึงสิทธิการลาคลอดของแม่และสิทธิของเด็กซึ่งควรได้รับ แต่ระบบเศรษฐกิจหรือ การจ้างงานก็ไม่ค�ำนึงถึงเด็กหรือไม่ต้องการเด็กเลย “ลูกคนที่สอง พี่ก็เลี้ยงเค้าได้ประมาณ 2 เดือน เค้าก็ได้ทานน�้ำนมพี่แค่ตอนนั้น แล้วพี่ก็ต้องกลับมา ท�ำงาน เพราะที่ท�ำงานโทรมาว่าขาดคน” คุณอ๊อฟ

1.8. การท�ำงานล่วงเวลาเป็นอุปสรรคกับการเลี้ยงลูก การท�ำงานล่วงเวลานั้นเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกอย่างยิ่ง พ่อแม่ท�ำงานล่วงเวลา เพื่อมีรายได้มากขึ้น หรือ อาจถูกบังคับให้ท�ำงานล่วงเวลา ซึ่งมีผลกระทบต่อการเลี้ยงลูก พ่อแม่ที่มีลูกเล็กซึ่งต้องการดูแลใกล้ชิด แต่ เลือกท�ำงานล่วงเวลาเพราะเสียดายรายได้ ครอบครัวเหล่านี้ไม่สามารถเอาลูกมาเลี้ยงด้วยตนเองในเมือง ต้อง ทิ้งลูกไว้ที่บ้านในชนบท ส่วนครอบครัวที่พยายามเลี้ยงลูกอยู่ในเมืองและต้องท�ำงานล่วงเวลา ก็จะมีปัญหา ครอบครัวหรือพ่อแม่มีเวลาให้กับลูกน้อยลง เลี้ยงลูกอย่างปล่อยปะละเลย ไม่มีเวลาให้กับลูก ซึ่งก็เป็นหนึ่งของ การทอดทิ้งลูกที่ถูกระบบการจ้างงานบังคับให้ท�ำเช่นนั้น

“ตอนนี้ พี่ท�ำงานอยู่ชลบุรี ท�ำงานโรงงาน ก็ท�ำวันจันทร์ถึงเสาร์ ถ้ามีโอทีพี่ก็ท�ำทุกวัน” คุณพิณ

1.9. การใช้เวลาท�ำงานหลายชั่วโมง เลิกงานดึก การท�ำงานล่วงเวลาเป็นการแย่งเวลาของครอบครัวหรือเวลาของลูกอยู่แล้ว แต่การท�ำงานนอกเวลา ที่เลิกงานดึกมาก ยิ่งเป็นการที่งานบังคับให้แม่ต้องทอดทิ้งลูก งานในสังคมสมัยใหม่อาจเป็นงานที่ท�ำกลางคืน ด้ว ยโดยเฉพาะงานภาคบริการ งานเช่นนี้ค่อนข้างขัดแย้งกับบทบาทของแม่ที่พยายามจะเลี้ยงลูกด้วยตนเอง 108

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


ซึ่งต้องอาศัยการบริหารจัดการอย่างมาก เช่น การจ้างพี่เลี้ยงดูแลลูกสาวให้ช่วงที่เธอไปท�ำงาน และเลิกงาน แล้วเธอจึงไปรับลูกเธอกลับมา การท�ำเช่นนี้หนักเกินความสามารถที่แม่จะรับมือไหว ดังนั้นจึงต้องส่งลูกไปให้ พ่อแม่หรือญาติช่วยเลี้ยง “ส่วนพี่ท�ำงานเลิกมาเที่ยงคืน ตีหนึ่งก็ยังต้องกลับมาอาบน�้ำ ไปรับลูกอีกที่ฝากป้าเลี้ยงไว้ กลับมานอน ได้สักพัก ก็ต้องตื่นไปท�ำงาน คือ พี่ก็เริ่มไม่ไหว จนลูกได้ประมาณ 8-9 เดือน พี่ก็ไม่ไหวทั้ งค่าเช่าบ้าน ค่านมลูก ค่า เลี้ยงลูก” คุณเต่า

1.10. การไปท�ำงานเมืองนอกของสามี ท�ำให้แม่ต้องส่งลูกคนหนึ่งไปให้ย่าเลี้ยง อีกคนไปให้ยายเลี้ยง การที่สามีได้งานท�ำที่ต่างประเทศ และต้องทิ้งครอบครัวไป การเลี้ยงลูกตกเป็นภาระของแม่เพียงคน เดียว เป็นเรื่องยาก ดังนั้นแม่ของเด็กต้องแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูก โดยการส่งลูกคนหนึ่งให้ย่าเลี้ยง และส่งลูกอีก คนหนึ่งส่งให้ยายเลี้ยง เพื่อที่จะยังสามารถท�ำงานต่อไปได้ “ช่วงทีพี่คลอด แม่พี่ก็ขึ้นไปเฝ้าไปเลี้ยงเด็กพวกนี้ ช่วยนะ ทีนี้พ่อเค้าก็มาได้งานที่จะไปท�ำที่เมืองนอก ก็ เลยต้องเอาลูกชายไปให้ย่าเลี้ยง ส่วนลูกสาวก็เอามาให้ยายเลี้ยง” คุณไล

1.11. แฟนใหม่ชาวต่างประเทศ ชักชวนไปท�ำงานที่พัทยา การท�ำงานที่ได้ค่าจ้างสูง มีงานและชีวิตที่น่าตื่นเต้น ท�ำให้แม่ที่เลี้ยงลูกยังเล็ก ตัดสินใจกลับไปท�ำงาน เพื่อโอกาสในการเปลี่ยนแปลงชีวิต มีความสุข แม่เลี้ยงเดี่ยวจึงตัดสินใจทิ้งลูกสาวไว้กับแม่ของตนเอง และกลับ ไปท�ำงาน กรณีคุณแฟนต้า เธอเลี้ยงลูกคนที่สองได้ไม่นาน จึงตัดสินใจฝากลูกไว้กับยาย เพราะแฟนของเธอซึ่ง เป็นชาวต่างประเทศชวนเธอมาท�ำงานที่พัทยา และเธอเองก็อยากกลับมาท�ำงานที่พัทยาและฝากลูกไว้กับแม่ “ให้นมลูกเองเกือบปี เราอยากท�ำงาน อยากกลับมาอยู่ที่พัทยา แล้วเหมือนอยู่บ้าน แม่เราก็เลี้ยงลูกเรา เป็นหลักมากกว่าเราอยู่แล้ว ทีนี้แฟนเค้ากลับไปต่อพาสปอร์ตเสร็จ เค้าก็เหมือนชวนเรากลับมาท�ำงานที่พัทยาอีก เราก็เลยฝากลูกไว้กับแม่ในตอนนั้นเลย” คุณแฟนต้า

บทที่ 4 ผลการศึกษา

109


1.12. ก�ำลังดูใจกับชายชาวเยอรมัน แม้กลัว แต่ก็เสี่ยงท�ำเพราะภาระ การดิ้นรนทางด้านการงานและการเงิน เพื่อส่งมาเลี้ยงลูก เป็นหน้าที่ของแม่ซึ่งทิ้งลูกไว้ที่บ้านกับยาย การดิ้นรนในเรื่องนี้ พวกเธอไม่สามารถเลืิอกงาน แม้บางอาชีพจะถูกเดียดฉันท์ แต่ถ้าสามารถท�ำให้มีงาน มีเงิน แม่ก็พร้อมที่จะเสี่ยง กรณีคุณเต่า เธอท�ำงานเป็นสาวเสิร์ฟในบาร์ฝรั่งที่พัทยา เพื่อหาเงินส่งเสียลูกทั้ง 3 คน และก�ำลังดูใจ กับชายชาวเยอรมัน ซึ่งที่เธอก�ำลังตัดสินใจที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่กับเขาที่ต่างประเทศ เธอก็ไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็น อย่างไร แต่เธอก็ยอมเสี่ยงเพื่อส่งเงินมาเลี้ยงลูก “พี่ก็มาท�ำงานที่พัทยา บาร์ฝรั่งแถวพัทยา ย้ายมาท�ำที่นี้ได้ 3 ปี แล้ว ส่วนสามีก็เลิกรากันแล้ว ก็ยังไม่มี ครอบครัวใหม่ แต่ว่าก็ก�ำลังดูใจอยู่กับแฟนฝรั่งคนเยอรมันอยู่ เค้ามาเที่ยวเมื่อปลายปีก่อน เค้าก็ส่งเงินให้พี่ใช้ เค้าก็ รู้นะว่าพี่มีครอบครัว มีลูกแล้ว แต่เค้าก็ไม่ได้รังเกียจ ...ถามว่าพี่กลัวไหมกับการที่จะเริ่มต้นใหม่ในครั้งนี้ พี่ก็กลัวนะ กลัวว่าจะผิดหวังอีก แต่พี่ก็ต้องท�ำแหละเพื่อลูกเพราะว่ามองมาข้างหลัง ภาระเราก็มีอีกมาก แต่ถ้าเราไม่ไปไม่เดิน หน้าต่อ ลูกเราจะอยู่จะกินอย่างไร พี่ก็คงจะไปอยู่กับเค้าแล้วส่งเงินมา” คุณเต่า

1.13. แฟนใหม่ชวนไปท�ำงานที่กรุงเทพ การมีแฟนหรือสามีใหม่ ก็เป็นเหตุส�ำคัญเหตุหนึ่ง ที่ท�ำให้แม่เลี้ยงเดี่ยวตัดสินใจทิ้งลูกไว้กับแม่ของเธอ กรณีคุณตาม เธอคลอดลูกและอยู่ดูแลเลี้ยงดูจนลูกชายอายุได้ขวบกว่า และระหว่างที่เธอเลี้ยงลูกอยู่ ที่บ้าน เธอก็ได้พบรักกับแฟนคนที่สอง ซึ่งคบหากันได้ไม่นานก็ตัดสินใจที่จะเข้ามาท�ำงาน อยู่กินกับแฟนคนที่ สองของเธอ “พี่ก็เลี้ยงเค้าอยู่เกือบปี เค้าก็ทานนมพี่จนขวบกว่าเลย แล้วพี่ก็ปล่อยให้ยายเลี้ยงเลย พี่ก็เข้ามาท�ำงาน ในกรุงเทพ พี่ก็คิดว่าลูกพี่เริ่มโตแล้ว พอที่จะให้เค้าอยู่กับยายได้แล้ว บ้านพี่ก็ไม่ได้มีเงินทองมากมาย ยากจนด้วยซ�้ำ แล้วก็มาประกอบกับที่พี่มาเจอสามีคนที่สองพอดี ก็เลยตัดสินใจเข้ามาท�ำงานในกรุงเทพทั้งคู่เลย แฟนเค้าบอกว่า เค้าจะเข้ามาขับแท็กซี่ พี่ก็ไปท�ำงานร้านอาหาร” คุณเตาม

1.14. การท�ำงานแบบหาเช้ากินค�่ำ ท�ำให้ไม่สามารถเลี้ยงลูกเองได้ ลักษณะอาชีพที่ไม่มั่นคง รายได้ไม่มากนัก ฐานะทางเศรษฐกิจก็ไม่ได้ดี อาจเรียกว่า ท�ำงานหาเช้ากินค�่ำ ท�ำให้ต้องดิ้นรนท�ำมาหากินไปเรื่อยๆ การเอาลูกไปอยู่ด้วยก็เป็นอุปสรรค จึงฝากตาและยายช่วยเลี้ยงลูกให้ กรณีคุณนุช ปัจจุบันคุณนุชมีลูกสาว 1 คน ซึ่งเธอและสามีก็ไม่ได้เลี้ยงดูลูกเอง เพราะภาระหน้าที่ทาง 110

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


ด้านการงาน เธอจึงตัดสินใจฝากลูกไว้กับแม่ที่ต่างจังหวัด ตั้งแต่ยังเล็กจนถึงปัจจุบัน “พี่มีลูก 1 คน ลูกสาวพี่ก็ 4 ขวบแล้วนะ พี่ก็อยากเลี้ยงลูกเองนะ แต่ด้วยภาวะทางการเงินของบ้านพี่ ก็คือยังไงหล่ะ พี่ไม่ได้ร�่ำรวยขนาดที่ว่านั่งเลี้ยงลูกเฉยๆ แต่ก็ยังมีเงินทองให้ใช้ไม่ขัดสน แต่นี่พี่ก็ท�ำงานหาเช้ากินค�่ำ ก็เลยมีความจ�ำเป็นที่พี่จะต้องฝากลูกไว้กับตาและยาย ส่วนแม่พี่เค้าก็ดี เค้าเข้าใจ ส่วนที่พี่เอาภาระไปให้เค้า เค้าก็ บอกว่าท�ำงานไป แล้วก็ส่งเงินมาก็พ ท�ำงานกันไปตราบที่เรายังมีก�ำลัง พี่เองก็อยากท�ำงานอยากหาเงินอยากเก็บ เงินเพื่อครอบครัว” คุณนุช

1.15.การทิ้งลูกขึ้นมาสร้างเนื้อสร้างตัวที่กรุงเทพ กการที่ครอบครัวใหม่ของหนุ่มสาว ซึ่งเพิ่งจะเริ่มต้นสร้างธุรกิจของตนในกรุงเทพนั้นเป็นเรื่องที่ดี ดัง นั้นครอบครัวจึงทิ้งลูกไว้กับพ่อแม่ที่บ้านเดิม อย่างไรก็ดี อายุ เงินทุนหมุนเวียน และการไม่มีประสบการณ์ ที่ไม่ เพียงพอ ท�ำให้ธุรกิจขาดทุน มีการทะเลาะระหว่างสามีภรรยา และเป็นเหตุผลในการแยกทางกันเดิน หรือการ ทอดทิ้งลูกในภายหลัง กรณีคุณติ๊ก เธอทิ้งลูกทั้งสองไว้กับพ่อแม่ มาท�ำงานที่กรุงเทพทั้งคู่ เริ่มมีกิจการเป็นของตัวเอง ด้วย ความที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการท�ำร้านอย่างเต็มตัว ก็มีปัญหาการบริหารจัดการ และปัญหาเงินทุนไม่พอ เมื่อแก้ปัญหาไม่ได้ มีเรื่องทะเลาะกัน จนต้องเลิกกิจการและกลับบ้านและกลับมาอยู่กับลูก “ตอนนั้นก็ช่วยกันท�ำร้านนี่แหละ แต่เหมือนกับพี่ยังเด็ก ส่วนแฟนพี่เค้าก็ยังวัยรุ่น พอเราออกมาท�ำร้าน เอง มันก็มีงานอะไรหลายอย่างที่ต้องบริหารจัดกา รพอท�ำกันเอง ไม่มีคนช่วยไปได้สักพัก ก็เหมือนจะไม่รอด เริ่ม ไม่มีเงินทุนมาหมุน จัดการอะไรไม่ได้เหมือนกับว่า พี่ก็ยังไม่มีประสบการณ์พอ ปัญหาเริ่มเข้ามามากๆ เราก็จัดการ ปัญหากันไม่ได้ ก็เริ่มทะเลาะกันจากเรื่องเล็กๆก็สะสมมาจนกลายเป็นเรื่องใหญ่ สุดท้ายพี่ก็ต้องคืนร้านให้พี่ แล้วก็ กลับมาอยู่ที่บ้านทั้งสองคน” คุณติ๊ก

2. ครอบครัวในยุคทุนนิยม ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น ท�ำให้ต้องทอดทิ้งลูก ลักษณะงานต่างๆ ที่ไม่แน่นอน ไม่มีความมั่นคง รายได้น้อย ท�ำให้เกิดปัญหาการต้องทอดทิ้งลูก แม้ บางคนจะอยากกลับบ้าน หรือ กลับมาบ้านเพื่อเลี้ยงดูลูก แต่ก็ไม่สามารถท�ำได้นาน ท�ำให้แม่ต้องกลับไปท�ำงาน ในเมืองอีกครั้ง และต้องทอดทิ้งลูก เนื่องด้วยรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย หรือ สามารถด�ำรงชีวิตครอบครัวใน สังคมโลกาภิวัตน์ ที่มีการบริโภคสูง รวมถึงบางรายอาจมีปัญหาครอบครัว ท�ำให้ต้องรับภาระดูแลมากยิ่งขึ้น เช่น กรณีแม่เลี้ยงเดี่ยว การทอดทิ้งลูกจึงกลายเป็นความจ�ำเป็น เพื่อเป้าหมายว่า จะม่ีชีวิตที่ดีกว่า มีกิน มีใช้ มี อนาคตมากขึ้น

บทที่ 4 ผลการศึกษา

111


2.1. รายได้จากสามีคนเดียวไม่พอใช้จ่าย หรือ การเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวท�ำให้ต้องทิ้งลูกไปท�ำงาน รายได้จากการท�ำงานของสามีคนเดียว ไม่พอที่จะเลี้ยงลูก โดยเฉพาะเมื่อลูกเริ่มโตขึ้น กรณีคุณฝน เธอต้องการเงินเนื่องด้วยรายจ่ายเพิ่มมากขึ้น สามีหาเงินคนเดียวไม่พอใช้ และลูกก็ไม่ ต้องการนมจากเธออีกแล้ว จึงกลับไปท�ำงานค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูกที่โตมากขึ้น “พอพี่คลอดพี่ก็เลี้ยงลูกเองจนเค้าได้ 7-8 เดือน พี่ก็เอาเค้าไปฝากไว้กับปู่ย่าแล้ว พี่ก็ย้ายออกมาจากบ้าน พี่ชายไปอยู่กับแฟนเหมือนเดิม แล้วพี่ก็เริ่มเข้าไปท�ำงานที่เดิมอีกครั้ง พอลูกเริ่มโต รายจ่ายมันก็มากขึ้นนะ แฟนพี่ ท�ำคนเดียว เงินมันก็เหมือนไม่พอที่จะมาใช้จ่าย พี่ก็เลยคิดว่าถ้าพี่กลับไปท�ำงานก็จะได้ช่วยกันมากยิ่งขึ้น ในส่วนนี้ แล้วลูกก็ไม่ยอมดูดนมพี่ไม่รู้เพราะอะไร”คุณฝน

กรณีคุณส้ม หลังจากลาออกมาเลี้ยงลูกจนครบหกเดือนแล้ว พบว่า รายได้จากสามีคนเดียวไม่พอใช้ เพราะค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น คุณส้มก็อยากที่จะออกไปท�ำงานเพื่อหารายได้มาใช้จ่ายในบ้าน เธอจึงตัดสินใจที่จะ หาคนช่วยดูแลลูกให้กับเธอโดยการจ้างพี่เลี้ยง แต่สุดท้ายเธอจึงต้องโทรตามพี่สาวแฟน มารับลูกชายของเธอไป เลี้ยงและดูแลให้ที่ล�ำปาง “พี่ก็เลี้ยงลูกจนเค้าได้ 6 เดือน ก็เริ่มไม่ไหวแล้ว ค่าใช้จ่ายมันมากขึ้น ไหนจะค่ารถ ค่าบ้าน ค่าใช้จ่าย ภายในบ้าน ค่ากินของลูก คือ แค่สามีพี่หาคนเดียวไม่เพียงพอแล้ว ในตอนนั้นพี่ก็ต้องดึงเงินที่เราเก็บออกมาใช้ ก็ เลยไม่ไหวแล้ว ต้องออกไปท�ำงาน ตอนแรกก็ว่าจะจ้างเค้าเลี้ยงที่คอนโด ไม่ได้คิดว่าจะเอาเค้าไปไว้ต่างจังหวัด หรอก พอเราจ้างเค้าเลี้ยง เค้าก็บอกว่าเด็ก 6 เดือน ไปไหนมาไหนก็ต้องอุ้มตลอด ต้องดูแลตลอด เค้าก็เลยไม่อยาก จะเลี้ยงให้เรา เค้าก็เลยเลี้ยงไว้ให้พี่แค่วันเดียวเท่านั้น พี่ก็เลยตัดสินใจโทรตามป้า ก็คือพี่สาวแฟนให้ขึ้นมารับหลาน ไป เค้าก็อยากเลี้ยงหลาน พอดีเค้าก็เอาลูกเราไปเลี้ยงตั้งแต่ตอนนั้นเลย ตอนนี้เลี้ยงอยู่ที่ล�ำปาง” คุณส้ม

กรณีคุณไล สามีืท�ำงานคนเดียว รายได้ไม่พอจ่ายค่าบ้าน ค่ารถ ค่าลูก จึงต้องพาลูกกลับมาฝากตากับ ยายเลี้ยง เพราะภาระทางบ้านเพิ่มมากขึ้น และต้องกลับไปท�ำงานช่วยแฟน “พอคลอดได้ 14 วัน ก็เอาลูกขึ้นไปเลี้ยงที่กรุงเทพด้วย พี่ก็ไม่ได้กลับไปท�ำงานเลยนะ คือเลี้ยงลูกอย่าง เดียวลูกทานนมแม่ 9-10 เดือน ส่วนสามีก็ท�ำงานหาเงินอยู่คนเดียว คือ ภาระก็เยอะ ไหนจะลูก ไหนจะรถ ไหนจะ บ้าน ก็เลยตัดสินใจว่า จะกลับไปท�ำงานช่วยสามีอีกครั้ง” คุณไล

112

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


2.2. การไม่มีงานท�ำและไม่มีรายได้ช่วงท้องจนคลอดลูก ท�ำให้อยากท�ำงาน การไม่มีงานท�ำช่วงท้องจนคลอด มีผลท�ำให้รู้สึกว่าตนเองไม่มีรายได้เป็นเวลาหลายเดือน ความรู้สึกนี้ ควบคู่กับการรู้สึกว่าค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูกเริ่มสูงขึ้น ท�ำให้แม่ต้องรีบทิ้งลูกไปท�ำงาน “ตอนที่เราท้องจนถึงคลอดลูก เรายังไม่ได้ท�ำงานเลย แต่พอหลังจากที่เราคลอดลูก เราก็ได้งานท�ำเป็น สาวเชียร์เบียร์ตอนกลางคืน แล้วพอท�ำมาได้สักพัก พอลูกได้ขวบกว่าๆ เราก็มาได้งานท�ำ เป็นแอดมินที่ท�ำอยู่ตอนนี้ ก็ท�ำงานควบกันเช้าเย็น เพราะค่าใช้จ่ายก็เริ่มสูงขึ้น ลูกก็เริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ” คุณแมว

2.3. แม่เลี้ยงเดี่ยว จ้างเลี้ยงก็ไม่ไหว เลยให้ลูกอดนม หางานท�ำ การที่แม่เลี้ยงเดี่ยว ไม่มีงาน ไม่มีรายได้ ในขณะก�ำลังเลี้ยงลูกในวัยทารก จึงไม่สามารถจ้างคนเลี้ยงได้ ท�ำให้แม่ทั่วไปรวมทั้งแม่เลี้ยงเดี่ยวต้องทิ้งลูก และไปหางานท�ำในพื้นที่ที่มีงานที่มีรายได้ดี กรณีคุณหลา เธอมีลูกชายหนึ่งคนวัย 6 ขวบ ซึ่งตอนนี้ถูกเลี้ยงดูโดยแม่ของเธอที่ต่างจังหวัด ซึ่งตอนนี้ เธอท�ำงานเป็นผู้ช่วยสัตวแพทย์ที่โรงพยาบาลสัตว์และส่งเสียเงินกลับบ้านเพื่อให้แม่ของเธอใช้เป็นค่าใช้จ่ายใน การเลี้ยงดูลูกของเธอ “เรามีลูกชายคนหนึ่งตอนนี้อยู่อนุบาล 1 ก็ประมาณ 6 ขวบ ก็อยู่กับแม่เราที่ต่างจังหวัด…เราก็เลี้ยงลูก เองจนเค้าได้ 1 ปี กับอีก 6 เดือน เราก็เริ่มไม่ไหวแล้วคือ เราก็อยากท�ำงาน อยากมีเงินเก็บ แล้วก็คือเราก็เลี้ยงลูกอยู่ คนเดียว จะไปจ้างเลี้ยงก็ไม่ไหว เราก็เลยเอาลูกออกนม แล้วก็เอาลูกมาทิ้งไว้กับแม่เลย”คุณหลา

2.4. การเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่ต้องกลับไปท�ำงานเพื่อหาเลี้ยงตนเองและลูก ผู้หญิงที่ลาออกจากงาน ไปมีครอบครัว มีลูก เลี้ยงลูก แต่เมื่อมีปัญหาหย่าร้างแยกทางกับสามี กลาย เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวได้รับความเดือดร้อนทางด้านการเงิน ไม่มีทิศทางกับชีวิต แต่เมื่อปรับตัวได้ แม่เลี้ยงเดี่ยวเหล่า นี้ก็จ�ำเป็นที่จะต้องสู้กับชีวิตพร้อมลูกต่อไป ต้องทิ้งลูกไว้ให้ยายเลี้ยง กลับไปท�ำงานเลี้ยงตัวเองและลูก “พี่ก็ล้มไปอยู่พักหนึ่ง ท�ำอะไรไม่ได้ เพราะติดต่อเค้าไม่ได้ ถามว่าพี่เสียใจนะ คือ ก็ไม่รู้ว่าตัวเองจะท�ำ อย่างไร ถึงจะเลี้ยงลูกคนเดียวได้ หรือ จะยังไงดี ก็คิดอยู่หลายอย่าง พี่ก็อยู่บ้าน หาอะไรท�ำ ก็ขายกล้วยทอดอยู่พัก หนึ่งพอได้เป็นรายได้เข้ามาในบ้าน พอลูกสาวคนเล็กได้ 2 ขวบ พี่ก็จับแกออกนม แล้วก็กลับมาท�ำงานโรงงานด้าย เหมือนเดิม แล้วเจ้านายเก่าก็กลับมาจากเมืองนอก เค้าก็บอกกับพี่ว่า ให้กลับมาท�ำงาน แล้วก็ไม่ต้องคิดมาก เค้าจะ ช่วยเราเอง ก็คือให้เรามาท�ำงานอยู่ฟรี กินฟรี เงินเดือนที่ได้ก็ส่งให้ลูก” คุณหน่อย บทที่ 4 ผลการศึกษา

113


2.5. ค่าใช้จ่ายในครอบครัวที่สูงและรายได้ที่น้อย ท�ำให้พ่อจ�ำเป็นต้องจากลูกไปหาเงิน ในอดีต การทิ้งลูกทิ้งครอบครัว หรือ ทิ้งบ้านไปท�ำงานต่างจังหวัด โดยเฉพาะครอบครัวที่มีลูกเล็ก จะ เกิดขึ้นมากในกรณีมีวิกฤติ เช่น ความแห้งแล้ง เกิดโรคระบาด เป็นต้น แต่ปัจจุบันครอบครัวในชนบท ถูกบังคับ ให้ทิ้งบ้านเพราะค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูกที่สูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกินความจ�ำเป็นต่างๆ อาทิ ค่าอาหารเสริม ผ้า อ้อม ตลอดจนค่าน�้ำ ค่าไฟฟ้า และอื่นๆ ท�ำให้ครอบครัวที่สร้างใหม่หรือฐานะไม่ดี ไม่สามารถที่จะจ่ายค่าใช้จ่าย เหล่านี้ ได้ การให้พ่อออกไปหางานท�ำต่างจังหวัด หรือในกรุงเทพเป็นทางเลือกของครอบครัว เพื่อรองรับกับค่า ใช้จ่ายของครอบครัวที่เพิ่มมากขึ้น ไปพร้อมกับการเติบโตของลูกที่ต้องใช้เงินเพิ่มขึ้น

“บ้านหลังนี้ หนูอยู่กับลูกชายสองคนนี่แหละพี่ แฟนหนูไปท�ำงานเป็นช่างซ่อมรถที่กรุงเทพ อยู่บ้านวัน หนึ่งๆ ก็ซักผ้าวันเว้นวัน หุงแต่ข้าวแล้วก็ซื้อกับข้าว ส่วนลูกก็ทานข้าวต้มหรือไม่ก็โจ๊ก ส่วนเงินที่ใช้จ่ายในบ้านก็ได้ จากพ่อหนูบ้าง แล้วก็ได้จากแฟนเดือนละ 5,000 บาท ก็จะมีค่าน�้ำค่าไฟรวมกันก็จะประมาณเดือนละ 500 บาท แล้วก็มีค่านม ค่าแพมเพิส ต่อไปก็จะยิ่งเปลืองเพราะนี่ก็ก�ำลังกิน แล้วก็เป็นลูกผู้ชายด้วยก็จะยิ่งเปลืองกว่าผู้หญิง เพราะกินเยอะกว่า” คุณรจนา

2.6. ลูกโตขึ้น ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มมากขึ้น การเลี้ยงลูกช่วงที่ลูกอายุน้อยและกินนมแม่ อาจไม่มีค่าใช้จ่ายมาก แต่เมื่อลูกอายุมากขึ้น ค่าใช้จ่ายเริ่ม มากขึ้น เช่น ค่านมผง และเมื่อต้องออกไปหางานท�ำเพื่อค่านม ก็ต้องมีคนเลี้ยงดูลูก เช่น การจ้างคนเลี้ยงลูกซึ่ง ก็ต้องมีค่าจ้าง แม้ว่าคนที่เลี้ยงลูกให้นั้นจะเป็นแม่ก็ตาม เพราะการท�ำงานทุกงานก็ควรมีค่าตอบแทน และเมื่อ เป็นเช่นนั​ั้นน แม่ก็ต้องออกไปท�ำงานมากขึ้น กรณีคุณปู เธอก็ตัดสินใจที่จะออกไปหางานท�ำ และจ้างคนในตึกเลี้ยงลูกให้เธอในเวลากลางวัน ส่วน กลางคืนเธอให้แม่เป็นคนเลี้ยงลูก และเธออกไปท�ำงานกลางคืน เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าพี่เลี้ยงและจ่ายค่าจ้างแม่ ในการดูแลลูกให้เธอ “....เราก็ไปท�ำงานตอนกลางคืน ส่วนลูกก็ให้แม่เราเลี้ยงเป็นหลัก เราจ่ายแม่เป็นเดือน เดือนละ 2,000 บาทแต่เดี๋ยวนี้ก็ต้องให้เพิ่มมากขึ้น เพราะลูกก็เริ่มโต ตอนนี้เราก็จ้างแม่ 5,000 บาท” คุณปู

114

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


3. ต้องทิ้งลูก เพราะการอยู่บ้าน ท�ำไร่ท�ำนา ในชนบท ไม่สามารถท�ำเงินได้พอเลี้ยงปาก เลี้ยงท้อง พ่อแม่จ�ำนวนมาก ไม่ได้ต้องการย้ายถิ่นเข้าไปหางานท�ำในเมือง แต่ระบทุนนิยมที่เข้าไปเปลี่ยนวิถีการ ผลิตให้เป็นพืชเชิงเดี่ยวเพื่อเงินสดและยกเลิกการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง และต้องใช้เงินสดซื้อสิ่งของอุปโภค บริโภค และระบบทุนนิยมโลกยังจัดหาสินค้ามากมายมาให้ซื้อหา และยิ่งท�ำให้ต้องใช้เงินสดมากขึ้น แต่พ่อแม่มี รายได้จากพืชเงินสดไม่เพียงพอที่จะใช้จ่าย และยิ่งไปกว่านั้นรายได้จากพืชเงินสดก็น้อยลงเรื่อยๆ จากต้นทุน การผลิตที่แพงมากขึ้น พ่อแม่จึงมีหนี้สิน และจ�ำเป็นที่จะต้องออกหางานท�ำ เพื่อให้ได้เงินสดมาใช้หนี้ และใช้ เลี้ยงครอบครัว ซึ่งเป็นเหตุให้ทิ้งลูกโดยภาวะทางเศรษฐกิจในครอบครัวที่ถูกบีบคั้น 3.1. อยากกลับมาท�ำนา อยู่บ้าน แต่ไม่พอกิน ต้องกลับไปกรุงเทพ แม้ว่ามีความตั้งใจที่จะกลับมาบ้าน และท�ำมาหากินที่บ้าน เพื่อสร้างครอบครัว แต่เมื่อกลับมาก็พบว่า การท�ำการเกษตรไม่สามารถจะช่วยให้ชีวิตอยู่รอดได้ ดังนั้นจึงต้องกลับเข้ากรุงเทพอีกครั้ง กรณีคุณเพียน หลังจากที่คลอดลูกชายคนแรก คุณเพียนตัดสินใจที่จะเลี้ยงลูกเองที่บ้าน โดยพาสามีมา ช่วยกันท�ำมาหากินที่บ้านของตน แต่พอนานวันไปค่าใช้จ่ายก็เริ่มเพิ่มมากขึ้น จนไม่สามารถที่จะจัดการได้จึง ตัดสินใจกลับไปท�ำงานในกรุงเทพอีกครั้ง “กลับมาอยู่บ้านพร้อมกับสามีตอนนั้น พี่ก็คิดว่าอนาคตชีวิตครอบครัวก็คงไปได้ดี สุขสมหวัง ก็กลับมา อยู่บ้านกับแม่ ท�ำไร่ท�ำนาไป แต่สุดท้ายมันก็ไปไม่รอด ไม่เป็นอย่างที่คิดหรือวาดหวังไว้ พอมาท�ำเอาเข้าจริงๆ การ ท�ำนามันก็ไม่ได้ท�ำให้เราลืมตาอ้าปากได้ เพราะแต่ก่อนเราก็ท�ำนากันแค่ปีละครั้ง แล้วพี่เองก็มาคลอดลูกชายคน แรกอีก ภาระเราก็เลยเพิ่มมากขึ้น ไหนจะแม่ ไหนจะลูก จะให้สามีท�ำงานส่งมาให้ใช้อย่างเดียว มันก็ไม่พอใช้ ก็เลย ต้องทิ้งลูกไว้กับยาย เพื่อเข้าไปท�ำงานในกรุงเทพ” คุณเพียน

3.2. รู้สึกว่าไม่ไหวแล้ว ล�ำพังจะหากินแถวบ้าน ก็คงไม่มีเงินพอใช้จ่ายในบ้าน นอกจากอาชีพเกษตรกรรมที่ไม่พอจะเลี้ยงครอบครัว ในชนบทก็ไม่มีอาชีพอื่นที่จะหาเงินได้มากพอที่ จะเลี้ยงครอบครัวและลูกได้ ดังนั้นครอบครัวที่กลับมาคลอดลูกที่บ้าน หรือ เลี้ยงลูกที่บ้านระยะหนึ่งพร้อมกับ หางานท�ำ ก็พบว่าไม่สามารถหางานที่มีรายได้มากพอจะเลี้ยงลูกได้ จึงต้องหันหน้าเข้าหางานท�ำในกรุงเทพอีก ครั้ง กรณีคุณเต่า คุณเต่าเลี้ยงลูกอยู่ที่บ้านได้ไม่นาน เธอจึงตัดสินใจที่จะเข้ามาหางานท�ำในกรุงเทพพร้อม กับสามีอย่างถาวร เพราะรายจ่ายที่เข้ามาในบ้านมากกว่ารายได้ เธอจึงต้องทิ้งลูกสามคนไว้กับแม่ของเธอ บทที่ 4 ผลการศึกษา

115


“พี่ก็เลี้ยงเค้าจนลูกคนเล็กได้อยู่อนุบาล1 ก็รู้สึกว่าไม่ไหวแล้วล�ำพังจะหากินแถวบ้าน ก็คงไม่มีเงินพอใช้ จ่ายในบ้าน พี่กับสามีก็ต้องไปท�ำงานที่กรุงเทพแบบถาวรเลย ส่งมาแค่เงินแค่นั้นก็ส่งเดือนละ 3,000 บาท แต่ก็ส่ง มาเรื่อยๆนะ แล้วแต่ว่าลูกจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอะไร” คุณเต่า

3.3. บ้านนอกไม่ได้มีงาน มีรายได้ มั่นคง แน่นอน ก็เลยต้องทิ้งลูกไป นอกจากอาชีพแถวบ้านในชนบทจะไม่หลากหลายมากพอที่จะเลี้ยงครอบครัวแล้ว อาชีพในชนบทมัก ไม่ใช่อาชีพที่ถาวรหรือที่มีรายได้ที่ตายตัวหรือสม�่ำเสม อพอที่จะเป็นหลักประกันให้กับครอบครัวได้ด้วย ดังนั้น จึงต้องทิ้งลูกเข้าไปหางานในเมือง “พี่ก็ให้นมลูกเองนะ เลี้ยงเองจนลูกชายอายุได้ 2 ขวบ ถึงลงไปท�ำงานที่กรุงเทพ ก่อนลงไป พี่กับสามีก็ อยู่ที่บ้านแม่นะ เพราะว่าลูกๆคนอื่นก็แยกย้ายไปมีครอบครัว แต่สักพักก็ไม่ไหว คือ บ้านเรา มันก็บ้านนอก ไม่ได้มี รายได้ที่ตายตัว ก็เลยต้องทิ้งลูกไป” คุณเพียน

4. ตัวตน ความต้องการของแม่ที่ถูกกดทับ ท�ำให้ต้องทอดทิ้งลูก ในส่วนนี้เป็นการน�ำเสนอเหตุผล ที่มาจากความต้องการและตัวตนของแม่ ในการตัดสินใจเกี่ยวกับลูก เหตุผลต่างๆที่ท�ำให้สังคมตีตรา ตัดสินว่า เธอทอดทิ้งลูก จากมุมมองและความคิดของเธอ ซึ่งอาจจะขัดแยังก้ับ บรรทัดฐาน ค่านิยม ศีลธรรม หลักสิทธิเด็ก สิทธิมมนุษยชนต่างๆทางสังคม ที่ก�ำหนดให้ผู้หญิง แม่ทุกคนต้อง ท�ำตาม แบกรับ แต่ไม่ได้ค�ำนึงถึงระบบโครงสร้างต่างๆทางสังคมซึ่งครอบง�ำ กดทับแม่ และไม่ได้ให้โอกาสกับ พวกเธอ ซึ่งเป็นผู้หญิงอายุน้อย การศึกษาน้อย ประสบการณ์น้อย ไร้ทักษะ หรือ แม่ที่แทบไม่มีทรัพยากรใดๆ ทางชีวิตแต่ต้องมีชีวิตอยู่ในโลกที่เป็นทุนนิยม ให้คุณค่ากับเงินทอง บริโภคนิยม ซึ่งผลักดันให้แม่ต้องกระเสือก กระสนเพื่อเอาชีวิตของตนและของลูกให้ได้ และหากเราคิดว่า เด็กได้รับความไม่เป็นธรรมต้​้งแต่ปฏิสนธิ แม่ เหล่านี้ ครั้งหนึ่งก็อาจเคยเป็นเด็กที่ไม่มีใได้ครต้องการ ไม่รับความไม่เป็นธรรมด้วยเช่นกัน

4.1. ถ้าเลี้ยงลูกแล้วไม่มีเงิน เราไม่เลี้ยงเองดีกว่า

การท�ำงานที่มีรายได้น้อยหรือการไม่มีงานท�ำ เป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูก และคนส่วนใหญ่รวมทั้งแม่ ด้วยที่คิดเช่นนี้ ทั้งนี้เนื่องจากระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป จากการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง มาเป็นการผลิตเพื่อเงิน และน�ำเงินที่ได้ไปซื้อสินค้ามาบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงลูกในปัจจุบัน ต้องใช้เงินมากขึ้นโดยไม่จ�ำเป็น เช่น ผ้าอ้อมส�ำเร็จรูป นอกจากนี้สังคมยังคาดหวังต่อความเป็นแม่ว่า จะต้องเลี้ยงลูกด้วยตนเอง แต่เธอไม่เห็น ด้วย และคิดว่า หากได้เลี้ยงลูกเอง แต่ไม่มีเงินไม่มีรายได้ ก็จะท�ำให้เครียดและเลี้ยงลูกไม่ได้ ดังนั้นเธอจึงเลือก งานและเงินมากกว่าการเลี้ยงลูกด้วยตนเอง

116

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


“ถ้าเราจะเลี้ยงลูกแล้ว ไม่มีเงิน เราเลือกที่จะไม่เลี้ยงเองดีกว่า คือ เงินเป็นสิ่งที่จ�ำเป็นมากเลยนะส�ำหรับ เรา คือ ถ้ามีลูกแล้ว เงินไม่มีพอที่จะเลี้ยงดูเค้า เราว่าอย่ามีเลยดีกว่า ไหนจะค่าของกินของใช้ ค่านม ค่าแพมเพิส พอ เราไม่ได้ท�ำงาน ไม่มีเงิน มันก็เครียดนะ อารมณ์แม่หลังคลอด บางทีเราก็นั่งร้องไห้ คือ เราจะรู้สึกเครียดมากเลยนะ ถ้าเราไม่มีเงิน คือ แทบไม่ได้เลี้ยงลูกเลย ด้วยความที่เราเป็นคนใจร้อนด้วย” คุณปู

4.2. เราก็ท�ำงาน...ถ้ามีก็ส่ง ถ้าไม่มี ไม่พอใช้ก็ไม่ได้ส่ง ความรับผิดชอบของแม่ คือ การหาเงินเลี้ยงลูก การส่งเงินไม่สม�่ำเสมอ ไม่ส่ง ดูเสมืิอนเป็นความผิดของ แม่ทไี่ ม่รบั ผิดชอบลูก แต่งานทีท่ ำ� นัน้ อาจมีรายได้นอ้ ย ไม่แน่นอน ดังนัน้ การส่งเงินให้ลกู จึงไม่สม�ำ่ เสมอ ไม่แน่นอน เช่นเดียวกับงาน ส่วนลูกนั้นจ�ำเป็นต้องใช้ ต้องกินทุกเดือน แม่จึงกลายเป็นผู้ที่ไม่มีความรับผิดชอบ โดยเฉพาะ กรณีแม่ทมี่ ลี กู หลายคน ซึง่ ไม่สามารถรับภาระลูกทุกคนได้เท่าเทียมกัน บางครัง้ ก็ตอ้ งผลักภาระความรับผิดชอบ ให้กับผู้เลี้ยงดู ในกรณีที่ผู้เลี้ยงดูสามารถรับภาระได้ “เราก็คงท�ำงานอยู่ที่นี้ไปเรื่อยๆ เพราะลูกคนเล็กก็เพิ่ง 2 ขวบเอง ถ้าเราไม่ท�ำงาน ก็ ไม่รู้ว่าจะหาเงินที่ไหนไปเลี้ยงดูเค้า…ตอนนี้รับผิดชอบแค่ลูกคนที่สอง ส่วนลูกคนโต ย่าเค้า ดูแลรับผิดชอบทั้งหมดเลย ส่วนเงินที่ส่งไปก็ไม่ตายตัว คือ ถ้าเรามีเราก็ส่ง แต่ถ้าเดือนไหนไม่มี ไม่พอใช้ เราก็ไม่ได้ส่งไป” .คุณแฟนต้า 4.3. แม่ต้องเปิดเผยความลับเรื่องการมีลูกให้ทางบ้านรู้ เพื่อดูแลลูกได้สะดวก การเลี้ยงลูกด้วยตนเองนั้นเป็นเรื่องที่ยากล�ำบาก โดยเฉพาะการเลี้ยงลูกในเมืองที่พ่อของลูกหรือสามี ไม่ช่วยเหลือ และการหาคนช่วยเลี้ยงลูกในเมืองก็เป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้นผู้หญิงจึงต้องยอมเปิดเผนความลับเรื่อง การมีลูกไม่พร้อมของเธอ เธอต้องตัดสินใจระหว่าง การปิดบังการมีลูกกับที่บ้าน และน�ำลูกไปอยู่ขอนแก่นซึ่ง ต้องเดินทางไกล ล�ำบากกว่าโคราชซึ่งเป็นบ้านเกิด แต่ทุกคนก็จะรู้ว่า เธอมีลูกไม่พร้อม ซึ่งเธอก็เลือกการเปิด เผยความลับ เพื่อความสะดวกในการดูแลูก “เลี้ยงได้ 2 เดือนกว่าๆ เริ่มไม่ไหวแล้ว พี่ก็ไม่คิดนะว่า การเลี้ยงเด็กคนหนึ่งจะล�ำบากขนาดนี้ ก็เลยเริ่ม คิดว่าจะเอายังไงต่อดี สงสัยคงต้องหาคนเลี้ยงช่วยแล้ว เพราะพี่ก็ใกล้ก�ำหนดที่จะต้องกลับไปท�ำงานแล้ว ก็เลย ตัดสินใจว่าจะเอาลูกไปไว้ที่ขอนแก่น เพราะที่บ้านไม่มีใครรู้ แต่ก็คิดอยู่ว่าถ้าเอาไปไว้ที่ขอนแก่นก็ คือ การเดินทาง มันไกล เผื่อเราอยากกลับบ้านไปหาลูกก็จะล�ำบาก ก็คิดอยู่ประมาณ 10 วัน เลยตัดสินใจว่าเอาลูกไปไว้ที่บ้านพี่ดี กว่า เพราะโคราชมันใกล้กว่า” คุณเล็ก

บทที่ 4 ผลการศึกษา

117


4.4. เกณฑ์ความพร้อมของลูก “ลูกสองขวบและลูกสามเดือนแล้ว” ไม่ใช่เกณฑ์เดียวกับสังคม แม่อธิบายเหตุผลการตัดสินใจกลับไปท�ำงาน โดยดูจากความพร้อมของลูก ซึ่งเกณฑ์ความพร้อมนี้ คือ อายุของลูก เช่น “ลูกสองขวบแล้ว” “ลูกสามเดือนแล้ว” ซึ่งเป็นวัยที่จะฝากให้ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้องช่วยกัน ดูแล และแม่ไม่ต้องห่วงเพราะพวกเขาโต เริ่มดูแลตนเองได้ แม่จึงสามารถกลับไปท�ำงาน ปัญหาก็คือ สังคมมองเกณฑ์ความพร้อมนี้ต่างจากพวกเธอ และตัดสินว่า พวกเธอใจร้าย ทิ้งลูกสอง ขวบและสามเดือน ในขณะที่แม่มองว่าสองขวบซึ่งเริ่มดูแลตนเองได้ ทิ้งลูกสามเดือนซึ่งโตพอจะฝากตายายดูแล ได้แล้ว เกณฑ์ความพร้อมนี้ ก็คือ มาตรฐานความไม่เป็นธรรมทางสังคมที่มีต่อคนในสังคม ส�ำหรับคนรวย มี ฐานะ ลูกในวัยสามสิบ พ่อแม่ก็ยังต้องได้รับการเลี้ยงดู ดูแล ปกป้อง ส�ำหรับคนจน ไม่มีจะกิน ลูกสองขวบและ สามเดือน ต้องพร้อมส�ำหรับการต่อสู้ชีวิต ช่วยเหลือตนเอง ดังนั้นถ้าแม่เหล่านี้จะผิด จะใจร้าย ก็คงเป็นเพราะ เธอเกิดมาจน และไม่มีโอกาสในสังคมนี้ ไม่สามารถจะม่ีเกณฑ์ความพร้อมที่สูงส่งพอจะท�ำให้ เธอเป็นแม่ที่ดี รับผิดชอบได้ “ก็เอาเค้ามาทิ้งไว้กับย่า เพราะตอนนั้นบ้านพี่ พ่อแม่ก็ไม่ได้อยู่ที่บ้าน ไปท�ำงานที่กรุงเทพหมด ก็เหลือ แต่ฝั่งทางแฟนที่พ่อแม่เค้ายังอยู่ที่บ้าน เราไม่มีเงินเพราะพี่เลี้ยงลูกอย่างเดียว แฟนก็ขับสามล้อ คือ เด็กสองขวบมัน ก็เริ่มดูแลตัวเองได้ พี่ก็ไม่ห่วงแล้ว ก็เลยเอามาทิ้งไว้กับย่า แล้วก็ลงไปท�ำงาน ตอนนั้นก็กลับไปท�ำงาน ร้านอาบน�้ำ หมา พี่ก็ไปตัดขนหมาก็ได้เดือนละ 6,000 บาท” คุณอิ้บ

“พี่ก็เลี้ยงเค้าเองได้ 3 เดือน ก็พาเค้าไปฝากไว้ที่ตากับยายไว้ พี่ก็คิดว่า ลูกก็โตพอที่เราจะฝากตากับยาย ไว้ได้แล้ว เพราะพี่เองก็ต้องมาท�ำงานต่อ” คุณอึ่ง

4.5. การมีงานท�ำเป็นโอกาสที่ไม่ควรทิ้ง จึงจ�ำเป็นทิ้งลูกแทน ความขัดแย้งของวงจรชีวิตของคนกับเศรษฐกิจและสังคม ก็มีส่วนที่พ่อแม่ พี่น้องของแม่เด็ก มักจะมอง ระยะยาวและตัดสินใจให้แม่ของเด็กไปท�ำงานมากกว่าการเลี้ยงลู กเนื่องจากการมีครอบครัวและมีลูกมักจะเกิด ขึ้นในวัยที่แม่มีอายุน้อยหรือเพิ่งเริ่มท�ำงานการมีอายุน้อยหรือเริ่มท�ำงานนั้นถูกมองว่าเป็นเรื่องส�ำคัญที่จะต้อง ท�ำงานให้มากเพื่อสร้างความมั่นคงมั่งคั่งให้กับครอบครัว ดังนั้น หากมีลูกพ่อแม่พี่น้อง มักจะเข้ามาช่วยรับภาระ เลี้ยงดู ให้โดยที่ไม่ค่อยได้ค�ำนึงผลเสียที่เกิดกับเด็กเท่าที่ควร กรณีคุณพลอย เธอต้องการให้ชีวิตครอบครัวมีความมั่นคงมากกว่านี้ เธอก็อยากที่จะเลี้ยงลูกเอง แต่ใน ตอนนี้จ�ำเป็นต้องฝากพี่ชายไว้ก่อ นเพราะเธอยังต้องท�ำงานและหาเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว และพี่ชายของเธอ เองก็เห็นด้วย และพร้อมที่จะเข้ามาช่วยดูแลหลานให้ เธอจึงฝากลูกไว้กับพี่ชายให้ช่วยเลี้ยง

118

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


“พี่คิดว่า ให้เค้าอยู่กับลุงกับป้าไปก่อน ถ้าพี่มีบ้านหรือมั่นคงกว่านี้ ถ้าเค้าอยากมาอยู่กับพี่ก็ให้เค้ามา พี่ก็ ต้องมาท�ำงาน ตอนแรกว่าจะลาออก แต่พี่ชายพี่บอกว่าพี่ยังอายุยังน้อย ยังท�ำงานได้ หลานคนเดียวเค้าเลี้ยงให้ได้” คุณพลอย

4.6. ต้องการมีรายได้มากขึ้นและแน่นอนมากขึ้น แม้ต้องแยกกับสามีและลูก ความต้องการที่จะมีฐานะที่ดีขึ้นและแน่นอนมากขึ้นนั้น บางครั้งแม่ของเด็กก็ตัดสินใจที่จะออกไป ท�ำงานของตนเองที่มีรายได้มากและมั่นคง แม้งานนั้นจะต้องแยกจากสามีและลูกดังกรณีขอคุณแพนหลังจากที่ คุณแพนกลับมาท�ำงานกับแฟนได้ไม่นานเธอจึงตัดสินใจแยกกันอยู่กับสามีเพราะเธอต้องการที่จะท�ำงานประจ�ำ เพื่อที่จะมีรายได้ที่มากขึ้นและแน่นอน “พี่ก็วิ่งเก็บการ์ด เก็บเงินไปเรื่อยๆ ลูกสาวอายุได้ 1-2 ปี พี่ก็เลยตัดสินใจแยกกันท�ำงานกับแฟน เพราะ แบบเราก็เริ่มที่จะอยากมีเงิน อยากที่จะเก็บเงินให้ลูกมากยิ่งขึ้น ก็ให้แฟนขับรถเก็บเงินไป ส่วนพี่ก็มาเช่าห้องอยู่ที่ กรุงเทพ ท�ำงานเป็นแคชเชียร์ที่โรงเบียร์ เค้าก็วิ่งงานอยู่ไม่ถึงปี ก็เลยออก แล้วก็มาท�ำงานเป็นช่างแอร์เหมือนเดิม จนถึงทุกวันนี้” คุณแพน

4.7. ต้องการให้ลูกอยู่กับตายาย เติบโตที่ต่างจังหวัด ดีกว่าต้องมาใช้ชีวิตในเมือง การเปรียบเทียบการเลี้ยงลูกในกรุงเทพกับในชนบทในเชิงของคุณภาพชีวิต ก็เป็นเหตุผลอีกมุมหนึ่งที่ แม่ของเด็กคิดว่า การให้ลูกอยู่กับพ่อแม่ในชนบทดีกว่าที่จะไปล�ำบากที่กรุงเทพ หรือ ในเมือง เพราะในชนบท นอกจากอยู่กับปู่ย่าตายายแล้ว ยังอยู่ใกล้บ้าน ใกล้โรงเรียน ซึ่งสบายกว่า กรณีคุณพิศ เธอไม่สามารถกลับไปเลี้ยงดูลูกทั้งสองอย่างใกล้ชิดได้ แต่อย่างน้อยเธอก็รู้สึกไม่กังวล และห่วงลูกมาก เท่ากับขณะที่เธอเลี้ยงลูกด้วยตนเองในกรุงเทพ เพราะได้อยู่กับตายาย และได้เรียนหนังสือ ใกล้บ้านสบายๆ แม้ว่าจะมีความกังวลที่ตากับยายจะดูแลหลานไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะการคบเพื่อนเกเร “กลับไปไม่ได้หรอก เพราะพี่ก็ต้องท�ำงา นไม่ท�ำงานแล้วพี่จะเอาเงินที่ไหนเลี้ยงลูก ลูกก็ให้เค้าอยู่ที่บ้าน นอกกับตากับยายนั่นแหละดีแล้ว ได้เรียนหนังสือ ได้อยู่แบบสบายๆ ไม่ต้องมาใช้ชีวิตในเมืองแบบพี่มาอยู่กับพี่ พี่ ก็ไม่ได้ดูแลเค้าหรอกเพราะก็ต้องท�ำงาน…พี่ก็เป็นห่วงเค้าอยู่ ลูกชายเค้าก็เริ่มโตเข้าโรงเรียน เจอเพื่อน กลัวเรื่องการ คบเพื่อน แล้วก็กลัวว่าตากับยายจะดูแลเค้าได้ไม่ทุกเรื่อง เพราะเด็กมันก็โตเร็ว พี่ก็ไม่อยากให้เค้าไปยุ่งเกี่ยวกับ อะไรที่ไม่ดี พวกยาเสพติดหรือเกเร” คุณพิศ

บทที่ 4 ผลการศึกษา

119


4.8. พ่อให้เอาลูกไปเลี้ยงเอง แต่เแม่สงสารหลาน และเสนอที่จะเลี้ยงลูกให้ ระหว่างความเป็นชายของพ่อที่ไม่เข้าใจปัญหาที่ลูกสาวแม่ลูกอ่อนก�ำลังเผชิญ และความเป็นผู้หญิงที่ เข้าใจปัญหาต่างๆของลูกสาวจากผู้เป็นแม่ ท�ำให้แม่ของเธอยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเธอ ในยามที่เธอต้องการ ความช่วยเหลือมากที่สุด นั่นคือ พ่อของเธอปฏิเสธที่จะเลี้ยงดูหลาน และให้เธอพาลูกไปท�ำงานในกรุงเทพด้วย แต่แม่อาสาดูแลหลานให้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นการทรมานเด็กเล็กๆที่จะต้องเดินทางไปเผชิญปัญหาต่างๆพร้อม กับตัวเธอ ลูกสาวของเธอจึงอยู่กับตายายตั้งแต่เกิด จนอายุ 8 ขวบ “ตอนแรกพ่อพี่บอกว่า ถ้าจะไป ก็เอาเด็กไปด้วย แต่แม่พี่บอกว่า ไม่ต้องเอาไป เอาไปก็ทรมานเด็กป่าวๆ จะหอบลูกไปนั่นมานี่ตามพี่ ก็สงสารหลาน ลูกสาวพี่ก็เลยได้อยู่กับตาและยาย ตั้งแต่เกิดจนอายุได้ 8 ขวบ ตอนนี้ ลูกสาวคนโตก็มาอยู่กับพี่แล้วนะ เพิ่งพามาได้ 3-4 เดือนเอง เอาเข้าโรงเรียนที่น”ี่ คุณแพน

4.9. พี่ก็ไม่คิดว่า ตัวเองจะต้องอยู่เลี้ยงลูก จนลูกโตนะ รูปแบบของการทิ้งลูก ไปท�ำงานต่างจังหวัดนั้น พัฒนาตัวเองขึ้นมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร จน กระทั่งคนในสังคมเห็นว่า การทิ้งลูกไว้กับตายาย แล้วมาท�ำงานนั้นเป็นเรื่องปกติ การพัฒนาการนี้ เริ่มจากการ ที่พ่อของเด็กมาท�ำงานต่างถิ่ินคนเดียวก่อน ต่อมาแม่ก็ตามมาในช่วงเวลาสั้นและกลับบ้าน มาเป็นการอยู่กับพ่อ ของเด็กที่ในเมืองนานขึ้น และในที่สุดคือ รูปแบบที่แม่ของเด็กมีงานประจ�ำท�ำ หรือ กลายเป็นผู้หารายได้หลัก ของครอบครัวอีกคน ทั้งนี้เป็นไปตามความคิดที่จะหารายได้ให้มากที่สุด เพื่อเป็นหลักประกันให้ลูกได้เรียน หนังสือสูงที่สุด และไม่ล�ำบากเช่นตนเอง ความคิดเช่นนี้ส่งผลให้แม่เด็กบางคนกล่าวว่า ไม่คิดที่จะเลี้ยงลูกด้วย ตนเองจนลูกโต แต่การไปท�ำงาน แสวงหาอนาคตให้ตนเองและลูกส�ำคัญกว่า “พี่ก็อยู่ที่บ้านสามีก็มาอยู่ด้วย 2-3 วัน แล้วเค้าก็กลับไปท�ำงานพี่ก็อยู่เลี้ยงลูกได้ 1-2 เดือน แล้วพี่ก็กลับ ขึ้นมากรุงเทพ มาวิ่งงานช่วยเค้า พี่ไม่มีน�้ำนม ได้ทานนมพี่ 1-2 วัน ก็ให้ทานนมชงเลย พี่ก็ไม่คิดว่าตัวเอง จะต้องอยู่ เลี้ยงลูกจนลูกโตนะ” คุณแพน

4.10. เธอไม่สามารถท�ำงานและเลี้ยงลูกไปพร้อมกัน แม่บางคนที่ไม่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยตนเองพร้อมกับการท�ำงาน ซึ่งการท�ำหน้าที่สองอย่างพร้อมกันนั้น หนักเกินไป เธอจึงเลือกที่จะท�ำงานอย่างเดียว และให้ผู้อื่นเลี้ยงลูกแทน ซึ่งเธอคิดว่า ไม่ได้เสียหายอะไร เนื่องจากลูกก็ยังเรียกเธอว่า แม่ เนื่องจากเธอก็เคยเลี้ยงดูเขาในวัยเด็ก “แต่บางทีก็สบายใจที่เราได้ท�ำงานอย่างเดียว ไม่ต้องมานั่งเลี้ยงลูกไปด้วยท�ำงานไปด้วย ก็คงหนักเหมือน กัน ถ้าเป็นแบบนั้น เค้าก็เรียกพี่ว่า แม่นะ เพราะด้วยความที่พี่เคยเลี้ยงเค้าตอนเด็กๆ” คุณเพียน 120

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


4.11. คิดว่าเป็นกรรมอะไรของเรา ที่ต้องมาแยกจากลูก อุดมการณ์ความเป็นแม่ของผู้หญิง ท�ำให้ผู้หญิงที่เป็นแม่และไม่สามารถท�ำหน้าที่แม่ได้สมบูรณ์ รู้สึก ลงโทษตนเองอยู่บ้าง แต่เมื่อตนเองก็สามารถให้เหตุผลย้อนแย้งว่า จ�ำเป็นต้องทิ้งลูกเพราะการท�ำงาน จึงกล่าว โทษ ว่าเป็นปัญหาของเวรกรรมแทน ท�ำให้เธอต้องแยกจากลูก ไม่สามารถท�ำหน้าที่ความเป็นแม่ซึ่งครอบง�ำอยู่ เพียน

“พี่ก็คิดถึงลูกนะ แต่เราก็ต้องท�ำงาน บางทีก็คิดว่าเป็นกรรมอะไรของเรา ที่ต้องมาแยกจากลูก” คุณ

สรุป การถูกสังคมโลกาภิวัตน์บังคับให้พ่อแม่ทิ้งลูกนั้นมีสาเหตุมาจาก หนึ่ง ลักษณะงานของระบบทุนนิยม สอง ครอบครัวบริโภคนิยมมีค่าใช้จ่ายสูงมากกว่ารายได้ สาม การท�ำงานในไร่นา ชนบท นั้นมีรายได้ไม่เพียงพอ ในการเลี้ยงดูครอบครัว สี่ มายาคติซึ่งควบคุมความต้องการและตัวตนของแม่ สนับสนุนให้แม่ ทอดทิ้งลูกไป ท�ำงานในเมือง หนึ่ง ลักษณะของการท�ำงานและการจ้างงานที่เอาเปรียบแรงงาน น�ำไปสู่ความจ�ำเป็นที่พ่อแม่ไม่ สามารถเลี้ยงลูกด้วยตัวเองระหว่างการท�ำงาน ในกรณีของครอบครัวที่เริ่มต้นการมีกิจการเป็นของตัวเอง ก็ ต้องทอดทิ้งลูกเพีื่อทุ่มเทให้กับการท�ำงานทั้งสามีและภรรยา ส่วนผู้ที่เป็นแรงงานก็มักจะได้ท�ำงานในต�ำแหน่ง ที่ไม่มั่นคง งานหาเช้ากินค�่ำ ที่ท�ำงานและบ้านอยู่ห่างไกล การถูกบังคับทางอ้อมให้กลับไปท�ำงานก่อนครบ ก�ำหนดสิทธิการลาคลอด เช่น นายจ้างขาดคน จะไม่เก็บงานและต�ำแหน่งไว้ให้ การท�ำงานนอกเวลา การ ท�ำงานไม่เป็นเวลา การท�ำงานต่างประเทศ การไปท�ำงานกับแฟนต่างประเทศ งานที่เสี่ยง และหากไม่ท�ำงาน ทั้งสามีภรรยา รายได้ก็ไม่พอใช้จ่ายในครอบครัว จึงท�ำให้ต้องทอดทิ้งลูกไว้กับปู่ยา ตายาย ญาติ นอกจากนี้ แรงงานหญิงบางคนยังเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ซึ่งต้องท�ำงานหาเงินหรือพึ่งพาตนเองในการท�ำมาหากินเพื่อเลี้ยงดูลูก และหากพ่อและ/หรือแม่ จะเลี้ยงลูกด้วยตนเอง การหาพี่เลี้ยงเลี้ยงเด็ก ก็เป็นสิ่งที่ท�ำได้ยาก หรือหากจะน�ำเด็ก ไปฝากเลี้ยง ก็มีปัญหาการรับส่ง จึงท�ำให้พ่อแม่ส่งลุูกกลับไปอยู่กับปู่ย่า ตายาย หรือญาติ ในต่างจังหวัดหรือ บ้านเกิด สอง ลักษณะของครอบครัวในยุคทุนนิยมแบบบริโภคนิยม ต้องการเงินส�ำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการใช้ ชีวิต และการเลี้ยงดูลูกสูงเพิ่มขึ้นทั้งในเมืองและชนบท ค่าใช้จ่ายที่สังคมการผลิตแบบเดิมซึ่งไม่พอใช้ พอกิน บังคับให้พ่อแม่ต้องทิ้งลูกไปหาเงิน บางครอบครัวไม่พอกิน บางครอบครัวต่างมีภาระการผ่อนบ้าน รถยนตร์ ค่า ใช้จ่ายสูง ค่าใช้จ่ายที่เกินจ�ำเป็นในชีวิตในยุคโลการภิวัตน์ บางครอบครัวต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิต สร้างฐานะ บทที่ 4 ผลการศึกษา

121


เพื่ออนาคตให้แก่ลูก ท�ำให้พ่อและ/หรือแม่ต้องทอดทิ้งลูกไว้ที่บ้านเพื่อไปท�ำงาน ท�ำให้แม่ต้องหยุดให้นมลูก ออกไปท�ำงานช่วยเหลือสามี สาม ลักษณะการท�ำมาหากินในชนบทนั้น ไม่เอื้อต่อการที่จะท�ำงานและอาศัยอยู่กับครอบครัวในถิ่น ชนบท บ้านเกิด ท�ำให้พ่อแม่จ�ำเป็นที่จะต้องทิ้งลูกและย้ายกลับมาท�ำงานในเมือง เพราะความเป็นบ้านนอก ท�ำให้ไม่มีงาน จึงไม่ได้มีรายได้ที่ตายตัว หรือหางานท�ำที่บ้านไม่ได้ รู้สึกว่าไม่ไหวแล้ว ล�ำพังจะหากินแถวบ้านก็ คงไม่มีเงินพอใช้จ่ายในบ้าน การอยู่บ้านท�ำนาไม่สามารถท�ำให้ลืมตาอ้าปากได้ การกลับมาท�ำนาไม่สามารถ เลี้ยงลูก จึงต้องทิ้งลูกไปท�ำงานที่กรุงเทพอีกครั้ง สี่ ตัวตน และความต้องการของแม่ หรือแม้แต่สังคม ตกอยู่ภายใต้มายาคติหรือคตินิยมของแม่เกี่ยวกับ ครอบครัวและการเลี้ยงลูก ที่ถูกสร้างขึ้นมาในความขัดแย้งระหว่างงานกับลูก สนับสนุนท�ำให้แม่สามารถตัดใจ ทิ้งลูกมาหางานท�ำ เช่น กรรมเวร แม่สงสารหลาน ลูกสองขวบหรือลูกสามเดือนโตแล้ว ช่วยเหลือตนเองได้ แม่ ไม่จ�ำเป้นต้องเลี้ยงลูกจนโต การเลี้ยงลูกมันล�ำบาก อยากมีรายได้มากขึ้นและแน่นอนมากขึ้น การมีงานท�ำเป็น โอกาสที่ไม่ควรทิ้ง ประเด็นเหล่านี้ ไม่ได้เป็นเรื่องผิดหรือถูก แต่อาจขัดแย้ง ขัดกับมาตรฐานของบุคคลที่อยู่ใน บริบททางสังคมและเศรษฐกิจหรือความจ�ำเป็นในชีวิตที่แตกต่างกัน

ห้า ความไม่เป็นธรรมทางสังคม ท�ำให้พ่อแม่ทอดทิ้งลูก และท�ำให้ลูกกลายเป็นเด็กไม่มีใคร ต้องการ ค�ำว่า ทอดทิ้งนั้นมีความหมายเชิงลบ โดยเฉพาะการทอดทิ้งลูก ซึ่งโลกและสังคมก�ำหนดให้ลูกต้องได้ รับการดูแลจากพ่อแม่ เนื่องเพราะลูกยังเด็ก อ่อนแอ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พ่อแม่เป็นผู้สร้างให้เขาเกิดมา แต่ เมื่อพ่อแม่ต้องทอดทิ้งลูก จึงเป็นกรณีผิดปกติ และไม่เป็นธรรมกับลูกอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการทิ้งช่วงสั้นหรือ ตลอดไปก็ตาม โดยทั่วไปสังคมมักประณามพ่อและแม่ที่ทิ้งลูก ในเอกสารนี้ ต้องการแสดงให้เห็นว่า ไม่มพี อ่ แม่คนไหนโดยเฉพาะแม่ ทีไ่ ม่ตอ้ งการลูกโดยไม่มเี หตุผล แต่ เหตุผลนั้นไม่ได้เกิดจากการตัดสินใจจากความเป็นบุคคลเท่านั้น เแต่เชื่อมโยงกับระบบความสัมพันธ์แบบชาย เป็นใหญ่ หรือ ระบบทีใ่ ห้อำ� นาจ ยกย่อง ให้ความส�ำคัญกับความเป็นชายจนบังคับหรือท�ำให้พอ่ และ/หรือแม่ตอ้ ง ทิ้งลูก ระบบชายเป็นใหญ่ที่สร้างความไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ทั้งระหว่างพ่อ แม่และลูก เนื่องเพราะความ สัมพันธ์ทไี่ ม่เป็นธรรมแนี้ สัง่ สอน สร้างอุดมการณ์ให้ ผูช้ ายไม่รบั ผิดชอบต่อเซ็กส์ การนอกใจ การล่อลวง แสวงหา ประโยชน์จากผู้หญิง เและสังคมก็ไม่ลงโทษหรือสอนให้ผู้ชายรับผิดชอบกับตัวเอง งานและ ภรรยาและลูก มาก

122

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


พอ ระบบชายเป็นใหญ่สอนให้ผู้ชายท�ำงาน และใช้เวลาที่เหลือกับเพื่อน พักผ่อนหย่อนใจ และสิ่งเสพติด ระบบชายเป็นใหญ่ยังสอนให้ผู้ชายใช้ความรุนแรงกับคนอื่น โดยเฉพาะกับภรรยา ผู้หญิง ดังนั้นภาวะครอบครัว ล่มสลาย คือ ภรรยาและแม้แต่ลูก ก็ไม่สามารถทนได้ จนท�ำให้ผู้ชายต้องหายไปจากครอบครัว และท�ำให้ภรรยา หรือแม่ต้องทิ้งลูกไป หรือถูกบังคับให้ไม่ต้องการลูก 1. ความไม่เป็นธรรมระหว่างเพศกับการท�ำงาน โดยปกติการท�ำงานมักเป็นเรือ่ งของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หรือ ดังได้นำ� เสนอให้เห็นว่า งานแบบ ทุนนิยมเอาเปรียบคนงาน จนไม่มีเวลาให้กับลูก แต่งานในระบบชายเป็นใหญ่ แสดงเนื้อหาเกี่ยวกับการ เอา เปรียบของผู้ชาย ซึ่งไม่รับผิดชอบทั้งงานและครอบครัว ท�ำให้เกิดความไม่พอ และบังคับให้ภรรยา ต้องทิ้งลูกไป ท�ำงาน 1.1. การจากไปท�ำงานของพ่อ คือ การหายไปจากความเป็นสามี และพ่อ การที่พ่อและแม่ของเด็ก ต้องไปท�ำงานต่างจังหวัดเพื่อรายได้ของครอบครัวนั้น อาจมองว่าพ่อรับผิด ชอบกับครอบครัว แต่พ่อหลายคนหายสาบสูญไปจากชีวิตเมียและลูก กรณีคุณขวัญ หลังจากที่สามีของคุณขวัญจากไปท�ำงานต่างจังหวัด เขาก็ค่อยๆขาดการติดต่อจากเธอ และลูกไปเรื่อยๆ จากการกลับบ้านช่วงเทศกาลก็ไม่กลับมา จากการส่งเงินมาให้ก็ไม่ส่งเงินมา และจากการที่ ติดต่อกันอยู่ก็ไม่มีการติดต่อ หรืออีกนัยหนึ่งสามีไม่ต้องการภรรยา และพ่อไม่ต้องการลูกอย่างแท้จริงแล้ว “พ่อเค้าเป็นคนต่างหมู่บ้าน เป็นคนบ้านหนอง...ไม่ได้ติดต่อกันมานานแล้ว ก็ถือซะว่าเลิกกันนั่นแหละ เพราะว่าเวลาเขาไป เขาก็ไม่ค่อยติดต่อมา เวลากลับมาบ้านทีก็จะเป็นวันหยุดยาวหรือเวลามีงานบุญประจ�ำหมู่บ้าน บุญประเพณีต่างๆมาก็ไม่มาหา” คุณขวัญ

1.2. การไปท�ำงานของพ่อ คือ การไม่รับผิดชอบเลี้ยงดูเมียและลูก

พ่อที่ไปท�ำงานต่างถิ่นมักจะค่อยๆไม่ส่งเงินกลับมาให้ลูกและเมีย จนเมียทนไม่ได้ต้องออกไปท�ำงาน เช่นกันเพื่อหาเงินมาเลี้ยงลูก และท้ายที่สุดพ่อก็หายไปไม่กลับมาอีกเลย พร้อมกับไม่ส่งเงินกลับมาให้ลูกอีกเลย กรณีคุณไล เธออยู่กินกับสามีโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อเขาไปท�ำงานและก็หายไปพร้อมกับไม่ เคยส่งเงินมาให้เลย แต่เคยแอบมาพบกับลูกและซื้อของมาฝากเท่านั้น บทที่ 4 ผลการศึกษา

123


“พี่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสนะ คือ เลิกกันก็แยกจากกันได้เลย ไม่ต้องมีพันธะอะไร แต่ว่าพอเค้าทิ้งพี่กับ ลูกไป เงินทองสักบาทก็ไม่เคยส่งเสียมาให้ลูกเลยนะ พี่ก็เลี้ยงลูกคนเดียวมา 4-5ปี...เค้าก็แอบมาเจอลูกเราบ้างคือ เราก็ไม่เห็นหน้าเค้านะ ... ก็ซื้อกระเป๋าให้ลูกคนละใบ” คุณไล

1.3. สามีเหลวไหลไม่ท�ำงานอย่างจริงจัง ท�ำให้แม่ออกไปท�ำงานและทอดทิ้งลูก สามีมีหน้าที่ในการดูแลครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เมียยังต้องเลี้ยงลูกซึ่งมีอายุน้อย แต่ถ้า พ่อไม่ตั้งใจท�ำมาหากิน แสวงหาความสุขส่วนตัว ปล่อยให้ลูกเมียอดอยาก เมียก็จ�ำเป็นที่จะต้องทิ้งลูกไป หาเงินมาเลี้ยงตัวเองและลูกดัง กรณีคุณเต่า คุณเต่าเลี้ยงลูกของเธอด้วยตนเองได้ประมาณสามเดือน ก็เริ่มรู้สึกไม่ไหว และอยากที่จะ ออกไปท�ำงานเพ ราะกลัวว่าเธอและลูกจะอดตายถ้าอาศัยเพียงเงินจากการขับรถแท็กซี่จากสามี ซึ่งแทบไม่ค่อย ได้และไม่เพียงพอต่อการด�ำรงชีวิตของเธอและลูก ซ�้ำยังใช้เงินเที่ยวเตร่หาความสุขส่วนตัว เธอจึงตัดสินใจจ้าง พี่เลี้ยงและออกไปท�ำงาน “พี่ก็เลี้ยงเค้าเองได้ประมาณ 3 เดือน ที่เค้าได้อยู่กับพี่ทานนมพี่ แล้วพี่ก็จ้างป้าแถวบ้านเลี้ยงเดือนละ 3,500 บาท เพราะพี่อยากจะกลับไปท�ำงา นส่วนแฟนเค้าก็ไปขับรถเหมือนเดิ มแต่ทีนี้พอเค้าขับรถกลับมาแล้ว แทนที่เค้าจะไปรับลูกจากป้ามาเลี้ยงมาดูแลต่อก็ไม่ไปดูลูก กินเหล้ากลับมาก็นอน บางทีไปวิ่งรถได้เงินมาก็ไป คาราโอเกะ พาสาวไปกินข้าว พี่ก็คุยกันกับสามีเลยว่า มาเอาลูก มาเลี้ยงลูก พี่จะออกไปหาเงิน ถ้าปล่อยให้แต่เค้า หา คือ เงินก็ไม่ค่อยได้ ไม่เห็นเป็นเงินมา พี่กับลูกก็จะอดตายกัน พี่ก็เลยบอกว่าพี่ไม่ไหวแล้ว พี่จะออกหาเงินเอง…” คุณเต่า

1.4. การที่ภรรยาออกไปท�ำงาน และเลิกงานไม่ตรงกัน ท�ำให้สามีคิดว่าภรรยานอกใจ ผู้ชายที่เติบโตมากับระบบชายเป็นใหญ่ มักแสดงความเป็นเจ้าของร่างกายและต้องการควบคุมเซ็กส์ ของผู้หญิง และ คิดว่าผู้หญิงจะนอกใจตนเองเช่นเดียวกับที่ตนเองนอกใจผู้หญิง ดังนั้นในการท�ำงานที่เลิกงาน ไม่ตรงกัน ท�ำให้สามีและภรรยาไม่ได้พบกัน และมีสภาพที่ต่างคนต่างอยู่ สภาพเช่นนี้ท�ำให้สามีเกิดความหึงหวง ภรรยาที่มีเพื่อนผู้ชาย ความหึงหวงท�ำให้คอยจ�้ำจี้จ�้ำไชกับภรรยา หรือ คอยประณามว่า ภรรยานอกใจ จน กระทั่งภรรยาตัดสินใจประชดสามี โดยการนอกใจสามีจริง ท�ำให้เลิกร้างกับสามี แต่ความสัมพันธ์กับชายคน ใหม่ก็ไม่ยืนนาน เป็นการแสวงหาประโยชน์จากผู้หญิงที่ต้องการความรัก เวลา การดูแลจากสามี และส่งผล กระทบต่อลูก ท�ำให้เด็กถูกทอดทิ้งในที่สุด

124

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


“พอมีปัญหากันมากเข้า เค้าก็หาว่าเราเล่นชู้ คือ เราก็มีเพื่อนผู้ชาย เพื่อนกินเหล้า แล้วก็คือท�ำงานเสร็จ ก็มีสังสรรค์บ้าง พอกลับบ้าน บางทีก็ไม่ได้เจอสามี เพราะท�ำงานกะไม่ตรงกันก็เลยเหมือนอยู่ใคร อยู่มัน เราก็ไม่ ยอมรับว่าเราเล่น พอหนักเข้าๆเซ้าซี้ๆ เราก็เลยเล่นชู้มันจริงๆเลย ก็ไหนๆก็ว่าเราเป็นแบบนั้นแล้ว จะเล่นไม่เล่นก็คง ไม่ต่างกัน เราก็เลยไปคุยกับผู้ชายคนหนึ่งที่ท�ำงานด้วยกัน เค้าเป็นคนสุโขทัย ก็อยู่ด้วยกันไม่นาน” คุณอุ้ย

2. การนอกใจ การหย่าร้าง การมีเมียใหม่ และการมีสามีใหม่ ระบบชายเป็นใหญ่ครอบง�ำเรื่องเรื่องของเพศสัมพันธ์ การแต่งงาน การนอกใจ การแยกหรือหย่า และ การมีสามีใหม่ ในลักษณะที่เป็นสองมาตรฐาน คือ เป็นเรื่องธรรมดาของผู้ชาย แต่กล่าวโทษต่อผู้หญิงมากกว่า เช่น สังคมยอมให้สามีนอกใจ ยอมรับการที่สามีมีภรรยาสองคนพร้อมกัน การให้ผู้ชายกินเหล้าและใช้สิ่งเสพติด รวมถึงความรุนแรงต่างๆ สิ่งเหล่านี้ท�ำให้ผู้หญิงทนไม่ได้ ต้องพาลูกหนีไป หรือ พาตัวเองไปให้พ้น ซึ่งก็ท�ำให้มี การต้องทิ้งลูกเกิดขึ้น 2.1. เธอกลับไปเลี้ยงลูกที่บ้าน ปล่อยสามีท�ำงานในเมืองคนเดียว และเขานอกใจเธฮ การเลี้ยงลูกของแรงงานจากต่างจังหวัดที่เข้ามาท�ำงานในกรุงเทพนั้น อาจเป็นเรื่องที่ยาก แม่บางคนจึง เลือกที่จะพาลูกมาเลี้ยงที่บ้านสักระยะหนึ่ง การตัดสินใจปล่อยให้สามีอยู่ตามล�ำพังในเมืองนั้นเป็นการเปิด โอกาสให้สามีของเธอนอกใจ กรณีคุณอ้อม เธอกลับไปเลี้ยงลูกคนที่สองที่บ้าน ซึ่งในระหว่างนั้นแฟนของเธอก็ยังท�ำงานอยู่ที่ กรุงเทพ และส่งเสียเงินกลับมาให้เธอและลู กโดยที่เธอไม่รู้เลยว่าแฟนของเธอเริ่มมีผู้หญิงอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง และเริ่มมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป จนน�ำไปสู่การเลิกร้างจากกัน และลูกก็ปราศจากพ่อ “ลูกคนที่สองเค้าก็ได้ทานนมพี่นะ แม้ว่าช่วงแรก ๆจะต้องไปเลี้ยงเค้าในโรงพยาบาลอยู่สักพัก พอพี่กลับ มาเลี้ยงลูกที่บ้าน เค้าก็ต้องท�ำงานหาเงินส่งเสียทั้งพี่แล้วก็ลูกทั้งสอง แรกๆก็ส่งเงินมาตามเวลา ตามจ�ำนวนที่คุยกัน ไว้ แต่พอหลังๆมาเริ่มส่งช้า ส่งน้อยลง แล้วเค้าก็เริ่มกินเริ่มเที่ยว เริ่มมีผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้อง มาคุย เค้าก็เริ่มเปลี่ยน ไป” คุณอ้อม

2.2. สามีติดหญิงอื่นหรือการนอกใจท�ำให้ภรรยาต้องพาลูกหนีสามี ความซื่อสัตย์ระหว่างสามีและภรรยา เป็นคุณธรรมส�ำคัญซึ่งท�ำให้ผู้หญิงแม้จะล�ำบากยากแค้นเพียง ไหน ก็ไม่เคยหนีไปจากสามี แต่เมื่อใดที่สามีไม่สามารถรักษาคุณธรรมข้อนี้ได้ ภรรยามักจะไม่ยอมที่จะใช้ชีวิต ร่วมด้วยอีกต่อไป บทที่ 4 ผลการศึกษา

125


กรณีคุณอ้อม หลังจากที่คลอดลูกคนที่สอง ก็เริ่มพบว่าแฟนเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมไป จนถึงขั้นทะเลาะ เบาะแว้งกันมากขึ้น เพราะเธอจับได้ว่ามีผู้หญิงมาเกี่ยวข้อง ซึ่งเธอรับไม่ได้ในเรื่องนี้ และตัดสินใจเลิกรากันใน ที่สุด “ที่จริงเค้าก็เปลี่ยนไปตั้งแต่พี่คลอดลูกคนที่สองแล้ว กลับไปท�ำงานแล้วเค้าเริ่มเปลี่ยนไป จนเรารู้สึกได้ ไม่นานพี่ก็จับได้ว่าเค้าคุยกับผู้หญิงอื่น พอพี่จับได้เค้าก็ไม่ยอมรับ ก็มีปากเสียงกันบ่อยขึ้น หนักเข้าๆพี่ก็เริ่มรู้สึกว่า ไม่ไหว ... พี่ก็หนีมาเลย” คุณอ้อม

2.3. การที่พ่อมีครอบครัวใหม่ คือ การทิ้งลูก การมีครอบครัวใหม่หรือการแต่งงานใหม่หรือการมีลูกคนใหม่ของพ่อ คือ การทิ้งครอบครัวเก่าหรือลูก ไปอย่างถาวร เนื่องจากพ่อไม่มีความสามารถที่จะดูแลสองครอบครัว ซึ่งต้องการพ่อคนเดียวกันได้ในเวลา เดียวกัน ความขัดแย้งมักจะเกิดขึ้น และจบลงด้วยการที่ลูกจากภรรยาเก่าต้องถูกพ่อทอดทิ้ง กรณีคุณกี้ ที่สามีขาดการติดต่อไป แล้วทราบภายหลังว่าสามีมีครอบครัวใหม่แล้ว “ไม่ได้ติดต่อกันหรอก พี่เค้าก็มีครอบครัวใหม่แล้ว แฟนใหม่เค้าก็คนในอ�ำเภอแหละ ผู้หญิงก็มีลูกแล้วก็ ทิ้งสามี รายนี้ก็ทิ้งเมีย ก็ไปได้กัน” คุณกี้

2.4. สามีพาผู้หญิงอื่นเข้าบ้าน ท�ำร้ายจิตใจเธอและลูก จนต้องให้เลิกกัน การที่สามีนอกใจภรรยานั้น โดยปกติเป็นปัญหาหลักของภรรยา ที่จะตัดสินใจว่าจะตัดสินใอจย่างไร แต่อย่างไรก็ตามในสังคมชายเป็นใหญ่มักมีการรังเกียจการหย่าร้าง โดยพยายามอ้างเหตุผลที่ให้สามีภรรยาอยู่ ด้วยกันต่อไป เพื่อเห็นแก่ลูก การหย่าร้างจริงจังเด็ดขาดในสังคมชายเป็นใหญ่แบบไทยจึงมีน้อย แต่เป็นเพียง แยกกันอยู่ ซึ่งท�ำให้ผู้หญิงและลูกตกอยู่ในความทุกข์ใจตลอดเวลา และยอมหรือเพิกเฉยให้สามีมีเเมียน้อยจน กระทั่งพ่อของฝ่ายหญิงทราบ และให้เลิกกับสามี กรณีคุณแหวน เธฮมีสามีเจ้าชู้ และยังพาหญิงอื่นเข้ามาในบ้าน จนกระทั่งลูกสาวเห็นและพ่อของคุณ แหวนทราบ จึงสนับสนุนให้แยกทางกัน คุณแหวนและแฟน แม้จะมีปัญหาแต่เธอก็พยายามอดทน จนกระทั่ง ทนไม่ไหว เนื่องจากสามีไม่เกรงใจเธอ และยังท�ำร้ายจิตใจลูก เธอจึงขอให้พ่อของเธอมารับเธอและลูกกลับบ้าน ซึ่งผู้ใหญ่ต่างก็พยายามขอให้เธออดทน 126

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


“ตอนนั้นลูกคนเล็กได้ 5 เดือนพี่ก็ทิ้งลูก เข้ามาท�ำงานในกรุงเทพอีกครั้ง มาแรกๆก็มาท�ำงานรับเหมากับ พ่อแม่แฟน สักพักลูกคนโตได้ ป.4 คนเล็กอยู่ป .2 พี่ก็รับลูกทั้งสองคนมาเลี้ยง ก็มาอยู่เป็นครอบครอบครัว พี่ก็คิดว่า ทุกอย่างจะดีขึ้น แต่ก็เหมือนเดิมเค้าก็ไม่ค่อยเข้าบ้านกลับมาบ้าน บางทีก็ไม่ได้เจอหน้ากัน บางทีก็พาผู้หญิงมาบ้าน ทั้งๆที่ลูกก็อยู่บ้าน แรกๆเค้าก็ไม่ถาม พอหนักเข้าข้างบ้านก็แซว จนลูกทนไม่ไหวมาถามพี่ พี่ก็เลยบอกแฟนว่าถ้าลูก ถามพี่จะพูดนะ แล้วพี่จะพาเค้าไปอยู่ที่บ้าน เค้าก็บอกว่าถ้าคิดว่าไปรอด ก็ไปเลย เอาจริงๆพี่ก็ไปได้นะ แต่ที่ทน อยู่ ก็เพราะลูก คือพี่ก็ร้องไห้น้อยใจอยู่บ่อยๆ แต่ก็เกรงใจพ่อกับแม่เค้า เกรงใจคนในบ้าน ถ้าจะทะเลาะกันเรื่อง ใหญ่โต…จุดที่จะแตกหักจริงๆคือ ลูกคนเล็กถามพี่ว่า น้าคนที่มาบ้านเป็นใคร คนข้างบ้านเค้าบอกว่า เป็นแม่เลี้ยง พี่ก็เลยถามลูกว่า แล้วคิดว่าเค้าเป็นใครหล่ะ ลูกพี่ก็เลยบอกว่าไม่ใช่น้าหรอก น้าไม่หน้าตาแบบนี้ ใส่ชุดนอนแม่ด้วย พี่ก็เลยบอกว่า โอเคเดี๋ยวพี่ถามแม่ให้ พี่ก็ถามเค้าวันนั้น ถามให้พ่อแฟนได้ยิน วันนั้นพี่ก็ไม่ท�ำงาน รอเค้ากลับมา บ้านพี่ก็ถามเค้า แฟนพี่เค้าก็บอกพี่ว่า แล้วจะเอาอะไร เราก็บอกว่าไม่เอาอะไรทั้งนั้น ถ้าเลิกไม่ได้หรือว่าท�ำให้ถึง ขนาดที่ลูกต้องถาม พี่จะกลับไปอยู่บ้าน พี่ก็โทรหาพ่อพี่เย็นวันนั้นเลย บอกว่าให้ขึ้นมาหาหน่อย พ่อพี่ก็ถามว่ามี อะไร พี่ก็พูดแค่ว่า พี่จะกลับไปอยู่บ้านคือ14 ปี ที่ผ่านมา พี่ไม่เคยให้เรื่องปัญหาครอบครัวถึงหูพ่อกับแม่พี่เลย จน กระทั่งวันนั้นพอพ่อพี่มา เค้าก็คุยกันกับพ่อแฟน แล้วเค้าก็มาถามพี่ว่าไม่ลองคุยกันดีอีกครั้ง พี่บอกว่าไม่มีอะไร คุยแล้ว พ่อพี่ได้ฟังแบบนั้น เค้าก็เช่ารถหกล้อแถวนั้นแหละขนของพาพี่กลับเลย” คุณแหวน

2.5. การนอกใจของสามี ท�ำให้ครอบครัวแตกแยก ลูกรังเกียจพ่อ พ่อไม่เคยส่งเสียดูแลลูก การที่สามีนอกใจภรรยานั้น ท�ำให้ครอบครัวล่มสลาย แม่และลูกรู้สึกรังเกียจสามีและพ่อ และลูกยัง สนับสนุนให้แม่เลิกกับพ่อ และฝ่ายหญิงเลี้ยงดูลูกตามล�ำพัง โดยพ่อของลูกไม่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย “ตอนแรกเค้าก็จะให้พี่แบ่งลูก แต่ลูกเอ่ยปากเลยว่า ขนาดอยู่ด้วยกัน หน้าป๊าหนูยังไม่เห็นเลย คือ ลูกสาวเค้าออกปากเองว่า หนูรู้นะว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นแฟนใหม่ป๊า แม่จะทนอยู่ท�ำไม หนูไม่กลัวนะที่จะไม่มีพ่อ เค้า ก็พูดกับพี่แบบนี้ พี่ก็มาคิดนะว่าพี่ทนอยู่ก็เพราะลูก แต่ถ้าลูกพูดแบบนี้ ก็ไม่มีเหตุผลที่เราต้องทน พี่ก็เลยเอาลูกทั้ง สองคนมาเลี้ยงเอง ก็เลิกรากับเค้า…ไม่ได้ส่งเสียเลย ส่วนปู่ย่าเค้าก็มาเยี่ยมหลาน แต่หลานก็คือโตและห่างก็ไม่ เข้าหาเค้าแล้ว” คุณแหวน

2.6. การติดเพื่อน ติดเหล้า ติดหญิงของเขา ท�ำให้ครอบครัวล่มสลาย ต้องทิ้งลูก ในสังคมชายเป็นใหญ่แบบไทย ลูกชายมักจะเป็นการเลี้ยงดูแบบตามใจมากและทุกสิ่งทุกอย่าง ส่วน ใหญ่ไม่ต้องรับผิดชอบงานบ้าน พ่อแม่ดูแลจนโต ถูกยกย่องตามใจกว่าเด็กหญิง เด็กผู้ชายในระบบชายเป็นใหญ่ จึงให้มเี วลาว่างค่อนข้างมาก สามารถเทีย่ วเล่นกับเพือ่ นผูช้ าย การคบกับเพือ่ นและการแสดงความเป็นชาย ได้แก่ การติดเหล้า ติดเพื่อน ติดหญิง เป็นพฤติกรรมปกติ ซึ่งคนในครอบครัวมักยอมรับ บางรายพ่อแม่ต้องรับภาระ เลี้ยงดูลูกเมีย สนับสนุนการเงิน

บทที่ 4 ผลการศึกษา

127


กรณีคุณติ๊ก เธอต้องเลิกกับสามี และเลี้ยงลูกคนเดียว คุณติ๊กหลังจากกิจการในกรุงล้มเหลว และกลับ มาบ้าน แม่ของแฟนก็ให้ความช่วยเหลือ และลงทุนให้เปิดร้านขายของช�ำในหมูบ่ า้ นให้สามีและภรรยาช่วยกันท�ำ มาหากิน อย่างไรก็ตามสามีของเธอไม่ได้มุ่งมั่นการท�ำงาน แต่กลับเริ่มติดเพื่อน และติดหญิง จนท�ำให้ทะเลาะ กัน และร้านก็ล้มละลายและเลิกกัน ท�ำให้ฝ่ายหญิงต้องทิ้งครอบครัวและลูก กลับมากรุงเทพท�ำงานเป็นพริตตี “พอกลับมาอยู่บ้าน แม่ของแฟนก็ลงทุนเปิดร้านขายของช�ำเล็กๆให้ที่บ้านพี่ เหมือนให้ช่วยกันท�ำมา หากินอีกครั้ง แต่เค้าก็เริ่มเปลี่ยนไป เพราะว่า เค้าเริ่มมีเพื่อน เริ่มติดเพื่อน ออกเที่ยว กินเหล้า ติดผู้หญิง แล้วก็ไม่ ค่อยมาช่วยพี่ท�ำงาน จนสุดท้ายร้านก็เจ๊งอีกรอบ ก็มีการทะเลาะกันมาเรื่อยๆ จนสุดท้ายก็เลิกกันในที่สุด ตอนนั้นพี่ ก็ขึ้นมาอยู่ที่กรุงเทพกับแฟนของน้องสาว มาเป็นพริตตี้ ออกตามบูทนอกสถานที่”คุณติ๊ก

2.7. แม่ลูกสี่ จ�ำเป็นต้องเลิกกับสามีติดเหล้า ติดยา ติดหญิง ทั้งที่ลูกคนสุดท้องยังอยู่ในท้อง การติดเพือ่ น ติดเหล้า ติดยา และติดหญิงนัน้ การมีเมียใหม่ การทะเลาะเบาะแว้ง ท�ำให้ผหู้ ญิงไม่สามารถ จะทนอยู่ในสภาพเช่นนี้ เธอทั้งรู้สึกรังเกียจ เบื่อ และแม้เธอจะมีลูกกับเขาหลายคน และมีลูกคนสุดท้องติดอยู่ใน ท้อง แต่ก็จ�ำเป็นต้องเดินออกจากชีวิตของเขามา และเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวเลี้ยงลูกสี่คน “มีปัญหากับสามีตอนที่พี่ท้องลูกสาวคนสุดท้องนี่แหละ พี่ทนไม่ไหว ก็เลยหนีออกมาเลย เค้าก็เจ้าชู้นะ มี กิ๊กเยอะ กินเหล้าเมา เล่นยา คือ ก็เป็นแบบนี้มานานจนพี่ทนไม่ไหวแล้ว ก็เลยหนีออกมาด้วยความเบื่อหน่าย คือ พี่ ก็ปั่นจักรยานกลับมาอยู่บ้านเฉยๆนี่แหละ พี่ก็ไม่ได้สนใจไม่ได้อะไร...หลังจากนั้นเค้าก็มีเมียใหม่มาเรื่อยๆ พี่ก็เลยไม่ ไหวแล้ว คือ ทั้งไม่ชอบ ทั้งรังเกียจ ทั้งเบื่อ เลิกรากันไปจะดีกว่า…พ่อแม่เค้าก็ไม่อยากให้พี่เลิกหรอก เพราะพี่ก็มีลูก กับลูกชายเค้าตั้ง 4 คน แต่พี่ก็บอกว่าให้พี่ไปเถอะ พี่ไม่ไหวแล้วจริงๆ คือ ทะเลาะกันไม่รู้จะยังไงแล้ว พี่พูดเค้าก็ไม่ ฟัง ไม่ยอมหยุด ตอนนั้นลูกชายคนที่สองเค้าก็อยู่ที่บ้านน้าพี่อยู่แล้วแล้ว พี่ก็มีลูกติดท้องพี่มา” คุณอิ้บ

2.8. การไม่รับผิดชอบของพ่อ คือ การบังคับให้ภรรยาเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวและต้องทิ้งลูกไปท�ำงาน

พ่อที่อยู่ห่างไกลหรือพ่อที่เหลวไหล ไม่ท�ำงานเลี้ยงครอบครัว หรือพ่อแบบอื่นๆที่ไม่เลี้ยงลูกเมีย ก็เป็น เงื่อนไขที่สร้างความจ�ำเป็นให้กับแม่ ต้องตัดสินใจว่าจะอยู่กินกับพ่อต่อไปหรือไม่ แม่ส่วนหนึ่งก็ตัดสินใจที่จะเลิก กับสามี และการเลิกกับสามีก็บังคับให้เธอต้องออกไปท�ำงานเพื่อเลี้ยงลูก และต้องฝากลูกไว้กับคนอื่น

128

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


การไม่รับผิดชอบของสามี ท�ำให้ผู้หญิงเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว การเป็นแม่ที่เลี้ยงเดี่ยวน�ำไปสู่การที่แม่ทิ้งลูก ไปท�ำงาน การเลิกกับแฟนหรือการถูกแฟนเลิกและต้องเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวนั้น เป็นเรื่องที่ยากมากส�ำหรับผู้หญิง โดยเฉพาะแม่เลีย้ งเดีย่ วทีม่ อี ายุนอ้ ย มีการศึกษาน้อย และมาจากครอบครัวทีม่ ฐี านะไม่ ดีแม่เลีย้ งเดีย่ วเหล่านีม้ กั จะพยายามอดทนเลีย้ งลูก จนกระทัง่ เห็นว่าลูกโตพอสมควรแล้ วก็จะตัดสินใจทิง้ ลูกออกไปหางาน แม่เลีย้ งเดีย่ ว ส่วนมากมักจะทิง้ ลูกไว้กบั แม่ของตนเอง บางรายแม่ ครอบครัว อาจช่วยสนับสนุนได้มาก บางครอบครัว แม่เลีย้ ง เดี่ยวอาจต้องช่วยตนเองมาก มีปัญหาอื่นๆตามมามาก กรณีคุณหน่อย ปัจจุบันคุณหน่อยเลิกกับแฟน ลูกของเธอกลายเป็นลูกที่ต้องอยู่ห่างพ่อ ส่วนเธอต้อง รับภาระดูแลลูกทั้งสองคน ด้วยการท�ำงานเป็นแม่บ้านที่ต่างจังหวัด อีกนัยหนึ่งเธอก็ต้องทิ้งลูกไปท�ำงาน เพื่อให้ ได้มาซึ่งรายได้ และส่งเสียเงินที่ได้กลับไปให้ลูกทั้งสอง “พี่มาท�ำงานเป็นแม่บ้านที่ขอนแก่น เพื่อนเค้าชวนมาท�ำงาน เพราะก็อยู่ใกล้บ้าน...เพราะว่าเราก็มีภาระ มีลูก...” คุณหน่อย

กรณีคุณอุ้ย ลูกของคุณอุ้ยก็ไม่มีพ่อ เพราะพ่อแต่งงานใหม่ มีครอบครัวใหม่ และไม่ติดต่อกลับมาหา ลูก และไม่ส่งเสียเลี้ยงดูลูกด้วย เธอจึงไม่คิดว่า จะต้องพึ่งพาเงินจากพ่อของเด็ก และก็จะเลี้ยงลูกทั้ง 2 คน ด้วย เงินที่เธอท�ำมาหากินมาด้วยน�้ำพักน�้ำแรงของเธอเอง และลูกของเธอต้องเติบโตโดยไม่มีพ่อ คุณอุ้ยต้องทิ้งลูกไป ท�ำงาน “ไม่ได้ติดต่อกันเลย เพราะว่าเค้าก็มีครอบครัวใหม่แล้ว ภรรยาใหม่เค้าก็มีลูกติดมา 2 คน สามีเก่าเราก็ ไปเลี้ยงลูกให้เขา คือ เขาก็ไม่เคยมาส่งเสียเลี้ยงดูลูกทั้ง 2 คน ของเราเลยนะ ถ้าอยากกลับมาเพราะลูก เพราะความ จ�ำเป็น ก็ไม่ต้องกลับ ต่างคนต่างอยู่จะดีกว่า ไม่เป็นไรลูก 2 คน เราก็หาเลี้ยงได้ ไม่มี ก็จะทุกวิถีทางเพื่อให้มีเงินมา เลี้ยงลูกจนเติบโตให้ได้” คุณอุ้ย

กรณีคุณหลา ต้องหยุดให้นมลูก ทิ้งลูกไว้กับแม่ และกลับมาท�ำงาน แม้เธอจะอยากอยู่ใกล้ชิดและรัก ลูกมากเท่าใดก็ตาม “เราก็มีลูกชายคนหนึ่งตอนนี้อยู่อนุบาล 1 ก็ประมาณ 6 ขวบ ก็อยู่กับแม่เราที่ต่างจังหวัด…เราก็เลี้ยงลูก เองจนเค้าได้ 1 ปี กับอีก 6 เดือน เราก็เริ่มไม่ไหวแล้ว คือเราก็อยากท�ำงาน อยากมีเงินเก็บแล้ว ก็คือ เราก็เลี้ยงลูก อยู่คนเดียว จะไปจ้างเลี้ยงก็ไม่ไหว เราก็เลยเอาลูกออกนมแล้ วก็เอาลูกมาทิ้งไว้กับแม่เลย” คุณหลา

บทที่ 4 ผลการศึกษา

129


2.9. การอยู่กินกับแฟนใม่หของแม่เลี้ยงเดี่ยว คือ การทิ้งลูกของแม่ การทิ้งลูกเพื่อไปท�ำงานของแม่เลี้ยงเดี่ยว เป็นการทิ้งลูกที่ยังมีความผูกพันสูง แต่การทิ้งลูกไปแต่งงาน ใหม่นั้น มีแนวโน้มที่จะเป็นการทิ้งลูกแบบถาวรเช่นกัน กรณีคุณเต่า เธอถูกสามีทิ้ง และเธอต้องทิ้งลูกไปท�ำงาน หลังจากคลอด เลี้ยงลูกได้ขวบกว่า ได้พบรัก กับแฟนคนที่สองซึ่งคบหากันได้ไม่นาน ตัดสินใจมาท�ำงานและมาอยู่กินกับแฟนคนที่สองของเธอ นั่นก็คือ การ ทอดทิ้งลูกคนแรก แม้จะมียายเป็นคนเลี้ยงก็ตาม “พี่ก็เลี้ยงเค้าอยู่เกือบปี ... บ้านพี่ก็ไม่ได้มีเงินทองมากมาย ยากจนด้วยซ�้ำ แล้วก็มาประกอบกับที่พี่มา เจอสามีคนที่สองพอดี ก็เลยตัดสินใจเข้ามาท�ำงานในกรุงเทพ ทั้งคู่เลย แฟนเค้าบอกว่าเค้าจะเข้ามาขับแท็กซี่ พี่ก็ไป ท�ำงานร้านอาหาร” คุณเต่า

2.10. พ่อและแม่ต่างมีแฟนใหม่ และต่างทอดทิ้งลูก การมีปัญหาครอบครัวมักท�ำให้ความรักระหว่างกันหมดไป และทั้งสองฝ่ายก็เริ่มมีแฟนใหม่ ซึ่งอาจ เป็นการเอาชนะซึ่งกันและกัน ไม่แคร์กัน แสวงหาความสุขและต้องการในมุมของตนเอง แต่ไม่มีใครสนใจวาลูก จะคิดอย่างไร ต้องการอะไร นั่นก็คือ การทอดทิ้งลูกจากทั้งพ่อและแม่ แม้ลูกอาจจะยังได้รับการส่งเสียเลี้ยงดู แต่ในความต้องการความรัก ต้องการพ่อแม่น้น ถือได้ว่า เด็กถูกทอดทิ้งเกือบจะสมบูรณ์

กรณีคุณจิ๊บจ้อย “ความรู้สึกพี่มันเหมือนกับพี่หมดรักเค้าแล้ว เหมือนอยู่ด้วยกันก็จริ งแต่มันไม่ได้อยู่ด้วยกันเพราะความ รักแล้ว เหมือนต่างคนต่างไปท�ำงาน ความรู้สึกพี่คือ เหมือนต่างคนใจก็ต่างออก ถ้าเค้ามีคนอื่นได้ เราก็มีคนอื่นได้ เหมือนกัน ... ไม่ยอมหันหน้ามาคุยกัน เค้าก็ถามพี่ว่าพี่มีแฟนใหม่ใช่ไหม พี่ก็ถามเค้ากลับ เค้าก็บอกว่าเค้ามี พี่ก็บอก ว่าพี่ก็มีเหมือนกัน” คุณจิ๊บจ้อย

กรณีคุณอ้อม

“พอผ่านไปสักอาทิต ย์พ่อแม่เค้าก็โทรมาประมาณว่าลองคุยกันดูดีๆ ไหม ให้เห็นแก่ลูก พี่ก็เลยบอกว่า ไม่ต้องมาคุยกับพี่ เพราะพี่ไม่ใช่คนก่อเรื่อง ไปคุยกับลูกชายแม่ ถ้าเค้ายังตัดไม่ได้ ยังมีเรื่องนี้อยู่ อยู่กันไปก็เท่านั้น หลังจากนั้นมาพี่ก็ไม่ได้ติดต่อไปทางบ้านเค้าอีกเลย รวมถึงตัวสามีด้วย…อันนี้พี่รู้เลย เพราะพี่ก็มีครอบครัวใหม่ ก็ไม่ ได้สนใจถามหาเค้า แต่ว่าปู่ย่าเค้าก็โทรมาถามข่าวหลานเป็นระยะๆ อยู่นะ แต่ว่าเค้าก็ไม่โทรมาหรอก” คุณอ้อม

130

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


2.11. แฟนใหม่ของแม่ก็ไม่ต้องการลูกติด การทีแ่ ม่ของเด็กจะมีครอบครัวใหม่ หรือแต่งงานใหม่กเ็ ป็นทางเลือกทีด่ ี อย่างไรก็ตามในสังคมแบบชาย เป็นใหญ่ แฟนใหม่ของแม่ของเด็กมักจะไม่ค่อยยอมรับลูกติดจากสามีเก่า ลูกๆจึงถูกทอดทิ้ง ไร้คนดูแลให้ความ รัก ขาดทั้งพ่อและแม่ “เราเลิกรากับแฟนคนแรก เราก็มาเจอแฟนคนที่ 2 ที่เป็นต�ำรวจ แล้วก็ค่อยมาเจอกับแฟนคนนี้ ก็เกือบๆ 3 ปี เหมือนกัน ถึงได้มาเจอเขากับแฟนต�ำรวจ ตอนแรกเขาก็อยากมาขอเรา แต่เค้าจะไม่เอาลูกเรา ไม่เอาครอบครัว เรา เค้ารักแต่เราจะไม่เอาคนอื่น” คุณทิพย์

2.12. อดีตสามีน�ำลูกไปทิ้งไว้ที่สถานเลี้ยงเด็กก�ำพร้า การที่สามีใหม่ไม่ต้องการลูกของสามีเก่าก็เป็นเรื่องที่พอจะเข้าใจได้ อาจพบเห็นการท�ำร้ายร่างกาย การเพิกเฉย การละเมิดทางเพศ แต่ที่ยิ่งไปกว่านั้น คือ การที่พ่อเอาลูกไปทิ้งไว้ที่สถานสงเคราะห์เด็ก หรือ บ้านเด็กก�ำพร้า เนื่องจากแม่ไม่มาดูแล กรณีคุณเต่า เธออยู่กินมีครอบครัวหลายครั้ง เมื่อเลิกกับอดีตสามี ก็จะทอดทิ้งให้ลูกอยู่กับอดีตสามี และเมื่ออยู่กินกับสามีปัจจุบันและเธอก�ำลังตั้งท้องอีกครั้ง และก็ได้รับแจ้งจากสถานรับเลียงเด็กก�ำพร้า ว่าสามี คนที่สองของเธอ เอาลูกไปให้สถานรับเลี้ยงเด็กก�ำพร้าเลี้ยงในกรุงเทพฯเลี้ยง เธอจึงไปรับลูกของเธอและเขา กลับคืนมา ปัญหาความเห็นแก่ตัว และต้องการท�ำร้ายกัน ท�ำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่ถูกทอดทิ้งโดยสมบูรณ์จาก พ่อและแม่ของเขา “ช่วงนั้นพี่ก็ไม่รู้ว่ายังไง เค้าเอาลูกสาวพี่ไปไว้ที่สถานเลี้ยงเด็กก�ำพร้า โดยที่พี่ไม่รู้เลยว่า เค้าเอาลูกพี่ไปไว้ ที่นั่น จนพี่กลับมาอยู่บ้าน แล้วสถานสงเคราะห์ในจังหวัด เค้าถามหาแม่ของเด็กหญิงคนนี้ พี่ถึงรู้ว่าเค้าเอาลูกพี่ไป ไว้สถานเลี้ยงเด็กก�ำพร้า… พี่คลอดลูกคนที่ 3 ได้ไม่กี่วัน 4 วัน ทางสถานเลี้ยงเด็กก�ำพร้าบ้านปากเกร็ด ก็โทรมาถาม หาแม่ของเด็กชื่อนี้ จากทางสถานสงเคราะห์ในจังหวัด พี่พอได้รับโทรศัพท์ก็ตกใจ ท�ำอะไรไม่ถูกเลย ในตอนนั้น พี่ ก็ยังตั้งหลักไม่ถูก รู้แต่ว่า เค้าบอกว่าให้เราไปรับลูกที่สถานเลี้ยงเด็ก เค้าก็ถามพี่ว่าท�ำไมถึงเอาลูกมาไว้ ซึ่งพี่ไม่รู้ เรื่องอะไรทั้งนั้น เพราะอดีตสามีพี่เค้าพูดว่า เค้าจะเลี้ยงลูกพี่ แต่ท�ำไมถึงเอาเค้ามาทิ้งไว้ที่นั่น เค้าก็ถามพี่ว่า จะมา รับลูกไหม พี่บอกว่าไปรับ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นพี่ก็จะไปรับเค้า พอไปถึงลูกสาวเค้าเห็นหน้าพี่ เค้าก็วิ่งเค้ามากอดพี่ ร้องไห้กันทั้งสองคนแม่ลู กตอนนั้นเค้าน่าจะอายุได้2ขวบกว่า” คุณเต่า

บทที่ 4 ผลการศึกษา

131


สรุป

ระบบชายเป็นใหญ่ที่พ่อแม่เลี้ยงดูลูกชายตามใจ ไม่ว่าแม้ลูกชายจะมีพฤติกรรมเสียหาย เช่น ติดเพื่อน ติดเหล้า ติดยาเสพติด และติดหญิง จนขนาดเป็นสาเหตุส�ำคัญ ที่ท�ำให้ภรรยาต้องแยกทางกับสามี หรือ ท�ำให้ พ่อต้องแยกทางกับลูด การที่สามีนอกใจภรรยานั้ นนอกจากจะเป็นการกระท�ำความรุนแรงกับภรรยา ยังเป็น ความรุนแรงทีก่ ระท�ำต่อเด็ก ต่อสังคม เป็นการท�ำลายครอบครัว ทีร่ ว่ มกันสร้าง และ ดูแลเลีย้ งดูสมาชิกใหม่หรือ ลูกร่วมกัน ในท�ำนองเดียวกันเมื่อแม่ของเด็กกลายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ซึ่งมักไม่มีความสามารถในการเลี้ยงตัวเอง และเลี้ยงลูก แม่เลี้ยงเดี่ยวจึงมักแต่งงานใหม่ การแต่งงานใหม่โดยเฉพาะการมีลูกกับสามีใหม่ มีผลท�ำให้ลูกจาก สามีเก่าถูกทอดทิ้งอย่างไม่เป็นธรรมอีก เช่นกัน 3. ความรุนแรงที่สามีกระท�ำกับภรรยา ความรุนแรงโดยเฉพาะความรุนแรงทางร่างกาย เพศ เป็นการก่ออาชญากรรม แต่ความรุนแรงที่สามี กระท�ำต่อภรรยา มักมองว่าเป็นความรุนแรงในครอบครัว เป็นปัญหาผัวๆ เมียๆ ซึ่งก็ตีกัน ทะเลาะกัน เดี๋ยวก็ดี กัน ทั้งที่เป็นการกระท�ำที่สร้างความเจ็บปวดทางร่างกาย จิตใจอย่างรุนแรงกับภรรยา และลูก ซึ่งอาจอยู่ใน เหตุการณ์ และอาจมีการข่มขู่กระท�ำรุนแรงกับลูกด้วย ดังนั้นภรรยาจึงมักต้องทนต่อการกระท�ำรุนแรงของสามี อย่างไรก็ตาม เมือ่ ถูกกระท�ำรุนแรงมากๆ ภรรยาก็จำ� เป็นทีจ่ ะต้องหนี หรือ สู้ ซึง่ มีผลท�ำให้เกิดการทอดทิง้ ลูกเกิด ขึ้น เนื่องจากสามีหรือครอบครัวอาจไม่ยอมปล่อยลูกไปกับแม่ หรือแม่อาจะไม่มีก�ำลังพอจะเลี้ยงลูก อีกนัยหนึ่ง สามีบีบบังคับให้แม่ต้องทิ้งลูกอย่างไม่เป็นธรรม ทั้งลูกและแม่ควรได้อยู่ด้วยกัน 3.1. การถูกสามีท�ำร้ายร่างกาย ท�ำให้ต้องทิ้งลูกไว้กับสามี และลูกก็ห่างจากแม่ไปเรื่อยๆ ปกติการท�ำร้ายร่างกายภรรยามักจบที่ภรรยาพาลูกกลับบ้านเกิด แต่บางกรณีภรรยาก็เลือกที่จะกลับ บ้านและให้ลกู อยูก่ บั สามี ซึง่ มีครอบครัวทีม่ ฐี านะดี การจากลูกเพือ่ กลับบ้านนัน้ ลูกก็เข้าใจดี และคิดว่าจะมีโอกาส ที่จะกลับไปอยู่กับแม่ในภายหลัง แต่ในความเป็นจริง ลูกมักห่างแม่ไปเรื่อยๆ และอาจขาดการติดต่อกันในที่สุด กรณีคุณอ้อ คุณอ้อได้เลิกรา และหย่าร้างกับสามีนานหลายปีแล้ว เพราะสามีท�ำร้ายร่างกาย เธอเธอ จึงตัดสินใจออกจากบ้านของสามี และฝากลูกสาวของเธอไว้กับปู่และย่า ซึ่งปัจจุบันลูกสาวของเธออายุ 23 ปี ก�ำลังจะเรียนจบในอนาคตอันใกล้และมีหน้าที่การงานสามารถพึงพาตนเองได้แล้ว

132

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


“มีลูก 1 คนลูกผู้หญิง 23 ปี เค้าก็เรียนต่อปวส. ปีสุดท้าย แต่เค้าก็ท�ำงานไปด้วยนะ เค้าก็มีเงินใช้ของเค้า ก็ท�ำงานบริษัทปู่ย่าเค้านั่นแหละ ตอนนั้นลูกพี่ก็โตแล้วนะน่าจะประมาณ 4 ขวบ ได้ตอนนั้นที่พี่ทะเลาะกับแฟนหรือ ว่าแฟนเค้าท�ำร้ายร่างกายพี่ ลูกเค้าก็เห็นนะคือเค้ารับรู้ทุกอย่าง ว่าแม่เค้าโดนพ่อท�ำอะไรบ้าง ซึ่งพี่ก็บอกเค้าว่าพ่อ เค้าท�ำแบบนี้กับแม่นะ แม่จะขอไปอยู่กับตากับยายสักพัก ลูกพี่เค้าก็เข้าใจนะ เค้าก็บอกว่าเค้าอยู่ที่นี่ได้ แม่ไปอยู่กับ ตากับยาย ก่อนเดี๋ยวหนูตามไปอยู่ด้วย เค้าก็เข้าใจนะแล้วอีกอย่างหนึ่งก็กลัวว่าพ่อจะท�ำร้ายแม่ตอนช่วง 4-9 ขวบ เค้าก็มาหาสู่กับพี่อยู่นะ โทรคุยกัน บางทีพี่ก็ไปหาเค้า บางทีเค้าก็มาหาพี่ แต่พอเค้าได้ประมาณ 10 ขวบ เค้าก็เริ่ม ห่างจากพี่ไปเรื่อยๆ… พี่ก็อยู่ของพี่แบบนี้ไปเรื่อยๆ ไม่มีครอบครัวใหม่แล้ว พี่ก็เข็ดแล้ว คือ ก็ไม่อยากจะมาเจอเรื่อง แบบเดิมอีก พี่ก็ท�ำแต่งานไม่ค่อยมีเวลาได้ไปสนใจใครหรอก พี่ก็ท�ำงานกลับมา ก็นอนพักผ่อน เงินทองก็พอได้กินได้ ใช้ไม่เดือดร้อนสักเท่าไหร่” คุณอ้อ

3.2. การกระท�ำรุนแรงของสามีต่อภรรยาท�ำให้ต้องท�ำให้แยกพ่อออกจากลูก ในการกระท�ำรุนแรงระหว่างสามีภรรยา เป็นเรื่องของความคิดว่า ใครมีอ�ำนาจมากกว่าใคร ใครต้อง เกรงใจใคร ใครต้องพึ่งพาใคร คือมีความคิด ความรู้สึกที่อยากจะท�ำ อยากจะแสดงให้เห็นว่า เธอต้องเชื่อฟัง ชั้น จะใช้อ�ำนาจอย่างไรก็ได้ และมักมีการดื่มสุราเพื่อเป็นข้ออ้างในการกระท�ำรุนแรง พ่อของเด็กที่ถูกทอดทิ้งและ ไม่มใี ครต้องการมักชอบดืม่ เหล้า ซึง่ มักน�ำไปสูก่ ารกระท�ำรุนแรงต่อภรรยา ในรูปบบต่างๆเช่น ท�ำร้ายร่างกาย บีบ บังคับทางจิตใจ อารมณ์ต่างๆ การข่มขืนภรรยา หรือการมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาโดยไม่เต็มใจ เช่น ระหว่างการ ตั้งครรภ์ และการกล่าวหาแสดงอ�ำนาจ ด้วยถ้อยค�ำวาจาหยาบคาย หรือท�ำให้เจ็บปวดทรมานใจ กรณีคุณรจนา ถูกสามีกระท�ำรุนแรงขณะตั้งครรภ์ แต่พ่อของเธอได้เข้ามาช่วยเลือ และท�ำให้ได้แยก พ่อกับลูก สามีกับภรรยาจากกัน “ตอนท้องช่วงที่ไปอยู่กรุงเทพ ก็มีปัญหากันบ่อยนะพี่ คือแฟนหนูเค้าชอบดื่มเหล้า พอเมามาก็จะชอบ มานัวเนีย แล้วหนูคนท้องก็เหนื่อยร�ำคาญ อยากพักผ่อน ก็มีลงไม้ลงมือกับเค้าบ้าง บางทีเด็กแถวบ้านขึ้นไปหาให้ หนูแนะน�ำงานให้ ก็มาว่าหนูมีคนใหม่ก็ทะเลากันมีปากเสียงกัน เค้าเคยตบหน้าหนูด้วยนะ แล้วหนูก็ล้มลงพอได้ที หนูก็เอาคืนบ้าง วันนั้นอดไม่ไหวเลยโทรหาพ่อหนูเลย เฉพาะเวลาที่พี่เค้าเมานะ ถ้าไม่เมาก็ไม่มีอะไร ตอนยังไม่มีลูก ก็ตีกันนะพี่ เพราะพี่เค้าทานแต่เหล้า แล้วชอบพูดจาให้มีเรื่องทะเลากันตลอด…พ่อหนูพอรู้เรื่องก็บอกว่า ถ้ามาท�ำ อะไรลูกอีกครั้ งให้ต่างคนต่างอยู่ไปเล ยเดี๋ยวพ่อจะไปจัดการเอง ถ้ามันกล้าท�ำอะไรหนูอีก...ไปอยู่ได้ 3-4 เดือน ก็ ขึ้นมาอยู่บ้าน 2 เดือน ก่อนจะคลอดก็คงไม่กลับไปแล้วพี่” คุณรจนา

3.3. การถูกกระท�ำรุนแรงโดยสามีท�ำให้ต้องเลิกกัน และท�ำให้ลูกถูกทอดทิ้งทั้งจากพ่อและแม่ี

การที่สามีมองว่าภรรยาเป็นสมบัติส่วนตัวของสามี และต้องการจ�ำกัดสิทธิของแม่ของเด็กในหลายด้าน รวมทั้งด้านการศึกษา และการคบหากับคนอื่น มีผลท�ำให้แม่ของเด็กตัดสินใจแยกทางกับพ่อของลูก และมีสามี ใหม่ผล ที่ตามมาก็คือลูก ถูกทั้งพ่อและแม่ทิ้งอย่างถาวร บทที่ 4 ผลการศึกษา

133


กรณีคณ ุ แฮ๊ค ได้เลิกรากับแฟนคนแรกมาเป็นเวลา 2-3 ปี เพราะสามีไม่ตอ้ งการให้เธอเรียนหนังสือ เมือ่ เธอไม่ยอมเลิกเรียน ก็ใช้ก�ำลังบังคับและเป็นการข่มขู่ให้ผู้อื่นเห็น จนท�ำให้เธอตัดสินใจหย่าร้าง และปัจจุบันเธอ ได้คบหากับแฟนใหม่ซึ่งเป็นเพื่อนในที่ท�ำงาน ส่วนลูกสาวของเธอวัย 7 ขวบ ได้ให้ป้าดูแลและเลี้ยงดูให้ แต่เธอ เองก็ยังคงดูแลและส่งเสียลูกอยู่ “หย่ากันตั้งแต่ตอนปี 57 ตอนนั้นแม่ก็อยากจะให้หนูเรียนให้จบ ซึ่งแฟนเค้าก็ไม่อยากให้หนูไปเรียน เพราะกลัวหนูไปเจอผู้ชายคนใหม่ หนูก็แอบไปสมัครเรียน แล้วเค้าก็ไปเห็นใบสมัครของหนู แกก็คงคิดไปต่างๆ นานา ซึ่งตอนนั้นหนูก็ไม่พูดไม่อธิบายอะไรแล้วหนูก็เงียบ แกก็ยิ่งโกร ธแล้วแฟนก็เอามีดมาจ่อคอหนู ซึ่งหนูไม่กลัว เพราะแกท�ำแบบนี้ประจ�ำ ซึ่งหลานหนูตอนนั้นเข้ามากรุงเทพครั้งแรก มาสมัครเรียนด้วยกันก็มาเห็นภาพแบบนี้ หนูก็เลยมีความรู้สึกว่า ไม่ไหวแล้วก็เลยขอเค้าเลิก”คุณแฮ๊ก

3.4. สามีนอกใจภรรยา มีปัญหาความรุนแรง ท�ำให้พ่อแม่ทอดทิ้งลูก การที่สามีกระท�ำความรุนแรงกับภรรยาโดยเฉพาะการนอกใจภรรยา และส่งผลท�ำให้ภรรยาต้องตัดสิน ใจแยกทางกันนั้น มักมองกันว่าเป็นเรื่องของสามีและภรรยา แต่ในความเป็นจริงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับลูกอย่าง มากด้วย เพราะนั่นเป็นการแสดงว่า บ้านได้แตกสาแหรกขาด ไม่เพียงแต่พ่อเท่านั้นที่ทอดทิ้งตนเอง แต่แม่ก็ ก�ำลังจะทอดทิ้งตนเองเช่นกัน ปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับระหว่างการลงไปท�ำงานที่กรุงเทพ กรณีคุณกี้ เธฮมาท�ำงานอยู่กับแฟนที่กรุงเทพได้ไม่นาน ก็เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง และเกิดปัญหาใน ครอบครัวขึ้น เธอจึงตัดสินใจเลิกรากับสามี และออกมาหางานท�ำในที่ให ม่ส่วนเรื่องของลูกเธอก็ทิ้ง่ให้แม่สามี เลี้ยงดูลูกของพวกเขาไป “ช่วงแรกๆ ก็โอเคดีนะ พี่ยังไม่มีปัญหาอะไรกัน แต่พอช่วงหลังเหมือนเค้าเริ่มจะคบผู้หญิงอื่น ไม่ยอมให้ เราจับโทรศัพท์ ตั้งรหัสผ่านไว้ แล้วเวลาโทรศัพท์ดัง ก็รีบรับแบบไม่ให้หนูใกล้โทรศัพท์เลย พอบ่อยเข้าหนูทนไม่ไหว ก็เลยถาม ทั้งถาม ทั้งด่า ทั้งตี หนูก็ใส่ไม่ยั้ง เค้าก็เลยยอมบอกว่า เค้ามีคนใหม่เท่านั้นแหละ หนูก็หนีขึ้นรถมาเลย ให้ แม่ไปรับที่ท่ารถ กลับมาอยู่บ้านได้สักพัก ก็ลงไปใหม่ ก็ได้มาท�ำงานในที่ปัจจุบันนี่แหละ” คุณกี้

3.5. แม้เลิกกันไปแล้ว แต่สามีเก่าก็ยังตามมารังควาน ขู่ฆ่าเธอและแฟนใหม่อีก ระบบชายเป็นใหญ่มักท�ำให้ผู้ชายคิดว่าตนเองเป็นเจ้าของผู้หญิงตลอดเวลา แม้ว่าจะแยกทางกันแล้ว ก็ตา มความคิดนี้ท�ำให้ผู้ชายตามรังแก หรือท�ำความรุนแรงกับผู้หญิง

134

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


กรณีคุณแฮ๊ค เพื่อให้เห็นถึงความคิดของพ่อของลูก ก็คื อแม้ว่าคุณแฮ๊คและสามีจะเลิกกันแล้วและ คุณแฮ๊คเริ่มมีความสัมพันธ์กับผู้ชายคนใหม่ แต่อดีตสามีเก่าก็ยังตามมารังควานในโอกาสต่างๆ เช่น เช่นการบุก มาที่คอนโด อาละวาด ขู่ฆ่าอดีตภรรยา และผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งการรังควานทางโซเชียลมีเดียต่างๆ “เค้าก็มารังควานหนู มันก็เป็นแบบนี้มาเรื่อยๆ แม้กระทั่งตอนที่หนูพาแฟนใหม่ ไปเปิดตัวกับแม่ เค้าก็ มาอาละวาด มาด่าพ่อแม่หนูว่า ส่งเสริมให้ลูกมีสามีใหม่ ทีนี้หนูก็ย้ายออกจากห้องเดิม ซึ่งแกก็ไม่รู้ว่าหนูอยู่ห้อง ไหน แล้ววันนั้นแฟนใหม่หนูก็มาส่ง แล้วพ่อของเด็กมาเห็ นแกก็โมโหอาละวาด ด่าพ่อแม่หนู บอกให้หนูไปกราบ เท้าขอโทษ เค้าไม่งั้นเค้าจะตามฆ่าห นูพอท�ำอะไรหนูไม่ได้ก็เริ่มลามไปที่ข้าวของหนู หนูก็ไปแจ้งความไว้ว่าโดนเค้า ท�ำอะไรไปบ้าง พอหนูนิ่ งแกก็เริ่มลามไปที่แฟนหนู ซึ่งหนูก็ทนไม่ไหว เพราะกลัวเค้าเป็นอะไรไปเพราะหนู แล้วหนู จะรู้สึกผิด ก็เลยต้องนัดพ่อของเด็กมาคุยกัน ก็ถามเค้าว่าอยากได้อะไร จะเอายังไง ให้เรื่องนี้มันจบ เพราะว่านี่เราก็ เลิกกันไปนานแล้ว ลูกก็ไม่ได้ส่งเสียเงินมาช่วยเลี้ยงดูเขานานแล้ว จะเอายังไงว่ามา แกก็บอกว่าให้พ่อแม่มาคุย เค้า ก็บอกว่ามากราบตีนกู แล้วก็โน่นนั่นนี่ไปเรื่อย คือ ก็เรียกร้องทุกอย่าง แล้วก็เอาปืนมา ยกขู่ฆ่าหนู ทุกคนก็ได้ยิน เพราะตอนนั้นเค้าอยู่ชั้น 3 ส่วนหนูอยู่ชั้น 6 คือ คนรักษาความปลอดภัย และต�ำรวจก็มา สุดท้ายเค้าก็เข้ามาคอนโด นี่ไม่ได้อีก …ตอนนี้ก็ยังเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีอยู่แล้ว พี่เค้าก็มาระรานกับตัวเราไม่ได้ ก็มาระรานทางเฟสบุ๊ค ส่งข้อความมาด่า หนูก็เฉยก็ไม่สนใจ…” คุณแฮ๊ค

3.6. ความรุนแรงกับแม่ท�ำให้แม่ต้องพาลูกหนีพ่อ เมื่อพ่อไม่ต้องการลูกและเมี ยแม่ของเด็กมีทางเลือกก็คือ การทิ้งลูกไว้กับพ่อและครอบครัวของพ่อ หรือการพาลูกมาด้วย เธอเลือกที่จะพาลูกมาด้วย เพราะถึงอย่างไรก็เป็นลูก แม้จะเป็นทางเลือกที่ล�ำบากทั้ง แม่และลูก “เค้ายังเล็ก พี่หนูอยากจะทิ้ง ก็ทิ้งไม่ลงทั้งๆ ที่ก็รู้ว่ามีเค้าต่อไป เราก็ต้องล�ำบากแน่นอน เพราะเรา ต้องหาเงินใช้จ่ายเลี้ยงดูเค้าด้วยตัวเอง แต่มาคิดอีกอย่าง ทิ้งไว้ที่นี่แล้วใครจะดู ย่าของเด็กก็แก่แล้ว จะหวังพึ่งพ่อ มันก็คงไม่น่าจะเลี้ยงให้เด็กโตได้ ลูกก็คือลูก อย่างน้อยหนูก็คลอดเค้าออกมา ก็ต้องดูแลเค้าเท่าที่เราไหวในตอน นั้น” คุณแฮ๊ค

3.7. การย�่ำยีภรรยา จนเธอต้องเธอต้องแยกทาง และเลี้ยงลูกตามล�ำพัง ในสังคมที่ไม่เป็นธรรมส�ำหรับผู้หญิง ผู้ชายมักปฏิบัติกับผู้หญิงในลักษณะที่ไม่ใช่เป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม กัน เช่น การนอกใจภรรยา การทุบตี การขู่เข็ญเอาเงินทองไปเสพยาเสพติด ซึ่งผู้หญิงก็ต้องยอม แต่เมื่อความ อดทนสิ้นสุดลง การแยกทางก็เกิดขึ้น กรณีคุณเมย์ ความอดทนของคุณเมย์ได้หมดสิ้นลง เมื่อสามีเธอได้ท�ำร้ายร่างกายเธอ และพูดจาไม่ดีกับ เธอ เธอจึงตัดสินใจหยุดความสัมพันธ์ และเลือกที่จะเลี้ยงดูเองตามล�ำพัง และไม่ติดต่อกับสามีของเธออีกเลย บทที่ 4 ผลการศึกษา

135


“เราเริ่มจะหมดความอดทน วันนั้นที่เขากลับมาจากพัก เราก็ไปรับเขาที่สนามบิน มาถึงห้องก็มีปากเสียง กัน ทุบตีทะเลาะกันแรงมาก เราเลยตัดสินใจถามเขาไปว่า มีคนใหม่ใช่ไหม ถ้ามีก็บอกเรามาตรงๆ ถ้ามีใหม่แล้ว ท�ำไมไม่ปล่อยเราไป ท�ำไม่ไม่ยอมเลิกกับเรา แล้วเขาก็ตอบกลับมาว่า จะยอมเลิกกับเรา ก็ต่อเมื่อเรามีคนใหม่ เรานี่ หน้าชาไปเลยความรู้สึกตอนนั้น ท�ำไมเขาเห็นแก่ตัวจัง พูดออกมาได้ยังไง เราเลยตัดสินว่าถ้างั้น เราก็ขาดกันตรงนี้ ตั้งแต่นั้นมาเรากับเขา ก็ไม่ได้ติดต่อกันอีกเลย…เราก็รู้สึกว่าเราให้เค้ามามากแล้ว ยอมทุกอย่างให้เค้าด่าว่า ทุบตี ไม่มีเงินให้เขาซื้อยา เขาก็ทุบตีเรา สร้อยที่อยู่ในคอเรา เขาก็ดึงออกจากคอเราไปขาย เราก็ต้องพยายามหามาให้เขา ยอมให้เขาคบผู้หญิงอื่น ก็ยังไม่ท�ำให้อะไรดีขึ้น ก็คงถึงเวลาที่ต้องปล่อยเขาไป เชื่อไหมว่าวันนั้นเราไม่มีน�้ำตาเลยสัก หยด คือ เหมือนกับว่าเสียใจไม่รู้เท่าไหร่แล้ว เสียน�้ำตามาก็มากมาย จนไม่สามารถที่จะร้องไห้ ให้กับคนๆนี้ได้อีก” คุณเมย์

3.8. สามี็เลือกแฟนใหม่ ไม่เลือกลูกและเธอ และท�ำร้ายเธอ การนอกใจของสามีนั้น สร้างความกดดันความขัดแย้งที่ต้องหาทางออก สามีมักจะใช้ความรุนแรงกับ ภรรยาเสมอในความขัดแย้งนี้ เพือ่ ให้ภรรยาอยูเ่ ฉยๆ หรือยอมรับการนอกใจของตนเอง เมือ่ ภรรยาไม่ยอมรับหรือ โต้เถียง ก็ยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้นจนภรรยาไม่สามารถที่จะทนได้ และมักต้องพาลูกหนีออกไป หรือ อีกนัยหนึ่ง พ่อเลือกเมียใหม่มากกว่าลูก กรณีคณ ุ แนน สามีนอกใจหลังจากทีแ่ ม่ของเด็กเริม่ รูค้ วามจริง และเริม่ บังคับให้พอ่ ของเด็กยอมรับ และ เลิกคบกับแฟนใหม่ โดยให้เลือกระหว่างแฟนใหม่กับเธอและลูก สิ่งที่ได้รับก็คือ ความรุนแรง แม่ของเด็กถูกทุบตี ต่อหน้าลูกที่อายุได้แค่สี่เดือน การถูกกระท�ำรุนแรงเช่นนั้นท�ำให้ แม่ของเด็กตัดสินในอุ้มลูกหนีมาในคืนนั้น “ช่วงนั้นหนูก็ติดโทรศัพท์ แต่ว่าตอนนั้นก็ยังไม่มีใคร ที่ทนไม่ไหวที่สุด คือ ตอนที่แฟนเค้าตีหนู เพราะ ช่วงนั้นเค้าเริ่มมีผู้หญิงเข้ามา ที่ได้รู้เพราะเห็นว่าพฤติกรรมเค้าเปลี่ยนไป เห็นเบอร์แปลกโทร เค้าเริ่มไม่รับทั้งๆที่แต่ ก่อนเค้าจะรับ เพราะอาจจะเป็นลูกค้าโทรมา เราก็เลยเห็นข้อความจากเบอร์แปลกมา แต่พอเราเข้าไปดูก็ไม่เห็นมี ข้อความอะไร แล้วแฟนน้องสาวเค้า เวลาเมาก็จะชอบพูด เราก็เลยเริ่มมาสังเกตคนของเรา หนูก็เลยออกไปถาม เพื่อนแฟนที่เค้าขายส้มต�ำหน้าปากซอย เค้าก็ไม่ยอมพูด แต่เค้าให้เบอร์เรามา เราก็เลยโทรไปถาม ก็ได้ใจความว่า เค้าแอบคบกับแฟนเราได้สักพักแล้ วพอกลับบ้านไปเราก็บอกว่า เรารู้แล้วนะว่าแอบคุยกับผู้หญิง เค้าก็ออกจาก ห้องแล้วไปช่วยญาติ กินเหล้าอยู่หน้าบ้า นหนูก็ไม่ได้ออกไปอาละวาด หรือโวยวายอะไร หนูก็นอนรอรอเวลาที่เค้า จะมาอธิบาย ก็ส่งข้อความไปหาเขา จนไม่ไหวบอกว่า ถ้าไม่เข้ามาหนูจะออกไปอาละวาด พอแฟนขึ้นมา เราก็เลย ไม่พูด ให้เค้าพูดว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นใครเค้าก็บอกว่า เพื่อน เราก็เลยบอกว่างั้นเอามือถือมา เค้าก็บอกว่าเค้าลบ เบอร์ออกไปแล้วแล้ว ถ้าเป็นเพื่อนกันท�ำไมต้องลบเบอร์ หนูกับเขาก็เริ่มมีปากเสียงกัน ก็ลงเอยด้วยการที่หนูบอก เค้าว่า ไม่ต้องไปรับลูกค้าแถวนั้น แล้วก็ไม่ต้องใช้มือถือ เค้าก็บอกว่าจะไม่ให้ใช้ได้อย่างไร ก็ต้องติดต่อกับลูกค้าก็ ทะเลาะกันไปมา” คุณ แนน

136

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


3.9. ภรรยาตัดสามีและพ่อของลูกออกจากชีวิต การประสบกับปัญหาหนักๆจากอดีตสามี ท�ำให้ภรรยาตัดใจจากสามีได้เด็ดขาด โดยไม่ติดต่อ เปลี่ยน เบอร์โทรศัพท์ การเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยการทิ้งสามี ซึ่งไม่เคยเลี้ยงดู ส่งเสีย และเลี้ยงดูลูกด้วยตนเอง “ไม่ได้ติดต่อกันอีกเลย เพราะเราก็เปลี่ยนเบอร์ ท�ำทุกอย่างที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่ให้ได้ คือไม่อยากเจอเค้า อีกแล้ว ตั้งแต่ทิ้งกันมา ไม่เคยมีปัญญามาส่งเสียลูกเลย คือ ต้องนานๆ ที ถึงจะให้ลูก ทุกอย่างเป็นเรา แล้วก็พ่อกับ แม่ที่คอยเติมเต็มให้ลูกเราทั้งหมด ปู่ย่าเค้าอยากมาหาหลานก็ให้เค้ามา แต่ล�ำพังเรื่องเงินนี่ครอบครัวเค้าก็จะไม่รอด อยู่แล้ว” คุณหลา

3.10. พ่อเคยกลับมาเยี่ยมลูกบ้าง แต่หลังแต่งงานใหม่ ไม่เคยติดต่อกลับมาอีกเลย ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกนั้น แม้ว่าลดน้อยลงแล้ว เมื่อพ่อกับแม่แยกทางกัน แต่ความสัมพันธ์ที่ น้อยนั้นก็หายไปจนหมดเมื่อพ่อแต่งงานใหม่ กรณีคุณหน่อย สามีเก่าของคุณหน่อยยังเคยมาเยี่ยมลูกบ้าง แต่เมื่อสามีเก่าของเธอแต่งงานใหม่แล้ว เขาก็เคยกลับมาเยี่ยมลูกอีกเลย รวมทั้งปู่ย่าของเด็กก็ไม่ติดต่อมาเช่นกัน เธอจึงต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูหรือส่งเสีย ลูก ซึ่งอยู่กับแม่ของเธฮตามล�ำพังมาโดยตลอด “เค้าก็ไม่ได้ติดต่อมานานแล้ว พี่ก็ไม่ได้ติดต่อไป พี่ก็ท�ำงานส่งเงินเลี้ยงลูกอยู่คนเดียวได้หลายปี ก็ได้ยิน ข่าวจากแม่ว่า เค้าก็กลับมาเยี่ยมลูกที่บ้าน 1-2 ครั้ง ก่อนที่เค้าจะบอกว่า จะแต่งงาน มีครอบครัวใหม่ คือ พี่กับเขา ก็ไม่ได้เจอกันอีกเลย ปู่ย่าเขาก็เงียบไปเลย ไม่มีใครสนใจถามข่าวคราวของหลานเลยสักคน…เค้าบอกเราว่า จะส่ง เงินกลับมา เงินที่เคยส่งกลับบ้านก็เริ่มลดน้อยลง จนถึงไม่ส่งเลย”คุณหน่อย

4. การติดอบายมุข สุรา ยาเสพติด การพนัน ติดเพื่อน การติดอบายมุขต่างๆเหล่านี้ มีทั้งที่เกิดในหมู่บ้าน และเกิดจากการย้ายถิ่นมาท�ำงานในเมือง อย่างไร ก็ตาม อบายมุขเหล่านี้บางส่วนได้กล่าวไปบ้างแล้ว แต่ในส่วนนี้จะกล่าวถึง การติดอบายมุข ในบริบทของความ สัมพันธ์ที่ไม่เป็นธรรมระหว่างหญิงและชายในสังคมไทย ซึ่งได้ถูกหล่อหลอม ให้ความเป็นชายผูกติดอยู่กับการ เสพสุรา ยาเสพติด อบายมุข และใช้เวลาส่วนใหญ่กับเพื่อนมากกว่าครอบครัว โดยไม่เห็นว่าเป็นปัญหาในสังคม มีผลเสียหายกับครอบครัวและเด็กอย่างรุนแรง

บทที่ 4 ผลการศึกษา

137


4.1. สามีติดเหล้าไม่ยอมไปท�ำงาน ดังได้กล่าวมาแล้วว่าความสัมพันธ์แบบชายเป็นใหญ่นั้นสอนให้ผู้ชายดื่มมากกว่า สอนให้ท�ำงานดังนั้น เมือ่ มีการเปลีย่ นแปลงการท�ำงานทีอ่ ยูห่ า่ งไกลบ้านผูช้ ายหรือพ่อจะได้รบั ค่าแรงเป็นเงินสด นอกจากนีช้ วี ติ ในเมือง ยังมีของบริโภคของใช้ให้บริโภคมากมายรวมทั้งเหล้าด้วย ดังนั้นผู้ชายในระบบชายเป็นใหญ่จึงมักดื่มเหล้าและ การดืม่ เหล้าก็ทำ� ให้ไม่ทำ� งานและไม่มเี งินส่งมาให้ครอบครัว ซึง่ เป็นสาเหตุทภี่ รรยาทีต่ อ้ งเลีย้ งลูกยอมรับไม่ได้ดงั เช่นกรณีของคุณจิ๊บจ้อยคุณจิ้บจ้อยฝากลูกสาวไว้กับแม่ หรือยายของเด็กเพื่อมาดูแลสามีแต่ทุกอย่างก็ไม่ดีขึ้น สามีของเธอดื่มเหล้ามากขึ้น และไม่ยอมไปท�ำงานซึ่งหมายถึงการไม่มีเงินกลับเข้ามาที่ครอบครัว “เค้าก็เริ่มดื่มหนักขึ้น ท�ำงานก็ไม่ค่อยได้ ท�ำไปด้วยกัน แล้วแล้วเค้าก็ชอบบอกพี่ว่า จะไปท�ำโอ แต่ไปท�ำ โอ ไม่มีเงินตกมาถึงเราสักบาท” คุณจิ้บจ้อย

4.2. การดื่มเหล้าและติดเพื่อน นอกจากการท�ำงาน ผู​ู้ชายยังใช้เวลาค่อนข้างมากใน การพูดคุย เล่น กิน และการดื่มเหล้า มักเป็นการ กินเหล้ากับเพื่อนแบบหัวราน�้ำ คือ กินกันทั้งคืนทั้งวัน จนเมามาย การติดเหล้าแบบเมาทั้งวันและติดเพื่อนจึง เป็นสาเหตุส�ำคัญของการหย่าร้าง เลิกรา กรณีคุณอึ่ง เธอมีปัญหากับสามี หลังจากที่ส่งลูกกลับไปให้แม่ของเธอที่ต่างจังหวัดเลี้ยง เธอและสามี ของเธอที่ไปท�ำงานที่กรุงเทพด้วยกัน ก็เริ่มมีปัญหาสามีเธอดื่มเหล้าและติดเพื่อน และเมื่อกลับบ้านก็ทะเลาะกัน “พอเราเอาลูกไปอยู่ที่บ้านแล้ว กลับมาอยู่ด้วยกัน ปัญหาก็เริ่มมาเอาจริงๆ มันก็เหมือนเป็นปัญหาที่ สะสมมานาน เพราะว่าสามีคนแรกของพี่ เค้าจะเป็นคนที่ค่อนข้างใจร้อน หลักๆปัญหาคือ เค้าจะชอบกินเหล้า แทบทุกวัน แล้วก็ติดเพื่อน ไม่ค่อยกลับบ้าน หรือ ก็กลับบ้านค�่ำ ก็มีเรื่องให้ทะเลาะกัน แต่พี่ก็พยายามที่จะมองข้าม มัน” คุณอึ่ง

4.3. การออกไปท�ำงาน ติดเพื่อน กินเหล้า สังสรรค์ไม่กลับบ้าน ท�ำให้ภรรยาต้องพาลูกหนี ถึงแม้ว่าแม่หรือผู้หญิงจะไปอยู่กับครอบครัวของพ่อของเด็ก ได้รับมอบหมายให้อยู่บ้าน ดูแลลูกเพียง อย่างเดียวก็ตาม แต่การที่พ่อของเด็กออกไปท�ำงาน ติดเพื่อน ติดเหล้า สังสรรค์ไม่กลับบ้าน ท�ำให้แม่ของเด็ก ทนไม่ไหว และตัดสินใจพาลูกทิ้งพ่อกลับบ้าน

138

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


กรณีคุณปู หลังจากออกจากโรงพยาบาลเธอพาลูกกลับไปเลี้ยงที่บ้านของแฟนได้ไม่นาน ก็ต้องพาลูก มาอยู่กับแม่ที่ห้องตามเดิม เพราะทนพฤติกรรมติดเพื่อน ติดเหล้า ไม่กลับบ้านของแฟนไม่ไหว “หลังจากคลอด เราก็เอาลูกไปเลี้ยงที่บ้านสามี 1 เดือน แล้วก็ออกมาจากบ้านเขาเลย คือ เราอยู่บ้าน เลี้ยงลูกให้เขา แต่เค้ากลับออกไปท�ำงาน กลับบ้านดึกดื่ นไม่ยอมกลับ ติดเพื่อน ไปกินเหล้า สังสรรค์ ทิ้งเราไว้กับลูก ส่วนตัวเองไปเที่ยวกินเหล้ากับเพื่อน เราก็เลยตัดสินใจหอบลูกกลับมาอยู่กับแม่เราที่ห้อง” คุณปู

4.4. การแยกกันไปท�ำงานท�ำให้เขาติดยา และถูกจับ ครอบครัวพัง การเปลี่ยนแปลงการท�ำงานที่อยู่ห่างไกลบ้าน ทิ้งลูกให้อยู่กับยายน�ำไปสู่การทิ้งลูกอย่างจริงจังของพ่อ เนื่องจากการไปท�ำงานในเมืองได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินสด ท�ำให้ผู้ชายมีอ�ำนาจและเลือกใช้จ่ายตามใจชอบได้ มักไปกับเพื่อนหรือติดเพื่อน เสพติดยา ซึ่งน�ำไปสู่การถูกจับ และท�ำให้ครอบครัวล่มสลายขาดการติดต่อกับลูก ดัง กรณีคุณเพียน สามีคนแรกของเธอ ออกไปท�ำงานหาเงินได้ไม่นาน มีรายได้มากขึ้น เขาก็เปลี่ยนไป เริ่ม คบเพื่อนเข้าสังคมสังสรรค์และพาตนเองเข้าสู่วงจรยาเสพติด ในที่สุดถูกจับ ครอบครัวก็พังทลาย ภาระการ หาเงินตกอยู่กับเธอ เขาและลูกก็ขาดการติดต่อกับไป “ พี่แต่งงานตอนอายุ 17 ปี ก็กลับมาอยู่บ้านพร้อมกับสามี ตอนนั้นพี่ก็คิดว่าอนาคตชีวิตครอบครัวก็คง ไปได้ดีสุขสมหวัง ก็กลับมาอยู่บ้านกับแม่ท�ำไร่ท�ำนาไป แต่สุดท้ายมันก็ไปไม่รอด ต้องกลับท�ำงานโรงงาน ไปตัดขี้ ด้าย ก็ทิ้งลูกไว้ให้แม่กับพี่สาวเลี้ยงให้ พอเงินเดือนออกมา มันก็ไม่พอใช้ ส่งมาบ้านบ้างไม่ส่งบ้าง สามีตอนนั้นก็ไป ขายของรถเข็นขายลูกชิ้นปิ้งก็ คือ แยกกันท�ำงาน ต่างคนต่างหา พอเริ่มมีเงินขึ้นมาหน่อย ก็เริ่มหลงระเริง มีเพื่อน มี สังคม แล้วสามีพี่ก็ติดยา ชีวิตครอบครัวก็เริ่มพัง เริ่มแยกกัน สามีพี่ก็ถูกจับ พี่ก็ต้องหาเงินเลี้ยงลูกคนเดียว ภาระก็ ตกมาอยู่ที่พี่มากขึ้น”คุณเพียน

4.5. สามีเก่าออกจากคุกมาหลอกเอาเงิน สามีใหม่ก็ไม่รับผิดชอบ อยากอยู่ตัวตนเดียว หลังจากคุณเพียนเลิกรากับสามีคนแรกและตัดขาดกันไปแล้ว แต่เมื่อเขาออกจากคุก ก็กลับมาหลอก เอาเงินจากเธอ แล้วไม่กลับมาอีกเลย เธอจึงได้เริ่มต้นชีวิตคู่กับสามีใหม่และมีลูกชายฝาแฝดด้วยกัน ซึ่งก็มี ปัญหาเหมือนเดิม จึงแม้พยายามขอเลิก เขาก็ไม่ยอม ต้องอดทน เพราะกลัวว่า ลูกชายฝาแฝด จะมีปัญหา เหมือน อดีตสามีและสามีคนปัจจุบัน และลูกชายคนโต

บทที่ 4 ผลการศึกษา

139


“สามีคนแรกติดคุก พอออกจากคุกมา ก็กลับมาอยู่บ้านกับแม่พี่กับลูก แล้วก็มาหลอกเอาเงินจากแม่พี่ ว่าจะไปท�ำงาน แล้วจากนั้นก็ไม่กลับมาอีกเลย

พ่ี่มีคนใหม่ มีลูกแฝดด้วยกัน ก็เหมือนเดิม ....ไล่ให้ไปก็ไม่ไป พี่ก็เบื่อและร�ำคาญเต็มที ก็ทนๆกันไป เรื่อง เงินเรื่องทองพี่ก็เก็บให้ห่างเขาเลย พี่จะไม่ให้รับรู้เรื่องเงินของพี่เลย คือ ทั้งลูกทั้งสามี มีแต่คนคอยสร้างความทุกข์ใจ ให้เรามา คิดดูตอนนี้พี่อยากที่จะอยู่ตัวคนเดียวมากเลย ที่พี่ทน เพราะไม่อยากให้ลูกมีปัญหาเหมือนลูกชายคนโต ก็ เลยทนอยู่กับสามีไปแต่มาคิดๆ ดูนี่เราก็ทนมานานมาก แล้วก็ยังไม่มีอะไรดีขึ้นจน มาถึงตอนนี้พี่ก็เริ่มท้อมากๆ แล้ว”คุณเพียน

4.6. อดีตสามีไม่เคยสนใจลูก ทั้งติดยา ดื่มเหล้า และยังเล่นการพนัน ไม่เพียงแต่ เหล้า ยาเสพติด สามีบางคนยังติดการพนันอีกด้วย ผู้หญิงรู้มาก่อนการอยู่กิน แต่เธอก็ ยอมรับว่า เป็นการผิดพลาด เธอจึงต้องอดทนจนถึงที่สุด แต่อดีตสามีก็ไม่เคยต้องการรับผิดชอบเธอและลูก “สามีเก่าเราหรอ ทั้งกินเหล้า สูบม้า เล่นการพนัน คือ ตอนที่เราคบกัน เราก็รู้นะว่าเค้าติด แต่เราก็พลาด ไปแล้วก็ท�ำใจยอมรับ พออยู่ด้วยกันก็ปัญหาสารพัด เราว่าเราก็ให้โอกาส และอดทนมาจนถึงที่สุดแล้วนะ ถึงเลิกกับ เขา” คุณอุ้ย

4.7. ปัญหาติดยาซ�้ำซากของอดีตสามี ท�ำให้ตัดใจมีใหม่ได้ไม่ยาก การใช้ยาเสพติดของสามีท�ำให้ครอบครัวล่มสลาย ทอดทิ้งภรรยา ลูก สร้างความเดือดร้อน ถูกต�ำรวจ จับ ต้องไปประกันตัว ผู้หญิงจึงต้องการเลิกและให้เขาออกไปจากชีวิต “เค้าติดเพื่อน ชอบไปอยู่กับเพื่อนอยู่ห้องเพื่อน กินเหล้า เสพยา ที่เรารู้เพราะเราได้กลิ่นจากตัวเขา ซึ่ง แต่ก่อนเค้าไม่เคยเป็นแบบนี้ บุหรี่ไม่สูบ เหล้าก็ดื่มน้อยมาก แต่พอมาท�ำงานที่บริษัทก�ำจัดปลวก ก็เริ่มเปลี่ยนไป เพราะติดเพื่อนเข้ากลุ่มกับเพื่อน...เรื่องที่เค้าไปยุ่งกับยา คือ คนๆนี้เริ่มไม่ใช่แล้ว แล้วตอนนั้นเราท�ำงานอยู่ ก็ได้รับ โทรศัพท์ว่าเอาเงินมา 5,000 บาท ถูกจับเพราะเสพยา เราก็แบบต้องไปประกันเค้าออกมา แล้วพอมาถึงห้องก็เก็บ เสื้อผ้าใส่กระเป๋าให้เค้า แล้วให้เค้าออกจากห้องเราไปเลย เค้าก็ร้องไห้โน่นนี่ เราบอกว่าให้กลับไปอยู่กับพ่อแม่ของ ตัวเอง” คุณหลา

140

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


เมื่อเลิกร้างกันไป ผู้หญิงต้องการสร้างครอบครัวใหม่ คบกับคนใหม่ แต่อดีตสามีไม่ยินยอม และแม้ผู้ หญิงจะให้โอกาสกับสามีกี่ครั้งก็ตาม แต่ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ ไม่สามารถท�ำให้เขากลับตัวได้ และ เธอและพ่อของเธฮ ยังต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาการติดยาของเขาอีก การตัดขาดกับเขาอีกครั้งจึงไม่ยาก ล�ำบาก “ส่วนเราก็ก็เป็นคนชอบเฮฮา มีเพื่อนเยอะแต่ไหนแต่ไร พอหลังจากที่มีลูกเราก็เหมือนดูมีน�้ำมีนวล ดู สวยขึ้น ก็เริ่มเจ้าชู้ เริ่มคุยเริ่มแอบคบกับคนอื่น คือ ใจเราตอนนั้นเริ่มออกจากเค้าแล้วด้วย เพราะเรื่องที่เขายุ่งกับ ยา...ไม่นานก็เริ่มมีคนเข้ามาในชีวิตเรา พอเค้ารู้ก็เริ่มตอแยตามหึงหวง ไปวุ่นวายกับเขา ก็เป็นแบบนี้มาอยู่บ่อยๆ รอบที่สาม ที่เราไม่ไหวแล้วก็ คือ วันนั้นวันเกิดลูกวันเกิดเรา.. ครอบครัวก็พากันไปบางแสน เค้าก็ไปด้วย คือ ด้วย ความที่เราสงสา รแล้วก็คิดว่าอย่างน้อยเค้าก็เป็นพ่อของลูกเรา แล้วหลังจากกลับมาจากเที่ยว เราต้องไปเข้าเวร ตั้งแต่เช้า พ่อก็เลยไปส่งเรากับเขา ขับมาได้สักพักมาเจอด่านมืด เค้าก็ตรวจเจอสารเสพติดจากแฟนเราอีก เรากับ พ่อทิ้งเค้าไว้ตรงนั้นเลย คือ เราหมดใจกับเค้าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ส�ำหรับเราการทิ้งเค้าก็ไม่ยากเลยนะ เพราะตอน นั้นเราก็มีคนใหม่แล้ว” คุณหลา

4.8. การเริ่มต้นครอบครัวใหม่ ก็พบคนหลอกลวง

การเริ่มต้นครอบครัวใหม่ก็ไม่ได้ประสบความส�ำเร็จเสมอไป หากพบกับสามีที่หลอกลวง ขี้โกง ทั้งที่เธอ ก�ำลังประสบปัญหาการถูกโกงแชร์ และ ก�ำลังคลอดลูกอยู่ในโรงพยาบาล สามีหรือพ่อของลูกก็ยังโกงเงินของ เธอจนแทบหมดตัว เธอกลับไปบ้านเลี้ยงลูก และแทบไม่มีเงินใช้จ่าย โชคดีที่ได้รับการช่วยเหลือจากลูกคนโต เอาเงินมาช่วยซื้อนมให้ลูกชายฝาแฝด ซึ่งถูกพ่อแท้ๆของพวกเขาโกงเงินแม่และทอดทิ้งพวกเขา “พี่ก็บอกเค้าหมดว่าพี่มีภาระอะไรในชีวิตบ้าง ถ้ารับได้ก็อยู่ด้วยกัน ไม่ได้ก็ไป ซึ่งเค้าก็มีลูกสาวหนึ่งคน แรกๆเค้าก็ทุ่มเทให้เราเต็มที่ อยู่กินกันได้เกือบปี ถึงได้มีเจ้าฝาแฝด พอมีลูกทุกอย่างก็เริ่มเปลี่ยน คือ พี่จะวางแผน การเงินไว้ว่า จะเก็บเงินในส่วนนี้เล่นแชร์กับสามีใหม่ ไว้เลี้ยงลูก วันที่พี่ไปผ่าคลอด หุ้นส่วนพี่เค้าก็โกง ขนของไป หมดเลย หนีไปเลยไม่โอนเงินในส่วนที่พี่ลงทุนไป คือ พี่ไม่เหลืออะไรเลย…สามีก็ไปบอกท้าวแชร์ว่า จะเอาเงินไป คลอดลูก ก็เชิดเงินแชร์ทั้งหมดไป ส่วนเงินในบัญชี สามีก็ไปกดเอาเงินออกจากบัญชีไปหมด แต่ว่าพี่ก็ไม่เอะใจนะ เค้าก็ไม่เคยให้สมุดบัญชีให้พี่เลย สักพักเริ่มอยู่ไม่ได้ ตัดสินใจว่าจะกลับเลี้ยงลูกที่บ้าน พี่ก็ได้เงินติดตัวมา 3,000 บาท แล้วสามีพี่ก็บอกว่าจะโอนตามมาให้ก็เงียบ ไม่มีเงินตามมาสักบาท เงินที่ติดตัวมาก็เริ่มหมดเพราะเด็กแฝดก็ กินเปลือง ก็มาได้เงินชกมวยจากลูกชายคนโตที่เอามาซื้อนมให้น้อง” คุณเพียน

บทที่ 4 ผลการศึกษา

141


สรุป

การที่พ่อและ/หรือแม่ทอดทิ้งลูก หรือท�ำให้ลูกรูส้ ึกว่า พ่อแม่ไม่ตอ้ งการตนนัน้ พ่อแม่ของพวกเขาจะถูก ต�ำหนิ ประณามว่า เป็นคนเลวที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อลูกของตน แท้จริงแล้ว ต้องตั้งค�ำถามต่อไปว่า ท�ำไม่ พ่อและหรือแม่ ถึงทอดทิ้งลูก จากการน�ำเสนอและวิเคราะห์ปญ ั หา ทัง้ ในเชิงระบบหรือโครงสร้างต่างๆทางสังคม และปัญหาความคิด ความต้องการในระดับบุคคล จะเห็นว่า สังคมของเราได้ตกอยู่ใต้ระบบความไม่เป็นธรรมทางสังคม ทั้งระหว่าง หญิงชาย เศรษฐกิจระหว่างคนรวยกับคนจน การไม่เป็นธรรมกับเด็กซึ่งถูกทอดทิ้ง ระบบสังคมซึ่งให้คุณค่าและ ยกย่องความเป็นชายปล่อยให้พ่อหรือผู้ชาย ไม่รับผิดชอบการท�ำงานจริงจัง ไม่รับผิดชอบต่อครอบครัวที่ตนเอง สร้าง รักความสุข สนุกสนาน อิสระ ดังนั้นเมื่อผู้ชายหรือพ่อ เข้ามาท�ำงานในเมืองหลวง หรือเขตพีื้นที่ โลกาภิวัตน์สูง ซึ่งได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินสด ซึ่งปกติหาได้น้อยเมื่ออยู่ในชนบท และในเขตโลกาภิวัตน์สูงนี้ ก็มีสินค้าฟุ่มเฟือย รวมทั้งเหล้า ผู้หญิง ยาเสพติดและเพื่อน การพนัน ท�ำให้พ่อหรือสามี ตกอยู่ภายใต้บริโภค นิยม เงินทอง ค่าแรงที่หาได้ จึงหมดไปกับอบายมุขทั้งปวง และไม่มีเงินเหลือส่งให้ลูกและเมียที่บ้าน สามีบาง รายต้องเข้าคุก ก่ออาชญากรรม โกง หลอกลวง การไม่มีเงินของผู้หญิง ซึ่งต้องการท�ำงานหาเลี้ยงตนเอง ช่วยสามี สร้างฐานะความมั่นคงในครอบครัว ท�ำให้ต้องทิ้งมาลูกมาท�ำงาน มาติดตามสามี จึงเกิดการทอดทิ้งทิ้งลูก เด็ก ไว้ในชุ​ุมชนกับปู่ย่า ตายาย ญาติ ของ ทั้งพ่อและแม่ เป็นปรากฏการณ์ปกติ ที่ทุกคนต่างจ�ำเป็นต้องท�ำ ยิง่ ไปกว่านัน้ ระบบชายเป็นใหญ่ ยังสอนให้ผชู้ ายมีเสรีภาพกับเซ็กส์ ไม่ตอ้ งซือ่ สัตย์ตอ่ ภรรยา แต่เป็นการ ผ่อนคลายภาระงานหนัก เป็นการเพิ่มประสบการณ์ชีวิต ผู้ชายจึงนอกใจภรรยา มีเมียน้อย มีลูกกับผู้หญิงอื่น อย่างไม่รับผิดชอบ การตั้งท้อง คลอดลูกและเลี้ยงลูก ความรุนแรงต่างๆ ปัญหาเหล่านี้ของผู้หญิงที่ต้องอดทน ต่อความไม่รับผิดชอบของพ่อหรือสามีกลายเป็นเรื่องราวปกติ การแยกทางหย่าร้างระหว่างพ่อแม่ และส่งลูก กลับไปให้ครอบครัวฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ เลีย้ งดูกเ็ ป็นเรือ่ งปกติ พ่อและหรือแม่ อาจมีครอบครัวใหม่ มีลกู ใหม่ มีความ หวังในการเริ่มต้นชีวิตที่สมบูรณ์ยังเกิดขึ้นต่อไป และอาจเจอกับปัญหาเดิมๆ แม่อาจต้องเลี้ยงลุกตามล�ำพัง ดัง นัน่้ เด็กจ�ำนวนมากจึงถูกทอดทิง้ ในชนบท พ่อและหรือแม่ยงั อาจส่งเสียเลีย้ งดูลกู ทัง้ แบบส่งเสียเลีย้ งดูอย่างเต็ม ที่ ไม่เต็มที่ หรือไม่ส่งเสียเลย จึงเป็นภาพที่เห็นได้ง่าย

142

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


สังคมแบบทุนนิยมโลกาภิวตั น์ ท�ำให้เกิดความเฟือ่ งฟูทางการเศรษฐกิจ เทคโนโลยี แต่กท็ ำ� ให้มนุษย์กนิ ใช้อย่างฟุ่มเฟือย มีสินค้าและความสุขที่ล่อตาล่อใจ ทั้ง เหล้า ยาเสพติด การพนัน เซ็กส์ ความสวย ความงาม ความสะดวกสบาย ท�ำให้มนุษย์เห็นแก่ตัว และใช้ความเห็นแก่ตัวและอ�ำนาจที่มีอยู่กระท�ำกับผู้ด้อยกว่า มีก�ำลัง แรงที่จะต่อต้านได้น้อยกว่า ทุนและคนรวยจึงเอาเปรียบคนจนและแรงงาน ผู้ชายจึงเอาเปรียบผู้หญิง ผู้ใหญ่ จึงเอาเปรียบเด็ก คนหนุ่มสาวเอาเปรียบคนชรา วงจรของการทอดทิ้ง ความไม่ต้องการ เกิดขึ้นซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า เด็กเล็กถูกทอดทิง้ จากพ่อแม่ พ่อแม่ของเขาก็เคยถูกทอดทิง้ จากปูย่ าตายาย และเมือ่ เด็กทีไ่ ม่มใี ครต้องการเติบโต ขึ้น เขาซึ่งขาดแคลนความรัก ทรัพยากรต่างๆ ก็จะเข้าสู่วงจรของการแสวงหาความสุขทางวัตถุ อบายมุข ใช้ ประโยชน์ และทอดทิ้ง และถูกทอดทิ้งในวัยชรา

หก ปู่ยา ตายาย กับความไม่ต้องการหลาน ในส่วนนี้จะกล่าวถึ งการไม่ต้องการเด็กหรือหลานของปู่ย่า ตายาย ปู่ย่าตาและยายในสังคมแบบเดิม มีบทบาทสูงในครอบครัว เพราะเป็นเจ้าของแรงงานและทรัพย์สมบัติของครอบครัว แม้เศรษฐกิจจะเปลี่ยนจาก การเกษตรมาเป็นอุตสาหกรรมและบริการ ความมั่งคั่งของของปู่ย่าตายายก็ยังไม่ลดลง เพราะว่าพ่อแม่ของเด็ก ที่เกิดมาก็ยังเป็นลูกที่ปู่ย่าตายายเลี้ยงดูมา แม้ว่าพ่อแม่ของเด็กจะออกไปท�ำงานหาเงินเองในเมือง และพ่อแม่มี ความยากจนเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่พ่อแม่ของเด็กก็ยังต้องอาศัยหรือพึ่งพาพ่อแม่อยู่มาก ซึ่งต่างจากสังคมตะวันตก ที่พ่อแม่ปล่อยให้ลูกของตนเองพึ่งพาตัวเองตั้งแต่การเรียนชั้นมัธยมปลาย ดังนั้นบทบาทของปู่ย่าตายายต่อเด็ก ที่เกิดมาจึงยังมีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพ่อแม่ไปท�ำงานในเมือง และไม่สามารถเลี้ยงลูกได้เอง ต้องส่งลูกมา ให้ปู่ย่าตายายเลี้ยง ในส่วนนี้ จะกล่าวถึงความไม่ต้องการหลานของตาและยายก่อน และกล่าวถึงความไม่ ต้องการหลานของปู่และย่า 1. การไม่ต้องการหลานของตายาย แม่ของเด็กที่ท้องหรือมีลูกที่ไม่ต้องการหรือไม่พร้อมนั้น การตัดสินใจของพวกเธอจะอยู่ท่ามกลางคิด ระหว่างลูกในท้องกับพ่อแม่ของเธอ ความไม่ต้องการเด็กในท้องไม่พร้อมนั้นไม่ได้จ�ำกัดเฉพาะพ่อกับแม่ของ เด็กเท่านั้น แต่ผู้เกี่ยวข้องส�ำคัญ คือ ตาและยายซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของแม่ของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อแม่ของเด็กท้องในขณะที่ยังอายุน้อย หรือในยามที่ แม่ของเด็กไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ในด้านต่างๆ โดย เฉพาะด้านการเงิน การยอมรับหรือไม่ยอมรับในพ่อของเด็กในท้องของงลูกสาว มีผลกระทบกับเด็กที่ก�ำลังจะ เกิดอย่างรุนแรงว่า จะเป็นที่ต้องการหรือไม่ต้องการ

บทที่ 4 ผลการศึกษา

143


1.1. พ่อแม่ของเธอกลัวว่า สามีที่อายุมากกว่าจะมาหลอกลวง การยอมรับหรือปฏิเสธว่าที่ลูกเขยมีความส�ำคัญอย่างยิ่งของการสร้างครอบครัวใหม่ของลูกสาว เพราะ ว่าหากไม่ได้รับการยอมรับจากพ่อแม่ของเธอ ก็จะมีปัญหาต่อการสร้างครอบครัวต่อไป กรณีคุณขวัญ พ่อแม่ของเธอไม่ชอบว่าที่ลูกเขย เนื่องจากอายุต่างกันมาก เกรงว่าจะมาหลอกลวง แต่ ลูกสาวยังต้องการคบหาต่อไป “ส่วนใหญ่เค้าจะมาหาพี่นะ เพราะที่บ้านพี่เงียบไม่วุ่นวาย ที่โน้นเหมือนกับก็เป็นร้าน เป็นโรงงาน คนก็ จะเยอะคุยกันก็ล�ำบาก…คบหากับผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายก็รับรู้นะ แต่พ่อแม่พี่เค้าก็จะไม่ชอบแฟนพี่สักเท่าไหร่ เพราะ เค้าก็อายุมากกว่าพี่ประมาณ 3-4 ปี เพราะว่าคืออายุก็จะ 30 ปี แล้ว ท�ำไมถึงยังมาจีบพี่ มีลูกมีเมียมาแล้วหรือเปล่า หรือว่าทิ้งลูกทิ้งเมียแล้วมาจีบสาวเล่นๆไปทั่ว คือ พ่อแม่พี่เค้าก็กลัวว่าพี่จะโดนหลอก แต่ที่จริงแล้ว แฟนพี่เค้าก็ไม่ ได้มีลูกมีเมียมาก่อน แต่เค้าก็กินเหล้าสูบบุหรี่ ซึ่งตรงนี้ด้วยที่พ่อแม่พี่ไม่ชอบอีก ส่วนหนึ่งส่วนพ่อแม่ของแฟนก็เสีย ชีวิตแล้ว เค้าก็อยู่กับพี่สาวพี่สาว เค้าก็เป็นคอยดูแลมาโดยตลอด แต่พี่ก็ยังคุยกับแฟนพี่ต่อนะ แล้วก็ยังไปมาหาสู่ กันปกติ” คุณขวัญ

1.2. พ่อแม่เกรงว่า สามีที่อายุน้อยกว่าจะไม่สามารถเลี้ยงดูเธอในอนาคตได้ แม้ว่าการคบหากับระหว่างหญิงชายจะได้รับการยอมรับจากทั้งสองฝ่ายก็ตาม แต่หากมีการท้องไม่ พร้อม ท้องระหว่างการเรียน ผลที่เกิดขึ้นก็ท�ำให้เกิดการไม่ยอมรับ และมีผลต่ออนาคตของเด็กที่จะเกิดด้วย เช่นกัน เช่น การที่พ่อแม่ไม่ยอมให้ลูกสาวเรียนต่อ กรณีคุณมุ้ย คุณมุ้ยและสามีตัดสินใจคบหากันอย่างเปิดเผย ตัวตันให้กับพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายได้รับรู้ แต่ พ่อแม่ของเธอกลัวว่า หากคบกับผู้ชายคนนี้ที่อายุน้อยกว่า อาจจะไม่สามารถเลี้ยงดูเธอได้ในอนาคต “ก็รับรู้ทั้งสองฝ่ายนะ แต่ช่วงแรกๆเราเวลาไปหาเค้าที่บ้าน เราก็เข้าไปบ้านเค้าเลยไม่ได้ปิดบังอะไร แต่ เราก็ยังไม่กล้าพาเค้าเข้ามาบ้านเรา ส่วนมากเวลามา เค้าก็จะไปบ้านเพื่อนสนิทของเราอีกคนหนึ่ง มากกว่าแต่พอรับ รู้แล้ว ก็ไม่ได้กีดกันอะไรแต่ตอนที่คบกันแรกๆ พ่อกับแม่เราก็ว่าอยู่นะว่าเค้าเป็นเด็กนะ จะหาเลี้ยงเราได้ไหมจะ ดูแลเราได้หรือเปล่า คิดดูให้ดีๆนะ จะจริงจังกับเด็กคนนี้” คุณมุ้ย

144

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


1.3. พ่อไม่ยอมรับเพราะลูกเขยยังเด็ก ไม่มีงาน ให้ไปเอาลูกในท้องออก พ่อของฝ่ายหญิงมีบทบาทสูงในการตัดสินใจกับการแต่งงาน หรือการมีครอบครัวของลูกสาว พ่อแม่มัก เกรงว่า ลูกเขยจะเลี้ยงดูลูกสาวไม่ได้ เนื่องจากยังอายุน้อย และไม่มีงานท�ำ จึงต้องการให้ท�ำแท้งเด็กในท้อง กรณีคุณเมย์ พ่อของเธอต้องการให้เธอท�ำแท้ง เพราะมีความเห็นว่า ลูกเขยยังเด็ก ไม่สามารถช่วย เหลือตัวเองได้ ไม่มีงานท�ำ ถ้าปล่อยให้เก็บเด็กไว้ อยู่กินกันไป ก็มีแต่จะล�ำบาก “ส่วนพ่อพอรู้ ก็บอกกับเราว่า ไม่เอาไม่ยอมรับลูกเขยคนนี้ ไปเอาเด็กออกซะ เราก็อึ้งมากที่พ่อพูดแบบ นั้น แล้วพ่อก็บอกกับเราว่า มันยังเด็กจะหาอะไรเลี้ยงดูเรา งานการก็ยังไม่มีท�ำ อยู่กินกันไปก็มีแต่ล�ำบาก” คุณเมย์

1.4. พ่อสนับสนุนให้เลิกกับสามีที่ติดยาเสพติด ติดเหล้า แม้ว่าการเลิกกับสามีที่ติดยาเสพติด ติดเหล้า และท�ำร้ายร่างกาย จะเป็นเรื่องที่ยาก แต่หากพ่อและ แม่สนับสนุนให้แยกทางกันและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ ก็พอจะประทังให้ชีวิตของลูกสาวและหลานสาว ด�ำเนินต่อไปได้ “ตอนท้องช่วงที่ไปอยู่กรุงเทพ ก็มีปัญหากันบ่อยนะพี่ คือ แฟนหนูเค้าชอบดื่มเหล้า พอเมามาก็จะชอบ มานัวเนียแล้วหนูคนท้อง ก็เหนื่อยร�ำคาญอยากพักผ่อน ก็มีลงไม้ลงมือ ...พ่อหนูพอรู้เรื่อง ก็บอกว่า ถ้ามาท�ำอะไร ลูกอีกครั้งให้ต่างคนต่างอยู่ไปเลย เดี๋ยวพ่อจะไปจัดการเอง” คุณรจนา

1.5. พ่อไม่ต้องการหลานที่เกิดจากพ่อที่ติดยา พ่อแม่ น้​้นที่ทราบว่าลูกสาวท้องกับคนติดยาก็ไม่สามารถยอมรับหลาน ได้สั่งให้ไปเอาเด็กออกพ่อให้ เหตุผลว่าสามีของเธอนั้นเด็กเกินไปแล้วยังติดยาอีกด้วย “ส่วนพ่อ พอรู้ก็บอกกับเราว่า ไม่เอาไม่ยอมรับลูกเขยคนนี้ ไปเอาเด็กออกซะ งานการก็ยังไม่มีท�ำ อยู่กิน กันไปก็มีแต่ล�ำบาก เราก็เลยบอกว่าจะท�ำยังไงก็มันพลาดไปแล้ว แม่ก็ช่วยไกล่เกลี่ย แล้วเราตอนนั้น คือ สับสนไป หมด” คุณเมย์

บทที่ 4 ผลการศึกษา

145


1.6. รู้ว่า ตายาย ไม่ต้องการหลาน ต้องหาที่ปิดบังไม่ให้พ่อแม่รู้ การไม่ยอมรับตัวแฟนจากพ่อแม่ และยังไม่ได้แต่งงานเป็นเรื่องส�ำคัญ เมื่อท้อง ต้องพยายามปิดบัง ไป อยู่ที่อื่น ไม่ให้พ่อแม่รู้ “ตอนแรกก็ตกใจ เพราะเราไม่ได้ตั้งใจว่าเราจะมีเค้าในตอนนี้ อีกอย่างพ่อแม่ ก็ยังไม่ได้ยอมรับเขาแล้ว เราทั้งสองคน ก็ยังไม่ได้ตบแต่งกันตามธรรมเนียม...พี่เองก็สองจิตสองใจ เพราะเราก็อยากมีลูกมานานแล้ว แต่อีกใจ ก็คือท�ำไมต้องมาเป็นตอนนี้ ตอนที่อะไรก็ยังไม่ลงตัว พี่ก็ยังไม่ได้บอกพ่อกับแม่พี่นะ คือ ที่คุยกับแฟนไว้คือจะไปอยู่ อุบลจนกว่าลูกจะคลอดแล้วค่อยกลับมา” คุณขวัญ

1.7. พ่อ แม่ ทั้งโกรธและอายที่ลูกสาวท้อง บางรายก็พาไปท�ำแท้ง บางรายก็ให้ลูกจัดการเอง พ่อและแม่มักมีความคาดหวังกับลูกสาวสูงและมีหน้าตาที่รักษามาก ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เกิดปัญหา ลูกสาวท้องไม่พร้อม ตาและยายผิดหวังก็มักจะปฏิเสธทุกอย่าง โดยเฉพาะเมื่อฝ่ายชายไม่ยอมรับ และต้องการ ให้ทุกอย่างกลับไปเป็นอย่างเดิม กรณีคุณมินตรา หลังจากที่คุณมินตราบอกความจริงเรื่องที่เธอท้องกับแม่ของเธอ ผลที่ตามมา คือ แม่ เธอเองก็โกรธเธอมาก และบอกให้เธอไปเอาเด็กออก “แม่หนูเองตอนนั้นก็เครียดเหมือนกันนะพี่ คือ ทั้งอายทั้งกังวลว่าชาวบ้านญาติพี่น้องจะรู้ จะตัดสินใจ บอกญาติพี่น้องยังไง พอหลังจากวันที่บอกแม่ไป แกก็โกรธหนูนะ ไม่ยอมคุยกับหนู จนก่อนวันที่หนูจะกลับไปเรียน แม่ก็เลยตัดสินใจว่า บอกแฟนให้พาไปเอาเด็กออกซะ แม่ไม่รู้จะช่วยยังไง แม่มืดแปดด้านไปหมดแล้ว คุยกับพ่อของ แฟนหนูแล้วว่าจะเอาเด็กออก” คุณมินตรา

กรณีคุณตาล เมื่อแม่เธอรับรู้ว่าเธอตั้งท้อง แม่เธอได้ตัดสินใจพาเธอไปท�ำแท้ง ซึ่งตอนนั้นเด็กในท้อง น่าจะอายุครรภ์ประมาณ 6 เดือนได้ “ก่อนหน้าที่จะมีลูกชายคนนี้ เราเคยท้องลูกชายมาแล้วคนหนึ่ง แล้วเราก็ไปท�ำแท้งออกคนแรกที่เรา ท�ำแท้งออกไป ที่ต้องเอาออกเพราะผู้ใหญ่เค้าไม่ยอมให้เรากับแฟนแต่งงานกัน คือเด็กโตจนขนาดที่รู้เพศแล้วว่า เป็นผู้ชายก็ประมาณ 5-6 เดือน...ตอนที่เราไปท�ำ แม่ก็เป็นคนพาเราไปท�ำเองที่คลินิกแห่งหนึ่งในจังหวัด อุบลราชธานี เราก็ไม่รู้ว่าถูกกฎหมายหรือเปล่านะ แต่ที่หน้าคลินิกเค้าจะเขียนว่ารับวางแผนครอบครัว คือ เราขัด แม่ไม่ได้ พอเราเอาเด็กออ กแม่ก็จับเราแยกจากแฟนตั้งแต่ตอนนั้นเลย”คุณตาล

146

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


พ่อมักมีบทบาทส�ำคัญในการตัดสินใจของลูก และมักเป็นคนสุดท้ายที่ลูกจะบอกความจริง และเมื่อ ทราบความจริงพ่อบอกให้เอาเด็กออก นอกจากนี้หากฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ ก็จะไม่เก็บเด็กไว้ เพราะอับอายที่ ลูกสาวท้องก่อนแต่งงาน กรณีคุณเพียว เมื่อปรึกษากับแฟนว่า จะต้องบอกความจริงให้พ่อและแม่ของเธอได้รับรู้ เธอจึง รวบรวมความกล้า ซึ่งแม่ของเธอเสียใจมาก ส่วนพ่อของเธอบอกให้เธอไปเอาเด็กออก ถ้าแฟนของเธอไม่รับเป็น สามีของเธอและพ่อเด็ก “วันนั้นก็ไปกับแฟนที่รีสอร์ทที่พ่อกับแม่ท�ำงานอยู่ก็เหมือนไปตอนเย็นๆ หลังจากที่พ่อกับแม่เลิกงาน แล้วก็ไปทานข้าวกัน พอทานเสร็จหนูกับแฟนก็บอกกับแม่ว่าหนูท้องนะ…พ่อกับแม่ได้ยินก็อึ้งกันทั้งสองคนเลย แม่ หนูนี่หลังจากอึ้งไปสักพัก แม่ก็ร้องไห้ออกแล้วแม่ก็พูดกับหนูทั้งน�้ำตาว่า แม่บอกแล้วใช่ไหมว่าให้ดูแลตัวเองให้ดีๆ แล้วไหนบอกแม่ว่า จะป้องกันแล้วท�ำไมถึงเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น ส่วนพ่อหนูวันนั้นก็ไม่ได้พูดอะไรแกเงียบไปเลย…แต่ พอหนูกลับมาแล้วแกก็โทรมาบอกหนูว่าให้ลองไปถามพ่อแม่ฝ่ายชายดูว่า เค้าจะท�ำยังไงกับเรื่องนี้ แล้วมาบอกพ่อ แต่ตอนนั้น แม่หนูก็บอกมาทางโทรศัพท์ก็พูดประมาณว่าถ้าแฟนไม่รับ ก็ไปเอาเด็กออกซะ แต่หนูก็บอกว่าหนูจะ เลี้ยงเอง แต่หนูก็คิดว่าที่เค้าพูดแบบนั้น เค้าคงจะอายที่ลูกสาวท้องก่อนได้แต่งงาน” คุณเพียว

1.8. พ่อแม่ ไม่ให้ลูกสาวไปโรงเรียน เพราะอับอายและกลัวลูกสาวอาย การไม่ยอมรับการท้องของแม่ ท�ำให้ลูกสาวพลาดโอกาสทางการศึกษา เนื่องด้วยไม่ยอมให้ลูกไโรง เรียน พ่อแม่ไม่สามารถยอมรับได้ สังคมและพ่อแม่ ลงโทษผู้หญิงด้วยการตัดโอกาสทางการศึกษา และยังตัด โอกาสไปถึงเด็กที่ก�ำลังจะเกิดมาอีกด้วย กรณีคุณกี้ เมื่อเธอท้องในวัยเรียนพ่อแม่อับอาย ไม่ให้เธอไปโรงเรียน แม้เธอจะขอย้ายโรงเรียนไปเรียน โรงเรียนที่ให้ให้โอกาสกับเด็กท้องไม่พร้อม พ่อแม่ก็ไม่ยินยอม เธอจึงต้องอยู่บ้านเฉยๆ “แต่พอหนูท้องแม่ก็ไม่ให้หนูไปเรียน เพราะก็กลัวหนูอาย แล้วแกก็อายด้วย ก็เลยไม่ได้ท�ำอะไรอยู่บ้าน เฉยๆ แต่หนูก็อยากไปเรียนนะพี่ เพราะหนูก็ย้ายมาเรียนโรงเรียนมัธยมที่ใกล้บ้าน และก็เป็นโรงเรียนที่เค้าให้คนที่ ท้องไปเรียนได้ แต่แม่หนูไม่ยอมให้ไป”P17:17.คุณกี้17:6[(70:70)]

บทที่ 4 ผลการศึกษา

147


1.9. พยายามแล้ว ไม่ออก ก็ต้องยอมรับ

การไม่ยอมรับการท้องของลูกสาวในวัยเรียน เนื่องจากความอายทั้งแม่และลูก ท�ำให้เกิดการไม่ ต้องการเด็กเกิดขึ้น เด็กสาว และ พ่อแม่หลายราย พยายามก�ำจัดเด็ก บางกรณีก็ส�ำเร็จ แต่เมื่อไม่ส�ำเร็จ การจ�ำ ใจยอมรับก็เกิดขึ้น ซึ่งก็ส่งผลถึงการเลี้ยงดูเด็กที่ก�ำลังจะเกิดมาว่า เขาจะได้รับการต้อนรับจากพ่อแม่ ตายาย ของเขาอย่างไร มากเพ่ียงใด “หนูก็ไม่ได้คิดว่าจะต้องให้เค้าเกิดมาหรอกนะพี่ คือตอนนั้นยังไงก็ต้องเอาออกให้ได้ เพราะหนูก็ยังเรียน อยู่ แล้วก็ไหนจะพ่อแม่เพื่อนชาวบ้าน มันก็หลายอย่างนะพี่ ที่ท�ำให้หนูอยากเอาเค้าออก แต่พอเราพยายามแล้วมัน ไม่ออกก็ต้องรับในสิ่งที่เราท�ำลงไป...” คุณกี้

2. เมื่อหลานเกิด การยอมรับและไม่ยอมรับของตายาย ปัญหาการท้องไม่พร้อมของลูกสาว ท�ำให้พ่อแม่ผิดหวัง อับอาย พ่อแม่บางรายสนับสนุนการท�ำแท้ง และท�ำแท้งส�ำเร็จ บางรายไม่ส�ำเร็จ และตั้งครรภ์จนคลอด เด็กทารกอาจไม่ได้รับการยอมรับตั้งแต่เกิด ได้รับ การยอมรับแบบจ�ำใจ จ�ำยอม ทั้งตัวเด็กทารก พ่อแม่ของเด็ก เป็นปรากฏการณ์ของการไม่ต้องการเด็กที่ส�ำคัญ ปรากฏการณ์นี้เป็นค่านิยมทางสังคม หรือ มายาคติ หรือ วาทกรรม ที่ครอบง�ำความคิดของคนหลายรุ่น นับแต่ พ่อแม่ของทารก ปู่ยา ตายาย สังคม ท�ำให้สังคมโดยภาพรวมไม่รองรับหรือสนับสนุนสิทธิในการมีลูก และสิทธิ ของเด็กที่เกิดมา 2.1. การไม่ยอมรับในตัวพ่อของเด็ก ต้องการเฉพาะลูกสาวกับหลาน เมื่อพ่อแม่ลูกสาวรู้ว่า ลูกของตนท้อง ความโกรธไม่ยอมรับในตัวพ่อ อาจท�ำให้เด็กถูกพ่อทอดทิ้ง แต่ บางกรณีอาจได้รับการยอมรับแต่ต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้มีส่วนท�ำให้ครอบครัวสร้างใหม่มี ปัญหาระยะยาวต่อมา กรณีของคุณหลา เมื่อเธอพาลูกที่อายุยังไม่ครบหนึ่งขวบ และสามี กลับบ้าน ทางบ้านของเธอ ไม่ ยอมรับ สามีถกู ดุด่า ไม่ยอมรับ มีการระหองระแหง แม้จะยอมรับในที่สุด แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอด “พอกลับไป ปัญหามาเลยอย่างแรกคือ ญาติๆที่บ้านเค้าไม่ยอมให้แฟนเราเข้าบ้าน เค้าบอกจะเอาแค่ลูก กับหลานเค้า เค้าก็พูดๆเหมือนว่า พาลูกกับหลานเค้าไปล�ำบาก สุดท้ายก็ต้องพากลับมาหาพวกเค้า ประมาณนี้แต่ เราก็บอกเค้าว่า ต้องอดทนเพื่อลูก ก็เลี้ยงลูกด้วยกันอยู่สักพัก แล้วแฟนก็กลับมาท�ำงานได้เงินมาก้อนหนึ่ง เค้าก็พา เราหนีมาอยู่กรุงเทพ ตอนนั้นลูกเราได้ 5 เดือน แม่เราก็ตามมารับเรากับหลานกลับ ก็ระหองระแหงกับแบบๆนี้อยู่ เป็นระยะๆ แต่นานๆไป พ่อกับแม่เราก็รับได้ แล้วเรากับเค้าก็อยู่ด้วยกันมา 4 ปี จนมามีปัญหากัน” คุณหลา[ 148

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


2.2. การไล่เธอลูกและแฟนออกจากบ้านเมื่อเธอพาลูกและแฟนกลับบ้าน นอจาพ่อแม่และเครือญาติไม่ยอมรับในตัวพ่อของเด็ก ก็ยังไม่ยอมรับในตัวลูกสาวและหลาน และอาจมี การท�ำร้ายร่างกายกันด้วย กรณีคุณเล็ก เธอ สามี ลูกได้กลับไปบ้าน แต่พ่อ แม่และพี่ชาย ไม่ยอมรับ ไล่ออกจากบ้าน เพราะความ เสียใจที่เธอมีสามี ลูกโดยทางบ้านไม่ได้รับรู้ “พี่ก็เลยโทรบอกแม่ว่า พี่จะกลับบ้าน แล้วก็ให้น้าเอารถพาพี่กับลูกแล้วก็แฟนกลับบ้านตอนกลางคืน เพราะน้าเค้าออกเวรค�่ำ ระหว่างเดินทางกลับ พี่ก็คิดตลอดว่ากลับไปบ้าน พ่อแม่พี่จะว่าอย่างไรนะ เพราะเอาเข้า จริงๆ พี่ก็เหมือนท�ำผิดปิดบังเค้า พี่ก็เลยเหมือนกลัวพี่ก็ไปถึงบ้านตีสอง เค้าก็รอกัน พอไปถึง เค้าก็ไฟใต้ถุนบ้าน พี่ก็ อุ้มลูกลงมา พอเค้าเห็ นเค้าก็ไม่พูด เดินขึ้นบ้านไปไม่พูดอะไร มีพี่ชายคนเดียวที่ออกมาเค้าจะออกมาตีพี่ แล้วที่นี้น้า กับแฟนก็ออกมาห้าม พี่ชายพี่ก็ด่าพี่ว่า ท�ำไมท�ำตัวแบบนี้ รู้ไหมว่าพอกับแม่ผิดหวัง แฟนพี่ก็บอกว่าอย่าท�ำอะไรพี่ เพราะพี่ไม่รู้เรื่อง ทีนี้พี่ชายพี่ก็ไล่น้า ไล่พี่ ไล่ทุกคน ว่าออกเลย ไม่ต้องมาเหยียบบ้าน ไปไหนก็ไป เอาลูกไปเลี้ยงไหน ก็ไป ส่วนแม่พี่เค้าทนไม่ไหว ก็เลยลงมาบอกว่าให้พากันขึ้นบ้าน” คุณเล็ก

2.3. แม่ไม่ยอมแตะตัวหลานถึงหนึ่งสัปดาห์ แต่ในที่สุดก็ยอมเลี้ยงหลาน การผิดประเพณี การท้องไม่แต่ง ถือเป็นการเหยียบย�่ำจิตใจของพ่อแม่ ไม่ใช่แต่ความอับอาย จึงท�ำให้ พ่อแม่เสียใจอย่างรุนแรง และไม่สามารถยกโทษให้ได้ง่าย กรณีคุณเล็ก แม่ของคุณเล็กผิดหวังในตัวของเธอมาก และไม่ยอมที่จะแตะต้องตัวหลานเลยในช่วงแรก จนเมื่อเวลาผ่านไป 1 อาทิตย์ ยายถึงยอมที่จะอุ้มหลาน ส่วนเธอเองก็พยายามขอร้องที่จะให้แม่เลี้ยงและดูแล ลูกให้เธอเมื่อต้องกลับไปท�ำงาน “เชื่อไหมว่า 1 อาทิตย์ ยายไม่ยอมแตะตัวหลานเลย ขนาดหลานร้องไห้ เค้ายังไม่ยอมจับหลาน พี่คิดว่า เค้าก็คงยังโกรธหรือน้อยใจที่พี่ไม่ยอมบอกเค้า ด้วยความที่เหมือนเรามีเพื่อนเยอะ เวลามีงานแต่ง เราก็ไปช่วยงาน คนอื่นไว้เยอะ เค้าก็คงหวังว่าเราจะได้แต่งงานเหมือนลูกคนอื่น พอพี่จะกลับ พี่ก็พูดกับแม่ว่า แม่หนูฝากดูหลาน หน่อยนะเพราะหนูต้องไปท�ำงานแล้ว พี่ก็ทั้งบอกทั้งขอร้อง แม่พี่ก็เลยถามว่าทางบ้านฝ่ายชายเค้ารับรู้ไหม พี่ก็เลย บอกว่ารับ รู้แม่พี่ก็เลยบอกกับแฟนพี่ว่าให้มาคุยกัน มาเลี้ยงพี่เลี้ยงสาง ให้ชาวบ้านรับรู้” คุณเล็ก

บทที่ 4 ผลการศึกษา

149


2.4. ไม่พอใจค�ำเตือนของแม่ยาย เขาไปท�ำงาน ทิ้งเธอและลูก ไม่กลับมาอีกเลย

เมื่อสองคนสามีภรรยาพร้อมกับลูกสองคน กลับจากกรุงเทพมาอยู่ที่บ้านแม่ของฝ่ายหญิง พ่อแม่ของ ฝ่ายหญิงตักเตือนให้ฝ่ายชายท�ำงาน เขาก็จากไปท�ำงานและไม่กลับมาอีกเลย “ก็มีปัญหากันตั้งแต่ตอนพี่ท้องนั่นแหละ แต่พอมาอยู่บ้านก็เหมือนจะดีขึ้น แต่พอทีนี้แม่พี่ก็บอกกับเค้า ว่าลูกก็สองคนแล้ว ตอนนี้ลูกสาวคนสุดท้องก็ก�ำลังโต ยังไงก็ขึ้นไปหาเงินส่งมาเลี้ยงลูกที่บ้านก่อนได้ไหม แล้วให้พี่ อยู่เลี้ยงลูกที่นี่ เค้าก็เหมือนจะไม่พอใจ ก็พูดกับแม่พี่ว่าถ้าไปครั้งนี้ไปแล้ว ไปเลยนะไม่กลับมาอีก แล้วมีเงินถึงจะส่ง มาให้ เค้าก็ไปตั้งแต่ตอนนั้น ก็ไม่กลับมาอีกเลยแล้วเค้าก็ไม่ส่งเงินไม่ติดต่อพี่มาเลยนะ” คุณหน่อย

3. การไม่ต้องการหลานของปู่ย่า ตายายในสังคมไทย มีบทบาทต่อครอบครัวของลูกสาวค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นสังคมที่มีการ แต่งงานเข้าบ้านของฝ่ายหญิง ส่วนบทบาทของฝ่ายชายหรือปู่ย่า ซึ่งดูเหมือนไม่มากเท่าใดนัก กแต่ในความเป็น จริงแล้วมีบทบาทค่อนข้างมาก โดยเฉพาะครอบครัวฝ่ายชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง จะเป็นผู้ที่ก�ำหนดว่าจะ ยอมรับลูกสะใภ้ รวมทั้งหลานหรือไม่ ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ พ่อแม่ฝ่ายชายไม่ยอมรับว่าเป็นเมียและลูก เมื่อ เข้าไปอยู่ในบ้านแล้วก็ไม่ได้รับการต้อนรับ ท�ำให้ครอบครัวของลูกต้องแตกแยก 3.1. พ่อแม่ของแฟนไม่ยอมรับผิดชอบในตัวเธอและลูก เมื่อผู้หญิงตั้งท้อง และฝ่ายชายยังคงนิ่งเฉยหรือไม่แสดงความรับผิดชอบ ฝ่ายหญิงมักจะกดดันด้วยการ สอบถามความรับผิดชอบของพ่อแม่ฝ่ายชาย และฝ่ายชายอาจจะยอมรับหรือไม่ยอมรับก็ได้ ซึ่งสร้างความทุกข์ ให้กับสามีภรรยาและลูก กรณีคุณเต่า เธอเรียกร้องให้ฝ่ายชายและพ่อแม่ยอมรับ แต่สุดท้ายพ่อแม่ของแฟนของเธอ ก็ไม่ยอมรับ เธอและลูก หรือ อีกนัยหนึ่งลูกของเธอไม่เป็นที่ต้องการของปู่และย่าของเขา “พอนานวันไปก็ยังไม่มีวี่แววว่าเค้าจะยังไงต่อ พ่อแม่พี่ก็กลัวว่าเค้าจะทิ้งพี่และหลาน เค้าก็เลยเหมารถ ไปหาเค้าถึงกาฬสินธุ์ พอลงรถไปพี่ก็นั่งเล่นอยู่หน้าบ้านเค้า ปล่อยให้ผู้ใหญ่เค้าคุยกัน พอเค้าออกมาเค้าก็พาพี่ขึ้นรถ กลับบ้านเลยเหมือนผู้ใหญ่เค้าจะตกลงกันไม่ได้ ...แม่พี่ก็เลยบอกว่า จะมาทนอยู่ที่นี่ท�ำไม แม่ผัวก็ไม่ได้ชอบ ไป กลับบ้านเรา” คุณเต่า

150

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


กรณีคุณทิพย์ แฟนเก่าของคุณทิพย์ขาดการติดต่อจากเธอและลูกตั้งแต่ตอนที่เธอท้อง 1 เดือน เขา หลอกให้เธอกลับบ้าน และรับปากว่าจะส่งเงินกลับมา ให้แต่เขาก็ไม่ติดต่อกับเธอ และลูกเลย และเมื่อเธอโทร ไป แม่สามีของเธอก็บอกกับเธอว่าเด็กในท้องไม่ใช่ลูกของลูกชายเธอ “พอไปฝากท้องได้ 1 เดือน แฟนก็บอกว่าให้เรากลับไปอยู่บ้าน เดี๋ยวเค้าจะส่งเงินกลับไปให้เราใช้ ..เราก็ กลับนะเค้าก็ไปส่งเราขึ้นรถพอหลังจากนั้นมาเราก็ติดต่อเค้าไม่ได้อีกเลย” คุณทิพย์

3.2. ปู่ยา เพิกเฉย ตายาย ปล่อยให้แม่เอาลูกออก พ่อแม่ของฝ่ายหญิงซึ่งอายที่ลูกสาวท้อง และอยากได้ความช่วยเหลือจากครอบครัว หรือพ่อแม่ของ แฟนของลูกสาว แต่พ่อแม่ของแฟนของลูกสาวก็ไม่ยอมให้ความช่วยเหลือ และไม่ขัดข้องที่ฝ่ายหญิงจะยุติการ ตั้งครรภ์ กรณีคุณมินตรา หลังจากที่คุณมินตราบอกว่าเธอท้องกับแม่ของเธอไป ผลที่ตามมาคือแม่เธอเองก็ โกรธเธอมากและบอกให้เธอไปเอาเด็กออก ซึ่งทางฝ่ายปู่ย่า ก็เพิกเฉย แล้วแต่พ่อแม่ของฝ่ายหญิง “แม่บอกว่า ให้หนูบอกแฟนให้พาไปเอาเด็กออกซะ คือแม่ไม่รู้จะช่วยยังไง แม่มืดแปดด้านไปหมดแล้ว คุยกับพ่อของแฟนหนูแล้วว่า จะเอาเด็กออก ยังไงก็ไม่เอาไว้ ซึ่งพ่อของแฟนก็ไม่ได้ว่าอะไร แล้วแต่ทางฝ่ายหนู” คุณมินตรา

3.3. แม่กับน้องสาวของแฟนเธอไม่ยอมรับในตัวเธอและลูก การขยายสิทธิของการเป็นแม่ หรือการเป็นน้องกับลูกชายและพี่ชายที่เกินขอบเขตนั้น เป็นการละเมิ สิทธิของลูก เมื่อมีการย้ายเข้าไปอาศัยอยู่ในครอบครัวของสามี และเมื่อปู่ย่า ไม่ยอมรับ และยังปล่อยคนอื่นๆ ในครอบครัวไม่ต้อนรับ กรณีคุณเต่า ที่ย้ายเข้าไปอยู่ในครอบครัวของสามี ครอบครัวของสามีอ้างถึงความอยากให้ลูกชายของ เขาบวชให้พ่อแม่ก่อนแต่งงาน แต่ลูกชายของเขาได้มีครอบครัวแล้ว ดังนั้นจึงกลั่นแกล้งและดูถูกแม่ของเด็กจน กระทั่งไม่สามารถทนอยู่ได้ ซึ่งมีผลท�ำให้ทั้งแม่และเด็กไม่เป็นที่ต้องการด้วยกันทั้งคู่ บทที่ 4 ผลการศึกษา

151


“ทางบ้านพี่ไม่ได้มีปัญหานะพ่อแม่พี่ก็ยอมรับเค้า แต่ทางบ้านเค้า แม่กับน้องสาวเค้าไม่ชอบพี่ เค้าบอก ว่าเค้ามีลูกชายคนเดียว ลูกชายคนโตด้วย ที่จริงเค้ามีพี่น้อง 4 คน เค้าอยากให้ลูกเค้าบวชทดแทนบุญคุณพ่อแม่ ก่อนค่อยมีครอบครัว คือเค้าก็แกล้งพี่สารพัด ทุกวิธีแต่ว่าลูกเค้าก็ไม่รู้นะว่าเค้าแกล้งพี่ ว่าพี่ดูถูกพี่ แต่สุดท้ายพี่กับ เค้าก็ได้อยู่กินด้วยกันนะ แต่มันก็ด้วยความแบบไม่ค่อยลงรอยกับแม่กับน้องสาวเค้านั่นแหละ แต่แฟนพี่ก็บอกให้พี่ อดทน เดี๋ยวมันจะดีขึ้นพี่ก็อดทนมาเรื่อยๆ”คุณเต่า

3.4. แม่สามีไม่ยอมรับ เพราะจน ครอบครัวแตกแยก โดยปกติแม่ของฝ่ายชายจะรักลูกชายมากและมักมีความคาดหวังที่สูงกับลูกชาย และรวมทั้งคาดหวัง คุณสมบัติของลูกสะใภ้ ดังนั้นหากคุณสมบัติของลูกสะใภ้ต�่ำกว่าความคาดหวัง ก็มักจะได้รับการเลือกปฏิบัติซึ่ง มีผลทางอ้อมต่อหลานของเขาด้วย กรณีคุณทิพย์ แม่ของสามีเธอไม่ชอบเธอเลยตั้งแต่ต้น เนื่องจากเธอมีครอบครัวยากจน มีพ่อขี้เหล้า และไม่พอใจความประพฤติ เช่น พูดหยาบ เป็นเด็กของเสี่ย เป็นลูกของคนที่ติดการพนัน ติดเหล้า ครอบครัว แตกแยก “เราไม่ค่อยได้เข้าไปแนะน�ำตัวหรือไปที่บ้านแฟนสักเท่าไหร่ คือตามจริงบ้านข้างๆบ้านเรา เค้าก็เป็น ญาติกับแฟนนะ คือ มีอะไรเค้าก็ต้องรู้อยู่แล้ว แล้วเหมือนเค้าไม่ชอบเรา ที่เราพูดไม่ค่อยเพราะ คือ เป็นคนติดพูดค�ำ หยาบ โดยรวมคือฝั่งทางบ้านแฟนไม่มีใครชอบเรา เลยหลังจากที่คบหากันเกือบจะปี ผู้ใหญ่เค้าก็มาคุยกัน วันที่ ผู้ใหญ่มาคุยกัน ถึงขั้นทะเลาะเบาะแว้งตีกันเลยด้วยซ�้ำ คือไม่ลงรอยกันตั้งแต่เริ่มต้น…แม่ของแฟนเค้าไม่ชอบ ครอบครัวเรา เค้าเคยพูดตอนนั้น ที่ก่อนที่เราจะได้มากินอยู่กับลูกชายเค้า ว่าครอบครัวเรามันจน พ่อเราก็เป็นพวก ขี้เหล้า พ่อแม่ก็ไม่ได้อยู่ด้วยกันแยกทางกัน แต่ที่เราอยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะพ่อขี้เหล้าของเรานะ ที่คอยส่งเงินก้อนที่ ละหมื่นๆมาให้เราใช้ แกขับแท็กซี่ คือ บ้านเขาไม่ได้อยากได้เรา พอไปอยู่กับแฟน ที่บ้านแม่เขาตอนนั้นเรายังท�ำงาน อยู่ที่ร้านอาหารจีน พอเราเลิกงานนั่งรถเมล์กลับมาบ้านตอนดึกๆ กลับมาที่บ้าน เค้านั่งทานข้าวกัน ไม่มีใครเรียก เราทานข้าวซักคน คือ ท�ำเหมือนกับเราไม่มีตัวตน”คุณทิพย์

3.5. ความขัดแย้งด้านการเงินกับครอบครัว สามีพรากลูกของเธอไปเลี้ยงที่บ้านพ่อแม่ของเขา ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างคุณอึ่ง และสามีท�ำให้เธอต้องแยกจากลูกชายในตอนนั้น เพราะ สามีได้พาลูกชายของเธอไปจากบ้านแม่ของเธอ เพื่อที่จะเลี้ยงดูลูกชายของเขาเอง

152

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


“จนสุดท้ายปัญหามันเรื้อรัง ลามไปถึงลูกชายพี่ เพราะเค้าไม่ยอม ยังไงเค้าก็จะเอาเงินก้อนจากพี่ให้ได้ แต่พี่ก็ไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนมาให้เขา เขาก็เลยบอกว่า ถ้าไม่เอาเงินก้อนมาให้เค้า เค้าก็จะเอาลูกพี่ไป แล้วเค้าก็พา ลูกชายพี่ไปตั้งแต่ตอนนั้นเลย แล้วก็สั่งห้ามไม่ให้พี่ไปยุ่งกับลูกอีก ซึ่งตอนนั้นลูกพี่ก็อายุได้ 3 ขวบ ตอนนั้นเค้าก็ยัง เด็ก ไม่รู้ว่าผู้ใหญ่มีปัญหาอะไรกั นแล้วฝ่ายนั้นก็คือพ่อของเขาแล้ว ก็ปู่ย่า คือ พอไปอยู่นู้นได้สักพัก ลูกชายพี่ก็ไม่ได้ รู้สึกอะไร แล้วก็เหมือนไปอยู่กับปู่กับย่าตามปกติ” คุณอึ่ง

3.6. การอยู่ในบ้านสามี ท�ำให้เกิดความขัดแย้ง การย้ายเข้าไปอยู่กับครอบครัวของสามีนั้ นสะใภ้มักมีหน้าที่หลายอย่างเพิ่มขึ้น ท�ำให้สะใภ้รู้สึก ทนไม่ไหว ไม่พอใจ กรณีแฮ๊ค ที่ย้ายเข้าไปอยู่บ้านสามี ต้องเลี้ยงลูกเอง ท�ำความสะอาดบ้าน และเครื่องครัว ซึ่งสกปรกมาก และเมื่อขอความช่วยเหลือแล้วไม่ส�ำเร็จ เธอจึงไม่ทน “เลี้ยงลูกอย่างเดียวไม่เท่าไหร่ยังต้องมาคอยรับใช้คนในบ้านของแฟนอีก ถ้วยจานชาม เวลากินก็ไม่เคย เก็บไม่เคยล้าง แล้วห้องหนูกับแฟนอยู่ข้างล่าง ซึ่งถ้าเราไม่ล้างจานหรือไม่ท�ำให้สะอา ดแมลงสาบก็จะมา แล้วเรามี ลูกเล็กเรื่องพวกนี้ก็ต้องระวัง หนูก็ไปบอกแฟนว่าช่วยบอกให้ญาติๆช่วยกันรักษาความสะอาดหน่อย แทนที่แฟนจะ รับฟังเราแล้วช่วยเหลือเรา กลับบอกเราว่าก็ไม่ได้มีใครบังคับให้ท�ำนะ ไม่อยากท�ำก็ไม่ต้องท�ำ เอ้าถ้าหนูไม่ท�ำแล้ว จะเอาถ้วยจานที่ไหนใช้ คือ อยู่รวมกันตั้งหลายครอบครัว แต่เป็นเราที่ท�ำให้แทบทุกอย่าง จุดที่รับไม่ได้มากที่สุดคือ วันนั้นเห็นกับตาว่า แมลงสาบบินไปเกาะผ้าอ้อมลูกเรา จุดนี่เลยที่เราจะไมไหวแล้ว คือเราก็ยอมท�ำให้แบบนี้ทุก อย่างตั้งแต่ตอนท้องนะพี่ เพราะคิดว่าครอบครัวของแฟนก็เหมือนครอบครัว” คุณแฮ๊ค

3.7. ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างแม่ผัว ลูกสะใภ้ ลูกชาย เและเงินทอง แม่ส่วนใหญ่จะรักลูกชาย แม้ว่าลูกชายท�ำผิด ก็ยังปกป้องและเข้าข้างลูกชายของตน และต�ำหนิลูก สะใภ้ กรณีคุณหน่อย คุณหน่อยและสามีได้ย้ายไปอยู่ใกล้กับแม่ของสามี และหางานท�ำที่นั่น ต่อมาสามีเริ่ม ติดการพนัน ติดเหล้า ใช้จ่ายเงินเกินตัว และโกหกเธอเรื่องเงิน จนแม่แฟนเข้าใจเธอผิด สุดท้ายเธอก็ทนอยู่ใน สภาพนั้นไม่ไห วพาลูกหนีออกจากห้องเช่า และตัดสินใจเลิกรากับแฟน

บทที่ 4 ผลการศึกษา

153


“ตอนนั้นพี่ก็เพิ่งไปท�ำงาน เงินเดือนก็ยังไม่ออก ไม่อะไร ซึ่งตอนนั้นแฟนพี่พอไปท�ำงาน ได้เงินเดือนมาก ลับเอาไป แทงบอล เริ่มเล่นการพนัน เริ่มโกหกพี่ เงินก็ไม่ยอมให้พี่ ก็เลยเริ่มมีปากเสียงกันเรื่องหลักๆ ก็คือเรื่องเงิน พอเค้าไม่มีเงินก็มาเอาเงินแม่ไป แต่ว่าบอกว่าพี่ให้เป็นคนมาเอา แม่เขาก็เลยไม่ชอบพี่ หาว่าพี่อยากได้แต่เงินเค้ากับ แฟนพี่ หลังจากนั้นมาก็มีปัญหากันมาเรื่อยๆ ไม่ใช่แค่แฟนพี่เท่านั้นนะ ที่ท�ำให้พี่รู้สึกว่าไม่ไหว แม่ของแฟนเองก็เอา พี่ไปนินทาเสียๆหายๆ ซึ่งพี่ก็เคยได้ยินเค้าหาว่าพี่เองเงินเดือนลูกเค้าไปใช้ฟุ่มเฟือย พอพี่ได้ยิน พี่ก็ไม่รอไม่ฟังอะไร ทั้งนั้น พี่ก็เปิดศึกในตอนนั้นกับแม่แฟน แล้วก็ตัดสินใจเก็บของออกจากบ้านเค้าเลย” .คุณหน่อย

3.8. พ่อแม่ของแฟนบอกให้อดทนและให้โอกาสกับลูกของเขาโดยไม่แก้ไขที่ลูกของเขาเลย ปัญหาครอบครัวอาจลดลงได้ หากพ่อแม่ของแฟนช่วยกันแก้ไขนิสัยที่ไม่ดีของแฟน แต่นอกจากไม่ แก้ไขปัญหาลูกชายแล้ว ยังพูดให้แม่ของเด็กต้องทนกับปัญหาต่างๆ กรณีคุณแหวน คุณแหวนรู้สึกเสียใจกับการตั้งท้องครั้งนี้ และเธอก็ไม่อยากที่จะมีอนาคตครอบครัวร่วม กับแฟนคนนี้อีกต่อไป เนื่องจากแฟนของเธอเจ้าชู้มาก แต่เมื่อเธอจะเลิก พ่อของสามีของเธอก็บอกให้เธออดทน และเชื่อว่าลูกของเขาจะกลับมาเป็นคนดีอีกครั้ง เหมือนตัวของเขาซึ่งก็กลับตัวได้มาแล้ว เแม้ว่าค�ำแนะน�ำนี้จะ ท�ำให้ลูกของเธอยังมีพ่ออยู่ก็ตามแต่มันท�ำให้เธอไม่มีความสุข “พี่ก็รู้สึกเสียใจอยู่นิดๆว่า เราคุมแล้ว ก็ไม่อยากมีลูกกับเค้าแล้ว แต่พี่จะนึกถึงค�ำที่พ่อกับแม่แฟนบอก เสมอว่า เดี๋ยวมันก็เลิกนิสัยเจ้าชู้ เพราะว่าพ่อของแฟนก็มีเมียเยอะแบบนี้เหมือนกัน เราก็จะนึกถึงค�ำนั้นให้โอกาส และทนเค้ามาโดยตลอด” คุณแหวว

3.9. แม่ทิ้งลูก เพราะคิดว่า ย่าจะเลี้ยงลูกได้ดีกว่า ครอบครัวฝ่ายชาย อาจไม่ได้เป็นปฏิปักษ์กับลูกสะใภ้เสมอไป แต่เมื่อมีปัญหา ก็เลือกเก็บแต่หลานและ ปล่อยลูกสะใภ้ กรณีคุณก่ี้ เธอให้แม่สามีเลี้ยงหลาน เพราะแม่ของเธอขายของไม่มีเวลา ยายของเธออายุมาก แล้ว เธอเองก็ไม่เคยเลี้ยงลูก “หนูไม่ได้ติดต่อไปเลยพี่ คือเค้าก็คงเลี้ยงดูลูกเราได้ดีอยู่แหละพี่ เพราะนั่นก็หลานแท้ๆของเขา…เอามา ใครจะเลี้ยง ให้แม่หนู ก็ขายของไม่มีเวลา ยายหนูก็แก่แล้ว จะให้หนูเอามาเลี้ยงที่นี้ก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะหนูไม่เคย เลี้ยงเค้าเลย ก็เอาไว้ที่ย่าเค้านั่นแหละ อย่างน้อยนั่นก็หลานแท้ๆของเขา ก็คงเลี้ยงลูกเราดีอยู่หรอก แต่ว่าถ้าใน อนาคต ย่าเค้าไม่เลี้ยงหรือยกให้หนูหนูก็จะเอามาเลี้ยงเองนะ พี่ก็เลี้ยงเค้าไปเท่าที่เราเลี้ยงได้” คุณกี้ 154

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


กรณีคุณแฟนต้า ก็เช่นกันคุณแฟนต้าได้ฝากลูกสาวของเธอไว้กับแม่ ตั้งแต่ลูกของเธอได้ 1 ปี 7 เดือน แล้วเธอก็เข้ามาท�ำงานที่พัทยาจนเมื่อลูกสาวได้ 3 ขวบ ปู่กับย่าก็มาขอหลานจากแม่ของเธอ ไปช่วยเลี้ยงและ ช่วยดูและ ซึ่งตอนนั้นความสัมพันธ์ระหว่างเธอและแฟนก็ไม่ค่อยดีแล้ว และเธอก็ยกให้ลูกของเธอไปอยู่กับย่า จนถึงปัจจุบัน “แม่เราก็เลี้ยงลูกให้เราจนลูกได้ 3 ขวบ ปู่กับย่าก็มาเอาหลานไป ซึ่งตอนแรกยายเค้าก็ไม่ยอมให้หลานไป แต่ว่าตอนนั้นเราก็เข้ามาท�ำงาน คือ ยายเค้าเลี้ยงหลานคนเดียว เพราะก็เหมือนใจก็เริ่มออกแล้วหล่ะ เพราะก็มี ปัญหากันกับพ่อของเด็ก ก็เลยเหมือนบอกกับแม่ว่า ไม่เป็นไรหรอกให้เค้าไป เพราะยังไงทางนั้นก็ปู่ย่าเค้า เพราะเรา ก็ไม่ได้เลี้ยงลูกเอง มาท�ำงานตั้งแต่ลูกอายุได้ 1 ปี 7 เดือน” คุณแฟนต้า

4. เด็กถูกตาตัดจากความรักของญาติฝ่ายพ่อ การที่พ่อของฝ่ายหญิงไม่ต้องให้ญาติฝ่ายสามีของลูกสาวมายุ่งกับลูกสาว และหลานของตนก็เป็นอีก กรณีหนึ่งของการท�ำให้เด็กถูกท�ำให้ไม่มีใครต้องการโดยการตั้งข้อแม้กับลูกสาวของตนเองว่าหากลูกสาวพา หลานออกจากบ้านแม้แต่นิดเดียวก็จะตัดลูกสาวออกจากครอบครัว ซึ่งมีผลท�ำให้เด็กกลายเป็นคนที่ถูกตัดขาด จากญาติฝ่ายพ่อ “คือญาติฝั่งสามีเก่าพี่เค้าก็บอกกับพี่นะว่าเอาลูกมาเลี้ยงที่บ้านฝั่งโน้นเถอะ เพราะตั้งแต่มีหลานคนแรกมาก็ยังไม่ เคยได้เลี้ยงด้วยเลยสักที แต่ในความรู้สึกพี่คือพี่ก็ยังไม่ไหวใจไม่มั่นใจว่าพี่พาลูกไปอยู่ที่โน้นแล้วมันจะดีกว่าอยู่ที่นี่ จริงๆแล้วพ่อพี่ก็พูดขนาดที่ว่าถ้าก้าวขาออกจากบ้านพาหลานไปอย่าหวังว่าจะได้สมบัติอะไรจากพ่อสักชิ้น คือพี่ก็ เลยเครียดแล้วก็ยังคิดไม่ตกว่าตกลงนี่คือพี่ต้องเลือกสักทางใช่ไหม”P2:2.คุณโด่ย2:8[(136:136)]

4.1. เด็กถูกตัดออกจากความรักของพ่อ ปู่ย่า เด็กที่เกิดมาควรที่จะเป็นที่รักใคร่ของญาติพี่น้องทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีเด็กที่เกิดมาก็ ไม่เป็นที่ต้องการของญาติฝ่ายชายดังเช่นกรณีของเมย์พ่อของสามีของเมย์พยายามที่จะตัดความสัมพันธ์ ระหว่างลูก และครอบครัวของเขากับเมย์ซึ่งเป็นลูกสะใภ้และหลานซึ่งเป็นลูกของลูกชายของเขา “ปัจจุบันก็ไม่ได้ติดต่อกันเลยไม่ได้คุยกัน เพราะว่าพ่อของสามีเป็นคนบอกออกจากปากเลยว่า ไม่ให้เรา ไปยุ่งกับลูกชายของเขาแล้ ววันนั้นพ่อกับเรา พาลูกชายไปเล่นที่สนามเด็กเล่นที่โรงเรียน แล้วไปเจอกับพ่อของสามี กับเพื่อนของเขาพอดี แล้วเพื่อนของเขาก็ถามพ่อของสามีเรา ว่าเรียกพ่อเราว่าอย่างไร ในฐานะที่เป็นดองกันแล้ว พ่อสามีเราก็ตอบแบบไม่แคร์ความรู้สึกเราเลยว่า เราไม่ได้เป็นดองอะไรกับเขานะ เราก็เลยมองดูหน้าแล้วก็รีบเดิน หนี” คุณเมย์

บทที่ 4 ผลการศึกษา

155


สรุป

ครอบครัวของทางฝ่ายพ่อและแม่ของเด็กทีก่ ำ� ลังจะเกิดมา ล้วนมีสว่ นส�ำคัญในการท�ำให้ครอบครัวสร้าง ใหม่สามารถอยู่รอดหรือต้องพังทลายลง โดยเฉพาะเมื่อเป็นการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ไม่ต้องการ ไม่ผ่านประเพณี เด็กที่เกิดมาอย่างบริสุทธิ์ต้องเป็นเหยื่อทางอารมณ์และความเห็นแก่ตัวของผู้ใหญ่ ทั้งการรู้สึกสูญเสียหน้าตา ความดูถูกเกลียดชัง ปัญหาที่เกิดขึ้นมักไม่มีผู้ใดรับผิดชอบ และต่างโทษว่า เป็นของผู้อื่น ผู้ชายที่ถูกเลี้ยงดูมา ให้เห็นแก่ตวั ไม่รบั ผิดชอบ เสพแต่อบายมุข ปูย่ าตายายทีก่ ลัวสูญเสียหน้าตา แต่ไม่กลัวสูญเสีย ลูก หลาน สามารถ ทั้งสนับสนุน ให้ความช่วยเหลือ หรือ ผลักภาระ ซ�ำ้เติม และแม้แต่แม่ ซึ่งยอมตนเป็นเหยื่อของความรุนแรง ความรูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์ อาจมีทงั้ ความเห็นแก่ตวั หรือความเสียสละต่างๆ พวกเขาเหล่านีก้ มุ ชะตาของเด็กบริสทุ ธิ์ จ�ำนวนมาก ว่าจะผลักไสพวกเขาเป็นเด็กทีไ่ ม่มใี ครต้องการ หรือ ให้พนื้ ทีแ่ ก่เขาในการเติบโตต่อไป ไม่ตอ้ งให้ความ สมบูรณ์จนล้นเหลือ แต่ขอเพียงให้ได้มีโอกาสและที่ยืนให้เติบโต งอกงามต่อไปได้

เจ็ด แบบจ�ำลองความสัมพันธ์ระบบทุนนิยมโลกาภิวตั น์ชายเป็นใหญ่กบั การเป็นเด็กทีไ่ ม่ตอ้ งการ ระบบทุนนิยมโลก และชายเป็นใหญ่ ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาครอบครัวในรูปของเด็กที่ไม่มีใครต้องการ ในสามรูปแบบคือ หนึ่ง ระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ได้เปลี่ยนงานในชนบทที่ชาวนาเคยพึ่งตัวเองได้ ให้กลายเป็นพึ่งตัวเอง ไม่ได้ การพึ่งตัวเองทางเศรษฐกิจไม่ได้ ท�ำให้เกษตรกรต้องย้ายถิ่นแสวงหางานท�ำในเมือง ซึ่งท�ำให้ต้องทอดทิ้ง ลูกไว้เบือ้ งหลัง การท�ำงานในเมืองทีถ่ กู เอาเปรียบ เรือ่ งเวลาการท�ำงานทีน่ าน และรายได้นอ้ ยของระบบทุนนิยม โลก ท�ำให้ห่วงสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับครอบครัวในเมืองกับลูกที่อยู่ในชนบทอ่อนล้าและฉีกขาดลง เกิดเด็กที่ ถูกทอดทิ้งหรือไม่ต้องการเพิ่มมากขึ้น สอง ระบบชายเป็นใหญ่ที่ผู้ชายสามารถแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากผู้หญิงได้ ท�ำให้เกิดเพศสัมพันธ์ ที่ไม่เต็มใจ การท้องที่ไม่ต้องการ การพยายามและการยุติการตั้งครรภ์ การปฏิเสธว่าไม่ใช่ลูก การที่ลูกเขยหรือ ลูกสะใภ้ไม่ได้รับการยอมรับจากพ่อ หรือ แม่ของภรรยา หรือสามีท�ำให้ครอบครัวไม่สามารถเกิดขึ้นได้ และลูก ทีเ่ กิดมากลายเป็นลูกทีไ่ ม่มใี ครต้องการ รวมทัง้ การไม่สามารถยอมรับการตัง้ ท้องของลูกสาวทีย่ งั เรียนหนังสืออยู่ ได้ และส�ำหรับคู่สามีและภรรยาที่สร้างครอบครัวได้แล้ว การที่สามีกระท�ำรุนแรงกับภรรยา หรือ นอกใจภรรยา จนถึงการหย่าร้าง แต่งงานใหม่ และมีลูกใหม่ ก็ท�ำให้ครอบครัวล่มสลาย และลูกกลายเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการ

156

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


สาม การท�ำงานร่วมกันของระบบทุนนิยมและชายเป็นใหญ่ในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ท�ำให้พ่อหรือสามี กลายเป็นคนที่ติดเพื่อน ติดสิ่งเสพติด ติดเหล้า ติดการพนัน และติดหญิงอื่น ท�ำให้ครอบครัวของสามีล่มสลาย และลูกกลายเป็นสิ่งที่พ่อหรือแม่ไม่ต้องการ ในเชิงนามธรรม กล่าวได้ว่า ระบบทุนนิยมท�ำลายระบบเศรษฐกิจที่ชาวไร่ชาวนา เคยพึ่งตนเองได้ให้ พึ่งตนเองไม่ ได้และถูกผลักดันให้กลายเป็นกรรมกรในเมืองที่ถูกเอาเปรียบ จนไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวหรือ เลีย้ งลูกได้ ท�ำให้ลกู กลายเป็นภาระหรือส่วนเกินทีแ่ บกรับภาระไม่ไหว ระบบชายเป็นใหญ่ทผี่ ชู้ ายแสวงหาเพศ สัมพันธ์ได้ไม่มีขีดจ�ำกัด ท�ำให้เกิดการท้องและเด็กที่ไม่ต้องการเกิดขึ้น โดยเด็กที่ไม่มีใครต้องการ ถูกครอบครัว ชายเป็นใหญ่รังเกียจว่า ไม่ใช่ลูกไม่ใช่หลาน ท�ำให้อับอาย ท�ำให้แม่ของเด็กเสียโอกาสในชีวิต เป็นต้น และการ ท�ำงานร่วมกันของระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ได้เปิดโอกาสให้ชายซึ่งเป็นใหญ่ ได้เสพสิ่งเสพติด มีเพศสัมพันธ์ นอกสมรส และกระท�ำรุนแรงกับภรรยา จนกระทั่งครอบครัวล่มสลาย และมีปัญหาเด็กที่ไม่มีใครต้องการ แบบจ�ำลองความสัมพันธ์จากผลการศึกษา

บทที่ 4 ผลการศึกษา

157


Picture Credit: Sunshin’s Blog

158

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


5. สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

การศึกษาเชิงคุณภาพ เรื่องเด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคมนี้ ศึกษาจากแม่ที่ไม่ ต้องการลูก 50 คน และลูกที่ไม่มีใครต้องการ 70 คน เพื่อตอบค�ำถามว่า รูปแบบและกระบวนการของการไม่ ต้องการลูก หรือ การกลายเป็นลูกที่ไม่มีใครต้องการ เป็นอย่างไร และมีความเกี่ยวข้องกับความไม่เป็นธรรมใน สังคม ซึ่งได้แก่ ระบบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ และความไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ รวมถึงระบบชายเป็นใหญ่ อย่างไร ดังนี้

สรุปผลการศึกษา การไม่ต้องการลูกของพ่อแม่นั้นเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของชีวิตเด็ก พ่ อ และแม่ โ ดยเฉพาะแม่ ถู ก ท�ำให้ไม่ต้องการลูกตั้งแต่ บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

159


1. เซ็กส์ที่ไม่ต้องการลูก

ในขั้นของการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่คิดว่าจะตั้งครรภ์แต่กลับตั้งครรภ์ หรือ การไม่มีความสามารถในการ ควบคุมการมีเพศสัมพันธ์ของตนเอง และการไม่คุมก�ำเนิด หรือ คุมก�ำเนิดอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลท�ำให้ เกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการหรือไม่ได้วางแผนขึ้นมา

2. ประสบการณ์ของแม่ท่ีไม่ต้องการลูก

ในขั้นของการทราบว่าท้อง เมื่อทราบว่าท้องก็ตกใจ ยอมรับไม่ได้กับการท้อง ด้วยสาเหตุมากมายได้แก่ เพราะรูส้ กึ ว่าตนเองยังเด็กเกินไปทีจ่ ะมีลกู ท้องไม่ได้ในเมือ่ ยังไม่ได้แต่งงานกันและในเมือ่ ยังไม่มงี านท�ำ เมือ่ พ่อ แม่ยังไม่ยอมรับ ตนเองไม่พร้อมเนื่องจากการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ ฟ่อแม่ยังไม่ยอมรับในตัวของแฟน เมื่อ แฟนของตนเองเริ่มนอกใจและคุยกับผู้หญิงคนใหม่ แฟนเสพยาเสพติด เด็กที่อยู่ในท้องไม่ใช่ลูกที่เกิดกับแฟน ใหม่ทกี่ ำ� ลังจะแต่งงานกัน และแฟนซึง่ เป็นพ่อของเด็กต้องการให้เอาเด็กในท้องออก ดังนัน้ จึงคิดทีจ่ ะยุติการตัง้ ครรภ์ และลงมือท�ำแท้งแบบกล้าๆกลัวๆ เช่น กินยาขับประจ�ำเดือน และเมื่อถึงจุดหนึ่งก็ตัดสินใจลงมือท�ำแท้ง จริง โดยการไปที่คลินิกและได้ยาท�ำแท้งแบบเหน็บ แต่เด็กไม่ออกจึงยอมที่จะเก็บเด็กไว้ บางกรณีเมื่อเรื่อง ทราบถึงพ่อแม่ พ่อแม่ต้องการให้เอาเด็กออก และก็ต้องเอาออกจริงๆ ส�ำหรับผู้ที่ไม่ได้เอาออก การท้องคือ การท้องทีพ่ อ่ ของเด็กไม่ตอ้ งการลูก เพราะพ่อของเด็กไม่เคยดูแลทัง้ ระหว่างตัง้ ครรภ์และการคลอด พ่อของเด็ก ทิง้ ลูกเพราะพ่อกินเหล้า พ่อติดยาเสพติด พ่อมีผหู้ ญิงคนใหม่ พ่อและแม่ของแฟนไม่ยอมรับในตัวของเธอและลูก ในท้อง บางคนมาแค่การมาจดทะเบียนรับว่าเป็นลูกเท่านั้น และแม่ของเด็กบางคนก็ทนการไม่รับผิดชอบของ สามีไม่ได้ ก็เลยเป็นฝ่ายหนีสามีเสียเอง อย่างไรก็ตามไม่ใช่พ่อทุกคนที่ทิ้งเมียและลูก พ่อที่ต้องการมาหา มารับลูก แต่มาไม่ได้เนื่องจากติดงาน และในขั้นของการเลี้ยงลูกหลังคลอดมีหลายมิติ เช่น การทิ้งลูกในเชิงของเวลา แม่บางคนแค่ทิ้งลูกเล็กของตน ไปท�ำงานหาเงินเพียงหนึ่งสองชั่วโมงก็กลับมา แต่บางคนก็ไปนานและห่างไกล เช่น การทิ้งลูกไปท�ำงานกรุงเทพ สองสามเดือนแล้วก็กลับมา บางคนก็เป็นแม่ที่แทบไม่ได้เลี้ยงลูกเลย บางคนให้นมสามเดือนแล้วก็ทิ้งลูก บางคน ให้นมหกเดือนแล้วก็ทิ้งลูก และบางคนก็ไม่ได้เลี้ยงเลย ยกลูกให้แม่ของตนเลี้ยงตั้งแต่เกิดเลย เป็นต้น ในมิติของ การส่งลูกให้ผู้อื่นเลี้ยงนั้น ส่วนใหญ่ก็ให้แม่หรือยายและย่าเลี้ยงเป็นหลัก แต่ป้าก็เป็นคนที่มีบทบาทหลักคนหนึ่ง ที่ไม่ใช่ปู่ย่าตายาย ทุกขั้นตอนจึงเป็นขั้นตอนของการไม่ต้องการลูกของพ่อและแม่ และผู้เกี่ยวข้อง

160

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


3. ประสบการณ์ของลูกในการถูกท�ำให้กลายเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการ

การถูกทอดพ่อแม่ทอดทิง้ มีหลายรูปแบ บและสัมพันธ์กบั การท�ำงานของพ่อแม่ในระบบทุนนิยมในเมือง ซึง่ ไม่อนุญาตให้พอ่ แม่มาดูแลลูก และงานในชนบท ซึง่ เป็นบ้านของพ่อแม่ ก็ไม่มงี านพอทีจ่ ะท�ำงานเลีย้ งลูกและ ครอบครัว ดังมีรายละเอียดดังนี้ ส�ำหรับพ่อแม่ทไี่ ม่ได้ยา้ ยไปท�ำงานต่างจังหวัด พ่อแม่บางคนก็ยากจนมาก ป่วยหรือแก่มาก จนต้องผลัก ดันลูกให้ออกไปท�ำงานช่วยตัวเองด้วยความจ�ำเป็น เด็กเหล่านี้ก็ไปท�ำงานชกมวยและเรียนหนังสือ ส�ำหรับพ่อ แม่ที่ยากจน และจ�ำเป็นที่จะต้องย้ายถิ่นไปหางานท�ำในเมือง แต่ไม่ยอมทิ้งลู กพาลูกไปด้วย แต่ก็พบว่างานใน เมืองท�ำให้พ่อแม่ลูกไม่ได้อยู่ด้วยกั นเพราะพ่อแม่ท�ำงานกลับค�่ำมาก ลูกจึงถูกทิ้งให้อยู่ตามล�ำพัง หรือพ่อแม่ที่ ยากจนมาก และไม่สามารถหางานที่มีรายได้พอส�ำหรับครอบครัว พ่อแม่ก็บังคับให้ลูกออกไปท�ำงาน เช่น ขาย พวงมาลัย และถูกต�ำรวจจับส่งบ้านสงเคราะห์เด็ก รูปแบบทีพ่ อ่ แม่ยากจนและให้ลกู ออกไปขอทานหรือช่วยขาย พวงมาลัยนี้มีมากส�ำหรับคนกลุ่มน้อยหรือคนข้ามชาติ เด็กถูกจับหรือได้รับการช่วยเหลือจากจิตอาสา ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งขององค์กรพัฒนาเอกชนที่สนใจปัญหาเด็ก ส�ำหรับพ่อแม่ที่เลือกที่จะทิ้งลูกไว้ที่บ้าน และไปท�ำงานที่กรุงเทพก็มีหลายรูปแบบ รูปแบบแรกซึ่งเป็น รูปแบบหลัก พ่อแม่ไปท�ำงานและช่วยกันส่งเงินกลับมาเลี้ยงลูกซึ่งฝากไว้กับยายและญาติ แต่ก็มีปัญหาส�ำหรับ ลูกอีกเช่นกัน งานที่พ่อแม่ท�ำไม่เปิดโอกาสให้พ่อแม่กลับบ้าน และมักจะได้กลับปีละไม่กี่ครั้งช่วงเทศกาลเท่านั้น และยิ่งไปกว่านั้น เงินที่ส่งกลับมาก็น้อยลงและค่อยขาดหายไป ท�ำให้ปู่ย่าตายายโดยเฉพาะที่ยากจนต้องเลี้ยง หลานด้วยความล�ำบากมาก การไปท�ำงานหาเงินของพ่อแม่ในเมือง ยิ่งท�ำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่ไม่ต้องการมากขึ้น เมื่อพ่อแม่แยก ทางกันเดิน และลูกต้องอยู่กับปู่ย่าตายายในชนบท พ่อแม่บางคนก็ยังรับผิดชอบแม้แยกทางกัน แต่ก็ยังช่วยส่ง เงินมาเลี้ยงลูกทั้งพ่อและแม่ แต่ก็มีกรณีเช่นนี้น้อย แต่สาเหตุที่ท�ำให้ลูกถูกทอดทิ้งมากยิ่งขึ้น คือ พ่อและหรือแม่ แต่งงานใหม่ โดยจะเริ่มจากการที่แม่แต่งงานใหม่และมีลูกคนใหม่ การที่แม่มีลูกใหม่มักท�ำให้ลูกที่มีแนวโน้มที่ จะคิดว่า ตนเป็นเจ้าของแม่และต้องเเสียความรูส้ กึ นีไ้ ป และรูส้ กึ ว่าตนเองเป็นคนทีไ่ ม่มใี ครต้องการ แต่ทงั้ นีก้ ข็ นึ้ อยูก่ บั พฤติกรรมของแม่วา่ ติดต่อให้ความรัก การสนับสนุนต่อเนือ่ งหรือไม่ แม่บางคนท�ำได้ดี เด็กก็รสู้ กึ ว่าตนเอง ยังเป็นที่รักของแม่อยู่ และท�ำให้มีความเข้มแข็งในชีวิต ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับปู่ย่าตายายของเด็กด้วยว่า รักเด็กและ ดูแลเด็กแค่ไหนเพียงใด เด็กบางคนถูกแม่ทิ้งไปตั้งแต่คลอดได้สัปดาห์เดียว และปัจจุบันแม่แต่งงานใหม่และอยู่ ต่างประเทศ เด็กบางคนต้องย้ายที่อยู่ เปลี่ยนผู้ดูแล เช่นอยู่กับยาย และต่อมาถูกพ่อส่งมาอยู่กับย่าและป้า ซึ่ง ยากจน เด็กคนนี้จึงถูกย่าและป้าส่งให้ไปอยู่โรงเรียนประจ�ำศึกษาสงเคราะห์ เพื่อประหยัดเงินในการเลี้ยง เด็ก บางคนก็ไปอยู่วัด และบางคนก็ไปอยู่ค่ายมวย เป็นต้น บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

161


บางกรณีพอ่ แม่ทแี่ ยกทางกันแต่แม่ทยี่ งั มีอายุนอ้ ยและไม่ได้แต่งงานใหม่ อาจจัดอยูใ่ นกลุม่ แม่เลีย้ งเดีย่ ว ที่มีอายุน้อย ก็มีปัญหาในการเลี้ยงลูกเช่นกัน โดยทั่วไปแล้วการเป็นแม่เลี้ยงลูกคนเดียวก็เป็นภาระที่หนักของแม่ มากอยู่แล้ว และมักไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ ต้องให้แม่หรือยายของหลานเป็นคนเลี้ยงแทน หากยายมีฐานะดีก็ มักสนับสนุนให้ลูกของตนเรียนหนังสือจนจบ และช่วยเลี้ยงหลานให้ แต่หากยายฐานะไม่ดี ทั้งยาย ทั้งแม่ และ ทั้งหลาน ก็อยู่ในฐานะที่ล�ำบากด้วยกัน ส่วนการแยกทางของพ่อนั้น มีทั้งที่เกี่ยวกับการไปท�ำงานในเมือง ในกรณีทีลูกหรือเด็กที่ต้องอาศัยอยู่ กับญาติฝั่งพ่อ ก็มีหลายคนที่ถูกแม่ทิ้งตั้งแต่คลอดออกมา หรือไม่ทราบว่าแม่คือใค รและที่ส�ำคัญก็คือ พ่อก็ แต่งงานใหม่เช่นเดียวกับแม่ ซึ่งคล้ายกับกรณีที่แม่แต่งงานใหม่ ถ้าปู่และย่ามีฐานะและรักหลาน การเลี้ยงดูก็ เป็นไปอย่างดี แต่ที่ต่างกันกับกรณีที่อยู่กับญาติแม่ ก็คือ การอยู่กับญาติฝั่งแม่ แม่มักจะดูแลใกล้ชิดกว่าการอยู่ กับญาติของพ่อ พ่อที่มีครอบครัวและมักกินเหล้าจะดูแลลูกน้อยกว่า ซึ่งรวมทั้งการส่งเงิน การให้การสนับสนุน ทางอารมณ์ และเมื่อปู่ย่ามีปัญหาเรื่องเงิน หลานคนไกลที่ยากจนก็มักจะต้องถูกผลักดันให้ออกไปอยู่ที่อื่น เช่น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เช่นกัน การทอดทิ้งลูกครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อทั้งพ่อและแม่ที่แยกทางกัน ต่างแต่งงานและมีลูกคนใหม่ และปล่อย ให้ลูกคนเก่าอยู่กับปู่ย่าตายาย การแยกทางกันของพ่อและแม่ มักมีเหตุที่ร้ายแรง เช่ นพ่อแม่ทะเลาะกันตลอด เวลา พ่อท�ำร้ายหรือท�ำความรุนแรงกับแม่ พ่อติดยาเสพติด หากการจากไปของแม่เป็นไปในลักษณะที่ทิ้งลูกไว้ กับพ่อ แม่มักจะไม่ติดต่อกลับมาหาลูกอีกเลย ลูกที่ไม่มีใครต้องการจึงมักติดอยู่กับครอบครัวของพ่อ ซึ่งมักจะ ยากจนและไม่สามารถให้ความรักความอบอุ่นกับหลานได้เต็มที่ และยิ่งไปกว่านั้นการดื่มเหล้า การติดยาเสพ ติด การติดเพื่อน ล้วนน�ำมาซึ่งความยากจนและความขัดแย้งในบ้าน เด็กมักถูกท�ำร้ายและมักย้ายไปบ้าน สงเคราะห์เด็ก เด็กบางคนถูกบังคับให้แต่งงานตั้งแต่เด็กเพื่อใช้หนี้ให้พ่อ บางคนถูกพ่อข่ม ซึ่งต้องย้ายไปบ้าน สงเคราะห์เด็กเช่นกัน พ่อที่มีลักษณะเช่นนี้บางคนจะถูกจับและติดคุก และฆ่าตัวตายเมื่อออกมา ท�ำให้ลูกที่ ถูกแม่ทิ้งไปตั้งแต่เล็กต้องอยู่กับปู่ย่า แต่ปู่ย่าบางคนก็ไม่ได้รับเลี้ยงหลานคนเดียว หลานที่พ่อแม่ส่งเสียเงินให้ มากกว่า ก็มักได้รับการดูแลดีกว่า และหลานที่พ่อที่ยากจนและสร้างปัญหาให้ก็ไม่ค่อยเป็นที่รักของปู่ย่าเท่าที่ ควร และมักถูกผลักดันให้เข้าโรงเรียนประจ�ำที่ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน เช่น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์

4. ระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์และระบบชายเป็นใหญ่กับการท�ำให้พ่อแม่ไม่ต้องการเด็ก

บทบาทของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์กับระบบชายเป็นใหญ่ ซึ่งเป็นความไม่เป็นธรรมใน สังคม บังคับให้พ่อแม่ต้องทิ้งลูก หรือไม่ต้องการลูกผ่านการท�ำงาน หรือ การทิ้งลูกที่เพิ่งเกิด เพื่อไปท�ำงาน เนื่องจาก

162

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


หนึง่ การท�ำงานในระบบทุนนิย มไม่สามารถเลีย้ งลูกเองในเมืองได้ เช่น ผูท้ เี่ ป็นเจ้าของกิจการก็หว่ ง และ ต้องทุ่มเทกับกิจการของตนเอ งกลัวกิจการล้มละลายจึงต้องทิ้งลูก งานที่มั่นคงหรือการได้งานประจ�ำที่หายาก เมื่อได้งานประเภทนี้แล้ว ก็ไม่ต้องการสูญเสียไปเพราะการกลับไปเลี้ยงดูลูก งานและบ้านอยู่ไกลกันมากไม่ สามารถกลับมาดูลูกได้ การหาพี่เลี้ยงที่ไว้ใจ หรือ อาจรวมทั้งสถานที่เลี้ยงเด็กในเมือมีราคาแพง หายาก ก�ำหนด ลางานสั้น และบางครั้งถูกบังคับให้กลับมาท�ำงานก่อนครบก�ำหนดการลา การให้ลาคลอดที่ได้เงินค่าตอบแทน เพียงสามเดือน การถูกบังคับหรือจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องท�ำงานล่วงเวลา ตลอดจนการท�ำงานกะ ทีเ่ ลิกดึก เป็นอุปสรรค ในการเลี้ยงลูกเองในเมือง งานบางงานต้องเดินทางไปท�ำงานไกล เช่น ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ งานที่ไม่ มั่นคงและมีรายได้น้อยเกินไปที่เรียกว่าหาเช้ากินค�่ำ ไม่ช่วยให้การเลี้ยงลูกเองท�ำได้ หากจะให้สามีท�ำงานคน เดียวรายได้ก็ไม่พอเลี้ยงลูก การไม่ได้ท�ำงานและไม่มีรายได้ช่วงท้องแก่คลอด และเลี้ยงลูกอ่อนท�ำให้แม่อยาก หาเงินมาช่วยครอบครัวโดยเฉพาะที่มีลูกหลายคน สอง ค่าครองชีพในระบบทุนนิยมที่สูงขึ้นตลอดเวลา เหตุผลส�ำคัญที่ท�ำให้พ่อแม่ต้องทิ้งลูก เกี่ยวกับค่า ใช้จ่ายในการเลี้ยงลูกและมีชีวิตสูง เหตุผลในกลุ่มนี้เป็นเหตุผลที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินชีวิตในชนบทที่ หารายได้ยากล�ำบาก “การที่สามีท�ำงานหาเงินอยู่คนเดียวมาเป็นการที่ไม่มีสามี รายได้ไม่พอเลยตัดสินใจเอาลูกมาไว้ที่บ้านตากับยาย จะดีกว่า” “ค่าใช้จ่ายในครอบครัวที่สูงและรายได้ที่น้อยท�ำให้พ่อจ�ำเป็นต้องจากลูกไปหาเงิน” “ค่าใช้จ่ายในการ เลี้ยงลูกก็เริ่มสูงขึ้น ลูกก็เริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ ภาระก็เยอะ ไหนจะลูก ไหนจะรถ ไหนจะบ้าน ก็เลยตัดสินใจว่าจะกลับไป ท�ำงานช่วยสามี”

สาม เหตุผลส�ำคัญที่ท�ำให้พ่อแม่ต้องทิ้งลูกที่เกี่ยวกับที่บ้านในชนบทไม่ใช่ค�ำตอบ การกลับมาท�ำนาไม่ สามารถเลี้ยงลูกได้ก็ต้องทิ้งลูกไปท�ำงานที่กรุงเทพอีกครั้ง การอยู่บ้านท�ำนามันก็ไม่ได้ท�ำให้เราลืมตาอ้าปากได้ “รู้สึกว่าไม่ไหวแล้ว ล�ำพังจะหากินแถวบ้านก็คงไม่มีเงินพอใช้จ่ายในบ้าน บ้านเรามันก็บ้านนอก ไม่ได้มีรายได้ที่ ตายตัว ก็เลยต้องทิ้งลูกไป หางานท�ำที่บ้านไม่ได้”

สี่ ตัวตน ความต้องการของแม่ที่ถูกครอบง�ำ กดทับ ท�ำให้พ่อแม่คิดว่าการทิ้งลูกไปท�ำงานในเมืองดีกว่า การท�ำงานเลี้ยงลูกอยู่ที่บ้าน ความต้องการเกี่ยวกับงานและเงิน เหล่านี้ล้วนเป็นภาพลวงตา หรือมายคติ ที่เป็น ปฏิปักษ์กับลูกทั้งสิ้น โดยเฉพาะลูกที่ยังเล็ก แต่ไม่ได้รับความสงสารหรือเห็นใจจากแม่เลย เช่น

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

163


“ถ้าเราจะเลี้ยงลูกแล้วไม่มีเงิน เราเลือกที่จะไม่เลี้ยงเองดีกว่า” “ถ้าเราไม่ท�ำงาน ...ไม่รู้ว่าจะหาเงินที่ไหนไปเลี้ยงดู เค้า” “การเลี้ยงเด็กคนหนึ่งจะล�ำบากขนาดนี้” “อยากให้ชีวิตมั่นคงกว่านี้ก่อนจึงทิ้งลูกมาท�ำงาน” “เห็นว่าลูก (อายุสองขวบ) ดูแลตัวเองได้แล้วจึงทิ้งลูก” “การมีงานท�ำเป็นโอกาสที่ไม่ควรทิ้งแต่ให้ทิ้งลูกแทน” “อยากท�ำงาน เพราะลูกยังเล็ก ต้องหาเงินอีกมาก” และ “อยากมีรายได้มากขึ้นและแน่นอนมากขึ้น ให้ลูกอยู่กับตายาย เติบโตที่ ต่างจังหวัดดีแล้ว”

5. ความไม่เป็นธรรมทางสังคม ท�ำให้พ่อแม่ทอดทิ้งลูก และท�ำให้ลูกกลายเป็นเด็กไม่มีใครต้องการ หนึ่ง ชายเป็นใหญ่ที่สัมพันธ์กับการท�ำงาน การไปท�ำงานของพ่อ คือ การหายไปจากลูก การไปท�ำงาน ของพ่อคือการหายไปจากการส่งเงินให้ลูก การทิ้งลูกขึ้นมาสร้างเนื้อสร้างตัวที่กรุงเทพแต่เป็นการเริ่มต้นการล่ม สลายของครอบครัว การที่สามีเหลวไหลไม่ท�ำงานอย่างจริงจัง คื อการบังคับให้แม่ออกไปท�ำงาน หรือ ต้องทิ้ง ลูก การที่ภรรยาออกไปท�ำงา นและเลิกงานไม่ตรงกันท�ำให้สามีคิดว่าภรรยานอกใจ สอง ชายเป็นใหญ่ในรูปของการนอกใจ การหย่า การมีเมียใหม่ และการมีสามีใหม่ ท�ำให้เกิดการทิ้งลูก ได้แก่ การทิ้งแฟนให้ท�ำงานในเมืองคนเดียวท�ำให้แฟนนอกใจ การติดหญิงอื่นหรือการนอกใจท�ำให้ภรรยาต้อง พาลูกหนีสามี การที่พ่อไปมีครอบครัวใหม่คือการทิ้งลูก การนอกใจของสามีแบบที่พาผู้หญิงคนอื่นเข้าบ้าน จน พ่อของภรรยาทนไม่ได้ให้เลิกกัน การนอกใจของสามีแบบที่พาผู้หญิงคนอื่นเข้าบ้าน จนลูกก็บอกให้แม่ทิ้งพ่อ การติดเพื่อนติดเหล้าติดหญิงของพ่อของเด็ก ท�ำให้ครอบครัวต้องล่มสลายต้องทิ้งลูก การติดเพื่อนติดยาเสพติด และการติดหญิงท�ำให้แม่ของเด็กที่มีลูกถึงสี่คนต้องแยกทาง การเลิกกับภรรยา คือ การที่สามีบังคับให้แม่ทิ้งลูก ไปท�ำงาน การแต่งงานใหม่ของแม่เลี้ยงเดี่ยวคือการทิ้งลูกของแม่ การอยู่กินกับสามีคนที่สอง และคนที่สาม คือ การทิ้งลูกคนแรกและคนที่สอง การที่ทั้งพ่อและแม่ต่างมีแฟนใหม่เท่ากับการทอดทิ้งลูกทั้งพ่อและแม่ การทิ้ง ลูกของพ่อและการทิ้งลูกของแม่ ต่างคนต่างแต่งงาน แฟนใหม่ของแม่ก็ไม่เอาลูกติด แฟนใหม่ก็ไม่เอาลูกติดเมีย โดยการเอาทิ้งลูกติดเมียเก่าไปไว้ที่สถานเลี้ยงเด็กก�ำพร้า สาม ชายเป็นใหญ่ในรูปแบบของความรุนแรงที่กระท�ำกับภรรยา ท�ำให้เกิดการทิ้งลูกหรือไม่ต้องการ ลูก ได้แก่ การถูกสามีท�ำร้ายร่างกายท�ำให้ต้องทิ้งลูกไว้กับสามี และลูกก็ห่างแม่ไปเรื่อย การกินเหล้าและการก ระท�ำรุนแรงของสามีต่อภรรยาท�ำให้ต้องท�ำให้ตัดพ่อออกจากลูก การกระท�ำรุนแรงด้วยความหึงหวงของสามี ก็ ท�ำให้แม่ต้องบังคับให้พ่อต้องทอดทิ้งลูก แม้เลิกกันไปแล้วแต่สามีเก่าก็ยังตามมารังควานเธอและแฟนใหม่อีก ความรุนแรงกับแม่ท�ำให้แม่ต้องพาลูกหนีพ่อ การย�่ำยีภรรยาก็เป็นความรุนแรง และการไม่ต้องการลูกของสามี สามีก็เลือกแฟนใหม่และท�ำร้ายเธอ ไม่เลือกลูกและเธอ การที่แม่ของเด็กตัดพ่อของเด็กออกจากชีวิตของเด็ก อย่างสิ้นเชิง พ่อของเด็กกลับมาเยี่ยมลูกบ้างก่อนแต่งงาน เมื่อแต่งงานแล้วก็ไม่เคยติดต่อกลับมาอีกเลย

164

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


สี่ ชายเป็นใหญ่ที่อยู่ในรูปของอบายมุข สุรา ยาเสพติด การพนัน ติดเพื่อนที่ได้รับการสนับสนุนจาก ระบบทุนนิยม ได้แก่ สามีติดเหล้า ไม่ยอมไปท�ำงาน การกินเหล้าและติดเพื่อน การออกไปท�ำงานแล้วติดเพื่อน ติดเหล้า ไม่กลับบ้านของสามี ท�ำให้แม่ของเด็กต้องพาลูกหนี การออกไปท�ำงานคบเพื่อนติดยาถูกจับท�ำให้ ครอบครัวพังและพ่อก็ทิ้งลูก สามีที่ออกจากคุกในคดีเสพยามาหลอกเอาเงิน การที่พ่อหมกมุ่นอยู่กับอบายมุข เป็นเหตุพื้นฐานของการที่ไม่ต้องการลูก การใช้ยาเสพติดของสามีท�ำให้ภรรยาไม่ต้องการสามีและมีผลท�ำให้เกิด การทอดทิ้งลูก โดนสามีคนที่สองโกงเงิน

6. ระบบครอบครัวของตายายของหลานที่ยากจนและอคติด้วยชายเป็นใหญ่ที่ท�ำให้ปู่ย่าตายายไม่ ต้องการหลาน

หนึ่ง พ่อกับแม่ไม่ค่อยชอบในตัวลูกเขย พ่อแม่ของเธอกลัวว่าสามีที่อายุมากกว่าจะมาหลอก พ่อแม่ ของเธอกลัวว่าสามีที่อายุน้อยกว่าจะไม่สามารถเลี้ยงดูเธอในอนาคตได้ พ่อไม่ยอมรับเพราะลูกเขยยังเด็ก พ่อ สนับสนุนให้เลิกกับสามีที่ติดยาเสพติด พ่อไม่ต้องการหลานที่เกิดจากพ่อที่ติดยา สอง การที่พ่อแม่ไม่ยอมรับลูกในท้อง ได้แก่ ความไม่แน่ใจว่าพ่อแม่ต้องการหลานหรือไม่ ท�ำให้ลูกสาว ที่ท้องกับแฟนต้องหาที่คลอดลูก แม่ทั้งโกรธและอายที่ลูกสาวท้อง ไล่ให้ไปเอาเด็กออก พ่อทั้งโกรธและอาย ไล่ ให้ไปเอาเด็กออก สาม การท้องระหว่างเรียนหนังสือก็มีผลต่อการไม่ต้องการหลานด้วย ได้แก่ การไม่ยอมรับการท้องของ แม่ท�ำให้ลูกสาวพลาดโอกาสทางการศึกษาเพราะแม่ไม่ยอมให้ไปเรียน การไม่ยอมรับการท้องของแม่ ความ อายท�ำให้ลูกสาวต้องคิดที่จะเอาลูกออก สี่ เมื่อหลานเกิดและพาหลานที่เกิดแล้วกลับบ้าน ได้แก่ การไม่ยอมรับในตัวพ่อของลูกเธอ พ่อแม่และ ญาติรับแค่เธอและลูกเท่านั้น การไล่เธอลูกและแฟนออกจากบ้าน เมื่อเธอพาลูกและแฟนกลับบ้าน แม่ไม่ ยอมแตะตัวหลานถึงหนึ่งสัปดาห์ การต้องหาเงินรักษาแม่ที่ป่วยท�ำให้ต้องทิ้งลูกไว้กับแม่ของสามี การไม่พอใจ ค�ำเตือนของแม่ยาย พ่อของลูกต้องออกไปท�ำงานหาเงินแล้วไม่กลับมาเลย ห้า ระบบครอบครัวของปู่ย่าของหลานที่ยากจน และอคติด้วยชายเป็นใหญ่ ท�ำให้ปู่ย่าตายายไม่ ต้องการหลาน ได้แก่ พ่อแม่ของแฟนไม่ยอมรับผิดชอบในตัวเธอ และลูกเมื่อเธอท้องและร้องขอความเป็นธรรม การที่พ่อของเด็กและย่าของเด็กไม่ยอมรับว่าเด็กเป็นลูกหรือหลาน พ่อแม่ของแฟนเพิกเฉยปล่อยให้แม่ของเด็ก เอาเด็กออก แม่กับน้องสาวของแฟนเธอไม่ยอมรับในตัวเธอและลูก เธอไม่ได้รับการยอมรับแม่สามีเพราะว่า มาจากครอบครัวที่ยากจนครอบครัวแตกแยก ความขัดแย้งด้านการเงินกับครอบครัวสามีท�ำให้สามีพรากลูก บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

165


ของเธอไปเลี้ยงที่บ้านพ่อแม่ของเขา ย่าสัญญาว่าจะส่งเงินให้หลานก็ไม่ส่ง ภาระงานของครอบครัวฝ่าย สามีที่เธอรู้สึกว่าต้องท�ำมันมากจนทนไม่ได้ แม่ของสามีเชื่อแต่ลูกของเขาและเข้าใจผิดว่าเธอใช้จ่ายเงินสิ้น เปลืองจนท�ำให้เธอต้องย้ายออก แม่ของแฟนเก่าไม่หนักแน่นทั้งที่ลูกชายของตนเองผิดก็ไม่ได้ให้ความสนใจกับ หลานอีกเลย พ่อแม่ของแฟนบอกให้อดทนและให้โอกาสกับลูกของเขาโดยไม่แก้ไขที่ลูกของเขาเลย การทิ้งแม่ แต่เอาหลานของย่า เด็กถูกตาตัดจากความรักของญาติฝ่ายพ่อ

อภิปรายผล

1. ระบบเพศสัมพันธ์ที่ไม่เป็นธรรมกับผู้หญิง ท�ำให้เกิดเด็กที่ไม่ต้องการ

เมือ่ มีเพศสัมพันธ์เกิดขึน้ สังคมมักประณามผูห้ ญิงว่า ใจง่าย ทัศนะเช่นนีถ้ อื ว่าเป็นมายาคติ เพศสัมพันธ์ ครั้งแรกของผู้หญิง โดยเฉพาะวัยรุ่น มักเป็นเพศสัมพันธ์ที่ไม่เป็นธรรมกับฝ่ายหญิ งและกับเด็กที่อาจเกิดขึ้นมา จากการมีเพศสัมพันธ์นี้ ทั้งนี้เพราะว่า ที่ผู้หญิงไม่ค่อยได้เป็นฝ่ายก�ำหนดเองว่า เมื่อไรจะมีเพศสัมพันธ์ เพศ สัมพันธ์ของเธอมักถูกก�ำหนดโดยฝ่ายชาย เพศสัมพันธ์เช่นนีอ้ าจเกิดขึน้ ในช่วงเวลาสัน้ หลังจากทีค่ บกัน ฝ่ายหญิง มักถูกท�ำให้ดื่มเหล้าจนเมาก่อนมีเพศสัมพันธ์ รวมทั้งการที่ฝ่ายหญิงมักถูกข่มขืนด้วย และเธอมักถูกท�ำให้เชื่อว่า อย่างไรก็ไม่ท้อง หรือเชื่อว่าฝ่ายชายเป็นฝ่ายป้องกัน ทั้งที่ฝ่ายชายไม่ได้ป้องกันจริง ทั้งนี้เพราะว่าฝ่ายหญิงไม่ได้ มีความเในเข้าใจอย่างเพียงพอ ทั้งเรื่องของอ�ำนาจระหว่างเพศ ระบบเพศสัมพันธ์ซึ่งอยู่ภายใต้ความไม่เป็นธรรม ต่างๆ

2. มายาคติเรื่องเพศศึกษา

เพศศึกษามักถูกมองว่าเป็นการสอนจระเข้ให้ว่ายน�้ำ เพศสัมพันธ์มักเป็นเรื่องถูกท�ำให้เป็นมายาคติหรือ เป็นเรื่องที่ห้ามพูดห้ามสอน เพื่อการควบคุมเพศสัมพันธ์ของผู้หญิงโดยผู้ชาย และเมื่อจ�ำเป็นที่จะต้องพูดหรือ สอนเพศศึกษาหรือเรื่องเพศสัมพันธ์ การพูดและการสอนก็เป็นเพศศึกษาแบบชีววิทยา หรือ แบบการแพทย์ ที่ ลดทอนความหมายทางสังคมของเรื่องเพศลง มีผลท�ำให้ผู้หญิงไม่เข้าใจและใช้ชีวิตเพศสัมพันธ์ที่ตกอยู่ใต้การ ครอบง�ำของผู้ชาย เพศสัมพันธ์โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก เป็นความสัมพันธ์ทางสังคม ที่ส�ำคัญกับ ชีวติ ของผูห้ ญิงอย่างมาก เพราะจะเป็นการมีปฏิสมั พันธ์ทางสังคมทีม่ ผี ลต่อชีวติ หรือเปลีย่ นชีวติ ได้ เนือ่ งจากการ มีเพศสัมพันธ์ท�ำให้ผู้ชายมีอ�ำนาจเหนือผู้หญิ งหรือ ผู้หญิงเป็นสมบัติของผู้ชาย เพศสัมพันธ์ท�ำให้ผู้หญิงท้อง โดยที่ไม่ต้องการ และผู้หญิงต้องรับผิดชอบกับการท้อง เพศสัมพันธ์ท�ำให้เกิดเด็ก ที่พ่อของเด็กหรือแม่ของเด็ก ไม่ต้องกา รซึ่งเป็นความไม่เป็นธรรมกับเด็ก เพศสัมพันธ์ที่ท�ำให้เกิดการท้องและเกิดเด็กที่ไม่ต้องการ มีผลท�ำให้ วิถีชีวิตของผู้หญิงเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เช่น ต้องเปลี่ยนจากการเป็นนักเรียน เป็นนักศึกษา ให้กลายเป็นแม่ที่ ต้องออกจากการเรียน และเลี้ยงลูกด้วยความยากจนตามล�ำพัง เป็นต้น

166

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


3. มายาคติเรื่องการยุติการตั้งครรภ์

สังคมมีความสับสนในตัวเอง เรื่องการยุติการตั้งครรภ์ กล่าวคือ ในสังคมซึ่งมีความยินดีกับการเกิดและ ต่อต้านการท�ำแท้งนัน้ จ�ำเป็นทีจ่ ะต้องเข้าใจหรือเชือ่ ว่า ไม่มแี ม่คนไหนทีอ่ ยากจะท�ำแท้งทีเ่ ป็นอันตรายต่อตัวเอง และเป็นการท�ำอันตรายจิตใจของตนเองที่ฆ่าลูก ผู้หญิงแทบทุกคนถูกสอนให้มีสัญชาติญาณของความเป็นแม่ เช่น เมื่อแต่งงาน หรือ มีเพศสัมพันธ์ก็นึกถึงลูก และเมื่อท้องก็คิดสร้างรัง เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกันสังคมที่ ต้องการลูก และเห็นคุณค่าของเด็ก ก็บังคับให้หญิงที่ท้องที่ก�ำลังจะเป็นแม่นั้นให้ท�ำแท้ง ดังเช่นที่กล่าวมาแล้ว เช่น เพื่อหลีกเลี่ยงสังคมประณามว่าหญิงใจง่าย การแก้ไขปัญหาสามีไม่ยอมรับว่าเป็นลูกหรือเป็นเมีย พ่อแม่ไม่ ยอมรับ โรงเรียนไม่ยอมรับกับการท้อง การตระหนักด้วยตนเองว่า ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ เพราะยังเด็กหรือยัง เรียนไม่จบหรือไม่มีงานหรือรายได้เป็นต้น ดังนั้นจ�ำเป็นต้องสร้างสังคมที่รักเด็ก ที่ต้องการเด็กมากขึ้น และ ต้องการเด็กที่แข็งแรงสมบูรณ์เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ และสังคมความรู้ จ�ำเป็นที่จะต้องสร้างความชัดเจนให้ เกิดขึ้น และแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้กับแม่ของเด็ก

4. การทอดทิ้งภรรยาที่ตั้งครรภ์ และการที่สามีไม่มาดูแลภรรยาและลูกที่ก�ำลังคลอด

ช่วงเวลาของการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นช่วงเวลาที่ส�ำคัญมากช่วงหนึ่ง ของความสัมพันธ์ของสามี และภรรยา และความสัมพันธ์ของพ่อแม่กับลูกที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น ประเด็นนี้สังคมแบบชายเป็นใหญ่ไม่ค่อยให้ ความส�ำคัญ โดยเฉพาะสังคมแบบดั้งเดิม ผู้หญิงก็อยู่กับบ้าน และผู้ชายก็ไปนาไปไร่เท่านั้น แต่ในสังคมทุนนิยม ที่สามีภรรยาต้องแยกกันอยู่ ระหว่างการท้องการคลอด และการเลี้ยงลูกเล็กๆนั้น มีความส�ำคัญอย่างยิ่งส�ำหรับ คนทีเ่ ป็นแม่ สังคมไม่คอ่ ยมองเห็นความส�ำคัญ ดังนัน้ การทีพ่ อ่ หรือสามีหรือแฟน ไม่ได้ทำ� หน้าทีใ่ นขัน้ ตอนเหล่า นี้ มักมีผลท�ำให้สามีหรือแฟนทิ้งภรรยาและลูกไปมีหญิงคนใหม่ ไม่ผูกพันกับภรรยาและลูก และน�ำไปสู่การทิ้ง ลูกทิง้ เมีย การไม่มาดูแลภรรยาทีต่ งั้ ครรภ์และการคลอดลูก ส่วนหนึง่ มาจากการท�ำงานในระบบทุนนิยมโดยตรง ที่งานอยู่ห่างไกลบ้านและมีเงื่อนไขที่ท�ำให้ไม่สามารถมาดูแลการคลอดลูกได้ และการที่การท�ำงานในระบบ ทุนนิยมมีผลทางอ้อมผ่านการใช้ชีวิตในเมืองที่ห่างจากภรรยาคือ การที่สามีนอกใจภรรยา ยิ่งไปกว่านั้น สามีมาดูแลภรรยาช่วงท้องการคลอดและหลังคลอดไม่ได้ ยังมีสาเหตุมาจากระบบชาย เป็นใหญ่ที่ส่งเสริมให้ผู้ชายเสพเหล้า เสพสิ่งเสพติดอื่น และส่งเสริมให้นอกใจภรรยา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ท�ำให้ ผู้ชายเหล่านี้ไม่เห็นคุณค่าของภรรยา และคุณค่าของลูกที่ก�ำลังจะเกิดมา นอกจากนี้จะเห็นว่า สิ่งที่อยู่เบื้องหลัง การไม่ยอมรับแม่ของเด็ก และเด็กที่ก�ำลังจะเกิดนั้น อยู่ที่พ่อและแม่ของสามีของผู้หญิงที่ก�ำลังท้อง มายาคติ ของชายเป็นใหญ่ ท�ำให้ปู่ย่าของเด็กที่ก�ำลังเกิดมาโหดร้ายกับหลานของตน ด้วยความคิดที่รังเกียจกับภรรยาที่ ลูกชายของตนเลือกมา เป็นมายาคติที่เชื่อว่าลูกชายของตนท�ำอะไรก็ดีก็ถูกต้องเสมอ ดังนั้น การสร้างระบบ

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

167


เศรษฐกิจ ทีมีงานท�ำใกล้บ้านที่ท�ำให้สามีและภรรยาและลูกอยู่ด้วยกันได้ ต้องเป็นนโยบายหลักก็เป็นสิ่งจ�ำเป็น ส�ำหรับแม่และลูก การก�ำจัดเหล้า ยาเสพติด และการนอกใจเป็นเรื่องที่สังคมและรัฐ ต้องด�ำเนินการ แต่จะท�ำ ไม่ส�ำเร็จ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแนวคิดและความสัมพันธ์ทางสังคมแบบชายเป็นใหญ่ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงความ สัมพันธ์ทางสังคมแบบชายเป็นใหญ่และมายาคติเหล่านี้ จึงเป็นเรื่องที่ส�ำคัญที่สุด

5. การทิ้งลูกไปท�ำงาน

การทิ้งลูกไปท�ำงานเป็นทั้งมายาคติและการถูกบังคับให้ทิ้งลูก การทิ้งลูกไปท�ำงานนั้น พบว่ามีหลายรูป แบบและมีหลายสาเหตุ หลักก็คือ ในสังคมเกษตรก่อนระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ครอบครัวผนึกเข้าเป็นหนึ่ง เดียว เพราะว่า การผลิตการบริโภค และการเลี้ยงครอบครัว หรือ เลี้ยงลูก รวมอยู่ด้วยกัน แต่ในสังคมทุนนิยม โลกาภิวัตน์ การผลิตของครอบครัว การบริโภคและการเลี้ยงลูกแยกจากกัน กล่าวคือ การผลิตย้ายไปท�ำงานใน โรงงานในเมือง การบริโภคนั้นบริโภคแยกจากกันในแต่ละมื้อ แต่มักบริโภคร่วมกันมื้อเย็น ส่วนการเลี้ยงลูกนั้น เมือ่ ลูกมีอายุครบหกปีกถ็ กู แยกไปเรียนทีโ่ รงเรียน ภายใต้การแยกกันนี้ การแยกไปท�ำงานไม่ควรเกินแปดชัว่ โมง ต่อวัน และควรมีวันหยุดสองวันต่อสัปดาห์ เพื่อให้พ่อแม่ลูกอยู่ด้วยกัน ท�ำนองเดียวกันช่วงที่ลูกแรกเกิดจนครบ หกปี ควรได้รับการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดจากพ่อแม่ อย่างไรก็ตามผลการศึกษาพบว่า พ่อแม่ทงิ้ ลูกไปท�ำงานต่างจังหวัดหรือในเมือง เกินกว่าแปดชัว่ โมงและ มากกว่าเจ็ดวันต่อสัปดาห์ หรือ มากกว่าสามสิบวันต่อหนึ่งเดือน ท�ำนองเดียวกันลูกก็ถูกพ่อแม่ทอดทิ้งให้อยู่กับ ปู่ย่าตายาย หรือ คนอื่นตั้งแต่อายุยังน้อยมากๆ ในเชิงของครอบครัวนี่ไม่ใช่ครอบครัวอบอุ่น หรือ ครอบครัว เข็มแข็ง แต่เป็นครอบครัวที่อ่อนแอและไร้ความอบอุ่น เย็นชาและฉาบฉวยในความสัมพันธ์ ในเชิงของลูกนี่คือ การทอดทิ้งลูก หรือ การไม่ต้องการลูกในเชิงโครงสร้าง เป็นการสร้างลูกหรือสร้างเด็กพันธ์ุใหม่ ที่มีปัญหาตั้งแต่ แรกเกิด ให้กับสังคม การทิ้งลูกไปท�ำงานเป็น มายาคติ โดยเฉพาะแม่ที่มีมายาคติเชื่อว่า ตนเองต้องไปท�ำงานเพื่อเก็บเงินส่ง เสียเลี้ยงดูลูกให้มีการศึกษาสูง และมีโอกาสที่ดีกว่าตนนั้น ดังนั้นแม่เหล่านี้จึงทิ้งลูกไปโดยไม่เห็นว่า ลูกที่ตน รักนั้น ต้องการความรักจากแม่ในปัจจุบันไม่ใช่เงินในอนาคต การไม่ได้รับความรักจากแม่ ได้กลายเป็นสิ่งที่ บั่นทอนชีวิต และความมั่นใจ ตลอดจนความส�ำเร็จของเด็กที่แม่ปรารถนา และเมื่อเด็กโตขึ้น แม่ก็จะพบว่า ตนเองนั้นกลายเป็นสิ่งที่แปลกแยกจากลูกไปเสียแล้ว หรืออีกนัยหนึ่ง ได้สูญเสียลูกไปแล้ว และกลับมาหวน ค�ำนึงว่าอะไรเกิดขึ้น

168

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


6. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมกับการทิ้งเด็ก

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ระบบเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมทุนนิยมโลก ได้เปลี่ยนไปจากการเกษตรกรรม ที่การผลิตอยู่ในพื้นที่ของครอบครัวและชุมชน ให้ย้ายไปการอุตสาหกรรมและบริการในเมือง โดยการท�ำให้ แรงงานเกษตรกรรมที่ผลิตเพื่อบริโภคที่ไม่ต้องใช้เงิน มาเป็นระบบเกษตรกรรมแบบเงินสด และเป็นระบบ เกษตรกรรมที่ได้เงินสดน้อย หรือมีต้นทุนสูง ซึ่งท�ำให้มีรายได้ต�่ำไม่พอใช้ และสังคมเกษตรแบบเงินสดนั้น ต้องใช้เงินสดมาก เพื่อให้ครอบครัวด�ำรงชีวิตได้ เกษตรกรจึงต้องทิ้งไร่นาเข้าไปหางานท�ำในเมือง โดยเริ่มจาก แรงงานชายหรือสามีไปก่อน ซึง่ หมายความว่าสถาบันครอบครัวเริม่ อ่อนแอลง เพราะพ่อของเด็กต้องแยกไปอยู่ ในเมือง และทิ้งให้ภรรยาและลูกอยู่บ้าน แต่ค่าแรงของสามีหรือพ่อก็ไม่ได้มากพอที่จะเลี้ยงลูก รวมทั้งความ ต้องการของภรรยาทีจ่ ะต้องอยูใ่ กล้กบั สามี ภรรยาจึงย้ายไปในเมืองเพือ่ อยูก่ บั สามี และท�ำงานหาเงินส่งมาเลีย้ ง ลูก อีกนัยหนึ่งครอบครัว คือ สามีและภรรยามีความใกล้ชิดกัน และมีความมั่นคงมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันลูก ถูกทอดทิ้งให้อยู่ในชนบทกับปู่ย่าตายายนั้น ถือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความอ่อนแอของครอบครัว และสังคม ในอนาคต การเปลีย่ นแปลงเศรษฐกิจทีท่ ำ� ลายเศรษฐกิจในชนบท และบังคับให้เกษตรกรต้องทิง้ ลูกไปเป็นแรงงาน ราคาถูกในเมืองนั้นเสียหายรุนแรง เเศรษฐกิจเช่นนี้ไม่เป็นธรรมกับเกษตรในชนบท ความเหลื่อมล�้ำระหว่าง เมืองใหญ่กบั เมืองเล็กในชนบทเพิม่ มากขึน้ ตลอดเวลา แม้วา่ จะมีโครงสร้างสาธารณูปโภคพืน้ ฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า ในชนบท แต่ชนบทก็ไม่มีงาน และผลผลิตในชนบทก็มีราคาตกต�่ำ ไม่พอใช้และก่อให้เกิดหนี้สินครัวเรือน ใน ชนบท สวัสดิการต่างๆเพื่อรองรับสังคมก็ยังน้อย ท�ำนองเดียวกัน ในเมืองที่หาประโยชน์จากแรงงานราคาถูก จากชนบท งานเหล่านี้ไม่สามารถเลี้ยงลูกในเมืองได้ งานเช่นนี้ถือว่าเป็นการสร้างงานที่ล้มเหลว การท�ำให้ผู้ ใช้แรงงานเลี้ยงลูกได้นั้น เป็นเงื่อนไขส�ำคัญของการมีแรงงานที่ดีใช้ในอนาคต แต่ระบบเศรษฐกิจที่สายตาสั้น ไม่ยอมลงทุนกับเด็ก ผลักภาระให้ปู่ย่าตายายที่ยากจนของเด็ก ต้องเลี้ยงเด็กแบบขาดแคลน นอกจากจะไม่ เป็นการลงทุนที่ดีกับเด็ก ยังเป็นการลงโทษเด็กที่ไม่มีความผิด และเป็นการสร้างความเหลื่อมล�้ำให้กับสังคมใน อนาคต เพราะเด็กเหล่านี้จะยากจนกว่าเด็กในเมือง

7. การให้ปู่ย่าตายายเลี้ยงหลาน

สมมุติฐานหรือความเชื่อที่ว่า ปู่ย่าตายายเลี้ยงหลานดีนั้น เป็นความเชื่อที่ผิด โดยเฉพาะครอบครัว เกษตรกรและผู้ใช้แรงงาน เป็นความเชื่อในสังคมเกษตรที่เป็นครอบครัวใหญ่ว่า พ่อแม่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ที่ไม่ สอดคล้องกับสังคมทุนนิยมในปัจจุบัน เพราะว่า ปู่ย่าตายายที่เป็นเกษตรกร มักยากจนและมีอายุมาก หรือ เหน็ดเหนื่อย ล้ามาจากการท�ำงานหนัก ปู่ย่าตายายเป็นคนคนละรุ่นกับเด็ก หรือ ช่องว่างระหว่างวัยในด้าน ต่างๆมีสูง และสูงมากขึ้นเรื่อยๆตลอดเวลา ปู่ย่าตายายเหล่านี้ เลี้ยงตัวเองก็แทบจะเลี้ยงไม่ไหวแล้ว และเมื่อ ต้องดูแลหลานอีกด้วย ก็ไม่สามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด และดูแลไม่มีคุณภาพ ประกอบกับวัยที่ห่างกันมากขึ้น ระหว่างปู่ย่าตายายกับเด็ก ช่องว่างนี้ยิ่งท�ำให้เด็กไม่มีความสุขมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นพ่อหรือแม่ก็ไม่ได้ส่งเงินมา ให้ปู่ย่าตายาย หรือลูกมากพอ และสม�่ำเสมอ การขาดเงินท�ำให้ชีวิตของเด็กด้อยคุณภาพลง เพราะว่าความ บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

169


สัมพันธ์ระหว่างเด็กกับปูย่ า่ ตายายก็จะแย่ลง ดังนัน้ การทีใ่ ห้ปยู่ า่ ตายายทีไ่ ม่พร้อมเลีย้ งหลาน จึงเป็นการลงโทษ หรือขูดรีดแรงงานผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงจ�ำเป็นที่จะต้องให้พ่อแม่และลูกอยู่ด้วยกัน

8. มายาคติเกี่ยวกับลูก

มายาคติเกี่ยวกับลูกของแม่มีหลายอย่าง เช่น ลูกสองขวบโตแล้ว ลูกอยู่กับปู่ย่าตายายที่บ้านดีกว่า การ ให้ลกู เติบโตในชนบทดีกว่าในเมือง การทิง้ ลูกไปท�ำงานเพื่อชีวติ ที่ดขี องลูก และอืน่ ๆที่กล่าวมานั้น ถูกท�ำให้เป็น เรื่องปกติ เป็นเรื่องดีนั้น เป็นอันตรายมากส�ำหรับลูก และสังคมในอนาคต เพราะว่าเป็นมายาคติ เช่น การเห็น ว่าเด็กอายุสองขวบก็โตพอที่แม่จะทิ้งไปแล้ว ทั้งๆที่เด็กก่อนวัยเรียนนั้น ก�ำลังมีการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ มากมายที่ต้องการความช่วยเหลือจากพ่อแม่ มายาคติว่าให้ปู่ย่าตายายเลี้ยงลูกในชนบทนั้นดีแล้วนั้น อาจถูก ในเชิงเปรียบเทียบกับให้คนอื่นเลี้ยง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับแม่เลี้ยงเองนั้น แม่เลี้ยงเองย่อมดีกว่าแน่นอน และการให้ตายายเลีย้ งเป็นเวลานาน ก็ยอ่ มไม่สง่ ผลดีกบั เด็กอย่างแน่นอน มายาคติวา่ การเลีย้ งลูกทางโทรศัพท์ นั้นทดแทนตัวตนจริงของแม่ได้ มายาคติว่าการซื้อของทุกอย่างรวมทั้งโทรศัพท์มือถือ หรือ คอมพิวเตอร์แบบ ต่างๆ ตลอดจนพาไปเที่ยวในเมืองในช่วงปิดเทอมนั้น มากพอ หรื อดีพอที่จะชดเชยการทิ้งลูกได้ มายาคติเมื่อ แม่ตอ้ งชัง่ ระหว่างลูกกับเงิน หรืออาชีพนัน้ และแม่เลือกเงินหรืออาชีพ โดยเชือ่ ว่าเมือ่ ได้เงินมาแล้ วลูกจะมีความ สุขนั้น เป็นมายาคติกับลูก โดยเฉพาะลูกที่ยังเล็กๆอยู่มากที่สุด เพราะสิ่งที่ลูกต้องการคือพ่อและแม่ ลูกจะไม่ ต้องการพ่อแม่ เมื่อลูกเริ่มปีกกล้าขาแข็งแล้ว 9. การจ้างงานในเมือง

ผลการศึกษาพบว่า การจ้างงานในเมืองไม่สนับสนุนให้พ่อแม่สามารถเลี้ยงดูลูกได้เอง ต้องส่งลูกไปให้ ปู่ย่าตายายเลี้ยง ข้อค้นพบนี้สะท้อนให้เห็นว่า รัฐที่บริหารจัดการเรื่องการผลิต และการจ้างงาน รวม ถึงนายจ้าง นั้นมีวิธีการคิดค�ำนวณค่าจ้างขั้นต�่ำ และสวัสดิการสังคมที่ไม่ครอบคลุมถึงต้นทุนในการเลี้ยงลูกของ ผู้ใช้แรงงาน และไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวอันเกิดจากการทอดทิ้งลูก และมีลูกที่สร้างปัญหาให้กับสังคม หรือ อีกนัยหนึ่ง รัฐและนายจ้างผลักภาระการผลิตลูก หรือแรงงานรุ่นใหม่ ให้กับพ่อแม่ของเด็ก โดยไม่ให้ทรัพยากร ที่พอเพียงกับพ่อแม่ในการเลี้ยงลูก ดังนั้นพ่อแม่จึงไม่สามารถเลี้ยงลูกได้เอง ไม่มีเวลาให้กับลูก ลูกจึงเติบโต ตามล�ำพังหรือเติบโตไปกับเพื่อนที่ไม่มีทิศทางของชีวิต เด็กจึงถูกชักจูงให้กลายเป็นเด็กเกเรของสังคม เช่น ปัญหาเด็กแว๊น เด็กตีตัน เด็กติดยาเสพติด เด็กท้องในวัยรุ่น เด็กที่ไม่มีสมาธิกับการเรียนรู้และการท�ำงาน

170

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


10. ความสัมพันธ์แบบชายเป็นใหญ่ในสังคม

การที่สังคมไม่เห็นว่า การทอดทิ้งเด็กเป็นความไม่เป็นธรรมกับเด็ก การที่สังคมมองว่า การทิ้งเด็กเป็น ปัญหาของแม่ทไี่ ม่รกั นวลสงวนตัว แม่ทตี่ อ้ งการท�ำแท้ง หรือ ไม่สามารถเลีย้ งลูกได้ แม่ทตี่ อ้ งทิง้ ลูกไปท�ำงานและ อื่นๆนั้น สังคมมักโทษแม่เสมอ สังคมมักไม่โทษพ่อ หรือ พ่อไม่เคยท�ำอะไรผิด ค�ำถามส�ำคัญคือ ท�ำไมพ่อจึงไม่เคยผิด และท�ำไมแม่จึงผิดเสมอ ค�ำถามนี้รัฐหรือสังคมหรือแม้แต่ผู้หญิง เองก็ไม่เคยตอบ ที่ไม่เคยตั้งค�ำถามและไม่เคยตอบ เพราะว่าทั้งรัฐสังคมและแม่ ต่างก็ล้วนตกอยู่ใต้การครอบง�ำ ของระบบชายเป็นใหญ่ ทีเ่ ป็นระบบชายเป็นใหญ่เพราะระบบนีเ้ ป็นระบบทีม่ เี ป้าหมายกระท�ำกับผูห้ ญิง ซึง่ เป็น แกนกลางของครอบครัว ซึง่ เป็นผูผ้ ลิตลูกและเลีย้ งดูลกู และเป็นระบบทีก่ ระท�ำกับเด็กซึง่ เป็นอนาคตของสังคม ระบบชายเป็นใหญ่เป็นมายาคติที่ส�ำคัญที่กดขี่เอาเปรียบผู้หญิงและเด็ก เป็นระบบที่ติดมากับระบบ สังคมแบบเดิม ที่ฝ่ายชายควบคุมปัจจัยการผลิตอ ยู่จึงท�ำให้ทุกคนต้องยอมรับกับระบบนี้ ระบบนี้ถูกผลิตซ�้ำ โดยผู้ชายรุ่นแล้วรุ่นเล่า เพราะว่ามันให้ประโยชน์กับผู้ชายในทุกด้าน แต่ในสังคมความรู้ที่มีเหตุมีผล แบบสังคม อุตสาหกรรมและสังคมข้อมูลข่าวสาร ความสัมพันธ์หรือเหตุผลที่รองรับระบบชายเป็นใหญ่ไม่เหลืออยู่แล้ว เพราะว่าไม่เป็นเหตุเป็นผล สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจ ครอบครัวและเด็ก ระบบนี้ที่พยายามหลบหรือ ซ่อนตัวอยู่ในสังคม หรือระบบราชการของรัฐ จึงจ�ำเป็นที่จะต้องถูกท�ำลายเปิดโปง และเปลี่ยนแปลง แต่ เนื่องจากระบบนี้ผู้ชายได้เปรียบ จึงมองไม่เห็นว่ามันเป็นระบบที่เสียหาย การแก้ไขจึงถูกขัดขวางตลอดเวลา ด้านฝ่ายหญิงทีถ่ กู ขัดเกลามาโดยระบบชายเป็นใหญ่ ก็มองไม่เห็นว่าการทีต่ นเองถูกนอกใจ ถูกรีดไถ ถูกตบตี ถูก ท�ำให้เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวต่างๆเหล่านี้ เป็นเรื่องของการที่ตนเองถูกระบบชายเป็นใหญ่เอาเปรียบ กลับมองว่าเป็น เรื่องปกติ ตัวเองไม่ดี เป็นเรื่องของเวรกรรมอันใด

11. มายาคติของชายเป็นใหญ่ในปู่ย่าตายาย

เหตุผลบางประการของปู่ย่า ตายาย ในการไม่ยอมรับพ่อของหลาน เช่น พ่อของหลานนั้นติดยาเสพ ติดก็เป็นเหตุผลทีย่ อมรับได้ แต่เหตุผลอืน่ เช่น อายุทมี่ ากเกินไป หรือ น้อยเกินไป การทีอ่ ายเพราะท้องก่อแต่งงาน การเรียนหนังสือกับการท้องหรือมีลูกในรูปของการเรียนหนังสือนั้นไม่เหมาะสม เป็นเหตุผลที่เกี่ยวกับหน้าตา ของตายาย ซึง่ ไม่ใช่เหตุผลทีม่ เี หตุผลอย่างแท้จริง แต่ทำ� ให้พอ่ แม่ของเด็กและตัวเด็กเองได้รบั การลงโทษทีร่ นุ แรง ถึงกับเรียกร้องให้ท�ำแท้ง หรือ พรากพ่อออกจากลูกและแม่ รวมทั้งที่ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่ต้องแยกการมีเพศ สัมพันธ์กับการแต่งงานหรือการเรียนหนังสือ ความเชื่อความเห็นเหล่านี้เป็นมายาคติ ที่ไม่เป็นธรรมกับเด็กที่ เกิดมาอย่างมาก

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

171


ข้อเสนอแนะ 1. เนือ่ งจากการทีท่ งั้ ชายและหญิง ไม่ได้รบั การศึกษาเรือ่ งเพศสัมพัน ธ์และความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจทาง สังคมเรื่องเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่พร้อม และเกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่ตั้งใจ ดังนั้นการ สอนเรื่องเพศสัมพันธ์อย่างสอดคล้องกับปัญหา สถานการณ์ต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่ส�ำคัญที่สุด ผลการศึกษาในหัวข้อนี้ แสดงให้เห็นว่า หญิงวัยรุ่นยังไม่มีความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ ที่สามารถปกป้อง ตนเองได้มากพอ และยังไม่สามารถจะในเชิงการวางแผนครอบครัว หรือ การคุมก�ำเนิดแบบการแพทย์ สาธารณสุขได้ดีพอ แต่ยิ่งไปกว่านั้นการไม่ทราบว่า การมีเพศสัมพันธ์นั้นต้องไม่บังคับ หากเธอไม่พร้อมที่จะมี เพศสัมพันธ์ กล่าวคือ เธอต้องไม่ถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเธอไม่ต้องการ ด้วยวิธีการต่าง รวมทั้งการมอม เหล้า การมีเพศสัมพันธ์นั้น ไม่จ�ำเป็นที่จะต้องมีความหมายของการผูกพันกันต่อไป ระบบชายเป็นใหญ่มัก ท�ำให้ฝ่ายหญิงคิดว่า เมื่อมีเพศสัมพันธ์กับฝ่ายชายแล้วจะต้องเป็นสมบัติของฝ่ายชายตลอดไป และความเชื่อ นี้ มีผลท�ำให้ฝ่ายชายมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นในเวลาเดียวกัน โดยที่ฝ่ายหญิงไม่มีอ�ำนาจต่อรองกับฝ่ายชาย การมีเพศสัมพันธ์นั้นต้องเท่าเทียมกันคือ ทั้งฝ่ายชายต้องรับผิดชอบในการป้องกันการเกิดมากเท่ากับฝ่ายหญิง และการมีเพศสัมพันธ์นั้นหมายถึง การรับผิดชอบกับลูกที่จะเกิดมาร่วมกันอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อไม่ให้เกิดลูกที่ ไม่ต้องการ ซึ่งเป็นความไม่เป็นธรรมกับเด็กที่จะเกิดมา 2. เนื่องจากสังคมมีความสับสน เรื่องการยุติการตั้งครรภ์ โดยมีการกระท�ำสองอย่างที่ขัดกันคือ ไม่ ต้องการให้ท�ำแท้งพร้อมๆไปกับการไม่ต้องการเด็กที่เกิดขึ้นมาแล้ว ดังนั้นสังคมหากสังคมไม่ต้องการให้มีการ ยุติการตั้งครรภ์ สังคมก็จ�ำเป็นที่จะต้องดูแลเด็กนั้นอย่างดีที่สุด หรือ ดีเท่ากับเด็กคนอื่นๆในสังคม นั่นคือ สังคมต้องช่วยกันท�ำให้เพศสัมพันธ์ที่ไม่ต้องการเด็ก ต้องรับผิดชอบต่อแม่ของเด็ก ให้สามารถเลี้ยงลูกที่เกิดมา ให้ได้ โดยไม่รังเกียจ ไม่ตีตราแม่ของเด็ก และช่วยกันเลี้ยงเด็กที่เกิดขึ้น และเติบโตเรื่อยๆ จนเป็นผู้ใหญ่ให้ดี ที่สุด หากสังคมท�ำเช่นนี้แล้ว แม่ของเด็กก็จะไม่คิดที่จะยุติการตั้งครรภ์ และหากสังคม ยอมให้มีการท�ำแท้ง สังคมก็ต้องยอมให้การท�ำแท้งถูกกฎหมาย และมีบริการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยของ แม่ พร้อมกับการหยุดประณามแม่ที่ท�ำแท้ง แต่ถ้าไม่ต้องการทั้งสองทางเลือก ก็ต้องท�ำให้การมีเพศสัมพันธ์ นั้น เป็นเพศสัมพันธ์ที่ต้องการลูกจริง หากเพศสัมพันธ์ใดที่ไม่ต้องการลูก และหากเป็นเพศสัมพันธ์ที่ไม่ต้องการ ลูก สังคมก็ต้องท�ำให้เพศสัมพันธ์นั้นเป็นเพศสัมพันธ์ที่จะไม่มีลูกเกิดขึ้นจริงๆ ซึ่งหมายความว่าสังคมต้องท�ำให้ ผู้หญิงมีอ�ำนาจเหนือเพศสัมพันธ์ของตนเองจริงๆ ไม่ใช่ผู้ชายมีอ�ำนาจเหนือเพศสัมพันธ์ของผู้หญิง

172

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


3. เนื่องจากระบบทุนนิยมและชายเป็นใหญ่ ไม่ค่อยเห็นความส�ำคัญของช่วงเวลาการตั้งครรภ์ การ คลอด และการดูแลลูกเล็ก ซึ่งมีผลท�ำให้แม่รู้สึกไม่มั่นคง เช่น ผู้หญิงไม่แน่ใจว่าแฟนหรือสามีของตนเองจะ ทอดทิ้งตนเอง พ่อไม่ค่อยผูกพันกับลูก และการที่พ่อหันไปมีเพศสัมพันธ์นอกสมรส และน�ำไปสู่การหย่าแยก ร้าง ซึ่งมีผลท�ำให้เด็กไม่เป็นที่ต้องการของพ่อหรือแม่ในที่สุด การแก้ไขปัญหานั้น สังคมต้องท�ำให้ช่วงเวลา ของการสร้างโอกาส ให้พ่อแม่ลูกอยู่ด้วยกันมากที่สุด เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ เช่น งานต้องอนุญาต หรือ หาช่อง ทางให้สามีและภรรยามีโอกาสอยู่ด้วยกัน ในโอกาสส�ำคัญ รวมทั้งการลางานหลังคลอดที่นานมากกว่าปัจจุบัน งานควรสร้างและเข้มงวดกับการปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบหรือวินยั ในการท�ำงาน ทีเ่ กีย่ วกับการเสพสิง่ เสพติด รวม ทั้งสุรา และการนอกใจคู่สมรส ให้เข็มแข็งมากขึ้น เพื่อลดปัญหาครอบครัวแตกแยก และเด็กที่ไม่มีใครต้องการ หากสังคมท�ำให้พ่อของเด็กอยู่กับครอบครัวไม่ได้ ก็ต้องท�ำให้ตัวแทนของพ่อของเด็กท�ำหน้าที่แทนนั่นคือ ว่าที่ ปู่หรือย่าต้องให้การอุปถัมภ์ดูแลรับรองลูกสะใภ้อย่างดี 4. การลงทุนในมนุษย์ เนื่องจากสังคมทุนนิยมได้แยกพ่อแม่ออกจากลูก ทั้งในระยะทางที่ห่างไกลและ แย่งเวลาของลูก เพื่อไปท�ำงานให้กับระบบทุนนิยม ผลักภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูก ซึ่งต่อไปจะเป็นแรงงาน ให้กับระบบทุนนิยมให้กับพ่อแม่ พร้อมกับปลูกฝังมายาคติให้กับแม่ว่า ตนเองเป็นพ่อแม่ที่ดีที่ไปท�ำงานเพื่อ หาเงินส่งให้ลูกเรียนได้สูง และมีโอกาสทางสังคมมากกว่าตน ผลที่ตามมาคือ ลูกถูกทอดทิ้งให้อยู่กับคนอื่นที่ ไม่ใช่พ่อแม่ และเป็นคนที่ไม่อาจให้ความรักความอบอุ่นกับลูกเหมือนพ่อแม่ จนลูกมีปัญหาทางด้านสังคมและ จิตใจ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ สังคมและรัฐต้องท�ำทุกทางให้พ่อแม่ได้อยู่กับลูก ในช่วงลูกลืมตาขึ้นมา อยู่กับเขาจนไปกระทั่งจบการศึกษาสูงสุด หากไปโรงเรียน เด็กกลับมาบ้านก็ต้องพบพ่อแม่ เพื่อให้เด็กได้รับสิ่ง ทีค่ วรจะได้รบั ครบถ้วน เหมือนกับเด็กในครอบครัวชนชัน้ สูงหรือชนชัน้ กลางในเมือง เพือ่ การแข่งขันทีเ่ ป็นธรรม เพื่อให้พ่อแม่ได้สอนค่านิยมดีๆให้กับลูก และผูกลูกไว้ไม่ให้ไปเที่ยวเกเร จนกลายเป็นเด็กเกเรที่สังคมไม่ต้องการ จริงๆ รูปแบบที่อาจท�ำได้ เช่น การจ้างให้แม่ที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้เลี้ยงลูกของตนเอง โดยการให้ค่าจ้างหรือ ค่าเลีย้ งดูลกู กับแม่ ทีม่ ากพอทีจ่ ะท�ำให้แม่ไม่ตอ้ งทิง้ ลูกไปท�ำงาน และอาจรวมทัง้ ให้คา่ ใช้จา่ ยในการเลีย้ งเด็กให้ มีสุขภาพและอนามัยที่สมบูรณ์ทุกด้าน เช่น ค่านม ค่าอาหารมื้อต่างๆ และค่าเสื้อผ้า เป็นต้น โดยสังคมต้องมอง ว่าไม่ใช่เรื่องสงเคราะห์ หรือเรื่องประชานิยม แต่เป็นเรื่องการลงทุนมนุษย์ 5. ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต้องมีครอบครัวอยู่ในนโยบายด้วย เนื่องจากทิศทางการ พัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมา เน้นการเติบโตของภาคธุรกิจในเมือง ท�ำให้ครอบครัวล่มสลาย และท�ำให้เด็กกลาย เป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการนั้น สังคมจ�ำเป็นที่จะต้องทบทวนทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมใหม่โดยจะ ต้องมีครอบครัวเป็นตัวตัง้ คือ ค�ำนึงถึงผลกระทบต่อครอบครัวและเด็กด้วย ไม่ใช่ผลผลิตมวลรวมประชาชาติหรือ การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ท�ำให้ครอบครัวล่มสลายแยกไปคนละทาง และท�ำให้เด็กกลายเป็นเด็ก ที่ไม่มีใครต้องการ และกลับกลายมาเป็นผู้ที่สร้างปัญหาให้กับสังคมต้องแก้ภายหลัง

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

173


6. การให้ปยู่ า่ ตายายเลีย้ งหลาน โดยหลักของสังคมสมัยใหม่ซงึ่ เป็นครอบครัวเดีย่ วนัน้ พ่อแม่ตอ้ งเลีย้ ง ลูกเอง หากไม่สามารถท�ำให้พ่อแม่อยู่ด้วยกันและเลี้ยงลูกเอง แต่ต้องให้ลูกอยู่กับปู่ย่าตายายเลี้ยงหลาน สังคม ก็จ�ำเป็นที่จะต้องสนับสนุนให้ปู่ย่าตายาย ที่ไม่สามารถเลี้ยงหลานได้อย่างมีคุณภาพ สามารถเลี้ยงหลานอย่างมี คุณภาพ เช่น มีค่าจ้างให้กับปู่ย่าตายายเพื่อให้ปู่ย่าตายายไม่ต้องไปท�ำงานอย่างอื่น และทุ่มเทแรงกายแรงใจ และเวลาให้กับหลาน และเพราะว่าการเลี้ยงหลานเป็นงานอย่างหนึ่ง ที่ปู่ย่าตายายต้องสละเวลาที่อาจไปท�ำมา หากินอย่างอื่น ที่มีรายได้มาเลี้ยงหลานที่ไม่มีรายได้แต่มีแต่รายจ่าย ภายใต้ภาวะเช่นนั้นปู่ย่าตายายไม่สามารถ เลี้ยงหลานได้ดีเพราะไม่มีเวลาให้ เหนื่อยเกินกว่าจะดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นต้น 7. การแก้ไขมายาคติผิดๆเกี่ยวกับลูก เนื่องจากสังคมมักให้คุณค่า และความส�ำคัญของเด็ก ตลอดจน ความต้องการของเด็ก ผิดไปจากความเป็นจริง เพือ่ เป็นข้ออ้างในการทีต่ นเองจะทิง้ เด็กไป ดังนัน้ สังคมต้องช่วย กันท�ำลายมายาคติเหล่านี้ ด้วยการชี้ให้เห็นผลเสียต่อเด็ก ผลเสียที่มีต่อแม่ เช่น เมื่อแม่ต้องการลูก แต่กลับพบ ว่า ลูกไม่ต้องการแม่แล้ว เป็นต้น ผลเสียต่อสังคมที่จะได้เด็กเกเรเป็นภาระของสังคม เพราะว่าเด็กจะไม่ได้เรียน รูค้ ณ ุ ค่าทีด่ ที างสังคม เด็กจะไม่มคี วามมัน่ คงทางจิตใจ พอทีจ่ ะต่อสูก้ บั ความยัว่ ยุทางสังคมบริโภคนิยมได้ และ เด็กจะไม่สามารถอาศัยอยู่ในสังคมโลกาภิวัตน์หรือ 4.0 ที่ต้องการสติปัญญาเป็นทุนในการสร้างชีวิตได้ แต่จะได้ เด็กที่ไม่สามารถแบกรับภาระสังคมผู้สูงอายุได้ ดังนั้นสังคมต้องสร้างค่านิยม อุดมการณ์ใหม่ เกี่ยวกับการเลี้ยง ดูเด็กให้ดีตั้งแต่ปฏิสนธิ จนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ ไม่แลกเด็กกับเงิน ไม่เห็นว่าคนอื่นเลี้ยงลูกดีกว่าพ่อแม่ 8. การจ้างงานในเมืองของพ่อแม่ ต้องท�ำให้พ่อแม่เอาลูกมาเลี้ยงได้ เนื่องจากการจ้างงานของพ่อแม่ใน เมือง มีเงื่อนไขในการที่จะท�ำให้พ่อแม่น�ำลูกมาเลี้ยงในเมือง และมีเวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพได้ แม้กระนั้น พ่อแม่ทพี่ ยายามน�ำลูกมาเลีย้ งในเมือง ก็พบกับความยากล�ำบากในการเลีย้ ง ดังนัน้ สังคมรัฐและผูป้ ระกอบการ จ�ำเป็นทีจ่ ะต้องท�ำให้พอ่ แม่สามารถเลีย้ งลูกของตนเองได้อย่างมีคณ ุ ภาพ เช่น การให้สวัสดิการแรงงานด้านต่างๆ ตามความต้องการของพ่อแม่หรือตามวัยของเด็ก การมีสถานเลี้ยงเด็กแบบต่างๆ ที่ไม่เป็นภาระกับพ่อแม่ในด้าน ค่าใช้จ่ายและการเดินทาง การท�ำชั่วโมงการท�ำงานให้ได้ตามมาตรฐานแปดชั่วโมงต่อวัน และมีวันหยุดเสาร์ และอาทิตย์เพื่อเป็นวันครอบครัว ค่าแรงขั้นต�่ำของพ่อแม่ที่ท�ำให้สามารถเลี้ยงลูกได้จริง เครื่องอ�ำนวยความ สะดวกพื้นฐานในการเลี้ยงลูกเล็ก ลูกก่อนวัยเรียน ลูกที่เข้าเรียนหนังสือ และลูกที่เป็นวัยรุ่น

174

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


9. การท�ำลายระบบชายเป็นใหญ่ การเปิดโปงความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจ และมายาคติของระบบชายเป็น ใหญ่ และท�ำลายความสัมพันธ์และมายาคติชายเป็นใหญ่ทเี่ กิดในโครงสร้าง และกลไกของระบบสังคมนีท้ งั้ หมด โดยเฉพาะครอบครัวแบบชายเป็นใหญ่ เศรษฐกิจทีอ่ าศัยชายเป็นใหญ่ในการแสวงหาก�ำไร การเมืองและกฎหมาย ที่สนับสนุนชายเป็นใหญ่ การศึกษาและวัฒนธรรมที่ผลิตซ�้ำชายเป็นใหญ่ วรรณกรรมความเชื่อในสื่อทั้งหลายที่ ผลิตซ�้ำระบบชายเป็นใหญ่ หรือ ความไม่เท่าเทียมทางเพศ 10. การท�ำลายมายาคติบนพื้นฐานของความสัมพันธ์แบบชายเป็นใหญ่เหล่านี้ อาจท�ำได้ดัง เช่น การ เปลี่ยนความเชื่อที่ว่า ต้องแต่งงานก่อนค่อยมีลูก โดยการแยกการมีลูก ออกจากการแต่งงาน เช่น มีลูกแล้วค่อย แต่งงานก็ได้ หรือไม่ต้องแต่งงานก็ได้ บนพื้นฐานความสุขของเด็กที่เกิดมา มายาคติเรื่องอายุ อายุนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และเปลี่ยนแปลงในทางที่มากขึ้น ทั้งแม่และสามีหรือ แฟนนั้นเติบโตตลอดเวลา จึงไม่ควรมองอายุในวันนี้ ส่วนที่อายุมากเกินไปนั้นก็เป็นมายาคติ ต้องตรวจสอบกับ พฤติกรรมหรือความจริงใจมากกว่า ท�ำนองเดียวกัน มายาคติในเรื่องการเรียน สังคมไทยมีมายาคติที่เกี่ยวกับ การเรียนหรือการศึกษา เช่น ต้องเรียนจบก่อนจึงจะแต่งงานมีลูก หรือ เรียนจบก่อนค่อยท�ำงาน ซึ่งไม่จ�ำเป็น เสมอไป การเรียนอาจมาเรียนภายหลังการท�ำงานหรือการมีลูกได้ หรือเรียนไปพร้อมกับการเลี้ยงลูกได้ หาก เรียนไปพร้อมกับการเลี้ยงลูกไม่ได้ สังคมก็ควรช่วยให้เรียนไปพร้อมกับการเลี้ยงลูกให้ได้

11. ข้อเสนอแนะต่อกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

หนึ่ง การเปลี่ยนมุมมองต่อปัญหาของเด็กมาเป็นปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสังคม

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มีหน้าที่โดยตรงในการสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว การ ศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ครอบครัวโดยเฉพาะครอบครัวผู้ใช้แรงงานที่มาจากต่างจังหวัดนั้น ก�ำลังล่มสลาย หรือการ ที่พ่อแม่ลูกและปู่ย่าตายายก�ำลังแยกจากกันเป็นส่วนๆ คือ พ่อแม่ทิ้งลูกให้อยู่กับปู่ย่าตายายในชนบท แต่ตนเอง มาอยู่ในเมือง พ่อและแม่ที่อยู่ในเมืองก�ำลังแยกทางกัน และต่างแต่งงานใหม่ และมีลูกใหม่ ลูกที่อยู่กับปู่ย่าตา ยายนั้นเริ่มมีปัญหา ที่ไม่สามารถดูแลให้ความอบอุ่นกับเด็กได้ ลูกเมื่อได้พบพ่อหรือแม่ไม่มีความรู้สึกสนิทสนม ใกล้ชดิ กับพ่อแม่ และท�ำนองเดียวกันพ่อหรือแม่เมือ่ กลับมาบ้าน ก็ไม่มเี วลาหรือความสนใจทีจ่ ะให้กบั ลูก ความ ไม่ต้องการลูกจึงเกิดขึ้นทั้งความรู้สึกและในปฏิสัมพันธ์กันจริงๆ สิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่เป็นความรู้ใหม่ ของกรม กิจการสตรีและสถาบันครอบครัว แต่ปญ ั หาทีส่ ำ� คัญก็คอื การมองปัญหา ทีก่ รมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว นิยามหรือมองปัญหาในเชิงแนวคิดหรือทฤษฎี ว่า เป็นปัญหาในเชิงการแพทย์ สาธารณสุข ปัญหาในเชิงจิตวิทยา ในเชิงโครงสร้างหน้าที่ และในเชิงหลังทันสมัย ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ไม่มองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับครอบครัวโดย เฉพาะเด็กเป็นปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสังคม ทีเ่ กิดกับครอบครัวกับแม่ หรือ ผูห้ ญิงกับเด็ก หรือลูกทีไ่ ม่มใี คร ต้องการ

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

175


ดังนั้นการแก้ไขจึงเป็นการสงเคราะห์ หรือ เยียวยา หรือ การบังคับให้ครอบครัวและชุมชน ต้องเอาใจ ใส่กับลูกมากขึ้น ซึ่งผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า พ่อแม่หรือครอบครัวท�ำไม่ได้ เพราะพวกเขาเหล่านั้น โดยเฉพาะ เด็กล้วนเป็นเหยือ่ ของความไม่เป็นธรรมทางสังคมทีเ่ ขาเองก็มองไม่เห็น ดังนัน้ จึงจ�ำเป็นทีห่ น่วยงาน จะต้องมอง ปัญหาเหล่านีเ้ ป็นปัญหาของเด็กว่า เป็นปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสังคม และท�ำให้ทกุ หน่วยงานของรัฐ ตลอด จนรัฐบาลและสังคม มองเห็นปัญหาแบบเดียวกัน เพื่อช่วยกันลดความไม่เป็นธรรมที่เกิดกับเด็กและครอบครัว สอง การตั้งค�ำถามกับสาเหตุของปัญหาความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับเด็กและครอบครัว แนวคิดที่อธิบายสาเหตุของความไม่เป็นธรรมกับเด็กและครอบครัวที่ผ่านมา ส่วนใหญ่อธิบายว่าเป็น ปัญหาระดับบุคคลหรือระดับสถาบันทางสังคม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะกล่าวโทษเด็กและครอบครัว มากกว่าจะมอง ว่า เด็กและครอบครัวเป็นเหยื่อของความไม่เป็นธรรมเชิงโครงสร้างของสังคม กรมกิจการสตรีและสถาบัน ครอบครัวจึงจ�ำเป็นที่จะต้องส่งเสริม ให้มีการศึกษาวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะความ ไม่เป็นธรรมเชิงโครงสร้าง งานวิจัยชิ้นนี้ได้เริ่มต้นตั้งค�ำถามถึง สาเหตุของความไม่เป็นธรรมที่เกิดกับเด็กและ ครอบครัวว่า อยู่ที่ระบบทุนนิยมและระบบชายเป็นใหญ่ กรมกิจการสตรีจึงควรที่จะส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัย ในสองเรื่องนี้ และเรื่องอื่นๆที่ท�ำให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ครอบคลุมทุกระดับและสามารถน�ำไปก�ำหนดนโยบายได้

สาม การเป็นกลไกในการบูรณาการปัญหาเด็กกับทุกภาคส่วน

การแบ่งงานกันท�ำของระบบราชการ มีแนวโน้มที่จะท�ำให้เกิดการมองปัญหาแบบลดส่วน เช่น การ มองปัญหาเด็ก ก็มักจะมุ่งเน้นไปที่ตัวเด็ก ซึ่งเป็นการมองลักษณะของเด็กเป็นหลัก ขาดการมองแบบองค์รวมที่ มองเด็กในมิติที่เกี่ยวกับครอบครัว เกี่ยวกับการศึกษา เกี่ยวกับเศรษฐกิจสังคม และเกี่ยวกับความสัมพันธ์หญิง ชายเชิงอ�ำนาจ และเกี่ยวกับระบบโลกาภิวัตน์แบบต่างๆด้วย เป็นต้น ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ครอบครัวเกษตรกรและผู้ใช้แรงงาน ก�ำลังเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ถูก ท�ำให้ฉีกขาด เช่น พ่อแม่และลูก ถูกเศรษฐกิจบังคับให้ไปคนละทาง หรือ ความเหนียวแน่นของครอบครัวที่เคย ผูกพันปู่ย่าตายายพ่อแม่ลูกหลานเข้าด้วยกันนั้น ก�ำลังจะหลุดไป เมื่อลูกที่ถูกทอดทิ้งไว้ที่บ้าน หรือเติบโตจน บรรลุนิติภาวะ และเมื่อปู่ย่าตายายเสียชีวิต หรือ พ่อแม่ซึ่งเป็นคนรุ่นปัจจุบัน เกษียณอายุจากการท�ำงานแล้ว ก็จะพบว่า ตนเองไม่มีครอบครัว หรือ ไม่เหลืออะไรเลย ซึ่งจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุที่เป็นภาระให้กับสังคม อีก

176

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


การที่ครอบครัวท�ำให้ถูกฉีกขาดนี้ เป็นผลมาจากการที่สถาบันทางสังคมต่างๆ ต่างมองปัญหาของตน เฉพาะส่วน ไม่ได้มองว่า สิ่งที่ตนเองท�ำนั้นมีผลต่อครอบครัวและเด็กหรือไม่ ดังนั้นกรมกิจการสตรีและสถาบัน ครอบครัวซึ่งรับผิดชอบครอบครัว และคนในครอบครัวที่ส�ำคัญก็ คือ เด็ก ดังนั้ันจะต้องส่งเสริมให้มีการมอง หรือการศึกษาวิจัยว่า นโยบายของกระทรวงกรมต่างๆ ทั้งในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์และกระทรวงอื่นๆนั้น สร้างผลกระทบอย่างไรต่อครอบครัวและเด็ก แล้วน�ำผลการศึกษานั้นไปแสดงให้ กรมและกระทรวงอื่นๆ รวมทั้งคณะกรรมการระดับนโยบายทราบ เพื่อปรับนโยบายของเขาให้มีผลกระทบต่อ ครอบครัวและเด็กในทางลบน้อยทีส่ ดุ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว อาจท�ำงานร่วมกับหน่วยงานทีเ่ กีย่ ว กับเด็กและครอบครัว เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วกับเรือ่ งของเด็กอย่างชัดเจนขึน้ จนเป็นเครือ่ งมือในการด�ำเนินการกับกระทรวงหรือหน่วยงาน อื่น ที่ไม่ค่อยได้ท�ำงานกับเด็กและครอบครัว ให้หน่วยงานเหล่านั้นยอมรับความส�ำคัญของเด็กและครอบครัว มากขึ้น เป็นต้น สี่ การมองเด็กอย่างแยกแยะ ตามความจ�ำเป็นพื้นฐาน เมื่อกล่าวถึงเด็ก สังคมมักมองเด็กเหมือนกันหมด หรือ แค่มองต่างกันตามวัย หรือ ตามลักษณะของ ความพิการหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งการแยกแยะทุกอย่างล้วนมีประโยชน์ แต่สังคมมักไม่ได้มองเด็ก ในมิติของความ สัมพันธ์หญิงชาย ชนชั้น และชาติพันธ์ุ เด็กผู้หญิงที่ไม่มีใครต้องการนั้น เสี่ยงกับการถูกเอาเปรียบมากที่สุ ดโดย เฉพาะการถูกเอาเปรียบทางเพศ ซึ่งจะมีผลท�ำให้ตนเองและลูกที่จะเกิดมา กลายเป็นเด็กที่ไม่มีใครต้องการซ�้ำ ซ้อน ดังนัน้ การตอบสนองความต้องการพืน้ ฐานให้กบั เด็กผูห้ ญิงทีไ่ ม่มใี ครต้องการ จึงเป็นความจ�ำเป็นสูงสุด เพือ่ สร้างความปลอดภัยและความเป็นธรรมให้กบั เธอ เด็กผูช้ ายทีไ่ ม่มใี ครต้องการจากครอบครัวเกษตรกรหรือ ผู้ใช้แรงงาน มีความเสี่ยงต่อความล้มเหลวทางการศึกษาและติดยาสูง (สุพจน์ เด่นดวงและนาถฤดี เด่นดวง, 2559) เด็กกลุ่มนี้ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ให้สามารถประสบความส�ำเร็จในการศึกษา และสามารถแข่งขัน กับเด็กของครอบครัวชนชั้นกลางและชั้นสูงได้อย่างเท่าเทียมกัน เมือ่ พรมแดนระหว่างประเทศเปิดทัง้ การเศรษฐกิจ การเมือง การแต่งงานข้ามชาติพนั ธ์ุ และการมีเด็ก ที่มีชาติพันธ์ุผสมจะเกิด และเติบโตขึ้นในประเทศไทยมากขึ้น มายาคติเกี่ยวกับชาติพันธ์ุท�ำให้สังคมไทยมองไม่ เห็นเด็กกลุม่ นี้ หรือมองแบบท�ำให้เป็นคนชายขอบ ซึง่ มีผลท�ำให้เด็กกลุม่ นีไ้ ด้รบั ความทุกข์ และไม่ได้รบั โอกาส ในการเติบโตในสังคมไทย และในที่สุดสังคมไทย ก็จะได้รับผลกระทบจากเด็กกลุ่มนี้ในอนาคต เช่น การเป็น เด็กเกเรในแบบต่างๆ หากกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สามารถท�ำให้สังคมมองเด็กทุกคน มีคุณค่า เป็นทุนทางเศรษฐกิจและสังคม และลงทุนกับเด็กกลุ่มที่ไม่มีใครต้องการอย่างจริงจังทุกกลุ่ม ก็จะท�ำให้ปัญหา ความขัดแย้งทางสังคมระหว่างชาติพันธ์ุ คนรวย คนจน ลดน้อยลง ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการแก้ไข ปัญหาภายหลัง และไม่สายเกินไป จนแก้ไขอะไรได้ยาก

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

177


เอกสารอ้างอิง ภาษาไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2010 งานวิจัยเรื่องการสังเคราะห์งานวิจัยด้านการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ระหว่างปี 2546-2552 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2555 แผนยุทธศาสตร์การวิจัยของกระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2555 – 2559 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กมลินทร์ พินิจภูวดล. (2541). แนวทางและมาตรการในการจัดการศึกษาของเด็กด้อยโอกาส. กรุงเทพ : ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ จิราพร ชมพิกุลและคณะ. (2552). รายงานการวิจัย สัมพันธภาพในครอบครัวไทย สถาบันพัฒนาการ สาธารณสุขมูลฐานอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล นิตยา กัทลีรดะพันธุ์. (2535). รายงานผลการศึกษาวิจัยการศึกษาสถานภาพและนโยบายเกี่ยวกับเด็กและ เยาวชนผู้ด้อยโอกาส: เด็กเร่ร่อน. โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา. กรุงเทพ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภูมิชาย ปล้องอ้วน. (2541). การเตรียมความพร้อมเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์ก่อนออกสู่สังคม ภายนอกของทีมสหวิชาชีพ. ปริญญานิพนธ์ (สังคมสงเคราะห์ศาสตร์). กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สุพจน์ เด่นดวงและนาถฤดี เด่นดวง.(2558). ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัว ในสังคมโลกาภิวัตน์. กรมกิจการสตรีและ สถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. บังอร เทพเทียนและคณะ. (2550). รายงานการวิจัยโครงการส�ำรวจสภาพครอบครัวตามตัวชี้วัดสถาบัน ครอบครัวเข้มแข็ง สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์. (2551). วิถีการด�ำเนินชีวิตของเยาวชนในสถานสงเคราะห์: การศึกษาเชิง ปรากฏการณ์วิทยา. วารสารศึกษาศาสตร์. ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 หน้า 109-123. ส�ำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี 2554 การศึกษาและวิจัย กระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมแก่สถาบันครอบครัวใน ชุมชนชนบท : กรณีศึกษาชุมชนชนบท 5 แห่งในจังหวัด อุบลราชธานี กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส�ำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2010). บทบาทของครอบครัวกับการป้องกัน การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัวไทย. (2553). การศึกษาและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างหลักประกันความ มั่นคงของครอบครัว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศิริพร จิรวัฒนกุล และคณะ. สถานการณ์การตั้งครรภ์วัยรุ่น: การรับรู้ของวัยรุ่นใน 7 จังหวัดของประเทศ ไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 21: 865-877. ศรีเพ็ญ ตันติเวสส และคณะ. (2556). สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย 2556.โครงการ ประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ประเทศไทย. (2554). การวิเคราะห์สถานการณ์เด็กและสตรีพ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ประเทศไทย.

178

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


English Ali, A. (2016). Relationship between unwanted pregnancy and health-related quality of life in pregnant women. Journal of the College of Physicians and Surgeons Pakistan(6), 507. Calasanti, T. M., & Bailey, C. A. (1991). Gender Inequality and the Division of Household Labor in the United States and Sweden: A Socialist-Feminist Approach, 34. Carson, T. L. (2009). Juvenile delinquency and single-parent homes :a socialist feminist analysis. United States, North America: VT. Gerdts, C., Dobkin, L., Foster, D. G., & Schwarz, E. B. (2016). Original article: Side Effects, Physical Health Consequences, and Mortality Associated with Abortion and Birth after an Unwanted Pregnancy. Women’s Health Issues, 26, 55-59. doi:10.1016/j.whi.2015.10.001 Gonçalves, H., Souza, A. D., Tavares, P. A., Cruz, S. H., & Béhague, D. P. (2011). Contraceptive medicalisation, fear of infertility and teenage pregnancy in Brazil. Culture, health & sexuality, 13(2), 201-215. Heimer, K., & De Coster, S. (1999). THE GENDERING OF VIOLENT DELINQUENCY. Criminology, 37(2), 277. Kerr, D. O. N. (2004). Family Transformations and The Well-being of Children: Recent Evidence from Canadian Longitudinal Data, 73. Marchand, B. U., Rees, R., & Riezman, R. (2011a). Globalization, gender and development : the effect of parental labor supply on child schooling: München. Marchand, B. U., Rees, R., & Riezman, R. (2011b). Globalization, gender and development: The effect of parental labor supply on child schooling. Germany, Europe: Center for Economic Studies and Ifo Institute (CESifo) Munich. Martínez-Galiano, J. M. (2017). Mother-newborn health indicators in possible victims of gender-based violence during pregnancy. Applied Nursing Research, 34, 48. McGlade, H. (2012). Patriarchy, and women and children’s oppression: Aboriginal Studies Press. Medina, G. D. A., Parrel, E., Caylan, J., Escarda, R. T., Medina, N. A., Maestrado, C., . . . Maestrado, M. (2015). The culture of patriarchy and its effects on the human rights of girl-children in Cagayan de Oro and Claveria, Misamis Oriental: Implications to policy formulation: Philippine Institute for Development Studies (PIDS) Makati City. Nakhaie, M. R., & Sacco, V. F. (2009). Social capital, individual disorders and property offences. International Journal of Law and Psychiatry, 32(6), 392-399. doi:http://doi.org/10.1016/j.ijlp.2009.09.009 Priola, V. (2010). Gendering the Knowledge Economy. Comparative Perspectives - Edited by Sylvia Walby, Heidi Gottfried, Karin Gottschall and Mari Osawa. Gender, Work and Organization, 115. Shahry, P., Niakan Kalhori, S. R., Esfandiyari, A., & Zamani-Alavijeh, F. (2016). A Comparative Study of Perceived Social Support and Self-Efficacy among Women with Wanted and Unwanted Pregnancy. International Journal of Community Based Nursing & Midwifery, 4(2), 176-185. Voy, A. (2012). Globalization, gender and child work. Oxford development studies, 40(1), 1-19. Vrijheid, M., Martinez, D., Aguilera, I., Ballester, F., Basterrechea, M., Esplugues, A., . . . Sunyer, J. (2012). Socioeco nomic status and exposure to multiple environmental pollutants during pregnancy: evidence for environmental inequity?, 106. Walby, S., & Walby, S. (2009). Globalization and inequalities : complexity and contested modernities: Los Angeles ; London : SAGE, 2009. Wright, J. P., Cullen, F. T., & Miller, J. T. (2001). Family social capital and delinquent involvement. Journal of Criminal Justice, 29(1), 1-9. doi:http://doi.org/10.1016/S0047-2352(00)00071-4

เอกสารอ้างอิง

179


180

เด็กที่ไม่มีใครต้องการกับความไม่เป็นธรรมในสังคม


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.