all about Glass

Page 28

26 All about Glass

จึงถือว่าแก้วเป็นวัสดุอสัณฐาน  (amorphous  material)  ประเภทหนึ่ง วัสดุอสัณฐาน  หมายถึง  วัสดุที่มีโครงสร้างไม่แน่นอน  หรือมีโครงสร้างที่ไม่เป็นผลึก  (Non-  crystalline  Solid)  ถ้าพิจารณาจากความหมาย  วัสดุอสัณฐานอาจครอบคลุมไปถึงวัสดุที่ไม่จำเป็น  ต้องผลิตด้วยการหลอม  หรือวัสดุที่อาจจะไม่ใช่สารอนินทรีย์  เช่น  พวกพอลิเมอร์ต่างๆ  ก็มีคุณสมบัติ  อสัณฐานเหมือนกัน  สมบัติพื้นฐานของวัสดุอสัณฐานหรือแก้ว  คือ  Glass  transition  temperature  หรือ  Tg  ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอันหนึ่งที่จะบอกว่าวัสดุนั้นเป็นวัสดุอสัณฐานหรือไม่ crystalline

(a)

non-crystalline

(b)

Silicon atom Oxygen atom

โครงสร้างเปรียบเทียบระหว่าง  (a)  crystalline  SiO2  และ  amorphous  SiO2

จากรูป  โครงสร้างที่ไม่เป็นระเบียบของซิลิกาอสัณฐาน  (amorphous  silica)  ทำให้ระยะห่าง  ระหว่างอะตอมมีมากกว่าซิลิกาในรูปผลึก  (crystalline  SiO2)  ทำให้แสงสามารถเดินทางผ่านไปได้  หรือแม้ว่าจะมีการหักเหบ้าง  แต่ก็น้อยกว่าการหักเหที่เกิดขึ้นในซิลิกาในรูปผลึก การแบ่งประเภทของแก้ว  สามารถแบ่งได้หลายแบบ  เช่น  แบ่งตามกรรมวิธกี ารผลิต  องค์ประกอบ  ทางเคมี  หรือจุดประสงค์การใช้งาน  แต่โดยปกติแล้วเรามักจะแบ่งประเภทของแก้วตามองค์ประกอบ  ดังนี้ 1.  แก้วโซดาไลม์  (Soda-lime  glass) ผลิตจากทราย  โซดาแอช  หินปูน  เป็นแก้วที่พบได้ทั่วไป  เช่น  ขวดแก้ว  แก้วน้ำ  และกระจก   เป็นต้น  สามารถทำให้เกิดสีต่างๆ  ได้โดยการเติมออกไซด์ของโลหะแทรนซิชันลงไป


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.