WISH US LUCK ขอให้เราโชคดี

Page 1



JOURNEY




ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ การเดินทางเป็นสิง่ ทีว่ ยั รุน่ แทบทุกคนถวิลหา เป็น หมุดส�ำคัญในการด�ำเนินชีวิตที่เติบโตมาท่ามกลาง ‘กรอบ’ ของครอบครัว กรอบของการศึกษา หรือ กรอบของสังคมทีเ่ ราถูกขีดเส้นหนาๆ เอาไว้วา่ ‘ควร’ จะมีวถิ ชี ีวิตอย่างไร ควรมีชีวติ ทีม่ ุ่งหน้าเข้าหาความ เจริญรุ่งเรือง พาตัวเข้าไปอยู่ในแวดล้อมที่เต็มไป ด้วยการแข่งขัน ตัดสินกันด้วยเกรด อัตราเงินเดือน หรือไม่กจ็ ำ� นวนของกระเบือ้ งพืน้ บ้าน วันหยุดระดับ มาตรฐานคือเดินห้างสรรพสินค้า ระดับพิเศษคือพา ญาติมิตรออกไปกินข้าว เล่นกับหลานผู้เป็นอนาคต ของวงศ์ตระกูล เรื่องน่ายินดีคือได้เลื่อนระดับงาน ปลายทางคือเกษียณโดยมีเงินเก็บสักก้อน เป็นวัฏฏะ วนซ�้ำ เป็นกรอบที่แข็งกระด้าง หลายคนตะโกนว่าเบือ่ และเหนือ่ ยหน่าย เรา—ใน ฐานะวัยรุ่น (หวังว่ายังถูกเรียกอย่างนี้อยู่บ้าง) เคย ได้ยินเสียงที่ร�่ำร้องอยู่ในตัวเองลักษณะเดียวกันนี้ หลายต่อหลายหน ถึงบ่นไปแล้วจะตลกตรงทีส่ ดุ ท้าย แล้วการเดินทางก็เป็นเส้นที่เราขีดเป็นกรอบขึ้นเอง แต่ต่างกันแค่มันคือกรอบที่เรารู้สึกอยากเข้าไปอยู่


เพราะเราเชื่อว่าถ้าได้ออกเดินทางสักครั้ง แล้วชีวิต บางอย่างของเราจะดีขึ้น ถึงสุดท้ายแล้วจะต้องกลับ ไปอยู ่ ใ นกรอบแข็ ง ๆ กรอบเดิ ม แต่ เ ราก็ จ ะไม่ เหมือนเดิม เราเฝ้าหวังว่าสักวันเราจะได้ออกเดินทาง เดินทางด้วยรถไฟเนิบช้า จากทีไ่ กลแสนไกล ไป พร้อมหัวใจ ความคิด เผชิญกับทางข้างหน้าอย่าง กึ่งรับกึ่งสู้ สนุกไปกับความไม่แน่นอนที่แอบหวังว่า มันจะท�ำให้เรารูส้ กึ ดีกบั ชีวติ มากกว่าเดิม และอยูก่ บั มันอย่างนั้นสักเดือน สามสิบวันของ แวววรรณ หงษ์ววิ ฒ ั น์ และ วรรณแวว แฝดสาวของเธอ ประเทศที่พวกเธอเดินทางผ่านตั้งแต่ประเทศ อังกฤษ ลากยาวข้ามทวีปจนถึงประเทศไทย รถไฟหลายต่อหลายขบวนเหล่านัน้ และหนังสือ เล่มนี้ อาจกล่าวได้ว่า มันคือตัวแทนของพวกเรา ส�ำนักพิมพ์แซลมอน


คำ�นิยม จากแฝด ‘คนที่มีไฝบนฝ่ามือข้างซ้าย’ แม้แต่ชอื่ ค�ำนิยม แววยังกะเกณฑ์ให้ฉนั ตัง้ ตามใจเธอ แถมยังยัดเยียดเนื้อหาที่ต้องมีในส่วนนี้ด้วย... โอเค เนือ่ งในวาระดิถที แี่ ววจะมีหนังสือกับเขาสักเล่ม ฉันยอมให้เธอครั้งนี้ก็ได้ เอาล่ะนะ นอกจากหน้าตาของเราทีเ่ หมือนกันแล้ว เครือ่ งยืนยัน ดีเอ็นเออันน่าอัศจรรย์ทเี่ รามักเก็บเอาไว้อวดชาวบ้านคือ ฉันมีไฝเป็นขีดเล็กๆ สองเส้นขนานกันที่ฝ่ามือข้างซ้าย ส่วนแววมีไฝซึง่ จางกว่าในรูปลักษณ์เดียวกันทีฝ่ า่ มือข้าง ขวา และถ้าเราเอามือประกบกัน ไฝของเราสองจะทาบทับ ลงรอยกันพอดี ประหนึง่ เราประสานมือกันอยูใ่ นท้องแม่ และค่อยๆ แตกตัว แยกออกมาเป็น ‘ตัววรรณ’ ‘ตัวแวว’ (และด้วยความทีไ่ ฝฉันชัดกว่า จึงสามารถเคลมได้อย่าง นักแน่นเสมอว่า “แกน่ะมันตัวก๊อบปี้!”) ความน่ า อั ศ จรรย์ ข องฝาแฝดที่ เ ราพานพบมามี แค่นั้น ไม่มีญาณพิเศษ ไม่มี Sixth Sense หรืออะไรที่ เหนือธรรมชาติ เวลาเธอ ‘เจ็บ’ เพราะหกล้มกลางภูเขา เธอ ‘นอยด์’ เพราะเสียตังค์ไปมากกับค่าอาหาร หรือเธอ ‘เซ็ง’ กับการจัดกระเป๋าทุกค�ำ่ คืน ฉันไม่ยกั กะเจ็บนอยด์ หรือ เซ็ง ไปด้วยนะ... โอเค ฉันดูออกเวลาเธอไม่สบายใจโดยไม่ ต้องพูดอะไรมาก ฉันรูว้ า่ เธอจะเริม่ เศร้าและเหวีย่ งทุกครัง้ ทีเ่ มนส์จะมา แต่นกี่ เ็ ป็นผลพวงฉันคนทีส่ นิทกันมากกกก เท่านั้นเอง แต่แม้สนิทกันมาก เราก็ไม่ใช่คนเดียวกัน... ฉันนึกถึงสมัยเด็กๆ ทีค่ วามทรงจ�ำเราปนเปกันจนงง ว่าใครกันแน่ที่อึราดบนรถ หรือใครกันแน่ที่ลืมเอาช้อน ส้อมไปโรงเรียนประถมวันแรกแล้วร้องไห้เพราะเสียเซลฟ์


เราแชร์เรื่องต่างๆ ให้กันและกันฟังจน ‘ความเป็น เจ้าของ’ ต่อเรื่องนั้นค่อนข้างเลือนราง การถูกบังคับให้ไล่อ่านต้นฉบับหนาปึกของเธอใน เวลาสามวัน เป็นเครื่องยืนยันกับฉันว่าเราด�ำรงอยู่ใน โลกนีอ้ ย่างแยกจากกัน แววเอาการเดินทางทีฉ่ นั ร่วมอยู่ ด้วยไปเล่าในมุมมองที่ผ่านการตีความของเธอเอง การ อ่านเรือ่ งราวเหล่านีอ้ กี ครัง้ ก็เหมือนฉันได้ยอ้ นเวลากลับ ไปบนสายรถไฟด้วย หากแต่ครั้งนี้แววเป็นไกด์น�ำเที่ยว อย่างเต็มรูปแบบชนิดที่ฉันไม่มีโอกาสปริปากเถียงเธอ แต่ว่ามันก็น�ำพาฉันไปเห็นมุมมองอะไรดีๆ ที่ตอนนั้น ไม่ได้ฉกุ คิดมาก่อน ซึง่ จริงๆบางเรือ่ งเธออาจจะมาคิดได้ หรือตกตะกอนเอาก็ตอนร่ายต้นฉบับนีแ่ หละ มันเป็นการ ประมวลผลย้อนกลับไปมองเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งบางที เวลาก็เป็นปัจจัยส�ำคัญที่น�ำไปสู่การตกผลึกที่ลึกซึ้งกว่า เดิม ก่อนออกเดินทาง พวกเราตั้งเป้าว่า นี่จะเป็นทริปที่ ท�ำให้เราสองคน ‘เติบโต’ ขึน้ จบการเดินทาง เราพูดได้ไม่ เต็มปากว่าเราเติบโตขึน้ แต่เมือ่ อ่านหนังสือเล่มนีจ้ บแล้ว ฉันขอฟันธงว่าเราเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน เพราะงัน้ อย่างไรเสียก็ถอื ว่าเรา ‘โชคดี’ ทีไ่ ด้ไปเทีย่ ว ส่วนในความโชคดีนั้น เราจะโชคดีหรือโชคร้ายอย่างไร คุณๆ ต้องไปติดตามไกด์แฝด ‘คนทีม่ ไี ฝบนฝ่ามือข้างขวา’ กันเอาเอง... ระวังหน่อยเพราะเธอค่อนข้างเผด็จการ และขี้นอยด์ เทีย่ วให้สนุกนะคะ ดืม่ น�ำ้ เยอะๆ และพยายามถ่าย (อึ) ทุกวันล่ะ วรรณแวว หงษ์วิวัฒน์


ค�ำน�ำผู้เขียน เต่าที่ชอบงีบหลับระหว่างทาง ฉันเฝ้านัง่ ดูพวก ‘กระต่าย’ ทีเ่ ข้าเส้นชัยไป คนแล้วคนเล่า แม้บางตัวที่งีบหลับระหว่าง ทาง อาจจะถูก ‘เต่า’ แซงไปได้ แต่สุดท้าย มันก็วงิ่ ตามไปจนถึงเส้นชัยจนได้ ส่วนเต่าที่ เข้าเส้นชัย แม้จะเดินช้า แต่ความมุ่งมั่นก็ น�ำทางจนไปถึง...ผูค้ นหลังเส้นนัน้ ดูมคี วาม สุข สนุก และภูมิใจ เมือ่ ไรจะถึงตาฉันบ้างน้า...เต่าแสนขีเ้ กียจ อย่างฉันได้แต่คิด แต่ไม่เคยออกวิ่ง... ให้ตายสิ กระต่ายและเต่าหลายตัวใน รุ่นเดียวกันเขาไปถึงไหนต่อไหนกันแล้ว ฉันมัวท�ำอะไรอยู่? แล้วความฝันที่อยาก เขียนหนังสือสักเล่มในชีวติ ล่ะ? ทีเ่ คยคิดว่า เดี๋ยวค่อยท�ำ เดี๋ยวค่อยท�ำ มันคือเมื่อไร? แล้วสิง่ ทีท่ ำ� ไปวันๆ ตอนนี้ มันดีกว่าออกวิง่ ตรงไหน? ให้ตายสิ ก่อนที่ระดับน�้ำที่ท่วมไฟในใจ จะสูงขึ้นตามตัวเลขอายุ ก่อนที่ความฝัน จะดับมอด ก่อนทีจ่ ะรักตัวเองน้อยลง...ฉัน ต้องเริ่มออกวิ่ง...ต้องเริ่มลงมือเขียน แล้วการเดินทางสู่เส้นชัยก็เริ่มขึ้น... แต่ให้ตายสิ ส�ำหรับฉันการเขียนหนังสือ ไม่ใช่เรือ่ งง่ายทีแ่ ค่สะบัดข้อมือเสร็จ แต่มนั ยุ่งยากและละเอียดอ่อนอย่างกับการถัก


โครเชต์ น่าอิจฉากระต่ายที่มีพรสวรรค์ พวกนั้นจัง และให้ตายสิ นอกจากฉันจะเป็นเต่าที่ คลานช้าและเริ่มวิ่งช้าแล้ว ฉันยังเป็นเต่า ทีช่ อบงีบหลับระหว่างทางอีกด้วย น่าอิจฉา เต่าที่ก้าวไปข้างหน้าทุกนาทีพวกนั้นจัง ฉันก้มหน้าก้มตาวิง่ เหยาะบ้างพักบ้างใน แบบเต่าที่รักการงีบหลับ มีแอบเหลือบไป มองคนอืน่ บ้าง ว่าเขาไปถึงไหนกันแล้ว จน ต้องกลับมาท่องงึมง�ำกับตัวเองว่า อย่าไป เปรียบเทียบกับชาวบ้าน ไม่ส�ำคัญว่าใครถึง ก่อนถึงหลัง สิง่ ส�ำคัญคือ พอใจกับทุกก้าวที่ เดิน รักในทุกตัวหนังสือทีเ่ ขียน แล้วไปให้ถงึ ก็เป็นพอ ในทีส่ ดุ ...อีกไม่กกี่ า้ ว อีกไม่กบี่ รรทัด อีก ไม่กี่ค�ำ ก็จะถึงเส้นชัย ดังนัน้ หนังสือเล่มนี้ นอกจากจะบอกเล่า การเดินทางกลับบ้านด้วยรถไฟจากลอนดอน ถึงกรุงเทพฯ ของฉันและพี่สาวฝาแฝดแล้ว มันยังบันทึกทุกก้าววิ่งสู่เส้นชัยอีกด้วย... หลังเส้นนั้นจะเป็นอย่างไรนะ ให้ตายสิ ฉันตื่นเต้นจัง แวววรรณ หงษ์วิวัฒน์


LONDON

pg.14

PARIS

PARIS

pg.22 St.PETERSBURG

pg.102

BERLIN

pg.32

MOSCOW

MOSCOW

pg.114

pg.122

IRKUTSK

ULAN BATOR

pg.186

pg.194

pg.204

pg.264

pg.272

pg.290

VIENTIANE

pg.350

NONG KHAI

pg.358

BANGKOK

pg.368


BERLIN

pg.44

pg.60

St.PETERSBURG

pg.74

pg.86 IRKUTSK

pg.136

pg.148

pg.162 ULAN BATOR

pg.220

pg.228 BEIJING

pg.304

pg.172

BEIJING

pg.240

pg.250

HANOI

pg.316

pg.328

HANOI

pg.338





ไม่มีค�ำตอบ

“สนุกไหม?” เป็นค�ำถามทีจ่ ะตามมาทุกครัง้ เมือ่ คูส่ นทนารูว้ า่ ฉันเพิง่ เดินทางจากลอนดอน ถึงกรุงเทพฯ ด้วยรถไฟเป็นเวลาหนึ่งเดือน ค�ำถามนี้เป็นค�ำถามง่ายๆ ที่ตอบยากที่สุด ตลอดหนึ่งเดือนของการเดินทางมีทั้งเรื่องดี และไม่ดี สนุกและเศร้า บางทีเชื่องช้า บางที รวดเร็ว บางทีวา่ งเปล่า บางทีแน่นเอีย๊ ด จนยากที่ ฉันจะหาค่าเฉลี่ยมาเป็นค�ำตอบ หลังจากอ�้ำอึ้งสักพัก ด้วยอาการที่ไม่รู้จะ ตอบว่าอะไร ฉันเปลี่ยนประเด็นโดยการโชว์ รอยคล�้ำแดดรูปทางม้าลายตามทรงรองเท้าที่ ใส่ตอนเดินทางแทน เพือ่ เป็นนัยยืนยันว่า “การ เดินทางเกิดขึน้ จริงๆ นะ ไม่ได้โม้” แม้ฉนั จะตอบ ไม่ได้ว่า “สนุกไหม?” ก็ตาม


หลังจากนั้น การร่ายถึงเส้นทางการเดินทางก็จะตามมา “ลอนดอน ปารีส เบอร์ลนิ เซนต์ปเี ตอร์สเบิรก์ อิรค์ ทุ สก์ อูลานบาตอร์ ปักกิง่ ฮานอย เวียงจันทน์ หนองคาย กรุงเทพฯ” ฉันไล่นับนิ้วตาม แล้วก็พลอยประหลาดใจกับข้อมูลเชิงปริมาณสิบกว่านิ้วที่ นับได้ ไม่น่าเชื่อว่ามันได้เกิดขึ้นแล้วจริงๆ …อย่างกับฝันไป ก่อนเดินทาง ฉันมองมันเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ เป็นครั้งหนึ่งในชีวิต เป็นการ เปลีย่ นแปลง เป็นการเปลีย่ นผ่านของวัย หลังการเดินทางหมาดๆ ความส�ำเร็จ ยังส่งกลิน่ กรุน่ อยูใ่ นใจ…แต่พอถึงตอนนี้ เพียงไม่กอี่ ดึ ใจการเดินทางครัง้ หนึง่ ใน ชีวติ ครัง้ นัน้ ก็ผา่ นไปร่วมสองปี ความรูส้ กึ ‘เมือ่ ไรจะถึงสักที’ ระหว่างการเดินทาง ระเหยไปเหมือนไม่เคยเกิดขึน้ การถึงเส้นชัยครัง้ นัน้ มันเคยมีรสชาติแบบไหนนะ เมือ่ มองย้อนกลับไป ทุกอย่างเกิดขึน้ เร็วเหมือนภาพ Fast Forward การเดินทาง ลุลว่ ง ฉันก็ยงั เป็นคนเดิม ไม่ได้โตขึน้ ไม่ได้เด็กลง เพียงแต่ผวิ คล�ำ้ ขึน้ ก็เท่านัน้ “น่าอิจฉา” คู่สนทนามักกล่าวพร้อมสายตาชื่นชม­­—ที่ฉันรู้สึกไม่คู่ควร มีบางสิ่งหล่นหายไปจากความทรงจ�ำ ฉันต้องย้อนคิดทบทวนข้อมูลเชิง คุณภาพ เดินทางกลับไปอีกครัง้ ในโลกของความทรงจ�ำ เพือ่ ตามหาค�ำตอบให้ ค�ำถามว่า “สนุกไหม?” ส�ำหรับฉัน การเดินทางแบ่งเป็นสองส่วน การเดินทางบนสองขากับการเดินทาง ในหนึง่ สมอง เมือ่ สองขาออกเดินทาง มันเหมือนเราก�ำลังเดินบนลูว่ งิ่ ทีไ่ ม่มปี มุ่ หยุดหรือย้อนกลับ ปุ่มเดียวที่มีให้กดคือ Start ระหว่างทางเราเพียงแต่ก้าวไป ตามสายพานจะหมุน ผ่านด่านทีต่ อ้ งเจอ แล้วแต่สถานการณ์ทเี่ ข้ามาปะทะ ลูว่ งิ่ จะ หยุดท�ำงานเองเมื่อสองขาก้าวถึงปลายทาง ส่วนสมอง มันเริ่มเดินทางไปในอนาคตตั้งแต่สองขายังไม่ก้าว ผ่านการ วางแผนและหาข้อมูล ถึงแม้สองขาจะหยุดและเป้ถกู ปลดออกจากหลัง เมือ่ สิน้ สุด การเดินทาง แต่สมองยังคงเดินทางอยู่ ย้อนกลับไปบนเส้นทางของสองขา ผ่าน การบอกเล่าและระลึกถึง ทุกวันฉันจะนั่งพล็อตกราฟความสุขให้คะแนนกับแต่ละวันของการเดินทาง ครัง้ นัน้ แกนตัง้ แสดงระดับความสุขทีม่ คี ะแนนเต็มสิบ แกนนอนแสดงวันที่ 1-30 ของการเดินทาง ฉันหวังว่ากราฟนีจ้ ะให้คำ� ตอบกับฉันได้บา้ ง แต่หลังจากเชือ่ มจุด ด้วยเส้น กราฟก็หน้าตาเหยเกเป็นรูปฟันปลาทิม่ ขึน้ ทิม่ ลงอย่างหาข้อสรุปไม่ได้ หน่วย ‘วัน’ ดูจะหยาบเกินไป เพราะแต่ละชั่วขณะในแต่ละวันช่างแตกต่างกัน ฉันหันมานั่งอ่านบันทึกที่จดไว้ ลายมือชุ่ยบนหน้ากระดาษเตือนให้ฉันนึกถึง


ความเหนือ่ ยล้าระหว่างทาง มันเป็นบันทึกทีแ่ สนคร่าว เต็มไปด้วยกลุม่ ค�ำทีข่ าด ประโยคขยาย เมือ่ ข้อมูลทีจ่ บั ต้องได้เป็นเพียงบางส่วนของเรือ่ งราว ฉันต้องขุดคุย้ ช่องเอกสารที่จับต้องไม่ได้ของความทรงจ�ำ เพื่อตามหาประโยคส่วนขยาย เหล่านัน้ ปะติดปะต่อเรือ่ งราว รือ้ ฟืน้ รสชาติของครัง้ หนึง่ ในชีวติ ทบทวนกลิน่ ของ ความส�ำเร็จ และปัดฝุ่นหาร่องรอยของความภาคภูมิใจ หนังสือเล่มนี้จึงเหมือนเป็นการเดินทางอีกครั้ง ต่างตรงที่ครั้งนี้การเดินทาง เกิดขึน้ ในหัวของฉัน เส้นทางคือความทรงจ�ำ สัมภาระคือความเลือนราง ระยะทาง คือไร้กาลเวลา และเป้าหมายคือค�ำตอบ

พร้อมจะเดินทางไปด้วยกันหรือยัง?



แด่ ตัวฉันเองในฤดูร้อนปี ๒๕๕๓





ขอให้เราโชคดี LONDON

ที่ชั้นบนสุดของโรงแรมแคบๆ แห่งหนึ่งใน มหานครลอนดอน ใกล้สถานีรถไฟเซนต์แพนคราส (St. Pancras Railway Station) “คืนสุดท้ายในยูเคแล้วนะวรรณ” ฉันกล่าว ท่ามกลางความมืดกับพีส่ าวฝาแฝดผูจ้ ะร่วมเป็น ร่วมตายไปด้วยกันในการเดินทางครั้งนี้ “ตื่นเต้นไหม?” ฉันกระทุ้งถามเธอ “ยังอะ...” เธอตอบอย่างที่รู้สึก ฉันรู.้ ..เพราะเราสองคนมักเป็นแบบนี้ ความ รู้สึกมักจะดีเลย์คลาดเคลื่อนเสมอ กว่าจะ รู้สึกรู้สาอะไรก็จวนตัวมากๆ ฉันเองก็ยังไม่ อยากเชื่อว่ามันก�ำลังจะเกิดขึ้นแล้วจริงๆ การ เดินทางที่เราเฝ้าวางแผนมาร่วมหลายเดือน


เป็นครัง้ หนึง่ ในชีวติ ทีเ่ ราจะเดินทางขนาดยาวข้ามทวีป ด้วยสองขา เพียงสองคน ครัง้ นีเ้ ป็นการเดินทางแบกเป้ (แม้เราจะใช้กระเป๋าลาก) เต็มรูปแบบครัง้ แรกใน ชีวติ และเราจะท�ำหนังสารคดีขนาดยาวเรือ่ งแรกในชีวติ จากการเดินทางครัง้ นี้ ด้วย... พรุ่งนี้แล้วสินะ ความเดิมตอนทีแ่ ล้วคือ เราสองคนเป็นพีน่ อ้ งฝาแฝดกัน แม่ตงั้ ชือ่ เราจากป้ายชือ่ ผูบ้ ริจาคทีแ่ ปะอยูห่ น้าห้องในโรงพยาบาล ‘วรรณแวว’ จึงเป็นทีม่ าของชือ่ แฝดผูพ้ ี่ ทีล่ มื ตาดูโลกก่อนฉัน ‘แวววรรณ’ แฝดผูน้ อ้ ง เราแย่งกันเป็นพีต่ งั้ แต่เด็ก วรรณใช้ ห้านาทีที่เธอเกิดก่อนมาอ้างว่าเธอสิต้องเป็นพี่ ส่วนฉันอ้างว่า ฉันสิที่เป็นพี่ผู้ เสียสละให้น้องอย่างเธอออกมาก่อน จนแล้วจนรอดเราก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ‘พี่วรรณ’ ‘พี่แวว’ จึงเป็นค�ำแทนตัวเองระหว่างเราสองคนมาจนถึงทุกวันนี้ ตัง้ แต่เล็ก แม่ไม่เคยจับเราใส่ชดุ เหมือนกัน เราไม่เคยเรียนห้องเดียวกันตัง้ แต่ ประถมยันมัธยม วรรณเรียนสายศิลป์ ฉันเรียนสายวิทย์ วิชาเก่งของเธอคือ อังกฤษ วิชาเก่งของฉันคือเลข แต่มนั ก็แปลก ทีเ่ รามักจะได้เกรดเฉลีย่ รวมเท่าๆ กันเสมอ วรรณเอ็นท์ติดคณะนิเทศศาสตร์ ส่วนฉันติดคณะเศรษฐศาสตร์ เธอตัดสินใจถูกทีเ่ ลือกเรียนสาขาภาพยนตร์ ส่วนฉัน กว่าจะพบว่าเศรษฐศาตร์ ไม่ใช่กป็ าเข้าไปปี 3 แต่กโ็ ชคดีทกี่ จิ กรรมของคณะมีไม่มาก ฉันเลยมีเวลาไปท�ำ หนังสัน้ กับวรรณ และก็พบว่ามันสนุกกว่ารันสมการหาความสัมพันธ์ของตัวแปร ในระบบเศรษฐกิจเยอะ หลังจากจบปริญญาตรี ฉันจึงจับมือวรรณมาเรียนต่อ ปริญญาโทที่อังกฤษ และนี่เป็นครั้งแรกที่เราร่วมเรียนในห้องเดียวกัน ‘Artist’s Film, Video and Photography’ ชื่อคอร์สน่าสับสนนี้มีคีย์เวิร์ด อยู่ที่ค�ำแรก สรุปเลยว่าเราจะเรียนเป็นศิลปินกัน เพื่อนฝรั่งหลายคนดูเก่งและฉลาด ทุกคนพรั่งพรูโปรเจกต์ที่อยากท�ำด้วยส�ำเนียงบริทิชไฟแล่บ ส่วนเรา...ตาม สไตล์เด็กไทยเจเนอเรชั่นวาย เราไม่รู้ว่าจะท�ำอะไรดี เราชอบโน่นนิดนี่หน่อย เรารู้ว่าเราไม่ชอบอะไร แต่เราไม่รู้ว่าเราชอบอะไร ทุกอย่างมันกลางๆ ไปหมด ฉันเขียน Project Proposal ส่งด้วยความพร่าเลือน คะแนนทีไ่ ด้จงึ ยึดทางสายกลาง ที่คาบเส้น ระหว่างเราสองคน หากใครสนใจสิง่ หนึง่ อีกคนจะไม่แยแสสิง่ นัน้ ทิง้ ให้เป็น ภาระคนทีม่ กี ะจิตกะใจ ในขณะทีว่ รรณเครียดอยูก่ บั โปรเจกต์รว่ มของเรา ฉันมัว แต่สนใจการเดินทางท่องเทีย่ ว หลังจากอ่านบรรทัดสุดท้ายของ ดาวหางเหนือ ทางรถไฟ โดย พี่ก้อง-ทรงกลด บางยี่ขัน ฉันหันไปบอกวรรณอย่างแน่วแน่ว่า “เราจะเอามั่ง” 26


“ช่วยสนใจเรื่องโปรเจกต์บ้างเถอะ” วรรณพูดพร้อมส่งสายตาร�ำคาญ “โห พี่แววก�ำลังอิน” “ปิดเทอมฤดูรอ้ นนี้ เราเดินทางกลับบ้านด้วยรถไฟกันนะ” วรรณท�ำหูดบั ไม่สนใจ วันนัน้ ฉันออกไปร้านหนังสือ ซือ้ คูม่ อื ท่องเทีย่ วทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย (Trans-Siberian Railway) แล้วจมตัวลงไปกับมัน วางแผนโน่นนี่เป็นตุเป็นตะ วรรณเห็นท่าชักจะไม่ดี จึงขัดขึ้นมา “ถ้ามัวแต่วางแผนเทีย่ ว แล้วจะเอาเวลาทีไ่ หนท�ำโปรเจกต์” ผีวชิ าการเข้าสิงเธอ “พีแ่ ววไม่อยากท�ำโปรเจกต์เรือ่ งทีเ่ ราส่งไปเลย ไม่อนิ อันนีอ้ นิ กว่า” ผีเด็กเอา แต่ใจเข้าสิงฉัน “เออ ท�ำไมเราไม่ท�ำให้ทริปนี้เป็นโปรเจกต์เลยล่ะ ท�ำเป็นหนัง สารคดีไง” ผีเด็กท�ำตาฉันเป็นประกาย “จะบ้าเหรอ” ผีวิชาการสวนมาทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ไตร่ตรอง “ท�ำไมล่ะ ไอ้โปรเจกต์ทเี่ ขียนส่งไปมันอะไรก็ไม่รู้ เขียนไปแบบงงๆ โปรเจกต์ หนังสารคดีเดินทางกลับบ้านด้วยรถไฟเท่กว่าตัง้ เยอะ ท�ำเป็นหนังยาวเรือ่ งแรก ในชีวิตเลยดีมะ?” ผีเด็กหว่านล้อม “...” ผีวิชาการนิ่งคิด หูไม่สดับสิ่งที่ผีเด็กก�ำลังพล่าม “เอาก็เอา” วรรณโพล่งออกมาในที่สุด ฉันเห็นประกายแว็บๆ ในตาเธอ เพื่อไปให้ถึงเส้นทางสายทรานส์ไซบีเรียในรัสเซีย เราเริ่มด้วยการวางแผน เส้นทาง มีหลายประเทศให้สองขาของเราเลือกก้าวเดินผ่าน ทั้งปารีส (Paris) เบอร์ลนิ (Berlin) บรัสเซลส์ (Brussels) วอร์ซอว์ (Warsaw) เคียฟ (Kiev) เมือ่ รัน สมการตามข้อจ�ำกัดของเวลาและเงินตราแล้ว เราตัดสินใจวางแผนนั่งรถไฟ ยูโรสตาร์ (Eurostar) รถไฟความเร็วสูงทีเ่ ชือ่ มเกาะอังกฤษกับทวีปยุโรป ข้ามน�ำ้ ข้ามทะเลจากลอนดอนไปปารีส แล้วนัง่ รถไฟกลางคืน (City Night Line) ไปรับ รุ่งอรุณที่เบอร์ลิน ระบบรถไฟในสหราชอาณาจักรและยุโรปท�ำความเข้าใจได้ไม่ยาก รถไฟทุกสาย เชือ่ มถึงกันหมดโดยไม่แบ่งแยกเชือ้ ชาติ การซือ้ ตัว๋ ทางอินเทอร์เน็ตก็ไม่ยงุ่ ยาก1 แต่พอออกจากทวีปยุโรปเท่านัน้ ล่ะ เส้นพรมแดนก็เริม่ กีดขวาง รถไฟเริม่ มีสญ ั ชาติ และเริ่มเล่นตัว บางวันออก บางวันไม่ออก หลักสากลยุโรปไม่ใช่ไวยากรณ์ อีกต่อไป ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตทีเ่ ป็นภาษาอังกฤษก็รอ่ ยหรอ ต้องขอบคุณข้อมูล การเดินทางด้วยรถไฟจากผู้ชายที่นั่งเก้าอี้หมายเลข 612 ที่ช่วยลดอาการ หัวหมุนให้ฉัน 27


เขานัง่ ไขว่หา้ งบอกกับฉันว่า “รถไฟสายทรานส์ไซบีเรียเริม่ ต้นทีม่ อสโก” แล้ว ก้มจิบกาแฟด�ำในแก้วต่อด้วยมาดขรึมของผู้รู้ เพือ่ เป็นการไม่ยอ้ นไปย้อนมา จากเบอร์ลนิ ฉันจึงวางแผนนัง่ รถไฟขึน้ เหนือไป นครเซนต์ปเี ตอร์สเบิรก์ (St. Petersburg) ก่อน แล้วค่อยลงมามอสโก (Moscow) เพือ่ เริม่ ต้นการเดินทางสายทรานส์ไซบีเรียหลังจากทีโ่ พสท่าถ่ายรูปกับโบสถ์สี ลูกกวาดบนจัตุรัสแดงจนจุใจ “อ้อ” เขานึกขึ้นมาได้ “รถไฟจากเบอร์ลินที่วิ่งไปเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กออกเฉพาะวันศุกร์กับวัน อาทิตย์เท่านั้นนะ... “ส่วนรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียก็มีหลายขบวน หลายปลายทาง ทั้งแบบเร็ว แบบช้า บ้างออกวันคู่ บ้างออกวันคี่ บ้างออกแต่เสาร์-อาทิตย์ บ้างวิง่ ยาวทัง้ สาย บ้างวิ่งแค่บางเมือง ดังนั้นการวางแผนเดินทางจึงมีสองแบบคือแบบก�ำหนดวัน เป๊ะๆ โดยการซือ้ ตัว๋ ล่วงหน้า หรือไปตายเอาดาบหน้า เยีย่ งวิถแี บ็คแพ็กเกอร์” เขาทิง้ ท้ายประโยคด้วยเสียงเก๊กๆ แน่นอนว่าเราสองฝาแฝดไม่ใจนักเลงพอทีจ่ ะ เลือกอย่างหลัง จึงต้องมานั่งปวดหัวก�ำหนดวันเดินทางที่แน่ชัด การเดินทางตัง้ แต่เบอร์ลนิ ลงมาถึงปักกิง่ (Beijing) เราซือ้ ตัว๋ รถไฟล่วงหน้า ผ่านเอเจนซี Real Russia3 ทีจ่ ดั การเรือ่ งตัว๋ รถไฟในรัสเซียและวีซา่ ประเทศต่างๆ บนเส้นทางสายทรานส์ไซบีเรียให้อย่างเสร็จสรรพ อาจฟังดูไม่เท่ แต่เราขอเก็บ แรงเอาไว้เหนื่อยระหว่างทาง และเก็บจิตไว้วิตกตอนโดนล้วงกระเป๋าจะดีกว่า ในการเดินทางครัง้ นี้ เราต้องขอวีซา่ สีจ่ ากแปดประเทศ ด่านแรกคือ วีซา่ Schengen ส�ำหรับเขตประเทศยุโรป และในขณะนั่งรถไฟจากเยอรมนี (Germany) ไปรัสเซีย (Russia) รถไฟจะพาเราผ่านเบลารุส (Belarus) เพราะฉะนัน้ Belarus Transit Visa ต้องแปะพร้อมอยูใ่ นพาสปอร์ตแม้เราจะไม่ได้ลงจากรถไฟเลยก็ตาม ส่วนอีกสองประเทศที่เหลือจะถูกควักใช้เมื่อเข้าสู่ซีกโลกเอเชียคือมองโกเลีย (Mongolia) และจีน (China) โชคดีทไี่ ทยมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทีด่ กี บั รัสเซีย เวียดนาม (Vietnam) และลาว (Laos) ตัวเลขยอดรวมค่าวีซา่ ทัง้ หมดเลย ไม่สะเทือนใจมากนัก เพือ่ ความอุน่ ใจตามประสาสองสาวขีก้ ลัว ขีก้ งั วล และขีเ้ กียจ เราจึงจองทีพ่ กั ในเมืองต่างๆ ทีเ่ ราจะหยุดเทีย่ วล่วงหน้าจากเว็บไซต์ Hostelworld ให้เรียบร้อย ก่อนเดินทาง การเดินทางจากลอนดอนจนถึงจีนจึงเป็นภาพชัดพอสมควร แต่ การเดินทางหลังจากจีนลงมานี่สิที่ยังเป็นภาพเบลอๆ ผู้ชายที่นั่งเก้าอี้หมายเลข 61 เองก็รู้เพียงแค่ว่ารถไฟระหว่างประเทศจาก 28


ปักกิง่ ไปฮานอย (Hanoi) จะออกเฉพาะวันอาทิตย์กบั วันพฤหัสฯ เท่านัน้ เขาทิง้ เป็นปริศนาให้ฉันเก็บไว้แก้เองตอนช่วงพักครึ่งของการเดินทางที่ปักกิ่ง ด้วย ความทีไ่ ม่คอ่ ยสันทัดการเดินทางด้วยรถไฟในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สกั เท่าไร เขาจึงเล่าเพียงประสบการณ์การถูกปล่อยทิง้ กลางทางตอนข้ามชายแดน ระหว่างเวียดนามและลาว การร่วมรถโดยสารกับไก่ทงั้ เล้า ความงุนงงของสถานี รถบัส และความวิบากของถนนลูกรัง ทีร่ ถมาดันตายตอนขับลุยน�ำ้ ...อืม ฉันพอจะ ท�ำความเข้าใจได้ นีล่ ะ่ ความไร้ระเบียบทีม่ เี สน่หแ์ ละน่าท้าทายของประเทศแถบ ลุ่มแม่น�้ำโขงและบริเวณใกล้เคียง ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงได้แต่วางแผนคร่าวๆ ว่าจากเวียดนาม เราจะเข้าลาวแล้วข้าม แม่น�้ำโขงกลับไทย นอกจากวางแผนการเดินทางแล้ว เรายังต้องวางแผนการท�ำหนังสารคดีอีก ด้วย ระบบการเรียนทีน่ ที่ ำ� เอาเราปวดเศียรเวียนเกล้าระดับหนึง่ นักเรียนไทยที่ โตมากับระบบการศึกษาแบบเน้นผลสุดท้ายและความรูส้ ำ� เร็จรูปจากต�ำรา ย่อม เกิดอาการตกใจเชิงวิชาการ (Academic Shock) เมื่อมาเจอการศึกษาที่เน้น กระบวนการและการตัง้ ค�ำถาม (Critical Thinking) พอเรือ่ งท่องเทีย่ วกลายเป็น งานทีต่ อ้ งท�ำส่งอาจารย์ ผีวชิ าการก็ถบี ผีเด็กออกแล้วเข้าสิงเราทัง้ คู่ ทฤษฎีโน่น นั่นนี่ถูกจับเอามาแถให้สอดคล้องกับหนังสารคดีการเดินทางกลับบ้านของเรา เป็นการเดินทางกลับไปหารากเหง้า เป็นการเดินทางกลับบ้าน ที่ เ ป็ น สิ่ ง ปลู ก สร้ า งเพื่ อ ตามหาบ้ า นทางจิ ต วิ ญ ญาณ เป็ น การ ออกจากพื้นที่ปลอดภัยเพื่อการเปลี่ยนผ่านของวัย เปรียบเทียบ ได้กับการธุดงค์ที่เป็นพิธีกรรมเพื่อพิสูจน์ความเป็นผู้ใหญ่ของ ชนเผ่าหนึ่ง (ที่ตอนนี้ฉันจำ�ไม่ได้แล้วว่าไปเอาเรื่องนี้มาจากไหน) การเดินทางเนิบช้าไปกับทุกระยะที่รถไฟวิ่งผ่านเป็นการใกล้ชิด กับธรรมชาติ รับรู้ถึงทุกขณะของพื้นที่และเวลา การเผชิญการ เปลี่ ย นแปลงของเวลาเมื่ อ ข้ า มไทม์ โซนจะทำ � ให้ เ ราสั บ สน งงงวย จนเริ่มตั้งคำ�ถามกับจังหวะของชีวิต ใช้ชีวิตตามความ รู้สึกที่แท้จริงแทนที่จะเป็นกรอบของเวลา เรื่องนามธรรมมากมายถูกพ่นลงบนหน้ากระดาษรายงานความคืบหน้าที่ ต้องส่งตอนสิน้ เทอมสอง ซึง่ ขัดแย้งโดยสิน้ เชิงกับระบบการศึกษาทีเ่ น้นปฏิบตั ิ เน้นการออกไปลงมือท�ำ ไม่มีโจทย์ อยากทดลองอะไรทดลองเลย แล้วเรียก มันว่า ‘Experimental Work’ 29


เหมือนจะง่ายแต่ยาก ฉันไม่รวู้ า่ ต้องท�ำอะไร ท�ำไปแล้วจะได้อะไร ความขัดแย้ง ในใจคอยร้องถามว่า ในเมือ่ สุดท้ายแล้วมันจะเป็นหนังสารคดีขนาดยาว แทนทีจ่ ะ วางแผนการท�ำงานชิน้ สุดท้าย เราจะท�ำงานชิน้ เล็กชิน้ น้อยทีไ่ ม่ได้เป็นส่วนหนึง่ ของชิน้ สุดท้ายไปท�ำไม? ฉันพาลนึกหมัน่ ไส้ค�ำว่า ‘Experiment’ ทีเ่ อามายัดใส่ งานอะไรก็ได้ ให้มันดูอาร์ต เก๋ไก๋มีสไตล์ขึ้นมา แต่ด้วยก�ำหนดส่งงาน ฉันต้อง หลับตา ดับสมอง ลบความสงสัย แล้วก็ท�ำไป โดยไม่สนใจว่างานทดลองนั้นๆ จะไปเกี่ยวดองกับหนังสารคดีชิ้นสุดท้ายอย่างไร เหมือนปัดเส้นผมทีบ่ งั ภูเขาออก ฉันพบว่าการ Research ไม่จำ� เป็นต้องค้นคว้า แต่ในต�ำรา ไม่ใช่แค่การท�ำแบบสอบถาม ไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบสุดท้าย ความหมายของ Research ตามรูปแบบการศึกษาทีน่ กี่ นิ ความมากกว่านัน้ เพราะ มันรวมความถึงการลงมือท�ำ เราจะได้ลองผิดลองถูก ไม่มกี ารกระท�ำอะไรไม่มี ความหมาย มันจะช่วยก่อร่างสร้างงานชิ้นสุดท้ายไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แม้ว่า ล้มเหลว มันก็จะกลายเป็นภูมิคุ้มกันอย่างดี จากวิดโี อหลายชิน้ ทีเ่ ราหลับหูหลับตาท�ำในเทอมสอง ฉันพบว่าความสัมพันธ์ ของฉันกับวรรณฉายชัดอยู่ในนั้น มากกว่าเรื่องราวหลักของวิดีโอแต่ละชิ้น... เอาล่ะ หนังสารคดีของเราจะไม่เกีย่ วกับการท่องเทีย่ ว แต่มนั จะเกีย่ วกับความ สัมพันธ์ฉันฝาแฝด ฉันได้ข้อสรุปอย่างนั้น คืนนี้— ­ 31 พฤษภาคม 2553—เป็นคืนสุดท้ายก่อนที่เราจะใช้ชีวิตเป็นนัก ท่องเทีย่ ว และ On Location ท�ำหนังกันแบบ 24 ชัว่ โมงเป็นเวลาหนึง่ เดือน ปกติเรา ไม่ค่อยอยากไปเที่ยวด้วยกันแค่สองคน เพราะเห็นหน้ากันทุกวันจนเหม็นเบื่อ แต่สำ� หรับการเดินทางครัง้ นี้ ไม่รทู้ ำ� ไมเราต่างคิดว่า แค่สองคนน่ะดีแล้ว คนทีฉ่ นั คิดว่าเหมาะสมทีจ่ ะร่วมผจญพายุและคลืน่ ลมแรงไปด้วยกันก็คอื วรรณ และคน ที่วรรณคิดว่าจะร่วมจิตตกไปด้วยกันเมื่อโดนล้วงกระเป๋าก็คือฉัน แม้บางครั้ง เราจะเหม็นเบือ่ ทีจ่ ะร่วมสุข แต่เราพร้อมทีจ่ ะร่วมทุกข์กนั ฉันมัน่ ใจว่าการเดินทาง ครัง้ นีจ้ ะต้องล�ำบาก อุปสรรคนัง่ กระดิกเท้ารอเราอยูข่ า้ งหน้า อาจจะเว่อร์หากจะ บอกว่าเรารูส้ กึ ฮึกเหิมเหมือนทหารหาญจะออกศึกสงคราม...เอาเป็นแค่พลังใจ แบบวัยรุ่นที่ก�ำลังจะออกไปเผชิญโลกกว้างแล้วกัน พรุ่งนี้แล้วสินะ...ขอให้เราโชคดี

30


1. www.tgv-europe.com เว็บไซต์สำ� หรับจองตัว๋ รถไฟในยุโรปทีซ่ อื้ ง่ายจ่ายคล่องและมี โปรโมชั่นลดราคาคอยยั่วนักเดินทางให้แบกกระเป๋าออกเดินทางอยู่บ่อยๆ 2. www.seat61.com หรือผูช้ ายทีน่ งั่ เก้าอีห้ มายเลข 61 คือเว็บไซต์ทใี่ ห้ขอ้ มูลการเดินทาง โดยรถไฟแทบทุกมุมโลก ส่วนเหตุผลทีท่ ำ� ไมต้องหมายเลข 61 นัน้ เป็นเพราะเจ้าตัวชอบ จองที่นั่งบนรถไฟด้วยเลขนี้เท่านั้นแหละ 3. www.realrussia.co.uk เว็บไซต์ทเี่ หมาะส�ำหรับนักท่องเทีย่ วทีต่ อ้ งการเดินทางไปรัสเซีย เพราะในเว็บมีบริการหลายอย่างทั้งท�ำวีซ่า จองตั๋วรถไฟ จองที่พัก ไปจนถึงจองแท็กซี่

31


St.PETERSBURG MOSCOW LONDON PARIS

BERLIN

CONNECTING TRAIN ROUTES TRANS-SIBERIAN, TRANS-MONGOLIAN, TRANS-MANCHURIAN RAILWAY BUS


IRKUTSK ULAN BATOR BEIJING

HANOI VIENTIANE NONG KHAI BANGKOK



ด่านทดสอบแรก LONDON - PARIS - BERLIN

รถไฟยูโรสตาร์ลอดอุโมงค์ใต้ท้องทะเลมา โผล่ทสี่ ถานีแกร์ดนู อร์ (Gare du Nord Railway Station) ใจกลางเมืองปารีส ความเร็วสูงของมัน ท�ำให้เวลาหล่นหายไประหว่างทาง เมือ่ ถึงทีห่ มาย เข็มยาวบนหน้าปัดนาฬิกาถูกหมุนตามเข็มหนึง่ รอบหยุดที่เวลาเที่ยงตรง รถไฟที่ จ ะไปเบอร์ ลิ น จะออกจากสถานี แกร์เดอเล (Gare du l’Est Railway Station) ที่ อยู่ไม่ไกลจากแกร์ดูนอร์ ในระยะเดินตัวเปล่า แบบสบายๆ แต่เราสองคนต้องทัง้ แบกและลาก กระเป๋าลงบันได วิง่ ข้ามถนน ฝ่าด่านยิปซี ปฏิเสธ ชายแปลกหน้าท่าทางไม่นา่ ไว้ใจทีเ่ สนอตัวช่วย ถือกระเป๋า และไม่ตอบรับมิตรภาพด้วยการ ผูกข้อมือใดๆ ทั้งสิ้นจากพี่ๆ คนด�ำ คาถาเดียว ที่เราท่องไว้คือ “No English, No English” กว่าจะถึงสถานีรถไฟแกร์เดอเลก็ท�ำเอาหอบ





คืนนี้รถไฟจะออกตอนสองทุ่ม ทิ้งเวลาเป็นภาระให้เราในครึ่งวันที่เหลือ เรา ฝากกระเป๋าไว้ที่สถานี แล้วออกไปเที่ยวปารีสแบบส่งๆ ถ่ายรูปท่านิ้วจีบแสร้ง หยิบหอไอเฟล นั่งหลบฝนในมหาวิหารน็อตเตรอะดาม และเข้าคิวซื้อเครป แบบ Take Away เราใช้เวลาหมดไปอย่างสุรุ่ยสุร่าย เพื่อให้เสียเงินน้อยที่สุด เสียงหวูดดัง รถไฟออกจากชานชาลา มุง่ หน้าสูป่ ระเทศเยอรมนี ตูน้ อนชัน้ สอง ราคาประหยัดของเราอัดแน่นด้วยเตียงแบนๆ หกเตียง เรียงล่าง-กลาง-บน ทัง้ สอง ฝัง่ ซ้าย-ขวา สมกับเป็นรถไฟสายกลางคืน พืน้ ทีจ่ ำ� กัดทีถ่ กู ซอยเป็นหกเตียงทีแ่ คบ เกินกว่าจะนั่ง การเอนหลังนอนเป็นกิจกรรมเดียวที่พอจะท�ำได้อย่างสะดวก อิรยิ าบถ โชคดีทเี่ ราเลือกจองเตียงล่างซึง่ ถูกจัดสรรพืน้ ทีว่ า่ งมากกว่าเตียงกลาง และบน แน่นอนพื้นที่เหล่านั้นถูกคิดเพิ่มในราคาตั๋วด้วย เมือ่ หัวถึงหมอน ด้วยความทีน่ อนห้องเดียวกันมาตลอดตัง้ แต่เด็ก เราติดนิสยั นอนคุยกันก่อนที่จะหลับ “เป็นอะไร” วรรณถามเมื่อเห็นฉันเงียบๆ ไป “กลัวเหรอ” เธอถามน�ำ “เปล่า...แค่รู้สึก...ไม่น่าเชื่อว่าการเดินทางครั้งหนึ่งในชีวิตได้เริ่มขึ้นแล้ว” ความรู้สึกที่คลาดเคลื่อนของฉันเริ่มตามทันความเป็นจริง “ก่อนหน้านี้ยังรู้สึกห่างไกลอยู่เลย” ภาพตอนกางแผนที่วางแผนเส้นทาง แวบเข้ามาในหัวฉัน “เดี๋ยวพี่วรรณพาเที่ยวเอง” เธอแสดงความรับผิดชอบในฐานะผู้เดินน�ำที่ เบอร์ลิน “เบอร์ลินน่ะเด็กๆ ของจริงอยู่ที่รัสเซีย” จริงอย่างที่เธอว่า จากการเตรียมความพร้อมในฐานะผู้ที่จะน�ำเที่ยวรัสเซีย ข้อมูลเกือบจากทุกแหล่งพร้อมใจกันขู่ฉันต่างๆ นานา ถึงความดิบดาร์กของ ประเทศหลังม่านเหล็กนี้ “หวังว่าจะไม่มอี ะไรผิดแผน” วรรณทิง้ ท้าย แล้วบทสนทนาก็จบลง พรุง่ นีเ้ รา ตื่นมาจะเจอกับรุ่งอรุณของเบอร์ลิน...ราตรีสวัสดิ์ เพือ่ นร่วมตูน้ อนของเราตืน่ กันแต่เช้าตรู่ กดดันให้ฉนั ต้องลุกขึน้ มาเพือ่ เขาจะ ได้พบั เตียงชัน้ กลางลงมาเป็นพนัก และใช้เตียงชัน้ ล่างเป็นเบาะนัง่ ส�ำหรับเพือ่ น สมาชิกในตู้ ขณะนี้รถไฟของเราก�ำลังแวะจอดที่สถานีไหนสักแห่งในประเทศ เยอรมนี ฉันเดินงัวเงียออกไปห้องน�ำ้ เพือ่ ล้างหน้าแปรงฟัน แม้เมือ่ คืนจะตืน่ บ่อย เพราะเสียงกรนและแรงกระแทกของรถไฟ แต่กป็ ระเมินได้วา่ มันคือการหลับที่ 39


เต็มอิม่ ขณะเดินเอือ่ ยเฉือ่ ยกลับมาทีต่ นู้ อน ทอดสายตาออก ไปข้างนอกหน้าต่าง ทันใดแสงสีสม้ ก็ปรากฏแวบทีร่ างรถไฟ ข้างๆ ไม่มเี สียงใดๆ ประกอบ ปรากฏการณ์เพียงเสีย้ ววินาที นัน้ ยากเกินกว่าสมองเบลอๆ ยามเช้าของฉันจะประมวลได้ ว่าเกิดอะไรขึ้น จึงไม่ยากที่ฉันจะเขี่ยมันออกจากสมอง ทันที ไม่นาน รถไฟก็คอ่ ยๆ เลือ่ นออกจากชานชาลา ทีน่ อกช่อง หน้าต่างภาพบรรยากาศชานชาลาเคลื่อนตัวเชื่องช้าแบบ ภาพ Slow Motion สวนทางกับขบวนรถไฟ ฉันกลับมาถึง ตูน้ อน ยังไม่ทนั เก็บแปรงสีฟนั ดี... โครม! เสียงดังขึน้ พร้อมๆ กับที่รถไฟหยุดกะทันหัน ภาพแสงสีส้มแวบเข้ามาในหัว ฉัน สองสิง่ เร้าถูกเอามาผูกโยงกันเองเป็นตุเป็นตะ ทฤษฎีที่ ว่ า แสงเดิ น ทางเร็ ว กว่ า เสี ย งถู ก ฉั น โมเมจั บ มาอธิ บ าย เหตุการณ์ภาษาฝรั่งเศสและเยอรมันเริ่มโขมงโฉงเฉง ฉัน พยายามเงีย่ หูฟงั ภาษาอังกฤษ แต่กไ็ ม่มี หลังจากเจ้าหน้าที่ หญิงร่างท้วมอธิบายถึงสถานการณ์ทเี่ กิดให้กลุม่ ผูโ้ ดยสารที่ มุงอยู่ตรงทางเดิน ก็ถึงตาเรา “English?” เธอถาม เราสองคนพยักหัวหงึกหงัก “This train. Stop %#@^&**^# Change with the next train to Berlin #%$^&^$%**####” หลังจากปะติดปะต่อค�ำ ผูกโยงรากศัพท์ ถอดรหัสท่าทาง ก็ ประมวลความว่าเกิดเหตุเครื่องยนต์ขัดข้อง และเราต้อง เปลี่ยนขบวน “What time?” วรรณถามต่อ สาวใหญ่ถอนหายใจเฮือกใหญ่ แล้วร่ายยาว “#*^%$^*& >..<$#-_-%&” ด้วยน�้ำเสียงวุ่นวาย เราแปลจากท่าทางและอารมณ์ของเธอได้ความโดยสรุป ว่า “ไม่รู้โว้ยยย” “OK” วรรณตอบทั้งๆ ที่ไม่โอเค “Thank you” แล้วเจ้าหน้าที่ก็จากเราไป “เมื่อกี้ English เหรอ กูไม่แน่ใจ” วรรณหันหน้างงมา

40



ทางฉันที่ก�ำลังขยี้หัวตัวเองด้วยท่าทางสับสนไม่ต่างกัน “เอาแล้วจุ้ย” ฉันอุทานออกมา คนเริ่มทยอยลงจากรถไฟพร้อมสัมภาระ บรรยากาศที่ชานชาลาดูสับสน วุน่ วาย คนเยอรมันเองยังจับต้นชนปลายไม่ถกู นับประสาอะไรกับเอเชียหัวด�ำ อย่างเรา คุณลุงคุณป้าชาวฝรั่งเศสที่นอนเตียงบนสุดตู้เดียวกับเรา พูดภาษา อังกฤษได้นิดหน่อย จุดหมายปลายทางของทั้งคู่คือเบอร์ลินเช่นกัน ด้วยความ อับจนทางข้อมูล ก�ำแพงภาษาทีข่ ดั ขวางและความตืน่ ตระหนกในใจ เราตัดสินใจ กันว่าจะจับตามองสองลุงป้าไว้ให้ดี ไม่ว่าเขาจะไปที่ไหน เราจะไปที่นั่น เราตามเขาต้อยๆ ไปจนถึงโถงกลางของสถานีกว้างใหญ่ ผูค้ นมากมายยืนรอ ความหวังอยูท่ นี่ ี่ แผ่นป้ายไฟขนาดใหญ่แสดงตารางรถไฟยุบยับ ฉันเดาว่าภาษา เยอรมันสีแดงเถือกบนจอแปลว่า ‘Delay’ ดูเหมือนว่าเหตุทเี่ กิดจะท�ำให้การเดิน รถไฟรวนไปหมด ลุงป้าจับกลุม่ กับแก๊งเพือ่ นร่วมชาติ ส่วนเราสองคนได้แต่แอบ มองอยู่ไกลๆ “จะตามเขาไปอีกปะ” ฉันถามด้วยอาการสมองบวมความวิตก “ตามไปไหนล่ะ...เราเหมือนเป็นลูกหมา” วรรณพูดประโยคแทงใจ “เขาดูไม่เอาเราเลย...” เธอตัดพ้อ ทั้งๆ ที่ไม่มีสิทธิ์ แปดด้านรอบตัวเรามืดมิดนานเป็นเวลาสองชั่วโมง มันเป็นสองชั่วโมงที่


ยาวนานเหมือนสองวัน เราได้แต่รอ รอ รอ รอ รอ กับค�ำว่าไม่รู้ ไม่รู้ ไม่รู้ ไม่รู้ ไม่รู้ ถ้ารถไฟมาแล้วเราไม่รลู้ ะ่ ถ้าคนอืน่ ทีฟ่ งั ภาษาเยอรมันรูเ้ รือ่ งเขาไปกันหมด แล้วล่ะ ถ้าเหลือแต่เราล่ะ ถ้าเราติดแหงกอยู่ที่นี่ล่ะ...ถ้า ถ้า ถ้า ถ้า ถ้า... จนกระทั่ง... “Berlin?” ป้าคนหนึ่งส่งส�ำเนียงเยอรมันถามเรา เราสองคนกระดิกหาง พยักหน้าหงึกหงัก ป้ากวักมือให้ไปด้วยกัน แล้วการ เดินตามอย่างไม่รจู้ ดุ หมายก็เริม่ ขึน้ อีกครัง้ ต่างตรงทีค่ รัง้ นีเ้ ต็มไปด้วยความหวัง แดดช่วงสายสาดเข้ามาผ่านหน้าต่างรถไฟ ในขณะทีร่ ถไฟวิง่ สายไฟฟ้าทีอ่ ยู่ นิง่ ๆ ดูเหมือนจะวิง่ สวนทางกับเราไปด้วย สถานีปลายทางคือเบอร์ลนิ เราผ่าน ด่านทดสอบแรกมาได้แล้ว จริงๆ กายเราไม่ได้ทำ� อะไรมากนักเพือ่ ผ่านด่านครัง้ นี้ แค่เดินตามเขาไป แต่ใจเรานีส่ ิ ท�ำงานหนัก หนักเกินกว่าทีค่ วรจะเป็น เรากลัว ภาพสัตว์ประหลาดทีว่ าดขึน้ มาเองกับมือ แต่ดนั ลืมไปว่ามันก็แค่ภาพวาด ไม่ได้ มีอยู่จริง




ประวัติผู้เขียน แวววรรณ หงษ์วิวัฒน์ ตามประสาเด็กเจเนอเรชัน่ วายทีไ่ ม่รวู้ า่ ตัวเองชอบอะไร แวววรรณ เลือกเรียน สายวิทย์-คณิตทีโ่ รงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ด้วยเพียงเหตุผลทีว่ า่ มัน กว้างดี จะเรียนต่อคณะอะไรก็ได้...หลังจากสามปีของมัธยมปลาย เธอเลือกคณะ เอ็นทรานซ์ด้วยการขีดฆ่าทุกคณะที่ใช้คะแนนสอบวิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีวะ “หากไม่รู้ค�ำตอบที่ถูกต้อง ก็ใช้วิธีตัดช้อยส์” เธอเชื่ออย่างนั้น สุดท้ายเธอเอ็นท์ตดิ คณะเศรษฐศาตร์ จุฬาฯ แต่การเรียนอันอย่างลงลึกในปี 3 ท�ำให้เธอพบว่า ไม่ได้อยากท�ำงานธนาคาร หรือก�ำหนดนโยบายประเทศ ท่าทาง เศรษฐศาตร์จะไม่ใช่ค�ำตอบส�ำหรับเธอเสียแล้ว...แวววรรณตัดช้อยส์ได้อีก หนึ่งข้อ


โชคดีที่เธอได้ท�ำหนังสั้นนอกเวลากับ วรรณแวว (ฝาแฝดผู้เลือกเรียนสาย ศิลป์-ค�ำนวณและเอ็นท์ตดิ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ สาขาภาพยนตร์) ช่วงชีวติ ใน รั้วมหาวิทยาลัยเลยมีเรื่องสนุกๆ เกิดขึ้นบ้าง หนังสั้นเรื่อง คืนวันเสาร์ และ สมัครงาน ได้รบั รางวัลรองชนะเลิศสาขาช้างเผือก จากมูลนิธหิ นังไทยมาจนได้ ...ค่อยหายเหนื่อยหน่อย เมื่อเรียนจบ แวววรรณแน่ใจว่าเธอไม่อยากท�ำงานสายตรงเศรษฐศาสตร์ เธอจึงบิดมาท�ำงานการตลาด ด้วยความคิดทีว่ า่ อาจได้เอาความคิดสร้างสรรค์มา ปะปนกับเรือ่ งธุรกิจบ้าง แต่ทำ� ไปท�ำมาเธอก็ตดั ช้อยส์ได้อกี วัฒนธรรมองค์กรถ่ม น�ำ้ ลายรดไฟในใจเธอจนเกือบมอดดับเธอตัดสินใจลาออก เอาตัวเองใส่ตะกร้า ล้างน�ำ้ เพือ่ เปลีย่ นสายอาชีพ โดยการไปเรียนต่อต่างประเทศให้มนั รูแ้ ล้วรูร้ อดไป ...วรรณแววรู้สึกน้อยหน้า จึงลาออกแล้วบินไปเรียนปริญญาโทที่ประเทศ อังกฤษด้วยกัน MA Artist’s Film Video and Photography คอร์สชือ่ ยากๆ นีท้ ำ� ให้สองฝาแฝด ได้ท�ำหนังเรือ่ งยาวของตัวเองเรื่องแรก Wish Us Luck ขอให้เราโชคดี สารคดี ความยาว 94 นาทีซึ่งบันทึกการเดินทางกลับบ้านด้วยรถไฟจากลอนดอน ถึงกรุงเทพฯ ของพวกเธอ ที่เป็นทั้งตัวละครและผู้ก�ำกับในเวลาเดียวกัน เมื่อกลับมาเผชิญหน้ากับชีวิตจริงของวัยท�ำงานเธอได้งานในต�ำแหน่ง Associate Producer ที่ส�ำนักข่าวต่างชาติ…เธอจมไปกับการท�ำข่าวเลือกตั้ง และน�้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ในทีส่ ดุ การตัดช้อยส์กเ็ กิดขึน้ อีกครัง้ แวววรรณพบว่างานข่าวก็ไม่ใช่คำ� ตอบ ส�ำหรับเธอ และมันก็ขดั ขวางเธอออกจากฝันทีอ่ ยากมีหนังสือของตัวเองสักเล่ม ในชีวิต เธอจึงลาออกใช้ชีวิตเยี่ยงนักเขียนไส้แห้งจนหนังสือเล่มนี้มาอยู่ในมือ ท่านผู้อ่านทุกคน ยังหรอก...แวววรรณ ยังไม่เจอค�ำตอบสุดท้าย จริงๆ มันอาจจะไม่ได้มีแค่ ค�ำตอบเดียว เธอยังคงตัดช้อยส์ไปเรื่อยๆ แต่เธอคิดว่ามาถูกทางแล้ว...

ป.ล. สนทนากับแวววรรณได้ที่ www.facebook.com/WishUsLuck



ขอบคุณ วรรณแวว ที่เกิดมาเป็นฝาแฝดกัน พ่อ แม่ ที่ยอมให้หนูลาออกมา ว่างงาน ท�ำตัวเป็นนักเขียนไส้แห้ง ทีมงานแซลมอน ทีท่ ำ� ให้ฝนั ข้อหนึง่ ของฉันเป็นจริง ผู้อ่านทุกคน ที่ร่วมเดินทางผ่านตัว หนังสือมาด้วยกัน ขอบคุณมากจริงๆ



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.