sanprathom028

Page 1

ฉบับที่ ๒๘ ปีที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

แรงบันดาลใจของวัยกล้าฝัน สร้างสรรค์ปัญญา


เรื่องจากปก “แรงบันดาลใจในการทำ�งานของผม คือ การช่วยชีวิตคนและสัตว์ต่างๆ และช่วยต้นไม้ให้รอดพ้น จากเหตุการณ์ฟ้าผ่าด้วย ผมจึงคิดสายล่อฟ้าขึ้นมา แต่กระแสไฟฟ้าที่ผ่าลงมาที่ดินจะไม่เกิดประโยชน์อะไร ผมจึ ง คิ ด สายล่ อ ฟ้ า ที่ ส ามารถเก็ บ พลั ง งานอั น มหาศาลของ กระแสไฟฟ้าเพื่อนำ�ไปจ่ายไฟฟ้าให้กับเมืองหรือชนบท ได้ใช้ประโยชน์ เหมือนพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสครับ” ด.ช.สิทธิเดช เดชคำ�รณ (อั่งเปา) ป. ๖/๒


คำ�คมคำ�ครู

“ความเมตตาเป็นคุณธรรมนำ�ความสุข ช่วยปลอบปลุกปรุงใจให้หรรษา ความกตัญญูรู คู้ ณ ุ ผูเ้ มตตา ้ ทวีคา่ ของน�ำ ใจไมตรีเอย” พระบรมราชโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช ่ ้ ใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๖ เนืองในโอกาสวั นขึนปี • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา


สารจากบรรณาธิการ “จินตนาการสำ�คัญกว่าความรู”้ “Imagination is more important than knowledge” อัลเบิรต์ ไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้แบบนี้ และจิตนาการทีด่ มี กั เกิดจากแรงขับ ภายในจิตใจบางอย่างของคนเรา ผมขอเรียกปรากฏการณ์แห่งใจนีว่้ า ปรากฏการณ์ ่ างสรรค์ เห็นชัดจากตัวอย่าง แห่งแรงบันดาลใจทีม่ พี ลังอันนำ�ไปสูจ่ นิ ตนาการทีสร้ งานสร้างสรรค์จนิ ตนาการของแรงบันดาลใจทีป่ รากฏบนหน้าปกสารประถมฯ ฉบับ นีน้ ะครับ เป็นผลงานของ ด.ช.สิทธิเดช เดชคำ�รณ ป.๖/๒ อ่านแรงบันดาลใจของเขา ได้ในเรือ่ งจากปกนะครับ แรงบันดาลใจเป็นรากฐานสำ�คัญของความคิด และการกระทำ�ของคนเรา แรงบันดาลใจเป็นเหมือนเป้าหมายแรกเริ่มที่ช่วยจุดประกายส่งทางชีวิตเราให้ ดำ�เนินไปอย่างมีจดุ หมายปลายทางและสร้างสรรค์ อยากเห็นคนไทยเริม่ ต้นทำ�สิง่ ต่างๆ ด้วยแรงบันดาลทีเ่ ปีย่ มพลังสร้างสรรค์ เพือ่ วันนีแ้ ละพรุง่ นีใ้ ห้เมืองไทยเราน่าอยูย่ ง่ิ ขึน้ นะครับ

ครูสมพร รู้แสวง

ท่ีปรึกษา • ครูสกุณี บุญญะบัญชา ครูใหญ่โรงเรียนประถม บรรณาธิการ • ครูสมพร รู้แสวง กองบรรณาธิการ • ครูชัชฎาภรณ์ ศิลปสุนทร • ครูวิภารัตน์ วงศ์วรรณะดิลก ครูชลธิชา พุ่มนวม • ครูเบญจพร ศรีสร้อย • ครูชฎาภรณ์ พิพุทธางกูร •ครูจริยา ฟักประไพ • ครูรัตนา วจนะศิริ • ครูสิริรัตน์ สังวาลย์ ออกแบบศิลปกรรม ครูโกเมน อ้อชัยภูมิ • ครูรวิภา เชี่ยวเจริญ • ครูนันท์นภัส รุ่งแสง • ครูภัสพร ธัญลักษณากุล •ชาคริต งามวิทยศิริ “สารประถม อุดมปัญญา” เกิดขนึ้ จากเจตนารมณ์ของคณะครูประถมโรงเรียนรุ่งอรุณท่ีต้องการให้เกิดช่องทางของการสื่อสาร ่ างความเข้าใจและความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างโรงเรียนกับผูป้ กครอง เพือเป็ ่ น ฐานข้อมูลสำ�หรับ • เพอื่ แจ้งข่าวสารทีสร้ การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในชุมชนโรงเรียนรุ่งอรุณ • เพื่อให้ครู ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนประถม เกิดความตระหนักร่วมกันในการสร้างชุมชน ่ แห่งการแลกเปลี่ยน เรียนรู้เพือการพั ฒนาในทุกด้านของชีวิต


สารบัญ ๗๐ หนอนน้อยคอยเลาะเล็ม • ๗๒ สนุกคิด สนุกอ่าน • ๗๖ English Corner • ๘๒ อาสาสมัครพิทักษ์ส่งิ แวดล้อม • ๙๑ ของหายได้คืน • ๙๘ ตารางแจ้งการเรียนการสอน • ๙๙ เรื่องเล่าจากครูพละ • เรื่องจากปก • ปกใน คำ�คมคำ�ครู •

๐๑

สารจากบรรณาธิการ • ๐๒

สารจากครูใหญ่ • ๐๔

บทความพิเศษ ๐๙ ความเคลื่อนไหวในประถม • ๒๔

ด.เด็ก เขียนอิสระ• ๓๘ เรื่องเล่าจากห้องดนตรีสากล • ๔๑ บทสัมภาษณ์พิเศษ •

๔๓

เรือ่ งเล่าจากห้องดนตรีไทย • ๕๒ ด.เด็ก เด็ด เด็ด • ๕๙ เรื่องเล่าจากผู้ปกครอง • ๖๖

หากท่านต้องการส่งบทความ ข้อมูล ข่าวสาร หรือ คำ�ถามต่างๆ กรุณาติดต่อได้ท่ี ครูเรียม ห้องครูใหญ่ โรงเรียนประถม หรือ E-mail sanprathom@yahoo.com • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๐๓


สารจากครูใหญ่

• ครูสกุณี บุญญะบัญชา

Email : sakunee012@gmail.com

สวัสดีค่ะ สมาชิกสารประถมทุกท่าน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน – วันที่ 3 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา ท่านผู้ปกครอง ทุกระดับชั้นได้เข้าร่วมในการเปิดชั้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1ป.6 และทางโรงเรียนได้รับความเห็นที่เป็นประโยชน์จากผู้ปกครองหลายประการ ผู้ปกครองเข้าใจการเรียนการสอน และวิธีการที่ครูช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ ในแนวคิดพื้นฐานของบทเรียนนั้น ๆ โดยการพยายามให้นักเรียนได้แสดงความ เข้าใจด้วยการแก้สถานการณ์โจทย์ปัญหา และด้วยวิธีคิดที่หลากหลายนี้ คุณครู จะเป็นผู้ตั้งคำ�ถามเพื่อให้นักเรียนเห็นจุดที่แตกต่างและจุดร่วม รวมถึงลำ�ดับของ แต่ละวิธีคิด เพื่อสรุปเป็นแนวคิดหลักทางคณิตศาสตร์ของบทเรียนนั้น ๆ อีกความเห็นหนึ่งที่ผู้ปกครองได้สะท้อนให้คุณครูได้รับฟัง คือประเด็นที่ว่าได้ เข้าใจวิธีการเรียนรู้ของลูกตนเองมากขึ้น บางครั้งคุณครูได้เคยบอกให้คุณพ่อ คุณแม่ฟังแล้ว แต่นึกภาพไม่ออก จนวันเปิดชั้นเรียนนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงได้ เข้าใจวิธีเรียนของลูกได้ดีขึ้น เช่น ลูกมีวิธีคิดการแก้ปัญหาที่ต่างไปจากที่พ่อแม่ เคยเรียนรู้มา จึงทำ�ให้เข้าใจและจะไม่ดุลูกในเวลาที่สอนการบ้านต่อไป เป็นต้น ความเห็นที่โรงเรียนได้รับนี้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากระบวนการเรียน การสอน รวมถึงเป็นความยินดีของคุณครูทุกท่านที่ได้ท�ำ ให้ผู้ปกครองเกิดความ เข้าใจในกระบวนการไปด้วยกัน อีกทั้งยังเป็น เจตนาของทางโรงเรียนที่ต้องการ ให้ท่านผู้ปกครองทุกท่านได้รับทราบความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน เพื่อที่ทั้ง ทางโรงเรียนและผู้ปกครองจะได้ให้การศึกษาเด็ก ๆ ของเราไปในทิศทางเดียวกัน ๐๔


สำ�หรับในปีการศึกษาหน้า ก็จะเป็นการเปิดชั้นเรียนในวิชาอื่น เพื่อที่ท่าน ผู้ปกครองจะได้ทราบกระบวนการเรียนการสอนของวิชาหลัก ที่ทางโรงเรียนได้ใช้ ในการพัฒนาเด็กนักเรียนของเราในปัจจุบันนี้

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๐๕


๐๖


อีกเรื่องหนึ่งที่ขอเขียนถึงในฉบับนี้ คือ ทางโรงเรียนได้จัดให้สมาชิกใหม่ของ ฝ่ายประถม คือ ท่านผู้ปกครองระดับอนุบาล 3 ที่จะขึ้น ป.1 ได้ไปฝึกปฏิบัติเจริญ ภาวนาด้วยการเข้าไปรู้จักสติสัมปชัญญะและฝึกการมีสติ(สัมมาสติ)ในชีวิต ประจำ�วัน กับท่านอาจารย์อมรา สาขากร ที่สวนพุทธธรรม จังหวัด พระนครศรีอยุธยา เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ท่านอาจารย์ได้สอนเรื่อง การมีสติที่จะนำ�ไปใช้ในการอยู่กับปัจจุบัน ทั้งกับตนเอง กับคนรอบข้าง หรือผู้ อื่นได้อย่างมีความสุขสงบขึ้น ท่านอาจารย์ได้สอนให้เห็นถึงความแตกต่าง ระหว่าง เจตนากับศรัทธา โดยเฉพาะครู ผู้ปกครอง มักจะทำ�งานกันด้วยเจตนา และความตั้งใจ ต้องการผลที่ดี ความตั้งใจนี้ท�ำ ให้ตัวเราเองมีใจจดจ่ออยู่กับสิ่ง นั้นมากเกินไป หรือ เรียกว่าตึงเกินไป

แต่ถ้าหากเราทำ�สิ่งต่าง ๆ ด้วย ความศรัทธา คือ ศรัทธาในคำ�สอนของ พระพุทธองค์ จิตใจของเราจะอ่อนโยน อ่อนน้อม ขณะที่มีความอ่อนน้อมถ่อม ตน ที่นั้นจะมีสติเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เห็นความควร ไม่ควร ในการกระทำ� ของตนเอง เช่นในการกราบพระ เมื่อ เราตั้งใจกราบ เราก็จะกราบให้ถูกต้อง สวยงาม มีความตั้งใจมาก แต่หากเรา กราบพระด้วยความศรัทธา คือ จิตใจ น้อมไปถึงพระพุทธองค์ ขณะกราบ ให้ กราบแทบพระบาทพระศาสดา จิตใจ ของเราจะอ่อนโยน อ่อนน้อม ไม่แข็งดั่ง เช่นความตั้งใจกราบ • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๐๗


นอกจากนี้ท่านอาจารย์ได้พูดถึงการปฏิบัติในชีวิตประจำ�วันอีกหลายประการ ที่ให้ท่านผู้ปกครองได้เห็นลักษณะของสัมมาสติ คือ มีความระลึกได้ และสำ�นึก ได้ในปัจจุบัน เมื่อเกิดสภาวะเช่นนี้ ความเจริญ และความสุขก็จะเกิดขึ้น ใน ปัจจุบันขณะนี้เอง แต่เรามักตามหาสติ เพราะใจเราเคยชินกับความพอใจ ไม่ พอใจ จึงทำ�ให้เราไม่อยู่กับปัจจุบัน แต่ไปอยู่กับความคิดที่เป็นอดีต และอนาคต อยู่เสมอ

๐๘


บทความพิเศษ

เรื่องเล่าจากห้องอบรม : การจัดการเรียนภาษาไทยตามแนว BBL

• ครู ชัชฎาภรณ์ ศิลปสุนทร (ครูอ้อ)

ในวันที่ ๒๐ – ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ ทางโรงเรียนประถมได้รับโอกาสจาก อาจารย์พรพิไล เลิศวิชา ผู้เชี่ยวชาญการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของสมอง (Brain based learning) มาสังเกตการสอน เพื่อให้ค�ำ แนะนำ�ในการพัฒนาการ สอนของครู รวมถึงการให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาทักษะการคิด อย่างเป็นระบบของนักเรียนให้กับครูโรงเรียนประถม ซึ่งในสองวันแรกนั้น ในช่วงเช้า อาจารย์จะเข้าสังเกตการสอนของครู ภาษาไทยทั้ง ๖ ระดับ คือ ตั้งแต่ชั้น ป.๑ – ป.๖ และนำ�มาสะท้อนผล พร้อมให้คำ� ชี้แนะเพิ่มเติมในช่วงบ่าย ซึ่งอาจารย์ได้ให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์มากมาย ซึ่ง จะเป็นการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนของครู รวมถึงมุมมองด้าน บวกที่เป็นขวัญกำ�ลังใจให้ครูเป็นอย่างมาก เช่น • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๐๙


๑. ครูมีพัฒนาการในการเตรียมสื่อในการสอน เพื่อให้นักเรียนใช้เป็นเครื่องมือ ในการเรียนรู้ มีการใช้สื่อที่หลากหลายมากขึ้น เช่น บัตรคำ� บัตรภาพต่างๆ เป็นต้น ๒. การทำ� brain – gym ก่อนเริ่มเรียน ครูต้องเพิ่มเรื่องความจริงจังในการกำ�กับ ให้นักเรียนทำ�ท่าอย่างเข็มแข็ง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงจรการทำ�งานของสมอง อย่างสมบูรณ์ ๓. ครูต้องพัฒนาการทำ�ใบงานให้นักเรียนได้ฝึกเขียนในรูปแบบต่างๆ ที่มากขึ้น เพื่อดึงศักยภาพงานเขียนของนักเรียนให้สูงขึ้น จุดนี้กระบวนการในการสอนต้อง มีความเข้มข้นขึ้น หากครูต้องสร้างบรรยากาศการเขียนให้นักเรียนรู้สึกผ่อนคลาย และมีความกระตือรือร้น ด้วยการชวนพูดคุยก่อนเขียน ๔. การสอนให้นักเรียนทำ� time – line นั้น อาจารย์สนับสนุน เพราะเป็นเรื่องที่มี ความสำ�คัญมาก เป็นการช่วยให้นักเรียนได้มองเห็นภาพข้อมูลจากนามธรรมเป็น รูปธรรม และเห็นความสัมพันธ์ของแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น เหตุเป็นผลกัน โดยอาจารย์ได้ให้ความรู้เพิ่มว่า ในการสอนเรื่องนี้ ครูสามารถ สอนได้ตั้งแต่ชั้น ป.๑ แต่เนื้อหาที่จะให้นักเรียนได้เรียนรู้นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ สอดคล้องตามวัยของนักเรียน เช่น การทำ� time – line บันทึกเหตุการณ์ของตนเอง ตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน เป็นต้น ๕. การที่ครูได้น�ำ กระบวนการละครมาสอนวรรณคดี เป็นเทคนิคที่ดี เพราะ ละครจะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยพัฒนาคุณภาพภายในของนักเรียน จากการ เข้าถึงบทบาท เรียนรู้นิสัยของตัวละคร แล้วนำ�มาปรับ ใช้กับตนเอง นอกจากนั้นอาจารย์ยังได้แนะนำ�เคล็ดลับดีๆ ในการช่วยพัฒนาภาษาของ นักเรียน คือ การทำ� Daily language เป็นช่วงเวลาให้นักเรียนได้สนุกกับภาษาใน เวลาประมาณ ๕ นาที เป็นการช่วยทบทวนความรู้ และเสริมความรู้ในส่วนที่ นักเรียนยังบกพร่อง

๑๐


ในวันที่สาม วันนี้เป็นวันที่มีความเข้มข้นในเนื้อหาเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจารย์ ให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิควิธี “ทำ�อย่างไรให้เด็กคิดเป็น” ในการสอนให้คิดนั้น ต้อง ไม่สอนให้คิดด้านเดียว ต้องสามารถนำ�ไปสู่การคิดที่ซับซ้อนได้ ซึ่งกระบวนการที่ จะทำ�ให้นักเรียนพัฒนากระบวนการคิดไปสู่การคิดระดับสูง (Higher Thinking Order) นั้น ต้องใช้กระบวนการหลายขั้นตอน ซึ่งต้องเริ่มจากการจำ�ได้ในเรื่อง ต่างๆที่เรียนรู้ ที่มีอยู่รอบตัว เป็นพื้นฐานประกอบในการต่อยอดการคิดขั้นสูง กระบวนการคิดขั้นสูงคืออะไร หลายคนอาจสงสัย อย่างไรจึงเรียกว่านักเรียน สามารถคิดขั้นสูงได้ อาจารย์พรพิไลได้ยกตัวอย่างให้ครูที่เข้าอบรมเห็นภาพเป็น รูปธรรม เช่น หลังจากที่ครูอ่านนิทานให้นักเรียนฟัง เป็นข้อที่พึงปฏิบัติว่า ครูต้องถามคำ�ถาม ใน ๒ ลักษณะคือ

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๑๑


๑. การใช้ค�ำ ถามปลายปิด เป็นการถามที่เกี่ยวกับความรู้เป็นส่วนใหญ่ คือ ใคร ทำ�อะไร ที่ไหน และอย่างไร ๒. การใช้คำ�ถามปลายเปิด ซึ่งคำ�ถามปลายเปิดนี่เอง เป็นตัวการสำ�คัญที่จะ กระตุ้นให้นักเรียนได้รู้จักการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ เช่น ครูถามว่าแรงจูงใจ เบื้องหลังของการกระทำ�นี้คืออะไร ถ้าเป็นนักเรียน ...นักเรียนจะตัดสินใจอย่างไร ทำ�ไมตัวละครตัวนั้นจึงต้องทำ�อย่างนี้ เป็นต้น ซึ่งการที่นักเรียนจะคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ได้นั้น นักเรียนต้องมีชุดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ อยู่ในตัว เอง ดังนั้นอย่ามองว่า “ความจำ�” ไม่สำ�คัญ และคำ�ถามสุดท้ายที่ครูต้องนำ�มาใช้คือ การใช้คำ�ถามประเภทการประเมิน ความคิดเห็น เป็นคำ�ถามที่กระตุ้นการคิดของมนุษย์ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น นักเรียนจะเลือกอะไร ระหว่าง ......... กับ .......... ลองจัดลำ�ดับความสำ�คัญ ของ .................... เป็นต้น

๑๒


จากตัวอย่างจากการสอนนิทานเพื่อฝึกให้นักเรียนได้ยกระดับการคิดนั้น ทำ�ให้ ครูเรียนรู้ว่า การตั้งคำ�ถามของครูมีความสำ�คัญมาก ซึ่งคำ�ถามเป็นตัวช่วยในการ จัดระบบความคิดให้นักเรียน ดังนั้นการที่จะทำ�ให้นักเรียนตอบไปสู่ประเด็น สำ�คัญได้นั้น ต้องมีการย่อยคำ�ถามและไต่ระดับของคำ�ถาม การใช้คำ�ถามควรมี ความหลายหลาก เพราะชุดคำ�ถามแต่ละประเภทนั้น ต้องใช้วิธีคิดที่ต่างกันใน การให้ได้มาซึ่งคำ�ตอบ ซึ่งคุณครูที่เข้าอบรมต่างสะท้อนว่า การทำ�เช่นนี้มีความสำ�คัญและถ้านำ�ไป ปรับใช้ในห้องเรียนของตน โดยเลือกชุดคำ�ถามที่เหมาะสมตามพัฒนาการทาง ด้านความคิดตามวัยของนักเรียน อันจะเป็นการช่วยกันพัฒนานักเรียนของเราให้ มีกระบวนการคิดขั้นสูงได้มากขึ้น โดยครูจะเริ่มจากการฝึกให้นักเรียนเป็นผู้ สังเกต รู้จักคิดแยกแยะ คิดเปรียบเทียบ คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ กระบวนการ ที่ครูทำ�นั้นจะเป็นการฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบให้กับนักเรียน

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๑๓


แต่อย่างไรก็ตามในการฝึกพัฒนาการด้านความคิดนั้น ไม่เพียงแค่ทำ�เฉพาะ ในโรงเรียนเท่านั้น ทางบ้านก็สามารถทำ�ได้ โดยมีวิธีการง่าย ๆ คือ การชวนลูก ของท่านพูดคุย การพูดคุยเป็นสิ่งสำ�คัญมาก ซึ่งทั้งครูและพ่อแม่ต้องเรียนรู้ บทบาทของการเป็นผู้สนทนาที่ดี ต้องรู้จักระดับของการพูดคุยว่าอยู่ในระดับใด เป็นการพูดคุยแบบสนทนา เป็นการ Debate หรือเป็นการพูดคุยแบบ dialogue เพื่อที่จะได้คุยถูกจังหวะ สิ่งที่ควรระวังคือ อย่านำ�ความคิดและความรู้สึกของเรา ครอบลงไปในตัวเด็ก เพราะในการการสอนให้นักเรียนคิดเป็นนั้น จำ�เป็นต้องฝึก ตั้งแต่ระดับอนุบาล เริ่มจากกระบวนการคิดง่ายๆ มาสู่การคิดที่ซับซ้อนตามวัย ต่อไป ๑๔


• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๑๕


บทความพิเศษ

คณิตแนวใหม่ ในรั้วรุ่งอรุณ โดย พ่อหมี๕

การปฐมนิเทศในระดับประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ในภาคเรียนที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ นี้ ทางโรงเรียนได้เปิดชั้นเรียนคณิตศาสตร์แนว Open Approach โดย จำ�ลองชั้นเรียนมาให้ผู้ปกครองสังเกตการเรียนการสอนที่ห้องประชุมเรือนรับอรุณ ตอนที่ผมได้รับจดหมายมาอ่านนั้น ความรู้แรกเลยคือ ดีใจครับที่จะได้ชม การเรียนการสอนคณิตศาสตร์แนว Open Approach ซึ่งเป็นแนวใหม่ ผมได้ยิน มา ๒-๓ ปีแล้ว แต่ผมก็ยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า มันคือการสอนแบบไหนกัน แน่ แต่รู้คร่าว ๆ ว่าเป็นการสอนแบบเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ร่วมกันแก้ปัญหา คณิตศาสตร์ มีอิสระความคิดในการคิดวิธีแก้ปัญหาโจทย์ วิธีคิดของแต่ละคน อาจจะแตกต่างกัน แต่ผลลัพธ์หรือวัตถุประสงค์ที่จะได้รับเหมือนกัน ผมทราบ เท่านี้แหละครับ ย้อนไปในวัยเด็ก.....หลายท่านคงเคยได้ผ่านประสบการณ์การเรียนในวัยเด็ก เหมือนผมคือ คุณครูถามคำ�ถาม แต่ไม่มีใครกล้ายกมือตอบ บรรยากาศที่น่า สะพึงกลัว หวาดกลัวเหลือเกิน กลัวครูจะชี้หน้าถาม ทำ�ไมถึงไม่มีใครกล้ายกมือ ตอบล่ะครับ ทั้ง ๆ ที่ครูก็ให้โอกาส ?????? ก็ผมเห็นเพื่อนผมยกมือตอบคำ�ถาม พอตอบผิด เพื่อน ๆ หัวเราะ แทนที่ครูจะบอกกล่าวเพื่อนว่า อย่าหัวเราะเยาะ เพื่อน คุณครูกลับหัวเราะซำ�้ เติมเพื่อนผม แล้วพูดว่า “เธอเอาสมองส่วนไหนคิด เนี่ย ? ” ผมถามจริง ๆ เถอะว่า ถ้าเป็นคำ�ถามต่อไปจากคุณครู จะมีใครกล้าเสี่ยงโดน เพื่อนหัวเราะหรือครูถากถางหรือไม่ครับ ถ้ากล้า......ผมถือว่าคุณแกร่งมาก ๆ !!!!! คุณเคยหรือไม่ที่เจอประสบการณ์แบบนี้ตอนจบคาบเรียนในชั้นเรียน “มีใครสงสัยอะไรบ้างมั๊ย ? ” คุณครู “ผมไม่ทราบว่า จำ�นวน 50 มันมาจากไหนครับ ? ” นักเรียนคนหนึ่ง ๑๖


“นี่เมื่อตะกี้นี้ เธอไม่ได้ฟังที่คุณครูพูดเลยใช่มั้ย ?!? ” คุณครู คราวนี้ยาวเลยล่ะครับ......กลายเป็นความผิดที่ถามครู แบบนี้ครั้งหน้าใครจะ กล้าถาม ถ้าเป็นผม ผมก็เงียบทำ�หน้าซื่อ ๆ เหมือนเข้าใจ แต่จริง ๆ ในสมอง กลวงเป็นโพรงไม้ผุ ๆ ไม่เข้าใจอะไรเลย เวลาเข้าเรียนครั้งหน้าก็จะพยายามนั่ง หลังห้อง เผื่อว่าไกลมือครูจะเอื้อมมาชี้ถึง หรือครูอาจจะสายตาไม่ดี จะได้เรียก แต่คนนั่งหน้าที่เห็นชัด ๆ แทน !!!! ไม่น่าเชื่อว่า ผมเรียนจากระดับประถมจนถึง ชั้นปริญญาตรี.....ผมก็ไม่เคยยกมือออกแสดงความเห็นหรือตอบคำ�ถาม นั่นเป็น เพราะว่า ผมกลัวตอบผิด กลัวคนหัวเราะเยาะ ตราบวันนั้นจนถึงวันนี้ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ขอจารึกไว้ เป็นช่วงเวลาที่ดี ฮ่า ๆ ) คือวันที่ผมได้เห็นชั้นเรียนบรรยากาศในฝัน สวรรค์ใน การเรียนที่ผมอยากสัมผัส บอกตรง ๆ ว่า ผมแอบอิจฉาลูก อันที่จริงผมอิจฉาเค้า ตั้งแต่ลูกสาวคนโตได้มาเรียนที่โรงเรียนรุ่งอรุณเมื่อ ๕ ปีที่แล้ว

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๑๗


วันแรกของการเปิดชั้นเรียนคณิตศามาตร์เป็นของระดับ ป.๑ ซึ่งเป็นชั้นเรียน ของลูกชายคนเล็กของผมเอง ตอนเริ่มชั้นเรียนนั้น บรรยากาศเป็นกันเองมาก ผมสังเกตจากเด็กนักเรียนมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ เวลาคุณครูตั้งคำ�ถาม ขึ้นมา ก็จะเปิดโอกาสให้เด็กได้ยกมือตอบคำ�ถามกัน ผมเห็นเด็กหลายคนยกมือ แย่งตอบกันใหญ่ (เห็นคุณครูบอกว่าปกติยกมือมากกว่านี้อีกแต่อาจจะเป็น เพราะเขินอายผู้ปกครองที่มานั่งชม) ในใจผมคิดขึ้นมาทันที “ว้าว.....นี่เป็น ห้องเรียนในฝันผมเลย” ผมอยากเห็นนักเรียนแย่งตอบคำ�ถามกันแบบนี้ ผมอยาก ได้บรรยากาศแบบนี้สมัยผมเด็ก ๆ ผมอยากเป็นเด็กคนนั้นที่ยกมือตอบ ถึงแม้จะ ผิด คุณครูก็ไม่หัวเราะ และถ้าเกิดผมไม่รู้ คุณครูก็จะพยายามหาวิธีอธิบายให้ เข้าใจด้วยท่าทีที่เป็นกัลยาณมิตร ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะยกมือตอบนะครับ เด็กบางคนก็เขินอายที่จะตอบ ซึ่งลูก ผมทั้งสองคนก็อยู่ในกลุ่มนี้ แต่ผมสังเกตคุณครูผู้สอนครับว่า จะพยายามเปิด โอกาสให้เด็กที่ไม่ได้ยกมือได้ตอบคำ�ถามบ้าง บางครั้งก็อาจจะเรียกชื่อเพื่อให้ แสดงความคิดเห็น ช่วยกันค้นหาคำ�ตอบ คำ�ตอบไหนที่ผิด คุณครูก็จะไม่ใช้คำ� พูดที่ทำ�ให้สูญเสียความมั่นใจลงไปอีก ซึ่งจุดนี้ ผมให้ความสำ�คัญมาก ๆ ครับ เพราะผมไม่อยากให้เกิดสภาวะ “เด็กท้ายห้องที่ถูกหลงลืม” ๑๘


คณิตสาสตร์แนว Open Approach นั้น คำ�ถามหรือโจทย์ที่ถูกตั้งขึ้นมา ผลลัพธ์อาจจะเป็นคำ�ตอบเดียวกัน แต่วิธีการคิดสามารถเกิดขึ้นได้หลายวิธี ซึ่ง จุดนี้เองที่คุณครูพยายามระดมความคิดจากเด็กนักเรียนว่า ใครมีวิธีคิดแบบไหน บ้าง ? ถ้าเป็นสมัยผมเรียนนะเหรอ ? ครูไม่ถามหรอกครับ ขึ้นกระดานสอนไป เลย บอกวิธีลัดไปเลย “เธอต้องคำ�นวณแบบนี้นะ ใช้สูตรนี้นะ เจอตัวเลขนี้...ให้ปัดเศษไปเลย คิด ได้เร็วสุด ๆ เลยนะ เคล็ดลับนี้คุณครูไม่เคนยบอกใครนะ รับรองว่าเธอคิดได้เร็ว ยังกับจรวด” เอ่อออ.....แต่อย่ามาถามผมเรื่องความเข้าใจหรือกระบวนการคิด นะ....ผมไม่รู้ ในชั้นเรียนจำ�ลองแนว open Approach ทำ�ให้ผมเห็นศักยภาพของเด็ก ซึ่งบางคนผมเห็นเค้าตั้งแต่อนุบาล ๑ จนถึง ป.๑ ผมคิดว่าเค้าเป็นเด็กขี้อายมาก นะครับ แต่ภาพที่เห็นในวันนั้น ผมกลับเห็นเค้ายกมือตอบตลอดเวลา ร่วมแสดง ความคิดเห็นอย่างไม่เขินอาย เป็นภาพที่น่าประทับใจจริง ๆ

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๑๙


หลังจากที่ชมภาพความประทับใจในระดับ ป.๑ ได้เห็นวิธีการสอนของคุณครู ที่ทำ�ให้ห้องเรียนสนุกสนาน มีชีวิตชีวา ผมจึงอยากเรียนรู้เพิ่มเติมว่า ผมสามารถ นำ�ไปสอนลูกตนเองได้หรือไม่ โดยใช้แนวคิด Open Approach? ถ้าเป็นการ สอนแบบเดิม ๆ ตามที่ผมเคยเรียนรู้มาตั้งแต่เด็ก ต้องยอมรับว่า มันเป็นวิธีคิด เลขที่เร็วมาก ได้ค�ำ ตอบสำ�เร็จรูปแบบฉับไว แต่....เด็กจะไม่เข้าใจกระบวนการ อะไรเลย ซึ่งตรงนี้ ทำ�ให้ผมไม่กล้าสอนคณิตศาสตร์ให้ลูกมาตลอด เพราะเกรง ว่าจะไปขัดแย้งกับแนว Open Approach และเพื่อเป็นการเพิ่มเติมความรู้ ผมจึง ขออนุญาตคุณครู ขอชมชั้นเรียนคณิตศาสตร์ในระดับชั้น ป.๒ ต่อในวันรุ่งขึ้น และหลังจากเข้าชมชั้นเรียนลูกสาวที่อยู่ในระดับชั้น ป.๓ ผมก็ได้รับความกรุณา จากครูจิ๋วให้เข้าชมในทุกระดับจนถึงชั้น ป.๖

๒๐


ไม่ผิดหวังครับ ผมได้เรียนรู้วิธีการสอนของครูแต่ละคนว่า ใช้เทคนิคอะไร ในการที่จะระดมความคิดจากนักเรียน การสร้างสถานการณ์ขึ้นมาเพื่อให้เชื่อม โยงระหว่างปัญหาและวิธีการแก้ไขนั้นมีส่วนสำ�คัญทีเดียว คำ�พูดของคุณครูก็มี ส่วนสำ�คัญมากในการต่อยอดความคิดของนักเรียน ท่าทีความเป็นกัลยาณมิตร ของคุณครูมีส่วนอย่างมากที่ทำ�ให้เด็กเปิดใจรับรู้และกล้าแสดงความคิดเห็น คุณครูพยายามให้นักเรียนได้สร้างกระบวนความคิดที่หลากหลาย เพื่อนำ�พาถึง เป้าหมาย ถึงแม้คุณครูอยากจะบอกใจจะขาดว่ามันคืออะไร แต่ก็ต้องอดทนเพื่อ รอคำ�ตอบที่ซึ่งได้มาจากคำ�พูดของนักเรียนเอง คุณครูบางท่านบอกว่า “น้ำ�ตา แทบไหลในยามที่นักเรียนได้ค�ำ ๆ นั้นมาด้วยตัวนักเรียนเอง” ส่วนนักเรียนคนไหนที่ยังไม่เข้าใจ คุณครูก็จะหาเวลามาอธิบายเพิ่มเติม เพื่อนำ�พาไปสู่เป้าหมายพร้อมกับเพื่อนคนอื่น ๆ มาถึงตรงนี้ ผมเข้าใจแล้วล่ะครับว่า ทำ�ไมโรงเรียนถึงบอกว่าไม่ต้องพา ลูกๆ ไปเรียนพิเศษ ก็เพราะกระบวนการเรียนการสอนแตกต่างกันนี่เอง ระบบ Open Approach ดูเหมือนช้าแต่ผมคิดว่ามั่นคงนะครับและเหตุผลอีกอย่างหนึ่ง ที่ผมไม่พาลูกไปเรียนพิเศษ ก็เพราะว่า กลัวลูกผมไม่ตั้งใจเรียนในเวลาเรียน เพราะคิดว่าตังเองรู้วิธีลัดแล้ว ไม่จำ�เป็นต้องสนใจในชั้นเรียนก็ได้ • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๒๑


ผมขอชื่นชมคณะคุณครูที่เห็นความสำ�คัญของคณิตศาสตร์ แนว OpenApproach มันไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เหมือนเทน้ำ�ร้อนเพื่อชงบะหมี่กึ่งสำ�เร็จรูปเพื่อรับ ประทานแล้วก็อิ่มไปวัน ๆ แต่คณะครูต้องทำ�งานอย่างหนัก มีการระดมความคิด เพื่อจัดหารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อให้เข้าสู่เป้าหมาย ผมเห็นสื่อการสอนบน กระดานมีมากมายเหลือเกินครับ เพราะครูเห็นว่า การได้ทดลองสร้างเหตุการณ์ หรือการจำ�ลองสถานการณ์ขึ้นมาจะมีส่วนทำ�ให้นักเรียนเข้าใจกระบวนการได้ ง่าย มีการซ้อมสอนโดยให้คุณครูท่านอื่นมาทดลองเป็นนักเรียน เมื่อสอนเสร็จ คุณครูผู้สอนต้องสามารถวิเคราะห์ชั้นเรียนของตัวเองว่า บรรลุเป้าหมายหรือไม่ มีอะไรที่ขาดตกบกพร่องไปบ้าง เพื่อที่จะได้น�ำ ไปแก้ไขในคาบเรียนหน้า คุณครู เองก็จะได้ฟังคำ�วิจารณ์ จากคณะครูผู้สังเกตการการเรียนการสอนในวันนั้นอีก แค่คิดก็เหนื่อยแทนครูแล้ว ไม่ต้องถามผมหรอกครับว่า จะคิดมาเป็น คุณครูรุ่งอรุณบ้างหรือไม่? ผมตอบได้ทันทีว่า ผมคงไม่มีความสามารถขนาดนั้น หรอกครับ ผมขอแค่เป็นคนช่วยสานต่อกระบวนความคิดแล้วนำ�มาปรับใช้กับลูก ๆ ของผม เท่านี้ก็เหงื่อตกแล้วครับ ผมคิดว่าคณิตศาสตร์แนว Open Approach คงมีรายละเอียดต่าง ๆ อีก มากมายในกระบวนการ ซึ่งผมต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกมากมาย ที่เขียนในบทความ นี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผมที่มาพร้อมกับความรู้สึกดี ๆ ที่มีกับการ สอนในแนวนี้ที่เกิดมาจากการที่ได้เข้าชมชั้นเรียนทั้ง ๖ ระดับครับ ขอขอบคุณผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนรุ่งอรุณทุกท่านครับ ที่ได้เห็น ความสำ�คัญระบบการเรียนรู้ในแนวนี้เป็นการเรียนที่เข้าถึงคุณค่าการเรียนรู้ที่แท้ จริง ไม่ใช่แค่เรียนจากตำ�ราเดิม ๆ รูปแบบเดิม ๆ ขอบคุณที่โรงเรียนไม่เคยย่​่ำ�อยู่ กับที่ มีการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนอยู่ตลอดเวลาและขอบคุณที่เปิดชั้นเรียน คณิตศาสตร์ให้ผู้ปกครองทุกท่านได้เข้าชมนะครับ

๒๒


• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๒๓


ความเคลื่อนไหวในประถม ความเคลื่​่อนไหวในชั้น ป.๑

จากการที่นักเรียนได้ลงมือปลูกผักบุ้งจีน และผักคะน้า นักเรียนเฝ้าดูแล รดนำ�้ สังเกตและบันทึกการเจริญเติบโตของผักที่ปลูก จนผักงอกงาม นอกจาก นี้ยังได้เห็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในแปลงผัก เช่น หนอน ตั๊กแตน ซึ่งนักเรียนถึงกับพูด ว่า “ ตั๊กแตนก็กินผักเหมือนกับเราเลย ” ทำ�ให้นักเรียนประจักษ์ด้วยตนเองว่า คน พืช และสัตว์ อยู่ร่วมกันต่างต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และตอนนี้นักเรียนได้ นำ�ผักที่ปลูกมาทำ�อาหารรับประทาน เช่น ผัดผักบุ้ง ผัดซีอิ๊ว ทุกคนต่างก็พูดเป็น เสียงเดียวกันว่า “ อร่อย “ จะอร่อยแค่ไหนผู้ปกครองลองชวนกันผัดที่บ้านก็ได้นะ คะ นอกจากทำ�อาหารแล้วยังได้ฝึกการขึ้น ลงเรือ การนั่งเรือ และการพายเรือใน บึงนำ�้ ในโรงเรียนของเราด้วยค่ะ ๒๔


๑๒

ความเคลื่​่อนไหวในชั้น ป.๒ หลังจากที่นักเรียนได้หยุดพักผ่อนในช่วงเทศกาลวันปีใหม่และสนุกสนานกับ กิจกรรมวันกีฬาสีและวันเด็กไปแล้วนั้น ในหน่วยโครงงาน นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ ๒ ได้ศึกษาเรื่องทิศทาง นักเรียนได้เรียนรู้ในเรื่องการหาทิศทางใน ธรรมชาติและการดูจากเข็มทิศ ซึ่งนักเรียนได้สนุกสนานกับการเล่นแรลลี่ใน โรงเรียน โดยการนำ�ความรู้เรื่องทิศทางมาใช้และนักเรียนจะได้เรียนรู้ในเรื่องการ อ่านแผนผังอีกด้วย ซึ่งในระหว่างที่ให้นักเรียนสังเกตเข็มทิศ นักเรียนตั้งคำ�ถาม ว่า ทำ�ไมเข็มทิศจึงชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ ครูจึงนำ�เข้าสู่การเรียนเรื่องแม่เหล็กใน ลำ�ดับต่อไป ในส่วนของวิชาภาษาไทย นักเรียนได้เรียนรู้ในเรื่องคำ�ควบกล้ำ�ไม่แท้ ใไ- และมาตราตัวสะกดต่างๆ ซึ่งนักเรียนจะได้ต่อยอดในเรื่องมาตราสะกดที่ไม่ ตรงมาตรา โดยผ่านการท่องบทกลอน “ ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ”และ “ ทรวดทรงทราบ ทรามทราย ” วิชาคณิตศาสตร์ นักเรียนได้เรียนรู้รื่องการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา โดยใช้ แถบกระดาษเป็นตัวช่วยในการเขียนประโยคสัญลักษณ์ พร้อมกับหาคำ�ตอบ อีก ทั้งยังได้ฝึกฝนการแต่งโจทย์สถานการณ์ปัญหาด้วยการบวกและการลบ

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๒๕


๒๖


ความเคลื่อนไหวในประถม ความเคลื่​่อนไหวในชั้น ป.๓

การเรียนรู้ผ่านโครงงาน “ตามรอยแบบอย่างสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี” ใน เทอมนี้ นั ก เรี ย นได้ เ รี ย นรู้ เ กี่ ย วกั บ พระราชประวั ติ แ ละวี ร กรรมของสมเด็ จ พระเจ้าตากสินมหาราช ผ่านสื่อที่หลากหลาย รวมทั้งการทำ� Timeline (เส้นเวลา) ที่ทำ�ให้นักเรียนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านการลำ�ดับเหตุการณ์ ความเชื่อมโยง ด้วยตนเอง และได้เลือกภาพพร้อมกับวาดภาพประกอบอย่างสนุกสนาน ทำ�ให้ นักเรียนเกิดความเข้าใจในเรื่องราวและเนื้อหาได้ง่ายขึ้น มองเห็นภาพข้อมูลจาก นามธรรมเป็นรูปธรรม และจากการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับทักษะการคิด โดยใช้ กระบวนการเรียนรู้แบบ BBL เข้ามามีส่วนในการจัดกระบวนทำ�ให้นักเรียน เห็น ถึงความสัมพันธ์ของแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดอย่างต่อเนื่อง อย่างเป็นเหตุเป็นผลกัน อีกด้วย

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๒๗


ความเคลื่อนไหวในประถม

นอกจากนี้นักเรียนยังได้เรียนรู้ศิลปะป้องกันตัวพื้นฐาน เช่น มวยไทย กระบี่กระบอง อย่างต่อเนื่องในช่วงเช้ากับครูเอกและได้ท�ำ กิจกรรมร่วมกันเป็นทีมใหญ่ นักเรียนสนุกสนานกับการเรียนรู้ร่วมกันทั้ง ๓ ห้อง อย่างพร้อมเพรียงกัน ยิ่งไป กว่านั้นยังได้เกร็ดความรู้จากครูเอก ที่เล่าถึงความสำ�คัญของศิลปะป้องกันตัวที่ ถูกนำ�มาใช้ตั้งแต่สมัยอดีตเพื่อปกป้องประเทศ ใช้ในการสู้รบในยามศึกสงคราม และยังคงถูกถ่ายทอดมาสู่รุ่นปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นพื้นฐานที่จะนำ�ไปใช้ฝึกฝนตนเอง ร่วมกันในการที่จะออกภาคสนาม ซึ่งเป็นการจำ�ลองค่ายของการซ้อมรบตามหลัก การวิธีของภูมิปัญญาของคนไทยในอดีต ซึ่งนักเรียนทุกคนจดจ่อในการที่จะได้ไป ออกภาคสนามในเร็ ว ๆนี้ เ พื่ อ สั ม ผั ส ประสบการณ์ ย้ อ นอดี ต ในสถานที่ จ ริ ง ที่ เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของกรุงธนบุรี ณ พระราชวังเดิม วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดอินทาราม และชุมชนบริเวณใกล้เคียง ได้รับความ รู้ที่มากขึ้นจากประสบการณ์จริงและความซาบซึ้งในวีรกรรมของพระเจ้าตากสิน คุณงามความดีของบรรพบุรุษไทย และเรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชนฝั่งธนบุรี มากยิ่งขึ้น และต่อจากนั้นจะนำ�เข้าสู่ภาคสนามอีกครั้งในตอนต่อไป ๒๘


• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๒๙


ความเคลื่​่อนไหวในชั้น ป.๔ การเรียนรู้ของนักเรียนในช่วงต้นของภาคเรียนที่ ๓ นี้ เป็นการเตรียมตัว เพื่อเรียนรู้ในชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งที่ชุมชนปฐมอโศกซึ่ง เป็นชุมชนพอเพียงและการพึ่งพาตนเอง และที่ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จังหวัด นครนายก ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของมูลนิธิชัย พัฒนา เมื่อไปศึกษาภาคสนาม ณ สถานที่ดังกล่าว นักเรียนได้เรียนรู้วิถีชีวิตตาม หลักเศรษฐกิจพอเพียงและได้ปฏิบัติงานในฐานการเรียนรู้ต่างๆ เช่น ทำ�น้ำ�ยา อเนกประสงค์ อาหารที่เป็นของว่าง เป็นต้น เพื่อให้เกิดทักษะการพึ่ง ตนเอง และ เพื่อเป็นแนวทางสำ�หรับนำ�กลับมาคิดเป็นโครงงานที่สามารถทำ�ประโยชน์ให้กับ ส่วนรวมได้ ซึ่งเป็นแนวทางตามชื่อโครงงาน “เดินตามรอยพ่อ บนวิถีพอเพียง”

๓๐


ความเคลื่อนไหวในประถม

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๓๑


ความเคลื่อนไหวในประถม ความเคลื่​่อนไหวในชั้น ป.๕

ภาคเรียนที่ ๓ นักเรียนชั้น ป.๕ ได้เสร็จสิ้นภารกิจในการทำ�นาด้วยขั้นตอน สุดท้าย คือ การเกี่ยวข้าว ฟาดข้าว และนำ�ข้าวที่ได้ไปสีเป็นข้าวกล้อง ซึ่งในปีนี้นับ เป็นมหามงคลยิ่งของคณะครูและนักเรียนชั้น ป.๕ เพราะพวกเราได้มีโอกาสนำ� ข้าวที่สีและคัดเลือกเมล็ดข้าวที่ดีและสมบูรณ์ที่สุด ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษาครบ ๘๕ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ หรือในวันพ่อแห่งชาติ พร้อมทั้งได้เขียนข้อความบอก ที่มาที่ไปของการปลูกข้าวพันธุ์เวสสันตะระ ที่ผืนนาของโรงเรียนรุ่งอรุณ ผ่านโครง งาน “ข้าวไทย วิถีไท” เพื่อทูลเกล้าฯ ให้ในหลวงทรงทราบด้วย สร้างความปลื้มปิติ ให้กับคณะครูและนักเรียนเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสไปร่วมถวายด้วยตนเอง ณ โรงพยาบาลศิริราช ๓๒


• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๓๓


เมื่อนักเรียนสิ้นภารกิจในการทำ�นาแล้ว จากนั้นนักเรียนชั้น ป.๕ ได้เรียนรู้ ภูมิศาสตร์ภาคต่างๆ ของไทย ๖ ภาค ประกอบด้วยภาคเหนือ อีสาน ตะวันออก ตะวันตก และภาคใต้ ส่วนภาคกลางนักเรียนได้เรียนรู้มาแล้วในภาคเรียนที่ ๒ ซึ่ง การเรียนรู้ภูมิศาสตร์นี้นักเรียนได้ใช้จังหวัดเพชรบุรีิ ในภาคตะวันตกเป็นกรณี ศึกษาสำ�หรับการศึกษาภาคสนาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทาง ภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญา และวิถีชีวิตของผู้คนที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่ เช่น อาชีพ อาหาร ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น เพื่อจะได้ขยายสู่การศึกษาภาคต่างๆ ต่อไป ๓๔


ความเคลื่อนไหวในประถม ความเคลื่​่อนไหวในชั้น ป.๖ ในช่วงต้นภาคเรียนที่ผ่านมา นักเรียนได้ท�ำ โครงงานตามความสนใจ “จิตอาสา พัฒนาแหล่งนำ�้ ” ซึ่งต่อเนื่องมาจากภาคเรียนที่ผ่านมา จุดที่น่าสนใจคือนักเรียน สามารถออกแบบการทดลองเพื่อเก็บข้อมูลตามได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งถือว่าเป็น ส่วนสำ�คัญของกระบวนการทำ�โครงงาน และในที่สุดหลายกลุ่มได้ข้อสรุปทาง วิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นความรู้ใหม่ของตัวนักเรียนเอง เช่น โครงงานศึกษาคุณภาพ นำ�้ จากสาหร่ายที่ต่างชนิดกัน จากการเก็บรวบรวมข้อมูลการทดลองนักเรียนได้ ข้อสรุปว่า สาหร่ายหางกระรอกสามารถเพิ่มค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ�ได้ดีที่สุด เป็นต้น นอกเหนือจากความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำ�โครงงานและความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ นักเรียนยังได้เห็นถึงสภาพปัญหาของทรัพยากรน้ำ�ซึ่งกำ�ลังเกิดขึ้น อยู่ใกล้ตัวนักเรียนเอง โดยนักเรียนถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำ�ให้ปัญหานี้เกิดขึ้น และ หากมองอีกด้านนักเรียนก็สามารถช่วยให้ปัญหาเรื่องทรัพยากรนำ้�ลดลงได้เช่น เดียวกัน ซึ่งเห็นได้จากการนำ�เสนอความรู้ของแต่ละกลุ่มโดยเฉพาะประเด็นของ ข้อเสนอแนะในการนำ�ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำ�วัน ซึ่งทุกกลุ่มมีความเห็นตรง กันว่า “หากคนเรามีจิตสำ�นึกที่ดีในการใช้ทรัพยากรน้ำ�แล้วปัญหาต่างจะค่อยๆ ลดลง” หลังจากที่นักเรียนได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการทำ�โครงงาน คำ�ถามต่อไปที่ต้องหา คำ�ตอบคือ “นอกเหนือจากปัญหาน้ำ�เน่าเสียแล้วประเทศไทยยังประสบปัญหาที่ เกี่ยวข้องกับนำ�้ ในเรื่องใดอีก” ซึ่งจะนำ�ไปสู่การศึกษาเกี่ยวกับภัยธรรมชาติโดย เฉพาะภัยที่เกี่ยวข้องกับนำ�้ เช่น ภัยแล้ง ภัยน้ำ�ท่วม เป็นต้น ซึ่งการทำ�ความเข้าใจ เกี่ยวกับภัยธรรมชาติต่างๆนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับลักษะภูมิศาสตร์ และ ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย โดยนักเรียนจะได้ศึกษาผ่านสังเกตและการ ทดลองเพื่อสรุปเป็นความเข้าใจของตนเอง เช่น การทดลองเรื่องความกดอากาศ หรือ การทดลองเรื่องการเคลื่อนที่ของมวลอากาศร้อน มวลอากาศเย็นเป็นต้น • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๓๕


๓๖


• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๓๗


ด.เด็ก เขียนอิสระ บุคคลสำ�คัญท่านใดที่อยากเจอและเมื่อเจอแล้วเราจะบอกอะไร

ผมอยากจะเจอคุณหมอบุญส่ง เลขะกุล เพราะว่าท่านเป็นคนที่เริ่มต้นดูนกใน ไทยเป็นคนแรกๆ พอเจอแล้วก็อยากจะถามท่านว่า มีหลักการอย่างไรในการตั้ง ชื่อนกแต่ละชนิด ทำ�ไมจึงอยากดูนก และนกแต่ละชนิดทำ�ไมจึงมีลักษณะแบบ นั้น เช่น ปากโค้งขึ้น มีโหนก หรือทำ�ไมนกต้องคอยาว เป็นต้น ด.ช.ศิลา วิริยะอุตสาหกุล (ลูกหิน) ป.๖/๒

๓๘


บุคคลที่ฉันอยากเจอคือ คนที่ชนะรายการประกวด china’s gotalent (ไม่รู้ชื่อ) เป็นคนจีนที่เป็นผู้ชายซึ่งประสบอุบัติเหตุท�ำ ให้ต้องตัดแขนทั้ง ๒ ข้างออกไป เขา ต้องใช้ชีวิตด้วยขา ๒ ข้างไม่มีมือ เขาได้มาประกวดรายการนี้ โดยเล่นเปียโนเพลง Marage D’rmour ที่ฉันอยากเจอเพราะเขาเป็นแรงบันดาลใจในการซ้อมเปียโน ของฉัน เพราะตอนนั้นฉันท้อและขี้เกียจเล่นอยู่ ด.ญ.ญาณิศา ธรรมวิไล (เมย์) ป.๖/๒

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๓๙


ฉันอยากเจอยมบาล และเมื่อเจอแล้ว อยากจะถามว่าการกระทำ�แบบใดที่ เป็นบาป และต้องลงนรกขุมไหนบ้าง และถ้าจำ�เป็นต้องทำ�บาปจริงๆ เราจะตก นรกหรือไม่ และอยากขอให้ยมบาลช่วยขู่คนนิสัยไม่ดีที่อยู่ในโลกนี้ว่า ถ้าทำ�ไม่ดี จะต้องตกนรก คนไม่ดีจะได้กลายเป็นคนดี ด.ญ.ชัญญา จันทรพิมล(อัน) ป.๖/๒ ๔๐


เรื่องเล่าจากห้องดนตรีสากล สวัสดีชาวประถมโรงเรียนรุ่งอรุณทุกท่านนะคะ เราเพิง่ จะผ่าน ช่วงเทศกาลปีใหม่ วันเด็ก และกิจกรรมกีฬาสีของโรงเรียนประถมมาหมาดๆ นะคะ หวังว่าทุกๆ คนคงจะยังไม่ลืมบรรยากาศ แห่งความสุกสนานเหล่านั้น ที่เกริ่นมาแบบนี้ก็ อยากจะเชื่อมโยงถึงเรื่องดนตรีกับกีฬาค่ะ สอง เรื่องนี้บางคนอาจจะมองว่าเป็นคนละเรื่อง หรือ เรื่องเดียว ครูเจี๊ยบเลยอยากจะฝากข้อมูลเกี่ยว กับดนตรีและกีฬามาเล่าสู่กันฟัง เผื่อว่าจะเป็น ประโยชน์กับพวกเราชาวประถมนะคะ

• ครู เอกลักษณ์ เล้าเจริญ (ครูเจี๊ยบ)

กีฬา เป็นกิจกรรมที่สามารถฝึกฝนให้แก่เด็กได้โดย อาจไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ เลย เช่น ว่ายน้ำ� วิ่งแข่ง หรือกีฬา ทีใ่ ช้อปุ กรณ์ทร่ี าคาไม่แพงมากและสามารถเล่นได้ทลี ะหลาย ๆ คนด้วย เช่น ฟุตบอล แชร์บอล เป็นต้น กีฬา จึงนับว่าเป็น กิจกรรมที่สามารถเข้าถึงเด็ก ๆ ได้อย่างกว้างขวาง กีฬานอก จากจะทำ�ให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังทำ�ให้เด็กได้เรียนรู้ เรื่องของการแข่งขัน รู้จักเป็นทั้งผู้แพ้และผู้ชนะ การเสียสละ ความมีนำ�้ ใจนักกีฬา เด็กที่ถูกส่งเสริมจากพ่อแม่ผู้ปกครอง ให้เล่นกีฬาแต่เด็กๆ มักจะเป็นเด็กที่มีอารมณ์ร่าเริงแจ่ม ใส มองโลกในแง่ดี รู้จักผ่อนคลาย ไม่เคร่งเครียด ไม่เก็บตัว ไม่เป็นเด็กเก็บกด สามารถเข้ากับคนรอบข้างได้ กล้าคิด กล้า ตัดสินใจ • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๔๑


ส่ ว นดนตรี น้ั น ก็ เ ป็ น อี ก หนึ่ ง กิ จ กรรมที่ ทำ � ให้ เ ด็ ก ฝึ ก ฝนทั ก ษะ การทำ � งานของร่ า งกายและประสาท สัมผัสต่าง ๆ ให้ทำ�งานพร้อมกันอย่าง สมดุล ฝึกทักษะการฟัง การใช้ภาษา การแยกจังหวะและทำ�นองต่าง ๆ ทำ�ให้ เกิดความสุนทรียทางด้านอารมณ์ และ พั ฒ นาความสามารถในเชิ ง เหตุ ผ ล ควรให้ เ ด็ ก ได้ ส นุ ก กั บ บทเพลงและ ดนตรีไปตามธรรมชาติ และฝึกฝน ดนตรีอย่างค่อยเป็นค่อยไป เริ่มต้น ที่ การร้อง การเต้น อาจใช้เครื่องเคาะ เครื่องตี เข้ามาผสมผสานเพื่อให้เด็ก เกิดความรู้สึกสนุกสนานและไม่คิดว่า ดนตรีเป็นเรื่องยาก ซึ่งการเล่นดนตรี นั้ น จะช่ ว ยพั ฒ นาการทุ ก ด้ า นให้ มี ความสมบู ร ณ์ ทั้ ง ด้ า นร่ า งกายจิ ต ใจ ๔๒

อารมณ์ สติปัญญาและสังคม ดังนั้นเราคงจะเห็นกันแล้วว่า ดนตรี กีฬา ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรม ทีส่ ง่ เสริมให้เด็กมีความฉลาดทางอารมณ์ คือ มีความสามารถทางอารมณ์ รูอ้ ารมณ์ ความรู้สึกทั้งของตนเองและผู้อื่น ยิ่ง พ่อแม่ผู้ปกครองได้สนับสนุนให้เด็ก ๆ ได้ทำ�กิจกรรมเหล่านี้ร่วมกับเด็กอื่น ๆ เป็นกลุ่ม เป็นหมู่คณะ จะทำ�ให้เด็ก สามารถเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น เห็น อกเห็นใจผู้อื่น สามารถปรับตัวเข้า กับผู้อื่นได้ดี อันจะนำ�ไปสู่การอยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุข เราหันหลังให้ เกมคอมพิวเตอร์แล้วมาเล่นดนตรี เล่น กีฬากันดีกว่านะคะ..... เอกสารอ้างอิง http://hospital.moph.go.th http://www.dekthaischool.com http://images.google.co.th


สัมภาษณ์พิเศษ

• ครูณัฏฐสุดา ดอนเส (ครูโน้ต)

• ครูรัตนา วจนะศิริ (ครูรัตน์)

ประเด็น “แรงบันดาลใจ...” โดย ครูรัตนา วจนะศิริ (ครูรัตน์) และ ครูณัฏฐสุดา ดอนเส (ครูโน้ต) แรงบันดาลใจ ในความหมายของครูคือ “พลังบวกอย่างหนึ่ง ที่จะคิดและ ทำ�สิ่งดีๆ ในชีวิต สักอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยจังหวะเวลา และพลังกายและใจ ภายใน ที่จะทำ�ให้มันเป็นจริง บางครั้งเป็นเรื่องยาก บางครั้งสำ�เร็จ บางครั้งไปไม่ ถึงฝันเช่นเดียวกันกับเด็กกลุ่มหนึ่ง ที่มีแรงบันดาลใจ มีพลังบวกดีๆ และพลังที่ เปี่ยมล้นไปด้วยความมุ่งมั่นในสิ่งที่คิด และหาโอกาส และเวลา ที่จะทำ�สิ่งๆ ดี ๆ ให้กับโลกใบนี้ และเขาเหล่านั้น ได้ลงมือทำ�แล้ว ครูจึงขอนำ�มาแลกเปลี่ยน เพื่อ จุดประกาย”บันดาลใจ...” ให้กับนักเรียนในรุ่งอรุณทุกคน เพื่อเป็นพลังใจในการ ผลักดันให้เกิดความกล้า และเชื่อมั่น ว่าจะสามารถทำ�ได้เช่นกัน..

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๔๓


ด.ญ.ปวันรัตน์ ถิรมงคล (แพรวา) ป.๑/๔ แรงบันดาลใจ แปลว่า อันไหนดีอันไหนมีดีค่ะ หนูไม่เข้าใจว่าถูกหรือเปล่า ค่ะ หนูอยากอ่านหนังสือเก่งๆ อยากเขียนหนังสือเก่ง หนูก็จะดูจากพี่ค่ะและ พยายามอ่าน ตอนนี้หนูอ่านการ์ตูนเรื่อง โทรุ และเห้งเจียค่ะ หนูชอบ เพราะสนุก ดี ๔๔


ด.ช.พสินฐ์ ลีละถาวรปัญญา (กะตัง) ป.2/1 จากการอ่านหัวข้อ เรื่อง แรงบันดาลใจของฉัน เพื่อสร้างสรรค์โลกให้น่าอยู่ จึงเริ่มเสาะหานักเรียน ป.2 ที่มีแรงบันดาลใจในเรื่องนี้ และจากการพูดคุยก็พบ ว่า “กะตัง” เด็กผู้ชายตัวเล็กๆที่เขาก็มีความคิดที่อยากจะให้โลกของเราน่าอยู่ เช่นกัน กับคำ�ถามที่ว่า กะตังคิดว่ากะตังจะทำ�อะไรให้โลกเราน่าอยู่ได้บ้างครับ ผมว่า ผมจะปลูกต้นไม้ เพราะการปลูกต้นไม้ช่วยลดภาวะโลกร้อนครับ และ ต้นไม้ก็ช่วยให้ออกซิเจนแก่โลกของเรา อีกทั้งเรายังได้อากาศที่ดีจากต้นไม้อีก ด้วยครับ อีกอย่างคือ การเก็บขยะผมก็คิดว่าจะช่วยให้โลกน่าอยู่ขึ้นได้อีกทาง ผมยังเคยชวนเพื่อนๆในห้องเป็นกลุ่มใหญ่เลยครับ ช่วงตอนพักเที่ยงหลังทาน อาหารเสร็จเราไปเก็บขยะกัน ยังนำ�มาให้คุณครูดูเลยครับ ครูเลยให้รางวัลผม จริงๆแล้วที่ผมไปเก็บขยะผมไม่ต้องการรางวัลหรอกครับ ผมเพียงอยากให้ โรงเรียนเราน่าอยู่ขึ้น เพราะตอนแรกที่ชวนกันไปเก็บขยะไม่รู้เลยครับว่าจะได้รับ รางวัลไปเพราะเป็นสิ่งที่อยากทำ�สิ่งดีๆกันในเวลาว่างเฉยๆ ครับ

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๔๕


ด.ช. ปวินท์นันท์ ประพจนาภรณ์ (เชวู) ป.๓/๑ จากการอ่านหัวข้อ เรื่อง แรงบันดาลใจของฉัน เพื่อสร้างสรรค์โลกให้น่าอยู่ ทำ�ให้ต้องนึกถึง ชาวชมรม Just Do it คิดรักษ์โลก ซึ่ง หนึ่งในผู้ร่วมชมรม คือ เชวู จากการพูดคุยก็พบว่า เชวูคิดว่าแรงบันดาลใจ หมายถึงอะไร เขาก็ตอบได้เพียง แต่ว่า มันอธิบายไม่ถูกนักแต่มันก็เป็นเหมือนพลังใจในการที่จะทำ�สิ่งดีๆอะไร สักเรื่อง และทำ�ไมถึงอยากให้โลกน่าอยู่ เชวูตอบว่า เดี๋ยวนี้สภาพอากาศ เปลี่ยนแปลงไป ฤดูกาลไม่ค่อยตรง เช่น หน้าฝนแต่กลับกลายเป็นน่าร้อน ฝนไม่ ตก เป็นต้น จากนั้นจึงถามต่อว่า และเชวูคิดว่าจะทำ�อย่างไรให้โลกน่าอยู่ขึ้น ผม ว่าต้องปลูกต้นไม้ และไม่ตัดต้นไม้ครับ และทำ�ไมถึงต้องปลูกต้นไม้หละครับ เพราะต้นไม้ผลิตอ๊อกซิเจนให้แก่โลก ผมว่าถ้าโลกร้อนมากๆต้นไม้จะทำ�ให้โลก เย็นขึ้น อากาศจะดีขึ้นถ้ามีต้นไม้ เช่น ต้นไม้ทำ�ให้โลกชุ่มช่ำ�ขึ้น และต้นไม้ยัง ช่วยป้องกันดินถล่มเวลาน้ำ�มาเยอะๆ น้ำ�จะได้ไม่ท่วมบ้านคนครับ ที่พูดมานั้น ทำ�ให้ผมเลยมีแรงบันดาลใจให้มาเข้าชมรมนี้ ที่ชมรม Just Do it คิดรักษ์โลก ผม ได้ทำ�การปลูกต้นไม้ เก็บขยะ แยกขยะครับ ได้ทำ�แล้วผมรู้สึกดีใจ ภูมิใจที่เราได้ ทำ�การดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยตนเองในโรงเรียน และสำ�หรับผมแล้ว คำ�ว่า แรง บันดาลใจ หมายถึง แรงบันดาลใจในการช่วยโลกรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นครับ ๔๖


ด.ญ.วรณัฐ คงบัว (บัว) ป.๔/๑ แรงบันดาลใจ ในความเข้าใจของหนูคือ สิ่งที่ผลักดันให้เราก้าวขึ้นมาข้างหน้า หนูมีครูมนต์เป็นแรงบันดาลใจในการทำ�งาน ทำ�การบ้าน เพราะครูมนต์ให้กำ�ลัง ใจ หากหนูทำ�ได้ครูจะให้รางวัล ครูสอนให้เราไม่หมกงาน (บัวบอกความหมาย ของ หมก คือ เราทำ�การบ้านไม่เสร็จ โดยไม่ให้คุณครูเห็น) โดยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นแรงบันดาลใจให้หนูก้าวต่อไป เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง ปรับปรุงตัวเอง ไม่ ขี้เกียจ สิ่งที่หนูอยากทำ� คือ การช่วยเหลือคนอื่นที่ด้อยโอกาส ให้สูงเท่ากับหนู เช่น ตอนนนี้ หนูช่วยจุ้นเฮง ซึ่งเป็นเพื่อนที่ห้องเรียนเดียวกัน โดยบอกว่าอะไรไม่ควร ทำ�

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๔๗


ด.ญ.ณัฐนิช งามธนไพศาล (ซือ-ซือ) ป.๕/๑ แรงบันดาลใจ คือสิ่งที่กระตุ้น และทำ�ให้เราทำ�สิ่งต่างๆ ให้ได้ดี ผู้ที่เป็นแรง บันดาลใจให้หนูคือ คุณพ่อ คุณแม่ เพราะท่านส่งเสียงให้หนูได้เรียนหนังสือ ท่านทำ�งานหนัก เพื่อจะได้มีเงินจ่ายค่าเทอมให้หนู คุณพ่อ คุณแม่ ยังสอนให้หนูช่วยเหลือตัวเอง หนูล้างถ้วยชามให้กับคุณพ่อคุณแม่ ช่วยเหลืองานบ้านเท่าที่ทำ�ได้ ให้หนูหมั่นฝึกซ่อมเปียโน เพราะคุณพ่อ คุณแม่ บอกว่าจะเป็นพื้นฐานให้หนูเลือกอาชีพต่างๆ ต่อไปในอนาคต ตอน แรกหนูก็อยากเลิกเรียนเพราะเริ่มยากขึ้น แต่ คุณพ่อ คุณแม่ ก็บอกหนูให้หนูคิด ให้ดีๆ ก่อนตัดสินใจ โดยที่ท่านก็ไม่ได้บังคับ แต่ท้ายที่สุดหนูก็เลือกที่จะเรียนต่อ ไป เพราะหนูเชื่อว่า คุณพ่อ คุณแม่ จะแนะนำ�สิ่งที่ดีๆ ให้แก่หนู นอกจากนี้ สิ่งที่หนูเห็นจากคุณพ่อ คุณแม่ คือการช่วยเหลือผู้อื่น โดยที่คุณพ่อ คุณแม่ มอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กด้อยโอกาส ในทุกปี ซึ่งเป็นแรงบันดาล ใจให้หนูบริจาคตุ๊กตา เสื้อผ้า และหนังสือ ให้กับเด็กด้อยโอกาสด้วย ซึ่งหนูรู้สึก ดีที่ของ ที่หนูซื้อมาไม่ได้ทิ้งเปล่า หรือไม่ได้ใช้ และในโอกาสต่อไปหนูก็จะช่วย เหลือเด็กด้อยโอกาส ให้เค้ามีโอกาสเหมือนหนู ๔๘


ด.ช.สิทธิเดช เดชคำ�รณ (อั่งเปา) ป.๖/๒ แรงบันดาลใจ คือ ความคิดเริ่มต้นของการทำ�อะไรสักอย่าง ที่ผ่านของผมก็ มีแรงบันดาลใจ คือ เห็นพี่เรียนเก่ง ก็อยากอยากเก่งเหมือนพี่บ้าง เห็นพี่เป็นผู้นำ� กีฬาสีที่สนุก ผมก็อยากทำ�บ้าง และก็พยามยามทำ�ให้ได้ นอกจากนี้แรงบันดาลใจของผมที่สร้างผลงานเข้าประกวด ของ Honda Super Idea Contest ครั้งที่ 8 ที่ให้นักเรียนชั้นระดับประถมต้นและเด็กนักเรียน ระดับประถมปลาย นำ�เสนอสิ่งประดิษฐ์ในอนาคต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความคิดของผมเกิดขึ้นจากได้เห็นข่าวผ่านต่างๆ ว่า ฟ้าผ่า วัวควายตาย และ ฟ้าผ่าคนตาย ผมคิดว่า น่าจะนำ�พลังงานตัวนี้ มาทำ�ให้เกิดประโยชน์ดีกว่า ปล่อยให้เป็นลงดินไปเฉยๆ จากแรงบันดาลใจอันนี้ก่อให้เกิดผลงานชื่อ “Zeus Energy” ขณะนี้ผลของผมผ่านเข้าการคัดเลือก และเตรียมนำ�เสนอ แนวคิดและวิธีการแล้วครับ และหากผลงานทำ�ได้จริงผมขอได้ช่วยเหลือคนใน โลกได้อีกมากเลยครับ

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๔๙


๕๐


• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๕๑


เรื่องเล่าจากห้องดนตรีไทย

พี่รุ่ง กับน้องอรุณ... • ครู เอกภพ ศรีรักษา

ตอนที่๔... ในงานไหว้ครู พอตาอ่านบทไหว้ครูเสร็จก็จะมีการบรรเลงดนตรีที่เรียกว่าการ ถวายมือ รุ่งเคยสงสัยแต่ก็ได้รับการอธิบายจากลุงเปี๊ยกถึงการถวายมือว่าคือการ บรรเลงเพื่อให้ครูที่เป็นมนุษย์และครูที่เป็นเทวดาได้ชมติแก้เป็นการแสดงฝีมือ ของเหล่าศิษย์ ลุงเปี๊ยกเล่าอย่างสนุกสนานว่า.. การไหว้ครู เนี่ยนะลูก..มาจากสมัยก่อนนี้เราจะเรียนแบบโบราณก็คือการเรียน โดยการไปอยู่กินนอนเรียนกันที่บ้านของครู...ครูอย่างตาของรุ่งกับอรุณ น่ะลูก ก็ พอโตเรียนไปพอมีวิชาการหากินได้ อย่างลุงที่มาอยู่บ้านตาตั้งแต่ตอนเด็กๆ ออกรั บ งานแสดงเลี้ ย งปากท้ อ งได้ ก็ อ อกมาทำ � มาหากิ น ปี นึ ง ก็ ไ ด้ ก ลั บ มา เยี่ยมเยียนครูบาอาจารย์ครั้งนึง..พอกลับมาเราก็ทำ�บุญเลี้ยงพระอุทิศส่วนกุศล ให้ครูของครูที่ล่วงลับไปแล้ว...ใครเอาอะไรมาช่วยก็ขนๆกันเอามา..อย่างเช่น บ้านลุงมีกล้วยก็เอามา..บ้านรุ่งมีหมูก็เอามา..เป็นอย่างนี้เรื่อยๆมาจนกลายเป็น พิธีอย่างที่เราเห็นนี่หล่ะลูกเข้าใจรึยัง..”ลุงเปี้ยก ยิ้มเอามือลูบหัวรุ่งและอรุณอย่าง เอ็นดูพร้อมทั้งเล่าต่อไปดวงตามองออกไปไกลจนรุ่งเองก็ไม่รู้ว่าลุงมองไปทาง ไหน “ตอนนั้นนะ...สนุกมากลูกตอนลุงเป็นเด็ก...คนมาบ้านตาเยอะแยะทั้งที่ลุง เคยเห็น ทั้งที่เป็นคนมีชื่อเสียง นักดนตรีลิเกละครมากมายเหลือเกิน แต่สิ่งที่ลุง ชอบมากนะลูกสมัยเด็กๆ ก็ขนุกขนมนมเนยเนี่ยแหล่ะมีให้กินมากเลือกเอาเลย ๕๒


เพราะบ้านตาของรุ่งนะจัดว่าเป็นสำ�นักใหญ่มีคนมากลูกศิษย์ตาเยอะแยะของ เอามาช่วยทั้งทำ�บุญทั้งไหว้ครูมีมากเพื่อนพ้องที่เป็นศิษย์รุ่นราวคราวเดียวกับลุง ก็มาก แหม...วิ่งเล่นกันสนุกแต่ที่ตั้งหน้าตั้งตารอกันเลยก็คือตอนที่พวกพี่ๆที่เป็น ลูกศิษย์ตาของหนูน่ะ พาลูกศิษย์ของพวกเค้าอีกรุ่นนึงมาบรรเลงถวายมือ ลุงกับ เพื่อนๆจะต้องไปคอยดูเลย...เราจะคอยดูกันว่าใครตีระนาดเป็นอย่างไร...เก่ง ไหม..แหมถ้าสู้กันคงสนุกน่าดู..” เสียงดนตรีถวายมือยังแว่วมาจากหอประชุมด้านในแต่รุ่งยังอยากฟังเรื่องราว ต่างๆจากลุงจึงยังคงตั้งใจฟังต่อไปเพราะรุ่งคิดว่าเรื่องราวที่ลุงกับตาเล่านี้เป็น ของสนุกสนานฟังไม่รู้เบื่อ “การถวายมือคือการเล่นให้ครูที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ดูได้ตรวจสอบความรู้ที่เอาไป ถ่ายทอดให้เด็กรุ่นต่อๆไปว่าถูกต้องหรือไม่อย่างไรแล้วบางครั้งก็จะได้นำ�เพลง หรือวิธีการที่คิดประดิษฐ์ใหม่มาแสดงเพื่อให้ครูได้ติชมแก้ไข” “ส่วนเด็กอย่างลุงก็จะได้ทั้งเล่นทั้งดูทั้งฟัง....ทั้งกิน..”ลุงหัวเราะเล็กน้อยราวกับ เห็นภาพตัวเองตอนกินขนมในงานไหว้ครูเมื่อร่วม๕๐ปีที่แล้วก่อนเล่าต่อ “ที่ส�ำ คัญนะลูกก็การครอบที่รุ่งถามตาไปเมื่อกี้ลุงจะบอกให้ว่าที่สงสัย น่ะ คือ อะไรบ้างเพราะไปกวนตาเค้าตาเค้าเหนื่อยแล้ว” “ครอบ”..คือการมอบสิทธิ์ที่จะเรียนจะสอนจะใช้วิชาการดนตรีนาฏศิลป์ให้แก่ ลูกศิษย์ทั้งที่จะไปเป็นครูไปทำ�มาหากินต่อไปต่อหน้าครงูเทพที่เราเชิญมาร่วม งานพิธีโดยการอ่าน “โองการ” อันเป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ที่จะต้องได้รับมอบจากครู รุ่นก่อนถึงสามารถอ่านได้ในระหว่างอ่านจะเรียกเพลงให้วงปี่พาทย์ที่เป็นนัก ดนตรีที่มีความสามารถมากมีอาวุโสมากบรรเลงเพลง ”หน้าพาทย์” อันเป็นเพลง ประจำ�องค์เทวดาและเพลงประกอบกิริยาการไปมาต่างๆของเทวดาที่เราเชิญมา จากนั้นเราก็จะถวายเครื่องสังเวยบูชาต่างๆซึ่งแต่ก่อนก็จะเป็นแบบที่ลุงเล่าว่า ต่างคนต่างเอามาช่วยงานแต่เดี๋ยวนี้มีการจะเป็นตำ�ราเป็นแบบแผนตายตัวว่า ต้องมีอะไรบ้างเมื่อถวายแล้วก็มีการจับเมือซึ่งคล้ายๆกับการรับปริญญาแล้ว เรียนต่อในชั้นต่อไปลูกก็อย่างวันนี้ที่รุ่งจับมือเพลงสาธุการน่ะพอเรียนจบไปอีกขั้น • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๕๓


ขั้นนึงรุ่งก็ต้องมาจับมือใหม่ในระดับต่อๆไป ส่วนอรุณเรียนเครื่องสายไม่ต้องจับ มือเป็นพิเศษแต่ก็จับไว้ก็ดีเผื่อเรียนจะได้ง่ายไม่มีอุปสรรคแล้วก็นับเป็นมงคล ด้วยเราได้มีครูบาอาจารย์อยู่กับตัว.. ไปลูกเราเข้าไปฟังดนตรีดีกว่าเดี๋ยววันไหนลุงไปบ้านตาจะเล่าให้ฟังมากกว่า นี้....

ตอนที่ ๕ .. งานไหว้ครูผ่านไปรุ่งถามตาและได้รับคำ�อธิบายหลายเรื่องจากตาและลุงเปี๊ยก แต่ต่อมาก็มีข่าวหนึ่งที่ท�ำ ให้ตาเสียใจ วันอาทิตย์นี้รุ่งมาหาตาอย่างเคยแต่วันนั้น รุ่งรู้สึกได้ถึงความเงียบเหงาเงียบจนเหมือนเนื้อเพลงที่รุ่งเคยได้ยินคุณยายสุด จิตต์ครูสอนร้องเพลงที่เป็นเพื่อนของตาร้อง “..เงีบยสงัดใบไม้ก็ไม่ไหว..”วันนี้บ้าน ตาทำ�ให้รุ่งรู้สึกอย่างนั้นจริง...อึมครึม...เงียบเหงา......”รุ่งเหม่อไปไหนแล้วลูก”... แม่ทักจนรุ่งกลับสู่ความเป็นจริงมีสติอีกครั้ง”ไม่มีอะไรครับแม่รุ่งคิดเรื่อยเปื่อย แต่วันนี้บ้านตาดูแปลกๆครับ” “สวัสดีค่ะคุณพ่อ...คุณพ่อไม่สบายรึเปล่าคะ....แล้ววันนี้พี่เปี๊ยกไม่มาเหรอคะ คุณพ่อปกติเห็นพี่แกมาทุกอาทิตย์...” “ ...เปี๊ยกอยู่วัด...” เสียงตาดูแปลกไปจน รุ่งรู้สึกได้...”พี่เปี๊ยกหรือใครเป็นอะไรรึเปล่าคะคุณพ่อ”ตามองขึ้นไปก่อนตอบไม่ ด้วยเสียงที่แทบจะไม่ได้ยินเสียงที่ดังแว่วอยู่ในลำ�คอที่แห้งผาก ๕๔


“..อืม..แม่สุดจิตต์...เสียเมื่อวานตอนเที่ยงน่ะ” “ตายจริงคุณป้าจิตต์น่ะหรือคะ คุณพ่อ...หนูทราบแค่ว่าท่านป่วยอยู่พักนึงแล้วยังเห็นว่าคุณพ่ออยากไปเยี่ยมหนู ก็ไม่ได้พาคุณพ่อไปสักที...แกน่ารักนะคะไม่น่าด่วนจากไปเลย” รุ่งยังจำ�ได้ว่าคุณยายสุดจิตต์ท่านนี้เป็นคุณยายใจดีที่เวลามาบ้านตารุ่งจะ ต้องได้พบคุณยายตาเคยบอกรุ่งบ่อยๆว่า “..ไม่มีใครได้เพลงมากเท่าแม่สุดจิตต์คนนี้เพลงละครก็มากเพลงเถาก็เยอะ เพลงทยอยก็เยี่ยมทั้งเครื่องทั้งร้องคล่องหมดสมัยก่อนตอนยังสาวนะลูกคนเค้า เรียกแม่สุดจิตต์เสียงระฆังทองแห่งกรมประชาสัมพันธ์...” “มารุ่ง..มาลูก ...ยายเอาหมูแผ่นมาฝากแล้วเดี๋ยวเลิกซ้อมยายพาไปกินคุกกี้ กันนะลูก...” ยายมักมีขนมติดมือมาเสมอโดยเฉพาะและคุกกี้ สองอย่างนี้ที่ยายชอบกิน อย่างยิ่งคือหมูแผ่นที่ยายเรียกว่าขนมเพราะสำ�หรับยายมันคือขนมดีดีนี่เองรุ่งเคย ตามยายจิตต์ไปซื้อหมูแผ่นเจ้าประจำ�ที่ตลาดสามย่านซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่มีร้านนั้นแล้ว รุ่งยังจำ�ได้ว่าพอยายทราบข่าวว่าตลาดจะต้องย้ายและร้านต้องปิดยายบ่นอุบว่า จะไปซื้อหมูแผ่นที่ไหนซื้อมาตั้งแต่รุ่นแม่จนตอนนี้รุ่นลูกซึ่งก็อายุ๔๕เข้าไปแล้ว ยายบอกว่าถ้ามีต่อคงซื้อยันรุ่นหลาน...ยายมักอารมณ์ขันอย่างนี้เสมอยายพารุ่ง ไปแถมยังแนะนำ�กับคุณน้าคนขายว่า...นี่หลานชั้นวันหลังเค้ามาซื้อน่ะลดให้ด้วย นะเค้ามาซื้อให้ชั้น...น่าแปลกที่รุ่งจำ�ทุกอย่างเกี่ยวกับยายจิตต์ได้มากเป็นพิเศษ ทั้งท่าทางเวลายายสอนร้องเพลงยายจะเอานิ้วเคาะกับโต๊ะปากก็ร้องไปด้วยดู ทุกๆคำ�ที่จะเปล่งออกมารุ่งเคยเห็นพี่ๆจากจุฬามาเรียนกับยายจิตต์ที่บ้านตาก็ หลายคนยายจะสอนให้ผู้ชายร้องแข็งแรงชัดเจนฉาดฉานผู้หญิงให้ไพเราะอ่อน หวานแต่สิ่งที่ยายสอนเสมอคือต้องอ่านเนื้อร้องให้เข้าใจว่ามาจากเรื่องอะไรตอน ไหนอารมณ์เป็นอย่างไรยายดูหมดจนรุ่งรู้สึกว่าการเรียนร้องนี้ยากเหลือเกินจนวัน นึงยายบอกว่า... “มันไม่ยากหรอกลูกแต่ต้องใส่ใจแค่นั้นเอง..” หลังจากได้ยิน คำ�ว่ายากหายไปจริงๆ กลายเป็นการใส่ใจขึ้นมาแทนถึงตอนนี้รุ่ง • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๕๕


ยังเด็กยังร้องเพลงที่ยากๆอย่างพวกพี่ไม่ได้มากแต่รุ่งก็ได้หลักการจนวันหนึ่งตอน ที่ยายเริ่มป่วย ยายฝากรุ่งให้เรียนกับหลานของยายซึ่งอายุห่างจากยายไม่เท่าไร แต่มีศักดิ์เป็นหลาน รุ่งเรียกยายสุรางค์ หรือยายสุเฉยๆ ยายสุยังเคยบอกว่ารุ่งได้ พื้นมาจากยายจิตต์แล้วไม่น่าห่วงต่อให้ไม่ยากยายสุใช้ค�ำ ว่า. . . “น้าจิตต์แต่งตัวรุ่งมาดีแล้ว...” ยายจิตต์ของรุ่งหรือคุณครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ของนักดนตรีไทยทั้งหลายจาก ไปด้วยอาการการติดเชื้อในปอด รุ่งร้องไห้ไปหายายทุกวันที่วัด รุ่งยังจำ�งาน สุดท้ายที่ยายออกมาชมดนตรีไทยที่เหล่าศิษยานุศิษย์จัดให้ยายที่ศูนย์วัฒนธรรม ตอนนั้นยายป่วยมากต้องเจาะคอพูดไม่มีเสียงแล้วแต่ยายยืนยันจะมาถึงหมอจะ ห้ามเพราะยายพูดด้วยเสียงที่แหบพร่าเบาเหลือเกินว่า “เดี๋ยวชั้นจะไม่ได้เห็นอีก..” แล้วก็เป็นอย่างที่ยายว่า ป้าน้อยลูกสาวยายเร่งจัดงานเพราะในตอนแรกเตรียมไว้ว่าจะจัดในวันเกิด ยาย แต่เหมือนมีอะไรมาดลใจเราทั้งหมด เลยเลื่อนให้ใกล้เข้ามา ในงานยายยิ้ม และพยายามพูดคุยกับทุกคนที่เข้าไปกราบวันนั้นทำ�ให้รุ่งได้เห็นว่าลูกศิษย์ยายมี มากมายเหลือเกินทั้งที่เป็นคนใหญ่โต คุณหญิงคุณนาย นักการเมือง ดารานัก แสดง คับคั่ง ทุกคนต่างร่วมกันจัดงานจัดวงมาบรรเลงทั้งการแสดงต่างๆก็ตื่นตา ตื่นใจ รุ่งแอบเห็นยายร้องตามทุกๆเพลงที่บรรเลงอยู่บนเวทีซึ่งกินเวลาร่วม๔–๕ ชั่วโมง อาหน่องซึ่งเป็นนักวิชาการมีชื่อเสียงในวงการดนตรีไทยพอเห็นยายร้องตาม เพลงทุกเพลงก็รีบวิ่งหากล้องให้วุ่นปากก็พ่นพึมพำ�ว่า “นี่หล่ะ ๆ.. ภาพประวัติศาสตร์ ๆ” รุ่งมองยายแล้วรุ่งร้องไห้คิดในใจว่ายายเข้มแข็งมาก คนเคยร้องมาทั้งชีวิต วันหนึ่งร้องไม่ได้แต่ไม่เคยท้อขนาดป่วยยายยังเอาระนาดมาเคาะแทนเสียงเอื้อน เพื่อสอนพวกพี่ๆที่มาเรียน มาวันนี้รุ่งเห็นยายยิ้มสดชื่นรุ่งยังคิดว่ายายดีขึ้น มารู้ จากป้าน้อยตอนไปงานศพได้ยินป้าน้อยคุยกับตาว่า “ แม่แกฝืนค่ะหลังจากนั้นแกก็ทรุด..” ๕๖


ป้าน้อยเล่าให้ฟังแล้วร้องไห้ไม่หยุด “..แกบอกว่าลูกศิษย์มาจัดงานให้แล้วเราจะมาทำ�ป่วยได้อย่างไรเดี๋ยวเค้าเสีย กำ�ลังใจ..” ถึงแม้รุ่งยังเด็กแต่รุ่งก็รักยายจิตต์มากเรื่องราวของยายของตาที่รุ่งมักได้ยิน จากลุงเปี๊ยกก็ทำ�ให้รุ่งรักตาและยายมากขึ้นเรื่องราวเหล่านี้ในบางครั้งก็ทำ�ให้ กำ�ลังใจที่หายไปกลับคืนมาได้อย่างไม่น่าเชื่อ บางครั้งการย้อนนึกถึงเสียงหัวเราะ ของยายจิตต์รอยยิ้มก็ท�ำ ให้รุ่งหัวเราะและยิ้มขึ้นมาได้...

รุ่งนึกถึงความฝัน...ความฝันที่รุ่งฝันก่อนทราบข่าวการจากไปของยาย..รุ่งยัง จำ�ได้..ยายใส่ผ้าไหมสีชมพูสวยมากเดินมา รุ่งไปกอดยายแล้วยายก็เอามะม่วง ให้รุ่งบอกให้รุ่งไปปอกยายอยากกินมะม่วงแล้วยายก็เดินไปกับปู่จำ�เนียรนัก ดนตรีรุ่นพี่ที่เคยทำ�งานที่เดียวกับยายแต่ท่านเสียชีวิตไปนานมากแล้ว... มาถึง ตอนนี้รุ่งนึกในใจว่ายายคงอยู่บนสวรรค์กับปู่จำ�เนียรแล้ว เพราะปู่มารับยายไป แล้วพอหลังจากตื่นในเช้าอีกวัน รุ่งมาบ้านตาก็ได้ทราบข่าวที่ตาบอก.. “..ยายรักรุ่งรุ่งก็รักยายยายถึงมาหามาบอกลาไงลูก..” • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๕๗


แม่บอกให้ฟังหลังจากที่รุ่งเล่าเรื่องความฝัน ด้วยแม่กลัวว่ารุ่งจะกลัวแต่รุ่งรู้ และไม่เคยกลัวเลยเพราะรุ่งรักยายมาก ความเงียบสงบความเย็นของเครื่องปรับอากาศใต้ผ้าห่มอุ่นๆ ทำ�ให้รุ่งหลับ ไปพร้อมกับความคิดที่ค้างอยู่ที่รอยยิ้มละไมและเสียงหัวเราะดัง ๆ ของยาย สุดจิตต์ ดุริยประณีต นักร้องหญิงเสียงระฆังทองแห่งกรมประชาสัมพันธ์บ้าน บางลำ�พู ที่รุ่งรัก ๕๘


เรื่องเล่าจากนักเรียน

ด เด็ก...เด็ด เด็ด

• ครูเบญจพร บุกบุญ (ครูเบญ)

สวัสดีค่ะ สมาชิกสารประถมฯ ทุกท่าน เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ครูเบญหวังว่า สมาชิกทุกท่าน คงจะมีสุขภาพกายและสุขใจที่สดใสและแข็งแรงนะคะ ช่วงนี้ สภาพอากาศค่อนข้างเปลี่ยนแปลงบ่อย บางวันฝนตก บางวันแดดร้อนจัด บาง วันอากาศเย็น ขอให้สมาชิกสารประถมฯ รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารให้ครบหมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอนะคะ ในช่วงต้นปี ๒๕๕๖ นี้ นักเรียนระดับชั้นประถมในแต่ละระดับชั้น ได้เรียนรู้ เรื่องราวต่างๆ มากมาย ผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่๔/๑ ที่มีโอกาสไปภาคสนาม ที่ชุมชนปฐมอโศก เพื่อเรียนรู้ การพึ่งพาตนเอง ตามแนวพระราชดำ�ริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเวลา ๓ วัน ๒ คืน ในการออกภาคสนามครั้งนี้ นักเรียนได้กลับมาประมวล ความรู้และข้อคิดดีๆ ที่ได้จากชุมชนแห่งนี้ ซึ่งครูเบญได้นำ�บางส่วนของการเขียน ประมวลประสบการณ์มาให้สมาชิกสารประถมฯ ได้อ่านกัน “ในการที่ฉันไปชุมชุนปฐมอโศก ๒ วัน ๓ คืน ฉันก็ได้เห็นการทำ�งานของพี่ๆ ว่าพี่ๆ ทำ�งานหนักขนาดไหน และพี่ๆ ก็ยังแบ่งเวลามาสอนพวกเราทั้งๆ ที่มีงาน อยู่ งานของพี่ๆ ก็มีมากมาย แต่ฉันจะเล่าให้ฟังย่อๆ คือ พี่ๆ จะแบ่งงานกันทำ�ใน แต่ละฐานและรับผิดชอบในหน้าที่มากๆ แต่ถึงแม้ว่างานของพี่ๆ จะเยอะขนาด ไหน พี่ๆ ก็ยังไม่ลืมที่จะมีความนอบน้อม ความนอบน้อมของพี่ๆ คือการ ยกมือ ไหว้ พร้อมกล่าวว่า “เจริญธรรมค่ะ/ครับ” พี่ๆ จะถือในเรื่องนี้เอามากๆ ถึงแม้พี่จะ ไม่รู้จักกัน แต่พี่ๆ ก็ทักทายกันได้ พี่ๆ จะยิ้มแย้มไม่ดุ ไม่ว่าพวกเราเลย พี่ๆ จะกิน มังสวิรัติ ไม่กินเนื้อสัตว์ กินแต่ผักซึ่งผักนี้พี่ๆ จะปลูกกันเอง อาเล็กบอกพี่ๆ อยาก กินอะไร ก็ปลูกเอง ใส่ปุ๋ยเอง นี่ถือเป็นการพึ่งพาตนเองอย่างแท้จริง” โดย ด.ญ.ปานชีวา มาเลิศฤทัย (ใบเตย) ป.๔/๑

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๕๙


งานเขียนต่อไป เป็นงานเขียนของ ด.ช.ธนภัทร โกมลโรจนาภรณ์ (เติ้ล) ป.๔/๑ “ผมได้เรียนรู้ว่าทุกคนมีศีลในการดำ�เนินชีวิต (ไม่ฆ่าสัตว์) และถึงแม้ว่าจะไม่ กินเนื้อสัตว์ก็มีอาหารอย่างอื่นทดแทนได้ ผมก็ได้เห็นวัฒนธรรมของชาวชุมชน ปฐมอโศก เชน การนั่งดื่มนำ�้ อีกทั้งมีความสามัคคีร่วมกันทำ�งานจนสำ�เร็จ และ ขยันทำ�งานอย่างร่วมมือและตั้งใจ ทุกคนมีน้ำ�ใจต่อกัน เช่น เห็นการช่วยเหลือ กัน พี่ๆ ก็มีวินัยสูงมากและพี่ๆ ก็ท�ำ งานอย่างตั้งใจ โดยตื่นเช้าตั้งแต่ตีสี่ไปทำ�งาน โดยในชุมชนนี้เงินไม่ส�ำ คัญ แต่ส�ำ หรับในเมืองเงินสำ�คัญมาก และพี่ๆ ก็เป็นมิตร กัน เช่น พูดดี ไม่ว่ากัน และยิ้มแย้ม” เป็นงานเขียนที่กลั่นกรองจากประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเองได้อย่างน่า สนใจ ต่อไปเป็นงานเขียนของ ด.ช.วงศธร สุวรรณรัตน์ (ปริ๊นซ์) ป.๔/๑ “ผมได้ไปชุมชนปฐมอโศกได้ข้อคิดหลายอย่าง เช่น ถ้าเป็นเรื่องของมารยาท การดื่มนำ�้ ของเขาจะนั่งดื่ม เป็นต้น ส่วนการสวัสดี จะพูดว่า “เจริญธรรม” แทนคำ� ว่า “สวัสดี” ที่เราใช้ การกินอาหารนั้นคนในชุมชนนี้จะกินแต่ผักไม่กินเนื้อสัตว์ เพราะทุกคนมีศีล การตื่นนอนจะตื่นตีสี่ ไปทำ�งานตามฐาน ต่างๆ เช่น ศาลากิจ ถั่ว เป็นต้น และถ้าเราตื่นเช้าก็จะมีเวลาที่จะทำ�อะไรได้มากขึ้น ถ้าเป็นการเข้า แถวเคารพธงชาติ พวกเขาจะร้องเพลงตอน ๖ โมงเช้า พอเสร็จก็จะมีการเช็คแถว ว่า ครบหรือเปล่า ขาดกี่คน คนที่ขาดไปไหน ทำ�อะไรถึงไม่มาเข้าแถว การพึ่งพา ตนเองชุมชนนี้ผลิตวัตถุดิบได้หลายอย่าง เช่น ปลูกเห็ด ปลูกผัก ผลิตซีอิ้ว การ ผลิตเองมีข้อดี คือ ไม่เสียเงินและไร้สารพิษอีกด้วยครับ” ๖๐


นับได้ว่า งานเขียนทั้ง ๓ เรื่องนั้น เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์การออก ภาคสนามได้ดี และมีความน่าสนใจ สมาชิกท่านใด สนใจจะเรียนรู้เรื่องราวของ ชุมชนปฐมอโศกแห่งนี้ ก็เชิญได้เลยนะคะ ที่ชุมชนปฐมอโศก จังหวัดนครปฐม ลำ�ดับต่อไป เป็นผลงานดีๆ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่ได้ เรียนรู้เกี่ยวกับประกาศ ในวิชาภาษาไทย ประเด็น ลักษณะ และประโยชน์ของ ประกาศ ซึ่งคุณครูผู้สอนได้มอบหมายให้นักเรียนได้เขียนประกาศด้วยตนเอง ตามจุดประสงค์ต่างๆ ในสารประถมฯ ฉบับนี้ ครูเบญจึงนำ�ตัวอย่างประกาศดีๆ ที่ เป็นผลงานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มาให้ลองอ่านและชื่นชมกับ ผลงานแห่งความตั้งใจกันค่ะ ประกาศเรื่องที่ ๑ การแข่งขันทำ�ขนมนานาชาติ โดย ด.ญ.อันนา โลจนาทร (ปูน) ป.๓/๑

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๖๑


ประกาศเรื่องที่ ๒ การสอบแข่งขัน โดย ด.ช.ปราญา ธรรมพุฒิพงศ์ (ซิน) ป.๓/๑

เป็นอย่างไรบ้างคะสำ�หรับผลงานการเขียนประกาศของนักเรียนทั้ง ๒ ชั้น นอกจากนี้ ยังมีงานประดิษฐ์ลวดลายแบบรูป (pattern) ในวิชาคณิตศาสตร์ของ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มาให้ได้ชมกันด้วย ซึ่งผลงานแต่ละชิ้นนั้น เกิดจากการนำ�รูปสามเหลี่ยมชิ้นเล็กๆ มาประกอบกันเป็นแบบรูป(pattern) ๑ ชิ้น ไปดูผลงานดีๆ กันเลยค่ะ ๖๒


ชิ้นที่ ๒ ผลงานของ ชิ้นที่ ๑ ผลงานของ ด.ช. ณฐธรรม สวาทยานนท์ (เซิน)ป. ๓/๓ ด.ช. จุฑาภัทร พิเชฐวัฒนา (ขนุน) ป. ๓/๒

ชิ้นที่ ๓ ผลงานของ ด.ช. ธัชไท โพธิ์นทีไท (จงไท่) ป. ๓/๑

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๖๓


อิสระของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่เขียนในหัวข้อ “ถ้าฉันเป็นผู้ว่ากรุงเทพฯ” เนื่องจากช่วงนี้ ใกล้เวลาที่ชาวกทม.จะได้ไปใช้สิทธิ์เพื่อ เลือกผู้นำ�เป็นผู้ราชการกรุงเทพมหานคร เราลองไปอ่านความคิดดีๆ ของนักเรียน กันเลยนะคะ เรื่องที่ ๑ โดย ด.ช. ณรัญชน์ ตั้งศรีวงศ์ (เบอร์ดี้) ป.๕/๓ “ผมจะรณรงค์ให้คนเก็บขยะ และทิ้งขยะให้ถูกที่ถูกทาง มีทางข้ามถนน ใต้ดินเพื่อความปลอดภัยของคนทุกประเภท และทำ�ให้สายไฟไปอยู่ใต้ดิน เพื่อ ทำ�ให้เมืองไม่รก” เรื่องที่ ๒ โดย ด.ญ.นารา โลจนาทร (ปั้น) ป.๕/๓ “หนูอยากให้พื้นที่รกร้างเป็นพื้นที่ให้มีประโยชน์ เช่น ปรับพื้นที่ส�ำ หรับ ขี่จักรยาน และรถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟฟ้าบีทีเอส สามารถนำ�จักรยานเข้าไปโดย ไม่ปัญหาว่าเบียดกันและอยากให้มีสวนสาธารณะเยอะๆและสามารถนำ�สัตว์ เลี้ยงไปได้” เรื่องที่ ๓ โดย ชนัญญา เฉิง (แช แช) ป.๕/๑ “ถ้าฉันเป็นผู้ว่ากรุงเทพฯ ฉันจะแก้ปัญหา” ๑.ปลูกสิ่งก่อสร้างลำ�้ แม่น้ำ� เพราะฉันคิดว่า ถ้าเขาล้ำ�ไปเรื่อยๆ แม่น้ำ�ก็จะ กลายเป็นคลองเล็กๆ อาจจะทำ�ให้เกิดน้ำ�ท่วมหรือน้ำ�ทะลักออกมา ฉันจะสร้าง กำ�แพงไว้ตลอดแนวไม่ให้ล้ำ�และติดกล้องวงจรปิดไว้และให้มีคนไปตรวจทุก อาทิตย์ ๒.ขยะเกลื่อนกลาด เพราะมันทำ�ให้กรุงเทพฯ ดูสกปรกและใครที่มาเที่ยว ก็จะว่าเอา และยังทำ�ให้มีกลิ่นเหม็น โดยการวางถังขยะไว้ทั่วทุกท่ี แล้วติดกล้อง วงจรปิดไว้ แล้วให้มีรถไปเก็บทุกวัน ถ้าใครทิ้งเกลื่อนครบ ๓ ครั้ง ก็จะถูกปรับ ๓.สายไฟระเกะระกะ เพราะอาจจะช็อตหรือทำ�ให้เกิดอุบัติเหตุได้ โดยการ ไปเก็บสายไฟและจัดดีๆ และทำ�อุปกรณ์ที่กันหล่น ๔.น้ำ�เน่า เพราะทำ�ให้ไม่น่าดู และส่งกลิ่นเหม็น แก้ไขโดยการห้ามทิ้งขยะ ลงคลองและเอานำ�้ ไปบำ�บัด ๖๔


๕.รถติด ทำ�ให้เดินทางไม่สะดวก จะให้คนใช้รถไฟฟ้า หรือรถโดยสาร และ ให้ครอบครัวมีรถแต่ละครอบครัวแค่ ๒-๓ คัน แล้วแต่คนเยอะหรือน้อย ถ้าผู้ที่ก�ำ ลังจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ได้อ่านคงได้รับ แนวทาง จากสมาชิกกรุงเทพฯ ตัวน้อยๆ ได้อย่างน่าสนใจทีเดียว ทั้งหมดเป็นผลงานดีๆ ที่ครูเบญนำ�มาเสนอให้สมาชิกสารประถมได้อ่านและ ร่วมกันชื่นชม การเติบโตทางสติปัญญาและการมองเห็นคุณค่าสิ่งต่างๆ ของ นักเรียน ที่ได้เกิดการเรียนรู้ในช่วงเดือนที่ผ่านมา แล้วพบกันใหม่กับผลงานดีๆ ของนักเรียนในสารประถมฯ ฉบับหน้าค่ะ

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๖๕


เรื่องเล่าจากผู้ปกครอง

“ปิดเทอมของลูก...เปิดเทอมของพ่อ” โดย ด.ช.พ่อหมี ( พ่อของเอิร์น ป.๓ อิน ป.๑ ) ช่วงปิดเทอมภาคเรียนที่ ๒ ของปีการศึกษา ๒๕๕๕ เป็นช่วงทีเ่ ด็กนักเรียนได้ หยุดเรียนเป็นระยะเวลาเกือบ ๑ เดือน ซึง่ นักเรียนทุกคนดีใจมากทีไ่ ด้หยุดเรียน เมือ่ ถามว่าทำ�ไมถึงชอบช่วงเวลาปิดเทอม คำ�ตอบทีไ่ ด้รบั ก็จะมีหลากหลาย เช่น ได้ดู รายการทีวที ช่ี อบในตอนดึก ๆ ได้นอนตืน่ สาย ไม่ตอ้ งทำ�การบ้าน มีเล่นเกมเยอะ ได้ทอ่ งเทีย่ วหลายวัน เป็นต้น แน่นอนครับ!! ลูกชายของผมก็เป็นหนึง่ ในนัน้ ทีม่ ี ความสุขอย่างมากล้นในช่วงเวลาปิดเทอม ท่ามกลางเสียงหัวเราะของนักเรียนทีไ่ ด้ปดิ เทอม ผูป้ กครองบางท่านก็มคี วาม สุขทีไ่ ด้ใช้ชว่ งเวลานีก้ บั ลูก ๆ แต่ผปู้ กครองหลายท่าน ซึง่ รวมทัง้ ตัวผมด้วย ถือว่า ช่วงปิดเทอมนี้ คือ ช่วง “งานเข้า” ทันที !!!! ด้วยความทีล่ กู ชายของผมนัน้ การเรียนรูใ้ นวิชาต่าง ๆ ในห้องเรียน เท่าทีผ่ ม สังเกต เค้าจะมีความเข้าใจในบทเรียนทีค่ อ่ นข้างช้ากว่าคนอืน่ ฉะนัน้ ช่วงเวลาที่ ปิดเทอมเกือบ ๓๐ วันนี้ ถ้าผมไม่ได้เสริมการเรียนรูเ้ พิม่ เติมในวิชาหลักทีเ่ ขาอ่านอยู่ ลูกชายผมคงต้องอยูใ่ นอาการเหม่อลอย เบลอ ๆ ในห้องเรียนตอนเปิดเทอม ๓ แน่นอน แต่จะให้ผมส่งลูกไปเรียนพิเศษในวิชาหลักต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ก็ไม่ใช่แนวของผมครับ เพราะ ๑. สิน้ เปลืองเงิน เก็บเงินไว้พาลูก เทีย่ วดีกว่า ๒. ขีเ้ กียจขับรถไปส่งในเมืองทีร่ ถติด ๆ ๓. กลัวลูกเบือ่ เซ็งพ่อทีท่ �ำ ไม ต้องเรียนตลอดเวลา ไม่ให้ผมเล่นอิสระบ้างเหรอ ๔. กลัวลูกเรียนรูเ้ ก่งเกินไป พอถึง เวลาในห้องเรียนก็ไม่สนใจเรียน เพราะคิดว่า “ผมรูแ้ ล้ว....ครูสอนช้าจัง น่าเบือ่ ...ไม่ ต้องฟังก็ได้ ไว้คอ่ ยไปเรียนพิเศษ” ๕. ตอนเด็ก ๆ ผมก็เคย(ถูก บังคับ) เรียนพิเศษมา ก่อน ซึง่ ผมไม่ชอบเอาเสียเลย ก็เลยคิดว่าลูกก็ไม่นา่ จะชอบ แต่เด็กบางคนอาจจะ ๖๖


ชอบก็ได้นะครับ ผมก็ดใี จด้วยกับผูป้ กครองนะครับทีเ่ ค้าชอบเรียนพิเศษ(ด้วยตนเอง จริงๆ) และเหตุผลสุดท้ายคือ ผมพยายามปฏิบตั ติ ามนโยบายโรงเรียนทีว่ า่ ไม่ แนะนำ�บุตรหลานให้เรียนพิเศษในวิชาหลัก ผมเข้าใจความรูส้ กึ ผูป้ กครองหลาย ท่านนะครับว่า อาจจะไม่เห็นด้วย มีแอบ ๆ ไปเรียนบ้างเพราะกังวลว่า ลูกของคุณ เองเรียนไม่เก่ง เรียนอ่อนมากเมือ่ เทียบกับเพือ่ นๆ แต่บงั เอิญผมก็อยากทราบ เหมือนกันว่า ลูกชายผมก็เรียนอ่อนไม่แพ้ใคร (ฟังเหมือนจะดูด.ี .ฮ่า) คุณครูบอกว่า ไม่ตอ้ งเรียนพิเศษ นัน่ ก็แสดงว่า คุณครูคงมีกระบวนการสอนทีท่ �ำ ให้เด็ก ๆ ทุกคน ให้เข้าใจ ฟังดูกน็ า่ สนใจและท้าทายแล้ว ดังนั้นช่วงปิดเทอมที่ผ่านมา ผมคิดว่า ผมน่าจะสอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ให้กับลูกชายซึ่งเรียนอยู่ในระดับชั้น ป.๑ ได้ ที่มั่นใจว่า สอนได้ เ พราะคุ ณ พ่ อ ของผมเองอุ ต สาห์ ทำ � งานหนั ก ส่ ง เสี ย ให้ ผ มเรี ย นจนจบ ปริญญาตรี ถ้าสอนลูกชายที่อยู่ ป.๑ ให้เข้าใจไม่ได้........คงต้องพิจารณษตนเอง ใหม่ซะแล้ว ผมเองก็ไม่ได้สอนลูกชายทุกวันในช่วงเวลาปิดเทอมนะครับ ด้วยงานของ ตนเองก็พอมีท�ำ บ้าง (หลายท่านอาจจะคิดว่าผมตกงาน เพราะเจอผมที่โรงเรียน บ่อยมาก ฮ่า) แต่วันไหนว่างเมื่อไร ก็จะชวนลูกชายมาทบทวนวิชาเรียนกัน ก็มี อาการอิดออด ไม่อยากเรียนบ้าง ซึ่งเป็นธรรมดา แต่ถ้าวันไหนมีรางวัลให้นะ.... ลูกชายเรียนเป็นชั่วโมงแบบใจเกินร้อยเลยล่ะครับ พอได้สอนวิชาให้กับลูกชาย ด้วยตนเอง ผมกับพบปัญหา ปัญหาที่ว่านั้น ไม่ใช่เป็นการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ และก็ไม่ใช้เป็นการสอนการผสมคำ�ระหว่างพยัญชนะกับสระ แต่กลับกลายเป็น ปัญหาอารมณ์ของตัวผมเอง เช่นวิชาภาษาไทย ผมสอนให้อ่านคำ�ที่มี “สระ_ ะ” “สระ_ า” แรก ๆ ก็ไม่หงุดหงิดนะครับที่เค้าไม่เข้าใจ สอนจนเค้าอ่านได้ละ มี แอบดีใจว่า “เย้....ลูกชายอ่านได้แล้ว” แต่พอผมย้อนกลับมาเริ่มใหม่ เค้ากลับ อ่านไม่ได้ พอเริ่มเป็นแบบนี้บ่อย ๆ ผมกลับหงุดหงิดที่ท�ำ ไมสอนซ้ำ�แล้ว ซ้ำ�เล่า แต่กลับจำ�ไม่ได้เลย ตัวลูกชายเองก็เริ่มเห็นสีหน้าอาการความหงุดหงิดจากผม นำ�้ เสียงของพ่อที่เริ่มไม่พอใจ จนในที่สุด เค้าก็น้ำ�ตาคลอ แอบปาดน้ำ�ตา สีหน้า • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๖๗


ลูกชาย ณ เวลานัน้ ก็เครียดพอ ๆ กับผม สมัยเด็กๆ ผมจะได้ยินคำ�พูดที่ต่อว่าคนในเวลาที่ทำ�อะไรผิดซ้ำ�แล้วซ้ำ�เล่า จำ� อะไรไม่ได้สักที หลายท่านคงเดาเอานะครับว่าประโยคนี้คืออะไร ? ใช้แล้ว ครับ....”สอนเท่าไร ไม่รู้จักจำ�” “เอาสมองส่วนไหนคิดเนี่ย” “โง่จริงๆ เลย” “ไอ้หัว ขี้เลื่อย” ฯลฯ โชคดีที่ผมยังมีสติ ไม่เคยใช้ค�ำ พูดเหล่านั้นมาทิ่มแทงหัวใจลูกชาย เพราะอะไรเหรอครับ ? ก็เพราะผมเคยโดนตำ�หนิแบบนี้มาก่อน ผมก็ไม่คิดว่า มี ท่านใดที่ชอบถูกตำ�หนิด้วยประโยคที่ทำ�ลายจิตใจอย่างนี้นะครับ คงไม่มีลูกคน ไหนถูกพ่อแม่ตำ�หนิ แล้วพูดว่า “โห..พ่อรู้จริง” “เย้...เราโง่จริงด้วย” “ไชโย...ใน ที่สุดเราก็โง่แล้ว” “ขอบคุณครับคุณพ่อผมชอบมาก” เผลอ ๆ จะโดนอีกประโยค “ก็ ผมเป็นลูกพ่อไงครับ” ซึ่งอันนี้ถึงกับออกอาการอึ้งได้ โชคดีที่บุญกุศลของภรรยาได้แผ่บารมีมาถึงผม ทำ�ให้ผมได้สติทำ�อารมณ์ ให้นิ่ง เริ่มตั้งสติได้ ความคิดต่าง ๆ เริ่มวิ่งเข้ามาในหัว “ผมคาดหวังในตัวของ ลูกชายมากเกินไปหรือเปล่า” “ผมใจร้อนไปหรือเปล่า” “เค้ายังเด็กอยู่นะ” “ผม คงสอนไม่ดเี องทีท่ �ำ ให้เขาไม่เข้าใจ” พอเริม่ คิดได้อย่างนี้ จากจิตทีค่ ดิ แต่ทาลูกชาย ผมเริม่ กลับมามองทีต่ วั เอง ผมก็เริม่ เข้าใจในตัวเขาและคิดว่า ลูกชายผมคงมี กระบวนการจดจำ�ทีอ่ าจจะแตกต่างจากเด็กคนอืน่ น่าจะมีวธิ กี ารรับรู้ จดจำ� โดย ผ่านการจับต้องจริง ๆ ก็ได้ แค่ฟงั เฉย ๆ อาจจะไม่เข้าใจ ในวันต่อ ๆ มา ผมปรับกระบวนการสอนใหม่ โดยไม่ใส่ใจความคาดหวังกับ เค้า พยายามค้นหาวิธีว่าจะทำ�อย่างไรดีนะ ที่ท�ำ ให้ลูกชายเข้าใจง่าย ไม่น่าเชื่อ ว่าผมได้ผู้ที่ช่วยสอนลูกชายผมได้เป็นอย่างดี เธอผู้นั้นคือ ลูกสาวผมเอง ซึ่งเรียน อยู่ระดับชั้น ป.๓ ซึ่งลูกสาวใช้กระบวนการสอนแบบที่เค้าเคยได้เรียนรู้มาจาก คุณครู มาถ่ายทอดให้กับน้องชายของเค้า ภาษาของเด็กเป็นภาษาแบบง่าย ๆ เหมือนอารมณ์ประมาณวัยเดียวกันคุยกันรู้เรื่อง หลังจากนั้น ลูกชายก็ให้ความ ร่วมมือ และสนุกในการเรียนรู้ ผมได้เรียนรู้หลาย ๆ อย่างในช่วงปิดเทอมจากการที่ได้ใช้เวลากับลูก ทุกวันนี้ ผมก็พยายามปรับปรุงตนเองไม่หงุดหงิดง่าย ไม่คาดหวัง เข้าใจศักยภาพของลูก ๖๘


การเปิดใจรับฟังคำ�พูดของลูก เข้าใจความรูส้ กึ มีทา่ ทีความเป็นกัลยาณมมิตร รวม ทัง้ ค้นหาวิธกี ารสร้างห้องเรียนให้สนุกเพือ่ ชักชวนให้เค้ามาสนใจ โชคยังดีทบ่ี ญ ุ กุศลเก่าผมยังพอมีอยูม่ ง้ั ครับ เลยทำ�ให้ผมเปิดใจรับสิง่ ใหม่ ๆ ไม่เคยคิดว่าผมแน่ ผมฉลาดกว่าใคร ถอดความเป็นตัวตนออกมา แล้วมองย้อนดู ความบกพร่องของตนเอง ไม่นา่ เชือ่ ว่า “ปิดเทอมของลูกครัง้ นี้ กลับกลายเป็นวัน เปิดเทอมแห่งการเรียนรูใ้ หม่ ๆ ของผม”

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๖๙


เรื่องเล่าจากครูพละ

ฬา กีฬา ี ก เป็นย

• ครูภัทนวัฒน์ เจริญสุข (ครูนำ�้ )

สิ้นสุดการแข่งขันกีฬาสีโรงเรียนรุ่งอรุณ ประจำ�ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ใน ฐานะนักกีฬา เราเคยถามตัวเองบ้างไหมว่า ความสำ�เร็จในการเล่นกีฬาของ เรา คืออะไร ความสำ�เร็จหรือเป้าหมายที่เราอยากจะไปให้ถึง อาจเป็นความฝัน ในฐานะนักกีฬาคนหนึ่งที่พึงจะคว้าได้ ความมุ่งมั่นอันแรงกล้าที่ผลักดันเราให้ ่ องเผชิญ ตังแต่ ้ เริม่ มีการ เผชิญหน้าต่ออุปสรรคและความยากลำ�บากต่างๆ ทีเราต้ แข่งขัน ตั้งแต่เริ่มซ้อมเชียร์ เริ่มแข่งขันกันมาเกือบทุกๆ ศุกร์ เหนื่อยบ้างพักบ้าง บางคนอาจโดนพี่ๆ ในสีดุ บางทีมอาจแพ้และมีนำ�้ ตา บางทีมได้รับชัยชนะ หรือยังมีความรู้สึกว่าทีมของเราขาดบางสิ่งไปนิดเดียวก็จะไม่แพ้แล้ว สิ่งสำ�คัญคือผู้แพ้และผู้ชนะก็เดินเข้ามาจับมือแสดงความยินดีซ่ึงกัน และกัน ภาพที่เกิดขึ้นเหล่านี้ไม่ใช่มีแค่วันนั้นครั้งเดียวที่สิ้นเสียงนกหวีดจบ การแข่งขัน ยังจะเกิดขึ้นกับหลาย ๆ วัน หลาย ๆ สถานการณ์ในปัจจุบันและใน อนาคต ในฐานะของครูแต่ละคณะสี ผู้ปกครอง และผู้น�ำ ทั้ง ๔ สี

๗๐


เคยสังเกตและบอกได้ไหมว่านักกีฬาหรือบุตรหลานของเรานั้นคิดว่า อะไรคือการประสบความสำ�เร็จในการเล่นกีฬา แรงผลักดันแบบไหนที่เป็นแรงขับ เคลื่อนให้นักเรียนและนักกีฬาของเรามุ่งมั่นฝึกซ้อม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตาม ที่ตัง้ ใจไว้ เราอาจจะได้รับคำ�ตอบที่แตกต่างกันไป บางคนอาจจะบอกว่า การ ได้เป็นแชมป์สักครั้งหนึ่งในชีวิต การได้เข้าไปแข่งขันในคณะสี การได้เป็นนักกีฬา ่ เป็นนักกีฬาทีดี่ ทสุ่ี ดทีเราสามารถเป็ ่ ตัวแทนโรงเรียน หรืออาจจะเป็นการทีได้ นได้ ไม่ ่ ได้จะเป็นอย่างไร ความรู้สึกและเป้าหมายเหล่านี้จัดว่าเป็นแรง ว่าคำ�ตอบทีเรา จูงใจที่สำ�คัญต่อ การเล่นกีฬาอย่างมาก

ที่จะขาดไปเสียมิได้เลยคือ สุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงตามมา โรคภัยไข้เจ็บลดน้อยลง มีเพื่อนมีสังคมที่กว้างใหญ่ มีจิตใจเป็นสุขครับ

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๗๑


หนอนน้อยค่อยเลาะเล็ม Do not allow what you cannot do, Interfere with what you can do. You can reach your dreams faster Doing things you’re good at. อย่าปล่อยให้สิ่งที่คุณทำ�ไม่ได้ มาเป็นอุปสรรคในการทำ�สิ่งที่คุณทำ�ได้ คุณสามารถเอื้อมคว้าความฝันให้เร็วขึ้นได้ หากเลือกทำ�ในสิ่งที่คุณรัก ปัจจุบันโลกของเรากำ�ลังเผชิญ ปัญหาจากรอบด้าน ทั้งปัญหาทาง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม ศีลธรรม ฯลฯ ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลก กำ�ลังเผชิญและตามแก้ไขกันอยู่ แต่ ก็ยังไม่สามารถขจัดปัญหาต่างๆ ให้ หมดไปได้ เพราะในที่สุดแล้ววงจร ปัญหาเดิมๆ ก็จะวกกลับมาอีก หากเรามอง ย้อนกลับไปที่ “ต้นเหตุ”แห่งปัญหาทั้ง ปวง จะพบว่าปัญหาต่างๆ ล้วนเกิดจาก การกระทำ�ของ “คน” ทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่ง ที่จะสามารถช่วยให้โลกใบนี้สวยงาม น่าอยู่ขึ้นได้ จึงต้องย้อนกลับไปแก้ที่ ต้นตอ นั่นคือ “การพัฒนาคน” ความหวังทั้งหมด จึงฝากไว้ ๗๒

• ครูอนุสา ลาบุตร (ครูปุ้ย)

ที่เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่จะเป็น กำ � ลั ง สำ � คั ญ ในการพั ฒ นาและสร้ า ง สรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้แก่โลกใน อนาคต ซึ่งผู้ใหญ่ก็ควรส่งเสริมและ กระตุ้นให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึง ความสำ�คัญและพลังที่มีอยู่ในตัวเอง จนเกิด “แรงบันดาลใจ” ทีจ่ ะนำ�พลังเหล่า นั้ น มาร่ ว มสร้ า งสรรค์ สั ง คมให้ น่ า อยู่ ควบคู่ ไ ปกั บ การสื บ สานและต่ อ ยอด ภูมิปัญญาที่คนรุ่นก่อนได้ปูทางไว้


การสร้างแรงบันดาลใจนั้นเริ่มต้นจากภายในตัวของเราเองก่อน เริ่มจาก การเชื่อมั่นเชื่อใจในตัวเองเสมอ ต้องรักในสิ่งที่เราทำ�อย่างจริงใจ ไม่ต้องกลัว สิ่งใดๆ อย่ากังวล พร่�ำ บอกตัวเองเสมอว่า “เราทำ�ได้” “เราทำ�ได้” “เราทำ�ได้” และเรากำ�ลังทำ�อยู่ สำ�คัญที่สุดคือ บอกตัวเองว่า ลงมือทำ�ได้แล้ว ทำ�เลยในวันนี้ แล้วฝันจะเป็นจริง และเมื่อได้เริ่มต้นลงมือทำ�แล้วประสบความล้มเหลวก็อย่าเพิ่ง หมดกำ�ลังใจหรือท้อถอย ต้องฝึกยอมรับในความผิดหวังบ้าง ไม่มีใครทำ�สิบอย่าง สำ�เร็จทั้งสิบอย่าง ชีวิตที่สมบูรณ์ต้องพบความผิดหวังบ้าง หรือถ้านักเรียนยังมีข้อติดขัด ไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นสร้างแรงบันดาลใจใน การทำ�สิ่งอันสร้างสรรค์ เป็นผลดีกับตนเองและสังคมรอบข้างอย่างไร นักเรียน ลองมองหาแรงบันดาลใจจากภายนอกตัวนักเรียน ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล หนังสือ ฯลฯ ดูก็ได้ค่ะ และหนอนน้อยค่อยเลาะเล็มฉบับนี้ก็ขอยกตัวอย่างที่มาของแรงบันดาล ใจใกล้ๆ ตัวนักเรียน ซึ่งก็คือ ในหลวง และหนังสือ นั่นเองค่ะ

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๗๓


ในทัศนะของครู “ในหลวง” ทรงเป็น “แรงบันดาลใจ” มากมาย หลายเรือ่ ง ไม่วา่ จะมองด้วยมาตรฐานด้าน ใด พระองค์ล้วนทรงเป็นแรงบันดาลใจ ได้ทง้ั สิน้ ทรงเปีย่ มล้นด้วยพระอัจฉริยภาพ ในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา และวรรณกรรม ศิลปกรรม การถ่ายภาพ ด้านดนตรี กีฬา การศึกษา เทคโนโลยี ฯลฯ ซึ่งในปัจจุบันก็มีการผลิตสื่อเกี่ยว กับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านอย่าง แพร่ ห ลายให้ นั ก เรี ย นได้ เ ลื อ กศึ ก ษา

๗๔

อย่างเช่น เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๕ ทีผ่ า่ นมา ทางอุทยานการเรียนรูท้ เี คพาร์ค ได้ให้ความอนุเคราะห์ โดยให้ทางห้อง สมุดยืมสื่อนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ในหลวงที่ทางอุทยานฯ จัดทำ�ขึ้น มาจัด แสดงที่ห้องสมุดกลางของโรงเรียน ซึ่ง ก็มีคุณครูและนักเรียนให้ความสนใจ มาชมเป็นจำ�นวนมาก และครูคิดว่า นักเรียนคงได้รับแรงบันดาลใจในการ เริ่มต้นสิ่งดีๆ จากการได้ศึกษาพระราชประวัติของพระองค์ท่านไปบ้างไม่มาก ก็น้อยนะคะ


และอี ก ทางหนึ่ ง ที่ จ ะสร้ า ง แรงบันดาลใจดีๆ ให้กับนักเรียนได้ และอยู่ ไ ม่ ไ กลจากตั ว ของนั ก เรี ย น เลย ก็คือ “เรื่องราวดีๆ จากหนังสือ” นั่นเองค่ะ ขึ้นชื่อว่า “หนังสือ” เชื่อแน่ ว่าคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่า หนังสือคือ ประตูนำ�เข้าสู่โลกกว้าง ชาวนาผู้หนึ่งอยู่ ไกลโพ้นแห่งมหานครของชาติตน แต่ เขาสามารถรู้หลายๆ สิ่งหลายๆ อย่าง เกี่ยวกับเมืองหลวงของเขา หากเขาได้ อ่านได้ศึกษาหนังสือเกี่ยวกับมหานคร แห่งนั้น ซึ่งหนังสือนอกจากจะให้ความ รู้ความเข้าใจในเรื่องที่นักเรียนต้องการ ศึกษาแล้ว ยังมีบุคคลจำ�นวนไม่น้อยที่ ได้รบั ข้อคิด มุมมองประสบการณ์ชวี ติ ดีๆ จากการอ่านหนังสือ ครูขอชืน่ ชมนักเรียน ที่เป็นหนอนน้อยค่อยเลาะเล็มเก็บแรง บันดาลใจดีๆ ที่ได้จากหนังสือไว้เป็น เสบียงสำ�หรับการเติบโตเป็นผู้สร้างสิ่ง สรรค์สิ่งดีๆให้กับตนเองและสังคมสืบ ต่อไปทุกคนด้วยนะคะ ดังจะเห็นได้จาก ภาพบรรยากาศงาน BooK for Giving ที่ทางโรงเรียนได้จัดขึ้นเมื่อช่วงปลาย เดือนธันวาคมทีผ่ า่ นมาซึง่ ครูได้เห็นเหล่า หนอนน้อยชาวรุ่งอรุณไปเลือกเก็บแรง บันดาลใจกันอย่างคับคั่งเลยค่ะ

สุดท้ายนี้ ครูเชื่อว่า แรงบันดาล ใจนั้น เราไม่สามารถขอหรือซื้อหาจาก ใครได้ อยากได้ต้อง “สร้างขึ้นเอง” และ เมื่อนักเรียนมีแรงบันดาลใจแล้ว ไม่ ว่ า สิ่ ง ที่ ต้ อ งการทำ � นั้ น จะยากแค่ ไ หน นักเรียนย่อมมีพลังมากพอที่จะทำ�สิ่ง นัน้ ให้ประสบผลสำ�เร็จได้ในท้ายทีส่ ดุ ค่ะ

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๗๕


กุ คิด

สน

สน

ุกอ่า

กับภ

ทย ไ า าษ • ครูชฎาภรณ์ พิพุทธางกูร (ครูหนู)

สวัสดีค่ะ สมาชิกสารประถมฯ ทุกท่าน พบกับคอลัมน์ สนุกคิด สนุกอ่าน กับภาษาไทยกันอีกครั้งค่ะ ช่วงเดือนมกราคมทีผ่ า่ นมามีวันสำ�คัญมากมายเกิดขึ้น และหนึ่งในวันสำ�คัญเหล่านั้นที่เด็กๆ ทั้งประเทศรออยู่ก็คือ วันเด็กแห่งชาติ ซึ่ง เป็นวันทีเ่ ป็นเครือ่ งเตือนให้ทกุ คนหันมาเห็นความสำ�คัญของ “เด็ก” ซึ่งเป็นอนาคต ของชาตินั่นเอง แต่จะมีใครบ้างที่ทราบถึงประวัติความเป็นมาของวันเด็ก ครูหนู เลยเตรียมมาให้สมาชิกสารประถมได้ทราบกันค่ะ.. เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นปีที่ทั่วโลกเริ่มจัดงานเฉลิมฉลองวัน เด็กแห่งชาติ (Children’s Day ) กันขึ้น ตามความเห็นคล้อยตามกับองค์การสหประชาชาติ ที่ นำ�ปัญหาเรื่องเด็กมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของเด็กขึ้นมา ขณะนั้น ประเทศไทยได้รับข้อเสนอของ วี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ว่า ประเทศไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ ประชาชน เห็นความสำ�คัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำ�ลังทำ�อยู่ ครั้งนั้น คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงนำ�เรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม เพื่อพิจารณา ในทีส่ ดุ ทีป่ ระชุมได้เห็นชอบนำ�เรือ่ งเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในขณะนัน้ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีรับหลักการ ให้ จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวง ศึกษาธิการรับไปดำ�เนินการ ส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดงานนั้น ได้อนุมัติเงิน จากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำ�เนินการ ๗๖


ดังนั้น ในวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ประเทศไทยจึงมีงานเฉลิมฉลอง วันเด็กแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมา ทางราชการได้กำ�หนด วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ และจัดติดต่อกันมา จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น มี ความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรทีจ่ ะเสนอเปลีย่ นวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ เพือ่ ความเหมาะสม ด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคม ประเทศไทยยังอยู่ในฤดูฝน มี ฝนตกมาก เด็กไม่สะดวกในการมาร่วมงาน ประการต่อมาก็คือ วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ตลอดจน การจราจรก็ติดขัด คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ เสนอ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๗ ประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ตัง้ แต่บดั นัน้ เป็นต้นมา ด้วยเหตุนจ้ี งึ ส่งผลให้ปี พ.ศ. ๒๔๐๗ ไม่มงี านวันเด็กแห่ง ชาติ ด้วยการประกาศเปลีย่ นได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติได้เริ่มจัดขึ้นมา ใหม่อีกครั้งใน พ.ศ. ๒๕๐๘ และจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ในการจัดงานวันเด็กในแต่ละปีนั้น นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้มอบคำ�ขวัญวันเด็ก เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้กับเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ประคับประคองให้ ”เด็ก” เติบโตขึ้นเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศต่อไป และคำ�ขวัญวันเด็กแห่งชาติในปีนี้ ที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมอบให้กับเด็กไทย ก็ คือ “รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำ�พาไทยสู่อาเซียน” คำ�ขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ ในสมัยที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำ�รงตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๒ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำ�รงตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มอบคำ�ขวัญวันเด็ก ให้ จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน (ข้อมูลจาก http://www.wikipedia.org/) • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๗๗


นอกจากคอลัมน์สนุกคิด สนุกอ่านกับภาษาไทยในสารประถมฯ ฉบับนี้ จะนำ�เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวันเด็กแล้ว ครูยังมีเกมสนุก มาท้าทายสมองกันด้วยค่ะ ใครพร้อมแล้วไปกันเลย.....

เกมทายคำ�กลอนสักวา กลอนสักวาต่อไปนี้ ล้วนมีคำ�ตอบที่ขึ้นต้นด้วยคำ�เดียวกัน ลองอ่านและหาคำ�ตอบกันดูนะคะ ชุดที่ ๑ สักวาอะไรใช้ส่องหน้า อยู่ติดผ้าเมื่อคราจะสวมใส่ ชื่ออยู่ครัวตัวอยู่ในป่าไกล ถ้าอยู่ในโรงเรียนที่เขียนเป็นของครู ดำ�มืดตื้อมีหูอยู่สองข้าง ปิดผนังสร้างบ้านเรือนที่อยู ่ หญิงต้องใส่ทั่วไปใครก็รู้ ชอบต่อสู้กับสีแดงน่ากลัวเอย ๗๘

.............................. .............................. .............................. .............................. .............................. .............................. .............................. ..............................


ชุดที่ ๒ สักวาผู้ยิ่งใหญ่ในตำ�บล อยู่กับมือเอาไว้ป้องกันตัว เป็นชื่อเรือบรรทุกของให้ถ้วนทั่ว ทุกคนกลัวพ่อแม่ทิ้งกลัวท่านชัง ทำ�ดินปืนทำ�ระเบิดเกิดแรงมาก เลือดออกจากนาสาไม่ค้างคั่ง สร้างล้อมบ้านกันโจรกันคนชัง หญิงชาววังใส่ข้อมือหรือเท้าเอย

.............................. .............................. .............................. .............................. .............................. .............................. .............................. ..............................

เป็นยังไงกันบ้างครับ เพื่อนๆ ทายได้มั๊ยเอ่ย เราไปดูเฉลยกันเลย

เฉลย เกมทายคำ�กลอนสักวา ชุดที่ ๑ กระจก กระดุม กระต่าย กระดานดำ� กระทะ กระดาน กระโปรง กระทิง ชุดที่ ๒ กำ�นัน กำ�ปั้น กำ�ปั่น กำ�พร้า กำ�มะถัน กำ�เดา กำ�แพง กำ�ไล • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๗๙


เกมหาคำ� ลองหาชื่อขนมไทยต่อไปนี้ในตาราง ใครตาดีหาเจอบ้างเอ่ย.

๘๐

ทองม้วน

ไข่เต่า

ปลากริม

ข้าวเกรียบ

บ้าบิ่น

วุ้นไข่

ทองเอก

กลีบลำ�ดวน

กาละแม

กล้วยกวน

สังขยา

มันเชื่อม

ข้าวแต๋น

หม้อแกง

ขนมชั้น

บัวลอย

สาคูเปียก

ตะโก้

ข้าวตัง น้ำ�ดอกไม้


เฉลยเกมหาคำ�

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๘๑


English Corner

Book Inspiration

• ครูสริ ริ ตั น์ สังวาลย์ (ครูนกุ๊ )

Dear Parents and Children When I was thinking about reading with my children in the classroom, I thought of a good book and a fun activity to do with them. Reading is an adventure, and there are so many reasons why reading is so important for kids and adults. Therefore, in the English Corner this month, I would like to introduce you to “Book Inspiration” in Primary school. For each level, the teacher introduces their book and what activity they do in the classroom. They also talk about the benefit of reading this book and how it relates to life as well as fulfill the reader in some way. Have fun with reading! For the little readers: GOODNIGHT MOON by Margaret Wise Brown was written in 1947 and still loved by children around the world. In a great green room a little bunny rabbit is tucked up snugly and safely in bed and is getting ready to say goodnight to all the familiar things in his room, one by one. The story is a rhyme with beautiful pictures and is perfect for bedtime at home. It settles the child’s mind in a safe and comfortable way. The language is simple and clear. The pictures have small changes which practice the child’s reading picture cues. ๘๒


warning- your child may want you to read it again and again and again. Reading with infants and preschool children every day is an excellent way to develop language, concentration and of course a time to bond and develop a lifelong habit of reading Teacher Carole

1st Grade Story time is an important part of every English day and is a fantastic activity to share at home with your child. The children sit together and the teacher often uses big books. Big clear pictures help the students understand the story. The teacher asks simple questions about the picture. This helps the child look for clues, details and helps review some basic words before reading. After reading, one of the best ways to share a story is to draw or make something from the book. Maybe making a strip of pictures that show the events or making a puppet of our favorite character. Sometimes we can think of more things that would happen in the story. • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๘๓


THE RAINBOW FISH is one of the beautiful stories we will be reading this term. It is about a fish that learns that being the best is less important than being a good friend. This and many more great books can be found in the school library. Teacher Carole

2nd Grade

Reading is a big part of English day in second grade. We start every day with a story and discussion (talking about the story and pictures). Morning story time is very much like how you would read to your child at home.We also read rhymes and poems especially when doing phonics. The great thing about poems and rhymes are that they are short and easy to memorize as a reader. They also make good use of rhyming, alliteration and other phonetic language properties. These properties make the rhymes more fun and emphasize the ‘beat/rhythm’ of language. This helps children read, understand and remember better ๘๔


Here is an example of a poem we did by Spike Milligan, On the Ning Nang Nong. This is a ‘nonsense/silly poem’ and many of the words don’t even exist in English. However they are great for learning and practicing phonics and reading since they contain repeated sounds with changing vowels. We did this poem with instruments and noise-making objects like metal tins, a drum and a musical triangle for the different ‘sound words’ like ‘bang, ping, jibber jabber joo, and clang’. Happy reading at home! It really does a LOT of good for your children. Teacher Freddie

3rd Grade

This term 3rd grade students are reading “Oh, the Thinks You Can Think!” by Dr. Seuss. This book encourages children to use their imagination and to discover the many wonderful things they are capable • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๘๕


of thinking up. Students in third grade are imaginative and love dreaming up stories and new creatures. In reading this book they get a chance to explore that as well as practice phonics skills through sounding out the strange new names. They read the story together with the teacher and are asked to illustrate their own small book, which also gives them a chance to practice reading comprehension and reading out loud at home. Parents may take some time to read this story with their child and maybe even dream up some bizarre new creatures or places together. Teacher Nook, Teacher Brittany and Teacher Pin 4th Grade This term, the 4th graders read “Archie’s Sweet Shop” by Sue Arengo in class. It’s about a nine year old boy names “Archie”. He finds a good book called: “How to make sweets!” He reads through the recipe and makes the sweets out from his own coins, and sells them to people. He makes chocolate balls, lollipops, toffee apples and sugar sticks. It’s amazing! Many people really like his sweets. Our theme this term is “My Food My Store”. They will learn and identify the ingredients and utensils we use in the kitchen. They will recognize units of measurement and vocabularies we use ๘๖


in the kitchen. They will recognize units of measurement and vocabularies we use in cooking method. They will also be able to apply their new recipe idea and tell the process of the recipe they make. In the class, we made Chocolate chip cookies after reading this story. We had fun and ate them at the end. So yum! However, reading this book will develop your child’s imagination, improve their vocabulary and it’s fun to read. Please encourage your child to read with you at home, as they will get to borrow this book to take home. After reading this book, go to the kitchen and get your hands dirty making something sweet with your lovely one. Have a great fun! Teacher Nook 5th Grade The 5th grade has been reading Magic Boomerang in class this term. Our theme this term is “Around the World,” so the book is a great fit in many ways. It tells the story of a boy named Cody who uses a magic boomerang to travel throughout Australia. Students go with Cody along his journey, visiting the Great Barrier Reef, • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๘๗


the outback, a tropical rainforest and many other places. Students have been illustrating the story as we go along, allowing them to express their creativity. The greatest asset of the book is that it is written in the past tense and lends itself to our grammar lessons. There are many irregular verbs in the story which help students learn the past tense forms (example: see --> saw, swim --> swam) Reading this book with your child will help them with their past tense usage. Each student has their own copy of the book in the classroom. Ask your child to bring the book home so that you can read together! Teacher Brittany

6thGrade This year students in sixth grade read an abridged version of “Sideways Stories from Wayside School”. This book by Louis Sacher is about the adventures of the students in Mrs. Jewel’s class. The students in Mrs. Jewl’s class are about the same, age as our students in sixth grade and they are able to identify easily with the characters in the book. ๘๘


The short witty stories keep the reader engaged and the humorous twists in the story never fail to bring a smile to their faces. These short stories are a good way to introduce the students to reading longer chapter books. When choosing books for independent reading please keep in mind that children in sixth grade are at the age when they are interested in choosing things for themselves. Parents should try taking them to a library or bookstore and then browsing together to find their child’s reading preference and help them choose a book that is appropriate for their reading level. Fantasy and adventure books are popular with this age group as well as books that explore the workings of the world around them and human relationships. Teacher Pin Mixed class “The Go-Kart” is the favorite story book for mixed class this term. It’s about two kids in a family. They fight for the go-kart and they won’t take turns. This story practices these words: a, dad, go, it, mum, no, said, the and they. This is also a good opportunity to show them as an example to share things to others to • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๘๙


play together. Reading this book will teach your child to develop awareness of and respect for others in a variety of areas. If you are interested in this book, please visit the primary library and ask for Oxford Reading Tree Stories. I hope you enjoy your reading with your child at home. Teacher Saifon

ŕš™ŕš?


ส่ิงแวดล้อม

อาสาสมัคร พิทักษ์ส่ิงแวดล้อม • ครูฤทธิรงค์ เจริญวัฒนมงคล (ครูเซียน)

สวั ส ดี ค รั บ ท่ า นผู้ อ่ า นที่ มี ใ จ รักสิ่งแวดล้อมทุกท่าน ผมขอสวัสดี ปีใหม่ครับ ปีใหม่นท้ี า่ นผูอ้ า่ นได้ของขวัญ ปีใหม่เป็นอะไรครับ ท่านทราบหรือไม่ ว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ส�ำ รวจข้อมูล ของขวั ญ ที่ ค นไทยอยากได้ เ ป็ น ของ ขวัญปีใหม่มากที่สุด ๕ ลำ�ดับ ประกาศ ไว้ เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ขอเริ่มที่ล�ำ ดับที่ ๕ นั่นคือ เครื่อง คอมพิวเตอร์ คิดเป็น ๘.๒ เปอร์เซ็นต์ ลำ�ดับที่ ๔ คือเครื่องประดับ คิดเป็น ๙.๑ เปอร์เซ็นต์ ลำ�ดับที่ ๓ คือ Tablet คิดเป็น ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ลำ�ดับที่ ๒ คือ แพ็คเกจท่องเที่ยว คิดเป็น ๑๑.๔ เปอร์เซ็นต์ และ ลำ�ดับที่ ๑ คือ Smartphone คิดเป็น ๑๑.๘ เปอร์เซ็นต์ ถ้า สังเกตให้ดีจะเห็นว่าของขวัญที่คนไทย อยากได้ทส่ ี ดุ คือ อุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์ (IT) ในปัจจุบันการเติบโตของสินค้า อย่าง Computer Tablet และ

Smart phone มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น ตลอด ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ มูลค่าการค้าขายในปี ๒๕๕๕ มี ถึง ๑.๘๘ แสนล้านบาทซึ่งคาดว่าใน ปี ๒๕๕๖ มูลค่าการค้าขายจะเพิ่มขึ้น เป็น ๒.๑ แสนล้านบาทด้วยปัจจัยเสริม อย่างเทคโนโลยี 3G ที่จะมีขึ้นใน ประเทศของเรา

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๙๑


หลายคนบอกว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (IT) มีความจำ�เป็นมากเสีย จนกลายเป็นอวัยวะที่เพิ่มขึ้นจากร่างกายอีก ๑ ชิ้น โดยเฉพาะคนเมือง แต่ คำ�ถามที่ผมสงสัยคือ เรามีความจำ�เป็นแค่ไหนในการได้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (IT) ชิ้นใหม่ส�ำ หรับชีวิตเรา ถ้าอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ (IT) ชิ้นเก่าของเรายังไม่ ชำ�รุด ? ในกระบวนการผลิตที่เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดจะ มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ? คำ�ถามสุดท้าย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (IT) ทีเ่ ราไม่ได้ใช้แล้วไปอยูท่ ไ่ี หน การกำ�จัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ของโลกและประเทศไทย มีกระบวนการอย่างไร ? ก่อนอื่นขอบอกท่านผู้อ่านว่าผมไม่ได้อคติกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (IT) ไม่ได้บอกว่าเราไม่ควรเท่าทันเทคโนโลยี เพียงแต่อยากให้คนในชุมชนของเราเข้า ถึงความจริงที่เคลือบไว้ด้วยรูปลักษณ์ที่เรียบง่ายสวยงาม เต็มไปด้วยความน่าทึ่ง และความสะดวกสบายของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยนี้เพื่อสร้างโลกทัศน์ใน การมองโลกตามความเป็นจริง และใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า ซึ่งผมจะขอนำ�เสนอเป็นประเด็น ทีละข้อ ติดตามวงจรชีวิตอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ (IT) ทั้งหลายตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางดังนี้ครับ

๙๒


๑.ถลุงแร่ทั่วโลก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (IT) หนึ่งชิ้นต้องใช้วัตถุดิบเป็นแร่ ๑๙ ชนิด ได้แก่ พลวง ดีบุก เงิน เหล็ก ปรอท โบรอน โคบอลต์ โคแทน โครเมียม แคดเมียม สารหนู อะลูมีเนียม แทนทาลัม ทองแดง ทองคำ� ตะกั่ว สังกะสี นิกเกิล ซิลิกอน ใน กะบวนการผลิต ซึ่งแร่เหล่านี้มาจากผืนดินทั่วโลก และกว่ามาถึงกระบวนการผลิตต้องแลกกับผลกระทบ สารพัดจะเกิดขึ้นกับ คน และธรรมชาติ ในท้องถิ่น ในพื้นที่บริเวณเหมืองแร่เหล่านั้น ยกตัวอย่างกรณี ของแร่โคแทนในประเทศคองโก ที่ใช้แรงงานเด็ก ใช้ แลกอาวุธเพื่อทำ�สงครามกลางเมือง และทำ�ลายถิ่น ที่อยู่อาศัยและชีวิตของกอริล่า และแร่อีกชนิดหนึ่งที่ มีบทบาทมากคือแร่ซิลิกอนที่นำ�มาทำ�สารกึ่งตัวนำ� ในกระบวนการทำ�เหมืองแร่เหล่านี้ ทำ�ให้คนงานเป็น โรคฝุ่นหินจับปอดใน ๑ ปีทั่วโลกจะมีคนเสียชีวิตจาก โรคนี้ ๑,๐๐๐ คน (เฉลี่ย ๒ คนต่อวัน) ๒. ไมโครชิพของเล็กๆ (จริงหรือ) หัวใจของ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (IT) นั่นคือ ไมโครชิพ ซึ่งใน ปัจจุบันมีขนาดเล็กมาก ขนาดเพียงปลายนิ้วเท่านั้น แต่ในการสร้างไมโครชิพ ๑ ชิ้นต้องใช้อุปกรณ์ถึง ๒,๐๐๐ ชิ้น และมีขั้นตอนในการทำ� ถึง ๒๕๐ ขั้น อีกทั้งต้องใช้สารเคมี ๕๐๐ ถึง ๑,๐๐๐ ชนิด ใน กระบวนการผลิต ซึ่งสารเคมีเหล่านี้ทำ�ให้คน งานในโรงงาน มีความเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจ ปัญหาต่อตับไต มะเร็ง แท้งบุตร อาการผิดปกติของ ทารก เช่น กระดูกสันหลังโหว่ ตาบอด เป็นต้น • สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๙๓


๓. น้�ำ และพลังงานคือหัวใจ ของการผลิต น�ำ้ ทีใ่ ช้ในการผลิตอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ (IT) นัน้ มากมายมหาศาล มีการคำ�นวณว่า ไมโครชิพที่มีขนาด ๑๖ กรัม ต้องใช้น้ำ� ๒๐ ลิตร และ พลังงานถึง ๑,๘๐๐ วัตต์ต่อชั่วโมง ถ้าคิดทั้งโรงงานต้องใช้นำ�้ ๑๒ ล้านลิตร ต่อวัน เกิดน้ำ�เสียที่เต็มไปด้วยสารเคมี ที่เป็นอันตราย ๑๗ ลิตรต่อวันอีกเช่น กัน ๔. อายุสั้นเหมือนถูกวางยา มี ก ารหาอายุ เ ฉลี่ ย ของมื อ ถื อ ในยุ ค ปัจจุบันพบความจริงว่า มือถือหรือ Smart phone มีอายุเฉลี่ยเพียง ๒ ปี เท่านั้น จากนั้นจะชำ�รุดและเป็นเหตุ จำ�เป็นให้ต้องซื้อมือถือรุ่นใหม่ที่ดีกว่า จากโฆษณา ชวนเชื่อ แทนการซ่อมแซม ที่อาจจะมีราคาสูงเท่าเทียมกับการซื้อ ใหม่ หรือนี่จะเป็นแผนทางการตลาด ของบริษัท Smart phone ทั้งหลาย ๕.เรื่ อ งจริ ง เมื่ อ เราตั ด สิ น ใจทิง้ มีการทิ้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (IT) ทั่วโลก ๒๐-๕๐ล้านตัน(พันล้าน กิโลกรัม) ต่อปี ประเทศที่ทิ้งมากที่สุด คือสหรัฐอเมริกา และยุโรป และพบว่า ขยะอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ จ ากทั่ ว โลกถู ก นำ � ๙๔


้ มารีไซเคิลไม่ถึงครึ่งของทังหมด และนำ� ไปรีไซเคิล(กำ�จัด)นอกประเทศโดยเป็น ประเทศทีกำ่ �ลังพัฒนาอย่าง จีน อินเดีย และหลายประเทศในทวีปแอฟริกา ยก กรณีในประเทศจีน จะให้คนในหมู่บ้าน ทุกเพศทุกวัย ตั ้งแต่เด็กถึงคนแก่ แยก ชิ้นส่วนอุปกรณ์นับพันชิ้น โดยไม่มี การป้องกัน ทั้งที่ขยะเหล่านี้เต็มไปด้วย สารเคมี ที่เหลือจากการรีไซเคิลยังเป็น ปริศนาอยู่ แต่อย่างไรก็ตามในประเทศ ไทย มีหลักฐานว่ามีการเผาขยะอิเล็ก่ ทรอนิกส์จริงในจังหวัดหนึงในภาคอี สาน จาก รายงานการศึกษาเชิงปฏิบัติการ เพื่อศึกษาผลกระทบและแนวทางการ กำ�จัดขยะส่วนรวมของคุณ เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง และคณะ ปี ๒๕๕๒ เรื่องการกำ�จัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ด้ ว ยการฝั ง และการเผาเป็ น เรื่ องต้ อ ง ห้ามในยุโรปถึงมีการส่งออกไปกำ�จัดใน ประเทศอื่น เพราะการฝังและการเผา เป็นอันตรายอย่างมากกับ ระบบนิเวศ และคน ที่อาศัยในพื้นที่นั้น

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๙๕


๖.ภัยเงียบที่ตามมา เมื่อมีการกำ�จัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ดีพอ เช่นกำ�จัดด้วยการฝังและเผา จะมีสารพิษตกค้างและสะสมในระบบนิเวศ และเมื่อ คนเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารพิษที่ตกค้าง จาก ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ร่างกายจะสะสมสารพิษมากพอจากน้ำ� อาหาร และอากาศ จนถึงระดับที่จะนำ�ไปสู่การเกิดโรคต่างๆดังนี้ เช่น โรคพิษตะกั่วในเด็กและผู้ใหญ่เกิดจากการสะสมสารตะกั่วมีอาการผิด ปกติใน ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท สมอง โลหิต ระบบปัสสาวะถึงขัน้ เสียชีวติ ได้ จากอาการเฉียบพลันและเรื้อรัง โรคมินามาตะ เกิดจากการสะสมสารปรอท มีอาการ ชักดิ้นชักงอ พูดไม่ ชัด สูญเสียการควบคุมร่างกาย โรคที่เกิดจากการสะสมสารไดออกซิน (เกิดจากการเผา สาร PVC) แหล่งอ้างอิงหลัก เลียวนาร์ด, แอนนี่. เรื่องเล่าของข้างของ-The Story of Stuff. กรุงเทพมหานคร : มติชน, ๒๕๕๕. หน้า ๑๓๗ – ๑๔๘ http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/toxics/electronics/where-does-e-waste-end-up/ ๙๖


มีอาการ ผิวหนังจะมีการระคายเคือง ตับอักเสบ หายใจลำ�บาก มะเร็งระบบทาง เดินนำ�้ เหลือง มะเร็งระบบกล้ามเนื้อ โรคอิไต อิไต เกิดจาการสะสมสารแคดเมียม มีอาการ สูญเสียประสาท การดมกลิ่นและทำ�ให้ เลือดจาง ถ้าได้รับปริมาณมากระยะสั้น ๆ จะมีอาการจับไข้ หนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดศีรษะ อาเจียน อก ไอรุนแรง น้ำ�ลายฟูม เป็นมะเร็งไต และ ต่อมลูกหมาก ทั้งหมดนี้เป็นการสรุปข้อมูลที่ผมค้นคว้า เพื่อตอบคำ�ถามที่ตั้งไว้ ผมสรุป ได้ว่านี่เป็นปัญหาใหญ่ที่น้อยคนจะรับรู้ น้อยคนจะแก้ไขอย่างจริงจัง เราควรมา ตรวจสอบการดำ�รงชีวิตอย่างมีคุณค่าท่ามกลางเทคโนโลยี ว่าเราควรเอาเพียง ความสะดวกสบาย โฆษณาชวนเชื่อ และหลงลืมปัญหาของสารพิษตกค้างใน ระบบนิเวศหรือไม่ ผมขอฝากข้อมูลเหล่านี้ไว้กับทุกท่านด้วยนะครับ

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๙๗


ของใครหาย...มารับได้จ้า ครูเรียมขอเล่าเรื่องความประทับใจนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีท่ี ๑ ชื่อเด็กชายมาดี วัฒนศัพท์ ซึง่ ลืม นาฬิกาข้อมือไว้ที่สระว่ายนำ�้ มีนักเรียนคนอื่นมาพบ และนำ�ไปส่งไว้ที่พี่ จป. และได้มีการนำ�ส่งไว้ที่ครูเรียม • ครูจริยา ฟักประไพ (ครูเรียม) ในเวลาต่อมา วันรุง่ ขึน้ ในตอนเย็นหลังเลิกเรียน เด็กชายมาดีเดินเข้ามาหาครูเรียมที่ห้องทำ� งานด้วยใบหน้าที่เศร้า และได้มาแจ้งของหายกับครูเรียม โดยได้บอกเล่าถึง ชนิดของ ที่หาย สถานที่ที่ลืมของไว้ บรรยายลักษณะนาฬิกาว่าสายทำ�ด้วยยาง สีดำ� ขอบสีส้ม ได้อย่างละเอียดชัดเจน จุดนี้ทำ�ให้ครูเรียมประทับใจในการจดจำ�สิ่งของของตนเองได้ อย่างละเอียดของเด็กชายมาดี ซึง่ คุณครูรสู้ กึ ว่าคุณสมบัติเช่นนี้นับวันจะน้อยลงใน นักเรียนรุ่งอรุณ โดยส่วนใหญ่เมือ่ ครูเรียมถามถึงรายละเอียดของสิ่งของที่หาย มักจะ ได้ยินคำ�ตอบจากเด็กรุ่งอรุณ คือ คำ�ว่า “ไม่รู้” “จำ�ไม่ได้” เสียเป็นส่วนใหญ่ บาง คนเมื่อทำ�ของหายบุคคลที่มาถามหาของหายกับครูเรียมกลับเป็นผู้ปกครอง ครูเรียมอยากเห็นนักเรียนรุ่งอรุณของเราเป็นเด็กที่ รัก ดูแล และรู้จักใช้สิ่งของของตนเองให้คุ้มค่ามากขึ้น ซึ่งถ้าความฝันของครูเรียมเป็นจริง เวลาที่ครูเรียม เดินกลับบ้านหลังเลิกเรียน เมื่อมองไปทางไหนก็จะสะอาดตา ไม่มีกระเป๋านักเรียน กระเป๋าชุดว่ายนำ�้ แก้วน้ำ� ขวดน้ำ� วางเกลื่อนกลาดอยู่บนโต๊ะ หรือ บริเวณสนาม ฟุตบอล บาสเก็ตบอล

ของมีค่า - พระ - นาฬิกา

๙๘

- กระติกนำ�้ - แว่นตา

ของใช้

ถ้านักเรียนคนใดมีสิ่งของที่หายแล้วยังหาไม่เจอ นักเรียนสามารถติดตามหา ของหายได้ ๒ ที่ ดังนี้ ๑. ครูสุวรรณ โรจนดุล ห้องภาคสนาม ตั้งแต่ เวลา ๐๘ : ๐๐ – ๑๗ : ๐๐ น. ๒. จป. ตรงประตูทางเข้าโรงเรียนประถมค่ะ


ตารางแจ้งการเรียนการสอน และกิจกรรมโรงเรียนประถม เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ วัน/เดือน/ปี วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ มกราคม - วันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ วันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์

กิจกรรม ภาคสนาม ป.๕ / ๒ จังหวัดเพชรบุรี

วันเสาร์ที่ ๒ – วันอาทิตย์ที่ ๓ กุมภาพันธ์

ผู้ปกครองอนุบาล ๓ ที่ลูกจะขึ้น ป. ๑ ปฏิบัติธรรมที่ สวนพุทธธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา

วันพุธที่ ๖ - วันศุกร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์

ภาคสนาม ป.๕ / ๑ จังหวัดเพชรบุรี

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ สอบ O-NET

วันศุกร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์

การแข่งขันบาสเกตบอลระดับ ป.๕และป.๖ ระหว่าง โรงเรียนรุ่งอรุณกับโรงเรียนจารุวัฒนานุกุล ที่โรงเรียน รุ่งอรุณ วันพฤหัสบดีที่ ๗ - วันเสาร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ ภาคสนาม ป.๔ / ๒ ที่ศูนย์ภูมิรักษ์ จังหวัดนครนายก วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ - วันเสาร์ที่ ๑๖ ภาคสนาม ป.๕ / ๓ จังหวัดเพชรบุรี กุมภาพันธ์ วันพุธที่ ๒๐ - วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ คณะ รศ.ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ จากมหาวิทยาลัย ขอนแก่นมาสังเกตชั้นเรียนและสะท้อนผล วิชา คณิตศาสตร์ วันพุธที่ ๒๐ - วันศุกร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ภาคสนาม ป.๔ / ๓ ที่ชุมชนปฐมอโศก จ.นครปฐม วันศุกร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ หยุดเรียนเพื่ออบรมครูทั้ง ๓ ฝ่าย วันจันทร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ หยุดวันมาฆบูชา

• สารประถมอุ ด มปั ญ ญา ๙๙


เมื่อเด็กรุ่งอรุณไปแข่งคณิตคิดเร็ว ผู้แทนนักเรียนจากโรงเรียนรุ่งอรุณได้เข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์ เครือข่ายสถานศึกษาเอกชน กลุ่มที่ ๒๑ ประจำ�ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ใน วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๕ ที่โรงเรียนจารุวัฒนานุกุล โดยมีโรงเรียน ที่เข้าร่วมกิจกรรมประกอบไปด้วย โรงเรียนจารุวัฒนานุกุล โรงเรียน สุพิชญา โรงเรียนพรพิมพ์พระราม ๒ โรงเรียนสมิธิพงษ์ โรงเรียน ศิรินุสรณ์ และ โรงเรียนรุ่งอรุณ ผลการแข่งขันปรากฏว่า ประเภทตอบปัญหาคณิตศาสตร์ ระดับชั้น ป.๓ เราสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ อันดับ ๑ ประเภทแข่งขันคิดเลข เร็ว และตอบปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้น ป.๖ สามารถคว้ารางวัลรองชนะ เลิศอันดับ ๒ ทั้งสองประเภท พวกเราชาวรุ่งอรุณขอแสดงความยินดีและชื่นชมในความสามารถ ของนักเรียนทั้ง ๘ คนอย่างยิ่ง

แถวหน้า ด.ช. ณวัฏ สุนทรญาณกิจ ด.ช. วิชญ์ นิรันดร ด.ญ. ณัฐชา ตั้งวัชรินทร์ ด.ญ. ณัฐฌาน์ พนารัตน์ ์ แถวหลัง ด.ช.ปฤณ พรรคสมพร ด.ญ. ปราชญา ธรรมพุฒิพงศ์ ด.ช.เขมินท์ เอื้อสุขสถาพร ด.ช.ณฐธรรม สวาทยานนท์


ข้อมูลสิ่งประดิษฐ์ Zeus Engry (Energy+Engry) “คนสมัยนี้ใช้ไฟฟ้า เป็นหลัก ผมจึงผลิต พลังงานทางเลือก จากฟ้าผ่า ซึ่งเป็นพลังงาน ที่ไม่เคยใช้ พอฟ้าผ่าลงไปที่ สายล่อฟ้า พลังงานจะถูกส่ง ไปที่ตัวเก็บไฟฟ้า แล้วไหลต่อไปที่ แบตเตอรี่ยักษ์”

ผลงานของ ด.ช.สิทธิเดช เดชคำ�รณ (อั่งเปา) ป. ๖/๒

จากการประกวด Honda Super Idea Contest ครั้งที่ 8 และ ติด 1 ใน 20 ของ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.